รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 391
PTTEPเพิ่มทุนพ.ย.ซื้อหุ้นแหล่งRovuma
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, July 25, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สผ.คาดขายหุ้นเพิ่มทุน 650 ล้านหุ้นภายในเดือน พ.ย.นี้ เสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินในการลงทุนโครงการต่างๆ โดยไม่ต้องกู้เงินเพิ่มในช่วง 2-3 ปีนี้ชี้หากดีลซื้อหุ้น Cove สำเร็จ จะรับรู้ปริมาณสำรองฯเพิ่มขึ้น เนื่องจากแหล่งก๊าซฯ Rovuma มีขนาดใหญ่กว่าปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทย 6 เท่า แย้มขณะนี้เจรจาผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เพื่อหวังถือหุ้นในแหล่ง Rovuma มากขึ้น
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯมีมติให้เพิ่มทุน และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปไม่เกิน 650 ล้านหุ้นนั้น
คาดว่าจะดำเนินการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนได้ภายในเดือนพ.ย.นี้ก่อนประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2555 หลังจากประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯในวันที่ 24 ส.ค.นี้ และยื่นไฟลิ่งทันทีซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะใช้เวลา 2-3 เดือน
ทั้งนี้บริษัทฯจะจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้บมจ.ปตท. จำนวน 403 ล้านหุ้น เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ของ ปตท.ที่ 65.29%และจัดสรรหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมและประชาชนทั่วไป 214 ล้านหุ้น จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมและนักลงทุนรายย่อยในประเทศ ยังได้เตรียมในส่วนของหุ้นส่วนเกินที่จัดสรรไว้สำหรับความต้องการที่มากเกินกว่าการจองซื้อหุ้นหรือ green shoe option 32 ล้านหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิม โดยราคาเสนอขายจะเป็นราคาเดียวกันทั้งหมด จะใช้วิธี book building อ้างอิงราคาหุ้นของบริษัทในตลาดในช่วงที่เสนอขาย
นายเทวินทร์ กล่าวยืนยันว่า การเพิ่มทุนครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 หลังจากได้เพิ่มทุนไปเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้คาดว่าจะได้เงินประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 9.8 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนโครงการต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาตามแผนงานในระยะ 2-3 ปีนี้ รวมทั้งเสริมความแข็งแกร่งและความคล่องตัวทางการเงิน ทำให้สามารถเข้าซื้อกิจการต่างๆได้ รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ Cove Energy เป็นต้นเพื่อให้บริษัทบรรลุเป้าหมายการเพิ่มการผลิตปิโตรเลียมเป็น 9 แสนบาร์เรลต่อวันภายในปี2563
ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้ทำให้บริษัทฯไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มอีกในช่วง 2-3 ปีนี้แต่อาจจะมีการรีไฟแนนซ์หนี้เดิมบางส่วนเท่านั้น
ปัจจุบันบริษัทฯมีหนี้สินรวม 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นหนี้สกุลบาท 3%จะปรับพอร์ตเพิ่มเป็น 3-5% หนี้สกุลแคนาดา10% จะปรับพอร์ตเพิ่มเป็น 10-15% ที่เหลือเป็นหนี้ดอลลาร์สหรัฐ หลังเพิ่มทุนฯจะรักษาอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E)ไว้ที่ 0.5 เท่า
ส่วนกรณีที่ ปตท.สผ.ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ชำระแล้วและยังไม่ได้ชำระทั้งหมด ของCove Energy ที่ 240 เพนซ์ต่อหุ้น โดย Cove มีการถือหุ้นสัดส่วน 8.5% ในโครงการ Rovuma ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐโมซัมบิกนั้น คงต้องรอดูว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลรายที่สามหรือไม่และผู้ถือหุ้นรับข้อเสนอในการซื้อหุ้น หากไม่มีรายใดเสนอซื้อหุ้นแข่ง ขั้นตอนดีลนี้จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 54 โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ถือหุ้นจะต้องเสนอขายหุ้นไม่น้อยกว่า90%ของหุ้นทั้งหมด
การซื้อ Cove นี้ จะเข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศไทยหลังจากแหล่งในอ่าวไทยจะมีปริมาณลดลงโดยแหล่งRovuma มีปริมาณสำรองก๊าซฯถึง66 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือมากกว่าปริมาณก๊าซฯที่เหลือในอ่าวไทยถึง 6 เท่า และมีความเสี่ยงในการขุดเจาะค่อนข้างต่ำ
เนื่องจากเป็นแหล่งก๊าซฯขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการหาตลาดรองรับก่อนลงมือพัฒนาโครงการ ซึ่งขณะนี้มิตซุยในฐานะผู้ร่วมทุนในแหล่งRovuma ได้มีการหาลูกค้ารับซื้อแอลเอ็นจีรองรับอยู่ โดยแหล่งดังกล่าวคาดว่าจะมีการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า
เจรจาซื้อหุ้นเพิ่มในแหล่งRovuma
นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจปตท.สผ. กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้เจรจากับผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในแหล่ง Rovuma อาทิAnarcako และบริษัทอินเดีย โดยพบว่ามีบริษัทอินเดียรายหนึ่งสนใจเสนอขายหุ้นออกมา
แหล่ง Rovuna มีโครงสร้างการถือหุ้นประกอบด้วย Anarcako จากสหรัฐฯ ถือหุ้น 36.5% มิตซุย จากญี่ปุ่น 20% Vdo Con จากอินเดีย 10% Bharat จากอินเดีย 10%Cove 8.5% และบริษัทท้องถิ่น 15%
6 เดือนแรกกำไรพุ่ง 15%
นางเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มการเงินและบัญชีบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2555 ว่า บริษัทฯมีรายได้รวม 3.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 101,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีที่แล้ว และมีกำไรสุทธิ 839 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 26,021 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 15% โดยประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลปี 2555 หุ้นละ 2.80 บาทในวันที่ 22 ส.ค.2555
โดยครึ่งปีแรกนี้มีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ย 2.58 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขายเฉลี่ย 2.72 แสนบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากได้โครงการอาทิตย์เหนือหยุดผลิตตั้งแต่พ.ย.2554 ทั้งนี้บริษัทฯคาดการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยปีนี้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน
ส่วนครึ่งปีหลังจะมีกำลังการผลิตปิโตรเลียมใหม่เข้ามาเพิ่มเติม อาทิ โครงการการผลิตก๊าซฯจากแหล่งบงกชใต้ 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 9 พันบาร์เรลต่อวัน เริ่มผลิตตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมาแหล่งสิริกิติ์มีการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นบางวันสูงถึง 3 หมื่นบาร์เรล โครงการเวียดนาม16-1 จะเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบจาก 4.1 หมื่นบาร์เรล/วัน เป็น 5.5 หมื่นบาร์เรล/วันในไตรมาส 4/2555 โครงการมอนทาราที่ออสเตรเลีย คาดว่าผลิตได้ในปลายไตรมาส 4/2555
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, July 25, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สผ.คาดขายหุ้นเพิ่มทุน 650 ล้านหุ้นภายในเดือน พ.ย.นี้ เสริมความแข็งแกร่งด้านการเงินในการลงทุนโครงการต่างๆ โดยไม่ต้องกู้เงินเพิ่มในช่วง 2-3 ปีนี้ชี้หากดีลซื้อหุ้น Cove สำเร็จ จะรับรู้ปริมาณสำรองฯเพิ่มขึ้น เนื่องจากแหล่งก๊าซฯ Rovuma มีขนาดใหญ่กว่าปริมาณก๊าซฯในอ่าวไทย 6 เท่า แย้มขณะนี้เจรจาผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ เพื่อหวังถือหุ้นในแหล่ง Rovuma มากขึ้น
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.) เปิดเผยว่า ตามที่คณะกรรมการบริษัทฯมีมติให้เพิ่มทุน และเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนต่อประชาชนทั่วไปไม่เกิน 650 ล้านหุ้นนั้น
คาดว่าจะดำเนินการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนได้ภายในเดือนพ.ย.นี้ก่อนประกาศผลการดำเนินงานไตรมาส 3/2555 หลังจากประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทฯในวันที่ 24 ส.ค.นี้ และยื่นไฟลิ่งทันทีซึ่งขั้นตอนดังกล่าวจะใช้เวลา 2-3 เดือน
ทั้งนี้บริษัทฯจะจัดสรรหุ้นเพิ่มทุนให้บมจ.ปตท. จำนวน 403 ล้านหุ้น เพื่อรักษาสัดส่วนการถือหุ้นใหญ่ของ ปตท.ที่ 65.29%และจัดสรรหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิมและประชาชนทั่วไป 214 ล้านหุ้น จัดสรรให้ผู้ถือหุ้นเดิมและนักลงทุนรายย่อยในประเทศ ยังได้เตรียมในส่วนของหุ้นส่วนเกินที่จัดสรรไว้สำหรับความต้องการที่มากเกินกว่าการจองซื้อหุ้นหรือ green shoe option 32 ล้านหุ้นให้ผู้ถือหุ้นเดิม โดยราคาเสนอขายจะเป็นราคาเดียวกันทั้งหมด จะใช้วิธี book building อ้างอิงราคาหุ้นของบริษัทในตลาดในช่วงที่เสนอขาย
นายเทวินทร์ กล่าวยืนยันว่า การเพิ่มทุนครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 3 หลังจากได้เพิ่มทุนไปเมื่อ 14 ปีที่แล้ว ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้คาดว่าจะได้เงินประมาณ 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐหรือ 9.8 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนโครงการต่างๆ ที่อยู่ระหว่างการพัฒนาตามแผนงานในระยะ 2-3 ปีนี้ รวมทั้งเสริมความแข็งแกร่งและความคล่องตัวทางการเงิน ทำให้สามารถเข้าซื้อกิจการต่างๆได้ รวมถึงการเข้าซื้อกิจการ Cove Energy เป็นต้นเพื่อให้บริษัทบรรลุเป้าหมายการเพิ่มการผลิตปิโตรเลียมเป็น 9 แสนบาร์เรลต่อวันภายในปี2563
ซึ่งการเพิ่มทุนครั้งนี้ทำให้บริษัทฯไม่มีความจำเป็นต้องกู้เงินเพิ่มอีกในช่วง 2-3 ปีนี้แต่อาจจะมีการรีไฟแนนซ์หนี้เดิมบางส่วนเท่านั้น
ปัจจุบันบริษัทฯมีหนี้สินรวม 3.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ แบ่งเป็นหนี้สกุลบาท 3%จะปรับพอร์ตเพิ่มเป็น 3-5% หนี้สกุลแคนาดา10% จะปรับพอร์ตเพิ่มเป็น 10-15% ที่เหลือเป็นหนี้ดอลลาร์สหรัฐ หลังเพิ่มทุนฯจะรักษาอัตราหนี้สินต่อทุน (D/E)ไว้ที่ 0.5 เท่า
ส่วนกรณีที่ ปตท.สผ.ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ชำระแล้วและยังไม่ได้ชำระทั้งหมด ของCove Energy ที่ 240 เพนซ์ต่อหุ้น โดย Cove มีการถือหุ้นสัดส่วน 8.5% ในโครงการ Rovuma ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐโมซัมบิกนั้น คงต้องรอดูว่าจะมีผู้เข้าร่วมประมูลรายที่สามหรือไม่และผู้ถือหุ้นรับข้อเสนอในการซื้อหุ้น หากไม่มีรายใดเสนอซื้อหุ้นแข่ง ขั้นตอนดีลนี้จะเสร็จสิ้นภายในวันที่ 31 กรกฎาคม 54 โดยมีเงื่อนไขว่าผู้ถือหุ้นจะต้องเสนอขายหุ้นไม่น้อยกว่า90%ของหุ้นทั้งหมด
การซื้อ Cove นี้ จะเข้ามาช่วยเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซธรรมชาติให้กับประเทศไทยหลังจากแหล่งในอ่าวไทยจะมีปริมาณลดลงโดยแหล่งRovuma มีปริมาณสำรองก๊าซฯถึง66 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือมากกว่าปริมาณก๊าซฯที่เหลือในอ่าวไทยถึง 6 เท่า และมีความเสี่ยงในการขุดเจาะค่อนข้างต่ำ
เนื่องจากเป็นแหล่งก๊าซฯขนาดใหญ่จำเป็นต้องมีการหาตลาดรองรับก่อนลงมือพัฒนาโครงการ ซึ่งขณะนี้มิตซุยในฐานะผู้ร่วมทุนในแหล่งRovuma ได้มีการหาลูกค้ารับซื้อแอลเอ็นจีรองรับอยู่ โดยแหล่งดังกล่าวคาดว่าจะมีการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ในปี 2562 หรืออีก 7 ปีข้างหน้า
เจรจาซื้อหุ้นเพิ่มในแหล่งRovuma
นายอัษฎากร ลิ้มปิติ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานกลยุทธ์และพัฒนาธุรกิจปตท.สผ. กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้เจรจากับผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ในแหล่ง Rovuma อาทิAnarcako และบริษัทอินเดีย โดยพบว่ามีบริษัทอินเดียรายหนึ่งสนใจเสนอขายหุ้นออกมา
แหล่ง Rovuna มีโครงสร้างการถือหุ้นประกอบด้วย Anarcako จากสหรัฐฯ ถือหุ้น 36.5% มิตซุย จากญี่ปุ่น 20% Vdo Con จากอินเดีย 10% Bharat จากอินเดีย 10%Cove 8.5% และบริษัทท้องถิ่น 15%
6 เดือนแรกกำไรพุ่ง 15%
นางเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มการเงินและบัญชีบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) กล่าวถึงผลการดำเนินงานครึ่งแรกของปี 2555 ว่า บริษัทฯมีรายได้รวม 3.26 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 101,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีที่แล้ว และมีกำไรสุทธิ 839 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 26,021 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว 15% โดยประกาศจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลปี 2555 หุ้นละ 2.80 บาทในวันที่ 22 ส.ค.2555
โดยครึ่งปีแรกนี้มีปริมาณขายปิโตรเลียมเฉลี่ย 2.58 แสนบาร์เรลต่อวัน ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขายเฉลี่ย 2.72 แสนบาร์เรลต่อวัน เนื่องจากได้โครงการอาทิตย์เหนือหยุดผลิตตั้งแต่พ.ย.2554 ทั้งนี้บริษัทฯคาดการขายปิโตรเลียมเฉลี่ยปีนี้ใกล้เคียงเป้าหมายที่ตั้งไว้ 2.8 แสนบาร์เรลต่อวัน
ส่วนครึ่งปีหลังจะมีกำลังการผลิตปิโตรเลียมใหม่เข้ามาเพิ่มเติม อาทิ โครงการการผลิตก๊าซฯจากแหล่งบงกชใต้ 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 9 พันบาร์เรลต่อวัน เริ่มผลิตตั้งแต่มิ.ย.ที่ผ่านมาแหล่งสิริกิติ์มีการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นบางวันสูงถึง 3 หมื่นบาร์เรล โครงการเวียดนาม16-1 จะเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบจาก 4.1 หมื่นบาร์เรล/วัน เป็น 5.5 หมื่นบาร์เรล/วันในไตรมาส 4/2555 โครงการมอนทาราที่ออสเตรเลีย คาดว่าผลิตได้ในปลายไตรมาส 4/2555
ที่มา: หนังสือพิมพ์ASTVผู้จัดการรายวัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 392
พงษ์สวัสดิ์หนุนผู้ประกอบการ ยกเครื่องการผลิตรับ'เออีซี'
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, July 26, 2012
อุตสาหกรรมหนุนผู้ประกอบการปรับปรุง คุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ เตรียมพร้อมเข้าสู่เออีซีเหตุคู่ค้ามีแนวโน้มใช้มาตรฐานกีดกัน การค้ามากขึ้น แนะปรับองค์กรรับมือการเปลี่ยนแปลง
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ วานนี้ (25 ก.ค.) ว่า กระทรวงมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้ ผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการตลาดเพื่อทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งในช่วงที่ นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่าเยือนไทย ได้ชักชวนให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในย่างกุ้งหรือทวาย ถ้าผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพ การผลิตและบริการ จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ มีความพร้อมลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น และพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
นายสมภพ อมาตยกุล ประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยวางแผนใช้มาตรฐานสินค้าเป็นกลไกในการสั่งซื้อสินค้าจากไทย ซึ่งจะเป็นการกีดกันทางการค้าเพื่อรักษาการผลิตและเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าเอง รวมทั้งลดผลกระทบ จากการแข่งขันของสินค้าที่ส่งมาจากประเทศ ที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำ ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจและสังคม องค์กรธุรกิจจึงต้องทบทวนการทำงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการพัฒนาคุณภาพจะทำให้ต่อสู้กับปัญหาคู่ค้าลดคำสั่งซื้อได้
นายชาครีย์ บูรกานนท์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รางวัลคุณภาพแห่งชาติหรือรางวัลการบริหาร สู่ความเป็นเลิศไม่ขึ้นกับขนาดของธุรกิจ แต่ขึ้นกับความมุ่งมั่นของผู้บริหาร โดยธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็กมีสิทธิได้รับรางวัลนี้ และเมื่อเข้าสู่การวัดผลจะทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวในจุดบกพร่อง ซึ่งการปรับปรุงองค์กรต่อเนื่องจะมีผลต่อธุรกิจในอนาคต
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, July 26, 2012
อุตสาหกรรมหนุนผู้ประกอบการปรับปรุง คุณภาพการผลิตสินค้าและบริการ เตรียมพร้อมเข้าสู่เออีซีเหตุคู่ค้ามีแนวโน้มใช้มาตรฐานกีดกัน การค้ามากขึ้น แนะปรับองค์กรรับมือการเปลี่ยนแปลง
ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการมอบรางวัลคุณภาพแห่งชาติ วานนี้ (25 ก.ค.) ว่า กระทรวงมีนโยบายสร้างความเข้มแข็งให้ ผู้ประกอบการ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต โดยนำเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการตลาดเพื่อทำธุรกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งในช่วงที่ นายเต็ง เส่ง ประธานาธิบดีพม่าเยือนไทย ได้ชักชวนให้ผู้ประกอบการไทยไปลงทุนในย่างกุ้งหรือทวาย ถ้าผู้ประกอบการปรับปรุงคุณภาพ การผลิตและบริการ จะเป็นกลไกสำคัญที่ทำให้ มีความพร้อมลงทุนในอาเซียนเพิ่มขึ้น และพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558
นายสมภพ อมาตยกุล ประธานคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ กล่าวว่า ขณะนี้ ประเทศคู่ค้าสำคัญของไทยวางแผนใช้มาตรฐานสินค้าเป็นกลไกในการสั่งซื้อสินค้าจากไทย ซึ่งจะเป็นการกีดกันทางการค้าเพื่อรักษาการผลิตและเศรษฐกิจในประเทศคู่ค้าเอง รวมทั้งลดผลกระทบ จากการแข่งขันของสินค้าที่ส่งมาจากประเทศ ที่มีต้นทุนค่าแรงงานต่ำ ในช่วงที่ผ่านมา ภาคธุรกิจไทยประสบปัญหาเศรษฐกิจและสังคม องค์กรธุรกิจจึงต้องทบทวนการทำงานให้สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลง ซึ่งการพัฒนาคุณภาพจะทำให้ต่อสู้กับปัญหาคู่ค้าลดคำสั่งซื้อได้
นายชาครีย์ บูรกานนท์ ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่แยกก๊าซธรรมชาติ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า รางวัลคุณภาพแห่งชาติหรือรางวัลการบริหาร สู่ความเป็นเลิศไม่ขึ้นกับขนาดของธุรกิจ แต่ขึ้นกับความมุ่งมั่นของผู้บริหาร โดยธุรกิจขนาดกลางหรือขนาดเล็กมีสิทธิได้รับรางวัลนี้ และเมื่อเข้าสู่การวัดผลจะทำให้ผู้ประกอบการปรับตัวในจุดบกพร่อง ซึ่งการปรับปรุงองค์กรต่อเนื่องจะมีผลต่อธุรกิจในอนาคต
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 393
วิกฤต!อีก10ปีไทยผลิตพลังงานไม่พอใช้
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, July 26, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เผยการผลิตพลังงานในไทยอีก 10 ปีจะเหลือเพียง 18% ของความต้องการใช้ที่ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปัจจุบันที่ 44% เตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 รักษาระดับการผลิตในประเทศควบคู่ไปกับแผนการแสวงหาพลังงานจากเพื่อนบ้าน
นายทรงภพ พลจันทร์อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชพ.) เปิดเผยว่า ปี 2555 ความต้องการใช้พลังงานของไทยอยู่ที่1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ความสามารถการผลิตของไทยคิดเป็นเพียง 44% ของความต้องการ และประเมินความต้องการใช้ที่จะเติบโตปีละ3% ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานในปี 2565 อยู่ที่ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากไทยไม่สามารถหาแหล่งพลังงานในประเทศเพิ่ม สัดส่วนการผลิตจะลดลงจาก 44% เหลือ 18%ของความต้องการในปี 2565 ดังนั้น การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 จึงมีความจำเป็นเพื่อรักษาระดับการผลิตไม่ให้ต่ำมากและลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ
"เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้ซึ่งอนาคตจะสูงขึ้นแน่นอน แต่สำคัญ คือ เราจะทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำสุด ซึ่งแหล่งพลังงานประเทศเพื่อนบ้านทั้งจากพม่าและรวมไปถึงพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา หากมีการพัฒนาจะเป็นโอกาสด้านความมั่นคงด้านพลังงานของไทย แต่ในส่วนของไทยเอง ก็คงต้องทำด้วย ซึ่งการเลื่อนเปิดสัมปทาน
ปิโตรเลียมรอบใหม่ออกไปเพราะถูกต่อต้าน ก็จะได้ชี้แจงให้เข้าใจ โดยเฉพาะประเด็นรายได้ของประเทศจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมไม่ได้ต่ำอย่างที่กล่าวอ้าง" นายทรงภพกล่าว
อย่างไรก็ตาม การใช้ที่สูงทำให้ปี 2561 บมจ.ปตท.จะต้องเตรียมแผนในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในเฟส 2 รองรับอีก 5 ล้านตัน ซึ่งต้องยอมรับว่าราคาก๊าซฯ นำเข้าจะสูงกว่าราคาในประเทศเกือบเท่าตัว หากเร่งให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือปตท.สผ. เร่งสำรวจแหล่งก๊าซ M3และM9ในพม่า ก็จะทำให้ไทยลดการนำเข้าLNG ที่ราคาแพงได้ เนื่องจากระบบท่อส่งก๊าซฯ จากพม่า มีความสามารถรับก๊าซได้ถึง 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันที่มีการส่งก๊าซฯผ่านท่อเพียง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเท่านั้น
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)กล่าวว่า การที่รัฐบาลไทยและพม่าได้ร่วมมือด้านพลังงานจะทำให้โอกาสการพัฒนาด้านพลังงานของไทยในพม่ามีสูงขึ้น ซึ่งบริษัทกฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะเข้าไปลงทุนเหมืองถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าถ่านหินและพลังงานน้ำในพม่ามากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนโรงไฟฟ้าในพื้นที่ทวายด้วย
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, July 26, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เผยการผลิตพลังงานในไทยอีก 10 ปีจะเหลือเพียง 18% ของความต้องการใช้ที่ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวันจากปัจจุบันที่ 44% เตรียมเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 รักษาระดับการผลิตในประเทศควบคู่ไปกับแผนการแสวงหาพลังงานจากเพื่อนบ้าน
นายทรงภพ พลจันทร์อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ(ชพ.) เปิดเผยว่า ปี 2555 ความต้องการใช้พลังงานของไทยอยู่ที่1.9 ล้านบาร์เรลต่อวัน ขณะที่ความสามารถการผลิตของไทยคิดเป็นเพียง 44% ของความต้องการ และประเมินความต้องการใช้ที่จะเติบโตปีละ3% ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานในปี 2565 อยู่ที่ 2.6 ล้านบาร์เรลต่อวัน หากไทยไม่สามารถหาแหล่งพลังงานในประเทศเพิ่ม สัดส่วนการผลิตจะลดลงจาก 44% เหลือ 18%ของความต้องการในปี 2565 ดังนั้น การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 จึงมีความจำเป็นเพื่อรักษาระดับการผลิตไม่ให้ต่ำมากและลดการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ
"เราไม่อาจหลีกเลี่ยงการนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศได้ซึ่งอนาคตจะสูงขึ้นแน่นอน แต่สำคัญ คือ เราจะทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำสุด ซึ่งแหล่งพลังงานประเทศเพื่อนบ้านทั้งจากพม่าและรวมไปถึงพื้นที่ปิโตรเลียมทับซ้อนไทย-กัมพูชา หากมีการพัฒนาจะเป็นโอกาสด้านความมั่นคงด้านพลังงานของไทย แต่ในส่วนของไทยเอง ก็คงต้องทำด้วย ซึ่งการเลื่อนเปิดสัมปทาน
ปิโตรเลียมรอบใหม่ออกไปเพราะถูกต่อต้าน ก็จะได้ชี้แจงให้เข้าใจ โดยเฉพาะประเด็นรายได้ของประเทศจากการประกอบกิจการปิโตรเลียมไม่ได้ต่ำอย่างที่กล่าวอ้าง" นายทรงภพกล่าว
อย่างไรก็ตาม การใช้ที่สูงทำให้ปี 2561 บมจ.ปตท.จะต้องเตรียมแผนในการนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในเฟส 2 รองรับอีก 5 ล้านตัน ซึ่งต้องยอมรับว่าราคาก๊าซฯ นำเข้าจะสูงกว่าราคาในประเทศเกือบเท่าตัว หากเร่งให้บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด(มหาชน) หรือปตท.สผ. เร่งสำรวจแหล่งก๊าซ M3และM9ในพม่า ก็จะทำให้ไทยลดการนำเข้าLNG ที่ราคาแพงได้ เนื่องจากระบบท่อส่งก๊าซฯ จากพม่า มีความสามารถรับก๊าซได้ถึง 2,000 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันที่มีการส่งก๊าซฯผ่านท่อเพียง 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเท่านั้น
นายสุทัศน์ ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)กล่าวว่า การที่รัฐบาลไทยและพม่าได้ร่วมมือด้านพลังงานจะทำให้โอกาสการพัฒนาด้านพลังงานของไทยในพม่ามีสูงขึ้น ซึ่งบริษัทกฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด จะเข้าไปลงทุนเหมืองถ่านหิน หรือโรงไฟฟ้าถ่านหินและพลังงานน้ำในพม่ามากขึ้น รวมไปถึงการลงทุนโรงไฟฟ้าในพื้นที่ทวายด้วย
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 394
ฮุบกิจการต่างแดน จังหวะธุรกิจใหม่ทุนไทย
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, July 26, 2012
สัปดาห์ที่ผ่านมาข่าว บมจ.ปตท.สผ. หัวหอกรุกต่างประเทศ ของกลุ่มปตท.ใกล้บรรลุเป้าหมาย ในการเข้าครอบงำกิจการ บริษัท โคฟ เอนเนอยีฯ เจ้าของสัมปทานแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในโมซัมบิก หลัง เชลล์ คู่ชิงที่เบียดกันมาตั้งแต่โค้งแรก
ประกาศถอนตัว สร้างความฮือฮาให้กับวงการธุรกิจไทยเนื่องจากเป็นข้อตกลงธุรกิจหรือดีลที่มีมูลค่าเฉียดแสนล้าน และกิจการจากไทยรายนี้ขับเคี่ยวกับผู้ท้าชิงซึ่งเป็นบรรษัทพลังงานระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดกระแสเชียร์ไทยในกลุ่มผู้ติดตามข่าวสาร
