ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 31

โพสต์

โรคอ้วน เบาหวาน มะเร็ง

คอลัมน์ Healthy Aging
โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ


สถิติของสหรัฐอเมริกานั้นสรุปได้ว่า ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับคนอเมริกันในการเป็นโรคมะเร็ง คือ อายุ กล่าวคือตั้งแต่เกิดจนตายนั้น คนอเมริกันมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งทุกประเภท ประมาณ 38% แต่โอกาสตายจากโรคมะเร็ง ประมาณ 22%

อย่างไรก็ดี ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างมากหลังจากที่อายุ 60 ปี หรือมากกว่า (ดังปรากฏในภาพ) กล่าวคือในช่วงอายุตั้งแต่เกิดถึงอายุ 44 ปี โอกาสจะเป็นโรคมะเร็งนั้นมีเพียงประมาณ 3% แต่ในช่วงอายุ 44 ปี หรือมากกว่าความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง เพิ่มขึ้นเป็น 33% (จากทั้งหมดประมาณ 38%)

แต่ทั้งนี้ โรคมะเร็งแต่ละประเภทก็มีความแตกต่างกัน ที่สำคัญคือ บางประเภทเป็นง่าย แต่ก็รักษาง่าย ในขณะที่มะเร็งบางประเภทเป็นยาก แต่ก็รักษายากเช่นกัน ทั้งนี้ มะเร็งที่ในเชิงเปรียบเทียบแล้วเป็นง่าย แต่ก็มีโอกาสรอดสูง หากรักษาอย่างทันท่วงที ได้แก่ มะเร็งในต่อมลูกหมาก และมะเร็งในเต้านม เป็นต้น

มะเร็งที่เป็นกันมาก และเสี่ยงที่จะเสียชีวิตสูง คือ มะเร็งที่ปอด แต่สามารถลดความเสี่ยงลงได้อย่างมาก จากการงดสูบบุหรี่ สำหรับมะเร็งที่เป็นยาก แต่ก็รอดยาก คือ มะเร็งที่ตับ ไต และตับอ่อน เป็นต้น

นอกจากนั้น สำหรับประเทศไทยและภูมิภาคเอเชียพบว่า จะมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งที่ตับมากกว่าที่สหรัฐอเมริกา เพราะคนเอเชียเป็นโรคไวรัสลงตับจำนวนมาก โดยเฉพาะโรคไวรัสลงตับประเภท B ในผู้สูงอายุ (องค์การอนามัยโลกประเมินว่า คนเอเชีย 8-20% เป็นพาหะ (carrier) ของโรคไวรัสลงตับประเภท B
เทียบกับคนอเมริกันมีสัดส่วนไม่ถึง (0.5%) เมื่อตับได้รับผลกระทบเกิดอักเสบ(inflammation) นานหลายปี จะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งที่ตับ ตั้งแต่ปี 1992 ที่มีการฉีดวัคซีนป้องกันโรคไวรัส ประเภท B ช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคดังกล่าวได้อย่างมาก

แต่เรื่องที่ขอเขียนถึงเพิ่มเติมในวันนี้ คือ งานวิจัยล่าสุดที่โยงโรคมะเร็งกับการมีน้ำหนักเกิน และการเป็นโรคเบาหวาน ซึ่งมีความสำคัญเพราะผลงานวิจัยดังกล่าวสามารถนำไปปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งได้

กล่าวคือหากคุมน้ำหนักไม่ให้อ้วน และคุมไม่ให้เป็นโรคเบาหวานได้ ก็จะเป็นผลดีในการลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งได้อีกด้วย (ส่วนการแก่ตัวลงนั้น เราทำอะไรกับมันไม่ได้)

งานชิ้นแรกเป็นงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Bergen ที่ประเทศนอร์เวย์ โดยติดตามความเสี่ยงจากการเป็นโรคมะเร็งของคน 220,000 คน โดยตรวจสุขภาพอย่างต่อเนื่อง ประมาณ 2-3 ปีต่อครั้งยาวนานถึง 18 ปี พบว่า 27,881 คน เป็นโรคมะเร็ง โดย 35% ของยอดผู้เป็นมะเร็งดังกล่าวมีสาเหตุมาจากการเป็นโรคอ้วน (obesity) กล่าวคือมีน้ำหนักตัวมาก ทำให้ดัชนีมวลรวมของร่างกาย (BMI) สูงเกินกว่า 30 แต่ที่สำคัญข้อสรุปว่าหากเริ่มน้ำหนักเกิน (BMI มากกว่า 25) ในช่วงที่อายุยังน้อย (ต่ำกว่า 40 ปี)

ความเสี่ยงโรคมะเร็งจะเพิ่มขึ้น ดังนี้

1.โรคมะเร็งในมดลูกจะเพิ่มขึ้น 70%

2.โรคมะเร็งในไต (ผู้ชาย) เพิ่มขึ้น 58%

3.โรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่ (ผู้ชาย) เพิ่มขึ้น 29%

4.โรคมะเร็งต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเป็นโรคอ้วนทั้งชายและหญิงจะเพิ่มขึ้น 15%

กล่าวคือการคุมน้ำหนักนั้น ควรจะต้องเริ่มต้นดูแลเสียแต่เนิ่น ๆ อย่าปล่อยตัวให้เริ่มอ้วนก่อนแก่ตัว ซึ่งผมเองก็ทำไม่ได้ และปล่อยให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นกว่า 10 กิโลกรัม ในช่วงอายุ 40-55 ปี หากมีข้อมูลข้างต้นนี้ให้ทราบในตอนนั้น คงควบคุมน้ำหนักไม่ปล่อยปละละเลยให้น้ำหนักเกินอย่างมาก

หากคำนวณ BMI ไม่สะดวก ก็สามารถใช้การวัดรอบเอวได้ (ซึ่งแม่นยำกว่า BMI ในการควบคุมไม่ให้ไขมันหน้าท้อง ซึ่งเป็นอันตรายต่ออวัยวะสำคัญของร่างกาย)

กล่าวคือ สำหรับผู้ชาย รอบเอวควรไม่เกิน 0.5 ของความสูง เช่น ความสูง 66 นิ้ว (167 เซนติเมตร) เอวควรไม่เกิน 33 นิ้ว ผู้หญิงนั้น รอบเอวควรประมาณ 0.45 เช่น สูง 62 นิ้ว (157 เซนติเมตร) รอบเอวก็ควร 28 นิ้ว เป็นต้น

งานวิจัยอีกชิ้นหนึ่งเป็นของสถาบันวิจัยและบำบัดโรคมะเร็งชื่อ City of Hope ที่ลอสแองเจลีส ที่ได้นำเสนอต่อที่ประชุมประจำปีของ America Chemical Society เมื่อ 26 สิงหาคม 2019 ซึ่งค้นพบกลไกที่ทำให้ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานเสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งบางประเภท (เช่น มะเร็งในมดลูก และไต) มากขึ้น ถึง 2.5 เท่า เมื่อเทียบกับผู้ที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน

กลไกที่ว่านี้คือ การทำให้ดีเอ็นเอของเซลล์ชำรุดเสียหาย นอกจากนั้น ระดับน้ำตาลที่สูงยังไปรบกวนกระบวนการของเซลล์ที่จะซ่อมแซมความเสียหายดังกล่าวอีกด้วย ทั้งนี้ นักวิจัยพบว่ามีโปรตีน 2 ตัว คือ HIF1a และ MTORC1 ซึ่งมีหน้าที่ดูแลซ่อมแซมเซลล์ แต่โปรตีนทั้งสองจะปฏิบัติภารกิจได้ไม่เต็มที่ เมื่อต้องเผชิญกับสภาวะที่มีระดับน้ำตาลสูงในเซลล์ ทั้งนี้ โปรตีนที่สำคัญ คือ MTORC1 ซึ่งเป็นตัวควบคุม HIF1a อีกทีหนึ่ง

นอกจากนั้นพบว่ามียาบางชนิดช่วยกระตุ้นการซ่อมแซมตัวเองของเซลล์ (ซึ่งจะช่วยลดเสี่ยงเป็นโรคมะเร็ง) เช่น ยารักษาโรคเบาหวาน คือ Metformin เป็นต้น

งานวิจัยขนาดใหญ่อีกงานหนึ่งได้ตีพิมพ์เมื่อเดือนกรกฎาคมปี 2018 โดยทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย New South Wales (ออสเตรเลีย) Oxford (อังกฤษ) และ Johns Hopkins (สหรัฐ) โดยรวบรวมเอางานวิจัยที่ผ่านมา 47 ชิ้นทั่วโลกในหลายประเทศ (เช่น สหรัฐ อังกฤษ จีน ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น) ครอบคลุมคนถึง 20 ล้านคน ทำให้ผู้วิจัยมีข้อสรุปที่หนักแน่นว่า “the link between diabetes and the risk of developing cancer is now firmly established”

ทั้งนี้ ข้อสรุปที่น่าสนใจ คือ

1.ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งมากกว่าผู้หญิงที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน 27%

2.ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวาน เสี่ยงจะเป็นโรคมะเร็งมากกว่าผู้ชายที่ไม่เป็นโรคเบาหวาน 19%

3.ผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสที่จะเป็นโรคมะเร็งมากกว่าผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวาน สำหรับมะเร็งประเภทต่าง ๆ ดังนี้ : 11% สำหรับมะเร็งที่ไต 13% มะเร็งที่ปาก 14% มะเร็งที่ท้อง และ 15% มะเร็งที่เม็ดเลือด

4.ผู้ชายที่เป็นโรคเบาหวานมีโอกาสเป็นโรคมะเร็งที่ตับมากกว่าผู้หญิงที่เป็นโรคเบาหวาน 12%
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 32

โพสต์

FitTalker ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ - สูงวัยอย่างมีคุณภาพ

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 33

โพสต์

เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคสมองเสื่อมได้อย่างไร (3)

ครั้งที่แล้วผมกล่าวถึงผลการวิจัยของ Framingham Heart Study ซึ่งผูกโยงเรื่องของความดันโลหิตกับการเป็นโรคสมองเสื่อม

กล่าวคือการที่อัตราการเป็นโรคสมองเสื่อม (ในกลุ่มผู้สูงอายุที่นักวิจัยติดตาม) ลดลงไปได้ถึง 44% ในช่วง 1997-1983 กับช่วง 2004-2008 เป็นผลมาจากการดูแลสุขภาพของหัวใจและหลอดเลือด (cardio vascular health) ซึ่งในครั้งนี้ผมจะขอนำเอาข้อมูลของสมาคมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association หรือ AA) ที่แจกแจงโรคสมองเสื่อมประเภทต่างๆ มาเปรียบเทียบให้ดูว่ามีความสัมพันธ์กันอย่างไรบ้าง

AA กล่าวถึงโรคสมองเสื่อม 8 ประเภท ซึ่งโรคสมองเสื่อมที่เป็นกันมากที่สุดคือโรคอัลไซเมอร์ (ประมาณ 60-80% ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด) แต่ก็มีการผสมผสานอาการของโรคสมองเสื่อมประเภทต่างๆ ซึ่งผมมีข้อสังเกตว่าอาการสมองเสื่อมจากหลอดเลือดสมองอุดตัน (vascular dementia) มีบทบาทสำคัญในการนำไปสู่การเป็นโรคอัลไซเมอร์

การเป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นเท่าที่ทราบจากงานวิจัยมาจนถึงทุกวันนี้ สรุปว่าเป็นผลมาจากการก่อตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของโปรตีนที่เรียกว่า beta amyloid ที่รอบนอกของเซลล์สมอง (neurons) เสมือนกับการก่อตัวของหินปูน(plaque) และการพันตัว(tangles) ของโปรตีนที่เรียกว่า “เตา” (tau proteins) ภายในเซลล์สมองและขยายไปกับเครือข่ายการสื่อสารของเซลล์สมอง (synapses) จนกระทั่งการทำงานประสานกันของเซลล์สมองเสื่อมสภาพและสูญเสียไปในที่สุด

เปลือกสมอง (cerebral cortex) จะเป็นส่วนที่ได้รับผลกระทบจากปรากฏการณ์ดังกล่าว ซึ่งทำให้เกิดการหดตัวและการสูญเสียของเนื้อสมองด้านนอกของสมอง ซึ่งทำหน้าที่ที่สำคัญเกี่ยวกับการจัดเก็บและการเรียกคืนความทรงจำ ตลอดจนการคำนวณวางแผนและประมวลความคิดที่ซับซ้อน ปัญหาสำคัญคือเมื่อเป็นโรคอัลไซเมอร์ในระยะเบื้องต้นจะไม่มีอาการ เพราะสมองจะมีระบบทดแทนส่วนที่เสียหายไปได้ในระยะหนึ่งเป็นเวลาหลายปี ในบางกรณีกล่าวว่าอาจต้องใช้เวลานานกว่า 20 ปีจึงจะพบอาการอัลไซเมอร์และยาตำรับต่างๆ ที่คิดค้นมาเพื่อรักษาโรคอับไซเมอร์นั้น มักจะมุ่งเน้นการทำลายคราบ (plaque) ของ beta amyloid และการพันตัวของเส้นโปรตีนเตา (Tau) แต่ก็ไม่สามารถรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้แม้จะสามารถกำจัดโปรตีนดังกล่าวจากสมอง ทั้งนี้มีการเปรียบเทียบว่ายาดังกล่าวเสมือนกับการไปดับไฟโดยการทำลายตลับไม้ขีดไฟ หลังจากที่ป่าถูกไฟเผาไปหมดสิ้นแล้ว เพราะฉะนั้นป้องกันและดูแลสุขภาพของสมองให้ดีอยู่เสมอ ตลอดจนการตรวจเพื่อให้พบโรคดังกล่าวได้ในโอกาสแรก

สมองของมนุษย์นั้นมีเซลล์สมองทั้งหมดประมาณ 100,000 ล้านเซลล์ แต่ละเซลล์จะมีกิ่งก้าน (branching extensions) ที่ปลายก้านจะมีปม synapses ที่สื่อสารกับเซลล์อื่นๆ เป็นระบบเครือข่าย โดยสมองมี synapses ทั้งสิ้น 100 ล้านล้านปม ดังนั้นโรคสมองเสื่อมคือการที่ระบบสื่อสารของเซลล์สมองเสื่อมถอยหรือเสื่อมสภาพลง ทั้งนี้หินปูน beta amyloid นั้นมีบทบาทในการทำให้เซลล์สมองตายและการพันตัวของโปรตีนเตานั้นปิดกั้นมิให้สารอาหารสามารถเข้าไปเลี้ยงดูเซลล์สมองได้อย่างทั่วถึง นอกจากนั้น beta amyloid และโปรตีนเตายังกระตุ้นระบบภูมอคุ้มกันของสมองเรียกว่า microglia ให้ต้องทำงานหนัก ซึ่งเมื่อ microglia รับภาระไม่ไหวก็จะนำไปสู่การอักเสบเรื้อรังของสมอง (chronic inflammation) และในที่สุดก็จะทำให้เนื้อสมองตายและปริมาณของเนื้อสมองลดลง (atrophy) ซึ่งจะทำให้สมองไม่สามารถนำเอากลูโคส (หรือน้ำตาล) มาเผาผลาญเพื่อใช้เป็นสารอาหารเลี้ยงสมองได้ในปริมาณที่เพียงพอ ซึ่งทำให้เห็นภาพว่าโรคสมองเสื่อมก็คือการอดตายอย่างช้าๆ ของสมองนั่นเอง

มาถึงตรงนี้ก็อาจสรุปได้ว่าปัจจัยพื้นฐานในการดูแลสมองก็คือการให้มีสารอาหารและออกซิเจนในเลือดแดงที่เพียงพอต่อความต้องการของสมอง ซึ่งเว็บ honestdoc กล่าวสรุปเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า

“สมองก็เหมือนกับอวัยวะอื่นๆ ในร่างกายที่จำเป็นต้องได้รับออกซิเจนและสารอาหารอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาเพื่อให้ทำงานได้อย่างเหมาะสม ถ้าเลือดที่ไปเลี้ยงสมองถูกจำกัดหรือขาดเลือดเนื่องจากเส้นเลือดอุดตัน จะทำให้เซลล์สมองตายและทำให้เกิดความเสียหายกับสมอง ถ้าเส้นเลือดในสมองแคบลงและแข็งขึ้น จะทำให้เลือดที่ไปเลี้ยงสมองค่อยๆ ลดปริมาณลง เส้นเลือดในสมองจะแคบลงและแข็งตัวมากขึ้นอันเนื่องมาจากการสะสมของไขมันที่ผนังของเส้นเลือด ทำให้เส้นเลือดแคบลงและเลือดไหลเวียนได้จำกัด โดยภาษาทางการแพทย์จะเรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (atherosclerosis) โดยจะพบมากในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูง ผู้ป่วยเบาหวานและผู้ที่สูบบุหรี่”

แปลว่าหากรักสมองก็จะต้องไม่สูบบุหรี่และควบคุมไม่ให้เป็นโรคความดันและโรคเบาหวาน ซึ่งในส่วนของโรคเบาหวานนั้น อาจมีข้อสงสัยว่าเมื่อบอกว่าสมองต้องใช้พลังงานมากคือต้องใช้กลูโคสหรือน้ำตาลมาก แล้วทำไมจึงไม่ควรกินน้ำตาลให้มากเพียงพอที่จะไปเลี้ยงสมอง? คำตอบคือเมื่อกินน้ำตาลมาก โดยเฉพาะน้ำตาลที่เข้าไปสู่เส้นเลือดโดยรวดเร็ว เช่น น้ำหวาน ก็จะทำให้ตับอ่อนต้องทำงานหนักโดยการฉีดอินซูลินออกมาเป็นจำนวนมากเพื่อเป็น “กุญแจ” เปิดประตูของผนังเซลล์ให้นำเอาน้ำตาลออกจากเลือดเข้าไปสู่เซลล์เพื่อลดปริมาณน้ำตาลในเส้นเลือด แต่หากกินน้ำตาลมากอย่างพร่ำเพรื่อก็จะเสี่ยงกับการทำให้ตับอ่อนผลิตอินซูลินชำรุด ไม่สามารถผลิตอินซูลินให้เพียงพอหรือเซลล์ดื้ออินซูลิน กล่าวคืออินซูลินไขกุญแจแล้ว ประตูของเซลล์ไม่เปิด ทำให้น้ำตาลค้างอยู่ในเส้นเลือด ส่งผลให้เส้นเลือดแข็งและเส้นเลือดตาย กล่าวคือเป็นโรคเบาหวานนั่นเอง
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 34

โพสต์

เราจะสามารถป้องกันไม่ให้เป็นโรคสมองเสื่อมได้อย่างไร (4)

ครั้งที่แล้วผมได้นำเสนอรายละเอียดเกี่ยวกับโรคอัลไซเมอร์ ว่าเป็นโรคสมองเสื่อมที่เป็นกันมากที่สุด (60-80% ของโรคสมองเสื่อมทั้งหมด)

และพัฒนาการของอัลไซเมอร์นั้นเกิดจากการสะสมของโปรตีน 2 ประเภทคือ beta amyloid และเตา (Tau) จนกระทั่งมีจำนวนมากพอที่จะทำให้เกิดความเสียหายกับเซลล์สมองและระบบการสื่อสารของเซลล์สมองผ่าน synapses จนกระทั่งเปลือกสมองเกิดการหดตัวและสูญเสียเนื้อสมอง ส่งผลต่อการทำงานของสมองในที่สุด

นอกจากนั้นก็ยังพบว่า 50% ของคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นก็ยังเป็นโรคสมองเสื่อม เพราะมีเลือดไปเลี้ยงสมองไม่เพียงพอ (vascular dementia) อีกด้วย

ทำไมระบบไหลเวียนของเลือดที่ดีจึงจะมีความสำคัญในการลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคสมองเสื่อม? ผมได้กลับไปศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับระบบไหลเวียนของเลือดของมนุษย์ ซึ่งมีสาระสำคัญดังนี้

หัวใจเต้นวันละอย่างน้อย 1.1 แสนครั้งในมนุษย์เพื่อสูบฉีดเลือดประมาณ 7,500 ลิตรต่อวัน จากจำนวนเลือดในร่างกายที่มีอยู่ประมาณ 5-7 ลิตรในร่างกายของผู้ใหญ่

หัวใจหนักประมาณ 1% ของน้ำหนักตัว (ส่วนใหญ่หนักไม่ถึง 1 กิโลกรัม) แต่ใช้พลังงานเท่ากับ 10% ของพลังงานของร่างกายทั้งหมด

สมองหนักประมาณ 2% ของน้ำหนักตัว (ไม่ถึง 2 กิโลกรัม) แต่ใช้พลังงานเท่ากับ 20% ของพลังงานของร่างกายทั้งหมด

หลอดเลือดและเส้นเลือดฝอยของมนุษย์ยาวรวมทั้งสิ้นประมาณ 1 แสนกิโลเมตร (รอบโลกเท่ากับ 4 หมื่นกิโลเมตร)

จากข้อมูลดังกล่าวข้างต้นจะเห็นได้ว่า อวัยวะที่ทำงานหนักมากที่สุดในร่างกายของมนุษย์คือสมองและหัวใจ เพราะมีขนาดเท่ากับ 1% และ 2% ตามลำดับ แต่ใช้พลังงาน 10 เท่าตัวของขนาดของอวัยวะ คือ 10% และ 20% ตามลำดับ ข้อสังเกตที่สองคือความสำคัญของเลือด เส้นเลือดและระบบไหลเวียนของเลือด ตัวอย่างเช่นร่างกายมนุษย์มีเลือดเพียง 5-7 ลิตร แต่หัวใจต้องสูบฉีดและปอดต้องฟอกเลือดวันละ 7,500 ลิตร (ประมาณ 7,500 ลิตรนี้เปรียบเทียบได้กับการเติมน้ำมันรถยนต์ประมาณ 5 ปี หากใช้น้ำมันประมาณ 125 ลิตรต่อเดือน)

จะเห็นได้ว่าหากเส้นเลือดไม่แข็งแรงและระบบสูบฉีดเลือดบกพร่อง อวัยวะที่จะมีปัญหานั้นไม่ใช่จะเป็นเฉพาะหัวใจเท่านั้น แต่น่าจะกระทบไปถึงสมองอีกด้วย ดังนั้นโรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการขาดเลือด (vascular dementia) จึงมาเป็นที่ 2 รองลงมาจากโรคอัลไซเมอร์ และโรคทั้งสองจึงเกิดขึ้นได้พร้อมกันและอาจมีส่วนในการส่งเสริมซึ่งกันและกันได้อีกด้วย

ทั้งนี้สมาคมอัลไซเมอร์ (Alzheimer’s Association) กล่าวว่า โรคสมองเสื่อมที่เกิดจากการขาดเลือดไปเลี้ยงสมอง (vascular dementia) นั้นเป็น “mixed pathology หรือเป็นโรคร่วมกับโรคอัลไซเมอร์และมักจะเกิดขึ้นพร้อมกัน (commonly coexist)

ดังนั้นเวลากินอะไรหรือไม่ยอมออกกำลังกายซึ่งไม่ดีกับระบบไหลเวียนของเลือด ก็ขอให้ “เกรงใจ” ทั้งหัวใจและทั้งสมองของท่านด้วยครับ

ครั้งต่อไป ผมจะขอเขียนถึงเรื่องยีน APOE ซึ่งมีอยู่ 3 ประเภทคือ 2, 3 และ 4 ซึ่งมีความสำคัญมากในการกำหนดความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ โดยข่าวร้ายคือการที่มียีน APOE ประเภท APOE E4 นั้นจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากถึง 3 ถึง 12 เท่า (คนที่มี APOE E4 ทั้งคู่จากพ่อ-แม่จะมีความเสี่ยงจากการเป็นโรคอัลไซเมอร์มากที่สุด)

แต่ข่าวดีคือนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย MIT อาศัยเทคโนโลยีล่าสุดในการสร้าง stem cell ขึ้นมาใหม่จากกระบวนการที่เรียกว่า induced pluripotent stem cells (iPSCs) และทำการทดลองให้ทราบว่า APOE E4 นั้นทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างไร ขั้นต่อไปจึงได้ใช้วิธีการตัดต่อพันธุกรรม (gene editing) ที่เรียกว่า crispr-cas 9 ตัดเอา APOE E4 ออกแล้วเอายีน APOE E3 ไปใส่แทน

โดยแนวทางดังกล่าวเป็นเรื่องใหม่และมีความสลับซับซ้อนค่อนข้างมาก ดังนั้นบางท่านอาจลองหาข้อมูลเกี่ยวกับ crispr-cas 9 และ iPSCs ไปพลางๆ ก่อนก็ได้ครับ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 35

โพสต์

คุยเรื่องสุขภาพกับ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

รายการ CEO VISION #CEOVISION ทุกวัน 09.00-10.00 น.

