หน้า 4 จากทั้งหมด 10

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 17, 2008 9:31 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:หมอเอ็มเคยอยู่อเมกาถามหน่อยครับ

ว่าพฤติกรรมการเล่นหุ้นของรายย่อยอเมกาถ้าเทียบกับไทยเป็นอย่างไร เช่น

1.ชอบฟังข่าว จ้าวเล่น ใช่ป่าว
2.เชื่อนักวิเคราห์ไปหมดใช่ป่าว
3.รู้สึกว่าสัดส่วนรายย่อยที่นั้นจะน้อย แต่เน้นไปลงทุนใน
กองทุนรวมแทน ใช่หรือไม่

อยากให้เล่าพฤติกรรมรายย่อยใน usa ให้ฟังหน่อย
ผมก็ไม่ได้มีประสบการณ์โชกโชนอะไรมากมายครับ ความเห็นนี้เป็นข้อมูลที่ผมรู้เท่านั้นนะครับ

1. รายย่อยชอบฟังข่าวครับ แต่ฟังเจ้าหรือเปล่าอันนี้ไม่ทราบ เพราะว่าเจ้าใหญ่ในตลาดคือกองทุนทั้งหลาย (Mutual fund หรือ Hedge fund ก็แล้วแต่)

2. ส่วนใหญ่เชื่อนักวิเคราะห์ก็จริง แต่ VI มีเยอะกว่าบ้านเราครับ มีไม่น้อยที่วิเคราะห์กิจการเองแบบ VI

3. ใช่ครับ เพราะตลาดมัน liquid มาก แถมขึ้นลงแบบไม่จำกัด แล้วก็มีระบบ pension fund/retirement fund (กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ) ที่เรียกว่า 401(k) ที่เขาเปิดโอกาสให้เจ้าของบัญชีเลือกลงทุนได้ตามต้องการ ส่วนใหญ่ก็มักเลือกลงทุนในกองทุนรวมครับ เพราะไม่มีเวลาลงทุนเอง

รายย่อยเมืองไทยกับเมกาก็ไม่ต่างกันหรอกครับ เพียงแต่ฝรั่งไม่ค่อยมีการเล่นหุ้นปั่นโจ่งแจ้งแบบบ้านเรา พวก technical เยอะ ๆ มักเป็นกองทุนมากกว่า รายการวิเคราะห์หุ้นหรือพวกทีวีก็มักจะออกแนวข่าว-พื้นฐานมากกว่าจะเป็นกราฟหรือแนวรับแนวต้านกันอย่างเดียว

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 17, 2008 9:55 pm
โดย ignorant
mprandy เขียน: ผมกลัวว่าจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับที่คุณ ignorant ว่ามาอ่ะสิครับ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ EU ก็ออกมาประกาศว่าจะเอาระบบ Bretton Woods ขึ้นมาใช้ใหม่ (ระบบค่าเงินคงที่ผูกติดกับดอลลาร์)

คราวก่อนก็เน่าเพราะไอ้เจ้านี่ทีนึงแล้ว คราวนี้จะเอามาใช้ใหม่ได้ยังไง ??
อะไรนะ อเมริกาขาดดุลบักโกรกขนาดนี้ แล้วจะให้คนอื่นมาผูกติดกับดอลล่าร์ อเมริกาก็สร้างหนี้มากินใช้ต่อไปเรื่อยๆ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 17, 2008 10:25 pm
โดย mprandy
ignorant เขียน:
อะไรนะ อเมริกาขาดดุลบักโกรกขนาดนี้ แล้วจะให้คนอื่นมาผูกติดกับดอลล่าร์ อเมริกาก็สร้างหนี้มากินใช้ต่อไปเรื่อยๆ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 17, 2008 11:20 pm
โดย ignorant
โอ้ว ถ้างี้ก็เท่ากับว่า ทุกคนไม่ว่าจะ อเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น ต่างก็คือสาเหตุของวิกฤติในรูปแบบที่แตกต่างกันไปทั้งนั้น

จีน-ญี่ปุ่น manipulate ค่าเงิน เสพติดดอลล่าร์ สะสมทุนสำรอง เอากลับไปปล่อยกู้อเมริำกา

อเมริกา เงินไหลกลับมาได้มาง่ายๆ ของนำเข้าก็ถูกเกินความจริง ทั้งคนทั้งรัฐใช้จ่ายเติบ สถาบันการเงินก็ปล่อยกู้บ้าระห่ำ จนเกิดผลิตภัณฑ์ขายกระดาษ

ยุโรป ไปเชื่ออเมริกา ก็เลยไปซื้อกระดาษอเมริกา ผลสุดท้ายฟองสบู่แตก สภาพคล่องแห้ง เครดิตพัง ตัวเองเลยถูกฉุดลงเหวไปก่อน

ผมเข้าใจแบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ

ผมว่ามันจะต้องถึงจุดจบเข้าสักวันแน่แบบนี้ สยองอะ แล้วเราจะหลีกพ้นได้ไง เพราะยักษ์ใหญ่มันเล่นกันแบบนี้ แล้วยังไม่ยอมหยุด

ผมว่าโลกต้องมาถึงจุดที่ว่า แต่ละประเทศต้องพึ่งตัวเองให้มากกว่าเดิมซะแล้ว (เศรษฐกิจพอเพียง)  ไม่งั้นปล่อยงี้ต่อไปฉิบหายแน่

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 18, 2008 11:55 am
โดย woody
[quote="ignorant"]โอ้ว ถ้างี้ก็เท่ากับว่า ทุกคนไม่ว่าจะ อเมริกา ยุโรป จีน ญี่ปุ่น ต่างก็คือสาเหตุของวิกฤติในรูปแบบที่แตกต่างกันไปทั้งนั้น

จีน-ญี่ปุ่น manipulate ค่าเงิน เสพติดดอลล่าร์ สะสมทุนสำรอง เอากลับไปปล่อยกู้อเมริำกา

อเมริกา เงินไหลกลับมาได้มาง่ายๆ ของนำเข้าก็ถูกเกินความจริง ทั้งคนทั้งรัฐใช้จ่ายเติบ สถาบันการเงินก็ปล่อยกู้บ้าระห่ำ จนเกิดผลิตภัณฑ์ขายกระดาษ

ยุโรป ไปเชื่ออเมริกา ก็เลยไปซื้อกระดาษอเมริกา ผลสุดท้ายฟองสบู่แตก สภาพคล่องแห้ง เครดิตพัง ตัวเองเลยถูกฉุดลงเหวไปก่อน

