หน้า 4 จากทั้งหมด 5

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 12:33 pm
โดย investor2011
Pekko เขียน:ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
หุ้นสถาบันการเงิน D/E สูง เพราะเงินฝากของลูกค้า ธนาคารลงเป็นเจ้าหนี้ครับ

ถ้าธนาคาร D/E ต่ำๆ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคารกำลังมีปัญหากะมังครับ คือคนไม่กล้าเอาเงินไปฝาก หรือไม่ก็ลูกค้าแห่ถอนเงิน

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 12:39 pm
โดย torpongpak
ขอบคุณครับ เข้าใจมากขึ้น...
บางคนเค้าเลยไม่สนหุ้นสถาบันการเงินเลยเพราะต้องดูอะไรเยอะมากๆ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 6:44 pm
โดย Pekko
investor2011 เขียน:
Pekko เขียน:ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
หุ้นสถาบันการเงิน D/E สูง เพราะเงินฝากของลูกค้า ธนาคารลงเป็นเจ้าหนี้ครับ

ถ้าธนาคาร D/E ต่ำๆ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคารกำลังมีปัญหากะมังครับ คือคนไม่กล้าเอาเงินไปฝาก หรือไม่ก็ลูกค้าแห่ถอนเงิน
ลองกลับไปดูบทความเก่าๆ ของคุณ Invisible Hand เรื่องหุ้นสถาบันการเงินนะครับ แล้วจะเข้าใจความหมาย D/E Ratio กลุ่มนี้มากขึ้นครับ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 7:26 pm
โดย torpongpak
Pekko เขียน: ลองกลับไปดูบทความเก่าๆ ของคุณ Invisible Hand เรื่องหุ้นสถาบันการเงินนะครับ แล้วจะเข้าใจความหมาย D/E Ratio กลุ่มนี้มากขึ้นครับ
รบกวนขอLinkด้วยครับ...ขอบคุณมากๆ :D

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 07, 2012 10:05 pm
โดย investor2011
Pekko เขียน:
investor2011 เขียน:
Pekko เขียน:ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
หุ้นสถาบันการเงิน D/E สูง เพราะเงินฝากของลูกค้า ธนาคารลงเป็นเจ้าหนี้ครับ

ถ้าธนาคาร D/E ต่ำๆ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคารกำลังมีปัญหากะมังครับ คือคนไม่กล้าเอาเงินไปฝาก หรือไม่ก็ลูกค้าแห่ถอนเงิน
ลองกลับไปดูบทความเก่าๆ ของคุณ Invisible Hand เรื่องหุ้นสถาบันการเงินนะครับ แล้วจะเข้าใจความหมาย D/E Ratio กลุ่มนี้มากขึ้นครับ
ไหนๆ คุณกล่าวขึ้นมาแล้ว ก็ช่วยขยายความคิดของคุณเรื่อง D/E Ratio ของธนาคาร ว่ามันส่งผลอย่างไรกับธนาคาร

ผมอย่างดูความเข้าใจของคุณ...

ตามความเข้าใจของผม...

โดยธรรมชาติของธุรกิจธนาคาร D/E สูงอยู่แล้ว เพราะต้องระดมเงินฝาก (อยู่ฝั่งเจ้าหนี้ในงบดุล) บวกกับเงินทุนของธนาคารส่วนหนึ่ง เพื่อมาปล่อยกู้ สำหรับกินส่วนต่างดอกเบี้ยอีกที

เงินที่ธนาคารนำมาปล่อยกู้ส่วนหนึ่งเป็นของธนาคาร และส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของลูกค้า เมื่อเกิดหนี้สูญ หรือ NPL จำนวนมากขึ้นมา ผลนั้นอาจจะส่งผลทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างที่เห็นเพราะค่า D/E มันสูง เช่น 8 เท่า เท่ากับว่าเงินที่ปล่อยกู้ไปเป็นเงินทุนของธนาคาร 1 บาท และเป็นของผู้ฝากเงินอีกอาจจะ 7 บาท หรือน้อยกว่า หากเกิดหนี้สูญ 16 บาท ส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะหายไป 2 บาท ซึ่งเท่ากับว่าส่วนทุนติดลบ ธนาคารก็ต้องเพิ่มทุนเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวก อย่างนี้เป็นต้น

เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ วิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตการเงิน ถ้าสิ้นเชื่อที่ธนาคารปล่อยด้อยคุณภาพ ธนาคารก็มีโอกาสเจ๊งกันทั้งนั้น โดยไม่เกี่ยงว่า D/E Ratio ของแต่ละธนาคารจะเป็น 5 เท่า 6 เท่า 7 เท่า หรือ 10 เท่า

ตามความคิดผม D/E Ratio เป็นตัวอธิบายว่าทำไมเมื่อเกิดปัญหาหนี้สูญจำนวนมหาศาล แล้วธนาคารถึงจะล้ม และต้องเพิ่มทุนเพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่เอา D/E Ratio มาวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของธนาคารว่าฐานะแข็งแกร่งหรือไม่ ? ซึ่งมันควรพิจารณาในปัจจัยอื่นมากกว่า

อีกอย่างเมื่อยามเกิดวิกฤต ความเชื่อมันต่อธนาคารลดลง คนก็จะพากันแห่ถอนเงิน ตรงนี้ก็ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่อง เป็นตัวเร่งให้ธนาคารวิกฤตเร็วขึ้นอีก

การที่ภาคธนาคารไทยจะประสบปัญหาอย่างที่ว่านั้น มันขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจว่าอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรเศรษฐกิจ

แล้วคุณคิดว่าปัญหาหนี้สินยุโรป มันจะส่งผลทำให้ไทยเกิดภาวะวิกฤตการเงิน วิกฤตหนี้สิน เศรษฐกิจตกต่ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ตามไปด้วยหรือ ? จึงคิดว่าธนาคารจะล้ม (ตีความจากความเห็นของคุณ)

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 10:59 am
โดย Pekko
investor2011 เขียน:
Pekko เขียน:
investor2011 เขียน:
Pekko เขียน:ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
หุ้นสถาบันการเงิน D/E สูง เพราะเงินฝากของลูกค้า ธนาคารลงเป็นเจ้าหนี้ครับ

ถ้าธนาคาร D/E ต่ำๆ อาจจะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าธนาคารกำลังมีปัญหากะมังครับ คือคนไม่กล้าเอาเงินไปฝาก หรือไม่ก็ลูกค้าแห่ถอนเงิน
ลองกลับไปดูบทความเก่าๆ ของคุณ Invisible Hand เรื่องหุ้นสถาบันการเงินนะครับ แล้วจะเข้าใจความหมาย D/E Ratio กลุ่มนี้มากขึ้นครับ
ไหนๆ คุณกล่าวขึ้นมาแล้ว ก็ช่วยขยายความคิดของคุณเรื่อง D/E Ratio ของธนาคาร ว่ามันส่งผลอย่างไรกับธนาคาร

ผมอย่างดูความเข้าใจของคุณ...

ตามความเข้าใจของผม...

โดยธรรมชาติของธุรกิจธนาคาร D/E สูงอยู่แล้ว เพราะต้องระดมเงินฝาก (อยู่ฝั่งเจ้าหนี้ในงบดุล) บวกกับเงินทุนของธนาคารส่วนหนึ่ง เพื่อมาปล่อยกู้ สำหรับกินส่วนต่างดอกเบี้ยอีกที

เงินที่ธนาคารนำมาปล่อยกู้ส่วนหนึ่งเป็นของธนาคาร และส่วนใหญ่เป็นเงินฝากของลูกค้า เมื่อเกิดหนี้สูญ หรือ NPL จำนวนมากขึ้นมา ผลนั้นอาจจะส่งผลทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงอย่างรวดเร็ว อย่างที่เห็นเพราะค่า D/E มันสูง เช่น 8 เท่า เท่ากับว่าเงินที่ปล่อยกู้ไปเป็นเงินทุนของธนาคาร 1 บาท และเป็นของผู้ฝากเงินอีกอาจจะ 7 บาท หรือน้อยกว่า หากเกิดหนี้สูญ 16 บาท ส่วนของผู้ถือหุ้นก็จะหายไป 2 บาท ซึ่งเท่ากับว่าส่วนทุนติดลบ ธนาคารก็ต้องเพิ่มทุนเพื่อให้ส่วนของผู้ถือหุ้นกลับมาเป็นบวก อย่างนี้เป็นต้น

เมื่อเกิดภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ วิกฤตเศรษฐกิจ หรือวิกฤตการเงิน ถ้าสิ้นเชื่อที่ธนาคารปล่อยด้อยคุณภาพ ธนาคารก็มีโอกาสเจ๊งกันทั้งนั้น โดยไม่เกี่ยงว่า D/E Ratio ของแต่ละธนาคารจะเป็น 5 เท่า 6 เท่า 7 เท่า หรือ 10 เท่า

ตามความคิดผม D/E Ratio เป็นตัวอธิบายว่าทำไมเมื่อเกิดปัญหาหนี้สูญจำนวนมหาศาล แล้วธนาคารถึงจะล้ม และต้องเพิ่มทุนเพื่อความอยู่รอด ไม่ใช่เอา D/E Ratio มาวิเคราะห์ปัจจัยพื้นฐานของธนาคารว่าฐานะแข็งแกร่งหรือไม่ ? ซึ่งมันควรพิจารณาในปัจจัยอื่นมากกว่า

