เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 61
การปฏิบัติภาวนาจิต (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ตอนที่ ๑
ณ โอกาสต่อไปนี้ขอเชิญท่านพุทธบริษัททั้งหลายนอบน้อมต่อพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทำสติกำหนดรู้จิตของตนเอง เอาตัวรู้กำหนดรู้ที่จิต นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่จิต พระธรรมก็อยู่ที่จิต พระอริยสงฆ์ก็อยู่ที่จิตของเรา
เราไม่ต้องไปกังวลกับสิ่งอื่น โดยที่สุดแม้กระแสเสียงการบรรยายธรรมหรือแสดงธรรมเราก็ไม่ต้องไปสนใจใด ๆ ทั้งสิ้น
เพียงแต่ให้มีสติกำหนดรู้จิตเพียงอย่างเดียว
เมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเรา ผู้รู้คือพระพุทธเจ้าก็กำเนิดที่จิต การทรงตัวอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม สติที่สังวรระวังตั้งใจจะสำรวมจิต ก็ได้ชื่อว่ามีกิริยาแห่งความเป็นพระสงฆ์อยู่ในจิต
ดังนั้นเมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว หมดปัญหาที่เราจะไปกังวลกับสิ่งอื่น ๆ เพราะธรรมชาติของจิต และกายถ้ายังมีความสัมพันธ์กันอยู่ ไม่ว่าอะไรจะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตเขาเป็นผู้มีหน้าทีรับรู้ เขาจะรู้เองโดยอัตโนมัติ ตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นแต่เพียงเครื่องมือ เครื่องมือของจิตที่จะสื่อสารกับโลกภายนอก
ดังนั้นเมื่อเราจะปฏิบัติธรรม จึงสำคัญอยู่ที่การที่มีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว
ปฏิปทาของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านพ่อลี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ที่เราเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านก็ย้ำสอนอยู่ที่อานาปานสติ
อานาปานสติ คือการที่กำหนดรู้ มีกำหนดสติ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก
ทีนี่วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจ เราก็เพียงแค่ว่ามีสติกำหนดรู้จิตอยู่เท่านั้น
เมื่อกายกับจิตยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ สิ่งที่จะปรากฏเด่นชัดที่สุดก็คือ “ลมหายใจ”
เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ลมหายใจ เราก็จะรู้ธรรมชาติของกาย
ธรรมชาติของกายนี้ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือลมหายใจเท่านั้น
เมื่อหายใจเข้าไปแล้วไม่ออกมาเราก็ตาย ลมหายใจออกไปแล้วไม่ย้อนกลับเข้ามาเราก็ตาย นี่เรามองเห็นความจริงได้เด่นชัด
ในเมื่อรู้ว่าเราจะตาย เราก็รู้มรณานุสสติ คือสติระลึกถึงความตาย
ดั่งเช่นที่พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถามพระอานนท์ว่า
อานนท์เธอระลึกถึงความตายวันละกี่ครั้งกี่หน
ท่านอานนท์ก็ทูลตอบว่า “วันละพันหน”
พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสตอบว่า “อานนท์ยังประมาทอยู่”
เราตถาคตระลึกถึงความตาย “ทุกลมหายใจ”
ที่นี้เมื่อเรามาพิเคราะห์หรือพิจารณาความเป็นจริงตามพระดำรัสนี้ โดยธรรมชาติของผู้เป็นพุทธะหรือองค์พระพุทธเจ้า ย่อมมีพระสติสัมปชัญญะรู้พร้อมทั่วอยู่ทุกขณะจิต
ดังนั้นคำที่ว่าระลึกถึงลมหายใจอยู่ทุกขณะจิต ก็หมายความว่าพระองค์รู้ระลึกถึงลมหายใจเข้าหายใจออกอยู่เป็นปกตินั่นเอง
ที่นี่วันหนึ่ง ๆ คนเราหายใจวันละกี่ครั้งกี่คน เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ลมหายใจของเราเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ก็ได้ชื่อว่าเราได้ระลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า เราระลึกถึงลมหายใจอยู่ทุกขณะจิต ทุกขณะที่มีลมหายใจ
ความหมายของพระองค์เป็นอย่างนี้
สมัยที่ท่านพ่อลียังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ชื่อว่าอาตมานอกจากจะเป็นลูกศิษย์แล้วยังถือว่าเป็นหลานด้วย ท่านมีศักดิ์เป็นปู่ เวลาท่านโปรดไปเยี่ยมเมื่อไหร่ ท่านจะบอกว่ามหาพุทธกำหนดรู้จิตรู้ลมหายใจเดี๋ยวนี้ ท่านไม่เคยสอนอย่างอื่น ท่านบอกให้กำหนดรู้ลมหายใจ
พอมีสติกำหนดรู้ลมหายใจสักพักหนึ่ง ท่านจะถามว่า “สบายมั๊ย”
เวลาอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ทำอะไรมันก็สบายหมด เพราะมันกลัว กลัวบารมีของครูบาอาจารย์ ก็เลยต้องตอบท่านว่าสบายมาก
แล้วท่านก็ย้ำว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนาสำคัญอยู่ที่อานาปานสติ
ทำไมถึงสำคัญอยู่ที่อานาปานสติ เรียนถามท่าน
ท่านก็บอกว่า ใครจะบริกรรมภาวนาอะไรก็ตาม หรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม เมื่อจิตสงบแล้ว ซึ่งยังไม่ใช่สมาธิเป็นแต่เพียงความสงบ จิตหยุดนิ่ง ไม่นึกถึงอะไรอยู่แล้ว ในเมื่อจิตอยู่ว่าง ๆ ลมหายใจจะปรากฏเด่นชัดที่สุด ซึ่งจิตจะวิ่งไปหาลมหายใจเอง นี่ท่านว่าอย่างนี้
สรุปความว่าใครจะภาวนาอะไรอย่างไหนก็ตาม เมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์ที่กำหนดพิจารณาอยู่ก็ดี บริกรรมภาวนาอยู่ก็ดี จิตจะวิ่งเข้าหาลมหายใจ อันเป็นธรรมชาติของร่างกาย
เมื่อจิตมาจับลมหายใจ ในช่วงนั้นจิตจะกำหนดรู้ลมหายใจเองโดยอัตโนมัติ เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะไม่นึกว่า ลมหายใจชัด ลมหายใจยาว ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด
เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเอง เฉย อยู่ เหมือน ๆ กับเราไม่ได้ตั้งใจ
ที่นี่เมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ บางครั้งลมหายใจจะปรากฏว่าลมหายใจแรงขึ้นเหมือนกับคนเหนื่อยหอบ
ท่านก็เตือนให้มีสติกำหนดรู้อยู่เฉย ๆ บางครั้งจะรู้สึกว่าลมหายใจแผ่วเบาลงไปเหมือนใจจะขาด เหมือนจะหยุดหายใจ ท่านก็เตือนให้กำหนดรู้อยู่เฉย ๆ อย่าไปตกใจอย่าไปตื่นใจกับความเป็นเช่นนั้น
สติเค้าจะกำหนดรู้ของเค้าอยู่โดยเองธรรมชาติ
ถ้าหากผู้สติยังไม่เข้มแข็ง มีเหตุการณ์อันนี้บังเกิดขึ้นจะเกิดเอะใจ ตกใจ แล้วสมาธิก็ถอน ก็ตั้งต้นบริกรรมภาวนาหรือพิจารณาไปใหม่ จนกว่าจิตจะไปถึงความเป็นเช่นนั้นจนถึงจุดนิ่งว่าง
ที่นี้จุดที่จิตไปหยุดนิ่งว่างอยู่เฉย ๆ อันนี้อย่าเข้าใจว่าจิตมีสมาธิ “มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น”
เมื่อจิตจะเป็นสมาธิมันเปลี่ยนสภาพจากความสงบ พอมันไปเกาะลมหายใจปั๊บจะรู้สึกว่าสว่างนิด ๆ ตามกำลังของจิต ที่นี่ถ้าจิตมีกำลังสมาธิมีกำลังของจิตเข้มแข็ง จิตสงบละเอียดลงไปแล้ว ความสว่างไสวจะปรากฏขึ้น
ในช่วงที่จิตสว่างไหวปรากฏขึ้นนั้น ร่างกายยังปรากฏอยู่จิตจับลมหายใจเป็นอารมณ์ คือ วิตกถึงลมหายใจ อันนี้เป็นองค์แห่ง “วิตก”
ที่นี่สติสัมปชัญญะอันเตรียมพร้อม รู้ตัวอยู่ในขณะนั้นเป็น “วิจารณ์”
เมื่อจิตมีวิตกวิจารณ์ จิตแน่วแน่ต่ออารมณ์ที่จิตวิตกถึง ย่อมมีความดูดดื่ม ซึบซาบ แล้วก็เกิดมี “ปีติ”
“ปีติเป็นอาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม”
เมื่อปีติบังเกิดขึ้น กายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ ผู้ใจอ่อนมีปีติอย่างแรงตัวจะสั่น ตัวจะโยก น้ำตาไหลขนหัวลุก ขนหัวพอง ท่านพ่อลีท่านเตือนให้กำหนดรู้ตัวอย่างเฉย ๆ
พยายามรักษาสภาพจิตให้เป็นปกติไม่ต้องหวั่นไหวต่ออาการที่เป็นไปเช่นนั้น
เมื่อจิตมีปีติก็มีความสุข เมื่อมีความสุขก็มีความเป็นหนึ่งกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ ความเป็นหนึ่งก็คือ “เอกัคตาตา”
ถ้าหากสมาธิในขั้นนี้ดำรงอยู่ได้นาน ๆ หรือผู้ปฏิบัติเข้าสมาธิออก
สมาธิได้อย่างคล่องตัวซึ่งเรียกว่า “วสี” ตามตำนานในการออกการเข้าสมาธิ แล้วสมาธิก็ดำรงอยู่นาน ๆ จะให้อยู่นานเท่าไหร่ก็ได้ อันนี้เรียกว่าผู้ปฏิบัติได้ “ปฐมฌาน”
ปฐมฌาน มีองค์ประกอบห้า คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตาตา นักปฏิบัติที่เคยผ่านแล้วย่อมเข้าใจดี
คราวนี้เมื่อจิตสงบลงไป สงบลงไป จิตนิ่งอยู่เฉย ๆ ไม่นึกถึงอะไร แต่มีปีติมีความสุขสมาธิจิตก้าวขึ้นสู่ “ทุติยฌาน” มีองค์ประกอบคือปีติสุข เอกัคตา
เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปอีกขั้นหนึ่ง อาการแห่งปีติ ขนหัวลุกขนหัวพองหายไปหมดสิ้น ยังเหลือแต่สุขกับเอกัคตา ตอนนี้รู้สึกว่ากายเริ่มจาง ๆ เกือบจะหายไป แต่ยังปรากฏว่า สุขก็เป็นสุขที่ละเอียดสุขุม อันนี้สมาธิอยู่ในขั้น “ตติยฌาน” มีองค์ประกอบสองคือ สุขกับเอกัคตา
เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปละเอียดลงไปจนกระทั่งกายจางหายไป ตอนนี้กายหายหมดแล้ว ยังเหลือจิตดวงนิ่งสว่างไหวรู้ตื่นเบิกบาน ร่างกายตัวตนไม่มี จิตไม่ได้นึกอะไร จิตรู้อยู่ที่จิต สมาธิขั้นนี้ถ้าเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปณาจิต ถ้าเรียกโดยสมาธิก็เรียกว่าอัปณาสมาธิ เรียกว่าโดยฌานก็เรียกว่า จตุถฌาน มีองค์ประกอบสองก็คือ เอกัคตาคือความเป็นหนึ่ง กับอุเบกขาความเป็นกลางของจิต เป็นสมาธิอยู่ในขั้นจตุถฌาน
สมาธิขั้นนี้ร่างกายตัวตนหายหมดยังเหลือแต่จิตดวงสว่างไหวอยู่ แต่ยังยึดความสว่างเป็นอารมณ์จิต จิตเป็นอตฺตาหิ อตฺตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน
อตฺตสรณา มีตนเป็นที่ระลึกคือระลึกอยู่ที่ตน
อตฺตาทีป มีตนเป็นเกราะ
ผู้ภาวนาได้ชื่อว่าสมาธิขั้น “สมถะกรรมฐาน”
คราวนี้สมาธิขั้นสมถะกรรมฐานที่ยังไม่มีกำลังเพียงพอก็ได้แต่เพียงหยุดนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน เป็นฐานสร้างพลังจิต
แม้ว่าความรู้ความเห็นอะไรจะยังไม่บังเกิดขึ้นในอาการที่จิตทรงอยู่ในสภาพเช่นนั้นก็ตาม
แต่ก็จะได้พลังจิต คือพลังทางสมาธิทางสติ
เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิมาแล้ว พอรู้สึกว่ามีร่างกาย ถ้าจิตดวงนี้จะไม่เดินวิปัสสนาก็จะถอยพรวด ๆ ๆ ออกมา มาจนกระทั่งถึงความปกติธรรมดา เหมือนกับที่ยังไม่ได้ภาวนา
แต่ถ้าจิตบางดวงมีอุปนิสัยเบาบาง จะก้าวขึ้นถึงภูมิวิปัสสนา พอถอนออกพอรู้สึกว่ามีกายเท่านั้นจิตดวงนี้ก็จะเกิดความรู้ความคิดผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ โดยอัตโนมัติ ในตอนนี้นักปฏิบัติบางท่าน อาจจะเข้าใจผิดว่าจิตฟุ้งซ่าน แต่ความจริงไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน จิตจะก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาเองโดยเราไม่ได้ตั้งใจ
ถ้าจิตถอนออกจากสมาธิออกมาแล้วเกิดความคิดฟุ้ง ๆ ๆ ขึ้นมา สติสัมปชัญญะก็รู้พร้อมอยู่ที่ตรงที่จิตเกิดความคิด คิดแล้วก็ปล่อยวาง คิดแล้วก็ปล่อยวาง ไม่ได้วิ่งตามเรื่องราวสิ่งที่จิตคิด กำหนดรู้เพียงจุดที่เกิดความคิดเท่านั้น อันนี้เรียกว่าสมาธิวิปัสสนา
จิตที่มันคิดไปนั้นมันคิดเรื่องอะไร สารพัดจิปาถะที่จิตมันจะปรุงแต่งขึ้นมา มันจะเหมือนกับเราผูกลิงไว้บนต้นไม้ มันจะกระโดดไปกิ่งโน้น กระโดดไปกิ่งนี้ บางทีมันก็แยกเขี้ยวยิงฟัน มันจะมีลักษณะอย่างนั้น มันไม่เป็นเรื่องไม่เป็นราว เพราะความคิดอันนี้จิตมันปรุงแต่งขึ้นมา
ที่นี่ถ้าจิตมันปรุงแต่งขึ้น ถ้าสติสัมปชัญญะมันรู้พร้อม มันก็สักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อยวาง คิดแล้วปล่อยวาง ไม่ได้ยึดอะไรไว้เป็นปัญหา สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเอง
ที่นี่ถ้าจิตของท่านผู้ใดเป็นเช่นนี้ ถ้าหากไม่เผลอไปคิดว่าจิตฟุ้งซ่านปล่อยให้มันไปตามธรรมชาติของมัน มันอยากคิดอยากให้มันคิดไป แต่ว่าเรามีสติกำหนดตามรู้ ๆ ๆ เรื่อยไป
เอาความคิดนั้นแหละเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ ตอนนี้สมาธิมันเป็นเองโดยตามธรรมชาติ ปัญญาก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เรากำหนดไหมเอาความดีจากความเป็นเช่นนี้ของจิต ด้วยความมีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว
เมื่อจิตไปสุดช่วงมันแล้ว บางทีจะหยุดนิ่งปั๊บลงไป
บางทีก็รู้สึกแจ่ม ๆ อยู่ในจิต
บางทีก็รู้สึกสงบลงไปถึงขั้นจตุถฌาน
ไปยับยั้งอยู่ในจตุถฌานพอสมควร แล้วก็ไหวตัวออกมาจากสมาธิขั้นนี้
พอมาถึงจุดที่มีร่างกายเกิดวิตกวิจารณ์ขึ้นมา แล้วก็จะอธิบายเหตุการณ์ที่ผ่านมาให้ตัวเองฟังช๊อต ๆ
บางทีเขาอาจจะบอกว่า ความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดพลังงาน
ความคิดและการผ่อนคลายความตึงเครียด ความคิดนี่แหละมายั่วยุให้เราเกิดอารมณ์ความยินดียินร้าย แล้วจิตจะสามารถกำหนดไหมความคิดยินยินร้ายว่า ความยินดีคือกามตัณหา ความยินร้ายคือวิภาวตัณหา
ความยึดคือภาวตัณหา
ในเมื่อจิตมีกามตัณหา วิภาวตัณหา ภาวตัณหา อยู่พร้อม ความยินดียินร้ายมันก็บังเกิดขึ้น สุขทุกข์ก็บังเกิดขึ้นสลับกันไป เมื่อผู้มีสติสัมปชัญญะ มีพลังทางสมาธิทางสติปัญญาจิตก็สามารถกำหนดหมายรู้เกิดขึ้นดังไปอยู่ภายในจิต ว่านี่คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
แล้วจิตก็จะกำหนดดูรู้อยู่ที่จิต สิ่งเกิดดับ ๆ ๆ อยู่กับจิต แล้วในที่สุดจะรู้ว่านอกจากทุกข์ไม่มีอะไรอื่น ทุกข์ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
นี่ทางหนึ่งที่จิตของนักปฏิบัติจะเป็นไป...
ณ โอกาสต่อไปนี้ขอเชิญท่านพุทธบริษัททั้งหลายนอบน้อมต่อพระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พระบรมศาสดา ตรัสรู้เองโดยชอบ
ทำสติกำหนดรู้จิตของตนเอง เอาตัวรู้กำหนดรู้ที่จิต นึกว่าพระพุทธเจ้าอยู่ที่จิต พระธรรมก็อยู่ที่จิต พระอริยสงฆ์ก็อยู่ที่จิตของเรา
เราไม่ต้องไปกังวลกับสิ่งอื่น โดยที่สุดแม้กระแสเสียงการบรรยายธรรมหรือแสดงธรรมเราก็ไม่ต้องไปสนใจใด ๆ ทั้งสิ้น
เพียงแต่ให้มีสติกำหนดรู้จิตเพียงอย่างเดียว
เมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเรา ผู้รู้คือพระพุทธเจ้าก็กำเนิดที่จิต การทรงตัวอยู่ด้วยสติสัมปชัญญะ ก็ทรงไว้ซึ่งคุณธรรม สติที่สังวรระวังตั้งใจจะสำรวมจิต ก็ได้ชื่อว่ามีกิริยาแห่งความเป็นพระสงฆ์อยู่ในจิต
ดังนั้นเมื่อเรามีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว หมดปัญหาที่เราจะไปกังวลกับสิ่งอื่น ๆ เพราะธรรมชาติของจิต และกายถ้ายังมีความสัมพันธ์กันอยู่ ไม่ว่าอะไรจะผ่านเข้ามาทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ จิตเขาเป็นผู้มีหน้าทีรับรู้ เขาจะรู้เองโดยอัตโนมัติ ตาหูจมูกลิ้นกาย เป็นแต่เพียงเครื่องมือ เครื่องมือของจิตที่จะสื่อสารกับโลกภายนอก
ดังนั้นเมื่อเราจะปฏิบัติธรรม จึงสำคัญอยู่ที่การที่มีสติกำหนดรู้จิตของเราเพียงอย่างเดียว
ปฏิปทาของครูบาอาจารย์ที่ท่านเคยอบรมสั่งสอนมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งท่านพ่อลี ซึ่งเป็นบูรพาจารย์ที่เราเคารพบูชาเป็นอย่างยิ่ง ท่านก็ย้ำสอนอยู่ที่อานาปานสติ
อานาปานสติ คือการที่กำหนดรู้ มีกำหนดสติ กำหนดรู้ลมหายใจเข้า หายใจออก
ทีนี่วิธีการกำหนดรู้ลมหายใจ เราก็เพียงแค่ว่ามีสติกำหนดรู้จิตอยู่เท่านั้น
เมื่อกายกับจิตยังมีความสัมพันธ์กันอยู่ สิ่งที่จะปรากฏเด่นชัดที่สุดก็คือ “ลมหายใจ”
เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ลมหายใจ เราก็จะรู้ธรรมชาติของกาย
ธรรมชาติของกายนี้ปัจจัยสำคัญที่สุดก็คือลมหายใจเท่านั้น
เมื่อหายใจเข้าไปแล้วไม่ออกมาเราก็ตาย ลมหายใจออกไปแล้วไม่ย้อนกลับเข้ามาเราก็ตาย นี่เรามองเห็นความจริงได้เด่นชัด
ในเมื่อรู้ว่าเราจะตาย เราก็รู้มรณานุสสติ คือสติระลึกถึงความตาย
ดั่งเช่นที่พระสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสถามพระอานนท์ว่า
อานนท์เธอระลึกถึงความตายวันละกี่ครั้งกี่หน
ท่านอานนท์ก็ทูลตอบว่า “วันละพันหน”
พระพุทธเจ้าก็ทรงตรัสตอบว่า “อานนท์ยังประมาทอยู่”
เราตถาคตระลึกถึงความตาย “ทุกลมหายใจ”
ที่นี้เมื่อเรามาพิเคราะห์หรือพิจารณาความเป็นจริงตามพระดำรัสนี้ โดยธรรมชาติของผู้เป็นพุทธะหรือองค์พระพุทธเจ้า ย่อมมีพระสติสัมปชัญญะรู้พร้อมทั่วอยู่ทุกขณะจิต
ดังนั้นคำที่ว่าระลึกถึงลมหายใจอยู่ทุกขณะจิต ก็หมายความว่าพระองค์รู้ระลึกถึงลมหายใจเข้าหายใจออกอยู่เป็นปกตินั่นเอง
ที่นี่วันหนึ่ง ๆ คนเราหายใจวันละกี่ครั้งกี่คน เมื่อเรามีสติกำหนดรู้ลมหายใจของเราเข้าออกอยู่ตลอดเวลา ก็ได้ชื่อว่าเราได้ระลึกถึงความตายอยู่ตลอดเวลา
ดังนั้นพระพุทธเจ้าจึงได้ตรัสกับพระอานนท์ว่า เราระลึกถึงลมหายใจอยู่ทุกขณะจิต ทุกขณะที่มีลมหายใจ
ความหมายของพระองค์เป็นอย่างนี้
สมัยที่ท่านพ่อลียังมีชีวิตอยู่ ท่านก็ชื่อว่าอาตมานอกจากจะเป็นลูกศิษย์แล้วยังถือว่าเป็นหลานด้วย ท่านมีศักดิ์เป็นปู่ เวลาท่านโปรดไปเยี่ยมเมื่อไหร่ ท่านจะบอกว่ามหาพุทธกำหนดรู้จิตรู้ลมหายใจเดี๋ยวนี้ ท่านไม่เคยสอนอย่างอื่น ท่านบอกให้กำหนดรู้ลมหายใจ
พอมีสติกำหนดรู้ลมหายใจสักพักหนึ่ง ท่านจะถามว่า “สบายมั๊ย”
เวลาอยู่ต่อหน้าครูบาอาจารย์ทำอะไรมันก็สบายหมด เพราะมันกลัว กลัวบารมีของครูบาอาจารย์ ก็เลยต้องตอบท่านว่าสบายมาก
แล้วท่านก็ย้ำว่า การปฏิบัติสมาธิภาวนาสำคัญอยู่ที่อานาปานสติ
ทำไมถึงสำคัญอยู่ที่อานาปานสติ เรียนถามท่าน
ท่านก็บอกว่า ใครจะบริกรรมภาวนาอะไรก็ตาม หรือจะพิจารณาอะไรก็ตาม เมื่อจิตสงบแล้ว ซึ่งยังไม่ใช่สมาธิเป็นแต่เพียงความสงบ จิตหยุดนิ่ง ไม่นึกถึงอะไรอยู่แล้ว ในเมื่อจิตอยู่ว่าง ๆ ลมหายใจจะปรากฏเด่นชัดที่สุด ซึ่งจิตจะวิ่งไปหาลมหายใจเอง นี่ท่านว่าอย่างนี้
สรุปความว่าใครจะภาวนาอะไรอย่างไหนก็ตาม เมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์ที่กำหนดพิจารณาอยู่ก็ดี บริกรรมภาวนาอยู่ก็ดี จิตจะวิ่งเข้าหาลมหายใจ อันเป็นธรรมชาติของร่างกาย
เมื่อจิตมาจับลมหายใจ ในช่วงนั้นจิตจะกำหนดรู้ลมหายใจเองโดยอัตโนมัติ เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเข้าหายใจออก จิตจะไม่นึกว่า ลมหายใจชัด ลมหายใจยาว ลมหายใจหยาบ ลมหายใจละเอียด
เพียงแต่กำหนดรู้ลมหายใจเอง เฉย อยู่ เหมือน ๆ กับเราไม่ได้ตั้งใจ
ที่นี่เมื่อจิตมากำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ บางครั้งลมหายใจจะปรากฏว่าลมหายใจแรงขึ้นเหมือนกับคนเหนื่อยหอบ
ท่านก็เตือนให้มีสติกำหนดรู้อยู่เฉย ๆ บางครั้งจะรู้สึกว่าลมหายใจแผ่วเบาลงไปเหมือนใจจะขาด เหมือนจะหยุดหายใจ ท่านก็เตือนให้กำหนดรู้อยู่เฉย ๆ อย่าไปตกใจอย่าไปตื่นใจกับความเป็นเช่นนั้น
สติเค้าจะกำหนดรู้ของเค้าอยู่โดยเองธรรมชาติ
ถ้าหากผู้สติยังไม่เข้มแข็ง มีเหตุการณ์อันนี้บังเกิดขึ้นจะเกิดเอะใจ ตกใจ แล้วสมาธิก็ถอน ก็ตั้งต้นบริกรรมภาวนาหรือพิจารณาไปใหม่ จนกว่าจิตจะไปถึงความเป็นเช่นนั้นจนถึงจุดนิ่งว่าง
ที่นี้จุดที่จิตไปหยุดนิ่งว่างอยู่เฉย ๆ อันนี้อย่าเข้าใจว่าจิตมีสมาธิ “มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น”
เมื่อจิตจะเป็นสมาธิมันเปลี่ยนสภาพจากความสงบ พอมันไปเกาะลมหายใจปั๊บจะรู้สึกว่าสว่างนิด ๆ ตามกำลังของจิต ที่นี่ถ้าจิตมีกำลังสมาธิมีกำลังของจิตเข้มแข็ง จิตสงบละเอียดลงไปแล้ว ความสว่างไสวจะปรากฏขึ้น
ในช่วงที่จิตสว่างไหวปรากฏขึ้นนั้น ร่างกายยังปรากฏอยู่จิตจับลมหายใจเป็นอารมณ์ คือ วิตกถึงลมหายใจ อันนี้เป็นองค์แห่ง “วิตก”
ที่นี่สติสัมปชัญญะอันเตรียมพร้อม รู้ตัวอยู่ในขณะนั้นเป็น “วิจารณ์”
เมื่อจิตมีวิตกวิจารณ์ จิตแน่วแน่ต่ออารมณ์ที่จิตวิตกถึง ย่อมมีความดูดดื่ม ซึบซาบ แล้วก็เกิดมี “ปีติ”
“ปีติเป็นอาการที่จิตดื่มรสพระสัทธรรม”
เมื่อปีติบังเกิดขึ้น กายเบาจิตเบา กายสงบจิตสงบ ผู้ใจอ่อนมีปีติอย่างแรงตัวจะสั่น ตัวจะโยก น้ำตาไหลขนหัวลุก ขนหัวพอง ท่านพ่อลีท่านเตือนให้กำหนดรู้ตัวอย่างเฉย ๆ
พยายามรักษาสภาพจิตให้เป็นปกติไม่ต้องหวั่นไหวต่ออาการที่เป็นไปเช่นนั้น
เมื่อจิตมีปีติก็มีความสุข เมื่อมีความสุขก็มีความเป็นหนึ่งกำหนดรู้อยู่ที่ลมหายใจ ความเป็นหนึ่งก็คือ “เอกัคตาตา”
ถ้าหากสมาธิในขั้นนี้ดำรงอยู่ได้นาน ๆ หรือผู้ปฏิบัติเข้าสมาธิออก
สมาธิได้อย่างคล่องตัวซึ่งเรียกว่า “วสี” ตามตำนานในการออกการเข้าสมาธิ แล้วสมาธิก็ดำรงอยู่นาน ๆ จะให้อยู่นานเท่าไหร่ก็ได้ อันนี้เรียกว่าผู้ปฏิบัติได้ “ปฐมฌาน”
ปฐมฌาน มีองค์ประกอบห้า คือ วิตก วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตาตา นักปฏิบัติที่เคยผ่านแล้วย่อมเข้าใจดี
คราวนี้เมื่อจิตสงบลงไป สงบลงไป จิตนิ่งอยู่เฉย ๆ ไม่นึกถึงอะไร แต่มีปีติมีความสุขสมาธิจิตก้าวขึ้นสู่ “ทุติยฌาน” มีองค์ประกอบคือปีติสุข เอกัคตา
เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปอีกขั้นหนึ่ง อาการแห่งปีติ ขนหัวลุกขนหัวพองหายไปหมดสิ้น ยังเหลือแต่สุขกับเอกัคตา ตอนนี้รู้สึกว่ากายเริ่มจาง ๆ เกือบจะหายไป แต่ยังปรากฏว่า สุขก็เป็นสุขที่ละเอียดสุขุม อันนี้สมาธิอยู่ในขั้น “ตติยฌาน” มีองค์ประกอบสองคือ สุขกับเอกัคตา
เมื่อจิตสงบละเอียดลงไปละเอียดลงไปจนกระทั่งกายจางหายไป ตอนนี้กายหายหมดแล้ว ยังเหลือจิตดวงนิ่งสว่างไหวรู้ตื่นเบิกบาน ร่างกายตัวตนไม่มี จิตไม่ได้นึกอะไร จิตรู้อยู่ที่จิต สมาธิขั้นนี้ถ้าเรียกโดยจิตก็เรียกว่า อัปณาจิต ถ้าเรียกโดยสมาธิก็เรียกว่าอัปณาสมาธิ เรียกว่าโดยฌานก็เรียกว่า จตุถฌาน มีองค์ประกอบสองก็คือ เอกัคตาคือความเป็นหนึ่ง กับอุเบกขาความเป็นกลางของจิต เป็นสมาธิอยู่ในขั้นจตุถฌาน
สมาธิขั้นนี้ร่างกายตัวตนหายหมดยังเหลือแต่จิตดวงสว่างไหวอยู่ แต่ยังยึดความสว่างเป็นอารมณ์จิต จิตเป็นอตฺตาหิ อตฺตโนนาโถ ตนเป็นที่พึ่งของตน
อตฺตสรณา มีตนเป็นที่ระลึกคือระลึกอยู่ที่ตน
อตฺตาทีป มีตนเป็นเกราะ
ผู้ภาวนาได้ชื่อว่าสมาธิขั้น “สมถะกรรมฐาน”
คราวนี้สมาธิขั้นสมถะกรรมฐานที่ยังไม่มีกำลังเพียงพอก็ได้แต่เพียงหยุดนิ่ง สว่าง รู้ ตื่น เบิกบาน เป็นฐานสร้างพลังจิต
แม้ว่าความรู้ความเห็นอะไรจะยังไม่บังเกิดขึ้นในอาการที่จิตทรงอยู่ในสภาพเช่นนั้นก็ตาม
แต่ก็จะได้พลังจิต คือพลังทางสมาธิทางสติ
เมื่อจิตถอนออกจากสมาธิมาแล้ว พอรู้สึกว่ามีร่างกาย ถ้าจิตดวงนี้จะไม่เดินวิปัสสนาก็จะถอยพรวด ๆ ๆ ออกมา มาจนกระทั่งถึงความปกติธรรมดา เหมือนกับที่ยังไม่ได้ภาวนา
แต่ถ้าจิตบางดวงมีอุปนิสัยเบาบาง จะก้าวขึ้นถึงภูมิวิปัสสนา พอถอนออกพอรู้สึกว่ามีกายเท่านั้นจิตดวงนี้ก็จะเกิดความรู้ความคิดผุดขึ้นมา ผุดขึ้นมาอย่างกับน้ำพุ โดยอัตโนมัติ ในตอนนี้นักปฏิบัติบางท่าน อาจจะเข้าใจผิดว่าจิตฟุ้งซ่าน แต่ความจริงไม่ใช่จิตฟุ้งซ่าน จิตจะก้าวขึ้นสู่ภูมิแห่งวิปัสสนาเองโดยเราไม่ได้ตั้งใจ
ถ้าจิตถอนออกจากสมาธิออกมาแล้วเกิดความคิดฟุ้ง ๆ ๆ ขึ้นมา สติสัมปชัญญะก็รู้พร้อมอยู่ที่ตรงที่จิตเกิดความคิด คิดแล้วก็ปล่อยวาง คิดแล้วก็ปล่อยวาง ไม่ได้วิ่งตามเรื่องราวสิ่งที่จิตคิด กำหนดรู้เพียงจุดที่เกิดความคิดเท่านั้น อันนี้เรียกว่าสมาธิวิปัสสนา
จิตที่มันคิดไปนั้นมันคิดเรื่องอะไร สารพัดจิปาถะที่จิตมันจะปรุงแต่งขึ้นมา มันจะเหมือนกับเราผูกลิงไว้บนต้นไม้ มันจะกระโดดไปกิ่งโน้น กระโดดไปกิ่งนี้ บางทีมันก็แยกเขี้ยวยิงฟัน มันจะมีลักษณะอย่างนั้น มันไม่เป็นเรื่องไม่เป็นราว เพราะความคิดอันนี้จิตมันปรุงแต่งขึ้นมา
ที่นี่ถ้าจิตมันปรุงแต่งขึ้น ถ้าสติสัมปชัญญะมันรู้พร้อม มันก็สักแต่ว่าคิด คิดแล้วปล่อยวาง คิดแล้วปล่อยวาง ไม่ได้ยึดอะไรไว้เป็นปัญหา สร้างความเดือดร้อนให้กับตัวเอง
ที่นี่ถ้าจิตของท่านผู้ใดเป็นเช่นนี้ ถ้าหากไม่เผลอไปคิดว่าจิตฟุ้งซ่านปล่อยให้มันไปตามธรรมชาติของมัน มันอยากคิดอยากให้มันคิดไป แต่ว่าเรามีสติกำหนดตามรู้ ๆ ๆ เรื่อยไป
เอาความคิดนั้นแหละเป็นอารมณ์สิ่งรู้ของจิต เป็นสิ่งระลึกของสติ ตอนนี้สมาธิมันเป็นเองโดยตามธรรมชาติ ปัญญาก็เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ เรากำหนดไหมเอาความดีจากความเป็นเช่นนี้ของจิต ด้วยความมีสติสัมปชัญญะรู้พร้อมอยู่ที่จิตเพียงอย่างเดียว
เมื่อจิตไปสุดช่วงมันแล้ว บางทีจะหยุดนิ่งปั๊บลงไป
บางทีก็รู้สึกแจ่ม ๆ อยู่ในจิต
บางทีก็รู้สึกสงบลงไปถึงขั้นจตุถฌาน
ไปยับยั้งอยู่ในจตุถฌานพอสมควร แล้วก็ไหวตัวออกมาจากสมาธิขั้นนี้
พอมาถึงจุดที่มีร่างกายเกิดวิตกวิจารณ์ขึ้นมา แล้วก็จะอธิบายเหตุการณ์ที่ผ่านมาให้ตัวเองฟังช๊อต ๆ
บางทีเขาอาจจะบอกว่า ความคิดเป็นอาหารของจิต ความคิดเป็นการบริหารจิตให้เกิดพลังงาน
ความคิดและการผ่อนคลายความตึงเครียด ความคิดนี่แหละมายั่วยุให้เราเกิดอารมณ์ความยินดียินร้าย แล้วจิตจะสามารถกำหนดไหมความคิดยินยินร้ายว่า ความยินดีคือกามตัณหา ความยินร้ายคือวิภาวตัณหา
ความยึดคือภาวตัณหา
ในเมื่อจิตมีกามตัณหา วิภาวตัณหา ภาวตัณหา อยู่พร้อม ความยินดียินร้ายมันก็บังเกิดขึ้น สุขทุกข์ก็บังเกิดขึ้นสลับกันไป เมื่อผู้มีสติสัมปชัญญะ มีพลังทางสมาธิทางสติปัญญาจิตก็สามารถกำหนดหมายรู้เกิดขึ้นดังไปอยู่ภายในจิต ว่านี่คือทุกข์อริยสัจที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้
แล้วจิตก็จะกำหนดดูรู้อยู่ที่จิต สิ่งเกิดดับ ๆ ๆ อยู่กับจิต แล้วในที่สุดจะรู้ว่านอกจากทุกข์ไม่มีอะไรอื่น ทุกข์ไม่มีอะไรดับ ทุกข์เท่านั้นเกิดขึ้น ทุกข์เท่านั้นดับไป ก็ได้ดวงตาเห็นธรรม
นี่ทางหนึ่งที่จิตของนักปฏิบัติจะเป็นไป...
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 62
การปฏิบัติภาวนาจิต (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ตอนที่ ๒
และอีกทางที่สอง เมื่อจิตสงบละเอียดลงไป ละเอียดลงไป สมาธิจิตเกิดความสว่างไหว แต่ร่างกายยังปรากฏอยู่ จิตยังเสวยปีติสุขซึ่งเกิดจากสมาธิ ในช่วงนี้ถ้าจิตส่งกระแสออกไปนอกจะเกิดภาพนิมิตต่าง ๆ ขึ้นมา บางทีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพเทวดา อินพรหม ยมยักษ์ บางทีเห็นครูบาอาจารย์มาหา มาเทศให้ฟัง บางที้เห็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เสด็จมาโปรด แล้วก็มาเทศน์ให้ฟัง
ทีนี้เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาอย่างนี้ ท่านพ่อลีสอนว่าอย่างไร
ท่านว่าอย่าไปแปลกใจ อย่าไปตกใจ อย่าไปเอะใจ อย่าไปยึดในนิมิตนั้น อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่ามีอะไรมาปรากฏตัวให้เรานึกเราเห็น ถ้ายังกำหนดจิตได้อยู่ ท่านก็ให้กำหนดรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ คือ “จิตของเราปรุงแต่งขึ้นเท่านั้น” ไม่ใช่อื่นไกล มันเป็นมโนภาพซึ่งเกิดขึ้นกับจิตของเราเอง จิตของเราเป็นผู้ปรุงผู้แต่งขึ้นมา
ทางแก้ก็คือก็คือมีสติกำหนดรู้จิตนี้เฉยอยู่เท่านั้น
ถ้าหากนิมิตที่มองเห็นในสมาธิเป็นภาพนิ่ง แน่วแน่ ไม่ไหวติง
หรือบางทีออกจากสมาธิมาแล้วลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น อันนี้ท่านเรียกว่า อุคหนิมิต คือนิมิตติดตาหรือจิตกำหนดดูภาพนิ่ง
ทีนี้เมื่อจิตมีพลังแก่กล้ามากขึ้น จิตสามารถปรุงแต่งนิมิตนั้นให้มีการเปลี่ยนแปลงยักย้าย บางทีนิมิตนั้นล้มตายลงไป ขึ้นอึด เน่าเปื่อย พุพัง แล้วก็สลายตัวไปต่อหน้าต่อตา
หรือบางทีก็ปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาว่าร่างกายที่แตกสลายแล้วแยกออกไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ
หรือบางทีเกิดไฟลุกไหม้ร่างที่นอนตายอยู่นั้น เป็นเถ้าเป็นถ่านเป็นกลบไปหมด
หรือบางทีนิมิตนั้นเกิดขึ้นแล้วก็หายไป เกิดขึ้นมาใหม่ มีอันเปลี่ยนแปลงยักย้ายอยู่ตลอดเวลา อันนี้ท่านเรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต”
เมื่อจิตกำหนดหมายรู้ความเปลี่ยนแปลงแห่งนิมิตนั้น แสดงว่าจิตของผู้ปฏิบัติกำลังจะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา
จิตถอดออกจากสมาธิมาแล้วเกิดความคิดบริสุทธิ์นั่นเป็นจุดเริ่มของวิปัสสนา
ที่นี่จิตสงบเป็นสมาธิแล้วได้ “อุคหนิมิตเป็นสมถะกรรมฐาน”
ถ้าได้ปฏิภาคนิมิต จิตกำลังเริ่มจะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น จิตเค้าจะปฏิวัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติ
ถ้าสิ่งใดที่เราตั้งใจปรุงแต่งจะให้เป็นไปอย่างนั้น ๆ ๆ ๆ อาศัยความคิดให้แน่วแน่ มันก็เกิดเป็นนิมิตอันนั้นเรียกว่า “นิมิตที่เราปรุงแต่ง”
แต่ว่าหากจิตสงบแล้วมันเกิดนิมิตขึ้นมาเอง เราเรียกว่า “นิมิตมันเป็นเอง”
อันนี้ลักษณะที่จิตพุ่งกระแสออกไปข้างนอกจะเป็นอย่างนี้
ยิ่งกว่านั้นในบางครั้ง เมื่อจิตมุ่งกระแสออกไปข้างนอกที่ติดอกติดใจ เช่นเห็นครูบาอาจารย์ หรือเทวดาอินพรหมยมยักษ์ เลยติดใจในภาพนิมิตนั้นก็เดินตามเค้าไป แต่ปรากฏเหมือนกับว่าเรามีร่าง ๆ หนึ่งเดินตามเค้าไป
เค้าจะพาเราไปเที่ยวนรก เค้าจะพาเราไปเที่ยวสวรรค์ หรือบางทีเค้าจะพาเราไปดูเมืองนิพพานซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็เป็นมโนภาพขึ้นมาทั้งนั้น ๆ
ที่นี้ตอนนี้เมื่อจิตเป็นไปอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติไม่มีทางที่จะไปบังคับไม่มีทางที่จะไปตกแต่งจิตให้เป็นอย่างไร นอกจากจิตของเราจะปรุงแต่งไปเองตามอัตโนมัติ ในเมื่อไปสุดช่วงของมันแล้วมันก็จะย้อนกลับมาเอง อันนี้ธรรมชาติของสมาธิที่มันเป็นไปถ้าหากระแสจิตส่งออกไปนอกมันจะเป็นอย่างนี้
ยิ่งกว่านั้นในบางครั้งมันอาจจะไปรู้เรื่องลับ ๆ ลี้ ๆ อันเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา เช่น ไปรู้วาระจิตของคนอื่น ไปรู้ความประพฤติของคนอื่น หรือไปรู้ทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นผลพลอยได้อันเกิดจากการปฏิบัติสมาธิ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
อันนี้เป็นทางหนึ่งที่จิตจะเป็นไป...
ถ้าท่านผู้ใดมีประสบการณ์ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ปล่อยให้จิตมันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน
มันไปสุดช่วงของมันแล้วมันจะย้อนกลับมาเอง
จิตมันไปดูข้างนอก มันไปสำรวจโลก เพื่อมันจะได้รู้ว่า “โลกะวิทู” นั้นคืออะไร
นี่เป็นสองทางแล้วที่จิตจะเป็นไป
และอีกทางที่สอง เมื่อจิตสงบละเอียดลงไป ละเอียดลงไป สมาธิจิตเกิดความสว่างไหว แต่ร่างกายยังปรากฏอยู่ จิตยังเสวยปีติสุขซึ่งเกิดจากสมาธิ ในช่วงนี้ถ้าจิตส่งกระแสออกไปนอกจะเกิดภาพนิมิตต่าง ๆ ขึ้นมา บางทีเป็นภาพคน ภาพสัตว์ ภาพเทวดา อินพรหม ยมยักษ์ บางทีเห็นครูบาอาจารย์มาหา มาเทศให้ฟัง บางที้เห็นพระพุทธเจ้า พระอรหันต์เสด็จมาโปรด แล้วก็มาเทศน์ให้ฟัง
ทีนี้เมื่อเกิดนิมิตขึ้นมาอย่างนี้ ท่านพ่อลีสอนว่าอย่างไร
ท่านว่าอย่าไปแปลกใจ อย่าไปตกใจ อย่าไปเอะใจ อย่าไปยึดในนิมิตนั้น อย่าไปสำคัญมั่นหมายว่ามีอะไรมาปรากฏตัวให้เรานึกเราเห็น ถ้ายังกำหนดจิตได้อยู่ ท่านก็ให้กำหนดรู้ว่าสิ่งทั้งหลายเหล่านี้ คือ “จิตของเราปรุงแต่งขึ้นเท่านั้น” ไม่ใช่อื่นไกล มันเป็นมโนภาพซึ่งเกิดขึ้นกับจิตของเราเอง จิตของเราเป็นผู้ปรุงผู้แต่งขึ้นมา
ทางแก้ก็คือก็คือมีสติกำหนดรู้จิตนี้เฉยอยู่เท่านั้น
ถ้าหากนิมิตที่มองเห็นในสมาธิเป็นภาพนิ่ง แน่วแน่ ไม่ไหวติง
หรือบางทีออกจากสมาธิมาแล้วลืมตาก็เห็น หลับตาก็เห็น อันนี้ท่านเรียกว่า อุคหนิมิต คือนิมิตติดตาหรือจิตกำหนดดูภาพนิ่ง
ทีนี้เมื่อจิตมีพลังแก่กล้ามากขึ้น จิตสามารถปรุงแต่งนิมิตนั้นให้มีการเปลี่ยนแปลงยักย้าย บางทีนิมิตนั้นล้มตายลงไป ขึ้นอึด เน่าเปื่อย พุพัง แล้วก็สลายตัวไปต่อหน้าต่อตา
หรือบางทีก็ปรากฏเป็นนิมิตขึ้นมาว่าร่างกายที่แตกสลายแล้วแยกออกไปเป็นดิน เป็นน้ำ เป็นลม เป็นไฟ
หรือบางทีเกิดไฟลุกไหม้ร่างที่นอนตายอยู่นั้น เป็นเถ้าเป็นถ่านเป็นกลบไปหมด
หรือบางทีนิมิตนั้นเกิดขึ้นแล้วก็หายไป เกิดขึ้นมาใหม่ มีอันเปลี่ยนแปลงยักย้ายอยู่ตลอดเวลา อันนี้ท่านเรียกว่า “ปฏิภาคนิมิต”
เมื่อจิตกำหนดหมายรู้ความเปลี่ยนแปลงแห่งนิมิตนั้น แสดงว่าจิตของผู้ปฏิบัติกำลังจะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา
จิตถอดออกจากสมาธิมาแล้วเกิดความคิดบริสุทธิ์นั่นเป็นจุดเริ่มของวิปัสสนา
ที่นี่จิตสงบเป็นสมาธิแล้วได้ “อุคหนิมิตเป็นสมถะกรรมฐาน”
ถ้าได้ปฏิภาคนิมิต จิตกำลังเริ่มจะก้าวขึ้นสู่ภูมิวิปัสสนา ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้น จิตเค้าจะปฏิวัติตัวไปเองโดยอัตโนมัติ
ถ้าสิ่งใดที่เราตั้งใจปรุงแต่งจะให้เป็นไปอย่างนั้น ๆ ๆ ๆ อาศัยความคิดให้แน่วแน่ มันก็เกิดเป็นนิมิตอันนั้นเรียกว่า “นิมิตที่เราปรุงแต่ง”
แต่ว่าหากจิตสงบแล้วมันเกิดนิมิตขึ้นมาเอง เราเรียกว่า “นิมิตมันเป็นเอง”
อันนี้ลักษณะที่จิตพุ่งกระแสออกไปข้างนอกจะเป็นอย่างนี้
ยิ่งกว่านั้นในบางครั้ง เมื่อจิตมุ่งกระแสออกไปข้างนอกที่ติดอกติดใจ เช่นเห็นครูบาอาจารย์ หรือเทวดาอินพรหมยมยักษ์ เลยติดใจในภาพนิมิตนั้นก็เดินตามเค้าไป แต่ปรากฏเหมือนกับว่าเรามีร่าง ๆ หนึ่งเดินตามเค้าไป
เค้าจะพาเราไปเที่ยวนรก เค้าจะพาเราไปเที่ยวสวรรค์ หรือบางทีเค้าจะพาเราไปดูเมืองนิพพานซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็เป็นมโนภาพขึ้นมาทั้งนั้น ๆ
ที่นี้ตอนนี้เมื่อจิตเป็นไปอย่างนั้น ผู้ปฏิบัติไม่มีทางที่จะไปบังคับไม่มีทางที่จะไปตกแต่งจิตให้เป็นอย่างไร นอกจากจิตของเราจะปรุงแต่งไปเองตามอัตโนมัติ ในเมื่อไปสุดช่วงของมันแล้วมันก็จะย้อนกลับมาเอง อันนี้ธรรมชาติของสมาธิที่มันเป็นไปถ้าหากระแสจิตส่งออกไปนอกมันจะเป็นอย่างนี้
ยิ่งกว่านั้นในบางครั้งมันอาจจะไปรู้เรื่องลับ ๆ ลี้ ๆ อันเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถมองเห็นด้วยตา เช่น ไปรู้วาระจิตของคนอื่น ไปรู้ความประพฤติของคนอื่น หรือไปรู้ทุกสิ่งทุกอย่างอันเป็นผลพลอยได้อันเกิดจากการปฏิบัติสมาธิ ซึ่งทั้งนี้ทั้งนั้นมันก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
อันนี้เป็นทางหนึ่งที่จิตจะเป็นไป...
