หน้า 11 จากทั้งหมด 14

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 04, 2009 10:36 am
โดย miracle
เตือนประกันเลิกซิกแซ็ก ทำบัญชีจริง  
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โพสต์ทูเดย์ คปภ. เตือนผู้บริหารบริษัทประกันภัยจัดทำบัญชีโปร่งใส สะท้อนความเสี่ยง

น.ส.วสุมดี วสีนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบการกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ปัจจุบันบริษัทประกันวินาศภัยมีบัญชี 2 ชุด คือ ชุดที่ส่งคปภ. และชุดของบริษัท แต่ในปี 2556 กฎหมายบัญชีบังคับให้ต้องเปิดเผยฐานะการเงิน ซึ่งมีความเป็นไปได้ 100% บัญชีจะมีชุดเดียวกัน
ทั้งนี้ ผู้บริหารของบริษัทประกันวินาศภัยจะต้องเริ่มให้ความสำคัญในการจัดทำบัญชี ที่สะท้อนความเป็นจริงตามมูลค่ายุติธรรม โดยจัดให้มีนักบัญชีเฉพาะด้าน มีนักคณิตศาสตร์เข้ามาคำนวณความเพียงพอของเงินกองทุน มีการตั้งสำรองเบี้ยประกันภัยให้สัมพันธ์กับค่าสินไหมทดแทนที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

ที่ผ่านมาค่าสินไหมและการตั้งสำรองยังไม่ค่อยสัมพันธ์กัน และยังไม่เพียงพอ น.ส.วสุมดี กล่าว

น.ส.วสุมดี กล่าวว่า ทางคปภ.ได้หารือกับสมาคมวิชาชีพบัญชี ขอ ให้แยกผู้สอบบัญชีประกันภัยออกมาเป็นการเฉพาะ โดยต้องการ ผู้สอบบัญชีที่มีความรู้เฉพาะด้านประกันภัย ที่ต้องให้ทักษะที่แตกต่างจากผู้สอบบัญชีธุรกิจทั่วไป

นายพิพัฒน์ เทพย์ปฏิพัธน์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัทโอสถสภาประกันภัย กล่าวว่า การหานักคณิตศาสตร์ประกันภัยและนักบัญชีประกันภัยในตลาดทำได้ยาก เพราะไทยขาดแคลนบุคลากรด้านนี้อย่างมากและมีต้นทุนสูง ต้องมีค่าใช้จ่ายเพิ่มนับล้านบาท ซึ่งเป็นภาระค่อนข้างมากสำหรับบริษัทขนาดเล็ก

http://www.posttoday.com/finance.php?id=79159

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ธ.ค. 04, 2009 10:39 am
โดย miracle
นิวยอร์คไลฟ์ขยับโต10%  
วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

โพสต์ทูเดย์ นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต ตีกันรักษาเจ้าตลาดแบงก์แอสชัวรันส์ พร้อมเดินหน้าปั้นตัวแทนใหม่เดือนละพันคน


นายโดนอลด์ คาร์ดีน กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิต เปิดเผยว่า กลยุทธ์หลักในการทำตลาดปี 2553 บริษัทจะยึดนโยบายการเติบโตในทุกช่องทางขายให้ได้มากที่สุด โดยเฉพาะการรักษาความเป็นผู้นำในช่องทางแบงก์แอสชัวรันส์ที่ขายผ่านธนาคารไทยพาณิชย์ไว้ให้ได้ ซึ่งคาดว่าในปีหน้าบริษัทจะมีอัตราเติบโตโดยรวมประมาณ 10%
นอกจากนี้ ยังคงเดินหน้าสร้างตัวแทนใหม่ให้ได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ด้วยการตั้งหน่วยงานใหม่เพื่อสรรหาตัวแทนใหม่โดยเฉพาะ ตั้งเป้าให้ได้ตัวแทนใหม่เดือนละ 500-1,000 คน หรือปีละ 6,000-12,000 คน จากปัจจุบันที่มีอยู่ 6,000 คน และจะทำให้ในปีหน้าเบี้ยจากช่องทางตัวแทนเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 30% เมื่อเทียบกับปีนี้ที่คาดว่าเติบโตเพียง 10% ขณะที่อุตสาหกรรมช่องทางตัวแทนเติบโตติดลบ

อย่างไรก็ตาม คาดว่าเมื่อถึงปี 2555 ตามแผน 3 ปี จะทำให้บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากช่องทางตัวแทนและแบงก์แอสชัวรันส์อย่างละ 50% เมื่อเทียบกับปัจจุบันที่ช่องทางตัวแทนอยู่ที่ 25% และแบงก์แอสชัวรันส์อยู่ที่ 75%

แม้ตอนนี้แบงก์กสิกรไทยกับเมืองไทยประกันชีวิตจะเป็นคู่แข่งที่น่ากลัว แต่การที่เราเป็นผู้นำแบงก์แอสชัวรันส์มา 7 ปีแล้ว ก็ต้องรักษาตำแหน่งต่อไป นายคาร์ดีน กล่าว

ทั้งนี้ บริษัทยังคาดว่าภาวะเศรษฐกิจในปีหน้าเศรษฐกิจดีขึ้นและมีกำลังซื้อมีมากขึ้น ส่งผลให้การกู้ยืมเงินเพื่อซื้อบ้านก็จะดีขึ้น และก็จะทำให้ประกันชีวิตสินเชื่อหรือเครดิตไลฟ์ที่ได้จากธนาคารไทยพาณิชย์เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ซึ่งคาดว่าจะทำให้ในปีหน้าบริษัทคงได้เบี้ยจากเครดิตไลฟ์ของธนาคารไทยพาณิชย์เพิ่มขึ้นเป็น 30% และเบี้ยประกันส่วนบุคคล 70% จากปีนี้ที่เบี้ยเครดิตไลฟ์อยู่ที่ 20% และเบี้ยประกันส่วนบุคคล 80%

นายคาร์ดีน กล่าวว่า ในเดือนม.ค.ปีหน้า บริษัทจึงเตรียมออกแบบประกันชีวิตผ่านแบงก์แอสชัวรันส์ 3 แบบจากทั้งปีที่คาดว่าจะออกมา 5 แบบ โดยเป็นแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองระยะยาว สำหรับลูกค้าสินเชื่อบ้านและสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ของธนาคารไทยพาณิชย์ที่จะกลับมาบุกตลาดอีกครั้ง เพื่อ ตอบสนองความต้องการของลูกค้าเป็นหลัก

สำหรับผลการดำเนินงานในปีนี้ คาดว่าจะมีเบี้ยประกันรับปีแรกที่ 8,000 ล้านบาท หรือมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้นประมาณ 30% เมื่อเทียบกับปีก่อน



http://www.posttoday.com/finance.php?id=79158

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 07, 2009 8:31 pm
โดย miracle
สามัคคีฯไม่กินรวบลูกค้าใบโพธิ์


วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สามัคคีประกันภัย ยันไม่ได้เปรียบแม้ธนาคารไทยพาณิชย์หวนคืน บุกตลาดเช่าซื้อปีหน้า
นายจิรวุฒิ บุญศิริ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยพาณิชย์สามัคคีประกันภัย เปิดเผยว่า การที่ธนาคารไทยพาณิชย์ซึ่งบริษัทแม่จะกลับทำตลาดเช่าซื้อรถอย่างเต็มตัวอีกครั้งในปีหน้า คงไม่ทำให้บริษัทได้เปรียบว่าจะได้เบี้ยประกันรถยนต์จากธนาคารไทยพาณิชย์มากขึ้นแต่อย่างใด
ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทยึดนโยบายทำเบี้ยประกันที่ไม่ขาดทุนเป็นหลัก และคงไม่กลับไปแข่งขันเรื่องราคาเพื่อให้ได้ปริมาณเพียงอย่างเดียวอีก หากคู่แข่งรายใดเสนอค่าเบี้ยที่ดีกว่าให้ลูกค้าได้ก็ต้องปล่อยงานให้บริษัทอื่นไป

นายจิรวุฒิ คาดว่า ในปีหน้าบริษัทจะได้เบี้ยรถยนต์จากธนาคารไทยพาณิชย์ในส่วนของประกัน ชั้น 1 ที่ 30% ส่วนที่เหลืออีก 70% จะได้มาจากชั้น 2 และชั้น 3 พิเศษ

นอกจากนั้น บริษัทยังสนใจตลาดรถมือสองถึง 10 ล้านคัน แต่ทำประกันภาคสมัครใจเพียง 3-4 ล้านคันเท่านั้น จึงเป็นโอกาส โดยเฉพาะแบบประกันรถประเภทชั้น 2 และชั้น 3 พิเศษ ที่มีราคาไม่สูงมากนัก สามารถใช้สาขาธนาคารไทยพาณิชย์ทั้ง 1,300 แห่งเป็นหัวหอก

อย่างไรก็ตาม แม้เบี้ยรถชั้น 2 และชั้น 3 พิเศษ จะต่ำกว่าชั้น 1 แต่อัตราความเสียหายต่อเบี้ยประกันก็ต่ำกว่าโดยอยู่ที่ประมาณ 50% เท่านั้น ขณะที่ชั้น 1 อยู่ที่ 66% และเฉลี่ยภาพรวมรถยนต์อยู่ที่ 61%

นายอนุชาติ ดีประเสริฐ ผู้อำนวยการอาวุโส ธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ ธนาคารธนชาต กล่าวว่า แม้ว่าธนาคารจะมีบริษัท ธนชาตประกันภัยเป็นบริษัทในเครือ แต่ก็ถือว่าไม่ได้เปรียบบริษัทประกันอื่น เพราะปัจจุบันไม่สามารถส่งงานประกันภัยรถให้กับบริษัทในเครือในสัดส่วนที่มากเหมือนเมื่อก่อนได้ เนื่องจากไม่สามารถบังคับลูกค้า ขึ้นกับความพอใจและราคา

ดังนั้น ต้องมีการหาแบบประกันใหม่มาเสนอขายเพิ่มเติม เช่น แบบประกันสินเชื่อเช่าซื้อรถหรือเครดิตไลฟ์ ที่ขณะนี้ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี มีสัดส่วนถึง 70% ของลูกค้าใหม่ เพราะชี้ให้ลูกค้าได้เห็นถึงประโยชน์ที่ได้รับ เมื่อลูกค้าไม่สามารถผ่อนค่างวดได้ บริษัทประกันก็จะจ่ายหนี้ส่วนที่เหลือแทน

นายอิสระ วงศ์รุ่ง กรรมการผู้จัดการ บริษัท ลีสซิ่งกสิกรไทย กล่าวว่า การปล่อยสินเชื่อรถยนต์ในปีหน้าคาดว่ามีอัตราเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ตามยอดขายรถยนต์ที่คาดว่าจะเติบโตกว่าในปีนี้ และคาดว่าในปีหน้าจะเป็นการแข่งขันในตลาดรถยนต์ขนาดเล็กหรืออีโคคาร์มากขึ้น ซึ่งเป็นการกระตุ้นตลาดรถยนต์ได้เป็นอย่างดี
http://www.posttoday.com/finance.php?id=79552
-----------------------------------------------------------------------

ใครที่มีหุ้น SCSMG อ่านดีๆล่ะครับ สำหรับข่าวนี้
:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 08, 2009 10:15 am
โดย miracle
ลูกค้าโวย ประกันชิ่ง  
วันอังคารที่ 8 ธันวาคม พ.ศ. 2552

บริษัทประกันเมินขายรายเดือน บังคับคนซื้อประกันพ.ร.บ.รถยนต์ปีนี้ หวังลดต้นทุน หลังคปภ. เปลี่ยนเกณฑ์ชดเชยใหม่ตายได้ 2 แสน

แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า คปภ.ได้รับการร้องเรียนจากผู้บริโภคว่าไม่สามารถหาซื้อประกันภัยตามพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535 ในแบบรายเดือนได้ หลังจากที่คปภ. ได้ปรับเพิ่มความคุ้มครองความเสียหายตามกรมธรรม์ให้มากขึ้น และเริ่มมีผลบังคับใช้วันที่ 1 ม.ค. 2553 พร้อมเปิดให้ผู้บริโภคที่กรมธรรม์ฉบับปัจจุบันครบกำหนดก่อนเวลา สามารถซื้อกรมธรรม์เป็นรายเดือนจากบริษัทประกันภัยได้
แหล่งข่าวเปิดเผยว่า สาเหตุที่ทางบริษัทประกันภัยส่วนใหญ่ปฏิเสธที่จะขายประกันพ.ร.บ.แบบรายเดือนให้กับลูกค้า เนื่องจากมองว่าไม่คุ้มกับต้นทุนในการออกกรมธรรม์แต่ละครั้ง เพราะได้รับค่าเบี้ยประกันไม่มากนัก เช่น รถเก๋งอยู่ที่คันละ 600 บาทต่อปีเท่านั้น

อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวคงเกิดขึ้นเฉพาะในช่วงเปลี่ยนผ่านระหว่างเงื่อนไขความคุ้มครองเดิมกับของใหม่เท่านั้น และคงหมดลงในปีนี้ หลังจากที่ความคุ้มครองพ.ร.บ.ใหม่มีผลบังคับใช้ในปีหน้า

ถ้าผู้บริโภคซื้อประกันพ.ร.บ.ที่คิดระยะเวลาคุ้มครองแบบรายปีภายในปีนี้แต่มีระยะเวลาคุ้มครองข้ามไปถึงปี 2553 หากเกิดอุบัติเหตุขึ้นก็จะเป็นการเสียสิทธิที่ควรจะได้ เพราะยังคงได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์เดิมของปี 2552 ที่ให้ความคุ้มครองน้อยกว่าของกรมธรรม์ใหม่ที่เริ่มใช้ในปี 2553 ขณะที่จ่ายค่าเบี้ยเท่ากัน แหล่งข่าวเผย

ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 ประกันพ.ร.บ.ได้ให้ความคุ้มครองเพิ่ม โดยในกรณีที่เสียชีวิตและทุพพลภาพหรือสูญเสียอวัยวะจากเดิม 1 แสนบาท เพิ่มเป็น 2 แสนบาท และมีการจ่ายค่าชดเชยรายวันให้วันละ 200 บาท ระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน อีกด้วย

นายภิญโญ บุญนำ ผู้ช่วยเลขาธิการสายส่งเสริมและคุ้มครองคปภ. กล่าวว่า เพื่อให้ผู้บริโภคได้รับสิทธิคุ้มครองตามพ.ร.บ.ใหม่อย่างเต็มที่ อยากแนะนำว่าให้ผู้ที่ซื้อประกันพ.ร.บ.ในปีนี้และมีความคุ้มครองข้ามไปถึงปีหน้า ขอให้แจ้งขอยกเลิกความคุ้มครองตามกรมธรรม์พ.ร.บ.เดิม เป็นลายลักษณ์อักษรไปยังบริษัทประกัน โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 และขอทำประกันพ.ร.บ.ใหม่ โดยให้เริ่มความคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 2553 แทน เช่นกัน

เนื่องจากรายละเอียดของกฎหมายในการขายประกันพ.ร.บ.นั้น ไม่ได้ลงรายละเอียดว่าให้ขายอย่างไร เพียงแต่ระบุความคุ้มครองเป็นรายปีเท่านั้น

สำหรับวิธีการดังกล่าวจะทำให้ประชาชนได้รับสิทธิความคุ้มครองเต็มที่ตามกรมธรรม์ใหม่และบริษัทประกันไม่สามารถปฏิเสธได้ ซึ่งการขอยกเลิกพ.ร.บ.ก่อนกำหนดนั้น ทางผู้เอาประกันก็จะได้รับเงินค่าเบี้ยคืนตามที่ระบุไว้ในตารางกรมธรรม์อยู่แล้ว และบริษัทประกันจะต้องจ่ายค่าเบี้ยส่วนที่เหลือคืนให้ผู้เอาประกันภายใน 30 วันด้วย จึงไม่ได้เสียประโยชน์มากนัก เมื่อเทียบกับสิทธิความคุ้มครองใหม่ที่จะได้

ปัญหาที่เกิดขึ้นคงไม่ใช่เรื่องค่าเบี้ยพ.ร.บ. แต่เป็นเรื่องสิทธิความคุ้มครองที่เพิ่มขึ้นอย่างมากมากกว่า เช่น หากเสียชีวิตของเดิมได้ 1 แสนบาท แต่กรมธรรม์ตามเกณฑ์ใหม่ลูกค้าจะได้ถึง 2 แสนบาท นายภิญโญ กล่าว

http://www.posttoday.com/finance.php?id=79672

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 09, 2009 7:02 am
โดย chaitorn
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413341608

