คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
ภาพประจำตัวสมาชิก
ปรัชญา
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 18252
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 61

โพสต์

Frankie เขียน:ยากจริง ๆ โคบ้าคืออะไร :roll:  :?:
555  ตกลงเอา เนื้อวัว  เครื่องในวัว  ไขมันวัว  หรือหนังดีครับ
fantasia
Verified User
โพสต์: 674
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 62

โพสต์

หรือว่าหมายถึง หนังวัว ว่า เริ่มไม่แน่ใจ

หมดกระดูก หมดหนัง หมดตัว หมดหัวใจ

ก็เหลือแต่หนัง ถ้าหนังวัว ก็มีสองตัว ถ้าเอาตัวที่มีปันผลก็มีตัวเดียว

ตัวนี้คุณ LOSO เคยเตือนทีนึงสมัยก่อน
ภาพประจำตัวสมาชิก
nott
Verified User
โพสต์: 87
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 63

โพสต์

ที่เล่นหุ้นกันส่วนใหญ่จะเข้าใจลักษณะกิจการได้ดี แต่จะรู้จักผู้บริหารน้อยมากๆถ้าไม่ได้เป็นคนรู้จักหรืออยู่ในวงการนั้น ทั้งๆทีมันสำคัญมาก(ประกาศงบก็เห็นๆกันว่าผู้บริหารทำพิษกันได้มากแค่ไหน) อยากให้มีห้องพิเศษคุยเรื่องผู้บริหารของแต่ละบริษัทเหมือน แต่คงเป็นไปไม่ได้เพราะวิจารณ์ตัวบุคคลมันคงไม่ดีครับ
Saitthasak
Verified User
โพสต์: 174
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 64

โพสต์

เป็นบทเรียนที่ดี
stockms
Verified User
โพสต์: 920
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 65

โพสต์

งบดีดี...ดูให้ดี...
งามเทวี....ทีบลิวพี....
โคดีๆ...ซีพีแอน...
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 66

โพสต์

เฉลยกันแล้วเหรอ

ใครยังไม่รู้ ถ้าคุณไม่มีหุ้นในหมวดแฟชั่น ไม่ต้องเป็นห่วงนะ

เอ้ะ ห้องร้อยหุ้นก็มีแฮะ
ภาพประจำตัวสมาชิก
yoyo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4833
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 67

โพสต์

โคบ้านี่แต่ก่อนพี่ Genie เคยถืออยู่ครับ.. เข้าใจว่าเจ็บตัวไปเหมือนกัน
ไม่รู้ตอนนี้พี่แกหายไปไหนแล้ว .. ไม่โผล่มาให้เห็นบ้างเลย
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 68

โพสต์

หุ้นที่ผมรู้จักผู้บริหาร ครึ่งบ. รูจักลูกผุ้บริหารครึ่งบ.
มีเพื่อนทำงานนับได้เกิน 10 นิ้ว เห็นสินค้าแทบทุกวัน
งบดี โบรกเชียร์ซื้อทุกโบรก
.
.
.
.
.
.
.
.
.
ซื้อแล้วยังขาดทุน  :shock:
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ระวังนะครับ ..........................

ไตรมาสต่อไปจะทําเจ๊งให้ดู ................

เห็นว่ายังมีคน " ดื้อ " .........................
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ขอเตือนอีกครั้งด้วยความเป็นห่วง ...............

อย่าเอาหัวไปชนฝา  !!!!

หัวแตกป่าวป่าวววววววววววววววววววว ............................






บางท่าน ท่านดีเจงเจง .................................


เวลาจะขายของ .........................

ประกาศผลประกอบการสวยหรู  แจ้งข่าวโครงการอนาคตสวยหรู .................



พอขายของหมด .........................



จะเอาของคืน ...................

ประกาศงบห่วยๆ .....................

ไม่ขาย ใช่มั้ยยยยยยยยยยยยยยย...........................................

ไตรมาสต่อไปจะทําเจ๊งให้ดู ......................



ดื้อใช่มั้ย  ไม่ยอมขายใช่มั้ย ..................

ไตรมาสต่อไปจะโดนหนักกว่านั้น .......................

สุดท้ายต้องขายทั้งนํ้าตา ......................



สู้ไหวหรือครับ แบบนี้  !!!!!
พลพล คนกันเอง
Verified User
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 71

โพสต์

" สู้โว้ยยยยยยยยยยยย"   ........................

" ตายเป็นตายยยยยยยยยยย"  .......................




หุ้นในตลาดมีตั้งหลายร้อยตัว .....................

" อย่าต้อนตัวเองเข้ามุมอับ " !!!!!!
javidol
Verified User
โพสต์: 442
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 72

โพสต์

" เสียเงินข้าไม่ว่าาาาาาาา"   ........................

" แต่เสียหน้าข้าไม่ยอมมมมมมมมมม"  .......................


(-__-")
ภาพประจำตัวสมาชิก
LOSO
Verified User
โพสต์: 2512
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 73

โพสต์

ระวังนะครับ ..........................

ไตรมาสต่อไปจะทําเจ๊งให้ดู ................

เห็นว่ายังมีคน " ดื้อ " .........................
beammy
Verified User
โพสต์: 3345
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 74

โพสต์

ผมยังดื้อครับพี่ LOSO

อิอิ  8)  ...
พลพล คนกันเอง
Verified User
โพสต์: 109
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 75

โพสต์

งบ Q1/50 ออกมาแบบนี้ .......................

แสดงว่า มีคน " ดื้อ "  เยอะ ...................................
nanchan
Verified User
โพสต์: 2938
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 76

โพสต์

อ้าว ผู้ใหญ่เค้าบอกแล้วยังจะดื้ออีกนะ

อ้าว ท่านผู้ใหญ่ ช่วยบอกตรงๆหน่อยว่าตัวไหน

ข้าน้อย เบาปัญญา ไม่รู้จริงๆ
เฝ้าดูไป โดยใจที่เป็นกลาง
ภาพประจำตัวสมาชิก
Luty97
Verified User
โพสต์: 1520
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 77

โพสต์

ยอมรับครับว่า "สั่งได้จริงๆ"  :lol:
หลักของความสมดุล
ภาพประจำตัวสมาชิก
CEO
Verified User
โพสต์: 1243
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 78

โพสต์

:lol:  :lol:  :lol:  :lol:  :lol:

ผมม่ายรู้เรื่องด้วยนะ มาช่วยสู้เว๊ยเจ๋ยๆนะ
juntuma
Verified User
โพสต์: 464
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ตัวนี้เล่นง่ายดีเจง ๆ  (จ้าวมือ)
ครั้งสุดท้ายผมได้มายี่สิบห้าเปอร์เซ็นต์



แต่มีแค่ร้อยหุ้น   :lol:  :lol:  :lol:
เชื่อแล้วครับ  พี่มีดอีโต้  ประวัติศาสตร์มักซ้ำรอยเดิม
ที่ปั่น ๆ  กันขึ้นมาก่อนงบออก  เหมือนไตรมาสที่แล้วเปี๊ยบ

จะจำโบรค  เอเอสพี  ไว้  สงสัยเป็นลูกมือ

ราคาเหลือสองบาท  แล้วคงมีประกาศรับงานได้แล้วสี่พันล้าน   :lol:  :lol:  :lol:
sattaya
Verified User
โพสต์: 1372
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 80

โพสต์

ต้องกราบงามๆ ให้กับพี่ๆ ทุกท่านที่กรุณาให้ความรู้แก่ข้าน้อย
:bow:  :bow:  :bow:
ข้าน้อยจะฝังใส่รอยหยักสมองไม่มีลืม
sunrise
Verified User
โพสต์: 2266
ผู้ติดตาม: 0

คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ขอบคุณพี่ๆ มากครับ

เป็นความรู้ ที่ดีมากๆ
history repeat itself จริงๆ  :)
การลงทุนคือความเสี่ยง
แต่ความเสี่ยงสูงคือ ไม่รุ้ว่าอะไรคือจุดชี้เป็นชี้ตายของบริษัท
ความเสียงสุงที่สุด คือ ไม่รู้ว่าเลยว่าตัวเองทำอะไรอยู่
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ขอขุดกระทู้นี้ขึ้นมารวบรวมข้อมูลและข่าวที่เกี่ยวข้องกับ "ผู้บริหาร" นะครับ
ขอเริ่มต้นจากข่าวเก่าๆ ที่ผมรู้สึกสนใจก่อนนะครับ ^ ^

===========================================================

บุญชัย เบญจรงคกุล Last Chance
โดย ไพเราะ เลิศวิราม
นิตยสารผู้จัดการ( กุมภาพันธ์ 2543)

--------------------------------------------------------------------------------

การตัดสินใจอย่างกล้าหาญชาญชัยของบุญชัย เบญจรงคกุล ต่อการบุกยึดอำนาจ ในแทค เป็นปฏิบัติการแบบสายฟ้าแลบ ที่มีคนตั้งคำถามมากมาย แต่คนที่น่าจะเข้าใจ และรู้ความหมายจริงๆ ก็น่าจะมีภูษณ ปรีย์มาโนชรวมด้วย

อันที่จริงแล้ว การเข้ามานั่งเก้าอี้ "กรรมการผู้จัดการ? บริษัทโทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น หรือแทค ของบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรม การบริหารบริษัทยูไนเต็ด คอมมูนิเก-ชั่น อินดัสตรีส์ หรือยูคอม เมื่อวันที่ 13 มกราคม 2543 น่าจะเป็นเรื่องธรรม- ดาสามัญของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่จะเข้ามาดูแลกิจการในบริษัทลูก ในยามหน้าสิ่วหน้าขวานเช่นนี้

แต่การตัดสินใจของเขาในวันนั้น กลับกลายเป็นเรื่องของปฏิบัติการแบบเบ็ดเสร็จ ที่บุญชัยตัดสินใจประกาศเข้ามานั่งเก้าอี้กรรมการผู้จัดการ ต่อ ที่ประชุมผู้ถือหุ้น โดยไม่ได้อยู่ในวาระในการประชุมผู้ถือหุ้นมาก่อน และ ที่สำคัญเป็นเรื่อง ที่ผู้บริหารของแทคไม่รู้มาก่อน และจะรู้ไม่ได้

เป็นการกระทำ ที่แตกต่างไปจากบุคลิกประนีประนอมของบุญชัยอย่างสิ้นเชิง

"ในฐานะของผู้ที่มีความรับผิดชอบสูงสุด และมีบทบาท ที่จะชี้ชะตาบริษัทสูงสุด สิ่งที่ต้องทำก็คือ วันที่ 13 มกราคม ถ้าไม่ทำก็ถือว่าไม่รับผิดชอบ นั่นเป็นโอกาสสุดท้ายแล้วสำหรับผม ถ้าไม่เคลียร์ปัญหาเหล่านี้ให้จบสิ้นโดยเร็ว? คำกล่าวของบุญชัย ที่บอกกับ "ผู้จัดการ? มีความหมายยิ่งนัก

บุญชัยให้สัมภาษณ์ "ผู้จัดการ? ในห้องทำงานใหม่บนชั้น 29 ตึกชัย ที่เคยเป็นห้องที่ภูษณใช้บัญชาการแก่ผู้บริหารมืออาชีพทุกๆ เช้า เป็นการให้สัมภาษณ์หลังจากปฏิบัติการยึดอำนาจ แบบเบ็ดเสร็จมาได้เพียง 2 วัน คำพูด ที่เขาให้สัมภาษณ์จึงยังเต็มไปด้วยอารมณ์

เพราะผลจากการกระทำของบุญชัยในวันนั้น หมายถึงการที่บุญชัย และภูษณจะไม่สามารถเดินร่วมเส้นทางกันได้อีกต่อไป และเป็นการปิดฉากความสัมพันธ์ระหว่างเจ้าของกิจการ และลูกจ้างมืออาชีพ ที่เคยร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กันมาถึง 18 ปีเต็ม

บุญชัยเองก็เคยพูดอยู่บ่อยครั้งว่าความสำเร็จของยูคอมเกิดจากการทำงานร่วมกันระหว่างเขา และภูษณ จนสามารถรู้ใจ รู้ความคิด ของกัน และกัน ไม่ว่าจะเป็นกรณีใด จะรู้ทันทีว่าอีกฝ่ายคิดอะไร รู้ว่าอีกฝ่ายชอบหรือไม่ชอบอะไร รับอะไรได้หรือไม่ได้ ดังนั้น เมื่อทำธุรกิจ หรือจะลงทุนธุรกิจไหน ต่างก็ตัดสินใจได้ทันที

แต่ความรับผิดชอบในฐานะเจ้า ของกิจการ เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ที่สุด และในฐานะความรับผิดชอบ ที่มีต่อตระกูลเบญจรงคกุล ทำให้บุญชัยต้องตัดสินใจ

เพราะสิ่งที่บุญชัยต้องเผชิญอยู่ในเวลานี้ ไม่ใช่เรื่องของความขัดแย้งระหว่างเจ้าของกิจการ และผู้บริหาร มืออาชีพธรรมดา แต่มันหมายถึงความอยู่รอดของแทค อันเป็นทรัพย์สมบัติอันมีค่าที่สุด เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ ของตระ-กูลเบญจรงคกุล ไม่ใช่สายการบิน ดาว เทียม หากแทคเป็นอะไรลงไปย่อมหมายถึงความอยู่รอดของตระกูลเบญจ-รงคกุล ที่สุจินต์ เบญจรงคกุล ผู้เป็นพ่อบุกเบิก และสร้างมากับมือจะต้องมา ล่มสลายในมือของเขา

และอุปสรรคสำคัญที่สุด ที่ทำ

ให้การเยียวยาแก้ปัญหาของแทค ไม่สามารถลุล่วงไปได้ ก็คือ มืออาชีพ ที่บุญชัยรู้ใจที่สุดของเขานั่นเอง

เป็นสิ่งที่บุญชัย จะยอมไม่ได้ !

สภาพของแทคเวลานี้ ในสายตา ของบุญชัย ก็คือ ธุรกิจ ที่กำลังประสบปัญหาอย่างหนัก จากหนี้สินก้อนมหึมา ภาวะบีบรัดในเรื่องการแข่งขัน และการที่แทคเองก็อ่อนแอลงอย่างมากหลังจากเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ที่ผ่านมาแทคจึงไม่ต่างอะไรกับคนไข้เจ็บหนัก ที่จำเป็นต้องได้รับการเยียวยาเป็นการด่วน

การปรับโครงสร้างหนี้ของแทค มูลค่า 573 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่ทำขึ้นใน ปี 2541 เป็นการยืดระยะเวลาการชำระหนี้ออกไป 5 ปี เป็นการแบ่งจ่ายเป็นงวด เพื่อให้มีกำลังชำระหนี้ ยูคอมจะจ่ายน้อยมากในช่วงปีที่ 1-4 พอมาถึงปีที่ 5 ยูคอมต้องเทจ่ายทีเดียว 308 ล้านบาท เป็นการประนอมหนี้ ที่แตกต่างไปจาก กรณีของทีเอ และสามารถ มีการลดหนี้ (Hair Cut) หรือแปลงหนี้เป็นทุน เป็นการบรรเทาภาระในการจ่ายหนี้สินลงได้มาก

แทคมีหนี้พิเศษ ที่อยู่ภายใต้เงื่อนไขของ การยืดหนี้ จำนวน 80 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,200 ล้านบาท ที่จะต้องชำระภายในสิ้นปี เป็นเงื่อนไขสำคัญ ที่ทำให้บุญชัยมองว่าด้วยสภาพ ที่แทคเป็นอยู่เวลานี้ ไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะหา Strategic Partner นำเงินเข้ามา เพื่อนำเงินจากการขายหุ้นมาชดใช้หนี้ก้อนนี้

ปีที่แล้วแทคได้เพิ่มทุนจำหน่าย หนี้ให้กับนักลงทุนเฉพาะกลุ่ม จำนวน 26.4 ล้านหุ้น ราคาหุ้นละ 2.65 เหรียญสหรัฐ (106 บาท) เพื่อนำเงินมาชำระหนี้พิเศษก้อนแรกให้แก่เจ้าหนี้ มูลค่า 70 ล้านเหรียญสหรัฐ (2,800 ล้านบาท) ภายใต้ข้อตกลงของการยืดหนี้ ที่ทำไว้ การจะใช้วิธีเพิ่มทุนเป็นเรื่อง ที่ละเอียดอ่อน และอันตรายเกินไปกับการบริหารกิจการที่มีหุ้นกระจายอยู่ในมือผู้ถือหุ้น รายย่อยมากเกินไป

โครงสร้างผู้ถือหุ้นของแทคภายหลังการเพิ่มทุนในปีที่แล้ว ก็คือ ยูคอมจะมีสัดส่วนการถือหุ้นลดลงจาก 68% เหลือ 65.10% ที่เหลือเป็นหุ้นขององค์ การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) 10.60% ผู้ถือหุ้นรายย่อย 24.40%

"เพราะถ้าทำอะไรให้เกิดความไม่เข้าใจจะกระทบต่อราคาหุ้นทันที สำหรับบริษัท ที่มีหนี้ เรื่องสำคัญ ที่ต้องคำนึงถึงมากๆ ก็คือ หนี้สินต่อทุน? บุญชัยเล่าให้ "ผู้จัดการ? ฟัง

ลึกลงไปกว่านั้น บุญชัยรู้ดีว่า การเพิ่มทุนด้วยการขายหุ้นในตลาด หลักทรัพย์ ไม่ส่งผลดีต่อผู้ถือหุ้นใหญ่แน่ หากหุ้นกระจัดกระจายไปอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นรายย่อย จะเป็นอุปสรรคสำคัญต่อการทำให้เอกภาพในการบริหาร ให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

ในทางกลับกันหุ้นไปอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นรายย่อยจะเป็นประโยชน์ต่อผู้บริหารมืออาชีพ ที่จะอาศัยการขาดเอกภาพจากหุ้น ที่กระจัดกระจาย เข้ามามีบทบาทในการบริหารงาน โดยที่ไม่มีผู้ถือหุ้นรายใดเข้ามายุ่งเกี่ยวได้ สิ่งที่ตามมาก็คือ การมองการลงทุน ที่แตกต่างกันระหว่างผู้ถือหุ้นรายใหญ่ และรายย่อย

เป็นปัญหาใหญ่ ที่บุญชัยจะยอม ไม่ได้ !

ซึ่งครั้งหนึ่งบุญชัยเองก็เคยต้องยินยอมเปิดทางให้กับบริษัท Sommers (UK) Limited เข้ามาเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ก็ เพื่อต้องการพยายามรักษาอำนาจในการบริหารเอาไว้ (อ่านล้อมกรอบ)

นอกเหนือจากหนี้กู้ยืมเงินจากสถาบันการเงิน แทคมีภาระ ที่ต้องหาเงินมาชำระหนี้ก้อนใหญ่ ซึ่งไม่ได้รวมอยู่ในการประนอมหนี้ เป็นหนี้ ที่เกิดจากการออกหุ้นกู้แปลงสภาพ จำนวน 350 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 14,000 ล้านบาท เป็นส่วนของ ECD (Europian Convertible Debenture) ผสมกับแยงกี้บอนด์ เป็นภาระอันหนักอึ้ง ที่แทคจะต้องชำระภายในปี 2001 ที่จะถึงนี้

"วันนี้หลับตานึก เงินจำนวนนี้ไม่ รู้จะหามาจากไหน แทคจะขายอะไรได้เงินหมื่นกว่าล้านบาท ขายตึกก็ไม่ได้ ขายเซลไซต์ก็ไม่ได้ ขายแอร์ไทม์ ยอดรายรับทั้งปีหักค่าใช้จ่ายแล้วเหลือไม่ถึงสองพันล้านบาท หักดอกเบี้ยยังไม่พอ นี่คือ ปัญหาใหญ่? บุญชัยเปิดใจ

แทค ในเวลานี้ตกอยู่ในสภาพ ที่อ่อนแอลงมากๆ ไม่อยู่ในภาวะ ที่จะแข่งขันกับคู่แข่งในตลาดโดยเฉพาะ เอไอเอส ที่เข้มแข็งเอามากๆ ในช่วง ที่ผ่านมา และต้นเหตุของการบริหารงาน ที่ผิดพลาดไม่ได้มองสภาพของปัญหา ที่เกิดขึ้นอย่างแท้จริงได้

บุญชัยมองว่าการวางแนวรบในเรื่องการแข่งขันของแทค ไม่ได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับสภาพ ที่แท้จริง แทคยังคงใช้กลยุทธ์การตลาดท้าชนกับเอไอเอส ทั้งๆ ที่แทคไม่มีความพร้อมเหมือนในอดีตอีกแล้ว

"ปัจจุบันเราถือว่าด้อยกว่าเขาอยู่แล้ว เรามองเอไอเอสเป็นคู่แข่งทั้งๆ ที่เรายังแย่อยู่ ทุกคนต้องยอมรับความจริง ต้องยอมรับไปในแนวเดียวกัน แต่ความจริงไม่ใช่ มันปนเปกันไปหมด ทิศทางการเมืองเอย อะไรเอย การแข่งขันในตลาดก็ทำไปในแนวทาง ที่ไม่แข็งแรง ไม่ชัดเจน ลูกค้าคือ ใคร เป็นยังไงเรายังไม่รู้เลย? บุญชัยกล่าว

ดังนั้น ถึงแม้แทคจะมียอดขายเพิ่มขึ้นทุกเดือน แต่แทคจะมียอดคืนเครื่องทุกเดือนที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือ กลยุทธ์การตลาดที่ต้องการเร่งเพิ่มยอดขายต้องใช้งบลงทุน มากกว่าการรักษาฐานลูกค้าให้อยู่ในมือมากกว่าหลายเท่า ตัวนัก