ถ้าท่านผู้ใดมีประสบการณ์ตามที่กล่าวมาแล้วนี้ ก็ปล่อยให้จิตมันเป็นไปตามธรรมชาติของมัน
มันไปสุดช่วงของมันแล้วมันจะย้อนกลับมาเอง
จิตมันไปดูข้างนอก มันไปสำรวจโลก เพื่อมันจะได้รู้ว่า “โลกะวิทู” นั้นคืออะไร
นี่เป็นสองทางแล้วที่จิตจะเป็นไป
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 63
การปฏิบัติภาวนาจิต (หลวงพ่อพุธ ฐานิโย) ตอนที่ ๓
ในเมื่อจิตมาจับลมหายใจ
เมื่อจิตสงบ สว่าง จะมองเห็นลมภายใจเป็นท่อยาว วิ่งออก วิ่งเข้า แล้วจิตก็จะไปยึดอยู่ที่ท่อลมวิ่งออกวิ่งเข้า สว่างไหวเหมือนหลอดนีออน
บางทีเป็นท่อยาว
บางทีก็เดินตั้งแต่จมูกจนถึงเหนือสะดือสองนิ้ว
บางทีก็มองเห็นแต่ข้างใน เห็นแต่อยู่ภายในกาย
บางทีก็มองเห็นพุ่งออกมาข้างนอกด้วย ซึ่งก็แล้วแต่จิตจะปรุงแต่งขึ้นมา
อันนี้เป็นประสบการณ์
ทีนี้ถ้าหากจิตไม่เป็นอย่างนั้น พอวิ่งออกวิ่งเข้าตามลมซึ่งเข้าออก ๆ
เมื่อจิตสงบนิ่งเข้าไปมันจะไปนิ่งสว่างอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย เรียกว่า “ดวงสว่างอยู่กลางกายนั่นเอง”
ที่นี้นอกจากสงบนิ่งเป็นดวงสว่างอยู่ท่ามกลางของร่างกายแล้ว ยังสามารถพุ่งกระแสความสว่างออกมารอบตัว
ในขณะนั้นจิตจะมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ อยู่ภายในกายทั่วหมดในขณะจิตเดียว
ตั้งแต่ผมขนเล็บฟันหนัง เนื้อเอ็นกระดูกจนกระทั่งถึงมตฺตเก มตฺตลุงคฺง มันสมองเป็นที่สุด จะรู้เห็นในขณะจิตเดียว
ทีนี้เมื่อจิตไปกำหนดรู้เห็นอยู่ภายใน ภายในกายรู้เห็น เห็นอวัยวะครบถ้วนอาการสามสิบสอง
จิตเริ่มละเอียด ๆ ๆ ลงไปทีละน้อย ๆ แล้วในที่สุดเข้าไปสู่อัปนาสมาธิถึงฌานที่สี่ ร่างกายตัวตนหายไปหมด
ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวนิ่งสว่างไหวอยู่
ที่นี่เมื่อจิตผ่านความเป็นอย่างนี้ แล้วไปสู่จุดซึ่งเรียกว่า จตุถฌาน
จิตอาจจะมาลอยเด่นอยู่เหนือร่างกาย แล้วจะมองเห็นร่างกายขึ้นอืด เน่าเปื่อย ผุพัง สลายตัวไปทีละอย่าง ๆ ๆ ในที่สุดเหลือแต่โครงกระดูก โครงกระดูกก็จะทรุดหวบลงไปแหลกละเอียด หายสาบสูญไปกับผืนแผ่นดิน
แล้วก็เหลือเพียงจิตสว่างไหวอยู่เพียงดวงเดียว
บางทีอาจจะเป็นย้อนกลับไปกลับมาหลายครั้งหลายหน
อันนี้ก็พึงเข้าใจว่าจิตเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมา
ปรุงแต่งขึ้นมาเพื่อให้เรารู้ว่าจริงว่า “ร่างกายของเราจะเป็นไปเช่นนั้น”
ที่นี้บางทีอาจจะมองเห็นร่างกายแยกกันเป็นกอง ๆ กองดิน กองน้ำ กองลม กองไฟ
ทีนี้เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้วก็รู้สึกว่ามีกาย
ถ้าสมาธิจิตที่กายหายไปแล้วนี่ พอจิตย้อนกลับมาหากาย ตอนนี้นักปฏิบัติต้องประคองสติให้ดี
และเมื่อจิตมาสัมพันธ์กับกายเราจะรู้สึกซู่ซ่าทั่วร่างกาย เหมือนกับฉีดยาแคลเซียมเข้าเส้นอย่างแรง จะวิ่งซู่ไปทั่วกายตั้งแต่หัวสู่เท้า
ตอนนี้นักปฏิบัติผู้มีสติสัมปชัญญะจะไม่ตื่นตกใจ
จิตจะมีสติกำหนดรู้ความเป็นไปจนกระทั่งมีความรู้สึกเป็นปกติ
พอมีความเป็นปกติ สมาธิยังอ่อน ๆ จิตก็ยังบอกกับตัวเองว่านี่แหละคือการตาย ตายแล้วมันก็ขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล เน่าเปื่อย ผุพัง ทุกสิ่งทุกอย่างสลายตัวไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ
ไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน จิตมันจะว่าอย่างนี้
ในขณะที่มันรู้เห็นนิ่งอยู่เฉย ๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เห็นร่างกายตายมันก็เฉย เห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพังมันก็เฉย
แต่มันรู้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถบันทึกข้อมูลไว้หมดทุกอย่าง “อันนี้เรียกว่าความรู้เห็นในขั้นสัจจธรรม”
สัจจธรรมย่อยไม่มีภาษาสมมติบัญญัติ และก็เป็นความรู้ความเห็นในสมาธิสมถะเสียด้วยนะ
พออย่างนั้นนักปฏิบัติที่ยังภาวหน้าไม่ถึงขั้น อย่าไปด่วนปฏิเสธว่าสมาธิขั้นสมถะไม่เกิดภูมิความรู้
จิตของคนเราแม้ไม่มีร่างกายตัวตนสามารถรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้แต่พูดไม่เป็น
รู้เห็นเหมือนกับคนใบ้ รู้เห็นนิ่ง ๆ เฉย ๆ
แต่สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้พร้อมหมด
ทำไมจึงไม่พูด ทำไมจึงไม่คิด
ในขณะนั้นร่างกายไม่มี จึงไม่มีเครื่องมือ จึงคิดไม่เป็น พูดไม่เป็น
สงสัยหรือเปล่า
ถ้าสงสัยปฏิบัติไปให้ถึงขั้นนี้แล้วจะหายสงสัย
อย่ามัวแต่ไปเถียงว่าสมาธิขั้นสมถะมันไม่เกิดภูมิความรู้ ไม่เกิดภูมิความรู้
ขอประทานโทษ ไม่ตำหนิยกโทษ แท้ที่จริงตัวภาวนาไม่ถึงขั้น
ไปอ่านกันเพียงแต่ตำรับตำราเท่านั้น
ถ้าหากนักปฏิบัติภาวนาชาวพุทธเนี่ย ยังเห็นว่าสมาธิขั้นสมถะยังไม่เกิดความรู้อยู่ตราบใด
พุทธบริษัทก็จะพากันโง่จนกระทั่งศาสนาสาบสูญออกไปจากโลก
ไม่ใช่ด่านะ
ให้พยายามไปพิจารณาดูให้ดี
สมาธิตามความเข้าใจของนักปฏิบัติในปัจจุบันนี้มันเป็นอย่างนี้
เช่นอย่างมาภาวนาพุทธโธ ๆ ๆ ๆ แล้วก็ข่มจิตลงไป น้อมจิตลงไป ๆ อาศัยการฝึกให้คล่องตัวจนชำนิชำนาญ ในเมื่อมันเกิดความคล่องตัวเราจะสะกดจิตตัวเองให้หยุดเมื่อไหร่ก็ได้
แต่ความหยุดนิ่งของจิตตามที่เราตั้งใจจะให้หยุดนิ่ง มันไม่ใช่สมาธินะ
พระเดชพระคุณ มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น
สมาธิจริง ๆ เมื่อจิตหยุดนิ่งมันจะเปลี่ยนสภาวะ
นิ่งปั๊บ เป็นนิ่ง สว่าง รู้ตื่น เบิกบาน ถ้าหากว่ากายเกิดในขณะนั้น มีวิตก
วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา พร้อม
นิวรณ์ห้าทั้งหลายมันจะสงบระงับไปหมด
อันนี้มันจึงจะเรียกว่าสมาธิที่มันเป็นเองโดยธรรมชาติของสมาธิ
เมื่อสมาธิธรรมชาติมันเกิดขึ้นแล้ว นักปฏิบัติไม่สามารถที่จะน้อมจิตน้อมใจไปไหนได้หรอก นอกจากจิตจะปฏิวัติตัวไปเองโดยพลังของศีล สมาธิ ปัญญาที่ประชุมพร้อมแล้ว
ซึ่งเราสวดสติปัฏฐานสี่เมื่อสักครู่นี้ว่า เอกายโน มคฺโค สมฺมทกฺขาโต สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
เมื่อศีล สมาธิ ประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่ง
ศีลก็เป็นอธิศีล
สมาก็เป็นอธิศีล
ปัญญาก็เป็นอธิปัญญา
ในเมื่อศีลสมาธิเป็นอธิผู้ยิ่งใหญ่ ก็สามารถปฏิวัติภูมิจิตภูมิธรรมไปตามขั้นตอน ซึ่งสุดแท้แต่พลังนั้นจะเป็นไปให้เป็นไปอย่างไร
ผู้ปฏิบัติไม่มีสัญญาเจตนาที่จะน้อมจิตไปอย่างไร
จิตจะออกนอกไปเรื่องจิต
จิตจะเข้าในเป็นเรื่องของจิต
จิตจะมากำหนดรู้อยู่ที่จิต เป็นเรื่องของจิต
ซึ่งเขาจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
ในขณะที่จิตเป็นไปโดยเช่นนั้น
จะไปรู้ไปเห็นอะไรก็เพียงว่าเฉย ๆ นิ่ง ๆ อยู่นั้นแหละ
เช่นอยากจะรู้อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา รู้ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทั้งหลายทั้งปวง ก็เพียงสักแต่ว่ารู้อยู่เฉย ๆ
คำว่าอนิจจํ ก็ไม่มี
ทุกขํ ก็ไม่มี
อนตฺตา ก็ไม่มี
ถ้าไปยืนมีแล้วสมาธิมันจะถอน
เราอาจจะพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา ไม่เที่ยง เป็นอนตฺตา
เราว่าได้ตั้งแต่จิตยังไม่สงบเป็นสมาธิ
เมื่อจิตสงบเป็นสมาธินี้มันจะเกิดแต่สิ่งที่เกิดดับ ๆ ๆ อยู่เท่านั้น
แล้วคำพูดที่ว่าอะไรมันจะไม่มี
มันจะมีต่อเมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้วมันจึงจะพูดเป็น เพราะมันมีกายเป็นเครื่องมือแล้ว
อันนี้ทางเป็นไปของจิตทางหนึ่ง....
--------------------------------------------------------------------------------
เพราะฉะนั้นในเมื่อสรุปรวมลงไปแล้วว่า
เราจะบริกรรมภาวนาก็ตาม
จะพิจารณาอะไรก็ตาม
การบริกรรมภาวนา เรียกว่าการปฏิบัติตามแบบของสมถะ
การพิจารณา เรียกว่าการปฏิบัติตามแบบของวิปัสสนา
ทั้งสองอย่างนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิ
เพื่อได้เกิดสติปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง
และทั้งสองอย่างนี้ ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้วเนี่ย ภาษาคำพูดอะไรต่าง ๆ มันจะไม่มี
ผู้ปฏิบัติแบบสมถะก็ดี
ผู้ปฏิบัติแบบวิปัสสนาก็ดี
ในเมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์แล้วมันจะไปนิ่งว่างอยู่เฉย ๆ
ที่นี่จุดที่มันนิ่งว่างเนี่ย ทางหนึ่งวิ่งกระแสออกนอกเกิดภาพนิมิตดังที่กล่าว
อีกทางหนึ่งมันวิ่งตามลมเข้ามาข้างในจะมารู้เห็นอวัยวะในร่างกาย ซึ่งเรียกว่ารู้อาการสามสิบสอง
มันจะไปจนกระทั่งถึงจตุถฌาน......
ที่นี้อีกทางหนึ่งมันไม่เป็นไหนละ
จิตรู้อยู่ที่จิตอยู่เพียงอย่างเดียว ไม่เข้านอก ไม่ออกใน
แล้วจะว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ว่าจิตรู้จิตอย่างเดียว
ถ้ากายยังมีอยู่มันก็จะเห็นอารมณ์ที่เกิดดับ ๆ ๆ อยู่อย่างละเอียด
นี่ทางไปของจิตมันมีอยู่สามทางเท่านี้...
อันนี้ขอฝากนักปฏิบัติทั้งหลายเอาไว้พิจารณา
--------------------------------------------------------------------------------
ในเมื่อจิตมาจับลมหายใจ
เมื่อจิตสงบ สว่าง จะมองเห็นลมภายใจเป็นท่อยาว วิ่งออก วิ่งเข้า แล้วจิตก็จะไปยึดอยู่ที่ท่อลมวิ่งออกวิ่งเข้า สว่างไหวเหมือนหลอดนีออน
บางทีเป็นท่อยาว
บางทีก็เดินตั้งแต่จมูกจนถึงเหนือสะดือสองนิ้ว
บางทีก็มองเห็นแต่ข้างใน เห็นแต่อยู่ภายในกาย
บางทีก็มองเห็นพุ่งออกมาข้างนอกด้วย ซึ่งก็แล้วแต่จิตจะปรุงแต่งขึ้นมา
อันนี้เป็นประสบการณ์
ทีนี้ถ้าหากจิตไม่เป็นอย่างนั้น พอวิ่งออกวิ่งเข้าตามลมซึ่งเข้าออก ๆ
เมื่อจิตสงบนิ่งเข้าไปมันจะไปนิ่งสว่างอยู่ในท่ามกลางของร่างกาย เรียกว่า “ดวงสว่างอยู่กลางกายนั่นเอง”
ที่นี้นอกจากสงบนิ่งเป็นดวงสว่างอยู่ท่ามกลางของร่างกายแล้ว ยังสามารถพุ่งกระแสความสว่างออกมารอบตัว
ในขณะนั้นจิตจะมองเห็นอวัยวะต่าง ๆ อยู่ภายในกายทั่วหมดในขณะจิตเดียว
ตั้งแต่ผมขนเล็บฟันหนัง เนื้อเอ็นกระดูกจนกระทั่งถึงมตฺตเก มตฺตลุงคฺง มันสมองเป็นที่สุด จะรู้เห็นในขณะจิตเดียว
ทีนี้เมื่อจิตไปกำหนดรู้เห็นอยู่ภายใน ภายในกายรู้เห็น เห็นอวัยวะครบถ้วนอาการสามสิบสอง
จิตเริ่มละเอียด ๆ ๆ ลงไปทีละน้อย ๆ แล้วในที่สุดเข้าไปสู่อัปนาสมาธิถึงฌานที่สี่ ร่างกายตัวตนหายไปหมด
ยังเหลือแต่จิตดวงเดียวนิ่งสว่างไหวอยู่
ที่นี่เมื่อจิตผ่านความเป็นอย่างนี้ แล้วไปสู่จุดซึ่งเรียกว่า จตุถฌาน
จิตอาจจะมาลอยเด่นอยู่เหนือร่างกาย แล้วจะมองเห็นร่างกายขึ้นอืด เน่าเปื่อย ผุพัง สลายตัวไปทีละอย่าง ๆ ๆ ในที่สุดเหลือแต่โครงกระดูก โครงกระดูกก็จะทรุดหวบลงไปแหลกละเอียด หายสาบสูญไปกับผืนแผ่นดิน
แล้วก็เหลือเพียงจิตสว่างไหวอยู่เพียงดวงเดียว
บางทีอาจจะเป็นย้อนกลับไปกลับมาหลายครั้งหลายหน
อันนี้ก็พึงเข้าใจว่าจิตเป็นผู้ปรุงแต่งขึ้นมา
ปรุงแต่งขึ้นมาเพื่อให้เรารู้ว่าจริงว่า “ร่างกายของเราจะเป็นไปเช่นนั้น”
ที่นี้บางทีอาจจะมองเห็นร่างกายแยกกันเป็นกอง ๆ กองดิน กองน้ำ กองลม กองไฟ
ทีนี้เมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้วก็รู้สึกว่ามีกาย
ถ้าสมาธิจิตที่กายหายไปแล้วนี่ พอจิตย้อนกลับมาหากาย ตอนนี้นักปฏิบัติต้องประคองสติให้ดี
และเมื่อจิตมาสัมพันธ์กับกายเราจะรู้สึกซู่ซ่าทั่วร่างกาย เหมือนกับฉีดยาแคลเซียมเข้าเส้นอย่างแรง จะวิ่งซู่ไปทั่วกายตั้งแต่หัวสู่เท้า
ตอนนี้นักปฏิบัติผู้มีสติสัมปชัญญะจะไม่ตื่นตกใจ
จิตจะมีสติกำหนดรู้ความเป็นไปจนกระทั่งมีความรู้สึกเป็นปกติ
พอมีความเป็นปกติ สมาธิยังอ่อน ๆ จิตก็ยังบอกกับตัวเองว่านี่แหละคือการตาย ตายแล้วมันก็ขึ้นอืด น้ำเหลืองไหล เน่าเปื่อย ผุพัง ทุกสิ่งทุกอย่างสลายตัวไปเป็นดิน น้ำ ลม ไฟ
ไหนเล่าสัตว์บุคคลตัวตนเราเขามีที่ไหน จิตมันจะว่าอย่างนี้
ในขณะที่มันรู้เห็นนิ่งอยู่เฉย ๆ สักแต่ว่ารู้ สักแต่ว่าเห็น เห็นร่างกายตายมันก็เฉย เห็นร่างกายเน่าเปื่อยผุพังมันก็เฉย
แต่มันรู้หมดทุกสิ่งทุกอย่าง สามารถบันทึกข้อมูลไว้หมดทุกอย่าง “อันนี้เรียกว่าความรู้เห็นในขั้นสัจจธรรม”
สัจจธรรมย่อยไม่มีภาษาสมมติบัญญัติ และก็เป็นความรู้ความเห็นในสมาธิสมถะเสียด้วยนะ
พออย่างนั้นนักปฏิบัติที่ยังภาวหน้าไม่ถึงขั้น อย่าไปด่วนปฏิเสธว่าสมาธิขั้นสมถะไม่เกิดภูมิความรู้
จิตของคนเราแม้ไม่มีร่างกายตัวตนสามารถรู้เห็นทุกสิ่งทุกอย่างได้แต่พูดไม่เป็น
รู้เห็นเหมือนกับคนใบ้ รู้เห็นนิ่ง ๆ เฉย ๆ
แต่สามารถบันทึกข้อมูลต่าง ๆ เอาไว้พร้อมหมด
ทำไมจึงไม่พูด ทำไมจึงไม่คิด
ในขณะนั้นร่างกายไม่มี จึงไม่มีเครื่องมือ จึงคิดไม่เป็น พูดไม่เป็น
สงสัยหรือเปล่า
ถ้าสงสัยปฏิบัติไปให้ถึงขั้นนี้แล้วจะหายสงสัย
อย่ามัวแต่ไปเถียงว่าสมาธิขั้นสมถะมันไม่เกิดภูมิความรู้ ไม่เกิดภูมิความรู้
ขอประทานโทษ ไม่ตำหนิยกโทษ แท้ที่จริงตัวภาวนาไม่ถึงขั้น
ไปอ่านกันเพียงแต่ตำรับตำราเท่านั้น
ถ้าหากนักปฏิบัติภาวนาชาวพุทธเนี่ย ยังเห็นว่าสมาธิขั้นสมถะยังไม่เกิดความรู้อยู่ตราบใด
พุทธบริษัทก็จะพากันโง่จนกระทั่งศาสนาสาบสูญออกไปจากโลก
ไม่ใช่ด่านะ
ให้พยายามไปพิจารณาดูให้ดี
สมาธิตามความเข้าใจของนักปฏิบัติในปัจจุบันนี้มันเป็นอย่างนี้
เช่นอย่างมาภาวนาพุทธโธ ๆ ๆ ๆ แล้วก็ข่มจิตลงไป น้อมจิตลงไป ๆ อาศัยการฝึกให้คล่องตัวจนชำนิชำนาญ ในเมื่อมันเกิดความคล่องตัวเราจะสะกดจิตตัวเองให้หยุดเมื่อไหร่ก็ได้
แต่ความหยุดนิ่งของจิตตามที่เราตั้งใจจะให้หยุดนิ่ง มันไม่ใช่สมาธินะ
พระเดชพระคุณ มันเป็นแต่เพียงความสงบเท่านั้น
สมาธิจริง ๆ เมื่อจิตหยุดนิ่งมันจะเปลี่ยนสภาวะ
นิ่งปั๊บ เป็นนิ่ง สว่าง รู้ตื่น เบิกบาน ถ้าหากว่ากายเกิดในขณะนั้น มีวิตก
วิจารณ์ ปีติ สุข เอกัคตา พร้อม
นิวรณ์ห้าทั้งหลายมันจะสงบระงับไปหมด
อันนี้มันจึงจะเรียกว่าสมาธิที่มันเป็นเองโดยธรรมชาติของสมาธิ
เมื่อสมาธิธรรมชาติมันเกิดขึ้นแล้ว นักปฏิบัติไม่สามารถที่จะน้อมจิตน้อมใจไปไหนได้หรอก นอกจากจิตจะปฏิวัติตัวไปเองโดยพลังของศีล สมาธิ ปัญญาที่ประชุมพร้อมแล้ว
ซึ่งเราสวดสติปัฏฐานสี่เมื่อสักครู่นี้ว่า เอกายโน มคฺโค สมฺมทกฺขาโต สตฺตานํ วิสุทฺธิยา
เมื่อศีล สมาธิ ประชุมพร้อมลงเป็นหนึ่ง
ศีลก็เป็นอธิศีล
สมาก็เป็นอธิศีล
ปัญญาก็เป็นอธิปัญญา
ในเมื่อศีลสมาธิเป็นอธิผู้ยิ่งใหญ่ ก็สามารถปฏิวัติภูมิจิตภูมิธรรมไปตามขั้นตอน ซึ่งสุดแท้แต่พลังนั้นจะเป็นไปให้เป็นไปอย่างไร
ผู้ปฏิบัติไม่มีสัญญาเจตนาที่จะน้อมจิตไปอย่างไร
จิตจะออกนอกไปเรื่องจิต
จิตจะเข้าในเป็นเรื่องของจิต
จิตจะมากำหนดรู้อยู่ที่จิต เป็นเรื่องของจิต
ซึ่งเขาจะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ
ในขณะที่จิตเป็นไปโดยเช่นนั้น
จะไปรู้ไปเห็นอะไรก็เพียงว่าเฉย ๆ นิ่ง ๆ อยู่นั้นแหละ
เช่นอยากจะรู้อนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา รู้ความเปลี่ยนแปลงของสภาวะทั้งหลายทั้งปวง ก็เพียงสักแต่ว่ารู้อยู่เฉย ๆ
คำว่าอนิจจํ ก็ไม่มี
ทุกขํ ก็ไม่มี
อนตฺตา ก็ไม่มี
ถ้าไปยืนมีแล้วสมาธิมันจะถอน
เราอาจจะพิจารณารูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอนิจจํ ทุกขํ อนตฺตา ไม่เที่ยง เป็นอนตฺตา
เราว่าได้ตั้งแต่จิตยังไม่สงบเป็นสมาธิ
เมื่อจิตสงบเป็นสมาธินี้มันจะเกิดแต่สิ่งที่เกิดดับ ๆ ๆ อยู่เท่านั้น
แล้วคำพูดที่ว่าอะไรมันจะไม่มี
มันจะมีต่อเมื่อจิตถอนจากสมาธิมาแล้วมันจึงจะพูดเป็น เพราะมันมีกายเป็นเครื่องมือแล้ว
อันนี้ทางเป็นไปของจิตทางหนึ่ง....
--------------------------------------------------------------------------------
เพราะฉะนั้นในเมื่อสรุปรวมลงไปแล้วว่า
เราจะบริกรรมภาวนาก็ตาม
จะพิจารณาอะไรก็ตาม
การบริกรรมภาวนา เรียกว่าการปฏิบัติตามแบบของสมถะ
การพิจารณา เรียกว่าการปฏิบัติตามแบบของวิปัสสนา
ทั้งสองอย่างนี้มีจุดมุ่งหมายที่จะให้จิตสงบเป็นสมาธิ
เพื่อได้เกิดสติปัญญารู้แจ้งเห็นจริงตามความเป็นจริง
และทั้งสองอย่างนี้ ในเมื่อจิตสงบลงไปแล้วเนี่ย ภาษาคำพูดอะไรต่าง ๆ มันจะไม่มี
ผู้ปฏิบัติแบบสมถะก็ดี
ผู้ปฏิบัติแบบวิปัสสนาก็ดี
ในเมื่อจิตปล่อยวางอารมณ์แล้วมันจะไปนิ่งว่างอยู่เฉย ๆ
ที่นี่จุดที่มันนิ่งว่างเนี่ย ทางหนึ่งวิ่งกระแสออกนอกเกิดภาพนิมิตดังที่กล่าว
อีกทางหนึ่งมันวิ่งตามลมเข้ามาข้างในจะมารู้เห็นอวัยวะในร่างกาย ซึ่งเรียกว่ารู้อาการสามสิบสอง
มันจะไปจนกระทั่งถึงจตุถฌาน......
ที่นี้อีกทางหนึ่งมันไม่เป็นไหนละ
จิตรู้อยู่ที่จิตอยู่เพียงอย่างเดียว ไม่เข้านอก ไม่ออกใน
แล้วจะว่าอยู่ที่ไหนก็ไม่รู้ แต่ว่าจิตรู้จิตอย่างเดียว
ถ้ากายยังมีอยู่มันก็จะเห็นอารมณ์ที่เกิดดับ ๆ ๆ อยู่อย่างละเอียด
นี่ทางไปของจิตมันมีอยู่สามทางเท่านี้...
อันนี้ขอฝากนักปฏิบัติทั้งหลายเอาไว้พิจารณา
--------------------------------------------------------------------------------
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
-
- Verified User
- โพสต์: 92
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 64
ขออนุญาตท่านเจ้าของกระทู้แจ้งข่าวนะครับ
วันที่ 8-9 ธันวาคมนี้ จะมีการเปิดเจดีย์หลวงตามหาบัวที่ร้อยเอ็ด ชื่อเจดีย์มหามงคลบัว ซึ่งเป็นเจดีย์เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างจากท่านหลวงตาในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้มาดูการถมที่ วางศิลาฤกษ์ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วยตัวท่านเอง
เจดีย์นี้นับเป็นเจดีย์ที่ได้ประโยชน์สูงสุดในการใช้พื้นที่ เพราะเจดีย์ทั่วไปจะมีแต่รูปเคารพให้กราบไหว้ แต่ที่นี้ชั้นล่างสุดจะมีห้องอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านไทยอีสาน ซึ่งรวบรวมเพลงพื้นบ้านไทยอีสานไว้ (เป็นดำริของหลวงตามหาบัวเอง) เก็บไว้ในserver สามารถของฟังได้ทุกเพลง
ชั้นสองจะเป็นห้องสมุด ซึ่งรวบรวมหนังสือธรรมะที่แต่งโดยหลวงตามหาบัวทั้งหมดไว้ มีทั้งสำหรับแจกและสำหรับอ่านในห้องสมุด
นอกจากนี้ยังมีห้องฟังธรรมะของหลวงตา ซึ่งรวบรวมเทศน์ของหลวงตาตั้งแต่ปี 2510 กว่าๆจนถึงปัจจุบัน เก็บในserver สามารถรับฟังได้ทุกกัณฑ์
ชั้นสามเป็นรูปเหมือนหลวงตาและเป็นที่นั่งภาวนาสำหรับผู้ต้องการความสงบ
ชั้นสี่ ชั้นบนสุด เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน รูปเหมือนหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว และหลวงปู่หล้า โดยมีพระอัฐิธาตุของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้กราบไหว้ด้วย
ในงานนี้จะมีหลวงปู่แบนวัดดอยธรรมเจดีย์เป็นประธาน
ไม่มีการเรี่ยราย ไม่มีผ้าป่า ไม่มีการแจกจ่ายวัตถุมงคลใดๆในงานทั้งสิ้น
พิธีการเป็นงานเรียบง่ายตามแบบพระสายท่านหลวงปู่มั่น
วันที่ 8 ธันวาคม ตอนเย็นมีการทำวัตรเย็น กลางคืนสวดมหาสมัยสูตร
เช้าวันที่ 9 ธันวาคม ตักบาตรพระสงฆ์ พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ชักผ้ามหาบังสุกุล และอนุโมทนา สวดพระปริตสมโภชน์เจดีย์ แล้วเป็นอันเสร็จพิธี
ขอบคุณครับ
วันที่ 8-9 ธันวาคมนี้ จะมีการเปิดเจดีย์หลวงตามหาบัวที่ร้อยเอ็ด ชื่อเจดีย์มหามงคลบัว ซึ่งเป็นเจดีย์เดียวที่ได้รับอนุญาตอย่างจากท่านหลวงตาในขณะที่ท่านยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้มาดูการถมที่ วางศิลาฤกษ์ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุด้วยตัวท่านเอง
เจดีย์นี้นับเป็นเจดีย์ที่ได้ประโยชน์สูงสุดในการใช้พื้นที่ เพราะเจดีย์ทั่วไปจะมีแต่รูปเคารพให้กราบไหว้ แต่ที่นี้ชั้นล่างสุดจะมีห้องอนุรักษ์เพลงพื้นบ้านไทยอีสาน ซึ่งรวบรวมเพลงพื้นบ้านไทยอีสานไว้ (เป็นดำริของหลวงตามหาบัวเอง) เก็บไว้ในserver สามารถของฟังได้ทุกเพลง
ชั้นสองจะเป็นห้องสมุด ซึ่งรวบรวมหนังสือธรรมะที่แต่งโดยหลวงตามหาบัวทั้งหมดไว้ มีทั้งสำหรับแจกและสำหรับอ่านในห้องสมุด
นอกจากนี้ยังมีห้องฟังธรรมะของหลวงตา ซึ่งรวบรวมเทศน์ของหลวงตาตั้งแต่ปี 2510 กว่าๆจนถึงปัจจุบัน เก็บในserver สามารถรับฟังได้ทุกกัณฑ์
ชั้นสามเป็นรูปเหมือนหลวงตาและเป็นที่นั่งภาวนาสำหรับผู้ต้องการความสงบ
ชั้นสี่ ชั้นบนสุด เป็นที่ประดิษฐานพระประธาน รูปเหมือนหลวงปู่เสาร์ หลวงปู่มั่น หลวงตามหาบัว และหลวงปู่หล้า โดยมีพระอัฐิธาตุของพ่อแม่ครูบาอาจารย์ให้กราบไหว้ด้วย
ในงานนี้จะมีหลวงปู่แบนวัดดอยธรรมเจดีย์เป็นประธาน
ไม่มีการเรี่ยราย ไม่มีผ้าป่า ไม่มีการแจกจ่ายวัตถุมงคลใดๆในงานทั้งสิ้น
พิธีการเป็นงานเรียบง่ายตามแบบพระสายท่านหลวงปู่มั่น
วันที่ 8 ธันวาคม ตอนเย็นมีการทำวัตรเย็น กลางคืนสวดมหาสมัยสูตร
เช้าวันที่ 9 ธันวาคม ตักบาตรพระสงฆ์ พระสงฆ์ฉันเสร็จแล้ว ชักผ้ามหาบังสุกุล และอนุโมทนา สวดพระปริตสมโภชน์เจดีย์ แล้วเป็นอันเสร็จพิธี
ขอบคุณครับ
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 65
วัดบวรนิเวศวิหารจัดงาน 7 วัน ฉลองพระชันษา 99 ปี สมเด็จพระสังฆราช
วัดบวรนิเวศ บางลำพู จะคึกคักไปด้วยพุทธศาสนิกชนมากกว่าปกติในช่วงวันที่ 1-7 ต.ค. 2555 เพราะเป็นวันเฉลิมฉลองพระชันษา 99 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประสูติ วันที่ 3 ต.ค. 2456 ณ จ.กาญจนบุรี มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2465 ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2476 ณ อุโบสถวัดเทวสังฆาราม อยู่ประจำ 1 พรรษา แล้วมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศ โดยทำทัฬหีกรรมเป็นพระในคณะธรรมยุต เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2476 ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ. 2532 นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19
สำหรับงานฉลองพระชันษา 99 ปี และจะย่างเข้าสู่พระชันษา 100 ปี ในปีหน้า วัดบวรฯ เตรียมงานฉลองตลอด 1 ปี จากวันที่ 1 ต.ค. 2555 ถึงวันที่ 1 ต.ค. 2556 แต่กิจกรรมแรกคือการจัดงานบำเพ็ญพระกุศลวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี พร้อมทั้งเปิดปูชนียสถานสำคัญของวัดให้พุทธศาสนิกชนเข้านมัสการตามสถานที่สำคัญในวัด
นิทรรศการ “พระชันษา 100 ปี สดุดีพระสังฆบิดร” ณ ชั้น 2 อาคารสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร โดยจัดแสดงพระประวัติ พระกรณียกิจ และพระจริยาวัตรของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช และจัดแสดงประวัติศาสตร์ของวัดบวรนิเวศวิหารในฐานะสถาบันการศึกษาแห่งแรกของพระสงฆ์และของเยาวชนไทยที่ได้มีการวางรากฐานด้านการเรียนการสอนอย่างมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ให้คณะบุคคลต่างๆ และประชาชนทั่วไป ลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. ณ พระตำหนักเพ็ชร
พิมพ์หนังสือ 4 เล่ม
ในการเฉลิมฉลองนั้น สำนักเลขานุการฯ ได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก 4 เล่ม ได้แก่
สมุดจดเทศนากัณฑ์อริยทรัพย์ (ลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อพระชันษา 14 ปี) จัดพิมพ์เท่าแบบเดิม พระผู้สำรวมพร้อม พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเชิงสารคดี เขียนโดย คุณศรัณย์ ทองปาน พระนิพนธ์ พระพุทธศาสนากับสังคมไทย โดย พระสาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร และศาสตราจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (พระนิพนธ์นี้เป็นคำบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2514 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
99 คำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช รวบรวมคำถามจากประชาชนที่ต้องการทราบเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช
99 คำถามนั้น เป็นคำถามที่ประชาชนถามเกี่ยวกับพระจริยาวัตรของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และคำถามด้านข้อธรรมต่างๆ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำหนังสือ คัดเลือกมาตอบเพียง 99 คำถาม เพื่อเป็นการล้อกับอายุของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในปีนี้ ขอยกตัวอย่างบางคำถามที่น่าสนใจมาเสนอ ดังนี้
คำถามเรื่องการสร้างรูปเหรียญ พระเครื่องของหลวงปู่หลวงพ่อดังๆ ที่ทำกันมา รวมถึงการสร้างพระเครื่องหลายรุ่นในวัดบวรนิเวศวิหาร เข้าข่ายสีลัพพตปรามาสหรือไม่ และท่านทรงเคยวินิจฉัยประเด็นสีลัพพตปรามาสไว้บ้างหรือไม่
คำตอบ–คำถามเรื่องสีลัพพตปรามาสที่นำมาถามนี้ น่าจะนำมาใช้ไม่ถูกประเด็น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงอธิบายเรื่องสีลัพพตปรามาส ในธรรมาภิธานว่า
“...สีลัพพตปรามาสนี้ ซึ่งมีอาการเป็นความยึดถือเช่นเดียวกับสีลัพพตุปาทานแต่ว่าหยาบกว่า และในการอธิบายสีลัพพตปรามาสก็อธิบายคล้ายคลึงกันกับสีลัพพตุปาทาน คือศีลและวัตรในคำว่าสีลัพพตปรามาสในสังโยชน์ 10 นั้นก็หมายถึงศีลและวัตรในภายนอกพุทธศาสนา ตลอดถึงศีลและวัตรในพุทธศาสนาเอง คือเมื่อละศีลและวัตรในภายนอกพุทธศาสนาแล้วมาปฏิบัติศีลและวัตรในพุทธศาสนา เมื่อปฏิบัติด้วยตัณหาก็ชื่อว่ายังเป็นสีลัพพตปรามาส แต่ว่าใช้คำว่าปรามาสนี้แรงกว่า
คำว่าอุปาทาน คือหมายความว่าต้องลูบคลำ คือต้องจับเอาไว้ ถ้าไม่จับเอาไว้ ศีลและวัตรก็จะขาดเป็นท่อนเป็นช่องด่างพร้อย ดังเช่นศีล 5 สมาทานศีล 5 รักษาศีล 5 ก็จะต้องจับยึดรักษาเอาไว้ ถ้าไม่เช่นนั้นศีล 5 ก็จะขาดเป็นท่อนเป็นช่องด่างพร้อย คือจะต้องรักษากันอย่างกวดขัน ต้องจับต้องยึดกันไว้เหมือนอย่างการรักษาศีล 5 ของสามัญชนทั้งหลาย เพราะยังมีสักกายทิฏฐิความเห็นยึดถือว่าตัวเราของเราเป็นอย่างแรง เพราะฉะนั้นความประพฤติจึงเป็นไปตามอำนาจของตัวเราของเรา ก็คือตามอำนาจของกิเลสตัณหาทั้งหลาย ฉะนั้นจึงปรากฏว่าคนสามัญทั่วไปนั้นไม่อาจที่จะรักษาศีล 5 ไว้โดยไม่ให้ขาดเป็นท่อน ไม่ให้ทะลุเป็นช่อง ไม่ให้ด่างไม่ให้พร้อยกันตลอดไปได้ ต้องมีขาดต้องมีต่อกันอยู่เรื่อยๆ ดังจะพึงเห็นได้ว่า ต้องมีการสมาทานกันอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพราะว่าจิตสามัญยังเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหาอยู่เป็นอันมาก จนกว่าจะละสักกายทิฏฐิด้วยการเห็นธรรมะอันเป็นธรรมจักษุได้ จึงจะไม่ต้องคอยยึดศีลและวัตรไว้
...สีลัพพตุปาทานนี้ จึงมีใจความที่คลุมอุปาทานคือความยึดถือทั้งหมด แม้ว่าเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีซึ่งท่านละมาได้โดยลำดับ แต่ว่าก็ยังละอุปาทานที่เป็นอย่างละเอียดไม่ได้ จนกว่าจะเป็นพระอรหันต์จึงละได้หมด เพราะฉะนั้นสีลัพพตุปาทานนี้จึงมีความที่คลุมไปได้ทั้งหมด คลุมสีลัพพตปรามาสด้วย แต่ว่าสีลัพพตปรามาสนั้นเป็นอย่างหยาบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ส่วนสีลัพพตุปาทานนี้คลุมได้หมด
อันสีลัพพตุปาทานดังกล่าวมานี้ ก็มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะพากันละพากันทิ้งได้ หรือเป็นสิ่งที่เป็นของไม่ดี จำเป็นที่จะต้องแบ่งตามภูมิตามชั้น กล่าวคือถ้าเป็นศีลและวัตรในภายนอกพุทธศาสนา อันเป็นศีลและวัตรที่ผิดต่างๆ นั่นก็เป็นอันว่าผู้นับถือพุทธศาสนาก็ต้องละต้องเว้นไปโดยลำดับ และมาถึงศีลและวัตรในพุทธศาสนาเองก็จะต้องละต้องเว้นเหมือนกัน
แต่ว่าก่อนที่จะละเว้นก็ต้องสมาทาน คือต้องรับถือปฏิบัติก่อน และจะต้องอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาดังกล่าวมานั้น คือยังจะต้องมีสีลัพพตปรามาส
สีลัพพตุปาทานอยู่ในการปฏิบัติมาโดยลำดับ แต่ว่าก็ยึดและปล่อยไปเป็นขั้นๆ เหมือนอย่างคนเดินขึ้นบันไดซึ่งมีหลายขั้น ก็ต้องขึ้นไปทีละขั้น และขั้นที่กำลังขึ้นอยู่นั้นก็จะต้องเหยียบอยู่บนบันไดทั้งสองเท้าในขั้นนั้น ดังนี้เรียกว่ายังมีสีลัพพตปรามาส สีลัพพตุปาทานอยู่ในขั้นนั้น แต่ว่าที่จะก้าวขึ้นขั้นต่อไปนั้น ก็จะต้องละขั้นที่กำลังยืนอยู่นั้นก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง คือว่าปล่อยขั้นที่กำลังยืนอยู่ทีแรกนั้น ถ้าหากว่าไม่ปล่อยขั้นที่กำลังยืนอยู่ทีแรกนั้นยังคงยืนอยู่ในขั้นเดิมนั่นแหละ ก็แปลว่าก้าวขึ้นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องปล่อยขั้นที่ 1 ก้าวขึ้นไปสู่ขั้นที่ 2 ก็จะต้องยึดขั้นที่ 2 ทรงตัวอยู่ในขั้นที่ 2 แล้วจึงต้องละขั้นที่ 2 ก้าวขึ้นสู่ขั้นที่ 3 ก็แปลว่าต้องรับปฏิบัติคือต้องยึดแล้วก็ปล่อย เดินขึ้นไปเป็นขั้นๆ ดังนี้ จึงจะขึ้นสูงขึ้นไปได้โดยลำดับ จนถึงขั้นสุดท้ายแล้วก็เป็นอันว่าปล่อยได้หมด ดังนี้”
(หน้า 828-829 ธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา)
นอกจากนี้ เคยมีพระนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อไว้ว่า
“ความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลัง ที่ทำขึ้นอาศัยคุณพระรัตนตรัยเป็นหัวใจ เพื่อทำใจให้เข้มแข็งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ธำรงรักษาไตรรงค์ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ย่อมเป็นประโยชน์ และก็พึงระวังมิให้เชื่อเกินขอบเขตที่ควร มิให้ความเชื่อในวัตถุเหล่านี้ ทำให้งมงายจนเป็นผู้ถูกหลอกให้ตายเปล่า จำต้องใช้เหตุผลเพื่อปฏิบัติกิจการทั้งหลายตามหลักวิทยาการและด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหลายให้เหมาะสมอีกด้วย เหมือนอย่างจะขุดดินก็ต้องใช้เครื่องขุดและใช้ด้วยความไม่ประมาท มิใช่ว่าจะขุดถูกมือเท้าบ้างก็ได้เพราะมีของทำให้เหนียวอยู่แล้ว...