อีกอย่างเมื่อยามเกิดวิกฤต ความเชื่อมันต่อธนาคารลดลง คนก็จะพากันแห่ถอนเงิน ตรงนี้ก็ทำให้ธนาคารขาดสภาพคล่อง เป็นตัวเร่งให้ธนาคารวิกฤตเร็วขึ้นอีก

การที่ภาคธนาคารไทยจะประสบปัญหาอย่างที่ว่านั้น มันขึ้นกับภาวะเศรษฐกิจว่าอยู่ในช่วงไหนของวัฏจักรเศรษฐกิจ

แล้วคุณคิดว่าปัญหาหนี้สินยุโรป มันจะส่งผลทำให้ไทยเกิดภาวะวิกฤตการเงิน วิกฤตหนี้สิน เศรษฐกิจตกต่ำ หรืออะไรก็แล้วแต่ตามไปด้วยหรือ ? จึงคิดว่าธนาคารจะล้ม (ตีความจากความเห็นของคุณ)
จากที่ผม POST แรก
Pekko เขียน:ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
ผมเคย POST บอกหรือเปล่าว่าธนาคารใดหรือประเทศใดจะล้ม อย่าพยายามยัดเยียดการตีความหมายของคุณที่คิดเอาเองมาให้ผมต้องรับผิดชอบ
สำหรับหุ้นกลุ่มสถาบันการเงิน มีความเสี่ยงเรื่องนี้เป็นธรรมชาติอยู่แล้ว ที่คุณเข้าใจก็ถูกต้องแล้ว แต่จะชัดเจนแจ่มแจ้งทุกประเด็นต้องดูที่ปรมาจารย์คุณ Invisible Hand เคยแสดงความเห็นไว้ ประมาณ 5-6 ปีที่แล้ว แต่ไม่ทราบ LINK (ผมไม่อธิบายหรอกครับ เพราะเก่งสู้คุณ Invisible Hand ไม่ได้เลย)

การลงทุน(ไม่ว่าแนวไหน)ก็ต้องพิจารณารอบคอบ BUSINESS MODEL แต่ละกิจการก็แตกต่างกัน เมื่อนักลงทุนเข้าใจและยอมรับความเสี่ยงได้ จะลงทุนก็ลงไป ไม่อยากลงทุนก็หลีกเลี่ยงไป อัตราส่วนการเงินต่างๆ ก็เป็นปัจจัยหนึ่งที่เราก็ควรใส่ใจคิดรอบคอบให้ถ้วนถี่ ไม่ควรมองข้าม (ไม่อย่างงั้นจะมีหลักสูตรวิเคราะห์งบการเงินทำไม)

เพียงแต่นักลงทุนรุ่นพี่พี่หรือปรมาจารย์ชี้แนะ เราก็ต้องรับฟังมาพิจารณา อย่างธนาคารต่างๆ มีสินทรัพย์เป็นล้านล้านบาท แน่ใจหรือเปล่าสินทรัพย์เหล่านี้ด้วยคุณภาพเท่าไร แล้วที่แสดงเปิดเผยในงบการเงินมีจำนวนเพียงพอแล้วหรือไม่(เพราะมันมีขนาดใหญ่) ถ้าตอบคำถามเหล่านี้ได้ จะลงทุนหรือไม่ลงทุนก็แล้วแต่ท่าน แต่ธุรกิจอื่นๆ ที่ดีกว่าสถาบันก็มีเยอะแยะไปในตลาดบ้านเรา

ผมก็ไม่แปลกใจแล้วว่านักลงทุนรุ่นพี่ๆที่เก่งที่ดีใน WEB VI ค่อยๆ ลดการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนอนุชนคนรุ่นหลัง แล้วก็หายไปในที่สุด (สงสัยรวยแล้วทิ้งน้องๆ 555)

วิกฤติต่างๆ เกิดขึ้น ภาพใหญ่จะเป็นอย่างไร เราไม่อาจทราบทุกจุดทุกมุมมองได้ เพียงแต่นักลงทุนเองควรหันมาใส่ใจ PORT ตัวเองว่าจะทนทานหรือผ่านวิกฤตินี้ไปได้อย่างไร เงินใครเงินมันก็เท่านี้ครับ

ปล. หาก MOD เห็นว่าไม่เหมาะสมก็ลบ และแจ้งผมได้เลยนะครับ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 11:56 am
โดย investor2011
Pekko เขียน:ผมก็ไม่แปลกใจแล้วว่านักลงทุนรุ่นพี่ๆที่เก่งที่ดีใน WEB VI ค่อยๆ ลดการแสดงความเห็นที่เป็นประโยชน์ต่อนักลงทุนอนุชนคนรุ่นหลัง แล้วก็หายไปในที่สุด (สงสัยรวยแล้วทิ้งน้องๆ 555)
ที่หายไปเพราะอะไร ?
คงไม่ใช่จากการถกกันด้วยเหตุด้วยผลหรอกมั้งครับ แต่เพราะเจอเกรียนตามด่าแบบไม่ใช่เหตุผลมากกว่า...
อีกอย่างล็อกอินเก่าหายไป คุณแน่ใจนะว่าตัวเขาจะหายไปจากเว็บบอร์ด TVI จริง ผมเห็นหลายคนมาในชื่อใหม่ เพราะอะไร ?
คิดว่าคุณคงจะเข้าใจเหตุผลนะครับ (ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าใช้ล็อกอินใหม่ เพราะล็อกอินไปทำเสียไว้นะครับ)
และอีกอย่างอย่าไปยึดติดล็อกอินเก่า หรือใหม่ แต่ให้ดูกันที่เนื้อหาดีกว่าครับ
Pekko เขียน:ควรหลีกเลี่ยงหุ้นสถาบันทางการเงิน เพราะเป็นการพิสูจน์ว่า D/E เป็นสิ่งที่เราไม่ควรมองข้าม
ผม และคิดว่าอีกหลายคนคงอ่านแล้วไม่เก็ท (บางคนอาจจะเข้าใจ นั่นก็อีกพวกหนึ่ง)
เลยอยากทราบว่า D/E ไม่ควรมองข้ามเพราะอะไร ช่วยอธิบายเหตุผลให้เข้าใจหน่อย
แต่กลับเจอไล่ให้ไปอ่านความเห็นของคุณ Invisible Hand
มีคนถามหา link ก็บอกไม่มีอีก เพราะนานมากแล้ว
และพอถกด้วยเหตุผล ก็แสดงอาการไม่พอใจ หาว่าทำอย่างนี้แล้วคนเก่าๆ (น่าจะรวมถึงคุณ) จึงหายหน้าหายตาไปจากเว็บ TVI แล้วอย่างนี้มันอยู่ในประเด็นที่คุยกันมั้ยครับ ?
อย่าว่าแต่คนเก่าๆ เซ็งเลย ขนาดผม (ล็อกอินปี 2011) ยังเซ็ง สรุปเสียเวลาพิมพ์ไปตั้งนาน แต่ไม่ได้อะไรที่เกี่ยวข้องกับประเด็นเลย นอกจากคำประชดประชัน...

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 12:50 pm
โดย Pekko
ที่ผมไม่แสดงความเห็นเพราะสู้คุณ IH ไม่ได้ แต่จำไม่ได้จริงๆ ว่าอยู่ที่ไหน เพราะผมเข้าใจบางประการแล้ว
หากท่านนักลงทุนสนใจใช้ความพยายามมากอีกนิดนึงน่าจะพอหาได้

คุณภาพ D/E Ratio มองเชิงลึก ต้องดูว่าหนี้ (Debt) เป็นหนี้ที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยหรือไม่
หากผู้ประกอบกิจการต้องการ O/D บางธนาคารอาจไม่นับเจ้าหนี้การค้าเป็น D/E นับเฉพาะหนี้ที่มีดอกเบี้ยเท่านั้น

สถาบันการเงินส่วนใหญ่ มีหนี้ที่เป็นดอกเบี้ย คือจ่ายผู้ฝากเงิน ถ้าวิกฤติเศรษฐกิจ สมมติด้านสินเชื่อมีปัญหา แต่ก็ยังมีภาระต้องจ่ายดอก และต้องเตรียมเงินต้น (ขณะนี้ประเทศไทย มีสถาบันประกันเงินฝาก) ดังนั้นสถาบันการเงิน จึงมีความอ่อนไหวต่อวิกฤติการเงินสูงกว่าธุรกิจอื่น
นักลงทุนต้องติดตาม ระมัดระวัง ใครจะเชื่อปี 2008 Lehman ยังล้ม ธนาคารอื่นๆ ต้องให้รัฐบาลเข้าไปช่วย เพิ่มทุนตัดหนี้ อุตลุด นักลงทุนสับสนตื่นตระหนก (ยกเว้นคนที่เคยมีประสบการณ์ผ่านมาแล้ว)

หุ้นที่ดีไม่ควรจะเรียกเงินเพิ่มทุนจากนักลงทุน เพราะในแง่ VI ต้องการราคาและเงินปันผลเติบโตขึ้นไปเรื่อยๆ ซึ่งหมายความว่านักลงทุนควรจ่ายเงินลงทุนเพียงครั้งเดียว แล้วรอกิจการเติบโต มีเงินทุนหมุนเวียนที่เพียงพอ และทยอยจ่ายปันผลมากขึ้นเรื่อย บ่อยครั้งเมื่อพบวิฤติฯ สถาบันการเงินมักเพิ่มทุน ซึ่งเมื่อเจอวิฤติเองนักลงทุนก็ต้องการเก็บเงินสดไว้ซื้อหุ้นกิจการดีที่ตกลงมามากเช่นกัน

