Bitcoin
- leaderinshadow
- Verified User
- โพสต์: 1765
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 31
http://thaipublica.org/2013/12/bitcoin/
Bitcoin ฟองสบู่ดิจิตอล
25 ธันวาคม 2013
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย
เคยได้ยินชื่อ Bitcoin ไหมครับ Bitcoin คือเงินตราเสมือน (virtual currency) ในโลกดิจิตอล ที่ไม่ได้ออกโดยธนาคารกลางใดๆ แต่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะ Bitcoin ทำให้การโอนเงิน จ่ายเงินในโลกอินเทอร์เน็ตสะดวกสบายและมีต้นทุนที่ถูกลงอย่างมาก ความนิยมของ Bitcoin เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่าน และทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มเหล่มองด้วยความเป็นห่วง ผมว่าน่าสนใจดีครับ
ทีมาภาพ : http://img4.coconuts.co/cdn/farfuture/
ทีมาภาพ : http://img4.coconuts.co/cdn/farfuture/
Bitcoin เป็น open-source peer-to-peer payment network หรือเครือข่ายการชำระเงินในโลกอินเทอร์เน็ต ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ทุกคนในโลกอินเทอร์เน็ตสามารถใช้ ร่วมสนับสนุนการพัฒนาระบบ และช่วยดำเนินการได้
ถ้าใครฟังแล้วงงๆ ลองถึงการแชร์ไฟล์ในระบบ bittorrent ที่ไฟล์ถูกเก็บในเครื่องของคนที่ร่วมอยู่บนระบบ และไม่ได้ถูกเก็บในที่ใดที่หนึ่งเป็นแห่งเดียว
Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาโดยผู้ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ในปี 2009 เพื่อใช้ในการจ่ายเงินทางอินเทอร์เน็ต ทั้งการซื้อขายสินค้า และการโอนเงินระหว่างกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงิน จึงมีต้นทุนต่ำกว่ามาก
Bitcoin ถูกออกแบบมาให้มีการตรวจสอบการใช้เงินผ่านการเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ และถูกบันทึกไว้โดยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย และคนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ยืมเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองในการประมวลผล แก้รหัสเพื่อตรวจสอบว่ารายการการใช้เงินนั้นถูกต้อง และบันทึกรายการการใช้เงิน เรียกว่า miner หรือ “นักขุด”
นักขุดที่สามารถคำนวณและถอดรหัสคณิตศาสตร์ได้คนแรก จะได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน Bitcoin ที่ “พิมพ์” ขึ้นใหม่ และนี่เป็นวิธีเดียวที่จำนวน Bitcoin จะถูกผลิตขึ้นใหม่ Bitcoin ถูกออกแบบมาให้ปัญหาการเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป และจำนวน Bitcoin ที่ถูกสร้างขึ้น จะมีน้อยลงเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับการขุดหาแร่หายาก (เช่น ทองคำ) เพื่อจำกัดปริมาณของ Bitcoin ที่มีใช้หมุนเวียนกัน
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการถอดรหัส Bitcoin จึงต้องมีพลังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการแข่งขันสูงมาก จนมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการถอดรหัส Bitcoin โดยเฉพาะออกมาขาย เพื่อจะได้เป็นคนแรกในการถอดรหัส และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นคนแรก (ลองดูบทความนี้ครับ)
Bitcoin จะถูกเก็บไว้ใน “wallet” หรือกระเป๋าเงินดิจิตอล ที่ค่อนข้างปลอดภัย (แต่ก็มีข่าวการถูกโจรกรรม bitcoin โดย hacker เป็นครั้งคราว) เมื่อมีการจ่ายเงิน เงินในกระเป๋าของเราจะถูกส่งไปยังกระเป๋าของผู้รับอย่างรวดเร็ว และมีการตรวจสอบจากคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในโลก การจ่ายเงินอาจทำบนเว็บ หรือแม้กระทั่งจากโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังมีการผลิตเหรียญ Bitcoin ที่ข้างในเป็นรหัสตัวเลขที่ผู้รับสามารถเอาไปขึ้นเงินได้
คนทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin เป็นเงินสกุลทั่วไปผ่านทางตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนที่มีหลายแห่งทั่วโลก (ผู้สนใจลองเข้าไปดูได้ที่ http://bitcoin.org/en/)
ข้อดีของ Bitcoin คือ ต้นทุนต่อธุรกรรมต่ำ เพราะเป็นการส่งเงินผ่านถึงกันโดยตรงโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคาร และคนที่ประมวลผลธุรกรรมได้รับผลตอบแทนเป็น Bitcoin ที่ถูกสร้างขึ้น นอกจากนี้ การใช้จ่ายผ่าน Bitcoin ยังไม่ถูกตรวจสอบจากสถาบันการเงินและหน่วยงานรัฐ
ในขณะเดียวกัน ปริมาณเงินของ Bitcoin จะถูกสร้างขึ้นด้วยอัตราที่แน่ชัด และลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป (ว่ากันว่าปริมาณ Bitcoin จะนิ่งๆ อยู่ที่ประมาณ 21 ล้าน Bitcoin ในปี 2030) หลายๆ คนมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาเงินเฟ้อกับ Bitcoin เหมือนกับที่เกิดกับเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง Bitcoin จึงมีสภาพของเงินที่มีแนวโน้มจะสร้างภาวะเงินฝืด (ราคาของของในเงินสกุลนี้จะถูกลงเรื่อยๆ) คนจึงมีความต้องการที่จะถือเงินสกุลนี้มากขึ้น และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ คล้ายๆ กับภาวะของทองคำ
แม้ว่า Bitcoin ไม่ใช่เงินตราเสมือนอันเดียวในโลกอินเทอร์เน็ต แต่ดูเหมือน Bitcoin จะได้รับความนิยมมากที่สุด และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายปีที่ผ่านมา มีร้านค้าหลายแห่งทั้งบนโลกออนไลน์และโลกจริงรับการชำระเงินโดย Bitcoin
Bitcoin ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศจีน ที่การเคลื่อนย้ายเงินเข้าออกประเทศทำได้ค่อนข้างลำบาก คนจีนจำนวนมากถือสินทรัพย์ของตัวเองในรูปของเงิน Bitcoin! ว่ากันว่าคนจีนหลายคนกลายเป็นคนที่ถือเงิน Bitcoin มากที่สุดในโลก ส่วนหนึ่งเพื่อเก็งกำไรค่าเงิน และอีกส่วนหนึ่งเพื่อหลบหนีการควบคุมของทางการ และหลายคนกลายเป็นนักค้าเงินตัวยง
Bitcoin กลายมาเป็นข่าวดังในช่วงนี้เพราะความผันผวนของมูลค่าของ Bitcoin เชื่อไหมครับ Bitcoin ที่เคยมีค่าไม่ถึง 10 เซนต์ ในปี 2010 กลับพุ่งสูงขึ้นไปถึง 1,200 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และร่วงแบบไม่เกรงใจใครไปกว่าครึ่งภายในอาทิตย์เดียว เมื่อรัฐบาลจีนออกกฎสั่งห้ามสถาบันการเงินจีนเข้าไปซื้อขายเงินตราเสมือน และออกคำเตือนว่า Bitcoin ไม่มีสถานะทางกฎหมายและไม่ได้รับการยอมรับจากทางการจีนในฐานะเงินตรา
การเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วของมูลค่า Bitcoin กลายเป็นตัวอย่างที่คลาสสิกอีกอย่างของภาวะฟองสบู่ Bitcoin แทบไม่มีมูลค่าพื้นฐานใดๆ ไม่มีธนาคารกลางไหนรองรับมูลค่าพื้นฐานทางกฎหมายของ Bitcoin อย่างเงินตราทั่วไป (สังเกตธนบัตรของเงินทุกประเทศนะครับ จะมีเขียนรับรองไว้ว่าเป็น “legal tender” หรือ” เงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย”)
Bitcoin มีเพียงหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และได้รับการรับรองจากความเชื่อมั่นของคนที่ใช้ Bitcoin ทื่เชื่อมั่นในระบบ (ที่ยอมเอาเงินสดของตัวเองไปแลกกับ Bitcoin ที่ตลาดรับแลกเปลี่ยน) ว่าจำนวนของ Bitcoin จะไม่ถูกสร้างอย่างไม่จำกัด อันจะทำให้มูลค่าของมันหายไปในที่สุด
การเพิ่มขึ้นของ Bitcoin อย่างรวดเร็วจึงเป็นการเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ว่ามูลค่าของมันจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ กลายเป็นฟองสบู่เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับดอกทิวลิปในศตวรรษที่ 17 จนมีหลายคน (โดยเฉพาะชาวจีน ที่ถือทรัพย์สินของตนจำนวนมากในรูป Bitcoin คงกลายเป็นคนรวย และกลับมาจนในเวลาอันสั้นมาก) และราคาที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มีการลงทุนขนานใหญ่เพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ศักยภาพสูงมาใช้ในการขุดหา Bitcoin มีคนบอกว่า คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทั้งหมดมีความสามารถสูงกว่า supercomputer ที่เจ๋งที่สุดของรัฐบาลสหรัฐฯ กว่า 4,500 เท่า! ทั้งๆ ที่คิดดูดีๆ แล้วการคำนวณเหล่านี้ไม่ได้สร้างอะไรให้สังคมเลย นี่แหละครับ ผลที่เห็นได้ชัดเสมอจากภาวะฟองสบู่ คือการจัดสรรทรัพยากรที่บิดเบี้ยว
กราฟฟิค bricton
ในทางเศรษฐศาสตร์ สิ่งที่เรียกว่า “เงิน” หรือ money ต้องมีหน้าที่สามอย่าง คือ หนึ่ง การเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ (เช่น เราสามารถใช้ธนบัตรเพื่อแลกกับสินค้าและบริการได้) สอง คือการเป็นหน่วยในการตีมูลค่า (สามารถใช้ในการตีมูลค่า เช่น ของอย่างหนึ่งมีราคาสิบบาท) และสาม คือการรักษามูลค่าของสินทรัพย์ (เช่น เราสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เรามีให้อยู่ในรูปของเงินบาทโดยไม่ต้องห่วงมากนักว่าธนบัตรจะเสียมูลค่าไป)
ถ้ามองแบบนี้ Bitcoin ก็พอจะนับว่าเป็นเงินได้แบบไม่ผิดมากนัก แม้ว่ามูลค่าพื้นฐานของมันอาจจะฟังดูแล้วมึนๆ แม่งๆ ก็ตาม แต่มันน่าสนใจมากที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อระหว่างกันในโครงข่ายอินเทอร์เน็ตกำลังทำให้การเป็น monopoly ของธนาคารกลางในการออกธนบัตร (พิมพ์เงิน) ถูกท้าทายอย่างหนัก (แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยอมรับมากนักก็ตาม)
Bitcoin เป็นการทดลองทางเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายที่น่าสนใจไม่น้อย ในอนาคตคงมีคนคิดถึงการให้กู้ยืมและรับฝากเงินในเงินสกุล Bitcoin แน่ๆ ซึ่งจะทำให้ปริมาณเงินของ Bitcoin เพิ่มขึ้นได้มากกว่าปริมาณ Bitcoin ที่อยู่ในระบบได้ และคงควบคุมได้ยากกว่าในปัจจุบัน
