หน้า 19 จากทั้งหมด 160

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 22, 2003 10:01 pm
โดย Stock Broker
พี่วิบูลย์ เสียท่าผมแล้วล่ะครับ

ในที่สุดผมก็รู้หุ้นในพอร์ตพี่อีกตัวแล้ว จากที่พี่ตอบผมเรื่อง "มูลค่าหุ้นตัวหนึ่งที่ราคาตกลงมาจาก 200 จนเหลือ 80 บาท"

มันเป็นหุ้น Consumer Finance ลูกครึ่งใช่มั้ยล่ะครับพี่ (ถ้าผิดยอมหน้าแตก เพราะตอนช่วงที่มีข่าวเชิงลบนั้น ผมกำลังตัดสินใจซื้อหุ้นที่ว่าอยู่พอดี เลยโดนกระแสหลอกให้กลัวหัวหด เลยไม่ได้ซื้อมาจนบัดนี้เลยครับ)

ป.ล. พี่เรียกผมเป็น "น้อง" ดีกว่าครับ อย่าเรียก "คุณ" เลย นึกตามระบบ SOTUS แล้วผมรู้สึกไม่ดีน่ะครับ มันรู้สึกเหมือนผมปีนเกลียว เดี๋ยวโดนจับเข้าห้องเชียร์อีก

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 23, 2003 12:38 pm
โดย tanapong
สวัสดี ศิษย์พี่ วิบูลย์007 ครับ

จากคำถาม ราคาจาก 180 ตกมา เหลือ 90
ซื้อครับ
ต้องซื้อสถานเดียวครับ ตราบใดที่พื้นฐานบริษัท ยังไม่เปลี่ยนแปลง
ถ้าผมมีเงิน 100 บาทเพื่อซื้อ
ผมจะซื้อทั้งหมด 70 บาท ครับ
อีก 30 บาท เก็บไว้ซื้อ เผื่อราคาลงมาที่ 80-85 บาทครับ

ผมเชื่อเหมือนคุณวิบูลย์ เช่นกันว่เป็นบริษัท ที่ยอดเยี่ยมเฃ่นกัน


อ้อ สวัสดีครับ คุณFE
ผมก็เป็นแฟนอ่านแนวความคิดคุณมานานแล้วเช่นกันครับ
ซึ่งสิ่งที่คุณแสดงความคิดไว้มีประโยชน์มากครับ...
ยอดเยี่ยม...นับถือ

แต่คุณทายขุมทรัพย์ คุณวิบูลย์ผิดครับ

เจ้าตัวที่ว่านี่ อยู่ในกลุ่ม พลังงานครับ เครือนำมันครับ
แต่ส่วนมาก ขายแก็สธรรมชาติครับ

(อุบ....ตายแล้ว คูรวิบูลย์...ศิษย์น้องขออภัย ที่ Offside ) :oops:

ผลประกอบการที่ผมดูได้จากเวปตลาดย้อนหลัง
ยอดเยี่ยมมาตลอดครับ
ราคา หุ้นตอนนี้ มี P/B ที่เป็นจุดอ่อน
แต่ไม่น่าจะเป็นปัญหา ตามอัตรา Consumptionที่เกิดขึ้นทั้งตอนนี้และในอนาคตครับ

พวกผมกำลังคุยกัน (คุณธันวา คุณ Mon Money)
ว่าจะแช่งให้ราคาตกลงมาทุกวัน...อิ อิ อิ
ไม่ต้องเท่าที่คุณวิบูลย์โพสต์( 90 บาท)
ก็ได้ครับ
ให้ผมมี Margin Of Safety สัก 15% ก็พอครับ
ได้นอนกอดร่วมกันหมดบ้างล่ะครับ

(ความคิดเห็นส่วนตัวครับ ผู้อ่านโปรดใช้วิจารณญาณ)

เท่านี้ก่อนครับ พอดีต้องพาลูกสาวไปเรียนพิศษครับ

ขอให้ได้หู้นดีๆมานอนกอดและร่ำรวยถ้วนหน้าครับ

จากใจจริง

tanapong

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 24, 2003 11:58 am
โดย Mon money
คุณ วิบูลย์ คุณ FE เพื่อนๆ พี่ ทั้งหลาย แนวทางของผมคือ

" TIMING is less important than SELECTION "

ดังนั้นเมื่อเลือกแล้ว รอแล้ว พร้อมแล้วลุยเลยไม่รออะไรอีกต่อไป เพราะบ้านไกลเวลาน้อย(ขโมยพี่ธันวามาพูด) แต่ก่อนจะลุยก็รอแล้วนะ ไม่ใช่ไม่รอ เราไม่รู้หรอกว่ามันจะขึ้นจะลงไปอีกหรือไม่ แต่ที่แน่ๆเราเลือกดีแล้วครับ

$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$$

กลับมาที่เรื่องValuation ซักหน่อย จากที่ดูๆมาบริษัทจดทะเบียนบ้านเรานี้จะต่างจากบริษัทในUSAมากเอาการ อย่างเช่น อายุของบริษัท บางบริษัทอายุยังไม่มาก ยังไม่ผ่านช่วงการเติบโตจริงก็ถูกบอนไซตอนเศรษฐกิจไม่ดีแล้ว พอเศรษฐกิจดีๆก็เลยลงทุนกันมาก Owner's Earningเลยไม่มากหรือบางที่ติดลบ ดังนั้นเวลาเราทำ DCF เราต้องใช้การประมาณว่าเมื่อไรเขาจะหยุดลงทุนหรือลงน้อยลง ซึ่งค่อนข้างเสี่ยงเอาการ นี่แหละปัญหาของตลาดเกิดใหม่

วิธีการที่น่าจะเหมาะกับบ้านเราน่าจะเป็น EPV ดูประกอบกับแนวโน้มธุรกิจ และโครงสร้างทางการเงิน นิสัยของผู้บริหาร น่าจะช่วยเราได้มากนะครับ

คุณวิบูลย์และท่านอื่นๆว่ายังไงบ้างครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 24, 2003 5:35 pm
โดย VIB007
ให้เรียกน้องก็จะเรียกน้องครับ
น้อง FE นี่หูตาไวจริงๆ
แต่พี่ก็จะไม่บอกหรอกนะว่า ตัวไหนที่ถืออยู่
ให้ไปคิดกันเอาเอง
เราไม่จำเป็นต้องถือหุ้นตัวเดียวกัน..นิ
เอาเป็นว่า นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า
"ให้กลัวเมื่อคนอื่นโลภ ให้โลภเมื่อคนอื่นกลัว"
ใช้ได้จริงๆนะ จะบอกให้
เอาเป็นว่า ตัวที่พี่ถืออยู่
ไปไหนก็เห็นป้ายบริษัทเต็มบ้านเต็มเมืองแล้วกัน

ก็ขอบคุณพี่Tanapong ครับ
ที่ร่วมแสดงความคิดเห็น
สุภาษิตผมก็คือ
"ใครไคร่ซื้อ-ซื้อ ใครไคร่ขาย-ขาย" ครับ
ไม่มีการบอกว่าใครถูกใครผิดครับ
อยู่ที่ความคิดมุมมองของแต่ละคน
ก็ขอให้พี่อย่าหวั่นไหวกับราคาหุ้นที่ขึ้นลงครับ
ดูที่ธุรกิจของเราครับ
อย่าให้ราคาบนกระดานมาหลอกเราได้
หุ้นบริษัทเรา เรารู้ครับว่าเกิดอะไรขึ้น
ชาวบ้านเขาไม่อยากได้ ไม่อยากเป็นเจ้าของก็ไม่เป็นไร
เรารับซื้อในราคาถูกๆครับ