ผมเข้าใจแบบนี้ถูกหรือเปล่าครับ

ผมว่ามันจะต้องถึงจุดจบเข้าสักวันแน่แบบนี้ สยองอะ แล้วเราจะหลีกพ้นได้ไง เพราะยักษ์ใหญ่มันเล่นกันแบบนี้ แล้วยังไม่ยอมหยุด

ผมว่าโลกต้องมาถึงจุดที่ว่า แต่ละประเทศต้องพึ่งตัวเองให้มากกว่าเดิมซะแล้ว (เศรษฐกิจพอเพียง)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 18, 2008 9:59 pm
โดย hongvalue
อ.แพนด้าครับ

มีคำถามครับ

(มีคนคุยกับผมถามว่าอ.แพนด้าเป็นหมอประจำอยู่ที่ไหน
ตอนแรกผมงง ครับใครอะ อ.แพนด้า เขาบอกที่ถามเรื่อง usa ไง ก็เลยอ้อ เดี่ยวนี้ทุกคนเรียกว่าแพนด้าไปแล้วนะครับ
เพราะว่ามันจำง่าย 555)


มีคำถามเกี่ยวกับ ดัชนีสองตัวนี้ครับ

1. ism manufacturing : pmi composite index

ซึ้งล่าสุดเดือน 9 เหลือ 43.5 แล้ว

ข้อมูลที่ผมมีอยู่ก็คือ ดัชนีนี้เคยต่ำสุดประมาณ 30

ในช่วงปี 1980 หรือ saving and loan crisis

ตัวเลขนี้คือสะท้อนว่า การผลิตน้อยใช่ไหมครับ

อาจเกิดจากการไม่ปล่อยกู้หรือป่าว


2. ism nonmanufacturing : businesss activity index

ตัวเลขนี้มันคือภาคบริการของ usa ใช่ไหมครับ

ถ้าน้อยก็คือเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนกันใช่ไหม


อยากให้เสริมเกี่ยวกับสองตัวนี้หน่อยครับ

ป.ล. ผมมีเอกสารแต่ไม่มีเครื่องสแกน จึงไม่สามารถนำรูปมาโพสได้ครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 19, 2008 1:55 pm
โดย hongvalue
ขอถามเกี่ยวกับเรื่องอัตราการว่างงานของ usa หน่อยครับ

ล่าสุด สูงถึง 6.1% น่าจะเป็นเพราะปัญหา layoff คนอย่าง ที่หมอแพนด้าพูด

การที่อัตราว่างงานสูงถึงขนาดนี้ปัญหาที่ถามมาก็คือ

ปัญหาหนี้บัตรเครดิตเสียใช่หรือไม่

เพราะว่าคน usa ชอบใช้จ่ายเกินตัวถ้าโดนออกจากงาน

น่าจะมีปัญหาเรื่องการผ่อนบัตรเครดิตต่อ

มีความเห็นยังไงมั้งครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 19, 2008 5:45 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:อ.แพนด้าครับ

มีคำถามครับ

(มีคนคุยกับผมถามว่าอ.แพนด้าเป็นหมอประจำอยู่ที่ไหน
ตอนแรกผมงง ครับใครอะ อ.แพนด้า เขาบอกที่ถามเรื่อง usa ไง ก็เลยอ้อ เดี่ยวนี้ทุกคนเรียกว่าแพนด้าไปแล้วนะครับ
เพราะว่ามันจำง่าย 555)
:lovl: :lovl: ไม่เป็นไรครับ เรียกอะไรที่มันไม่ทุเรศเกินไปก็ถือว่าแล้วโอเคครับ :lovl: :lovl:
hongvalue เขียน: มีคำถามเกี่ยวกับ ดัชนีสองตัวนี้ครับ

1. ism manufacturing : pmi composite index

ซึ้งล่าสุดเดือน 9 เหลือ 43.5 แล้ว

ข้อมูลที่ผมมีอยู่ก็คือ ดัชนีนี้เคยต่ำสุดประมาณ 30

ในช่วงปี 1980 หรือ saving and loan crisis

ตัวเลขนี้คือสะท้อนว่า การผลิตน้อยใช่ไหมครับ

อาจเกิดจากการไม่ปล่อยกู้หรือป่าว
PMI composite ชื่อมันฟ้องอยู่ครับว่าเป็น composite เพราะมันเอาดัชนีหลายอย่างมายำรวมกัน แต่โดยรวมหมายความว่าเศรษฐกิจโดยรวมยังโตอยู่ (breakeven ที่ 41%) แต่ภาคการผลิตหดตัวลง (breakeven ที่ 50%)

อะไรเป็นเหตุหลักของการหดตัวของภาคการผลิต อะไรลดลงมากอะไรลดลงน้อย ต้องดูเป็นตัว ๆ ไป

สรุปข้อมูลล่าสุด ส่วนที่หดตัวลงชัดเจนคือ การผลิต (production), คำสั่งซื้อใหม่ (new order), การจ้างงาน (employment), คำสั่งซื้อคงค้าง (order backlog) < - พวกนี้น่าจะเป็นผลจากเศรษฐกิจโดยรวมแย่ลง ลูกค้าสั่งซื้อของน้อยลง

ที่มีแนวโน้มลดลงมาเป็นระยะ ๆ แล้วคือ ยอดสินค้านำเข้า (imports) ส่วนราคาขาย (price) แม้จะยังขายได้แพงขึ้น แต่ราคามีแนวโน้มลดลงเร็ว <- ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นผลจากข้างบน (โดยเฉพาะสินค้านำเข้า), ราคาสินค้า commodity ที่ลดลงก็อาจมีส่วนที่ทำให้ราคาขายมันชะลอลงด้วย

แนวโน้มที่เพิ่มขึ้น (ซึ่งไม่ดี) คือ customer inventory หมายความว่าลูกค้ามีสินค้าใน stock ค้างอยู่มากขึ้น ระบายของออกได้ยากขึ้น <- อันนี้เป็นปลายน้ำชัดเจน ตรงนี้จะทำให้ต้นน้ำ (ปัจจัยข้างบน) มันมีผลกระทบตามมาอีก

ส่วนที่ยังทรง ๆ อยู่คือ คำสั่งสินค้าส่งออก (export order) กับ supplier inventory <- คิดว่าต่อไป supplier inventory อาจจะสูงขึ้น ยกเว้นว่าเขาจะลดการผลิตและการจ้างงานลงไปอีก

ทั้งหมดนี้ไม่น่าจะเป็นผลโดยตรงของ credit crisis แต่ผลอันนี้ทำให้ภาพรวมเศรษฐกิจมันแย่ลง การซื้อสินค้าก็ต้องลดลงเป็นธรรมดา
hongvalue เขียน: 2. ism nonmanufacturing : businesss activity index