ภาษีควบรวมฉลุย

 

>อานิสงส์แผนพัฒนาตลาดทุน

อานิสงส์แผนพัฒนาตลาดทุนไทย ดันภาษีควบรวมประกันภัยคืบ! คปภ.เผยสรรพากรรับลูกแก้ไขเปิดช่อง ให้ควบคู่ภาษีควบรวมฝั่งแบงก์-บลจ. หลังที่ผ่านมาไม่มีสัญญาณบวก ผ่าข้อเสนอภาษีควบรวมที่ชงรอท่าไว้ทั้งขอยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับภายหลังควบรวมนำผลขาด ทุนสุทธิของบริษัทเดิมมาเป็นรายจ่ายหักภาษี รวมถึงยกเว้นภาษีเงินสำรอง ย้ำภาษีเป็นอุปสรรคสำคัญเพราะบริษัท ใหม่ต้องจ่ายภาษีเพิ่มทั้งที่รัฐหนุนรวมกัน


ข้อเสนอต่างๆ เกี่ยวกับมาตรการภาษีที่ธุรกิจประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัยพยายามชงให้กับภาครัฐตลอดหลายปีที่ผ่านมาให้ไฟเขียวเพื่อกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจอย่างเป็นรูปธรรม แม้จนถึงขณะนี้ยังไม่เป็นผลสำเร็จแต่ก็มีสัญญาณบวกจาก รัฐออกมาเป็นระยะๆ จนคาดกันว่าไม่เกินปีหน้าน่าจะมีข่าวดีไม่ว่าจะเป็นภาษี ของประกันชีวิตทั้งการขอลดหย่อนภาษี ในวงเงินสูงสุดไม่เกิน 100,000 บาทสำหรับผู้ซื้อประกันแบบบำนาญ, ขอลดหย่อนภาษี

สำหรับผู้ซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิตพ่วงลงทุน เช่น ยูนิต ลิงค์, ยูนิเวอร์แซลไลฟ์ วงเงินไม่เกิน 100,000 บาทในปีแรก การขอลดหย่อนภาษีสำหรับผู้ซื้อประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) และสัญญาเพิ่มเติมอื่นๆ วงเงินรวม กันไม่เกิน 50,000 บาท รวมถึงการคำนวณ เงินสำรองประกันชีวิตกรมธรรม์ประกันบำนาญให้ใช้เกณฑ์เดียวกับสำนักงานคณะ กรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ขณะที่ประกันวินาศภัย หัวข้อหลักนอกจากขอลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพ ประกันพีเอและกรมธรรม์ส่วนบุคคลอื่นๆวงเงินไม่เกิน 50,000 บาทเท่ากับประกันชีวิตแล้วยังมีการคำนวณเงินสำรองทั้งค่าสินไหมทดแทนและเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ที่ต้องการให้สำนักงานคปภ.เป็นผู้กำหนดและให้กรมสรรพากรใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน

อย่างไรก็ดี ยังมีมาตรการภาษีอีกหนึ่งตัวที่ยังไม่ถูกหยิบยกมาพูดถึงมากนักทั้งที่น่าจะอยู่ในแพ็กเกจภาษีชุดเดียวกันเพราะเป็นข้อเสนอร่วมกันระหว่างธุรกิจประกันชีวิตและประกันวินาศภัยและสำนักงานคปภ.ให้ความสำคัญและผลักดันให้กับธุรกิจประกันภัยมาตลอดนั่นก็คือ ภาษีควบรวม เพื่อส่งเสริมการควบรวม กิจการของบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นนโย บายหลักของคปภ.เพื่อให้บริษัทประกัน ภัยมีฐานะการเงินแข็งแกร่งมากขึ้นเพิ่มความสามารถด้านการแข่งขันในระยะยาว รับมือการเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในอนาคต

ล่าสุด ภาษีควบรวมกิจการของบริษัทประกันภัยมีความคืบหน้าแล้ว โดยแหล่งข่าวจากคปภ.เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นายสานิต ร่างน้อย อดีต อธิบดีกรมสรรพากรในฐานะประธานคณะอนุกรรมการพัฒนาตลาดทุนไทยซึ่งดูแลด้านภาษีได้เชิญหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินทั้งธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) รวมถึงสมาคมนายธนาคารไทย และคปภ.หารือเกี่ยวกับแผนพัฒนาตลาดทุนไทยปี 2553-2557 ซึ่งจะมีหัวข้อส่งเสริม ให้ธนาคารและบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ควบรวมกิจการกันเพื่อเสริมสร้างฐานะการเงินแข็งแกร่งมากขึ้น บรรจุอยู่ในแผนด้วย โดยหนึ่งในมาตรการ ส่งเสริมการควบรวมก็คือภาษีซึ่งยังคงเป็น อุปสรรคต่อการควบรวมอยู่

ในการส่งเสริมสถาบันการเงินอย่างแบงก์ควบรวมกิจการกัน ปัญหาหลัก คือในเรื่องของภาษี ซึ่งธุรกิจประกันภัยก็เจอปัญหาเดียวกัน ทางอธิบดีกรมสรรพากร รับปากจะไปดูให้ทั้งหมดพร้อมกับจะแก้ไข ให้ เป็นนิมิตหมายที่ดีสำหรับธุรกิจประกัน ภัยหลังจากที่ผ่านมาในประเด็นนี้ทางกรมสรรพากรเพียงแค่รับฟังเฉยๆ แต่ยังไม่รับหลักการ

สำหรับภาษีควบรวมกิจการบริษัทประกันภัยที่คปภ.เคยนำเสนอกับกรมสรรพากรไว้ก่อนหน้านี้คือขอยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินปันผลที่ผู้ถือหุ้นได้รับภายหลังจากการควบรวมกิจการหรือโอนกิจการและขอยกเว้นให้สามารถนำผลขาดทุนสุทธิของบริษัทเดิมมาถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อคำนวณภาษีเงินได้สำหรับกรณีการควบรวมกิจการ เข้าด้วยกันของบริษัทประกันภัยจากเดิมกรมสรรพากรไม่อนุญาตให้นำผลขาดทุนสุทธิของบริษัทเดิมมาคำนวณภาษีเงินได้

ยิ่งกว่านั้น ยังขอยกเว้นภาษีในส่วน ของการนำเงินสำรองมาคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายล่วงหน้าทันทีที่เลิกกิจการเนื่อง จากการควบบริษัทแล้วเกิดบริษัทใหม่ บริษัทใหม่ต้องรับมอบทรัพย์สินและหนี้สินภายในเจ็ดวันนับแต่วันประชุมผู้ถือหุ้น ทำให้บริษัทเดิมที่ควบรวมกันต้องนำเงินสำรองประกันภัยมาคำนวณเพื่อเสียภาษีการควบรวมกิจการ

ทำให้บริษัทใหม่ที่เกิดจากการควบรวมต้องสูญเสียสภาพคล่อง ส่งผลต่อเงินทุนหมุนเวียน ทรัพย์สินลงทุน การจ่าย สินไหมทดแทนและการจ่ายผลตอบแทนให้กับผู้เอาประกันภัยเพราะต้องเสียภาษีกรณีบริษัทหนึ่งปิดกิจการในสัดส่วนที่สูงมาก

การควบรวมกิจการกันทำให้บริษัทต้องมีภาระด้านภาษีเพิ่มขึ้นทั้งที่เป็นการควบรวมกิจการตามนโยบายของรัฐบาล

ด้านนายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทประกันภัยขนาดเล็กและกลางจะควบรวมกิจการกับบริษัทอื่นมากขึ้นเพื่อความอยู่รอด โดยคาดว่าในระยะ 4-5 ปีข้างหน้านี้หลังจากสำนักงาน คณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เริ่มใช้เกณฑ์ดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ตลอด จนความต้องการขยายตลาดทำให้บริษัทประกันภัยกลุ่มนี้ต้องควบรวมกิจการกันเพื่อให้มีเจ้าหน้าที่ดูช่องทางการขาย เจาะ ตลาดหรือเปิดตลาดใหม่ไม่เช่นนั้นจะตามบริษัทอื่นไม่ทัน


คนเมิร์ชกันเพราะต้องการสร้างบริษัทมีขนาดใหญ่พอสมควรแข่งกับบริษัทที่แข็งแกร่งกว่าได้ จำนวนบริษัทในอุตสาหกรรมมีมากเกินไป ถ้าบริษัทน้อยการแข่งขันในตลาดจะมีมากกว่านี้ที่แข่งขันกันอยู่อาศัยการลดเบี้ยประกัน แต่ตอน นี้ผู้บริโภคเข้าใจประกันมากขึ้นรู้ว่าการตัดสินใจซื้อประกันไม่ได้ดูจากเบี้ยเท่านั้น แต่ดูฐานะการเงิน ความสามารถด้านการ บริการ ต่อไปถ้าจำนวนบริษัทลดลง บริษัท จะมีขนาดใหญ่ขึ้น ถ้าจำนวนลดลงครึ่งหนึ่ง เฉลี่ยบริษัทที่เหลือเบี้ยเพิ่มเท่าตัว ความสามารถในการสร้างสินค้าใหม่มีมากขึ้น การแข่งขันลดเบี้ยน้อยลง ยกระดับภาพ พจน์บริษัทประกันภัยดีขึ้น

สำหรับกรุงเทพประกันภัย นายชัยกล่าวว่า บริษัทไม่จำเป็นต้องซื้อบริษัทอื่น เพื่อความอยู่รอดเนื่องจากแข็งแกร่งอยู่แล้ว ตรงกันข้ามพร้อมซื้อบริษัทประกันภัยอื่นเพิ่มเช่นกันแต่การซื้อต้องคำนึงถึงความคุ้มไม่คุ้ม ต้องศึกษาบริษัทนั้นๆ มีงาน ที่บริษัทไม่สามารถเจาะได้ เช่น ในกลุ่มผู้ถือหุ้นของเขาหรือรับงานวิสาหกิจมากๆ ซึ่งเป็นงานที่บริษัทยังมีน้อยอยู่ โดยบริษัท พร้อมที่จะซื้อหรือควบรวม แต่ถ้าเป็นงาน ที่มาจากตัวแทน นายหน้ามากบริษัทไม่สนใจเพราะสามารถติดต่อได้อยู่แล้ว

อย่างไรก็ดี จากผลศึกษาของต่างประเทศเกี่ยวกับการควบรวมกิจการหรือซื้อบริษัทอื่นประสบความสำเร็จไม่ถึง 20% ประมาณครึ่งหนึ่งที่ควบรวมหรือซื้อบริษัท อื่นเพิ่มสู้งานที่มีอยู่เดิมไม่ได้ โดยปัญหาอย่างหนึ่งที่พบคือพนักงานลาออกเนื่องจาก วัฒนธรรมไม่เหมือนกัน ขณะที่ลูกค้าหนีไป อยู่บริษัทอื่นเพราะลูกค้าจะมีความภักดีกับ บริษัทที่ทำประกันเมื่อผู้ถือหุ้นเปลี่ยนความ ภักดีจะเปลี่ยน ทำให้เบี้ยหายไปไม่คุ้ม

ตอนนี้เรามีส่วนแบ่งตลาด (มาร์เก็ตแชร์) 7% ของทั้งระบบใหญ่พอสมควรอยู่ แล้ว ถ้าใหญ่กว่านี้ดูแลลำบาก เวลาควบรวมหรือซื้อกิจการเป้าหมายเพื่อลดต้นทุน จะทำให้พนักงานประมาณ 20-30% ว่างงานเราไม่อยากมีปัญหาพนักงานออก

อนึ่ง ในช่วงนี้บริษัทประกันวินาศภัยเริ่มเปิดเจรจาซื้อขายกิจการรวมถึงควบรวมกิจการกันอย่างลับๆ โดยมีความเคลื่อนไหวมากกว่าอดีตเป็นผลกระทบจาก กฎกติกาใหม่ๆ ของ คปภ. ทั้งเงินกองทุนขั้นต่ำ 150% รวมถึง RBC ที่จ่อใช้ในปี 2554 โดยคาดกันว่าภาพการซื้อและควบรวมจะขยับมากขึ้นในปีหน้าซึ่งจะมีดีลที่เจรจากันจบหรือปิดการซื้อได้

หนึ่งในดีลที่คาดว่าจะเห็นในปีหน้าคือ บริษัท ไอเอจีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 09, 2009 10:08 pm
โดย miracle
กรุงเทพฯกวาดเบี้ยการบินไทย


วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552
กรุงเทพประกันภัย ลุยรับงานใหญ่ มูลค่าคุ้มครองเครื่องการบินไทย 1.2 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
น.ส.ผกามาศ จารุเสถียร ผู้อำนวยการธุรกิจภัยพิเศษ บริษัท กรุงเทพประกันภัย เปิดเผยว่า บริษัทเป็นผู้รับประกันให้บริษัท การบินไทย คิดเป็นมูลค่าเบี้ยประมาณ 700 ล้านบาท เป็นความคุ้มครองในส่วนของประกันภัยทรัพย์สินตัวเครื่องบินทั้งหมด โดยมีทุนประกันประมาณ 1 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และในส่วนของประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Liability) ทุนประกันภัยประมาณ 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ เริ่มสัญญาตั้งแต่วันที่ 1 ธ.ค.ที่ผ่านมา ทำให้คาดว่าในปีนี้จะได้เบี้ยลูกค้ารายใหญ่เพิ่มมากขึ้น
ทั้งนี้ แม้ทุนประกันของการบินไทยจะสูง แต่ก็ไม่มีความเสี่ยงมาก เนื่องจากกรุงเทพประกันภัยรับเสี่ยงภัยไว้เองเพียง 0.003% เท่านั้น ส่วนที่เหลือได้ส่งไปยังบริษัทประกันภัยต่อชั้นนำที่มีความมั่นคง ไม่ว่าจะเป็นบริษัท สวิส รี และบริษัท มิวนิค รี ดังนั้นจึงไม่ต้องกังวลว่าบริษัทประกันภัยต่อกลุ่มนี้จะไม่สามารถจ่ายค่าสินไหมทดแทนได้

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้บริษัทเคยร่วมเป็นพันธมิตรกับบริษัท ทิพยประกันภัย และบริษัท เทเวศประกันภัย ในการเสนอตัวรับประกันให้กับการบินไทย แต่นโยบายของการบินไทยในช่วงมา 2 ปีที่ผ่านมา ต้องการคัดเลือกบริษัทประกันภัยเพียงรายเดียวให้เข้ารับประกันภัย จากเดิมที่เลือกใช้หลายบริษัทประกันทำร่วมกัน บริษัทจึงแยกออกมาเสนอตัวเพียงรายเดียว ซึ่งทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ก็มีระเบียบกำหนดสัดส่วนที่บริษัทประกันภัยของไทยจะสามารถรับความเสี่ยงภัยไว้เองอยู่แล้วว่าห้ามเกินกี่เปอร์เซ็นต์ โดยพิจารณาจากเงินกองทุนเป็นหลัก

นอกจากนี้ เมื่อเดือนต.ค.ที่ผ่านมา บริษัทยังได้รับงานประกันภัยทรัพย์สินสนามบินให้กับท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ มีทุนประกันประมาณ 1 หมื่นล้านบาท และประกันภัยความรับผิดต่อบุคคลภายนอก มีทุนประกันประมาณ 300 ล้านเหรียญสหรัฐ อีกด้วย ได้เบี้ยประกันภัยมากกว่า 10 ล้านบาท แต่งานนี้ได้ร่วมรับประกันกับบริษัทอีก 2 บริษัท

http://www.posttoday.com/finance.php?id=79784

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 09, 2009 10:09 pm
โดย miracle
เอไอจีปรับทิศ ประกันวินาศ ใช้ชื่อชาร์ทิส


วันพุธที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2552
เอไอจี แยกธุรกิจประกันวินาศภัยออกจากกลุ่ม ใช้ชื่อใหม่ ชาร์ทิส
นายเลสลีย์ เจ.โมเอ็ท ประธานคณะผู้บริหารประจำภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ชาร์ทิส เปิดเผยว่า บริษัท เอไอจี โฮลดิ้ง ตัดสินใจแยกธุรกิจประกันวินาศภัยที่ดำเนินธุรกิจอยู่ใน 160 ประเทศทั่วโลกออกมาเป็นเอกเทศ และใช้ชื่อใหม่ว่า ชาร์ทิส เพื่อปรับภาพลักษณ์องค์กร และคงความเป็นบริษัทประกันวินาศภัยชั้นนำของโลก
นับจากนี้ไปบริษัทประกันวินาศภัยในเครือของเอไอจีที่ทำธุรกิจภายใต้ชื่อหรือแบรนด์ที่แตกต่างกัน จะใช้ชื่อเดียวกันหมดคือ ชาร์ทิส นายเลสลีย์ กล่าว

