nostradamus เขียน:ไม่ได้มาป่วนนะ
มาถามในสิ่งที่เราไม่เข้าใจ
คือเราต้องศึกษาหุ้นตัวที่จะซื้อก่อนซื้อใช่ไหม และสิ่งหนึ่งที่สำคัญที่เราต้องรู้ให้ได้ก่อนซื้อก็คือ 'มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น' ใช่ไหม
จึงค่อยไปซื้อหุ้น ถ้าราคาในตลาดยังเกิน 'มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น' ก็รอ ๆๆๆ
ถ้าต่ำกว่า 'มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น' ก็ซื้อที่ discount rate หนึ่งใช่ไหม
มาเป็นตัวช่วยครับ
พอดีเห็นคุณ NOS อยู่ในพันทิพย์ และเป็นเซียน TA อยู่
เห็นมาสนใจ VI ที่นี่
จะขอช่วยตอบเท่าที่ตอบได้นะครับ
ก่อนซื้อหุ้นต้องศึกษาบริษัทให้เข้าใจเลยครับ
นอกเหนือจาก งบดุลและงบกำไรขาดทุนแล้ว
ยังต้องรู้ด้วยว่า คู่แข่งในอุตสาหกรรมคือใคร
บริษัทเรามีความได้เปรียบคู่แข่งอย่างไรบ้าง
อนาคตของธุรกิจและอุตสาหกรรมเป็นอย่างไร
ถ้าทุกอย่างลงตัวและอุตสาหกรรมและบริษัทน่าสนใจ
จึงหา"มูลค่าที่แท้จริง"ครับ
แต่มูลค่าที่แท้จริง ไม่ใช่มูลค่าที่แท้จริงหรอกครับ
เราคิดมันขึ้นมาเอง โดยมีสมมุติฐานต่างๆ
เช่น ยอดขายจะเป็นเท่าไหร่ในอีกสามสี่ปีห้าปีสิบปีข้างหน้า
กำไรจะมากขึ้นหรือดลงเท่าไหร่
กระแสเงินสดในอนาคตเป็นอย่างไร
แล้วก็คำนวณออกมาเป็น Benchmark มากกว่าจะเป็นตัวเลขที่เปลี่ยนไม่ได้
ตามหลักการแล้ว ควรจะซื้อหุ้นที่"ราคา"ต่ำกว่า"มูลค่าของเรา" สัก 50-60%
เรียกว่า Margin of Safety ครับ
โดยหลักแล้ว VI จะดู "ราคา" เป็นสิ่งสุดท้ายครับ
แต่จะมอง "ธุรกิจ" เป็นหลัก
nostradamus เขียน:แล้วทำไมถึงติดหุ้น(ที่นี่เรียกขาดทุน-ยังไม่กำไร)
เป็นเพราะ
1 คำนวน 'มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น' ผิดพลาด หรือ
2 ลืมขายตอนหุ้นขึ้นเกิน 'มูลค่าที่แท้จริงของหุ้น' หรือ
3 อะไร ...ช่วยอธิบายด้วย
ขอบคุณ
เนื่องจากเรามอง"ธุรกิจ"เป็นหลัก
ดังนั้น บางครั้ง "ราคาบนกระดาน"จะไม่สะท้อนผลดำเนินงานที่แท้จริงของบริษัท
เช่น ธุรกิจกำลังดำเนินไปด้วยดี และ มูลค่ากิจการเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ
แต่ "ราคา"หุ้นลดลง เพราะ อาจเกิดวินาศกรรม สงคราม หรือ ข่าวร้ายอื่นๆ
ทำให้ผู้คนทิ้งหุ้นเพราะกลัวราคาจะลดลงไปมากนี้
แต่หลังจากที่ทุกสิ่งทุกอย่าง เข้าที่แล้ว
ผู้คนจะกลับมาสนใจในผลประกอบการอีกครั้งครับ