นอกจากนี้ ปัญหาความผิดพลาดในเรื่องของการไม่โฟกัสธุรกิจ ขยายการลงทุนในธุรกิจ ที่ไม่เกี่ยวเนื่อง และมีความซ้ำซ้อนกับยูคอม เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งของแทคในสายตาของบุญชัย

"ผมตอกย้ำเสมอว่า ที่นี่คุณต้องไม่ลืมว่า แทคเป็นบริษัทสัมปทาน ไม่ได้ฟรีเหมือนกับบริษัททั่วไป เงื่อนไขหลายอย่างคุณทำไม่ได้ ไม่ใช่เดินไปแล้วบอกทำ ต้องไปขออนุมัติการสื่อสาร เพราะคุณเป็นผู้รับช่วงจากการสื่อสารเท่านั้น มีข้อจำกัดเยอะ รายได้ก็ต้องแบ่งให้การสื่อสาร และบางอย่างเขาก็จำกัดไม่ให้ทำ และถ้าให้ผมเลือกกับการที่จะเอาเงินไปลงในธุรกิจอินเตอร์เน็ตหลายร้อยล้านบาท สู้ผมเอาเงินไปลงเพิ่มคุณภาพให้การบริการไม่ดีกว่าหรือ? บุญชัยระบายความรู้สึก

ภายใต้สภาพ ที่มีหนี้ท่วมตัว และอ่อนแออย่างมาก แทคยังต้องมาเจอแรงบีบคั้นจากการแข่งขันในตลาดโทรศัพท์มือถือ จากจำนวนคู่แข่ง ที่เพิ่มขึ้นในตลาดที่สำคัญ ซึ่งเป็นคู่แข่งโดยตรง ที่อยู่ในระบบดิจิตอล จีเอสเอ็ม 900 เป็นตลาดเดียวกับแทค

คู่แข่งใหม่ทั้งสองรายนี้ เป็นผลพวงเกิดจากการที่แทคได้เคยเซ็งลี้ ตัดแบ่งขายไลเซนส์โทรศัพท์มือถือคลื่นความถี่ 1800 ขายออกไปให้กับกลุ่ม สามารถ และไออีซี ของกลุ่มเอ็มกรุ๊ป

ยิ่งไปกว่านั้น การจับคู่กันระ-หว่างชินคอร์ป และดีพีซี เป็นยุทธ ศาสตร์การรวมกิจการที่น่ากลัวมากๆ และจะส่งผลกระทบโดยตรงกับแทคจากการที่คู่แข่งขันจะมีศักยภาพในการแข่งขันเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าตัว

"มันไม่เหมือนการแข่งขันกับเอไอเอส เป็นเครื่องคนละระบบ ลูกค้าจะเอาชิป 1800 มาใส่เครื่อง ที่ใช้ระบบ

จีเอสเอ็ม 900 ไม่ได้ แต่ถ้าเป็นระบบ 1800 เหมือนกับเขาใส่ได้ทันที ตรงนี้สิน่ากลัว? บุญชัยกล่าว

การรวมกิจการของทั้งสอง นอก จากจะทำให้ เอไอเอส และดีพีซี กลายเป็นเจ้าของส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 60 % ของตลาดโทรศัพท์มือถือ

การผนึกกิจการครั้งนี้ ทั้งเอไอเอส และดีพีซีจะไม่มีอุปสรรคในเรื่องของเทคโนโลยีระหว่างระบบจีเอสเอ็ม 900 และจีเอสเอ็ม 1800 ยังเท่ากับเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์การผนึกกิจการระหว่างบริษัทโทรคมนาคม การใช้เครือข่ายร่วมกันในลักษณะ duo mode ที่มีการพัฒนาให้ระบบทั้งสองทำงานร่วมกันได้อยู่แล้ว ซึ่งเวลานี้ก็มีการนำเครื่องลูกข่ายรุ่นใหม่ๆ ที่เป็นระบบ duo mode ออกมาวางจำหน่ายมากพร้อมจะทำตลาดได้ทันที

ที่สำคัญ ระบบจีเอสเอ็ม 900 ของเอไอเอส ที่เป็นคู่แข่งสำคัญของแทค จะแข็งแรงขึ้นมาทั่วประเทศทันทีจากการ รวมกิจการของดีพีซีในครั้งนี้

ปัญหาเทคโนโลยีระหว่างจี-เอสเอ็ม 900 และจีเอสเอ็ม 1800 ที่ แตกต่างกันก็คือ สัญญาณความแรง ของcell site ระหว่างระบบทั้งสอง จีเอสเอ็ม 900จะมีสัญญาณความแรง ที่กว้างไกลกว่า เหมาะสำหรับการติดตั้งในต่างจังหวัด ที่จำเป็นต้องให้ครอบคลุมพื้นที่มากที่สุด

แต่ความเล็กของ cell site ของระบบจีเอสเอ็ม 1800 จะทำให้ระบบนี้มีสัญญาณ ที่สามารถทะลุทะลวงได้ดีกว่า ระบบจีเอสเอ็ม 900 เหมาะสำหรับการใช้ในเมือง ที่มีประชากรหนาแน่น ทำ ให้ระบบบริการของจีเอสเอ็มพ่ายแพ้ต่อจีเอสเอ็ม 1800 ในเขตตัวเมืองมาตลอด

"การจับคู่กัน เท่ากับเป็นการขจัดจุดอ่อนของจีเอสเอ็ม ที่มีอยู่เดิมออกไปได้ทันที เอไอเอสจะมีเครื่องลูกข่ายระบบ duo band เสริมเข้าไปในพื้นที่ ที่เป็น cell site ของดีพีซี ที่อยู่ในเขตกรุงเทพฯ เครื่องลูกข่ายจะทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้การครอบคลุมพื้นที่ของจีเอสเอ็มแข็งแรงขึ้นทันที? บุญชัยสะท้อนเรื่องนี้กับ "ผู้จัดการ?

ขณะเดียวกัน ดีพีซี ซึ่งใช้ระบบ จีเอสเอ็ม 1800 จะมีเครือข่ายเพิ่มขึ้นทันที 10 เท่าตัว ภายในเวลาเพียงไม่กี่วัน โดยอาศัยเครือข่ายของเอไอเอส ที่มีพื้นที่ครอบคลุมอยู่ทั่วประเทศ

การรวมกิจการดีพีซี และเอไอเอส ไม่ได้หมายถึงการรวมกันของ โอเปอเรเตอร์สองรายแต่เท่ากับเป็นการรวมกลุ่มของโอเปอเรเตอร์ข้ามชาติ

พันธมิตรข้ามชาติ ที่อยู่ข้างของเอไอเอสก็คือ สิงคโปร์เทเลคอม และ ดีพีซี ก็มีมาเลเซียเทเลคอม ซึ่งทั้งบริษัทสื่อสารข้ามชาติทั้งสองรายนี้ก็มีเครือข่ายธุรกิจโทรศัพท์มือถือ ที่ลงทุนอยู่ในประเทศต่างๆ มากมาย ที่จะทำให้การโรมมิ่ง ทั้งจากระบบเดียวกัน และต่างระบบครอบคลุม การผนึกกิจการของดีพีซี และเอไอเอส จึงเท่า กับเป็นการตอบสนองยุทธศาสตร์ Globalization ที่จะก่อให้เกิดอำนาจต่อรองทางการแข่งขัน สำหรับการเปิดเสรี ที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า

บริษัท ไวร์เลส คอมมูนิเคชั่นส์ เซอร์วิส หรือ WCS เป็นโอเปอเรเตอร์อีกรายที่แทคได้แบ่งขายคลื่นความถี่ให้กับกลุ่มเอ็มกรุ๊ป แต่เป็นการถือหุ้นร่วมกันระหว่างแทค และไออีซี ของกลุ่ม เอ็ม กรุ๊ป แต่ต่อมาเกิดปัญหาขึ้น กลุ่ม เอ็มกรุ๊ปได้ถอนตัวออก เหลือแต่แทค ที่ยังมีหุ้นอยู่บางส่วน หุ้นส่วนใหญ่ยังคงถือโดยบริษัทโกลด์แมนแซคส์ และบริษัทโคเรียเซลลูลาร์

"ผู้ถือหุ้น 2 ราย เขาบอกแล้วว่า เขาต้องการขายหุ้นของ WCS ออกไป และก็กำลังเจรจากับบริษัทสื่อสารโทร-คมนาคมทั่วโลกเราเองคงไม่มีปัญญาไปซื้อหุ้นพวกนี้ขึ้นมา เจ้าหนี้เองก็ไม่ยอม?

นอกเหนือจากคู่แข่ง 2 รายที่จะเกิดขึ้นเร็วๆ นี้แล้ว ความเคลื่อนไหว ที่สำคัญของโทรศัพท์มือถือในยุคที่ 3 หรือ Third Generation เป็นเทคโน-โลยีใหม่ของโทรศัพท์มือถือ ที่จะก้าวไปสู่ยุคของสื่อสารข้อมูลที่เป็นแนวโน้ม ที่สำคัญของโลก ก็เกิดความเคลื่อนไหว ที่น่าจับตามอง

ในเดือนมกราคม ที่ผ่านมา เมื่อกระทรวงคมนาคม มีมติให้คณะกรรม การบริหารคลื่นความถี่ (กบถ.) อนุมัติ คลื่นความถี่ 2000 เมกะเฮิรตซ์ ให้กับองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย และการสื่อสารแห่งประเทศไทย (กสท.) เพื่อนำไปออกใบอนุญาตในการเปิดให้บริการโทรศัพท์มือถือยุคที่ 3 แก่เอกชนแล้ว โดยไม่รอให้คณะมนตรีสื่อสารแห่งชาติ (มสช) เป็นผู้ออกใบอนุญาต

"มันเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นแล้วว่า การแข่งขันเสรีกำลังจะมีขึ้นในอีกไม่ช้า จากการที่จะมีใบอนุญาตโทร-ศัพท์มือถือใหม่เกิดขึ้นอีกไม่ต่ำกว่า 3-5 รายในตลาด 3 G จากผู้บริการรายเก่า และใหม่เพิ่มขึ้นอีก โดยยังไม่ต้องพูดถึงการเปิดเสรีอย่างเป็นทางการที่จะมีขึ้นในอีกไม่กี่ปีข้างหน้า? บุญชัยกล่าว

สภาพความอ่อนแอ และหนี้สิน ที่รุมเร้าแทคในเวลานี้ นอกจากจะไม่สามารถไปสู้รบปรบมือกับเอไอเอสได้แล้ว ยิ่งไม่ต้องพูดถึงคู่แข่งรายใหม่ ที่กำลังเข้า มาในตลาดเหล่านี้ ที่มีความพร้อมในเรื่องเงินลงทุน และเทคโนโลยี เป็นสิ่งที่น่าสะพรึงกลัวที่สุดสำหรับแทคในเวลา นี้ และทางออกเดียว ที่จะช่วยเยียวยาให้แทคได้ คือ การที่ต้องมี Strategic Partner เข้ามาเหมือนกับหลายองค์กร เวลานี้

การขายหุ้นให้กับ Strategic Partner เป็นทางออกเดียว ที่บุญชัยเชื่อ ว่าจะช่วยเยียวยาให้กับแทคได้ดีที่สุด ไม่มีทางเลือกอื่นเพราะนอกจากแทคจะได้เงินจากการขายหุ้นให้กับพันธมิตรข้ามชาติมาชดใช้หนี้ 80 ล้านเหรียญสหรัฐ แทคยังจะมีเงินทุนเหลือสำหรับใช้ในการขยายเครือข่าย และการมีพันธมิตรข้ามชาติ ที่เป็นยักษ์ใหญ่ จะทำให้การเจรจาต่อรอง เพื่อขอยืดหนี้ 350 ล้านเหรียญทำได้ง่ายกว่าวิธีอื่นๆ

"เงิน 350 ล้านเหรียญอย่าคิดว่า จะเป็นอัจฉริยะ ที่คิดหาเงินมาจ่ายได้ หรือยืดหนี้ออกไปได้ จะแปลงเป็นเงินบาท แปลงเป็นหุ้นหรือจะหาเงินมาจ่าย มันต้องเลือก เดี๋ยวนี้มันไม่มี Financial Engineering แบบพิสดารอีกแล้ว? บุญชัยกล่าวอย่างมีอารมณ์

ที่สำคัญไปกว่านั้น ก็คือ เป็นทางเลือกเดียว ที่แทค จะยังคงสิทธิความเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่จะมีสิทธิ์ขาดในการบริหารงานเช่นเดิม ข้อตกลงในการขายหุ้นให้กับ Strategic Partner จะอยู่ในสัดส่วน 25% ซึ่งจะเป็นทั้งการขายหุ้นในส่วนของยูคอม และเพิ่มทุนบางส่วน นั่นหมายความว่ายูคอมยังคงดำรง การเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่มีสิทธิ์ขาดในการกำหนดทิศทางของธุรกิจได้

หากใช้วิธีอื่น เช่น การเพิ่มทุนจะถูกขายออกไปในตลาด ไปอยู่ในมือของผู้ถือหุ้นรายย่อย ที่จะเป็นประโยชน์ ต่อผู้บริหารมืออาชีพ ที่จะเข้ามากุมอำนาจในการบริหารจากการที่หุ้นกระจัดกระจายออกไป

นอกจากนี้ การมีพันธมิตรข้ามชาติหมายถึงการที่จะลดต้นทุนในการซื้ออุปกรณ์แล้ว การสร้าง Know-how ใหม่ๆ ทั้งในเรื่องเทคโนโลยี และการตลาดที่จะได้รับจากการร่วมกลุ่มในเรื่องของเทคโนโลยี และแก้จุดอ่อนในเรื่องของการโรมมิ่ง

ที่แล้วมาแทคมีปัญหาเรื่องการโรมมิ่ง หรือการเพิ่มความสะดวกให้ผู้ใช้ระบบเวิลด์โฟน 1800 ใช้งานในประ-เทศอื่นๆ ที่ใช้ระบบเดียวกัน ทั้งๆ ที่เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะทำให้แทคสามารถมองเห็นถึงทิศทาง การพัฒนาระบบ 1800 ในอนาคตว่าจะไปในทิศทางใด

บุญชัยเชื่อว่าการมี Strategic Partnet จะช่วยให้แทคสามารถปิดจุดอ่อนในเรื่องเหล่านี้ได้

"การโรมมิ่งระบบร่วมกัน จะทำ ให้เรารู้แนวโน้มของโลกด้วยว่า เขาจะแปลงตัวเองไปทางทิศไหน เขากำลังจะมองเรื่องอะไร เรื่องของอินเตอร์เน็ต เราจะได้เตรียมตัว หรือหาเทคนิคเหล่านั้น มาใส่ในระบบของเราได้?

แต่การหา Strategic Partner ในช่วงเวลา 2 ปีที่แล้วมา ต้องลงเอยด้วยความล้มเหลวทุกครั้งเมื่อเรื่องมาถึงแทค

"พันธมิตรข้ามชาติทุกราย เข้ามาถึง ที่แล้วก็ล้มทุกที เพราะเขากลัว กับการที่ประธานบริษัทไม่มีอำนาจแล้ว จะมาปกป้องผู้ถือหุ้นได้อย่างไร? คำชี้แจงของบุญชัย

แต่จะต้องไม่ใช่ครั้งนี้ !

สาเหตุที่สำคัญ บุญชัยบอกว่า ความแตกต่างในเรื่องของแนวคิด ที่ไปกันคนละด้านกับผู้บริหารมืออาชีพภายใต้การนำของภูษณ

ความสำเร็จในฐานะของมืออาชีพ ที่เติบโตอย่างรวดเร็ว การบริหารธุรกิจสัมปทานโทรศัพท์มือถือให้เติบโต และสามารถระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์สิงคโปร์ ภูษณเชื่อว่า ความสำเร็จเหล่านี้มาจากการบริหารองค์กร ที่เป็นเอก เทศ ความสามารถในการรักษาสมดุลระหว่างผู้ถือหุ้น และลูกค้าให้ได้รับประโยชน์เท่าเทียมกัน อยู่ภายใต้ความ รับผิดชอบของมืออาชีพ และเป็นสิ่งที่เขาพยายามทำมาตลอด

ภูษณไม่รู้สึกว่ามีปัญหาเกิดขึ้นกับแทค เขายังเชื่อว่าแทคยังคงเข้มแข็ง เมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง ด้วยรากฐานขององค์กร ขนาดของธุรกิจ และฐานลูกค้า ที่มีอยู่ ถึง 1 ล้านราย สิ่งเหล่านี้ทำให้องค์กรสามารถเดินไปได้ด้วยตัวเอง อยู่แล้ว ไม่มีความจำเป็นต้องมีการเปลี่ยน แปลงใดๆ ภายในบริษัท

"บริษัทขนาดนี้ มันใหญ่พอควร และมีฐานลูกค้าอยู่ตั้ง 1 ล้านราย โอกาส จะเกิดความเสียหายได้ ก็มีแต่จะทำผิดนโยบายรุนแรง ก็สุดแล้วแต่จะคิด แต่สำหรับผมแล้ว องค์กรมันเดินได้ของมันโดยธรรมชาติแล้ว? นี่คือ ความเห็น ที่ภูษณพยายามบอกกับ "ผู้จัดการ?

ภาวะหนี้สิน ที่เกิดขึ้นในแทค เป็น การกู้ยืมเงินในลักษณะของ Project Finance คือ การกู้ยืมเงินโดยเอาโครง การสัมปทานไปค้ำประกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่บริษัทโทรคมนาคมมักใช้วิธีนี้ในการกู้ยืมเงินกับสถาบันการเงิน

ดังนั้น ด้วยวิธีการกู้ยืมเงินในลักษณะนี้ ไม่ได้ส่งผลกระทบให้ผู้ถือหุ้น รายใหญ่ ที่จะต้องออกมารับผิดชอบเป็น การส่วนตัวจากภาระหนี้สิน ที่มีอยู่เหล่านี้แม้แต่น้อย เพราะจากโครงสร้างทาง การเงิน ที่เขาเป็นผู้ออกแบบไว้ ได้ปก ป้องความเสียหาย ที่จะเกิดแก่ผู้ถือหุ้น ไว้หมดแล้ว ผู้ถือหุ้นไม่จำเป็นต้องมีการเซ็นค้ำประกันเงินกู้เป็นการส่วนตัว ซึ่งแตกต่างไปจากบริษัทอื่นๆ ที่เจอวิกฤติด้วยกัน

"ใครจะปฏิเสธความรับผิดชอบได้ ถ้าเขาติดคุกทำไมผมจะไม่ติดคุกกับเขา แต่ถ้าเขารวยน้อย ผมก็ไม่รู้ว่าจะให้เขารวยมากได้อย่างไร ในฐานะของ มืออาชีพ เรารู้ดีว่าการที่จะเซ็นค้ำประกันส่วนตัว หรือเอา ที่ดินไปค้ำประกันจะเกิดปัญหาตามมา? ภูษณ ชี้แจง

ด้วยเหตุนี้เอง ภูษณจึงไม่เห็นความจำเป็นที่แทค จะต้องมี Strategic Partner เข้ามาถือหุ้นเหมือนอย่างที่บุญชัยเห็นความสำคัญของการมีพันธมิตรข้ามชาติเข้ามาถือหุ้น

พันธมิตรข้ามชาติในสายตาของภูษณ ไม่ได้มีความเก่งเหนือกว่า คนไทย เทคโนโล- ยีก็ไม่ได้มีความแตกต่าง นอกจากนี้วัตถุประสงค์ของการลงทุนในประเทศของพันธมิตรข้ามชาติ ก็ เพื่อต้องการขยายอาณาจักรทางธุรกิจ สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับตัวเอง ไม่ได้ต้อง การลงทุนระยะยาวหรือสร้างประโยชน์ให้กับบริษัทในท้องถิ่น รากฐานของธุรกิจสื่อสารก็เป็นของคนไทยทั้งสิ้น

"ไม่ใช่ผมไม่ชอบพันธมิตรข้ามชาติ แต่ผมคิดของผมว่าถ้าอะไร ที่มันยังอยู่ได้ด้วยตัวเอง ก็ควรจะอยู่ต่อไป เขาไม่ได้มีอะไรเหนือเรา ไม่จำเป็นต้องรับกระแสโลกาภิวัตน์ตามแฟชั่น เขาต้องการความยิ่งใหญ่ เขาเอาเงินมาลง ทุนเขาก็ต้องเอาเงินกลับไป?

การเปิดทางให้มีพันธมิตรข้ามชาติ ซึ่งมีความแตกต่างทั้งในด้านของวัฒนธรรม การทำงาน วิธีการมอง ธุรกิจ วิธีการบริหารจะแตกต่างกันไป เป็นเรื่องยาก ที่ทั้งสององค์กรจะทำงานร่วมกันได้ในระยะยาว

แต่หากไม่สามารถปิดกั้นได้ และต้องมีพันธมิตรข้ามชาติจริงๆ ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องรีบร้อน แต่ควรจะรอให้ มีแผนแม่บทโทรคมนาคม และรอให้มีคณะมนตรีสื่อสารแห่งชาติ ที่จะออกกำหนดขอบเขตหรือกติกาในเรื่องของบริการโทรคมนาคมหลังการเปิดเสรีออก มาก่อน เพื่อใช้เป็นมาตรฐานให้พันธ-มิตรข้ามชาติเดินตามกติกาเหล่านี้

"อันนี้ผมพูดในกรอบใหญ่ คือ ถ้าต้านไม่ได้แล้ว เขาจะเข้ามาอย่างไร มันเหมือนกับการขายธนาคาร ไม่รู้ว่าเปิดช่องว่างให้โปร่งใสขนาดไหน เข้ามา โดยไม่มีกติกา ไม่ได้กำหนดราคาขั้นต่ำในการบริการไว้ เพื่อปกป้องสังคม เพราะประเทศมีวิกฤติ บริษัทไทยมันเล็กกว่ากันเยอะ ถ้าเข้ามาแล้วไม่ได้กำหนดในแผนแม่บท หรืออยู่ในกรอบ แต่เข้ามาแบบเจรจาลับๆ แล้วซื้อไปเลย ไม่มีการกำหนดขอบเขตในเรื่องราคา เรื่องคุณภาพการให้บริการ ผมไม่เห็นด้วย?

