หน้า 2 จากทั้งหมด 2

รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 15, 2009 12:12 pm
โดย i_sarut
ผมว่านักเศรษฐศาสตร์ก็เหมือนเป็นหมอดูทางด้านเศรษฐกิจนะครับ คาดเดาไปตามตัวเลขที่คาดการณ์ แต่ไม่มีทางถูกเป๊ะๆ ใครใกล้สุดก็ดังเลย

เหมือน ดร.นิเวศน์ เคยเขียนบทความไว้เหมือนกัน น่าจะเรื่อง สบู่ทุกก้อน มั้งครับ ที่ว่านักเศรษฐศาสตร์เก่งพอๆกันหมด เพียงแต่เพราะภาพลักษณ์ภายนอกที่ทำให้ดูเหมือนจะเก่งไม่เท่ากัน
เพิ่มเติมนิดนึงครับ

อีกอย่างนักเศรษฐศาสตร์ถ้าใครเกิดพลาดเข้า ภาพลักษณ์ก็จะดูแย่ไปเลย

อย่างตอนนี้ อลัน กรีนสแปน ก็โดนซะอ่วมเลย จากการที่ไปกดดอกเบี้ยต่ำๆเพื่อแก้ปัญหาสมัยโน้น ทั้งที่ตอนนั้นใครๆก็ยอมรับว่าเขาเก่ง พอมาเจอวิกฤตครั้งนี้ก็โยนขี้ไปให้เขา เขาเลยต้องออกหนังสือมาตอบโต้กันอีก  :?

อันนี้ผมพูดถึงมุมมองของคนภายนอกนะครับ แต่ถ้าคนในวงในเค้าก็น่าจะรู้ว่าใครทำอะไรดีจริง อะไรไม่ดีจริง

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 06, 2011 12:07 am
โดย Financeseed
ไม่รู้พี่ ฮง จะมาเห็นกระทู้นี้ไหม ช่วยเด็กใหม่ดด้วยครับ แนว fundflow ด้วยครับ
Unemployment Rate
Non-Farm Payrolls
Industrial Production
ISM Manufacturing - Inventories
ISM Manufacturing - Employment
MoM Change in Non-Farm Payrolls
ISM Manufacturing - New Orders
ISM Manufacturing
Consumer Confidence
Industrial Production (MoM Change, %)

ดัชนีข้างต้นที่พี่เคยเขียน จะช้ากว่า พวกค่า TED spread, VIX , Gold price, libor, Yield Curves, Federal Funds Rate, USD/THB ใช่ไหมครับ เพราะมันเป็นตัวสะท้อนอารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์โดยทันที

- พี่พอจะแนะนำ พวกค่าต่างๆ เรียงลำดับจากไวที่สุดไปช้าที่สุดให้หน่อยครับ
- ค่าไหนที่พี่ใช้บ่อย แล้วพิสูจน์มาแล้วจากการใช้จริงว่า แม่นยำพอควร
- พี่ช่วยแนะนำดัชนีชี้นำอื่นๆ หรือ พวกค่า ต่างๆ ที่ผมไม่ได้เขียนในที่นี้อีก ที่พี่คิดว่ามันมีความสำคัญ จำเป็นที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง
- ถ้าไม่รบกวนเกินไป พี่พอจะยกตัวอย่างการใช้ค่าต่างๆ ที่เน้นๆ สัก 2 ตัวอย่างให้ดูหน่อยได้ไหมครับ
-สมมุติมีวิกฤติรอบใหม่ ขึ้นมา ถ้าเราจะดูว่า fundflow (สภาพคล่อง) จะมาหรือยัง ดูจากอะไรบ้างครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 06, 2011 9:16 am
โดย untrataro25
มาขอบคุณเนื้อหาจากทุกท่านครับ กระทู้นี้แน่นดีจริงๆ
ผมความรู้น้อย :oops: มาแอบอ่านครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ก.ค. 06, 2011 10:21 pm
โดย sylph
กระทู้เมื่อสองปีที่แล้ว

