หน้า 3 จากทั้งหมด 3

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2011 9:06 am
โดย บูรพาไม่แพ้

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2011 9:38 am
โดย pak
Spotting opportunities in the future amid the crisis
Achara Deboonme
The Nation November 28, 2011 9:01 am


After a crisis erupts, when most people are in despair, some are talking about opportunities.
After the 1997 financial crisis, many white-collar workers lost their high-paying jobs and few were happy with that. They started up businesses. Their businesses generated smaller incomes, but greater work flexibility that their former jobs couldn't offer.

It's not yet forgotten that former property developer Siriwat Voravetvuthikun turned himself into the owner of a successful sandwich chain. Now, his sandwiches are still sold at major office buildings.

Just as the ozone layer is getting thinner and causing widespread

skin cancer, researchers recently

discovered a new fibre that can

filter out dangerous UV rays. As only useful rays are allowed to pass through clothing to the skin, skin

doctors are hoping that the fibres

will promise youthful skin for their patients.

Following the Hamburger crisis in 2008, the whole world including Thailand coughed badly. If the US economy stumbles, how many export-oriented economies would survive? But then, they survived well. The US financial crisis forced them to look for new markets that were totally ignored or considered unnecessary in the past.

PTT chief Pailin Chuchottaworn, during an interview on the sidelines of CNBC's 10th Asia Business Leaders Award in Singapore last week, said opportunities always prevail in any crisis. Honoured as the leader in

talent management for his two-year stint at IRPC, when he turned the fallen integrated petrochemical empire into a successful enterprise, he said that this is applicable to everything including the flood disaster in Thailand.

Pailin should have scratched his head, as the flood disaster struck shortly after he won the race to become CEO of the country's biggest company.

The month before officially taking over the helm, he was in charge of the underwater gas pipeline leak.

But he is happy to be in charge. Now, he is guiding PTT towards relief and rehabilitation efforts. PTT is spending thriftily. The CEO believes money is not the issue here, as PTT is a state enterprise and is obligated to help the country.

More importantly, a crisis like this may not return and the company should not feel sorry afterwards that it was doing too little in the face of so much need.

"The floods completely killed our perception that Thailand is safe from disasters. Yet, the Thai economy stands a chance of being resurrected, if we learn from the crisis and seize this opportunity to design a new water management system," he said.

Yes, he was happy for Nakhon Sawan, which recently hosted a big cleaning day to mark the end of the big floods. Yet, he wondered what the people in Nakhon Sawan and policymakers learned from the crisis. Are flood data from different spots in the province available for study? How would they cope if more storms than last year hit Thailand again?

In Japan, after the tsunami, officers were on the scene collecting information on the maximum height of the waves and the most inland areas hit by the waves.

Pailin also sees the need to base the water management plan on the long-term economic direction of the Kingdom. A better irrigation system is necessary, as the agricultural sector will continue to be promoted. A better city plan is necessary if manufacturing is to be saved from this kind of disaster.

"It's useless to blame anyone for this. Nobody has the experience to deal with this, as a disaster on this scale does not occur every year. It's more important that we learn from it and cope with it," he said.

In his speech to Asian leaders gathered at the CNBC gala dinner, he said Thais are fighting on. Yes, we are fighting on. We may be agitated by some corrupt and ignorant politicians, but all - laymen and politicians - need to look forward. At least, as a poll indicated yesterday, more Thais have learned that they should care more for the environment, as it is the cause of the disaster.

After all, the disaster did not wipe Thailand from the world map and everyone needs to contribute his best to the recovery of the country.

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2011 11:06 am
โดย chukieat30
กทม.ตั้งงบซ่อมถนนหลังน้ำลด 826 ล้านบาท หลังสำนักการโยธา สำรวจพบมีถนนได้รับความเสียหาย 98 เส้นทาง

หลังน้ำลดก้ต้องฟื้นฟู และ แก้ไขป้องกัน

แค่กำแพงกั้นนิคม ไม่พอหรอกครับ สุดท้ายก้ต้องย้ายเมืองหลวงและทำฟลัดเวย์

ยังไงก้หนีไม่พ้น ไม่ทำปีนี้ ก้ต้องทำปีหน้า 555+

เป็นโอกาศ ของหุ้นบางตัว และก้เป็น วิกฤติ จริงของหุ้นบางตัวเช่นกัน


ท่ามกลางปัญหาเสดกิจโลก เมื่อเรากำลังจะต้องการฟื้นให้เร็ว ควร

ไปด้วยกัน ทั้งลดดอก กระตุ้นตลาดทุน รัฐทำโครงการก่อสร้างใหญ่ๆ(เพื่อกระตุ้นแรงงาน)

อัดฉีดเงินลงระบบ ลดภาษีนิติบุคคล ให้แหล่งเงินกู้ ดอกต่ำ แก่นิคม

หลัง ไตร2/55 น่าจะเบนหัวกลับมาได้ครับ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2011 11:31 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- จันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน 2554 10:11:15 น.
เมื่อวันที่ 22-24 พฤศจิกายน 2554 นายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) ได้นำคณะผู้แทนไทย ประกอบด้วยนายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงการคลัง นายปรเมธี วิมลสิริ รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) พร้อมด้วยนายประเวช องอาจสิทธิกุล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย เดินทางไปพบกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทรับประกันภัยต่อขนาดใหญ่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ เพื่อชี้แจงข้อมูล และสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ตลาดประกันภัยถึงแนวทางการบริหารจัดการน้ำ และมาตรการป้องกันอุทกภัยของภาครัฐทั้งในระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว

ในการเดินทางครั้งนี้ คณะผู้แทนไทยได้มีโอกาสพบปะหารือกับนาย John Nelson ประธาน Lloyd’s of London ซึ่งเป็นบริษัทรับประกันภัยต่อที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยนาย John Nelson ได้แสดงความชื่นชมกับวัตถุประสงค์ของการเดินทางเยือนกรุงลอนดอนของคณะผู้แทนไทย และเห็นว่าแนวทางการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าอย่างมีประสิทธิภาพ และมาตรการป้องกันอุทกภัยในอนาคตจะเป็นข้อมูลสำคัญและเป็นประโยชน์อย่างมากต่อการสร้างความเชื่อมั่นให้กับบริษัทรับประกันภัยต่อและตลาดประกันภัยโดยรวม ทั้งนี้ นาย John Nelson ได้ยืนยันที่จะให้การสนับสนุนประเทศไทยในการบริหารจัดการความเสี่ยงที่เกิดจากภัยธรรมชาติในอนาคตเพื่อให้ธุรกิจไทยสามารถฟื้นฟูและเดินหน้าต่อไปได้

นอกจากนี้ คณะผู้แทนไทยยังได้มีโอกาสพบกับผู้บริหารระดับสูงของบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่อีก หลายแห่ง อาทิ Ascot, Hiscox, QBE, Swiss Re, Catlin, Zurich Global Corporate, Beazley Group, Munich Re, Scor และ Aviva เป็นต้น ซึ่งการชี้แจงได้รับการตอบสนองเป็นอย่างดี โดยในมุมมองของบริษัทประกันภัยเห็นว่าข้อมูลที่รวดเร็วและถูกต้องเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับการสร้างความเชื่อมั่นในธุรกิจประกันภัย ซึ่งการที่รัฐบาลไทยส่งคณะผู้แทนเดินทางมาชี้แจงโดยตรงในครั้งนี้จัดได้ว่าเป็นการเปิดช่องทางการสื่อสารกับตลาดประกันภัยที่รวดเร็วและถูกต้อง สิ่งที่สำคัญต่อจากนี้ คือ การให้ข้อมูลอย่างต่อเนื่องถึงความคืบหน้าอย่างเป็นรูปธรรมของการดำเนินการตามแผนงานต่างๆ ที่ได้กำหนดไว้

การเดินทางไปประเทศอังกฤษในครั้งนี้ถือว่าประสบความสำเร็จเป็นอย่างมาก ในการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดประกันภัยของโลกว่า ประเทศไทยมีความตั้งใจจริงและมีศักยภาพเพียงพอ ทั้งในเรื่องความรู้ งบประมาณ และบุคลากรในการป้องกันอุทกภัยในอนาคต รวมถึงความสามารถในการบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการตัดสินใจรับประกันภัยโดยเฉพาะภัยที่เกิดจากอุทกภัยของบริษัทประกันภัยในระยะต่อไป

สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020
--ข่าวกระทรวงการคลัง กลุ่มการประชาสัมพันธ์ สนง.ปลัดกระทรวงการคลัง ฉบับที่ 146/2554 25 พฤศจิกายน 54--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 28, 2011 12:51 pm
โดย บูรพาไม่แพ้
"กระทรวงพาณิชย์” เสนอ 3ทางเลือกปลดล็อกพ.ร.บ.ต่างด้าว ชั่วคราว เปิดทางให้บริษัทแม่ในต่างประเทศ ปล่อยกู้บริษัทลูกในไทย

รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ ได้เสนอให้นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการเพื่อให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟู เยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์อุทกภัย ด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของประชาชน (กศอ.) พิจารณามาตรการเร่งด่วนในการช่วยเหลือผู้ประกอบการต่างประเทศที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยให้บริษัทแม่ที่เป็นนิติบุคคลต่างด้าวสามารถปล่อยกู้แก่บริษัทลูกที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย 3 ทางเลือก คือ

1.ออกกฎกระทรวงตาม พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ.2542 เพื่อยกเว้นให้ธุรกิจการบริการให้กู้ยืมเงินและธุรกิจบริการรับค้ำประกันการกู้ยืมเงิน เป็นธุรกิจที่ได้รับการยกเว้นไม่อยู่ภายใต้บัญชีสาม (21) เป็นการชั่วคราว ซึ่งจะช่วยการสนับสนุนให้ผู้ประกอบการที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันช่วยเหลือซึ่งกันและกันได้ทันเหตุการณ์ ลดภาระของรัฐบาล ผู้ประกอบการฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยให้เศรษฐกิจของประเทศเข้มแข็งเร็วขึ้น

2. กระทรวงพาณิชย์เสนอให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณาให้ความเห็นชอบให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจบริการให้กู้ยืมเงินและบริการรับค้ำประกันการกู้ยืมเงินเป็นการชั่วคราว ตามมาตรา 10 วรรค 1 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว

การดำเนินการตามแนวทางนี้จะทำให้คนต่างด้าวไม่ขออนุญาตประกอบธุรกิจ เพียงแต่ยื่นหนังสือรับรองการประกอบธุรกิจจากอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้าก็สามารถดำเนินธุรกิจได้ ทำให้ช่วยลดขั้นตอนและระยะเวลาในการยื่นขออนุญาต ลดเอกสารหลักฐานประกอบคำขอ เช่นรายละเอียดขั้นตอนการประกอบธุรกิจ แผนการถ่ายทอดเทคโนโลยี แผนการจ้างงาน ถือเป็นมาตรการที่สอดคล้องต่อกฎหมายในการยกเว้นให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจเป็นการเฉพาะ

3. ปรับลดขั้นตอนการปฏิบัติงานและผ่อนผันในการยื่นเอกสารหลักฐานรวมทั้งเร่งรัดในการพิจารณาอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว ซึ่งเป็นแนวทางการปฏิบัติงานในการพิจารณาใบอนุญาตให้คนต่างด้าวประกอบธุรกิจในปัจจุบัน สอดคล้องกับมาตรการที่กรมพัฒนาธุรกิจการค้าดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน สามารถลดระยะเวลาในการพิจารณาคำขอ

ทั้งนี้กระทรวงพาณิชย์พิจารณาแล้วเห็นว่าในระยะแรกควรดำเนินการตามแนวทางที่ 3 ควบคู่กับแนวทางที่ 2 เนื่องจากสามารถดำเนินการได้ทันที และทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบัน
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ำท่วม.html

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 29, 2011 8:06 am
โดย บูรพาไม่แพ้
“หม่อมเต่า”ชี้ กนง.จำเป็นต้องลดดอกเบี้ย ช่วยพยุง ศก.หลังโดนน้ำท่วมหนัก
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554 01:47:49 น.
ม.ร.ว.จัตุมงคล โสณกุล ประธานคณะกรรมการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในยามที่เศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบอย่างหนักจากปัญหาน้ำท่วมในครั้งนี้ ตนเห็นว่าการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ในวันที่ 30 พฤศจิกายน นี้ กนง.จำเป็นต้องปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง เพื่อช่วยผลกระทบทางเศรษฐกิจ และในความเห็นส่วนตัว เชื่อว่า กนง.น่าจะพิจารณาปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง จากปัจจุบันที่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ระดับ 3.5% ส่วนหนึ่งเพราะเศรษฐกิจไทยได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วม หากพิจารณาจากราคาน้ำมัน ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจแล้วไทยเองก็ไม่ได้มีปัญหามากนัก

“ในยามที่ประเทศได้รับผลกระทบจากปัญหาน้ำท่วมเช่นหนี้ กนง.จำเป็นต้องลดดอกเบี้ยนโยบายลง เพราะเราเป็นประเทศเดียวกัน ซึ่งผมก็ไม่เป็นคณะกรรมการฯ แต่หากเป็นผม ผมจะลดดอกเบี้ยมากกว่าปกติ ซึ่งปกติกนง.จะปรับลดประมาณ 0.25% เพราะหากดูด้านแรงกดดันด้านราคา และความต้องการซื้อ ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร ขณะที่อัตราดอกเบี้ยปัจจุบันก็เกือบเข้าสู่ภาวะปกติแล้ว” ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าว

ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวต่อว่า แต่สิ่งที่ธปท.กลัว คือแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ ซึ่งขณะนี้เงินเฟ้ออาจจะปรับตัวขึ้นบ้างจากปัญหาน้ำท่วม แต่ขณะเดียวกันสิ่งที่ธปท.ก็ต้องมองด้วยก็คือ การดูสภาพจิตใจคนด้วย จึงถือเป็นเรื่องยากที่ธปท.จะต้องชั่งน้ำหนักอย่างมากระหว่างความเสี่ยงเงินเฟ้อ และการขยายตัวของเศรษฐกิจ และธปท.คงเสียดาย เพราะดอกเบี้ยนโยบายก็จะเริ่มกลับเข้าสู่ภาวะปกติแล้วแต่มาเจอเรื่องน้ำท่าวมเสียก่อน

ม.ร.ว.จัตุมงคล กล่าวด้วยว่า ข้อดีของระบบกำหนดกรอบอัตราเงินเฟ้อ (Inflation Targeting) ในการทำนโยบายการเงิน คือ ไม่มีใครเสียหายทันทีที่กนง.จะขึ้นหรือลดดอกเบี้ย เพราะ นโยบายดอกเบี้ยกว่าจะเห็นผลต้องใช้เวลาอย่างน้อยเป็นปีกว่าจะเห็นผล นอกจากนี้ดอกเบี้ยไม่ได้มีผลต่อการไหลเข้าออกของเงินทุนโดยตรง หรือทำให้เงินบาทอ่อนค่า เพราะนักลงทุนจะลงทุนหรือไม่ เขาไม่ได้ดูเพียงส่วนต่างอัตราดอกเบี้ย และจะพิจารณาปัจจัยอื่นๆประกอบด้วย แต่การขึ้นหรือลงดอกเบี้ยของกนง.เป็นเพียงการส่งสัญณาณกับตลาด ซึ่งตลาดจะดูว่าเราทำดอกเบี้ยถูกทิศทางหรือไม่มากกว่า

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 29, 2011 8:09 am
โดย บูรพาไม่แพ้
แบงก์โลกฟันธงไทยใช้7.56แสนล.ฟื้นศก. หลังภาคการผลิตจมน้ำถ้วนหน้า ดัชนีอุตสาหกรรมติดลบ35.8%
ข่าวเศรษฐกิจ หนังสือพิมพ์แนวหน้า -- อังคารที่ 29 พฤศจิกายน 2554 01:47:49 น.
แบงก์โลกประเมินไทยต้องใช้เม็ดเงินมหาศาลในการฟื้นฟูเศรษฐกิจให้กลับมาเดินหน้าได้อีกครั้ง

ขณะที่เดือนตุลาคมดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรมเจอน้องน้ำทำพิษติดลบ35.8% ยานยนต์เจอหนักสุดหลังหลายค่ายหยุดผลิต ส่งออกต่ำสุดในรอบ 10 ปี