ตัวเลขนี้มันคือภาคบริการของ usa ใช่ไหมครับ

ถ้าน้อยก็คือเศรษฐกิจไม่ดีเหมือนกันใช่ไหม

อยากให้เสริมเกี่ยวกับสองตัวนี้หน่อยครับ
ใช่ครับ (แต่บริการของเขาคือธุรกิจที่ไม่มีการผลิตสินค้าออกมาเป็นชิ้น ๆ ในโรงงาน เช่นการก่อสร้าง, เหมืองแร่, ประมง เขาถือเป็นบริการอย่างหนึ่ง)

รูปภาพ
ดัชนีทั้งสองตัวนี้มีคนสนใจกันมาก เพราะว่ามีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับ GDP ของประเทศ และข้อมูลค่อนข้างไวเนื่องจากประกาศกันทุกเดือนและมี lag period สั้น (ประมาณ 15 วัน) ต่างกับ GDP ซึ่งประกาศกันรายไตรมาส และมี lag period ประมาณ 3 เดือน

น่าสนใจกว่าคือ ข้อมูลที่จะประกาศเดือนหน้าจะออกมาเป็นยังไง เพราะ financial tsunami เพิ่งเกิดตั้งแต่ต้นเดือนจะยังไม่มีออกมาให้เห็นในข้อมูลเดือนนี้

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 19, 2008 6:07 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:ขอถามเกี่ยวกับเรื่องอัตราการว่างงานของ usa หน่อยครับ

ล่าสุด สูงถึง 6.1% น่าจะเป็นเพราะปัญหา layoff คนอย่าง ที่หมอแพนด้าพูด

การที่อัตราว่างงานสูงถึงขนาดนี้ปัญหาที่ถามมาก็คือ

ปัญหาหนี้บัตรเครดิตเสียใช่หรือไม่

เพราะว่าคน usa ชอบใช้จ่ายเกินตัวถ้าโดนออกจากงาน

น่าจะมีปัญหาเรื่องการผ่อนบัตรเครดิตต่อ

มีความเห็นยังไงมั้งครับ
การว่างงานมีผลกับภาคเศรษฐกิจทุกส่วนครับ บางส่วนโดนตรง ๆ บางส่วนโดนอ้อม ๆ

ปัญหาสถาบันการเงินล้ม/ขาดทุน ทำให้เกิด lay-off คนในภาคการเงินเป็นส่วนแรก

คนที่ตกงาน จะมี unemployment benefit ให้ซึ่งต้องไปแจ้งที่ Department of Labor ก่อน (เป็นที่มาของข้อมูลคนตกงาน-จ้างงานใหม่) แต่อย่างไรก็ตามเงินนี้ไม่เพียงพอกับการดำรงชีพแบบเดิม ๆ แน่นอน

ผลระลอกแรก คนที่มีหนี้อยู่ไม่ว่าจะเป็น หนี้อสังหา, หนี้สินเชื่อส่วนบุคคล, หนี้บัตรเครดิต ฯลฯ จะมีโอกาสสูงที่จะผิดนัดชำระหนี้ (ธนาคาร, สถาบันการเงินที่มีพอร์ทสินเชื่อเหล่านี้จะโดนกระทบ) นอกจากนี้การซื้อสินค้าและบริการจะลดลง

ธุรกิจที่ขายสินค้าราคาสูง และ/หรือ อาศัยเงินกู้ เช่นอสังหาริมทรัพย์, รถยนต์ และกิจการที่เกี่ยวข้อง (เช่นกิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, บริษัทก่อสร้าง, กิจการที่ขายสินค้าที่ต้องใช้ผลิต เช่นเหล็ก) จะเป็นธุรกิจแท้จริง (real sector) ที่ได้รับผลกระทบก่อนกลุ่มอื่น เพราะคนไม่มีเงิน กู้เงินไม่ได้ ต้องลดกำลังการผลิตลง ก็จะมีการ lay-off คนอีก

ธุรกิจที่ขายสินค้าที่ไม่ค่อยจำเป็นต่อการดำรงชีพนัก หรือสามารถยืดการซื้อไปได้ (เช่นสินค้าอิเล็กทรอนิคส์, เครื่องประดับ) จะกระทบเป็นกลุ่มถัดมา ผลลูกโซ่ในภาคการผลิตก็คงเหมือน ๆ กับธุรกิจข้างบน

ธุรกิจที่ขายสินค้าจำเป็นต่อการดำรงชีพ (ปัจจัย 3 อาหาร เครื่องนุ่มห่ม ยารักษาโรค - ไม่รวมอสังหาริมทรัพย์) จะโดนกระทบน้อยหน่อยเพราะยังต้องกินต้องใช้

ธุรกิจที่อาจจะดีขึ้น (โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับ 4-5 ปีที่ผ่านมา) คือ อพาร์ทเมนต์ :shock: เพราะคนไม่มีกำลังซื้อบ้าน หรือต้องขายบ้านเพราะผ่อนไม่ไหว หรือโดนยึด

ส่วนเรื่องหนี้บัตรเครดิต ไม่รู้ว่า บ.ประกันจะโดนอีกกี่มากน้อย เพราะมีประกันหนี้บัตรเครดิตกรณีตกงานด้วย เขาจะจ่ายหนี้ชดเชยให้กรณีโดน lay-off (ส่วนตัวเข้าใจว่าไม่มาก เพราะเป็นการประกันที่คนทั่วไปไม่ค่อยสนใจซื้อ)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 19, 2008 6:28 pm
โดย chode
ขอถามคุณ mprandy หน่อยครับ

พอจะรู้ไหมครับว่าที่อเมริกามีการกึ่งบังคับให้ทำประกันสำหรับคนกู้ซื้อบ้านแบบบ้านเราไหมครับ

แล้วทั้งไทยและอเมริกา หากผู้กู้ซื้อบ้านผ่อนไม่ไหวจนถูกยึดบ้านแล้ว ขายบ้านแล้วมูลหนี้ยังเหลือ จะต้องถูกบังคับให้ปิดสัญญากรมธรรม์เพื่อมาจ่ายหนี้ธนาคารหรือไม่ครับ

ส่วนเรื่องการบริหารทุนสำรองของจีนผมยังมองไม่ออกว่าจะลดการถือพันธบัตรสหรัฐหรือไม่ แต่ผมมองว่าตอนนี้จีนคงไปไล่ซื้อบริษัทผลิตน้ำมันและแร่โลหะทั่วโลกต่อไปยิ่งตอนนี้ราคาถูกลงมาแล้ว(แต่ไม่รู้ว่ามี mos พอหรือยัง อยากรู้จัง)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 19, 2008 11:14 pm
โดย hongvalue
หมอด้า(ย่อมาจากแพนด้า)ครับ ถามเรื่องหนังสือหน่อย 2 เล่ม