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 36

โพสต์

เตรียมพบกับ Healthy Aging | เกิด แก่ (ไม่) เจ็บ ตาย สูงวัยอย่างมีคุณภาพ หนังสือที่รวบรวมงานวิจัยที่ดีและทันสมัยที่สุดด้านการดูแลสุขภาพ เพื่อทำให้ปีที่กำลังจะเดินทางมาถึงเป็นปีแห่งการเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างแท้จริง

book.jpg

"ความรู้ที่รวบรวมมาทำให้ผมมีความมั่นใจสูงขึ้นว่า
การแก่ตัวโดยปราศจากโรคภัยทั้งปวงนั้นเป็นไปได้"
— ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

-----------------------

บทส่งท้าย
โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
.
.
บทนี้เขียนขึ้นมาเพราะคุณภิญโญ ไตรสุริยธรรมา ให้ความเห็นอย่างตรงไปตรงมาว่า “มันจบแบบห้วนๆ ไปหน่อยครับ” และแนะนำให้ผมเขียนเพิ่มเติมในสิ่งที่น่าจะเป็นประโยชน์ เช่น การทบทวนตัวเองหลังความเปลี่ยนแปลงในการใช้ชีวิตครั้งใหม่ ผมจึงต้องรวบรวมความคิดและความรู้สึกของตัวเองในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา โดยคาดหวังว่าจะเป็นประโยชน์กับผู้อ่านหลายๆ ท่านที่ยังอายุน้อยกว่าผม ที่อาจจะนำข้อมูลนี้ไปเป็นส่วนหนึ่งในการเลือกรูปแบบการดำเนินชีวิตของท่าน
.
.
เมื่อผมเติบโตขึ้นเป็นผู้ใหญ่ ก็มุ่งมั่นที่จะเรียนหนังสือให้ดีและสะสมความรู้ที่เป็นประโยชน์เพื่อประสบความสำเร็จในการประกอบอาชีพ และต่อมาก็ให้ความสำคัญกับการสร้างฐานะและการเลี้ยงบุตรให้ดีที่สุด ซึ่งถือว่าเป็นภารกิจหลัก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อได้เปลี่ยนงานจากการรับราชการที่กระทรวงการต่างประเทศ มาทำงานที่บริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ ภัทรธนกิจ เมื่อปี 1994 และต่อมาประเทศไทยก็เข้าสู่วิกฤติเศรษฐกิจ ทำให้สถาบันการเงินของไทยและภัทรฯ เองก็ต้องเผชิญกับวิกฤติเป็นเวลาหลายปี ซึ่งเป็นช่วงที่ท้าทายผมและเพื่อนร่วมงานอย่างมาก ทั้งในทางส่วนตัว (มีโอกาสสูงมากที่จะตกงาน) และในทางวิชาการเศรษฐศาสตร์ เพราะวิกฤติ ‘ต้มยำกุ้ง’ นั้น คล้ายคลึงกับดาวหางแฮลลีย์ (Halley’s Comet) ซึ่งจะมาเยือนโลกหนึ่งครั้งในรอบ 75 ปี
.
.
แปลว่าการดูแลสุขภาพของตัวเองในช่วงอายุ 40–55 ปีนั้นมีความสำคัญในลำดับท้ายๆ ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเสียดายโอกาสอย่างมาก เพราะจากการค้นคว้าหาข้อมูลเกี่ยวกับสุขภาพในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานั้น ผมได้ข้อสรุปว่า จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องวางแผนดูแลสุขภาพอย่างครบถ้วนและจริงจังตั้งแต่อายุ 40 ปีเป็นอย่างช้า
.
.
หลายท่านคงจะรู้ตัวจากประสบการณ์ว่าเมื่ออายุถึง 40 ปี ร่างกายจะแก่ตัวลงอย่างชัดเจนและรู้สึกได้เมื่อเปรียบเทียบกับตอนอายุ 30 ปี แต่สำหรับผมนั้นขีดเส้นที่อายุ 40 ปี เพราะงานวิจัยพบว่า แอมีลอยด์บีตาในสมอง ที่จะนำไปสู่การเป็นโรคอัลไซเมอร์ จะเริ่มสะสมตัวเมื่อประมาณอายุ 40 ปีเป็นต้นไป แต่จะไม่มีอาการจนกระทั่งอายุ 65 ปีหรือมากกว่านั้น โรคอื่นๆ ผมพอจะรับได้ แต่โรคอัลไซเมอร์นั้นทำให้จิตวิญญาณของเราสาบสูญไปก่อนที่ร่างกายจะสิ้นชีวิตลงเสียอีก
.
.
ดังนั้นจึงสรุปว่า ผมเริ่มดูแลรักษาสุขภาพของตัวเองอย่างเป็นระบบช้าไปอย่างน้อย 15 ปี จึงหวังอย่างยิ่งว่า ท่านผู้อ่านจะหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดของผม
.
.
ในช่วงที่ผมทำงานอย่างมุ่งมั่นเพื่อสร้างอนาคตและเพื่อมีส่วนในการช่วยฟื้นฟูบริษัทภัทรฯ นั้น เวลาที่เหนื่อยกลับถึงบ้านก็มักจะคิดให้ ‘รางวัล’ กับตัวเอง ซึ่งจะเป็นการกินอาหาร ‘ดีๆ’ เพื่อ ‘เติมพลัง’ อย่างครบครัน (แปลว่ากินเยอะๆ จนอิ่มพุงอืดแล้วเข้านอนเลย) ไม่เคยเลยสักครั้งที่จะให้รางวัลตัวเองโดยการไปออกกำลังกาย แต่ปัจจุบันผมพบว่า การออกกำลังกายหลังจากการทำงานนั้น เมื่ออยู่ตัวแล้วทำให้ร่างกายเบิกบานสดชื่น (ส่วนหนึ่งเพราะเอ็นดอร์ฟินถูกฉีดออกมา) ไม่เหนื่อย และยังช่วยลดรายจ่ายอีกด้วย
.
.
การวางแผนสุขภาพนั้น น่าจะมีทางเลือกหลักๆ อยู่ 2 ทางเลือก ทางเลือกที่หนึ่ง ซึ่งผมขอเรียกว่า ‘30 บาทรักษาทุกโรค’ มีแรงสนับสนุนอย่างกว้างขวางในประเทศไทย แต่หากพิจารณาอย่างลึกซึ้งก็จะพบว่าสมมุติฐานของแนวทางนี้คือ เราจะมีความเสี่ยงเป็นได้ทุกโรคอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก จึงจะต้องทุ่มเททรัพยากรให้ประเทศมีศักยภาพเพียงพอที่จะรองรับการรักษาทุกโรค แนวทางข้างเคียงที่สำคัญที่กำลังถกเถียงกันอยู่ในขณะนี้คือ การควบคุมราคายาและค่ารักษาพยาบาลเพื่อให้ทุกคนมีสิทธิเข้าถึงยาและการรักษาทั้งหมดที่มีอยู่ในโลกนี้ แนวทางนี้จะต้องให้ความสำคัญกับการผลิตหมอ พยาบาล ยา และการสร้างโรงพยาบาลให้เพียงพอกับความต้องการของคนสูงอายุของไทยที่จะเพิ่มจากปัจจุบันซึ่งมีอยู่ประมาณ 12 ล้านคน มาเป็น 21 ล้านคนในปี 2040
.
.
ผมเองก็เป็นหนึ่งในกลุ่มผู้สูงอายุดังกล่าว ดังนั้นในทางส่วนตัวจึงพยายามซื้อประกันสุขภาพให้กับตัวเองอย่างเพียงพอที่จะดูแลรักษาเมื่อโรคร้ายเกิดขึ้น ทั้งนี้เนื่องจากความรู้ด้านสุขภาพของผมตอนอายุ 55 ปี เกือบจะไม่ได้เพิ่มพูนขึ้นเลยจากเมื่ออายุ 15 ปี เพราะมัวแต่ไขว่คว้าหาความรู้เรื่องเศรษฐกิจโลกและเศรษฐกิจไทย ทั้งๆ ที่ในช่วง 40–50 ปีที่ผ่านมานั้น ความรู้เรื่องสุขภาพพัฒนาไปก้าวไกลอย่างมาก
.
.
เมื่อมีความรู้เกี่ยวกับสุขภาพที่ทันสมัยขึ้นแล้ว ความคิดของผมก็เปลี่ยนไป ผมไม่ต้องการ ‘30 บาทรักษาทุกโรค’ เพราะผมต้องการ ทางเลือกที่สอง คือ ‘ไม่ต้องการเป็นสักโรค’ ความรู้ที่รวบรวมมาทำให้ผมมีความมั่นใจสูงขึ้นว่า การแก่ตัวโดยปราศจากโรคภัยทั้งปวงนั้นเป็นไปได้ พฤติกรรมและความคิดจึงเปลี่ยนแปลงไป เช่น เดิมทีอยากมีบ้านอยู่ใกล้โรงพยาบาลและเตรียมห้องนอนอยู่ชั้นล่าง เพราะกลัวว่าตอนแก่จะเดินขึ้นบันไดไม่ได้ แต่ปัจจุบันเมื่อมีข้อมูลว่า หากออกกำลังกายโดยการวิ่งสม่ำเสมอ ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะสามารถเดินได้จนวันสุดท้ายของชีวิต (มีผู้สูงอายุหลายคนยังวิ่งและปั่นจักรยานได้ตอนอายุเกือบ 100 ปี)
.
.
ตอนนี้ผมไม่คิดแล้วว่าจะต้องมีบ้านอยู่ใกล้โรงพยาบาล เพราะจะทุ่มเทหาความรู้และดูแลสุขภาพตัวเอง ทำให้ไม่ต้องเข้าใกล้โรงพยาบาล (เว้นแต่การตรวจร่างกายประจำปี) ไม่ต้องการไปหาหมอ ไม่ต้องกินยา ซึ่งจะช่วยให้สามารถนำทรัพยากรดังกล่าวไปใช้กับผู้อื่นที่จำเป็นต้องใช้มากกว่า อันที่จริงแล้ว หากเรามาร่วมมือร่วมใจกันดูแลสุขภาพของเราให้ดีอย่างจริงจัง เราน่าจะพบว่า นอกจากเราจะมีความสุขและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นแล้ว ก็จะยังมีส่วนลดความแออัดของโรงพยาบาล
.
.
ความปรารถนาของผมคือ พวกเราสุขภาพดีกันถ้วนหน้าจนกระทั่งทำให้โรงพยาบาลว่างเปล่า เวลาต้องไปเข้าโรงพยาบาลจะพบว่าหาที่จอดรถได้โดยง่าย และหมอมารอเรา ไม่ใช่เราต้องไปรอหมอเป็นชั่วโมง
.
.
ขอให้ทุกท่าน จงสุขภาพดี มีความสุข
จนวันสุดท้ายของชีวิตมาถึงครับ
.
.
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 37

โพสต์

โรคอัลไซเมอร์กับยีน APOE e4

ผมได้กล่าวในบทความก่อนหน้าว่าการมียีน APOE ประเภท 4 หรือ APOE4 นั้นจะเพิ่มความเสี่ยงให้มีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้อีก 7% ในภาพรวม

ซึ่งในครั้งนี้ผมขอขยายความเกี่ยวกับเรื่องนี้ให้เห็นความเสี่ยงอย่างชัดเจนยิ่งขึ้นครับ

มนุษย์ทุกคนต้องมียีน APOE เพราะยีนนี้นักวิทยาศาสตร์พบว่ามีหน้าที่ลำเลียงคอเลสเตอรอลในร่างกาย ตลอดจนการช่วยกำจัดโปรตีน beta amyloid (ซึ่งการพอกพูนของโปรตีนนี้เป็นต้นเหตุสำคัญของโรคอัลไซเมอร์) แต่ APOE มีอยู่ 3 ประเภทคือ APOE2 APOE3 และ APOE4 ซึ่งงานวิจัยในสหรัฐสรุปว่าสัดส่วนของการมียีน APOE ประเภทต่างๆ ในประชากรนั้นมีดังนี้

APOE คู่หมายความว่า ยีนนั้นเราจะได้รับข้างหนึ่งจากบิดาและอีกข้างหนึ่งมาจากมารดา ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าคนส่วนใหญ่จะมียีน e3 ไม่ว่าจะเป็น e3/e3 หรือ e3/e2 หรือ e3/e4 ที่ควรสังเกตคือคนส่วนใหญ่จะไม่มียีน e4 กล่าวคือ e2/e2+e2/e3+e3/e3=72.5%

แต่สมาคมอัลไซเมอร์ในรายงานเรื่องอัลไซเมอร์ประจำปี 2560 อ้างงานวิจัยที่รวบรวมงานวิจัย 20 ชิ้น (meta-analysis) พบว่าคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์นั้นมีสัดส่วนมากถึง 56% ที่มียีน APOE4 หนึ่งข้าง ในขณะที่ประชากรทั่วไปนั้นมีคนที่มี APOE4 หนึ่งข้างเพียง 25% สำหรับคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์และมียีน APOE4หนึ่งคู่ นั้นมีสัดส่วนสูงถึง 11% แต่สำหรับประชากรโดยรวมนั้นคนที่มี APOE4 หนึ่งคู่มีอยู่เพียง 2%

สมาคมอัลไซเมอร์ที่อังกฤษ (Alzheimers.org.uk) ประเมินคล้ายกันว่า

ประมาณ 25% ของประชากรทั้งหมดจะมียีน APOE4 หนึ่งข้าง ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงของการเป็นโรคอัลไซเมอร์ตอนสูงอายุ เมื่อเปรียบเทียบกับคนที่ไม่มี APOE4 ประมาณ 2 เท่าตัว และจะเริ่มเป็นอัลไซเมอร์ก่อนคนที่ไม่มี APOE4

ประมาณ 2% ของประชากรทั้งหมดจะมี APOE4 หนึ่งคู่ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคอัลไซเมอร์ 3-5 เท่า แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทุกคนที่มี APOE 4 หนึ่งคู่เป็นจะเป็นโรคอัลไซเมอร์ (แต่มีการประเมินว่าประมาณ 50-60% ของคนกลุ่มนี้จะเป็นโรคอัลไซเมอร์)

ประมาณ 60% ของประชากรจะมี APOE3 หนึ่งคู่ แต่กลุ่มนี้ก็ยังมีความเสี่ยงที่จะเป็นอัลไซเมอร์ประมาณ 25% เมื่ออายุใกล้ 90 ปี

คนที่มี APOE2 หนึ่งคู่จะมีโอกาสเป็นโรคอัลไซเมอร์น้อยที่สุด แต่คนในกลุ่มนี้มีจำนวนน้อยมาก
157718873383.jpg

ที่น่าสนใจคือผลงานวิจัยของทีมนักวิทยาศาสตร์ที่มหาวิทยาลัย Harvard เมื่อเดือน พ.ย.2562 ซึ่งติดตามดูอาการของครอบครัวชาวโคลอมเบียกลุ่มหนึ่งจำนวนกว่า 1,000 คนที่มียีนกลายพันธุ์ที่ทำให้คนกลุ่มนี้ทั้งหมดเป็นโรคอัลไซเมอร์ตั้งแต่อายุ 44 ปี เว้นแต่มีผู้หญิงคนหนึ่งในกลุ่มนี้อายุกว่า 70 ปีแล้ว แต่เพิ่งเริ่มมีอาการของอัลไซเมอร์

นักวิจัย Harvard พบว่าผู้หญิงคนนี้มียีน APOE3 รุ่นพิเศษที่แตกต่างจาก APOE อื่นๆ ซึ่งพบครั้งแรกที่เมือง Christchurch (ประเทศนิวซีแลนด์) จึงมีชื่อว่า APOE3ch ผู้หญิงคนนี้มี APOE3ch หนึ่งคู่คือรับกรรมพันธุ์นี้มาจากทั้งพ่อและแม่

นักวิจัยพบว่าแม้ผู้หญิงคนนี้จะมีโปรตีน beta amyloid เป็นจำนวนมากในสมอง (ซึ่งควรจะทำให้มีอาการอัลไซเมอร์อย่างรุนแรง) แต่ปรากฏว่ามีจำนวนโปรตีนเตา (Tau) น้อยมาก ซึ่งปกติแล้วเมื่อมี beta amyloid มาก ก็จะมีโปรตีนเตาเป็นจำนวนมากพร้อมกันไปด้วย ทำให้นักวิจัยเชื่อว่า APOE3ch นั้นช่วยลดการสร้างโปรตีนเตา ซึ่งมีผลไม่ให้เป็นโรคอัลไซเมอร์ ดังนั้นจึงเป็นความรู้ใหม่ที่จะเป็นประโยชน์อย่างมากในการคิดค้นตำรับยาที่จะทำหน้าที่ควบคุมโปรตีนเตาเหมือนกับ APOE3ch ซึ่งจะช่วยป้องกันการเป็นโรคอัลไซเมอร์ได้

ในอีกด้านหนึ่ง Broad Institute ซึ่งเป็นสำนักวิจัยร่วมกันของมหาวิทยาลัย Harvard และ MIT ได้ใช้เครื่องมือตัดแต่งพันธุกรรมที่ดัดแปลงมาจาก Crispr Cas9 มาเป็น Crispr Cas13 (วันหลังผมจะเล่าให้ฟังเกี่ยวกับ Crispr Cas9 ซึ่งผมเชื่อว่าจะทำให้มนุษย์สามารถตัดแต่งพันธุกรรมเพื่อปฏิเสธความแก่ของร่างกายได้ในอนาคต) ซึ่ง Crispr Cas13 นี้ คือการตัดแต่งพันธุกรรมของ APOE4 ให้กลายเป็น APOE2 ซึ่งเป็นยีนที่ลดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอัลไซเมอร์ให้ต่ำที่สุด

ทั้งนี้เพราะนักวิจัยบอกว่า APOE4 กับ APOE2 นั้นมีความแตกต่างกันน้อยมาก กล่าวคือดีเอ็นเอของยีนซึ่งมีโครงสร้างเหมือนบันไดเกลียวคู่และมีบันได 4 ขั้น (A,T,C,G) นั้น มี “บันได” ที่แตกต่างกันเพียง 2 ขั้นเท่านั้น ดังนั้นการใช้ Crispr Cas13 เข้าไปตัดบันไดเพียง 2 ขั้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อย ก็น่าจะลดความเสี่ยงที่การตัดต่อพันธุกรรมดังกล่าวจะทำให้เกิดผลกระทบข้างเคียงที่ไม่พึงประสงค์ขึ้น

ดังนั้นแม้บางคนจะมียีน APOE4 แต่ก็ยังสามารถดำเนินชีวิตเพื่อลดความเสี่ยงจากการเป็นโรคอัลไซเมอร์ 9 ข้อที่ผมได้เคยกล่าวถึงเพื่อรอให้วิทยาศาสตร์สามารถหาแนวทางในการรักษาโรคอัลไซเมอร์ได้อย่างเบ็ดเสร็จ ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้ในเวลาที่ไม่นานเกินรอครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 38

โพสต์

คุยเรื่องสุขภาพกับ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 39

โพสต์

งานวิจัยล่าสุดที่อาจนำไปสู่ยารักษาโรคอัลไซเมอร์

มนุษย์รู้จักโรคอัลไซเมอร์มาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว แต่ก็ยังไม่สามารถค้นพบยาที่จะรักษาโรคนี้ได้

ล่าสุดยาอีก 2 ตำหรับที่ทำการทดลองกับมนุษย์ต้องยกเลิกไป เพราะไม่ได้ผลในการรักษาโรคนี้ดังที่คาดหวังเอาไว้ นิตยสาร Scientific America เมื่อวันที่ 19 พฤศจิกายน 2019 รายงานว่าปัจจุบันมียาประมาณ 96 ชนิดที่อยู่ในระหว่างการทดลองใช้ (clinical trial) สะท้อนว่ามีความมุ่งมั่นอย่างมากที่จะค้นคว้าหายารักษาโรคนี้ให้ได้

ปัจจุบันนั้นแนวคิดหรือทฤษฏีที่ใช้อธิบายอาการของโรคอัลไซเมอร์คือ การสะสมตัวของโปรตีนที่เรียกว่า Amyloid Beta เป็นจำนวนมากเป็นเวลาหลายปี จนกระทั่งเป็นแผงหรือหินปูน (plaque) ที่ทำลายเซลล์สมองโดยเฉพาะเปลือกสมอง (cerebral cortex) ทำลายเนื้อสมองและทำให้สมองหดตัวและกระทบต่อการประมวลผลความคิดและการทำงานที่ซับซ้อนของสมอง รวมถึงความทรงจำ การคำนวณ การสะกดคำ ฯลฯแนวทางการค้นคว้าหายารักษาโรคอัลไซเมอร์ส่วนมากจึงทุ่มเทไปในทิศทางที่จะกำจัดโปรตีน Amyloid Beta ดังกล่าว

ผมก็เคยเขียนถึงระบบชำระ “ล้างสมอง” ที่เรียกว่า glympathic system ซึ่งเป็นระบบที่อาศัยของเหลวที่หลั่งออกจากกระดูกสันหลัง (cerebral spinal fluid) มาฉีดล้างเศษ Amyloid Beta ที่คั่งค้างอยู่ระหว่างเซลล์ของสมอง (neurons) ในช่วงที่เรานอนหลับลึก (deep sleep) โดยนักวิจัยพบว่าช่วงที่เราหลับลึกนั้นเซลล์สมองจะหดตัวให้ขนาดลดลง 60% ทำให้น้ำที่หลั่งออกมาสามารถฉีด-ล้าง Amyloid Beta ที่คั่งค้างได้อย่างหมดจดทุกคืน

แต่โรคอัลไซเมอร์นั้นมีอีกอาการหนึ่ง ที่น่าจะมีบทบาทสำคัญคือ การก่อตัวขึ้นของโปรตีนเตา (Tau Protein) ซึ่งก่อตัวขึ้นภายในโครงสร้างของเซลล์สมอง (ไม่ใช่ช่องว่างระหว่างเซลล์สมอง) โดยเฉพาะภายในกิ่งก้านของเซลล์สมองที่เรียกว่า Axon ซึ่งมี “ท่อส่งบำรุง” ที่เรียกว่า microtubules ซึ่งงานวิจัยพบว่าการก่อตัวของเศษของโปรตีนเตานั้นเมื่อเวลาผ่านไปหลายปี ก็จะรวมตัวกันเป็นเส้นๆ (Tau tangles) ซึ่งทำลายระบบลำเลียงสารอาหารและระบบติดต่อกันของเซลล์สมอง (synapses) อาการนี้เกิดขึ้นภายหลังการสะสมและรวมตัวของโปรตีน Amyloid Beta ดังนั้นแนวคิดส่วนใหญ่จะเชื่อว่า Amyloid Beta เป็นสาเหตุหลัก แนวทางในการค้นคว้าหายารักษาจึงมักจะมุ่งเน้นการทำลาย Amyloid Beta มากกว่า

อย่างไรก็ดีก็ยังมีแนวคิดอื่นๆ ด้วย เช่นในปี 2018 มีงานวิจัยของ Center for Cognitive Health ของโรงพยาบาล Mount Sinai พบว่าไวรัสบางประเภทที่ทำให้เป็นโรคเริม (herpes simplex virus) นั้นมีปริมาณสูงมากในคนที่เป็นโรคอัลไซเมอร์ งานวิจัยนี้สะท้อนว่าโรคอัลไซเมอร์น่าจะมีสาเหตุมาจากการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ซึ่งเกิดขึ้นเพราะคนบางคนอาจมีเชื้อของโรคเริมอยู่ในร่างกายเป็นเวลาหลายสิบปี