นายสตีเว่น บาร์เน็ต กรรมการผู้จัดการและประธานคณะผู้บริหาร ชาร์ทิส ประเทศไทย กล่าวว่า บริษัท เอไอจี ประเทศไทย ได้เปลี่ยนชื่อเป็นบริษัท ชาร์ทิส ประเทศไทย เรียบร้อยแล้ว ส่วนบริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ จะมีการเปลี่ยนชื่อเป็น ชาร์ทิส ในอนาคต

ล่าสุด ในเดือนม.ค.ปีหน้าจะเปิดตัวกับตัวแทน 7,500 คนที่กรุงเทพฯ เพื่อทำความเข้าใจกับลูกค้ากว่า 3 ล้านคนทั่วประเทศ นอกเหนือจากนี้บริษัทจะทำการประชาสัมพันธ์ชื่อใหม่ผ่านสื่อต่างๆ

สำหรับ 9 เดือนของปี 2552 ที่ผ่านมา ทั้งสองบริษัทในไทยมีเบี้ยประกันลูกค้ารายย่อย 1,260 ล้านบาท

http://www.posttoday.com/finance.php?id=79788

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 10, 2009 9:04 am
โดย miracle
นิวแฮมพ์เชอร์ฯดึงรายย่อยซื้อประกันเพิ่ม15%


วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
นิวแฮมพ์เชอร์ฯ รุกหนักปี 2553 เพิ่มฐานลูกค้ารายย่อย 15%
นายพงษ์ภาณุ ดำรงศิริ รองประธานและผู้จัดการแผนกประกันภัยรถยนต์และทรัพย์สินส่วนบุคคล บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ อินชัวรันส์ เปิดเผยว่า บริษัทมีลูกค้ารายย่อยทำประกันมากกว่า 3 แสนราย โดยปี 2553 ตั้งเป้าหมายที่เติบโตเพิ่มขึ้น 15% โดยจะเพิ่มสัดส่วนลูกค้าเก่าซื้อประกันใหม่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยคนละ 3 กรมธรรม์ต่อราย จากปัจจุบันที่มีอัตราการถือกรมธรรม์ 1.9 ฉบับต่อราย ด้วยการเน้นกลยุทธ์เสนอกรมธรรม์ใหม่ๆ สอดคล้องกับวัยต่างๆ เน้นกลุ่มลูกค้าเก่าซึ่งมีความต้องการที่แตกต่างกันในแต่ละช่วงชีวิต โดยแยกเป็นกลุ่มลูกค้าเริ่มทำงาน กลุ่มซื้อรถคันแรก กลุ่มซื้อบ้านหลังใหม่ และกลุ่มคนที่เริ่มมีลูกคนแรก
นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า การรุกตลาดลูกค้ารายย่อยจะขายผ่านตัวแทนที่มีอยู่ 7,500 คน และพัฒนาเครือข่ายเพื่อให้เข้าถึงลูกค้าให้มากขึ้นด้วยการเร่งสร้างพันธมิตรใหม่ๆ ซึ่งปัจจุบันมีจำนวน 250 ราย เช่น ธุรกิจสายการบิน ธุรกิจท่องเที่ยว สถาบันการเงิน ธุรกิจค้าปลีก ธุรกิจออนไลน์ นอกจากนี้ยังคงเน้นการขายประกันทางโทรศัพท์อย่างต่อเนื่อง โดยมีพนักงานขาย 230 คน

นายปัญญ์ รอดลอยทุกข์ รองประธานกลุ่มธุรกิจประกันภัยพาณิชยกรรม บริษัท นิวแฮมพ์เชอร์ฯ กล่าวว่า ปี 2553 ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มสัดส่วนการถือครองกรมธรรม์ลูกค้าเก่า ซึ่งเป็นองค์กรขนาดใหญ่เพิ่มเป็น 3.5-4 กรมธรรม์ต่อราย จากปัจจุบัน 2.7 ฉบับต่อราย และเพิ่มสัดส่วนการถือกรมธรรม์ของลูกค้าองค์กรขนาดกลางเป็น 2 กรมธรรม์ต่อราย จากปัจจุบัน 1.4 กรมธรรม์ต่อราย โดยจะออกกรมธรรม์คุ้มครองความเสี่ยงใหม่ๆ เช่น การประกันการรับผิดอันเนื่องมาจากมลพิษหรือปนเปื้อน การประกันความรับผิดทางกฎหมาย

จุดแข็งของเราอยู่ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแลลูกค้าแต่ละรายเพื่อดูว่ามีความเสี่ยงอะไรบ้าง จะได้หาความ คุ้มครองที่สอดคล้องกับความต้องการเฉพาะ และยังให้คำแนะนำประกันภัยได้ทั่วโลก เพราะลูกค้ารายใหญ่มีการทำธุรกิจในหลายประเทศ และเรามีเวลาที่แน่นอนในการชดใช้ค่าสินไหมทดแทน นายปัญญ์ กล่าว

http://www.posttoday.com/finance.php?id=79977

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 10, 2009 9:06 am
โดย miracle
คปภ.หนุนประกันไทยบุกลาว


วันพฤหัสบดีที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2552
คปภ.นัดนักธุรกิจประกันภัยไทย 17 บริษัท เปิดตลาดในลาว ชี้โอกาสเติบโตสูง
นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้ประสานนัดนักธุรกิจประกันภัยไทยพบปะกับนักธุรกิจประกันภัยสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยมีนักธุรกิจไทย 22 คน จากบริษัทประกันภัยไทย 17 บริษัท เข้าร่วมแลกเปลี่ยนข้อมูลการลงทุนด้านประกันภัยในลาว เนื่องจากเห็นว่ามีโอกาสในการเติบโตสูง โดยมีประชาชนที่มีรถทำประกันภัย ภาคบังคับตามกฎหมายเพียง 50% เท่านั้น ขณะที่ประเทศไทยมีประชาชนที่มีรถทำประกันภาคบังคับถึง 99%
นอกจากนี้ ทางลาวยังมีบริษัทประกันภัยเพียง 5 บริษัทเท่านั้น ถือว่ายังน้อย ทำให้เบี้ยประกันภัยรถมีราคาแพง เช่น รถโตโยต้า คัมรี่ ราคาเบี้ยเท่ากับรถเบนซ์ ทางภาครัฐบาลมีแผนที่จะดึงนักลงทุนต่างชาติเข้ามาแข่งขันให้มากขึ้น ขณะที่ทางนักธุรกิจประกันภัยลาวสนใจในการพัฒนาธุรกิจให้เติบโต โดยสนใจรูปแบบการทำงานภายใต้สมาคมประกันวินาศภัย และการจัดตั้งสภาธุรกิจประกันภัยไทย

นายสาระ ล่ำซำ ประธานสภาธุรกิจประกันภัยไทย กล่าวว่า นอกจากนักธุรกิจประกันภัยลาวแล้ว ยังมีกลุ่มนักธุรกิจเหมืองแร่ การท่องเที่ยว เช่าซื้อ ธุรกิจด้านรถยนต์ ธนาคาร เข้ามาแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกัน ซึ่งทางนักธุรกิจลาวให้ความสนใจแนวทางการทำธุรกิจประกันภัยในประเทศไทยมาก เนื่องจากมีความเป็นสากลและแนวทางการกระตุ้นให้ประชาชนหันมาออมเงินผ่านประกันชีวิตผ่านมาตรการด้านภาษี การทำประกันสุขภาพ และการทำประกันประเภทบำนาญ

ประชาชนชาวลาวมีการทำประกันชีวิตแค่ 5% ทางภาคธุรกิจเขาเลยอยากรู้ว่าจะทำอย่างไรที่จะกระตุ้นให้คนหันมาทำประกันชีวิตมากขึ้น นายสาระ กล่าว

นายหอรดี วรราช หัวหน้าห้องการประกันภัย บริษัท ประกันภัยแห่งประเทศลาว (เอจีแอล) กล่าวว่า ขณะนี้มีบริษัทประกันภัยไทย 3 บริษัท ที่สนใจจะเข้ามาลงทุนในลักษณะของการร่วมทุนกับทางรัฐบาล โดยลาวมีประชาชนทำประกันภัยเพิ่มขึ้นทุกปี ทำให้เบี้ยประกันภัยเติบโตเฉลี่ยปีละ 25% โดยมีเอจีแอลครองส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดถึง 90% จากบริษัททั้งหมด 5 บริษัท

นายเสียง ไชยะสาน หัวหน้าแผนกไอที เอจีแอล กล่าวว่า ปี 2552 เบี้ยประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลเพิ่มขึ้นกว่า 50% เมื่อเทียบกับ 2 ปีที่ผ่านมา ขณะที่เบี้ยประกันภัยรถยนต์เพิ่มขึ้น 35-40% เนื่องจากจำนวนรถยนต์เพิ่มขึ้น

http://www.posttoday.com/finance.php?id=79971
------------------------------------------------------------------------
ใครรู้ว่าบริษัทไหนไปทำูประกันวินาศภัยหรือประกันชีวิตที่ลาวบ้าง
บอกหน่อย เพราะในข่าวนี้ไม่ได้ระบุถึงบริษัท
แต่อย่างน้อยมี 5 บริษัทเดินทางไปทำแล้ว แต่ คปภ ต้องการมากกว่านั้นคือ 17 บริษัท
ให้คาดการณ์คือพวกบริษัทใหญ่ๆๆ
:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 10:29 pm
โดย chaitorn
คราวนี้ กรรมการบริษัทประกันภัย ต้องเป็นมืออาชีพมากขึ้น รักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้น และผู้รับประกันภัย ป้องกันผลประโยชน์ทับซ้อน

คปภ. เอาจริง เราเตือนคุณแล้ว  :lol:

http://www.mittare.com/news_view.php?nid=1437

คปภ.ยุคใหม่ ไล่ตรวจอำนาจผู้บริหารสกัดกรรมการร่างทรง

น.ส.วสุมดี วสีนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบการกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า คปภ.มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบคุณสมบัติและอำนาจของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่ามีผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้มีชื่อในตำแหน่งกรรมการบริหารหรือคณะผู้บริหาร แต่เป็นผู้ที่มีอำนาจควบคุมหรือครอบงำกรรมการผู้จัดการ หรือมีอำนาจจัดการบริษัทให้ปฏิบัติตามคำสั่งในการกำหนดนโยบาย หรือการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ จากเดิมคปภ.ไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ แต่ปัจจุบันสามารถเข้าถึงและเอาผิดได้ตามพ.ร.บ.ประกันวินาศภัยฉบับใหม่ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 2551 ซึ่งทางคปภ.จะจับตามองบริษัทดังกล่าวอย่างใกล้ชิด เพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน น.ส.วสุมดี กล่าว น.ส.วสุมดี กล่าวว่า นอกเหนือจากที่มีอำนาจในการตรวจสอบผู้บริหารทุกระดับสูง และคณะกรรมการชุดย่อยที่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางธุรกิจของบริษัท ตามนโยบายสนับสนุนการบริหารกิจการที่ดีตามหลักสากล นอกจากนี้ กฎหมายใหม่ยังได้กำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารที่ชัดเจนกว่าเดิม เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มีความเข้าใจในธุรกิจประกันภัยระดับสากล และระดับประเทศเข้ามาร่วมงาน ไม่มีผลประโยชน์ซับซ้อน นับจากนี้ไปบริษัทประกันวินาศภัยต้องทำใจ และพร้อมในการถูกตรวจสอบตลอดเวลา เพราะเราจะเข้าไปบ่อยกว่าเดิม น.ส.วสุมดี กล่าว
ที่มา:โพสต์ทูเดย์

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 10:31 pm
โดย chaitorn
ประกันวินาศภัยยังรุ่งในปี 53

http://www.mittare.com/news_view.php?nid=1438


สมาคมประกันวินาศภัยตั้งเป้าปี 2553 เบี้ยรับรวมโต 15% รับเศรษฐกิจขยาย รายได้ขยับ
นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ปี 2553 ตั้งเป้าหมายเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งระบบเพิ่มขึ้น 10-15% จากปี 2552 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยและภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น และบริหารอย่างระมัดระวังเพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน หลังจากได้รับ บทเรียนในช่วงที่ผ่านมา เรียกความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ โดยโรงงานอุตสาหกรรมถึงเวลาในการเพิ่มกำลังการผลิต หลังจากทำการระบายวัตถุดิบในการผลิตและสินค้าคงคลังออกไปเกือบหมดในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ประกันภัยโต
นอกจากนี้ ยังได้รับอานิสงส์จากอัตราดอกเบี้ยโลกที่ยังไม่ขึ้น เห็นจากธนาคารกลางของแต่ละประเทศคงระดับดอกเบี้ยไว้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยยังคงไม่สูง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยปีนี้คาดว่าประชาชนจะหันมาใช้จ่ายกันมากกว่าปีที่ผ่านมา เพราะคลายความกังวลเรื่องเศรษฐกิจ กอปรกับปีที่ผ่านมามีการอั้นการบริโภค เชื่อว่าปี 2553 จะนำออกมาใช้เต็มที่ โดยประกันภัยที่จะเติบโตอย่างมาก คือ ประกันส่วนบุคคล เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ประกันรถยนต์ เนื่องจากประชาชนเริ่มเห็นความสำคัญของความคุ้มครองตัวเองมากขึ้น

นายจีรพันธ์ กล่าวว่า บริษัทประกันภัยมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น และพัฒนาช่องทางการขายที่หลากหลาย โดยเฉพาะการขายผ่านโทรศัพท์และการขายผ่านธนาคาร ที่จะยังได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง หากมีแบบประกันที่ตรงกับความเสี่ยงของแต่ละคน

เรายังจะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้มีการออกกรมธรรม์ราคาถูกออกมา ซึ่งนอกจากจะออกประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ สามารถที่จะพัฒนาประกันรถยนต์ราคาถูกออกมาอีก ซึ่งสามารถทำได้ทั้งประกันพีเอ ประกันสุขภาพ และประกันรถยนต์ นอกเหนือจากที่มีประกันชั้น 3 พิเศษ ประกันชั้น 4 ซึ่งมีขายอยู่แล้ว นายจีรพันธ์ กล่าว

สำหรับปี 2552 ฝ่ายวิจัยไทยรับประกันภัยต่อ คาดว่าเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งระบบจะมีทั้งสิ้น 1.08 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.51% จากปี 2551

ที่มา:โพสต์ทูเดย์

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 10:33 pm
โดย chaitorn
http://www.mittare.com/news_view.php?nid=1441
ดันไทย ฮับ ประกันรถข้ามแดน

ในอาเซียนชิงดำสิงคโปร์-มาเลเซีย

ประกันรถภาคบังคับข้ามแดนอาเซียนเริ่มแล้วนำร่องไทย-สปป.ลาวพร้อม ซีเกมส์ เชื่อมข้อมูลผ่านระบบออนไลน์แบบเรียลไทม์คุ้มครองทันทีที่รถข้ามประเทศ ขยายต่อเวียดนามต้นปีหน้า คิวต่อไปลุ้นเขมร-พม่า มั่นใจหนุนประกัน พ.ร.บ. บวกการค้าและท่องเที่ยวระหว่างอาเซียนโต กางเป้าหมายดันไทยเป็น ฮับ ประกันรถข้ามแดนอาเซียน ชิงดำสิงคโปร์-มาเลเซียมั่นใจมีความพร้อมมากกว่า
นับเป็นประวัติศาสตร์หน้าใหม่วงการประกันภัยไทยเมื่อมีการเปิดใช้ ระบบประกันภัยรถภาคบังคับข้ามแดน ระหว่างไทยกับสปป.ลาวอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ธันวาคมที่ผ่านมา โดยมีนายแพทย์พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการ คลังของไทยและนางเวียงทอง สีพันดอน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการเงินของสปป.ลาว เป็นประธาน ถือเป็น การนำร่องโครงการนี้ในกลุ่มประเทศอาเซียนทั้ง 10 ประเทศหลังจากผลักดันมากว่า 10 ปี
นายแพทย์พฤฒิชัย กล่าวว่า การเปิดใช้ระบบประกันภัยรถภาคบังคับระหว่าง 2 ประเทศทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกในการจัดทำประกันภัยรถภาคบังคับก่อนนำรถยนต์ข้ามผ่านแดนโดยไม่ต้องเสียเวลาลงจากรถเพื่อไปทำประกันภัยรถของประเทศปลายทางเหมือนที่ผ่านมา โดยประชาชนมั่นใจได้ว่าได้รับความคุ้มครองแน่เมื่อเกิดอุบัติเหตุในขณะเดินทางไปอีกประเทศหนึ่งเนื่องจากจะมีการเชื่อมโยงข้อมูลด้วยระบบออนไลน์แบบเรียลไทม์ระหว่าง 2 ประเทศทำให้ ได้รับความช่วยเหลือด้านค่าสินไหมทดแทนทันทีโดยความคุ้มครองจะเป็นไปตามกฎหมายประกันภัยรถภาคบังคับของแต่ละประเทศ

