หน้า 3 จากทั้งหมด 10

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 11:45 am
โดย pongo
พี่หมอ น้องฮง ฯลฯ สุดยอดมาก
ผมเคยแซวพี่หมอว่าเป็นเกษตรกรปลอมตัวมา (คุย TR กับแก)
ตอนนี้กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์ไปแล้ว
อ่านกระทู้นี้รอบเดียวไม่สามารถเข้าใจได้แจ่มแจ้งแฮะ
ต้องอ่านวนหลายๆ รอบ  :cool:  :cool:  :cool:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 1:33 pm
โดย wattae
ถ้า LIBOR เริ่มลง สัญญาณหุ้นเริ่มดีขึ้น

โพสต์ทูเดย SECTION B 14/10/2008 06:19:15

หลังจากผ่านไป 1 สัปดาห์นับจากธนาคารกลางของประเทศต่างๆ ร่วมมือกันลดอัตราดอกเบี้ยนโยบาย นอกจากการอัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ระบบ ยิ่งทำให้สภาพคล่องระยะสั้นกลับตึงตัวสูงขึ้น เห็นได้จากอัตราดอกเบี้ย LIBOR ที่เพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วจาก 4.15% ต้นเดือน ต.ค. เป็น 6.88% เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา ส่งผลให้ TED Spread พุ่งสูงขึ้นเป็น 4.26% จาก 3.87% ในระยะเวลาเพียง 1 สัปดาห์ บ่งชี้ถึงสภาพคล่องระยะสั้นที่ตึงตัวอย่างหนัก

TED Spread คือส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยตั๋วเงินคลังของสหรัฐ อายุ 3 เดือนกับดอกเบี้ย LIBOR 3 เดือน ในอดีตก่อนปี 2550 ถึง TED Spread ผันผวนอย่างไรก็ยังอยู่ในช่วง 0.1-0.5% ต่างจากปัจจุบันที่พุ่งสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว และ มักจะเกิดขึ้นพร้อมกับหุ้นที่ตกต่ำเพราะสภาพคล่องที่หายไปจากตลาด แม้ว่าธนาคารกลางต่างๆ โดยเฉพาะสหรัฐ และยุโรปจะพยายามเรียกความ เชื่อมั่นกลับมา แต่ดัชนีดาวโจนส์ และตลาดหุ้นทั่วโลกยังดิ่งลงอย่างหนักแล้ว ความเสี่ยงและความกลัวยังทำสถิติสูงสุดอย่างต่อเนื่อง โดย CDS (Credit Default Swap) หรือค่าธรรมเนียมในการค้ำประกันสินเชื่อ เพิ่มขึ้นจากระดับปกติที่ 3% นอกจากนี้ ดัชนี VIX ซึ่งสามารถสะท้อนความกลัวของนักลงทุน (เป็นดัชนีวัดความผันผวนของราคาหุ้นที่อยู่ใน S&P500) ทำจุดสูงสุดใหม่ที่ 69.95 จุด เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา เพิ่มขึ้นถึง 172.6% นับจากวันที่เลห์แมนฯประกาศล้มละลาย และเพิ่มขึ้น 55% นับจากวันที่สภาคองเกรสอนุมัติแผนกู้วิกฤต 7 แสนล้านเหรียญ ซึ่งสูงกว่าช่วงเหตุการณ์ตึกเวิลด์เทรดถล่ม (VIX = 45 จุด) และช่วงฟองสบู่ดอตคอม (VIX = 34 จุด) สะท้อนถึงความผันผวนที่ยังมีอยู่สูงและยังไม่ใช่จังหวะที่เข้าลงทุนได้

ในระยะสั้นๆ สิ่งที่น่าเป็นกังวลมากกว่าตลาดหุ้นคือตลาดสินเชื่อ (ตลาดกู้ยืมระยะสั้น) ที่ขาดความไว้ใจระหว่างธนาคารด้วยกันเองซึ่งเป็นสิ่งที่อันตรายอย่างมาก เพราะจะส่งผลมายังภาวะเศรษฐกิจและตลาดหุ้นทั่วโลก แต่คาดการณ์จุดต่ำสุดไม่ได้ สิ่งที่ชี้นำทิศทางตลาดหุ้นได้ในระยะสั้น ต้องติดตาม LIBOR และ TED Spread ถ้าเริ่มนิ่งและปรับลง ตลาดหุ้นจะเริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้น

ดัชนี Reuters/Jefferies CRB Index ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ปรับลงอีก 11.2% และเมื่อเทียบกับจุด Peak เมื่อวันที่ 2 ก.ค. 2551 ที่ 473.518 จุด นับได้ว่า RJ/CRB Index ปรับลงแล้ว 38.8% เป็น 289.886 จุด เป็นระดับต่ำที่สุดในรอบ 1 ปี 10 เดือน ซึ่งสอดคล้องกับหุ้นในกลุ่มที่ปรับลงค่อนข้างมากนับตั้งแต่เลห์แมนฯ ประกาศล้มละลาย ส่วนใหญ่จะเป็นกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับสินค้าโภคภัณฑ์ ไม่ว่า จะเป็นกลุ่มเหมืองแร่ (-45.6%) กลุ่มปิโตรเคมี (-43.3%) กลุ่มขนส่ง (-40.9%) กลุ่มพลังงาน (-30.2%) ในขณะที่กลุ่มธนาคารและอสังหาริมทรัพย์ปรับลงแรง

รายงานล่าสุดของ IMF ได้ปรับการคาดการณ์ GDP โลกปี 2551 ลงจากเดิมที่คาด 4.1% เป็น 3.9% และปี 2552 ลงจากเดิม 3.9% เหลือเพียง 3.0% ซึ่งเป็นระดับต่ำที่สุดนับตั้งแต่ปี 2545 สำหรับ GDP ของประเทศพัฒนาแล้ว IMF คาดการณ์ว่าน่าจะเข้าใกล้ภาวะถดถอยหรืออยู่ในภาวะถดถอยเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ครึ่งหลังปี 2551 หรือต้นปี 2552 รวมทั้งคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัวในช่วงครึ่งหลังปี 2552 ส่วนอัตราเงินเฟ้อ IMF คาดว่าเงินเฟ้อในประเทศพัฒนาแล้วจะกลับมาลดลงเหลือ 2.0% ในปี 2552 ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนาจะค่อยๆ ลดลงอย่างช้า

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 1:43 pm
โดย naris
ส่วนตัวผมว่า ไม่นานน่าจะเริ่มลงแล้วครับ เพราะความเชื่อมั่นจะมากขึ้น จากความร่วมมือกันอย่างแข็งขันในหลายๆประเทศในการประกันเงินฝาก การปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะยาวและการซื้อกิจการแบงค์ที่ไปไม่ไหว

รอลุ้นให้มันลงจริงๆ :D

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 1:55 pm
โดย Linzhi
naris เขียน:ส่วนตัวผมว่า ไม่นานน่าจะเริ่มลงแล้วครับ เพราะความเชื่อมั่นจะมากขึ้น จากความร่วมมือกันอย่างแข็งขันในหลายๆประเทศในการประกันเงินฝาก การปล่อยกู้ในอัตราดอกเบี้ยต่ำระยะยาวและการซื้อกิจการแบงค์ที่ไปไม่ไหว

รอลุ้นให้มันลงจริงๆ :D
ลุ้นด้วยครับพี่นริศ

ดูเหมือนโลกนี้สามัคคีกว่าแต่ก่อน ไม่รู้จะเป็นไปได้นานแค่ไหน
แต่หลายหัวก็ดีกว่าหัวเดียวอยู่แล้ว คงจะเรียนรู้จากประวัติศาสตร์

