หน้า 2 จากทั้งหมด 3

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 07, 2013 2:47 pm
โดย peacedev
กลับมาที่คำถามครับ สิ่งที่ผมเรียนรู้จากตลาดกระทิงคือ

1. ทำกำไรได้เยอะดีครับ ชอบ ๆ
2. เม่าทำตัวเป็นเซียนใบ้หุ้นกันใหญ่ ใบ้ตัวไหนมันก็ขึ้นกันหมด หุ้นขาดทุน หุ้นเน่าเอามาเล่นกันหมด Story อะไรนิด ๆ หน่อย ๆ เอามาพ่นกันได้หมด แต่ไม่มี Valuation หรือ มีก็มั่ว ๆ เอา ให้ PE กันมั่ว ๆ กำหนดกันตามใจชอบเลย

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 08, 2013 12:35 am
โดย KittipongS
ได้เรียนรู้เรื่องอารมณ์ของตัวเองครับ มีทั้งตื่นเต้น ดีใจ กังวล กลัว โลภ โมโห ผสมปนเปกันไป ทำให้รู้ว่าตัวเองยังขาดประสบการณ์ในการควบคุมอารมณ์

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 08, 2013 9:21 am
โดย bigissue
อาจจะไม่ใช่บทเรียนนะครับ แต่เป็นบทพิสูจน์ที่ผมเพิ่งได้เจอมา
คือมือใหม่อย่างผมเคยแต่ได้ยินได้ฟังว่า เมื่อไหร่ตลาดหุ้นเป็นตลาดกระทิง
เมื่อนั้นเวลาขึ้นแท็กซี่ ไม่แน่ืคนขับอาจจะถามเราว่าเราเล่นหุ้นตัวไหน
เมื่อวานเย็นเข้า้ร้านซีเอ็ด เจอพี่คนนึงใส่ชุดซาฟารีสีกรมท่า มีป้าย Securities ปักตรงหัวไหล่ขวา
ยืนอ่านหนังสือเิริ่มต้นเล่นหุ้น ผมถึงเริ่มเข้าใจว่านี่สินะภาพสะท้อนของตลาดกระทิง :shock:

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 08, 2013 10:22 am
โดย leky
"เวลาที่ใช้ในการดูจอเพื่อดูการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแปรผกผันกับผลตอบแทนในการลงทุน" :D

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 09, 2013 9:08 am
โดย dittaphan
สิ่งที่ได้เรียนรู้..
มีสติรู้ว่าเรากำลังอยู่ในสภาวะอะไร../ผมคิดว่าเรากำลังอยู่ในความเสี่ยง../แต่หุ้นขึ้นต้องมีเรา...

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 09, 2013 9:25 am
โดย ดำ
leky เขียน:"เวลาที่ใช้ในการดูจอเพื่อดูการเคลื่อนไหวของราคาหุ้นแปรผกผันกับผลตอบแทนในการลงทุน" :D
จริงเฉพาะสำหรับคนที่ไม่มีความสามารถในการใช้ประโยชน์จากความผันผวนของราคาหุ้น แต่ไม่ได้จริงสำหรับทุกคน

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 09, 2013 9:36 am
โดย dsdumrong
ผมว่าที่ญี่ปุ่นกระทิงดุกว่ามากๆครับ :shock:

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 3:35 pm
โดย kongkiti
Nevercry.boy เขียน:เค้าเรียกว่า Port folio management? ขั้นสูงเค้าจะเรียนเรื่อง Portfolio Optimization

เอาเบื้องต้นก่อน หลักการณ์ของการบริหารความเสี่ยงคือ เราต้องเพิ่มหุ้นอีกตัวนึงเข้าไปในพอร์ตเราเรียกว่า "หุ้นเงินสด" คำว่าเงินสดนี้ในสถานะทางบัญชีแล้วจะอยู่ฝั่ง current asset คือ โดยนัยยะแล้ว นักวิศวกรการเงิน (Financial Engineer) จะมองประหนึ่งว่าเป็น Safety Stock หรือ Buffer ทางการเงิน รู้จัก Safety Stock หรือไม่? ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังแล้ว SS จะเป็นตัวกัน ไม่ให้สต๊อกขาดในเวลาที่มีความต้องการสูง ๆ ซึ่งในหลักการของการทำ Forecasting แล้ว ค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องวางแผนคำนวณ เช่น วิธี S-s , ROP เป็นต้น

นั่นหมายความว่าหากเราเชื่อว่าตลาดคาดเดาไม่ได้ การมีเงินสดไว้ในพอร์ตก็จะช่วยรักษาความสามารถในการทำกำไรของเราได้ ย้ำว่า "รักษา" ไม่ใช่ "กำจัด"

ซึ่งหุ้นเงินสดมีผลตอบแทน

อาห์ ยาวน่ะครับ ขอแค่นี้ก่อน ต้องทำงานเดี๋ยวโดนลูกน้องไล่ออก boss เอาแต่เล่นบอร์ด

แนะนำให้คุณก้องกิตติ รู้จักกับ หุ้นเงินสดก่อน ส่วนจะมีมากไปน้อยไป ไม่ดีทั้งนั้น จะทำอย่างไร? ติดไว้ นาน ๆ เลยนะครับ
อยากสอบถามพี่ NB ว่าหุ้นเงินสด นอกจากที่เป็นเงินสดจริงๆ ซึ่งมีสภาพคล่องสูงแล้ว มีอะไรบ้างครับ
ตอนนี้ผม Port ไม่ใหญ่ ยังไม่อยากโยกเงินไปมา ก็เลยรักษาเงินสดไว้ใน Port 20% ไว้กันเหนียว
คิดดูแล้วก็มีค่าเสียโอกาสเยอะเหมืิอนกัน
หากจะลงทุน TDEX ไปเลย ก็ขึ้นลงตามตลาดหุ้น

