ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 91

โพสต์

EUROPE:S&P เตือนตราสารหนี้จำนวนมากเสี่ยงถูกหั่นอันดับหากยูโรโซนถูกลดเครดิต
นิวยอร์ค--14 ธ.ค.--รอยเตอร์

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ระบุว่า พันธบัตรรัฐบาลและตราสารหนี้
ธนาคารจำนวนมากยิ่งขึ้นกำลังเผชิญความเสี่ยงจากการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
โดยเป็นผลจากประกาศเตือนของ S&P ในช่วงก่อนหน้านี้ที่ว่า S&P อาจปรับลดอันดับ
ความน่าเชื่อถือของประเทศสมาชิกยูโรโซน 15 จาก 17 ประเทศ
นางไดแอน วาสซา หัวหน้าฝ่ายวิจัยตราสารหนี้ระดับโลกของ S&P ระบุ
ในแถลงการณ์ว่า "พันธบัตรรัฐบาลและธนาคารยังคงเผชิญความเสี่ยงจากการถูกปรับ
ลดอันดับมากที่สุด โดยกิจการในสองภาคนี้กระจุกตัวอยู่ในยุโรป ขณะที่พันธบัตรรัฐบาล
ยุโรป 25 รายการและธนาคารยุโรป 42 แห่งมีชื่ออยู่ในรายชื่อตราสารหนี้ที่เราอาจ
ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ"
S&P ระบุว่า ทางบริษัทได้จัดทำรายชื่อกิจการ 463 แห่งที่เผชิญความเสี่ยง
มากที่สุดจากการถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในวันที่ 6 ธ.ค. โดยเพิ่มขึ้นจาก 457
แห่งในวันที่ 1 พ.ย.
ในวันที่ 5 ธ.ค.ที่ผ่านมา S&P ได้จัดให้สมาชิกยูโรโซน 15 ประเทศ
อยู่ในเครดิตพินิจเชิงลบ และระบุว่า "ภาวะตึงเครียดในระบบ" กำลังเพิ่มสูงขึ้น
ขณะที่สถานการณ์ด้านสินเชื่อตึงตัวมากยิ่งขึ้นในยูโรโซน
S&P ออกประกาศเตือนดังกล่าวก่อนที่ผู้นำประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป
(อียู) 26 จาก 27 ประเทศจะบรรลุข้อตกลงกันในวันศุกร์ที่แล้วในการร่างสนธิ
สัญญาใหม่เพื่อประสานนโยบายในยูโรโซนเข้าด้วยกันมากยิ่งขึ้น
ถึงแม้การประกาศเครดิตพินิจเชิงลบมักหมายความว่า S&P จะตัดสินใจ
ในเรื่องนี้ภายในเวลา 3 เดือนข้างหน้า แต่ S&P ก็ระบุในสัปดาห์ที่แล้วว่า จะรีบ
สรุปการทบทวนในครั้งนี้ "โดยเร็วที่สุด" หลังจากการประชุมสุดยอดผู้นำอียู
S&P ระบุเมื่อวานนี้ว่า นับตั้งแต่ออกรายงานครั้งก่อน S&P ก็ได้ปลดกิจการ
74 แห่งออกจากรายชื่อกิจการที่อาจถูกปรับลดอันดับ และเพิ่มกิจการอีก 80 แห่งเข้า
ไปในรายชื่อดังกล่าว
S&P ระบุในแถลงการณ์ว่า "ในบรรดาผู้ออกตราสารที่เราปลดออกจาก
รายชื่อผู้มีสิทธิถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือนับตั้งแต่เราออกรายงานฉบับก่อนนั้น
ผู้ออกตราสาร 12 รายอยู่ในภาคธนาคาร และมีธนาคาร 7 จาก 12 แห่งที่ถูก
ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง โดยส่วนใหญ่อยู่ในยุโรป ซึ่งสะท้อนความกังวล
ทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่องในยูโรโซน"
นักลงทุนยังคงตั้งข้อสงสัยว่า S&P จะตัดสินใจเช่นใดในการจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือของยูโรโซน โดยมีการตั้งคำถามหลายประการด้วยกัน ซึ่งรวมถึง
คำถามที่ว่า การบรรลุสนธิสัญญาฉบับใหม่จะช่วยให้ S&P ระงับการปรับลดอันดับ
ความน่าเชื่อถือหรือไม่, S&P จะมองว่าสนธิสัญญาใหม่ช่วยให้ยูโรโซนปรับตัวไป
ในทิศทางที่ถูกต้องหรือไม่ หรือว่าข้อตกลงใหม่ไม่สามารถปรับเปลี่ยนความเห็น
ของ S&P
นายฌอง-มิเชล ซิกส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ยุโรปของ S&P กล่าวว่า
"เวลาใกล้จะหมดลงแล้ว และจำเป็นต้องมีการดำเนินมาตรการทั้งในฝ่ายการคลัง
และฝ่ายการเงิน"
นายซิกส์กล่าวว่า "อาจจะต้องเกิดภาวะช็อคอีกครั้งก่อนที่ทุกคนในยูโรโซน
จะมีความเข้าใจที่ตรงกัน โดยเหตุการณ์ดังกล่าวอาจจะเป็นการที่ธนาคารขนาดใหญ่
แห่งหนึ่งของเยอรมนีเผชิญกับความยากลำบากอย่างแท้จริงในตลาด ซึ่งถือเป็น
เหตุการณ์ที่สามารถเกิดขึ้นได้จริงในระยะอันใกล้นี้"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 92

โพสต์

GREECE:IMF หั่นคาดการณ์เศรษฐกิจกรีซ คาดหดตัว 6% ปีนี้, 3% ปีหน้า
วอชิงตัน--14 ธ.ค.--รอยเตอร์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ระบุว่า ทางกองทุน
คาดว่าเศรษฐกิจกรีซอาจหดตัวลงในปีหน้าในระดับที่รุนแรงกว่าที่เคยคาดการณ์
กันไว้ แต่ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ในทางบวกว่า การบรรลุข้อตกลงกับภาคเอกชน
ที่ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซจะช่วยให้กรีซมีความสามารถในการชำระหนี้
อย่างยั่งยืน
ไอเอ็มเอฟออกรายงานฉบับหนึ่งพร้อมกับการปล่อยเงินช่วยเหลือ
วงเงิน 2.2 พันล้านยูโร (3 พันล้านดอลลาร์) ในสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ระบุใน
รายงานว่า ไอเอ็มเอฟได้ปรับลดตัวเลขคาดการณ์ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
(จีดีพี) ของกรีซ เนื่องจากอุปสงค์ต่างประเทศอยู่ในภาวะที่ไม่น่าพึงพอใจมากยิ่งขึ้น,
สินเชื่อธนาคารหดตัวลง และกรีซดำเนินการอย่างล่าช้าในการปฏิรูปเพื่อส่งเสริม
ความเชื่อมั่นของนักลงทุน
ไอเอ็มเอฟระบุว่า จุดหักเหของการเติบโตทางเศรษฐกิจที่เคยคาดการณ์
ว่าจะเกิดขึ้นในช่วงปลายปี 2011 กลับไม่ได้เกิดขึ้นตามที่คาดการณ์กันไว้ ดังนั้นจีดีพี
กรีซในปี 2011 จึงมีแนวโน้มหดตัวลง 6 % เทียบกับตัวเลขคาดการณ์เดิมที่ 5.5 %
ไอเอ็มเอฟปรับลดตัวเลขคาดการณ์อัตราการเติบโตของจีดีพีกรีซประจำปี
2012 ลงด้วย โดยคาดว่าจีดีพีอาจหดตัว 3 % ในปี 2012 จากเดิมที่คาดว่าอาจหดตัว
เพียง 2.75 %
นายพอล ธอมเสน หัวหน้าคณะผู้แทนไอเอ็มเอฟในด้านกรีซ กล่าวว่า
สิ่งนี้แสดงให้เห็นว่าความเชื่อมั่นของตลาดและนักลงทุนที่มีต่อกรีซยังไม่ได้ปรับตัวดีขึ้น
นายธอมเสนกล่าวว่า "การปฏิรูปดำเนินไปอย่างล่าช้ากว่ากำหนด และ
ยังไม่ได้ไปถึงจุดที่จะส่งผลให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด"
อย่างไรก็ดี นายธอมเสนกล่าวว่า เขาคาดการณ์ในทางบวกว่า จะมีการ
บรรลุข้อตกลงเรื่องการปรับลดหนี้กับภาคเอกชนผู้ถือครองพันธบัตรกรีซในช่วงต้นปีหน้า
นายธอมเสนปฏิเสธที่จะหารือเรื่องรายละเอียดที่เฉพาะเจาะจงในการ
เจรจาที่ดำเนินไปในขณะนี้ แต่เขากล่าวว่าความช่วยเหลือจากภาครัฐบาลและ
"การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน" (PSI) จะช่วยให้กรีซมีความสามารถในการ
ชำระหนี้อย่างยั่งยืน
นายธอมเสนกล่าวว่า "ผมคิดว่า PSI คือปัจจัยสำคัญในการสร้างความ
สามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืน และในการรับประกันว่าโครงการนี้จะระดมทุน
ได้มากพอสำหรับช่วง 12 เดือนข้างหน้า"
นายธอมเสนกล่าวว่า "ผมเชื่อมั่นว่าจะมีการบรรลุข้อตกลง PSI ซึ่งจะ
ส่งผลให้หนี้กรีซลดลงสู่ 120 % ของจีดีพี" ภายในปี 2020
นายธอมเสนตั้งข้อสังเกตว่า ผู้นำยุโรปได้ให้สัญญาว่าจะช่วยเหลือกรีซ
ตราบใดที่กรีซยังคงรักษาสัญญาในการดำเนินการตามโครงการปฏิรูป--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 93

โพสต์

รมว.คลังยุโรปเตรียมประชุมหารือประเด็นเพิ่มทุน IMF วันนี้ที่กรุงบรัสเซลส์
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 19 ธันวาคม 2554 07:23:59 น.
รัฐมนตรีคลังของกลุ่มประเทศยุโรปจะประชุมร่วมกันในวันนี้เวลา 15.30 น.ตามเวลากรุงบรัสเซลส์ โดยที่ประชุมจะหารือกันเกี่ยวกับเงื่อนไขและกำหนดเวลาในการให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ประเทศที่ประสบปัญหาหนี้สาธารณะ โดยผ่านการอัดฉีดเงินทุนเพิ่มอีก 2 แสนล้านยูโร หรือ 2.61 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ให้กับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) และใช้กองทุนกลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) เป็นเครื่องมือในการกู้วิกฤตหนี้ยุโรป ตามมติที่ประชุมสุดยอดผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ซึ่งมีขึ้นเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา

ในการประชุมอียูครั้งล่าสุดนั้น ที่ประชุมมีมติให้ใช้ "บทบัญญัติทางการคลัง" (fiscal compact) ฉบับใหม่ ที่ตั้งอยู่บนสนธิสัญญาระหว่างรัฐบาล (inter-governmental treaties) แทนการเปลี่ยนแปลงสนธิสัญญาของอียู พร้อมให้ร่นระยะเวลาการใช้กลไกรักษาเสถียรภาพยุโรป (ESM) ให้เร็วขึ้นจากเดิม 1 ปี และจัดหาเงินทุนวงเงิน 2 แสนล้านยูโรให้กับไอเอ็มเอฟ เพื่อช่วยให้ไอเอ็มเอฟมีศักยภาพในการแก้ไขวิกฤติหนี้สินยูโรโซนได้มากขึ้น โดยประเทศสมาชิกอียูจะกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้ภายในระยะเวลา 10 วันนับตั้งแต่การประชุมเสร็จสิ้นลง

ในเบื้องต้นนั้น ที่ประชุมอียูตกลงกันว่าจะให้ธนาคารกลางของประเทศต่างๆในยุโรปเป็นผู้จัดหาเงินทุนให้กับไอเอ็มเอฟ โดยธนาคารกลางของกลุ่มยูโรโซนจะรับภาระจัดหาเงินทุนในวงเงิน 1.50 แสนล้านยูโร ส่วนที่เหลืออีก 5 หมื่นล้านยูโรจะรับภาระโดยธนาคารกลางของอังกฤษและประเทศอื่นๆนอกกลุ่มยูโรโซน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 94

โพสต์

EUROPE:อียูอาจปล่อยกู้ให้ไอเอ็มเอฟต่ำกว่าเป้าหลังอังกฤษถอนตัว
บรัสเซลส์/ลอนดอน--20 ธ.ค.--รอยเตอร์