ทั้งนี้ เจ้าของรถหรือผู้เอาประกันภัยไทยที่ต้องการเดินทางเข้าสปป.ลาวสามารถนำหลักฐานไปแจ้งขอทำประกันภัยของสปป.ลาวได้ ณ ที่ทำการบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการซึ่งจะแสดงป้ายสัญลักษณ์ศูนย์รับแจ้งการทำประกันภัย (Insurance Compulsory Center) โดยจะได้รับหลักฐานการจัดทำประกันภัยที่เรียกว่าบลูการ์ด สติกเกอร์ (Blue Card Sticker) และใบรับรองการทำประกันภัย โดยให้ติดบลูการ์ดไว้ที่หน้ากระจกรถยนต์เพื่อแสดงถึงการมีประกันภัย

นายแพทย์พฤฒิชัยกล่าวว่า ในช่วง การแข่งขันกีฬาซีเกมส์ครั้งที่ 25 ที่สปป. ลาวคาดว่าจะมีประชาชนชาวไทยและชาวลาวเดินทางผ่านแดน ณ ชายแดนไทย-สปป.ลาวเพิ่มสูงกว่าช่วงปกติถึง 30% หรือ กว่า 300,000 คนและคาดว่าจะมีปริมาณ รถเข้าผ่านเข้าออกระหว่าง 2 ประเทศเพิ่มสูงขึ้นถึง 20% หรือกว่า 200,000 คัน เพื่อเข้าชมการแข่งขันและจับจ่ายซื้อสินค้าจะยิ่งทำให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากยิ่งขึ้นจากการทำประกันภัยรถภาคบังคับก่อนการเดินทาง

โครงการนี้เริ่มต้นระหว่างไทยกับลาวก่อนหลังจากนั้นจะขยายไปยังเวียดนามและกัมพูชาซึ่งได้มีการลงนามข้อตกลงเบื้องต้นไปก่อนหน้านี้แล้ว โดยความร่วมมือครั้งนี้จะช่วยสนับสนุนการขยายตัวของกิจกรรมด้านการค้า การลงทุนและการท่องเที่ยวระหว่าง 4 ประเทศ

ภายใต้ระบบนี้ แต่ละประเทศจะแต่งตั้งสำนักงานประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติ (National Bureau) ขึ้นมาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นศูนย์บริการประกันภัยรถภาคบังคับข้ามแดนทั้งออกบลูการ์ด ประทับตราบลูการ์ดและประสานการจ่ายค่าสินไหมทดแทน ในส่วนประเทศไทย คือ บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถ จำกัด ส่วนสปป.ลาวคือ บริษัท ประกันภัย แห่งประเทศลาว (เอจีแอล)

นายหรดี วรราช ประธานสำนักงาน ประกันภัยรถผ่านแดนแห่งชาติสปป.ลาวกล่าวว่า โครงการนี้จะทำให้คนลาวทำประกันภัยรถภาคบังคับมากขึ้นจากปัจจุบัน รถยนต์ทำประกันไม่ถึง 50% ขณะที่รถจักรยานยนต์ทำประกันประมาณ 3%

นายประยูร ภู่แส ผู้อำนวยการฝ่าย ไอที บริษัท กลางคุ้มครองผู้ประสบภัยจาก รถ จำกัด เปิดเผยว่า การประกันภัยรถข้ามแดนไทยและสปป.ลาวกำหนดคิดอัตราเบี้ยประกันภัยเริ่มต้นที่ 15 วันปรับลดลงจากเดิม 30 วัน สมมติรถตู้คุ้มครอง 15 วันจะจ่ายเบี้ยประมาณ 124 บาท โดย เอกสารที่ใช้ซื้อประกันรถข้ามแดนเหมือน กับซื้อประกันปกติ ได้แก่ สำเนาทะเบียนรถและใบอนุญาตขับขี่

นายประยูร กล่าวว่า พยายามผลักดัน ให้ไทยเป็นศูนย์กลาง (ฮับ) ประกันภัยรถภาคบังคับผ่านแดนอาเซียนซึ่งจะแบ่งออก เป็น 2 โซนคือโซนบนซึ่งจะเป็นเฟสแรกที่เริ่มดำเนินการประกอบด้วยไทย พม่า เวียดนาม กัมพูชาและลาว โดยเวียดนาม กำหนดเริ่มต้นปี 2553 เพราะยังติดขัดระบบ ออนไลน์และเอกสาร ขณะที่พม่ากำหนดเริ่มในปี 2553 ส่วนกัมพูชายังไม่พร้อม โดย โซนนี้ไทยเป็นลีดในโครงการเพราะมีความ พร้อมมากกว่าทุกประเทศ

สำหรับโซนล่างอยู่ในเฟสสองประกอบด้วยมาเลเซีย สิงคโปร์ บรูไน ฟิลิปปินส์ และอินโดนีเซีย โดยทางสิงคโปร์ และมาเลเซียแย่งกันเป็นลีดในโซนนี้อยู่ แต่หากเทียบศักยภาพระหว่างไทยและมาเลเซียแล้วไทยมีความพร้อมมากกว่า

แผนในอนาคตอยากพัฒนาโครงการ นี้ไปถึงขั้นที่ยุโรปทำอยู่คือรถข้ามแดนซื้อประกันที่เดียวใช้บลูการ์ดใบเดียวสามารถ วิ่งข้ามไปประเทศไหนก็ได้ แต่ไทยยังไม่สามารถทำแบบนั้นได้ต้องเปลี่ยนระบบการจดทะเบียนที่ขนส่งให้เป็นนานาชาติคือ เป็นภาษาอังกฤษก่อน

ด้านนายณัฐพงค์ บุญเย็น ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายปฏิบัติการภาค 2 บริษัท วิริยะประกันภัย จำกัด หนึ่งในบริษัทที่เข้า ร่วมโครงการ กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทได้ส่ง เจ้าหน้าที่ไปประจำที่ลาว เพื่อรับแจ้งเหตุให้กับลูกค้าชาวไทยที่นำรถไปวิ่งในลาวจะได้ให้บริการที่รวดเร็ว โดยบริษัทประกันภัย แห่งประเทศลาวจะให้ความคุ้มครองกรณีเสียชีวิตสูงสุด 50,000 บาท/คน/ครั้ง ค่ารักษาพยาบาล 7,500 บาท/คน/ครั้ง และคุ้มครองทรัพย์สินบุคคลภายนอก 20,000 บาท/ครั้งเหมือนกับเวียดนาม

ที่มา:สยามธุรกิจ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 10:34 pm
โดย chaitorn
http://www.mittare.com/news_view.php?nid=1442

ประกันฯจ้องเขมือบเบี้ยสุขภาพคนลาว

กระทรวงการคลัง สบช่องประเดิมประกันภัยรถข้างแดนครั้งแรกในลาว หวังกรุยทางนักธุรกิจประกันภัยไทย เดินหน้าขยายการลงทุนเพิ่ม เปิด2 โมเดล สมาคมประกันชีวิตไทยสนใจตลาดสุขภาพมีโอกาสสูง ด้านสมาคมประกันวินาศภัย เร่งศึกษาปัจจัยบวกต่อยอด สปป.ลาว เผยมีบริษัทประกัน 2-3 แห่งจากไทยจีบเป็นพันธมิตรทางธุรกิจน.พ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวถึงความร่วมมือระหว่างสภาธุรกิจประกันภัยไทย กับสภาการค้าและอุตสาหกรรมแห่งชาติของ สปป.ลาว ว่า นอกเหนือจากการเชื่อมข้อมูลระบบการประกันภัยรถภาคบังคับ สำหรับรถยนต์ข้ามแดนระหว่างไทย-สปป.ลาว และความร่วมมือด้านวิชาการครั้งนี้แล้ว ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) ได้นำคณะนักธุรกิจประกันภัยไทยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัย เดินทางมาเจรจาการค้า การลงทุนเพิ่มเปิดตลาดใน สปป.ลาว เนื่องจากในขณะนี้บริษัทประกันภัยสามารถลงทุนใน สปป.ลาว ได้ 2 ลักษณะ คือการร่วมลงทุน (Joint Venture) และการลงทุนโดยตรงถือหุ้น 100% (Foreign Direct Investment)
ทั้งนี้ มูลค่าการค้าระหว่างไทย-สปป.ลาว โดยเฉลี่ยอยู่ที่ปีละ 45,315 ล้านบาท หรือมีอัตราการขยายตัว 33% ต่อปี (ข้อมูลอ้างอิงจากกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ 2549-2551) ประกอบกับเล็งเห็นว่า สปป.ลาวยังมีความใหม่ทางด้านการประกันภัย และถือเป็นธุรกิจที่น่าสนใจ โดยคาดหวังให้มีความร่วมมือจับการจับคู่ค้าทางธุรกิจ
โดยเฉพาะการรับประกันทางด้านธุรกิจโรงพยาบาล ธุรกิจการเงิน และการขนส่ง จะเห็นการจับคู่กับธุรกิจลาวจำนวนหลายคู่เร็วๆ นี้ จะมีการเปิดตัวคู่ค้าและมีมูลค่าการลงทุนที่ขยายตัวต่อไป จากปัจจุบันในลาว มีบริษัทประกันภัย จำนวน 5 ราย ได้แก่ AGL ,มิตซุยสุมิโตโม ,PCT Asia Insurance รวมถึงบริษัทร่วมทุนจากมาเลเซียและสิงคโปร์
นายสาระ ล่ำซำ ในฐานะนายกสมาคมประกันชีวิตไทยและสภาประกันภัยไทย กล่าวถึงความพร้อมสนับสนุนและแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างภาคธุรกิจประกันภัยกับสปป.ลาวว่า ทางด้านประกันสุขภาพ เป็นตลาดที่น่าสนใจมาก เนื่องจากตลาดใน สปป.ลาวยังเติบโตไม่มาก จึงถือเป็นโอกาสขยายตลาดประกันสุขภาพ ดังนั้น การเจรจาจับคู่ทางธุรกิจครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี จะพัฒนาตลาดประกันภัยร่วมกัน
จากข้อได้เปรียบที่ธุรกิจประกันภัยไทย มีความเป็นสากล และเตรียมสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายต่างๆ เพื่อให้สอดคล้องกับการลงทุนประกันภัยใน สปป.ลาวต่อไป
ด้านนายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล ในฐานะนายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ความร่วมมือในการเปิดโครงการประกันภัยรถข้ามแดนในครั้งนี้ จะส่งผลดีต่อทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะด้านการขนส่งและท่องเที่ยว ระบบการหมุนเวียนทางเศรษฐกิจดีขึ้นไปด้วย นอกจากนี้ ยังสนับสนุนแนวคิดของ คปภ. ที่ต้องการให้บริษัทประกันภัยของไทยมาลงทุนในสปป.ลาว เนื่องจากเห็นว่าสัดส่วนการทำประกันภัยภาคบังคับมีเพียง 50 % ของประเทศ แต่ทั้งนี้ต้องศึกษากฎหมายให้เข้าใจก่อนการลงทุน เนื่องจากกฎหมายประกันของสปป.ลาวต่างจากไทย
ขณะที่นายหอระดี วรราช หัวหน้าห้องประกันภัย บริษัทประกันภัยแห่งสปป.ลาว กล่าวว่าขณะนี้ มีบริษัทประกันภัยไทย 2-3 บริษัท อยู่ระหว่างเจรจาเพื่อลงทุนในสปป.ลาว ในลักษณะพันธมิตรทางธุรกิจกับ สปป.ลาว เป็นหลัก ซึ่งปัจจุบันสปป.ลาว มีส่วนแบ่งทางการตลาดถึง 90% และในช่วง 2 ปีผ่านมามีอัตราการเติบโตของเบี้ยรับรวม 25% ต่อปี ขณะที่อัตราการเติบโตเศรษฐกิจของลาวต่อจำนวนประชากร (GDP) ปีนี้จะขยายตัว 7.5-8%
ดังนั้นหากบริษัทประกันภัยต่างชาติต้องการลงทุนในลาว จะต้องยื่นเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนของลาว (บีโอไอ) และต้องมีประสบการณ์ มีสถานะทางการเงินและเงินทุนของบริษัทที่มั่นคงรองรับการทำธุรกิจในระยะยาว โดยช่วงไตรมาส 2 ปี 2553 จะมีการปรับแก้กฎหมายประกันภัยในส่วนของทุนจดทะเบียนและเงินค้ำประกันเพิ่มขึ้นเพื่อสร้างความแข็งแกร่งให้กับธุรกิจประกันภัย จากปัจจุบันเงินลงทุนขั้นต่ำอยู่ที่ 2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 66 ล้านบาท
นอกจากนี้ทางสปป.ลาว กำลังร่างระเบียบการจัดตั้งสมาคมประกันชีวิตและสมาคมประกันวินาศภัย และได้นำเสนอต่อกระทรวงการเงินแล้ว กำลังรอการอนุมัติประมาณต้นปีหน้า โดยทางสปป.ลาว ยึดรูปแบบมาจากการจัดตั้งมาจากคปภ. และรูปแบบการกำกับของอลิอันซ์ ซึ่งถือว่าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับ สปป.ลาว มีกฎเกณฑ์การกำกับธุรกิจประกันภัยที่ความเข้มงวด เพื่อสร้างความธุรกิจประกันภัยที่เป็นมหภาพ ระดับสากลและให้ความคุ้มครองประชาชนลาวเป็นไปตามกติกาด้วยบรรทัดฐานเดียวกันทั้งหมด

ที่มา:ฐานเศรษฐกิจ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 10:35 pm
โดย chaitorn
http://www.mittare.com/news_view.php?nid=1443

ประกันภัยผ่าน Bank ยังเป็นช่องทางการเติบโตที่สดใสในปีหน้า

กสิกรบุกขายประกัน
ปี 53 หวังโตหมื่นล้าน

นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ในปี 2553 มองว่าแนวโน้มการขยายตัวของธุรกิจการขายประกันผ่านธนาคาร (แบงก์แอสชัวรันส์) น่าจะเติบโตได้อีกมาก ซึ่งเห็นได้จากจำนวนผู้ถือครองกรมธรรม์ในปัจจุบันมีเพียง 25% ของประชากรทั้งประเทศ โดยขึ้นอยู่กับว่า 80% กว่าที่เหลือจะทำอย่างไรเพื่อให้ได้มา อย่างไรก็ตาม ที่ผ่านมาเบี้ยรับรวมจากธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ของธนาคารสามารถเติบโตได้เกินกว่า 60% มาโดยตลอด ซึ่งคาดว่าปีหน้าน่าจะเติบโตได้ไม่น้อยกว่าปีนี้ สำหรับเบี้ยรับรวมจากธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ในปีนี้น่าจะเติบโตได้ตามเป้าหมายที่ 1 หมื่นล้านบาท จากปัจจุบันที่ทำได้มากกว่า 9 พันล้านบาท หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตได้กว่า 100% จากปีที่แล้ว ซึ่งเบี้ยรับรวมอยู่ที่ 5 พันล้านบาท แบ่งเป็นเบี้ยประกันจากธุรกิจประกันชีวิต 80-90% ที่เหลือเป็นเบี้ยประกันวินาศภัย ขณะที่ในส่วนของรายได้ค่าธรรมเนียมจากการขายประกันของธนาคารปัจจุบันมีอยู่ราว 1,000 ล้านบาท ซึ่งภายในสิ้นปีนี้คาดว่าน่าจะเติบโตได้มากกว่าปี 51 ถึง 60% หรือมากกว่า 1,000 ล้านบาท และในปี 2553 คาดว่าจะเติบโตได้มากกว่า 60% เช่นกัน สำหรับกลยุทธ์ในปี 53 เบื้องต้นจะเน้นการบริการที่ดีและความหลากหลายของสินค้าที่ครบวงจร ทั้งนี้ การที่กสิกรไทยเข้าไปถือหุ้นเมืองไทย กรุ๊ป โฮลดิ้ง เพิ่มขึ้นนั้น มองว่าจะทำให้การทำงานมีความใกล้ชิดมากขึ้น ดำเนินงานได้รวดเร็วยิ่งขึ้น และสามารถไล่ตามอันดับ 1 ได้เร็วขึ้นด้วย ส่วนความร่วมมือกับ บมจ.เมืองไทยประกันภัยในการออกบัตรเค-แมกซ์ เดบิตได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ตั้งแต่เปิดตัวในเดือน พ.ค.ถึงปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าเข้ามาสมัครกว่า 7.4 แสนบัตร จากจำนวนบัตรเดบิตทั้งหมดที่อยู่ที่ 2.4 ล้านบัตร ซึ่งถือว่ามีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