ดังนี้

Greenspan's Bubbles: The Age of Ignorance at the Federal Reserve by William Fleckenstein and Fred Sheehan (Hardcover - Jan 16, 2008)

The Age of Turbulence: Adventures in a New World by Alan Greenspan and Robertson Dean (Audio CD - Sep 17, 2007) - Audiobook

สองเล่มนี้ไม่ทราบว่าเคยอ่านไหม

ถ้าเคยอ่านแล้วอยากถามว่าอ่านยากไหม

เพราะมีปรมจารย์แนะนำมาว่าดี แต่ท่าทางจะยาก

สำหรับคนไม่เก่ง eco อย่างผม

และอยากให้แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ eco หรือ เม็ดเงินที่อ่านง่ายๆให้หน่อยครับ

ผมอยากเก่ง eco บ้างหมอด้า บ้าง

อีกเรื่องนึงที่อยากถามก็คือ

ถ้าสมมุติเลือกตั้ง usa โอบามา ชนะ

(ผมไม่รู้ว่ามี% มากน้อยแค่ไหน)

จะส่งผลยังไงต่อตลาดน้ำมัน

เพราะว่า บุช เป็นพ่อค้าน้ำมัน ก็คงจะสนับสนุนไปในแนวทางที่ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่ม แต่ โอบามาไม่ใช่(หรือป่าว)

หมอด้าคิดว่าเรื่องนี้อาจมีผลต่อราคาน้ำมันระดับนึงเลยไหม

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 20, 2008 11:12 am
โดย hongvalue
mprandy เขียน:


ธุรกิจที่ขายสินค้าราคาสูง และ/หรือ อาศัยเงินกู้ เช่นอสังหาริมทรัพย์, รถยนต์ และกิจการที่เกี่ยวข้อง (เช่นกิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์, บริษัทก่อสร้าง, กิจการที่ขายสินค้าที่ต้องใช้ผลิต เช่นเหล็ก) จะเป็นธุรกิจแท้จริง (real sector) ที่ได้รับผลกระทบก่อนกลุ่มอื่น เพราะคนไม่มีเงิน กู้เงินไม่ได้ ต้องลดกำลังการผลิตลง ก็จะมีการ lay-off คนอีก


แบบนี้พวก chyler gm ford ที่อเมกาก็เน่าเลยใช่ไหมครับ ราคาหุ้น เห็นมีคนบอก
และ ถ้าเศรษฐกิจดีหุ้นพวกนี้ก็น่ากลับเข้าไปลงทุนสิครับ

เพราะเป็น economic cyclical อย่างเมืองไทยก็เหมือน
ที่ irc stanley ขึ้นแรงๆอยู่ช่วงนึงประมาณปี 45-46

ยอดขายของกลุ่มยานยนต์น่าจะสัมพันธ์กับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคใช่ไหมครับ และ gdp ใช่ไหมครับ

คนที่อยากเข้าลงทุนกลุ่มนี้

ควรดูสอง indicator นี้ใช่หรือไม่

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 20, 2008 11:39 am
โดย ignorant
hongvalue เขียน: แบบนี้พวก chyler gm ford ที่อเมกาก็เน่าเลยใช่ไหมครับ ราคาหุ้น เห็นมีคนบอก
และ ถ้าเศรษฐกิจดีหุ้นพวกนี้ก็น่ากลับเข้าไปลงทุนสิครับ

อาจไม่เกี่ยวกับประเด็น และก็ไม่ใช่คนที่ถูกถามถึง แต่เผอิญมีประสบการณ์เกือบไปซื้อหนี้ของเขาอะครับ

3 เจ้านี้เห็นเขาขายหุ้นกู้มานาน 4-5 ปีได้ละ จ่ายดอก 6-7% แถมแบ่งจ่ายทุกไตรมาส ดูแล้วน่าจะดีหากต้องการรายได้คงที่ แต่ไปดูเรตติ้งแล้วสยองมากครับ BBB  BBB- แถมรถญี่ปุ่นกับเกาหลีก็ครองใจฝรั่งมากขึ้นทุกวัน แล้วตอนนี้เจอวิกฤติ ถ้าเผลอไปซื้อป่านนี้ผมนอนไม่หลับแน่

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 20, 2008 11:43 am
โดย hongvalue
ignorant เขียน:

อาจไม่เกี่ยวกับประเด็น และก็ไม่ใช่คนที่ถูกถามถึง แต่เผอิญมีประสบการณ์เกือบไปซื้อหนี้ของเขาอะครับ

3 เจ้านี้เห็นเขาขายหุ้นกู้มานาน 4-5 ปีได้ละ จ่ายดอก 6-7% แถมแบ่งจ่ายทุกไตรมาส ดูแล้วน่าจะดีหากต้องการรายได้คงที่ แต่ไปดูเรตติ้งแล้วสยองมากครับ BBB

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 21, 2008 9:30 am
โดย mprandy
chode เขียน:ขอถามคุณ mprandy หน่อยครับ

พอจะรู้ไหมครับว่าที่อเมริกามีการกึ่งบังคับให้ทำประกันสำหรับคนกู้ซื้อบ้านแบบบ้านเราไหมครับ

แล้วทั้งไทยและอเมริกา หากผู้กู้ซื้อบ้านผ่อนไม่ไหวจนถูกยึดบ้านแล้ว ขายบ้านแล้วมูลหนี้ยังเหลือ จะต้องถูกบังคับให้ปิดสัญญากรมธรรม์เพื่อมาจ่ายหนี้ธนาคารหรือไม่ครับ

ส่วนเรื่องการบริหารทุนสำรองของจีนผมยังมองไม่ออกว่าจะลดการถือพันธบัตรสหรัฐหรือไม่ แต่ผมมองว่าตอนนี้จีนคงไปไล่ซื้อบริษัทผลิตน้ำมันและแร่โลหะทั่วโลกต่อไปยิ่งตอนนี้ราคาถูกลงมาแล้ว(แต่ไม่รู้ว่ามี mos พอหรือยัง อยากรู้จัง)
น่าแปลกที่เขาไม่ได้บังคับครับ
การขอสินเชื่อไม่ว่าอะไรก็ตาม เขาจะดูว่าคน ๆ นั้นมีความสามารถในการชำระหนี้ได้หรือไม่โดยใช้สูตรคำนวณออกมาเป็นตัวเลข เรียกว่า FICO (ไฟ-โก้) score

