เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 31

โพสต์

ถ้ายกตัวอย่าง  คุณเป็น "นายทุน" คนหนึ่ง
เวลาปล่อยกู้นอกระบบ ... ความเสี่ยงสูง  วิธีการทวงหนี้ทำแทบไม่ได้  นอกจากส่งนักเลงไปจัดการ  แบบนี้เลยคิดดบ.สูงถึง 60% ต่อปีขึ้นไป มี NPL ราว 20% ขึ้นไป

นายทุนเงินกู้ในระบบ  ปล่อยสินเชื่อบุคคล  มีประวัติการรับจ่ายเงิน  มีที่อยู่ ที่ทำงานแน่นอน  สามารถทวงเงินผ่านกระบวนการ กม. ได้ ต้นทุนเลยต่ำหน่อย  คิด ดบ.ที่ 28% ต่อปี  มี NPL ราว 7%  

แต่หากมีหลักทรัพย์ค้ำประกันเต็มจำนวนด้วยกองทุนบำนาญ.... คราวนี้ไม่ต้องหวั่นเลย  นายทุนสามารถปล่อยกู้ได้ที่ ดบ.ต่ำมากๆ  แค่ 6% ต่อปีเท่านั้นเอง  ใครเบี้ยวเรายึด  NPL ของเงินกู้ตรงนี้เหลือแค่ไม่ถึง 1% เท่านั้น  

เห็นไหมครับ...ว่าวิธีนี้แท้ที่จริงแล้ว  เป็นการลดต้นทุน ดบ.ให้กับผู้ประกันตนในการกู้ยืม (ซึ่งราว 75% ของผู้ประกันตนติดหนี้อยู่)  นั่นเอง
ด้วยการให้กองทุนบำนาญเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้  ต้นทุนการกู้ยืมก็ลดลง .... แล้วพวกเขาอาจกลายเป็นนายทุนให้  ญาติมิตร  กู้ยืมได้อีกทอดหนึ่งด้วย  ทำให้ต้นทุนเงินกู้นอกระบบลดลงอย่างรวดเร็วครับ  

นอกจากนี้จะเห็นว่า  ณ ปัจจุบัน  ผู้ประกันตนนั้นออมเงินกับ สปส.ได้ผลตอบแทนราว 5% ต่อปี  ขณะที่ส่วนใหญ่กู้เงินดบ.สูงกว่า 28% ต่อปี (สินเชื่อบุคคล และ นอกระบบ)   ทำให้ระบบแบบนี้พวกเขาพวกเธอจะจนลงๆ ตลอด  ผมก็แค่อยากเข้ามาแก้ไขระบบที่ไม่เป็นธรรมนี้เท่านั้นครับ  
:)
i_sarut
Verified User
โพสต์: 1808
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 32

โพสต์

ครับผม
"Risk comes from not knowing what you're doing" - Warren Buffet

สุดยอดของความซับซ้อนคือความเรียบง่าย

http://www.sarut-homesite.net/
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 33

โพสต์

กล้วยไม้ขาว เขียน:น่าสนใจนะครับ

เศรษฐศาสตร์ยังเป็นเรื่องใหม่ในโลกที่พึ่งมีจึ้นมาไม่กี่สิบปีเอง
ยังคงต้องมีการพัฒนาปรับปรุงต่อไป

น่าจะหาผู้ร่วมมือที่สามารถช่วยให้แนวคิดนี้ออกเผยแพร่สู่สาธารณะชนต่างประเทศมาช่วยกันนะครับ

จะได้มีการวิพากย์วิจารย์กันอย่างกว้างขวาง

ถ้ามีคนระดับสูงในวงการมาอ่านแล้วเห็นด้วย
จะได้เป็นชื่อเสียงของคนไทยนะครับ

วิชาเศรษฐศาสตร์มีมาประมาณ 200 ปีครับ  ตั้งแต่อดัม สมิธ  โน่น
และเมื่อเคนส์...คิดนโยบายการคลังเพื่อช่วยฟื้นฟูจากวิกฤติ ศก.ก็ไม่เกิน 80 ปีที่ผ่านมานี้เอง
เมื่อเทียบกับ "พุทธธรรม" ความรู้อันยิ่งใหญ่ที่มีมาตั้งกว่า 2500 ปี  
และ  "มวยไท้เก๊ก" ที่มีประวัติยาวนานถึง 800 ปี  
ก็จะเห็นได้ว่า  "เศรษฐศาสตร์" นี่มันระดับเด็กๆ จริงๆ  ครับ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 34

โพสต์

ผมขอเสริมอีกนิด...

"เศรษฐศาสตร์พอเพียง"  หรือ "พุทธเศรษฐศาสตร์" นั้นหรือแท้จริงมีพื้นฐานจาก "พุทธศาสนา" ซึ่งศาสดาคือปราชญ์ของโลกชาวอินเดีย  หรือพระพุทธเจ้านั่นเอง  

อีกด้าน "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" มีพื้นฐานจาก "สัทธิเต๋า" ซึ่งศาสดา คือ เล่าจื๊อ  สุดยอดปราชญ์ของเมืองจีน  นั่นเอง

เทียบกันแล้ว  พุทธเศรษฐศาสตร์น่าจะสุดยอดกว่ามาก... มีความสุขได้อย่างพอเพียง ....  พอใจตามที่ตนเองมีอยู่ครับ  
:)
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 35

โพสต์

[quote="อะไรดีละ"]
นอกจากนี้จะเห็นว่า
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 36

โพสต์

เห็นภาพของ คุณนักดูดาว...แล้วรู้สึกว่ามันต้องแก้ไขครับ....
วิธีของผมจะเป็นการเปลี่ยนประเทศไทยได้เลย
เพราะ ชนชั้นแรงงาน จะกลับกลายเป็น "นายทุน" ได้ง่ายๆ เลย