รัฐมนตรีคลังยูโรโซนตกลงกันเมื่อวานนี้ว่าจะปรับเพิ่มขนาดทุนทรัพย์ของกอง
ทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ขึ้นอีก 1.50 แสนล้านยูโรเพื่อใช้ในการ
แก้ไขวิกฤติหนี้ และประเทศสมาชิกสหภาพยุโรป (อียู) ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกยูโรโซนก็
จะร่วมจ่ายเงินสมทบให้แก่ไอเอ็มเอฟด้วย อย่างไรก็ดี ขณะนี้ยังไม่เป็นที่แน่ชัดว่าทาง
กลุ่มจะสามารถปรับเพิ่มขนาดทุนทรัพย์ขึ้นได้ 2 แสนล้านยูโรตามเป้าหมายที่ตั้งไว้หรือ
ไม่ หลังจากอังกฤษถอนตัวจากแผนการนี้
หลังจากการประชุมทางโทรศัพท์เป็นเวลานาน 3 ชั่วโมง รัฐมนตรีคลัง
สหภาพยุโรป (อียู) ก็แถลงว่า สาธารณรัฐเชค, เดนมาร์ก, โปแลนด์ และสวีเดน
ซึ่งเป็นประเทศสมาชิกอียูที่ไม่ได้เป็นสมาชิกยูโรโซน จะปล่อยกู้แก่ไอเอ็มเอฟด้วย
เช่นกันเพื่อใช้ในการช่วยเหลือยูโรโซน ทั้งนี้ อียูประกอบด้วยประเทศสมาชิก 27
ประเทศ ส่วนยูโรโซนมีสมาชิก 17 ประเทศ
อย่างไรก็ดี อียูแถลงว่า สี่ประเทศนี้จำเป็นต้องได้รับการอนุมัติจากรัฐสภา
ภายในประเทศตนเองก่อนที่จะปล่อยกู้แก่ไอเอ็มเอฟ ทางด้านอังกฤษประกาศว่า
อังกฤษจะไม่เข้าร่วมในแผนการปล่อยกู้นี้
ปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้ยูโรโซนต้องหันไปพึ่งพาประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่
อย่างเช่นจีนและรัสเซียมากยิ่งขึ้น โดยรัสเซียได้แสดงความเต็มใจที่จะปล่อยกู้เพิ่ม
เติมแก่ไอเอ็มเอฟ ทางด้านสหรัฐแสดงความกังวลต่อความเสี่ยงที่ไอเอ็มเอฟอาจได้
รับจากยูโรโซน
ก่อนหน้านี้รัฐมนตรีคลังอียูได้กำหนดเส้นตายอย่างไม่เป็นทางการไว้ในวัน
จันทร์ที่ 19 ธ.ค.ในการบรรลุเป้าหมาย 2 แสนล้านยูโร ซึ่งเป็นตัวเลขที่ผู้นำอียู
ตกลงกันไว้ในการประชุมเมื่อวันที่ 8-9 ธ.ค.
รัฐมนตรีคลังอียูออกแถลงการณ์หลังการประชุมวานนี้ว่า "ประเทศสมาชิก
ยูโรโซนจะจัดหาทุนทรัพย์เพิ่มเติม 1.50 แสนล้านยูโรผ่านทางสินเชื่อระดับทวิภาคี
ให้แก่บัญชีทุนทรัพย์ทั่วไปของไอเอ็มเอฟ"
"อียูมีความยินดีถ้าหากประเทศสมาชิกกลุ่มจี-20 และประเทศสมาชิก
ไอเอ็มเอฟรายอื่นๆที่มีความแข็งแกร่งทางการเงิน จะสนับสนุนความพยายามใน
การคุ้มครองเสถียรภาพการเงินโลกด้วยการจ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมให้แก่ไอเอ็มเอฟ"
แหล่งข่าวกล่าวว่า อังกฤษตัดสินใจว่าจะไม่จ่ายเงินสมทบเพิ่มเติมให้แก่
ไอเอ็มเอฟ อย่างไรก็ดี อียูระบุในแถลงการณ์ว่า รัฐบาลอังกฤษจะตัดสินใจใน
ประเด็นนี้ในช่วงต้นปีหน้าภายใต้กรอบการทำงานของกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและ
กำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20)
การปรับเพิ่มขนาดทุนทรัพย์ของไอเอ็มเอฟถือเป็นหนึ่งในแผนยุทธศาสตร์
สำคัญหลายแผนที่ใช้ในการปรับเพิ่มความสามารถของยูโรโซนในการแก้วิกฤติและ
ในการป้องกันไม่ให้เกิดวิกฤติขึ้นอีกในอนาคต โดยแผนสำคัญอีกแผนหนึ่งคือการเพิ่ม
ความยืดหยุ่นให้แก่กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ในการแก้ไข
วิกฤติหนี้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 95

โพสต์

GREECE:การเจรจาปรับโครงสร้างหนี้กรีซสะดุดหลังเฮดจ์ฟันด์ถอนตัว
เอเธนส์/ลอนดอน--21 ธ.ค.--รอยเตอร์

การเจรจาเรื่องการปรับโครงสร้างหนี้สาธารณะของกรีซเผชิญกับอุปสรรค
เมื่อวานนี้ เนื่องจากกองทุนแห่งหนึ่งถอนตัวออกจากการเจรจาต่อรอง และทำให้เกิด
ความกังวลกันว่า รัฐบาลกรีซกับเจ้าหนี้เอกชนอาจจะไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้
ในปีนี้ ถึงแม้ข้อตกลงดังกล่าวถือเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้กรีซได้รับมาตรการช่วย
เหลือทางการเงินครั้งใหม่
แหล่งข่าวกล่าวว่า กองทุนเวกา แอสเซท แมเนจเมนท์ ซึ่งมีสำนักงาน
ใหญ่อยู่ในกรุงมาดริดของสเปน ถอนตัวออกจากคณะกรรมการวางแผน โดยคณะ
กรรมการชุดนี้เป็นตัวแทนของเจ้าหนี้เอกชนในการเจรจาต่อรองเรื่องการปรับโครง
สร้างพันธบัตรรัฐบาลกรีซโดยสมัครใจ
แหล่งข่าวกล่าวว่า มีการแสดงความเห็นที่ขัดแย้งกันในเรื่องวิธีการสว็อป
พันธบัตรอย่างสมัครใจ ถึงแม้ไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดที่แน่นอนในเรื่องนี้ โดย
กองทุนเวกาปฏิเสธที่จะแสดงความเห็นต่อข่าวนี้
นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซพยายามสร้างความมั่นใจ
ในการเจรจา โดยเขากล่าวว่าเขามีความมั่นใจว่า ผู้เจรจาต่อรองใกล้ที่จะ
บรรลุข้อตกลงกันแล้ว แต่นักการธนาคารที่ใกล้ชิดกับการเจรจาครั้งนี้ไม่ได้คาดการณ์
ในทางบวกมากนักต่อการเจรจานี้
นักการธนาคารคนหนึ่งกล่าวว่า "ผมคาดว่าจะไม่มีการทำข้อตกลงกันในปีนี้"
ธนาคารพาณิชย์และกองทุนต่างๆได้เจรจาต่อรองกับรัฐบาลกรีซในช่วง
หลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับเงื่อนไขของข้อตกลงฉบับนี้ โดยภายใต้ข้อตกลงนี้
ธนาคารและกองทุนจะยอมรับการปรับลดมูลค่าพันธบัตรรัฐบาลกรีซที่ตนเองถือครอง
ไว้ลง 50 % เพื่อแลกกับพันธบัตรใหม่และเงินสด
แผนการทำข้อตกลงฉบับนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับลดหนี้สินของกรีซลง 1 แสน
ล้านยูโร ซึ่งจะเปิดโอกาสให้ระดับหนี้สินของกรีซลดลงจาก 160 % ของมูลค่าผลิต
ภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) สู่ 120 % ของจีดีพีภายในปี 2020
อย่างไรก็ดี การเจรจาต่อรองเผชิญกับอุปสรรคเรื่องเงื่อนไขต่างๆที่จะ
เป็นตัวกำหนดต้นทุนที่แท้จริงที่เจ้าหนี้เอกชนต้องแบกรับ โดยเงื่อนไขเหล่านี้รวมถึง
อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วในพันธบัตรใหม่, อายุของพันธบัตรใหม่ และเงื่อนไขของการ
ค้ำประกัน
การบรรลุข้อตกลงในครั้งนี้ถือเป็นเงื่อนไขสำคัญในมาตรการให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงินสำหรับกรีซ โดยเจ้าหน้าที่หวังว่ามาตรการดังกล่าวจะช่วย
ให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงจากการผิดนัดชำระหนี้ ในขณะที่การผิดนัดชำระหนี้ของ
กรีซถือเป็นภัยคุกคามต่อทั้งภูมิภาคยูโรโซน
กรีซเผชิญกับเส้นตายสำคัญในเดือนมี.ค. 2012 ซึ่งเป็นเดือนที่กรีซ
ต้องไถ่ถอนพันธบัตร 1.45 หมื่นล้านยูโร โดยกรีซอาจมีความจำเป็นต้องระดม
ทุนใหม่ ถ้าหากกรีซจะจ่ายเงินในการไถ่ถอนพันธบัตรดังกล่าว--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 96

โพสต์

ENGLAND:มูดี้ส์ชี้วิกฤติหนี้ยูโรโซนอาจกระทบอันดับเครดิตที่ Aaa ของอังกฤษ
ลอนดอน--21 ธ.ค.--รอยเตอร์

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ซึ่งเป็นสถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ
ระหว่างประเทศระบุเมื่อวานนี้ว่า อันดับความน่าเชื่อถือขั้นสูงสุดของตราสารหนี้
อังกฤษกำลังเผชิญภัยคุกคามจากวิกฤติยูโรโซน และเหตุร้ายแรงที่เศรษฐกิจ
อังกฤษเผชิญในอนาคตอาจขัดขวางความพยายามของรัฐบาลอังกฤษในการทำให้
งบประมาณสมดุล
มูดี้ส์ระบุว่า อังกฤษมีความสามารถลดน้อยลงในช่วงหนึ่งปีที่ผ่านมาใน
การปรับตัวรับเหตุร้ายแรงทางการคลังในอนาคตพร้อมกับรักษาอันดับความน่า
เชื่อถือขั้น Aaa เอาไว้โดยมีแนวโน้มที่มีเสถียรภาพ และมูดี้ส์ยังระบุอีกด้วยว่า
อังกฤษกำลังเผชิญกับ "อุปสรรคที่ยากลำบากและเพิ่มมากขึ้น"
หลังจากมูดี้ส์เปิดเผยรายงานการประเมินความสามารถในการชำระ
หนี้ของอังกฤษในช่วงสิ้นปี นางซาราห์ คาร์ลสัน นักวิเคราะห์ของมูดี้ส์ได้กล่าว
ต่อรอยเตอร์ว่า ความสามารถของอังกฤษในการรับมือกับปัญหาได้ลดน้อยลงนับ
ตั้งแต่มูดี้ส์ออกรายงานประจำปีครั้งก่อน
ตลาดกำลังจับตาดูข่าวเกี่ยวกับอันดับความน่าเชื่อถือขั้น AAA ของ
ฝรั่งเศสในช่วงนี้ และรัฐบาลฝรั่งเศสกับอังกฤษได้กล่าวโจมตีซึ่งกันและกันใน
ช่วงที่ผ่านมา โดยเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศสกล่าวว่า ประเทศที่ควรจะถูกปรับลดอันดับ
ความน่าเชื่อถือลงเป็นรายต่อไปน่าจะเป็นอังกฤษ ไม่ใช่ฝรั่งเศส
อังกฤษยังคงได้รับความเชื่อมั่นจากนักลงทุนในตลาดในช่วงนี้ โดย
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอังกฤษประเภท 10 ปีอยู่สูงกว่า 2 % เล็ก
น้อยในช่วงนี้ และอยู่ใกล้สถิติต่ำสุด
มูดี้ส์ระบุในรายงานประจำปีว่า "แนวโน้มที่มีเสถียรภาพของอันดับ
ความน่าเชื่อถือขั้น Aaa ของรัฐบาลอังกฤษในขณะนี้ ตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า
รัฐบาลอังกฤษจะดำเนินโครงการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงต่อไป"
มูดี้ส์ย้ำว่า รายงานฉบับนี้เป็นการปรับปรุงข้อมูลรายปีให้ทันสมัย
และไม่ถือเป็นการดำเนินการต่ออันดับความน่าเชื่อถือ
รายงานระบุว่า "ถ้าหากแนวโน้มเศรษฐกิจมหภาคอ่อนแอลงต่อไป
หรือถ้าหากอังกฤษจำเป็นต้องเข้าช่วยเหลือระบบธนาคาร ปัจจัยดังกล่าวก็
อาจส่งผลลบเป็นการชั่วคราวต่อความพยายามของรัฐบาลอังกฤษในการปรับ
ลดยอดขาดดุลงบประมาณ"
รายงานระบุว่า "ด้วยเหตุนี้ แนวโน้มของอันดับความน่าเชื่อถือจึง
อาจจะได้รับผลกระทบจากความเปลี่ยนแปลงในอนาคตของวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ถึงแม้ว่าอังกฤษไม่ได้เป็นสมาชิกของยูโรโซนก็ตาม"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 97

โพสต์

> ENGLAND:กรรมการธ.กลางอังกฤษชี้มีความเสี่ยงที่ศก.จะเผชิญภาวะถดถอย
ลอนดอน--21 ธ.ค.--รอยเตอร์