นอกจากนี้ ยังควรทราบอีกด้วยว่า ความเชื่ออันตรงต่อหลักพระพุทธศาสนานั้น คือความเชื่อในกรรมและผลของกรรมเพื่อที่จะได้ละกรรมที่ชั่วที่ผิด ทำกรรมที่ดีที่ชอบ หากจะมีเครื่องรางของขลังอันใด ที่ทำให้ละกรรมชั่วทำกรรมดีได้ ก็จะเป็นยอดของเครื่องรางของขลังทั้งหมด”
[หน้า 14-15 เรื่องของความเชื่อ... พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย 2535)
คำถาม หลังจากที่สมเด็จพระสังฆราชอาพาธแล้ว ยังมีวรธรรมคติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ออกมาทุกเทศกาล ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา มีเนื้อหาข้อความเป็นที่ประทับใจ ใคร่ขอเรียนถามว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร
คำตอบ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเรียบเรียงขึ้นโดยอาศัยพระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทั้งนี้ โดยถือว่าตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมิใช่ตัวบุคคล แต่เป็นสถาบัน เพราะฉะนั้นแม้ตัวบุคคลจะอาพาธ แต่จุดยืนของสถาบันสมเด็จพระสังฆราชต้องดำเนินไปตามปกติ เพราะฉะนั้นวรธรรมคติต่างๆ นั้น ก็นำเสนอสู่สายตาประชาชนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของพุทธศาสนิกชน พร้อมทั้งเป็นการรักษาสถาบันสมเด็จพระสังฆราชด้วย
วัดบวรนิเวศ บางลำพู จะคึกคักไปด้วยพุทธศาสนิกชนมากกว่าปกติในช่วงวันที่ 1-7 ต.ค. 2555 เพราะเป็นวันเฉลิมฉลองพระชันษา 99 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช
สมเด็จพระญาณสังวร (สุวฑฺฒนมหาเถร) สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ประสูติ วันที่ 3 ต.ค. 2456 ณ จ.กาญจนบุรี มีพระนามเดิมว่า เจริญ นามสกุล คชวัตร บรรพชาเป็นสามเณร เมื่อ พ.ศ. 2465 ณ วัดเทวสังฆาราม (วัดเหนือ) และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อ พ.ศ. 2476 ณ อุโบสถวัดเทวสังฆาราม อยู่ประจำ 1 พรรษา แล้วมาอยู่ที่วัดบวรนิเวศ โดยทำทัฬหีกรรมเป็นพระในคณะธรรมยุต เมื่อวันที่ 15 ก.พ. 2476 ณ อุโบสถวัดบวรนิเวศวิหาร และได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อ พ.ศ. 2532 นับเป็นสมเด็จพระสังฆราช องค์ที่ 19
สำหรับงานฉลองพระชันษา 99 ปี และจะย่างเข้าสู่พระชันษา 100 ปี ในปีหน้า วัดบวรฯ เตรียมงานฉลองตลอด 1 ปี จากวันที่ 1 ต.ค. 2555 ถึงวันที่ 1 ต.ค. 2556 แต่กิจกรรมแรกคือการจัดงานบำเพ็ญพระกุศลวันประสูติ เจริญพระชันษา 99 ปี พร้อมทั้งเปิดปูชนียสถานสำคัญของวัดให้พุทธศาสนิกชนเข้านมัสการตามสถานที่สำคัญในวัด
นิทรรศการ “พระชันษา 100 ปี สดุดีพระสังฆบิดร” ณ ชั้น 2 อาคารสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย วัดบวรนิเวศวิหาร โดยจัดแสดงพระประวัติ พระกรณียกิจ และพระจริยาวัตรของเจ้าพระคุณสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช และจัดแสดงประวัติศาสตร์ของวัดบวรนิเวศวิหารในฐานะสถาบันการศึกษาแห่งแรกของพระสงฆ์และของเยาวชนไทยที่ได้มีการวางรากฐานด้านการเรียนการสอนอย่างมีระเบียบแบบแผนมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน
ให้คณะบุคคลต่างๆ และประชาชนทั่วไป ลงนามถวายพระพรเนื่องในโอกาสคล้ายวันประสูติ ตั้งแต่วันที่ 17 ต.ค. ณ พระตำหนักเพ็ชร
พิมพ์หนังสือ 4 เล่ม
ในการเฉลิมฉลองนั้น สำนักเลขานุการฯ ได้จัดพิมพ์หนังสือที่ระลึก 4 เล่ม ได้แก่
สมุดจดเทศนากัณฑ์อริยทรัพย์ (ลายพระหัตถ์สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เมื่อพระชันษา 14 ปี) จัดพิมพ์เท่าแบบเดิม พระผู้สำรวมพร้อม พระประวัติสมเด็จพระสังฆราชเชิงสารคดี เขียนโดย คุณศรัณย์ ทองปาน พระนิพนธ์ พระพุทธศาสนากับสังคมไทย โดย พระสาสนโสภณ วัดบวรนิเวศวิหาร และศาสตราจารย์ ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมช (พระนิพนธ์นี้เป็นคำบรรยายวิชาพื้นฐานอารยธรรมไทย ภาคการศึกษาที่ 2 ปีการศึกษา 2514 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)
99 คำถามเกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช รวบรวมคำถามจากประชาชนที่ต้องการทราบเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับสมเด็จพระสังฆราช
99 คำถามนั้น เป็นคำถามที่ประชาชนถามเกี่ยวกับพระจริยาวัตรของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ และคำถามด้านข้อธรรมต่างๆ ซึ่งทางคณะผู้จัดทำหนังสือ คัดเลือกมาตอบเพียง 99 คำถาม เพื่อเป็นการล้อกับอายุของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ในปีนี้ ขอยกตัวอย่างบางคำถามที่น่าสนใจมาเสนอ ดังนี้
คำถามเรื่องการสร้างรูปเหรียญ พระเครื่องของหลวงปู่หลวงพ่อดังๆ ที่ทำกันมา รวมถึงการสร้างพระเครื่องหลายรุ่นในวัดบวรนิเวศวิหาร เข้าข่ายสีลัพพตปรามาสหรือไม่ และท่านทรงเคยวินิจฉัยประเด็นสีลัพพตปรามาสไว้บ้างหรือไม่
คำตอบ–คำถามเรื่องสีลัพพตปรามาสที่นำมาถามนี้ น่าจะนำมาใช้ไม่ถูกประเด็น เจ้าพระคุณสมเด็จฯ ได้ทรงอธิบายเรื่องสีลัพพตปรามาส ในธรรมาภิธานว่า
“...สีลัพพตปรามาสนี้ ซึ่งมีอาการเป็นความยึดถือเช่นเดียวกับสีลัพพตุปาทานแต่ว่าหยาบกว่า และในการอธิบายสีลัพพตปรามาสก็อธิบายคล้ายคลึงกันกับสีลัพพตุปาทาน คือศีลและวัตรในคำว่าสีลัพพตปรามาสในสังโยชน์ 10 นั้นก็หมายถึงศีลและวัตรในภายนอกพุทธศาสนา ตลอดถึงศีลและวัตรในพุทธศาสนาเอง คือเมื่อละศีลและวัตรในภายนอกพุทธศาสนาแล้วมาปฏิบัติศีลและวัตรในพุทธศาสนา เมื่อปฏิบัติด้วยตัณหาก็ชื่อว่ายังเป็นสีลัพพตปรามาส แต่ว่าใช้คำว่าปรามาสนี้แรงกว่า
คำว่าอุปาทาน คือหมายความว่าต้องลูบคลำ คือต้องจับเอาไว้ ถ้าไม่จับเอาไว้ ศีลและวัตรก็จะขาดเป็นท่อนเป็นช่องด่างพร้อย ดังเช่นศีล 5 สมาทานศีล 5 รักษาศีล 5 ก็จะต้องจับยึดรักษาเอาไว้ ถ้าไม่เช่นนั้นศีล 5 ก็จะขาดเป็นท่อนเป็นช่องด่างพร้อย คือจะต้องรักษากันอย่างกวดขัน ต้องจับต้องยึดกันไว้เหมือนอย่างการรักษาศีล 5 ของสามัญชนทั้งหลาย เพราะยังมีสักกายทิฏฐิความเห็นยึดถือว่าตัวเราของเราเป็นอย่างแรง เพราะฉะนั้นความประพฤติจึงเป็นไปตามอำนาจของตัวเราของเรา ก็คือตามอำนาจของกิเลสตัณหาทั้งหลาย ฉะนั้นจึงปรากฏว่าคนสามัญทั่วไปนั้นไม่อาจที่จะรักษาศีล 5 ไว้โดยไม่ให้ขาดเป็นท่อน ไม่ให้ทะลุเป็นช่อง ไม่ให้ด่างไม่ให้พร้อยกันตลอดไปได้ ต้องมีขาดต้องมีต่อกันอยู่เรื่อยๆ ดังจะพึงเห็นได้ว่า ต้องมีการสมาทานกันอยู่เสมอ ทั้งนี้ก็เพราะว่าจิตสามัญยังเป็นไปตามอำนาจของกิเลสตัณหาอยู่เป็นอันมาก จนกว่าจะละสักกายทิฏฐิด้วยการเห็นธรรมะอันเป็นธรรมจักษุได้ จึงจะไม่ต้องคอยยึดศีลและวัตรไว้
...สีลัพพตุปาทานนี้ จึงมีใจความที่คลุมอุปาทานคือความยึดถือทั้งหมด แม้ว่าเป็นพระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามีซึ่งท่านละมาได้โดยลำดับ แต่ว่าก็ยังละอุปาทานที่เป็นอย่างละเอียดไม่ได้ จนกว่าจะเป็นพระอรหันต์จึงละได้หมด เพราะฉะนั้นสีลัพพตุปาทานนี้จึงมีความที่คลุมไปได้ทั้งหมด คลุมสีลัพพตปรามาสด้วย แต่ว่าสีลัพพตปรามาสนั้นเป็นอย่างหยาบดังที่ได้กล่าวมาแล้ว
ส่วนสีลัพพตุปาทานนี้คลุมได้หมด
อันสีลัพพตุปาทานดังกล่าวมานี้ ก็มิใช่ว่าจะเป็นสิ่งที่ทุกคนจะพากันละพากันทิ้งได้ หรือเป็นสิ่งที่เป็นของไม่ดี จำเป็นที่จะต้องแบ่งตามภูมิตามชั้น กล่าวคือถ้าเป็นศีลและวัตรในภายนอกพุทธศาสนา อันเป็นศีลและวัตรที่ผิดต่างๆ นั่นก็เป็นอันว่าผู้นับถือพุทธศาสนาก็ต้องละต้องเว้นไปโดยลำดับ และมาถึงศีลและวัตรในพุทธศาสนาเองก็จะต้องละต้องเว้นเหมือนกัน
แต่ว่าก่อนที่จะละเว้นก็ต้องสมาทาน คือต้องรับถือปฏิบัติก่อน และจะต้องอาศัยตัณหาเพื่อละตัณหาดังกล่าวมานั้น คือยังจะต้องมีสีลัพพตปรามาส
สีลัพพตุปาทานอยู่ในการปฏิบัติมาโดยลำดับ แต่ว่าก็ยึดและปล่อยไปเป็นขั้นๆ เหมือนอย่างคนเดินขึ้นบันไดซึ่งมีหลายขั้น ก็ต้องขึ้นไปทีละขั้น และขั้นที่กำลังขึ้นอยู่นั้นก็จะต้องเหยียบอยู่บนบันไดทั้งสองเท้าในขั้นนั้น ดังนี้เรียกว่ายังมีสีลัพพตปรามาส สีลัพพตุปาทานอยู่ในขั้นนั้น แต่ว่าที่จะก้าวขึ้นขั้นต่อไปนั้น ก็จะต้องละขั้นที่กำลังยืนอยู่นั้นก้าวขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง คือว่าปล่อยขั้นที่กำลังยืนอยู่ทีแรกนั้น ถ้าหากว่าไม่ปล่อยขั้นที่กำลังยืนอยู่ทีแรกนั้นยังคงยืนอยู่ในขั้นเดิมนั่นแหละ ก็แปลว่าก้าวขึ้นไปไม่ได้ เพราะฉะนั้นก็ต้องปล่อยขั้นที่ 1 ก้าวขึ้นไปสู่ขั้นที่ 2 ก็จะต้องยึดขั้นที่ 2 ทรงตัวอยู่ในขั้นที่ 2 แล้วจึงต้องละขั้นที่ 2 ก้าวขึ้นสู่ขั้นที่ 3 ก็แปลว่าต้องรับปฏิบัติคือต้องยึดแล้วก็ปล่อย เดินขึ้นไปเป็นขั้นๆ ดังนี้ จึงจะขึ้นสูงขึ้นไปได้โดยลำดับ จนถึงขั้นสุดท้ายแล้วก็เป็นอันว่าปล่อยได้หมด ดังนี้”
(หน้า 828-829 ธรรมาภิธาน พจนานุกรมคำสอนพระพุทธศาสนา)
นอกจากนี้ เคยมีพระนิพนธ์เกี่ยวกับเรื่องความเชื่อไว้ว่า
“ความเชื่อในเรื่องเครื่องรางของขลัง ที่ทำขึ้นอาศัยคุณพระรัตนตรัยเป็นหัวใจ เพื่อทำใจให้เข้มแข็งเพื่อปฏิบัติหน้าที่ธำรงรักษาไตรรงค์ คือ ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ย่อมเป็นประโยชน์ และก็พึงระวังมิให้เชื่อเกินขอบเขตที่ควร มิให้ความเชื่อในวัตถุเหล่านี้ ทำให้งมงายจนเป็นผู้ถูกหลอกให้ตายเปล่า จำต้องใช้เหตุผลเพื่อปฏิบัติกิจการทั้งหลายตามหลักวิทยาการและด้วยเครื่องมือเครื่องใช้ทั้งหลายให้เหมาะสมอีกด้วย เหมือนอย่างจะขุดดินก็ต้องใช้เครื่องขุดและใช้ด้วยความไม่ประมาท มิใช่ว่าจะขุดถูกมือเท้าบ้างก็ได้เพราะมีของทำให้เหนียวอยู่แล้ว...
นอกจากนี้ ยังควรทราบอีกด้วยว่า ความเชื่ออันตรงต่อหลักพระพุทธศาสนานั้น คือความเชื่อในกรรมและผลของกรรมเพื่อที่จะได้ละกรรมที่ชั่วที่ผิด ทำกรรมที่ดีที่ชอบ หากจะมีเครื่องรางของขลังอันใด ที่ทำให้ละกรรมชั่วทำกรรมดีได้ ก็จะเป็นยอดของเครื่องรางของขลังทั้งหมด”
[หน้า 14-15 เรื่องของความเชื่อ... พระนิพนธ์ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก กรุงเทพฯ : สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย 2535)
คำถาม หลังจากที่สมเด็จพระสังฆราชอาพาธแล้ว ยังมีวรธรรมคติของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ออกมาทุกเทศกาล ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา และวันอาสาฬหบูชา มีเนื้อหาข้อความเป็นที่ประทับใจ ใคร่ขอเรียนถามว่ามีกระบวนการทำงานอย่างไร
คำตอบ สำนักเลขานุการสมเด็จพระสังฆราชเรียบเรียงขึ้นโดยอาศัยพระนิพนธ์ของเจ้าพระคุณสมเด็จฯ ทั้งนี้ โดยถือว่าตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชมิใช่ตัวบุคคล แต่เป็นสถาบัน เพราะฉะนั้นแม้ตัวบุคคลจะอาพาธ แต่จุดยืนของสถาบันสมเด็จพระสังฆราชต้องดำเนินไปตามปกติ เพราะฉะนั้นวรธรรมคติต่างๆ นั้น ก็นำเสนอสู่สายตาประชาชนเพื่อเป็นขวัญและกำลังใจของพุทธศาสนิกชน พร้อมทั้งเป็นการรักษาสถาบันสมเด็จพระสังฆราชด้วย
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 67
ธรรมะ-จิตใจ
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ก่อตั้งธรรมยุต บรรลุพระนิพพาน
07 ตุลาคม 2555 เวลา 08:42 น. |
โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
สัปดาห์ก่อนโน้นได้หนังสือเก่าเรื่อง มรโณบาย ของ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) มา เป็นหนังสือเก่าหายาก เมื่อนำมาตีพิมพ์ใหม่ในคอลัมน์นี้แล้ว ก็รุมๆ อยู่ในใจว่า อยากจะไปวัดโสมนัสราชวรวิหาร กทม. เพื่อเสาะหาดูว่า ทางวัดยังมีเทศนาเรื่องอื่นๆ ของพระคุณท่านอีกหรือไม่ เพราะเทศนาของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) นั้น เป็นเทศนาชั้นยอดที่เป็นดอกผลจากปริยัติและปฏิบัติ เป็นแนวทางที่ควรจะศึกษาอย่างยิ่ง
ต้องขอขอบพระคุณทายกและทายิกาวัดโสมนัสฯ ที่ได้กรุณาชี้แนะอย่างดี ที่น่าประทับใจคือ วัดโสมนัสฯ ได้แบ่งสถานที่ไว้จำหน่ายหนังสือธรรมะไว้อย่างเป็นสัดส่วน แถมมีหนังสือหลากหลาย บางเล่มเป็นหนังสือที่หาไม่ได้ทั่วไป หนึ่งในนั้นคือ “ประวัติ ผลงานและรวมธรรโมวาท ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริมหาเถร)”
หนังสือเล่มนี้พิมพ์มาทั้งหมด 4 ครั้ง ล่าสุดคือ ปี 2550 แต่ก็พิมพ์จำนวนน้อยมากคือ 1,000 เล่มเท่านั้น
หนังสือเล่มนี้ นอกจากจะบอกเล่าประวัติสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว ยังรวบรวมธรรโมวาทของพระคุณท่านไว้ 12 เรื่อง คือ วิธีบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนและวิธีไหว้พระ/วิธีรักษาศีล 5 และศีลอุโบสถ จตุรารักขกัมมัฏฐาน/วิธีเจริญวิปัสสนาโดยย่อ/ปกิณณกกถา/สังขิตโตวาท/สติสัมปชัญญกถา/อัฏฐังคิกมรรค/อธิษฐานธรรม/การเตรียมตัวก่อนตาย/นิพพานธรรมและบันทึกโอวาท
ใครสนใจก็ลองไปที่วัดนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็เหลือไม่มากแล้ว
ธรรโมวาทของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เหล่านี้ บางเรื่องได้เปลี่ยนชีวิตผู้คนมาแล้วอย่างสุดจะพรรณนา อาทิ จตุรารักขกัมมัฏฐานนั้น ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งอ่านแล้วถึงกับตัดสินใจออกบวชตลอดชีพ ในเวลาต่อมาชายหนุ่มผู้นั้นเป็นที่สักการะของพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนทั่วประเทศ ในนาม พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) จ.หนองคาย
เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้ในคอลัมน์นี้ เรื่อง “สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) อาริยะเหนือสมณศักดิ์” มาแล้วครั้งหนึ่ง
หนังสือเล่มนั้น เป็นตำรับตำราสำคัญที่พระกัมมัฏฐานใช้ศึกษากันมานาน พ่อแม่ครูอาจารย์ก็สรรเสริญ พิมพ์ต่อเนื่องกันมาโดยบางช่วงบางยุคไพล่เข้าใจผิดคิดว่า เป็นหนังสือที่รจนาโดยพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ก็มี
โอกาสนี้ ขอเก็บความจาก “ประวัติ ผลงานและรวมธรรโมวาท ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริมหาเถร)” มาเสนอเพื่อให้เรื่องราวของท่านมีความสมบูรณ์ขึ้นจากที่เคยเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง ดังนี้
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เกิดเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2349 ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ถิ่นฐานเดิมของท่านอยู่แถวๆ วัดเทวราชกุญชรในปัจจุบัน
ไม่มีหลักฐานว่า ท่านบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่เมื่อไหร่ ทราบแต่ว่า ท่านบรรพชาที่วัดสังเวชวิศยาราม ย่านบางลำพู เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดราชโอรสขึ้นก็โปรดให้ท่านไปอยู่ที่วัดราชโอรส
ในปี 2369 หรือรัชสมัยในหลวงรัชกาลที่ 3 นั่นเอง ท่านได้อุปสมบทที่วัดเทวราชกุญชรแล้วไปอยู่ในสำนักวัดราชาธิวาส โดยไปศึกษาที่วัดเบญจมบพิตรบ้าง วัดชนะสงครามบ้าง
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) รูปนี้ มีความสำคัญนัก เพราะท่านเป็น 1 ใน 10 รูป ที่ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเป็นพระวชิรญาณเถระก่อตั้งวงศ์พระธรรมยุตขึ้นในประเทศไทย
ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช และประทับอยู่ที่วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส นั้น ทรงศึกษาและปฏิบัติแล้วพบว่า “หลักการปฏิบัติสับสน ขาดหลักอ้างอิงที่แน่นอน เป็นแต่เพียงรับฟังคำบอกเล่าของโบราณาจารย์ ปฏิบัติไปก็ยิ่งห่างไกลจากความรู้”
หลังตั้งพระทัยว่าจะศึกษาให้แตกฉาน ก็ทรงสอบระเบียบแบบแผนและคัมภีร์ต่างๆ แล้วพบว่า “ศาสนวงศ์อันตรธานมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งโน้นแล้ว” จึงทรงตั้งสัจจกิริยาธิษฐานในอุโบสถวัดมหาธาตุฯ ว่า
“ข้าพเจ้าออกบวชด้วยความเชื่อ ความเลื่อมใส มิได้เพ่งต่ออามิส สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น ถ้าวงศ์บรรพชาอุปสมบทมีเนื่องมาแต่สุคตทศพลยังมีอยู่ ณ ประเทศใด ทิศใด ขอให้ประสบหรือได้ยินข่าวให้ได้ภายในสามวันหรือเจ็ดวัน ถ้าไม่เป็นดังนั้น ข้าพเจ้าก็จักเข้าใจว่า ศาสนวงศ์นั้นสิ้นแล้ว”
ไม่กี่วันหลังจากนั้น พระองค์ก็ได้พบพระเถระชาวรามัญผู้รู้ข้อวัตรปฏิบัติแตกฉานในพระไตรปิฎก
หลังจากนั้นทรงได้อุปสมบทใหม่ เพราะสงสัยว่า การอุปสมบทในคราวก่อนนั้นจะมีความผิดพลาดไม่สมบูรณ์อยู่ หรือที่เรียกว่า ทัฬหีกรรม อุปสมบทที่สีมาน้ำวัดสมอราย มีพระรามัญ 20 รูป ทุกรูปมีกาลพรรษาล่วง 20 พรรษา มาเป็นพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด โดยให้สลับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดทุกหนึ่งจบรวม 6 ครั้ง
เมื่อทรงผนวชเสร็จแล้ว ก็ทรงให้ศิษย์หลวง 9 รูปร่วมอุปสมบทใหม่ในพิธีนั้นด้วย
หนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
นั่นเป็นการอุปสมบทครั้งที่ 4 ของท่าน ซึ่งไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะตามประวัติ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) อุปสมบทถึง 7 ครั้ง
หลังบวชครั้งที่ 4 และเรียนพระปริยัติในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ต่อมาท่าน “ไม่สู้ชอบใจพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน” ท่านจึงเข้าอุปสมบทใหม่ซ้ำอีก เพื่อให้แน่ใจว่า การอุปสมบทของท่านบริสุทธิ์จริงๆ
ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบว่า การอุปสมบทแบบรามัญนั้นไม่มีการสวดบุพพกิจ ท่านจึงอุปสมบทใหม่อีกเป็นครั้งที่ 6
ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อท่านไปนมัสการพระปฐมเจดีย์แล้วได้ปฏิญาณตนเป็นอุปสัมบันภิกษุต่อพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอุทิศบรรพชา และเป็นการบรรพชาครั้งที่ 7 ของท่าน
ศิษย์รุ่นหลังได้วิเคราะห์ไว้ว่า การที่ท่านได้อุปสมบทถึง 7 ครั้งนั้นชี้ให้เห็นว่า “ท่านมุ่งความบริสุทธิ์ในชีวิตพรหมจรรย์มากเพียงไร”
นอกจากเรื่องนี้แล้ว เรื่องราวความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยของท่านนั้นปรากฏตกทอดมาอีกเรื่องหนึ่งคือ ปกติท่านจะจำวัดผู้เดียวในกุฏิใหญ่คณะ 5 แต่มีคืนหนึ่งอสุรกายปรากฏขึ้นในรูปหญิงสาว นับแต่นั้นมาท่านจึงให้พระเณรมานอนเป็นเพื่อน เพราะเกรงว่าจะมีผู้พบแล้วเข้าใจผิด
นอกจากศึกษาปริยัติแล้ว สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ยังมุ่งปฏิบัติโดยเฉพาะอสุภกรรมฐาน แม้แต่ภาพถ่ายของท่านที่ตกมาถึงคนรุ่นหลังก็ยังเป็นรูปที่ท่านกำลังนั่งพิจารณากองกระดูกอยู่
ตามประวัตินั้นบ่งชัดว่า สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นผู้มั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ท่านจะสวดมนต์ไหว้พระวันละ 3 ครั้ง กล่าวคือ หลังฉันเช้าแล้วจะไหว้พระสวดมนต์ที่กุฏิเพียงลำพัง พอ 4 โมงเช้าจะไหว้พระในพระอุโบสถพร้อมพระภิกษุสามเณร พลบค่ำก็จุดเทียนไหว้พระพร้อมกับลูกวัด
ครั้งหนึ่งซึ่งพิเคราะห์กันแล้วเชื่อว่าจะเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชพิธีจัดสวดมนต์ในวังหลวง สังฆการีได้มานิมนต์ท่านเข้าไปร่วมสวดมนต์ด้วย โดยนิมนต์ท่านให้เข้าวังในเวลา 4 โมงเย็น ท่านก็ตอบว่า “4 ทุ่มข้าจะไป” เพราะที่วัดโสมนัสฯ สวดมนต์เย็นไหว้พระเสร็จกันตอน 3 ทุ่ม
พอพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก พระภิกษุทั้งหลายก็เข้าประจำที่ ขาดแต่สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เลยทรงถามสังฆการี ว่า ไปนิมนต์ท่านอย่างไร ท่านถึงยังไม่มา สังฆการีก็กราบทูลตามความดังกล่าว จึงมีรับสั่งว่า “ท่านไม่อยากเข้าวังแล้ว ทีหลังอย่าไปนิมนต์ท่าน”
พอสังฆการีไปกราบเรียนให้สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ทราบ สมเด็จฯ ท่านจึงว่า “เออ ข้างๆ วัดของข้านี้ก็อิ่มแล้ว”
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นที่ได้รับการยกย่องอย่างยิ่งจากพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 3 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 3 ที่ 4 และที่ 5
คราวรัชกาลที่ 5 ทรงผนวชนั้น ท่านได้รับนิมนต์ให้เข้าไปประจำที่พระพุทธรัตนสถาน ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายพระธรรมปริยายแด่พระองค์จนกระทั่งลาผนวช และในรัชกาลนั้นเองที่ทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระวันรัต โดยปรากฏในประกาศทรงแต่งตั้งตอนหนึ่งว่า “มีพรรษายุกาลเจริญมาก ประกอบด้วยรัตตัญญูมหาเถระธรรมยั่งยืนมานานปละมีปฏิภาณปรีชาตรีปิฎกกลาโกศลฉลาดในธรรมโมบาย ขวนขวายในการสั่งสอนนิกรบรรษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต เป็นพาหุลกิจนิตยสมาทานมิได้ย่อหย่อน เป็นที่มหานิกรนับถือ เป็นปูชนียฐานบุญเขตที่ควรเคารพบูชา และมีสุตาคมและศีลาธิคุณมั่น...”
กล่าวกันว่า สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) นั้น เป็นที่นับถือของหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตมากเป็นพิเศษ ภาษาสมัยใหม่ก็คงเรียกว่า นับถือท่านเป็นไอดอลของพระธรรมยุต
พิเศษขนาดไหนพิจารณาได้จากคำบอกเล่าของ พระพรมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส เคยเล่าว่า “ครั้งสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) มีชีวิตอยู่นั้น พระสงฆ์ในคณะธรรมยุตนับถือท่านมากเป็นพิเศษ ถือท่านเป็นแบบอย่าง เป็นอาจารย์ ถึงกับมีธรรมเนียมเกิดขึ้นในสมัยนั้นว่า พระเถระหรือเจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ตามหัวเมืองทุกภาคของประเทศเมื่อเข้ามาในกรุงเทพฯ ต้องไปวัดโสมนัสฯ ขอนิสสัยกับสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) และในการเข้าขอนิสสัยกับท่านนั้น ต้องสวดโมกขุปายคาถาหรือคาถาแสดงอุบายในการพ้นทุกข์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนิพนธ์เอาไว้ในสมัยเมื่อทรงผนวชให้ท่านฟังด้วย”
เชื่อว่ากันว่า สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งที่บรรลุพระอรหันต์ และสถานที่ที่ท่านบรรลุธรรมคือ กุฏิข้างโบสถ์วัดโสมนัสฯ นั่นเอง
กำลังมหาสิติ มหาปัญญาของท่านเป็นอย่างไร ชนชั้นหลังศึกษาได้จากมูลมรดกที่ท่านทิ้งไว้ให้ และคณะสงฆ์ยังใช้หนังสือสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานของท่าน เป็นหนังสือประกอบการศึกษาในชั้นนักธรรมเอกและธรรมศึกษาชั้นเอกอยู่ถึงปัจจุบันนี้ แต่การบวชเรียนของท่านนั้นเป็นไปเพื่อสิ่งใดท่านได้ประกาศชัดอยู่ในบทนิพนธ์เรื่องธรรมนุศาสน์ ดังความว่า
“เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ บวชเป็นภิกษุและสามเณร ณ ศาสนานี้ เพื่อจะหลอกให้คนในโลกเลื่อมใสนับถือก็หามิได้ เพื่อจะได้พูดจาปราศรัยกับชนมีศักดิ์คือ เจ้านายเป็นต้นก็หามิได้ เพื่อจะอวดให้เขารู้ว่า ตนเป็นคนสุกมิใช่คนดิบ คือ ได้บวชประพฤติพรหมจรรย์แล้วสึกไปจะหาเมียง่ายๆ ก็หามิได้
เราทั้งหลายมาบวชเป็นพระภิกษุและสามเณรประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนานี้ หวังจะออกจากทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน จึงลั่นวาจาว่า สพฺพทุกฺขนิสฺสรณนิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย ดังนี้ทุกคน
การที่จะปฏิบัติออกจากทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้นก็ต้องปิดกั้นบาปกุศลเสีย อย่าให้เกิดขึ้นได้ ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเพียละเสีย เว้นเสีย ด้วยการทำกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ อยู่ด้วยสติความระมัดระวังปิดกั้นบาปและมาละอกุศล อย่างนี้แหละ เป็นการชอบสมควรแก่เราทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติจะออกจากทุกข์ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน จะระวังปิดกั้นบาปอกุศลเสียได้ ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติดีในพระธรรมวินัยนี้”
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) มรณภาพเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2434 นับพรรษาได้ 66 พรรษา อายุ 86 ปี
จนถึงทุกวันนี้วัดโสมนัสฯ ถือเอาวันที่ 4 พ.ย. เป็นวันทำบุญอุทิศถวายอดีตเจ้าอาวาสของวัด
ใครอยากเห็นว่า ท่านเป็นคนหน้าตาอย่างไร มีรูปปั้นที่ท่านให้คนปั้นไว้ตั้งแต่ครั้งมีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้ทางวัดนำไปประดิษฐานไว้ที่ซุ้มด้านตะวันออกของพระมหาเจดีย์ในพระวิหารคต แต่ถ้าอยากเห็นธรรมะที่ท่านรู้ท่านเห็นต้องลงมือปฏิบัติเอาเอง
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ก่อตั้งธรรมยุต บรรลุพระนิพพาน
07 ตุลาคม 2555 เวลา 08:42 น. |
โดย...ภัทระ คำพิทักษ์
สัปดาห์ก่อนโน้นได้หนังสือเก่าเรื่อง มรโณบาย ของ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) มา เป็นหนังสือเก่าหายาก เมื่อนำมาตีพิมพ์ใหม่ในคอลัมน์นี้แล้ว ก็รุมๆ อยู่ในใจว่า อยากจะไปวัดโสมนัสราชวรวิหาร กทม. เพื่อเสาะหาดูว่า ทางวัดยังมีเทศนาเรื่องอื่นๆ ของพระคุณท่านอีกหรือไม่ เพราะเทศนาของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) นั้น เป็นเทศนาชั้นยอดที่เป็นดอกผลจากปริยัติและปฏิบัติ เป็นแนวทางที่ควรจะศึกษาอย่างยิ่ง
ต้องขอขอบพระคุณทายกและทายิกาวัดโสมนัสฯ ที่ได้กรุณาชี้แนะอย่างดี ที่น่าประทับใจคือ วัดโสมนัสฯ ได้แบ่งสถานที่ไว้จำหน่ายหนังสือธรรมะไว้อย่างเป็นสัดส่วน แถมมีหนังสือหลากหลาย บางเล่มเป็นหนังสือที่หาไม่ได้ทั่วไป หนึ่งในนั้นคือ “ประวัติ ผลงานและรวมธรรโมวาท ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริมหาเถร)”
หนังสือเล่มนี้พิมพ์มาทั้งหมด 4 ครั้ง ล่าสุดคือ ปี 2550 แต่ก็พิมพ์จำนวนน้อยมากคือ 1,000 เล่มเท่านั้น
หนังสือเล่มนี้ นอกจากจะบอกเล่าประวัติสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ไว้อย่างสมบูรณ์แล้ว ยังรวบรวมธรรโมวาทของพระคุณท่านไว้ 12 เรื่อง คือ วิธีบูชาด้วยดอกไม้ธูปเทียนและวิธีไหว้พระ/วิธีรักษาศีล 5 และศีลอุโบสถ จตุรารักขกัมมัฏฐาน/วิธีเจริญวิปัสสนาโดยย่อ/ปกิณณกกถา/สังขิตโตวาท/สติสัมปชัญญกถา/อัฏฐังคิกมรรค/อธิษฐานธรรม/การเตรียมตัวก่อนตาย/นิพพานธรรมและบันทึกโอวาท
ใครสนใจก็ลองไปที่วัดนะครับ เพราะเท่าที่เห็นก็เหลือไม่มากแล้ว
ธรรโมวาทของสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เหล่านี้ บางเรื่องได้เปลี่ยนชีวิตผู้คนมาแล้วอย่างสุดจะพรรณนา อาทิ จตุรารักขกัมมัฏฐานนั้น ได้สร้างแรงบันดาลใจให้ชายหนุ่มคนหนึ่งซึ่งอ่านแล้วถึงกับตัดสินใจออกบวชตลอดชีพ ในเวลาต่อมาชายหนุ่มผู้นั้นเป็นที่สักการะของพระบรมวงศานุวงศ์และประชาชนทั่วประเทศ ในนาม พระอาจารย์จวน กุลเชฏฺโฐ วัดเจติยาคีรีวิหาร (วัดภูทอก) จ.หนองคาย
เรื่องนี้ผมเคยเขียนไว้ในคอลัมน์นี้ เรื่อง “สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) อาริยะเหนือสมณศักดิ์” มาแล้วครั้งหนึ่ง
หนังสือเล่มนั้น เป็นตำรับตำราสำคัญที่พระกัมมัฏฐานใช้ศึกษากันมานาน พ่อแม่ครูอาจารย์ก็สรรเสริญ พิมพ์ต่อเนื่องกันมาโดยบางช่วงบางยุคไพล่เข้าใจผิดคิดว่า เป็นหนังสือที่รจนาโดยพระอาจารย์เสาร์ กนฺตสีโล ก็มี
โอกาสนี้ ขอเก็บความจาก “ประวัติ ผลงานและรวมธรรโมวาท ของเจ้าพระคุณสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริมหาเถร)” มาเสนอเพื่อให้เรื่องราวของท่านมีความสมบูรณ์ขึ้นจากที่เคยเสนอไปแล้วครั้งหนึ่ง ดังนี้
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เกิดเมื่อวันที่ 6 พ.ย. 2349 ซึ่งเป็นรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ถิ่นฐานเดิมของท่านอยู่แถวๆ วัดเทวราชกุญชรในปัจจุบัน
ไม่มีหลักฐานว่า ท่านบรรพชาเป็นสามเณรตั้งแต่เมื่อไหร่ ทราบแต่ว่า ท่านบรรพชาที่วัดสังเวชวิศยาราม ย่านบางลำพู เมื่อกรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ ซึ่งต่อมาขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว สร้างวัดราชโอรสขึ้นก็โปรดให้ท่านไปอยู่ที่วัดราชโอรส
ในปี 2369 หรือรัชสมัยในหลวงรัชกาลที่ 3 นั่นเอง ท่านได้อุปสมบทที่วัดเทวราชกุญชรแล้วไปอยู่ในสำนักวัดราชาธิวาส โดยไปศึกษาที่วัดเบญจมบพิตรบ้าง วัดชนะสงครามบ้าง
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) รูปนี้ มีความสำคัญนัก เพราะท่านเป็น 1 ใน 10 รูป ที่ร่วมกับพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งเป็นพระวชิรญาณเถระก่อตั้งวงศ์พระธรรมยุตขึ้นในประเทศไทย
ครั้งพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระผนวช และประทับอยู่ที่วัดสมอราย หรือวัดราชาธิวาส นั้น ทรงศึกษาและปฏิบัติแล้วพบว่า “หลักการปฏิบัติสับสน ขาดหลักอ้างอิงที่แน่นอน เป็นแต่เพียงรับฟังคำบอกเล่าของโบราณาจารย์ ปฏิบัติไปก็ยิ่งห่างไกลจากความรู้”
หลังตั้งพระทัยว่าจะศึกษาให้แตกฉาน ก็ทรงสอบระเบียบแบบแผนและคัมภีร์ต่างๆ แล้วพบว่า “ศาสนวงศ์อันตรธานมาตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเสียแก่พม่าครั้งโน้นแล้ว” จึงทรงตั้งสัจจกิริยาธิษฐานในอุโบสถวัดมหาธาตุฯ ว่า
“ข้าพเจ้าออกบวชด้วยความเชื่อ ความเลื่อมใส มิได้เพ่งต่ออามิส สิ่งใดสิ่งหนึ่ง มีลาภ ยศ สรรเสริญ เป็นต้น ถ้าวงศ์บรรพชาอุปสมบทมีเนื่องมาแต่สุคตทศพลยังมีอยู่ ณ ประเทศใด ทิศใด ขอให้ประสบหรือได้ยินข่าวให้ได้ภายในสามวันหรือเจ็ดวัน ถ้าไม่เป็นดังนั้น ข้าพเจ้าก็จักเข้าใจว่า ศาสนวงศ์นั้นสิ้นแล้ว”
ไม่กี่วันหลังจากนั้น พระองค์ก็ได้พบพระเถระชาวรามัญผู้รู้ข้อวัตรปฏิบัติแตกฉานในพระไตรปิฎก
หลังจากนั้นทรงได้อุปสมบทใหม่ เพราะสงสัยว่า การอุปสมบทในคราวก่อนนั้นจะมีความผิดพลาดไม่สมบูรณ์อยู่ หรือที่เรียกว่า ทัฬหีกรรม อุปสมบทที่สีมาน้ำวัดสมอราย มีพระรามัญ 20 รูป ทุกรูปมีกาลพรรษาล่วง 20 พรรษา มาเป็นพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวด โดยให้สลับพระอุปัชฌาย์และพระคู่สวดทุกหนึ่งจบรวม 6 ครั้ง
เมื่อทรงผนวชเสร็จแล้ว ก็ทรงให้ศิษย์หลวง 9 รูปร่วมอุปสมบทใหม่ในพิธีนั้นด้วย
หนึ่งในนั้นคือ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ)
นั่นเป็นการอุปสมบทครั้งที่ 4 ของท่าน ซึ่งไม่ใช่ครั้งสุดท้าย เพราะตามประวัติ สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) อุปสมบทถึง 7 ครั้ง
หลังบวชครั้งที่ 4 และเรียนพระปริยัติในสำนักพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวแล้ว ต่อมาท่าน “ไม่สู้ชอบใจพระกรรมวาจาจารย์ของท่าน” ท่านจึงเข้าอุปสมบทใหม่ซ้ำอีก เพื่อให้แน่ใจว่า การอุปสมบทของท่านบริสุทธิ์จริงๆ
ครั้นต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพบว่า การอุปสมบทแบบรามัญนั้นไม่มีการสวดบุพพกิจ ท่านจึงอุปสมบทใหม่อีกเป็นครั้งที่ 6
ครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อท่านไปนมัสการพระปฐมเจดีย์แล้วได้ปฏิญาณตนเป็นอุปสัมบันภิกษุต่อพระอรหันต์สัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นอุทิศบรรพชา และเป็นการบรรพชาครั้งที่ 7 ของท่าน
ศิษย์รุ่นหลังได้วิเคราะห์ไว้ว่า การที่ท่านได้อุปสมบทถึง 7 ครั้งนั้นชี้ให้เห็นว่า “ท่านมุ่งความบริสุทธิ์ในชีวิตพรหมจรรย์มากเพียงไร”
นอกจากเรื่องนี้แล้ว เรื่องราวความเคร่งครัดในพระธรรมวินัยของท่านนั้นปรากฏตกทอดมาอีกเรื่องหนึ่งคือ ปกติท่านจะจำวัดผู้เดียวในกุฏิใหญ่คณะ 5 แต่มีคืนหนึ่งอสุรกายปรากฏขึ้นในรูปหญิงสาว นับแต่นั้นมาท่านจึงให้พระเณรมานอนเป็นเพื่อน เพราะเกรงว่าจะมีผู้พบแล้วเข้าใจผิด
นอกจากศึกษาปริยัติแล้ว สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ยังมุ่งปฏิบัติโดยเฉพาะอสุภกรรมฐาน แม้แต่ภาพถ่ายของท่านที่ตกมาถึงคนรุ่นหลังก็ยังเป็นรูปที่ท่านกำลังนั่งพิจารณากองกระดูกอยู่
ตามประวัตินั้นบ่งชัดว่า สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นผู้มั่นคงในพระรัตนตรัยมาก ท่านจะสวดมนต์ไหว้พระวันละ 3 ครั้ง กล่าวคือ หลังฉันเช้าแล้วจะไหว้พระสวดมนต์ที่กุฏิเพียงลำพัง พอ 4 โมงเช้าจะไหว้พระในพระอุโบสถพร้อมพระภิกษุสามเณร พลบค่ำก็จุดเทียนไหว้พระพร้อมกับลูกวัด
ครั้งหนึ่งซึ่งพิเคราะห์กันแล้วเชื่อว่าจะเป็นสมัยรัชกาลที่ 5 มีพระราชพิธีจัดสวดมนต์ในวังหลวง สังฆการีได้มานิมนต์ท่านเข้าไปร่วมสวดมนต์ด้วย โดยนิมนต์ท่านให้เข้าวังในเวลา 4 โมงเย็น ท่านก็ตอบว่า “4 ทุ่มข้าจะไป” เพราะที่วัดโสมนัสฯ สวดมนต์เย็นไหว้พระเสร็จกันตอน 3 ทุ่ม
พอพระเจ้าอยู่หัว เสด็จออก พระภิกษุทั้งหลายก็เข้าประจำที่ ขาดแต่สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวก็เลยทรงถามสังฆการี ว่า ไปนิมนต์ท่านอย่างไร ท่านถึงยังไม่มา สังฆการีก็กราบทูลตามความดังกล่าว จึงมีรับสั่งว่า “ท่านไม่อยากเข้าวังแล้ว ทีหลังอย่าไปนิมนต์ท่าน”
พอสังฆการีไปกราบเรียนให้สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) ทราบ สมเด็จฯ ท่านจึงว่า “เออ ข้างๆ วัดของข้านี้ก็อิ่มแล้ว”
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นที่ได้รับการยกย่องอย่างยิ่งจากพระเจ้าอยู่หัวทั้ง 3 รัชกาล คือ รัชกาลที่ 3 ที่ 4 และที่ 5
คราวรัชกาลที่ 5 ทรงผนวชนั้น ท่านได้รับนิมนต์ให้เข้าไปประจำที่พระพุทธรัตนสถาน ซึ่งอยู่ในพระบรมมหาราชวัง เพื่อถวายพระธรรมปริยายแด่พระองค์จนกระทั่งลาผนวช และในรัชกาลนั้นเองที่ทรงสถาปนาให้ดำรงตำแหน่งสมเด็จพระวันรัต โดยปรากฏในประกาศทรงแต่งตั้งตอนหนึ่งว่า “มีพรรษายุกาลเจริญมาก ประกอบด้วยรัตตัญญูมหาเถระธรรมยั่งยืนมานานปละมีปฏิภาณปรีชาตรีปิฎกกลาโกศลฉลาดในธรรมโมบาย ขวนขวายในการสั่งสอนนิกรบรรษัททั้งคฤหัสถ์บรรพชิต เป็นพาหุลกิจนิตยสมาทานมิได้ย่อหย่อน เป็นที่มหานิกรนับถือ เป็นปูชนียฐานบุญเขตที่ควรเคารพบูชา และมีสุตาคมและศีลาธิคุณมั่น...”