ขอยืนยันว่าผมไม่เคย POST บอกหรือเปล่าว่าธนาคารใดหรือประเทศใดจะล้ม และอย่าพยายามยัดเยียดการตีความหมายของคุณที่คิดเอาเองมาให้ผมต้องรับผิดชอบก็เท่านั้น
ส่วนรุ่นพี่ๆเก่าที่ดี คือ ผู้ที่ก่อตั้ง web ปี2003 เป็นต้นมา ที่มิเคยแสวงหาการปั่น/สร้างราคาหุ้น คอยชี้แนะน้องๆ วิเคราะห์จุดอ่อนจุดแข็งธุรกิจ แต่เพราะไม่กี่ปีให้หลังมีกลุ่มคนที่มาใหม่อ้างว่าเป็น VI มาปั่นกระแส จน web ข้างนอกให้ฉายาต่างๆ ทำให้ web เสียชื่อเสียง ผู้สมัครเข้ามาเป็นสมาชิกใหม่ๆ สับสนเป็นอย่างมาก

ผมเข้ามาสมัครสมาชิกปี 2006 แต่ติดตามตั้งแต่ปี 2004 ที่สมัครเพราะอยากได้ข้อมูลคุณครรชิต ไฟล์เครดิตภาษีคุณ Teetotal สนทนาอดีตท่านประธานมน เฮียวิบูลย์ คุณ JENG ฯลฯ เท่านั้น ซึ่งท่านเหล่านี้ระยะหลังๆ แทบไม่ค่อยมีการ Post เลย ผมอยากให้ทุกท่านเหล่านี้กลับมา มาชี้แนะพวกผมสมัครใหม่ๆ เมื่อ 5-6 ปีก่อนเข้าใจไหมครับ

หากไม่มีพวกท่านเหล่านี้ ผมต้องหลงทาง ไม่สามารถจับทิศทางการลงทุนและอาจจะไม่ประสบความสำเร็จ(เท่าที่ผมพอใจ)อย่างทุกวันนี้แน่นอนครับ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 1:12 pm
โดย investor2011
คุณก็ลองดูที่คนโพส์ตไว้ซิครับ มันสั้นมาก ผมก็เลยตีความตามความเข้าใจของผม ใช่หรือไม่ใช่ ผมไม่รู้ เพราะผมไม่ใช่คุณ หากไม่ใช่ก็ไม่ใช่ ไม่ได้ยัดเยียดอะไรครับ

แต่อย่างไรก็ขอบคุณสำหรับความเห็นครับ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 3:21 pm
โดย Pekko
Link คุณ IH เมื่อปี 2008 (เท่าที่ผมพอจะหาได้ แต่ที่ผมอ่านมันเก่ากว่านี้)
http://bbznet.pukpik.com/scripts3/view. ... r=numtopic

Link ดร.นิเวศน์ เรื่องหุ้นสถาบันการเงิน (“มันเป็นธุรกิจที่ดีจนถึงวันที่มันเจ๊ง”)
http://portal.settrade.com/blog/nivate/2011/06/29/1031

เล่นมา 6-7 ปีไม่เคยเจอแบนแบบนี้ ผมจะแบนตัวเองในเฉพาะกระทู้นี้แล้วครับ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 4:02 pm
โดย multipleceilings
สาธุ ขอให้ greece ชนะ บอล euro นัดแรก

ประชาชนจะได้มีอะไรให้ดีใจ จะได้ไม่ออกไป vote บ้าๆบอๆ :mrgreen: :mrgreen:

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 5:23 pm
โดย Zhou_Enlai
multipleceilings เขียน:สาธุ ขอให้ greece ชนะ บอล euro นัดแรก

ประชาชนจะได้มีอะไรให้ดีใจ จะได้ไม่ออกไป vote บ้าๆบอๆ :mrgreen: :mrgreen:
:D

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 5:36 pm
โดย chukieat30
multipleceilings เขียน:สาธุ ขอให้ greece ชนะ บอล euro นัดแรก

ประชาชนจะได้มีอะไรให้ดีใจ จะได้ไม่ออกไป vote บ้าๆบอๆ :mrgreen: :mrgreen:
ถ้าแพ้หล่ะครับ

:rofl: :rofl: :rofl: :rofl: :rofl: :rofl: :rofl:

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 8:30 pm
โดย kongkiti
คั่นรายการด้วยพรีวิว กรีซ vs โปแลนด์
วิเคราะห์-โปแลนด์ vs กรีซ
pvsgr.jpg
วันศุกร์ที่ 8 มิถุนายน 2555
เวลาคิกออฟ :22:30 น.
สนาม : เนชั่นแนล สเตเดี้ยม,วอร์ซอ
ถ่ายทอดสด : ช่อง 3,9

การแข่งขันนัดเปิดสนาม ในศึกยูโร 2012 จะมีขึ้นในกรุงวอวอร์ ประเทศโปแลนด์ โดยโปแลนด์เจ้าภาพร่วมจะพบกับกรีซ อดีตแชมป์ปี 2004 ที่ไม่แพ้ใครเลยในรอบแบ่งกลุ่มโดย 10 นัดชนะ 7เสมอ 3 ส่วนเจ้าภาพร่วมเล่นกับกรีซใน 15 นัดล่าสุด โปแลนด์ไม่แพ้ให้กับกรีซถึง 10 นัด โดยถึงชนะ 8 นัด
ผลการพบกันของทั้งสองทีม
-29.03.11 กรีซ 0-0 โปแลนด์
-12.08.09 โปแลนด์ 2-0 กรีซ
-29.05.04 โปแลนด์ 1-0 กรีซ
ความพร้อมของทั้งสองทีม
ฟรานซิสเช็ก สมูดา เทรนเนอร์ทีมชาติโปแลนด์ ไม่มีปัญหาอาการบาดเจ็บของขุนพลแกนหลักรบกวนแม้แต่รายเดียว ลูคัสซ์ ปิสซ์เซ็ค, ยาคุบ บลาสซ์ซีคอฟสกี้ และ โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้ 3 แข้งจาก"เสือเหลือง" โปรุสเซีย ดอร์ทมุนด์ ร่วมกับ มาเซียจ์ รีบุส ประสานในแนวรุก ด้านขุมกำลังหลักห้องเครื่องจะมี วอยเชี๊ยค เชสนี่, มาร์ซิน วาซิเลฟสกี้, เซบาสเตียน โบนิสช์, ราฟาล มูราฟสกี้ และ ลูโดวิช โอบราเนี๊ยค ต่างก็พร้อมลงช่วยทีม

เฟอร์นานโด ซานโตส เทรนเนอร์ชาวโปรตุเกสของทีมชาติกรีซ ส่งจอร์จอส คารากูนิส มิดฟิลด์กัปตันทีมลงบัญชาเกมรุกและรับร่วมกับ วาสซิลิส โตโรซิดิส , โซติริส นินิส , ดิมิตริส ซัลปิจิดิส
11รายชื่อนักเตะที่คาดว่าจะลงสนาม

โปแลนด์ (4-2-3-1) : วอยเชี๊ยค เชสนี่ , ลูคัสซ์ ปิสซ์เซ็ค, มาร์ซิน วาซิเลฟสกี้, ดาเมียง แปร์กกิส, เซบาสเตียน โบนิสช์, ราฟาล มูราฟสกี้, ออยเก้น โปลันสกี้, ยาคุบ บลาสซ์ซีคอฟสกี้, ลูโดวิช โอบราเนี๊ยค, มาเซียจ์ รีบุส ,โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี้

กรีซ (4-3-3) : คอสตาส ชาลคีอาส , วาสซิลิส โตโรซิดิส, ปาปาสตาโธปูลอส, อัฟราม ปาปาโดปูลอส, โฮเซ่ โฮเลบาส ,คอสตาส คัตซูรานิส, จอร์จอส คารากูนิส, จานนิส มาเนียติส, ดิมิตริส ซัลปิจิดิส, เธโอฟานิส เกคาส, จอร์จอส ซามาราส
ผู้ตัดสิน : การ์ลอส เบลาสโก้ การ์บาโย่ (สเปน)

ZatranFc.ฟันธง : คู่นี้มองว่าโปแลนด์ในฐานะเจ้าภาพดูมีภาษีดีกว่า น่าจะชนะ 2-0
หมายเหตุ : เนื้อหาวิเคราะห์ที่จัดทำขึ้นนี้เพื่อแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง เปรียบเทียบข้อมูลด้านการกีฬา เพื่อเพิ่มอรรถรสในการชมการแข่งขันฟุตบอลเท่านั้น มิได้มีเจตนามุ่งหวัง หรือสนับสนุนในการเล่นพนันหรือเสี่ยงโชคใดๆ ทั้งสิ้น


