หน้า 18 จากทั้งหมด 27

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2014 8:05 am
โดย Dech
หายไปหลายวัน วันนี้มาแนะนำเล่มนี้ครับ จำไม่ได้ว่าเล่มละกี่บาท คุ้นๆว่าไม่เกิน 100 นะครับ
ของตัวเองให้คนอื่นไปแล้ว ซื้อแจกไปหลายคนแล้ว ส่วนเล่มนี้มีคนใจดีบริจาคให้มาใหม่

เป็นประวัติหลวงพ่อปาน วัดบางนมโค อยุธยา และแทรกประวัติหลวงพ่อฤาษีลิงดำ วัดท่าซุง อุทัยธานี
หลวงพ่อฤาษีเป็นคนเล่าถึงหลวงพ่อปานซึ่งเป็นอาจารย์ของท่าน หนังสือเล่มกำลังดี อ่านสนุก

ทั้งหลวงพ่อปานและหลวงพ่อฤาษี ผมก็ไม่เคยเจอท่านเหมือนกันครับ
ส่วนหนังสือในกรุงเทพน่าจะมีขายที่ซอยสายลม
บ้านซอยสายลม (หลวงพ่อฤาษีลิงดำ) เลขที่ 9 ถ.พหลโยธิน ซอย 8 ซอยสายลม
(ระหว่างตึกชินวัตร 1 และตึกพหลโยธินเพส)
แขวงสามเสนใน เขตพญาไท กทม. 10400
เจ้าของบ้านคือท่านเจ้ากรมเสริม สุขสวัสดิ์ เป็นลูกศิษย์หลวงพ่อฤาษี ผมไม่เคยไปที่นี่ นะครับ
เคยไปที่วัดท่าซุง หลังหลวงพ่อฤาษีละสังขารไปนานแล้วครับ
หนังสือที่วัดท่าซุง มีแน่นอน เพราะเคยไปซื้อ มีหนังสือเยอะมากทั้งถูกและดีๆทั้งนั้น
เล่มละไม่กี่สิบบาท
ประวัติหลวงพ่อปาน หล ฤาษีลิงดำ_1.jpg
เล่มนี้ อ่านครั้งแรกๆ อ่านเอามันส์นะครับ เพราะเต็มไปด้วยอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์
เหมือนอ่านนิยายกำลังภายในของโก้วเล้ง มีเทพ มีมาร สนุกมากๆ แทบวางไม่ลง
หลวงพ่อฤาษีท่านเล่าสนุก ภาษาที่ใช้ก็สวยงาม บทบรรยายต่างๆ อ่านเพลินมาก

แต่พอมาอ่านครั้งหลังเนี้ย พบว่าจริงๆ แล้วในเรื่องเล่าสนุกๆ พวกนั้นมีสอนเรื่องการปฏิบัติแทรกอยู่เต็มไปหมด
และมีปริยัติ สมถและวิปัสสนาเต็มไปหมดเหมือนกัน แล้วยังมีปฏิเวธผลจากการปฏิบัติเล่าให้เราอ่านอยู่เยอะแยะ
สรุปในเล่มมีแต่เรื่องปัญญาทั้งนั้น แล้วแต่ใครจะอ่านมุมไหน ลองหามาอ่านดูนะครับ

บางคนอาจจะไม่สนใจท่าน เพราะอาจเห็นได้ยินว่าท่านขายเครื่องรางของขลัง
เห็นว่าเป็นเรื่องประหลาดอิทธิ์ฤทธิ์เครื่องรางของขลัง อะไรพวกนี้
แต่จริงๆ ท่านสอนแต่สมถและวิปัสสนาทั้งนั้น เลือกเอามุมนั้นมาดูนะครับ
เป็นอีกแนวการสอนธรรมปฏิบัติอีกทาง ที่มีคนสนใจเยอะเหมือนกันครับ เผื่อจะถูกจริตกับบางคน

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2014 8:32 am
โดย Dech
วันนี้ขอแนะนำเพิ่มอีกเล่ม จากหายไปนานและได้ต่อกันเพราะได้มาจากวัดท่าซุงเหมือนกัน เล่มนี้ก็ไม่กี่สิบบาทครับ
โดยพระมหาวีระ ถาวโร ศิษย์หลวงพ่อปาน ท่านก็คือหลวงพ่อฤาษีลิงดำ รูปเดียวกันนั้นแหละครับ

หนังสือนี้ ที่ซอยสายลมก็น่าจะมีนะครับ คิดว่านะครับ
คู่มือปฏิบัติพระกรรมฐาน หล ฤาษีลิงดำ_1.jpg
เล่มนี้เหมาะสำหรับผู้ที่อยากรู้ เรื่องการปฏิบัติ ทั้งสมถและวิปัสสนา อยากรู้หลักวิชาการปฏิบัติ
ท่านแต่งมาเป็นปริยัติไว้ให้ผู้สนใจที่อยากรู้ ทั้งสมถและวิปัสสนา เป็นปริยัติไว้ให้เราศึกษา เล่มเล็กๆ อ่านสนุก

กรรมฐาน 40 กอง แต่ละกองมีอะไรบ้าง แต่ละกองทำได้ถึงฌานไหน เหมาะกับคนแบบไหน จริตแบบไหน
ทำแล้วได้ปฏิเวธมีผลอย่างไรบ้าง ผลเกิด ฌาน ญาณ อะไรบ้าง อย่างไร
ฌาน 4 ฌาน 8 รูปฌาน อรูปฌาน คืออะไร
ปิติ นิมิต เป็นอย่างไร เกิดแล้วต้องทำอะไรต่อ
สมาธิเป็นอย่างไร ขณิกสมาธิ อุปจารสมาธิ อัปปนาสมาธิ คืออะไร
วิปัสสนาญาณ ๙ มีอะไรบ้าง ทำอย่างไร ทำอย่างไรไม่ให้ติดในกิเลสของการปฏิบัติที่เรียกว่า วิปัสสนูปกิเลส 10
สังโยชน์ 10 มีไว้ทำไม

วิปัสสนา ทำอย่างไรกันแน่ ผู้ฉลาดท่านบอกว่า กรรมฐาน 40 กอง สุดท้ายก็เอามาทำวิปัสสนาได้ทั้งหมดทุกกอง
จะปฏิบัติให้ได้พระอรหันต์แบบสุกขวิปัสสโก แบบเตวิชโช แบบฉฬภิญโญ แบบปฏิสัมภิทัปปัตโต ทำอย่างไร

เล่มนี้ หลวงพ่อท่านเล่าไว้ทั้งหมด ท่านย่อไว้ให้หมดอยู่ในเล่มนี้เล่มเดียว เล่มบางๆ เล็กๆ ตัวหนังสือก็พิมพ์ตัวใหญ่ อ่านง่ายมาก
เด็กอ่านได้ ผู้ใหญ่อ่านดี คนแก่ก็อ่านได้ โดยไม่ต้องเอาแว่นมาใส่

ถ้าใครอ่านแล้วไม่มันส์ ยังอยากอ่านอีก ยังไม่อยากปฏิบัติ ชอบอ่านแต่ตำรา ทั้งแบบวิชาการแบบเล่มนี้หรือแบบนิทานก่อนนอน
ก็ไปหาเล่มอื่นๆ ของท่านมาอ่านต่อได้ อีกมีเยอะครับ แต่จริงๆ เล่มนี้เล่มเดียวก็พอแล้วครับ

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 06, 2014 8:02 am
โดย Dech
สวัสดีครับ แนะนำครูบาอาจารย์ที่ท่านละไปแล้วทั้งนั้น
หลายคนอาจถาม ไม่มีครูบาอาจารย์ตัวเป็นๆ ให้ถาม หลงเหลืออยู่เลยหรือไง

วันนี้จึงขออนุญาตแนะนำเล่มนี้ เป็นการแนะนำครูบาอาจารย์ไปด้วย
หลวงพ่ออัครเดช ถิรจิตฺโต หรือที่เรารู้จักว่า หลวงพ่อตั๋น
วัดบุญญาวาส ต.บ่อทอง อ.บ่อทอง จ.ชลบุรี

ท่านเป็นลูกศิษย์พระพุทธเจ้าในสายปฏิบัติของ
หลวงปู่มั่น ภูริทัตโตและหลวงพ่อชา สุภัทโท

ท่านเป็นครูบาอาจารย์ที่เราเข้าถึงได้ง่าย ไปสอบถามวิธีการปฏิบัติและข้อสงสัยต่างๆ ได้
เท่าที่ทราบไปพบท่านได้เกือบทุกวันเพราะท่านไม่ค่อยมีกิจนิมนต์นอกวัดหรือถ้ามีก็อาจไปหาหมอบ้าง
เดินทางจากกรุงเทพฯ ก็ไม่ไกล ออกจากกรุงเทพเช้าๆ ก็ไปถวายเช้า ท่านได้
แล้วก็รอท่านฉันเสร็จ ท่านก็ให้เราสอบถามปัญหาธรรมได้
ถามตอบปัญหาธรรม 1 ลพ ตั๋น 1.jpg
รายละเอียดหนังสือ download ได้เลย http://www.watboonyawad.com/new/books/p ... -small.pdf
เล่มบางๆ เล็กๆ เป็นรวมคำถามตอบ ที่ผู้เริ่มปฏิบัติใหม่ๆ สงสัยและถามกันบ่อยๆ มี 3 หมวด
1. การเตรียมพร้อมในการปฏิบัติธรรม
2. การปฏิบัติสมถะและวิปัสสนา
3. เบ็ดเตล็ด

สรุปสั้นๆ ก็เช่น ใช้สมาธินำปัญญา หรือปัญญานำสมาธิ ทำอย่างไร
วุ่นวายอยู่แต่ทางโลก ทำสมถะไม่ได้จริงหรือไม่
วิปัสสนากรรมฐานทำอย่างไร
ไม่สามารถละโลกมาบวชได้ อยากได้ธรรมะบ้าง กรรมฐานอะไรเหมาะสมบ้าง
และอื่นๆ อีกเยอะ

ท่านรวบรวมไว้ จะได้ไม่ต้องถามท่านบ่อยๆ จะได้ถามน้อยๆ ปฏิบัติเยอะๆ
เพราะสุขภาพหลวงพ่อท่านก็เป็นไปตามอายุ
หรือเมื่อปฏิบัติแล้ว พอมีถามคำถาม จะได้มีจากการปฏิบัติที่ยากๆ บ้าง

รายละเอียดวัด http://www.watboonyawad.com และมีหนังสือและธรรมอื่นๆ ให้ download ได้ครับ
หรือใครจะไปอยู่วัดเพื่ออยู่ปฏิบัติภาวนา ที่วัดก็มีสถานที่ให้พักได้ครับ

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 11, 2014 9:00 am
โดย Dech
วันนี้มาแนะนำครูบาอาจารย์อีกรูป แถวชลบุรี แนะนำเล่มนี้ครับ 85 บาท
หาซื้อได้ตามร้านหนังสือทั่วไป
ปกติหนังสือท่านเขาพิมพ์แจกฟรีอยู่แล้ว แต่พอแจกฟรีแล้วไม่ค่อยเห็นคุณค่าเลยขายครับ
85 บาทคุ้มมาก หนังสือใช้กระดาษสีอาบมันพิมพ์อย่างดีไม่รู้พอค่าพิมพ์หรือเปล่า แจก CD อีกแผ่นด้วย
ส่วนพุทธคุณก็อยู่ในหนังสือแล้วครับ อ่านเอาดูเลย
หนังสือของท่านส่วนใหญ่ ลูกศิษย์เป็นคนรวบรวมคำเทศน์สอนท่านมารวบรวมเป็นหมวดเอาไว้
เล่มนี้ก็เหมือนกัน เริ่มแต่เริ่มต้นจากธรรมง่ายไปจนสุดท้าย มีครบทั้งหมด แนะนำอย่างยิ่งเล่มหนึ่ง

เล่มนี้ครับ
RoadMap ลพ ปราโมทย์.jpg
หลวงพ่อปราโมทย์ ปาโมชฺโช วัดสวนสันติธรรม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี
รายละเอียดดูใน web http://www.dhamma.com/
สามารถไปสอบถามปัญหาปฏิบัติได้ที่วัดนะครับ แต่ลูกศิษย์ท่านเยอะหน่อย
ถ้าใครอยากใกล้ชิด หลวงพ่อตั๋นจะใกล้ชิดกว่าครับ

หรือถ้าไม่อยากไปถึงชลบุรี ที่กรุงเทพท่านก็มาบ่อยๆ อย่างน้อยวันอาทิตย์ที่ 3 ของแต่ละเดือน
เดือนละ 1 ครั้ง ท่านมาเทศน์ที่ศาลาลุงชิน ซอยแจ้งวัฒนะ 14 ที่นี่ก็สอบถามได้
และก็มีหนังสือและ cd แจกเหมือนกันครับ ไม่ต้องซื้อก็ได้ครับ
แต่บางเดือนท่านก็ไม่ได้มานะครับ check ก่อนอีกทีนะครับ

หลวงพ่อปราโมทย์ ท่านเป็นลูกศิษย์ ครูบาอาจารย์วัดป่าหลายรูป
แต่ที่ท่านพูดถึงบ่อยสุดคือ หลวงปู่ดูลย์ อตุโล วัดบูรพาราม จ.สุรินทร์ ศิษย์รุ่นแรกๆ ของหลวงปู่มั่น
หลวงพ่อท่านจะสอนหลายอย่าง แต่ส่วนใหญ่ท่านจะให้พิจารณาจิตในจิต
ลองอ่านและปฏิบัติดูนะครับ

----------------------------------------------
ปล. หลายท่านถามว่าแนะนำหนังสือเยอะจัง อ่านหมดแล้วหรือ ต้องบอกว่าอ่านไม่หมดครับ
บางเล่มก็อ่านผ่านๆ บางเล่มก็ scan ดู มีเพียงบางเล่มที่อ่านจบ แต่เห็นเองว่าดีจึงมาแนะนำครับ

อ่านหมดก็ใช่ว่าจะจำได้หรือจะทำได้นะครับ ครูบาอาจารย์ท่านให้เน้นปฏิบัติเอาเลยนะครับ ไม่ต้องอ่านเลยก็ได้
ที่มาแนะนำก็เป็นการแลกเปลี่ยนกันมากกว่าครับ

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 11, 2014 12:59 pm
โดย cobain_vi
เห็นคุณ dech แนะนำหนังสืออยู่คนเดียว ทนไม่ไหวเลยต้องขอมาแนะนำบ้างครับ(ช่วยๆกัน) :B
ผมขอแนะนำหนังสือของฆราวาสแต่ง ที่อยู่ในดวงใจ(มีแค่2เล่มครับ)
1 ดูจิตปีแรก เขียนโดย สันตินันท์(นามแฝงของหลวงพ่อปราโมทย์ ปราโมชโช)ก่อนที่ท่านจะบวชนะครับ หนังสือแนะนำและปูพื้นฐานการเจริญจิตตานุปัสสนา ซึ่งผมชอบมากๆเลย
2 จิตเป็นอมตะ ลุงหวีด บัวเผื่อน เล่มนี้คนในวงการการภาวนายกนิ้วให้เลยครับ สุดยอดมากๆ ในเล่มเป็นการเล่าถึงการปฏิบัติของลุงหวีดตั้งแต่ขั้นพื้นฐานจนถึงขั้นสุดยอด มีแต่เนื้อๆเน้นๆไม่มีน้ำ น่าเสียดายที่ลุงหวีดได้ละสังขารไปแล้ว (เล่มนี้เป็นการรวบรวมคำพูดของลุงหวีดแล้วเอามาทำเป็นหนังสือของหมอท่านนึง)ไม่อย่างนั้นคงต้องไปกราบท่านที่บ้านเลย :B