นายเบน บรอดเบนท์ กรรมการธนาคารกลางอังกฤษ (BoE) กล่าวว่า
อังกฤษเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเข้าสู่ภาวะถดถอย ขณะที่กรรมการอีกรายระบุว่า
BoE อาจจะตัดสินใจออกมาตรการกระตุ้นทางการเงินเพิ่มเติมเพื่อจัดการกับภาวะ
เศรษฐกิจตกต่ำในฤดูหนาวนี้
"สถานการณ์ต่างๆชะลอตัวลงมากอย่างเห็นได้ชัดตั้งแต่ต้นปีนี้ และมีโอกาส
สูงที่จะเกิดภาวะถดถอยเชิงเทคนิค" นายบรอดเบนท์กล่าว
ด้านนายชาร์ลส์ บีน กรรมการอีกรายกล่าวว่า BoE อาจจะเลือกซื้อ
สินทรัพย์เพิ่มเติมในเดือนก.พ.ปีหน้า เมื่อการเพิ่มวงเงินในโครงการซื้อพันธบัตร
ที่มีการทำข้อตกลงในเดือนต.ค.สิ้นสุดลง โดยระบุถึงอันตรายจากอัตราเงินเฟ้อที่
จะลดลงต่ำกว่าเป้าหมายของ BoE มากเกินไป
นักการธนาคารทั้งสองรายได้ย้ำมุมมองที่ว่า การลดลงอย่างมากของ
แรงกดดันด้านราคาในปีหน้า น่าจะช่วยผู้บริโภค
ผลสำรวจของสมาพันธ์อุตสาหกรรมอังกฤษ (CBI) พบว่า ยอดค้าปลีก
เดือนธ.ค.ของอังกฤษเพิ่มขึ้นผิดคาดในอัตราสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. ขณะที่ผู้
ค้าปลีกลดราคาสินค้าลงอย่างมาก ซึ่งเป็นสัญญาณที่แสดงว่า ราคาที่ลดลงมี
อำนาจในการเพิ่มการใช้จ่ายของผู้บริโภค
ในเดือนต.ค. นายบรอดเบนท์ได้ลงมติให้เพิ่มวงเงินซื้อสินทรัพย์ของ
BoE ขึ้น 7.5 หมื่นล้านปอนด์ เป็น 2.75 แสนล้านปอนด์เพื่อพยุงเศรษฐกิจที่ได้
รับผลกระทบจากอุปสงค์ผู้บริโภคที่ซบเซา และวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ด้านนายสเปนเซอร์ เดล หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของ BoE ระบุใน
รายงานประจำไตรมาสว่า ภาวะชะลอตัวของการอุปโภคบริโภคภาคครัวเรือน
เป็น "เหตุผลสำคัญที่อัตราการฟื้นตัวน่าผิดหวัง"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 98

โพสต์

ไอเอ็มเอฟวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจโลกในภาพรวม ปี 2555 ซึ่งมีข้อมูลแสดงให้เห็นว่า สถานการณ์เศรษฐกิจโลกอาจจะย่ำแย่กว่าในปีนี้ เนื่องจากวิกฤตเศรษฐกิจในหลายทวีปยังไม่คลี่คลาย



นายโอลิวิเยร์ บลองชาร์ หัวหน้าทีมนักวิเคราะห์ด้านเศรษฐศาสตร์ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ เขียนบทวิเคราะห์ถึงเศรษฐกิจโลกในปี 2554 และแนวโน้มเศรษฐกิจโลกในปี 2555



โดยระบุว่า เศรษฐกิจโลกในปี 2554 เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวแล้ว แต่ในช่วงปลายปี อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจกลับทรงตัวและความมั่นใจลดน้อยลงอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากนักลงทุนต่างชะลอการลงทุน เนื่องจากเกรงว่าจะได้รับผลกระทบจากวิกฤตหนี้สินในทวีปยุโรป และมีแนวโน้มที่จะแย่ลงกว่าวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ในปี 2551



ขณะที่รายงานการคาดการณ์เศรษฐกิจโลกในปีหน้า ซึ่งออกมาตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา ไอเอ็มเอฟระบุว่า เศรษฐกิจในปี 2555 จะเติบโตเพียงร้อยละ 4 เท่านั้น ซึ่งนายบลองชาร์ย้ำว่า หากผู้นำประเทศต่างๆ ไม่สามารถออกมาตรการทางเศรษฐกิจที่แก้ปัญหาได้ถูกจุดจะยิ่งทำให้สถานการณ์เศรษฐกิจโลกที่แย่อยู่แล้ว ย่ำแย่ลงกว่าเดิม



เช่นเดียวกับนางคริสตีน ลาการ์ด ผู้อำนวยการไอเอ็มเอฟ เปิดเผยว่า ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่า แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจทั่วโลกในปีหน้าจะไม่ดีขึ้นมากนัก เนื่องจากปัญหาวิกฤตหนี้สินในยุโรปยังไม่คลี่คลายมากนัก ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากการที่ผู้นำประเทศยุโรปไม่สามารถตกลงนโยบายแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้



จากแนวโน้มดังกล่าว น่าจะทำให้การกอบกู้วิกฤตเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยากลำบากมากขึ้น นายบลองชาร์เสนอให้ ผู้นำประเทศต่างๆ ใช้นโยบายเศรษฐกิจที่เข้มข้นกว่าที่ผ่านมา โดยต้องเน้นการสร้างความเชื่อมั่นแก่ประชาชนและนักลงทุนต่างชาติ การแก้ปัญหาเศรษฐกิจให้ตรงจุด ตลอดจนแสวงหาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ



by VoiceNews
22 ธันวาคม 2554 เวลา 22:30 น.
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 99

โพสต์

EUROPE:แหล่งข่าวคาด S&P ประกาศผลทบทวนอันดับเครดิตยูโรโซนเดือนหน้า
ลอนดอน--26 ธ.ค.--รอยเตอร์

แหล่งข่าวรัฐบาลยุโรป 2 รายเปิดเผยกับรอยเตอร์โดยคาดว่าสแตนดาร์ด
แอนด์ พัวร์ (S&P) จะเปิดเผยคำตัดสินเกี่ยวกับอันดับความน่าเชื่อถือของ 15
ประเทศในยูโรโซนในเดือนหน้า
"เราได้รับสัญญาณอย่างไม่เป็นทางการจาก S&P ว่า พวกเขาจะประกาศ
คำตัดสินในเดือนม.ค.เท่านั้น" แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าว
แหล่งข่าวอาวุโสในยูโรโซนจากอีกประเทศหนึ่งคาดว่า การตัดสินใจของ
S&P จะออกมาในเดือนหน้า
เมื่อวันที่ 6 ธ.ค. S&P เตือนว่า บริษัทอาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อ
ถือของประเทศในยูโรโซนครั้งใหญ่อย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ถ้าผู้นำอียูไม่สามารถ
บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีแก้ไขวิกฤติหนี้ในการประชุมสุดยอดเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ที่ผ่านมา
S&P คาดว่าจะสรุปการทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะ
เป็นไปได้หลังการประชุมสุดยอดดังกล่าว
S&P ได้ให้เครดิตพินิจเชิงลบแก่ 15 ประเทศในยูโรโซน ซึ่งรวมถึงเยอรมนี
และฝรั่งเศสที่ได้รับการจัดอันดับสูงสุด และระบุว่า "ความตึงเครียดในระบบ" กำลังก่อ
ตัวขึ้น ขณะที่ภาวะสินเชื่อในยูโรโซนตึงตัวขึ้น
ขณะที่เครดิตพินิจเชิงลบมักจะเป็นการส่งสัญญาณว่าอาจจะมีการลดอันดับความ
น่าเชื่อถือภายในเวลาไม่เกิน 3 เดือน แต่ S&P ก็เปิดเผยในขณะนั้นว่า จะสรุป
การทบทวน "โดยเร็วเท่าที่จะทำได้" หลังการประชุมสุดยอด
สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถืออื่นๆกำลังจับตาดูยูโรโซนอย่างใกล้ชิดเช่นกัน
มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเปิดเผยว่า จะทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของ
ทั้ง 27 ประเทศในอียูในไตรมาสแรกปีหน้า หลังจากที่มูดี้ส์คงอันดับความน่าเชื่อถือ
ของออสเตรียที่ AAA เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา
ฟิทช์ เรทติงส์จับตาอันดับความน่าเชื่อถือของ 6 ประเทศในยูโรโซน ซึ่ง
รวมถึงอิตาลีและสเปน โดยมีแนวโน้มปรับลดในระยะใกล้ โดยฟิทช์คาดว่า
การหาทางออกแบบเบ็ดเสร็จให้แก่วิกฤติหนี้ยูโรโซนเป็นสิ่งที่ไม่สามารถทำได้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 100

โพสต์

EUROPE:จนท.อีซีบีส่งสัญญาณลดดอกเบี้ยหากเศรษฐกิจย่ำแย่ลง
มิลาน--26 ธ.ค.--รอยเตอร์

นายอิกนาซิโอ วิสโก กรรมการสภาบริการธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) กล่าว
ว่า อีซีบีจะให้ความสนใจกับวัฏจักรเศรษฐกิจในการกำหนดนโยบายการเงิน ซึ่งบ่งชี้ว่า
อัตราดอกเบี้ยอาจจะลดลงอีก ถ้าเศรษฐกิจยูโรโซนย่ำแย่ลง
อีซีบีได้ลดอัตราดอกเบี้ย 2 เดือนติดต่อกัน และในเดือนนี้ อีซีบีได้ประกาศ
มาตรการช่วยเหลือธนาคารที่ขาดสภาพคล่องของยุโรปเพื่อจัดการกับภาวะถดถอยที่คาด
ว่าจะเกิดขึ้นอันเป็นผลจากมาตรการรัดเข็มขัดในวงกว้าง
"นโยบายการเงินจะให้ความสำคัญกับวัฏจักรเศรษฐกิจ นั่นคือเราปกป้อง
เสถียรภาพทางการเงินในระยะกลาง" นายวิสโกซึ่งเป็นผู้ว่าการธนาคารกลางอิตาลี
ด้วยกล่าวให้สัมภาษณ์กับหนังสือพิมพ์ Il Sole 24 Ore ของอิตาลี
เขากล่าวอีกว่า ทิศทางขาขึ้นของผลตอบแทนพันธบัตรอิตาลียุติและเปลี่ยน
ทิศทางแล้ว แม้ตลาดการเงินยังคงผันผวนมากก็ตาม
เมื่อวันศุกร์ ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลอิตาลีประเภท 10 ปีพุ่งทะลุระดับ
7% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่วันที่ 16 ธ.ค. และส่วนต่างเมื่อเทียบกับพันธบัตร
รัฐบาลเยอรมนีก็สูงกว่า 5.00% จากความวิตกเกี่ยวกับยูโรโซนในปีหน้า--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 101

โพสต์

27/12/2554
วันนี้มีประเด็นที่ต้องติดตามคือ
1. คืนนี้มีประมูลพันธบัตรอิตาลี 9 พันล้านยูโร อายุ 179 วัน และอีก 2.5 พันล้านยูโร อายุ 2 ปี นอกจากต้องตามดู demand แล้ว ต้องดูว่า yield จะเป็นเท่าไหร่ล่าสุด yield ของพันธบัตรอิตาลีพุ่งขึ้นเป็น 6.98% (ระดับ 7% เป็นระดับจิตวิทยาเพราะเป็นจุดที่กรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกสต้องขอความช่วยเหลือจาก EU/IMF) ถ้าการประมูลผ่านไปด้วยดี ค่าเงินยูโรจะกลับมาแข็งค่า (ชั่วคราว) ดอลลาร์อ่อน --> หนุนราคาสินทรัพย์เสี่ยง แต่ถ้าผลการประมูลไม่ดี เงินยูโรอ่อนค่า ดอลลาร์แข็งค่า -> เป็นลบกับราคาหุ้นและโภคภัณฑ์
2. สหรัฐ มีรายงานเกี่ยวกับบ้าน, Consumer confidence index, Richmond Fed Manufacturing Index ซึ่งตลาดคาดว่าส่วนใหญ่จะออกมาดี
3. ไทย - การประชุม ครม.วันนี้ มีวาระมาตรการภาษีสำหรับบ้านที่ถูกน้ำท่วม/ยืดเวลาลดภาษีดีเซล/งบฯบริหารจัดการน้ำ การลงทุนใน Flood way
FSS Research
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 102

โพสต์

ITALY:ความเชื่อมั่นผู้บริโภคอิตาลีดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดในรอบ 16 ปี
โรม--27 ธ.ค.--รอยเตอร์