RISING STAR - โรเบิร์ต เลวานดอฟสกี (โปแลนด์)
images2.jpeg
ช่วงต้นอาชีพ เลวานดอฟสกี สั่งสมประสบการณ์ค้าแข้งสโมสรลีกประเทศบ้านเกิด 6 ฤดูกาล ทันทีที่ย้ายร่วมค่าย เลซ พอซนัน เมื่อปี 2008 ก็ถูกเรียกติดทีมชาติชุดใหญ่ ซึ่งเพียงแค่นัดแรกที่ลงมาเป็นตัวสำรองก็ทำประตูได้ศึกฟุตบอลโลก 2010 รอบคัดเลือกชนะ ซาน มาริโน 2-0 ให้หลัง 3 อาทิตย์ หลังจากอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ โดยเป็นรองเพียงแค่ วลอดซิเมียร์ซ ลูบานสกี เจ้าของสถิติอายุน้อยที่สุดยิงได้ด้วยวัย 16 ปี โดยเวลานี้ซัดไปแล้ว 14 ประตู จาก 42 นัดมีโอกาสสูงที่จะขึ้นชั้นเป็นตำนานดาวยิงคนใหม่ของ โปแลนด์

ด้วยวัยเพียงแค่ 23 ปี เลวานดอฟสกี กลายเป็นความหวังทะลวงประตูของ “เจ้าภาพ” โปแลนด์ ครั้งนี้ ด้วยฟอร์มโดดเด่นซัด 30 ประตู จาก 46 นัด รวมทุกรายการ พา โบรุสเซีย ดอร์ตมุนด์ คว้าดับเบิลแชมป์ บุนเดสลีกา และ เดเอฟเบ โพคาล ฤดูกาลที่ผ่านมา ทั้งที่ปีแรกไม่น่าประทับใจเลย ยิงไปได้เพียงแค่ 9 ประตูเท่านั้น ถือว่าเจ้าของส่วนสูง 184 เซนติเมตร ยกระดับผลงานขึ้นมาจนเป็นที่จับตามองของหลายสโมสรยักษ์ใหญ่ของยุโรปที่พร้อมจะกระชากตัวไปร่วมทัพ ถ้าหากยิงได้เป็นกอบเป็นกำใน ยูโร 2012

คารากูนิส หวังพาทีมสร้างเทพนิยายกรีกภาคสอง
euro12_76.jpg
จอร์กอส คารากูนิส มิดฟิลด์วัย 35 กะรัตหวังพาทีมสร้างตำนานครั้งใหม่หลังจากเคยช่วยให้กรีซคว้าแชมป์ยูโร 2004 ที่โปรตุเกสเป็นเจ้าภาพมาแล้ว ด้วยความที่ตอนนี้ กรีซ กำลังเผชิญกับวิกฤติทางการเมืองและเศรษฐกิจอย่างหนัก ห้องเครื่องจากพานาธิไนกอสรายนี้จึงคิดว่าหากทีมสามารถคว้าแชมป์ได้อีกรอบ หรืออย่างน้อยก็ผ่านเข้าไปถึงรอบลึกๆ ก็น่าจะทำให้ประชาชนในประเทศตัวเองพอจะยิ้มออกได้บ้าง

"แน่นอนว่ามันไม่ง่ายที่จะตอกย้ำความสำเร็จได้เหมือนเมื่อตอนปี 2004 เหตุการณ์แบบนั้นมันยากที่จะเกิดขึ้นบ่อยๆ แม้แต่ทีมระดับท๊อปยังยากที่จะคว้าแชมป์ได้สองครั้งในระยะเวลาใกล้ๆกัน ยิ่งไปกว่านั้นลีกในประเทศของเราก็ไม่ได้ถือเป็นลีกชั้นนำในยุโรป แต่เรามีศรัทธาและความกระหายที่ทำให้ก้าวข้ามข้อด้อยๆต่างๆเหล่านั้น" คารากูนิส กล่าว...

คารากูนิส ติดทีมชาติชุดใหญ่ไปแล้วทั้งสิ้น 115 ครั้ง ซึ่งถือเป็นผู้เล่นที่ติดธงมากเป็นอันดับสองในประวัติศาสตร์ประเทศ เป็นรองเพียงแค่ ธีโอโดรอส ซาโกราคิส (กัปตันทีมเมื่อตอนยูโร 2004) อย่างไรก็ตาม ด้วยความที่อายุอานามไม่น้อยแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะถูกลดบทบาทภายในทีม แต่ เฟอร์นานโด ซานโต๊ส เทรนเนอร์คนปัจจุบันก็ยังมองว่าประสบการณ์อันเหลือล้นของ คารากูนิส ยังมีประโยชน์กับกรีซชุดถ่ายเลือดใหม่อยู่ดี

จบข่าว...

http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=616
http://www.manager.co.th/Sport/ViewNews ... 0000070534
http://www.lomtoe.com/euro2012/news_view.php?nid=76

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 08, 2012 11:51 pm
โดย multipleceilings
ชิบหายหละ เจอใบแดง สงสัยเครียดกับการเลือกตั้ง 5555555

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2012 9:10 pm
โดย schwartz_IR
กระทู้นี้ตกไปซะไกล ต่างกับเมื่อ กลางเดือน พค มาก ที่รันอยู่หน้าแรกตลอด
พร้อมๆ กับข่าวสารที่ ดูจะทำให้ความตึงเครียดเบาบางลง
หุ้นก็บวกกันรายวัน
แต่
กรีซหรือ ยูโร ก็ยังไม่มีอะไรดีขึ้นเป็นรูปธรรม ยังคงอึมครึม ทะมึนต่อไป

แปลกดี หุ้นขึ้น หรือลง เพราะ ใคร/อะไร กันแน่หนอ :?: :?:

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 15, 2012 9:36 pm
โดย torpongpak
อาทิตย์นี้ลุ้นเลือกตั้งกรีซครับ ว่ากันว่าเลือกตั้งครั้งนี้กระเทือนไปถึงUS คุยกับเพื่อนหลายคนบอกว่าวันที่ 17 เป็นจุดเปลี่ยนสำคัญ เเต่ผมกลับมองว่า ไม่น่าจะเปลี่ยนอะไรมากเพราะถ้า..

-"ฝั่งรัดเข็มขัด"ชนะ..."นายตลาด"คงดีใจมากๆ ตามด้วยหุ้นขึ้นเเหลก ถ้าให้ดีกลางสัปดาห์หน้าUS ออกQE3มา ก็ยิ่งทำให้"นายตลาด"ฉลองใหญ่ ความสุขจะยืดเยื้อไปซักพัก จนปัญหาของItalyปูดมาอีก (Spainหน้าจะเงียบไปซักพักเพราะฝั่งธนาคารได้เงินไปอุดปาก) เค้าคนเดิมจะบ้าคลั่งอีกรอบ
-ถ้าอีกฝั่งชนะ นายตลาดคนเดิมก็จะสติเเตก อีกชุด จากนั้นผมมองว่าอาจจะมีมาตรการยื้ออย่างอื่นขึ้นมาอีก จนนายตลาดสบายใจขึ้น...หวังว่าพี่เบิ้มอย่างUSคงไม่ทำตัวมายุ่งเเถวยุโรปนะ

ไม่ว่าออกมารูปเเบบไหนสำหรับผมก็ดีทั้งนั้นครับ Big discount หรือ Big Gain ก็ยินดีต้อนรับทั้งสองอย่าง...

ปล.เป็นการวิเคราะห์เเบบบ้านๆ ระดับจบเศรฐศาสตร์เเค่ ม. 5 เท่านั้น(ตอนนั้นเป็นวิชาบังคับเลือกถ้าจำไม่ผิดนะ) ผิดพลาดอย่างไรขอความเห็นเพื่อนๆด้วยครับ...

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 16, 2012 10:23 pm
โดย miracle
ถ้าหากกรีซไม่ออก กรีซสามารถฟื้นฟูเศรษฐกิจได้อย่างไง
เทียบกับตอนเกิดต้มยำกุ้งของไทย
ไทยเป็นประเทศที่มีนักท่องเที่ยวนิยมมาเที่ยวกันมากเป็นทุนเดิม
กรีซก็เหมือนกัน เป็นประเทศที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานมากๆ ก่อน คศ เสียอีก
แต่ตอนนี้กรีซใช้ ยูโร อยู่ ทำให้การท่องเที่ยวที่เป็นฟันเฟืองในการกอบกู้เศรษฐกิ
มันเดินไม่ได้

ถ้านักท่องเที่ยวไปเที่ยวที่กรีซมากขึ้น รัฐก็เก็บภาษีจากการท่องเที่ยวได้มากขึ้น
เอาภาษีนั้นกลับมาจ่ายเงินต้นและดอกเบี้ย เหมือนที่ไทยทำ

แล้วต่อมาคือ ภาคการส่งออก ก็ฟื้นตัวจากราคาสินค้าที่ต่ำ (ราคาสินค้าต่ำ ในที่นี้เป็นกฏของ Law of one Price
ราคาสินค้าชนิดเดียวกันทั่วโลกควรมีราคาเท่ากันหมด บริษัทที่ชอบทำการวัดเรื่องนี้คือ แม็คโนนัลด์ ที่เอาราคา Big Mc มาวัด) ถ้าหากค่าเงินของกรีซลดลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลหลักๆของโลก เช่น ยูโร ดอลล่าร์ เยน เป็นต้น
ภาคการส่งออกก็มีออเดอร์มากขึ้นกว่าเดิม