ที่คุณMonบอกมา
"TIMING is less important than SELECTION"
แสดงว่าคุณMonนี่เป็นประเภทกระบี่เดียวรู้ผล
ไม่ต้องพูดพล่ำทำเพลง
ถูกใจก็ตีหัวลากเข้าถ้ำเลย อิ อิ
ผมเคยทำเหมือนกัน
แต่หัวแตกเองครับ เพราะเพื่อนราคาลงต่อ น่าเจ็บใจจริงๆ
Mon Money เขียน: กลับมาที่เรื่องValuation ซักหน่อย จากที่ดูๆมาบริษัทจดทะเบียนบ้านเรานี้จะต่างจากบริษัทในUSAมากเอาการ อย่างเช่น อายุของบริษัท บางบริษัทอายุยังไม่มาก ยังไม่ผ่านช่วงการเติบโตจริงก็ถูกบอนไซตอนเศรษฐกิจไม่ดีแล้ว พอเศรษฐกิจดีๆก็เลยลงทุนกันมาก Owner's Earningเลยไม่มากหรือบางที่ติดลบ ดังนั้นเวลาเราทำ DCF เราต้องใช้การประมาณว่าเมื่อไรเขาจะหยุดลงทุนหรือลงน้อยลง ซึ่งค่อนข้างเสี่ยงเอาการ นี่แหละปัญหาของตลาดเกิดใหม่

วิธีการที่น่าจะเหมาะกับบ้านเราน่าจะเป็น EPV ดูประกอบกับแนวโน้มธุรกิจ และโครงสร้างทางการเงิน นิสัยของผู้บริหาร น่าจะช่วยเราได้มากนะครับ

คุณวิบูลย์และท่านอื่นๆว่ายังไงบ้างครับ
เห็นด้วยครับว่า
การหามูลค่าด้วย DCF จะมีข้อผิดพลาดมาก
ต้องประมาณการไปอีก ห้าปี สิบปีข้างหน้า
ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
Growth Rate ต่างกัน
Discount Rate ต่างกัน
ก็ทำให้มูลค่ากิจการที่ได้ต่างกันมาก
แล้วจะใช้ค่าไหน
ถ้าไม่เข้าใจธุรกิจจริงๆ ก็มองอนาคตของธุรกิจไม่ออก
ผมว่าไม่ต่างอะไรกับการนั่งเทียนครับ

อีกอย่าง
ผมว่าการลงทุนไม่ใช่เรื่อง 1+1=2 ครับ
1+1 อาจจะมากกว่า หรือน้อยกว่า 2 ได้ครับ
เพราะมีเรื่องของ "อารมณ์" เข้ามาเกี่ยวข้องด้วยอย่างมาก
โดยเฉพาะอารมณ์"โลภ" ในยามตลาดกระทิง
และอารมณ์"กลัว" ในยามตลาดหมี
ดังนั้น อาจารย์บัฟเฟตจึงบอกอยู่เสมอว่า
ให้ลงทุนด้วยการมองข้ามอารมณ์ของเรา
ด้วยการมองโลก มองธุรกิจด้วยความเป็นจริง
อย่าใช้ "อารมณ์" ในการลงทุน
ให้ใช้ "เหตุผล" เป็นที่ตั้งในการลงทุน


แล้วเพื่อนๆละครับ
ชอบใช้ "เหตุผล" หรือ "อารมณ์" มากกว่ากัน

ส่วนตัวผม
ผมชอบวิเคราะห์ธุรกิจก่อนเป็นอันดับแรกครับ
ถ้าเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ
ผมก็จะมาดูราคาหุ้นว่า"เหมาะสม"หรือเปล่า
ธุรกิจที่ดี แต่ราคาสูง ก็ไม่มีประโยชน์ครับ
ดังนั้น
ผมก็จะรอคอยจนกว่าจะมี "ข่าวร้าย"
ถล่มตลาด หรือ ถล่มธุรกิจที่น่าสนใจ
มีสิ่งหนึ่งที่ผมคิดอยู่เสมอก็คือ
ผู้คนในตลาดเป็นพวก"สายตาสั้น"ซะส่วนใหญ่
เกิดอะไรนิดอะไรหน่อย ก็ทิ้งของ
ดังนั้น
ถ้าเรามี"สายตายาว" ก็สามารถใช้ประโยชน์จากความสายตาสั้นของตลาดได้

นี่ผมสน Timing มากกว่า Selection หรือเปล่าเนี่ย

สำหรับผม
ลงทุนปีละ หนึ่งถึงสองครั้ง ก็เพียงพอแล้วครับ
หมายความว่า ซื้อธุรกิจปีละธุรกิจก็น่าจะพอ
ไม่ต้องไปเทรด เข้าๆออกๆให้เปลืองค่าโบรกเล่น
เหมือนที่ Kiyosaki เจ้าของหนังสือ Rich Dad Poor Dad บอกไว้ละครับ
ถ้าอยากเกษียณเร็ว ก็ต้องหาซื้อทรัพย์สินที่ทำเงิน ปีละหนึ่งชิ้น
ทำไปเรื่อยๆ คุณก็จะมีรายได้เพียงพอที่จะเกษียณได้โดยไม่ต้องทำงาน

Kiyosaki ซื้ออสังหาริมทรัพย์ ส่วนผมซื้อหุ้นส่วนของธุรกิจครับ

เป็นการลงทุนทั้งคู่
เป็นความเหมือนในความต่าง

แต่ เอ....นี่ผมตอบตรงคำถามคุณมนหรือเปล่าเนี่ย
ทำไมกลายมาเป็นเรื่องอสังหาริมทรัพย์เฉยเลย

ผมอยากบอกว่า
ให้ดูพื้นฐานธุรกิจและผู้บริหารก่อน
แล้วค่อยดูราคาครับว่าเหมาะสมหรือไม่
จะใช้ DCF หรือ EPV ก็ตามสะดวกครับ
ผมว่าแล้วแต่ถนัดนะ
ที่แน่ๆ อย่าซื้อของแพงเกินเป็นใช้ได้ครับ
ใช้คาถาของพ่อรวยครับที่ว่า
"ทรัพย์สินที่ซื้อมา ต้องมีกำไรตอนซื้อ ไม่ใช่กำไรตอนขาย"
ใช้กับการลงทุนในหุ้นได้ 100% แน่นอนชัวร์ป้าบ

วันนี้พอแค่นี้ก่อน
ก็โชคดีในการลงทุนทุกท่านครับ
สวัสดีครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 27, 2003 4:04 pm
โดย MO101
ถ้าเป็นเกมส์แฟนพันแท้
ขอเดา "เห็นเต็มบ้านเต็มเมือง"
ก็มี se-ed 7-11 PTT Pizza KFC Mc MK

แต่เนื่องจากใช้คำว่าเต็มบ้าน ไม่ใช่เต็มถนน PTT ตัดทิ้ง
แล้วก็เต็มเมือง ไม่ใช่เต็มห้าง ตัด se-ed Pizza KFC Mc MK
เหลือตัวเดียว

"ขอตอบว่า CP7-11 ครับ"

