ญี่ปุ่นยอมอ่อนข้อเสรีเหล็ก สมคิดมั่นใจพบทางออกFTA
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 07, 2005 9:57 am
ญี่ปุ่นยอมอ่อนข้อเสรีเหล็ก สมคิดมั่นใจพบทางออกFTA
โดย ผู้จัดการรายวัน 7 พฤษภาคม 2548 01:22 น.
ญี่ปุ่นลดท่าทีแข็งกร้าวกดดันไทยเปิดเสรีเหล็กทันที ยื่นข้อเสนอใหม่เปลี่ยนแปลงยืดกรอบเวลาออกไป หวังลดกระแสต้านจากกลุ่มอุตสาหกรรมไทย หร้อมหนุนไทยสู่ดีทรอยต์แห่งเอเชีย แต่มีขู่ถ้าตัดสินใจช้าอาจเสียเปรียบชาติอื่น สมคิด รับผ่าทางตันเจรจาเอฟทีเอ โยนทีมเจรจานำไปพิจารณาหาจุดลงให้ได้ ตั้งเป้าเซ็นสัญญาภายในเดือน ก.ค.นี้ ทักษิณ ชมคณะเจรจาทำหน้าที่สุดยอดแล้ว แต่โวยกลุ่มธุรกิจเห็นแก่ส่วนตัว เจอผลกระทบก็ร้องลั่นไม่ยอมปรับตัว ด้านเอกชนจี้ให้พิจารณาดุลการค้าถ้าเปิดแล้วขาดดุลก็ไม่ต้องเซ็น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม(เมติ) ของญี่ปุ่น ว่าบรรยากาศดีการหารือในครั้งนี้ ถือว่าดีมาก เนื่องจากเป็นการพูดคุยที่เข้าใจซึ่งกันและกัน และทั้งสองฝ่ายต่างตอกย้ำความหมายของ คำว่า หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partner Ship : EPA) ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือทุกด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และการยกระดับทรัพยากรมนุษย์
เรื่องเอฟทีเอเป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆ ของ EPA เท่านั้น ซึ่งรัฐมนตรีเขาเอง ต้องการให้ย้ำคำว่า EPA ว่า จะมีทาง อะไรบ้าง ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาช่วยให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศไทยได้นายสมคิด กล่าว
นายสมคิด กล่าวว่า ในเรื่องของเหล็กที่ยังเป็นปัญหาหาข้อสรุปไม่ได้นั้น ขณะนี้ทางญี่ปุ่นได้เสนอทางออกมาให้ ซึ่งตนเองได้มอบให้ทางคณะเจรจาของไทยไปแล้ว ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่า น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่ก็ได้ย้ำกับทางญี่ปุ่นว่า อะไรที่ต้องใช้ระยะเวลา จำเป็นต้องขอเวลาให้กับฝ่ายไทยได้ปรับตัวเพื่อพัฒนาเสียก่อน รวมทั้งขอให้ทางญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยประเทศไทยพัฒนาด้วย
ส่วนในที่สุดแล้วจะต้องเปิดเสรีเหล็กหรือไม่ นายสมคิด กล่าวว่า ประเด็นคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้สามารถตกลงกันได้ในอนาคตข้างหน้า ซึ่ง ณ ขณะนี้ ยังไม่มีข้อสรุป เพียงแต่รับข้อเสนอทางออกของญี่ปุ่นมาพิจารณาเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดจะต้องเป็นเรื่องของทีมเจรจาของ 2 ฝ่าย ที่จะต้องไปตกลงในรายละเอียดกันต่อไป
เรื่องเหล็ก คงไม่ใช่เรื่องที่พูดกันในตอนนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ฝ่ายเจรจาต้องไปนำไปเจรจากัน ถ้าเป็นทางออกที่รับไม่ได้ ก็ไม่ตกลง เขาพียงแต่เสนอมาให้เราพิจารณาเท่านั้น ส่วนสินค้าเกษตรก็ต้องอยู่ในแพ็คเกจเดียวกัน ยังไม่จบอะไรสักอย่าง ซึ่งหลังจากนี้ เขาเองก็จะพยายามไปบอกกับทีมเจรจาฝ่ายญี่ปุ่น ส่วนเราเองก็บอกทีมเจรจาฝ่ายไทยให้หันหน้าเข้าหากัน โดยยึดเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดทั้ง 2 ฝ่ายเป็นหลัก นายสมคิด กล่าว
ทั้งนี้ ฝ่ายเจรจา จะต้องหาลู่ทางในการหาจุดสรุปร่วมกัน เพื่อว่า นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่าย จะได้สามารถเซ็นข้อตกลงร่วมกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ได้ ภายในเดือนช่วง กรกฎาคม 2548 นี้ ส่วนผู้ประกอบการภาคเอกชนนั้น ขอย้ำว่า ไม่ต้องกังวล เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ต้องดูแลผู้ประกอบการฝ่ายไทยอยู่แล้ว ซึ่งรัฐบาลจะมองประเทศชาติโดยส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่เพียงมองแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ผมมองว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สำคัญมาก ในเชิงอุตสาหกรรม ถ้าเรากับเขาเป็นหุ้นส่วนกันได้ และมีความใกล้ชิดมากกว่าคนอื่น อันนี้เป็นประโยชน์แน่นอน ประเทศอื่นก็พยายามดูลู่ทางนี้อยู่ เพียงแต่เขามองว่า เมืองไทย มีความสำคัญมากๆ เขาถึงอยากเร่งกรณีเมืองไทยก่อนนายสมคิด กล่าว