สองภาคส่วนนี้ทำงานทุกอย่างก็เริ่มเดินหน้าได้
แต่สิ่งที่เดินหน้าไม่ได้คือ
กรีซไม่สามารถออกจากการใช้เงินสกุลยูโรได้ เพราะไม่ได้เตรียมการอย่างนั้นมากก่อน
แต่จริงๆ ตอนนี้น่าจะประชุมทางลับกันว่า ถ้ากรีซออกไปใช้เงินสกุลเดิมแล้ว อะไรเกิดขึ้นบ้าง
เพราะดันทุรังอยู่ก็ แก้ไขปัญหาแบบนี้ไม่ได้ ต้องอุ้มและอุ้มกันต่อไป
เป็น" ไม่มี ไม่หนี้ ไม่จ่าย" แทน
:)

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: เสาร์ มิ.ย. 16, 2012 10:27 pm
โดย miracle
สิ่งที่ผิดปกติตอนนี้
ดัชนีสำคัญของ ยูเอส หรือ ยูโรป
ต่างปิดบวกกัน 1-2% ในวันศุกร์

ซึ่งการเลือกตั้งคือวันอาทิตย์
ถ้าแบบนี้ ผมขอยึดคำพูดที่ว่า "จงกลัวในเวลาที่คนอื่นเข้ากล้า จงกล้าในเวลาที่คนอื่นกลัว"

เพราะตอนเลย์แมน ก็เขียวแบบนี้ จนนักลงทุนตั้งตนในความประมาท
เมื่อเกิดเหตุการณ์ กูรูต่างๆทั้งในประเทศแลต่างประเทศ ให้ข้อมูลที่ผิดเพี้ยน มองกันแบบไม่มีทิศทางอะไรเลย
ดังนั้นจงเชื่อมั่นในสัญชาตญาณของตัวเองบ้างก็ดี
:)

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 17, 2012 8:46 am
โดย Green
ออกจาก หรือ ไม่ออก ก็ดูน่ากลัว ทั้งสองอย่างเลยนะครับ

ถ้าไม่ออก ก็ ลาก กันต่อไป เศรษฐกิจ ก็ไม่รู้ว่าจะดีขึ้นมาได้อย่างไร
และถ้าออกไป กลับไปใช้เงินตัวเอง ประเทศคงวุ่นวายกันน่าดูในตอนแรกๆ แต่ระยะยาว แล้ว ประเทศน่าจะหาทางฟื้นได้

น่าเศร้าจริง

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 17, 2012 10:49 am
โดย supersmile
ผมขอเพิ่มเติม...

คำว่ากรีซออกหรือไม่ออก น่าจะหมายถึงออกจาก Eurozone คือกลุ่มที่ใช้เงินยูโรมี 17 ประเทศ
ไม่ได้หมายถึงออกจาก EU (European Union) ซึ่งมี 27 ประเทศ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 17, 2012 10:54 pm
โดย เบื๊อก
วันนี้เลือกตั้งกรีซ หนังสือพิมพ์บิลด์ของเยอรมันลงจดหมายเตือนสติถึงชาวกรีก อ่านไปก็ขำไปครับ ก็ต้องมาลุ้นกันดูว่าผลจะเป็นยังไง...

"Dear Greeks,
You are a proud people, a proud nation. Tomorrow (today) you have yet another set of elections.
You say: We're free. Bild says: It's in your hands. There is a difference.
If you did not want our billions, it would have been fine by us for you to vote for any leftists or rightist clown you wanted. But for over two years now, the situation is like this:
Your ATM's continue to give you euros, only because we put them there, the Germans and the other nations that have the euro.
Yet you still, calls us Nazis, which we do not find funny. But anyway.
But let's be clear on this:
If the elections are won by parties that want to put an end to austerity and reform, breaching every agreement, we will stop paying.
The agreement was: you fix your country and meanwhile we will help you. If you do not want this anymore, then we do not want it either.
It's in your hands.
You have elections tomorrow (today). But you have no options. You will choose between painful logic and complete disaster. And we are very much afraid that you don't get that yet.

Yours in friendship
Your Bild.".

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 1:00 am
โดย multipleceilings
นับ vote จริงไป 15% แล้วครับ ND นำ 31.1 ต่อ 25.4


(Reuters) - Greece's conservative New Democracy party was leading in Sunday's vote after 15 percent of ballots were counted, the country's interior ministry said.

New Democracy had taken a 31.1 percent share of the vote, while the radical leftist SYRIZA party was running second with 25.4 percent of the vote.

The closely-watched election could determine whether Greece is pushed to bankruptcy and crashes out of the euro zone, a scenario policymakers have warned could occur if the anti-bailout SYRIZA party placed first. (Reporting by Harry Papachristou and Karolina Tagaris)

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 3:43 am
โดย Azazel
เบื๊อก เขียน:วันนี้เลือกตั้งกรีซ หนังสือพิมพ์บิลด์ของเยอรมันลงจดหมายเตือนสติถึงชาวกรีก อ่านไปก็ขำไปครับ ก็ต้องมาลุ้นกันดูว่าผลจะเป็นยังไง...

"Dear Greeks,
You are a proud people, a proud nation. Tomorrow (today) you have yet another set of elections.
You say: We're free. Bild says: It's in your hands. There is a difference.
If you did not want our billions, it would have been fine by us for you to vote for any leftists or rightist clown you wanted. But for over two years now, the situation is like this:
Your ATM's continue to give you euros, only because we put them there, the Germans and the other nations that have the euro.
Yet you still, calls us Nazis, which we do not find funny. But anyway.
But let's be clear on this:
If the elections are won by parties that want to put an end to austerity and reform, breaching every agreement, we will stop paying.
The agreement was: you fix your country and meanwhile we will help you. If you do not want this anymore, then we do not want it either.
It's in your hands.
You have elections tomorrow (today). But you have no options. You will choose between painful logic and complete disaster. And we are very much afraid that you don't get that yet.

Yours in friendship
Your Bild.".
และแล้วเยอรมันก็ผ่านเข้ารอบสองไปเจอกับกรีซครับ :shock:

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 7:04 am
โดย torpongpak
Greek election: Pro-bailout New Democracy finished first.
http://finance.yahoo.com/news/greece-pr ... 29628.html
เเต่ปัญหาคือชนะไม่ขาด จากofficial projectionsพรรคต่างๆจะได้ที่นั่งดังนี้
ND ได้ 128 seats(29.5%)
Syriza ได้ 72 seats(27.1%)
PASOKได้ 33 seats(12.3%)
ซึ่งการจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากต้องใช้อย่างน้อย151เสียงจากทั้งหมด300เสียง...

เรียกได้ว่าหวุดหวิดมากถ้าจะตั้งรัฐบาลpro-bailoutจะได้151เสียงพอดี...ซึ่งถ้าเปิดสมัยประชุมสภาก็ต้องมาให้ครบห้ามขาดหรือโดดร่มเหมือน สมาชิกผู้ทรงเกลียดเเถวนี้ 555

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 7:26 am
โดย pak
ภาพจาก FB คุณ Simonyens ครับ

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 7:33 am
โดย pak
โล่งอก! ผลเลือกตั้งกรีซชี้ "พรรคร่วมรัฐบาล" มีชัยเหนือฝ่ายซ้าย-ปลดล็อคความเสี่ยงหลุดยูโร
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มิถุนายน 2555 05:20 น.


อันโตนิส ซามาราส หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่ โบกมือทักทายผู้สนับสนุนหลังทราบว่าพรรคคว้าชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐสภา เมื่อวานนี้(17)

รอยเตอร์ - พรรคร่วมรัฐบาลกรีซที่สนับสนุนแผนรับเงินช่วยเหลือจากยุโรปคาดว่าจะมีชัยชนะเหนือพรรคฝ่ายซ้ายที่ปฏิเสธมาตรการรัดเข็มขัด ในการเลือกตั้งรัฐสภารอบสอง เมื่อวานนี้(17) ท่ามกลางความโล่งอกของประชาคมโลกที่หวาดหวั่นว่าผลเลือกตั้งกรีซอาจก่อวิกฤติการเงินระลอกใหญ่

ผลการนับคะแนนร้อยละ 97 โดยกระทรวงมหาดไทยกรีซพบว่า พรรคประชาธิปไตยใหม่มีคะแนนนำสูงสุดร้อยละ 29.7 ขณะที่พรรรคฝ่ายซ้ายไซรีซามีคะแนนตามมาติดๆร้อยละ 26.9 ส่วนพรรคสังคมนิยมปาซ็อกได้คะแนนโหวตร้อยละ 12.3

เนื่องจากพรรคการเมืองที่ได้เสียงมากสุดจะได้รับโบนัสเพิ่มอีก 50 ที่นั่ง หมายความว่า พรรคประชาธิปไตยใหม่และสังคมนิยมปาซ็อกจะได้ที่นั่งรวมกัน 162 ที่นั่งจากทั้งหมด 300 ที่นั่งในสภา ซึ่งทั้ง 2 พรรคนี้ต่างสนับสนุนให้กรีซรับเงินช่วยเหลือ 130,000 ล้านยูโรจากยูโรโซน

หากผลเลือกตั้งเป็นไปตามนี้ ก็เท่ากับต่อเวลาให้อนาคตของยูโรโซน ซึ่งหวั่นวิตกกันว่า ชัยชนะของพรรคไซรีซาอาจส่งผลให้กรีซต้องหลุดออกจากกลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโร และจะเกิดแรงกระเพื่อมครั้งใหญ่ที่อาจนำไปสู่การล่มสลายของระบบสกุลเงินเดียวในที่สุด