ขอบคุณครับที่ขุดมาให้อ่าน

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 07, 2011 7:14 pm
โดย blackninja
ผมว่ามันก็ไม่จำเป็นจะต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่งเลยครับ รู้ไว้หลายอย่างมันก็เหมือนมีอาวุธติดตัวไปหลายอย่าง เวลาไปสนามรบบางครั้งอาวุธบางชนิดมันก็เหมาะกับบางสถานการณ์ เช่น ใช้แนวคิดแบบ VI ในการเลือกหุ้น และใช้เทคนิคช่วยในหารหาจังหวะซื้อหรือขาย

ส่วน macro economics ถ้ามองออกว่าอนาคตจะมีผลกระทบอะไรกับหุ้นที่เราสนใจอยู่มันก็จะทำให้เราตัดสินใจได้เร็วกว่าที่จะรอให้มันเกิดขึ้นแล้ว เช่น ถ้าเราคาดการว่าบาทจะอ่อนเลยเข้าซื้อหุ้นกลุ่มส่งออกก่อนที่จะสะท้อนมาที่ผลประกอบการ

เรื่อง fund flow คาดการณ์ยากที่สุดเพราะส่วนหนึ่งมันเหมือนเป็นการเดาใจฝรั่ง เป็นผมจะรอให้มันเริ่มเข้าหรือเริ่มออกก่อนแล้วค่อยตาม เพราะถ้าจะเข้ามันก็ไม่ได้มาวันเดียว หรือ ช่วงออกบางทีไหลออกตลอด 3 เดือนก็มี ใช้วิธีตามน้ำดีที่สุด

ผมก็ไม่ได้มีความรู้มากนัก ถือว่าเป็นการคุยขำๆแล้วกันนะครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 07, 2011 7:37 pm
โดย นพพร
มาบันทึกว่า เข้ามาอ่านแล้วนะ :mrgreen:

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 07, 2011 9:51 pm
โดย hongvalue
financeseed เขียน:ไม่รู้พี่ ฮง จะมาเห็นกระทู้นี้ไหม ช่วยเด็กใหม่ดด้วยครับ แนว fundflow ด้วยครับ
Unemployment Rate
Non-Farm Payrolls
Industrial Production
ISM Manufacturing - Inventories
ISM Manufacturing - Employment
MoM Change in Non-Farm Payrolls
ISM Manufacturing - New Orders
ISM Manufacturing
Consumer Confidence
Industrial Production (MoM Change, %)

ดัชนีข้างต้นที่พี่เคยเขียน จะช้ากว่า พวกค่า TED spread, VIX , Gold price, libor, Yield Curves, Federal Funds Rate, USD/THB ใช่ไหมครับ เพราะมันเป็นตัวสะท้อนอารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์โดยทันที

- พี่พอจะแนะนำ พวกค่าต่างๆ เรียงลำดับจากไวที่สุดไปช้าที่สุดให้หน่อยครับ
- ค่าไหนที่พี่ใช้บ่อย แล้วพิสูจน์มาแล้วจากการใช้จริงว่า แม่นยำพอควร
- พี่ช่วยแนะนำดัชนีชี้นำอื่นๆ หรือ พวกค่า ต่างๆ ที่ผมไม่ได้เขียนในที่นี้อีก ที่พี่คิดว่ามันมีความสำคัญ จำเป็นที่ผมยังไม่ได้กล่าวถึง
- ถ้าไม่รบกวนเกินไป พี่พอจะยกตัวอย่างการใช้ค่าต่างๆ ที่เน้นๆ สัก 2 ตัวอย่างให้ดูหน่อยได้ไหมครับ
-สมมุติมีวิกฤติรอบใหม่ ขึ้นมา ถ้าเราจะดูว่า fundflow (สภาพคล่อง) จะมาหรือยัง ดูจากอะไรบ้างครับ

ไม่คิดว่าจะขุดกระทู้นี้ขึ้นมา

ออกตัวก่อนว่าผมไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านเศรษฐกิจเป็นเพียงคนนึงที่เคยศึกษาเรื่องพวกนี้
หลายคำถามยากเกินที่ความรู้ของผมจะตอบได้

ผมขอแชร์เพียงมุมมองที่มีซึ่งอาจจะผิดหรือถูกก็ได้ครับ


financeseed เขียน:ไม่รู้พี่ ฮง จะมาเห็นกระทู้นี้ไหม ช่วยเด็กใหม่ดด้วยครับ แนว fundflow ด้วยครับ
Unemployment Rate
Non-Farm Payrolls
Industrial Production
ISM Manufacturing - Inventories
ISM Manufacturing - Employment
MoM Change in Non-Farm Payrolls
ISM Manufacturing - New Orders
ISM Manufacturing
Consumer Confidence
Industrial Production (MoM Change, %)