ตอนนี้เข้าใจว่ามีหลายประเทศที่ให้การยอมรับ Bitcoin ในฐานะตัวกลางในการแลกเปลี่ยน (เช่น เยอรมัน) แต่หลายประเทศก็ยังไม่ยอมรับให้สถานะทางกฎหมายในฐานะเงินตราให้กับ Bitcoin และ Bitcoin ถูกใช้ไปในการค้าผิดกฎหมายเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบของรัฐ (ตอนนี้ FBI เป็นผู้ครอบครอง Bitcoin รายใหญ่ของโลก เพราะเข้าไปจับธุรกิจผิดกฎหมายหลายแห่งที่ใช้ Bitcoin)
สำหรับประเทศไทย Bitcoin ยังไม่ได้การยอมรับอย่างเป็นทางการแน่ๆ เพราะ มาตรา ๙ ของ พ.ร.บ.เงินตรา กำหนดไว้ว่า
“ห้ามมิให้ผู้ใดทํา จําหน่าย ใช้ หรือนําออกใช้ ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใดๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี”
เข้าใจว่าตอนนี้ทางการก็เริ่มมองดู Bitcoin ด้วยความเป็นห่วง จากมุมมองของการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งก็น่าคุ้มครองอยู่ เมื่อดูความผันผวนของมูลค่าของมัน
ในอนาคต ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คงมีนวัตกรรมใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น และสร้างความท้าทายให้กับระบบเดิมอีกไม่น้อย เราคงปฏิเสธความก้าวหน้าเหล่านี้ไม่ได้ และคงคิดว่าเราจะอยู่กับมันอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร รวมถึงก้าวให้ทันเทคโนโลยีและเข้าใจความเสี่ยงของมัน
Bitcoin ฟองสบู่ดิจิตอล
25 ธันวาคม 2013
พิพัฒน์ เหลืองนฤมิตชัย
เคยได้ยินชื่อ Bitcoin ไหมครับ Bitcoin คือเงินตราเสมือน (virtual currency) ในโลกดิจิตอล ที่ไม่ได้ออกโดยธนาคารกลางใดๆ แต่กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก เพราะ Bitcoin ทำให้การโอนเงิน จ่ายเงินในโลกอินเทอร์เน็ตสะดวกสบายและมีต้นทุนที่ถูกลงอย่างมาก ความนิยมของ Bitcoin เพิ่มสูงขึ้นในช่วงที่ผ่าน และทำให้ธนาคารกลางทั่วโลกเริ่มเหล่มองด้วยความเป็นห่วง ผมว่าน่าสนใจดีครับ
ทีมาภาพ : http://img4.coconuts.co/cdn/farfuture/
ทีมาภาพ : http://img4.coconuts.co/cdn/farfuture/
Bitcoin เป็น open-source peer-to-peer payment network หรือเครือข่ายการชำระเงินในโลกอินเทอร์เน็ต ที่ไม่มีใครเป็นเจ้าของ แต่ทุกคนในโลกอินเทอร์เน็ตสามารถใช้ ร่วมสนับสนุนการพัฒนาระบบ และช่วยดำเนินการได้
ถ้าใครฟังแล้วงงๆ ลองถึงการแชร์ไฟล์ในระบบ bittorrent ที่ไฟล์ถูกเก็บในเครื่องของคนที่ร่วมอยู่บนระบบ และไม่ได้ถูกเก็บในที่ใดที่หนึ่งเป็นแห่งเดียว
Bitcoin ถูกสร้างขึ้นมาโดยผู้ใช้นามแฝงว่า Satoshi Nakamoto ในปี 2009 เพื่อใช้ในการจ่ายเงินทางอินเทอร์เน็ต ทั้งการซื้อขายสินค้า และการโอนเงินระหว่างกันโดยตรง โดยไม่ต้องผ่านสถาบันการเงิน จึงมีต้นทุนต่ำกว่ามาก
Bitcoin ถูกออกแบบมาให้มีการตรวจสอบการใช้เงินผ่านการเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ และถูกบันทึกไว้โดยคอมพิวเตอร์ที่อยู่ในระบบเครือข่าย และคนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตที่ให้ยืมเครื่องคอมพิวเตอร์ของตัวเองในการประมวลผล แก้รหัสเพื่อตรวจสอบว่ารายการการใช้เงินนั้นถูกต้อง และบันทึกรายการการใช้เงิน เรียกว่า miner หรือ “นักขุด”
นักขุดที่สามารถคำนวณและถอดรหัสคณิตศาสตร์ได้คนแรก จะได้รับผลตอบแทนเป็นเงิน Bitcoin ที่ “พิมพ์” ขึ้นใหม่ และนี่เป็นวิธีเดียวที่จำนวน Bitcoin จะถูกผลิตขึ้นใหม่ Bitcoin ถูกออกแบบมาให้ปัญหาการเข้ารหัสทางคณิตศาสตร์ยากขึ้นเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป และจำนวน Bitcoin ที่ถูกสร้างขึ้น จะมีน้อยลงเรื่อยๆ เปรียบเสมือนกับการขุดหาแร่หายาก (เช่น ทองคำ) เพื่อจำกัดปริมาณของ Bitcoin ที่มีใช้หมุนเวียนกัน
คอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการถอดรหัส Bitcoin จึงต้องมีพลังสูงขึ้นเรื่อยๆ และมีการแข่งขันสูงมาก จนมีการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้ในการถอดรหัส Bitcoin โดยเฉพาะออกมาขาย เพื่อจะได้เป็นคนแรกในการถอดรหัส และมีโอกาสได้รับผลตอบแทนเป็นคนแรก (ลองดูบทความนี้ครับ)
Bitcoin จะถูกเก็บไว้ใน “wallet” หรือกระเป๋าเงินดิจิตอล ที่ค่อนข้างปลอดภัย (แต่ก็มีข่าวการถูกโจรกรรม bitcoin โดย hacker เป็นครั้งคราว) เมื่อมีการจ่ายเงิน เงินในกระเป๋าของเราจะถูกส่งไปยังกระเป๋าของผู้รับอย่างรวดเร็ว และมีการตรวจสอบจากคอมพิวเตอร์หลายเครื่องในโลก การจ่ายเงินอาจทำบนเว็บ หรือแม้กระทั่งจากโทรศัพท์มือถือ นอกจากนี้ยังมีการผลิตเหรียญ Bitcoin ที่ข้างในเป็นรหัสตัวเลขที่ผู้รับสามารถเอาไปขึ้นเงินได้
คนทั่วไปสามารถซื้อขายแลกเปลี่ยน Bitcoin เป็นเงินสกุลทั่วไปผ่านทางตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนที่มีหลายแห่งทั่วโลก (ผู้สนใจลองเข้าไปดูได้ที่ http://bitcoin.org/en/)
ข้อดีของ Bitcoin คือ ต้นทุนต่อธุรกรรมต่ำ เพราะเป็นการส่งเงินผ่านถึงกันโดยตรงโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมให้ธนาคาร และคนที่ประมวลผลธุรกรรมได้รับผลตอบแทนเป็น Bitcoin ที่ถูกสร้างขึ้น นอกจากนี้ การใช้จ่ายผ่าน Bitcoin ยังไม่ถูกตรวจสอบจากสถาบันการเงินและหน่วยงานรัฐ
ในขณะเดียวกัน ปริมาณเงินของ Bitcoin จะถูกสร้างขึ้นด้วยอัตราที่แน่ชัด และลดลงไปเรื่อยๆ เมื่อเวลาผ่านไป (ว่ากันว่าปริมาณ Bitcoin จะนิ่งๆ อยู่ที่ประมาณ 21 ล้าน Bitcoin ในปี 2030) หลายๆ คนมั่นใจว่าจะไม่เกิดปัญหาเงินเฟ้อกับ Bitcoin เหมือนกับที่เกิดกับเงินที่ออกโดยธนาคารกลาง Bitcoin จึงมีสภาพของเงินที่มีแนวโน้มจะสร้างภาวะเงินฝืด (ราคาของของในเงินสกุลนี้จะถูกลงเรื่อยๆ) คนจึงมีความต้องการที่จะถือเงินสกุลนี้มากขึ้น และมีแนวโน้มแข็งค่าขึ้นเมื่อเทียบกับเงินสกุลอื่นๆ คล้ายๆ กับภาวะของทองคำ
แม้ว่า Bitcoin ไม่ใช่เงินตราเสมือนอันเดียวในโลกอินเทอร์เน็ต แต่ดูเหมือน Bitcoin จะได้รับความนิยมมากที่สุด และได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ ในหลายปีที่ผ่านมา มีร้านค้าหลายแห่งทั้งบนโลกออนไลน์และโลกจริงรับการชำระเงินโดย Bitcoin
Bitcoin ได้รับความนิยมอย่างสูงในประเทศจีน ที่การเคลื่อนย้ายเงินเข้าออกประเทศทำได้ค่อนข้างลำบาก คนจีนจำนวนมากถือสินทรัพย์ของตัวเองในรูปของเงิน Bitcoin! ว่ากันว่าคนจีนหลายคนกลายเป็นคนที่ถือเงิน Bitcoin มากที่สุดในโลก ส่วนหนึ่งเพื่อเก็งกำไรค่าเงิน และอีกส่วนหนึ่งเพื่อหลบหนีการควบคุมของทางการ และหลายคนกลายเป็นนักค้าเงินตัวยง
Bitcoin กลายมาเป็นข่าวดังในช่วงนี้เพราะความผันผวนของมูลค่าของ Bitcoin เชื่อไหมครับ Bitcoin ที่เคยมีค่าไม่ถึง 10 เซนต์ ในปี 2010 กลับพุ่งสูงขึ้นไปถึง 1,200 เหรียญสหรัฐฯ เมื่อต้นเดือนธันวาคมที่ผ่านมา และร่วงแบบไม่เกรงใจใครไปกว่าครึ่งภายในอาทิตย์เดียว เมื่อรัฐบาลจีนออกกฎสั่งห้ามสถาบันการเงินจีนเข้าไปซื้อขายเงินตราเสมือน และออกคำเตือนว่า Bitcoin ไม่มีสถานะทางกฎหมายและไม่ได้รับการยอมรับจากทางการจีนในฐานะเงินตรา
การเพิ่มขึ้นและลดลงอย่างรวดเร็วของมูลค่า Bitcoin กลายเป็นตัวอย่างที่คลาสสิกอีกอย่างของภาวะฟองสบู่ Bitcoin แทบไม่มีมูลค่าพื้นฐานใดๆ ไม่มีธนาคารกลางไหนรองรับมูลค่าพื้นฐานทางกฎหมายของ Bitcoin อย่างเงินตราทั่วไป (สังเกตธนบัตรของเงินทุกประเทศนะครับ จะมีเขียนรับรองไว้ว่าเป็น “legal tender” หรือ” เงินชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย”)
Bitcoin มีเพียงหน้าที่เป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยน และได้รับการรับรองจากความเชื่อมั่นของคนที่ใช้ Bitcoin ทื่เชื่อมั่นในระบบ (ที่ยอมเอาเงินสดของตัวเองไปแลกกับ Bitcoin ที่ตลาดรับแลกเปลี่ยน) ว่าจำนวนของ Bitcoin จะไม่ถูกสร้างอย่างไม่จำกัด อันจะทำให้มูลค่าของมันหายไปในที่สุด
การเพิ่มขึ้นของ Bitcoin อย่างรวดเร็วจึงเป็นการเพิ่มขึ้นจากการคาดการณ์ว่ามูลค่าของมันจะเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ กลายเป็นฟองสบู่เหมือนที่เคยเกิดขึ้นกับดอกทิวลิปในศตวรรษที่ 17 จนมีหลายคน (โดยเฉพาะชาวจีน ที่ถือทรัพย์สินของตนจำนวนมากในรูป Bitcoin คงกลายเป็นคนรวย และกลับมาจนในเวลาอันสั้นมาก) และราคาที่พุ่งขึ้นอย่างรวดเร็วทำให้มีการลงทุนขนานใหญ่เพื่อซื้อคอมพิวเตอร์ศักยภาพสูงมาใช้ในการขุดหา Bitcoin มีคนบอกว่า คอมพิวเตอร์ที่ใช้ทั้งหมดมีความสามารถสูงกว่า supercomputer ที่เจ๋งที่สุดของรัฐบาลสหรัฐฯ กว่า 4,500 เท่า! ทั้งๆ ที่คิดดูดีๆ แล้วการคำนวณเหล่านี้ไม่ได้สร้างอะไรให้สังคมเลย นี่แหละครับ ผลที่เห็นได้ชัดเสมอจากภาวะฟองสบู่ คือการจัดสรรทรัพยากรที่บิดเบี้ยว
กราฟฟิค bricton
ในทางเศรษฐศาสตร์ สิ่งที่เรียกว่า “เงิน” หรือ money ต้องมีหน้าที่สามอย่าง คือ หนึ่ง การเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้าและบริการ (เช่น เราสามารถใช้ธนบัตรเพื่อแลกกับสินค้าและบริการได้) สอง คือการเป็นหน่วยในการตีมูลค่า (สามารถใช้ในการตีมูลค่า เช่น ของอย่างหนึ่งมีราคาสิบบาท) และสาม คือการรักษามูลค่าของสินทรัพย์ (เช่น เราสามารถเปลี่ยนสินทรัพย์ที่เรามีให้อยู่ในรูปของเงินบาทโดยไม่ต้องห่วงมากนักว่าธนบัตรจะเสียมูลค่าไป)
ถ้ามองแบบนี้ Bitcoin ก็พอจะนับว่าเป็นเงินได้แบบไม่ผิดมากนัก แม้ว่ามูลค่าพื้นฐานของมันอาจจะฟังดูแล้วมึนๆ แม่งๆ ก็ตาม แต่มันน่าสนใจมากที่ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการเชื่อมต่อระหว่างกันในโครงข่ายอินเทอร์เน็ตกำลังทำให้การเป็น monopoly ของธนาคารกลางในการออกธนบัตร (พิมพ์เงิน) ถูกท้าทายอย่างหนัก (แม้ว่าจะยังไม่ได้รับการยอมรับมากนักก็ตาม)
