|0 คอมเมนต์
"เด็กยากจน"
สมัยเด็กๆ เราเรียนที่โรงเรียนประถมเล็กๆ
ใกล้ๆ บ้าน เป็นโรงเรียนที่แม่เป็นครูอยู่
ตอนเด็กๆ เราไม่ค่อยรู้หรอกว่า
เรา "รวย" หรือ "จน" อย่างที่คุณ NB บอกไว้
แต่เราเห็นเพื่อนจำนวนหนึ่ง...ที่ไม่มีรองเท้าใส่ไปโรงเรียน
ใส่เสื้อนักเรียนที่ขนาดไม่พอดีตัว ไม่ใหญ่เกิน..ก็คับติ้ว...และเก่ามากๆ
บางคน..อาจต้องใช้คำว่า "กระรุ่งกระริ่ง" กันเลยทีเดียว
บ้างก็ต้องใช้เชือกปอ เชือกกล้วย...รัดเอว รูดจนย่น ไม่เช่นนั้น..จะหลุด
ชายกระโปรง และชายขากางเกงถูกเลาะลง
จนหมดผ้า...ที่จะพับเพื่อสอยให้เป็นขอบได้
เป็นเรื่องที่แปลกอยู่ว่า.....เวลาเห็นเพื่อนๆ ที่เป็นแบบนี้
ทำให้เรา...ไม่รู้สึกอยากได้อะไรใหม่ๆ เลย
ทั้งชุดนักเรียน กระเป๋า ถุงเท้า รองเท้า
ใจนึงคิดว่า...ที่เรามีอยู่....ดีกว่าพวกเขาตั้งมากแล้ว
อีกใจคิดว่า...ไม่อยากให้ช่องว่าง
ระหว่างเรากับเพื่อน...ถ่างกว้างขึ้นกว่านี้
(โดยส่วนตัว...ช่างคิดเรื่องแบบนี้...มาตั้งแต่จำความได้)
นอกจากคำสอนของอาม่าที่ว่าให้ "เขียมๆ" แล้ว
ยังต้องขอบคุณเพื่อนๆ ที่ถูกเรียกว่า "เด็กยากจน" กลุ่มนี้
ที่สอนให้เราน้อมใจรู้จักคำว่า "พอเพียง" มาตั้งแต่เล็กๆ
และนิสัยนี้เอง...เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้มีเงินมาลงทุน
จนประสพความสำเร็จพอสมควร....ได้อย่างทุกวันนี้
........................................
ภาพเพื่อนๆ อย่างที่เล่ามา...ฝังใจลงไปในจิตใต้สำนึกจริงๆ
ส่งผลให้...เวลาใกล้ๆ เปิดเทอม เมื่อเห็นโฆษณาชุดนักเรียน
หรือรองเท้านักเรียนทีไร...เกิดความคิดอยู่ 2 ประเด็น
ประเด็นแรก...
ชุดนักเรียน...เป็นสินค้าที่ต้องโฆษณาจริงหรือ?
โฆษณาบางชุด...จงใจเน้นเรื่องของความรู้สึก "เท่ห์"...ที่ได้สวมใส่
มีรองเท้านักเรียนบางยี่ห้อ...ที่โฆษณาไม่เหมาะสม
(ก้าวร้าวกับครู...จนถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นวงกว้าง)
ดูแล้วอดคิดในใจไม่ได้ว่า
ถ้า "เด็กนักเรียน" รู้สึก "เท่ห์" ที่ได้ใส่ชุดนักเรียนใหม่
คงน่าเป็นห่วงอยู่ไม่น้อย..ทั้งอนาคตของเด็ก...และทั้งอนาคตของชาติ
อีกประเด็นหนึ่งที่คิดมากกว่า คือ
ครอบครัวไทยจะยากดีมีจนอย่างไร...ต้องมีทีวี
ซึ่งทีวีนั้น ทำให้เด็กยากจน....มีโอกาส
"เข้าถึง...โฆษณา" แต่ "เข้าไม่ถึง...โอกาส"
ดูแล้วรู้สึกเจ็บปวดใจแทนพ่อแม่ของเด็กเหล่านั้น
อย่างที่บอกเด็กๆ ไม่รู้หรอกว่าตัวเขาจนหรือรวย
จนวันที่เห็นโฆษณา...แล้วรบเร้าให้พ่อแม่ซื้อชุดนักเรียนใหม่
แต่ไม่เคยได้นั่นแหละ...หลายคนจึงจะเริ่มรับรู้
พอดีเคยมีโอกาสได้ยินบทสนทนา...ที่ฟังแล้วรู้สึกสะท้อนใจ
ของครอบครัว "เด็กยากจน" ที่ "หน้าร้าน"...ขายชุดนักเรียน
ไม่ได้พิมพ์ผิดค่ะ "หน้าร้าน" จริงๆ ไม่ใช่ "ในร้าน"
...................................
ขออนุญาตใช้คำว่า "เด็กยากจน"
ตามที่ใช้กันอยู่ทั่วไป...ทั้งที่ใจรู้สึกนับถือ
มีเพลงมาฝากค่ะ....
http://www.youtube.com/watch?v=pDSy74inEtE