ดัชนีข้างต้นที่พี่เคยเขียน จะช้ากว่า พวกค่า TED spread, VIX , Gold price, libor, Yield Curves, Federal Funds Rate, USD/THB ใช่ไหมครับ เพราะมันเป็นตัวสะท้อนอารมณ์และพฤติกรรมของมนุษย์โดยทันที

ความเห็นของคนไม่สู้ข้อเท็จจริง มาดูข้อเท็จจริงดีกว่า
test61.png
อันนี้เป็นตารางว่าวิกฤติรอบก่อนๆที่เกิดขึ้นถ้าเรารอสัญญาณอะไรจะมีค่าเสียโอกาศกี่เดือน หมายความว่า set จะ bottom ไปก่อนแล้วสัญญาณเหล่านี้ค่อย bottom ตาม หรืออีกนัยนึงคือสัญญาณเหล่านี้ bottom set ก็ขึ้นมาจากจุดต่ำสุดแล้วกี่เดือน โดยสถิติแล้วค่าที่ช้าที่สุดคือ umemployment rate

TED spread, VIX เป็น indicator ที่รอบ subprime ถือว่าให้สัญญาณเร็วพอๆกับดัชนีหุ้น
test62.png
จะเห็นว่า ted-spread ถึงจุดสูงสุดในเดือน oct 08 ซึ่ง set bottom ตอนนั้น
แสดงว่า ted-spread เป็น coincident ไม่ใช่ lagging
ted-spread เป็นดัชนีที่ผมใช้ในการหนีตายตอน subprime ปี 2008

ส่วนเรื่อง yield curve กับ fed fund rate ผมได้เขียนในบล็อกผมแล้วว่ามันบอกอะไรกับเราได้

http://hongvalue.wordpress.com/

ผมคิดว่าความรู้แนว fundflow ช่วยเราในการมองภาพใหญ่ของการลงทุนได้ในระดับนึง แต่คงไม่ถึงกับต้องไล่ล่าตัวเลขต่างๆมาก เพียงแต่เราอาจจะแบ่งเวลามาติดตามตัวเลขภาพกว้างบ้างว่าตอนนี้มีปัจจัยอะไรที่มีความเสี่ยงบ้างไหม ผมให้เวลากับเรื่องเหล่านี้ประมาณ 5-10% ของเวลาที่ผมดูหุ้นทั้งหมดครับ

ตัวเลขสถิติย้อนหลังเกี่ยวกับวิกฤติรอบก่อนผมเก็บเอาไว้หมด ผมคิดว่ามันเป็นกรณีศึกษาที่น่าสนใจมาก ถ้าเราเข้าใจเรื่องพวกนี้และเราศึกษาว่าหุ้นอะไรที่ฟื้นตัวแรงมากหลังเกิดวิกฤติ ผมคิดว่าวิกฤติรอบหน้านอกจากเราจะเจ็บตัวน้อยแล้วขาขึ้นเรากำไรเยอะด้วย

ตัวเลขพวกนี้เป็นการบอกได้แต่เพียงว่า ดัชนีเศรษฐกิจและ indicator ต่างๆอะไรเร็วอะไรช้า ตอนเกิดวิกฤติค่าต่างๆเป็นอย่างไรและหลังวิกฤติค่าต่างๆเป็นอย่างไร แต่เรื่องพวกนี้ยังไม่สมบูรณ์ ผมถึงได้ทำ project หุ้นสิบเด้งเพื่อศึกษาต่อว่าหุ้นลักษณะไหนที่ขึ้นได้ 10 เท่าตัวหลังจากเกิดวิกฤติโดยหุ้นที่ผมเอามาศึกษาจะต้องขึ้นภายใน 27 เดือนเท่านั้น

สรุปว่า ศึกษาภาพ macro ได้ครับว่าเวลาเกิดวิกฤติเราดูจากอะไรบ้างแต่อย่าลืมศึกษา super stock หลังวิกฤติด้วยครับ เพราะการที่เราขาดทุนน้อยในช่วงวิกฤติคงจะไม่ดีมากถ้าตอนตลาดฟื้นตัวเราไม่กำไรเยอะๆครับ