**ญี่ปุ่นลดท่าทีแข็งกร้าวยื่นข้อเสนอใหม่
ด้าน นายเคตะ นิชิยามา ผู้อำนวยการกองเอเชียและแปซิฟิก กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) เปิดเผยถึงผลการเข้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของ นายโชอิชิ นาคากาวา รัฐมนตรีเมติของญี่ปุ่น ว่า ทั้ง2 ฝ่าย มีความเห็นร่วมกันว่า กรอบการเจรจาจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่ทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทางญี่ปุ่นเห็นว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของการเติบโตด้านอุตสาหกรรมของภูมิภาคในอนาคต
ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาความกังวลใจของรัฐบาลไทย ทางญี่ปุ่นจึงได้เสนอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเรื่องการเปิดเสรีเหล็ก และชิ้นส่วนยานยนต์ จากเดิมที่จะให้ลดอัตราภาษีเหลือ 0% ทันที หลังเซ็นข้อตกลงระหว่างกัน เป็นผ่อนปรนกรอบระยะเวลาออกไปก่อน เพื่อให้รัฐบาลไทยได้คำนึงถึงผู้ประกอบการไทย แต่ยังบอกในรายละเอียดไม่ได้ว่าจะเป็นเมื่อใด ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาของคณะทำงานไปตกลงในรายละเอียดร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ทางญี่ปุ่นพร้อมจะให้ความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย โดยทางญี่ปุ่นมีโครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์กับไทย ซึ่งญี่ปุ่นจะช่วยทำให้เทคโนโลยีพื้นฐานอุตสาหกรรมเหล็กในไทยแข็งแกร่งขึ้นช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยีดีขึ้น
นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคเอเชีย (ดีทรอยซ์ ออฟ เอเชีย) โดยจะสนับสนุนอุตสาหรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นของคนไทยและจะช่วยฝึกอบรมแรงงานไทยให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นอย่างน้อย5,000คนรวมทั้งจะจับคู่ธุรกิจชิ้นส่วนระหว่างผู้ประกอบไทยและผู้ประกอบการรถยนต์ของญี่ปุ่นด้วย
นายเคตะ กล่าวว่า การกำหนดระยะเวลาเซ็นข้อตกลงเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น ในเดือน กรกฎาคม 2548 นี้ เป็นข้อเรียกร้องของรัฐบาลไทยเอง สาเหตุน่าจะเป็นเพราะญี่ปุ่นกำลังเจรจาทำเอฟทีเอกับ อาเซียน ดังนั้น ทางไทยจึงต้องการให้การทำเอฟทีเอไทยกับญี่ปุ่นเรียบร้อยก่อน
นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงว่า การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากญี่ปุ่น ของประเทศไทย ไม่ได้สร้างปัญหาเรื่องการขาดดุลการค้า เพราะสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงมาก และการเปิดเสรีระหว่างกันจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ เพราะในปี ค.ศ.2010 ญี่ปุ่นจะทำข้อเอฟทีเอกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะมีผลทำให้ภาษีในการนำเข้าชิ้นส่วนมาผลิตในประเทศเหล่านั้นเป็น 0% หมายความว่า ต้นทุนในการผลิตจะต่ำ ดังนั้น หากภายในปี 2010 ไทยยังมีกำแพงภาษีสินค้าเหล่านี้อยู่ ก็จะทำให้เกิดการเสียเปรียบประเทศอื่นได้
ข้อเสนอใหม่ของญี่ปุ่น จะช่วยลดความกังวลใจของผู้ประกอบการไทย แต่ระยะเวลายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นเมื่อใด ซึ่งญี่ปุ่นเห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้ประกอบการไทยที่อาจมีการกำหนดโควตาเพื่อลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ในอุตสาหกรรมเหล็กบางชนิดที่ไทยยังไม่สามารถผลิตได้ อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเห็นว่าเราควรมีการเปิดเสรีในอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนระหว่างกัน ภายในปี 2553 เนื่องจากญี่ปุ่นกำลังจะมีข้อตกลงเปิดเสรีกับอาเซียนประเทศอื่น ๆ หากไทยเปิดเสรีด้านนี้ล่าช้า ก็จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยแข่งขันได้ลำบาก นายเคตะ กล่าว
**เผยข้อเสนอใหม่ของญี่ปุ่น
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการหารือกันเมื่อช่วงเช้าวานนี้ (6 พ.ค.) นายโชอิจิ นาคากาวะ ได้แจ้งกับนายสมคิดว่าญี่ปุ่นได้เสนอทางออกในการเปิดเสรีเหล็ก ว่า กรณีที่เป็นเหล็กที่ไทยผลิตได้ หากในแต่ละปีมีความต้องการใช้มากกว่าที่ไทยผลิตได้ ก็ขอให้ไทยเปิดเสรีในส่วนนี้ ส่วนจะมีอัตราภาษีเท่าใด และจะจำกัดโควตายังไง ให้เป็นหน้าที่ของคณะเจรจา
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้นายสมคิดระบุว่าโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าเป็นทางออกที่ดี และให้เป็นหน้าที่ของคณะเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะไปตกลงและหาทางออกกันต่อไป และจะต้องได้ข้อสรุปภายในเดือนก.ค.นี้
