หน้า 24 จากทั้งหมด 30
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:16 pm
โดย pak
ลุยท่อน้ำมันเหนือ-อีสาน "เสี่ยเพ้ง"สั่ง ธพ.เดินหน้ารับเปิดเออีซี
แหล่งข่าว : ไทยรัฐ , วันที่ : 14/11/2012
"พงษ์ศักดิ์" สั่ง ธพ.เร่งสรุปแนวทางลงทุนท่อน้ำมันไปเหนือ-อีสาน มูลค่า 17,000 ล้านบาทภายใน 1 เดือน หวังกรุยทางทำน้ำมันราคาเดียวทั่วประเทศ พร้อมขยายตลาดสู่ภูมิภาครับเปิด "เออีซี" แย้มหากเอกชนลงทุนไม่ได้อาจใช้รูปแบบกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รมว.พลังงานเปิดเผยผลังการตรวจเยี่ยมกรมธุรกิจพลังงาน (ธพ.)ว่าได้สั่งการให้ธพ.ไปเร่งสรุปแนวทางการบริหารโครงการท่อน้ำมัน ที่กำลังศึกษาต่อจาก จ.สระบุรี-พิษณุโลก-ลำปางและจากจ.สระบุรี-นครราชสีมา-ขอนแก่น ซึ่งจะใช้เงินลงทุนรวม 17,300 ล้านบาท ให้เสร็จภายในเดือน ธ.ค.นี้เพื่อที่จะนำไปสู่โครงข่ายระบบขน้ำมัน ที่จะนำไปสู่น้ำมันราคาเดียวทั่วประเทซและยังเป็นการเตรียมพร้อมรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจกิจอาเซียน(เออีซี) ปี 2558 ที่ไทยจะสามารถขยายตลาดน้ำมันไปยังเพื่อนบ้านได้
"การขนส่งทางรถขณะนี้มีต้นทุนสุงมากในแต่ละปีมีต้นทุนการขนส่งน้ำมันผ่านรถบรรทุกน้ำมันปีละกว่า 2,000 ล้านบาทดังนั้น หากสามารถวางท่อน้ำมันจะประหยัดทั้งระยะทางค่าน้ำมันและช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุและการมาสร้างท่อน้ำมันจะทำให้การขนส่งน้ำมันมีประสิทธิภาพและปลอดภัยประหยัดเวลาได้มากขึ้น แต่รูปแบบลงทุนอาจไม่คุ้มทุนหากเอกชนลงทุนเองทั้งหมด จึงขอให้ ธพ.ไปดูว่าจะทำอย่างไรในการลงทุน ซึ่งอาจใช้งบประมาณของภาครัฐ หรือจะเป็นการลงทุนผ่านกองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะทำให้ค่าผ่านท่อต่ำ"
นอกจากนี้ นายพงษ์ศักดิ์ยังได้ตรวจเยี่ยมสถาบันบริหารกองทุนพลังงาน (องค์การมหาชน) ซึ่งได้รับรายงานฐานะกองทุนน้ำมันที่ติดลบ 19,000 ล้านบาทแล้ว และในปี 2556 สถาบันได้รายงานถึงแนวโน้มราคาพลังงานที่ประเทศไทยต้องติดตาม 3 ปัจจัยคือ 1.เศรษฐกิจสหรัฐฯภายหลังเลือกตั้งหากดีขึ้นก็จะทำให้ราคาสูง2.สถานการณ์ในตะวันออกกลางและ3.เศรษฐกิจสหภาพยุโรป โดยเฉพาะปัจจัยตะวันออกกลางกรณีปัญหานิวเคลียร์คงต้องติดตามเป็นพิเศษ
ด้านนายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน(ธพ.)กล่าวว่า ธพ.จะเร่งศึกษารูปแบบการลงทุนท่อน้ำมัน ที่จะขึ้นไปภาคอีสานเร่งด่วน โดยสัปดาห์หน้าจะประชุมเพื่อกำหนดรายละเอียดเรื่องนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยรูปแบบอาจเป็นบริษัทท่อส่งน้ำมันปิโตรเลียมไทย จำกัด หรือแทปไลน์ หรืออาจจะเป็นการลงทุนโดยรัฐ ก็คงต้องไปดูว่าจุดใดจะเกิดประโยชน์ต่อประชาชนมากสุด
พร้อมกันนี้ ธพ.ยังได้รายงานถึงนโยบายการยกเลิกจำหน่ายเบนซิน91 ที่จะมีผล 1 ม.ค.2556 ซึ่งโรงกลั่นน้ำมันจะหยุดผลิตก่อนแต่ในส่วนของปั๊มน้ำมันต้องใช้เวลาทยอยจำหน่ายหมดภายใน 2-3 เดือน โดยเมื่อเร็วๆ นี้ ธพ.ได้หารือร่วมกับผู้ค้าน้ำมันและค่ายรถจักรยานยนต์ที่จะร่วมกันรณรงค์ให้ผู้ขับขี่รถมอเตอร์ไซค์สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ได้ทันทีสำหรับรถจักรยานยนต์ 4 จังหวะ ส่วนรถยนต์ส่วนหนึ่งอาจต้องไปใช้เบนซิน 95 แทน และอีกส่วนก็สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ 91 ได้เช่นกัน
สำหรับการสำรองน้ำมันทางยุทธศาสตร์ ขณะนี้ ธพ.กำลังศึกษารูปแบบการลงทุน โดยเร็วๆนี้จะส่งเจ้าหน้าที่ไปดูรูปแบบการบริหารที่ประเทศไอร์แลนด์กับฮังการี ซึ่งรมว.ได้สั่งการให้นำรูปแบบการวางท่อน้ำมันที่เคยศึกษาไว้ ส่วนหนึ่งในโครงการแลนด์บริดจ์มาพิจารณาประกอบเพื่อลดการลงทุนของรัฐ เนื่องจากท่อน้ำมันดังกล่าวจะเป็นรูปแบบเอกชนดำเนินการและมีระบบคลังสำรองน้ำมัน เพื่อการขนส่งน้ำมันอยู่แล้ว.
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:18 pm
โดย pak
เตือนพายุขึ้นฝั่งอ่าวไทย เซฟรอนฯ-ปตท.สผ.สั่งอพยพ
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, November 15, 2012
ศูนย์ข่าวหาดใหญ่ - ลุ้นพายุขึ้นฝั่งอ่าวไทยวันนี้ อาจส่งผลให้ฝนตกหนักและน้ำท่วมฉับพลันในบางพื้นที่ เผย "เชฟรอนฯ" กว้านจองห้องพักหนีพายุ ขณะที่ "ปตท.สผ." ก็เตรียมขนคนหนีเช่นเดียวกัน "ปลอด"เตือนประชาชนเพิ่มความระมัดระวัง พร้อมติดตามสถานการณ์ใกล้ชิด อุตุฯ เตือนคลื่นลมแรง ฝนตกหนัก
มีรายงานว่า เมื่อช่วงค่ำวันที่ 13 พ.ย.ที่ผ่านมา ต่อเนื่องจนถึงวานนี้ (14 พ.ย.) มีข่าวสะพัดทั้งในสื่อออนไลน์ และในพื้นที่ อ.หาดใหญ่และ อ.เมือง จ.สงขลา รวมถึงแถบพื้นที่ชายฝั่งทะเลของ จ.นครศรีธรรมราช ในลักษณะเตือนให้เตรียมตัวรับสถานการณ์ภาวะฝนตกหนักและอาจจะเกิดน้ำท่วมฉับพลันได้ในบางพื้นที่
ผู้สื่อข่าว "ASTVผู้จัดการภาคใต้" ได้พยายามตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ซึ่งพบว่า ได้
มีการเตือนมาประมาณ 2 วันแล้วว่ากำลังมีพายุก่อตัวในทะเล และคาดว่าจะเข้าสู่ฝั่งอ่าวไทยช่วงประมาณวันที่ 15-17 พ.ย.นี้ ส่วนที่เกิดข่าวสะพัดช่วงค่ำวันที่ 13 พ.ย. เนื่องจากมีการยืนยันว่า บรรดาแท่นขุดเจาะนำมัน และ
ก๊าซในทะเลอ่าวไทยมีการเตรียมพร้อมอพยพเจ้าหน้าที่ขึ้นฝั่งแล้ว
มีรายงานข่าวยืนยันอีกว่า บริษัทเชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด ได้ประสานไปยังบรรดาเจ้าของรีสอร์ตใน อ.ขนอมจ.นครศรีธรรมราช เพื่อจองห้องพักรองรับเจ้าหน้าที่ที่จะอพยพจากแท่นขุดเจาะขึ้นฝั่ง โดยเบื้องต้นมีรายงานว่า สามารถรวบรวมได้แล้วราว650 ห้องพักทั่วบริเวณ แต่ก็ยังไม่เพียงพอ ซึ่งคาดว่าทางบริษัทเชฟรอนฯ จะใช้บริการประมาณ2-3 วัน หรือจนกว่าสถานการณ์ทางทะเลดีขึ้น
นอกจากนี้ ยังมีรายงานข่าวระบุด้วยว่าบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ก็ได้มีการประสานเตรียมการอพยพเจ้าหน้าที่ออกจากแท่นขุดเจาะในบริเวณอ่าวไทยแล้วเช่นกัน ซึ่งคาดว่าจะเริ่มอพยพตั้งแต่วานนี้ (14 พ.ย.) เป็นต้นไปโดยจะเหลือเจ้าหน้าที่ประจำแท่นขุดเจาะไว้เท่าที่จำเป็นเท่านั้น สำหรับการเตือนภัยภายในแท่นขุดเจาะต่างๆ ยังคงใช้สัญลักษณ์สีเขียว ซึ่งแสดงว่าสถานการณ์ยังปกติ
ด้านนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองนายกรัฐมนตรี ให้สัมภาษณ์ก่อนการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ถึงกรณีที่กรมอุตุนิยมวิทยาออกประกาศเตือนเรื่องหย่อมความกดอากาศต่ำที่กำลังแรงบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่างได้ทวีกำลังแรงขึ้นเป็นพายุดีเปรสชันว่า จากการดูสถิติย้อนหลังประมาณ 5-6 ปี เกี่ยวกับพายุที่ก่อตัวในบริเวณปลายแหลมญวนนั้น ตามสถิติพบว่าพายุลูกดังกล่าวน่าจะเข้าอ่าวไทยตอนบนหรือตอนกลาง ซึ่งหากเข้าตอนบน จังหวัดที่จะได้รับผลกระทบจะมีตั้งแต่ จ.เพชรบุรีลงมา หรือหากเข้าทางอ่าวไทยตอนกลาง จังหวัดที่จะได้รับผลกระทบจะมีตั้งแต่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ลงมาทั้งนี้ ต้องขอประเมินสถานการณ์แล้วจึงเริ่มเตือนเรือประมง บ้านเรือนที่อยู่ติดชายฝั่ง เรื่องน้ำท่วม ดินโคลนถล่ม รวมถึงสตอร์มเซิร์จที่อาจเกิดขึ้นได้
ผู้สื่อข่าวถามว่า ความรุนแรงจะเหมือนกับพายุเกย์หรือไม่ นายปลอดประสพกล่าวว่าไม่รู้ ไม่กล้าพูด และขออนุญาตไม่ตอบถึงขนาดนั้น ซึ่งขอประเมินสถานการณ์ภายใน 24 ชม.นี้ก่อน ก็คงจะทราบ เพราะต้องดูว่าพายุดังกล่าวได้เพิ่มความเร็วลมมากน้อยเพียงใด อย่างไรก็ตาม ขณะนี้ลมเย็นในภาคเหนือค่อนข้างแรงซึ่งหากลมเหนือยิ่งแรงเท่าไร พายุตัวนี้ก็จะลงใต้มากขึ้นเท่านั้น เมื่อถามว่า ความรุนแรงจะส่งผลให้ต้องมีการย้ายเจ้าหน้าที่ที่ประจำการอยู่ในแท่นขุดเจาะน้ำมันหรือไม่ นายปลอดประสพกล่าวว่า พายุที่เกิดในทะเลจีน ซึ่งมีไม่บ่อยครั้งเท่าที่ตนเห็น เจ้าหน้าที่ที่อยู่แพลตฟอร์มก็ย้ายทั้งนั้น แต่ในทางเทคนิค แพลตฟอร์มเหล่านี้สามารถทนทานกับแรงลมได้ประมาณ 100 กม./ชม.