กล่าวกันว่า สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) นั้น เป็นที่นับถือของหมู่พระสงฆ์ธรรมยุตมากเป็นพิเศษ ภาษาสมัยใหม่ก็คงเรียกว่า นับถือท่านเป็นไอดอลของพระธรรมยุต
พิเศษขนาดไหนพิจารณาได้จากคำบอกเล่าของ พระพรมมุนี (บู่ สุจิณฺโณ) เจ้าอาวาสวัดบรมนิวาส ว่า สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส เคยเล่าว่า “ครั้งสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) มีชีวิตอยู่นั้น พระสงฆ์ในคณะธรรมยุตนับถือท่านมากเป็นพิเศษ ถือท่านเป็นแบบอย่าง เป็นอาจารย์ ถึงกับมีธรรมเนียมเกิดขึ้นในสมัยนั้นว่า พระเถระหรือเจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ตามหัวเมืองทุกภาคของประเทศเมื่อเข้ามาในกรุงเทพฯ ต้องไปวัดโสมนัสฯ ขอนิสสัยกับสมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) และในการเข้าขอนิสสัยกับท่านนั้น ต้องสวดโมกขุปายคาถาหรือคาถาแสดงอุบายในการพ้นทุกข์ ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงนิพนธ์เอาไว้ในสมัยเมื่อทรงผนวชให้ท่านฟังด้วย”
เชื่อว่ากันว่า สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) เป็นพระภิกษุสงฆ์รูปหนึ่งที่บรรลุพระอรหันต์ และสถานที่ที่ท่านบรรลุธรรมคือ กุฏิข้างโบสถ์วัดโสมนัสฯ นั่นเอง
กำลังมหาสิติ มหาปัญญาของท่านเป็นอย่างไร ชนชั้นหลังศึกษาได้จากมูลมรดกที่ท่านทิ้งไว้ให้ และคณะสงฆ์ยังใช้หนังสือสมถกรรมฐานและวิปัสสนากรรมฐานของท่าน เป็นหนังสือประกอบการศึกษาในชั้นนักธรรมเอกและธรรมศึกษาชั้นเอกอยู่ถึงปัจจุบันนี้ แต่การบวชเรียนของท่านนั้นเป็นไปเพื่อสิ่งใดท่านได้ประกาศชัดอยู่ในบทนิพนธ์เรื่องธรรมนุศาสน์ ดังความว่า
“เราทั้งหลายประพฤติพรหมจรรย์ บวชเป็นภิกษุและสามเณร ณ ศาสนานี้ เพื่อจะหลอกให้คนในโลกเลื่อมใสนับถือก็หามิได้ เพื่อจะได้พูดจาปราศรัยกับชนมีศักดิ์คือ เจ้านายเป็นต้นก็หามิได้ เพื่อจะอวดให้เขารู้ว่า ตนเป็นคนสุกมิใช่คนดิบ คือ ได้บวชประพฤติพรหมจรรย์แล้วสึกไปจะหาเมียง่ายๆ ก็หามิได้
เราทั้งหลายมาบวชเป็นพระภิกษุและสามเณรประพฤติพรหมจรรย์ในศาสนานี้ หวังจะออกจากทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน จึงลั่นวาจาว่า สพฺพทุกฺขนิสฺสรณนิพฺพานสจฺฉิกรณตฺถาย ดังนี้ทุกคน
การที่จะปฏิบัติออกจากทุกข์ ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพานนั้นก็ต้องปิดกั้นบาปกุศลเสีย อย่าให้เกิดขึ้นได้ ถ้าเกิดขึ้นแล้วก็ต้องเพียละเสีย เว้นเสีย ด้วยการทำกาย วาจา ใจ ให้บริสุทธิ์ อยู่ด้วยสติความระมัดระวังปิดกั้นบาปและมาละอกุศล อย่างนี้แหละ เป็นการชอบสมควรแก่เราทั้งหลาย ผู้ปฏิบัติจะออกจากทุกข์ทำให้แจ้งซึ่งพระนิพพาน จะระวังปิดกั้นบาปอกุศลเสียได้ ก็ต้องอาศัยการปฏิบัติดีในพระธรรมวินัยนี้”
สมเด็จพระวันรัต (ทับ พุทฺธสิริ) มรณภาพเมื่อวันที่ 4 พ.ย. 2434 นับพรรษาได้ 66 พรรษา อายุ 86 ปี
จนถึงทุกวันนี้วัดโสมนัสฯ ถือเอาวันที่ 4 พ.ย. เป็นวันทำบุญอุทิศถวายอดีตเจ้าอาวาสของวัด
ใครอยากเห็นว่า ท่านเป็นคนหน้าตาอย่างไร มีรูปปั้นที่ท่านให้คนปั้นไว้ตั้งแต่ครั้งมีชีวิตอยู่ ทุกวันนี้ทางวัดนำไปประดิษฐานไว้ที่ซุ้มด้านตะวันออกของพระมหาเจดีย์ในพระวิหารคต แต่ถ้าอยากเห็นธรรมะที่ท่านรู้ท่านเห็นต้องลงมือปฏิบัติเอาเอง
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 68
หลวงพ่อชา สุภัทโท – ตอบปัญหาธรรม
(ตอบปัญหาธรรมแก่พระสงฆ์)
ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า
เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง
ควรจะนอนหลับมากน้อยเพียงใด
อย่าถาม ตอบไม่ได้ บางคนนอนหลับคืนละประมาณ ๔ ชั่วโมงก็พอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านเฝ้าดูและรู้จักตัวของท่านเอง ถ้าท่านนอนน้อยจนเกินไป ท่านก็จะไม่สบายกาย ทำให้คุมสติไว้ได้ยาก ถ้านอนมากเกินไป จิตใจก็จะตื้อเฉื่อยชา หรือซัดส่าย จงหาสภาวะที่พอเหมาะกับตัวท่านเอง ตั้งใจ เฝ้าดูกายและจิต จนท่านรู้ระยะเวลาหลับนอนที่พอเหมาะสำหรับท่าน ถ้าท่านรู้สึกตัวตื่นแล้วและยังซุกตัวของีบต่อไป นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จงมีสติรู้ตัวทันทีที่ลืมตาตื่นขึ้น
จิตของชาวเอเชียและชาวตะวันตกแตกต่างกันหรือไม่
โดยพื้นฐานแล้วไม่แตกต่างกัน ดูจากภายนอก ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาที่ใช้อาจดูต่างกัน แต่จิตมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติซึ่งเหมือนกันหมด ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ความโลภและความเกลียดก็มี เหมือนกันทั้งในจิตของชาวตะวันออกหรือชาวตะวันตก ความทุกข์และความดับแห่งทุกข์ก็เหมือนกันในทุกๆ คน
เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ
พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริง ด้วยตัวของท่านเองว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย จงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอ เมื่อมีอะไรๆ เกิดขึ้นให้ได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงเป็นปกติธรรมดา ตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่าน ทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมดเมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะ อยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่า ท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่าน บางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหม การทำสมาธิภาวนา ของท่านคือการมีสติระลึกรู้ และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ
บางครั้งกังวลใจอยู่กับพระวินัยของพระสงฆ์ ถ้าฆ่าแมลงโดยบังเอิญแล้วจะผิดไหม
ศีลหรือพระวินัยและศีลธรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการฝึกปฏิบัติของเรา แต่ท่านต้องไม่ยึดมั่น ถือมั่นในกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างงมงาย ในการฆ่าสัตว์หรือการละเมิดข้อห้ามอื่นๆ นั้น มันสำคัญที่เจตนา ท่านย่อมรู้อยู่แก่ใจของท่านเอง อย่าได้กังวลกับเรื่องพระวินัยให้มากจนเกินไป ถ้านำมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยเสริมการฝึกปฏิบัติ แต่พระภิกษุบางรูปกังวลกับกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ มากเกินไป จนนอนไม่เป็นสุข พระวินัยไม่ใช่ภาระที่ต้องแบก
ในการฝึกปฏิบัติของเราที่นี่มีรากฐานคือพระวินัย พระวินัยรวมทั้งธุดงควัตรและการปฏิบัติ ภาวนา การมีสติและการสำรวมระวังในกฎระเบียบต่างๆ ตลอดจนในศีล ๒๒๗ ข้อนั้นให้คุณประโยชน์ อันใหญ่หลวง ทำให้มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ต้องพะวงว่าจะต้องทำตนอย่างไร ดังนั้นท่านก็หมดเรื่องต้องครุ่นคิด และมีสติดำรงอยู่แทน พระวินัยทำให้พวกเราอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน และชุมชนก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น ลักษณะภายนอกทุกๆ คนดูเหมือนกัน และปฏิบัติอย่างเดียวกัน พระวินัยและศีล ธรรมเป็นบันไดอันแข็งแกร่ง นำไปสู่สมาธิยิ่งและปัญญายิ่ง โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามพระวินัยของพระสงฆ์ และธุดงควัตรทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ และต้องจำกัดจำนวนบริขารของเราด้วย ดังนั้น ที่นี่เราจึงมีการปฏิบัติที่ครบถ้วนตามแบบของพระพุทธเจ้า คือ งดเว้นจากความชั่วและทำความดี มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการเฝ้าดูจิตและกายของเรา ในทุกๆ อิริยาบถ เมื่อนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ หรือนอนอยู่ จงรู้ตัวของท่านเอง
ควรจะทำอย่างไรเมื่อสงสัย บางวันวุ่นวายใจด้วยความสงสัยในเรื่องการปฏิบัติ
ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนเริ่มต้นด้วยความสงสัย ท่านอาจได้เรียนรู้อย่างมากมาย จากความสงสัยนั้น ที่สำคัญก็คือ ท่านอย่าถือเอาความสงสัยนั้นเป็นตัวเป็นตน นั่นคืออย่าตกเป็น เหยื่อของความสงสัย ซึ่งจะทำให้จิตใจของท่านหมุนวนเป็นวัฏฏะอันไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะเป็นเช่นนั้น จงเฝ้าดูกระบวนการเกิดดับของความสงสัยของความฉงนสนเท่ห์ ดูว่าใครคือผู้ที่สงสัย ดูว่าความสงสัย นั้นเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร แล้วท่านจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความสงสัยอีกต่อไป ท่านจะหลุดพ้นออก จากความสงสัยและจิตของท่านก็จะสงบ ท่านจะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ปล่อยวาง ความสงสัยของท่านและเพียงแต่เฝ้าดู นี่คือที่สิ้นสุดของความสงสัย
วิธีฝึกปฏิบัติ (วิธีภาวนา) มีหลายวิธีจนสับสน
มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือ แนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็ต้องปล่อยวาง แนวทางภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
ท่านอาจจะอยากเดินทางไปเพื่อศึกษาอาจารย์ท่านอื่นอีก และลองปฏิบัติตามแนวทางอื่นบ้างก็ได้ พวกท่านบางคนก็ทำเช่นนั้น นี่เป็นความต้องการตามธรรมชาติ ท่านจะรู้ว่า แม้ได้ถามคำถามนับพันคำถามก็แล้ว และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติอื่นๆ ก็แล้ว ก็ไม่อาจจะนำท่านเข้าถึงสัจจธรรมได้ ในที่สุด ท่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท่านจะรู้ว่าเพียงแต่หยุดและสำรวจตรวจสอบดูจิตของท่านเองเท่านั้น ท่านก็จะรู้ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ไม่มีประโยชน์ที่จะแสวงหาออกไปนอกตัวเอง ผลที่สุดท่านต้องหันกลับมา เผชิญหน้ากับสภาวะที่แท้จริงของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละที่ท่านจะเข้าใจธรรมะได้
จำเป็นไหมที่จะต้องนั่งภาวนาให้นานๆ
ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใดก็จะยิ่ง เกิดปัญญามากเท่านั้น ผมเคยเห็นไก่กกอยู่ในรังของมันทั้งวันนับเป็นวันๆ ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรา มีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป อย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ สิ่งสำคัญก็คือท่าน เพียงแต่เฝ้าดูไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
แต่ละคนต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง บางคนต้องตายเมื่อมีอายุ ๕๐ ปี บางคนเมื่ออายุ ๖๕ ปี และบางคนเมื่ออายุ ๙๐ ปี ฉันใดก็ฉันนั้น ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน อย่าคิดมาก หรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้น ท่านจะเข้าใจถึงสภาวะธรรมของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) ในโลกอย่างแจ่มชัด ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์และแปลกประหาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า
จิตฟุ้งซ่านมากทั้งๆ ที่พยายามจะมีสติอยู่
อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภาย ในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย แล้วจิตก็จะเข้า สภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไรๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเดินบิณฑบาตไม่จำเป็นต้องทำอะไรพิเศษ เพียงแต่เดินและเห็นตามที่เป็นอยู่ อย่ายึดมั่นอยู่กับการแยกตัวไปอยู่แต่ลำพัง หรือกับการเก็บตัว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่ายๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น
เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของถนน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง
“สูตรของเว่ยหล่าง (หรือฮุยเหนิง)” ของพระสังฆปริณายก (นิกายเซ็น) องค์ที่หก
ท่านฮุยเหนิงมีปัญญาเฉียบแหลมมาก คำสอนของท่านลึกซึ้งยิ่งนัก ซึ่งไม่ใช่ของง่ายที่ผู้เริ่มต้นปฏิบัติจะเข้าใจได้ แต่ถ้าท่านปฏิบัติตามศีลและด้วยความอดทนและถ้าท่านฝึกที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ท่าน ก็จะเข้าใจได้ในที่สุด ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกุฏิหลังคามุงแฝก ฤดูฝนนั้นฝนตกชุก และ วันหนึ่งพายุก็พัดเอาหลังคาโหว่ไปครึ่งหนึ่ง เขาไม่ขวนขวายที่จะมุงมันใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้น หลายวันผ่านไป และผมได้ถามถึงกุฏิของเขา เขาตอบว่าเขากำลังฝึกการไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นการไม่ยึด มั่นถือมั่นโดยไม่ใช้หัวสมอง มันก็เกือบจะเหมือนกับความวางเฉยของควาย ถ้าท่านมีความเป็นอยู่ดีและ เป็นอยู่ง่ายๆ ถ้าท่านอดทนและไม่เห็นแก่ตัว ท่านจึงจะเข้าใจซึ้งถึงปัญญาของท่านฮุยเหนิงได้
ขอให้อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญา หรือวิปัสสนาได้ในที่สุด แล้วจิตก็ จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองวุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน
อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง
ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยามหรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง
ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่
ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่
ทำไมต้องปฏิบัติตามธุดงควัตร เช่น ฉันอาหารเฉพาะแต่ในบาตรเท่านั้น
ธุดงควัตรทั้งหลายล้วนเป็นเครื่องช่วยเราให้ทำลายกิเลสเครื่องเศร้าหมอง การปฏิบัติตามข้อที่ ว่าให้ฉันแต่อาหารในบาตร ทำให้เรามีสติมากขึ้น ระลึกว่าอาหารนั้นเป็นเสมือนยารักษาโรค ถ้าเราไม่มี กิเลสเครื่องเศร้าหมองแล้ว มันก็ไม่สำคัญว่าเราจะฉันอย่างไร แต่เราอาศัยธุดงควัตรทำให้การปฏิบัติของ เราเป็นไปอย่างง่ายๆ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติธุดงควัตรไว้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระภิกษุทุกองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติธุดงควัตรสำหรับพระภิกษุผู้ประสงค์จะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดธุดงควัตร เป็นส่วนเพิ่มขึ้นมาในศีล เพราะฉะนั้น จึงช่วยเพิ่มความมั่นคงและความเข้มแข็งของจิตใจเรา ข้อวัตรทั้งหลายเหล่านี้ มีไว้ให้ท่านปฏิบัติ อย่าคอยจับตาดูว่าผู้อื่นปฏิบัติอย่างไร จงเฝ้าดูจิตของตัวท่านเอง และดูว่าอะไรจะเป็นประโยชน์สำหรับท่าน กฎข้อที่ว่าเราต้องไปอยู่กุฏิ จะกุฏิใดก็ตามที่กำหนดไว้ให้เรา เป็นกฎที่เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน มันช่วยกันไม่ให้พระติดที่อยู่ ถ้าผู้ใดจากไปแล้วและกลับมาใหม่ ก็จะต้องไปอยู่กุฏิใหม่ การปฏิบัติของพวกเราเป็นเช่นนี้ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด
หากว่าการใส่อาหารทุกอย่างรวมลงในบาตรเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว ทำไมท่านอาจารย์จึงไม่ปฏิบัติด้วย
ถูกแล้ว อาจารย์ควรจะทำเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ของตน ผมไม่ถือว่าท่านติผม ท่านซักถามได้ ทุกอย่างที่อยากทราบ แต่ว่ามันก็สำคัญที่ท่านต้องไม่ยึดอยู่กับอาจารย์ ถ้าดูจากภายนอก ผมปฏิบัติดี พร้อมหมดก็คงจะแย่มาก พวกท่านทุกคนก็จะพากันยึดติดในตัวผมยิ่งขึ้น แม้พระพุทธเจ้าเอง บางครั้งก็ ตรัสให้บรรดาสาวกปฏิบัติอย่างหนึ่ง และพระองค์เองกลับปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ความไม่แน่ใจในอาจารย์ ของท่านก็ช่วยท่านได้ ท่านควรเฝ้าดูปฏิกิริยาของตัวเอง ท่านไม่คิดบ้างหรือว่า อาจจะเป็นไปได้ว่า ที่ผม แบ่งอาหารจากบาตรใส่จานไว้เพื่อเลี้ยงดูชาวบ้านที่มาช่วยทำงานที่วัด
ปัญญา คือสิ่งที่ท่านต้องเฝ้าดู และทำให้เจริญขึ้น รับเอาแต่สิ่งที่ดีจากอาจารย์ จงรู้เท่าทันการ ฝึกปฏิบัติของท่านเอง ถ้าผมพักผ่อนในขณะที่พวกท่านทุกองค์ต้องนั่งทำความเพียรแล้ว ท่านจะโกรธหรือไม่ ถ้าผมเรียกสีน้ำเงินว่าแดง หรือเรียกผู้ชายว่าผู้หญิงก็อย่าเรียกตามผมอย่างหลับหูหลับตา
อาจารย์องค์หนึ่งของผมฉันอาหารเร็วมาก และฉันเสียงดัง แต่ท่านสอนให้พวกเราฉันช้าๆ และฉันอย่างมีสติ ผมเคยเฝ้าดูท่านและรู้สึกขัดเคืองใจมาก ผมเป็นทุกข์แต่ท่านไม่ทุกข์เลย ผมเพ่งเล็งแต่ลักษณะภายนอก ต่อมาผมจึงได้รู้ บางคนขับรถเร็วมาก แต่ระมัดระวัง บางคนขับช้าๆ แต่มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในกฎระเบียบและรูปแบบภายนอก ถ้าท่านใช้เวลาอย่างมากเพียงสิบเปอร์เซ็นต์ มองดูผู้อื่น แต่เฝ้าดูตัวเองเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว แรกๆ ผมคอยเฝ้า สังเกตอาจารย์ของผมคืออาจารย์ทองรัต และเกิดสงสัยในตัวท่านมาก บางคนถึงกับคิดว่าท่านบ้า ท่าน มักจะทำอะไรแปลกๆ หรือเกรี้ยวกราดเอากับบรรดาลูกศิษย์ของท่าน อาการภายนอกของท่านโกรธ แต่ ภายในใจท่านไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน ท่านน่าเลื่อมใสมาก ท่านเป็นอยู่อย่างรู้แจ้งและมีสติจนถึงวาระที่ท่าน มรณะภาพ
การมองออกไปนอกตัวเป็นการเปรียบเทียบแบ่งเขาแบ่งเรา ท่านจะไม่พบความสุขโดยวิธีนี้ และ ท่านจะไม่พบความสงบเลยถ้าท่านมัวเสียเวลาแสวงหาคนที่ดีพร้อม หรือครูที่ดีพร้อม พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราดูที่ธรรมะ ที่สัจจธรรม ไม่ใช่คอยจับตาดูผู้อื่น
จะเอาชนะกามราคะที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกปฏิบัติได้อย่างไร
กามราคะจะบรรเทาลงได้ด้วยการเพ่งพิจารณาถึงความน่าเกลียดโสโครก (อสุภ) การยึดติดอยู่ กับรูปร่างกายเป็นสุดโต่งข้างหนึ่ง ซึ่งเราต้องมองในทางตรงข้าม จงพิจารณาร่างกายเหมือนซากศพและ เห็นการเปลี่ยนแปลงเน่าเปื่อย หรือพิจารณาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ม้าม ไขมัน อุจจาระ และอื่นๆ จำอันนี้ไว้และพิจารณาให้เห็นจริงถึงความน่าเกลียดโสโครกของร่างกายเมื่อมีกามราคะเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้ท่านเอาชนะกามราคะได้
เมื่อโกรธ ควรทำอย่างไร
ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนา ให้แก้ด้วยเมตตาจิต ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาดสงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมี เมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่เอาชนะโทสะและความเกลียดได้
บางครั้งท่านอาจจะเห็นพระภิกษุรูปอื่นปฏิบัติไม่สมควร ท่านอาจจะรำคาญใจ ทำให้เป็นทุกข์โดยใช่เหตุ นี้ไม่ใช่ธรรมะของเรา ท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “เขาไม่เคร่งเท่าฉัน เขาไม่ใช่พระกรรมฐานที่ เอาจริงเอาจังเช่นฉัน เขาไม่ใช่พระที่ดี” นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างยิ่งของตัวท่านเอง อย่าเปรียบเทียบ อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา จงละทิฐิของท่านเสีย และเฝ้าดูตัวท่านเอง นี่แหละคือธรรมะของเรา ท่านไม่ สามารถบังคับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านต้องการหรือเป็นเช่นท่านได้ ความต้องการเช่นนี้มีแต่ จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติภาวนามักจะพากันหลงผิดในข้อนี้ การจับตาดูผู้อื่นไม่ทำให้เกิดปัญญาได้ เพียงแต่พิจารณาตนเองและความรู้สึกของตน แล้วท่านก็จะเข้าใจได้
ง่วงเหงาหาวนอนมาก ทำให้ภาวนาลำบาก ควรทำอย่างไร
มีวิธีเอาชนะความง่วงได้หลายวิธี ถ้าท่านนั่งอยู่ในที่มืด ย้ายไปอยู่ที่สว่าง ลืมตาขึ้น ลุกไปล้างหน้า ตบหน้าตนเอง หรือไปอาบน้ำ ถ้าท่านยังง่วงอยู่อีก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เดินจงกรมให้มาก หรือเดินถอยหลัง ความกลัวว่าจะไปชนอะไรเข้าจะทำให้ท่านหายหายง่วง ถ้ายังง่วงอยู่อีกก็จงยืนนิ่งๆ ทำใจให้สดชื่น และสมมติว่าขณะนั้นสว่างเป็นกลางวัน หรือนั่งริมหน้าผาสูงหรือบ่อลึก ท่านจะไม่กล้าหลับ ถ้าทำอย่างไรๆ ก็ไม่หายง่วงก็จงนอนเสีย เอนกายลงอย่างสำรวม ระวังและรู้ตัวอยู่จนกระทั่งท่านหลับไป เมื่อ ท่านรู้สึกตัวตื่นขึ้นจงลุกขึ้นทันที อย่ามองดูนาฬิกาหรือหลับต่ออีก เริ่มต้นมีสติระลึกรู้ทันทีที่ท่านตื่น
ถ้าท่านง่วงนอนอยู่ทุกวัน ลองฉันอาหารให้น้อยลง สำรวจตัวเอง ถ้าอีกห้าคำท่านจะอิ่มจงหยุด แล้วดื่มน้ำจนอิ่มพอดี แล้วกลับไปนั่งดูใหม่อีก เฝ้าดูความง่วงและความหิว ท่านต้องกะฉันอาหารให้พอดี เมื่อท่านฝึกปฏิบัติต่อไปอีก ท่านจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นและฉันน้อยลง ท่านต้องปรับตัวของท่านเอง
ทำไมเราจึงต้องกราบกันบ่อยๆ ที่นี่ (ที่วัดหนองป่าพง)
การกราบนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นรูปแบบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ การกราบนี้ต้องทำให้ถูกต้อง ก้มลงจนหน้าผากจรดพื้น วางศอกให้ชิดกับเข่า ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น ห่างกันประมาณสามนิ้ว กราบลงช้าๆ มีสติรู้อาการของกาย การกราบช่วยแก้ความถือตัวของเราได้เป็นอย่างดี เราควรกราบบ่อยๆ เมื่อท่านกราบสามหน ท่านควรตั้งจิตระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นั่น คือคุณลักษณะแห่งจิตอันสะอาด สว่าง และสงบ ดังนั้นเราจึงอาศัยรูปแบบนี้ฝึกฝนตน กายแลจิตจะ ประสานกลมกลืนกัน อย่าได้หลงผิดไปจับตาดูว่า ผู้อื่นกราบอย่างไร ถ้าสามเณรน้อยดูไม่ใส่ใจ และพระผู้เฒ่าดูขาดสติ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะตัดสิน บางคนอาจจะสอนยาก บางคนเรียนได้เร็ว บางคนเรียนได้ช้า การพิจารณาตัดสินผู้อื่นมีแต่จะเพิ่มความหยิ่งทะนงตน จงเฝ้าดูตัวเอง กราบบ่อยๆ ขจัดความหยิ่งทะนงตนออกไป
ผู้ที่เข้าถึงธรรมะได้อย่างแท้จริงแล้ว ท่านจะอยู่เหนือรูปแบบ ทุกๆอย่างที่ท่านทำก็มีแต่การอ่อน น้อมถ่อมตน เดินก็ถ่อม ฉันก็ถ่อม ขับถ่ายก็ถ่อม ทั้งนี้ก็เพราะว่าท่านพ้นจากความเห็นแก่ตัวเสียแล้ว
กิเลสเครื่องเศร้าหมอง เช่น ความโลภหรือความโกรธ เป็นเพียงมายาหรือว่าเป็นของจริง
เป็นทั้งสองอย่าง กิเลสที่เราเรียกว่าราคะหรือความโลภ ความโกรธ และความหลงนั้นเป็นแต่เพียงชื่อ เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา เช่นเดียวกับที่เราเรียกชามใหญ่ ชามเล็ก สวย หรืออะไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สภาพที่เป็นจริง แต่เป็นความคิดปรุงแต่งที่เราคิดปรุงขึ้นจากตัณหา ถ้าเราต้องการชามใหญ่เราก็ว่าอันนี้ เล็กไป ตัณหาทำให้เราแบ่งแยก ความจริงก็คือมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ลองมามองแง่นี้บ้าง ท่านเป็นผู้ ชายหรือเปล่า ท่านตอบว่าเป็น นี่เป็นเพียงรูปปรากฏของสิ่งต่างๆ แท้จริงแล้วท่านเป็นส่วนประกอบของ ธาตุและขันธ์ ถ้าจิตเป็นอิสระแล้ว จิตจะไม่แบ่งแยก ไม่มีใหญ่ ไม่มีเล็ก ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีอะไร จะเป็นอนัตตา หรือความไม่ใช่ตัวตน แท้จริงแล้ว ในบั้นปลายก็ไม่มีทั้งอัตตาและอนัตตา (เป็นแต่เพียงชื่อเรียก)
คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรรม
กรรมคือการกระทำ กรรมคือการยึดมั่นถือมั่น กาย วาจา และใจ ล้วนสร้างกรรม เมื่อมีการยึดมั่นถือมั่น เราทำกันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า นี่เป็นผลของ การยึดมั่นถือมั่นและของกิเลสเครื่องเศร้าหมองของเราที่เกิดขึ้นในอดีต ความยึดมั่นทั้งหลายจะทำให้ เราสร้างกรรม สมมติว่าท่านเคยเป็นขโมยก่อนที่จะบวชเป็นพระ ท่านขโมยเขา ทำให้เขาไม่เป็นสุข ทำให้ พ่อแม่หมดสุข ตอนนี้ท่านเป็นพระแต่เวลาที่ท่านนึกถึงเรื่องที่ท่านทำให้ผู้อื่นหมดสุขแล้ว ท่านก็ไม่สบายใจ และเป็นทุกข์แม้จนทุกวันนี้ จงจำไว้ว่า ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ผลในอนาคตได้ ถ้าท่านเคยสร้างกรรมดีไว้ในอดีต และวันนี้ก็ยังจำได้ ท่านก็เป็นสุข ความสุขใจเป็นผล จากกรรมในอดีต สิ่งทั้งปวงมีเหตุเป็นปัจจัยทั้งในระยะยาว และถ้าใคร่ครวญดูแล้วทั้งในทุกๆ ขณะด้วย แต่ท่านอย่าไปนึกถึงอดีตหรือปัจจุบันหรืออนาคต เพียงแต่เฝ้าดูกายและจิต ท่านจะต้องพิจารณาจนเห็น จริงในเรื่องกรรมด้วยตัวของท่านเอง จงเฝ้าดูจิต ปฏิบัติแล้วท่านจะรู้อย่างแจ่มแจ้ง อย่าลืมว่ากรรมใคร ก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่นและอย่าจับตาดูผู้อื่น ถ้าผมดื่มยาพิษ ผมก็ได้รับทุกข์ ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะมา เป็นทุกข์ด้วย จงรับเอาแต่สิ่งดีที่อาจารย์สอน แล้วท่านจะเข้าถึงความสงบ จิตของท่านจะเป็นเช่นเดียว กันกับจิตของอาจารย์ ถ้าท่านพิจารณาดู ท่านก็จะรู้ได้ แม้ว่าขณะนี้ท่านจะยังไม่เข้าใจ เมื่อท่านปฏิบัติต่อไป มันก็จะแจ่มแจ้งขึ้น ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรม
เมื่อเรายังเล็ก พ่อแม่วางกฎระเบียบกับเรา และหัวเสียกับเรา แท้จริงแล้วท่านต้องการจะช่วยเรา กว่าเราจะรู้ก็ต่อมาอีกนาน พ่อแม่และครูบาอาจารย์ดุว่าเราและเราก็ไม่พอใจ ต่อมาเราจึงเข้าใจว่า ทำไม เราจึงถูกดุ ปฏิบัติไปนานๆ แล้วท่านก็จะเห็นเอง ส่วนผู้ที่คิดว่าตนฉลาดล้ำก็จะจากไปในเวลาอันสั้น เขา ไม่มีวันจะได้เรียนรู้ ท่านต้องขจัดความคิดว่าตัวฉลาดสามารถออกไปเสีย ถ้าท่านคิดว่าท่านดีกว่าผู้อื่น ท่านก็จะมีแต่ทุกข์ เป็นเรื่องน่าสงสาร อย่าขุ่นเคืองใจ แต่จงเฝ้าดูตนเอง
เจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบลึก ควรทำอย่างไรต่อไป
นี่ก็ดีแล้ว ทำจิตให้สงบและเป็นสมาธิ และใช้สมาธินี้พิจารณาจิตและกาย ถ้าจิตเกิดไม่สงบก็จงเฝ้าดูด้วย แล้วท่านจะรู้ถึงความสงบที่แท้จริง เพราะอะไร เพราะท่านจะได้เห็นความไม่เที่ยง แม้ความ สงบเองก็ดูให้เห็นไม่เที่ยง ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ แล้วท่านจะเป็นทุกข์เมื่อจิตไม่สงบ ฉะนั้น จงปล่อยวางหมดทุกสิ่ง แม้แต่ความสงบ
ท่านอาจารย์เป็นห่วงลูกศิษย์ที่พากเพียรมากหมายความว่าอย่างไร
ถูกแล้ว ผมเป็นห่วง ผมเป็นห่วงว่าเขาเอาจริงเอาจังจนเกินไป เขาพยายามเกินไป แต่ขาดปัญญา เขาเคี่ยวเข็นตนเองไปสู่ความทุกข์ยากโดยไม่จำเป็น บางคนมุ่งมั่นที่จะรู้แจ้ง เขาขบฟันแน่นและ ใจดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เป็นความพยายามมากเกินไป คนทั่วไปก็เช่นเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ถึง สภาพเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) สังขารทั้งปวง จิตและร่างกายล้วนเป็นของไม่เที่ยง จงเฝ้าดู และอย่ายึดมั่นถือมั่น
บางคนคิดว่าเขารู้ เขาวิพากวิจารณ์ จับตามองและลงความเห็นเอาเอง อย่างนี้ก็ตามใจเขา ทิฐิ ของใครก็ปล่อยให้เป็นของคนนั้น การแบ่งเขาแบ่งเรานี้อันตราย เปรียบเหมือนทางโค้งอันตรายของถนน ถ้าเราคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าหรือดีกว่า หรือเสมอกันกับเรา เราก็ตกทางโค้ง ถ้าเราแบ่งเขาแบ่งเรา เราก็จะเป็นทุกข์
(ตอบปัญหาธรรมแก่พระสงฆ์)
ได้พากเพียรอย่างหนักในการปฏิบัติกรรมฐาน แต่ไม่ได้ผลคืบหน้า
เรื่องนี้สำคัญมาก อย่าพยายามที่จะเอาอะไรๆ ในการปฏิบัติ ความอยากอย่างแรงกล้าที่จะหลุดพ้น หรือรู้แจ้งนั้น จะเป็นความอยากที่ขวางกั้นท่านจากการหลุดพ้น ท่านจะเพียรพยายามอย่างหนักตามใจท่านก็ได้ จะเร่งความเพียรทั้งกลางคืนกลางวันก็ได้ แต่ถ้าการฝึกปฏิบัตินั้นยังประกอบด้วยความอยาก ที่จะบรรลุเห็นแจ้งแล้ว ท่านจะไม่มีทางที่จะพบความสงบได้เลย แรงอยากจะเป็นเหตุให้เกิดความ สงสัยและความกระวนกระวายใจ ไม่ว่าท่านจะฝึกปฏิบัติมานานเท่าใดหรือหนักเพียงใด ปัญญา (ที่แท้)จะไม่เกิดขึ้นจากความอยากนั้น ดังนั้น จงเพียงแต่ละความอยากเสีย จงเฝ้าดูจิตและกายอย่างมีสติ แต่อย่ามุ่งหวังที่จะบรรลุถึงอะไร อย่ายึดมั่นถือมั่นแม้ในเรื่องการฝึกปฏิบัติหรือในการรู้แจ้ง
ควรจะนอนหลับมากน้อยเพียงใด
อย่าถาม ตอบไม่ได้ บางคนนอนหลับคืนละประมาณ ๔ ชั่วโมงก็พอ อย่างไรก็ตาม สิ่งที่สำคัญก็คือ ท่านเฝ้าดูและรู้จักตัวของท่านเอง ถ้าท่านนอนน้อยจนเกินไป ท่านก็จะไม่สบายกาย ทำให้คุมสติไว้ได้ยาก ถ้านอนมากเกินไป จิตใจก็จะตื้อเฉื่อยชา หรือซัดส่าย จงหาสภาวะที่พอเหมาะกับตัวท่านเอง ตั้งใจ เฝ้าดูกายและจิต จนท่านรู้ระยะเวลาหลับนอนที่พอเหมาะสำหรับท่าน ถ้าท่านรู้สึกตัวตื่นแล้วและยังซุกตัวของีบต่อไป นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมอง จงมีสติรู้ตัวทันทีที่ลืมตาตื่นขึ้น
จิตของชาวเอเชียและชาวตะวันตกแตกต่างกันหรือไม่
โดยพื้นฐานแล้วไม่แตกต่างกัน ดูจากภายนอก ขนบธรรมเนียมประเพณีและภาษาที่ใช้อาจดูต่างกัน แต่จิตมนุษย์นั้นเป็นธรรมชาติซึ่งเหมือนกันหมด ไม่ว่าชาติใดภาษาใด ความโลภและความเกลียดก็มี เหมือนกันทั้งในจิตของชาวตะวันออกหรือชาวตะวันตก ความทุกข์และความดับแห่งทุกข์ก็เหมือนกันในทุกๆ คน
เราควรอ่านตำรับตำรามากๆ หรือศึกษาพระไตรปิฎกด้วยหรือไม่ในการฝึกปฏิบัติ
พระธรรมของพระพุทธเจ้านั้นไม่อาจค้นพบได้ด้วยตำราต่างๆ ถ้าท่านต้องการจะรู้เห็นจริง ด้วยตัวของท่านเองว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ท่านไม่จำเป็นต้องวุ่นวายกับตำรับตำราเลย จงเฝ้าดูจิตของท่านเอง พิจารณาให้รู้เห็นว่าความรู้สึกต่างๆ (เวทนา) เกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ความนึกคิดเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร อย่าได้ผูกพันอยู่กับสิ่งใดเลย จงมีสติอยู่เสมอ เมื่อมีอะไรๆ เกิดขึ้นให้ได้รู้ได้เห็น นี่คือทางที่จะบรรลุถึงสัจธรรมของพระพุทธองค์ จงเป็นปกติธรรมดา ตามธรรมชาติ ทุกสิ่งทุกอย่างที่ท่าน ทำขณะอยู่ที่นี่เป็นโอกาสแห่งการฝึกปฏิบัติ เป็นธรรมะทั้งหมดเมื่อท่านทำวัตรสวดมนตร์อยู่ พยายามให้มีสติ ถ้าท่านกำลังเทกระโถนหรือล้างส้วมอยู่ อย่าคิดว่าท่านกำลังทำบุญทำคุณให้กับผู้หนึ่งผู้ใด มีธรรมะ อยู่ในการเทกระโถนนั้น อย่ารู้สึกว่า ท่านกำลังฝึกปฏิบัติอยู่เฉพาะเวลานั่งขัดสมาธิเท่านั้น พวกท่าน บางคนบ่นว่า ไม่มีเวลาพอที่จะทำสมาธิภาวนา แล้วเวลาหายใจเล่ามีเพียงพอไหม การทำสมาธิภาวนา ของท่านคือการมีสติระลึกรู้ และการรักษาจิตให้เป็นปกติตามธรรมชาติในการกระทำทุกอิริยาบถ
บางครั้งกังวลใจอยู่กับพระวินัยของพระสงฆ์ ถ้าฆ่าแมลงโดยบังเอิญแล้วจะผิดไหม
ศีลหรือพระวินัยและศีลธรรมเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งต่อการฝึกปฏิบัติของเรา แต่ท่านต้องไม่ยึดมั่น ถือมั่นในกฎเกณฑ์ต่างๆ อย่างงมงาย ในการฆ่าสัตว์หรือการละเมิดข้อห้ามอื่นๆ นั้น มันสำคัญที่เจตนา ท่านย่อมรู้อยู่แก่ใจของท่านเอง อย่าได้กังวลกับเรื่องพระวินัยให้มากจนเกินไป ถ้านำมาปฏิบัติอย่างถูกต้อง ก็จะช่วยเสริมการฝึกปฏิบัติ แต่พระภิกษุบางรูปกังวลกับกฎเกณฑ์เล็กๆ น้อยๆ มากเกินไป จนนอนไม่เป็นสุข พระวินัยไม่ใช่ภาระที่ต้องแบก
ในการฝึกปฏิบัติของเราที่นี่มีรากฐานคือพระวินัย พระวินัยรวมทั้งธุดงควัตรและการปฏิบัติ ภาวนา การมีสติและการสำรวมระวังในกฎระเบียบต่างๆ ตลอดจนในศีล ๒๒๗ ข้อนั้นให้คุณประโยชน์ อันใหญ่หลวง ทำให้มีความเป็นอยู่อย่างเรียบง่าย ไม่ต้องพะวงว่าจะต้องทำตนอย่างไร ดังนั้นท่านก็หมดเรื่องต้องครุ่นคิด และมีสติดำรงอยู่แทน พระวินัยทำให้พวกเราอยู่ด้วยกันอย่างกลมกลืน และชุมชนก็ดำเนินไปอย่างราบรื่น ลักษณะภายนอกทุกๆ คนดูเหมือนกัน และปฏิบัติอย่างเดียวกัน พระวินัยและศีล ธรรมเป็นบันไดอันแข็งแกร่ง นำไปสู่สมาธิยิ่งและปัญญายิ่ง โดยการปฏิบัติอย่างถูกต้องตามพระวินัยของพระสงฆ์ และธุดงควัตรทำให้เรามีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ และต้องจำกัดจำนวนบริขารของเราด้วย ดังนั้น ที่นี่เราจึงมีการปฏิบัติที่ครบถ้วนตามแบบของพระพุทธเจ้า คือ งดเว้นจากความชั่วและทำความดี มีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ ตามความจำเป็นขั้นพื้นฐาน ชำระจิตให้บริสุทธิ์ โดยการเฝ้าดูจิตและกายของเรา ในทุกๆ อิริยาบถ เมื่อนั่งอยู่ ยืนอยู่ เดินอยู่ หรือนอนอยู่ จงรู้ตัวของท่านเอง
ควรจะทำอย่างไรเมื่อสงสัย บางวันวุ่นวายใจด้วยความสงสัยในเรื่องการปฏิบัติ
ความสงสัยนั้นเป็นเรื่องปกติธรรมดา ทุกคนเริ่มต้นด้วยความสงสัย ท่านอาจได้เรียนรู้อย่างมากมาย จากความสงสัยนั้น ที่สำคัญก็คือ ท่านอย่าถือเอาความสงสัยนั้นเป็นตัวเป็นตน นั่นคืออย่าตกเป็น เหยื่อของความสงสัย ซึ่งจะทำให้จิตใจของท่านหมุนวนเป็นวัฏฏะอันไม่มีที่สิ้นสุด แทนที่จะเป็นเช่นนั้น จงเฝ้าดูกระบวนการเกิดดับของความสงสัยของความฉงนสนเท่ห์ ดูว่าใครคือผู้ที่สงสัย ดูว่าความสงสัย นั้นเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร แล้วท่านจะไม่ตกเป็นเหยื่อของความสงสัยอีกต่อไป ท่านจะหลุดพ้นออก จากความสงสัยและจิตของท่านก็จะสงบ ท่านจะเห็นว่าสิ่งทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไปอย่างไร ปล่อยวาง ความสงสัยของท่านและเพียงแต่เฝ้าดู นี่คือที่สิ้นสุดของความสงสัย
วิธีฝึกปฏิบัติ (วิธีภาวนา) มีหลายวิธีจนสับสน
มันก็เหมือนกับการจะเข้าไปในเมือง บางคนอาจจะเข้าเมืองทางทิศเหนือ ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ฯลฯ ทางถนนหลายสาย โดยมากแล้วแนวทางภาวนาก็แตกต่างกันเพียงรูปแบบเท่านั้น ไม่ว่าท่านจะเดินทางสายหนึ่งสายใด เดินช้าหรือเดินเร็ว ถ้าท่านมีสติอยู่เสมอ มันก็เหมือนกันทั้งนั้น ข้อสำคัญที่สุดก็คือ แนวทางภาวนาที่ดีและถูกต้องจะต้องนำไปสู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ลงท้ายแล้วก็ต้องปล่อยวาง แนวทางภาวนาทุกรูปแบบด้วย ผู้ปฏิบัติต้องไม่ยึดมั่นแม้ในตัวอาจารย์ แนวทางใดที่นำไปสู่การปล่อยวาง สู่การไม่ยึดมั่นถือมั่น ก็เป็นทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
ท่านอาจจะอยากเดินทางไปเพื่อศึกษาอาจารย์ท่านอื่นอีก และลองปฏิบัติตามแนวทางอื่นบ้างก็ได้ พวกท่านบางคนก็ทำเช่นนั้น นี่เป็นความต้องการตามธรรมชาติ ท่านจะรู้ว่า แม้ได้ถามคำถามนับพันคำถามก็แล้ว และมีความรู้เรื่องแนวทางปฏิบัติอื่นๆ ก็แล้ว ก็ไม่อาจจะนำท่านเข้าถึงสัจจธรรมได้ ในที่สุด ท่านก็จะรู้สึกเบื่อหน่าย ท่านจะรู้ว่าเพียงแต่หยุดและสำรวจตรวจสอบดูจิตของท่านเองเท่านั้น ท่านก็จะรู้ ว่าพระพุทธเจ้าตรัสสอนอะไร ไม่มีประโยชน์ที่จะแสวงหาออกไปนอกตัวเอง ผลที่สุดท่านต้องหันกลับมา เผชิญหน้ากับสภาวะที่แท้จริงของตัวท่านเอง ตรงนี้แหละที่ท่านจะเข้าใจธรรมะได้
จำเป็นไหมที่จะต้องนั่งภาวนาให้นานๆ
ไม่จำเป็นต้องนั่งภาวนานานนับเป็นหลายๆ ชั่วโมง บางคนคิดว่ายิ่งนั่งภาวนานานเท่าใดก็จะยิ่ง เกิดปัญญามากเท่านั้น ผมเคยเห็นไก่กกอยู่ในรังของมันทั้งวันนับเป็นวันๆ ปัญญาที่แท้เกิดจากการที่เรา มีสติในทุกๆ อิริยาบถ การฝึกปฏิบัติของท่านต้องเริ่มขึ้นทันทีที่ท่านตื่นนอนตอนเช้า และต้องปฏิบัติ ให้ต่อเนื่องไปจนกระทั่งนอนหลับไป อย่าไปห่วงว่าท่านต้องนั่งภาวนาให้นานๆ สิ่งสำคัญก็คือท่าน เพียงแต่เฝ้าดูไม่ว่าท่านจะเดินอยู่ หรือนั่งอยู่ หรือกำลังเข้าห้องน้ำอยู่
