หน้า 137 จากทั้งหมด 160

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 20, 2009 10:06 pm
โดย vilage
ใส่รูปไม่เป็น
คุณ i_sarut ช่วยชี้แนะหน่อยครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 20, 2009 10:57 pm
โดย dome@perth
vilage เขียน: ใส่รูปไม่เป็น
คุณ i_sarut ช่วยชี้แนะหน่อยครับ
ลองดูใหม่ครับ

http://image.ohozaa.com/iz/img_0432.jpg

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 21, 2009 8:22 am
โดย Chitaro
ขอบคุณครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 21, 2009 10:06 am
โดย VIB007
i_sarut เขียน:พี่วิบูลย์คิดว่าเครื่องอ่าน e-book จะมาแทนหนังสือธรรมดาแบบตอนนี้ได้มั๊ยครับ ผมอ่านบทความมาตอนนี้ amazon กำลังเร่งโปรโมตเรื่อยๆเลยครับ

รูปภาพ
- ถ้าไม่ได้เพราะเหตุใดครับ

- ถ้าได้คิดว่าจะใช้ระยะเวลาประมาณกี่ปีหรือกี่สิบปีครับ
ผมว่าอเมซอนคงมองเห็นเทรนด์ในโลกสิ่งพิมพ์
อย่างตอนนี้หนังสือพิมพ์รายวันในอเมริกาก็กำลังเจ๊งลงทุกวัน
คนไม่อ่านหนังสือพิมพ์ในกระดาษแล้ว
แต่ค้นหาอ่านเอาจากในเนต

ปัจจุบันเมืองไทยหลายคนที่ผมรู้จัก
โดยเฉพาะพวกเด็กรุ่นใหม่และคนที่สนใจไอที
ไม่อ่านหนังสือพิมพ์กระดาษแล้ว
แต่อ่านจากเนตแทน

มันเป็นเทรนนะ
เหมือนซีดีตอนนี้ก็ขายไม่ออก
เพราะคนโหลดเพลงหมด
ทั้งถูกกฏหมายและโหลดฟรีตามเวป

คินเดี้ลก็เช่นเดียวกัน
มันเป็นเทรน

ผมว่าในอนาคตมันมาแน่
แต่ในระยะยสั้นยังคงแทนหนังสือกระดาษไม่ได้ร้อยเปอร์เซนต์
ในระยะสิบปี (2019) มันอาจจะแทนได้สัก 10-20%

ทำไม
ผมเดาเอาว่า
หนึ่ง เครื่องยังแพง
สอง เทคโนโลยี่ต้องสามจีไวไฟถึงจะเวิร์ค
สาม ขอยืมไม่ได้...ของใครของมัน อิ

ผมว่าเวิร์คสำหรับกลุ่มลูกค้าดังนี้
คนรุ่นใหม่สายตาดี
อินเทรนด์
ไม่ชอบเก็บหนังสือ..คนโมบายย้ายบ้านบ่อยๆ
ชอบหาหนังสือหายาก
ไม่ชอบรอให้หนังสือมาส่งทางไปรณีย์

แต่กับกลุ่มลูกค้ารุ่นเก่าคงไม่ใช่
ทุกวันนี้ที่ยังชอบอ่านหนังสือพิพม์อยู่
ไม่ชอบอ่านจากเนต
ชอบอ่านหนังสือบนกระดาษมากกว่า

ในระยะยี่สิบปี (2029) มันอาจจะแทนได้สัก 30-50%
คงไม่ทั้งหมด

ทั้งหมดนี้เดาล้วนๆ

คนที่มาแรงกว่าน่าจะเป็นกูเกิ้ลนะครับ
กูเกิ้ลกำลังสแกนหนังสือที่หมดลิขสิทธิ์
และนำมาเสนอให้โหลดผ่านเวป
อันนี้ไม่ต้องลงทุนซื้อHardware
ก็หาหนังสือหายากได้เช่นกัน

ต่อไปกูเกิ้ลก็ให้โหลดหนังสือผ่านเวป
แข่งกับอเมซอน
ไมต้องลงทุนซื้อเครื่องอ่านน่าจะเวิร์คกว่านะ ผมว่า

อเมซอนกำลังมีผัญหากับสำนักพิมพ์
เพราะคิดราคา 9.99 เหรีญญเท่ากันหมดทกเล่ม
สนพ ร้องจ๊ากลูกเดียว

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 21, 2009 3:03 pm
โดย noooon010
พี่วิบูลย์ขอบคุณมากๆนะครับผม พี่ใจดีเสมอเลยครับ  :D
เช้านี้ผมพึ่งกลับมาจากประชุมที่ต่างประเทศครับ

ส่วนใหญ่ที่เค้าพูดด้านเศรษฐกิจ เค้าก็มองว่า ให้รอผลประกอบการไตรมาส 3 ที่จะประกาศในใกล้ๆนี้
บางคนคาดเดาว่า เศรษฐกิจ จะเป็นรูปตัว v ตัว L ตัว W ฯลฯ

กลับมาคราวนี้ผมรู้สึกดีจังเลยครับ เพราะนอกจากได้ประชุมและได้เปิดตาดูโลกใหม่ๆ
ผมไม่ได้อ่านข่าวหุ้นเลย เกือบ 1 สัปดาห์

ได้แนวคิดจากพี่ และพี่โจ๊กแหละครับ ว่าระยะเวลาการลงทุนของเราอยู่ที่ไหน
แล้วเราจะมองโลกง่ายขึ้น

                   บุญรักษาครับพี่ครับ  :D

ปล.ซื้อ financial time มา มีเนื้อหาน่าอ่านเยอะเลยครับพี่ครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 21, 2009 8:51 pm
โดย i_sarut
ขอบคุณมากครับ  :P

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 22, 2009 8:59 am
โดย VIB007
[quote="noooon010"]พี่วิบูลย์ขอบคุณมากๆนะครับผม พี่ใจดีเสมอเลยครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ย. 22, 2009 9:04 pm
โดย SunShine@Night
ขอสอบถามความคิดของพี่วิบูลย์ด้วยครับ

ว่าตอนนี้ ตลาดกำลังอยู่ในภาวะการมองโลกในแง่ดีเกินไปหรือเปล่าครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 25, 2009 12:04 am
โดย VIB007
SunShine@Night เขียน:ขอสอบถามความคิดของพี่วิบูลย์ด้วยครับ

ว่าตอนนี้ ตลาดกำลังอยู่ในภาวะการมองโลกในแง่ดีเกินไปหรือเปล่าครับ
ท่านดร.นิเวศน์มองตลาดตอนนี้เหมือนม้าหมุน marry-go-round
ส่วนผมมองเป็นเก้าอี้ดนตรี
เพราะช่วงนี้มีคนมาถามผมมากว่า
ตอนนี้ขายหุ้นที่มีอยู่ออกไปแล้วจะซื้อตัวไหนดี
ทำให้ผมมองเห็นเหมือนการเล่นเก้าอี้ดนตรี
ที่เราก็เปลี่ยนเก้าอี้(ตัวหุ้น)ไปเรื่อยๆ
จนกว่าเพลงจะจบและเราก็ต้องออกจากเกมส์

ตลาดหุ้นตอนนี้เหมือนเพลงกำลังเล่นไปเรื่อยๆ
ยังไม่ทีท่าว่าจะจบ
และคนเล่นก็เริ่มจะ"มันส์"กับกำไรทีได้(ง่ายๆ)
ขายตัวนั้นเข้าตัวนี้
ยังไงก็ได้กำไร
เมื่อไหร่ที่ทุกคนทำกำไรง่ายไจากตลาดหุ้น
นั่นเป็นเวลาที่น่ากลัวที่สุดสำหรับผม
เพราะไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ตลาดจะเอาคืน
และจากนั้นก็เป็นวัฏจักรที่จะมีคนสาปส่งตลาดหุ้น(อีกรอบ)

นักวิเคาระห์ต้นปีใช้ผลประกอบการปีนี้มาคิดราคาหุ้น
พอตลาดขึ้นๆเลยราคาเป้าหมายเดิม
ก็หันมาใช้ผลประกอบการปีหน้ามาคำนวณราคาหุ้น
นี่ถ้าเลยราคาเป้าหมายปีหน้าแต่ตลาดยังขึ้นต่อ
ไม่รู้จะเอาผลประกอบการในอีกสองปีมาคิดหรือเปล่า
เอาอีกห้าปีมาคิดเลยก็ได้นะ...ผมว่า
จะได้มองกันยาวๆน่อย อิ อิ ประชดนะ

ตอนนี้โบรกเริ่มมาบอกแล้ว
จะไป 800 จุด
จะไป 1000 จุด
วัฏจักรจริงๆ
ผมเห็นมาหลายรอบแล้วอย่างนี้

เมื่อไหร่ที่ทุกคนมองโลกในแง่ดี
ตลาดหุ้นคงไปได้ต่อ
แต่จะนานแค่ไหน แค่นั้นเอง

อย่าลืมกฏฟิสิกส์
Action = Reaction
ยิ่งเด้งแรง ยิ่งลงแรง (เผลอๆลงแรงกว่า)

แต่เอาเถอะ
ตอนนี้ใครกำลังสุก...เอ้ย..สนุก
ก็ขอให้โชคดีเอาตัวรอดกันทุกคนนะครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 25, 2009 7:52 am
โดย por_jai
:8) รูปนี้เครดิตหมอแก๊นซ์แม่นกว่าแห่งสินธร
     เก่าไปนิด ตั้งแต่ต้นกันยา

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 25, 2009 7:59 am
โดย SunShine@Night
ในแง่แวลูเอชั่นไม่ได้ แต่ดูในแง่โมเมนตั้มน่าจะไปต่อได้
อย่างนี้ก็ถือไป ใจสั่นไปหรือเปล่าครับ เสียว :)

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 25, 2009 3:18 pm
โดย i_sarut
มาถามเรื่อง trend กับพี่วิบูลย์ต่อครับ ชอบมุมมองพี่ครับ

คราวนี้ถามเรื่อง trend อาหารสำเร็จรูปครับ

รูปภาพ

- พี่วิบูลย์คิดว่า ตลาดอาหารประเภทของว่างกินเล่น , อาหารจานด่วนแบบ ready to eat นี้จะโตได้อีกเยอะมั๊ยครับ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกครับ  :?:

- มีความเป็นได้มั๊ยครับที่อีกซัก 5 - 10 ปี ข้างหน้า อาหารพวกนี้ คนจะกินกันอย่างน้อย 1 มื้อต่อวัน ทุกๆวันครับ  :?:

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 25, 2009 11:17 pm
โดย hongvalue
[quote="por_jai"]

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ย. 25, 2009 11:27 pm
โดย hongvalue
Voldtrest เขียน:ฮงทำงาน freelance หรือเปล่าครับ ถึงได้มีโอกาสไปฟังสัมนาดีๆ มากมาย

วันนี้ผมเอา แหล่งข้อมูลจีนมาฝากครับ  ช่วงนี้ยังรวบรวมสมาธิเขียนไม่ได้  

 http://www.chinadaily.com.cn/  

คิดว่าถูกใจสำหรับท่านที่ภาษาอังกฤษแข็งแรง ครับผม

โทษทีที่ตอบช้าไปเกือบเดือน
ผมไม่ได้ทำ freelance ครับผมช่วยงานที่บ้านอยู่ครับ
ทำเกี่ยวกับเสื้อผ้าครับ

เรื่องอัตราส่วนทางการเงินที่เคยถาม ผมไปตอบให้แล้วนะครับ
crazyrisk เขียน:ฮง วันไหนมีสัมมนา อะไรน่าสนใจ

ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องหุ้น

เอาเรื่อง

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 9:05 am
โดย VIB007
hongvalue เขียน: เห็นพี่ป้อมพูดถึงผมเลยแวะมาคุยและแวะมาทักทายพี่วิบูลย์ด้วยเลย
อ๋อ ดี๋ยวนี้ไม่เรียกไม่มา
ดังแล้วนิ..อิ :lol:
hongvalue เขียน:
พี่วิบูลย์ปั่นกระทู้ถึง 9 แสนเก้าหมื่นห้าพันครั้งเมื่อไหร่ผม
จะมาช่วยปั่นอีก 5 พันแล้วขอกินเหลานะ