Bitcoin เป็นการทดลองทางเศรษฐศาสตร์และเทคโนโลยีเครือข่ายที่น่าสนใจไม่น้อย ในอนาคตคงมีคนคิดถึงการให้กู้ยืมและรับฝากเงินในเงินสกุล Bitcoin แน่ๆ ซึ่งจะทำให้ปริมาณเงินของ Bitcoin เพิ่มขึ้นได้มากกว่าปริมาณ Bitcoin ที่อยู่ในระบบได้ และคงควบคุมได้ยากกว่าในปัจจุบัน
ตอนนี้เข้าใจว่ามีหลายประเทศที่ให้การยอมรับ Bitcoin ในฐานะตัวกลางในการแลกเปลี่ยน (เช่น เยอรมัน) แต่หลายประเทศก็ยังไม่ยอมรับให้สถานะทางกฎหมายในฐานะเงินตราให้กับ Bitcoin และ Bitcoin ถูกใช้ไปในการค้าผิดกฎหมายเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบของรัฐ (ตอนนี้ FBI เป็นผู้ครอบครอง Bitcoin รายใหญ่ของโลก เพราะเข้าไปจับธุรกิจผิดกฎหมายหลายแห่งที่ใช้ Bitcoin)
สำหรับประเทศไทย Bitcoin ยังไม่ได้การยอมรับอย่างเป็นทางการแน่ๆ เพราะ มาตรา ๙ ของ พ.ร.บ.เงินตรา กำหนดไว้ว่า
“ห้ามมิให้ผู้ใดทํา จําหน่าย ใช้ หรือนําออกใช้ ซึ่งวัตถุหรือเครื่องหมายใดๆ แทนเงินตรา เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรี”
เข้าใจว่าตอนนี้ทางการก็เริ่มมองดู Bitcoin ด้วยความเป็นห่วง จากมุมมองของการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งก็น่าคุ้มครองอยู่ เมื่อดูความผันผวนของมูลค่าของมัน
ในอนาคต ด้วยความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี คงมีนวัตกรรมใหม่ๆ ทางเศรษฐกิจเกิดขึ้น และสร้างความท้าทายให้กับระบบเดิมอีกไม่น้อย เราคงปฏิเสธความก้าวหน้าเหล่านี้ไม่ได้ และคงคิดว่าเราจะอยู่กับมันอย่างสร้างสรรค์ได้อย่างไร รวมถึงก้าวให้ทันเทคโนโลยีและเข้าใจความเสี่ยงของมัน
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 33
mt gox ล่ม
flexcoin โดนแฮ็ก ล้มละลาย
วิกฤตรูปแบบใหม่ technical crash
หมดตัวกันเยอะ
http://business.financialpost.com/2014/ ... ling-ways/
http://siliconangle.com/blog/2014/03/05 ... ets-rtbtc/
flexcoin โดนแฮ็ก ล้มละลาย
วิกฤตรูปแบบใหม่ technical crash
หมดตัวกันเยอะ
http://business.financialpost.com/2014/ ... ling-ways/
http://siliconangle.com/blog/2014/03/05 ... ets-rtbtc/
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
-
- Verified User
- โพสต์: 2141
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 34
http://www.dailymail.co.uk/news/article ... ge-28.html
ไม่เกี่ยวกับ value ของ bitcoin (ยังไม่รู้) แต่ขอแปะแชร์ไว้ครับ
ไม่เกี่ยวกับ value ของ bitcoin (ยังไม่รู้) แต่ขอแปะแชร์ไว้ครับ
M aterial catalyst
A ttitude & Perception
D isclipine
A ttitude & Perception
D isclipine
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2748
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 35
พึ่งสังเกตเห็น ในกรณีของเยอรมันนั้น Bitcoin ไม่ได้รับการยอมรับว่าเป็นสกุลเงินหรือเป็นตัวกลางการแลกเปลี่ยน แต่นับเป็นทรัพย์สิน (Assets) ที่จะต้องเสียภาษีหากมีการซื้อขายครับ เข้าใจว่าหลายๆประเทศในยุโรปก็มีคำตัดสินคล้ายๆกันleaderinshadow เขียน:ตอนนี้เข้าใจว่ามีหลายประเทศที่ให้การยอมรับ Bitcoin ในฐานะตัวกลางในการแลกเปลี่ยน (เช่น เยอรมัน) แต่หลายประเทศก็ยังไม่ยอมรับให้สถานะทางกฎหมายในฐานะเงินตราให้กับ Bitcoin และ Bitcoin ถูกใช้ไปในการค้าผิดกฎหมายเพื่อหลบหลีกการตรวจสอบของรัฐ (ตอนนี้ FBI เป็นผู้ครอบครอง Bitcoin รายใหญ่ของโลก เพราะเข้าไปจับธุรกิจผิดกฎหมายหลายแห่งที่ใช้ Bitcoin)
(คือเค้าไม่รับรอง แต่จะเอาภาษี)
Vi IMrovised
- JobJakraphan
- Verified User
- โพสต์: 749
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 36
“ธปท.” เตือนประชาชนห้ามใช้ “บิทคอยน์” ซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะไม่ถือเป็นเงินที่ชาระหนี้ได้ตามกฎหมาย
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มีนาคม 2557 12:39 น.
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 18 มีนาคม 2557 12:39 น.
“ธปท.” เตือนประชาชนห้ามใช้ “เงินบิทคอยน์” ซื้อขายแลกเปลี่ยน เพราะไม่ถือเป็นเงินที่ชาระหนี้ได้ตามกฎหมาย และไม่มีมูลค่าในตัวเอง มูลค่าของหน่วยข้อมูลดังกล่าวแปรผันไปตามความต้องการของกลุ่มคนที่ซื้อขาย หน่วยข้อมูล มูลค่าจึงเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าได้เมื่อไม่มีผู้ใดต้องการแล้ว พร้อมยกตัวอย่าง ตลาดกลางแลกเปลี่ยน Bitcoin ขนาดใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือน ก.พ.57 ปิดตัวลง โดยอ้างสาเหตุจากการถูกลักลอบโจรกรรมหน่วยข้อมูล ทำให้ต้องยื่นล้มละลายในที่สุด
ฝ่ายนโยบายระบบการชำระเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า ด้วยปัจจุบันมีการกล่าวถึงอย่างแพร่หลายเกี่ยวกับการใช้หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อในการแลกเปลี่ยนซื้อขายสินค้า และบริการโดยเฉพาะการซื้อขายผ่านทางอินเทอร์เน็ต รวมทั้งมีการโอนให้กันได้ โดยมีชื่อเรียกกันว่า Bitcoin รวมถึงหน่วยข้อมูลที่มีลักษณะใกล้เคียงกัน แต่มีชื่อเรียกอื่นๆ เช่น Litecoin, Peercoin, Namecoin เป็นต้น ธปท.จึงขอให้ข้อมูลเกี่ยวกับหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ดังนี้
1.Bitcoin และหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ลักษณะใกล้เคียงกัน เกิดจากกลไกทางคอมพิวเตอร์ที่ถูกกำหนดไว้โดยคนกลุ่มหนึ่งที่มุ่งหวังจะใช้หน่วยข้อมูลดังกล่าวเป็นสื่อกลางการแลกเปลี่ยน โดยหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่เกิดจากกลไกดังกล่าวจะถูกจัดเก็บเอาไว้ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ แล็บท็อป หรือสมาร์ทโฟนของผู้ใช้ และสามารถโอนให้กันได้ และต่อมาเริ่มมีการนามาใช้แลกเปลี่ยนกับสินค้าในลักษณะที่อาจทำให้เข้าใจว่าใช้หน่วยข้อมูลดังกล่าวซื้อขายสินค้าได้ รวมถึงมีการนำมาแลกเปลี่ยนกับเงินตราสกุลต่างๆ โดยมีการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนกันเองในกลุ่มคนที่มีระบบทางคอมพิวเตอร์รองรับการจัดเก็บ และโอนหน่วยข้อมูลดังกล่าว
“ดังนั้น Bitcoin และหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไม่ถือเป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย และไม่มีมูลค่าในตัวเอง มูลค่าของหน่วยข้อมูลดังกล่าวแปรผันไปตามความต้องการของกลุ่มคนที่ซื้อขายหน่วยข้อมูล มูลค่าจึงเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว และกลายเป็นสิ่งที่ไม่มีค่าได้เมื่อไม่มีผู้ใดต้องการแล้ว”
2.สำหรับความเสี่ยงในการถือครอง Bitcoin และหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่ลักษณะใกล้เคียง คือ จากลักษณะของหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ที่มูลค่าสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เริ่มมีการถือเพื่อเก็งกำไร และมีธุรกิจที่เปิดให้บริการเป็นตลาดกลางให้ประชาชนสามารถเสนอราคาเพื่อซื้อขายหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์โดยแลกเปลี่ยนกับเงินจริง รวมถึงเริ่มมีร้านค้ารับชำระค่าสินค้า และบริการด้วยหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ซึ่งส่งผลให้เห็นว่า มีการใช้หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวมากขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ผ่านมามีข่าวต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงความเสียหายที่เกิดจากการถือครองหรือใช้หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น การปิดตัวลงของบริษัทที่เป็นตลาดกลางแลกเปลี่ยน Bitcoin ขนาดใหญ่ที่ประเทศญี่ปุ่น เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2557 โดยอ้างสาเหตุจากการถูกลักลอบโจรกรรมหน่วยข้อมูล ทำให้บริษัทต้องยื่นล้มละลายในที่สุด และมูลค่า หรือราคาของ Bitcoin ได้ลดลงอย่างมากภายในระยะเวลาอันรวดเร็ว ส่งผลให้ประชาชนที่ทำธุรกรรมแลกเปลี่ยนกับบริษัทดังกล่าว และผู้ถือครอง Bitcoin ต้องสูญเสียเงินเป็นจำนวนมาก และธนาคารกลางในหลายประเทศได้เริ่มมีการแจ้งเตือนประชาชนเกี่ยวกับความเสี่ยงในการใช้หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์เหล่านี้แล้ว
ดังนั้น ธปท.จึง ขอแนะนำให้ประชาชนทั่วไประมัดระวัง ศึกษาข้อมูล และทำความเข้าใจอย่างถ่องแท้เกี่ยวกับการถือครอง หรือใช้หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว เนื่องจาก
1.หน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์นี้ไม่ถือเป็นเงินที่ใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายไทย การใช้หน่วยข้อมูลดังกล่าวในการชำระค่าสินค้า หรือบริการจึงอาจถูกปฏิเสธจากร้านค้าได้
2.มีความเสี่ยงจากการที่มูลค่าหน่วยข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ผันแปรอย่างรวดเร็วเนื่องจากมูลค่าของหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์เกิดจากความต้องการแลกเปลี่ยนในกลุ่มของผู้ใช้ด้วยกัน มูลค่าจึงมีความผันผวนสูง และไม่สัมพันธ์กับสภาพเศรษฐกิจจริง ผู้ถือครองหน่วยข้อมูลจึงมีความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินจากการที่มูลค่าของหน่วยข้อมูลลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว และหากร้านค้าใดรับหน่วยข้อมูลดังกล่าวเพื่อแลกเปลี่ยนกับสินค้า และบริการของตน ก็อาจมีความเสี่ยงที่หน่วยข้อมูลที่ได้รับมา และถือไว้นั้นอาจมีมูลค่า หรือราคาลดต่าลงได้ตลอดเวลาอย่างรวดเร็วจากมูลค่า หรือราคาเดิม ณ ขณะที่ตนได้รับมา