นายปลอดประสบกล่าวอีกว่า พายุดังกล่าวจะมีเคลื่อนตัวอย่างแน่นอน ดังนั้น ทุกหน่วยได้มีการเตรียมพร้อมเรียบร้อยแล้ว ขณะที่ศูนย์ซิงเกิลคอมมานด์ก็ได้เริ่มทำงานแล้วเช่นเดียวกัน
วันเดียวกันนี้ กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศเตือนภัยพายุดีเปรสชัน ฉบับที่ 3 ว่าพายุดีเปรสชันบริเวณทะเลจีนใต้ตอนล่าง มีศูนย์กลางอยู่ห่างประมาณ 400 กิโลเมตร ทางตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองโฮจิมินห์ ประเทศเวียดนามหรือที่ละติจูด 7.5 องศาเหนือ ลองจิจูด 110.0 องศาตะวันออก มีความเร็วลมสูงสุดใกล้ศูนย์กลาง 55 กม./ชม. กำลังเคลื่อนตัวทางตะวันตกอย่างช้าๆ คาดว่าจะเคลื่อนผ่านปลายแหลมญวนลงสู่อ่าวไทยตอนบนในช่วงวันที่ 16-17 พ.ย.2555 หลังจากนั้นในวันที่ 18 พ.ย.2555 จะลงสู่ทะเลอันดามัน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ในช่วงวันที่15-18 พ.ย.นี้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ มีฝนเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะภาคใต้ตอนบนบริเวณจ.เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ และชุมพร มีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยจะมีคลื่นสูง 2-4 เมตร อนึ่งบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงที่แผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันที่17 พ.ย.2555 ทำให้ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นกับมีลมแรง
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:19 pm
โดย pak
'เพ้ง'ถอยเจรจาสัมปทานก๊าซฯเขมร อ้างรอให้ลูกหลานสานต่อ! เล็งต่อสัญญาเชฟรอน-ปตท.สผ.อ่าวไทย
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, November 15, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - "พงษ์ศักดิ์" สั่งถอยเจรจาสัมปทานก๊าซฯไทย-กัมพูชาหลังปัญหาปักเขตแดนยังไร้ข้อสรุปเหตุประชาชนยังไม่ยอมรับแขวะอาจให้รุ่นลูกรุ่นหลานมาสานต่อเอง ส่วนสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ให้ชี้แจงประชาชนก่อน เล็งต่อสัญญาเชฟรอนปตท.สผ. แหล่งอ่าวไทยคาดภายในธ.ค.สรุป
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาลรมว.พลังงาน เปิดเผยหลังการตรวจเยี่ยมกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชธ.) ว่าชธ.ได้รายงานความคืบหน้าการเจรจาสัมปทานปิโตรเลียมพื้นที่ทับซ้อนไทยกัมพูชาที่ยังมีปัญหาเรื่องการปักเขตแดนดังนั้นเรื่องนี้จึงเห็นว่าคงจะต้องรอให้กระทรวงต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสรุปประเด็นดังกล่าวก่อนการพัฒนาแหล่งก๊าซฯในพื้นที่นี้คงอาจต้องรอรุ่นลูกและหลานที่พร้อมมาดำเนินการแทน
"เราเองก็มีการพัฒนาปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนไทย-มาเลเซีย หรือ JDA ก็แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกันแต่ส่วนไทย-กัมพูชาเองเมื่อประชาชนไม่ยอมรับก็ต้องรับฟังเสียงประชาชน ดังนั้นชพ.ก็ต้องหาแหล่งก๊าซฯอื่นมาแทนในอ่าวไทยที่จะทยอยหมดลงในอีก 10 ปีข้างหน้าซึ่งขณะนี้ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(ปตท.สผ.)ก็ได้มองหาแหล่งลงทุนต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น" นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
สำหรับการเปิดสัมปทานปิโตรเลียมครั้งที่ 21 นั้นก็มอบให้ ทช.ไปชี้แจงประชาชนให้เข้าใจเหตุผล รวมถึงการดูผลประโยชน์ที่จะตกแก่รัฐที่จะต้องเป็นธรรมทุกฝ่ายก่อน ส่วนสัญญาสัมปทานปิโตรเลียมอ่าวไทย 2 แห่งคือ เอราวัณของบริษัทเชฟรอน และบงกชของปตท.สผ. ที่จะหมดอายุสัมปทานในปี2565 นั้นได้มอบหมายให้ ชธ.ไปพิจารณารายละเอียดอย่างรอบคอบก่อนต่อสัญญารวมถึงทำความเข้าใจประชาชนให้ทราบถึงหลักการและเหตุผล คาดว่าภายในธ.ค.นี้จะสรุปได้ ซึ่งการตรวจเยี่ยม ปตท.สผ.ในวันเดียวกันก็ได้ชี้แจงแนวทางการต่อสัญญาในลักษณะเดียวกันนี้
"ชธ.ต้องไปดูเรื่องผลประโยชน์ตอบแทนถ้าต่อให้รายเก่าจะต้องได้เพิ่มมากน้อยเท่าใด ซึ่งการให้รายใหม่เองต้องดูว่าเขาต้องลงทุนมากเพียงใดและจะบริหารได้ดีหรือไม่ ตัวอย่างกรณีแหล่งสิริกิติ์(S1) ของ ปตท.สผ.ที่มีปัญหาต่อสัญญาทำให้หยุดไป 6 ปีพอต่อใหม่ก็ผลิตได้เพิ่มขึ้น" นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า สาเหตุที่จะต้องพิจารณาต่ออายุสัมปทานในอ่าวไทยทั้งที่สัญญาจะหมดลงปี 2565 ก็เนื่องจากหากไม่พิจารณาจะทำให้เกิดการหยุดชะงักงันในการลงทุนโดยเฉพาะในช่วง 5 ปีสุดท้ายของสัญญาเพราะการลงทุนต่างๆต้องใช้เวลา 3-5 ปีซึ่ง 10 ปีที่เหลือ(ปี 56-65) เชฟรอนและปตท.สผ.จะต้องลงทุนด้านต่างๆ ถึงแสนล้านบาท
"ทั้ง 2 รายผลิตก๊าซฯรวมได้ 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันหรือเกือบครึ่งหนึ่งของการใช้ที่ขณะนี้เราผลิตในอ่าวไทย3,600 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน และนำเข้าพม่า1,100 ล้านลบ.ฟุตต่อวันซึ่งเราห่วงช่วงปี2560 ที่หากไม่ชัดเจนสัญญาการผลิตส่วนนี้อาจจะหายไป" นายทรงภพกล่าว
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:20 pm
โดย pak
กลุ่มปตท.กำไรไตรมาส3พุ่งเฉียด8หมื่นล้าน
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, November 16, 2012
กลุ่มปตท.กำไรไตรมาส 3 เฉียด 8 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่า 105% เทียบช่วงเดียวกันปีก่อน จากการฟื้นตัวของกลุ่มโรงกลั่นและปิโตรเคมี
จากการรวบรวมผลประกอบการกลุ่มปตท.(PTT) 6 บริษัท ประกอบด้วย ปตท. บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ.(PTTEP) บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTCG) บริษัท ไทยออยล์ (TOP) บริษัท ไออาร์พีซี (IRPC) และบริษัท บางจากปิโตรเลียม (BCP) พบว่าช่วง 9 เดือนปี2555 มีกำไรสุทธิรวม 1.61 แสนล้านบาท ลดลง 6,092 ล้านบาท หรือ 3.63% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยกำไรทุกบริษัทปรับลดลง มีเพียงปตท.สผ.ที่มีกำไรเพิ่มขึ้น 47% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
สำหรับงวดไตรมาส 3 กลุ่ทปตท.มีกำไรสุทธิรวม 7.97 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.1 หมื่นล้านบาท หรือ 105.9% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยทุกบริษัทมีกำไรเพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัท ไทยออยล์ มีการเพิ่มขึ้นของกำไรสูงสุด คือ มีกำไร 1 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 300% บริษัทไออาร์พีซี มีกำไร 2.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 231.4% ตามมาด้วย ปตท.ผส.กำไร 1.75 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 135.7% บริษัท พีทีทีโกลบอลฯมีกำไร 1.2 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 113% บางจากกำไร 1.07 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 77.3% และปตท.กำไร 3.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 67%
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (PTT)กล่าวว่า ในช่วงไตรมาส 3 ปีนี้ ปตท.และบริษัทย่อยมีรายได้จากการขาย 6.86 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 5.8% มีกำไรสุทธิ 3.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 67% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่าราคาเฉลี่ยของน้ามันดิบดูไบจะลดลงจาก 107.1 ดอลลาร์หรัฐต่อบาร์เรล เหลือ 106.3 ดอลลาร์ฯต่อบาร์เรล
ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากผลประกอบการที่ดีขึ้นของปตท.สผ. ประกอบกับบริษัทมีส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม 1.32 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 195.8% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จากผลการดำเนินงานของกลุ่มธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีที่ดีขึ้น แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวและวิกฤติหนี้ยุโรปยังคงยืดเยื้อ แต่อุปทานของผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมที่ตึงตัว และส่วนต่างระหว่างราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบ (สเปรด) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น
นอกจากนี้บริษัท ยังมีกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยน 3.4 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 163.3% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ที่มีขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 5.3 พันล้านบาท 5,362 ล้านบาท รวมทั้งจ่ายภาษีลดลง 13.9% หรือจ่ายที่ 8.93 พันล้านบาท
สำหรับแนวโน้มราคาน้ามันดิบดูไบเฉลี่ยในไตรมส 4 ปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มขึ้นจากเหตุการณ์ความตึงเครียดและความไม่สงบในตะวันออกกลางที่ยังไม่ยุติ ประกอบกับความต้องการน้ามันที่เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว และมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่คาดว่าจะช่วยให้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มดีขึ้น ในส่วนของราคาน้ำมันสำเร็จรูปเฉลี่ยในไตรมาสที่ 4 คาดว่าส่วนใหญ่จะเพิ่มขึ้นตามราคาน้ามันดิบยกเว้นเบนซิน 95 ที่ราคาจะลดลงเนื่องจากความต้องการที่ลดลงตามฤดูกาล
อย่างไรก็ตาม ค่าการกลั่นของโรงกลั่นประเภท Cracking อ้างอิงที่สิงคโปร์คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ประมาณ 8-9 ดอลลาร์ฯต่อบาร์เรล จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่ปรับเพิ่มขึ้นในอัตราที่น้อยกว่าน้ามันดิบ ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ที่มีแนวโน้มปรับขึ้น ตามราคาน้ามันดิบและแนฟทาที่คาดว่าจะปรับเพิ่มขึ้น และความต้องการผลิตสินค้ารับปีใหม่
โดยราคาโพลีเอทิลีนความหนาแน่นสูงคาดว่าจะอยู่ที่ 1,397 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตันและราคาโพลีโพรพิลีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,471ดอลลาร์ สหรัฐฯต่อตัน เช่นเดียวกับราคาผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ซึ่งมีแนวโน้มสูงขึ้น ตามราคาวัตถุดิบ โดยราคาเบนซีนคาดว่าจะอยู่ที่ 1,218 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อตัน และราคาพาราไซลีนคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 1,516 ดอลลาร์ สหรัฐฯต่อตัน
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:21 pm
โดย pak
จี้รัฐใช้"จีทูจี"หาช่องนำเข้าก๊าซ ใกล้วิกฤติจะหมดจากอ่าวไทย/ลุ้นต่อสัมปทานเชฟรอน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, November 17, 2012
การจัดหาก๊าซธรรมชาติ จ่อวิกฤติ เปิดสัมปทานชะงักติดปัญหาต่อต้าน แหล่งก๊าซในประเทศมีขนาดเล็ก ส่งผลอีก 5 ปี กำลังการผลิตลดไม่พอใช้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ จี้รัฐบาลเร่งเจรจารัฐต่อรัฐเป็นใบเบิกทาง หาแหล่งปิโตรเลียมนอกประเทศ พร้อมลุ้นต่อสัมปทานแหล่งก๊าซของเชฟรอนและปตท.สผ.หลังกฎหมายปิดช่องทำไม่ได้แล้ว
นายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่าขณะนี้แนวโน้มการผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทยอยู่ในขั้นใกล้วิกฤติ เนื่องจากกำลังการผลิตที่มีอยู่ประมาณ 3.3 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นำเข้าจากเมียนมาร์ 1.1 พันล้านลูก บาศก์ฟุตต่อวัน และจากแหล่งพัฒนาพื้นที่ร่วมไทย-มาเลเซียอีกประมาณ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันในขณะที่ความต้องการใช้ในประเทศอยู่ใกล้ระดับ 5 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน หากไม่ดำเนินการจัดหาเพิ่มเติมในอีก 5 ปีข้างหน้ากำลังการผลิตจะเริ่มลดลงทำให้ก๊าซไม่พอใช้ ต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลวหรือแอลเอ็นจีซึ่งมีราคาแพงเพิ่มมากขึ้น
ขณะเดียวกันการพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมภายในประเทศ โอกาสที่จะพบแหล่งปิโตรเลียมขนาดใหญ่ที่มีปริมาณสำรองที่มากกว่า 100 ล้านบาร์เรล คงเป็นไปได้ยาก โดยแหล่งสัมปทานปิโตร เลียมที่เหลือจะมีปริมาณสำรองที่ระดับเพียง 5-10 ล้านบาร์เรลเท่านั้น ดังนั้นการจัดหาแหล่งปิโตรเลียมจากนี้ไป คงต้องเน้นการลงทุนแหล่งสัมปทานในต่างประเทศมากขึ้น โดยอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐเป็นใบเบิกทาง เพื่อนำบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทย โดยเฉพาะบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เข้าไปลงทุนแหล่งสัมปทานในต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น
"ทั้งนี้ ต้องใช้ความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ เนื่องจากต้องยอมรับว่าบริษัท ปตท.สผ.ฯ แม้จะเป็นบริษัทที่ลงทุนด้านการสำรวจและขุดเจาะรายใหญ่ของไทย แต่หากเทียบกับบริษัทในโลก ก็นับว่ายังมีขนาดเล็กมาก ดังนั้นหากรัฐบาลเจรจาไว้ก่อนแล้ว ก็จะทำให้เข้าไปลงทุนในแหล่งสัมปทานง่ายขึ้น หากรอเปิดสัมปทานในประเทศอย่างเดียวเชื่อว่าจะไม่เพียงพอต่อความต้อง การใช้ และหากต้องพึ่งพาการนำเข้าก๊าซแอลเอ็นจีก็มีราคาสูงถึง 14-16 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อพันลูกบาศก์ฟุต เทียบกับก๊าซในอ่าวไทยอยู่ที่ 7-8 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อพันลูกบาศก์ฟุต"
นายทรงภพ กล่าวอีกว่า นอกจากการผลักดันการลงทุนแหล่งสัมปทานในต่างประเทศแล้ว กรมยังเตรียมจะเปิดประมูลแหล่งสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 ภายในปี 2556 จากเดิมที่มีแผนจะเปิดเมื่อช่วงกลางปีที่ผ่านมาแต่จำเป็นต้องเลื่อนออกไป เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชนก่อน ให้เข้าใจสาเหตุที่ต้องเปิดประมูลดังกล่าว โดยในวันที่ 12-14 ธันวาคมนี้ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย จะจัดสัมมนาปิโตรเลียม เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับศักยภาพปิโตร เลียมในประเทศไทย และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง
"ตอนนี้ต้องเร่งทำความเข้าใจกับประชาชนก่อน ในการเปิดประมูลสัมป ทานฯรอบที่ 21เพราะก๊าซกำลังจะหมดจากอ่าวไทย และแหล่งสัมปทานใหม่ๆ ก็เล็กลง โอกาสที่จะเจอแหล่งขนาดใหญ่เหมือนแหล่งปลาทอง 2 และแหล่งบงกชใต้ คงเป็นไปได้ยากมาก โดยกรมพยายามรักษาระดับการผลิตให้อยู่ไม่ต่ำกว่า 3 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่วนที่เหลือต้องอาศัยแหล่งสัมปทานในต่างประเทศ"
นอกจากนี้ในปี 2556 กรมมีแผนจะเดินทางไปต่างประเทศ โดยเฉพาะอินโดนีเซีย และติมอร์ฯ เพื่อขอความร่วมมือด้านพลังงาน เนื่องจากเห็นว่าประเทศดังกล่าวยังมีแหล่งสัมปทานที่ยังไม่มีการพัฒนาอีกมาก ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่บริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยจะเข้าลงทุนได้ ที่ผ่านมาพบว่าการใช้ความร่วมมือระหว่างรัฐต่อรัฐ จะทำให้การลง ทุนดังกล่าวประสบความสำเร็จง่ายขึ้น
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ได้มอบนโยบายให้กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และปตท.สผ. เร่งทำแผนจัดหาก๊าซธรรมชาติ และแผนศึกษาผลกระทบจากกรณีก๊าซในอ่าวไทยอาจหมดลงในไม่ถึง 20 ปีข้างหน้า ว่าจะดำเนินการอย่างไร ควรจะต่ออายุสัมปทาน หรือว่าจ้างเอกชนสำรวจหรือผลิตต่อ หรือจะเปิดสัมปทานรอบใหม่หลังสัญญาก๊าซ ของบริษัท เชฟรอนฯ และปตท.หมดลงและไม่สามารถต่ออายุสัมปทานได้อีกในปี 2565 เพราะตามกฎหมายปิโตรเลียมให้ต่อสัญญาได้เพียงครั้งเดียวอายุ 10 ปี และทั้ง 2 บริษัทได้ต่อสัญญาไปแล้ว โดยให้เสนอผลการศึกษาเบื้องต้นภายในเดือนธันวาคมนี้ เพื่อให้บริษัทดังกล่าวไปวางแผนในการดำเนินงานต่อไป
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:22 pm
โดย pak
อุ้มรง.เอทานอลมันบี้บ.น้ำมันแยกซื้อ2ตลาด
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, November 17, 2012
กระทรวงพลังงานเตรียมแยกตลาด เอทานอลตามวัตถุดิบ แบ่งเป็นเอทานอล ที่ผลิตจากน้ำตาล กับเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง หวังช่วยโรงงานเอทานอล มันสำปะหลังที่มีต้นทุนการผลิตสูงให้สามารถอยู่ในระบบได้ต่อไป
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า กระทรวงพลังงานมีแนวคิดที่จะแยกเอทานอลออกเป็น 2 ตลาดตามการใช้วัตถุดิบ แบ่งเป็น เอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาล กับ เอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลัง จากสาเหตุที่ว่า "ต้นทุน" การผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง สูงกว่าเอทานอลที่ผลิตจากกากน้ำตาล ส่งผลให้ผู้ค้าน้ำมันเลือกที่จะสั่งซื้อเอทานอลจากกากน้ำตาลสูงถึง 1.1 ล้านลิตร/วัน หรือคิดเป็นร้อยละ 80 ของกำลังการผลิต ในขณะที่ซื้อเอทานอลจากมันสำปะหลังเพียง 300,000 ลิตร/วัน หรือเพียงร้อยละ 20 ของกำลังการผลิตเท่านั้น