งานวิจัยล่าสุดที่ผมอ่านพบคืองานวิจัยที่พิมพ์ในวารสาร Nature เมื่อวันที่ 20 พ.ย. 2019 ชื่อ “NLRP3 inflammasome activation drivers tau pathology” โดยทีมวิจัยของ University of Bonn ที่สรุปว่า “inflammatory processes triggered by the brain’s immune system are a driving force” ในการทำให้เกิดโรคอัลไซเมอร์ ทั้งนี้โปรตีนที่เป็นสาเหตุหลักคือ NLRP3 inflammasome ซึ่งทำหน้าที่ปล่อยสารเคมีที่เป็นภูมิคุ้มกันออกมา แต่หากออกมาเป็นจำนวนมากอย่างต่อเนื่อง ก็กระตุ้นให้เกิด hyperphosphorylation คือการส่งผลกระทบต่อโปรตีนเตา ทำให้หลุดออกมาจากโครงสร้างภายในของเซลล์สมองและชิ้นส่วนที่หลุดออกมาจะค่อยๆ รวมตัวกันเป็นเส้นๆ (tangles) ที่ทำลายเซลล์สมองจากภายในเซลล์สมองดังกล่าวข้างต้น

ก่อนหน้านี้นักวิจัยของ University of Bonn ค้นพบว่าการทำงานของ NLRP3 inflammasome นี้ก็เป็นสาเหตุที่ทำให้มีการสะสมของ Amyloid Beta เช่นกันทำให้นักวิจัยสรุปว่างานวิจัยชิ้นนี้สนับสนุนทฤษฎีเกี่ยวกับอัลไซเมอร์ที่เรียกว่า “amyloid cascade hypothesis” กล่าวคือการสะสมของ Amyloid Beta ส่งผลกระจายออกมากระตุ้นให้ปริมาณโปรตีนเตาเพิ่มขึ้นและก็สะสมตัว ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่า NLRP3inflammasome นั้นเป็นต้นตอหรือตัวกลางที่เชื่อมต่ออาการทั้งสอง (the missing link) ซึ่งนำไปสู่การเป็นโรคอัลไซเมอร์

ความรู้ใหม่นี้ย่อมเป็นโอกาสให้นักวิจัยมีแนวทางอีกทางหนึ่งในการแสวงหายารักษาโรคอัลไซเมอร์ ซึ่งผมพขอเอาใจช่วยให้สามารถหายารักษาโรคนี้ได้ในอนาคตอันใกล้ เพราะกระทรวงสาธารณสุขของไทยได้คาดการณ์แล้วว่าสังคมสูงวัยของไทยนั้นมีความเสี่ยงที่จะมีผู้สูงอายุชาวไทยที่เป็นโรคอัลไซเมอร์กว่า 1 ล้านคนภายใน 10 ปีข้างหน้าจากปัจจุบันที่มีผู้ป่วยกว่า 600,000 คนครับ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 40

โพสต์

กินยา 3 ชนิดเป็นเวลา 1 ปี ทำให้อายุลดลง 2.5 ปี
เมื่อวันที่ 5 ก.ย. 2019 ทีมนักวิจัยจากมหาวิทยาลัย UCLA และ มหาวิทยาลัย Stanford นำโดย Dr. Gregory Fahy รายงานในวารสาร Aging Cell ว่า


จากการทดลองให้ชาย 9 คนกินยา 3 ชนิดเป็นเวลา 1 ปี พบว่าชายกลุ่มดังกล่าวอายุลดลง 2.5 ปีโดยเฉลี่ยในช่วงเวลาดังกล่าว ภาวะที่อายุลดลงนั้นยังเห็นผลต่อเนื่องไปอีก 6 เดือนหลังจากงานทดลองเสร็จสิ้นลง ที่น่าสนใจอีกประการหนึ่งคือ การทดลองดังกล่าวนั้นวัตถุประสงค์หลักไม่ใช่การทำให้อายุของผู้ถูกทดลองลดลง แต่เป็นความต้องการของ Stanford Medical Center ที่เมือง Palo Alto ที่จะกระตุ้นการฟื้นตัวของต่อมไทมัส(Thymus Gland) ซึ่งเป็นต่อมไร้ท่อที่มีหน้าที่หลักในการทำให้เม็ดเลือดขาวชนิด T-cell (ที่มีความสำคัญอย่างมากในระบบภูมิคุ้มกันของมนุษย์) ทั้งนี้ต่อมไทมัสจะค่อยๆ ฝ่อลงจนเป็นเพียงเนื้อเยื่อไขมันเมื่ออายุมากขึ้น งานวิจัยนี้ได้รับอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาของสหรัฐภายใต้โครงการ Thymus Regeneration Immunorestoration and Insulin Mitigation (TRIIM)

ผมขอย้ำอีกครั้งว่า ผลของงานวิจัยที่ทำให้ได้รับการตีพิมพ์ในวารสาร Aging Cell คือ การที่งานทดลองดังกล่าวเป็นงานชิ้นแรกที่พิสูจน์ว่าสามารถทำให้อายุของเซลล์ลดลงได้ด้วยการวัดอายุของเซลล์ด้วยวิธีการทางชีวภาพที่เรียกว่า epigenetic clock โดยผู้ที่คิดค้นวิธีวัดอายุของเซลล์ในลักษณะนี้คือ Dr. Steve Horvath แห่งมหาวิทยาลัย UCLA จึงมีอีกชื่อหนึ่งว่า Horvath clock ซึ่งท่านผู้อ่านสามารถ google ดูรายละเอียดได้หรือท่านที่เป็นลูกค้าของธนาคารเกียรตินาคินภัทรสามารถมาคุยกับผมเกี่ยวกับเรื่องนี้และเรื่องเกี่ยวกับสุขภาพด้านอื่นๆ ได้ในงานพบลูกค้าและนักลงทุนวันที่ 6 ก.พ.นี้ครับ สำหรับคำอธิบายเกี่ยวกับ epigenetic clock แบบฉบับย่อคือการวัดอายุทางชีวภาพ (Biological Age) ซึ่งเป็นที่ยอมรับในเชิงวิชาการว่าแม่นยำกว่าการวัดจากอายุ (Chronological Age) โดยอาศัยรอยขีดเชิงเคมีที่ดีเอ็นเอ (Chemical marks that tag onto the genetic sequence) ซึ่งเรียกว่า DNA Methylation และเมื่อนำเอารอยขีดเชิงเคมีดังกล่าวมาประเมินโดย algorithm แล้ว ก็จะสามารถทำต้นแบบขึ้นมาเพื่อประเมินอายุของเซลล์ได้อย่างแม่นยำ

ท่านที่อยากอ่านต้นฉบับของเรื่องนี้สามารถ google Horvath clock หรือ epigenetic clock ก็ได้ สำหรับผลการทดลองของทีมของ Dr. Gregory Fahyนั้นสามารถดูได้ที่ Aging Cell (5 September 2019) ภายใต้ชื่อ “Reversal of epigenetic aging and immunosenescent trends in humans” และบทสรุปผลการทดลองดังกล่าวในวารสาร Nature วันที่ 5 ก.ย. 2019 ภายใต้ชื่อ “First hint that body’s biological age’ can be reversed”

ดังที่กล่าวข้างต้น งานวิจัยนี้ได้รับการอนุมัติเพื่อค้นคว้าหาวิธีฟื้นฟูต่อมไทมัส มีหน้าที่หลักคือการช่วยการส่งเสริมการเจริญเติบโตของ T-cell หรือเซลล์ที่ทำหน้าที่เป็นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (immune system) และต่อมไทมัสยังมีหน้าที่ในการป้องกันไม่ให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายกลับมาทำลายตัวเอง (autoimmunity) อีกด้วย แต่ต่อมไทมัสนั้นจะฝ่อลงเมื่อเราอายุมากขึ้นจนกลายเป็นเนื้อเยื่อไขมันที่ไม่มีประโยชน์อะไรตอนประมาณอายุ 65-75 ปี (ทำให้หลังจากนั้นผู้สูงอายุจึงเป็นโรคต่างๆได้โดยง่าย) Dr. Gregory Fahy ตั้งใจจะใช้ Growth hormone เพื่อฟื้นฟูต่อมไทมัส โดยให้ชายผิวขาว 9 คน อายุ 51 ถึง 65 ปี) กิน Growth hormone ดังกล่าวเป็นเวลา 1 ปี แต่เกรงว่าการให้กิน Growth hormone ในปริมาณมากอย่างต่อเนื่องจะทำให้เกิดปัญหาข้างเคียงที่เป็นอันตรายคือการเพิ่มระดับน้ำตาลในเลือด

ดังนั้นทีมนักทดลองจึงได้ให้ชาย 9 คนดังกล่าวกินยาลดน้ำตาลในเลือด 2 ชนิด ได้แก่ DHEAและ Metformin โดยทำการตรวจสอบต่อมไทมัสและตรวจเลือดของชาย 9 คนเป็นประจำอย่างต่อเนื่องเป็นเวลา 1 ปี ทำให้สามารถมีข้อมูลที่นำไปตรวจดีเอนเอเพื่อคำนวณอายุทางชีวภาพได้ด้วยโดย Dr. Fahyได้ติดต่อ Dr. Horvathให้มาทำการวัดอายุทางชีวภาพด้วยตัวเอง ซึ่ง Dr. Horvath ก็รู้สึกแปลกใจกับผลการตรวจอย่างมาก จึงได้ทำการวัดด้วยนาฬิกาทางชีวภาพถึง 4 แบบ (4 different epigenetic clocks)ซึ่งก็ให้ผลเหมือนกันคือชาย 9 คน อายุชีวภาพลดลง 2.5 ปีในช่วงเวลา 1 ปีที่ทำการทดลอง แปลว่าชาย 9 คนดังกล่าว “กำไรอายุสุทธิ” เฉลี่ย 1.5 ปีในช่วง 1 ปีของงานทดลองที่สำคัญคือหลังจากการกินยา 3 ขนานครบ 9 เดือน การหมุนเวลากลับของเซลล์ (ที่ทำให้อายุลดลง) นั้น กลับเร่งตัวเร็วขึ้น (de-aging effect seemed to accelerate) นอกจากนั้นเมื่อวัดอายุชีวภาพของเซลล์หลังการทดลองจบลงไปแล้ว 6 เดือน เซลล์ก็ยังอายุลดลงเช่นเดิม ทำให้สรุปว่าผลของการกินยา 3 ขนานดังกล่าวมีผลยาวนานอย่างน้อย 6 เดือน

มาถึงตรงนี้คงจะไม่ต้องกล่าวเตือนนะครับว่าเราอย่าเพิ่งเอาตัวเองไปเป็นหนูทดลองโดยการเอายา 3 ชนิดดังกล่าวมากิน เพราะเราจะไม่รู้ว่าจะต้องใช้ยาดังกล่าวปริมาณมากน้อยเพียงใดและการทำงานวิจัยที่ใช้คนเพียง 9 คน (ที่เป็นชาวผิวขาวทั้งหมด) ย่อมทำให้มีข้อสรุปได้ว่ายาดังกล่าวจะให้ผลเช่นเดียวกันกับคนทั่วไป ที่สำคัญอย่างยิ่งคือการทำให้เซลล์อายุลดลงนั้นอาจหมุนเวลาถอยหลังมากเกินไป ทำให้เซลล์สูญเสียเอกลักษณ์ของตัวเอง (lose cell identity) ซึ่งจะเสี่ยงต่อการที่เซลล์จะแปลงตัวเป็นเซลล์มะเร็งก็ได้ แต่นักวิจัยยืนยันว่าในการตรวจสอบดีเอนเอนั้นไม่พบหลักฐานว่ามีความเสี่ยงดังกล่าวในงานวิจัยนี้แต่อย่างใด

ซึ่งแน่นอนว่าผลของงานวิจัยชิ้นนี้ทำให้ Dr. Fahyและ Stanford Medical Center วางแผนที่จะทำการทดลองที่มีขนาดใหญ่ขึ้น มีผู้เข้าร่วมที่มีความหลากหลายมากขึ้น (โดยรวมถึงผู้หญิงและคนผิวสีอื่นๆ) ดังนั้นเราจึงควรดูแลสุขภาพของเราให้ดีเพื่อรอผลงานวิจัยนี้และงานวิจัยอื่นๆ ในระดับเซลล์ที่อาจจะทำให้เกิดความพลิกผันในการดูแลสุขภาพในอนาคตอันใกล้นี้ครับ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 41

โพสต์

อยากกินไส้กรอก แต่กลัวเป็นโรคมะเร็ง
คอลัมน์ Healthy aging


โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

ผมเป็นคนชอบกินไส้กรอกและอาหารประเภทคล้ายคลึงกับไส้กรอกที่เป็นเนื้อสัตว์ที่ใช้สารถนอมอาหารและทำให้เนื้อสีแดง ได้แก่ sodium nitrite ที่ใช้ในการทำหมูแฮมและเบคอน เป็นต้น

ดังนั้นเมื่อองค์การอนามัยโลก (World Health Organization หรือ WHO) ประกาศเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2015 ขึ้นบัญชีเนื้อสัตว์แปรรูป (processed meat) เข้าไปอยู่ที่กลุ่ม 1 (group 1) ที่มีคำนิยามว่า เป็นสารที่ “carcinogenic to humans” หรือก่อมะเร็งให้กับมนุษย์ โดยแถลงว่ามี “sufficient evidence” หรือหลักฐานทางวิชาการเพียงพอที่นำไปสู่การขึ้นทะเบียนดังกล่าว ก็ทำให้ต้อง “ขอถอย” จากการกินไส้กรอก แฮม และเบคอน ไปตั้งแต่ปี 2016 เป็นต้นมา ทั้ง ๆ ที่ยังอยากกินอาหารดังกล่าวอย่างมาก

ในขณะเดียวกัน WHO ก็ยังนำเอาเนื้อแดง (red meat) ขึ้นบัญชีกลุ่ม 2A (group 2A) ซึ่งให้คำนิยามว่า “probably carcinogenic to humans” หรือมีความเป็นไปได้ที่จะก่อมะเร็งให้กับมนุษย์ แปลว่าก็ยังดีกว่าการกินอาหารประเภทเนื้อสัตว์แปรรูป นอกจากนั้นในแถลงการณ์ยังระบุว่า ความสัมพันธ์ระหว่างการกินเนื้อสัตว์แปรรูปกับเนื้อแดงนั้น ปรากฏกับการเป็นโรคมะเร็งในสำไส้ใหญ่เป็นหลัก แต่มีความเกี่ยวเนื่องกับมะเร็งที่ส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย ได้แก่ ตับอ่อน และต่อมลูกหมาก

สำหรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นนั้นยังมีการระบุเพิ่มเติมว่า ผู้เชี่ยวชาญของ WHO สรุปว่า การกินเนื้อสัตว์ปรุงแต่งเพิ่มขึ้นทุก 50 กรัม (ครึ่งขีด) ต่อวัน (ไส้กรอก 2 ชิ้น) จะเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ 18%

การที่เนื้อสัตว์ปรุงแต่งถูกนำเข้าไปขึ้นบัญชีในกลุ่ม 1 นั้น ดูแล้วจะรู้สึกว่าให้โทษอย่างมาก เพราะอยู่ในกลุ่มเดียวกับบุหรี่กับ asbestos นอกจากนั้นแล้วในการออกเอกสารชื่อว่า “Q&A on the carcinogenicity of the con-sumption of red meat and processed meat” ยังขยายความอีกว่า “there is convincing evidence that the agent causes cancer” แต่ WHO ก็ระบุว่า แม้เนื้อปรุงแต่งจะอยู่ในกลุ่มเดียวกันกับบุหรี่ (กล่าวคือทำให้เป็นโรคมะเร็ง) แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเนื้อสัตว์แปรรูปอันตรายเท่ากับบุหรี่

อย่างไรก็ดี เมื่ออ่านถึงตรงนี้แล้ว ความอยากกินไส้กรอกก็ลดลงอย่างมากอยู่ดี โดยเฉพาะเมื่อระบุต่อไปว่ามีคนเสียชีวิตปีละประมาณ 34,000 คน จากโรคมะเร็งที่ประเมินว่า เป็นเหตุมาจาก (attributable to) การกินเนื้อสัตว์ปรุงแต่งในปริมาณที่สูง (หน้า 2 ของ Q&A) และในตอนท้ายนั้นกล่าวว่า คณะทำงานของฝ่ายวิจัยโรคมะเร็งของ WHO (IARC) มีผู้เชี่ยวชาญถึง 22 คน ที่ไปตรวจสอบข้อมูลทางวิชาการเกี่ยวกับเรื่องนี้โดยอ่านงานวิจัยถึง 800 ชิ้น ทำให้รู้สึกว่าไม่เชื่อก็ต้องเชื่อข้อสรุปและคำแนะนำของ WHO เกี่ยวกับการ (อย่า) กินเนื้อสัตว์ปรุงแต่ง

แต่เมื่อความอยากกินมีมากจึงต้องขอกลับไปอ่านข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้อีกครั้ง ข้อสรุปก็คือว่าควรหลีกเลี่ยงการกินเนื้อสัตว์ปรุงแต่ง และควรลดการกินเนื้อสัตว์แดงให้น้อยที่สุด แต่ข้อเท็จจริงนั้นดูแล้วจะมีความสลับซับซ้อนมากกว่าข้อสรุปของ WHO ข้างต้น ทำให้พอจะกล้าสรุปได้ว่า การกินไส้กรอก หรือแฮม หรือเบคอน เป็นครั้งคราว (เดือนละ 1-2 ครั้ง) ในจำนวนไม่มากนักนั้น จะไม่เพิ่มความเสี่ยงในการเป็นโรคมะเร็งอย่างมีนัยสำคัญ หากกินให้ถูกวิธี

จุดตั้งต้นคือการที่ WHO มีหลักฐานชัดเจนมากว่า การกินเนื้อสัตว์ปรุงแต่งนั้นเสี่ยงที่จะทำให้เกิดโรคมะเร็งในลำไส้ใหญ่เป็นหลัก แต่บทความจากสำนักข่าวบีบีซี (“The truth about the Nitrates in your food” BBC Future 13 March 2019) ตั้งข้อสังเกตว่า คนอังกฤษนั้นตามสถิติเป็นโรคมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่เพียง 6% และเมื่อผมไปค้นสถิติที่อเมริกา ซึ่งมีข้อมูลจาก “Colorectal Cancer Alliance” ก็พบว่า คนอเมริกันนั้นมีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่เพียง 4.5% เท่านั้นสำหรับชายและหญิง (life time risk of colon cancer) ดังนั้นจึงสามารถตั้งต้นได้ว่า ความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่นั้นไม่สูงมาก คือ 5-6% เท่านั้น

ต่อมาคือสถิติจากแหล่งเดียวกันว่า หากหมั่นตรวจร่างกายให้พบมะเร็งดังกล่าวในขั้นแรก (ที่เรียกว่า local stage) แล้ว ทำการรักษา โอกาสอยู่รอดในช่วง 5 ปีต่อมา (5 years survival rate) จะสูงถึง90% และแม้ว่าขยายตัวออกไปบ้างขั้นที่ 2 (regional rate) โอกาสอยู่รอดก็ยังค่อนข้างสูงถึง 71% แต่ก็ยังคงไม่ค่อยมีใครจะอยากตรวจลำไส้ใหญ่ของตัวเองบ่อย ๆ อย่างแน่นอน

แต่หากดูตัวเลขอีกครั้งจะเห็นว่า WHO ระบุว่าการกินเนื้อสัตว์แปรรูปปรุงแต่งเพิ่มความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่เท่ากับ 18% นั้น แปลว่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 ของ 5-6% หรือเพิ่มขึ้นอีกเพียง 1% เท่านั้น กล่าวคือจาก 5-6% เป็น 6-7% ตลอดชีวิต ซึ่งผมเชื่อว่าเราหลายคนทำอะไรอย่างอื่นที่อันตรายต่อชีวิตมากกว่าการกินไส้กรอกอย่างแน่นอน

แต่ “ข่าวดี” ยังมีมากกว่านี้อีก เพราะดังที่ผมกล่าวตอนต้น เรากลัวการกิน sodium nitrite ที่ใช้ถนอมอาหารและทำให้เนื้อแดง โดย nitrite นั้นคือไนโตรเจนที่มีออกซิเจนพ่วงอยู่ 2 ตัว นอกจากนั้นยังมีสารที่คล้ายคลึงกัน (และอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคมะเร็งได้เช่นกัน) คือ nitrate ซึ่งเป็นไนโตรเจนที่มีออกซิเจนพ่วงอยู่ 3 ตัว

แต่รายงานของบีบีซีอ้างว่าการรับสารทั้งสองประเภทจากการบริโภคอาหารของคนยุโรปนั้น ได้รับจากเนื้อสัตว์ปรุงแต่งเพียง 5% และอีกมากกว่า 80% ได้รับจากการกินผักและผลไม้ โดย nitrate นั้นมีอยู่สูงมากในผัก spinach และ rocket ตลอดจน carrot ที่เรามักเข้าใจกันว่าเป็นผักที่มีประโยชน์สูงสุดสำหรับร่างกาย เพราะ nitrate นั้นซึ่งอยู่ในผักดังกล่าวที่ได้มาจากปุ๋ยในดิน คือไนโตรเจนนั่นเอง

ตรงนี้ไม่ได้หมายความว่าการกินผักดังกล่าวจะทำให้เกิดอันตรายใด ๆ เลยนะครับ เพียงแต่ว่าเรื่องที่ทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคมะเร็งนั้นมีความสลับซับซ้อนกว่าที่ผมเคยเข้าใจ กล่าวคือ nitrate นั้นมีความเฉื่อย (inert) หรือแปลว่าเสถียรมาก จึงจะแปลงตัวเป็นอย่างอื่นหรือทำปฏิกิริยาอะไรในร่างกายเหมือนกับ nitrite (ที่มีออกซิเจน 2 ตัว) แต่เมื่อน้ำลายของเราผสมลงไปกับ nitrate ก็จะมีแบคทีเรียมาทำปฏิกิริยาแปลง nitrate ที่กินเข้าไปให้เปลี่ยนเป็น nitrite เข้าสู่กระเพาะอาหารของเรา ซึ่งหากใครอยากให้การแปลง nitrate เป็น nitrite ลดลง ก็สามารถที่จะกำจัดแบคทีเรียดังกล่าวได้โดยการใช้ยาบ้วนปากฆ่าแบคทีเรียดังกล่าวครับ

แต่กลับกลายเป็นว่า nitrite นี้เมื่อเข้าไปสู่กระเพาะอาหารของเราแล้ว จะแปลงเป็น “พระเอก” ที่มีประโยชน์อย่างมาก ได้แก่ NO (nitric oxide) หรือเป็น “ผู้ร้าย” คือ nitrosamine ก็ได้ ซึ่ง nitrosamine คือ สารที่ก่อให้เกิดมะเร็ง (carcinogen) ที่เป็นต้นตอทำให้ WHO ขึ้นบัญชีเนื้อสัตว์ปรุงแต่งในกลุ่ม 1 นั่นเอง ตรงกันข้าม NO นั้นเป็นแก๊สสำคัญที่ซึมเข้าไปในเส้นเลือดของร่างกายและเป็นโมเลกุลส่งสัญญาณ (signaling molecule) ให้เส้นเลือดต่าง ๆผ่อนคลายและขยายตัว ทำให้ความดันโลหิตลดลง และลดความเสี่ยงของการเป็นโรคหัวใจและการขาดเลือดในสมอง ผู้ที่ค้นพบบทบาทสำคัญของ NO และเซลล์เคลือบภายในเส้นเลือด ที่เรียกว่า endothelial cell ได้รางวัลโนเบลเมื่อปี 1998

สิ่งที่ทำให้ nitrite ในเนื้อสัตว์ปรุงแต่งแปลงตัวไปเป็น “ผู้ร้าย” คือ nitrosamine ก็คือ การที่สารดังกล่าวอยู่รวมกับ amino acid (คือโปรตีนในเนื้อสัตว์) และถูกความร้อนสูงไปพร้อม ๆ กัน ดังนั้นการกินผักจึงปลอดภัยเพราะเราไม่ได้นำไปเผาหรือปิ้งนาน ๆ และมักจะกินเปล่า ๆไม่ได้นำไปปิ้งย่างรวมกันกับเนื้อสัตว์ (ดังนั้นจึงไม่ควรกินผักที่นำไปพร้อมกันกับการกินโปรตีน) นอกจากนั้นยังค้นพบด้วยว่าการเพิ่มการกินวิตามินซีก็จะลดการก่อตัวของ nitrosamine อีกด้วย และหากดื่มเครื่องดื่ม เช่น ชาเขียว ที่มี polyphenol ที่เชื่อว่าเป็นสารต้านมะเร็ง ก็น่าจะช่วยลดความเสี่ยงไปอีกทางหนึ่งด้วย