3.มีความเสี่ยงจากการถูกขโมยข้อมูล เนื่องจากหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวจะต้องจัดเก็บไว้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์เท่านั้น จึงมีความเสี่ยงที่ผู้ถือครองอาจสูญเสียหน่วยข้อมูลดังกล่าวได้จากการถูกลักลอบโจรกรรมข้อมูล
4.มีความเสี่ยงที่ผู้ใช้ไม่ได้รับการคุ้มครอง เนื่องจากหน่วยข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวไม่ได้เป็นสื่อการชาระเงินตามกฎหมาย ดังนั้น หากมีการใช้เป็นช่องทางในการหลอกลวง หรือฉ้อโกง หรือกรณีที่เกิดปัญหาในการใช้งาน เช่น การโอนไปยังผู้รับผิดคน หรือผิดจำนวน หรือโอนไปยังร้านค้าแล้วแต่ไม่ได้รับสินค้า การติดตามข้อมูลการโอนเพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานอาจทำได้ยากหากต้องฟ้องร้องดาเนินคดี ซึ่งต่างจากการโอนเงินผ่านธนาคารพาณิชย์ หรือผู้ให้บริการชำระเงินภายใต้การกำกับดูแลของทางการที่มีระบบติดตามได้
-
- Verified User
- โพสต์: 17
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 37
ระบบblockchain ของ Bitcoins เป็นระบบที่ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอดีตได้
run โดยไม่มีศูนย์กลาง ทุกคนเป็นเจ้าของธนาคารของตัวเอง
Bitcoins มีความเป็น VI สุดสุดถึงที่สุดไม่มีอะไรเสมอเหมือน
run โดยไม่มีศูนย์กลาง ทุกคนเป็นเจ้าของธนาคารของตัวเอง
Bitcoins มีความเป็น VI สุดสุดถึงที่สุดไม่มีอะไรเสมอเหมือน
I Love " thaivi.org"
ขอบคุณสำหรับทุกทุกข้อมูลนะคะ
ขอบคุณสำหรับทุกทุกข้อมูลนะคะ
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 39
by ดร.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร
ข่าวคราวเกี่ยวกับ “การลงทุนใน Bitcoin” กำลังร้อนแรงมากในช่วงนี้ทั้ง ๆ ที่ไม่นานมานี้ Bitcoin หรือ “เงินดิจิตอล” ยังเป็นเรื่องที่คนไทยแทบไม่รู้จัก คนจำนวนมากยังคิดว่านี่คือ “เงินเก๊” ที่มีแก๊งต้มตุ๋นเอามาหลอกขายให้กับคนที่โลภมากอยากรวยเร็ว คล้าย ๆ กับพวกแชร์ลูกโซ่ เหตุผลก็เพราะว่าค่าของ “บิทคอยน์” มีการปรับตัวขึ้นหวือหวามาก ย้อนหลังไปไม่เกิน 10 ปี เงินดิจิตอลสกุลที่เรียกว่าบิทคอยน์ซึ่งน่าจะเป็น “เงินดิจิตอลสกุลแรก” ที่ถูกก่อกำเนิดขึ้นโดยคนที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ยังมีค่าน้อยมากและแทบไม่มีคนใช้ มีเรื่องเล่ากันว่าในปี 2010 นาย Hanyecz ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ชาวฟลอริดาได้เอาเงินจำนวน 10,000 บิทคอยน์ที่ตัวเอง “ขุดได้” ไปซื้อพิสซ่า 2 ถาด ถ้าคิดคร่าว ๆ ราคา 2 ถาดเท่ากับ 1,000 บาท ก็เท่ากับว่าคนรับบิทคอยน์ตีราคา 1 บิทคอยน์เท่ากับ 0.1 บาท แต่ราคาบิทคอยน์ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2560 นั้นเคยมีการซื้อขายสูงถึงเกือบ 100,000 บาท เงิน 10,000 บิทคอยน์มีค่าเท่ากับ 1,000 ล้านบาท ก็หมายความว่า นาย Hanyecz ได้สร้างตำนาน “ซื้อพิสซ่าถาดละ 500 ล้านบาท”
ดัชนีราคาบิทคอยน์ที่มีการบันทึกตั้งแต่ประมาณ 7 ปีที่แล้วคือประมาณ เดือนกรกฎาคม 2010 นั้น เริ่มที่ประมาณ 0.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 บิทคอยน์ หลังจากนั้นมันก็ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและกระโดดขึ้นเป็นช่วง ๆ ภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี ราคาก็ขึ้นเป็นหลัก 100 เหรียญ หรือเป็นเงิน “ร้อยเด้ง” และในช่วงประมาณ 2-3 เดือนก่อนที่จะจบปี 2013 ราคาบิทคอยน์ก็ขึ้นมาถึงเกือบ 1,000 เหรียญ หรือขึ้นมาอีกเกือบ 10 เด้งในเวลาเพียง 2 เดือน เท่ากับว่าราคาบิทคอยน์นั้นขึ้นมาประมาณไม่น้อยกว่า “พันเด้ง” ในเวลา 3 ปีเศษ ๆ และน่าจะต้องถือว่าเป็นการขึ้นของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่น่าทึ่งที่สุดในโลกครั้งหนึ่งก็ว่าได้ หลังจากนั้น อาจจะเพราะว่ามันขึ้นมาแรงมากเกินไปและคนอาจจะคิดว่ามันถูก “ปั่น” ขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลคล้าย ๆ กับ “Tulip Mania” หรือการปั่นราคาหัวทิวลิปในเนเธอร์แลนด์สมัยหลายร้อยปีก่อนที่ทำให้ดอกทิวลิปที่ “ไม่มีค่าหรือประโยชน์ใช้สอย” มีราคาเท่ากับบ้านทั้งหลัง ดังนั้น ราคาบิทคอยน์จึงค่อย ๆ ตกลงมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจนเหลือประมาณ 200 เหรียญเศษ ๆ คนที่ซื้อที่ “ดอย” ขาดทุนไปเกือบ 80% ในเวลาประมาณปีครึ่ง
แต่ดูเหมือนว่าบิทคอยน์นั้นไม่ใช่ทิวลิป เพราะคนเริ่มเห็นประโยชน์ของมันในแง่ที่ว่ามันเป็นเงินจริง ๆ และเป็น “เงินแห่งอนาคต” เพราะมันถูกออกแบบมาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่มีข้อดีหลาย ๆ อย่างที่ “เงินกระดาษ” สู้ไม่ได้ มันคล้าย ๆ กับเทคโนโลยีอิเล็คโทรนิกส์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่ในที่สุดกำลังทำลายเทคโนโลยีกระดาษอย่างหนังสือหรือสิ่งอื่นที่จับต้องได้ ดังนั้นคนก็เริ่มที่จะใช้เงินบิทคอยน์มากขึ้น ราคาบิทคอยน์ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถึงต้นปี 2017 ราคาบิทคอยน์ปรับตัวทะลุจุดสูงสุดเดิม ราคาปิดที่ประมาณ 1,000 เหรียญสหรัฐต่อ 1 บิทคอยน์ และหลังจากนั้น ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวขึ้นแบบ “ม้วนเดียว” ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนมีราคาสูงสุดถึง 2,850 เหรียญในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2017 คนที่ถือบิทคอยน์ไว้ตั้งแต่ราคาบิทคอยน์เท่ากับ 0.06 เหรียญเมื่อ 7 ปีก่อนจะได้กำไรเกือบ 50,000 เท่า แน่นอน มีน้อยคนที่ไม่ขายในช่วงที่ผ่านมา แต่คนที่ถือในราคา 1 เหรียญก็น่าจะกลายเป็นมหาเศรษฐีได้ถ้าซื้อไว้พอสมควรและถือยาวมาจนถึงวันนี้
นาทีนี้ถ้าจะถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับบิทคอยน์ก็คงต้องตอบว่ามันคงเป็น “ฟองสบู่” ถ้าจะเรียกแบบเท่ ๆ ก็คงต้องเรียกว่า “Bubble Coin” มันน่าจะ “แตก” ได้ตลอดเวลา เพราะตัวของมันเองนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่กิจการที่จะก่อให้เกิดรายได้และกำไรมหาศาลแบบหุ้นกูเกิล เฟซบุค หรืออะเมซอน ว่าที่จริงมันเป็นแค่ “นามธรรม” หรือ “ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์” ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนสามารถอ้างอิงและนำไปใช้เป็น “เงิน” นั่นก็คือ เอาไว้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เอาไว้เป็นเครื่องมือในการเก็บรักษาความมั่งคั่งหรืออำนาจในการซื้อในอนาคต หรือเอาไว้ใช้ในการเก็งกำไร ซึ่งทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับว่าคนจะใช้มันไหม ถ้าไม่ใช้ มันก็ไม่มีประโยชน์ เหนือสิ่งอื่นใด บิทคอยน์ก็ไม่ได้เป็นเงินดิจิตอลเพียงตัวเดียว ขณะนี้มีเงินดิจิตอลน่าจะไม่ต่ำกว่า 10 สกุลและหนึ่งในนั้นก็คือ Ethereum ที่ก้าวขึ้นมาแข่งด้วยระบบที่อาจจะดีกว่าก็ได้ ความไม่แน่นอนของการแข่งขันและเหตุการณ์ไม่แน่นอนของเงินดิจิตอลเองที่ไม่มีรัฐบาลของประเทศไหนเป็นเจ้าของทำให้ราคาของบิทคอยน์ผันผวนอย่างหนัก ในบางครั้งคนก็ไม่แน่ใจว่าถึงวันหนึ่งเมื่อระบบ “ล่มสลาย” เราจะไปเอาเงินจากใคร? ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าวว่าบิทคอยน์ “ถูกแฮ็ค” ทำให้ราคาร่วงมาอย่างหนักก่อนจะดีขึ้นเมื่อพบว่าโบรกเกอร์ที่ค้าขายบิทคอยน์ต่างหากที่โดนแฮ็ค บิทคอยน์ยังปลอดภัย เป็นต้น
ไม่ว่าราคาบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรในอนาคตผมก็คิดว่ามันคงจะต้องอยู่กับเราต่อไป ที่จริงถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ “เงินดิจิตอล” จะต้องอยู่กับเราต่อไปเรื่อย ๆ เราคงไม่เลิกเงินกระดาษที่รัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นผู้ “รับรองหรือรับประกัน” ว่ามันเป็นสิ่งที่ “ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” เป็นไปได้ว่าเงินดิจิตอลก็จะเป็นเงินที่ “รับรองและรับประกันโดยเทคโนโลยี” ที่สามารถ “ชำระหนี้ได้ตามกฎของสังคมโลก” ที่เป็นเอกชน เป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเงินดิจิตอลที่ “ไม่มีกำแพงของรัฐ” มาขวางกั้น สามารถใช้ได้ทุกที่และอาจจะมีชัยเหนือรัฐเช่นเดียวกับกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่เดิมรัฐเป็นผู้ผูกขาดการทำ นี่อาจจะเป็นเวลาที่ “การปฏิวัติของเงินตราเริ่มขึ้นแล้ว” และมันจะดำเนินต่อไปโดยที่ไม่มีใครขวางได้ เหมือนกับสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในแวดวงของไอทีและดิจิตอลที่กำลังปฏิวัติการดำเนินการแบบเก่า ๆ
ในฐานะของนักลงทุนแนว VI รุ่นที่เกิดในยุคอานาล็อกไม่มีทั้งคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอื่น ๆ อีกมากนั้น ผมก็ได้แต่ทึ่งกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่น่าเชื่อ บ่อยครั้งผมก็ไม่สามารถใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับมันได้ทุกเรื่อง ผมเรียนรู้แนวคิดในภาพใหญ่ของมันและก็พยายามดูเทรนด์หรือแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่อง “โกหก” ผมคิดว่ามันเป็น “เรื่องจริง” ผมคิดว่าสิ่งเก่า ๆ ในที่สุดก็จะต้องค่อย ๆ หดตัวลง แม้ว่าจะไม่หมดไปแต่อนาคตที่สดใสไม่มีแล้ว ส่วนตัวผมเองนั้น ผมไม่ได้กระตือรือร้นที่จะต้องใช้มันแต่ก็ไม่ปฏิเสธยกเว้นแต่ว่าความเสี่ยงจะสูงเกินไป ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินนั้นผมคิดว่ามีความเสี่ยงสูง ดังนั้น บ่อยครั้งผมก็ไม่อยากใช้ถ้าไม่จำเป็น เหนือสิ่งอื่นใด ผมไม่ค่อยเข้าใจหรือมีความสามารถในการใช้เพียงพอ