ทั้งนี้เมื่อมีการแยกเอทานอลออกเป็น 2 ตลาดแล้ว ขั้นตอนต่อไปจะมีการกำหนดสัดส่วนการซื้อเอทานอลของผู้ค้าน้ำมันตามมาตรา 7 ให้สมดุลกันระหว่างตลาดทั้ง 2 โดยจะขอความร่วมมือไปยังผู้ค้าน้ำมันว่าจะสามารถดำเนินการได้หรือไม่ โดย "ส่วนต่าง" ของราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังนั้น พพ.กำลังอยู่ในระหว่างพิจารณาแนวทางว่าจะทำอย่างไร เพื่อให้ผู้ค้าน้ำมันหันมาซื้อเอทานอล จากมันสำปะหลังเพิ่มขึ้น เช่น อาจจะใช้เงินจากกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ามาชดเชยส่วนต่างราคาได้หรือไม่ ซึ่งในอีก 2 สัปดาห์จะมีการหารือร่วมกันของหน่วยงาน ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ค้าน้ำมันเพื่อสรุปรายละเอียดทั้งหมด
"ในเมื่อจะพัฒนาอุตสาหกรรม เอทานอลก็ควรที่จะให้ผู้ประกอบการอยู่ได้ทั้งระบบ จะทำอย่างไรให้โรงงานเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังได้เดินเครื่องเต็มแบบไม่ขาดทุน พราะวันนี้ราคาจำหน่ายเอทานอลจากมันสำปะหลังอยู่ที่ 22-23 บาท/ลิตร ในขณะที่ราคาเอทานอลจากกากน้ำตาลอยู่ที่ 19 บาท/ลิตร บริษัทน้ำมันก็เลือกซื้อเอทานอลที่ต้นทุนต่ำที่สุด พพ.อยากจะบาลานซ์ทั้ง 2 ตลาด เพราะปี 2556 นี้รัฐบาลก็จะยกเลิกเบนซินออกเทน 91 แล้ว รวมถึงมาตรการอื่น ๆ ที่ทำให้ดีมานด์เพิ่มขึ้น เอทานอลจะต้องมั่นคงด้วยเช่นกัน"
การยกเลิกการผลิต-จำหน่ายน้ำมันเบนซินออกเทน 91 หลังวันที่ 1 มกราคม 2556 จะเกิดขึ้นแน่นอน ขณะนี้อยู่ในระหว่างขั้นตอนเตรียมประกาศในราช กิจจานุเบกษาแล้ว คาดว่าความต้องการใช้ เอทานอลในการผสมเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์จะเพิ่มขึ้นเป็น 2 ล้านลิตร/วัน"
สอบถามความเห็นไปยัง นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทผู้ค้าน้ำมันพร้อมที่จะปฏิบัติตามนโยบายภาครัฐ เพียงแต่จะต้องชัดเจนในเรื่องราคาด้วยว่า "ส่วนต่าง" ระหว่างราคาเอทานอลที่ผลิตจากมันสำปะหลังกับที่ผลิตจากกากน้ำตาลจะทำอย่างไร เพราะต้องยอมรับว่าขณะนี้ต้นทุนเอทานอล ที่ผลิตจากมันสำปะหลังค่อนข้างสูง ฉะนั้นผู้ค้าน้ำมันส่วนใหญ่จึงเลือกซื้อเอทานอลจากกากน้ำตาลมากกว่า
ด้านนายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บางจากฯเห็นด้วยที่จะแยกเอทานอลออกเป็น 2 ตลาด เพราะจะช่วยเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและผู้ผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง โดยขณะนี้ภาครัฐยังอยู่ระหว่างการหารือกับกลุ่มผู้ค้าน้ำมันว่าจะให้สัดส่วนการ รับซื้อระหว่างเอทานอลจากมันสำปะหลังกับเอทานอลจากกากน้ำตาลเป็นเท่าไร เบื้องต้นคาดว่าอยู่ในสัดส่วน 25 ต่อ 75 หรือ 30 ต่อ 70 โดยประมาณ
"บางจากฯมีสัดส่วนการรับซื้อเอทานอล จากตลาดมันสำปะหลังต่อตลาดกากน้ำตาลที่ 30 ต่อ 70 โดยราคารับซื้อเอทานอลจากมันสำปะหลังอยู่ที่ประมาณ 27 บาทต่อลิตร ส่วนเอทานอลจากกากน้ำตาลอยู่ที่ประมาณ 20 บาทต่อลิตร"
สำหรับต้นทุนที่เพิ่มขึ้นจากการซื้อ เอทานอลจากมันสำปะหลัง บริษัท บางจากฯมองว่าอาจใช้วิธีเฉลี่ยต้นทุนไปยังราคาจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ เพราะหลังยกเลิกน้ำมันเบนซิน 91 แล้ว "ผม เชื่อว่าความต้องการใช้เอทานอลจะเพิ่มขึ้น เป็น 2 ล้านลิตร/วัน"
นายมงคลนิมิตร เอื้อเชิดกุล กรรมการและผู้จัดการฝ่ายกิจกรรมองค์กรและ รัฐกิจสัมพันธ์ บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด กลับ "ไม่เห็นด้วย" ที่จะมีการกำหนดโควตารับซื้อเอทานอลจากมันสำปะหลังและกากน้ำตาล แต่ควรปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาดเสรี เพื่อให้เอทานอล จากทั้ง 2 ตลาดมีราคาแข่งขันกันอย่างแท้จริง
--ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 19 - 21 พ.ย. 2555--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:23 pm
โดย pak
TRCลุ้นงานPTT
Source - ข่าวหุ้น (Th), Monday, November 19, 2012
มูลค่าหมื่นล้าน
รู้ผลสิ้นเดือนนี้
"ทีอาร์ซี" ลุ้นรับงานใหญ่ "ปตท." มูลค่า 1 หมื่นล้านบาท คาดรู้ผลสิ้นเดือนนี้ ขณะที่ไตรมาส 4 จ่อรับรู้รายได้กว่า 1 พันล้านบาท จากแบ็กล็อก 4 พันล้านบาท พร้อมตั้งเป้ารายได้ปีหน้าพุ่ง 5 พันล้านบาท จากปีนี้คาดทำได้ 4 พันล้านบาท
นายภาษิต ลี้สกุล ผู้อำนวยการสายงานบริหารโครงการและการลงทุน บริษัท ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) TRC กล่าวว่า ในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปีนี้ บริษัทเตรียมรับรู้รายได้จากงานในมือ (Backlog) อีกกว่า 1,000 ล้านบาท จากปัจจุบันที่มีอยู่ 4,000ล้านบาท ส่วนที่เหลือจะทยอยรับรู้ในปีหน้า
นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างเตรียมตัวเข้าประมูลงานวางท่อก๊าซธรรมชาติของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT จำนวน 2 โครงการ มูลค่าโครงการละประมาณ 1 หมื่นล้านบาท โดยโครงการแรก ได้แก่ การวางท่อก๊าซระยะทาง 200 กิโลเมตร เส้นทางสระบุรี-นครสวรรค์ และเส้นทางที่ 2 ได้แก่ เส้นทางสระบุรี-นครราชสีมา ระยะทาง 112 กิโลเมตร คาดว่าจะรู้ผลโครงการแรกประมาณสิ้นเดือน พ.ย.นี้ และทราบผลโครงการที่สองในเดือน มี.ค. 56
นายภาษิต กล่าวว่า บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปี 2556 เติบโตเพิ่มขึ้นเป็น 5,000 ล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้มากกว่า 4,000ล้านบาท โดยจะยังคงดำเนินงานธุรกิจผู้รับเหมาเป็นหลัก แต่ขณะเดียวกันก็อยู่ระหว่างเดินหน้าธุรกิจพลังงานทางเลือกในประเทศกัมพูชา และโครงการโรงไฟฟ้าท่อก๊าซธรรมชาติในประเทศพม่าด้วย
สำหรับกำไรสุทธิปีนี้ บริษัทคาดว่าจะสูงกว่าปีก่อนที่ทำได้ 150 ล้านบาท โดย 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทมีกำไรสุทธิ 221.06 ล้านบาท เนื่องจากปีนี้บริษัทรับงานใหม่จำนวนมากตามอุตสาหกรรมโรงไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น และพยายามจะรักษาการเติบโตของอัตรากำไรสุทธิ (Net margin) เฉลี่ยปีละ 7-8% ส่วนอัตรากำไรขั้นต้น (Gross margin) จะบริหารจัดการให้อยู่ในระดับที่ 15%
ส่วนความคืบหน้าการลงทุนในประเทศพม่า ยังมีความเสี่ยงจากกฎหมายการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติที่ไม่ชัดเจน ทำให้บริษัทยังต้องรอประเมินจังหวะเวลาที่เหมาะสมก่อน ซึ่งในส่วนความพร้อมของบริษัทมีอย่างเต็มที่ รวมทั้งยังมีวงเงินกู้สินเชื่อโครงการ (Project Finance) ของธนาคารที่รองรับ ซึ่งหากกฎหมายมีความชัดเจน บริษัทก็สามารถเริ่มดำเนินการได้ทันที
ทั้งนี้ การเข้าลงทุนในพม่านั้นจะเป็นการลงทุนโรงไฟฟ้าท่อก๊าซธรรมชาติ ส่วนการลงทุนในกัมพูชา คาดว่าจะวางแผนให้บริษัทลูกที่จดทะเบียนในฮ่องกงเข้ามาร่วมลงทุนกับพันธมิตรท้องถิ่นในกัมพูชา เพื่อสร้างโรงงานพลังงานทางเลือก ประเภทเอทานอล กำลังการผลิต 1 แสนลิตรต่อวัน เบื้องต้นจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท จากทั้งเงินกู้และกระแสเงินสดในการเข้าถือหุ้นในสัดส่วน 50% จากมูลค่าโครงการรวม 1,200 ล้านบาท เพื่อส่งออกจำหน่ายไปยังต่างประเทศทั้งหมด เช่น ญี่ปุ่น และเกาหลี เป็นต้น ใช้ในการเป็นหัวเชื้อตั้งต้นในอุตสาหกรรมต่างๆ
สำหรับผลการดำเนินงานงวด 9 เดือนปี 2555 บริษัทและบริษัทย่อย มีรายได้ 3,324 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 135% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 1,414 ล้านบาท โดยมีกำไรสุทธิงวด 9 เดือนที่ 221 ล้านบาท กำไรเติบโตขึ้นถึง 204% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และสูงกว่ากำไรทั้งปีของปี 2554 ที่อยู่ที่ 149 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม จากผลการดำเนินงานที่เติบโตโดดเด่นนั้น มาจากความก้าวหน้าของโครงการขนาดใหญ่ต่อเนื่องจากปีก่อนของบริษัท และบริษัท สหการวิศวกร จำกัด คือ โครงการงานวางท่อก๊าซไปยังโรงไฟฟ้า จากกลุ่มบริษัท กัลฟ์ เจพี จำกัด มูลค่า 2,016 ล้านบาท และ 21.09 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา และโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอล กำลังการผลิต 400,000 ลิตรต่อวัน (งานก่อสร้างนอกเหนือจากกระบวนการผลิต) จากบริษัท อุบล ไบโอ เอทานอล จำกัด มูลค่า 2,134 ล้านบาท ตามลำดับ โดยโครงการก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลมีกำหนดแล้วเสร็จภายในปีนี้
ทั้งนี้ รายได้ในไตรมาส 3/55 ยังไม่ได้รวมรายได้จากโครงการใหม่ขนาดใหญ่ที่บริษัทได้รับในไตรมาส 3 คือ GUT Gas Pipeline Project จากบริษัท กัลฟ์ เจพี ยูที จำกัด มูลค่า 1,547 ล้านบาท ซึ่งโครงการดังกล่าวจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 4/55 เป็นต้นไป
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:24 pm
โดย pak
พลังงานดันเอสพีอาร์ซีเข้าตลาดหุ้นปี'56
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, November 19, 2012
โพสต์ทูเดย์ - กรมธุรกิจพลังงานตั้งธงดันโรงกลั่นเอสพีอาร์ซีเข้าตลาดหุ้นไตรมาส 2 ของปี 2556 หลังยื้อทบทวนสัญญาค้างเติ่งมากว่า 12 ปี
นายสมนึก บำรุงสาลี รองอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่า ในการตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายของ รมว.พลังงานเมื่อวันที่12 พ.ย. ได้นำเสนอแนวทางการนำ บริษัท สตาร์ ปิโตรเลียม รีไฟน์นิ่ง (เอสพีอาร์ซี) ผู้ประกอบธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เพื่อจำหน่ายหุ้นให้กับประชาชนซึ่งกำหนดไว้อย่างช้าไม่เกินไตรมาส 2 ของปี2556 หลังจากที่มีการเลื่อนการดำเนินการดังกล่าวมาหลายครั้ง เป็นระยะรวมแล้วกว่า 12 ปี
ทั้งนี้ โรงกลั่นเอสพีอาร์ซีจะต้องจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐบาลเมื่อปี2533 ซึ่งระบุไว้ว่า บริษัทที่ได้รับสิทธิสร้างโรงกลั่นน้ำมันในประเทศจะต้องมีแผนจำหน่ายหุ้นของบริษัท 30% ของทุนจดทะเบียนให้แก่ประชาชน โดยเมื่อครั้งนั้นกำหนดไว้ต้องดำเนินการให้เสร็จภายในปี 2543 แต่ต่อมาได้มีการขยายระยะเวลาออกไป เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจตกต่ำประกอบกับภาวะตลาดหุ้นไม่เอื้ออำนวยให้มีการระดมทุน
ทางด้านกระทรวงพลังงานได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการกำกับและติดตามการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของโรงกลั่นเอสพีอาร์ซีตั้งแต่ปี 2550 และมีการเร่งรัดมาโดยตลอด แต่พบปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้า ในประเด็นผู้ถือหุ้นได้แก่ ปตท.และเชฟรอน ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแผนธุรกิจในอนาคตได้โดยเฉพาะสัดส่วนการถือหุ้น
ทั้งนี้ เนื่องจากทางเชฟรอนต้องการคงสัดส่วนการถือหุ้นในเอสพีอาร์ซีไว้ที่ 64%ส่วน ปตท.จะลดสัดส่วนการถือหุ้นลงเหลือ6% หรือทั้งหมด เพื่อจำหน่ายให้ประชาชนถืออย่างน้อย 30% ซึ่งกระทรวงพลังงานเห็นว่าประเด็นนี้ไม่เป็นไปตามสัญญาที่กำหนดให้หลังจำหน่ายหุ้น เชฟรอนถือ45% ปตท. 25% และประชาชน 30%
m--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:25 pm
โดย pak
พลังงานวางกรอบหนุนดีเซล BHD
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, November 19, 2012
พพ.เตรียมวางนโยบายสนับสนุนดีเซล BHD หลังประเมินมีศักยภาพสูง ใช้แทนดีเซล 3 ล้านลิตรต่อวันในปี 2564 ศึกษาพบต้นทุนสูงกว่า 2-3 บาทต่อลิตร คุณภาพการเผาไหม้ดีกว่า เร่งจ้างที่ปรึกษาและตั้งคณะทำงานวางมาตรการส่งเสริม คาด 4 เดือนได้ข้อสรุป
นายประพนธ์ วงษ์ท่าเรือ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาเชื้อเพลิงชีวภาพ กรมพัฒนาพลังงานทดแทน และอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) เปิดเผยว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างจัดจ้างที่ปรึกษา เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ในการส่งเสริม น้ำมันดีเซลชีวภาพสังเคราะห์ (Bio-Hydrogenated Diesel,BHD) ขณะเดียวกันได้ตั้งคณะทำงานเพื่อวางกรอบนโยบายการส่งเสริมไปพร้อมกันด้วย คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายใน 3-4 เดือน
ทั้งนี้การส่งเสริม BHD เป็นไปตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก 25% ใน 10 ปี (2555-2564) ที่มีเป้าหมายใช้บี 100 ทดแทนดีเซลให้ได้ 6 ล้านลิตรต่อวันในปี 2564 จากปัจจุบัน 2.5-2.7 ล้านลิตรต่อวัน ซึ่งสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นต้องมาจากน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดใหม่เป็นหลัก โดย BHD เป็นทางเลือกที่ดีในขณะนี้ เนื่องจากเป็นที่ยอมรับของค่ายรถยนต์ และใช้ในหลายประเทศ ทั้งที่ผ่านมาบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย จำกัด ได้ร่วมกันศึกษาวิจัย BHD ซึ่งผลการทดสอบไปได้ดี และต้นทุนสูงกว่าดีเซลปกติเพียง 2-3 บาทต่อลิตร ขณะที่ BTL (Biomass-To-Liquid) หรือเชื้อเพลิงจากการเผาชีวมวลนั้น ได้ศึกษาแล้ว พบต้นทุนสูงถึง 60-100 บาทต่อลิตร ดังนั้นการใช้เชื้อเพลิงอื่นแทนดีเซลน่าจะมาจาก BHD ได้ถึง 3 ล้านลิตรต่อวัน
"มาตรฐานน้ำมันดีเซล (World - Wide Fuel Charter) ของกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์ กำหนดอัตราส่วนของบี 100 ในดีเซล ไว้ไม่สูงกว่า 5% ดังนั้นหากจะให้ผสมเกินกว่านั้นต้องไป ผลักดันในเวทีระดับโลกก่อน ดังนั้นการส่งเสริม BHD น่าจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า เพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่สามารถใช้บี 100 มาผสมได้สูงถึง 20-40% และต่างประเทศยอมรับ"
นายประพนธ์ กล่าวต่อว่า การใช้ปาล์มน้ำมันเป็นวัตถุดิบนั้น BHD สามารถนำบี 100 มาผสมได้ตั้งแต่ 20-40% ซึ่งสามารถรองรับปาล์มที่จะเพิ่มขึ้นจากการขยายพื้นที่ปลูกของประเทศ ขณะเดียวกัน BHD สามารถผลิตได้จากวัตถุดิบหลายชนิด นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติดีกว่าดีเซล อาทิ มีค่าซีเทนที่สูงกว่า และไม่มีกำมะถัน เป็นต้น และในกระบวนการผลิตยังปรับคุณสมบัติเป็น BioJet หรือน้ำมันเครื่องบินชีวภาพได้ด้วย
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 2:26 pm
โดย pak
Susco's Petronas asset purchase nearly complete
Source - Bangkok Post (Eng), Monday, November 19, 2012
NUNTAWUN POLKUAMDEE
The SET-listed Susco Plc says its purchase of the Thai assets of Petronas, Malaysia’s national petroleum company, will be completed next month.
The move is expected to double its petroleum business.
A shareholders’ meeting of the Thai oil company on Friday approved the plan to acquire Petronas Retail (Thailand), valued at US$46 million, with payment scheduled for Dec 3.
The purchase will be 30% funded from Susco’s cash flow and the rest by bank lending.
Chairit Simaroj, Susco’s managing director, confirmed the move will double the company’s business.
"It’s quite simple. We will earn 15 billion baht this year, and so did Petronas.Therefore, it is reasonable to assume our sales will double next year, as will our net profit of 200 million this year,"said Mr Chairit.
Petronas Retail operates 96 fuel stations in Thailand.
Susco plans to negotiate with PTT Plc, the country’s sole supplier of natural gas for vehicles, to request subcontracting NGV service stations in appropriate areas.
"Susco will focus on NGV in the future,as the trade margin at 8-10% is higher than for oil. Oil trading has only a slight margin but high competition," he said.
At present, Susco has 142 fuel stations including 10 NGV and eight liquefied petroleum gas stations.
All in all, the company will have 238 filling stations next year.
Susco’s next project will be to renovate 30 petrol stations each year at a cost of 1.5 to 2 million baht per station, said Mr Chairit.
He said Petronas’s Thai assets will create synergy with Susco since they are in different areas.
Petronas is in residential areas in and around Bangkok, while Susco’s stations are mostly in suburbs, with trucks and taxis the regular customers.
The company is also negotiating with retailers to have minimarts at its stations along with Petronas’s present Suria convenience stores.
Susco will not invest in minimart operations itself but rather rent out space,said Mr Chairit.
He said Petronas Retail has accumulated billions of baht worth of losses,but tax breaks mean they can be cleared within five years.
Susco will not move towards more acquisitions next year but focus instead on the renovations, said Mr Chairit.
However, all renovations will be complete within 3-5 years, and after that more mergers and acquisitions could be considered.
Susco’s main shareholder is the Simaroj family with about a 30% stake.
Chalermchai Mahagitsiri has gradually accumulated 11.23% of Susco shares.
However, Mr Chairit insists Mr Chalermchai has invested solely to gain returns and not management control.
Mr Chairit is one of six top executives of listed firms who are candidates for the Best CEO Award 2012 from the Stock Exchange of Thailand. The winner will be announced on Thursday.