หากไม่ทันข้ามสัปดาห์ดีข่าว บมจ.ปตท.สผ. กำลังจะได้เป็นเจ้าของโคฟถูกทอนความสนใจไปกว่าครึ่ง เมื่อ บมจ.ไทยเบฟ ธุรกิจเรือธงของ เจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของสมญาราชันน้ำเมา ประกาศว่าได้ซื้อหุ้น 22 % ในบริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟ จำกัด F&N ยักษ์อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอสังหาริมทรัพย์ สัญชาติสิงคโปร์ แต่เป็นที่รู้จักกันในฐานะเจ้าของเบียร์ไทเกอร์ หนึ่งในแบรนด์น้ำเมาดังระดับภาคพื้น จาก โอเวอร์ซีส์ ไชนีส แบงกิ้ง คอปอร์เรชั่น ลิมิเต็ด(โอซีบีซี) , เกรท อีสเทิร์น โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด(จีอีเฮช) และ ลีลับเบอร์ คอมพานี ลิมิเต็ด ก่อนข่าวถูกกระพือให้ขยายวงออกไปอีก เมื่อ บริษัท ไฮเนเก้นฯ (ถือหุ้นใน F&N จำนวน 42%) ประกาศตั้งโต๊ะซื้อหุ้นแข่งกับ เจ้าสัวเจริญ
-กระแสทุนไทยไปนอก
ทั้งนี้กระแสการรุกเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศของทุนไทย มีมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมาเพียงแต่มาเข้มข้นขึ้นในปีนี้ อาทิ ในปี 2553 บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ ทียูเอฟ ซื้อ บริษัท เอ็มดับบิลแบรนดส์ฯ ยักษ์ใหญ่ผลิตปลาทูน่าชั้นนำของฝรั่งเศส มูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการลงทุนสูงสุดของยักษ์ปลาทูน่าของไทยรายนี้ หรือการตัดสินใจครั้งสำคัญของ บมจ.บ้านปู ที่เข้าซื้อ บริษัท เชนเทนเนียล โคลฯ บริษัทถ่านหินอิสระใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียมูลค่า 6.802 หมื่นล้านบาท
ตามมาในปี 2554 บมจ.ปตท.สผ. ควักเงินลงทุน 6.84 หมื่นล้านบาท ลงทุนใน แหล่งออยล์ แซนด์ เคเคดี กับ ซื้อ บริษัท สเตท ออยล์ แคนาดาฯ (40 %) ซึ่งเป็นแหล่งที่มีน้ำมันสำรองขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก หรือกลุ่มเซ็นทรัลเข้าซื้อ ลารีนาเซนเด ห้างสรรพสินค้าหรูในอิตาลีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับกลุ่มดุสิตธานีเข้าไปลงทุนทำโรงแรมมัลดีฟส์ (ถือหุ้น 80%) 2.4 พันล้านบาทโดยประมาณ
สำหรับปีนี้ นอกจากกรณี บมจ.ปตท.สผ. กับ บมจ.ไทยเบฟ ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ก็มีการขยับตัวเช่นกัน โดยเมื่อเร็วๆนี้ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เจ้าสัวธนินท์ ได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่า เครือซีพีอยู่ระหว่างศึกษาเข้าซื้อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอาหาร ทั้งในยุโรป และสหรัฐ ฯ เพราะเห็นโอกาสที่ทั้ง 2 ทวีปเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ(วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์กับวิกฤติยูโร) ทำให้มูลค่าสินค่าสินทรัพย์ปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก โดยเจ้าสัวผู้ติดอันดับผู้มั่งคั่งอันดับที่ 40 ของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ในปี 2554 บอกกับผู้สื่อข่าวว่า คาร์ฟูร์ โมเดิร์นเทรดรายใหญ่ และสมิทฟิลด์ ธุรกิจหมูครบวงจรระดับโลกเป็นกิจการที่น่าสนใจ ในขณะที่ อดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ ธุรกิจเรือธงของเครือซีพีบอกว่า อยู่ระหว่างเจรจากับกิจการอาหารในต่างประเทศ 3 ราย จาก ยุโรปและเอเชียมูลค่า 1 พันล้าน- 1 หมื่นล้านบาท และคาดว่าภายในปีนี้ การเจรจาซื้อกิจการดังกล่าว จะมีความชัดเจน
-อยากโตต้องขยาย
เหตุผลที่การรุกไปต่างแดนของกลุ่มธุรกิจเหล่านั้นแม้ต่างในรายละเอียด เช่น กลุ่มปตท. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ กล่าวถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ว่าการลงทุน บมจ.ปตท.สผ.เป็นการแสวงหาแหล่งพลังงานสำรองให้กับชาติในอีก 10 ปีข้างหน้า ขณะที่ กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทยกล่าวเสมอว่า กลุ่มเอสซีจีเน้นขยายในอาเชียนเพราะตั้งเป็นหนึ่งในอาเซียน โดยแผน 5 ปี ระหว่างปี 2555-2559 ของ เอสซีจีจะใช้เงินลงทุน 5 แสนล้านบาท สำหรับการขยายกิจการในภูมิภาคด้วยการร่วมทุน หรือเข้าครอบงำกิจการ
สำหรับ ทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่นฯ หรือ อาร์ซีอาร์ ให้เหตุผลที่กลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปซื้อห้างสรรพสินค้าหรูในอิตาลี เพื่อขยายการลงทุนในระดับโลก เช่นเดียวกับเหตุผลของเจ้าสัวธนินท์ ประธานเครือซีพีที่บอกว่าเหตุผลในการสนใจซื้อกิจการต่างประเทศ เพราะต้องการเครือข่ายและแบรดน์เพื่อเป็นช่องทางในการให้สินค้าไทยเจาะเข้าไปในตลาดดังกล่าว หรือ อดิเรก กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ซีพีเอฟ ที่ให้เหตุผลที่สนใจซื้อกิจการอาหารในเอเชียและยุโรปตามที่กล่าวข้างต้นว่า ต้องการเพิ่มศักยภาพและเสริมขนาดกิจการให้ใหญ่ขึ้น
หากกลั่นเอาความเห็นของผู้นำองค์กรธุรกิจถึงเหตุผลที่ต้องรุกขยายกิจการออกไปต่างประเทศทั้งหมดตั้งอยู่บนหลักคิดเดียวกันที่ว่า อยากโตต้องขยาย เพราะขนาดเป็นตัวกำหนดความสำเร็จในสภาวะการแข่งขันที่ภูมิทัศน์เศรษฐกิจเปลี่ยนไปจากเดิมเกือบสิ้นเชิงเนื่องจากพรมแดนธุรกิจกำลังจะหายไป เหมือนที่กลุ่มปตท.มุ่งมั่นสร้างขนาดจนไต่ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 95 ของ ฟอร์จูน 500 และไพรินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่มีแผนขยับเป้าให้ขึ้นไปอยู่ในระดับ 50 ในอนาคตซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายสุดของบริษัทพลังแห่งชาติของไทย
-เมื่อโลกาภิวัตน์ไล่ล่า
กับปรากฏการณ์ดังกล่าว ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องเขตการค้าของเมืองไทยมองว่า เป็นแรงบีบจากโลกาภิวัตน์ ซึ่งส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งมีการควบรวมกิจการต่างๆปรากฏให้เห็น เช่นผู้ค้าบุหรี่และเหล้าเริ่มมีการแปลงสัญชาติกิจการเนื่องจากกิจการเหล่านั้น แสวงหาแหล่งผลิตที่มีต้นทุนต่ำ หาตลาดใหม่ และขยายโปรดักต์ไลน์ใหม่ " บริษัทใหญ่ต้องขยายสินค้าให้ครบวงจร หากไม่ต้องการถูกกิจการต่างชาติช่วงชิงตลาดไป " นักวิชาการผู้นี้ชี้ พร้อมระบุว่า เออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) เป็นอีกปัจจัยเร่งให้ทุนไทยต้องไปหาที่ทางใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะหากไม่ชิงลงมือก่อนโอกาสเพลี่ยงพล้ำในเกมธุรกิจใหม่มีสูงมาก
ดร.สมชายชี้ว่า กระบวนการย้ายทุนเพิ่งเริ่มต้น พลวัตของกระบวนการเหล่านี้ยังมีอยู่ ในทางกลับกัน อนาคตจะเห็นกิจการต่างประเทศเข้ามาซื้อกิจการในไทยเพิ่มขึ้น อันเป็นพลพวงจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) เช่นเดียวกับ " ในอนาคตเราจะเห็นปรากฏการณ์เหล่านี้ หนึ่งผู้ประกอบการคงทำธุรกิจเดิมแล้วขยายออกไปต่างประเทศ สองทำให้ครบวงจร และสาม เลิกธุรกิจเดิมแล้วมุ่งสู่ธุรกิจใหม่" ดร.สมชายกล่าวในที่สุด
ส่วนที่ปรึกษาทางการเงิน ธนาธิป วิทยะสิรินันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซจ แคปิตอลฯ มองว่าการรุกซื้อกิจการต่างประเทศของทุนไทยในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งต้องการโตทางลัด และเป็นจังหวะที่ดีที่มูลค่าทรัพย์สินในสหรัฐฯและยุโรปลดลงเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ ธนาธิปบอกว่า การซื้อกิจการในยุโรปยุ่งยากกว่าสหรัฐฯเพราะยุโรปให้ความสำคัญเรื่องสังคม เช่น แรงงานมากกว่าเรื่องธุรกิจหรือทุน "การที่ทียูเอฟและซีพีเอฟประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการในยุโรปถือว่าสุดยอด" เขาระบุ
กล่าวโดยสรุปแล้ว กระแสทุนไทยที่แผ่ขยายออกไปต่างแดนที่มีให้เห็นตั้งแต่ปี 2546 นั้นจะทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกรอบปฏิบัติของเขตการค้าที่กระชั้นเข้ามา และ เออีซี ที่จะมาถึงในปี 2558 เป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการไทยต้องหายุทธศาสตร์ใหม่ตามสภาวะการแข่งขันที่เปลี่ยนไปตาม สภาพภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ไม่ว่า บมจ.ปตท.สผ. กับ บมจ.ไทยเบฟ จะบรรลุข้อตกลงใน โคฟ และ เอฟแอนด์เอ็น ตามลำดับหรือไม่ แต่กระแสการครอบงำหรือร่วมทุนกิจการในต่างประเทศจากทุนไทย จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตามปัจจัยบังคับที่กล่าวมาโดยลำดับนั้น และในอนาคตอันใกล้นี้เราคงได้เห็นทุนไทยก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นในระดับภาคพื้น หรืออาจทะลุขึ้นไปสู่ระดับโลกแน่นอน
ลีลาใหม่ของทุนไทยเริ่มแล้ว ด้วยจังหวะธุรกิจที่เร่าร้อนกว่าเดิม !!!!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,760 26-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Thursday, July 26, 2012
สัปดาห์ที่ผ่านมาข่าว บมจ.ปตท.สผ. หัวหอกรุกต่างประเทศ ของกลุ่มปตท.ใกล้บรรลุเป้าหมาย ในการเข้าครอบงำกิจการ บริษัท โคฟ เอนเนอยีฯ เจ้าของสัมปทานแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ในโมซัมบิก หลัง เชลล์ คู่ชิงที่เบียดกันมาตั้งแต่โค้งแรก
ประกาศถอนตัว สร้างความฮือฮาให้กับวงการธุรกิจไทยเนื่องจากเป็นข้อตกลงธุรกิจหรือดีลที่มีมูลค่าเฉียดแสนล้าน และกิจการจากไทยรายนี้ขับเคี่ยวกับผู้ท้าชิงซึ่งเป็นบรรษัทพลังงานระดับโลกมาอย่างต่อเนื่องจนเกิดกระแสเชียร์ไทยในกลุ่มผู้ติดตามข่าวสาร
หากไม่ทันข้ามสัปดาห์ดีข่าว บมจ.ปตท.สผ. กำลังจะได้เป็นเจ้าของโคฟถูกทอนความสนใจไปกว่าครึ่ง เมื่อ บมจ.ไทยเบฟ ธุรกิจเรือธงของ เจ้าสัว เจริญ สิริวัฒนภักดี เจ้าของสมญาราชันน้ำเมา ประกาศว่าได้ซื้อหุ้น 22 % ในบริษัท เฟรเซอร์แอนด์นีฟ จำกัด F&N ยักษ์อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม และอสังหาริมทรัพย์ สัญชาติสิงคโปร์ แต่เป็นที่รู้จักกันในฐานะเจ้าของเบียร์ไทเกอร์ หนึ่งในแบรนด์น้ำเมาดังระดับภาคพื้น จาก โอเวอร์ซีส์ ไชนีส แบงกิ้ง คอปอร์เรชั่น ลิมิเต็ด(โอซีบีซี) , เกรท อีสเทิร์น โฮลดิ้ง ลิมิเต็ด(จีอีเฮช) และ ลีลับเบอร์ คอมพานี ลิมิเต็ด ก่อนข่าวถูกกระพือให้ขยายวงออกไปอีก เมื่อ บริษัท ไฮเนเก้นฯ (ถือหุ้นใน F&N จำนวน 42%) ประกาศตั้งโต๊ะซื้อหุ้นแข่งกับ เจ้าสัวเจริญ
-กระแสทุนไทยไปนอก
ทั้งนี้กระแสการรุกเข้าซื้อกิจการในต่างประเทศของทุนไทย มีมาอย่างต่อเนื่องตลอด 3 ปีที่ผ่านมาเพียงแต่มาเข้มข้นขึ้นในปีนี้ อาทิ ในปี 2553 บมจ.ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ หรือ ทียูเอฟ ซื้อ บริษัท เอ็มดับบิลแบรนดส์ฯ ยักษ์ใหญ่ผลิตปลาทูน่าชั้นนำของฝรั่งเศส มูลค่า 2.8 หมื่นล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่าการลงทุนสูงสุดของยักษ์ปลาทูน่าของไทยรายนี้ หรือการตัดสินใจครั้งสำคัญของ บมจ.บ้านปู ที่เข้าซื้อ บริษัท เชนเทนเนียล โคลฯ บริษัทถ่านหินอิสระใหญ่ที่สุดในออสเตรเลียมูลค่า 6.802 หมื่นล้านบาท
ตามมาในปี 2554 บมจ.ปตท.สผ. ควักเงินลงทุน 6.84 หมื่นล้านบาท ลงทุนใน แหล่งออยล์ แซนด์ เคเคดี กับ ซื้อ บริษัท สเตท ออยล์ แคนาดาฯ (40 %) ซึ่งเป็นแหล่งที่มีน้ำมันสำรองขนาดใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก หรือกลุ่มเซ็นทรัลเข้าซื้อ ลารีนาเซนเด ห้างสรรพสินค้าหรูในอิตาลีมูลค่า 1 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับกลุ่มดุสิตธานีเข้าไปลงทุนทำโรงแรมมัลดีฟส์ (ถือหุ้น 80%) 2.4 พันล้านบาทโดยประมาณ
สำหรับปีนี้ นอกจากกรณี บมจ.ปตท.สผ. กับ บมจ.ไทยเบฟ ที่กล่าวถึงข้างต้นแล้ว ยักษ์ใหญ่ในอุตสาหกรรมอาหารอย่างเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี ก็มีการขยับตัวเช่นกัน โดยเมื่อเร็วๆนี้ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ เจ้าสัวธนินท์ ได้กล่าวกับสื่อมวลชนว่า เครือซีพีอยู่ระหว่างศึกษาเข้าซื้อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจอาหาร ทั้งในยุโรป และสหรัฐ ฯ เพราะเห็นโอกาสที่ทั้ง 2 ทวีปเผชิญกับวิกฤติเศรษฐกิจ(วิกฤติแฮมเบอร์เกอร์กับวิกฤติยูโร) ทำให้มูลค่าสินค่าสินทรัพย์ปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก โดยเจ้าสัวผู้ติดอันดับผู้มั่งคั่งอันดับที่ 40 ของโลกจากการจัดอันดับของนิตยสารฟอร์บส์ ในปี 2554 บอกกับผู้สื่อข่าวว่า คาร์ฟูร์ โมเดิร์นเทรดรายใหญ่ และสมิทฟิลด์ ธุรกิจหมูครบวงจรระดับโลกเป็นกิจการที่น่าสนใจ ในขณะที่ อดิเรก ศรีประทักษ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.เจริญโภคภัณฑ์อาหาร หรือ ซีพีเอฟ ธุรกิจเรือธงของเครือซีพีบอกว่า อยู่ระหว่างเจรจากับกิจการอาหารในต่างประเทศ 3 ราย จาก ยุโรปและเอเชียมูลค่า 1 พันล้าน- 1 หมื่นล้านบาท และคาดว่าภายในปีนี้ การเจรจาซื้อกิจการดังกล่าว จะมีความชัดเจน
-อยากโตต้องขยาย
เหตุผลที่การรุกไปต่างแดนของกลุ่มธุรกิจเหล่านั้นแม้ต่างในรายละเอียด เช่น กลุ่มปตท. ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทแม่ กล่าวถึงภารกิจอันยิ่งใหญ่ว่าการลงทุน บมจ.ปตท.สผ.เป็นการแสวงหาแหล่งพลังงานสำรองให้กับชาติในอีก 10 ปีข้างหน้า ขณะที่ กานต์ ตระกูลฮุน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปูนซิเมนต์ไทยกล่าวเสมอว่า กลุ่มเอสซีจีเน้นขยายในอาเชียนเพราะตั้งเป็นหนึ่งในอาเซียน โดยแผน 5 ปี ระหว่างปี 2555-2559 ของ เอสซีจีจะใช้เงินลงทุน 5 แสนล้านบาท สำหรับการขยายกิจการในภูมิภาคด้วยการร่วมทุน หรือเข้าครอบงำกิจการ
สำหรับ ทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัล รีเทล คอร์ปอเรชั่นฯ หรือ อาร์ซีอาร์ ให้เหตุผลที่กลุ่มเซ็นทรัลเข้าไปซื้อห้างสรรพสินค้าหรูในอิตาลี เพื่อขยายการลงทุนในระดับโลก เช่นเดียวกับเหตุผลของเจ้าสัวธนินท์ ประธานเครือซีพีที่บอกว่าเหตุผลในการสนใจซื้อกิจการต่างประเทศ เพราะต้องการเครือข่ายและแบรดน์เพื่อเป็นช่องทางในการให้สินค้าไทยเจาะเข้าไปในตลาดดังกล่าว หรือ อดิเรก กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานคณะผู้บริหาร บมจ.ซีพีเอฟ ที่ให้เหตุผลที่สนใจซื้อกิจการอาหารในเอเชียและยุโรปตามที่กล่าวข้างต้นว่า ต้องการเพิ่มศักยภาพและเสริมขนาดกิจการให้ใหญ่ขึ้น
หากกลั่นเอาความเห็นของผู้นำองค์กรธุรกิจถึงเหตุผลที่ต้องรุกขยายกิจการออกไปต่างประเทศทั้งหมดตั้งอยู่บนหลักคิดเดียวกันที่ว่า อยากโตต้องขยาย เพราะขนาดเป็นตัวกำหนดความสำเร็จในสภาวะการแข่งขันที่ภูมิทัศน์เศรษฐกิจเปลี่ยนไปจากเดิมเกือบสิ้นเชิงเนื่องจากพรมแดนธุรกิจกำลังจะหายไป เหมือนที่กลุ่มปตท.มุ่งมั่นสร้างขนาดจนไต่ขึ้นมาอยู่ในอันดับ 95 ของ ฟอร์จูน 500 และไพรินทร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่มีแผนขยับเป้าให้ขึ้นไปอยู่ในระดับ 50 ในอนาคตซึ่งถือเป็นเป้าหมายที่ท้าทายสุดของบริษัทพลังแห่งชาติของไทย
-เมื่อโลกาภิวัตน์ไล่ล่า
กับปรากฏการณ์ดังกล่าว ดร.สมชาย ภคภาสน์วิวัฒน์ นักวิชาการผู้เชี่ยวชาญเรื่องเขตการค้าของเมืองไทยมองว่า เป็นแรงบีบจากโลกาภิวัตน์ ซึ่งส่งสัญญาณมาตั้งแต่ปี 2546 ซึ่งมีการควบรวมกิจการต่างๆปรากฏให้เห็น เช่นผู้ค้าบุหรี่และเหล้าเริ่มมีการแปลงสัญชาติกิจการเนื่องจากกิจการเหล่านั้น แสวงหาแหล่งผลิตที่มีต้นทุนต่ำ หาตลาดใหม่ และขยายโปรดักต์ไลน์ใหม่ " บริษัทใหญ่ต้องขยายสินค้าให้ครบวงจร หากไม่ต้องการถูกกิจการต่างชาติช่วงชิงตลาดไป " นักวิชาการผู้นี้ชี้ พร้อมระบุว่า เออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน) เป็นอีกปัจจัยเร่งให้ทุนไทยต้องไปหาที่ทางใหม่ในประเทศเพื่อนบ้าน เพราะหากไม่ชิงลงมือก่อนโอกาสเพลี่ยงพล้ำในเกมธุรกิจใหม่มีสูงมาก
ดร.สมชายชี้ว่า กระบวนการย้ายทุนเพิ่งเริ่มต้น พลวัตของกระบวนการเหล่านี้ยังมีอยู่ ในทางกลับกัน อนาคตจะเห็นกิจการต่างประเทศเข้ามาซื้อกิจการในไทยเพิ่มขึ้น อันเป็นพลพวงจากข้อตกลงความร่วมมือทางเศรษฐกิจเอเชีย-แปซิฟิก (เอเปก) เช่นเดียวกับ " ในอนาคตเราจะเห็นปรากฏการณ์เหล่านี้ หนึ่งผู้ประกอบการคงทำธุรกิจเดิมแล้วขยายออกไปต่างประเทศ สองทำให้ครบวงจร และสาม เลิกธุรกิจเดิมแล้วมุ่งสู่ธุรกิจใหม่" ดร.สมชายกล่าวในที่สุด
ส่วนที่ปรึกษาทางการเงิน ธนาธิป วิทยะสิรินันท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซจ แคปิตอลฯ มองว่าการรุกซื้อกิจการต่างประเทศของทุนไทยในช่วงปีสองปีที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งต้องการโตทางลัด และเป็นจังหวะที่ดีที่มูลค่าทรัพย์สินในสหรัฐฯและยุโรปลดลงเนื่องจากวิกฤติเศรษฐกิจ ธนาธิปบอกว่า การซื้อกิจการในยุโรปยุ่งยากกว่าสหรัฐฯเพราะยุโรปให้ความสำคัญเรื่องสังคม เช่น แรงงานมากกว่าเรื่องธุรกิจหรือทุน "การที่ทียูเอฟและซีพีเอฟประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการในยุโรปถือว่าสุดยอด" เขาระบุ
กล่าวโดยสรุปแล้ว กระแสทุนไทยที่แผ่ขยายออกไปต่างแดนที่มีให้เห็นตั้งแต่ปี 2546 นั้นจะทวีความเข้มข้นขึ้นอย่างต่อเนื่องตามกรอบปฏิบัติของเขตการค้าที่กระชั้นเข้ามา และ เออีซี ที่จะมาถึงในปี 2558 เป็นตัวเร่งให้ผู้ประกอบการไทยต้องหายุทธศาสตร์ใหม่ตามสภาวะการแข่งขันที่เปลี่ยนไปตาม สภาพภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจใหม่ ภายใต้เงื่อนไขดังกล่าว ไม่ว่า บมจ.ปตท.สผ. กับ บมจ.ไทยเบฟ จะบรรลุข้อตกลงใน โคฟ และ เอฟแอนด์เอ็น ตามลำดับหรือไม่ แต่กระแสการครอบงำหรือร่วมทุนกิจการในต่างประเทศจากทุนไทย จะทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นตามปัจจัยบังคับที่กล่าวมาโดยลำดับนั้น และในอนาคตอันใกล้นี้เราคงได้เห็นทุนไทยก้าวขึ้นเป็นผู้เล่นในระดับภาคพื้น หรืออาจทะลุขึ้นไปสู่ระดับโลกแน่นอน
ลีลาใหม่ของทุนไทยเริ่มแล้ว ด้วยจังหวะธุรกิจที่เร่าร้อนกว่าเดิม !!!!
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,760 26-28 กรกฎาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 395
ดีเดย์เดินระบบก๊าซ CBG ทดแทน NGV สำหรับรถยนต์ ก.ค.นี้
Source -สยามธุรกิจ (Th), Thursday, July 26, 2012
(25ก.ค.2555) - กระทรวงพลังงาน เดินหน้าพัฒนาการผลิตก๊าซ CBG หวังลดทดแทนก๊าซ NGV ในพื้นที่ขาดแคลน ภาคเหนือ-อีสาน ปลื้ม บมจ. UAC นำร่องภาคเอกชนร่วมพัฒนาการผลิตก๊าซ CBG สำหรับยานยนต์ เริ่มทดสอบและเดินระบบในเดือนกรกฎาคม 255 นี้
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากปัญหาต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ในพื้นที่ห่างไกลแนวท่อที่มีราคาสูง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนก๊าซ NGV ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากปัญหาความต้องการใช้ก๊าซ NGV ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กระทรวงพลังงานต้องเร่งดำเนินนโยบายสร้างเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย อีกทั้งพัฒนาและสาธิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดที่ใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ พร้อมผลักดันให้นำผลงานวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
ในปี 2554 ที่ผ่านมา สนพ. ได้สนับสนุนการศึกษาและวิจัย การนำก๊าซชีวภาพมาต่อยอดเพื่อนำไปผลิตเป็นก๊าซไบโอมีแทนอัดสำหรับยานยนต์ (Compressed Bio-methane Gas : CBG) ทดแทนก๊าซ NGV ในภาคขนส่ง โดยปัจจุบันได้เริ่มมีการศึกษาและวิจัยนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากฟาร์มปศุสัตว์มาผลิตเป็นก๊าซ CBG โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จากผลการศึกษาพบว่า ก๊าซ CBG ที่ได้จากการนำก๊าซชีวภาพมาพัฒนานั้น ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก๊าซที่ได้ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่า NGV สำหรับยานยนต์ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน มีกำลังการผลิต 20 ลบ.ม./ชม. เทียบเท่าการผลิตก๊าซ NGV/CNG จำนวน 16 ถัง/วัน (15 กก./ถัง)
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันประเทศไทย มีภาคเอกชนเห็นความสำคัญในการลงทุนระบบผลิตก๊าซ CBG จากก๊าซชีวภาพอย่างจริงจัง โดยบริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบนท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) (UAC) ภายใต้การสนับสนุนของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ร่วมกับศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำโครงการ “พัฒนาก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อการคมนาคม” ขึ้น เพื่อติดตั้งระบบผลิตก๊าซ CBG ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มูลค่าการลงทุนรวม 110 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนของการลงทุนระบบปรับสภาพก๊าซชีวภาพ จำนวน 15 ล้าน
โดยระบบการผลิตก๊าซ CBG ได้มีการต่อเชื่อมท่อนำก๊าซชีวภาพมาจากฟาร์มสุกรของบริษัท มงคลแอนด์ซัน ฟาร์ม จำกัด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ติดกันนำมาผลิตเป็นก๊าซ CBG โดยมีกำลังผลิตติดตั้ง 6 ตัน/วัน เทียบเท่าเติมรถยนต์ได้ 500 คัน/วัน เติมรถขนส่งขนาดใหญ่ได้ 40 คัน/วัน ซึ่งจะสามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ประมาณปีละ 2.2 ล้านลิตร หรือก๊าซ LPG ปีละ 1.6 ล้านตัน ปัจจุบัน ได้ก่อสร้างระบบเสร็จเรียบร้อยและได้มีการทดลองผลิตก๊าซ CBG แล้วเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และจะเริ่มจำหน่ายให้ ปตท.ในระยะแรก 3 ตัน/วัน
ปัจจุบันมีประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง เยอรมนี สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชเพื่อให้ได้ก๊าซมีเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยมีแหล่งผลิตพร้อมใช้งานแล้วกว่า 6,800 แห่งทั่วประเทศ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ 1,600 เมกะวัตต์ (ที่มา : Scholwin, Germany, 2010)
Source -สยามธุรกิจ (Th), Thursday, July 26, 2012
(25ก.ค.2555) - กระทรวงพลังงาน เดินหน้าพัฒนาการผลิตก๊าซ CBG หวังลดทดแทนก๊าซ NGV ในพื้นที่ขาดแคลน ภาคเหนือ-อีสาน ปลื้ม บมจ. UAC นำร่องภาคเอกชนร่วมพัฒนาการผลิตก๊าซ CBG สำหรับยานยนต์ เริ่มทดสอบและเดินระบบในเดือนกรกฎาคม 255 นี้
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากปัญหาต้นทุนราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) ในพื้นที่ห่างไกลแนวท่อที่มีราคาสูง รวมถึงปัญหาการขาดแคลนก๊าซ NGV ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคอีสาน เนื่องจากปัญหาความต้องการใช้ก๊าซ NGV ในพื้นที่ดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ กระทรวงพลังงานต้องเร่งดำเนินนโยบายสร้างเสริมความมั่นคงด้านพลังงาน โดยส่งเสริมและสนับสนุนการวิจัย อีกทั้งพัฒนาและสาธิตเทคโนโลยีพลังงานทดแทน และพลังงานสะอาดที่ใช้เทคโนโลยีรูปแบบใหม่ พร้อมผลักดันให้นำผลงานวิจัยไปต่อยอดในเชิงพาณิชย์
ในปี 2554 ที่ผ่านมา สนพ. ได้สนับสนุนการศึกษาและวิจัย การนำก๊าซชีวภาพมาต่อยอดเพื่อนำไปผลิตเป็นก๊าซไบโอมีแทนอัดสำหรับยานยนต์ (Compressed Bio-methane Gas : CBG) ทดแทนก๊าซ NGV ในภาคขนส่ง โดยปัจจุบันได้เริ่มมีการศึกษาและวิจัยนำก๊าซชีวภาพที่ได้จากฟาร์มปศุสัตว์มาผลิตเป็นก๊าซ CBG โดยมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) จากผลการศึกษาพบว่า ก๊าซ CBG ที่ได้จากการนำก๊าซชีวภาพมาพัฒนานั้น ได้ผลเป็นที่น่าพอใจ ก๊าซที่ได้ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่า NGV สำหรับยานยนต์ตามประกาศของกรมธุรกิจพลังงาน มีกำลังการผลิต 20 ลบ.ม./ชม. เทียบเท่าการผลิตก๊าซ NGV/CNG จำนวน 16 ถัง/วัน (15 กก./ถัง)
อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่ายินดีว่าปัจจุบันประเทศไทย มีภาคเอกชนเห็นความสำคัญในการลงทุนระบบผลิตก๊าซ CBG จากก๊าซชีวภาพอย่างจริงจัง โดยบริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบนท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) (UAC) ภายใต้การสนับสนุนของ กรมพัฒนาพลังงานทดแทนและอนุรักษ์พลังงาน (พพ.) ร่วมกับศูนย์วิจัยพลังงาน มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ได้จัดทำโครงการ “พัฒนาก๊าซชีวภาพจากฟาร์มสุกรเพื่อการคมนาคม” ขึ้น เพื่อติดตั้งระบบผลิตก๊าซ CBG ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ มูลค่าการลงทุนรวม 110 ล้านบาท ซึ่งเป็นงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนจากกองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ในส่วนของการลงทุนระบบปรับสภาพก๊าซชีวภาพ จำนวน 15 ล้าน
โดยระบบการผลิตก๊าซ CBG ได้มีการต่อเชื่อมท่อนำก๊าซชีวภาพมาจากฟาร์มสุกรของบริษัท มงคลแอนด์ซัน ฟาร์ม จำกัด ซึ่งอยู่ในพื้นที่ติดกันนำมาผลิตเป็นก๊าซ CBG โดยมีกำลังผลิตติดตั้ง 6 ตัน/วัน เทียบเท่าเติมรถยนต์ได้ 500 คัน/วัน เติมรถขนส่งขนาดใหญ่ได้ 40 คัน/วัน ซึ่งจะสามารถทดแทนการนำเข้าน้ำมันดีเซลได้ประมาณปีละ 2.2 ล้านลิตร หรือก๊าซ LPG ปีละ 1.6 ล้านตัน ปัจจุบัน ได้ก่อสร้างระบบเสร็จเรียบร้อยและได้มีการทดลองผลิตก๊าซ CBG แล้วเมื่อกลางเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา และจะเริ่มจำหน่ายให้ ปตท.ในระยะแรก 3 ตัน/วัน
ปัจจุบันมีประเทศที่พัฒนาแล้วอย่าง เยอรมนี สามารถพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตก๊าซชีวภาพจากพืชเพื่อให้ได้ก๊าซมีเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิง โดยมีแหล่งผลิตพร้อมใช้งานแล้วกว่า 6,800 แห่งทั่วประเทศ สามารถนำมาผลิตไฟฟ้าได้ 1,600 เมกะวัตต์ (ที่มา : Scholwin, Germany, 2010)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 396
PTTEP extends Cove deadline again
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, July 27, 2012
YUTHANA PRAIWAN
PTT Exploration and Production Plc (PTTEP), Thailand’s sole gas explorer,has again extended its offer to purchase shares of the London-based Cove Energy Plc, this time to next Tuesday.