ที่มา:หนังสือพิมพ์บ้านเมือง

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 11:23 pm
โดย miracle
ประกันวินาศยิ้ม ปี53เบี้ยโต15%


วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมาคมประกันวินาศภัยตั้งเป้าปี 2553 เบี้ยรับรวมโต 15% รับเศรษฐกิจขยาย รายได้ขยับ
นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ปี 2553 ตั้งเป้าหมายเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งระบบเพิ่มขึ้น 10-15% จากปี 2552 เนื่องจากภาวะเศรษฐกิจไทยและภาวะเศรษฐกิจโลกเริ่มดีขึ้น และบริหารอย่างระมัดระวังเพื่อให้การเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นไปอย่างยั่งยืน หลังจากได้รับ บทเรียนในช่วงที่ผ่านมา เรียกความเชื่อมั่นให้กับภาคธุรกิจ โดยโรงงานอุตสาหกรรมถึงเวลาในการเพิ่มกำลังการผลิต หลังจากทำการระบายวัตถุดิบในการผลิตและสินค้าคงคลังออกไปเกือบหมดในปีที่ผ่านมา ซึ่งจะส่งผลให้ประกันภัยโต
นอกจากนี้ ยังได้รับอานิสงส์จากอัตราดอกเบี้ยโลกที่ยังไม่ขึ้น เห็นจากธนาคารกลางของแต่ละประเทศคงระดับดอกเบี้ยไว้ ส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยในประเทศไทยยังคงไม่สูง ซึ่งจะทำให้กำลังซื้อของประชาชนเพิ่มขึ้น โดยปีนี้คาดว่าประชาชนจะหันมาใช้จ่ายกันมากกว่าปีที่ผ่านมา เพราะคลายความกังวลเรื่องเศรษฐกิจ กอปรกับปีที่ผ่านมามีการอั้นการบริโภค เชื่อว่าปี 2553 จะนำออกมาใช้เต็มที่ โดยประกันภัยที่จะเติบโตอย่างมาก คือ ประกันส่วนบุคคล เช่น ประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) ประกันรถยนต์ เนื่องจากประชาชนเริ่มเห็นความสำคัญของความคุ้มครองตัวเองมากขึ้น

นายจีรพันธ์ กล่าวว่า บริษัทประกันภัยมีการพัฒนาสินค้าใหม่ๆ ที่ตรงกับความต้องการของประชาชนมากขึ้น และพัฒนาช่องทางการขายที่หลากหลาย โดยเฉพาะการขายผ่านโทรศัพท์และการขายผ่านธนาคาร ที่จะยังได้รับความนิยมจากประชาชนอย่างต่อเนื่อง หากมีแบบประกันที่ตรงกับความเสี่ยงของแต่ละคน

เรายังจะได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ให้มีการออกกรมธรรม์ราคาถูกออกมา ซึ่งนอกจากจะออกประกันอุบัติเหตุ ประกันสุขภาพ สามารถที่จะพัฒนาประกันรถยนต์ราคาถูกออกมาอีก ซึ่งสามารถทำได้ทั้งประกันพีเอ ประกันสุขภาพ และประกันรถยนต์ นอกเหนือจากที่มีประกันชั้น 3 พิเศษ ประกันชั้น 4 ซึ่งมีขายอยู่แล้ว นายจีรพันธ์ กล่าว

สำหรับปี 2552 ฝ่ายวิจัยไทยรับประกันภัยต่อ คาดว่าเบี้ยประกันวินาศภัยทั้งระบบจะมีทั้งสิ้น 1.08 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 2.51% จากปี 2551

http://www.posttoday.com/finance.php?id=80676

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 15, 2009 11:23 pm
โดย miracle
คปภ.ล่าบิ๊กประกันอำพรางถือหุ้น


วันอังคารที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2552
คปภ.ยุคใหม่ ไล่ตรวจอำนาจผู้บริหารสกัดกรรมการร่างทรง
น.ส.วสุมดี วสีนนท์ ผู้อำนวยการฝ่ายวางแผนและพัฒนาระบบการกำกับ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า คปภ.มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบคุณสมบัติและอำนาจของบุคคลที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากพบว่ามีผู้ถือหุ้นที่ไม่ได้มีชื่อในตำแหน่งกรรมการบริหารหรือคณะผู้บริหาร แต่เป็นผู้ที่มีอำนาจควบคุมหรือครอบงำกรรมการผู้จัดการ หรือมีอำนาจจัดการบริษัทให้ปฏิบัติตามคำสั่งในการกำหนดนโยบาย หรือการดำเนินงานของบริษัท
ทั้งนี้ จากเดิมคปภ.ไม่มีอำนาจเข้าไปตรวจสอบได้ แต่ปัจจุบันสามารถเข้าถึงและเอาผิดได้ตามพ.ร.บ.ประกันวินาศภัยฉบับใหม่ที่ได้แก้ไขเพิ่มเติมเมื่อปี 2551 ซึ่งทางคปภ.จะจับตามองบริษัทดังกล่าวอย่างใกล้ชิด

เพื่อลดความผิดพลาดที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ปกป้องผลประโยชน์ของประชาชน น.ส.วสุมดี กล่าว

น.ส.วสุมดี กล่าวว่า นอกเหนือจากที่มีอำนาจในการตรวจสอบผู้บริหารทุกระดับสูง และคณะกรรมการชุดย่อยที่มีบทบาทในการกำหนดทิศทางธุรกิจของบริษัท ตามนโยบายสนับสนุนการบริหารกิจการที่ดีตามหลักสากล

นอกจากนี้ กฎหมายใหม่ยังได้กำหนดคุณสมบัติของผู้บริหารที่ชัดเจนกว่าเดิม เพื่อคัดกรองบุคคลที่มีประสบการณ์ในการทำงาน มีความเข้าใจในธุรกิจประกันภัยระดับสากล และระดับประเทศเข้ามาร่วมงาน ไม่มีผลประโยชน์ซับซ้อน

นับจากนี้ไปบริษัทประกันวินาศภัยต้องทำใจ และพร้อมในการถูกตรวจสอบตลอดเวลา เพราะเราจะเข้าไปบ่อยกว่าเดิม น.ส.วสุมดี กล่าว

http://www.posttoday.com/finance.php?id=80678

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 17, 2009 10:22 pm
โดย chaitorn
วินาศภัยพุ่งไม่หยุด

 
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413341871


> 9เดือนเบี้ยเกิน8หมื่นล้าน อานิสงส์ศก.ฟื้น/พีเอ-สุขภาพยังโตแรง 20%

วินาศภัยแรงดีไม่มีตก เบี้ยพุ่งไม่หยุด 9 เดือนโต 2.45% เกิน 8 หมื่น ล้านบาทแล้ว อานิสงส์ศก.เริ่มฟื้นส่งผลดีรถยนต์-มารีนติดลบน้อยลง เผยรถ ยนต์ติดลบแค่ 0.07% ส่วนมารีนติดลบ 15.54% ด้านเบ็ดเตล็ดยังครองแชมป์โตสูงสุด 10.27% เหตุประกันเกือบทุกตัวโตบวกโดยเฉพาะ 2 สินค้าเด่นพีเอ-สุขภาพยังขยายตัวได้ดีโต 20%

สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยผลประกอบการของ ธุรกิจประกันวินาศภัยในช่วง 9 เดือนแรกปี 2552 (มกราคม-กันยายน) ว่า เบี้ยประกันภัยยังเติบโตเป็นบวกต่อเนื่องทั้งระบบมีเบี้ยรับโดยตรงทั้งสิ้น 80,192.659 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 2.45% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ที่มีเบี้ยรับตรง 78,276.741 ล้าน บาทเป็นการขยายตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 5 เนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มฟื้นตัวทำให้ประกันภัยหลายประเภทมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อเนื่องติดลบน้อยลง

โดยเฉพาะประกันภัยรถยนต์ซึ่งมีเบี้ยประกันคิดเป็นสัดส่วนเกือบ 60% มากที่สุดในอุตสาหกรรมติดลบเพียง 0.07 ด้วยจำนวนเบี้ยรับตรง ทั้งสิ้น 47,649.576 ล้านบาทเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 47,680.823 ล้านบาท โดยประกันรถภาคสมัครใจ ติดลบ 0.53% มีเบี้ยรับตรง 39,410.063 ล้านบาทเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน มาที่มีเบี้ยรับตรง 39,619.126 ล้านบาท

ส่วนประกัน พ.ร.บ.หรือประกันภาค บังคับเติบโตเพิ่มขึ้นอีก 2.21% ด้วยเบี้ยรับตรง 8,239.513 ล้านบาท เทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 8,061.697 ล้านบาท

สำหรับประกันภัยเบ็ดเตล็ดที่มีเบี้ยมากเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรมยังคงครองแชมป์ประกันภัยที่มีการขยายตัวสูงสุดโดยมีอัตราเติบโตเพิ่มขึ้น 10.27% เบี้ยรับตรงทั้งสิ้น 23,910.885 ล้านบาท เทียบกับในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 21,683.764 ล้านบาท โดยประกันเกือบทุกตัวยังเติบโตเพิ่มเป็นบวกต่อเนื่อง ยกเว้นประกันภัยอากาศยานที่ยังติดลบสูง อยู่ถึง 57.13% แม้จะลดลงจากช่วง 8 เดือน ที่ติดลบ 61.08% ก็ตาม

ทั้งนี้ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) และประกันสุขภาพ 2 สินค้าที่มาแรงมากในช่วงปีหลังๆ ยังคงขยายตัวสูงอยู่ โดยประกันพีเอเติบโตเพิ่มขึ้น 19.75% เพิ่มขึ้นจาก 8 เดือนแรกที่เติบโต 18.94% โดยมีเบี้ยรับตรงถึง 7,640.600 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 6,380.501 ล้านบาท ประกันสุขภาพเติบโตเพิ่มขึ้น 20.63% ด้วยเบี้ยรับตรง 2,642.010 ล้านบาทเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 2,190.188 ล้านบาท

อย่างไรก็ดี ในกลุ่มเบ็ดเตล็ด ประกัน ภัยพืชผลที่มีอัตราเติบโตสูงสุด ปรากฏว่าในรอบ 9 เดือนตัวเลขไม่เปลี่ยนแปลงจาก 8 เดือนคืออัตราเติบโตยังอยู่ที่ 74.91% มีเบี้ยรับตรง 244 ล้านบาท รองลงมาคือ ประกันภัยวิศวกรรมเติบโตเพิ่มขึ้น 40.51% ด้วยเบี้ยรับตรง 2,222.988 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีเบี้ย 1,582.043 ล้านบาท

ประกันภัยความเสี่ยงภัยทรัพย์สิน (Industrial All Risks : IAR) เติบโตเพิ่ม ขึ้น 19.87% ลดลงจาก 8 เดือนแรกที่เติบ โตถึง 22.26% โดยมีเบี้ยรับตรง 5,285.359 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 4,409.260 ล้านบาท ประกัน ความรับผิดต่อบุคคลภายนอก (Public Liability) เติบโตเพิ่มขึ้น 28% ด้วยเบี้ยรับตรง 660..811 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่ทำได้ 516.274 ล้านบาท

สำหรับประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (มารีน) ที่ติดลบสูงมาตั้งแต่ต้นปีนี้สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับลบน้อยลงอยู่ที่ 15.54% โดยมีเบี้ยรับตรง 2,655.675 ล้าน บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ที่มีเบี้ย 3,144.241 ล้านบาทเป็นผลมาจาก การส่งออกและนำเข้าฟื้นตัว โดยประกัน ภัยขนส่งสินค้าติดลบ 17.36% ด้วยเบี้ยรับตรง 2,365.657 ล้านบาทเทียบกับช่วง เดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 2,862.633 ล้านบาท ขณะที่ประกันอัคคีภัยยังเติบโตบวก 3.62% เบี้ยรับตรง 5,976.523 ล้าน บาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ย 5,767.914 ล้านบาท

ส่วนค่าสินไหมทดแทนทั้งระบบมียอดรวมทั้งสิ้น 40,336.021 ล้านบาท เพิ่ม ขึ้น 5.82% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 38,117.434 ล้านบาท โดยอัตราค่าสินไหมทดแทน (Loss Ratio) อยู่ที่ 51.75% สูงกว่าช่วงเดียวกันของปีที่ผ่าน มาที่ 51.67% โดยประกันรถยนต์ Loss Ratio ลดลงเหลือ 56.84% จาก 56.92% ประกันอัคคีภัย Loss Ratio เพิ่มเป็น 19.06% จาก 15.12% ประกันมารีน Loss Ratio เพิ่มเป็น 27.18% จาก 25.18% ขณะที่ประกันเบ็ดเตล็ด Loss Ratio ลดลงเหลือ 46.09% จาก 47.09%

สำหรับปริมาณลูกค้าวัดจากจำนวน กรมธรรม์เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยทั้งอุตสาหกรรมมีจำนวนกรมธรรม์ทั้งสิ้น 25,833,515 ฉบับ เพิ่มขึ้น 1,141,368 ฉบับหรือ 4.62% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีจำนวน 24,692,147 ฉบับ

อนึ่ง คปภ.คาดการณ์ถึงสิ้นปี 2552 ธุรกิจประกันวินาศภัยจะมีอัตราเติบโตเพิ่ม ขึ้น 5-6% เบี้ยรับโดยตรง 111,566-112,629 ล้านบาทเทียบกับปี 2551 ที่มีเบี้ย 106,254 ล้านบาทเนื่องจากเศรษฐกิจเริ่มขยายตัวตลาดรถยนต์เริ่มฟื้น

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 17, 2009 10:26 pm
โดย chaitorn
สินมั่นคงเปิดกว้างร่วมทุนนอก  ขอเป็นนอน มอเตอร์/ย้ำไม่มีก็อยู่ได้

http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413341879

สินมั่นคงยันไม่ปิดกั้นทุนนอก รวมถึงบริษัทประกันไทยที่อยากควบรวม พร้อมคุยทุกเมื่อ ชี้มีทุนญี่ปุ่นจีบแต่ตกลงกันไม่ได้ แบไต๋อยากได้ลูกค้านอน มอเตอร์ มั่นใจอนาคตไม่จำเป็นต้องหาผู้ร่วมทุน ช่วยต่อสายป่านเหตุฐานะการเงินมั่นคง กองทุนเพียงพอรับ RBC แถมสไตล์บริหารไม่เน้นโตเร็ว ปิดหีบโตบวก 1-2% จากเป้าเดิม 0% หลัง 9 เดือนติดลบ น้อยลง งานเข้าเพราะตัวแทนใหม่เพิ่ม

นายเรืองเดช ดุษฎีสุรพจน์ ประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการ บริษัท สินมั่นคงประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า บริษัทไม่ได้ปิดกั้นการร่วมทุนทั้งจากบริษัทประกันภัยต่างประเทศที่สนใจจะเข้ามาลงทุนหรือบริษัทประกันภัยในประเทศที่ต้องการควบรวมกิจการกับบริษัท ซึ่งที่ผ่านมามีบริษัทประกันภัยต่าง ชาติ อาทิ จากญี่ปุ่นเข้ามาพูดคุยบ้างแต่ ปฏิเสธไปเพราะตกลงกันไม่ได้ กอปรกับ ทางบริษัทมีบริษัท โรยัลแอนด์ซันอัลลายแอนซ์ ซึ่งจัดเป็นบริษัทขนาดใหญ่แห่ง หนึ่งของโลกถือหุ้นจำนวนหนึ่งอยู่แล้ว