Susco posted a third-quarter net profit of 45 million baht, up from 41 million in the same period last year.
The nine-month net profit was 153 million baht, up from 105 million.
Shares of SUSCO closed Friday on the SET at 3.36 baht, up eight satang, in trade worth 17.6 million baht.
Source: Bangkok Post
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 19, 2012 5:44 pm
โดย pak
กระทรวงพลังงานเผยไทยพร้อมเป็นศูนย์กลางผลิตเอทานอล แต่ติดปัญหาด้านกฎหมาย
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์, updated: 29 ต.ค. 2555 เวลา 14:35:02 น.
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะโฆษกกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ไทยมีความพร้อมที่จะเป็นศูนย์กลางการผลิตเอทานอลเพื่อส่งออกในภูมิภาคอาเซียน เนื่องจากมีความพร้อมในเรื่องของวัตถุดิบ แต่ยังติดปัญหากฎหมายที่เกี่ยวเนื่องกับสุรา ซึ่งห้ามการผลิตเอทานอลบริสุทธิ์ขายให้กับอุตสาหกรรมเคมีในประเทศไทย ขณะที่การส่งออกเอทานอลยังต้องเสียภาษีในอัตราสูง
แต่เชื่อว่าหากมีการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนในปี 58 ที่จะมีการเปิดกำแพงภาษีระหว่างกัน ก็จะทำให้ไทยจะได้เปรียบประเทศอื่นที่ยังไม่มีการส่งเสริม
ปัจจุบันความต้องการในการใช้เอทานอลเพื่อนำมาเป็นส่วนผสมในการผลิตน้ำมันแก๊สโซฮอล์ในประเทศอยู่ที่วันละ 1.35 ล้านลิตร ขณะที่กำลังการผลิตเอทานอลในประเทศอยู่ที่วันละ 3.5 ล้านลิตร
สำหรับมาตรการส่งเสริมให้มีการใช้เอทานอลในประเทศนั้น รัฐบาลได้กำหนดให้ยกเลิกการจำหน่ายน้ำมันเบนซิน 91 ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.56 เป็นต้นไป ซึ่งจะทำให้ความต้องการใช้เอทานอลภายในประเทศเพิ่มขึ้นมาเป็นวันละ 2 ล้านลิตร
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 20, 2012 9:40 am
โดย pak
ไทย-พม่าประกาศจับมือพัฒนาทวาย
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, November 20, 2012
สศช.เผยรัฐบาลหนุนรัฐวิสาหกิจไทยเข้าไปลงทุน
"ยิ่งลักษณ์-เต็ง เส่ง"ถกทวิภาคีในเวทีสุดยอดอาเซียน ประกาศร่วมกันเร่งพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึก-นิคมอุตสาหกรรมทวาย ออกถ้อยแถลง 3 ฉบับ พัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน-พลังงาน
วานนี้(19 พ.ย.) นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี หารือทวิภาคีกับนายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดี สหภาพพม่า ระหว่างการเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 21 และการประชุมที่เกี่ยวข้อง ณ กรุงพนมเปญ ทั้งสองฝ่าย ได้หารือในประเด็นความร่วมมือทวิภาคีที่สำคัญ โดยเฉพาะความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวาย โดยทั้งสองฝ่ายยืนยันที่จะร่วมมือกันอย่างเต็มที่
ไทยและพม่าได้เร่งพัฒนาโครงการดังกล่าว โดยก่อนหน้านี้ได้มีการประชุมคณะกรรมการร่วมระดับสูงและคณะกรรมการประสานงานร่วมเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ครั้งที่ 1 ซึ่งไทยเป็นเจ้าภาพจัดขึ้นเมื่อวันที่ 7 พ.ย. 2555 โดยมีนายญาณ ทุน รองประธานาธิบดีพม่า และนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เป็นประธานร่วมกัน ซึ่งได้กำหนดโครงการที่มีความสำคัญเร่งด่วนที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2558
ทั้งนี้ พม่าจะเป็นเจ้าภาพการจัดประชุมคณะกรรมการประสานงานร่วมฯ ครั้งที่ 2 ในเดือน ธ.ค. 2555 ทั้งนี้ ไทย-พม่าเห็นพ้องถึงความสำคัญของการเชิญชวนประเทศหุ้นส่วนที่มีศักยภาพและนักลงทุนที่สนใจให้เข้ามีส่วนร่วมและลงทุนในโครงการสำคัญนี้ด้วย
การหารือทวิภาคีครั้งนี้ รัฐบาลไทยและพม่าได้ออกถ้อยแถลงร่วม 3 ฉบับ ได้แก่ 1.ถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยความร่วมมือเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง โดยสรุปความคืบหน้าการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมฯ และการกำหนดโครงการสำคัญที่ต้องเร่งดำเนินการ ได้แก่ ถนน ท่าเรือน้ำลึก นิคมอุตสาหกรรม โรงไฟฟ้า ระบบน้ำและการจัดการน้ำเสีย ระบบโทรคมนาคม ระบบรถไฟความเร็วสูง และการพัฒนาชุมชน
2.ถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการลงทุนเพื่อการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายและพื้นที่โครงการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งเน้นความสำคัญของโครงการ อันจะเป็นประโยชน์ต่อการเชื่อมโยงภูมิภาค และเชิญชวนประเทศหุ้นส่วนที่มีศักยภาพและนักลงทุนที่สนใจเข้ามามีส่วนร่วมในโครงการ
3.ถ้อยแถลงร่วมว่าด้วยการจัดตั้งเวทีหารือด้านพลังงาน ซึ่งแสดงเจตนารมย์ที่จะจัดตั้งเวทีหารือด้านพลังงานระหว่างกัน เพื่อส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงานให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีสหภาพพม่า ยังได้ร่วมพิธีมอบเครื่องผลิตไฟฟ้ากังหันแก๊ส ซึ่งรัฐบาลไทยมอบให้แก่รัฐบาลพม่า จำนวน 2 เครื่อง เพื่อสนับสนุนการเป็นเจ้าภาพการประชุมและกิจกรรมระหว่างประเทศที่สำคัญ ซึ่งพม่าจะเป็นเจ้าภาพ อาทิ การประชุม World Economic Forum on East Asia และการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ในปี 2556 รวมทั้งการเป็นประธานอาเซียนในปี 2557
ด้านนายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) กล่าวว่า รัฐบาลพร้อมสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจไทยเข้าไปลงทุน โดยมีหลายโครงการที่มีศักยภาพเพียงพอที่จะออกไปลงทุนได้ เช่นการไฟฟ้าฝ่ายผลิต บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค และการท่าเรือแห่งประเทศไทย ที่สามารถเข้าไปลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของนิคมอุตสาหกรรมและท่าเรือน้ำลึกทวายได้
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 21, 2012 2:10 pm
โดย pak
Thai firms urged on Indochina foothold
Source - The Nation Website (Eng), Wednesday, November 21, 2012
Thai companies wanting to expand outside the Kingdom under the approaching Asean Economic Community (AEC) should look to Indochina first because of its wealth of resources, a seminar heard.
At the event held by the Thammasat Economics Association on the topic "Opportunities for Thai Business in Asean and Asia", Anon Sirisaengtaksin, president and chief executive officer of PTT Global Chemical, encouraged entrepreneurs to explore Indochina.
Although economic growth there might not be in the same league as Malaysia and Indonesia, resources are a key factor for strengthening an operational base.
Thai companies that have businesses in Indochina ahead of the AEC’s implementation in 2015 will have an advantage over other countries expanding there, he said.
PTT explored Myanmar for natural gas more than 20 years ago, and 25-30 per cent of its total gas production now comes from that country.
Anon recommended that Thai companies consider where to invest, how to invest and how to be successful before committing themselves to a particular country.
Kobsak Pootrakool, executive vice president of Bangkok Bank, said medium-sized companies should take their time seeking opportunities in Asean, especially in the so-called CLMV countries - Cambodia, Laos, Myanmar and Vietnam.
The formation of the AEC will kick off a new cycle of investment, and Thai businesses should watch closely for opportunities to secure a foothold before others come in, he said.
"If we wait for the opportunities after 2015, we will lose share to many countries, and it is not easy to increase competitiveness to beat rivals."
Apart from connections, language and labour, which are three factors crucial for offshore investment, he said Thai companies that want to go regional should have advisers to give them business direction.
Thai companies have little information on going regional because the government has no third party to help Thai businesses ahead of the AEC.
The Japan External Trade Organisation (Jetro) has set up an office in Myanmar to provide consultation to potential Japanese investors in that country, suggesting local partners and getting them up to speed on regulations.
Manop Sangiambut, executive vice president of Siam Commercial Bank, said that apart from Asean, China would continue to be interesting for Thai companies. The recent leadership transition has not yet resulted in any major policy changes.
The opportunities for Thai companies in China are in the field of |high-technology products because that country wants to form new strategic industries, moving from low-|cost to high-value, high-tech goods, Manop said.
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 21, 2012 2:13 pm
โดย pak
'พีทีที โกลบอล'ลุยอินโดจีนปตท.สผ.ยันไม่เพิ่มทุนอีกใน 3 ปี
Source กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, November 21, 2012
คาดสรุปผลเจรจา ร่วมทุนตั้งรง.ปิโตรเคมีไตรมาสแรกปีหน้า
"พีทีทีโกลบอลฯ" รุกอินโดจีน เห็นโอกาสเติบโตใน"อินโดนีเซีย-เวียดนาม" เผยอยู่ระหว่างเจรจาร่วมทุนตั้งโรงงานปิโตรเคมีกับบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย คาดไตรมาสแรกปีหน้าได้ข้อสรุป เตรียมปรับแผนลงทุน 5 ปีวงเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์กลางธ.ค.นี้ ด้านปตท.สผ.มั่นใจระดมเงิน 9.8 หมื่นล้านบาทสำเร็จ เคาะราคาขาย 30 พ.ย.นี้ พร้อมเข้าเทรด 14 ธ.ค. "เทวินทร์" ชี้เงินที่ได้เพียงพอต่อการลงทุน ไม่ต้องเพิ่มทุนอีกช่วง 3 ปีข้างหน้า บาฟส์คาดรายได้ปีหน้า โต 4%ตามปริมาณการเติมน้ำมัน เผยงบลงทุนปีหน้าอยู่ที่ 216 ล้านบาท และมั่นใจเอฟพีทีจะให้ผลตอบแทนจากการลงทุน 13%
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC) เปิดเผยว่าโอกาสการ ลงทุนของภาคเอกชนไทยในเอเชียอยู่ที่แถบอินโดจีน โดยเฉพาะการลงทุนเพื่อพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ แม้การเติบโตทางเศรษฐกิจยังไม่สูง แต่รายล้อมด้วยแหล่งทรัพยากร โดยเฉพาะพม่า ซึ่งเครือปตท.พร้อมที่เข้าไปช่วยพัฒนา
นอกจากนี้ยังมีโอกาสเข้าไปลงทุนระบบโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เพื่อเชื่อมโยงพื้นที่การเดินทางขนส่งเข้าด้วยกัน รวมถึงการพัฒนาท่าเรือ เช่น ทวาย ซึ่งเป็นประตูสู่ตะวันตกของภูมิภาค การออกไปลงทุนต้องตอบคำถามให้ได้ว่าจะลงทุนที่ไหน ลงทุนอย่างไร และจะประสบความสำเร็จได้อย่างไร
"พีทีที โกลบอลฯมองโอกาสที่อินโดนีเซีย และเวียดนามเป็นหลัก เพราะเป็นประเทศที่เติบโตสูง มีกำลังซื้อ ทำให้มีความต้องการใช้ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีมาก โดยกำลังเจรจากับบริษัทเพอร์ทามิน่า ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของอินโดนีเซีย เพื่อเข้าไปร่วมลงทุนตั้งโรงงานปิโตรเคมีขนาดใหญ่ในอินโดนีเซีย คาดได้ข้อสรุปไตรมาส 1 ปีหน้า"
เขากล่าวต่อว่ากลางเดือนธ.ค.นี้ คณะกรรมการบริษัทจะทบทวนแผนเงินลงทุน 5 ปี วงเงิน 4.5 พันล้านดอลลาร์ โดยจะนำปัจจัยเสี่ยงจากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ยังชะลอตัวอยู่ในปีหน้ามาพิจารณาแผนการลงทุน ในโครงการที่จำเป็น ซึ่งโครงการที่จะดำเนินต่อไป ได้แก่ โครงการขยายคอขวด การเพิ่มมูลค่าในผลิตภัณฑ์ เป็นต้น ส่วนโครงการต่อยอดธุรกิจ ต้องดูจังหวะการลงทุนที่เหมาะสม โดยแนวโน้มธุรกิจปิโตรเคมีปีหน้าทรงตัวจากปีนี้ มั่นใจไม่ต้องเพิ่มทุนในอีก 3 ปี
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเคมี หรือปตท.สผ. (PTTEP) มั่นใจว่าแผนเพิ่มทุนที่เสนอขายหุ้นเพิ่มทุนไม่เกิน 650 ล้านหุ้น หรือไม่เกิน 9.8 หมื่นล้านบาท ให้กับผู้ถือหุ้นเดิม จะประสบความสำเร็จ เพราะได้รับแรงสนับสนุนจากผู้ถือหุ้น และมีกระแสตอบรับจากนักลงทุนทั้งรายย่อยและสถาบันดี ซึ่งปตท.ตอบรับที่รักษาสัดส่วนการถือหุ้น 65.29% ซึ่งต้องใช้เงินเพิ่มทุน 6.4 หมื่นล้านบาท
หลังจากนี้ บริษัทจะเดินสายโรดโชว์เพื่อพบกับนักลงทุนในสิงคโปร์ ฮ่องกง และปิดท้ายที่นิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา เพื่อสำรวจความต้องการซื้อหุ้นในระดับราคาต่างๆ (Bookbuilding) เพื่อกำหนดราคาเสนอขายหุ้นเพิ่มทุน และประกาศราคาในเช้าวันที่ 30 พ.ย.นี้ ก่อนตลาดเปิดทำการ เปิดให้ผู้ถือหุ้นจองซื้อระหว่างวันที่ 3-6 ธ.ค. ประกาศผลการจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนวันที่ 7 ธ.ค. และเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์วันที่ 14 ธ.ค.หรือวันที่ 19 ธ.ค.นี้
การเพิ่มทุนทำให้ฐานะทางการเงินของบริษัทแข็งแกร่งขึ้น อัตราหนี้สินต่อทุน (DE) ลดลงมาอยู่ 0.35 เท่า จาก 0.77 เท่า ซึ่งบริษัทมีนโยบายรักษาสัดส่วน DE ให้ไม่เกิน 0.5 เท่า คาดเงินเพิ่มทุนเข้าบริษัทเดือนธ.ค. ซึ่งจะนำเงินเพิ่มทุนไปใช้หนี้ที่กู้มาซื้อกิจการโคฟ เอ็นเนอร์ยี่
"หลังเพิ่มทุนครั้งนี้ ทำให้ฐานะการเงินแข็งแกร่ง พร้อมลงทุนต่อไป โดยจะได้เม็ดเงินเกือบ 3 พันล้านดอลลาร์ ใกล้เคียงกับเม็ดเงินการซื้อกิจการครั้งใหญ่ของบริษัท 2 ครั้ง คือ ออยล์แซนในแคนาดา และโคฟฯ รวม 4.5 พันล้านดอลลาร์ เมื่อรวมกับรายได้ที่เข้ามา และระดมทุนเพิ่มเติม ทำให้มั่นใจว่าเพียงพอต่อการพัฒนาโครงการต่างๆ โดยที่ไม่ต้องเพิ่มทุนเลยในช่วง 3 ปีข้างหน้า"
น.ส.เพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและการบัญชี ปตท.สผ. กล่าวว่าบริษัทจะนำเงินที่ได้จากการเพิ่มทุนไปใช้หนี้สกุลเงินปอนด์ที่กู้มาซื้อโคฟฯ ทำให้โครงสร้างหนี้ของบริษัทจะเหลือหนี้เพียง 3 สกุล คือ ดอลลาร์สัดส่วน 70-75% เงินบาท 5% ที่เหลือเป็นดอลลาร์แคนาดา โดยหลังจากเพิ่มทุนบริษัทอาจจะมีการรีไฟแนนซ์หนี้ที่เหลือเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ให้เหมาะสม บาฟส์คาดรายได้ปีหน้าโต 4%
นายฉัตรธัย พันธัย ผู้จัดการอาวุโสฝ่ายการเงินและบัญชี บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ (BAFS) กล่าวว่าปีหน้าบริษัทจะมีรายได้เพิ่มขึ้น 4%จากปีก่อน เพราะเป็นไปตามปริมาณการเติมน้ำมัน คาดอยู่ที่ 4.7 พันล้านลิตร และมีการประเมินจากตารางการบินของบริษัทการบินไทย ซึ่งเป็นลูกค้าหลัก มีการเพิ่มเที่ยวบินต่อเนื่องไปอีก 6 เดือน
เขากล่าวว่า แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มชะลอตัว แต่มั่นใจจะเกิดขึ้นในแถบภูมิภาคยุโรป และสหรัฐ แต่กลุ่มเอเชียภาพรวมเศรษฐกิจน่าจะยังอยู่ในทิศทางเติบโต ขณะที่ปีนี้คาดปริมาณการเติมน้ำมันน่าจะอยู่ประมาณ 4.5 พันล้านลิตร ลดจากปีก่อน อยู่ที่ 4.6 พันล้านลิตร คิดเป็น 1.8% เพราะได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมต่อเนื่องถึงต้นปีนี้
"บริษัทคาดรายได้รวมปีนี้ จะใกล้เคียงปีก่อน หรือเพิ่มขึ้น 0.1% แต่กำไรสุทธิปีนี้คาดจะสูงกว่าปีก่อนมากจากเดิมมีกำไร 527 ล้านบาท เพราะมีเงินชดเชยประกันน้ำท่วมทำให้รับรู้ในปีนี้" ลงทุนเอฟพีทีผลตอบแทนดี
เขากล่าวว่าบริษัทกำลังศึกษาแผนขยายสนามบินเพิ่ม เพื่อหาช่องทางลงทุนของบริษัท ปีนี้บริษัทวางงบลงทุนไว้ที่ 216 ล้านบาท แบ่งเป็น โครงการจะสร้างที่สุวรรณภูมิป้องกันคลังน้ำมัน เพื่อป้องกันปัญหาน้ำท่วมในอนาคต โดยโครงการสร้างกำแพงน่าจะใช้เงินลงทุน 55 ล้านบาท โครงการติดตั้งระบบออกตั๋วการเติมน้ำมัน บนรถเติมน้ำมัน 49 ล้านบาท การติดตั้งระบบซอฟต์แวร์ใหม่ที่ทันสมัยมากขึ้น 35 ล้านบาท ที่เหลือเป็นงบลงทุนย่อย เครื่องมือเล็กๆ
เขากล่าวว่าการเข้าไปลงทุนซื้อหนี้ของบริษัทขนส่งน้ำมันทางท่อ (FPT) และปรับโครงสร้างหนี้ จะทำให้บริษัทเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ 90% และในอนาคตคาดการเข้าลงทุนครั้งนี้ น่าจะได้รับผลตอบแทน 13% แต่ช่วง 1-2 ปีแรก จะเป็นลักษณะของการพัฒนาและปรับโครงสร้างองค์กร และธุรกิจ อาจจะทำธุรกิจร่วมกัน เช่น การขนส่งบริการน้ำมัน ซึ่งคณะกรรมการบริษัทกำลังพิจารณา เชื่อการลงทุนระยะยาวจะช่วยให้บริษัทลดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 23, 2012 10:06 am
โดย pak
TTAรุกคว้างานชิ้นใหญ่มูลค่าหลักหมื่นล้านบาทเซ็นสัญญาจ้างนานถึง5ปี
ข่าวหุ้น, 23 พ.ย. 55
ข่าวดีมาแล้ว TTA ฟาดงานใหญ่หลักหมื่นล้านบาท กลุ่มเมอร์เมดได้ลูกค้าตะวันออกกลาง เซ็นสัญญา
จ้างยาว 5 ปี
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 23, 2012 10:11 am
โดย pak
แคมเปญหนุนยอดเติมเอทานอลพุ่ง [ โพสต์ทูเดย์, 23 พ.ย. 55 ]
ผู้ผลิตเอทานอลยิ้มยอดใช้เพิ่มต่อเนื่อง ตั้งเป้าปี 2556 หลังเลิกเบนซิน 91 ดันยอดเพิ่มเป็นวันละ 2
ล้านลิตร
นายสิริวุทธิ์ เสียมภักดี นายกสมาคมผู้ผลิตเอทานอล เปิดเผยว่ายอดใช้เอทานอลในช่วง 2-3 เดือน
ที่ผ่านมา ปรับตัวสูงขึ้นจากวันละ 1.2 ล้านลิตร เป็น 1.4 ล้านลิตร เนื่องจากมีการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี20
และแก๊สโซฮอล์ อี85 เพิ่มมากขึ้น ทั้งจากการจัดแคมเปญส่งเสริมการขายของบริษัทน้ำมัน ค่ายรถยนต์ที่เปิด
ตัวรถรุ่นใหม่ที่รองรับกับน้ำมันทั้ง 2 ประเภท รวมถึงรถยนต์ที่ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อใช้แก๊สโซฮอล์ อี85 ได้
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 24, 2012 8:30 am
โดย pak
ภาพข่าว: รมต.พลังงานคนใหม่ เยี่ยมชม ปตท.สผ.