น.ส.กิริฎา เภาพิจิตร นักเศรษฐศาสตร์อาวุโส ธนาคารโลก ประจำประเทศไทย กล่าวว่า

จากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งใหญ่นี้สร้างความเสียหายต่อประเทศไทยอย่างมากถึง 1.36 ล้านล้านบาทประเมินว่าประเทศไทยน่าจะใช้เงินในการฟื้นฟูเศรษฐกิจเพื่อให้กลับมาเริ่มต้นผลิตใหม่ในช่วงปี 2555 -2556 ในวงเงินประมาณ 7.56แสนล้านบาทโดยเงินที่น้ำมาฟื้นฟู แบ่งเป็นเม็ดเงินที่ต้องใช้ในระยะสั้น6 เดือน 2.47แสนล้านบาท ช่วง6เดือน-2ปีประมาณ 3.86 แสนล้านบาท และที่จะใช้เป็นเวลามากกว่า2ปี อีก 1.23 แสนล้านบาท

"ความต้องการใช้เงินดังกล่าว เชื่อว่าไม่เป็นปัญหากับรัฐบาลไทย เพราะยังมีศักยภาพในการกู้เงินในเพดานตามที่กฏหมายกำหนด ส่วนจะกู้ในประเทศหรือจากต่างประเทศก็ขึ้นอยู่กับรัฐบาลเพราะสามารถทำได้อยู่แล้ว" น.ส.กิริฎา กล่าว

นายอภิวัฒน์ อสมาภรณ์ รองผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) เปิดเผยว่าดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม(MPI) เดือนตุลาคม 2554 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนอยู่ที่ระดับ 122.75 ลดลง35.8% เพราะได้รับผลกระทบชัดเจนจากปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้ผู้ผลิตได้รับความเสียหายถ้วนหน้าโดยอัตราการใช้กำลังการผลิตอยู่ที่ 46.4%อุตสาหกรรมหลักที่ทำให้ค่าดัชนีติดลบประกอบด้วย ยานยนต์ ฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องปรับอากาศ และสิ่งทอ

การผลิตยานยนต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน การผลิตลดลง 61.3% การจำหน่ายลดลง 56.1% จากปัญหาน้ำท่วม ส่งผลให้การส่งออกลดลงเกือบทุกตลาด โดยมูลค่าการส่งออกรถยนต์ของไทยติดลบ 16.2% ในเดือนตุลาคมรุนแรงมากสุดในช่วง 10 ปีและเป็นการลดลงในรถยนต์ทุกประเภท เนื่องจากโรงงานผลิตได้รับความเสียหายจากน้ำท่วมใหญ่ บรรดาค่ายรถยนต์ต่างๆ หยุดผลิตชั่วคราว

การผลิตฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ การผลิตและจำหน่าย ลดลง 52.4%และ 48.2% ตามลำดับ เนื่องจากน้ำท่วมที่ท่วมนิคมอุตสาหกรรม และเป็นที่ตั้งของโรงงานผู้ผลิตหลายราย โดยน้ำท่วมครั้งนี้ยังได้ส่งผลกระทบอย่างมากต่ออุตสาหกรรมฮาร์ดดิสก์ไดร์ฟ ทำให้เกิดภาวะขาดแคลนสินค้าไปทั่วโลกเพราะไทยเป็นฐานการผลิตส่งออกสู่ตลาดโลกมากกว่า 50%

การผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ การผลิตและจำหน่าย ลดลง 45.5% และ 43.2% ตามลำดับ เนื่องจากน้ำท่วมโรงงานผลิตในพื้นที่จ.พระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ผลกระทบครั้งนี้ ส่งผลให้แนวโน้มการผลิตและการจำหน่ายที่คาดว่าจะดีขึ้นในไตรมาสที่ 4 เปลี่ยนเป็นหดตัวลง คาดว่าจะใช้เวลา 1-2 เดือน ในการฟื้นฟูโรงงานต่างๆ

การผลิตเครื่องปรับอากาศ การผลิตและจำหน่าย ลดลง 42.2% และ 20.0% ตามลำดับ เพราะไม่สามารถขนส่งชิ้นส่วนการผลิตได้ เนื่องจากโรงงานหลายแห่งที่ตั้งอยู่ในพื้นที่น้ำท่วม

ขณะที่การผลิตด้านสิ่งทอการผลิตและจำหน่ายลดลง 33.9% และ 36.5% เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวลง ประกอบกับโรงงานที่อยู่ในเขตพื้นที่น้ำท่วมไม่สามารถผลิตสินค้าได้

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 29, 2011 10:24 pm
โดย chukieat30
แบงก์โลกฟันธงไทยใช้7.56แสนล.ฟื้นศก. หลังภาคการผลิตจมน้ำถ้วนหน้า ดัชนีอุตสาหกรรมติดลบ35.8%


งบแค่นี้ จะพอเหรอครับ

แล้วที่ติดไว้บนป้าย จะทำไหมครับ แล้วถ้าไม่ทำ จะผิด ไหมครับ

ฐานเสียงจะสั่นคลอนไหมครับ

ปชช จะเชื่อมั่นไหมครับ


ป้ายเค้าเขียนแบบนี้ จะให้ผมมองไงดีครับ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 29, 2011 10:40 pm
โดย chukieat30
300จะเลื่อนไหมครับ ไม่เลื่อนภาคอุต ก้คงจะเซ กู๊ดบายครับ คิดดีๆ ตัวเลขภาคอุตร่วงขนาดนี้

ถ้าเหยียบซ้ำทันที ผลิตไม่ได้ คนตกงานเพราะเค้า ทิ้ง เราไป มันจะแย่เอานะครับ

น่าจะเลื่อนไปสัก ไตร3/55 ค่อยทำ รอยุโรปนิ่ง ไทยเริ่มดี ค่อยว่ากัน

ก้ยังไม่ผิด นิ ครับ

อันอื่นก้เดินถูกแล้ว 300 ขอเถอะครับ ปีหน้า ก้ยังทัน

ถ้าจะเอาหัวเบนขึ้น ต้องไม่ให้ภาคครัวเรือนล้ม---ซึ่งถ้าภาคอุตรอด เค้าก้รอด

ถ้าจะเอาหัวเบนขึ้น ต้องขุดน้ำมันตรงพื้นที่ทับซ้อนมาขาย

ถ้าจะเอาหัวเบนขึ้น ต้องยึดทรัพย์พวกขี้โกงชาติมาก่อน

ถ้าจะเอาหัวเบนขึ้น ต้องแปลงหมากในกระดานจากดำให้เป็นขาว

เปลี่ยนพลังมืดให้สว่าง ลดภาษี ของสว่าง เก็บภาษีของมืดมากขึ้น


ตรงพื้นที่ทับซ้อนมีน้ำมัน ถ้าเราขุดได้ เราก้ขายปลีกในประเทศราคาถูกได้แบบมาเลย์

พอน้ำมันถูก เด๋วราคาของก้จะถูกลงเอง คนต้องอยู่ได้ถึงซื้อของงราคาสูง (สองสูง)

คนอยู่ไม่ได้ ซัพพลายล้น สุดท้าย ก้ต้อง ลงราคา (จะให้สูงคงไม่ได้)

น่าจะให้ ปชช โหวตเลย

ถ้าเรายอม 50/50 กับขะแมร์ แบ่งสันปันส่วนน้ำมัน คนที่ทำได้ ผมว่าจะลดภ่าระ

พี่น้อง ปชชได้ในทันที เห็นผลยิ่งกว่า วิธีอื่น

คุมราคาน้ำมันได้ ก้คุม ราคาสินค้าได้นะครับท่าน

:mrgreen: :mrgreen: :mrgreen:

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 30, 2011 10:46 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ประธาน กยอ.ยันนักลงทุนทุน "ญี่ปุ่น-อังกฤษ" ไม่ทิ้งไทยมั่นใจดึงเชื่อมั่นได้ 100 % ย้ำใช้งบฟื้นฟู 1.2 แสนล้าน พร้อมออกพันธบัตร ดึงทุนสำรองใช้