ลิ้งค์ดาวน์โหลดครับ
http://www.jitsabuy.com/books/category/ ... 48-35.html

http://www.jitsabuy.com/books/category/ ... 50-04.html

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 16, 2014 2:17 pm
โดย tanoppan
มันไม่มีอะไรที่จะเป็นไป
ตามที่ฉันต้องการหรอก
มันเป็นไป
ตามเหตุปัจจัยของมัน ตามธรรมชาติ
ก็เลยได้เป็นทุกข์กันเพราะเหตุนี้


- พุทธทาสภิกขุ -
https://www.facebook.com/ThanPhuththThasPhikkhuSwnMokkh

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 16, 2014 4:19 pm
โดย tum_H
ขอแนะนำมั่งครับ
หนังสือเล่มแรก ที่ทำให้ความคิดของผมเปลี่ยน จากที่เคยไม่รู้ ก็ได้รู้
เป็นหนังสือ ที่ทำให้ผมรู้ว่า บุญที่ยิ่งใหญ่นั้นคืออะไร ครับ

วิธีการสร้างบุญบารมี
(สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช)


หากไม่มีหนังสือเล่มนี้ ผมคงยังงมโข่งอยู่เลยครับ
เป็นพื้นฐานง่ายๆ ที่เราควรรู้ แต่ก้ไม่ได้รู้ครับ


:D

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 18, 2014 8:18 am
โดย Dech
วันนี้ขอแนะนำครูบาอาจารย์อีกรูป แถบชลบุรี แต่ท่านละสังขารไปแล้วนะครับ ไม่กี่ปีนี่เอง
ผมไม่เคยได้ไปกราบท่าน รู้จักท่านตามตัวหนังสือเท่านั้น
อ่านแล้วจะรู้ว่าว่าท่านไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง
ให้รู้ว่าพระดีนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นวัดป่าก็ได้ วัดบ้านๆ แต่ท่านดีจริงๆ ก็มีเยอะแยะ

ท่านบอกว่าท่านไม่ใช่พระธรรมยุตและก็ไม่ใช่พระมหานิกาย ท่านเป็นพระลูกศิษย์พระพุทธเจ้า แค่นั้นเอง
ท่านไม่สนใจเครื่องรางของขลัง สอนแต่การปฏิบัติเท่านั้น สอนให้ทุกคนไปที่สุดของทุกข์เท่านั้น

เล่มนี้ฟรี ไม่มีราคาได้มาจากการไปร่วมพิมพ์หนังสือเล่มนี้กับพี่คนที่แต่งนั้นแหละครับ ซึ่งก็ไม่เคยเจอกันหรอกครับ รู้จักกันผ่านตัวอักษรนี่แหละ
เล่มนี้เป็นเรื่องราวที่ลูกศิษย์คนเขียนนั้นแหละครับ เล่าเรื่องเกี่ยวกับท่านและพระลูกศิษย์ใกล้ชิดของท่านอีกรูป
อ่านสนุกๆ เพลินดี และได้ธรรมะ ได้รู้จักพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

หนังสือที่วัดน่าจะมีแจกครับ ใครไปเที่ยวเกาะสีชัง ก็แวะไปกราบท่านได้ หรือจะแวะคุย ปฏิบัติกับพระหรือลูกศิษย์ในวัดเอานะครับ
นอกจากไปเที่ยวสนุกบนเกาะแล้ว ก็ได้ธรรมกลับบ้านสักหน่อยก็ยังดีครับ
คุยกันฉันท์ธรรม ลพ ประสิทธิ์_1.jpg
หลวงพ่อ ประสิทธิ์ ถาวโร วัดถ้ำยายปริก อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
รายละเอียดเพิ่มเติมของท่าน เชิญที่ http://www.watthamyaiprig.com/

http://www.watthamyaiprig.com/index.php ... =539217663
ประวัติท่านย่อๆ ทำงาน มีร้านค้า มีครอบครัว มีลูกเมีย ฆ่าคน ติดคุก ปฏิบัติธรรมในคุก ออกมาทำงาน เบื่อโลก บวชทำที่สุดแห่งทุกข์
สร้างวัด ทั้งๆ ที่คนแถววัดบางคน ก็ไม่ชอบท่านเลย จึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายท่าน

ใครไปเที่ยวเกาะสีชัง ก็ลองแวะไปวัดท่านดูหน่อยนะครับ
หรือใครจะอยู่อีสาน ก็ไปกราบลูกศิษย์ท่านอีกรูปที่พี่คนแต่งพูดถึงด้วย
เมื่อหลวงพ่อละสังขารแล้ว ท่านได้ออกจากวัดมา พอดีโยมพ่อแม่ถวายที่ดิน
ท่านจึงสร้างวัดใหม่ เพื่อโปรดโยมพ่อแม่ของท่าน ที่ขอนแก่น

http://www.wiweksikkaram.org ดูได้ที่นี่ครับ
พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ
สถานปฏิบัติธรรมป่าวิเวกสิกขาราม ๕๕ หมู่๑๑ ต.เก่างิ้ว อ.พล จ.ขอนแก่น

รูปนี้ก่อนบวช ท่านเป็นนายแพทย์ เป็นถึง ผอ.โรงพยาบาล ทำไมมาออกบวช อยู่ปฏิบัติอยู่ดูแลพระที่เคยฆ่าคนตายด้วย
รูปนี้ผมก็ไม่เคยเจอท่านนะครับ ท่านยังอยู่ ไปพูดคุยสนทนาธรรมกับท่านได้ครับ

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 18, 2014 10:17 pm
โดย cobain_vi
Dech เขียน:วันนี้ขอแนะนำครูบาอาจารย์อีกรูป แถบชลบุรี แต่ท่านละสังขารไปแล้วนะครับ ไม่กี่ปีนี่เอง
ผมไม่เคยได้ไปกราบท่าน รู้จักท่านตามตัวหนังสือเท่านั้น
อ่านแล้วจะรู้ว่าว่าท่านไม่ธรรมดาอย่างยิ่ง
ให้รู้ว่าพระดีนั้น ไม่จำเป็นต้องเป็นวัดป่าก็ได้ วัดบ้านๆ แต่ท่านดีจริงๆ ก็มีเยอะแยะ

ท่านบอกว่าท่านไม่ใช่พระธรรมยุตและก็ไม่ใช่พระมหานิกาย ท่านเป็นพระลูกศิษย์พระพุทธเจ้า แค่นั้นเอง
ท่านไม่สนใจเครื่องรางของขลัง สอนแต่การปฏิบัติเท่านั้น สอนให้ทุกคนไปที่สุดของทุกข์เท่านั้น

เล่มนี้ฟรี ไม่มีราคาได้มาจากการไปร่วมพิมพ์หนังสือเล่มนี้กับพี่คนที่แต่งนั้นแหละครับ ซึ่งก็ไม่เคยเจอกันหรอกครับ รู้จักกันผ่านตัวอักษรนี่แหละ
เล่มนี้เป็นเรื่องราวที่ลูกศิษย์คนเขียนนั้นแหละครับ เล่าเรื่องเกี่ยวกับท่านและพระลูกศิษย์ใกล้ชิดของท่านอีกรูป
อ่านสนุกๆ เพลินดี และได้ธรรมะ ได้รู้จักพระปฏิบัติดีปฏิบัติชอบ

หนังสือที่วัดน่าจะมีแจกครับ ใครไปเที่ยวเกาะสีชัง ก็แวะไปกราบท่านได้ หรือจะแวะคุย ปฏิบัติกับพระหรือลูกศิษย์ในวัดเอานะครับ
นอกจากไปเที่ยวสนุกบนเกาะแล้ว ก็ได้ธรรมกลับบ้านสักหน่อยก็ยังดีครับ
คุยกันฉันท์ธรรม ลพ ประสิทธิ์_1.jpg
หลวงพ่อ ประสิทธิ์ ถาวโร วัดถ้ำยายปริก อ.เกาะสีชัง จ.ชลบุรี
รายละเอียดเพิ่มเติมของท่าน เชิญที่ http://www.watthamyaiprig.com/

http://www.watthamyaiprig.com/index.php ... =539217663
ประวัติท่านย่อๆ ทำงาน มีร้านค้า มีครอบครัว มีลูกเมีย ฆ่าคน ติดคุก ปฏิบัติธรรมในคุก ออกมาทำงาน เบื่อโลก บวชทำที่สุดแห่งทุกข์
สร้างวัด ทั้งๆ ที่คนแถววัดบางคน ก็ไม่ชอบท่านเลย จึงขั้นลงไม้ลงมือทำร้ายร่างกายท่าน

ใครไปเที่ยวเกาะสีชัง ก็ลองแวะไปวัดท่านดูหน่อยนะครับ
หรือใครจะอยู่อีสาน ก็ไปกราบลูกศิษย์ท่านอีกรูปที่พี่คนแต่งพูดถึงด้วย
เมื่อหลวงพ่อละสังขารแล้ว ท่านได้ออกจากวัดมา พอดีโยมพ่อแม่ถวายที่ดิน
ท่านจึงสร้างวัดใหม่ เพื่อโปรดโยมพ่อแม่ของท่าน ที่ขอนแก่น

http://www.wiweksikkaram.org ดูได้ที่นี่ครับ

พระอาจารย์วิชัย กัมมสุทโธ
สถานปฏิบัติธรรมป่าวิเวกสิกขาราม ๕๕ หมู่๑๑ ต.เก่างิ้ว อ.พล จ.ขอนแก่น

รูปนี้ก่อนบวช ท่านเป็นนายแพทย์ เป็นถึง ผอ.โรงพยาบาล ทำไมมาออกบวช อยู่ปฏิบัติอยู่ดูแลพระที่เคยฆ่าคนตายด้วย
รูปนี้ผมก็ไม่เคยเจอท่านนะครับ ท่านยังอยู่ ไปพูดคุยสนทนาธรรมกับท่านได้ครับ
ผมเคยไปกราบท่านเมื่อตอนปี2549ครับ ท่านชอบพูดตลกมาก มีอยู่คำนึงที่จำได้ไม่ลืมเลย
(โยนหนังสือให้)แล้วพูดว่า "เอาไปอ่าน อ่านแล้วอย่าไปยุ่งกับใคร" ฮา

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 19, 2014 9:04 am
โดย tanoppan
ผมเคยไปกราบท่านเมื่อตอนปี2549ครับ ท่านชอบพูดตลกมาก มีอยู่คำนึงที่จำได้ไม่ลืมเลย
(โยนหนังสือให้)แล้วพูดว่า "เอาไปอ่าน อ่านแล้วอย่าไปยุ่งกับใคร" ฮา

(โยนหนังสือให้) อยากดู :arrow: หนังปก หนังสือเล่มนี้จัง :!:

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 24, 2014 7:56 am
โดย Dech
วันนี้ขอแนะนำหนังสือเล่มนี้ครับ สัมมาทิฏฐิ ของหลวงพ่อทูล ขิปฺปปญฺโญ
วัดป่าบ้านค้อ ต.เขือน้ำ อ.บ้านผือ จ.อุดรธานี

ความเห็นชอบคือจุดเริ่มต้นของทุกสิ่ง ที่นำไปสู่ความถูกต้องและเป็นสุข

ท่านบวชที่วัดโพธิสมภรณ์ มีพระธรรมเจดีย์(จูม พันฺธุโล) เป็นพระอุปัชฌาย์
(ถ้าสังเกตุดู ลูกศิษย์สายหลวงปู่มั่น นี่มี หลวงปู่จูม บวชให้เยอะมากๆ)
หลังจากนั้นก็ไปฝากตัวเป็นศิษย์ หลวงปู่ขาว อนาลโย วัดถ้ำกลองเพล อ.เมือง จ.หนองบัวลำภู
สัมมาทิฏฐิ ลพ ทูล_1.jpg
หนังสือเล่มนี้ผมได้มาฟรี เพราะเขาพิมพ์แจกในงานพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อ
ไม่รู้ได้รับแจกมาจากไหน จำไม่ได้
ผมไม่ได้ไปงานหรอกครับ ไม่เคยเจอท่านด้วย ไม่เคยไปวัดท่าน รู้จักท่านตอนที่ท่านละไปแล้ว

หนังสือเล่มนี้ถ้าใครสนใจ ผมเคยเห็นที่ร้านนายอินทร์ มีขายนะครับ
ปกเป็นอีกแบบหนึ่งน่าจะราคา 100-200 หรือ 200 กว่าบาทเนี้ยครับ
โฆษณาให้เขาหน่อย เพราะเล่มที่ถืออยู่นี้ เขาก็พิมพ์แจกมาให้ครับ

ท่านเป็นพระป่าที่เน้นสอนหรือปัญญาเป็นอย่างมาก ถ้าใครอยากรู้ เรื่อง ปัญญาหนุนสมาธิ หรือ สมาธิหนุนปัญญา
ท่านอธิบายไว้เยอะมากครับ ผมเข้าใจเอาเองว่า ส่วนใหญ่จะเน้นไปเรื่องปัญญาหนุนสมาธิด้วยซ้ำ
ดังนั้น น่าจะเหมาะกับคนส่วนใหญ่ในที่นี่ครับ หรือคนในยุคนี้ ที่ไม่ค่อยมีความเพียรในการทำสมาธิก่อน

ท่านจะอธิบายเรื่อง เจโตวิมุติและปัญญาวิมุติ ในแง่ต่างๆ อีกเยอะครับ ลองหามาอ่านดูนะครับ
เพิ่มเติมไปติดตามได้ที่นี่ครับ
http://www.watpabankoh.com/bookandsound.html

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 24, 2014 10:05 pm
โดย cobain_vi
tanoppan เขียน:ผมเคยไปกราบท่านเมื่อตอนปี2549ครับ ท่านชอบพูดตลกมาก มีอยู่คำนึงที่จำได้ไม่ลืมเลย
(โยนหนังสือให้)แล้วพูดว่า "เอาไปอ่าน อ่านแล้วอย่าไปยุ่งกับใคร" ฮา

(โยนหนังสือให้) อยากดู :arrow: หนังปก หนังสือเล่มนี้จัง :!:

:D

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 25, 2014 8:51 am
โดย Dech
เดาในใจไว้ว่าเล่มนี้ ใช่จริงด้วย เพราะเคยฟัง cd หลวงพ่อ ท่านพูดถึงบ่อย แต่ไม่เคยอ่านเหมือนกัน

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 25, 2014 4:08 pm
โดย tanoppan
ขอบคุณค่ะ

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ธ.ค. 13, 2014 10:26 am
โดย Dech
หนังสือเล่มนี้พี่ cobain_vi แนะนำไว้ ขอมาแนะนำใหม่ครับ และแนะนำหลวงพ่อด้วยเผื่อคนที่ยังไม่รู้จักท่าน

เราเข้า web นี้ก็เพื่ออยากเป็นมหาเศรษฐีกัน เราอยากเป็นกันชาตินี้ บางคนก็เป็นได้บางคนก็เป็นไม่ได้
แล้วชาติหน้าก็ไม่รู้ว่าจะเป็นตัวอะไรเลย

เล่มนี้ท่านให้เป็นมหาเศรษฐีที่แท้จริง แล้วเป็นได้กันทุกคน เป็นกันชาติเดียว จบเลย น่าสนใจกว่ามั้ยครับ
มหาเศรษฐีที่แท้จริง ลพ สุชาติ อภิชาโต.jpg
ใกล้ปีใหม่แล้ว เพื่อใครไปพักผ่อนแถว พัทยา สัตหีบ จะได้แวะไปทำบุญกับท่านครับ
หลวงพ่อสุชาติ อภิชาโต ท่านอยู่วัดญาณสังวราราม ชลบุรี
ผมว่าเกือบทุกคนที่ไปพัทยา สัตหีบ ต้องเคยไปวัดนี้ แต่ไปเดินเที่ยวเล่นทั่วไป
ไปครั้งหน้าแวะไปเอาธรรมะกลับมาด้วยนะครับ

หลวงพ่อ ท่านเป็นลูกศิษย์รุ่นใหญ่ของหลวงตามหาบัว บวชกับสมเด็จพระสังฆราช
บวชเสร็จก็ไปอยู่ที่วัดป่าบ้านตาดหลายปี จนกลับมาอยู่วัดญาณตั้งแต่ปี 27