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 27, 2003 8:25 pm
โดย chatchai
พี่ขอใช้สิทธิพาดพิงนะน้อง VIB007

เกี่ยวกับการซื้อที่เดียวหมด หรือจะทะยอยซื้อดี

จากที่น้อง VIB007 มีประสบการณ์จากจากที่ระดมซื้อจนเงินหมดแล้วราคายังคงร่วงต่ออีกกว่า 50% ของราคาที่ซื้อ

น้อง VIB007 จึงมีความคิดที่จะทะยอยซื้อ

แต่ถ้าน้อง VIB007 ทะยอยซื้อได้เพียง 10% ที่ราคา 117 บาท แล้วราคามันพ่งที่ที่ 130 บาทอย่างรวดเร็วละครับจะทำอย่างไร

จะตามซื้อหรือปล่อยมันไป ซึ่งถ้าราคาไปต่อเรื่อยๆจนถึง 200 บาท น้อง VIB007 จะเสียดายไหมครับ

การที่จะทะยอยซื้อ หรือซื้อที่เดียวหมดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

บางทีก็ขึ้นอย่กับความมั่นใจข้อมลที่คณวิเคราะห์ หรือราคาห้นตอนนั้น และทางเลือกอื่นๆ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 27, 2003 10:04 pm
โดย VIB007
พอดีไปต่างจังหวัดมาครับ
เลยเข้ามาตอบช้า

ว่าแต่ว่า
ตกลงคำตอบของน้อง MO101
เป็น"คำตอบสุดท้าย"หรือเปล่าครับ
ถ้าตอบผิด เกมส์จะจบลงทันที
ถ้าตอบถูกจะได้เล่นคำถามต่อไป
เอ......หรือจะใช้ตัวช่วย ก็ได้นะครับ ฮ่า ฮ่า :lol: :lol:

ยังไม่เฉลย
รอคำตอบจากน้อง MO101 อยู่
Chatchai เขียน: การที่จะทะยอยซื้อ หรือซื้อที่เดียวหมดก็มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

บางทีก็ขึ้นอย่กับความมั่นใจข้อมูลที่คุณวิเคราะห์ หรือราคาห้นตอนนั้น และทางเลือกอื่นๆ
จริงครับพี่Chatchai
มีบางตัว ผมก็รู้สึกว่าผมซื้อน้อยเกินไป
ทำไมตอนนั้นถึงไม่ซื้อเยอะกว่านี้(ว่ะ)
ก็เจ็บใจไปอีกแบบ
จะซื้ออีกที ราคาก็พุ่งกู่ไม่กลับ
ของอย่างนี้เอาแน่ไม่ได้ครับ
พอดี งบประมาณผมมีจำกัด
เวลาจะซื้อเลยต้องคิดแล้วคิดอีกครับ
การทยอยซื้อ ก็ต้องใช้ประสบการณ์ส่วนตัวครับ
ส่วนตัวผม
ผมจะเก็บ 50% ของที่ต้องการก่อน
ส่วนที่เหลือจะทยอยเก็บครับ
ดังนั้นถึงแม้ ราคาจะขึ้นไปทันทีทันใด
ผมก็ยังอุ่นใจว่ามีของอยู่ในมือ
ถ้าราคาลงอีก ผมก็พร้อมจะรับซื้อเพิ่มครับ

อันนี้ก็แล้วแต่วิจารณญานของแต่ละท่านนะครับ

วันนี้มีของมาฝาก
พอดีไปอ่านหนังสือของอาจารย์ฟิชเชอร์อีกรอบนึง
พบคำพูดนึงของอาจารย์
เลยอยากเอามาบอก
อาจารย์บอกว่า
"จากประสบการณ์ของข้าพเจ้าพบว่า
ในตลาดหุ้นยังมีโอกาสอยู่มากมาย
โดยเฉพาะเมื่อข้าพเจ้าพบว่า
ผู้คนในตลาดรู้จักทุกอย่างเกี่ยวกับ"ราคา"หุ้น
แต่ไม่รู้อะไรสักอย่างเกี่ยวกับ"มูลค่า"ของมัน"
ฟังดูคุ้นๆมั๊ยครับ

เอาล่ะครับ
วันนี้เดินทางมาเหนื่อย
ขอไปพักผ่อนก่อน

สวัสดีครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 27, 2003 11:44 pm
โดย Mon money
มันก็ต่างแง่ต่างมุมครับ คือผมไม่ค่อยชอบอยู่ดูราคาสักเท่าไร เลยจัดการให้เรียบร้อยไป เอาเวลาไปทำอย่างอื่น ส่วนใหญ่ซื้อแล้วราคาก็ลงไปนั่นแหละแต่ไม่เห็นเดือดร้อนอะไร กำไรทุกทีครับ

แล้วแต่นะครับ ถ้าใจเย็นก็ทยอยๆเอา ไม่มีเวลามากก็ทุบหัวเลยครับ

เก่งๆทั้งนั้น

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 27, 2003 11:50 pm
โดย harry
ไอเดียของผมก็เหมือนกันหลายๆท่าน คือลงทุนในกิจการที่เรารู้ว่าเป้นอย่างไร รายได้มาจากอะไร ตลาดเป็นอย่างไร ส่วนแบ่งตลาดเท่าไหร่ รวมถึงการไปพูดคุยกับพนักงาน ผมว่าเป้นสิ่งที่ดีมากๆๆเลย ถ้าพนักงานบริษัทนั้นบอกว่าห่วยนะ ก็เลิกพูดได้เลยครับ

อยากให้มีมีตติ้งครั้งใหม่เร็วๆจังครับ อยากไปเพิ่มเติมความรู้ ผมยังงงกับการคำนวณต่างๆ ครับ แต่ไอเดียการลงทุนแบบนี้เพราะพอจะเข้าใจบ้างแล้วครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 28, 2003 12:44 am
โดย nana
หวัดดี ครับ พี่ๆ เพื่อนๆ ทุกคน ผมอยากเป็น VI บ้าง เพิ่งสนใจมาลงทุนในหุ้นประมาณปีกว่าๆ เอง แต่ผมมีปัญหาบางอย่างอยากให้พี่ๆ โดยเฉพาะพี่ VIB007 ช่วยอธิบายให้ฟังหน่อย ก็คือว่า ก่อนลงทุน ผมก็จะศึกษาพื้นฐานของบริษัทก่อนว่าน่าสนใจหรือไม่ ดู เรโชต่างๆ เช่น D/E P/E ROE ROA net profit margin และดูกำไรในปีที่ผ่านๆมาว่าเป็นอย่าง มีกำไรจากรายการพิเศษหรือไม่ นอกจากนี้สุดท้ายผมก็จะมาดูว่า ราคาน่าซื้อใหม dividend yield เท่าไร p/e เท่าไร p/b เท่าไร หากว่ามีค่าต่ำ ผมก็จะดูว่าราคานี้เป็นราคาที่เพิ่งขึ้นมา เพราะบางช่วงเวลาหุ้นที่เราสนใจอาจจะมีการขึ้นเพื่อตอบรับข่าวดีบางอย่าง ทั้งๆที่ข่าวดีนั้น อาจจะไม่ได้มีผลต่อบริษัทเลยก็ได้ แต่หากราคาหุ้นอยู่ที่ตรงนี้นานแล้วผมก็จะตัดสินใจซื้อเลย แต่ปัญหาของผมก็คือว่า ผมไม่สามารถหามูลค่าหุ้นได้ว่าหุ้นตัวที่ซื้อควรจะมีราคาเท่าไร อยากจะขอให้พี่ ช่วยแนะแนวทางหามูลค่าให้หน่อย อยากได้แบบหามูลค่าที่ง่ายๆ ไม่ซับซ้อน ซึ่งอาจจะทำให้ประเมินมูลค่าได้ไม่แม่นยำ ก็ไม่เป็นไร อยากได้แค่ประมาณมูลค่าคร่าว ๆก็พอ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 28, 2003 12:10 pm
โดย VIB007
ตอบน้องnana
การหามูลค่าหุ้นเคยบอกไว้ว่ามีสามวิธี
1) Reproduction Cost of Asset
2) Earning Power Value
3) Discount Cashflow