ดร.วีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ หรือ กยอ. เปิดเผยกับสำนักข่าว ไอ.เอ็น.เอ็น. ในรายการเปิดข่าวเด่นเจาะประเด็นดัง FM 102.75 MHz ว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการแผนฟื้นฟูฯ คืบหน้าไปมากแล้ว โดยเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้ไปพบนักลงทุนที่ประเทศอังกฤษ และพบกับ" บริษัทรับประกันภัยต่อ" ของประเทศอังกฤษ จำนวน 13 บริษัท รวมถึงได้พบประธานกรรมการของบริษัทลอยด์ ออฟ ลอนดอน ธุรกิจรับประกันภัยต่อ รายใหญ่ที่ประเทศอังกฤษ ด้วยเช่นกันเพื่อให้ความมั่นใจว่า ถึงแม้ฝนตกมากแค่ไหน น้ำต้องไม่ท่วม และวันนี้ก็ได้เตรียมพบนักลงทุนญี่ปุ่น รวมถึง องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของประเทศญี่ปุ่น หรือไจก้า เพื่อยืนยันว่าประเทศไทยได้ดำเนินการแผนระยะสั้น ระยะกลาง และ ระยะยาว ในการฟื้นฟูประเทศ หลังน้ำลด และป้องกันน้ำท่วมซ้ำในปีหน้า โดยแผนระยะสั้นจะต้องดูแลการทำงานให้มีประสิทธิภาพภายใน 9-10 เดือนข้างหน้านี้ให้ได้ และขั้นต่อไปจะต้องวางแผนน้ำท่วมซ้ำ ในระยะยาว รวมถึงมาตรการ โครงสร้างพื้นฐานให้มีมาตรฐานที่สูงขึ้น จากนั้นจึงไปดูเรื่องของการลงทุน ทั้งนี้ แผนการป้องกันน้ำท่วมต้องบูรณาการทั้งหมด และทันที ตั้งแต่การกำจัดขยะ วัชพืชต่างๆ เสริมคันกั้นน้ำ ขุดคูคลองต้องรีบโดยเร็ว ที่สำคัญเครื่องสูบน้ำ ประตูระบายน้ำที่เก่า ชำรุดต้องซ่อมบำรุงให้เข้าที่

ดร.โกร่ง กล่าวด้วยว่า การพบปะนักลงทุนญี่ปุ่น วันนี้ได้คุยเรื่องของนิคมอุตสาหกรรม ที่จมน้ำทั้ง 7 แห่ง และวิธีการกู้ให้โรงงานสามารถกลับมาดำเนินการผลิตได้ปกติโดยเร็วที่สุด คาดว่า แผนการฟื้นฟูฯ ทั้งหมดใช้งบประมาณแผ่นดิน 1.2 พันล้านบาท การออกพันธบัตร หรือ ดึงเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ มาใช้ ซึ่งต้องหารือในรายละเอียดกันอีกครั้ง แต่คิดว่าไม่น่าจะมีปัญหาส่วนที่ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย หรือ ธปท.แนะนำให้ออกพันธบัตร เป็นสกุลเงินบาทนั้น ดร.โกร่ง กล่าวว่า ตนคิดเองได้ แต่อย่างไรก็ตาม ยืนยันว่า นักลงทุนในต่างประเทศ ที่ได้พบปะและหารือไม่พบว่า จะมีการย้ายฐานการลงทุนและมั่นใจว่าสามารถดึงความเชื่อมั่นจากนักลงทุนให้ลงทุนในประเทศไทยได้ 100 %


Link : http://www.innnews.co.th/ดร-โกร่งยันดึง ... 36_02.html

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 08, 2011 10:03 am
โดย pak
'ไจกา'เลิกให้เงินช่วยไทย200ล.สร้างคันกั้นน้ำนิคม
Source - ไทยโพสต์ (Th), Thursday, December 08, 2011

กรุงเทพฯ * "ไจกา" เลิกช่วยเหลือเงินสร้างคันกั้นน้ำนิคมอุตสาหกรรมนำร่อง 200 ล้าน ขอทำแค่ปรึกษาด้านเทคนิค "วรรณรัตน์" กัดฟันโวยังมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 15,000 ล้านบาทรองรับ ตั้งอนุกรรมการน้ำภาคเอกชนแล้ว ดึง "ปูนใหญ่-ปตท." ร่วมสร้างฝัน

เมื่อวันพุธ นพ.วรรณรัตน์ ชาญนุกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม ให้สัมภาษณ์ว่า อุปทูตญี่ปุ่นได้มาพบเพื่อแจ้งว่า นายอิซูมิ อาไร รองประธานองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจกา) ขอยกเลิกโครงการความช่วยเหลือลงทุนสร้างแนวป้องกันน้ำท่วมในนิคมอุตสาหกรรมที่ถูกน้ำท่วม 1 แห่ง ซึ่งจะเป็นโครงการนำร่องและต้นแบบสำหรับการก่อสร้างแนวกั้นน้ำในนิคม มูลค่าเงินลงทุน 200 ล้านบาท

"ตอนนี้เหลือแค่การช่วยให้คำปรึกษาแนะนำด้านเทคนิค เราก็ได้ขอให้ไจกาทำหนังสือแจ้งขอยกเลิกมาอย่างเป็นทางการ เพราะที่ผ่านมามีการให้ข้อมูลผ่านสาธารณชนไปแล้ว" นพ.วรรณรัตน์กล่าว และว่า แม้ไจกาไม่ได้ให้ความช่วยเหลือด้านการเงิน แต่รัฐบาลก็ยังมีเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ 7 ปี วงเงิน 15,000 ล้านบาท เพื่อให้ผู้ประกอบการและผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมสามารถกู้เงินส่วนนี้ไปลงทุนก่อสร้างแนวคันกั้นน้ำได้

ส่วนความคืบหน้าการกู้นิคมฯ ต่างๆ นั้น พบว่า เหลือเพียงนิคมฯ สหรัตนนครเท่านั้นที่น้ำท่วมขังอยู่ ส่วนเขตอุตสาหกรรมแฟคทอรี่แลนด์เปิดดำเนินการแล้ว 70 โรงจาก 93 โรงงาน, นิคมฯ บางปะอินเปิด 6 โรงจาก 90 โรงงาน, นิคมฯ บ้านหว้า (ไฮเทค) เปิด 7 โรงจาก 143 โรงงาน, (ไฮเทค) เปิด 7 โรงจาก 143 โรงงาน, นิคมฯ โรจนะเปิด 2 โรงจาก 245 โรงงาน และนิคมฯ บางกะดี โรงงานของบริษัท เอสวีไอ จำกัด (มหาชน) เปิดดำเนินได้เป็นโรงแรก และในวันที่ 9 ธ.ค.นี้ กระทรวงอุตสาหกรรมจะแถลงข่าวขอบคุณกำลังทหารที่มาช่วยป้องกันนิคมฯ บางชัน

นายเจน นำชัยศิริ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ยอมรับว่า ต้องรอดูเหตุผลที่ไจกาถอนการช่วยเหลือ ซึ่งเบื้องต้นฟังแล้วรู้สึกแปลกใจ และคิดว่าไจกาจะชี้แจงถึงเหตุผลอีกครั้ง แต่ในด้านความเชื่อมั่นคงไม่มีปัญหา เพราะแม้ไม่ช่วยเรื่องเงิน แต่ยังช่วยด้านเทคนิคอยู่

วันเดียวกัน นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานคณะอนุกรรมการด้านการประสานความร่วมมือกับภาคเอกชนกล่าวว่า ได้เสนอรายชื่อคณะกรรมการที่จะอยู่ในคณะอนุกรรมการต่อนายวีรพงษ์ รามางกูร ประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) แล้ว และอยู่ระหว่างรอลงนามแต่งตั้ง ซึ่งคณะอนุกรรมการจะประกอบด้วยตัวแทนภาคเอกชนทั้งหมด เช่น ประธานหอการค้าแห่งประเทศไทย, ประธาน ส.อ.ท., ผู้แทนจากตลาดทุน และผู้บริหารองค์กรใหญ่ เช่น บมจ.ปตท., บมจ.เอสซีจี เป็นต้น

นายประเสริฐระบุว่า กรอบการทำงานอนุกรรมการจะเป็นศูนย์ระดมสอบถามความคิดเห็นจากภาคเอกชนทั้งในและต่างประเทศต่อโครงการลงทุนของรัฐบาลผ่าน กยอ.ในระยะสั้น ปานกลาง และยาว ว่าเอกชนอยากเห็นอะไร เพื่อประสานไปยัง กยอ. ให้เกิดผลในทางปฏิบัติที่ตรงกับความต้องการของภาคเอกชน รวมถึงคณะอนุกรรมการจะเป็นหน่วยงานคอยติดตามการดำเนินงานของรัฐให้โครง อนุกรรมการจะเป็นหน่วยงานคอยติดตามการดำเนินงานของรัฐให้โครง การเกิดขึ้นในลักษณะพูดจริงทำจริง