ท่านเป็นนักเรียนนอก จบวิศวกรจากอเมริกา มาเมื่อ 40 ปีก่อน
ท่านเริ่มสนใจธรรมะครั้งแรกจากการอ่านหนังสือธรรมะที่เป็นภาษาอังกฤษ สมัยเรียนจบใหม่ๆ 40 ปีก่อนนะครับ
อ่านหนังสือแล้วก็เริ่มปฏิบัติเอง จนตัดสินใจบวช

ในเล่มเป็นประวัติของท่านและมีสอนเรื่องการเป็นมหาเศรษฐีนี้แหละครับ ลองอ่านดูนะครับ อ่านสนุกเพลินดี
อ่านเสร็จแล้ว เผื่อสนใจในธรรมมากขึ้นครับ

download ได้ที่ http://www.kammatthana.com/super%20rich.pdf

ท่านจำวัดอยู่บนเขาชีโอน ไปฟังธรรมท่านได้นะครับ ทุกวันพระและเสาร์อาทิตย์ หรือวันหยุดสำคัญต่างๆ

ข้อมูลเพิ่มเติมของท่าน http://phrasuchart.com/
facebook https://www.facebook.com/Abhijato

ขอให้เป็นเศรษฐีในชาตินี้กันทุกคนนะครับ

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 16, 2014 8:46 am
โดย Dech
ช่วงนี้มีเหตุการณ์หลายอย่าง
ได้กลับมาพิจารณาอีกครั้งว่า จริงแล้ว ไม่มีอะไรเป็นที่พึ่งที่ระลึกให้เราได้จริง

มีแต่

พุทฺธํ สรณํ คจฺฉามิ พระพุทธเจ้า เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ของข้าพเจ้า
ธมฺมํ สรณํ คจฺฉามิ พระธรรมเจ้า เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ของข้าพเจ้า
สงฺฆํ สรณํ คจฺฉามิ พระสังฆเจ้า เป็นที่พึ่ง ที่ระลึก ของข้าพเจ้า

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 29, 2014 6:42 am
โดย imerlot
กายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย
................................
(1)
ดูก่อนคฤหบดี
เพราะเหตุนั้นแหละ ท่านพึงศึกษาอย่างนี้ว่า
เมื่อเรามีกายกระสับกระส่ายอยู่ จิตของเราจักไม่กระสับกระส่าย
ดูก่อนคฤหบดี ท่านพึงศึกษาอย่างนี้แล
ข้าแต่ท่านผู้เจริญ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงหลั่งอมฤต-
ธรรมรดข้าพเจ้าด้วยธรรมีกถาอย่างนี้แล.
(พระผู้มีพระภาคเจ้า/คฤหบดีชื่อนกุลบิดา/นกุลปิตุสูตร)

http://www.tripitaka91.com/91book/book27/001_050.htm

.....
(2)
(ท่านพระสารีบุตร/คฤหบดีชื่อนกุลบิดา/นกุลปิตุสูตร)
ส. ดูก่อนคฤหบดี ก็ท่านมิได้ทูลสอบถามพระผู้มีพระภาคเจ้า
ต่อไปว่า พระเจ้าข้า ด้วยเหตุเท่าไรหนอ บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย
กระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย และก็ด้วยเหตุเท่าไรเล่า
บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.
น. ข้าแต่ท่านผู้เจริญ ข้าพเจ้ามาแม้แต่ที่ไกล เพื่อจะทราบเนื้อ
ความแห่งภาษิตนั้นในสำนักท่านพระสารีบุตร ดีละหนอ ขอเนื้อความ
แห่งภาษิตนั้นจงแจ่มแจ้งกะท่านพระสารีบุตรเถิด.
ส. ดูก่อนคฤหบดี ถ้าเช่นนั้น ท่านจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว.

***


(3)
นกุลปิตุคฤหบดีรับคำท่านพระสารีบุตรแล้ว ท่านพระสารีบุตร
จึงได้กล่าวว่า

สักกายทิฏฐิ ๒๐

[๔] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลจึงชื่อว่าเป็นผู้มีกาย
กระสับกระส่ายด้วย
จึงชื่อว่าเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายด้วย ดูก่อน
คฤหบดี คือ ปุถุชนในโลกนี้ผู้มีได้สดับแล้ว มิได้เห็นพระอริยะทั้งหลาย
ไม่ฉลาดในธรรมของพระอริยะ มิได้รับแนะนำในอริยธรรม มิได้เห็น
สัตบุรุษทั้งหลาย ไม่ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ มิได้รับแนะนำใน
สัปปุริสธรรม ย่อมเห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีรูป ๑ ย่อม
เห็นรูปในตน ๑ ย่อมเห็นตนในรูป ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นรูป รูปของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นรูป
รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูปแปรปรวน
เป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น
ย่อมเห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมเห็นตนมีเวทนา ๑ ย่อมเห็น
เวทนาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในเวทนา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น
เวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ
เวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสัญญา โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมี
สัญญา ๑ ย่อมเห็นสัญญาในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสัญญา ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่
ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วย

(พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 5)

ความยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวน
เป็นอย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นสังขารโดยความเป็นคน ๑
ย่อมเห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมเห็นสังขารในตน ๑ ย่อมเห็นตนในสังขาร ๑
เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา เมื่อเขา
ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อม
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะสังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงเกิดขึ้น ย่อมเห็นวิญญาณ
โดยความเป็นคน ๑ ย่อมเห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมเห็นวิญญาณในตน ๑
ย่อมเห็นตนในวิญญาณ ๑ เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น
วิญญาณ วิญญาณของเรา เมื่อเขาตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น
วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส
และอุปายาสจึงเกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี ด้วยเหตุอย่างนี้แล บุคคลจึงชื่อว่า
เป็นผู้มีกายกระสับกระส่าย และเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่าย.


[๕] ดูก่อนคฤหบดี ก็อย่างไรเล่า บุคคลแม้เป็นผู้มีกายกระสับ
กระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่ ดูก่อนคฤหบดี คือ อริยสาวก
ในธรรมวินัยนี้ ผู้ได้สดับแล้ว ผู้เห็นพระอริยะทั้งหลาย ผู้ฉลาดในธรรม
ของพระอริยะ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในอริยะธรรม ผู้เห็นสัตบุรุษทั้งหลาย
ผู้ฉลาดในธรรมของสัตบุรุษ ผู้ได้รับแนะนำดีแล้วในสัปปุริสธรรม
ย่อมไม่เห็นรูปโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีรูป ๑ ย่อมไม่เห็นรูป
ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในรูป ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นรูป รูปของเรา
เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 6

เราเป็นรูป รูปของเรา รูปนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะรูป
แปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส
จึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นเวทนาโดยความเป็นตน ๑
ย่อมไม่เห็นตนมี
เวทนา ๑ ย่อมไม่เห็นเวทนาในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในเวทนา ๑ ไม่เป็น
ผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา
เมื่ออริยสาวก
นั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นเวทนา เวทนาของเรา เวทนานั้น
ย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะเวทนาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป
โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็น
สัญญาโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสัญญา ๑ ย่อมไม่เห็นสัญญา
ในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนในสัญญา ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า
เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา
เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความ
ยึดมั่นว่า เราเป็นสัญญา สัญญาของเรา สัญญานั้นย่อมแปรปรวนเป็น
อย่างอื่นไป เพราะสัญญาแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ
ทุกข์ โทมนัสและอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นสังขารโดยความ
เป็นตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนมีสังขาร ๑ ย่อมไม่เห็นสังขารในตน ๑ ย่อมไม่
เห็นตนในสังขาร ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นสังขาร
สังขารของเรา
เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น
สังขาร สังขารของเรา สังขารนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป เพราะ
สังขารแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและ
อุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ย่อมไม่เห็นวิญญาณโดยความเป็นตน ๑ ย่อมไม่
เห็นตนมีวิญญาณ ๑ ย่อมไม่เห็นวิญญาณในตน ๑ ย่อมไม่เห็นตนใน
วิญญาณ ๑ ไม่เป็นผู้ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็นวิญญาณ
วิญญาณของเรา
เมื่ออริยสาวกนั้นไม่ตั้งอยู่ด้วยความยึดมั่นว่า เราเป็น
วิญญาณ วิญญาณของเรา วิญญาณนั้นย่อมแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป

พระสุตตันตปิฎก สังยุตตนิกาย ขันธวารวรรค เล่ม ๓ - หน้าที่ 7

เพราะวิญญาณแปรปรวนเป็นอย่างอื่นไป โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส

และอุปายาสจึงไม่เกิดขึ้น ดูก่อนคฤหบดี อย่างนี้แลบุคคลแม้มีกาย
กระสับกระส่าย แต่หาเป็นผู้มีจิตกระสับกระส่ายไม่.


ท่านพระสารีบุตรได้กล่าวคำนี้แล้ว นกุลปิตุคฤหบดีชื่นชมยินดี

ภาษิตของท่านพระสารีบุตร ฉะนี้แล.