อิอิอิ แวะมาทักทายเพราะพี่พอใจพูดถึงผม
ถ้ารอถึงเก้าแสนห้าแล้วค่อยมา
จากเหลาคงเหลือแค่ข้าวแกงนะ...ฮา  :lol:  :lol:

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 9:30 am
โดย VIB007
[quote="i_sarut"]มาถามเรื่อง trend กับพี่วิบูลย์ต่อครับ ชอบมุมมองพี่ครับ

คราวนี้ถามเรื่อง trend อาหารสำเร็จรูปครับ

- พี่วิบูลย์คิดว่า ตลาดอาหารประเภทของว่างกินเล่น , อาหารจานด่วนแบบ ready to eat นี้จะโตได้อีกเยอะมั๊ยครับ ทั้งในประเทศไทยและทั่วโลกครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:01 am
โดย chatchai
แวะเข้ามาทักทายครับ

เดี๋ยวนี้  ร้านอาหารบางร้านก็อาศัยอาหารแช่แข็งแล้วนะครับ  เวลาลูกค้าสั่ง  ก็เข้าไมโครเวฟ  สะดวกในแง่การบริหารและบริการ

ถ้าอาหารแช่แข็งขายดีซิครับ  WG จะได้ขายสารปรงแต่งกลิ่นและสีของอาหารมากๆ   :lol:

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:02 am
โดย hongvalue
VIB007 เขียน: อ๋อ ดี๋ยวนี้ไม่เรียกไม่มา
ดังแล้วนิ..อิ :lol:
งง ครับ ดังยังไง เกิดอะไรขึ้น
ผมก็เป็นผมเหมือนเดิมนิ  :lol:
หรือว่าคนรู้จักพี่พูดถึงผม?

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:11 am
โดย hongvalue
ชวนพี่วิบูลย์ พี่ป้อม พี่ฉัตรชัย(เซียนsvi) คุยด้วยครับ


หลังๆผมเจอเพื่อนๆนักลงทุนเยอะ ผมนึกถึงคำพูดของเสี่ยยักษ์

เขาบอกว่า เล่นหุ้นอย่างเล่นคนเดียว อย่าคิดเองเออเอง

ผมว่าจริงที่สุด บางทีเรารู้ข้อมูลอะไรบางอย่างไปเล่าให้คนฟัง
บางคนเขารู้ดีกว่าเราเขาก็ช่วย comment อะไรมาให้ตั้งเยอะ
แล้วก็เล่าว่าเขาเจออะไรมาบ้าง อย่างนุ่นอย่างนี้

หลังๆนี้ผมถึงขนาด 1 อาทิตย์ต้องนัดเจอก๊วนลงทุน 2 ครั้ง
เพื่อแชร์ idea กันเมื่อก่อนเคยคิดว่าตัวเองอ่าน research อยู่บ้าน
คนเดียวก็ได้ไม่เห็นต้องออกมาสุงสิงกับใคร

แต่หลังๆรู้ตัวแล้วว่าคิดผิดจังๆ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:23 am
โดย hongvalue
เมื่อวานเจอคนใน tvi 20 กว่าคน
มีคนถามผมว่า ฮง คิดว่ายังไงที่พี่วิบูลย์บอกว่าหุ้นโรงกลั่นปิโตร
ราคาวิ่งเกินพื้นฐานมาไกล ผมก็บอกผมก็ไม่รู้เหมือนกันแต่พี่เขาเซียน
ผมก็เชื่อเขา


ผมก็ดังนิ โพสทีคนให้ความสนใจกัน

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:44 am
โดย VIB007
[quote="hongvalue"]
งง ครับ ดังยังไง เกิดอะไรขึ้น
ผมก็เป็นผมเหมือนเดิมนิ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 1:24 pm
โดย hongvalue
VIB007 เขียน: ดังซิ
ก็เอ็งมีบล๊อคของตัวเองแล้วนี่นา
คนเข้าไปดูกันตรึม.... :lol:  :lol:
อ้อ หมายถึงเรื่องนี้เองเหรอ

ผมว่ามันดีตรงที่ว่าอีกหน่อยถ้ามีนักลงทุนหลายแนวเข้ามา
ก็จะได้คุยเรื่องเดียวกันแต่ว่าต่างมุมมองผมว่ามันน่าจะดี

ผมอยากเล่าสิ่งที่ผมทำผิดพลาดและคิดว่าควรจะแก้ไขให้ฟัง

1.ผมคิดว่าเมื่อก่อนผมเป็นคนที่ใช้คำพูด aggressive เกินไปในการแสดงความเห็นซึ่งจริงๆแล้วเรื่องของมุมมองมันไม่มีถูกผิด บางครั้งถูกผิดขึ้นอยู่กับระยะเวลาสิ่งนึงดูผิดในช่วงนึงแต่ดูถูกในอีกช่วงนึง

2.ผมเข้าใจข้อจำกัดของการวิเคราะห์แนวโน้มมากขึ้นเมื่อก่อนผมดู indi fundflow ผมไม่ได้แยกว่าตัวไหนเป็นระยะสั้น ระยะยาว แต่ไหนบอก risk/reward ตัวไหนบอก sentiment ทำให้ผมดูแล้วมองผิดประเด็น

3.การเรียนรู้ของคนเรามีข้อจำกัดถ้าอยากเก่งก็ต้องดิ้นรนมากกว่าคนอื่น
คนเราควรใช้หูมากกว่าใช้ปาก ถ้าเราอ่านหนังสือการลงทุนดีๆไปเยอะแล้ว
และไม่รู้จะเรียนรู้อย่างไร ก็ให้เรียนรู้จากการเจอผู้คนแล้วถามสิ่งที่เขาประสบมา ช่วงนี้ผมเจอเยอะ sale นักลงทุนสถาบัน คนทำงานกองทุนบางกอง
ได้ฟังว่าเขาเจออะไรมาบ้าง อย่างนุ่นอย่างนี้ได้เปิดหูเปิดตาเยอะมาก
ของแบบนี้ไม่มีเขียนที่ไหนให้อ่าน ไม่มีเล่าที่ไหน ต้องขยันเจอคน
ขยันถามคนแล้วจะเปิดโลกได้เยอะ เมื่อก่อนผมว่าผมใช้ปากมากไปหน่อย
เดี่ยวนี้เลยใช้หูให้มากขึ้น เขาว่าคนเรามีสองหูแต่มีหนึ่งปากเพื่อให้ฟังมากกว่าพูด

4.เมื่อก่อนใครจะทำอะไรผมไม่เคยสนใจเลย เดี่ยวนี้ผมบอกคนรู้จักเลยว่า
นี้ถ้านาย ก ขายหุ้นตัวนี้เมื่อไหร่ให้บอกผมบ้าง นาย ข ซื้อตัวไหนบอกผมบ้าง
มาลองคิดดูแล้วผมรู้ว่าคนเก่งๆคนอื่นทำอะไร จะได้ทำให้ผมไม่ตกข่าวไม่ตกกระแสว่าใครมองอย่างไรทำอะไรกันบ้างเพราะอะไร

5.บางทีการคุยกับนักลงทุนมือใหม่ก็ได้เรียนรู้มากกว่าที่เราคิด บางทีเราอาจจะกลัวตลาดมากเกินไป แต่นักลงทุนมือใหม่บางคนกล้ามากเกินไป จูนกับไปมา ผมกล้ามากขึ้น เขากล้าน้อยลง สมดุลดี ฮา


ผมรู้สึกว่าชีวิตช่วงนี้ผม happy ขึ้นเยอะเพราะได้ทบทวนตัวเอง
แล้วก็ได้ปรับปรุงแก้ไขในสิ่งไม่ดีต่างๆ


ผมเริ่มเข้าใจแล้วนะเรื่องการเล่นหุ้นตัวเดียวผมว่ามันมีหลักการอะไรบางอย่าง
ที่ทำให้การเล่นหุ้นตัวเดียวใน Port ไม่ได้เสี่ยงอย่างที่คิด เมื่อกี้ผมก็คิดว่าพี่กล้าเล่น pttep ตัวเดียวเกือบทั้ง port ได้ไงแต่หลังๆผมเจออะไรมากขึ้นกลับมาคิดใหม่ สิ่งที่พีทำก็ไม่ได้เสี่ยงมากเหมือนที่คนอื่นๆคิดกัน(ความเห็นของผม)


จริงๆแล้วผมลองมาทบทวนตัวเองดู สมัยก่อนผมเป็นแนวบ้าเลือดบู๊ล้างผลาญ ผมเล่นหุ้นทีเดียว 190% บางทีเล่นจนโบรกบอกว่าซื้อเกินวงเงิน
margin แล้วนะต้องลดจำนวนหุ้นลง ทำขนาดนั้นยังไม่คิดว่าเสี่ยง
ต่อมาได้ศึกษาเรื่อง risk/reward ratio ,risk adjust return ก็รู้ว่าเมื่อก่อนตัวเองเสี่ยงมากกว่าที่ควรทำเป็นเยอะเกินไป และผมได้ศึกษาแนวคิดของ trader ก็ได้เข้าใจเรื่องการดูพฤติกรรมราคาหุ้น การรอให้นายตลาดเห็นด้วยกับมุมมองของเราก่อนแล้วค่อยเพิ่ม position ของ Port มาตอนนี้รู้สึกว่า
ผมยังประสานสิ่งพวกนี้ได้ไม่ลงตัวมากพอ นักลงทุนที่มีประสบการณ์แบบนึง
มุมมองในการวิเคราะห์ก็จะแคบๆ พอเจออะไรเยอะขึ้นจะเริ่มเรียนรู้ได้ว่าอะไรที่ทำแล้วได้ผล ไม่ได้ผล แล้วก็ค่อยเปลี่ยนไป ผมเริ่มเชื่อแล้วว่าคนที่อยู่ในตลาดไม่ถึง 10 ปีหาเซียนจริงๆได้ยากมาก เพราะเจออะไรมาไม่เยอะแล้วจะเอาสิ่งที่เจอไม่เยอะมาตัดสินว่าการลงทุนเป็นอย่างไร ผมพยายามจะคุยกับคนที่มีประสบการณ์มากกว่า หรือใกล้ชิดกับคนเก่งแล้วถามต่อมาอีกทีว่าเขามีมุมมองอย่างไรบ้าง ตะก่อนถ้าเราอ่านเจอ บัฟเฟต พูดว่าถ้าคุณทนเห็นหุ้นที่ถือลงไป 50% ไม่ได้ก็ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น เราก็จะคิดว่าทำไมมันดูรุนแรงจังตั้ง 50% แต่พอเราเจอแบบปีที่แล้วเราก็คงไม่คิดว่ามัน aggressive เกินไป


ผมเลยคิดว่าการเรียนรู้ของผมหลังจากนี้คงจะเน้นเรื่องการออกไปพบเจอผู้คนและฟังให้มาก ผมทำมาซักพักแล้ว รู้สึกได้ว่ามองอะไรเปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ

คิดแล้วก็ตลกบางคนซื้อหุ้นแล้วเจ้ามาช่วยลากก็คิดเข้าข้างตัวเองว่า story ตัวเองถูก ทั้งๆที่ story นั้นมันก็เก่าแก่เก่าเก็บ เล่ามาก็หลายปีแล้ว ผู้บริหารมันก็สีดำชัดๆ ก็ยังเข้าไปเสี่ยง

ไม่รู้จะเตือนยังไง บางครั้งของแบบนี้พูดไปสองไพเบี้ยสู้นิ่งเสียตำรึงทอง
ก็เลยเงียบๆ


ไว้ว่างๆมาคุยต่อ เพราะเดี่ยวตารางผมต้องนั่งอ่าน research กี่ชั่วโมงต่อวัน
ต้องครบก่อนแล้วถึงทำอย่างอื่นทีหลัง ถ้าไม่ทำแบบนี้มันจะขี้เกียจจนเคยตัว