Source - สยามรัฐ (Th), Friday, November 23, 2012
3(491).jpg
ฯพณฯ นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานคนใหม่ (ตรงกลาง) เข้าเยี่ยมชม บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. โดยมีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ประธานกรรมการ ปตท.สผ.(ที่ 2 จากตรงกลาง)นายไพรินทร์ ชูโชติถาวรประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท. (ที่ 6 จากซ้าย) นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ. (ที่ 4 จากขวา) กรรมการบริษัท และคณะผู้บริหาร ให้การต้อนรับณ ศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 24, 2012 8:31 am
โดย pak
'พงษ์ศักดิ์'ดันไทยฮับผลิตไฟฟ้า
แหล่งข่าว : มติชน, วันที่ : 23/11/2012
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวในงานสัมมนาของสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ เรื่องสแกนความพร้อมไฟฟ้าไทยรับเออีซีว่า กระทรวงพลังงานได้สั่งให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ (กฟผ.) เร่งพัฒนาบุคลากร และเทคโนโลยี เพื่อผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางการผลิตไฟฟ้าส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ จะสนับสนุนนักลงทุนไปตั้งโรงไฟฟ้าในพื้นที่ที่มีศักยภาพในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อทำการผลิตไฟฟ้าส่งผ่านสายส่ง (อาเซียนกริด) มาไทยหรือขายต่างประเทศ
นายพงษ์ศักดิ์กล่าวว่า ไทยยังมีความเสี่ยงด้านความมั่นคงทางไฟฟ้า โดยพบว่าปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดปีนี้อยู่ที่ 26,700 เมกะวัตต์ ขณะที่กำลังผลิตรวมอยู่ที่ 32,200 เมกะวัตต์ ส่งผลให้กำลังการผลิตสำรองเหลือ 16% ทำให้มีความเสี่ยงที่จะเกิดไฟฟ้าดับในอีก 2 ปี จึงมอบให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เจรจากับประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟฟ้า และให้ดำเนินการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินในพื้นที่ที่มีความพร้อม เช่น จังหวัดกระบี่
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 24, 2012 8:32 am
โดย pak
คอลัมน์: กระดานข่าว: PTT สรุปแผนธุรกิจ 56 ก่อนสิ้นปีนี้
Source - ไทยโพสต์ (Th), Friday, November 23, 2012
นายวิรัตน์ เอื้อนฤมิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่การเงิน บมจ.ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า บริษัทคาดว่าในช่วงสิ้นปีนี้จะได้ข้อสรุปแผนธุรกิจปีหน้า ซึ่งจะรวมถึงแผนการระดมทุนและ แผนการขยายการลงทุน ซึ่งการขยายการลงทุนจะเน้นการขยายไปยังสินค้าที่มีคุณภาพสูงและใช้เทคโนโลยีมากขึ้น อย่างไรก็ ตาม ปีนี้บริษัทได้ใช้เงินลงทุนรวม 1 แสนล้านบาท ซึ่งเป็นเงินในการลงทุนในหุ้นเพิ่มทุนของบริษัท ปตท.สผ. ประมาณ 6 หมื่นล้านบาทและลงทุนเหมืองถ่านหินประมาณกว่า 3 หมื่นล้านบาท ขณะที่ปัจจุบันบริษัทมีเงินสดในมืออยู่ที่ 7-8 หมื่นล้านบาท และมีเงินจากการขายหุ้นกู้อีก 6 หมื่นล้านบาท
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 8:53 am
โดย pak
PTT mulls $29bn VN complex
Source - Bangkok Post (Eng), Saturday, November 24, 2012
NAREERAT WIRIYAPONG
DOW JONES
Energy giant keen to tap petroleum demand
PTT Plc, Thailand’s energy flagship, is considering building a world-scale refinery and petrochemical complex in Vietnam at a cost of US$28.7 billion to tap into high-potential petroleum demand.
The company on Thursday submitted a pre-feasibility study of a refinery with capacity of 660,000 barrels per day, which would make it one of the largest in the world, in the Nhon Hoi Economic Zone in coastal Binh Dinh province.
Construction would probably begin in 2016, and the refinery would become operational in 2019.
Such an investment would provide a much-needed boost for Vietnam, which global investors have increasingly shunned in recent years.
PTT has demonstrated it is "very willing" to undertake the project,"so we are confident it will be able" to carry it out, said Le Huu Loc, chairman of Binh Dinh’s People’s Committee.
Nattachart Charuchinda, the chief operating officer of PTT’s downstream petroleum business group, yesterday confirmed the reports from Hanoi but noted that the project remains in a very preliminary stage.
"If we invest there, we want to make it with a big scale of production so that it has a competitive advantage," Mr Nattachart told the Bangkok Post ."Vietnam has big potential, with only one refinery with daily capacity of 130,000 bpd in a population of 88 million," he said, adding that Thailand,with a smaller population, has several refineries.
Crude oil would be sourced from the Middle East. The complex would include an aromatics plant, with the output likely to be shipped to nearby China.
However, Mr Nattachart said more studies must be carried out, and given the huge investment, PTT may join other investors to develop the project.
"We don’t know yet whether the Vietnamese government will decide to proceed with this," he said.
Mr Loc said PTT has approached several Vietnamese companies about partnership roles in its planned refinery.They include the state-run Vietnam Oil and Gas Group (PetroVietnam), Vietnam National Petroleum Corporation and Military Petroleum Corporation.
PetroVietnam this month said the company and partners had reached an agreement to proceed with Vietnam’s long-delayed second refinery with capacity of 200,000 bpd. Production is expected to start in 2016.
Meanwhile, the Siam Cement Group and partners will build a $4.5-billion petrochemical complex in southern Vietnam’s Ba Ria-Vung Tau province.
Shares of PTT closed yesterday on the Stock Exchange of Thailand at 312 baht, up 3 baht, in trade worth 897 million baht.
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 8:54 am
โดย pak
ลงทุน...กัมพูชาโอกาสสูง รุกก่อน ได้เปรียบ
Source - ไทยโพสต์ (Th), Sunday, November 25, 2012
ช่วงวันที่ 16-19 พ.ย.ที่ผ่านมา ผมได้มีโอกาสไปเยือนกรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา (อีกครั้ง) หลังจากเคยไปมาแล้วเมื่อประมาณ8 ปีก่อน
ครั้งนี้ได้รับเชิญจาก กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือชื่อเดิมกรมส่งเสริมการส่งออก นำโดย นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีฯ ตามโครงการนำคณะผู้แทนการค้าสินค้าแฟชั่นไทยจำนวน 23 ราย ไปเจรจาการค้า การลงทุน กับนักลงทุนในกัมพูชา รวมทั้งจัดงานไทยแลนด์ แฟชั่นโชว์ เพื่อขยายตลาดสินค้าแฟชั่น
อ้อ..ก่อนจะพูดถึงเรื่องงานที่ไปครั้งนี้ขอชื่นชมสายการบินบางกอก แอร์เวย์ส ซะหน่อย ที่ให้บริการได้อย่างประทับใจ เที่ยวบินตรงเวลา ต่างกับสายการบินแห่งชาติ ชนิดที่เทียบกันได้เห็นภาพชัดเจน รวมทั้ง "พี่จ๋า" ประจงพร ตันมณี หัวหน้าทริปครั้งนี้ มา ณ โอกาสนี้ด้วยครับ
วันแรก เริ่มด้วยการประชุมหารือร่วมกับนักธุรกิจไทยในกัมพูชา เพื่อรับฟังข้อคิดเห็นข้อเสนอ โอกาส และอุปสรรคทางการค้า การลงทุนในกัมพูชา โดยมี อธิบดีฯ ศรีรัตน์ นายวุฒิชัย ดวงรัตน์ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ และ นางจีรวรรณ วงษ์มงคล หัวหน้าสำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ณ กรุงพนมเปญ ร่วมรับฟังปัญหา
นางอรนุช ผการัตน์ ประธานสมาคมผู้ประกอบการการไทยในกัมพูชา ระบุว่า กัมพูชาเป็นประเทศที่น่าลงทุน เนื่องจากกัมพูชาได้สิทธิพิเศษด้านภาษีจากสหรัฐ สหภาพยุโรป ออสเตรเลีย เป็นต้น ทำให้สินค้าที่ส่งออกจากกัมพูชาซึ่งมีโควตาพิเศษ ไม่ต้องเสียภาษี หรือเสียในอัตราต่ำมาก
"การลงทุนทุกประเทศก็มีปัญหาเหมือนกันหมด แต่ในกัมพูชาเขาไม่กีดกันการค้า การลงทุน แต่ต้องทำให้ถูกตามกฎระเบียบเขา และที่สำคัญ การเมืองของเขานิ่ง ตรงนี้ทำให้นักลงทุนมีความมั่นใจที่จะขยายการลงทุน" นางอรนุช กล่าวมีความมั่นใจที่จะขยายการลงทุน" นางอรนุช กล่าวสำหรับกรณีรัฐบาลไทยประกาศปรับขึ้นค่าแรง 300 บาททั่วประเทศในวันที่ 1 ม.ค.2556 นั้น เริ่มเห็นผลกระทบต่อการลงทุนในไทย เนื่องจากมีผู้ประกอบการหลายรายย้ายฐานการผลิตไปยังกัมพูชา หรือหากไม่ย้านฐานไป แต่จะลดการผลิตในไทย และหันไปเพิ่มการผลิตในกัมพูชาแทน และมองว่าการเพิ่มค่าแรงโดยไม่เน้นไปที่การเพิ่มทักษะการทำงานของแรงงาน ในอนาคตจะเป็นอันตราย ซึ่งรัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องนี้
แม้จะมีอุปสรรค แต่นักลงทุนไทยจำนวนมากยินดีหอบเงินเข้าไปลงทุนกัมพูชา เพราะยึดคติว่า "รุกก่อน ย่อมได้เปรียบ"นายสุธน ชูเธียร ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ปตท.(กัมโบเดีย) จำกัด ซึ่ง บมจ.ปตท. ถือหุ้น 100% กล่าวว่า ปตท.เริ่มเข้าไปลงทุนในกัมพูชาตั้งแต่ปี 2543 จากการขายน้ำมันเติมอากาศยาน จากนั้นเริ่มขยายไปยังกลุ่มอุตสาหกรรม และต่อมาบริษัทแม่มีนโยบายที่จะขยายธุรกิจในแถบอินโดจีนมากขึ้น เพื่อสร้างแบรนด์เนมของสินค้าให้มีความครบวงจร จึงเริ่มเปิดให้บริการปั๊มน้ำมันในกัมพูชา
ปัจจุบัน ปตท.มีปั๊มน้ำมันในกัมพูชา 14 แห่ง และมีแผนจะขยายให้ได้ 40-50 แห่ง ขณะที่รายได้ในปัจจุบันอยู่ที่ปีละ 4,500 ล้านบาท เติบโต 7-8% และมีแนวโน้มที่จะเติบโตอย่างต่อเนื่องโดยคาดว่าปี 2556 จะเติบโตประมาณ 10%
ส่วนการแข่งขันในกัมพูชามีสูงจากการที่มีผู้ให้บริการหลายราย เช่น SUVIMEX ซึ่งเป็นปั๊มน้ำมันของกัมพูชา และ CALTEX ที่เป็นผู้นำตลาดในกัมพูชา
นายอนุรุทธิ์ เชาว์ชวาลนิล ผู้จัดการด้านการตลาดและโลจิส ติสก์ บริษัท สุวรรณภูมิ อินเวสเม้นต์ จำกัด ซึ่งมีทีซีซี กรุ๊ป ของ เสี่ยเจริญ สิริวัฒนภักดี ถือหุ้น 100% กล่าวว่า นอกจากบริษัทจะมีท่าเรือออกญา มงค์ฤธี ซึ่งเป็นท่าเรือเอกชนที่ใหญ่ที่สุด บริษัทยังได้ขยายไปยังธุรกิจปาล์มน้ำมัน โดยขณะนี้ได้ทำการปลูกปาล์มน้ำมันไปแล้วประมาณ 6-7 หมื่นไร่และมีเป้าหมายจะเพิ่มเป็น 1 แสนไร่ ภายในปี 2017-2018
นายสกล ชีวะโกเศรษฐ ประธานกรรมการ บริษัท ซี.พี.กัมโบเดีย จำกัด ซึ่งมี บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ CPF ถือหุ้น 100% กล่าวว่า ซีพีเริ่มเข้าไปลงทุนในกัมพูชาตั้งแต่ 16 ปีที่แล้ว โดยเริ่มจากการทำโรงงานอาหารสัตว์ และฟาร์มเลี้ยงสัตว์ โดยในส่วนของโรงงานผลิตอาหารสัตว์ ปัจจุบันมีกำลังผลิต 24,000 ตันต่อเดือน และกำลังขยายให้ผลิตได้ 35,000 ตันต่อเดือน ซึ่งจะสามารถรองรับการขยายตัวของธุรกิจได้อีกประมาณ 3 ปี
"การเติบโตของธุรกิจถือว่าดีมาก เราโตด้วยตัวเลขสองหลักมาตลอด เมื่อปี2554 เราเติบโต 30-40% และจากนี้ไปก็คาดว่าจะยังขยายตัวด้วยเลขสองหลักต่อเนื่องปีนี้ 2555 คาดว่าจะโตจากปีก่อน 20% และปีหน้า 2556 คาดว่าจะเติบโต 30% ส่วนยอดขายปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 1 หมื่นล้านบาทหรือ 3% ของยอดขายของซีพีเอฟโดยรวม" นายสกล กล่าวการลงทุนของซีพี เริ่มแรกด้วยทุนจดทะเบียน 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 38 ล้านเหรียญสหรัฐ พนักงานชาวกัมพูชาประมาณ 1,000 คน ขณะที่เจ้าหน้าที่ที่เป็นคนไทยประมาณ 70 คน และมีการทำคอนแท็กต์ฟาร์มมิ่งกับเกษตรกรในกัมพูชาประมาณ 600 ครอบครัว
นายสกลบอกว่า ซีพี กัมโบเดีย ได้ขยายไปยัง "อาหารคน" เมื่อ2 ปีที่ผ่านมา ทั้งโรงงานชำแหละไก่ การผลิตไส้กรอก ไก่จ๊อ กุนเชียงหมู ไก่ และล่าสุดนำไก่ทอด 5 ดาวเข้าไปทดลองตลาด โดยปัจจุบันในส่วนของอาหารคนยังผลิตได้ประมาณเดือนละ 1,000 ตัน
"ทุกที่มีโอกาสในการลงทุนหมด ขึ้นอยู่กับว่าเราจะกล้าเข้าไปลงทุนมั้ย และกล้าที่จะเข้าไปก่อนคนอื่นมั้ยถ้าเรากล้าที่จะลุยก่อน เราย่อมได้เปรียบ" นายสกล ให้ข้อคิดเอาไว้ในการตัดสินใจลงทุนในกัมพูชาและที่อื่นๆ
นางรณิดา พฤฒินพัฒ กรรมการผู้จัดการ บริษัท Phsar Big A จำกัด ผู้บุกเบิกและบริหารห้างพารากอน พนมเปญ กล่าวว่า ได้เปิดให้บริการห้างพารากอนมา 5 ปีแล้ว ซึ่งยอดขายดีมาตลอด แต่หลังจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ และวิกฤติหนี้ยุโรป ส่งผลกระทบต่อกำลังซื้อของประชาชนอย่างเห็นได้ชัด จากที่เคยมีกำไรเดือนละ 1 แสนเหรียญสหรัฐ ปัจจุบันลดเหลือเดือนละ 1-2 หมื่นเหรียญสหรัฐ
"คิดว่าเป็นจังหวะและโอกาสของเรามากกว่าที่เข้ามาก่อนคนอื่น และได้เข้ามาเปิดห้างสรรพสินค้า ซึ่งยังมีไม่มากในขณะนั้น แต่ปัจจุบันเริ่มมีคู่แข่งมากขึ้น เช่น ญี่ปุ่นมาเปิด ห้างอิออน เป็นต้น ซึ่งเราก็กำลังหาพันธมิตรอยู่เช่นกันเพื่อขยายธุรกิจออกไปอีก เพราะกำลังซื้อคนก็ยังมี และที่สำคัญ ทัศนคติของคนกัมพูชาต่อสินค้าไทย ถือว่าดีมาก โดยเฉพาะสินค้าอุปโภค-บริโภค" นางรณิดา กล่าว
ด้าน นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า รัฐบาลไทยมีนโยบายที่ชัดเจนในการส่งเสริมให้นักธุรกิจไทยเข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านเพื่อเพิ่มความสันพันธ์ด้านการค้าและการลงทุน ในส่วนของปัญหา อุปสรรคต่อการลงทุนนั้น กรมฯ จะรวบรวมและเสนอต่อนายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือต่อไป
ถ้าสังเกตจะเห็นว่า ธุรกิจไทยที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชา มีคนไทยถือหุ้นได้ 100% แสดงให้เห็นว่า กัมพูชาเปิดรับการลงทุนที่จะเข้าไปพัฒนาประเทศเขาให้เจริญก้าวหน้า แล้วไทยล่ะ? อ้ารับหรือปิดกั้นการลงทุนจากต่างชาติ.