ทุกสถาบันการเงินใช้ตัวเลขนี้อ้างอิงเสมอ ไม่ว่าจะเป็นการขอบัตรเครดิต, ทำประกันรถยนต์, สินเชื่อรถ, สินเชื่อบ้าน

ถ้าตัวเลขยิ่งสูง แสดงว่ามีโอกาสเบี้ยวหนี้หรือเกิดหนี้เสียน้อย จะได้วงเงินกู้สูง (หรือ credit line ในบัตรเครดิตสูง) และเสียดอกเบี้ยต่ำกว่า (ดอกเบี้ยของคนกู้แต่ละรายอาจจะไม่เท่ากัน ขึ้นกับค่านี้แหละ)

แต่เขามีการขายกรมธรรม์ประกันการตกงานครับ

ส่วนประกันบ้าน มีแต่ประกันพวกอัคคีภัย ภัยธรรมชาติ อะไรทำนองนี้ (ซึ่งต้องแยกซื้อด้วย เช่นถ้าซื้อประกันอัคคีภัย แต่โดนพายุเฮอริเคนถล่ม ก็เคลมไม่ได้ หรือซื้อประกันเฮอริเคน แต่โดนแผ่นดินไหว ก็เคลมไม่ได้เหมือนกัน)

เรื่องทุนสำรองจีน อันนี้ขึ้นกับนโยบายประเทศเขาครับ เราไม่รู้ ถ้าเขาต้องการกำหนดค่าเงินเขาให้อยู่นิ่ง ๆ เมื่อเทียบกับดอลลาร์ ก็คงทำเหมือน ๆ เดิม (ดูเหมือนท่านรัฐมนตรีคลังเราก็อยากจะทำอย่างนั้นบ้าง แต่ในทางปฏิบัติคงทำไม่ได้เพราะทุนสำรองเราไม่ได้เยอะแยะขนาดนั้น)

แต่คิดว่าเขาคงไม่เอาไว้อย่างนั้นแน่ เพราะตอนนี้ทุนสำรองเพิ่มขึ้นเร็วมาก เงินควรจะได้ทำงานด้วยวิธีอื่นบ้าง จึงเห็นในปีที่ผ่านมาจีนเข้าไปซื้อโน่นซื้อนี่เต็มไปหมด (แต่เท่าที่ทราบถึงปัจจุบัน ส่วนใหญ่ขาดทุน)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 21, 2008 7:16 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:หมอด้า(ย่อมาจากแพนด้า)ครับ ถามเรื่องหนังสือหน่อย 2 เล่ม

ดังนี้

Greenspan's Bubbles: The Age of Ignorance at the Federal Reserve by William Fleckenstein and Fred Sheehan (Hardcover - Jan 16, 2008)

The Age of Turbulence: Adventures in a New World by Alan Greenspan and Robertson Dean (Audio CD - Sep 17, 2007) - Audiobook

สองเล่มนี้ไม่ทราบว่าเคยอ่านไหม

ถ้าเคยอ่านแล้วอยากถามว่าอ่านยากไหม

เพราะมีปรมจารย์แนะนำมาว่าดี แต่ท่าทางจะยาก

สำหรับคนไม่เก่ง eco อย่างผม

และอยากให้แนะนำหนังสือเกี่ยวกับ eco หรือ เม็ดเงินที่อ่านง่ายๆให้หน่อยครับ

ผมอยากเก่ง eco บ้างหมอด้า บ้าง

อีกเรื่องนึงที่อยากถามก็คือ

ถ้าสมมุติเลือกตั้ง usa โอบามา ชนะ

(ผมไม่รู้ว่ามี% มากน้อยแค่ไหน)

จะส่งผลยังไงต่อตลาดน้ำมัน

เพราะว่า บุช เป็นพ่อค้าน้ำมัน ก็คงจะสนับสนุนไปในแนวทางที่ทำให้ราคาน้ำมันเพิ่ม แต่ โอบามาไม่ใช่(หรือป่าว)

หมอด้าคิดว่าเรื่องนี้อาจมีผลต่อราคาน้ำมันระดับนึงเลยไหม
ผมไม่เคยอ่านทั้ง 2 เล่มครับ สำหรับเล่ม Age of Turbulence ผมมีเป็น e-book ได้มาตั้งนานก็ยังไม่เคยเปิดมาดูเลย  :oops:

ถ้าดีอาจจะลองซื้อมาอ่านดูครับ
แต่เล่มที่กำลังอยากจะอ่านคือ When Markets Collide ของ El-Erian ครับ
เล่มนี้เพิ่งได้ Goldman Sachs/Financial Times Book of the Year ปีนี้

ผมว่าผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีไม่น่าจะมีอิทธิผลต่อราคาน้ำมันเท่าไหร่นัก เพราะในมุมมองของนักการเมือง (ไม่ว่าจะเป็น GOP หรือ Democrat) ไม่ชอบราคาน้ำมันสูง เพราะกระทบต่อประชาชนรากหญ้า ฐานเสียงของนักการเมืองเหล่านี้

แต่ในแง่ของนโยบายทั่วไป GOP มักจะมีนโยบายที่ business friendly มากกว่า Democrat อยู่แล้วครับ อันนี้รู้กันอยู่ว่า Wall Street และบริษัทต่าง ๆ ทั้งหลายชอบ GOP มากกว่า

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 21, 2008 8:24 pm
โดย chode
mprandy เขียน: แต่ในแง่ของนโยบายทั่วไป GOP มักจะมีนโยบายที่ business friendly มากกว่า Democrat อยู่แล้วครับ อันนี้รู้กันอยู่ว่า Wall Street และบริษัทต่าง ๆ ทั้งหลายชอบ GOP มากกว่า
เห็นด้วยเลยครับ
ผมมองว่าโอบามาจะเป็นภัยต่อเอเชียด้วยซ้ำ
สมัยบุชเอเชียละเมิดลิขสิทธิ์หนัง softwareและยากันสะดวกสบายกว่า

เดโมแครตขึ้นมาคราวนี้ภาคส่งออกของเอเชียคงอ่วมหนักกว่าสมัยคลินตันแน่ๆ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 21, 2008 10:38 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน: แบบนี้พวก chyler gm ford ที่อเมกาก็เน่าเลยใช่ไหมครับ ราคาหุ้น เห็นมีคนบอก
และ ถ้าเศรษฐกิจดีหุ้นพวกนี้ก็น่ากลับเข้าไปลงทุนสิครับ

เพราะเป็น economic cyclical อย่างเมืองไทยก็เหมือน
ที่ irc stanley ขึ้นแรงๆอยู่ช่วงนึงประมาณปี 45-46

