หน้า 3 จากทั้งหมด 8
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2013 4:03 pm
โดย pol256
กระทู้ทรงคุณค่าแห่งปี ความรู้เยอะมากๆ
ดูเหมือนแบงก์ชาติจะไม่มีทางเลือกนะครับ ไม่ว่าจะลดความร้อนแรงของเศรษฐกิจ vs การไหลเข้าของเงินทุนต่างชาติจากการ QE รอบโลก เพราะการควบคุมดอกเบี้ยไม่ว่าจะขาไหนก็จะเป็น Trade off กัน มาตรการที่แบงก์ชาติมีสุดท้ายเช่น การออกมาตรการควบคุมIn-flow ก็ดูจะกระทบจิตใจนักลงทุนอย่างมากจะกลายเป็นยุค 100 จุดอีกครั้ง
อยากถามว่าใครภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออกแบบนี้ จริงๆแล้วเราควรปล่อยให้เป็นไปกลไกตลาดต่อไปหรือไม่ เพราะเมื่ออะไรที่เหวี่ยงออกจากจุดสมดุลมากๆแบบตอนนี้สุดท้ายก็จะเหวี่ยงกลับมา หรือการไปสนับสนุนให้ภาคเอกชนทำ Hedging FX เองจะเป็นไปได้หรือไม่ครับ ขอบคุณครับ
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2013 4:04 pm
โดย pol256
ลืม ว่าจะเอาลิ้งค์ข่าวมาแปะ เห็นว่าเข้ากับกระทู้เลยเอามาแชร์กันครับ
http://www.bloomberg.com/news/2013-02-0 ... -says.html
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2013 10:03 pm
โดย miracle
แบบจำลอง IS-LM-BP
ตัวเส้น LM ที่ใช้เป็นตัวแทน money supply และ money demand
ตัวแทนของ money คือ ใช้ M/P คือปริมาณเงินหารด้วยราคา
โดยเบื้องหลังการคิดมีแค่ พันธบัตรรัฐบาลที่ไม่คืนเงินต้น มีอายุเป็นนิรันดร
จ่ายดอกเบี้ย และ มี ปริมาณเงินที่ซื้อขาย
เมื่อดอกเบี้ยลดลง ราคาของพันธบัตรก็จะเพิ่มขึ้น
ใครออกพันธบัตร คือรัฐเป็นผู้ออก แล้วใครซื้อ
คนซื้อคือธนาคารกลาง
ดังนั้น รัฐบาลได้เงินที่ธนาคารปั๊มออกมา แต่ธนาคารกลางได้แค่กระดาษใบเดียว
เมื่อเงินมากขึ้น ดอกเบี้ยก็ลดลง
ถ้าดอกเบี้ยเพิ่มแสดงว่ารัฐบาลไถ่ถอนพันบัตรคืน
เมื่อเป็นเช่นนี้แล้วดอกเบี้ยลดลง ผลผลิตรวมเพิ่มขึ้นได้
แต่BP มาเกี่ยวคือ เป็นดุลยภาพนอก จากการ(X-M)
ซึ่งต้องดูว่าเป็นเส้นนอนหรือเส้นเฉียงอย่างไร
อ่านคงไม่งงละ
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2013 10:44 pm
โดย BLSH
ได้อ่านความรู้จากเพื่อนๆทุกท่าน ช่วยเปิดมุมมองได้มากมายครับ ต้องขอขอบคุณสำหรับการแชร์ไอเดียดีๆ
มาถึงตรงนี้ ผมขออนุญาตตกผลึกในขั้นต้น ใครเห็นด้วยหรือเห็นต่างอย่างไร ร่วมด้วยช่วยแชร์กันนะครับ
ประเด็นที่เราเห็นด้วยคือ Hot money เป็นสิ่งไม่ดี การควบคุม Hot money ที่เข้าเร็วออกเร็วอาจจะจำเป็นและน่าจะเกาถูกจุด ตัวอย่างที่น่าสนใจคือการสร้าง friction อย่างเช่น capital gain tax สำหรับการถือครองระยะสั้นเพื่อลดความร้อนแรงจากการเก็งกำไร
แต่มาตรการนี้คงเป็นไปได้ยากในทางปฏิบัติ ใครจะหาญกล้าที่จะรับเผือกร้อนชิ้นนี้? stakeholder ที่จะเสียผลประโยชน์มีมากมายไล่ตั้งแต่ broker ที่จะสูญเสีย trading volume นลท.ที่คงไม่ชอบใจและอาจพาลเทขายหุ้น แน่นอน VI และ long term investor คงไม่สนใจเพราะสุดท้ายราคาหุ้นก็จะขึ้นไปสะท้อนพื้นฐานในอนาคต แต่ต้องอย่าลืมว่านลท.ส่วนใหญ่มี holding period ค่อนข้างสั้นดังนั้นน่าจะส่งผลกระทบไม่มากก็น้อยต่อตลาดทุน
อย่างที่เพื่อนลท. post ไว้ก่อนหน้านี้ รมว.คลังเองก็เด้งเชือกไปเรียบร้อยแล้วโดยโยนประเด็นให้ดอกเบี้ยนโยบายเป็นแพะไป
ถัดมาอย่างที่วิจารณ์กันกว้างขวาง การลดดอกเบี้ยนโยบายน่าจะเป็นการเกาผิดจุด เพราะอะไร ผมขออาจหาญแชร์ไอเดียครับ
ประเด็นแรก การลดดอกเบี้ยนโยบายจะส่งผลต่อเงินเฟ้อซึ่งไม่ดีต่อ real sector และกัดกร่อนระบบเศรษฐกิจในระยะยาว
ประเด็นถัดมา ลองนึกถึง game theory ครับ ถ้าเราลดดอกเบี้ยนโยบายเพราะหวังให้บาทอ่อน dynamic ที่ตามมาจะมีอะไรบ้าง
ไทยลดดอกเบี้ย -> บาทอ่อนกว่าประเทศคู่แข่ง -> Trigger สงครามค่าเงิน -> ประเทศคู่แข่งลดดอกเบี้ยนโยบายตาม -> ไทยไม่ได้เปรียบเรื่องค่าเงิน -> แต่เงินเฟ้อถีบตัวสูงขึ้น -> Advanced economies เช่น US ต้องอัด QE เพิ่มเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจต่อ และนี่คือการเริ่มต้นของ Vicious cycle นั่นเอง ผลลัพธ์ที่เราจะได้ at the end of the day คือเงินเฟ้อแทนที่จะได้บาทอ่อนตามต้องการ
ดังนั้น key ของเรื่องค่าเงินบาทที่ผมว่าควรจะเป็นและธปท.เองก็ออกมาส่งสัญญาณเสมอคือ "ควรจะแข็งค่าขึ้นในทิศทางเดียวกับประเทศคู่แข่ง" เพราะนั่นน่าจะเป็นจุด equilibrium ที่สมเหตุสมผลที่สุด การที่บางคนแค่ดูแต่ส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยนโยบายของไทยกับ US หรือ Japan แบบ absolute number น่าจะเป็นการมองที่ไม่ครบองค์ประกอบเพราะขาด dynamic ในเชิงการแข่งขันไป
ดังนั้นโดยสรุป เราทำอะไรไม่ได้ซักอย่าง capital gain tax ก็ ideal ไปต้องฝ่าดงบาทามากเกิน คงไม่มีใครกล้าเริ่มแน่นอน
การลดดอกเบี้ยนโยบายก็ดูเหมือน"ไม่ใช่ยาวิเศษ" บางทีอาจจะเป็นยาพิษในระยะกลาง-ยาวเสียด้วยซ้ำ ธปท. น่าจะเข้าใจภาพนี้อย่างดีและคงพิจารณาเรื่องดอกเบี้ยนโยบายจากการขยายตัวของเศรษฐกิจโดยรวมมากกว่าจะมองเรื่อง FX เป็นหลัก
จะเห็นได้ว่าก่อนที่ US จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบายได้ครั้งแรก เงินบาทรวมถึงประเทศอื่นที่มีเศรษฐกิจที่แข็งแรงคงต้องเผชิญกับการแข็งค่าอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ครับ
คหสต ผิดพลาดประการใดขออภัยล่วงหน้า
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2013 11:07 pm
โดย nut776
สำหรับผม เรื่อง macro มันยากและซับซ้อน
เกินที่ผมจะวิจารณ์ มันมักมีมากกว่า 1เหตุ1ผล
ผมค่อนข้างเห็นด้วย กับ พี่ blsh
และคิดว่า ไม่ควรลดดอกเบี้ยคับ
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 05, 2013 11:58 pm
โดย miracle
เงินร้อนมันไม่ได้ไหลเข้าตลาดทุนซิคือปัญหา
มันไล่เข้าไปที่ตลาดตราสารหนี้ต่างหาก
หากใครที่ดูพฤติกรรมตลาดตราสารหนี้แบบรายวันและนั่ง Plot graph ดู มันจะเห็นการแปลงเปลี่ยน
ว่ามีการขึ้นลงของตลาดตราสารหนี้ที่ 0.03% ก็มีผลกับราคาพันธบัตรมากมายๆ
ความลับมันอยู่ที่ PV ของพันธบัตรระยะยาว ซ้อนด้วย Dulation ของพันธบัตรนั้นๆ
ถ้าใครหา Forward ต่อเนื่องจากอัตราดอกเบี้ยที่ได้จาก
www.thaibma.or.th มันทะลุทลวงไปในอนาคตว่า
ดอกเบี้ยเป็นเท่าไร ในแต่ละช่วง คิดออกมาแล้ว Plot Graph มันจะเห็นอะไรแปลกๆ ต่อไปอีก
ยังขาดมุมมองของการทำ SWAP ของดอกเบี้ยที่แตกต่างกันทั้งสองที่
โดยผ่านขบวนการทำ SWAP ค่าเงิน
เช่นเราถือ Dollar แต่เราเห็นว่า บาทมีผลตอบแทนจากดอกเบี้ยดีกว่า
เราก็ทำการ SWAPสิ่งที่เรามีอยู่ เพื่อให้ได้ ดอกเบี้ยที่สูงกว่า
และยังขาดเรื่อง Arbitrage ของดอกเบี้ยข้ามตลาด ซึ่งเครื่องมือของเรามีคือ
Future ของดอกเบี้ย ในตลาด TFEX สามารถทำได้
และเรามีัพันธบัตรรัฐบาลอยู่แล้วด้วย
ดังนั้น ถ้าใครอยากทำ Thesis ก็เราเรื่อง ดอกเบี้ยในตลาด TFEX กับตัวดอกเบี้ยพันธบัตรหาความสัมพันธ์กันก็ได้
ซึ่งไม่ค่อยมีใครทำในเรื่องนี้มากนัก เพราะ ผู้เล่นในตลาดนี้ ส่วนใหญ่คือ กบข บริษัทประกันชีวิต-ประกันวินาศภัย ธนาคาร แค่นี้ละ
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 1:54 am
โดย CARPENTER
สิ่งที่ผมถามมีคนตอบแค่สองคน และตอบคนละส่วน
และบางคนเริ่มคิดอะไรที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