ภูษณยังเห็นด้วยว่าการดำเนินงานของแทคภายใต้การบริหารงานของมุสตาฝ้า ในฐานะของกรรมการผู้จัดการ ได้มีการปรับแนวทางไปตามทิศทาง ที่ควรจะเป็นมาตลอด นั่นก็คือ ปรับปรุงมาตรฐานในเรื่องของบริการ เพื่อยกระดับการให้บริการ ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องใหญ่ที่สุดไปหมดแล้ว

"ผมคิดว่า คุณมุสตาฝ้า ในฐานะของกรรมการผู้จัดการ เขาได้ทำไปหมดแล้วในเรื่องของบริหาร ถ้าเราไม่ทำ ลูกค้าจะไม่อยู่กับเรา โทรศัพท์มือถือ ก็มีข้อดีอย่างหนึ่ง คือ ไม่อยากเปลี่ยน เบอร์ ถ้าบริการไม่เลวจนเกินไป เขาก็ไม่อยากเปลี่ยน? ภูษณจึงไม่คิดว่า แทคมีข้อบกพร่องในเรื่องของการให้บริการ เหมือนกับ ที่บุญชัยมองเห็นข้อบกพร่องในเรื่องเหล่านี้

ภูษณมองว่าความสำเร็จขององค์กร ไม่จำเป็นที่จะต้องหมายถึงผลงาน ในเรื่องของเม็ดเงิน รายได้ หรือการที่มีกำไรสูงสุดเพียงอย่างเดียว ที่จะเป็นองค์กรที่ดีที่สุดเพียงอย่างเดียว แต่ควรจะสามารถตอบสนองความต้องการของคนกลุ่มใหญ่ของสังคม ดังนั้น ในความคิดของภูษณแล้ว ไม่ใช่เรื่องผิด ที่แทค จะให้น้ำหนักในเรื่องการตอบแทนสังคม ไม่ว่าจะเป็นรูปแบบของการออกแบบสื่อโฆษณา ที่มุ่งเน้นในเรื่องของสังคม แทน ที่จะเป็นเรื่องของการโฆษณา เพื่อมุ่งสร้างยอดขาย เหมือน ที่คู่แข่งอย่าง เอไอเอสทำ

ปัญหา ที่เกิดขึ้นของแทคเวลานี้ ในสายตาของภูษณเป็นเรื่องของความรับผิดชอบ ที่ต่างกัน มุสตาฝ้าต้องการบริหารงานอย่างเป็นอิสระไม่ใช่เรื่องผิด เพราะการบริหารงานในฐานะของผู้บริหารมืออาชีพ ต้องมีความโปร่งใส สร้างความสมดุลให้ผู้ถือหุ้น ดูแลผลประ-โยชน์ของลูกค้า ในแง่ของยูคอมก็ในฐานะของผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ซึ่งถือหุ้นในแทค 68% จำเป็นต้องดูแลภาพรวมขององค์กร ซึ่งทำให้กิดความขัดแย้งได้ง่าย

"ผมเห็นเรื่องนี้มา 2 ปีแล้ว แต่ผมไม่ได้อยู่ในวิสัยทัศน์ ที่จะทำอะไรได้ เนื่องจากการที่เราเป็นผู้บริหารมืออาชีพ เพราะฉะนั้น การเป็นผู้บริหารมืออาชีพก็ต้องมีตำราของมัน ต้องดูหุ้นทั้งรายเล็กรายใหญ่ ดูแลภาพลักษณ์ ดูแลลูก ค้า ต้องสร้างสมดุลพวกนี้ให้ได้? ภูษณกล่าว

ก่อนหน้านี้บุญชัยใช้การเจรจา ด้วยการพยายามเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารงานกับผู้บริหารของแทค การพบปะกับผู้บริหารของแทค ซึ่งเกิดจากการที่บุญชัยแสดงท่าทีไม่พอใจในการบริหารงานของผู้บริหารมาหลายครั้ง

"พอเราแสดงออกมาว่าไม่ค่อย happy กับเรื่องแผน เรื่องทิศทาง พอมีความรู้สึกนี้ออกมาเขาก็เลยจัดให้ผมพบกับเจ้าหน้าที่บริหารทุกวันพุธของทุกสัปดาห์ เพื่อ ที่จะได้คุยว่าวันนี้เขาได้วางแผนอะไรออกมาบ้างแล้ว" บุญชัยเล่า

แต่การพบเจ้าหน้าที่บริหารระดับสูง ในช่วงเวลา 4 เดือนที่แล้วมา บุญชัยบอกว่าเป็นเพียงการรับประทานอาหารร่วมกันกับผู้บริหารระดับสูงของแทคเท่านั้น ไม่มีภูษณร่วมแม้แต่ครั้งเดียว และเป็นเพียงการรายงานให้รับรู้แนวทางหรือนโยบาย ซึ่งแนวนโยบายเหล่านี้ก็ได้สั่งการมาแล้วทุกๆ เช้าจากภูษณว่าได้มีการตัดสินใจอะไรไปแล้วบ้าง โดยที่บุญชัยไม่มีส่วนร่วมในการเข้าไปกำหนดทิศทางแต่อย่างใด

"คุณภูษณเขาสั่งการผู้บริหารของแทคทุกคนตอนเช้า มันแย้งกับสิ่งที่เขาบอกว่า เขาไม่ได้เข้ามาในนี้เลย เขาสั่งการทุกวัน สั่งการในห้องนี้ (ห้องที่บุญชัยมานั่งทำงานหลังจากยึดตำแหน่ง กรรมการผู้จัดการจากมุสตาฝ้า) สั่งตั้งแต่เช้าจนเ ที่ยง และก็ปล่อยให้ผู้บริหาร ลงไปพบผมชั้น 12 ทุกวันพุธ เพื่อ ที่จะเล่าว่าได้ตัดสินใจอะไรกันไปแล้ว? บุญชัย เล่า พร้อมกับชี้ไป ที่ห้องทำงานบนชั้น 29 ที่ตกแต่งสไตล์อังกฤษ ที่เขายึดมาจากภูษณ

สิ่งที่บุญชัยกล่าวมานี้ ขัดแย้งกับ ที่ภูษณบอกกับ "ผู้จัดการ" ว่าตัวเขาได้ลาออกจากกรรมการผู้จัดการ และไม่ได้ยุ่งเกี่ยวการบริหารงานในแทค ได้ 3 ปีแล้ว จะเข้ามา ที่ตึกแทคบ้าง อาทิตย์ละวันหรือสองวันเท่านั้น

การมองปัญหาขององค์กร ที่แตกต่างกันแบบไปคนละขั้วนี้เอง และจากท่าทีของภูษณ ที่แสดงออกอย่างชัด เจนไม่ต้องการให้บุญชัยเข้ามายุ่งเกี่ยวการบริหารงานในแทค ก็เป็นเรื่อง ที่บุญชัยจะยอมไม่ได้เช่นกัน ในฐานะของ ผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ที่ต้องรับผิดชอบต่อตระกูลเพราะหากแทคเป็นอะไรไปย่อม หมายถึงความสูญเสียของตระกูลเบญจรงคกุลต่อธุรกิจ ที่เป็นอู่ข้าวอู่น้ำ เป็นเส้น เลือดสำคัญของยูคอม ซึ่งหมายถึงการ สูญเสียรายได้มหาศาลของตระกูล

การถือหุ้นของตระกูลเบญจรงค-กุล ไม่ได้ถือโดยตรงในบริษัทแทค แต่ถือผ่านบริษัทยูคอม ซึ่งตระกูลเบญจ-รงคกุล ถือหุ้นรวมกันทั้งสิ้น 29.33% เป็นหุ้นอันดับ 2 รองจากซอมเมอร์ส ยูเค ที่ถืออยู่ 29.61% แล้วยูคอมจะเข้า ไปถือในแทคอีกครั้งหนึ่ง โดยยูคอมเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ถืออยู่ในแทค 68% เพราะนอกจากความรับผิดชอบ ที่มีต่อตระกูลแล้ว ภาระหนี้สินเป็นอีกเรื่องหนึ่ง ที่เขาได้ตกลงกับ Strategic Partner ไว้แล้ว ซึ่งจำเป็นที่เขาต้องสร้างความมั่นใจให้กับบริษัท Telenor ให้เกิดความชัดเจนในแทคมากที่สุด

"ในฐานะ ที่มีความรับผิดชอบสูงสุด และมีบทบาทสูงสุด ที่จะเป็นผู้ ชี้ชะตา ก็ต้องทำเหมือนอย่างที่ผมทำเมื่อวันที่ 13 ถ้าไม่ทำถือว่าไม่รับผิดชอบ มันเป็นโอกาสสุดท้ายแล้ว เพราะเราเจรจากับพันธมิตรต่างชาติอยู่รายหนึ่ง ซึ่งใกล้งวดไปทุกที เพราะถ้าไม่เคลียร์ตรงนี้เขาจะหนีไปอีก เมื่อเขาหนีไป ผมก็ต้องเริ่มเจรจากับเจ้าใหม่ จะดึงเวลา ไปอีก 8 เดือนเป็นอย่างน้อย การทำ due diligence ต้องใช้เวลามาก?

และนี่เอง ที่ทำให้บุญชัยไม่สามารถรอมชอมได้อีกต่อไป !

การตัดสินใจของบุญชัยเมื่อวันที่ 13 มกราคม ด้วยการยึดเก้าอี้กรรมการผู้จัดการจากมุสตาฝ้า หมันงะ โดยย้ายมุสตาฝ้าไปเป็นรองประธานกรรม การบริษัท ก็เท่ากับเป็นการยึดอำนาจจากภูษณโดยตรง ซึ่งจะเป็นผู้วางนโยบายอยู่เบื้องหลังผู้บริหารระดับสูงเหล่านี้ของแทค เพราะตราบใด ที่ภูษณยังกุมอำนาจการบริหารงานในแทค โอกาส ที่บุญชัยจะเข้าไปมีบทบาทกำหนดงานตามทิศทาง ที่กำหนดได้ก็เป็นเรื่องยาก เป็นสิ่งที่บุญชัยจะรอไม่ได้อีกต่อไป

การตัดสินใจในวันนั้น ไม่ใช่เพียงเพราะความกังวลใจในเรื่องของ การเข้าไปพัวพันในเรื่องการเมืองของภูษณไม่เป็นผลดีต่อการเป็นบริษัทสัมปทาน ที่จะต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของรัฐ อย่างบริษัทแทค ซึ่งเป็นเหตุผลรองลงมาเท่านั้น

แต่เป็นเพราะการเจรจากับบริษัท Telenor บริษัทโทรคมนาคม จากประ-เทศนอร์เวย์ ที่จะเข้ามาเป็น Strategic Partner เดินมาถึงขั้นตอนสุดท้ายแล้ว เป็นเรื่องจำเป็นที่บุญชัยจะต้องเคลียร์บทบาทของตัวเอง ในฐานะ ที่เป็นเจ้า ของกิจการ และเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ที่จะต้องเป็นผู้กุมอำนาจ ที่แท้จริง

และจำเป็นต้องสร้างความชัดเจนในเรื่องการทำธุรกิจของแทค ที่ก่อนหน้านี้ได้มีการขยายขอบเขตไปในธุรกิจ ที่ไม่เกี่ยวเนื่อง และหลายธุรกิจก็มีความซ้ำซ้อนกับบริษัทยูคอม ก็จำเป็นต้องตัดทิ้ง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่ Telenor ต้องการความชัดเจนในเรื่องเหล่านี้

นั่นก็คือ ที่มาของการตัดธุรกิจ ที่ไม่จำเป็น และเกี่ยวเนื่องทิ้ง ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจสนามกอล์ฟ เซ็นจูรี่ปาร์ค ร้านค้าปลีกเอเอ็ม / พีเอ็ม ยุบบริษัท ไอทีสตาร์ ซึ่งเป็นบริษัทพัฒนาบริการเสริม ยุบเหลือเป็นแค่แผนกเดียว

เพราะความต้องการของบุญชัย ก็คือ ต้องการให้ Strategic Partner ของแทค และยูคอมเป็นรายเดียวกัน เพื่อให้การบริหารงานไปในทิศทางเดียว กัน ไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

ดังนั้น บุญชัยจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเร่งปรับโครงสร้างธุรกิจของแทค ให้เกิดความชัดเจน หลังจาก ที่ได้ปรับโครงสร้างของยูคอมเสร็จสิ้นไปแล้วตั้งแต่ปลายปี 2542 ที่ได้กำหนดบทบาทในเรื่องของการลงทุนในธุรกิจสื่อสาร 7 กลุ่ม ประกอบไปด้วย ธุรกิจให้บริการโครงข่ายเคเบิลใยแก้วนำแสง ธุรกิจทรังก์เรดิโอ ธุรกิจรับออกแบบ และ ติดตั้งระบบโทรคมนาคม ธุรกิจวิทยุ ธุรกิจอินเตอร์เน็ต ธุรกิจค้าอุปกรณ์ลูกข่าย และธุรกิจเซอร์วิสโพรไวเดอร์ให้บริการเรื่องข้อมูล

และเป็นสาเหตุที่ทำให้บุญชัย ย้ำมาตลอดถึงความจำเป็น ที่เขาต้องมองภาพรวมขององค์กรเขาไม่สามารถ แยกปัญหาระหว่างแทค และยูคอมออกจากกันได้ จำเป็นต้องบริหารงานให้อยู่รอดทั้งคู่ เพราะหากบริษัทใดบริษัทหนึ่งเป็นอะไรไป ย่อมกระทบกับอีกบริษัทหนึ่งทางอ้อม

แทคเป็นเสมือนอู่ข้าวอู่น้ำของยูคอม เช่นเดียวกับ ที่เอไอเอสเป็นเส้นเลือดหล่อเลี้ยงให้กับชินคอร์ปอเรชั่น ถึงแม้ยูคอมจะมีธุรกิจเดิม ที่ยังเข้มแข็งเพียงใด แต่ก็มีข้อจำกัดไม่เหมือนกับแทค ที่ยังคงสร้างรายได้ต่อเนื่อง จาก ค่าแอร์ไทม์ ที่สร้างรายได้ให้กับแทค ปีละหมื่นล้านบาท

และหากไม่มีแทคแล้ว โอกาส ที่ยูคอมจะได้ Strategic Partner มาถือ หุ้นก็เป็นเรื่องยาก

การได้บริษัท Telenor มาเป็นพันธมิตรร่วมลงทุน นอกจากจะเกื้อหนุนในเรื่องของธุรกิจโทรศัพท์มือถือแล้ว จะช่วยในเรื่องของอินเตอร์เน็ต ดาวเทียม จะเป็นผลดีกับโครงการลาวสตาร์ ที่ยูคอมยังถือหุ้นอยู่ และต้องการดำเนินธุรกิจต่อ แต่ขาดเงินทุนในการยิงดาวเทียม

Telenor เป็นบริษัทโทรคมนา- คมจากประเทศนอร์เวย์ ที่มีธุรกิจครอบคลุมในเรื่องของธุรกิจโทรศัพท์มือถือ มียอดลูกข่ายระบบจีเอสเอ็ม ในประเทศนอร์เวย์ 2 ล้านเครื่อง มีการขยายการลงทุนไปใน 17 ประเทศ มีทั้งระบบจีเอสเอ็ม 900 จีเอสเอ็ม 1800 และนอร์ดิก 900 และล่าสุดได้มีการลง ทุนในประเทศมาเลเซีย ในบริษัทให้บริการโทรศัพท์มือถือ ที่เทเลนอร์จะเข้าไปเป็นผู้บริหารงาน

นอกจากนี้เทเลนอร์ยังมีธุรกิจบริการอินเตอร์เน็ต ภายใต้ชื่อเทเลนอร์ เน็กซ์เทล (Telenor Nextel) ให้บริการที่สามารถป้อนผ่านอินเตอร์เน็ต โดยมีจุดเน้น ในด้านการเข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ต การสื่อสาร การโฮสต์ (hosting) และบริการเน็ตเซ็นตริก (netcentric ser- vices)

มีบริการสื่อสารผ่านดาวเทียม ภายใต้ชื่อบริษัทเทเลนอร์ แซทเทิลไลต์ เซอร์วิส (Telenor Satellite Services) ให้บริการการสื่อสารผ่านดาวเทียมทั้งระดับภูมิภาค และระดับโลก โดยเป็นผู้ซัปพลาย และดำเนินการผลิตภัณฑ์ ที่ใช้ดาวเทียมเป็นฐาน รวมทั้งบริการแพร่ ภาพกระจายเสียง การสื่อสารเคลื่อนที่ภาคพื้นดิน และใต้ทะเล และบริการเครือ ข่ายดาวเทียม

บริการเครือข่ายในชื่อของ เทเลนอร์ เน็ตเวิร์ค (Telenor Network) มีบริการที่หลากหลายในด้านการดำเนินการเครือข่าย และบริการซ่อมบำรุง มีกลุ่มเป้าหมายคือ ผู้ดำเนินการโทรคมนา -คมสาธารณะ และมีบริการทั้งแบบเต็มรูป และการสนับสนุนเฉพาะส่วน

บริการไอพี บรอดแบนด์ ให้บริการหลากรูปแบบทั้งบริการที่ต้องอาศัยการสื่อสาร ระบบบรอดแบนด์ และอินเตอร์เน็ตในการส่งผ่าน และหยุดบริการทั่วยุโรป และส่วนอื่นๆ ของโลก และยังเรียกค่าบริการเป็นอัตราต่ำที่สุดในโลกด้วย

บริการไดเรคตอรี่ ภายใต้ชื่อ เท-เลนอร์ มีเดีย (Telenor Media) พัฒนา ผลิต และจัดจำหน่ายสมุดรายนาม หรือไดเรคตอรี่หลายประเภทด้วยกัน รวมทั้งยังบริหารกิจการที่ให้บริการด้านนี้ทั้งในประเทศ และระหว่างประเทศด้วย

หากพลาดจาก Telenor แล้ว นั่นหมายความว่าบุญชัยจะต้องเจรจากับ Strategic Partner รายอื่นๆ ซึ่งการเจรจาจะมีขั้นตอนหลายอย่าง ไม่ว่าประเมินทรัพย์สิน บัญชี ยอดลูกค้า ที่จะต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 8 เดือน ซึ่งจะไม่ทันกับการชำระหนี้พิเศษ 80 ล้านเหรียญสหรัฐ ที่มีกำหนดชำระในปีนี้ และนั่นหมายถึงอำนาจในการต่อรองจะลดน้อยลงไปเรื่อยๆ ซึ่งไม่ใช่สิ่งที่ บุญชัย และเจ้าหนี้ต้องการเลย

"ยิ่งถอย เท่ากับว่าอำนาจต่อรอง เราจะหมดลงไปเรื่อยๆ องค์กรเองก็จะตกอยู่ในภาวะ ที่แย่ลงไปเรื่อยๆ?