ส่วนคำถามอื่นๆขออนุญาติไม่ตอบแล้วกันนะครับ เพราะคงต้องไปค้นเอกสารเยอะมากเพื่อที่จะเอามาให้ดู พอดีช่วงนี้ไม่ค่อยมีเวลาน่ะครับกำลังทำ project อันใหม่อยู่ครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 07, 2011 10:38 pm
โดย dome@perth
เก่งกันจัง....เข้ามาอ่าน เผื่อมันจะซึมผ่านลูกตาบ้าง... :cheers:

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ก.ค. 07, 2011 10:41 pm
โดย Financeseed
พี่ฮง ชอบๆ ขอบคุณครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 12:58 am
โดย hongvalue
financeseed เขียน:พี่ฮง ชอบๆ ขอบคุณครับ
ผมมาตอบเพิ่มให้อีกแล้วกัน
financeseed เขียน:
- ถ้าไม่รบกวนเกินไป พี่พอจะยกตัวอย่างการใช้ค่าต่างๆ ที่เน้นๆ สัก 2 ตัวอย่างให้ดูหน่อยได้ไหมครับ
ผมคิดว่า yield curve กับ อัตราดอกเบี้ยน่าจะเป็น indicator ที่แม่นยำมากที่สุด
financeseed เขียน: -สมมุติมีวิกฤติรอบใหม่ ขึ้นมา ถ้าเราจะดูว่า fundflow (สภาพคล่อง) จะมาหรือยัง ดูจากอะไรบ้างครับ
ผมคิดว่าไม่มีคำตอบว่ารอบหน้าจะต้องดูอะไรเพราะเราไม่รู้ว่ารอบหน้าวิกฤติจะเกิดจากที่ไหน อย่างไร

อย่างต้มยำกุ้ง ปัญหาเกิดจากการที่เราไป fix ค่าเงินที่ 25 บาท ตอนนั้นคนไปเอาเงินข้างนอกประเทศมาฝากดอกเบี้ยไทยกินส่วนต่างได้สบายๆ การที่เรา fix ค่าเงินแต่ดันมีดอกเบี้ยที่สูงจนทำให้มีคนเอาเงินเข้ามาฝากได้เรื่องแบบนี้ค่อนข้างผิดหลักการทางเศรษฐศาสตร์ ราคาที่ดินในตอนนั้นก็ฟองสบู่ถ้าอ่านที่คุณตันเคยให้สัมภาษเขาก็เจ๊งที่ดินมาก่อนน่าจะเป็นช่วงนั้นนะถ้าผมจำไม่ผิด

พอลอยตัวค่าเงินบริษัทใหญ่ๆก็ล้มทันทีเพราะหนี้ต่างประเทศเพิ่มสูงมากบริษัทอย่าง tpi หรือ irpc ในตอนนี้ก็เคยเป็นบริษัทที่ยิ่งใหญ่มากในช่วงก่อนเกิดวิกฤติ

ประเด็นคือตอนนั้นปัญหาเกิดในบ้านเรา เราจะไปดูตัวเลข ted-spread แบบรอบ subprime ได้อย่างไร จริงไหมครับ

การที่เราคิดว่ารอบหน้าจะดูอะไรนั้นเราตอบไม่ได้เลย เพราะวิกฤติแต่ละรอบมักจะไม่เหมือนกันและถ้าไม่เหมือนกันจะไปดูตัวเลขอะไรคล้ายๆกันก็คงไม่ได้
test63.png
ตอนวิกฤติต้มยำกุ้ง gdp เราเคยติดลบ 10% แต่ตอน subprime gdp เราไม่ได้แย่มาก
คือมันแย่มากใน q4 แต่เนื่องจากปัญหาไม่ได้เกิดจากเรา กำไรของบริษัทจดทะเบียนเราแข็งแกร่งก็ทำให้เราฟื้นตัวได้เร็ว


รอบ 1998 npl เราเยอะมาก มี finance ปิดไป 50 กว่าเจ้า
แต่รอบ subprime เราไม่ได้แย่เท่าไหร่ npl ก็ไม่ได้เยอะอะไร