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 5:29 pm
โดย Nevercry.boy
kongkiti เขียน:
Nevercry.boy เขียน:เค้าเรียกว่า Port folio management? ขั้นสูงเค้าจะเรียนเรื่อง Portfolio Optimization

เอาเบื้องต้นก่อน หลักการณ์ของการบริหารความเสี่ยงคือ เราต้องเพิ่มหุ้นอีกตัวนึงเข้าไปในพอร์ตเราเรียกว่า "หุ้นเงินสด" คำว่าเงินสดนี้ในสถานะทางบัญชีแล้วจะอยู่ฝั่ง current asset คือ โดยนัยยะแล้ว นักวิศวกรการเงิน (Financial Engineer) จะมองประหนึ่งว่าเป็น Safety Stock หรือ Buffer ทางการเงิน รู้จัก Safety Stock หรือไม่? ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังแล้ว SS จะเป็นตัวกัน ไม่ให้สต๊อกขาดในเวลาที่มีความต้องการสูง ๆ ซึ่งในหลักการของการทำ Forecasting แล้ว ค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องวางแผนคำนวณ เช่น วิธี S-s , ROP เป็นต้น

นั่นหมายความว่าหากเราเชื่อว่าตลาดคาดเดาไม่ได้ การมีเงินสดไว้ในพอร์ตก็จะช่วยรักษาความสามารถในการทำกำไรของเราได้ ย้ำว่า "รักษา" ไม่ใช่ "กำจัด"

ซึ่งหุ้นเงินสดมีผลตอบแทน

อาห์ ยาวน่ะครับ ขอแค่นี้ก่อน ต้องทำงานเดี๋ยวโดนลูกน้องไล่ออก boss เอาแต่เล่นบอร์ด

แนะนำให้คุณก้องกิตติ รู้จักกับ หุ้นเงินสดก่อน ส่วนจะมีมากไปน้อยไป ไม่ดีทั้งนั้น จะทำอย่างไร? ติดไว้ นาน ๆ เลยนะครับ
อยากสอบถามพี่ NB ว่าหุ้นเงินสด นอกจากที่เป็นเงินสดจริงๆ ซึ่งมีสภาพคล่องสูงแล้ว มีอะไรบ้างครับ
ตอนนี้ผม Port ไม่ใหญ่ ยังไม่อยากโยกเงินไปมา ก็เลยรักษาเงินสดไว้ใน Port 20% ไว้กันเหนียว
คิดดูแล้วก็มีค่าเสียโอกาสเยอะเหมืิอนกัน
หากจะลงทุน TDEX ไปเลย ก็ขึ้นลงตามตลาดหุ้น

ตราสารหนี้ครับ+กองทุนที่ลงทุนล้อดัชนีควรมี

ที่ดินผมไม่สนใจซื้อแต่สนใจลงไปที่กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์มากกว่า
ผมขายอสังหาริมทรัพย์ของจริงมาลงกองทุนรวมแล้ว ก็ feel good คือเราถนัดทางนี้ไง
คือเราไม่ค่อยถนัดรับโทรศัพท์คุยกับนายหน้าหรือลูกค้าต่อราคาไปต่อราคามา ไปกรมที่ดิน บลา บลา บลา - อันนี้ความเห็นส่วนตัว หลายคนเล่นที่รวย ผมก็เห็นมา

เงินสดผมมีมากขึ้นครับ มีประมาณ 1.5% ของพอร์ต

นั่นคือสมมุติถ้าพอร์ตผม 1 ล้าน ผมจะสำรองเงินสดไว้ประมาณ 15,000 ครับ ต้องยอมรับว่าสมัยก่อนสำรองเงินสดน้อยกว่านี้มากแต่ช่วงนี้ตลาดกระทิงก็เลยสำรองเงินสดเพิ่มขึ้นครับเพื่อความปลอดภัย

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 5:33 pm
โดย Nevercry.boy
เสริมครับ กองทุนล้อดัชนีซึ่งผมค่อนข้างได้เปรียบคือ LTF RMF เพราะผมได้ สิทธิภาษีครับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 5:39 pm
โดย Nevercry.boy
kongkiti เขียน:
Nevercry.boy เขียน:เค้าเรียกว่า Port folio management? ขั้นสูงเค้าจะเรียนเรื่อง Portfolio Optimization

เอาเบื้องต้นก่อน หลักการณ์ของการบริหารความเสี่ยงคือ เราต้องเพิ่มหุ้นอีกตัวนึงเข้าไปในพอร์ตเราเรียกว่า "หุ้นเงินสด" คำว่าเงินสดนี้ในสถานะทางบัญชีแล้วจะอยู่ฝั่ง current asset คือ โดยนัยยะแล้ว นักวิศวกรการเงิน (Financial Engineer) จะมองประหนึ่งว่าเป็น Safety Stock หรือ Buffer ทางการเงิน รู้จัก Safety Stock หรือไม่? ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังแล้ว SS จะเป็นตัวกัน ไม่ให้สต๊อกขาดในเวลาที่มีความต้องการสูง ๆ ซึ่งในหลักการของการทำ Forecasting แล้ว ค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องวางแผนคำนวณ เช่น วิธี S-s , ROP เป็นต้น

นั่นหมายความว่าหากเราเชื่อว่าตลาดคาดเดาไม่ได้ การมีเงินสดไว้ในพอร์ตก็จะช่วยรักษาความสามารถในการทำกำไรของเราได้ ย้ำว่า "รักษา" ไม่ใช่ "กำจัด"