สำหรับในฐานะของมืออาชีพ ที่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันมา บุญชัยบอกว่า เขาได้ตอบแทนให้กับภูษณอย่างคุ้มค่าที่สุดแล้ว ในฐานะของมืออาชีพคนหนึ่ง ที่ทุ่มเทให้กับบริษัทด้วยหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ จำนวน 3% ซึ่งภูษณ บอกกับ "ผู้จัดการ? ราคาหุ้น ที่ขายไปเวลานั้น 1% มีค่ามากกว่า 400 ล้านบาท บุญชัยบอกกับ "ผู้จัดการ? ว่า เป็นการตอบแทน ที่มากที่สุดเท่า ที่มืออาชีพไม่ว่าจะเป็นธุรกิจใดจะได้มาแล้ว

เพราะประวัติศาสตร์ของแทค นับจากนี้เป็นต้นไป จะเหลือเพียงบุญชัย เป็นผู้ลงมือเขียนเรื่องราวจากนี้โดยลำพัง ไม่มีมืออาชีพอย่างภูษณเป็นผู้ร่วมเขียนอีกต่อไป ส่วนเรื่องจะลงเอยอย่างไร เป็นสิ่งที่บุญชัยจะต้องพิสูจน์ความเป็นเจ้าของกิจการ ที่จะมาสวมบทผู้บริหารมืออาชีพต่อไป กับสิ่งที่เขาทำลงไปเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2542 ที่ผ่านมากันต่อไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 83

โพสต์

ลือ'บอร์ดทอท.'เลิกจ้าง'อนิรุทธิ์'ซ้ำรอยดีดีบินไทย [ มติชน, 25 ต.ค. 55 ]

แหล่งข่าวจากบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน) หรือ ทอท. เปิดเผยว่า วันที่
25 ตุลาคม คาดว่าคณะกรรมการ (บอร์ด) ทอท.ที่มี พล.อ.สุเมธ โพธิ์มณี เป็นประธาน จะ
พิจารณาเลิกจ้างว่าที่ ร.ท.อนิรุทธิ์ ถนอมกุลบุตร กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. โดยจ่ายชด
เชยให้ 6 เท่าของค่าจ้างเดือนที่ได้รับเดือนละ 630,000 บาท ลักษณะเดียวกับที่บอร์ดบริษัท การ
บินไทย จำกัด (มหาชน) บอกเลิกจ้างนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การ
บินไทย และคาดว่าจะแต่งตั้งนายสมชัย สวัสดีผล รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ สายวิศวกรรม
และก่อสร้าง ทอท. และรักษาการผู้อำนวยการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ทำหน้าที่รักษาการ
กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท.แทน ส่วนการประเมินผลการทำงาน 1 ปี หากมีการประเมินให้
ผ่านน่าจะไม่มีผลต่อมติเลิกจ้าง เนื่องจากเป็นอำนาจของบอร์ดโดยตรง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 84

โพสต์

ลูกไม้ใต้ต้น TRC 'ภาสิต ลี้สกุล'
news_img_475421_1.jpg
'ภาสิต ลี้สกุล' คลื่นลูกใหม่ 'ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น' หอบความรู้ด้านไฟแนนซ์จากอเมริกาจะมารับช่วงกิจการแทน 'พ่อ' ที่ขู่จะ 'ตัดขาด' ถ้าไม่กลับ

“เต้” ภาสิต ลี้สกุล ผู้บริหารหนุ่มวัย 29 ปี กำลังเดินสายโชว์ตัว พร้อมเปิดวิสัยทัศน์ บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) แทนผู้เป็นพ่อ สมัย ลี้สกุล ผู้ก่อตั้งบริษัทที่กำลังจะกลายเป็น “คลื่นลูกเก่า” และเริ่มถอยฉากเพื่อไปทำหน้าที่ “เทรนเนอร์” อยู่เบื้องหลัง เมื่อผู้เป็นพ่อประกาศเจตนารมณ์ต้องการ “แขวนนวม” หน้าที่สร้างความเติบโตให้บริษัทจึงต้องตกเป็นของลูกชายคนโตที่ถูกส่งไปเรียนเมืองนอกตั้งแต่ระดับมัธยมปลาย

สมัยส่งภาสิตไปเรียนมัธยมปลายที่ Wilbraham and Monson Academy ประเทศสหรัฐอเมริกา ก่อนจะต่อปริญญาตรี สาขาเศรษฐศาสตร์-การเงิน และปริญญาโท สาขาบริหารธุรกิจ-การเงินที่ Bentley College สหรัฐอเมริกา เมื่อเรียนจบปริญญาโท ภาสิตไปทำงานตำแหน่งนักวิเคราะห์การเงินอยู่ที่ บริษัท บีทียู เวนเจอร์ สหรัฐอเมริกา ทำได้ 2 ปี ( 2550-2551) พ่อก็โทรตามตัวให้กลับมาทำงานที่ TRC ช่วงปี 2552

ผู้บริหารหนุ่มเล่าให้ กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า อยู่อเมริกาได้เงินเดือน 5-6 เท่าจากที่นี่ งานก็สบายกว่าเยอะ แต่พ่อยื่นคำขาดว่าไปฝึกงานที่อื่นแล้วก็กลับมาช่วยงานที่บ้านได้แล้ว ถ้าไม่กลับมา "ตัดเลยนะ" พ่อบอกเหนื่อยแล้ว! ตอนกลับมาทำงานที่ TRC พ่อให้เงินเดือน 22,000 บาท ให้อยู่ตำแหน่งผู้ช่วยประสานงานโครงการ

"ผมกลับมาเมืองไทยได้ 2 สัปดาห์ พ่อส่งไปประเทศไนจีเรีย 2 สัปดาห์ ให้ไปดีลงานร่วมกับกลุ่มปตท. พ่ออยู่กับผมแค่ 2 วัน ปล่อยให้ผมทำงานเพียงลำพัง สุดท้ายดีลนั้นก็จบ แต่ไม่ได้อย่างที่คิดไว้เก็บเงินมาได้แค่ส่วนหนึ่ง"
ภาสิต เรียนรู้งานได้ 2 ปี สมัยเลื่อนตำแหน่งให้เป็นผู้ช่วยผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาโครงการและการลงทุน ก่อนย้ายมาทำตำแหน่งผู้อำนวยการ สายงานพัฒนาโครงการและการลงทุน ซึ่งเป็นตำแหน่งในปัจจุบันเพื่อปูทางก้าวขึ้นมารับช่วงกิจการต่อในอนาคต

สมัย ลี้สกุล นับเป็นหนึ่งในผู้กว้างขวางในวงการก่อสร้างของไทย เขาจบวิศวะจุฬาฯ รุ่น วศ.2515 มีเพื่อนร่วมรุ่นคนดังๆ มากมายทั้งในหน่วยงานภาครัฐ รัฐวิสาหกิจ และภาคเอกชน หลังจากผ่านประสบการณ์ทำงานที่เชลล์ประเทศไทย และกลุ่มซิโน-ไทย สมัยตัดสินใจลาออกมาทำธุรกิจส่วนตัว รับงานออกแบบดีไซน์เครื่องจักรตามโรงงานต่างๆ ในอดีตเคยโดนวิกฤติต้มยำกุ้งเล่นงานเพราะไปเซ็นค้ำประกันในวงเงินหลายพันล้านบาท ก่อนจะลุกขึ้นมาสร้าง TRC และผลักดันบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ในปี 2548 ได้สำเร็จ

บทเรียนที่สมัยให้กับลูกชาย เขาสอนลูกว่า ต้องศึกษาภาพรวมทั้งหมดของบริษัทก่อน เพราะเราเข้ามาในฐานะพิเศษ (ลูกเจ้าของบริษัท) หลายคนอาจเกร็ง แถมวัยวุฒิยังน้อยกว่าคนอื่นมาก พ่อให้ไปทำงานคลุกคลีกับพนักงานระดับล่างไม่ได้เข้ามาในฐานะเจ้านาย ทำแบบนั้นอยู่ประมาณปีกว่า ความสัมพันธ์กับพนักงานก็เริ่มดีขึ้น คุณพ่อท่านมองขาดให้เราต้องลงไปในระดับล่างที่สุดแล้วค่อยๆ ไต่ขึ้นมา

ไม่ใช่เพียงพ่อคนเดียวที่ให้โจทย์แต่ยังมีผู้บริหารระดับสูงรุ่นเก่าอีก 4-5 คน ที่วางแผนจะรีไทร์ตัวเองภายใน 4-5 ปีข้างหน้า มีครั้งหนึ่งภาสิตขอสมัยไปเมืองจีนกับผู้บริหารเหล่านั้นแบบส่วนตัวเพื่อเปิดใจคุยกันทุกเรื่อง

"ผมถามท่านเหล่านั้นว่า อยากเห็นบริษัทเป็นอย่างไร เขาบอกว่าบริษัทนี้เหมือนลูกของพี่นะ! ช่วยกันปั้นขึ้นมาจนเกิดเป็นความรัก ท่านบอกว่าคุณรู้มั้ย! ตอนปี 2540 ที่บริษัทเกิด ช่วงนั้นงานหายากมากหลายๆ บริษัทต้องวิ่งหางาน ขนาดทาสีรั้วเล็กๆ ราคาแสนบาทบริษัทก็รับ ทุกวันนี้ผมและผู้บริหารรุ่นเก่าเราคุยกันตลอด คุณพ่อค่อนข้างปล่อย ท่านจะพูดเสมอว่า..ลูกจะทำอะไร (ต่อ) แล้วแต่ พ่อสร้างให้ได้แค่นี้จะโตต่อไปอย่างไรก็มาคุยกัน”

ปัจจุบันน้องสาวคนกลางที่จบคณะนิเทศศาสตร์ และ MBA เข้ามาทำงานด้าน CSR แต่กำลังจะถูกดึงเข้ามาทำด้าน IR ส่วนคนเล็กยังเรียนอยู่ปี 3 คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยโอคแลนด์ ประเทศนิวซีแลนด์ ถ้าเรียนจบพ่อจะให้ไปฝึกงานที่อื่นก่อน ช่วงหนึ่งน้องคนเล็กเคยไปฝึกงานที่ปูนซิเมนต์ไทย เมื่อเรียนรู้งานจากข้างนอกแล้วค่อยดึงกลับมาทำงานในบริษัท..นี่คือวิธีเพาะต้นกล้าของสมัย

ทุกวันนี้อาชีพหลักของบมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น คือ "ผู้รับเหมา" ภาสิต บอกว่า หลายคนมองอาชีพนี้น่าจะรุ่ง แต่ส่วนตัวเห็นว่ากำลังเข้าสู่ช่วง Sunset (ขาลง) มากกว่า เพราะหน้าที่เราจะสิ้นสุดทันทีเมื่อการก่อสร้างแล้วเสร็จ เพราะฉะนั้นเขามีไอเดียว่า นโยบายของบริษัทในปี 2556 จะพลิกตัวเองจาก “ผู้รับเหมา” เป็น “ผู้ลงทุน” บริษัทเล็งจะเป็นเจ้าของธุรกิจไฟฟ้าและพลังงานทดแทนในแถบเอเชีย โดยเฉพาะในประเทศพม่า และกัมพูชา คาดว่าสิ้นปี 2555 หรือภายในไตรมาสแรกปี 2556 จะได้ข้อสรุป

เขาบอกว่า ข้อดีของการเป็น “ผู้ลงทุน” คือ บริษัทจะมีรายได้สม่ำเสมอ เพราะการขายไฟฟ้าจะทำให้คาดการณ์ได้ว่า ภายใน 20 ปีข้างหน้า รายได้จะเข้ามาเท่าไร ซึ่งจะสามารถป้องกันความเสี่ยงที่เกิดจากความผันผวนของงานได้ เบื้องต้นคงเข้าไปจัดตั้งบริษัทย่อยร่วมกับพันธมิตรมูลค่าลงทุนเฉลี่ย 1,000 ล้านบาทต่อโปรเจค ขณะนี้ให้โจทย์ที่ปรึกษาทางการเงินไปว่า โปรเจคแบบนี้ในสภาวะเศรษฐกิจแบบนี้ เราควรออก Financial products หรือไม่ ส่วนผลตอบแทนการลงทุนต้องมากกว่า 20% ถ้าน้อยกว่านี้ทำเหมือนเดิมดีกว่า

ภาสิต เผยว่า คุณสมบัติของ TRC ขณะนี้ย้ายเข้าไปอยู่ SET ได้แล้ว แต่ส่วนตัวคิดว่ายังไม่ถึงเวลาถ้าเข้าไปตอนที่บริษัทไม่สตอรี่ดีๆ ก็คงรั้งท้ายคนอื่น สำหรับแนวโน้มผลประกอบการปี 2555 บริษัทตั้งเป้ารายได้ที่ 4,000 ล้านบาทก่อน ปัจจุบันมี Backlog ประมาณ 4,400 ล้านบาท ส่วนกำไรขั้นต้นปีนี้ จะมากกว่า 13% ซึ่งงานท่อจะมีมาร์จินสูงสุดประมาณ 15% ส่วนอัตรากำไรสุทธิจะอยู่ที่ 5-7%

"เรื่องใหญ่ที่สุดที่เราต้องทำแต่เนิ่นๆ คือเรื่อง "คน" วันนี้เราลงไปถึงสถานศึกษาเพื่อไปดึงเด็กวิศวะที่กำลังจะเรียนจบมาทำงานกับเรา ตอนนี้ต่างชาติกำลังมาดึงเด็กไทยไปทำงานหมดแล้ว ฉะนั้นต้องสร้างกันตั้งแต่เล็กๆ เลย ถ้าคุณไม่แข็งแรงเมื่อ AEC เปิด ต่างชาติจะกลืนเราหมด"

ภายใน 3 ปีข้างหน้า ผู้บริหารหนุ่ม ตั้งเป้าอยากเห็นสัดส่วนรายได้จากธุรกิจรับเหมาก่อสร้างในงานวางระบบท่อน้อยลงเหลือ 40% จากปัจจุบัน 60% ธุรกิจรับเหมาติดตั้งระบบวิศวกรรมและก่อสร้างโรงงานในอุตสาหกรรมพลังงานและปิโตรเคมี 40% ธุรกิจพัฒนาโครงการและการลงทุน 10% และธุรกิจต่างประเทศ 10% ภายใน 3 ปีนี้ รายได้จากธุรกิจรับเหมาคาดว่าจะทรงตัวระดับ 4,000-4,500 ล้านบาท คงไม่เติบโตหวือหวาแต่จะสม่ำเสมอมากขึ้น ส่วนการเติบโตของรายได้รวมจะมาจากธุรกิจอื่นๆ เพิ่มขึ้น

ภาสิต กล่าวว่า ในประเทศไทย TRC ติด Top5 ผู้รับเหมาก่อสร้างในงานวางระบบท่อ และเป็นรายเดียวที่สามารถทำท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นผ่าศูนย์กลางกว้าง 30 นิ้ว ซึ่งเป็น “จุดแข็ง” ของบริษัท ถามถึงทิศทางของหุ้น TRC ผู้บริหารหนุ่มแสดงความเห็นเป็นนัยๆ ว่า บริษัทมีกระแสเงินสดต่อปีสูงถึง 300 ล้านบาท ถือว่าดีมาก แต่ถ้านำราคาหุ้น TRC ไปเทียบกับอุตสาหกรรมเดียวกันก็ถือว่าราคาหุ้นยังต่ำอยู่..ขณะที่ในรอบ 1 ปีที่ผ่านมาราคาหุ้น TRC ทะยานจาก 2.36 บาท ขึ้นไปสูงสุด 5.80 บาท ปรับตัวเพิ่มขึ้น 145%

ซื้อหุ้น Apple ของ 'สตีฟ จ็อบส์' ตัวแรกหลายปีก่อนช่วงที่หุ้น TRC เข้ามาซื้อขายใหม่ๆ สมัย ลี้สกุล ถึงขนาดซื้อหนังสือของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ มานั่งอ่านเพื่อหาความรู้เพิ่มเติมในฐานะเจ้าของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ แต่สำหรับ “เต้” ภาสิต ลี้สกุล ผู้บริหารรุ่นที่สอง บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) วัย 29 ปี เขาไม่ใช่ "มือใหม่" ในวงการหุ้น

ภาสิต มีประสบการณ์เริ่มเล่นหุ้นครั้งแรกเมื่อปี 2549 ช่วงเรียนอยู่ที่สหรัฐอเมริกา เขาเห็นเพื่อนที่เรียนไฟแนนซ์ด้วยกันลงทุนแล้วได้กำไร ผสมกับความร้อนวิชาก็เลยตัดสินใจหอบเงินเก็บ 10,000 เหรียญสหรัฐฯ ไปเปิดพอร์ต เจ้าตัวเล่าว่า หุ้น Apple ของ “สตีฟ จ็อบส์” เป็นตัวแรกที่ซื้อ จำได้ซื้อตอนราคา 80 เหรียญ ระหว่างนั้นมีขายทำกำไรมาเรื่อยๆ จนเวลาผ่านไป "ปีกว่า" ราคาพุ่งแตะ 200 เหรียญ ดีใจมากขายหมดเลย

"ตอนนั้นเริ่มติดใจ มีเพื่อนมาบอกว่าไปซื้อหุ้นตัวเล็กพวกราคาตัวละ 1 เหรียญสิ! มีข่าว (สตอรี่) โน่นนี่ ผมซื้อเลยแบบไม่คิดอะไร ไม่หาข้อมูลด้วย พอกลับมาดูอีกทีราคาหุ้นลงมาเหลือ 20 เซนต์ ขาดทุนไป 5,000 เหรียญ"

เขาเล่าว่า ช่วงนั้นเข็ดมาก จึงปรับวิธีลงทุนใหม่ หันมาดูพวกหุ้นบลูชิพมากขึ้น เคยซื้อหุ้น GE เคยซื้อหุ้นกลุ่มพลังงาน โรงไฟฟ้า เพราะปันผลชัดเจน หลังกลับมาเมืองไทยช่วงปี 2552 นั่งคิดว่ามีเงินอยู่ก้อนหนึ่งจะนำไปทำอะไรดี จะไปฝากแบงก์ก็ได้ดอกเบี้ยไม่กี่เปอร์เซ็นต์ จะนำไปลงทุนในธุรกิจอื่นเราเองก็มีงานประจำอยู่แล้ว สุดท้ายตัดสินใจนำเงินไปเปิดพอร์ตลงทุน ทุกวันนี้มูลค่าพอร์ตราวๆ 8-9 หลัก ส่วนใหญ่จะเน้นหุ้นพลังงานครอบครัวปตท.ที่จ่ายเงินปันผลดี ทำให้ผลตอบแทนจากเงินปันผลทั้งพอร์ตออกมาเฉลี่ย 7-8% ต่อปี

สาเหตุที่ชอบหุ้นกลุ่มพลังงาน เพราะครอบครัวใกล้ชิดมานาน รู้ว่าสัญญาซื้อขายไฟฟ้าส่วนใหญ่จะนาน 20 ปี เท่ากับว่าปตท.จะขายก๊าซได้ 20 ปีเช่นกัน ทุกวันนี้ต้องยอมรับว่าปตท.เป็นผู้ขายก๊าซธรรมชาติรายเดียวในประเทศไทย สัญญามันล็อกชัดเจน

“ผมซื้อหุ้นไอพีโอบ้างนิดหน่อย แต่รอบที่ฮอตๆ กันไม่ได้ซื้อ เพราะหุ้นไอพีโอถ้าอยากได้กำไรต้องเข้าไปตั้งแต่ต้นๆ ไปซื้อตอนโบรกเกอร์นำมาขาย (IPO) ราคาก็ไม่โอเคแล้ว เราต้องเข้าไปเวิร์คกับเขาตั้งแต่แรกๆ ต้องคอนโทรลได้ถึงจะกำไรเยอะ”

ภาสิต เล่าต่อว่า นอกจากลงทุนในตลาดเมืองไทยแล้ว ยังลงทุนออฟชอร์เทรดดิ้งในตลาดหลักทรัพย์ฮ่องกง (HKSE) เน้นซื้อบอนด์ของบริษัทข้ามชาติ เพราะผลตอบแทนดีเฉลี่ย 7% ได้สูงแต่ก็มีความเสี่ยงถ้าไปซื้อบอนด์พวกบริษัทไฟฟ้า และพลังงาน ผลตอบแทนเฉลี่ยจะอยู่ 6% บวกลบ

“ข้อดีของการลงทุนในตลาดหุ้น คือ คุณสามารถจัดการเงินของคุณเพื่อให้ได้ผลตอบแทนตามเป้าหมายได้ สมมติเราจะนำเงินก้อนหนึ่งไปเปิดร้านอาหาร เราจะรู้แค่ว่าผลตอบแทนจะออกมาระดับหนึ่ง แต่ถ้านำไปลงทุนในตลาดหุ้นเราจะรู้ว่าถ้าจัดพอร์ตแบบนี้ผลตอบแทนเฉลี่ยจะออกมาเท่าไร ลงทุนผ่านตลาดหุ้นยังไงก็ “คุ้ม” กว่าฝากแบงก์เยอะ” หนุ่มเต้-ภาสิต บอก


ที่มา:
1) กรุงเทพธุรกิจ
2) http://www.stock2morrow.com/showthread.php?t=37058
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
Jonathan_Seagull
Verified User
โพสต์: 183
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 85

โพสต์

เคล็ดลับลงทุน 'พิธาน องค์โฆษิต' ทายาทรุ่น 2 'เคซีอี'

รูปภาพ

พิธาน องค์โฆษิต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บมจ.เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ เป็นหนึ่งในนักลงทุน "รุ่นใหม่" ที่ชื่นชอบลงทุน "หุ้นคุณค่า" ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา (พฤศจิกายน 2552 - สิงหาคม 2553) เขาเข้าเก็บหุ้น KCE ในตลาดหลักทรัพย์จำนวน 7,750,000 หุ้น มูลค่า 54.32 ล้านบาท ที่ราคาเฉลี่ย 7.01 บาท

ปัจจุบันพิธานอายุ 29 ปี จบปริญญาโทจาก Cornell University สหรัฐอเมริกา เป็นบุตรชายคนที่ 2 ในจำนวนทั้งหมด 3 คน ของ บัญชา-วรลักษณ์ องค์โฆษิต หนุ่มคนนี้คือ "ไม้สอง" เคซีอี อีเลคโทรนิคส์ รุ่นต่อไป

พิธาน เล่าให้กรุงเทพธุรกิจ BizWeek ฟังว่า เป็นคนหนึ่งที่ชื่นชอบการลงทุนผ่านตลาดหุ้น โดยเฉพาะ "หุ้นคุณค่า" (หุ้นพื้นฐานดี) เขาให้เหตุผลง่ายๆ "หุ้นประเภทนี้เล่นยังไงก็ได้กำไร" แต่จะไม่เล่นหุ้นที่มีดีแค่ไซส์ใหญ่แต่ไร้เสน่ห์ดึงดูด

ตั้งแต่เริ่มเล่นหุ้นจริงจังเมื่อปี 2552 เขาบอกว่า ได้กำไรมาตลอดประมาณ 3-4 เท่าตัวแล้ว ตัวที่สร้างผลงานยอดเยี่ยมให้กับพอร์ตมากที่สุดคือหุ้น CPF ได้กำไรมาแล้วประมาณ 100% ตอนที่เริ่มซื้อราคาไม่ถึง 10 บาท ปัจจุบันราคาขึ้นไป 25-26 บาทแล้ว คาดว่าอีกสักพักจะทยอยขายทำกำไรออกมาบ้าง