ผมอยากจะบอกว่า ดอกเบี้ยนโยบายไม่เกี่ยวกับ
ดอกเบี้ยที่คนไทยทั่วไปได้รับคือ ดอกเบี้ยออมทรัพย์ หรือดอกเบี้ยฝากประจำ
และไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่คนไทยต้องจ่ายคือดอกเบี้ยเงินกู้หรือดอกเบี้ยเช็ค
แม้ดอกเบี้ยทั้งสองประเภทนี้จะขึ้นลงตามดอกเบี้ยนโยบาย
แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารพาณิชย์มากกว่าว่า
จะเก็บดอกเบี้ยกับคนกู้เท่าไหร่ หรือจะให้ดอกเบี้ยกับคนฝากเงินเท่าไหร่
ดังนั้นรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากจะได้มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับธนาคาพาณิชย์
ส่วนรายจ่ายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาริชย์ในประเทศนี้เอาเปรียบมากโดยการทำให้ดอกเบี้ยสองกลุ่มนี้ต่างกันมาก
ดอกเบี้ยนโยบายคือดอกเบี้ยที่ BOTต้องจ่ายหรือต้องเก็บกับคนที่เอาเงินมาฝากหรือกู้
ซึ่งนิติบุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะฝากหรือกู้กับBOTได้
ตอนนี้เงินล้นโลกเงินที่มาฝากกับ BOT จึงมากกว่าที่เงินกู้อย่างมหาศาล
ดอกเบี้ยนโยบายคือค่าใช้จ่ายที่ BOT ต้องจ่ายอย่างมหาศาลทุกวัน
การลดดอกเบี้ยนโยบายลงอาจจะไม่ทำให้ค่าเงินเงินบาทลดลงก็ได้ถ้าเงินยังไหลเข้า
ผมสงสัยทำไม BOT ชอบที่เอาเงินของคนทั้งประเทศไปจ่ายในอัตราสูงๆ
และที่ผมงงมากไปกว่านั้นคือคนไทยที่คิดว่าฉลาดยังสนับสนุนนโยบายนี้อีก
BOTอาจจะบอกว่าตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อแล้ว
อัตาดอกเบี้ยใน USA Japanก็ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ
ถ้า BOTยังพยายามให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเงินมหาศาลจะไหลเข้าไทย
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 2:17 am
โดย anubist
ตอนแรกว่าจะนั่งดูเฉยๆแล้ว แต่หยุดไปก็ไม่เกิดประโยชน์ต่อตัวเอง
ที่คุณBLSHบอกมาถูกต้องบางส่วน แต่เพราะไทยไม่ได้มีบทบาทที่สำคัญในเวทีการค้าโลก
วงจรคงหยุดตั้งแต่Triggerสงครามค่าเงินแล้วครับ
และในความจริงแล้วคนที่กดtriggerคือมะกันครับ กดมาตั้งแต่QE1แล้ว
ตอนนี้มะกันต้องการเงินร้อนไปปั่นเงินเฟ้อในบ้านเค้าครับ
เพื่อให้ค่าเงินอ่อนค่าจากการคงดอกเบี้ยต่ำแต่เงินเฟ้อสูง
ตามทฤษฎีRelative Purchasing Power Parity และทฤษฎีFisher Effectครับ
นั่นจะส่งผลให้คนมะกันออกมาจับจ่ายใช้สอยมากขึ้นเพื่อป้องกันการด้อยค่าของเิงิน
ทำให้เกิดการจ้างงานเพราะค่าแรงคนมะกันจะถูกลงจากค่าเงินที่อ่อนลงเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
ทำให้เกิดเกิดการย้ายฐานโรงงานมาผลิตที่มะกันมากขึ้น และจะทำให้เศรษฐกิจของมะกันฟื้นตัว
มันคงจะเป็นอย่างที่เฟดฝันไว้ ถ้ามะกันมีเศรษบกิจแบบปิด
แต่เพราะไอ"
เสรีทางการเงิน"บ้าๆนี่
ทำให้เงินร้อนที่เฟดสร้างขึ้นลอยข้ามทะเลมาปั่นเงินเฟ้อที่บ้านเรา
และเฟดคงขอบคุณเรามากๆที่ออกcap control"ถีบ"เงินร้อน
ที่เฟดต้องการกลับไปบ้านเค้าสักที
นั่นเป็นสาเหตุหลักที่เฟดยิงแบงค์กงเต็กรูปลินคอน8.5หมื่นล้าน$ออกมาทุกเดือน
เพื่อกระตุ้นให้เราเลือกสักทางว่าจะ"กินยาม้า"เม็ดนี้แล้ววิ่งจนขาขวิดหกล้มซะ
หรือจะ"ปิดทวารทั้ง5"แล้วไล่มันไปที่อื่น
ประเด็นด้านนอกจบไป แต่ประเด็นด้านในนี่แหละ
ที่ทำผมหัวเสียมากที่สุด ก็คือความแตกแยกของคลังและธปท.
รัฐบาลโดยกระทรวงการคลังควรร่วมมือกับธปท.
ในการกำหนดนโยบายการเงินและนโยบายการคลัง
ไม่ใช่ต่างคนต่างออกนโยบายโดยไม่สนใจถึงเศรษฐกิจของประเทศ
ผมขอย้ำย่อหน้านี้อีกครั้ง
anubist เขียน:เราคงไม่สามารถดูแลเศรษฐกิจได้โดยออกมาตราการใดมาตราการหนึ่ง
เนื่องจากเศรษฐกิจเป็นพลวัตรที่เกี่ยวเนื่องกัน เหมือนรถยนต์คันหนึ่ง
เมื่อมีการส่งกำลังของเครื่อยนต์ไปยังส่วนอื่น ส่วนที่ตามมาอาจมีปัญหา
เราจึงต้องแก้กันไปเฉพาะจุด แต่ไม่ใช่ไปบอกให้ส่วนอื่นชะลอ
หรือบางส่วนเร่งจนover heat มันต้องมีการจูนทุกๆจุด
เพื่อให้เครื่องยนต์เดินได้เต็มประสิทธิภาพ
ไม่อย่างนั้นLTVที่ก่อนหน้านี้ไม่เคยใช้ ทำไมถึงได้เกิดขึ้น
ไม่มีมาตราการทางการเงินการคลังใดที่เป็นยาวิเศษจะใช้ขนานเดียวแล้วได้ผล
โดยที่ไม่มีผลข้างเคียง
หน้าที่ของคลังและธปท.คือเลือกมาตราการที่ได้ผลออกมาบังคัญใช้ โดยมีผลกระทบน้อยที่สุด
ไม่ใช่คนหนึ่งลอยตัวเหนือปัญหา อีกคนก็หัวแข็งดื้อดึงโดยไม่สนใจประเทศชาติ
ไฟเริ่มไหม้บ้านตรงหน้า ต้องรอให้เหลือแต่หลังคาก่อนจะค่อยเรียกดับเพลิงใช่มั้ย???
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 2:18 am
โดย ayethebing
ตอนนี้คุณ carpenter โต้แย้งอยู่ 2 ประเด็น คือ บาปของ BOT กับการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ในส่วนแรก ผมไม่พูดถึงละกัน มันไม่มันส์เท่าประเด็นที่สอง
ก่อนอื่น ผมไปถามอากู๋เรื่องอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ได้ความว่ามันคือ อัตราดอกเบี้ยระยะสั้นของรายการที่ bot จะทำกับสถาบันการเงินต่างๆ ที่เรียกว่า อัตราดอกเบี้ยธุรกรรมซื้อคืนพันบัตรระยะเวลา 1 วัน (1-Day Repurchase Rate หรือ 1-Day Repo Rate) ในกรณีที่สถาบันการเงินมีสภาพคล่องเหลือก็จะนำเงินไปให้แบงค์ชาติกู้ยืมเป็นระยะเวลา 1 วัน ซึ่งแบงค์ชาติจะโอนพันธบัตรภาครัฐให้กับสถาบันการเงินเพื่อเป็นหลักประกัน โดยแบงค์ชาติสัญญาว่าจะ “รับซื้อคืนพันธบัตร” ที่ใช้เป็นหลักประกัน กลับมาจากสถาบันการเงินพร้อมทั้งจ่ายดอกเบี้ยสำหรับระยะเวลา 1 วันให้ โดยดอกเบี้ยนั้นก็คืออัตราดอกเบี้ยนโยบายของประเทศไทยนั่นเอง
ดังนั้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายคือ อัตราดอกเบี้ยที่แบงก์ชาติ ใช้เพิ่มหรือลดสภาพคล่องในระบบและใช้เป็น สัญญาณบอกตลาดเงินว่า ดอกเบี้ยจะไปในทิศทางไหน ส่วนแต่ละแบงก์จะเพิ่มจะลดดอกเบี้ยกู้ ฝาก แบงก์ชาติไม่ได้ไปยุ่งเกี่ยว
กลับมาที่ประเด็นสองประเด็นคือ เงินเฟ้อ และเงินไหลเข้าออก
ข้อแรก เงินเฟ้อ เนื่องด้วยอัตราเงินเฟ้อ ปัจจุบัน คงยากที่จะหาธนาคารกลางที่ไหนยอมลดดอกเบี้ยนโยบายและส่งสัญญาณไปยังทิศทางของดอกเบี้ยโดยรวมว่า ทุกท่าน เลิกเก็บเงินและใช้จ่ายกันได้แล้ว ทุกบริษัท กู้เงินกันเถอะ ซึ่ง by the book แล้วจะทำให้เงินเฟ้อพุ่งสูงขึ้นจากความต้องการที่มากขึ้น
ถามว่า ต่อให้ทำ เงินจะไหลเข้าน้อยลงจริงๆ หรือ เราจะลดดอกเบี้ยนโยบายให้เหลือ 0.25% ให้เท่ากับสหรัฐจริงๆ หรือ ถ้าไม่ แล้วลดเท่าไรจึงจะหยุดการไหลเข้าของเงินได้??? มีใครตอบได้บ้าง
มีแค่นโยบายการเงินเท่านั้นหรือที่จะตอบโจทย์เรื่องลดเงินเฟ้อและควบคุมการไหลเข้าของเงินได้ อย่างมีประสิทธิภาพ ทำไมเราไม่มุ่งเน้นนโยบายการคลังที่รัฐบาลผู้ที่รู้ปัญหาเช่นเดียวกัน ควรทำบ้าง ทำไมเราไม่บอกให้มีการเก็บภาษี capital gain ยกเว้นลงทุนนานเกิน 1 ปี ทำไมเราไม่ลดงบประมาณขาดดุลเพื่อค่าใช้จ่ายและเพิ่มการลงทุนแทนเพื่อลดเงินเฟ้อ ทำไมเราไม่มีการสนับสนุนการใช้พลังงานทางเลือกเพื่อลดต้นทุนพลังงาน ทำไมเราไม่พัฒนาการขนส่งเพื่อลดต้นทุนค่าขนส่ง และสินค้าอุปโภคบริโภค อีกหลายทำไม?? แต่เรากลับเลือกเส้นทางทีดูง่ายที่สุด ไม่รับรองผล และอาจมีผลร้ายที่สุดในระยะยาวอย่างการลดดอกเบี้ยนโยบายเป็นทางออกทางเดียวที่ดูเหมือนจะเหลืออยู่???