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 8:55 am
โดย pak
’Zero-waste’ station
Source - The Nation (Eng), Sunday, November 25, 2012
At a fuel station in Saraburi, PTT is turning wastes into organic fertiliser and multi-purpose solutions.
The Cafe Amazon coffee shop is powered by solar power. High technology is being deployed to shed light on nearby communities on how they can help in turning Thailand into "a low-carbon society".
"The station would be a prototype in disseminating knowledge on zero waste to business operators and communities nearby," said Saran Rangkasiri, an executive of PTT. All types of wastes are recycled and reused under the "zero-waste" policy. Success at the prototype "zero-waste" station in Thailand will be replicated in other areas.
Bangkok sets ambitious plan
Think of Asia, think of Bangkok. That is the ambition the Thai capital city has set itself to achieve in the next 20 years under a 20-year master plan (2013-2022) unveiled last week by Bangkok Metropolitan Administration.
Designed to become "Vibrant of Asia", Bangkok would be a safe and green city within 5-10 years.
It is set to be a metropolis for people of all ages and genders, including the underprivileged. All must have access to roads, footpaths, public space, traffic lights, mass transit, buildings and public services.
The city would see a new shape, from a single metropolis to a big city surrounded by satellite cities. The inner area would be of smaller size and less congested, while satellite cities will grow in size. Each would have its own business centres, hospitals, schools, shopping centres, and its own management system. The cities would then be connected by modern transportation that would take less than one hour of destination-to-destination travelling time.
All that was unveiled last week by Bangkok Governor MR Sukhumbhand Paribatra. All eyes are on the upcoming governor election, to see if Sukhumbhand would be re-elected to execute this master plan.
Greener aviation industry
Passengers detest planes circling above airports, waiting to land. To people in the airline industry, this is more than a headache. Poor air traffic management is leading to higher fuel bills and also high carbon emission. According to the International Air Transport Association, airspace fragmentation in Europe leads to an estimated cost of more than 5 billion euro annually in cost and the cost to the environment is 16 million tonnes of CO2 emissions.
Urging better infrastructure to ensure better air-traffic management, IATA urged cross-border regional thinking for the development of Asia-Pacific’s infrastructure.
"Asia-Pacific is not immune to air traffic congestion issues, and these will grow acute if they are not well-managed with a regional perspective. The Seamless Asian Sky initiative is helping to define the way forward by harmonising procedures and interoperable technology between states, bearing in mind it needs to be cost efficient at the same time. We must not repeat the mistakes made in Europe where efforts to implement a Single European Sky are stalled because states are not delivering," said Tony Tyler, IATA’s director-general and CEO.
Asia risks being like Europe, he said, given the absence of civil aviation commissions that formally unite governments in delivering regional solutions.
Humanitarian exhibition
For the first time in the Asia Pacific, Thailand’s capital has been selected as the venue for the leading exhibition and conference for |humanitarian and disaster relief as well as development.
The Aid and International Development Forum (AIDF) will be first staged at Impact on January 30-31.
Oliver Lacey-Hall, head of the UN Office for the Coordination of Humanitarian Affairs (OCHA) regional office for Asia and the Pacific and |keynote speaker said, "Asia and the Pacific |are undergoing enormous change, including |in the fields of disaster management and emergency response. OCHA sees AIDF as a venue where national authorities and NGOs, regional organisations, the private sector, international agencies and others can come together and contribute to charting a dynamic and forward looking agenda to meet the region’s humanitarian and disaster management challenges in the Asian century."
The event, organised by Aid and Trade |Limited and RMA Group in partnership with Impact Exhibition Management Co, is a platform for NGOs, governments, intergovernmental organisations, aid agencies and the UN to meet and share best practices, debate key issues in aid and international development, exhibit new technologies and services, and create new partnerships.
4th phase of CSR Day
The Corporate Social Responsibility Institute (CSRI), under The Stock Exchange of Thailand (SET), and Thaipat Institute are stepping up their efforts to boost awareness of corporate social responsibility (CSR) among listed companies.
Kicked off in 2009, the project’s first phase focused on providing knowledge and understanding of CSR to employees, called "Employee Engagement", at the company’s location. The second phase focused on giving CSR knowledge to executives and the company’s board, called "Director Programme", and the third phase was to give ISO 26000 knowledge and conduct CSR report, or sustainability report, for both listed companies and non-listed companies. These entailed more than 300 training events, attracting more than 12,000 participants.
In the fourth phase from 2012-2013, intensive advice would be given to companies to conduct sustaintability reports. At least 100 companies are expected to join the CSR event, 20 companies to produce sustainability reports, and another 20 to conduct the first CSR sustainability report in compliance with GRI international standards.
"Providing accurate insights on CSR to employees from the top down to the operation levels are core actions in implementing CSR concepts accurately and comprehensively, leading to creating sustainable development," said SET President Charamporn Jotikasthira.
Pilot eco-town
Mishaps in Map Ta Phut have highlighted the need for peaceful co-existence of factories and the community.
In 2010, the Industrial Estate Authority of Thailand (IEAT) kicked off the programme to create three eco-towns in the North, Bang Poo and Rayong. In 2012, three more were launched in Samut Sakhon, Bang Chan, and Amata City. Recently, PTT joined the move, helping IEAT to develop another eco-town in Asia Industrial Estate in Rayong to promote sustainable development.
"It’s heartening to see rising awareness and commitment in the industrial sector for sustainable co-existence and improvement of nearby communities. This will reduce conflicts," said IEAT Governor Veerapong Chaiperm.
PTT President Pailin Chuchottaworn said that the pilot project targets to reduce carbon emissions. Industrialists in the area are encouraged to produce environmentally friendly products, improve the production line to reduce waste and use energy efficiently, in line with PTT’s Green Roadmap. "This will pave the way for a true eco-town, to create confidence and push forward the industrial sector, community and society towards a sustainable path," he said.
Disability-inclusive development
Last week, Asia-Pacific countries gathering in Korea launched a new 10-year regional strategy to realise a disability-inclusive society.
At the event convened by the United Nations Economic and Social Commission for Asia and the Pacific (ESCAP), they launched the Asian and Pacific Decade of Persons with Disabilities 2013-2022, which aims to accelerate realisation of the rights of the estimated 650 million persons with disabilities in the region, the majority of them poor, disadvantaged and discriminated against.
"The new decade will give greater impetus to the drive for integration of disability perspectives into national, subregional and regional development agendas across Asia and the Pacific, said Shun-ichi Murata, deputy executive secretary of ESCAP.
Under the "Incheon Strategy", the countries are committed to more actions. This includes improving access to the physical environment, education and livelihood opportunities, greater participation in decision-making, gender equality for women with disabilities, making disaster risk reduction disability-inclusive as well as accelerating adoption and implementation of the Convention on the Rights of Persons with Disabilities, which has been ratified by only 25 Asia-Pacific countries as of October 10, 2012.
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 8:57 am
โดย pak
ปตท.ยื่นผลศึกษาตั้งโรงกลั่น
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Monday, November 26, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.เสนอผลการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นโครงการตั้งโรงกลั่นขนาดวันละ 6.6 แสนบาร์เรลและปิโตรเคมี มูลค่ากว่า 8 แสนล้านบาทต่อประธานคณะกรรมการจังหวัดจังหวัด Binh Dinh ประเทศเวียดนาม เพื่อรองรับความต้องการใช้น้ำมันและปิโตรเคมีภายในประเทศเวียดนามและส่งออก ระบุยังอยู่ในขั้นตอนผลการศึกษาฯ ยังมีความไม่แน่นอนสูงว่ารัฐบาลเวียดนามจะสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)เปิดเผยว่าปตท.ได้เสนอผลการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น(Pre-feasibility Study)โครงการตั้งโรงกลั่นน้ำมัน ขนาดกำลังการกลั่น 6.6 แสนบาร์เรล/วันและโรงปิโตรเคมีครบวงจร รวมมูลค่า 2.87 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 8.6 แสนล้านบาทต่อประธานคณะกรรมการจังหวัดBinh Dinh (chairman of Binh Dinh province’s People’s Committee)ประเทศเวียดนามเพื่อพิจารณา หากทางคอมมิตี้ แชร์แมนจังหวัด Binh Dinh เห็นชอบก็จะเสนอต่อหน่วยงานกลางก่อนไปยังรัฐบาลเวียดนามเพื่อพิจารณาอนุมัติ ซึ่งต้องใช้เวลาในการพิจารณา
ผลการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นนี้จะตั้งโรงกลั่นน้ำมันขนาดวันละ 6.6 แสนบาร์เรล ซึ่งเป็นโรงกลั่นที่ออกแบบเน้นต่อยอดสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีแบบครบวงจรโดยจะมีโรงโอเลฟินส์ขนาดกำลังผลิต 6.5 ล้านตัน/ปี และโรงอะโรเมติกส์ขนาด 3.7 ล้านตัน/ปี นับเป็นโรงกลั่นน้ำมันที่ให้ Yield ปิโตรเคมีคิดเป็น 30% ของกำลังการกลั่นต่างจากโรงกลั่นน้ำมันของไทยที่เน้นกลั่นน้ำมันแล้วค่อยต่อยอดสู่ปิโตรเคมีภายหลังซึ่งปิโตรเคมีให้มาร์จินสูงกว่าการกลั่นและขนาดการลงทุนโครงการนี้นับว่าใกล้เคียงนิคมฯมาบตาพุด จังหวัดระยอง
ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจการกลั่นและปิโตรเคมีของไทย เนื่องจากเป็นโครงการที่ต้องใช้เวลาดำเนินการไม่น้อยกว่า 6-7ปีหลังผ่านความเห็นชอบจากรัฐบาลเวียดนาม ซึ่งช่วงเวลานั้นความต้องการใช้น้ำมันในภูมิภาคนี้โตขึ้นวันละ 6-7 แสนบาร์เรล อีกทั้งโครงการนี้ยังมีความไม่แน่นอนสูง เพราะไม่ทราบว่ารัฐบาลเวียดนามจะสนับสนุนมากน้อยแค่ไหน เพราะต้องใช้เงินลงทุนสูงมาก จำเป็นต้องหาพันธมิตรร่วมทุนและแหล่งเงินกู้
อย่างไรก็ตาม จากผลการศึกษาพบว่าประเทศเวียดนามมีศักภาพที่จะลงทุนโครงการโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจรได้เนื่องจากมีตลาดภายในประเทศเอง ค่าแรงไม่สูงเกินไป รวมทั้งจังหวัด Binh Dinh มีทำเลที่ดีติดกับทะเลน้ำลึก มีนิคมฯที่มีพื้นที่ที่นับหมื่นไร่ที่จะรองรับโครงการนี้ได้ ทำให้สามารถขนส่งน้ำมันดิบจากตะวันออกกลางและทั่วโลกได้อย่างสะดวก ขณะที่ประเทศไทยพบว่าการขยายการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ทำได้ยากในปัจจุบัน และมาบตาพุดก็ไม่สามารถรองรับการขยายการลงทุนได้มากกว่านี้ หากจะรอโครงการเซาเทิร์นซีบอร์ดก็ยังไม่เห็นเป็นรูปเป็นร่าง
"โครงการดังกล่าวนี้เป็นการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้น จำเป็นต้องผ่านขั้น
ตอนต่างๆมากมาย ทำให้โครงการยังมีความไม่แน่นอนสูง ขึ้นอยู่กับว่าภาครัฐ(เวียดนาม)จะสนับสนุนโครงการหรือไม่ หากแม้ว่าจะผ่านการเห็นชอบก็ต้องมีการศึกษาความเป็นไปได้ (feasibility Study) อีกครั้งและมีหลายขั้นตอนต้องทำ" แหล่งข่าวกล่าว