"จะทำหน้าที่สื่อสารสองทางระหว่างภาครัฐและเอกชน และจะสื่อสารเป็นระยะ เช่น กรอบความคิดเรื่องบริหารจัดการน้ำจะทำอย่างไร ทำ ทางน้ำเพิ่ม หรือสร้างแหล่งกักน้ำ การพลิกวิกฤติเป็นโอกาสฟื้นนิคมฯ ให้สามารถแข่งขันได้ ไม่ย้ายฐานหนีไปไหน หรือจะวางกรอบการตั้งโซนนิคมฯ ใหม่หรือไม่ ทั้งหมดเป็นโจทย์ที่ต้องทำกัน เพื่อฟื้นความเชื่อมั่นของภาคเอกชน" นายประเสริฐย้ำถึงหน้าที่อนุกรรมการ

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประ ธาน ส.อ.ท. กล่าวภายหลังลงนามบันทึก ข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง ส.อ.ท. คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และสมาคมศิษย์เก่าวิศว กรรมศาสตร์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยา ลัย ว่าได้ทำบันทึกความร่วมมือเพื่อช่วย เหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม โดยเฉพาะผู้ประกอบการเอสเอ็มอีหลังน้ำลดใน 5 เรื่อง อาทิ พัฒนาและรวบรวมองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่จำเป็นสำหรับการฟื้นฟูเครื่องจักร อุปกรณ์ การดำเนินการฟื้น ฟูเครื่องจักร อุปกรณ์ การฝึกอบรมบุคลากรช่างของผู้ประกอบการและให้คำแนะนำโดยผู้เชี่ยวชาญ และการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ที่จำเป็น

"เบื้องต้นจะเน้นเข้าไปซ่อมแซมใน 2 ส่วนสำคัญคือ ส่วนสมองกล วงจรอิเล็กทรอนิกส์ และส่วนกำลัง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพวกมอเตอร์ เพื่อให้สามารถกลับมาใช้งานได้เร็วที่สุด" นายพยุงศักดิ์กล่าว และว่า คณะวิศวะได้คิดค้นน้ำยาทำความสะอาดเครื่องจักรขึ้นมา เพื่อมอบให้ผู้ประกอบการสามารถนำกลับดำเนินการซ่อมเครื่องจักรเองได้ โดยมี บมจ.ปตท.และ บมจ.เอไอเอส ให้การสนับสนุนเงินรายละ 1 ล้านบาท เพื่อนำไปใช้ให้เป็นรูปธรรมโดยเร็ว

นายประเสริฐยังกล่าวถึงนโย บายการชะลอการจัดเก็บภาษีน้ำมันดีเซลว่า เป็นแนวทางที่รัฐบาลสมควรทำในภาวะประชาชนได้รับผลจากน้ำดีเซลว่า เป็นแนวทางที่รัฐบาลสมควรทำในภาวะประชาชนได้รับผลจากน้ำท่วม ซึ่งมีปัญหาเรื่องค่าครองชีพ แต่หากจัดเก็บควรทยอยเก็บ ไม่ใช่ครั้งเดียว 5 บาทต่อลิตร แม้ว่าสุดท้ายภาษีน้ำมันควรต้องจัดเก็บก็ตาม.

--จบ--

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 09, 2011 3:29 pm
โดย syj
ไปแล้วอีกหนึ่ง ...

http://www.matichon.co.th/news_detail.p ... &subcatid=
อุทกภัยเป็นเหตุ บ. ซันโย เซมิคอนดักเตอร์ ประเทศไทย ประกาศเลิกกิจการแล้ว ส่งผลคนตกงานกว่า 2 พัน

วันที่ 09 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 08:53:49 น.

จากสถานการณ์วิกฤตอุทกภัย จนทำให้โรงงานในนิคมหลายแห่งได้รับความเสียหายอย่างหนัก ล่าสุดมีรายงานข่าวว่า บริษัท ซันโย เซมิคอนดักเตอร์ (ประเทศไทย)ผู้ผลิตชิ้นส่วน อิเล็กทรอนิกส์ ไอซี ได้ประกาศหยุดการผลิตอย่างถาวรกับพนักงาน ในห้องประชุมของโรงแรมแห่งหนึ่ง เมื่อคืนวันที่ 8 ธันวาคม 2554 เนื่องจากโรงงานเสียหายอย่างมากจากน้ำท่วมขังเป็นเวลานาน และไม่สามารถซ่อมแซมและกู้โรงงานใหม่ได้เพราะจะมีค่าใช้จ่ายสูงมาก ไม่คุ้ม ส่งผลให้พนักงานกว่า 2,000 คนต้องตกงาน ซึ่งบริษัทได้จ่ายค่าแรงให้กับพนักงานรายวัน 600 คน ที่มีอายุงาน 3-6 ปี จ่าย 10 เดือน ส่วนอายุงานมากกว่า 10 ปี จ่าย 14 เดือน

เมื่อปี 2550 บริษัทซันโย เซมิคอนดักเตอร์(ประเทศไทย) มียอดขายรวม 12,000 ล้านบาท

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 27, 2011 9:03 am
โดย pak
ชงสยบน้ำถาวร 3.5 แสนล้าน [ ไทยรัฐ, 27 ธ.ค. 54 ]

นายนิพัทธ พุกกะณะสุต คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการบริหารจัดการทรัพย์กรน้ำ (กยน.) เปิด
เผยว่า ที่ประชุม กยน.ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ได้ข้อสรุปแผนยุทธศาสตร์ระยะเร่งด่วนและระยะยาว
เพื่อเสนอที่ประชุม ครม.ในวันที่ 27 ธ.ค.นี้ ขณะเดียวกัน คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้าง
อนาคตประเทศ (กยอ.) ที่มีนายวีรพงษ์ รามางกูร เป็นประธาน จะเสนอแผนการจัดหาเม็ดเงินเพื่อนำมา
ใช้ในการดำเนินแผนทั้งหมด วงเงิน 350,000 ล้านบาท โดยจะเสนอให้ครม.พิจารณาในหลักการเพื่อคืน
หนี้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน (เอฟไอดีเอฟ) กลับไปให้ธนาคารแห่งประเทศไทย
(ธปท.) รับผิดชอบ

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 27, 2011 9:10 am
โดย pak
กยน.มีมติสร้าง "ฟลัดเวย์" ตามแนวพระราชดำริ ชงครม.27ธ.ค. [ ประชาชาติธุรกิจ, วันที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2554 เวลา 19:06:12 น. ]
น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการจัดการน้ำ หรือ กยน. ใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมง โดยนายปราโมทย์ ไม้กลัด อดีตอธิบดีกรมชลประทาน หนึ่งในคณะกรรมการ เปิดเผยว่า จะแบ่งปัญหาเรื่องน้ำออกเป็น 2 ระดับ คือ เร่งด่วน และระยะยาว ระยะเร่งด่วน จะมีการซ่อมแซม ปรับปรุงสิ่งต่างๆ ที่ถูกน้ำท่วมเสียหาย ทั้งพื้นที่การเกษตร บ้านเรือน ส่วนแผนระยะยาวคือ การป้องกัน โดยหนึ่งในนั้นคือ การสร้างฟลัดเวย์ เพื่อระบายน้ำออกสู่อ่าวไทยโดยเร็วที่สุด ตามแนวพระราชดำริของ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ


นอกจากนี้ ยังมีการกำหนดเขตเศรษฐกิจลุ่มน้ำเจ้าพระยา ตั้งแต่นครสวรรค์ ลงมาจนถึงกรุงเทพฯ กำหนดเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์ จำนวน 35,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งจะนำประเด็นนี้เข้าหารือในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี วันพรุ่งนี้(27 ธ.ค.54)

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 29, 2011 9:30 am
โดย บูรพาไม่แพ้
ครม.อนุมัติตั้งกองทุนจัดการน้ำ3.5แสนล.
27 ธันวาคม 2554 เวลา 14:28 น.
มติ ครม.ผ่านหลักการตั้งกองทุนบริหารจัดการน้ำระยะยาว 3.5 แสนล้านบาท -กองทุนประกันภัย 50,000 ล้าน

นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) มีมติเห็นชอบในหลักการในการจัดตั้งกองทุนเพื่อนำมาใช้ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานการบริหารจัดการน้ำอย่างบูรณาการในระยะยาว วงเงิน 3.5 แสนล้านบาท โดยมีบางโครงการที่สามารถดำเนินการได้ทันที