แน่นอนการกำหนดนโยบายการคลังเช่น capital gain tax จะทำให้ตลาดที่กำลังกระทิงขวิด กลายเป็นหมีนอนหลับ แต่การเจ็บครั้งเดียวนี้ จะทำให้เราได้ประโยชน์ยาวๆ มากกว่าหรือไม่
การเพิ่มเงินสำรองของธนาคารที่คุณ carpenter ก็เป็นนโยบายการเงินอย่างหนึ่งที่ทำได้เพื่อลดแรงกดดันเรื่องเงินเฟ้อ โดยดูดเอาปริมาณเงินออกจากระบบ แต่ปัญหาคือตอนนี้ เงินมันล้นครับ ธนาคารลดสภาพคล่องไปจำนวนนึงก็คงไม่มีผลอะไร เพราะเงินเฟ้อตอนนี้มันมาจาก demand อยู่ ไม่ได้มาจากการหมุนรอบของเงิน
แถมด้วยข้อมูลของ world bank เรื่อง spread ของดอกเบี้ยระหว่างฝากกะกู้ครับ เผื่อเป็นข้อมูลเพื่อการถกเถียงและโต้แย้ง
เบลารุส 0.1 %
ญี่ปุ่น 1.1 %
อาร์เจนติน่า 1.4 %
เกาหลีใต้ 1.7 %
แคนาดา 2.6 %
สวิตเซอร์แลนด์ 2.7 %
อิสราเอล 2.9 %
ออสเตรเลีย 3.1 %
จีน 3.1 %
ไทย 4.9 %
สิงคโปร์ 5.2 %
อินโดนีเซีย 6.2 %
ภูฏาน 9.5* %
ลาว 19.6 %
คองโก 39.7 %
ซิมบับเว 457.5* %
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 2:43 am
โดย ayethebing
อัตราดอกเบี้ยนโยบายเป็นส่วนที่ทำให้แบงก์ชาติจ่ายเงินเยอะๆ ??
เค้าไม่ได้อธิบายแบบนั้น จะเชื่อหรือไม่ลองอ่านดูครับ (ที่มา: กรุงเทพธุรกิจ)
แบงก์ชาติ โดยตัวเลขที่ปรากฏในบรรทัดสุดท้ายของ “งบกำไรขาดทุน” พบว่ามียอด “ขาดทุนสุทธิ” สูงถึง 130,371 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าที่ขาดทุนสุทธิ 117,473 ล้านบาท หรือคิดเป็นการขาดทุนเพิ่มขึ้น 10.9%
ในจำนวนผลขาดทุนสุทธิที่ 130,371 ล้านบาทนั้น เกินกว่าครึ่งเป็นการขาดทุนที่เกิดจากส่วนต่างระหว่าง “ดอกเบี้ยรับ” กับ “ดอกเบี้ยจ่าย” ซึ่งหลายปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีภาระดอกเบี้ยจ่ายที่สูงกว่าดอกเบี้ยรับ (negative carry) อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงวดปี 2554 ที่แบงก์ชาติมีผลขาดทุนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยตรงนี้สูงถึง 74,684 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับปี 2553 ที่มีผลขาดทุนจากส่วนนี้ประมาณ 20,110 ล้านบาท หรือคิดเป็นการขาดทุนที่เพิ่มขึ้นกว่า 271.37%
ตัวเลขการขาดทุนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นอย่างมโหฬารนี้ แม้ยังไม่มี “คำอธิบาย” อย่างเป็นทางการจากแบงก์ชาติ แต่พออนุมานได้ว่า เกิดจาก “ภาระ” ที่ซ่อนอยู่ในรูปเงินสำรองระหว่างประเทศที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
อธิบายง่ายๆ คือ ช่วงปลายปี 2553 เป็นช่วงที่เงินทุนต่างชาติไหลเข้าลงทุนในประเทศไทยจำนวนมาก โดยเฉพาะในรูปพอร์ตการลงทุน ซึ่งเป็นการลงทุนระยะสั้น ส่งผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้นเร็วและรุนแรง จนแบงก์ชาติต้องเข้าดูแลเพื่อไม่ให้อัตราแลกเปลี่ยนเคลื่อนไหวหวือหวาเกินไป เพราะเกรงว่าผู้ประกอบการทั้งผู้นำเข้าและส่งออกจะปรับตัวไม่ทัน
วิธีดูแลของแบงก์ชาติ ทำโดยเข้าแทรกแซงในตลาดอัตราแลกเปลี่ยน ด้วยการรับซื้อเงินดอลลาร์เข้ามาเก็บไว้และปล่อยเงินบาทออกไปเพื่อให้ปริมาณเงินบาทมีเพียงพอกับความต้องการของนักลงทุนในขณะนั้น
การรับซื้อเงินดอลลาร์ของแบงก์ชาติ ทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์ที่อยู่ในรูปเงินสำรองระหว่างประเทศเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเงินเหล่านี้แบงก์ชาตินำไปลงทุนในต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในรูปพันธบัตรรัฐบาลของประเทศ ที่มีความเสี่ยงต่ำ ส่งผลให้ผลตอบแทนในรูป “ดอกเบี้ยรับ” ต่ำตามไปด้วย โดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 1% เศษ
ขณะเดียวกัน การที่แบงก์ชาติต้อง “ปล่อยเงินบาทออกไป” เพื่อให้เพียงพอกับความต้องการของนักลงทุน ทั้งยังช่วยให้เงินบาทไม่แข็งค่าเร็วเกินไปนั้น กรณีนี้ส่งผลให้ปริมาณเงินบาทในระบบเพิ่มสูงขึ้น การที่เงินในระบบเพิ่มขึ้นนำไปสู่ความกังวลว่า จะเป็นต้นเหตุของภาวะ "ฟองสบู่" รวมถึง “เงินเฟ้อ” ที่เร่งตัวขึ้น
แบงก์ชาติจึงใช้วิธีดูดซับเงินบาทที่ปล่อยออกไปนั้นกลับมา โดยออก “พันธบัตร ธปท.” ซึ่งมีอัตราดอกเบี้ยใกล้เคียงกับอัตราดอกเบี้ยนโยบาย โดยช่วงเวลานั้นดอกเบี้ยนโยบายอยู่ในช่วงขาขึ้น เฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3.25-3.5% และนี่คือ “ภาระดอกเบี้ยจ่าย” ที่แบงก์ชาติต้องจ่ายออกไป
ดังนั้น หากจะสรุปสาเหตุการขาดทุนจากส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นกว่า 271.37% ในปี 2554 นั้น เกิดจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ 1. ภาระดอกเบี้ยจ่ายที่เพิ่มขึ้นจากอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่เป็นขาขึ้นในช่วงเวลานั้น สวนทางกับดอกเบี้ยรับที่ยังอยู่ในระดับต่ำ 2. ปริมาณเงินสำรองที่เพิ่มขึ้นทำให้มูลค่าจากส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับกับดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มสูงขึ้นตามไปด้วย
สรุปแล้ว การขาดทุนในส่วนนี้ เกิดจากการทำหน้าที่ของ “ธนาคารกลาง” ในการดูแลเสถียรภาพด้าน “อัตราแลกเปลี่ยน” และเสถียรภาพด้าน “ราคา” ..พูดให้ง่าย คือ เป็นการยอม “เจ็บ” เพื่อ “ส่วนรวม” และการมีเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง ถือเป็นเรื่องดีเพราะสามารถใช้เป็นกันชนในยามที่วิกฤติเศรษฐกิจมาเยือนได้
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 5:56 am
โดย vim
'วีรพงษ์'หอบหนังสือคลังถกบอร์ดธปท.แล้ว
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า หลังได้รับหนังสือจาก นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ที่แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับฐานะการเงินของธปท.ที่มีผลขาดทุนจำนวนมาก โดยส่วนตัวก็ได้นำหนังสือดังกล่าวเข้าหารือกับคณะกรรมการธปท.ในการประชุมเมื่อวันที่ 31 ม.ค.ที่ผ่านมา พร้อมกับขอให้ นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี เลขานุการคณะกรรมการธปท. ร่างหนังสือตอบกลับไปยัง นายกิตติรัตน์ ว่าที่ผ่านมาคณะกรรมการธปท.ชุดนี้ ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาเรื่องดังกล่าวไปแล้วอย่างไรบ้าง
"ผมให้เลขานุการบอร์ดทำหนังสือตอบกลับไปอยู่ ซึ่งคงต้องรีบทำให้เร็วที่สุด เพราะตอนนี้ผมและบอร์ดทุกคนถูกคาดโทษเอาไว้ คาดว่าหนังสือฉบับนี้คงจะถูกส่งกลับไปยัง รมว.คลัง ภายในสัปดาห์นี้"นายวีรพงษ์กล่าว
สำหรับหนังสือที่ขอให้เลขานุการคณะกรรมการธปท.ร่างขึ้นมานั้น เป็นการอธิบายว่าที่ผ่านมาคณะกรรมการชุดนี้ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวไปแล้วอย่างไรบ้าง เพราะตั้งแต่เดือนมิ.ย.55 คณะกรรมการธปท.ชุดนี้ ได้แสดงความห่วงใยถึงผลขาดทุนของธปท. ที่ส่วนหนึ่งเกิดจากการกำหนอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ระดับที่สูง เป็นเหตุให้มีเงินทุนไหลเข้ามาในประเทศจำนวนมาก และทำให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น
เขากล่าวว่า เมื่อเงินทุนเหล่านี้ไหลเข้ามา เพื่อกินส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยนโยบายของไทย ซึ่งปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.75% จึงมีผลให้เงินบาทแข็งค่าขึ้น ส่งผลให้ธปท.ต้องเข้าแทรกแซงเพื่อลดการแข็งค่า และหลังการเข้าแทรกแซง ธปท.ก็ต้องออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องที่เกิดจากการแทรกแซงนั้น โดยพันธบัตรที่ธปท.ออกมีอัตราดอกเบี้ยในระดับใกล้เคียงดอกเบี้ยนโยบาย ขณะที่เงินดอลลาร์ซึ่งธปท.ซื้อมา ก็ถูกนำไปลงทุนซึ่งได้ผลตอบแทนที่ต่ำมาก จึงเกิดเป็นส่วนต่างระหว่างดอกเบี้ยรับกับดอกเบี้ยจ่ายขึ้นมา
"ปัจจุบันแบงก์ชาติมียอดคงค้างของการออกพันธบัตรเพื่อดูดซับสภาพคล่องรวมแล้วกว่า 4.6 ล้านล้านบาท ดอกเบี้ยเฉลี่ยที่ 3% ลองคิดดูว่าแบงก์ชาติจะต้องจ่ายดอกเบี้ยปีละเท่าไร และงบดุล ล่าสุด ณ สิ้นธ.ค.55 แบงก์ชาติก็มียอดขาดทุนรวมแล้วกว่า 5.3 แสนล้านบาท ไม่ใช่ 4 แสนล้านบาทอย่างที่เป็นข่าว ถ้าไม่รีบแก้ไข การขาดทุนคงจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ"นายวีรพงษ์กล่าว
สำหรับสิ่งที่คณะกรรมการธปท.ได้ดำเนินการไปแล้ว เพื่อลดผลกระทบจากการขาดทุนตรงนี้ คือ การขยายประเภทสินทรัพย์ที่ให้ ธปท. สามารถนำเงินสำรองระหว่างประเทศไปลงทุนเพิ่มได้ เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่มากขึ้น เพียงแต่แก้ได้ในระดับหนึ่งเท่านั้น เพราะวิธีแก้ปัญหาที่ตรงจุดที่สุด คือ การลดดอกเบี้ยนโยบายลง ซึ่งตรงนี้ก็อยากจะฝากไปถึงคณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ด้วย