แต่ละคนต่างก็มีทางชีวิตของตนเอง บางคนต้องตายเมื่อมีอายุ ๕๐ ปี บางคนเมื่ออายุ ๖๕ ปี และบางคนเมื่ออายุ ๙๐ ปี ฉันใดก็ฉันนั้น ปฏิปทาของท่านทั้งหลายก็ไม่เหมือนกัน อย่าคิดมาก หรือกังวลใจในเรื่องนี้เลย จงพยายามมีสติและปล่อยทุกสิ่งให้เป็นไปตามปกติของมัน แล้วจิตของท่านก็จะสงบมากขึ้นๆ ในสิ่งแวดล้อมทั้งปวง มันจะสงบนิ่งเหมือนหนองน้ำใสในป่า ที่ซึ่งบรรดาสัตว์ป่าที่สวยงาม และหายากจะมาดื่มน้ำในสระนั้น ท่านจะเข้าใจถึงสภาวะธรรมของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) ในโลกอย่างแจ่มชัด ท่านจะได้เห็นความอัศจรรย์และแปลกประหาดทั้งหลายเกิดขึ้นและดับไป แต่ท่านก็จะยังคงสงบอยู่เช่นเดิม ปัญหาทั้งหลายจะบังเกิดขึ้นแต่ท่านจะรู้ทันมันได้ทันที นี่แหละคือศานติสุขของพระพุทธเจ้า
จิตฟุ้งซ่านมากทั้งๆ ที่พยายามจะมีสติอยู่
อย่าวิตกในเรื่องนี้เลย พยายามรักษาจิตของท่านให้อยู่กับปัจจุบัน เมื่อเกิดรู้สึกอะไรขึ้นมาภาย ในจิตก็ตาม จงเฝ้าดูมัน และปล่อยวาง อย่าแม้แต่หวังที่จะไม่ให้มีความนึกคิดเกิดขึ้นเลย แล้วจิตก็จะเข้า สภาวะปกติตามธรรมชาติของมัน ไม่มีการแบ่งแยกระหว่างความดีและความชั่ว ร้อนและหนาว เร็วหรือช้า ไม่มีเรา ไม่มีเขา ไม่มีตัวตนเลย อะไรๆ ก็เป็นของมันอยู่อย่างนั้น เมื่อท่านเดินบิณฑบาตไม่จำเป็นต้องทำอะไรพิเศษ เพียงแต่เดินและเห็นตามที่เป็นอยู่ อย่ายึดมั่นอยู่กับการแยกตัวไปอยู่แต่ลำพัง หรือกับการเก็บตัว ไม่ว่าท่านจะอยู่ที่ใด จงรู้จักตัวเองด้วยการปฏิบัติตนเป็นปกติตามธรรมชาติ และเฝ้าดู เมื่อเกิดสงสัยจงเฝ้าดูมันเกิดขึ้นและดับไป มันก็ง่ายๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นกับสิ่งใดทั้งสิ้น
เหมือนกับว่าท่านกำลังเดินไปตามถนน บางขณะท่านจะพบสิ่งกีดขวางทางอยู่ เมื่อท่านเกิดกิเลส เครื่องเศร้าหมอง จงรู้ทันมันและเอาชนะมันโดยปล่อยให้มันผ่านไปเสีย อย่าไปคำนึงถึงสิ่งกีดขวางที่ ท่านได้ผ่านมาแล้ว อย่าวิตกกังวลกับสิ่งที่ยังไม่ได้พบ จงอยู่กับปัจจุบัน อย่าสนใจกับระยะทางของถนน หรือกับจุดหมายปลายทาง ทุกสิ่งทุกอย่างย่อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าท่านผ่านอะไรไป อย่าไปยึดมั่นไว้ ในที่สุดจิตจะบรรลุถึงความสมดุลตามธรรมชาติของจิต และเมื่อนั้นการปฏิบัติก็จะเป็นไปเองโดยอัตโนมัติ ทุกสิ่งทุกอย่างจะเกิดขึ้นและดับไปในตัวของมันเอง
“สูตรของเว่ยหล่าง (หรือฮุยเหนิง)” ของพระสังฆปริณายก (นิกายเซ็น) องค์ที่หก
ท่านฮุยเหนิงมีปัญญาเฉียบแหลมมาก คำสอนของท่านลึกซึ้งยิ่งนัก ซึ่งไม่ใช่ของง่ายที่ผู้เริ่มต้นปฏิบัติจะเข้าใจได้ แต่ถ้าท่านปฏิบัติตามศีลและด้วยความอดทนและถ้าท่านฝึกที่จะไม่ยึดมั่นถือมั่น ท่าน ก็จะเข้าใจได้ในที่สุด ครั้งหนึ่ง ลูกศิษย์ผมคนหนึ่งอาศัยอยู่ในกุฏิหลังคามุงแฝก ฤดูฝนนั้นฝนตกชุก และ วันหนึ่งพายุก็พัดเอาหลังคาโหว่ไปครึ่งหนึ่ง เขาไม่ขวนขวายที่จะมุงมันใหม่ จึงปล่อยให้ฝนรั่วอยู่อย่างนั้น หลายวันผ่านไป และผมได้ถามถึงกุฏิของเขา เขาตอบว่าเขากำลังฝึกการไม่ยึดมั่นถือมั่น นี่เป็นการไม่ยึด มั่นถือมั่นโดยไม่ใช้หัวสมอง มันก็เกือบจะเหมือนกับความวางเฉยของควาย ถ้าท่านมีความเป็นอยู่ดีและ เป็นอยู่ง่ายๆ ถ้าท่านอดทนและไม่เห็นแก่ตัว ท่านจึงจะเข้าใจซึ้งถึงปัญญาของท่านฮุยเหนิงได้
ขอให้อธิบายเพิ่มที่ว่าสมถะหรือสมาธิ และวิปัสสนาหรือปัญญานี้เป็นสิ่งเดียวกัน
นี่ก็เป็นเรื่องง่ายๆ นี่เอง สมาธิ (สมถะ) และปัญญา (วิปัสสนา) นี้ ต้องควบคู่กันไป เบื้องแรกจิตจะตั้งมั่นเป็นสมาธิอยู่ได้โดยอาศัยอารมณ์ภาวนา จิตจะสงบตั้งมั่นอยู่ได้เฉพาะขณะที่ท่านนั่งหลับตาเท่านั้น นี่คือสมถะและอาศัยสมาธิเป็นพื้นฐานช่วยให้เกิดปัญญา หรือวิปัสสนาได้ในที่สุด แล้วจิตก็ จะสงบไม่ว่าท่านจะนั่งหลับตาอยู่หรือเดินอยู่ในเมืองวุ่นวาย เปรียบเหมือนกับว่า ครั้งหนึ่งท่านเคยเป็นเด็ก บัดนี้ท่านเป็นผู้ใหญ่ แล้วเด็กกับผู้ใหญ่นี้เป็นบุคคลคนเดียวกันหรือเปล่า ท่านอาจจะพูดได้ว่าเป็น คนคนเดียวกัน หรือถ้ามองอีกแง่หนึ่งท่านก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละคนกัน ในทำนองเดียวกัน สมถะกับวิปัสสนา ก็อาจจะพูดได้ว่าเป็นคนละเรื่องกัน หรือเปรียบเหมือนอาหารกับอุจจาระ อาจจะเรียกได้ว่าเป็นคนละสิ่งกัน
อย่าเพิ่งเชื่อสิ่งที่ผมพูดมานี้ จงฝึกปฏิบัติต่อไป และเห็นจริงด้วยตัวของท่านเอง ไม่ต้องทำอะไร พิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านพิจารณาว่าสมาธิและปัญญาเกิดขึ้นได้อย่างไรแล้ว ท่านจะรู้ความจริงได้ด้วยตัว ของท่านเอง
ทุกวันนี้ผู้คนไปยึดมั่นอยู่กับชื่อเรียก ผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “วิปัสสนา” สมถะก็ถูก เหยียดหยามหรือผู้ที่เรียกการปฏิบัติของพวกเขาว่า “สมถะ” ก็จะพูดว่าจำเป็นต้องฝึกสมถะก่อน วิปัสสนา เหล่านี้เป็นเรื่องไร้สาระ อย่าไปวุ่นวายคิดถึงมันเลย เพียงแต่ฝึกปฏิบัติไป แล้วท่านจะรู้ได้ด้วย ตัวท่านเอง
ในการปฏิบัติของเรา จำเป็นที่จะต้องเข้าถึงฌานหรือไม่
ไม่ ฌานไม่ใช่เรื่องจำเป็น ท่านต้องฝึกจิตให้มีความสงบ และมีอารมณ์เป็นหนึ่ง (เอกัคคตา) แล้วอาศัยอันนี้สำรวจตนเอง ไม่ต้องทำอะไรพิเศษไปกว่านี้ ถ้าท่านได้ฌานในขณะฝึกปฏิบัตินี้ก็ใช้ได้เหมือนกัน แต่อย่าไปหลงติดอยู่ในฌาน หลายคนชะงักติดอยู่ในฌาน มันทำให้เพลิดเพลินได้มากเมื่อไปเล่นกับมัน ท่านต้องรู้ขอบเขตที่สมควร ถ้าท่านฉลาดท่านก็จะเห็นประโยชน์และขอบเขตของฌาน เช่นเดียวกับที่ท่านรู้ขั้นความสามารถของเด็ก และขั้นความสามารถของผู้ใหญ่
ทำไมต้องปฏิบัติตามธุดงควัตร เช่น ฉันอาหารเฉพาะแต่ในบาตรเท่านั้น
ธุดงควัตรทั้งหลายล้วนเป็นเครื่องช่วยเราให้ทำลายกิเลสเครื่องเศร้าหมอง การปฏิบัติตามข้อที่ ว่าให้ฉันแต่อาหารในบาตร ทำให้เรามีสติมากขึ้น ระลึกว่าอาหารนั้นเป็นเสมือนยารักษาโรค ถ้าเราไม่มี กิเลสเครื่องเศร้าหมองแล้ว มันก็ไม่สำคัญว่าเราจะฉันอย่างไร แต่เราอาศัยธุดงควัตรทำให้การปฏิบัติของ เราเป็นไปอย่างง่ายๆ พระพุทธองค์ไม่ได้ทรงบัญญัติธุดงควัตรไว้ว่าเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับพระภิกษุทุกองค์ แต่พระพุทธองค์ทรงบัญญัติธุดงควัตรสำหรับพระภิกษุผู้ประสงค์จะปฏิบัติอย่างเคร่งครัดธุดงควัตร เป็นส่วนเพิ่มขึ้นมาในศีล เพราะฉะนั้น จึงช่วยเพิ่มความมั่นคงและความเข้มแข็งของจิตใจเรา ข้อวัตรทั้งหลายเหล่านี้ มีไว้ให้ท่านปฏิบัติ อย่าคอยจับตาดูว่าผู้อื่นปฏิบัติอย่างไร จงเฝ้าดูจิตของตัวท่านเอง และดูว่าอะไรจะเป็นประโยชน์สำหรับท่าน กฎข้อที่ว่าเราต้องไปอยู่กุฏิ จะกุฏิใดก็ตามที่กำหนดไว้ให้เรา เป็นกฎที่เป็นประโยชน์เช่นเดียวกัน มันช่วยกันไม่ให้พระติดที่อยู่ ถ้าผู้ใดจากไปแล้วและกลับมาใหม่ ก็จะต้องไปอยู่กุฏิใหม่ การปฏิบัติของพวกเราเป็นเช่นนี้ คือไม่ยึดมั่นถือมั่นในสิ่งใด
หากว่าการใส่อาหารทุกอย่างรวมลงในบาตรเป็นสิ่งจำเป็นแล้ว ทำไมท่านอาจารย์จึงไม่ปฏิบัติด้วย
ถูกแล้ว อาจารย์ควรจะทำเป็นตัวอย่างแก่ลูกศิษย์ของตน ผมไม่ถือว่าท่านติผม ท่านซักถามได้ ทุกอย่างที่อยากทราบ แต่ว่ามันก็สำคัญที่ท่านต้องไม่ยึดอยู่กับอาจารย์ ถ้าดูจากภายนอก ผมปฏิบัติดี พร้อมหมดก็คงจะแย่มาก พวกท่านทุกคนก็จะพากันยึดติดในตัวผมยิ่งขึ้น แม้พระพุทธเจ้าเอง บางครั้งก็ ตรัสให้บรรดาสาวกปฏิบัติอย่างหนึ่ง และพระองค์เองกลับปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง ความไม่แน่ใจในอาจารย์ ของท่านก็ช่วยท่านได้ ท่านควรเฝ้าดูปฏิกิริยาของตัวเอง ท่านไม่คิดบ้างหรือว่า อาจจะเป็นไปได้ว่า ที่ผม แบ่งอาหารจากบาตรใส่จานไว้เพื่อเลี้ยงดูชาวบ้านที่มาช่วยทำงานที่วัด
ปัญญา คือสิ่งที่ท่านต้องเฝ้าดู และทำให้เจริญขึ้น รับเอาแต่สิ่งที่ดีจากอาจารย์ จงรู้เท่าทันการ ฝึกปฏิบัติของท่านเอง ถ้าผมพักผ่อนในขณะที่พวกท่านทุกองค์ต้องนั่งทำความเพียรแล้ว ท่านจะโกรธหรือไม่ ถ้าผมเรียกสีน้ำเงินว่าแดง หรือเรียกผู้ชายว่าผู้หญิงก็อย่าเรียกตามผมอย่างหลับหูหลับตา
อาจารย์องค์หนึ่งของผมฉันอาหารเร็วมาก และฉันเสียงดัง แต่ท่านสอนให้พวกเราฉันช้าๆ และฉันอย่างมีสติ ผมเคยเฝ้าดูท่านและรู้สึกขัดเคืองใจมาก ผมเป็นทุกข์แต่ท่านไม่ทุกข์เลย ผมเพ่งเล็งแต่ลักษณะภายนอก ต่อมาผมจึงได้รู้ บางคนขับรถเร็วมาก แต่ระมัดระวัง บางคนขับช้าๆ แต่มีอุบัติเหตุบ่อยๆ อย่ายึดมั่นถือมั่นในกฎระเบียบและรูปแบบภายนอก ถ้าท่านใช้เวลาอย่างมากเพียงสิบเปอร์เซ็นต์ มองดูผู้อื่น แต่เฝ้าดูตัวเองเก้าสิบเปอร์เซ็นต์ อย่างนี้เป็นการปฏิบัติที่ถูกต้องแล้ว แรกๆ ผมคอยเฝ้า สังเกตอาจารย์ของผมคืออาจารย์ทองรัต และเกิดสงสัยในตัวท่านมาก บางคนถึงกับคิดว่าท่านบ้า ท่าน มักจะทำอะไรแปลกๆ หรือเกรี้ยวกราดเอากับบรรดาลูกศิษย์ของท่าน อาการภายนอกของท่านโกรธ แต่ ภายในใจท่านไม่มีอะไร ไม่มีตัวตน ท่านน่าเลื่อมใสมาก ท่านเป็นอยู่อย่างรู้แจ้งและมีสติจนถึงวาระที่ท่าน มรณะภาพ
การมองออกไปนอกตัวเป็นการเปรียบเทียบแบ่งเขาแบ่งเรา ท่านจะไม่พบความสุขโดยวิธีนี้ และ ท่านจะไม่พบความสงบเลยถ้าท่านมัวเสียเวลาแสวงหาคนที่ดีพร้อม หรือครูที่ดีพร้อม พระพุทธเจ้า ทรงสอนให้เราดูที่ธรรมะ ที่สัจจธรรม ไม่ใช่คอยจับตาดูผู้อื่น
จะเอาชนะกามราคะที่เกิดขึ้นระหว่างการฝึกปฏิบัติได้อย่างไร
กามราคะจะบรรเทาลงได้ด้วยการเพ่งพิจารณาถึงความน่าเกลียดโสโครก (อสุภ) การยึดติดอยู่ กับรูปร่างกายเป็นสุดโต่งข้างหนึ่ง ซึ่งเราต้องมองในทางตรงข้าม จงพิจารณาร่างกายเหมือนซากศพและ เห็นการเปลี่ยนแปลงเน่าเปื่อย หรือพิจารณาอวัยวะต่างๆ ของร่างกาย เช่น ปอด ม้าม ไขมัน อุจจาระ และอื่นๆ จำอันนี้ไว้และพิจารณาให้เห็นจริงถึงความน่าเกลียดโสโครกของร่างกายเมื่อมีกามราคะเกิดขึ้น ก็จะช่วยให้ท่านเอาชนะกามราคะได้
เมื่อโกรธ ควรทำอย่างไร
ถ้าท่านมีโทสะในขณะภาวนา ให้แก้ด้วยเมตตาจิต ถ้ามีใครทำไม่ดีหรือโกรธ อย่าโกรธตอบ ถ้าท่านโกรธตอบ ท่านจะโง่ยิ่งกว่าเขา จงเป็นคนฉลาดสงสารเห็นใจเขา เพราะว่าเขากำลังได้ทุกข์ จงมี เมตตาเต็มเปี่ยมเหมือนหนึ่งว่าเขาเป็นน้องชายที่รักยิ่งของท่าน เพ่งอารมณ์เมตตาเป็นอารมณ์ภาวนา แผ่เมตตาไปยังสรรพสัตว์ทั้งหลายในโลก เมตตาเท่านั้นที่เอาชนะโทสะและความเกลียดได้
บางครั้งท่านอาจจะเห็นพระภิกษุรูปอื่นปฏิบัติไม่สมควร ท่านอาจจะรำคาญใจ ทำให้เป็นทุกข์โดยใช่เหตุ นี้ไม่ใช่ธรรมะของเรา ท่านอาจจะคิดอย่างนี้ว่า “เขาไม่เคร่งเท่าฉัน เขาไม่ใช่พระกรรมฐานที่ เอาจริงเอาจังเช่นฉัน เขาไม่ใช่พระที่ดี” นี่เป็นกิเลสเครื่องเศร้าหมองอย่างยิ่งของตัวท่านเอง อย่าเปรียบเทียบ อย่าแบ่งเขาแบ่งเรา จงละทิฐิของท่านเสีย และเฝ้าดูตัวท่านเอง นี่แหละคือธรรมะของเรา ท่านไม่ สามารถบังคับให้ทุกคนประพฤติปฏิบัติตามที่ท่านต้องการหรือเป็นเช่นท่านได้ ความต้องการเช่นนี้มีแต่ จะทำให้ท่านเป็นทุกข์ ผู้ปฏิบัติภาวนามักจะพากันหลงผิดในข้อนี้ การจับตาดูผู้อื่นไม่ทำให้เกิดปัญญาได้ เพียงแต่พิจารณาตนเองและความรู้สึกของตน แล้วท่านก็จะเข้าใจได้
ง่วงเหงาหาวนอนมาก ทำให้ภาวนาลำบาก ควรทำอย่างไร
มีวิธีเอาชนะความง่วงได้หลายวิธี ถ้าท่านนั่งอยู่ในที่มืด ย้ายไปอยู่ที่สว่าง ลืมตาขึ้น ลุกไปล้างหน้า ตบหน้าตนเอง หรือไปอาบน้ำ ถ้าท่านยังง่วงอยู่อีก ให้เปลี่ยนอิริยาบถ เดินจงกรมให้มาก หรือเดินถอยหลัง ความกลัวว่าจะไปชนอะไรเข้าจะทำให้ท่านหายหายง่วง ถ้ายังง่วงอยู่อีกก็จงยืนนิ่งๆ ทำใจให้สดชื่น และสมมติว่าขณะนั้นสว่างเป็นกลางวัน หรือนั่งริมหน้าผาสูงหรือบ่อลึก ท่านจะไม่กล้าหลับ ถ้าทำอย่างไรๆ ก็ไม่หายง่วงก็จงนอนเสีย เอนกายลงอย่างสำรวม ระวังและรู้ตัวอยู่จนกระทั่งท่านหลับไป เมื่อ ท่านรู้สึกตัวตื่นขึ้นจงลุกขึ้นทันที อย่ามองดูนาฬิกาหรือหลับต่ออีก เริ่มต้นมีสติระลึกรู้ทันทีที่ท่านตื่น
ถ้าท่านง่วงนอนอยู่ทุกวัน ลองฉันอาหารให้น้อยลง สำรวจตัวเอง ถ้าอีกห้าคำท่านจะอิ่มจงหยุด แล้วดื่มน้ำจนอิ่มพอดี แล้วกลับไปนั่งดูใหม่อีก เฝ้าดูความง่วงและความหิว ท่านต้องกะฉันอาหารให้พอดี เมื่อท่านฝึกปฏิบัติต่อไปอีก ท่านจะรู้สึกกระปรี้กระเปร่าขึ้นและฉันน้อยลง ท่านต้องปรับตัวของท่านเอง
ทำไมเราจึงต้องกราบกันบ่อยๆ ที่นี่ (ที่วัดหนองป่าพง)
การกราบนี้เป็นสิ่งสำคัญมาก เป็นรูปแบบซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการปฏิบัติ การกราบนี้ต้องทำให้ถูกต้อง ก้มลงจนหน้าผากจรดพื้น วางศอกให้ชิดกับเข่า ฝ่ามือทั้งสองราบอยู่ที่พื้น ห่างกันประมาณสามนิ้ว กราบลงช้าๆ มีสติรู้อาการของกาย การกราบช่วยแก้ความถือตัวของเราได้เป็นอย่างดี เราควรกราบบ่อยๆ เมื่อท่านกราบสามหน ท่านควรตั้งจิตระลึกพระคุณของพระพุทธเจ้า พระธรรม และพระสงฆ์ นั่น คือคุณลักษณะแห่งจิตอันสะอาด สว่าง และสงบ ดังนั้นเราจึงอาศัยรูปแบบนี้ฝึกฝนตน กายแลจิตจะ ประสานกลมกลืนกัน อย่าได้หลงผิดไปจับตาดูว่า ผู้อื่นกราบอย่างไร ถ้าสามเณรน้อยดูไม่ใส่ใจ และพระผู้เฒ่าดูขาดสติ ก็ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะตัดสิน บางคนอาจจะสอนยาก บางคนเรียนได้เร็ว บางคนเรียนได้ช้า การพิจารณาตัดสินผู้อื่นมีแต่จะเพิ่มความหยิ่งทะนงตน จงเฝ้าดูตัวเอง กราบบ่อยๆ ขจัดความหยิ่งทะนงตนออกไป
ผู้ที่เข้าถึงธรรมะได้อย่างแท้จริงแล้ว ท่านจะอยู่เหนือรูปแบบ ทุกๆอย่างที่ท่านทำก็มีแต่การอ่อน น้อมถ่อมตน เดินก็ถ่อม ฉันก็ถ่อม ขับถ่ายก็ถ่อม ทั้งนี้ก็เพราะว่าท่านพ้นจากความเห็นแก่ตัวเสียแล้ว
กิเลสเครื่องเศร้าหมอง เช่น ความโลภหรือความโกรธ เป็นเพียงมายาหรือว่าเป็นของจริง
เป็นทั้งสองอย่าง กิเลสที่เราเรียกว่าราคะหรือความโลภ ความโกรธ และความหลงนั้นเป็นแต่เพียงชื่อ เป็นสิ่งที่ปรากฏขึ้นมา เช่นเดียวกับที่เราเรียกชามใหญ่ ชามเล็ก สวย หรืออะไรก็ตาม นี่ไม่ใช่สภาพที่เป็นจริง แต่เป็นความคิดปรุงแต่งที่เราคิดปรุงขึ้นจากตัณหา ถ้าเราต้องการชามใหญ่เราก็ว่าอันนี้ เล็กไป ตัณหาทำให้เราแบ่งแยก ความจริงก็คือมันเป็นของมันอยู่อย่างนั้น ลองมามองแง่นี้บ้าง ท่านเป็นผู้ ชายหรือเปล่า ท่านตอบว่าเป็น นี่เป็นเพียงรูปปรากฏของสิ่งต่างๆ แท้จริงแล้วท่านเป็นส่วนประกอบของ ธาตุและขันธ์ ถ้าจิตเป็นอิสระแล้ว จิตจะไม่แบ่งแยก ไม่มีใหญ่ ไม่มีเล็ก ไม่มีเขา ไม่มีเรา ไม่มีอะไร จะเป็นอนัตตา หรือความไม่ใช่ตัวตน แท้จริงแล้ว ในบั้นปลายก็ไม่มีทั้งอัตตาและอนัตตา (เป็นแต่เพียงชื่อเรียก)
คำอธิบายเพิ่มเติมเกี่ยวกับกรรม
กรรมคือการกระทำ กรรมคือการยึดมั่นถือมั่น กาย วาจา และใจ ล้วนสร้างกรรม เมื่อมีการยึดมั่นถือมั่น เราทำกันจนเกิดความเคยชินเป็นนิสัย ซึ่งจะทำให้เราเป็นทุกข์ได้ในกาลข้างหน้า นี่เป็นผลของ การยึดมั่นถือมั่นและของกิเลสเครื่องเศร้าหมองของเราที่เกิดขึ้นในอดีต ความยึดมั่นทั้งหลายจะทำให้ เราสร้างกรรม สมมติว่าท่านเคยเป็นขโมยก่อนที่จะบวชเป็นพระ ท่านขโมยเขา ทำให้เขาไม่เป็นสุข ทำให้ พ่อแม่หมดสุข ตอนนี้ท่านเป็นพระแต่เวลาที่ท่านนึกถึงเรื่องที่ท่านทำให้ผู้อื่นหมดสุขแล้ว ท่านก็ไม่สบายใจ และเป็นทุกข์แม้จนทุกวันนี้ จงจำไว้ว่า ทั้งกายกรรม วจีกรรม และมโนกรรม จะเป็นเหตุปัจจัยให้เกิด ผลในอนาคตได้ ถ้าท่านเคยสร้างกรรมดีไว้ในอดีต และวันนี้ก็ยังจำได้ ท่านก็เป็นสุข ความสุขใจเป็นผล จากกรรมในอดีต สิ่งทั้งปวงมีเหตุเป็นปัจจัยทั้งในระยะยาว และถ้าใคร่ครวญดูแล้วทั้งในทุกๆ ขณะด้วย แต่ท่านอย่าไปนึกถึงอดีตหรือปัจจุบันหรืออนาคต เพียงแต่เฝ้าดูกายและจิต ท่านจะต้องพิจารณาจนเห็น จริงในเรื่องกรรมด้วยตัวของท่านเอง จงเฝ้าดูจิต ปฏิบัติแล้วท่านจะรู้อย่างแจ่มแจ้ง อย่าลืมว่ากรรมใคร ก็เป็นของคนนั้น อย่ายึดมั่นและอย่าจับตาดูผู้อื่น ถ้าผมดื่มยาพิษ ผมก็ได้รับทุกข์ ไม่ใช่เรื่องที่ท่านจะมา เป็นทุกข์ด้วย จงรับเอาแต่สิ่งดีที่อาจารย์สอน แล้วท่านจะเข้าถึงความสงบ จิตของท่านจะเป็นเช่นเดียว กันกับจิตของอาจารย์ ถ้าท่านพิจารณาดู ท่านก็จะรู้ได้ แม้ว่าขณะนี้ท่านจะยังไม่เข้าใจ เมื่อท่านปฏิบัติต่อไป มันก็จะแจ่มแจ้งขึ้น ท่านจะรู้ได้ด้วยตนเอง ได้ชื่อว่าปฏิบัติธรรม
เมื่อเรายังเล็ก พ่อแม่วางกฎระเบียบกับเรา และหัวเสียกับเรา แท้จริงแล้วท่านต้องการจะช่วยเรา กว่าเราจะรู้ก็ต่อมาอีกนาน พ่อแม่และครูบาอาจารย์ดุว่าเราและเราก็ไม่พอใจ ต่อมาเราจึงเข้าใจว่า ทำไม เราจึงถูกดุ ปฏิบัติไปนานๆ แล้วท่านก็จะเห็นเอง ส่วนผู้ที่คิดว่าตนฉลาดล้ำก็จะจากไปในเวลาอันสั้น เขา ไม่มีวันจะได้เรียนรู้ ท่านต้องขจัดความคิดว่าตัวฉลาดสามารถออกไปเสีย ถ้าท่านคิดว่าท่านดีกว่าผู้อื่น ท่านก็จะมีแต่ทุกข์ เป็นเรื่องน่าสงสาร อย่าขุ่นเคืองใจ แต่จงเฝ้าดูตนเอง
เจริญสมาธิภาวนาจนจิตสงบลึก ควรทำอย่างไรต่อไป
นี่ก็ดีแล้ว ทำจิตให้สงบและเป็นสมาธิ และใช้สมาธินี้พิจารณาจิตและกาย ถ้าจิตเกิดไม่สงบก็จงเฝ้าดูด้วย แล้วท่านจะรู้ถึงความสงบที่แท้จริง เพราะอะไร เพราะท่านจะได้เห็นความไม่เที่ยง แม้ความ สงบเองก็ดูให้เห็นไม่เที่ยง ถ้าท่านยึดติดอยู่กับภาวะจิตที่สงบ แล้วท่านจะเป็นทุกข์เมื่อจิตไม่สงบ ฉะนั้น จงปล่อยวางหมดทุกสิ่ง แม้แต่ความสงบ
ท่านอาจารย์เป็นห่วงลูกศิษย์ที่พากเพียรมากหมายความว่าอย่างไร
ถูกแล้ว ผมเป็นห่วง ผมเป็นห่วงว่าเขาเอาจริงเอาจังจนเกินไป เขาพยายามเกินไป แต่ขาดปัญญา เขาเคี่ยวเข็นตนเองไปสู่ความทุกข์ยากโดยไม่จำเป็น บางคนมุ่งมั่นที่จะรู้แจ้ง เขาขบฟันแน่นและ ใจดิ้นรนอยู่ตลอดเวลา อย่างนี้เป็นความพยายามมากเกินไป คนทั่วไปก็เช่นเดียวกัน พวกเขาไม่รู้ถึง สภาพเป็นจริงของสิ่งทั้งปวง (สังขาร) สังขารทั้งปวง จิตและร่างกายล้วนเป็นของไม่เที่ยง จงเฝ้าดู และอย่ายึดมั่นถือมั่น
บางคนคิดว่าเขารู้ เขาวิพากวิจารณ์ จับตามองและลงความเห็นเอาเอง อย่างนี้ก็ตามใจเขา ทิฐิ ของใครก็ปล่อยให้เป็นของคนนั้น การแบ่งเขาแบ่งเรานี้อันตราย เปรียบเหมือนทางโค้งอันตรายของถนน ถ้าเราคิดว่าคนอื่นด้อยกว่าหรือดีกว่า หรือเสมอกันกับเรา เราก็ตกทางโค้ง ถ้าเราแบ่งเขาแบ่งเรา เราก็จะเป็นทุกข์
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 69
มุตโตทัย
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตโตมหาเถระ
(หลวงตามหาบัวชื่นชมการแสดงธรรมของหลวงปู่มั่นมาก ท่านว่าเป็นธรรมที่ฟังแล้วไพเราะจับจิต
ซึ่งผมลองโหลดมาฟังดู สุดที่จะพรรณนาจริงๆครับ)
๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย
๓. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน
เหตุใดหนอ ปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้ง นโม ก่อน จะทิ้ง นโม ไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จึงยกขึ้นพิจารณา ได้ความว่า น คือธาตุน้ำ โม คือ ธาตุดิน พร้อมกับบาทพระคาถา ปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมุภโว โอทนกุมฺมาสปจฺจโย สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกัน จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้ น เป็นธาตุของ มารดา โม เป็นธาตุของ บิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุ นโม นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง และ เปสี คือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาปสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นเดิม
ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า บุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อนแล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง นโม ท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน ทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ
๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
นโม นี้ เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะจากตัว น มาใส่ตัว ม เอาสระ โอ จากตัว ม มาใส่ตัว น แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่าใจ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ทั้งกายทั้งใจเต็มตามส่วน สมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโน คือใจนี้เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมด ได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจาก ใจ คือมหาฐาน นี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก มโน แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมมติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกไปจากมโนทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมมติบัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะจนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลง หลงถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราไปหมด
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้ ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้เป็น "อนันตนัย" เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรอบรู้ได้ เมื่อพิจารณาพระบาลีที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่ มโน นั่นเอง มโน เป็นตัวมหาเหตุเป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอนนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น อารมฺมณ จนถึงอวิคฺคต จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุคือใจเป็นเดิมโดยแท้ ฉะนั้น มโนซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๔ ก็ดี ฐีติ ภูตํ ซึ่งจะกล่าวในข้อ ๖ ก็ดี และมหาธาตุซึ่งกล่าวในข้อนี้ก็ดี ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดี รู้อะไรๆ ได้ด้วย ทศพลญาณ ก็ดี รอบรู้ สรรพเญยฺยธรรม ทั้งปวงก็ดี ก็เพราะมีมหาเหตุนั้นเป็นดั้งเดิมทีเดียว จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย แม้สาวทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็นเดิม จึงสามารถรู้ตามคำสอนของพระองค์ได้ด้วยเหตุนี้แลพระอัสสชิเถระผู้เป็นที่ ๕ ของพระปัญจวัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่ อุปติสฺส (พระสารีบุตร) ว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ...เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเดิม เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี้ (คือมหาเหตุ) ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า? เพราะอะไร ทุกสิ่งในโลกก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุถึงโลกุตตรธรรม ก็คือมหาเหตุ ฉะนั้น มหาปัฏฐาน ท่านจึงว่าเป็น อนันตนัย ผู้มาปฏิบัติใจคือตัวมหาเหตุจนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้วย่อมสามารถรู้อะไรๆ ทั้งภายในและภายนอกทุกสิ่งทุกประการ สุดจะนับจะประมาณได้ด้วยประการฉะนี้
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปาทานํ ภโว ชาติ
คนเราทุกรูปนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้น กล่าวคือมีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไรฯ ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่ พวกเราก็ยังมีบิดามารดาอวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา ฐีติภูตํ ได้แก่ จิตดั้งเดิม เมื่อฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจากฐีติภูตํเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อฐีติภูตํกอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง นี่พิจารณาด้วยวุฏฐานคามินี วิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่า "มูลตันไตร" (หมายถึงไตรลักษณ์) เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏฏ์ให้ขาดสูญ จึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชารู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง ก็จะหายหลงแล้วไม่ก่ออาการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ด้วยประการฉะนี้
๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคฺคํ สตฺตวิสุทธิยา
ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ ฐานะอันดีเลิศนั้นเป็นทางดำเนินไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ โดยอธิบายว่าเราได้รับมรดกมาแล้วจาก นโม คือ บิดามารดา กล่าวคือตัวของเรานี้แล อันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นชาติสูงสุด เป็นผู้เลิศตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีคือมีกายสมบัติ วจีสมบัติ แลมโนสมบัติบริบูรณ์ จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก คือ ทรัพย์สินเงินทองอย่างไรก็ได้ จะสร้างสมเอาสมบัติภายในคือมรรคผลนิพพานธรรมวิเศษก็ได้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติแก่มนุษย์เรานี้เอง มิได้ทรงบัญญัติแก่ ช้าง มา โค กระบือ ฯลฯ ที่ไหนเลย มนุษย์นี้เองจะเป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนมีบุญวาสนาน้อย เพราะมนุษย์ทำได้ เมื่อไม่มี ทำให้มีได้ เมื่อมีแล้วทำให้ยิ่งได้สมด้วยเทศนานัยอันมาในเวสสันดรชาดาว่า ทานํ เทติ สีลํ รกฺขติ ภาวนํ ภาเวตฺวา เอกจฺโจ สคฺคํ คจฺฉติ เอกจฺโจ โมกฺขํ คจฺฉติ นิสฺสํสยํ เมื่อได้ทำกองการกุศล คือ ให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาตามคำสอนของพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแล้ว บางพวกทำน้อยก็ต้องไปสู่สวรรค์ บางพวกทำมากและขยันจริงพร้อมทั้งวาสนาบารมีแต่หนหลังประกอบกัน ก็สามารถเข้าสู่พระนิพพานโดยไม่ต้องสงสัยเลย พวกสัตว์ดิรัจฉานท่านมิได้กล่าวว่าเลิศ เพราะจะมาทำเหมือนพวกมนุษย์ไม่ได้ จึงสมกับคำว่ามนุษย์นี้ตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีสามารถนำตนเข้าสู่มรรคผล เข้าสู่พระนิพพานอันบริสุทธิ์ได้แล
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
พระบรมศาสดาจารย์เจ้า ทรงตั้งชัยภูมิไว้ในธรรมข้อไหน? เมื่อพิจารณาปัญหานี้ได้ความขึ้นว่า พระองค์ทรงตั้งมหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ
อุปมาในทางโลก การรบทัพชิงชัย มุ่งหมายชัยชนะจำต้องหา ชัยภูมิ ถ้าได้ชัยภูมิที่ดีแล้วย่อมสามารถป้องกันอาวุธของข้าศึกได้ดี ณ ที่นั้นสามารถรวบรวมกำลังใหญ่เข้าฆ่าฟันข้าศึกให้ปราชัยพ่ายแพ้ไปได้ ที่เช่นนั้นท่านจึงเรียกว่า ชัยภูมิ คือที่ที่ประกอบไปด้วยค่ายคูประตูและหอรบอันมั่นคงฉันใด
อุปไมยในทางธรรมก็ฉันนั้น ที่เอามหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิก็โดยผู้ที่จะเข้าสู่สงครามรบข้าศึก คือ กิเลส ต้องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้นก่อน เพราะคนเราที่จะเกิด กามราคะ เป็นต้น ขึ้น ก็เกิดที่กายและใจ เพราะตาแลไปเห็นกายทำให้ใจกำเริบ เหตุนั้นจึงได้ความว่า กายเป็นเครื่องก่อเหตุ จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อน จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำให้ใจสงบได้ ณ ที่นี้พึง ทำให้มาก เจริญให้มาก คือพิจารณาไม่ต้องถอยเลยทีเดียว ในเมื่ออุคคหนิมิตปรากฏ จะปรากฏกายส่วนไหนก็ตาม ให้พึงถือเอากายส่วนที่ได้เห็นนั้นพิจารณาให้เป็นหลักไว้ไม่ต้องย้ายไปพิจารณาที่อื่น จะคิดว่าที่นี่เราเห็นแล้ว ที่อื่นยังไม่เห็น ก็ต้องไปพิจารณาที่อื่นซิ เช่นนี้หาควรไม่ ถึงแม้จะพิจารณาจนแยกกายออกมาเป็นส่วนๆ ทุกๆอาการอันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้อย่างละเอียด ที่เรียกว่าปฏิภาคก็ตาม ก็ให้พิจารณากายที่เราเห็นทีแรกด้วยอุคคหนิมิตนั้นจนชำนาญ ที่จะชำนาญได้ก็ต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก ณ ที่เดียวนั้นเอง เหมือนสวดมนต์ฉะนั้น อันการสวดมนต์ เมื่อเราท่องสูตรนี้ได้แล้ว ทิ้งเสียไม่เล่าไม่สวดไว้อีก ก็จะลืมเสียไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่ทำให้ชำนาญด้วยความประมาทฉันใด การพิจารณากายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อุคคหนิมิตในที่ใดแล้ว ไม่พิจารณาในที่นั้นให้มากปล่อยทิ้งเสียด้วยความประมาทก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรอย่างเดียวกัน
การพิจารณากายนี้มีที่อ้างมาก ดั่งในการบวชทุกวันนี้ เบื้องต้นต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก็คือ กายนี้เอง ก่อนอื่นหมดเพราะเป็นของสำคัญ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์พระธรรมบทขุทฺทกนิกายว่า อาจารย์ผู้ไม่ฉลาด ไม่บอกซึ่งการพิจารณากาย อาจทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ของกุลบุตรได้ เพราะฉะนั้นในทุกวันนี้จึงต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก่อน
อีกแห่งหนึ่งท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าจะไม่กำหนดกาย ในส่วนแห่ง โกฏฐาส (คือการพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ) ใดโกฏฐาสหนึ่งมิได้มีเลย จึงตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้กล่าวถึงแผ่นดินว่า บ้านโน้นมีดินดำดินแดงเป็นต้นนั้นว่า นั่นชื่อว่า พหิทฺธา แผ่นดินภายนอกให้พวกท่านทั้งหลายมาพิจารณา อัชฌัตติกา แผ่นดินภายในกล่าวคืออัตตภาพร่างกายนี้ จงพิจารณาไตร่ตรองให้แยบคาย กระทำให้แจ้งแทงให้ตลอด เมื่อจบการวิสัชชนาปัญหานี้ ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็บรรลุพระอรหันตผล
เหตุนั้นการพิจารณากายจึงเป็นของสำคัญ ผู้ที่จะพ้นทุกทั้งหมดล้วนแต่ต้องพิจารณากายนี้ทั้งสิ้น จะรวบรวมกำลังใหญ่ได้ต้องรวบรวมด้วยการพิจารณากาย แม้พระพุทธองค์เจ้าจะได้ตรัสรู้ทีแรกก็ทรงพิจารณาลม ลมจะไม่ใช่กายอย่างไร? เพราะฉะนั้นมหาสติปัฏฐาน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น จึงชื่อว่า "ชัยภูมิ" เมื่อเราได้ชัยภูมิดีแล้ว กล่าวคือปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานจนชำนาญแล้ว ก็จงพิจารณาความเป็นจริงตามสภาพแห่งธาตุทั้งหลายด้วยอุบายแห่งวิปัสสนา ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า
หลวงปู่มั่น ภูริทัตตโตมหาเถระ
(หลวงตามหาบัวชื่นชมการแสดงธรรมของหลวงปู่มั่นมาก ท่านว่าเป็นธรรมที่ฟังแล้วไพเราะจับจิต
ซึ่งผมลองโหลดมาฟังดู สุดที่จะพรรณนาจริงๆครับ)
๑. การปฏิบัติ เป็นเครื่องยังพระสัทธรรมให้บริสุทธิ์
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าทรงแสดงว่าธรรมของพระตถาคต เมื่อเข้าไปประดิษฐานในสันดานของปุถุชนแล้ว ย่อมกลายเป็นของปลอม (สัทธรรมปฏิรูป) แต่ถ้าเข้าไปประดิษฐานในจิตสันดานของพระอริยเจ้าแล้วไซร้ ย่อมเป็นของบริสุทธิ์แท้จริง และเป็นของไม่ลบเลือนด้วย เพราะฉะนั้นเมื่อยังเพียรแต่เรียนพระปริยัติถ่ายเดียว จึงยังใช้การไม่ได้ดี ต่อเมื่อมาฝึกหัดปฏิบัติจิตใจกำจัดเหล่า กะปอมก่า คือ อุปกิเลส แล้วนั่นแหละ จึงจะยังประโยชน์ให้สำเร็จเต็มที่ และทำให้พระสัทธรรมบริสุทธิ์ ไม่วิปลาสคลาดเคลื่อนจากหลักเดิมด้วย
๒. การฝึกตนดีแล้วจึงฝึกผู้อื่น ชื่อว่าทำตามพระพุทธเจ้า
ปุริสทมฺมสารถิ สตฺถา เทวมนุสฺสานํ พุทฺโธ ภควา
สมเด็จพระบรมศาสดาสัมมาสัมพุทธเจ้า ทรงทรมานฝึกหัดพระองค์จนได้ตรัสรู้พระอนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ เป็น พุทฺโธ ผู้รู้ก่อนแล้วจึงเป็น ภควา ผู้ทรงจำแนกแจกธรรมสั่งสอนเวไนยสัตว์ สตฺถา จึงเป็นครูของเทวดาและมนุษย์ เป็นผู้ฝึกบุรุษผู้มีอุปนิสัยบารมีควรแก่การทรมานในภายหลัง จึงทรงพระคุณปรากฏว่า กลฺยาโณ กิตฺติสทฺโท อพฺภุคฺคโต ชื่อเสียงเกียรติศัพท์อันดีงามของพระองค์ย่อมฟุ้งเฟื่องไปในจตุรทิศจนตราบเท่าทุกวันนี้ แม้พระอริยสงฆ์สาวกเจ้าทั้งหลายที่ล่วงลับไปแล้วก็เช่นเดียวกัน ปรากฏว่าท่านฝึกฝนทรมานตนได้ดีแล้ว จึงช่วยพระบรมศาสดาจำแนกแจกธรรม สั่งสอนประชุมชนในภายหลัง ท่านจึงมีเกียรติคุณปรากฏเช่นเดียวกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ถ้าบุคคลใดไม่ทรมานตนให้ดีก่อนแล้ว และทำการจำแนกแจกธรรมสั่งสอนไซร้ ก็จักเป็นผู้มีโทษ ปรากฏว่า ปาปโกสทฺโท คือเป็นผู้มีชื่อเสียงชั่วฟุ้งไปในจตุรทิศ เพราะโทษที่ไม่ทำตามพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอริยสงฆ์สาวกเจ้าในก่อนทั้งหลาย
๓. มูลมรดกอันเป็นต้นทุนทำการฝึกฝนตน
เหตุใดหนอ ปราชญ์ทั้งหลาย จะสวดก็ดี จะรับศีลก็ดี หรือจะทำการกุศลใดๆ ก็ดี จึงต้องตั้ง นโม ก่อน จะทิ้ง นโม ไม่ได้เลย เมื่อเป็นเช่นนี้ นโม ก็ต้องเป็นสิ่งสำคัญ จึงยกขึ้นพิจารณา ได้ความว่า น คือธาตุน้ำ โม คือ ธาตุดิน พร้อมกับบาทพระคาถา ปรากฏขึ้นมาว่า มาตาเปติกสมุภโว โอทนกุมฺมาสปจฺจโย สัมภวธาตุของมารดาบิดาผสมกัน จึงเป็นตัวตนขึ้นมาได้ น เป็นธาตุของ มารดา โม เป็นธาตุของ บิดา ฉะนั้นเมื่อธาตุทั้ง ๒ ผสมกันเข้าไป ไฟธาตุของมารดาเคี่ยวเข้าจนได้นามว่า กลละ คือ น้ำมันหยดเดียว ณ ที่นี้เอง ปฏิสนธิวิญญาณเข้าถือปฏิสนธิได้ จิตจึงได้ถือปฏิสนธิในธาตุ นโม นั้น เมื่อจิตเข้าไปอาศัยแล้ว กลละ ก็ค่อยเจริญขึ้นเป็น อัมพุชะ คือเป็นก้อนเลือด เจริญจากก้อนเลือดมาเป็น ฆนะ คือเป็นแท่ง และ เปสี คือชิ้นเนื้อ แล้วขยายตัวออกคล้ายรูปจิ้งเหลน จึงเป็นปัญจสาขา คือ แขน ๒ ขา ๒ หัว ๑ ส่วนธาตุ พ คือลม ธ คือไฟ นั้นเป็นธาตุเข้ามาอาศัยภายหลังเพราะจิตไม่ถือ เมื่อละจากกลละนั้นแล้ว กลละก็ต้องทิ้งเปล่าหรือสูญเปล่า ลมและไฟก็ไม่มี คนตาย ลมและไฟก็ดับหายสาปสูญไป จึงว่าเป็นธาตุอาศัย ข้อสำคัญจึงอยู่ที่ธาตุทั้ง ๒ คือ นโม เป็นเดิม
ในกาลต่อมาเมื่อคลอดออกมาแล้วก็ต้องอาศัย น มารดา โม บิดา เป็นผู้ทะนุถนอมกล่อมเกลี้ยงเลี้ยงมาด้วยการให้ข้าวสุกและขนมกุมมาส เป็นต้น ตลอดจนการแนะนำสั่งสอนความดีทุกอย่าง ท่านจึงเรียกมารดาบิดาว่า บุพพาจารย์ เป็นผู้สอนก่อนใครๆ ทั้งสิ้น มารดาบิดาเป็นผู้มีเมตตาจิตต่อบุตรธิดาจะนับจะประมาณมิได้ มรดกที่ทำให้กล่าวคือรูปกายนี้แล เป็นมรดกดั้งเดิมทรัพย์สินเงินทองอันเป็นของภายนอกก็เป็นไปจากรูปกายนี้เอง ถ้ารูปกายนี้ไม่มีแล้วก็ทำอะไรไม่ได้ ชื่อว่าไม่มีอะไรเลยเพราะเหตุนั้นตัวของเราทั้งตัวนี้เป็น "มูลมรดก" ของมารดาบิดาทั้งสิ้น จึงว่าคุณท่านจะนับจะประมาณมิได้เลย ปราชญ์ทั้งหลายจึงหาได้ละทิ้งไม่ เราต้องเอาตัวเราคือ นโม ตั้งขึ้นก่อนแล้วจึงทำกิริยาน้อมไหว้ลงภายหลัง นโม ท่านแปลว่านอบน้อมนั้นเป็นการแปลเพียงกิริยา หาได้แปลต้นกิริยาไม่ มูลมรดกนี้แลเป็นต้นทุน ทำการฝึกหัดปฏิบัติตนไม่ต้องเป็นคนจนทรัพย์สำหรับทำทุนปฏิบัติ
๔. มูลฐานสำหรับทำการปฏิบัติ
นโม นี้ เมื่อกล่าวเพียง ๒ ธาตุเท่านั้น ยังไม่สมประกอบหรือยังไม่เต็มส่วน ต้องพลิกสระพยัญชนะดังนี้ คือ เอาสระอะจากตัว น มาใส่ตัว ม เอาสระ โอ จากตัว ม มาใส่ตัว น แล้วกลับตัว มะ มาไว้หน้าตัว โน เป็น มโน แปลว่าใจ เมื่อเป็นเช่นนี้จึงได้ทั้งกายทั้งใจเต็มตามส่วน สมควรแก่การใช้เป็นมูลฐานแห่งการปฏิบัติได้ มโน คือใจนี้เป็นดั้งเดิม เป็นมหาฐานใหญ่ จะทำจะพูดอะไรก็ย่อมเป็นไปจากใจนี้ทั้งหมด ได้ในพระพุทธพจน์ว่า มโนปุพฺพงฺคมา ธมฺมา มโนเสฏฐา มโนมยา ธรรมทั้งหลายมีใจถึงก่อน มีใจเป็นใหญ่ สำเร็จแล้วด้วยใจ พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติออกไปจาก ใจ คือมหาฐาน นี้ทั้งสิ้น เหตุนี้เมื่อพระสาวกผู้ได้มาพิจารณาตามจนถึงรู้จัก มโน แจ่มแจ้งแล้ว มโน ก็สุดบัญญัติ คือพ้นจากบัญญัติทั้งสิ้น สมมติทั้งหลายในโลกนี้ต้องออกไปจากมโนทั้งสิ้น ของใครก็ก้อนของใคร ต่างคนต่างถือเอาก้อนอันนี้ ถือเอาเป็นสมมติบัญญัติตามกระแสแห่งน้ำโอฆะจนเป็นอวิชชาตัวก่อภพก่อชาติด้วยการไม่รู้เท่า ด้วยการหลง หลงถือว่าเป็นตัวเรา เป็นของเราไปหมด