ขอแค่ลดปัญหาได้ก็ดีแล้วครับ อย่างน้อยถ้าเขื่อนแตก มาเจอเขื่อนเอเชีย
ก็ยังเบาแรงหน่อย เพราะคราวนี้ไม่รู้จีนกับญี่ปุ่นจะเอาอยู่รึเปล่า
เกาหลีใต้ อินโด ก็หนาว ๆ ร้อน ๆ แล้ว

สุดท้าย ผมดูแลสินทรัพย์ของผมดูแลบ้านผมดีกว่า คนทะเลาะกันข้ามหมู่บ้าน
ก็ฟังบ้าง ระวังบ้าง แต่ไม่อยากเอาเป็นสรณะมาก

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 2:52 pm
โดย mprandy
[quote="hongvalue"]
... เพราะฉะนั้นการล้มรอบนี้น่าจะรุนแรงกว่าเพราะว่าวิณิชธนกิจของ usa มีการทำธุรกิจกับประเทศต่างๆทั่วโลก

ไม่เหมือนสองครั้งก่อนที่ดูแล้วไม่น่าจะกระทบทั้งโลกหนักเท่ารอบนี้ เนื่องจากเป็นปัญหาที่ตัว usa เองที่คนไม่เชื่อถือ (stagflation) เงินสกุลดอลจึงไปซื้อทอง

ส่วนรอบ great depression อ่านความเห็นอาจารย์หมอแล้วดูเหมือนจะมองว่าเป็นเพราะเศรษฐกิจ usa ไม่ได้รับ
ผลกระทบจากสงครามและโตเยอะทำให้ลงมา
ก็ไม่น่ากระทบกับทั่วโลกเท่ารอบนี้

รอบนี้แบงค์ของประเทศใหญ่ๆ ล้มกันเป็นแถบๆ

ส่วนตัวมองว่าหุ้น dow jone รอบนี้คงจะ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 3:56 pm
โดย out look
ถามอาจารย์หมอนิดหนึ่งครับ

มาตรการที่ฝากฝังยุโรปประการออกมาในวันจันทร์นั้น เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเท่านั้น
หรือเป็นการรับประกันการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบแบบไม่จำกัดจำนวนครับ  :?:

เพราะปัญหาหลักๆคือ การขาดความมั่นใจ โดยระบบสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ให้กับธนาคารอื่นๆ (โดยดูจากอัตราดอกเบี้ย Libour ที่ปรับตัวสูงขึ้น)
ต่างคนต่างเก็บเงินไว้ ทำให้เม็ดเงินไม่สามารถไหลเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อให้ธนาคารร่วมมือกันอัดฉีดเงินเท่าไรก็ไม่พอครับ
เพราะ ตราสาร CDS (Credit Default Swap) ในระบบมีถึงประมาณ 62 ล้านล้านดอลล่าห์
ที่อัดฉีดกันเข้าไปเป็นเศษเสี้ยวเท่านั้นครับ

ดังนั้นคำถามที่ผมถามนั้นเป็นจุดกลับของวิกฤติครั้งนี้ครับ
ถ้าหากธนาคารรับประกันเงินอัดฉีดแบบไม่จำกัดจำนวนแล้ว
ความมั่นใจที่จะมีแหล่งเงินในการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารก็จะกลับมา เงินก็สามารถไหลสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ปัญหาก็จะคลี่คลายลงครับ

ขอความเห็นของอาจารย์หมอและพี่ๆน้องๆ คนอื่นๆ
และขอความชัดเจนของข่าวนิดหนึ่งครับ  
หวังว่าจะเป็นข่าวดี :D

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 5:14 pm
โดย out look
ขอแก้ไขข้างบนจาก การรับประกันการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบแบบไม่จำกัดจำนวน เป็น
รับประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคาร ครับ  :oops:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 6:44 pm
โดย mprandy
[quote="hongvalue"][quote="chatchai"][quote]ตลาดหุ้นสหรัฐฯ-ยุโรปฟื้นหลังรัฐบาลชาติต่างๆผนึกกำลังแก้วิกฤตการเงิน

เอเอฟพี - หุ้นวอลล์สตรีท ทะยานขึ้นอย่างแรงเมื่อวันจันทร์(13) หลังรัฐบาลทั่วโลกผนึกกำลังในความพยายามสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุนและบรรเทาวิกฤตการเงิน อัดฉีดเงินนับแสนล้านดอลลาร์ฯ ประกันเงินฝากและพยุงธนาคารที่ประสบปัญหา ขณะที่ราคาน้ำมันขยับขึ้นราว 2 ดอลลาร์

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 9:12 pm
โดย ignorant
ถามคุณหมอ mprandy

ผมเฝ้าดูการสนทนามานานแล้ว ไม่กล้าแจมสักที แต่ตอนนี้อยากร่วมแจมบ้างครับ

คำถามผมไม่เกี่ยวกับหุ้น แต่เกี่ยวกับค่าเงินดอลล่าร์นะครับ

คือว่าทำไมช่วงนี้มีกระแสที่คิดว่า เงินดอลล่าร์อเมริกาอยู่ในขาขึ้นครับ  ในเมื่ออเมริกามีปัญหาขาดดุลแฝดเรื้อรังมานานแล้ว แล้วมาซ้ำด้วยวิกฤติสถาบันการเงินอีก ถ้าเงินดอลล่าร์ขาขึ้นไม่ยิ่งไปซ้ำเติมเศรษฐกิจไปกันใหญ่หรือ :?:   นอกจากนี้มันก็ขัดกับหลักอุปทาน นั่นคือ เมื่อแพกเกจ 7 แสนล้านออกมาอย่างน้อยก็ทำให้ปริมาณเงินดอลล่าร์เพิ่มขึ้น เงินดอลล่าร์ก็ควรจะอ่อนลงไม่ใช่หรือครับ :?:

กระบวนการคิดของผมถูกหรือผิดกันแน่ครับ :?:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 9:29 pm
โดย chatchai
[quote="ignorant"]ถามคุณหมอ mprandy

ผมเฝ้าดูการสนทนามานานแล้ว ไม่กล้าแจมสักที แต่ตอนนี้อยากร่วมแจมบ้างครับ

คำถามผมไม่เกี่ยวกับหุ้น แต่เกี่ยวกับค่าเงินดอลล่าร์นะครับ

คือว่าทำไมช่วงนี้มีกระแสที่คิดว่า เงินดอลล่าร์อเมริกาอยู่ในขาขึ้นครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 9:42 pm
โดย ignorant
[quote="chatchai"]
แล้วมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ที่สหรัฐลดลงหลายล้านล้านเหรียญ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 10:09 pm
โดย hongvalue
[quote="pongo"]พี่หมอ น้องฮง ฯลฯ สุดยอดมาก
ผมเคยแซวพี่หมอว่าเป็นเกษตรกรปลอมตัวมา (คุย TR กับแก)
ตอนนี้กลายเป็นนักเศรษฐศาสตร์ไปแล้ว
อ่านกระทู้นี้รอบเดียวไม่สามารถเข้าใจได้แจ่มแจ้งแฮะ
ต้องอ่านวนหลายๆ รอบ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 10:12 pm
โดย hongvalue
mprandy เขียน:
สุดท้าย.. ผมอยากฟังความเห็นเพื่อน ๆ พี่ ๆ น้อง ๆ ท่านอื่นบ้างครับ อย่าปล่อยให้ผมพล่ามอยู่คนเดียวสิ :roll:

อย่าเพิ่งเลิกนะครับ

วันนี้ผมยุ่งน่ะครับ

เดี่ยวผมมาแชร์และถามต่อครับ

พรุ่งนี้จะเข้ามาครับ

และอาจารย์หมอไม่ได้พล่ามหรอกครับ

ทุกคนตั้งใจฟัง lecture อยู่ครับ

แต่หลายคนยังมึนๆอยู่เลยตั้งตัวซะหน่อยเพราะมันลึกซึ้งน่ะครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 11:11 pm
โดย mprandy
Quantum of Solace เขียน:หมอครับ ความรู้สุดยอดมาก อยากให้พี่ริวกะ มาแจมกระทู้นี้อีกคน
รอน้องริวเหมือนกัน ไม่เห็นมาซักที แล้วก็อย่าชมเลยครับ (จ๋าขอ.. :lovl:)
Quantum of Solace เขียน:หมอว่า หลังจาก 9/11 แล้ว อเมริกา ส่งทหารไปรบที่อัฟกัน กับที่อิรัก
นี่ส่งผลแค่ไหนครับ เพราะผงาญเงินไปไม่น้อยทีเดียว
ส่งผลเรื่องหนี้สาธารณะที่ต้องมีมากขึ้น รัฐบาลต้องพิมพ์พันธบัตรออกมาขายมากขึ้น แล้วการที่ขาดดุลทั้งงบประมาณและการค้า (twin deficit) ทำให้ค่าเงินมันอ่อนลง แต่อาจจะไม่เกี่ยวกับวิกฤตครั้งนี้เท่าไหร่
Quantum of Solace เขียน:ผมว่า ที่ถามๆกันว่า วิกฤตครั้งนี้ใครได้เงินไป ผมว่า รัฐบาลเมกัน ต้องมีเอี่ยวแน่นอน ด้านภาษี จากเงินที่มันหมุนฟูฟ่องในระบบ มา 6-7 ปี
รัฐก็ชักส่วนนึงเข้ากระเป๋า แล้วก็เอาไปเผากับ ยุทโธปกรณ์ เข่นฆ่าคน

หมอว่าเกี่ยวมั้ยครับ
ผมว่าเกือบทุกฝ่ายได้เงินหมดครับ ทั้งรัฐบาลได้เงินในรูปภาษีหลากหลายรูปแบบทั้งภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (รวมถึง capital gain tax ที่คนอเมริกันต้องเสียด้วย เวลาขายหุ้นได้กำไร), ภาษีเงินได้นิติบุคคล (เพราะบริษัทวาณิชธนกิจกำไรอู้ฟู่มาหลายปี), กิจการทุกชนิดก็ขายของได้ เพราะคนอเมริกันรู้สึกว่าตัวเองรวยขึ้น (จากมูลค่าอสังหาที่มากขึ้น) เลยใช้จ่ายมากขึ้น (อัตราการออมของคนอเมริกันติดลบมาหลายปี), ทุกประเทศที่ส่งออกไปอเมริกาแล้วได้ดุลการค้าก็ได้เงินดอลลาร์จากอเมริกามาเหมือนกัน, แม้กระทั่งกิจการในเมืองไทยอย่าง รพ.ที่รับผู้ป่วยต่างชาติ, โรงแรมรับนักท่องเที่ยว ฯลฯ

เลยดูเหมือนว่า ที่ผ่านมาเราถอนเงินที่ควรจะได้มาใช้สอยล่วงหน้าจนเกินตัว ตอนนี้ก็เลยต้องคืนไปเพื่อให้กลับสู่สมดุล
Quantum of Solace เขียน:อีกมุม คือ พวก terrorist อัล เคด้า นี่มีโอกาส manipulate ระบบเศรษฐกิจในช่วง 6-7 ปีหลังจาก 9/11 มั้ยครับ แบบว่าค่อยๆปั่นราคาน้ำมัน เอาเงินที่ได้ไปลงทุนในระบบการเงิน อย่างที่หมอเล่าให้ฟัง ค่อยๆปั่นฟองสบู่ไป
ตังค์ก็ได้มากขึ้น พอได้จังหวะ ก็ชักดาบ เบี้ยวหนี้ ทำให้ บริษัทที่เกี่ยวข้องกระทบกันเป็นลุกโซ่ จนลุกลามอย่างปัจจุบัน

หมอคิดเห็นว่าไงครับ

คือผมคิดเอาเองทั้งสิ้น ยังกะนิยาย ไม่มีข้อมูล back-up ใดๆทั้งสิ้น
เมกาก็ไม่เคยไปนะครับ อยากให้หมอช่วยcomment ด้วย
เคยมีคนสงสัยเรื่องผู้ก่อการร้ายพยายาม manipulate โดยมีคนตั้งข้อสังเกตว่าหุ้นบางตัวใน NYSE ถูก short มากกว่าปกติก่อน 9/11 แล้วพอเกิดเรื่องดัชนีตกรูดมหาราช ได้กำไรไปมากโข

สืบสวนแล้วก็ไม่มีมูลครับ ยิ่งสมัยนี้จะโยกย้ายเงินไปลงทุนไม่ง่าย โดนเขาตรวจเช็คกันขนาดนี้ โอกาสโดนจับและอายัดน่าจะมากกว่า

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 14, 2008 11:21 pm
โดย mprandy
[quote="wattae"]ขอบคุณทุกๆท่านที่ช่วยให้ความรู้

คุณหมอ mprandy สุดยอดครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 1:02 am
โดย chode
ผมขอใช้ความรู้อันน้อยนิดมองละกัน

ผมมองว่าอเมริกามีปัญหามากก็จริง แต่เขามีหนี้ทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชนเป็นเงินสกุลตัวเองคือ usd ครับ  ฉะนั้นค่าเงิน USD อ่อนไม่ได้มีผลลบต่อเขามากนัก

ต่างกับไทยตอนปี40 หรือไอซ์แลนด์ประเทศล่าสุด มีหนี้เป็นสกุลต่างประเทศคือ usd พอค่าเงินตัวเองอ่อนค่าอย่างแรงก็เลยแทบล้มละลายไปเลย

การมีหนี้เป็นสกุลตัวเองสามารถลดกระทบด้วยนโยบายดอกเบี้ยที่ต่ำ อย่างล่าสุดดอกเบี้ยus t-bill 3month วิ่งอยู่แถวๆ0.25%ต่อปี
http://www.bloomberg.com/markets/rates/index.html
ทำให้แม้มีหนี้เยอะก็จ่ายดอกเบี้ยต่ำ แต่โอกาสเงินเฟ้อคงมีน้อยเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ

ทำให้ประเทศที่มีทุนสำรองเยอะๆ
https://www.cia.gov/library/publication ... 8rank.html
อย่างจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยต้องคิดละครับว่าจะถือพันธบัตรสหรัฐดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ไปทำไม  แล้วไม่ถือจะย้ายไปถืออะไร(ควรจ้าง buffet มาเป็นที่ปรึกษา)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 6:21 am
โดย chatchai
[quote="ignorant"][quote="chatchai"]
แล้วมูลค่าตลาดหลักทรัพย์ที่สหรัฐลดลงหลายล้านล้านเหรียญ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 9:19 am
โดย dikdik
เวลามีความมั่นใจ  เงินในโลกก็มีมากขึ้นเรื่อยๆครับ  ของก็ราคาแพงขึ้น