จบ นกุลปิตุสูตรที่ ๑/นกุลปิตุสูตร)

~~~~















:arrow: :arrow: :arrow:
(4)
ส่วนในหมวดสัมปชัญญะบรรพ ได้แก่ การพิจารณาเวลารับประทานอาหาร ว่ารับประทานเพราะอะไร ไม่ใช่เพราะอยากรับประทาน หรืออยากอร่อย ต้องพิจารณาว่า เพื่อให้กายนี้ดำรงอยู่ได้จะให้กายดำรงอยู่เพื่ออะไร ก็เพื่อจะได้เป็นที่อาศัยทำกิจ คือ การทำพระนิพพานให้แจ้ง หรือรับประทานเพื่อแก้ทุกข์ที่เกิดขึ้นจากความหิวเท่านั้น

การอาบน้ำก็เช่นกัน ต้องพิจารณาให้รู้ว่าเพื่อแก้ทุกข์ คือ ความไม่สบายกายเพราะเหงื่อไคลและสิ่งสกปรก เวลาที่จะใช้บาตรใช้จีวร ก็ต้องพิจารณาเพื่อแก้ทุกข์ ไม่ใช่เพื่อความสวยงาม แต่ห่มเพื่อป้องกันหนาว หรือป้องกันสัตว์ที่จะมารบกวน เช่น เรือด ริ้น ยุง ฯลฯ เพราะถ้ามีสิ่งรบกวนดังกล่าว จะเป็นอุปสรรคต่อการปฏิบัติธรรม เป็นต้น

เวลาถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ ก็ต้องพิจารณาว่า เพราะทุกข์เกิดขึ้นแล้ว และที่ต้องไปถ่ายอุจจาระหรือถ่ายปัสสาวะ ก็เพราะต้องแก้ทุกข์นั่นเอง


ส่วนอิริยาบถย่อยอื่น ๆ ในสัมปชัญญะบรรพนั้น ก็อยู่ในอิริยาบถ 4 แล้ว เช่น การกำหนดรูปนั่ง เวลาจะพลิกตัวหรือยืนขึ้น ถ้าไม่มีอิริยาบถย่อยแล้ว ก็พลิกไม่ได้หรือลุกขึ้นยืนไม่ได้ ถ้ายืนอยู่แล้วและจะนั่ง ถ้าไม่มีอิริยาบถย่อยช่วยก็นั่งไม่ได้ อิริยาบถย่อยอยู่ในอิริยาบถใหญ่ ถ้ากำหนดอิริยาบถใหญ่ก่อนและอิริยาบถใหญ่ชัดเจนดีแล้ว ก็รู้ถึงอิริยาบถย่อยด้วย


เมื่อพิจารณารูป-นามอย่างนี้จนมีความเข้าใจมากขึ้น ๆ เช่น ขณะนั่งก็รู้ว่าเป็นรูปนั่ง ไม่ใช่เรานั่ง และที่รู้ว่าเป็นรูปนั่ง คือ นามรู้ ไม่ใช่เรารู้ เป็นปัญญารู้ ทุกอย่างที่ดูแล้วนั้นล้วนแต่เป็นนาม-รูป ไม่มีใครเป็นตัวตน หรือเป็นผู้หญิงผู้ชายมาเป็นผู้นั่ง ผู้นอน ผู้ยืน ผู้เดิน และไม่มีใครคนใดคนหนึ่งมาเป็นผู้รู้ผู้เห็นอย่างนั้น

การเห็นอย่างนี้ในวิปัสสนาเรียกว่า นาม-รูปปริจเฉทญาณ ซึ่งเป็นญาณขั้นต้น เพราะได้เห็นความกระจัดกระจายออกไปเป็นนาม-รูปไปหมด ผู้ปฏิบัติต้องรู้อย่างนี้ อัตตวิปลาส ที่สำคัญว่า เรา จึงไม่อาศัยอยู่ในความรู้สึก ญาณ คือ ความรู้สึกอันเกิดจากปัญญาที่เข้าไปเห็นความจริงนี้ ในวิสุทธิ 7 เรียกว่า ทิฏฐิวิสุทธิ คือ ความเห็นถูกต้องตรงกับความเป็นจริงโดยไม่เจือด้วยความเห็นผิด ที่เคยเข้าใจหรือเคยสำคัญว่าเป็นเราหรือเป็นตัวตนของเราหรือมีเรา เป็นต้น ความเห็นผิดในตัวตนจะไม่เกิดขึ้นอีก แต่ก็ยังไม่เข้าถึงไตรลักษณ์ ผู้ปฏิบัติจะต้องกำหนดนาม-รูปนั้นเป็นอารมณ์ต่อไปอีก จึงจะเห็นไตรลักษณ์ อันมีความไม่เที่ยงได้



ที่กล่าวมาข้างต้น เป็นเพียงรวบรวมใจความพอสังเขปของอิริยาบถบรรพ และสัมปชัญญะบรรพสำหรับผู้เริ่มปฏิบัติใหม่เท่านั้น
http://abhidhamonline.org/thesis/thesis5/thesis532.htm
:idea: :idea: :?:




(5)
อนึ่ง ในวิปัสสนาญาณมีนามรูปปริจเฉทญาณเป็นต้น การละ
อนัตถะนั้นๆด้วยวิปัสสนาญาณนั้นๆ เหมือนการละความมืดด้วย
แสงประทีปนั่นแล โดยความเป็นปฏิปักษ์กัน คือ
ละสักกายทิฏฐิด้วยการกำหนดนามรูป
ละทิฏฐิที่ไม่มีเหตุและทิฏฐิที่มีเหตุไม่เสมอกันด้วยการกำหนดปัจจัย
ละวิจิกิจฉาด้วยกังขาวิตรณวิสุทธิอันเป็นส่วนเบื้องปลายแห่งการกำหนดปัจจัยนั้นแหละ
ละการยึดถือว่า เรา ของเราด้วยการพิจารณานามรูปโดยเป็นกลาป
ละสัญญาในสิ่งที่ไม่ใช่ทางว่าเป็นทางด้วยมัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ
ละอุจเฉททิฏฐิด้วยการเห็น
http://www.tripitaka91.com/91book/book27/001_050.htm

(6)ปุถุชน/ภิกษุ

ขึ้นชื่อว่าวินัย มี ๒ อย่าง ใน ๒ อย่างนี้
แต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง ท่านเรียกปุถุชนนี้
ว่า มิได้รับแนะนำ เพราะไม่มีวินัยนั้น.

ก็วินัยนี้มี ๒ อย่าง คือ สังวรวินัย ๑ ปหานวินัย ๑ และในวินัย
๒ อย่างนี้ วินัยแต่ละอย่างแบ่งเป็น ๕ อย่าง.
แม้สังวรวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ สีลสังวร สติสังวร ญาณสังวร
ขันติสังวร วิริยสังวร.
แม้ปหานวินัยก็มี ๕ อย่าง คือ ตทังคปหาน วิกขัมภนปหาน
สมุจเฉทปหาน ปฏิปัสสัทธิปหาน นิสสรณปหาน.
ใน ๕ อย่างนั้น สังวรในประโยคว่า อิมินา ปาฏิโมกฺขสวเรน
อุเปโต โหติ สมุเปโต ภิกษุเป็นผู้เข้าถึงแล้ว เข้าถึงพร้อมแล้ว ด้วย
ปาฏิโมกขสังวรนี้ นี้ชื่อว่า สีลสังวร สังวรในประโยคว่า รกฺขติ จกฺขุนฺทฺริย
จกฺขุนฺทฺริเย สวร อาปชฺชติ ภิกษุย่อมรักษาจักขุนทรีย์ ถึงความสำรวม
ในจักขุนทรีย์ นี้ชื่อว่า สติสังวร สังวรในคาถาว่า
http://www.tripitaka91.com/91book/book27/001_050.htm

:idea: :?: :idea:

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 23, 2015 8:33 pm
โดย theenuch
แบบอย่างของความเรียบง่าย
10387480_761229063985268_6252099536778790223_n.jpg
พวกเราคนไทยรักและเคารพ "สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก" ... ก็เพราะพระองค์ท่านทรงปฏิบัติพระองค์อย่างเรียบง่าย .... ในห้องบรรทม มีเพียงเตียงนอนขนาดกว้างไม่ถึง 1 เมตร ซึ่งมีคนนำมาถวาย แต่เนื่องจากมีรูปร่างสูงใหญ่ขายาว เตียงอาจจะสั้นเกินไป สมเด็จพระสังฆราชจึงใช้โต๊ะหมู่บูชาที่ว่างอยู่มามัดติดกับขาเตียงให้ยาวขึ้นเพื่อใช้เป็นที่บรรทมแบบสมถะ

ความเป็นผู้มักน้อยสันโดษ แม้ที่อยู่อาศัยก็ไม่โปรดให้ประดับตกแต่ง มีเพียงเครื่องใช้จำเป็นและตู้หนังสือเท่านั้น ทรงเตือนภิกษุสามเณรอยู่เสมอว่า “พระเณรไม่ควรอยู่อย่างหรูหรา” พระปฏิปทาข้อนี้ที่ปรากฏอย่างชัดเจนอีกอย่างหนึ่งก็คือ ไม่ทรงสะสม วัตถุสิ่งของที่มีผู้ถวายมา ก็ทรงแจกจ่ายต่อไปตามโอกาส

SSO Savings Club ขอเชิญชวนพวกเราทุกคนร่วมกันเจริญรอยตามพระองค์ท่าน ด้วยการฝึกปฏิบัติการดำรงชีวิตแบบ “เรียบง่าย” และ “รู้จักพอ” ถือเป็นการทำความดีถวายพระองค์ท่านนะครับ

...........................

Cr. โพสต์ครั้งแรกใน SSO Savings Club เมื่อวันที่ 25 ต.ค. 2556, ข้อมูลจาก http://sangharaja.org/ และภาพห้องบรรทมจำลอง โดย Kun Jumpa

Cr.ล่าสุดจาก facebook ของ "คุณวิน พรหมแพทย์" รองโฆษกสำนักงานประกันสังคม
วิทยากรที่เคยมาร่วมรายการ Money Talk ค่ะ ^__^
https://www.facebook.com/win.phromphaet ... tif_t=like

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 24, 2015 8:34 pm
โดย tanoppan
:arrow: ได้อ่านธรรมะของท่านพุทธทาสตั้งแต่อยู่ปี 2 มหาวิทยาลัย
พระอาจาร์ยท่านอื่นไม่อ่าน จะตัดหมดเพราะหนังสือธรรมะมีน้อย มีแต่อภินิหารฯลฯ
หนังสือเว็บไซด์ธรรมะมีมากขึ้น เปิดใจอ่านมากขึ้น

:arrow: ชีวิตนี้ก็ดีมีความสุข สุขภาพแข็งแรงดี ใช้ชีวิตก็มีเหตุมีผล ไม่หลงงมงาย
:!: หัดเดินจงกรม นั่งสมาธิ มาหลายเพลา(เพ-ลา)แล้ว
:?: อายุก็มากแล้ว รู้สึกว่า ตัวเรายังขาดอะไรอยู่

:arrow: ปลายเดือน มกราคม 2558
ได้มีโอกาศไป "วิปัสสนาอินเตอร์ 10 วัน" ที่โคเอนก้า เมืองกาญจนบุรี
8 วันผ่านไป ยังเหมือนเดิม

:?: เปลี่ยนแปลง(changing) และ อุุเบกขา
(การเปลี่ยนแปลง(changing) = เกิด ดับ; อุุเบกขา=รับรู้เวทนาด้วยความเป็นกลาง)

:!: 2 คำนี้ได้ยินอีกครั้งของเช้าวันที่ 9
ฉับพลันนั้นเอง ในขณะที่นั่งวิปัสสนานั้น
:idea: "การเปลี่ยนแปลง(changing) และ อุุเบกขา" ก็ได้พบด้วยตนเองผ่านทางร่างกายที่นั่งตัวตรงอยู่
:arrow: ไม่ใช่เกิดจากความคิด

:idea: แยกกาย ออกจากจิต ได้แล้ว ตอนนี้
:!: คงได้ใช้มากตอนใกล้ตาย(นอนโรงพยาบาล) เพราะร่างกายคงกระสับกระส่ายน่าดู

:idea: การวิปัสสนา เป็นการนำให้เข้าสู่ความว่าง ไม่สุข ไม่ทุกข์
เป็นเคล็ดสุดยอดวรยุทธ :!: :!:

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 01, 2015 9:23 pm
โดย imerlot
อุเบกขาเวทนา
แล้ว
ต่อ
ทุกข์สัจจ์

คือดูนาฬิกา..

ฉะนั้นจิตที่ประกอบด้วยสมาธิด้วยอุเบกขาอันบริสุทธิ์นี้ จึงกำหนดทุกขสัจจะ สภาพที่จริงคือทุกข์ ก็จะปรากฏสภาวทุกข์ขึ้นในความรู้ ว่าขันธ์ ๕ คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เรียกว่าคือรูปกายอันนี้ เวทนาก็คือเวทนาที่อาศัยรูปกายอาศัยจิตบังเกิดขึ้น สัญญาคือความจำได้หมายรู้ สังขารคือความคิดปรุงหรือปรุงคิด แต่ในขั้นนี้ก็คืออุเบกขากับสมาธิ และเป็นตัวสังขาร

วิญญาณก็คือตัวรู้ ตัวรู้ที่มโนคือใจ กับธรรมะ คือสมาธิอุเบกขาที่บังเกิดขึ้นเป็นไปอยู่ ประกอบกันอยู่ ก็ย่อมจะได้วิญญาณคือตัวรู้ รู้อยู่ในภายใน และก็ย่อมจะได้ความรู้ที่เป็นเวทนาสัญญาสังขารดังกล่าว ทั้งหมดก็รวมเป็นนามธรรมซึ่งประกอบอยู่กับรูปธรรมอันนี้ ทั้งหมดนี้ต้องแก่ ต้องเกิดต้องแก่ต้องตาย ต้องประกอบกับต้องมีโสกะ ความโศก ปริเทวะ ความคร่ำครวญใจ ความไม่สบายกายไม่สบายใจความคับแค้นใจ ต้องประจวบสิ่งที่ไม่เป็นที่รัก ต้องพลัดพรากจากสิ่งที่เป็นที่รัก ต้องพบกับความปรารถนาไม่ได้สมหวัง

ทั้งหมดนี้ก็ปรากฏอยู่ที่รูปกาย เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี้เอง ไม่ใช่ปรากฏที่อื่น ก็รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณนี่แหละ เป็นสิ่งที่เกิด แก่ ตาย เป็นสิ่งที่เป็นตัวโศกทุกข์ต่างๆ เป็นสิ่งที่ประจวบ เป็นสิ่งที่พลัดพราก เป็นสิ่งที่ปรารถนาไม่สมหวังต่างๆ ก็อยู่ที่รูปเวทนาสัญญาสังขารวิญญาณนี้เอง

วิปัสสนาภูมิ

และอาการที่เป็นทั้งหมดนี้สรุปเข้ามาแล้ว ก็คือเป็นสิ่งที่เกิดดับ เพราะฉะนั้น ภาวะเป็นรูป เป็นเวทนา เป็นสัญญา เป็นสังขาร เป็นวิญญาณ ก็ปรากฏขึ้นว่ารูปเป็นอย่างนี้ เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นอย่างนี้ ก็จะเห็นรูป เห็นเวทนา เห็นสัญญา เห็นสังขาร เห็นวิญญาณ ที่เป็นไปอยู่ในปัจจุบัน และเมื่อขันธ์ ๕ นี้ปรากฏ อันนี้แหละเป็นตัววิปัสสนาภูมิ ภูมิของวิปัสสนา

เหมือนอย่างดูนาฬิกา เห็นหน้าปัทม์นาฬิกา เห็นตัวเลขบอกชั่วโมงนาที เห็นเข็มยาวเข็มสั้นที่ชี้เวลาของชั่วโมงนาที หรือแม้ถึงวินาที หน้าปัทม์ที่บอกเวลากับเข็มสั้นยาวเหล่านี้ ก็เท่ากับขันธ์ ๕ เมื่อปรากฏขึ้นแล้ว ลักษณะที่เป็นไปของขันธ์ ๕ คือเกิดก็จะปรากฏ ดับก็จะปรากฏ เหมือนดูนาฬิกาเมื่อพบหน้าปัทม์ดังกล่าว ก็จะเห็นเข็มสั้นยาวนั้นเคลื่อนไปอยู่เสมอตามเวลา เป็นอดีตเป็นปัจจุบันเป็นอนาคต ที่ผ่านมาแล้วก็เป็นอดีต กำลังเป็นอยู่ก็ปัจจุบัน ข้างหน้าก็เป็นอนาคต และอนาคตก็มาเป็นปัจจุบัน ปัจจุบันก็เป็นอดีต ก็เป็นไปอยู่ดั่งนี้ เพราะฉะนั้นความเกิดความดับของขันธ์ ๕ จึงปรากฏตามที่เป็นไปจริงของขันธ์ ๕

http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sd-183.htm

.1.2.3.4.5.6.7.8.9
9.8.7.6.5.4.3.2.1.


...

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 01, 2015 9:52 pm