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในส่วนของรถยนต์ซีซีสูงที่ทางญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเปิดเสรีนั้น นายสมคิดกล่าวในที่ประชุมว่าเรื่องรถยนต์เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ และดูแลทั้งระบบ โดยที่ผ่านมา ได้มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตไปแล้ว และทำให้ทุกค่ายรถยนต์ได้ประโยชน์ ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ดังนั้น ในการเจรจาเอฟทีเอกับญี่ปุ่นก็จะใช้หลักการเดียวกันนี้ คือ จะทำในภาพรวม และเมื่อทำอะไรไปแล้ว ต้องได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด
ส่วนการเปิดเสรีชิ้นส่วนยานยนต์ นายสมคิดย้ำว่าเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุน รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้อุตสาหกรรมเข้มแข็ง และจะทำทุกวิถีทางที่จะให้อุตสาหกรรมของไทยเติบโต หากจะมีการเปิดเสรีก็ต้องมีการศึกษาให้ถี่ถ้วน และเป็นเรื่องที่จะต้องเจรจากันต่อไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงการเจรจาในเฟส 2 หลังจากที่เฟส 1 ได้ข้อยุติแล้ว
วันเดียวกันนี้ เวลา 14.00 น. นายโชอิจิ นาคากาวะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สำนักโฆษกทำเนียบรัฐบาล ได้เปิดเผยรายละเอียดในการหารือว่านายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวต้อนรับรัฐมนตรีเมติ และแสดงความยินดีที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการเจรจาเอฟทีเอ
ขณะที่รมว.เมติได้แสดงความกังวลต่อความห่วงใยของฝ่ายไทยจากที่ได้มีการหารือร่วมกันในการเจรจาหลายรอบที่ผ่านมา พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นมีความกังวลค่อนข้างมากในเรื่องการลดภาษีในหมวดสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเหล็กแผ่นรีดร้อน และระบุว่าไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น เพื่อส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ การพัฒนาของฐานการผลิตสินค้าญี่ปุ่นในไทยจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง การจ้างงาน และการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลไทย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ที่สำคัญของญี่ปุ่นด้วย
นอกจากนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายยังเห็นพ้องร่วมกันว่าการจัดทำเอฟทีเอร่วมกันนั้น จะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศในลักษณะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ด้านพ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ไทยหวังว่าแม้การเจรจาจะขลุกขลักไปบ้าง แต่ด้วยพื้นฐานในประเด็นห่วงกังวลที่คล้ายคลึงกันจะช่วยให้การเจรจาดำเนินต่อไปได้อย่างดี และเชื่อมั่นในคณะเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายที่จะคำนึงถึงประเด็นอ่อนไหวอย่างละเอียดถี่ถ้วนและก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน และหวังอีกว่าการทำเอฟทีเอจะทำให้ไทยกลายเป็นคู่ค้าหลักของญี่ปุ่นในกลุ่มประเทศอาเซียน
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้เข้าร่วมในการหารือในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า การพบปะหารือกันครั้งนี้เป็นไปแบบฉันท์มิตร และมีการเสนอว่าอะไรที่ทำให้การเจรจาติดขัดก็อย่าให้ติดขัด เพราะทั้ง 2 ฝ่ายต้องการที่จะให้การทำเอฟทีเอจบลงได้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีก็พูดชัดว่าการทำเอฟทีเอควรจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกระชับมากขึ้น ส่วนเรื่องที่ยังเป็นปัญหา ไม่ขอพูด เพราะเป็นเรื่องที่หัวหน้าคณะเจรจาจะไปเจรจากันต่อ แต่ยอมรับว่าในการเจรจาต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน โดยหมูไปไก่ต้องมา
ขณะที่ นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่า การเจรจารอบที่ 8 ต้องมีขึ้น และตนจะเป็นผู้ไปเจรจา โดยเชื่อว่าจะจบได้ในเดือนก.ค.นี้แน่นอน ส่วนเรื่องเหล็กที่ยังเป็นปัญหา ตอนนี้มีข้อเสนอของภาคเอกชนแล้ว ซึ่งตนจะนำไปเจรจาต่อรองกับทางญี่ปุ่นต่อไป