ผมคิดว่าวิกฤติรอบหน้าอาจจะมาจากจีนก็ได้นะ(เดาเอานะ)

จริงๆแล้วรอบ subprime ผมคิดว่าถ้า fed ไม่ปล่อย lehman ล้ม set อาจจะไม่หลุด 600 ก็ได้นะ เพราะ lehmam มันใหญ่มากทำให้ effect มันเยอะ
สมัยก่อนตอน world com ,enron มีปัญหาเรื่องโกงงบหุ้นบ้านเราก็ลงพอควรนะ
แต่ตอน lehman asset มันใหญ่กว่า world com,enron ตั้งเยอะ
test64.png
พอหุ้นลงเยอะๆ fed ก็ลดดอกจนต่ำสุดในประวัติศาสตร์ที่ 0-0.25
และหลังจาก fed ออก qe อะไรๆก็ดีขึ้นเยอะ

ปัญหาของ subprime ที่ทำให้หุ้นลงเยอะคือเงินตึงตัว (ดูได้จาก libor)
พอลดดอกมากๆเงินตึงตัวก็ดีขึ้น

จะเห็นได้ว่าถ้าเรารู้ว่าปัญหาคืออะไรและอะไรคือทางแก้ปัญหาเราอาจจะพอรู้ว่าจุดต่ำสุดได้ผ่านไปแล้ว

อย่างเรื่องกรีซ ผมคิดว่า imf ก็อาจจะรู้รึเปล่าว่าให้กรีซกู้ก็โอกาศได้เงินคืนไม่ครบก็สูงแต่ถ้าไม่ให้กู้เกิดเป็นแบบ lehman อีกจะทำไง

ผมว่าจริงๆแล้วเราศึกษาเรื่องในอดีตเยอะๆแล้วก็ตามข่าวสารปัจจุบันเรื่อยๆ วิกฤติครั้งหน้าเราคงพอรู้ตัวนะครับ ลองคิดดูว่าถ้ามันมี indicator ที่จะบอกวิกฤติได้จริงจะมีใครขาดทุนจากวิกฤติล่ะ ทุกคนก็ดู indicator ตัวนั้นแล้วก็ขายหุ้นออกมาหมดพร้อมกันแล้ว แค่นั้นไม่พอ short ซ้ำอีกต่างหาก

คำตอบคือไม่มีคำตอบครับ เพราะโลกทุนนิยม ต้องปรับตัว ต้องพลิกแพลงเป็น
ข่าวสารไวขึ้น คนมีความรู้มากขึ้น ถ้ายึดติดกับทฤษฏีเดิมๆ คงถูกโลกทุนนิยมทิ้งไว้ข้างหลัง

ทุกวันนี้ผมเป็น full time investor แต่ผมแทบไม่มีเวลาว่าง ผมอ่านหนังสือกับบทวิเคราะห์ทั้งวัน ตลาดทุกปีก็มักจะมีหุ้น theme ใหม่ๆมาให้เล่น ถ้าไม่ขยาย circle of competence ให้สูงๆตลอดเวลา ซักวันนึงก็จะโดนนักลงทุนรุ่นใหม่แซง

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 1:11 am
โดย hongvalue
ผมเอารูปมาฝากอีกสองรูปแล้วกันเผื่ออยากเข้าใจเหตุการณ์ตอนนั้นมากขึ้น

โชคดีนะเนี้ยที่ผมเก็บทุกเอกสารไว้ครบหมด กว่าจะได้มาแต่ละชุดยากมาก
test65.png
test66.png

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 2:09 am
โดย Financeseed
ข้อมูล พี่ฮง เยอะมากเลยครับ ผมหาข้อมูลขนาดพี่ไม่ได้เลยครับ

ชอบประโยชน์นี้มากครับ

ผมว่าจริงๆแล้วเราศึกษาเรื่องในอดีตเยอะๆแล้วก็ตามข่าวสารปัจจุบันเรื่อยๆ วิกฤติครั้งหน้าเราคงพอรู้ตัวนะครับ ลองคิดดูว่าถ้ามันมี indicator ที่จะบอกวิกฤติได้จริงจะมีใครขาดทุนจากวิกฤติล่ะ ทุกคนก็ดู indicator ตัวนั้นแล้วก็ขายหุ้นออกมาหมดพร้อมกันแล้ว แค่นั้นไม่พอ short ซ้ำอีกต่างหาก