"บอร์ดธปท.คงไม่มีอำนาจไปสั่งการให้ บอร์ดกนง. ลดดอกเบี้ยลงได้ เพียงแต่อยากฝากให้เห็นถึงประเด็นความเป็นห่วงตรงนี้ เพราะบอร์ดธปท.เองคงทำอะไรมากไม่ได้ ซึ่งในบอร์ดธปท.ก็มี ผู้ว่าการแบงก์ชาติ(นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล) นั่งเป็นรองประธานอยู่ และตัวผู้ว่าการแบงก์ชาติ มีฐานะเป็นประธานในบอร์ด กนง. ด้วย เพียงแต่ท่านอาจมีความเห็นที่แตกต่างออกไป ยืนยันว่าเรื่องนี้ผมแจ้งให้บอร์ดทราบตั้งแต่เดือนมิ.ย.55แล้ว"นายวีรพงษ์กล่าว
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... B8%A7.html
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 6:34 am
โดย miracle
CARPENTER เขียน:สิ่งที่ผมถามมีคนตอบแค่สองคน และตอบคนละส่วน
และบางคนเริ่มคิดอะไรที่ซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ
ผมอยากจะบอกว่า ดอกเบี้ยนโยบายไม่เกี่ยวกับ
ดอกเบี้ยที่คนไทยทั่วไปได้รับคือ ดอกเบี้ยออมทรัพย์ หรือดอกเบี้ยฝากประจำ
และไม่เกี่ยวกับดอกเบี้ยที่คนไทยต้องจ่ายคือดอกเบี้ยเงินกู้หรือดอกเบี้ยเช็ค
แม้ดอกเบี้ยทั้งสองประเภทนี้จะขึ้นลงตามดอกเบี้ยนโยบาย
แต่ก็ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของธนาคารพาณิชย์มากกว่าว่า
จะเก็บดอกเบี้ยกับคนกู้เท่าไหร่ หรือจะให้ดอกเบี้ยกับคนฝากเงินเท่าไหร่
ดังนั้นรายได้จากดอกเบี้ยเงินฝากจะได้มากหรือน้อย ก็ขึ้นอยู่กับธนาคาพาณิชย์
ส่วนรายจ่ายจะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับธนาคารพาณิชย์
ธนาคารพาริชย์ในประเทศนี้เอาเปรียบมากโดยการทำให้ดอกเบี้ยสองกลุ่มนี้ต่างกันมาก
ดอกเบี้ยนโยบายคือดอกเบี้ยที่ BOTต้องจ่ายหรือต้องเก็บกับคนที่เอาเงินมาฝากหรือกู้
ซึ่งนิติบุคคลบางประเภทเท่านั้นที่จะฝากหรือกู้กับBOTได้
ตอนนี้เงินล้นโลกเงินที่มาฝากกับ BOT จึงมากกว่าที่เงินกู้อย่างมหาศาล
ดอกเบี้ยนโยบายคือค่าใช้จ่ายที่ BOT ต้องจ่ายอย่างมหาศาลทุกวัน
การลดดอกเบี้ยนโยบายลงอาจจะไม่ทำให้ค่าเงินเงินบาทลดลงก็ได้ถ้าเงินยังไหลเข้า
ผมสงสัยทำไม BOT ชอบที่เอาเงินของคนทั้งประเทศไปจ่ายในอัตราสูงๆ
และที่ผมงงมากไปกว่านั้นคือคนไทยที่คิดว่าฉลาดยังสนับสนุนนโยบายนี้อีก
BOTอาจจะบอกว่าตอนนี้ดอกเบี้ยนโยบายต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อแล้ว
อัตาดอกเบี้ยใน USA Japanก็ต่ำกว่าอัตราเงินเฟ้อ
ถ้า BOTยังพยายามให้ดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราเงินเฟ้อเงินมหาศาลจะไหลเข้าไทย
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 6:45 am
โดย miracle
มันมีการส่งผ่านจากดอกเบี้ยนโยบายไปสู่ดอกเบี้ยเงินฝากและดอกเบี้ยเงินกู้
ถ้าติดตามดีๆๆในอดีตซัก 4-5 ปีที่แล้ว
ธปท ลดดอกเบี้ยนโยบาย แต่ธนาคารพาณิชย์ไม่ยอมลด อ้างว่าสภาพคล่องล้นระบบ
ธปท จึงต้องเชิญตัวแทนธนาคารพาณิชย์เข้าพบในประเด๋นดังกล่าว
ดังนั้นต้องเกิดคำถามว่า การส่งผ่านอัตราดอกเบี้ยนโยบายไปสู่ดอกเบี้ยอื่นรวดเร็วแค่ไกนต่างหาก
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 8:41 am
โดย ดำ
สิ่งที่ทำได้และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร คือ สนับสนุนการออกไปลงทุนต่างประเทศ ซื้อกิจการต่างประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ด้วยการให้สิทธิ์พิเศษทางภาษี โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจส่งออก เร่งกู้เงินสกุลต่างประเทศเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมรับมือ AEC
อะไรที่ซื้อที่ลงทุนจากต่างประเทศแล้วเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจประเทศในระยะยาวให้ใช้โอกาสนี้รีบทำครับ ทำไมต้องมองแต่ด้านแก้วิกฤต มองในด้านใช้โอกาสก็ได้ครับ
ไม่สังเกตกันเหรอครับ ตอนนี้เสี่ยเจริญทำอะไร เจ้าสัวธนินทร์ทำอะไร
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 9:24 am
โดย chatchai
ดำ เขียน:สิ่งที่ทำได้และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร คือ สนับสนุนการออกไปลงทุนต่างประเทศ ซื้อกิจการต่างประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ด้วยการให้สิทธิ์พิเศษทางภาษี โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจส่งออก เร่งกู้เงินสกุลต่างประเทศเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมรับมือ AEC
อะไรที่ซื้อที่ลงทุนจากต่างประเทศแล้วเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจประเทศในระยะยาวให้ใช้โอกาสนี้รีบทำครับ ทำไมต้องมองแต่ด้านแก้วิกฤต มองในด้านใช้โอกาสก็ได้ครับ
ไม่สังเกตกันเหรอครับ ตอนนี้เสี่ยเจริญทำอะไร เจ้าสัวธนินทร์ทำอะไร
ผมได้ยินหลายคนแนะนำให้ออกไปลงทุนต่างประเทศ
แต่อย่าลืมว่า เงินที่ไหลเข้านั้นส่วนใหญ่ลงทุนในตลาดตราสารหนี้ระยะสั้น สามารถนำออกไปได้ในระยะเวลารวดเร็ว ถ้าเรานำเงินก้อนนี้ไปลงทุนระยะยาวแล้ว เมื่อมีการถอนเงินออกจะมีเงินไหม
เหมือนกู้เงินเบิกเกินบัญชีไปซื้อเครื่องจักร
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 9:26 am
โดย chatchai
อยากรู้เหมือนกันว่า อัตราดอกเบี้ยชาติในเอเชียที่มีสภาพเศรษฐกิจใกล้เคียงกับไทย มีปัญหาเงินทุนไหลเข้าเหมือนไทย อยู่ที่เท่าไร
เข้าใจว่า ฮ่องกง มีอัตราดอกเบี้ยต่ำติดดิน เพราะผูกค่าเงินฮ่องกงกับเงินสกุลดอลล่าร์สหรัฐ แล้วทำไมไม่กลัวเงินเฟ้อ
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 9:41 am
โดย imerlot
http://thailand.prd.go.th/view_news.php?id=6616&a=2
Key Challenges for Thailand’s Monetary Policy in 2013 (25/01/2013)
The striking of the right balance between economic growth and financial stability has been cited as a key challenge in handling Thailand’s monetary policy in 2013.
Governor of the Bank of Thailand Prasarn Trairatvorakul stressed the need to maintain the balance in order to ensure sustainable economic well-being, as well as a safe and sound financial system.
He pointed out that a prolonged monetary policy of low interest rates might pose risks to financial stability, as it would encourage the private sector to create excessive debts. The policy might also lead to overinvestment in risky assets, since investors would search for higher yields. As a consequence, a financial imbalance, or a bubble, might develop. In this regard, he said, the Bank of Thailand would continue to closely monitor credit extensions and the ability of households to repay debts, especially among low-income earners.
Another challenge involves the management of volatile capital flows and impacts of exchange rate fluctuations on the real economy. Mr. Prasarn said that the Bank of Thailand had prepared measures to deal with the situation.
For instance, it recently announced the Capital Account Liberalization Master Plan, aimed at encouraging Thai companies to diversify their investments abroad, especially in neighboring countries. Private companies have also been urged to operate their businesses more efficiently and use payments made in local currencies. The initiative would help foster more balanced capital flows and promote financial market developments, ahead of regional integration under the ASEAN Economic Community in 2015.
According to Mr. Prasarn, in 2013, the Bank of Thailand will establish a licensing framework under which foreign commercial banks will be able to operate in Thailand, with a view to enhancing the competitiveness of the banking industry. Guidelines will also be set to allow domestic commercial banks to expand and integrate into the Qualified ASEAN Banks network under the ASEAN Economic Community. This integration offers an opportunity for Thai banks to step up their efforts to fortify their strategic strengths and prepare for a fiercer competitive environment. Stronger institutions could seize the opportunity to expand internationally and diversify their risks.