ปัจจุบันเวียดนามมีโรงกลั่นน้ำมันเพียงแห่งเดียว กำลังการกลั่น 1.1 แสนบาร์เรล/วัน และทางปิโตรเวียดนามร่วมกับพันธมิตรก็มีแผนจะสร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งที่ 2 กำลังการกลั่น 2 แสนบาร์เรล/วันในเร็วๆนี้ปัจจุบันหากโรงกลั่นน้ำมันมีขนาดกำลังการกลั่นไม่ใหญ่พอ โอกาสที่จะแข่งขันกับโรงกลั่นในต่างประเทศทั้งสิงคโปร์ เกาหลีก็ทำได้ลำบากหลังจากการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)ในปี 2558
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 8:58 am
โดย pak
ปตท. - สามมิตร กรีนพาวเวอร์ เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ DF-PCCI ทางเลือกในการใช้ก๊าซธรรมชาติ ร่วมกับดีเซล สำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก
Source - ข่าวสด (Th), Monday, November 26, 2012
ทุกวันนี้เรากำลังเผชิญกับ "วิกฤตพลังงานและสภาวะโลกร้อน" เพราะทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่อย่างจำกัด และ
PEPSI 13.25X10 เริ่มลดน้อยถอยลงอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ จึงเป็นเรื่องจำเป็นเร่งด่วนที่ต้องศึกษาSOD_16/11/55 วิจัยนำพลังงานมาใช้งานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด และที่สำคัญต้องเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
ในการนี้ นายวิจิตร แตงน้อย รักษาการผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ร่วมกับ นายสุรยุทธิ์ โพธิ์ศิริสุข กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จำกัด ได้แถลงข่าวเปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ในการใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับดีเซลแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซล ขนาดเล็ก (New Diesel-CNG Dual Fuel Technology for Light-Duty Diesel Vehicles) ซึ่งนับเป็นความภาคภูมิใจที่ได้ร่วมสร้างสรรค์เทคโนโลยีที่ดีมีคุณภาพเพื่อผู้บริโภค และเป็นก้าวสำคัญในการสร้างอนาคตด้านพลังงานที่มั่นคงและยั่งยืนให้กับประเทศต่อไป
นายวิจิตร แตงน้อย เปิดเผยว่า ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงทางเลือกที่มีศักยภาพในการใช้งานของภาค การขนส่งเพิ่มขึ้น ทั้งในรถยนต์นั่งส่วนบุคคล และรถบรรทุกขนาดใหญ่ ดังนั้น สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. จึงจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ในการใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับดีเซลแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก โดยมีเป้าหมายให้ได้ต้นแบบชุดอุปกรณ์ก๊าซแบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับเครื่องยนต์ดีเซลคอมมอนเรล
ที่สามารถควบคุมให้เครื่องยนต์ใช้ ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันดีเซลได้โดยเครื่องยนต์ยังมีประสิทธิภาพเทียบเท่าเครื่องยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล และมีปริมาณมลพิษในไอเสียดีกว่าเทคโนโลยีปัจจุบัน ด้วยการพัฒนาและการประยุกต์ใช้กระบวนการ เผาไหม้ที่เรียกว่า "Premixed Charge Compression Ignition" หรือ "PCCI" โดยนำมาใช้ร่วมกับ ระบบเชื้อเพลิงร่วม และยื่นจดสิทธิบัตรเทคโนโลยีใหม่นี้ว่า "DF-PCCI" (Dual Fuel-Premixed Charge Compression Ignition) ซึ่งเป็นกระบวนการเผาไหม้ที่อัดระเบิดส่วนผสมของก๊าซธรรมชาติ น้ำมันดีเซล และอากาศที่ควบคุมอย่างเหมาะสม ทำให้รถยนต์สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้เพิ่มมากขึ้น โดยเฉลี่ยร้อยละ 60 สำหรับการใช้งานในเมืองและนอกเมือง และยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงานให้สูงขึ้น ช่วยประหยัดเชื้อเพลิง ลดมลพิษไอเสีย ดีกว่าเทคโนโลยีเชื้อเพลิงร่วมปัจจุบัน และที่สำคัญเครื่องยนต์ยังคงมีกำลังและสมรรถนะการขับขี่เทียบเท่ารถยนต์ดีเซล
เทคโนโลยีใหม่แบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซล ขนาดเล็กที่คิดค้นขึ้นนี้ จึงนับเป็นอีกหนึ่งนวัตกรรมใหม่ที่ตอบโจทย์ด้านพลังงานในการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดสำหรับผู้บริโภค เนื่องจากปัจจุบันผู้บริโภคเลือกใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์เพิ่มมากขึ้น ทั้งในระบบ เชื้อเพลิงทวิ หรือสลับเชื้อเพลิง (Bi-fuel System) ในรถยนต์เบนซิน และระบบเชื้อเพลิงร่วม (Diesel Dual Fuel หรือ DDF System) ในรถยนต์ดีเซลขนาดเล็ก แต่การใช้ระบบเชื้อเพลิงทวิในรถยนต์เบนซินได้รับความนิยมมากกว่า เนื่องจากไม่ซับซ้อน มีราคาไม่สูง และประหยัดค่าเชื้อเพลิงได้มาก ส่วนระบบเชื้อเพลิงร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซล ขนาดเล็ก สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติได้ในสัดส่วนโดยเฉลี่ยไม่เกินร้อยละ 50 สำหรับการใช้งาน ในเมืองและนอกเมือง มีปริมาณมลพิษไอเสียสูงและราคาค่อนข้างสูง จึงมีรถยนต์ที่ใช้ก๊าซธรรมชาติระบบเชื้อเพลิงร่วม (Dual Fuel) จำนวนไม่มาก
ทางด้าน สามมิตร กรีนพาวเวอร์เอง ได้นำเทคโนโลยี DF-PCCI ไปทดลองใช้ในลักษณะ Feeling Test กับ รถกระบะก้านกล้วย CNG เพื่อทดสอบประสิทธิภาพในการใช้พลังงาน ระยะทางการวิ่ง กำลังเครื่องยนต์ อัตราเร่ง อายุการใช้งาน รวมถึงอัตราการปล่อยมลพิษ ซึ่งหลังจากการทดสอบบนท้องถนนแล้ว ผลปรากฏว่าเทคโนโลยี DF-PCCI มีประสิทธิภาพเป็นที่น่าพอใจ โดยมีอัตราการเร่งเทียบเท่ากับรถยนต์ดีเซล และประหยัดเชื้อเพลิงได้มากกว่า เมื่อเทียบกับการใช้น้ำมันดีเซลเพียงอย่างเดียว อีกทั้งเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม และมีมลพิษไอเสียในระดับต่ำ ซึ่งทำให้มั่นใจว่า DF-PCCI เป็นเทคโนโลยีการเผาไหม้แบบเชื้อเพลิง ร่วมสำหรับรถยนต์ดีเซลขนาดเล็กที่ดีที่สุดในปัจจุบัน สามารถตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในราคาที่เหมาะสมและมีความพร้อมในเชิงพาณิชย์ โดย สามมิตร กรีนพาวเวอร์ฯ เตรียมที่จะนำเทคโนโลยีดังกล่าวไปใช้กับรถกระบะก้านกล้วยอย่างเป็นทางการในเร็วๆ นี้ เพื่อเป็น ทางเลือกในการใช้ก๊าซธรรมชาติอย่างคุ้มค่าและเป็นประโยชน์สูงสุดแก่ผู้บริโภค
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 8:59 am
โดย pak
ไออาร์พีซี เปิดตัวหนังสืออุตสาหกรรมเทรนด์ใหม่ปลุกจิตสำนึกร่วมแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง
Source - สยามรัฐ (Th), Monday, November 26, 2012
ไออาร์พีซีเปิดตัวหนังสือ"อุตสาหกรรมเทรนด์ใหม่ ปฏิบัติการกู้โลก" และโครงการประกวดผู้ถือหุ้นไออาร์พีซี ร่วมระบายสีเขียวให้สังคมไทย" เพื่อปลุกจิตสำนึกรักษ์โลกด้วยความพยายามของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียของบริษัทฯ ให้มีบทบาทร่วมกันในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการทำงานและการดำเนินชีวิตให้เกิดประโยชน์ทั้งต่อตนเอง องค์กร ชุมชนสังคม และประเทศชาติ
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึง หนังสือ"อุตสาหกรรมเทรนด์ใหม่ ปฏิบัติการกู้โลก" ว่า เกิดจากความร่วมมือระหว่างไออาร์พีซี นักวิชาการจากสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ นักวิชาการจากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ TGO และสื่อมวลชนจากสำนักพิมพ์มติชน ร่วมกันจัดทำหนังสือที่มีเนื้อหาที่แสดงให้เห็นถึงความพยายามในการลดภาวะโลกร้อนขององค์กรชั้นนำทั่วโลก 10 องค์กร ที่เคยมีประสบการณ์กับปัญหาสิ่งแวดล้อมแต่ได้ใช้ความพยายามและการลงมือปฏิบัติ และประสบความสำเร็จอย่างเป็นรูปธรรมผ่านโครงการต่างๆ ได้แก่ โนเกียแอสเนส ออสตาร์โคลไมน์ ฟูจิซีร๊อกซ์ นิปปอน สตีลคิมเบอร์ลีย์-คล้าค โคคา-โคลา โค้กอินดัสตรี้ส์ ซาโซล และไออาร์พีซี ได้ดำเนินโครงการ โรงผลิตพลังไอน้ำ และไฟฟ้าร่วมที่ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้ถึง 3 แสนตัน/ปี การวิจัยและพัฒนาเม็ดพลาสติก Green ABS ที่ใช้ยางพาราเป็นวัตถุดิบแทนยางสังเคราะห์ TDAE (TREATED DISTILLATE AROMATIC EXTRACT) และ RAE (RESIDUE AROMATIC EXTRACT) กลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นพื้นฐานน้ำมันยางอะโรเมติกส์ต่ำ ที่ช่วยลดมลพิษให้สิ่งแวดล้อม และลดความเสี่ยงในการเกิดมะเร็ง เม็ดพลาสติกผสมสารยับยั้งแบคทีเรีย"POLIMAXX BANBAX"
นอกจากนี้ยังมีโครงการที่อยู่ในระหว่างการดำเนินงานซึ่งมีความสำคัญต่อบริษัทฯ ในการพัฒนาเป็นต้นแบบเขตประกอบการอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ หรือEco-Industrial Zone ซึ่งเป็นเขตประกอบการที่เคร่งครัดในเรื่องของการดูแลสิ่งแวดล้อมตลอดกระบวนการผลิตคำนึงถึงการลดผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมต่อไป โดยหนังสือจะวางจำหน่ายตามร้านหนังสือชั้นนำทั่วไปในวันศุกร์ที่ 23 พฤศจิกายนนี้
สำหรับโครงการประกวด "ผู้ถือหุ้น ไออาร์พีซีร่วมระบายสีเขียวให้สังคมไทย" เป็นโครงการที่เล็งเห็นถึงความสำคัญ ที่ต้องการให้ผู้ถือหุ้นมีส่วนร่วมกับ ไออาร์พีซีในการพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อมและช่วยกันทำให้สังคมไทยน่าอยู่ โดยในวันนี้ มีผู้ผ่านเข้ารอบทั้งหมด 5 โครงการ ได้แก่ 1. โครงการ Blog-C 2. โครงการไลเคนพืชมหัศจรรย์ที่บ่งบอกคุณภาพของอากาศ และสภาพแวดล้อมในชุมชน 3. โครงการกล้าเปลี่ยนโลก 4. โครงการคืนปูม้าสู่ทะเลเพื่อความอยู่ดีมีสุข และ 5. โครงการส่งเสริมและให้ความรู้ด้านการผลิตพลังงานทดแทนบริเวณชุมชนรอบ รร.สามโก้วิทยาคม ซึ่งจะทำการประกาศผลรางวัลในวันนี้ต่อไป
"ผมขอขอบคุณดร.ณอคุณสิทธิพงศ์ปลัดกระทรวงพลังงาน ดร.วิฑูรย์ สิมะโชคดีปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม คุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ประธานองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) ที่ได้ให้เกียรติเขียนคำนิยมให้หนังสือ"อุตสาหกรรมเทรนด์ใหม่ ปฏิบัติการกู้โลก" ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าทั้งสองโครงการนี้ จะเป็นส่วนหนึ่งที่สร้างประโยชน์และปลุกจิตสำนึกเรื่องรักษ์โลกให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้อ่านหนังสือ วงวิชาการ ผู้ถือหุ้นและพนักงานไออาร์พีซี และสังคมโดยรวมต่อไป" นายอธิคม กล่าว
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 9:03 am
โดย pak
ผุดปิโตรคอมเพล็กซ์เวียดนาม"8.8แสนล."ปตท.ชงสร้าง'โรงกลั่น-ปิโตร'ครบวงจร
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, November 27, 2012
IMG_4279.JPG
"ไพรินทร์"ตั้งเป้าขึ้นท็อปแบรนด์ธุรกิจพลังงานเอเชีย เตรียมรุกหนักรับเออีซี
ปตท. ชงแผนสร้างปิโตรคอมเพล็กซ์ ในเวียดนาม มูลค่า 8.8 แสนล้านบาท พร้อมเดินหน้าลงทุนหลังรัฐบาลอนุมัติ สร้างโรงกลั่นน้ำมันขนาด 6.6 แสนบาร์เรลต่อวัน ติดอันดับ 1 ใน 5 ภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก คาดว่าอีก 7 ปี เริ่มเดินหน้าโครงการ
บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT ยังเดินหน้าขยายการลงทุนอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ นอกจากพม่าซึ่งกลุ่มปตท.ได้เข้าไปลงทุนมาอย่างยาวนานแล้ว ล่าสุดได้รุกเข้าไปในเวียดนาม ด้วยการเสนอแผนลงทุนปิโตรเคมีแบบครบวงจร ต่อรัฐบาลเวียดนาม
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่ารัฐบาลท้องถิ่นของประเทศเวียดนามได้จ้างบริษัทย่อยของปตท. คือ บริษัท พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ จำกัด (PTTES) ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนโครงการโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจร มูลค่ารวม 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 6.6 แสนบาร์เรลต่อวัน
"กระบวนการในการศึกษาได้แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของรัฐบาลกลางเวียดนาม ว่า จะอนุมัติให้ดำเนินโครงการดังกล่าวหรือไม่ หากโครงการได้รับการอนุมัติ ปตท. ก็พร้อมจะเข้าลงทุน แต่โครงการนี้ต้องใช้เวลานานพอสมควรกว่าจะชัดเจน"
ทั้งนี้ พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ ได้รับการว่าจ้างไปศึกษารูปแบบ และความเป็นไปได้ของโครงการพลังงานในหลายประเทศในแถบอาเซียน ซึ่งถือเป็นการเตรียมความพร้อมของปตท.สำหรับการเปิดประชาคมเขตเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี ในปี 2558
"ปตท.ตั้งเป้าจะเป็นท็อปแบรนด์ในธุรกิจพลังงานของอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมาปตท.ได้เข้าไปทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันในหลายประเทศในอาเซียนแล้ว และจะค่อยๆรุกไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่ ปตท. มีอยู่ 7-8 ธุรกิจ โดยปัจจุบันในอาเซียน ปตท.มีการลงทุนในพม่าสูงสุด อันดับ 2 คือ เวียดนาม"
เผย ปตท. ส่งผลศึกษาให้เวียดนามแล้ว
วานนี้ (26 พ.ย.) สำนักข่าวรอยเตอร์ รายงานหนังสือพิมพ์ของทางการเวียดนามว่า ปตท. กำลังวางแผนสร้างโรงกลั่นน้ำมันมูลค่า 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือกว่า 880,000 ล้านบาท ในภาคกลางของเวียดนาม โดยมีกำลังการผลิต 660,000 บาร์เรลต่อวัน หนังสือพิมพ์ Tuoi Tre รายงานการเปิดเผยของคณะบริหารเขตเศรษฐกิจที่จะมีการตั้งโรงกลั่นดังกล่าว ว่า ปตท.ได้รายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของการสร้างโรงกลั่นนัง ฮอย ต่อรัฐบาลกลางของจังหวัด บินห์ ดินห์ แล้ว Tuoi Tre ยังรายงานว่า การก่อสร้างอาจเริ่มขึ้นในปี 2559 และคาดว่าจะเริ่มดำเนินการผลิตในปี 2562 ขณะรอการอนุมัติจากรัฐบาลเวียดนาม
การลงทุนของปตท.นับเป็นการลงทุนของต่างประเทศที่มีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ในเวียดนาม
โรงกลั่นขนาดใหญ่ที่สุดในเวียดนาม