ซึ่งหุ้นเงินสดมีผลตอบแทน

อาห์ ยาวน่ะครับ ขอแค่นี้ก่อน ต้องทำงานเดี๋ยวโดนลูกน้องไล่ออก boss เอาแต่เล่นบอร์ด

แนะนำให้คุณก้องกิตติ รู้จักกับ หุ้นเงินสดก่อน ส่วนจะมีมากไปน้อยไป ไม่ดีทั้งนั้น จะทำอย่างไร? ติดไว้ นาน ๆ เลยนะครับ
อยากสอบถามพี่ NB ว่าหุ้นเงินสด นอกจากที่เป็นเงินสดจริงๆ ซึ่งมีสภาพคล่องสูงแล้ว มีอะไรบ้างครับ
ตอนนี้ผม Port ไม่ใหญ่ ยังไม่อยากโยกเงินไปมา ก็เลยรักษาเงินสดไว้ใน Port 20% ไว้กันเหนียว
คิดดูแล้วก็มีค่าเสียโอกาสเยอะเหมืิอนกัน
หากจะลงทุน TDEX ไปเลย ก็ขึ้นลงตามตลาดหุ้น
I am just want to question you about 20% cash holding

Is there any reason behind why 20%

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 5:49 pm
โดย kongkiti
Nevercry.boy เขียน:
kongkiti เขียน:
Nevercry.boy เขียน:เค้าเรียกว่า Port folio management? ขั้นสูงเค้าจะเรียนเรื่อง Portfolio Optimization

เอาเบื้องต้นก่อน หลักการณ์ของการบริหารความเสี่ยงคือ เราต้องเพิ่มหุ้นอีกตัวนึงเข้าไปในพอร์ตเราเรียกว่า "หุ้นเงินสด" คำว่าเงินสดนี้ในสถานะทางบัญชีแล้วจะอยู่ฝั่ง current asset คือ โดยนัยยะแล้ว นักวิศวกรการเงิน (Financial Engineer) จะมองประหนึ่งว่าเป็น Safety Stock หรือ Buffer ทางการเงิน รู้จัก Safety Stock หรือไม่? ในการบริหารจัดการสินค้าคงคลังแล้ว SS จะเป็นตัวกัน ไม่ให้สต๊อกขาดในเวลาที่มีความต้องการสูง ๆ ซึ่งในหลักการของการทำ Forecasting แล้ว ค่อนข้างยากแต่เราก็ต้องวางแผนคำนวณ เช่น วิธี S-s , ROP เป็นต้น

นั่นหมายความว่าหากเราเชื่อว่าตลาดคาดเดาไม่ได้ การมีเงินสดไว้ในพอร์ตก็จะช่วยรักษาความสามารถในการทำกำไรของเราได้ ย้ำว่า "รักษา" ไม่ใช่ "กำจัด"

ซึ่งหุ้นเงินสดมีผลตอบแทน

อาห์ ยาวน่ะครับ ขอแค่นี้ก่อน ต้องทำงานเดี๋ยวโดนลูกน้องไล่ออก boss เอาแต่เล่นบอร์ด

แนะนำให้คุณก้องกิตติ รู้จักกับ หุ้นเงินสดก่อน ส่วนจะมีมากไปน้อยไป ไม่ดีทั้งนั้น จะทำอย่างไร? ติดไว้ นาน ๆ เลยนะครับ
อยากสอบถามพี่ NB ว่าหุ้นเงินสด นอกจากที่เป็นเงินสดจริงๆ ซึ่งมีสภาพคล่องสูงแล้ว มีอะไรบ้างครับ
ตอนนี้ผม Port ไม่ใหญ่ ยังไม่อยากโยกเงินไปมา ก็เลยรักษาเงินสดไว้ใน Port 20% ไว้กันเหนียว
คิดดูแล้วก็มีค่าเสียโอกาสเยอะเหมืิอนกัน
หากจะลงทุน TDEX ไปเลย ก็ขึ้นลงตามตลาดหุ้น
I am just want to question you about 20% cash holding

Is there any reason behind why 20%
ถ้านับรวมพวก LTF, ประกันไปด้วย ก็มีเงินสดไม่ถึง 20% ครับ น่าจะประมาณ 10%
สาเหตุหลักที่มีเงินสดเอาไว้ เผื่อตอน Correction ครับ
คราวที่น้ำท่วม บางตัวลงมา แต่ไม่มีเงินซื้อเพิ่มครับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 6:19 pm
โดย Nevercry.boy
โอเค 10% ตัวเลขอะไรหุ้นตกก็ซื้อได้ครับ

น้ำท่วมอีกรอบ10% จะเอาอยู่หรือครับ

น้องเองก็เอ่ยปากว่าเสียโอกาส

หุ้นกระทิงก็ทำให้รู้สึกหงุดหงิดอยู่เวลาเราไม่มีหุ้น

ทำไมไม่เป็น 11% 9% 6.2% หรือ 15% หรืออื่นๆ

หรือประมาณนี้หล่ะครับปลอดภัยดี

หรืเพราะเกิดเดือนตุลา

หรือเกิดวันที่สิบหรือเพราะกลัวหรือเพราะโลภ

Point ของผมอยู่ตรงนี้หล่ะครับมีsafety stock เท่าไรดีจึงจะบริหารความเสี่ยงในพอร์ตได้อย่างเหมาะสม