ผู้บริหารหนุ่มอธิบายจุดที่มองว่าหุ้นตัวนี้ "ดี" ต่างจากนักลงทุนส่วนใหญ่ที่มองว่า ซีพีเอฟหันมาทำธุรกิจอาหารสำเร็จรูปเช่นเกี๊ยวกุ้ง ส่งผลให้มีมาร์จินมากขึ้น แต่ในมุมของผมมองว่าตรงนั้นไม่ใช่ประเด็นหลัก แต่เกิดจากการที่บริษัทมี "ต้นทุนลดลง" ต่อเนื่อง ขณะเดียวกันธุรกิจหลักของซีพีเอฟก็มี "การเติบโต" ขึ้นต่อเนื่องต่างหาก

สเต็ปก้าวต่อไปของพิธาน กำลังเล็งจะช้อนหุ้นไดนาสตี้เซรามิค (DCC) แต่จะรอให้ราคาลดลงต่ำกว่านี้หน่อย เพราะราคา 42.50 บาท ถือว่า "แพงเกินไป" เหตุที่สนใจหุ้น DCC เพราะหลายปีที่ผ่านมาพิสูจน์ว่าบริษัทแกร่งจริง ผลการดำเนินงานเติบโตขึ้นต่อเนื่อง ไม่กี่ปีมาร์เก็ตแคปขึ้นมาถึง 17,000 ล้านบาท ขณะที่กำไรขั้นต้นก็สูงถึง 40% ถ้าวิเคราะห์คู่แข่งในอุตสาหกรรม 6 ราย มีแค่ 2 ราย คือ "เครือซิเมนต์ไทย" และ "ไดนาสตี้" ที่เป็นผู้นำตลาด

สำหรับหุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก็น่าสนใจ เพียงแต่ตอนนี้ "ราคาเวอร์" ไปหน่อย แต่ถ้าจะถือยาว 1 ปี ตัวใหญ่ก็ยังซื้อได้ ปีนี้คงจ่ายเงินปันผลดีมาก ส่วนหุ้นกลุ่มอื่นๆ ต้องขอวิเคราะห์งบการเงินไตรมาส 2 ก่อน การลงทุนในตลาดหุ้น "อย่ารีบร้อน..ดีที่สุด"

"ปัจจุบันพอร์ตลงทุนของผมมีมูลค่าไม่สูงมากนัก ส่วนใหญ่ลงทุนอยู่ในหุ้น 3 ตัว คือ CPF TRUE และ KCE (ของครอบครัว) อย่างหุ้น TRUE ซื้อมาตอน 3 บาท ตัวนี้ได้กำไรพอสมควร"

สำหรับเคล็ดลับการลงทุน พิธาน บอกว่า ไม่ได้มีอะไรเป็นพิเศษส่วนใหญ่จะดูพื้นฐาน หุ้นที่ถ้าเจอแล้วจะ "ช้อน" ทันที คือ หุ้นที่ผลการดำเนินงานเติบโต และมีแนวโน้มว่าไตรมาสต่อๆ ไปจะเติบโตได้ต่อเนื่อง ส่วนตัวไม่ชอบเล่นหุ้นแบบ Day Trade เพื่อนผมเล่นกันเยอะมาก เขาจะใช้กลยุทธ์ "ซื้อ(ตาม)ตอนขึ้น-ขายตอนลง" ส่วนตัวไม่กล้าเสี่ยง ยอมรับว่าไม่ถนัดจริงๆ

ส่วนการขายหุ้นไม่มีเป้าหมายกำไรขึ้นอยู่กับความเหมาะสมและสถานการณ์ ถ้าคิดว่าศึกษารายละเอียดมาดีแล้วก็ไม่กลัวภาวะตลาด ถือคติว่า "ซื้อของดีแล้วต้องโกยกำไรสูงๆ" ปัจจุบันเปิดบัญชีเล่นหุ้นอยู่หลายโบรกเกอร์

สำหรับมุมมองต่อหุ้น KCE ในฐานะผู้บริหาร ถ้าในปี 2553 บริษัทสามารถทำกำไรสุทธิได้ตามเป้า 700 ล้านบาท (ครึ่งปีแรกมีกำไรสุทธิ 342 ล้านบาท) ราคาหุ้นก็ต้องมากกว่าราคาปัจจุบันที่ 10 บาท เพราะปัจจุบันหุ้น KCE ซื้อขายต่ำกว่าค่า P/E ของกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ที่อยู่สูง 14-15 เท่า

"วันนี้ผมมีหุ้น KCE ประมาณ 2-3% (ณ 1 เมษายน 2553 ถืออยู่ 9.76 ล้านหุ้น สัดส่วน 2.11%) ตั้งใจจะเก็บให้ได้ 5% (ประมาณ 23 ล้านหุ้น) เพราะถ้าเศรษฐกิจดีโดยปกติอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์จะเติบโตมากกว่าอุตสาหกรรมอื่นๆ ที่จริงราคาหุ้น KCE ควรไปไกลกว่านี้ แต่เป็นเพราะที่ผ่านมากำไรของเราไม่นิ่งทำให้นักลงทุนไม่มั่นใจ แต่จากนี้ไปทุกคนจะเริ่มเห็นความเปลี่ยนแปลง"

สำหรับเป้าหมายของ KCE ในช่วง 3 ปีข้างหน้า (2553-2555) ทายาทรุ่นที่สองของบริษัท บอกว่า เรามีเป้าหมายอยากเห็นผลตอบแทนจากเงินปันผลให้อยู่ระดับประมาณ 5% จากปัจจุบันที่อยู่ 1-2% และมีรายได้ 400 ล้านดอลลาร์ หรือขยายตัวปีละ 20-25% นี่คือ "ธง" ที่จะพยายามทำให้สำเร็จ จากปีนี้ที่บริษัทคงเป้ารายได้ที่ 240 ล้านดอลลาร์ หรือเติบโต 30-40% ส่วนปี 2554 รายได้อาจขยายตัวประมาณ 20% เพราะจะมีกำลังการผลิตใหม่เพิ่มเข้ามา และจะขยายฐานลูกค้ากลุ่มใหม่

นอกจากนี้ บริษัทอยากมีโรงงานทองแดงเพื่อป้อนวัตถุดิบให้เคซีอี ตั้งใจจะสร้างบนพื้นที่ตรงลาดกระบัง 15 ไร่ ลงทุนประมาณ 200-300 ล้านบาท จะทำให้ต้นทุนลดลงได้ถึง 2% แต่จะทำเองหรือร่วมมือกับใครคงต้องรอดูอีกครั้ง

"จริงอยู่ผมอายุยังน้อยและมีประสบการณ์ไม่มาก แต่ผมก็รักที่จะเรียนรู้จากคนที่มีประสบการณ์ ใครเก่งด้านไหนก็ฟังแล้วนำมาปรับใช้ ผมเข้ามาเรียนรู้ธุรกิจของครอบครัวตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปี 2550 ตอนนั้นทำอยู่ฝ่ายวิศวกรรม จากนั้นก็ไปเรียนต่อโทที่ Johnson Graduate School of Management มหาวิทยาลัยคอร์แนล แต่ช่วงที่เรียนก็ยังทำงานให้บริษัทด้านงานขาย เพิ่งกลับมาเมื่อปีที่แล้ว"

เขาบอกว่า "พ่อ" (บัญชา องค์โฆษิต) ไม่ได้ตั้งเป้าหมายอะไรกับลูก ไม่ได้บอกว่าจะเกษียณเมื่อไรแต่คาดว่าท่านคงอยู่เบื้องหน้าอีก 1-2 ปี จากนั้นคงไปอยู่เบื้องหลัง เพราะในบริษัทพ่อเป็นคนเดียวที่รู้เรื่องเทคนิคดีที่สุดแล้ว

"มีคนถามว่าทำไมไม่ให้พี่ชายคนโต “อรรถสิทธิ์ องค์โฆษิต” ดูแลกิจการ ทำไมพ่อถึงเลือกผม จริงๆ พ่อไม่ได้เลือกว่าต้องเป็นใคร แต่ผมแสดงความสนใจเองอีกอย่างพี่ชายถนัดงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์มากกว่า ส่วนน้องสาว "ชุตินาถ องค์โฆษิต" ปัจจุบันอายุ 25 ปี ดูแลเรื่องโปรแกรมต่างๆ ของบริษัท"

ที่มา:กรุงเทพธุรกิจ
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 86

โพสต์

คอลัมน์: Mission CEO ภารกิจพิชิตเป้า
Source -กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, November 05, 2012
[email protected]

Mission CEO ฉบับที่ 438 วันที่ 5-11 พฤศจิกายน 2555


ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท. เปิดเผยภายหลังเปิดสถานีบริการน้ำมันขนาดใหญ่ ที่สุดในประเทศลาว บริเวณบ้านหนองแต่ง นครเวียงจันทน์ว่า ในช่วงปี 2555-2559 ปตท.มีแผนใช้เงินลงทุน 5,000-6,000 ล้านบาท ในการขยายสถานีบริการปตท.ในกลุ่มประเทศอาเซียน คือ ลาว พม่า กัมพูชา ฟิลิปปินส์ ทั้งการสร้างสถานีบริการใหม่ และปรับปรุงสถานีบริการเดิมให้ได้มาตรฐาน เพื่อรองรับการเข้าสู่ AEC เป้าหมายคือต้องเป็น 1 ใน 3 อันดับแรกของแบรนด์ค้าปลีกน้ำมันในประเทศนั้นๆ และจะทำตลาดพร้อมกับร้าน Cafe Amazon และร้านสะดวกซื้อจิฟฟี่ โดยตั้งเป้าหมายภายในอีก 5 ปี จะมีสถานีบริการน้ำมันในต่างประเทศ 245 แห่ง มียอดขาย ปีละ 1.5 แสนล้านบาท จากปัจจุบันมียอดขายปีละ 2-3 หมื่นล้านบาท ทั้งนี้ ปตท.มีแผนขยายสถานีบริการน้ำมันในกัมพูชาเพิ่มเป็น 45 แห่ง ในฟิลิปปินส์จะขยายเป็น 100 แห่ง ในพม่าตั้งเป้าว่าจะเปิดบริการ 40 แห่ง สำหรับในลาวนั้น ปตท.จะขยายสถานีบริการเพิ่มเป็น 60 แห่ง

อธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ไออาร์พีซี เปิดเผยว่า สถานการณ์ปิโตรเคมีในปี 2556 จะเติบโตดีกว่าปีนี้ เนื่องจากเศรษฐกิจในแต่ละประเทศเริ่มผ่อนคลายความตึงเครียด และมีแนวโน้มดีขึ้น คาดว่า ในปีหน้า ผลการดำเนินงานของบริษัทจะดีกว่าปีนี้ที่ทำกำไรได้ค่อนข้างแคบ ซึ่งมาจากการขยายกำลังการผลิตโครงการขนาดใหญ่ 2 โครงการ ได้แก่ โครงการ โพลีโพรพิลีนเพิ่มอีก 1 แสนตันต่อปี จากเดิม 3.75 แสนตัน รวมเป็น 4.75 แสนตันต่อปี เดินเครื่องเชิงพาณิชย์แล้วตั้งแต่เดือนต.ค. ที่ผ่านมา และการขยายกำลังการผลิต TDAE หรือสารละลายธรรมชาติที่ไม่ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง เพิ่มเป็น 5 หมื่นตันต่อปี จากเดิม 4 หมื่นตันต่อปี ส่วนการดำเนินงานไตรมาส 4 ปีนี้ มีแนวโน้มทำออกมาได้ ต่อเนื่องจากไตรมาส 3 เพราะได้รับประโยชน์จากราคาน้ำมัน ที่ปรับตัวขึ้นในระดับสูงตามช่วงฤดูกาล ดังนั้นภาพรวม ผลการดำเนินงานปีนี้ มีโอกาสทำยอดขายเติบโตขึ้นได้ 15% ตามเป้า

ม.ล.จันทรจุฑา จันทรทัต ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ. โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ เปิดเผยว่า บริษัทมีมติเพิ่มทุน 9,910 ล้านบาท จัดสรรผู้ถือหุ้น 1 หุ้นเดิมต่อ 1 หุ้นใหม่ ในราคาหุ้นละ14 บาท เพื่อรองรับโอกาสในการขยายกองเรือบรรทุกสินค้าแห้งเทกอง รวมถึงโอกาสเติบโตในธุรกิจการให้บริการนอกชายฝั่ง เปิดจองซื้อระหว่างวันที่ 15-21 มกราคม 2556 ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่บริษัทต้องฝ่าฟันและประคองตัวให้พ้นจากภาวะตกต่ำของอุตสาหกรรมในทั้ง 3 กลุ่มธุรกิจ เราพบว่าในช่วงอีก 12-18 เดือนข้างหน้านี้ คือช่วงเวลาที่เหมาะสมที่ควรจะลงทุนซื้อกองเรือ ด้านแนวโน้มผลการดำเนินงานประเมินว่าในปีนี้ ยังคงขาดทุนอยู่ แต่ปี 2556 บริษัทจะเติบโตทั้งรายได้และกำไร โดยรายได้โต 10% ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเติบโตของบริษัท เมอร์เมด มาริไทม์ ขณะที่ค่าระวางเรือจะยังมีแนวโน้มทรงตัวอยู่ในระดับปัจจุบันไปอีก 12 เดือนข้างหน้า ก่อนจะค่อยๆ ฟื้นตัวกลับขึ้นในปี 2557

เจริญ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ เปิดเผยว่า นโยบายทำตลาดและพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ของ ส.ขอนแก่น นับจากนี้ จะเน้น ต่อยอดการใช้วัตถุดิบจากเนื้อหมูไปสู่เมนูอาหารใหม่ ซึ่งล่าสุด มีแผนเปิดร้านข้าวขาหมู ภายใต้แบรนด์ ยูนนาน บาย ส.ขอนแก่น ตามห้างสรรพสินค้าและตามแหล่งชุมชนต่างๆ ภายในเดือนพฤศจิกายนนี้ เนื่องจาก ส.ขอนแก่น มีวัตถุดิบที่พร้อมและสูตรอาหารที่เป็นต้นตำรับจากประเทศจีนมาเป็นจุดขาย ที่ผ่านมาผลิตขาหมูพะโล้เพื่อส่งออกไปฮ่องกงมานานแล้ว โดยจะเปิดขายที่ห้างเซ็นทรัล พระราม 3 และเซ็นทรัล แกรนด์ พระราม 9 รวมถึงแหล่งชุมชนต่างๆ เพื่อกระตุ้นการทดลองบริโภคให้แก่กลุ่มคนรุ่นใหม่ ตลอดจนมีแผนที่จะเปิดขายแฟรนไชส์ให้แก่ผู้ที่สนใจลงทุนในรูปแบบคีออส ซึ่งตั้งเป้าว่า ภายใน 1 ปี จะมีจุดจำหน่ายร้านข้าวขาหมูในรูปแบบร้านเดี่ยวและรูปแบบคีออส ประมาณ 30-50 สาขา

กรัณย์พล อัศวสุวรรณ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ซิมโฟนี่ คอมมูนิเคชั่น เปิดเผยว่า ภาพรวม ธุรกิจบริษัทปีนี้ น่าจะเติบโตได้ตามเป้าที่วางไว้ 15-20% หลังจากแนวโน้มผลประกอบการที่ออกมาในช่วง 9 เดือนมีความมั่นใจมากขึ้น และปีหน้าจะเติบโตได้ในระดับเท่ากัน เพราะบริษัทมีแผนจะขยายพื้นที่ให้บริการไปต่างจังหวัด โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่ที่เป็นแหล่งท่องเที่ยว ปีหน้าบริษัทวางงบลงทุนประมาณ 600 ล้านบาท โดยประมาณ 50% จะนำไปใช้ในการขยายพื้นที่ในส่วนลูกค้าใหม่ และที่เหลือจะนำไปขยายโครงข่ายเพิ่ม อย่างไรก็ตาม แหล่งเงินทุนของบริษัทจะใช้กระแสเงินทุนจากการดำเนินงาน โดยจะไม่มีแผนเพิ่มทุนหรือกู้เงินเพิ่มเติม ส่วนกรณีข่าวการร่วมทุนกับบริษัทสิงเทลของสิงคโปร์ เป็นเรื่องการดำเนินธุรกิจปกติดังนั้นจึงไม่ได้ส่งผลทำให้พื้นฐานบริษัทเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ

สุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า เม็ดเงินลงทุนของกลุ่มปตท. ซึ่งไม่รวมงบซื้อกิจการในช่วงปี 2556-2563 เฉลี่ยปีละ 2.0-2.5 พันล้านดอลลาร์ คงเน้นการลงทุนในธุรกิจปิโตรเลียมขั้นต้น ทั้งการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (FLNG) การผลิต ปิโตรเลียมจากแหล่งปิโตรเลียมที่มีอยู่ของ ปตท.สผ.ให้ได้ตามเป้าหมาย ก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 การขยายคลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ลงทุนในธุรกิจถ่านหิน การขยายคลังก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ธุรกิจไบโอพลาสติก โรงไฟฟ้าตลอดจนการขยายลงทุนธุรกิจน้ำมันในอาเซียน และการลงทุนอื่นๆ ในอาเซียน ซึ่งจะมุ่งเน้นในพม่าและอินโดนีเซีย สำหรับเม็ดเงินลงทุน จะมาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่มีปีละ 3-4 หมื่นล้านบาท เงินปันผลจากบริษัทลูกราว 2-3 หมื่นล้านบาท ต่อปี ส่วนที่เหลือจะมาจากแหล่งเงินกู้ ซึ่งขณะนี้ อยู่ระหว่างการจัดทำแผนจัดหาเงิน

บัณฑูร ล่ำซำ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า จากการพัฒนาความร่วมมือเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเชีย โดยเฉพาะ AEC ที่จะเกิดขึ้นในปี 2015 จะช่วยให้สภาพเศรษฐกิจของเอเชียมีความมั่นคงมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันจีนถือเป็นตลาดส่งออกอันดับหนึ่งและเป็นคู่ค้าสำคัญอันดับสองของไทย ธนาคารกสิกรไทยเล็งเห็น ถึงความสำคัญส่งผลให้ธนาคารฯ เร่งพัฒนารูปแบบ การทำธุรกรรมและการชำระเงินระหว่างประเทศให้มีความหลากหลายครบวงจรมากยิ่งขึ้น จึงได้ร่วมมือกับ ธนาคารจากประเทศจีน 6 แห่ง ที่เป็นสมาชิกสมาคมแฟคเตอริ่ง ระหว่างประเทศ (FCI) ได้แก่ ธนาคารไชน่าหมิงเซิง ธนาคารผิงอัน ธนาคารจาวซาง ธนาคารเพื่อการพัฒนา ผู่ตงแห่งเซี่ยงไฮ้ ธนาคารแห่งเซี่ยงไฮ้ และธนาคารเปาซาง เพื่อร่วมกันพัฒนาบริการแฟคเตอริ่งระหว่างไทยจีนที่ใหญ่ ที่สุด มีมูลค่าการทำแฟคเตอริ่งของความร่วมมือประมาณ 29,000 ล้านบาท ขณะที่ ธนาคารตั้งเป้าสินเชื่อในปี 2556 เติบโตประมาณ 9-10% จากปี 2555 ที่คาดว่าจะเติบโต 9-11%

สมชัย สวัสดีผล รักษาการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.ท่าอากาศยานไทย เปิดเผยว่า จากการที่กลุ่มสายการบินแอร์เอเชียได้ย้ายไปให้บริการที่ท่าอากาศยานดอนเมืองตั้งแต่เดือนตุลาคม 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งส่งผลให้ ปริมาณเที่ยวบินที่ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ (ทสภ.) ลดลง ไปกว่าวันละ 134 เที่ยวบิน และจำนวนผู้โดยสารลดลงประมาณ 20,000 คนต่อวัน หรือประมาณ 8 ล้านคนต่อปี ทำให้การบริการมีความคล่องตัวขึ้น โดยในปีงบประมาณ 2556 นี้ คาดว่าจะมีจำนวนผู้โดยสารใช้บริการที่ ทสภ. ประมาณ 44.45 ล้านคน และในช่วงฤดูหนาวนี้ ซึ่งเป็นฤดูท่องเที่ยวของประเทศไทย โดยในปีนี้เริ่มตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2555- 30 มีนาคม 2556 ทสภ. คาดว่าจะมีผู้โดยสารใช้บริการที่สุวรรภูมิจำนวนมากถึง 23 ล้านคน หรือเฉลี่ยวันละประมาณ 150,000 คน โดยมีเที่ยวบินเฉลี่ยวันละ 800 เที่ยวบิน

ภาคภูมิ ศรีชำนิ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เปิดเผยว่า ปีนี้บริษัทสามารถประมูลงานขนาดใหญ่ได้หลายโครงการ ทำให้มีงานในมือสูงถึง 6-7 หมื่นล้านบาท ถือเป็นสถิติใหม่สูงสุดของบริษัท ซึ่งงานเหล่านี้จะรับรู้รายได้ไปอีก 3-4 ปี และตั้งเป้าเพิ่มรายได้ 15-20% โดยบริษัทแบ่งสัดส่วนการรับงานภาครัฐ 60-70% และงานภาคเอกชน 30-40% อย่างไรก็ตาม เนื่องจากภาครัฐมีโครงการลงทุนระหว่างปี 2555-2559 คิดเป็นเงิน 2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งตามสถิติการได้รับงานภาครัฐของบริษัทจะมีสัดส่วนประมาณ 30% ของมูลงานที่เปิดประกวดราคาทั้งหมด หรือประมูลงาน 3-4 โครงการ จะได้รับงาน 1 โครงการ ทั้งนี้ ในปีนี้บริษัทยังคาดว่าจะมีรายได้สูงสุดใหม่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาท และน่าจะมีกำไรสูงสุดใหม่ด้วย