ในส่วนของการลงทุนเองนั้น ผมไม่มีความสามารถพอที่จะวิเคราะห์ “ปัจจัยของการเก็งกำไร” ในเรื่องของค่าเงินไม่ว่าจะเป็นเงินแบบกระดาษหรือเงินดิจิตอล ดังนั้น ผมหลีกเลี่ยงที่จะลงทุน ผมชอบลงทุนในสิ่งที่ผมรู้ดี กรณีของบิทคอยน์หรือเงินดิจิตอลอื่น ๆ นั้น ผมไม่สามารถจะบอกได้เลยว่ามันควรมีค่าเท่าไร ผมคิดว่ามันคงแพงเป็นฟองสบู่แต่มันก็อาจจะไม่จริง เพราะถึงแม้ราคาจะขึ้นมามโหฬารแต่มูลค่าตลาดของเงินบิทคอยน์ทั้งหมดก็มีเพียงประมาณ 45,000 ล้านเหรียญ หรือ 1.5 ล้านล้านบาท ไม่ได้ใหญ่มากเมื่อเทียบกับว่ามันอาจจะกลายเป็นเงินที่ยิ่งใหญ่สกุลหนึ่งของโลกในอนาคต อย่างไรก็ตาม มันก็อาจจะมีมูลค่าลดลงได้มากถ้าทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปในด้านที่เลวร้ายลงอย่างที่เราคาดไม่ถึง
ประเด็นสุดท้ายก็คือ ผมจะไม่ลงทุนอะไรเลยที่กำลังร้อนแรงและราคาขึ้นไปสูงมากในระยะเวลาอันสั้น เพราะโอกาสที่จะกำไรเร็ว ๆ และมากนั้นจะน้อยลง ในขณะที่โอกาสจะขาดทุนหนักในระยะเวลาอันสั้นนั้นมักจะสูงกว่า การลงทุนในสถานการณ์แบบนี้สำหรับ VI แล้วต้องถือว่า “ผิดศีล” อย่างแรง
ข่าวคราวเกี่ยวกับ “การลงทุนใน Bitcoin” กำลังร้อนแรงมากในช่วงนี้ทั้ง ๆ ที่ไม่นานมานี้ Bitcoin หรือ “เงินดิจิตอล” ยังเป็นเรื่องที่คนไทยแทบไม่รู้จัก คนจำนวนมากยังคิดว่านี่คือ “เงินเก๊” ที่มีแก๊งต้มตุ๋นเอามาหลอกขายให้กับคนที่โลภมากอยากรวยเร็ว คล้าย ๆ กับพวกแชร์ลูกโซ่ เหตุผลก็เพราะว่าค่าของ “บิทคอยน์” มีการปรับตัวขึ้นหวือหวามาก ย้อนหลังไปไม่เกิน 10 ปี เงินดิจิตอลสกุลที่เรียกว่าบิทคอยน์ซึ่งน่าจะเป็น “เงินดิจิตอลสกุลแรก” ที่ถูกก่อกำเนิดขึ้นโดยคนที่ใช้ชื่อว่า Satoshi Nakamoto ยังมีค่าน้อยมากและแทบไม่มีคนใช้ มีเรื่องเล่ากันว่าในปี 2010 นาย Hanyecz ซึ่งเป็นโปรแกรมเมอร์ชาวฟลอริดาได้เอาเงินจำนวน 10,000 บิทคอยน์ที่ตัวเอง “ขุดได้” ไปซื้อพิสซ่า 2 ถาด ถ้าคิดคร่าว ๆ ราคา 2 ถาดเท่ากับ 1,000 บาท ก็เท่ากับว่าคนรับบิทคอยน์ตีราคา 1 บิทคอยน์เท่ากับ 0.1 บาท แต่ราคาบิทคอยน์ในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2560 นั้นเคยมีการซื้อขายสูงถึงเกือบ 100,000 บาท เงิน 10,000 บิทคอยน์มีค่าเท่ากับ 1,000 ล้านบาท ก็หมายความว่า นาย Hanyecz ได้สร้างตำนาน “ซื้อพิสซ่าถาดละ 500 ล้านบาท”
ดัชนีราคาบิทคอยน์ที่มีการบันทึกตั้งแต่ประมาณ 7 ปีที่แล้วคือประมาณ เดือนกรกฎาคม 2010 นั้น เริ่มที่ประมาณ 0.06 ดอลลาร์สหรัฐต่อ 1 บิทคอยน์ หลังจากนั้นมันก็ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วและกระโดดขึ้นเป็นช่วง ๆ ภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี ราคาก็ขึ้นเป็นหลัก 100 เหรียญ หรือเป็นเงิน “ร้อยเด้ง” และในช่วงประมาณ 2-3 เดือนก่อนที่จะจบปี 2013 ราคาบิทคอยน์ก็ขึ้นมาถึงเกือบ 1,000 เหรียญ หรือขึ้นมาอีกเกือบ 10 เด้งในเวลาเพียง 2 เดือน เท่ากับว่าราคาบิทคอยน์นั้นขึ้นมาประมาณไม่น้อยกว่า “พันเด้ง” ในเวลา 3 ปีเศษ ๆ และน่าจะต้องถือว่าเป็นการขึ้นของการลงทุนในหลักทรัพย์ที่น่าทึ่งที่สุดในโลกครั้งหนึ่งก็ว่าได้ หลังจากนั้น อาจจะเพราะว่ามันขึ้นมาแรงมากเกินไปและคนอาจจะคิดว่ามันถูก “ปั่น” ขึ้นมาอย่างไม่มีเหตุผลคล้าย ๆ กับ “Tulip Mania” หรือการปั่นราคาหัวทิวลิปในเนเธอร์แลนด์สมัยหลายร้อยปีก่อนที่ทำให้ดอกทิวลิปที่ “ไม่มีค่าหรือประโยชน์ใช้สอย” มีราคาเท่ากับบ้านทั้งหลัง ดังนั้น ราคาบิทคอยน์จึงค่อย ๆ ตกลงมาเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจนเหลือประมาณ 200 เหรียญเศษ ๆ คนที่ซื้อที่ “ดอย” ขาดทุนไปเกือบ 80% ในเวลาประมาณปีครึ่ง
แต่ดูเหมือนว่าบิทคอยน์นั้นไม่ใช่ทิวลิป เพราะคนเริ่มเห็นประโยชน์ของมันในแง่ที่ว่ามันเป็นเงินจริง ๆ และเป็น “เงินแห่งอนาคต” เพราะมันถูกออกแบบมาด้วยเทคโนโลยีดิจิตอลที่มีข้อดีหลาย ๆ อย่างที่ “เงินกระดาษ” สู้ไม่ได้ มันคล้าย ๆ กับเทคโนโลยีอิเล็คโทรนิกส์คอมพิวเตอร์และอินเตอร์เน็ตที่ในที่สุดกำลังทำลายเทคโนโลยีกระดาษอย่างหนังสือหรือสิ่งอื่นที่จับต้องได้ ดังนั้นคนก็เริ่มที่จะใช้เงินบิทคอยน์มากขึ้น ราคาบิทคอยน์ค่อย ๆ ปรับตัวขึ้นอีกครั้งหนึ่ง ถึงต้นปี 2017 ราคาบิทคอยน์ปรับตัวทะลุจุดสูงสุดเดิม ราคาปิดที่ประมาณ 1,000 เหรียญสหรัฐต่อ 1 บิทคอยน์ และหลังจากนั้น ในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมา ราคาบิทคอยน์ก็ปรับตัวขึ้นแบบ “ม้วนเดียว” ขึ้นมาอย่างต่อเนื่องจนมีราคาสูงสุดถึง 2,850 เหรียญในช่วงต้นเดือนมิถุนายน 2017 คนที่ถือบิทคอยน์ไว้ตั้งแต่ราคาบิทคอยน์เท่ากับ 0.06 เหรียญเมื่อ 7 ปีก่อนจะได้กำไรเกือบ 50,000 เท่า แน่นอน มีน้อยคนที่ไม่ขายในช่วงที่ผ่านมา แต่คนที่ถือในราคา 1 เหรียญก็น่าจะกลายเป็นมหาเศรษฐีได้ถ้าซื้อไว้พอสมควรและถือยาวมาจนถึงวันนี้
นาทีนี้ถ้าจะถามว่าเกิดอะไรขึ้นกับบิทคอยน์ก็คงต้องตอบว่ามันคงเป็น “ฟองสบู่” ถ้าจะเรียกแบบเท่ ๆ ก็คงต้องเรียกว่า “Bubble Coin” มันน่าจะ “แตก” ได้ตลอดเวลา เพราะตัวของมันเองนั้นจริง ๆ แล้วไม่ใช่กิจการที่จะก่อให้เกิดรายได้และกำไรมหาศาลแบบหุ้นกูเกิล เฟซบุค หรืออะเมซอน ว่าที่จริงมันเป็นแค่ “นามธรรม” หรือ “ซอฟแวร์คอมพิวเตอร์” ที่ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้คนสามารถอ้างอิงและนำไปใช้เป็น “เงิน” นั่นก็คือ เอาไว้เป็นเครื่องมือในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการ เอาไว้เป็นเครื่องมือในการเก็บรักษาความมั่งคั่งหรืออำนาจในการซื้อในอนาคต หรือเอาไว้ใช้ในการเก็งกำไร ซึ่งทั้งหมดนั้นขึ้นอยู่กับว่าคนจะใช้มันไหม ถ้าไม่ใช้ มันก็ไม่มีประโยชน์ เหนือสิ่งอื่นใด บิทคอยน์ก็ไม่ได้เป็นเงินดิจิตอลเพียงตัวเดียว ขณะนี้มีเงินดิจิตอลน่าจะไม่ต่ำกว่า 10 สกุลและหนึ่งในนั้นก็คือ Ethereum ที่ก้าวขึ้นมาแข่งด้วยระบบที่อาจจะดีกว่าก็ได้ ความไม่แน่นอนของการแข่งขันและเหตุการณ์ไม่แน่นอนของเงินดิจิตอลเองที่ไม่มีรัฐบาลของประเทศไหนเป็นเจ้าของทำให้ราคาของบิทคอยน์ผันผวนอย่างหนัก ในบางครั้งคนก็ไม่แน่ใจว่าถึงวันหนึ่งเมื่อระบบ “ล่มสลาย” เราจะไปเอาเงินจากใคร? ตัวอย่างเช่น เมื่อเร็ว ๆ นี้ก็มีข่าวว่าบิทคอยน์ “ถูกแฮ็ค” ทำให้ราคาร่วงมาอย่างหนักก่อนจะดีขึ้นเมื่อพบว่าโบรกเกอร์ที่ค้าขายบิทคอยน์ต่างหากที่โดนแฮ็ค บิทคอยน์ยังปลอดภัย เป็นต้น
ไม่ว่าราคาบิทคอยน์จะเป็นอย่างไรในอนาคตผมก็คิดว่ามันคงจะต้องอยู่กับเราต่อไป ที่จริงถ้าจะพูดให้ถูกต้องก็คือ “เงินดิจิตอล” จะต้องอยู่กับเราต่อไปเรื่อย ๆ เราคงไม่เลิกเงินกระดาษที่รัฐบาลของแต่ละประเทศเป็นผู้ “รับรองหรือรับประกัน” ว่ามันเป็นสิ่งที่ “ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย” เป็นไปได้ว่าเงินดิจิตอลก็จะเป็นเงินที่ “รับรองและรับประกันโดยเทคโนโลยี” ที่สามารถ “ชำระหนี้ได้ตามกฎของสังคมโลก” ที่เป็นเอกชน เป็นไปได้ว่าวันหนึ่งเงินดิจิตอลที่ “ไม่มีกำแพงของรัฐ” มาขวางกั้น สามารถใช้ได้ทุกที่และอาจจะมีชัยเหนือรัฐเช่นเดียวกับกิจกรรมหลาย ๆ อย่างที่เดิมรัฐเป็นผู้ผูกขาดการทำ นี่อาจจะเป็นเวลาที่ “การปฏิวัติของเงินตราเริ่มขึ้นแล้ว” และมันจะดำเนินต่อไปโดยที่ไม่มีใครขวางได้ เหมือนกับสิ่งต่าง ๆ ที่กำลังเกิดขึ้นในแวดวงของไอทีและดิจิตอลที่กำลังปฏิวัติการดำเนินการแบบเก่า ๆ
ในฐานะของนักลงทุนแนว VI รุ่นที่เกิดในยุคอานาล็อกไม่มีทั้งคอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต และอื่น ๆ อีกมากนั้น ผมก็ได้แต่ทึ่งกับการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนไม่น่าเชื่อ บ่อยครั้งผมก็ไม่สามารถใช้มันได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม ผมยอมรับมันได้ทุกเรื่อง ผมเรียนรู้แนวคิดในภาพใหญ่ของมันและก็พยายามดูเทรนด์หรือแนวโน้มว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ผมไม่คิดว่ามันเป็นเรื่อง “โกหก” ผมคิดว่ามันเป็น “เรื่องจริง” ผมคิดว่าสิ่งเก่า ๆ ในที่สุดก็จะต้องค่อย ๆ หดตัวลง แม้ว่าจะไม่หมดไปแต่อนาคตที่สดใสไม่มีแล้ว ส่วนตัวผมเองนั้น ผมไม่ได้กระตือรือร้นที่จะต้องใช้มันแต่ก็ไม่ปฏิเสธยกเว้นแต่ว่าความเสี่ยงจะสูงเกินไป ธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเงินนั้นผมคิดว่ามีความเสี่ยงสูง ดังนั้น บ่อยครั้งผมก็ไม่อยากใช้ถ้าไม่จำเป็น เหนือสิ่งอื่นใด ผมไม่ค่อยเข้าใจหรือมีความสามารถในการใช้เพียงพอ
ในส่วนของการลงทุนเองนั้น ผมไม่มีความสามารถพอที่จะวิเคราะห์ “ปัจจัยของการเก็งกำไร” ในเรื่องของค่าเงินไม่ว่าจะเป็นเงินแบบกระดาษหรือเงินดิจิตอล ดังนั้น ผมหลีกเลี่ยงที่จะลงทุน ผมชอบลงทุนในสิ่งที่ผมรู้ดี กรณีของบิทคอยน์หรือเงินดิจิตอลอื่น ๆ นั้น ผมไม่สามารถจะบอกได้เลยว่ามันควรมีค่าเท่าไร ผมคิดว่ามันคงแพงเป็นฟองสบู่แต่มันก็อาจจะไม่จริง เพราะถึงแม้ราคาจะขึ้นมามโหฬารแต่มูลค่าตลาดของเงินบิทคอยน์ทั้งหมดก็มีเพียงประมาณ 45,000 ล้านเหรียญ หรือ 1.5 ล้านล้านบาท ไม่ได้ใหญ่มากเมื่อเทียบกับว่ามันอาจจะกลายเป็นเงินที่ยิ่งใหญ่สกุลหนึ่งของโลกในอนาคต อย่างไรก็ตาม มันก็อาจจะมีมูลค่าลดลงได้มากถ้าทุกอย่างมันเปลี่ยนแปลงไปในด้านที่เลวร้ายลงอย่างที่เราคาดไม่ถึง
ประเด็นสุดท้ายก็คือ ผมจะไม่ลงทุนอะไรเลยที่กำลังร้อนแรงและราคาขึ้นไปสูงมากในระยะเวลาอันสั้น เพราะโอกาสที่จะกำไรเร็ว ๆ และมากนั้นจะน้อยลง ในขณะที่โอกาสจะขาดทุนหนักในระยะเวลาอันสั้นนั้นมักจะสูงกว่า การลงทุนในสถานการณ์แบบนี้สำหรับ VI แล้วต้องถือว่า “ผิดศีล” อย่างแรง
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 40
คุณ peacedev ถือมาตั้งแต่ 2013 เลยเหรอครับ!?!? รวยแล้วมั๊ยครับ ?peacedev เขียน:สวัสดี! เรามาจากโลกอนาคต!!