โดย imerlot
กาย ใจ ทุกข์
บางคนใจ จิตใจทางมโนทวารอาจจะวางเฉย ปวดก็ปวดอยู่ เจ็บก็เจ็บอยู่ เมื่อยก็เมื่อยอยู่ แต่ใจไม่กระวนกระวายอะไร บุคคลที่ปฏิบัติธรรมเจริญสติรักษาจิตใจเป็นปรกติไม่ทุกข์กระวนกระวาย ถามว่าทุกข์ไหม ทุกข์ไม่ใช่ว่าเขาไม่ปวดไม่เจ็บอะไร ปวดเจ็บ แต่มันทุกข์ทางกาย แต่ใจไม่กระเพื่อม ใจไม่กระสับกระส่าย ใจไม่กระวนกระวาย แต่โดยปรกติปุถุชนนั้นถ้าไม่ได้ปฏิบัติไม่ฝึก มันจะเจ็บมันจะทุกข์ใจด้วย เวลากายปวดเจ็บนี่จิตมันจะกระวนกระวาย จิตจะเศร้าหมอง จิตจะโทมนัส เกิดเป็นทุกข์ใจขึ้นมาอีก ทุกข์กายก็ยังไม่พอมาทุกข์ใจอีก แต่ผู้ปฏิบัติธรรมผู้ที่ฝึกจิตก็จะทุกข์เพียงร่างกายแต่ใจไม่ทุกข์ด้วย ไม่ใช่ว่าไม่ใช่ไม่ทุกข์อะไรเลยนะ พระอรหันต์นี่ ผู้ที่สิ้นกิเลสแล้วนี่จะไม่ทุกข์อะไรเลย ไม่ใช่ ท่านก็ปวด ท่านก็เจ็บ ท่านก็หิว ท่านก็กระหาย ท่านก็ร้อน ท่านก็หนาว เราเคยอ่านเรื่องราวของพระอรหันต์ ออกจากนิโรธสมาบัติ เข้าไปดับจิตเจตสิกอยู่เจ็ดวันออกมาก็หิว ไปบิณฑบาตร ถ้าท่านไม่หิวท่านคงไม่ฉันนะ ท่านหิว ความหิวเป็นกิเลสหรือเปล่า ความหิวไม่ได้เป็นกิเลส เป็นทุกขเวทนา หิวอยู่ที่ไหน หิวไม่ได้อยู่ที่ใจนะ ไอ้ที่ใจหิวมันอยาก มันเป็นตัวอยากไม่ใช่หิว อย่างบางคนนี่ท้องอิ่มแล้วยังอยากใช่ไหม อิ่มแล้วยังอยากไม่ใช่หิว ฉะนั้นความอยากไม่ใช่หิว ความหิวมันอยู่ที่ไหน ท้องร้องจ๊อกอะไร แสบท้องเป็นทุกข์ ฉะนั้นบางคนเขาหิวแต่เขาไม่อยาก เช่นโยมถือศีลนี่ หิวใช่ไหมแต่ใจไม่ได้อยาก เพราะรู้ว่าอยากไปก็ไม่ได้รับประทาน ไม่รู้จะอยากไปทำไม หิวแต่ไม่อยาก แต่บางคนอยากแต่ไม่ได้หิว เจออะไรอยากกินเรื่อย ๆ เรื่อยไปแต่ท้องก็อิ่ม กินเกินพอดี เพราะใจมันอยากแต่ว่าท้องมันอิ่มแล้ว

ฉะนั้นทุกข์ทางกายกับทุกข์ทางใจคนละส่วนกันนะ ทุกข์ทางกายต้องเป็นไปตามสภาพของมัน แต่ทุกข์ทางใจนี่มีสิทธิ์แก้ไขได้ ทุกข์ทางใจนี่มีสิทธิ์จะดับได้ สามารถจะฝึกให้สิ้นไปได้ ที่นี้ทุกข์ทางใจมันมาพร้อมด้วยกิเลส มาพร้อมด้วยอกุศลจิต ทุกข์ทางใจโดยเฉพาะโทมนัสนี่จะมาพร้อมด้วยโทสะ พร้อมด้วยความโกรธ โทมนัสนี่ ความโกรธไม่ได้หมายถึงว่าจะต้องอาฆาตมาดร้ายนะ ความน้อยใจก็เป็โทสะ ความกลัว ความประหม่าก็เป็นจิตประเภทโทสะ ที่มีทุกข์น่ะ ขณะใดที่เรากลัวจิตเราทุกข์แล้ว ที่เรานอนคนเดียวกลัวผีกลัวอะไรขึ้นมานี่จะทุกข์ ความกลัวนี่ทำให้ทุกข์ ทุกข์ใจมาก อันที่จริงเราทุกข์เพราะเราตั้งขึ้นมาเอง สร้างตั้งความคิดปรุงแต่งมาให้ทุกข์โดยแท้เลย ถ้าไม่กลัวก็ไม่ทุกข์ เพราะฉะนั้นมาพร้อมกับจิตที่เป็นอกุศลความทุกข์ใจ

ฉะนั้นจิตที่ฝึกแล้วจิตก็จะลดลงไปจากความทุกข์ทางใจ จนกระทั่งสิ้นเชิงไป ไม่ทุกข์ ระดับพระอรหันต์นี่จะไม่มีทุกข์ใจมีแต่ทุกข์กาย ถ้าระดับของอริยบุคคลยังไม่เป็นพระอรหันต์ก็ยังมีทุกข์ เพราะยังมีกิเลสอยู่ ยังไม่หมดก็จะต้องมีทุกข์ใจเหมือนกันแต่ก็น้อยลงกว่าปุถุชน หรือในจำนวนปุถุชนด้วยกันปุถุชนที่เป็นกัลยาณปุถุชนกับปุถุชนที่ไม่ได้ปฏิบัติ จะทุกข์มากกว่ากันทุกข์น้อยกว่ากัน ปุถุชนที่เป็นกัลยาณปุถุชน คือปุถุชนที่ฝึกหัดปฏิบัติโดยทางจิตใจก็ทุกข์น้อยลง ถ้าไม่ปฏิบัติเลยจะทุกข์เต็มที่ ทุกข์ใจเต็มที่ เรื่องแบบเดียวกันนี่ คนบางคน โอ้โห ทุกข์แทบตาย ทุกข์แทบเป็นแทบตาย แต่บางคนก็ไม่ทุกข์อะไรมาก อย่างบางคนพ่อแม่ตาย ญาติพี่น้องตายนี่บางคนร้องห่มร้องไห้ เสียอกเสียใจ เศร้าโศก แต่บางคนก็ไม่ร้องไห้ ก็เสียใจเหมือนกัน แต่ไม่คร่ำครวญร้องไห้ เพราะได้ฝึกจิตเพราะได้พิจารณาอยู่เสมอ ๆ พัฒนาจิตอยู่จึงเป็นเรื่องธรรมดา เกิด แก่ เจ็บ ตาย บางคนเวลาสูญเสีย เสียทรัพย์ เสียสิ่งอันเป็นที่รักไปเศร้าโศกมาก บางคนก็โศกน้อย
http://www.dharma-gateway.com/monk/prea ... sem_20.htm


...
เวลาสัมผัสทางกาย เย็นร้อน อ่อนแข็ง หย่อนตึงถ้าเลยออกไปเป็นวัตถุสิ่งของ เช่น เย็นนี้เป็นลมมากระทบ หรือว่าแข็งนี้เป็นพื้นกระดานพื้นปูน อะไรอย่างนี้ ผ้าห่มกระทบนิ่ม ๆ รู้นึกไปเป็นผ้าห่ม อย่างนี้เป็นสมมุติ ปรมัตถ์มันจะอยู่แค่รู้สึก อย่างเวลาห่มผ้านี่ ก็สังเกตแค่รู้สึกที่มากระทบ ที่มันสัมผัสแข็งหรือมันนิ่มหรือมันรู้สึก ไม่นึก ถ้านึกขึ้นมาเมื่อไรมันก็จะเป็นภาพ เป็นภาพผ้าห่ม ผืนผ้าห่มมีความหมาย อย่างนั้นเป็นสมมุติ วิปัสสนานี่จะระลึกความรู้สึกที่รู้สึกกระทบสัมผัส
สมมุติ.ปรมัตถ์
รูป.นาม
??????

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 04, 2015 11:30 am
โดย imerlot
สัจจญาณ ความรู้ว่า
นี้ทุกข์
นี้สมุทัย(เหตุแห่งทุกข์)
นี้นิโรธ
นีมรรค

กิจจญาณ ความรู้กิจควรทำตามหน้าที่ว่า
ทุกข์ ควรกำหนดรู้
สมุทัย ควรละ
นิโรธ ควรทำให้แจ้ง
มรรค ควรเจริญ

กตญาณ ความรู้ที่เกิดแต่ตรวจตราในหน้าที่นั้นๆอันได้ทำเสร็จแล้วเป็นความรู้เห็นสุดท้าย
คือ รู้ว่าเสร็จกิจแล้ว
ทุกข์ เรากำหนดรู้แล้ว
สมุทัย เราละแล้ว
นิโรธ เราทำให้แจ้งแล้ว
มรรค เราเจริญแล้ว
๘๘๘๘.๘๘๘๘
....................
[๑๖๖๖] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขอริยสัจนั้น ควรกำหนดรู้
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขอริยสัจนั้น เรากำหนดรู้แล้ว

[๑๖๖๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขสมุทยอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขสมุทยอริยสัจนั้น ควรละ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขสมุทัยอริยสัจนั้น เราละแล้ว

[๑๖๖๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น ควรกระทำให้แจ้ง
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธอริยสัจนั้น เรากระทำให้แจ้งแล้ว

[๑๖๖๙] ดูกรภิกษุทั้งหลาย จักษุ ญาณ ปัญญา วิชชา แสงสว่าง ได้เกิดขึ้นแก่เรา
ในธรรมที่เราไม่เคยได้ฟังมาก่อนว่า นี้ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น ควรเจริญ
...ข้อความซ้ำกับประโยคข้างต้น.... ทุกขนิโรธคามินีปฏิปทาอริยสัจนั้น เราเจริญแล้ว

...
source:
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 8&gblog=11




:idea:

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 04, 2015 11:58 am
โดย imerlot
[๒๕] สาวัตถีนิทาน. ครั้งนั้นแล ภิกษุมากรูปเข้าไปเฝ้าพระผู้มีพระภาคถึงที่ประทับ
ถวายบังคมพระผู้มีพระภาคแล้ว นั่ง ณ ที่ควรส่วนหนึ่ง ครั้นแล้ว ได้ทูลถามพระผู้มีพระภาคว่า
ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก ถามพวกข้าพระองค์
อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกท่านอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระสมณโคดมเพื่อประโยชน์
อะไร?
พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว จึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้น
อย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย พวกเราอยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในพระผู้มีพระภาค เพื่อกำหนด
รู้ทุกข์
พวกข้าพระองค์ถูกถามอย่างนี้แล้ว พยากรณ์อย่างนี้ ชื่อว่ากล่าวตามพระดำรัสที่พระผู้มี
พระภาคตรัสไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่พระผู้มีพระภาคด้วยคำไม่จริง พยากรณ์ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้ง
การคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่พึงถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้ละหรือ.
[๒๖] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ช่างเถิด พวกเธอถูกถามอย่างนั้น
แล้ว พยากรณ์อย่างนั้น ชื่อว่ากล่าวตามคำที่เรากล่าวไว้แล้ว ไม่กล่าวตู่เราด้วยคำไม่จริง พยากรณ์
ธรรมสมควรแก่ธรรม ทั้งการคล้อยตามวาทะที่ถูกไรๆ จะไม่ถึงฐานะอันวิญญูชนพึงติเตียนได้
เพราะพวกเธออยู่ประพฤติพรหมจรรย์ในเรา เพื่อกำหนดรู้ทุกข์.

[๒๗] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าพวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชก พึงถามพวกเธออย่างนี้ว่า
ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย ก็หนทางมีอยู่หรือ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่หรือ? พวกเธอถูกถาม
อย่างนี้แล้ว พึงพยากรณ์แก่พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้ว่า ดูกรผู้มีอายุทั้งหลาย
หนทางมีอยู่ ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้นมีอยู่.
[๒๘] ดูกรภิกษุทั้งหลาย ก็หนทางเป็นไฉน ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์เป็นไฉน.
อริยมรรคประกอบด้วยองค์ ๘ นี้แล คือ สัมมาทิฏฐิ ฯลฯ สัมมาสมาธิ นี้เป็นหนทาง นี้เป็น
ปฏิปทาเพื่อกำหนดรู้ทุกข์นั้น ดูกรภิกษุทั้งหลาย พวกเธอถูกถามอย่างนั้นแล้ว พึงพยากรณ์แก่
พวกอัญญเดียรถีย์ปริพาชกเหล่านั้นอย่างนี้.

...
http://www.84000.org/tipitaka/attha/v.p ... =125&Z=148
กิมัตถิยสูตร
:idea:

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 04, 2015 12:09 pm
โดย imerlot
..

ทุกข์และการกำหนดทุกข์
โดย
อาจารย์แนบ มหานีรานนท์
source:
http://www.dharma-gateway.com/ubasika/naab/naab-06.htm
[quote][/quote]

:idea: :idea: :idea:

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 04, 2015 12:52 pm
โดย imerlot
อ. การกำหนดอิริยาบถ เพื่อประโยชน์อะไร

ศ. เพื่อจะได้เห็นทุกข์

อ. ท่านกำหนดอย่างไร ที่จะให้เห็นว่าอิริยาบถเป็นทุกข์

ศ. ขณะที่กำลังกำหนดรูปนั่งอยู่ พอปวดเมื่อยเกิดขึ้น ก็ทำความรู้สึกตัวว่ารูปนั่งเป็นทุกข์
เมื่อจะเปลี่ยนอิริยาบถก็ทำความรู้สึกตัวว่าเปลี่ยนไปเพื่อแก้ทุกข์

อ. ถูกแล้ว ต้องมนสิการ คือ ทำความเข้าใจให้ถูกว่า
เปลี่ยนไปเพื่อแก้ทุกข์ และความจริงนั้นมันต้องเปลี่ยน
ไม่ใช่เปลี่ยนไปเพราะอยากเปลี่ยน
ถ้ามนสิการไม่ถูกปัญญาก็ไม่เกิดไม่เห็นความจริง คือ ทุกข์


๑๑๑๑๑๑๑๑
...

http://abhidhamonline.org/thesis/thesis5/thesis533.htm

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 04, 2015 1:59 pm
โดย imerlot
นั่ง..

"เหตุผลในการกำหนดอิริยาบถ"
source:
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/hatpol.doc


พูด ต.ย. ปฎิบัติแบบผิด...
1.แม้ผู้มาเรียนจริง ๆ เข้าปฏิบัติจริง ๆ ยังผิดอยู่ก็มีมาก
เคยมีผู้ศึกษาวิปัสสนากรรมฐานมาแล้ว ๓ - ๔ ปี ตั้งใจจะเข้าปฏิบัติเป็นเวลา ๑๕ วัน แต่เมื่อปฏิบัติไปได้ ๖ -๗ วัน ก็ขอลากลับบ้าน โดยอ้างเหตุผลว่า ตนจะขอกลับไปหาความรู้เพิ่มเติม สำหรับเรื่องปฏิบัติโดยตรง เพราะเมื่อมีการสอบอารมณ์ หลังจากได้แนะนำไปว่า ให้พิจารณารูป ท่าทางที่นั่ง ที่ยืน ที่เดิน เวลานั่ง ก่อนจะเปลี่ยนอิริยาบถ จากอิริยาบถนั่งเป็นเดินนั้น จะต้องดูก่อนว่า การที่จะไปเดินนั้นต้องมีเหตุ เหตุนั่งมันเมื่อย นั่งอยู่นานไม่ได้ ต้องไปเดิน ไม่ใช่ไปหาความสบาย แก้ปัญหาเมื่อยที่เรานั่งต่างหาก เราจึงเปลี่ยนอิริยาบถ เพื่อให้เห็นว่า ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นทุกข์ ไม่ใช่เป็นสุข