ดังนั้น ผมจึงกล้ากลับมากินไส้กรอกต้มเดือนละ 1-2 ครั้ง พร้อมกับวิตามินซีและชาเขียวครับ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 42

โพสต์

อายุชีวภาพหรือ Epigenetic Clock

ครั้งที่แล้วผมเขียนถึงการทดลองของ Dr.Gregory Fahy ซึ่งพบว่าความพยายามฟื้นฟูต่อมไทมัส(Thymus Gland) มีผลข้างเคียง

คือทำให้อายุชีวภาพ (biological age) ของชายสูงอายุที่เข้าร่วมการทดลอง 9 คนลดลง เฉลี่ย 2.5 ปี

ทั้งนี้โดยการวัดอายุของเซลล์ที่เรียกว่า Epigenetic Clock หรือ Horvath Clock (เรียกตามผู้คิดค้นเรื่องนี้คนแรกคือ Dr. Steve Horvath แห่ง University of California ที่ San Francisco

ครั้งนี้ผมขอขยายความเกี่ยวกับเรื่องนี้เพราะผมเชื่อว่าจะเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างมากในการวัดผลการดูแลสุขภาพของตัวเราในอนาคต ปัจจุบันเราจะประสบเห็นบ่อยครั้งว่าบางคนอายุมากแต่สุขภาพแข็งแรง ในขณะที่บางคนอายุน้อยแต่สุขภาพอ่อนแอ ซึ่งแปลว่าอายุโดยการนับจำนวนปีจากวันเกิด (Chronological age) นั้น ในหลายกรณีไม่สามารถวัด “อายุ” ที่แท้จริงของร่างกายอย่างแม่นยำบรรทัดฐานใหม่นี้สามารถนำมาใช้วัดได้ว่าการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตัวเรา เช่น การออกกำลังกายมากขึ้น การลดน้ำหนักหรือการเพิ่มจำนวนชั่วโมงที่นอนหลับต่อ 1 คืนนั้นได้ผลในการชะลอการแก่ตัวของร่างกายมากน้อยเพียงใดและจะสามารถใช้พิสูจน์ได้ว่ายาเสริมหรือมาตรการฟื้นฟูร่างกายประเภทใดได้ผลตามที่กล่าวอ้างหรือไม่

แต่แนวคิดเกี่ยวกับ epigenetic clock นี้ยังเป็นเรื่องที่ใหม่มาก (Dr. Horvath นำเสนอผลงานวิจัยเรื่องนี้ประมาณปี 2013) และยังมีข้อถกเถียงเกี่ยวกับความแม่นยำของวิธีการนี้ นอกจากนั้นยังเป็นเรื่องที่มีความสลับซับซ้อนอยู่ในระดับค่อนข้างสูง จึงขอนำแนวคิดนี้มาถ่ายทอดให้กับท่านผู้อ่านทราบในหลักกว้างๆ ดังต่อไปนี้

ร่างกายมนุษย์เรานั้นมีเซลล์ทั้งหมด 37.2 ล้านล้านเซลล์ ทั้งนี้จุดเริ่มต้นเป็นเซลล์ที่เกิดจากการผสมพันธ์กันระหว่างสเปริมของบิดาและไข่ของมารดาและเซลล์แบ่งตัวในระยะเริ่มต้นนั้นเรียกว่า Totipotent stem cell คือเป็นเซลล์ที่จะเป็นเซลล์ประเภทใดก็ได้และต่อมาก็จะแบ่งตัวเป็นเซลล์เฉพาะทางประเภทต่างๆ รวมทั้งสิ้น 200 ประเภท(เช่น เซลล์ผิวหนัง เซลล์สมอง เซลล์หัวใจ ฯลฯ)

จุดสำคัญคือจะต้องเข้าใจเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างจีโนม(genome) หรือพันธุกรรมกับเอพิจิโนม(epigenome) หรือสิ่งที่อยู่เหนือพันธุกรรม คือเซลล์ของเราจะถูก “กำหนดชาติเกิด” ให้เป็นเซลล์สมองหรือเซลล์ผิวหนังหรือเซลล์หัวใจและจะต้องรู้จักเอกลักษณ์ (cell identity) ของตัวเองตลอดไป แต่ไม่ว่าจะเป็นเซลล์ประเภทใดก็ตาม เซลล์ทุกเซลล์จะมีจีโนมหรือดีเอ็นเอบรรจุอยู่ใน nucleus ของทุกเซลล์เหมือนกันหมด โดยเส้นดีเอ็นเอนั้นหากนำออกมายืดดูก็จะเห็นว่ายาวถึง 2 เมตรในแต่ละเซลล์และจะบรรจุข้อมูลของยีนส์ทุกยีนส์ (รวมทั้งสิ้น 23,000 ยีนส์)

จีโนม (พันธุกรรม) หรือข้อมูลที่บรรจุอยู่ในดีเอ็นเอของเรานั้นมีความคงทนอย่างมาก จึงมีการสร้างภาพยนตร์เรื่อง Jurassic Parkที่กล่าวอ้างว่าสามารถเพาะไดโนเสาร์จากดีเอ็นเอในอดีตหลายล้านปีได้และในภาพยนตร์โทรทัศน์เรื่อง CSI นั้น ทีม CSI จึงสามารถตรวจดีเอ็นเอมาเป็นหลักฐานผูกมัดผู้ร้ายได้แม้เพียงจากคราบเลือดที่เก่าแก่นานหลายสิบปี

อย่างไรก็ดีเซลล์แต่ละประเภทจะทำหน้าที่ต่างกันเพราะถูกกำหนดให้ “อ่านเฉพาะบางส่วน” ของตำราใหญ่ทั้งเล่มคือจีโนม ผมสมมติว่าจีโนมคือตำราทำกับข้าวและของหวานเล่มใหญ่มากและมีพ่อครัวหลายคนในหลายแผนก (ประเภทของเซลล์) แต่ละแผนกจะถูกกำหนดมาว่าจะต้องทำอาหารเฉพาะอย่างในตำราเท่านั้น ดังนั้นเซลล์ผิวหนังก็จะอ่านเฉพาะบทที่เกี่ยวกับการทำเซลล์ผิวหนัง หรือเปรียบเทียบได้ว่าพ่อครัวที่ถูกสั่งให้ทำขนมครกก็จะต้องอ่านเฉพาะตำราการทำขนมครก เป็นต้น ส่วนอื่นๆของตำรา เช่นตำราให้ทำแพนเค้กนั้นไม่ต้องอ่าน เพราะเป็นหน้าที่ของพ่อครัวคนอื่น นักวิชาการอธิบายว่านี่คือ epigenome หรือการที่เซลล์จะต้องอ่านยีนส์ให้ถูกต้องและอ่านเฉพาะที่ต้องอ่าน (เรียกว่ายีนส์ถูก “เปิด” (expressed ให้ทำงาน) และตำราอาหารอื่นๆ ที่เหลือจะต้องอย่าไปอ่าน (เรียกว่ายีนส์ที่เหลือจะต้องถูก “ปิด (silenced) ให้ไม่ต้องทำงาน)

เวลาคนเราแก่ตัวนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นคือ epigenome เริ่มรวน อ่านผิดๆ ถูกๆ ส่วนของยีนส์ที่ควรอ่านก็ไม่อ่านให้ครบ ส่วนของยีนส์ที่ไม่ควรอ่านกลับไปอ่านมาผสมโรง (ดังนั้นจึงเสมือนกับพ่อครัวทำขนมครกเอาตำราทำแพนเค้กมาผสมด้วย) เพราะยีนส์ที่ควรถูกมัดให้แน่นด้วยโปรตีนฮิสโตน (Histone) คลายตัว ทำให้ยีนส์ถูกเปิดทั้งๆที่ไม่ควรเปิด เป็นต้น และอีกกรณีหนึ่งที่สำคัญคือการเกิดดีเอ็นเอเมทิเลชั่น(DNA Methylation) หรือกระบวนการเติมหมู่เมทิลเข้าไปในสายดีเอ็นเอซึ่งมิได้ทำให้ดีเอ็นเอ (ยีนส์และจีโนม) เปลี่ยนแปลง แต่เป็นเสมือนกับการ “เติมเข้า” หรือ “นำออก” (ผมเปรียบเทียบว่าเสมือนกับการทำให้ดีเอ็นเอมีตำหนิ) ทำให้ยีนส์ที่ไม่ควรทำงานก็มาทำงานและยีนส์ที่ควรทำงานก็ถูกทำให้หยุดทำงาน ซึ่งประเด็นสำคัญคือเมื่อแก่ตัวลง DNA Methylation จะมีจำนวนเพิ่มขึ้นและนักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าการเพิ่มขึ้นของตำหนิในดีเอ็นเอนี้เป็นสาเหตุหลักของการทำให้ร่างกายแก่ชราและเป็นโรคร้ายต่างๆ

ดังนั้นจึงมีการสำรวจดู DNA Methylation ในเซลล์ของประชากรจำนวนมากและหลากหลาย ทำให้สามารถรวบรวมข้อมูลได้ว่ากลุ่มคนในแต่ละอายุนั้นควรจะมี DNA Methylation ที่ใดและมากน้อยเพียงใดและในเซลล์ประเภทใด จากนั้นก็สามารถอาศัยกลไกทางสถิติและ Algorithm เพื่อทำแบบจำลอง (model) เพื่อคาดการณ์อายุของเซลล์ได้ โดยอาศัยข้อมูลของประชากรดังกล่าวเป็นบรรทัดฐานและเมื่อมีบรรทัดฐานดังกล่าวก็จะสามารถนำมาวัดกับคนแต่ละคนในแต่ละช่วงเวลาได้ว่าชีวภาพของคนแต่ละคนนั้นแก่มากหรือน้อยกว่ามาตรฐานทั่วไปเพียงใด และกำลังแก่ตัวเร็วขึ้นหรือแก่ตัวช้าลงเมื่อเวลาผ่านไปเมื่อเทียบกับมาตรฐานทั่วไปครับ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 43

โพสต์

สรุปหนังสือ Lifespan : Why We Age and Why We Don’t Have To (ตอนที่ 1)

โดย : Prof. David A. Sinclair
Matthew D LaPlante

มาแล้วตามสัญญา สรุปหนังสือดีเล่มนี้ ตอนที่ 1/4 ในตอนนี้ น้องๆจะได้ทราบว่า

1. สิ่งมีชีวิตกำเนิดขึ้นมาอย่างไร เมื่อ 4 พันล้านปีที่แล้ว

2. บรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตทั้งปวงบนโลกใบนี้คือใคร

3. พันธุกรรมสำคัญยิ่งยวดใด ที่บรรพบุรุษเมื่อ 4 พันล้านปีที่แล้ว มีวิวัฒนาการและส่งต่อมายังสิ่งมีชีวิต ณ ปัจจุบัน ซึ่งเป็นรหัสลับที่สำคัญยิ่ง ถ้านักวิทยาศาสตร์สามารถถอดรหัสได้ ความเป็นอมตะ อาจจะอยู่แค่เอื้อม

วิดีโอตอนที่ 1 ความยาวประมาณ 15 นาทีนะคะ พี่อ่านด้วยความตื่นเต้นตลอดเวลา เป็นหนังสือที่ไม่ควรอ่านก่อนนอน เพราะจะไม่สามารถหยุดอ่านได้เลย ยิ่งอ่านพี่ก็ยิ่งอุทานในใจเป็นระยะๆว่า ว้าว....ว้าว....ว้าว

เชิญชมได้เลยค่ะ
FB Fat Out กุญแจไขความรู้ใหม่สู่การขจัดไขมัน

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 44

โพสต์

สรุปหนังสือ Lifespan : Why We Age and Why We Don’t Have To (ตอนที่ 2)

ตอนที่ 2/4 มาแล้วค่ะ


ในตอนนี้พวกเราจะได้เข้าใจกันถึง

1. ทฤษฎีความแก่ชรา 9 ประการ (9 Hallmarks of Aging
2. ทฤษฎีที่ 10 ซึ่ง Prof. David Sinclair นำเสนออย่างอาจหาญมากคือ ความแก่ชราเป็นเรื่องของการสูญเสียการอ่านข้อมูลบน DNA “The Information Theory of Aging”

ในระหว่างที่อ่านหนังสือเล่มนี้อย่างวางไม่ลงนั้น พี่ก็สัมผัสกับความมหัศจรรย์ จริงๆคำว่ามหัศจรรย์ยังน้อยไป แต่ไม่สามารถจะหาคำใดที่ใกล้เคียงกับ “การรังสรรค์” ของพลังที่ยิ่งใหญ่ในจักรวาล ที่สร้างสรรพสิ่งได้อย่างมี Grand Design มากค่ะ

เชิญชมวิดีโอได้เลยค่ะ

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 45

โพสต์

สรุปหนังสือ Lifespan : Why We Age and Why We Don’t Have To (ตอนที่ 3)

มาต่อกันในตอนที่ 3/4 นะคะ ในตอนนี้ เข้มข้นมาก เรียกว่าเป็นหัวใจของหนังสือเลย พี่จะสรุปว่า

1. Hallmarks of Aging ทฤษฎีที่ 10 ซึ่ง Prof. David A. Sinclair นำเสนออย่างหาญกล้า คืออะไร และทำไมท่านถึงเชื่อว่า ทฤษฎีนี้เป็น Singular Theory หนึ่งเดียว ที่สามารถอธิบาย 9 Hallmarks of Aging ได้ทั้งหมด

2. Vitality Gene Pathways ในร่างกายมนุษย์ มีอะไรบ้าง ที่สำคัญคือ Sirtuins ทำหน้าที่สำคัญยิ่งยวดอะไร ซึ่งเมื่อทำงานผิดเพี้ยน นำไปสู่การเกิดความชราในสิ่งมีชีวิตได้อย่างไร

เชิญติดตามได้เลยค่ะ

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 46

โพสต์

สรุปหนังสือ Lifespan : Why We Age and Why We Don’t Have To (ตอนที่ 4/4)

โดย : Prof. David A. Sinclair
Matthew D LaPlante


มาแล้วค่ะ สรุปหนังสือ Lifespan ตอนที่ 4 ซึ่งเป็นตอนจบของการสรุปหนังสือเล่มนี้ เพื่อไม่ให้เยิ่นเย้อจนเกินไป

ยังมีข้อมูลที่เป็นความรู้สำคัญอีกจำนวนหนึ่งจากหนังสือ เกี่ยวกับความเสื่อมของการอ่านข้อมูลบน DNA ที่สำคัญคือ Horvath Clock ที่สามารถทำนายอายุเซลล์ได้อย่างแม่นยำ จากการวัดปฏิกิริยาเติม Methyl group บน DNA

Methyl group ที่เกาะบน DNA เป็นเหมือนสิ่งสกปรกที่ทำให้การอ่านชุดคำสั่ง เพื่อคัดลอกสำเนาบน DNA ผิดเพี้ยนไป ส่งผลให้การทำงานของเซลล์เสื่อมลง นำไปสู่ความชราก่อนวัยอันควร พี่เพิ่งได้งานวิจัยมาหลายฉบับที่ดีมาก ซึ่งก็จะมาเขียนเป็นโพสต์เฉพาะต่อในภายหลัง

แต่สิ่งที่น้องๆจะได้เรียนรู้จากตอนที่ 4 นี้ เป็น highlight ของหนังสือ ก็คือวิธีที่จะขจัด Methyl group ออกจาก DNA เพื่อทำให้ Epigenome ที่เป็นเหมือนหัวอ่านข้อมูล อ่านชุดคำสั่งบน DNA ได้สมบูรณ์แบบเหมือนตอนหนุ่มสาว ซึ่งน้องๆจะได้ประโยชน์ต่อการนำมาประยุกต์ใช้เพื่อสุขภาพมากกว่า ในตอนนี้มีรายละเอียดคือ

1. 4 เส้นทาง (Longevity pathways) ปกป้องเซลล์ จากการความเสียหาย ขจัด methyl group ออกจาก DNA เพื่อการชะลอความเสื่อมของเซลล์

2. 7 วิถีดำเนินชีวิต เพื่อกระตุ้น 4 เส้นทาง Longevity Pathways ส่งผลให้มีชีวิตที่ยืนยาวพร้อมความมีสุขภาพดี

พี่รู้สึกดีใจพร้อมกับได้รับความตื่นเต้นตลอดเวลาขณะที่อ่านหนังสือเล่มนี้ และขอบคุณน้องๆทุกคน ที่เป็นแรงบันดาลใจให้พี่มีสมาธิจดจ่อกับการอ่าน การทำคลิปวิดีโอ 4 ตอน เพื่อสรุปเนื้อหาสำคัญนี้ค่ะ

หวังว่ามันจะเป็นประโยชน์ต่อการช่วยสร้างความมีสุขภาพดี อย่างที่ทุกคนต้องการ

ขอความมีสุขภาพกายใจที่ดี จงสถิตอยู่กับทุกคนค่ะ

แก้คำผิดในสไลด์ : Resveratol เป็น Resveratrol ค่ะ

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 47

โพสต์

“ศุภวุฒิ สายเชื้อ” ชี้การใช้ชีวิตยุค Population Disruption ต้องแก่แบบสุขภาพดี เพราะบริการของรัฐ “เอาไม่อยู่”
ThaiPublica >


เมื่อวันที่ 30 มกราคม 2563 สำนักข่าวออนไลน์ไทยพับลิก้าจัดงาน Thaipublica Forum 2020 เวทีเสวนาปัญญาสาธารณะ ครั้งที่ 1 ในหัวข้อ “เปิดมุมมองการใช้ชีวิตยุค Population Disruption” โดยมี ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม, อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด มหาชน และที่ปรึกษาสถาบันกำเนิดวิทย์ กล่าวปาฐกถาพิเศษ พร้อมการบรรยายจาก ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร นางอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการ SEAC (South East Asia Center) ศูนย์พัฒนาและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิตแห่งภูมิภาคอาเซียน และ ดร.ณภัทร จาตุศรีพิทักษ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท Siametrics Consulting จำกัด

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร
ต่อจากตอนที่แล้ว

“อริญญา เถลิงศรี” เปิดโลกยุค Population Disruption ต้อง “เร็วและเรียนรู้ตลอดชีวิต”

ในยุค population disruption ที่ความเร็วมาแทนความรู้ การเปิดโอกาสให้เรียนรู้สิ่งใหม่ เรียนรู้เทคโนโลยี ตามโลกที่ใช้ความเร็วได้ทัน แต่การที่จะทำสิ่งเหล่านี้ให้ได้ต้องมีสุขภาพดี แก่ ไม่เจ็บ ป่วย ในมุมมองของ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่ปรึกษา สถาบันวิจัยภัทร กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร

ดร.ศุภวุฒิกล่าวว่า วันนี้จะมาคุยทั้งในเรื่องการดูแลสุขภาพ (เพียงเล็กน้อย) แต่อยากจะพูดถึงเรื่องเศรษฐกิจและนโยบายเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพ…

ข้อดีสำหรับคนอายุมากคืออะไร จากการวิเคราะห์ของนักเศรษฐศาสตร์ อังกฤษ และ National Bureau of Economic Business ของสหรัฐฯ บอกว่า คนที่แก่ มีความสุขดีแล้ว แต่คนที่มีความสุขน้อยที่สุด คือคนที่มีอายุ 40 ปีกว่า

ข้อมูลจากหลายประเทศ ระบุว่าส่วนใหญ่คนเรามีความรู้สึกเครียดที่สุด ที่อายุ 30 กว่า แต่พออายุ 60 ปีแล้วรู้สึกดี พอใจในตัวเอง ทำอะไรก็ได้ รู้สึกว่าได้ทำในสิ่งที่ตัวเองทำแล้ว ไม่ต้องดิ้นรน ลูกก็โตแล้ว รู้สึกสบายๆ จึงทำให้คนแก่ช้าลง แต่ช้าลงแล้วมีความสุข

ที่สำคัญกว่า คือมีความสุขทางใจ แต่มีภาระทางกาย ตัวเลขแสดงให้เห็นชัดเจนมากว่า เมื่ออายุมากแล้ว ความเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่างๆ มาพร้อมกันหมด

“ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่สุดที่จะเป็นทุกโรค ที่เป็นโรคไม่ติดต่อ อาทิ โรคมะเร็ง โรคหัวใจ โรคเส้นเลือดในสมองตีบตัน โรคสมองเสื่อม เกิดขึ้นเมื่อตอนอายุมากทั้งสิ้น ที่จริงแล้วเป็นโรคความแก่” ดร.ศุภวุฒิกล่าว

“ฉะนั้นที่บอกว่ามีความสุขทางใจ ใจต้องดูแลร่างกายให้ดีด้วย ไม่งั้นจบ ตรงกันข้าม… ผมขอถ้าถามหน่อยว่าที่เราบอกว่าเป็นห่วงสังคมสูงวัย ลองคิดดูว่าถ้าทุกคนที่สูงวัยสุขภาพดี 100% จนวันตาย เราจะมาคุยเรื่องนี้กันในวันนี้ไหม”

ลองนึกภาพ ถ้าเราตายตอนอายุ 80 ปี แต่สุขภาพดีจนอายุ 79 ปี 11 เดือน 29 วัน วันรุ่งขึ้นตายไปเลย นั่นไม่เป็นปัญหา…

เพราะฉะนั้นปัญหาไม่ใช่ปัญหาความแก่ แต่ปัญหาคือความเจ็บป่วยตอนแก่ มีข้อมูลที่ระบุว่าในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ แต่สุขภาพไม่ดี ตัวเลขมันเพิ่มขึ้น ที่อังกฤษตัวเลขช่วงที่สุขภาพไม่ดีสูงมาก แต่คนเหล่านี้ยังมีชีวิตอยู่ ยังไม่ตาย ต้องอยู่นานถึง 20 ปี ฉะนั้นโจทย์สำคัญจึงกลายเป็นเรื่องของสุขภาพมากกว่าความแก่

“ถ้าสุขภาพดี สมองปกติ ผมก็คงทำ new learning ได้ สามารถพยายามตามความเร็วของคนยุคใหม่ได้ แต่ถ้าไม่มีสิ่งนี้(สุขภาพที่ดี) ก็จบ” ดร.ศุภวุฒิกล่าว

อีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้คนมีปัญหาเรื่องสุขภาพ คือ ความอ้วน ถ้าอ้วนจะเป็นทุกโรค พร้อมย้ำว่า…เป็นทุกโรคถ้าเป็นโรคอ้วน และถ้าเป็นโรคอ้วน มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอีก 10 โรค มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็ง มีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อม มีความเสี่ยงเป็นโรคหัวใจ มากกว่าคนอื่น 2.5 เท่า และอื่นๆ อีกเยอะแยะ

ประเทศไทยคนที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นมาอย่างน่ากลัว มีจำนวน 6 ล้านคน ที่เป็นโรคอ้วนซึ่งไม่ใช่น้ำหนักเกิน ส่วนคนที่มีน้ำหนักเกินในประเทศไทยมีสัดส่วน 1 ใน 3 ของประชากร

ดังนั้นสองปัจจัยเสี่ยงของสุขภาพที่ดี คือ แก่กับอ้วน

ดร.ศุภวุฒิให้ข้อมูลว่า ปัจจุบันสหรัฐอเมริกามีรายจ่ายที่ใช้ในการดูแลเรื่องสุขภาพ 17.5% ของ GDP และคาดว่าจะเป็น 19.6% ในปี 2024 เป็นแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นตลอด โดยเฉลี่ยคนอเมริกัน ปี 2010 ค่าใช้จ่ายของคนอายุมากมีจำนวน 18,424 ดอลลาร์ เมื่อคูณด้วยจำนวนคนก็จะเห็นว่ามีจำนวนเยอะมาก

ระบบดูแลสุขภาพของอเมริกาเป็นระบบแบ่งกันจ่าย รัฐบาลจ่าย 43% บริษัทประกันของเอกชนจ่าย 33% คนอเมริกันใช้เงินตัวเองอีก 11%

ประเทศไทยกำลังเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุปัจจุบันมีจำนวน 12 ล้าน อีก 20 ปีข้างหน้าจะเพิ่มเป็น 21 ล้านคน