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 2:59 pm
โดย VIB007
[quote="chatchai"]แวะเข้ามาทักทายครับ

เดี๋ยวนี้

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 3:58 pm
โดย i_sarut
ขอบคุณมากครับ  

พอดีตอนนี้กำลังดูเรื่อง trend ใหม่ๆอยู่ครับ  :lol:  

นอกจาก trend หลักๆที่รู้กันอยู่ เช่น โรงพยาบาล ประกัน ค้าปลีก ไอที

แล้วจะมาขอคำแนะนำใหม่นะครับ  :P

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 4:45 pm
โดย VIB007
hongvalue เขียน:

ผมอยากเล่าสิ่งที่ผมทำผิดพลาดและคิดว่าควรจะแก้ไขให้ฟัง

1.ผมคิดว่าเมื่อก่อนผมเป็นคนที่ใช้คำพูด aggressive เกินไปในการแสดงความเห็นซึ่งจริงๆแล้วเรื่องของมุมมองมันไม่มีถูกผิด บางครั้งถูกผิดขึ้นอยู่กับระยะเวลาสิ่งนึงดูผิดในช่วงนึงแต่ดูถูกในอีกช่วงนึง
เรื่องนี้รู้สึกจะเบาลงจนรู้สึกได้
แต่ก่อนนี้รู้สึกคุยกัน บางคนอยากฟาดปากเอ็งสักปาบ
แต่พี่เฉยๆนะ ชินแล้ว
ช่วงนี้ตั้งแต่มีความรักจะเห็นว่าฮงนุ่มนิ่มขึ้น...อิ
hongvalue เขียน:
2.ผมเข้าใจข้อจำกัดของการวิเคราะห์แนวโน้มมากขึ้นเมื่อก่อนผมดู indi fundflow ผมไม่ได้แยกว่าตัวไหนเป็นระยะสั้น ระยะยาว แต่ไหนบอก risk/reward ตัวไหนบอก sentiment ทำให้ผมดูแล้วมองผิดประเด็น
รู้แล้วบอกต่อด้วย..หลังไมค์ก็ได้
hongvalue เขียน:
3.การเรียนรู้ของคนเรามีข้อจำกัด

เมื่อก่อนผมว่าผมใช้ปากมากไปหน่อย
เดี่ยวนี้เลยใช้หูให้มากขึ้น เขาว่าคนเรามีสองหูแต่มีหนึ่งปากเพื่อให้ฟังมากกว่าพูด
เรียกว่าเพิ่งเข้าถึงรสธรรม
hongvalue เขียน:
4.เมื่อก่อนใครจะทำอะไรผมไม่เคยสนใจเลย เดี่ยวนี้ผมบอกคนรู้จักเลยว่า
นี้ถ้านาย ก ขายหุ้นตัวนี้เมื่อไหร่ให้บอกผมบ้าง นาย ข ซื้อตัวไหนบอกผมบ้าง
มาลองคิดดูแล้วผมรู้ว่าคนเก่งๆคนอื่นทำอะไร จะได้ทำให้ผมไม่ตกข่าวไม่ตกกระแสว่าใครมองอย่างไรทำอะไรกันบ้างเพราะอะไร
ระวังอินไซด์
หลายคนเจ็งเพราะอินไซค์มาแล้วนะ
เพราะมั่นใจสุดๆ แต่สุดท้าย......

hongvalue เขียน:
ผมเริ่มเชื่อแล้วว่าคนที่อยู่ในตลาดไม่ถึง 10 ปีหาเซียนจริงๆได้ยากมาก เพราะเจออะไรมาไม่เยอะแล้วจะเอาสิ่งที่เจอไม่เยอะมาตัดสินว่าการลงทุนเป็นอย่างไร ผมพยายามจะคุยกับคนที่มีประสบการณ์มากกว่า หรือใกล้ชิดกับคนเก่งแล้วถามต่อมาอีกทีว่าเขามีมุมมองอย่างไรบ้าง ตะก่อนถ้าเราอ่านเจอ บัฟเฟต พูดว่าถ้าคุณทนเห็นหุ้นที่ถือลงไป 50% ไม่ได้ก็ไม่ควรอยู่ในตลาดหุ้น เราก็จะคิดว่าทำไมมันดูรุนแรงจังตั้ง 50% แต่พอเราเจอแบบปีที่แล้วเราก็คงไม่คิดว่ามัน aggressive เกินไป
อันนี้จริง
เซียนขาขึ้นมีมากบานตะไท
อย่างตอนช่วงนี้เป็นต้น
คุยกันจังกำไรกันกี่เปอร์เซนต์

แต่พอตลาดเป็นขาลง
เซียนจริงเซียนไม่จริงดูกันตอนนี้..ดูขาลงเท่านั้น

ใครทำกำไรขาลงได้
สุดยอดแท้

hongvalue เขียน:
ผมเลยคิดว่าการเรียนรู้ของผมหลังจากนี้คงจะเน้นเรื่องการออกไปพบเจอผู้คนและฟังให้มาก ผมทำมาซักพักแล้ว รู้สึกได้ว่ามองอะไรเปลี่ยนไปชนิดหน้ามือเป็นหลังมือ

คิดแล้วก็ตลกบางคนซื้อหุ้นแล้วเจ้ามาช่วยลากก็คิดเข้าข้างตัวเองว่า story ตัวเองถูก ทั้งๆที่ story นั้นมันก็เก่าแก่เก่าเก็บ เล่ามาก็หลายปีแล้ว ผู้บริหารมันก็สีดำชัดๆ ก็ยังเข้าไปเสี่ยง

ไม่รู้จะเตือนยังไง บางครั้งของแบบนี้พูดไปสองไพเบี้ยสู้นิ่งเสียตำรึงทอง
ก็เลยเงียบๆ
ช่างเขาเถอะ
เราเปลี่ยนคนอื่นไม่ได้หรอก
แต่เราเปลี่ยนตัวเราเองได้

hongvalue เขียน:
ไว้ว่างๆมาคุยต่อ เพราะเดี่ยวตารางผมต้องนั่งอ่าน research กี่ชั่วโมงต่อวัน
ต้องครบก่อนแล้วถึงทำอย่างอื่นทีหลัง ถ้าไม่ทำแบบนี้มันจะขี้เกียจจนเคยตัว
ชีวิตเป็นตารางเวลาเลยนะ
ดีแล้วล่ะ
เดี๋ยวก็ชิน

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 4:46 pm
โดย VIB007
[quote="i_sarut"]ขอบคุณมากครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 6:18 pm
โดย hongvalue
VIB007 เขียน:

แต่พอตลาดเป็นขาลง
เซียนจริงเซียนไม่จริงดูกันตอนนี้..ดูขาลงเท่านั้น

ใครทำกำไรขาลงได้
สุดยอดแท้

cpf ขึ้นสวน set ที่ลงมาหลายวันแล้วนะ

แซวเล่นนะ
VIB007 เขียน:
ระวังอินไซด์
หลายคนเจ็งเพราะอินไซค์มาแล้วนะ
เพราะมั่นใจสุดๆ แต่สุดท้าย......

อ้อ ไม่ใช่แนวอินไซด์อยู่แล้วครับ
ถามเฉพาะคนดูพื้นฐานน่ะครับ
ว่าใครทำอะไรบ้าง ข่าวลือข่าวปล่อย
ได้ยินบ่อยครับ ฟังแล้วก็ดูว่าจริงไหม
ส่วนใหญ่จะไม่จริงน่ะครับ

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:45 pm
โดย ซากคน
เมื่อจีนเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีก  

นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา กรกฎาคม 2552

ภาคบริการเป็นสาขาที่จีนกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง หลังการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมการผลิตของตนได้ประสบความสำเร็จอย่างสูง จนสามารถครองส่วนแบ่งตลาดส่งออกได้เกือบทั่วโลกในเกือบทุกรายการสินค้า

หากเปรียบเทียบภาคการผลิตเป็นฮาร์ดแวร์ ภาคบริการก็คือซอฟต์แวร์ และเป็นซอฟต์แวร์ที่จีนขาดทักษะในการผลิตและบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาหนึ่งก็คือ การพัฒนาให้พนักงานชาวจีนมีหัวใจบริการ ดังเช่นพนักงานชาวญี่ปุ่นที่เอาใจใส่ลูกค้าตลอดเวลา นับจากวินาทีที่ลูกค้าเดินเข้าร้าน จนเดินออกจากร้าน พนักงานโค้งคำนับลูกค้าครั้งแล้วครั้งเล่าจนนับไม่ถ้วน

จีนสามารถผลิตอะไรก็ได้ให้กับคนทั้งโลก แต่กลับ (ยัง) ไม่สามารถพัฒนา บุคลากรในภาคบริการของตนให้สามารถครองใจลูกค้าได้

จีนก็ตระหนักถึงข้อด้อยด้านนี้ของตน จึงหันมาให้ความสนใจต่อภาคบริการ และต้องการพัฒนาภาคบริการอย่างต่อเนื่องให้เป็นภาคที่ทำเงินให้กับประเทศ หลังภาคการผลิตกำลังเผชิญกับทางตัน ยอดการส่งออกลด กอปรกับต้นทุนในการ ผลิตที่สูงขึ้นเรื่อยๆ ทำให้จีนอาจไม่สามารถ แข่งขันกับทั่วโลกในด้านการผลิตสินค้าราคาถูกแต่เพียงอย่างเดียวได้อีกต่อไป

แผนการพัฒนาภาคบริการจึงได้รับ การบรรจุไว้ในแผนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (แผน 5 ปี) ฉบับที่ 11 ปี 2005-2010 (the 11th Five-Year Plan for National Economic and Social Development 2005-2010) โดยจีนตั้งเป้าไว้ว่า จะพัฒนาภาคบริการของตนให้ทำ รายได้ให้กับประเทศเพิ่มขึ้นเป็น 43.3% ของรายได้ประชาชาติทั้งหมดภายในประเทศ (GDP) ภายในปี 2010 และเพิ่มขึ้นเป็น 50% ของ GDP ภายในปี 2020

สำหรับภาคบริการที่จีนเน้นและให้ความสำคัญเป็นลำดับต้นๆ คือ บริการด้าน การขนส่ง บริการด้านโลจิสติกส์ที่ทันสมัย (Modern Logistics) บริการด้านการเงิน บริการด้านข้อมูลข่าวสาร และบริการด้านพาณิชยกรรมและวิชาชีพ ซึ่งล้วนแต่เป็นบริการที่เอื้อต่อการพัฒนาภาคการผลิต ซึ่งยังคงเป็นสาขาที่ทำรายได้สูงให้กับเศรษฐกิจของประเทศ

ถือได้ว่าจีนยังคงตั้งมั่นที่จะพัฒนา "ฮาร์ดแวร์" (ภาคการผลิต) ของตนให้มีประสิทธิภาพสูงยิ่งๆ ขึ้นไป โดยใช้ "ซอฟต์แวร์" หรือบริการใน 5 สาขาดังกล่าวมาเป็นตัวช่วย โดยยังไม่ได้มองถึงบริการที่ให้ ความรู้สึก "ซอฟต์" หรือผ่อนคลายในความ หมายที่คนไทยมักหมายถึงเมื่อกล่าวถึงคำว่า "บริการ" เช่น บริการนวด สปา ท่องเที่ยว ร้านอาหาร ฯลฯ

การเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีกในจีน ภายใต้ข้อตกลงกับ WTO

ธุรกิจค้าปลีกเป็นส่วนหนึ่งของ บริการด้านพาณิชยกรรมและวิชาชีพ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของบริการ 5 สาขาหลักที่จีน ให้ความสำคัญสูง ภายใต้แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติฉบับที่ 11 และเป็นธุรกิจที่จีนได้เปิดเสรีเพิ่มขึ้นเป็นลำดับมาโดยตลอด นับจากวันที่จีนเข้าเป็น สมาชิกขององค์การการค้าโลก หรือ WTO เมื่อปี ค.ศ.2001 (พ.ศ.2544)