ผมไม่มั่นใจว่า
น้องอ่านโพสในกระทู้นี้ทุกหน้าหรือยัง
ถ้ายังก็ลองอ่านดูสักรอบนึง
แล้วดูว่า เข้าใจหรือเปล่า
เพราะเคยมีเขียนไว้คร่าวๆแถวๆหน้า 8-9 นี่ละ
ลองอ่านดู
แล้วถ้าไม่เข้าใจก็ถามมาใหม่นะครับ
หนังสือผมก็แนะนำไปแล้วในหน้า 18-19
ชื่อหนังสือ ราคาหุ้นและการปรับโครงสร้างทางการเงิน เล่ม2
ของ สนพ FPM Consultant หาซื้อได้ที่ Se-Ed ครับ
ถ้าภาษาอังกฤษก็อ่านเล่มที่ชื่อ
Value Investing from Graham to Buffet and beyond
ของ Bruce N. Greenwald

คำถามอย่างนี้มันตอบยาวน่ะ
ไม่ค่อยอยากฉายหนังซ้ำ
กลัวแฟนๆจะเบื่อซะก่อน
เอาเหล้าเก่ามาใส่ขวดใหม่

ที่สำคัญ
ผมคิดว่า การลงทุนแบบ VI นี่
เป็นความคิด 80% เป็นวิธีการ 20% ครับ
การเตรียมใจสำหรับความผันผวนของตลาด
บางทีอาจจะสำคัญกว่าเรื่องการคำนวณนะครับ
ส่วนตัวผม
ผมว่าเราพยายามค้นหา"สูตรสำเร็จ"ในการลงทุนมากเกินไป
แต่จริงๆแล้ว ผมว่าไม่มีครับ
ทุกอย่างต้องมาจาก ความรู้ ประสบการณ์ และ ความตั้งใจจริง เท่านั้นครับ

ก็ขอให้น้องnana ประสบความสำเร็จในการลงทุนนะครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 28, 2003 12:45 pm
โดย ลูกอิสาน
พอดีอ่านเจอคุณวิบูลย์ คุยกับคุณฉัตรชัย ก็เลยมีคำถามครับ
เรื่องการกระจายความเสี่ยง พูดง่ายๆ ก็คือควรถือหุ้นกี่ตัวในพอร์ทครับ

โดยส่วนตัวผมชอบเสี่ยงเลย ถือน้อยตัวครับ 4-5 ตัว เลือกกิจการที่เราคิดว่าดีที่สุด แต่ปัญหาก็คือที่เราเลือกไว้ ไม่รู้มันจะดีจริงหรือเปล่าน่ะซิ.... :lol:

แต่ถ้าเรามั่นใจมากๆ ทำนองตีแตกได้ ก็ให้น้ำหนักเยอะๆ ไปเลย แต่ไม่เคยถือหนึ่งตัวอย่างคุณฉัตรชัยนะ ผมว่าโลกนี้มีความเสี่ยงที่เราควบคุมไ่ม่ได้อีกเยอะ...

ส่วนบางท่่าน ถือไว้ 20-30 ตัว ข้อดีก็มีมาก คือมีโอกาสถูกหวยเยอะ เช่นโดนซื้อคืน หรือมีเจ้ามือมาลาก ตัวโ้น้นก็ดี ตัวนี้ก็ดี รักพี่เสียดายน้อง มันดีไปโหมดดดด!!
แต่ข้อเสียก็มีเช่น ได้กำไรไม่เป็นกอบเป็นกำ เพราะถือไว้ตัวละน้อยๆ หรือดูแลไม่ทั่วถึง เพราะมีเยอะเกินไป etc,.

และเรื่องขนาดของพอร์ทก็มีผลครับ ถ้าเงินเยอะหน่อย ก็กระจายความเสี่ยงได้มากหน่อย....

ก็เลยอยากทราบความเห็นของศิษย์ัวอร์เรน บัฟเฟต์ อย่างคุณวิบูลย์ครับว่ามีความเห็นเรื่องกระจายความเสี่ยงอย่างไรครับ สมมุติง่ายๆ ว่าถ้ามี เงิน 1 ล้าน ควรจะถือหุ้นกี่ตัว และถ้ามี 30 ล้าน จะถือกี่ตัวครับ ถ้าลงทุนในตลาดไทย.. :o

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 28, 2003 1:24 pm
โดย MO101
ตอบแทนให้ครับ เฮียบัฟฟ เขาชอบลดความเสี่ยงโดย ถือหุ้นน้อยตัว
แล้วลดความเสี่ยงด้วยจำนวนหุ้นที่เขาคือครับ
คือถ้าหุ้นที่เขาถือมีมากพอที่จะเข้าไปมีส่วนเป็นกรรมการ แบบนี้เฮียแกชอบอะครับ

ส่วนเงินเช่น มี 30 ล้าน เวลาเจอหุ้นถูกๆ ปริมาณๆ แกเทหมดหน้าตัก
30 ล้านเลย แล้วชอบบ่นว่าเงินไม่พอ เก็บหุ้นได้น้อยไป

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 28, 2003 2:11 pm
โดย nana
วิธีที่พี่ VIB007 ให้ผมไปอ่านเพื่อหามูลค่าหุ้น ผมเข้าใจนะ แต่จริงๆ ที่ผมอยากจะถามก็คือว่า เวลาตอนที่พี่ สนใจในหุ้นตัวหนึ่ง แล้วพี่มีวิธีอย่างไรในการที่จะคำนวณคร่าวๆ ขอย้ำว่าคร่าวๆ นะครับ แบบยังไม่ต้องคำนวณอย่างละเอียด ว่าหุ้นตัวที่เราสนใจมีมูลค่าต่ำ หรือสูงกว่า ราคาหุ้นในขณะนั้น