แต่ของประเทศไทยรัฐบาลรับภาระหมดเลย

ประเทศไทยประชากรสูงอายุมีทั้งหมด 12 ล้านคน ระบบประกันสุขภาพ 9.3 ล้านคน ดังนั้นระบบการดูแลสุขภาพของไทยที่มีอยู่ ยังไงก็เอาไม่อยู่

“ดังนั้นถ้าจะช่วยตัวเองก็ต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี เพราะระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ผมคิดว่าชื่อผิด ชื่อเดิม 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งประเด็นหลัก คือ รักษาทุกโรค ไม่ใช่ 30 บาท ระบบปัจจุบันคือ “รอรักษาโรค คุณต้องเป็นก่อนถึงจะหาหมอ”

แต่สิ่งที่เราอยากทำ คือ ดูแลสุขภาพตัวเองให้ไกลหมอ ให้ไกลโรงพยาบาล ให้ไปโรงพยาบาลปีละครั้ง เพื่อไปตรวจสุขภาพ แล้วเราจะได้คุณภาพชีวิตที่ดี แล้วจะได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ เรียนรู้เร็วขึ้น

ตรงกันข้ามถ้าต้องไปนั่งรอหมอที่โรงพยาบาล ถ้าใช้ระบบของรัฐ ไม่มีเวลาทำอะไร เพราะจากการสอบถาม…ถ้าคนไข้ใช้ระบบของรัฐในการรักษา ไปหาหมอ 7 โมงเช้า ได้เจอหมอตอนเที่ยง ไม่มีเวลาทำอย่างอื่น… ถ้าสุขภาพไม่ดี

ปัจจุบันระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า รัฐบาลเพิ่งได้อนุมัติงบประมาณ 191,000 ล้านบาท จัดงบให้สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) เพื่อดูแลสุขภาพ 4,000 ล้านบาท มันเป็นการจัดทรัพยากรผิดขา…

ผมยืนยันว่ามันน่าจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่คาดการณ์ได้ ว่าคนที่เป็นโรคที่ไม่ติดต่อในประเทศไทย เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจ มีแต่จะเพิ่มขึ้น เพราะเป็นระบบ reactive ประชาชนแก่ตัวมากขึ้น คนอ้วนเพิ่มขึ้น ยังไงคาดการณ์นี้ ก็ไม่ผิด ง่ายกว่าคาดการณ์ GDP ปีนี้…(หัวเราะ)

ถ้าดูตัวเลข ประเทศไทยมีคนอายุมาก 12 ล้านคน และจะเพิ่มเป็น 20 ล้านคน ใน 20 ปีข้างหน้า ส่วนคนอ้วนปัจจุบันมีจำนวนประมาณ 6 ล้านคน รวมกันแล้วเป็นฐานของคนที่ต้องดูแล

หากคำนวณค่าใช้จ่าย โดยกำหนดให้ครึ่งหนึ่งหรือ 16 ล้านคนของคนแก่ทั้งหมด เป็นคนแก่ที่ต้องดูแลอย่างมาก และถ้าให้ต้นทุนในการดูแลแค่ 1 ใน 3 ของสหรัฐฯ จะประมาณ 2.99 ล้านล้านบาท และในอีก 20 ปีข้างหน้า เงินจำนวน 2.99 ล้านล้านบาทคิดเป็นสัดส่วน 50% ของงบประมาณ ซึ่งรัฐบาลไม่มีทางมีเงินเพียงพอ อาจจะมีให้เงินได้เพียงครึ่งเดียวประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท

ดังนั้นทุกคนต้องดูแลสุขภาพตัวเองให้ดี แล้วจะได้ไปเรียนรู้สิ่งใหม่ๆเพิ่มขึ้น

ประเด็นสุดท้าย การระบาดของโรคไวรัสโรนา จากสถิติคนที่เสียชีวิต ส่วนใหญ่คือคนอายุ 65-80 ปี คนแก่ที่ภูมิคุ้มกันต่ำ เสื่อมไปแล้ว แต่มีกรณีแปลกมีรายหนึ่งเป็นผู้ชายเสียชีวิตในอายุ 36 ปี และก่อนหน้านี้มีผู้หญิงอายุน้อยสุดที่เสียชีวิตจากไวรัสโคโรนา คือ 48 ปี เพราะเป็นโรคเบาหวาน เป็นโรคหัวใจ

ฉะนั้นถ้าคุณเป็นโรคหัวใจ โรคความดัน โรคเบาหวาน เป็นปัจจัยที่ทำเสียชีวิตง่ายถ้าเป็นโรคโคโรนาไวรัส

พร้อมกล่าวต่อว่า…แค่โรคไม่ติดต่อต่างๆที่เป็น มันยังรุมเร้าเลย ดังนั้นต้องดูแลสุขภาพตัวเอง เพื่อเป็นคนแก่ที่มีสุขภาพดี

https://thaipublica.org/2020/02/thaipub ... bT2Bo9w2y8
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 48

โพสต์

ช่วยคิดช่วยทำ 17 กุมภาพันธ์ 2563 คุยกับ ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 49

โพสต์

อายุ 1 ปีที่มีสุขภาพสมบูรณ์ของท่านมีค่าเท่าไหร่.?

เมื่อวันที่ 12 ก.พ.ที่ผ่านมา กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทรฯ ได้จัดงานสัมมนาต้นปีขึ้นเพื่อนำเสนอการประเมินทิศทางเศรษฐกิจ

และคำแนะนำการลงทุนให้กับลูกค้าบุคคล ซึ่งมีการจัดการบรรยายเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพด้วย ผมจึงได้ขอให้ทั้งลูกค้าของเกียรตินาคินภัทรฯ และพนักงานภัทรฯ ตอบคำถาม 2 ข้อคือ

หากท่านต้องเลือกระหว่างการได้เงิน 9 ล้านบาทกับการมีอายุยืน (และสุขภาพดี) มากขึ้นอีก 3 ปี ท่านจะเลือกเงินหรือสุขภาพ
หากท่านทำงานหาเงินได้เพิ่มอีก 50 ล้านบาท แต่อายุจะสั้นลงไป 5 ปี ท่านจะเลือกเงินหรือสุขภาพ?

dr1.jpg
dr2.jpg

ดังที่เห็นคำตอบที่สรุปผลในตาราง 1 และตาราง 2 จะเห็นได้ว่า

1.เป็นไปตามคาดคือคนที่อายุมากจะเลือกอายุยืนมากกว่าเลือกเงิน

2.คนส่วนใหญ่เลือกอายุยืน ซึ่งในกรณีแรกนั้นอายุ 1 ปีมีมูลค่า ปีละ 3 ล้านบาท เสียงส่วนใหญ่เลือกอายุ แต่ในกรณีที่ 2 ซึ่งคำนวณมูลค่าของอายุมากถึง 10 ล้านบาทต่อ 1 ปี เสียงส่วนใหญ่ก็ยังหนักแน่นว่าต้องการอายุยืน ยกเว้นกรณีพนักงานที่อายุน้อยของภัทรฯ ที่ 53.3% ยอมอายุสั้นลง 5 ปีเพื่อทำงานให้ได้เงินรายได้เพิ่มขึ้น 50 ล้านบาท (แต่ลูกค้าของภัทรฯ 61.5% ไม่ยอมอายุสั้นลงเพื่อแลกกับเงิน)

3.มนุษย์เรานั้นกลัวเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว(อายุสั้นลง 5 ปี) มากกว่าอยากได้เพิ่ม(อายุยืนขึ้นอีก 3 ปี) จะเห็นได้ว่าใน 2 กรณีดังกล่าวตีมูลค่าอายุ 1 ปีต่างกันมาก จาก 3 ล้านบาทต่อปีเป็น 10 ล้านบาทต่อปี แต่ผลที่ออกมากลับไม่แตกต่างกันเลยสำหรับผู้ที่อายุ 31 ปีหรือมากกว่า ดังนั้นจากข้อมูลของคนไทยที่ตอบแบบสอบถามทั้งหมด 230 คนนั้น น่าจะตีมูลค่าชีวิต 1 ปีของตัวเองเกินกว่า 3 ล้านบาทอย่างค่อนข้างแน่นอน (และมากกว่านั้นมากในกรณีของผู้ที่อายุกลางคนขึ้นไป)

เรื่องนี้น่าสนใจเพราะผมอ่านงานวิจัยของประเทศพัฒนาแล้วเกี่ยวกับการแพทย์และการประกันสุขภาพพบว่า รัฐบาลประเทศพัฒนาแล้วเช่นสหรัฐ สหภาพยุโรปและออสเตรเลียมีการกำหนดมาตรฐาน (แต่มักจะไม่พยายามเปิดเผยให้แพร่หลาย) ว่าหากรัฐบาลจะต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้นในด้านการแพทย์และการรักษาโรคเพื่อให้ประชาชนอายุยืนขึ้นอีก 1 ปี (โดยมีสุขภาพสมบูรณ์) รัฐบาลจะยอมอนุมัติการรักษาดังกล่าวหากค่าใช้จ่ายไม่เกิน 50,000 เหรียญต่อคน (ประมาณ 1.5 ล้านบาท) ซึ่งต้องยอมรับว่าต่ำกว่าที่เราประเมินมูลค่าชีวิต 1 ปีของตัวเองอย่างมาก

ทำให้ผมลองกลับไปคิดต่ออีกว่าในกรณีของประเทศไทยนั้นตัวเลขน่าจะเป็นอย่างไร ซึ่งไม่น่าจะสูงเท่ากับประเทศพัฒนาแล้วเพราะเศรษฐกิจของไทยมีขนาดเล็กกว่ามาก ตรงนี้ผมขอเรียนว่าเป็นการคิดจากตัวเลขทางเศรษฐกิจ ไม่ได้มีเจตนาที่จะคำนวณมูลค่าของชีวิตแต่อย่างใด เพราะทุกคนก็รักชีวิตของตัวเองและอยากมีชีวิตอยู่นานๆตราบใดที่ยังสุขภาพดีและแข็งแรง

ประเทศไทยนั้นประชาชนมีรายได้ต่อหัวประมาณ 250,000 บาทต่อปี แปลว่าในมุมมองของรัฐบาลนั้น คนไทยผลิตสินค้าและบริการซึ่งเป็นประโยชน์ต่อประเทศเท่ากับ 250,000 ในแต่ละปี และรัฐบาลก็เก็บภาษีและมีกำไรจากรัฐวิสาหกิจรวมกันประมาณ 20% ของจีดีพี ซึ่งหมายความว่าประชาชนแบ่งผลผลิตต่อคนให้กับรัฐบาลประมาณปีละ 50,000 บาท แปลว่ารัฐบาลไทยนั้นหากจะทุ่มเทงบประมาณทั้งหมดให้กับประชาชนในด้านของการแพทย์และสุขภาพ (โดยไม่จ่ายเงินให้กับกระทรวงหรือหน่วยงานอื่นใดเลย) ก็จะมีเงินให้ประชาชนทุกคนเพียง 50,000 ต่อคนเท่านั้น (ดังนั้นการตีมูลค่าชีวิต 1 ปีของตัวเราเองที่ 3-10 ล้านบาทนั้น ไกลกับความเป็นจริงในเชิงของการคลังของรัฐบาลอย่างมาก)

ข้อมูลล่าสุดในปี 2017 ระบุว่าผู้ป่วยที่เข้ารับบริการของรัฐภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า (เดิมทีเรียกว่า 30 บาทรักษาทุกโรค) นั้น มีจำนวนทั้งสิ้น 19.71 ล้านคน โดนอัตราผู้ป่วยเพิ่มขึ้น (จากตัวเลขที่มีอยู่ตั้งแต่ปี 2013) ประมาณ 2% ต่อปี ซึ่งผมขอใช้ตัวเลขกลมๆว่าปัจจุบันมีผู้มาใช้บริการประมาณ 20 ล้านคน (โดยจากข้อมูลอีกแหล่งหนึ่งประเมินว่าประมาณกว่าครึ่งหนึ่งของผู้ป่วยดังกล่าวเป็นผู้ที่มีอายุ 60 ปีหรือมากกว่า) ซึ่งงบประมาณที่รัฐบาลอนุมัติให้ระบบหลักประกันสุขภาพถ้วยหน้านั้นเท่ากับ 190,000 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับว่าใช้งบประมาณต่อจำนวนผู้ป่วยที่มารับบริการไม่ถึง 10,000 บาทต่อคนต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขที่สมเหตุสมผล เพราะรัฐบาลเก็บภาษีจากประชาชนได้เฉลี่ยเพียง 50,000 ต่อคนต่อปี

ข้อสรุปคือหากผมรักชีวิตตัวเองเท่ากับ 3-10 ล้านบาทต่อปีหรือมากกว่านั้นจริง ก็จะต้องดูแลตัวเองให้ดีเป็นหลักครับ

โดย...

ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 50

โพสต์

เรื่อง "กินอย่างไรให้ปลอดภัย" จากสารก่อมะเร็งในอาหารแปรรูป

phpBB [video]
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 51

โพสต์

อ่านจบแล้ว เรียกได้ว่า ถ้าหากไม่ดูชื่อคนเขียน ก็เหมือนคุณหมอนำบทความที่เขียนลงวารสารการแพทย์ต่างๆมารวบรวมไว้ ทีเดียวกัน
สิ่งที่สำคัญที่ทำให้เป็นหนุ่มสาวคือ
1. นอน
2. กิน
3. ออกกำลังกาย

ต้องขอบคุณครับ ที่เขียนหนังสือเล่มนี้ออกมาทำให้หลายคน หันมาออกกำลังกายครับ
:)
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 52

โพสต์

แกะวิกฤติ หาทางรอด COVID-19 : ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

phpBB [video]
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 53

โพสต์

COVID-19: อาหารเสริมช่วยได้หรือไม่?

ไวรัสนั้นมีชีวิตอยู่ด้วยตัวเองไม่ได้ แต่จะต้องบุกรุกเข้าไปในเซลล์ของมนุษย์หรือสัตว์ ไวรัสจะ "มีชีวิต" ได้ก็ต้องมี "เจ้าภาพ" (host)

ไวรัสจึงจะสามารถนำเอาทรัพยากรที่อยู่ในเซลล์ของเจ้าภาพไปใช้แบ่งตัวและแพร่ขยายตัวเองได้

ทั้งนี้ การจะบุกรุกเข้ามาไวรัสนั้นจะต้องมี "กุญแจ" ที่เปิดประตูเข้ามา แล้วทำตัวเป็นเสมือนกับผีที่เข้ามา "สิง" เซลล์ของตัวเรา ดังนั้นไวรัสจึงเป็นอันตรายต่อตัวเราในเกือบทุกกรณีและการรักษาจึงจะต้องฆ่าเซลล์ทุกเซลล์ที่ถูก "สิง" ให้หมดไป แต่ไม่สามารถใช้วิธีการไล่ไวรัสออกไปจากเซลล์ได้

ไวรัสแตกต่างจากแบคทีเรียซึ่งเป็นเซลล์ที่มีชีวิตและส่วนใหญ่กว่า 90% เป็นมิตรกับร่างกายของมนุษย์และสัตว์ เช่นแบคทีเรียในลำไส้ของเรา ซึ่งเป็นประโยชน์เพราะช่วยย่อยอาหาร ในกรณีแบคทีเรียที่เป็นภัยอันตรายต่อมนุษย์ เช่น กาฬโรคหรือ The Black Death ที่ระบาดจากแบคทีเรียในหนูที่ชื่อว่า Yersinia pestisis และทำให้มนุษย์ล้มตายไปหลายสิบล้านคน เมื่อเกือบ 700 ปีที่ผ่านมานั้น ปัจจุบันยังไม่ได้หายไปไหน แต่มนุษย์สามารถฆ่าแบคทีเรียดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยยาปฏิชีวนะ (antibiotics) แม้จะมีปัจจัยเสี่ยงที่แบคทีเรียจะกลายพันธุ์และดื้อยาได้ หากเรากินยาปฏิชีวนะพร่ำเพรื่อและในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

สิ่งที่ต้องการชี้ให้เห็นคือการกินยาหรืออาหารเสริมเพื่อให้ไปฆ่าไวรัสและรักษาโรคที่เกิดจากไวรัสนั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปได้ยากมาก เพราะไวรัสไม่ใช่แบคทีเรียที่มีชีวิตเป็นเอกเทศจากเซลล์ของเราที่จะสามารถจัดการได้โดยง่าย ในวันนี้จึงตอบได้เลยว่าไม่มียาหรืออาหารเสริมใดที่พิสูจน์ได้อย่างแน่ชัดว่าช่วยปราบไวรัสได้

ชาผู่เอ๋อร์และชาดำอาจมีประโยชน์

หลังจากที่โรค SARS ระบาดในปี 2003 ก็ได้มีการทำงานวิจัยมากมายเกี่ยวกับยาและอาหารเสริมที่อาจจะนำมาบรรเทาอาการของโรคร้ายนี้ได้ ซึ่งผมค้นพบงานวิจัยงานหนึ่งจัดทำโดยทีมนักวิจัยที่ไต้หวันและตีพิมพ์ในวารสาร Evidence Based Complement Alternative Medicine ในเดือน มิ.ย.2005 ซึ่งนักวิจัยพบว่าโปรตีน 3C-like Protease (3CL (Pro)) มีบทบาทสำคัญในการทำให้ไวรัส SARS-COV (ที่ทำให้เกิดโรค SARS) สามารถแบ่งตัวและเติบโต

ดังนั้น ทีมวิจัยจึงไปคัดเลือกสารธรรมชาติรวมทั้งสิ้น 720 ชนิดมาทดลองกับ 3CL (Pro) และพบว่ามีสาร 2 ชนิดที่สามารถยับยั้ง 3CL (Pro) และด้วยเหตุนั้นจึงช่วยยับยั้งการแบ่งตัวและเติบโตของไวรัส SAR-COV ได้ คือกรดแทนนิค และ Theaflavin ซึ่งสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของกลุ่มโพลีฟินอล (polyphenols) ที่มีประโยชน์ต่อร่างกายในด้านอื่นๆ อยู่แล้ว และพบมากในชาผู่เอ๋อร์และชาดำ และมีอยู่บ้างในชาเขียวและชาอู่หลง

เนื่องจากการดื่มชานั้นเป็นที่แพร่หลายอยู่แล้วและมีงานวิจัยมากมายที่พิสูจน์ว่าการกินชาเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในหลายด้าน (แต่ก็ควรระวังไม่ให้กินกาเฟอีนเข้าไปจนเกินขนาด และต้องระวังไม่ให้ใบชามีสิ่งปนเปื้อนอื่นๆ) ดังนั้น หากชาผู่เอ๋อร์และชาดำอาจมีประโยชน์ในการช่วยยับยั้งการขยายแพร่พันธุ์ของไวรัส SARS-COV ได้ ก็อาจจะให้ผลในทำนองเดียวกันกับไวรัส SARS-COV2 ที่ทำให้ป่วยเป็น COVID-19 ได้เช่นกัน แต่ตรงนี้ต้องขึ้นอยู่กับการตัดสินใจของท่านผู้อ่าน

ฟ้าทะลายโจร

เมื่อวันที่ 10 ก.พ.2020 สำนักข่าว AFP รายงานว่า บทความในหนังสือพิมพ์ไทยฉบับหนึ่งที่อ้างว่า “ฟ้าทะลายโจร” มีสรรพคุณในการป้องกัน (prevent) และบรรเทา (relieve) อาการของ COVID-19 นั้นเป็นการกล่าวอ้างที่ทำให้เข้าใจผิด (misleading) เพราะปัจจุบันยังไม่พบหลักฐานว่าฟ้าทะลายโจรมีสรรพคุณดังกล่าว

ฟ้าทะลายโจรนั้นมองได้ว่าเป็นสมุนไพรที่ใช้กันอย่างแพร่หลายมานานกว่า 2,000 ปีแล้วในทวีปเอเชียใต้และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยถูกนำเอาไปรักษาโรคหลายโรค เช่น มะเร็ง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง โรคเรื้อน ปอดบวม ท้องเสีย ฯลฯ แต่งานวิจัยทางวิชาการที่เป็นที่ยอมรับเพราะเป็นการวิจัยที่เรียกว่า double-blind, placebo-controlled (แบ่งคนที่ทดลองยาเป็น 2 กลุ่ม โดยหนึ่งกลุ่มกินยาเทียมและทั้งผู้แจกยาและผู้กินยาไม่มีใครทราบว่าใครกินยาแท้หรือยาเทียม)

พบว่าฟ้าทะลายโจรสามารถช่วยบรรเทาอาการจากการเป็นไข้หวัดได้จริง และยังช่วยลดความเสี่ยงจากการเป็นไข้หวัดลงไปครึ่งหนึ่ง เนื่องจากไข้หวัดก็เกิดจากไวรัส ดังนั้นจึงมีความเป็นไปได้ (แต่ยังไม่เคยมีการทำการทดลอง) ว่าฟ้าทะลายโจรจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันหรือบรรเทาอาการจากการติดเชื้อ SARS-COV หรือ SARS-COV2 ได้บ้าง

นอกจากนั้นก็ยังมีงานวิจัยที่พยายามศึกษาถึงศักยภาพของฟ้าทะลายโจร (ชื่อภาษาอังกฤษคือ Andrographis Paniculata) ในการต่อต้านไวรัสที่ทำให้เกิดโรคบางชนิด เช่น ไข้หวัดใหญ่ เอดส์และเริม (herpes) ทั้งนี้สารสำคัญที่สกัดจากฟ้าทะลายโจรที่มีสรรพคุณในการยับยั้งการแบ่งตัวและขยายพันธุ์ของไวรัสคือ Andrographolide

ข้อสรุปคือฟ้าทะลายโจร อาจมีสรรพคุณในการต่อต้านการแบ่งตัวของไวรัสบางชนิด ซึ่งอาจจะรวมถึงไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ แต่ยังไม่มีงานวิจัยเพื่อพิสูจน์เรื่องนี้ อย่างไรก็ดี การชะลอการแบ่งตัวของไวรัสนั้นย่อมจะเป็นประโยชน์ในการบรรเทาอาการของโรคและให้เวลากับระบบ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 54

โพสต์

ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ ทำอะไรกับร่างกายของเรา ?
คอลัมน์ Healthy Aging
ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ


บทความนี้อาศัยข้อมูลขององค์การอนามัยโลก และบทความชื่อ Here’s what coronavirus does to the body ของนิตยสาร National Geographic เมื่อวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2020 ที่ถอดบทเรียนจาก SARS และ MERS ที่มีพันธุกรรมที่คล้ายคลึงอย่างมากกับ SARS-CoV-2 โดยต่างเป็นไวรัสที่เข้าไปรุกรานเซลล์ในปอดของเราเป็นเป้าหมายหลัก

องค์การอนามัยโลก อธิบายว่า การรุกรานปอดโดย SARS-CoV-2 นั้นสามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 เป็นช่วงที่ไวรัสแบ่งตัวและขยายพันธุ์ในปอด ขั้นตอนที่ 2 คือช่วงที่ระบบภูมิคุ้มกัเดินเครื่องปฏิบัติการตอบโต้อย่างรุนแรง (hyperreactivity) และขั้นตอนที่ 3 คือผลที่ตามมา ได้แก่ ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับปอดของเรา

ทั้งนี้ ในกรณีที่รุนแรงมากที่สุดนั้น การทำงานของระบบภูมิคุ้มกันที่เกินขอบเขตจะลามไปทำความเสียหายให้กับอวัยวะอื่น ๆ ของร่างกายด้วย อย่างไรก็ดี มีเพียง 20% ของผู้ที่ติดเชื้อ SARS-CoVs ที่จะป่วยจนอาการทรุดหนักครบทั้ง 3 ช่วงที่กล่าวถึง หมายความว่าหากระบบภูมิคุ้มกันของเราทำงานได้อย่างว่องไวและมีประสิทธิผล ก็จะสามารถกำจัดเชื้อไวรัสได้อย่างราบคาบตั้งแต่ช่วงแรกและช่วงที่ 2 ไม่ต้องลามไปถึงช่วงที่ 3