ISTAT ซึ่งเป็นสำนักงานสถิติแห่งชาติของอิตาลีรายงานว่า ดัชนีความเชื่อ
มั่นผู้บริโภคของอิตาลีดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 16 ปีในเดือนธ.ค. หลังจากนายกรัฐมนตรี
มาริโอ มอนติของอิตาลีประกาศมาตรการรัดเข็มขัดขนาด 3.3 หมื่นล้านยูโร ซึ่งรวม
ถึงมาตรการปรับขึ้นภาษีและปรับลดเงินบำนาญ
ISTAT รายงานว่า ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคทั่วไปดิ่งลงอย่างรุนแรงเกิน
คาดสู่ 91.6 ในเดือนธ.ค. ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดนับตั้งแต่เริ่มมีการจัดทำดัชนีนี้ในปี
1996 เป็นต้นมา โดยดิ่งลงจากระดับ 96.1 ในเดือนพ.ย.
ดัชนีนี้อยู่ต่ำกว่าตัวเลขคาดการณ์ในโพลล์รอยเตอร์ที่ 95.0
คณะรัฐมนตรีอิตาลีได้ผ่านมาตรการรัดเข็มขัดในวันที่ 4 ธ.ค. และวุฒิสมาชิก
อิตาลีได้ลงคะแนนเสียงขั้นสุดท้ายเพื่ออนุมัติมาตรการปรับขึ้นภาษี, ปฏิรูปเงินบำนาญ
และปรับลดงบใช้จ่ายในวันพฤหัสบดีที่ 22 ธ.ค.
มาตรการที่จะส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในทันทีรวมถึงมาตรการปรับขึ้นภาษี
น้ำมัน ในขณะที่การจ่ายเงินบำนาญรายเดือนจะได้รับการปรับตามภาวะเงินเฟ้อ
นายเปาโล มาเมลี นักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารอินเตซา ซานเปาโล
กล่าวว่า "ข้อจำกัดในงบประมาณฉบับนี้จะส่งผลลบต่อรายได้สุทธิของประชาชน
และต่อความสามารถของประชาชนในการออมเงิน ขณะที่ภาษีใหม่ส่งผลให้อัตรา
เงินเฟ้อเพิ่มสูงขึ้น"
นายมาเมลีกล่าวว่า การปรับขึ้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) และการ
เริ่มต้นเก็บภาษีน้ำมันส่งผลให้ราคาผู้บริโภคเพิ่มสูงขึ้น โดยธนาคารอินเตซา
คาดว่า ปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของผู้บริโภคอาจร่วงลงเกือบ 1 % ในปีหน้า
นายมาเมลีกล่าวว่า "ความเชื่อมั่นผู้บริโภคจะร่วงลงก่อนที่จะปรับตัวดีขึ้น"
นักเศรษฐศาสตร์บางรายกล่าวว่า เศรษฐกิจอิตาลีอาจจะเข้าสู่ภาวะ
ถดถอยเป็นเวลายาวนาน ทั้งนี้ มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี)
ของอิตาลีหดตัวลง 0.2 % ในไตรมาส 3 และปริมาณการจับจ่ายใช้สอยของ
ผู้บริโภคร่วงลง 0.2 % เช่นกัน โดยเป็นที่คาดกันว่าจีดีพีจะไม่ฟื้นตัวขึ้นก่อนช่วง
ครึ่งหลังของปี 2012
สมาคมคอนฟินดุสเตรียซึ่งเป็นหน่วยงานล้อบบี้ของกลุ่มนายจ้างอิตาลี
คาดการณ์ในเดือนนี้ว่า เศรษฐกิจอิตาลีอาจหดตัวลง 1.6 % ในปีหน้า ในขณะที่
รัฐบาลอิตาลีคาดว่าเศรษฐกิจอาจหดตัวเพียง 0.4 %--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 103

โพสต์

ฟิทช์คาดเศรษฐกิจสเปนไม่มีการขยายตัวในปีนี้ เหตุอัตราว่างงานยังสูงมาก
Source - IQ Biz (Th)

Wednesday, January 04, 2012 09:49

สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 ม.ค. 55)--สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิทช์ เรตติ้ง ได้ปรับลดอันดับคาดการณ์อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของสเปนในปีนี้ โดยคาดว่าเศรษฐกิจสเปนจะไม่มีการนขยายตัวในปี 2555 จากเดิมที่คาดว่าจะขยายตัว 0.5% และคาดว่าจะเศรษฐกิจสเปนจะขยายตัวเพียง 1.5% ในปี 2556
ฟิทช์ อธิบายถึงสาเหตุของการปรับลดอันดับคาดการณ์ดังกล่าวว่า เป็นผลมาจากอัตราว่างงานของสเปนอยู่ในระดับสูง โดยกระทรวงแรงงานของสเปนระบุว่า สเปนมียอดผู้ว่างงานทั้งสิ้น 4,422,359 คน
นอกจากนี้ ฟิทช์ยังระบุว่า ปัญหาการว่างงานอาจสร้างปัญหาที่ตามมามากขึ้นให้กับภาคธนาคารของสเปน พร้อมกับเตือนว่าฟิทช์อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสถาบันการเงินของสเปน เช่น ธนาคารบังโค ซานตานเดร์, บีบีวีเอ, ลา ไคซา และ บังโค ป๊อปปูเลร์ ลงอีกรอบ
การเตือนของฟิทช์มีขึ้นภายในระยะเวลา 3 เดือนหลังจากที่บริษัทได้ปรับลดอันดับของธนาคารรายใหญ่ของสเปนลงครั้งแรก อาทิเช่น ธนาคารบังโค ซานตานเดร์, บาเนสโต, บีบีวีเอ, ไคซาแบงก์ และ บังโค ป๊อปปูเลร์ วาย บังโค ซาบาเดลล์
"วิกฤติหนี้สาธารณะที่รุนแรงมากขึ้นในเขตยูโรโซน ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจมหภาคที่ย่ำแย่ลงในสเปนและยุโรป รวมทั้งความผันผวนของตลาด และการที่นักลงทุนพยายามหลีกเลี่ยงความเสี่ยงนั้น อาจจะส่งผลกระทบในแง่ลบต่อประวัติความน่าเชื่อถือของธนาคารเหล่านั้น" ฟิทช์ระบุ โดยเชื่อว่าธนาคารต่างๆ จะต้องเผชิญกับความท้าทายอีกมากมาย สำนักข่าวซินหัวรายงาน
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 104

โพสต์

GERMANY:จับตานายกฯเยอรมนีเตรียมประชุมผู้นำฝรั่งเศส,อิตาลีสัปดาห์หน้า
เบอร์ลิน--5 ม.ค.--รอยเตอร์

รัฐบาลเยอรมนีประกาศว่า นายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีของอิตาลี
จะเดินทางมายังกรุงเบอร์ลินในวันพุธหน้าเพื่อจัดการเจรจาเกี่ยวกับวิกฤติยูโรโซน
ร่วมกับนางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีของเยอรมนี
"การเจรจาจะมุ่งเน้นไปที่ประเด็นทวิภาคีและระหว่างประเทศ, สถานการณ์
ในยูโรโซน รวมถึงความคืบหน้าทางเศรษฐกิจในยุโรป" รัฐบาลเยอรมนีระบุในแถลงการณ์
ขณะเดียวกัน นางเมอร์เคลจะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมกับประธานาธิบดี
นิโคลาส์ ซาร์โคซีในวันจันทร์หน้า ก่อนพบปะกับนายมอนติในวันพุธ เพื่อเตรียมการประชุม
สุดยอดผู้นำยุโรปในช่วงปลายเดือน--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 105

โพสต์

GREECE:สถานะการคลังกรีซส่อเค้าป่วน หลัง EU/IMF เลื่อนจ่ายเงินกู้ 3 เดือน
บรัสเซลส์--6 ม.ค.--รอยเตอร์

คณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี) ระบุว่า กำหนดการทั้งหมดในการปล่อย
เงินกู้ฉุกเฉินของสหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) ให้แก่กรีซจะถูกเลื่อนออกไปอีก 3 เดือน โดยเป็นผลจากความ
ล่าช้าในการปล่อยเงินกู้ในปี 2011
ทั้งนี้ ความล่าช้าในการจ่ายเงินกู้เกิดขึ้นในปีที่แล้ว โดยเงินจำนวน
8 พันล้านยูโรที่มีกำหนดจ่ายให้แก่กรีซในเดือนก.ย.2011 ได้ถูกจ่ายออกไปใน
เดือนธ.ค.แทน และมีสาเหตุมาจากการที่กรีซไม่สามารถรักษาสัญญาในการ
ดำเนินการปฏิรูปโครงสร้างและดำเนินมาตรการรัดเข็มขัด
นายโอลิเวียร์ เบลลี โฆษกของอีซี กล่าวว่า ถ้าหากกรีซไม่สามารถ
ปฏิบัติตามเงื่อนไขของโครงการอีกครั้ง การจ่ายเงินก็จะถูกเลื่อนกำหนดออกไปอีก
โดยคณะผู้ตรวจการณ์ของอียูและไอเอ็มเอฟจะเดินทางเยือนกรีซในวันที่ 14-16
ม.ค.นี้เพื่อตรวจสอบความคืบหน้าในการปฏิรูปเศรษฐกิจ
นายเบลลีกล่าวว่า การปล่อยเงินกู้งวดถัดไปวงเงิน 5 พันล้านยูโร
ให้แก่กรีซจะมีขึ้นในเดือนมี.ค.2012 แทนที่จะมีขึ้นในเดือนธ.ค.2011 ตาม
กำหนดการเดิม
ส่วนการปล่อยเงินกู้งวดหลังจากนั้นในวงเงิน 1 หมื่นล้านยูโร จะมีขึ้น
ในเดือนมิ.ย. แทนที่จะมีขึ้นในเดือนมี.ค.ตามกำหนดการเดิม และการปล่อยเงินกู้
ทั้งหมดนี้อาจจะถูกเลื่อนกำหนดออกไปอีก ถ้าหากผู้ตรวจการณ์ลงมติว่ารัฐบาลกรีซ
ประสบความล้มเหลวในการปฏิรูปการคลังตามสัญญาที่ให้ไว้
นายเบลลีกล่าวว่า การปล่อยเงินกู้ให้แก่กรีซภายใต้โครงการให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงินรอบแรกได้กำหนดช่วงเวลา 3 เดือนในการปล่อยเงินกู้
แต่ละงวด ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าว "เป็นสิ่งที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้"
โครงการให้ความช่วยเหลือกรีซรอบแรกโดยอียู/ไอเอ็มเอฟนี้มีวงเงิน
1.10 แสนล้านยูโร และเป็นโครงการที่จัดตั้งขึ้นในปี 2010 เพื่อแลกกับการที่กรีซ
ต้องดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดทางการคลังและดำเนินการปฏิรูปเชิงโครงสร้าง
ซึ่งจะส่งผลให้กรีซมีความสามารถในการชำระหนี้อย่างยั่งยืน
ภายใต้โครงการช่วยเหลือรอบแรกนั้น ได้มีการจ่ายเงินในโครงการ
ให้แก่กรีซไปแล้ว 7.3 หมื่นล้านยูโร และยังมีวงเงินเหลืออยู่อีก 3.7 หมื่นล้าน
ยูโรในโครงการนี้
ผู้นำยูโรโซนได้ตกลงกันในเดือนต.ค.2011 เกี่ยวกับโครงการให้ความ
ช่วยเหลือทางการเงินรอบ 2 สำหรับกรีซในวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร เพื่อช่วย
ให้กรีซสามารถระดมทุนฉุกเฉินได้เป็นเวลานานยิ่งขึ้น
อย่างไรก็ดี รายละเอียดของโครงการช่วยเหลือรอบ 2 นี้ ยังคงอยู่ใน
ระหว่างการเจรจาต่อรอง โดยโครงการรอบ 2 ครอบคลุมถึงการปรับลดมูลค่า
พันธบัตรรัฐบาลกรีซลง 50 % ที่ถือครองโดยนักลงทุนเอกชน--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 106

โพสต์

กรีซยอมรับอาจผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมี.ค.หากไม่ได้เงินช่วยจาก EU/IMF
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 5 มกราคม 2555 12:25:44 น.
นายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีกรีซ กล่าวยอมรับว่า กรีซอาจจะถูกบีบให้ต้องผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมี.ค. หากการเจรจาเรื่องเงินกู้งวดต่อไปกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และสหภาพยุโรป (EU) ล้มเหลว

"ในช่วง 3 เดือนข้างหน้าถือเป็นช่วงเวลาที่วิกฤตมาก หากไม่มีการทำข้อตกลงกับผู้ตรวจสอบบัญชีของ EU/IMF ในเรื่องของเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในขั้นตอนต่อไปแล้ว กรีซก็มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมี.ค." นายปาปาเดมอสกล่าว

เป็นที่คาดการณ์กันว่า คณะผู้ตรวจสอบของ EU/IMF จะเดินทางมายังกรุงเอเธนส์ในช่วงกลางเดือนม.ค.นี้ เพื่อทบทวนสถานะทางการเงินของกรีซ ขณะที่กรีซได้รับแรงกดดันมากขึ้นให้เร่งดำเนินการปฏิรูปเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลืองวดต่อไป

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายกรัฐมนตรีกรีซได้ผลักดันให้มีการลดต้นทุนด้านแรงงานในภาคเอกชน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถด้านการแข่งขันภายในประเทศ โดยหลังจากที่รัฐบาลพยายามผลักดันให้มีการลดค่าแรงในภาครัฐและการขึ้นภาษีในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาแล้ว ปัจจุบันรัฐบาลก็เริ่มหันมามุ่งเน้นในภาคเอกชน ด้วยการแนะนำให้ภาคเอกชนลดค่าแรงขั้นต่ำและทบทวนการจ่ายเงินโบนัสวันหยุด

ทั้งนี้ กรีซต้องพึ่งพาเงินกู้จาก EU/IMF มานับตั้งแต่เดือนพ.ค.ปี 2553 เพื่อป้องกันไม่ให้ประเทศต้องล้มละลาย ซึ่งจะส่งผลกระทบในวงกว้างต่อประเทศอื่นๆในยูโรโซน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 107