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 28, 2003 5:01 pm
โดย VIB007
ลูกอีสาน เขียน: พอดีอ่านเจอคุณวิบูลย์ คุยกับคุณฉัตรชัย ก็เลยมีคำถามครับ เรื่องการกระจายความเสี่ยง พูดง่ายๆ ก็คือควรถือหุ้นกี่ตัวในพอร์ทครับสมมุติง่ายๆ ว่าถ้ามี เงิน 1 ล้าน ควรจะถือหุ้นกี่ตัว และถ้ามี 30 ล้าน จะถือกี่ตัวครับ ถ้าลงทุนในตลาดไทย.
จริงๆผมก็ต้องออกตัวก่อนนะครับ
ว่าผมไม่ใช่เซียนหุ้น
ทุกวันนี้ ผมถือว่าผมกำลังทำการทดลองส่วนตัวอยู่
ผลงานก็พอไปวัดตอนสายๆได้เท่านั้นเอง
ไม่สามารถคุยกับใครได้ว่าได้ผลตอบแทนเท่าไหร่
ผมไม่สนใจผลกำไรระยะสั้นเลย เช่น หนึ่งอาทิตย์ หนึ่งเดือน สามเดือน
เพราะผมมีสมมุติฐานที่ว่า
ราคาหุ้นจะอิงกับผลประกอบการบริษัท
การที่จะทราบว่าบริษัทนั้นมีความสามารถจริงหรือเปล่า
ต้องใช้เวลาครับ
บางบริษัท "ราคา"หุ้นอาจจะขึ้นไปหลายร้อยเปอร์เซนต์ในระยะเวลาอันสั้น
แต่ผมคิดว่า
ถ้าบริษัทนั้นไม่แน่จริงอย่างที่นักลงทุนทั้งหลายคาดหวังกัน
ราคาก็ไม่สารถยืนอยู่เช่นนั้นได้ครับ
สุดท้ายก็ต้องปรับตัวลง
เพราะทุกคนจะรู้เองว่า อันไหนของจริงของปลอม

และอีกอย่าง
ระยะเวลาในการลงทุนของผมยาวพอสมควร
ดังนั้น ผมจึงรอให้หุ้นของผมแสดงศักยภาพระยะยาวออกมาได้ครับ
สำหรับท่านที่ต้องการผลตอบแทนเร็วๆ
อาจจะไม่เหมาะกับวิธีการที่ผมใช้อยู่ครับ

เรื่องนี้ก็เลยเกี่ยวข้องกับ
จำนวนหุ้นที่เราควรจะถือไปด้วย
บางท่านอาจจะชอบถือหุ้นหลายๆตัวเพื่อเป้าหมายในการลดความเสี่ยง
อย่างที่สอนกันในโรงเรียนที่ว่า
"อย่าใส่ไข่ไว้ในตระกร้าเดียวกัน"
แต่ความเห็นของผมก็คือว่า
ความเสี่ยงสามารถลดลงได้ด้วยการทำการบ้านเยอะๆครับ
ไม่ใช่การถือหุ้นหลายๆตัว
ผมว่าการถือหุ้นหลายๆตัว
เป็นการบั่นทอนพลังในการทำกำไรระยะยาวมากกว่า
เพราะแทนที่เราจะถือหุ้นบริษัทที่ดีเยี่ยมที่เรารุ้จักดีเยอะๆ
เรากลับต้องแบ่งเงินไปถือบริษัทอื่นๆด้วย

อีกอย่างมันขึ้นกับการพิจารณาเลือกหุ้นของเราด้วยครับ
อย่างถ้าผมเลือกซื้อหุ้นที่มี Margin of Safety 50%
หมายความว่า ราคาหุ้นที่ผมซื้อจะต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงประมาณ 50%
และผมจะรอให้หุ้นของผมมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเท่าตัว
โดยไม่ต้องซื้อขาย
แต่จะนานแค่ไหน ผมตอบไม่ได้
ถ้าDouble ในหนึ่งปี ผมจะได้ผลตอบแทน 100%
ถ้าDouble ในสองปี ผมจะได้ผลตอบแทน 41%
ถ้าDouble ในสามปี ผมจะได้ผลตอบแทน 26%

ถ้ามีเงิน 1 ล้านบาท
ถือหุ้น 10 ตัว
ก็ตกตัวละ 1 แสนบาท
ถ้าหุ้นตัวหนึ่งที่ผมซื้อ มูลค่าเพิ่มมาเท่าตัว
ผมก็จะได้กำไร 1 แสนบาท

ถ้าผมถือหุ้น 2 ตัว
ก็ตกตัวละ 5 แสนบาท
ถ้าหุ้นตัวหนึ่งที่ผมซื้อ มูลค่าเพิ่มมาเท่าตัว
ผมก็จะได้กำไร 5 แสนบาท

ถ้าผมถือหุ้น 1 ตัว
ก็ตกตัวละ 1 ล้านบาท
ถ้าหุ้นตัวหนึ่งที่ผมซื้อ มูลค่าเพิ่มมาเท่าตัว
ผมก็จะได้กำไร 1 ล้านบาท

ผมว่าอยู่ที่ตัวเราเองละครับ
ว่าเราต้องการผลตอบแทนเท่าไหร่
ถ้า 5 แสนบาท คือคำตอบ
ผมก็แนะนำให้ถือสองตัว

ก็มีคำถามว่า
เราจะรู้ได้อย่างไรว่า
ราคาหุ้นที่ถือจะมีมูลค่าเพิ่มเท่าตัว
อันนี้ก็ต้องขึ้นกับความรู้และประสบการณ์ของแต่ละท่านครับ
ผมตอบแทนไม่ได้
ก็ต้องทำการบ้านให้หนักครับ
และต้องมั่นใจสุดๆ แล้วก็"ตีแตก"เป็นตัวๆไป

พอดี ผมมีเงินไม่ถึงสามสิบล้าน
เลยไม่รู้ว่า รู้สึกอย่างไร
แต่สำหรับผม
มี 1 ล้าน, 10 ล้าน, 30 ล้าน, 100 ล้าน
ผมก็จะใช้หลักการเหมือนเดิมครับ
ไม่กระจายความเสี่ยง
ลงในหุ้นที่เรามั่นใจสุดๆ(เยอะๆ)

อาจารย์บัฟเฟตบอกว่า
หุ้นที่ตัดสินใจซื้อต้องกล้าถืออย่างน้อย 10% ของพอร์ต
ดังนั้น ถ้าพอร์ตใหญ่ก็ไม่น่าจะถือเกินสิบบริษัท
ถ้าพอร์ตเล็ก ผมแนะนำ สองถึงสามบริษัท ก็พอ

ท่านอื่นอาจจะเห็นต่างจากผมนะครับ
คุณMon พี่เจ๋ง พี่ปรัชญา พี่Chatchai มีความเห็นอย่างไรบ้างครับกับเรื่องนี้
nana เขียน: วิธีที่พี่ VIB007 ให้ผมไปอ่านเพื่อหามูลค่าหุ้น ผมเข้าใจนะ แต่จริงๆ ที่ผมอยากจะถามก็คือว่า เวลาตอนที่พี่ สนใจในหุ้นตัวหนึ่ง แล้วพี่มีวิธีอย่างไรในการที่จะคำนวณคร่าวๆ ขอย้ำว่าคร่าวๆ นะครับ แบบยังไม่ต้องคำนวณอย่างละเอียด ว่าหุ้นตัวที่เราสนใจมีมูลค่าต่ำ หรือสูงกว่า ราคาหุ้นในขณะนั้น
ก็ใช้สามวิธีที่ว่าหละครับ
1) Reproduction Cost of Asset
เช็คว่า มูลค่าบริษัทกับมูลค่าทรัพย์สินที่มีต่างกันเยอะหรือไม่
เงินที่จะจ่ายกับทรัพย์สินที่ได้คุ้มค่าหรือไม่
2) Earning Power Value
เช็คว่า เอาเงินไปลงทุนอย่างอื่น เช่น พันธบัตร หรืออย่างอื่นจะคุ้มกว่าหรือเปล่า
3) Discount Cashflow
เช็คว่า เงินสดที่บริษัทหาได้กับมูลค่าบริษัทต่างกันหรือเปล่า

