Re: สรุปความรู้หลักสูตรVI รุ่น4 (Part1 แนวคิดการลงทุน อ.นิเว
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 22, 2013 6:02 pm
thank kub
เว็บบอร์ดเพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
https://thaiviv3.mdsoft.co.th/./
ไม่เข้าใจข้อ15ครับ se-edขายหนังสือทำไมไม่ใช้bookครับ เข้าไปทีไรก็มีแต่booksearthcu เขียน:เนื่องด้วยผมมีโอกาสได้เข้าร่วมหลักสูตรอบรมการลงทุนแบบเน้นคุณค่า รุ่นที่ 4 ในวันที่ 5,6,12,13 ตุลาคมที่ผ่านมา จึงอยากจะขอสรุปความรู้ที่ได้จากงานครั้งนี้บางส่วนเผื่อเป็นประโยชน์ต่อเพื่อนนักลงทุนท่านอื่นๆที่ไม่ได้มาร่วมงานอบรมในครั้งนี้ครับ
วันที่ 5 ตุลาคม 2556
Part 1 : แนวคิดการลงทุนแบบเน้นคุณค่า (อ.นิเวศน์ เหมวชิรวรากร)
1.ภาพใหญ่ถูกมีชัยไปกว่าครึ่ง
ซึ่งในความหมายของภาพใหญ่คือหุ้นเป็นการลงทุนที่ดีที่สุด ในขณะที่ภาพเล็กคือการเลือกลงทุนหุ้นให้ถูก
ภาพใหญ่นั้นหุ้นเองจะให้ผลตอบแทนเฉลี่ย10%ทบต้น ในขณะที่ภาพเล็กนั้นถ้าลงทุนหุ้นได้ถูกอาจจะทำให้ได้ผลตอบแทนเฉลี่ย 20-30% ต่อปี
ซึ่งจริงๆแล้วแค่เราได้ผลตอบแทนเพียงแค่ 15%ต่อปี ก็จะทำให้ port การลงทุนเพิ่มเป็นเท่าตัวในระยะเวลาแค่ 5 ปี
2.นักลงทุนVI เองมีโอกาสที่จะ Over Confidence เนื่องจากในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาอาจจะได้ผลตอบแทนที่ดีมากเช่น มากกว่า 50%ต่อปี ซึ่งอาจจะทำให้ Strategy ในการลงทุนเปลี่ยนไป เช่นการที่ใช้เงินกู้ Margin 100% หรือมากกว่านั้น, เปลี่ยนไปเน้นเล่นหุ้นตาม story อย่างเดียว ซึ่งอาจจะทำให้ Port การลงทุนเสียหายหนักได้ถ้าเกิดเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดขึ้น
3.History Repeat การที่ผลตอบแทนในช่วง 5 ปีที่ผ่านมาค่อนข้างสูงเช่นประมาณ 40-50% ก็ควรที่นักลงทุนจะต้องระวังไว้เพราะในระยะยาวภาพใหญ่ของหุ้นนั้นจะให้ผลตอบแทนเพียง 10% ซึ่งก็มีโอกาสที่ปีต่อๆไปจะทำให้ผลตอบแทนในการลงทุนลดลงเช่นต่ำกว่า 10% หรืออาจจะผลตอบแทนติดลบ เพื่อให้ภาพใหญ่นั้นกลับมามีผลตอบแทน 6-7% จาก capital gain และ 3%จาก Dividend Yield (รวมเป็นผลตอบแทนเฉลี่ย 10%)
4.ประวัติศาสตร์ของมนุษย์นั้น ถ้าไม่ Take Risk ก็มีโอกาสที่ค่อยๆล้มหายตายจากไปรวมไปถึงเราเองก็อาจต้องตกอยู่ในความเสี่ยงในการออกไปหาอาหารเพราะต้องเจอกับเสือ สิงห์ กระทิง ซึ่งเปรียบเหมือนในตลาดหุ้นคนที่ Take Risk เองก็มีทั้งอยู่รอด, ได้กำไร, ตายไปเช่นกัน