Terms and conditions of the offer otherwise remain unchanged, the company said in a statement submitted to the Stock Exchange of Thailand (SET)yesterday
"We’ve extended our share purchase offer deadline because some Cove shareholders may be waiting for another company to make an offer," said chief executive Tevin Vongvanich.
This is the third extension, after previous deadlines of July 16 and 25.
Cove has an 8.5% stake in the Rovuma Area 1 gas field, which has already been drilled and shown probable reserves of 66 trillion cubic feet.
The field has been tagged for liquefied natural gas (LNG) production.
Besides Cove, shareholders in the field include the Texas-based Anadarko Petroleum (36.5%), the Mitsui Group (20%),the Mozambican government (15%), the India-based Videocon (10%) and India’s Bharat Petroleum (10%).
Cove also owns 10% in Mozambique’s Rovuma onshore block and seven deepwater petroleum fields off Kenya, where it has stakes ranging from 10-25%.
All eight fields are now being explored.PTTEP said in its report that 72.14%of Cove’s shareholders have agreed to sell their shares to the company, but it expects more than 90% will eventually agree to its offer.
The company expects the deal will be finalised and transaction completed within the next two months.
Mr Tevin said if fewer than 90% of Cove shareholders vote for the deal, then PTTEP will consider its next move.
Last week Shell withdrew its offer in order to talk to another major of the Rovuma Area 1 shareholder instead,Anardako Petroleum Corporation, which owns 36.5%.
A bidding price of US$1.9 billion or 240 pence a share was offered, beating Shell’s bid of 220 pence.
PTTEP is seeking to expand its East African LNG production base following its Cash and Maple gas fields off of northwestern Australia.
He said LNG production costs for this field are expected to be relatively low due to the huge reserve.
Gas can be transported via a 66-kilometre pipeline for processing on the mainland instead of developing costly floating gas platforms.
PTTEP shares closed yesterday on the SET at 151.50 baht, down 1.50 baht, in trade worth 597 million.
Source: Bangkok Post
Source - Bangkok Post (Eng), Friday, July 27, 2012
YUTHANA PRAIWAN
PTT Exploration and Production Plc (PTTEP), Thailand’s sole gas explorer,has again extended its offer to purchase shares of the London-based Cove Energy Plc, this time to next Tuesday.
Terms and conditions of the offer otherwise remain unchanged, the company said in a statement submitted to the Stock Exchange of Thailand (SET)yesterday
"We’ve extended our share purchase offer deadline because some Cove shareholders may be waiting for another company to make an offer," said chief executive Tevin Vongvanich.
This is the third extension, after previous deadlines of July 16 and 25.
Cove has an 8.5% stake in the Rovuma Area 1 gas field, which has already been drilled and shown probable reserves of 66 trillion cubic feet.
The field has been tagged for liquefied natural gas (LNG) production.
Besides Cove, shareholders in the field include the Texas-based Anadarko Petroleum (36.5%), the Mitsui Group (20%),the Mozambican government (15%), the India-based Videocon (10%) and India’s Bharat Petroleum (10%).
Cove also owns 10% in Mozambique’s Rovuma onshore block and seven deepwater petroleum fields off Kenya, where it has stakes ranging from 10-25%.
All eight fields are now being explored.PTTEP said in its report that 72.14%of Cove’s shareholders have agreed to sell their shares to the company, but it expects more than 90% will eventually agree to its offer.
The company expects the deal will be finalised and transaction completed within the next two months.
Mr Tevin said if fewer than 90% of Cove shareholders vote for the deal, then PTTEP will consider its next move.
Last week Shell withdrew its offer in order to talk to another major of the Rovuma Area 1 shareholder instead,Anardako Petroleum Corporation, which owns 36.5%.
A bidding price of US$1.9 billion or 240 pence a share was offered, beating Shell’s bid of 220 pence.
PTTEP is seeking to expand its East African LNG production base following its Cash and Maple gas fields off of northwestern Australia.
He said LNG production costs for this field are expected to be relatively low due to the huge reserve.
Gas can be transported via a 66-kilometre pipeline for processing on the mainland instead of developing costly floating gas platforms.
PTTEP shares closed yesterday on the SET at 151.50 baht, down 1.50 baht, in trade worth 597 million.
Source: Bangkok Post
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 397
IRPCขายหุ้นกู้หมื่นล้านตุนเงินลุยธุรกิจ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, July 27, 2012
โพสต์ทูเดย์ -IRPC จ่อขายหุ้นกู้หมื่นล้านคืนหนี้บุกธุรกิจด้าน PF ขายตั๋วเงินอายุ 270 วัน วงเงิน1,800 ล้าน แจก 4.75-4.85%
รายงานข่าวจากบริษัท ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศจัดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่ของบริษัทไออาร์พีซี (IRPC) วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ที่ระดับ A-(tha) ซึ่งหุ้นกู้ชุดนี้จะมีอายุ 3 ปี และ 6 ปี
ทั้งนี้ IRPC จะระดมเงินเพื่อนำไปชำระคืนหนี้หุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนด และส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการขยายการลงทุนใหม่
สำหรับอันดับเครดิตของบริษัทมีปัจจัยสนับสนุนจากความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากการผลิตที่ต่อเนื่องครบวงจรตั้งแต่การกลั่นน้ำมันไปจนถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย และสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานจากการร่วมดำเนินการกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ซึ่ง ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทได้ดี โดยเฉพาะในการจัดหาวัตถุดิบและการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ แต่ก็มีความเสี่ยงกับความผันผวนที่สูงของราคาน้ำมัน ค่าการกลั่น ตลอดจนราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลก
ด้านบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) เตรียมขายตั๋วเงินอายุไม่เกิน 270 วัน ให้กับนักลงทุนสถาบันจำนวน 2 ชุด โดยชุดแรกวงเงิน 700 ล้านบาท จะจ่ายดอกเบี้ย 4.75%และชุดที่ 2 วงเงิน 800 ล้านบาทจ่ายดอกเบี้ย 4.85% และได้สำรองวงเงินส่วนเกินไว้ 300 ล้านบาท เพื่อนักลงทุนที่ต้องการซื้อเข้ามามากกว่าที่จะขาย
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มี.ค. 2555 บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวมจำนวน 14,020 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ตั๋วแลกเงินจำนวน 603 ล้านบาท หนี้หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี 3,790 ล้านบาทและเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี จำนวน 248 ล้านบาท และหนี้หุ้นกู้สุทธิ 3,450 ล้านบาท เงินหนี้กู้ยืมระยะยาวสุทธิ 4,059 ล้านบาท
ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่เปิดขายคงเหลือ 2.16 หมื่นล้านบาท สามารถสร้างรายได้ในอีก2-3 ปี
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Friday, July 27, 2012
โพสต์ทูเดย์ -IRPC จ่อขายหุ้นกู้หมื่นล้านคืนหนี้บุกธุรกิจด้าน PF ขายตั๋วเงินอายุ 270 วัน วงเงิน1,800 ล้าน แจก 4.75-4.85%
รายงานข่าวจากบริษัท ฟิทช์เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศจัดอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวหุ้นกู้ไม่มีหลักประกันและไม่ด้อยสิทธิชุดใหม่ของบริษัทไออาร์พีซี (IRPC) วงเงิน 1 หมื่นล้านบาท ที่ระดับ A-(tha) ซึ่งหุ้นกู้ชุดนี้จะมีอายุ 3 ปี และ 6 ปี
ทั้งนี้ IRPC จะระดมเงินเพื่อนำไปชำระคืนหนี้หุ้นกู้เดิมที่ครบกำหนด และส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ในการขยายการลงทุนใหม่
สำหรับอันดับเครดิตของบริษัทมีปัจจัยสนับสนุนจากความได้เปรียบในการแข่งขัน เนื่องจากการผลิตที่ต่อเนื่องครบวงจรตั้งแต่การกลั่นน้ำมันไปจนถึงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีขั้นปลาย และสามารถลดต้นทุนการดำเนินงานจากการร่วมดำเนินการกับบริษัทในกลุ่ม ปตท. ซึ่ง ปตท.เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทได้ดี โดยเฉพาะในการจัดหาวัตถุดิบและการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์ แต่ก็มีความเสี่ยงกับความผันผวนที่สูงของราคาน้ำมัน ค่าการกลั่น ตลอดจนราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลก
ด้านบริษัท พร็อพเพอร์ตี้ เพอร์เฟค (PF) เตรียมขายตั๋วเงินอายุไม่เกิน 270 วัน ให้กับนักลงทุนสถาบันจำนวน 2 ชุด โดยชุดแรกวงเงิน 700 ล้านบาท จะจ่ายดอกเบี้ย 4.75%และชุดที่ 2 วงเงิน 800 ล้านบาทจ่ายดอกเบี้ย 4.85% และได้สำรองวงเงินส่วนเกินไว้ 300 ล้านบาท เพื่อนักลงทุนที่ต้องการซื้อเข้ามามากกว่าที่จะขาย
ทั้งนี้ ณ วันที่ 31 มี.ค. 2555 บริษัทและบริษัทย่อยมีหนี้สินรวมจำนวน 14,020 ล้านบาท แบ่งเป็นหนี้ตั๋วแลกเงินจำนวน 603 ล้านบาท หนี้หุ้นกู้ส่วนที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี 3,790 ล้านบาทและเงินกู้ยืมระยะยาวที่ถึงกำหนดชำระภายใน 1 ปี จำนวน 248 ล้านบาท และหนี้หุ้นกู้สุทธิ 3,450 ล้านบาท เงินหนี้กู้ยืมระยะยาวสุทธิ 4,059 ล้านบาท
ปัจจุบันบริษัทมีโครงการที่เปิดขายคงเหลือ 2.16 หมื่นล้านบาท สามารถสร้างรายได้ในอีก2-3 ปี
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 399
ปตท.สผ.ครึ่งปีโกยแสนล้านพบปิโตรเลียมเพียบ23หลุม
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, July 28, 2012
ครึ่งปีแรก ปตท.สผ.กวาดรายได้กว่าแสนล้านบาท โต 17% ชี้สำเร็จถึง 80% มาจากการเจาะหลุมาสำรวจพบปิโตรเลียม 23 หลุม จากเจาะ 29 หลุม
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก ปตท.สผ. และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 3,260 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 101,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% กำไรสุทธิ 839 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 26,021 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%
ในส่วนการสำรวจซึ่งเป็นภารกิจหลักของ ปตท.สผ.ได้เจาะหลุมสำรวจและประเมินผล 29 หลุม พบปิโตรเลียม 23 หลุม คิดเป็นผลสำเร็จสูงถึง 79% สูงกว่าในรอบ 6 เดือนแรกปีก่อนที่เจาะสำรวจ 13 หลุม แต่พบแหล่งปิโตรเลียมเพียง 5 หลุม
ส่วนโครงการสำรวจที่สำคัญในต่างประเทศ 9 โครงการ ได้แก่ 1.แอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคช ขุดเจาะหลุมสำรวจไปแล้ว 3 หลุม พบปิโตรเลียมมีอัตราการไหลของน้ำมันดิบ 1 พันบาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ 0.3 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 2.แคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี อยู่ใน ขั้นตอนแปลผลข้อมูลจากการเจาะหลุม เพื่อประเมินและวางแผนเพิ่มเติม หลังจากเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การผลิตสูงสุดที่ 2.12 หมื่นบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าการผลิตไตรมาส 2 ทำได้ 1.7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
3.พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย ก่อสร้างแท่นเจาะหลุมผลิต และเตรียมความพร้อมการผลิตแหล่งมอนทารา คาดจะเริ่มผลิตน้ำมันได้สิ้นไตรมาส 4 ปีนี้ 4.แอลจีเรีย 433 เอ และ 416 บี ได้เสร็จสิ้นการเจาะหลุมผลิตแล้ว 2 หลุม จากเป้าปีนี้ตั้งไว้ 4 หลุม 5.เวียดนาม 16-1 ติดตั้งแท่นหลุมผลิตที่ 2 ของแหล่งเทจั๊กจั๋งสำเร็จ จะเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบจาก 4.1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เป็น 5.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
ส่วนในพม่า ปตท.มี 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการแรก ปตท.สผ.ได้รับสิทธิ์สำรวจปิโตรเลียมเพิ่มเติมในพม่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 แปลงสำรวจบนบก PSC G และ EP 2 โครงการ 2 M3 และ M11 คืบหน้าไปมากและอยู่ระหว่างการจัดหาแท่นเจาะ เพื่อเตรียมการเจาะหลุมสำรวจพิสูจน์ศักยภาพ โครงการ 3 ซอติก้า คืบหน้ามากกว่า 30% ในการก่อสร้างแท่นผลิตกลาง แท่นที่พักอาศัย และสะพานเชื่อม รวมทั้งแท่นหลุมผลิต และโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายในแท่น
นายเทวินทร์กล่าวว่า ปตท.สผ.เริ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชใต้ในอ่าวไทยที่อัตรา 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสต 9 พันบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่มิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้อัตราการผลิตโดยรวมของโครงการบงกชสูงขึ้นถึง 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
--จบ--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, July 28, 2012
ครึ่งปีแรก ปตท.สผ.กวาดรายได้กว่าแสนล้านบาท โต 17% ชี้สำเร็จถึง 80% มาจากการเจาะหลุมาสำรวจพบปิโตรเลียม 23 หลุม จากเจาะ 29 หลุม
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.เปิดเผยว่า ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรก ปตท.สผ. และบริษัทย่อย มีรายได้รวม 3,260 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 101,534 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% กำไรสุทธิ 839 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 26,021 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15%
ในส่วนการสำรวจซึ่งเป็นภารกิจหลักของ ปตท.สผ.ได้เจาะหลุมสำรวจและประเมินผล 29 หลุม พบปิโตรเลียม 23 หลุม คิดเป็นผลสำเร็จสูงถึง 79% สูงกว่าในรอบ 6 เดือนแรกปีก่อนที่เจาะสำรวจ 13 หลุม แต่พบแหล่งปิโตรเลียมเพียง 5 หลุม
ส่วนโครงการสำรวจที่สำคัญในต่างประเทศ 9 โครงการ ได้แก่ 1.แอลจีเรีย ฮาสสิ เบอร์ ราเคช ขุดเจาะหลุมสำรวจไปแล้ว 3 หลุม พบปิโตรเลียมมีอัตราการไหลของน้ำมันดิบ 1 พันบาร์เรลต่อวัน และก๊าซธรรมชาติ 0.3 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน 2.แคนาดา ออยล์ แซนด์ เคเคดี อยู่ใน ขั้นตอนแปลผลข้อมูลจากการเจาะหลุม เพื่อประเมินและวางแผนเพิ่มเติม หลังจากเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา การผลิตสูงสุดที่ 2.12 หมื่นบาร์เรลต่อวัน สูงกว่าการผลิตไตรมาส 2 ทำได้ 1.7 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
3.พีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย ก่อสร้างแท่นเจาะหลุมผลิต และเตรียมความพร้อมการผลิตแหล่งมอนทารา คาดจะเริ่มผลิตน้ำมันได้สิ้นไตรมาส 4 ปีนี้ 4.แอลจีเรีย 433 เอ และ 416 บี ได้เสร็จสิ้นการเจาะหลุมผลิตแล้ว 2 หลุม จากเป้าปีนี้ตั้งไว้ 4 หลุม 5.เวียดนาม 16-1 ติดตั้งแท่นหลุมผลิตที่ 2 ของแหล่งเทจั๊กจั๋งสำเร็จ จะเพิ่มการผลิตน้ำมันดิบจาก 4.1 หมื่นบาร์เรลต่อวัน เป็น 5.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน
ส่วนในพม่า ปตท.มี 3 โครงการ ประกอบด้วย โครงการแรก ปตท.สผ.ได้รับสิทธิ์สำรวจปิโตรเลียมเพิ่มเติมในพม่า เมื่อเดือนมิถุนายน 2555 แปลงสำรวจบนบก PSC G และ EP 2 โครงการ 2 M3 และ M11 คืบหน้าไปมากและอยู่ระหว่างการจัดหาแท่นเจาะ เพื่อเตรียมการเจาะหลุมสำรวจพิสูจน์ศักยภาพ โครงการ 3 ซอติก้า คืบหน้ามากกว่า 30% ในการก่อสร้างแท่นผลิตกลาง แท่นที่พักอาศัย และสะพานเชื่อม รวมทั้งแท่นหลุมผลิต และโครงข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติภายในแท่น
นายเทวินทร์กล่าวว่า ปตท.สผ.เริ่มการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชใต้ในอ่าวไทยที่อัตรา 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสต 9 พันบาร์เรลต่อวัน ตั้งแต่มิถุนายนที่ผ่านมา ทำให้อัตราการผลิตโดยรวมของโครงการบงกชสูงขึ้นถึง 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 400
IRPCขาดทุน4พันล้าน
Source - ข่าวหุ้น (Th), Monday, July 30, 2012
IRPCขาดทุน4พันล้าน
ปตท.สนซื้อหุ้นอีก10%
IRPC ไตรมาส 2/55 พลิกขาดทุน 4 พันล้านบาท จากรับกำไรสุทธิไตรมาส 2/54 อยู่ที่ 2.33 พันล้านบาท เจอขาดทุนสต๊อกกว่า 3,400 ล้านบาท ขณะที่ ปตท. เจรจาแบงก์ออมสินเปิดดีลซื้อขายไออาร์พีซี 9.45% หลังหยุดเจรจาตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนตัวผู้บริหารธนาคาร ระบุต้องการถือหุ้นใหญ่เกิน 50%
นางสาวดวงกมล เศรษฐธนัง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า บริษัทมีขาดทุนสุทธิไตรมาส 2/55 จำนวน 4,060 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2/54 มีกำไรสุทธิ 2,330 ล้านบาท เนื่องจากค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น 207 ล้านบาท โดยต้นทุนทางการเงิน เพิ่มขึ้น 128 ล้านบาท ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 208 ล้านบาท ขาดทุนจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนหลักทรัพย์เพื่อค้า (หุ้น TOP) เพิ่มขึ้น 104 ล้านบาท และค่าเสียหายจากการถูกฟ้องร้องคดีกรณีผิดสัญญาเช่าเรืออีกจำนวน 196 ล้านบาท
โดยไตรมาส 2/55 มีรายได้จากการขายสุทธิ 72,346 ล้านบาท เพิ่มจากไตรมาส 2/54 จำนวน 7,441 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% เป็นผลมาจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น 13% ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง 2% จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง นอกจากนี้บริษัทมีรายได้อื่นเพิ่มขึ้น จากกำไรจากการตีราคาโลหะมีค่า(แพลตินั่มและพาลาเดียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี) จำนวน 282 ล้านบาท
ขณะที่บริษัทมี EBITDA ก่อนรวมขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิและ LCM จำนวน 1,640 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2/54 ที่ 1,991 ล้านบาท ลดลง 351 ล้านบาท สาเหตุจากกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาดต่ำลงจาก 8.88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 7.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยไตรมาสนี้มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ LCM จำนวน 3,438 ล้านบาท คิดเป็น 7.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ไตรมาส 2/54 มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันสุทธิรวม LCM จำนวน 1,880 ล้านบาท คิดเป็น 3.95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
โดยสถานการณ์ราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสิ้นไตรมาส 1/55 ปิดที่ 120.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงอยู่ที่ 92.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สิ้นไตรมาส 2/55 ลดลง 27.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยไตรมาส 2/55 อยู่ที่ 106.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจากไตรมาส 2/54 เท่ากับ 4.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็น 4% และลดลงจากไตรมาส 1/55 เท่ากับ 9.7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็น 8%
ส่วนปริมาณและมูลค่าการขาย ไตรมาส 2/55 บริษัทมีรายได้จากการขายสุทธิ 72,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/54 จำนวน 7,441 ล้านบาท คิดเป็น 11% โดยมีปริมาณขาย 17.03 ล้านบาร์เรล เทียบไตรมาส 2/54 ที่ 14.98 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 13% คิดเป็นมูลค่า 8,760 ล้านบาท ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลง 2% คิดเป็นมูลค่า 1,319 ล้านบาท ขณะที่รายได้อื่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากไตรมาส 2/2555 มีกำไรจากการตีราคาแพลตินั่มและพาลาเดียม 282 ล้านบาท
แหล่งข่าววงการตลาดทุน เผยว่าล่าสุดผู้บริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้ความสนใจซื้อหุ้น IRPC จากธนาคารออมสิน ที่ถืออยู่จำนวน 1,950,000,000 หุ้น หรือ 9.54% เป็นอันดับ 2 รองจากบริษัท ปตท. ที่ถือหุ้นใหญ่ 7,869,694,600 หุ้น หรือ 38.51% แต่เนื่องจากที่ผ่านมามีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารของธนาคารออมสินจึงทำให้ดีลหยุดชะงักไปด้วย
ฝ่ายธนาคารออมสินมีความต้องการขายหุ้น IRPC ออกไปเช่นกัน เนื่องจากไม่ใช่นโยบายของธนาคารที่ถือหุ้นกลุ่มพลังงาน ที่เข้าไปตามแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ถ้าจะขายต้องได้ราคาที่ดีระดับราคาตั้งแต่ 6 บาท หาก ปตท. ต้องการซื้อต้องมาเจรจาต่อรองกัน โดยหุ้นที่ธนาคารออมสินได้มานั้นเป็นการซื้อจากการจัดสรรของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ ราคาหุ้นละ 3.30 บาท
ทั้งนี้ บริษัท ปตท. ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ IRPC ต้องการซื้อหุ้น IRPC เพิ่มเติม เพื่อให้สัดส่วนการถือหุ้นมากกว่า 51% โดยมีเป้าหมายจะซื้อหุ้นส่วนที่ธนาคารออมสินถืออยู่ และจะซื้อจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ถืออยู่ 1,183,796,970 หุ้น หรือ 5.79%
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Monday, July 30, 2012
IRPCขาดทุน4พันล้าน
ปตท.สนซื้อหุ้นอีก10%
IRPC ไตรมาส 2/55 พลิกขาดทุน 4 พันล้านบาท จากรับกำไรสุทธิไตรมาส 2/54 อยู่ที่ 2.33 พันล้านบาท เจอขาดทุนสต๊อกกว่า 3,400 ล้านบาท ขณะที่ ปตท. เจรจาแบงก์ออมสินเปิดดีลซื้อขายไออาร์พีซี 9.45% หลังหยุดเจรจาตั้งแต่เริ่มเปลี่ยนตัวผู้บริหารธนาคาร ระบุต้องการถือหุ้นใหญ่เกิน 50%
นางสาวดวงกมล เศรษฐธนัง รองกรรมการผู้จัดการใหญ่สายบัญชีและการเงิน บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่า บริษัทมีขาดทุนสุทธิไตรมาส 2/55 จำนวน 4,060 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาส 2/54 มีกำไรสุทธิ 2,330 ล้านบาท เนื่องจากค่าเสื่อมราคาเพิ่มขึ้น 207 ล้านบาท โดยต้นทุนทางการเงิน เพิ่มขึ้น 128 ล้านบาท ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเพิ่มขึ้น 208 ล้านบาท ขาดทุนจากการปรับมูลค่าเงินลงทุนหลักทรัพย์เพื่อค้า (หุ้น TOP) เพิ่มขึ้น 104 ล้านบาท และค่าเสียหายจากการถูกฟ้องร้องคดีกรณีผิดสัญญาเช่าเรืออีกจำนวน 196 ล้านบาท
โดยไตรมาส 2/55 มีรายได้จากการขายสุทธิ 72,346 ล้านบาท เพิ่มจากไตรมาส 2/54 จำนวน 7,441 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11% เป็นผลมาจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น 13% ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลดลง 2% จากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวลง นอกจากนี้บริษัทมีรายได้อื่นเพิ่มขึ้น จากกำไรจากการตีราคาโลหะมีค่า(แพลตินั่มและพาลาเดียม ซึ่งเป็นส่วนประกอบของตัวเร่งปฏิกิริยาเคมี) จำนวน 282 ล้านบาท
ขณะที่บริษัทมี EBITDA ก่อนรวมขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิและ LCM จำนวน 1,640 ล้านบาท เทียบกับไตรมาส 2/54 ที่ 1,991 ล้านบาท ลดลง 351 ล้านบาท สาเหตุจากกำไรขั้นต้นจากการผลิตตามราคาตลาดต่ำลงจาก 8.88 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล มาอยู่ที่ 7.24 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล โดยไตรมาสนี้มีขาดทุนจากสต๊อกน้ำมันสุทธิ LCM จำนวน 3,438 ล้านบาท คิดเป็น 7.02 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ไตรมาส 2/54 มีกำไรจากสต๊อกน้ำมันสุทธิรวม LCM จำนวน 1,880 ล้านบาท คิดเป็น 3.95 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
โดยสถานการณ์ราคาน้ำมัน ราคาน้ำมันดิบดูไบปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสิ้นไตรมาส 1/55 ปิดที่ 120.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงอยู่ที่ 92.9 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล สิ้นไตรมาส 2/55 ลดลง 27.5 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ขณะที่ราคาเฉลี่ยไตรมาส 2/55 อยู่ที่ 106.4 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล ลดลงจากไตรมาส 2/54 เท่ากับ 4.3 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็น 4% และลดลงจากไตรมาส 1/55 เท่ากับ 9.7 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล คิดเป็น 8%
ส่วนปริมาณและมูลค่าการขาย ไตรมาส 2/55 บริษัทมีรายได้จากการขายสุทธิ 72,346 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากไตรมาส 2/54 จำนวน 7,441 ล้านบาท คิดเป็น 11% โดยมีปริมาณขาย 17.03 ล้านบาร์เรล เทียบไตรมาส 2/54 ที่ 14.98 ล้านบาร์เรล เพิ่มขึ้น 13% คิดเป็นมูลค่า 8,760 ล้านบาท ขณะที่ราคาผลิตภัณฑ์ปรับตัวลง 2% คิดเป็นมูลค่า 1,319 ล้านบาท ขณะที่รายได้อื่นเพิ่มขึ้น เนื่องจากไตรมาส 2/2555 มีกำไรจากการตีราคาแพลตินั่มและพาลาเดียม 282 ล้านบาท
แหล่งข่าววงการตลาดทุน เผยว่าล่าสุดผู้บริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้ความสนใจซื้อหุ้น IRPC จากธนาคารออมสิน ที่ถืออยู่จำนวน 1,950,000,000 หุ้น หรือ 9.54% เป็นอันดับ 2 รองจากบริษัท ปตท. ที่ถือหุ้นใหญ่ 7,869,694,600 หุ้น หรือ 38.51% แต่เนื่องจากที่ผ่านมามีการเปลี่ยนตัวผู้บริหารของธนาคารออมสินจึงทำให้ดีลหยุดชะงักไปด้วย
ฝ่ายธนาคารออมสินมีความต้องการขายหุ้น IRPC ออกไปเช่นกัน เนื่องจากไม่ใช่นโยบายของธนาคารที่ถือหุ้นกลุ่มพลังงาน ที่เข้าไปตามแผนฟื้นฟูกิจการ แต่ถ้าจะขายต้องได้ราคาที่ดีระดับราคาตั้งแต่ 6 บาท หาก ปตท. ต้องการซื้อต้องมาเจรจาต่อรองกัน โดยหุ้นที่ธนาคารออมสินได้มานั้นเป็นการซื้อจากการจัดสรรของกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ ราคาหุ้นละ 3.30 บาท
ทั้งนี้ บริษัท ปตท. ในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่ IRPC ต้องการซื้อหุ้น IRPC เพิ่มเติม เพื่อให้สัดส่วนการถือหุ้นมากกว่า 51% โดยมีเป้าหมายจะซื้อหุ้นส่วนที่ธนาคารออมสินถืออยู่ และจะซื้อจากกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ที่ถืออยู่ 1,183,796,970 หุ้น หรือ 5.79%
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 401
ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน (Shale Gas) : ทางรอดของปัญหาพลังงานโลก? (ตอนจบ)
วีระ มานะคงตรีชีพ, 18 เมษายน 2554
สัปดาห์ที่แล้ว ผมจบตอนแรกที่ปัญหา “ต้นทุนทางสังคม” ของการขุดเจาะ “ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน” หรือที่เรียกกันในขณะนี้ว่า Shale Gas ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำเสียที่แทรกซึมเข้าไปในแหล่งน้ำใต้ดิน ปัญหาก๊าซมีเทน และการระเบิด หรือประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับการขุดเจาะแบบพิสดารแบบใหม่นี้ ฯลฯ
สัปดาห์นี้ ผมจะขอเริ่มที่ขั้นตอนและกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันก็คือ Hydraulic Fracturing หรือที่เรียกกันสั้นๆ ในวงการว่า Fracking ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเทคนิคการขุดเจาะแบบใหม่ที่เรียกว่า Horizontal Drilling
เจาะหินให้ร้าว ยากาวให้พอดี เพื่อดึงก๊าซออกมาใช้ : เทคนิควิธีการที่อันตรายมาก!!
เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง ที่วงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานได้ค้นพบเทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ซึ่งช่วยลดต้นทุนการขุดเจาะลงได้มหาศาลจากเดิมมากกว่า $10 ต่อหนึ่งล้านบีทียู มาเหลือเพียง $3-5 ต่อหนึ่งล้านบีทียู ซึ่งเริ่มใกล้เคียงกับต้นทุนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปรกติแล้ว
เทคนิคดังกล่าวอาศัยหลักที่ว่า แรงดันน้ำสามารถทะลุทะลวงทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ฉะนั้นหากต้องการจะขุดเจาะเอาก๊าซออกมาจากหินดินดานที่อยู่ลึกจากผิวโลกเป็นระยะทางหลายพันเมตร วิธีที่ง่ายและถูกที่สุดคือ “ใช้น้ำ” แต่จะทำให้หินที่แข็งขนาดนั้น “ร้าว” (Fractured) ก็ต้องรวมศูนย์และกำหนดทิศทางของน้ำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำได้ก็ต้องอาศัย “สารเคมี” หลายชนิด และต้องอาศัย “ทราย”
ประการแรก สารเคมีที่ใช้ในการ “สร้างรอยร้าว” ในชั้นหินนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขุดเจาะต้องแจงรายละเอียด จึงยังไม่อาจระบุได้ชัดถ้อยชัดคำว่ามี “สารพิษ” ปะปนด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ในบริเวณที่มีการขุดเจาะแล้วในสหรัฐ ปรากฏว่าทั้งน้ำใต้ดินและน้ำในบ่อมีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
ประการที่สอง กระบวนการสร้างรอยร้าวเพื่อชักนำก๊าซออกมาจากชั้นหินนั้นก่อให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี “ก๊าซมีเทน” เป็นก๊าซพิษ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหากควบคุมไม่ได้ก็อาจเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเมินว่ามลภาวะ (Greenhouse Gas Footprint) ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะก๊าซจากหินดินดาน (Shale Gas) น่าจะมากกว่าถ่านหินถึง 20% เป็นอย่างน้อย และยิ่งนานวันก็ยิ่งมากขึ้น เพราะแหล่งน้ำที่ถูกมลภาวะจะแพร่กระจายเข้าสู่ตาน้ำ และดำรงอยู่อีกหลายสิบปี ส่วนก๊าซมีเทนนั้นก็มีปริมาณมาก ถึงขนาดที่ในบริเวณที่มีการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเองได้ จนในสหรัฐอเมริกากลุ่มอนุรักษ์ได้จัดทำสารคดีขึ้นชุดหนึ่งเป็นหนังสั้นชื่อว่า GasLand เพื่อเปิดโปงความเลวร้ายของกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่นี้
อนาคตของก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน (Shale Gas) : อันตรายเพียงใดก็จะทำ (อยู่ดี)
แม้ Shale Gas จะถูกโจมตีอย่างหนักจากนักอนุรักษ์ในระยะหลัง แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัยความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง ความเสี่ยงจากภาวะ Meldown ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และปัจจัยการเมืองระหว่างอภิมหาอำนาจรัสเซีย สหรัฐอเมริกาและจีน แนวโน้มของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติชนิดนี้คงจะมากขึ้น และทวีความรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญสามประการ
ประการแรก ก๊าซชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป มีอยู่มากในอาณาเขตของตน ซึ่งถ้าใช้แสลงอเมริกันก็คือ In the Backyard แปลไทย ๆ ก็คืออยู่หลังบ้านนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ หากขุดก๊าซพวกนี้ขึ้นมาใช้ได้ ทั้งสามพี่เบิ้มก็ไม่ต้องพึ่งใครอีกแล้ว โดยเฉพาะรัสเซียกับตะวันออกกลาง
ประการที่สอง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แนวโน้มที่ต้นทุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้จะลดลงต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ในทางการเมืองจะมีนักการเมืองคนไหนไม่สนับสนุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้
ประการที่สาม ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าน้ำมันก็คงจะเหลือน้อยเต็มที่และแพงขึ้นเรื่อย ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Conventional ก็กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน หากไม่เตรียมการขุดเจาะและกักตุนก๊าซจากหินดินดานไว้ก็คงเป็นเรื่องที่ผิดปรกติอย่างมากสำหรับรัฐบาลชาติที่มีแหล่งก๊าซชนิดนี้มาก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและจีน
แล้วผลกระทบจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะต่อประเทศไทย
ผลในทางบวก เท่าที่พิเคราะห์ดูในขณะนี้ ยังไม่พบ (ประเทศไทยมีแหล่ง Shale Gas เล็กๆ สองแหล่งคือที่แม่สอด จังหวัดตาก กับที่ลี้ จังหวัดลำพูน) แต่ในทางลบอันดับแรกก็คือเราก็คงจะต้อง “นำเข้า” ก๊าซธรรมชาติ (ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติชนิดไหน) อยู่ต่อไป และในเมื่อก๊าซยังไม่หมดจากโลกในระยะเวลาอันใกล้ รัฐบาลไทยก็คงให้ความสนับสนุน “พลังงานทางเลือก” แบบกะปริบกะปรอยเหมือนเดิมต่อไป
ที่มา :
1) http://www.thaipost.net/node/37276
2) http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 44858.html
วีระ มานะคงตรีชีพ, 18 เมษายน 2554
สัปดาห์ที่แล้ว ผมจบตอนแรกที่ปัญหา “ต้นทุนทางสังคม” ของการขุดเจาะ “ก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน” หรือที่เรียกกันในขณะนี้ว่า Shale Gas ไม่ว่าจะเป็นปัญหาน้ำเสียที่แทรกซึมเข้าไปในแหล่งน้ำใต้ดิน ปัญหาก๊าซมีเทน และการระเบิด หรือประเด็นความเชื่อมโยงระหว่างแผ่นดินไหวกับการขุดเจาะแบบพิสดารแบบใหม่นี้ ฯลฯ
สัปดาห์นี้ ผมจะขอเริ่มที่ขั้นตอนและกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน ซึ่งเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันก็คือ Hydraulic Fracturing หรือที่เรียกกันสั้นๆ ในวงการว่า Fracking ซึ่งจะใช้ควบคู่กับเทคนิคการขุดเจาะแบบใหม่ที่เรียกว่า Horizontal Drilling
เจาะหินให้ร้าว ยากาวให้พอดี เพื่อดึงก๊าซออกมาใช้ : เทคนิควิธีการที่อันตรายมาก!!
เมื่อไม่ถึงสิบปีมานี้เอง ที่วงการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากหินดินดานได้ค้นพบเทคนิคที่เรียกว่า Hydraulic Fracturing ซึ่งช่วยลดต้นทุนการขุดเจาะลงได้มหาศาลจากเดิมมากกว่า $10 ต่อหนึ่งล้านบีทียู มาเหลือเพียง $3-5 ต่อหนึ่งล้านบีทียู ซึ่งเริ่มใกล้เคียงกับต้นทุนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติจากแหล่งปรกติแล้ว
เทคนิคดังกล่าวอาศัยหลักที่ว่า แรงดันน้ำสามารถทะลุทะลวงทุกสรรพสิ่งในจักรวาล ฉะนั้นหากต้องการจะขุดเจาะเอาก๊าซออกมาจากหินดินดานที่อยู่ลึกจากผิวโลกเป็นระยะทางหลายพันเมตร วิธีที่ง่ายและถูกที่สุดคือ “ใช้น้ำ” แต่จะทำให้หินที่แข็งขนาดนั้น “ร้าว” (Fractured) ก็ต้องรวมศูนย์และกำหนดทิศทางของน้ำได้อย่างเหมาะสม ซึ่งจะทำได้ก็ต้องอาศัย “สารเคมี” หลายชนิด และต้องอาศัย “ทราย”
ประการแรก สารเคมีที่ใช้ในการ “สร้างรอยร้าว” ในชั้นหินนั้น มีมากมายหลายชนิด ซึ่งจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีกฎหมายบังคับให้ผู้ขุดเจาะต้องแจงรายละเอียด จึงยังไม่อาจระบุได้ชัดถ้อยชัดคำว่ามี “สารพิษ” ปะปนด้วยหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ ก็คือ ในบริเวณที่มีการขุดเจาะแล้วในสหรัฐ ปรากฏว่าทั้งน้ำใต้ดินและน้ำในบ่อมีสารเคมีที่เป็นพิษต่อร่างกายปะปนอยู่ด้วยในปริมาณที่ค่อนข้างสูง
ประการที่สอง กระบวนการสร้างรอยร้าวเพื่อชักนำก๊าซออกมาจากชั้นหินนั้นก่อให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซมีเทนออกมาด้วย ซึ่งอย่างที่ทราบกันดี “ก๊าซมีเทน” เป็นก๊าซพิษ หากสูดดมเข้าไปในปริมาณมากก็มีอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ และหากควบคุมไม่ได้ก็อาจเกิดการระเบิดได้อีกด้วย
นักวิทยาศาสตร์ชั้นนำ และนักอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมประเมินว่ามลภาวะ (Greenhouse Gas Footprint) ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะก๊าซจากหินดินดาน (Shale Gas) น่าจะมากกว่าถ่านหินถึง 20% เป็นอย่างน้อย และยิ่งนานวันก็ยิ่งมากขึ้น เพราะแหล่งน้ำที่ถูกมลภาวะจะแพร่กระจายเข้าสู่ตาน้ำ และดำรงอยู่อีกหลายสิบปี ส่วนก๊าซมีเทนนั้นก็มีปริมาณมาก ถึงขนาดที่ในบริเวณที่มีการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้ในสหรัฐอเมริกา ชาวนาสามารถจุดไฟบนน้ำจากบ่อในฟาร์มของตนเองได้ จนในสหรัฐอเมริกากลุ่มอนุรักษ์ได้จัดทำสารคดีขึ้นชุดหนึ่งเป็นหนังสั้นชื่อว่า GasLand เพื่อเปิดโปงความเลวร้ายของกระบวนการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติแบบใหม่นี้
อนาคตของก๊าซธรรมชาติจากหินดินดาน (Shale Gas) : อันตรายเพียงใดก็จะทำ (อยู่ดี)
แม้ Shale Gas จะถูกโจมตีอย่างหนักจากนักอนุรักษ์ในระยะหลัง แต่เมื่อพิจารณาปัจจัยต่างๆ ทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะปัจจัยความปั่นป่วนวุ่นวายในตะวันออกกลาง ความเสี่ยงจากภาวะ Meldown ของโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ และปัจจัยการเมืองระหว่างอภิมหาอำนาจรัสเซีย สหรัฐอเมริกาและจีน แนวโน้มของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติชนิดนี้คงจะมากขึ้น และทวีความรวดเร็วขึ้น ด้วยเหตุผลที่สำคัญสามประการ
ประการแรก ก๊าซชนิดนี้เป็นแหล่งพลังงานที่สหรัฐอเมริกา จีน และยุโรป มีอยู่มากในอาณาเขตของตน ซึ่งถ้าใช้แสลงอเมริกันก็คือ In the Backyard แปลไทย ๆ ก็คืออยู่หลังบ้านนั่นเอง พูดง่ายๆ ก็คือ หากขุดก๊าซพวกนี้ขึ้นมาใช้ได้ ทั้งสามพี่เบิ้มก็ไม่ต้องพึ่งใครอีกแล้ว โดยเฉพาะรัสเซียกับตะวันออกกลาง
ประการที่สอง ในเชิงเศรษฐศาสตร์ แนวโน้มที่ต้นทุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้จะลดลงต่ำกว่าก๊าซธรรมชาติเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ ซึ่งเมื่อถึงวันนั้น ในทางการเมืองจะมีนักการเมืองคนไหนไม่สนับสนุนการขุดเจาะก๊าซชนิดนี้
ประการที่สาม ยิ่งเมื่อพิจารณาว่าน้ำมันก็คงจะเหลือน้อยเต็มที่และแพงขึ้นเรื่อย ก๊าซธรรมชาติจากแหล่ง Conventional ก็กำลังร่อยหรอลงไปทุกวัน หากไม่เตรียมการขุดเจาะและกักตุนก๊าซจากหินดินดานไว้ก็คงเป็นเรื่องที่ผิดปรกติอย่างมากสำหรับรัฐบาลชาติที่มีแหล่งก๊าซชนิดนี้มาก อย่างเช่น สหรัฐอเมริกาและจีน
แล้วผลกระทบจะเป็นอย่างไร โดยเฉพาะต่อประเทศไทย
ผลในทางบวก เท่าที่พิเคราะห์ดูในขณะนี้ ยังไม่พบ (ประเทศไทยมีแหล่ง Shale Gas เล็กๆ สองแหล่งคือที่แม่สอด จังหวัดตาก กับที่ลี้ จังหวัดลำพูน) แต่ในทางลบอันดับแรกก็คือเราก็คงจะต้อง “นำเข้า” ก๊าซธรรมชาติ (ไม่ว่าจะเป็นก๊าซธรรมชาติชนิดไหน) อยู่ต่อไป และในเมื่อก๊าซยังไม่หมดจากโลกในระยะเวลาอันใกล้ รัฐบาลไทยก็คงให้ความสนับสนุน “พลังงานทางเลือก” แบบกะปริบกะปรอยเหมือนเดิมต่อไป
ที่มา :
1) http://www.thaipost.net/node/37276
2) http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 44858.html
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 402
PTTGC เปิดสูตรราคาซื้อก๊าซ ต้นทุนพุ่ง8%-กดผลกำไรปีนี้บางจากฯขาดทุนยับ384ล้าน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Tuesday, July 31, 2012
โพสต์ทูเดย์ -คลอดแล้วสูตรราคาซื้อขายก๊าซระหว่าง PTTGC-PTT ทำต้นทุนผลิตพุ่ง 8% ด้านโบรกฯคาดกดกำไรปีนี้ 9% ลดเป้าราคาหุ้น
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้ปรับสูตรราคาซื้อขายวัตถุดิบปิโตรเคมีจากก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัทและบริษัท ปตท.(PTT) โดยการปรับสูตรดังกล่าวยังคงอยู่บนหลักการที่ทั้งสองฝ่ายตกลงแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1 ส.ค. 2555 เป็นต้นไป
"การปรับสูตรราคาซื้อขายครั้งนี้ เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตวัตถุดิบได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สูตรราคาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สะท้อนหลักการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน" นายอนนต์ กล่าว
สำหรับผลกระทบของการใช้สูตรราคาซื้อขายใหม่ที่ระดับราคาน้ำมันดิบปัจจุบัน จะมีผลให้ราคาวัตถุดิบปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นประมาณ 40 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 8% ทั้งนี้มีสมมติฐานราคาน้ำมันดิบอยู่ในช่วง 70-130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอ้างอิงเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตและจำหน่ายตามมาตรฐานสากลเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนสายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์กล่าวว่า การประกาศสูตรราคาของPTTGC สร้างความชัดเจนให้กับตลาด จากก่อนหน้าที่ประเด็นนี้เป็นตัวกดการลงทุนในหุ้น PTTGC
อย่างไรก็ตาม ผลของการขึ้นราคาก๊าซครั้งนี้ จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 8% ซึ่งจะทำให้ประมาณการกำไรของ PTTGC ปีนี้ลดลงจากเดิมประมาณ 9% เพราะมีผลแค่ 5 เดือน แต่จะกระทบกำไรปี 2556 ประมาณ 16% และได้ลดประมาณการราคาเป้าหมายลงเหลือ 72 บาทจาก 75 บาท ซึ่งยังสูงกว่าราคาในตลาดปัจจุบันอยู่ที่ 58.75 บาท
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนะนำซื้อเก็งกำไรPTTGC โดยคาดว่าหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีจะได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากการเก็งกำไรผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในสัปดาห์นี้ และเชื่อว่าผลงานไตรมาส 2 ของ PTTGC จะสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาด โดยคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 753 ล้านบาท จากที่ตลาดประเมินว่าขาดทุนสุทธิและจะฟื้นตัวชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง
ทางด้านบริษัท บางจากปิโตรเลียม (BCP) เปิดผลงานไตรมาส 2 ปีนี้ขาดทุนสุทธิ 384 ล้านบาท หรือขาดทุนหุ้นละ 0.28 บาท พลิกจากระยะเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิถึง3,021 ล้านบาท หรือ 2.33 บาทเพราะค่าการกลั่นรวมขาดทุน 2.78 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน
ทั้งนี้ ทำให้ 6 เดือนแรกปีนี้กำไรสุทธิเพียง 2,053 ล้านบาท หรือ1.49 บาทต่อหุ้น ทรุดลงประมาณ53% เทียบกับกำไรสุทธิ 4,445 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อน
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Tuesday, July 31, 2012
โพสต์ทูเดย์ -คลอดแล้วสูตรราคาซื้อขายก๊าซระหว่าง PTTGC-PTT ทำต้นทุนผลิตพุ่ง 8% ด้านโบรกฯคาดกดกำไรปีนี้ 9% ลดเป้าราคาหุ้น
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล (PTTGC)เปิดเผยว่า คณะกรรมการบริษัทมีมติอนุมัติให้ปรับสูตรราคาซื้อขายวัตถุดิบปิโตรเคมีจากก๊าซธรรมชาติระหว่างบริษัทและบริษัท ปตท.(PTT) โดยการปรับสูตรดังกล่าวยังคงอยู่บนหลักการที่ทั้งสองฝ่ายตกลงแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน และจะมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่1 ส.ค. 2555 เป็นต้นไป
"การปรับสูตรราคาซื้อขายครั้งนี้ เป็นไปตามข้อตกลงในสัญญาเนื่องจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกได้ปรับตัวสูงขึ้น ประกอบกับต้นทุนก๊าซธรรมชาติที่ใช้ในการผลิตวัตถุดิบได้เพิ่มสูงขึ้น ส่งผลให้สูตรราคาที่ใช้อยู่ในปัจจุบันไม่สะท้อนหลักการแบ่งปันผลประโยชน์อย่างเท่าเทียมกัน" นายอนนต์ กล่าว
สำหรับผลกระทบของการใช้สูตรราคาซื้อขายใหม่ที่ระดับราคาน้ำมันดิบปัจจุบัน จะมีผลให้ราคาวัตถุดิบปิโตรเคมีเพิ่มขึ้นประมาณ 40 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน หรือเพิ่มขึ้นประมาณ 8% ทั้งนี้มีสมมติฐานราคาน้ำมันดิบอยู่ในช่วง 70-130 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และอ้างอิงเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายการผลิตและจำหน่ายตามมาตรฐานสากลเพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันในระยะยาว
นายสุกิจ อุดมศิริกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุนสายงานวิจัย บล.ไทยพาณิชย์กล่าวว่า การประกาศสูตรราคาของPTTGC สร้างความชัดเจนให้กับตลาด จากก่อนหน้าที่ประเด็นนี้เป็นตัวกดการลงทุนในหุ้น PTTGC
อย่างไรก็ตาม ผลของการขึ้นราคาก๊าซครั้งนี้ จะทำให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น 8% ซึ่งจะทำให้ประมาณการกำไรของ PTTGC ปีนี้ลดลงจากเดิมประมาณ 9% เพราะมีผลแค่ 5 เดือน แต่จะกระทบกำไรปี 2556 ประมาณ 16% และได้ลดประมาณการราคาเป้าหมายลงเหลือ 72 บาทจาก 75 บาท ซึ่งยังสูงกว่าราคาในตลาดปัจจุบันอยู่ที่ 58.75 บาท
บล.เมย์แบงก์ กิมเอ็ง (ประเทศไทย) กล่าวว่า แนะนำซื้อเก็งกำไรPTTGC โดยคาดว่าหุ้นกลุ่มปิโตรเคมีจะได้รับอานิสงส์เชิงบวกจากการเก็งกำไรผลการประชุมของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ในสัปดาห์นี้ และเชื่อว่าผลงานไตรมาส 2 ของ PTTGC จะสร้างเซอร์ไพรส์ให้กับตลาด โดยคาดว่าจะมีกำไรสุทธิ 753 ล้านบาท จากที่ตลาดประเมินว่าขาดทุนสุทธิและจะฟื้นตัวชัดเจนในช่วงครึ่งปีหลัง
ทางด้านบริษัท บางจากปิโตรเลียม (BCP) เปิดผลงานไตรมาส 2 ปีนี้ขาดทุนสุทธิ 384 ล้านบาท หรือขาดทุนหุ้นละ 0.28 บาท พลิกจากระยะเดียวกันปีก่อนมีกำไรสุทธิถึง3,021 ล้านบาท หรือ 2.33 บาทเพราะค่าการกลั่นรวมขาดทุน 2.78 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล และขาดทุนจากสต๊อกน้ำมัน
ทั้งนี้ ทำให้ 6 เดือนแรกปีนี้กำไรสุทธิเพียง 2,053 ล้านบาท หรือ1.49 บาทต่อหุ้น ทรุดลงประมาณ53% เทียบกับกำไรสุทธิ 4,445 ล้านบาท ในช่วงเดียวกันปีก่อน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 403
บ.ลูก'เคทีซีมิโก้'หนุนไฟฟ้าลาวเพิ่มทุน6พันล. [ กรุงเทพธุรกิจ, 1 ส.ค. 55 ]
นายชัยภัทร ศรีวิสารวาจา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร บล.เคทีซีมิโก้
เผยว่า บล.บีซีอีแอล-เคที เป็นบริษัทหลักทรัพย์ใน สปป.ลาว ที่เคที ซีมิโก้ ร่วมลงทุนและถือหุ้นอยู่ ซึ่งเป็น
ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของ
บริษัทผลิตไฟฟ้าลาว หรือ EDL-GEN 357 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 6 พันล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการลงทุน
ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าใน สปป.ลาว ซึ่งการขายหุ้นเพิ่มทุนของ EDL-GEN
นายชัยภัทร ศรีวิสารวาจา ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและประธานกรรมการบริหาร บล.เคทีซีมิโก้
เผยว่า บล.บีซีอีแอล-เคที เป็นบริษัทหลักทรัพย์ใน สปป.ลาว ที่เคที ซีมิโก้ ร่วมลงทุนและถือหุ้นอยู่ ซึ่งเป็น
ที่ปรึกษาทางการเงิน และผู้จัดการการจัดจำหน่ายและรับประกันการจัดจำหน่ายการเสนอขายหุ้นเพิ่มทุนของ
บริษัทผลิตไฟฟ้าลาว หรือ EDL-GEN 357 ล้านหุ้น คิดเป็นมูลค่า 6 พันล้านบาท เพื่อนำไปใช้ในการลงทุน
ขยายกำลังการผลิตไฟฟ้าใน สปป.ลาว ซึ่งการขายหุ้นเพิ่มทุนของ EDL-GEN
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 404
จี้เคาะราคาซื้อไฟฟ้าพลังงานทดแทน [ โพสต์ทูเดย์, 1 ส.คง 55 ]
ส.อ.ท.กระทุ้งรัฐเร่งสรุปวิธีคำนวณราคารับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานทดแทน หวั่นทำการลงทุน
ชะลอตัว-พลาดเป้า
นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของภาครัฐว่า ต้องการให้เร่งสรุปอัตรา
การรับซื้อไฟฟ้าให้ชัดเจน หลังมีนโยบายทบทวนการคำนวณราคาไฟฟ้าใหม่ โดยเปลี่ยนจากการใช้อัตราส่วน
เพิ่มรับซื้อไฟฟ้า (แอดเดอร์) มาเป็นอัตราไฟฟ้าตามต้นทุน จริง (Feet in Tariff)
ส.อ.ท.กระทุ้งรัฐเร่งสรุปวิธีคำนวณราคารับซื้อไฟฟ้า จากพลังงานทดแทน หวั่นทำการลงทุน
ชะลอตัว-พลาดเป้า
นายพิชัย ถิ่นสันติสุข ประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
(ส.อ.ท.) เปิดเผยถึงนโยบายการรับซื้อไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนของภาครัฐว่า ต้องการให้เร่งสรุปอัตรา
การรับซื้อไฟฟ้าให้ชัดเจน หลังมีนโยบายทบทวนการคำนวณราคาไฟฟ้าใหม่ โดยเปลี่ยนจากการใช้อัตราส่วน
เพิ่มรับซื้อไฟฟ้า (แอดเดอร์) มาเป็นอัตราไฟฟ้าตามต้นทุน จริง (Feet in Tariff)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 405
บีโอไอเล็งอนุมัติแสนล้านบ.โครงการพลังงาน-ยานยนต์ [ เดลินิวส์, 1 ส.ค. 55 ]
รายงานข่าวจากระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บอร์ดบีโอไอ) ที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังเป็นประธานในวันที่ 1
ส.ค.นี้จะมีการพิจารณาอนุมัติลงทุนโครงการใหญ่กว่า 10 โครงการมูลค่าลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท
โดยเฉพาะกิจการด้านพลังงานและปิโตรเคมีเนื่องจากมีบริษัทด้านพลังงานและอุตสาหกรรมยานยนต์สนใจที่
จะขยายการลงทุนจำนวนมาก
รายงานข่าวจากระทรวงอุตสาหกรรมเปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน
(บอร์ดบีโอไอ) ที่มี นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และรมว.คลังเป็นประธานในวันที่ 1
ส.ค.นี้จะมีการพิจารณาอนุมัติลงทุนโครงการใหญ่กว่า 10 โครงการมูลค่าลงทุนประมาณ 100,000 ล้านบาท
โดยเฉพาะกิจการด้านพลังงานและปิโตรเคมีเนื่องจากมีบริษัทด้านพลังงานและอุตสาหกรรมยานยนต์สนใจที่
จะขยายการลงทุนจำนวนมาก
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 406
บี้ปตท.เพิ่มคลังLNG20ล.ตันกฟผ.ขยับค่าเอฟที58สตางค์
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, August 01, 2012
กฟผ.ชี้ ปตท.ต้องปรับแผนใหม่ปี’64 เพิ่มคลังเก็บแอลเอ็นจี 20 ตัน พร้อมลง พื้นที่ภาคใต้ ทำความเข้าใจตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง ส่วน กฟผ.จ่อขึ้นค่าไฟ ก.ย.นี้ 30-58 สตางค์/หน่วย
นายมงคล สกุลแก้ว รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี ฉบับที่ 3) คาดการณ์ไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต้องเร่งทำแผนรองรับความต้องการใช้โดยขยายคลังเก็บแอลเอ็นจีเพิ่มเป็น 20 ตัน จากเดิมจะก่อสร้างภายในปี 2564 ไว้ที่ 10 ตัน
ส่วนการลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.อยู่ระหว่างลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนในภาคใต้เพื่อตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 แห่ง แก้ปัญหาการขาดแคลนจากยอดผลิตได้ 2,100 เมกะวัตต์ แต่ความต้องใช้มีถึง 2,500 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นปีละ 6% โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกจะสร้างในพื้นที่โรงไฟฟ้าดีเซล กระบี่ ตามแผนจะสร้างโรงแรกแล้วเสร็จปี 2562 ส่วนโรงไฟฟ้าอื่นจะสร้างเพิ่ม 1 แห่ง ทุก 3 ปี