**ทักษิณจวกท่าทีกลุ่มอุตสาหกรรมไทย
ก่อนหน้าการเข้าพบรมว.เมติ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการไทยซึ่งแสดงท่าทีกังวลว่าจะได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ว่า รัฐบาลมีหน้าที่ดูภาพรวม โดยยึดประชาชนเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งบางธุรกิจไม่ยอมปรับตัวเลยทั้งชีวิตอยู่แบบสบาย ๆ พอจะมีการแข่งขันกันขึ้นมาก็ร้องลั่น แต่ถ้าการแข่งขันเป็นประโยชน์กับประชาชนมากกว่า ทำให้ธุรกิจส่วนนั้นอาจได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง ก็ต้องยอม แค่นั้นยังไม่พอเราต้องดูปัจจัยอื่นด้วย ว่าสิ่งที่ญี่ปุ่นจะให้โอกาสเราดีกว่านั้นหรือไม่ เช่นให้โอกาสเกษตรขายสินค้าได้มากขึ้น ตลาดดีขึ้น ประชาชนผู้บริโภคได้ประโยชน์เราก็ต้องยอม
แต่แน่นอนอุตสาหกรรมรายสาขาเขาก็ต้องโวย แต่รัฐบาลไม่ใช่ว่ายอมแล้วจะไม่ดูแลเขา เราจะช่วยดูแลโดยเขาจะต้องปรับตัวเอง ทั้งนี้ตั้งแต่ที่ตนเข้ามาบริหารประเทศเมื่อปี 2544 ได้เรียกร้องให้ภาคเอกชนปรับตัว จะอยู่เฉยไม่ได้เพราะโลกมันแข่งขัน อย่างน้อยเราเป็นสมาชิก WTO ในปี 2006 จะเห็นการเปิดเสรีเยอะโดยไม่ต้องมีเอฟทีเอ ฉะนั้นถ้าไม่ปรับตัวก็จะลำบาก จะอยู่ไปเรื่อยๆ วันๆ แบบสบายๆ พอล้มมารัฐบาลก็เข้าไปแบกอุ้มแบงค์ที่เป็นเอ็นพีแอลอย่างนี้มันไม่ได้นายกรัฐมนตรีกล่าว
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอีกว่า รัฐบาลจะสนใจผู้ผลิตแล้วทิ้งผู้บริโภคมันไม่ได้ ต้องดูหลายๆ อย่าง ซึ่งวันนี้ยอมรับว่าสินค้าบางตัวเราสู้เขาไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องรีบปรับตัวถ้าจะนอนรอเฉยๆ คงต้องรอรุ่นเหลนถึงจะสู้เขาได้ ซึ่งวันนี้เราสนใจการเปิดตลาดสินค้าเกษตรในตลาดญี่ปุ่น เพราะตลาดญี่ปุ่นอาหารแพงมาก อย่างเช่นมังคุด 3 ลูก 500 บาท ถ้าเราเข้าตลาดญี่ปุ่นได้
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวถึงการทำงานของคณะเจรจาของไทยว่า ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้วโดยเฉพาะนายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย ญี่ปุ่น เป็นคนที่พร้อมที่สุด
ที่ผ่านมาคณะเจรจาของญี่ปุ่นก็ร้องลั่นเลยเมื่อเจอคุณพิศาล ซึ่งเราคิดว่าคุณพิศาลเขาทำหน้าที่ของเขาได้ดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร การเจรจาก็อย่างนี้แหละมีดึงมีผ่อน การเจรจาจบเมื่อไรก็เซ็นสัญญาเมื่อนั้น ไม่จบก็ไม่เซ็นจะไปกำหนดระยะเวลาไม่ได้ ต้องให้จบและเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายนายกฯกล่าว
ส่วนหลังการเจรจาโดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคม 48 จะสามารถสามารถเซ็นสัญญาร่วมกันได้เลยหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ตั้งเป้าได้ แต่ก็ไม่จำเป็น เพราะเราต้องดูให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
**ขาดดุลเพิ่มก็ไม่ต้องเซ็น
นายเกียรติพงษ์ น้อยใจบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า หลักการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ FTA คือการที่คู่ตกลงต้องการขยายการค้าร่วมกันและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม ซึ่งหากทำได้ตามหลักการจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมาก ดังนั้นทั้งหมดจึงอยู่ที่คณะเจรจาและรัฐบาลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว ส่วนเอกชนมีหน้าที่ให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเท่านั้น
" รัฐจะต้องพิจารณาหลักการว่าถ้าทำแล้วไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นหรือไม่ คือมองภาพรวมอย่างนี้จะดีกว่า ซึ่งก็น่าจะประเมินได้คร่าวๆ อยู่แล้ว ดังนั้นหากเห็นว่าไทยจะเสียประโยชน์ในภาพรวมก็ไม่ต้องไปเซ็นข้อตกลงก็เท่านั้น"นายเกียรติพงษ์กล่าว
นายกรกฎ ผดุงจิตต์ เลขาธิการกลุ่มเหล็กส.อ.ท.กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวนั้นเห็นว่าที่ผ่านรัฐให้เวลาปรับตัวก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่หมายถึงการให้ปรับตัวบนพื้นฐานของการทำข้อตกลงที่ไทยเสียเปรียบตรงนั้นรัฐบาลไม่ได้ระบุไว้ และเข้าใจว่าการเสียเปรียบ ได้เปรียบต้องผสมกันไป แต่รัฐเองก็ควรจะตอบให้ได้ว่าแล้วที่ไทยได้เปรียบคืออะไรบ้าง เสียเปรียบมีอะไรบ้าง
" ต้องมองว่า Free Trade กับ Fair Trade มันต่างกัน ขอย้ำว่าทุกอย่างต้องมีเหตุและผล และเอกชนก็ไม่ได้คัดค้านการทำ FTA แต่อย่างใดเพราะหากคัดค้านการลงนามกับประเทศต่างๆ ก่อนหน้านั้นคงไม่เกิดขึ้นหรอก แต่เห็นกรณีของญี่ปุ่นจะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว"นายกรกฎกล่าว
