หน้า 13 จากทั้งหมด 14
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 09, 2010 2:30 pm
โดย picklife
miracle เขียน:
ยังไม่เข้าแต่ ต้องดูกันต่อไปว่า
เมื่อแปลงร่างเป็นบริษัทมหาชนแล้ว
kbank จะเอาเข้าหรือเปล่าเพราะพี่ๆ คือ SCB และ BBL เอาเข้าแล้วประสบความสำเร็จ
ยิ้มจนแก้มปลิ
เมืองไทยประกันชีวิต เป็นบริษัทลูกของKBANKหรือครับ
หรือว่าแค่มีผู้หุ้นใหญ่เป็นKBANK
หรือเป็นแค่พันธมิตรกันเฉยๆ
แล้วงี๊เมืองไทยประกันชีวิต จะมีระบบแบ็งอินชัวรันไหมครับ????
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พุธ ก.พ. 10, 2010 11:38 pm
โดย pornchal
MTL เป็นบริษัทลูกของ Kbank น่าจะสรุปแบบนี้ได้
ทำ Bancassurance อยู่ น่าจะได้เป็น เบอร์ 3 หรือ อาจจะเป็นเบอร์สอง ได้เหมือนกันนะ ในเวลาอันใกล้นี้ ตามการพยากรณ์ ของผมนะ เท่าที่ศึกษาดู
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 16, 2010 9:32 pm
โดย miracle
ยูนิตลิงค์เมื่อ ประกัน กับ กองทุน มารวมกัน
13 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 09:42 น.
มันจะดีแค่ไหน ถ้าการลงทุนที่มีความเสี่ยงถูกจับมาเข้าคู่กันกับการทำประกัน
โดย...สวลี ตันกุลรัตน์
[email protected]
เพราะความเสี่ยงเป็นเหมือนเงาคอยตามติดการลงทุนในทุกๆ รูปแบบ แต่ยิ่งเสี่ยงมากก็ยิ่งมีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนมากด้วยเช่นกัน ขณะที่การทำประกันเป็นการป้องกันความเสี่ยงที่ดีที่สุดอีกแบบหนึ่ง และมันจะดีแค่ไหน ถ้าการลงทุนที่มีความเสี่ยงถูกจับมาเข้าคู่กันกับการทำประกัน คงเป็นเพราะเหตุนี้ที่ทำให้เกิดเครื่องทางการเงินที่ชื่อว่า กรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุน หรือ ยูนิตลิงค์ ที่ทำให้การทำประกันชีวิตและการลงทุนมีสีสันมากขึ้น
ยูนิตลิงค์: จาก 2 เป็น 1
อาจจะไม่จำเป็นพยายามคำอธิบายว่า ยูนิตลิงค์ คืออะไร เพราะชื่อมันออกจะโจ่งแจ้งอยู่แล้วว่ามันคือ กรมธรรม์ประกันชีวิตควบหน่วยลงทุน (Unit-linked Life Insurance Policy: ULIP) ที่มีทั้ง กรมธรรม์ประกันชีวิต และ หน่วยลงทุนของกองทุนรวม อยู่ด้วยกัน
โดย เบี้ยประกัน ที่เราจ่ายไปจะถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ส่วนแรก ซึ่งเป็นเงินส่วนน้อย จะนำไปซื้อความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต และอีกส่วนหนึ่งจะนำไปลงทุนในกองทุนรวม ที่เราเลือกไว้
เพราะฉะนั้น ยูนิตลิงค์ จึงมีลักษณะที่สำคัญ 2 ประการ คือ การคุ้มครองชีวิต ตามแบบของประกันชีวิต และ มีโอกาสได้ผลตอบแทนที่ดีขึ้นจากการลงทุนในกองทุนรวม
ใช่แล้ว คุ้มครองชีวิต เพราะนี่ คือ ประกันชีวิตไม่ใช่การรับประกันผลตอบแทน เพราะฉะนั้นยูนิตลิงค์จะรับประกันว่า ถ้าเราเกิดบังเอิญตายไปก่อนครบระยะเวลาเอาประกัน คนข้างหลังจะได้รับเงินตามที่เราตั้งใจไว้ (เป็นอย่างน้อย) จากบริษัทประกันตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้
แต่ถ้าโชคดีมีชีวิต เราก็มีโอกาสได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในกองทุนรวมตามแบบที่เราเลือก ซึ่งแน่นอนว่า มีโอกาสที่ดีกว่าผลตอบแทนที่เคยได้จากประกันแบบสะสมทรัพย์
เพราะฉะนั้นถ้าคุณชอบทำประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ที่นายหน้าขายประกันมักโฆษณาว่าเป็นการออมเงินที่ให้ดอกเบี้ยดีกว่าเงินฝากล่ะก็ คุณอาจจะหลงรัก ยูนิตลิงค์ เพราะมีโอกาสได้รับผลตอบแทนที่ดีกว่า ถ้ายอมรับความเสี่ยงได้สูงขึ้น
ถ้าเป็นประกันชีวิตทั่วๆ ไป ลูกค้าจะไม่รู้เลยว่า บริษัทประกันนำเงินไปทำอะไร ไปลงทุนอะไร แต่ถ้าเป็นยูนิตลิงค์จะโปร่งใส เพราะลูกค้าเป็นคนเลือกเองว่า จะนำเงินไปลงทุนอะไร นริศ อจละนันท์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายการตลาดตัวแทน บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต กล่าว
นอกจากนี้ สิ่งที่ทำให้ ยูนิตลิงค์ ก้าวออกมานำหน้าประกันชีวิต หรือ ประกันแบบสะสมทรัพย์ก้าวใหญ่ๆ หนึ่งก้าว คือ ความยืดหยุ่น เพราะยูนิตลิงค์สามารถขยับปรับเปลี่ยนให้เหมาะกับแต่ละคน และแต่ละช่วงเวลาได้ในกรมธรรม์เดียว
O จ่ายเบี้ยประกันเท่ากัน แต่สามารถเลือกความคุ้มครองแตกต่างกันได้
ด้วยเงินก้อนเดียวกัน ถ้าคนหนึ่งเลือกทุนประกัน (ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิต) เพียงแค่ 1 แสนบาท เบี้ยประกันชีวิตก็จะอยู่แค่ 1,000 บาท ส่วนที่เหลือจะเป็นเงินลงทุน แต่ถ้าอีกคนหนึ่งเลือกทุนประกัน 1 ล้านบาท เบี้ยประกันจะอยู่ที่ 1 หมื่นบาท เท่ากับว่าเงินที่จะเหลือไปลงทุนก็ลดลงตามไปด้วย นริศ กล่าว
O ปรับเปลี่ยนจำนวนเงินเอาประกันและนโยบายการลงทุนตามความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลา
เมื่อเวลาผ่านไป หลายสิ่งหลายอย่างในชีวิตเปลี่ยนไป จากเคยเป็นคนโสดก็อาจจะแต่งงาน มีครอบครัว มีลูก มีภาระรับผิดชอบสูงขึ้น ทำให้ต้องการคุ้มครองกรณีเสียชีวิตมากขึ้น หรือไม่ว่าอะไรจะเปลี่ยนไปเราสามารถปรับเปลี่ยนจำนวนเงินเอาประกันให้เหมาะสม จะเพิ่มหรือลดเงินลงทุนก็ได้ โดยไม่ต้องทำกรมธรรม์อันใหม่ รวมทั้งการปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุนตามสถานการณ์หรือช่วงวัยที่เปลี่ยนไป เพราะจากเคยอยู่ในวัยทำงานอาจจะเข้าสู่วัยเกษียณ ทำให้ต้องมาขยับปรับเปลี่ยนสัดส่วนการลงทุนกันใหม่ไม่ต้องห่วง เพราะบริษัทประกันและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) จะมีบริการให้คำแนะนำด้านการลงทุนและจัดสรรการลงทุนที่เหมาะสมกับแต่ละคนและแต่ะช่วงเวลาอยู่แล้วแล้วจะไปมัวรอรับผลตอบแทนจากการลงทุนปีละ 3-4% ไปทำไม ในเมื่อคุณมีโอกาสเลือกได้มากกว่า