As for the economic outlook in 2013, the Governor of the Bank of Thailand said that robust domestic demand would continue to be the main growth driver for the Thai economy. Private consumption would continue to benefit from the first-car tax rebate program and the reduction in personal income tax, which would take effect in 2013.
He said that exports were starting to show signs of recovery. Inflationary pressure should remain contained, and impacts of the minimum wage hike in January 2013 on inflation are expected to be limited, as most businesses have managed to keep a lid on costs via increased production efficiency.
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 9:48 am
โดย CARPENTER
ayethebing เขียน:สรุปแล้ว การขาดทุนในส่วนนี้ เกิดจากการทำหน้าที่ของ “ธนาคารกลาง” ในการดูแลเสถียรภาพด้าน “อัตราแลกเปลี่ยน” และเสถียรภาพด้าน “ราคา” ..พูดให้ง่าย คือ เป็นการยอม “เจ็บ” เพื่อ “ส่วนรวม” และการมีเงินสำรองระหว่างประเทศที่สูง ถือเป็นเรื่องดีเพราะสามารถใช้เป็นกันชนในยามที่วิกฤติเศรษฐกิจมาเยือนได้
[/quote]
เจ็บมากเลย ใครเจ็บ รายได้ตั้งแต่ ผวก ยันเสมียน รวมทั้ง กนง
ก็ยังได้เพิ่มทุกปี มีโบนัสมากกว่า บริษัททั่วไป
การที่คนกลุ่มหนึ่ง ยอมซื้อหรือจ่ายแพงๆด้วยเงินของประเทศผมเชื่อว่าคือ
การคอรัปชั่น เหมือนๆกับการจัดซื้อจัดจ้างที่แพงผิดปกติ
คระกรรมการก็ถูกซื้อได้เพราะผลประโยชน์มันมหาศาลระดับปีละนับหมื่นล้าน
การคอรัปชั่นโดยคระกรรมการนั้น มันง่่ายดี ไม่มีใครถูกด่า
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 9:51 am
โดย imerlot
http://thailand.prd.go.th/view_news.php?id=6622&a=2
Government Accelerating Efforts to Cope with Appreciation of the Baht (31/01/2013)
All relevant agencies have been instructed to seek measures to cope with the ongoing appreciation of the baht, which has affected small and medium-sized enterprises (SMEs).
Prime Minister Yingluck Shinawatra on 30 January 2013 called a meeting of economic ministers to discuss ways to deal with the stronger baht.
Also attending the meeting were senior officials from the Ministry of Finance, the Ministry of Industry, the Ministry of Labor, the Bank of Thailand, the Office of the National Economic and Social Development Board, and the government-appointed committee to help SMEs.
According to a report from the Bank of Thailand, the appreciation of the baht stemmed from an influx of foreign funds to invest in the Stock Exchange of Thailand and bond markets. The foreign direct investment inflow is likely to be a short-term activity. The central bank is closely monitoring the situation. Precautionary measures have been prepared and will be introduced if necessary.
The meeting shared the view that Thai companies should be encouraged to invest more in foreign countries to help maintain the balance of the Thai currency in the long run. Thai investors invested about eight billion US dollars overseas in 2012. A meeting of economists and financial experts would also be held to discuss whether monetary measures would be necessary or not to deal with the short-term influx of foreign funds. However, there would be no interference in the market mechanism.
As for SMEs, the Government and the Federation of Thai Industries, the Board of Trade of Thailand, and various financial institutions would come up with measures to provide more assistance to them. In this regard, financial institutions would be asked to extend the repayment period for SMEs.
The Federation of Thai Industries had submitted a proposal to the Bank of Thailand to help SMEs cope with impacts of the stronger baht. It is confident that the central bank will be able to stabilize the Thai currency. The central bank explained that the baht strength was in line with regional currencies and that it has kept a close watch on the movements of the foreign exchange market.
Since the appreciation of the baht will make Thai products more expensive for overseas buyers, the Bank of Thailand stated that exporters should be provided with more knowledge about the use of payments made in local currencies. Moreover, during the appreciation of the baht, imports of machinery and equipment should be accelerated to create a balance of capital outflows and inflows. The Government plans to invest in major infrastructure development, which will require imports of both machinery and equipment for many projects.
The management of volatile capital flows and impacts of exchange rate fluctuations on the real economy have been cited as one of the major challenges in Thailand’s monetary policy for 2013.
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 10:24 am
โดย syj
"ธีระชัย"ยัน"กิติตรัตน์"ทำหนังสือให้บอร์ดธปท.เป็นการขู่ บีบให้ลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง
นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีตรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงการคลัง ให้สัมภาษณ์ผ่าน"กรุงเทพธุรกิจทีวี"เรื่อง"การเมืองบีบผู้ว่าการธปท.ลดดอกเบี้ย กรณีที่นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกฯและรมว.คลัง ส่งหนังสือให้บอร์ดธปท.พิจารณาดอกเบี้ยนโยบาย
นายธีระชัย กล่าวว่าการส่งหนังสือให้บอร์ดธปท.จะได้ผลหรือไม่นั้น แต่เป็นการบีบธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)ให้ลดอัตราดอกเบี้ย เท่ากับว่าครม.ทำหนังสือขู่บอร์ดธปท. และหากไม่ระมัดระวังจะยิ่งให้มีการขาดทุน ปัจจุบันธปท.ขาดทุน 5 แสนล้านบาท
"สมัยที่ผมอยู่ในตำแหน่งรัฐมนตรีคลัง และกิตติรัตน์ นั่งรองนายกรัฐมนตรี นำเสนอถ้าทำตามจะทำให้แบงก์ชาติขาดทุน ไม่ใช่แค่ 5 แสนล้านบาท แต่จะเพิ่มขึ้นเป็น 1.7 ล้านล้านบาท และไม่ได้มีผลต่อการดำเนินนโยบาย แต่กลับมากังวลในตอนนี้" นายธีระชัย กล่าว
เขากล่าวว่า ความกังวลในการดำเนินนโยบายต้องดูด้วยความเข้าใจ หากเข้าใจไม่มีปัญหา เพราะถ้าดูงบดุลของสหรัฐอเมริกา งบดุลของจีน น่าตกใจไม่แพ้กัน เพราะมีผลขาดทุน ที่เป็นทุนสำรองดอลลาร์ เมื่อค่าเงินแข็งค่าขึ้น ผลการขาดทุนเป็นผลมาจากการดำเนินนโยบายของธนาคารกลาง แต่ถ้าบริหารเศรษฐกิจด้วยความเรียบร้อยก็ไม่มีปัญหาอะไร
อดีตรมว.คลัง ย้ำว่า การปฏิบัติการของกิตติรัตน์ครั้งนี้ มีการกดดันธปท.แน่นอน หากมองการเมืองให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ค่าเงินบาทอ่อนเพื่อช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่มองจากรมว.คลังเป็นการขู่บอร์ดธปท. และยังไม่มีรัฐมนตรีคลังคนไหนเขาทำกัน และค้นความจำก็ไม่มีรัฐมนตรีคนไหนทำอย่างนี้ ในต่างประเทศก็ไม่มีรัฐมนตรีคลังคนไหนเขาทำกัน
"ผู้ที่เป็นบอร์ดแบงก์ชาติ เป็นผู้มีความรู้ ความชำนาญแต่นีเป็นการทึกทักไม่รับผิดชอบต่อเศรษฐกิจ ถือว่าไม่ถูกต้อง"อดีตรมว.คลัง กล่าวย้ำ
นายธีระชัย กล่าวอีกว่า หลังจากนี้ จะเป็นการปลดผู้ว่าการธปท.หรือไม่นั้น ไม่สามารถตอบได้ แต่ขณะนี้เห็นความขัดแย้ง โดยที่รองนายกฯและรมว.คลัง เร่งประเด็นให้เกิดความขัดแย้งเข้มข้น ที่จะนำไปสู่อะไรไม่สามารถตอบได้ และถ้าเป็นการแทรกแซงธปท. มูดีส์ที่เขาจับตาอยู่จะคิดในแง่ลบแน่นอน และนักวิเคราะห์ทั่วไปก็มองแบบเดียวกัน
"แบงก์ชาติทำนโยบายเศรษฐกิจให้รัฐบาล แต่ไม่ใช่ทำนโยบายให้ถูกต้องให้กับรัฐบาล"นายธีระชัย กล่าวทิ้งท้าย
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... เบี้ย.html
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 10:27 am
โดย syj
imerlot เขียน:แปะไว้ เป็น ข้อมูล ประกอบ
source:
http://www.worldinterestrates.info/asiapacific.php
ประเทศ ใน เอเซีย แปซิฟิก
ปัจจุบัน
ที่มี อัตรา ดบ เท่ากับ หรือสูง กว่า เรา มี 7 ประเทศ ตามรูป
เช่น aus3 จีน6 india8 อินโด5.75 เกาหลี2.75 มาเลย3 ฟิลลิปปิน3.5
ตอบคำถาม คุณ Chatchai ครับ. คุณ imerlot โพสไว้ในหน้าสอง เมื่อวานผมว่าจะโพส
เรื่องนี้เหมืิอนกัน แต่ข้อมูลของคุณ imerlot ละเอียดกว่าครับ
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 10:30 am
โดย syj
เพือนบ้านเราใน AEC ล้วนแล้วแต่มี อัตราดอกเบี้ยนโยบายสูงกว่าเราทั้งสิ้น ...