ข้อตกลงที่จีนให้ไว้กับ WTO ในเรื่องการอนุญาตให้ห้างค้าปลีกต่างชาติ สามารถเข้ามาเปิดกิจการในจีนได้นั้น มีข้อกำหนดมากมาย คือ

1) นักลงทุนต่างชาติสามารถเข้ามาเปิดกิจการค้าปลีก ค้าส่ง แฟรนไชส์ (หรือเรียกโดยรวมว่าบริการกระจายสินค้า (Distribution Services)) ได้เฉพาะเพียงบางเมืองเท่านั้นคือ ในพื้นที่เศรษฐกิจพิเศษ 5 แห่ง ได้แก่ เซินเจิ้น (Shenzhen) ชูไห่ (Zhuhai) ชานโตว (Shantou) เซียะเหมิน (Xiamen) และไหหนาน (Hainan) รวมทั้งในอีก 6 มหานคร คือ ปักกิ่ง (Beijing) เซี่ยงไฮ้ (Shanghai) เทียนจิน (Tianjin) กวางโจว (Guangzhou) ต้าเหลียน (Dalian) และชิงเต่า (Qingdao)

2) การลงทุนดังกล่าวจะต้องเป็น การร่วมทุนกับนักลงทุนชาวจีนเท่านั้น

3) เฉพาะในปักกิ่งและเซี่ยงไฮ้ อนุญาตให้มีการร่วมทุนระหว่างผู้ประกอบการชาวจีนและต่างชาติได้ไม่เกิน 4 ราย สำหรับในนครอื่นๆ ที่เหลือ อนุญาตให้มีการร่วมทุนไม่เกิน 2 ราย

4) ทันทีที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การ การค้าโลก จีนได้อนุญาตให้มีการร่วมทุนระหว่างชาวจีนและชาวต่างชาติเพิ่มขึ้นในอีก 2 เมืองคือ เฉิงโจว (Zhengzhou) และ หวู่ฮั่น (Wuhan)

5) ภายใน 2 ปีหลังจากที่จีนเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก จีนอนุญาตให้นักลงทุนชาวต่างชาติสามารถเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ในการร่วมทุนในธุรกิจค้าปลีกกับชาวจีน แต่เฉพาะในเมืองหลวงของทุก มณฑลของประเทศเท่านั้น

6) จีนอนุญาตให้มีการร่วมทุนในธุรกิจค้าปลีกระหว่างชาวจีนกับชาวต่างชาติเพิ่มเติมในเมืองฉงชิ่ง (Chongqing) และหนิงโบ (Ningbo)

จะเห็นได้ว่าในช่วงเริ่มแรกของการเข้าเป็นสมาชิก WTO จีนมีการคุมเข้มการเข้ามาของห้าง ค้าปลีก-ค้าส่งจากต่างชาติ และจำกัดพื้นที่ในการลงทุนจากต่างชาติ ถือเป็นการเปิดเสรีแบบค่อยเป็นค่อยไป โดยให้เวลาผู้ประกอบการภายในประเทศได้ตั้งตัวสักระยะหนึ่งก่อน

อย่างไรก็ตาม จีนไม่อนุญาตให้บริษัทต่างชาติดำเนินธุรกิจค้าปลีกในสินค้า ต่อไปนี้ ภายใต้ระยะเวลาที่กำหนด

1) หนังสือ หนังสือพิมพ์ นิตยสาร ไม่อนุญาตให้ต่างชาติทำธุรกิจค้าปลีกเฉพาะ ในปีแรกหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก

2) สินค้าเวชภัณฑ์ ยาฆ่าแมลง แผ่นฟิล์มพลาสติกคลุมดินที่ใช้ในการเกษตร (Mulching Films) และน้ำมันที่ผ่านกระบวน การแล้ว (processed oil) เฉพาะ 3 ปีแรก หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก

3) ปุ๋ยเคมี เฉพาะ 5 ปีแรกหลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก

แต่หากพ้นระยะเวลา 5 ปี หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก แล้ว (คือหลังจากปี 2549) เงื่อนไขในการทำธุรกิจค้าปลีกทุกประการจะได้รับการยกเลิก เช่น การจำกัดพื้นที่การลงทุนของต่างชาติเฉพาะในบางเมืองใหญ่ๆ ฯลฯ แต่ถึงกระนั้น รัฐบาลจีนยังคงไม่อนุญาตให้ ต่างชาติเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ ในกรณีที่ธุรกิจค้าปลีกซึ่งจำหน่ายสินค้าจากผู้ผลิตหลายรายนั้นมีสาขาย่อย (Chain stores) มากกว่า 30 สาขา และเป็นธุรกิจที่จำหน่าย สินค้าต่อไปนี้

1) จักรยานยนต์ (เฉพาะช่วงระยะเวลา 5 ปี หลังจากที่จีนเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก ซึ่งหากพ้นระยะเวลาดังกล่าวแล้ว ข้อกำหนดด้านการถือหุ้นจะได้รับการยกเลิก)

2) สินค้าที่ได้รับการระบุข้างต้น และในภาคผนวก 2 ของพิธีสารว่าด้วยการ เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกของจีน (Annex 2 of the Protocol of China's WTO Accession)

กฎหมายควบคุมธุรกิจค้าปลีก-ค้าส่งโดยนักลงทุนต่างชาติในปัจจุบัน

เพื่อเป็นการตั้งรับการเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีกอย่างเต็มที่ ภายหลังการควบคุมการลงทุนธุรกิจค้าปลีกจากต่างชาติ จะต้องสิ้นสุดลงในปี 2549 ตามพันธสัญญาที่จีนให้ไว้กับ WTO เมื่อขอสมัครเข้าเป็นสมาชิกขององค์กร ดังนั้นในปี 2547 จีนจึง ได้ยกร่างกฎหมาย Regulations for the Administration of Foreign Invested Enterprises in the Commercial Sector (ต่อไปนี้เรียกว่า "กฎระเบียบ FIE Commercial Sector") ขึ้นมาเพื่อควบคุมการลงทุนด้านค้าปลีกของต่างชาติที่จะทะลักเข้ามาในประเทศเรื่อยๆ โดยกฎหมายดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน ค.ศ.2004 และครอบคลุมทั้งธุรกิจค้าส่ง ค้าปลีก แฟรนไชส์ และธุรกิจนายหน้าที่เรียกเก็บค่าคอมมิชชั่น เช่น นายหน้าค้าประมูล เป็นต้น

ผลของการนำกฎระเบียบ FIE Commercial Sector มาใช้คือ นักลงทุนต่างชาติสามารถเป็นผู้ถือหุ้นแต่เพียงผู้เดียว (wholly-owned) ได้ในกิจการกระจายสินค้า โดยไม่ต้องร่วมทุนกับนักลงทุนชาวจีน ยกเว้นในกรณีที่นักลงทุนต่างชาติได้เปิดกิจการมากกว่า 30 สาขาแล้วและทำธุรกิจเกี่ยวกับสินค้าบางประเภทที่อยู่ในรายการควบคุม ได้แก่ เวชภัณฑ์ ยาฆ่าแมลง แผ่นฟิล์มพลาสติกที่ใช้ในการเกษตร ปุ๋ยเคมี น้ำมันที่ผ่านกระบวนการแล้ว (processed oil) อาหารหลัก (Staple food) น้ำมันพืช น้ำตาล และฝ้าย ในกรณีดังกล่าวกิจการนั้นๆ จะต้องเป็นกิจการ ร่วมทุนกับชาวจีน โดยนักลงทุนต่างชาติสามารถถือหุ้นได้ไม่เกิน 49% ของจำนวนหุ้นทั้งหมด นอกจากนี้ กฎหมายดังกล่าวห้ามมิให้นักลงทุนต่างชาติประกอบธุรกิจค้าส่งสินค้าเกลือและยาสูบและธุรกิจค้าปลีก ยาสูบ

สำหรับธุรกิจแฟรนไชส์ไม่มีข้อกำหนดระบุไว้ในกฎระเบียบ FIE Commercial Sector ฉบับปี 2004 แต่ปรากฏอยู่ในกฎระเบียบว่าด้วยการจัดการธุรกิจแฟรนไชส์ ปี 2007 (Regulations for the Administration of Commercial Franchising Operations: 2007 Franchising Regulations) ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2007 โดยใจความสำคัญในกฎระเบียบฯ คือ ผู้ประกอบการจะสามารถดำเนินธุรกิจแฟรนไชส์ได้ก็ต่อเมื่อตนได้เปิดร้านของตนเองเป็นจำนวน 2 ร้านเป็นเวลาอย่างน้อย 1 ปีมาก่อนจึงจะสามารถขายแฟรนไชส์ธุรกิจของตนให้แก่ผู้อื่นได้

ข้อเรียกร้องต่อรัฐบาลจีนจากนักลงทุนต่างชาติในด้านธุรกิจค้าปลีก

ถึงแม้จะมีการเปิดเสรีในธุรกิจกระจายสินค้าภายใต้กรอบของข้อผูกพันกับองค์การการค้าโลกแล้วก็ตาม แต่กฎระเบียบอันเคร่งครัดของจีนก็ยังคงควบคุมการขยายสาขาใหม่ของธุรกิจกระจายสินค้าโดยนักลงทุนต่างชาติ โดยหอการค้า สหรัฐอเมริกาในประเทศจีนแย้งว่า กฎระเบียบ FIE Commercial Sector นี้ยังคง มีข้อกำหนดที่เลือกปฏิบัติระหว่างนักลงทุน ต่างชาติกับนักลงทุนของจีนเอง เช่น ข้อกำหนดในเรื่อง บริษัทค้าปลีกต่างชาติที่ทำการเปิดสาขาในจีนมาแล้วมากกว่า 30 สาขาและมีพื้นที่ประกอบการมากกว่า 300 ตารางเมตร ซึ่งต้องการจะเปิดสาขาทำการ เพิ่ม จะต้องยื่นใบสมัครขอเปิดสาขาเพิ่มและจะต้องได้รับการพิจารณาจากรัฐบาลจีนใน 3 ระดับคือ รัฐบาลเขต รัฐบาลมณฑล และรัฐบาลกลาง และบริษัทจะได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจากหน่วยงานจดทะเบียนธุรกิจในพื้นที่ ก็ต่อเมื่อกระทรวงพาณิชย์ของจีนได้อนุมัติแล้วเท่านั้น แต่สำหรับผู้ประกอบการชาวจีนนั้น หากต้องการเปิดสาขาร้านค้าเพิ่มขึ้น ก็สามารถยื่นใบสมัครเปิดสาขาใหม่กับหน่วยงานจดทะเบียนธุรกิจในพื้นที่นั้นๆได้โดยตรง โดยไม่ต้องผ่านขั้นตอนการพิจารณาอนุมัติถึง 3 ระดับดังเช่นในกรณีของนักลงทุนต่างชาติ (ดู http://www. amchamchina.org/article/4142)

นอกจากนี้ จีนยังคงข้อกำหนดว่าด้วยการถือครองหุ้นของชาวต่างชาติในธุรกิจต่างๆ เช่น เวชภัณฑ์ ยาฆ่าแมลง ฟิล์มพลาสติกที่ใช้ในการเกษตร ปุ๋ย อาหาร น้ำมันกลั่น น้ำมันพืช น้ำตาล ฝ้าย ฯลฯ โดยอนุญาตให้ต่างชาติถือครองหุ้นในสัดส่วน 49% เท่านั้น ยกเว้นในกรณีที่นักลงทุนต่างชาติถือสัญชาติฮ่องกงหรือมาเก๊า ซึ่งสามารถถือหุ้นได้ในสัดส่วน 65% (ตามเงื่อนไขในข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างจีนกับฮ่องกงหรือ CEPA) สำหรับการค้ายาสูบ คณะกรรมการพัฒนาและปฏิรูปแห่งชาติ (National Development and Reform Commission: NDRC) ได้กำหนดกฎระเบียบใหม่เกี่ยวกับการออกใบอนุญาตการค้ายาสูบ เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2007 โดยไม่อนุญาตให้ผู้ประกอบการต่างชาติทำธุรกิจใดๆ ที่เกี่ยวกับการค้ายาสูบทั้งส่งและปลีก ซึ่งผู้ประกอบธุรกิจค้าปลีกยาสูบที่เป็นชาวต่างชาติ ซึ่งใบอนุญาตประกอบการได้หมดอายุภายในปี 2008 แล้ว จะไม่มี สิทธิยื่นขอต่อทะเบียนประกอบการอีก