แต่ท่านผู้นี้ปฏิบัติอย่างจริง ๆ จัง ๆ โดยดูให้เมื่อยนาน ๆ จนเมื่อยมาก จึงกำหนดใจว่า นั่งมันเมื่อย แล้วจึงเปลี่ยนอิริยาบถเป็นยืน นั้นกลายเป็นอัตตาภาวนาไป

อัตตาภาวนา หมายความว่าจะดูความทรมานของร่างกายของเราที่เมื่อยอยู่ ให้เมื่อยนาน ๆ ที่จริง ไม่ต้องไปดูเมื่อย ให้เห็นชัดนาน ๆ เช่นเดียวกัน เวลาเห็นสุนัขหรือแมวเดินผ่าน มันก็เห็นอยู่แล้ว โดยไม่ต้องไปจ้องสุนัขหรือแมวที่เดินผ่าน

หรือแม้จะเดินไปตลาด เราจะไปจ้องหน้าคนนั้น จ้องหน้าคนนี้ จ้องของที่เขาขาย นั่นเป็นสิ่งผิดปกติ ทั้ง ๆ ที่เราเห็นนิดเดียว ก็รู้ว่าเป็นเด็ก เป็นผู้ใหญ่ ผู้หญิง หรือผู้ชาย เห็นสุนัข เห็นแมว เห็นนิดเดียวก็รู้แล้ว

ฉะนั้น การไปจ้องดูความปวดเมื่อย เป็นการจงใจทำเพื่อดู เป็นการแกล้งทำ ทั้งที่ความเป็นจริง ปวดเมื่อยนิดเดียว เราก็เปลี่ยนแล้ว อะไรหนุนหลังให้เราแกล้งทำ.. ตัณหาหนุนหลัง เพราะมันอยากดู อยากเห็นรูปนาม

เพราะฉะนั้น การดูปวดเมื่อย ดูเมื่อยนาน ๆ แล้วจึงค่อยเปลี่ยนอิริยาบถ จึงเป็นอัตตาภาวนา มีตัณหาหนุนหลัง ทำเพื่อจะดู
ถ้าทำเพื่อจะดู ก็ไม่เป็นวิปัสสนา เพราะเป็นการทำเหมือนแกล้ง เช่นเดียวกับการยกมือ ค่อย ๆ ยกขึ้นช้า ๆ แล้วค่อย ๆ ดูไป จะเห็นได้ว่า การดูนั้น เป็นดูเหมือนกัน แต่ดูมากไปหน่อย จึงปฏิบัติผิด

นอกจากนั้น ผู้ปฏิบัติท่านนี้ยังเกิดอาการปวดศีรษะ ในขณะปฏิบัติอยู่บ่อย ๆ เพราะปฏิบัติอย่างจริงจัง อยู่ที่ห้องกรรมฐาน ทำตั้งแต่เช้าจนถึงนอนกลางคืน ทำวันยังค่ำ
แต่ถ้าเราสังเกต โดยเอาความสังเกตในใจของเรา ออกมาสังเกตดูรูป ดูนามเท่านั้น ก็จะไม่มีการปวดศีรษะ เพราะไม่ได้เคร่งครัดดูอย่างจริงจัง
การที่เคร่งครัดดูอย่างจริงจัง เท่ากับมีตัณหาหนุนหลังอีกแล้ว ตัณหาจะคอยหนุนหลังให้ดูรูป ดูนามให้เห็นชัด ๆ ดูรูปก็จ้องดู ดูนามก็จ้องดู อาการที่เราจ้องลงไปเช่นนั้น ตัณหาก็หนุนหลัง ความอยากก็หนุนหลัง

ฉะนั้น การปฏิบัติแล้วเกิดปวดศีรษะ เพราะตั้งเจตนาตั้งจิตเคร่งเครียดไป จึงทำให้ความเป็นไปของร่างกายก็ไม่ปกติ เหมือนคนตั้งสมาธิแรง ทำให้หายใจไม่สะดวก เช่นนี้เป็นต้น

การยกตัวอย่างประกอบ เพื่อแสดงว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น แม้ว่าจะเรียนมาแล้วก็จริง มีหนังสือว่าไว้ก็จริง อ่านเข้าใจตามหนังสือ แต่ตัวหนังสือพูดเข้าถึงการปฏิบัติจริง ๆ ไม่ได้ จึงต้องอาศัยท่านผู้รู้ชี้แนะ แยกแยะออกไปอีกทีหนึ่ง ถ้าผู้ปฏิบัติผิดจะทำให้เสียเวลา เพมีหลายท่านที่ให้ความสำคัญแก่สติเป็นอย่างมาก เราก็ไม่ปฏิเสธว่าสติไม่สำคัญ

.........................................


2. สัปปะชัญญะ กับ คำถามว่า ดูรูปนั่งไปทำไม?
แต่ในการปฏิบัติวิปัสสนานั้น จะต้องมี
สติและสัมปชัญญะ
รวมกันทั้งคู่
สติ คือความระลึกรู้ไม่ให้จิตไหลไปในอกุศล เช่น ระลึกรู้ว่ากำหนดดูรูปดูนามอยู่
แต่ถ้ามุ่งเอาแต่สติแล้ว ปัญญาจะเกิดได้อย่างไร
ถ้าวางใจไม่ดี สัมปชัญญะเข้าไม่ได้ ปัญญาจะเข้าไม่ได้
วางใจในขณะเห็น วางใจในขณะได้ยิน วางใจในขณะดูรูปดูนาม
ถ้าวางใจไม่ดี มีแต่สติอย่างเดียวก็ล้มเหลว เพราะวิปัสสนาไม่เกิด แม้จะได้มหากุศลญานสัมปยุตก็ตาม
ดังนั้น สัมปชัญญะจึงสำคัญมาก

สัมปชัญญะ คือ ปัญญานั่นเอง
ส่วน สติปัฎฐานนั้น สติเป็นตัวแม่บท หรือตัวบทบาทใหญ่ที่จะใช้กำหนดในการพิจารณา
เพราะฉะนั้น เมื่อคนได้ยินคำว่า สติปัฎฐาน ก็เพียรพยายามที่จะเอาสติมาตั้งหน้าอย่างเดียว
โดยไม่ได้คำนึงถึงสัมปชัญญะ วิปัสสนาจึงไม่เกิด

ด้วยเหตุนี้ ในการกำหนดกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน ท่านทั้งหลายจะต้องเข้าใจในเรื่องสัมปชัญญะ
เรื่องของสติ ไม่ต้องพูดมาก เรากำหนดวางจิตลงไป
วางจิตลงไปในแต่ละครั้ง เป็นสติอยู่แล้ว

แต่สัมปชัญญะนี้ เป็นเรื่องยาก จึงขออธิบายการพิจารณาอิริยาบถใหญ่ และการพิจารณาอิริยาบถนั้น ควรวางใจอย่างไร ปัญญาจึงจะเข้าประกอบร่วมด้วย โดยไม่มีแค่สติเฉย ๆ แต่มีทั้งสติและสัมปชัญญะ
เมื่อจะกำหนดพิจารณาอารมณ์ที่เป็นกายานุปัสสนาสติปัฎฐาน และให้กำหนดเป็นวิปัสสนา เราต้องอาศัยปัญญาร่วม
สิ่งที่สำคัญของผู้ปฏิบัติ คือ หากขาดความเข้าใจเสียอย่างเดียว การกำหนดพิจารณาก็จะไม่เป็นวิปัสสนากรรมฐานเลย การขาดความเข้าใจก็คือ ขาดความรู้ที่ประกอบด้วยเหตุผลในการวางใจนั่นเอง
ยกตัวอย่างเช่น ผู้ปฏิบัติที่ได้ศึกษามาแล้ว รู้ว่าเขาให้มาดูรูปนั่ง รูปยืน รูปเดิน รูปนอน คืออิริยาบทใหญ่ทั้ง ๔
เขาก็ดู เพราะมีความเข้าใจแล้วว่าให้ดู เขาจึงดู
- เมื่อถามไปว่าเอาอะไรดู
เขาก็บอกว่า เอาใจดู เขาก็เข้าใจอีกว่าเอาใจดู
- และถามต่อไปว่า เราจะดูไปทำไม
เขาก็ตอบไม่ได้
จริงอยู่ การดูรูปยืน เดิน นั่ง นอน ต้องส่งความรู้สึกในใจออกมา สังเกตว่านั่งท่าไหน นั่งไขว่ห้าง ก็เห็นท่าทางอย่างนั้น
นั่งห้อยเท้า ก็เห็นท่าทางห้อยเท้าอย่างนั้น เห็นท่าทางที่นั่ง เห็นรูป
แล้วเราดูไปทำไม ตั้งแต่เล็กมาจนเติบใหญ่ เราก็รู้ว่าเรานั่ง เรายืน เราเดิน เรานอน ท่าไหน
เดี๋ยวนี้ เราจะดูท่านั่ง ท่ายืน ท่าเดิน ท่านอน ไปทำไม มีเหตุผลอะไรในใจหรือ
ผู้ปฏิบัติก็ตอบไม่ได้

ส่วนใหญ่ ท่านเหล่านี้จะฟังจากวิทยุ แล้วมาปฏิบัติ จึงยังไม่เข้าใจดีถ้าตอบไม่ได้ การปฏิบัติก็จะได้บุญ ได้สมาธิ แต่ปัญญาไม่ได้ทำเลย เพราะการกำหนดแต่ละครั้ง ๆ ไม่มีปัญญาเข้าประกอบ เพราะว่าไม่รู้เรื่องในเหตุในผลที่เข้าปฏิบัตินั้น
เหมือนการสร้างบ้าน คนไม่เป็นช่างไม้จะทำบ้านได้อย่างไรเล่า จะติดอะไรตรงไหน ต้องรู้ในใจว่าจะทำอย่างไร จะทำอะไร เพื่อให้เป็นอะไรขึ้นมา

:-|
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานก็เช่นเดียวกัน ผู้ปฏิบัติต้องทำความเข้าใจว่า
เมื่อจะกำหนดดูรูปยืน เดิน นั่ง นอนผู้ดูส่งใจออกมาดู เห็นท่าที่เรานั่ง ที่เรานอน ใจของเราต้องประกาศ และใจเราต้องรู้สิ่งเหล่านี้มาก่อนที่จะเข้าปฏิบัติ
เหมือนกับช่างไม้ ต้องรู้มาก่อนว่า จะทำเรือนปั้นหยา หรือเรือนไทย ใจเขารู้มาแล้วว่าต้องตัดไม้อย่างไร ขึ้นตรงหน้าจั่ว ขึ้นตรงหลังคา หรือที่ไหน เขารู้อยู่ในใจแล้ว ไม่ต้องไปบอก เขาลงมือตัดเลย แปลว่าใจมันบอก
เพราะฉะนั้น ผู้ปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ก็ต้องรู้อยู่ในใจอยู่แล้ว จึงแสดงออกไป ไม่ได้หมายความว่า ไปทำความรู้ หรือประกาศออกมา หรือพูดออกมาในเวลานั้น
แต่ทำไปตามความรู้ที่อยู่ในใจ เช่น เมื่อเวลาที่เราจะดูรูปนั่ง เราต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ เมื่อตอบไม่ได้ การปฏิบัติก็จะไม่เป็นวิปัสสนาเลย

เพราะฉะนั้นสิ่งที่สำคัญ เราต้องรู้ว่า เราจะดูรูปนั่งไปทำไม
ถ้าตอบมาไม่ประกอบด้วยเหตุผล ก็ไม่เป็นวิปัสสนาแล้ว ทำไปทั้งหมดจะเป็นสมาธิ
ต้องตอบให้ได้เหตุผลว่า เราจะดูรูปนั่งไปทำไม
ใคร ๆ ก็รู้ว่า เวลานั่ง ดูรูปนั่ง เวลานอน ดูรูปนอน แต่ว่าเหตุผลอะไรในใจต้องมี
เพราะฉะนั้น ผู้ศึกษาต้องศึกษาให้เข้าใจเสียก่อน เมื่อเวลาปฏิบัติ ไม่ต้องพูดอีก มันรู้อยู่ในใจแล้ว
เหมือนเราจะเขียน ก.ไก่ เราไม่ต้องพูดว่า ก.ไก่ เรารู้อยู่ในใจแล้ว เราก็เขียนออกไป ไม่ต้องออกเสียงหรือคิดใหม่ แต่ให้รู้อยู่ในใจก่อน ถ้าไม่รู้อยู่ในใจแล้ว แสดงออกจะไม่ถูกต้อง
ด้วยเหตุนี้ การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน จึงต้องตอบคำถามนี้ให้ได้ในใจเสียก่อน
เหตุผลในการที่เราดูรูปนั่ง เมื่อท่านทราบ ท่านจะเข้าใจเหตุผลตามที่ได้อธิบายนี้
เวลาเข้าปฏิบัติ เราก็ได้เหตุผลเข้าปฏิบัติร่วมด้วย การปฏิบัติ จะได้เป็นวิปัสสนาจริง ๆ
เราจะเข้าไปดูรูปนั่ง เพื่อทำลายความเห็นผิด




:( :roll:



3. เห็น ผิด 2 ข้อ (ที่ต้องทำลาย)
เราต้องมาพิจารณาว่า ที่เห็นผิดนั้น เห็นผิดที่ตรงไหน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าตรัสว่า การยืน เดิน นั่ง นอน ที่เรามีอยู่นี้ มีความเห็นไม่ถูกต้อง
เราก็ยืน เดิน นั่ง นอน มาไม่รู้กี่ปีต่อกี่ปี ไม่รู้กี่ชาติต่อกี่ชาติ
แล้วบอกว่าเราเห็นผิดในยืน เดิน นั่ง นอน
ต้องตีความตรงนี้ให้ได้ก่อนว่า เรามีความเห็นผิดอย่างไร
เพราะจะได้แต่สมาธิ ไม่ได้วิปัสสนา

ความเห็นผิดมี ๒ ข้อ

(เห็นผิด)ข้อที่ ๑. (ทีต้องทำลาย-เรา/สมมติ)
เห็นผิดว่าเรานั่ง เอาเราเข้าไป
เราได้แก่ร่างกายคือรูปนี้
เราก็ได้แก่ใจคือนาม เราเอารูปกับนามมาเป็นเร
เรานั่ง เรานอน เราพูดเช่นนั้นเสมอ
เขาก็เป็นเขา เป็นการเห็นผิดเหมือนกัน คือเอาเราเข้าไป เอาเขาเข้าไป
เมื่อพูดว่าเรานั่ง นี่คือการเห็นผิด

เห็นผิดอย่างไรเล่า ขอยกตัวอย่างคำว่าบ้าน หรือคำว่าเรือน
แท้จริงบ้านหรือเรือนไม่มี แต่มันมีเสา มันมีหลังคา มันมีข้างฝา มีพื้น มีประตู หน้าต่าง
รวมกันเข้าแล้วจึงเป็นบ้าน
ถ้าหากชื้นส่วนทั้งหลายทลายลงมาหมด บ้านก็จะไม่มี
เราไปยึดว่าบ้านมีจริง ๆ บ้านนี้สมมุติพูดกันต่างหาก
สมมุติว่าเรามีบ้าน ความจริงบ้านมีที่ไหนกัน
บ้านจริง ๆ มีหรือ มีแต่หลังคา มีแต่เสา มีฝา มีพื้น ทั้งหมดคือรูปนั่นเอง
รูปคืออะไร รูปคือปรมาณู ไม่มีอะไรเลย มีแต่รูป
แต่เรากลับเข้าใจผิด คิดว่าบ้านมีอยู่

เช่นเดียวกัน ตอนนี้เราเข้าใจว่ามีตัวเรา
เพราะมันมีตา มีจมูก มีปาก มีร่างกาย มีแขนมีขา
ชิ้นส่วนแต่ละชิ้น นำมารวมกันเข้า เลยเอาเราเข้าไปใส่
มีใจเข้าไปอีก ตัวสั่งได้ ทำได้ จึงนึกว่าเป็นเราจริง ๆ จัง ๆ
แต่ละวันที่ผ่านไป ตั้งแต่เช้าถึงค่ำจนนอนหลับ
เราจึงตกอยู่ในฐานะมีโมหะเข้าครอบงำ หลงใหลเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรา
ทั้ง ๆ ที่เป็นรูปและเป็นนาม มีสองอย่างรวมกันเท่านั้น แต่เราไปบอกว่าเป็นเรา
เพราะฉะนั้น จะเห็นได้ว่า เราไม่ได้เห็นผิดนิด ๆ หน่อย ๆ เลย
แต่เห็นผิดทุกวี่ทุกวัน ตลอดทั้งวันด้วย เพราะเอาเราเข้าไปทุกที
แม้แต่การนั่ง ยังเอาเราเข้าไปอยู่เลย
ถามว่าใครนั่ง เรานั่ง
ถ้าเรานั่ง เราที่ไหนกันเล่า เรามีหรือ เราไม่มี

มีอะไรเล่า มีรูปอันหนึ่งกับนามอันหนึ่ง

ธรรมชาติทั้งหลายในโลกนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นมาเองได้ ไม่ว่าอะไรทั้งสิ้น
มันต้องมีเหตุมาประชุมกันทั้งนั้น มันจึงเกิดมีขึ้นได้
ถ้าไม่มีเหตุมาประชุมกันแล้ว มันจะเกิดขึ้นมาหาได้ไม่
เพราะฉะนั้น บ้านก็เป็นเช่นเดียวกัน จะต้องมีเหตุ
จะต้องมีช่างไม้ มีหลังคา มีเสา มีพื้น มาประชุมกัน มันถึงจะเป็นบ้าน
แล้วก็สมมุติกันขึ้นว่าเป็นบ้าน