เช่น สาวโรงงาน...ทำงานไม่เคยมีเงินเก็บ  ต้องกู้ยืมหนี้นอกระบบ 3 หมื่น  พอยอมให้มีโครงการแบบนี้  เธอไม่เคยรู้มาก่อนเลยว่าที่จริงแล้วมีเงินออมอยู่ถึง 8 หมื่นบาทกับประกันสังคม
เธอจึงนำเงิน 3 หมื่นไปปลดหนี้  พร้อมๆ กับได้เงินมา 5 หมื่น  มาให้ญาติสนิทมิตรสหายยืมเพื่อช่วยเหลือ....พร้อมรับ ดบ.ส่วนต่างในระดับยุติธรรม
จาก "ชนชั้นแรงงาน" กลายเป็น "ชนชั้นนายทุน" เลยเห็นไหม
จากนี้ไปก็จะไม่มีการแบ่งแยกอีกแล้วละครับ  
:)
Boyadvance
Verified User
โพสต์: 495
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 37

โพสต์

มันคล้ายกับ  การทำให้เงินมีสภาพคล่องสูง รึป่าวครับ
เงินจากทางนี้ ไปไว้ทางโน้น  โยนไปโยนมา
อ่านแล้ว งงๆบ้าง ไม่ได้เรียนด้านนนี้มา 5555

แต่ที่ผมว่าชัดเจน เลยคือ สันดานในความโลภของคนเรา มันเยอะ
คนที่รายได้น้อย กับ รายได้เยอะ ล้วนแต่ ใช้จ่ายเกินความจำเป็น
แต่จะต่างกันก็ ใครจะเหลือมากเหลือน้อย  หรือไม่เหลือ

ถ้าทฤษฎีนี้ ช่วยเค้าพ้นหนี้ได้จริง
ผมว่าไม่นานหรอกครับ มันก็จะกลับมาเข้า วงจรเดิม
เพราะ เงินใช้จ่ายไม่พอ  กู้นอกระบบมาใช้  ก็เป็นหนี้อีกจนได้
เนื่องจาก พวกเค้า ละเลยและขาดความรู้ด้านการจัดการเงิน ของตัวเอง
อีกทั้ง ยังมีบ่อนและการพนัน อีก ทำให้ หนี้นอกระบบ  หมดยากครับ

แต่ถ้าเศรษฐกิจพอเพียง นี้  ลดปัญหา ได้เยอะกว่าครับ อาจจะใช้เวลาสักหน่อย
แต่ให้ผลลัพท์ที่แข็งแกร่ง ลดความโลภได้ ปัญหาการโกง ก็ลดลงเพราะไม่จำเป็นต้อง มีมากมาย ขอให้พอเพียง
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 38

โพสต์

[quote="Boyadvance"]มันคล้ายกับ
Boyadvance
Verified User
โพสต์: 495
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 39

โพสต์

ถูก แล้วครับ

คนไม่จน  ไม่ได้โง่  และ  ไม่ได้เลว
ที่ผมหมายถึงยังนั้นที่ว่า มันก็กลับมานี้ เพราะ  ทั้งบ่อนและการพนัน  มันยังมีอยู่ตั้งหาก
จัดการไม่หมด  
ผมเห็น  ไม่ว่าจะฉลาด  จะไม่ฉลาด  พอหลงผิด เล่นการพนัน  ไปเป็นหนี้ทุกราย

แล้วที่ผมบอกว่า  พวกเค้า ละเลยและขาดความรู้ด้านการจัดการเงิน ของตัวเอง
เพราะว่าสังคมเราไม่ได้บ่มเพาะ ความรู้ด้านเหล่านี้ ไม่ใช่ความผิดของพวกเค้าที่ไม่รู้  แต่เพราะสังคมเราเปลี่ยนไปมาก  เอาลัดเอาเปรียบคนอื่น

ลองจิตนาการ สิครับ  ถ้าคุณเป็นผู้ปล่อยกู้  รู้ทั้งรู้ ว่า เค้าเอาไปจ่ายค่ารักษาพยาบาล  แล้วคุณจะคิดดอกเบี้ย เท่าไร ผมว่าคงไม่เยอะเท่าปัจจุบันที่พวกเค้าต้องจ่ายหรอกครับ

ผมก็ไม่ได้ศึกษาเศรษฐกิจพอเพียง อย่างลึกซึ้งนะครับ
แต่ ใจความสำคัญ ผมว่าคือการพึ่งตนเองได้  แต่สามารถมีเป้าหมายที่สูงได้เช่นกัน สมมุติ ถ้าอยากจะขยายกิจการ  แต่ตัวเอง มีเงินไม่พอ ก็ยังไม่จำเป็นต้องไปสร้างหนี้สินมาลงทุนเพิ่ม  รอจนกว่าจะมีทุนของตัวเอง+เงินกู้อีกเล็กน้อย  ค่อยขยายกิจการ ถ้าเกิดอะไรผิดพลาดไม่เป็นไปอย่างที่คิด ก็แทบจะไม่มีหนี้เลยขายสาขาที่ขยายไปก็ใช้หนี้หมด แล้วกลับมาบริการกิจการเดิม
เศรษฐกิจประเทศเราจะเติบโตอย่างมั่นคง เพราะไม่มีใครทำอะไรเกินตัว
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 40

โพสต์

[quote="อะไรดีละ"]เห็นภาพของ คุณนักดูดาว...แล้วรู้สึกว่ามันต้องแก้ไขครับ....
วิธีของผมจะเป็นการเปลี่ยนประเทศไทยได้เลย
เพราะ ชนชั้นแรงงาน จะกลับกลายเป็น "นายทุน" ได้ง่ายๆ เลย

เช่น สาวโรงงาน...ทำงานไม่เคยมีเงินเก็บ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 41

โพสต์

เปลี่ยนได้ครับ...ผมเชื่อว่าถ้าใช้ "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" คนจนในประเทศไทยจะลดลงได้ครึ่งหนึ่ง  ภายในเวลา 3 ปีเท่านั้น...

การเลิกทาสตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5  ไม่ได้เลิกทาสอย่างแท้จริง
ชนชั้นแรงงาน  ยังคงเป็น "ทาสดอกเบี้ย" ของนายทุน   "ทาสค่าเช่า" ของเจ้าที่ดิน  "ทาสภาษี" ของรัฐบาล   และในยุคนี้เป็น
"ทาสเบี้ยบำนาญ" ของกองทุนบำนาญอีกด้วย

นโยบายประกันสังคมตอนนี้  บังคับการออมเงิน...แต่ไม่ยอมให้ถอนก่อน  ไม่ยอมให้เงินออมนั้นใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้  ก็เหมือนร่วมมือกับนายทุน (ทั้งในและนอกระบบ)  เพื่อฟันส่วนต่างดบ.ของเงินออม และ เงินกู้  ของผู้ประกันตนนั่นเอง   ปล้นเงินกันทุกวันทุกเดือนทุกปี  

วิธีเช่นนี้ก็ไม่เชิงว่านายทุนจะเสียประโยชน์ทั้งหมด  เพราะว่า  เมื่อผู้ประกันตนมีสภาพคล่องที่ดีขึ้น  ก็จะนำเงินมาคืนได้  หนี้เสียก็น้อยลง  และ เมื่อมีเงินใช้จ่ายมากขึ้น  ศก.ฟื้น ก็จะมีการยืมเงินมาลงทุนเพื่อผลิตสิ่งของเพิ่มนั่นเอง  

ความเห็นของคุณนักดูดาว และ Bodayadvance ก็ดูเหมือนจะว่า "คนจน"เป็นคนเลว คนโง่อีกแล้ว....
ชอบเล่นการพนัน  ชอบเบี้ยวหนี้  ไม่รู้จักบริหารเงินบ้างละ...  ที่จริงแล้วพวกเขาต้องการแค่โอกาสเท่านั้น  

ผมเชื่อว่าเรื่องนี้ทำได้และน่าจะเกิดขึ้นต่างฟาก
...เพราะรัฐบาลได้ประโยชน์ (ได้เงินฟรีๆ 2 หมื่นล้าน)  ประชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์ก็พอใจ   จะทำให้ได้ฐานเสียงทางการเมืองไม่ต่ำกว่า 16 ล้านเสียง (ผู้ประกันตน 8 ล้านคน รวมครอบครัวและเครือข่ายสังคม)   ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และสำคัญอย่างยิ่งต่อการมีชัยชนะในการเลือกตั้งครั้งหน้าครับ
แล้วแต่ว่า พรรค ปชป. หรือ เพื่อไทย  ใครจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ก่อนกัน  ชูเป็นธงนำของนโยบายทาง ศก.ได้ก่อนกันเท่านั้นเองครับ  
:)
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 42

โพสต์

ผมไม่ได้พูดอย่างนั้นเลยครับ กรุณาอย่าอ้างโดยคลาดเคลื่อนแบบนี้ครับ ในข้อความที่ผมพูดถึงกำลังบอกว่าการปล่อยกู้อย่างที่ว่านั้นมีความเสี่ยงสูง เพราะการปล่อยให้กู้ยืมเงินส่วนบุคคลนั้นไม่มีกลไกป้องกันความเสี่ยงต่างหาก ต่างจากระบบการให้กู้ยืมเงินของนายทุน

อันที่จริงผมเห็นด้วยกับคุณอะไรดีละนะครับ อย่าเข้าใจผิด

เพียงแต่ผมบอกว่าโครงสร้างของนายทุน รวมทั้งความคิดและกฏหมายของนายทุน ไม่สามารถถูกเปลี่ยนได้โดยหลักการความคิดของคุณก็เท่านั้น เพราะมันจะไปเปลี่ยนโครงสร้างแห่งความมั่นคงของนายทุนทั้งหมด (โครงสร้างนั่นก็คือนายทุนสามารถใช้ทุนจากชนชั้นอื่นได้)

เว้นเสียแต่เราได้ผู้นำประเทศที่เห็นแก่ชนชั้นแรงงานที่แท้จริง กระจายทุนและทรัพยากรกลับสู่แรงงาน ลดช่องว่างระหว่างคนรวยและคนจนลง
ฟังดูไม่เหมือนระบอบทุนนิยมเลยใช่ไหมครับ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 43

โพสต์

นายทุนไม่ได้เสียประโยชน์อย่างเห็นได้ชัดนี่ครับ
เพราะว่า นี่เป็นการยกระดับ...คนรากหญ้า  สู่ระดับ  คนชั้นกลาง  
เมื่อมีคนชั้นกลางมากขึ้น  ประชาชนก็จะจับจ่ายใช้สอยได้มากขึ้น  นั่นเป็นผลดีกับนายทุนต่างหากละครับ  
:wink:
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 44

โพสต์

ถ้างั้นก็ต้องถามกลับล่ะครับ ว่าทำไมไม่มีนายทุนเอาความคิดของคุณไปใช้เสียทีในระดับมหภาค?

แนวคิดการคืนเงินออมให้ประชาชนใช้จ่ายนั้น แน่นอนว่ากระตุ้นเศรษฐกิจในได้แน่นอนครับ ขอย้ำว่าเห็นด้วยจริงๆ เพราะในระดับจุลภาค ก็มีการปลดล๊อคเงินกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหลายแห่ง ให้พนักงานนำไปใช้จ่ายในภาวะวิกฤติที่ผ่านมา ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับที่น่าพอใจ อย่างน้อยการเคลียร์หนี้สินดอกเบี้ยสูงก็ทำให้ภาระทางการเงินลดลงมาก อันนี้เค้าทำกันกว้างขวางครับ

แต่หากคุณมุ่งไปที่ประกันสังคมแล้ว ต้องถามว่ามีกลยุทธ์ในการนำไปสู่การปฏิบัติระดับมหภาคได้อย่างไรครับ คุณจะเสนอเรื่องนี้ไปที่ รมต.คลัง หรืออย่างไรก็ควรจะต้องลงมือปฏิบัติ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 45

โพสต์

ผมไม่ได้มองในแง่ร้ายขนาดที่ว่า  นายทุน จะกดขี่ไม่ให้ ชนชั้นกรรมาชีพ  ต้องอยู่ใต้อุ้งเท้าไปตลอดหรอกนะครับ  
ดังนั้น ผมก็ไม่ได้เชื่อจริงๆ ว่า ประกันสังคม  จงใจ ร่วมมือกับนายทุน เพื่อสูบเลือดเอาจากผู้ประกันตน......
ปัญหาอยู่ที่ระบบ... ผู้ประกันตนต้องกู้ยืมจากแบงก์ และ นายทุนนอกระบบ แบบไม่มีหลักประกัน  ทั้งๆที่ที่จริงแล้วมีหลักประกันก้อนใหญ่อยู่กับ สปส.

เหตุที่ไม่ผ่านเข้าระดับมหภาคก็เพราะ.... บอร์ด สปส. และ กบข. ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้  พวกเขาคิดว่า ผู้ประกันตน และ ขรก.ผู้น้อย  คิดเองไม่เป็น ขืนยอมคืนเงินไป  ต้องถูกเอาไปใช้มั่วๆ หรือเล่นการพนัน  และเบี้ยวหนี้กันเยอะแน่
อนาคตจะเป็นเรื่องคือไม่เหลือเงินแน่นอน....นั่นคือสิ่งที่คนบนหอคอยเขาคิดกันนะครับ
สู้ให้พวกเขาบริหารไม่ได้  เฉลี่ยแล้วได้ถึง 5 เปอร์เซนต์ต่อปี (ถ้าไม่โชคร้ายเหมือนปีก่อน ที่หุ้นลงหนักมากทั่วโลก)  
โดยที่พวกเขาไม่ตระหนักสักนิดเลย...ว่าอันที่แท้จริงผู้ประกันตนถึง 75 เปอร์เซนต์ได้ติดหนี้ดบ.โหดๆ ทั้งในและนอกระบบกันอยู่แล้ว ดบ.สูงกว่านั้นหลายเท่าตัวอยู่แล้ว
การบังคับออมเงินโดยไม่เปิดช่องยืมออกมาได้....จะทำให้ผู้ประกันตนส่วนใหญ่ต้องจ่าย ดบ.ส่วนต่าง  ติดหนี้ติดสินงอม  และ เงินแทบไม่พอใช้ทุกเดือน

ผมได้เสนอเรื่องเข้าบอร์ด สปส.ไปหลายครั้งแล้ว....ไม่ผ่านครับ
เสนอเรื่องให้ท่านนายกฯ อภิสิทธิ์ก็หลายครั้งแล้ว... ตอบกลับประโยคเดียว "ขอบคุณสำหรับความคิดเห็นครับ"

รัฐบาลพยายามแก้ไขปัญหาหนี้สินนอกระบบเหมือนกัน  ผ่านสินเชื่อฟาสต์แทรกต์  แต๋ก็ยังประสบปัญหาเหมือนเดิม คือ คนจะกู้ไม่มีเครดิตพอ  ไม่มีหลักประกันพอ ทำใหกู้ไม่ได้อยู่ดีครับ

แต่แนวคิดตรงนี้จะช่วยได้ถึง 8 ล้านครอบครัว พอๆ กับกรามีนแบงก์  หรือ แบงก์คนจนของบังคลาเทศ   แต่ใช้เวลาแค่ 30 วันเท่านั้น  ไม่ต้องรอนานถึง 30 ปีเหมือนที่ ดร.ยูนุสได้พยายามทำมา

"เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" ยังเป็นทฤษฎีใหม่มาก  เหมือนทฤษฎีเคนส์สมัยเกือบ 80 ปีก่อน...เคนส์เป็นคนอังกฤษ  แต่รัฐบาลอังกฤษไม่เชื่อความคิดนี้   จนญี่ปุ่นและอเมริกา  นำไปใช้ก่อนจนประสบความสำเร็จ  อังกฤษถึงยอมทำตามครับ   :wink:
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 46

โพสต์

งั้นเอาแบบนี้ครับ พบกันครึ่งทาง  เปิดโอกาสให้กู้ยืมเงินดอกเบี้ยต่ำจากธนาคารออมสิน โดยใช้เงินประกันสังคมหรือเงินสะสมในกบข.ค้ำประกัน น่าจะได้ดอกเบี้ยต่ำกว่าการกู้เงินนอกระบบหรือสินเชื่อดอกเบี้ยสูงๆ น่าจะตอบโจทย์ได้ในระดับหนึ่ง ธนาคารออมสินก็ได้กำไรเห็นๆ   หากนายทุนไม่ได้กำไร ยากครับ ที่จะจูงใจให้เค้าทำอะไรได้
เหตุที่ไม่ผ่านเข้าระดับมหภาคก็เพราะ.... บอร์ด สปส. และ กบข. ไม่เห็นด้วยกับเรื่องนี้  พวกเขาคิดว่า ผู้ประกันตน และ ขรก.ผู้น้อย  คิดเองไม่เป็น ขืนยอมคืนเงินไป  ต้องถูกเอาไปใช้มั่วๆ หรือเล่นการพนัน  และเบี้ยวหนี้กันเยอะแน่
ที่เค้าคิดนั่นถูกต้องตามสิ่งที่เป็นปัจจุบันครับ  โรงเรียนทั่วไปของเราสอนวิชาคณิตศาสตร์เพื่อวิทยาศาสตร์มากมาย อย่างพีชคณิต เรขาคณิต ฯลฯ  แต่ไม่ได้สอนในสิ่งที่ใช้อยู่ทุกวัน อย่างเรื่องมูลค่าของเงิน อัตราดอกเบี้ย ความเสี่ยง ความน่าจะเป็น อันที่จริงแล้ว ครู เป็นอาชีพที่มีปัญหาด้านการเงินเป็นอันดับต้นๆด้วยซ้ำไป  หากบอร์ดจะมองอย่างนั้นก็ไม่แปลก แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่บอร์ดพยายามแก้ไข ... เพราะไม่ใช่หน้าที่

ผมเชื่อว่าบอร์ดทั้งหลายจะไม่หาเรื่องใส่ตัว โดยการปลดล๊อกเงินพวกนี้ เพราะหากเกิดปัญหาแล้ว ก็จะพาตัวเองไปลำบากเปล่าๆ ต่างจากระดับจุลภาค ที่ระบบบอร์ดกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นั้นมาจากสมาชิกที่ใกล้ชิดปัญหามากกว่า เช่นเดียวกับระบบสหกรณ์ออมทรัพย์ที่คล่องตัวกว่าในการบริหารครับ
เพียงแต่ผมบอกว่าโครงสร้างของนายทุน รวมทั้งความคิดและกฏหมายของนายทุน ไม่สามารถถูกเปลี่ยนได้โดยหลักการความคิดของคุณก็เท่านั้น เพราะมันจะไปเปลี่ยนโครงสร้างแห่งความมั่นคงของนายทุนทั้งหมด (โครงสร้างนั่นก็คือนายทุนสามารถใช้ทุนจากชนชั้นอื่นได้)
สังเกตอะไรไหมครับ แม้เงินจะไม่ได้ถูกส่งเข้ามายังกระเป๋านายทุนโดยตรง แต่ก็เข้ามาเป็นทุนให้รัฐ ผ่านพันธบัตรรัฐบาล เป็นทุนให้เอกชนผ่านเครื่องมือการเงินประเภทต่างๆที่กองทุนเข้าไปลงทุน  สุดท้ายกองทุนยักษ์เหล่านี้ก็ได้ทำหน้าที่ของมันโดยการเติม supply ของเงินเข้าไปในบางส่วนของระบบ แทนที่จะปล่อยให้กระจัดกระจายหมุนเวียนในระดับรากหญ้า

การออมเพื่อการเกษียณนั้นผมเชื่อว่าจำเป็นมาก แต่สำหรับเมืองไทยเราไม่เปิดโอกาสให้ประชาชนออมได้ในช่องทางที่หลากหลาย แต่กลับใช้ภาคบังคับรวมกระจุกไว้แต่เพียงกองทุนยักษ์ดังกล่าวครับ

ผมจึงบอกว่าถ้าจะแก้ก็ต้องเปลี่ยนโครงสร้างที่มั่นคงหลายอย่างครับ
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 47

โพสต์

ที่เล่ามานี่ ส่วนหนึ่งมาจากประสบการณ์ตรงของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพนะครับ  เราคิดว่ามันแก้ปัญหาได้ในเรื่องการลดภาระหนี้ดอกเบี้ยสูง แต่ก็ต้องยอมรับอันตรายของมันในเรื่องการใช้เงินเกษียณจนหมด สุดท้ายแล้ว เราเลือกที่จะปลดล๊อกมันออกมาครับ เพราะเป็นประโยชน์กับคนส่วนใหญ่

ผมเข้าใจเจตนาดีของคุณอะไรดีละ แต่หากจะช่วยให้เกิดการขับเคลื่อนก็อยากให้เขียนหนังสือออกมาในแนวบริหารเงินสำหรับรากหญ้าครับ ผมเชื่อว่าถ้าเราให้การศึกษากับผู้คน สิ่งที่ได้กลับคืนมานั้นเป็นร้อยเท่าพันทวี

เว็บนี้เค้าไม่ให้คุยการเมือง แต่ผมมองว่านโยบายกองทุนหมู่บ้านหรือกองทุนเศรษฐกิจพอเพียง นั้นมันก็มาจากความต้องการของประชาชน ให้การเมืองตอบสนอง อย่างน้อยถ้าประชาชนเข้าใจในสิ่งที่เค้าควรจะได้ ก็สามารถผลักดันให้การเมืองไปในทิศทางนั้นจนเกิดการเปลี่ยนแปลงในระดับมหภาคได้ในที่สุดครับ

ผมอ่านหนังสือและเว็บของ ดร.โสภณ พรโชคชัย ท่านมีแนวคิดที่น่าสนใจไม่แพ้คุณอะไรดีละเลย  แต่เป็นในเรื่องอสังหา. ท่านก็ขยันเขียนขยันโพสต์มาหลายปีแล้วครับ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 48

โพสต์

หนังสือ...คงไม่มีคนพิมพ์ให้หรอกครับ
ผมรู้ว่าเรื่องนี้จะช่วยผู้ประกันตน และ ขรก. รายได้น้อย  จำนวนมากมาย  ที่เข้าไม่ถึงแหล่งเงินกู้ต้นทุนต่ำ  

เงินออมกับ สปส. ไม่สามารถใช้เป็นหลักทรัพย์ค้ำประกันได้ครับ  เพราะ เงินไม่ได้แบ่งเป็นก้อนๆ ชัดเจนว่าเป็นของใคร  จึงไม่สามารถโอนสิทธิกันได้ครับ
ผมเลยเสนอให้ สปส. และ กบข. เป็นคนค้ำประกันให้แทน... ไม่เกิน 90 เปอร์เซนต์ของยอดเงินออมอยู่กับ 2 สถาบันนี้
ออมสิน และ กรุงไทย  ปล่อยกู้ที่ ดบ.6 เปอร์เซนต์ต่อปี
ส่วนอีก 3 เปอร์เซนต์  เป็นค่าค้ำประกัน  (อาจแบ่งกันคนละครึ่งระหว่าง สปส. กับ รัฐบาล)
จึงเป็นที่มาของ "สินเชื่อ99"  ดบ.9 เปอร์เซนต์  กู้ได้ไม่เกิน 9 ส่วน  เป็นสินเชื่อที่ออกไปในปี 2009  ครับ
วิธีนี้ก็จะทำให้ สปส.ได้เงินผลตอบแทนมากขึ้น  รัฐบาลก็ได้เงินกินเปล่า  
ผู้ประกันตนกลุ่มนี้ยินดีจ่ายให้อยู่แล้วครับ  
:wink:
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 49

โพสต์

ถ้าอย่างนั้นคุณอะไรดีละ ก็ต้องเล่นการเมืองแล้วล่ะครับ เห็นนโยบายเศรษฐกิจของรัฐบาลนี้แล้ว ก็ยังน่าจะติดกับดักเคนส์อยู่ต่อไปครับ
เรื่องนวัตกรรมทางการเงิน ไม่น่าจะมีอยู่ในกรอบความคิดของทีมงานเค้า

ระบบการเงินรายย่อยที่น่าสนใจระบบหนึ่งคือสหกรณ์ออมทรัพย์หรือเครดิตยูเนี่ยน นั่นคือสมาชิกรับความเสี่ยงในระบบของตัวเองโดยมีต้นทุนต่ำ ทำให้ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยกระจายสู่สมาชิกได้อย่างเต็มที่ น่าจะเป็นหลัก "ไท้เก็ก" เช่นกัน ใช่ไหมครับ

นายทุนทั้งหลาย คงไม่ชอบแนวคิดนี้ เพราะด้วยความที่มีเป้าหมายดำเนินการเพื่อสมาชิก ไม่สามารถทำกำไรได้เป็นกอบเป็นกำให้กับนายทุนเหมือนสถาบันการเงินแบบอื่นๆ
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 50

โพสต์

สหกรณ์ออมทรัพย์  เป็นแนวคิดที่ดีครับ   ปัจจุบันมียอดเงินสูงถึง 6 แสนล้านบาท  ทำให้ผมไม่ค่อยห่วงกับการเข้าถึงแหล่งเงินทุนเท่าไหร่  สำหรับ ขรก. เพราะ คนกลุ่มนี้กู้แบงก์รัฐก็ได้  กู้สหกรณ์ก็ได้   ดบ.จะต่ำมากๆ  
เป็นการยืมพลังจาก "คนรวย" ซึ่งมีเงินออมในกลุ่มหรือองค์กรเดียวกัน  ก็ถือเป็น "ไท้เก๊ก" เช่นกัน  
แต่ปัจจุบันสหกรณ์หลายแห่งเริ่มมีปัญหา  เพราะ มีแต่คนจะกู้  แต่ไม่ค่อยมีคนออมเงินกัน  เงินไม่ค่อยจะพอครับ  และหนี้เสียเริ่มสูงขึ้นตาม ศก.ที่ชะลอตัว
ในที่สุดแล้ว  อาจมีสหกรณ์บางแห่งต้องล้มลง แบบสถาบันการเงินก็ได้  คราวนี้ที่แย่กว่านั้นก็คือ  รัฐบาลค้ำประกันเงินออมในแบงก์   แต่ใครละที่ค้ำประกันเงินออมของสหกรณ์...

สำหรับผู้ประกันตนที่ทำงานอยู่ใน บริษัทห้างร้านเล็กๆ  นั้นจะมีปัญหามากกว่า เพราะ กู้ได้แต่จากนันแบงก์  หรือไม่ก็นอกระบบโน่นเลย  ต้นทุนทางการเงินจะสูงมากๆ  ทั้งๆที่พวกเขามีหลักทรัพย์คือเงินออมในระบบ สปส. อยู่แล้ว  แต่กลับไม่สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้

การบริหารเงินของรากหญ้า.... คงไม่มีอะไรมากไปกว่า  จะหาเงินไปคืนเงินกู้ได้อย่างไร......
เงินได้แต่ละเดือน  ต้องถูกหักด้วยการผ่อนคืนเงินกู้  หรือ อาจจะแค่ดบ.ด้วยซ้ำบางคนอาจต้องจ่ายถึง 3-4 พันบาท ต่อเงินกู้ 3-4 หมื่นบาท  ดังนั้น  เหลือแต่ละเดือนก็คงน้อยมากๆ  เมื่อเทียบกับค่าครองชีพตอนนี้  สิ่งที่คงทำได้เพียงกินมาม่าได้ครบ 3 มื้อ  ก็เป็นบุญแล้วมั้งครับ   :roll:
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 51

โพสต์

สินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุ Reverse Mortgage  


โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน พฤหัสบดี ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2552 09:34 น.

สังเกตว่าในพักหลังๆ จะมีคนทั่วโลกออกมาเป็นห่วง และพูดถึงมาตรการรองรับการดูแลผู้สูงอายุอย่างจริงจัง เพราะคาดว่าในไม่ช้า โครงสร้างประชากรโลกจะมีสัดส่วนของผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นมาก เป็นผลจากพฤติกรรมการมีลูกน้อยลง ประกอบกับการมีอายุเฉลี่ยยืนขึ้น ซึ่งประชาชนโดยเฉลี่ยอาจจะใช้ชีวิตหลังเกษียณยาวนานถึง 20 ปีเลยทีเดียว

กรณีของไทย ผู้สูงอายุจะหวังพึ่งเงินงบประมาณรัฐ ด้านสวัสดิการสังคมหรือสาธารณสุขก็คงไม่พอ หวังให้ลูกหลานเลี้ยงดูก็ไม่แน่ใจ เพราะวัฒนธรรมเลี้ยงดูผู้สูงอายุเริ่มเปลี่ยนไป หวังพึ่งเงินสะสมก็ไม่รู้ว่าจะพอใช้จนถึงบั้นปลายชีวิตหรือเปล่า เป็นเรื่องที่น่ากังวลจริงๆ


อันที่จริงแล้ว ยังมีความมั่งคั่ง (Wealth) อย่างหนึ่งที่คนเราสะสมไว้ตั้งแต่วัยทำงาน คือ บ้านที่ผ่อนส่งกันนานถึง 20 - 30 ปี ทำให้เงินเก็บทั้งชีวิตร่อยหรอลงไป แต่จะทำอย่างไร เมื่อถึงคราวจำเป็นในยามแก่ จะสามารถเอาบ้านมาแปลงเป็นเงินเพื่อใช้จ่ายเหมือนทรัพย์สินอย่างอื่นได้ โดยไม่ต้องหวังพึ่งใครและยังสามารถอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นได้


Reverse Mortgage หรือสินเชื่อบ้านแบบย้อนกลับ สามารถตอบโจทย์ข้างต้นได้อย่างพอเหมาะพอเจาะ ที่เรียกว่า ย้อนกลับ ก็เพราะว่า สวนทางกับสินเชื่อบ้านทั่วไป ที่โดยปกติผู้กู้จะต้องจ่ายชำระเงินต้นและดอกเบี้ยเป็นงวดๆ ให้กับสถาบันการเงินที่ให้กู้


ในขณะที่ Reverse Mortgage นั้น สถาบันการเงินจะต้องจ่ายเงินให้กับผู้กู้เป็นงวดๆ รวมทั้งอาจจะกันวงเงินจำนวนหนึ่งไว้ สำหรับการเบิกใช้ในยามฉุกเฉินเพิ่มเติม โดยผู้กู้ไม่ต้องชำระเงินต้นหรือดอกเบี้ยคืนจนกว่าจะสิ้นสุดการกู้ยืม จัดเป็น Deferred Payment Loan ประเภทหนึ่ง โดยมีเงื่อนไขว่าผู้กู้จะต้องอาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นเป็นหลักตลอดการกู้ยืม


Reverse Mortgage เป็นสินเชื่อบ้านสำหรับผู้สูงอายุเท่านั้น (อายุ 62ปีขึ้นไปในสหรัฐฯ และอายุ 65 ปีขึ้นไปในเกาหลีใต้) เหมาะกับผู้สูงอายุที่มีบ้านเป็นของตนเอง แต่ไม่มีกระแสเงินเพียงพอสำหรับการใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน และไม่ต้องการขายบ้าน


วงเงินกู้ที่จะได้รับขึ้นอยู่กับอายุของผู้กู้ (ยิ่งอายุมาก ยิ่งได้รับวงเงินมาก) มูลค่าบ้านที่เป็นหลักประกัน และอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ ส่วนใหญ่การกู้จะสิ้นสุดลง เมื่อผู้กู้เสียชีวิต มีการชำระหนี้คืนทั้งหมด หรือไม่ได้อาศัยอยู่ในบ้านหลังนั้นแล้ว


น่าเสียดายว่า Reverse Mortgage ยังไม่มีในประเทศเรา ส่วนใหญ่จะมีในประเทศที่ตลาดสินเชื่อบ้านค่อนข้างก้าวหน้า ในแถบเอเชียเท่าที่เห็น คือ เกาหลีใต้ ที่เริ่มในปี 2550 โดยมีสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐเป็นผู้ให้กู้ มีรัฐบาลค้ำประกันเงินกู้ และคิดดอกเบี้ยในอัตราที่ต่ำ เพราะถือว่าเป็นสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในประเทศอย่างหนึ่ง


สำหรับในไทย น่าจะมีการริเริ่มบริการ Reverse Mortgage ซึ่งนอกจากจะช่วยเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุ และลดภาระของรัฐบาลในการดูแลผู้สูงอายุแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนความมั่งคั่งที่คนสะสมไว้ให้มีสภาพคล่องมากขึ้น ทำให้มีการใช้จ่ายมากขึ้น ส่งผลบวกต่อ GDP และการพัฒนาภาพรวมของที่อยู่อาศัยของประเทศ ทั้งนี้ ธนาคารอาคารสงเคราะห์น่าจะเป็นผู้ริเริ่ม เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับภาครัฐ และน่าจะทำหน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ของผู้บริโภคได้ดีที่สุด

++ แนวคิดข้างบนนี้ไม่เลวเลย  อเมริกา  ญี่ปุ่น  เกาหลีใต้เริ่มแล้ว
ไทยเองก็ควรต้องเริ่มคิดเรื่องนี้แล้ว  เพื่อเตรียมรับกับสังคมผู้สูงอายุ  
ยังเพิ่มสภาพคล่อง  กำลังซื้อให้คนแก่ได้อีกด้วย....
นี่เป็นอีกเรื่อง  "ยืมพลังจากบ้าน" ....  ควรต้องบรรจุไว้ใน "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" ด้วยเช่นเดียวกันครับ
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
ภาพประจำตัวสมาชิก
gradius173
Verified User
โพสต์: 198
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 52

โพสต์

Reverse Mortgage  ผมว่าเป็นเรื่องที่ดีทีเดียว
แต่ติดปัญหาเรื่องความไม่นิยมบ้านมือ2ของคนไทย
แบงค์คงไม่อยากได้บ้านมาขายเองเพราะมีโอกาสเป็นNPLสูงมาก
คงต้องเป็นแบงค์รัฐทำก่อน หากประสบความสำเร็จแบงค์เอกชนคงเข้ามาเล่นเอง

ผมสงสัยว่าเศรษฐศาสตร์แบบไทเก๊กนี้ หากไม่ประสบความสำเร็จ
เงินออมส่วนหนึ่งของรากหญ้าจะหายไปถูกไหมครับ
แล้วพอถึงเวลานั้นรัฐสามารถปฏิเสธความช่วยเหลือกลุ่มรากหญ้าเหล่านี้ได้ไหม เมื่อรากหญ้าเหล่านี้เข้าวัยเกษียณ
เพราะคุณทำตัวเองน่ะ

ผมกังวลว่าภาษีของผมที่จ่ายไปจะถูกเอาไปใช้แบบไม่ได้เรื่องเพราะMoral Hazard
หากโครงการนี้เจ๊ง
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 53

โพสต์

ขอบคุณความเห็นข้างบน
เงินออมรากหญ้าไม่ได้หายไปไหนครับ
ถ้าไม่ไปคืนหนี้  ก็เอาไปลงทุน หรือไม่ก็เอาไปใช้จ่าย
โดยที่ส่วนใหญ่น่าจะเอาไปใช้เพื่อข้อแรกเป็นหลัก
แต่ทั้งหมดจะไปช่วยเพิ่มรายได้สุทธิของคนทั้งประเทศ

"ขอให้เชื่อใจในคนรากหญ้า และ ให้โอกาสพวกเขา"
นี่คือแนวคิดของกรามีนแบงก์  ใช้เวลาถึง 30 ปีในการสร้างเครือข่าย และ เงินทุน  ตอนนี้ช่วยเหลือคนจนได้ถึง 7 ล้านครอบครัว
แทบไม่แตกต่างอะไรกับ "สินเชื่อ99" แต่วิธีของเรานั้นเงินรออยู่แล้ว  จะช่วยได้ราว 7 ล้านครอบครัวพอๆ กัน  แต่ใช้เวลาแค่ 30 วันเท่านั้น

หากมีการเบี้ยวหนี้ของสินเชื่อ99 จริงๆ  คนกลุ่มนี้จะถูกบังคับให้ออมอย่างเดียว และ ยืมเงินไม่ได้อีก  ดังนั้น จะมีเงินเก็บอยู่ดีในรูปเงินบำเหน็จชราภาพไงครับ  ซึ่งดีกว่าคนนอกระบบอีก 24 ล้านคนซึ่งไม่มีอะไรรองรับเลยครับ

:)
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 54

โพสต์

"ขอให้เชื่อใจในคนรากหญ้า และ ให้โอกาสพวกเขา"
ไม่ทราบคุณอะไรดีล่ะ เคยปล่อยเงินกู้บ้างหรือเปล่า ผมแนะนำว่าควรจะลองสักสี่ห้าหมื่นให้กับรากหญ้าที่คุณไว้ใจ แล้วจะเข้าใจอะไรดีขึ้น

ผมไม่ได้บอกอะไรนะครับ อย่าเพิ่งคิดว่าผมจะว่าอย่างโน้นอย่างนี้อีก
แต่อยากให้คุณเข้าใจสิ่งที่เป็นความจริงด้วยตัวเอง
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 55

โพสต์

เอาตัวเลขเฉลี่ยมาคุยเลยดีกว่าครับ
หนี้เสีย ของสินเชื่อของแบงก์กรามีน และ กรุงไทยธนวัฏ นั้น ไม่ถึง 1 เปอร์เซนต์   ปล่อยกู้ให้กับคนจน  ได้ขนาดนี้เพราะ
"หากศรัทธาในคนจน  คนจนก็จะศรัทธาในเจ้าหนี้"
ผมเชื่อว่า  สินเชื่อ99 ก็จะได้ผลเช่นเดียวกันครับ  จบข่าว
:)
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
นักดูดาว
Verified User
โพสต์: 2513
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 56

โพสต์

:lol:

จบครับ จบข่าว
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 57

โพสต์

ลองเทียบกับ การแก้ไขหนี้นอกระบบของรัฐบาลสิครับ

ให้กู้ได้ไม่เกิน 2 แสน...ดบ.0.5 เปอร์เซนต์ต่อเดือน  บิดเบือนเรื่องของความเสี่ยงและผลตอบแทน  

ถ้ากรณีแบบนี้ถูกเบี้ยวหนี้สัก 20 เปอร์เซนต์  ภาระจะตกที่ใคร...คงหนีไม่พ้นออมสิน  ซึ่งเป็นแบงก์รัฐ และ ประชาชนผู้เสียภาษีใช่ไหมครับ  

แล้วถ้ามีการปลอมแปลงเอกสารเงินกู้ยืม  เพื่อให้ออมสินมาช่วยเหลือแบบนี้บ้างจะทำไง...ลงทะเบียนเก๊ๆ  แล้วก็เอาตังค์มา  จากนั้นก็เบี้ยวหนี้ไป  เรียกว่าจงใจโกง....ว่างั้นเถอะ

ใช้"สินเชื่อ99" ของเศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก  จะไม่สมเหตุสมผลกว่าหรือครับ
:)
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
อะไรดีละ
Verified User
โพสต์: 680
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 58

โพสต์

ท่านแม่ทัพสุมาอี้หายไปไหน....
ไม่เข้ามาชี้แนะในกระทู้ "เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก" และ "กอช." เลย ละครับ
:roll:
เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก... กรอบแนวคิดใหม่ใช้หลักยืมพลัง และ รักษาสมดุลเพื่อช่วยฟื้น ศก.ไทย และ ศก.โลก

หุ้นเงา... หุ้นอยู่ในเงาทำให้คนมองเห็นไม่ชัด ราคาหุ้นพร้อมจะปรับขึ้น 2 เด้งจาก EPS ที่สูงขึ้น และ การปรับค่า P/E ให้สูงขึ้นในอนาคต
ซากคน
Verified User
โพสต์: 1400
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 59

โพสต์

เศรษฐศาสตร์ขี้เก๊ก     :lol:
เราต่างตื่นขึ้นมาทุกวัน เพื่อสร้างผลงานให้ได้ เราควรรู้ว่า ในทุกวันมีอะไรที่ต้องทำเพื่อให้เกิดผลงาน หากการตื่นขึ้นมา ไม่ได้เป็นไปเพื่อผลงาน เราก็ไม่สมควรที่จะตื่นขึ้นมาให้รกหูรกตาคนรอบข้าง
lemongreen
Verified User
โพสต์: 37
ผู้ติดตาม: 0

เศรษฐศาสตร์ไท้เก๊ก

โพสต์ที่ 60

โพสต์

ทุกอย่างมันอยู่ที่คน

ถ้าแก้การคอรัปชั่นไม่ได้  

ไม่กลัวกฎหมาย กฏหมายเอาผิดไม่ได้ ใครที่ไหนมันจะกลัว

ได้ที หนึ่ง ย่อมมีรอบสอง  ยิ่งรู้ว่าคนคอรับชั่นยังเสนอหน้าอยู่ในสังคมได้อย่างไม่อาย

ต่อให้มีวิธีแก้ยังไง คนไปใช้มันคิดแต่จะโกง ผลก็เห็นอยู่ไช่ไหมคับ

ประเทศไทยย่ำอยู่กับที่มาสิบปีละ
ชีวิตนี้สั้นนัก ทำความดีไว้เถิด