**FTAได้หรือเสียอยู่ที่เจรจา
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ FTA ส.อ.ท. กล่าวว่า การประชุมครบรอบ 10 ปีที่เจนีวาเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งไทยเข้าร่วมประชุมด้วยนั้นมีการถกเถียงกันเรื่องประเด็น FTA ซึ่งส่วนใหญ่มองว่า การที่ประเทศกำลังพัฒนาไปเร่งทำ FTA กับประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องระมัดระวังการเจรจาเป็นพิเศษเพราะมีโอกาสจะเสียเปรียบมากกว่าได้เปรียบ เพราะประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่อุตสาหกรรมจะเข้มแข็งขณะที่ภาคเกษตรที่ประเทศกำลังพัฒนาหวังจะเข้าไปทำตลาดเพิ่มจะมีการปกป้องสูง
นอกจากนี้ในเวทีขององค์การการค้าโลกหรือ WTO นั้นประเทศที่พัฒนาแล้วภาษีจะลดเป็น 0-5% อยู่แล้วในปี 2553 และบางรายการก็อยู่ในระดับดังกล่าวอยู่แล้ว ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนามีภาษีปกป้องสินค้าตัวเองสูงอยู่และจะใช้เวลาลดในเวที WTO หลังประเทศพัฒนาแล้ว 10 ปี เท่ากับเป็นการลดแต้มต่อในเวที WTO ไป
โดย ผู้จัดการรายวัน 7 พฤษภาคม 2548 01:22 น.
ญี่ปุ่นลดท่าทีแข็งกร้าวกดดันไทยเปิดเสรีเหล็กทันที ยื่นข้อเสนอใหม่เปลี่ยนแปลงยืดกรอบเวลาออกไป หวังลดกระแสต้านจากกลุ่มอุตสาหกรรมไทย หร้อมหนุนไทยสู่ดีทรอยต์แห่งเอเชีย แต่มีขู่ถ้าตัดสินใจช้าอาจเสียเปรียบชาติอื่น สมคิด รับผ่าทางตันเจรจาเอฟทีเอ โยนทีมเจรจานำไปพิจารณาหาจุดลงให้ได้ ตั้งเป้าเซ็นสัญญาภายในเดือน ก.ค.นี้ ทักษิณ ชมคณะเจรจาทำหน้าที่สุดยอดแล้ว แต่โวยกลุ่มธุรกิจเห็นแก่ส่วนตัว เจอผลกระทบก็ร้องลั่นไม่ยอมปรับตัว ด้านเอกชนจี้ให้พิจารณาดุลการค้าถ้าเปิดแล้วขาดดุลก็ไม่ต้องเซ็น
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการประชุมหารือร่วมกับรัฐมนตรีเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรม(เมติ) ของญี่ปุ่น ว่าบรรยากาศดีการหารือในครั้งนี้ ถือว่าดีมาก เนื่องจากเป็นการพูดคุยที่เข้าใจซึ่งกันและกัน และทั้งสองฝ่ายต่างตอกย้ำความหมายของ คำว่า หุ้นส่วนทางเศรษฐกิจ (Economic Partner Ship : EPA) ซึ่งครอบคลุมความร่วมมือทุกด้าน ทั้ง เศรษฐกิจ ทรัพยากรธรรมชาติ และการยกระดับทรัพยากรมนุษย์
เรื่องเอฟทีเอเป็นเพียงส่วนหนึ่งเล็กๆ ของ EPA เท่านั้น ซึ่งรัฐมนตรีเขาเอง ต้องการให้ย้ำคำว่า EPA ว่า จะมีทาง อะไรบ้าง ที่ญี่ปุ่นจะเข้ามาช่วยให้เกิดการพัฒนาทางเศรษฐกิจในประเทศไทยได้นายสมคิด กล่าว
นายสมคิด กล่าวว่า ในเรื่องของเหล็กที่ยังเป็นปัญหาหาข้อสรุปไม่ได้นั้น ขณะนี้ทางญี่ปุ่นได้เสนอทางออกมาให้ ซึ่งตนเองได้มอบให้ทางคณะเจรจาของไทยไปแล้ว ทั้งนี้ โดยส่วนตัวมองว่า น่าจะเป็นทางออกที่ดี แต่ก็ได้ย้ำกับทางญี่ปุ่นว่า อะไรที่ต้องใช้ระยะเวลา จำเป็นต้องขอเวลาให้กับฝ่ายไทยได้ปรับตัวเพื่อพัฒนาเสียก่อน รวมทั้งขอให้ทางญี่ปุ่นเข้ามามีส่วนร่วมในการช่วยประเทศไทยพัฒนาด้วย
ส่วนในที่สุดแล้วจะต้องเปิดเสรีเหล็กหรือไม่ นายสมคิด กล่าวว่า ประเด็นคือ ทำอย่างไรที่จะทำให้สามารถตกลงกันได้ในอนาคตข้างหน้า ซึ่ง ณ ขณะนี้ ยังไม่มีข้อสรุป เพียงแต่รับข้อเสนอทางออกของญี่ปุ่นมาพิจารณาเท่านั้น ซึ่งทั้งหมดจะต้องเป็นเรื่องของทีมเจรจาของ 2 ฝ่าย ที่จะต้องไปตกลงในรายละเอียดกันต่อไป
เรื่องเหล็ก คงไม่ใช่เรื่องที่พูดกันในตอนนี้ เพราะเป็นเรื่องที่ฝ่ายเจรจาต้องไปนำไปเจรจากัน ถ้าเป็นทางออกที่รับไม่ได้ ก็ไม่ตกลง เขาพียงแต่เสนอมาให้เราพิจารณาเท่านั้น ส่วนสินค้าเกษตรก็ต้องอยู่ในแพ็คเกจเดียวกัน ยังไม่จบอะไรสักอย่าง ซึ่งหลังจากนี้ เขาเองก็จะพยายามไปบอกกับทีมเจรจาฝ่ายญี่ปุ่น ส่วนเราเองก็บอกทีมเจรจาฝ่ายไทยให้หันหน้าเข้าหากัน โดยยึดเอาสิ่งที่เป็นประโยชน์สูงสุดทั้ง 2 ฝ่ายเป็นหลัก นายสมคิด กล่าว
ทั้งนี้ ฝ่ายเจรจา จะต้องหาลู่ทางในการหาจุดสรุปร่วมกัน เพื่อว่า นายกรัฐมนตรีของทั้งสองฝ่าย จะได้สามารถเซ็นข้อตกลงร่วมกันเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ได้ ภายในเดือนช่วง กรกฎาคม 2548 นี้ ส่วนผู้ประกอบการภาคเอกชนนั้น ขอย้ำว่า ไม่ต้องกังวล เพราะรัฐบาลมีหน้าที่ต้องดูแลผู้ประกอบการฝ่ายไทยอยู่แล้ว ซึ่งรัฐบาลจะมองประเทศชาติโดยส่วนรวมเป็นหลัก ไม่ใช่เพียงมองแค่กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