นอกจากนี้ ครม.ยังเห็นชอบในหลักการในการจัดตั้งกองทุนเพื่อการประกันภัยในวงเงิน 50,000 ล้านบาท โดยรัฐบาลเห็นว่าควรมีการจัดตั้งกองทุนนี้ขึ้น เพื่อจัดระบบประกันภัยให้สามารถดูแลตัวเองได้ โดยเฉพาะช่วงเกิดเหตุภัยพิบัติทางธรรมชาติ เนื่องจากยังมีความกังวลของบางบริษัทที่ไม่ได้ทำประกันภัยต่อในต่างประเทศไว้

นายกิตติรัตน์ กล่าวด้วยว่า ที่ประชุมครม.ยังอนุมัติแผนแม่บทในการบริหารจัดการน้ำแบบบูรณาการ ครอบคลุมใน 8 ด้าน เช่น ด้านการขยายพื้นที่ปลูกป่าเพื่อสร้างสมดุลเชิงนิเวศ, การสร้างระบบการจัดเก็บน้ำ เช่น การสร้างเขื่อน หรือแก้มลิง, การจัดการด้านผังเมือง และการเตรียมพร้อมรับมือกับเหตุภัยพิบัติที่อาจจะรุนแรงมากขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ดี คณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ(กยอ.) ได้มอบหมายให้นายปลอดประสพ สุรัสวดี รมว.วิทยาศาสตร์และเทคโลโลยี ไปประสานงานกับผู้เชี่ยวชาญในเรื่องข้อมูลภาพถ่ายทางอากาศที่จะทำให้รับทราบถึงข้อมูลในแต่พื้นที่ได้อย่างละเอียด ซึ่งในจุดนี้จะมีการประสานงานกับหน่วยงานอื่นๆ เช่น องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น(ไจก้า)

ขณะเดียวกัน ครม.ยังได้มอบหมายให้นายธีระ วงษ์สมุทร รมว.เกษตรและสหกรณ์ ไปสำรวจโครงการด้านการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาอุทกภัยว่าจำเป็นต้องมีการซ่อมและสร้างให้กลับมาเหมือนเดิมในพื้นที่ใดบ้าง รวมถึงให้หลักการในการจัดตั้งหน่วยงานที่จะบริหารจัดการน้ำแบบรวมศูนย์กลางเข้าไว้ด้วยกัน
http://www.posttoday.com/ธุรกิจ-ตลาด/12 ... ้ำ3-5แสนล-

Re: แผนฟื้นฟูประเทศหลังน้ำท่วม

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 04, 2012 9:43 am
โดย pak
รัฐบาลปลุก'บีโอไอแฟร์ 2011'โอกาสสุดท้ายเรียกความเชื่อมั่น
Source - เดลินิวส์ (Th), Wednesday, January 04, 2012
ทีมเศรษฐกิจ


หลังความเชื่อมั่นนักลงทุนที่มีต่อรัฐบาลลดลงอย่างรวด เร็วจากกรณีที่ไม่สามารถป้องกันน้ำท่วมพื้นที่นิคมอุตสาหกรรม 7 แห่ง จนสร้างความเสียหายอย่างยับเยิน แค่เฉพาะภาคธุรกิจก็ปาเข้าไปแล้ว 700,000 -800,000 ล้านบาท

แถมยังมีข่าวหนาหูว่าทุนข้ามชาติต่าง ๆ เริ่มทยอยชิ่งหนีจากไทย จากสารพัดปัญหาที่ถาโถมเข้าใส่ ไม่ว่าจะเป็นความขัดแย้งทางการเมือง หรือนโยบายการปรับขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดด รวมถึงภัยธรรมชาติที่ระยะหลัง ๆ เริ่มเพิ่มทวีความรุนแรงมาตลอด

แม้ว่ารัฐบาลพยายามเร่งหาวิธีการต่าง ๆ ในการสร้างขวัญกำลังใจนักลงทุนไม่ให้ทิ้งประเทศไทยไปไหน ด้วยการให้มาตรการเยียวยาแบบจุใจ ไม่ว่าจะเป็นการผ่อนผันค่าธรรมเนียมกับโรงงานที่ถูกน้ำท่วม, การยกเว้นภาษีต่าง ๆ, การพักชำระหนี้ การให้ดอกเบี้ยเงินกู้ต่ำ

แต่แค่นี้ไม่พอยังมีไม้เด็ดอย่างแผนการลงทุนหลายแสนล้านบาทในการจัดการบริหารน้ำเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำท่วมในอนาคต แถมยังมีเงินกู้ 15,000 ล้านบาท ดอกเบี้ย 0.01% แก่ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมเพื่อสร้างเขื่อนกั้นน้ำ เพื่อหวังสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุน

แต่ดูเหมือนว่ามาตรการต่าง ๆ ที่รัฐบาลทุ่มหมดหน้าตักยังไม่ทำให้นักลงทุนเชื่อมั่นได้ 100% ที่ฝากอนาคตธุรกิจไว้กับเมืองไทย แม้แผนจะมีความคืบหน้าในระดับหนึ่งก็ตามแต่ก็ยังไม่ชัดเหมือนกับผู้พัฒนานิคมที่ส่วนใหญ่เดินหน้ากู้เงินและเดือน ม.ค.-ก.พ. นี้คงจะหาผู้ประมูลงานได้แล้ว

ดังนั้นโอกาสสุดท้ายที่รัฐบาลจะได้กล่อมบรรดาซีอีโอตัวเป็น ๆ กลุ่มทุนข้ามชาติระดับโลกให้อยู่ต่อในไทย คือการจัดงาน ’บีโอไอแฟร์ 2011 รวมพลังน้ำใจ โลกสดใส ไทยยั่งยืน" วันที่ 5 - 20 ม.ค. 55 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี งานนี้สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ได้เชิญเจ้าสัวทั้งไทยและเทศทั่วโลก 350 บริษัทมาร่วมประชุม พร้อมจัดงานสัมมนาหัวข้อทางธุรกิจอีกกว่า 200 ข้อเพื่อถ่ายทอดความรู้ในการพัฒนาธุรกิจ

ล่าสุดได้รับการยืนยันจาก บีโอไอว่า มีซีโออีตอบรับมาแล้วไม่ต่ำกว่า 300 บริษัท ซึ่งจำนวนนี้เจ้าสัวระดับบิ๊ก ๆ ของเมืองไทยตอบรับมาหมดแล้ว อาทิ เจ้าสัวเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) "ธนินท์ เจียรวนนท์",เจ้าสัวแห่งไทยเบฟเวอเรจ "เจริญ สิริวัฒนภักดี" หรือแม้แต่กลุ่มทุนใหญ่อย่าง เครือเอสซีจี, ปตท., ธนาคารทุกแห่งในไทย เป็นต้น

ขณะที่ต่างประเทศมีผู้บริหารระดับสูงค่ายรถยนต์ทุกค่ายที่อยู่ในไทยก็ตอบตกลงที่จะมาเช่นกัน โดยเฉพาะ ค่าย มิตซูบิชิ และนิสสัน ที่ซีอีโอเบอร์ 1 ลงทุนมาเอง ขณะที่กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ระดับโลกก็ไม่น้อยหน้าที่ส่งเบอร์ 1 มาลุยเมืองไทยเช่นกัน โดยเฉพาะกลุ่ม "มินิแบ"

ยิ่งกว่านั้นงานบีโอไอแฟร์หนนี้ยังจัดยิ่งใหญ่เพื่อเฉลิมฉลองในโอกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษา 84 พรรษาด้วย ทำให้ทุกบริษัทที่เข้าร่วมลงทุนก่อสร้างพาวิลเลียนอย่างสวยงามด้วยงบประมาณถึง 2,000 ล้านบาท บนพื้นที่กว่า 240,000 ตารางเมตร เพื่อโชว์ศักยภาพผลการศึกษา นวัตกรรมสุดยอดของตัวเอง โดยภาครัฐจะใช้งบ 200 ล้านบาท ช่วยกระตุ้นประโคมข่าวประชาสัมพันธ์งานให้ และคาดว่าประชาชนจะเข้ามาซื้อสินค้าราคาถูกในงาน 2,000 ล้านบาท และภาคธุรกิจจะมียอดขาย คำสั่งซื้อไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท

หันมาดูรายละเอียดของพาวิลเลียน มีทั้งงานแสดงศิลปะวัฒนธรรมไทยและทั่วโลก รวมถึงผลการพัฒนาธุรกิจที่จะเข้าสู่ตลาดในอนาคต โดยมีไฮไลต์สำคัญ ประกอบด้วย ศาลาศรัทธาศรม หรือ รอยัลพาวิลเลียน ที่เนรมิตเป็นรูปเรือพระที่นั่งสุพรรณหงส์ พร้อมทั้งมีศิลปะการวาดภาพบนผืนทรายโดยศิลปินระดับโลกจากประเทศยูเครน

พร้อมทั้งมีแหล่งการชมหินดวงจันทร์ โดยจะเป็นการเยือนดวงจันทร์ที่ผ่านเลนส์ซูมที่ยาวที่สุดในโลกและชมยางยานอวกาศนาซา นอกจากนี้ยังมีพื้นที่สำหรับทดลองนั่งรถไฟความเร็วสูงชมทิวทัศน์ 4 ฤดูของญี่ปุ่น, แหล่งการรวมนานาผลิตภัณฑ์ไฮเทคที่นี่ที่

ใปเดียวในประเทศไทย เช่น เครื่องถ่ายเอกสารที่ลบได้, จอสามมิติใหญ่ที่สุดในโลก, พาหนะไฟฟ้าแบบพกพาพับได้เหลือขนาดเท่ากระเป๋าเดินทางใบเล็ก, รถไฟฟ้าไร้มลพิษ 100%, ผ้าไหมกันน้ำฝีมือคนไทย, นวัตกรรมจอ 3ดีแบบสวมศีรษะทะลุมิติ

สำหรับอุตสาหกรรมที่โดดเด่นในงาน นำโดยอุตสาหกรรมยานยนต์ได้ตั้งศาลาที่แสดงนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่ลดมลพิษ อย่าง ศาลาฟอร์ด มอเตอร์ ที่เปิดตัวรถกระบะรุ่นใหม่ "ฟอร์ด ออล-นิวส์ เรนเจอร์", ศาลาฮอนด้า มอเตอร์ พร้อมแสดงโครงการโรงเรียนสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมดีเด่นเฉลิมพระเกียรติตามรอยเท้าพ่อ และเทคโนโลยียานยนต์สีเขียว ซึ่งเป็นรถจักรยานยนต์รุ่นใหม่ที่ไม่ได้เปิดตัวในไทย โดยเป็นระบบที่สามารถผลิตพลังงานสะอาดใช้ได้เองอย่างอิสระ

ศาลาคาวาซากิ มอเตอร์ ที่แสดงรถจักรยานยนต์รุ่นปี ค.ศ. 2012 ปีขนาด 110-1,000 ซีซี, ศาลามิชลิน ที่เสนอกระบวนการผลิตยางตั้งแต่น้ำยางธรรมชาติสู่สายการผลิต จนออกมาเป็นยางคุณภาพ พร้อมแสดงยางแห่งอนาคตด้วยวิศวกรรมขั้นสูงที่ทำให้รถสามารถขับเคลื่อนได้โดยไม่ใช้เครื่องยนต์ หรือ ล้อต้นแบบยานพาหนะสำหรับเดินทางบนดวงจันทร์ที่บริษัทคิดค้นและพัฒนาให้กับองค์การนาซา

ศาลาเจเนอรัลมอเตอร์ ที่เสนอยานยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม อย่าง "อีเอ็น-วี" ยานยนต์แห่งอนาคตที่ขับเคลื่อนด้วยระบบไฟฟ้าเต็มรูปแบบ รวมถึง "มีเรย์" รถยนต์ไฮบริดต้นแบบที่สร้างสรรค์ขึ้นฉลองครบรอบ 100 ปีเชฟโรเลตในปีนี้ และ "เชฟโรเลต โวลต์" สุดยอดยานยนต์เทคโนโลยีพลังงานไฟฟ้าที่สามารถเพิ่มระยะทางในการขับได้, ศาลาอีซูซุ แสดงรถและเทคโนโลยีของ "อีซูซุแมคซ์" รุ่นใหม่ ยานยนต์ที่หลุดพ้นทุกขีดจำกัดและประหยัดน้ำมัน

ศาลานิสสัน มอเตอร์ แสดงรถยนต์พลังงานไฟฟ้า 100% เชิงพาณิชย์คันแรกของโลก ซึ่งเป็นทิศทางใหม่ของโลกยานยนต์ในอนาคต, ศาลาซูซูกิ ออโต้โมบิล แสดงรถยนต์ต้นแบบขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ไฟฟ้า หากพลังงานแบตเตอรี่ใกล้หมดขณะขับขี่รวมถึงแสดงรถยนต์อีโคคาร์ในญี่ปุ่น, ศาลาโตโยต้า มอเตอร์ แสดงหุ่นยนต์แห่งโลกอนาคตที่พัฒนาเพื่อเป็นผู้ช่วยมนุษย์ โดยจะเล่นไวโอลิน รวมถึงยานพาหนะไฟฟ้าเคลื่อนที่ส่วนบุคคลแบบพกพา ขับขี่ด้วยการยืนบนยานพาหนะ

ส่วนอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ ได้นำศักยภาพของนวัตกรรมใหม่ ๆ มาโชว์ไม่แพ้ยานยนต์เช่นกัน อาทิ ศาลาแคนนอน ที่แสดงเทคโนโลยีล่าสุด ทั้งการทดลองถ่ายภาพในบรรยากาศแบบแฟนตาซี การถ่ายภาพที่สามารถอัพโหลดขึ้นอินเทอร์เน็ตได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมถึงสัมผัสพื้นผิวของดวงจันทร์ผ่านกล้องและเลนส์ซูมระยะไกลที่สุดที่มีในโลกของแคนนอน มูลค่า 6 ล้านบาท

ศาลาแอลจี อีเลคทรอนิกส์ ที่นำเทคโนโลยีเฉพาะของแอลจีทั้ง 3ดี ทีวี 72 นิ้ว หุ่นยนต์ทำความสะอาด และ เครื่องซักแห้งเสื้อผ้า, ศาลาพานาโซนิค ชูนิทรรศการ 50 ปีของบริษัทและเทิดพระเกียรติด้านพลังงานทดแทน พร้อมทั้งแสดงเทคโนโลยีอย่างยั่งยืน, ศาลาซัมซุง อิเล็กทรอนิกส์ แสดงเทคโนฯ อัจฉริยะ พร้อมทีวีโปร่งแสงนอกจากนี้มีศาลาต่าง ๆ ที่น่าสนใจอย่าง ศาลาอพอลโล ที่โชว์ที่สุดแห่งเทคโนโลยีอันล้ำสมัย น้ำมันเพื่อการประหยัดพลังงานจากประเทศญี่ปุ่น, ศาลาหัวเว่ย ที่นำเทคโนโลยี เทเลเพรสเซนต์ ระบบวิดีโอ คอนเฟอเรนซ์ที่มีประสิทธิภาพสูง รวมถึงแท็บเล็ตรุ่นล่าสุด "มีเดียแพด" ซึ่งเป็นที่สนใจอย่างมากในขณะนี้

ศาลาเอสซีจี ที่นำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาโชว์อย่างบ้านที่รองรับแผ่นดินไหว โดยจะได้สัมผัสประสบการณ์แผ่นดินไหวสูงสุด 7.2 ริคเตอร์เพื่อทดสอบบ้าน รวมถึงที่อยู่อาศัยที่ทนทานแรงลม ระเบิดและบ้านที่ผลิตจากเม็ดพลาสติกใช้เมื่อเกิดเหตุภัยพิบัติ โดยมีน้ำหนักเบา เคลื่อนย้ายได้ง่ายและลอยน้ำได้

ศาลาธุรกิจบันเทิงก็มีการแสดงนวัตกรรมที่ทันสมัยไม่แพ้เหมือนกันอย่าง ศาลาเชล ฮัท ที่นำเสนอภาพยนตร์สั้น 4ดี ของการ์ตูนแอนิเมชั่นเรื่องใหม่ "เบิร์ด แลนด์ . แดนมหัศจรรย์" และ"เชลล์ดอน" พร้อมเบื้องหลังการถ่ายทำ และศาลาอื่นอีกจำนวนมากทั้งนี้หากเห็นบริษัทต่าง ๆ ทั้งในและต่างชาติที่นำนวัตกรรมและเทคโนโลยีสมัยใหม่มาแสดงในงานบีโอไอแฟร์ 2011 ซึ่งเป็นงานที่ใหญ่ในรอบหลายสิบปีของประเทศไทย ก็แสดงให้เห็นว่านักลงทุนต้องการอยู่ในประเทศไทยต่ออีก แต่ก็ยังมีคำถามจากหลาย ๆ ฝ่ายว่างานบีโอไอแฟร์จะสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนได้มากน้อยแค่ไหน