เคยมีคนมาเล่าเรื่อง bitcoin ให้ฟังน่าจะราวๆปีนั้นเหมือนกัน สนใจแต่ไม่ได้มาศึกษาต่อ
เพิ่งมาเริ่ม 2017 หวังว่าจะคิดไม่ผิด
พอผมไปเล่าต่อให้คนอื่นฟัง (เพื่อนๆก็สาย IT ทั้งนั้น) ก็มีคนคล้อยตามไม่ถึง 10% เลย
เราคงเป็นชาวโลกอนาคตจริงๆ
(แต่ผมสายอวย Ethereum นะ )
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 41
ขอแปะไว้อ้างอิงเหตุการณ์ที่ราคาขึ้นมาอย่างมากช่วงเดือนก่อนครับ
รัฐบาลญี่ปุ่นกับการ Legalize Bitcoin (ตอน 1)
https://storylog.co/story/5808f8f2c80f528e1e8ff6a7
รัฐบาลญี่ปุ่นกับการ Legalize Bitcoin (ตอนจบ)
https://storylog.co/story/5828824330b5bfaf5b173435
รัฐบาลญี่ปุ่นกับการ Legalize Bitcoin (ตอน 1)
https://storylog.co/story/5808f8f2c80f528e1e8ff6a7
รัฐบาลญี่ปุ่นกับการ Legalize Bitcoin (ตอนจบ)
https://storylog.co/story/5828824330b5bfaf5b173435
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 42
สวัสดีครับ คุณอาตี๋
ผมรู้จัก BitCoin มาตั้งแต่ช่วงที่ราคามันอยู่แถว ๆ 10USD ต้น ๆ ครับ
ตอนนั้นในไทยยังไม่เห็นมีใครพูดถึงกันเลยครับ ผมน่าจะเป็นคนไทยรุ่นแรก ๆ เลยที่คุ้นเคยกับมัน
ตอนนั้นเห็นเว็บต่างชาติเขาใช้กันเลยไปศึกษาดูด้วยความสนใจ ก็รู้สึกทึ่งดีครับ
ส่วนตัวในตอนนั้นมองว่านี่แหละ คือเงินแห่งอนาคต และมีความสนใจอยากเก็บสะสมไว้ เพราะยังไงในอนาคตมูลค่ามันต้องสูงขึ้นมากแน่นอน
ถ้าเทียบมูลค่าของ BitCoin ในสมัยนั้นที่ผมเริ่มเก็บ กับราคาในวันนี้ ก็กำไรไม่ต่ำกว่า 20000% แล้ว
แต่ผมไม่ได้รวยจาก BitCoin หรอกครับ เพราะมันหาซื้อยากโดยเฉพาะในช่วงนั้นหาในไทยแทบไม่ได้เลยครับ
ช่วงหลัง ๆ ผมไม่ได้ตามเทคโนโลยี block chain หรือ สกุลเงินเจ้าอื่น ๆ เลยครับ เลยไม่รู้ว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว
หากคุณอาตี๋หรือท่านอื่น ๆ มีข้อมูลที่น่าสนใจก็นำมาแชร์กันได้นะครับ
ผมทำงานในสาย IT เหมือนกันครับ
ผมรู้จัก BitCoin มาตั้งแต่ช่วงที่ราคามันอยู่แถว ๆ 10USD ต้น ๆ ครับ
ตอนนั้นในไทยยังไม่เห็นมีใครพูดถึงกันเลยครับ ผมน่าจะเป็นคนไทยรุ่นแรก ๆ เลยที่คุ้นเคยกับมัน
ตอนนั้นเห็นเว็บต่างชาติเขาใช้กันเลยไปศึกษาดูด้วยความสนใจ ก็รู้สึกทึ่งดีครับ
ส่วนตัวในตอนนั้นมองว่านี่แหละ คือเงินแห่งอนาคต และมีความสนใจอยากเก็บสะสมไว้ เพราะยังไงในอนาคตมูลค่ามันต้องสูงขึ้นมากแน่นอน
ถ้าเทียบมูลค่าของ BitCoin ในสมัยนั้นที่ผมเริ่มเก็บ กับราคาในวันนี้ ก็กำไรไม่ต่ำกว่า 20000% แล้ว
แต่ผมไม่ได้รวยจาก BitCoin หรอกครับ เพราะมันหาซื้อยากโดยเฉพาะในช่วงนั้นหาในไทยแทบไม่ได้เลยครับ
ช่วงหลัง ๆ ผมไม่ได้ตามเทคโนโลยี block chain หรือ สกุลเงินเจ้าอื่น ๆ เลยครับ เลยไม่รู้ว่าเขาไปถึงไหนกันแล้ว
หากคุณอาตี๋หรือท่านอื่น ๆ มีข้อมูลที่น่าสนใจก็นำมาแชร์กันได้นะครับ
ผมทำงานในสาย IT เหมือนกันครับ
rTee เขียน:คุณ peacedev ถือมาตั้งแต่ 2013 เลยเหรอครับ!?!? รวยแล้วมั๊ยครับ ?peacedev เขียน:สวัสดี! เรามาจากโลกอนาคต!!
เคยมีคนมาเล่าเรื่อง bitcoin ให้ฟังน่าจะราวๆปีนั้นเหมือนกัน สนใจแต่ไม่ได้มาศึกษาต่อ
เพิ่งมาเริ่ม 2017 หวังว่าจะคิดไม่ผิด
พอผมไปเล่าต่อให้คนอื่นฟัง (เพื่อนๆก็สาย IT ทั้งนั้น) ก็มีคนคล้อยตามไม่ถึง 10% เลย
เราคงเป็นชาวโลกอนาคตจริงๆ
(แต่ผมสายอวย Ethereum นะ )
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 43
ผ่าน 8000 USD มาแล้ว แต่ไม่มีใครมาอัพเดต
ตอนนี้ผ่าน 9000 แล้วครับ
ตอนนี้ผ่าน 9000 แล้วครับ
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 44
ว่าจะมาอัพหลายครั้งแล้ว แต่ดราม่ามันเยอะจนไม่รู้จะอัพยังไงให้คนไม่ได้ติดตามเข้าใจได้ ^ ^"peacedev เขียน:ผ่าน 8000 USD มาแล้ว แต่ไม่มีใครมาอัพเดต
ตอนนี้ผ่าน 9000 แล้วครับ
ท่านใดที่สนใจลองศึกษาจาก https://siamblockchain.com ได้ แต่คงไม่ถึงกับต้องไปลงอบรมนะครับ
ขออัพเดทด้านมุมมองส่วนตัวแทนนะครับ ตอนนี้ผมย้ายค่ายจาก Ethereum มาอยู่ Neo แล้ว
ส่วน BTC ได้แต่มองมันวิ่งโดยไม่ได้ถือไว้เลย เพราะไม่ชอบที่มันต้องใช้ทรัพยากรโลกมาขุด
แต่ยังติดตามดราม่าอยู่ตลอด จริงๆแอบเชียร์ BCH มากกว่า
(หรือจริงๆเป็นคนชอบเชียร์มวยรองก็ไม่รู้)
-
- Verified User
- โพสต์: 225
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 45
ทำไมคุณ rTee ถึงย้ายจาก ETH ไป NEO ครับ ช่วยแชร์หน่อยได้ไหมครับ ส่วน BCH ผมว่าอนาคตไกล เพราะมีขบวนการหนุนหลังไม่ว่าจะเป็น Roger Ver, Bitmain หรือ John Mcafee ทุกวันนี้ผมก็ใช้ BCH มาจ่ายซื้อเครื่องขุดจาก Bitmain
ระยะยาวถ้า Blockchain จะไปต่อก็ต้องย้ายจาก Proof of Work ไปเป็น Proof of Stake แทน ไม่งั้นสูบพลังงานไปอย่างไม่คุ้มค่าแน่นอน
ระยะยาวถ้า Blockchain จะไปต่อก็ต้องย้ายจาก Proof of Work ไปเป็น Proof of Stake แทน ไม่งั้นสูบพลังงานไปอย่างไม่คุ้มค่าแน่นอน
Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 46
https://www.facebook.com/basementkaraok ... 98/?type=3
ระยะนี้คนไทย มีความรู้ความสนใจเรื่องบิตคอยกันเยอะขึ้นนะครับ เป็นสัญญาณที่ดี
ระยะนี้คนไทย มีความรู้ความสนใจเรื่องบิตคอยกันเยอะขึ้นนะครับ เป็นสัญญาณที่ดี
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 47
เรื่องการลงทุนขุดเหรียญ
อัตรา การคุ้มทุนเป็นยังไงบ้างครับ คุณ CR[t]
อัตรา การคุ้มทุนเป็นยังไงบ้างครับ คุณ CR[t]
CR[t] เขียน:ทำไมคุณ rTee ถึงย้ายจาก ETH ไป NEO ครับ ช่วยแชร์หน่อยได้ไหมครับ ส่วน BCH ผมว่าอนาคตไกล เพราะมีขบวนการหนุนหลังไม่ว่าจะเป็น Roger Ver, Bitmain หรือ John Mcafee ทุกวันนี้ผมก็ใช้ BCH มาจ่ายซื้อเครื่องขุดจาก Bitmain
ระยะยาวถ้า Blockchain จะไปต่อก็ต้องย้ายจาก Proof of Work ไปเป็น Proof of Stake แทน ไม่งั้นสูบพลังงานไปอย่างไม่คุ้มค่าแน่นอน
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 48
บริษัทญี่ปุ่นเตรียมจ่ายเงินเดือนพนักงานด้วย ‘บิทคอยน์’ แทนเงินสด
A company in Japan wants to start paying employees in Bitcoin
http://www.businessinsider.com/bitcoin- ... ny-2017-12
A company in Japan wants to start paying employees in Bitcoin
http://www.businessinsider.com/bitcoin- ... ny-2017-12
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
-
- Verified User
- โพสต์: 225
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 49
ROI การขุดอย่างช้าไม่เกินปีนึงครับ ถ้าขยันอ่านและเข้าใจระบบต่างๆ ได้ก็จะเร็วกว่านั้นอีกมากยิ่งใช้เงินเย็นด้วยยิ่งได้ return ดีครับ ตั้งแต่ปลายปีที่แล้วจนถึงตอนนี้ผมทุ่มมาศึกษา Blockchain และ Cryptocurrency อย่างเดียวเลย ปีหน้าผมรอ Ethereum 2.0 กับ off-chain ก็น่าจะทำให้ชนะระบบแบบ centralized ในเรื่องจาก performance และ energy consumption ได้ครับpeacedev เขียน:เรื่องการลงทุนขุดเหรียญ
อัตรา การคุ้มทุนเป็นยังไงบ้างครับ คุณ CR[t]
CR[t] เขียน:ทำไมคุณ rTee ถึงย้ายจาก ETH ไป NEO ครับ ช่วยแชร์หน่อยได้ไหมครับ ส่วน BCH ผมว่าอนาคตไกล เพราะมีขบวนการหนุนหลังไม่ว่าจะเป็น Roger Ver, Bitmain หรือ John Mcafee ทุกวันนี้ผมก็ใช้ BCH มาจ่ายซื้อเครื่องขุดจาก Bitmain
ระยะยาวถ้า Blockchain จะไปต่อก็ต้องย้ายจาก Proof of Work ไปเป็น Proof of Stake แทน ไม่งั้นสูบพลังงานไปอย่างไม่คุ้มค่าแน่นอน
หลักๆ คนที่พูดเรื่องคนกลัวหองสบู่ แต่ไม่เข้าใจว่า mining คืออะไรและต้นทุนการขุดคือเท่าไหร่
Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 50
จริงๆแล้ว NEO กับ Ethereum มีเป้าหมายคนละอย่างกันครับCR[t] เขียน:ทำไมคุณ rTee ถึงย้ายจาก ETH ไป NEO ครับ ช่วยแชร์หน่อยได้ไหมครับ ส่วน BCH ผมว่าอนาคตไกล เพราะมีขบวนการหนุนหลังไม่ว่าจะเป็น Roger Ver, Bitmain หรือ John Mcafee ทุกวันนี้ผมก็ใช้ BCH มาจ่ายซื้อเครื่องขุดจาก Bitmain
ระยะยาวถ้า Blockchain จะไปต่อก็ต้องย้ายจาก Proof of Work ไปเป็น Proof of Stake แทน ไม่งั้นสูบพลังงานไปอย่างไม่คุ้มค่าแน่นอน
Ethereum เป็น first mover ต่อยอดจาก Bitcoin มาเป็น smart contract platform แต่ก็ยังคง focus ที่ decentralized / anti-censorship เป็นหลัก จะเน้นที่การกำจัดตัวกลาง และ การไม่ถูกควบคุม รันบน PoW และจะไปเป็น PoS
ในขณะที่ NEO มาทีหลัง แต่มองโจทย์คนละแบบ NEO อยากจะสร้าง smart economy (digital assets + digital identity + smart contract) คือต่อยอดจากธุรกิจต่างๆในปัจุบัน ไม่ได้ต้องการกำจัดตัวกลางออก และรันอยู่บน dBFT ซึ่งมีข้อดีกว่า PoW/PoS คือเร็วกว่า แต่ข้อเสียคือมีความเป็น centralized กว่า (node ที่ยืนยันธุรกรรมมีจำนวนน้อยกว่า มาจากการ vote ของ NEO holder แต่ตอนนี้ยังไม่เริ่มมีการ vote นะครับ ปัจจุบันเป็น centralized อยู่มากๆ)
NEO ใช้ระบบ dual token คือ มี NEO ทำหน้าที่เป็น stake มี GAS ทำหน้าที่เป็นเงินในระบบ ใช้จ่าย transaction fee / service fee ให้ระบบ การกำหนด ซึ่ง fee ต่างๆ (GAS cost) จะถูก กำหนดโดย node ที่จะถูก vote โดย NEO holder อีกทีนึง ถ้าศึกษาลึกๆแล้วจะเจอว่ามันเป็น win-win scenario ครับ ต่างกับระบบ miner กำหนด gas cost