"จากโครงสร้างพลังงานดังกล่าว ไทยจึงต้องพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งแอลเอ็นจี ซึ่งใช้ในการผลิตไฟถึง 50% ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและพม่าอีก 50% มีผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น เพราะต้นทุนก๊าซชนิดนี้อยู่ที่ 600 บาทต่อล้านบีทียู ก๊าซจากพม่า 300 ล้านบาทต่อล้านบีทียู อ่าวไทย 200 บาทต่อล้านบีทียู จึงผันผวนตามราคาตลาดโลก และอาจเกิดปัญหาปิดซ่อมท่อส่งก๊าซ และขาดแคลนก๊าซผลิตไฟฟ้า
"ทำให้ค่าไฟฟ้าอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยอาจปรับเพิ่มเป็น 4-5 บาท/หน่วย จากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติราคาแพงมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก เพราะใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าเพียง 17% ส่งผลต่อศักยภาพของไทยในการแข่งขันกับประเทศอื่น ซึ่งต้นทุนต่ำกว่าทั้งนั้น อย่างเวียดนามมีต้นทุนแค่กว่า 2 บาท/หน่วย มาเลเซียจะใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้ากว่า 40% ที่เหลือจะมาจากก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ ต้นทุนอยู่ที่ 3 บาทกว่า/หน่วย อินโดนีเซียจะใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า มีค่าไฟฟ้า 2 บาท/หน่วย
ด้านนายสุเทพ ฉิมคล้าย ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงาน กฟผ. กล่าวว่า ผลสรุปอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ปี 2555 ประจำงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม เตรียมเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) พิจารณาปลายสิงหาคมนี้ ปรับเพิ่มอีก 30-58 สตางค์/หน่วย แต่จะขึ้นเท่าไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กกพ.เพราะขณะนี้ กฟผ.แบกรับต้นทุนเก่าไว้ 20 สตางค์/หน่วย หรือ 14,000 ล้านบาท หากจะให้รับภาระค่าเอฟทีสูงสุดต่อ ก็ได้ไม่เกิน 20,000 ล้านบาท
--จบ--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, August 01, 2012
กฟผ.ชี้ ปตท.ต้องปรับแผนใหม่ปี’64 เพิ่มคลังเก็บแอลเอ็นจี 20 ตัน พร้อมลง พื้นที่ภาคใต้ ทำความเข้าใจตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 โรง ส่วน กฟผ.จ่อขึ้นค่าไฟ ก.ย.นี้ 30-58 สตางค์/หน่วย
นายมงคล สกุลแก้ว รองผู้ว่าการนโยบายและแผน การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เปิดเผยว่า ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทย (พีดีพี ฉบับที่ 3) คาดการณ์ไทยต้องนำเข้าก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เพิ่มขึ้น ดังนั้น บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ต้องเร่งทำแผนรองรับความต้องการใช้โดยขยายคลังเก็บแอลเอ็นจีเพิ่มเป็น 20 ตัน จากเดิมจะก่อสร้างภายในปี 2564 ไว้ที่ 10 ตัน
ส่วนการลงทุนโรงไฟฟ้าถ่านหิน กฟผ.อยู่ระหว่างลงพื้นที่ทำความเข้าใจกับประชาชนในภาคใต้เพื่อตั้งโรงไฟฟ้าถ่านหิน 4 แห่ง แก้ปัญหาการขาดแคลนจากยอดผลิตได้ 2,100 เมกะวัตต์ แต่ความต้องใช้มีถึง 2,500 เมกะวัตต์ เพิ่มขึ้นปีละ 6% โดยโรงไฟฟ้าถ่านหินแห่งแรกจะสร้างในพื้นที่โรงไฟฟ้าดีเซล กระบี่ ตามแผนจะสร้างโรงแรกแล้วเสร็จปี 2562 ส่วนโรงไฟฟ้าอื่นจะสร้างเพิ่ม 1 แห่ง ทุก 3 ปี
"จากโครงสร้างพลังงานดังกล่าว ไทยจึงต้องพึ่งพาการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติเป็นหลัก โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นทั้งแอลเอ็นจี ซึ่งใช้ในการผลิตไฟถึง 50% ก๊าซธรรมชาติจากอ่าวไทยและพม่าอีก 50% มีผลให้ค่าไฟฟ้าสูงขึ้น เพราะต้นทุนก๊าซชนิดนี้อยู่ที่ 600 บาทต่อล้านบีทียู ก๊าซจากพม่า 300 ล้านบาทต่อล้านบีทียู อ่าวไทย 200 บาทต่อล้านบีทียู จึงผันผวนตามราคาตลาดโลก และอาจเกิดปัญหาปิดซ่อมท่อส่งก๊าซ และขาดแคลนก๊าซผลิตไฟฟ้า
"ทำให้ค่าไฟฟ้าอีก 10 ปีข้างหน้า ไทยอาจปรับเพิ่มเป็น 4-5 บาท/หน่วย จากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติราคาแพงมาเป็นเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าเป็นหลัก เพราะใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้าเพียง 17% ส่งผลต่อศักยภาพของไทยในการแข่งขันกับประเทศอื่น ซึ่งต้นทุนต่ำกว่าทั้งนั้น อย่างเวียดนามมีต้นทุนแค่กว่า 2 บาท/หน่วย มาเลเซียจะใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้ากว่า 40% ที่เหลือจะมาจากก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้เองภายในประเทศ ต้นทุนอยู่ที่ 3 บาทกว่า/หน่วย อินโดนีเซียจะใช้ถ่านหินผลิตไฟฟ้า มีค่าไฟฟ้า 2 บาท/หน่วย
ด้านนายสุเทพ ฉิมคล้าย ผู้ช่วยผู้ว่าการแผนงาน กฟผ. กล่าวว่า ผลสรุปอัตราค่าไฟฟ้าผันแปร (เอฟที) ปี 2555 ประจำงวดเดือนกันยายน-ธันวาคม เตรียมเสนอคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) พิจารณาปลายสิงหาคมนี้ ปรับเพิ่มอีก 30-58 สตางค์/หน่วย แต่จะขึ้นเท่าไร ขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของ กกพ.เพราะขณะนี้ กฟผ.แบกรับต้นทุนเก่าไว้ 20 สตางค์/หน่วย หรือ 14,000 ล้านบาท หากจะให้รับภาระค่าเอฟทีสูงสุดต่อ ก็ได้ไม่เกิน 20,000 ล้านบาท
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 407
ปตท.สผ.โชว์แผนหลังซื้อหุ้นCOVEจีบญี่ปุ่นลูกค้ารายแรกซื้อLNG-รอเจาะเพิ่ม7หลุม
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, August 01, 2012
ปตท.สผ.ฉลุยเทกโอเวอร์หุ้น Cove Energy ผงาดเป็นผู้นำเจ้าของแหล่งก๊าซ "แอลเอ็นจี" หลังตลาดลอนดอน รัฐโมซัมบิก ไฟเขียว เตรียมเดินหน้าจีบลูกค้าเจ้าแรก "ญี่ปุ่น" สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ทันที แถมได้กรรมสิทธิ์ขุดเจาะสำรวจในเคนยาอีก 7 แปลง
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า แผนการเข้าซื้อหุ้นบริษัท โคฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด หนึ่งในบริษัทถือหุ้นโครงการโรวูมา (Rovuma) แหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐโมซัมบิก ภายหลังจากได้รับคำตอบรับการเสนอซื้อจากโคฟฯ ปตท.สผ.จะดำเนินการขั้นต่อไป คือ เริ่มหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า โดยจะเน้นตลาดซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นหลัก หลังจากมีลูกค้าเข้ามาเจรจาซื้อขายแล้ว ขั้นตอนต่อไปจึงเริ่ม การผลิต เบื้องต้นบริษัท มิตซุย จำกัด จากประเทศญี่ปุ่นแสดงท่าทีให้ความสนใจจะสั่งซื้อ คาดการณ์ช่วงปี 2562 จะสามารถขายสินค้าได้ ส่วนเม็ดเงินโดยรวม ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขที่จะลงทุนเพิ่มได้
ส่วนผลการสำรวจก๊าซธรรมชาติเบื้องต้นจากแหล่งโรวูมาเจาะพบแหล่งก๊าซทุกหลุม โดยมีปริมาณเฉลี่ยราว 66 ทีซีเอฟ หรือ 6 เท่าของปริมาณสำรองที่เหลืออยู่ในอ่าวไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการหาแหล่งสำรองความมั่นคงทางพลังงานตามนโยบายของรัฐบาล หลังจาก ปตท.สผ.ซื้อหุ้นส่วนหนึ่งของโคฟ เอ็นเนอร์จีเป็นผลสำเร็จ
ทั้งนี้ โคฟฯเป็นหนึ่งในบริษัทที่ถือหุ้นในโครงการโรวูมา สัดส่วนหุ้น 8.5% เมื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันขั้นสุดท้ายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน และสาธารณรัฐโมซัมมิก หุ้นส่วนนี้ทั้งหมดจะกลายเป็นของ ปตท.สผ.ทันที
"ถือได้ว่าการเสนอซื้อหุ้นครั้งนี้มีผลต่อ ปตท.สผ.ในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออกที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูง รวมทั้งยังถือเป็นการต่อยอดยุทธศาสตร์ของกลุ่ม ปตท.ในการเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจแอลเอ็นจีอีกด้วย ซึ่งจะมีความต้องการใช้ก๊าซนี้มากขึ้นในการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต" นายเทวินทร์กล่าว
ขณะเดียวกัน โคฟฯมีกรรมสิทธิ์การขุดเจาะและสำรวจแหล่งก๊าซในประเทศเคนยา โดยได้ถือหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 7 แปลง แบ่งเป็นสัดส่วนหุ้น 10% จำนวน 5 แปลง หุ้น 15% จำนวน 1 แปลง และหุ้น 25% จำนวน 1 แปลง แปลงสำรวจในเขตเคนยาถือเป็นแปลงที่มีศักยภาพแปลงหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แปลงดังกล่าวที่ได้มายังไม่มีการเจาะสำรวจ
ดังนั้นการเข้าซื้อโคฟฯของ ปตท.สผ.ครั้งนี้ จึงเป็นประโยชน์ทั้งทางด้านเพิ่มปริมาณการผลิตและปริมาณสำรองก๊าซแอลเอ็นจีให้ประเทศไทยสามารถตอบสนองความมั่นคงทางพลังงาน ไม่ต้องแข่งขันราคากับรายอื่นมากนัก รวมถึงเปิดโอกาสในการเรียนรู้การพัฒนาแหล่งก๊าซน้ำลึก และยังช่วยสร้างพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของโมซัมบิกอีกทาง
อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณก่อนหน้านี้ที่จะทำให้ ปตท.สผ.ประสบความสำเร็จ ในการซื้อหุ้นโคฟฯ คือ การที่ ปตท.สผ. ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรณี แห่งโมซัมบิก และหน่วยงานการป้องกัน การผูกขาดทางการค้าแห่งสาธารณรัฐ เคนยา ให้บริษัทของไทยเข้าซื้อกิจการดังกล่าวได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 - 5 ส.ค. 2555--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, August 01, 2012
ปตท.สผ.ฉลุยเทกโอเวอร์หุ้น Cove Energy ผงาดเป็นผู้นำเจ้าของแหล่งก๊าซ "แอลเอ็นจี" หลังตลาดลอนดอน รัฐโมซัมบิก ไฟเขียว เตรียมเดินหน้าจีบลูกค้าเจ้าแรก "ญี่ปุ่น" สนใจซื้อผลิตภัณฑ์ทันที แถมได้กรรมสิทธิ์ขุดเจาะสำรวจในเคนยาอีก 7 แปลง
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธาน เจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า แผนการเข้าซื้อหุ้นบริษัท โคฟ เอ็นเนอร์จี จำกัด หนึ่งในบริษัทถือหุ้นโครงการโรวูมา (Rovuma) แหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐโมซัมบิก ภายหลังจากได้รับคำตอบรับการเสนอซื้อจากโคฟฯ ปตท.สผ.จะดำเนินการขั้นต่อไป คือ เริ่มหาตลาดจำหน่ายผลิตภัณฑ์สินค้า โดยจะเน้นตลาดซื้อขายก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) เป็นหลัก หลังจากมีลูกค้าเข้ามาเจรจาซื้อขายแล้ว ขั้นตอนต่อไปจึงเริ่ม การผลิต เบื้องต้นบริษัท มิตซุย จำกัด จากประเทศญี่ปุ่นแสดงท่าทีให้ความสนใจจะสั่งซื้อ คาดการณ์ช่วงปี 2562 จะสามารถขายสินค้าได้ ส่วนเม็ดเงินโดยรวม ขณะนี้ยังไม่สามารถเปิดเผยตัวเลขที่จะลงทุนเพิ่มได้
ส่วนผลการสำรวจก๊าซธรรมชาติเบื้องต้นจากแหล่งโรวูมาเจาะพบแหล่งก๊าซทุกหลุม โดยมีปริมาณเฉลี่ยราว 66 ทีซีเอฟ หรือ 6 เท่าของปริมาณสำรองที่เหลืออยู่ในอ่าวไทย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อการหาแหล่งสำรองความมั่นคงทางพลังงานตามนโยบายของรัฐบาล หลังจาก ปตท.สผ.ซื้อหุ้นส่วนหนึ่งของโคฟ เอ็นเนอร์จีเป็นผลสำเร็จ
ทั้งนี้ โคฟฯเป็นหนึ่งในบริษัทที่ถือหุ้นในโครงการโรวูมา สัดส่วนหุ้น 8.5% เมื่อบรรลุข้อตกลงร่วมกันขั้นสุดท้ายในวันที่ 31 กรกฎาคม 2555 ทั้งจากตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน และสาธารณรัฐโมซัมมิก หุ้นส่วนนี้ทั้งหมดจะกลายเป็นของ ปตท.สผ.ทันที
"ถือได้ว่าการเสนอซื้อหุ้นครั้งนี้มีผลต่อ ปตท.สผ.ในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออกที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูง รวมทั้งยังถือเป็นการต่อยอดยุทธศาสตร์ของกลุ่ม ปตท.ในการเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจแอลเอ็นจีอีกด้วย ซึ่งจะมีความต้องการใช้ก๊าซนี้มากขึ้นในการพัฒนาประเทศไทยในอนาคต" นายเทวินทร์กล่าว
ขณะเดียวกัน โคฟฯมีกรรมสิทธิ์การขุดเจาะและสำรวจแหล่งก๊าซในประเทศเคนยา โดยได้ถือหุ้นอยู่ทั้งสิ้น 7 แปลง แบ่งเป็นสัดส่วนหุ้น 10% จำนวน 5 แปลง หุ้น 15% จำนวน 1 แปลง และหุ้น 25% จำนวน 1 แปลง แปลงสำรวจในเขตเคนยาถือเป็นแปลงที่มีศักยภาพแปลงหนึ่ง อย่างไรก็ตาม แปลงดังกล่าวที่ได้มายังไม่มีการเจาะสำรวจ
ดังนั้นการเข้าซื้อโคฟฯของ ปตท.สผ.ครั้งนี้ จึงเป็นประโยชน์ทั้งทางด้านเพิ่มปริมาณการผลิตและปริมาณสำรองก๊าซแอลเอ็นจีให้ประเทศไทยสามารถตอบสนองความมั่นคงทางพลังงาน ไม่ต้องแข่งขันราคากับรายอื่นมากนัก รวมถึงเปิดโอกาสในการเรียนรู้การพัฒนาแหล่งก๊าซน้ำลึก และยังช่วยสร้างพัฒนาด้านเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมของโมซัมบิกอีกทาง
อย่างไรก็ตาม มีสัญญาณก่อนหน้านี้ที่จะทำให้ ปตท.สผ.ประสบความสำเร็จ ในการซื้อหุ้นโคฟฯ คือ การที่ ปตท.สผ. ได้รับความยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรณี แห่งโมซัมบิก และหน่วยงานการป้องกัน การผูกขาดทางการค้าแห่งสาธารณรัฐ เคนยา ให้บริษัทของไทยเข้าซื้อกิจการดังกล่าวได้
ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 2 - 5 ส.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 408
PTTEP เผยได้รับการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้น Cove สัดส่วน 91.4%แล้ว
ข่าวหุ้น, วันพุธที่ 01 สิงหาคม 2555 เวลา 09:36:43 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า บริษัทแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯเช้านี้ว่า วานนี้เวลา 13.00 น. (ตามเวลาประเทศอังกฤษ) PTTEP AI ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้รับการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น Cove จำนวน 448,624,418 หุ้น เท่ากับ 91.4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Cove ทั้งนี้ ระดับการตอบรับเป็นไปตามเงื่อนไข จึงถือได้ว่า PTTEP AI บรรลุเงื่อนไขในส่วนของจำนวนการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นแล้ว
โดย PTTEP AI คาดว่าจะสามารถประกาศการทำคำเสนอซื้อหุ้นแบบไม่มีเงื่อนไขโดยเร็วที่สุด หลังจากการประกาศฉบับนี้ หรืออย่างช้าที่สุดในวันที่ 21 ส.ค.55 เวลา 24.00 น. (ตามเวลาประเทศอังกฤษ) นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายระยะเวลาการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นไปจนกว่าจะได้แจ้งให้ทราบอีกครั้ง
ข่าวหุ้น, วันพุธที่ 01 สิงหาคม 2555 เวลา 09:36:43 น.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า บริษัทแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯเช้านี้ว่า วานนี้เวลา 13.00 น. (ตามเวลาประเทศอังกฤษ) PTTEP AI ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ได้รับการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้น Cove จำนวน 448,624,418 หุ้น เท่ากับ 91.4% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Cove ทั้งนี้ ระดับการตอบรับเป็นไปตามเงื่อนไข จึงถือได้ว่า PTTEP AI บรรลุเงื่อนไขในส่วนของจำนวนการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นแล้ว
โดย PTTEP AI คาดว่าจะสามารถประกาศการทำคำเสนอซื้อหุ้นแบบไม่มีเงื่อนไขโดยเร็วที่สุด หลังจากการประกาศฉบับนี้ หรืออย่างช้าที่สุดในวันที่ 21 ส.ค.55 เวลา 24.00 น. (ตามเวลาประเทศอังกฤษ) นอกจากนี้ บริษัทยังได้ขยายระยะเวลาการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นไปจนกว่าจะได้แจ้งให้ทราบอีกครั้ง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 409
UACเซ็นMOUขายก๊าซให้PTTปั้นรายได้เพิ่ม 300 ล้าน/ปี ย้ำรายได้ปีนี้พันล้าน [ ข่าวหุ้น, 6 ส.ค. 55 ]
UAC เผยบันทึก MOU จำหน่ายก๊าซ CNG ที่ จ.สุโขทัยให้ PTT จำนวน 1 หมื่นตันต่อปี เตรียมทยอย
ส่งมอบก๊าซปลายไตรมาส 1/56 ส่งผลรายได้เพิ่มเฉลี่ย 300 ล้านบาทต่อปี ด้านไตรมาส 2/55 รายได้
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก เหตุออเดอร์ธุรกิจเคมีภัณฑ์ขยายตัว ย้ำเป้ารายได้ปีนี้แตะ 1,000 ล้านบาท
UAC เผยบันทึก MOU จำหน่ายก๊าซ CNG ที่ จ.สุโขทัยให้ PTT จำนวน 1 หมื่นตันต่อปี เตรียมทยอย
ส่งมอบก๊าซปลายไตรมาส 1/56 ส่งผลรายได้เพิ่มเฉลี่ย 300 ล้านบาทต่อปี ด้านไตรมาส 2/55 รายได้
เพิ่มขึ้นจากไตรมาสแรก เหตุออเดอร์ธุรกิจเคมีภัณฑ์ขยายตัว ย้ำเป้ารายได้ปีนี้แตะ 1,000 ล้านบาท
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 410
'ปู'ยัวะ'อารักษ์'ปูดขึ้นแอลพีจี ตั้ง'พันศักดิ์-สุรนันทน์'กรองงานพลังงาน [ ข่าวสด, 6 ส.ค. 55 ]
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 ส.ค. นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน นำคณะผู้บริหารกระทรวง
พลังงาน เข้าหารือนอกรอบ ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(กพช.) โดยนายกฯ จะแจ้งให้นายอารักษ์ทราบว่า ในการประชุมกพช. นับจากนี้ไป แม้ว่านายกฯ
จะเป็นประธานกพช. โดยตำแหน่งแล้ว ก็ยังจะให้นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายก
รัฐมนตรี และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกฯ เข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง
รายงานข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ในวันที่ 8 ส.ค. นี้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
นายกรัฐมนตรี ได้สั่งการให้นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน นำคณะผู้บริหารกระทรวง
พลังงาน เข้าหารือนอกรอบ ก่อนที่จะมีการประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
(กพช.) โดยนายกฯ จะแจ้งให้นายอารักษ์ทราบว่า ในการประชุมกพช. นับจากนี้ไป แม้ว่านายกฯ
จะเป็นประธานกพช. โดยตำแหน่งแล้ว ก็ยังจะให้นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ประธานที่ปรึกษานายก
รัฐมนตรี และนายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกฯ เข้าร่วมประชุมด้วยทุกครั้ง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 411
ปตท.สผ.ลุยซื้อโคฟ100%เล็งตั้งบริษัทรุกแอฟริกา
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, August 02, 2012
ปตท.สผ.เดินหน้าซื้อหุ้นโคฟทั้งหมด 100% เตรียมตั้งบริษัทลูกเดินหน้าลงทุนในแอฟริกา หลังผู้ถือหุ้นโคฟกว่า 90% ตอบรับคำเสนอซื้อ พร้อมโชว์ผลประกอบการครึ่งปีแรก กำไรเพิ่ม 15%
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัท PTTEP Africa Investment Limited หรือ PTTEP AI ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.สผ. ได้รับการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นบริษัทโคฟ เอ็นเนอยี่ เป็นจำนวน 91.37% ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข ที่ได้ระบุไว้ในเอกสารคำเสนอซื้อ มีผลให้ ปตท.สผ.ชนะการประมูลซื้อหุ้นโคฟ
การชนะประมูลครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดในการประมูลซื้อโคฟ ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือน หลัง ปตท.สผ.ต้องแข่งกับบริษัทเชลล์ ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก แต่ ปตท.สผ.เสนอราคาสูงกว่า
"สำหรับหุ้นส่วนที่เหลืออีก 10% ในโคฟนั้น ต้องใช้เวลาในช่วงนี้เสนอขายมายัง ปตท.สผ.พร้อมกันทั้งหมด และในส่วนของการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่ถือในโครงการ Rovuma ในโมซัมบิกนั้นเป็นอีกกลยุทธ์ของ ปตท.สผ. แต่ยังไม่มีการเจรจาในช่วงนี้ เพราะจะต้องรอให้ขั้นตอนการซื้อหุ้นจากโคฟเสร็จก่อน ซึ่งจะต้องมีการวางกลยุทธ์การลงทุนต่อไป"
แหล่งข่าวกล่าวว่าโครงสร้าง บริษัท PTTEP AI ที่จะเข้ ?ประมูลซื้อโคฟ ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือน หลัง ปตท.สผ.ต้องแข่งกับบริษัทเชลล์ ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก แต่ ปตท.สผ.เสนอราคาสูงกว่า
"สำหรับหุ้นส่วนที่เหลืออีก 10% ในโคฟนั้น ต้องใช้เวลาในช่วงนี้เสนอขายมายัง ปตท.สผ.พร้อมกันทั้งหมด และในส่วนของการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่ถือในโครงการ Rovuma ในโมซัมบิกนั้นเป็นอีกกลยุทธ์ของ ปตท.สผ. แต่ยังไม่มีการเจรจาในช่วงนี้ เพราะจะต้องรอให้ขั้นตอนการซื้อหุ้นจากโคฟเสร็จก่อน ซึ่งจะต้องมีการวางกลยุทธ์การลงทุนต่อไป"
แหล่งข่าวกล่าวว่าโครงสร้าง บริษัท PTTEP AI ที่จะเข้าไปถือหุ้นแทนโคฟนั้น จะมีการพิจารณาถึงโครงสร้างบริษัทใหม่ ว่าจะเป็นบริษัทที่ลงทุนเฉพาะในแหล่ง Rovuma หรือจะเป็นบริษัทที่ใช้ลงทุนในแหล่งในแอฟริกาทั้งหมด
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สผ. แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่าขั้นตอนต่อไป ปตท.สผ.จะดำเนินการเพิกถอนหุ้นของบริษัทโคฟ ออกจากตลาด Alternative Investment Market (AIM) ของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน เพื่อเปลี่ยนสถานะให้กลับไปเป็นบริษัทจำกัด ขณะเดียวกัน ปตท.สผ. กำลังดำเนินการขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นโคฟมาเป็น PTTEP AI จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรณี สาธารณรัฐโมซัมบิก อย่างเป็นทางการ
ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ปตท.สผ. ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ชำระแล้วและยังไม่ได้ชำระทั้งหมดของบริษัทโคฟ ที่ราคา 240 เพนซ์ต่อหุ้น โดยบริษัทโคฟได้ถือสัดส่วน 8.5% ในโครงการโรวูมา ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐโมซัมบิก และคาดว่าจะมีปริมาณสำรองมากกว่า 60 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมทั้งแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการนี้
นอกจากนี้ โคฟยังถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในประเทศเคนยา เขากล่าวว่าการเสนอซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นก้าวที่สำคัญของ ปตท.สผ. ในการขยายการลงทุนในแหล่งพลังงานสู่ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูงภูมิภาคหนึ่งของโลก
เผยโคฟประสบความสำเร็จในแอฟริกา
โคฟ ระบุเมื่อปีที่แล้วเป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่านของบริษัท หลังจากประสบความสำเร็จในการสำรวจแหล่งพลังงานนอกชายฝั่งของประเทศโมซัมบิก ซึ่งมีการค้นพบก๊าซปริมาณมากพอพัฒนาโครงการแอลเอ็นจีระดับโลก ความสำเร็จของแหล่ง "โรวูมา" ทำให้แอฟริกาตะวันตกขึ้นมาอยู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมน้ำมัน-ก๊าซ ทั้งยังทำให้ภูมิภาคนี้ถูกมองว่าเป็นแหล่งไฮโดรคาร์บอนดาวรุ่งของโลก
ความสำเร็จของแหล่งโรวูมาตามมาด้วยการค้นพบแหล่งนอกชายฝั่งในแทนซาเนีย ขณะเดียวกัน โคฟก็ขยายตัวได้ในเคนยาอย่างต่อเนื่องในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทที่ชนะประมูลแหล่งนอกชายฝั่งเมื่อปีที่แล้ว
เมื่อต้นปีที่แล้ว โคฟมีเงินสดเกือบ 200 ล้านดอลลาร์ และในช่วงสิ้นปีที่แล้วดุลเงินสดอยู่ที่ 147 ล้านดอลลาร์ ผลจากการใช้จ่ายระหว่างปี 4.1 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน 3.9 ล้านดอลลาร์ รวมถึงการจ่ายเงินเกี่ยวเนื่องกับหุ้น 1.4 ล้านดอลลาร์ ในภาพรวมแล้วทางกลุ่มโคฟไม่มีหนี้
"ปตท.สผ." ครึ่งปีกำไร 2.6 หมื่น ล.