เวลามีความกลัว  เงินก็มีปริมาณน้อยลง  ของก็ราคาถูกลง

เงินเป็นตัวแทนของความเชื่อมั่น  ซานต้ามะกันเลยแจกเงินให้โลกใบนี้เรื่อยๆ  อาเฮียกับพี่ยุ่นรับไปเยอะหน่อย  อย่าเชื่อตูน้อยลงนะ

ยุโรปก็เอาบ้าง  ตูแจกบ้างละกัน  แจกแบงค์ไอ้กันนี่แหละ  เชื่อตูบ้างนะ

แต่พี่ไทยเรารับแล้วเก็บไว้ในบ้าน  วันดีคืนดีก็เผาบ้านตัวเองเล่น  เผาความเชื่อมั่นของตัวเอง(เผลอไปนิด ขออภัย)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 10:03 am
โดย wattae
ภาวะตลาดเงินนิวยอร์ก: ดอลล์อ่อนตัว หลังแผนฟื้นฟูสหรัฐฉุดดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ร่วง

IQ ข่าวเศรษฐกิจ 15/10/2008 07:13:00

         ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐร่วงลงเมื่อเทียบกับสกุลเงินหลักๆในการซื้อขายที่ตลาดปริวรรตเงินตรานิวยอร์กเมื่อคืนนี้ (14 ต.ค.) ซึ่งเป็นการร่วงลงติดต่อกัน 2 วันทำการ เพราะได้รับแรงกดดันจากอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ปรับตัวลดลงหลังจากมีข่าวว่ารัฐบาลสหรัฐประกาศแผนอัดฉีดเงินทุนให้กับธนาคารยักษ์ใหญ่ 9 แห่งผ่านทางการซื้อหุ้นบุริมสิทธิ์ของธนาคารเหล่านี้
         สำนักข่าวเอพีรายงานว่า ค่าเงินดอลลาร์ร่วงลงเมื่อเทียบกับเยนที่ 101.87 เยน/ดอลลาร์ จากระดับของวันจันทร์ที่ 101.99 เยน/ดอลลาร์ และอ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับฟรังค์สวิสที่ 1.1340 ฟรังค์/ดอลลาร์ จากระดับ 1.1373 ฟรังค์/ดอลลาร์
         ขณะที่ค่าเงินยูโรพุ่งขึ้นแตะระดับ 1.3645 ดอลลาร์/ยูโร จากระดับของวันจันทร์ที่ 1.3591 ดอลลาร์/ยูโร และเงินปอนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 1.7420 ดอลลาร์/ปอนด์ จากระดับ 1.7395 ดอลลาร์/ปอนด์
         ค่าเงินดอลลาร์ออสเตรเลียทรงตัวอยู่ที่ 0.6981 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์ออสเตรเลีย และดอลลาร์นิวซีแลนด์พุ่งขึ้นแตะระดับ 0.6204 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์ จากระดับ 0.6158 ดอลลาร์สหรัฐ/ดอลลาร์นิวซีแลนด์
         ดอลลาร์ได้รับแรงกดดันอย่างหนักจากการร่วงลงของอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ หลังจากรัฐบาลสหรัฐใช้มาตรการฟื้นฟูระบบการเงินเบื้องต้นมูลค่า 2.5 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในมาตรการฟื้นฟูมูลค่า 7 แสนล้านดอลลาร์ โดยรัฐบาลจะใช้เม็ดเงิน 2.50 แสนล้านดอลลาร์เข้าซื้อหุ้นบุริมสิทธ์ของ 9 ธนาคารยักษ์ใหญ่ ได้แก่ ธนาคารซิตี้กรุ๊ป, ธนาคารเวลส์ ฟาร์โก, เจพีมอร์แกน เชส แอนด์ โค, แบงค์ ออฟ อเมริกา, โกลด์แมน แซคส์, มอร์แกน สแตนลีย์, สเตทสตรีท คอร์ป,แบงค์ ออฟ นิวยอร์ก เมลลอน คอร์ป และเมอร์ริล ลินช์
         นอกจากนี้ บุชจะเสนอมาตรการฟื้นฟูระบบการเงินเฟสที่ 2 คิดเป็นมูลค่า 5.6 หมื่นล้านดอลลาร์เพื่อให้สภาคองเกรสได้พิจารณาลงมติต่อไป
         มาตรการดังกล่าวส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์สกุลเงินดอลลาร์ประเภท 3 เดือนที่ตลาดลอนดอน (LIBOR) ร่วงลงแตะระดับ 4.64% จากระดับ 4.75% ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ตลาดสิงคโปร์ (Sibor) ลดลง 0.13% แตะ 4.66% ซึ่งลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 1 สัปดาห์ และอัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ที่ตลาดฮ่องกง (Hibor) ร่วงลง 0.02% แตะ 4.42% ซึ่งอ่อนตัวลงเป็นครั้งแรกนับตั้งแต่วันที่ 26 ก.ย. นอกจากนี้ อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ในตลาดญี่ปุ่นและออสเตรเลียอ่อนตัวลงด้วย เนื่องจากธนาคารกลางของทั้งสองประเทศได้อัดฉีดสภาพคล่องเข้าสู่ระบบการเงิน
         ความเคลื่อนไหวของสหรัฐมีขึ้นหลังจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ร่วมกับกลุ่มประเทศ G7 ประกาศใช้มาตรการต้านวิกฤตการเงินทั่วโลก ซึ่งรวมถึงการปกป้องไม่ให้สถาบันการเงินเหล่านี้ล้มละลาย ส่วนในฝั่งยุโรปนั้น กลุ่มผู้นำยุโรปมีมติให้ใช้มาตรการรับมือกับปัญหาในระบบการเงิน ซึ่งครอบคลุมถึงการรับประกันเงินกู้ยืมระหว่างธนาคารพาณิชย์ และจะใช้งบประมาณในรูปสกุลเงินยูโรรับมือกับภาวะสินเชื่อตึงตัวในตลาดและยับยั้งความตื่นตระหนกของนักลงทุน

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 2:00 pm
โดย hongvalue
mprandy เขียน:


เหมือนคน ๆ หนึ่งไม่ยอมขึ้นสะพานลอยข้ามถนน แต่ลองเดินข้ามถนนเอง ข้ามหนแรก ๆ ก็กลัว ระแวดระวังเต็มที่ พอข้ามบ่อยเข้าก็ไม่เกิดอะไรขึ้น พาลคิดไปว่าก็ปลอดภัยดี แล้วจู่ ๆ วันหนึ่งก็โดนรถชน ...