คำตอบคือไม่มีคำตอบครับ เพราะโลกทุนนิยม ต้องปรับตัว ต้องพลิกแพลงเป็น
ข่าวสารไวขึ้น คนมีความรู้มากขึ้น ถ้ายึดติดกับทฤษฏีเดิมๆ คงถูกโลกทุนนิยมทิ้งไว้ข้างหลัง


สรุป ก็คือศึกษาให้มากๆ ขยันหาความรู้ แล้วพยายามสังเกต สิ่งรอบๆตัว ปรับตัวให้เข้ากับโลกที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา หัดคิดหลายๆมุมมอง น่าจะประมาณนี้

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 7:28 am
โดย picatos
:cool: :cool: :cool:

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 3:15 pm
โดย unnop.t
ข้อมูลแน่นจริง ๆครับ ขยันมาก :cool:

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 3:28 pm
โดย unnop.t
ถ้าพูดให้กระชับขึ้น TED spread มันคือ investor confidence index ใช่มั๊ยครับ เป็น sentiment ของตลาดทุน

ส่วน consumer confidence index เป็น sentiment ของตลาดสินค้าและบริการ ถูกหรือเปล่าครับ :)

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ก.ค. 08, 2011 5:33 pm
โดย Financeseed
สบน.ชี้ไทยมีปัญหาในระบบเศรษฐกิจ
วันที่ 08/07/2554 16:21 (ผ่านมา 53 นาที)

สบน.ชี้ไทยมีปัญหาในระบบเศรษฐกิจ เริ่มเห็นสัญญาณผิดปกติ จี้ทบทวนนโยบายดูแลเฟ้อ

วันนี้ (8 ก.ค.) นายจักรกฤศฏิ์ พาราพันธกุล ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ดอกเบี้ยระยะสั้นในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้กำลังเริ่มเห็นสัญญาณทางเทคนิคที่ผิดปกติของกลไกตลาด เนื่องจากมีการย้ายการลงทุนจากระยะยาวมาลงทุนระยะสั้นมากขึ้น ทำให้มูลค่าการลงทุนระยะสั้นเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ต้องออกพันธบัตรมาดูดซับสภาพคล่องออกไปและมีต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้นด้วยขณะเดียวกันยังทำให้เส้นอัตราผลตอบแทน (ยิลด์ เคลิฟ)ในตลาดตราสารหนี้ เป็นเส้นตรง หรือกำลังกลับหัวคือระยะสั้นจะสูงกว่าระยะยาว ซึ่งจะเกิดขึ้นกับประเทศที่เศรษฐกิจมีปัญหาเท่านั้น

นายจักรกฤศฏิ์กล่าวต่อว่า ที่สำคัญดอกเบี้ยระยะสั้นที่เพิ่มขึ้น ยังทำให้ช่องว่างระว่างคนรวยกับคนจนห่างขึ้นไปอีก เพราะดอกเบี้ยระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นเร็ว คนที่ได้ประโยชน์คือสถาบันการเงิน แต่คนเสียผลประโยชน์คือประชาชนผู้เช่าบ้าน ผ่อนรถ รวมถึงการใช้จ่ายประจำวันที่ต้นทุนในการดำรงชีพจะเพิ่มตามไปด้วยและได้รับผลกระทบมากกว่า เพราะต้นทุนระยะยาวเป็นของคนรวย ขณะที่ต้นทุนระยะสั้นเป็นของคนจน ทำให้อำนาจซื้อลดลงจากรายจ่ายเพิ่มขึ้นขณะที่รายได้ลดลง ดังนั้นรัฐบาลต้องมาหาคำตอบให้ชัดเจน รวมถึง ธปท.ต้องอธิบายให้ชัดด้วยว่า มีผลกระทบต่อประชาชนอย่างไรบ้าง เงินเฟ้อไม่ใช่เรื่องที่มีข้อเสียเพียงอย่างเดียว ข้อดีก็มีบ้าง จึงต้องมาทำความเข้าใจให้ชัดเจน