เราเปิดกว้างอยู่แล้วที่ผ่านมามีต่างชาติเข้ามาพูดคุยกันแต่ไม่มีข้อสรุป เราอยากได้ฐานลูกค้าไม่ใช่รถยนต์ (นอน มอเตอร์) เพราะเรามีรถยนต์เยอะอยู่แล้ว ส่วนบริษัทไทยยังไม่มีเข้ามาคุย

อย่างไรก็ดี บริษัทยังไม่จำเป็นต้อง หาพันธมิตรทางธุรกิจ การจะหาพันธมิตรหรือไม่อยู่ที่แผนการดำเนินธุรกิจหาก เติบโตเร็วมากหรือมีความคาดหวังในการ ขยายตัวมากต้องการพันธมิตร แต่สำหรับบริษัทมั่นใจในสไตล์การบริหาร สไตล์การดำเนินธุรกิจ ซึ่งจากอดีตถึงปัจจุบันบริษัทไม่มุ่งขยายธุรกิจหรือเติบโตอย่างเดียว แต่เน้นอยู่อย่างมั่น คงไม่ขยายตามตลาด ยึดตัวเองเป็นหลัก

ซึ่งปัจจุบัน บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรถยนต์มากเป็นอันดับ 2 ของอุตสาหกรรม ฐานะการเงินมั่นคง เงินกองทุนมีเพียงพอ ดังนั้นเชื่อว่าในอนาคตบริษัทอยู่ได้โดยไม่ต้องมีใครมาร่วมทุน แม้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะนำกฎระเบียบใหม่ๆ มาใช้ โดยเฉพาะ กฎดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based CapitaI : RBC) ซึ่งอาจจะทำ ให้ต้องเพิ่มทุนรวมถึงภาวะเศรษฐกิจยังไม่ดีอยู่ก็ตาม

เรามองเผื่ออนาคต ไม่ใช่ต้องโตสูงอย่างเดียวหากเป็นอย่างนั้นเจ๊ง

นายเรืองเดชกล่าวว่า ผลประกอบ การในช่วง 9 เดือนปีนี้ติดลบน้อยลงเทียบ กับช่วง 3 เดือนแรก โดยมีเบี้ยรับรวม 3,787 ล้านบาท ลดลง 1% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ยรับ 3,813 ล้านบาท เฉพาะไตรมาสสามเติบ โต บวก 3% ด้วยจำนวนเบี้ยรับรวม 1,302 ล้านบาท เทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีเบี้ยรับ 1,263 ล้านบาท

สาเหตุที่เติบโตเป็นบวกได้เนื่อง จากขยายจำนวนตัวแทนโดยมีตัวแทนใหม่เพิ่มอีก 500 คนรวมเป็น 2,500 คน รวมถึงขยายช่องทางจำหน่ายใหม่ๆ เพิ่ม อาทิ เปิดบูธขายในห้างสรรพสินค้า เป็นต้น ทำให้ช่องทางขายหลากหลายมากขึ้นเข้าถึงกลุ่มลูกค้ากว้างขึ้น

อย่างไรก็ดี คาดว่าถึงสิ้นปีนี้บริษัทน่าจะมีอัตราเติบโตเป็นบวกได้ประมาณ 1-2% จากเดิมคาดไว้ที่ 0% หรือไม่เติบโตซึ่งเป็นตัวเลขที่ปรับลดลงมาจากต้นปีนี้ที่คาดการณ์เติบโตประมาณ 3% โดยปีที่ผ่านมามีเบี้ยรับรวมทั้งสิ้น 4,547 ล้านบาท

สำหรับ 9 เดือนที่ผ่านมา สินมั่น คงประกันภัยมีกำไรสุทธิ 184.778 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2% จากช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมาที่มีกำไร 181.599 ล้านบาท

จากข้อมูลฐานะการเงิน ณ สิ้นไตรมาสสาม ปี 2552 สินมั่นคงประกันภัยมีสินทรัพย์ 7,130 ล้านบาท เงินกอง ทุน 793 ล้านบาท เงินกองทุนที่ต้องดำรง ตามกฎหมาย 409 ล้านบาท อัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย 193%

อนึ่ง สินมั่นคงประกันภัยตั้งเป้าหมายกำไรสุทธิปีนี้ไม่ต่ำกว่า 180 ล้านบาทจากปี 2551 ที่ทำได้ 131 ล้านบาทมั่นใจจะทำได้ตามเป้าหมายเนื่องจากยึด นโยบายเข้มงวดกับการพิจารณารับประกันภัยและไม่แข่งขันด้านราคารวมถึงควบคุมค่าใช้จ่ายซึ่งคาดว่าปีนี้จะต่ำกว่าปีที่ผ่านมาที่อยู่ที่ 16%

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 20, 2009 9:48 pm
โดย miracle
ประกันดันตัวแทนสอบผ่านเน็ต


วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมาคมประกันชีวิตไทยรุกหนัก จับตัวแทนไซเบอร์ ปีหน้ารับสมัครสอบผ่านอินเทอร์เน็ต
นางบุษรา อึ๊งภากรณ์ ผู้อำนวยการสมาคมประกันชีวิตไทย เปิดเผยว่า ปี 2553 สมาคมจะเปิดรับ สมัครสอบใบอนุญาตตัวแทนทางอินเทอร์เน็ตขึ้น เพื่ออำนวย ความสะดวก สนองนโยบายการใช้ ทรัพยากรอย่างประหยัด รวมทั้งลดภาระค่าใช้จ่ายในการสมัครสอบของประชาชน เช่น ค่าเดินทางไปสมัครสอบและค่าถ่ายเอกสาร ส่วนการชำระเงินให้จ่ายผ่านบริษัทต้นสังกัด โดยไม่ต้องยื่นเอกสารการสมัคร ซึ่งการสมัครสอบทางอินเทอร์เน็ตนี้ใช้สำหรับการสอบด้วยระบบกระดาษและคอมพิวเตอร์ทั้งในส่วนกลางและภูมิภาค ซึ่งเป็นการจัดสอบนอกสถานที่สมาคมเท่านั้น นอกเหนือจากการสมัครสอบแบบเดิม
สำหรับผลการสอบในเดือนพ.ย.ที่ผ่านมา มีผู้สมัครสอบทั่วประเทศ 1.19 หมื่นคน ลดลงจากงวดเดียวกันของปีที่ผ่านมา 29% ในจำนวนนี้มีผู้เข้าสอบ 9,495 คน และสอบผ่าน 6,023 คน หรือ 63.4% ของผู้เข้าสอบ

ขณะที่ยอดรวมในระยะเวลา 11 เดือนของปี 2552 มีผู้สมัครสอบรวมทั้งสิ้น 1.33 แสนคน ลดลงระยะเดียวกันของปีก่อน 30.8% ในจำนวนนี้มีผู้เข้าสอบ 1.05 แสนคน สอบผ่าน 63.8%

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคม ตัวแทนประกันชีวิตไทย กล่าวว่า โอกาสในการเติบโตในอาชีพตัวแทนมีสูง เนื่องจากยังมีประชาชนอีกจำนวนมากที่ยังไม่มีประกันชีวิต โดยเฉพาะประชาชนระดับฐานรากของประเทศซึ่งมีสัดส่วนถึง 70% ที่ช่องทางการขายอื่นเข้าไม่ถึง เป็นโอกาสของตัวแทนในการเข้าไปให้บริการแก่ประชาชนถึงที่ เป็นความได้เปรียบที่ช่องทางการขายอื่นเข้าไม่ถึง

http://www.posttoday.com/finance.php?id=81066

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 20, 2009 9:48 pm
โดย miracle
คปภ.คลอดเกณฑ์ทวงหนี้เงินกองทุนทดแทน


วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552
โพสต์ทูเดย์ คปภ.ออกข้อกำหนดแทงหนี้สูญเงินกองทุนผู้ประสบภัย ไฟเขียวสืบทรัพย์ลูกหนี้เต็มที่
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ทางคปภ. ได้ออกข้อกำหนดว่าเรื่องการพิจารณาจำหน่ายลูกหนี้กองทุนทดแทนผู้ประสบภัยออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ พ.ศ. 2552 และให้มีผลบังคับใช้ ตั้งแต่นี้เป็นต้นไป
ทั้งนี้ เมื่อทางสำนักงานกองทุนทดแทนผู้ประสบภัยได้จ่ายค่าเสียหายเบื้องต้นแก่ผู้ประสบภัยและทราบตัวลูกหนี้แล้ว ก็ให้ดำเนินการติดตามหนี้คืน ดังนี้ ให้ออกคำสั่งทางปกครองเรียกให้จ่ายเงินคืนพร้อมเงินเพิ่มในอัตรา 20% ของเงินที่ได้จ่ายไปภายใน 7 วัน นับแต่วันที่ได้รับคำสั่งหรือมีหนังสือทวงถามเรียกคืนให้ชำระหนี้ และเมื่อลูกหนี้ได้รับหนังสือทวงถามแล้วยังละเลยหรือเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ ให้ดำเนินการติดตามทวงถามให้ชำระหนี้อีก 2 ครั้ง แต่ละครั้งให้มีระยะเวลาห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน

อย่างไรก็ตาม หากลูกหนี้ยังเพิกเฉยไม่ชำระหนี้ ก็ให้ใช้วิธีการสืบหาทรัพย์ต่อไป ไม่ว่าจะเป็นในส่วนของที่ดิน อสังหาริมทรัพย์ รถยนต์หรือเงินฝาก แต่หากทำการสืบหาทรัพย์แล้ว ปรากฏว่าลูกหนี้ไม่อยู่ในฐานะที่ชำระหนี้ได้ โดยลูกหนี้ถึงแก่ความตาย ไม่มีทรัพย์มรดกตกทอดแก่ทายาท ต้องคำพิพากษาล้มละลาย ทุพพลภาพถาวรหรือวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือน และไม่มีทรัพย์สินอื่นที่สามารถยึดหรืออายัดตามกฎหมายได้ รวมถึงกรณีที่การติดตามหนี้คืนไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายที่ต้องเสียไป และกรณีที่ไม่สามารถติดตามตัวบุคคลที่ต้องรับผิดได้ตามขั้นตอนที่ระบุแล้ว ก็ให้กองทุนจำหน่ายออกจากบัญชีการเป็นหนี้สูญได้

http://www.posttoday.com/finance.php?id=81242

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ธ.ค. 20, 2009 9:49 pm
โดย miracle
ลิอันซ์ลั่นยึดตลาดเอเชีย


วันศุกร์ที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2552
โพสต์ทูเดย์ อลิอันซ์ มั่นใจตลาดเอเชียปีหน้าเดินลุยต่อรับตลาดเกิดใหม่อยู่ในช่วงเศรษฐกิจขาขึ้น
นายบรูซ บาวเออร์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่มอลิอันซ์ประจำภาคพื้นเอเชียแปซิฟิก เปิดเผยว่า ธุรกิจประกันของกลุ่มอลิอันซ์ในตลาดเอเชียจะยังคงเดินหน้าต่อไป เนื่องจากการเติบโตของตลาดประกันชีวิตในภูมิภาคนี้ได้แสดงให้เห็นว่าตลาดมีความยืดหยุ่นในช่วงที่เกิดวิกฤต และกลุ่มอลิอันซ์ได้ผลประกอบการที่ดีในปีนี้
ในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา เราได้เห็นก้าวย่างที่สำคัญในการสร้างความแข็งแกร่งให้กับรูปแบบการดำเนินงานของเราในทั่วทั้งภูมิภาคเอเชีย และในปี 2553 เราจะยังคงยึดมั่นในการมุ่งให้ความสำคัญการควบคุมคุณภาพในการให้บริการแก่ลูกค้า และจะเดินหน้ากลยุทธ์การบริหารงานของกลุ่มภายใต้โมเดล Target Operating Model (TOM) และหวังว่าเราจะสามารถเดินหน้าสร้างการเติบโตของธุรกิจในด้านผลกำไร และสามารถเติบโตอย่างยั่งยืนต่อไปในภูมิภาคเอเชีย นายบาวเออร์ กล่าว

นายไมเคิล ไฮส์ หัวหน้านักเศรษฐศาสตร์อาวุโสของกลุ่ม อลิอันซ์ ประเทศเยอรมนี กล่าวว่า ทางกลุ่มอลิอันซ์ได้คาดการณ์ว่าภาวะเศรษฐกิจในตลาดเกิดใหม่ในกลุ่มประเทศเอเชียที่กำลังอยู่ในช่วงขาขึ้นจะยังคงดำเนินต่อไปในปี 2553 เพราะได้รับแรงหนุนจากนโยบายการเงินการคลังที่ใช้ในการกระตุ้นเศรษฐกิจ ประกอบกับมีสัญญาณการฟื้นตัวที่ชัดเจนของภาวะการค้าโลก โดยคาดการณ์ว่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนจะเติบโต 8.7% ขณะที่จีดีพีของอินเดียจะเติบโต 6.5% และจีดีพีของตลาดเกิดใหม่ในภูมิภาคโดยรวมจะเติบโต 6.7%

สิ่งนี้แสดงว่าเอเชียจะมีบทบาทสำคัญถึง 39% ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่คาดว่าจะขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 2.8% ในปีหน้า นายไฮส์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ภาวะการค้าโลกควรจะขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปมากกว่าในช่วงก่อนวิกฤต เหตุผลหลักก็มาจากการที่สหรัฐไม่สามารถพลิกฟื้นสถานะกลับมาเป็นตลาดหลักที่ทรงอิทธิพลที่มีปริมาณความต้องการสินค้าที่สูงและอัตราการนำเข้าที่มีการเติบโตอย่างเดิมได้ และในฐานะที่สหรัฐเป็นตลาดนำเข้าสินค้าจากเอเชียที่สำคัญที่สุด จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่รูปแบบการเติบโตของเศรษฐกิจเอเชียจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญ คือ หากว่าเอเชียต้องการจะเติบโตต่อไปอย่างต่อเนื่อง จะต้องหันมาเน้นเรื่องความต้องการสินค้าภายในประเทศและการบริโภคในภาคเอกชนให้มากขึ้น

http://www.posttoday.com/finance.php?id=81244

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ธ.ค. 24, 2009 6:23 am
โดย chaitorn
โอกาสเติบโตของประกันวินาศภัย

คลังจับมือบิ๊ก สภาอุตฯ-สภาหอฯ เปิดทางบริษัทประกันขยายฐานลูกค้า

นพ.พฤฒิชัย ดำรงรัตน์ รมช.คลัง เปิดเผยว่า ได้รับความร่วมมือจากสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการประกันภัยเข้าไปให้ความรู้และสิทธิประโยชน์ของประกันภัยและประกันชีวิตให้กับผู้ประกอบการทุกระดับทั้งส่วนกลางและส่วนภูมิภาค

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า จากการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับสมาชิก พบว่าส่วนใหญ่มีประกันอัคคีภัยและประกันอื่นๆ บางประเภทยังขาดความคุ้มครอง ต่างจากผู้ประกอบการต่างประเทศที่จะทำประกันปิดความเสี่ยงกันเกือบครบ เช่น ประกันความรับผิดเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ผลิตออกไปที่อาจจะถูกผู้บริโภคฟ้องร้องได้ ประกันความรับผิดบุคคลภายนอก ซึ่งได้ขอให้ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทำงานเชิงรุกในการเข้าไปให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ประกอบการเกี่ยวกับประโยชน์ของประกัน

นายสมเกียรติ อนุราช รองประธานกรรมการหอการค้าไทย กล่าวว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังมองว่าการทำประกันภัยเป็นภาระ ทำให้ไม่นิยมทำประกันภัย หากทางภาคธุรกิจสามารถทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการได้ เชื่อว่าจะทำให้มีผู้ทำประกันภัยเพิ่ม ทั้งด้านประกันสินเชื่อ ประกันความรับผิดชอบต่อบุคคลภายนอก และประกันการว่างงาน

นายสาระ ล่ำซำ นายกสมาคมประกันชีวิตไทย กล่าวว่า สมาคมจะร่วมกับสมาคมประกันวินาศภัยในการให้ความรู้แก่ผู้ประกอบการ พร้อมกับนำเสนอแพ็กเกจประกันชีวิตและประกันภัยแก่ผู้ประกอบการ เชื่อว่าจะสนับสนุนให้ธุรกิจประกันชีวิตในปีหน้าขยายตัวได้ตามเป้าที่ 15-20%

นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย กล่าวว่า ทั้งสองสภาธุรกิจมีประชาชนที่ทำงานกว่า 10 ล้านคน ถือเป็นช่องทางสำคัญในการนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่มีต้นทุนถูก และมองว่าธุรกิจประกันภัยจะได้รับประโยชน์โดยตรงจากความร่วมมือนี้

www.posttoday.com

ที่มาของข่าว :: นสพ.โพสต์ทูเดย์ วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2552

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 07, 2010 10:12 pm
โดย miracle
แบงก์ยูโอบีทิ้งประกัน พรูเดนเชียลรับเซ้ง


วันพฤหัสบดีที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2553
พรูเดนเชียลเล็งซื้อธุรกิจประกันชีวิตจากธนาคารยูโอบีกว่า 1 หมื่นล้านบาท
สำนักข่าวต่างประเทศ เปิดเผยว่า พรูเดนเชียล พีแอลซี ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) จะใช้เงินกว่า 428 ล้านเหรียญสิงคโปร์ หรือประมาณ 1.04 หมื่นล้านบาท ซื้อธุรกิจประกันชีวิตจากธนาคาร ยูไนเต็ด โอเวอร์ซีส์ แบงก์ (ยูโอบี) ของสิงคโปร์ เพื่อขยายการลงทุนในภูมิภาคเอเชีย
พรูเดนเชียลฯ ระบุว่า การเข้าซื้อหน่วยธุรกิจดังกล่าวจะเป็นการซื้อขายด้วยเงินสด คาดว่าข้อตกลงซื้อขายดังกล่าวจะสิ้นสุดภายในวันที่ 31 ม.ค.นี้

นอกจากนี้ รายงานข่าวยังระบุว่า พรูเด็นเชียลฯ ยังมีแผนจะขยายการทำข้อตกลงระยะเวลา 12 ปี ร่วมกับหน่วยงานด้านการขายประกันชีวิต การประกันอุบัติเหตุและสุขภาพของยูโอบีในสาขาของธนาคารกว่า 414 แห่งในสิงคโปร์ อินโดนีเซีย และไทย

ปัจจุบันพรูเดนเชียลฯ มีหน่วยงานด้านประกันชีวิตและการจัดการสินทรัพย์ปฏิบัติการอยู่ใน 13 ประเทศทั่วเอเชีย ซึ่งทำรายได้กว่า 42% ให้กับพรูเด็นเชียลฯ และต้องการรุกขยายตลาดในภูมิภาคเอเชียเพิ่มขึ้น เนื่องจากเป็นตลาดที่มีอัตราการขยายตัวอย่างรวดเร็ว

รายงานข่าวจากธนาคารยูโอบี เปิดเผยว่า ณ สิ้นปี 2551 ธนาคารถือหุ้นในบริษัท แอกซ่าประกันภัย 22.06% ของทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 353 ล้านบาท

ด้านบริษัท พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต (ประเทศไทย) มีเบี้ยปีแรกงวด 11 เดือน หรือเบี้ยลูกค้ารายใหม่ 666 ล้านบาท ลดลง 15% เบี้ยต่ออายุ 1,093 ล้านบาท เบี้ยชำระครั้งเดียว 693 ล้านบาท เบี้ยรับทั้งสิ้น 2,731 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 28%

http://www.posttoday.com/finance.php?id=84117

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 09, 2010 9:08 am
โดย miracle
คปภ.ไฟเขียวประกันควบคุมโบรกเกอร์


วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553
โพสต์ทูเดย์ คปภ.ไฟเขียวให้อำนาจบริษัทวางหลักประกันโบรกเกอร์ด้วยตัวเอง หวังลดเบี้ยวหนี้
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ทางคปภ. ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ยก่อนให้ความคุ้มครอง (Cash before Cover) เพิ่มเติม เพื่อให้หลักเกณฑ์ดังกล่าวมีประสิทธิภาพมากขึ้นหลังจากเริ่มใช้มาเมื่อปีที่ผ่านมา โดยเฉพาะเรื่องของการเรียกหลักประกันจากตัวแทน นายหน้า พนักงานบริษัท เป็นดุลยพินิจของบริษัทที่จะกำหนดเป็นนโยบายหรือแนวปฏิบัติของบริษัทเองได้ คือให้บริษัทสามารถกำหนดได้ว่าควรเรียกหลักประกันจากตัวแทน นายหน้าหรือไม่ ถ้าเรียกจะกำหนดเหมือนกันทุกรายหรือแบ่งเป็นกลุ่มๆ ก็ได้ ส่วนชนิดของหลักประกันก็เป็นไปตามที่บริษัทเห็นสมควร
ทั้งนี้ ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานว่า เพื่อเป็นการลดความเสี่ยงด้านเครดิตของบริษัทประกัน จึงสามารถมีแนวทางที่แตกต่างกันได้ และหากบริษัทมีการเรียกเก็บหลักประกันแล้วก็ให้บริษัทชี้แจงหลักเกณฑ์ในการเรียกเก็บหลักประกันดังกล่าวในแนวทางปฏิบัติในการเก็บเบี้ยประกันภัยรถยนต์ของบริษัทตามประกาศของคปภ.

นอกจากนี้ เพื่อให้หลักการดังกล่าวมีประสิทธิภาพดำเนินงานในปีนี้มากขึ้น จึงเห็นควรให้ทำการประชาสัมพันธ์ให้ข้อมูลแก่ผู้เอาประกันปฏิบัติตามหลักการดังกล่าวมากขึ้น โดยเฉพาะผู้เอาประกันภัย ที่เป็นนิติบุคคล ซึ่งอาจต้องมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการในการจ่ายเงินเพื่อให้มีการชำระค่าเบี้ยรถยนต์เป็นไปตามกฎหมาย รวมถึงให้ มีการปรับปรุงกระบวนการรับชำระค่าเบี้ยรถยนต์ตามเกณฑ์ของ คปภ. ด้วย


http://www.posttoday.com/finance.php?id=84380

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ม.ค. 09, 2010 9:09 am
โดย miracle
จับตาตัวแทนแห่ย้ายค่าย


วันศุกร์ที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2553
โพสต์ทูเดย์ กูรูประกันชีวิตฟันธง ปีนี้ตัวแทนย้ายค่ายคึกคัก เหตุหัวหน้าทีมสลับที่อยู่
สร้างคนใหม่ยาก พร้อมดึงคนฝีมือร่วมบุกตลาด เตือนบริษัทจับตาใกล้ชิด ทำผิดระเบียบเชือดทันทีป้องกันชื่อเสีย

นายอภิรักษ์ ไทพัฒนกุล กรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยประกันชีวิต เปิดเผยว่า ปี 2553 ผลจากการที่บริษัทประกันชีวิตหลายแห่งได้ผู้บริหารฝ่ายตัวแทนคนใหม่เข้าร่วมงาน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลายที่ยังคงให้ความสำคัญในการขยายตลาดผ่านช่องทางตัวแทน จะก่อให้เกิดการย้ายบริษัทของตัวแทนบางกลุ่ม เนื่องจากการสร้างตัวแทนใหม่ๆ ที่มีคุณภาพทำได้ยาก จึงเกิดการชักชวนตัวแทนเก่าที่สามารถทำงานได้ทันทีเข้าร่วมทีมอันดับแรก แล้วค่อยสร้างตัวแทนใหม่ในภายหลัง
แน่นอนว่าจะมีการชักชวนตัวแทนเก่าๆ ที่ทำงานได้ทันทีไปร่วมงานเพื่อเป็นหัวเชื้อ แล้วคนเหล่านั้นก็ไปช่วยสร้างตัวแทนใหม่เพิ่มขึ้นมา ซึ่งบริษัทประกันชีวิตต้องระวัง เพราะคนใหม่ที่เข้ามาในบริษัท ในอดีตที่ผ่านมาอันดับแรกที่เขาจะทำคือการสร้างยอดขาย ส่วนคุณภาพงานมาทีหลัง นายอภิรักษ์ กล่าว

นายอภิรักษ์ กล่าวว่า บริษัทประกันชีวิตจะต้องดูแลควบคุมการทำงานของตัวแทนอย่างใกล้ชิด หากทำไม่ดีจะต้องรีบจัดการไม่ให้ขยายวง เพราะจะทำให้บริษัทเสียชื่อเสียงซึ่งเรียกกลับคืนได้ยาก และต้องติดตามวิเคราะห์การได้มาซึ่งลูกค้ารายใหม่เพื่อให้เป็นไปตามคุณภาพที่บริษัทกำหนดไว้

อย่างไรก็ตาม การจะประสบความสำเร็จในช่องทางการขายผ่านตัวแทน นอกจากจะได้ผู้บริหารฝ่ายขายที่มีฝีมือแล้ว บริษัทจะต้องมีระบบงานที่ดีในการสนับสนุนตัวแทน ทั้งด้านระบบคอมพิวเตอร์ ระบบการให้บริการ มีแบบประกันที่พร้อม และมีโครงสร้างผลตอบแทนที่เหมาะสม

บริษัทต้องมีทุนหนา มีสายป่านพร้อมที่จะลงทุนในระบบต่างๆ เพื่อเอื้อการทำงานของตัวแทน มิฉะนั้นได้คนที่เข้ามาทำงานอย่างไรก็ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งที่ผ่านมาจะเห็นว่าหลายบริษัทไม่สามารถดึงผู้บริหารฝ่ายขายไว้ได้ ต้องเปลี่ยนคนอยู่เรื่อย นายอภิรักษ์ กล่าว

นายอภิรักษ์ กล่าวว่า แม้ว่าในปัจจุบันตัวแทนบางกลุ่มจะยกระดับไปสู่การเป็นที่ปรึกษาทางการเงินให้กับลูกค้า ซึ่งต้องอาศัยคนที่มีความรู้พื้นฐานเฉพาะด้านจึงจะสามารถทำได้ ส่วนตัวแทนที่ยังไม่สนใจขึ้นเป็นที่ปรึกษาทางการเงิน จำเป็นต้องมีความรู้ที่ดีในผลิตภัณฑ์ที่ขาย และมีความรู้ด้านเศรษฐกิจ การลงทุน จะทำให้เกิดการเรียนรู้และเข้าใจในแบบประกันมากขึ้น

http://www.posttoday.com/finance.php?id=84377

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ ม.ค. 11, 2010 11:05 pm
โดย miracle
ไอเอ็นจีประกันฯป่วนสมองไหล


วันจันทร์ที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2553
ไอเอ็นจีประกันชีวิตเจอปัญหาพนักงานยื่นใบลาออก ตั้งแต่ต้นปี หลังบริษัทหาผู้ร่วมทุน พบแห่ซบอดีตผู้บริหาร
แหล่งข่าวจากบริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต เปิดเผยว่า ขณะนี้บริษัทประสบปัญหาพนักงานฝ่ายสนับสนุนช่องทางการขายผ่านตัวแทนยื่นใบลาออกแล้วอย่างน้อย 25 คน คาดว่าจะไปร่วมงานกับอดีตผู้บริหารฝ่ายขาย และมีแนวโน้มว่าจะมีจำนวนผู้ลาออกเพิ่มขึ้นอีกโดยไม่สามารถคาดการณ์ตัวเลขที่แน่นอนได้ต้องรอให้ผ่านเดือนม.ค. ไปก่อน
เราคาดไว้อยู่แล้วว่าจะมีพนักงานบางส่วนลาออก แต่ไม่คิดว่าจะมาก และถึงวันนี้ตัวเลขก็ยังไม่นิ่ง ซึ่งทางบริษัทพยายามที่จะยับยั้งการลาออกของพนักงานกลุ่มดังกล่าว ถือเป็นเหตุการณ์ที่น่าใจหาย แหล่งข่าวเปิดเผย

นอกจากนี้ สาเหตุของการตัดสินใจลาออกส่วนหนึ่งยังเป็นผลมาจากบริษัทแม่อยู่ในช่วงการขายธุรกิจประกันชีวิต ซึ่งไม่ว่าจะขายให้กับนักลงทุนกลุ่มใด จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงผู้บริหาร และนโยบายของบริษัทก็จะเปลี่ยนตามไปด้วย

นายสมโพชน์ เกียรติไกรวัล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส ฝ่ายตัวแทนประกันชีวิต บริษัท โตเกียวมารีนประกันชีวิต (ประเทศไทย) อดีตผู้บริหารฝ่ายขายบริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต ยอมรับว่ามีอดีตพนักงานของบริษัท ไอเอ็นจีประกันชีวิต สมัครเข้ามาร่วมงานด้วยในส่วนของฝ่ายสนับสนุนตัวแทนขาย ซึ่งเป็นช่องทางการขายใหม่ที่บริษัทเริ่มเปิดตลาดในปีนี้ แต่ไม่สามารถเปิดเผยได้ว่าจำนวนเท่าไหร่

สำหรับนโยบายด้านช่องทางการจำหน่ายฝ่ายตัวแทนจะใช้เวลา 3 เดือนแรกของปีนี้ ในการจัดระบบงานสนับสนุนฝ่ายขายให้เรียบร้อยก่อนแล้วถึงจะเริ่มกิจกรรมขายอาชีพ เพื่อคัดสรรคนรุ่นใหม่เข้ามาเป็นตัวแทนฝ่ายขายของบริษัท ซึ่งปีนี้ตั้งเป้าหมายที่จะสร้างตัวแทนให้ได้ 1,500 คน และตั้งเป้าหมายยอดขายผ่านช่องทางดังกล่าว 250 ล้านบาท โดยจะเน้นงานขายที่มีคุณภาพ ซึ่งในอดีตที่ผ่านมายอดการต่ออายุของลูกค้าเก่าสูงกว่าอุตสาหกรรมโดยรวม

อย่างไรก็ตาม ยอมรับว่าในปัจจุบันการสร้างตัวแทนใหม่ทำได้ยาก เพราะกฎเกณฑ์ที่เข้มงวดของทางการทำให้คนใหม่เข้ามาในอาชีพยาก และคนเก่าก็มีการออกจากอาชีพตัวแทนพอสมควร โดยดูจากสถิติผู้เข้าสอบรับใบอนุญาตตัวแทนของทางสมาคมประกันชีวิตไทย ที่ลดลงกว่า 30% ในปีก่อน

ตัวแทนถูกควบคุมหนักกว่าแบงก์ สถาบันการเงิน หรือช่องทางอื่นที่ขายประกัน ซึ่งอยากให้ทางคปภ. ใช้เกณฑ์หรือมาตรฐานในการกำกับการขายในทุกช่องทางเท่าๆ กัน นายสมโพชน์ กล่าว


http://www.posttoday.com/finance.php?id=84729

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ม.ค. 13, 2010 4:37 pm
โดย miracle
ดันคนไทยครึ่งประเทศถือประกัน  
วันพุธที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2553

ประกันภัยจับมือคปภ. ดันไมโคร อินชัวรันส์ กระตุ้นกำลังซื้อ หวังเพิ่มสัดส่วนคนไทยถือกรมธรรม์เป็น 50%

นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ทางสมาคมและสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) จะร่วมกันผลักดันแบบประกันราคาประหยัด ไมโคร อินชัวรันส์ ออกมาสู่ตลาดให้ได้ภายในปีนี้ เพื่อให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อยและเป็นคนกลุ่มใหญ่ของประเทศได้เข้าถึงการทำประกันภัยมากขึ้น โดยตั้งเป้าเพิ่มสัดส่วนจำนวนผู้ถือครอง กรมธรรม์ของคนไทยให้เป็น 50% หรือประมาณ 30 ล้านคน ให้ได้ภายใน 3-5 ปีนับจากนี้ จากปัจจุบันที่มีสัดส่วนประมาณ 25% เท่านั้น
แบบประกันไมโคร อินชัวรันส์ นั้นเราไม่ได้กำหนดตายตัวว่าต้องเป็นแบบประกันสุขภาพ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (พีเอ) หรือประกันอัคคีภัย จะเป็นแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองอะไรก็ได้ แต่ต้องมีเบี้ยไม่เกินปีละ 1,000 บาท และเป็นแบบประกันที่เข้าใจง่าย ไม่ซับซ้อน เพื่อส่งเสริมให้ตลาดไมโคร อินชัวรันส์ เติบโตตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ นายจีรพันธ์ กล่าว

อย่างไรก็ตาม ยังติดปัญหาเรื่องข้อกฎหมายอยู่บ้าง โดยเฉพาะเรื่องของช่องทางการขายที่ต้องการอำนวยความสะดวกให้กับการขายไมโคร อินชัวรันส์ ซึ่งต้องพิจารณากันต่อไป