ข้อกำหนดอีกประการหนึ่งของจีนที่หอการค้าสหรัฐฯ ในประเทศจีนแย้งว่า เป็นการเลือกปฏิบัติกับนักลงทุนต่างชาติ คือข้อกำหนดที่เกี่ยวกับการจัดโซนนิ่งหรือเขตการค้าสำหรับผู้ค้าปลีก (Commercial Zoning) โดยนักลงทุนต่างชาติที่ต้องการจะเปิดที่ทำการสาขาใหม่จะต้องแสดงใบ รับรองจากหน่วยงานของรัฐบาลท้องถิ่นก่อนว่า สถานที่ที่นักลงทุนยื่นขออนุญาตเปิดสาขานั้น เป็นไปตามแผนการจัดผังเมืองของเมืองนั้นๆ หรือไม่ ซึ่งหากสถานที่ดังกล่าวอยู่ภายในบริเวณแผนการจัดโซนนิ่งของเมือง ก็จะต้องมีการจัดประชาพิจารณ์ก่อน ซึ่งขั้นตอนดังกล่าวอาจใช้เวลาถึง 3 เดือน อีกทั้งในบางกรณี สถานที่บางแห่งอาจไม่ได้อยู่ภายในโซนนิ่งทั้งหมด ทำให้รัฐบาลท้องถิ่นอาจไม่สามารถ ออกใบรับรองให้ได้ ซึ่งหากไม่มีใบรับรองยืนยันจากรัฐบาลท้องถิ่นว่าสถานที่ดังกล่าวเป็นไปตามแผนการจัดโซนนิ่งของเมืองหรือไม่แล้ว กระทรวงพาณิชย์ก็จะไม่อนุมัติแผนการลงทุนในพื้นที่ดังกล่าวให้แก่นักลงทุนต่างชาติ ในทางตรงกันข้าม ไม่มีข้อกำหนดว่านักลงทุนชาวจีนจะต้องยื่นใบรับรองเรื่องโซนนิ่งให้กระทรวงพาณิชย์พิจารณา

สำหรับในเรื่องทุนจดทะเบียนนั้น แม้ว่ากฎหมาย FIE Commercial Sector ไม่ได้ระบุระดับของทุนจดทะเบียนสำหรับกิจการประเภทธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง แฟรนไชส์ และธุรกิจนายหน้าไว้อย่างชัดเจน แต่ระบุให้บริษัทจะต้องมีทุนจดทะเบียนขั้นต่ำตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายบรรษัท (Company Law) แทน ซึ่งเป็นกฎหมายอีกหนึ่งในหลายๆ ฉบับที่นักลงทุนต่างชาติ ต้องศึกษาหากคิดจะลงทุนในจีน นอกจากนี้ ธุรกิจของการลงทุนจากต่างประเทศจะมีระยะเวลาในการประกอบการได้ไม่เกิน 30 ปี แต่เขตทางตะวันตกของประเทศจีน ซึ่งเป็นพื้นที่ที่รัฐส่งเสริมการลงทุนนั้น ให้มีระยะเวลาประกอบการได้ไม่เกิน 40 ปี

จะเห็นได้ว่า แม้จีนจะเปิดเสรีธุรกิจ ค้าปลีก-ค้าส่ง ให้สอดคล้องกับคำมั่นสัญญา ที่ตนให้ไว้กับ WTO แล้วก็ตาม แต่กฎระเบียบใหม่ๆ ที่รัฐบาลจีนออกมาอย่างต่อเนื่อง ก็สามารถเป็นข้อจำกัดในการลงทุนในธุรกิจดังกล่าวจากต่างชาติได้ แต่อย่างน้อย กฎระเบียบที่รัฐบาลจีนคอยพิจารณาทบทวนและปรับปรุง อีกทั้งได้ประกาศเป็นทางการอย่างชัดเจน ก็เป็นสัญญาณที่ดีที่บ่งบอกให้นักลงทุนต่างชาติทราบว่า จีนตั้งใจที่จะพัฒนาภาคบริการของตนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น โดยพยายามรักษาสมดุลระหว่างการเปิดเสรีตลาดภายในประเทศให้กับต่างชาติกับการช่วยเหลือปกป้องผู้ประกอบการภายในประเทศ ให้มีเวลาตั้งตัวรองรับการแข่งขัน วิธีการเปิดตลาดแบบค่อยเป็นค่อย ไปนี้ แม้จะทำให้นักลงทุนต่างชาติปวดหัวอยู่บ้าง แต่ก็ถือเป็นกลยุทธ์ที่น่าศึกษา และได้ผลสำหรับประเทศที่มีตลาดใหญ่ขนาด 2 พันล้านคนแห่งนี้

หมายเหตุ:
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง "เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีนและการเข้าสู่ตลาดจีนของภาคบริการไทย" โดย สถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (www.itd.or.th)

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 10:48 pm
โดย ซากคน
เมื่อจีนเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีก (2)

นิตยสารผู้จัดการ 360 องศา สิงหาคม 2552

โดย วิไลลักษณ์ ถิรนุทธิ

แม้จีนจะผ่อนผันกฎระเบียบที่เกี่ยวกับการลงทุนจากต่างประเทศในธุรกิจค้าปลีกตามเงื่อนไขการเปิดเสรีเพิ่มขึ้น หลังจากเข้าเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลกได้ 5 ปีแล้วก็ตาม แต่รัฐบาลจีนยังคงสร้างกฎหมายใหม่ๆ ในระดับต่างๆ ขึ้น ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเข้ามาลงทุนของต่างชาติอยู่ไม่น้อย

อย่างไรก็ตาม การที่จีนได้เซ็นข้อตกลงการเปิดการค้าเสรีกับฮ่องกง หรือ CEPA (Mainland and Hong Kong Closer Economic Partnership Arrangement) ตั้งแต่ปี 2546 เป็นการเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุนสัญชาติฮ่องกง และนักลงทุนต่างชาติที่เข้าไปทำธุรกิจในฮ่องกงเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว (3-5 ปี ขึ้นอยู่กับธุรกิจบริการแต่ละประเภท) ให้ได้รับสิทธิพิเศษต่างๆด้านการลงทุน โดยเฉพาะอย่างยิ่งธุรกิจใน ภาคบริการ เช่นการผ่อนผันเรื่องสัดส่วนผู้ถือหุ้นต่างชาติให้นักลงทุนจากฮ่องกงสามารถถือหุ้นได้ 100% ในธุรกิจการจัดนิทรรศการ การท่องเที่ยว การแพทย์และทันตกรรม รวมทั้งบริการด้านการจัดจำหน่าย ซึ่งรวมถึงธุรกิจค้าปลีก ทั้งนี้พื้นที่ที่เป็นพื้นที่นำร่องภายใต้ข้อตกลง CEPA คือ มณฑลกวางตุ้ง

การมีข้อตกลงการค้าเสรีระหว่างฮ่องกงกับจีน ทำให้นักลงทุนต่างชาติหลาย รายสามารถเข้าถึงตลาดจีนได้ง่ายขึ้นกว่าการพยายามเข้าไปลงทุนในจีนโดยตรง บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพีของไทยเอง ก็ใช้วิธีนี้ในการขยายตลาดสินค้าเนื้อหมูของตนเช่นกัน โดยเข้ามาลงทุนในฮ่องกงเพื่อใช้ฮ่องกงเป็นฐานในการขยายตลาดสู่จีนต่อไป ร่วมมือกับห้างชั้นนำของฮ่องกง อย่าง Park n Shop ซึ่งมีสาขากว่า 250 แห่งทั้งในฮ่องกง มาเก๊า และจีน เป็นแหล่ง จัดจำหน่ายเนื้อหมูของซีพีทั้งในฮ่องกงและจีน สำหรับในส่วนสินค้าแช่แข็ง ซีพีจะเน้นการจำหน่ายสินค้าเกี๊ยวกุ้งแช่แข็ง โดยเจาะตลาดพรีเมียมเป็นหลัก เพื่อหนีตลาดล่างซึ่งมีคู่แข่งสูง

นอกจากห้างค้าปลีกแล้ว ซีพียังกระจายสินค้าเนื้อหมูของตนผ่านร้านอาหารต่างๆ ในฮ่องกง ซึ่งการดึงร้านอาหารเป็นแนวร่วมนั้น เป็นผลมาจากการสำรวจตลาดฮ่องกงของบริษัทซีพี ซึ่งพบว่าชาวฮ่องกงรับประทานข้าวนอกบ้านบ่อยถึง 12 มื้อต่อสัปดาห์ ในขณะที่ทำอาหารกินเองที่บ้านเพียงประมาณ 6 มื้อต่อสัปดาห์ โดยเฉลี่ยชาวฮ่องกงบริโภคเนื้อหมูประมาณ 60 กิโลกรัมต่อปี ดังนั้น การเจาะตลาดเนื้อหมูในฮ่องกง โดยดึงร้านอาหารต่างๆ เป็นพันธมิตร จึงเป็นกลวิธีที่แยบยลของซีพี ในการเข้าครองส่วนแบ่งตลาดในจีน ทั้งนี้เจ้าหน้าที่ระดับสูงของซีพีในฮ่องกงกล่าวย้ำถึงความสำคัญในการที่ผู้ประกอบการไทยควรใช้ประโยชน์จากข้อตกลง CEPA โดยใช้ฮ่องกงเป็นฐานการลงทุน ก่อนเข้าเจาะตลาดในจีน อย่างไรก็ตาม ปัญหาหนึ่ง ในการเข้าไปลงทุนในฮ่องกงคือ ค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ทั้งค่าครองชีพ ค่าเช่าพื้นที่สำหรับสถานประกอบการ ค่าโฆษณา ค่าจัดจำหน่าย เป็นต้น ซึ่งผู้ประกอบการไทย ควรศึกษาเชิงลึก และวางแผนการเงินและการลงทุนของตนอย่างรอบคอบก่อนตัดสินใจ กลยุทธ์การเข้าถึงตลาดจีนของห้างค้าปลีกต่างชาติ

แม้ว่า CEPA จะเอื้อประโยชน์ต่อนักลงทุนต่างชาติเป็นอย่างมาก แต่ห้างต่างชาติหลายแห่งได้รุกเข้าตลาดจีน ก่อนการเปิดเสรีระหว่างจีนกับฮ่องกงมานานแล้ว โดยหนึ่งในนั้นคือห้างคาร์ฟูร์จากฝรั่งเศส

Carrefour

คาร์ฟูร์เป็นห้างค้าปลีกจากฝั่งตะวันตกที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงในการครอบครองส่วนแบ่งตลาดในจีน โดยมียอดขายสูงเป็นอันดับ 6 ในประเทศจีน คิดเป็นมูลค่าถึง 29,600 ล้านหยวนเมื่อปี 2550 และมีสาขาในจีนทั้งสิ้น 112 สาขาทั่วประเทศ นอกจากแบรนด์ของตนเองแล้ว คาร์ฟูร์ยังบริหารธุรกิจค้าปลีกอีก 2 แบรนด์ ในจีนคือ ซูเปอร์มาร์เก็ต 'Champion Supermarket' และร้านสะดวกซื้อ 'Dia Convenience Store'