โพสต์

ผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนีประชุมร่วมกันวันนี้ เตรียมร่างแผนแม่บทแก้ไขวิกฤตหนี้
นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส จะประชุมร่วมกันในวันนี้ เวลา 11.00 น.ตามเวลายุโรป ซึ่งนับเป็นการประชุมร่วมกันครั้งแรกในปี 2555 โดยผู้นำทั้งสองจะร่างแผนแม่บทเพื่อแก้ไขวิกฤตหนี้สาธารณะในยูโรโซนในอีก 3 เดือนข้างหน้านี้
นอกจากนี้ ผู้นำเยอรมนีและฝรั่งเศสจะหารือกันเกี่ยวกับระเบียบวินัยด้านการคลังตามที่ผู้นำของ 17 ประเทศยูโรโซนได้บรรลุข้อตกลงร่วมกันในการประชุมเมื่อวันที่ 9 ธ.ค.ปีที่แล้ว
ทั้งนี้ หลังจากเสร็จสิ้นการประชุมแล้ว ผู้นำทั้งสองจะแถลงข่าวต่อสื่อมวลชนในเวลา 13.30 น.ตามเวลายุโรปในวันนี้
การประชุมระหว่างผู้นำทั้งสองมีขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับที่ตลาดการเงินทั่วโลกกำลังวิตกกังวลเกี่ยวกับการลุกลามของวิกฤตหนี้ยุโรป หลังจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศต่างๆในยุโรปปรับตัวสูงขึ้น โดยเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีของรัฐบาลอิตาลีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 7% เมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นระดับที่ไม่มีเสถียรภาพและสะท้อนถึงภาระหนี้สินที่รัฐบาลจะต้องแบกรับในวันข้างหน้า
หลังจากการประชุมในวันนี้ผ่านพ้นไปแล้ว กลุ่มผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) จะจัดประชุมร่วมกันในวันที่ 30 ม.ค.นี้ โดยนายเฮอร์มาน แวน รอยปุย ประธานอียูเปิดเผยว่า การประชุมสุดยอดผู้นำอียูครั้งนี้จะมุ่งเน้นไปที่การจ้างงาน เนื่องจากปัญหาการว่างงานถือเป็นวาระเร่งด่วนในขณะนี้ เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ที่ว่า การขยายตัวของตัวเลขจ้างงานจะเป็นศูนย์ในประเทศส่วนใหญ่ของอียู และคาดว่าบางประเทศอาจจะเผชิญกับภาวะเศรษฐกิจถดถอย
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 108

โพสต์

EUROPE:จับตาผู้นำฝรั่งเศส-เยอรมนีประชุมวันนี้หารือแนวทางกระตุ้นศก.ยูโรโซน
เบอร์ลิน--9 ม.ค.--รอยเตอร์

นางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี และนายนิโคลาส์
ซาร์โคซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศส จะประชุมกันในวันนี้เพื่อหารือถึงแนวทางในการ
กระตุ้นเศรษฐกิจยูโรโซนขณะที่กำลังถูกกดดันจากวิกฤติหนี้สาธารณะและการว่างงาน
ที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองจะสรุปข้อตกลงในขั้นสุดท้ายเพื่อเพิ่มความร่วมมือ
ทางการคลังในยูโรโซนด้วย
ทางด้านนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติของอิตาลีได้พบปะกับปธน.ซาร์โคซี
ที่กรุงปารีสในสัปดาห์ที่แล้ว และนายมอนติจะหารือกับนางเมอร์เคลในวันพุธนี้
ผู้นำฝรั่งเศส, เยอรมนี และอิตาลีจะประชุมกันอีกครั้งที่อิตาลีในวันศุกร์
ที่ 20 ม.ค. ก่อนที่รัฐมนตรีคลังอียูจะประชุมกันในวันจันทร์ที่ 23 ม.ค. และอียู
จะจัดการประชุมสุดยอดในวันจันทร์ที่ 30 ม.ค.
ขณะเดียวกัน ผู้นำฝรั่งเศสและเยอรมนีจะมุ่งความสนใจไปยังแนวทาง
การกระตุ้นการจ้างงานในวันนี้ ขณะที่มีการดำเนินมาตรการรัดเข็มขัดภายใน
ยูโรโซนด้วย รวมทั้งอาจจะหารือกันเกี่ยวกับการจัดเก็บภาษีธุรกรรมทางการเงิน
หรือ "ภาษีโทบิน" ในการประชุมด้วย โดยฝรั่งเศสสนับสนุนให้มีการเรียกเก็บภาษี
โทบิน แต่อังกฤษคัดค้านแนวคิดนี้ นอกจากว่าจะมีการจัดเก็บภาษีดังกล่าวในระดับโลก
โดยประเด็นการเก็บภาษีโทบินอาจก่อให้เกิดความแตกแยกภายในสหภาพยุโรป (อียู)
ในการประชุมสุดยอดในช่วงปลายเดือนนี้
ในขณะที่ตลาดแรงงานในเยอรมนีอยู่ในภาวะเฟื่องฟู ประเด็นเรื่องการ
จ้างงานก็สร้างความวิตกกังวลต่อปธน.ซาร์โคซีในช่วงนี้ เนื่องจากฝรั่งเศสกำลัง
จะจัดการเลือกตั้งประธานาธิบดีในช่วงเดือนเม.ย. และปธน.ซาร์โคซีกำลังมี
คะแนนนิยมได้ไม่ดีนักในการสำรวจความเห็นประชาชน นอกจากนี้ จำนวนผู้ขอรับ
สวัสดิการว่างงานในฝรั่งเศสก็พุ่งขึ้นไปแตะระดับสูงสุดในรอบ 12 ปีในระยะนี้ด้วย
ปธน.ซาร์โคซีอาจพยายามเร่งรัดแผนการจัดเก็บภาษีธุรกรรมทางการเงิน
ซึ่งเขากำหนดให้เป็นประเด็นสำคัญก่อนการเลือกตั้ง โดยเขาประกาศในวันศุกร์ว่า
เขาจะนำภาษีนี้มาใช้ในฝรั่งเศส ถึงแม้ว่าประเทศอื่นๆในอียูไม่เรียกเก็บภาษีนี้ก็ตาม
รัฐบาลฝรั่งเศสและเยอรมนีต้องการให้มีการจัดเก็บ "ภาษีโทบิน" ทั่วทั้ง
อียู แต่อังกฤษคัดค้านแนวคิดนี้ เนื่องจากกังวลว่าอาจส่งผลกระทบต่อกรุงลอนดอน
ในฐานะศูนย์กลางทางการเงินของโลก
เมื่อวานนี้ นายเดวิด คาเมรอน นายกรัฐมนตรีอังกฤษ กล่าวว่า เขาจะ
วีโต้มาตรการจัดเก็บภาษีธุรกรรมทางการเงินทั่วทั้งยุโรป นอกจากว่าจะมีการจัดเก็บ
ภาษีนี้ทั่วโลก
เจ้าหน้าที่เยอรมนีคาดหวังว่า การประชุมสุดยอดของอียูในช่วงปลายเดือนนี้
จะให้ผลที่น่าพึงพอใจในเรื่องการเพิ่มความแข็งแกร่งให้แก่กฎเกณฑ์การจัดทำงบประมาณ
ในยูโรโซน
ขณะนี้ใกล้จะมีการอนุมัติ "บทบัญญัติทางการคลัง" ฉบับใหม่สำหรับอียูแล้ว
โดยบทบัญญัติดังกล่าวจะให้อำนาจแก่อียูในการฟ้องร้องรัฐบาลประเทศต่างๆ ถ้าหาก
รัฐบาลดังกล่าวละเมิดกฎที่กำหนดไว้
ประเด็นที่สร้างความกังวลในการประชุมครั้งนี้คือมาตรการที่สามารถทำได้
ในระยะใกล้เพื่อช่วยลดแรงกดดันต่อประเทศที่มีหนี้สูง เช่น สเปนและอิตาลี
สเปนและอิตาลีจะเปิดประมูลพันธบัตรในสัปดาห์นี้ ซึ่งจะถือเป็นการทดสอบ
ความเต็มใจของนักลงทุนในการปล่อยกู้แก่ประเทศที่กำลังเผชิญกับอัตราการเติบโต
ทางเศรษฐกิจที่ระดับต่ำ, มีฐานะการคลังอ่อนแอ, มีโอกาสที่จะถูกปรับลดอันดับความ
น่าเชื่อถือ และต้นทุนในการกู้ยืมพุ่งขึ้นสู่ระดับที่สูงเกินไป
ในช่วงที่ผ่านมาเยอรมนีสนับสนุนข้อเสนอในการเพิ่มทุนทรัพย์ของกองทุน
การเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อให้ไอเอ็มเอฟสามารถขยายวงเงิน
ปล่อยกู้แก่ประเทศที่ประสบปัญหาในยูโรโซน โดยแลกกับการกำหนดเงื่อนไขที่เข้ม
งวดยิ่งขึ้นต่อประเทศนั้น
อย่างไรก็ดี อิตาลีต้องการหลีกเลี่ยงแผนการดังกล่าว โดยอดีตรัฐมนตรี
เศรษฐกิจอิตาลีเรียกความช่วยเหลือของไอเอ็มเอฟว่าเป็น "ปัจจัยเสี่ยงที่ร้ายแรง
ที่สุดสำหรับอิตาลี"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 109

โพสต์

GREECE:เยอรมนีชี้เจ้าหนี้กรีซต้องหั่นหนี้มากกว่า 50% ถึงจะช่วยกรีซอยู่รอด
เอเธนส์--9 ม.ค.--รอยเตอร์

นายเคลเมนท์ ฟิวสท์ ที่ปรึกษาของนายโวล์ฟกัง ชอยเบล รมว.คลังเยอรมนี
กล่าวต่อหนังสือพิมพ์ฉบับหนึ่งของกรีซว่า การปรับลดมูลค่าการถือครองพันธบัตรกรีซลง
50 % ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของข้อตกลงสว็อปตราสารหนี้กรีซ อาจจะไม่เพียงพอต่อการ
ทำให้หนี้สินของกรีซลดลงสู่ระดับที่สามารถชำระได้
นายฟิวสท์ให้สัมภาษณ์ต่อหนังสือพิมพ์ To Vima ฉบับวานนี้ว่า การปรับลด
หนี้กรีซควรจะมีสัดส่วนมากกว่าระดับ 50 % ที่ตกลงกันไว้เพื่อช่วยเหลือกรีซในการ
ชำระหนี้
นายฟิวสท์กล่าวว่า "อัตรา 50 % นี้มาพร้อมกับแนวคิดที่ว่าจะมีการดำเนิน
โครงการปรับลดยอดขาดดุลทางเศรษฐกิจในระยะยาว ซึ่งจะส่งผลให้หนี้กรีซลดลงสู่
120 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศภายในปี 2020"
"อย่างไรก็ดี การปรับลด 50 % นี้เป็นสิ่งที่ไม่เพียงพอ โดยหนี้อยู่ที่ 120 %
อยู่แล้วในช่วงเริ่มต้นวิกฤตการณ์ ดังนั้นการปรับลดหนี้จำเป็นต้องมีขนาดสูงกว่า 50 %"
ทั้งนี้ ธนาคารและกองทุนเพื่อการลงทุนหลายแห่งได้เจรจากับรัฐบาลกรีซ
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมาเกี่ยวกับโครงการสว็อปพันธบัตรกรีซ โดยมีจุดประสงค์
เพื่อปรับลดสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีของกรีซลงจาก 160 % ของจีดีพี สู่ 120 % ภายในปี
2020
โครงการดังกล่าวถือเป็นองค์ประกอบสำคัญในมาตรการให้ความช่วยเหลือ
ทางการเงินรอบ 2 สำหรับกรีซ ซึ่งมีวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร โดยกรีซอาจผิดนัด
ชำระหนี้ถ้าหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากมาตรการดังกล่าว
ภายใต้โครงการ "การมีส่วนร่วมของภาคเอกชน" (PSI) นั้น นักลงทุน
จะสมัครใจยอมรับการปรับลดมูลค่าพันธบัตรกรีซที่ตนเองถือครองลง 50 % เพื่อแลก
กับเงินสดและพันธบัตรใหม่ อย่างไรก็ดี การเจรจาต่อรองในเรื่องนี้เผชิญกับความ
ขัดแย้งเกี่ยวกับต้นทุนที่แท้จริงของการปรับลดหนี้ ซึ่งรวมถึงอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋ว
และระยะเวลาในการไถ่ถอนพันธบัตรใหม่
กรีซต้องการให้นักลงทุนสมัครใจเข้าร่วมใน PSI เพื่อหลีกเลี่ยงจากการ
เกิด credit event (เหตุการณ์ที่มีผลต่อความสามารถในการชำระหนี้) อย่างไรก็ดี
นายฟิวสท์กล่าวว่า ปัจจัยนี้ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อข้อตกลง
เขากล่าวว่า "ในความเห็นของผมนั้น กรีซได้ผิดนัดชำระหนี้ไปแล้ว
และผมเชื่อว่าสิ่งที่ดีที่สุดก็คือการประกาศอย่างซื่อตรงว่า รัฐบาลกรีซไม่สามารถ
ชำระหนี้ได้ เพื่อจะได้มีโอกาสในการทำข้อตกลงที่ดีขึ้น"
กรีซพยายามดำเนินการปฏิรูปประเทศอย่างรวดเร็วในช่วงนี้ และ
พยายามปฏิบัติตามเงื่อนไขที่สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่าง
ประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กำหนดไว้ ก่อนที่ทีมงาน "ทรอยกา" หรือคณะผู้ตรวจ
การณ์ของคณะกรรมาธิการยุโรป (อีซี), ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) และ
ไอเอ็มเอฟจะเดินทางมาเยือนกรีซในช่วงกลางเดือนม.ค.
เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังกรีซกล่าวในสัปดาห์ที่แล้วว่า เป็นที่คาด
กันว่าโครงการ PSI จะเสร็จสมบูรณ์ในช่วงกลางเดือนม.ค. เพื่อที่กรีซจะได้
สรุปการเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขในมาตรการช่วยเหลือรอบ 2 ในช่วงหลังจากนั้น
อย่างไรก็ดี นายฟิวสท์กล่าวเตือนว่า PSI เพียงอย่างเดียวไม่สามารถ
ช่วยเหลือกรีซได้ นอกจากว่ากรีซจะปฏิรูปเศรษฐกิจ และเปิดโอกาสในการถอนตัว
ออกจากยูโรโซน อย่างไรก็ดี เขากล่าวว่า "ผมหวังว่าเหตุการณ์ดังกล่าวจะไม่
เกิดขึ้น"
นายโธมัส เมเยอร์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์ของธนาคารดอยช์ แบงก์
กล่าวว่า กรีซควรปฏิรูปการคลังของประเทศเพื่อจะได้อยู่ในยูโรโซนต่อไป
นายเมเยอร์กล่าวว่า "ถึงแม้กรีซปรับโครงสร้างหนี้ไปแล้ว แต่ก็ยังคง
เผชิญอุปสรรคใหญ่ในการชำระหนี้ต่อไป โดยเป็นที่เห็นได้ชัดว่ามีเพียงการดำเนิน
โครงการปฏิรูปเศรษฐกิจอย่างเบ็ดเสร็จเท่านั้นที่จะช่วยให้กรีซอยู่ในยูโรโซนต่อไป
ได้"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 110