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 11:04 am
โดย anubist
ดำ เขียน:สิ่งที่ทำได้และไม่สร้างความเดือดร้อนให้ใคร คือ สนับสนุนการออกไปลงทุนต่างประเทศ ซื้อกิจการต่างประเทศ การนำเข้าสินค้าทุน ด้วยการให้สิทธิ์พิเศษทางภาษี โดยเฉพาะการนำเข้าสินค้าทุนเพื่อพัฒนาธุรกิจส่งออก เร่งกู้เงินสกุลต่างประเทศเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน เตรียมรับมือ AEC
อะไรที่ซื้อที่ลงทุนจากต่างประเทศแล้วเป็นประโยชน์กับเศรษฐกิจประเทศในระยะยาวให้ใช้โอกาสนี้รีบทำครับ ทำไมต้องมองแต่ด้านแก้วิกฤต มองในด้านใช้โอกาสก็ได้ครับ
ไม่สังเกตกันเหรอครับ ตอนนี้เสี่ยเจริญทำอะไร เจ้าสัวธนินทร์ทำอะไร
แล้วเราต้องไปลงทุนต่างประเทศเท่าไหร่ครับ ถึงจะทำให้เงินอ่อนค่าลงได้หรือหยุดการไหลเข้าของเงินได้
ปี55ต่างชาติลงทุนในหุ้นกู้2.9แสนล้านนะครับ ตอนนี้ถือครองอยู่7แสนล้าน
ธปท.ต้องออกพันธบัตรมาซับสภาพคล่องส่วนเกิน4.6ล้านๆนะครับ
http://www.thanonline.com/index.php?opt ... Itemid=443
http://manager.co.th/iBizchannel/viewNe ... 0000015242
มาตราการแค่นี้มันไม่พอหรอกครับ
และการดูดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียวมันไปเพียงพอนะครับ
ต้องดูเงินเฟ้อและนโยบายการเงินอื่นๆด้วย โดยเฉพาะมีcap gain taxรึเปล่า
มีการสั่งตั้งสำรองเกินระดับปกติหรือไม่ มีมาตราแบบLTVรึเปล่า
ภาวะตลาดตราสารหนี้เป็นอย่างไร
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 11:22 am
โดย miracle
บัญชีเดินสะพัดคือคำตอบ
ว่าทำไมลดดอกเบี้ยไม่ได้
ไปเทียบกับ ปี 2545-2548 มีอยู่ช่วง
เคยแตะ 30 บาท และเกิดอาดารเดียวกัน
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 12:04 pm
โดย pakhakorn
ขออนุญาติกลับไปที่ผมเขียนไว้เดิม ต้องดู ธปท. และ รัฐบาล เลือกวิธีรับมือแบบไหน
pakhakorn เขียน:ผมขออนุญาติ เอาตามแบบ พี่ imerot เงินท่วมโลก ๆ ๆ ครับ
แล้วเงินท่วมโลกกำลังไหลมาหาที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า
อาจคล้ายครั้งน้ำท่วมใหญ่ที่ไหลลงสู่ที่ต่ำ มาท่วมนิคม และบ้านเรือน
อาจถือว่า อยู่ในภาวะที่ไม่ปกติ อย่างมากๆ ด้วย
การแก้หรือป้องกัน หากเทียบกับกรณีน้ำท่วมใหญ่ ที่เราไม่ปล่อยให้กรมชลประทานทำงานคนเดียว
กรณีนี้ก็คงไม่น่าที่จะให้ ธปท. ทำงานอยู่ฝ่ายเดียว ควรมีทั้งรัฐบาลและเอกชนร่วมด้วย
ฝ่ายอื่น ขอเว้นไว้ก่อน เริ่ม ธปท. ก่อน
สิ่งที่ผมคาดจาก การใช้ดอกเบี้ยนโยบาย อย่างเดียว
1. ลดลงดอกเบี้ยเล็กน้อย ก็ไม่ช่วยให้ลดเงินร้อนได้ไม่มาก(แต่เป็นการส่งสัญญานแบบหนึ่ง) เงินเฟ้อก็คงเพิ่มได้อีก
2. เพิ่ดอกเบี้ยขึ้นเล็กน้อย เร่งเงินร้อนเพิ่มมากๆเข้ามาอีก เงินเฟ้อก็คงเพิ่มได้อีกตามเงินร้อน
3. ยืนยัน ยืนนิ่งๆ เงินร้อนก็คงเพิ่มต่อไป เงินเฟ้อก็เพิ่มตามแนวโน้มเดิม
ผมมองว่าทั้ง 3 แบบ ก็คงสกัดเงินเฟ้อ จากเงินท่วมโลกไม่ได้
หากมองจากการใช้ดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียว
ท้ายที่สุด ไทยและอาเซี่ยนเราทั้งหมด ก็อาจจะถูกยัดเยียดเงินให้(ขอโทษ ภาษาอาจแรงไปหน่อย) ทำให้เงินเฟ้อและเศรษฐกิจเติบโตมากขึ้น ไม่ว่าคุณจะต้องการหรือไม่ มันก็จะไหลตามกันมา
วิธีรับมือ อาจจะ
1. อยู่เฉยๆ ทำแบบแผนของเดิมๆ ต่อไป (คงไม่ต่างอะไรกับ การยอมจำนน เขาอยากได้อะไรก็ให้เขาไป ขอเพียงชีวิตไว้ แต่ทรัพย์สมบัติอาจถูกค่อยๆสูบ จนแห้งได้ )
2. ต่อสู้ หรือ ต่อต้าน (ไม่ยอมรับ สิ่งที่เราไม่ต้องการ ตั้งกำแพง หรืออื่นๆตามแต่ที่คิดได้)
3. หาทางใช้ประโยชน์จากมันแทน (อยู่เฉยๆ ก็ทนไม่ได้ , ต่อสู้ ต่อต้าน ก็อาจไม่ไหว , ก็หาประโยชน์จากแทนเลย) เช่น
- อยากให้โต เราก็โตตามที่เขาอยากให้โต โตให้สมใจไปเลย เฉพาะในสิ่งที่เราต้องการ
- เปิดทางให้ ไหลผ่าน หรือหาทางส่งผ่าน ข้ามเราไป ไปเอาผลตอบแทนต่อ
ที่สงสัย 1. ธปท. , 2. รัฐบาล ได้เลือกวิธีหรือยัง
ถ้าเลือกวิธีเดียวกัน ภาษาสื่อสารและการดำเนินงานก็อาจจะง่ายขึ้น
ถ้าเลือกต่างกัน โอกาสเสียหายก็น่าจะยิ่งสูงขึ้น
ความเห็นส่วนตัว อาจผิดพลาดก็ได้ ครับ
- ผมดูจากข่าวถึงเช้านี้ และการรายงานสรุปการประชุม กนง. แสดงว่า ธปท.น่าจะ เลือกข้อ 1.
- ส่วนรัฐบาล ดูจากโครงการต่างๆ 2 ล้านล้าน และอื่นๆ แสดงว่า รัฐบาล น่าจะเลือก ข้อ 2.
ตอนนี้เหมือนกรณีน้ำท่วมใหญ่ตรงๆเลย ที่ช่วงแรกๆ มีผู้ว่าเมืองหลวงที่มีอำนาจอิสระ ที่ตอนแรกไม่ยอมให้ใช้เมืองหลวงเป็นทางน้ำเพื่อผ่านลงทะเล ในช่วงแรกท่านว่า ท่านมีหน้าที่ดูแลเฉพาะเมืองหลวง จังหวัดอื่นๆ ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน
แต่ตอนจบก็ต้องยอมให้ใช้เป็นทางน้ำเพื่อผ่านลงทะเล ต้องใช้ทั้งอำนาจรัฐบาล และกระแสสังคมภายนอกรอบเมืองหลวงไม่ยินยอมหรือไม่ยอมให้น้ำท่วมนานกว่านั้น
คราวนี้เลย ต้องรอให้ ธปท. ยอมร่วมมือกับรัฐบาลในการเลือก ข้อ 3. ให้เหมือนกัน
ขั้นตอน วิธีการ และจังหวะการเดินแต่ละขั้น จะถูกบังคับให้ต้องทำ ไปตามวิธีการเลือกนั้น
และโดยส่วนตัว ผมชอบและสนับสนุนให้เลือกข้อ 3. ครับ
เพราะการเลือกวิธีที่ 1 และวิธีที่ 2 ตามคาดการเจ็บตัวแน่นอน และไม่ใช่น้อย
ส่วนวิธีที่ 3 คือสู้ไม่ได้ ต้านไม่อยู่ อยู่เฉยๆก็ไม่ได้ ก็ต้องใช้มุมกลับ
เปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสแทน
หากทำสำเร็จ จะเป็นก้าวกระโดดที่ยิ่งใหญ่ของไทยเลยทีเดียว
หากไม่สำเร็จ ก็แค่เจ็บตัวเหมือนกับ 2 วิธีแรก เดิมๆ
วิธีที่ 3. ยากและหิน จังหวะการก้าวต้อง เป๊ะๆ และสอดคล้องกัน ทั้งรัฐบาล ธปท. และเอกชน ด้วยครับ
แค่เริ่มก็เป็นเรื่องที่ ธปท. ยังอ้างและใช้จากหลักการเดิมๆ ไม่่กล้าที่จะทำสิ่งใหม่ๆ แบบข้อ 3 หรือภาษาชาวบ้านแบบของผม คือ ไม่กล้าทำในสิ่งท้าทายใหม่ๆที่ไม่เคยรู้จัก ครับ
เป็นความเห็นส่วนตัว อาจผิดพลาดได้
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 12:04 pm
โดย yoko
ปธบอร์ดสั่งเลขาบอร์ดทำหนังสือตอบ แต่เลขาบอร์ดทำครับ ตามนี้
ฝ่ายกฎหมายระบุชัดบอร์ดธปท.ไม่มีอำนาจล้วงการทำงานด้านนโยบาย เหตุ พ.ร.บ.ธปท.มาตรา 25 ระบุไว้ชัด ว่าให้เป็นหน้าที่ของบอร์ดเล็ก
นายชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายช่วยงานบริหาร ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในฐานะเลขานุการคณะกรรมการธปท. กล่าวว่า คณะกรรมการธปท.คงไม่มีอำนาจไปแทรกแซงการทำงานของ คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) เพราะตามกฎหมายพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ธปท. ปี 2551 เขียนไว้ชัดเจนว่า คณะกรรมการธปท. มีอำนาจดูแลงานโดยทั่วไป เว้นแต่เป็นเรื่องนโยบายการเงิน นโยบายสถาบันการเงิน และนโยบายระบบชำระเงิน ให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการชุดเล็กในทั้งมา 3 คณะ
"มาตรา 25 ของ พ.ร.บ.ธปท. เขียนไว้ชัดว่า บอร์ดใหญ่(คณะกรรมการธปท.) มีอำนาจกำกับดูแลงานทั่วไป ส่วนถ้าเป็นงานที่เกี่ยวข้องกับนโยบายต่างๆ ก็ให้เป็นอำนาจของคณะกรรมการในแต่ละคณะไป ดังนั้นบอร์ดใหญ่คงไม่มีอำนาจไปสั่งให้ขึ้นหรือลดดอกเบี้ย"นายชาญชัยกล่าว
ส่วนคำถามที่ว่าหากคณะกรรมการชุดเล็กเกิดข้อผิดพลาดในการปฎิบัติงาน คณะกรรมการธปท.ต้องมีส่วนร่วมในการรับผิดชอบด้วยหรือไม่นั้น นายชาญชัย กล่าวว่า การจะบอกว่าดำเนินนโยบายผิดพลาดหรือไม่นั้นเป็นเรื่องที่พูดยาก เพราะการดำเนินนโยบายต้องขึ้นกับสภาพแวดล้อม ซึ่งแต่ละช่วงเวลามีเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เข้ามาไม่เหมือนกัน และในแต่ละสภาพแวดล้อมก็ต้องมีการตัดสินใจนโยบายที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเมื่อสถานการณ์ทำให้นโยบายต้องปรับเปลี่ยน ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นการดำเนินนโยบายที่ผิดพลาด
"การดำเนินนโยบายต้องมีเรื่องของสภาพแวดล้อม มีเหตุปัจจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งถ้าสภาพแวดล้อมปรับเปลี่ยน เขาก็อาจจะเปลี่ยน ซึ่งไม่ได้หมายความว่า ของเดิมเคยบอกไว้อย่างหนึ่ง แล้วพอเปลี่ยนก็มาบอกว่า ของเดิมผิด ถ้าเป็นแบบนั้นเดี๋ยวทุกคนจะเข้าใจผิดว่า พอเปลี่ยนหรือปรับอะไรต่างๆ ก็จะเป็นการผิดไปหมด"
นอกจากนี้ เขายังกล่าวด้วยว่า การดำเนินโยบายต่างๆ ก็ต้องคำนึงถึงผลประโยชน์ของประเทศ รวมไปถึงหลักการที่สอดคล้องกับรัฐบาลอยู่แล้ว ซึ่งกฎหมายก็ระบุไว้ชัดเจนว่า ในการดำเนินนโยบายต้องคำนึงถึงการดำเนินนโยบายของรัฐด้วย อย่าง กนง. ทุกครั้งที่แถลงข่าว ก็จะพูดตลอดว่า ได้คำนึงถึงเรื่องเหล่านี้ไว้อยู่แล้ว
Tags : ชาญชัย บุญฤทธิ์ไชยศรี • ธปท. • บอร์ดแบงก์ชาติ
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 12:07 pm
โดย pakhakorn
ขออนุญาติแก้ไข
- ผมดูจากข่าวถึงเช้านี้ และการรายงานสรุปการประชุม กนง. แสดงว่า ธปท.น่าจะ เลือกข้อ 1.