ด้วยยุทธศาสตร์ที่เน้นการติดต่อประสานงานโดยตรงกับรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละมณฑลของจีน เพื่อขออนุญาตทำธุรกิจในมณฑลต่างๆ แทนการติดต่อผ่านรัฐบาลกลางที่ปักกิ่ง เพื่อหลีกเลี่ยงขั้นตอนจากหน่วยงานของรัฐบาลกลางที่ยุ่งยาก และซับซ้อน ทำให้คาร์ฟูร์สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในประเทศจีน หลังจากเข้า ลงทุนในจีนในปี พ.ศ.2538 ด้วยการร่วมทุน กับนักลงทุนท้องถิ่น ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงที่รัฐบาลจีนเริ่มเปิดเสรีบริการค้าปลีกในบางส่วน กอปรกับเป็นช่วงระยะเวลาที่ผู้บริโภค ชาวจีนเริ่มปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของตน จากเดิมที่เคยไปจ่ายตลาดที่ตลาด สด มาเป็นการซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตซึ่งมีความสะดวกสบายมากกว่า

อีกยุทธศาสตร์หนึ่งที่สำคัญของบริษัท คือการเข้าถึงความต้องการของผู้บริโภคท้องถิ่น โดยคาร์ฟูร์ไม่ได้มองว่าตลาดของจีนเป็นหนึ่งตลาด แต่กลับมองว่าจีนเป็นตลาดเล็กย่อยนับสิบตลาด ที่มีความต้องการทางด้านสินค้าแตกต่างกันไป ตามภูมิประเทศของท้องถิ่นนั้นๆ ดังนั้นบริการของคาร์ฟูร์ในแต่ละสาขาจึงเป็นบริการที่ถูกออกแบบมาให้ตอบสนองต่อความต้องการของลูกค้าในท้องถิ่นนั้นๆโดยตรง เช่น ในเมืองทางฝั่งตะวันออกติดชายฝั่งอย่างเซี่ยงไฮ้ กวางโจว ซึ่งเป็นตลาดที่มีการพัฒนาทางด้านพฤติกรรมการบริโภคอย่างก้าวไกลแล้ว 50% ของสินค้าโทรทัศน์ที่ห้างคาร์ฟูร์จำหน่ายในเมืองเหล่านี้จะเป็นโทรทัศน์สีจอแบน แต่สำหรับในเมืองซึ่งตั้งอยู่ในตอนกลางและทางฝั่งตะวันตกของประเทศ ที่ประชาชนยังมีรายได้ไม่สูงนัก ทางห้างจะเน้นจำหน่าย โทรทัศน์ที่มีเทคโนโลยีไม่ล้ำหน้าสักเท่าใดนัก ยอดขายโทรทัศน์จอแบนในตลาดดังกล่าวจึงคิดเป็นเพียง 20% ของยอดขายโทรทัศน์ทั้งหมดในพื้นที่นี้เท่านั้น

นอกจากนี้ คาร์ฟูร์ยังเข้าใจถึงความแตกต่างระหว่างพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนที่แตกต่างจากผู้บริโภคในประเทศอื่น เช่น การจำหน่ายปลาสดในตลาดสหรัฐอเมริกา ปลาจะถูกแล่เป็นชิ้นและแพ็กใส่กล่องโฟมวางเรียงรายบนตู้แช่เย็น ในขณะ ที่ในฝรั่งเศส ซูเปอร์มาร์เก็ตจะจำหน่าย ปลาทั้งตัวในลักษณะแช่แข็งและในไทยจะมีการให้บริการทอดและย่างและปรุงแต่งปลาสดด้วยกรรมวิธีอื่นๆ แต่ในประเทศจีน ซึ่งผู้บริโภคนิยมเลือกซื้ออาหารสดใหม่จริงๆ และมักนิยมซื้อปลาเป็นๆ เพื่อนำไปปรุงอาหารเองที่บ้าน ดังนั้น คาร์ฟูร์จึงเลือกที่จะจำหน่ายปลาเป็นๆ ที่เลี้ยงไว้ในตู้ปลา เพื่อให้ผู้บริโภคเลือกซื้อได้ตามต้องการ เป็นการจำลองตลาดสดมาไว้ในซูเปอร์มาร์เก็ตของตน ทั้งนี้ ยุทธวิธีดังกล่าวได้รับการนำไปปรับใช้กับห้างค้าปลีกทุกห้างในจีน เช่นมีการนำต้นอ้อยเข้ามาจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ต เพื่อให้ลูกค้าเลือกซื้อ โดยให้บริการควั่นอ้อยภายในบริเวณของห้าง หรือการแขวนส่วนต่างๆ ของเนื้อหมูบนตะขอและให้บริการชำแหละเนื้อหมูแก่ลูกค้า ดังที่พบเห็นได้ทั่วไปตามตลาดสด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม รายงานจากบริษัทที่ปรึกษา McKinsey1 กล่าวว่า เทคนิคการจำหน่ายปลาสดของคาร์ฟูร์ (และของห้างอื่นๆ) นั้น สามารถใช้ได้ผลเฉพาะในเมืองทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศที่อยู่ใกล้กับทะเลเท่านั้น แต่สำหรับตลาดทางตอนกลางและทางฝั่งตะวันตกของประเทศที่อยู่ห่างไกลทะเล ผู้บริโภคจะนิยม เลือกซื้อปลาแช่แข็ง เพราะให้ความรู้สึกที่สะอาด ปลอดภัยกว่าการเลือกซื้อปลาเป็นๆ เนื่องด้วยระยะทางที่ห่างไกลจากชายฝั่งถึงเมืองแต่ละเมืองนั่นเอง

อีกสิ่งหนึ่งที่คาร์ฟูร์ให้ความสนใจคือกลยุทธ์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตท้องถิ่นที่ยังครองตลาดค้าปลีกของจีนอยู่ใช้ในการดึงลูกค้า เช่นในขณะที่คาร์ฟูร์เป็นห้างแรกที่นำขนมฝรั่ง ไม่ว่าจะเป็นครัวซองต์ ขนมปังบาแกตต์ และชีสเค้กมาจำหน่ายในห้าง ซึ่งเป็นกลยุทธ์ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่ของจีนนำไปปรับใช้ แต่คาร์ฟูร์กลับพบว่ายอดขายขนมในซูเปอร์มาร์เก็ตสัญชาติจีนนั้นสูงกว่าของตน เป็นเพราะคาร์ฟูร์ไม่ได้นำขนมของจีนซึ่งชาวจีนนิยมรับประทาน เช่น เค้กนมสดแบบจีนมาจำหน่าย ซึ่งเป็นสิ่งที่ห้างคู่แข่งท้องถิ่นปฏิบัติ ทางคาร์ฟูร์จึงเริ่มนำขนมของจีนเข้ามาจำหน่ายบ้าง พบว่าขนมแบบจีนสามารถทำยอดขายได้พอๆ กับขนมแบบตะวันตก การเข้าใจถึงความแตกต่างของพฤติกรรมผู้บริโภคและข้อจำกัดในตลาดแต่ละแห่งของจีน ทำให้คาร์ฟูร์ประสบความสำเร็จกลายเป็นห้างค้าปลีกต่างชาติอันดับต้นๆ ในประเทศจีน

กลยุทธ์อีกประการหนึ่งที่เป็นหัวใจของคาร์ฟูร์คือ การสร้างความสัมพันธ์อันดีกับพันธมิตรท้องถิ่น และการร่วมทุนกับทุนท้องถิ่นในจีน แทนการลงทุนในประเทศ จีนเอง 100% ทั้งนี้เนื่องจากคาร์ฟูร์เห็นว่าชาวจีนย่อมเข้าใจในความซับซ้อนของตลาด จีนมากกว่าต่างชาติเสมอ ทำให้การวางยุทธศาสตร์ของห้างทำได้อย่างคล่องแคล่ว และตรงจุดมากกว่าการลงทุนเองแต่เพียงผู้เดียว เช่นในเซี่ยงไฮ้ คาร์ฟูร์ร่วมทุนกับ Lianhua Supermarket ห้างค้าปลีกอันดับสองของประเทศจีน ดังนั้นแม้จะมีทุนเพียงพอที่จะลงทุนเองได้เต็มที่ และกฎระเบียบของรัฐบาลจีนก็ได้เปิดให้ต่างชาติสามารถถือหุ้นในธุรกิจค้าปลีกได้ 100% แล้วก็ตาม แต่คาร์ฟูร์เลือกที่จะทำธุรกิจกับพาร์ตเนอร์ชาวจีน อันเป็นกุญแจแห่งความสำเร็จที่สำคัญอีกดอกหนึ่งของห้าง

Wal-mart

ซูเปอร์มาร์เก็ตยักษ์ใหญ่จากสหรัฐอเมริกาแห่งนี้ตามคาร์ฟูร์เข้ามารุกตลาดจีนเมื่อปี 2539 โดยเริ่มดำเนินกิจการเป็นแห่งแรกที่มณฑลเซินเจิ้น กวางตุ้ง ปัจจุบัน Wal-Mart มีสาขาอยู่ 104 สาขาใน 55 เมืองทั่วประเทศจีน โดยแบ่งเป็นซูเปอร์ เซ็นเตอร์ 99 สาขา Sam's Club ซึ่งเป็นพื้นที่จำหน่ายสินค้าในลักษณะ Ware-house 3 สาขา รวมทั้งร้านขายของชำภายใต้ชื่อ Neighbourhood Market อีก 2 สาขา ยอดขายของ Wal-Mart ในปี 2550 มีมูลค่า 21,315 ล้านหยวน โดยมีอัตราการเติบโตของยอดขายจากปีก่อนหน้าถึง 42% ทำให้ Wal-Mart ติดอันดับที่ 13 ของการจัดอันดับ China Top 100 Chain Retailers 2550

แม้จะเป็นห้างค้าปลีกอันดับหนึ่งของโลก แต่ในตลาดจีน Wal-Mart กลับเป็นรองห้างคาร์ฟูร์จากฝรั่งเศส เนื่องจากคาร์ฟูร์ได้เริ่มทำธุรกิจในจีนมาก่อนและมีประสบการณ์เกี่ยวกับพฤติกรรมบริโภคของชาวจีนที่โชกโชนกว่า จากการเข้าไปลงทุนในไต้หวันและศึกษาตลาดและความต้องการของชาวจีนเป็นเวลาถึง 18 ปีก่อนจะเริ่มเข้ามาลงทุนในประเทศจีน ทำให้คาร์ฟูร์มีความรู้ความเข้าใจในพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนมากกว่าห้างค้าปลีกต่างชาติอื่นๆ อย่างไรก็ตาม Wal-Mart ได้แก้ไขจุดอ่อนดังกล่าวของตนด้วยการเข้าซื้อกิจการ Trust-mart ของไต้หวันซึ่งครอง อันดับ 1 ในตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ตของประเทศจีนและมีสาขากว่า 100 สาขาใน 34 เมือง ด้วยมูลค่าถึง 1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ทำให้ Wal-Mart มีสาขาดำเนินการมากมายภายในชั่วพริบตา2

Tesco

การเริ่มรุกตลาดค้าปลีกในจีนของเทสโก้ ซึ่งเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตขนาดใหญ่จากประเทศอังกฤษนั้น ถือว่าล่าช้ากว่าคู่แข่งอื่น เพราะเทสโก้เริ่มเข้ามาลงทุนในจีนตั้งแต่ปี 2547 เท่านั้น ด้วยการเข้าถือหุ้น 50% ในบริษัท Ting Cao ของบริษัท Ting Hsin โดย Ting Cao เป็นบริษัทที่ดูแลกิจการไฮเปอร์มาร์เก็ตภายใต้แบรนด์ Hymall แม้จะเพิ่งเริ่มทำธุรกิจค้าปลีกในจีน ตั้งแต่ปี 2541 แต่ Ting Cao สามารถขยาย ส่วนแบ่งตลาดของตนได้อย่างรวดเร็ว จนมีสาขากว่า 25 แห่งในประเทศจีนภายในระยะเวลา 6 ปีเท่านั้น (ตัวเลขปี 2547)