ขั้นตอนที่ 1 : การเข้าไปรุกรานเซลล์โดยไวรัสโคโรน่า
ในช่วงแรกนั้นไวรัสจะเข้าไปรุกรานเซลล์ หมายความว่า ไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ได้กลายพันธุ์ (mutate) จนกระทั่งมี “ลูกกุญแจ” ที่จะเปิดประตูเข้าไปสิงในเซลล์ของเราได้แล้ว โดยงานวิจัยของมหาวิทยาลัย Texas at Austin พบว่าลูกกุญแจของ SARS-CoV-2 คือโปรตีนที่เรียกว่า spike protein หรือ S-protein และต่อมาในวันที่ 4 มีนาคม มหาวิทยาลัย Westlake ในเมืองหางโจว ประเทศจีน ตีพิมพ์ผลงานวิจัยในวารสาร Science โดยพบว่า “แม่กุญแจ” ของเซลล์มนุษย์ที่เปิดให้ SARS-CoV-2 บุกเข้าไปในเซลล์ปอดของเราได้ คือ angiotensin-converting enzyme 2 หรือ ACE2 การค้นพบทั้งแม่กุญแจและลูกกุญแจในเวลาที่รวดเร็วมาก ย่อมช่วยให้การพัฒนาวัคซีนเพื่อป้องกัน SARS-CoV-2 มีได้รวดเร็วยิ่งขึ้น โดยในหลักการนั้นเราควรจะสามารถพัฒนาวัคซีนที่สอนให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามองเห็นแล้วรีบจัดการกับ SARS-CoV-2 ก่อนที่มันจะสามารถบุกเข้าไปในเซลล์ได้

แต่ในกรณีที่ SARS-CoV-2 เข้าไปในเซลล์ได้แล้ว ไวรัสก็จะใช้ทรัพยากรในเซลล์ของเราเพื่อแบ่งแยกและขยายพันธุ์ตัวมันเอง และทำลายนิวเคลียร์ของเซลล์เรา ซึ่งเปรียบเทียบได้ว่า เมื่อเซลล์ของเราถูกวิญญาณของไวรัสเข้า “สิง” แล้ว มันจะเกาะกินทุกอย่างจนหมด แล้วก็จะขยายพันธุ์และบุกไป “สิง” เซลล์อื่น ๆ ในปอดต่อไป ทั้งนี้ SARS-CoV-2 ชอบที่จะเข้าสิงเซลล์ของปอดประเภท cilia ที่มีลักษณะเป็นขนที่พัดไปพัดมาเพื่อปกป้องปอดจากสิ่งแปลกปลอมเข้ามา และพัดให้น้ำมูก (mucus) ที่มีหน้าที่ชำระล้างปอดพาของเสียให้ถ่ายเทออกไปจากปอด

ดังนั้น เมื่อ SARS-CoV-2 เข้าไปทำลายเซลล์ประเภท cilia เป็นจำนวนมาก ทำให้ระบบการระบายของเสียชำรุดลง จึงเป็นผลเกิดอาการปอดบวมทั้งสองข้าง พร้อมกับทำให้หายใจได้ลำบากขึ้น

ขั้นตอนที่ 2 : ระบบภูมิคุ้มกันทำงานปราบปรามเชื้อไวรัส
เมื่อระบบภูมิคุ้มกันรับรู้ว่ามีการบุกรุกเกิดขึ้นแล้ว ในที่สุดมันจะ “ยกทัพ” มาต่อสู้กับผู้บุกรุก โดยฆ่าเซลล์ที่ถูกบุกรุกให้หมดสิ้น จากนั้นจึงเป็นหน้าที่ของเซลล์ปอดที่จะเข้ามาซ่อมแซมความเสียหายในกรณีที่ทุกอย่างเป็นไปด้วยดี ระบบภูมิคุ้มกันจะรีบมาจัดการกับผู้บุกรุกที่ยังมีอยู่ในจำนวนจำกัดในบริเวณที่จำกัดอย่างรวดเร็ว

แต่ในบางกรณีระบบภูมิคุ้มกันทำงานช้า ปล่อยให้ผู้บุกรุกขยายตัวไปได้มาก นอกจากนั้น ยังทำงานบกพร่องและทำการกวาดล้างอย่างไร้สติ (goes haywire) โดยเซลล์ของภูมิคุ้มกันเข้าไปฆ่าเซลล์ไม่เลือกหน้า ไม่ว่าเซลล์ที่ถูกไวรัสบุกรุก และเซลล์ปกติ ดังนั้น จึงเกิดความเสียหายกับปอดเพิ่มมากขึ้น และทำให้มีเศษเซลล์อุดตันปอดมากขึ้น อันจะนำมาซึ่งอาการปอดบวมรุนแรงยิ่งขึ้น

ช่วงที่ 3 : ปอดถูกทำลายทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและอาจลามไปอีก
ในช่วงนี้ที่ระบบภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดอย่างมาก และระบบหายใจล้มเหลว หากรอดชีวิตได้ในที่สุดก็จะทำให้ปอดได้รับความเสียหายอย่างถาวร (permanent lung damage) โดยองค์การอนามัยโลก อธิบายว่า ปอดอาจมีรูมากมายทำให้ปอดมีแผลเป็นจำนวนมาก และมีลักษณะเหมือนรังผึ้ง

นอกจากนั้น ใน 25% ของผู้ที่เป็นโควิด-19 ผู้ป่วยจะมีอาการท้องเสียอีกด้วย โดย SARS-CoV-2 อาจใช้กุญแจเดียวกันในการบุกรุกเซลล์ลำไส้ของเรา นอกจากนั้น ในกรณีที่ร่างกายติดเชื้อ SARS-CoV MERS และ SARS-CoV-2 พบว่าตับจะถูกกระทบ และจำนวนเม็ดเลือดขาวและเกล็ดเลือดก็ลดลง ตลอดจนการทำให้ความดันโลหิตลดลง ในบางกรณีการติดเชื้อยังทำให้มีอาการไตวายและหัวใจหยุดเต้นอีกด้วย

มีการคาดการณ์ในเชิงวิชาการว่า การลามของไวรัสไปยังอวัยวะและระบบอื่น ๆ ของร่างกายนั้น อาจเป็นเพราะไวรัสโคโรน่ากระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันให้ผลิตโปรตีน ที่เรียกว่า cytokines เป็นจำนวนมาก ซึ่งโปรตีน cytokines นั้นทำหน้าที่เตือนภัยและเกณฑ์เซลล์ภูมิคุ้มกันให้มารวมพลเพื่อร่วมกันโจมตีเซลล์ที่ถูกไวรัสบุกรุก แต่กลับทำเกินเลยโดยเปรียบเทียบว่า แทนที่ระบบภูมิคุ้มกันจะยิงข้าศึกด้วยกระสุนปืน ก็ไปใช้จรวดยิงทำให้ตึกรามบ้านช่อง (อวัยวะ) ถูกทำลายพร้อมกันไปด้วย

เช่น cytokines อาจสั่งการให้เซลล์ภูมิคุ้มกันโจมตีอวัยวะอื่น ๆ เช่น ระบบเส้นเลือดไปพร้อมกันในระหว่างพยายามกำจัดเซลล์ผิดปกติที่ปอด ทำให้นอกจากปอดรั่วแล้วก็ยังอาจทำให้เส้นเลือดรั่วได้อีกด้วย จึงส่งผลต่อเนื่องให้อวัยวะอื่น ๆ เช่น ตับ ไต พลอยได้รับความเสียหาย

ดังนั้น จึงสรุปได้ว่าการพัฒนาวัคซีนเพื่อสอนให้ระบบภูมิคุ้มกันรู้จักไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่อย่างรวดเร็ว น่าจะเป็นการแก้ปัญหาที่ดีที่สุด ซึ่งในเรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดของสหรัฐอเมริกาประเมินให้รัฐสภาของสหรัฐทราบเมื่อวันที่ 11 มีนาคม ว่า การพัฒนาวัคซีนนั้นน่าจะใช้เวลาอีกประมาณ 18 เดือนเป็นอย่างต่ำจึงจะสามารถนำไปใช้ป้องกันการติดเชื้อ SARS-CoV-2 ได้อย่างแพร่หลาย
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 55

โพสต์

COVID-19: บทเรียนจากจีน

ในเดือน ก.พ.2020 องค์การอนามัยโลก : WHO ได้ส่งทีมผู้เชี่ยวชาญนานาชาติรวม 25 คนเข้าไปในจีนเพื่อประเมินการระบาดของ COVID-19 เป็นเวลา 9 วัน

และทำเป็นรายงานที่มีข้อมูลเป็นประโยชน์อย่างยิ่งออกมา ซึ่งต่อมา ดร.นำชัย ชีววิวรรธน์ แห่งฝ่ายสร้างสรรค์สื่อและผลิตภัณฑ์ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ได้นำมาสรุปเป็นภาษาไทย

เนื้อหาของรายงานดังกล่าวประกอบกับคำสัมภาษณ์ของนาย Bruce Aylward หัวหน้าทีมขององค์การอนามัยโลกเมื่อวันที่ 3 มี.ค.2020 คือสิ่งที่จะขอนำเสนอในบทความนี้ เพราะ ณ วันนี้พอจะเป็นที่ประจักษ์แล้วว่ารัฐบาลจีนประสบผลสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 ได้เป็นอย่างดี ดังนั้นข้อมูลและประสบการณ์ของจีนจึงเป็นเรื่องที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจเพื่อนำมาใช้ประโยชน์ในประเทศไทยและประเทศอื่นๆ

การติดต่อของ COVID-19

กรณีส่วนใหญ่ (78-85%) เกิดจากการติดต่อกันในครอบครัวจาก "ละอองเสมหะ" (droplet) ไม่ใช่จาก "ละอองลอย" (aerosol) ดังนั้นการไม่เข้าไปอยู่รวมกันในที่แออัด ไม่หายใจรดกัน หรือถูกละอองจากการไอหรือจามจึงเป็นสิ่งที่ควรปฏิบัติ ข้อสรุปสำคัญของรายงานส่วนนี้คือเมื่อทางการจีนสั่งให้ยุติทุกกิจกรรมที่ต้องมีการรวมตัวหรือการชุมนุมอย่างเคร่งครัดแล้ว การแพร่ขยายของ COVID-19 ย่อมจะเหลืออยู่เพียงแนวทางเดียว คือการติดต่อกันระหว่างคนในครอบครัวเป็นหลัก เมื่อเป็นเช่นนั้นการติดตามและแยกตัวผู้ป่วยและผู้ที่มีโอกาสติดเชื้อไม่ให้แพร่ขยายออกไปในวงกว้างจึงสามารถทำได้อย่างมีประสิทธิผลยิ่งขึ้น

ช่วงเวลาฟักตัวของ COVID-19 นั้นได้มีการวิจัยอย่างละเอียด โดยมหาวิทยาลัยจอนส์ฮอปกินส์ ซึ่งผลการวิจัยที่ตีพิมพ์เมื่อ 9 มี.ค.2020 สรุปว่าใช้เวลาเฉลี่ย 5.1 วัน โดยประมาณ 97% ของผู้ที่ติดเชื้อจะแสดงอาการภายในเวลา 14 วัน ดังนั้น งานวิจัยนี้จึงช่วยยืนยันความสำคัญของการกักตัวเอาไว้เป็นเวลา 14 วันเพื่อดูอาการ โดยผู้ที่ป่วยเป็น COVID-19 นั้น 80% จะป่วยไม่มากและไม่ต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล แต่จะมีอีก 15% ที่จำเป็นต้องได้รับการรักษาพยาบาลและต้องมีการใช้เครื่องช่วยเพิ่มออกซิเจน และอีก 5% ที่จะมีอาการหนักมากถึงขนาดต้องเข้ารับการรักษาในห้องไอซียู อัตราการเสียชีวิตของผู้ป่วย COVID-19 ของเมืองอู่ฮั่นนั้นสูงถึง 4% แต่ในเมืองอื่นๆ ของจีน อัตราการเสียชีวิตจะต่ำกว่ามากคือไม่ถึง 1% โดยอัตราการเสียชีวิตจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการที่จะกล่าวถึงในบทต่อไป

อาการของ COVID-19 และการฟื้นตัว

อาการที่พบบ่อยที่สุด 2 อาการคือการมีไข้ (88%) และการไอแห้งๆ (68%) อาการที่ไม่ใช่สัญญาณของ COVID-19 คือน้ำมูกไหล นอกจากนั้นผู้ที่เป็น COVID-19 ยังจะมีอาการอ่อนแรง (38%) ไอแบบมีเสมหะ (33%) หายใจลำบาก (18%) เจ็บคอ (14%) ปวดหัว (14%) ปวดกล้ามเนื้อ (14%) และหนาวสั่น (11%) ช่วงระยะฟื้นตัวโดยเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ 3-6 สัปดาห์สำหรับผู้ที่อาการหนัก และ 2 สัปดาห์สำหรับผู้ที่ป่วยไม่มาก

ปัจจัยสำเร็จของจีน

นาย Aylward บอกว่าปัจจัยสำคัญคือความรวดเร็ว (speed) ได้แก่ความรวดเร็วในการตรวจพบผู้ติดเชื้อ (find) การกักกันผู้ที่ติดเชื้อ (isolate) และการติดตามตรวจผู้ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อทั้งหมด (track their contacts) ซึ่งนาย Aylward ย้ำว่าการดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพดังกล่าวในทุกๆ มณฑลของจีนมีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในการควบคุมการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือ ไม่ใช่การ "ปิดเมือง"(lockdown) อู่ฮั่นและเมืองใกล้เคียงเพียงอย่างเดียว ซึ่งกระทบกับประชาชนประมาณ 50 ล้านคน แต่เป็นการใช้มาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของ COVID-19 อย่างเข้มข้นในลักษณะนี้ไปทั่วประเทศ และมี “การสร้างความรู้ ความเข้าใจและการยอมรับมาตรการในระดับสูงอย่างไม่น่าเชื่อในหมู่ประชากร”

คำถามต่อมาคือ มาตรการที่เข้มข้นของจีนนั้นจะนำมาใช้กับประเทศต่างๆ ได้มากน้อยเพียงใด ซึ่งในส่วนนี้รายงานขององค์การอนามัยโลกสรุปว่า “ชุมชนส่วนใหญ่ในโลกยังไม่พร้อมรับมือกับเรื่องนี้ ไม่ว่าในแง่ของวิธีคิดหรือในแง่ของเครื่องมือใช้สอย ไม่พร้อมที่จะใช้มาตรการแบบที่ใช้ควบคุม COVID-19 ในจีน”

ด้วยเหตุนี้จึงไม่แปลกที่เราจะเห็นการระบาดอย่างรวดเร็วของ COVID-19 ไปยังประเทศอื่นๆ และการควบคุมการระบาดนั้นยังไม่สามารถทำได้ ซึ่งกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรง เพราะมาตรการปิดเมืองปิดประเทศนั้นเปรียบเสมือนกับการเป็นอัมพาตทางเศรษฐกิจในประเทศชั้นนำของโลกอย่างที่ไม่เคยประสบมาก่อนครับ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 56

โพสต์

Beating COVID19 ...เอาชนะโรคร้ายด้วยความเข้าใจ....โดย ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

....หนังสือฟรี ....จาก Openbooks และ กลุ่มธุรกิจการเงินเกียรตินาคินภัทร


http://media.kiatnakin.co.th/document/2 ... esvF17nXdA
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 57

โพสต์

อยู่กับหรือเอาชนะCOVID-19?
ผมเชื่อว่าความเข้าใจของคนส่วนใหญ่คือเราต้องเอาชนะ COVID-19 และผมก็ต้องการเช่นนั้น แต่ปัจจุบันยังต้องยอมรับว่า


1.ยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน COVID-19 ยาที่กำลังทำการทดลองอยู่ในขณะนี้ ทุกตำรับเข้าใจว่ามีผลในการชะลอการแพร่ขยายและแบ่งตัวของโคโรนาไวรัสสายพันธุ์ใหม่นี้ เพื่อให้ระบบภูมิคุ้มกันของเรามีเวลาจัดการกับไวรัสให้ได้อย่างเบ็ดเสร็จในภายหลัง ส่วนการพัฒนาวัคซีนนั้นแม้ว่าบริษัท Johnson and Johnson จะได้รับความร่วมมือจากรัฐบาลสหรัฐให้เร่งรัดการทดลองกับมนุษย์ในขั้นที่ 1 ที่เริ่มไปแล้ว แต่กว่าจะพัฒนาออกมาเป็นวัคซีนที่ใช้ได้ก็จะต้องรอถึงเดือน พ.ค.หรือ มิ.ย.2564 เป็นอย่างเร็ว

2.ปัจจุบันอาศัยมาตรการ “ปิดเศรษฐกิจ” เพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 กล่าวคือการปิดโรงเรียน ปิดร้านอาหาร/โรงแรม ห้ามการจัดกีฬา ห้ามการจำหน่ายสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าและจำกัดการเดินทาง/curfew มาตรการดังกล่าวนี้ทำให้เศรษฐกิจชะงักงัน เป็นมาตรการที่มีราคาแพงมากเพื่อซื้อเวลาให้การระบาดชะลอตัวลง เพื่อให้สามารถใช้เวลาที่มีค่าดังกล่าวจัดทำระบบทดสอบผู้ที่สงสัยว่าจะติดเชื้อ (Test) ติดตามคัดกรองผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อ (Trace) แบ่งแยกผู้ที่อยู่ในข่ายดังกล่าวออกมา (Isolate) และเร่งขยายศักยภาพในการดูแลบำบัดผู้ที่ป่วยและมีอาการหนัก (Treat) อย่าลืมว่าจนทุกวันนี้ก็ยังไม่มียาขนานใดเลยที่ได้รับอนุมัติจากสำนักงานอาหารและยาของประเทศใดเพื่อมาใช้ในการ “รักษา” COVID-19

3.ดังนั้นสิ่งที่คาดหวังคือเมื่อลดทอนมาตรการปิดเศรษฐกิจแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นไม่มาก หมายความว่ายิ่งปิดเศรษฐกิจนานเท่าใด ความเสียหายก็จะเพิ่มขึ้นเป็นทวีคูณ เช่น ปัจจุบันมีการพูดกันที่สหรัฐว่าจะมีผู้ตกงานมากถึง 15-25 ล้านคน ซึ่งไม่ใช่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย (recession) แต่เป็นภาวะเศรษฐกิจตกต่ำอย่างรุนแรง (depression) ดังที่สหรัฐและทั่วโลกประสบมาแล้วเมื่อ 90 ปีก่อน กล่าวคือผมเชื่อว่าเมื่อถึงจุดหนึ่งหลายประเทศก็จะต้องพยายาม “เปิด” เศรษฐกิจไม่มากก็น้อย และคาดหวังว่าเมื่อผ่อนปรนมาตรการ lockdown ต่างๆ แล้วจำนวนผู้ที่ติดเชื้อ COVID-19 จะไม่ปรับตัวสูงขึ้นมาอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศกำลังพัฒนาที่ระบบสาธารณสุขยังมีความแข็งแรงไม่มากนัก

ดังนั้นประเด็นสำคัญนอกเหนือไปจากการมีมาตรการฉุกเฉินทางการคลังและการเงินเพื่อเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการ “ปิด” เศรษฐกิจให้เพียงพอ ก็คือการมีระบบ Test, Trace, Isolate และ Treat ที่ทำให้มั่นใจได้ว่าเมื่อ “เปิด” เศรษฐกิจมาได้ระดับหนึ่งแล้ว จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จะเพิ่มขึ้นไม่มากและจะมีระบบติดตาม คัดกรองและแยกตัวผู้ที่ติดเชื้อและผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อที่รัดกุมและทันท่วงที ทำให้ระบบสาธารณสุขสามารถรับมือกับผู้ป่วยที่ต้องได้รับการรักษาที่เพิ่มขึ้นในจำนวนที่ไม่มากในหลายเดือนข้างหน้าที่ต้องรอยาและวัคซีน

ทั้งนี้หากติดตามการให้สัมภาษณ์ของผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อของสหรัฐก็จะได้ใจความว่า ทางสหรัฐคาดว่าจะต้องทำการ “ปิด” เศรษฐกิจไปถึงปลายเดือน เม.ย.หรือปลายเดือน พ.ค.โดยอัตราการติดเชื้อและเสียชีวิตที่ปัจจุบันอยู่ที่ระดับใกล้สูงสุดแล้วจะค่อยๆ ลดลงมาอยู่ที่ระดับต่ำภายในเดือน มิ.ย.-ส.ค. ซึ่งตรงกับฤดูร้อนและการปิดภาคเรียนพอดี ดังนั้นสหรัฐจึงต้องควบคุมการระบาดของ COVID-19 ให้ได้ภายในปลายไตรมาส 3 จึงจะสามารถรับมือกับการระบาดใหม่ที่อาจเกิดขึ้นอีกเมื่อต้องหันมาเปิดเศรษฐกิจและเมื่อฤดูหนาวกลับมาอีกในเดือน พ.ย.

ดังนั้นเรื่องของ COVID-19 นี้อาจเป็น “หนังยาว” ที่ยืดเยื้อและมีหลายภาคเป็น series จนกระทั่งมนุษย์สามารถค้นพบวัคซีนเพื่อจัดการกับ COVID-19 ให้เบ็ดเสร็จ แต่เรื่องนี้อาจไม่เกิดขึ้นก็ได้เพราะโคโรนาไวรัสที่ทำให้มนุษย์เจ็บป่วยนั้น ปัจจุบันมีอยู่ 7 ชนิดโดย 4 ชนิดที่ทำให้เป็นไข้หวัด (ซึ่งยังไม่มีวัคซีนป้องกันเพราะไม่ทำให้ป่วยรุนแรง) และอีก 3 ชนิดที่ทำให้ป่วยรุนแรงคือ SARS, MERS และ COVID-19 ที่ปัจจุบันยังไม่มียารักษาหรือวัคซีนป้องกัน

หมายความว่าที่นักเศรษฐศาสตร์ประเมินว่าเศรษฐกิจจะทรุดตัวลงถึงกลางปีนี้แล้วจะสามารถฟื้นตัวได้อย่างค่อยเป็นค่อยไปนั้น อาจเป็นการคาดการณ์ที่ดีเกินจริงก็ได้ และมาตรการ “กระตุ้น” เศรษฐกิจที่กล่าวถึงกันนั้น ผมต้องขอย้ำว่าไม่ใช่การกระตุ้นเศรษฐกิจแต่เป็นมาตรการฉุกเฉินที่นำมารองรับการปิดตัวของเศรษฐกิจไม่ให้ได้รับความเสียหายอย่างมากมายและกว้างขวาง

การปิดเศรษฐกิจเพื่อชะลอการระบาดของ COVID-19 และให้จัดระบบสาธารณสุขเพื่อควบคุมการระบาดของโรคนี้นั้น ผมมีความเห็นว่าควรจะเปรียบเทียบการปิดเศรษฐกิจว่าเหมือนกับการ “กลั้นลมหายใจ” ซึ่งเป็นสิ่งที่เศรษฐกิจจะทำนานมากเกินไปไม่ได้ เพราะจะส่งผลกระทบที่ร้ายแรงอย่างยิ่ง

แต่ในขณะเดียวกันก็มีความจำเป็นในการให้ความร่วมมือและสนับสนุนฝ่ายการแพทย์และสาธารณสุขที่ต้องทำงานกันอย่างทุ่มเทเพื่อช่วยปกป้องพวกเราทุกคน จึงเป็นเรื่องที่ท้าทายอนาคตประเทศไทยอย่างมากเพราะประเทศไทยนั้นนอกจากจะได้รับผลกระทบที่รุนแรงในขณะนี้และจะต้องเผชิญมรสุมใน 2-3 เดือนข้างหน้าแล้ว เศรษฐกิจของไทยเริ่มต้นด้วยความอ่อนแอมาตั้งแต่ปลายปีที่แล้วและได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกในไตรมาส 1

ดังนั้นจึงสามารถพูดได้ว่าเศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะตกต่ำติดต่อกันมานานกว่า 3 ไตรมาสแล้ว ก่อนที่จะต้องเผชิญกับ COVID-19 และจะยังต้องเผชิญกับสภาวะตกต่ำไปอีกอย่างน้อย 2 ไตรมาสข้างหน้าครับ
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 58

โพสต์

เกิด แก่ (ไม่) เจ็บ ตาย: สูงวัยอย่างมีคุณภาพได้ แค่ออกกำลังกาย กินให้น้อย นอนให้พอ