ผมมองว่า ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่สำคัญมาก ในเชิงอุตสาหกรรม ถ้าเรากับเขาเป็นหุ้นส่วนกันได้ และมีความใกล้ชิดมากกว่าคนอื่น อันนี้เป็นประโยชน์แน่นอน ประเทศอื่นก็พยายามดูลู่ทางนี้อยู่ เพียงแต่เขามองว่า เมืองไทย มีความสำคัญมากๆ เขาถึงอยากเร่งกรณีเมืองไทยก่อนนายสมคิด กล่าว
**ญี่ปุ่นลดท่าทีแข็งกร้าวยื่นข้อเสนอใหม่
ด้าน นายเคตะ นิชิยามา ผู้อำนวยการกองเอเชียและแปซิฟิก กระทรวงเศรษฐกิจการค้าและอุตสาหกรรมญี่ปุ่น(เมติ) เปิดเผยถึงผลการเข้าพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ของ นายโชอิชิ นาคากาวา รัฐมนตรีเมติของญี่ปุ่น ว่า ทั้ง2 ฝ่าย มีความเห็นร่วมกันว่า กรอบการเจรจาจะต้องอยู่บนพื้นฐานที่ทั้งสองประเทศได้รับประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งทางญี่ปุ่นเห็นว่าประเทศไทยจะเป็นศูนย์กลางของการเติบโตด้านอุตสาหกรรมของภูมิภาคในอนาคต
ทั้งนี้ เพื่อลดปัญหาความกังวลใจของรัฐบาลไทย ทางญี่ปุ่นจึงได้เสนอเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขเรื่องการเปิดเสรีเหล็ก และชิ้นส่วนยานยนต์ จากเดิมที่จะให้ลดอัตราภาษีเหลือ 0% ทันที หลังเซ็นข้อตกลงระหว่างกัน เป็นผ่อนปรนกรอบระยะเวลาออกไปก่อน เพื่อให้รัฐบาลไทยได้คำนึงถึงผู้ประกอบการไทย แต่ยังบอกในรายละเอียดไม่ได้ว่าจะเป็นเมื่อใด ต้องขึ้นอยู่กับการเจรจาของคณะทำงานไปตกลงในรายละเอียดร่วมกัน
อย่างไรก็ตาม ทางญี่ปุ่นพร้อมจะให้ความร่วมมือในการพัฒนาอุตสาหกรรมเหล็กและชิ้นส่วนยานยนต์ของไทย โดยทางญี่ปุ่นมีโครงการความร่วมมืออุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์กับไทย ซึ่งญี่ปุ่นจะช่วยทำให้เทคโนโลยีพื้นฐานอุตสาหกรรมเหล็กในไทยแข็งแกร่งขึ้นช่วยทำให้สิ่งแวดล้อมทางด้านเทคโนโลยีดีขึ้น
นอกจากนี้ จะสนับสนุนให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมยานยนต์ในภูมิภาคเอเชีย (ดีทรอยซ์ ออฟ เอเชีย) โดยจะสนับสนุนอุตสาหรรมชิ้นส่วนยานยนต์ที่เป็นของคนไทยและจะช่วยฝึกอบรมแรงงานไทยให้มีทักษะและความเชี่ยวชาญเพิ่มขึ้นอย่างน้อย5,000คนรวมทั้งจะจับคู่ธุรกิจชิ้นส่วนระหว่างผู้ประกอบไทยและผู้ประกอบการรถยนต์ของญี่ปุ่นด้วย
นายเคตะ กล่าวว่า การกำหนดระยะเวลาเซ็นข้อตกลงเอฟทีเอ ไทย-ญี่ปุ่น ในเดือน กรกฎาคม 2548 นี้ เป็นข้อเรียกร้องของรัฐบาลไทยเอง สาเหตุน่าจะเป็นเพราะญี่ปุ่นกำลังเจรจาทำเอฟทีเอกับ อาเซียน ดังนั้น ทางไทยจึงต้องการให้การทำเอฟทีเอไทยกับญี่ปุ่นเรียบร้อยก่อน
นอกจากนี้ ยังได้ชี้แจงว่า การนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากญี่ปุ่น ของประเทศไทย ไม่ได้สร้างปัญหาเรื่องการขาดดุลการค้า เพราะสินค้าเหล่านี้เป็นสินค้าวัตถุดิบที่นำเข้ามาผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งมีมูลค่าเพิ่มสูงมาก และการเปิดเสรีระหว่างกันจะทำให้ประเทศไทยได้ประโยชน์ เพราะในปี ค.ศ.2010 ญี่ปุ่นจะทำข้อเอฟทีเอกับประเทศในภูมิภาคอาเซียน ซึ่งจะมีผลทำให้ภาษีในการนำเข้าชิ้นส่วนมาผลิตในประเทศเหล่านั้นเป็น 0% หมายความว่า ต้นทุนในการผลิตจะต่ำ ดังนั้น หากภายในปี 2010 ไทยยังมีกำแพงภาษีสินค้าเหล่านี้อยู่ ก็จะทำให้เกิดการเสียเปรียบประเทศอื่นได้
ข้อเสนอใหม่ของญี่ปุ่น จะช่วยลดความกังวลใจของผู้ประกอบการไทย แต่ระยะเวลายังไม่สามารถบอกได้ว่าจะเป็นเมื่อใด ซึ่งญี่ปุ่นเห็นด้วยกับข้อเสนอของผู้ประกอบการไทยที่อาจมีการกำหนดโควตาเพื่อลดภาษีเหลือร้อยละ 0 ในอุตสาหกรรมเหล็กบางชนิดที่ไทยยังไม่สามารถผลิตได้ อย่างไรก็ตาม ญี่ปุ่นเห็นว่าเราควรมีการเปิดเสรีในอุตสาหกรรมรถยนต์และชิ้นส่วนระหว่างกัน ภายในปี 2553 เนื่องจากญี่ปุ่นกำลังจะมีข้อตกลงเปิดเสรีกับอาเซียนประเทศอื่น ๆ หากไทยเปิดเสรีด้านนี้ล่าช้า ก็จะทำให้อุตสาหกรรมรถยนต์ของไทยแข่งขันได้ลำบาก นายเคตะ กล่าว
**เผยข้อเสนอใหม่ของญี่ปุ่น
รายงานข่าวแจ้งว่า ในการหารือกันเมื่อช่วงเช้าวานนี้ (6 พ.ค.) นายโชอิจิ นาคากาวะ ได้แจ้งกับนายสมคิดว่าญี่ปุ่นได้เสนอทางออกในการเปิดเสรีเหล็ก ว่า กรณีที่เป็นเหล็กที่ไทยผลิตได้ หากในแต่ละปีมีความต้องการใช้มากกว่าที่ไทยผลิตได้ ก็ขอให้ไทยเปิดเสรีในส่วนนี้ ส่วนจะมีอัตราภาษีเท่าใด และจะจำกัดโควตายังไง ให้เป็นหน้าที่ของคณะเจรจา
อย่างไรก็ตาม ในเรื่องนี้นายสมคิดระบุว่าโดยส่วนตัวแล้วเห็นว่าเป็นทางออกที่ดี และให้เป็นหน้าที่ของคณะเจรจาของทั้ง 2 ฝ่ายที่จะไปตกลงและหาทางออกกันต่อไป และจะต้องได้ข้อสรุปภายในเดือนก.ค.นี้