๕. มูลเหตุแห่งสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุ
พระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ เว้นมหาปัฏฐาน มีนัยประมาณเท่านั้นเท่านี้ ส่วนคัมภีร์มหาปัฏฐาน มีนัยหาประมาณมิได้เป็น "อนันตนัย" เป็นวิสัยของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเท่านั้นที่จะรอบรู้ได้ เมื่อพิจารณาพระบาลีที่ว่า เหตุปจฺจโย นั้นได้ความว่า เหตุซึ่งเป็นปัจจัยดั้งเดิมของสิ่งทั้งหลายในสากลโลกธาตุนั้นได้แก่ มโน นั่นเอง มโน เป็นตัวมหาเหตุเป็นตัวเดิม เป็นสิ่งสำคัญ นอนนั้นเป็นแต่อาการเท่านั้น อารมฺมณ จนถึงอวิคฺคต จะเป็นปัจจัยได้ก็เพราะมหาเหตุคือใจเป็นเดิมโดยแท้ ฉะนั้น มโนซึ่งกล่าวไว้ในข้อ ๔ ก็ดี ฐีติ ภูตํ ซึ่งจะกล่าวในข้อ ๖ ก็ดี และมหาธาตุซึ่งกล่าวในข้อนี้ก็ดี ย่อมมีเนื้อความเป็นอันเดียวกัน พระบรมศาสดาจะทรงบัญญัติพระธรรมวินัยก็ดี รู้อะไรๆ ได้ด้วย ทศพลญาณ ก็ดี รอบรู้ สรรพเญยฺยธรรม ทั้งปวงก็ดี ก็เพราะมีมหาเหตุนั้นเป็นดั้งเดิมทีเดียว จึงทรงรอบรู้ได้เป็นอนันตนัย แม้สาวทั้งหลายก็มีมหาเหตุนี้แลเป็นเดิม จึงสามารถรู้ตามคำสอนของพระองค์ได้ด้วยเหตุนี้แลพระอัสสชิเถระผู้เป็นที่ ๕ ของพระปัญจวัคคีย์จึงแสดงธรรมแก่ อุปติสฺส (พระสารีบุตร) ว่า เย ธมฺมา เหตุปภวา เตสํ เหตุ ตถาคโต เตสญฺจ โย นิโรโธ จ เอวํ วาที มหาสมโณ ความว่า ธรรมทั้งหลายเกิดแต่เหตุ...เพราะว่ามหาเหตุนี้เป็นตัวสำคัญ เป็นตัวเดิม เมื่อท่านพระอัสสชิเถระกล่าวถึงที่นี้ (คือมหาเหตุ) ท่านพระสารีบุตรจะไม่หยั่งจิตลงถึงกระแสธรรมอย่างไรเล่า? เพราะอะไร ทุกสิ่งในโลกก็ต้องเป็นไปแต่มหาเหตุถึงโลกุตตรธรรม ก็คือมหาเหตุ ฉะนั้น มหาปัฏฐาน ท่านจึงว่าเป็น อนันตนัย ผู้มาปฏิบัติใจคือตัวมหาเหตุจนแจ่มกระจ่างสว่างโร่แล้วย่อมสามารถรู้อะไรๆ ทั้งภายในและภายนอกทุกสิ่งทุกประการ สุดจะนับจะประมาณได้ด้วยประการฉะนี้
๖. มูลการของสังสารวัฏฏ์
ฐีติภูตํ อวิชฺชา ปจฺจยา สงฺขารา อุปาทานํ ภโว ชาติ
คนเราทุกรูปนามที่ได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ล้วนแล้วแต่มีที่เกิดทั้งสิ้น กล่าวคือมีบิดามารดาเป็นแดนเกิด ก็แลเหตุใดท่านจึงบัญญัติปัจจยาการแต่เพียงว่า อวิชฺชา ปจฺจยา ฯลฯ เท่านั้น อวิชชา เกิดมาจากอะไรฯ ท่านหาได้บัญญัติไว้ไม่ พวกเราก็ยังมีบิดามารดาอวิชชาก็ต้องมีพ่อแม่เหมือนกัน ได้ความตามบาทพระคาถาเบื้องต้นว่า ฐีติภูตํ นั่นเองเป็นพ่อแม่ของอวิชชา ฐีติภูตํ ได้แก่ จิตดั้งเดิม เมื่อฐีติภูตํ ประกอบไปด้วยความหลง จึงมีเครื่องต่อ กล่าวคือ อาการของอวิชชาเกิดขึ้น เมื่อมีอวิชชาแล้วจึงเป็นปัจจัยให้ปรุงแต่งเป็นสังขารพร้อมกับความเข้าไปยึดถือ จึงเป็นภพชาติคือต้องเกิดก่อต่อกันไป ท่านเรียก ปัจจยาการ เพราะเป็นอาการสืบต่อกัน วิชชาและอวิชชาก็ต้องมาจากฐีติภูตํเช่นเดียวกัน เพราะเมื่อฐีติภูตํกอปรด้วยวิชชาจึงรู้เท่าอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง นี่พิจารณาด้วยวุฏฐานคามินี วิปัสสนา รวมใจความว่า ฐีติภูตํ เป็นตัวการดั้งเดิมของสังสารวัฏฏ์ (การเวียนว่ายตายเกิด) ท่านจึงเรียกชื่อว่า "มูลตันไตร" (หมายถึงไตรลักษณ์) เพราะฉะนั้นเมื่อจะตัดสังสารวัฏฏ์ให้ขาดสูญ จึงต้องอบรมบ่มตัวการดั้งเดิมให้มีวิชชารู้เท่าทันอาการทั้งหลายตามความเป็นจริง ก็จะหายหลงแล้วไม่ก่ออาการทั้งหลายใดๆ อีก ฐีติภูตํ อันเป็นมูลการก็หยุดหมุน หมดการเวียนว่ายตายเกิดในสังสารวัฏฏ์ด้วยประการฉะนี้
๗. อรรคฐาน เป็นที่ตั้งแห่งมรรคนิพพาน
อคฺคํ ฐานํ มนุสฺเสสุ มคฺคํ สตฺตวิสุทธิยา
ฐานะอันเลิศมีอยู่ในมนุษย์ ฐานะอันดีเลิศนั้นเป็นทางดำเนินไปเพื่อความบริสุทธิ์ของสัตว์ โดยอธิบายว่าเราได้รับมรดกมาแล้วจาก นโม คือ บิดามารดา กล่าวคือตัวของเรานี้แล อันได้กำเนิดเกิดมาเป็นมนุษย์ ซึ่งเป็นชาติสูงสุด เป็นผู้เลิศตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีคือมีกายสมบัติ วจีสมบัติ แลมโนสมบัติบริบูรณ์ จะสร้างสมเอาสมบัติภายนอก คือ ทรัพย์สินเงินทองอย่างไรก็ได้ จะสร้างสมเอาสมบัติภายในคือมรรคผลนิพพานธรรมวิเศษก็ได้ พระพุทธองค์ทรงบัญญัติพระธรรมวินัย ก็ทรงบัญญัติแก่มนุษย์เรานี้เอง มิได้ทรงบัญญัติแก่ ช้าง มา โค กระบือ ฯลฯ ที่ไหนเลย มนุษย์นี้เองจะเป็นผู้ปฏิบัติถึงซึ่งความบริสุทธิ์ได้ ฉะนั้นจึงไม่ควรน้อยเนื้อต่ำใจว่า ตนมีบุญวาสนาน้อย เพราะมนุษย์ทำได้ เมื่อไม่มี ทำให้มีได้ เมื่อมีแล้วทำให้ยิ่งได้สมด้วยเทศนานัยอันมาในเวสสันดรชาดาว่า ทานํ เทติ สีลํ รกฺขติ ภาวนํ ภาเวตฺวา เอกจฺโจ สคฺคํ คจฺฉติ เอกจฺโจ โมกฺขํ คจฺฉติ นิสฺสํสยํ เมื่อได้ทำกองการกุศล คือ ให้ทานรักษาศีลเจริญภาวนาตามคำสอนของพระบรมศาสดาจารย์เจ้าแล้ว บางพวกทำน้อยก็ต้องไปสู่สวรรค์ บางพวกทำมากและขยันจริงพร้อมทั้งวาสนาบารมีแต่หนหลังประกอบกัน ก็สามารถเข้าสู่พระนิพพานโดยไม่ต้องสงสัยเลย พวกสัตว์ดิรัจฉานท่านมิได้กล่าวว่าเลิศ เพราะจะมาทำเหมือนพวกมนุษย์ไม่ได้ จึงสมกับคำว่ามนุษย์นี้ตั้งอยู่ในฐานะอันเลิศด้วยดีสามารถนำตนเข้าสู่มรรคผล เข้าสู่พระนิพพานอันบริสุทธิ์ได้แล
๘. สติปัฏฐาน เป็น ชัยภูมิ คือสนามฝึกฝนตน
พระบรมศาสดาจารย์เจ้า ทรงตั้งชัยภูมิไว้ในธรรมข้อไหน? เมื่อพิจารณาปัญหานี้ได้ความขึ้นว่า พระองค์ทรงตั้งมหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิ
อุปมาในทางโลก การรบทัพชิงชัย มุ่งหมายชัยชนะจำต้องหา ชัยภูมิ ถ้าได้ชัยภูมิที่ดีแล้วย่อมสามารถป้องกันอาวุธของข้าศึกได้ดี ณ ที่นั้นสามารถรวบรวมกำลังใหญ่เข้าฆ่าฟันข้าศึกให้ปราชัยพ่ายแพ้ไปได้ ที่เช่นนั้นท่านจึงเรียกว่า ชัยภูมิ คือที่ที่ประกอบไปด้วยค่ายคูประตูและหอรบอันมั่นคงฉันใด
อุปไมยในทางธรรมก็ฉันนั้น ที่เอามหาสติปัฏฐานเป็นชัยภูมิก็โดยผู้ที่จะเข้าสู่สงครามรบข้าศึก คือ กิเลส ต้องพิจารณากายานุปัสสนาสติปัฏฐานเป็นต้นก่อน เพราะคนเราที่จะเกิด กามราคะ เป็นต้น ขึ้น ก็เกิดที่กายและใจ เพราะตาแลไปเห็นกายทำให้ใจกำเริบ เหตุนั้นจึงได้ความว่า กายเป็นเครื่องก่อเหตุ จึงต้องพิจารณากายนี้ก่อน จะได้เป็นเครื่องดับนิวรณ์ทำให้ใจสงบได้ ณ ที่นี้พึง ทำให้มาก เจริญให้มาก คือพิจารณาไม่ต้องถอยเลยทีเดียว ในเมื่ออุคคหนิมิตปรากฏ จะปรากฏกายส่วนไหนก็ตาม ให้พึงถือเอากายส่วนที่ได้เห็นนั้นพิจารณาให้เป็นหลักไว้ไม่ต้องย้ายไปพิจารณาที่อื่น จะคิดว่าที่นี่เราเห็นแล้ว ที่อื่นยังไม่เห็น ก็ต้องไปพิจารณาที่อื่นซิ เช่นนี้หาควรไม่ ถึงแม้จะพิจารณาจนแยกกายออกมาเป็นส่วนๆ ทุกๆอาการอันเป็นธาตุ ดิน น้ำ ลม ไฟ ได้อย่างละเอียด ที่เรียกว่าปฏิภาคก็ตาม ก็ให้พิจารณากายที่เราเห็นทีแรกด้วยอุคคหนิมิตนั้นจนชำนาญ ที่จะชำนาญได้ก็ต้องพิจารณาซ้ำแล้วซ้ำอีก ณ ที่เดียวนั้นเอง เหมือนสวดมนต์ฉะนั้น อันการสวดมนต์ เมื่อเราท่องสูตรนี้ได้แล้ว ทิ้งเสียไม่เล่าไม่สวดไว้อีก ก็จะลืมเสียไม่สำเร็จประโยชน์อะไรเลย เพราะไม่ทำให้ชำนาญด้วยความประมาทฉันใด การพิจารณากายก็ฉันนั้นเหมือนกัน เมื่อได้อุคคหนิมิตในที่ใดแล้ว ไม่พิจารณาในที่นั้นให้มากปล่อยทิ้งเสียด้วยความประมาทก็ไม่สำเร็จประโยชน์อะไรอย่างเดียวกัน
การพิจารณากายนี้มีที่อ้างมาก ดั่งในการบวชทุกวันนี้ เบื้องต้นต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก็คือ กายนี้เอง ก่อนอื่นหมดเพราะเป็นของสำคัญ ท่านกล่าวไว้ในคัมภีร์พระธรรมบทขุทฺทกนิกายว่า อาจารย์ผู้ไม่ฉลาด ไม่บอกซึ่งการพิจารณากาย อาจทำลายอุปนิสัยแห่งพระอรหันต์ของกุลบุตรได้ เพราะฉะนั้นในทุกวันนี้จึงต้องบอกกรรมฐาน ๕ ก่อน
อีกแห่งหนึ่งท่านกล่าวว่า พระพุทธเจ้าทั้งหลาย พระขีณาสวเจ้าทั้งหลาย ชื่อว่าจะไม่กำหนดกาย ในส่วนแห่ง โกฏฐาส (คือการพิจารณาแยกออกเป็นส่วนๆ) ใดโกฏฐาสหนึ่งมิได้มีเลย จึงตรัสแก่ภิกษุ ๕๐๐ รูปผู้กล่าวถึงแผ่นดินว่า บ้านโน้นมีดินดำดินแดงเป็นต้นนั้นว่า นั่นชื่อว่า พหิทฺธา แผ่นดินภายนอกให้พวกท่านทั้งหลายมาพิจารณา อัชฌัตติกา แผ่นดินภายในกล่าวคืออัตตภาพร่างกายนี้ จงพิจารณาไตร่ตรองให้แยบคาย กระทำให้แจ้งแทงให้ตลอด เมื่อจบการวิสัชชนาปัญหานี้ ภิกษุทั้ง ๕๐๐ รูปก็บรรลุพระอรหันตผล
เหตุนั้นการพิจารณากายจึงเป็นของสำคัญ ผู้ที่จะพ้นทุกทั้งหมดล้วนแต่ต้องพิจารณากายนี้ทั้งสิ้น จะรวบรวมกำลังใหญ่ได้ต้องรวบรวมด้วยการพิจารณากาย แม้พระพุทธองค์เจ้าจะได้ตรัสรู้ทีแรกก็ทรงพิจารณาลม ลมจะไม่ใช่กายอย่างไร? เพราะฉะนั้นมหาสติปัฏฐาน มีกายานุปัสสนาเป็นต้น จึงชื่อว่า "ชัยภูมิ" เมื่อเราได้ชัยภูมิดีแล้ว กล่าวคือปฏิบัติตามหลักมหาสติปัฏฐานจนชำนาญแล้ว ก็จงพิจารณาความเป็นจริงตามสภาพแห่งธาตุทั้งหลายด้วยอุบายแห่งวิปัสสนา ซึ่งจะกล่าวข้างหน้า
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 70
เรื่องย่อ103ปี หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
โดย...ภัทะ คำพิทักษ์
สายๆ วันที่ 19 ม.ค. 2556 สื่อมวลชนรายงานว่า เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนั้น หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร อายุ 103 ปี ละสังขารด้วยโรคปอดติดเชื้อ หลังจากคณะศิษย์นำส่งไปรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลมุกดาหาร
รุ่งขึ้น 20 ม.ค. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานพระราชพิธีน้ำสรงศพ และทรงรับสรีรสังขารหลวงปู่จามไว้ในพระราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน
ผู้ที่สรุปย่อประวัติ 103 ปี เป็นเรื่องย่อได้ดีที่สุดน่าจะเป็นผู้ที่อุปฐากใกล้ชิดท่านมากที่สุด ท่านนั้นคือ พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม
ปลายปี 2552 ครูบาแจ๋วท่านไปเป็นวิทยากรอบรมเยาวชนที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง โอกาสนั้นท่านได้ทำเอกสารสรุปประวัติหลวงปู่จามไปแจกด้วย ต่อมาได้นำมาตีพิมพ์รวมไว้ในหนังสือเรื่อง “พลิ้วไหวชายจีวร” มีความว่า
เอกสาร 1; ปูชนีย์แห่งธรรม
หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
สังเขปประวัติ : หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ นับหนึ่งในอาจาริยาจารย์ที่ถือเคร่งในพระธรรมวินัย มั่นคงในพระปรมัตถ์วิปัสสนากรรมฐาน ดำเนินชีวิตในมรรคธรรมออกเที่ยววิเวกรุกขมูลแสวงหาความสงบนิ่งจนซาบซึ้งถึงรสพระธรรม นับได้ว่าเป็นผู้แตกฉานโดยมิได้พักสงสัย
กำเนิด : เป็นคนตระกูลเผ่าผู้ไท สกุลผิวขำ ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ
บิดาชื่อ กา (ภายหลังอายุ 60 ปี บวชเป็นพระได้ 6 พรรษา จึงได้มรณภาพ)
มารดาชื่อ มะแง้ (ภายหลังบวชชีได้ 36 พรรษา จึงถึงแก่มรณกรรม)
เกิดวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องร่วมอุทรทั้งหมด 9 คน
บรรพชา : ครั้งที่ 1 ตั้งใจบวชติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
เมื่ออายุ 15 ปี ที่วัดสุทัศนาราม เมืองอุบล พระมหารัฐ รฏฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม นำไปบวชก่อนหน้าที่นี้ 8 เดือนได้บวชเป็นตาปะขาว (ตาผ้าขาว) อยู่จำพรรษากับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่เสนาสนะบ้านหนองขอน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ในปีนี้ตกหน้าแล้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ ได้มอบสามเณรให้อยู่ในความดูแลของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ต่อมาไม่นานก็เคลื่อนย้ายหมู่คณะสงฆ์สามเณรไปตั้งกองทัพธรรมอยู่ จ.ขอนแก่น
อายุ 19 ได้ลาสิกขาออกมาเพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกกระไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 29 ปี ที่วัดป่าบ้านโคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พระอาจารย์โชติ กาญฺจโน เป็นบรรพชาจารย์ บวชเพื่อหนีอุปสรรค คือ บวชป้องกันมาตุคามหญิงสาวคนงาม อ.บ้านผือ ที่มารบเร้าขอร่วมชีวิตในขณะระหว่างเดินทางไปเพื่ออุปสมบท
อุปสมบท : เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2482 เวลา 20.32 น. ณ พัทธสีมา วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี พระเทพกวี (จูม พนฺธโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคุณากิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ย้อนไปยุคสมัยที่เป็นเด็กน้อยฝึกหัดปฏิบัติรับใช้พระธุดงคกรรมฐาน อยู่วัดหนองน่อง มาจนสมัยเป็นตาผ้าขาว เป็นสามเณร เป็นพระภิกษุ หลวงปู่จามได้ศึกษาสังเกต เรียนรู้รับใช้ปรนนิบัติและศึกษาธรรมจาก
พระปรมาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
พระบูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
พระเถระชั้นครู อาทิ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม
พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร
พระอาจารย์ขาว อนาลโย
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
พระอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
พระอาจารย์น้อย สุภโร
พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม
พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
พระอาจารย์ชา สุภทฺโท
ตลอดจนศึกษากับพระสุปฏิปันโนสายเมืองเหนืออีกหลายรูปหลายองค์ อาทิ ครูบาไชยา, ครูบาคำแสน คุณาลงฺกาโร, ครูบาพรหมจักร, ครูบาอินทิจักร, ครูบาธรรมจักร, ครูบาทิ, ครูบาขาวปี เป็นต้น ทำให้หลวงปู่จามได้ซึมซับข้ออรรถ อุบายธรรม นิสัยโกศล มาโดยลำดับอย่างลึกซึ้ง
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม : เดิมอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน เป็นที่อยู่จำพรรษาของหมู่ใหญ่ของพระธุดงคกรรมฐาน ชื่อวัดหนองน่อง ก่อนปี 2464 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา
ปี 2468 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา
ปี 2471 พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา
ปี 2478 พระอาจารย์บัญชี ได้ย้ายมาอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านห้วยทราย แล้วอยู่จำพรรษาพร้อมหมู่พระเณรกรรมฐาน
ปี 2495 พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พร้อมด้วยหมู่คณะมาจำพรรษา จนลุขึ้นปี 2498 และได้ตั้งชื่อใหม่ จากวัดหนองน่อง เป็นวัดป่าวิเวกวัฒนาราม
ปี 2499 พระอาจารย์สม โกกนุทฺโท พร้อมหมู่เณรจำพรรษา
ปี 2500 อาจาย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร อยู่จำพรรษา
ปี 2512 หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ มาอยู่ประจำพรรษา จนปัจจุบัน พ.ศ. 2552
การพัฒนาวัด : หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ มีแนวคิดเน้นในธรรมชาติสิ่งต่อเติม ก่อสร้างกุฏิ ศาลาธรรมและพระเจดีย์ให้กลมกลืน เงียบสงบ ท้าทาย ร่มรื่น และอบอุ่น
ชีวิตผลงานที่ทรงคุณค่า คุณความดีที่เป็นประวัติศาสตร์นับเป็นปฏิปทาที่เจริญตามแบบแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหมด ล้วนเป็นสิ่งที่น่ายกย่องเชิดชูควรยึดไว้ ควรระลึก ควรแก่การนำไปประพฤติปฏิบัติตามยิ่งนัก ...
แน่นอนว่า ระหว่างบรรทัดนั้นมีส่วนขยายออกไปได้อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นที่บอกว่า “ในปีนี้ตกหน้าแล้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ ได้มอบสามเณรให้อยู่ในความดูแลของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล” นั้นสามารถขยายออกไปได้ว่า ในเวลานั้นสามเณรที่อยู่กับพระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์ปิ่นนั้นมีหลายคน ผู้ที่มีอายุมากสุดคือ เณรสิม หรือเป็นที่รู้จักกันในนามหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ในกาลต่อมา ส่วนผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดคือ สามเณรจาม หรือหลวงปู่จามนั่นเอง
แม้จะเป็นแค่สามเณรแต่วันหนึ่งในช่วงนั้นเองที่เณรจามออกไปบ่มบาตรกับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์ลี ธัมธโร และท่านอาจารย์มหาปิ่น
ระหว่างพักที่ป่าช้าบ้านดอนส้มโฮ้ง จ.ยโสธร นั่นเองก็มีผู้มาเผาศพ 2 ศพ สามเณรจามเอาไม้เขี่ยฟืนที่ไหม้ไม่หมดเข้ากองไฟแล้วสุมไฟใส่อีก ท่านว่า ขณะพิจารณาอสุภกรรมฐานว่า ดินกลายเป็นดิน ก็ดูใจตัวเองไปในที่สุดนับแต่นั้นก็ไม่เคยกลัวผีอีกเลย
ไม่กลัวเพราะรู้แล้วว่า ความกลัวเกิดจากการปรุงแต่ง เมื่อใจขาดธรรมเพราะไม่มีสติปัญญาเพียงพอ ใจจึงเป็นแต่ใจของสังขาร เมื่อมีธรรมย่อมเอาชนะกิเลสได้ เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วจึงไม่กลัวอีกต่อไป
นอกจากนี้ การได้อยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์ในช่วงนั้นก็ยังทำให้ท่านได้รู้ที่มาและที่ไปของตัวเอง
เหตุเกิดจากวันหนึ่งพระอาจารย์สิงห์บอกให้เณรสิมและเณรจามตั้งใจภาวนากำหนดจิตที่กุฏิใครกุฏิมันเพราะท่านจะตรวจพิจารณาดู พอถึงเวลา 05.00 น. ให้เณรทั้งสองพากันไปพบท่าน
เณรทั้งสองภาวนาจนเข้าสู่เวลา 03.00 น. เศษ จึงออกจากที่ พอ 04.00 น. เณรจามก็ไปหาเณรสิมแล้วพากันจงกรมอยู่รอบกุฏิพระอาจารย์สิงห์ รอกระทั่งท่านเรียกแล้วจึงขึ้นไปอภิวาทท่าน
แล้วพระอาจารย์สิงห์ก็กล่าวขึ้นว่า “เณรสิม เจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า บุญเก่าของเจ้าก็มากพออยู่ มากจนเป็นกุศลธรรมเป็นแรงกุศลส่งจิตใจของเจ้าได้ในชาติชีวิตนี้ ให้เจ้าตั้งใจของเจ้าให้ดีเด้อ”
จากนั้นได้กล่าวกับสามเณรจามว่า “สามเณรจามขี้โรค ข้อยตรวจตราดูแล้วยืดยาว เกิดมาตายมามากเหลือเกิน เจ้าเคยเป็นพ่อค้าควาย มีหมู่ควายหลายล้านเต็มไปหมด อุปนิสัยของเจ้าของผู้เอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ ต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาว สุดแท้แต่บุญพาวาสนาส่ง แต่ข้อยเห็นว่า พวกเจ้าจุดเทียนเล่มใหญ่คนละเล่มอยู่กันคนละทางห่างไกลกัน ให้พวกเจ้าเฝ้าเบิ่งเน้อ...ต่อไปภายหน้าพวกเจ้าจะไปอยู่ที่ใดก็ตาม ขอให้มีพระธรรม ขอให้มีพระวินัยเป็นหลักของจิตใจไว้ เพราะทางแห่งความสุขมีอยู่ทางเดียวเท่านี้”
ความเป็นไปของชีวิตหลวงปู่จามเป็นไปตามที่พระอาจารย์สิงห์ระบุอย่างแม่นยำ
ท่านกลายเป็น “เณรจามขี้โรค” ขนาดต้องสึกหาลาเพศไปรักษาตัวอยู่ถึง 3 ปี ถึงกลับมาบวชใหม่ แต่ความอื่นนั้นสำคัญนัก โดยเฉพาะที่ว่า “อุปนิสัยของเจ้าของผู้เอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ ต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาว”
ความนี้หากเป็นคนทั่วไปที่ไม่ใคร่รู้เรื่องศาสนานักอาจไม่เข้าใจว่า การเป็นเอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ และต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาวนั้นหมายความว่ากระไร
ครูบาแจ๋วท่านระบุให้ชัดๆ ว่า “ภายหลังหลวงปู่จามจึงเข้าใจว่า ตัวท่านเองบำเพ็ญเป็น “นิตยโพธิสัตว์” ได้รับพุทธยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเพื่อโปรดสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง”
วิกิพีเดียให้ความหมายแบบเข้าใจง่ายๆ ของคำว่า พระโพธิสัตว์ ว่าหมายถึง บุคคลที่บำเพ็ญบารมีหรือกระทำความดีต่างๆ เพื่อให้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล
แล้ว นิตยโพธิสัตว์ มีความหมายอย่างไร?
พระพุทธโฆสะ ได้แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.อนิตยโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อน
เมื่อยังไม่ได้รับพยากรณ์ก็ยังไม่แน่นอนว่า กาลต่อไปจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอนิตยโพธิสัตว์ท่านอาจจะเลิกล้มความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไรก็ได้
2.นิตยโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว
นั่นหมายความว่า ที่หมายของผู้สั่งสมบารมีเพื่อเป็นนิตยโพธิสัตว์นั้นมีอยู่แห่งเดียวคือ เป็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ ถึงจะปฏิบัติอย่างไรก็ยังไม่ได้ตรัสรู้ แต่ในมุมกลับถึงจะปฏิบัติอย่างยิ่งยวดแล้วไม่ประสบผล เลยทุกข์ท้อแต่ถึงจะทุกข์เพียงไรก็มิอาจเลิกความตั้งใจมั่นที่จะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้
“ในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์”(วิกิพีเดีย)
ไม่แจ้งว่า ตอนที่พระอาจารย์สิงห์บอกแผนที่ชีวิตนั้นเณรจามเข้าใจมากน้อยเพียงใด แต่ท่านมารู้เอาแจ่มแจ้งด้วยตัวเองราวช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ขณะนั้นท่านออกธุดงค์ไปอยู่แถบ จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 6 ปี อยู่กับหลวงปู่สิม ที่วัดโรงธรรม อ.สันกำแพง 2 พรรษา แล้วหลบระเบิดออกไปภาวนาแถบ อ.จอมทอง อยู่พักหนึ่ง
ท่านเล่าว่า เวลานั้นภาวนาคราใดก็มักจะนิมิตเห็นพระพุทธรูปจำนวนมาก และได้รู้เห็นชาติภพการเวียนว่ายตายเกิดของตัวเองจนนับไม่ถ้วน แต่ถึงจะภาวนาจนได้ความสงบขั้นอัปปนาสมาธิหลายครั้งแต่มันก็เสื่อมลงอย่างไม่น่าเชื่อ พอเสื่อมลงท่านก็พลิกหากลวิธีทรมานจิตจนคาดว่า หากเริ่มภาวนาใหม่มันน่าจะสงบ แต่กลับปรากฏว่าจิตมันร้อนรนราวกับกิเลสไม่ได้เบาบางลงเลย
พอถึงที่สุดแล้วท่านได้น้อมเอาประสบการณ์ความยากลำบากของหลวงปู่มั่นมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจ จนเกิดพลังตั้งใจมั่นถือสัตย์จะอธิษฐานว่า“จิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่ว่า จะเกิดหรือไม่เกิดอะไรก็ไม่ว่า เราไม่หวังอะไรอีกแล้ว ต่อไปนี้จะเอาเฉพาะพุทโธ ให้แนบแน่นกับลมหายใจที่ตรงหัวใจของเรา จะไม่ยอมให้หนีไปไหน”
จากนั้นความสงบจึงกลับคืนมา จนสามารถรวมลงเป็นสมาธิได้ใหม่ แต่นิมิตเดิมก็กลับมาอีก
ในนิมิตนั้นท่านเห็นภาพเจดีย์ปรักหักพัง เห็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ต้นโพธิ์ ต้นจิก เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของตัวเอง เห็นที่มาที่ไปของสัตวโลกที่เวียนว่ายในภูมิต่างๆ เมื่อพิจารณาถึงความรู้แจ้งที่ปรากฏชัดระหว่างทำความเพียรเพื่อละอาสาวะก็พบว่า การจะบรรลุพระอรหันต์ในชาตินี้คงเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว แต่นั่นก็ทำให้ระลึกได้ว่า ในอดีตชาติ ท่านเคยตั้งใจมั่นว่าจะดำเนินไปตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ สำเร็จมรรคผลเป็นพระพุทธเจ้า
ตามประวัติระบุว่า เมื่อออกจากสมาธิ กราบพระพุทธรูปเบื้องหน้าแล้วตั้งจิตอธิษ…ฐานว่า“ถ้าได้เคยปรารถนาพระโพธิญาณที่บำเพ็ญมาเพื่อการเป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้าแล้วก็ขอให้จิตสงบเยือกเย็น ขอให้ภาพนิมิตเหล่านั้นหายไปและให้เกิดความรู้แจ้งเห็นชัดเป็นที่ประจักษ์เถิด”
คืนต่อมาเมื่อเข้าที่ภาวนาปรากฏว่า จิตสงบรวดเร็ว รวมลงเป็นอัปปมาสมาธิ เกิดญาณทัศนะต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน และเกิดความแจ่มแจ้งขึ้นว่า ในอดีตชาตินั้นท่านได้เคยตั้งอธิษฐานตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้ามาแล้วในอดีตชาติ
หลังกลับจากภาคเหนือมาอีสาน จึงได้พบพานกับพระอาจารย์มั่นอีกครั้ง พระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาทธรรมแก่ท่านว่า
“ให้ตั้งใจเจริญพระพุทธคุณตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ เจริญพุทธานุสติด้วยการประพฤติ เพื่อความหนักแน่นในธรรมผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจเท่านั้นที่เป็นผู้ทรงพระธรรมวินัยอยู่ได้
อัตต ทันตัง ฝึกตนด้วยดี หนาแน่นด้วยพุทธคุณทั้งหลาย
สมาหิตัง มีใจมั่นคง หนักแน่นสมเป็นบรมครู
เทวปินัง นมสะสามิ เทพเทวาทั้งหลายก็นอบน้อม
พรหมมุนาปิ ปสังสิโต แม้พรหมก็สรรเสริญ ชาวโลกก็นิรมล
อรหันตสัมมาสัมพุทโธ แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นเอง ทรงตกแต่งมาด้วยตนเอง รักษาด้วยตนเอง เป็นผู้ประมาณมาด้วยธรรมโดยตลอด
จิตของท่านผู้เข้าสู่นิพพานได้นั้น ท่านก็กำหนดรู้จิตใจของท่านเช่นกัน แต่ให้รู้เฉพาะการบุญ การบาป การทุกข์ การโทษ สารธรรมและอสารธรรม
รู้ด้วยการวางในการทาน การศีล การสมาธิ การปัญญา การวิมุตติ
รู้ด้วยการวางใจในสัตว์ ในบุคคล ในตัวตน ในเรา ในเขา ในเทพเทวา ในหมู่พรหม ในหมู่นรก เปรตผี กำหนดรู้จนได้หมายเป็นว่ารู้ แต่ไม่ถือรู้ ไม่ถือจิต ไม่ถือใจ วางใจคืนแก่อนัตตาธรรม วางคืนแก่โลก เพิกตนออก แต่เป็นธรรม วางใจได้ดุจแผ่นดิน เหมือนแผ่นดิน วางต่อการรองรับสรรพสิ่ง แม้ภพมิวิภพ ก็วางคืนแก่ภพและวิภพ เป็นเช่นนั้นจึงเป็นผู้เข้าสู่นิพพานได้”
เทศน์เสร็จท่านยังถามและกำชับด้วยว่า “ท่านจามเข้าใจไหม จำไว้ให้ดีเน้อ”
พระจามรับคำว่า“ครับ”จากนั้นหลวงปู่จามก็ดำเนินมาตามวิถีเช่นว่า จนล่วงมาจนอายุกาลถึง 103 ปี ความเป็นอยู่ในชาตินี้จึงร่วงไป
3 ปีก่อนตอนทำบุญฉลองอายุ 100 ปี ท่านพูดไว้ว่า ตายก็ไม่คิด ชีวิตผ่านมาหมดแล้ว มาถึงวันใดก็พร้อมไปหากเป็นข้าวเปลือกอยู่ตกหล่นในภพไหนก็งอกหาทุกข์ หากเป็นข้าวสารแล้วเช่นนี้มันหมดความตื่นเต้นใดๆ ในโลก
นี่คือเรื่องราวโดยย่อ 103 ปีของหลวงปู่จามในชาตินี้
โดย...ภัทะ คำพิทักษ์
สายๆ วันที่ 19 ม.ค. 2556 สื่อมวลชนรายงานว่า เวลา 09.00 น. วันเดียวกันนั้น หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ เจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร อายุ 103 ปี ละสังขารด้วยโรคปอดติดเชื้อ หลังจากคณะศิษย์นำส่งไปรักษาอาการป่วยที่โรงพยาบาลมุกดาหาร
รุ่งขึ้น 20 ม.ค. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดมุกดาหาร เป็นประธานพระราชพิธีน้ำสรงศพ และทรงรับสรีรสังขารหลวงปู่จามไว้ในพระราชานุเคราะห์เป็นเวลา 7 วัน
ผู้ที่สรุปย่อประวัติ 103 ปี เป็นเรื่องย่อได้ดีที่สุดน่าจะเป็นผู้ที่อุปฐากใกล้ชิดท่านมากที่สุด ท่านนั้นคือ พระธัมมธโร หรือ ครูบาแจ๋ว รักษาการเจ้าอาวาสวัดป่าวิเวกวัฒนาราม
ปลายปี 2552 ครูบาแจ๋วท่านไปเป็นวิทยากรอบรมเยาวชนที่โรงเรียนแห่งหนึ่ง โอกาสนั้นท่านได้ทำเอกสารสรุปประวัติหลวงปู่จามไปแจกด้วย ต่อมาได้นำมาตีพิมพ์รวมไว้ในหนังสือเรื่อง “พลิ้วไหวชายจีวร” มีความว่า
เอกสาร 1; ปูชนีย์แห่งธรรม
หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ
สังเขปประวัติ : หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ นับหนึ่งในอาจาริยาจารย์ที่ถือเคร่งในพระธรรมวินัย มั่นคงในพระปรมัตถ์วิปัสสนากรรมฐาน ดำเนินชีวิตในมรรคธรรมออกเที่ยววิเวกรุกขมูลแสวงหาความสงบนิ่งจนซาบซึ้งถึงรสพระธรรม นับได้ว่าเป็นผู้แตกฉานโดยมิได้พักสงสัย
กำเนิด : เป็นคนตระกูลเผ่าผู้ไท สกุลผิวขำ ตั้งอยู่ในสัมมาทิฐิ
บิดาชื่อ กา (ภายหลังอายุ 60 ปี บวชเป็นพระได้ 6 พรรษา จึงได้มรณภาพ)
มารดาชื่อ มะแง้ (ภายหลังบวชชีได้ 36 พรรษา จึงถึงแก่มรณกรรม)
เกิดวันพฤหัสบดีที่ 19 พ.ค. 2453 ขึ้น 10 ค่ำ เดือน 6 ปีจอ เป็นบุตรคนที่ 3 ในบรรดาพี่น้องร่วมอุทรทั้งหมด 9 คน
บรรพชา : ครั้งที่ 1 ตั้งใจบวชติดตามหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
เมื่ออายุ 15 ปี ที่วัดสุทัศนาราม เมืองอุบล พระมหารัฐ รฏฐปาโล เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม นำไปบวชก่อนหน้าที่นี้ 8 เดือนได้บวชเป็นตาปะขาว (ตาผ้าขาว) อยู่จำพรรษากับหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ที่เสนาสนะบ้านหนองขอน อ.หัวตะพาน จ.อำนาจเจริญ ในปีนี้ตกหน้าแล้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ ได้มอบสามเณรให้อยู่ในความดูแลของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล ต่อมาไม่นานก็เคลื่อนย้ายหมู่คณะสงฆ์สามเณรไปตั้งกองทัพธรรมอยู่ จ.ขอนแก่น
อายุ 19 ได้ลาสิกขาออกมาเพื่อรักษาโรคเหน็บชา อันเนื่องมาแต่ตกกระไดกุฏิ และการประกอบความเพียรมากเกินไป เช่น นั่งภาวนาในน้ำ ถือไม่นอน และฉันน้อย เป็นต้น
ครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 29 ปี ที่วัดป่าบ้านโคกคอน อ.ท่าบ่อ จ.หนองคาย พระอาจารย์โชติ กาญฺจโน เป็นบรรพชาจารย์ บวชเพื่อหนีอุปสรรค คือ บวชป้องกันมาตุคามหญิงสาวคนงาม อ.บ้านผือ ที่มารบเร้าขอร่วมชีวิตในขณะระหว่างเดินทางไปเพื่ออุปสมบท
อุปสมบท : เมื่อวันที่ 29 เม.ย. 2482 เวลา 20.32 น. ณ พัทธสีมา วัดโพธิสมภรณ์ อ.เมือง จ.อุดรธานี พระเทพกวี (จูม พนฺธโล) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูศาสนูปกรณ์ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระครูประสาทคุณากิจ เป็นพระอนุสาวนาจารย์
ย้อนไปยุคสมัยที่เป็นเด็กน้อยฝึกหัดปฏิบัติรับใช้พระธุดงคกรรมฐาน อยู่วัดหนองน่อง มาจนสมัยเป็นตาผ้าขาว เป็นสามเณร เป็นพระภิกษุ หลวงปู่จามได้ศึกษาสังเกต เรียนรู้รับใช้ปรนนิบัติและศึกษาธรรมจาก
พระปรมาจารย์ หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล
พระบูรพาจารย์ หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต
พระเถระชั้นครู อาทิ
พระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม
พระอาจารย์อ่อน ญาณสิริ
พระอาจารย์ชอบ ฐานสโม
พระอาจารย์หลุย จนฺทสาโร
พระอาจารย์ขาว อนาลโย
พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร
พระอาจารย์แหวน สุจิณฺโณ
พระอาจารย์กงมา จิรปุญฺโญ
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
พระอาจารย์น้อย สุภโร
พระอาจารย์ตื้อ อจลธมฺโม
พระอาจารย์สิม พุทฺธาจาโร
พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน
พระอาจารย์ชา สุภทฺโท
ตลอดจนศึกษากับพระสุปฏิปันโนสายเมืองเหนืออีกหลายรูปหลายองค์ อาทิ ครูบาไชยา, ครูบาคำแสน คุณาลงฺกาโร, ครูบาพรหมจักร, ครูบาอินทิจักร, ครูบาธรรมจักร, ครูบาทิ, ครูบาขาวปี เป็นต้น ทำให้หลวงปู่จามได้ซึมซับข้ออรรถ อุบายธรรม นิสัยโกศล มาโดยลำดับอย่างลึกซึ้ง
วัดป่าวิเวกวัฒนาราม : เดิมอยู่ทางทิศใต้ของหมู่บ้าน เป็นที่อยู่จำพรรษาของหมู่ใหญ่ของพระธุดงคกรรมฐาน ชื่อวัดหนองน่อง ก่อนปี 2464 หลวงปู่เสาร์ กนฺตสีโล พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา
ปี 2468 หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา
ปี 2471 พระอาจารย์ฝั้น อาจาโร พร้อมหมู่สงฆ์อยู่จำพรรษา
ปี 2478 พระอาจารย์บัญชี ได้ย้ายมาอยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านห้วยทราย แล้วอยู่จำพรรษาพร้อมหมู่พระเณรกรรมฐาน
ปี 2495 พระอาจารย์มหาบัว ญาณสมฺปนฺโน พร้อมด้วยหมู่คณะมาจำพรรษา จนลุขึ้นปี 2498 และได้ตั้งชื่อใหม่ จากวัดหนองน่อง เป็นวัดป่าวิเวกวัฒนาราม
ปี 2499 พระอาจารย์สม โกกนุทฺโท พร้อมหมู่เณรจำพรรษา
ปี 2500 อาจาย์สิงห์ทอง ธมฺมวโร อยู่จำพรรษา
ปี 2512 หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ มาอยู่ประจำพรรษา จนปัจจุบัน พ.ศ. 2552
การพัฒนาวัด : หลวงปู่จาม มหาปุญฺโญ มีแนวคิดเน้นในธรรมชาติสิ่งต่อเติม ก่อสร้างกุฏิ ศาลาธรรมและพระเจดีย์ให้กลมกลืน เงียบสงบ ท้าทาย ร่มรื่น และอบอุ่น
ชีวิตผลงานที่ทรงคุณค่า คุณความดีที่เป็นประวัติศาสตร์นับเป็นปฏิปทาที่เจริญตามแบบแห่งพระพุทธเจ้าทั้งหมด ล้วนเป็นสิ่งที่น่ายกย่องเชิดชูควรยึดไว้ ควรระลึก ควรแก่การนำไปประพฤติปฏิบัติตามยิ่งนัก ...
แน่นอนว่า ระหว่างบรรทัดนั้นมีส่วนขยายออกไปได้อีกมากมาย ยกตัวอย่างเช่นที่บอกว่า “ในปีนี้ตกหน้าแล้งหลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต ได้เดินธุดงค์เข้ากรุงเทพฯ ได้มอบสามเณรให้อยู่ในความดูแลของพระอาจารย์สิงห์ ขนฺตยาคโม และพระอาจารย์มหาปิ่น ปญฺญาพโล” นั้นสามารถขยายออกไปได้ว่า ในเวลานั้นสามเณรที่อยู่กับพระอาจารย์สิงห์และพระอาจารย์ปิ่นนั้นมีหลายคน ผู้ที่มีอายุมากสุดคือ เณรสิม หรือเป็นที่รู้จักกันในนามหลวงปู่สิม พุทธาจาโร ในกาลต่อมา ส่วนผู้ที่มีอายุน้อยที่สุดคือ สามเณรจาม หรือหลวงปู่จามนั่นเอง
แม้จะเป็นแค่สามเณรแต่วันหนึ่งในช่วงนั้นเองที่เณรจามออกไปบ่มบาตรกับ หลวงปู่อ่อน ญาณสิริ พระอาจารย์กงมา จิรปุญโญ พระอาจารย์ลี ธัมธโร และท่านอาจารย์มหาปิ่น
ระหว่างพักที่ป่าช้าบ้านดอนส้มโฮ้ง จ.ยโสธร นั่นเองก็มีผู้มาเผาศพ 2 ศพ สามเณรจามเอาไม้เขี่ยฟืนที่ไหม้ไม่หมดเข้ากองไฟแล้วสุมไฟใส่อีก ท่านว่า ขณะพิจารณาอสุภกรรมฐานว่า ดินกลายเป็นดิน ก็ดูใจตัวเองไปในที่สุดนับแต่นั้นก็ไม่เคยกลัวผีอีกเลย
ไม่กลัวเพราะรู้แล้วว่า ความกลัวเกิดจากการปรุงแต่ง เมื่อใจขาดธรรมเพราะไม่มีสติปัญญาเพียงพอ ใจจึงเป็นแต่ใจของสังขาร เมื่อมีธรรมย่อมเอาชนะกิเลสได้ เข้าใจแจ่มแจ้งแล้วจึงไม่กลัวอีกต่อไป
นอกจากนี้ การได้อยู่กับพ่อแม่ครูอาจารย์ในช่วงนั้นก็ยังทำให้ท่านได้รู้ที่มาและที่ไปของตัวเอง
เหตุเกิดจากวันหนึ่งพระอาจารย์สิงห์บอกให้เณรสิมและเณรจามตั้งใจภาวนากำหนดจิตที่กุฏิใครกุฏิมันเพราะท่านจะตรวจพิจารณาดู พอถึงเวลา 05.00 น. ให้เณรทั้งสองพากันไปพบท่าน
เณรทั้งสองภาวนาจนเข้าสู่เวลา 03.00 น. เศษ จึงออกจากที่ พอ 04.00 น. เณรจามก็ไปหาเณรสิมแล้วพากันจงกรมอยู่รอบกุฏิพระอาจารย์สิงห์ รอกระทั่งท่านเรียกแล้วจึงขึ้นไปอภิวาทท่าน
แล้วพระอาจารย์สิงห์ก็กล่าวขึ้นว่า “เณรสิม เจ้าเป็นผู้ปฏิบัติตามแบบอย่างของพระพุทธเจ้า บุญเก่าของเจ้าก็มากพออยู่ มากจนเป็นกุศลธรรมเป็นแรงกุศลส่งจิตใจของเจ้าได้ในชาติชีวิตนี้ ให้เจ้าตั้งใจของเจ้าให้ดีเด้อ”
จากนั้นได้กล่าวกับสามเณรจามว่า “สามเณรจามขี้โรค ข้อยตรวจตราดูแล้วยืดยาว เกิดมาตายมามากเหลือเกิน เจ้าเคยเป็นพ่อค้าควาย มีหมู่ควายหลายล้านเต็มไปหมด อุปนิสัยของเจ้าของผู้เอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ ต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาว สุดแท้แต่บุญพาวาสนาส่ง แต่ข้อยเห็นว่า พวกเจ้าจุดเทียนเล่มใหญ่คนละเล่มอยู่กันคนละทางห่างไกลกัน ให้พวกเจ้าเฝ้าเบิ่งเน้อ...ต่อไปภายหน้าพวกเจ้าจะไปอยู่ที่ใดก็ตาม ขอให้มีพระธรรม ขอให้มีพระวินัยเป็นหลักของจิตใจไว้ เพราะทางแห่งความสุขมีอยู่ทางเดียวเท่านี้”
ความเป็นไปของชีวิตหลวงปู่จามเป็นไปตามที่พระอาจารย์สิงห์ระบุอย่างแม่นยำ
ท่านกลายเป็น “เณรจามขี้โรค” ขนาดต้องสึกหาลาเพศไปรักษาตัวอยู่ถึง 3 ปี ถึงกลับมาบวชใหม่ แต่ความอื่นนั้นสำคัญนัก โดยเฉพาะที่ว่า “อุปนิสัยของเจ้าของผู้เอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ ต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาว”
ความนี้หากเป็นคนทั่วไปที่ไม่ใคร่รู้เรื่องศาสนานักอาจไม่เข้าใจว่า การเป็นเอาแบบอย่างขององค์พระพุทธเจ้า ทั้งเอาแบบและเป็นผู้เดินตามแบบ และต่อไปข้างหน้าของเจ้าอีกก็ยืดยาวนั้นหมายความว่ากระไร
ครูบาแจ๋วท่านระบุให้ชัดๆ ว่า “ภายหลังหลวงปู่จามจึงเข้าใจว่า ตัวท่านเองบำเพ็ญเป็น “นิตยโพธิสัตว์” ได้รับพุทธยากรณ์ว่าจะได้เป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตเพื่อโปรดสัตว์ให้พ้นจากทุกข์ทั้งปวง”
วิกิพีเดียให้ความหมายแบบเข้าใจง่ายๆ ของคำว่า พระโพธิสัตว์ ว่าหมายถึง บุคคลที่บำเพ็ญบารมีหรือกระทำความดีต่างๆ เพื่อให้ตรัสรู้พระสัมมาสัมโพธิญาณเป็นพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล
แล้ว นิตยโพธิสัตว์ มีความหมายอย่างไร?