ยอดขายของกลุ่มยานยนต์น่าจะสัมพันธ์กับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคใช่ไหมครับ และ gdp ใช่ไหมครับ

คนที่อยากเข้าลงทุนกลุ่มนี้

ควรดูสอง indicator นี้ใช่หรือไม่
ตอนนี้ Detroit Big 3 เน่าหมดครับ ไม่รู้เหมือนกันว่าจะมีใครล้ม (ละลาย) หรือเปล่า ถ้าจะล้มจริงอาจจะเป็น GM เพราะเงินสดน้อยสุด

ถ้าเศรษฐกิจดี (จากดัชนีชี้วัด) อุตสาหกรรมยานยนต์ทั้งกลุ่มน่าจะฟื้นตัวได้ Peter Lynch มีชื่อเสียงโด่งดังก็เพราะหุ้น Chrysler turnaround ครับ อย่างไรก็ดี ระยะกลาง/ยาว การลงทุนใน 3 บริษัทนี้จะดีหรือไม่ คงต้องดูคู่แข่งด้วยครับ เพราะ Detroit Big 3 ไม่มี competitive advantage เลย (ต่างกับ Japanese Big 3) แม้กระทั่งช่วงฟองสบู่ 5-6 ปีที่ผ่านมา ทั้ง 3 บริษัทมี market share ลดลงเรื่อย ๆ และมีความสามารถในการทำกำไรลดลง สู้ Toyota, Honda และ Nissan (โดยเฉพาะ Toyota) ไม่ได้เลย

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 21, 2008 10:46 pm
โดย hongvalue
ขอบคุณ หมอด้ามากครับ

หายสงสัยหมดแล้วครับ :lol:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 22, 2008 2:13 am
โดย ppp
:lol: ขอบคุณทุกๆท่านที่มาให้ความรู้ครับ โดยเฉพาะคุณหมอ mprandy :lol:  

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 23, 2008 11:36 am
โดย noooon010
ขอบคุณ พี่ mp - randy มากๆนะครับ  :D
พึ่งว่างจากงานประจำครับ

เลยส่งน้อง milk มาแจมก่อนหน้านี้ เค้า แจมสั้นจังเลย  :lol:

กลายเป็นกระทู้คุยกับหมอเอ็ม พี แรนดี้ซะแล้ว

งั้นถามบ้างดีกว่า ตาฮงหมดคำถามแล้วนี่  :D
(แต่คำถามผมมัน simple นะครับ)

1. พี่ MP randy คิดว่า บริษัทในตลาดหุ้นของไทย
ที่ถือหุ้นในไทยเราเนี่ย
ถ้าเกิด วิกฤติ มันไม่หยุด แล้วฟากนูนเค้าต้องการเงินมากๆ
เค้าจะถอนถุนออกจาก ตลาดบ้านเราอย่างไรครับ

เพราะเหมือนเคยได้ยิน(เพราะไม่แม่นจริงๆครับ :oops: )ว่า
ประเทศเรากันไม่ให้เงินของต่างประเทศไหลออกไป

ไม่ทราบว่าเดี๋ยวนี้ยังมีมาตรการอย่างนั้นอยู่ไหมเอ่ย

แล้ว ผู้มีอำนาจในประเทศเรา จะเปลี่ยนนโยบายได้เองหรือเปล่าครับ

2. พี่ MP randy มีข้อคิดเห็นอย่างไร เวลาเราซื้อเฉลี่ยช่วงขาลงครับ

บางคนเค้าบอกว่า ถ้ายิ่งลง ยิ่งซื้อ ถ้าพื้นฐานไม่เปลี่ยน
บางคนบอกว่า ให้ซื้อแบบโยนหินถามทาง ถ้าซื้อแล้วลงมาเยอะเกิน 10%
ให้ตัดขายขาดทุน

เข้าใจว่ามันเป็นปัจจัย&แนวคิดส่วนบุคคลอย่างที่พี่บอกครับ
จึงอยากทราบความเห็นครับ

ตัวผมเอง
ผมคิดว่า ผมรอได้ ครับ
แต่ก็ต้องยอมรับ หากการรอนั้น ทำให้เราพลาดหุ้นดีๆ

        ขอบคุณพี่ MP randy มากๆนะครับ / นุ่น

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 23, 2008 11:53 pm
โดย CEO
เรียนถามอาจารย์หมอนิดนึงครับ
ว่าทำไมเมกามี ดาว มีแดค มี s&p มี nyse
อย่างดาวกับแดก ต่างกันอย่างไรครับ
แล้ว อะไรสำคัญกว่า ระหว่าง industrial กับ composite
จะหาอ่านรายละเอียดได้ที่ไหนครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 24, 2008 12:26 pm
โดย mprandy
[quote="noooon010"]ขอบคุณ พี่ mp - randy มากๆนะครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 24, 2008 12:47 pm
โดย mprandy
CEO เขียน:เรียนถามอาจารย์หมอนิดนึงครับ
ว่าทำไมเมกามี ดาว มีแดค มี s&p มี nyse
อย่างดาวกับแดก ต่างกันอย่างไรครับ
แล้ว อะไรสำคัญกว่า ระหว่าง industrial กับ composite
จะหาอ่านรายละเอียดได้ที่ไหนครับ
NYSE, NASDAQ เป็นตลาดหลักทรัพย์ของเขาครับ แต่มีบริษัทจดทะเบียนต่างกัน ส่วนใหญ่บางบริษัทเลือกจดทะเบียนตลาดเดียว แต่มีบางแห่งเป็น dual-listed ก็มี จริง ๆ ยังมีอีกตลาดที่คนมักไม่ค่อยพูดถึง คือ American Stock Exchange (AmEx)

NYSE มีบริษัทจดทะเบียนแทบทุกชนิด แต่ NASDAQ นั้นมักจะเป็นบริษัทพวก technology และ biotech ซะเยอะ

อุปมาก็เหมือน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กับตลาด MAI ไงครับ

ส่วนดัชนีของหุ้นสามัญมีหลากหลาย ขึ้นกับการจัดกลุ่มของคนทำดัชนีว่าต้องการดูอะไร สำหรับ Dow Jones Industrial Average จะเป็นดัชนีของหุ้นสามัญขนาดใหญ่ 30 บริษัท ส่วนใหญ่เป็นหุ้นในตลาด NYSE แต่เขารวมหุ้นจาก NASDAQ ด้วย เช่น Microsoft, Intel

ดัชนี NASDAQ เป็นดัชนีรวมของตลาดหุ้น NASDAQ ครับ ซึ่งต่างจาก Dow Jones (น่าแปลกที่คนไม่ค่อยสนใจดัชนี NYSE ซึ่งเป็นดัชนีรวมเหมือน SET บ้านเรา)