โดยที่นักลงทุนเองนั้นควรที่จะต้องรู้จักปรับตัวอยู่เสมอ เพราะถ้าไม่รู้จักปรับตัวนักลงทุนที่เก่งในวันนี้ก็อาจจะเป็นหมูในอีก 5-10 ปีข้างหน้าถ้าเราไม่พัฒนาตัวเองให้เก่งขึ้น
5.จริงๆแล้วผู้บริหารกองทุนหลายท่านก็เป็นคนที่เก่งมาก เพียงแต่ว่าเขาเองมีข้อจำกัดในการลงทุนทำให้ผลตอบแทนอาจจะไม่ดีมาก ซึ่งนักลงทุนรายย่อยเองถ้าไปลงทุนในรูปแบบที่มีข้อจำกัดแบบเดียวกับกองทุน เราเองก็มีโอกาสที่จะแพ้เขา เพราะฉะนั้นเราควรที่จะหาจุด, position ของเรา ที่เป็นสิ่งที่ดี สิ่งที่ทำให้เราได้เปรียบ (ต้องรู้ capability ของเรา จากนั้น set strategy in the long run) ซึ่งเราเองก็ควรที่จะเผื่อใจกับโอกาสที่ไม่ประสบความสำเร็จไว้บ้าง เพราะแม้ว่าบางทีใช้วิธีเดียวกันแต่ต่างกันแค่รายละเอียดบางอย่าง ก็อาจจะทำให้บางคนประสบความสำเร็จ, บางคนประสบความล้มเหลว
6.นักลงทุนเองควรที่จะเล่นในเกมของเรา เพราะถ้าไปตามเกมของคนอื่นอาจจะขาดทุน เนื่องจากในบางครั้งนักลงทุนรายใหญ่อาจจะเป็นคนคุมเกมเนื่องจากมีฐานกำลังเงิน, รวมไปถึงอาจจะมี connection กับสื่อบางประเภท รวมไปถึงบาง Broker ได้
7.เวลาลงทุนซื้อหุ้น เราควรจะต้องหาเหตุผลในการซื้อหุ้น รวมไปถึงมองไปยังความเสี่ยงว่าบริษัทมีโอกาสที่จะล้มละลายหรือไม่
8.ปัจจุบันเมืองไทยคนเกษียณยังมีจำนวนน้อย ทำให้มีคนที่เข้าตลาดหุ้นยังเยอะ ซึ่งส่งผลทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสขึ้นจาก Demand Supply ในตลาด แต่ถ้าเวลาผ่านไปอีก 10-15 ปีข้างหน้านั้นจำนวนคนไทยประมาณ 25% จะเป็นคนวัยเกษียณทำให้ตลาดหุ้นมีโอกาสที่จะไม่ค่อยปรับตัวเพิ่มขึ้น ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นนักลงทุนควรที่จะมองหาการลงทุนในประเทศที่ยังมีอัตราการเกิดที่ยังสูงยกตัวอย่างเช่นในประเทศเวียดนามเป็นต้น
โดยยกตัวอย่างเช่นในประเทศอังกฤษนั้นมีอัตราการเกิดน้อยลงเรื่อยๆทำให้ยอดขายในบริษัท Tesco ที่อังกฤษเองนั้นแทบจะไม่เพิ่มขึ้นเลย
9.เราเองควรที่จะศึกษาว่า Industry ไหนจะโตและโตนาน และบริษัทไหนที่จะได้ประโยชน์จาก Mega Trend (โดย 1.)มองไปข้างหน้าว่ามั่นใจโตอย่างน้อย 3-5 ปี 2.)มองหาผู้ชนะในอุตสาหกรรม โดยซื้อ ถือ และเก็บหุ้นไว้ในระยะเวลาที่ยาวนาน) โดยที่เราควรที่จะต้องระวังในบางอุตสาหกรรมที่อาจจะโตแต่อาจจะหาผู้ชนะในระยะยาวไม่ได้เช่นกลุ่มการบิน, Banking
สำหรับ Trend ที่น่าสนใจได้แก่ Trend อายุเยอะ, สุขภาพ, Enjoyment เช่นอาหาร , ท่องเที่ยว