คร่าวจริงๆนะครับ
ขอบอกอย่างนึงว่า
คนเราส่วนใหญ่จะดู "ราคาหุ้น" เป็นตัวตัดสินว่าหุ้น "ถูก หรือ แพง"
เคยได้ยินมั๊ยครับ
เช่น หุ้นราคา 10 บาท มักจะคิดกันว่า"ถูก"กว่าหุ้นราคา 100 บาท เป็นต้น
แต่จริงๆแล้ว
ราคาหุ้นถูกแพงต้องดูที่ "Market Capitalization" ของกิจการนั้นครับ

ผมซื้อหุ้นตัวละร้อย พอพี่ผมรู้บอก"แพง"ซื้อไปได้ยังไง
ส่วนตัวผมว่าไม่แพงนะ ถ้าเทียบกับมูลค่ากิจการ
ผมว่าถ้าผมมีเงินขนาดนั้น คงไม่สามารถไปสู้กับบริษัทที่ผมซื้อได้

เป็น Logic คร่าวๆครับ
รายละเอียดต้องลองศึกษาและลองปฏิบัติดู
ใจเย็นๆครับ
เป็น Value Investor ใจร้อนไม่ได้นะครับ ไม่งั้น"ขายหมู"หมดนะ จะบอกให้
ตลาดหุ้นไม่หนีเราไปไหนหรอกครับ
Mr Market มาเสนอซื้อขายของทุกวัน
ไม่ขาดสักวัน เวลาตลาดเปิดทำการ
ไว้เรามี"ความรู้" ค่อยกำเงินเข้าตลาด
อย่าเข้าไปสุ่มสี่สุ่มห้า โอกาสเจ็บตัวมีเยอะ
เสือ สิงห์ กระทิง แรด เดินเพ่นพ่านเต็มไปหมด
ทุกคนจ้องแต่จะเอา"กำไร"ทั้งนั้น
ผมว่าไม่มีใครคิดว่าตัวเองจะ"ขาดทุน"จากตลาดหุ้นหรอกครับ ร้อยทั้งร้อย
แต่ความจริงก็คือ
ในระยะยาวมีคนแค่ 10% เท่านั้นเองที่ทำกำไรจากตลาดหุ้นได้เป็นกอบเป็นกำ
อีก 10% ก็มีกำไรนิดหน่อย
ที่เหลือไม่ขาดทุน ก็เสมอตัว
มันเป็นกฏ 80/20 ของธรรมชาตินะครับ

ในตอนขาขึ้น
หาคนขาดทุนยาก เพราะมันยังไม่มี "ไม้สุดท้าย"
ผมไม่แปลกใจที่ทุกคนหน้าบานยิ้มแฉ่ง มีกำไรกันถ้วนหน้า
แต่ตอนขาลง
ก็ตัวใครตัวมัน เพราะ เมื่องานเลี้ยงเลิก ใครกลับทีหลังก็"ล้างชาม"ครับ

ดังนั้น
ถ้าจะเอาตัวรอดจากตลาดหุ้น
ถ้าไม่อาศัย"ความรู้" ก็ต้องอาศัย"สัญชาตญาน" นะครับ
ถ้าไม่มีทั้งสองอย่าง
ผมว่า เอาเงินไปทำอย่างอื่นดีกว่า

โชคดีครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 30, 2003 2:23 pm
โดย Mon money
ดังนั้นจงไม่ต้องกล้วว่าจะไปไม่ทันงานเลี้ยง แต่จงกลัวว่าจะไปผิดงานโดนเขาถีบออกมาครับ

เคยมีคนคุยกับผมว่า ผมวิเคราะห์หุ้นอย่างไร ผมบอกว่าผมไม่ได้ดูอะไรมาก เขาก็เลยสวนว่าขืนดูมากกลัวซื้อไม่ทันใช่ไหมละ ผมก็เลยหัวเราะ

ความจริงแล้วผมก็ไม่ได้ดูอะมากจริงๆ ก็ดูอย่างที่VIเขาทำกัน แต่ผมไม่ได้กล้วซื้อหุ้นไม่ทัน แต่ผมกลัวซื้อหุ้นผิดไปน่ะครับ....ช้าๆได้พล้าเล่มงามเน้อ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 30, 2003 8:16 pm
โดย kotaro
เหนื่อยแหะ กว่าจะตามอ่านจบครับ

ติดตามอ่านตลอดนะครับ พี่มน พี่วิบูลย์ และท่านอื่นๆครับ

พูดเรื่องการกระจายความเสื่ยงครับ

เห็นด้วยครับกับ พี่วิบูลย์ ถ้ามั่นใจว่าเลือกหุ้นที่ดีสุดๆได้ถูกต้อง ก็ไม่จำเป็นที่ต้องถือหลายตัว ถือตัวเดียวก็ได้ครับ

แต่หลายคนไม่เป็นอย่างนั้น คิดว่าตัวเองอาจไม่สามารถจะเลือกหุ้นดีสุดๆ ได้ตัวเดียว ก็น่าจะถือหลายตัวหน่อย แต่อย่างที่แกรแฮมบอกไว้นะครับว่า

การกระจายความเสี่ยงที่มากเพียงพอ ไม่ใช่การกระจายความเสี่ยงที่มากเกินไป

แกรแฮมแนะนำว่า นักลงทุนทั่วไปควรมีหุ้นเพียงแค่ 5 ตัวก็น่าจะเพียงพอ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 30, 2003 8:54 pm
โดย VIB007
นึกไม่ออกว่าจะพูด จะคุยเรื่องอะไรดี
เอาเป็นว่า เข้ามาทักทายแล้วกันครับ
สวัสดีทุกท่านครับ
แค่นี่หล่ะ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 30, 2003 9:46 pm
โดย +++unlog
เรียนถาม คุณวิบูลย์ หน่อยนะครับว่า
อ่านหนังสือ Security Analysis ของ Graham จบหรือยังครับ
แล้วคิดว่า จำเป็นไหม ที่จะต้องอ่าน ถามความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ

ถ้าอ่านจบแล้ว ช่วยวิจารณ์ หนังสือเล่มนี้ให้ฟังทีครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2003 10:53 am
โดย VIB007
ยังอ่านไม่จบครับ
ลำบากมากเลย
อ่านยากสุดๆ
จะพยายามอีกทีอีกครั้งเร็วๆนี้ครับ

พอดี ผมมีหนังสือหลายเล่มให้อ่านนะครับ
เลยอ่านเล่มง่ายๆก่อน

ถ้าแนะนำ
ผมแนะนำให้อ่าน
Intelligent Investor
Coomon Stock & Uncommon Profit
Warren Buffet Way
Once Up on Wall Street
ก่อน
จะง่ายกว่ากันเยอะมากๆๆๆๆๆครับ

ผ่านพวกนี้ไปได้
ค่อยลุย Security analysis ครับ
ขอเตือนด้วยความหวังดี
ไม่งั้นจะหมดกำลังใจเอาง่ายๆ

โชคดีครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2003 5:00 pm
โดย champ
พี่วิบูลย์ครับหนังสือทีพี่บอก

Intelligent Investor
Coomon Stock & Uncommon Profit
Warren Buffet Way
Once Up on Wall Street