ปตท.สผ.รายงานผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ของบริษัทและบริษัทย่อยว่า มีกำไรสุทธิ 839 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 7.84 บาท และมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 25.23%
บริษัทมีรายได้รวม 3.26 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.01 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่มาจากการขายที่เพิ่มขึ้น 466 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 18% ซึ่งเป็นผลจาก ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่เป็นเงินดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเป็น 64.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากระดับ 52.85 ดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขายเฉลี่ยสำหรับงวด 6 เดือนลดลงเป็น 2.58 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ระดับ 2.72 แสนบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยปริมาณขายที่ลดลงส่วนใหญ่มาจากผลสุทธิของโครงการอาทิตย์เหนือ ที่ปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทลดลง เนื่องจากโครงการได้หยุดการผลิตตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554
บริษัทและบริษัทย่อยมีการขาดทุนจากรายการ Non-Recurring 160 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 145 ล้านดอลลาร์ จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจาก ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ของโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย จำนวน 109 ล้านดอลลาร์ ที่มีการรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ของแหล่งมอนทารา โดยมีสาเหตุมาจากต้นทุนโครงการที่เพิ่มสูงขึ้น และการเลื่อนแผนการผลิตซึ่งบริษัทคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตได้ภายในสิ้นไตรมาส 4 ปี 2555
ไตรมาสสองกำลังร่วง 32%
สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 250ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7.73 พันล้านบาท ลดลง 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 14.73%
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี ทั้งเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง ปัญหาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรปที่ยังคงมีปัญหา และสถานการณ์นิวเคลียร์ในอิหร่านหลังสหรัฐและยุโรปได้ออกมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน แต่ก็ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันในไตรมาสนี้ไม่มากนัก โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 106.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสแรก
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับเฉลี่ยประมาณ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยนักลงทุนและนักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า รัฐบาลสหรัฐ จีน และสหภาพยุโรป จะออกมาตรการกระตุ้นหรือนโยบายผ่อนปรนทางการเงิน เพื่อแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย รักษาเสถียรภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งจะทำให้ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้มีการติดตามภาวะเศรษฐกิจและความต้องการพลังงานอย่างใกล้ชิด และมีแนวทางในการบริหารงาน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น ทบทวนแผนการจัดหาและพัฒนาการผลิตให้มีความสอดคล้องกับความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น โดยประสานงานกับผู้ซื้อและหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวางแผนการจัดหาพลังงานจากในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะในประเทศพม่า เร่งศึกษาโอกาสการลงทุนในโครงการใหม่ เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองให้เพิ่มขึ้น
ราคาหุ้น ปตท.สผ. หรือ PTTEP ปิดตลาดวานนี้ (1 ส.ค.) ลดลง 0.50 บาท หรือ 0.33% อยู่ที่ 151.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 761.39 ล้านบาท
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Thursday, August 02, 2012
ปตท.สผ.เดินหน้าซื้อหุ้นโคฟทั้งหมด 100% เตรียมตั้งบริษัทลูกเดินหน้าลงทุนในแอฟริกา หลังผู้ถือหุ้นโคฟกว่า 90% ตอบรับคำเสนอซื้อ พร้อมโชว์ผลประกอบการครึ่งปีแรก กำไรเพิ่ม 15%
แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 31 ก.ค.ที่ผ่านมา บริษัท PTTEP Africa Investment Limited หรือ PTTEP AI ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท.สผ. ได้รับการตอบรับคำเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นบริษัทโคฟ เอ็นเนอยี่ เป็นจำนวน 91.37% ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไข ที่ได้ระบุไว้ในเอกสารคำเสนอซื้อ มีผลให้ ปตท.สผ.ชนะการประมูลซื้อหุ้นโคฟ
การชนะประมูลครั้งนี้เป็นการสิ้นสุดในการประมูลซื้อโคฟ ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือน หลัง ปตท.สผ.ต้องแข่งกับบริษัทเชลล์ ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก แต่ ปตท.สผ.เสนอราคาสูงกว่า
"สำหรับหุ้นส่วนที่เหลืออีก 10% ในโคฟนั้น ต้องใช้เวลาในช่วงนี้เสนอขายมายัง ปตท.สผ.พร้อมกันทั้งหมด และในส่วนของการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่ถือในโครงการ Rovuma ในโมซัมบิกนั้นเป็นอีกกลยุทธ์ของ ปตท.สผ. แต่ยังไม่มีการเจรจาในช่วงนี้ เพราะจะต้องรอให้ขั้นตอนการซื้อหุ้นจากโคฟเสร็จก่อน ซึ่งจะต้องมีการวางกลยุทธ์การลงทุนต่อไป"
แหล่งข่าวกล่าวว่าโครงสร้าง บริษัท PTTEP AI ที่จะเข้ ?ประมูลซื้อโคฟ ที่ยืดเยื้อมานานกว่า 5 เดือน หลัง ปตท.สผ.ต้องแข่งกับบริษัทเชลล์ ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก แต่ ปตท.สผ.เสนอราคาสูงกว่า
"สำหรับหุ้นส่วนที่เหลืออีก 10% ในโคฟนั้น ต้องใช้เวลาในช่วงนี้เสนอขายมายัง ปตท.สผ.พร้อมกันทั้งหมด และในส่วนของการเสนอซื้อหุ้นจากผู้ถือหุ้นรายอื่นๆ ที่ถือในโครงการ Rovuma ในโมซัมบิกนั้นเป็นอีกกลยุทธ์ของ ปตท.สผ. แต่ยังไม่มีการเจรจาในช่วงนี้ เพราะจะต้องรอให้ขั้นตอนการซื้อหุ้นจากโคฟเสร็จก่อน ซึ่งจะต้องมีการวางกลยุทธ์การลงทุนต่อไป"
แหล่งข่าวกล่าวว่าโครงสร้าง บริษัท PTTEP AI ที่จะเข้าไปถือหุ้นแทนโคฟนั้น จะมีการพิจารณาถึงโครงสร้างบริษัทใหม่ ว่าจะเป็นบริษัทที่ลงทุนเฉพาะในแหล่ง Rovuma หรือจะเป็นบริษัทที่ใช้ลงทุนในแหล่งในแอฟริกาทั้งหมด
ด้านนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สผ. แจ้งตลาดหลักทรัพย์ว่าขั้นตอนต่อไป ปตท.สผ.จะดำเนินการเพิกถอนหุ้นของบริษัทโคฟ ออกจากตลาด Alternative Investment Market (AIM) ของตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน เพื่อเปลี่ยนสถานะให้กลับไปเป็นบริษัทจำกัด ขณะเดียวกัน ปตท.สผ. กำลังดำเนินการขออนุมัติการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนผู้ถือหุ้นโคฟมาเป็น PTTEP AI จากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรณี สาธารณรัฐโมซัมบิก อย่างเป็นทางการ
ในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ปตท.สผ. ได้ทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ชำระแล้วและยังไม่ได้ชำระทั้งหมดของบริษัทโคฟ ที่ราคา 240 เพนซ์ต่อหุ้น โดยบริษัทโคฟได้ถือสัดส่วน 8.5% ในโครงการโรวูมา ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ในสาธารณรัฐโมซัมบิก และคาดว่าจะมีปริมาณสำรองมากกว่า 60 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมทั้งแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect ซึ่งอยู่ในพื้นที่โครงการนี้
นอกจากนี้ โคฟยังถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในประเทศเคนยา เขากล่าวว่าการเสนอซื้อหุ้นครั้งนี้เป็นก้าวที่สำคัญของ ปตท.สผ. ในการขยายการลงทุนในแหล่งพลังงานสู่ภูมิภาคแอฟริกาตะวันออกที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูงภูมิภาคหนึ่งของโลก
เผยโคฟประสบความสำเร็จในแอฟริกา
โคฟ ระบุเมื่อปีที่แล้วเป็นปีแห่งการเปลี่ยนผ่านของบริษัท หลังจากประสบความสำเร็จในการสำรวจแหล่งพลังงานนอกชายฝั่งของประเทศโมซัมบิก ซึ่งมีการค้นพบก๊าซปริมาณมากพอพัฒนาโครงการแอลเอ็นจีระดับโลก ความสำเร็จของแหล่ง "โรวูมา" ทำให้แอฟริกาตะวันตกขึ้นมาอยู่แถวหน้าของอุตสาหกรรมน้ำมัน-ก๊าซ ทั้งยังทำให้ภูมิภาคนี้ถูกมองว่าเป็นแหล่งไฮโดรคาร์บอนดาวรุ่งของโลก
ความสำเร็จของแหล่งโรวูมาตามมาด้วยการค้นพบแหล่งนอกชายฝั่งในแทนซาเนีย ขณะเดียวกัน โคฟก็ขยายตัวได้ในเคนยาอย่างต่อเนื่องในฐานะเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มบริษัทที่ชนะประมูลแหล่งนอกชายฝั่งเมื่อปีที่แล้ว
เมื่อต้นปีที่แล้ว โคฟมีเงินสดเกือบ 200 ล้านดอลลาร์ และในช่วงสิ้นปีที่แล้วดุลเงินสดอยู่ที่ 147 ล้านดอลลาร์ ผลจากการใช้จ่ายระหว่างปี 4.1 ล้านดอลลาร์ โดยเป็นค่าใช้จ่ายด้านการดำเนินงาน 3.9 ล้านดอลลาร์ รวมถึงการจ่ายเงินเกี่ยวเนื่องกับหุ้น 1.4 ล้านดอลลาร์ ในภาพรวมแล้วทางกลุ่มโคฟไม่มีหนี้
"ปตท.สผ." ครึ่งปีกำไร 2.6 หมื่น ล.
ปตท.สผ.รายงานผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2555 ของบริษัทและบริษัทย่อยว่า มีกำไรสุทธิ 839 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือประมาณ 2.6 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 7.84 บาท และมีอัตราผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 25.23%
บริษัทมีรายได้รวม 3.26 พันล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 1.01 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยส่วนใหญ่มาจากการขายที่เพิ่มขึ้น 466 ล้านดอลลาร์ หรือเพิ่มขึ้น 18% ซึ่งเป็นผลจาก ราคาขายผลิตภัณฑ์เฉลี่ยที่เป็นเงินดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเป็น 64.47 ดอลลาร์ต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ จากระดับ 52.85 ดอลลาร์ในช่วงเดียวกัน ของปีก่อน ตามราคาน้ำมันดิบตลาดโลกที่ เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม ปริมาณการขายเฉลี่ยสำหรับงวด 6 เดือนลดลงเป็น 2.58 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่อยู่ระดับ 2.72 แสนบาร์เรลต่อวันเทียบเท่าน้ำมันดิบ โดยปริมาณขายที่ลดลงส่วนใหญ่มาจากผลสุทธิของโครงการอาทิตย์เหนือ ที่ปริมาณการขายก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทลดลง เนื่องจากโครงการได้หยุดการผลิตตั้งแต่เดือน พ.ย. 2554
บริษัทและบริษัทย่อยมีการขาดทุนจากรายการ Non-Recurring 160 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 4.8 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจำนวน 145 ล้านดอลลาร์ จากงวดเดียวกันของปีก่อน ส่วนใหญ่เกิดจาก ขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ของโครงการพีทีทีอีพี ออสตราเลเซีย จำนวน 109 ล้านดอลลาร์ ที่มีการรับรู้การด้อยค่าของสินทรัพย์ของแหล่งมอนทารา โดยมีสาเหตุมาจากต้นทุนโครงการที่เพิ่มสูงขึ้น และการเลื่อนแผนการผลิตซึ่งบริษัทคาดว่าจะสามารถเริ่มผลิตได้ภายในสิ้นไตรมาส 4 ปี 2555
ไตรมาสสองกำลังร่วง 32%
สำหรับผลการดำเนินงานในช่วงไตรมาส 2 ปีนี้ บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 250ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 7.73 พันล้านบาท ลดลง 32% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีอัตราผลตอบแทนต่อผู้ถือหุ้น อยู่ที่ 14.73%
ทั้งนี้ แม้ว่าจะมีเหตุการณ์หลายอย่างเกิดขึ้นในไตรมาสที่ 2 ของปี ทั้งเศรษฐกิจจีนที่ชะลอตัวลง ปัญหาเศรษฐกิจในกลุ่มประเทศยุโรปที่ยังคงมีปัญหา และสถานการณ์นิวเคลียร์ในอิหร่านหลังสหรัฐและยุโรปได้ออกมาตรการคว่ำบาตรการนำเข้าน้ำมันจากอิหร่าน แต่ก็ส่งผลกระทบกับราคาน้ำมันในไตรมาสนี้ไม่มากนัก โดยราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ยอยู่ที่ 106.5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล ลดลงเพียงเล็กน้อยจากไตรมาสแรก
อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันดิบในช่วงครึ่งหลังของปีมีแนวโน้มที่จะทรงตัวในระดับเฉลี่ยประมาณ 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล โดยนักลงทุนและนักวิเคราะห์ยังคาดการณ์ว่า รัฐบาลสหรัฐ จีน และสหภาพยุโรป จะออกมาตรการกระตุ้นหรือนโยบายผ่อนปรนทางการเงิน เพื่อแก้ปัญหาภาวะเศรษฐกิจโลกถดถอย รักษาเสถียรภาพการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลก ซึ่งจะทำให้ระดับราคาน้ำมันในตลาดโลกสูงขึ้น
ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้มีการติดตามภาวะเศรษฐกิจและความต้องการพลังงานอย่างใกล้ชิด และมีแนวทางในการบริหารงาน เพื่อรองรับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ เช่น ทบทวนแผนการจัดหาและพัฒนาการผลิตให้มีความสอดคล้องกับความต้องการพลังงานที่สูงขึ้น โดยประสานงานกับผู้ซื้อและหน่วยงานของรัฐบาลที่เกี่ยวข้อง เพื่อร่วมกันวางแผนการจัดหาพลังงานจากในประเทศและประเทศเพื่อนบ้านทั้งในระยะสั้นและระยะยาว โดยเฉพาะในประเทศพม่า เร่งศึกษาโอกาสการลงทุนในโครงการใหม่ เพื่อเพิ่มปริมาณสำรองให้เพิ่มขึ้น
ราคาหุ้น ปตท.สผ. หรือ PTTEP ปิดตลาดวานนี้ (1 ส.ค.) ลดลง 0.50 บาท หรือ 0.33% อยู่ที่ 151.50 บาท มูลค่าการซื้อขาย 761.39 ล้านบาท
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 412
คอลัมน์: บันทึกคนข่าว: การลงทุนในพม่าโอกาสทองของขาใหญ่
Source - สยามรัฐ (Th), Thursday, August 02, 2012
นฤนารท พระปัญญา [email protected]
ทันทีที่รัฐบาลอเมริกันผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่กระทำฝ่ายเดียวต่อพม่า เอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ได้รับการแต่งตั้งสัญญาณของโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในพม่าก็เปิดขึ้น
นักลงทุนทุกคนต่างรู้ว่าขนาดของตลาดสหรัฐฯนั้นมีขนาดพอๆกัน หรือในบางชนิดสินค้าอาจจะมากกว่าขนาดของตลาดยุโรป
ยิ่งกว่านั้น การผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯต่อพม่าเป็นสัญญาณบวก ส่งถึงประเทศต่างๆว่าถึงเวลาเปิดประเทศพม่าแล้ว
หมายกำหนดการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีเต็งเส่งถูกเลื่อนจากต้นเดือนมาเป็นปลายเดือนกรกฎาคม เดิมทีคิดกันว่า "โรคเลื่อน" เกิดจากความไม่พอใจที่ถูกนางออง ซาน ซูจีตัดหน้านั้น ถึงวันนี้นักวิเคราะห์มองกันอีกทางหนึ่งว่า น่าจะเป็นเพราะสถานการณ์ความรุนแรงในแคว้นยะไข่ บวกกับการรอดูความชัดเจนในท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯเสียมากกว่า
การเดินทางมาเยือนกรุงเทพฯของประธานาธิบดีเต็งเส่ง มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างยิ่ง มีการลงนามในข้อตกลงสามฉบับ หนึ่ง ความร่วมมือด้านความมั่นคง สอง ความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ และสาม ความร่วมมือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
พม่าเองลึกๆแล้วก็ไม่สบายใจต่ออิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐบาลปักกิ่งกำลังหลั่งทะลักเข้ามาจนแซงหน้าเป็นประเทศที่มีการลงทุนอันดับหนึ่งในพม่า ทั้งที่ก่อนปี ค.ศ. 2010 ไทยอยู่อันดับหนึ่ง
เพื่อนนักธุรกิจชาวพม่าที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับจีน เล่าให้ผมฟังว่าคนของรัฐบาลให้คำแนะนำตรงไปตรงมาว่า
"นอกจากจีนแล้ว ฝ่ายธุรกิจน่าจะพยายามหาคู่ค้าประเทศอื่นๆในเอเชีย"
สำหรับปัญหาแรงงาน รัฐบาลที่กรุงเนปิดอว์รู้ดีว่าคนพม่าประมาณสองล้านคนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย นอกจากจะช่วยทำรายได้เข้าประเทศ ช่วยผ่อนคลายปัญหาความยากจน ทั้งยังมีไทยเป็นแหล่งแก้ปัญหาคนว่างงานแล้วประเทศไทยยังเป็นแหล่งชะลอปัญหาเศรษฐกิจสังคมให้กับพม่าอย่างดียิ่ง
การเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ประธานาธิบดีเต็งเส่งให้ความสำคัญต่อแผนการลงทุนของไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง
โครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมทวายได้รับการรับรองจากนายกรัฐมนตรีไทยในอันที่จะช่วยเร่งรัดให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างเมืองทวายกับชายแดนไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี
มีโครงการใหญ่ๆพอจะยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมดังต่อไปนี้คือ
บริษัทปูนซีเมนต์ไทย "ปูนใหญ่" ที่รู้จักกันในชื่อย่อใหม่ของกลุ่มบริษัท เอสซีจี เตรียมเงินทุนหมื่นล้านบาท หาที่ตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์พม่ามีแหล่งแร่ยิปซัมอยู่ที่รัฐฉาน เป็นแหล่งวัตถุดิบอย่างดี ไม่เฉพาะแค่ปูนซีเมนต์ แต่ยังสามารถนำไปผลิตแผ่นยิปซัม และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้างอื่นๆอีกมากมาย
ทางด้านการเกษตร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เตรียมการเข้าลงทุนขนานใหญ่ทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการลงทุนในสามปีแรกสูงถึง 16.5 พันล้านบาท โครงการมีตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดการส่งเสริมการปลูกข้าวโพด การปศุสัตว์ และที่สำคัญยิ่ง ซีพีกำลังก้าวเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกข้าวปากแม่น้ำอิระวดี ส่งเสริมการเกษตรแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกข้าว จนถึงการตั้งโรงสีข้าว
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์บอกว่าแต่ละปีพม่าส่งข้าวออกสู่ตลาดโลกอยู่ในระหว่าง เจ็ดแสนถึงหนึ่งล้านตัน
หากใครเคยเดินทางเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกของพม่า จะพบว่าพม่านั้นมีศักยภาพทางการผลิตข้าวออกสู่ตลาดโลกสูงยิ่ง
ใครที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไปคงจำได้ว่าในชั้นเรียนสังคมศึกษา ครูเคยสอนว่าพม่าเป็นผู้ส่งออกข้าวและไม้สักอันดับหนึ่งของโลก มีประเทศไทยเป็นอันดับสอง
ไม่แปลกที่รัฐบาลพม่าจะวางเป้าหมายชัดเจนว่าจะทวงตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกภายในสิบปี
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) หรือ พีทีที ได้ลงนามสัญญาสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลอีกสองบล็อก ที่สำคัญครั้งนี้เป็นการร่วมทุนกับบริษัทสัญชาติพม่า
ปัจจุบัน ปตท. ดำเนินงานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติอยู่สี่หลุม ผลิตก๊าซได้1.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พูดง่ายๆหากก๊าซจากหลุมยาดานาและหลุมเยตากูน หยุดไหลวันใด เมืองไทยไฟฟ้าจะดับพร้อมกันหลายจังหวัด เมื่อพม่าเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลก็เริ่มขอความร่วมมือกับ ปตท. ให้เพิ่มการจำหน่ายก๊าซให้กับผู้ซื้อในประเทศ การให้บริษัทพม่าเข้ามาร่วมทุนกับ ปตท.ในโครงการใหม่ ก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของพม่า
คิดแล้วก็สงสารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่พยายามตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่ปัจจุบันเทคโนโลยีรักษาสภาพแวดล้อมขนาดสามารถมีโรงงานไฟฟ้าใกล้กับชุมชุนได้ แต่กระนั้นก็ยังถูกต่อต้านอยู่ร่ำไป
"น้ำ-ไฟใช้ฟรียังขี้บ่น" นี่แหละครับคนบ้านเรา
--จบ--
Source - สยามรัฐ (Th), Thursday, August 02, 2012
นฤนารท พระปัญญา [email protected]
ทันทีที่รัฐบาลอเมริกันผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจที่กระทำฝ่ายเดียวต่อพม่า เอกอัครราชทูตสหรัฐฯคนใหม่ได้รับการแต่งตั้งสัญญาณของโอกาสทางธุรกิจและการลงทุนในพม่าก็เปิดขึ้น
นักลงทุนทุกคนต่างรู้ว่าขนาดของตลาดสหรัฐฯนั้นมีขนาดพอๆกัน หรือในบางชนิดสินค้าอาจจะมากกว่าขนาดของตลาดยุโรป
ยิ่งกว่านั้น การผ่อนคลายมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจของสหรัฐฯต่อพม่าเป็นสัญญาณบวก ส่งถึงประเทศต่างๆว่าถึงเวลาเปิดประเทศพม่าแล้ว
หมายกำหนดการเยือนประเทศไทยของประธานาธิบดีเต็งเส่งถูกเลื่อนจากต้นเดือนมาเป็นปลายเดือนกรกฎาคม เดิมทีคิดกันว่า "โรคเลื่อน" เกิดจากความไม่พอใจที่ถูกนางออง ซาน ซูจีตัดหน้านั้น ถึงวันนี้นักวิเคราะห์มองกันอีกทางหนึ่งว่า น่าจะเป็นเพราะสถานการณ์ความรุนแรงในแคว้นยะไข่ บวกกับการรอดูความชัดเจนในท่าทีของรัฐบาลสหรัฐฯเสียมากกว่า
การเดินทางมาเยือนกรุงเทพฯของประธานาธิบดีเต็งเส่ง มีนัยสำคัญทางเศรษฐกิจอย่างยิ่ง มีการลงนามในข้อตกลงสามฉบับ หนึ่ง ความร่วมมือด้านความมั่นคง สอง ความร่วมมือด้านโลจิสติกส์ และสาม ความร่วมมือพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน
พม่าเองลึกๆแล้วก็ไม่สบายใจต่ออิทธิพลทางเศรษฐกิจและการเมืองที่รัฐบาลปักกิ่งกำลังหลั่งทะลักเข้ามาจนแซงหน้าเป็นประเทศที่มีการลงทุนอันดับหนึ่งในพม่า ทั้งที่ก่อนปี ค.ศ. 2010 ไทยอยู่อันดับหนึ่ง
เพื่อนนักธุรกิจชาวพม่าที่มีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับจีน เล่าให้ผมฟังว่าคนของรัฐบาลให้คำแนะนำตรงไปตรงมาว่า
"นอกจากจีนแล้ว ฝ่ายธุรกิจน่าจะพยายามหาคู่ค้าประเทศอื่นๆในเอเชีย"
สำหรับปัญหาแรงงาน รัฐบาลที่กรุงเนปิดอว์รู้ดีว่าคนพม่าประมาณสองล้านคนที่ทำงานอยู่ในประเทศไทย นอกจากจะช่วยทำรายได้เข้าประเทศ ช่วยผ่อนคลายปัญหาความยากจน ทั้งยังมีไทยเป็นแหล่งแก้ปัญหาคนว่างงานแล้วประเทศไทยยังเป็นแหล่งชะลอปัญหาเศรษฐกิจสังคมให้กับพม่าอย่างดียิ่ง
การเยือนประเทศไทยครั้งนี้ ประธานาธิบดีเต็งเส่งให้ความสำคัญต่อแผนการลงทุนของไทยที่กำลังจะเกิดขึ้นเป็นอย่างยิ่ง
โครงการท่าเรือน้ำลึกและเขตอุตสาหกรรมทวายได้รับการรับรองจากนายกรัฐมนตรีไทยในอันที่จะช่วยเร่งรัดให้เป็นรูปเป็นร่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมระหว่างเมืองทวายกับชายแดนไทยที่จังหวัดกาญจนบุรี
มีโครงการใหญ่ๆพอจะยกตัวอย่างให้เห็นเป็นรูปธรรมดังต่อไปนี้คือ
บริษัทปูนซีเมนต์ไทย "ปูนใหญ่" ที่รู้จักกันในชื่อย่อใหม่ของกลุ่มบริษัท เอสซีจี เตรียมเงินทุนหมื่นล้านบาท หาที่ตั้งโรงงานผลิตปูนซีเมนต์พม่ามีแหล่งแร่ยิปซัมอยู่ที่รัฐฉาน เป็นแหล่งวัตถุดิบอย่างดี ไม่เฉพาะแค่ปูนซีเมนต์ แต่ยังสามารถนำไปผลิตแผ่นยิปซัม และผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับการก่อสร้างอื่นๆอีกมากมาย
ทางด้านการเกษตร บริษัทเจริญโภคภัณฑ์ หรือซีพี เตรียมการเข้าลงทุนขนานใหญ่ทั้งการเกษตรและอุตสาหกรรมการเกษตร มูลค่าการลงทุนในสามปีแรกสูงถึง 16.5 พันล้านบาท โครงการมีตั้งแต่การผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดการส่งเสริมการปลูกข้าวโพด การปศุสัตว์ และที่สำคัญยิ่ง ซีพีกำลังก้าวเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกข้าวปากแม่น้ำอิระวดี ส่งเสริมการเกษตรแบบครบวงจรตั้งแต่การปลูกข้าว จนถึงการตั้งโรงสีข้าว
นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์บอกว่าแต่ละปีพม่าส่งข้าวออกสู่ตลาดโลกอยู่ในระหว่าง เจ็ดแสนถึงหนึ่งล้านตัน
หากใครเคยเดินทางเข้าสู่พื้นที่เพาะปลูกของพม่า จะพบว่าพม่านั้นมีศักยภาพทางการผลิตข้าวออกสู่ตลาดโลกสูงยิ่ง
ใครที่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไปคงจำได้ว่าในชั้นเรียนสังคมศึกษา ครูเคยสอนว่าพม่าเป็นผู้ส่งออกข้าวและไม้สักอันดับหนึ่งของโลก มีประเทศไทยเป็นอันดับสอง
ไม่แปลกที่รัฐบาลพม่าจะวางเป้าหมายชัดเจนว่าจะทวงตำแหน่งผู้ส่งออกข้าวอันดับหนึ่งของโลกภายในสิบปี
การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) หรือ พีทีที ได้ลงนามสัญญาสำรวจแหล่งก๊าซธรรมชาติในทะเลอีกสองบล็อก ที่สำคัญครั้งนี้เป็นการร่วมทุนกับบริษัทสัญชาติพม่า
ปัจจุบัน ปตท. ดำเนินงานขุดเจาะก๊าซธรรมชาติอยู่สี่หลุม ผลิตก๊าซได้1.1 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน พูดง่ายๆหากก๊าซจากหลุมยาดานาและหลุมเยตากูน หยุดไหลวันใด เมืองไทยไฟฟ้าจะดับพร้อมกันหลายจังหวัด เมื่อพม่าเริ่มพัฒนาเศรษฐกิจ รัฐบาลก็เริ่มขอความร่วมมือกับ ปตท. ให้เพิ่มการจำหน่ายก๊าซให้กับผู้ซื้อในประเทศ การให้บริษัทพม่าเข้ามาร่วมทุนกับ ปตท.ในโครงการใหม่ ก็เป็นส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ด้านพลังงานของพม่า
คิดแล้วก็สงสารการไฟฟ้าฝ่ายผลิตฯ ที่พยายามตั้งโรงงานไฟฟ้าพลังงานถ่านหินที่ปัจจุบันเทคโนโลยีรักษาสภาพแวดล้อมขนาดสามารถมีโรงงานไฟฟ้าใกล้กับชุมชุนได้ แต่กระนั้นก็ยังถูกต่อต้านอยู่ร่ำไป
"น้ำ-ไฟใช้ฟรียังขี้บ่น" นี่แหละครับคนบ้านเรา
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 413
คอลัมน์: มองอินเดียใหม่: Doing Business in India:Forum for Thai Executives
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, August 04, 2012
ดร. แจ่มใส เมนะเศวต
เมื่อเดือนที่แล้วปตท.บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของไทยได้เปิดตัวน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อ PTT ที่งาน India Auto Expo 2012 ที่จัดขึ้นที่เมืองเจนไน ดีทรอยต์แห่งอินเดีย
มาอินเดียครั้งนี้ ปตท.คิดการณ์ไกลจับมือกับหุ้นส่วนชมพูทวีป บริษัท Deltronix India จำกัด หวังตีตลาดชั้นสูงเน้นสินค้าคุณภาพสำหรับรถยนต์ชั้นนำเช่นBMW,Audi,Mercedes- Benzท้าทายคู่แข่งเจ้าถิ่นอย่างIndian OilหรือHindustanPetroleumรวมทั้งคู่แข่งต่างชาติเช่นCastrol,ServoและTurboที่ยังมีส่วนแบ่งตลาดสูง
หลายคนอาจสงสัยว่าปตท.คิดดีแล้วหรือที่จะมาเปิดตัวอินเดียในยุคข้าวยากน้ำมันแพงเศรษฐกิจภารตฝืดเคืองเช่นนี้
โดยเฉพาะคำทำนายที่ว่าจีดีพีอินเดียในปี 2554-55 นี้ จะหยุดอยู่เพียงที่ 6.9% ร่วงลงอย่างน่าตกใจจาก 9.6%ในช่วงปี 2553-54
อย่างไรก็ตามผู้ที่อาศัยอยู่ในหัวเมืองใหญ่ของอินเดียไม่ว่าจะเป็นกรุงนิวเดลีเมืองมุมไบเมืองกัลกัตตาก็คงสังเกตได้ว่าชนชั้นกลางและชั้นสูงของอินเดียยังคงเดินหน้าบริโภคอย่างไม่หยุดยั้ง
ความต้องการเพื่อ กิน ใช้ จ่าย หาความสุข ความสะดวกความสบายเป็นเหตุสำคัญทำให้เกิดเหตุวงจรไฟฟ้าของอินเดียทางเหนือช็อตประชากรกว่าครึ่งประเทศต้องตกอยู่ในความมืดสาเหตุมาจากรัฐต่างๆแย่งกันใช้ไฟฟ้าเกินขีดจำกัดเป็นข่าวใหญ่โตทั่วโลกสดๆร้อนๆเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
สำนักวิเคราะห์EconomistIntelligenceUnitคาดว่าอัตราการบริโภคของประชากรอินเดีย จะเพิ่มขึ้นจาก 5.5% ในปี 2554-55 เป็น 6% ในปี 2555-56
ดังนั้นไม่ผิดเลยที่ปตท.จะมาเปิดตัวเจาะตลาดอินเดียในช่วงนี้ เพราะยิ่งเข้ามาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำตลาด สร้างชื่อเสียง ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าก็จะยิ่งสามารถขยายกิจการสู่ดินแดนแห่งกำลังบริโภคอันมหาศาลได้เร็วมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
โดยเฉพาะเมื่อไม่มีใครมั่นใจว่ายูโรโซนจะไปรอดหรือไม่อินเดียก็เปรียบเสมือนแสงสว่างแห่งความหวังแต่การจะเข้าใจและเข้าถึงอินเดียนั้นมีอุปสรรคไม่น้อย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี จึงจะเป็นแม่งานหลักจับมือร่วมกับพันธมิตรเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ จัดสัมมนา Doing Business in India: Forum for Thai Executives โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาลอินเดีย จาก Department of Industrial Promotion and Policy,InvestIndia,สถานทูตอินเดียในประเทศไทยรวมทั้งผู้แทนของ Industrial Extension Bureauของรัฐคุชราตซึ่งเป็นรัฐที่เป็นแชมป์ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติสูงที่สุดในอินเดีย พบนักธุรกิจไทย ในวันที่ 14 กันยายน2555 ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ถนนวิทยุ ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.30 น.
งานสัมมนาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่นักธุรกิจและผู้ประกอบการที่สนใจอินเดียจริงจัง ให้เห็นช่องทางการลงทุนต่างๆที่อินเดียปูทางไว้ นำเสนอนโยบายส่งเสริมการลงทุนของอินเดีย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และโอกาสในการลงทุน เนื้อหาเน้นตามสาขาความสนใจของเอกชนไทยที่เข้าร่วม
โดยในปีนี้ จะเน้นรัฐคุชราตเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นรัฐที่มีศักยภาพและความพร้อมเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าน้ำประปา ถนนหนทาง แรงงานคุณภาพ เพื่อรองรับการลงทุนต่างชาติไม่ให้นักธุรกิจไทยตกเทรนด์ เพราะเอกชนญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ยุโรป สหรัฐฯ ต่างตื่นตัวกับโอกาสในรัฐคุชราตและเริ่มเข้าไปปักหลักตั้งฐานกันพอสมควรแล้ว
โบราณว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ดังนั้น ทูตไทยประจำอินเดียจะนำคณะนักธุรกิจไทยไปเยือนรัฐคุชราตในวันที่ 27-29 พฤศจิกายนนี้ ตามที่มุขมนตรีคนดังของรัฐนายนเรนทราโมดิเอ่ยปากชวนให้ไปเห็นศักยภาพด้วยสายตาตัวเองซึ่งนักธุรกิจไทยที่เข้าร่วมจะสามารถหารือตัวต่อตัวกับทีมประเทศไทยที่เดินทางร่วมไปกับคณะรวมถึงนัดหารือเฉพาะตัวแบบb-2-bกับนักธุรกิจอินเดียตามรายสาขาได้ด้วย
ขณะนี้ มีนักธุรกิจไทยสาขาการบินพาณิชย์ ผู้ผลิตของเด็กเล่นชั้นนำ และผู้ผลิตตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ ได้แสดงความสนใจเข้าร่วมการเดินทางครั้งนี้แล้ว
สำหรับนักธุรกิจที่สนใจและไม่อยากพลาดโอกาสทั้งสองนี้ สามารถติดตามรายละเอียดได้จากเว็บไซต์www.thaiindia.net
--จบ--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, August 04, 2012
ดร. แจ่มใส เมนะเศวต
เมื่อเดือนที่แล้วปตท.บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของไทยได้เปิดตัวน้ำมันหล่อลื่นยี่ห้อ PTT ที่งาน India Auto Expo 2012 ที่จัดขึ้นที่เมืองเจนไน ดีทรอยต์แห่งอินเดีย
มาอินเดียครั้งนี้ ปตท.คิดการณ์ไกลจับมือกับหุ้นส่วนชมพูทวีป บริษัท Deltronix India จำกัด หวังตีตลาดชั้นสูงเน้นสินค้าคุณภาพสำหรับรถยนต์ชั้นนำเช่นBMW,Audi,Mercedes- Benzท้าทายคู่แข่งเจ้าถิ่นอย่างIndian OilหรือHindustanPetroleumรวมทั้งคู่แข่งต่างชาติเช่นCastrol,ServoและTurboที่ยังมีส่วนแบ่งตลาดสูง
หลายคนอาจสงสัยว่าปตท.คิดดีแล้วหรือที่จะมาเปิดตัวอินเดียในยุคข้าวยากน้ำมันแพงเศรษฐกิจภารตฝืดเคืองเช่นนี้
โดยเฉพาะคำทำนายที่ว่าจีดีพีอินเดียในปี 2554-55 นี้ จะหยุดอยู่เพียงที่ 6.9% ร่วงลงอย่างน่าตกใจจาก 9.6%ในช่วงปี 2553-54
อย่างไรก็ตามผู้ที่อาศัยอยู่ในหัวเมืองใหญ่ของอินเดียไม่ว่าจะเป็นกรุงนิวเดลีเมืองมุมไบเมืองกัลกัตตาก็คงสังเกตได้ว่าชนชั้นกลางและชั้นสูงของอินเดียยังคงเดินหน้าบริโภคอย่างไม่หยุดยั้ง
ความต้องการเพื่อ กิน ใช้ จ่าย หาความสุข ความสะดวกความสบายเป็นเหตุสำคัญทำให้เกิดเหตุวงจรไฟฟ้าของอินเดียทางเหนือช็อตประชากรกว่าครึ่งประเทศต้องตกอยู่ในความมืดสาเหตุมาจากรัฐต่างๆแย่งกันใช้ไฟฟ้าเกินขีดจำกัดเป็นข่าวใหญ่โตทั่วโลกสดๆร้อนๆเมื่อปลายเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา
สำนักวิเคราะห์EconomistIntelligenceUnitคาดว่าอัตราการบริโภคของประชากรอินเดีย จะเพิ่มขึ้นจาก 5.5% ในปี 2554-55 เป็น 6% ในปี 2555-56
ดังนั้นไม่ผิดเลยที่ปตท.จะมาเปิดตัวเจาะตลาดอินเดียในช่วงนี้ เพราะยิ่งเข้ามาเร็วเท่าไหร่ ยิ่งทำตลาด สร้างชื่อเสียง ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้าก็จะยิ่งสามารถขยายกิจการสู่ดินแดนแห่งกำลังบริโภคอันมหาศาลได้เร็วมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
โดยเฉพาะเมื่อไม่มีใครมั่นใจว่ายูโรโซนจะไปรอดหรือไม่อินเดียก็เปรียบเสมือนแสงสว่างแห่งความหวังแต่การจะเข้าใจและเข้าถึงอินเดียนั้นมีอุปสรรคไม่น้อย
สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงนิวเดลี จึงจะเป็นแม่งานหลักจับมือร่วมกับพันธมิตรเช่นสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย และหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ จัดสัมมนา Doing Business in India: Forum for Thai Executives โดยจะเชิญผู้แทนจากหน่วยงานรัฐบาลอินเดีย จาก Department of Industrial Promotion and Policy,InvestIndia,สถานทูตอินเดียในประเทศไทยรวมทั้งผู้แทนของ Industrial Extension Bureauของรัฐคุชราตซึ่งเป็นรัฐที่เป็นแชมป์ดึงดูดเงินลงทุนจากต่างชาติสูงที่สุดในอินเดีย พบนักธุรกิจไทย ในวันที่ 14 กันยายน2555 ที่โรงแรมพลาซ่าแอทธินี ถนนวิทยุ ตั้งแต่เวลา 09.00 -15.30 น.
งานสัมมนาดังกล่าวจะเป็นประโยชน์แก่นักธุรกิจและผู้ประกอบการที่สนใจอินเดียจริงจัง ให้เห็นช่องทางการลงทุนต่างๆที่อินเดียปูทางไว้ นำเสนอนโยบายส่งเสริมการลงทุนของอินเดีย ระเบียบที่เกี่ยวข้อง และโอกาสในการลงทุน เนื้อหาเน้นตามสาขาความสนใจของเอกชนไทยที่เข้าร่วม
โดยในปีนี้ จะเน้นรัฐคุชราตเป็นพิเศษ เนื่องจากเป็นรัฐที่มีศักยภาพและความพร้อมเต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นไฟฟ้าน้ำประปา ถนนหนทาง แรงงานคุณภาพ เพื่อรองรับการลงทุนต่างชาติไม่ให้นักธุรกิจไทยตกเทรนด์ เพราะเอกชนญี่ปุ่น สิงคโปร์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน ยุโรป สหรัฐฯ ต่างตื่นตัวกับโอกาสในรัฐคุชราตและเริ่มเข้าไปปักหลักตั้งฐานกันพอสมควรแล้ว
โบราณว่า สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น ดังนั้น ทูตไทยประจำอินเดียจะนำคณะนักธุรกิจไทยไปเยือนรัฐคุชราตในวันที่ 27-29 พฤศจิกายนนี้ ตามที่มุขมนตรีคนดังของรัฐนายนเรนทราโมดิเอ่ยปากชวนให้ไปเห็นศักยภาพด้วยสายตาตัวเองซึ่งนักธุรกิจไทยที่เข้าร่วมจะสามารถหารือตัวต่อตัวกับทีมประเทศไทยที่เดินทางร่วมไปกับคณะรวมถึงนัดหารือเฉพาะตัวแบบb-2-bกับนักธุรกิจอินเดียตามรายสาขาได้ด้วย
ขณะนี้ มีนักธุรกิจไทยสาขาการบินพาณิชย์ ผู้ผลิตของเด็กเล่นชั้นนำ และผู้ผลิตตู้เย็นและเครื่องปรับอากาศรายใหญ่ ได้แสดงความสนใจเข้าร่วมการเดินทางครั้งนี้แล้ว
สำหรับนักธุรกิจที่สนใจและไม่อยากพลาดโอกาสทั้งสองนี้ สามารถติดตามรายละเอียดได้จากเว็บไซต์www.thaiindia.net
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 414
UACยิ้มรายได้เพิ่ม 300ล./ปี หลังเซ็นเอ็มโอยูขายก๊าซCNG ให้ปตท.ปีละหมื่นตัน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, August 04, 2012
ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ ลงนามเอ็มโอยูขายก๊าซ CNG จากโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเขตจังหวัดสุโขทัย ให้กับปตท.จำนวน 1 หมื่นตันต่อปี เตรียมทยอยส่งมอบก๊าซ ตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกปี 2556 เป็นต้นไป ส่งผลให้รายได้เพิ่มเฉลี่ย 300 ล้านบาทต่อปี
นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัทยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน)(บมจ.) (UAC)ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า และจำหน่ายสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่น และปิโตรเคมี เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง(เอ็มโอยู)ร่วมกับบมจ.ปตท. เพื่อซื้อขายก๊าซCNG (Com-pressed natural gas) ในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ จังหวัดสุโขทัย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไปหลังจากที่มีการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างปตท.กับUAC คือ การเจรจาราคาซื้อขายก๊าซรวมถึงการกำหนดระยะเวลาในการซื้อขายก๊าซดังกล่าวซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะสรุปราคาซื้อขายได้เร็วๆนี้ โดยบริษัทจะจัดจำหน่ายก๊าซ ให้กับปตท.จำนวน1หมื่นตันต่อปีและจะเริ่มส่งมอบในเชิงพาณิชย์ได้ในปลายไตรมาสที่ 1/56 เป็นต้นไปซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้จากโครงการดังกล่าวเฉลี่ย300 ล้านบาทต่อปี
นายกิตติกล่าวว่าโครงการดังกล่าวบริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับบริษัทต่างชาติซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานในการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ในเขตจังหวัดสุโขทัยหลังจากนั้นบริษัทได้มีการศึกษาแผนทั้งหมดเริ่มออกแบบการก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และมีการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างแบบเทิร์น-คีย์ และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนสิงหาคมนี้ โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง เพื่อใช้ในโครงการทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน 400 ล้านบาท และจากกระแสเงินสด 200 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ บริษัทมีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในการขยายการลงทุนไปยังอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และกิจการสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรวมถึงนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตโดยการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลายเหมาะสมและยั่งยืนในระยะยาว
บมจ.ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์แอนด์ เคมิคัลส์ ดำเนินธุรกิจนำเข้าและจำหน่าย สารเคมี และอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเคมี โรงงานผลิตน้ำมันหล่อลื่นโรงงานโพลิเมอร์และพลาสติก โรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โรงไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น
นอกจากนี้ได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเข้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้นโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงให้กับผู้ผลิตชั้นนำรายใหญ่ของโลกหลายราย อาทิ UOP LLC และ PALL Corporation ตั้งแต่ปี 2538 -2539 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตดังกล่าวได้แก่ ผลิตภัณฑ์สารดูดความชื้น ดูดซับกลิ่นและสิ่งเจือปนผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบการกรองเป็นต้นรวมทั้งได้ขยายธุรกิจเข้าไปในอุตสาหกรรมน้ำมันโดยได้รับเป็นตัวแทนให้กับผู้ผลิตหลายรายในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น น้ำมันเครื่องขั้นพื้นฐานสารเติมแต่งน้ำมันเครื่องหล่อลื่นเครื่องยนต์ น้ำมันเบรกและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำมันชนิดต่างๆที่ใช้กับรถยนต์ เรือ เครื่องยนต์ทั่วไป--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 5 - 8 ส.ค. 2555--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, August 04, 2012
ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ ลงนามเอ็มโอยูขายก๊าซ CNG จากโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ในเขตจังหวัดสุโขทัย ให้กับปตท.จำนวน 1 หมื่นตันต่อปี เตรียมทยอยส่งมอบก๊าซ ตั้งแต่ปลายไตรมาสแรกปี 2556 เป็นต้นไป ส่งผลให้รายได้เพิ่มเฉลี่ย 300 ล้านบาทต่อปี
นายกิตติ ชีวะเกตุ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการบริษัทยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด(มหาชน)(บมจ.) (UAC)ผู้ประกอบธุรกิจนำเข้า และจำหน่ายสารเคมีที่ใช้ในอุตสาหกรรมน้ำมัน โรงกลั่น และปิโตรเคมี เปิดเผยว่า บริษัทได้มีการลงนามบันทึกข้อตกลง(เอ็มโอยู)ร่วมกับบมจ.ปตท. เพื่อซื้อขายก๊าซCNG (Com-pressed natural gas) ในโครงการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม ที่ จังหวัดสุโขทัย เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ขั้นตอนต่อไปหลังจากที่มีการเซ็นเอ็มโอยูระหว่างปตท.กับUAC คือ การเจรจาราคาซื้อขายก๊าซรวมถึงการกำหนดระยะเวลาในการซื้อขายก๊าซดังกล่าวซึ่งเบื้องต้นคาดว่าจะสรุปราคาซื้อขายได้เร็วๆนี้ โดยบริษัทจะจัดจำหน่ายก๊าซ ให้กับปตท.จำนวน1หมื่นตันต่อปีและจะเริ่มส่งมอบในเชิงพาณิชย์ได้ในปลายไตรมาสที่ 1/56 เป็นต้นไปซึ่งจะทำให้บริษัทมีรายได้จากโครงการดังกล่าวเฉลี่ย300 ล้านบาทต่อปี
นายกิตติกล่าวว่าโครงการดังกล่าวบริษัทได้ลงนามในสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับบริษัทต่างชาติซึ่งเป็นบริษัทที่ได้รับสัมปทานในการขุดเจาะน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ ในเขตจังหวัดสุโขทัยหลังจากนั้นบริษัทได้มีการศึกษาแผนทั้งหมดเริ่มออกแบบการก่อสร้างตั้งแต่เดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว และมีการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้างแบบเทิร์น-คีย์ และจะเริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนสิงหาคมนี้ โดยใช้งบประมาณก่อสร้าง เพื่อใช้ในโครงการทั้งหมดประมาณ 600 ล้านบาท ซึ่งจะมาจากแหล่งเงินกู้จากสถาบันการเงิน 400 ล้านบาท และจากกระแสเงินสด 200 ล้านบาท
พร้อมกันนี้ บริษัทมีเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในการขยายการลงทุนไปยังอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน และกิจการสาธารณูปโภคอย่างต่อเนื่องรวมถึงนโยบายการส่งเสริมของภาครัฐ ในการเสริมสร้างความมั่นคงด้านพลังงานจากความต้องการใช้พลังงานภายในประเทศที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในอนาคตโดยการกระจายแหล่งและประเภทพลังงานให้มีความหลากหลายเหมาะสมและยั่งยืนในระยะยาว
บมจ.ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์แอนด์ เคมิคัลส์ ดำเนินธุรกิจนำเข้าและจำหน่าย สารเคมี และอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น อุตสาหกรรมสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ โรงกลั่นน้ำมันปิโตรเคมี โรงงานผลิตน้ำมันหล่อลื่นโรงงานโพลิเมอร์และพลาสติก โรงงานอุตสาหกรรมเคมีภัณฑ์ โรงไฟฟ้าและระบบสาธารณูปโภค เป็นต้น
นอกจากนี้ได้ขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่อง และเข้าเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าได้เพิ่มขึ้นโดยเป็นตัวแทนจำหน่ายผลิตภัณฑ์ที่มีชื่อเสียงให้กับผู้ผลิตชั้นนำรายใหญ่ของโลกหลายราย อาทิ UOP LLC และ PALL Corporation ตั้งแต่ปี 2538 -2539 ต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน ซึ่งผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายให้แก่ผู้ผลิตดังกล่าวได้แก่ ผลิตภัณฑ์สารดูดความชื้น ดูดซับกลิ่นและสิ่งเจือปนผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับระบบการกรองเป็นต้นรวมทั้งได้ขยายธุรกิจเข้าไปในอุตสาหกรรมน้ำมันโดยได้รับเป็นตัวแทนให้กับผู้ผลิตหลายรายในการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ต่างๆเช่น น้ำมันเครื่องขั้นพื้นฐานสารเติมแต่งน้ำมันเครื่องหล่อลื่นเครื่องยนต์ น้ำมันเบรกและสารเคมีที่ใช้ในการผลิตน้ำมันชนิดต่างๆที่ใช้กับรถยนต์ เรือ เครื่องยนต์ทั่วไป--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ฉบับวันที่ 5 - 8 ส.ค. 2555--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 415
คอลัมน์ขี่พายุ : โลกพลังงานต่างแดน
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, August 07, 2012
หนึ่งเดือนกว่ามานี้ ผมวิ่งรอกเข้าออกประเทศแม่เป็นว่าเล่น
ต้นเดือนก.ค.ไปสเปน ช่วงกลางเดือนไปดูกิจการ “ทรายน้ำมัน” ของบริษัทปตท.สผ.ที่แคนาดา และกลับมาได้ไม่เท่าไหร่ ช่วงปลายเดือนก็เดินทางไปโอซาก้า-นาโกย่า
ไปดูกิจการ “โอซาก้า แก๊ส” และโรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้าที่นาโกย่า เป็นการเดินทางไปดูงานตามหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.รุ่นที่ 1)
เดินทางไปต่างประเทศบ่อย ก็ได้เห็นการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
น้ำมัน และแก๊ส นับวันเป็นของหายากขึ้นทุกที และมีวันจะหมดไปจากโลก
ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่ไม่มีทั้งน้ำมันและแก๊สเป็นของตนเองเลย จึงใช้พลังงานอย่างรู้ค่า และพยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาทดแทนสิ่งที่กำลังจะหมดไป
รถยนต์เสียบปลั๊กไฟฟ้า ก็เริ่มเห็นแล้วล่ะในญี่ปุ่น แต่ก็ยังถือว่าเป็นการพัฒนายุคเริ่มต้น ที่รถยนต์คันเล็กๆ แบบซิตี้คาร์ ยังต้องเสียบปลั๊กชาร์จไฟอยู่ถึง 90 นาที ถึงจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 49 กม.