เนื่องจากสิ่งที่นักลงทุนอยากรู้มาก ๆ อันดับ 1 คือ แผนป้องกันน้ำในอนาคต ว่าจะเอาน้ำอยู่จริงๆ ไม่ใช่เอาอยู่แต่คำพูด จากนั้นคงตามด้วยนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของรัฐบาล นโยบายค่าแรงของรัฐบาล และทิศทางการเมืองของประเทศ

โดย "อรรชกา สีบุญเรือง" เลขาธิการบีโอไอ มั่นใจว่างานนี้เอาอยู่แน่เพราะการที่ไทยเชิญซีอีโอทั่วโลกมาประชุมที่นี่ อย่างน้อยรัฐบาลก็ต้องมีอะไรดีๆ แจ้งให้นักลงทุนทราบ ซึ่งเบื้องต้นว่ามั่นใจ "วีรพงษ์ รามางกูร" ประธานคณะกรรมการในคณะยุทธศาสตร์เพื่อการฟื้นฟูและสร้างอนาคตประเทศ (กยอ.) คงมีทีเด็ดสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนได้ แต่หากมีแต่แผ่นกระดาษจนนักลงทุนไม่เชื่อมั่นก็คงมีผลกระทบในเชิงลบแน่นอน

"มั่นใจว่างานนี้จะสามารถสร้างความมั่นใจแก่นักลงทุนได้ วัดจากภาคเอกชนที่ลงทุนสร้างบูธด้วยวงเงินถึง 2,000 ล้านบาท ขณะที่แผนที่ผู้บริหารรัฐบาลจะประกาศนั้น ก็น่าจะสามารถป้องกันน้ำได้จริงจนทำให้นักลงทุนชื่นใจได้"

งานนี้ถือเป็นโอกาสสุดท้ายของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ เพราะบรรดาซีอีโอทั่วโลกอุตส่าห์ข้ามน้ำข้ามทะเลมาฟังด้วยตนเอง หากทุกอย่างยังไม่เคลียร์และแผนเกี่ยวกับน้ำยังออกมาไม่ประทับใจ บรรดาเจ้าสัวอีก เชื่อว่ารัฐบาล "ยิ่งลักษณ์" คงต้อง "ยิ่งหนาว" แน่.

งานบีโอไอพร้อมแล้ว"วรรณรัตน์ ชาญนุกูล" รมว.อุตสาหกรรม ตอนนี้ทุกอย่างพร้อมแล้วที่จะรองรับการจัดงานบีโอไอแฟร์ 2011 ระหว่างวันที่ 5-20 ม.ค. 55 หลังจากปัญหาน้ำท่วมของไทยเริ่มคลี่คลายทำให้ภาครัฐและภาคเอกชนที่ออกบูธต่างเดินหน้าในการก่อสร้างวงเงินรวมกัน 2,000 ล้านบาท เพื่อให้งานนี้ออกมาดีที่สุด เพราะว่าเป็นงานที่ใหญ่ที่สุดในรอบหลายสิบปีที่ผ่านมาของประเทศไทย ขณะเดียวกันประชาชนทั่วไปที่เข้าชมงานก็จะมีบูธขายสินค้าลดราคาสูงถึง 50% ด้วย

"เป็นงานที่จัดขึ้นเพื่อร่วมเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ พร้อมทั้งต้องการสะท้อนถึงความซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ที่ทรงงานหนักเพื่อให้ปวงชนชาวไทยของพระองค์ให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีอย่างยั่งยืน โดยได้น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมอุตสาหกรรม ทำให้บีโอไอตั้งชื่องานว่า รวมพลังน้ำใจ โลกสดใส ไทยยั่งยืน"

สร้างภาพลักษณ์ประเทศ

"จ๋า-ณัฐฐาวีรนุช ทองมี" ศิลปินดารา มั่นใจว่างานบีโอไอแฟร์ จะสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้แก่ประเทศอย่างมาก เพราะจะมีผู้บริหารระดับสูงของบริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกมาร่วมงานนี้ด้วย ซึ่งเชื่อว่างานนี้จะสามารถสร้างความเชื่อมั่นนักลงทุนทั่วโลกได้หลังจากที่ประเทศไทยประสบปัญหาน้ำท่วม

ขณะที่ประชาชนทั่วไปที่เข้าไปชมงานนอกจากจะได้ความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีต่าง ๆ แล้ว ยังสามารถได้เข้าไปซื้อสินค้าในราคาถูกมาก ๆ ด้วย ส่วนตัวของจ๋าเองหากมีเวลาเยอะ ๆ ก็อยากเข้าไปฟังสัมมนาด้านธุรกิจเหมือนกัน เนื่องจากมีผู้เชี่ยวชาญระดับประเทศและระดับโลกมาถ่ายทอดความรู้ด้านธุรกิจ 200 หัวข้อ เพราะตัวเองก็ทำธุรกิจบันเทิงอยู่ ส่วนครอบครัวก็ทำธุรกิจรีสอร์ท ซึ่งหากได้เข้าไปร่วมงานก็จะสามารถนำความรู้ไปขยายลู่ทางการตลาดได้แน่นอน

แผนจัดการน้ำต้องชัด

"สุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์" โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เชื่อว่างานบีโอไอแฟร์เป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก ๆ สำหรับนักลงทุนที่จะมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนความรู้ รวมถึงจะได้มีโอกาสในการเจรจาทางธุรกิจระหว่างกัน เพราะมีนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศจำนวนมากมาร่วมงาน ซึ่งผู้ที่ทำธุรกิจคงไม่มีใครพลาดงานแน่นอน โดยเฉพาะผู้ผลิตรถยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ เนื่องจากค่ายรถยนต์ที่อยู่ในไทยทั้งหมดมาร่วมงานนี้

อย่างไรก็ตามงานนี้จะสร้างความเชื่อมั่นแก่นักลงทุนได้หรือไม่นั้นคงพูดยาก แต่ก็ต้องอยู่ที่รัฐบาลอย่างเดียวว่าแผนบริหารจัดการน้ำและแผนป้องกันน้ำท่วมในอนาคตจะชัดเจนแค่ไหน และนักลงทุนพอใจแค่ไหน หากยังไม่ดีก็ไม่มีประโยชน์ที่จะมานั่งสร้างความเชื่อมั่น แต่หากแผนทุกอย่างดีเห็นภาพชัดเจนว่านักลงทุนปลอดภัยจากน้ำท่วมในปีต่อไป เชื่อว่าการลงทุนในไทยจะกระฉูดแน่นอน

ความเชื่อมั่นอยู่ที่นโยบาย

สมมาต ขุนเศษฐ เลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ถือเป็นหน้าตาของประเทศที่ภาคอุตสาหกรรมและภาครัฐได้ร่วมกันจัดงานครั้งนี้เพราะถือเป็นงานที่ยิ่งใหญ่มาก ส่วนการเรียกความเชื่อมั่นคงทำไม่ได้ภายใน 1-2 วัน แต่นักลงทุนจะมองนโยบายของรัฐบาลและแผนป้องกันน้ำท่วมว่าจะมีผลต่อธุรกิจในอนาคตมากน้อยแค่ไหน

"นักลงทุนกังวลมากที่สุดคือนโยบายขึ้นค่าแรงแบบก้าวกระโดดของรัฐถึง 40% ซึ่งที่ผ่านมามองว่าการเมืองเข้าไปแทรกแซงคณะกรรมการไตรภาคี นอกจากนี้ยังมีเรื่องการขัดแย้งที่ยังไม่เห็นวี่แววว่าจะจบลงด้วยดี โดย 2 เรื่องนี้เป็นประเด็นที่นักลงทุนจะพิจารณาการย้ายฐาน ส่วนเรื่องของการป้องกันน้ำท่วมมองว่าหากรัฐบาลจริงจังเชื่อว่าคงดำเนินการได้แน่"--จบ--


ที่มา: หนังสือพิมพ์เดลินิวส์