- ส่วนรัฐบาล ดูจากโครงการต่างๆ 2 ล้านล้าน และอื่นๆ แสดงว่า รัฐบาล น่าจะเลือก ข้อ 3.
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 12:22 pm
โดย imerlot
เบรค
เล็กน้อย
กับ
economics joke of two cow
This is one of the more clever posts on economic theory I have seen in a while.
Read the entire list of 21 economic models as told through "cows". . .
But here are some I particularly enjoyed:
SOCIALISM
You have 2 cows.
You give one to your neighbour.
COMMUNISM
You have 2 cows.
The State takes both and gives you some milk.
FASCISM
You have 2 cows.
The State takes both and sells you some milk.
NAZISM
You have 2 cows.
The State takes both and shoots you.
BUREAUCRATISM
You have 2 cows.
The State takes both, shoots one, milks the other, and then throws the milk away...
AN AMERICAN CORPORATION
You have two cows.
You sell one, and force the other to produce the milk of four cows.
Later, you hire a consultant to analyse why the cow has dropped dead.
VENTURE CAPITALISM - AN ICELANDIC CORPORATION
You have two cows.
You sell three of them to your publicly listed company, using letters of credit opened by
your brother-in-law at the bank, then execute a debt/equity swap with an associated
general offer so that you get all four cows back, with a tax exemption for five cows.
The milk rights of the six cows are transferred via an intermediary to a Cayman Island
Company secretly owned by the majority shareholder who sells the rights to all seven
cows back to your listed company. The annual report says the company owns eight cows,
with an option on one more. You sell one cow to buy a new president of the United States,
leaving you with nine cows. No balance sheet provided with the release. The public then
buys your bull.
A FRENCH CORPORATION
You have two cows.
You go on strike, organise a riot, and block the roads, because you want three cows.
A JAPANESE CORPORATION
You have two cows.
You redesign them so they are one-tenth the size of an ordinary cow and produce twenty
times the milk. You then create a clever cow cartoon image called 'Cowkimon' and market it worldwide.
A GERMAN CORPORATION
You have two cows.
You re-engineer them so they live for 100 years, eat once a month, and milk themselves.
AN ITALIAN CORPORATION
You have two cows, but you don't know where they are.
You decide to have lunch.
A RUSSIAN CORPORATION
You have two cows.
You count them and learn you have five cows.
You count them again and learn you have 42 cows.
You count them again and learn you have 2 cows.
You stop counting cows and open another bottle of vodka.
A CHINESE CORPORATION
You have two cows.
You have 300 people milking them.
You claim that you have full employment, and high bovine productivity.
You arrest the newsman who reported the real situation.
AN INDIAN CORPORATION
You have two cows.
You worship them.
A BRITISH CORPORATION
You have two cows.
Both are mad.
-- Steve Clemons
http://www.thewashingtonnote.com/archiv ... _economic/
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 4:20 pm
โดย yoko
มองต่างมุม "สกัดเงินร้อน" ลดดอกเบี้ย-เพิ่มมาตรการคุมเข้ม
Prev
1 of 1
Next
updated: 04 ก.พ. 2556 เวลา 12:00:12 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
จากกระแสเงินร้อนที่ไหลบ่าทะลักเข้ามาในภูมิภาคเอเชียและไทย จนส่งผลให้ในช่วงต้นปีนี้ค่าเงินในภูมิภาค โดยเฉพาะเงินบาทมีการแข็งค่าขึ้นทำสถิติในรอบ 17 เดือน ทำให้เกิดความกังวลของหลายฝ่ายถึงสัญญาณของปัญหาที่กำลังเกิดขึ้น ในขณะที่ประเทศเศรษฐกิจขนาดใหญ่ ทั้งสหรัฐ ยุโรป และญี่ปุ่นต่างประกาศใช้นโยบายปั๊มเงินออกมากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง
ต่อเรื่องนี้ "ประชาชาติธุรกิจ" ได้รวบรวมมุมมองของกูรูนักเศรษฐศาสตร์ต่าง ๆ มานำเสนอด้วยแนวคิดและความเห็นที่แตกต่าง
ดร.โกร่งบีบ ลดดอกเบี้ย สกัดเงินร้อน
ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ฉายภาพเศรษฐกิจไทยในปีนี้ว่า มีความวิตกหลายจุด เนื่องจากมีปัจจัยใหม่ ๆ เกิดขึ้นในโลกที่สร้างความผันผวนและเป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประเทศในระยะยาว ทั้งจากนโยบายการเงินสหรัฐที่ทำให้ปริมาณเงินดอลลาร์เพิ่มขึ้นจนท่วมโลก ขณะที่เงินยูโรและเงินเยนก็เพิ่มขึ้น ทำให้สวรรค์ของเงินดอลลาร์จึงเข้ามาที่เอเชีย ไม่ว่าจะเป็นในอินเดีย จีน ไทย และประเทศอื่น ๆ ในภูมิภาค
"ที่น่าวิตกคือเงินนี้ไม่ได้อยู่ในรูปการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) แต่ทั้งหมดเป็นเงินร้อนเข้ามาในตลาดหุ้น ตลาดตราสารหนี้ ส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์และตลาดตราสารหนี้ร้อนแรงมากขึ้น เพราะผลประกอบการของบริษัทต่าง ๆ เมื่อ 3-6 เดือนก่อน กับวันนี้แทบไม่ต่างกัน แต่ราคาหุ้นกลับเพิ่มขึ้น 100% การลงทุนในตราสารหนี้เพิ่มขึ้น 100% พร้อมค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น"
ทั้งการที่เงินไหลเข้าไทยมาก เป็นเพราะไทยมีดอกเบี้ยนโยบาย 2.75% แต่ดอกเบี้ยนโยบายสหรัฐอยู่ที่ 0.25% การรักษาความแตกต่างระหว่างดอกเบี้ยดอลลาร์กับดอกเบี้ยเงินบาท
ไว้สูงระดับนี้ ย่อมไม่อาจหยุดยั้งการไหลเข้าของเงินทุนเหล่านี้ได้ แล้วยิ่งกระตุ้นให้เกิดฟองสบู่ในตลาดทุนให้ร้อนแรงยิ่งขึ้น ดังนั้นในสถานการณ์นี้ การหยุดยั้งการเคลื่อนย้ายเงินทุนระยะสั้น นอกจากการส่งเสริมการลงทุน FDI ในระยะยาว ก็มีหนทางเดียวที่มีสาระสำคัญ คือต้องลดอัตราดอกเบี้ยลง เพื่อลดมูลเหตุจูงใจการไหลเข้าของเงิน และต้องหามาตรการอื่น ๆ ที่จะสกัดกั้นการไหลบ่าเข้ามาของเงินทุน
ผู้ว่าการ ธปท.ห่วงดอกเบี้ยต่ำเกิดฟองสบู่
ด้าน นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวถึงกรณีนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการ ธปท.แสดงความเห็นว่าควรลดดอกเบี้ยนโยบายว่า การดำเนินนโยบายเศรษฐกิจการเงิน โดยคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ซึ่งเป็นคณะบุคคลจะพิจารณาความเหมาะสมว่าจะให้น้ำหนักกับปัจจัยใดมากเป็นพิเศษ สำหรับความเห็นของประธานบอร์ด ธปท.ก็นับเป็นข้อมูลหนึ่งที่ กนง.จะนำไปเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณา
"เราอยากเห็นเสถียรภาพด้านราคา แต่ระหว่างทางถ้าเห็นความเปราะบางทางเศรษฐกิจในจุดไหน ก็เป็นหน้าที่ประคับประคองเพื่อลดจุดอ่อนนั้น เพื่อให้เศรษฐกิจเดินไปด้วยดี ขณะที่เงินทุนเคลื่อนย้ายจะขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เศรษฐกิจไทยเวลานี้ก็ต่างกับสหรัฐและญี่ปุ่นค่อนข้างมาก การเจริญเติบโตก็ดีกว่า การอุปโภคบริโภค การขยายตัวสินเชื่อก็ค่อนข้างสูง กนง.คงนำมาประกอบการพิจารณา การลดดอกเบี้ยก็เป็นไปได้ ขึ้นอยู่กับข้อมูลต่าง ๆ"