โพสต์

GERMANY:นายกฯเยอรมนีนัดถกผอ.ไอเอ็มเอฟวันนี้ ก่อนประชุมนายกฯอิตาลีพรุ่งนี้
เบอร์ลิน--10 ม.ค.--รอยเตอร์

นายสตีเฟน ไซเบิร์ท โฆษกของนางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรี
เยอรมนี เปิดเผยว่า นางเมอร์เคลและนางคริสติน ลาการ์ด ผู้อำนวยการกองทุน
การเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) จะประชุมกันที่กรุงเบอร์ลินในวันนี้เวลา
20.00 น.ตามเวลาท้องถิ่น หรือคืนนี้ 02.00 น.ตามเวลาไทย
"จะเป็นการประชุมอย่างไม่เป็นทางการเพื่อแลกเปลี่ยนมุมมอง" นาย
ไซเบิร์ทกล่าว โดยเสริมว่าบุคคลทั้งสองจะไม่จัดการแถลงข่าวหลังการประชุม
การประชุมดังกล่าวเป็นหนึ่งในการประชุมจำนวนหลายครั้งที่นางเมอร์เคล
กำหนดจัดขึ้นในช่วงเริ่มต้นปีใหม่นี้ ขณะที่ยุโรปพยายามที่จะแก้ไขวิกฤติหนี้ โดยนาง
เมอร์เคลได้ประชุมร่วมกับประธานาธิบดีนิโคลาส์ ซาร์โคซีของฝรั่งเศสที่กรุงเบอร์ลิน
เมื่อวานนี้ และจะประชุมกับนายมาริโอ มอนติ นายกรัฐมนตรีอิตาลีในวันพรุ่งนี้--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 111

โพสต์

กรีซคาดยอดขาดดุลงบประมาณปี 2554 ไม่บรรลุเป้าที่ 9%
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 11 มกราคม 2555 20:51:44 น.
นายมิคาลิส คริสโซคอยดิส รัฐมนตรีกระทรวงการพัฒนาประเทศกรีซ คาดการณ์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณของกรีซจะอยู่ที่ 9.6% ของจีดีพีในปี 2554 ลดลงจากปี 2553 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 10.6% ของจีดีพี

อย่างไรก็ดี กรีซซึ่งกู้ยืมเงินจากประเทศเพื่อนบ้านในยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ให้คำมั่นว่าจะลดยอดขาดดุลให้ลงมาอยู่ที่ระดับ 9.0% ของจีดีพีในปี 2554 นั่นหมายความว่ากรีซอาจไม่สามารถทำได้ตามเป้า

กรีซขาดดุลงบประมาณมหาศาลมานานหลายปี จนรัฐบาลต้องใช้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างเข้มข้นเพื่อแลกกับการรับความช่วยเหลือทางการเงิน ล่าสุดรัฐบาลกรีซกำลังเร่งผ่านร่างกฎหมายรัดเข็มขัดเพิ่มเติมเพื่อขอรับความช่วยเหลือรอบใหม่มูลค่า 1.3 แสนล้านยูโร

ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส เรียกร้องให้บรรดาสหภาพแรงงานยอมรับมาตรการรัดเข็มขัดของรัฐ มิเช่นนั้นกรีซอาจล้มละลายและถูกขับออกจากยูโรโซนได้

ทางด้านบริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือ ฟิทช์ เรทติงส์ ออกมาเตือนในวันนี้ หากกรีซไม่สามารถทำข้อตกลงลดหนี้กับเจ้าหนี้ได้ ก็จะส่งผลให้วิกฤตยูโรโซนเลวร้ายลงไปอีก ขณะที่กรีซอยู่ระหว่างการเจรจากับภาคเอกชนเพื่อให้มีการปรับลดมูลค่าการถือครองพันธบัตรกรีซลง

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/พันธุ์ทิพย์ โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 112

โพสต์

นายกฯเยอรมนียกย่องอิตาลีปฏิรูปการเงินรวดเร็ว เชื่อแนวโน้มเศรษฐกิจดีขึ้น
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 12 มกราคม 2555 09:49:07 น.
นายกรัฐมนตรีอังเกลา แมร์เคล ของเยอรมนี กล่าวยกย่องความพยายามในการปฏิรูปอิตาลี หลังพบปะหารือกับนายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติ ซึ่งเดินทางเยือนเยอรมนีอย่างเป็นทางการครั้งแรกนับตั้งแต่รับตำแหน่งเมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว

นางแมร์เคลแถลงข่าวร่วมกับนายมอนติว่า "มาตรการรัดเข็มขัดที่อิตาลีใช้จะช่วยให้อิตาลีแข็งแกร่งขึ้นและมีแนวโน้มเศรษฐกิจที่ดีขึ้น เราจึงยกย่องอิตาลีที่ใช้มาตรการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว สิ่งที่รัฐบาลอิตาลีทำจะให้ผลตอบแทนอย่างคุ้มค่าแน่นอน"

ด้านนายมอนติกล่าวว่า อิตาลีจะเดินหน้าไปได้มากกว่านี้หากได้รับความช่วยเหลือเพิ่มเติมจากยุโรป พร้อมกับเรียกร้องให้ทุกฝ่ายยอมรับการใช้มาตรการรัดเข็มขัดที่เข้มข้นของรัฐบาล รวมถึงการลดดอกเบี้ย

เมื่อวันพุธนายมอนติเตือนว่าอาจมีการชุมนุมประท้วงยุโรป หากประชาชนชาวอิตาลีไม่เห็นความสำเร็จของการปฏิรูปอย่างชัดเจน หลังจากที่เขาประกาศใช้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างเข้มข้นจนส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อระบบบำนาญของอิตาลี

ทั้งนี้ เมื่อไม่นานมานี้ต้นทุนการกู้ยืมของอิตาลีพุ่งทะลุระดับ 7% ซึ่งเป็นระดับอันตราย และเนื่องจากต้องชำระหนี้จำนวนมหาศาลที่ครบกำหนดในปีนี้ อิตาลีจึงต้องกู้ยืมเงินจำนวนมากในไตรมาสแรก สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 113

โพสต์

> EUROPE:จับตาสเปนขายบอนด์วันนี้ทดสอบอุปสงค์ตลาด ก่อนอิตาลีประมูลพรุ่งนี้
มาดริด--12 ม.ค.--รอยเตอร์

สเปนจะเปิดประมูลขายพันธบัตรราว 5 พันล้านยูโร (6.39 พันล้าน
ดอลลาร์) ในวันนี้ ซึ่งจะถือเป็นบททดสอบที่แท้จริงครั้งแรกของปีนี้ สำหรับผู้ที่
ต้องการลงทุนในพันธบัตรของประเทศที่มีเศรษฐกิจอ่อนแอในยูโรโซน
ส่วนอิตาลีจะเสนอขายตราสารหนี้ระยะสั้นในวันนี้ด้วยเช่นกัน ก่อนที่จะ
เปิดประมูลขายพันธบัตรครั้งใหญ่ในวันพรุ่งนี้
ทั้งนี้ อิตาลีจะเสนอขายตั๋วเงินคลังในวันนี้ ก่อนที่จะเปิดประมูลพันธบัตร
4.75 พันล้านยูโรในวันพรุ่งนี้
รัฐบาลอิตาลีจะเปิดขายตั๋วเงินคลังประเภท 12 เดือนในวงเงิน 8.5
พันล้านยูโร และตั๋วเงินคลังที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในช่วงสิ้นเดือนพ.ค.ในวงเงิน
3.5 พันล้านยูโร
ตั๋วเงินคลังอิตาลีที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนม.ค. 2013 ให้อัตรา
ผลตอบแทนราว 3.5 % ในการซื้อขายนอกตลาดเมื่อวานนี้ ซึ่งลดลงเป็นอย่างมาก
จากระดับใกล้ 6 % ในการประมูลตั๋วเงินคลังประเภท 1 ปีของอิตาลีในช่วงกลาง
เดือนธ.ค.
อิตาลีจำเป็นต้องกู้เงินใหม่เพื่อนำมาชำระหนี้เก่า (รีไฟแนนซ์) ในขณะที่
พันธบัตรระยะยาวของอิตาลีมูลค่ากว่า 9 หมื่นล้านยูโรจะครบกำหนดไถ่ถอนในช่วง
เดือนก.พ.-เม.ย.
ในวันนี้กระทรวงการคลังสเปนจะประมูลขายพันธบัตรใหม่ซึ่งเป็นพันธบัตร
ประเภท 3 ปี และจะเสนอขายพันธบัตรเก่า 2 รายการที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในปี
2016 โดยเป็นที่คาดกันว่าการขายพันธบัตรในครั้งนี้จะสามารถถึงดูดคำสั่งซื้อจำนวน
มากจากธนาคารพาณิชย์ในสเปนที่ได้รับการอัดฉีดเม็ดเงินจากธนาคารกลางยุโรป
(อีซีบี)
นายไอโออันนิส โซโคส นักยุทธศาสตร์การลงทุนของธนาคารบีเอ็นพี
พาริบาส์กล่าวว่า "การที่อีซีบีปล่อยกู้ระยะ 3 ปีในปริมาณมากทำให้นักลงทุนเชื่อมั่น
มากยิ่งขึ้นว่า การประมูลพันธบัตรในครั้งนี้จะได้รับการสนับสนุนจากนักลงทุนภายใน
ประเทศ"
"เหตุการณ์จะเป็นแบบนี้ต่อไปในช่วงหลายสัปดาห์ข้างหน้า จนกว่า
นักการเมืองจะดำเนินมาตรการแก้ไขวิกฤติได้อย่างเฉียบขาดกว่านี้"
ต้นทุนการระดมทุนระยะสั้นของอิตาลีและสเปนลดลงครึ่งหนึ่งในเดือน
ธ.ค. หลังจากธนาคารพาณิชย์กู้เงินเกือบ 5 แสนล้านยูโรจากอีซีบีในปฏิบัติการ
ปล่อยกู้ระยะ 3 ปีครั้งแรก โดยธนาคารพาณิชย์กู้เงินดอกเบี้ยต่ำจากอีซีบีเพื่อ
นำไปใช้ซื้อตราสารหนี้ที่ให้อัตราผลตอบแทนสูง
อย่างไรก็ดี ต้นทุนการกู้ยืมของสเปนจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไป
ถึงแม้ราคาพันธบัตรพุ่งขึ้นเมื่อวานนี้ ซึ่งช่วยลดความกังวลเรื่องการระดมทุน
ของสเปน
ค่าพรีเมียมที่นักลงทุนเรียกร้องจากการถือครองพันธบัตรสเปนประเภท
10 ปีแทนที่พันธบัตรเยอรมนี ลดลงสู่ระดับราว 3.55 % ซึ่งถือเป็นจุดต่ำสุดในรอบ
1 สัปดาห์ หลังจากเจ้าหน้าที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือแห่งหนึ่งกล่าวว่า
ทางสถาบันไม่คาดว่าจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสลงจาก AAA ในปีนี้
นายปีเตอร์ ชาฟฟริค นักยุทธศาสตร์การลงทุนอัตราดอกเบี้ยของบริษัท
อาร์บีซี แคปิตัล มาร์เก็ตส์กล่าวว่า "ค่าสเปรดหดแคบลงเล็กน้อย ขณะที่ลดลงอย่าง
ต่อเนื่อง โดยเฉพาะในสเปน และดูเหมือนว่านักลงทุนในประเทศกำลังช่วยหนุน
ตลาดสเปน อย่างไรก็ดี เราไม่เห็นเหตุการณ์แบบนี้ในอิตาลี และสเปนก็ปรับตัว
แข็งแกร่งกว่าอิตาลีเป็นอย่างมาก"
อัตราผลตอบแทนพันธบัตรประเภท 3 ปีอันใหม่ของสเปนอยู่ที่ราว 3.65 %
ในการซื้อขายนอกตลาดเมื่อวานนี้ ซึ่งเป็นสัญญาณบ่งชี้ทิศทางอัตราผลตอบแทนโดย
เฉลี่ยในวันนี้ อย่างไรก็ดี อัตราผลตอบแทนอาจจะดีดตัวขึ้นได้ในการซื้อขายก่อน
การประมูล
สเปนจะขายพันธบัตรเก่าสองรายการด้วย ซึ่งได้แก่พันธบัตรที่จะครบกำหนด
ไถ่ถอนในเดือนเม.ย. 2016 ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนราว 4.0 % ในช่วงนี้ และพันธบัตร
ที่จะครบกำหนดไถ่ถอนในเดือนต.ค.2016 ซึ่งให้อัตราผลตอบแทนราว 4.45 % โดยอยู่
ต่ำกว่าอัตราผลตอบแทนในการประมูลวันที่ 3 พ.ย.ที่ 4.848 %
กระทรวงการคลังสเปนระบุเมื่อวานนี้ว่า ทางกระทรวงวางแผนจะปรับลด
ปริมาณการจำหน่ายตราสารหนี้สุทธิลง 26 % ในปี 2012 ถึงแม้ว่าแผนการนี้อาจ
เปลี่ยนแปลงไปได้เมื่อมีการออกงบประมาณใหม่ในเดือนมี.ค.--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 114