มีแปลภาษาไทยมั้ยครับ
ผมอ่อนภาษาครับ ถ้ามีจะได้ไปหาซื้อมาอ่านครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2003 5:34 pm
โดย VIB007
Warren Buffet Way มีแปลเป็นไทยชื่อ "แกะรอยเซียนหุ้น" โดย สนพ ผู้จัดการ
น่าจะหมดจากแผงนานแล้ว เพราะพิมพ์ราวๆปี 2542
ต้องหาจากห้องสมุดนะครับ
หรือส่งตังค์ไปให้คุณมนกอปปี้ให้ก็ได้ครับ
ผมแอบเห็นแกถือไปในงานสัมนา อิ อิ

Once up on Wall Street มีแปลโดยเนชั่นบุ๊ค
พิมพ์มาสี่ห้าแล้ว
คงหมดแผงไปนาน
ขอก๊อปปี้จากพี่ปรัชญาได้ครับ น่าจะมี
เพราะพี่ปรัชญาถือเอาน้าปีเตอร์ ลินเป็นสรณะ

ส่วนอีกสองเล่ม ไม่มีแปลครับแล้วก็อ่านยากไม่ใช่เล่น
แต่ถ้ากัดฝันอ่านจบ จะรู้สึกดีอย่างไม่เคยรู้สึกมาก่อน (เวอร์จริงๆ)
ถ้าเอาอ่านง่ายก็
New Buffetology
Warren Buffet Way ครับ

ช่วงนี้
ผมอาจจะไม่ได้เข้ามาบ่อยๆเพราะต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวัน
(ไปพักผ่อนที่เกาะกลางทะเลกันสองคนให้คนแถวนี้อิจฉาเล่น อิ อิ)
กว่าจะกลับมาก็ปลายอาทิตย์หน้าโน่น
ก็ขอแรงคุณMonช่วยตอบแฟนๆแทนผมด้วยแล้วกันครับ
ใครอยากถามอะไรคุณ Mon Money เชิญที่นี่ได้เลยนะครับ

สวัสดีครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2003 8:21 pm
โดย Mon money
ผมมีทั้งสองชุดแหละครับ

ระหว่างนี้ผมบริการแทนได้ครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2003 8:38 pm
โดย wee
ขอเอี่ยวนิดนึง
FCF ส่วนใหญ่น่าจะมีข้อผิดพลาดที่เกิดจาก
1. FCF (FREE CASH FLOW) หรือกระแสเงินสดอิสระ เกิดจาก Capital budgeting หรือเป็นภาษาไทยได้ว่าการประเมินผลงานของบริษัทในอนาคตโดยประเมินออกมาเป็น งบดุลและงบบัญชีขาดทุน แล้วนำมาคำนวน FCF
2. FCF ส่วนใหญ่ทำการบวกค่าเสื่อมราคากลับเข้าไป ทำให้ในอนาคตถ้าเกิดเครื่องจักรเสียอาจทำให้บริษัทต้องเพิ่มเงินลงทุนก็จะทำให้กระแสเงินสดเพี้ยนไปครับ
ส่วนDCF ได้มาจากการหาค่าเงิน ณ เวลาปัจจุบัน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่นักลงทุนคาดหวังรวมกับดอกเบี้ยเงินกู้ในสัดส่วนที่บริษัทเป็นหนี้

ดังนั้นผมคิดว่าการคิด มูลค่าตามวิธีปรกติจะสูงกว่าความเป็นจริง

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2003 8:54 pm
โดย champ
คุณ Mon Money ครับ
รบกวนขอก๊อปปี๊หนังสือที่ว่ามาอ่านได้มั้ยครับขอเล่มแปลนะครับ
เล่มอังกฤษผมยอมแพ้นะครับ
ไม่ทราบว่าค่าก๊อปปี้ราคาเท่าไรยังไง
ผมจะได้โอนเงินไปให้ครับ
ให้รวมค่าส่งด้วยนะครับเดี๋ยวคุณมนจะขาดทุนครับ
ผมจะเอาเก็บไว้ให้ลูกชายผมด้วยครับ
ขอรบกวนหน่อยนะครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2003 11:23 pm
โดย thanez
พี่วิบูลย์กับพี่มนครับ คือผมโพสที่ข้างนอกนะครับ แต่ไม่มีใครตอบผมเลยครับ เลยอยากรบกวนพี่ตอบให้ผมหายข้องใจหน่อยครับ
"อยากทราบความหมายของ Total Debts กับ Total Liabilities ในหนังสือ Thailand company handbook นะครับสองตัวนี้ต่างกันยังไงครับ และค่า Total Debt % Equity ใช้ตัว Total Debts ใช่ไม๊ครับ ทำไมไม่ใช้ตัว Total Liabilities ละครับ"

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 03, 2003 1:15 am
โดย harry
กลับมาอ่านอีกรอบหลังจากอ่านได้ไม่กี่หน้าในคราวก่อน คราวนี้ตั้งใจจะอ่านแบบตั้งใจ แต่พอเห็น 20 หน้า ก็อ่านผ่านๆไปบ้าง ยังล่อไปชั่วโมงนึง กระทู้นี้ดีที่สุดจริงๆ อยากได้มาเจอตัวกัน พี่ๆเก่งๆทั้งนั้น ผมยังวัยรุ่นอยู่ แล้วก็เพิ่งเริ่มเล่น คงต้องศึกษาอีกมากถึงจะเริ่มลงทุน บางทีศึกษาจนรู้พอ ตลาดอาจร่วงมีของถูกเยอะก็ได้ ตอนนี้ก็เก็บเงินไปเรื่อยๆก่อน

ขอตอบอันนึงว่าถ้าจะทำเป็นหนังสือ ก็จะต้องมีคนรวบรวมก่อนครับ แล้วพอรวบรวมแล้วก็เรียบเรียงเป็นเนื้อหากี่บท กี่ตอนว่าไป เสร็จแล้วก็เอาไปส่งให้สำนักพิมพ์ครับ เค้าจะพิจารณาว่าน่าพิมพ์ขายหรือไม่ เพราะถ้าขายไม่ได้เค้าก็ไม่รับ หรือถ้ามีทุนเองก็จัดพิมพ์เองเลยครับ จากนั้นก็เค้าโปรแกรมจัดหน้าสิ่งพิมพ์ แล้วก็ส่งโรงพิมพ์ทำเพลท เข้าเครื่องพิมพ์ แล้วก็เย็บเล่ม แล้วก็ส่งไปให้สายส่งหรือตัวแทนจำหน่าย โดยปกติแล้วหนังสือราคา 100 บาทต่อเล่ม นักเขียนได้ 10 บาทต่อเล่ม สำนักพิมพ์ได้ 40-50 บาท สายส่งได้ 30-40 บาท ร้านค้าได้ 10 บาท โดยประมาณครับ

หลังจากอ่านกระทู้นี้แล้ว สงสัยผมลงทุนหุ้นสิ่งพิมพ์ดีกว่าแหะ เรียนก็เรียนมาทางนี้ ความฝันก็มีกิจการนิตยสารสิ่งพิมพ์เป็นของตัวเอง มีนิตยสารที่เราเป็นบก.เอง ตอนนี้เปลี่ยนมาซื้อหุ้นกิจการสิ่งพิมพ์ดีกว่าแหะ พี่ๆท่านอื่นจะแนะนำอะไรอีกบ้างมั้ยครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 03, 2003 1:41 pm
โดย ลูกอิสาน
ตอบคุณ thanez เท่าที่ทราบนะครับ ผิดถูกผู้รู้ทักท้วงด้วยครับ..

total debts = เป็นหนี้ที่มีค่าใช้จ่ายเป็นดอกเบี้ยครับ เป็นหนี้ที่มีต้นทุน
total liabilities = เป็นหนี้รวม ทั้งที่ไม่ต้องจ่ายดอกเบี้ย + จ่ายดอกเบี้ย

อัตราส่วน total debts/equity ใช้ดูว่ากิจการดำเินินธุรกิจโดยการก่อหนี้ เป็นสัดส่วนเท่าไหร่ต่อส่วนที่เจ้าของลงทุน หากก่อหนี้มากกว่าเงินที่เจ้าของลงทุน มากๆ จะมีความเสี่ยงมากกว่า ปกติ กิจการทั่วไป ค่านี้ไม่ควรเกิน 1 เท่า

แต่ทำไมไม่ใช้ค่า total liabilities คำนวณผมไม่ทราบเหมือนกันครับ...