ขณะเดียวกัน ผู้ว่าการ ธปท.แสดงความเป็นห่วงว่า ภาวะหนี้ครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นมาก โดยเปรียบเทียบว่า ปี 2552 สินเชื่อประเภทหนี้ครัวเรือนอยู่ที่ 58% ของจีดีพี แต่สิ้นไตรมาส 3/2555 กระโดดขึ้นมาเป็นมากกว่า 75% ของจีดีพี ซึ่งการก่อหนี้มากถึงระดับหนึ่ง อาจกระทบความสามารถการชำระได้ และปัญหาเหล่านี้อาจกลายเป็นจุดเปราะบางต่อการเติบโตอย่างยั่งยืนได้
นอกจากนี้ยังมองว่า หากดำเนินนโยบายให้อัตราดอกเบี้ยต่ำกว่าที่ควรจะเป็น อาจทำให้เกิดภาวะฟองสบู่ได้ เพราะการตีราคาสินทรัพย์ เช่น ราคาหุ้น หรือราคาอสังหาริมทรัพย์ อาจสูงเกินไป ไม่สะท้อนมูลค่าที่แท้จริง เสี่ยงต่อฟองสบู่แตก เมื่อถึงคราวที่อัตราดอกเบี้ยต้องปรับตัวสอดคล้องกับความเป็นจริง ดังปรากฏการณ์ที่เคยเกิดขึ้นในสหรัฐ
SCB หนุนลด ดบ.เชื่อไม่กระทบหนี้ครัวเรือน
ดร.พชรพจน์ นันทรามาศ นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ศูนย์วิจัยเศรษฐกิจและธุรกิจ ธนาคารไทยพาณิชย์ (SCB EIC) เสนอว่า เพื่อรับมือกับเงินทุนไหลเข้าในเวลานี้ ธปท.น่าจะมีการลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายในช่วงครึ่งปีแรก 50 สตางค์ คือลดไตรมาสแรก 1 ครั้ง ไตรมาส 2 อีก 1 ครั้ง เพราะเงินทุนไหลเข้า ต้องสกัดรวดเร็ว
อย่างไรก็ดี การลดดอกเบี้ยไม่ใช่เครื่องมือสุดท้ายในการสกัดเงินทุนไหลเข้า และเรื่องนี้ไม่มีกฎที่แน่นอน มาตรการที่จะรับมือเงินไหลเข้าอย่างรุนแรง จึงมีทั้งเรื่องการสนับสนุนเอกชนไปลงทุนต่างประเทศที่แบงก์ชาติทำอยู่ การลดดอกเบี้ยนโยบายเพื่อลดส่วนต่างดอกเบี้ย การแทรกแซงค่าเงินบาทเพื่อดูดซับสภาพคล่องไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเร็วเกินไป และการควบคุมเงินทุนไหลเข้า สำหรับประเด็นความกังวลที่ว่า เมื่อลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายแล้วจะผลักดันให้หนี้ครัวเรือนสูงขึ้นนั้น จากการศึกษาข้อมูลล่าสุดของประเทศ เรียกว่ายังไม่น่าห่วง เพียงแต่กลุ่มมีรายได้ต่ำกว่า 10,000 บาทต่อเดือนที่มีภาระค่าใช้จ่ายมากกว่ารายรับ ซึ่งน่าเป็นห่วงอยู่แล้ว ถ้าลดดอกเบี้ยจะทำให้คนกลุ่มนี้มีหนี้เพิ่มหรือไม่ จากการศึกษายังระบุได้ไม่ชัดเจน
สกัดเงนร้อนมท"งออกม"กกว่าลดดอกเบ้ย
ดร.บัณฑิต นิจถาวร กรรมการผู้อำนวยการ สมาคมส่งเสริมสถาบันกรรมการบริษัทไทย (IOD) ให้ความเห็นว่า เครื่องมือในการบริหารจัดการเงินทุนไหลเข้า ก็มีมากกว่าอัตราดอกเบี้ย ประเด็นจึงอยู่ที่การผสมผสานเครื่องมือที่มีอยู่ และดูว่าสิ่งที่ต้องทำเพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในระยะยาวคืออะไร ขณะที่การลดดอกเบี้ยจะไปกระตุ้นการใช้จ่ายและกระตุ้นความเสี่ยงต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจมากขึ้นด้วย และเมื่อเงินทุนไหลเข้ามาก การขยายตัวของสินเชื่อมากขึ้น ก็ทำให้เศรษฐกิจภายในกำลังสะสมหนี้ ภาครัฐก็กำลังกู้เงินไปลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน บริษัทเอกชนกู้เงินจากแบงก์ไปลงทุนต่างประเทศ เกิดการสะสมหนี้ทั้งระดับครัวเรือน รัฐ และบริษัทเอกชน ดังนั้นจึงต้องดูให้ดีว่าการก่อหนี้เหล่านี้นำไปสู่ประโยชน์ทางเศรษฐกิจในระยะยาว
BBL ชี้เงินบาทยังไม่น่ากังวล
ด้าน ดร.กอบศักดิ์ ภูตระกูล ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารกรุงเทพจำกัด (มหาชน) มองว่า ทิศทางการแข็งค่าของค่าเงินบาทขณะนี้ยังไม่น่ากังวล เพราะตั้งแต่ต้นปีจนถึงขณะนี้ เงินบาทแข็งค่าขึ้นไป 3% เป็นการแข็งค่านำสกุลเงินอื่นในภูมิภาคที่แข็งค่าที่ 1% จากปกติที่ค่าเงินบาทจะแข็งตามหลังเงินสกุลในภูมิภาค จากที่เงินบาทแข็งค่าในอัตราที่สูงกว่าภูมิภาคจะส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทลดลง เพราะเห็นว่าแข็งค่าสูงกว่าภูมิภาคแล้ว ประกอบกับ ธปท.ก็เข้ามาดูแล จึงเห็นสัญญาณว่าค่าเงินบาทเริ่มตีกลับมาที่ 29.8-29.9 บาท
ส่งผลให้ระยะสั้นจะเห็นการเคลื่อนไหวของค่าเงินบาทที่ผันผวน ซึ่งอยู่ในช่วงการปรับสมดุลของค่าเงินบาท คาดว่า ธปท.จะดูแลสถานการณ์ได้ และยังไม่มีความจำเป็นจะต้องออกมาตรการคุม
อย่างไรก็ดี ในระยะยาวมีความชัดเจนว่าค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น เพราะแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยที่ดีเมื่อเทียบกับต่างประเทศ ประกอบกับสภาพคล่องของโลกจำนวนมาก จากนโยบายอัดฉีดสภาพเงินเข้าสู่ระบบ ที่ต้องการแสวงหาแหล่งลงทุน ซึ่งประเทศไทยเป็นเป้าหมายการลงทุน
หม่อมอุ๋ย มั่นใจเงินบาทไม่ทะลุ 28 บาท
ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล อดีตรองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง และอดีตผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า ขณะนี้ควรจะให้ความสำคัญกับการใช้เครื่องมือดูแลอัตราแลกเปลี่ยน เพื่อไม่ให้เงินบาทแข็งค่า เมื่อเทียบกับสกุลเงินของประเทศคู่ค้า มากกว่าจะไปเถียงกันเรื่องลดดอกเบี้ยนโยบาย เพราะการดำเนินนโยบายการเงินของ ธปท.เหมาะสมอยู่แล้ว อย่างไรก็ดี จนถึงตอนนี้มองว่าค่าเงินบาทเริ่มนิ่งแล้ว เชื่อว่าจะไม่แข็งค่าไปจนถึง 28 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐอย่างแน่นอน
ม.ร.ว.ปรีดิยาธรมองว่า ไม่ควรมีมาตรการไปสกัดการไหลเข้าของเงินทุนอย่างรุนแรง เพราะจะทำให้เงินไหลออกอย่างรุนแรง ซึ่งจะส่งผลกระทบหนักกว่า ควรจะปล่อยให้ ธปท.ดูแลแบบค่อยเป็นค่อยไป ส่วนการจะลดดอกเบี้ยนโยบายหรือไม่ ก็ควรปล่อยให้เป็นหน้าที่ของ กนง.ที่จะมีการพิจารณาข้อมูลอย่างรอบด้าน
Re: ทำไม BOT ไม่ลดดอกเบี้ยนโยบาย
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 06, 2013 4:48 pm
โดย pakhakorn
อะไรที่มีมากเกินไป จนเหลือล้น ก็ไม่สมควรที่จะขายได้ราคาดี หรือยืนอยู่ราคาเดิมได้
แล้วของที่มากเกินไป ถ้าคนซื้อยังไปซื้อราคาแพงๆ หรือยืนราคาเดิมๆให้
ผมถามว่า ระหว่าง คนขาย กับ คนซื้อ ใครทำผิดกฎการตลาด ครับ
เงินล้นโลก เงินท่วมโลก มันก็คือสินค้าตัวหนึ่ง มูลค่าผลตอบแทน(ดอกเบี้ย)ก็ควรลดลง
การที่เราไม่ให้มันลดลง มันก็คือฝืนกับสิ่งที่ควรเป็น มีโอกาสต้องจ่ายความเสียมากขึ้นโดยไม่จำเป็น
(ดูง่ายๆ ธนาคารที่เราใช้บริการกันทุกวันนี้ เขาทำวิธีนี้ หรือ เปล่า)
เมื่อเรารู้และมีวิธีใช้เงินจำนวนมาก ให้เกิดประโยชน์แล้ว ในช่วงจังหวะเงินล้นโลก
และมีคนที่อยากเอาเงินมาให้ใช้จำนวนมาก เราก็ไม่ควรให้ดอกเบี้ยสูง ซิ ครับ
ลดดอกเบี้ยที่จะจ่ายให้เขา ซิ
นั่นคือคำตอบ ผม ว่า ธปท. หรือโดย กนง. ควรลดดอกเ้บี้ย ให้สอดคล้องกับทางเลือกการรับมือแบบ ที่ 3
เป้าหมาย การลดดอกเบี้ยแบบนี้
1. เป็นตามหลักการและเหตุผลใหม่ ตามวิธีใช้ประโยชน์จากเงินท่วมโลก ลดต้นทุนเงินที่เราจะใช้ให้ได้มากที่สุดก็พอ
2. ไม่ใช่เป้าหมายหลักสกัดเงินร้อน เพราะเรายังต้องการเงินเพื่อโครงการใหญ่ๆอยู่ แต่ต้องการต้นทุนการเงินที่ถูกลงมากๆ ผมว่าลดเงินร้อนได้ไม่มากหลอก ลดดอกเบี้ยอีก เงินร้อนก็ยังมาอยู่ดี
3. ไม่ใช่เป้าหมายเพื่อกดค่าเงินบาท(หรือป้องกันเงินบาทแข็งตัว) ค่าเงินหลังจากนี้ จะไปทางไหนก็ปล่อยไปตามกลไกมัน แล้วถ้าค่าเงินบาทจะอ่อนลงเองก็ดี หรือไม่อ่อนลงเลย ก็ช่างมัน ไม่ใช่เป้าหมายหลัก
4. ทำอย่างนี้ เงินเฟ้อ ก็เพิ่มขึ้น ซิ เมื่อหลีกเลี่ยงเงินเฟ้อไม่ได้อยู่แล้ว ไม่ว่าด้วยวิธีการใด เราควรจะอยู่มัน ยอมให้เงินเฟ้อเพิ่มขึ้นได้ และเลือกวิธีเงินเฟ้อที่เพิ่มแล้ว ยังก่อผลดีได้มากสุด ซิ ครับ
5. ขั้นตอนอื่นๆต่อไป ก็ให้เดินตามเป้าหมาย ลดต้นทุนทางการเงินให้ประเทศ ที่จะลงทุนโครงการใหญ่ๆ ซิ ครับ
เป็นความเห็นส่วนตัว ตามข้อสนับสนุนทางเลือกรับมือแบบที่ 3 ที่น่าคุ้มค่า