โพสต์

GREECE:คาดกรีซบรรลุดีลเจ้าหนี้สัปดาห์หน้า ก่อนเส้นตายไถ่ถอนบอนด์ 20 มี.ค.
เอเธนส์--13 ม.ค.--รอยเตอร์

เจ้าหน้าที่กระทรวงการคลังกรีซคนหนึ่งกล่าวว่า กรีซอาจบรรลุข้อตกลง
เกี่ยวกับการสว็อปพันธบัตรกับกลุ่มเจ้าหนี้เอกชนได้ภายในช่วงปลายสัปดาห์หน้า
และอาจยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการได้ในช่วงต้นเดือนก.พ.
เจ้าหน้าที่ผู้ไม่ประสงค์จะออกนามรายนี้กล่าวว่า "เรากำลังดำเนินการ
คืบหน้าตามเป้าหมาย และเราอาจจะกำหนดโครงร่างขั้นสุดท้ายได้ภายในช่วงปลาย
สัปดาห์หน้าเพื่อใช้ในการทำข้อตกลงกับภาคเอกชน"
"เราอาจจะยื่นข้อเสนออย่างเป็นทางการภายในช่วงต้นเดือนก.พ."
ทางด้านสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ซึ่งเป็นตัวแทนของ
ฝ่ายเจ้าหนี้ได้ประชุมกับนายกรัฐมนตรีกรีซเมื่อวานนี้ และได้ประกาศเตือนว่า
การบรรลุข้อตกลงเรื่องการแลกเปลี่ยนพันธบัตรโดยสมัครใจใกล้จะหมดเวลา
ลงแล้ว
ทั้งนี้ การเจรจาระหว่างรัฐบาลกรีซกับฝ่ายเจ้าหนี้ได้เข้าสู่ช่วงสุดท้าย
แล้วก่อนที่กรีซมีกำหนดจะต้องไถ่ถอนพันธบัตรจำนวนมากในเดือนมี.ค. อย่างไรก็ดี
IIF ระบุว่าทั้งสองฝ่ายยังคงตกลงกันไม่ได้ในประเด็นสำคัญบางประเด็น
หากกรีซไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกับเจ้าหนี้ และไม่ได้รับเงินช่วยเหลือ
จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) กรีซก็มีแนวโน้มที่จะผิดนัดชำระหนี้
ในวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งจะเป็นวันครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรวงเงิน 1.45 หมื่นล้านยูโร
โดยกรีซจำเป็นต้องมีการบรรลุข้อตกลงก่อนวันดังกล่าวเป็นระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจาก
ลำพังงานเอกสารเพียงอย่างเดียวก็จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 115

โพสต์

อิตาลีขายพันธบัตร 4.75 พันล้านยูโรในการประมูลวันนี้ ขณะต้นทุนกู้ยืมลดลง
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 13 มกราคม 2555 19:11:15 น.
อิตาลีขายพันธบัตรรัฐบาลช่วงอายุต่างๆได้ตามเป้าหมายสูงสุดที่วางไว้ที่ 4.75 พันล้านยูโร (6.1 พันล้านดอลลาร์) ในการประมูลวันนี้ ขณะที่ต้นทุนการกู้ยืมลดลง

การประมูลวันนี้รวมถึงพันธบัตรอายุ 3 ปี ซึ่งรัฐบาลอิตาลีสามารถขายได้ 3 พันล้านยูโร โดยให้อัตราผลตอบแทน 4.83% ซึ่งลดลงจากระดับ 5.62% ในการประมูลครั้งก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 29 ธ.ค. สำหรับความต้องการซื้อพันธบัตรสูงกว่ามูลค่าที่นำออกประมูลอยู่ 1.22 เท่า เปรียบเทียบกับอัตราเฉลี่ยที่ 1.39 เท่าของปี 2554

การขายพันธบัตรในวันนี้มีขึ้น หลังจากที่รัฐบาลอิตาลีเพิ่งประสบความสำเร็จในการระดมทุน 1.2 หมื่นล้านยูโรจากการประมูลขายตั๋วเงินคลังเมื่อวานนี้ ซึ่งถือเป็นการประมูลตราสารหนี้ครั้งแรกของปีของรัฐบาลอิตาลี โดยให้อัตราผลตอบแทนที่ลดลงมากเช่นกัน ซึ่งผลการประมูลทั้งสองวันติดต่อกันอาจช่วยคลายความวิตกของนักลงทุนเกี่ยวกับความสามารถของรัฐบาลอิตาลีในการชำระหนี้ที่อยู่ในระดับสูงเป็นอันดับสองของยุโรป

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 116

โพสต์

ปธน.ฝรั่งเศสยืนยันเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจ หลังถูก S&P ลดอันดับเครดิต
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 16 มกราคม 2555 07:28:00 น.
นายนิโคลาส์ ซาร์โกซี ประธานาธิบดีฝรั่งเศสยืนยันว่า รัฐบาลฝรั่งเศสจะเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจให้แข็งแกร่งมากขึ้น เพื่อให้ฝรั่งเศสหลุดพ้นจากวิกฤตหนี้สาธารณะ ซึ่งการให้คำมั่นสัญญาดังกล่าวมีขึ้นหลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของฝรั่งเศสลง 1 ขั้น

ประธานาธิบดีซาร์โกซีกล่าวว่า เขาจะใช้เวทีการประชุมผู้นำสหภาพยุโรป (อียู) ในวันพุธนี้ เพื่อหารือกับตัวแทนสหภาพและกลุ่มนายจ้างในประเด็นต่างๆที่เกี่ยวข้องกับตลาดแรงงาน และพยายามสกัดอัตราว่างงานที่พุ่งขึ้นแตะระดับ 9.8% ในปี 2554 และมีแนวโน้มที่จะพุ่งขึ้นแตะ 10% ในปี 2555

นอกจากนี้ ประธานาธิบดีซาร์โกซีกล่าวว่า เขาจะแถลงต่อประชาชนทั่วประเทศในช่วงปลายเดือนนี้ว่า รัฐบาลได้ตัดสินใจครั้งสำคัญ เพื่อดำเนินการปฏิรูปเศรษฐกิจครั้งใหญ่ โดยจะไม่ประวิงเวลาต่อไป

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า ถ้อยแถลงของประธานาธิบดีซาร์โกซีมีขึ้นหลังจากเอสแอนด์พีปรับลดอันดับเครดิตระยะยาวของฝรั่งเศสลง 1 ขั้น สู่ระดับ AA+ จาก AAA ซึ่งเป็นระดับสูงสุด ขณะที่ปรับลดอันดับเครดิตของประเทศอื่นๆในยูโรโซนอีก 8 ประเทศเช่นกัน โดยระบุว่า ข้อตกลงที่ผู้นำยุโรปบรรลุในเดือนธ.ค.ไม่เพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาหนี้สินของภูมิภาค

การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือดังกล่าวสะท้อนถึงการประเมินของเอสแอนด์พีที่ว่า "แผนริเริ่มด้านนโยบายของเจ้าหน้าที่กำหนดนโยบายยุโรปในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา อาจจะไม่เพียงพอที่จะจัดการกับความตึงเครียดทางระบบอย่างต่อเนื่องในยูโรโซนได้อย่างเต็มที่"

นอกจากฝรั่งเศสและออสเตรียแล้ว เอสแอนด์พีได้ปรับลดอันดับเครดิตระยะยาวของไซปรัส, อิตาลี, โปรตุเกส และสเปนลง 2 ขั้น และของมอลตา, สโลวาเกีย และสโลเวเนียลง 1 ขั้น โดยในขณะนี้ อันดับเครดิตของสเปนและอิตาลีอยู่ที่ A และ BBB+ ตามลำดับ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
นายกฯเยอรมนีหนุนกรีซปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจเพื่อจัดการกับปัญหาหนี้
ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 16 มกราคม 2555 07:04:36 น.
นางอังเกลา แมร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนีเปิดเผยว่า กรีซจำเป็นต้องปฏิรูปโครงสร้างเศรษฐกิจ ควบคู่ไปกับการใช้มาตรการรัดเข็มขัด เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กับมาขยายตัวได้อีกครั้ง

นางแมร์เคลกล่าวทางสถานีวิทยุ Deutschlandfunk ของเยอรมนีว่า กรีซจะต้องผลักดันการปฏิรูปโครงสร้างเศณษฐกิจเพื่อฟื้นฟูการเติบโตทางเศรษฐกิจและรับมือกับวิกฤตหนี้สาธารณะ ซึ่งแม้การปฏิรูปดังกล่าวจะเห็นผลค่อนข้างช้า แต่ก็เชื่อว่าจะทำให้ตัวเลขหนี้สินของกรีซปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 120% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ภายในปี 2563 จากปัจจุบันที่ระดับ 150% ของจีดีพี

ถ้อยแถลงของนางแมร์เคลมีขึ้นไม่นานหลังจากที่นายลูคัส ปาปาเดมอส นายกรัฐมนตรีกรีซ ออกมายอมรับว่า กรีซอาจจะถูกบีบให้ต้องผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมี.ค. หากการเจรจาเรื่องเงินกู้งวดต่อไปกับกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) และสหภาพยุโรป (EU) ล้มเหลว

"ในช่วง 3 เดือนข้างหน้าถือเป็นช่วงเวลาที่วิกฤตมาก หากไม่มีการทำข้อตกลงกับผู้ตรวจสอบบัญชีของ EU/IMF ในเรื่องของเงื่อนไขการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินในขั้นตอนต่อไปแล้ว กรีซก็มีความเสี่ยงที่จะผิดนัดชำระหนี้ในเดือนมี.ค." นายปาปาเดมอสกล่าว

ทั้งนี้ คณะผู้ตรวจสอบของ EU/IMF จะเดินทางมายังกรุงเอเธนส์ในช่วงกลางเดือนม.ค.นี้ เพื่อทบทวนสถานะทางการเงินของกรีซ ขณะที่กรีซได้รับแรงกดดันมากขึ้นให้เร่งดำเนินการปฏิรูปเพื่อลดการขาดดุลงบประมาณ เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลืองวดต่อไป

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 117

โพสต์

GREECE:จับตากรีซเจรจาเจ้าหนี้ครั้งใหม่พุธนี้ หลังคว้าน้ำเหลวในวันศุกร์
เอเธนส์--16 ม.ค.--รอยเตอร์