เจ้าหน้าที่ระดับจังหวัดนอน ฮอย ได้ขอให้ปตท.แสดงสถานะทางการเงิน และทำการศึกษาความเป็นไปได้ให้แล้วเสร็จอย่างรวดเร็ว เพื่อส่งมอบให้แก่รัฐบาลของทางจังหวัด โดยคณะกรรมการบริหารเขตเศรษฐกิจเปิดเผยว่านอน ฮอย มีท่าเรือที่สามารถรองรับเรือขนาด 30,000 ตันบรรทุก และจะมีการขยายเพิ่มขึ้นอีกภายในปี 2563 โรงกลั่นของปตท.จะมีกำลังการผลิตมากกว่ากำลังการผลิตในปัจจุบัน ของโรงกลั่น ดุง ควท ถึงเกือบ 5 เท่า โดยโรงกลั่น ดุง ควท เป็นโรงกลั่นเพียงแห่งเดียวของเวียดนาม ขณะที่มีกำลังการผลิต 135,000 บาร์เรลต่อวัน และคาดว่าจะเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นอีกเกือบ 2 เท่า สู่ระดับ 240,000 บาร์เรล ต่อวัน เวียดนาม ได้วางแผนที่จะมีโรงกลั่นอีก 4 แห่งเป็นอย่างต่ำ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตขึ้นเป็น 25-30 ล้านตัน ภายในปี 2563 ตามที่รัฐบาลประกาศไว้ โครงการโรงกลั่นที่ใหญ่ที่สุดในเวียดนามในขณะนี้คือโรงกลั่นขนาด 200,000 บาร์เรลต่อวันใน หงิ เซิน ในจังหวัด แท็ง ฮว้า ทางภาคกลาง ซึ่งเป็นโรงกลั่นแห่งที่สองของประเทศ โดยมีมูลค่าการลงทุนทั้งสิ้น 7.5 พันล้านดอลลาร์ นักลงทุนของโรงกลั่นน้ำมัน หงิ เซิน ตั้งเป้าที่จะลงนามในข้อตกลงด้านวิศวกรรม, การจัดซื้อ และการก่อสร้างกับทางผู้รับเหมาสัญญาในเดือนหน้าและจะเริ่มการก่อสร้างไม่นานหลังจากลงนามในข้อตกลง โรงกลั่น หงิ เซิน เป็นการร่วมทุนระหว่างปิโตรเวียดนาม, คูเวต ปิโตรเลียม อินเตอร์เนชั่นแนล, อิเดมิตสุ โคซัง และมิตซุย เคมิกัลส์ ของญี่ปุ่น
เสนอสร้างคอมเพล็กซ์ครบวงจร
ด้าน นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ กลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย ปตท. กล่าวว่า ทางจังหวัดบินห์ ดินห์ มีความต้องการจะสร้างโรงกลั่นน้ำมัน จึงได้ให้ทางปตท.ศึกษาความเป็นไปได้ หรือ PRE-FEASIBILITY STUDY ซึ่งการศึกษาของปตท.เห็นว่าหากจะทำโรงกลั่น ควรทำเป็นคอมเพล็กซ์ หรือ การลงทุนโรงกลั่นและปิโตรเคมีที่ครบวงจร โดยหากทางจังหวัดเห็นว่าควรจะดำเนินการ ก็จะส่งให้รัฐบาลกลางพิจารณาต่อไป "ยังไม่สรุปว่าปตท.จะลงทุนหรือไม่ ต้อง
ดูเงื่อนไขในหลายๆ เรื่อง และไม่ทราบว่าทางเวียดนามให้ ปตท. ศึกษาเพียงรายเดียว หรือให้รายอื่นศึกษาด้วย อย่างไรก็ตาม การที่เวียดนามให้ ปตท.ศึกษา เพราะเห็นศักยภาพของ ปตท.ในธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี"
โครงการปิโตรฯพื้นที่กว่าหมื่นไร่
ขณะที่นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ รองกรรม การผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น ปตท. กล่าวว่า ปตท.ได้ศึกษาโครงการนี้เพียงเจ้าเดียว ซึ่งปกติหากโครงการผ่าน ผู้ที่ศึกษาจะได้เป็นผู้ลงทุน โดยนอกจากโครงการนี้แล้ว ปตท.ได้ศึกษาในลักษณะนี้หลายประเทศ แต่โครงการในเวียดนามเป็นโครงการที่มีขนาดใหญ่สุด"
โครงการปิโตรเคมีครบวงจรที่เสนอให้จังหวัด บินห์ ดินห์ พิจารณา วงเงินลงทุนประมาณ 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 8.6 แสนล้านบาท ประกอบด้วยโรงกลั่นน้ำมัน กำลังการผลิต 6.6 แสนบาร์เรลต่อวัน และโรงงานปิโตรเคมี กำลังผลิต 10.2 ล้านตันต่อปี แยกเป็นสายผลิตโอเลฟินส์ 6.5 ล้านตันต่อปี และ อะโรเมติกส์ 3.7 ล้านตันต่อปี
ทั้งนี้ จังหวัดบินห์ ดินห์ ตั้งอยู่ตอนกลางของประเทศเวียดนาม ในนิคมอุตสาหกรรมพื้นที่กว่า 1 หมื่นไร่ หรือ 2 พันเฮกตาร์ ซึ่งขั้นตอนขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการเบื้องต้น นำเสนอต่อจังหวัดบินห์ ดินห์และกำลังจะนำเสนอต่อรัฐบาลเวียดนาม
คาดใช้เวลา7ปีหลังเวียดนามอนุมัติ
นายสุกฤตย์ กล่าวว่า เดิมทีเอกชนเวียดนามอยากจะสร้างโรงกลั่นขนาด 1-2 แสนบาร์เรลต่อวัน และให้ ปตท.ศึกษาโครงการเบื้องต้นในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ โดย ปตท.เสนอว่าหากจะลงทุนควรทำเป็นคอมเพล็กซ์เชื่อมต่อกับปิโตรเคมี อย่างไรก็ตามเป็นแค่การศึกษาเบื้องต้นมากๆ หากรัฐบาลเวียดนามอนุมัติถึงจะศึกษารายละเอียดโครงการต่อ และเริ่มทำโครงการ คาดใช้เวลา 6-7 ปี
ราคาหุ้น บริษัท ปตท. หรือ PTT ปิดตลาดเมื่อวานนี้ (26 พ.ย.) ราคาไม่เปลี่ยนแปลง อยู่ที่ 312.00 บาท มูลค่าการซื้อขาย 1,013.35 ล้านบาท
ขึ้นแท่น1ใน5โรงกลั่นใหญ่ที่สุดในภูมิภาค
นายอเลกซ์ ยัป นักวิเคราะห์แห่งบริษัทแฟคส์โกลบอลเอนเนอจี ชี้ว่า หากโครงการนี้เดินหน้า ก็จะติดอันดับ 1 ใน 5 โรงกลั่นใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก และทำให้เวียดนามมีผลิตภัณฑ์น้ำมันกลั่นสำรองจำนวนมาก เพราะเวียดนามมีโครงการสร้างโรงกลั่นแล้ว 2 โครงการ
ดังนั้นหากมีอีกหนึ่งโครงการที่มีขนาดใหญ่เท่านี้ ก็จะถือว่ามโหฬาร เมื่อเทียบกับความต้องการใช้น้ำมันภายในประเทศของเวียดนาม ซึ่งมีเพียง 400,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือ 1 ใน 3 ของโรงกลั่นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
ในส่วนของประเทศอื่นนั้น บริษัทปิโตรนาสของมาเลเซีย มีแผนสร้างโรงกลั่นมูลค่า 20,000 ล้านดอลลาร์ ซึ่งมีกำลังการผลิต 300,000 ล้านบาร์เรลต่อวัน ที่รัฐยะโฮร์
หากโครงการเดินหน้า ก็จะติด 1 ใน 5 โรงกลั่นใหญ่ที่สุดในเอเชียแปซิฟิก
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 9:09 am
โดย pak
นายชาติศิริ โสภณพนิช ร่วมเสวนาในงาน PTT Group Dinner Talk
Source - พิมพ์ไทย (Th), Tuesday, November 27, 2012
Untitled-3(277).jpg
นายชาติศิริ โสภณพนิชกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพ จำกัด(มหาชน) พร้อมด้วยนายพิเชษฐ สิทธิอำนวย กรรมการผู้อำนวยการ บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับดร. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) และ คุณสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รวมถึงผู้บริหารระดับสูงในกลุ่มบริษัทปตท.ที่ให้เกียรติร่วมเสวนาในงาน PTT Group Dinner Talk ณ โรงแรมเชอราตัน แกรนด์ สุขุมวิท กรุงเทพฯ
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 9:24 am
โดย pak
AKRบุกพม่าขายหม้อแปลงปีหน้ากวาดรายได้โต10% [ ทันหุ้น, 27 พ.ย. 55 ]
AKR ปลดล็อก Cash Balance เด้งเกิน 5% พร้อมตั้งเป้ารายได้ปีหน้าโต 10% จากการตุนงานใน
มือแล้ว 600 ล้านบาท และเตรียมเข้าทำตลาดในพม่า ที่อยู่ระหว่างพัฒนาประเทศหวังขายหม้อแปลง ดันสัด
ส่วนรายได้ต่างประเทศแตะ 10% ส่วนการขายเอกรัฐโซลาร์ ดีลใกล้จบหลังพันธมิตรเร่งดูนโยบาย โบรก
ส่องเทคนิคเห็นต้าน 1.40 บาท
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 9:27 am
โดย pak
นสพ.ทันหุ้นเช้านี้ 27 พ.ย. 55 เต็มไปด้วยข่าวเกี่ยวกับพลังงาน ดังนี้...
'TTW'ทุ่มงบ8พันล้านบาทเน้นธุรกิจ'น้ำ-แสงแดด'
TTW เผยปี 2556 ตั้งเป้าเดินหน้าขยายกำลังการผลิตธุรกิจน้ำในธุรกิจหลัก พร้อมทุ่มงบลงทุน 8,000
ล้านบาท รุกศึกษาและลงทุนธุรกิจพลังงานและสิ่งแวดล้อม คาดไตรมาส 1/2556 ปิดดีลได้ หนุน EBITDA
ขยับไม่น้อยกว่า 2,800 ล้านบาท ฟากโบรกแนะ "ซื้อ" มองเชิงบวกธุรกิจพลังงานทางเลือก เป้า 8.25
บาท
EPCOเดินหน้าธุรกิจไฟฟ้าปูพรมโซลาร์ฟาร์มปั๊มรายได้
บอร์ด EPCO ไฟเขียวงบ 490 ล้านบาท ซื้อโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่ 2 กำลังการผลิต 5
เมกะวัตต์ จังหวัดลพบุรี หวังปูพรมปั้นรายได้จากโซลาร์ฟาร์มที่มีความแน่นอนช่วยเสริมธุรกิจสิ่งพิมพ์ผู้บริหาร
"ยุทธ ชินสุภัคกุล" มั่นใจเป็นการลงทุนที่คุ้มค่า และสร้างผลตอบแทนที่ดีและมั่นคง แก่ผู้ถือหุ้นในระยะยาว
TCC เนื้อหอมต่างชาติจีบแย้มปี56เด่น-ยอดขายพุ่ง
TCC คุงฟุ้งเนื้อหอม ผู้ประกอบการนำเข้าถ่านหินต่างประเทศ 2-3 รายยื่นข้อเสนอเป็นตัวแทนขาย
ถ่านหิน เชื่อได้ข้อสรุปเร็วๆ นี้ พร้อมส่งซิกผลการดำเนินงานปี 2556 สดใสหลังแนวโน้มอุตสาหกรรมถ่าน
หินไปไกล และจะเป็นพลังงานทางเลือกใหม่หนุนการเติบโต
'TRT' ลุยตลาดมาร์จิ้นสูงเล็งมาเลย์-อินโดดันกำไร
TRT พร้อมลุยหาตลาดมาร์จิ้นสูงเตรียมบุกตลาดพม่า, มาเลเซีย, อินโดนีเซีย อีกทั้งตลาดหม้อ
แปลงสำหรับโซลาร์เซลล์ คาดปี 2556 มีโอกาสเห็นตัวเลขสดใสทะลุ 20% ล่าสุดตุน Backlog แล้วกว่า
925 ล้านบาท ผู้บริหาร "สัมพันธ์ วงษ์ปาน" คาดปิดยอดสิ้นปีทำรายได้โตกว่า 20% ทั้งยอดขายหม้อแปลง,
รถกระเช้าไฟฟ้า, และ LDS ที่บริษัทเข้าไปซื้อกิจการ
EARTH ผนึกพันธมิตรร่วมทุนทุ่มพันล้าน-รุกถ่านหินในพม่า
EARTH ทุ่มงบ 1,000 ล้านบาท ร่วมทุน "อีสท์สตาร์" เปิดเหมืองถ่านหินในพม่า เล็งป้อนลูกค้าไตร
มาส 2/2556 คาดว่าทยอยรับรู้รายได้ครึ่งปีหลังด้านผู้บริหาร "ขจรพงศ์ คำดี" เผยเตรียมศึกษาเส้น
ทางออกสู่ทะเลด้านตะวันตกของพม่าหวังเจาะลูกค้าอินเดียต่อภายใน 2 ปีข้างหน้า เชื่อผลักดันให้ธุรกิจและ
ผลประกอบการในอนาคตเติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง --จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 27, 2012 11:24 am
โดย pak
เพ้งสั่งกฟผ.ซื้อไฟพม่า-ลาวเพิ่ม เอ็กโกพร้อมประมูลIPP เบนซินขึ้นอีก50สตางค์
Source - ไทยโพสต์ (Th), Thursday, November 22, 2012
* "เพ้ง" สั่ง กฟผ.เจรจาซื้อไฟฟ้าพม่า ลาว เพิ่ม 20,000 เมกะวัตต์ ในปี 2556 เหตุยอดใช้ไฟพุ่งทุกปี แถม 10 ปีก๊าซฯ หมดอ่าวไทย ด้าน กฟผ.แจงต้องรื้อแผนพัฒนาไฟฟ้าใหม่ปรับรับซื้อจากต่างประเทศ 15% เป็น 20% ดันสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน เอ็กโกโชว์กำไร 9 เดือนทะลุเป้า 5.3 พันล้าน ด้าน ปตท.-บางจากนำร่องขึ้นน้ำมันอีก 50 สต./ลิตร
นายพงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพ ศาล รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า อีก 2 ปีข้างหน้าประเทศไทยมีความเสี่ยงต่อการเกิดไฟฟ้าดับได้ เนื่องจากมีปริมาณสำรองไฟฟ้าเพียง 16% ของกำลังการผลิต ทั้งหมด 32,200 เมกะวัตต์ ในขณะ ที่มีความต้องการใช้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเฉลี่ย8.95% ต่อปี โดยเฉพาะในปีนี้สูงถึง 26,700 เมกะวัตต์ นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงใน ด้านเชื้อเพลิง เพราะปัจจุบันไทยใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงผลิต ไฟฟ้าถึง 70% ของการใช้เชื้อเพลิงทั้งหมด และคาดว่าอีก 10 ปีก๊าซธรรมชาติจะหมดจากอ่าวไทย ดังนั้นจึงมอบหมายให้การผลิตไฟฟ้าของประเทศ และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ไปดำเนินการเจรจาซื้อไฟ ฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มอีก20,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2556
"กำหนดเป้าหมายให้เพิ่มการซื้อไฟฟ้าพลังน้ำจาก สปป.ลาว เป็น 10,000 เมกะวัตต์ จากปัจจุ บันซื้ออยู่ 7,000 เมกะวัตต์ รวม ทั้งให้ซื้อไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหินจากพม่า 10,000 เมกะวัตต์ ซึ่งปัจจุบันไทยยังไม่มีการซื้อไฟฟ้าดังกล่าว โดยเชื่อว่าจะช่วยรองรับความต้องการใช้ไฟฟ้าของไทยในอีก 10 ปีข้างหน้า" นายพงษ์ศักดิ์กล่าว
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าฯ กฟผ. กล่าวว่า การดำเนิน การตามนโยบายของนายพงษ์ศักดิ์ โดยการซื้อไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นนั้นจะต้องปรับแผนพัฒนาไฟฟ้าของประเทศใหม่ โดยเพิ่มสัดส่วนการรับซื้อไฟ ฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านเพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ 15% เป็น 20% ของกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด พร้อมทั้งแก้ไขบันทึกความร่วมมือ (เอ็มโอยู) การซื้อขายไฟฟ้าระหว่างไทยกับพม่าด้วย เพราะที่ผ่านมาไทยทำเอ็มโอยูกำหนดซื้อไฟฟ้าจากพม่าไว้เพียง 1,500 เมกะวัตต์เท่านั้น
"ในระยะยาวไทยอาจประ สบปัญหาค่าไฟฟ้าแพง เนื่องจากก๊าซฯ จะหมดจากอ่าวไทยและต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) เข้ามาใช้แทน แต่ต้นทุนการผลิตไฟฟ้าสูงกว่าก๊าซฯ จากอ่าวไทย โดยต้นทุนแอลเอ็นจีอยู่ที่ 4-5 บาทต่อหน่วย ส่วนต้นทุนก๊าซฯ ในอ่าวไทยอยู่ที่ 3 บาทต่อหน่วย ดังนั้นเห็นว่าการสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคตควรเป็นโรงไฟฟ้าที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิง เพราะต้นทุนถูกกว่าอยู่แค่ 2 บาท ต่อหน่วย ซึ่งจะทำให้ค่าไฟฟ้าโดย รวมไม่ปรับสูงมาก" นายสุทัศน์กล่าว
นายสหัส ประทักษ์นุกูล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ผลิตไฟฟ้า (เอ็กโก) กล่าวว่า ในไตรมาส 3 ของปีนี้มี มีกำไร 1,889 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 265 ล้านบาท จากช่วงเวลาเดียวกันของปี 2554 หรือคิดเป็น 16.32% ทั้งนี้ ส่งผลให้ 9 เดือน (ม.ค.-ก.ย.2555) เอ็กโกมีกำไรรวม 5,362 ล้านบาท ด้านการพัฒนาธุรกิจทางบริษัทจะคงเน้นการลงทุนในโครงการพลังงานทดแทนเพิ่มขึ้นนอกจากพลังงานแสงอาทิตย์ เช่น พลังงานลม และยังมีความพร้อมเข้าร่วมประมูลโรงไฟฟ้าสำหรับภาคเอกชนรายใหญ่ (ไอพีพี) รอบใหม่ ปี 2564-2569
รายงานข่าวจากผู้ค้าน้ำมัน แจ้งว่า ค่ายน้ำมัน ปตท.และบาง จากนำร่องปรับขึ้นราคาน้ำมันกลุ่มเบนซินและแก๊สโซฮอล์ขึ้นอีก 50 สตางค์ต่อลิตร ยกเว้นแก๊สโซฮอล์อี 85 ปรับขึ้น 30 สตางค์ต่อลิตร ส่วนน้ำมันดีเซลคงราคาเดิม โดยมีผลตั้งแต่เวลา 05.00 น. ของวันที่ 22 พ.ย.2555 ส่งผลให้ราคาหน้าปั๊มปรับเปลี่ยนเป็นดังนี้ น้ำมันเบนซิน 91 อยู่ที่ 43.75 บาทต่อลิตร จากราคาเดิม 43.25 บาทต่อลิตร, น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 85 อยู่ที่ 21.68 บาทต่อลิตร จากราคาเดิม 21.38 บาทต่อลิตร, น้ำมันแก๊สโซฮอล์อี 20 อยู่ที่ 32.38 บาทต่อลิตร จากราคาเดิม 31.88 บาทต่อลิตร, น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 อยู่ที่ 37.83 บาทต่อลิตร จากราคาเดิม 37.33 บาทต่อลิตร, น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 อยู่ที่ 35.38 บาทต่อลิตร จากราคาเดิม 34.88 บาทต่อลิตร ส่วนราคาน้ำมันดีเซลคงราคาเดิมที่ 29.79 บาทต่อลิตร.
--จบ--