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 2:03 pm
โดย hongvalue
[quote="mprandy"][quote="wattae"]ขอบคุณทุกๆท่านที่ช่วยให้ความรู้

คุณหมอ mprandy สุดยอดครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 2:23 pm
โดย hongvalue
เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องกันซะที

อ.แพนด้า

อยากถามหน่อยว่ามีความคิดที่จะไปลงทุนใน

ตปท หรือไม่

เนื่องจาก
การลงทุนแบบ buffet ในเมืองไทยนั้น

เหมาะมากน้อยเพียงใด เพราะมีหุ้นที่ให้ถือผ่านไป

20-30 ปีแล้วได้เป็น 100 เด้งเหมือน usa นั้นแทบไม่มี

เพราะอย่างมากโตในไทยได้ก็เต็มที่ แต่ที่ usa

หลายบริษัท

สามารถโตได้ทั่วโลก

และในตลาดหุ้นไทยหุ้นที่ได้ผลตอบแทนเยอะๆ

ก็เป็นหุ้นในกลุ่ม commodity ซะส่วนใหญ่

เช่น pttep scc(กึ่งcommo) และบริษัทพวกนี้เราจะสามารถมองแบบ buffet ได้หรือว่า

อีก 10 ปีต่อไปมันควรจะมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่

เนื่องจากว่าอีก 10 ปี ก็คงไม่มีใครรู้ราคา commodity

แล้วที่อาจารย์หมอบอกว่าไม่คาดตลาดเพราะว่าคาดไม่เป็น

แต่ผมกลับมองว่าคนที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์มากอย่าง
อ.แพนด้า น่าจะดูแนวโน้มตลาดได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่

เล่นหุ้นเมืองไทย ดูเหมือนกับสภาพคล่องมีอิทธิพลสูงมาก

อย่างหุ้น pttep ปีที่แล้วกำไรก็ไม่โตแต่เงินในระบบดี

ก็ทำให้คนเข้ามาเก็งเรื่องแหล่งพระอาทิตย์ล่วงหน้า

ปีนี้กำไรมาจริงๆ แต่หุ้นลง เพราะฝรั้งออก

แล้วแบบนี้เราจะเล่นหุ้นโดยไม่ดูภาพรวมได้หรือ

ในเมื่อเม็ดเงินมีอิทธิพลเหนือปัจจัยพื้นฐาน

ผมไม่เถียงว่าบางคนที่หุ้นตัวเล็กแล้วไม่กระทบเท่าไหร่

ก็อาจจะบอกว่า คุณไม่ต้องสนใจฝรั้งหรอก ขอเพียงหุ้นมัน

undervalue

ที่พูดๆมานี้ก็คืออยากถามว่า ทำไมอแพนด้าเก่งเรือ่งเม็ดเงิน

แล้วไม่ลองหัดคาดตลาดดูเหรอครับ(บางคนบอกว่าไม่มีใครทำได้
100% แต่ผมก็อยากจะบอกว่าปัจจัยพื้นฐานที่คุณคิด
มันก็ไม่ 100% เหมือนกันแหละ)


ถามเพราะอยาก discuss กันเรื่องแนว buffet ในไทย

กับ การดูเงินฝรั้ง กับ fundamental ของหุ้นน่ะครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 9:29 pm
โดย mprandy
naris เขียน:พอมีข้อมูลเปรียบเทียบคร่าวๆว่ายอดเงินการปล่อยกู้ดอกเบี้ยต่ำคราวนี้จะเพียงพอหรือไม่ ถ้ารู้ว่าพอ ผมว่าวิกฤตครั้งนี้คงจะไม่บานปลาย และน่าจะเป็นจุดซื้อที่ดีที่สุดแล้ว แต่ถ้าไม่เพียงพอ ก็อาจจะเกิดการคิดแย้งเหมือนค่าเงินบาทเราครั้งนั้น ท้ายที่สุดความเชื่อมั่นยังไม่เกิด ตลาดก็น่าจะผันผวนต่อไป และหุ้นคงจะมีโอกาสซื้ออีกนานทีเดียว :lol:
srichawengkun เขียน:ถามอาจารย์หมอนิดหนึ่งครับ

มาตรการที่ฝากฝังยุโรปประการออกมาในวันจันทร์นั้น เป็นการอัดฉีดเงินเข้าสู่ระบบเท่านั้น
หรือเป็นการรับประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบไม่จำกัดจำนวนครับ  :?:

เพราะปัญหาหลักๆคือ การขาดความมั่นใจ โดยระบบสถาบันการเงินไม่ยอมปล่อยกู้ให้กับธนาคารอื่นๆ (โดยดูจากอัตราดอกเบี้ย Libour ที่ปรับตัวสูงขึ้น)
ต่างคนต่างเก็บเงินไว้ ทำให้เม็ดเงินไม่สามารถไหลเข้าสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ต่อให้ธนาคารร่วมมือกันอัดฉีดเงินเท่าไรก็ไม่พอครับ
เพราะ ตราสาร CDS (Credit Default Swap) ในระบบมีถึงประมาณ 62 ล้านล้านดอลล่าห์
ที่อัดฉีดกันเข้าไปเป็นเศษเสี้ยวเท่านั้นครับ

ดังนั้นคำถามที่ผมถามนั้นเป็นจุดกลับของวิกฤติครั้งนี้ครับ
ถ้าหากธนาคารรับประกันการกู้ยืมระหว่างธนาคารแบบไม่จำกัดจำนวนแล้ว
ความมั่นใจที่จะมีแหล่งเงินในการปล่อยกู้ระหว่างธนาคารก็จะกลับมา เงินก็สามารถไหลสู่ระบบได้อย่างมีประสิทธิภาพครับ ปัญหาก็จะคลี่คลายลงครับ

ขอความเห็นของอาจารย์หมอและพี่ๆน้องๆ คนอื่นๆ
และขอความชัดเจนของข่าวนิดหนึ่งครับ  
หวังว่าจะเป็นข่าวดี :D
ถ้าเขาลงทุนประกาศว่าฉีดไม่อั้นใน interbank ด้วยอัตราดอกเบี้ยแบบ fixed rate น่าจะทำให้ความกังวลใน LIBOR ลดลง ตลาดอาจจะไม่มี crash โหด ๆ ให้เห็นเหมือนสัปดาห์ที่ผ่านมา

แต่จะเป็นแบบไหลริน ๆ เหมือนบ้านเราหรือต่ำเตี้ยอยู่นานไม่ยอมขึ้นหรือเปล่า บอกไม่ได้เหมือนกันครับ มองไปข้างหน้าพื้นฐานมันไม่ได้สวยหรู
chode เขียน:ผมขอใช้ความรู้อันน้อยนิดมองละกัน

ผมมองว่าอเมริกามีปัญหามากก็จริง แต่เขามีหนี้ทั้งรัฐบาลและบริษัทเอกชนเป็นเงินสกุลตัวเองคือ usd ครับ  ฉะนั้นค่าเงิน USD อ่อนไม่ได้มีผลลบต่อเขามากนัก

ต่างกับไทยตอนปี40 หรือไอซ์แลนด์ประเทศล่าสุด มีหนี้เป็นสกุลต่างประเทศคือ usd พอค่าเงินตัวเองอ่อนค่าอย่างแรงก็เลยแทบล้มละลายไปเลย

การมีหนี้เป็นสกุลตัวเองสามารถลดกระทบด้วยนโยบายดอกเบี้ยที่ต่ำ อย่างล่าสุดดอกเบี้ยus t-bill 3month วิ่งอยู่แถวๆ0.25%ต่อปี
http://www.bloomberg.com/markets/rates/index.html
ทำให้แม้มีหนี้เยอะก็จ่ายดอกเบี้ยต่ำ แต่โอกาสเงินเฟ้อคงมีน้อยเพราะเศรษฐกิจตกต่ำ

ทำให้ประเทศที่มีทุนสำรองเยอะๆ
https://www.cia.gov/library/publication ... 8rank.html
อย่างจีน เกาหลีใต้ ไต้หวัน ไทยต้องคิดละครับว่าจะถือพันธบัตรสหรัฐดอกเบี้ยต่ำแบบนี้ไปทำไม  แล้วไม่ถือจะย้ายไปถืออะไร(ควรจ้าง buffet มาเป็นที่ปรึกษา)
เฮีย chode ครับ ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ดีสิครับ อเมริกาก็แค่พิมพ์แบงค์ออกมาแบบแบงค์กงเต็กปัญหาก็จบ