พระพุทธโฆสะ ได้แบ่งพระโพธิสัตว์ออกเป็น 2 ประเภท คือ
1.อนิตยโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ยังไม่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อน
เมื่อยังไม่ได้รับพยากรณ์ก็ยังไม่แน่นอนว่า กาลต่อไปจะได้เป็นพระพุทธเจ้า เพราะอนิตยโพธิสัตว์ท่านอาจจะเลิกล้มความปรารถนาที่จะเป็นพระพุทธเจ้าเมื่อไรก็ได้
2.นิตยโพธิสัตว์ คือ พระโพธิสัตว์ที่ได้รับพยากรณ์จากพระพุทธเจ้าองค์ก่อนมาแล้ว
นั่นหมายความว่า ที่หมายของผู้สั่งสมบารมีเพื่อเป็นนิตยโพธิสัตว์นั้นมีอยู่แห่งเดียวคือ เป็นพระพุทธเจ้า แต่ถ้าบารมีและเวลายังไม่สมบูรณ์ ถึงจะปฏิบัติอย่างไรก็ยังไม่ได้ตรัสรู้ แต่ในมุมกลับถึงจะปฏิบัติอย่างยิ่งยวดแล้วไม่ประสบผล เลยทุกข์ท้อแต่ถึงจะทุกข์เพียงไรก็มิอาจเลิกความตั้งใจมั่นที่จะเป็นพระพุทธเจ้าไม่ได้
“ในที่สุดมหากุศลที่เป็นอนุสัย ก็จะพุ่งกระจายขึ้นมาให้ตั้งมั่นและบำเพ็ญบารมีกันต่อ จนกว่าบารมีและเวลาสมบูรณ์”(วิกิพีเดีย)
ไม่แจ้งว่า ตอนที่พระอาจารย์สิงห์บอกแผนที่ชีวิตนั้นเณรจามเข้าใจมากน้อยเพียงใด แต่ท่านมารู้เอาแจ่มแจ้งด้วยตัวเองราวช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2
ขณะนั้นท่านออกธุดงค์ไปอยู่แถบ จ.เชียงใหม่ เป็นเวลา 6 ปี อยู่กับหลวงปู่สิม ที่วัดโรงธรรม อ.สันกำแพง 2 พรรษา แล้วหลบระเบิดออกไปภาวนาแถบ อ.จอมทอง อยู่พักหนึ่ง
ท่านเล่าว่า เวลานั้นภาวนาคราใดก็มักจะนิมิตเห็นพระพุทธรูปจำนวนมาก และได้รู้เห็นชาติภพการเวียนว่ายตายเกิดของตัวเองจนนับไม่ถ้วน แต่ถึงจะภาวนาจนได้ความสงบขั้นอัปปนาสมาธิหลายครั้งแต่มันก็เสื่อมลงอย่างไม่น่าเชื่อ พอเสื่อมลงท่านก็พลิกหากลวิธีทรมานจิตจนคาดว่า หากเริ่มภาวนาใหม่มันน่าจะสงบ แต่กลับปรากฏว่าจิตมันร้อนรนราวกับกิเลสไม่ได้เบาบางลงเลย
พอถึงที่สุดแล้วท่านได้น้อมเอาประสบการณ์ความยากลำบากของหลวงปู่มั่นมาเป็นอุทาหรณ์สอนใจ จนเกิดพลังตั้งใจมั่นถือสัตย์จะอธิษฐานว่า“จิตจะสงบหรือไม่สงบก็ไม่ว่า จะเกิดหรือไม่เกิดอะไรก็ไม่ว่า เราไม่หวังอะไรอีกแล้ว ต่อไปนี้จะเอาเฉพาะพุทโธ ให้แนบแน่นกับลมหายใจที่ตรงหัวใจของเรา จะไม่ยอมให้หนีไปไหน”
จากนั้นความสงบจึงกลับคืนมา จนสามารถรวมลงเป็นสมาธิได้ใหม่ แต่นิมิตเดิมก็กลับมาอีก
ในนิมิตนั้นท่านเห็นภาพเจดีย์ปรักหักพัง เห็นพระพุทธรูปเก่าแก่ ต้นโพธิ์ ต้นจิก เห็นการเวียนว่ายตายเกิดของตัวเอง เห็นที่มาที่ไปของสัตวโลกที่เวียนว่ายในภูมิต่างๆ เมื่อพิจารณาถึงความรู้แจ้งที่ปรากฏชัดระหว่างทำความเพียรเพื่อละอาสาวะก็พบว่า การจะบรรลุพระอรหันต์ในชาตินี้คงเป็นไปไม่ได้เสียแล้ว แต่นั่นก็ทำให้ระลึกได้ว่า ในอดีตชาติ ท่านเคยตั้งใจมั่นว่าจะดำเนินไปตามวิถีแห่งพระโพธิสัตว์ ปฏิบัติธรรมเพื่อบรรลุพระโพธิญาณ สำเร็จมรรคผลเป็นพระพุทธเจ้า
ตามประวัติระบุว่า เมื่อออกจากสมาธิ กราบพระพุทธรูปเบื้องหน้าแล้วตั้งจิตอธิษ…ฐานว่า“ถ้าได้เคยปรารถนาพระโพธิญาณที่บำเพ็ญมาเพื่อการเป็นพระพุทธเจ้าในภายภาคหน้าแล้วก็ขอให้จิตสงบเยือกเย็น ขอให้ภาพนิมิตเหล่านั้นหายไปและให้เกิดความรู้แจ้งเห็นชัดเป็นที่ประจักษ์เถิด”
คืนต่อมาเมื่อเข้าที่ภาวนาปรากฏว่า จิตสงบรวดเร็ว รวมลงเป็นอัปปมาสมาธิ เกิดญาณทัศนะต่างๆ อย่างที่ไม่เคยเกิดมาก่อน และเกิดความแจ่มแจ้งขึ้นว่า ในอดีตชาตินั้นท่านได้เคยตั้งอธิษฐานตั้งความปรารถนาเป็นพระพุทธเจ้ามาแล้วในอดีตชาติ
หลังกลับจากภาคเหนือมาอีสาน จึงได้พบพานกับพระอาจารย์มั่นอีกครั้ง พระอาจารย์มั่นได้ให้โอวาทธรรมแก่ท่านว่า
“ให้ตั้งใจเจริญพระพุทธคุณตามรอยบาทของพระพุทธเจ้า ถือด้วยใจ ปฏิบัติด้วยใจ เจริญพุทธานุสติด้วยการประพฤติ เพื่อความหนักแน่นในธรรมผู้ถึงพระพุทธเจ้าด้วยหัวใจเท่านั้นที่เป็นผู้ทรงพระธรรมวินัยอยู่ได้
อัตต ทันตัง ฝึกตนด้วยดี หนาแน่นด้วยพุทธคุณทั้งหลาย
สมาหิตัง มีใจมั่นคง หนักแน่นสมเป็นบรมครู
เทวปินัง นมสะสามิ เทพเทวาทั้งหลายก็นอบน้อม
พรหมมุนาปิ ปสังสิโต แม้พรหมก็สรรเสริญ ชาวโลกก็นิรมล
อรหันตสัมมาสัมพุทโธ แม้พระพุทธเจ้าก็ทรงเป็นเอง ทรงตกแต่งมาด้วยตนเอง รักษาด้วยตนเอง เป็นผู้ประมาณมาด้วยธรรมโดยตลอด
จิตของท่านผู้เข้าสู่นิพพานได้นั้น ท่านก็กำหนดรู้จิตใจของท่านเช่นกัน แต่ให้รู้เฉพาะการบุญ การบาป การทุกข์ การโทษ สารธรรมและอสารธรรม
รู้ด้วยการวางในการทาน การศีล การสมาธิ การปัญญา การวิมุตติ
รู้ด้วยการวางใจในสัตว์ ในบุคคล ในตัวตน ในเรา ในเขา ในเทพเทวา ในหมู่พรหม ในหมู่นรก เปรตผี กำหนดรู้จนได้หมายเป็นว่ารู้ แต่ไม่ถือรู้ ไม่ถือจิต ไม่ถือใจ วางใจคืนแก่อนัตตาธรรม วางคืนแก่โลก เพิกตนออก แต่เป็นธรรม วางใจได้ดุจแผ่นดิน เหมือนแผ่นดิน วางต่อการรองรับสรรพสิ่ง แม้ภพมิวิภพ ก็วางคืนแก่ภพและวิภพ เป็นเช่นนั้นจึงเป็นผู้เข้าสู่นิพพานได้”
เทศน์เสร็จท่านยังถามและกำชับด้วยว่า “ท่านจามเข้าใจไหม จำไว้ให้ดีเน้อ”
พระจามรับคำว่า“ครับ”จากนั้นหลวงปู่จามก็ดำเนินมาตามวิถีเช่นว่า จนล่วงมาจนอายุกาลถึง 103 ปี ความเป็นอยู่ในชาตินี้จึงร่วงไป
3 ปีก่อนตอนทำบุญฉลองอายุ 100 ปี ท่านพูดไว้ว่า ตายก็ไม่คิด ชีวิตผ่านมาหมดแล้ว มาถึงวันใดก็พร้อมไปหากเป็นข้าวเปลือกอยู่ตกหล่นในภพไหนก็งอกหาทุกข์ หากเป็นข้าวสารแล้วเช่นนี้มันหมดความตื่นเต้นใดๆ ในโลก
นี่คือเรื่องราวโดยย่อ 103 ปีของหลวงปู่จามในชาตินี้
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 71
ธรรมจักกัปปวัตตนสูตร หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี
แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
วันนี้ เป็นวันเข้าพรรษามาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง พระภิกษุสามเณรที่จะอยู่จำพรรษาพรุ่งนี้แหละ และพร้อมกันนั้นก็เป็นวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าเทศนาธรรมจักกัปปวัตตนสูตรให้ฤาษีปัญจวัคคีย์ห้าองค์ฟังเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรก ฉะนั้นพวกเราจึงพร้อมใจกันทำอาสาฬหบูชาระลึกถึงวันนั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เดือนหกเพ็ญพอมาเข้าพรรษานี้เดือนแปดเพ็ญ สองเดือนพอดี แท้ที่จริงปัญจวัคคีย์นั้นก็เคยเป็นของพระองค์ท่านมาแต่ก่อนแล้ว เมื่อครั้งที่พระองค์ทำทุกรกิริยาอยู่ ปฏิบัติอุปัฏฐากพระสิทธัตถะราชกุมารเมื่อยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า พวกปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์ลดละความเพียรคือกลับมาฉันอาหารอีก เห็นว่าพระองค์มักมากจึงหลบหลีกหนีไป พระองค์จึงได้ประกอบความเพียรแต่ผู้เดียวได้สำเร็จมรรคผลนิพพานแล้ว จึงมาคิดเรื่องผู้ที่จะมาฟังธรรมเทศนา ใครหนอจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานกับเรา ใครหนอจะรู้เห็นธรรมนี้ได้ ธรรมนี้เป็นของลึกละเอียดเหลือเกิน พิจารณาไปถึงอาฬารดาบสและอุทกะดาบสว่ามีนิสัยพอจะรู้ธรรมนี้ได้บ้างเมื่อพิจารณาไปอีกก็ทราบว่าท่านทั้งสองนั้นตายเสียแล้ว ยังเหลือปัญจวัคคีย์นี่แหละจะมี หู ตา สว่างพอสมควรพอจะรับรู้ได้พระองค์จึงได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนะมฤคทายวันอันเป็นที่อยู่ของท่านเหล่านั้น ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเห็นพระองค์เสด็จมา จึงพูดกันว่า โน่นมาแล้วคนมักมากโลภมากมาแล้ว มาก็ช่างเถอะพวกเราอย่าไปต้อนรับเลยเพียงแต่ปูอาสนะไว้ให้ก็แล้วกัน พอพระองค์ไปถึง ที่ไหนได้กุลีกุจอต้อนรับกันหมดทุกคน เมื่อพระองค์ประทับแล้วจึงเทศนาให้ฟัง ทีแรกก็ดื้อด้านไม่ยอมฟัง ในที่สุดพระองค์จึงรับสั่งเตือนว่า เราตรัสรู้แล้ว เราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อันคำที่เรากล่าวนี้ เธอทั้งห้าเคยได้ยินเราพูดมาแต่ก่อนไหม จึงค่อยสะดุดใจ น้อมใจฟัง พระองค์จึงได้เทศนาถึงเรื่องธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรนี่แหละเรื่องเป็นมาอย่างนี้
วันนี้คล้ายกับวันที่พระองค์เทศนากัณฑ์แรกครั้งนั้น เหตุนั้นเราจึงพากันระลึกถึง การระลึกถึงนี้หากเราไม่เคยไปเห็นประเทศอินเดียที่พระองค์ตรัสรู้ ถ้าหากผู้นั้นระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้วก็จะปรากฏเหมือนกับพระพุทธเจ้ายังเทศนาอยู่ ณ ที่นั้น เกิดปลื้มปิติ อิ่มอกอิ่มใจปราโมทย์ขึ้นมา ได้ปสาทะศรัทธาเลื่อมใสเป็นบุญกุศลเหมือนกัน
คราวนี้จะเทศน์ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรให้ฟัง เอาแต่ย่อๆธรรมเทศนาที่พระองค์เทศน์นั้น ใจความก็อริยสัจสี่นี่แหละ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พระองค์เทศนาอริยสัจสี่ มีปริวัตรสามรวมอาการ ๑๒ อย่าง กล่าวคือ นี้คือทุกข์หรือหมายความว่าทุกข์เป็นหนึ่งแล้ว นี่เป็นสาม ทุกข์มีอาการสามอย่างนี้
อธิบายคำว่าทุกข์ก่อน ทุกคนมีทุกข์อยู่ในตัวตนทุกคนแล้วแต่ไม่ได้กำหนด ก็อย่างพวกเราทั้งหลายนี้ ทุกข์สักเท่าไรๆ ก็ไม่เห็น ไม่เคยเห็นทุกข์ในตัวเห็นแต่ทุกข์คนอื่น จะมาเห็นทุกข์ในตัวก็ต่อเมื่อเจ็บหนักจนกระทั่งนอนอยู่กับเสื่อกับหมอน จึงค่อยจะเห็นทุกข์ แต่พอหายเจ็บหายไข้ไปแล้วก็ระเริงเสียไม่เห็นเป็นทุกข์ พระองค์จึงใช้คำว่า ควร ท่านว่าอย่างนั้นคำว่าควรไม่ใช่บังคับมันเป็นการรำพึงว่าควรกำหนด คือเห็นด้วยตนเองว่า ทุกข์เป็นของควรกำหนด
ทุกข์คืออะไร ตั้งแต่เกิดมา ทุกคนเกิดอยู่ในครรภ์มารดาก็ทุกข์อยู่แล้ว แต่ไม่รู้จักว่าทุกข์ ก็ลองคิดดู เด็กนอนอยู่ในท้องของมารดา นอนอยู่ในท่าเดียวตั้งเจ็ดแปดเดือนจึงจะได้คลอดออกมา จะไม่ทุกข์ได้อย่างไร ถ้าพวกเราลองมานอนอย่างนั้นดู มันจะนอนได้หรือ นั้นจึงว่ามันเป็นทุกข์ คลอดออกมาก็เป็นทุกข์ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นทุกข์ จึงได้เปลี่ยนอริยาบถต่างๆ แต่เราไม่คิดไม่คำนึงถึง จึงประมาทมัวเมา ทุกข์จึงควรกำหนดอย่างนี้
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าทุกข์เป็นของควรกำหนด นั่นเป็นอันหนึ่ง พระองค์ได้กำหนดเรียบร้อยแล้ว คือว่า กำหนดแล้วทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นทุกข์ ชัดเจนแจ่มแจ้ง เห็นจริงด้วยตนเอง ทุกข์นี้มันเป็นของประจำโลกอยู่อย่างนั้น พระองค์จึงว่า เกิดขึ้นมาแล้วมีแต่ทุกข์เท่านั้น ทุกข์นั้นดับไปแล้วทุกข์อื่นก็เกิดขึ้นมาอีกแล้วทุกข์นั้นก็ดับไป นั่งมันทุกข์ก็เปลี่ยนอริยาบท ทุกข์นั่งมันดับไป พอยืน ทุกข์นั้นก็เกิดขึ้นมาอีก แต่ไม่ใช่ทุกข์นั่งเป็นทุกข์ยืนพอยืนแล้วมันเมื่อยก็เดินไปอีก ก้าวไปอีก ทุกข์ยืนนั้นหายไป ทุกข์เดินกลับมาอีกอย่างนี้แหละ เวียนไปเวียนมาในอริยาบททั้งสี่อยู่ตลอดเวลา ทุกข์จึงเป็นของควรกำหนด พระองค์ได้กำหนดแล้วนี้จึงเรียกว่าอาการสาม
สมุทัยละคราวนี้ สมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีเหตุผลทั้งนั้น พระองค์ตามสืบสาวหาเหตุของทุกข์คือตัวสมุทัยอย่างเราต้องการอยากได้ อยากดี อยากเป็น แล้วขวนขวายหาก็ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง เศร้าโศกเสียใจเดือดร้อนวุ่นวายเรียกว่า มันประสบเหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยาก พระองค์เรียกว่าตัณหาสามคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่นอกเหนือไปจากตัณหาสามประการนี้
คนเกิดขึ้นมาด้วยกาม กินอยู่ด้วยกาม นอนอยู่ในกาม นั่งอยู่ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่หนีไปจากห้าอย่างนี้ ผู้ใดเกิดมาต้องวุ่นวายอยู่กับของเหล่านี้แหละ เดือดร้อนอยู่กับของเหล่านี้ คือมันข้องมันติด ไปไม่หลุด ไปไม่พ้น เรียกว่า กามตัณหา พระองค์ได้กำหนดรู้แล้ว
ภวตัณหา คือความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากได้โน่นอยากได้นี่ ได้แล้วก็อยากได้อีก เป็นแล้วก็อยากเป็นอีก ไม่อิ่มไม่พอเป็นสักที นี่ก็เป็นทุกข์ เพราะความไม่อิ่มไม่พอ เรียกว่า ภวตัณหา พระองค์ได้ละแล้ว
วิภวตัณหา คือความไม่อยากเป็นไม่โน่นเป็นนี่ ไม่อยากได้โน่นไม่อยากได้นี่ ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เพราะความไม่อยาก จึงเป็นเหตุให้เดือดร้อนเป็นทุกข์เรียกว่า วิภวตัณหา
ทั้งสามนี้ เรียกว่า สมุทัยพระองค์ได้ละทิ้งถอนไปหมดแล้ว ไม่ให้มีเหลืออยู่ในสันดานพระองค์เลย
ขันธวิบากทุกข์ซึ่งยังมีร่างกายอันนี้อยู่จึงจำเป็นจะต้องเสวยทุกข์อยู่ด้วยกันทุกรูปทุกนาม แต่พระองค์ไม่เป็นทุกข์เพราะเหตุที่เห็นทุกข์ซึ่งพระองค์ได้กำหนดแล้ว สมุทัยเป็นของควรละพระองค์ได้ละแล้ว อย่างความอยาก เราอยากได้โน่น อยากได้นี่เราไม่เอาละ สละทิ้งเลย ปล่อยวางเลย สละได้จริงๆ นั่นแหละสมุทัยคือ ตัณหา ตัณหาเป็นของควรละ พระองค์ได้ละแล้วรวมเป็นสามเหมือนกัน
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เมื่อพระองค์เห็นสมุทัย พระองค์ละสมุทัยมันก็เป็นนิโรธเท่านั้นเอง นิโรธเป็นของควรทำให้แจ้ง พระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว
มรรค คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิตัวแรกตัวเดียวเท่านั้นเป็นมรรคแปดเลย ถ้าความเห็นชอบแล้วก็เป็นอันถูกทั้งแปดอย่าง ท่านจึงว่ามรรคทั้งแปดรวมลงเป็นอันเดียวกัน รวมลงเป็นหนึ่ง ถ้าให้จิตรวมลงเป็นหนึ่งแล้วมรรคทั้ง ก็มารวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียว คือ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ และสัมมาสมาธิก็รวมกันทั้งหมด สัมมาด้วยกันทั้งนั้น สัมมาคือความชอบ ถ้าไม่ชอบก็จะไม่รวมลงเป็นหนึ่งทั้งหมด รวมกันในที่เดียว นี้คือมรรค มรรคเป็นของควรเจริญ พระองค์ได้เจริญแล้ว
อริยสัจสี่ อันมีปริวัตรสาม มีอาการสิบสอง คืออริยสัจมีสี่อย่างแต่ละอย่างนั้นมีปริวัตรสามจึงรวมกันเป็นสิบสองนี้รวมกันลงได้แล้วจึงเห็นแจ้งในธรรมในขณะนั้น เรียกว่าเห็นในขณะจิตเดียว ท่านว่าอย่างนั้น เหมือนผู้พิพากษาอาญารวบรวมคดีทั้งหมดได้แล้วจึงมานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในที่เดียวฉะนั้น มันยากอยู่สำหรับคนที่ไม่เคยภาวนา พูดอย่างนี้ยากที่จะเข้าใจได้ ถ้าพูดกันง่ายๆว่าเราเห็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์แล้ว ความเห็นทุกข์นั่นแหละเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว เห็นทุกข์นั่นแหละเรียกว่าละสมุทัยแล้ว ละสมุทัยมันก็เป็นนิโรธ ความเห็นชอบตัวเดียวนั่นแหละเลยเป็นมรรคทั้งหมดเรียกว่าเห็นธรรมในขณะจิตเดียว นี่แหละที่พระพุทธเจ้าท่านเทศนาถึงเรื่อง อริสัจสี่ ให้ปัญจวัคคีย์ฟัง มีเนื้อความสรุปลงเพียงเท่านี้
วันนี้เราได้ฟังธรรมจักกัปปวัตตนสูตรโดยย่อ ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเรา อย่าได้ส่งออกไปหาคนอื่น สิ่งอื่นภายนอกจากตัวของเรา ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในตัวของเรานี้อยู่ในนี้หมด พระพุทธศาสนาสอนให้โน้มเข้ามาพิจารณาในที่นี้ไม่ได้สอนออกไปภายนอก สอนออกไปนอกนั้นไม่ใช่ศาสนามันเป็นโลก สอนพระพุทธศาสนาต้องสอนเข้ามาในที่นี้ทังหมดเมื่อเราเห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว เราเป็นผู้ถึงซึ่งธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
อัญญาโกณทัญญะท่านพิจารณาตาม ท่านก็เห็นชัดตามนัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแล้วทุกอย่าง พระองค์ทรงแสดงว่ารู้แล้ว อัญญาโกณทัญญะรู้แล้วหนอๆ เห็นธรรมแล้วหนอๆ เห็นธรรมคืออะไร ธมมจกขํ คือดวงตาเห็นธรรม หมายความว่าเห็นภายนอกภายใน ภายนอกนั้นเห็นด้วยตาอย่างที่เล่าให้ฟังนี่แหละ ตัวของเราเป็นก้อนทุกข์ เรียกว่าเห็นด้วยตา ทั้งภายในใจก็เห็นชัดด้วยใจ เรียกว่าเห็นภายนอกภายใน อญญาโกณ ฑญญ ธมมจกขํ อุปาทิ ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ความรู้นั้นเห็นชัดขึ้นมาด้วยตนเองแล้ว ปญญาอุปาทิ ปัญญารู้รอบ รู้ทั่วหมดทุกสิ่งทุกอย่าง วิชชา อุปาทิ รู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งทุกประการอันเดียวกันนั่นแหละ ธมมจกขํ ปัญญา วิชชา ก็อันเดียวกัน อาโลโก ไม่มีเครื่องปกปิดในโลกอันนี้ ก็จะปกปิดอะไรอีก ตัวของเราก็เป็นอย่างนั้นตัวคนอื่นก็เป็นอย่างนั้น มองหมดไปทั้งโลกก็เป็นอย่างเดียวกัน มันจะปกปิดที่ไหนมันก็เห็นหมดนะซีจึงว่า อาโลโก อุทปาทิ แปลว่าไม่มีโลก คือว่ามันเป็นธรรมทั้งหมดเห็นแจ้งประจักษ์ทั้งหมด
เราพากันมาฟังเทศน์ฟังธรรม มีอะไรบ้างที่เห็น เห็นพอลางๆ บ้างไหม ชัดเจนในใจของเราบ้างไหม ให้ส่องเข้าไปภายในเมื่อรู้แจ้งเห็นในใจของตนอย่างที่อธิบายมานี้แล้ว จงพากันรักษาความสงบอบรมสมาธิอันนั้นไว้ให้แน่นหนา แล้วจงใช้ปัญญาที่เกิดจากอันนั้นแหละ อย่าไปเห็นอื่นเลย เห็นเทพบุตรเทวดา อินทร์ พรหม เห็นสวรรค์ อย่าไปเห็นมันเลย ของพรรค์นั้นไม่ใช่ของตัวของเรา เราเห็นแต่ตัวของเราอย่างที่อธิบายให้ฟังนี่ชัดเจนแล้วรักษาอันนั้นไว้ นี่แหละที่แสดงมา พอสมควรแก่เวลาด้วยประการฉะนี้
นั่งสมาธิ
ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน
พวกเราหายากที่จะได้มาพร้อมเพรียงกันฟังธรรมเทศนาเช่นนี้ นี่นับว่าเป็นการดีแล้วที่มานี้ ไหนๆ ก็ได้ทำความดีแล้วจงทำดีต่อไป อุตสาหะ วิริยะ พากเพียร ให้มันถึงที่สุดตามความสามารถของเรา จงนั่งภาวนากันอีกต่อไป ใครจะภาวนาอย่างไรก็เอาเถอะ บริกรรมเบื้องต้นจะเอาสัมมาอรหัง หรืออานาปานาสติหรือจะยุบหนอ พองหนอก็ตามใจ คือว่า หัดเบื้องต้นให้มันชำนิชำนาญทางไหนก็เอา เมื่อจิตรวมเป็นสมาธิแล้วมันจะวางคำบริกรรมเองหรอก คำบริกรรมเป็นเครื่องล่อ เครื่องอ่อยให้จิตเข้ามาอยู่ในบริกรรมเท่านั้นแหละ ถ้าหากไปเอายึดคำบริกรรมนั้นถ่ายเดียวไม่รู้เรื่องของจิต จิตไปอยู่นั้นเลยเข้าใจว่าคำบริกรรมนั้นเป็นจิต ไปนึกถึงแต่คำบริกรรมนั้นอยู่ไม่แล้วสักที จิตมันก็ไม่รวมลงเป็นสมาธิ บางคนเมื่อจิตมันรวมลงเป็นสมาธิแน่วแน่เต็มที่แล้ววางคำบริกรรมเสีย เข้าใจว่าจิตเสื่อมสมาธิ สมาธิถอนแล้ว ความจริงเมื่อจิตมันรวมแล้ว มันจะวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่คำบริกรรมก็วางหมด อันนั้นมันเข้าถึงจิตแล้ว ให้กำหนดเอาจิตนั้นจึงจะถูก มันมีสองอย่างคือ
อย่างหนึ่ง เมื่อจิตรวมอยู่ในคำบริกรรมก็ไปยึดเอาคำบริกรรมนั้น บางคนเจ็บหัว ปวดสมอง เพราะไปยึดเอาตรงนั้น บางทีเอาคำบริกรรมไปกำหนดที่หัวใจ หรือปลายจมูก เมื่อจิตรวมก็เจ็บหัวใจ หรือ ปลายจมูกก็มี
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจิตรวมลงไปแล้ว มันทอดธุระปล่อยวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง มันว่าง มันสบาย ให้เอาความนั้นเป็นเครื่องอยู่ ให้พิจารณาความว่างนั้นอยู่ตลอดเวลา อย่าไปอยากรู้ อยากเห็น อย่าไปอยากเห็นโน่นเห็นนี่อะไรต่างๆ เลยจิตถอนอีก ให้อยู่กับความว่างเสียก่อน อยู่นานๆ ไม่ใช่อยู่วันสองวัน อยู่ตั้งเป็นปี ๙ ปี ๑๐ ปี ก็ให้มันอยู่อย่างนั้นเสียก่อนพิจารณาความว่างนั้นให้เข้าใจถึงจิตเดิม
เรื่อง จิต กับ ใจ มันคนละอย่างกัน จิตอันหนึ่ง ใจอันหนึ่ง แต่ท่านก็พูดว่าเหมือนกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้น แต่ทำไมถึงเรียกจิต เรียกใจ ทำไมถึงไม่เรียกอันเดียวกัน มันคงมีแปลกต่างกันอยู่ จะอธิบายให้ฟังถึงความแตกต่างของ จิต ของใจ
ใจ เป็นผู้วางเฉยที่เรียกว่า จิตตํ ปภสสรํ อาคนตุเกหิ กิเลเสหิ จิตเป็นของเลื่อมใสประภัสสรอยู่ตลอดเวลา ในที่นี้ท่านเรียกจิตไม่ได้เรียกว่าใจ บางคนว่า จิตเป็นประภัสสรเลื่อมใสอยู่ตลอดเวลา ทำไมจึงต้องชำระ มันยังไม่ทันผ่องใสเต็มที่ มันผ่องใสเพียงจิตเท่านั้น ไม่ใช่ปัญญา ปัญญามันอีกต่างหาก ทำใจให้ผ่องใสต้องใช้ปัญญานะซี เหมือนกับเพชรนิลจินดาที่เขาเอามาดินเป็นของใสจริงๆ แต่มันมีเศร้าหมอง ต่อเมื่อเจียระไนให้ละเอียดลงไปมันจึงผ่องใสเต็มที่ ฉันใด ใจก็อย่างนั้นเหมือนกัน ใจผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกะกิเลส คือจิตไม่ได้รับการอบรมนั่นเอง ไปเกาะเกี่ยวเอาอารมณ์ทั้งปวงหมดทำให้ใจมัวหมอง เหตุนั้นจึงว่า ใจคือของกลาง อย่างที่เราเรียกว่า ใจมือ ใจเท้า ใจไม้อะไรทั้งหมดถ้าเรียกใจแล้วต้องชี้เข้าใจกลางทั้งนั้น แม้แต่ใจคน หัวใจอยู่ตรงไหนล่ะต้องชี้เข้ามาท่ามกลางอก คือแสดงถึงเรื่องของกลางนั่นเองที่เรียกว่าใจ ใจไม่ใช่อยู่ที่หัวใจแห่งเดียวอยู่ทั่วไปหมดทั้งร่างกาย ตั้งแต่ปลายผมถึงปลายเท้า มันอยู่ทั่วหมด มันไม่อยู่ที่เก่าดอก มันมีความรู้สึกตรงไหนมีใจตรงนั้นแหละ ใจตัวกลางนี้ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เป็นของเฉยๆ ไม่มีอดีต อนาคต อยู่ปัจจุบัน ถ้าอยากจะรู้ตัวใจจริงๆ เรากลั้นลมหายใจลองดูก็ได้ เดี๋ยวนี้ก็ได้ กลั้นลมสักพักหนึ่งเท่านั้นแหละ ในขณะนั้นไม่มีอะไร มันเฉย เพียงแต่รู้ว่าเฉย แต่ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง
เอ้า ภาวนากันต่อไป
แสดง ณ วัดหินหมากเป้ง อ.ศรีเชียงใหม่ จ.หนองคาย
วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๒๔
วันนี้ เป็นวันเข้าพรรษามาบรรจบครบรอบอีกวาระหนึ่ง พระภิกษุสามเณรที่จะอยู่จำพรรษาพรุ่งนี้แหละ และพร้อมกันนั้นก็เป็นวันอาสาฬหบูชา คือวันที่พระพุทธเจ้าเทศนาธรรมจักกัปปวัตตนสูตรให้ฤาษีปัญจวัคคีย์ห้าองค์ฟังเป็นธรรมเทศนากัณฑ์แรก ฉะนั้นพวกเราจึงพร้อมใจกันทำอาสาฬหบูชาระลึกถึงวันนั้น พระพุทธเจ้าท่านตรัสรู้เดือนหกเพ็ญพอมาเข้าพรรษานี้เดือนแปดเพ็ญ สองเดือนพอดี แท้ที่จริงปัญจวัคคีย์นั้นก็เคยเป็นของพระองค์ท่านมาแต่ก่อนแล้ว เมื่อครั้งที่พระองค์ทำทุกรกิริยาอยู่ ปฏิบัติอุปัฏฐากพระสิทธัตถะราชกุมารเมื่อยังไม่ได้เป็นพระพุทธเจ้า พวกปัญจวัคคีย์เห็นพระองค์ลดละความเพียรคือกลับมาฉันอาหารอีก เห็นว่าพระองค์มักมากจึงหลบหลีกหนีไป พระองค์จึงได้ประกอบความเพียรแต่ผู้เดียวได้สำเร็จมรรคผลนิพพานแล้ว จึงมาคิดเรื่องผู้ที่จะมาฟังธรรมเทศนา ใครหนอจะได้บรรลุมรรคผลนิพพานกับเรา ใครหนอจะรู้เห็นธรรมนี้ได้ ธรรมนี้เป็นของลึกละเอียดเหลือเกิน พิจารณาไปถึงอาฬารดาบสและอุทกะดาบสว่ามีนิสัยพอจะรู้ธรรมนี้ได้บ้างเมื่อพิจารณาไปอีกก็ทราบว่าท่านทั้งสองนั้นตายเสียแล้ว ยังเหลือปัญจวัคคีย์นี่แหละจะมี หู ตา สว่างพอสมควรพอจะรับรู้ได้พระองค์จึงได้เสด็จไปยังป่าอิสิปตนะมฤคทายวันอันเป็นที่อยู่ของท่านเหล่านั้น ปัญจวัคคีย์ทั้งห้าเห็นพระองค์เสด็จมา จึงพูดกันว่า โน่นมาแล้วคนมักมากโลภมากมาแล้ว มาก็ช่างเถอะพวกเราอย่าไปต้อนรับเลยเพียงแต่ปูอาสนะไว้ให้ก็แล้วกัน พอพระองค์ไปถึง ที่ไหนได้กุลีกุจอต้อนรับกันหมดทุกคน เมื่อพระองค์ประทับแล้วจึงเทศนาให้ฟัง ทีแรกก็ดื้อด้านไม่ยอมฟัง ในที่สุดพระองค์จึงรับสั่งเตือนว่า เราตรัสรู้แล้ว เราเป็นพระพุทธเจ้าแล้ว อันคำที่เรากล่าวนี้ เธอทั้งห้าเคยได้ยินเราพูดมาแต่ก่อนไหม จึงค่อยสะดุดใจ น้อมใจฟัง พระองค์จึงได้เทศนาถึงเรื่องธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรนี่แหละเรื่องเป็นมาอย่างนี้
วันนี้คล้ายกับวันที่พระองค์เทศนากัณฑ์แรกครั้งนั้น เหตุนั้นเราจึงพากันระลึกถึง การระลึกถึงนี้หากเราไม่เคยไปเห็นประเทศอินเดียที่พระองค์ตรัสรู้ ถ้าหากผู้นั้นระลึกถึงพระคุณของพระพุทธเจ้าแล้วก็จะปรากฏเหมือนกับพระพุทธเจ้ายังเทศนาอยู่ ณ ที่นั้น เกิดปลื้มปิติ อิ่มอกอิ่มใจปราโมทย์ขึ้นมา ได้ปสาทะศรัทธาเลื่อมใสเป็นบุญกุศลเหมือนกัน
คราวนี้จะเทศน์ธรรมจักรกัปปวัตตนสูตรให้ฟัง เอาแต่ย่อๆธรรมเทศนาที่พระองค์เทศน์นั้น ใจความก็อริยสัจสี่นี่แหละ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค พระองค์เทศนาอริยสัจสี่ มีปริวัตรสามรวมอาการ ๑๒ อย่าง กล่าวคือ นี้คือทุกข์หรือหมายความว่าทุกข์เป็นหนึ่งแล้ว นี่เป็นสาม ทุกข์มีอาการสามอย่างนี้
อธิบายคำว่าทุกข์ก่อน ทุกคนมีทุกข์อยู่ในตัวตนทุกคนแล้วแต่ไม่ได้กำหนด ก็อย่างพวกเราทั้งหลายนี้ ทุกข์สักเท่าไรๆ ก็ไม่เห็น ไม่เคยเห็นทุกข์ในตัวเห็นแต่ทุกข์คนอื่น จะมาเห็นทุกข์ในตัวก็ต่อเมื่อเจ็บหนักจนกระทั่งนอนอยู่กับเสื่อกับหมอน จึงค่อยจะเห็นทุกข์ แต่พอหายเจ็บหายไข้ไปแล้วก็ระเริงเสียไม่เห็นเป็นทุกข์ พระองค์จึงใช้คำว่า ควร ท่านว่าอย่างนั้นคำว่าควรไม่ใช่บังคับมันเป็นการรำพึงว่าควรกำหนด คือเห็นด้วยตนเองว่า ทุกข์เป็นของควรกำหนด
ทุกข์คืออะไร ตั้งแต่เกิดมา ทุกคนเกิดอยู่ในครรภ์มารดาก็ทุกข์อยู่แล้ว แต่ไม่รู้จักว่าทุกข์ ก็ลองคิดดู เด็กนอนอยู่ในท้องของมารดา นอนอยู่ในท่าเดียวตั้งเจ็ดแปดเดือนจึงจะได้คลอดออกมา จะไม่ทุกข์ได้อย่างไร ถ้าพวกเราลองมานอนอย่างนั้นดู มันจะนอนได้หรือ นั้นจึงว่ามันเป็นทุกข์ คลอดออกมาก็เป็นทุกข์ ยืน เดิน นั่ง นอน ก็เป็นทุกข์ จึงได้เปลี่ยนอริยาบถต่างๆ แต่เราไม่คิดไม่คำนึงถึง จึงประมาทมัวเมา ทุกข์จึงควรกำหนดอย่างนี้
พระพุทธเจ้าทรงตรัสว่าทุกข์เป็นของควรกำหนด นั่นเป็นอันหนึ่ง พระองค์ได้กำหนดเรียบร้อยแล้ว คือว่า กำหนดแล้วทุกสิ่งทุกอย่างว่าเป็นทุกข์ ชัดเจนแจ่มแจ้ง เห็นจริงด้วยตนเอง ทุกข์นี้มันเป็นของประจำโลกอยู่อย่างนั้น พระองค์จึงว่า เกิดขึ้นมาแล้วมีแต่ทุกข์เท่านั้น ทุกข์นั้นดับไปแล้วทุกข์อื่นก็เกิดขึ้นมาอีกแล้วทุกข์นั้นก็ดับไป นั่งมันทุกข์ก็เปลี่ยนอริยาบท ทุกข์นั่งมันดับไป พอยืน ทุกข์นั้นก็เกิดขึ้นมาอีก แต่ไม่ใช่ทุกข์นั่งเป็นทุกข์ยืนพอยืนแล้วมันเมื่อยก็เดินไปอีก ก้าวไปอีก ทุกข์ยืนนั้นหายไป ทุกข์เดินกลับมาอีกอย่างนี้แหละ เวียนไปเวียนมาในอริยาบททั้งสี่อยู่ตลอดเวลา ทุกข์จึงเป็นของควรกำหนด พระองค์ได้กำหนดแล้วนี้จึงเรียกว่าอาการสาม
สมุทัยละคราวนี้ สมุทัยคือเหตุให้เกิดทุกข์ ทุกสิ่งทุกอย่างมันมีเหตุผลทั้งนั้น พระองค์ตามสืบสาวหาเหตุของทุกข์คือตัวสมุทัยอย่างเราต้องการอยากได้ อยากดี อยากเป็น แล้วขวนขวายหาก็ต้องเดือดร้อนเป็นทุกข์ ได้บ้างไม่ได้บ้าง ถูกใจบ้างไม่ถูกใจบ้าง เศร้าโศกเสียใจเดือดร้อนวุ่นวายเรียกว่า มันประสบเหตุให้เกิดทุกข์ คือความอยาก พระองค์เรียกว่าตัณหาสามคือ กามตัณหา ภวตัณหา วิภวตัณหา ไม่นอกเหนือไปจากตัณหาสามประการนี้
คนเกิดขึ้นมาด้วยกาม กินอยู่ด้วยกาม นอนอยู่ในกาม นั่งอยู่ในกาม คือ รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ ไม่หนีไปจากห้าอย่างนี้ ผู้ใดเกิดมาต้องวุ่นวายอยู่กับของเหล่านี้แหละ เดือดร้อนอยู่กับของเหล่านี้ คือมันข้องมันติด ไปไม่หลุด ไปไม่พ้น เรียกว่า กามตัณหา พระองค์ได้กำหนดรู้แล้ว
ภวตัณหา คือความอยากเป็นโน่นเป็นนี่ อยากได้โน่นอยากได้นี่ ได้แล้วก็อยากได้อีก เป็นแล้วก็อยากเป็นอีก ไม่อิ่มไม่พอเป็นสักที นี่ก็เป็นทุกข์ เพราะความไม่อิ่มไม่พอ เรียกว่า ภวตัณหา พระองค์ได้ละแล้ว
วิภวตัณหา คือความไม่อยากเป็นไม่โน่นเป็นนี่ ไม่อยากได้โน่นไม่อยากได้นี่ ก็เป็นทุกข์เหมือนกัน เพราะความไม่อยาก จึงเป็นเหตุให้เดือดร้อนเป็นทุกข์เรียกว่า วิภวตัณหา
ทั้งสามนี้ เรียกว่า สมุทัยพระองค์ได้ละทิ้งถอนไปหมดแล้ว ไม่ให้มีเหลืออยู่ในสันดานพระองค์เลย
ขันธวิบากทุกข์ซึ่งยังมีร่างกายอันนี้อยู่จึงจำเป็นจะต้องเสวยทุกข์อยู่ด้วยกันทุกรูปทุกนาม แต่พระองค์ไม่เป็นทุกข์เพราะเหตุที่เห็นทุกข์ซึ่งพระองค์ได้กำหนดแล้ว สมุทัยเป็นของควรละพระองค์ได้ละแล้ว อย่างความอยาก เราอยากได้โน่น อยากได้นี่เราไม่เอาละ สละทิ้งเลย ปล่อยวางเลย สละได้จริงๆ นั่นแหละสมุทัยคือ ตัณหา ตัณหาเป็นของควรละ พระองค์ได้ละแล้วรวมเป็นสามเหมือนกัน
นิโรธ คือ ความดับทุกข์ เมื่อพระองค์เห็นสมุทัย พระองค์ละสมุทัยมันก็เป็นนิโรธเท่านั้นเอง นิโรธเป็นของควรทำให้แจ้ง พระองค์ได้ทำให้แจ้งแล้ว
มรรค คือ สัมมาทิฏฐิ สัมมาทิฏฐิตัวแรกตัวเดียวเท่านั้นเป็นมรรคแปดเลย ถ้าความเห็นชอบแล้วก็เป็นอันถูกทั้งแปดอย่าง ท่านจึงว่ามรรคทั้งแปดรวมลงเป็นอันเดียวกัน รวมลงเป็นหนึ่ง ถ้าให้จิตรวมลงเป็นหนึ่งแล้วมรรคทั้ง ก็มารวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียว คือ สัมมาสังกัปโป สัมมาวาจา สัมมากัมมันโต สัมมาอาชีโว สัมมาวายาโม สัมมาสติ และสัมมาสมาธิก็รวมกันทั้งหมด สัมมาด้วยกันทั้งนั้น สัมมาคือความชอบ ถ้าไม่ชอบก็จะไม่รวมลงเป็นหนึ่งทั้งหมด รวมกันในที่เดียว นี้คือมรรค มรรคเป็นของควรเจริญ พระองค์ได้เจริญแล้ว
อริยสัจสี่ อันมีปริวัตรสาม มีอาการสิบสอง คืออริยสัจมีสี่อย่างแต่ละอย่างนั้นมีปริวัตรสามจึงรวมกันเป็นสิบสองนี้รวมกันลงได้แล้วจึงเห็นแจ้งในธรรมในขณะนั้น เรียกว่าเห็นในขณะจิตเดียว ท่านว่าอย่างนั้น เหมือนผู้พิพากษาอาญารวบรวมคดีทั้งหมดได้แล้วจึงมานั่งบัลลังก์อ่านคำพิพากษาในที่เดียวฉะนั้น มันยากอยู่สำหรับคนที่ไม่เคยภาวนา พูดอย่างนี้ยากที่จะเข้าใจได้ ถ้าพูดกันง่ายๆว่าเราเห็นทุกข์ เมื่อเห็นทุกข์แล้ว ความเห็นทุกข์นั่นแหละเป็นสัมมาทิฏฐิแล้ว เห็นทุกข์นั่นแหละเรียกว่าละสมุทัยแล้ว ละสมุทัยมันก็เป็นนิโรธ ความเห็นชอบตัวเดียวนั่นแหละเลยเป็นมรรคทั้งหมดเรียกว่าเห็นธรรมในขณะจิตเดียว นี่แหละที่พระพุทธเจ้าท่านเทศนาถึงเรื่อง อริสัจสี่ ให้ปัญจวัคคีย์ฟัง มีเนื้อความสรุปลงเพียงเท่านี้
วันนี้เราได้ฟังธรรมจักกัปปวัตตนสูตรโดยย่อ ให้น้อมเข้ามาพิจารณาในตัวของเรา อย่าได้ส่งออกไปหาคนอื่น สิ่งอื่นภายนอกจากตัวของเรา ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ก็อยู่ในตัวของเรานี้อยู่ในนี้หมด พระพุทธศาสนาสอนให้โน้มเข้ามาพิจารณาในที่นี้ไม่ได้สอนออกไปภายนอก สอนออกไปนอกนั้นไม่ใช่ศาสนามันเป็นโลก สอนพระพุทธศาสนาต้องสอนเข้ามาในที่นี้ทังหมดเมื่อเราเห็น ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค ชัดเจนแจ่มแจ้งแล้ว เราเป็นผู้ถึงซึ่งธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าแล้ว
อัญญาโกณทัญญะท่านพิจารณาตาม ท่านก็เห็นชัดตามนัยที่พระพุทธองค์ทรงแสดงแล้วทุกอย่าง พระองค์ทรงแสดงว่ารู้แล้ว อัญญาโกณทัญญะรู้แล้วหนอๆ เห็นธรรมแล้วหนอๆ เห็นธรรมคืออะไร ธมมจกขํ คือดวงตาเห็นธรรม หมายความว่าเห็นภายนอกภายใน ภายนอกนั้นเห็นด้วยตาอย่างที่เล่าให้ฟังนี่แหละ ตัวของเราเป็นก้อนทุกข์ เรียกว่าเห็นด้วยตา ทั้งภายในใจก็เห็นชัดด้วยใจ เรียกว่าเห็นภายนอกภายใน อญญาโกณ ฑญญ ธมมจกขํ อุปาทิ ดวงตาเห็นธรรมได้เกิดขึ้นแล้ว ความรู้นั้นเห็นชัดขึ้นมาด้วยตนเองแล้ว ปญญาอุปาทิ ปัญญารู้รอบ รู้ทั่วหมดทุกสิ่งทุกอย่าง วิชชา อุปาทิ รู้แจ้งเห็นจริงทุกสิ่งทุกประการอันเดียวกันนั่นแหละ ธมมจกขํ ปัญญา วิชชา ก็อันเดียวกัน อาโลโก ไม่มีเครื่องปกปิดในโลกอันนี้ ก็จะปกปิดอะไรอีก ตัวของเราก็เป็นอย่างนั้นตัวคนอื่นก็เป็นอย่างนั้น มองหมดไปทั้งโลกก็เป็นอย่างเดียวกัน มันจะปกปิดที่ไหนมันก็เห็นหมดนะซีจึงว่า อาโลโก อุทปาทิ แปลว่าไม่มีโลก คือว่ามันเป็นธรรมทั้งหมดเห็นแจ้งประจักษ์ทั้งหมด
เราพากันมาฟังเทศน์ฟังธรรม มีอะไรบ้างที่เห็น เห็นพอลางๆ บ้างไหม ชัดเจนในใจของเราบ้างไหม ให้ส่องเข้าไปภายในเมื่อรู้แจ้งเห็นในใจของตนอย่างที่อธิบายมานี้แล้ว จงพากันรักษาความสงบอบรมสมาธิอันนั้นไว้ให้แน่นหนา แล้วจงใช้ปัญญาที่เกิดจากอันนั้นแหละ อย่าไปเห็นอื่นเลย เห็นเทพบุตรเทวดา อินทร์ พรหม เห็นสวรรค์ อย่าไปเห็นมันเลย ของพรรค์นั้นไม่ใช่ของตัวของเรา เราเห็นแต่ตัวของเราอย่างที่อธิบายให้ฟังนี่ชัดเจนแล้วรักษาอันนั้นไว้ นี่แหละที่แสดงมา พอสมควรแก่เวลาด้วยประการฉะนี้
นั่งสมาธิ
ท่านอาจารย์อบรมนำก่อน
พวกเราหายากที่จะได้มาพร้อมเพรียงกันฟังธรรมเทศนาเช่นนี้ นี่นับว่าเป็นการดีแล้วที่มานี้ ไหนๆ ก็ได้ทำความดีแล้วจงทำดีต่อไป อุตสาหะ วิริยะ พากเพียร ให้มันถึงที่สุดตามความสามารถของเรา จงนั่งภาวนากันอีกต่อไป ใครจะภาวนาอย่างไรก็เอาเถอะ บริกรรมเบื้องต้นจะเอาสัมมาอรหัง หรืออานาปานาสติหรือจะยุบหนอ พองหนอก็ตามใจ คือว่า หัดเบื้องต้นให้มันชำนิชำนาญทางไหนก็เอา เมื่อจิตรวมเป็นสมาธิแล้วมันจะวางคำบริกรรมเองหรอก คำบริกรรมเป็นเครื่องล่อ เครื่องอ่อยให้จิตเข้ามาอยู่ในบริกรรมเท่านั้นแหละ ถ้าหากไปเอายึดคำบริกรรมนั้นถ่ายเดียวไม่รู้เรื่องของจิต จิตไปอยู่นั้นเลยเข้าใจว่าคำบริกรรมนั้นเป็นจิต ไปนึกถึงแต่คำบริกรรมนั้นอยู่ไม่แล้วสักที จิตมันก็ไม่รวมลงเป็นสมาธิ บางคนเมื่อจิตมันรวมลงเป็นสมาธิแน่วแน่เต็มที่แล้ววางคำบริกรรมเสีย เข้าใจว่าจิตเสื่อมสมาธิ สมาธิถอนแล้ว ความจริงเมื่อจิตมันรวมแล้ว มันจะวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่คำบริกรรมก็วางหมด อันนั้นมันเข้าถึงจิตแล้ว ให้กำหนดเอาจิตนั้นจึงจะถูก มันมีสองอย่างคือ
อย่างหนึ่ง เมื่อจิตรวมอยู่ในคำบริกรรมก็ไปยึดเอาคำบริกรรมนั้น บางคนเจ็บหัว ปวดสมอง เพราะไปยึดเอาตรงนั้น บางทีเอาคำบริกรรมไปกำหนดที่หัวใจ หรือปลายจมูก เมื่อจิตรวมก็เจ็บหัวใจ หรือ ปลายจมูกก็มี
อีกอย่างหนึ่ง เมื่อจิตรวมลงไปแล้ว มันทอดธุระปล่อยวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง มันว่าง มันสบาย ให้เอาความนั้นเป็นเครื่องอยู่ ให้พิจารณาความว่างนั้นอยู่ตลอดเวลา อย่าไปอยากรู้ อยากเห็น อย่าไปอยากเห็นโน่นเห็นนี่อะไรต่างๆ เลยจิตถอนอีก ให้อยู่กับความว่างเสียก่อน อยู่นานๆ ไม่ใช่อยู่วันสองวัน อยู่ตั้งเป็นปี ๙ ปี ๑๐ ปี ก็ให้มันอยู่อย่างนั้นเสียก่อนพิจารณาความว่างนั้นให้เข้าใจถึงจิตเดิม