รายงานข่าวแจ้งอีกว่า ในส่วนของรถยนต์ซีซีสูงที่ทางญี่ปุ่นต้องการให้ไทยเปิดเสรีนั้น นายสมคิดกล่าวในที่ประชุมว่าเรื่องรถยนต์เป็นเรื่องที่รัฐบาลไทยให้ความสำคัญ และดูแลทั้งระบบ โดยที่ผ่านมา ได้มีการปรับโครงสร้างภาษีสรรพสามิตไปแล้ว และทำให้ทุกค่ายรถยนต์ได้ประโยชน์ ไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบ ดังนั้น ในการเจรจาเอฟทีเอกับญี่ปุ่นก็จะใช้หลักการเดียวกันนี้ คือ จะทำในภาพรวม และเมื่อทำอะไรไปแล้ว ต้องได้ประโยชน์ร่วมกันทั้งหมด
ส่วนการเปิดเสรีชิ้นส่วนยานยนต์ นายสมคิดย้ำว่าเป็นอุตสาหกรรมที่รัฐบาลไทยให้การสนับสนุน รัฐบาลมีความจำเป็นที่จะต้องผลักดันให้อุตสาหกรรมเข้มแข็ง และจะทำทุกวิถีทางที่จะให้อุตสาหกรรมของไทยเติบโต หากจะมีการเปิดเสรีก็ต้องมีการศึกษาให้ถี่ถ้วน และเป็นเรื่องที่จะต้องเจรจากันต่อไป ซึ่งในที่นี้หมายถึงการเจรจาในเฟส 2 หลังจากที่เฟส 1 ได้ข้อยุติแล้ว
วันเดียวกันนี้ เวลา 14.00 น. นายโชอิจิ นาคากาวะ ได้เข้าเยี่ยมคารวะพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล โดยฝ่ายวิเทศสัมพันธ์ สำนักโฆษกทำเนียบรัฐบาล ได้เปิดเผยรายละเอียดในการหารือว่านายกรัฐมนตรีไทยได้กล่าวต้อนรับรัฐมนตรีเมติ และแสดงความยินดีที่ญี่ปุ่นให้ความสำคัญกับการเจรจาเอฟทีเอ
ขณะที่รมว.เมติได้แสดงความกังวลต่อความห่วงใยของฝ่ายไทยจากที่ได้มีการหารือร่วมกันในการเจรจาหลายรอบที่ผ่านมา พร้อมกับชี้ให้เห็นว่าญี่ปุ่นมีความกังวลค่อนข้างมากในเรื่องการลดภาษีในหมวดสินค้ายานยนต์ ชิ้นส่วนยานยนต์ และเหล็กแผ่นรีดร้อน และระบุว่าไทยเป็นฐานการผลิตสำคัญของอุตสาหกรรมยานยนต์ญี่ปุ่น เพื่อส่งออกไปยังภูมิภาคต่างๆ การพัฒนาของฐานการผลิตสินค้าญี่ปุ่นในไทยจะมีผลต่อการเพิ่มขึ้นของค่าจ้าง การจ้างงาน และการจัดเก็บภาษีของรัฐบาลไทย อีกทั้งไทยยังเป็นประเทศผู้ส่งออกสินค้าเกษตรโดยเฉพาะผลไม้ที่สำคัญของญี่ปุ่นด้วย
นอกจากนี้ ทั้ง 2 ฝ่ายยังเห็นพ้องร่วมกันว่าการจัดทำเอฟทีเอร่วมกันนั้น จะเป็นการส่งเสริมความสัมพันธ์ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศในลักษณะหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจที่แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น และพัฒนาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและส่งเสริมการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ด้านพ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ไทยหวังว่าแม้การเจรจาจะขลุกขลักไปบ้าง แต่ด้วยพื้นฐานในประเด็นห่วงกังวลที่คล้ายคลึงกันจะช่วยให้การเจรจาดำเนินต่อไปได้อย่างดี และเชื่อมั่นในคณะเจรจาทั้ง 2 ฝ่ายที่จะคำนึงถึงประเด็นอ่อนไหวอย่างละเอียดถี่ถ้วนและก่อให้เกิดผลประโยชน์ร่วมกัน และหวังอีกว่าการทำเอฟทีเอจะทำให้ไทยกลายเป็นคู่ค้าหลักของญี่ปุ่นในกลุ่มประเทศอาเซียน
นายทนง พิทยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งได้เข้าร่วมในการหารือในครั้งนี้ด้วย กล่าวว่า การพบปะหารือกันครั้งนี้เป็นไปแบบฉันท์มิตร และมีการเสนอว่าอะไรที่ทำให้การเจรจาติดขัดก็อย่าให้ติดขัด เพราะทั้ง 2 ฝ่ายต้องการที่จะให้การทำเอฟทีเอจบลงได้ ขณะที่นายกรัฐมนตรีก็พูดชัดว่าการทำเอฟทีเอควรจะทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่นกระชับมากขึ้น ส่วนเรื่องที่ยังเป็นปัญหา ไม่ขอพูด เพราะเป็นเรื่องที่หัวหน้าคณะเจรจาจะไปเจรจากันต่อ แต่ยอมรับว่าในการเจรจาต้องมีการแลกเปลี่ยนกัน โดยหมูไปไก่ต้องมา
ขณะที่ นายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น กล่าวว่า การเจรจารอบที่ 8 ต้องมีขึ้น และตนจะเป็นผู้ไปเจรจา โดยเชื่อว่าจะจบได้ในเดือนก.ค.นี้แน่นอน ส่วนเรื่องเหล็กที่ยังเป็นปัญหา ตอนนี้มีข้อเสนอของภาคเอกชนแล้ว ซึ่งตนจะนำไปเจรจาต่อรองกับทางญี่ปุ่นต่อไป
**ทักษิณจวกท่าทีกลุ่มอุตสาหกรรมไทย
ก่อนหน้าการเข้าพบรมว.เมติ พ.ต.ท.ทักษิณ ได้ให้สัมภาษณ์ถึงการเคลื่อนไหวของผู้ประกอบการไทยซึ่งแสดงท่าทีกังวลว่าจะได้รับผลกระทบจากเอฟทีเอไทย-ญี่ปุ่น ว่า รัฐบาลมีหน้าที่ดูภาพรวม โดยยึดประชาชนเป็นหลัก ซึ่งบางครั้งบางธุรกิจไม่ยอมปรับตัวเลยทั้งชีวิตอยู่แบบสบาย ๆ พอจะมีการแข่งขันกันขึ้นมาก็ร้องลั่น แต่ถ้าการแข่งขันเป็นประโยชน์กับประชาชนมากกว่า ทำให้ธุรกิจส่วนนั้นอาจได้รับการกระทบกระเทือนอย่างแรง ก็ต้องยอม แค่นั้นยังไม่พอเราต้องดูปัจจัยอื่นด้วย ว่าสิ่งที่ญี่ปุ่นจะให้โอกาสเราดีกว่านั้นหรือไม่ เช่นให้โอกาสเกษตรขายสินค้าได้มากขึ้น ตลาดดีขึ้น ประชาชนผู้บริโภคได้ประโยชน์เราก็ต้องยอม