หนี้ส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่ในรูปเงินธนบัตร แต่อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาล ถ้าอเมริกาไม่ควบคุมปริมาณเงินของตัวเองจนทำให้ค่าเงินมันตกลงมาก ๆ ดูเหมือนว่าคนเสียประโยชน์เป็นประเทศที่มีทุนสำรองเยอะก็จริง

แต่ถ้าวันหนึ่งจีน อาหรับ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตัดสินใจไม่เพิ่มทุนสำรองในรูปดอลลาร์แล้ว เพราะค่าเงินมันตกเยอะ (ไม่ต้องถึงกับขายออกมาก็ได้) สามารถทำได้ง่ายมากครับ แค่เลิกเข้าไปประมูลซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน แค่นี้ก็ทำให้พันธบัตรเหลือตรึม อัตราดอกเบี้ยจะกระฉูดขึ้น คนที่แย่ก็คือลุงแซมนั่นแหละ (เพราะพันธบัตรอเมริกันไม่มีดอกเบี้ยตายตัว คนซื้อจะ bid ดอกเบี้ยและจำนวนเงินที่ตัวเองต้องการประมูล พอถึงเวลา US Treasury จะขายพันธบัตรตามลำดับดอกเบี้ยประมูลต่ำที่สุด เรียงไปจนกว่าจะได้จำนวนเงินที่ตัวเองต้องการ การประมูลรอบนั้นจะสิ้นสุดลง)

ทุกวันนี้ US National Debt เพิ่มขึ้นวันละ 3 พันกว่าล้านเหรียญครับ เมื่อเร็ว ๆ นี้ National Debt Clock ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะหลักตัวเลขมันเต็ม

http://www.usnews.com/blogs/new-money/2 ... clock.html

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 10:02 pm
โดย ignorant
mprandy เขียน: เฮีย chode ครับ ถ้ามันง่ายอย่างนั้นก็ดีสิครับ อเมริกาก็แค่พิมพ์แบงค์ออกมาแบบแบงค์กงเต็กปัญหาก็จบ

หนี้ส่วนใหญ่ของสหรัฐอเมริกาไม่ได้อยู่ในรูปเงินธนบัตร แต่อยู่ในรูปพันธบัตรรัฐบาล ถ้าอเมริกาไม่ควบคุมปริมาณเงินของตัวเองจนทำให้ค่าเงินมันตกลงมาก ๆ ดูเหมือนว่าคนเสียประโยชน์เป็นประเทศที่มีทุนสำรองเยอะก็จริง

แต่ถ้าวันหนึ่งจีน อาหรับ ญี่ปุ่น ไต้หวัน ตัดสินใจไม่เพิ่มทุนสำรองในรูปดอลลาร์แล้ว เพราะค่าเงินมันตกเยอะ (ไม่ต้องถึงกับขายออกมาก็ได้) สามารถทำได้ง่ายมากครับ แค่เลิกเข้าไปประมูลซื้อพันธบัตรรัฐบาลอเมริกัน แค่นี้ก็ทำให้พันธบัตรเหลือตรึม อัตราดอกเบี้ยจะกระฉูดขึ้น คนที่แย่ก็คือลุงแซมนั่นแหละ (เพราะพันธบัตรอเมริกันไม่มีดอกเบี้ยตายตัว คนซื้อจะ bid ดอกเบี้ยและจำนวนเงินที่ตัวเองต้องการประมูล พอถึงเวลา US Treasury จะขายพันธบัตรตามลำดับดอกเบี้ยประมูลต่ำที่สุด เรียงไปจนกว่าจะได้จำนวนเงินที่ตัวเองต้องการ การประมูลรอบนั้นจะสิ้นสุดลง)

ทุกวันนี้ US National Debt เพิ่มขึ้นวันละ 3 พันกว่าล้านเหรียญครับ เมื่อเร็ว ๆ นี้ National Debt Clock ต้องเปลี่ยนใหม่ เพราะหลักตัวเลขมันเต็ม

http://www.usnews.com/blogs/new-money/2 ... clock.html
ผมก็เชื่อว่า น่าจะใกล้เวลาที่ประเทศเหล่านี้จะหยุดสะสมเงินดอลล่าร์แล้วหละ มันเป็นไปได้ยังไงที่จะส่งออกให้อเมริกา แล้วอเมริกาจ่ายกระดาษมาให้ แล้วพวกนี้ก็เอาไปปล่อยกู้ให้อเมริกาเอาเงินมาซื้อสินค้าตัวเองอีก (เหมือนเอาเงินให้ลูกค้ากู้ซื้อสินค้าตัวเอง ลูกค้าเลยเป็นทั้งลูกหนี้เงินกู้และลูกค้า)

ในเมื่อหาก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไปซื้อสินทรัพย์ในอเมริกาเพื่อเป็นการลดภาระหนี้ อเมริกาก็หวงไม่ยอมอีกอ้างเรื่องความมั่นคง แล้วจะให้เอาเงินดอลล่าร์เหล่านี้ไปไว้ที่ไหน เท่ากับค่าเงินยิ่งตก อเมริกาก็ยิ่งเจ็บ

คุณหมอ mprandy คิดว่า จะปลดล็อกตรงนี้ได้ยังไงครับ :?:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 15, 2008 10:41 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:เอาล่ะเรามาเข้าเรื่องกันซะที
อ.แพนด้า อยากถามหน่อยว่ามีความคิดที่จะไปลงทุนใน ตปท หรือไม่

เนื่องจากการลงทุนแบบ buffet ในเมืองไทยนั้น เหมาะมากน้อยเพียงใด เพราะมีหุ้นที่ให้ถือผ่านไป 20-30 ปีแล้วได้เป็น 100 เด้งเหมือน usa นั้นแทบไม่มี เพราะอย่างมากโตในไทยได้ก็เต็มที่ แต่ที่ usa หลายบริษัทสามารถโตได้ทั่วโลก

และในตลาดหุ้นไทยหุ้นที่ได้ผลตอบแทนเยอะๆ ก็เป็นหุ้นในกลุ่ม commodity ซะส่วนใหญ่เช่น pttep scc(กึ่งcommo) และบริษัทพวกนี้เราจะสามารถมองแบบ buffet ได้หรือว่าอีก 10 ปีต่อไปมันควรจะมีมูลค่าเป็นเท่าไหร่ เนื่องจากว่าอีก 10 ปี ก็คงไม่มีใครรู้ราคา commodity

แล้วที่อาจารย์หมอบอกว่าไม่คาดตลาดเพราะว่าคาดไม่เป็นแต่ผมกลับมองว่าคนที่เข้าใจเศรษฐศาสตร์มากอย่าง อ.แพนด้า น่าจะดูแนวโน้มตลาดได้ดีกว่าคนส่วนใหญ่

เล่นหุ้นเมืองไทย ดูเหมือนกับสภาพคล่องมีอิทธิพลสูงมากอย่างหุ้น pttep ปีที่แล้วกำไรก็ไม่โตแต่เงินในระบบดีก็ทำให้คนเข้ามาเก็งเรื่องแหล่งพระอาทิตย์ล่วงหน้า ปีนี้กำไรมาจริงๆ แต่หุ้นลง เพราะฝรั้งออก