ประกัน-กองทุน-ยูนิตลิงค์
แม้ว่า ประกันชีวิต และ กองทุนรวม จะเป็นต้นกำเนิดของ ยูนิตลิงค์ แต่หากนำทั้งสามอย่างมาเปรียบเทียบกัน จะพบความแตกต่าง ซึ่งเป็นทั้งข้อดีและข้อด้อยจากการลงทุนทั้งสามแบบนี้ ไม่ว่าจะเป็น
O ความคุ้มครองชีวิต แค่ยกแรกกองทุนรวมก็แพ้ให้ทั้งการประกันชีวิตและยูนิตลิงค์แบบราบคาบ เพราะกองทุนรวมไม่มีประกันกรณีเสียชีวิต แต่ต้องไม่ลืมว่า เงินลงทุนในกองทุนรวมไม่ได้ตายไปพร้อมเจ้าของเงิน
O นโยบายการลงทุน มาถึงยกสอง ประกันชีวิตโดนซัดจนน่วม ไม่ใช่เพราะบริษัทประกันลงทุนมีนโยบายการลงทุนไม่ดี แต่เป็นเพราะเราไม่รู้และเลือกไม่ได้ต่างหาก แต่ถ้าเป็นกองทุนรวมและยูนิตลิงค์สามารถลงทุนได้หลากหลาย ตั้งแต่ความเสี่ยงต่ำไปจนถึงเสี่ยงสูง และสามารถสับเปลี่ยนไปมาได้
O ผลตอบแทน อีกครั้งที่ประกันชีวิตสู้ไม่ได้ เพราะผลตอบแทนจากการทำประกันชีวิตช่างน้อยนิด ปีละประมาณ 3-4% จากการลงทุนของบริษัทประกันที่ต้องเน้นความปลอดภัยเป็นหลัก ขณะที่กองทุนรวมและยูนิตลิงค์ที่เลือกลงทุนในกองทุนที่มีความเสี่ยงสูงขึ้นจะมีโอกาสได้รับผตอบแทนมากขึ้น
O เงินลงทุนเริ่มต้น ยกนี้ไม่ใช่ของยูนิตลิงค์ เพราะในปัจจุบันการลงทุนในยูนิตลิงค์ใช้เงินลงทุนเริ่มต้นค่อนข้างสูง โดยเฉพาะถ้าเปรียบเทียบกับกองทุนรวมที่มีเงินเพียง 2,000 บาท ก็สามารถเริ่มต้นลงทุนได้แล้ว
O ระยะเวลาลงทุน ถ้าไม่นับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) กองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) และกองทุนปิดที่กำหนดระยะเวลาลงทุนชัดเจนแล้ว การลงทุนในกองทุนรวมได้คะแนนเต็มในข้อนี้ เพราะสามารถซื้อขายได้ทุกวัน แต่หากเป็นประกันและยูนิตลิงค์จะถูกล็อคเวลาการลงทุนไว้ตามกรมธรรม์
O ถอนเงินลงทุน ข้อนี้ประกันชีวิตออกจะเสียเปรียบกองทุนและยูนิตลิงค์อยู่มากหน่อย เพราะแม้ว่าเมื่อผ่านไประยะหนึ่ง กรมธรรม์จะเกิดมูลค่าเงินสด แต่เงินนั้นยังไม่ใช่ของเรา ถ้าจะถอนออกมาใช้ต้องกู้ออกมาจากบริษัทประกัน แต่ถ้าเป็นกองทุนรวมสามารถไถ่ถอนหน่วยลงทุนออกมาได้ เช่นเดียวกับยูนิตลิงค์ ที่สามารถถอนเงินลงทุนบางส่วนออกมาได้
O ค่าธรรมเนียม ถ้าเปรียบเทียบระหว่างประกันทั่วไปกับยูนิตลิงค์ ในทุนประกันเท่าๆ กัน ยูนิตลิงค์จะจ่ายเบี้ยในอัตราที่ต่ำที่สุด แต่ถ้าต้องเปรียบเทียบระหว่างการลงทุนกองทุนผ่านยูนิตลิงค์กับการลงทุนกองทุนรวมโดยตรง ยูนิตลิงค์จะเป็นการเสียค่าธรรมเนียมสองต่อ ทั้งค่าบริหารกองทุนและค่าบริหารกรมธรรม์
O ความยืดหยุ่นในการลงทุน แม้ว่า ยูนิตลิงค์ จะมีความยืดหยุ่นมากกว่าประกันชีวิตในหลายๆ เรื่อง แต่ยูนิตลิงค์ยังสู้กองทุนรวมไม่ได้ เพราะมีข้อจำกัดตามเงื่อนไขของบริษัทประกัน ไม่ว่าจะเป็นการปรับเปลี่ยนนโยบายการลงทุน การถอนเงินลงทุน รวมถึงจำนวนกองทุนที่ต้องลงทุนในกองทุนที่กำหนดไว้เท่านั้น
พอเปรียบเทียบแบบนี้แล้ว สำหรับคนที่ตั้งใจจะลงทุนเพียงอย่างเดียว การลงทุนกับกองทุนรวมน่าจะได้เปรียบมากกว่า เพราะมีให้เลือกหลากหลายและยืดหยุ่นสูงกว่า แต่ถ้าคิดว่า ลงทุนทั้งที มันต้องมีประกันพ่วงไปด้วยละก็สินค้าลูกผสมอย่าง ยูนิตลิงค์ น่าจะเหมาะมากกว่าแล้วสัปดาห์หน้าค่อยมาดูกันว่า ถ้าสนใจลงทุนในยูนิตลิงค์ จะมีอะไรให้เลือกลงทุนกันบ้าง
http://www.posttoday.com/เงิน-หุ้น-ทอง/ ... น-มารวมกัน
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.พ. 26, 2010 10:28 pm
โดย miracle
ดีเลอร์ขายรถ...สบช่องตั้งโบรกฯ(ประกัน)ต่อยอดธุรกิจ
24 กุมภาพันธ์ 2553 เวลา 14:48 น.
แม้ธุรกิจประกันภัยจะอยู่ในสถานการณ์ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ที่เห็นโอกาสในธุรกิจนี้ต้องหวั่นเกรงที่จะเข้ามาร่วมแข่งขันในตลาดนี้แต่อย่างใด
โดย...ฉัตรชัย ธนจินดาเลิศ
แม้ธุรกิจประกันภัยจะอยู่ในสถานการณ์ที่รุนแรงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่ได้ทำให้ผู้ที่เห็นโอกาสในธุรกิจนี้ต้องหวั่นเกรงที่จะเข้ามาร่วมแข่งขันในตลาดนี้แต่อย่างใด
โดยเฉพาะการเป็นตัวกลางอย่างบริษัทนายหน้าหรือโบรกเกอร์ขายประกัน ที่พร้อมจะเกิดขึ้นมาใหม่เพื่อเป็นตัวประสานความต้องการของลูกค้าและบริษัทประกันให้มาพบกันให้ได้
ล่าสุด กลุ่มบริษัท มิลเลนเนียม ออโต้ ตัวแทนผู้จำหน่ายรถยนต์(ดีเลอร์) บีเอ็มดับเบิ้ลยู ได้ลงขันกันจัดตั้งบริษัท บริษัท แมกซี่ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์ ขึ้นมาขายประกันภัยโดยเฉพาะ และหวังใช้ฐานลูกค้าที่ตัวเองมีอยู่เป็นตัวนำร่องในการเจาะธุรกิจโบรกเกอร์นี้ โดยมีมือดีด้านประกันภัยที่ยอมผันตัวเองจากลูกจ้างบริษัทประกัน มาร่วมเป็นเจ้าของบริษัทโบรกเกอร์กับเขาด้วย จิตวุฒิ ศศิบุตร จึงเข้ามารับหน้าที่เป็นกรรมการผู้จัดการคนแรกของ บริษัท แมกซี่ อินชัวรันส์ โบรกเกอร์
บริษัทเริ่มให้บริการมาได้เมื่อไหร่
เราได้รับใบอนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.)และเริ่มขายประกันมาตั้งแต่เดือน ส.ค.ปี 2552 เน้นขายประกันรถยนต์ก่อนเป็นหลัก โดยแบ่งเป็นทีมลูกค้ารายย่อยทั่วไป และทีมลูกค้าองค์กร เช่น กลุ่มลูกค้ารถเช่า อย่างตอนนี้ก็ได้ บีเอ็มดับเบิ้ลยูลิสซิ่ง เป็นลูกค้าแล้ว
จุดเริ่มต้นของบริษัท แมกซี่ฯ
เมื่อเห็นว่าธุรกิจในเครือของ กลุ่มบริษัท มิลเลนเนียม ออโต้ใหญ่พอแล้ว และมีบุคคลากรที่มีความชำนาญพร้อม ก็ถึงเวลาที่จะตั้งโบรกเกอร์เป็นของตัวเอง ซี่งคนไทยเองก็ยังทำประกันภัยน้อยอยู่ โอกาสทางตลาดจึงยังมีอีกมาก
ผลงาน 6 เดือนที่ผ่านมาเป็นอย่างไรบ้าง ?