เกิด แก่ เจ็บ ตาย


สัจธรรมที่ได้ยินมาแต่ไหนแต่ไรว่าสุดท้ายเราล้วนต้องเผชิญ แต่คงไม่เกินไปเท่าไหร่ หากจะบอกว่าความคิดนั้นได้เปลี่ยนไป หลังจากได้พูดคุยกับ ดอกเตอร์ศุภวุฒิ สายเชื้อ และอ่านหนังสือของเขาที่มีชื่อว่า Healthy Aging ว่าด้วยการสูงวัยอย่างมีคุณภาพ ที่เขาได้รวบรวมข้อมูลจากงานวิจัยด้านสุขภาพในหลายสิบปีมาไว้ในหนังสือสองร้อยหน้านี้

หนังสือที่ดอกเตอร์ศุภวุฒิใช้ประสบการณ์ความเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐศาสตร์ เป็นนักวิเคราะห์เศรษฐกิจ เปลี่ยนจากคิดเรื่องการเงินระดับประเทศ มาสำรวจสุขภาพร่างกายระดับบุคคลแทน การศึกษายาวนานที่เผยให้เห็นหนทางใหม่ว่า แม้สุดท้ายเราจะแก่ แต่อาจไม่ต้องเจ็บไข้ได้ป่วยก่อนตายก็ได้

หากเพียงแค่เรากลับไปใช้ชีวิตตามที่ร่างกายมนุษย์นั้นถูกดีไซน์ – เคลื่อนไหวร่างกายให้บ่อย กินให้น้อย และนอนให้พอ – สามข้อสรุปจากการศึกษาค้นคว้าด้านสุขภาพมายาวนานของ ดอกเตอร์ศุภวุฒิ สายเชื้อ ที่เชื่อว่า เกิด แก่ (ไม่) เจ็บ แล้วค่อยตาย นั้นทำได้จริง

จากความสนใจด้านเศรษฐศาสตร์ วิเคราะห์เศรษฐกิจ เปลี่ยนมาเป็นเรื่องสุขภาพได้อย่างไร
ความสนใจผมมีสองส่วน ส่วนหนึ่งคือเรื่อง practical guide ทำอย่างไรให้สุขภาพดีจนวันตาย ซึ่งก็คือวิธีการกิน นอน ออกกำลังกาย และความสนใจอีกส่วนคือเทคโนโลยีการแพทย์ที่ปัจจุบันไปไกลมากแล้ว

ยกตัวอย่างเทคโนโลยีล่าสุด มีงานวิจัยออกมาว่า เราสามารถกระตุ้นให้เซลล์ร่างกายอายุน้อยลงได้ เป็นงานวิจัยจาก ดอกเตอร์เกรกอรี ฟาฮี (Dr. Gregory M. Fahy) ที่พบว่าเราสามารถกระตุ้น Thymus Gland ซึ่งเป็นต่อมที่คุมเรื่อง immunity ต่อมนี้จะเริ่มฝ่อตอนอายุยี่สิบกว่า และจะหายไปเลยตอนอายุหกสิบ อย่างผมนี่ไม่มีต่อมนี้แล้ว มันกลายเป็นก้อนไขมัน นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคนแก่ถึงตาย เป็นไข้หวัดใหญ่ ติดโควิด-19 ก็ตายง่ายกว่า เพราะภูมิคุ้มกันมันไม่มีต่อม Thymus ซึ่งเป็นเสมือนแคมป์ฝึกภูมิคุ้มกันมาช่วย เลยไม่แข็งแรง งานวิจัยนี้เขาก็เลยใช้การกระตุ้น Thymus Gland ให้ฟื้น ปรากฏว่าได้ผล แต่ผลข้างเคียงที่ตามมาคือร่างกายหนุ่มขึ้นไปด้วยเลย ฉะนั้น ในเชิงคอนเซ็ปต์เรื่อง Reverse Aging นั้นเป็นไปได้แล้วนะ แต่เราไม่รู้กัน เพราะมัวแต่กลัวเรื่องโควิด-19 จนไม่ได้สนใจเรื่องอื่นเลย

หรืออีกงานวิจัยจากมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ดที่เพิ่งออกมาเมื่อเดือนมีนาคม โดย ดอกเตอร์ชินยะ ยามานากะ (Dr. Shinya Yamanaka) ที่คิดค้น Induced Pluripotent Stem Cells (iPCSs) จากที่เราพยายามหาสเต็มเซลล์จากรกเด็ก ฉีดกันเข็มละแสนกว่าบาทเพื่อรักษาร่างกายทีละจุด แต่งานวิจัยเรื่อง Induced Pluripotent Stem Cells นี้มันหมายความว่าเราสามารถหมุนเวลาเซลล์ปกติให้กลับเป็นสเต็มเซลล์ได้ งานวิจัยนี้ก็ทำให้ดอกเตอร์ยามานากะได้รางวัลโนเบลไปแล้วในปี 2012 ในช่วงที่ผ่านมาก็มีบริษัทต่างๆ ตั้งขึ้นมาเพื่อทำเรื่องนี้เยอะมาก รัฐบาลสหรัฐฯ ญี่ปุ่น และกลุ่มอียู ก็ร่วมสนับสนุนด้วย

พูดง่ายๆ คือ ตอนนี้เราสามารถทำให้เซลล์ย้อนวัยได้แล้ว ถ้าเราทำได้ก็จะแก้ปัญหาได้เยอะมาก และที่น่าสนใจคือ งานวิจัยนี้เขาบอกว่าเวลาคุณ induce ให้เซลล์มันอ่อนวัยลง ไม่ต้องทำให้มันถึงขั้นกลับไปเป็นสเต็มเซลล์ก็ได้ แค่ย้อนเวลาให้มันหนุ่มขึ้นก็ได้ อันนี้พิสูจน์แล้วกับเซลล์กระดูก เซลล์กล้ามเนื้อ ลองคิดดูว่าถ้าเวลาผ่านไป เรื่องนี้มีพัฒนาการมากขึ้น ในไม่ถึง 20 ปี คนเราจะเลือกอายุตัวเองได้เลย เพราะสามารถย้อนวัยคนได้

ผมเล่าเบื้องต้นเท่านี้ก่อน ทุกอย่างที่ผมพูดมันถูกตีพิมพ์ในงานวารสารทางวิชาการ ผ่าน peer review แล้ว ไม่ได้มั่ว ยืนยันได้ หรือรางวัลโนเบลที่ดอกเตอร์ยามานากะได้รับก็เป็นการยืนยันอย่างดีว่าทั้งหมดนี้เป็นเรื่องจริง

ความสนใจผมเลยมีอยู่สองเรื่อง เรื่องแรกคือทำให้ตัวเองสุขภาพดี เรื่องสองคือพัฒนาการของเทคโนโลยีทางการแพทย์ทำให้มีแรงบันดาลใจให้ดูแลตัวเองไปจนกว่าเทคโนโลยีพวกนี้จะมาถึง

เทคโนโลยีทางการแพทย์พวกนี้จะเปลี่ยนชีวิตเราไปอย่างไร

เทคโนโลยีสามารถดิสรัปต์โลก ทั้งโทรศัพท์มือถือ กล้องดิจิตอล ฯลฯ วงการเดียวที่ยังไม่ถูกดิสรัปต์คือการรักษาโรคปัจจุบัน เรายังทำเหมือนร้อยปีที่แล้ว ต้องไปโรงพยาบาล นัดหมอ เพื่อรักษาแต่ละโรค โดยที่หมอจะวินิจฉัย เน้นการตรวจโรคและอวัยวะ แล้วสั่งยาให้สามสี่อย่าง ให้คุณไปลองดูว่าอันไหนมันเหมาะกับคุณ อันไหนแพ้ไม่แพ้ มันเป็นการวินิจฉัยในระดับบน ดูจากอวัยวะและโรคที่ปรากฏ

แต่นักวิจัยด้าน aging เป็น pioneer สังเกตว่างานวิจัยพวกนี้เป็นเรื่องระดับเซลล์ จะเปลี่ยนแนวคิดไปเลย เช่น Prulipoten Stem Cells นั้นสามารถย้อนอายุเซลล์ในร่างกาย สามารถรักษาได้ทุกโรค คือกลับไปเป็นหนุ่มอีกครั้งเลย

นอกจากสเต็มเซลล์เปลี่ยนโรค มีเทคโนโลยีอะไรที่จะเปลี่ยนโลกอีกบ้าง

มีอีกเทคโนโลยีที่น่าจะได้รางวัลโนเบลในอีก 4-5 ปีข้างหน้า ที่เรียกว่า CRISPR-Cas9 (คริสเปอร์แคสไนน์) หรือการอีดิตยีน เช่น ถ้าคุณมียีน APOE4 คุณมีความเสี่ยงจะเป็นอัลไซเมอร์ ซึ่งตอนนี้ Broad Institute ของมหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ร่วมกับ MIT สามารถอีดิตยีนนี้ออกไปได้เลย หรือตัวอย่างที่มีข่าวนักวิทยาศาสตร์จีนคนหนึ่งเขาโคลนเด็กแฝดให้เกิดมาเมื่อปี 2018 แล้วเขาอีดิตยีนตัวหนึ่งออกไปเพื่อให้เด็กแฝดหญิง ชื่อนานากับลูลู ไม่มีทางเป็นโรคเอดส์

CRISPR-Cas9 นี่อีดิตยีนทุกอันได้เลย ถ้าคุณเป็นธาลัสซีเมีย อีดิตยีนนี้ไปได้ก็ไม่เป็นแล้ว เทคโนโลยีการแพทย์มันไปทางนี้ ซึ่งอาจจะดิสรัปต์การแพทย์ไปอย่างสิ้นเชิง เราจะไม่มีหมอ มีแต่ Genome Engineer คุณจะมี engineer ที่ไปดูว่ายีนอันไหนมันบกพร่องแล้วไปจัดการตรงนั้น หรือถ้าจัดการไม่ได้ก็จะไปจัดการสเต็มเซลล์ แล้ว Reverse Aging แทน แต่ทุกอย่างทำในระดับเซลล์หมด

เทคโนโลยีพวกนี้คือสิ่งที่ทำให้ผมตื่นเต้น ผมอาจอยู่ไม่ทัน แต่พวกคุณนี่แหละ ดูแลตัวเองให้ดีกันต่อไป คุณเลือกได้ว่าคุณจะตายเมื่อไหร่ หรือไม่ตาย เพราะมีความเป็นไปได้สูงว่าการควบคุมยีนของมนุษย์จะทำให้ควบคุมอายุขัยได้

ยีนนี่คือ Instruction Set สำหรับร่างกาย ถ้าคุณทำ Map Genome ของตัวเอง ต่อไปคุณรู้ก่อนเป็นโรคด้วยซ้ำว่าคุณเสี่ยงเป็นโรคอะไร แล้วค่อยไปคุยกันว่าจะอีดิตยีนนี้ออกเลยไหม หรือจริงๆ ไม่ต้องไปพบที่โรงพยาบาล สามารถคุยอยู่บ้านนี่แหละ เขาแค่ใส่ชิปแทร็กยีนคุณ วันไหนยีนคุณมีปัญหา หรือมีเซลล์ที่อาจกำลังกลายเป็นเนื้องอก ศูนย์ข้อมูลจะรู้ก่อนตัวคุณอีก ซึ่งจะดิสรัปต์การแพทย์แบบปัจจุบัน เพราะคุณไม่ต้องมาโรงพยาบาล เมื่อเขาได้ข้อมูล ก็แค่ส่งยาไปให้ที่บ้านเลย Future of Medicine น่าจะเป็นแบบนี้ และจะไม่ใช่การรักษาด้วยยารักษาโรค และเป็น Genomic Therapy คือการปรับเปลี่ยนหรือปรับปรุงยีนของคุณ

อีกนานเท่าไหร่กว่าเราจะเห็นการดิสรัปชันใหญ่ในการรักษาสุขภาพแบบนี้

ผมไม่รู้ว่าผมจะอยู่ทันเห็นหรือไม่ แต่ผมรู้ว่าสหรัฐอเมริกาลงทุน Map Genome เมื่อปี 1998 เสร็จตอนปี 2003 ตอนแรกใช้เงินไปสองพันกว่าล้านเหรียญฯ ตอนนี้มีบริษัท Genome Mapping ทำให้คุณได้ในราคาสี่ร้อยเหรียญฯ ต่อไปเมื่อราคาลดลงไปอีก อาจมีการ Map for Free หรือเป็นของแถมไปเลย

จากที่เขาเริ่มต้นจากศูนย์ มาจนถึงขั้นนี้ได้เขาใช้เวลาเพียง 17 ปี ฉะนั้น ในอีกไม่เกิน 20 ปีข้างหน้า เราน่าจะรู้ได้หมดเลยว่ายีน 20,000 ยีนในร่างกายเรา ตัวไหนรับผิดชอบเรื่องอะไรบ้าง

เทคโนโลยีสามารถทำให้เขาสามารถค้นคว้า ไล่ดูได้ เขาไล่ดูได้ว่ายีนตัวไหนทำให้เป็นโรคอะไร ยีนตัวไหนทำให้ตาบอด เป็นโรคปอด เป็นเบาหวาน ความดัน ก็บอกได้ เพราะหลายโรคที่เราเป็นกันอยู่ในขณะนี้ก็มีต้นตอมาจากยีน ขอแค่เวลาแทร็กเท่านั้นแหละว่าเป็นยีนตัวไหน แล้วค่อยใช้ CRISPR-Cas9 ไปอีดิตได้

ข้อดีของเทคโนโลยีคือให้ความหวัง แต่ในขณะเดียวกันมันจะทำให้เรานิ่งนอนใจ ปล่อยร่างกายให้อยู่ในความดูแลของเทคโนโลยีหรือไม่
ผมไม่ได้บอกให้นิ่งนอนใจ แต่กลุ่มเป้าหมายของหนังสือผมคือพวกคุณในวัยสามสิบ ที่ร่างกายแก่ลงเพียงเล็กน้อย แต่ยังทำงานได้ดีอยู่ แต่ผมรับรองเลยว่าหลังจาก 40 ร่างกายจะเริ่มแก่ตัวอย่างรวดเร็วแบบทวีคูณ

เจตนาของการเขียนหนังสือเล่มนี้เลยคืออยากให้คนอายุสัก 30 อ่านว่าคุณจะ maintain peak ของคุณไปได้นานอีก 30-40 ปีได้อย่างไร ตัวของผมเองเริ่มสายเกินไป เพราะมัวแต่สนใจเรื่องเศรษฐกิจ มาเริ่มเอาตอน 50 กว่า สายไปตั้ง 15 ปี เสียดายโอกาสมาก แต่พอทดลองกับตัวเองแล้วเห็นว่าได้ผลดีค่อนข้างมาก ตอนผม 56 ผมหนัก 80 กว่ากิโล ตอนนั้นนี่เจ็บไหล่ เจ็บหลัง เจ็บเข่า ตอนนี้ไม่เจ็บเลย แล้วมันไม่ยาก ไม่เสียเงินเพิ่มด้วย เพราะกินน้อยลง นอนมากขึ้น ออกกำลังกายด้วยการวิ่งที่ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร มันไม่มีข้อเสียอะไรเลยที่จะทำให้ตัวเองแข็งแรงขึ้น มีแต่ข้อดี

จุดเปลี่ยนที่ทำให้หันมาดูแลรักษาสุขภาพในวัยเกือบหกสิบปี

โชคดีที่เพื่อนร่วมงานเขาเห็นผมสุขภาพแย่ เพื่อนร่วมงานเห็น แต่ผมไม่เห็นนะ เขาบอกให้ไปตรวจสุขภาพ ผมก็ไม่ไป ผมต้องเดินทางไปต่างประเทศเยอะ ทุกครั้งหลังเดินทางกลับมาไม่สบายตลอด ปีหนึ่งไม่สบาย 5-6 ครั้ง จนคิดว่าเป็นปกติของคนอายุห้าสิบกว่า เพราะผมไม่เคยสนใจสุขภาพเลย มัวแต่สนใจเรื่องเศรษฐกิจ เหมือนคุณ sub-contract การรักษาสุขภาพตัวเองไปให้คนอื่น เพื่อนเลยแอบนัดหมอ anti-aging แล้วให้ผมไปตรวจ หมออ่านฮอร์โมนแล้วบอกว่าอายุเท่าคนวัย 70 กว่า แต่ตอนนั้นผมอายุ 56 นะ คือแย่มากเลย ผลตรวจวันนั้นมันเป็น wake up call ทำให้ต้องถามตัวเองว่าจะเอายังไงต่อ จะเฉื่อยแฉะไปเรื่อยๆ หรือจะใช้ความเป็นนักวิเคราะห์มาดูข้อมูลแล้วหาทางเลือกให้ตัวเอง

การวิเคราะห์ข้อมูลเศรษฐกิจ และข้อมูลสุขภาพ มีความเหมือนหรือต่างกันอย่างไร

เวลาผมทำวิจัยด้านเศรษฐศาสตร์ ผมจะเอาข้อมูลเยอะๆ มาแยกแยะว่าอันไหนสำคัญ ไม่สำคัญ แล้วผมก็ต้องหาข้อสรุปมาบอกนักลงทุนว่าเขาควรจะ take action อะไร งานวิจัยของผมไม่ใช่เอาไว้ขึ้นหิ้ง แต่ต้องเป็น Actionable Ideas จะตัดสินใจอย่างไร จะ buy sell หรือ hold ก็เอาเรื่องข้อมูลมาใช้กับสุขภาพตัวเอง คือแสวงหาข้อมูลอย่างกว้างไกล เริ่มจากข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือสูงคือรางวัลโนเบลด้านวิทยาศาสตร์ เชื่อถือได้แน่นอน มันถูกกลั่นกรองมาเยอะมากแล้ว แล้วมาเลือกว่าจะ take action ไหนที่ดีที่สุดหลังจากได้ข้อมูลมา

ข้อมูลที่ได้มา ทำให้เราตาสว่างอย่างไรบ้าง

ก็หลายอย่าง เช่น ระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า ชื่อเดิมดีกว่า คือ ‘สามสิบบาทรักษาทุกโรค’ กล่าวคือ ระบบปัจจุบันคือรอให้เป็นโรคแล้วค่อยไปรักษา เหมือนรอให้รถชนแล้วเอารถไปซ่อม แต่คุณไม่อยากให้รถชน

ดังนั้น เราจึงควรจะ proactive มากกว่า reactive ละ แต่มนุษย์เราส่วนใหญ่จะ reactive ไม่อย่างนั้นบริษัทประกันส่วนใหญ่ขายประกันสุขภาพไม่ได้หรอก ทั้งที่เขาไม่ได้ประกันสุขภาพเลยนะ แต่เวลาเราฟังเขาขาย เราก็ซักถามว่าครอบคลุมโรคนั้นโรคนี้ไหม กลายเป็นว่าเราอยากเป็นทุกโรคเลย จะได้คุ้ม ผมว่ามันไม่ใช่ อย่างผมเองนี่ช่วงหนึ่งก็ซื้อประกันตรึมเลย แล้วก็จี้ถามราวกับว่าอยากเป็นทุกโรคเลย แต่เราคิดผิด เรามัวแต่รอให้โรคมาเยือนแล้วหวังว่าประกันจะมารักษาโรคได้อย่างไร

วันนั้นที่ไปตรวจสุขภาพมันถึงมีแรงกดดันกึ่งบันดาลใจว่าต้องคิดใหม่แล้ว เพราะคิดแบบนี้มันผิดหมดเลย ทั้ง attitude หรือเรื่องประกันสุขภาพ ทำไมเราต้องรอให้เป็นโรคจะได้ใช้ประกัน ใช้สิทธิสามสิบบาท ทั้งที่ปกติแค่ไปหาหมอยังไม่อยากไปเลย

คนเราบางคนนี่รู้ว่าตัวเองจะเป็นโรคยังไม่ยอมไปตรวจร่างกายเลย อาศัยทำบุญเอา หรือไปรอรักษาโรคตอนป่วย จะเลือกเดินทางนั้นก็ได้ หรือจะเลือกอีกทาง คือเลือกรักษาสุขภาพ ซึ่งไม่ใช่ทางที่คนส่วนใหญ่เลือก คนส่วนใหญ่ by default เลือกรักษาโรค

ที่ผ่านมาไม่ใช่ว่าเราไม่มีข้อมูล เรามีข้อมูลมากมาย แต่ข้อมูลไหนที่พบแล้วเปลี่ยนความรู้ เป็นการลงมือทำได้
จากการอ่านบทความทางวิชาการหลายปีที่ผ่านมา ไม่มีบทความไหนเลยที่บอกให้กินเยอะๆ นอนน้อยๆ ไม่ต้องออกกำลังกาย แล้วจะสุขภาพดี ไม่มีเลย มันตรงกันข้ามหมด สุดท้ายแล้ว การรักษาสุขภาพคือ กินน้อย นอนให้เพียงพอ และออกกำลังกายเป็นประจำ สุขภาพถึงจะดี มีแค่นั้นเองจริงๆ ผมอ่านมาเยอะมากแล้ว

เพราะว่าร่างกายมนุษย์เราถูกดีไซน์มาแบบนี้ ให้อดอยากบ้าง แล้วก็ต้องเคลื่อนไหวร่างกาย ตอนกลางคืนไม่มีไฟฟ้าก็ต้องนอน มนุษย์เราเกิดมาหกล้านปีที่แล้ว วิวัฒนาการของร่างกายเกิดขึ้นช้าๆ ใช้เวลาเป็นแสนเป็นล้านปี แต่ในช่วงเพียง 50-100 ปีที่ผ่านมา มนุษย์ประดิษฐ์อาหารฟาสต์ฟู้ด ไฟฟ้า ร่างกายของเรา evolve ไม่ทัน ร่างกายมันถูกสร้างมาให้ล่าสัตว์ ต้องอดมื้อกินมื้อ กลางคืนต้องรีบไปนอนในถ้ำ ไม่อย่างนั้นสัตว์จะมาคาบไปกิน ถ้าคุณใช้ชีวิตตามที่ถูกดีไซน์มา ร่างกายมันถึงจะอยู่ได้นาน ในหนังสือเล่มนี้ก็จะลงรายละเอียดว่ามันเป็นอย่างนั้นจริงๆ

Dr. Daniel Lieberman แกไปดูสรีระของร่างกายคนเรา และกล้ามที่ใหญ่ที่สุดของร่างกายคือกล้ามที่ก้น (Gluteus Maximus) กล้ามอันนี้เวลาเดินไม่ต้องใช้ ใช้เฉพาะตอนวิ่ง มันต้องวิ่งเพื่อล่าสัตว์ (หรือวิ่งหนี)



สูงสุดสู่สามัญ ถ้าสุดท้ายสิ่งสำคัญคือกลับไปใช้ชีวิตตามพื้นฐานร่างกาย แล้วทำไมเราต้องพึ่งเทคโนโลยี
เราใช้เทคโนโลยีเพื่อเป็นตัวเสริมศักยภาพของเรา แต่อย่าลืมว่า basic design ของร่างกายมนุษย์มันดีไซน์ให้กินน้อย นอนเยอะ และเคลื่อนไหวร่างกายเป็นประจำ เราก็ต้องใช้ร่างกายแบบนั้น

ในหนังสือผมบอกว่าให้วิ่งอาทิตย์ละ 20 กิโล กิน 2 มื้อ นอนให้ได้ 7-8 ชั่วโมง แค่นี้ก็พอ เบสิกต้องเป็นแบบนี้ อย่างอื่นคุณทำอะไรผมไม่สน แต่ผมขอพื้นฐานเท่านี้

ดอกเตอร์โอซูมิ (Yoshinori Ohsumi) ได้รางวัลโนเบลเมื่อปี 2016 บอกว่าเซลล์มัน rejunevate ตัวเอง เซลล์มันมี autophagy คือการฟื้นฟูตัวเองโดยการกลืนกินของเสียภายในเซลล์เมื่อมีการอดอาหาร ฉะนั้น คุณควรกิน 2 มื้อ หรือบางวันผมกิน 1 มื้อหรือ 2 มื้อกับอีกครึ่งหนึ่ง เพื่อให้คุณรู้สึกหิวนิดๆ ทุกวัน และนอนให้พอ

ข้อมูลทำให้เริ่มลงมือทำ แต่กุญแจสำคัญคืออะไรที่จะทำให้คนเราลงมือทำได้อย่างต่อเนื่อง