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 7:31 pm
โดย kongkiti
สำหรับเรื่อง Safety stock ในเชิงวิศวกรรม เราก็ต้องคำนวณให้เหมาะกับประเภทของธุรกิจ ใช่ไหมครับพี่ NB
เช่น หากเป็นโรงงงาน วัตถุดิบไหนที่ใช้เยอะ ก็ต้องเก็บให้มากหน่อย วัตถุดิบไหนใช้น้อย ก็เก็บให้น้อยหน่อย หรือวัตถุดิบไหนที่ lead time เวลาสั่งของนานๆ ก็ต้องสั่งไปล่วงหน้า หรือเก็บเพิ่มให้มากหน่อย เป้าหมายคือ ให้ดำเนินการผลิต ต่อไปได้ ไม่สะดุด

กลับมาที่การลงทุน ผมว่าก็น่าจะขึ้นกับความจำเป็นในการใช้เงินของแต่ละคนรึเปล่าครับ หากมึหนี้ก็ต้องกันเงินสดเอาไว้หมุนส่วนหนึ่ง คงลงทุนทั้งหมดไม่ได้

จริงๆ ผมก็ไม่ได้เรียนหลักวิชาในการบริหาร portfolio อ่ะครับ
แต่สำหรับช่วงนี้ที่หุ้นราคาแพงมีอยู่มาก ผมคิดแต่เพียงว่า
1) เงินสดหรือเทียบเท่า ที่มีอยู่ ต้องพอทึ่จะให้ลงทุนแล้วมีผลกระทบต่อ portfolio ซึ่งตัวเลขนี้ผมอยากให้มีมากกว่า 5%
2) เงินสดหรือเทียบเท่าที่มี ต้องไม่มากเกินไป จนเราคิดว่าเสียโอกาส มากๆ ในกรณีนี้ ผมคิดว่าไม่ควรเกิน 20% ครับ อันนี้ก็แล้วแต่ความสบายใจของแต่ละคนอ่ะครับ

ที่มีสัดส่วนเงินสดเยอะ ดูเหมือนจะโลภ รอ correction ก็เป็นอย่างนั้นจริงๆ อ่ะครับ
(พอดีฝีมือยังไม่เข้าขั้น หาบริษัททึ่จะเติบโตดีๆ แต่ราคา ok เจอไม่เยอะอ่ะครับ ตัองรอช่วง sales)

แต่คิดดูอีกที สำหรับผมก็ไม่ได้มีหนึ้อะไร และเงินที่เอามาลงทุนก็เป็นเงินเย็น ดังนั้นน่าจะ optimize portfolio ได้ดีกว่านี้

เคยอ่านตำรา เขาว่า ถัาไม่รู้จะเอาเงินไปทำอะไรก็ให้ลงทุนกับกองทุนอิงดัชนี หรือ index fund

ขอคำชี้แนะเพิ่มเติมจากพี่ NB ดีกว่าครับ ว่าทำไมถึงมีสัดส่วนเงินสดที่ 1.5% และเงินส่วนอืีนๆ บริหารจัดการในการลงทุนอย่างไรบ้าง (ในช่วงเวลาแบบนี้)

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 8:13 pm
โดย Nevercry.boy
Wow good point คุณก้องกิตติสุดยอดครับคีย์เวิร์ดคือความเสี่ยงของหุ้นในมือคุณมีdownside กี่% จากความสามารถในการทำกำไรไม่ใช่ราคาเพราะเราลงทุนแบบเป็นเจ้าของกิจการ

ถ้าสุดยอดกิจการลงมาให้ผมซื้อผมก็ซื้อครับ

Ss นั้นให้ใช้หลักเหมือนการคำนวณทางวิศวกรรมapply แล้วคือการป้องกันความเสี่ยงไม่ใช่การทำกำไรไม่มีเลยยิ่งดีแต่ชีวิตจริงทำได้หรือไม่

ผมซื้อได้ผมทำได้เพราะผมมีเงินเดือนซึ่งเป็นnatural hedge อยู่แล้วดังนั้นผมไม่มีความจำเป็นจะต้องเสียopportunity cost ที่สูงเพราะแบกเงินสดมากเกินความจำเป็นนั่นคือถ้ามันไม่ตกลงมาให้ซื้อก็จะกลายเป็นsunk cost

เคนฟิชเชอร์กล่าวว่าไม่มีใครบอกได้ว่าตลาดกระทิงจะสิ้นสุดยาวนานเท่าไรแท้จริงแล้วเราอาจจะอยู่ในตลาดหมีอยู่ก็ได้ แต่เมื่อไร

หุ้นในความเห็นของผมคือworking cap ส่วนเงินสดคือlazy cap เราควรใช้เงินหนักไม่ให้พักไม่ให้ผ่อน เอ่อใช้เงินทำงานนะครับไม่ได้หมายถึงให้เอาเงินไปใช้

จริง ๆมันไม่ได้อยู่ที่กี่ % ครับมันอยู่ที่ความแม่นบวกกลยุทธ์ในการลงทุนถ้าพบว่าในพอร์ตเรามีdownside risk x% มีเงินสด x% ก็โอเค แต่ถ้ามองว่ามีอัพไซด์แบบไม่โกหกตัวเองในพอร์ตยังโตได้อีกด้วยปจจัยพืนฐานไม่ใช่ราคาเราก็ลดจาก x% ลงมาได้ครับอยู่ที่ความเข้าใจในสินทรัพย์ที่เราถือครองครับ

ผมไม่อยากให้เรายึดติดพระอาจารย์ที่ผมบวชด้วยท่านก็สอนให้หมั่นพิจารณา ตัวเลขจิตวิมยาเช่น 5% 10% 20% มันเป็นอะไรที่เรายึดติดคุณก้องกิตติลองถามตัวเองและลองคำนวณหุ้นทุกตัวในพอร์ตดูความเสี่ยงขาลงดูครับบางทีอาจได้ตัวเลขใหม่มากขึ้นน้อยลงพี่ไม่ทราบแต่น่าจะทำให้เราหาss ที่เหมาะสมได้ครับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 8:22 pm
โดย Nevercry.boy
จิตวิทยาการลงทุนอย่างนึงคือเมื่อเราขายไปแล้วเรามักจะไม่มีวันซื้อหุ้นตัวเดิมคืนครับ