ขายเบี้ยได้แล้ว 50-60 ล้านบาท แต่มีแผนว่าเราต้องเติบโตแบบก้าวกระโดดให้ได้ต่อเนื่อง อย่างในปีนี้ตั้งเป้าขายเบี้ยให้ได้ 200 ล้านบาท ปี 2554 ก็เพิ่มเป็น 400 ล้านบาท และภายใน 5 ปี(2557) เบี้ยประกันจะต้องถึง 1,000 ล้านบาทให้ได้
ฐานลูกค้ารถบีเอ็มดับเบิ้ลยูอย่างเดียวพอหรือเบี้ย 1,000 ล้านบาท ?
ถ้าฐานลูกค้ารถบีเอ็มดับเบิ้ลยูในไทยอย่างเดียว ก็ได้เบี้ยระดับหนึ่งเท่านั้น แม้ค่าเบี้ยประกันรถบีเอ็มดับเบิ้ลยู 1 คันประมาณ 3.5-4 หมื่นบาท จะเท่ากับเบี้ยรถญี่ปุ่น 3 คันก็ตาม ดังนั้นตามแผนเราจึงต้องวิ่งหาลูกค้าตามดีลเลอร์หรือตัวแทนขายรถยนต์ยี่ห้อต่างๆ และหาลูกค้าจากภายนอกด้วย แต่ที่สำคัญต้องทำให้
ลูกค้าเห็นด้วยว่าบริษัท แมกซี่ฯ นี้ เกิดขึ้นมาเพื่อขายประกันให้กับรถยนต์ทุกยี่ห้อ ให้กับดีลเลอร์ทุกค่าย ให้กับลูกค้าทุกคน ไม่ได้ผูกติดเฉพาะแต่ลูกค้ามิลเลนเนียมอย่างเดียวเท่านั้น เราจึงต้องมีความโปร่งใส่ในการทำงาน โดยมีการแยกระบบงาน ระบบคอมพิวเตอร์ออกจากมิลเลนเนียมอย่างชัดเจน เพื่อป้องกัน
ความลับของลูกค้า มีการเซ็นสัญญาชัดเจนว่า ถ้ามีการเอาข้อมูลลูกค้าไปให้บุคคลอื่นก็สามารถฟ้องร้องดำเนินคดีกับเราได้อย่างเต็มที่
เน้นขายเบี้ยรถยนต์อย่างเดียว ?
คงไม่ได้เน้นเบี้ยรถยนต์อย่างเดียว แต่จะเป็นตัวนำร่องมากกว่า อย่างลูกค้าที่ซื้อรถบีเอ็มดับเบิ้ลยูได้ ส่วนใหญ่ก็เป็นผู้บริหารเป็นเจ้าของกิจการ ซึ่งเราสามารถต่อยอดไปขายยังประกันภัยที่ไม่ใช่รถยนต์หรือนันมอเตอร์ได้ เช่น ประกันภัยทรัพย์สิน ประกันภัยอุบัติเหตุส่วนบุคคล ขณะที่กลยุทธ์ในการทำตลาดเบี้ยนันมอเตอร์นั้น เราก็จะใช้ทีมขายมืออาชีพเจาะไปตามกลุ่มลูกค้า ขายเรื่องการบริการที่เหนือกว่าที่อื่น เจาะลูกค้าแบบบีทูบี ให้เข้าถึงลูกค้าองค์กรโดยตรง
ดังนั้นประกันภัยนันมอเตอร์จึงจะเป็นตัวที่เสริมให้เราทำงานอย่างมืออาชีพได้ มีสินค้าประกันภัยทุกอย่างที่ลูกค้าต้องการ เราก็คาดว่าในอีก 5 ปีข้างหน้า สัดส่วนเบี้ยรถยนต์จะอยู่ประมาณ 70% และเบี้ยนันมอเตอร์ 30%
ลูกค้าได้ประโยชน์อะไรจาก บริษัท แมกซี่ฯ?
เราไม่ได้วางวางตัวเองเพื่อขายของถูก แต่จะขายของคุณภาพ มีราคาสมเหตุสมผล เวลาเคลมค่าสินไหมจะได้สบายใจ ไม่มีปัญหา ซึ่งเราเองก็ระมัดระวังในการคัดเลือกบริษัทประกันมาเป็นคู่ค้าอยู่แล้ว อย่างตอนนี้ก็มีหลายบริษัท เช่น เอ็มเอสไอจี ฟอคอลประกันภัย เมืองไทยประกันภัย กรุงเทพประกันภัย ซึ่ง เราเองก็ไม่อยากตีหัวเข้าบ้านแล้วมีปัญหาภายหลัง
สถานะการณ์ของโบรกเกอร์เป็นอย่างไร ?