นอกจากนั้นเราควรที่จะมองปัจจัยในการแข่งขันว่าใครมีมากสุด แล้วจะส่งผลให้เกิด Positive feedback หรือเปล่า เช่นทำให้เกิด Economy of scale, Brand ดีขึ้น, Cost ต่ำลง โดยที่จะทำให้ดีขึ้นทั้งยอดขาย, Gross Margin และกำไรของบริษัท
10.ในบางครั้งอาจเกิดเหตุการณ์ที่หุ้นที่เราถือราคาลงไป 10-20% ในระยะเวลาอันสั้น เราก็อาจจะไปดูสำรวจกิจการอีกทีว่ายอดขายยังดีอยู่ไหม ถ้าธุรกิจยังดำเนินไปได้อย่างปกติอยู่ก็ควรที่เราจะถือหุ้นนั้นต่อ ซึ่งตัวเราควรที่จะมีความเชื่อ (Faith) ถ้ากิจการร่ำรวย เจ้าของกิจการก็จะร่ำรวย เราก็จะรวยตาม
11.พึงระวังหุ้นที่มีระยะเวลาสัมปทาน รวมไปถึงกองทุนพื้นฐานบางกอง เพราะอนาคตไม่แน่นอน รวมไปถึงสักพักก็จะหมดเวลาเปรียบเสมือนการที่เราเซ้งตึกกับการซื้อตึกแถว ในสมัยก่อนนั้นราคาเซ้งอาจจะไม่แตกต่างกับราคาซื้อมากนักเช่น 30-40% แต่พออยู่ไปได้ไม่กี่ปีกลายเป็นว่า ตึกเซ้งนั้นหมดสัญญา ในขณะที่ตึกแถวที่ซื้อนั้นกลับสามารถขายต่อได้ราคางาม
12.ธุรกิจที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานดี vs ธุรกิจ Capital Intensive
ธุรกิจที่กระแสเงินสดจากการดำเนินงานดีนั้นยิ่งนานวัน ยิ่งดี เพราะยิ่งมีเงินสดเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่ธุรกิจที่ capital intensive นั้นยิ่งทำยิ่งเหนื่อย ยกตัวอย่างเช่น แดนเนรมิต นั้นเจ้าของต้องมีการลงทุนซื้อเครื่องเล่นใหม่อยู่ตลอดเวลา เพราะ คนเล่นเองเล่นไปได้ไม่กี่ครั้งก็เบื่อทำให้ต้องซื้อเครื่องเล่นชนิดใหม่ๆ เพื่อดึงดูดให้คนมาใช้บริการ ซึ่งเครื่องเล่นนึงก็ต้องลงทุนสูงเช่น 20-30 ล้าน เครื่องเล่นก็ล้าสมัยเร็วทำให้ใน book เองยังมีอยู่แม้ว่าอาจจะเก็บเงินจากเครื่องเล่นนั้นแทบไม่ได้ก็ตาม รวมไปถึงธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับโรงงานก็อาจจะมีลักษณะที่คล้ายๆกันกับ case นี้ เพราะต้องมีการลงทุนใหม่ๆเพื่อให้ maintain สภาพการแข่งขันได้อยู่เป็นระยะๆ ทำให้อาจจะจ่ายเงินปันผลได้ไม่เกิน 50% ของผลกำไร
13.พึงระวังธุรกิจที่เกี่ยวกับ Technology บางบริษัทด้วย เพราะมีโอกาสที่คู่แข่งจะสามารถมาทำแข่งขันหรือทำเลียนแบบได้ (โดยส่วนใหญ่เป็นบริษัทที่อาจจะไม่มี Competitive Advantage) ยกตัวอย่างเช่นธุรกิจที่ทำเกี่ยวกับ Fiber Optic นั้นมีโอกาสที่คู่แข่งจะมาทำธุรกิจนี้ได้ไหม และถ้ามาทำแข่งจริงแล้จะส่งผลยังไง ถ้าเราจะลงทุนในบริษัทเหล่านี้ในระยะยาวก็ควรที่จะคิดพิจารณาในประเด็นพวกนี้ด้วย
14.Question ทำยังไงไม่ให้มีอคติจากผู้บริหารที่ดูว่าเก่ง