ไม่มีบ้านจริง ๆ หรอก

เช่นเดียวกับการนั่งของคนเราทั้งหลาย
ไปหลงผิดคิดว่าเรานั่ง
เอารูปกับนามมาเป็นเรา
เพราะหลงผิด จึงทำให้เกิดรู้สึกว่า เรานั่งแล้วสบาย
อภิชฌาก็เข้ามา อภิชฌาแปลว่า ความชอบใจ
นั่งสบาย เรานั่งสบาย ความชอบใจก็เข้ามา
เรานั่งไม่สบาย โทมนัสก็เข้ามา
อภิชฌาและโทมนัสก็เข้ามาสลับกันเรื่อย
ถ้าพิจารณาตัวเอง จะเห็นว่า ทุกเวลาที่นั่ง
อภิชฌาและโทมนัสก็เข้ามาอยู่ตลอดเวลา
เป็นไปเช่นนี้อยู่วันยังค่ำ สบายบ้าง ไม่สบายบ้าง
สลับซับซ้อนปะปนกันอยู่ตลอดเวลา ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้ว

การที่นั่งได้ ต้องอาศัยเหตุมาประชุมกันถึง ๖ ประการ คือ

ประการที่ ๑ จะต้องมีกรรมรูปดี กรรมชรูปในที่นี้ หมายความว่า ระบบประสาทกาย
ถ้าร่างกายของเรา คือระบบประสาทไม่ค่อยดี เช่น คนเป็นอัมพาต การนั่งจะเกิดขึ้นไม่ได้
เพราะนั่งนั้นมีท่า เช่น นั่งห้อยเท้าก็มี นั่งขัดสมาธิก็มี นั่งหลายท่า
ถ้าหากว่าเรามีประสาทไม่ดี เราก็นั่งท่าไหน ๆ ไม่ได้ ที่นั่งท่าไหนได้
เพราะมีประสาทดี ประสาทมาจากอำนาจของกรรมชรูป ระบบประสาททั่วร่างกาย

ประการที่ ๒ มีจิตคิดจะนั่ง ความชำนิชำนาญ ที่เราทำกันมานมนานอย่างโชกโชนนี้
มันเคยตัวเสียแล้ว เราจึงไม่ทันคิด เช่น จะนั่ง จะนอน
บางทีเราคิดจะนั่ง คิดนิดเดียวเท่านั้น แล้วก็คิดไปอย่างอื่นเสียหมด
เพราะฉะนั้น การที่เราคิดจะนั่ง เราจึงไม่ได้สังเกต
แต่ความจริงจิตต้องคิดจะนั่งก่อน ถ้าจิตไม่คิดจะนั่ง ไม่มีทางจะนั่งได้ นั่งท่าไหนไม่ได้

เหมือนจิตที่คิดจะเดิน คิดจะเดินก่อน แล้วจึงเดิน ไม่ใช่ว่า ไม่คิดจะเดินแล้วเดินได้ ต้องคิดก่อน

ประการที่ ๓ ต้องมีจิตสั่ง สั่งในที่นี้คือ เจตนา ไม่มีเจตนาเดินได้หรือ ไม่มีเจตนาแล้ว
จะนั่งท่าไหนได้อย่างไร จะนั่งไขว่ห้าง ก็มีเจตนาจะนั่งไขว่ห้าง
สั่งในที่นี้ ไม่ได้หมายถึงสั่งให้อยู่ได้ ไม่เป็น ไม่ตาย ไม่ป่วยไม่เจ็บ ไม่ได้หมายความอย่างนั้น
แต่สั่งคือ เจตนา เจตนาว่าจะนั่งท่าไหน แล้วสั่ง

ประการที่ ๔ ต้องมีอำนาจของจิตที่เรียกว่า จิตตชวาโยธาตุ แปลว่า
อำนาจจิตที่ไม่มีตัวไม่มีตน แต่ว่ามีอำนาจ ถ้าไม่มีจิต เราจะเดินก้าวเท้าซ้าย
ก้าวเท้าขวา ยกสูง ยกต่ำ เลี้ยวซ้ายเลี้ยวขวาไม่ได้ เพราะอำนาจจิตมี จึงทำให้เป็นไป

ประการที่๕ ต้องมีอำนาจของอุตุ
ได้สนทนากับนักวิทยาศาสตร์ (เคมี ฟิสกส์) สอนวิชาฟิสิกส์ ได้ถามเขาไปว่า คนเรานี้เดินได้อย่างไร
เขาอธิบายว่า เมื่อใจเราคิดจะเดิน กระแสไฟในร่างกายก็เกิดขึ้น
ทำให้ต่อมต่าง ๆ ในร่างกายผลิตสารชนิดหนึ่ง เรียกว่า เป็นวัตถุเคมี
เมื่อต่อมต่าง ๆ นี้ ผลิตน้ำวัตถุเคมี แล้วก็ทำให้ยืดกล้ามเนื้อตรงนั้น
เช่น กล้ามเนื้อแขน ก็จะเกิดการยกแขน คือทำให้กล้ามเนื้อยืดได้หดได้
และก็เล่าต่อไปว่า กระแสไฟฟ้าวินาที่ต่อเท่าไหร่ จะสั่งต่อ ๆ กันไปทั่วร่างกาย
ในทางวิทยาศาสตร์ เขาเอาเรื่องเคมี เรื่องไฟฟ้ามาใส่
แต่ที่เขาอธิบายมานี้ ถ้าเป็นหลักธรรมะ เขาก็ถูก คือ เรื่องรูป ได้แก่ อุตุ อย่างเดียว
ยังไม่ได้อธิบายเรื่องนามเลย ส่วนเรื่องรูปที่อธิบายนี้ พูดได้เฉพาะการเคลื่อนที่เท่านั้น
แต่การเดินก็ต้องมีองค์ประกอบ เช่นยกเท้าสูงหรือต่ำ ก้าวเท้ายาว หรือก้าวสั้น
เลี้ยวขวาหรือเลี้ยวซ้าย มันต้องมีอะไรมาบังคับให้ยกสูงหรือต่ำได้
เขายังไม่ได้อธิบายว่า อะไรเป็นตัวการให้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา ยกเท้าสูงหรือต่ำ
หรือแกว่งแขน ทำให้เคลื่อนที่ไปตามที่ต้องการ แต่เขาพูดเฉพาะเรื่องไฟฟ้า
ความจริง การเคลื่อนที่เหมือนลมที่ถูกความร้อน แล้วมันก็เคลื่อนที่ เพราะฉะนั้น
อำนาจความร้อนก่อให้เกิดพลังงาน พอง และยืดตัวออก ทำให้มันเคลื่อนที่ไปได้ ด้วยอำนาจของอุตุ คือความร้อนนั่นเอง
ส่วนการเดินนั้น แต่ละคนจะเดินต่างกัน เพราะอำนาจของเจตนาต่างกัน
จะเห็นได้ว่า ตัวการที่ทำให้เราเดิน หรือท่าทางที่นั่งไขว่ห้างก็ตาม
มีเหตุมาประชุม แต่เราไม่ได้นึกเลย เพราะเรานั่งกันมาโชกโชน
ตั้งแต่เล็กจนเติบใหญ่โดยไม่รู้ว่านั่งแต่ละทีนั้น มีเหตุมาประชุมกัน
ดังนั้น จึงสรุปว่า คนที่จะนั่งนั้น ต้องมีจิตคิดจะนั่งก่อน และมีจิตสั่งให้นั่ง
คือ เจตนาจะนั่งท่าไหน หรือจะเดินท่าไหน และมีจิตตชวาโยธาตุ
อำนาจของจิตที่เป็นพลังงานอย่างหนึ่งที่มาจากจิต ทำให้มีการเคลื่อนไป เป็นไป

ประการที่ ๖ นอกจากอำนาจของอุตุแล้ว ยังมีอำนาจอาหารอีก
คือ อาหารชรูป ที่จะก่อให้เกิดกำลังงาน เพราะถ้าเราไม่ได้กินอาหาร
เราก็นั่งท่านั้น ท่านี้ไม่ได้ตามชอบใจ เราจะนั่งไขว่ห้าง เราจะยืน เดิน ก็เป็นไปไม่ได้ ถ้าอาหารไม่มี

ด้วยเหตุ ๖ ประการนี้ ถ้าลองเอาข้อใดข้อหนึ่งออกเสีย ก็เดินไม่ได้ นั่งไม่ได้
เพราะฉะนั้น

เราหลงเข้าใจผิดคิดว่าเรานั่ง ทั้ง ๆ ที่ความจริงแล้วมีเหตุ ๖ ประการมารวมกันเข้า

โดยอาจจำแนกเป็นรูปอันหนึ่ง คือ
อุตุ อาหาร กรรมชรูป เป็นรูป
และ
จิตคิด จิตสั่ง อำนาจจิต เป็นนาม
รวมความว่ามีรูปนาม ๒ อย่างเท่านั้น
คือ ตัวการที่เป็นรูปอันหนึ่ง ตัวการที่เป็นนามอันหนึ่ง
สองอย่างนี้รวมกัน ทำให้นั่งท่านี้เกิดขึ้น


จึงเห็นว่า เรานั่ง นอน ยืน เดิน กันมาโชกโชนตั้งแต่เด็กจนเติบใหญ่
แต่หาได้รู้จักการนั่งของเราเองไม่

ยังหลงผิดหลงเข้าใจว่า เรานั่งอยู่ตลอดเวลา

หลงผิดยาวนานมาจนกระทั่งถึงปัจจุบัน
ได้อาศัยพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จึงได้รู้ว่า เรานี้หลงผิดมากเสียแล้ว
ดังนั้น สิ่งที่สำคัญ ท่านผู้ปฏิบัติควรจะรู้ว่า เรามีหรือไม่
มีเราอยู่ในที่นี้หรือไม่
ในเวลานั่งมีเราอยู่หรือไม่
เมื่อได้ให้เหตุผลไปแล้วว่า เรานั่งไม่มี ไม่มีเราเลย
มีแต่รูปอันหนึ่งกับนามอันหนึ่ง นามเป็นผู้สั่งเป็นผู้บังคับ
รูปเป็นผู้รับคำสั่ง รับคำบังคับแล้วก็เป็นไป
เพราะฉะนั้น รูปกับนาม ๒ อย่างเท่านั้นที่เราเห็น
เวลากำหนด จึงดูแต่รูปเท่านั้น เวลาทำความเข้าใจ ก็รู้ว่ามีนามด้วย
เมื่อได้เหตุผล เพื่อให้เกิดความเข้าใจก่อน การปฏิบัติจึงจะได้ผล
เช่น ผู้ปฏิบัติเรียนรู้อยู่แล้วว่า ยืน เดิน นั่ง นอน เป็นรูป
มีนามเป็นตัวสั่ง เป็นตัวทำเจตนาให้เกิดรูปยืน เดิน นั่ง นอน อย่างไร
ถ้าหากว่าเรานั่ง ก็ต้องมีจิตเป็นตัวเจตนาว่าให้นั่งท่าไหน
ถ้าไม่มีจิตเป็นตัวเจตนาให้นั่งท่าไหนแล้ว ก็นั่งท่านั้นไม่ได้
ด้วยเหตุนี้ เมื่อมีจิตคือนาม และมีรูปรวมกันไปแล้ว

เรากลับไปหลงผิดคิดว่า เราเป็นผู้นั่

เมื่อเราเป็นผู้นั่ง อภิชฌาและโทมนัส ก็เข้ามา คือความชอบใจไม่ชอบใจก็เกิดขึ้นมา
เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็ได้ชื่อว่า กำลังหลงผิดอยู่ เพราะคิดว่า
เรายืน เดิน นั่ง นอน อยู่ทุกวัน
ความจริงไม่มีเรายืน เดิน นั่ง นอนเลย
มีแต่รูปกับนาม มีแต่เหตุปัจจัยมาประชุมกันเท่านั้น
ประชุมกันแล้วก็หายไป ไม่ได้อยู่นาน


.....
พระสารีบุตร ผู้เป็นอัครสาวกเบื้องขวา มีปัญญาดี เมื่อปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน
จึงเห็น รูปนาม ทั้ง ๖ ในขณะก้าวเดินก้าวหนึ่ง
เมื่อเวลายกเท้าก็เห็นเป็นเหตุมาประชุมกัน เห็นเหตุผล
เห็นรูป เห็นนาม เมื่อยกเท้าก็เห็น ยกส้นเท้าก็เห็น
ยกเท้าก็เห็น เคลื่อนไปก็เห็น ลงก็เห็น
กดลงไปก็เห็น เห็นหมด ๖ ครั้ง
....





-------







:arrow: :arrow: :arrow:

(เห็นผิด)ข้อที่(๒) (ที่ต้องทำลาย วิปลาส( ความรู้เข้าใจผิดเพี้ยนจากความเป็นจริง))
ข้อที่สอง เรามีวิปลาส ซึ่งทางโลกแปลว่าเป็นบ้า
....
(เข้าใจผิดว่าสบาย)
ถ้าถามว่านั่งสบายไหม
หากไปเดินมาเมื่อย แล้วไปนั่ง เราจะรู้สึกว่าสบาย
แต่ถ้าให้นั่งนาน ๆ ก็ไม่ได้ เมื่อนั่งนานไม่ได้ แล้วจะบอกว่านั่งสบายได้อย่างไร
อาจจะแย้งได้ว่า นั่งใหม่ ๆ ยังสบายอยู่ ความจริง นั่งใหม่ ๆ ทุกข์ยังน้อยอยู่ ทุกข์ยังน้อยมากที่สุด เรามองไม่เห็น จึงเข้าใจผิด คิดว่านั่งสบาย
ความจริงนั่งใหม่ ๆ จะใหม่แค่ไหนก็ตาม ทุกข์ทั้งนั้น
เพราะชื่อว่า นั่ง เป็นทุกข์ ยืน เดิน นอน เป็นทุกข์ เพราะถ้าสบายแล้วอย่าเปลี่ยน นั่งสบายแล้วก็นั่งไป นอนสบายแล้วก็นอนไป
ยืน เดิน นั่ง นอน หาสบายไม่ ที่เข้าใจว่าสบายนั้น เป็นความเข้าใจผิดของเราเอง

....
แต่เราไปหลงผิดคิดว่าเราสบาย เพราะเราไม่ได้สังเกตในการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เพื่อแก้ไขปัญหาของเรา
เมื่อเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ทุกข์ก็ไม่ได้ประจันหน้ากับเราอย่างจริงจัง เราจึงหลงผิดคิดว่า ยืน เดิน นั่ง นอน สบาย
ด้วยเหตุนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงสอนว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน เพื่อทำลายโมหะ คือความหลงใหลเข้าใจผิด คิดว่าสบาย ทำลายวิปลาส
เพราะเราเข้าใจผิด คิดว่า ยืน เดิน นั่ง นอน สบาย ความจริงมันเป็นทุกข์ มีการเปลี่ยนหลายครั้งจนนับไม่ถ้วน ขยับไปมาวันยังค่ำ เพราะปัญหาทุกข์มันเข้ามา
เราไม่รู้ว่านอนนั้นเป็นทุกข์ เราหลงว่าสบาย
คนซึ่งเพลิดเพลิน รื่นเริง แจ่มใส ก็คิดว่าสบาย เว้นแต่ทุกข์ร้อนไม่มีเงินจะใช้ จึงคิดว่าเป็นทุกข์
1จะเห็นได้ว่า ชีวิตของเราตกอยู่ในกองทุกข์ ตั้งแต่ตื่นนอนเช้าไปจนนอน และตื่นอีก ๒๔ ชั่วโมง ไม่มีแม้แต่วินาทีเดียวที่เราจะสบายจริง ๆ เพราะอิริยาบถทั้งใหญ่และย่อยนั้น มีการผันแปรอยู่ตลอดเวลา ไม่ผันแปรไม่ได้

....
ความสุขจากการกิน การอยู่ การได้ยิน การเที่ยวเตร่ สารพัดอย่าง ความจริงทุกข์ทั้งสิ้น การเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา เป็นทุกข์ทั้งนั้น ทนอยู่ในสภาพหนึ่งไม่ได้ ต้องเปลี่ยนไปอีกสภาพหนึ่ง
แม้แต่การเห็น เราบอกว่าเห็นแล้ว เห็นดี สบายดี สนุกด้วย
ถามว่าเห็นนาน ๆ ได้ไหม ได้ยินนาน ๆ ได้ไหม ได้กลิ่นนาน ๆ ได้คิดนาน ๆ ทุกอย่างไม่ว่าอารมณ์อะไร มันนานไม่ได้ เพราะเป็นทุกข์
เพราะเหตุนี้ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงสอนว่า ชีวิตเป็นทุกข์นั้น ไม่ได้หมายถึงว่า จะต้องไปผจญกับการกินอยู่หลับนอนไม่ดี หรือไม่มีเงินจะใช้ ไม่มีบ้านจะอยู่ แต่ว่ารวมทุกอย่าง นี่ว่าโดยปรมัตถ์
แต่ถ้าเป็นการว่าโดยบัญญัติ การเที่ยวเตร่ก็มีความสุขได้ แต่เป็นสุขวิปลาส คือเข้าใจผิด หลงผิดคิดว่าเป็นสุข



*****
เพราะเมื่อว่าโดยปรมัตถ์แล้ว ขณะจิตใด ขณะจิตหนึ่ง จะหาความสุขนั้นไม่มีเลย
ตามมาอ่านต่อค่ะ
อ่านแล้วหดหู่นะคะ ยิ่งกล่าวว่า
...ขณะจิตใด ขณะจิตหนึ่ง จะหาความสุขนั้นไม่มีเลย ....
ดังนั้น อิริยาบถก็ดี เห็นก็ดี ได้ยินก็ดี หายใจก็ดี ทำอะไร ๆ ทั้งอิริยาบถใหญ่ อิริยาบถย่อย
ตลอดจนทุกอย่างที่มีชีวิตอยู่ขึ้นมา ไม่มีสุขทั้งนั้น
สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าจึงทรงแสดง ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ทำไมท่านถึงไม่เอาสุขขึ้นมา เพราะไม่มีสุขอริยสัจ เอาทุกข์ขึ้นต้น
เราะว่าทุกข์มาจากรูป นาม ทุกข์เกิดขึ้น ตั้งอยู่ ดับไป ต่อ ๆ กันไม่จบสิ้น ๒๔ ชั่วโมง ไม่เว้นแม้แต่วินาทีเดียว
****



จะเห็นได้ว่า การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ถ้าเข้าใจเหตุไม่ดีไปหน่อยเดียว การปฏิบัติก็ล้มเหลว เหตุผลในใจไม่มีไม่ได้
กำหนดพิจารณาอย่างไร ถ้าไม่มีปัญญา มีแต่สติ มันก็ไม่เป็นวิปัสสนากรรมฐาน
เพราะฉะนั้น ความเข้าใจที่ถูกต้องเท่านั้น จะช่วยผู้ปฏิบัติได้อย่างแท้จริง


......
source
http://www.abhidhamonline.org/Ajan/BM/hatpol.doc

..
(please check original source
may copy error)
..

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 04, 2015 2:09 pm
โดย imerlot

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 05, 2015 12:24 pm
โดย picatos
คุณ imerlot ต้องการสื่ออะไรครับ

ช่วยสรุปใจความสั้นๆ หน่อยได้ไหมครับ?

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 27, 2015 8:01 am
โดย Dech
เพื่อความอิ่มใจ ในกาลข้างหน้า

อิ่มใจก็เหมือนอิ่มกาย ผู้อิ่มแล้วย่อมรู้ได้ด้วยตนเอง

---------------------------------------------
“ความสุขแบบควันไฟ” พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต วัดญาณฯ พัทยา ชลบุรี

พระพุทธเจ้าทรงสอนให้พิจารณาเสมอ เวลาเราจะใช้อะไร ทรงสอนให้พิจารณาทุกครั้งไป เช่นเวลาจะสวมใส่เสื้อผ้า ห่มจีวรก็ให้พิจารณาว่า ห่มเพื่อปกปิดร่างกาย ปกปิดอวัยวะ ป้องกันความหนาว ความเย็น ไม่ให้มาทำให้ร่างกายเจ็บไข้ได้ป่วย ไม่ได้ห่มเพื่อความสวยงามจากเสื้อผ้าอาภรณ์ ความสวยงามที่แท้จริงต้องสวยด้วยใจ สวยด้วยศีลธรรม สวยด้วยความเมตตากรุณา ไม่ได้สวยด้วยเสื้อผ้าอาภรณ์ เสื้อผ้าอาภรณ์สวมใส่ไว้เพียงเพื่อปกปิดร่างกายไว้เท่านั้น เวลาฉันอาหารก็ให้ฉันเพื่อระงับดับความหิวของร่างกาย รับประทานอาหารแบบรับประทานยา เยียวยารักษาโรคคือความหิว ไม่ได้รับประทานเพื่อรสชาติ เพื่อความสนุกสนานเฮฮา กินข้าวคนเดียวกินไม่ได้ เพราะเหงา ต้องโทรศัพท์ชวนเพื่อนออกไปกินข้าวข้างนอกกัน แล้วก็ไม่ได้กินเฉยๆ ต้องดื่มของมึนเมาประกอบไปด้วย ซึ่งไม่จำเป็นเลย เป็นการสูญเสียทรัพย์ที่หามาด้วยความยากลำบาก สูญเสียเวล่ำเวลา ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย ความสุขก็เป็นความสุขแบบควันไฟ ที่ลอยมาแล้วก็กระจายหายไปในอากาศ สุขในขณะที่เรารับประทานกันเท่านั้นเอง พอแยกกันกลับบ้านแล้วก็หายไปหมดเลย ทิ้งไว้แต่ความอ้างว้างเปล่าเปลี่ยวเดียวดาย ทิ้งไว้แต่ความอยากที่จะต้องโทรศัพท์ชวนกันไปหาความสุขแบบนั้นอีก ความสุขของเราจะเป็นแบบนี้ไปตลอดชีวิต

นี่คือวิถีทางของคนในโลก หาความสุขกันแบบนี้ ไม่เคยเจอความอิ่มความพอในจิตใจเลย ความอิ่มความพอจะเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อเราระงับดับความอยากต่างๆ แม้จะเป็นชั่วขณะหนึ่งก็เป็นความสุขที่มีคุณค่ามาก สมมุติวันนี้อยากจะออกไปกินข้าวกับเพื่อนฝูง อยากจะออกไปดูหนัง แต่ตัดสินใจไม่ไป จะขออยู่บ้าน ไหว้พระสวดมนต์นั่งทำสมาธิ ทำอย่างจริงๆจังๆ ก็อาจจะสงบได้ จะได้กำไรกว่าการออกไป ได้ทรัพย์ภายในแล้วหนึ่งชิ้น ถ้าทำไปเรื่อยๆ ก็จะสะสมมากขึ้นไปเรื่อยๆ จะไม่มีใครพรากจากเราไปได้ ยิ่งมีมากเท่าไร ความอิ่มความพอ ความสุขก็ยิ่งมีมากขึ้นไปเรื่อยๆ ต่อไปจะไม่อยากโทรศัพท์ไปหาใคร ไม่อยากจะให้ใครโทรศัพท์มาหา จะปิดเครื่องตลอดเวลา จะเปิดก็ต่อเมื่อมีธุระจำเป็นเท่านั้น เพราะมีความสุขอยู่ตามลำพังของเรา

พอไปอยู่กับเพื่อนก็จะฟังแต่เรื่องรำคาญใจ เดี๋ยวคนนั้นบ่นเรื่องนั้นให้ฟัง คนนี้ก็บ่นเรื่องนี้ให้ฟัง มีแต่ปัญหามาระบายกันทั้งนั้น ไม่มีอะไรหรอกเวลาเจอกัน พอทุกคนได้ระบายแล้ว ทุกคนก็สบายใจ เราก็ได้ระบายของเรา เขาก็ได้ระบายของเขา แต่มันไม่ใช่เป็นวิธีระบายที่ถูกต้อง เดี๋ยวก็มีเรื่องใหม่มาให้ระบายอีก เพราะเราชอบไปเอาเรื่องนั้นเรื่องนี้มาใส่ใจเรา แทนที่จะปลดเปลื้องปล่อยวาง ไม่ไปยุ่งเกี่ยว กลับเอาเข้ามาแบกในจิตในใจ การเดินตามครูบาอาจารย์จึงเป็นการเดินที่ถูกต้องแล้ว เดินตามพระพุทธเจ้านี้ถูกแล้ว สิ่งที่เราต้องมีในเบื้องต้นก็คือศรัทธา ขอให้เชื่อพระพุทธเจ้า เชื่อครูบาอาจารย์ แล้วพยายามทำในสิ่งที่ท่านสอนให้เราทำ เพราะถ้าเราไม่มีความเชื่อ เราจะไม่มีอาวุธทำลายป้อมปราการที่กิเลสสร้างห้อมล้อมจิตใจของเราไว้ กิเลสไม่ต้องการให้ธรรมะเข้าไปในใจ เพราะถ้าธรรมะเข้าไปในใจแล้วกิเลสก็จะถูกทำลายไป มันจึงสร้างป้อมปราการ สร้างกำแพงไว้ป้องกัน ไม่ให้ธรรมะเข้าสู่ใจของเราได้

สังเกตดูเวลาเราจะปฏิบัติธรรม จะรู้สึกเหมือนกับจะไปปีนเขา มันจะสร้างความรู้สึกยากลำบากเสมอ เวลาจะทำบุญทำทาน เวลาไปรักษาศีลจะรู้สึกว่ายากลำบาก ถ้าเปรียบกับเวลาที่จะไปเที่ยวนี่ต่างกันมาก มีเงินก้อนหนึ่งนี่ ถ้าให้เลือกระหว่างไปเที่ยวกับไปทำบุญ ไปเที่ยวเหมือนกับการเดินลงเขา แต่เอาเงินไปทำบุญนี้เหมือนกับเดินขึ้นเขา หมายถึงคนที่ยังไม่เคยทำบุญมาก่อน แต่ถ้าเคยทำจนติดเป็นนิสัยแล้ว จะเป็นตรงกันข้ามกัน ถ้าจะเอาเงินไปใช้ฟุ่มเฟือย ไปเที่ยว จะรู้สึกเสียดาย แต่ถ้าเอาไปทำบุญแล้วจะมีความสุข นี่แสดงว่าได้ฝ่ากำแพงของกิเลสไปได้ขั้นหนึ่งแล้ว คือความตระหนี่ ความอยากจะใช้เงินไปกับของฟุ่มเฟือย ความอยากจะใช้เงินไปกับการซื้อความสุขต่างๆในโลก ได้ถูกทำลายไปเพราะอาศัยศรัทธาในเบื้องต้น เชื่อว่าการทำบุญเป็นสิ่งที่ดี การให้ทานเป็นประโยชน์กับเราจริงๆ

ในเบื้องต้นก็ฝืนทำไปก่อน เหมือนกับกินยาขม หมอบอกว่ายาขมมีประโยชน์ ทำให้สุขภาพดีขึ้น เราไม่ชอบรับประทาน แต่เราเชื่อหมอ ก็พยายามฝืนรับประทานไป เช่นพวกมะระ เด็กๆจะไม่ชอบกินกัน เพราะขม แต่ผู้ใหญ่เมื่อมีโรคภัยไข้เจ็บเบียดเบียน เมื่อได้รับการแนะนำให้กินของพวกนี้ ก็เชื่อหมอ พยายามฝืนกินไปเรื่อยๆจนติดเป็นนิสัยขึ้นมา จนชอบของขมไป ฉันใดการทำบุญทำทาน การรักษาศีล การภาวนาก็เช่นเดียวกัน ต้องมีศรัทธาเป็นหัวหอกคอยทะลุทะลวงเกราะที่กิเลสสร้างขวางไว้ ไม่ให้เข้าสู่ใจของเรา พยายามทำไป ถึงแม้จะไม่ชอบทำ ก็ฝืนทำไป ทำไปเรื่อยๆ แล้วจะเริ่มเห็นผล จะมีกำลังใจ ศรัทธาก็หมดหน้าที่ไป เพราะมีปัญญามาแทนที่ เห็นว่าการทำบุญทำทานนี้ดีจริงๆ เกิดประโยชน์กับใจของเราจริงๆ ต้องขอบใจคนที่ให้เราได้ทำบุญทำทานเสียด้วยซ้ำไป ถ้าไม่มีคนเดือดร้อนแล้ว ก็จะไม่ได้ทำบุญทำทาน คนที่เดือดร้อนจึงมีประโยชน์กับเรา เป็นเหตุให้เราได้มีโอกาสทำบุญทำทาน

ลองทำไปเถิด เมื่อทำแล้วเห็นผล ต่อไปจะติดนิสัยทำบุญ เรื่องการใช้จ่ายฟุ่มเฟือยต่างๆจะหมดไปเอง สังเกตดูคนที่ชอบทำบุญทำทานมักจะอยู่แบบเรียบง่าย แต่เวลาทำบุญทำทานทำเยอะ เสื้อผ้าที่ใส่ก็เป็นเสื้อผ้าธรรมดา ไม่หรูหราอะไร ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย ขั้นสูงสุดก็แบบครูบาอาจารย์ ท่านทำบุญทำทานขนาดไหน สิ่งที่ท่านได้มาทั้งหมดนี้ท่านไม่ได้เก็บไว้เลยแม้แต่นิดเดียว ท่านเอาไปทำประโยชน์ให้แก่โลกทั้งหมด เพราะท่านเห็นประโยชน์ท่านจึงทำ ถึงแม้ตัวท่านเองจะไม่ได้รับประโยชน์จากการทำทานแล้วก็ตาม เพราะจิตของท่านนั้นเต็มเปี่ยมแล้ว ถ้าเป็นน้ำในแก้วก็ล้นแล้ว เต็มแล้ว จะเทน้ำเข้าไปเท่าไรก็ไม่ได้ทำให้มีน้ำมากขึ้น คือความสุข ความอิ่มใจของท่านนี้ เต็มเปี่ยมอยู่แล้ว.

กัณฑ์ที่ ๒๓๖ วันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๔๙ (จุลธรรมนำใจ ๔)

“สวดมนต์ภาวนา”

พระอาจารย์สุชาติ อภิชาโต

Re: เส้นทางธรรมกับชีวิตการลงทุนแนววีไอ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ค. 16, 2015 2:18 pm
โดย tanoppan
:arrow: ปลายเดือน เมษายน 2558
ได้ไป "วิปัสสนา 10 วัน" ที่โคเอนก้า เมืองพิษณุโลก (เป็นครั้งที่ 2 )

ครั้งนี้ได้
:arrow: หนังสือ "ศิลปะในการดำเนินชีวิต" วิปัสสนากรรมฐาน สอนโดยท่านอ.โกเอ็นก้า
เขียนโดย วิลเลียม ฮาร์ท (ราคา 35.-) สั่งซื้อได้ที่ 02-993-2744, 08-7314-0606
เป็นหนังสือที่ดีมากเล่มหนึ่ง อ่านง่าย และมีประวัติของท่านอาจาร์ยโกเอ็นก้าด้วย

:arrow: อดไม่ได้ที่เขียนให้เพื่อนๆได้อ่านนะค่ะ
:D (หน้าที่ 216 )
ปู่อพยพจากอินเดีย--> มาพม่า--> เป็นครอบครัวนักธุรกิจ
ก่อนถึงวัยเบญจเพสข้าพเจ้าก็นำตัวเองเข้าไปสู่ความบ้าคลั่งในการแสงหาสถานะ สูงส่งในสังคม จึงเป็นธรรมดาทีความตึงเครียด ส่งผลให้เป็นโรคไมเกรนอย่างรุนแรง
ทุก 2 สัปดาห์อาการปวดศรีษะจะกำเริบอย่างรุ่นแรง...... ฉีดมอร์ฟีนบรรเทาปวด
จากหมอพม่า...หมอสวิตเชอร์แลนด้ เยอรมัน อังกฤษ อเมริกา ญี่ปุ่น
...โชคดีมากที่รักษาไม่ได้ ....กลับบ้านด้วยอาการที่ทรุดหนักกว่าเดิม

:D (หน้าที่ 217)
เพื่อนแนะให้ไปเข้าอบรมวิปัสสนาหลักสูตร 10 วัน โดย อ.อูบาขิ่น

:D (หน้า 219)
วันแล้ววันเล่าไม่ได้ไปปฎิบัติอยู่นั่นเอง
เพราะ เป็นฮินดูที่เคร่งครัดมาก ได้รับการสอนว่า
“ให้ตายในศาสนาของเรา ในธรรมะของเรา ไม่หันไปนับถือศาสนาอื่น"

ลังเลนานหลายเดือน ในที่สุดตัดสินใจว่า
ควรลองไปเข้าปฏิบัติดูสักหน่อย ดูซิว่าเป็นอย่างไร.......

:D (หน้า 220)
ข้าพเจ้าได้ปฎิบัติธรรมอยุ่กับท่าน อ.อูบาขิ่นที่พม่านานถึง 14 ปี
โดยที่ดูแลรับผิดชอบกิจการงานของครอบครังให้เรียบร้อยตามหน้าที่ของผู้ครองเรือน
...ปฎิบัติธรรมอยู่เป็นประจำทุกวันในตอนเช้ากับตอบเย็น....ทุกสุดสัปดาห์ก็ไปที่ศูนย์ของ อ.อูบาขิ่น....

:D (หน้า 222)
ปี 2514 ขณะที่ข้าพเจ้ากำลังจัดการอบรมหลักสูตรวิปัสสนาที่พุทธคยา
ก็ได้รับโทรเลขว่า อ.อูบาขิ่นเสียชีวิต

.....เพื่อเป็นการทดแทนบุญคุณของท่านอาจาร์ยอูบาขิ่น....เปรียบเสมือนบิดาทางธรรม
.....เป็นการให้ชีวิตใหม่แก่ข้าพเจ้า ได้หลุดพ้นออกมาจากเปลือกของอวิชชา
....ทำให้ได้พบสัจธรรมอันเที่ยงแท้จากการสำรวจความจริงภายในตนเอง
....ท่านยังเฝ้าอบรมบ่มเพาะให้เติบกล้าในธรรมะตลอด 14 ปี

นับแต่นั้นมา ......
..........
..........
(เป็นเนื้อหาที่มาจากหนังสือ)


:idea: ท่านโกเอ็นก้าเน้นย้ำเสมอว่าธรรมะเป็นของสากล และการปฏิบัติวิปัสสนาไม่ได้จำกัดอยู่แต่เฉพาะหมู่ศาสนิกในศาสนาใดศาสนาหนึ่งเท่านั้น ศูนย์วิปัสสนา 172 แห่งแทบทุกทวีป รวมที่มีอยู่ในเมืองไทย 9 แห่ง
:arrow: อ่านประวัติย่อได้ที่เว็ปนี้ค่ะ

http://www.thaidhamma.net/index.php?opt ... Itemid=114
ท่านอาจารย์โกเอ็นก้าถึงแก่กรรมแล้ว

http://www.manager.co.th/Dhamma/ViewNew ... 0000043295
รายงานพิเศษ : สุภัช จันทรา มหาเศรษฐีหมื่นล้านชาวอินเดีย สร้างเจดีย์วิปัสสนาใหญ่ที่สุดในโลก