ยังแข่งขันรุนแรงอยู่ แต่จริงๆขึ้นอยู่กับตัวเองว่าจะพลิกแพลงให้เข้ากับสถานะการณ์ได้แค่ไหน ซึ่งทางคปภ.ก็เปิดโอกาสให้มีโบรกเกอร์มากขึ้น ดังนั้น การแข่งขันจึงขึ้นอยู่กับการปรับเปลี่ยนตัวเองได้มากแค่ไหนเป็นจุดสำคัญ
http://www.posttoday.com/เงิน-หุ้น-ทอง/ ... อยอดธุรกิจ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 02, 2010 9:27 pm
โดย AleAle
ขอถามเกี่ยวกับการประกันชีวิตนะครับ
คือผมทำประกันชีวิตไว้ฉบับนึง ทุนประกัน 1 แสน ส่งปีละ 18,300 บาท เป็นแบบเหมือนการฝากเงิน
สิทธิ์ที่ได้ คือ 1. คุ้มครองชีวิต
2. คุ้มครองชีวิตจากอุบัติเหตุ
3. คุ้มครองชีวิตจากการถูกลอบทำร้าย การจลาจล
4. ความคุ้มครองโรคร้ายแรง (CIR)
โดยไม่มีในส่วนพวกเบิกค่ารักษาพยาบาลต่างๆ คับ
ตามสัญญาจะส่งเป็นจำนวน 10 ปี คุ้มครอง 21 ปี
โดยได้รับเงินคืน ครั้งละ 10,000 ในปีที่ 3,5,7,9,11,13,15,17,19
และ อีก 100,000 ในปีสุดท้ายคือปีที่ 21 (โอ้โห.... แม่เจ้า นานโคตร กว่าจะได้ไอ้ก้อนใหญ่)
ตอนที่ทำเพิ่งเริ่มทำงานครับ น้องๆ สาวสวย มาเชียร์ให้ช่วยทำก็ไม่ได้คิดอะไรมาก
ไม่ได้คิดเรื่องอัตราผลตอบแทนหรอกครับ คิดแค่ว่าก็เหมือนเอาเงินฝากธนาคารไว้อีกทาง
ณ ปัจจุบัน ส่งมาได้ 8 ปีพอดีเลยครับ กำลังคิดจะยกเลิกกรมธรรม์ (คิดช้าจิงๆ 555) เลยจะถามว่าถ้ายกเลิก ณ ตอนนี้ กับส่งให้ครบ 10 ปี แล้วยกเลิก
แบบไหนได้เปรียบ เสียเปรียบ มากกว่ากันครับ หรือว่าเหมือนกัน พอดีไม่รู้ว่าเขาคิดกันยังไงครับ
(ให้รอ 100,000 ตอนปีที่ 21 ท่าจะไม่หวายแฮะ ไม่รู้ 1 แสนตอนนั้นจะเหลือค่าเท่าไหร่)
ขอบคุณครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 02, 2010 10:45 pm
โดย นักดูดาว
ไม่แนะนำให้ยกเลิกครับ ถ้าต้องการเงินสดจริงๆ ให้กู้กรมธรรม์
ถ้าไม่สามารถส่งได้ ให้ใช้มูลค่าเงินสำเร็จ หรือขยายเวลาคุ้มครอง ตามความเหมาะสม หากต้องการให้ช่วยดูและแนะนำรายละเอียดการใช้สิทธิของกรมธรรม์ก็ยินดีครับ (ขอเป็น PM)
คนที่แนะนำให้ยกเลิก เป็นเพียงข้อคิดเห็น เค้าไม่ต้องรับผิดชอบอะไรกับเรา
แต่หากเรายกเลิกจริงๆ ข้อเท็จจริงคือเกิดการขาดทุน และขาดความคุ้มครองชีวิตและสุขภาพครับ กรณีเกิดภัยขึ้นมาจริงๆ คนที่เสียหายคือตัวเราเองครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 07, 2010 6:22 pm
โดย chaitorn
Insurance Banana Skins 2009
The Centre for the Study of Financial Innovation (CSFI) ร่วมกับ PriceWaterhouseCoopers ได้สำรวจและจัดทำรายงาน Insurance Banana Skins 2009 สำหรับธุรกิจประกันภัยขึ้น หลังจากที่ได้จัดทำเป็นครั้งแรกในปี 2007 โดย Insurance Banana Skins 2009 นี้เป็นการสำรวจความคิดเห็นจากผู้บริหารระดับสูงในธุรกิจประกันภัยทุกภูมิภาคทั่วโลกเพื่อรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับความเสี่ยงที่ผู้บริหารคาดการณ์ว่าจะมีผลกระทบต่อธุรกิจประกันภัยโดยรวมและต่อบริษัทของตนในระยะเวลาอีก 2-3 ปีข้างหน้า โดยการสำรวจนี้มีผู้ตอบแบบสอบถามจำนวน 403 คน จาก 39 ประเทศ รวมถึงประเทศไทยซึ่งมีผู้บริหารร่วมตอบแบบสอบถามให้กับ CSFI จำนวน 16 คน
การสำรวจในปี 2007 นั้นผู้บริหารได้สะท้อนความกังวลสูงที่สุดต่อความเสี่ยงในเรื่องกฎระเบียบที่มากเกินไป (Too much regulation) และภัยธรรมชาติ (Natural catastrophes) แต่ผลจากวิกฤตการณ์ทางการเงินครั้งล่าสุด ทำให้ผลการสำรวจในปี 2009 แตกต่างไปจากปี 2007 อย่างมีนัยสำคัญ โดยผู้บริหารได้แสดงความวิตกอย่างชัดเจนต่อความสามารถในการทำกำไรและสภาพคล่องของบริษัท ซึ่งความเสี่ยงจากผลตอบแทนจากการลงทุน (Investment performance) ได้รับการระบุถึงมากที่สุด รองลงมาได้แก่ ความเสี่ยงสภาวะตลาดตราสารทุน (Equity markets) และความเพียงพอเงินกองทุนของบริษัท (Capital availability) ตามลำดับ นอกจากนี้รายงานดังกล่าวยังได้ระบุว่าบริษัทประกันภัยกำลังดำเนินธุรกิจอยู่ในสภาพแวดล้อมใหม่ที่ถูกสร้างขึ้นมาจากวิกฤตการณ์ของภาคการเงินการธนาคาร โดยสภาพแวดล้อมใหม่ที่ว่านี้มีองค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้
· ผลตอบแทนจากการลงทุนต่ำหรือติดลบ
· การขาดแคลนแหล่งทุน
· มุมมองอันเลวร้ายต่อเศรษฐกิจมหภาค
· ภาคการเมืองจะเข้ามาเกี่ยวข้องมากขึ้น แม้ในตลาดที่พัฒนาแล้ว
· กฎระเบียบจะเข้มงวดมากขึ้นในทุกระดับ
ทั้งนี้บริษัทประกันภัยจะได้รับกระทบจากองค์ประกอบที่กล่าวถึงข้างต้นหลายทางและมีระดับความรุนแรงของผลกระทบที่แตกต่างกันไป สำหรับบริษัทประกันชีวิต ความเสี่ยงจากผลตอบแทนจากการลงทุนที่ต่ำถือเป็นอุปสรรคใหญ่ เนื่องจากจะส่งผลต่อความสามารถในการจ่ายให้กับผู้ที่ถือกรมธรรม์เพื่อการออมต่าง ๆ อาทิ annuities และ pensions เป็นต้น
ส่วนบริษัทประกันวินาศภัยนั้นความสามารถในการรับประกันภัยและการกำหนดเบี้ยประกันภัย (Capacity and pricing) เป็นปัญหาใหญ่ ผนวกกับปัญหาอื่นๆ ที่มักจะมาพร้อมกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ อาทิ ค่าสินไหมทดแทนและการฉ้อฉลซึ่งมีโอกาสจะพุ่งสูงขึ้น นอกจากนี้จากการที่ผลตอบแทนจากการลงทุนซึ่งมีส่วนสำคัญในการทำกำไรของบริษัทประกันวินาศภัยอยู่ในภาวะที่ถดถอยในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ความเสี่ยงด้านนี้สร้างความวิตกกังวลให้กับผู้บริหารระดับสูงทั่วโลก ควบคู่กับแนวโน้มของเศรษฐกิจมหภาค
ความเสี่ยงสูงสุด 10 อันดับแรก
ธุรกิจประกันภัยโดยรวม
(อันดับในปี 2007 แสดงในวงเล็บ)
ธุรกิจประกันชีวิต
ธุรกิจประกันวินาศภัย
1 ผลตอบแทนจากการลงทุน (11)
2 ภาวะตลาดตราสารทุน (13)
3 ความเพียงพอของเงินกองทุน (26)
4 แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค (-)
5 กฎระเบียบที่มากเกินไป (1)
6 เทคนิคการบริหารความเสี่ยง (14)
7 ความมั่นคงของบริษัทประกันภัยต่อ (27)
8 เครื่องมือที่ซับซ้อน (19)
9 สมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัย (8)
10 ภาระผูกพันระยะยาว (7)
1 ผลตอบแทนจากการลงทุน
2 ภาวะตลาดตราสารทุน
3 แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค
4 กฎระเบียบที่มากเกินไป
5 ความเพียงพอของเงินกองทุน
6 เทคนิคการบริหารความเสี่ยง
7 การบริหารต้นทุน
8 การขายลูกค้ารายย่อย
9 อัตราดอกเบี้ย
10 ช่องทางการขาย
1 ความเพียงพอของเงินกองทุน
2 ผลตอบแทนจากการลงทุน
3 ภาวะตลาดตราสารทุน
4 การบริหารวัฏจักรของเบี้ยประกันภัย
5 แนวโน้มเศรษฐกิจมหภาค
6 กฎระเบียบที่มากเกินไป (4)
7 ความมั่นคงของบริษัทประกันภัยต่อ
8 สมมติฐานทางคณิตศาสตร์ประกันภัย
9 การบริหารต้นทุน
10 เทคนิคการบริหารความเสี่ยง
ท่านที่สนใจสามารถเข้าอ่านรายงาน Insurance Banana Skins 2009 ฉบับสมบูรณ์ได้ที่
http://www.pwc.com/gx/en/insurance/insu ... 2009.jhtml
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 14, 2010 10:02 am
โดย miracle
กรุงศรีอยุธยาประกันภัยเปิดตัวประกัน 2 แบบ
11 มีนาคม 2553 เวลา 19:18 น.