หลังจากนั้นเทสโก้ได้เปิดทำการอีก 18 สาขา ภายใต้ชื่อ Hymall ซื้อหุ้นของ Hymall จากบริษัท Ting Hsin เพิ่ม ขึ้นอีก 40% ในปี 25493 ทำให้เทสโก้เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ Hymall ในปัจจุบัน และได้เปลี่ยนชื่อห้าง Hymall ทุกแห่งให้เป็น Tesco ถึงแม้ว่าจะคงชื่อภาษาจีนของ Hymall คือ Le Gou เอาไว้ก็ตาม เนื่องจากคำว่า Le Gou มีความหมายที่ดีเพราะ แปลว่า "การจับจ่ายที่มีความสุข (Happy Shopping)" ดังนั้น กลยุทธ์การเจาะตลาดของ Latecomer อย่างเทสโก้คือการซื้อหุ้นในกิจการค้าปลีกของชาวจีน ที่มีฐานการตลาดที่มั่นคงระดับหนึ่งแล้ว ถือเป็นการย่นระยะเวลาในการครองพื้นที่ตลาดใหม่ โดยไม่ต้องเสียเวลามากนัก

หลังจากที่ได้สั่งสมประสบการณ์จากการลงทุนในประเทศจีนด้วยการร่วมหุ้นกับชาวจีนมาระยะหนึ่งแล้ว เทสโก้ได้ปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนจากการร่วมหุ้นมาเป็นการถือหุ้นด้วยตนเอง 100% ภายหลังที่รัฐบาลจีนได้ยกเลิกข้อกำหนดที่บังคับให้ทุนต่างชาติต้องร่วมหุ้นกับชาวจีนในธุรกิจค้าปลีก โดยเทสโก้เริ่มจากการรุกตลาดภาคใต้ของจีน ในปี 2551 เทสโก้เปิดสาขาในเมืองกวางโจว ซึ่งเป็นสาขาแรกที่เทสโก้ถือหุ้นเอง 100% ในภาคใต้ ปัจจุบันเทสโก้อยู่ในอันดับที่ 21 ของการจัดอันดับห้างค้าปลีกของจีน 100 อันดับแรกเมื่อปี 2550 โดยมียอดขาย 12,500 ล้านหยวนและมีสาขาเพียง 55 สาขาทั่วประเทศ อย่างไรก็ตาม เมื่อเทียบกับปี 2549 ยอดขายของเทสโก้มีอัตราเพิ่มขึ้นถึง 34% แสดง ให้เห็นถึงศักยภาพสูงของทางบริษัทในการขยายธุรกิจในประเทศจีน โดยเทสโก้ได้ ตั้งเป้าไว้ว่าจะเปิดสาขาใหม่จำนวน 10 สาขาต่อปี

ข้อได้เปรียบของเทสโก้ในการลงทุน ในต่างประเทศคือ การมีฐานการเงินที่มั่นคง เนื่องจากธุรกิจในประเทศอังกฤษทำกำไรมหาศาลให้แก่เทสโก้ แต่ปัจจุบันกระแสต่อต้านการขยายตัวของห้างเทสโก้ในประเทศอังกฤษเอง เริ่มแผ่ขยายออกไปในวงกว้าง เนื่องจากผู้บริโภคบางกลุ่ม รวม ทั้งร้านค้าเล็กๆ ที่ถูกเทสโก้แย่งตลาดต่างเริ่มออกมารณรงค์ต่อต้านธุรกิจของเทสโก้ ทำให้ทางห้างต้องหาตลาดใหม่ในต่างประเทศ และจีนก็เป็นตลาดสำคัญที่เทสโก้ ไม่สามารถมองข้ามได้

โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์

การสร้างสายสัมพันธ์อันยาวนานกับชาวจีนและรัฐบาลจีน การฝังตัวธุรกิจของตนในประเทศจีนเป็นระยะเวลาร่วมหลายสิบปี ทำให้ซีพีเป็นหนึ่งในนักลงทุนต่างชาติระดับแนวหน้าที่เข้าใจตลาดจีนและพฤติกรรมการบริโภคของชาวจีนอย่างถ่องแท้ นอกจากนี้ การเป็นผู้บุกเบิกธุรกิจในจีน ทำให้ซีพีมีเครือข่ายพันธมิตรทางธุรกิจในจีนอย่างกว้างขวาง

โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ของซีพีนั้น เปิดในจีนเป็นครั้งแรกตั้งแต่ปี 2540 ภายใต้ การบริหารของบริษัท Chia Tai Enterprise (CTEI) สาขาแรกที่เปิดคือในเซี่ยงไฮ้ เป็นการร่วมทุนกับบริษัท Shanghai Kinghill ซึ่งดูแลด้านการบริหาร กลยุทธ์ประการหนึ่งของซีพีที่คล้ายคลึงกับห้างค้าปลีกต่างชาติ อื่นๆ คือการร่วมทุนกับบริษัทท้องถิ่นในระยะแรก เพื่อลดความเสี่ยงจากการลงทุน แต่ผู้เดียว อีกทั้งยังอาจได้รับสิทธิประโยชน์ ทางภาษี จากนั้นจึงค่อยๆ เข้าถือครองหุ้น ในบริษัทหุ้นส่วนมากขึ้น เพื่อครองอำนาจการบริหาร นอกจากนี้ โลตัสยังใช้กลยุทธ์ดึงตัวผู้บริหารมืออาชีพมาจากห้างอื่นๆ เช่น Wal-Mart ให้เข้ามาช่วยในการปรับโครงสร้างองค์กร และร่วมบริหารธุรกิจของห้างไปด้วยกัน

เช่นเดียวกับห้างค้าปลีกอื่นๆ ที่ไม่ได้เพียงแต่จำหน่ายสินค้าอาหารในบริเวณซูเปอร์มาร์เก็ตของตนเท่านั้น แต่มีการปล่อยเช่าพื้นที่สำหรับร้านค้าอื่นๆ ให้เข้ามาดำเนินธุรกิจ โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ก็ใช้กลวิธีเดียวกัน โดยเช่าพื้นที่จากอาคารพาณิชย์ต่างๆ และแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้สำหรับการเปิดธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตของตน และพื้นที่อีกส่วนหนึ่งปล่อยเช่าให้แก่ร้านค้าต่างๆ โดยดำเนินการภายใต้คอนเซ็ปต์ของการสร้างห้างให้เป็นแหล่งชอปปิ้งครบวงจร ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ที่นิยมจับจ่ายใช้สอยสินค้าแฟชั่น เสื้อผ้า เครื่องแต่งกายที่ทันสมัย ไปพร้อมๆ กับการเลือกซื้ออาหารสดใหม่

ในขณะที่กระแสต่อต้านการขยายตัวของห้างค้าปลีกยักษ์ใหญ่กำลังแผ่ขยายออกไป ทั้งในประเทศพัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ และในประเทศไทยเอง แต่ในจีนนั้นไม่ปรากฏว่ามีกระแสดังกล่าวเกิดขึ้น ผู้บริหารของห้างโลตัสฯ ในกวางโจวกล่าวว่า ปัญหาการต่อต้านห้างค้าปลีกยังไม่เกิด ขึ้นในจีน เนื่องจากผู้บริโภคชาวจีนนิยมสินค้าใหม่ ทันสมัย ซึ่งร้านเล็กๆ ไม่สามารถตอบสนองได้ นอกจากนี้ ภาครัฐของจีนเองยังให้การสนับสนุนห้างค้าปลีกใหญ่ๆ โดยมองว่าสินค้าที่จำหน่ายในห้างนั้นมีคุณภาพ และได้มาตรฐานกว่าสินค้าที่จำหน่ายในร้านโชวห่วย ภาครัฐสามารถทำการตรวจสอบคุณภาพสินค้าได้ยาก

ในด้านกลยุทธ์การเลือกที่ตั้งของห้าง โดยเฉพาะในเมืองที่หนาแน่นและมีพื้นที่จำกัด อย่างกวางโจวและฮ่องกงนั้น โลตัสฯ ใช้หลักการที่ว่าภายในระยะยะ 1-3 กิโลเมตรจากห้างจะต้องมีจำนวนประชากร ไม่ต่ำกว่า 300,000 คนที่อาศัยอยู่ในละแวก นั้น โดยประเมินว่าลูกค้าจะต้องเข้ามาจับจ่ายสินค้าในห้างไม่ต่ำกว่าสัปดาห์ละ 2 ครั้ง อย่างไรก็ตาม การเลือกทำเลที่ตั้งของห้าง จะต้องเลือกพื้นที่ที่มีโอกาสขยายห้างได้อีกในอนาคต เพื่อรองรับการขยายตัวของผู้บริโภค โดยเฉพาะอย่างยิ่งแรงงานจากต่างถิ่นที่เคลื่อนย้ายเข้ามาสู่เมืองใหญ่ รวมทั้งประชากรที่มีรายได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

Super Brand Mall

นอกจากซูเปอร์มาร์เก็ตแล้ว ห้างสรรพสินค้าก็เป็นธุรกิจค้าปลีกอีกสาขาหนึ่งที่ต่างชาติเข้ามามีบทบาทพอสมควรในตลาดจีน

ห้าง Super Brand Mall อีกหนึ่งธุรกิจของเครือเจริญโภคภัณฑ์ ตั้งอยู่ในเขตผู่ตง (Pudong) ทำเลทองของเมืองเซี่ยงไฮ้ เปิดตั้งแต่ปี 2545 แม้ในระยะแรกจะประสบกับปัญหาขาดสภาพคล่อง อันเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2541 จนเกือบจะไม่สามารถดำเนินการก่อสร้างห้างต่อไป แต่ทางห้างก็ได้รับความช่วยเหลือและการสนับสนุนจากรัฐบาลจีนอย่างมาก จนสามารถดำเนินการก่อสร้างได้สำเร็จ แต่ก็ต้องประสบปัญหาการไม่สามารถปล่อยพื้นที่ให้เช่าได้หมด เนื่องจากในช่วงแรก ที่ดินในบริเวณดังกล่าวยังไม่ได้รับการพัฒนามากเท่าที่ควร กอปรกับ การหยุดชะงักของการดำเนินการก่อสร้างไประยะหนึ่ง ทำให้ลูกค้าบางรายขาดความมั่นใจในห้าง จึงย้ายไปเช่าพื้นที่ของห้างอื่น แต่ปัจจุบันพื้นที่ทั้งหมดของห้างได้ปล่อยเช่าหมดแล้ว บางรายเป็นผู้ประกอบการไทยที่เข้ามาทำธุรกิจร้านอาหารไทย หรือจำหน่ายเครื่องประดับ

สำหรับการวิเคราะห์แนวโน้มตลาด ค้าปลีกของจีนนั้น ผู้บริหารของ Super Brand Mall กล่าวว่าเนื่องจากตลาดหลักๆ ของจีนเช่นเซี่ยงไฮ้นั้น มีผู้เข้ามาลงทุนมาก มาย จึงเริ่มอิ่มตัวแล้ว หรือเมืองเซินเจิ้น ซึ่งตั้งอยู่ใกล้กับฮ่องกง ทำให้ชาวเซินเจิ้น มักเดินทางข้ามฝั่งไปจับจ่ายสินค้าแบรนด์ ดังๆ ในฮ่องกงโดยตรง ดังนั้นการจะตั้งห้างสรรพสินค้าในเซินเจิ้น จึงอาจไม่ได้ประโยชน์เท่าใดนัก แต่เมืองที่ผู้ประกอบการควรให้ความสำคัญคือเมืองระดับสองและสาม โดยควรเป็นเมืองที่มีการค้าค่อนข้างคึกคัก แต่ผู้บริโภคระดับบนยังน้อยอยู่ เช่นเมืองซูโจว ซึ่งมีศักยภาพและมีโอกาสในการพัฒนาอีกมาก

อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในการลงทุนคือกรรมสิทธิ์ในที่ดิน โดยนักลงทุนควรศึกษาให้ถ่องแท้เสียก่อนว่า พื้นที่ที่ต้องการลงทุนนั้น ใครเป็นเจ้าของ ซึ่งหากรัฐเป็นเจ้าของแล้ว การเช่าพื้นที่จากรัฐจะมีความเสี่ยงที่จะถูกเวนคืนที่ดิน ดังนั้นจึงจำเป็นต้องหาข้อมูลให้ครบถ้วนว่ารัฐมีนโยบายที่จะพัฒนาที่ดินผืนนั้นในอนาคตหรือไม่อย่างไร