และเราก็จะมองมันไม่ว่ามันจะขึ้นหรือลงเรามักไปหาตัวใหม่ครับทั้งๆที่มันควรจะเป็นหุ้นที่เรามี

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 8:24 pm
โดย kongkiti
Get idea แล้วครับ ขอบคุณมากเลยครับพี่ NB
จะไปลองปรับใช้ดูนะครับ ให้เงินมันทำงานให้มากกว่านึ้หน่อย แบบเสี่ยงน้อย
ได้ความอย่างไรคงตัองรอวัดผลกันอีกซักหลายปี ฮ่าๆๆ

ขอถามเพิ่มนิดนึงว่าหนังสือของ Ken Fisher นอกจาก Super Stock แล้ว มีเล่มอื่นๆ ที่น่าสนใจไหมครับ หรือว่าอ่านมันทุกเล่มที่เขาเขียนเลยดี :P

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มี.ค. 10, 2013 8:29 pm
โดย Nevercry.boy
kongkiti เขียน:Get idea แล้วครับ ขอบคุณมากเลยครับพี่ NB
จะไปลองปรับใช้ดูนะครับ ให้เงินมันทำงานให้มากกว่านึ้หน่อย แบบเสี่ยงน้อย
ได้ความอย่างไรคงตัองรอวัดผลกันอีกซักหลายปี ฮ่าๆๆ

ขอถามเพิ่มนิดนึงว่าหนังสือของ Ken Fisher นอกจาก Super Stock แล้ว มีเล่มอื่นๆ ที่น่าสนใจไหมครับ หรือว่าอ่านมันทุกเล่มที่เขาเขียนเลยดี :P
Debunkers เล่มนี้อ่านแล้วผมกลายเป็นอีกคนไปเลยเปิดกะลาหัวผุๆของผม

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 11, 2013 7:24 pm
โดย prichar s.
ราคาหุ้นจำนวนมากปรับขึ้นวันละ 20-30%
บางครั้ง 10-15 วัน ปรับขึ้นถึง 100%
ไม่เพียงแต่"แพง" แต่ "ไร้เหตุผล"
เป็นเรื่องที่น่ากลัว สมควรกลัว ทว่ากลับไม่มีใครกลัว...เลย
ที่ร้ายยิ่งกว่า...คือปรากฏการณ์เหล่านี้ดูเหมือนเป็นที่ชื่นชอบของฝูงชนในตลาด
กระทู้1 เด้ง, 10 เด้ง, 10 ล้าน, 100 ล้าน กลายเป็นกระทู้ชินตา
ความละโมภ(greedy)กำลังครอบงำผู้คนในตลาด??

นักลงทุนตัวจริงที่ยึดหลักการลงทุนเน้นคุณค่ากำลังถูกทดสอบครั้งใหญ่

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 11, 2013 7:52 pm
โดย ดำ
Nevercry.boy เขียน:จิตวิทยาการลงทุนอย่างนึงคือเมื่อเราขายไปแล้วเรามักจะไม่มีวันซื้อหุ้นตัวเดิมคืนครับ

และเราก็จะมองมันไม่ว่ามันจะขึ้นหรือลงเรามักไปหาตัวใหม่ครับทั้งๆที่มันควรจะเป็นหุ้นที่เรามี
วันนี้เพิ่งขายหุ้น 2 ตัวออกไปตอนเช้า แล้วซื้อกลับตอนบ่ายทั้ง 2 ตัวในราคาแพงกว่าเดิมทั้งคู่อยู่เลยครับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 11, 2013 7:55 pm
โดย istyle
ดำ เขียน:
Nevercry.boy เขียน:จิตวิทยาการลงทุนอย่างนึงคือเมื่อเราขายไปแล้วเรามักจะไม่มีวันซื้อหุ้นตัวเดิมคืนครับ

และเราก็จะมองมันไม่ว่ามันจะขึ้นหรือลงเรามักไปหาตัวใหม่ครับทั้งๆที่มันควรจะเป็นหุ้นที่เรามี
วันนี้เพิ่งขายหุ้น 2 ตัวออกไปตอนเช้า แล้วซื้อกลับตอนบ่ายทั้ง 2 ตัวในราคาแพงกว่าเดิมทั้งคู่อยู่เลยครับ
เพราะอะไรเหรอครับ :shock:

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 11, 2013 8:06 pm
โดย ดำ
istyle เขียน:
ดำ เขียน:
Nevercry.boy เขียน:จิตวิทยาการลงทุนอย่างนึงคือเมื่อเราขายไปแล้วเรามักจะไม่มีวันซื้อหุ้นตัวเดิมคืนครับ

และเราก็จะมองมันไม่ว่ามันจะขึ้นหรือลงเรามักไปหาตัวใหม่ครับทั้งๆที่มันควรจะเป็นหุ้นที่เรามี
วันนี้เพิ่งขายหุ้น 2 ตัวออกไปตอนเช้า แล้วซื้อกลับตอนบ่ายทั้ง 2 ตัวในราคาแพงกว่าเดิมทั้งคู่อยู่เลยครับ
เพราะอะไรเหรอครับ :shock:
ไม่น่าจะเอาอย่างหรอกครับ แล้วก็ไม่ใช่แนว VI ด้วย

