ถ้านิยามของ vi คือ ซื้อหุ้นที่ราคาต่ำกว่ามูลค่าที่มันควรจะเป็น
แล้วถ้าผมนิยามขึ้นมาใหม่ว่า
นิยามของ vi รวมถึง ขายหุ้นที่มองว่าราคาแพงกว่าที่มันควรจะเป็นออกไปก่อนแล้วค่อยซื้อมันกลับในราคาที่เหมาะสมหรือมีส่วนลดจากราคาที่เหมาะสมล่ะ
มี vi ท่านไหน short หุ้นไหมครับ
แล้วการ short หุ้นถ้ามองที่กิจการ เราจะถือว่าผิดศีลของ
vi หรือไม่ครับ
ผมว่า vi ส่วนใหญ่ไม่ short เพราะว่ามีต้นทุนก็คือดอกเบี้ยในการกู้ยืมซึ่งไม่เหมือนซื้อหุ้นธรรมดาที่ไม่มีต้นทุนส่วนนี้
vi ทำไมจะไม่ short ล่ะฮง
แพงเกินก็ขาย ถูกเกินก็ซื้อ... ในขณะเดียวกันมันไม่เกิดขึ้นที่มิติเดียว
เพราะการลงทุนในหุ้นมันไม่ได้มีหุ้นตัวเดียวให้เลือก
บางทีผมขายหุ้น... มีคนถามว่ามันไม่ดีแล้วหรือ...แพงไปแล้วหรือ..
ก็เปล่า มันยังถูกอยู่เลย แต่ไปเจอไอ้ตัวอื่นที่มันดีกว่าถูกกว่า
นั่งอ่านฮง post มาพักใหญ่ๆ.... ยอมรับว่าตามไม่ทันแฮะ.. แต่นับถือๆ ขยันดีจริงๆ... สงสัยพี่จะหมดไฟแล้วแฮะๆ หยุดอ่านแล้วหนังสือแนวคิดการลงทุนใหม่ๆ จอดอยู่ที่ vi เอาเวลาไปนั่งอ่านธุรกิจต่างๆขยาย Circle แทน
ผมคิดว่า vi นั้นจะใช้ประโยชน์จากความไม่สมเหตุสมผลของ
ราคาหุ้นที่ควรจะเป็นกับราคาตลาด ฉะนั้นถ้าการ short ทำภายใต้
สมมุติฐานข้อนี้ ผมคิดว่ามันก็เป็นแนวคิดของ vi เหมือนกันครับ
yoyo เขียน:นั่งอ่านฮง post มาพักใหญ่ๆ.... ยอมรับว่าตามไม่ทันแฮะ.. แต่นับถือๆ ขยันดีจริงๆ... สงสัยพี่จะหมดไฟแล้วแฮะๆ หยุดอ่านแล้วหนังสือแนวคิดการลงทุนใหม่ๆ จอดอยู่ที่ vi เอาเวลาไปนั่งอ่านธุรกิจต่างๆขยาย Circle แทน
จริงเข้าใจว่าฮงเองก็กำไรจากหุ้น ap เยอะเหมือนกันนี่... ลองแชร์มุมมองให้ฟังบ้างสิว่าทำไมถึงเป็นตัวนี้
ap นี่เป็น 1 ใน ตัวที่ผมดูอยู่เหมือนกัน แต่ว่ายังไม่ค่อยเข้าใจว่าแข็งแกร่งของ ap เท่าไหร่ (คู่นั้นเด่นในเรื่อง Cost Leader, ap นี่ผมไม่รู้แฮะ) และสภาพคล่องก็ยังสู้ไอ้ 2 ตัวนั้นไม่ได้ แต่กลายเป็นว่า ap นี่ดูเหมือนจะขึ้นแรงกว่าเพื่อนเลยแฮะ
คนนึงพูดนู้น พูดนี่ ยกนู้นยกนี่มา support อ้าง paper นู้น paper นี่ ตบท้ายด้วย empirical study มาแล้วก็ได้ข้อสรุปที่ทำให้เราอ่านแล้วก็ โอ้โห... ดูท่าจะจริงแฮะ...
อีกคนนึง อาจจะพูดอีกอย่าง ยกตัวอย่างอีกอย่าง อ้าง paper อีกชุด และ empirical study อีกชุดนึง ทำให้เรางงๆ อีกเล็กน้อย เสียเวลาตามอ่าน paper อีกชุดนึง แล้วก็ได้ข้อสรุปที่ตรงกันข้ามกับคนแรก .... แต่มันก็ดูน่าเชื่อมากๆ เหมือนกัน...
คนนึงพูดนู้น พูดนี่ ยกนู้นยกนี่มา support อ้าง paper นู้น paper นี่ ตบท้ายด้วย empirical study มาแล้วก็ได้ข้อสรุปที่ทำให้เราอ่านแล้วก็ โอ้โห... ดูท่าจะจริงแฮะ...
อีกคนนึง อาจจะพูดอีกอย่าง ยกตัวอย่างอีกอย่าง อ้าง paper อีกชุด และ empirical study อีกชุดนึง ทำให้เรางงๆ อีกเล็กน้อย เสียเวลาตามอ่าน paper อีกชุดนึง แล้วก็ได้ข้อสรุปที่ตรงกันข้ามกับคนแรก .... แต่มันก็ดูน่าเชื่อมากๆ เหมือนกัน...