จึงต้องใช้ระบบเครื่องยนต์แบบผสมเป็น “ไฮบริด คือ ใช้ทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน”
รถยนต์นั่งพรีอุสของโตโยต้า ดูจะเวิร์กที่สุดในการใช้งาน เห็นใช้กันเกลื่อนกลาดทั่วเกาะญี่ปุ่น และยังส่งออกไปขายทั่วโลกรวมทั้งไทยเรา
รถแท็กซี่อเมริกันคันโตๆ แต่ก่อน เดี๋ยวนี้หันกลับมาใช้พรีอุสทำแท็กซี่กันมากมายไปแล้ว ตามเมืองใหญ่ๆ ใช้กันหมดแหละ
แม้แต่ที่นิวยอร์ก แท็กซี่เหลืองคันโตก็หายออกไปเยอะจากท้องถนน แล้วก็เอาเพรีอุสนี่แหละมาทดแทน
ถ้าเป็นรถไม่ทนทานการใช้งาน และประหยัดน้ำมันได้จริง คงจะเอามาทำเป็นแท็กซี่ไม่ได้
ผมเคยนั่งรถแท็กซี่พรีอุสที่นิวยอร์ก เหลือบมองไปที่หน้าปัด เห็นเข็มไมล์ตีเป็นเลข 360,000 ไมล์ มันคือเกือบ 6 แสนกม.ยังรู้สึกทึ่งว่า วิ่งกันได้ขนาดนี้เชียวหรือ
ข้ออ่อนของรถไฮบริด คงมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้นแหละ คือต้องเปลี่ยน “กล่องแบตเตอรี่” เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ซึ่งตอนแรกๆ ก็อาจจะแพงเป็นหลายแสนบาท
แต่เดี๋ยวนี้ เทคโนโลยีพัฒนาไปเรื่อยๆ คงไม่เท่าไหร่แล้ว ถึงได้เห็นเจ้าแท็กซี่ที่นิวยอร์กใช้รถไฮบริดถึง 5 แสนกว่ากิโลฯ
ในโลกนี้ ดูค่ายรถยนต์โตโยต้าจะให้ความสำคัญที่สุดในการพัฒนาเทคโนโลยีให้ใช้พลังงานอย่างหลากหลายและประหยัดที่สุด
มาที่ “โอซาก้า แก๊ส”ยิ่งน่าทึ่ง ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีหรือก๊าซหุงต้มมาจากต่างประเทศล้วนๆ ปีละกว่า 8 ล้านตัน
แหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจาก 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ออสเตรเลีย โอมาน และกาตาร์
ระบบการส่งแก๊สไปยังผู้ใช้ เป็นการส่งผ่านระบบท่อเข้าสู่บ้านเรือน อาคารหมด ไม่ใช่ขนส่งทางรถแบบเป็นถังอย่างเรา ซึ่งระบบนี้ดูไปแล้วในระยะยาวประหยัดมาก
แต่เมืองไทยเรา ดูจะมาไกลไปแล้ว ที่จะมาจัดวางใหม่เป็นระบบส่งแก๊สทางท่อไปยังบ้านเรือนและอาคาร
แก๊สที่ส่งมาตามท่อ ยังมีการพัฒนาให้เป็นโรงไฟฟ้าขนาดย่อม เอาไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น แสงสว่าง ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องต้มน้ำ เครื่องทำความเย็นได้อีก ก็ยิ่งประหยัดกันเข้าไปใหญ่
โลกทั้งโลกกำลังตื่นตัวเรื่องการใช้พลังงานอย่างประหยัด และเสาะแสวงหา “พลังงานทดแทน”รูปแบบใหม่ๆ กันตลอดเวลา ซึ่งเมืองไทยเรา ยังคงไม่ตื่นตัวกันดีนัก
เคราะห์ดีนะเนี่ย ที่ปตท.หลุดพ้นฐานะรัฐวิสาหกิจเก่าคร่ำครึมาได้ ถึงเป็นหน่วยงานหลัก ที่ออกไปแสวงหาความมั่นคงด้านพลังงานในต่างแดนอย่างไม่หยุดยั้ง
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, August 07, 2012
หนึ่งเดือนกว่ามานี้ ผมวิ่งรอกเข้าออกประเทศแม่เป็นว่าเล่น
ต้นเดือนก.ค.ไปสเปน ช่วงกลางเดือนไปดูกิจการ “ทรายน้ำมัน” ของบริษัทปตท.สผ.ที่แคนาดา และกลับมาได้ไม่เท่าไหร่ ช่วงปลายเดือนก็เดินทางไปโอซาก้า-นาโกย่า
ไปดูกิจการ “โอซาก้า แก๊ส” และโรงงานผลิตรถยนต์โตโยต้าที่นาโกย่า เป็นการเดินทางไปดูงานตามหลักสูตรผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน (วพน.รุ่นที่ 1)
เดินทางไปต่างประเทศบ่อย ก็ได้เห็นการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ
น้ำมัน และแก๊ส นับวันเป็นของหายากขึ้นทุกที และมีวันจะหมดไปจากโลก
ญี่ปุ่นเป็นชาติหนึ่งที่ไม่มีทั้งน้ำมันและแก๊สเป็นของตนเองเลย จึงใช้พลังงานอย่างรู้ค่า และพยายามคิดค้นเทคโนโลยีใหม่ๆ มาทดแทนสิ่งที่กำลังจะหมดไป
รถยนต์เสียบปลั๊กไฟฟ้า ก็เริ่มเห็นแล้วล่ะในญี่ปุ่น แต่ก็ยังถือว่าเป็นการพัฒนายุคเริ่มต้น ที่รถยนต์คันเล็กๆ แบบซิตี้คาร์ ยังต้องเสียบปลั๊กชาร์จไฟอยู่ถึง 90 นาที ถึงจะวิ่งได้ระยะทางประมาณ 49 กม.
จึงต้องใช้ระบบเครื่องยนต์แบบผสมเป็น “ไฮบริด คือ ใช้ทั้งไฟฟ้าและน้ำมัน”
รถยนต์นั่งพรีอุสของโตโยต้า ดูจะเวิร์กที่สุดในการใช้งาน เห็นใช้กันเกลื่อนกลาดทั่วเกาะญี่ปุ่น และยังส่งออกไปขายทั่วโลกรวมทั้งไทยเรา
รถแท็กซี่อเมริกันคันโตๆ แต่ก่อน เดี๋ยวนี้หันกลับมาใช้พรีอุสทำแท็กซี่กันมากมายไปแล้ว ตามเมืองใหญ่ๆ ใช้กันหมดแหละ
แม้แต่ที่นิวยอร์ก แท็กซี่เหลืองคันโตก็หายออกไปเยอะจากท้องถนน แล้วก็เอาเพรีอุสนี่แหละมาทดแทน
ถ้าเป็นรถไม่ทนทานการใช้งาน และประหยัดน้ำมันได้จริง คงจะเอามาทำเป็นแท็กซี่ไม่ได้
ผมเคยนั่งรถแท็กซี่พรีอุสที่นิวยอร์ก เหลือบมองไปที่หน้าปัด เห็นเข็มไมล์ตีเป็นเลข 360,000 ไมล์ มันคือเกือบ 6 แสนกม.ยังรู้สึกทึ่งว่า วิ่งกันได้ขนาดนี้เชียวหรือ
ข้ออ่อนของรถไฮบริด คงมีอยู่อย่างเดียวเท่านั้นแหละ คือต้องเปลี่ยน “กล่องแบตเตอรี่” เมื่อใช้งานไปได้ระยะหนึ่ง ซึ่งตอนแรกๆ ก็อาจจะแพงเป็นหลายแสนบาท
แต่เดี๋ยวนี้ เทคโนโลยีพัฒนาไปเรื่อยๆ คงไม่เท่าไหร่แล้ว ถึงได้เห็นเจ้าแท็กซี่ที่นิวยอร์กใช้รถไฮบริดถึง 5 แสนกว่ากิโลฯ
ในโลกนี้ ดูค่ายรถยนต์โตโยต้าจะให้ความสำคัญที่สุดในการพัฒนาเทคโนโลยีให้ใช้พลังงานอย่างหลากหลายและประหยัดที่สุด
มาที่ “โอซาก้า แก๊ส”ยิ่งน่าทึ่ง ต้องนำเข้าแอลเอ็นจีหรือก๊าซหุงต้มมาจากต่างประเทศล้วนๆ ปีละกว่า 8 ล้านตัน
แหล่งนำเข้าส่วนใหญ่มาจาก 6 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน ออสเตรเลีย โอมาน และกาตาร์
ระบบการส่งแก๊สไปยังผู้ใช้ เป็นการส่งผ่านระบบท่อเข้าสู่บ้านเรือน อาคารหมด ไม่ใช่ขนส่งทางรถแบบเป็นถังอย่างเรา ซึ่งระบบนี้ดูไปแล้วในระยะยาวประหยัดมาก
แต่เมืองไทยเรา ดูจะมาไกลไปแล้ว ที่จะมาจัดวางใหม่เป็นระบบส่งแก๊สทางท่อไปยังบ้านเรือนและอาคาร
แก๊สที่ส่งมาตามท่อ ยังมีการพัฒนาให้เป็นโรงไฟฟ้าขนาดย่อม เอาไปใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ เช่น แสงสว่าง ทีวี ตู้เย็น เครื่องซักผ้า เครื่องต้มน้ำ เครื่องทำความเย็นได้อีก ก็ยิ่งประหยัดกันเข้าไปใหญ่
โลกทั้งโลกกำลังตื่นตัวเรื่องการใช้พลังงานอย่างประหยัด และเสาะแสวงหา “พลังงานทดแทน”รูปแบบใหม่ๆ กันตลอดเวลา ซึ่งเมืองไทยเรา ยังคงไม่ตื่นตัวกันดีนัก
เคราะห์ดีนะเนี่ย ที่ปตท.หลุดพ้นฐานะรัฐวิสาหกิจเก่าคร่ำครึมาได้ ถึงเป็นหน่วยงานหลัก ที่ออกไปแสวงหาความมั่นคงด้านพลังงานในต่างแดนอย่างไม่หยุดยั้ง
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 416
'อารักษ์'ยันนายกฯให้อำนาจบริหารเต็มที่นโยบายพลังงาน [ มติชน, 7 ส.ค. 55 ]
แหล่งข่าวจากทีมงานนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิด
เผยถึงกรณีมีกระแสข่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตั้งนายพันศักดิ์ วิญญูรัตน์ ที่
ปรึกษานายกรัฐมนตรี และนาย สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้คุมนโยบาย
ด้านพลังงานว่า ไม่เป็นความจริง นายกรัฐมนตรียังให้อำนาจแก่นายอารักษ์บริหารนโยบาย
พลังงานอย่างเต็มที่ ส่วนของการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
ยังเป็นรูปแบบเดิม คือ กระทรวงพลังงานจะจัดทำวาระเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาก่อนทุก
ครั้ง จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ให้ความเห็นและกำหนดวาระด้วยตนเองพร้อมกับเรียก
ประชุม กพช.
แหล่งข่าวจากทีมงานนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิด
เผยถึงกรณีมีกระแสข่าว น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ตั้งนายพันศักดิ์ วิญญูรัตน์ ที่
ปรึกษานายกรัฐมนตรี และนาย สุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี เป็นผู้คุมนโยบาย
ด้านพลังงานว่า ไม่เป็นความจริง นายกรัฐมนตรียังให้อำนาจแก่นายอารักษ์บริหารนโยบาย
พลังงานอย่างเต็มที่ ส่วนของการประชุมคณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.)
ยังเป็นรูปแบบเดิม คือ กระทรวงพลังงานจะจัดทำวาระเสนอให้นายกรัฐมนตรีพิจารณาก่อนทุก
ครั้ง จากนั้นนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้ให้ความเห็นและกำหนดวาระด้วยตนเองพร้อมกับเรียก
ประชุม กพช.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 417
“ปตท. เตรียมเดินหน้าขยายคลังก๊าซเขาบ่อยา รองรับการนำเข้าแอลพีจี” [ ทันหุ้น, 07 สิงหาคม 2555 ]
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)เปิดเผยว่า ปตท. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท ฟอสเตอร์ วีลเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมการขยายความสามารถในการรับจ่ายแอลพีจี ระยะที่1 เพื่อการขยายระบบคลังและท่าเรือนำเข้าที่คลังก๊าซเขาบ่อยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นท่าเรือสำหรับรับเรือนำเข้าแอลพีจีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ให้มีกำลังนำเข้าก๊าซสูงสุด 250,000 ตัน/เดือน จากเดิม 132,000 ตัน/เดือน และ ปตท. จะดำเนินการขยายระบบคลังจ่ายก๊าซบ้านโรงโป๊ะ และ คลังก๊าซภูมิภาคให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการแอลพีจีของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี2558 การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่เห็นชอบให้ ปตท. เพิ่มขีดความสามารถกักเก็บและกระจายก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี (LPG Facility)เพื่อรองรับปริมาณการใช้แอลพีจีที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนการดำเนินงานในระยะที่2 จะเป็นการก่อสร้างคลังและท่าเรือนำเข้าแห่งใหม่ ด้วยกำลังนำเข้าก๊าซสูงสุด250,000 ตัน/เดือน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 ทำให้มีกำลังการนำเข้าสูงสุดรวมกว่า500,000 ตัน/เดือน
อย่างไรก็ตาม นายณัฐชาติ กล่าวว่า แม้ว่าการดำเนินงานครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ แต่สิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องตระหนักคือ การรู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกวันนี้รัฐยังคงนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนราคาแอลพีจี ภาคครัวเรือนและขนส่ง โดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใช้เงินในการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันไปแล้วประมาณ 95,000 ล้านบาท จนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบอยู่กว่า 23,000 ล้านบาท และรัฐต้องกู้เงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีก เพื่อมาใช้ในการชดเชยราคาพลังงาน ดังนั้นการยอมรับราคาที่เป็นจริง จะทำให้คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการดูแลเรื่องการใช้พลังงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมทั่วกันทั้งประเทศ
ปล.
ข้อมูลที่ผมหามาเพิ่มเติมจากข่าวนี้ครับ
1) Welcome to Foster Wheeler
ที่ http://www.fwc.com/
2) Foster Wheeler AG Fact Sheet
ที่ http://www.fwc.com/corpgov/pdf/factshee ... 2final.pdf
นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.)เปิดเผยว่า ปตท. ได้ลงนามในสัญญาว่าจ้างบริษัท ฟอสเตอร์ วีลเลอร์ (ประเทศไทย) จำกัด เป็นที่ปรึกษาด้านวิศวกรรมการขยายความสามารถในการรับจ่ายแอลพีจี ระยะที่1 เพื่อการขยายระบบคลังและท่าเรือนำเข้าที่คลังก๊าซเขาบ่อยา จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นท่าเรือสำหรับรับเรือนำเข้าแอลพีจีขนาดใหญ่ที่สุดของประเทศ ให้มีกำลังนำเข้าก๊าซสูงสุด 250,000 ตัน/เดือน จากเดิม 132,000 ตัน/เดือน และ ปตท. จะดำเนินการขยายระบบคลังจ่ายก๊าซบ้านโรงโป๊ะ และ คลังก๊าซภูมิภาคให้มีความสามารถเพิ่มขึ้นให้เพียงพอกับความต้องการแอลพีจีของประเทศ ซึ่งคาดว่าจะก่อสร้างแล้วเสร็จในปี2558 การดำเนินงานดังกล่าวเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ที่เห็นชอบให้ ปตท. เพิ่มขีดความสามารถกักเก็บและกระจายก๊าซหุงต้มหรือแอลพีจี (LPG Facility)เพื่อรองรับปริมาณการใช้แอลพีจีที่เพิ่มขึ้นในอนาคต ส่วนการดำเนินงานในระยะที่2 จะเป็นการก่อสร้างคลังและท่าเรือนำเข้าแห่งใหม่ ด้วยกำลังนำเข้าก๊าซสูงสุด250,000 ตัน/เดือน ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2561 ทำให้มีกำลังการนำเข้าสูงสุดรวมกว่า500,000 ตัน/เดือน
อย่างไรก็ตาม นายณัฐชาติ กล่าวว่า แม้ว่าการดำเนินงานครั้งนี้จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการพลังงานให้เพียงพอกับความต้องการของประเทศ แต่สิ่งที่คนไทยทุกคนจะต้องตระหนักคือ การรู้จักใช้พลังงานอย่างประหยัดและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด เพราะเป็นที่ทราบกันดีว่าทุกวันนี้รัฐยังคงนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาอุดหนุนราคาแอลพีจี ภาคครัวเรือนและขนส่ง โดยกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงใช้เงินในการอุดหนุนราคาก๊าซแอลพีจี ตั้งแต่ปี 2551 ถึงปัจจุบันไปแล้วประมาณ 95,000 ล้านบาท จนกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงติดลบอยู่กว่า 23,000 ล้านบาท และรัฐต้องกู้เงินของกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นอีก เพื่อมาใช้ในการชดเชยราคาพลังงาน ดังนั้นการยอมรับราคาที่เป็นจริง จะทำให้คนไทยทุกคนมีสิทธิ์ได้รับการดูแลเรื่องการใช้พลังงานอย่างเท่าเทียมและเป็นธรรมทั่วกันทั้งประเทศ
ปล.
ข้อมูลที่ผมหามาเพิ่มเติมจากข่าวนี้ครับ
1) Welcome to Foster Wheeler
ที่ http://www.fwc.com/
2) Foster Wheeler AG Fact Sheet
ที่ http://www.fwc.com/corpgov/pdf/factshee ... 2final.pdf
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 418
สภาที่ปรึกษาศสค.ห่วงพลังงานทดแทน'หลุดเป้า''ปู'สั่งพลังงานดูแลน้ำมันขึ้นราคา'สวนโลก'ด่วน
Source - พิมพ์ไทย (Th), Wednesday, August 08, 2012
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "พลังงานทดแทนกรณีน้ำมันจากพืชและก๊าซชีวภาพ" โดยหลายฝ่ายเป็นห่วงว่า เป้าหมายการส่งเสริมตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งจะสิ้นสุดปี 2564 มีการใช้เอทานอล 9 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 5.97 ล้านลิตรต่อวัน อาจจะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จากปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตเอทานอล 3 ล้านลิตรต่อวัน แต่ผลิตและใช้จริงเพียง 1-3 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
นายอำนวย ทองสถิต หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ทางกระทรวงพลังงานเร่งทำแผนส่งเสริมเอทานอล โดยเร็ว ๆ นี้จะมีแผนเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และมาตรการเสริมในการใช้อี 20 อย่างจริงจังจากปัจจุบันมีรถยนต์ใช้อี 20 จำนวน 1.2 ล้านคัน แต่ใช้น้ำมันอี 20 เพียง700,000 ลิตรต่อวันเท่านั้น ทั้งที่หากใช้ทั้งหมดจะใช้น้ำมันอี 20 ถึง 36 ล้านลิตรต่อวัน เหตุผลคงเนื่องมาจากสถานีบริการมีเพียง 900 แห่ง เป็นเพียงของบมจ.ปตท.และบางจากฯ เท่านั้น โดยสิ้นปีนี้ทั้ง 2 รายจะขยายเป็น 1,200 แห่งและเป็น 1,600 แห่งในปี 2556 ขณะนี้กระทรวงพลังงงานกำลังหารือผู้ค้ารายอื่นให้เข้ามาจำหนาย อี 20 มากขึ้น ซึ่งข้อเสนอหลัก คือ อี 20 คงจะต้องมีราคาน้ำมันต่ำกว่าอี 10 อย่างน้อย 3 บาทต่อลิตร ขณะเดียวกันทางกระทรวงพลังงานจะส่งเสริมให้มอเตอร์ไซค์ใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นและเดินหน้าตามแผนยกเลิกเบนซิน 91 ภายในเดือนมกราคม 2556 รวมทั้งส่งเสริมอี 85 มากขึ้น
นายอำนวย กล่าวว่า การยกเลิกเบนซิน 91 ขณะนี้ได้มีประชาชนฟ้องร้องกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้คุ้มครองไม่ให้มีการยกเลิกการขายเบนซิน 91 เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มรถยนต์จะได้รับผลกระทบ ปัจจุบันมีรถยนต์ไม่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ ประมาณ 500,000 คัน และยังมีมอเตอร์ไซค์อีก 500,000 คันรวมทั้งรถยนต์เพื่อการเกษตรอีกจำนวนหนึ่ง ทางกระทรวงพลังงานกำลังศึกษาเรื่องการเยียวยา หากมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 91 อย่างไรก็ตาม หากประชาชนกลุ่มนี้มีทางเลือก ไม่ยกเลิกเบนซิน 95 ก็จะมีผลกระทบคือ รายจ่ายเพิ่มสูงขึ้นจากเบนซิน 95 ที่มีต้นทุนสูงกว่า
นายวิเชียร อุษณาโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บางจากฯ สนับสนุนพลังงานทดแทนเต็มที่ แต่ก็ห่วงว่าเป้าหมายกระทรวงพลังงานจะดำเนินการได้ยาก ขณะเดียวกันภายหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือจะมีกลุ่มผู้ลงทุนไปส่งเสริมเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้านปลูกพืชพลังงาน เช่นอ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมันมากยิ่งขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยโดยทางรัฐบาลจะต้องเร่งเสริมสร้างผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น เพราะขณะนี้ยังถือว่าต่ำมาก นอกจากนี้ เป้าหมายของรัฐบาลที่จะมีการใช้เอทานอบ 9 ล้านลิตรในอนาคตน่าเป็นห่วงว่าในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันจะได้รับผลกระทบ เพราะเอทานอลจะมาทดแทนน้ำมันที่กลั่นออกมา ซึ่งคงจะต้องพิจารณาให้สมดุลว่าจะไม่เกิดผลกระทบอย่างไร.
อนึ่ง ในการประชุมคณะรัฐมนตรีบ่ายวันวานนี้( 7 สค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงว่า จะมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไปดูแลความเดือดร้อนของประชาชนให้ครอบคลุม ถึงปัญหาค่าครองชีพของประชาชนที่ปรับตัวสูงขึ้นตัวโดยด่วน
--จบ--
Source - พิมพ์ไทย (Th), Wednesday, August 08, 2012
สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ จัดสัมมนาระดมความคิดเห็นเรื่อง "พลังงานทดแทนกรณีน้ำมันจากพืชและก๊าซชีวภาพ" โดยหลายฝ่ายเป็นห่วงว่า เป้าหมายการส่งเสริมตามแผนพัฒนาพลังงานทดแทน ซึ่งจะสิ้นสุดปี 2564 มีการใช้เอทานอล 9 ล้านลิตรต่อวัน ไบโอดีเซล 5.97 ล้านลิตรต่อวัน อาจจะเป็นเรื่องที่ยากลำบาก จากปัจจุบันประเทศไทยมีกำลังการผลิตเอทานอล 3 ล้านลิตรต่อวัน แต่ผลิตและใช้จริงเพียง 1-3 ล้านลิตรต่อวันเท่านั้น
นายอำนวย ทองสถิต หัวหน้าผู้ตรวจราชการกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ทางกระทรวงพลังงานเร่งทำแผนส่งเสริมเอทานอล โดยเร็ว ๆ นี้จะมีแผนเกี่ยวกับการประชาสัมพันธ์และมาตรการเสริมในการใช้อี 20 อย่างจริงจังจากปัจจุบันมีรถยนต์ใช้อี 20 จำนวน 1.2 ล้านคัน แต่ใช้น้ำมันอี 20 เพียง700,000 ลิตรต่อวันเท่านั้น ทั้งที่หากใช้ทั้งหมดจะใช้น้ำมันอี 20 ถึง 36 ล้านลิตรต่อวัน เหตุผลคงเนื่องมาจากสถานีบริการมีเพียง 900 แห่ง เป็นเพียงของบมจ.ปตท.และบางจากฯ เท่านั้น โดยสิ้นปีนี้ทั้ง 2 รายจะขยายเป็น 1,200 แห่งและเป็น 1,600 แห่งในปี 2556 ขณะนี้กระทรวงพลังงงานกำลังหารือผู้ค้ารายอื่นให้เข้ามาจำหนาย อี 20 มากขึ้น ซึ่งข้อเสนอหลัก คือ อี 20 คงจะต้องมีราคาน้ำมันต่ำกว่าอี 10 อย่างน้อย 3 บาทต่อลิตร ขณะเดียวกันทางกระทรวงพลังงานจะส่งเสริมให้มอเตอร์ไซค์ใช้แก๊สโซฮอล์เพิ่มขึ้นและเดินหน้าตามแผนยกเลิกเบนซิน 91 ภายในเดือนมกราคม 2556 รวมทั้งส่งเสริมอี 85 มากขึ้น
นายอำนวย กล่าวว่า การยกเลิกเบนซิน 91 ขณะนี้ได้มีประชาชนฟ้องร้องกระทรวงพลังงาน เพื่อขอให้คุ้มครองไม่ให้มีการยกเลิกการขายเบนซิน 91 เนื่องจากเห็นว่ากลุ่มรถยนต์จะได้รับผลกระทบ ปัจจุบันมีรถยนต์ไม่สามารถใช้แก๊สโซฮอล์ ประมาณ 500,000 คัน และยังมีมอเตอร์ไซค์อีก 500,000 คันรวมทั้งรถยนต์เพื่อการเกษตรอีกจำนวนหนึ่ง ทางกระทรวงพลังงานกำลังศึกษาเรื่องการเยียวยา หากมีการยกเลิกการจำหน่ายเบนซิน 91 อย่างไรก็ตาม หากประชาชนกลุ่มนี้มีทางเลือก ไม่ยกเลิกเบนซิน 95 ก็จะมีผลกระทบคือ รายจ่ายเพิ่มสูงขึ้นจากเบนซิน 95 ที่มีต้นทุนสูงกว่า
นายวิเชียร อุษณาโชติ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บางจากฯ สนับสนุนพลังงานทดแทนเต็มที่ แต่ก็ห่วงว่าเป้าหมายกระทรวงพลังงานจะดำเนินการได้ยาก ขณะเดียวกันภายหลังเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ปี 2558 สิ่งที่น่าเป็นห่วง คือจะมีกลุ่มผู้ลงทุนไปส่งเสริมเกษตรกรในประเทศเพื่อนบ้านปลูกพืชพลังงาน เช่นอ้อย มันสำปะหลัง ปาล์มน้ำมันมากยิ่งขึ้น ก็จะส่งผลกระทบต่อเกษตรกรไทยโดยทางรัฐบาลจะต้องเร่งเสริมสร้างผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น เพราะขณะนี้ยังถือว่าต่ำมาก นอกจากนี้ เป้าหมายของรัฐบาลที่จะมีการใช้เอทานอบ 9 ล้านลิตรในอนาคตน่าเป็นห่วงว่าในส่วนของโรงกลั่นน้ำมันจะได้รับผลกระทบ เพราะเอทานอลจะมาทดแทนน้ำมันที่กลั่นออกมา ซึ่งคงจะต้องพิจารณาให้สมดุลว่าจะไม่เกิดผลกระทบอย่างไร.
อนึ่ง ในการประชุมคณะรัฐมนตรีบ่ายวันวานนี้( 7 สค.) น.ส.ยิ่งลักษณ์ชินวัตร นายกรัฐมนตรี กล่าวถึงราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับตัวสูงขึ้น สวนทางกับราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวลดลงว่า จะมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไปดูแลความเดือดร้อนของประชาชนให้ครอบคลุม ถึงปัญหาค่าครองชีพของประชาชนที่ปรับตัวสูงขึ้นตัวโดยด่วน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 419
ภาพข่าว: ร่วมลงนาม
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, August 09, 2012
วิชา จุ้ยชุม กก.ผจก.บ.พีทีทีแทงค์ เทอร์มินัล ในกลุ่ม ปตท. และ ประพันธ์ พิริยสถิต ผจก.โครงการ บ.ไทยโรตารี่ เอ็นจิเนียริ่ง ร่วมพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพท่าเทียบเรือที่ 2 ที่ สนง.บ.พีทีทีแทงค์ฯ ระยอง
--จบ--
Source - เดลินิวส์ (Th), Thursday, August 09, 2012
วิชา จุ้ยชุม กก.ผจก.บ.พีทีทีแทงค์ เทอร์มินัล ในกลุ่ม ปตท. และ ประพันธ์ พิริยสถิต ผจก.โครงการ บ.ไทยโรตารี่ เอ็นจิเนียริ่ง ร่วมพิธีลงนามสัญญาการก่อสร้างโครงการพัฒนาเพิ่มประสิทธิภาพท่าเทียบเรือที่ 2 ที่ สนง.บ.พีทีทีแทงค์ฯ ระยอง
--จบ--
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 420
IRPC เลื่อนแผนซ่อมบำรุงหน่วยปรับปรุงคุณภาพ หลังไฟไม้โรงกลั่น BCP
วันพุธที่ 08 สิงหาคม 2555 เวลา 16:30:31 น.
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่าบริษัทจะหยุดซ่อมบำรุงหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน Deep Catalytic Cracking (DCC) ในช่วงปลายเดือน ก.ย.ถึงต้นเดือนต.ค. ซึ่งล่าช้าจากแผนเดิม หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมัน ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP เมื่อต้นเดือนก.ค. ทั้งนี้คาดว่าการหยุดซ่อมบำรุงหน่วย DCC ดังกล่าว จะใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน
ขณะที่กระทรวงพลังงาน ได้ขอความร่วมมือไปยังบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) TOP และ IRPC โดยขอให้ชะลอแผนการซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันออกไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อปริมาณน้ำมันที่จะใช้ภายในประเทศ
ที่มา :
- "เนื้อข่าว" จาก นสพ.ข่าวหุ้น
- "ภาพข่าว" จาก นสพ.ทันหุ้น
วันพุธที่ 08 สิงหาคม 2555 เวลา 16:30:31 น.
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) หรือ IRPC เปิดเผยว่าบริษัทจะหยุดซ่อมบำรุงหน่วยปรับปรุงคุณภาพน้ำมัน Deep Catalytic Cracking (DCC) ในช่วงปลายเดือน ก.ย.ถึงต้นเดือนต.ค. ซึ่งล่าช้าจากแผนเดิม หลังเกิดเหตุเพลิงไหม้โรงกลั่นน้ำมัน ของบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP เมื่อต้นเดือนก.ค. ทั้งนี้คาดว่าการหยุดซ่อมบำรุงหน่วย DCC ดังกล่าว จะใช้เวลาประมาณ 10-15 วัน
ขณะที่กระทรวงพลังงาน ได้ขอความร่วมมือไปยังบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) TOP และ IRPC โดยขอให้ชะลอแผนการซ่อมบำรุงโรงกลั่นน้ำมันออกไป เพื่อไม่ให้กระทบต่อปริมาณน้ำมันที่จะใช้ภายในประเทศ
ที่มา :
- "เนื้อข่าว" จาก นสพ.ข่าวหุ้น
- "ภาพข่าว" จาก นสพ.ทันหุ้น
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."