เซ็นทรัลกรุ๊ป

ห้างเซ็นทรัลได้วางแผนที่จะเริ่มรุกเข้าตลาดจีนเช่นกัน โดยจะเปิดที่เมืองหางโจวเป็นแห่งแรก ในปี 2010 หลังจากได้ศึกษาตลาดและพบว่าปัจจุบันชาวจีนมีกำลังซื้อมากขึ้น สืบเนื่องมาจากเศรษฐกิจจีนที่เติบโตมาอย่างต่อเนื่อง ก่อนเกิดวิกฤติ เศรษฐกิจ ซึ่งทำให้ชาวจีนมีรสนิยมในการบริโภคที่เปลี่ยนไป คือปัจจุบันนิยมสินค้าทันสมัย คุณภาพดี ทำให้เซ็นทรัลจำเป็นจะต้องให้ความสำคัญกับประเด็นดังกล่าว โดยจะรักษาภาพลักษณ์ที่นำสมัยของห้าง และสรรหาสินค้าคุณภาพสูงและมีความเป็นสากลมาจำหน่ายภายในห้าง

การลงทุนของเซ็นทรัลในครั้งนี้เป็นการลงทุนเองทั้งหมด 100% มูลค่าการลงทุน 500 ล้านบาท โดยจะเป็นการเข้า ไปเช่าพื้นที่ขนาด 23,000 ตร.ม. จากห้าง Mix C เป็นห้างที่มีฐานลูกค้าเป็นผู้บริโภคที่มีรายได้ระดับปานกลางถึงสูง โดยโครง การการก่อสร้างห้าง Mix C ในหางโจวมีมูลค่าทั้งหมด 5,000 ล้านเหรียญฮ่องกง หลังจากนั้น เซ็นทรัลได้วางแผนที่จะเปิดสาขาที่สอง ที่เมืองเชินหยาง ในปี 2011 โดยเป็นการเข้าไปเช่าพื้นที่ในห้าง Mix C เช่นกัน บริเวณพื้นที่ทั้งหมด 27,000 ตร.ม. ครอบคลุมพื้นที่ 7 ชั้น มูลค่าการลงทุน ทั้งหมด 700 ล้านบาท ซึ่งจะมีการนำสินค้า คุณภาพสูงจากไทยไปจำหน่ายด้วย

สรุป
การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกของจีนกำลังดำเนินไปอย่างเข้มข้น หลังจากที่รัฐบาลจีนเปิดเสรีธุรกิจค้าปลีกเพิ่มมากขึ้น โดยยกเลิกข้อกำหนดต่างๆ มากมาย เช่นการจำกัดพื้นที่การลงทุนโดยนักลงทุนต่างชาติ เฉพาะในเมืองใหญ่ๆ ของจีนเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ข้อกำหนดด้านสัดส่วนเพดาน การถือหุ้นโดยต่างชาติยังคงเป็นปัญหาอยู่ หลายแห่งจึงเน้นการใช้ประโยชน์จากข้อตกลง FTA ระหว่างจีนกับฮ่องกง หรือ CEPA แทน โดยการใช้ฮ่องกงเป็นฐานการลงทุนก่อนจะเข้าไปสู่จีน แต่พื้นที่การลงทุนที่จะได้รับประโยชน์จาก CEPA อย่างเต็มที่ ยังคงจำกัดอยู่ภายในมณฑลกวางตุ้ง เท่านั้น การจะขยายพื้นที่การลงทุนไปสู่มณฑลอื่น จึงจำเป็นจะต้องอาศัยสายป่าน และความสัมพันธ์ที่ดีกับหุ้นส่วนชาวจีน และรัฐบาลท้องถิ่นของจีน ซึ่งปัจจัยทั้งสอง ถือเป็นกุญแจสำคัญที่จะทำให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในจีน นอกเหนือไปจากความรู้ความเข้าใจในภาษาและวัฒนธรรมจีนอย่างถ่องแท้ ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการต่างชาติขาดไม่ได้

อย่างไรก็ตาม กฎระเบียบภายในประเทศที่รัฐบาลจีนออกมาอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องให้ความสนใจอย่างยิ่งยวดเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยทางอาหาร ซึ่งเริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ปีนี้ โดยเป็นการรวบรวมกฎหมายหลายร้อยฉบับให้อยู่ในกฎหมายเพียงฉบับเดียว และเพิ่มบทลงโทษต่อผู้ประกอบการที่จำหน่ายสินค้าด้อยคุณภาพให้แก่ประชาชน หลังจากเกิดกรณีนมผงปนเปื้อนสารเมลามีน ทำให้เด็กทารกจำนวนมากป่วยและเสียชีวิตเมื่อปีก่อน

อีกทั้งกฎหมายว่าด้วยสัญญาการจ้างงานที่ออกมาใหม่ตั้งแต่ปี 2551 เพิ่มการคุ้มครองคนงานมากขึ้น ทำให้นายจ้าง ไล่พนักงานออกได้ลำบากขึ้น ลดระยะการทดลองงานให้เป็นไปตามระยะเวลาของสัญญาจ้างงาน เช่นหากสัญญาจ้างมีระยะเวลาตั้งแต่ 3 เดือนถึง 1 ปี อนุญาตให้นายจ้างบังคับทดลองงานได้เพียง 1 เดือน เท่านั้น และนายจ้างสามารถให้พนักงานแต่ละรายทดลองงานได้เพียง 1 ครั้งเท่านั้น โดยไม่สามารถต่ออายุการทดลองงานของพนักงานได้ (ต่างจากไทยที่นายจ้างหลายรายต่ออายุการทดลองงานของพนักงานไปเรื่อยๆ เพื่อหลีกเลี่ยงการจ่ายสวัสดิการในการทำงานให้แก่คนงาน) ซึ่งกฎหมายที่เข้มข้นดังกล่าว ในทางหนึ่งเป็นความเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดี เป็นการเพิ่มความคุ้มครองให้แก่คนงาน แต่อีกนัยหนึ่งก็ย่อมหมายถึงต้นทุนที่เพิ่มสูงขึ้นสำหรับนายจ้าง ทำให้โรงงานและบริษัทหลายร้อย แห่งปิดตัวลงและย้ายฐานการผลิตไปที่อื่นหลังจากกฎหมายมีผลบังคับใช้

นอกจากนี้ วิกฤติเศรษฐกิจที่ทุกประเทศกำลังเผชิญอยู่ ทำให้รัฐบาลจีนออก นโยบาย "ซื้อสินค้าจีน" เมื่อเดือนมิถุนายน 2552 อันเป็นส่วนหนึ่งของแผนกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม นโยบายดังกล่าวอาจไม่มีผลกระทบต่อธุรกิจค้าปลีกมากนัก เนื่องจากเป็นนโยบาย ที่มุ่งประเด็นไปยังธุรกิจที่เกี่ยวกับการจัดซื้อ จัดจ้างของรัฐ (government procurement) เสียมากกว่า ทั้งนี้ เป็นเพราะมีผู้ประกอบการภายในประเทศบางรายออกมาเรียกร้องว่ารัฐบาลท้องถิ่นหลายแห่งเลือกปฏิบัติ และนิยมซื้อสินค้าและทำธุรกิจกับบริษัทต่างชาติมากกว่าบริษัทภายในประเทศ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลแต่ละประเทศเกรงว่านโยบายดังกล่าวของจีนจะเป็นการฉวยโอกาสใช้นโยบายปกป้องตลาดของตนเอง (protectionism) โดยใช้วิกฤติเศรษฐกิจเป็นข้ออ้าง แต่สำหรับในธุรกิจค้าปลีกแล้ว สินค้าส่วนใหญ่ที่มีวางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตและห้างต่างๆ ในจีน มักเป็นสินค้าที่ผลิตในจีนเป็นส่วนใหญ่อยู่แล้ว นโยบาย "ซื้อสินค้าจีน" จึงคงจะไม่มีผลกระทบต่อสินค้าจากไทยมากนัก

สิ่งที่ไทยน่าจะได้ประโยชน์โดยตรง จากข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน คือการส่งออกผลไม้ไทยไปสู่จีน เนื่องจากปัจจุบันผลไม้ไทยที่ได้รับการนำเข้าสู่ประเทศจีนนั้นไม่ต้องเสียภาษีศุลกากรแล้ว นโยบายล่าสุดของห้างเทสโก้ โลตัสในประเทศไทยที่ประสานงานกับเทสโก้ในประเทศอังกฤษ และสถานทูตไทยในกรุงลอนดอน เพื่อโปรโมตผลไม้ไทยในเทสโก้ทุกสาขาทั่วสหราชอาณาจักร ภายใต้ชื่องาน "Health and Tasty from Thailand" ระหว่างวันที่ 31 พ.ค.-14 มิ.ย.2552 ก็เป็นอีกตัวอย่างหนึ่งที่ไทยสามารถใช้ประโยชน์จากเขตการค้าเสรีที่ไทยมีกับจีน โปรโมตผลไม้ไทยในห้างค้าปลีกต่างๆ ในจีน อย่างไรก็ตาม ปัญหาระยะทางที่ยาวไกล ทำให้เกิดปัญหาคุณภาพสินค้าไม่ได้มาตรฐาน รวมทั้งตลาดกระจายสินค้าผลไม้จากไทยไปทั่วประเทศจีนที่มีอยู่ไม่กี่แห่ง เหล่านี้ล้วนเป็นปัญหาที่ยังคงต้องการได้รับการแก้ไขอย่างจริงจัง หากไทยต้องการจะใช้

หมายเหตุ: บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยเรื่อง "เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และการเข้าสู่ตลาดจีนของภาคบริการไทย" โดยสถาบันระหว่างประเทศเพื่อการค้าและการพัฒนา (www.itd.or.th)


1 จากรายงานของบริษัทที่ปรึกษา McKinsey เรื่อง 'Lessons from a Global Retailer: An Interview with the President of Carrefour China'ปี 2006. http://zonecours.hec.ca/documents/H2008 ... rChina.pdf

2 Geoff Nairn (2006) 'Tesco Rebrands, Wal-Mart Expands' Engaging China, November 9. http://www.engagingchina.com/ blog/_archives/2006/11/9/2486067.html

3 Angharad Couch (2006) 'Tesco to Gain Control of Hymall in China'International Herald Tribune, December 12. http://www.iht.com/articles/2006/12/12/ ... xtesco.php

คุณวิบูลย์ ขอรายชื่อหุ้นที่ผ่านตะแกรงร่อนหน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 28, 2009 11:08 pm
โดย ซากคน
สวัสดีครับ พี่ VIB007  ผมขออภัยที่ครั้งนี้ทำบอร์ดเลอะเทอะ  แต่คิดว่าใจความสำคัญมันมีหลายจุด เลยไม่อยากตัดออก  

ว่าแต่พอลงทุนไปพักนึง  ผมไม่แน่ใจว่า การลงทุนระยะยาวในกองทุนดัชนีหุ้น
โดยเฉพาะดัชนีหุ้นไทย จะช่วยให้คนที่ไม่รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับหุ้น มีเงินมากกว่า คนที่ไม่ลงทุนในหุ้นเลย จริงเท็จประการใด  :?:  

ปล. ผมได้แบ่งเงินออกไปทดลองด้วยตัวเอง กระจายออกไป หลายภูมิภาค ที่มีปัจจัยที่เอื้อต่อการเติบโตต่างกัน  โดยแสดงความเห็นส่วนนึงไว้ในกระทู้นี้ครับ  หากมีโอกาสอยากฟังความเห็นพี่วิบูลย์บ้างครับ

Posted: Sat Sep 26, 2009 1:46 am - 7:09 pm    

http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=38850

ยังคงรอผลการทดสอบค่าของพี่วิบูลย์อยู่ครับ  :)