บริษัท กรุงศรีอยุธยาประกันภัย รุกลูกค้ารายย่อย เปิดตัวแบบประกันใหม่ 2 แบบ
1.แบบ อยุธยา โอเค (AYUDHYA OK) เป็นกรมธรรม์คุ้มครองอาคาร บ้านและสำนักงาน เหมาะกับเจ้าของร้านหรือธุรกิจขนาดเล็ก เช่น คลินิก ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ร้านถ่ายรูป และสำนักงานขนาดเล็กควรมีไว้เพื่อคุ้มครองธุรกิจของตนเองจากความเสี่ยงต่างๆ เช่น อัคคีภัย การโจรกรรมหรือความเสียหายต่อทรัพย์สินและตัวอาคาร กระจกแตกร้าว เงินสด อุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนการคุ้มครองบุคคลที่สาม รวมถึงอุบัติเหตุส่วนบุคคล นับเป็นการรวม 7 กรมธรรม์ที่จำเป็นต้องมีเข้าเป็นหนึ่งเดียว ในราคาเฉลี่ยเพียงไม่ถึง 300 บาท ต่อกรมธรรม์ หรือเริ่มต้นที่ 1,889 บาทต่อปีสำหรับกรมธรรม์ทั้งหมด
2.แบบ พีเอ เพอร์เฟคท์ (PA Perfect) ให้ความคุ้มครองหลากหลายเนื่องจากอุบัติเหตุสำหรับคนที่มีความคิดทันสมัย มีจุดเด่นคือ การรวม 7 กรมธรรม์เข้าในฉบับเดียว ความคุ้มครองมีตั้งแต่ สูญเสียอวัยวะ การเสียชีวิต การฆาตกรรมหรือถูกทำร้าย ความเสียหายอันเกิดจากขับขี่รถยนต์หรือจักรยานยนต์ ความเสียหายอันเกิดจากการประท้วงหรือความไม่สงบ และอุบัติเหตุในที่สาธารณะ โดยผู้ที่ซื้อกรมธรรม์จะได้รับเงินชดเชยรายได้ระหว่างพักรักษาตัวในโรงพยาบาลด้วย ในราคาเฉลี่ยเพียงไม่ถึง 130 บาท ต่อ 1 กรมธรรม์หรือในราคาเริ่มต้นที่ 899 บาทต่อปีสำหรับกรมธรรม์ทั้งหมดซึ่งสอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มคนที่ต้องการความคุ้มครองที่หลากหลาย ไม่วุ่นวายและคุ้มค่า
http://www.posttoday.com/หุ้น-ทอง/เงินต ... ะกัน-2-แบบ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 14, 2010 10:08 pm
โดย บุคคลชั้นสอง
ผมเป็นคนหนึ่งที่เริ่มสะสมหุ้น ประกันภัยตัวหนึ่ง ราคาก็ไม่ไปไหนอย่างคำล่ำลือ แต่ที่ได้คือปันผลที่ดี และราคาที่มั่นคงครับ ระดับ 5.8% ในการปันผลครึ่งปีแรก ยอมรับว่าใจหนึ่งก็แอบน้อยใจที่ทำไม %การเพิ่มของราคาถึงไม่ไป แต่ก็ดีตอนไม่ลด อยากทราบแนวคิดของเพื่อนๆที่ถือมากกว่า 1 ปีว่า แบบนี้เรียกว่าดีใช่ไหมครับ คือประกันตัวนี้เป็นตัวเดียวที่ไม่เคยตั้งขายมีแต่ซื้อเมื่อราคาลงครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 15, 2010 12:59 am
โดย miracle
กลับมากระทู้เนี่ยหน่อย
กลุ่มประกันเป็นหุ้นที่ขาดสภาพคล่องทำให้นักลงทุนควรที่เพิ่มการต่อรองเรื่องราคาชดเชยเรื่อง ความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องของหุ้น
เพราะหากมีอะไรเกิดขึ้นกับบริษัท ทำให้เราไม่สามารถทำอะไรได้
รอรับสภาพอย่างเดียว
ทั้งผลดีและผลร้ายเลยล่ะ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 15, 2010 5:03 pm
โดย บุคคลชั้นสอง
miracle เขียน:กลับมากระทู้เนี่ยหน่อย
กลุ่มประกันเป็นหุ้นที่ขาดสภาพคล่องทำให้นักลงทุนควรที่เพิ่มการต่อรองเรื่องราคาชดเชยเรื่อง ความเสี่ยงในด้านสภาพคล่องของหุ้น
เพราะหากมีอะไรเกิดขึ้นกับบริษัท ทำให้เราไม่สามารถทำอะไรได้
รอรับสภาพอย่างเดียว
ทั้งผลดีและผลร้ายเลยล่ะ
นี่อาจจะเป็นเหตุผลที่ต่างคนต่างไม่ยอมไล่ราคากัน คนถือก็ถือไปไม่ได้อยากจะขายอะไร ราคาเลยนิ่งๆเนอะครับ ยังไงก็ขอบคุณมากครับสำหรับคำแนะนำ ผมขอพิจรณาเรื่องสัดส่วนการลงทุนสำหรับหุ้นกลุ่มนี้อีกหน่อยว่าจะเพิ่มไหมหรือว่าจะเอาไปลงในส่วนอื่นแทน เห็นคำเตือนแล้วก็ชักกลัวแหะครับ y_y
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 15, 2010 6:14 pm
โดย noppakorn
อยากจะเข้าใปซื้อบ้างเหมือนกันครับ แต่ไม่ค่อยมีคนยอมขายซักเท่าไร
คงต้องเฝ้ารอไปเรื่อยๆ :kq:
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 15, 2010 11:53 pm
โดย miracle
จะบอกว่าไม่โอกาสซื้อหรือ
มันมีโอกาสแต่ว่า คุณดวงดีขนาดไหนล่ะ
เพราะ บ้างตัวนี้ 1 วันในรอบปีเลยล่ะ
เรียกได้ว่า เพชรในตมเลยก็ว่าได้
ซื้อได้ใช่ว่ามี Margin of safety อีก
งานนี้กลุ่มนี้ต้องเฝ้าดูอย่างใกล้ชิด
ยกเว้นพวกมีสภาพคล่อง
BKI,SCSMG ,BLA และ TIP พวกนี้มีสภาพคล่องหน่อย
ส่วนตัวอื่นๆนี้ เหนื่อยอยู่เหมือนกันว่า ซื้อหรือขาย
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 16, 2010 12:59 am
โดย บุคคลชั้นสอง
ขอเพิ่มเติมได้ไหมครับ ผมพยายามหาข้อมูลว่าใครทำประกันกับ TIP เพราะเห็นในกระทู้นี้ว่าเขามีเบี้ยประกันอันดับ 3-4 ผมพยายามหาข้อมูล (สังเกตุรอบตัว และ ถามเพื่อนประกอบด้วย) ว่ามีใครเป็นลูกค้าเขาบ้าง แต่ปรากฏว่าไม่มี เลยคิดว่า เอ ใครหว่าเป็นลูกค้าเขา หรือว่าเขารับแต่ บ ใหญ่ๆเท่านั้น พอมีท่านใดทราบไหมครับเพราะเท่าที่ดู สนใจ TIp เป็นพิเศษ(ในแง่ปันผลนะครับ) ส่วนเรื่องเกน ในแง่ราคาคงไม่ค่อยหวังเท่าไหร่ครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: เสาร์ ส.ค. 28, 2010 10:09 pm
โดย SupachaiZ594
ย้ายเข้าห้องคุณค่าได้ไหมครับ
ความรู้เรื่องประกันเยอะมาก
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ส.ค. 29, 2010 5:59 pm
โดย penguin738
SupachaiZ594 เขียน:ย้ายเข้าห้องคุณค่าได้ไหมครับ
ความรู้เรื่องประกันเยอะมาก
เห็นด้วยอย่างยิ่งครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 30, 2010 12:05 am
โดย miracle
ตอนนี้เริ่มสงสัยว่า
ดอกเีบี้ยขึ้นแล้ว