ปีแรกก็เหนื่อยนะครับ ยอมรับว่าหิว ช่วงเวลาอาหารเย็นเคยเป็นไฮไลต์ของวัน กลับมาหิวก็ต้องรีวอร์ดตัวเอง แต่กลายเป็นต้องไปวิ่ง ช่วงแรกยากมาก แต่ข้อดีของการเป็นนักวิจัยคือเราจะมีวินัยในระดับหนึ่ง เวลาเราต้องวิเคราะห์อะไร สมาธิและความมุ่งมั่นจะต้องมีจึงจะวิเคราะห์ได้ สงสัยว่าสมาธินี่มันทำให้มีความแน่วแน่ในการที่จะทำสิ่งยากให้ลุล่วงไปได้ คนที่มีสมาธิจะมีความแน่วแน่ จิตใจไม่ว่อกแว่ก

แต่ในอีกส่วนหนึ่งคือ ข้อมูลที่ได้มา ยิ่งอ่านยิ่งเถียงตัวเองไม่ได้ว่าทำไมเราต้องไม่กลับไปใช้ชีวิตอย่างเดิมอีก ถ้ากลับไปแบบเดิม สุขภาพจะไม่ดีอย่างแน่นอน ผมจนด้วยปัญญา ผมพยายามไปหาข้อมูลอื่นมาแย้งว่าเรากินเยอะได้ ไม่ต้องออกกำลังกาย แต่ผมหาไม่ได้ มันไม่มี

ข้อมูลมันฝังอยู่ในหัวแล้ว รู้แล้วจะไปทำแบบอื่นไม่ถูกต้อง เหมือนถ้าคุณได้ข้อมูลหุ้นอย่างหนึ่งมา แต่คุณไป take action ในทางตรงกันข้ามกับข้อมูลก็จะไม่ใช่สิ่งที่พึงกระทำ

ขอให้คุณออกกำลังกายได้สัปดาห์ละ 4 ชั่วโมง ฟังดูว่ามากและยาก แต่คุณใช้เวลากินมากกว่านั้นเยอะ เวลาคุณกินอาหาร โดยเฉพาะแป้ง น้ำตาล มันสร้างโดพามีนซึ่งจะทำให้คุณแฮปปี้สุดๆ เลย แต่หากวิ่งจนถึงระดับหนึ่งก็จะได้สารอีกอันหนึ่งที่ทำให้รู้สึกดีเหมือนกัน คือเอ็นดอร์ฟิน แทนที่จะได้โดพามีนจากการกิน ผมก็วิ่งเอาเอ็นดอร์ฟินมาทดแทน แต่ทั้งสองล้วนเป็นฮอร์โมนที่ทำให้เรารู้สึกดีเหมือนกัน

ปัญหาคือ กว่าเอ็นดอร์ฟินจะออก คุณต้องวิ่งจนเหนื่อยก่อน ซึ่งคนมักจะหยุดวิ่งก่อนถึงจุดที่เอ็นดอร์ฟินเริ่มหลัง คุณต้องวิ่งจนเลยจุดเหนื่อยก่อน เอ็นดอร์ฟินมันจึงจะหลั่งออกมาแล้วทำให้รู้สึกดี ซึ่งจะเกิดขึ้นหลังจากวิ่งไปแล้วประมาณ 3 กิโลเมตร

ยอมรับว่าช่วงแรกมันไม่ง่าย มันฝืนมาก แต่ผมอ่านงานวิจัยจนรู้ว่าวิ่งไปเท่านี้แล้วเอ็นดอร์ฟินมันจะมา ข้อดีคือเรารู้ข้อมูล เราสามารถอ่านงานวิจัยจนรู้ว่ามันจะเกิดอะไรขึ้น และคาดการณ์ได้

ทุกอย่างที่ผมเขียนลงหนังสือเล่มนี้ ผมเอาตัวเองเป็นหนูทดลองหมดทุกเรื่อง ทุกอย่างที่ผมเขียนลงไป ผมลองหมดแล้ว พิสูจน์แล้วทั้งในเชิงงานวิชาการและการปฏิบัติว่ามันทำได้จริง


เรามีเทคโนโลยีรักษาโรคมากมาย เรามี easy pill ที่รักษาสุขภาพได้โดยไม่ต้องออกแรงบ้างไหม

จริงๆ มีทฤษฎีใหม่ที่พูดถึงระบบที่ทำให้เป็นโรค เรียกว่า epigenome เอพิ แปลว่าอยู่เหนือ อันนี้หนังสือที่ผมพูดถึงเป็นหนังสือของ ดอกเตอร์เดวิด ซินแคลร์ (Dr. David Sinclair) ชื่อ Lifespan: Why We Age – and Why We Don’t Have To เขียนลึกมาก อ่านยาก เป็นทฤษฎีใหม่ที่บอกว่า Aging is a disease. (ความแก่ตัวคือโรคชนิดหนึ่ง) เป็นเรื่องของ epigenome ก็เป็น Paradigm Shift ที่ไม่ใช่เรื่องของการกินแอนติออกซิแดนต์ แต่การพูดถึงสารต้านอนุมูลอิสระนั้นทำให้ขายของได้ คนก็เลยพูดกันเยอะ

เวลาคนขอคำแนะนำ ดอกเตอร์ซินแคลร์จะตอบว่า พยายามกินให้น้อยจะดีที่สุด แต่ผมพบว่าอาหารที่มีประโยชน์จริงๆ คือน้ำชา ซึ่งผมเขียนลงในหนังสืออีกเล่ม คือ Beating COVID-19 นักวิจัยไต้หวันพบว่า สาร Theaflavin ในชาดำมีสรรพคุณในการต่อต้านการแบ่งตัวของไวรัสซาร์ส ซึ่งต้องยอมรับว่าชามันมีอะไรในกอไผ่จริงๆ คนดื่มกันมาสองพันปีและเป็นเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพจริงๆ แต่มันได้ผลอย่างไรในรายละเอียดก็ยังถกเถียงกันอยู่ คือความรู้ทางวิทยาศาสตร์ยังไม่ตกผลึกเต็มที่ แต่มีงานวิจัยล่าสุดของออกซฟอร์ดที่เขียนแนะนำให้ชาเป็นส่วนหนึ่งของการโภชนาการ เป็น part of daily nutrition เลย คือถ้าจะให้มี easy pill ที่กินได้เลยก็น่าจะเป็นชานี่แหละ แล้วมันเป็นพืชธรรมชาติ ไม่ได้สกัดออกมาเป็นสารต้านอนุมูลอิสระอะไร

เชื่อตามชื่อหนังสือจริงๆ เลยไหมว่าสุดท้ายแล้ว ‘We don’t have to age’
เพราะว่าเมื่อคุณสามารถคุมยีนได้แล้ว ยีนเป็นตำราทุกอย่างของร่างกาย เหมือนที่บอกไปตอนต้นว่าคุณอีดิตยีนได้แล้ว หรือที่ ดอกเตอร์เกรกอรี ฟาฮี Reverse Aging ได้แล้ว ในเชิงคอนเซ็ปต์ได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถย้อนเวลาได้

เราพยายามที่จะทำให้เราสุขภาพดีจนวันสุดท้าย ส่วนตายไปเมื่อไหร่มันก็แล้วแต่ เรายังไม่สามารถกำหนดได้ ยังเป็น uncertainty อยู่ แต่ประเด็นที่สำคัญกว่าคือ เราต้องการใช้ชีวิตได้อย่างปกติสุขจนวันสุดท้ายของชีวิต และตายไปเลย ไม่เป็นภาระใคร ไม่ทรมานด้วย ตอนนี้มันได้เท่านี้ก่อน แต่ในระยะยาว ไม่มีอะไรมาบังคับว่าเราจะอายุแค่ 80-100 ปีนะ โดยเฉพาะถ้าต่อไปเราทำ Engineer Genome ได้

นอกจากประโยชน์ส่วนตัวแล้ว การรักษาตนเองให้มีสุขภาพดีจนวันสุดท้ายจะก่อให้เกิดประโยชน์ส่วนรวมอย่างไรบ้าง

ปัญหาตอนนี้ของทุกประเทศคือ กลัวว่าค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้สูงอายุจะสูงมาก ปัจจุบันคนไทยอายุเกิน 60 ปี มีอยู่ 11-12 ล้านคน ในปี 2040 จะเพิ่มมาเป็น 20 ล้าน คนที่อยู่ในวัยทำงานเขาต้องแบกภาระจำนวนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้าคนกลุ่มนี้สุขภาพดีจนวันสุดท้าย ก็จะไม่เป็นภาระ ตอนนี้งบประมาณที่เราใช้กับประกันสุขภาพถ้วนหน้า ถ้าจำไม่ผิดอยู่ที่ 2 แสนล้านบาทในปีนี้ แล้วถ้าคนสูงอายุมากขึ้น คนสุขภาพไม่ดีอีก งบจะเป็นเท่าไหร่ TDRI เคยบอกว่าจะต้องใช้งบถึง 1 ล้านล้านบาท แต่ถ้าทุกคนแก่ แต่ไม่เจ็บ ถึงเวลาตายก็ตายไปเลย ไม่ต้องเป็นโรคอะไรเลย สามารถประหยัดเงินไปได้ล้านล้านบาท จะไม่ดีกว่าหรือ

ร่วมรับฟัง ดอกเตอร์ศุภวุฒิ สายเชื้อ และผู้ร่วมเสวนาท่านอื่นๆ ได้จากงาน ‘Lifefulness ‘ชีวิตมีชีวา’ : ให้ชีวิตทุกวันมีคุณภาพ ไปจนถึงวันสุดท้าย’ ครั้งที่ 2 ในหัวข้อ ‘On the Path to Wellness’ วันเสาร์ที่ 6 มิถุนายน 2563 เวลา 14.00-15.00 น. ผ่านทางเพจ ชีวามิตร Cheevamitr Social Enterprise
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 59

โพสต์

โรคอ้วน (1)

เมื่อปี 1997 องค์การอนามัยโลก (WHO) ประกาศว่าโรคอ้วนเป็นโรคระบาด และล่าสุดเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2020 WHO แถลงว่า

ปัจจุบันมีประชากรผู้ใหญ่ที่น้ำหนักเกิน (overweight) อยู่ 1,900 ล้านคนและในจำนวนดังกล่าวมีคนเป็นโรคอ้วน (obesity) มากถึง650 ล้านคน แต่ผมเชื่อว่าไม่มีใครทราบเรื่องนี้มากนักเพราะตรงกับปีที่เผชิญกับวิกฤติต้มยำกุ้งพอดี ต่อจากนั้นโรคระบาดนี้ก็มีแต่เพิ่มขึ้นจนกระทั่งข้อมูลล่าสุด (2015-2016) มีคนเป็นโรคอ้วนในสหรัฐมากถึง 39.8% ซึ่งผมความเห็นว่าสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากจาก COVID-19 ในสหรัฐก็เพราะหลายคนเป็นโรคอ้วน ทำให้มีการอักเสบเรื้อรัง (chronic inflammation) ซึ่งทำให้ร่างกายแก่เกินไวและนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เช่น โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจและโรคมะเร็งที่ทำให้ร่างกายไม่สามารถต่อสู้กับ COVID-19 ได้

ในประเทศไทยนั้นปรากฏจากข้อมูลของรัฐบาลไทยว่าในช่วง 18 ปีระหว่างปี 1991-2009 มีสัดส่วนผู้ที่เป็นโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 3.2% ของประชากรทั้งหมดในปี 1991 มาเป็น 5.4% ในปี 1997 และ 7.1% ในปี 2004 และ 9.1% ในปี 2009 หากเรามีสมมุติฐานว่าอัตราการเพิ่มของคมที่เป็นโรคอ้วนเท่าเดิม ก็สามารถคำนวณได้ว่าจำนวนคนที่เป็นโรคอ้วนในปัจจุบันน่าจะเป็นประมาณ 11.5-12.5% ของประชากรทั้งหมดหรือประมาณ 7.8-8.5 ล้านคน ทั้งนี้ผู้ที่เป็นโรคอ้วนคือคนที่น้ำหนักตัวคำนวณจากดัชนีมวล รวมของร่างกายหรือ BMI เท่ากับหรือเกินกว่า 30 BMI คำนวณได้จากการนำเอาน้ำหนักตัวเป็นกิโลกรัมหารด้วยความสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง เช่น คนที่สูง 1.67 เมตรและน้ำหนักเท่ากับ 67 กิโลกรัม จะมี BMI เท่ากับ 67÷2.7889 หรือ 24 เป็นต้น ดังนั้นคนที่สูง 1.67 เมตร หากน้ำหนักตัวเกินกว่า 83 กิโลกรัม ก็ถือว่าเป็นโรคอ้วน เป็นต้น

รูปภาพ
https://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/650315

การมีน้ำหนักตัวที่ประเมินว่าอยู่ในระดับปกติและมีสุขภาพดีนั้น BMI จะต้องอยู่ที่ระดับ 18.5 ถึง 24.9 เช่น คนที่สูง 1.67 เมตร น้ำหนักก็ไม่ควรต่ำกว่า 52 กิโลกรัม เป็นต้น มิฉะนั้นจะถือว่าผอมเกินและขาดอาหาร สำหรับคนที่ BMI เท่ากับ 25 ถึง 29.9 นั้นถือว่าเป็นคนที่มีน้ำหนักเกิน (อ้วน) แต่ไม่ได้เป็นโรคอ้วน ซึ่งจากสถิติของประเทศไทยนั้นพบว่าคนที่น้ำหนักเกิน (อ้วนและเป็นโรคอ้วน) เพิ่มขึ้นจาก 17.2% ของประชากรทั้งหมดในปี 1991 มาเป็น 22.6% ในปี 1997 และ 29.5% ในปี 2004 และ 34.7% ในปี 2009 ซึ่งมาถึงวันนี้ก็น่าจะมีความเป็นไปได้สูงว่าจำนวนคนที่น้ำหนักเกินในประเทศไทยน่าจะมีสัดส่วนใกล้ 40% ของประชากรทั้งหมดแล้ว ในขณะที่ในสหรัฐนั้นสัดส่วนนี้จะเท่ากับ 68%

ถามว่าการเป็นโรคอ้วนนั้นเป็นอันตรายมากน้อยเพียงใด ก็สามารถตอบได้อย่างค่อนข้างมั่นใจว่าจะทำให้อายุสั้นลงไป 3-4 ปี สำหรับคนที่ปัจจุบันอายุ 40 ปี ซึ่งเป็นข้อสรุปของงานวิจัยที่ผมคิดว่าน่าเชื่อถือเพราะเป็นงานวิจัยที่เก็บข้อมูลจากคนอังกฤษจำนวนมากถึง 3,632,674 คน นักวิจัยติดตามดูคนกลุ่มนี้ในช่วง 1998 ถึง 2016 และพบว่ามีผู้เสียชีวิตทั้งหมด 188,057 คน งานวิจัยนี้ได้นำไปตีพิมพ์ในวารสารททางวิชาการชั้นนำของโลกคือ The Lancet เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2018 งานวิจัยนี้พบว่าคนที่น้ำหนักขาด (ผอมเกินไป) และน้ำหนักเกินมากๆ (เป็นโรคอ้วน) ล้วนแต่มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตมากกว่าคนที่น้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติและมีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตทั้งจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง (non-communicable disease) และจากโรคติดต่อ (communicable disease) มากกว่าคนที่น้ำหนักอยู่เกณฑ์ปกติ

นักวิจัยจึงได้คำนวณออกมาให้เห็นว่าหากคุณอายุ 40 ปีและปัจจุบันคุณน้ำหนักอยู่ในเกณฑ์ปกติหรือน้ำหนักเกินกว่าหรือต่ำกว่าปกติ คุณจะอายุสั้นลงมากน้อยเพียงใด โดยสรุปจากตารางข้างล่าง
pookii
Verified User
โพสต์: 1414
ผู้ติดตาม: 0

Re: ปรับเซลล์ให้หนุ่มสาว /ดร.ศุภวุฒิ สายเชื้อ

โพสต์ที่ 60

โพสต์

โรคอ้วน (2)

ครั้งที่แล้วผมกล่าวถึงภัยอันตรายของโรคอ้วนไปแล้วว่าทำให้อายุสั้นลงได้ 3-4 ปี

สำหรับคนที่ปัจจุบันอายุ 40 ปี จากผลงานวิจัยขนาดใหญ่ของอังกฤษที่อาศัยข้อมูลจากประชากรกว่า 3.6 ล้านคน

ถามว่าทำอย่างไรไม่ให้เป็นโรคอ้วน คำตอบตรงไปตรงมาคือจะต้องจำกัดการกิน โดยผมอาศัยการไม่กินอาหารมื้อเย็น (หรือกินให้น้อยที่สุด) แล้วเอาเวลาดังกล่าวไปออกกำลังกาย ซึ่งหากออกกำลังกายโดยการเดินเร็วได้วันละ 1 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 วันต่อสัปดาห์ ก็จะทำให้เผาผลาญแคลอรีไปประมาณ 750 แคลอรีต่อ 1 สัปดาห์ ดังนั้นจึงจะทำให้น้ำหนักตัวลดลงไปประมาณ 1 กิโลกรัม ภายใน 10 สัปดาห์ หรือ 5 กิโลกรัมภายใน 1 ปี เป็นต้น แต่หากสามารถวิ่งครั้งละ 1 ชั่วโมงที่ความเร็วประมาณ 7 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และวิ่งสัปดาห์ละ 5 ชั่วโมง ก็จะทำให้สามารถเผาผลาญประมาณ 1,750 แคลอรีต่อ 1 สัปดาห์ ทำให้น้ำหนักลดลงได้ถึง 12 กิโลกรัมต่อการวิ่ง 1 ปี (วิ่งจะเผาผลาญประมาณ 50 แคลอรีต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร แต่การเดินจะเผาผลาญเพียง 30 แคลอรีต่อระยะทาง 1 กิโลเมตร)

ดังนั้น การลดอาหารจึงจะมีประสิทธิผลมากกว่าการออกกำลังกาย หากวัตถุประสงค์หลักคือการลดน้ำหนัก ซึ่งแนวทางในการลดอาหารที่สำคัญแนวทางหนึ่งคือ การนอนหลับให้เพียงพอทุกๆ คืน คือหากนอนหลับไม่เพียงพอคือคืนละ 5 ชั่วโมงจะมีความเสี่ยงที่น้ำหนักจะเพิ่มขึ้นปีละ 4.5-7 กิโลกรัม (จากหนังสือของ Dr.Matthew Walker “Why We Sleep”) ทั้งนี้เพราะการนอนหลับไม่เพียงพอจะกระตุ้นการผลิตฮอร์โมนที่เรียกว่า Ghrelin ในกระเพาะให้เพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าท้องว่างและหิวมากๆ และแม้จะกินอาหารเข้าไปแล้วปริมาณ Ghrelin ก็จะไม่ค่อยลดลง (ซึ่งเป็นผลจากการนอนน้อย) ทำให้ยังส่งสัญญาณบอกสมองว่ายังไม่อิ่มต้องกินต่อไป และกระตุ้นให้เลือกกินอาหารที่มีแคลอรีสูงอีกด้วย

ในขณะเดียวกันปริมาณของฮอร์โมนที่เรียกว่า Leptin ในเซลล์ก็จะลดลงอย่างมากเมื่ออดนอน ทำให้เซลล์ส่งสัญญาณว่ายังได้รับอาหารไม่เพียงพอต้องกินเข้าไปอีกและแม้จะกินอาหารเข้าไปมากแล้วปริมาณ Leptin ก็จะไม่ค่อยเพิ่มขึ้น ทำให้เซลล์ยังส่งสัญญาณไปบอกสมองว่าเซลล์ยังขาดอาหารอยู่ จึงต้องกินอาหารเพิ่มขึ้นอีก

ดังนั้นจึงควรทำ 3 อย่างไปพร้อมๆ กันคือเพิ่มการออกกำลังกาย ลดการกินอาหาร (โดยเฉพาะการลดการกินมื้อเย็นเป็นมื้อหลัก) และการนอนหลับให้เพียงพอ คือคืนละ 7-8 ชั่วโมง เพื่อควบคุมความอยากกินอาหารในวันต่อไป

มีงานวิจัยที่น่าสนใจจากทีมนักวิเคราะห์ที่ National Taiwan University เผยแพร่ใน Public Library of Science เมื่อ 9 ส.ค.2019 เพื่อประเมินว่าการออกกำลังกายประเภทใดจะช่วย “กด” ยีนที่ทำให้คนน้ำหนักเกินและเสี่ยงจะเป็นโรคอ้วน (งานวิจัยชื่อ “Performing Different Kinds of Physical Exercise Differentially Attenuates the Genetic Effects on Obesity Measures”) โดยอาศัยผู้ใหญ่ชาวไต้หวัน 18,424 คน ที่ผ่านการอ่านพันธุกรรมและมีข้อมูลอยู่ในฐานข้อมูลของ Taiwan Biobank (TWB)

นักวิจัยจึงนำเอาข้อมูลทางพันธุกรรมดังกล่าวไปประเมินว่ายีนตัวไหนมีผลต่อตัวชี้วัดเกี่ยวกับความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน 5 ตัวชี้วัด เช่น BMI ปริมาณของไขมันในร่างกาย ขนาดของเอว ความกว้างของสะโพกและสัดส่วนของเอวต่อสะโพกและประเมินความสำคัญของยีนต่างๆ ในการนำมาซึ่งความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนที่เรียกว่า Genetic Risk Scores (GRSs)

นักวิจัยนำเอา GRSs ไปเปรียบเทียบกับกิจกรรมการออกกำลังกายของคน 18,424 คนดังกล่าวและมีข้อสรุปว่า

1.การออกกำลังกาย 6 ประเภท (จากทั้งหมด 19 ประเภท) มีประโยชน์ในการลดการทำงานของยีนที่ทำให้ความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วน เพราะการออกกำลังกายประเภทใดประเภทหนึ่งดังกล่าวจะช่วยลดตัวชี้วัดความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอ้วน

2.การวิ่ง (jogging) เป็นประจำให้ประโยชน์สูงสุดเพราะช่วยควบคุมยีนที่ทำให้เสี่ยงกับการเป็นโรคอ้วนให้เจือจางลง (attenuate) ทำให้ตัวชี้วัดความเสี่ยงของการเป็นโรคอ้วนลดลงถึง 3 ตัว ได้แก่ BMI ปริมาณไขมันในร่างกายและขนาดของสะโพก

3.การปีนเขา เดิน เต้นรำบางท่า (เช่น Waltz และ Foxtrot) และการบำบัดโยคะช่วยควบคุมยีนที่กระตุ้น BMI

4.ไม่พบว่าการถีบจักรยาน การยืดตัวหรือการว่ายน้ำมีผลต่อการควบคุมยีนที่กระตุ้นความเสี่ยงให้เป็นโรคอ้วน (แต่ก็ยังมีประโยชน์เพราะช่วยลดน้ำหนัก ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรงและทำให้หัวใจและระบบหายใจแข็งแรง)

นอกจากนั้นแล้วก็ยังจะต้อง “ฟังหูไว้หู” เพราะการประเมินว่ามียีนใดบ้างที่มีผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคอ้วนนั้นย่อมเป็นการประเมินของนักวิจัยกลุ่มนี้ การอ่านพันธุกรรมอย่างละเอียดถี่ถ้วนและการค้นพบว่ายีนตัวใดมีผลอย่างไรต่อร่างกายนั้นยังเป็นเพียงการเริ่มต้น เพราะการอ่านพันธุกรรมมนุษย์ (genome mapping) ครั้งแรกสำเร็จนั้นเพิ่งเกิดขึ้นเมื่อปี 2003 และแม้ว่าจะการพัฒนาการไปอย่างมากในช่วง 17 ปีที่ผ่านมา แต่น่าจะยังมีอะไรที่จะต้องเรียนรู้อีกมากเกี่ยวกับพันธุกรรมของมนุษย์ว่ามีผลต่อการเป็นโรคต่างๆ อย่างไรบ้าง

แต่ที่สำคัญในความเห็นของผมคือการอาศัย genomics และ epigenome (การอ่านคำสั่งของยีนโดยเซลล์ที่จะผิดเพี้ยนไปได้เมื่ออายุมากขึ้น) จะเป็นแนวทางใหม่ในการรักษาโรคและรักษาสุขภาพในอนาคต และผมเชื่อว่าจะ disrupt ระบบการแพทย์ปัจจุบันอย่างสิ้นเชิง ซึ่งผมจะขอนำเอาเรื่องของการแสวงหายีนที่ควบคุมความอ้วนและความผอมมานำเสนอในตอนต่อไปครับ