อย่างไรก็ดี ผลเลือกตั้งกรีซยังแสดงให้เห็นถึงความเห็นต่างในสังคม ตลอดจนความคับแค้นใจของประชาชนต่อการลดเงินเดือน, ตำแหน่งงาน และเงินบำนาญ ตามเงื่อนไขของการรับเงินช่วยเหลือจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)และสหภาพยุโรปตั้งแต่ปี 2010 ซึ่งปัจจุบันคิดเป็นยอดรวมถึง 240,000 ล้านยูโรแล้ว

อันโตนิส ซามาราส หัวหน้าพรรคประชาธิปไตยใหม่วัย 61 ปี แถลงต่อผู้สนับสนุนหลังทราบผลเลือกตั้งอย่างไม่เป็นทางการว่า "วันนี้ชาวกรีซเลือกแล้วที่จะเดินอยู่บนเส้นทางของยุโรปและยูโรโซน...จากวันนี้จะไม่มีความสุ่มเสี่ยงอีกต่อไป สถานะของกรีซในยุโรปจะไม่เป็นที่กังขาอีกต่อไป"

ด้าน อเล็กซิส ทซิปรัส ผู้นำพรรคไซรีซา ซึ่งเป็นอดีตคอมมิวนิสต์และแกนนำนักศึกษาผู้ประท้วง ก็ออกมายอมรับความพ่ายแพ้ แต่ยังยืนกรานจะเป็นหัวหอกต่อต้านมาตรการรัดเข็มขัดต่อไป

เจ้าหน้าที่พรรคสังคมนิยมปาซ็อก 2 คนยืนยันว่า พรรคพร้อมที่จะสนับสนุนพรรคประชาธิปไตยใหม่ ไม่ว่าจะโดยเข้าร่วมรัฐบาลหรือโหวตสนับสนุนรัฐบาลในสภาก็ตาม นอกจากนี้ยังขอให้พรรคไซรีซามาเข้าร่วมรัฐบาลด้วย ซึ่งฝ่ายซ้ายก็ปฏิเสธมาแล้ว

ด้านทำเนียบขาวแสดงความหวังว่า ผลเลือกตั้งกรีซจะนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลใหม่โดยเร็ว ซึ่งจะเป็นพัฒนาการที่เหมาะเจาะกับเวลาสำหรับปัญหาเศรษฐกิจในปัจจุบัน

"ดังที่ประธานาธิบดี โอบามา และผู้นำชาติต่างๆได้กล่าวมาแล้วว่า เราเชื่อว่าจะเป็นผลดีต่อทุกฝ่าย หากกรีซยังคงอยู่ในยูโรโซน และรักษาคำมั่นสัญญาว่าจะปฏิรูป" เจย์ คาร์นีย์ โฆษกทำเนียบขาว แถลง

รัฐมนตรีคลังยุโรปต่างออกมาระบุว่า เงื่อนไขแพ็กเกจเงินช่วยเหลือยังคงเป็นหนทางที่ดีที่สุดที่จะช่วยให้กรีซพ้นจากวิกฤตหนี้สิน

"กลุ่มประเทศผู้ใช้เงินยูโรตระหนักดีถึงความพยายามของพลเมืองกรีซ และเชื่อมั่นว่า การยืนหยัดปฏิรูปงบประมาณและโครงสร้างต่อไปจะเป็นเครื่องรับประกันที่ดีที่สุดว่า กรีซจะสามารถฝ่าฟันปัญหาทางเศรษฐกิจและสังคมไปได้ และจะมีอนาคตอันรุ่งโรจน์ในยูโรโซน" ถ้อยแถลงร่วมจากรัฐมนตรีคลังยุโรป เผย

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 7:58 am
โดย multipleceilings
มันจบแล้วครับท่าน ละครฉากนี้ รอฉากต่อไป ยินดีกับเพื่อนๆด้วยครับ ในระยะสั้น :D

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: จันทร์ มิ.ย. 18, 2012 9:01 am
โดย schwartz_IR
ครับพี่ จบไปอีกหนึ่งองก์ รอเปิดม่านใหม่ กันอีก เอาเมื่อไหร่ดีครับ (ล้อเล่น)

เมื่อหลังเลือกตั้งครั้งแรกใหม่ๆ คาดว่า syriza จะชนะ แล้วเล่น บท compromise กับ euro
กลายเป็นว่าเลือกตั้งใหม่ pro-bailout ชนะไปซะ พลิกไปพลิกมาจริงๆ

ผมพบว่ามีหลายความเห็น จะพูดถึงว่า greece กลับไปใช้เงินสกุลตัวเอง เพื่อดึงเงินเข้าประเทศจากการท่องเที่ยว หรือดึงดูดการลงทุน โดยยกเอา model ของ อาเจนตินา หรือ แม้แต่ประเทศไทยที่ลดค่าเงินปี 40
ในทางปฎิบัติจะเป็นไปได้แค่ไหนครับ ที่วิธีนี้จะทำให้เขา recovery ได้จริง หรือ เจ็บปวดในระยะเวลาไม่นานมากนัก เพราะประเทศเขาไม่ใช่ supply chain ขนาดใหญ่แบบไทย ขายการท่องเที่ยวให้กลุ่ม euro ด้วยกันเป็นหลัก
Approximately 85% of arrivals originate in Western Europe: 21.2% from the United Kingdom, 17.5% from Germany, 8.8% from Italy, 5.3% from France, 5.2% from Holland, and 7.5% from the Scandinavian countries
มี Service sector ใหญ่เป็น 85% GDP

Re: Greece ครั้งนี้ เลวร้ายขนาดไหน หาพื้นไม่เจออีกแล้ว

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 7:53 am
โดย torpongpak
2 สัปดาห์ ! ชี้ชะตาวิกฤตยูโรโซน..“เอาไม่อยู่..มีสิทธิ์ฉุด 5 ประเทศยุโรปล่มตาม !!
ความร้อนแรงหลังการเลือกตั้งในประเทศกรีซ ดูเหมือนจะทำสร้างความกังวลให้หลายภาคส่วน ถึงการลุกลามของวิกฤตยูโรโซนในวงกว้างทั่วภูมิภาคยุโรป และลามไปทั่วโลก โดยเฉพาะผลกระทบมาถึงประเทศไทย

เนื่องเพราะทุกคนไม่มั่นใจว่า รัฐบาลใหม่จะสามารถเดินหน้าเจรจาเงื่อนไขที่ยืดหยุ่น และผ่อนปรนกับกลุ่มเจ้าหนี้ หรือทรอยกา(Troika) ที่ประกอบด้วย 3 องค์กรหลัก ได้แก่ คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commision: EC) , ธนาคารกลางของยุโรป (European Central Bank: ECB), และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (International Monetary Fund: IMF) ได้สำเร็จภายใน 2 สัปดาห์

สังเกตได้จากความเคลื่อนไหวตั้งแต่การเรียกประชุมทีมเศรษฐกิจอย่างเร่งด่วนของรัฐบาล พร้อมการตั้งคณะทำงานขึ้นมาจับตาความเคลื่อนไหว เพื่อตั้งรับ

และยิ่งตอกย้ำมากขึ้นเมื่อช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ทางธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ได้จัดประชุมนัดพิเศษระหว่างคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) และคณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน(กนส.) ขึ้นเป็นครั้งแรก

เป้าหมายเพื่อผนึกกำลังในการช่วยกันกำหนดนโยบาย และความเป็นไปได้ในการใช้เครื่องมือในการรักษาเสถียรภาพระบบการเงิน ติดตาม และประเมินความเสี่ยงสำคัญทั้งในประเทศ และต่างประเทศ

โดยเฉพาะความเสี่ยงที่สำคัญที่สุดในขณะนี้ คือ ปัญหาเศรษฐกิจในยุโรปที่ยืดเยื้อ และในระยะสั้นอาจสร้างความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนของไทย สภาพคล่องเงินตราต่างประเทศอาจตึงตัว ในระยะยาวเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ย่อมส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

@ หาก 2 สัปดาห์กรีซเจรจาทรอยกาล่ม มีสิทธิ์ดึงโปรตุเกส-ไอร์แลนด์-สเปน-อิตาลีร่วง

ในช่วงกลางสัปดาห์ทางบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้นำทีมเศรษฐกิจชุดใหญ่มาประเมิน และวิเคราะห์ผลกระทบของวิกฤตยูโรโซนที่เกิดขึ้น นำทีมโดยนางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ ประธานกรรมการบริหาร

นางสาวกาญจนา โชคไพศาลศิลป์ ผู้จัดการฝ่ายวิจัยเศรษฐกิจมหภาค หนึ่งในทีมผู้บริหารของบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย กล่าวถึงวิกฤตยูโรโซนหลังการเรียกตั้งของกรีซว่า มี 3 ปัจจัยที่เป็นตัวแปรที่จะส่งผลกระทบต่อการลุกลามของวิกฤตในยุโรป

กรณีที่ 1 ทางรัฐบาลใหม่ที่มีพรรค New Democracy เป็นแกนนำจะต้องเร่งเจรจาให้กลุ่มทรอยกา(Troika) ยืดหยุ่น และผ่อนปรนเรื่องนโยบายรัดเข็มขัด เนื่องจากประชาชนไม่ต้องการ แต่ขณะเดียกวันประชาชนของกรีซยังต้องการอยู่ในยูโรโซน