อันนี้ presentation จาก NEO founder พูดในงาน conference ที่กรุงเทพนี่เอง
มีเปรียบเทียบ NEO กับ Ethereum ด้วยครับ
https://www.youtube.com/watch?v=X1upcKsq71E
อันนี้อธิบายความ decentralized ของ dBFT เมื่อเปรียบเทียบกับ PoW/PoS ครับ
https://medium.com/proof-of-working/dec ... 10d7ce3b9d
คือถ้าดูจากตัวระบบ NEO ยังตามหลัง Ethereum อยู่ มีคนมาใช้งานน้อยกว่า มีจำนวน developer น้อยกว่า แต่ถ้ามองในแง่การออกแบบแล้วถือว่านำหน้า Ethereum ไปเยอะครับ คนจะพูดกันว่า Ethereum upgrade เหมือนซ่อมเครื่องยนต์ที่กำลังทำงานอยู่ มันลำบากกว่า platform ตัวใหม่ๆที่ออกมาทีหลังแต่ออกแบบโดยแก้จุดอ่อนบน Ethereum ไว้แล้ว (จริงๆนอกจาก NEO แล้วตัวใหม่อื่นๆก็น่าศึกษาครับ ช่วงหลังมานี้ platform ขนาดกลางๆจะเน้นมาจับมือกัน เพื่อให้ทำ cross-chain solution ได้ เช่น ICX / AION / WAN ส่วนของ NEO จะมี NEOX)
- vim
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 2748
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 51
ไม่ค่อยเห็นคนพูดเรื่องเหรียญใหม่ๆกัน พอมีใครมีความเห็นไหมครับว่าคิดอย่างไรกับอนาคตของเหรียญตระกูล Masternode ที่ให้โอกาสผู้ถือเหรียญสามารถสร้างเซอร์เวอร์เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายหลักได้ และได้เหรียญตอบแทนเป็นปันผล (คล้ายๆ DASH) เห็นว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาตระกูลนี้เป็นที่นิยมกันมากกว่า PoW/PoS
Vi IMrovised
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 52
ผมเน้นสาย blockchain platform มากกว่าสายเหรียญหรือสายขุดเลยไม่มีข้อมูลครับvim เขียน:ไม่ค่อยเห็นคนพูดเรื่องเหรียญใหม่ๆกัน พอมีใครมีความเห็นไหมครับว่าคิดอย่างไรกับอนาคตของเหรียญตระกูล Masternode ที่ให้โอกาสผู้ถือเหรียญสามารถสร้างเซอร์เวอร์เพื่อใช้เป็นส่วนหนึ่งของเครือข่ายหลักได้ และได้เหรียญตอบแทนเป็นปันผล (คล้ายๆ DASH) เห็นว่าในช่วงเดือนที่ผ่านมาตระกูลนี้เป็นที่นิยมกันมากกว่า PoW/PoS
แต่มีซื้อ ZCOIN ไว้เล็กน้อย มีทั้ง masternode และ mining (masternode เป็นส่วนนึงในการตัดสินใจซื้อ)
อาจลองไปคุยดูใน FB กลุ่ม ZCoin Thailand ดูครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 225
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 53
Zcoin ก็น่าสนใจครับ มี Zero Knowledge Proof และมี Roger Ver เป็นผู้ลงทุน ปัจจุบัน marketcap อยู่ที่ 378M อันดับ 98 มีโอกาสโตอีกพอสมควร จริงๆ การให้ reward จากทำ masternode ก็ดีครับ แต่มีปัญหานึงที่ผมยังคิดไม่ออกว่า อนาคตถ้าเหรียญที่ออกแบบมาเพื่อโอนเงินอย่างเดียวมี reward ลดลงและค่า fee ที่แพงขึ้นเรื่อยๆ คนจะยังใช้อยู่ไหม
Someone’s sitting in the shade today because someone planted a tree a long time ago - Warren Buffett
-
- Verified User
- โพสต์: 112
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 54
แวะมาอัพเดทสถาณการณ์ Bitcoin ครับ
หลังจากที่ราคา BTC ร่วงลงมาจากราคาสูงสุด ~20,000$ ไปต่ำสุดที่ ~6,000$ และตอนนี้อยู่ที่ ~9,000$
หลายๆคนคาดว่าการร่วงลงมามีสาเหตุหลักจากการขายเหรียญที่มาจาก Mt. Gox ตามบทความครับ
(นอกเหนือจากเหตุผลด้านเทคนิคอลว่าตอนขึ้นมันขึ้นมารุนแรงมากเกินไป)
https://siamblockchain.com/2018/03/18/b ... o-markets/
https://cointelegraph.com/news/bitcoin- ... ff-reports
เล่าคร่าวๆจากที่เข้าใจนะครับ(ข้อมูลอาจจะมีคลาดเคลื่อนไปบ้าง)
คือเว็ปเทรด Mt. Gox เคยถูกแฮคเหรียญออกไปเมื่อปี 2014 ทำให้เหรียญของลูกค้าโดนขโมยไป ~750,000 BTC และ บริษัทได้ขอยื่นล้มละลายในปีนั้น
โดยมีเหรียญส่วนที่ไม่ถูกขโมยเหลืออยู่ ~200,000 BTC ไปอยู่ภายใต้การดูแลของTrustee
(ราคา BTC ตอนนั้นอยู่ช่วง ~800-400$)
จนผ่านมาถึงปลายปี 2017 ราคาของ BTC วิ่งไปถึง ~10,000-20,000$ เป็นโอกาสให้ Trustee ขายเหรียญที่ถืออยู่ออกมาคืนให้กับลูกค้า (ในคดีความคิดยอดหนี้ที่หน่วย JPY ไม่ใช่ BTC)
จากข้อมูลที่มีคนไปขุดคุ้ยบน blockchain เจอว่า Trustee โอนเหรียญไปที่เว็ปเทรดหลายๆรอบเริ่มจากช่วงปลายเดือน ธ.ค. จนถึงต้นเดือน ก.พ. ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ราคา BTC ลงหนักๆในแต่ละครั้ง
แต่เรื่องราวเพิ่งมาเป็นข่าวหลังจากที่เค้าขายไปครบจำนวนที่เค้าต้องการแล้ว (ส่วนตัวคิดว่าอาจจะมี insider ฉวยจังหวะผสมโรงช่วงนั้นด้วย)
หลังใช้หนี้คืนแล้วยังเหลือเหรียญอยู่อีก ~180,000 BTC ที่จะกลับไปเป็นของ Mt. Gox
มีลูกค้าบางส่วนไม่พอใจอยากได้คืนเป็น BTC ทำการยื่นเรื่องต่อศาล (ต้องติดตามต่อไป)
หลังจากที่ราคา BTC ร่วงลงมาจากราคาสูงสุด ~20,000$ ไปต่ำสุดที่ ~6,000$ และตอนนี้อยู่ที่ ~9,000$
หลายๆคนคาดว่าการร่วงลงมามีสาเหตุหลักจากการขายเหรียญที่มาจาก Mt. Gox ตามบทความครับ
(นอกเหนือจากเหตุผลด้านเทคนิคอลว่าตอนขึ้นมันขึ้นมารุนแรงมากเกินไป)
https://siamblockchain.com/2018/03/18/b ... o-markets/
https://cointelegraph.com/news/bitcoin- ... ff-reports
เล่าคร่าวๆจากที่เข้าใจนะครับ(ข้อมูลอาจจะมีคลาดเคลื่อนไปบ้าง)
คือเว็ปเทรด Mt. Gox เคยถูกแฮคเหรียญออกไปเมื่อปี 2014 ทำให้เหรียญของลูกค้าโดนขโมยไป ~750,000 BTC และ บริษัทได้ขอยื่นล้มละลายในปีนั้น
โดยมีเหรียญส่วนที่ไม่ถูกขโมยเหลืออยู่ ~200,000 BTC ไปอยู่ภายใต้การดูแลของTrustee
(ราคา BTC ตอนนั้นอยู่ช่วง ~800-400$)
จนผ่านมาถึงปลายปี 2017 ราคาของ BTC วิ่งไปถึง ~10,000-20,000$ เป็นโอกาสให้ Trustee ขายเหรียญที่ถืออยู่ออกมาคืนให้กับลูกค้า (ในคดีความคิดยอดหนี้ที่หน่วย JPY ไม่ใช่ BTC)
จากข้อมูลที่มีคนไปขุดคุ้ยบน blockchain เจอว่า Trustee โอนเหรียญไปที่เว็ปเทรดหลายๆรอบเริ่มจากช่วงปลายเดือน ธ.ค. จนถึงต้นเดือน ก.พ. ซึ่งจะตรงกับช่วงที่ราคา BTC ลงหนักๆในแต่ละครั้ง
แต่เรื่องราวเพิ่งมาเป็นข่าวหลังจากที่เค้าขายไปครบจำนวนที่เค้าต้องการแล้ว (ส่วนตัวคิดว่าอาจจะมี insider ฉวยจังหวะผสมโรงช่วงนั้นด้วย)
หลังใช้หนี้คืนแล้วยังเหลือเหรียญอยู่อีก ~180,000 BTC ที่จะกลับไปเป็นของ Mt. Gox
มีลูกค้าบางส่วนไม่พอใจอยากได้คืนเป็น BTC ทำการยื่นเรื่องต่อศาล (ต้องติดตามต่อไป)
- peacedev
- Verified User
- โพสต์: 668
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 55
Starbucks เตรียมระบบให้ลูกค้าใช้ Bitcoin จ่ายค่ากาแฟ
Starbucks customers may soon be able to pay for their lattes with bitcoin.
The company announced on Wednesday that it's teaming up with Microsoft and Intercontinental Exchange, the owner of the New York Stock Exchange, to let customers use cryptocurrencies to buy items in stores.
The companies are working on a platform called Bakkt to allow users to store digital currency and trade it for products. Starbucks won't store or accept the cryptocurrency directly, but Bakkt will turn people's digital currency into US dollars that can be used at the coffee chain.
Starbucks said the move is part of an effort to stay innovative and offer customers more ways to pay.
Bitcoin (BTSC), the first currency that'll be available on Bakkt, is a buzzy alternative currency, but its rise in popularity has been far from stable. Late last year, the value of one bitcoin was as high as $20,000, but it's currently priced at just over $7,400. People can also purchase a fraction of a bitcoin.
Bakkt is expected to launch in November, and it's unclear when Starbucks will be able to implement the technology for customer use. The platform will also be available for other merchants to use.
https://money.cnn.com/2018/08/03/techno ... index.html
Starbucks customers may soon be able to pay for their lattes with bitcoin.
The company announced on Wednesday that it's teaming up with Microsoft and Intercontinental Exchange, the owner of the New York Stock Exchange, to let customers use cryptocurrencies to buy items in stores.
The companies are working on a platform called Bakkt to allow users to store digital currency and trade it for products. Starbucks won't store or accept the cryptocurrency directly, but Bakkt will turn people's digital currency into US dollars that can be used at the coffee chain.
Starbucks said the move is part of an effort to stay innovative and offer customers more ways to pay.
Bitcoin (BTSC), the first currency that'll be available on Bakkt, is a buzzy alternative currency, but its rise in popularity has been far from stable. Late last year, the value of one bitcoin was as high as $20,000, but it's currently priced at just over $7,400. People can also purchase a fraction of a bitcoin.