กลุ่มประกันภัยและประักันชีวิต
อดทนต่อการขึ้นของดอกเบี้ยได้แค่ไหน
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 30, 2010 8:27 am
โดย Amadeus
มีทติ้ง TVIวันศูกร์ ใครไปบ้าง
ขอนั่งด้วยคุยเรื่องประกันได้ไหมครับ
สนใจแต่ยังไม่เข้าใจ จะรีบทำการบ้านช่วงเลาที่เหลือ
ขอบคุณมากครับ
ปล.ให้พี่มิเป็นแกนนำได้ไหม :)
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 30, 2010 11:31 am
โดย miracle
[quote="Amadeus"]
ปล.ให้พี่มิเป็นแกนนำได้ไหม
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ส.ค. 30, 2010 9:50 pm
โดย SunShine@Night
[quote="miracle"][quote="Amadeus"]
ปล.ให้พี่มิเป็นแกนนำได้ไหม
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 31, 2010 6:58 am
โดย miracle
[quote="SunShine@Night"][quote="miracle"][quote="Amadeus"]
ปล.ให้พี่มิเป็นแกนนำได้ไหม
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ส.ค. 31, 2010 8:17 am
โดย Alastor
ช่วงดอกเบี้ยขาขึ้นบริษัทประกันภัยน่าจะได้กำไรเพิ่มจากเงินลงทุนนะครับ เพราะส่วนใหญ่มี Asset เป็นเงินลงทุนใน Fixed Income security ผมเคยถามบริษัทหนึ่ง ก็ยืนยันเช่นนั้นและก็มีการลงทุนในตราสารหนี้ที่มีอายุยาวกว่าเดิมเพื่อให้ได้ yield สูงขึ้นด้วย ส่วนตัวผมเลือกบริษัทจาก operation cashflow เพื่อรอจังหวะดอกเบี้ยขาขึ้นนี้อ่ะครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 01, 2010 11:11 pm
โดย penguin738
31 สิงหาคม 2553 09:15
คปภ.มั่นใจเบี้ยรวมพุ่งแตะ15%
ทันหุ้น-คปภ. มั่นใจเบี้ยประกันรับรวมของระบบปี 2553แตะ 15% ส่งเม็ดเงินเอาประกันพุ่ 4.23%ของจีดีพี คาดปี 2557เม็ดเงินเอาประกันเพิ่มเป็น 30%ของจีดีพี ขณะที่ช่วง 6 เดือนแรก เบี้ยธุรกิจประกันชีวิตยังนำตลาดเชื่อทั้งปีโต 16% ขณะที่ธุรกิจประกันภัยโต 12% ด้านฐานะ "ฟินันซ่า" คาดได้ข้อสรุปผู้ร่วมทุนรายใหม่ 17 ก.ย. นี้ พร้อมไล่บี้ "ลิเบอร์ตี้" ส่งแผนฟื้นฟูให้ คปภ.
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ภาพรวมธุรกิจประกันภัยในช่วงครึ่งปีแรกมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงจำนวน 1.96 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 14.2% โดยธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันรับโดยตรง 1.27 แสนล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 15.34% ธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรง 5.94 หมื่นล้านบาท เพิ่มจากช่วงเดียวกันกับปีก่อน 11.42%
โดยการเพิ่มขึ้นของเบี้ยประกันภัยในช่วงครึ่งปีแรก เป็นผลมาจากอัตราการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทยที่มีปรับตัวดี ขึ้นอย่างต่อเนื่องประกอบกับมาตรการเชิงรุกของ คปภ.ใน การขยายความรู้ด้านประกันภัยผ่านหน่วยงานเครือข่าย รวมทั้งบริษัทประกันภัยแต่ละแห่งมีผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของลูกค้า
ทั้งนี้ ส่งผลให้ในปัจจุบัน มีจำนวนกรมธรรม์ต่อจำนวนประชากรอยู่ที่ 26.07% มีจำนวนเงินเอาประกันภัยอยู่ที่ประมาณ 6.6ล้านล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 18.01% โดยรวมแล้วจำนวนเงินเอาประกันภัยในครึ่งปีแรกอยี่ที่ระดับ 4.2% ของจีดีพี และคาดว่าทั้งปี 2553 จำนวนเงินเอาประกันภัยจะอยู่ที่ระดับ 4.23% ของจีดีพี และคาดว่าในปี 2557 ผู้เอาประกันจะมีสัดส่วนที่เป็นจำนวนเงินเอาประกันประมาณ 30% ของจีดีพี
ปีนี้คาดว่าธุรกิจประกันทั้งระบบจะโตประมาณ 15% คิดเป็นเม็ดเงินประมาณ 4.23แสนล้านบาท เป็นเม็ดเงินจากประกันชีวิตประมาณ 2.99 แสนล้านบาท เติบโต 16% และเม็ดเงินจากประกันวินาศภัย 1.23แสนล้านบาท เติบโต12% ส่วนเรื่องการขอเพิ่มค่าลดหย่อนภาษีจาก 1แสนบาท เป็น 2 แสนบาทนั้น ขณะนี้กรมสรรพากรยังไม่ได้อนุมัติ ซึ่งรอลุ้นภายในปีนี้อยู่
สำหรับความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคมที่ผ่านมาว่า ขณะนี้สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัย ได้เข้าไปช่วยเหลือผู้ที่ได้รับความเสียหายจำรนวนทั้งหมด 236 ราย ช่วยเหลือไปแล้ว 70% อยู่ระหว่างการเจรจาต่อรอง 58 ราย ส่วนที่เหลือทางสมาคมประกันวินาศภัยจะพยายามช่วยเหลือให้เสร็จภายในเดือน ส.ค. 2553 ส่วนผู้ประกอบการรายใหญ่ต้องเจรจากับบริษัทรับประกันภัยในต่างประเทศ(รีอินชัวเรอส์)
นางสาวชำเรือง ชาติสุวรรณ รองเลขาธิการ คปภ. กล่าว ว่า ในส่วนของการแก้ไขบริษัทที่ประสบปัญหาฐานะทางการเงินนั้น ในขณะนี้ผู้ร่วมทุนอยู่ระหว่างสำรวจฐานะบริษัทฟินันซ่าประกันชีวิต ซึ่งภายใน 17 ก.ย. ทั้ง 4 บริษัทที่สนใจร่วมทุนต้องส่งแผนบริหารงานให้ คปภ. ทราบ ส่วนบริษัทลิเบอร์ตี้ประกันภัย คปภ. ได้เร่งติดตามแผนการฟื้นฟูเพื่อเสนอต่อบอร์ด ขณะที่บริษัทเอพีเอฟ อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์ (APFII) อยู่ระหว่างการส่งแผนฟื้นฟูหลังมีคำสั่งหยุดรับประกันชั่วคราว โดยมีกำหนดก่อนวันที่ 10 ก.ย. และบริษัทฟินิกซ์ประกันภัยขณะนี้บริษัทไม่มีปัญหาเรื่องเงินกองทุนแล้วและสามารถยังดำเนินธุรกิจต่อได้
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 01, 2010 11:51 pm
โดย Warantact
จะคุยกับตัวแทนระดับหัวหน้าหน่วยไหมครับ?