กรณีที่ 2หากการเจรจาระหว่างรัฐบาลใหม่ของกรีซกับกลุ่มทรอยกาล้มเหลว ล่าช้าไม่สำเร็จภายใน 2 สัปดาห์ เมื่อเข้าสู่ไตรมาส 3 กรีซจะขาดสภาพคล่องช่วงกลางเดือนกรกฎาคม 2555 และมีแผนต้องใช้เงิน 10,000 ล้านยูโร กรีซอาจผิดนัดชำระหนี้บางส่วน

ถึงตอนนั้นกรีซคงถูกบีบให้ออกจากยูโรโซน เพราะทางการยุโรปต้องตีวงสกัดไม่ให้วิกฤตลุกลาม เพื่อจำกัดความสูญเสีย เช่น การเพิ่มทุนให้สถาบันการเงงิน เพิ่มการค้ำประกันเงินฝาก จำกัดการถอนเงิน และควบคุมการเคลื่อนย้ายเงินทุน ขณะที่ ECB ต้องมีบทบาทเชิงรุกมากขึ้น

ขณะนี้เดียวกันกรีซต้องสร้างระบบการเงิน ระบบการชำระเงิน และสกุลเงินใหม่ แต่ความไม่เชื่อมั่นต่อสกุลเงินใหม่ จะยังคงทำให้เกิดความสูญเสียต่อระบบสถาบันการเงิน และสั่นคลอนเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและการเงินของกรีซ

กรณีที่ 3 หากทางการยุโรปไม่สามารถจำกัดวงความสูญเสีย จะเกิดเป็นวังวน จะลุกลามบานปลาย เป็นแรงผลักดันให้ประเทศ โปรตุเกส ไอร์แลนด์ สเปน และอิตาลี ต้องออกจากยูโรโซนไปด้วย ถ้าถึงตอนนี้ทางการยุโรปคงไม่มีการเงินมากจะครอบคลุมการจ่ายหนี้ให้สเปน และอิตาลีด้วย

ระบบการเงินและเศรษฐกิจของยุโรป จะเผชิญความปั่นป่วนอย่างหนัก และอาจจะเข้าสู่ภาวะถดถอยอย่างรุนแรง เงินยูโรโซนอาจจะร่วงลงอย่างหนัก ความเสี่ยงต่อระบบเศรษฐกิจการเงินโลกเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ

"ตอนนี้หวังว่า ถ้ากรณีที่ 1 เจรจาได้ จะทำให้รัฐบาลมีเสถียรภาพ ทุกคนไม่อยากเห็นว่า รัฐบาลที่เพิ่งเลือกตั้งเข้ามาไร้เสถียรภาพอีกรอบ ในช่วง 1-2 สัปดาห์ข้างหน้าคงจะเห็นกรีซประกาศนโยบายว่า กลุ่มทรอยกาผ่อนปรอนเงื่อนไขอะไรให้ และกรีซจะวางแผนระยะยาวให้ประเทศอย่างไร"

@ วิกฤตส่อเค้าบานปลาย เหตุ ECB ทำงานได้จำกัด 17 ประเทศไร้เอกภาพ

อย่างไรก็ตาม สาเหตุสำคัญที่ทำให้วิกฤตในกรีซยืดเยื้อต่อเนื่องมาถึง 3 ปี ทั้งที่ทุกคนทราบดีว่า กรีซควรจะจบทางไหน ทุกคนทราบว่า วิกฤตยูโรโซนมีจุดอ่อนอยู่ตรงไหน แต่ไม่สามารถหาทางออกได้ เพราะยูโรโซน 17 ประเทศ ทุกประเทศต่างมีรัฐบาลของตัวเอง ต่างคนมีจุดยืนทางการเมืองของตัวเอง

เช่น รัฐบาลเยอรมันจะมีการเลือกตั้งปีหน้า จะบอกประชาชนอย่างไรว่า จะนำเงินของประเทศไปช่วยกรีซ สะท้อนให้เห็นภาพว่า ภาวะการแก้ปัญหาอย่างเป็นเอกฉันท์ และเป็นเอกภาพภายในใน 17 ประเทศเกิดขึ้นได้ยากยืน จากการ “ยืนกันคนละจุด”

รวมถึงบทบาทของธนาคารกลางยุโรป (European Central Bank: ECB) ยังทำอะไรได้ค่อนข้างจำกัด จะลดดอกเบี้ย เพื่อช่วยกรีซก็ทำไม่ได้ เพราะ ECB ไม่ได้ทำนโยบายการเงิน เพื่อช่วยกรีซประเทศเดียว ขณะที่ด้านการคลังยังไม่มี ความเป็นเอกภาพของการแก้ปัญหายังไม่มีในการแก้วิกฤต

การกำหนดให้แต่ละประเทศที่จะเข้ามาอยู่ในยูโรโซนกำหนดว่า ประเทศนั้นต้องขาดดุลการคลังไม่เกิน 3% และมีอัตราเงินเฟ้อไม่เกินเกณฑ์ที่กำหนด แต่การออกจากยูโรโซนไม่ได้มีการกำหนดเงื่อนไขว่า ประเทศที่มีการขาดดุลการคลังมากควรจะออกจากยูโรโซนอย่างไร

ยูโรโซนเป็นตัวแปรหนึ่งที่สงผลกระทบต่อทิศทางเศรษฐกิจโลกในหลายภูมิภาค ขณะที่ปัจจุบันเศรษฐกิจโลกมีจุดเปราะบางเกิดขึ้นหลายจุด ดังนั้น ธนาคารกลางสหรัฐฯต้องพิจารณาเรื่องการอัดฉีดสภาพคล่องเข้าระบบในการประชุมสัปดาห์นี้

ขณะที่เศรษฐกิจจีนต้องหันมาผ่อนปรนนโยบายมากขึ้น เพราะการถดถอยของเศรษฐกิจโลก มีผลกระทบต่อประเทศจีนและเอเซียชะลอตัวตามแนวโน้มที่อ่อนแอของเศรษฐกิจโลก รวมถึงความกังวลต่อโครงการนิวเคลียร์อิหร่านยังไม่หมดไป และอาจเป็นจุดพลิกผัน ซึ่งขึ้นอยู่กับมาตรการคว่ำบาตรอิหร่านในช่วงครึ่งหลังของปี 2555

@จับตา “เอาไม่อยู่”....กระทบเศรษฐกิจไทยดิ่ง !!

ดร.พิมลวรรณ มหัจฉริยวงศ์ รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด กล่าวถึงผลกระทบของวิกฤตยูโรโซนที่มีต่อเศรษฐกิจไทยว่า ยูโรโซนถือเป็นปัจจัยที่สร้างความเสี่ยงต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด โดยผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยคงขึ้นอยู่กับความรุนแรงของปัญหาในยูโรโซน

แต่หากปัญหาของยูโรโซนสามารถจำกัดขอบเขตได้ ผลต่อเศรษฐกิจไทยอาจไม่รุนแรงมาก แต่ว่า ถ้าวิกฤตยูโรโซนเชื้อแพร่กระจายไปทุกภูมิภาคของโลกเหมือน เช่น วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในช่วงที่ผ่านมา ผลกระทบอาจฉุดเศรษฐกิจไทยให้ทรุดตัวลงรุนแรงได้เช่นกัน

สำหรับในปีนี้ท่ามกลางความเสี่ยงของวิกฤตหนี้ยูโรโซน เศรษฐกิจไทยถือว่าโชคดีในภาวะที่หลาย ๆ ประเทศ กำลังชะลอตัวลง แต่ว่าเศรษฐกิจไทยยังได้รับปัจจัยหนุนจากภายในประเทศ โดยเฉพาะมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ การใช้จ่ายเงินของภาครัฐ รวมทั้งการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมในช่วงปีที่ผ่านมา

สำหรับปัจจัยในต่างประเทศนอกจากวิกฤตยูโรโซนแล้ว ปัญหาของราคาสินค้าเกษตรที่อ่อนตัวลง ยังเป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย แต่ไทยเองยังสามารถส่งออกไปยังตลาดอาเซียน ซึ่งหลายประเทศมีการขยายตัว โดยเฉพาะตลาดเพื่อนบ้าน เช่น กัมพูชา ลาว ช่วงครึ่งปีแรกมีการขยายตัว 40-50%

ทำให้ทางศูนย์วิจัยกสิกรไทยคงประมาณการอัตราการเติบโตของจีดีพีในปี 2555 ไว้ที่ 5% แต่ตัวที่จะมีการปรับเปลี่ยนคือ ตัวของเงินเฟ้อที่มีแรงกดดันที่ผ่อนคลายลงจากราคาน้ำมันในตลาดโลกที่อ่อนตัวลง จากเดิมคาดการณ์ไว้ที่ 3.9% ลดลงมาที่ 3.5%

หากวิเคราะห์ผลกระทบของยูโรโซนในหลายด้าน โดยเฉพาะในด้านการส่งออกของไทยเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นในภูมิภาคถือว่า อยู่ในระดับปานกลาง ถ้าดูผลสุทธิต่อจีดีพี ประเทศที่เสี่ยงสูง ได้แก่ สิงคโปร์ เวียดนาม มาเลเซีย กัมพูชา