วีระพล ไชยธีรัตต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ. ชัยวัฒนา แทนเนอรี่ กรุ๊ป เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทได้รับเลือกให้เป็นผู้พัฒนาสินค้าหนังผืนให้กับลูกค้าจากประเทศอินเดียและอินโดนีเซีย ทั้งที่เป็นลูกค้าเดิมและลูกค้ารายใหม่ ปัจจุบันอยู่ระหว่างการยื่นขออนุมัติตัวอย่าง และยื่นเสนอราคา โดยออเดอร์ใหม่มีมูลค่ารวมกัน ประมาณ 15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ คาดว่ามีโอกาสได้รับงาน ดังกล่าวสูงกว่า 90% หากการยื่นเสนอราคาออเดอร์ใหม่เป็นไปตามคาดการณ์และบริษัทเป็นผู้ได้รับเลือกให้เป็น ผู้ผลิตคาดว่าจะเริ่มส่งออกออเดอร์ใหม่ดังกล่าวได้ภายในไตรมาสแรกของปี 2556 เป็นต้นไป นอกจากนี้บริษัท มีแผนที่จะเพิ่มสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศให้มากขึ้น รองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558 ปัจจุบันมีรายได้จากต่างประเทศ 30% และในประเทศ 70%

สุรเชษฐ์ กมลมงคลสุข กรรมการผู้จัดการ บมจ.ที.เอ็ม.ซี. อุตสาหกรรม เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาน ไตรมาส 3 จะขยายตัวได้อย่างแข็งแกร่ง เชื่อว่าจะไม่ทำให้ผู้ถือหุ้นผิดหวัง เนื่องจากเตรียมรับรู้รายได้จากการส่งมอบเครื่องจักรให้กับลูกค้าที่มีคำสั่งซื้อเข้ามาตาม ภาวะการเติบโตของอุตสาหกรรมยานยนต์ หลังจากที่ได้เงิน จากระดมทุนโดยส่วนหนึ่งจะนำเงินไปสร้างโรงงานแห่งที่ 3 เนื่องจากโรงงานแห่งที่ 1 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตเต็ม 100% ส่วนโรงงานแห่งที่ 2 มีอัตราการใช้กำลังการผลิตที่ 87% ซึ่งไม่เพียงพอกับคำสั่งซื้อที่มีเข้ามาอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ประเมินว่าหากโรงงานแห่งที่ 3 ซึ่งเฟส 1 จะเริ่มดำเนินการก่อสร้างได้ในไตรมาส 1/2556 ดำเนินการแล้วเสร็จ จะผลักดันให้ TMC มีรายได้เติบโตไม่ต่ำกว่า 30% ขณะที่ ปัจจุบันบริษัทมีงานในมือ (Backlog) แล้ว 422 ล้านบาท คาดว่าจะรับรู้รายได้ภายในปี 2555 นี้

มารุต อรรถไกวัลวที ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.วี จี ไอ โกลบอล มีเดีย เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงาน งวด 3 เดือนไตรมาส 2 ปี 2555/56 (ก.ค.-ก.ย.2555) บริษัทมีรายได้รวม 738 ล้านบาท เติบโต 37% มีกำไรสุทธิ 253 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น162% ปัจจัยที่สนับสนุนให้รายได้เติบโต คือ การเพิ่มขึ้นของรายได้ค่าโฆษณาจาก ทุกธุรกิจ โดยเฉพาะรายได้จากสื่อโฆษณาในระบบรถไฟฟ้า บีทีเอสในไตรมาสนี้มีรายได้เติบโตถึง 27% ทั้งยังเป็นธุรกิจที่มีอัตรากำไรเทียบกับยอดขายสูงกว่าธุรกิจอื่นๆ ที่บริษัทมีอยู่ เนื่องจากตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม 2555 เป็นต้นมา บริษัทจ่ายค่าสัมปทานให้ BTSC ลดลงตามสัญญาฉบับใหม่ นอกจากนี้ รายได้จากโมเดิร์นเทรดยังเติบโตต่อเนื่องจากการที่บริษัทได้รับสิทธิโฆษณาเพิ่มเติมตั้งแต่ช่วงไตรมาส 3 ซึ่งในปี 2555/56 จะเป็นการรับรู้ รายได้จากสัญญาเพิ่มเติมดังกล่าวแบบเต็มปี บริษัทเชื่อว่า ผลการดำเนินงานในรอบปี 2555/56 (เม.ย.2555-มี.ค.2556) จะเติบโตได้ตามเป้าหมาย

วิน วิริยประไพกิจ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สหวิริยาสตีล อินดัสตรี เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 ต.ค.ที่ผ่านมา เอสเอสไอ และบริษัท JFE Steel Corporation (JFE) รวมถึง Marubeni-Itochu Steel Inc. (MISI) ได้ลงนาม ข้อตกลงหุ้นส่วนธุรกิจ โดย JFE และ MISI จะซื้อหุ้นเพิ่มทุน ของ SSI รายละ 25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ วงเงินรวม 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ราคา 0.68 บาทต่อหุ้น ขณะเดียวกันยังลงทุนใน เหล็กแผ่นรีดเย็นไทย (TCR) ซึ่งเป็นบริษัท ร่วมลงทุนของเอสเอสไอ ด้วยการซื้อหุ้นในส่วนที่เอสเอสไอ? ถืออยู่วงเงินรวมประมาณ 50 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดย JFE จะสนับสนุนด้านเทคนิคให้ TCR

พนม ควรสถาพร ประธานกรรมการบริหารบมจ.เอเชีย กรีน เอนเนอจี เปิดเผยว่า การสร้างท่าเรือและคลังสินค้าให้อยู่ในบริเวณเดียวกัน ถือเป็นการลดต้นทุน และลดขั้นตอนการนำเข้าให้สั้นลง รวมถึงยังสามารถทำให้กำไรขั้นต้นเพิ่มขึ้นด้วย ที่สำคัญโครงการดังกล่าวถือเป็นหนึ่งในแผนธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า (2554-2558) ที่บริษัทต้องการผลักดันเป้ารายได้ให้ขึ้นไปยืนระดับ 10,000 ล้านบาท

ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 87

โพสต์

pak เขียน:BCP ตั้ง 'วิเชียร อุษณาโชติ' เป็นเอ็มดีใหม่ [ ข่าวหุ้น, 31 ต.ค. 55 ]

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ
BCP เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทมีมติแต่งตั้งให้นายวิเชียร อุษณาโชติ รองกรรมการผู้จัดการ
ใหญ่สายงานด้านธุรกิจโรงกลั่นดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่แทนนายอนุสรณ์ ที่จะครบวาระการ
ดำรงตำแหน่งตามสัญญาจ้างในวันที่ 31 ธ.ค. 2555 โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2556 เป็นต้นไป
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังมีมติแต่งตั้งนายชัยวัฒน์ โควาวิสารัช และนายสุเทพ วงศ์วรเศรษฐ เป็นกรรมการ
บริษัทแทนนายชุมพล ฐิตยารักษ์ และนายวิรัตน์ เอี่ยมเอื้อยุทธ กรรมการที่ลาออกให้มีผลตั้งแต่วันที่ 30 ต.ค.
2555 เป็นต้นไป
วิเชียร อุษณาโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)
wichien%20bangjak.jpg

คงไม่จำเป็นต้องแนะนำตัวกันมาก สำหรับชื่อเสียงของ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) แต่สำหรับเรื่องราวของบุคคลสำคัญระดับผู้นำขององค์กร ที่มีบทบาทสำคัญกับบางจากมาตั้งแต่ยุคเริ่มต้นนั้น ยังมีแง่มุมดีๆอีกมากมายที่สังคมในวงกว้างอาจยังไม่รู้จัก ซึ่งเป็นโอกาสอันดี ที่เราได้รับเกียรติจากผู้บริหารแถวหน้าอย่าง วิเชียร อุษณาโชติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) มาบอกเล่าถึงหลักคิดที่เป็นประโยชน์ในการบริหารงาน และแบ่งปันมุมมองด้านการลงทุนในชีวิตส่วนตัว


“ผมจบเคมิเคิล เอนจิเนีย ที่จุฬาฯ เข้าไปป็นรุ่นตุลาฯ 2516 จบออกมาปี 2519 เรียกได้ว่าเป็นคนยุคนั้นพอดี หลังจากนั้นก็ไปศึกษาต่อปริญญาโทที่โอไฮโอ สเตท ยูนิเวอร์ซิตี้ ที่อเมริกา สาขาอินดัสเตรียล แอนด์ ซิสเตม เอนจิเนียร์ ก่อนจะกลับมาเริ่มงานที่ ปตท. กับคุณโสภณ สุภาพงษ์ ได้ 4 ปี ทำจนรัฐยึดโรงกลั่นบางจาก แล้วส่งมอบให้เจ้าหน้าที่กรมการพลังงานทหารบริหาร 4 ปี ขาดทุนไป 4 พันล้าน รัฐจึงตั้งบริษัทบางจากขึ้นมา ผมก็เข้ามาอยู่บางจากตั้งแต่ตอนนั้น เพราะเขาให้คุณโสภณ ซึ่งตอนนั้นเป็นรองผู้ว่าการ ปตท. มาเป็นผู้บริหารของบางจาก ผมย้ายตามคุณโสภณมา แล้วก็อยู่มาตลอดจนทุกวันนี้”


“หลักการทำงานผมได้เรียนรู้จากคุณโสภณเยอะ ในช่วงแรกบางจากยังไม่แข็งแรง ต้องอาศัยความช่วยเหลือจากคนอื่นเยอะ จนกระทั่งบางจากเริ่มแข็งแรง คุณโสภณบอกว่า เราก็มีหน้าที่ต้องตอบแทนสังคม เกิดเป็นวัฒนธรรมของคนบางจากขึ้นมาว่าคนบางจากต้องเป็นคนดี มีความรู้ และทำประโยชน์เพื่อสังคม

“ในการทำงาน เราต้องทำดีที่สุดที่เราทำได้ในแต่ละวัน เราน่าจะภูมิใจว่าเราเป็นคนซึ่งมีโอกาสมาทำงาน ณ ที่นี้ อย่าไปมองคนที่เขามีโอกาสดีกว่าเรา ให้เรามองคนที่ไม่มีโอกาสเท่าเรา ซึ่งมีมากเลย ซึ่งถ้าเราคิดอย่างนี้ได้ เราก็จะรู้สึกพอเพียงในสิ่งที่เราเป็นอยู่ และเมื่อเราทำดีแล้ว ก็อย่าหวังว่าจะมีคนมาชมเชยเรา เราต้องรู้จักให้กำลังใจตัวเอง ให้รางวัลตัวเอง ผมก็ยึดถือมาตลอด ทำอะไรประสบความสำเร็จก็ไม่เคยคาดหวังว่าจะต้องได้รับคำชมเชยจากใคร เรารู้สึกภูมิใจในสิ่งที่เราได้ทำ”

หลักสำคัญที่เขาใช้กับผู้ร่วมงานหรือผู้ใต้บังคับบัญชานั้นเป็นเรื่องที่ง่ายแต่หลายคนเมื่อเติบโตในสายงานแล้วมักมองข้าม

“หนึ่งคือเราต้องให้เกียรติเขา สองคือต้องจริงใจต่อกัน มีอะไรก็พูดกันตรงๆ แล้วก็บอกกับลูกน้องเสมอว่าในการติดต่อกับคู่ค้าอื่นๆ การซื่อสัตย์ต่อคำพูดถือเป็นเรื่องสำคัญ อย่าไปเอาเปรียบเขา แต่ไม่ได้หมายถึงในแง่การเจรจาต่อรองทางธุรกิจด้วยเหตุด้วยผล นี่ก็ต้องทำเต็มที่ แต่หมายถึงอย่าไปโกงเขา

“เราไม่อยากแข่งขันกันเอาเป็นเอาตาย แต่เราควรจะเป็นครีเอทีฟ คอมเพททิชั่น เราพยายามแข่งขันในเชิงสร้างสรรค์มากกว่า คือแต่ละบริษัทก็พยายามนำเสนอสิ่งดีต่อลูกค้า ไม่ใช่ไปพยายามทำให้อีกบริษัทหนึ่งล้มหายตายจากไปจากธุรกิจนี้

“ผมไม่เชื่อปรัชญาของการแข่งขันที่ว่าคนที่ดีที่สุดเท่านั้นที่จะอยู่ได้ในธุรกิจนั้น และไม่เชื่อว่าจะมีบริษัทใดบริษัทหนึ่งที่จะเก่งในทุกด้านในธุรกิจนั้น ในฐานะที่เราเป็นธุรกิจในโลกเสรี เราก็ต้องพยายามหาจุดแข็งของเราให้เจอ แล้วใช้จุดแข็งนั้นในการทำธุรกิจ เพราะคนในสังคมคงไม่ได้เลือกอะไรเหมือนๆ กัน แต่ละคนมีชอบแตกต่างกัน เราก็หาช่องทางการเข้าไปอยู่ในใจของผู้บริโภค ว่ามีทางไหนบ้างที่ดีกว่าคนอื่น”

“ผมทำธุรกิจชอบหามิตรมากกว่าหาศัตรู เพราะสุดท้ายแล้วชีวิตเราเมื่อเราเอางานออกไปทุกคนก็เป็นเพื่อนกันหมด ฉะนั้นอย่าเอาเรื่องงานกับเรื่องส่วนตัวมาปนกัน”

แต่ใช่ว่าทั้งหมดของการโลดแล่นในธุรกิจพลังงานจะมีงาน งาน และก็งานเท่านั้น ส่วนที่เติมเต็มให้เป็นคนเต็มขั้นก็คือครอบครัว โดยจัดสรรเวลาซึ่งมีอยู่จำกัดให้ลงตัวและคุ้มค่าที่สุด

“แง่ชีวิตส่วนตัว ผมใช้เวลากับงานค่อนข้างมาก ก็โชคดีที่ว่าแฟนผมไม่ได้ทำงาน เพราะฉะนั้นหน้าที่ทางบ้านแฟนผมก็จะเป็นคนดูแลให้หมด (หัวเราะ) เราก็เลยทำงานได้เต็มที่ แต่ผมจะไม่เอางานกลับไปทำที่บ้าน แค่ทำงานให้เสร็จเท่าที่เราคิดว่ามันมีความเร่งด่วนแค่ไหน ไม่เอางานติดตัวกลับบ้าน เพราะเมื่ออยู่ที่บ้านก็เป็นเวลาของที่บ้าน แล้วที่ผ่านมาก็แทบจะไม่เคยเครียดกับงานเลย (หัวเราะ) เพราะปัญหามันก็มีไว้แก้ ปัญหาไม่ได้มีไว้ให้เราปวดหัว เสาร์-อาทิตย์ผมก็ใช้เวลาอยู่กับบ้าน ไม่เคยนัดใครถ้าไม่จำเป็น มีลูกสาว 2 คน ตอนเช้าเราก็ทำหน้าที่ไปส่ง แล้วก็มาทำงาน ส่วนตอนเย็นเป็นหน้าที่ของแม่บ้าน (หัวเราะ) ผมกับลูกนั้นเรียกว่าเป็นเพื่อนกันมากกว่า คุยกันแบบเพื่อน ไม่เคยดุ แต่ก็ไม่ได้ตามใจมาก แล้วเขาเองก็ไม่ค่อยอยากจะออกไปไหน เสาร์อาทิตย์ก็อยู่บ้าน ไม่ชอบไปช้อปปิ้ง ไม่เรียกร้องว่าจะต้องไปโน่นไปนี่”

และเพื่อความมั่นคงในอนาคตนั้น เขาก็เป็นเช่นเดียวกับผู้ไม่ประมาททั้งหลายที่เลือกความมั่นคงอย่างยั่งยืน

“การลงทุนของผม เนื่องจากบริษัทบางจากเองก็มีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ส่วนใหญ่ก็ลงในกองทุนตราสารหนี้ ความเสี่ยงต่ำจำนวนหนึ่ง ก็จะมีแอลพีเอฟทั้งหมดเท่าที่รัฐมีเพดาน หลักการของแอลพีเอฟเขาให้ลงทุนในตราสารทุนอยู่แล้วเป็นหลัก ที่เหลือคร่าวๆ ก็จะแบ่งเป็น 2 ส่วน 1.ก็คือลงในตราสารทุน 2.คือตราสารหนี้

“ตราสารทุน ส่วนมากเวลาที่จะมานั่งดูตลาดหุ้นไม่ค่อยมี (หัวเราะ) ฉะนั้นใน 50% สัก 40% ก็จะไปซื้อในกองทุนที่เป็นตราสารทุน อีก 10% ก็ซื้อหุ้นบางตัว แต่ไม่ซื้อหุ้นบางจาก (หัวเราะ) ไม่ใช่ว่าหุ้นไม่ขึ้นหรืออะไรนะครับ แต่เพราะเราเป็นผู้บริหาร ทุกวันจะกำไรจะขาดทุนเรารู้ เราไม่ควรเอาอินไซด์ อินฟอเมชั่นไปซื้อ จึงไม่เล่นหุ้นบางจาก

“ตราสารหนี้อีก 50% อีกประมาณ 30% ก็จะซื้อตราสารหนี้ อีก 10% ซื้อตราสารหนี้ของอสังหาริมทรัพย์ ตราสารหนี้ผมก็จะซื้อ 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี จะไม่ไปซื้อประเภทยาวทีเดียวหมด จะกระจายความเสี่ยง

“ส่วนเงินเก็บในธนาคารจะน้อยมาก เพราะดอกเบี้ยมันถูก ฉะนั้นเงินที่ยังไม่มีความจำเป็นต้องใช้ก็จะไปลงทุนในมันนี่มาเก็ต เพราะสามารถซื้อขายได้ทุกวัน และให้ผลตอบแทนดีกว่าธนาคาร หากถามว่าชอบเสี่ยงไหม ก็ชอบ แต่เราก็เสี่ยงในระดับที่เรารับได้ เราต้องรู้ตัวเองว่าเราสามารถเสี่ยงได้ขนาดไหน แล้วก็เสี่ยงในสิ่งที่เรามีความรู้พอที่จะเสี่ยง”

+++++++++++++++++++

อัพเดตโดย วณิศา อดัมส์
วันที่ 29 กรกฎาคม 2553 เวลา 10.00 น.
[email protected]
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 88

โพสต์

คอลัมน์: Mission CEO ภารกิจพิชิตเป้า
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, December 03, 2012
[email protected]



Mission CEO ฉบับที่ 442 วันที่ 3-9 ธันวาคม 2555

ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า รัฐบาลท้องถิ่นของประเทศเวียดนามได้จ้างบริษัทย่อยของปตท. คือ บริษัท พีทีที เอ็นเนอร์ยี่ โซลูชั่นส์ จำกัด (PTTES) ศึกษาความเป็นไปได้ ในการลงทุนโครงการโรงกลั่นและปิโตรเคมีครบวงจร มูลค่ารวม 2.87 หมื่นล้านดอลลาร์ โดยมีกำลังการผลิตอยู่ที่ประมาณ 6.6 แสนบาร์เรลต่อวัน กระบวนการศึกษา ได้แล้วเสร็จ และอยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณาของรัฐบาลกลางเวียดนาม คาดว่าจะใช้ระยะเวลาพัฒนาโครงการ 6-7 ปี ปตท.ตั้งเป้าจะเป็นท็อปแบรนด์ในธุรกิจพลังงานของอาเซียน ซึ่งที่ผ่านมาได้เข้าไปทำธุรกิจค้าปลีกน้ำมันหลายประเทศในอาเซียนแล้ว และจะค่อยๆรุกไปยังธุรกิจอื่นๆ ที่ ปตท. มีอยู่ 7-8 ธุรกิจ โดยปัจจุบันในอาเซียน ปตท. มีการลงทุนในพม่าสูงสุด อันดับ 2 คือ เวียดนาม

วิน วิริยะประไพกิจ กรรมการผู้จัดการ บมจ.สหวิริยาสตีลอินดัสตรี เปิดเผยว่า ขณะนี้ราคาเหล็กในตลาดโลกได้เริ่มปรับขึ้นแล้ว ในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ราคาได้ปรับขึ้นไปประมาณ 10% จึงประเมินราคาเหล็กได้ผ่านจุดต่ำสุดไปแล้ว และจากนี้จะเป็นช่วงขาขึ้น ส่งผลให้ แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 4 ของบริษัทจะขาดทุนลดลง และเริ่มกลับมาทำกำไรได้ในช่วงไตรมาส 2 ปี 2556 เป็นต้นไป ส่วนปัญหาการนำเข้าสินค้าเหล็กจากจีน ปัญหายังคงมีอยู่ โดยมีการนำเข้าคิดเป็น 20% ของการใช้เหล็กในประเทศ แต่การที่ราคาเหล็กในตลาดโลกปรับขึ้น ช่วยบรรเทาผลกระทบได้บ้าง สำหรับแผนการเพิ่มทุนของบริษัท 1.9 หมื่นล้านหุ้นที่ขายไม่หมดนั้น บริษัทคาดไว้ อยู่แล้วจึงได้กำหนดการขายหุ้นเพิ่มทุนขายให้กับนักลงทุน เฉพาะเจาะจง (พีพี) เป็นส่วนใหญ่