กรีซและธนาคารเจ้าหนี้เสร็จสิ้นการเจรจาเมื่อวันศุกร์โดยไม่มีการทำ
ข้อตกลงใดๆ แต่จะมีการเจรจารอบใหม่ในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ กรีซจำเป็นต้องทำการสว็อปพันธบัตรเพื่อลดหนี้ลงสู่ระดับที่สามารถ
ชำระได้ และเพื่อให้สหภาพยุโรปและกองทุนการเงินระหว่างประเทศยังคงปล่อยกู้
ให้กับกรีซ
กรีซจำเป็นต้องได้รับเงินช่วยเหลือเนื่องจากจะมีพันธบัตรครบกำหนด
ไถ่ถอนครั้งใหญ่ในเดือนมี.ค.
"เรามีแนวโน้มมากที่สุดที่จะเริ่มการเจรจาอีกครั้งในวันพุธนี้" นาย
อีวานจีลอส เวนิเซลอส รมว.คลังของกรีซ เปิดเผยกับผู้สื่อข่าวหลังประชุมกับ
นายชาร์ลส์ ดัลลารา ประธานสถาบันการเงินระหว่างประเทศ (IIF) ซึ่งเจรจา
ในนามของผู้ถือพันธบัตรภาคเอกชน
นายดัลลาราออกจากที่ประชุมโดยไม่ได้แถลงการณ์ใดๆ ขณะที่ IIF
เตือนเมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้วว่า เวลาในการทำข้อตกลงกำลังจะหมดลง
กรีซต้องมีการบรรลุข้อตกลงดังกล่าวก่อนวันที่ 20 มี.ค. ซึ่งเป็นวันที่
ครบกำหนดไถ่ถอนพันธบัตรวงเงิน 1.45 หมื่นล้านยูโร เนื่องจากเฉพาะงานด้าน
เอกสารอย่างเดียวนั้นจะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์
อียู, ไอเอ็มเอฟและอีซีบีซึ่งจะเดินทางถึงกรุงเอเธนส์ในวันพรุ่งนี้
เพื่อเจรจาเกี่ยวกับแผนความช่วยเหลือครั้งใหม่วงเงิน 1.30 แสนล้านยูโรนั้น
ต้องการที่จะเห็นข้อตกลงเกี่ยวกับการสว็อปหนี้ก่อนที่จะทำการตกลงเกี่ยวกับ
มาตรการให้ช่วยเหลือ
คณะกรรมการอียูเปิดเผยว่า ข้อตกลงใดๆเกี่ยวกับผู้ถือพันธบัตรภาคเอกชน
เกี่ยวกับการลดหนี้นั้น ควรจะเป็นไปตามเงื่อนไขที่ตัดสินใจโดยผู้นำยูโรโซนเมื่อวันที่
26 ต.ค.ที่ผ่านมา
ภายใต้เงื่อนไขที่ตกลงกันในเดือนต.ค.ดังกล่าว มูลค่าของตราสารหนี้
ที่ถือครองโดยภาคเอกชนของกรีซจะถูกลดลงครึ่งหนึ่ง รวมถึงมีการปฏิรูปโครงสร้าง
ดังนั้นหนี้โดยรวมต่อจีดีพีของกรีซจะลดลงสู่ระดับ 120% ในปี 2020 จาก 160%
ในปัจจุบัน
โฆษกรัฐบาลเปิดเผยว่า กรีซยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะดำเนินการทาง
กฏหมายเพื่อบังคับให้เจ้าหนี้ทำข้อตกลงสว็อปหนี้หรือไม่ โดยปฏิเสธรายงาน
ของสื่อกรีซที่ว่าจะมีการดำเนินการดังกล่าวในวันนี้
แหล่งข่าวเจ้าหน้าที่ยูโรระดับสูง 3 คนเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า
กรีซกำลังพิจารณาการใช้กฏหมายซึ่งจะผูกมัดการปรับโครงสร้างหนี้สำหรับ
นักลงทุนทั้งหมดทันทีที่มีการตกลงกัน
กรีซจะทดสอบตลาดในวันพรุ่งนี้ด้วยการประมูลขายตั๋วเงินคลัง
อายุ 3 เดือนวงเงิน 1.25 พันล้านยูโร (1.59 พันล้านดอลลาร์) เพื่อ
หาเงินไปชำระตราสารหนี้ 2 พันล้านยูโรที่จะครบกำหนดในวันที่ 20 ม.ค.
--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 118

โพสต์

S&P ลดเครดิตกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ลงสู่ระดับ AA+ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 17 มกราคม 2555 06:18:53 น.
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) ประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือระยะยาวของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) ลง 1 ขั้น สู่ระดับ AA+ จากระดับ AAA

"เหตุผลที่ S&P ตัดสินใจปรับลดความน่าเชื่อถือของกองทุน EFSF นั้น มาจากการที่กองทุน EFSF ไม่ได้รับการสนับสนุนจากประเทศสมาชิกยูโรโซนอย่างเต็มที่ตามพันธกรณี นอกจากนี้ หลายประเทศที่ให้การรับประกันกองทุน EFSF ได้ถูกปรับลดลงอันดับความน่าเชื่อถือแล้วในขณะนี้"

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า S&P พิจารณาอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุน EFSF บนพื้นฐานของอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศต่างๆที่เป็นผู้รับประกันกองทุน EFSF

การประกาศลดอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุน EFSF มีขึ้นหลังจากที่ S&P ได้ปรับลดอันดับเครดิตระยะยาวของฝรั่งเศสลง 1 ขั้น สู่ระดับ AA+ จาก AAA เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา พร้อมให้แนวโน้มอันดับเครดิตเป็น "เชิงลบ" โดยระบุว่า ข้อตกลงที่ผู้นำยุโรปบรรลุในเดือนธ.ค.ไม่เพียงพอที่จะจัดการกับปัญหาหนี้สินของภูมิภาค

นอกจากนี้ S&P ยังได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ 8 ใน 17 ประเทศในยูโรโซน โดยออสเตรีย มอลตา สโลวาเกีย และสโลเวเนียถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 1 ขั้น ขณะที่อิตาลี โปรตุเกส สเปน และไซปรัสถูกปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือลง 2 ขั้น

ทั้งนี้ S&P ได้แสดงความวิตกว่า มาตรการที่ผู้กำหนดนโยบายของยุโรปใช้ในการรับมือกับวิกฤติหนี้นั้น อาจไม่เพียงพอที่จะแก้ไขภาวะตึงเครียดทางระบบที่กำลังดำเนินอยู่ในยูโรโซน

กองทุน EFSF ได้รับการก่อตั้งขึ้นโดยกลุ่มประเทศสมาชิกยูโรโซนเมื่อวันที่ 9 พ.ค.ปี 2553 โดยกองทุน EFSF ทำหน้าที่รักษาเสถียรภาพทางการเงินในยุโรป ด้วยการให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่รัฐบาลของประเทศที่ประสบความยากลำบากทางเศรษฐกิจ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 119

โพสต์

EUROPE:"ฟิทช์"เตือนหั่นเครดิตหลายประเทศในยูโรโซน 1-2 ขั้นก่อนสิ้นเดือนนี้
มาดริด--20 ม.ค.--รอยเตอร์

นายเอ็ด ปาร์คเกอร์ กรรมการอาวุโสบริษัทฟิทช์ เรทติงส์เปิดเผยว่า
ฟิทช์คาดว่าการทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือของ 6 ประเทศในยูโรโซนจะส่งผล
ให้มีการปรับลดอันดับของประเทศส่วนใหญ่ในกลุ่มนี้ลง 1-2 ขั้น
ทั้งนี้ ฟิทช์ให้เครดิตพินิจเชิงลบแก่เบลเยียม, สเปน, สโลเวเนีย,
อิตาลี, ไอร์แลนด์ และไซปรัสเมื่อวันที่ 16 ธ.ค.
ฟิทช์ได้แจ้งต่อยูโรโซนในขณะนั้นว่า ฟิทช์คาดว่า ยุโรปจะไม่สามารถ
หาทางออกแบบเบ็ดเสร็จสำหรับวิกฤติหนี้ยูโรโซนได้
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของยูโรโซน
ลงครั้งใหญ่ในช่วงต้นเดือนนี้
สำหรับสเปน นายปาร์คเกอร์กล่าวว่า การทบทวนอันดับความน่าเชื่อถือ
จะพิจารณาถึงการดำเนินการล่าสุดของรัฐบาลใหม่ในการลดค่าใช้จ่ายและทำการ
ปฏิรูป แต่ "ยังมีปัญหาต่อเนื่องกับฐานะการคลังภาครัฐ และสินทรัพย์ธนาคาร
ขณะที่ตลาดแรงงานก็ยังไม่ปกติ"
เขากล่าวว่า การทบทวนจะได้ข้อสรุปภายในสิ้นเดือนนี้--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 120

โพสต์

> UPDATE/GREECE:กรีซ-เจ้าหนี้ถกสว็อปบอนด์ต่อวันนี้ ขณะส่งสัญญาณใกล้บรรลุดีล
เอเธนส์--20 ม.ค.--รอยเตอร์

กรีซและกลุ่มเจ้าหนี้เอกชนผู้ถือครองพันธบัตรรัฐบาลกรีซจะเปิดการ
เจรจาเกี่ยวกับการสว็อปพันธบัตรอีกครั้งในวันนี้ ขณะที่มีสัญญาณบ่งชี้ว่าทั้งสอง
ฝ่ายใกล้จะบรรลุข้อตกลงกันแล้ว ซึ่งจะช่วยให้กรีซสามารถหลีกเลี่ยงการผิดนัด
ชำระหนี้อย่างไม่เป็นระเบียบ
นายอีวานเจลอส เวนิเซลอส รมว.คลังกรีซ กล่าววานนี้หลังการ
เจรจากับนายชาร์ลส์ ดัลลารา ผู้อำนวยการสถาบันการเงินระหว่างประเทศ
(IIF) ซึ่งเป็นตัวแทนฝ่ายเจ้าหนี้ภาคเอกชนว่า "การเจรจามีบรรยากาศที่ดี
โดยมีความคืบหน้าในเรื่องนี้ และเราจะเจรจาต่อไปในช่วงบ่ายวันศุกร์"
ทางด้าน IIF ออกแถลงการณ์ที่คล้ายคลึงกับนายเวนิเซลอส โดยระบุว่า
การเจรจา "ให้ผลที่น่าพึงพอใจ"
แหล่งข่าวกล่าวว่า อาจจะมีการทำข้อตกลงกันในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า
ทั้งนี้ กรีซใกล้ที่จะหมดเวลาในการทำข้อตกลงสว็อปพันธบัตรแล้ว ขณะที่
หวังพยายามทำข้อตกลงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 23 ม.ค. เพื่อให้มีโอกาสได้รับ
เงินช่วยเหลืองวดใหม่จากต่างประเทศ ก่อนที่กรีซจะถึงกำหนดต้องชำระหนี้ 1.45
หมื่นล้านยูโร (1.85 หมื่นล้านดอลลาร์) ในการไถ่ถอนพันธบัตรในเดือนมี.ค.
รัฐบาลกรีซและเจ้าหนี้เอกชนพยายามหาทางคลี่คลายความขัดแย้งในช่วงนี้
หลังจากการเจรจาหยุดชะงักลงในสัปดาห์ที่แล้วเนื่องจากไม่สามารถตกลงกันได้ใน
เรื่องอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วในพันธบัตรใหม่ที่กรีซจะนำมาแลกกับพันธบัตรเก่า
แหล่งข่าวกล่าวในช่วงก่อนหน้านี้ว่า รัฐบาลกรีซและหน่วยงานผู้ให้เงิน
ช่วยเหลือกรีซเคยเสนอให้มีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วของพันธบัตรใหม่ไว้ที่
ระดับสูงกว่า 3.5 % เล็กน้อย แต่กลุ่มเจ้าหนี้ผู้ถือพันธบัตรปฏิเสธข้อเสนอนี้
เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยต่ำเกินไป และระบุว่าพวกเขาต้องการอัตราดอกเบี้ย
หน้าตั๋วที่ระดับอย่างน้อย 4 %
แหล่งข่าวรายหนึ่งกล่าวว่า หนึ่งในทางเลือกที่ได้รับการพิจารณาคือ
การกำหนดให้อัตราดอกเบี้ยหน้าตั๋วสามารถปรับเพิ่มขึ้นหลังจากคงที่ในช่วง
10 ปีแรก
กรีซจำเป็นต้องทำข้อตกลงสว็อปพันธบัตรให้เสร็จสิ้น มิฉะนั้นจะไม่ได้รับ
เงินจากมาตรการช่วยเหลือกรีซรอบสองซึ่งมีวงเงิน 1.30 แสนล้านยูโร โดย
สหภาพยุโรป (อียู) และกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ได้ร่าง
มาตรการช่วยเหลือนี้ขึ้นในเดือนต.ค.2011
เป็นที่คาดกันว่างานด้านเอกสารในเรื่องนี้ต้องใช้เวลานานหลายสัปดาห์
ดังนั้นถ้าหากกรีซไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการสว็อปพันธบัตรในเร็วๆนี้
กรีซก็อาจจะผิดนัดชำระหนี้อย่างไม่เป็นระเบียบในเดือนมี.ค.
นายเวนิเซลอสเคยกล่าวในช่วงก่อนหน้านี้ว่า จำเป็นต้องมีการตกลงกัน
ในเรื่องการสว็อปพันธบัตรส่วนใหญ่ภายในช่วงเที่ยงวันนี้ และต้องมีการทำข้อตกลงกัน
อย่างเป็นทางการก่อนที่จะถึงการประชุมรัฐมนตรีคลังยูโรโซนในวันที่ 23 ม.ค.
แผนการสว็อปพันธบัตรในครั้งนี้มีจุดประสงค์เพื่อปรับลดภาระหนี้ของกรีซ
ลง 1 แสนล้านยูโร จากระดับสูงกว่า 3.50 แสนล้านยูโรในปัจจุบัน
มาตรการช่วยเหลือกรีซรอบสองมีจุดประสงค์เพื่อปรับลดหนี้สินของกรีซ
ลงจากระดับราว 160 % ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ในปัจจุบัน
สู่ราว 120 % ของจีดีพีภายในปี 2020--จบ--