S&P 500 เป็นดัชนีที่รวมบริษัท large-cap 500 บริษัทของทั้ง 2 ตลาด

ดัชนีสามอย่างนี้มีคนติดตามกันมาก และมี index fund ที่อ้างอิงดัชนีทั้งสามตัวนี้อยู่มากมาย

ถ้าจะดูดัชนีแยกย่อยเฉพาะ หรือรายอุตสาหกรรมก็มีครับ เช่น Dow Jones Transportation Index ดูเฉพาะอุตสาหกรรมขนส่ง หรือ Russell 3000 index ที่เป็นดัชนีรวมหุ้น 3000 ตัว แบ่งเป็น large-cap 1000 ตัว และ small-cap 2000 ตัว

Russell 2000 ซึ่งดูเฉพาะ small-cap ถือเป็น small-cap index ที่สำคัญ มีคนตามมากพอ ๆ กับ S&P 500 ซึ่งถือเป็นตัวแทนของ large-cap

ถ้าจะเอาแบบกว้างสุด ๆ ครอบคลุมหุ้นเกือบทุกตัวสำหรับอเมริกาก็ต้อง Wilshire 5000 ครับ ตามหุ้นห้าพันตัวตามชื่อ

ความสำคัญของแต่ละดัชนี ก็ขึ้นกับว่าเราต้องการดู sector ไหนเป็นหลัก สำหรับข้อมูล ก็ตามดูได้จากเวบไซท์การเงินทั้งหลายอย่าง CNBC หรือ Bloomberg ก็มี หรือจะไปที่เวบไซท์ NYSE หรือ NASDAQ ก็ได้

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 25, 2008 9:47 pm
โดย hongvalue
เพื่อนๆชาว tvi ครับ

พอดีผมได้ไปถามคุณ ih เพิ่มเรื่อง fundflow และ

financial crisis มีทั้งหมด 16 ข้อ

ผมขอเอามาแปะ ให้ดูซัก1 ข้อนะครับ

ใครอยากดู 16 ข้อไปอ่านในกระทิงเขียวเองนะครับ













5.อยากถามเพิ่มว่า ดัชนี dow สมัย great depression ลงไป 89% ภายใน 3 ปี
แต่รอบ stagflation ลดไปเพียง 44% ภายใน 2 ปี

อยากถามว่าความต่างของ วิกฤติสองรอบนั้น ต่างกันอย่างไร
ทำไมตลาด dow ถึงลงต่างกันเยอะมาก


พี่ ih ตอบ


วิกฤติครั้ง Great depression เกิดประมาณ 1929-1937 เป็นการเกิดหลังจากที่เศรษฐกิจสหรัฐรุ่งเรืองหลัง 1910 หลังจากที่มีการคิดค้นสายการผลิตแบบ mass production โดยผู้นำมาใช้คนแรกคือ Henry Ford ในรุ่นโมเดล T การผลิตแบบ mass production ถือได้ว่าเป็นการปฎิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 2 หลังจากการคิดค้นเครื่องจักรไอน้ำในอังกฤษทำให้เกิดการปฎิวัติครั้งที่ 1 เศรษฐกิจช่วงก่อน Great depression นั้นมีการขยายตัวอย่างมากโดยเฉพาะในภาคอุตสาหกรรมรถยนต์ ตลาดหุ้นในช่วงนั้นก็มีการเก็งกำไรอย่างร้อนแรงและการปรับเพิ่มสูงมากเช่นกัน

ภาวะตกต่ำในช่วง Great depression นั้นส่งผลให้การว่างงานสูงถึง 25% ของจำนวนแรงงานในปี 1933 และเกิดความไม่เชื่อมั่นในระบบสถาบันการเงินทำให้มีผู้ถอนเงินจำนวนมากและสถาบันการเงินจำนวนมากได้ปิดตัวไป โดยไม่มีการเข้าช่วยเหลือและแทรกแซงจากภาครัฐ รัฐบาลโดยประธานธิบดีรูสเวลท์ ได้พยายามกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายและจ้างงานภาครัฐหรือที่เรียกว่า new deal ซึ่งทำให้ตัวเลขการว่างงานลดลงเหลือประมาณ 15% ในปี 1937 หากใครไป California ตอนนี้ก็จะเห็นเขื่อนฮูเวอร์ ซึ่งเป็นเขื่อนที่สร้างขึ้นตามแผนกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงดังกล่าว แต่การใช้จ่ายเงินภาครัฐก็ยังไม่สามารถช่วยให้เศรษฐกิจฟื้นจากความตกต่ำได้มากนัก ส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะตัวเลขค่าใช้จ่ายภาครัฐต่อ GDP ในช่วงนั้นต่ำมากคือเพียง 3% ในปี 1929 การกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยการใช้จ่ายภาครัฐแม้ว่าจะเป็นตัวเลขที่มากสมัยนั้นแต่ก็ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับระดับการใช้จ่ายภาครัฐในยุคปัจจุบัน ท้ายสุดแล้วในช่วง 1938-1939 เป็นภาวะก่อนที่สหรัฐจะร่วมสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งสหรัฐมีการเตรียมตัวเข้าสู่สงครามทำให้เกิดการเกณฑ์แรงงานเป็นทหารทำให้ตัวเลขผู้ว่างงานลดลง ภาครัฐต้องใช้เงินในการผลิตอาวุธ ยุทธปัจจัยต่างๆ ทำให้เกิดการจ้างงานและการผลิตเพิ่มขึ้นมาก และเงินที่รัฐบาลสหรัฐจ่ายในการเตรียมเข้าสู่สงครามนั้นสูงกว่าเงินที่จ่ายไปในช่วง new deal อย่างมาก ท้ายสุดจึงทำให้สหรัฐออกจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยไปได้เองโดยตั้งใจหรือไม่ตั้งใจผมก็ไม่ทราบครับ

สิ่งที่เกิดขึ้นในช่วง Great depression ในปี 1930-1937 แล้วแต่ปัจจุบันยังไม่เกิดก็คือ

Great depression : ช่วง Great Depression เกิด deposit run หรือการแห่ถอนเงินฝากทำให้สถาบันการเงินล้มจำนวนมากโดยที่รัฐไม่ได้ให้ความช่วยเหลือ เช่น ไม่ได้เพิ่มทุน หรือประกันเงินฝาก

ปัจจุบัน : รัฐบาลแต่ละประเทศมีแผนค้ำประกันเงินฝากเพื่อป้องกันไม่ให้เกิด deposit run