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 02, 2010 11:51 am
โดย Amadeus
สนใจพวกประกันภัยมากกว่าครับ
คิดว่าดอกเบี้ยขาขึ้นน่าจะได้ประโยชน์มากกว่าประกันชีวิต
แต่ดูแล้ว ไม่มีการซื้อขายเลย เศร้าจริงๆ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พุธ ก.ย. 29, 2010 12:10 am
โดย SupachaiZ594
ขอสอบถามเรื่อง Risk Based Capital หน่อยครับ ว่า ผลกระทบกับบริษัทประกันไหนบ้าง อย่างไรครับ อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ
ได้ยินว่า อาจทำให้หลายๆบริษัทขนาดเล็กอาจต้องปิดตัวลงเลยหรือต้องควบรวมกับบริษัทอื่น ๆ เลยหรือครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 30, 2010 12:14 am
โดย miracle
SupachaiZ594 เขียน:ขอสอบถามเรื่อง Risk Based Capital หน่อยครับ ว่า ผลกระทบกับบริษัทประกันไหนบ้าง อย่างไรครับ อ่านแล้วไม่ค่อยเข้าใจ
ได้ยินว่า อาจทำให้หลายๆบริษัทขนาดเล็กอาจต้องปิดตัวลงเลยหรือต้องควบรวมกับบริษัทอื่น ๆ เลยหรือครับ
ไม่มีข้อมูลเลย
หายากมากๆๆ
กรุณา Share ข้อมูลนี้ได้ไหม จะได้ศึกษาครับ
เผือทำ IS ตอนจบด้วยครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 30, 2010 3:24 pm
โดย SupachaiZ594
miracle เขียน:
ไม่มีข้อมูลเลย
หายากมากๆๆ
กรุณา Share ข้อมูลนี้ได้ไหม จะได้ศึกษาครับ
เผือทำ IS ตอนจบด้วยครับ
ผมก็ไม่มีครับพี่ miracle
อ่านจากข่าวเก่า ๆ ว่าหลายบริษัทต้องปรับตัว แต่ไม่รู้รายละเอียดเลย
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 30, 2010 10:07 pm
โดย chaitorn
http://www.iprbthai.org/new/news/news.aspx?NewsID=11129
ข้อมูลนี้คงช่วยได้บ้างนะครับ สำหรับความคืบหน้าของ Risk Based Capital
คปภ. ปรับกฎเหล็กเข้มสั่งหยุดขาย
คปภ.รับ เกณฑ์ EWS ใช้มาปีกว่ายังอ่อน บริษัทประกันดื้อยายังโผล่ ล่าสุดไตรมาส 3 เริ่มปรับกฎเข้ม ขาดสภาพคล่องต่ำกว่า 50% ไม่ส่งรายงานเกิน 2 เดือน สั่งหยุดรับประกันทันที พร้อมจี้ 4 บริษัทโดนแบนบนเว็บไซต์เร่งฟื้นสภาพคล่อง และลุ้นทุนใหม่ฟินันซ่า 17 ก.ย. นี้ แม้ RBC รอบแรกผ่านฉลุยแต่ยังไม่วางใจ
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กล่าวถึงแนวทางการกำกับธุรกิจประกันภัยว่า ในช่วงไตรมาส 3 นี้ คปภ. ได้ปรับหลักเกณฑ์ระบบสัญญาณเตือนภัย หรือ Early Warning System (EWS) แนวรุกเร่งติดตามผลบริษัทประกันภัยที่เข้าข่ายมีปัญหา โดยปรับระยะเวลาของระบบเตือนภัยไปยังบริษัทที่ขาดสภาพคล่องต่ำกว่า 50% รวมถึงบริษัทที่ไม่ส่งรายงานการดำเนินธุรกิจให้คปภ. ติดต่อกัน 2 เดือน จะถูกสั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราวและหยุดทำธุรกิจการเงินทันที จนกว่าบริษัทจะสามารถแก้ไขสภาพคล่องทางการเงินและส่งรายงานตามปกติ จากเดิมทุกบริษัทประกันต้องส่งรายงานประจำทุกเดือนหรือห้ามขาดส่งเกิน 3 เดือน
ทั้งนี้ นับเป็นระยะเวลาปีกว่าหลังจากคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สั่งปิดบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย จำกัด (บจก.) แต่ถึงอย่างไร ขณะนี้ก็ยังมีบริษัทประกันภัย 3 แห่ง ได้แก่ บจก.เอ.พี.เอฟ.อินเตอร์เนชั่นแนล อินชัวรันส์, บจก.ลิเบอร์ตี้ประกันภัย และบจก.ฟินันซ่าประกันชีวิต ที่ชื่อยังปรากฏอยู่บนเว็บไซต์ คปภ. โดยถูกให้หยุดรับประกันวินาศภัยเป็นการชั่วคราว เนื่องจากไม่สามารถดำรงเงินกองทุนไว้
สำหรับกฎเกณฑ์ที่ปรับเข้มงวดมากขึ้น คาดจะช่วยให้ คปภ. เร่งรัด บริษัทประกันภัยที่กำลังจะมีปัญหา หรือ กลุ่มนักไต่กรอบ EWS จะต้องปรับตัวให้สามารถแก้ไขได้ทันเวลา ในอนาคตยังหวังทางบวกว่าบริษัทประกันภัยที่มีปัญหาสภาพคล่องจะเบาบางลง หลังการใช้มาตรการนี้แล้ว รายชื่อบริษัทประกันภัยที่ปรากฏการสั่งหยุดรับประกันภัยชั่วคราวบนเว็บไซต์จะไม่มีเพิ่มขึ้นอีก
"คปภ. ต้องประเมินว่าใช้ได้ผลหรือไม่ หากไม่ดีขึ้นต้องมีการปรับกฎเหล็กเข้มอีกครั้ง ถ้ายังมีบริษัทที่ชอบดื้อยา คงไม่สามารถปรับกฎครั้งเดียวจะดีขึ้นทั้งหมด 100% ซึ่ง คปภ. ใส่ยาไปเรื่อยๆ ให้หายขาด เพราะสิ่งที่สำคัญ คือ ต้องการให้ผู้บริโภควางใจธุรกิจประกันภัยได้มากขึ้น"
ขณะเดียวกัน ภายใต้โครงการพัฒนากรอบการดำรงเงินกองทุนตามกรอบ RBC ปีนี้เริ่มนำมาใช้ในการซ้อมใหญ่ (Parallel Run) 2 ครั้งเพื่อสามารถประเมินผลกระทบ ความเหมาะสมของหลักเกณฑ์ และวิธีการคำนวณเงินกองทุนตามกรอบความเสี่ยง RBC (Risk Based Capital : RBC) ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่า คปภ. จะใช้กำกับบริษัทประกันภัยอย่างจริงจัง ในปี 2554 เพื่อบรรลุเป้าหมายของความเข้มแข็งทางการเงินของบริษัทประกันภัย
สำหรับผลการทดสอบรอบแรก นางคมคาย ธูสรานนท์ รองเลขาธิการ คปภ.กล่าวว่า บริษัทประกันภัยทั้งบริษัทประกันชีวิตและประกันวินาศภัยส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดผ่านเกณฑ์ตามกรอบ RBC ที่เริ่มต้นไว้อย่างเข้มงวด ชี้ให้เห็นว่าธุรกิจประกันภัยยังมีความแข็งแกร่ง ในแง่ของผู้บริโภคสบายใจได้ ขณะที่ในกลุ่มบริษัทประกันที่ยังมีปัญหาก็ต้องให้เวลาเติมเงินกองทุนให้ครบตามกฎหมายก่อน
อย่างไรก็ตาม จะมีการปรับค่าความเสี่ยงจะเพิ่มหรือลดอีกหรือไม่นั้น ต้องรอผลการทดสอบรอบสอง ทางบริษัทประกันภัยจะส่งผลเข้ามาช่วงเดือนตุลาคมนี้อีกครั้ง เพื่อนำผลมาวิเคราะห์อย่างละเอียดสำหรับประเมินเพื่อใช้ในภาพรวม
"คปภ. ไม่มีอะไรต้องกังวล เพราะบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ผลการทดสอบเป็นไปตามเกณฑ์ RBC ยกเว้นบริษัทที่เอ่ยนามที่มีปัญหา แต่ต้องยอมรับว่า แม้ใช้ตามกรอบเดิมก็ยังมีบริษัทที่มีปัญหาขาดสภาพคล่องอยู่ ดังนั้น เมื่อนำกรอบ RBC มาใช้ก็ต้องมีปัญหาเกิดขึ้นอยู่แล้ว"
www.thanonline.com
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ย. 30, 2010 10:14 pm
โดย chaitorn
ส่วนอนาคตของบริษัทประกันภัย ก็ตามนี้ครับ
http://www.iprbthai.org/new/news/news.aspx?newsID=11155
แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2553-2557)
คณะรัฐมนตรีรับทราบแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2553-2557) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอสาระสำคัญของเรื่อง
สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ในฐานะหน่วยงานของรัฐทำหน้าที่กำกับดูแลและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย ร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชน รวมถึงผู้เชี่ยวชาญด้านการประกันภัยจากสถาบันการศึกษาได้ร่วมกันจัดทำแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2553 - 2557) ขึ้น โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
แผนพัฒนาการประกันภัย เป็นแผนระดับชาติด้านการประกันภัย ซึ่งเป็นความพยายามของภาครัฐและภาคเอกชนในการกำหนดแนวทางการพัฒนาระบบประกันภัยของประเทศไทย ที่มีกรอบทิศทางและมาตรการที่ชัดเจนทั้งนโยบายในการกำกับดูแลและส่งเสริมพัฒนาธุรกิจประกันภัย และทิศทางการดำเนินงานของภาคธุรกิจประกันภัย
แผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2553 - 2557) มีวัตถุประสงค์เพื่อกำหนดทิศทางการพัฒนาธุรกิจประกันภัยร่วมกันของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องด้านการประกันภัย โดยมุ่งเน้นการสร้างความเข้มแข็งให้กับระบบประกันภัยไทยพัฒนาให้มีคุณภาพเทียบเท่ามาตรฐานสากล สำนักงาน คปภ. เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการปรับปรุงแผนพัฒนาการประกันภัยเพื่อให้เกิดความต่อเนื่อง สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม และความท้าทายใหม่ๆ จึงได้เสนอต่อคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้มีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2553 - 2557) ขึ้น เพื่อทำหน้าที่ผลักดันให้แผนพัฒนาฯ เกิดผลสำเร็จเป็นรูปธรรมอย่างแท้จริง โดยเป้าหมายของแผนพัฒนาฯ ฉบับนี้ ต้องการพัฒนาระบบประกันภัยของไทยให้ก้าวสู่มาตรฐานสากลระดับหนึ่ง และพร้อมรับการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัย โดยได้มีการประชุมกลุ่มย่อยเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ทั้งบริษัทประกันชีวิต/ประกันวินาศภัย ตัวแทน/นายหน้าประกันภัย สถาบันการศึกษา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ
แผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2553 - 2557) ได้กำหนดมาตรการสำคัญที่จะมีผลกว้างไกลต่อการต่อการพัฒนาเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญต่ออุตสาหกรรมประกันภัยไทย ประกอบด้วย 4 มาตรการหลัก และ 18 มาตรการสำคัญ คือ
มาตรการที่ 1 : การเสริมสร้างความเชื่อมั่น ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัย และการเข้าถึงระบบประกันภัยของประชาชน
1.1 การเสริมสร้างความรู้ด้านประกันภัยให้กับประชาชน
1.2 การส่งเสริมการพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยให้สอดคล้องกับความเสี่ยงของประชาชนที่เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพแวดล้อมเศรษฐกิจ สังคม กฎหมายและเทคโนโลยีสารสนเทศ
1.3 การพัฒนาช่องทางการจำหน่ายและการให้บริการแบบครบวงจร
1.4 การกำหนดข้อพึงปฏิบัติในการเสนอขายผลิตภัณฑ์ประกันภัย
1.5 การเสริมสร้างให้ระบบประกันภัยมีบทบาทในการรับผิดชอบต่อสังคมไทย (Corporate Social Responsibility : CSR)
มาตรการที่ 2 : การเสริมสร้างเสถียรภาพของระบบประกันภัย
2.1 การเสริมสร้างความเข้มแข็งต่อระบบประกันภัย
2.2 การส่งเสริมขีดความสามารถในการแข่งขันของบริษัทประกันภัย
มาตรการที่ 3 : การเพิ่มมาตรฐานการให้บริการและการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย
3.1 การปฏิรูปกฎหมายด้านการคุ้มครองสิทธิประโยชน์
3.2 การกำหนดมาตรฐานกรอบแนวทางปฏิบัติในการให้บริการด้านการประกันภัย
3.3 การพัฒนาคุณภาพการคุ้มครองสิทธิประโยชน์ของประชาชนด้านการประกันภัย
3.4 โครงการจัดตั้งกองทุนมหันตภัย
มาตรการที่ 4 : การส่งเสริมโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย
นอกจากนั้น เพื่อประโยชน์ในการติดตาม และประเมินผลความสำเร็จของแผนพัฒนาการประกันภัย ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2553 - 2557) ได้
กำหนดเป้าหมาย ดังนี้
1. สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อ GDP เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.00
2. เพิ่มจำนวนเบี้ยประกันภัยต่อจำนวนประชากรเป็น 7,500 บาท ในปี 2557
2.1 ประกันชีวิต 4,200 บาท
2.2 ประกันวินาศภัย 3,300 บาท
3. เพิ่มจำนวนกรมธรรม์ประกันชีวิตต่อจำนวนประชากร เป็นร้อยละ 40 ในปี 2557
4. เพิ่มจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยแบบไมโครอินชัวรันส์ ขึ้นร้อยละ 20 จากปี 2553
5. บริษัทประกันภัยทุกบริษัทมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงไว้ตามกฎหมายไม่ต่ำกว่า ร้อยละ 120
6. ลดระยะเวลาในการให้ความเห็นชอบกรมธรรม์ประกันภัย ร้อยละ 25
7. จำนวนแบบ ข้อความกรมธรรม์ประกันภัย และอัตราเบี้ยประกันภัยที่ได้รับความเห็นชอบแบบอัตโนมัติ (File & Use) เพิ่มขึ้นร้อยละ 30 ในปี 2557
8. บริษัทมีระบบงานที่เป็นมาตรฐานในการให้บริการประชาชนครบวงจรตามมาตรฐาน Insurance Core Principles : ICP
9. จัดทำโครงสร้างและรูปแบบการบริหารงานขององค์กรพิจารณาตัดสินข้อพิพาทด้านประกันภัย (Insurance Dispute Resolution Organization : IDRO)
10.ธุรกิจประกันภัยมีความพร้อมด้านบุคลากร โดย
10.1 นักคณิตศาสตร์ประกันภัย
- ร้อยละ 70 ของบริษัทประกันชีวิต ต้องมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่เป็นสมาชิกระดับเฟลโล
- ร้อยละ 70 ของบริษัทประกันวินาศภัย ต้องมีนักคณิตศาสตร์ประกันภัยที่มีคุณสมบัติครบถ้วนตามกฎหมายกำหนด
10.2 คนกลางประกันภัย
- ร้อยละ 20 ของคนกลางประกันภัยที่มีคุณสมบัติตามกำหนด สามารถพัฒนาเป็นที่ปรึกษาด้านการประกันภัย (Insurance Advisor)
11.มีฐานข้อมูลกลางของธุรกิจประกันภัยครบวงจร ( I Site )
12.จัดทำร่างกฎหมายแม่บทว่าด้วยการประกันภัยฉบับใหม่แล้วเสร็จ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (นายกรัฐมนตรี) วันที่ 14 กันยายน 2553--
www.ryt9.com
ที่มาของข่าว :: เว็บไซต์ อาร์วายทีไนน์ วันที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2553