ตัวนึงซื้อไว้เพราะศึกษามาแล้วว่ากำไรปีนี้จะเติบโตดี แต่เมื่อเช้าไปอ่านเจอข่าวเก่า (ประมาณเกือบเดือน) ที่อาจกระทบราคาหุ้นเลยจิตตกขายทิ้ง พอพักเที่ยง ลองทบทวนดูคิดว่าต่อให้กระทบก็ยังไม่น่าใช่เร็วๆนี้ เลยตัดสินใจซื้อกลับตามที่มองไว้แต่เดิม

อีกตัวนึง ขายเพราะคิดว่าหลายวันที่ผ่านมาขึ้นมาเยอะ น่าจะเจอ Sell on Fact ปรากฏว่าปรับฐานไม่นานมีแรงซื้อหุ้นขึ้นต่อ เลยซื้อกลับ เพราะตั้งใจแต่แรกว่าจะถือตามไปจนกว่าแรงซื้อรอบนี้จะจบรอบครับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 13, 2013 6:16 pm
โดย kongkiti
prichar s. เขียน:ราคาหุ้นจำนวนมากปรับขึ้นวันละ 20-30%
บางครั้ง 10-15 วัน ปรับขึ้นถึง 100%
ไม่เพียงแต่"แพง" แต่ "ไร้เหตุผล"
เป็นเรื่องที่น่ากลัว สมควรกลัว ทว่ากลับไม่มีใครกลัว...เลย
ที่ร้ายยิ่งกว่า...คือปรากฏการณ์เหล่านี้ดูเหมือนเป็นที่ชื่นชอบของฝูงชนในตลาด
กระทู้1 เด้ง, 10 เด้ง, 10 ล้าน, 100 ล้าน กลายเป็นกระทู้ชินตา
ความละโมภ(greedy)กำลังครอบงำผู้คนในตลาด??

นักลงทุนตัวจริงที่ยึดหลักการลงทุนเน้นคุณค่ากำลังถูกทดสอบครั้งใหญ่
หลายคนคงคิดแค่ว่าน่าจะ cut loss ทันอ่ะครับ...
(ของจริงไม่มีใครบอกได้ว่าจะฟองสบู่แตกเมื่อไหร่)
เพื่อนๆ ก็ไม่ได้สนใจพื้นฐานกันซักเท่าไหร่

สำคัญคือ เหล่านักลงทุนผู้เคยพบเหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกจะทำอย่างไร
ผมเองก็ชักจะหวั่นไหว...
คงคิดได้แต่เพียงว่า
"ขายหมูได้ แต่อย่าซื้อควาย มาละกัน :twisted: )"

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 13, 2013 7:29 pm
โดย prichar s.
kongkiti เขียน:
prichar s. เขียน:ราคาหุ้นจำนวนมากปรับขึ้นวันละ 20-30%
บางครั้ง 10-15 วัน ปรับขึ้นถึง 100%
ไม่เพียงแต่"แพง" แต่ "ไร้เหตุผล"
เป็นเรื่องที่น่ากลัว สมควรกลัว ทว่ากลับไม่มีใครกลัว...เลย
ที่ร้ายยิ่งกว่า...คือปรากฏการณ์เหล่านี้ดูเหมือนเป็นที่ชื่นชอบของฝูงชนในตลาด
กระทู้1 เด้ง, 10 เด้ง, 10 ล้าน, 100 ล้าน กลายเป็นกระทู้ชินตา
ความละโมบ(greedy)กำลังครอบงำผู้คนในตลาด??

นักลงทุนตัวจริงที่ยึดหลักการลงทุนเน้นคุณค่ากำลังถูกทดสอบครั้งใหญ่
หลายคนคงคิดแค่ว่าน่าจะ cut loss ทันอ่ะครับ...
(ของจริงไม่มีใครบอกได้ว่าจะฟองสบู่แตกเมื่อไหร่)
เพื่อนๆ ก็ไม่ได้สนใจพื้นฐานกันซักเท่าไหร่

สำคัญคือ เหล่านักลงทุนผู้เคยพบเหตุการณ์นี้เป็นครั้งแรกจะทำอย่างไร
ผมเองก็ชักจะหวั่นไหว...
คงคิดได้แต่เพียงว่า
"ขายหมูได้ แต่อย่าซื้อควาย มาละกัน :twisted: )"


คนเคยขับรถทางไกลจะพบเห็นบ่อย ๆ
รถ 4-5 คัน ขับตามกันเป็นขบวนด้วยความเร็วในระยะประชิด
เกาะกันแบบไม่มีใครยอมหลุดขบวน
ทั้ง ๆ ที่ทุกคนรู้ว่าการขับแบบนั้น อันตราย
คันใดคันหนึ่งเกิดปัญหา ทุกคันจะเจออุบัืติเหตุด้วย
ทำไมยังขับกันแบบนั้น
เพราะ..แต่ละคนเชื่อมั่นว่า อุบัติเหตุจะไม่เกิดกับตัวเอง
แต่ละคนเชื่อมั่นว่าขับรถเก่งมากพอเอาตัวรอดได้

และ 10 ครั้ง ถึงจุดหมายทั้ง 10 ครั้ง ยิ่งเป็นการยืนยัน
ว่าเก่งพอเอาตัวรอดได้

ส่วนตัวผมมองว่าการขับแบบนี้เป็นความเสี่ยง
ต่อให้ 100 ครั้งไม่เกิดอะไรร้าย ก็ไม่ได้ลดความเสี่ยงของครั้งที่ 101 ลงเลย
ผมไม่พร้อมจะเอาชีวิตตัวเองและหรือครอบครัวมาเสี่ยง
เจอขบวนรถแบบนี้ทีไร ผมจะหลีกเลี่ยงให้ไกล

ในตลาดหุ้นก็เหมือนกัน
ทุกวันนี้พยายามมองหุ้นประเภทเผลอเป็นเด้งให้น้อยลง(อิจฉาตาร้อนมาก)