พลศักดิ์ เลิศพุฒิภิญโญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.สตาร์ส ไมโครอิเล็กทรอนิกส์ (ประเทศไทย) เปิดเผยว่า บริษัทได้รับออเดอร์ผลิตสินค้ากลุ่มแผงวงจรไฟฟ้ารวมหรือ IC Packaging กับลูกค้ารายใหญ่ ระดับโลก หลายรายหลังเครื่องจักรใหม่ล่าสุดเทคโนโลยีระดับโลกมาครบแล้ว ทำให้ขณะนี้ มีปริมาณออเดอร์เกินกำลังการผลิตที่ 1,500 ล้านชิ้นต่อปี ทำให้บริษัทจะเพิ่มกำลังการผลิตสินค้า IC ถึง 67% เป็น 2,500 ล้านชิ้นต่อปี หรือ ประมาณ 200 ล้านชิ้นต่อเดือนในปี 2556 ซึ่งการได้ออเดอร์ เพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง แสดงให้เห็นว่ากลยุทธ์ของ SMT ที่มุ่งเน้นด้านธุรกิจ IC นั้นได้ผลตามที่คาดหวังไว้ และคาดว่าจะส่งผลดีต่ออัตราการทำกำไรในปีหน้าอย่างมีนัยสำคัญ เนื่องจากออเดอร์กลุ่ม IC มีเสถียรภาพสูง และเป็นออร์เดอร์ระยะยาว และมีอัตรากำไรที่น่าพึงพอใจ

ชาญกฤช เดชวิทักษ์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.ที เอส ฟลาวมิลล์ เปิดเผยว่า เงินที่ได้จากการระดมทุน 260-270 ล้านบาท บริษัทจะนำไปชำระหนี้บางส่วน ซึ่งจะทำให้ภาระในการจ่ายดอกเบี้ยของเงินกู้ปรับตัวลดลง บริษัทเตรียมงบลงทุนในปี 2556 ไว้ประมาณ 500-600 ล้านบาท เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตแป้งข้าวสาลี จากปัจจุบันที่มีกำลังการผลิตอยู่ที่ 250 ตันข้าวสาลีต่อวัน เป็น 500 ตัน ข้าวสาลีต่อวัน อย่างไรก็ตาม บริษัทอาจต้องมีการกู้ยืมเงิน จากสถาบันการเงินเพิ่มเพื่อใช้ลงทุนในโครงการขยายกำลังการผลิต บริษัทวางเป้าหมายรายได้รวมปี 2556 จะทำได้ใกล้เคียงกับปีนี้ ที่คาดหวังว่ารายได้จะเติบโต 20% หรือมีรายได้ประมาณ 800 ล้านบาท หลังจากการผลิตแป้งสาลีเริ่มเต็มกำลังการผลิตที่ 100% ซึ่งจะส่งผลให้ กำลังการผลิตในปีหน้าปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีกเพียง 10%

ชานนท์ เรืองกฤตยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.อนันดา ดีเวลลอปเม้นท์ เปิดเผยว่า บริษัทได้ตั้งเป้า รายได้ 2-3 ปีข้างหน้า เติบโตเฉลี่ยปีละ 20-25% จากการเปิดโครงการคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าต่อเนื่องปีละ 5-6 โครงการ มูลค่าปีละ 1-1.5 หมื่นล้านบาท แต่ละโครงการมีมูลค่าราว 1.5-2 พันล้านบาท พร้อมทั้งตั้งงบ จัดซื้อที่ดินเฉพาะตามแนวรถไฟฟ้าปีละ 2-3 พันล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทจะเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวน 1,333 ล้านหุ้น ในราคาเสนอขาย 4.20 บาทต่อหุ้น ระดมทุน 5,598 ล้านบาท และเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) ได้ในวันที่ 7 ธันวาคม นี้

พงษ์ศักดิ์ ศิริคุปต์ กรรมการผู้จัดการ บมจ.เด็มโก้เปิดเผยว่า โครงการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมโครงการห้วยบง 3 กำลังผลิต 90 เมกกะวัตต์ ขณะนี้พร้อมจำหน่ายกระแสไฟฟ้าแล้ว ส่วนโครงการห้วยบง 2 ขณะนี้คืบหน้าประมาณ 80% คาดว่าจะจ่ายไฟเข้าสู่ระบบได้ประมาณกลางเดือนมกราคม 2556 โดยทั้ง 2 โครงการจะเริ่มรับรู้รายได้เข้ามาในปี 2556 ในรูปของเงินปันผลไม่น้อยกว่า 150 ล้านบาท และตั้งแต่ปี 2557 จะได้รับปีละ 200 ล้านบาท เงินจำนวนนี้ ไม่ต้องเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแต่อย่างใด โครงการพลังงานลม อีก 8 โครงการที่เหลือ กำลังการผลิตรวม 600 เมกกะวัตต์ จะส่งผลให้บริษัทมีงานก่อสร้างต่อเนื่องระหว่างปี 2556-2560 มูลค่ารวมไม่น้อยกว่า 9,800 ล้านบาท จึงทำให้มั่นใจว่าในอนาคตผลการดำเนินงานของบริษัทจะเติบโตได้อย่างแข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น

ประพล พรประภา รองกรรมการผู้จัดการ บมจ.ฐิติกร เปิดเผยว่า บริษัทได้ออกหุ้นกู้ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน วงเงิน 300 ล้านบาท เพื่อใช้ขยายธุรกิจเช่าซื้อในช่วงไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ไปจนถึงไตรมาสแรกของปีหน้า เชื่อมั่นว่าตลาดรถจักรยานยนต์ในปีนี้จะสามารถแตะระดับ 2.2 ล้านคันได้แน่นอน ถือเป็นการสร้างสถิติยอดขายใหม่ในประเทศไทย โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปีนี้ ยอดขายรถจักรยานยนต์ได้พุ่งขึ้นเป็น 1.64 ล้านคัน หากบริษัทสามารถสร้างอัตราเติบโตของสินเชื่อได้ 15% ภายในปีนี้ตามเป้าหมายใหม่ จะถือเป็นการสร้างสถิติใหม่ ที่สามารถขยายสินเชื่อได้ถึง 8,700 ล้านบาท จากเมื่อสิ้นปี ที่แล้วมียอดให้บริการสินเชื่อทั้งสิ้น 7,576 ล้านบาท

วิรัตน์ เอี้ยวอักษร กรรมการผู้จัดการ บมจ.กฤษดามหานคร เปิดเผยว่า บริษัทได้ปรับกลยุทธ์ธุรกิจ ใหม่มุ่งขยายตลาดระดับกลาง เจาะกลุ่มลูกค้าคนรุ่นใหม่ระดับราคา 1-3 ล้านบาท เน้นคอนโดมิเนียมแนวราบเกาะแนว รถไฟฟ้า และบ้านแนวราบ จากเดิมเน้นทำตลาดที่อยู่อาศัยระดับบน นอกจากนี้ จะเพิ่มการลงทุนในส่วนการให้เช่า และอื่นๆ เพื่อกระจายความเสี่ยง ล่าสุดเข้าซื้อห้องชุด 20 ยูนิต โครงการคอนโดมิเนียมริมหาดกมลา จ.ภูเก็ต มูลค่ากว่า 40 ล้านบาท เพื่อนำมาขายต่อ ซึ่งจะทำให้การรับรู้รายได้เร็วขึ้น ในปีหน้า บริษัทจะมีการพัฒนาโครงการ ใหม่ไม่น้อยกว่า 5 โครงการ และบริษัทจะกลับมาเติบโตอีกครั้ง ตั้งเป้าหมายยอดขาย 1,500 ล้านบาทยอดรับรู้รายได้ 1,000 ล้านบาท ใน 3 ปีข้างหน้าจะมียอดขาย 4,000-5,000 ล้านบาท ส่วนปีนี้คาดมียอดรับรู้รายได้ 500 ล้านบาท

ปกรณ์ บริมาสพร ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไลท์ติ้ง แอนด์ อีควิปเมนท์ เปิดเผยว่า ปีนี้ สัดส่วนรายได้จะมาจากช่วงครึ่งปีหลัง 55-60% โดยรายได้ในไตรมาส 4/2555 คาดว่าจะดีกว่าไตรมาส 3 เพราะมีงานคงค้างที่เลื่อนมารับรู้ในไตรมาส 4 บางส่วน นอกจากนั้น ยังรับรู้รายได้บางส่วนจากงานในมือที่มีราว 650 ล้านบาท ซึ่งคาดว่าจะช่วยให้รายได้เติบโตได้ประมาณ 10% และค้าปลีก ก็ช่วยผลักดันรายได้ให้เพิ่มขึ้นจากการขยายโชว์รูมเพิ่มเติม และยังรุกตลาดค้าปลีกหลอดไฟ LED อย่างชัดเจนด้วย ซึ่งในปีนี้และระยะ 3-5 ปีข้างหน้า บริษัทตั้งเป้ายอดขายเติบโตเฉลี่ยปีละ 15-20% จาก โดยมีเป้าหมายผลักดันยอดขายให้ทะลุ 4,000 ล้านบาท ภายใน 3 ปีข้างหน้า

ชัยรัตน์ โกวิทจินดาชัย ผู้อำนวยการอาวุโส สำนักกรรมการผู้จัดการ บมจ.ปริญสิริ เปิดเผยว่า ในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้ คาดว่ารายได้จะอยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาส 3 ที่ผ่านมา จึงคาดว่ารายได้รวมของบริษัทในปี 2555 จะอยู่ในระดับประมาณ 2,800 ล้านบาท ในปีนี้ ปริญสิริสามารถแก้ปัญหาการก่อสร้างได้อยู่ในระดับที่ดีกว่าปีที่ผ่านมา ทำให้ยอดรับรู้รายได้ และกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น อย่างก้าวกระโดด ประกอบกับในไตรมาสสุดท้ายของปี ยังมี Backlog ที่รอรับรู้รายได้อีกกว่า 1,600 ล้านบาท โดยคาดว่าในปีนี้จะมีโครงการเลื่อนไปเปิดในต้นปี 2556 มูลค่ารวมประมาณ 3,000 ล้านบาท และในปีหน้ายังมีแผนเปิดโครงการใหม่อีกมูลค่ารวมประมาณ 3,000 ล้านบาท ทำให้เชื่อมั่นได้ว่า นับจากนี้ไปบริษัทจะกลับมา เติบโตอย่างมีเสถียรภาพอีกครั้ง

เขมทัตต์ พลเดช รองกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.อสมท เปิดเผยว่า ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ 5 ปี ของ อสมท จะมุ่งขยายธุรกิจกลุ่มที่ไม่ใช่วิทยุและโทรทัศน์ หรือ Non Broadcast มากขึ้น เพื่อเตรียมทดแทนรายได้จากสัมปทานทรูวิชั่นส์ ที่จะจบสัญญาในปี 2557 และสัมปทานช่อง 3 จบในปี 2563 โดยมีโปรเจคพัฒนาที่ดินทางเข้าของ รฟม.ให้เป็นอาคารเชื่อมกับที่ดิน 50 ไร่ ของอสมท สร้างเป็นมีเดีย ฮับ ให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสื่อมาเช่าพื้นที่อาคารในยุคที่ประเทศไทยก้าวสู่ทีวีดิจิทัล และมี ผู้ประกอบการรายใหม่เพิ่มขึ้น นอกจากนี้ยังมีโครงการที่จะพัฒนาธุรกิจร่วมรัฐวิสาหกิจด้วยกันอีก 2-3 โครงการในปีหน้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับองค์กร

วิษณุ เทพเจริญ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ณุศาศิริ เปิดเผยว่า ในปี 2556 จะเป็นอีกปีที่น่าสนใจของบริษัท เพราะปลายปีนี้ เปิดโครงการใหญ่ไปหลายโครงการซึ่งจะเริ่มเก็บเกี่ยวรายได้ในปีหน้า โดยช่วงเดือนตุลาคม บริษัทซื้อที่ดิน 300 ไร่ ที่อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อพัฒนาโครงการบ้านและคอนโดมิเนียม จะแบ่งส่วนหนึ่งร้อยกว่าไร่ทำโครงการสวนน้ำและพลาซ่าชื่อ The Grand Kingdom รายได้หลักจะมาจากการจำหน่ายบัตร อาหารและเครื่องดื่ม รวมถึงรายได้ค่าเช่าพื้นที่ โดยมีมูลค่าโครงการทั้งหมด 10,000 ล้านบาท ต้นเดือนพฤศจิกายนจับมือเป็นพันธมิตรกับ Villa Medica เพื่อลงทุนในโครงการ My Ozone หมู่บ้านสุขภาพแห่งแรก ของประเทศไทย บนเนื้อที่ 1,200 ไร่ ในเขตพื้นที่เขาใหญ่ มีมูลค่าการลงทุนประมาณ 6,000 ล้านบาท เตรียมเปิดขายในวันที่ 3 ธันวาคมนี้

เจริญ รุจิราโสภณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ส.ขอนแก่นฟู้ดส์ เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4 ปีนี้ บริษัทคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของรายได้โตต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากการจับจ่ายใช้สอยในช่วงเทศกาล เพิ่มขึ้น ซึ่งบริษัทจะจัดทำกระเช้าของขวัญ รวบรวมผลิตภัณฑ์จากกลุ่ม ส.ขอนแก่น วางจำหน่ายให้แก่ลูกค้าเลือกซื้อเพื่อมอบให้ในช่วงเทศกาลปีใหม่ ขณะเดียวกัน ได้วางผลิตภัณฑ์อาหารขบเคี้ยว มูชิ ผ่านร้านสะดวกซื้อ และห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ทั่วประเทศ รวมถึงขยายสาขา ร้านแซบ เอ็กซ์เพรสเพิ่มอีก 2 สาขา ภายในสิ้นปีนี้อีกด้วย สำหรับรายได้และกำไรไตรมาส 3 และช่วง 9 เดือน ที่เพิ่มขึ้น นั้นเป็นผลจากมาตรการควบคุมต้นทุนด้านวัตถุดิบ และบริษัท หันไปพึ่งพิงเทคโนโลยีเครื่องจักร อีกทั้งพัฒนาผลิตภัณฑ์ ใหม่ๆ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม มุ่งเน้นเจาะกลุ่มผู้บริโภคคนรุ่นใหม่

วิวรรธน์ เหมมณฑารพ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.ปัญจวัฒนาพลาสติก เปิดเผยว่า ในไตรมาส 4/2555 คาดว่าผลการดำเนินงานจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่องจากแนวโน้มคำสั่งซื้อจากลูกค้าที่มีเพิ่มมากขึ้น ไม่ว่า จะเป็นในส่วนของกลุ่มผลิตภัณฑ์บรรจุภัณฑ์นมและน้ำมันหล่อลื่น รวมถึงชิ้นส่วนรถยนต์ โดยขณะนี้บริษัทมีเครื่องจักรใหม่เพื่อรองรับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นแล้ว ดังนั้นจึงทำให้มั่นใจว่าผลการดำเนินงานในปีนี้ จะเติบโตได้มากกว่า 20-25% จากปี 2554 ที่มีรายได้รวมอยูที่ 1,644 ล้านบาท ขณะที่อัตรากำไรขั้นตั้นมีเป้าหมายที่จะรักษาไว้ที่ 19-20% โดยมุ่งเน้นการบริหารประสิทธิภาพด้านการผลิตและผลักดันยอดขายในส่วนของธุรกิจหลักให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง



ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 89

โพสต์

คอลัมน์: Mission CEO ภารกิจพิชิตเป้า
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, December 31, 2012
[email protected]
Mission CEO ฉบับที่ 446 วันที่ 31 ธันวาคม 2555-6 มกราคม 2556



สุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท.(PTT) คาดว่าในปี 2556 บริษัทจะรักษาการทำกำไรไว้ที่ระดับ 100,000 ล้านบาท ขณะที่รายได้ในปี 2556 ยอมรับว่าประเมินยาก เนื่องจากปัจจัยเสี่ยงภายนอกประเทศมีค่อนข้างมาก อาทิ การแก้ปัญหาหน้าผา การคลัง (Fiscal Cliff) ของสหรัฐที่ต้องติดตามผลกระทบ ซึ่งเชื่อว่าจะทำให้เงินบาทแข็งค่า และจะส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัท นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงของผู้นำในประเทศต่างๆ อาทิเช่น ญี่ปุ่น ที่จะมีผลต่อ นโยบายการเงินการคลัง ส่วนราคาน้ำมันดิบในปี 2556 PTT คาดว่าจะอยู่ช่วงราคา 105-115 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ไม่หวือหวาเมื่อเทียบกับปีนี้ อย่างไรก็ดีในงวด 9 เดือนของปี 2555 PTT มีกำไรสุทธิ 81,953.60 ล้านบาท ต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 88,669.9 ล้านบาท

สรจักร เกษมสุวรรณ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บมจ.การบินไทย (THAI) คาดว่า รายได้และกำไรสุทธิในไตรมาส 4/55 จะดีขึ้นมาก และทำให้กำไรสุทธิทั้งปี 55 ดีกว่าเป้าหมายที่ปรับลงมาล่าสุดเหลือ 700 ล้านบาท หรืออาจถึงขั้นขาดทุน แต่ปรากฏว่าช่วงไตรมาส 4/55 ซึ่งเป็นช่วงไฮซีซั่นของปีมีจำนวนผู้โดยสารสูงขึ้นมาก ก่อนหน้านี้ THAI วางเป้าหมายกำไรสุทธิปี 55 ที่ 6 พันล้านบาท ในช่วงต้นปียุคที่ "ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์" เป็นกรรมการผู้อำนวยการ หลังจากนั้นได้ปรับประมาณการลงมาที่ 3 พันล้านบาท และในช่วง low season ก็มีการปรับประมาณการลงอีกรอบ จนกระทั่ง "สรจักร" เข้ามาเป็นกรรมการผู้อำนวยการใหญ่คนล่าสุดในเดือน ต.ค.55 ส่วนอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (Cabin Factor) ช่วงไตรมาส 4/55 จะอยู่ที่ 76% สูงกว่าเป้าหมาย 75% และสูงกว่าไตรมาส 4/54 ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม จึงช่วยทำให้ Cabin Factor เฉลี่ยทั้งปี 55 เพิ่มมาที่ 75-76% จากเป้าหมาย 74% ประกอบกับ ปีนี้บริษัทมีกำไรจากการทำประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน โดย น้ำมันที่บริษัทใช้เป็นราคาต่ำกว่าราคาตลาดมาก และปลายปีราคาน้ำมันก็ยังลดลงจากช่วงไตรมาส 3/55 ด้วย

เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) เปิดเผยว่า PTTEP AI ซึ่งเป็นบริษัทย่อยและกลุ่มบริษัทร่วมทุนแปลง Rovuma Offshore Area 1 โดยบริษัท Anadarko ได้จัดจ้าง บริษัทรับเหมา เพื่อให้เข้าร่วมแข่งขันออกแบบทางวิศวกรรม 2 ด้าน ได้แก่ ด้านการก่อสร้างโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวบนบก (LNG) และด้านการติดตั้งอุปกรณ์การผลิตและท่อส่งก๊าซนอกชายฝั่งในแปลง Rovuma Offshore Area 1 ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และมีปริมาณสำรองของก๊าซธรรมชาติมากกว่า 65 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ในประเทศโมซัมบิก อย่างไรก็ดี การออกแบบทางวิศวกรรมในครั้งนี้จะออกแบบผังโรงงาน ให้สามารถรองรับกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวได้ถึง 50 ล้านตันต่อปีในอนาคต ประกอบด้วย 3 กลุ่มบริษัท คือ กลุ่มบริษัท JGC Corporation และบริษัท Fluor Transworld Services, Inc. กลุ่มบริษัท CB&I และบริษัท Chiyoda Corporation และบริษัท International Bechtel Co. LTD.