Great depression : การใช้จ่ายภาครัฐในการกระตุ้นเศรษฐกิจในตอนนั้นยังมีสัดส่วนน้อยเมื่อเทียบกับ GDP เพราะฐานการเก็บภาษีบุคคลและนิติบุคคลในช่วงนั้นต่ำ ทำให้รัฐมีรายได้จากภาษีค่อนข้างน้อย

ปัจจุบัน : ฐานภาษีสูงขึ้นมากทำให้สัดส่วนรายจ่ายภาครัฐมีน้ำหนักต่อ GDP มากขึ้น

Great depression : สถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ระหว่างกัน และการอัดฉีดเงินช่วยเหลือจาก FED ในช่วง Great depression ทำได้จำกัดเนื่องจากกฎระเบียบไม่ยืดหยุ่นพอ FED ไม่มีเงินจำนวนมากที่จะอัดฉีดสภาพคล่องให้กับระบบส่งผลให้ปริมาณเงินหรือ M2 ลดลงเหลือ 2 ใน 3 จากปีก่อนวิกฤติส่งผลให้สภาพคล่องทางการเงินลดลงมาก ทำให้นโยบายทางการเงินไม่สามารถถูกนำมาช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจได้อย่างที่ควรจะเป็น

ปัจจุบัน : สถาบันการเงินเริ่มไม่ปล่อยกู้ระหว่างกัน ทำให้ Libor สูงขึ้นกว่า bond yield หรือดอกเบี้ยอ้างอิงมาก แต่ปัจจุบันธนาคารกลางหลายประเทศได้อัดฉีดสภาพคล่องส่วนขาดเข้าระบบ และบางประเทศมีการค้ำประกันเงินกู้ระหว่างธนาคาร ทำให้ส่วนต่างหรือ spread เริ่มลดลงมา

Great depression : สหรัฐดำเนินนโยบายกีดกันทางการค้าเพื่อลดการขาดดุลการค้าโดยปรับเพิ่มภาษีนำเข้าจาก 25% เป็น 50% ทำให้เกิดการขึ้นภาษีตอบโต้จากประเทศคู่ค้าทำให้การค้าทั่วโลกถดถอย

ปัจจุบัน : ยังไม่มีการขึ้นภาษีนำเข้า แต่อนาคตสหรัฐอาจจะดำเนินนโยบายให้ค่าเงินดอลล่าร์อ่อนลง แต่ก็ยังเป็นนโยบายที่ดีกว่าการขึ้นภาษีนำเข้าอยู่มาก

Great depression : รัฐสนับสนุนให้เกิดสหภาพแรงงานโดยหวังว่าจะเป็นตัวลดอัตราการว่างงาน แต่ผลกลับเป็นไปทางตรงกันข้ามคือ ทำให้มีการประท้วงหยุดงาน การผลิตเกิดหยุดชะงัก

ปัจจุบัน : ตลาดแรงงานแม้ยังมีสหภาพอยู่แต่ไม่ได้มีปัญหาเช่นในอดีต

Great depression : เศรษฐกิจประเทศในยุโรปและทั่วโลกในช่วงนั้นอ่อนแอเพราะยังไม่ฟื้นตัวจากหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 จึงทำให้ไม่มีประเทศใดแบ่งเบาภาระของวิกฤติสหรัฐได้

ปัจจุบัน : เศรษฐกิจยุโรปแม้จะยังไม่ดีแต่ก็ไม่ตกต่ำเหมือนช่วง Great depression มีเศรษฐกิจของประเทศเกิดใหม่อย่างประเทศจีนและอินเดีย และประเทศญี่ปุ่น ที่มีเงินทุนสำรองจำนวนมาก รวมถึงประเทศในตะวันออกกลาง ที่พร้อมเข้ามาซื้อสินทรัพย์ในสหรัฐหากลดลงมาจนถึงราคาที่ผู้ซื้อพอใจ

อย่างไรก็ตาม เราก็คงต้องจับตาดูสิ่งที่จะเกิดขึ้นในปี 2009 และ 2010 ครับว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อจากนี้ไป แต่ก็หวังว่ารัฐบาลประเทศต่างๆ จะใช้บทเรียนที่เกิดขึ้นในปี 1930 และวิกฤติเศรษฐกิจครั้งก่อนๆ เพื่อเป็นประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและแนวทางเพื่อให้วงจรของความตกต่ำเศรษฐที่จะเกิดขึ้นมีความเสียหายเกิดขึ้นน้อยที่สุดครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 26, 2008 9:30 pm
โดย mprandy
ขอบคุณน้องฮงครับ

ไปอ่านมาแล้ว คุณ IH ตอบได้เยี่ยมยอดเสมอครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 26, 2008 10:09 pm
โดย สวนหย่อม
หมู่นี้ผมเข้ากระทิงเขียวยากจังเลย เข้าได้บ้าง ไม่ได้บ้าง  ไม่รู้คนอื่นเป็นหรือเปล่า :oops:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2008 9:26 pm
โดย mprandy
More bad news จากแดนไกล  :8)

The Conference Board Consumer Confidence Index™ Plummets to an All-Time Low

October 28, 2008

The Conference Board Consumer Confidence Index™, which had improved moderately in September, fell to an all-time low in October. The Index now stands at 38.0 (1985=100), down from 61.4 in September.:shock: The Present Situation Index decreased to 41.9 from 61.1 last month. The Expectations Index declined to 35.5 from 61.5 in September. ...

http://www.conference-board.org/economi ... idence.cfm

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2008 9:43 pm
โดย hongvalue
[quote="mprandy"]More bad news จากแดนไกล

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2008 9:44 pm
โดย mprandy
ข่าวไม่ดีเด้งที่ 2

Home prices see another record plunge

Home prices fell in August for the 25th consecutive month and prices in 10 major markets plunged a record 17.7% year over year, according to a key index of real estate values released Tuesday.

The S&P Case-Shiller Home Price 10-city index dropped 1.1% for the month. The 20-city index recorded a record year-over-year decline of 16.6% with a 1% fall in August.

The indexes compare the sale prices of the same homes each year to determine price trends and are considered one of the most accurate home price gauges.

The hardest hit of all 20 cities on a year-over-year basis was Phoenix, where prices plummeted 30.7% during the past 12 months. Las Vegas prices plunged 30.6% and Miami sank 28.1%....

http://money.cnn.com/2008/10/28/real_es ... /index.htm

สรุปคือตอนนี้ CSI (20-composite) เดือน ส.ค. (ล่าสุด) = 164.57 จาก peak เมื่อ ก.ค. 2006 ที่ 206.52

ลบไปแล้ว 20.31% :shock: