หน้า 2 จากทั้งหมด 4

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 10:01 am
โดย i_sarut
[quote="simplelife"][quote="i_sarut"]
อีกอย่างคือ รัฐบาลน่าจะเห็นว่า การบริโภคที่ลดลงอย่างมากเพราะเศรษฐกิจไม่ดี ก็น่าจะขายพันธบัตรแล้วเอาเงินจากครัวเรือนที่ไม่ได้ใช้(เก็บออมเฉยๆ) มากระตุ้นการใช้จ่ายโดยตรงจากรัฐบาลเองดีกว่าครับ

ผิดถูกยังไงรบกวนชี้แนะด้วยนะครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 10:11 am
โดย อะไรดีละ
[quote="i_sarut"][quote="simplelife"][quote="i_sarut"]

พี่ simplelife เห็นว่าการไปดึงเงินออกมาตอนนี้ ทำให้ในอนาคตเราจะขาดสภาพคล่องใช่มั๊ยครับ

คือจริงๆ ผมคิดว่าระดับกระทรวงการคลังที่มีคนเก่งมากมาย รัฐมนตรีอย่างคุณกรณ์คงไม่ออกนโยบายอะไรที่ส่งผลเสียต่อประเทศนะครับ ผมเลยมองต่างจาก พี่อะไรดีละ และ พี่simplelife ครับ

นี่ละคือสิ่งที่ผมกังวลสุดๆ....
ผมคิดว่าคุณกรณ์เก่ง   คนในกระทรวงการคลังเก่ง  นักวิชาการเก่ง
แต่ที่ไหนได้  คนเหล่านี้รวยมาก  อยู่บนหอคอยมาตลอด  ไม่เคยเข้าใจชีวิตการออม  การใช้จ่ายของคนชั้นกลาง และ รากหญ้าครับ
ดังนั้น แนวคิดกองทุนการออมเพื่อชราภาพ (กอช.) จึงได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง  ทั้งจากฟากรัฐบาลและ นักวิชาการ
ผมเชื่อว่าถ้าเรื่องนี้  ถูกนำเข้าสภาจริงๆ  อาจถูกคว่ำกลางสภาได้  เพราะ ฝ่ายค้านจะยกเอาเหตุผลต่างๆ  เข้าหักล้างเต็มที่  และ มันเป็นผลเสียกับประเทศชาติในการฟื้นฟู ศก.อย่างเห็นได้ชัด

ทุกคนหวังว่า รมว.คลังจะไม่ออกนโยบายที่ส่งผลเสียกับประเทศชาติ
เรื่องก็คือว่า ท่านรู้หรือไม่ว่า  การออม  ของคนรากหญ้าคืออะไร  มีต้นทุนอะไรบ้าง  และ กอช. มีผลเสียอย่างไรต่อการฟื้นตัวของ ศก.  

บางทีคนเราก็ทำอะไรโดยไม่ตั้งใจ  แต่มีผลเสียกับประเทศได้ครับ  
:roll:

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 11:00 am
โดย i_sarut
รบกวนช่วยขยายความ
การออม  ของคนรากหญ้าคืออะไร  มีต้นทุนอะไรบ้าง  และ กอช. มีผลเสียอย่างไรต่อการฟื้นตัวของ ศก.
ขอความรู้ครับ  :P

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 11:25 am
โดย Undertaker
บางครั้งก็กระตุ้นการใช้จ่าย บางครั้งก็ส่งเสริมการออม

ผมคิดว่าการออมเป็นสิ่งที่ดีมาก รัฐบาลควรสนับสนุนการออม  แต่ถ้าสนับสนุนการออมโดยการนำเงินออมในการซื้อกรมธรรม์ประกันชีวิต ไปหักลดหย่อนภาษี ผมว่ามันไม่เหมาะสม

เหตุผลก็คือ ปัจจุบันเบี้ยประกันชีวิต สามารถหักลดหย่อนภาษีได้สูงสุด 100,000 บาท แต่มันเป็นประโยชน์สำหรับคนมีเงิน (คนรวย) มากกว่า คนที่มีรายได้น้อย ไม่ได้ประโยชน์จากตรงนี้เลย แล้วจะบอกว่าส่งเสริมการออมได้ยังไง ในเมื่อฝนตกไม่ทั่วฟ้า  

อีกอย่างก็คือ LTF&RMF หักลดหย่อนได้ตั้ง 700,000 บาท คนหาเช้ากินค่ำทั่ว ๆ ไป ใครจะมีเงินขนาดนั้น

ทั้ง 2 อย่างนี้ น่าจะเป็นประโยชน์กับคนที่รวยอยู่แล้วมากกว่า  

ถ้าจะส่งเสริมการออมจริง ๆ ผมว่าน่าจะไม่ต้องคิดภาษีดอกเบี้ยเงินฝากประจำ โดยกำหนดยอดเงินไม่เกิน  ........ บาท ดีกว่ามั้ย

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 1:32 pm
โดย อะไรดีละ
[quote="i_sarut"]รบกวนช่วยขยายความ

[quote]การออม

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 1:47 pm
โดย Juninho
เหมือนพี่สุมาอี้ ก็เคยเขียนไว้นะครับว่า ออมมากไปทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา
ไม่รู้ผมจำผิดหรือเปล่า

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 3:05 pm
โดย dome@perth
ว้าว..เก่งๆ กันทั้งนั้น เลย

ขออ่าน ครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 4:17 pm
โดย newbie_12
ถ้าการเมืองก็จะเริ่มร้อนแรง

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 4:52 pm
โดย อะไรดีละ
นายจาดุร อภิชาตบุตร นายกสมาคมข้าราชการพลเรือนแห่งประเทศไทย (กพ.) กล่าวว่า จากการที่สำนักงานสถิติแห่งชาติ(สสช.)ได้สำรวจภาวการณ์ครองชีพของข้าราชการทั่วประเทศประจำปี 2551 พบว่าข้าราชการทุกระดับมีหนี้สินเกือบทุกครอบครัวคิดเป็น 84% เป็นหนี้สินทั้งหมด 2.19 แสนล้านบาท เฉลี่ยครอบครัวละ 7.49 แสนบาท คณะกรรม กพ. จึงเห็นว่าควรต้องพิจารณากำหนดเงินเดือนและสวัสดิการของข้าราชการต่อไปว่าควรจะออกมาในรูปแบบใดเพื่อแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น

นายจาดุร กล่าวว่า ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่หมดไปกับค่าที่อยู่อาศัย ค่ายานพาหนะ และค่าการศึกษา โดยเฉพาะเรื่องค่ายานพาหนะ ที่ข้าราชการหลายกระทรวงต้องย้ายไปอยู่ที่ศูนย์ราชการที่ใหม่ที่แจ้งวัฒนะโดย ทำให้ค่าเดินทางของข้าราชการสูงขึ้นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้อย่างน้อยประมาณเดือนละ 1,200 บาท แม้ว่ารัฐจะเพิ่มค่าครองชีพให้ 2,000บาทก็ตาม แต่ถือว่าข้าราชการได้รับประโยชน์ตรงนี้แค่ 800 บาทเท่านั้น ดังนั้นรัฐบาลต้องวางแผนลดรายจ่ายตรงนี้และช่วยโดยการจัดรถร่วมมาบริการข้าราชการที่อยู่ห่างไกลด้วย

รัฐบาลต้องเข้ามามีส่วนร่วมเข้ามาดูแลในเรื่องนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ เพราะอาจจะทำให้ข้าราชการบางคนเกิดความเครียดและคิดสั้นและทำงานไม่มีประสิทธิภาพ ที่สำคัญการเป็นหนี้แบบนี้ต่อไปจะเป็นช่องทางที่ทำให้มีการคอรัปชั่นได้ นายจาดุร กล่าว

>>>>  ขรก. ขอเรียกเงินเพิ่มทั้งๆที่รัฐบาลขาดดุลบานกว่า 5 แสนล้าน
ผมว่านะ.... เอาเงินจาก กบข. ไปปลดหนี้แต่ละบุคคลดีกว่านะ
ใครออมเท่าไหร่ก็กู้ยืมไปได้ไม่เกิน 90% ของยอดนั้น  
กบข.มีเงินราว 4 แสนล้าน  หนี้ ขรก.แค่ 2 แสนล้าน  ยังเหลืออีกแยะครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 6:50 pm
โดย i_sarut
happiness เขียน:เหมือนพี่สุมาอี้ ก็เคยเขียนไว้นะครับว่า ออมมากไปทำให้เศรษฐกิจมีปัญหา
ไม่รู้ผมจำผิดหรือเปล่า
ออมมากไปก็ไม่ดีครับ

จะเกิดสิ่งที่เรียกว่า Paradox of thrift (ความขัดแย้งของการประหยัด)
การออมของระบบเศรษฐกิจที่สูงขึ้น มีผลทำให้การออมที่แท้จริงต่ำกว่าที่ต้องการ จอห์น เมย์นาร์ด เคนส์ เป็นผู้คิดหลักการนี้ขึ้นมาเป็นคนแรก ข้อสรุปที่กล่าวข้างต้นเกิดขึ้นจากการวิเคราะห์เรื่องการออมและการลงทุนที่มีส่วนในการกำหนดรายได้ประชาชาติ

เคนส์พบว่า หากคนส่วนใหญ่ในสังคมตั้งหน้าตั้งตาเก็บออม จะทำให้ผู้ผลิตขายสินค้าได้น้อยลง ทำให้การผลิตและการจ้างงานลดลง และทำให้รายได้ประชาชาติลดลง และเมื่อรายได้ของประชาชนแต่ละคนลดลง การออมในรอบต่อไปก็ลดลงด้วย ความขัดแย้งของการประหยัดเกิดขึ้นทั้งในกรณีที่การลงทุนเป็นแบบอิสระและแบบจูงใจ แต่กรณีแรกรายได้ประชาชาติจะลดลงน้อยกว่ากรณีหลัง
แต่ประเด็นคือตอนนี้ออมน้อยไปหรือออมมากไปครับ  :P

ขอถามพี่อะไรดีละ ต่อนะครับ

- ปัจจุบันสำคัญกว่าอนาคต แล้วถ้าอนาคตหลังเกษียณไม่มีเงินออมจะทำอย่างไรครับ(หมายถึงเงินออมรายบุคคลไม่ใช่ภาพรวม) จะทำยังไงให้แรงงานนอกระบบ(ที่ไม่ใช่ข้าราชการ)มีรายได้หลังเกษียณอย่างน้อยก็ขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตวัยชราครับ

- ผลตอบแทนสูงถึง 50-100% นี่ได้มาจากส่วนไหนหรือครับ ผมลองหาข้อมูลดูก็พบว่า
3.3.5  การจ่ายผลประโยชน์ สมาชิกได้รับผลประโยชน์ตามบัญชีรายตัว โดยได้รับการรับประกันจากรัฐบาลในส่วนเงินต้น รวมดอกผลขั้นต่ำไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาวประเภท 1 ปี (เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง) โดยอัตราบำนาญได้จากบัญชีเงินสะสมคำนวณตามจำนวนปีที่สมาชิกประสงค์จะรับ รวมกับบัญชีเงินสมทบคำนวณแบบบำนาญตลอดอายุขัย ดังนั้น สมาชิกจะได้รับบำนาญไปตลอดอายุขัย และหากเสียชีวิตก่อนเวลาที่กำหนด ทายาทจะได้รับเงินคืนในส่วนของบัญชีเงินสมทบที่เหลือ โดยการรับผลประโยชน์จากกองทุนมีเงื่อนไข
- อีกข้อครับ
การจ่ายเงินเข้ากองทุน
               1)  ผู้ออม สามารถเลือกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเป็นรายเดือน หรือรายงวด (3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี) ก็ได้ โดยรายเดือน สะสมตามสิทธิเดือนละ 100 บาท สำหรับรายงวด จ่ายตามจำนวนเดือน เช่น ราย 6 เดือน แรงงานจะต้องจ่าย 600 บาท เป็นต้น และสะสมตามความสมัครใจได้เดือนละ 100 - 1,000 บาท

               2)  รัฐบาล จ่ายสมทบให้ตามสิทธิ เป็นลำดับขั้นตามช่วงอายุของผู้ออม คือ
                    (1) อายุ 20 - 30 ปี สมทบเดือนละ 50 บาท
                    (2) อายุ 30 ปี 1 เดือน - 50 ปี สมทบเดือนละ 80 บาท
                    (3) อายุ 50 ปี 1 เดือน - 60 ปี สมทบเดือนละ 100 บาท
           ทั้งนี้ กรณีรายงวด รัฐสมทบให้ตามจำนวนเดือนเช่นเดียวกัน
     
สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้น (ตามข้อ 2.3.3) ไม่ต้องจ่ายสะสม และรัฐสมทบให้ ร้อยละ 50 ของกรณีปกติ
- จากข้างต้น การเก็บออมเดือนละ 100 บาท รัฐสมทบให้ 50 - 100 บาทต่อเดือนจะส่งผลเสียมากกว่าการที่แรงงานจะได้รับเงินออมในอนาคตหลังเกษียณหรือครับ
2.1.3  สิทธิประโยชน์ทางภาษี สมาชิกจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้
                 (1) เงินสะสม  ยกเว้นภาษีเงินสะสมตามที่จ่ายจริง แต่ทั้งนี้ เงินสะสมที่ได้รับการยกเว้นภาษี จะต้องไม่เกินปีละ     13,200 บาท (ส่งเงินสะสมเดือนละไม่เกิน 1,100 บาท)
                 (2) เงินผลประโยชน์  ยกเว้นภาษี
                 (3) เงินที่ได้รับจากกองทุน  ยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนของเงินบำนาญและเงินก้อนที่ได้รับในกรณีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กรณีเหตุทุพพลภาพ และกรณีเหตุเสียชีวิต

            2.1.4  การดูแลผลประโยชน์ สำนักงาน กอช. จะคัดเลือกผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee) จากผู้ดูแลผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดย Trustee มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ ตรวจสอบผู้จัดการกองทุนให้ลงทุนตามวัตถุประสงค์ตามกฎหมายและเพื่อประโยชน์ของสมาชิกเป็นสำคัญ และรายงานสำนักงาน กอช. ทันทีที่พบความผิด

       2.2 ผลที่คาดว่าจะได้รับ
             2.2.1 สมาชิกได้รับรายได้หลังเกษียณไปตลอดอายุขัย อย่างน้อยในระดับพื้นฐาน โดยผู้ที่ออมตั้งแต่อายุ 20 ปี และออมจนครบอายุ 60 ปี โดยออมขั้นพื้นฐานตามสิทธิอย่างเดียว จะได้รับบำนาญเดือนละ 1,710 บาท (รวมเบี้ยยังชีพ เป็น 2,210 บาท)
1.2 ภาระรัฐบาล
รัฐบาลจะมีภาระจ่ายเงินสมทบในกองทุนตามช่วงอายุต่าง ๆ ของผู้ออม ซึ่งหากมีผู้เข้าระบบ กอช. ครบร้อยละ 100 รัฐจะมีภาระสมทบปีแรก จำนวน 22,955 ล้านบาท (ร้อยละ 0.27 ต่อ GDP) หากประชาชนเข้าระบบ ร้อยละ 80 รัฐจะต้องสมทบจำนวน 18,364 ล้านบาท (ร้อยละ 0.22 ต่อ GDP) และหากประชาชนเข้าระบบร้อยละ 30 รัฐจะต้องสมทบ 6,887 ล้านบาท (ร้อยละ 0.08 ต่อ GDP)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 7:05 pm
โดย i_sarut
ทำไมต้องมีกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ
โดย : ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ [email protected]


ในอนาคต สภาวะเศรษฐกิจและสังคมของประเทศไทยจะมีการเปลี่ยนแปลงอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงทางสังคม

ที่กำลังจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging Society) ทำให้ในอีก 20 ปีข้างหน้า ประเทศไทยจะมีสัดส่วนผู้สูงอายุต่อประชากรเพิ่มขึ้น จากปัจจุบันที่มีคนวัยทำงาน 6 คน ต่อผู้สูงอายุ 1 คน มาเป็น คนวัยทำงาน 3 คน ต่อผู้สูงอายุ 1 คน พูดง่ายๆ คือ จะมีคนทำงานที่เลี้ยงดูคนแก่น้อยลง

นอกจากนี้ การที่โครงสร้างของครอบครัวไทยกำลังเปลี่ยนแปลงจากครอบครัวแบบขยายที่มีพ่อแม่ลูกหลานหลายๆ คนอาศัยอยู่ในครอบครัวเดียวกัน คอยช่วยเหลือเกื้อกูลกัน มาเป็นครอบครัวเดี่ยวที่ลูกหลานย้ายออกไปสร้างครอบครัวเดี่ยวๆ ของตนเอง ทำให้เครือข่ายการดูแลผู้สูงอายุในอดีตจะถูกเปลี่ยนแปลงจากการที่ลูกหลานเลี้ยงดูพ่อแม่ มาเป็นผู้สูงอายุต้องพึ่งพาและดูแลตนเองมากขึ้น

แล้วคนไทย 60 กว่าล้านคนวันนี้ เตรียมพร้อมรึยังที่จะออมเงินตั้งแต่วันนี้เพื่อไว้ใช้ยามชราภาพ และระบบการออมของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ มีความเพียงพอที่จะรองรับกลุ่มสูงวัยในอนาคตรึยัง  

หากพิจารณาระบบการออมของประเทศไทยในปัจจุบันจะพบว่า พอจะมีกลไกระบบรองรับทางสังคมที่บังคับหรือส่งเสริมให้ออมไว้ใช้หลังเกษียณอยู่บ้างในระดับหนึ่ง เช่น กองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพและกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ แต่ยังมีความครอบคลุม (Coverage) ไม่ทั่วถึง โดยเฉพาะแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้า แม่ค้า บุคคลที่ไม่ได้ทำงานตามบริษัทห้างร้าน หรือ ลูกจ้างตามบ้าน เป็นต้น

จากข้อมูลปี 2551 พบว่ามีจำนวนผู้มีงานทำทั่วประเทศประมาณ 37 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานในระบบ จำนวน 14 ล้านคน โดยแบ่งเป็นแรงงานในระบบที่ได้รับความคุ้มครองจากระบบการออมยามชราภาพประเภทใดประเภทหนึ่งข้างต้นแล้วประมาณ 11 ล้านคน ส่วนที่เหลืออีก 3 ล้านคนยังไม่มีระบบใดๆ ที่คอยคุ้มครองดูแลยามแก่เฒ่า  และยังมีแรงงานที่อยู่นอกระบบ อีกจำนวนมากถึง 24 ล้านคน  ดังนั้น จึงยังมีผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองตอนแก่ อีกถึงประมาณ 27 ล้านคน  

อย่างไรก็ดี กลุ่มคนผู้ที่ยังไม่มีระบบการออมรองรับยามแก่เฒ่าเหล่านี้ ก็ไม่ใช่ขาดที่พึ่งเสมอไป เพราะท้ายที่สุดหากบุคคลเหล่านี้ก็ยังพอมีรัฐบาลที่ต้องเข้ามาดูแล ผ่านเบี้ยยังชีพคนชราคนละ 500 บาทต่อเดือน และหากเจ็บป่วยก็ยังมีระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ ที่เรียกกันติดปากว่า ระบบ 30 บาทรักษาทุกโรค  

ในวันนี้รัฐบาลต้องมีภาระงบประมาณรายจ่ายในโครงการเบี้ยยังชีพและโครงการ 30 บาทรักษาทุกโรค ถึงประมาณปีละเกือบแสนล้านบาท หากยิ่งในมองไปข้างหน้าที่จะมีคนแก่จำนวนมากขึ้นเข้ามารับเบี้ยยังชีพนี้เพิ่มขึ้น แถมยังต้องมีค่าใช้จ่ายรักษาพยาบาลให้คนแก่เฒ่าจำนวนมากขึ้นที่มีโอกาสเจ็บป่วยสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามอายุอานามที่เพิ่มขึ้น รัฐบาลในอนาคตคงต้องแบกรับภาระค่าใช้จ่ายงบประมาณในแต่ละปีที่สูงมาก

ดังนั้น โจทย์สำคัญในวันนี้ คือ จะทำอย่างไร ที่จะสร้างระบบการออมเพื่อการชราภาพเพิ่มเติมจากระบบที่มีอยู่ในปัจจุบันให้ครอบคลุมถึงคนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ และจะต้องมีระบบที่พยายามลดภาระการคลังของรัฐบาลในการดูแลคนแก่ในอนาคตให้ลดลง จะได้ไม่เป็นปัญหาฐานะการคลังเหมือนหลายๆ ประเทศในยุโรปและอเมริกาที่มีค่าใช้จ่ายดูแลคนชราสูงมากในปัจจุบัน  

การจัดตั้งกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.) จะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะช่วยสร้างระบบการออมยามแก่เฒ่าให้ครอบคลุมแรงงานที่ยังไม่มีระบบการคุ้มครองเพื่อการชราภาพใดๆ ตามที่กล่าวถึงข้างต้น โดยที่กองทุนฯ นี้จะเป็นกองทุนการออมแบบสมัครใจที่เปิดโอกาสให้แรงงานออมเงินตั้งแต่วันนี้ แล้วนำไปลงทุนเพื่อจ่ายเป็นรายได้ให้แรงงานยามชราภาพหลังเกษียณอายุ ตามจำนวนเงินออมที่แรงงานแต่ละคนได้ส่งเข้ากองทุน รวมกับผลตอบแทนจากการนำเงินออมดังกล่าวไปลงทุน

ทั้งนี้ เพื่อเป็นการจูงใจให้แรงงานให้มีการออมเพื่อการชราภาพในระยะยาวมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการลดภาระในการดูแลคนแก่เฒ่าในอนาคต  รัฐบาลอาจจะพิจารณาจ่ายเงินสมทบร่วมกับผู้ออมบ้างบางส่วน ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อแรงงานที่ยังไม่ได้อยู่ในระบบการออมแบบใดๆ เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมเหมือนกับที่รัฐบาลให้การสนับสนุนกองทุนอื่นๆ เช่น การสมทบเงินเข้ากองทุนประกันสังคม กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่กองทุน LTF/RMF ต่างๆ  

ท้ายนี้ ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่า รัฐบาลนี้จะสามารถผลักดัน กองทุนการออมเพื่อการชราภาพ ให้ออกมาเป็นกฎหมายอย่างเป็นรูปธรรมให้จงได้ เพื่อจะได้เป็นตาข่ายกันกระแทกรองรับสังคมคนแก่ในอนาคตและเป็นการลดภาระการคลังที่ต้องดูแลคนแก่ในระยะยาว คงต้องฝากท่าน ว่าที่ ส.ว. (สูงวัย) ทั้งหลายให้ช่วยกันขับเคลื่อนนโยบายนี้ให้สำเร็จโดยเร็วด่วนด้วยนะครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 8:23 pm
โดย อะไรดีละ
บทความแบบข้างบนนี่แหละที่ผมกังวลมากๆ  
แม้แต่คนจบระดับ ดร.ทางเศรษฐศาสตร์  ยังมองข้าม  ความรู้ของเด็กประถมไปได้....  
"ไม่มีของฟรีในโลก"  ถ้าออมมากๆ เพื่ออนาคต  ก็ต้องอดกินขนม ณ ตอนนี้

ถ้าคิดจะออมเงินเพื่อกองทุนแบบนี้... ก็เตรียมรับมือกับ ศก.ตกต่ำยาวนานได้เลย ....... ผมขอค้านสุดตัว  นี่คือ  "กับดัก" ครับ  
:)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 9:34 pm
โดย i_sarut
รบกวนพี่ช่วยตอบคำถามผมด้านบนด้วยครับ ผมยังสงสัยอยู่เลย  

[quote="อะไรดีละ"]บทความแบบข้างบนนี่แหละที่ผมกังวลมากๆ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 10:12 pm
โดย อะไรดีละ
ปัจจุบันสำคัญกว่าอนาคตครับ  
และ ค่านิยมแบบไทยๆ ก็คือ  กตัญญู  เอื้อเฟื้อกัน  
ใช้เงินน้อยลง  และ มีความสุขมากขึ้น....  ความสามารถพิเศษครับ

ผลตอบแทน 50-100% ได้รับทันที  เพราะ รัฐบาลสมทบให้ครับ  แต่ถ้าฝากเงินกับแบงก์ได้แค่ 1% ต่อปี   บิดเบือนกลไกตลาดครับ

ถูกต้องแล้ว  ทั้ง ดร.เอก เศรษฐศาสตร์ และ อจ.วีระ  ต่างก็เห็นด้วยกับโครงการนี้ ....  ซึ่งน่ากังวลมากๆ  เพราะ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงิน  ยังมองไม่เห็นถึง "กับดัก"  Paradox of thirft  ความขัดแย้งจากการประหยัด  เช่นนี้     พวกเราหลายคนก็มองไม่ออกครับ  เกือบทุกคนมองข้ามความรู้ของเด็กประถมกันไปหมด  "ไม่มีของฟรีในโลก" หรอกครับ  

ถ้าเรื่องนี้เข้าสภา .... มีหวังโดนฝ่ายค้านถล่มแน่นอนเลย
อยู่ดีๆ เอาเงินรัฐ 2 หมื่นล้าน  และ เอกชนอีก 3 หมื่นล้าน  รวมแล้ว 5 หมื่นล้านไปจมไว้เฉยๆ  แทนที่จะนำมาสร้าง GDP ได้ 1 แสนล้าน....
ตอนนี้ภาคเอกชน  มีการออมสุทธิถึง 14% GDP (ดุลบัญชีเดินสะพัด 8% และ ขาดดุลภาครัฐ 6%)  มันมากเกินไปอยู่แล้ว
ยังจะมาหาทางเพิ่มการออม..... เข้าไปอีกหรือ ???

ถ้าโครงการนี้ผ่านออกมาได้....ประเทศไทยจะเดินสู่สภาพแบบญี่ปุ่น คือ แทบไม่ฟื้นตัวเลยนานหลายปีครับ  
น่ากังวลมากๆ  ...... ขอเตือนครับ    :roll:

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 11:05 pm
โดย i_sarut
อ่าครับ

ผมยังไม่ค่อยเข้าใจความคิดของพี่เท่าไหร่ครับ

แต่ยังไงก็ขอบคุณครับ สำหรับการแลกเปลี่ยน :P

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ย. 05, 2009 11:59 pm
โดย miracle
มันมองแต่ GDP ไม่ได้หรอก
GDP โตประเทศมีความสุขหรือ
GDP ไม่โต แต่ประเทศมีความสุข

คุณจะเลือกแบบไหนอ่ะ
มันต้อง GDP โต และ มีความสุขควบคู่กันไม่ใช่หรือ

อดออมวันนี้เพื่อวันข้างหน้า
คนเฒ่าคนแก่ก็สอนไว้

มันไม่มีใครถูกใครผิดหรอก แต่มันขึ้นอยู่กับว่าใครเห็นภาพในอนาคตอย่างไง

เงินมันไม่ได้หายไปไหนหรอก แต่ตัวเลขที่เขียนมันหายไปก็เท่าไร
เงินในระบบที่เป็นธนบัตร เหรียญ ที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้มันเพิ่มขึ้นน้อยมากกว่า
การเพิ่มขึ้นของจำนวนการหมุนเงินในระบบซักอีก

สิ่งที่มันหายไปมันเพียงแค่ตัวเลขที่สมมุติขึ้นในระบบ
แต่เงินจริงๆมันไม่หายไปหรอก

ผมขอถามหน่อยวิกฤติรอบนี้ เงินมันหายไปไหนหรือเปล่า
มีแต่อัดฉีดเงินเข้าระบบ เป็นตัวเลขทั้งหมด
เลยงงว่า สุดท้ายที่เรามาเถียงกันนั้นเป็น เงินจริงหรือ เงินที่เป็นตัวเลข

ปล
ทุกอย่างมันเป็นสิ่งสมมุติ มองเป็นของสมมุติ แต่ดำเนินชีวิตให้มีความสุข

:)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 12:08 am
โดย อะไรดีละ
คือว่า..... ถ้าเป็นช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือ ตอนเกิดวิกฤติแล้วก็ตาม
ผมเห็นด้วยเต็มที่นะ...เพราะเราจำเป็นต้องรีบออมเงิน  การออมเป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วงนั้น ต้องออมเพื่อคืนหนี้   ต้องออมให้เพียงพอกับการลงทุน

แต่ตอนนี้มันแตกต่างกับตอนนั้นมากเลย  เรามีการออมส่วนเกินอย่างมาก  ซึ่งผลสุดท้ายทำให้ ศก.มันฟื้นตัวได้ช้า  
แล้วนี่ยังจะมาทำให้เกิดส่วนเกินนั้นเพิ่มขึ้นอีก
พวกเราถูกสอนให้เชื่อ...ว่า  การอดออม  คือสิ่งที่ดีมาช้านาน  
แต่อันที่จริงแล้ว  การเดินสายกลางต่างหากที่ดี  
ควรบริหารประเทศให้มี  บัญชีเดินสะพัด  ไม่เป็นบวกเป็นลบมากไป  จะไม่มีปัญหา over investment  (ร้อนแรงไป)  และ  ไม่มีปัญหา over saving อย่างในปัจจุบัน  ที่เย็นชืดเกินไปครับ  

GDP ไม่โต...ประชาชนคงมีความสุขกันมากหรือไงครับ ??  :)  
เราต้องการเห็นสมดุลต่างหาก  GDP ไม่โตเร็วไป  และ ไม่ช้าเกินไป  
เดินสายกลางนั่นละครับ

ที่จริงแล้ว  โลกควรปรับสมดุลนี้ได้...ด้วยการที่ประเทศจีน ยอมให้เงินหยวนแข็งค่าอย่างเร็วราว 20%  การได้ดุลของจีนก็จะลดลงเร็ว   ศก.จีนใหญ่ขึ้นเป็นดอลลาร์ทันที 20%  อเมริกาส่งออกได้มากขึ้นและขาดดุลการค้าลดลงและ กำลังซื้อของโลก และ สมดุลของโลกก็จะกลับมาครับ  

:)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 9:45 am
โดย miracle
ผมขอถามกลับว่า
ทำไม US ถึงไม่ยอมลดค่าเงินตามความเป็นจริง
แทนที่ร้องขอให้ประเทศจีนทำเงินให้แข็งค่าขึ้น
บอกให้คนอื่น ทำค่าเงินแข็งขึ้นล่ะ

By the way
ข้ออ้างอิงจาก
http://www.uinthai.com/index.php?lay=sh ... 9&Ntype=78

บัญชีเดินสะพัด เป็นผลรวมสุทธิของดุลการค้า และดุลบริการ บริจาค และเงินโอน
ถ้าหากดูแล้ว ตอนนี้ดุลบริการมีปัญหา เพราะ การท่องเที่ยวมีปัญหา
ดุลการค้า ก็ลดลง เพราะว่า ส่งออกยังมีปัญหา นำเข้าน้อยกว่า ทำให้ดุลการค้าเป็นบวกได้
ส่วนบริจาคและเงินโอนไม่ค่อยมีข่าวเท่าไร

จากอันนี้หาก การออมเงินไม่ไปลงทุนต่างประเทศ ผ่านตัวเงินโอน ออกไปแล้ว ผมไม่เห็นว่า ดุลบัญชีเดินสะพัดมันติดลบได้หรือ

แต่อย่างไงก็ตามผมก็ได้บอกแล้วว่า การลงทุนต่างประเทศนี้มันขึ้นอยู่กับนโยบาลของกองทุน


:)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 10:03 am
โดย อะไรดีละ
ดุลบัญชีเดินสะพัด...ติดลบได้สิครับ  
ถ้ามีการลงทุนจากภาครัฐมากขึ้น   ประชาชนจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น
แต่ตอนนี้ตัวเลขก็บอกอยู่แล้วว่า  รัฐบาลพยายามลดการออมสุทธิ  ใช้จ่ายและลงทุนแทนภาคเอกชนอยู่แล้ว  ก็ยังได้ตัวเลขเป็นบวกถึง 8% GDP ซึ่งคือ ดุลบัญชีเดินสะพัดนั่นเอง
สงสัยว่าคุณ miracle  อาจไม่ได้จบด้านเศรษฐศาสตร์มาหรือเปล่า  ผมอ่านสิ่งที่คุณเขียนแล้วงงแฮะ   แต่ก็ยินดีที่ได้แลกเปลี่ยนความคิด

อเมริกลดค่าเงินตนเองไม่ได้อยู่แล้ว  เพราะเป็นเงินสกุลกลางของโลก
สำหรับ  ค่าเงินประเทศอื่นๆ เช่น ยูโร  ปอนด์  เยน นั้น  ไม่มีปัญหาเพราะว่ามีการซื้อขายเสรี   เปลี่ยนแปลงได้ตามอุปสงค์อุปทาน  
แต่สำหรับ "หยวน" นั้นแตกต่างครับ   ควรจะแข็งกว่านี้แต่ก็ไม่
ถ้าจีน...เริ่มมองเห็นว่า  หยวนแข็งจะเป็นผลดีกับประเทศมากกว่า  จะสร้างสมดุลให้กับประเทศตนเองและโลกได้.... นั่นก็จะเป็นจุดเปลี่ยนครับ  
:)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 10:55 am
โดย nasesus
ผมอ่านแล้วก็งงๆนะครับ มองภาพใหญ่ไม่ออก ไม่ได้จบเศรษฐศาสตร์มาน่ะครับ แต่ส่วนตัวคิดว่าการออมเป็นสิ่งที่ดี ถ้าการออมนั้นไม่ไ้ด้สร้างภาระให้กับตัวเองมากขึ้น เช่นต้องไปกู้มาออม หรือยังมีหนี้สินอยู่แต่ต้องเจียดมาออม และคิดว่า กอช.ก็น่าจะผ่านครับ แต่จุดสำคัญคือกองทุนจะทำยังไงให้เงินมันโตขึ้นมา ให้มันเพียงพอกับเงินที่จะไหลออกในอนาคต ส่วนเรื่องการทำประกันเพื่อเป็นการออม ผมไม่ค่อยเห็นด้วยครับ การทำประกันชีวิตในความคิดผมผมจะเน้นส่วนเสียเปล่าในแต่ละีปีมากกว่าการทำประกันเพื่อการลงทุนครับ ผมเน้นทุนประกันต่ำสุดคือจ่ายปีละพันกว่าบาทแต่ส่วนเสียเปล่าปีละหมื่นกว่าบาท ถ้าคิดจะลดหย่อนภาษีผมว่าเอาอย่างอื่นมาหักดีกว่าครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 11:35 am
โดย i_sarut
เอาจริงๆผม งง พี่อะไรดีละ มากกว่า พี่ miracle เยอะเลยนะครับ

ตั้งแต่หน้า 1 มา ผมก็ยกข้อโต้แย้งกับเหตุผลพี่

ที่บอกว่า

- ออมมากไป ก็ถ้าคิดเป็นสัดส่วน GDP ถือว่าเงินออมประเทศเรามากก็จริงแต่เงินออมในส่วนของครัวเรือนมันน้อยมากๆและมีแนวโน้มน้อยลดลงเรื่อยๆ

- เกินดุลการค้า เป็นการเกินดุล ที่ภาพรวม GDP ติดลบ

เงินออม จาก S = I + Current Account ไม่เพิ่มหรอกครับ เพราะรายได้ประชาชาติลดลง
ถ้าเป็นช่วงก่อนวิกฤติต้มยำกุ้ง หรือ ตอนเกิดวิกฤติแล้วก็ตาม
ผมเห็นด้วยเต็มที่นะ...เพราะเราจำเป็นต้องรีบออมเงิน  การออมเป็นสิ่งที่ดี เพราะช่วงนั้น ต้องออมเพื่อคืนหนี้   ต้องออมให้เพียงพอกับการลงทุน
ออมเงินในวันนี้ไม่ใช้เพื่อไปใช้ในอีก 1 - 3 ปี ข้างหน้าไม่ใช่หรือครับ แต่ออมไว้เพื่อใช้ในยามเกษียณซึ่งระยะเวลาก็อีกนาน 10 - 40 ปีเลย และกองทุนนี้ก็สำหรับแรงงานนอกระบบ ราวๆ 24 ล้านคน ที่ตอนนี้ยังไม่มีกองทุนสำหรับพวกเขาเลย มีเพียงเบี้ยยังชีพ 500 บาท

เก็บออมเดือนละ 100 บาท (ไม่ได้บังคับ) สำหรับผู้ที่ออมตั้งแต่อายุ 20 ปี และออมจนครบอายุ 60 ปี จะทำให้มีรายได้หลังเกษียณ เดือนละ 1,710 บาท (รวมเบี้ยยังชีพ เป็น 2,210 บาท)
เราต้องการเห็นสมดุลต่างหาก  GDP ไม่โตเร็วไป  และ ไม่ช้าเกินไป  
เดินสายกลางนั่นละครับ
เศรษฐศาสตร์ไม่ได้มุ่งเน้นให้เรามีเงินเยอะๆ หรือต้องมี GDP เพิ่มมากๆ นี่ครับ เน้นความกินดีอยู่ดีของสังคม ซึ่งกองทุนนี้ก็จะมาตอบโจทย์ว่า ทำยังไงให้แรงงานนอกระบบมีเงินไว้ใช้ยามเกษียณ ไม่ได้จะไปมุ่งเน้น GDP โตอย่างเดียว แต่มาดูแลความกินดีอยู่ดีของประชาชนด้วย

อีกอย่าง
ผลตอบแทน 50-100% ได้รับทันที  เพราะ รัฐบาลสมทบให้ครับ  แต่ถ้าฝากเงินกับแบงก์ได้แค่ 1% ต่อปี   บิดเบือนกลไกตลาดครับ
ตรงนี้ผมว่ามันแปลกมากเลยนะครับ
นโยบายการลงทุน  กำหนดกรอบลงทุน โดยการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือมีอัตราความเสี่ยงต่ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุน และการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ไม่เกินกว่าร้อยละ 40 ของเงินกองทุน
คือรัฐสมทบให้ 50 - 100 บาท/เดือน จากการออม 100 -1000 บาท/เดือน และรัฐไม่ได้บังคับให้ออมทุกคน เป็นความสมัครใจ ไม่ต้องไปกู้มาออม เพราะไม่ได้บังคับ

รัฐไม่ได้จ่ายผลตอบแทนให้ แต่เหมือนช่วยออมเพิ่ม สมทบเข้ากองทุน กอช. ซึ่ง กอช. ก็จะนำเงินไปลงทุนในตราสารต่างๆเหมือนกองทุนอื่นๆนี่ครับ เช่า พันธบัตร ตราสารหนี้ หุ้น ซึ่งผลตอบแทนเฉลี่ยต่อปีจริงๆก็ควรจะประมาณ 5 - 8% สิครับ
อยู่ดีๆ เอาเงินรัฐ 2 หมื่นล้าน  และ เอกชนอีก 3 หมื่นล้าน  รวมแล้ว 5 หมื่นล้านไปจมไว้เฉยๆ  แทนที่จะนำมาสร้าง GDP ได้ 1 แสนล้าน....
เงินมันจมได้ยังไงอะครับ เอาไปเข้ากองทุน กองทุนนำไปลงทุนก็เป็นการหมุนเงินต่อไปในระบบไม่ใช่หรือครับ เช่น พอไปซื้อพันธบัตร ก็เป็นการใช้จ่าย , เพิ่มปริมาณเงินไปนี่ครับ

ผมเลยยัง งงๆ อยู่เลย :lol:

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 11:59 am
โดย nasesus
คุณอะไรดีละ ใช่คุณเฟยหงมั้ยครับ หนังสือคุณเฟยหงเดี๋ยวนี้หาอ่านยากจริงๆครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 12:10 pm
โดย miracle
กระทู้นี้กลายร่างเป็นกระทู้ที่ว่าด้วย ศศ ไปแล้ว
MOD ช่วยกรุณาย้ายกระทู้นี้ไปยังห้องเหมาะสมด้วยครับ

by the way
ผมเองก็เริ่มงงว่า ผมตอบ ศศ โดยที่ไม่ได้เรียน ศศ มา
แต่ตอบแล้วพี่ i_sarut ไม่งงมากมายอะไร
ผมถือว่าผ่านในระดับหนึ่งล่ะครับ

แต่ต้องขอบคุณพี่ i_sarut ที่ยกสมการ S=I+Current Account
สมการนี้ผมลืมไปว่ามันมีอยู่ และเคยได้อ่านจาก TVI ด้วยว่า มันมีผลกระทบอย่างไงกับสภาพศก .
:)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 12:23 pm
โดย อะไรดีละ
ผมไม่ได้บอกว่า แนวคิด กอช. ไม่ดีนะ...แต่ timing ไม่เหมาะ
ผมคิดว่ามันจะดีในระยะยาว  แต่ภารกิจหลักตอนนี้คือ ฟื้นฟู ศก. และ แนวคิดนี้จะทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม  ซึ่งจะเป็นผลเสียหาย  โดยผู้อนุมัติก็ไม่ทันรู้ตัว

ต้องพยายามเดินสายกลางครับ... ถ้า GDP เติบโตน้อยไป  เช่น ปัจจุบัน จะสร้างปัญหาการว่างงาน และ ผู้คนรายได้ลดลงมาก  ไม่ใช่เรื่องดีต่อคนบางกลุ่มในสังคม  ที่แทบจะอยู่ไม่ได้ตอนนี้

ที่บอกว่าได้ผลตอบแทนทันที 50-100% ก็เพราะรัฐบาลสมทบให้ไงครับ  แทนที่จะฝากแบงก์ได้ 1% ต่อปี  เป็นคุณจะออมกับ กอช.ไหมละ  เพราะมันบิดเบือนกลไกตลาดมากๆ ไงครับ

การนำเงินไปไว้กับกองทุนบำนาญ  ก็คือ  "เงินจม" ครับ  ได้ผลตอบแทนจริงๆ นั่นละ... 5% ต่อปี  นั่นคือ GDP ที่เพิ่มขึ้นครับ  
แต่ถ้านำเงินยอดเดียวกัน  ไปหมุนจะเกิด GDP ได้ 200% ของยอดนั้น
จะเห็นว่าแตกต่างกันถึง 40 เท่าตัว  
บางคนแย้งว่า  ก็ยอดเงินนี้จะไปซื้อพันธบัตรรัฐบาล...เพื่อให้รัฐสามารถนำเงินไปใช้จ่ายได้   ก็จริงอยู่..แต่ปัญหาตามมาก็คือ  หนี้สาธารณะที่เพิ่มขึ้น
และด้วยแนวคิด กอช.  รัฐบาลกลับนำเงิน 2 หมื่นล้าน  แทนที่จะไปหมุน GDP ได้เพิ่ม  กลับนำเงินไปสมทบเพื่อ "จมเงิน" นั่นละครับ  
:)

การยืมพลังของกองทุนบำนาญ  จะช่วยให้แก้ไขวิกฤติการคลัง  ไปพร้อมๆ กับวิกฤติ ศก.ได้   แต่ กอช. กลับมาทำในสิ่งที่ตรงกันข้าม  จะสร้างปัญหาการคลัง  ไปพร้อมๆ กับวิกฤติ ศก.ยังคงอยู่ต่อไป  
ผมจึงบอกว่าน่ากังวลมากๆ  เพราะ นักวิชาการ และ ผู้กำหนดนโยบาย  มองไม่รอบด้าน  ถึงผลกระทบ   "ไม่มีของฟรีในโลก" ครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 12:32 pm
โดย อะไรดีละ
ลองคิดดูง่ายๆ ว่า  ถ้าพวกเราเป็นคนระดับ "รากหญ้า"  ปกติก็แทบไม่เหลือเงินอยู่แล้ว  แล้วมี กอช.ออกมา
เราต้องพยายามหาเงิน 100 บาท  มาเพื่อสมทบให้ได้ใช่ไหม
ตอนนี้กินข้าว 3 มื้อ ก็คงต้องเหลือ 2 มื้อ  
เคยกินก๋วยเตี๋ยวได้บ้าง  ก็คงเหลือแค่ บะหมี่สำเร็จรูปล้วนๆ  
เมื่อทุกคนประหยัดกันลงไปอีก  ก็เข้าข่าย Paradox of thirft นั่นแหละ  
ศก.จะก็ไม่ฟื้นตัว และ รายได้ก็ลดลงไปอีก  เงินที่จะเหลือออมก็ยากขึ้น
ญี่ปุ่นติดกับดักนี้มา  เกือบๆ 20 ปีแล้วครับ  
:)

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 12:35 pm
โดย อะไรดีละ
นี่คือ บทความที่ผมเขียนไว้  ถ้าโชคดีอาจได้ลง "กรุงเทพธุรกิจ"  
มองต่างมุม.... กอช.  

   ทั้งรัฐบาล และ นักวิชาการล้วนประสานเสียงกัน พูดถึงข้อดีของโครงการนี้และ สนับสนุนอย่างเต็มที่  เพื่อสร้างหลักประกันทางการเงินให้กับแรงงานนอกระบบราว 26 ล้านคนให้มีเงินบำนาญ เพิ่มเติมจากเบี้ยยังชีพคนชรา 500 บาท  ณ ปัจจุบัน   ได้รับการชื่นชมจากทุกฝ่ายว่าเป็นการสร้างความมั่นคงทางการเงินให้กับประชาชนคนไทยในระยะยาว   อย่างไรก็ดี  ผมขอออกเสียงคัดค้านในเรื่องนี้อย่างเต็มที่  ด้วยเหตุผลทางวิชาการ  เนื่องจากเห็นผลเสียของโครงการนี้ต่อระบบเศรษฐกิจในปัจจุบัน  
ความรู้ง่ายๆ เลยที่แม้แต่เด็กประถมก็รู้  โดยที่ไม่ต้องจบด๊อกเตอร์   ก็คือ ไม่มีอะไรฟรี  หากเด็กๆ อยากจะเก็บออมมากขึ้นเพื่ออนาคต  พวกเขาก็ต้องใช้จ่ายเงินเพื่อซื้อขนมน้อยลงในปัจจุบัน  ค่าขนมถึงจะเหลือได้มากขึ้น   และหากเงินค่าขนมที่ได้รับน้อยลงตามสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน  ก็เป็นไปได้ว่า ถ้าคิดจะออมเงินมากขึ้น  พวกเขาก็อาจจะต้องอดอาหารมื้อกลางวันไปเลย  
พวกเราย่อมรู้ๆ กันเป็นอย่างดีว่า  การใช้จ่ายที่น้อยลงของคนหนึ่ง  จะไปกระทบรายได้ที่ลดลงของอีกคนหนึ่ง เช่น  ผมเคยกินข้าว 2 จาน  แต่ผมอยากประหยัดเลยกินเหลือแค่ 1 จาน   ผมประหยัดเงินได้ 25 บาท  แต่แม่ค้าขายข้าวแกงจะมีรายได้ลดลง 25 บาทเช่นกัน    ดังนั้น  การออมมากเกินไปจะทำให้รายได้ของคนอีกกลุ่มหนึ่งลดลง   และเศรษฐกิจจะฟื้นตัวช้า
Paradox of thrift  หรือ ความขัดแย้งจากการประหยัด  โดยจอห์น เมย์นาร์ด เคนส์  ได้กล่าวถึงว่า  หากแต่ละคนพยายามจะประหยัดเก็บออมมากขึ้นเพื่อประโยชน์ส่วนบุคคล  จะทำให้เศรษฐกิจตกต่ำต่อไป   รายได้จะลดลง  และ ผลสุดท้ายทำให้การออมที่หวังไว้จะทำไม่ได้   อย่างไรก็ดี  มีบทความที่ชี้ให้เห็นถึง ด้านมืด ของกองทุนบำนาญน้อยมาก  และ มีบทวิเคราะห์วิจัยน้อยมากเช่นกัน  ที่กล่าวถึงผลกระทบต่อ GDP จากการตัดตั้งกองทุน กอช.
ปัจจุบันไทยมีการออมที่มากเกินไปอยู่แล้ว   โดยดูได้จากการได้ดุลบัญชีเดินสะพัดในปีนี้สูงถึง  2หมื่นล้านเหรียญ สรอ. หรือราว 7 แสนล้านบาท  ซึ่งตัวเลขนี้คือ  การออม ที่มากกว่าการลงทุน  ตกราว 8% GDP  ซึ่งเป็นตัวเลขที่น่าตกใจมาก   นอกจากนี้แม้รัฐพยายามลดการออมที่มากเกิน  ด้วยการขาดดุลงบประมาณราว 6% GDP   แต่นั่นก็หมายถึงว่า  สำหรับภาคเอกชนแล้ว  มีการ ออมที่มากเกิน ถึง 14% GDP ซึ่งเป็นส่วนที่การออมสูงกว่าการลงทุนอย่างมากมายกว่า 1 ล้านล้านบาท (โดยกำลังการผลิตอยู่ในระดับต่ำมากจนหวังจะเพิ่มการลงทุนภาคเอกชนไม่ได้)    ในเมื่อเราออมมากเกินอยู่แล้ว  ยังมีแนวคิดจะสร้างระบบเงินออมผ่านกองทุน กอช.นี้อีกจึงเป็นเรื่องที่น่ากังวลต่ออุปสงค์รวมอย่างยิ่ง
อาจกล่าวได้ถึงข้อเสียของ กอช. ได้ดังต่อไปนี้
1. ไม่ยุติธรรม : สมทบเงินเข้าเฉพาะแรงงานนอกระบบ  ขณะที่แรงงานในระบบนั้นไม่ได้รับเงินสนับสนุนจากภาครัฐเลย  โดยเฉพาะกรณีกองทุนชราภาพของระบบประกันสังคม
2. เป็นภาระภาครัฐและหนี้สาธารณะ : อาจเป็นภาระภาครัฐถึงปีละกว่า 2 หมื่นล้านบาท  หากมีผู้เข้าร่วมโครงการมาก  นอกจากนี้ยังมีภาระในการลดหย่อนภาษีด้วย  และรัฐบาลก็ไม่มีทางอื่นใดนอกจากกู้เงินมาเพื่อใช้สมทบเงิน  ซึ่งก็จะเพิ่มภาระหนี้สาธารณะต่อไป
3. บิดเบือนกลไกตลาด : ปกติแล้วผลตอบแทนตอนนี้หากเป็นระยะสั้นจะได้ราว 1-2% ต่อปีเท่านั้น  ระยะยาวก็ได้เพียง 3-4%  ต่อปี   แต่ กอช. สำหรับผู้ส่งเงินสมทบจะได้ผลตอบแทนสูงถึง 50-100% แล้วแต่ช่วงอายุ  เพราะ รัฐบาลจะสมทบให้เป็นเงิน 50-100 บาท  หากผู้ออมใส่เงิน 100 บาททุกเดือน   การทำเช่นนี้จะทำให้การออมตามปกติผ่าน ธนาคาร และ ประกันชีวิต  ลดลงได้
4. เสถียรภาพของกองทุน : เป็นที่น่ากังวลว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินบำนาญให้สูงไปหรือไม่  เช่น  จ่ายบำนาญถึงกว่าเดือนละ 1 พันบาท  ขณะที่เก็บสมทบแค่เดือนละ 100 บาท  ในที่สุดแล้วกองทุนอาจไม่เหลือเงินมากพอก็ได้ในระยะยาว
5. ทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัวช้า : นี่อาจเป็นเรื่องที่สำคัญที่สุด   ด้วยเงินราว 5 หมื่นล้านบาททุกปีที่ภาคเอกชน และรัฐบาลร่วมกันสมทบเข้า กอช.นั้น  จะทำให้ประชาชนพยายามเจียดเงินมาออมเพราะได้ผลตอบแทนสูง   จะยิ่งทำให้การใช้จ่ายปัจจุบันลดลงไปอีก  อาจหมายถึง GDP ที่หายไปราว 1 แสนล้านบาท (ราว 1% GDP) ทุกๆ ปีต่อจากนี้ไป  
ปัจจุบันปัญหาของเศรษฐกิจก็คือ การขาดแคลนอุปสงค์ที่เพียงพอ  ดังนั้น รัฐบาลมีทางทำได้ 3 ทางเพื่อเพิ่มอุปสงค์ นอกเหนือจากนโยบายการเงิน และ นโยบายอัตราแลกเปลี่ยนที่ ธปท.ดูแลอยู่แล้ว  คือ
1. นโยบายการคลัง  ซึ่งก็ได้ทำผ่านแผนกระตุ้นระยะสั้นมาแล้ว  ต่อเนื่องด้วย ปฏิบัติการไทยเข้มแข็ง  แต่ก็ยังคงมีปัญหาตามที่ผมว่าไว้คือ ช้ารั่วและหนัก  
2. นโยบายกึ่งการคลัง  โดยเข้าไปสนับสนุน และ ค้ำประกันสินเชื่อผ่านธนาคารเฉพาะกิจของรัฐ  แต่ปัญหาของเรื่องนี้ก็คือ  ความกลัว เช่น  กลัวเงินฝากไปพอ  กลัวเงินทุนไม่เพียงพอ   กลัวจะกลายเป็นหนี้เสีย  และกลัวความผิดในข้อหาปล่อยสินเชื่อโดยไม่รอบคอบ  เป็นต้น
3. นโยบายเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก  โดยรัฐเข้าไปยืมพลังจาก กองทุนบำนาญ  เช่น ลดเงินสมทบภาคบังคับลงมา   อนุญาตให้นำเงินออมบำนาญใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้   หรือว่า ให้กองทุนบำนาญลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง และ สินค้าเกษตรมากขึ้นเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ  เป็นต้น
จะเห็นว่า  กอช. นั้นขัดแย้งกับข้อ 3. โดยสิ้นเชิง   ผมรู้สึกแปลกใจต่อข้อคิดเห็นของนักวิชาการจำนวนมากที่สนับสนุนโครงการนี้  ว่าพวกเขาได้มองอย่างรอบด้านแล้วหรือไม่   ผมอยากบอกให้ชัดๆ อีกครั้งหนึ่งว่า  ในโลกนี้  ไม่มีของฟรีหรอกครับ   หากอยากจะจัดตั้งสวัสดิการเช่นนี้เพื่อเตรียมพร้อมสำหรับอนาคต   รัฐบาลต้องเตรียมตัวทำใจตั้งรับเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวได้ช้ากว่าเดิมราว 1% ทุกๆ ปีให้ดี   แต่เพื่อประเทศไทย   เนื่องจากโครงการนี้แม้จะดีในระยะยาวแต่ขัดแย้งกับภารกิจหลักคือ การฟื้นฟูเศรษฐกิจ  ดังนั้น  ผมคิดว่าเก็บเข้าลิ้นชักไปสักพักก่อนจะดีกว่าครับ

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 1:32 pm
โดย i_sarut
Paradox of thirft จะเกิดก็ต่อเมื่อแทบทุกคนในระบบเศรษฐกิจไม่ใช้จ่าย ออมกันเป็นสัดส่วนที่มากของรายได้ ไม่ใช่หรือครับ  :?:

แต่นี่คือแรงงานนอกระบบ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ทั้งหมดของระบบ เพราะยังมีแรงงานในระบบ ที่ใช้จ่ายตามปกติ และหากเศรษฐกิจฟื้นก็จะใช้จ่ายมากกว่าตอนนี้

นี่คือการออมส่วนหนึ่ง แต่ไม่ได้ให้ออมทั้งหมดของรายได้นี่ครับ

และไม่ได้บังคับให้เข้า กอช. ทุกคนนะครับ

Paradox of thirft ก็ไม่น่าจะเกิดนะครับ
เสถียรภาพของกองทุน : เป็นที่น่ากังวลว่ารัฐบาลจะจ่ายเงินบำนาญให้สูงไปหรือไม่  เช่น  จ่ายบำนาญถึงกว่าเดือนละ 1 พันบาท  ขณะที่เก็บสมทบแค่เดือนละ 100 บาท  ในที่สุดแล้วกองทุนอาจไม่เหลือเงินมากพอก็ได้ในระยะยาว


จ่ายบำนาญถึงกว่าเดือนละ 1 พันบาท แต่กว่าจะจ่ายบำนาญ ก็ต้องเกษียณตอนอายุ 60 เลยนะครับ เก็บเดือนละ 100 ตั้งแต่อายุ 20 ได้รับเงินที่ออมเอง + รัฐสมทบให้ในอีก 40 ปีข้างหน้า และก็คงไม่ได้เกษียณพร้อมกัน 24 ล้านคน

กองทุนเองก็จะลงทุนในตราสารต่างๆเพื่อเพิ่มมูลค่ากองทุนไปเรื่อยๆไม่ใช่หรือครับ

ส่วนเรื่องผลตอบแทนผมว่าก็ยัง งง อยู่ดีครับ 50 - 100%

เพราะ พี่อะไรดีละ  เอาการให้เงินสมทบเพื่อนำไปลงทุนมาเทียบกับผลตอบแทนจากการลงทุนเลยนี่ครับ  :!:

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 5:30 pm
โดย อะไรดีละ
Paradox of Thrift เกิดแน่ครับ   คน 24 ล้านคนนี่ส่วนใหญ่ของปท.อยู่แล้ว  
ไม่ต้องทุกคนที่ประหยัดครับ...แค่ส่วนใหญ่ร่วมกันประหยัดอดออม ศก.ของประเทศก็หดตัวแล้ครับ

ลองคิดถึงคนอายุ 50 ปีสิ  จ่ายสมทบแค่ 10 ปี  อายุ 60 รับเงินบำนาญจาก กอช. เท่าไหร่นะ... 1.7 พันบาททุกเดือน  ไปจนตาย สมมติ 15 ปี (ตาย 75 ปี) รับไปเนื้อๆ  3 แสนบาทนะครับ  
ทั้งๆที่จ่ายสมทบแค่เดือนละ 100 บาท  แค่ 10 ปีเท่านั้น (รวมแล้ว 1.2 หมื่นบาท)  เสถียรภาพของกองทุนจะไม่มี  เพราะชักเนื้อตลอดครับ  

ผลตอบแทน 50-100%  เมื่อมองจากมุมผู้สมทบ...เงินตรงนี้คือผลตอบแทนไงครับ  ถ้าไม่มีเงินกองทุนส่วนนี้จะจ่ายบำนาญได้ยังไงละ??

มองในมุมสมาชิก กอช. เมือเราใส่เงิน 100 รัฐสมทบให้อีก 100 ก็คือ เรากำไรฟรีๆ แล้ว 100%  นั่นคือผลตอบแทนไงครับ  ยังไม่นับรวมผลตอบแทนปกติอีกราว 5% ต่อปี  รวมๆ แล้วได้กำไร 110%  คือผลตอบแทนทั้งหมดที่ได้

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ย. 06, 2009 8:44 pm
โดย i_sarut
อ่าครับ

ขอบคุณมากครับที่ร่วมถก  :P

The good news 4 the life assurance companies(BLA,SCNYL).

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 07, 2009 6:38 pm
โดย SoLid_frOg
อยากแสดงความคิดเห็น แต่ความรู้ไม่ถึง

ขอร่วมอ่านอยู่วงนอกครับ  :8)