แล้วแบบนี้เราจะเล่นหุ้นโดยไม่ดูภาพรวมได้หรือ ในเมื่อเม็ดเงินมีอิทธิพลเหนือปัจจัยพื้นฐาน ผมไม่เถียงว่าบางคนที่หุ้นตัวเล็กแล้วไม่กระทบเท่าไหร่ ก็อาจจะบอกว่า คุณไม่ต้องสนใจฝรั้งหรอก ขอเพียงหุ้นมัน undervalue

ที่พูดๆมานี้ก็คืออยากถามว่า ทำไมอแพนด้าเก่งเรือ่งเม็ดเงินแล้วไม่ลองหัดคาดตลาดดูเหรอครับ(บางคนบอกว่าไม่มีใครทำได้ 100% แต่ผมก็อยากจะบอกว่าปัจจัยพื้นฐานที่คุณคิดมันก็ไม่ 100% เหมือนกันแหละ) ถามเพราะอยาก discuss กันเรื่องแนว buffet ในไทยกับการดูเงินฝรั่ง กับ fundamental ของหุ้นน่ะครับ
ผมยังไม่มีความคิดเรื่องการลงทุนในตลาดต่างประเทศครับ เหตุผลหลักไม่ใช่เพราะว่าตลาดหุ้นไทยมีข้อจำกัดหรอก แต่ผมยังมี circle of competence ไม่ดีเพียงพอ ขนาดกิจการในตลาดหุ้นไทยผมยังรู้ไม่มากเลย ทั้งเรื่องข้อมูลกิจการ งบการเงิน ฯลฯ จะข้ามไปตลาด NYSE หรือ NASDAQ ที่มีกิจการร้อยพ่อ พันแม่ ผมยิ่งไม่มีข้อมูลใหญ่

ถ้าผมจำไม่ผิด กิจการที่ Buffet ลงทุนแล้วได้ผลตอบแทนมหาศาลมีหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการเลือกลงทุนในภาวะตลาดผิดปกติ (เช่น ซื้อ Coca-Cola ในช่วง Black Monday) หรือเกิดปัญหาระยะสั้นในกิจการนั้น ๆ (เช่น Amex กับ Salad oil crisis) ร่วมกับผลตอบแทนของ Dow ที่มากผิดปกติในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา (ARR 5.3% ซึ่งถ้าจะทำได้เท่าเดิม Dow ต้องอยู่แถว 2 ล้านจุดในปี 2099 :shock:)

หุ้น 100 เด้งใน 30 ปีก็มีไม่เยอะใน NYSE หรอกครับ และที่มันเหลืออยู่เจ๋ง ๆ ก็เพราะเป็น survivorship bias ซะเป็นส่วนใหญ่ (ทำนองคนตายไม่ได้พูด ไม่งั้น original Dow คงไม่เหลือแค่ 1-2 จาก 30)

ที่ผมไม่คาดเดาตลาด ไม่ใช่เพราะผมไม่อยากคาดนะครับ ถ้าผมคิดว่าผมคาดตลาดได้ถูกเป็นส่วนใหญ่ ผมคงทำไปแล้ว แต่ผมไม่มีความมั่นใจในการคาดการณ์ขนาดนั้น การลงทุนแบบ focus portfolio ผมคิดว่า microfactor (ปัจจัยที่มีผลต่อกิจการนั้น ๆ) สำคัญกว่า macrofactor (ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดโดยรวม) แม้ผมจะคาดเดาพื้นฐานไม่ถูกต้อง 100% (จะเอาอะไรกับคนลงทุนมาไม่ถึงปีครึ่ง) แต่ถ้าให้ผมคาดการณ์การเติบโตของบริษัทหนึ่ง ๆ ผมอาจจะทำได้ใกล้เคียงกว่าการคาดการณ์ภาวะตลาดโดยรวมว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะถ้าให้ผมคาดระยะยาวเป็นปี

(น่าแปลกใจว่าเป็นอะไรที่นักวิเคราะห์ชอบมาก จะเห็นได้ว่าทุกต้นปี โบรกแทบทุกแห่งจะต้องออกมาคาดการณ์ SET ปลายปีกันเป็นประเพณี แต่มีซักกี่แห่งที่คาดการณ์ได้ถูกต้อง ดูปีนี้เป็นตัวอย่าง มีซักแห่งไหมที่กล้าออกมาบอกว่า SET ปลายปีมันจะเหลือ 500 .. แล้วดูตอนนี้สิ)

ทีนี้การคาดเดาแนวโน้มมีประโยชน์ไหม ผมเห็นว่ามีประโยชน์อย่างยิ่งกับหุ้นวัฏจักรกลุ่ม pure commodity (ไม่เชื่อดูท่านประธานหมอสามัญชนเป็นตัวอย่าง) หรือการคาดเดาภาพรวมแนวโน้มเศรษฐกิจของประเทศเราเองกับการเลือกวิธีการลงทุน (เช่นการปรับเปลี่ยนระหว่างเงินฝาก/พันธบัตร/ตราสารหนี้ กับ ตราสารทุน ในช่วงต่าง ๆ ของวัฏจักรเศรษฐกิจ)

แต่การคาดเดาตลาดหุ้นไทยในสถานการณ์วิกฤตที่หนึ่ง มามีผลกระทบกับเราอย่างตอนนี้ (เด็ดดอกไม้สะเทือนถึงดวงดาว) ผมยอมรับว่ายังไม่มีความสามารถขนาดนั้นครับ

สรุปคือ ผมไม่ได้แอนตี้หลักการลงทุนแบบอื่นนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเด็กเทคนิค, ดู fund flow, ดูภาวะเศรษฐกิจ, ดูพื้นฐานกิจการ หรือข้าไม่สนฉันจะใช้ short against port/go with the flow อย่าง DSM ฯลฯ เพราะที่ตลาดเคลื่อนไหวอยู่ทุกวันนี้ก็เป็นผลจาก interaction ของหลักการลงทุนเหล่านี้ทั้งนั้น (ถ้าคนเห็นเหมือนกันหมด จะมีคนซื้อ คนขายหรือ) ผมมองหลักการลงทุนเหล่านี้เหมือนวิธี ที่เราต้องรู้ข้อเด่น และข้อจำกัดของมัน แล้วใช้ความรู้นั้นให้เป็นประโยชน์

พอเราเรียนรู้เครื่องมือเหล่านี้แล้ว ต้องเอามาปรับให้เข้ากับตัวเองอีก แต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน สไตล์การลงทุนย่อมไม่เหมือนกันแน่ ผมมีงานประจำ งาน labor intensive อย่างผมมีเวลามาติดตามตลาดไม่มาก วันหยุดก็ไม่ได้หยุด (ยกเว้นวันหยุดเทศกาลทั้งหลาย) ทำให้ผมจำกัดตัวเองอยู่กับการลงทุนโดยมองระยะยาวเป็นหลัก เพราะการมองระยะยาวทำให้ผมไม่ต้องกังวลกับภาพระยะสั้นเท่าไหร่ ไม่ต้องเร่งตัวเองด้วย return rate ที่ต้องหรูหรา เลือกกิจการที่ถือแล้วหลับสนิทได้ตอนนอน ฯลฯ

ถ้าเรายอมรับมันแล้วก็น่าจะลงทุนได้อย่างมีความสุข

ป.ล. ผมก็ยังเรียนรู้อยู่ทุกวันครับ น้องฮง หรือพี่ ๆ ท่านอื่น สอนผมเรื่องอื่นที่ผมไม่รู้บ้างสิ อย่างบัญชี, fund flow หรือ business model อะไรทำนองนี้อ่ะ

(ผมจะไม่อยู่หลายวันครับ ไปประชุม ตจว.อีกแล้ว หวังว่าตลาดคงไม่ตกมาก ๆ อีกนะ อาทิตย์ก่อนก็พลาดช่วง sale มาทีนึงแล้ว)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 16, 2008 12:23 am
โดย hongvalue
mprandy เขียน:
พอเราเรียนรู้เครื่องมือเหล่านี้แล้ว ต้องเอามาปรับให้เข้ากับตัวเองอีก แต่ละคนมีพื้นฐานต่างกัน สไตล์การลงทุนย่อมไม่เหมือนกันแน่ ผมมีงานประจำ งาน labor intensive อย่างผมมีเวลามาติดตามตลาดไม่มาก วันหยุดก็ไม่ได้หยุด (ยกเว้นวันหยุดเทศกาลทั้งหลาย) ทำให้ผมจำกัดตัวเองอยู่กับการลงทุนโดยมองระยะยาวเป็นหลัก
ผมว่าเป็นสิ่งที่สำคัญ เพราะว่ารู้ว่าสภาพแวดล้อมตัวเอง
เหมาะกับการลงทุนในรูปแบบใด

อันนี้เห็นด้วยเลยคับ


mprandy เขียน:[





ที่ผมไม่คาดเดาตลาด ไม่ใช่เพราะผมไม่อยากคาดนะครับ ถ้าผมคิดว่าผมคาดตลาดได้ถูกเป็นส่วนใหญ่ ผมคงทำไปแล้ว แต่ผมไม่มีความมั่นใจในการคาดการณ์ขนาดนั้น การลงทุนแบบ focus portfolio ผมคิดว่า microfactor (ปัจจัยที่มีผลต่อกิจการนั้น ๆ) สำคัญกว่า macrofactor (ปัจจัยที่มีผลต่อตลาดโดยรวม) แม้ผมจะคาดเดาพื้นฐานไม่ถูกต้อง 100% (จะเอาอะไรกับคนลงทุนมาไม่ถึงปีครึ่ง) แต่ถ้าให้ผมคาดการณ์การเติบโตของบริษัทหนึ่ง ๆ ผมอาจจะทำได้ใกล้เคียงกว่าการคาดการณ์ภาวะตลาดโดยรวมว่าจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะถ้าให้ผมคาดระยะยาวเป็นปี

[/quote]


ผมคิดว่าถ้า อ.แพนด้า ลองทำ port ในใจขึ้นมาดูสิครับ
แบบว่าไม่ต้องใช้เงินจริงๆ แล้วลองใช้ความรู้ทางเศรษฐศาสตร์ที่มีแล้วลองคาดดูสิครับว่า ถ้าเป็นยังงั้นยังงี้
เม็ดเงินน่าจะเข้าออกยังไง

ถ้าลองทำใส่ port จำลองแล้วไม่ได้ผลก็แสดงว่าไม่ได้จริงๆ

แต่มันอาจจะทำให้ อ.แพนด้า(ตกลงชื่อแพนด้าตั้งแต่ตอนไหนเนี้ย เรียกแต่แพนด้าอยู่นั้นแหละ :lovl: ได้
ค้นพบวิธีการใหม่ๆก็ได้นะครับ)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 16, 2008 12:29 am
โดย hongvalue
mprandy เขียน: สอนผมเรื่องนที่ผมไม่รู้บ้างสิ อย่างบัญชี, fund flow หรือ business model อะไรทำนองนี้อ่ะ
อืมอืม เดี่ยวผมส่งของดีไปให้ครับ

เป็นวิชาที่ผมไปร่ำเรียนมา

เดี่ยวส่งเอกสารไปให้นะครับ

แล้วถ้ามีอะไรที่ผมช่วยได้ก็บอกได้เลยครับ

ผมยินดีช่วย

เพียงแต่ผมงง ว่า หมอแพนด้า บอกว่าไม่ค่อยรู้เรื่องบัญชี
กับ fundflow เหรอครับ

แล้วที่ผมถามแล้วตอบได้เป็นฉากๆเนี้ยคือรู้ชัดเจนเลยครับ

ส่วนเรื่องบัญชีเท่าที่อ่านในร้อยคนร้อยหุ้นก็รู้เยอะนะครับ


ผมเลยไม่รู้จะสอนหนังสือสังฆราชยังไง

เอาเป็นว่าอุตส่าห์เสียเวลามาตอบผมตั้งนาน

เดี่ยวผมจะส่งของที่คิดว่าผมเคยไปเรียนแล้ว

อ.หมอยังไม่มีไปให้แล้วกัน เป็นการตอบแทนที่

ตอบคำถามให้ผมอย่างเต็มที่

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 16, 2008 1:36 am
โดย IAMLEARNING
ไม่ค่อยมีความรู้เรื่องหุ้นครับ แต่ชอบไอเดีย "false sense of confidence"

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 17, 2008 7:58 pm
โดย mprandy
ignorant เขียน: ผมก็เชื่อว่า น่าจะใกล้เวลาที่ประเทศเหล่านี้จะหยุดสะสมเงินดอลล่าร์แล้วหละ มันเป็นไปได้ยังไงที่จะส่งออกให้อเมริกา แล้วอเมริกาจ่ายกระดาษมาให้ แล้วพวกนี้ก็เอาไปปล่อยกู้ให้อเมริกาเอาเงินมาซื้อสินค้าตัวเองอีก (เหมือนเอาเงินให้ลูกค้ากู้ซื้อสินค้าตัวเอง ลูกค้าเลยเป็นทั้งลูกหนี้เงินกู้และลูกค้า)

ในเมื่อหาก จีน ญี่ปุ่น ไต้หวัน ไปซื้อสินทรัพย์ในอเมริกาเพื่อเป็นการลดภาระหนี้ อเมริกาก็หวงไม่ยอมอีกอ้างเรื่องความมั่นคง แล้วจะให้เอาเงินดอลล่าร์เหล่านี้ไปไว้ที่ไหน เท่ากับค่าเงินยิ่งตก อเมริกาก็ยิ่งเจ็บ

คุณหมอ mprandy คิดว่า จะปลดล็อกตรงนี้ได้ยังไงครับ :?:
ผมกลัวว่าจะเป็นไปในทางตรงกันข้ามกับที่คุณ ignorant ว่ามาอ่ะสิครับ

เมื่อเร็ว ๆ นี้ EU ก็ออกมาประกาศว่าจะเอาระบบ Bretton Woods ขึ้นมาใช้ใหม่ (ระบบค่าเงินคงที่ผูกติดกับดอลลาร์)

คราวก่อนก็เน่าเพราะไอ้เจ้านี่ทีนึงแล้ว คราวนี้จะเอามาใช้ใหม่ได้ยังไง ??

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 17, 2008 8:26 pm
โดย hongvalue
หมอเอ็มเคยอยู่อเมกาถามหน่อยครับ

ว่าพฤติกรรมการเล่นหุ้นของรายย่อยอเมกาถ้าเทียบกับไทยเป็นอย่างไร เช่น

1.ชอบฟังข่าว จ้าวเล่น ใช่ป่าว
2.เชื่อนักวิเคราห์ไปหมดใช่ป่าว
3.รู้สึกว่าสัดส่วนรายย่อยที่นั้นจะน้อย แต่เน้นไปลงทุนใน
กองทุนรวมแทน ใช่หรือไม่


อยากให้เล่าพฤติกรรมรายย่อยใน usa ให้ฟังหน่อย