แต่แน่นอนอุตสาหกรรมรายสาขาเขาก็ต้องโวย แต่รัฐบาลไม่ใช่ว่ายอมแล้วจะไม่ดูแลเขา เราจะช่วยดูแลโดยเขาจะต้องปรับตัวเอง ทั้งนี้ตั้งแต่ที่ตนเข้ามาบริหารประเทศเมื่อปี 2544 ได้เรียกร้องให้ภาคเอกชนปรับตัว จะอยู่เฉยไม่ได้เพราะโลกมันแข่งขัน อย่างน้อยเราเป็นสมาชิก WTO ในปี 2006 จะเห็นการเปิดเสรีเยอะโดยไม่ต้องมีเอฟทีเอ ฉะนั้นถ้าไม่ปรับตัวก็จะลำบาก จะอยู่ไปเรื่อยๆ วันๆ แบบสบายๆ พอล้มมารัฐบาลก็เข้าไปแบกอุ้มแบงค์ที่เป็นเอ็นพีแอลอย่างนี้มันไม่ได้นายกรัฐมนตรีกล่าว
พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวอีกว่า รัฐบาลจะสนใจผู้ผลิตแล้วทิ้งผู้บริโภคมันไม่ได้ ต้องดูหลายๆ อย่าง ซึ่งวันนี้ยอมรับว่าสินค้าบางตัวเราสู้เขาไม่ได้ ฉะนั้นเราต้องรีบปรับตัวถ้าจะนอนรอเฉยๆ คงต้องรอรุ่นเหลนถึงจะสู้เขาได้ ซึ่งวันนี้เราสนใจการเปิดตลาดสินค้าเกษตรในตลาดญี่ปุ่น เพราะตลาดญี่ปุ่นอาหารแพงมาก อย่างเช่นมังคุด 3 ลูก 500 บาท ถ้าเราเข้าตลาดญี่ปุ่นได้
พ.ต.ท.ทักษิณ ยังกล่าวถึงการทำงานของคณะเจรจาของไทยว่า ทำหน้าที่ดีที่สุดแล้วโดยเฉพาะนายพิศาล มาณวพัฒน์ รองปลัดกระทรวงการต่างประเทศ ในฐานะหัวหน้าคณะเจรจาเอฟทีเอไทย ญี่ปุ่น เป็นคนที่พร้อมที่สุด
ที่ผ่านมาคณะเจรจาของญี่ปุ่นก็ร้องลั่นเลยเมื่อเจอคุณพิศาล ซึ่งเราคิดว่าคุณพิศาลเขาทำหน้าที่ของเขาได้ดีอยู่แล้ว ไม่มีปัญหาอะไร การเจรจาก็อย่างนี้แหละมีดึงมีผ่อน การเจรจาจบเมื่อไรก็เซ็นสัญญาเมื่อนั้น ไม่จบก็ไม่เซ็นจะไปกำหนดระยะเวลาไม่ได้ ต้องให้จบและเป็นธรรมทั้งสองฝ่ายนายกฯกล่าว
ส่วนหลังการเจรจาโดยเฉพาะในเดือนกรกฎาคม 48 จะสามารถสามารถเซ็นสัญญาร่วมกันได้เลยหรือไม่ พ.ต.ท.ทักษิณ กล่าวว่า ตั้งเป้าได้ แต่ก็ไม่จำเป็น เพราะเราต้องดูให้เกิดประโยชน์มากที่สุด
**ขาดดุลเพิ่มก็ไม่ต้องเซ็น
นายเกียรติพงษ์ น้อยใจบุญ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) กล่าวว่า หลักการทำข้อตกลงเขตการค้าเสรีหรือ FTA คือการที่คู่ตกลงต้องการขยายการค้าร่วมกันและอยู่บนพื้นฐานของความเป็นธรรม ซึ่งหากทำได้ตามหลักการจะเป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติอย่างมาก ดังนั้นทั้งหมดจึงอยู่ที่คณะเจรจาและรัฐบาลที่จะทำหน้าที่ดังกล่าว ส่วนเอกชนมีหน้าที่ให้ข้อมูลและข้อเท็จจริงเท่านั้น
" รัฐจะต้องพิจารณาหลักการว่าถ้าทำแล้วไทยขาดดุลการค้าเพิ่มขึ้นหรือไม่ คือมองภาพรวมอย่างนี้จะดีกว่า ซึ่งก็น่าจะประเมินได้คร่าวๆ อยู่แล้ว ดังนั้นหากเห็นว่าไทยจะเสียประโยชน์ในภาพรวมก็ไม่ต้องไปเซ็นข้อตกลงก็เท่านั้น"นายเกียรติพงษ์กล่าว
นายกรกฎ ผดุงจิตต์ เลขาธิการกลุ่มเหล็กส.อ.ท.กล่าวว่า ความเห็นส่วนตัวนั้นเห็นว่าที่ผ่านรัฐให้เวลาปรับตัวก็เป็นสิ่งที่ถูกต้อง แต่ไม่ใช่หมายถึงการให้ปรับตัวบนพื้นฐานของการทำข้อตกลงที่ไทยเสียเปรียบตรงนั้นรัฐบาลไม่ได้ระบุไว้ และเข้าใจว่าการเสียเปรียบ ได้เปรียบต้องผสมกันไป แต่รัฐเองก็ควรจะตอบให้ได้ว่าแล้วที่ไทยได้เปรียบคืออะไรบ้าง เสียเปรียบมีอะไรบ้าง
" ต้องมองว่า Free Trade กับ Fair Trade มันต่างกัน ขอย้ำว่าทุกอย่างต้องมีเหตุและผล และเอกชนก็ไม่ได้คัดค้านการทำ FTA แต่อย่างใดเพราะหากคัดค้านการลงนามกับประเทศต่างๆ ก่อนหน้านั้นคงไม่เกิดขึ้นหรอก แต่เห็นกรณีของญี่ปุ่นจะเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว"นายกรกฎกล่าว
**FTAได้หรือเสียอยู่ที่เจรจา
แหล่งข่าวจากคณะกรรมการ FTA ส.อ.ท. กล่าวว่า การประชุมครบรอบ 10 ปีที่เจนีวาเมื่อเร็วๆ นี้ซึ่งไทยเข้าร่วมประชุมด้วยนั้นมีการถกเถียงกันเรื่องประเด็น FTA ซึ่งส่วนใหญ่มองว่า การที่ประเทศกำลังพัฒนาไปเร่งทำ FTA กับประเทศที่พัฒนาแล้วจะต้องระมัดระวังการเจรจาเป็นพิเศษเพราะมีโอกาสจะเสียเปรียบมากกว่าได้เปรียบ เพราะประเทศพัฒนาแล้วส่วนใหญ่อุตสาหกรรมจะเข้มแข็งขณะที่ภาคเกษตรที่ประเทศกำลังพัฒนาหวังจะเข้าไปทำตลาดเพิ่มจะมีการปกป้องสูง
นอกจากนี้ในเวทีขององค์การการค้าโลกหรือ WTO นั้นประเทศที่พัฒนาแล้วภาษีจะลดเป็น 0-5% อยู่แล้วในปี 2553 และบางรายการก็อยู่ในระดับดังกล่าวอยู่แล้ว ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนามีภาษีปกป้องสินค้าตัวเองสูงอยู่และจะใช้เวลาลดในเวที WTO หลังประเทศพัฒนาแล้ว 10 ปี เท่ากับเป็นการลดแต้มต่อในเวที WTO ไป