วิธีจัดการความเสี่ยงของผมคือ "ไม่เสี่ยง"
............................................................................
เรื่องบางเรื่องสอน-บอก-อธิบาย-บรรยาย-พรรณา เยี่ยงไร ก็ยากจะให้เป็นที่เข้าใจแก่คนทั่วไป
--ต้องเจอกับตัวเอง

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 13, 2013 7:43 pm
โดย torpongpak
หุ้น ราคาหุ้น เเละตัวเราเองต่างอาศัยอยู่ในโลก โลกเป็นวงกลม สิ่งที่อยู่ในโลกก็ย่อมเป็นวงกลมวันยังค่ำ หนีไม่พ้น

หน้าที่เราคือทำอย่างไรให้ปรับใจรับกับทุกช่วงของวงกลมอย่างมีสติ รับมือกับสุขเเละทุกข์อย่างพอดี^^

ผมก้อกำลังฝึกอยู่ครับเเละได้เรียนรู้มากๆจากภาวะกระทิงดุเช่นนี้

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 14, 2013 5:28 pm
โดย peacedev
prichar s. เขียน:
คนเคยขับรถทางไกลจะพบเห็นบ่อย ๆ
รถ 4-5 คัน ขับตามกันเป็นขบวนด้วยความเร็วในระยะประชิด
เกาะกันแบบไม่มีใครยอมหลุดขบวน
ทั้ง ๆ ที่ทุกคนรู้ว่าการขับแบบนั้น อันตราย
คันใดคันหนึ่งเกิดปัญหา ทุกคันจะเจออุบัืติเหตุด้วย
ทำไมยังขับกันแบบนั้น
เพราะ..แต่ละคนเชื่อมั่นว่า อุบัติเหตุจะไม่เกิดกับตัวเอง
แต่ละคนเชื่อมั่นว่าขับรถเก่งมากพอเอาตัวรอดได้

และ 10 ครั้ง ถึงจุดหมายทั้ง 10 ครั้ง ยิ่งเป็นการยืนยัน
ว่าเก่งพอเอาตัวรอดได้

ส่วนตัวผมมองว่าการขับแบบนี้เป็นความเสี่ยง
ต่อให้ 100 ครั้งไม่เกิดอะไรร้าย ก็ไม่ได้ลดความเสี่ยงของครั้งที่ 101 ลงเลย
ผมไม่พร้อมจะเอาชีวิตตัวเองและหรือครอบครัวมาเสี่ยง
เจอขบวนรถแบบนี้ทีไร ผมจะหลีกเลี่ยงให้ไกล

ในตลาดหุ้นก็เหมือนกัน
ทุกวันนี้พยายามมองหุ้นประเภทเผลอเป็นเด้งให้น้อยลง(อิจฉาตาร้อนมาก)

วิธีจัดการความเสี่ยงของผมคือ "ไม่เสี่ยง"
............................................................................
เรื่องบางเรื่องสอน-บอก-อธิบาย-บรรยาย-พรรณา เยี่ยงไร ก็ยากจะให้เป็นที่เข้าใจแก่คนทั่วไป
--ต้องเจอกับตัวเอง
สุดยอดครับ
ผมเองก็ยอมถึงช้าหน่อยแต่ชัวร์คับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 14, 2013 6:06 pm
โดย kraikria
prichar s. เขียน:ราคาหุ้นจำนวนมากปรับขึ้นวันละ 20-30%
บางครั้ง 10-15 วัน ปรับขึ้นถึง 100%
ไม่เพียงแต่"แพง" แต่ "ไร้เหตุผล"
เป็นเรื่องที่น่ากลัว สมควรกลัว ทว่ากลับไม่มีใครกลัว...เลย
ที่ร้ายยิ่งกว่า...คือปรากฏการณ์เหล่านี้ดูเหมือนเป็นที่ชื่นชอบของฝูงชนในตลาด
กระทู้1 เด้ง, 10 เด้ง, 10 ล้าน, 100 ล้าน กลายเป็นกระทู้ชินตา
ความละโมภ(greedy)กำลังครอบงำผู้คนในตลาด??

นักลงทุนตัวจริงที่ยึดหลักการลงทุนเน้นคุณค่ากำลังถูกทดสอบครั้งใหญ่
เห็นด้วยอย่างไม่มีข้อโต้แย้งครับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 15, 2013 11:01 am
โดย paoz
ที่ผมสัมผัสได้ในช่วงนี้คือ คนที่รู้จักใกล้ตัวและรอบตัวผมสนใจที่จะเข้ามาลงทุนหุ้นกันเยอะเลยครับ สงสัยมีแต่คนเห็นว่าหุ้นขึ้นเยอะจึงสนใจเข้ามาลงทุนในหุ้นกันเยอะจริงๆ ผมว่าเป็นเรื่องที่น่ากลัวการที่เข้ามาลงทุนโดยปราศจากความรู้ และการที่หันไปทางไหนก็มีแต่คนสนใจในเรื่องหุ้นเหมือนจะบ่งบอกนัยยะอะไรบ้างอย่างนะครับ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 02, 2013 10:09 pm
โดย kongkiti
Nevercry.boy เขียน:
kongkiti เขียน:Get idea แล้วครับ ขอบคุณมากเลยครับพี่ NB
จะไปลองปรับใช้ดูนะครับ ให้เงินมันทำงานให้มากกว่านึ้หน่อย แบบเสี่ยงน้อย
ได้ความอย่างไรคงตัองรอวัดผลกันอีกซักหลายปี ฮ่าๆๆ