สำหรับตัวเลขการส่งออกในช่วง 4 เดือนที่ผ่านมา ไทยได้รับผลกระทบจากการส่งออกไปตลาดยุโรปโดยหดตัวลงประมาณ 15.4% ทำให้คาดว่าทั้งปีการส่งออกไปตลาดยุโรปจะติดลบประมาณ -5% ภาพรวมการส่งออกทั้งประเทศคาดว่าจะเติบโตที่ 10%

หากดูในเรื่องการท่องเที่ยวประเทศไทยค่อนข้างเสี่ยง ไทยมีนักท่องเที่ยวจากยุโรปเข้ามาเที่ยวค่อนข้างมากเมื่อเทียบประเทศอื่นในภูมิภาค แต่ในช่วง 4 เดือนด้าน

การท่องเที่ยวไม่ได้ส่งผลกระทบที่ชัดเจน แต่ในด้านการลงทุนประเทศไทยพึ่งเงินลงทุนจากยุโรปค่อนข้างน้อย

ส่วนผลกระทบในทางอ้อม ปัจจัยสำคัญมาจากประเทศคู่ค้าที่ทำธุรกรรมต่าง ๆ ซึ่งขณะนี้ธนาคารในยุโรปถูกปรับลดความน่าเชื่อถือลง และเกิดปัญหาการขาดสภาพคล่องก็จะมีผลต่อธนาคารในยุโรปที่จะให้เครดิตสินเชื่อการค้าแก่ประเทศคู่ค้าของไทยในยุโรป เพราะฉะนั้นตรงนี้อาจสะท้อนมาที่การรับคำสั่งซื้อของผู้ประกอบการด้วย

@เตือนผู้ส่งออกไทยเลี่ยงรับชำระค่าสินค้าเป็นเงินยูโร -ระวังผิดนัดชำระสินค้า

ในขณะที่อัตราแลกเปลี่ยนจะมีความผันผวน และผู้ส่งออกจะต้องความระมัดระวังในเรื่องของการผิดนัดชำระค่าสินค้า อาจจะหลีกเสี่ยงการรับชำระค่าสินค้าเป็นเงินยูโร อาจจะมีความเสี่ยงที่ค่าเงินอ่อนค่าลง ทั้งนี้สะท้อนมาที่การส่งออกได้เช่นกัน

ภายใต้ความเสี่ยงของวิกฤตยูโรโซนยังมีอย่างต่อเนื่อง อาเซียนยังเป็นตลาดที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยช่วง 4 เดือนแรก ตลาดอาเซียนมีการขยายตัว 8.6% เทียบกับที่ยุโรปติดลบ ทั้งปีการส่งออกไปตลาดอาเซียนน่าจะขยายตัวได้ประมาณ 17% และในระยะยาว 3-5 ปีข้างหน้าสัดส่วนการส่งออกไปตลาดอาเซียนน่าจะปรับขึ้นไปถึง 30% เทียบกับการส่งออกรวมที่อยู่ที่ 24%

โดยปัจจัยที่สนับสนุนที่สำคัญมาจากการขยายตัวของการค้าชายแดน เพราะคนในประเทศเพื่อนบ้านมีรายได้ดีขึ้น และในอีก 3 ปีข้างหน้าที่จะรวมกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC) ภาษีศุลกากรอีก 4 ประเทศ คือ CLMV กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม จะลดลงเหลือ 0% และจะสังเกตเห็นว่า ผู้ประกอบการของไทยมีความสนใจเข้าไปขยายการลงทุนในอาเซียนกันอย่างคึกคัก

อย่างไรก็ตาม การวิเคราะห์ที่ผ่านมาประเมินในภาวะที่สามารถขีดวงวิกฤตยูโรโซนได้ แต่หากวิกฤตยูโรโซนขยายตัวไประดับรุนแรงทำให้ภูมิภาคยุโรปหดตัวรุนแรง อาจจะเป็นปัจจัยที่ทำการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้

นางสาวธัญญลักษณ์ วัชระชัยสุรพล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทยฯ กล่าวถึงแนวโน้มภาคการเงินไทยกับความสามารถในการรับมือกับความเสี่ยงของวิกฤตยูโรโซนว่า ที่ผ่านมาคนไทยไปลงทุนในตราสารหนี้ การลงทุนในหุ้นในต่างประเทศ ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างน้อยกว่าคนอินโดนีเซีย และมาเลเซีย ทำให้หากเกิดวิกฤตเกิดผลกระทบไม่แตกต่างจากประเทศเพื่อนบ้าน ส่วนความเสี่ยงที่ทำธุรกรรมผ่านสถาบันการเงิน อาจเป็นการกู้ระหว่างธนาคารยังน้อยเมื่อเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน

@คาดไทย"เอาอยู่"หลังประเมินอย่างเหลวร้ายสุดสถาบันการเงินยุโรปล่ม ติดลบ 3.5%ต่อจีดีพี

ดร.เชาว์ เก่งชน กรรมการผู้จัดการ บริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ได้มองถึงกรณีเหลวร้ายสุดถ้าวิกฤตยุโรปขยายวงกว้างไปทั้งภูมิภาคว่า เรามองกรณีแย่มาก ๆ ทั้งกลุ่มกรีซ ยุโรปสถาบันการเงินล้ม เข้าสู่วิกฤตเศรษฐกิจติดลบ 3.5% ต่อจีดีพี ถึงกรณีเหลวร้ายสุดเราก็มองว่า เศรษฐกิจไทยยังไม่เหลวร้ายเท่ากับปี 2009 ที่มีซัพไพร์ม ปีนั้นเศรษฐกิจไทยติดลบ 2% กว่า

วิกฤตเศรษฐกิจของยุโรปคิดว่าเศรษฐกิจของประเทศไทยยังขยายตัวได้ เพราะการส่งออกเราพึ่งยุโรปน้อย นอกจากนี้ รัฐบาลมีโครงการของภาครัฐรออยู่จำนวนมาก ในครึ่งปีหลังเป็นฤดูกาลเบิกจ่ายงบประมาณ มีโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐรออยู่ในช่วง 4-5 ปีข้างหน้า 2 ล้านล้านบาท

ถึงเศรษฐกิจโลกจะมีความผันผวนอย่างไร ถ้าการลงทุนในประเทศยังมีอยู่ น่าจะเดินหน้าต่อไปได้ และประเทศรอบ ๆ เพื่อนบ้านของเรา กัมพูชา ลาว พม่า กัมพูชามีการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ดี ประเทศเหล่านั้นมีการค้าชายแดนกับไทยที่สูง เมื่อรวมกันใหญ่พอ ๆ กับยูโรโซน และยังขยายตัวต่อเนื่องอีกในช่วงหลายปีข้างหน้าน่าจะเป็นอานิสงค์ที่ดีสำหรับไทย

แต่การที่โครงสร้างของกฎหมายและกติกาที่รวมกันอยู่ของยุโรป ยังมีจุดอ่อนอยู่หลายจุด และแหล่งเงินมาจากหลายประเทศ กว่าจะอนุมัติได้ต้องไปผ่านความเห็นชอบของประชาชนในแต่ละประเทศ ซึ่งกว่าจะตกลงกัน กว่าจะให้นักการเมืองหาเสียงมาได้ เรื่องเหล่านี้ต้องผ่านกลไกค่อนข้างยาวนานใช้เวลา จึงเป็นจุดจำกัดที่ทำให้แก้ปัญหาแบบเบ็ดเสร็จไม่ได้

เมื่อเกิดโจทย์ขึ้นอย่างเช่นกรณีในกรีซ หรือในสเปนขึ้น ทำให้ไม่สามารถตัดสินใจผลักดันวงเงินก้อนใหญ่ หรือว่ามาตรการที่เบ็ดเสร็จออกมาได้ในเวลาอันสั้น ฉะนั้นทางเลือกของยุโรป เครื่องมือทางด้านนโยบายมีค่อนข้างจำกัด ธนาคารกลางยุโรป (ECB)เองมีข้อจำกัดในการใช้นโยบายการเงินที่จำกัดกว่าธนาคารกลางสหรัฐ

แม้ทางการยุโรปจะพยายามหาความร่วมมือในการกำหนดมาตรการต่าง ๆ แต่ในที่สุดไม่มีการตัดสินใจอะไรที่เป็นรูปธรรมออกมา ทำให้ปัญหาวิกฤตยูโรโซนน่าจะถูกลากยาวออกไปอีกเป็นปี ส่วนจะเพิ่มระดับความรุนแรงอย่างไรคงต้องเฝ้าระวังติดตามกันอย่างใกล้ชิด


ที่่สำคัญการที่รัฐบาลไทยจะหวังพึ่งพิงการส่งออกไปยังตลาดอาเซียนอย่างเดียวคงไม่ได้ เพราะหากเกิดวิกฤตลุกลาม เศรษฐกิจทั่วโลกถดถอย ทุกประเทศย่อมได้รับผลกระทบเช่นเดียวกัน


อย่างไรก็ตาม บทเรียนการรวมตัวกันในกลุ่มสหภาพยุโรป 17 ประเทศที่กำลังมีปัญหา น่าจะเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับอาเซียนรอบครอบ และระมัดระวังมากขึ้นในการรวมตัวเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ที่กำลังจะมาถึงในอีก 3 ปีข้างหน้า

เรื่องโดย: กฤษณา ไพฑูรย์
http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... catid=0501