เรื่อง จิต กับ ใจ มันคนละอย่างกัน จิตอันหนึ่ง ใจอันหนึ่ง แต่ท่านก็พูดว่าเหมือนกันนั่นแหละ จิตอันใดใจอันนั้น แต่ทำไมถึงเรียกจิต เรียกใจ ทำไมถึงไม่เรียกอันเดียวกัน มันคงมีแปลกต่างกันอยู่ จะอธิบายให้ฟังถึงความแตกต่างของ จิต ของใจ
ใจ เป็นผู้วางเฉยที่เรียกว่า จิตตํ ปภสสรํ อาคนตุเกหิ กิเลเสหิ จิตเป็นของเลื่อมใสประภัสสรอยู่ตลอดเวลา ในที่นี้ท่านเรียกจิตไม่ได้เรียกว่าใจ บางคนว่า จิตเป็นประภัสสรเลื่อมใสอยู่ตลอดเวลา ทำไมจึงต้องชำระ มันยังไม่ทันผ่องใสเต็มที่ มันผ่องใสเพียงจิตเท่านั้น ไม่ใช่ปัญญา ปัญญามันอีกต่างหาก ทำใจให้ผ่องใสต้องใช้ปัญญานะซี เหมือนกับเพชรนิลจินดาที่เขาเอามาดินเป็นของใสจริงๆ แต่มันมีเศร้าหมอง ต่อเมื่อเจียระไนให้ละเอียดลงไปมันจึงผ่องใสเต็มที่ ฉันใด ใจก็อย่างนั้นเหมือนกัน ใจผ่องใสสะอาดอยู่ตลอดเวลา อาคันตุกะกิเลส คือจิตไม่ได้รับการอบรมนั่นเอง ไปเกาะเกี่ยวเอาอารมณ์ทั้งปวงหมดทำให้ใจมัวหมอง เหตุนั้นจึงว่า ใจคือของกลาง อย่างที่เราเรียกว่า ใจมือ ใจเท้า ใจไม้อะไรทั้งหมดถ้าเรียกใจแล้วต้องชี้เข้าใจกลางทั้งนั้น แม้แต่ใจคน หัวใจอยู่ตรงไหนล่ะต้องชี้เข้ามาท่ามกลางอก คือแสดงถึงเรื่องของกลางนั่นเองที่เรียกว่าใจ ใจไม่ใช่อยู่ที่หัวใจแห่งเดียวอยู่ทั่วไปหมดทั้งร่างกาย ตั้งแต่ปลายผมถึงปลายเท้า มันอยู่ทั่วหมด มันไม่อยู่ที่เก่าดอก มันมีความรู้สึกตรงไหนมีใจตรงนั้นแหละ ใจตัวกลางนี้ไม่เป็นบุญ ไม่เป็นบาป เป็นของเฉยๆ ไม่มีอดีต อนาคต อยู่ปัจจุบัน ถ้าอยากจะรู้ตัวใจจริงๆ เรากลั้นลมหายใจลองดูก็ได้ เดี๋ยวนี้ก็ได้ กลั้นลมสักพักหนึ่งเท่านั้นแหละ ในขณะนั้นไม่มีอะไร มันเฉย เพียงแต่รู้ว่าเฉย แต่ไม่คิด ไม่นึก ไม่ปรุง ไม่แต่ง
เอ้า ภาวนากันต่อไป
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 72
"พุทธโอวาทก่อนปรินิพพาน"
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานแก่พระอานนท์ผู้เป็นพระอุปัฏฐากและพระภิกษุคราที่ทรงปรงพระชนมายุสังขารออกเดินทางด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาลเจดีย์ไปยังกรุงกุสินาราสถานที่ปรินิพพานตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าหาได้ทรงท้อแท้หรือเหน็ดเหนื่อยต่อการเผยแพร่ธรรมไม่ยังทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแก่พุทธบริษัท 4ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้คราเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีเงาครึ้มต้นหนึ่งโดยมีพระอานนท์หมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อาศัยความกรุณาแก่ข้าและหมู่สัตว์จงดำรงพระชนมชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย ”กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่ทูลอะไรต่อไปอีกเพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย“
อานนท์เอ๋ย ” พระศาสดาตรัสพร้อมทอดทัศนาการไปเบื้องหน้าอย่างสุดไกลลีลาอันเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์ “เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ อีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่า 16 ครั้งแล้วว่าคนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดีถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้ แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ได้ทูลอะไรเราเลยเราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อนๆนั้นถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไปเราจะห้ามเสียสองครั้งพอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอแต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก”
“ อานนท์เอ๋ย ” บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้วเรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต....บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดสิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดาจะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นสิ่งที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนังมีประตูหน้าต่างปิดเปิดเรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียกแดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลม แดดและฝนกล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่าสมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะให้เบาบางและหมดสิ้นไป ”
“ อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีลสมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิและปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลายบท 4 คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี ประเสริฐที่สุดบรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์ 8นี่แลเป็นไปเพื่อทัศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์ 8 นี้อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติดังนี้พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร
”--------------------------------------------
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฐิ คือความยึดมั่นเรื่องของตนเสีย ด้วยประการฉะนี้เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวลไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”
“ ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้นมักบรรจุไปด้วยคนที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมากภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบที่อยู่โคนไม้ได้อย่างไร ”
“ ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละละวางได้ จึงแย่งลาภและยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วยหรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกันมีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิตโลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิดหน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภความโกรธและความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ยิ่งเจริญก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจดูแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์ยังสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่น ฝูงวิหกนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกันแต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่จะที่ต้องแบกไว้ คือ เรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกินนักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียวแต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกียวิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินให้มีเกียรติกินให้สมเกียรติ มิได้กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะความจริงร่างกายคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวก็ต้องการอาหารบำบัดความหิวเท่านั้นแต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วงคนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้แต่จำเป็นต้องทำ เหมือนโคหรือควายซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถแต่จำใจต้องลากมันไป อนิจจา ”
------------------------------------------
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆเราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆคือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลกเมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลมคนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิจัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวลถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้วพึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด ”
“ สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมันพวกเธอจงเอาสติเป็นขอเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้นคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนของตนเองไว้ในอำนาจได้สามารถเอาชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิดอย่าเป็นผู้แพ้เลย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัวอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้พร้อมกำมือไว้แน่นเป็นสัญลักษณ์ว่าเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้นทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย ”
“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลาอ้อยแม้เข้าสู่เครื่องยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนาข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ดย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้นย่อมมีผลมากผลไพศาล คนดีมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุขบำรุงสมณะพรหมาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อยสะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการโภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ ”
“ การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิดมนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย ”
“ บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผลหยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด การสั่งสมบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปล้ไปด้วยบาป ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันร่างกายนี้สะสมแต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้ามีช่องหูช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรคเป็นที่เก็บโรค อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆเข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆเจ้าของกายจึงต้องชำระล้าง ขัดถูวันละหลายๆครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่น่ารังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง ”
“ ดูกรอานนท์ บิณฑบาตทานที่มีอานิสงส์มาก มีผลไพศาล คือ เมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนตรัสรู้ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวายนี้ ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้วตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพานครั้งหลังนี้เสวยอาหารของจุนทะบุตรนายช่างทอง แล้วเราก็นิพพานด้วยขันธ-นิพพาน คือ ดับขันธ์อันเป็นวิบากที่ยังเหลืออยู่ ถ้าใครๆจะพึงตำหนิจุนทะ เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้ถ้าจุนทะพึงจะเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบให้เขาหายกังวลใจเสียอาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา ”
“ อานนท์เอ๋ย พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”
ย่างเข้าปัจฉิมยาม ณ ใต้ต้นสาละคู่แห่งกุสินารานครมีพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงปรินิพพานอยู่ในที่นั้นและพรั่งพร้อมด้วยพุทธบริษัทเนืองแน่นเป็นปริมณฑลทอดไกลสุดสายตา พระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่าสัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง
พุทธโอวาทก่อนปรินิพพานนี้ พระสัมมาสัมพุทธเจ้าประทานแก่พระอานนท์ผู้เป็นพระอุปัฏฐากและพระภิกษุคราที่ทรงปรงพระชนมายุสังขารออกเดินทางด้วยพระบาทเปล่าจากปาวาลเจดีย์ไปยังกรุงกุสินาราสถานที่ปรินิพพานตลอดพระชนมชีพ พระพุทธเจ้าหาได้ทรงท้อแท้หรือเหน็ดเหนื่อยต่อการเผยแพร่ธรรมไม่ยังทรงประกาศพระธรรมอันประเสริฐที่ทรงค้นพบด้วยพระองค์เองแก่พุทธบริษัท 4ด้วยพระมหากรุณาธิคุณอย่างหาที่สุดมิได้คราเมื่อพระพุทธองค์เสด็จมาถึงปาวาลเจดีย์ ได้ประทับอยู่ใต้ต้นไม้ที่มีเงาครึ้มต้นหนึ่งโดยมีพระอานนท์หมอบลงที่พระบาทมูลแล้วทูลว่า
“ ข้าแต่พระองค์ผู้ประเสริฐ ขอพระองค์อาศัยความกรุณาแก่ข้าและหมู่สัตว์จงดำรงพระชนมชีพต่อไปอีกเถิดอย่าเพิ่งด่วนปรินิพพานเลย ”กราบทูลเท่านี้แล้วพระอานนท์ก็ไม่ทูลอะไรต่อไปอีกเพราะโศกาดูรท่วมท้นหทัย“
อานนท์เอ๋ย ” พระศาสดาตรัสพร้อมทอดทัศนาการไปเบื้องหน้าอย่างสุดไกลลีลาอันเด็ดเดี่ยวฉายออกมาทางพระเนตรและพระพักตร์ “เป็นไปไม่ได้ที่จะให้ตถาคตกลับใจตถาคตจะต้องปรินิพพานในวันเพ็ญแห่งเดือนวิสาขะ อีกสามเดือนข้างหน้านี้ อานนท์เราได้แสดงนิมิตโอภาสอย่างแจ่มแจ้งแก่เธอพอเป็นนัยมาไม่น้อยกว่า 16 ครั้งแล้วว่าคนอย่างเรานี้มีอิทธิบาทภาวนาที่ได้อบรมมาด้วยดีถ้าประสงค์จะอยู่ถึงหนึ่งกัปป์หรือมากกว่านั้นก็พออยู่ได้ แต่เธอหาเฉลียวใจไม่ได้ทูลอะไรเราเลยเราตั้งใจไว้ว่าในคราวก่อนๆนั้นถ้าเธอทูลให้เราอยู่ต่อไปเราจะห้ามเสียสองครั้งพอเธอทูลครั้งที่สามเราจะรับอาราธนาของเธอแต่บัดนี้ช้าเสียแล้ว เรามิอาจกลับใจได้อีก”
“ อานนท์เอ๋ย ” บัดนี้สังขารอันเป็นเหมือนเกวียนชำรุดนี้เราได้สละแล้วเรื่องที่จะดึงกลับมาอีกครั้งหนึ่งนั้นไม่ใช่วิสัยแห่งตถาคต....บุคคลย่อมต้องพลัดพรากจากสิ่งที่รักที่พึงใจเป็นธรรมดาหลีกเลี่ยงไม่ได้ อานนท์เอ๋ย ชีวิตนี้มีความพลัดพรากเป็นที่สุดสิ่งทั้งหลายมีความแตกดับไปสลายไปเป็นธรรมดาจะปรารถนามิให้เป็นอย่างที่มันควรจะเป็นนั้นเป็นฐานะที่ไม่พึงหวังได้ทุกสิ่งทุกอย่างดำเนินไปเคลื่อนไปสู่จุดสลายตัวทุกขณะ ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลเป็นพื้นฐานที่รองรับคุณอันยิ่งใหญ่ประหนึ่งแผ่นดินเป็นสิ่งที่รองรับและตั้งลงแห่งสิ่งทั้งหลาย เป็นต้นว่าพฤกษาลดาวัลย์มหาสิงขรและสัตว์จตุบททวิบาทนานาชนิด บุคคลผู้มีศีลเป็นพื้นใจย่อมอยู่สบายมีความปลอดโปร่งเหมือนเรือนที่บุคคลปัดกวาดเช็ดถูเรียบร้อย ปราศจากเรือดและฝุ่นเป็นที่รบกวน ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ศีลนี้เองเป็นพื้นฐานให้เกิดสมาธิ คือ ความสงบใจ สมาธิที่มีศีลเป็นเบื้องต้นเป็นสมาธิที่มีผลมาก มีอานิสงส์มาก บุคคลผู้มีสมาธิย่อมอยู่อย่างสงบ เหมือนเรือนที่มีฝาผนังมีประตูหน้าต่างปิดเปิดเรียบร้อย มีหลังคาป้องกันลม แดดและฝน ผู้อยู่ในเรือนเช่นนี้ ฝนตกก็ไม่เปียกแดดออกก็ไม่ร้อนฉันใด บุคคลผู้มีจิตเป็นสมาธิก็ฉันนั้น ย่อมสงบอยู่ได้ไม่กระวนกระวายเมื่อลม แดดและฝนกล่าวคือโลกธรรมแผดเผา กระพือพัดซัดสาดเข้ามาครั้งแล้วครั้งเล่าสมาธิอย่างนี้ย่อมก่อให้เกิดปัญญาในการฟาดฟันย่ำยี และเชือดเฉือนกิเลสอาสวะให้เบาบางและหมดสิ้นไป ”
“ อันว่าจิตนี้เป็นธรรมชาติที่ผ่องใสอยู่โดยปกติ แต่เศร้าหมองไปเพราะคลุกเคล้าด้วยกิเลสนานาชนิด ศีลสมาธิและปัญญา เป็นเครื่องฟอกจิตให้ขาวสะอาดดังเดิม จิตที่ฟอกด้วยศีล สมาธิและปัญญาย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งปวง ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บรรดาทางทั้งหลาย มรรคมีองค์ 8 ประเสริฐที่สุด บรรดาบททั้งหลายบท 4 คืออริยสัจประเสริฐที่สุด บรรดาธรรมทั้งหลาย วิราคะ คือ การปราศจากความกำหนัดยินดี ประเสริฐที่สุดบรรดาสัตว์สองเท้า พระตถาคตเจ้าผู้มีจักษุประเสริฐที่สุด มรรคมีองค์ 8นี่แลเป็นไปเพื่อทัศนะอันบริสุทธิ์ หาใช่ทางอื่นไม่ เธอทั้งหลายจงเดินไปตามทางมรรคมีองค์ 8 นี้อันเป็นทางที่ทำมารให้หลงติดตามมิได้ เธอทั้งหลายจงตั้งใจปฏิบัติเพื่อทำทุกข์ให้สิ้นไปตถาคตเป็นเพียงผู้บอกทางเท่านั้น เมื่อปฏิบัติดังนี้พวกเธอจักพ้นจากมารและบ่วงแห่งมาร
”--------------------------------------------
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เธอจงมองดูโลกนี้โดยความเป็นของว่างเปล่า มีสติอยู่ทุกเมื่อ ถอนอัตตานุทิฐิ คือความยึดมั่นเรื่องของตนเสีย ด้วยประการฉะนี้เธอจะเบาสบายคลายทุกข์คลายกังวลไม่มีความสุขใดยิ่งกว่าการปล่อยวางและการสำรวมตนอยู่ในธรรม ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ไม่มีความสุขใดเสมอด้วยความสงบ ความสุขชนิดนี้สามารถหาได้ด้วยตัวเรานี้เองตราบใดที่มนุษย์ยังวิ่งวุ่นแสวงหาความสุขจากที่อื่น เขาจะไม่พบความสุขที่แท้จริงเลยมนุษย์ได้สร้างสรรค์สิ่งต่างๆขึ้นไว้เพื่อให้ตัวเองวิ่งตามแต่ก็ตามไม่เคยทันการแสวงหาความสุขโดยปล่อยใจให้ไหลเลื่อนไปตามอารมณ์ที่ปรารถนานั้นเป็นการลงทุนที่มีผลไม่คุ้มเหนื่อยเหมือนบุคคลลงทุนวิดน้ำในบึงใหญ่เพื่อต้องการปลาเล็ก ๆ เพียงตัวเดียวมนุษย์ส่วนใหญ่มัววุ่นวายอยู่กับเรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ จนลืมนึกถึงสิ่งหนึ่งซึ่งสามารถให้ความสุขแก่ตนได้ทุกเวลา สิ่งนั้นคือดวงจิตที่ผ่องแผ่ว เรื่องกามเป็นเรื่องที่ต้องดิ้นรนเรื่องกินเป็นเรื่องที่ต้องแสวงหา เรื่องเกียรติเป็นเรื่องที่ต้องแบกไว้ภาระที่ต้องแบกเกียรติเป็นเรื่องที่ใหญ่ยิ่งของมนุษย์ผู้หลงตนว่าเจริญแล้วในหมู่ชนที่เพ่งแต่ความเจริญทางด้านวัตถุนั้น จิตใจของเขาเร่าร้อนอยู่ตลอดเวลาไม่เคยประสบความสงบเย็นเลย เขายินดีที่จะมอบตัวให้จมอยู่ในคาวของโลกอย่างหลับหูหลับตาเขาพากันบ่นว่าหนักและเหน็ดเหนื่อย พร้อมๆกันนั้นเขาได้แบกก้อนหินวิ่งไปบนถนนแห่งชีวิตอย่างไม่รู้จักวาง”
“ ภายในอาคารมหึมาประดุจปราสาทแห่งกษัตริย์ มีลมพัดเย็นสบายแต่สถานที่เหล่านั้นมักบรรจุไปด้วยคนที่มีจิตใจเร่าร้อนเป็นไฟอยู่เป็นอันมากภาวะอย่างนั้นจะมีความสุขสู้ผู้มีใจสงบที่อยู่โคนไม้ได้อย่างไร ”
“ ความสุขนั้นอยู่ที่ความรู้สึกทางใจเป็นสำคัญ อย่างพวกเธออยู่ที่นี่มีแต่ความพอใจแม้กระท่อมจะมุงด้วยใบไม้ ก็มีความสุขกว่าอยู่ในพระราชฐานอันโอ่อ่าแน่นอนทีเดียวคนที่ประสบความสำเร็จในชีวิตนี้มิใช่คนใหญ่คนโต แต่เป็นคนที่รู้สึกว่าชีวิตของตนมีความสุขสงบเยือกเย็น ปราศจากความเร่าร้อนกระวนกระวาย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภและยศนั้นเป็นเหยื่อของโลกที่น้อยคนนักจะสละละวางได้ จึงแย่งลาภและยศกันอยู่เสมอเหมือนปลาที่แย่งเหยื่อกันกิน แต่หารู้ไม่ว่าเหยื่อนั้นมีเบ็ดเกี่ยวอยู่ด้วยหรือเหมือนไก่ที่แย่งไส้เดือนกัน จิกตีกัน ทำลายกันจนพินาศกันทั้งสองฝ่าย น่าสังเวชสลดจิตยิ่งนักถ้ามนุษย์ในโลกนี้ลดความโลภลง มีการเผื่อแผ่เจือจานโอบอ้อมอารี ถ้าเขาลดโทสะลง มีความเห็นอกเห็นใจกันมีเมตตากรุณาต่อกัน และลดโมหะลง ไม่หลงงมงาย ใช้เหตุผลในการตัดสินปัญหาและดำเนินชีวิตโลกนี้จะน่าอยู่อีกมาก แต่ช่างเขาเถิดหน้าที่โดยตรงและเร่งด่วนของเธอ คือ ลดความโลภความโกรธและความหลงของเธอเองให้น้อยลง แล้วจะประสบความสุขเยือกเย็นขึ้นมาก เหมือนคนลดไข้ได้มากเท่าใดความสบายกายก็มีมากขึ้นเท่านั้น ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย มนุษย์ยิ่งเจริญก็ดูเหมือนจะมีเสรีภาพน้อยลงทั้งทางกายและทางใจดูแล้วความสะดวกสบายและเสรีภาพของมนุษย์ยังสู้สัตว์เดรัจฉานบางประเภทไม่ได้ที่มันมีเสรีภาพที่จะทำอะไรตามใจชอบอยู่เสมอ ดูอย่างเช่น ฝูงวิหกนกกา มนุษย์เราเจริญกว่าสัตว์ตามที่มนุษย์เราเองชอบพูดกันแต่ดูเหมือนพวกเราจะมีความสุขน้อยกว่าสัตว์ ภาระใหญ่จะที่ต้องแบกไว้ คือ เรื่องกาม เรื่องกินและเรื่องเกียรติ สัตว์เดรัจฉานตัดไปได้อย่างหนึ่งคือเรื่องเกียรติ คงเหลือแต่เรื่องกามและเรื่องกินนักพรตอย่างพวกเธอนี้ตัดไปได้อีกอย่างหนึ่งคือเรื่องกาม คงเหลือแต่เรื่องกินอย่างเดียวแต่การกินอย่างนักพรตกับการกินของผู้บริโภคกามก็ดูเหมือนจะบริโภคแตกต่างกันอยู่ผู้บริโภคกามและยังหนาแน่นอยู่ด้วยโลกียวิสัย บริโภคเพื่อยุกามให้กำเริบจะต้องกินให้มีเกียรติกินให้สมเกียรติ มิได้กินเพียงเพื่อให้ร่างกายนี้ดำรงอยู่ได้อย่างสมณะความจริงร่างกายคนเราไม่ได้ต้องการอาหารอะไรมากนัก เมื่อหิวก็ต้องการอาหารบำบัดความหิวเท่านั้นแต่เมื่อมีเกียรติเข้ามาบวกด้วย จึงกลายเป็นเรื่องกินอย่างเกียรติยศ และแล้วก็มีภาระตามมาอย่างหนักหน่วงคนจำนวนมากเบื่อเรื่องนี้แต่จำเป็นต้องทำ เหมือนโคหรือควายซึ่งเหนื่อยหน่ายต่อแอกและไถแต่จำใจต้องลากมันไป อนิจจา ”
------------------------------------------
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เครื่องจองจำที่ทำด้วยเชือก เหล็กหรือโซ่ตรวนใดๆเราไม่กล่าวว่าเป็นเครื่องจองจำที่แข็งแรงทนทานเลย แต่เครื่องจองจำ คือ บุตรภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่แลตรึงมัดรัดผูกสัตว์ให้ติดอยู่ในภพอันไม่มีที่สิ้นสุด เครื่องผูกที่ผูกหย่อนๆคือ บุตร ภรรยาและทรัพย์สมบัตินี่เอง รูป เสียง กลิ่น รสและโผฏฐัพพะเป็นเหยื่อของโลกเมื่อบุคคลยังติดอยู่ในรูปเป็นต้นนั้น เขาจะพ้นจากโลกมิได้เลย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย กลิ่นดอกไม้กลิ่นจันทน์ไม่สามารถหอมหวนทวนลมได้แต่กลิ่นแห่งเกียรติคุณความดีงามของสัตบุรุษนั้นแล สามารถจะหอมไปได้ทั้งตามลมและทวนลมคนดีย่อมมีเกียรติคุณฟุ้งขจรไปได้ทั่วทุกทิศ กลิ่นจันทน์แดง กลิ่นอุบล กลิ่นดอกมะลิจัดว่าเป็นดอกไม้กลิ่นหอม แต่ยังสู้กลิ่นศีลไม่ได้ กลิ่นศีลยอดเยี่ยมกว่ากลิ่นทั้งมวลถ้าภิกษุหวังจะให้เป็นที่รักที่เคารพ เป็นที่ยกย่องของเพื่อนพรหมจารีแล้วพึงเป็นผู้ทำตนให้สมบูรณ์ด้วยศีลเถิด ”
“ สัตว์โลกเมื่อเกิดมาย่อมนำความทุกข์ติดตัวมาด้วย ตราบใดที่เขายังไม่สลัดความพอใจในสังขารออกความทุกข์ก็ย่อมติดตามไปเสมอ เหมือนโคที่ยังมีแอกเกวียนครอบคออยู่ ล้อเกวียนย่อมติดตามไปทุกฝีก้าว ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมชาติของจิตเป็นสิ่งดิ้นรนกลับกลอกง่าย บางคราวปรากฏเหมือนช้างตกมันพวกเธอจงเอาสติเป็นขอเหนียวรั้งช้าง คือจิตที่ดิ้นรนนี้ให้อยู่ในอำนาจบุคคลที่มีอำนาจมากที่สุดและควรแก่การสรรเสริญนั้นคือผู้ที่สามารถเอาชนะตนของตนเองไว้ในอำนาจได้สามารถเอาชนะตนเองได้ ผู้ชนะตนได้ชื่อว่าเป็นยอดนักรบในสงคราม เธอทั้งหลายจงเป็นยอดนักรบในสงครามเถิดอย่าเป็นผู้แพ้เลย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ผู้อดทนต่อคำล่วงเกินของผู้สูงกว่าก็เพราะความกลัวอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้เสมอกันเพราะเห็นว่าพอสู้กันได้แต่ผู้ใดอดทนต่อคำล่วงเกินของผู้ซึ่งด้อยกว่าตนได้ เราเรียกความอดทนนั้นว่าสูงสุด ผู้มีความอดทน มีเมตตาย่อมเป็นผู้มีลาภ มียศ อยู่เป็นสุข เป็นที่รักของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย เมื่อลืมตาขึ้นดูโลกเป็นครั้งแรกเราก็ร้องไห้พร้อมกำมือไว้แน่นเป็นสัญลักษณ์ว่าเกิดมาเพื่อจะหน่วงเหนี่ยวยึดถือ แต่เมื่อจะหลับตาลาโลกนั้นทุกคนแบมือออกเหมือนจะเตือนให้ผู้อยู่เบื้องหลังสำนึกและเป็นพยานว่าเขามิได้เอาอะไรไปด้วยเลย ”
“ เมื่อหัวใจยึดไว้ด้วยความรัก หัวใจนั้นจะสร้างความหวังขึ้นอย่างเจิดจ้า แต่ทุกครั้งที่เราหวังความผิดหวังก็จะรอเราอยู่ ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ธรรมดาว่าไม้จันทน์แม้จะแห้งก็ไม่ทิ้งกลิ่น อัศวินก้าวลงสู่สนามก็ไม่ทิ้งลีลาอ้อยแม้เข้าสู่เครื่องยนต์แล้วก็ไม่ทิ้งรสหวาน บัณฑิตแม้ประสบความทุกข์ก็ไม่ทิ้งธรรม ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ความตระหนี่ลาภเป็นความโง่เขลา เหมือนชาวนาที่ตระหนี่ไม่ยอมหว่านพันธุ์ข้าวลงในนาข้าวเปลือกที่หว่านลงแล้วหนึ่งเมล็ดย่อมให้ผลหนึ่งรวงฉันใด ทานที่บุคคลทำแล้วก็ฉันนั้นย่อมมีผลมากผลไพศาล คนดีมีทรัพย์แล้วย่อมบำรุงมารดา บิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ให้เป็นสุขบำรุงสมณะพรหมาจารย์ให้เป็นสุข เปรียบเสมือนสระโบกขรณีอันอยู่ไม่ไกลจากบ้านหรือนิคม มีท่าลงเรียบร้อยสะอาดเยือกเย็น น่ารื่นรมย์ มหาชนย่อมได้อาศัย นำไปอาบดื่มและใช้สอยตามต้องการโภคทรัพย์ของคนดีย่อมเป็นดังนี้ หาอยู่โดยเปล่าประโยชน์ไม่ ”
“ การเสียสละนั้น คือการได้มาซึ่งผลอันเลิศในบั้นปลาย ผู้ไม่ยอมเสียสละอะไรย่อมไม่ได้อะไร จงดูเถิดมนุษย์ทั้งหลายรดน้ำต้นไม้ที่โคนแต่ต้นไม้นั้นย่อมให้ผลที่ปลาย ”
“ บุคคลไม่ควรประมาทว่าบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยจะไม่ให้ผลหยาดน้ำที่ไหลลงทีละหยดยังทำให้แม่น้ำเต็มได้ฉันใด การสั่งสมบุญหรือบาปเพียงเล็กน้อยก็ฉันนั้นผู้สั่งสมบุญย่อมเปี่ยมล้นไปด้วยบุญ ผู้สั่งสมบาปย่อมเพียบแปล้ไปด้วยบาป ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย อันร่างกายนี้สะสมแต่ของสกปรกโสโครก มีสิ่งปฏิกูลไหลออกจากทวารทั้งเก้ามีช่องหูช่องจมูก เป็นต้น เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์เล็กสัตว์น้อย เป็นป่าช้าแห่งซากสัตว์นานาชนิด เป็นรังแห่งโรคเป็นที่เก็บโรค อุปมาเหมือนถุงหนังซึ่งบรรจุเอาสิ่งโสโครกต่างๆเข้าไว้แล้วซึมออกมาเสมอๆเจ้าของกายจึงต้องชำระล้าง ขัดถูวันละหลายๆครั้ง เมื่อเว้นจากการชำระล้างแม้เพียงวันเดียวหรือสองวันกลิ่นเหม็นก็ปรากฏเป็นที่น่ารังเกียจ เป็นของน่าขยะแขยง ”
“ ดูกรอานนท์ บิณฑบาตทานที่มีอานิสงส์มาก มีผลไพศาล คือ เมื่อนางสุชาดาถวายเราก่อนตรัสรู้ครั้งหนึ่งและอีกครั้งหนึ่งที่จุนทะถวายนี้ ครั้งแรกเสวยอาหารของสุชาดาแล้วตถาคตก็ถึงซึ่งกิเลสนิพพานครั้งหลังนี้เสวยอาหารของจุนทะบุตรนายช่างทอง แล้วเราก็นิพพานด้วยขันธ-นิพพาน คือ ดับขันธ์อันเป็นวิบากที่ยังเหลืออยู่ ถ้าใครๆจะพึงตำหนิจุนทะ เธอพึงกล่าวให้เขาเข้าใจตามนี้ถ้าจุนทะพึงจะเดือดร้อนใจ เธอพึงกล่าวปลอบให้เขาหายกังวลใจเสียอาหารของจุนทะเป็นอาหารมื้อสุดท้ายสำหรับเรา ”
“ อานนท์เอ๋ย พึงประกาศให้ทราบโดยทั่วกันว่าธรรมวินัยอันใดที่เราได้แสดงแล้ว บัญญัติแล้วขอให้ธรรมวินัยอันนั้นจงเป็นศาสดาของพวกเธอแทนเราต่อไป ”
“ ดูกรภิกษุทั้งหลาย บัดนี้เป็นวาระสุดท้ายแห่งเราแล้ว เราขอเตือนพวกเธอทั้งหลายให้จำมั่นไว้ว่าสิ่งทั้งปวงมีเสื่อมและสิ้นไปเป็นธรรมดา เธอทั้งหลายจงอยู่ด้วยความไม่ประมาทเถิด ”
ย่างเข้าปัจฉิมยาม ณ ใต้ต้นสาละคู่แห่งกุสินารานครมีพระผู้มีพระภาคเจ้าพึงปรินิพพานอยู่ในที่นั้นและพรั่งพร้อมด้วยพุทธบริษัทเนืองแน่นเป็นปริมณฑลทอดไกลสุดสายตา พระธรรมที่พระองค์ทรงพร่ำสอนมาตลอดพระชนมชีพว่าสัตว์ทั้งหลายมีความตายเป็นที่สุดนั้น เป็นสัจธรรมที่ไม่ยกเว้นแม้แต่พระองค์เอง
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก
- tum_H
- Verified User
- โพสต์: 1857
- ผู้ติดตาม: 0
Re: เข้าวัดทำบุญ ฟังธรรมะ
โพสต์ที่ 73
การภาวนาเปรียบได้กับการนิมนต์พระเข้าบ้าน
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๙๙
๑. เวลาที่เรานั่งภาวนา ให้นึกว่าร่างกายเรานี้เปรียบเหมือนกับบ้าน
การที่เราภาวนา “พุทโธ” เข้าไป มันก็เปรียบกับว่า เรานิมนต์พระเข้าไปในบ้านของเรา
การนิมนต์พระเข้าไปในบ้านนั้นก็ให้นกึถึงมรรยาทของโลกว่า เขาจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง
๑.๑ เขาจะต้องปูอาสนะไว้สำหรับท่าน
๑.๒ หาน้ำดื่มหรืออาหารที่ดีๆ มาถวาย
๑.๓ ต้องสนทนาปราศรัยกับท่าน
(หมายเหตุ : หัวข้อ ๑.๓ ยังไม่ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ในบทความนี้)
๒. “การปูอาสนะ” นั้นก็ได้แก่การที่เรานึก “พุท” ให้ติดเข้าไปกับลม
นึก “โธ” ให้ติดออกมากับลม เมือ่เราตั้งสติคอยนึกกำหนดอยู่เช่นนี้
“พุทโธ” ก็จะแนบกับลมหายใจของเราอยู่เสมอ
ถ้าการนึกของเราพลาดไปจากลมขณะใดแล้วก็เท่ากับอาสนะของเราขาด
และการปูอาสนะนั้น เขาจะต้องมีการปัดกวาดสถานที่ให้สะอาดเสียก่อน
ก็คือ ในชั้นแรกให้เราสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ และแรงๆ
ปล่อยกลับออกมาก็เช่นเดียวกันสัก ๒-๓ ครั้ง
แล้วจึงค่อยๆผ่อนลมหายใจให้เบาลงทีละน้อยๆจนพอดีที่เราจะจำได้
แต่อย่าให้เกินพอดีไปหรือน้อยกว่าพอดี ต่อจากนี้เราก็กำหนดลมหายใจ
พร้อมกับคำภาวนาว่า “พุทโธๆ” พระท่านก็จะเดินเข้าไปในบ้านของเรา
ถ้าใจของเราไปอยู่กับอารมณ์ภายนอก คือ สัญญา อดีต อนาคต อันใดอันหนึ่งแล้ว
ก็เท่ากับหนีพระออกไปจากบ้านของเรา อย่างนี้ย่อมเป็นการผิดมรรยาท...ใช้ไม่ได้
๓. เมื่อพระท่านเข้ามาในบ้านของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องจัดหาน้ำหรืออาหารดีๆมาถวาย
และสนทนากับท่านด้วยเรื่องที่ดีๆ เรียกว่า “ธรรมปฏิสันถาร”
ส่วนอาหารที่ดี ก็ได้แก่ มโนสัญเจตนาหาร ผัสสาหาร
และวิญญาณาหาร นี่เป็น “อามิสปฏิสันถาร”
อามิสปฏิสันถารนี้ คือ การปรับปรุงลมหายใจให้เป็นที่สบายของกายและจิต
เช่น สังเกตดูว่าลมอย่างไหนเป็นคุณแก่ร่างกาย ลมอย่างไหนเป็นโทษแก่ร่างกาย
หายใจเข้าอย่างใดสะดวก หายใจออกอย่างใดสะดวก หายใจเข้าเร็วออกเร็วสบายไหม ?
หายใจเข้าช้าออกช้าสบายไหม ? เราจะต้องทดลองชิมดูให้ดี นี่ก็เท่ากับว่า เป็นอาหารชนิดหนึ่ง
เพราะเหตุนี้การที่เรามาตั้งใจกำหนดอยู่ในลมหายใจ จึงเรียกว่า “มโนสัญเจตนาหาร”
แล้วเราก็ปรับปรุงลมหายใจจนรู้สึกว่า ลมนั้นเรียบร้อยสะดวกสบาย
เมื่อสะดวกสบายอย่างนี้แล้วก็ย่อมจะเกิดคุณธรรมขึ้นในตนอย่างนี้
จึงจะเรียกว่า เราต้อนรับท่านด้วยการบริโภคที่ดี
เมื่อท่านฉันอิ่มแล้วท่านก็จะต้องให้ศีลให้พรเราให้มีความสุข ให้หายไปจากความทุกข์
เช่นที่ท่านแสดงว่า “พระพุทธเจ้ากำจัดทุกข์ได้จริง” นั้นก็คือ
ความทุกข์กายของเราก็จะหายไป ถึงจะมีบ้างก็นิดหน่อย ไม่มาก
ส่วนความทุกข์ใจก็จะหายไป ใจของเราก็จะเย็น
เมื่อใจเย็นเป็นสุข ใจก็สงบเบิกบาน สว่างไสว ที่เรียกว่า “พระธรรมกำจัดภัยได้จริง”
นั่นก็คือ มารต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องรบกวนร่างกาย
เช่น “ขันธมาร” ความเจ็บปวดเมื่อย ฯลฯ เหล่านี้ก็จะหายไป
ใจนั้นก็จะอยู่โดยปราศจากทุกข์โทษภัยเวร นี่ก็เท่ากับพรของพระที่ท่านให้แก่เรา
พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร
วัดอโศการาม อ.เมือง จ.สมุทรปราการ
เมื่อวันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๙๙
๑. เวลาที่เรานั่งภาวนา ให้นึกว่าร่างกายเรานี้เปรียบเหมือนกับบ้าน
การที่เราภาวนา “พุทโธ” เข้าไป มันก็เปรียบกับว่า เรานิมนต์พระเข้าไปในบ้านของเรา
การนิมนต์พระเข้าไปในบ้านนั้นก็ให้นกึถึงมรรยาทของโลกว่า เขาจะต้องทำอย่างไรกันบ้าง
๑.๑ เขาจะต้องปูอาสนะไว้สำหรับท่าน
๑.๒ หาน้ำดื่มหรืออาหารที่ดีๆ มาถวาย
๑.๓ ต้องสนทนาปราศรัยกับท่าน
(หมายเหตุ : หัวข้อ ๑.๓ ยังไม่ได้นำเสนอรายละเอียดไว้ในบทความนี้)
๒. “การปูอาสนะ” นั้นก็ได้แก่การที่เรานึก “พุท” ให้ติดเข้าไปกับลม
นึก “โธ” ให้ติดออกมากับลม เมือ่เราตั้งสติคอยนึกกำหนดอยู่เช่นนี้
“พุทโธ” ก็จะแนบกับลมหายใจของเราอยู่เสมอ
ถ้าการนึกของเราพลาดไปจากลมขณะใดแล้วก็เท่ากับอาสนะของเราขาด
และการปูอาสนะนั้น เขาจะต้องมีการปัดกวาดสถานที่ให้สะอาดเสียก่อน
ก็คือ ในชั้นแรกให้เราสูดลมหายใจเข้าไปยาวๆ และแรงๆ
ปล่อยกลับออกมาก็เช่นเดียวกันสัก ๒-๓ ครั้ง
แล้วจึงค่อยๆผ่อนลมหายใจให้เบาลงทีละน้อยๆจนพอดีที่เราจะจำได้
แต่อย่าให้เกินพอดีไปหรือน้อยกว่าพอดี ต่อจากนี้เราก็กำหนดลมหายใจ
พร้อมกับคำภาวนาว่า “พุทโธๆ” พระท่านก็จะเดินเข้าไปในบ้านของเรา
ถ้าใจของเราไปอยู่กับอารมณ์ภายนอก คือ สัญญา อดีต อนาคต อันใดอันหนึ่งแล้ว
ก็เท่ากับหนีพระออกไปจากบ้านของเรา อย่างนี้ย่อมเป็นการผิดมรรยาท...ใช้ไม่ได้
๓. เมื่อพระท่านเข้ามาในบ้านของเราเรียบร้อยแล้ว เราก็ต้องจัดหาน้ำหรืออาหารดีๆมาถวาย
และสนทนากับท่านด้วยเรื่องที่ดีๆ เรียกว่า “ธรรมปฏิสันถาร”
ส่วนอาหารที่ดี ก็ได้แก่ มโนสัญเจตนาหาร ผัสสาหาร
และวิญญาณาหาร นี่เป็น “อามิสปฏิสันถาร”
อามิสปฏิสันถารนี้ คือ การปรับปรุงลมหายใจให้เป็นที่สบายของกายและจิต
เช่น สังเกตดูว่าลมอย่างไหนเป็นคุณแก่ร่างกาย ลมอย่างไหนเป็นโทษแก่ร่างกาย
หายใจเข้าอย่างใดสะดวก หายใจออกอย่างใดสะดวก หายใจเข้าเร็วออกเร็วสบายไหม ?
หายใจเข้าช้าออกช้าสบายไหม ? เราจะต้องทดลองชิมดูให้ดี นี่ก็เท่ากับว่า เป็นอาหารชนิดหนึ่ง
เพราะเหตุนี้การที่เรามาตั้งใจกำหนดอยู่ในลมหายใจ จึงเรียกว่า “มโนสัญเจตนาหาร”
แล้วเราก็ปรับปรุงลมหายใจจนรู้สึกว่า ลมนั้นเรียบร้อยสะดวกสบาย
เมื่อสะดวกสบายอย่างนี้แล้วก็ย่อมจะเกิดคุณธรรมขึ้นในตนอย่างนี้
จึงจะเรียกว่า เราต้อนรับท่านด้วยการบริโภคที่ดี
เมื่อท่านฉันอิ่มแล้วท่านก็จะต้องให้ศีลให้พรเราให้มีความสุข ให้หายไปจากความทุกข์
เช่นที่ท่านแสดงว่า “พระพุทธเจ้ากำจัดทุกข์ได้จริง” นั้นก็คือ
ความทุกข์กายของเราก็จะหายไป ถึงจะมีบ้างก็นิดหน่อย ไม่มาก
ส่วนความทุกข์ใจก็จะหายไป ใจของเราก็จะเย็น
เมื่อใจเย็นเป็นสุข ใจก็สงบเบิกบาน สว่างไสว ที่เรียกว่า “พระธรรมกำจัดภัยได้จริง”
นั่นก็คือ มารต่างๆ ซึ่งเป็นเครื่องรบกวนร่างกาย
เช่น “ขันธมาร” ความเจ็บปวดเมื่อย ฯลฯ เหล่านี้ก็จะหายไป
ใจนั้นก็จะอยู่โดยปราศจากทุกข์โทษภัยเวร นี่ก็เท่ากับพรของพระที่ท่านให้แก่เรา
ชาตินี้เป็นที่สุดแล้ว บัดนี้ไม่มีความเกิดอีก