Answer ผู้บริหารอาจจะไม่ได้อยู่กับบริษัทตลอดไป และบางคนอาจจะไม่ได้เก่งจริงๆ ในบางครั้งความสำเร็จอาจจะเกิดจากโชคดีมากกว่าความสามารถของผู้บริหารก็เป็นไปได้ รวมไปถึงคนที่เก่งจริงๆก็อาจจะถูก replacement โดยคนอื่นๆได้ นอกจากนี้แล้วบางครั้งผู้บริหารที่เก่งเมื่อไปอยู่ในบริษัทที่แย่ๆสุดท้ายก็อาจจะกลายเป็นผู้บริหารที่แย่ตามบริษัทก็ได้
15.P/BV นั้นในกรณีที่จะดูอัตราส่วนนี้นั้นควรจะต้องพิจารณาว่าหุ้นที่เราซื้อนั้น เขาใช้ book หรือเปล่า ถ้าใช้ book เยอะๆก็อาจจะต้องพิจารณาเช่น ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ P/BV ถ้าสูงเกินไปเช่น เกิน 5 เท่าอาจจะต้องระวัง แต่ในบางธุรกิจที่แทบจะไม่ใช้ book หรือใช้น้อยมากเช่น Se-ed เช่าที่เลยทำให้แทบจะไม่ได้ใช้ book ก็อาจจะไม่ต้องดูในส่วนนี้
16.P/E Ratio ถ้าสูงต้องดูเป็นพิเศษ (ยกเว้นใน case ที่มีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตสูงก็จะไม่ค่อยดู) แต่จะไปดู Market Cap แทน โดยดูว่าอีก 20-30 ปีข้างหน้า ยังมีโอกาสโตอีกไหม บริษัทนี้จะได้ประโยชน์และได้ Market เท่าไร ยกตัวอย่างเช่น ใน case ธุรกิจที่เกี่ยวกับการตกแต่งบ้านในอดีต ในประเทศอเมริกาเองจะมีสัดส่วนเท่าไรของ GDP เปรียบเทียบกับบ้านเรานั้นสัดส่วนนี้ต่อ GDP ยังน้อยกว่า ทำให้มองว่ามีช่องว่างในการเติบโตมากในอนาคต แล้ว Predict ว่ายอดขายบริษัทควรจะเป็นขนาดไหน เพื่อที่จะดูว่าสุดท้ายกำไรมีโอกาสที่จะได้เท่าไร
ปล.ถ้ามีข้อมูลที่ผมเข้าใจผิดพลาดหรือเรียบเรียงผิดพลาดต้องขออภัยท่านวิทยากรและเพื่อนๆท่านอื่นด้วยครับและรบกวนพี่ๆเพื่อนๆท่านอื่นช่วยแนะนำผมด้วยครับ
ส่วนความรู้ที่ได้เรียนใน Part อื่นๆ จะลองพยายามรวบรวมความรู้มาฝากเพื่อนๆทุกท่านอีกทีในวันหลังครับ
ขอขอบคุณ ท่านอาจารย์นิเวศน์ ,อาจารย์ไพบูลย์, พี่คเชนท์, พี่ฉัตรชัย, พี่พีรยุทธ์, พี่อนุรักษ์ ที่ได้เสียสละเวลาอันมีค่ามาถ่ายทอดความรู้ให้แก่ลูกศิษย์ทุกคนด้วยครับ และขอขอบคุณพี่ๆทีมงานทุกท่านที่ได้เสียสละเวลามาช่วยในงานนี้ทุกท่านครับไม่ว่าจะเป็นพี่ web, พี่ kongkang, พี่ little wing และพี่ๆท่านอื่น(ถ้าผมจำชื่อผิดพลาดต้องขออภัยด้วยครับ)
รวมไปถึงขอขอบคุณ web thaivi และคณะกรรมการ web thaivi ทุกท่านด้วยครับที่ทำให้เกิดการอบรมหลักสูตรดีๆนี้ขึ้นซึ่งเป็นประโยชน์ต่อผมและเพื่อนๆนักลงทุนเป็นจำนวนมาก
และยินดีที่ได้รู้จักเพื่อนๆนักลงทุนท่านอื่นๆด้วยครับเช่นคุณตุ้ย, คุณโจ, คุณเอ, คุณเจ, คุณชิง,คุณเจษฐ์, พี่ติ๊ก, คุณยิ้ม
earthcu/14 Oct 13