สาธิต สุดบรรทัด รองกรรมการผู้จัดการสายการขายและการตลาด บมจ.ผลิตภัณฑ์ตราเพชร (DRT) เปิดเผยว่า แนวโน้มของตลาดวัสดุก่อสร้างในปี 2556 จะได้รับแรงกดดันจากนโยบายของภาครัฐที่มีการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาททั่วประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนก่อสร้างโดยรวมปรับตัวสูงขึ้น และปัญหาขาดแคลนแรงงานในอุตสาหกรรมก่อสร้างที่รุนแรงขึ้น จะทำให้ผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้างมองหาผลิตภัณฑ์วัสดุก่อสร้างสำเร็จรูป เข้ามาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการก่อสร้างให้เร็วขึ้น เพื่อลดการใช้แรงงาน ทำให้ต้นทุนก่อสร้างลดลง ในปี 2556 คาดว่าสินค้าวัสดุก่อสร้างยังมีอัตราการเติบโตที่ดี ทั้งสินค้ากลุ่มกระเบื้องหลังคาคอนกรีตในรูปแบบลอนคู่และแบบเรียบ หลัง ซึ่งในช่วง 11 เดือนแรก บริษัททำยอดขายกลุ่มผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเติบโตขึ้น 10-15 ขณะที่กลุ่มสินค้าไม้สังเคราะห์ถือเป็นสินค้าที่มีความโดดเด่น มีอัตราเติบโต 15-20% โดยเฉพาะไม้ฝาที่นำมาใช้ในงานก่อสร้างมากขึ้น

บุญเกียรติ โชควัฒนา กรรมการผู้อำนวยการและประธานกรรมการบริหาร บมจ.ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล (ICC) แจ้งว่า ที่ประชุมคณะกรรมการมีมติเห็นชอบให้บริษัทขายหุ้นในบริษัท สยามซัมซุงประกันชีวิต จำกัด ให้บริษัท ปาร์ค แคปปิตอล โฮลดิ้ง จำนวน 3.85 ล้านหุ้น ราคาขายหุ้นละ 10 บาท รวมมูลค่า 38.5 ล้านบาท โดยจะดำเนินการภายในเดือน ม.ค.56 โดย บมจ.สหพัฒนาอินเตอร์โฮลดิ้ง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่โดยอ้อมของ บริษัท ปาร์ค แคปปิตอล โฮลดิ้ง ซึ่งการขายหุ้น ดังกล่าวเพื่อปรับโครงสร้างการถือหุ้นใน บริษัทสยาม ซัมซุงประกันชีวิต จำกัด ให้เป็นไปตาม พ.ร.บ.ประกันชีวิต ปี 35 และ แก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.ประกันชีวิต (ฉบับที่ 2 ) ปี 51 ม.10 ซึ่งจะมีผลบังคับใช้ ตั้งแต่ 1 ก.พ. 56 นอกจากนี้ ได้มีมติขายที่ดิน 4 แปลง พร้อมสิ่งปลูกสร้าง 6 หลัง ที่ จ.ชลบุรี ให้กับ บริษัท ไลอ้อนเซอร์วิส จำกัด เป็นเงินรวม 265 ล้านบาท เนื่องจากบริษัทไม่ได้ใช้ประโยชน์จากทรัพย์สินดังกล่าว จึงต้องการลดภาระการดูแลทรัพย์สิน

กิตติ สุนทรมโนกุล กรรมการผู้จัดการ บมจ.ควอลิตี้คอนสครัคชั่นโปรดักส์ (Q-CON) เปิดเผยว่า คาดว่าในปี 56 ปริมาณขายอิฐมวลเบาจะเพิ่มเป็น 17 ล้าน ตร.ม. จากปี 55 ที่มียอดขาย 13 ล้านตร.ม.เนื่องจาก งานก่อสร้างที่อยู่อาศัยหันมาใช้อิฐมวลเบามากขึ้น ทำให้ มีความต้องการสูง ประกอบกับ กำลังการผลิตของบริษัท จะเพิ่มอีก 6 ล้าน ตร.ม./ปี เป็น 20 ล้านตร.ม./ปี หลังจาก โรงงานแห่งใหม่เริ่มเดินเครื่องผลิตได้ในเดือน มี.ค.56 นอกจากนี้ บริษัทมีแผนจะขยายตลาดส่งออกต่างประเทศ ในปี 56 จากเดิมที่มีการเปิดตลาดในสิงคโปร์แห่งเดียว แต่หลังจากที่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) เข้ามาซื้อกิจการ ทำให้โอกาสการส่งออกในตลาดอาเซียนเปิดกว้าง มากขึ้น ทั้งในกัมพูชา พม่า และลาว ดังนั้น บริษัทจึงคาดว่า ในปีหน้าจะมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออก 3% ของรายได้รวม ส่วนผลประกอบการในปีนี้ บริษัทคาดว่ารายได้อยู่ที่กว่า 2 พันล้านบาท

แฮนส์ จอร์เกน เนียลเซ่น กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แอล. วี. เทคโนโลยี (LVT) ได้ลงนามสัญญาโครงการใหม่ เป็นโครงการสัญญาจ้างจัดหาติดตั้งเครื่องจักรและอุปกรณ์แบบเบ็ดเสร็จสาหรับโครงการระบบการจัดเก็บถ่านหินแบบปิดเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (โครงการวัดบันได) ของบริษัท เอสซีจี เทรดดิ้ง จำกัด มูลค่าของโครงการ 152,068,048 บาท โดย ลงนามในสัญญาเมื่อ 27 พ.ย. 55 ลักษณะงานของโครงการ เป็นโครงการออกแบบด้านวิศวกรรม และจัดหาเครื่องจักร อุปกรณ์ และติดตั้ง สำหรับโครงการระบบการ จัดเก็บ ถ่านหินแบบปิด เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน โครงการ วัดบันไดเป็นโครงการของบริษัท เอสซีจี เทรดดิ้ง จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของบมจ. ปูนซิเมนต์ไทย (SCC) มีความจุระดับ 16,000 ตัน หลังจากที่บริษัทได้รับงานในโครงการดังกล่าวเข้ามาเพิ่มทำให้มูลค่างานที่อยู่ระหว่างการรอรับรู้รายได้ (Backlog) ของบริษัทอยู่ที่ 2.5 พันล้านบาทและ คาดว่าภายในสิ้นปีนี้ Backlog ของบริษัทจะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ระดับ 3.2 พันล้านบาท ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่บริษัทได้ตั้งเป้าหมายไว้

ฐิติวุฒิ์ บูลสุข กรรมการผู้จัดการ บมจ.เสริมสุข (SSC) เปิดเผยว่า ยอดขายน้ำอัดลม "เอส" เดือนแรกทะลุเป้าหมายเกือบเท่าตัว หลังจากเปิดตัวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 2 พ.ย.ทยอยส่งน้ำสีวางตลาดให้ครบอีก 4 รสภายในเดือน ธ.ค.นี้ เพื่อเตรียมพร้อมรับการแข่งขันที่รุนแรงในปี 56 ซึ่งยอดขายน้ำดำ "เอส" ในเดือน พ.ย.55 สูงถึง 4 ล้านลัง จากเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.5 ล้านลังและบริษัทตั้งเป้ายอดขาย ในช่วงเดือน ธ.ค.55 ไว้ที่ 2.7 ล้านลัง ซึ่งขณะ นี้ทำยอดขายเกินเป้าหมายดังกล่าว ไปแล้ว ส่วนยอดขายที่คิดเป็นตัวเงินก็ทะลุ 1 พันล้านบาท ไปแล้วในช่วง 6 สัปดาห์แรกหลังจากเปิดตัว ซึ่งสูงกว่าเป้าหมายมาก และคาดว่า จะแตะ 2 พันล้านบาทภายในช่วงต้นเดือน ก.พ.56

สุชัย สถาพรชัยสิทธิ์ กรรมการผู้จัดการบมจ.ไทยบริการอุตสาหกรรมและวิศวกรรม (TIES)เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้ในปี 2556 ไว้ที่ประมาณ 3,000 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่มั่นใจว่า จะทำได้ 2,000 ล้านบาท หลังจากภาพรวมของอุตสาหกรรมรับเหมาก่อสร้างปรับตัวดีขึ้นอย่างชัดเจน ประกอบกับที่ผ่านมาบริษัทได้รับงานโครงการ ขนาดใหญ่จำนวน 2-3 โครงการ มูลค่าระดับ พันล้านบาท จากกรณีที่บริษัทแจ้งกับตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย หรือ ตลท.ว่าได้รับงานก่อสร้างใหม่จำนวน 1 โครงการ คือโครงการ Install Storage Tank 100 Tons ในนิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จ.ชลบุรี มูลค่ารวม 11,881,056 บาท ซึ่งจะเริ่มทำการก่อสร้างในวันที่ 1 ม.ค.-30 เม.ษ 56 จะส่งผลให้มี Backlog เพิ่มขึ้นเป็น 2,300 ล้านบาท และจะทยอยรับรู้รายได้ไปจนถึงปี 56 ในช่วงที่ผ่านมาบริษัทได้ยื่นประมูลงานใหม่ ไปแล้วมูลค่า 2,000 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทราบผลการประมูลในช่วงไตรมาส 1/56

พิทักษ์ รัชกิจประการ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี (PTG) กล่าวว่า เตรียมยื่นแบบแสดงรายการข้อมูล (ไฟลิ่ง) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย (ก.ล.ต.) ในช่วง 27-28 ธ.ค.นี้ เพื่อเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปครั้งแรก (IPO) จำนวน 420 ล้านหุ้น โดยคาดว่าจะนำหุ้นเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ราวปลายไตรมาส 1/56 หรือต้นไตรมาส 2/56 ทั้งนี้ บริษัทจะออกหุ้น เพิ่มทุน 420 ล้านหุ้น มูลค่าที่ตราไว้หุ้นละ 1 บาท เพื่อเพิ่มทุนจดทะเบียนเป็น 1,670 ล้านบาท จากปัจจุบันมีทุนจดทะเบียน 1,250 ล้านบาท โดยบริษัทมีแผนลงทุนราว 1 พันล้านบาทในปี 56 เพื่อเปิดสถานีบริการน้ำมันแห่งใหม่ และปรับปรุงแห่งเดิม โดยบริษัทมีเป้าหมายเพิ่มสถานีบริการน้ำมันอีกอย่างน้อย 100 สาขา ในปีหน้า พร้อมจัดซื้อรถบรรทุกน้ำมันเพิ่มเติมอีก 65-70 คัน จากที่มีอยู่ 423 คัน ซึ่งเงินลงทุนส่วนหนึ่งจะนำมาจากการเสนอขายหุ้น IPO

เศรษฐา ทวีสิน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.แสนสิริ (SIRI) เปิดเผยว่า บริษัทสามารถสร้าง ยอดขาย (พรีเซลล์) จากการเปิดตัวโครงการที่อยู่อาศัยต่างๆ ในตลาดต่างจังหวัดได้แล้วถึง 15,400 ล้านบาท หรือคิดเป็น 75% ของมูลค่าโครงการที่เปิดตัวแล้วในต่างจังหวัดจำนวน 23 โครงการ มูลค่าโครงการรวม 20,600 ล้านบาท สูงกว่าแผนการดำเนินธุรกิจที่บริษัทได้เคยประกาศไว้ในช่วงต้นปีจำนวนเพียง 15 โครงการ เนื่องจากบริษัทมีความมั่นใจกับกระแสการตอบรับของกลุ่มลูกค้าในจังหวัดต่างๆ จากความสำเร็จในการทยอยปิดการขายโครงการใหม่ๆ ในทุกจังหวัดได้อย่างต่อเนื่องและรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ทั้งใน หัวหิน ภูเก็ต เขาใหญ่ เชียงใหม่ พัทยา และขอนแก่น ซึ่งเป็น 6 จังหวัดหัวเมืองหลักทั่วประเทศ



ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: คุณรู้จัก " ผู้บริหาร " ดีแค่ไหน !!!!

โพสต์ที่ 90

โพสต์

ปีแห่งคนเด่นสากล
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, December 31, 2012
...เจียรนัย อุตะมะ



คนเด่นในรอบปี 2555 ส่วนใหญ่เป็นบุคคลระดับสากลที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในต่างชาติ ตามสถานการณ์ที่ไทยกำลังจะเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558

อันดับแรก 4 ผู้บริหารแห่งอาเซียน

"ไพรินทร์ ชูโชติถาวร"ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่แห่งบริษัท ปตท. ผู้บริหารระดับสูงทรงอิทธิพลมากที่สุด โดยมีส่วนช่วยเหลือในภาคอุตสาหกรรมน้ำมันและก๊าซ

"เทวินทร์ วงศ์วานิช"ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ผู้บริหารระดับสูงทรงอิทธิพลมากที่สุด มีส่วนช่วยให้ประเทศไทยได้ปรากฏบนแผนที่การลงทุนในหมู่นักลงทุนสถาบันในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เป็นผู้กุมบังเหียนหนึ่งในบริษัทน้ำมันและก๊าซชั้นนำที่มีการดำเนินงานทั่วเอเชียและขยายการลงทุนไปทั่วโลก

"กรรณิกา ชลิตอาภรณ์"กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารไทยพาณิชย์ ได้รับตำแหน่งผู้บริหารระดับสูงที่ทรงอิทธิพลมากที่สุด และผู้หญิงที่มีอำนาจมากที่สุด กระตุ้นให้เกิดการแข่งขันในภาคธนาคารของไทย และยังได้ปฏิรูปธนาคารไทยพาณิชย์จนก้าวขึ้นเป็นหนึ่งในธนาคารที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ

"ทรงพล ชีวะปัญญาโรจน์"รองกรรมการผู้จัดการ ผู้บริหารสายงานผลิตภัณฑ์บรรษัทและผู้ประกอบการ ธนาคารกสิกรไทย นายธนาคารพาณิชย์องค์กรชั้นนำในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นผู้ริเริ่มนำมาตรฐาน

พาณิชย์ธนกิจและบรรษัทธนกิจระดับโลกมาใช้ที่ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในธนาคารที่เจริญรุดหน้ารวดเร็วและปรับตัวได้ดีที่สุดในประเทศ

อันดับสองมหาเศรษฐีไทย

นิตยสารฟอร์บส์ฉบับเดือน ก.ย. 2555 ได้เปิดรายชื่อ40 อันดับมหาเศรษฐีของไทย ในการจัดอันดับ 40 มหาเศรษฐีไทย ประจำปี 2555

ธนินท์ เจียรวนนท์ และครอบครัว เป็นแชมป์มหาเศรษฐีอันดับ 1 ของไทยปีที่ 3 ติดต่อกัน มีทรัพย์สิน 2.82 แสนล้านบาท โดยหุ้นบริษัท ซีพี ออลล์ (CPALL) เติบโตขึ้น27% รวมทั้งกิจการบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร(CPF) และเครือเจริญโภคภัณฑ์ (CP) ในอินโดนีเซียเติบโตมาก

ครอบครัว "จิราธิวัฒน์"เจ้าของเครือเซ็นทรัลธุรกิจค้าปลีกชื่อดังติดอันดับ 2 ขยับขึ้นจากอันดับ 4

ของปีก่อน มีทรัพย์สิน 2.17 แสนล้านบาท ส่วนอันดับ3 ยังคงเป็น เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของธุรกิจเบียร์ช้าง มีทรัพย์สิน

195,300 ล้านบาท สำหรับตระกูล "อยู่วิทยา"ซึ่งติดอันดับ 2 ในปีก่อน ในปีนี้ฟอร์บส์

จัดอันดับเป็นที่ 4

ปีนี้มหาเศรษฐีไทยส่วนใหญ่มั่งคั่งขึ้นจากเดิม คิดเป็นเม็ดเงินถึง 20% และมหาเศรษฐีไทยเหล่านี้ยังนำกำไรไปลงทุนในต่างประเทศ ทั้งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแห่งอื่นๆในโลก

อันดับสามผู้นำบริษัทจดทะเบียนยอดเยี่ยม

"ชัยฤทธิ์ สิมะโรจน์"กรรมการผู้จัดการบริษัท สยามสหบริการ (SUSCO) ที่นอกจาก SUSCOได้รางวัลบริษัทจดทะเบียนยอดเยี่ยมประเภทมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาทเพราะผลการดำเนินงานย้อนหลัง 3 ปีมีกำไรและจ่ายเงินปันผลอย่างต่อเนื่องและยัง

สามารถนำซัสโก้เข้าซื้อกิจการปิโตรนาส บริษัทน้ำมันสัญชาติมาเลเซียในไทยได้สำเร็จอันดับสี่ผู้บริหารสูงสุดยอดเยี่ยมของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ ตามลำดับ คือ"สมประสงค์ บุญยะชัย"ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น (INTUCH)และ "นพดล ตัณศลารักษ์"ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท มาสเตอร์ แอด (MACO) โดยมีความโดดเด่นทั้งในด้านความเป็นผู้นำที่นำพาองค์กรสู่การเติบโตและแข็งแกร่ง การยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี การมีวิสัยทัศน์และความสามารถในเชิงกลยุทธ์ การทำประโยชน์ต่อธุรกิจและสังคม ตลอดจนการให้ความสำคัญแก่ผู้ลงทุน

อันดับห้าผู้นำแห่งปี"อัศวิน เตชะเจริญวิกุล"

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ (BJC) ได้รับรางวัล ไทยแลนด์ บิซิเนส ลีดเดอร์ ออฟ เดอะ เยียร์ 2012 ในงานประกาศผลรางวัลCNBC Asia Business Leaders Awards หรือ ABLA

ครั้งที่ 11 โดยงานนี้จัดโดยสำนักข่าว CNBC ร่วมกับ University of Chicago Booth School of Business และ Development Dimensions International (DDI) โดยพิจารณาคัดเลือกผู้นำองค์กรธุรกิจที่ได้รับการยอมรับว่ามีบทบาทโดดเด่นในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมของประเทศไทย และขยายการเจริญเติบโตขององค์กรในระดับภูมิภาค ตลอดจนมีวิสัยทัศน์ในการบริหารจัดการ และสร้างสรรค์นวัตกรรมในการดำเนินธุรกิจที่มีประโยชน์สูงสุดต่อองค์กรและสังคม บีเจซี มีการดำเนินธุรกิจและการบริหารจัดการเป็นที่ยอมรับทั้งในประเทศและในระดับภูมิภาค

เขาจบปริญญาโทด้านบริหารธุรกิจจากMassachusetts Institute of Technology หรือ MIT และปริญญาโทด้านรัฐประศาสนศาสตร์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ประเทศสหรัฐอเมริกา

เข้ามาดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2551 หลังจากแต่งงานกับ "ฐาปนี สิริวัฒนภักดี" บุตรสาวคนที่ 4 ของ"เจริญ" ไม่นานนัก

ภารกิจหลักของเขยคนเล็กตระกูลสิริวัฒนภักดีวันนี้คือการพาเบอร์ลี่ ยุคเกอร์ เข้าไปตั้งฐานธุรกิจในอาเซียนซึ่งเป็นงานที่หนักเอาการสำหรับผู้บริหารหนุ่มอายุเพียง36 ปี ด้านหนึ่งเป็นความท้าทายสำหรับการสร้างธุรกิจ

ในแต่ละประเทศที่มีความแตกต่างทั้งด้านวัฒนธรรมภาษา และพฤติกรรมผู้บริโภค

ผลงาน 5 ปีที่เขาเข้ามายังเบอร์ลี่ ยุคเกอร์สามารถผลักดันยอดขายและกำไรบริษัทเพิ่มขึ้น 2 เท่าและมาร์เก็ตแคป (มูลค่าราคาตลาดรวมของหุ้น) เพิ่มขึ้น 15 เท่า

อันดับหกนักลงทุนรุ่นใหม่แห่งปี

"เฉลิมชัย มหากิจศิริ" ลูกชายคนเดียวของ "ประยุทธ มหากิจศิริ"ที่กำลังเข้ามาเป็นนักลงทุนมีบทบาทในหุ้นหลายบริษัท ทั้งหุ้นบริษัท โทรีเซนไทย เอเยนต์ซีส์ (TTA) สัดส่วน 14% และบริษัท แผ่นดินทองพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ (GOLD) สัดส่วน 24%

"กึ้ง" ในวัยกว่า 30 ปี มีเป้าหมายที่จะทำให้คนรู้จัก "มหากิจศิริ" และอาณาจักรธุรกิจทั้งหมดที่ "ประยุทธ" ทำมาตั้งแต่รุ่นพ่อยันรุ่นลูก เขาอาสาจับทุกอย่างมาอยู่ใต้ร่มบริษัท พี.เอ็ม. กรุ๊ป (P.M.) กองทุนส่วนบุคคลของครอบครัว "มหากิจศิริ" มูลค่าไม่น่าต่ำกว่าหลักพันล้านบาท

เขานำเงินในกองทุนของครอบครัวเข้าลงทุนในตลาดหุ้น ธุรกิจอาหารอสังหาริมทรัพย์ และอื่นๆที่มีศักยภาพ สร้างผลตอบแทนให้กับ P.M. ได้การลงทุนของเขาเปลี่ยนจากเงินสดไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นที่คิดว่ามีผลตอบแทนจากการลงทุน มีสภาพคล่อง

การเข้าไปถือหุ้น TTA เขาต้องการเห็นบริษัทมีศักยภาพ และทำกำไรในอนาคตได้มากกว่านี้

นอกจากนั้น ยังเข้าไปถือหุ้น GOLD ด้วยสัดส่วนที่ไม่น้อย 24%เพราะหากถือมากกว่านี้ต้องทำคำเสนอซื้อหุ้นจากนักลงทุนทั่วไป (เทนเดอร์ ออฟเฟอร์) และการลงทุนของ พี.เอ็ม. กรุ๊ป จะไม่จำกัดเพียงเฉพาะบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเท่านั้น หากเป็นบริษัทที่ดี มีศักยภาพ คุ้มค่ากับการลงทุน แม้ว่าจะอยู่นอกตลาดหลักทรัพย์ก็ตาม เพียงแต่บริษัทนอกตลาดมีข้อจำกัดตรงที่ต้องใช้เวลาศึกษามาก เทียบกับบริษัทในตลาดที่ถูกกลั่นกรองจากตลาดหลักทรัพย์มาเบื้องต้นแล้ว

สำหรับการลงทุนแต่ละครั้ง P.M. มีทีมที่เชี่ยวชาญการลงทุน ผ่านการกลั่นกรองการลงทุนจากฝ่ายงานต่างๆ เพราะเขาถือว่าการโตของธุรกิจไม่ใช่เกิดจากคนเพียงคนเดียว สไตล์การลุยเดี่ยวแบบบิดาที่สร้าง

อาณาจักรธุรกิจไว้มากเมื่อก่อนไม่สามารถทำได้ในยุคนี้ ฉะนั้น จึงได้นำคนรุ่นใหม่ที่มีแนวคิด มาเป็นแขนขาให้กับการเติบโตของพี.เอ็ม. กรุ๊ป

--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."