Bakkt is expected to launch in November, and it's unclear when Starbucks will be able to implement the technology for customer use. The platform will also be available for other merchants to use.
https://money.cnn.com/2018/08/03/techno ... index.html
http://peacedev.wordpress.com
"The Quant"
"The Quant"
- anubist
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 1369
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 56
มาเยี่ยมครับanubist เขียน: ผมไม่ได้ฟันธงว่าbitcoinจะเป็นcurrencyได้รึไม่
แต่ผมมองว่าsupplyของbitcoinตอนนี้จำกัดเกินไป
ไม่ยืดหยุ่นมากพอกับความต้องการ
ดูได้จากมูลค่าของbitcoinเมื่อเทียบกับสกุลเงินตราอื่นๆพุ่งขึ้นสูงมาก
ทำให้ความน่าสนใจในแง่currencyมันลดลง
เพราะคนที่ครอบครองได้มีจำนวนน้อย ทำให้การเปลี่ยนมือน้อย
ต่างจากcurrencyที่มีการเปลี่ยนมือของสูงมาก
อีกทั้งbitcoinยังมีความผันผวนสูงมากในช่วงหลัง นั่นทำให้bitcoinวัดมูลค่าได้ยาก
ต่างกับcurrencyที่มีความผันผวนต่ำ มีเสถียรภาพ วัดมูลค่าได้ง่ายกว่า
นี่อาจเป็นจุดวัดความสำเร็จของbitcoinในแง่currency
5ปีผ่านไป มีความสนใจอยู่เรื่อยๆแต่ไม่มากพอจะให้ศึกษาแบบลึกซึ้ง รู้สึกว่ายังไม่ค่อยเข้าใจบิทคอยสักเท่าไหร่ และไม่ได้ลงทุนกับบิทคอยเลย
แต่มุมมองกับบิทคอยในแง่ currency ยังเหมือนเดิม
ทุนน้อยและหลุดดอยแล้ว เย้ๆ
-
- Verified User
- โพสต์: 4
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 57
Blockchain-review ได้แปล bitcoin white paper เป็นภาษาไทยไว้ครับ
ต้นฉบับจะอ่านเข้าใจยาก เพราะมีศัพท์ทางเทคนิคเยอะ
ลองอ่านดูแล้วจะเข้าใจการทำงานของ bitcoin และ blockchain มากขึ้นครับ
https://blockchain-review.co.th/blockch ... ite-paper/
ต้นฉบับจะอ่านเข้าใจยาก เพราะมีศัพท์ทางเทคนิคเยอะ
ลองอ่านดูแล้วจะเข้าใจการทำงานของ bitcoin และ blockchain มากขึ้นครับ
https://blockchain-review.co.th/blockch ... ite-paper/
anubist เขียน:มาเยี่ยมครับanubist เขียน: ผมไม่ได้ฟันธงว่าbitcoinจะเป็นcurrencyได้รึไม่
แต่ผมมองว่าsupplyของbitcoinตอนนี้จำกัดเกินไป
ไม่ยืดหยุ่นมากพอกับความต้องการ
ดูได้จากมูลค่าของbitcoinเมื่อเทียบกับสกุลเงินตราอื่นๆพุ่งขึ้นสูงมาก
ทำให้ความน่าสนใจในแง่currencyมันลดลง
เพราะคนที่ครอบครองได้มีจำนวนน้อย ทำให้การเปลี่ยนมือน้อย
ต่างจากcurrencyที่มีการเปลี่ยนมือของสูงมาก
อีกทั้งbitcoinยังมีความผันผวนสูงมากในช่วงหลัง นั่นทำให้bitcoinวัดมูลค่าได้ยาก
ต่างกับcurrencyที่มีความผันผวนต่ำ มีเสถียรภาพ วัดมูลค่าได้ง่ายกว่า
นี่อาจเป็นจุดวัดความสำเร็จของbitcoinในแง่currency
5ปีผ่านไป มีความสนใจอยู่เรื่อยๆแต่ไม่มากพอจะให้ศึกษาแบบลึกซึ้ง รู้สึกว่ายังไม่ค่อยเข้าใจบิทคอยสักเท่าไหร่ และไม่ได้ลงทุนกับบิทคอยเลย
แต่มุมมองกับบิทคอยในแง่ currency ยังเหมือนเดิม
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 58
Bitcoin เป็น Super Stock อย่างไร ตามหลักการคัดเลือก(1)
1. Durable Comparative Advantage = ข้อได้เปรียบคู่แข่ง
Bitcoin นั้นได้เปรียบคู่แข่งอย่างธนาคารอย่างมากมายมหาศาลการเกิดขึ้นของ bitcoin ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านนั้นทำให้ธนาคารต่างๆ ทั่วโลกไม่เว้นแม้กระทั้งประเทศไทยต้องทำการปรับตัวครั้งใหญ่(2) อีกทั้งการใช้ bitcoin นั้นมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากในการทำธุรกรรมข้ามประเทศ(3)
2. Growing Industry = ต้องอยู่ในอุตสหกรรมที่กำลังเติบโต
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้อุตสหกรรมการเงินทั่วโลกเติบโตตลอด 5 ปี ติดต่อกัน(4) ทั้งยังเป็น Sector ที่มีความสำคัญต่อแต่ละประเทศด้วยทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศยังคงส่งเสริมอุตสหกรรมนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
3. Increase Margin Able = สามารถขึ้นราคาหรือเพิ่มกำไรได้ลูกค้ายินยอม
เนื่องจากตัว bitcoin นั้นไม่ได้มีลักษณะบริษัทที่มีการผลิตสินค้า แต่เนื่องจากตัวมันเองมีลักษณะคล้ายกับทองคำเสียมากกว่าแตกต่างกันตรงที่ bitcoin นั้นมีจำกัดเพียง 21 ล้านbitcoin แต่ทองคำนั้นแม้จะมีอยู่น้อยแต่สามารถขุดพบได้เรื่อย ๆ(5) ในช่วงที่มีความนิยมของ bitcoin ผู้คนจะยอมซื้อมันในราคาที่สูงขึ้นเพราะ ตัวมันมีอยู่จำกัดนั้นเอง
4. Repeatable = สามารถทำซ้ำได้โดยใช้ต้นทุนที่น้อยหรือไม่ใช้เลย
bitcoin มีโครงสร้างที่เป็น Decentralization ไม่มีต้นทุนในการขยายสาขาแม้แต่บาทเดียวเราสามารถเข้าถึงbitcoin ได้ทั่วโลก ส่วนเรื่องค่าใบอนุญาติต่างๆกันเป็นการจัดตั้งขึ้นเองภายหลังไม่ได้เป็น โครงสร้างหลักของ bitcoin กล่าวคือ bitcoin ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานคู่กับกฏหมายหรือการควบคุมใดๆจากภาครัฐ
5. Non - Concession= ไม่ใช่ธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับสัมปทานภาครัฐ หรือเกี่ยวข้องกับภาครัฐ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น bitcoin ไม่ได้ถูกออกแบบการเพื่อการใช้งานคู่กับกฏต่างๆ จากภาครัฐ แต่กลับกัน Satoshi Nakamoto ได้แสดงถึงจุดยืนที่จะใช้มันเพื่อลดอำนาจที่หนุนหลังรัฐบาลนั้นก็คือ เงินดอล์ล่า กลับคืนสู่มวลมนุษย์ชาติ
6. Must Have Dividend = ต้องมีปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
หากดูจากประวัติของ bitcoin แล้วเราจะพบว่าตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมาจะมีการ hard fork เพื่อแบ่งตัวเหรียญต่างๆ ในกับผู้ถือbitcoin ด้วย เช่น การhard fork bitcoin Cash ในปี 2017 เป็นต้น(6)
อ้างอิง
1. https://www.youtube.com/watch?v=8N9_7q3VJSI
2. https://www.thaipost.net/main/detail/6034
3. https://siamblockchain.com/2018/10/17/1 ... of-crypto/
4. งานสัมนา 3 เซียนหุ้นไทย จัดโดย money channal ปี 2017
5. https://pantip.com/topic/30363911
6. https://thailandinvestmentforum.com/201 ... ncash_bch/
1. Durable Comparative Advantage = ข้อได้เปรียบคู่แข่ง
Bitcoin นั้นได้เปรียบคู่แข่งอย่างธนาคารอย่างมากมายมหาศาลการเกิดขึ้นของ bitcoin ในช่วง 10 กว่าปีที่ผ่านนั้นทำให้ธนาคารต่างๆ ทั่วโลกไม่เว้นแม้กระทั้งประเทศไทยต้องทำการปรับตัวครั้งใหญ่(2) อีกทั้งการใช้ bitcoin นั้นมีค่าธรรมเนียมที่ต่ำมากในการทำธุรกรรมข้ามประเทศ(3)
2. Growing Industry = ต้องอยู่ในอุตสหกรรมที่กำลังเติบโต
ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมานี้อุตสหกรรมการเงินทั่วโลกเติบโตตลอด 5 ปี ติดต่อกัน(4) ทั้งยังเป็น Sector ที่มีความสำคัญต่อแต่ละประเทศด้วยทำให้รัฐบาลของแต่ละประเทศยังคงส่งเสริมอุตสหกรรมนี้ต่อไปเรื่อย ๆ
3. Increase Margin Able = สามารถขึ้นราคาหรือเพิ่มกำไรได้ลูกค้ายินยอม
เนื่องจากตัว bitcoin นั้นไม่ได้มีลักษณะบริษัทที่มีการผลิตสินค้า แต่เนื่องจากตัวมันเองมีลักษณะคล้ายกับทองคำเสียมากกว่าแตกต่างกันตรงที่ bitcoin นั้นมีจำกัดเพียง 21 ล้านbitcoin แต่ทองคำนั้นแม้จะมีอยู่น้อยแต่สามารถขุดพบได้เรื่อย ๆ(5) ในช่วงที่มีความนิยมของ bitcoin ผู้คนจะยอมซื้อมันในราคาที่สูงขึ้นเพราะ ตัวมันมีอยู่จำกัดนั้นเอง
4. Repeatable = สามารถทำซ้ำได้โดยใช้ต้นทุนที่น้อยหรือไม่ใช้เลย
bitcoin มีโครงสร้างที่เป็น Decentralization ไม่มีต้นทุนในการขยายสาขาแม้แต่บาทเดียวเราสามารถเข้าถึงbitcoin ได้ทั่วโลก ส่วนเรื่องค่าใบอนุญาติต่างๆกันเป็นการจัดตั้งขึ้นเองภายหลังไม่ได้เป็น โครงสร้างหลักของ bitcoin กล่าวคือ bitcoin ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อใช้งานคู่กับกฏหมายหรือการควบคุมใดๆจากภาครัฐ
5. Non - Concession= ไม่ใช่ธุรกิจที่ขึ้นอยู่กับสัมปทานภาครัฐ หรือเกี่ยวข้องกับภาครัฐ
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น bitcoin ไม่ได้ถูกออกแบบการเพื่อการใช้งานคู่กับกฏต่างๆ จากภาครัฐ แต่กลับกัน Satoshi Nakamoto ได้แสดงถึงจุดยืนที่จะใช้มันเพื่อลดอำนาจที่หนุนหลังรัฐบาลนั้นก็คือ เงินดอล์ล่า กลับคืนสู่มวลมนุษย์ชาติ
6. Must Have Dividend = ต้องมีปันผลให้กับผู้ถือหุ้น
หากดูจากประวัติของ bitcoin แล้วเราจะพบว่าตลอดระยะเวลา 10 กว่าปีที่ผ่านมาจะมีการ hard fork เพื่อแบ่งตัวเหรียญต่างๆ ในกับผู้ถือbitcoin ด้วย เช่น การhard fork bitcoin Cash ในปี 2017 เป็นต้น(6)
อ้างอิง
1. https://www.youtube.com/watch?v=8N9_7q3VJSI
2. https://www.thaipost.net/main/detail/6034
3. https://siamblockchain.com/2018/10/17/1 ... of-crypto/
4. งานสัมนา 3 เซียนหุ้นไทย จัดโดย money channal ปี 2017
5. https://pantip.com/topic/30363911
6. https://thailandinvestmentforum.com/201 ... ncash_bch/
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 59
แก้ไข *4. งานสัมนา ซุปเปอร์เซียน 3 เจเนอเรชั่นกับ 15หุ้นเด็ดปี 2018 จัดโดย Money Channal
-
- Verified User
- โพสต์: 15
- ผู้ติดตาม: 0
Re: Bitcoin
โพสต์ที่ 60
ผมสามารถหา P/E ของ Bitcoin ได้แล้วนะครับ มันอยู่ที่ 4 เท่า
จากภาพข้างต้นคุณ Nick Szabo ผู้พัฒนาBitcoin รุ่นเดียวกับ Satoshi nakamoto กล่าวว่าให้ถือ Bitcoin อย่างน้อย 4 ปีครับ จากการBack Test ของผมพบว่าถ้าย้อนหลังกลับไป4 ปี ราคาจะสูงกว่าราคาในอดีตอย่างมาก
จึงเป็นที่สรุปไว้ว่า P/E ของ Bitcoin อยู่ที่ 4 เท่าครับ
P = Price ราคา , E = Earn กำไร สมมุต ราคาปัจจุบัน 10 บาท กำไร 1 บาท เอา 10ตั้งหารด้วย 1 จะได้ P/E10 เท่าครับ ถ้าเราซื้อหุ้นตัวนี้อีก 10 ปีจะคืนทุน แต่นั้นหมายความว่าสมมุติพื้นฐานอื่นๆ เช่น ผู้บริหาร ความสามารถในการทำกำไร ความต้องการของลูกค้าไม่เปลี่ยนจากภาพข้างต้นคุณ Nick Szabo ผู้พัฒนาBitcoin รุ่นเดียวกับ Satoshi nakamoto กล่าวว่าให้ถือ Bitcoin อย่างน้อย 4 ปีครับ จากการBack Test ของผมพบว่าถ้าย้อนหลังกลับไป4 ปี ราคาจะสูงกว่าราคาในอดีตอย่างมาก
จึงเป็นที่สรุปไว้ว่า P/E ของ Bitcoin อยู่ที่ 4 เท่าครับ
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้