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 04, 2003 7:19 pm
โดย VIB007
thanez เขียน:พี่วิบูลย์กับพี่มนครับ คือผมโพสที่ข้างนอกนะครับ แต่ไม่มีใครตอบผมเลยครับ เลยอยากรบกวนพี่ตอบให้ผมหายข้องใจหน่อยครับ
"อยากทราบความหมายของ Total Debts กับ Total Liabilities ในหนังสือ Thailand company handbook นะครับสองตัวนี้ต่างกันยังไงครับ และค่า Total Debt % Equity ใช้ตัว Total Debts ใช่ไม๊ครับ ทำไมไม่ใช้ตัว Total Liabilities ละครับ"
ขอบคุณคุณลูกอีสานที่ตอบแทนครับ
ผมขอเสริมแล้วกัน

Total Debts = Long-term Liability
Total Liabilities = Long-term Liability + Current Liability

Total Debt % Equity = Total Debt/Equity = Debt/Equity Ratio

Total Liabilities จะรวมหนี้สินหมุนเวียนเข้าไปด้วย
แต่เวลาหา Debt/Equity Ratio จะใช้แค่หนี้สินระยะยาว (Long-term Liability)เท่านั้น
เพื่อเปรียบเทียบว่ามีหนี้มากกว่าทุนหรือเปล่า
ถ้าค่านี้สูงก็ต้องระวัง แสดงว่าบริษัทนี้มีหนี้มาก

ที่ไม่ใช้ Total Liabilities เพราะหนี้สินหมุนเวียน (Current Liability) ถือว่า
เป็นส่วนหนึ่งของเงินทุนหมุนเวียน ไม่ใช่หนี้สินระยะยาว
ส่วนหนี้สินหมุนเวียน จะนำไปหักจากทรัพย์สินหมุนเวียน
กลายเป็น Working Capital ครับ
ก็เลยถือกันว่า เวลาเกิดอะไรกับบริษัทก็เอาทรัพย์สินหมุนเวียนมาโป้วกับหนี้สินหมุนเวียนได้

ดังนั้น เวลาคิด Debt/Equity Ratio
ก็ไม่จำเป็นต้องนำ Current Liability มารวมด้วย
เพราะจะคิดหนี้สินระยะยาวต่อส่วนทุนเป็นหลัก

คิดว่า คงเข้าใจมากขึ้นนะครับ
harry เขียน: หลังจากอ่านกระทู้นี้แล้ว สงสัยผมลงทุนหุ้นสิ่งพิมพ์ดีกว่าแหะ เรียนก็เรียนมาทางนี้ ความฝันก็มีกิจการนิตยสารสิ่งพิมพ์เป็นของตัวเอง มีนิตยสารที่เราเป็นบก.เอง ตอนนี้เปลี่ยนมาซื้อหุ้นกิจการสิ่งพิมพ์ดีกว่าแหะ พี่ๆท่านอื่นจะแนะนำอะไรอีกบ้างมั้ยครับ
อันนี้ต้องถามคุณMonครับ
เพราะแกถือหุ้นสิ่งพิมพ์อยู่
คงมีคำแนะนำดีๆ

ขอบคุณคุณ Wee ด้วยนะครับที่ช่วยออกความเห็นเรื่อง FCF
ผมไม่มีcommentครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 04, 2003 8:53 pm
โดย Mon money
เอาตามรากศัพย์เลยก็ยังนี้
Total Debts คือหนี้สินทั้งมวลจะสั้นจะยาวก็แล้วแต่ อันนี้มีดอกเบี้ยมาเกี่ยวข้องด้วย
Total Liabilities คือภาระผูกพัน เช่นเจ้าหนี้การค้าไม่มีดอกเบี้ยมาเกี่ยว และรายการอื่นๆ

สรุปรวมก็คือ Liabilities นี้จะรวมทั้งdebt และรายการอื่นในส่วนหนี้สินครับ

พอไหวมะ

-----------------------------------------------------------
ขอเอี่ยวนิดนึง
FCF ส่วนใหญ่น่าจะมีข้อผิดพลาดที่เกิดจาก
1. FCF (FREE CASH FLOW) หรือกระแสเงินสดอิสระ เกิดจาก Capital budgeting หรือเป็นภาษาไทยได้ว่าการประเมินผลงานของบริษัทในอนาคตโดยประเมินออกมาเป็น งบดุลและงบบัญชีขาดทุน แล้วนำมาคำนวน FCF
2. FCF ส่วนใหญ่ทำการบวกค่าเสื่อมราคากลับเข้าไป ทำให้ในอนาคตถ้าเกิดเครื่องจักรเสียอาจทำให้บริษัทต้องเพิ่มเงินลงทุนก็จะทำให้กระแสเงินสดเพี้ยนไปครับ
ส่วนDCF ได้มาจากการหาค่าเงิน ณ เวลาปัจจุบัน โดยใช้อัตราดอกเบี้ยที่นักลงทุนคาดหวังรวมกับดอกเบี้ยเงินกู้ในสัดส่วนที่บริษัทเป็นหนี้

ดังนั้นผมคิดว่าการคิด มูลค่าตามวิธีปรกติจะสูงกว่าความเป็นจริง
ไม่ได้ว่าอะไรครับ เพียงแต่จะบอกว่า Capital budgeting คืองบประมาณการลงทุนนั้นเอง บริษัทอาจแยกทำในแต่ละProjectหาว่าลงทุนแล้วจะคุ้มไหม บางทีทำแยกกันมันก็ไม่คุ้มหากเอามาคิดรวมๆกับงานเดิมที่มีอยู่แล้วก็คุ้ม หรือพากันลงเหวก็มี อันนี้บริษัทต้องไปจัดทำข้อมูลบัญชีบริหารกันเอง การทำFCFทั้งบริษัทจะทำให้เห็นภาพรวมทั้งสิ้น และจะนำไปสู่การตรวจสอบงบดุลที่ละเอียดขึ้นครับ ในการทำDCF ก็เช่นกันครับ ตัวแปรอันใหญ่หลวงคือ อัตราดอกเบี้ย แก้ได้โดยการวิเคราะห์ความอ่อนไหวของมูลค่าต่ออัตราดอกเบี้ย หรือแม้กระทั่งกับค่าเสี่ยมราคาที่กังวลกันครับ