ขอถามเพิ่มนิดนึงว่าหนังสือของ Ken Fisher นอกจาก Super Stock แล้ว มีเล่มอื่นๆ ที่น่าสนใจไหมครับ หรือว่าอ่านมันทุกเล่มที่เขาเขียนเลยดี :P
Debunkers เล่มนี้อ่านแล้วผมกลายเป็นอีกคนไปเลยเปิดกะลาหัวผุๆของผม
พี่ NB ครับ
ผมเพิ่งอ่านเล่มนี้จนจบ ตามคำแนะนำของพี่ (Part หลังๆ เป็นเรื่องก่อการร้าย เลย Scan ผ่านไปเลยครับ)
ผมคิดว่า เรื่อง Debunkery นี่เป็นหนังสือที่ดีมากๆ อีกเล่มหนึ่ง
Recommend 5 Star เลยครับว่าอยากให้ทุกคนลองอ่าน
http://www.amazon.com/Debunkery-Profit- ... 1118077016

อ่านแล้วเพิ่งเข้าใจตัวตนที่แท้จริงของ อ.เคน ฟิชเชอร์
ผมว่าแกมีแนวคิดที่เป็นวิทยาศาสตร์มากๆ เป็นเหมือนนักทดลอง นักวิจัย
สิ่งที่ผมได้จากหนังสือเล่มนี้ ที่โดนใจที่สุดคือ การทดลอง เรียนรู้ด้วยตัวเอง
โดยอย่าเชื่ออะไรง่ายๆ (หากเป็นทางพุทธฯ เราก็ กาลมสูตร)
อย่าเชื่อที่เขาบอกมาว่า หุ้น PE ต่ำๆ คือหุ้นที่มีความเสี่ยงน้อย
หรือ อย่าเชื่อในสัญชาติญานของตัวเอง (รู้งี้...) ซึ่งคนเรามักจะจำแต่เหตุการณ์ที่คิดถูก
แต่ที่คิดผิด อาจเยอะกว่า แต่ไม่เคยจำ (เพราะมันเจ็บปวดยิ่งนัก)
อย่าเชื่อ จนกว่าจะได้ทดลองเอง
ซึ่งเรามีห้องทดลองที่มีข้อมูลมหาศาลอยู่แล้ว ก็คือ ข้อมูลในอดีตนั่นเอง

แนะนำให้เพื่อนๆ อ่านกันครับ
ใครอยากได้หนังสือเป็นเล่มๆ แนะนำ Kino Kuniya สาขา สยามพารากอนครับ
หรือใครอยากได้เป็นไฟล์ e-book PM มาหาผมก็ได้นะครับ เดี๋ยวส่งให้ :mrgreen:

ปล. อ.เคน บอกว่า Ratio อันสุดยอดของแกคือ PSR (Price Sales Ratio) พอคนรู้กันเยอะๆ ก็เริ่มออกผลน้อยลงแล้วนะครับ ไม่มีสูตรสำเร็จ

Re: สิ่งที่เรียนรู้จากช่วงตลาดกระทิงดุ

โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 02, 2013 10:59 pm
โดย kongkiti
เผย บจ.ไทยเร่งเสริมความแข็งแกร่ง แห่ขอใช้เครื่องมือทางการเงินเพื่อตุนเงินสด และเพิ่มสภาพคล่อง แค่ไตรมาสแรกปี 56 ยอดพุ่ง 110 ราย เกือบเท่ายอดรวมของทั้งปี 55
http://www.manager.co.th/iBizChannel/Vi ... 0000039294

น.ส.ปวีณา ศรีโพธิ์ทอง ผู้ช่วยผู้จัดการ หัวหน้ากลุ่มงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) เปิดเผยว่า จากการสำรวจการขอมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น พบว่า ณ สิ้นไตรมาส 1/56 มีบริษัทจดทะเบียนไทย (บจ.) ขอมติผู้ถือหุ้นใช้เครื่องมือทางการเงินถึง 110 บริษัท ซึ่งถือว่าเพิ่มขึ้นมาก หรือเกือบเท่ากับทั้งปี 55 ที่มีการใช้เครื่องมือทางการเงิน 113 บริษัท แบ่งเป็นการออกหุ้นปันผล (สต๊อก ดิวิเดนท์) 51 บริษัท เป็นผลจากต้องการนำเงินสดมาลงทุน การออกใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหุ้นสามัญ (วอร์แรนต์) 40 บริษัท เนื่องจาก บจ.ต้องการใช้เงินสดในอนาคต และเพิ่มสภาพคล่องให้แก่บริษัท และสุดท้ายคือ การแตกมูลค่าหุ้น 13 บริษัท

“ตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมา สต๊อก ดิวิเดนท์ มีแนวโน้มเติบโตขึ้นมาก เห็นได้จากแม้ปีที่ผ่านมา บจ.จะมีการลงทุนเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 15% ซึ่งเป็นเหตุให้ต้นทุนเพิ่มขึ้น แต่ยังมีการจ่ายเงินปันผลในอัตราสูง หรือบางบริษัทก็ออกเป็นสต๊อก ดิวิเดนท์แทน เนื่องจากปัจจัยพื้นฐานของบริษัทยังแข็งแกร่ง และต้องการเงินลงทุนในธุรกิจเพิ่มขึ้น”

ทั้งนี้ ในปี 55 บจ. มีการลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 447,968 ล้านบาท เทียบกับปี 54 ที่มีการลงทุน 386,797 ล้านบาท โดยกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวรมาก 5 อันดับแรก คือ พลังงาน 163,050 ล้านบาท อาหาร 38,263 ล้านบาท สื่อสาร 34,261 ล้านบาท ขนส่งและลอจิสติกส์ 33,244 ล้านบาท และพาณิชย์ 28,119 ล้านบาท

-จบ-