สำหรับแนวโน้มธุรกิจประกันวินาศภัยปีนี้ คาดว่าจะมีเบี้ยเติบโต 10-15% หรือประมาณ 1.15 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาที่ได้เบี้ย 1.09 แสนล้านบาท หรือเติบโต 3% ซึ่งปัจจัยบวกในปีนี้ก็เป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจโลกที่มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้น

นอกจากนี้ ยังอัตราดอกเบี้ยในตลาดโลกและไทยยังอยู่ในระดับต่ำ รัฐบาลมีแผนการใช้เงินลงทุนในช่วงปี 2553-2555 ตามโครงการไทยเข้มแข็ง สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อมากขึ้น และราคาน้ำมันในตลาดโลกทรงตัวอยู่ในระดับไม่สูงเกินไป รวมถึงแนวโน้มยอดขายรถยนต์ที่เพิ่มสูงขึ้น จะทำให้เบี้ยประกันรถยนต์ที่มีสัดส่วนถึง 60% ของประกันภัยดีขึ้นตามไปด้วย

อย่างไรก็ตาม ยังคาดว่าธุรกิจประกันจะมีการแข่งขันในการรับประกันภัยรายบุคคลมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประกันพีเอ ประกันสุขภาพ คุ้มครองโรคร้ายแรงและชดเชยรายได้ ซึ่งการขยายตลาดกลุ่มนี้จะเป็นผลดีต่อธุรกิจประกันในไทย เพราะเป็นกลุ่มที่สามารถเก็บความเสี่ยงและเบี้ยไว้ในประเทศได้ ขณะที่การแข่งขันด้านราคายังมีอยู่บ้าง แต่ไม่รุนแรง

http://www.posttoday.com/finance.php?id=85032

-----------------------------------------------------------------------------

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 15, 2010 10:32 pm
โดย miracle
ศก.ฟื้นตัว-ดอกเบี้ยขาขึ้น


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
โพสต์ทูเดย์ ธปท.การันตีอุตสาหกรรมเกษตร-ส่งออก-อสังหาฯ-ท่องเที่ยวฟื้นตัวแล้ว หมดยุคใช้ดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นเศรษฐกิจ
นายบัณฑิต นิจถาวร รองผู้ว่าการ ด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ภาวะเศรษฐกิจของกลุ่มประเทศในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งไทยเริ่มมีการฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง โดยในส่วนของเศรษฐกิจไทยนั้นในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา อุตสาหกรรมการเกษตร ภาคการ ส่งออก ภาคอสังหาริมทรัพย์ และภาคการท่องเที่ยว มีการปรับตัวที่ดีขึ้นต่อเนื่อง
นอกจากกิจกรรมทางเศรษฐกิจใน 4 สาขาหลักของไทยฟื้นแล้ว ขณะนี้ยังมีเงินงบประมาณกระตุ้นเศรษฐกิจจากภาครัฐมาช่วยให้ฟื้นได้ต่อเนื่องด้วย ทำให้การใช้ดอกเบี้ยต่ำกระตุ้นต่อเหมือนในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาคงจำเป็นน้อยลง

ฉะนั้น ในปีนี้ภาคเอกชนต้องเร่งปรับตัว วางแผนรับมือกับต้นทุนการเงินที่จะเริ่มสูงขึ้นในระยะต่อไป เพราะอัตราดอกเบี้ยคงจะต้องปรับเข้าสู่ภาวะปกติ ขณะที่ภาครัฐก็ต้องลดระดับการกระตุ้นเศรษฐกิจลง

แนวโน้มที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้เช่นนี้ถึงจุดหนึ่งดอกเบี้ยต้องปรับเข้าสู่ระดับปกติ การลดระดับการกระตุ้นเศรษฐกิจด้วยอัตราดอกเบี้ยต่ำต้องเกิดในปีนี้ แต่จะเกิดเมื่อไร ดอกเบี้ยจะปรับขึ้นช่วงไหน คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) จะพิจารณาให้รอบคอบภายใต้ เงื่อนเวลาที่เหมาะสม ดูเงินเฟ้อประกอบ ดูความสมดุลในการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ แต่จะไม่ให้กระทบต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ นายบัณฑิต กล่าว

รองผู้ว่าธปท. กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงนโยบายการเงินคงจะเกิดขึ้นแบบค่อยเป็นค่อยไป เพราะเงินเฟ้อช่วงนี้แม้จะเร่งตัวขึ้น แต่ยังน่าจะอยู่ในกรอบเป้าหมายเงินเฟ้อพื้นฐานที่ 0.5-3% เพราะถ้าดูจากความต้องการบริโภคสินค้าก็ยังไม่ได้เพิ่มขึ้นมากนัก

นายบัณฑิต ยังเตือนอีกว่า ในปีนี้เอกชนต้องเตรียมรับมือกับความผันผวนของตลาดการเงิน จากภาวะเงินทุนไหลเข้าที่จะเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลต่ออัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทให้แข็งค่าขึ้นในระยะต่อไปด้วย เนื่องจากปริมาณเงินทุนไหลเข้ามาในภูมิภาคเอเชีย รวมทั้งประเทศไทยจะมีเพิ่มขึ้นมากกว่าช่วงที่ผ่านมา เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่มองว่าโอกาสในการหาผลตอบแทนจากเงินในภูมิภาคนี้น่าจะให้ผลตอบแทนที่สูงกว่าการลงทุนในกลุ่มประเทศอุตสาหกรรมหลัก

ถึงแม้แนวโน้มเงินทุนไหลเข้าปีนี้จะมีมากขึ้น ส่งผลให้ค่าเงินบาทมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้น แต่นโยบายการดูแลค่าเงินบาท ธปท.จะดูแลไม่ให้ผันผวน ให้เอกชนสามารถปรับตัวได้ แต่เอกชนก็ต้องระวัง เพราะอาจทำให้ต้นทุนการเงินเปลี่ยนแปลงเร็ว และส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์ในประเทศ โดยเงินทุนที่ไหลเข้ามาอยู่ที่ตลาดหุ้นและพันธบัตรเป็นหลัก นายบัณฑิต กล่าว

http://www.posttoday.com/finance.php?id=85376
----------------------------------------------------------------------------
อันนี้เป็นสัญญาณไม่ค่อยดีสำหรับประกันชีวิต

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 15, 2010 10:32 pm
โดย miracle
สหประกันตั้งเบี้ยโต800ล.


วันศุกร์ที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2553
โพสต์ทูเดย์ สหประกันชีวิตตั้งเป้าปี 2553 เบี้ยปีแรกโต 220% เน้นเบี้ยรายย่อย
นายสหพล สังข์เมฆ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สหประกันชีวิต ได้ตั้งเป้าหมายเบี้ยปีแรกปี 2553 ไว้ที่ 800 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2552 ถึง 220% แยกเป็นเบี้ยสามัญและอุตสาหกรรม 250 ล้านบาท เบี้ยประกันสินเชื่อที่อยู่อาศัย 400 ล้านบาท เบี้ยประกันกลุ่ม 150 ล้านบาท และเบี้ยต่ออายุอีกประมาณ 200 ล้านบาท จะทำให้มีเบี้ยรับรวมถึง 1,000 ล้านบาท ซึ่งมั่นใจว่าจะสามารถทำได้ตามเป้าหมาย
เนื่องจากขณะนี้ผู้ถือหุ้นที่เป็นสหกรณ์กว่า 2,250 แห่ง เห็นว่าการทำธุรกิจประกันชีวิตสามารถมีกำไรได้หากทำด้วยความโปร่งใส จึงได้หันมาสนับสนุนบริษัทด้วยการนำประกันชีวิตไปจัดเป็นสวัสดิการให้กับสมาชิก ประกอบด้วย ประกันสินเชื่อประเภทต่างๆ โดยเฉพาะประกันสินเชื่อกู้ซื้อบ้าน ประกันกลุ่มให้กับสมาชิกสหกรณ์

นอกจากนี้ สหกรณ์แต่ละแห่งได้ให้ความสนใจที่จะสอบใบอนุญาตการเป็นนายหน้าประกันเพื่อเป็น ตัวแทนในการขายประกันให้กับสมาชิก ถือเป็นข้อดีสำหรับบริษัท ไม่ต้องขยายสาขา ลดต้นทุนได้จำนวนมาก โดยสหกรณ์จะเป็นสำนักงานบริการให้กับบริษัทไปโดยปริยาย

นายสหพล กล่าวว่า ปี 2553 ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มจำนวนสหกรณ์ทำประกันกับบริษัทให้ได้ 50% จากปัจจุบันที่ทำประกันไม่ถึง 30% และจะกระตุ้นให้สมาชิกของสหกรณ์ที่ถือหุ้นบริษัทเข้ามาใช้บริการเพิ่มเป็น 50%

บางพื้นที่ยอดขายมีเข้ามามาก อาทิ สหกรณ์จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกำแพงเพชร จังหวัดนคร สวรรค์ นายสหพล กล่าว

นายประดิษฐ์ อภิวัฒน์ชาติ รักษาการกรรมการผู้จัดการ บริษัท ยูเนี่ยน อินเตอร์ประกันภัย กล่าวว่า มีการชำระหนี้ไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการชำระหนี้ให้กับลูกค้า กรมสรรพากรกรณีค้างภาษี ประกันสังคม ยังเหลือหนี้ที่อยู่ในกระบวนการชั้นศาล และหนี้อู่ หนี้บริษัทประกันภัย ซึ่งบางส่วนจ่ายไปแล้ว อีกส่วนหนึ่งอยู่ระหว่างการเจรจาชำระหนี้ เพราะมีหนี้ที่ไม่ปรากฏอยู่ในบัญชีของบริษัทปรากฏขึ้นมาภายหลังประมาณ 100 ล้านบาท

มีจดหมายจากกรมสรรพากรทวงภาษีตั้งแต่ปี 2548 ดูซิ ค้างภาษีมาตั้งแต่ปีนั้น แต่เราต้องมารับใช้ ทำให้ 5 เดือนที่ผ่านมาเราไม่สามารถทำธุรกิจได้ เพราะต้องการเคลียร์หนี้ที่ไม่ได้สร้างให้จบ อยากให้บริษัทที่จะเริ่มใหม่สะอาดที่สุด จะได้เดินหน้าได้อย่างเต็มที่ นายประดิษฐ์ กล่าว

นายประดิษฐ์ กล่าวว่า บริษัทมีทุนจดทะเบียน 550 ล้านบาท ถึงจะชำระหนี้กว่า 200 ล้านบาท ยังมีเงินเหลือในการขยายกิจการโดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนใหม่ เพราะมีเงินกองทุนส่วนเกินกว่าเกณฑ์ที่คปภ. กำหนด

http://www.posttoday.com/finance.php?id=85412

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ม.ค. 15, 2010 10:35 pm
โดย miracle
อมเงิน กับประกันชีวิต


รายงานโดย :เมืองไทยประกันชีวิต:
วันพฤหัสบดีที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2553
การออมคืออะไร ??? อาจมีความหมายง่ายๆ ดังนี้ คือ รายได้ที่หักกับค่าใช้จ่ายส่วนที่เหลือ คือ การออม ซึ่งบางคนก็เหลือเยอะ แต่บางคนก็ติดลบ ขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการการเงินส่วนบุคคลของแต่ละคน
เมื่อพูดถึงการออม เกือบทุกคนก็จะนึกถึงธนาคารซึ่งเป็นสถาบันการเงินรับฝาก เงินที่น่าเชื่อถือ และเชื่อแน่ว่าเกือบทุกคนต้องมีเงินออมในธนาคาร ในแง่ของฝากธนาคารไม่ว่าจะเป็นประเภทออมทรัพย์ ประเภทฝากประจำ และอื่นๆ ซึ่งผลตอบแทนก็แตกต่างกันไป ตามระยะเวลาที่ออม ปัจจุบันการออมเงินก็มีหลายประเภท ไม่ว่าจะเป็นออมระยะสั้น ออมระยะยาว ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน

นอกจากนี้มีการออมอีกประเภทหนึ่งที่คนส่วนมากนึกไม่ถึงว่าจะสามารถช่วยส่งเสริมการออมได้เป็นอย่างดี นั่นคือ การประกันชีวิต ซึ่งการประกันชีวิตไม่ได้รับประกันว่าผู้เอาประกันภัยจะไม่เสียชีวิต แต่เป็นการกำหนดจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ต้องการความคุ้มครองและสิ่งที่ต้องการคุ้มครอง แล้วทางบริษัทประกันชีวิตจะกำหนดเบี้ยประกันภัยมาให้ตามจำนวนเงินเอาประกันภัยที่ต้องการความคุ้มครอง ผลประโยชน์อื่นๆ

ขณะนี้เป็นที่ทราบกันดีว่าภาวะเศรษฐกิจมีแนวโน้มชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง ตัวเลขเศรษฐกิจบางตัวมีแนวโน้มลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ เช่น อัตราดอกเบี้ย พันธบัตร หรือราคาหุ้น ส่งผลให้ผลตอบแทนที่ได้ลดลง แต่เมื่อนำเงินมาออมในธุรกิจประกันชีวิตโดยผ่านการทำประกันชีวิต ประเภทสะสมทรัพย์ (Endowment) หรือประเภทตลอดชีพ (Whole Life) นอกจากนี้ผู้เอาประกันยังมั่นใจได้ว่าเงินผลประโยชน์ต่างๆ ที่ระบุไว้ในกรมธรรม์จะไม่มีการลดลงตามอัตราดอกเบี้ย อัตราเงินเฟ้อ ดัชนีในตลาดหลักทรัพย์ หรือภาวะเศรษฐกิจ เพราะบริษัทประกันชีวิตมีการวางแผนทางการเงินอย่างรอบคอบเพื่อหาผลตอบแทนจากการลงทุนมาจ่ายเป็นผลประโยชน์ต่างๆ ที่ต้องจ่ายตามเงื่อนไขกรมธรรม์ที่ผู้เอาประกันภัยทำไว้กับบริษัทเพื่อให้เห็นภาพลองมาดูตัวอย่างการซื้อประกันชีวิตของนายมั่นคง ดังนี้

นายมั่นคง อายุ 30 ปี ซื้อแบบประกันประเภทสะสมทรัพย์ ชำระเบี้ยประกันภัย 14 ปี ระยะเวลาคุ้มครอง 20 ปี ทุนประกัน 1 แสนบาท และได้ซื้อสัญญาเพิ่มเติม ประกันภัยสุขภาพวงเงินแน่นอนคุ้มครอง 1,000 บาท และประกันอุบัติเหตุทุนประกัน 1 แสนบาท ไว้ด้วย โดยส่งเบี้ยประกันปีละ 8,432 บาท ถ้าเขานอนรักษาตัวที่โรงพยาบาลจะได้รับเงินชดเชยคืนละ 1,000 บาท 9 เดือน ต่อมาหลังจากทำประกันชีวิต นายมั่นคงเข้าโรงพยาบาลเนื่องจากประสบอุบัติเหตุและนอนโรงพยาบาล 4 คืน ซึ่งเขามีค่าใช้จ่ายดังนี้

1.ค่าห้องคืนละ 1,000 บาท จำนวน 4 คืน เป็นเงิน 4,000 บาท

2.ค่ารักษาพยาบาล และค่ายา 14,250 บาท

รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 18,250 บาท เขาได้รับเงินชดเชยค่าห้องจากบริษัทประกันชีวิต 4,000 บาท และค่ารักษาพยาบาลจ่ายตามจริง 14,250 บาท รวมทั้งสิ้น 18,250 บาท ถ้าหากนายมั่นคงไม่ได้ทำประกันชีวิตเขาก็จะต้องจ่ายเงิน 14,250 บาท เพื่อจ่ายเป็นค่าห้องและค่ารักษาพยาบาล นอกจากประกันชีวิตเป็นการออมรูปแบบหนึ่งแล้ว ก็ยังช่วยให้ลดความเสี่ยงด้านการเงินที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ด้วย

สุดท้ายอยากให้ประชาชนให้ความสนใจในเรื่องการออมให้มากขึ้น ไม่ว่าจะออมผ่านรูปแบบใดก็เป็นประโยชน์ทั้งสิ้นกับคนที่เริ่มต้นออม การออมผ่านการประกันชีวิตก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่น่าสนใจ และเหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจที่มีความไม่แน่นอนสูงเช่นนี้

http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=85288