นายจักรกฤศฏิ์ กล่าวด้วยว่า ทั้งนี้ประเทศที่เศรษฐกิจปกติ เส้นยิลด์เคลิฟนี้ จะชันขึ้นจากซ้ายไปขวา คือการลงทุนระยะสั้นจะต่ำกว่าระยะยาว แต่หากเริ่มจะเป็นเส้นตรงหรือชันจากซ้ายมือลงมาทางขวา คงเป็นเรื่องที่ผิดปกติแล้ว เพราะคิดง่ายว่า ตราสารหนี้ระยะสั้นควรจะถูก ขณะที่ระยะยาวควรจะแพงกว่า แต่กลับกลายเป็นว่า ขณะนี้ตราสารหนี้ระยะสั้นแพงกว่าระยะยาว สะท้อนว่าไทยมีปัญหาในระบบเศรษฐกิจ สถาบันการเงินและการลงทุน จากดอกเบี้ยระยะสั้นที่เพิ่มขึ้นจนแซงหน้าระยะยาว ทำให้คนไม่ลงทุนระยะยาวแต่หันมาลงทุนระยะสั้นที่ให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า.

http://thairecent.com/Business/2011/899052/

เอาความรู้ที่ได้จากพี่ฮง มาประยุกต์ อาจจะผิดก็ได้นะ :oops:

คนเริ่มโยกเงินออกมารับผลตอบแทนที่สูงขึ้น สภาพคล่องสูงขึ้น บางส่วนก็คงเข้าตลาดหุ้น :8)

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2011 12:55 am
โดย hongvalue
พอดีเพิ่งโพสข้อมูลเชิงอุตสาหกรรมของหุ้น อสังหริมทรัพย์และยานยนต์
เผื่อมีใครสนใจลองเข้าไปอ่านได้ครับ

http://hongvalue.wordpress.com/

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ ก.ค. 09, 2011 1:03 am
โดย bank_da
ข้อมูลมีประโยชน์ทั้งนั้นเลยครับ ขออนุญาตตามไปอ่านนะครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ค. 18, 2011 10:40 pm
โดย thanutj
สุดยอดครับ นับถือในความอุตสาหะของพี่เลย :D

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 19, 2011 3:57 pm
โดย hongvalue
http://hongvalue.wordpress.com/

ผมมี update clip ที่พูดถึงหลักการ valuation หุ้นคร่าวๆเอาไว้ที่บล็อกเผื่อจะมีประโยชน์กับเพื่อนๆครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ก.ค. 19, 2011 8:59 pm
โดย deerfreedom
สุดยอดทั้งนั้นครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 01, 2012 10:48 am
โดย thaloengsak
สุดยอดครับ :)

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 01, 2012 3:59 pm
โดย wigraipat
ขอคาราวะคุณฮงคับ
อายุพอๆกันแต่ความรู้ และ ความรอบรู้ ใฝ่รู้ สูงมากคับ
ขอบคุนที่มาแบ่งปันความรู้คับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ส.ค. 01, 2012 10:26 pm
โดย panwasit
:| อ่านมา 2 รอบ ยังงงๆอยู่ เดียวขอศึกษาเพิ่มก่อน

ว่าไป พี่ฮงก็เล่นแบบจิตวิทยาด้วยนิครับ อิอิ

ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ

Re: รบกวนสอบถามคุณ hongvalue ครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ค. 18, 2014 8:24 pm
โดย Samkok
ขอบคุณครับ อาจารย์ฮง :idea:

- Find Your Way

- เปรียบนักมวย 2 แบบ แบบไหนก็สามารถเป็นแชมป์

- "นักเศรษฐศาสตร์ที่เก่ง อาจไม่ใช่ นักลงทุนที่เก่ง

นักลงทุนที่เก่ง อาจไม่ใช่ คนที่เก่งเศรษฐศาสตร์

นักลงทุนที่เก่ง อาจจะเก่งเศรษฐศาสตร์ก็ได้"
hongvalue เขียน:ทุกวันนี้ผมเป็น full time investor แต่ผมแทบไม่มีเวลาว่าง ผมอ่านหนังสือกับบทวิเคราะห์ทั้งวัน ตลาดทุกปีก็มักจะมีหุ้น theme ใหม่ๆมาให้เล่น ถ้าไม่ขยาย circle of competence ให้สูงๆตลอดเวลา ซักวันนึงก็จะโดนนักลงทุนรุ่นใหม่แซง