ดังนั้น ถ้า"ราคา"ลดลงแต่ผลการดำเนินงานดีขึ้นเรื่อยๆ
ก็ยอม "ติดหุ้น"ครับ แถมซื้อเพิ่มอีกต่างหาก
กรณีที่เวลาผ่านไป เราพบว่า เราวิเคาระห์ผิด ก็ต้อง Cutloss ทันทีครับ
อันนี้ก็แล้วแต่ว่า เราจะพบว่า เราวิเคาระห์ผิดเมื่อไหร่
บางคนอาจจะ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน หรือ หนึ่งปี
เช่น เราอาจจะคิดว่า ยอดขายจะเพิ่มขึ้น แต่จริงๆลดลงอะไรทำนองนี้
หรือ Assumption ที่เราใช้ไม่ตรงกับความเป็นจริง
นักลงทุน VI บางท่านก็ขายหุ้นที่"ราคา"เกิน"มูลค่า"
แต่ Bufet บอกว่า ถ้าธุรกิจยังดีก็ยังถืออยู่
อันนี้แล้วแต่วิธีคิดของแต่ละคนครับ
ไม่ได้สรุปว่า VIไม่ดี เพียงแต่สรุปได้ว่าเป็นวิธีหนึ่งในการลงทุนเท่านั้น แต่ไม่เห็นด้วยถ้าจะสรุปว่าเป็นวิธีที่ดีที่สุดเท่านั้น หรือดีกว่าวิธีอื่นๆ
ยิ่งถ้านำวิธีแบบ VI ไปใช้ในช่วงขาลงทางเศรษฐกิจ ยิ่งบาดเจ็บหนัก (หมายถึงถ้าดันซื้อหุ้นไปแล้ว...ซึ่งส่วยใหญ่ก็มักมีหุ้นในมือตอนอาการทรุดของขาลงยังไม่ชัดเจน)
VI ไม่ได้ดีที่สุดครับ
เพียงแต่เป็น"วิธีการลงทุน"แบบหนึ่งเท่านั้นเอง
ที่สามารถทำให้เราทนกับความผันผวนของตลาดหุ้นได้
และไม่ได้เป็นวิธีที่ให้ผลตอบแทนสูงสุด
ถ้าหุ้นเป็น"ขาลง"ก็เป็นโอกาสของ VI ครับที่จะซื้อหุ้นดีได้ในราคาถูก
แต่ต้องมั่นใจหุ้นนั้น"ดี"จริงๆ ไม่ใช่ของปลอม
อันนี้ต้องใช้ความรู้และประสบการณ์ส่วนตัวครับ
เหมือนเราซื้อบ้านนะครับ
เราชอบซื้อบ้านถูก หรือ บ้านแพงละครับ
Peter Lynch บอกว่าซื้อหุ้นก็เหมือนซื้อบ้านน่ะครับ
ไม่ได้กวนนะ
อยากตั้งโจทย์ให้ลองแสดงมุมมองเผื่อเป็นประโยชน์กับรายย่อย
สมมติย้อนอดีตกลับไปตอนดัชนีตกจาก1200 ลงมาต่ำกว่าพัน
ชาวVIพันธุ์แท้(เน้น) จะหาเจอไหมว่า TWFP / SPL เป้นต้น ควรซื้อ
เพราะ .......................
...............................
................................
(ให้เหตุผลตามหลักการวิเคราะห์แบบ VI)
หรือว่าถ้าย้อนไปตอนนั้นก็ลือก2ตัวนี้(เป็นต้น)ไม่เจอ (ไม่ได้หมายความว่าให้เหตุผลแบบVIไม่ได้)
วานผู้รู้แลกเปลี่ยนมุมมอง
ถึงแม้ดัชนีลดลงจาก 1200 ลงเหลือต่ำกว่า 1000 จุดก็ไม่ได้หมายความว่า ราคาต่ำกว่ามูลค่า ครับ
ถ้าธุรกิจไม่มีอนาคต มองไปอีกสามปีห้าปียังมืดมน
เพราะ มูลค่าจะลดลงตามผลประกอบการ
ก็ไม่ซื้อครับ
ดัชนีลดลงไม่ได้หมายความว่า หุ้นนั้นน่าสนใจครับ
ถ้าพืนฐานเปลี่ยน เศรษกิจไม่ดี ยังไงก็ไม่น่าซื้อ
แต่ถ้า ดัชนีลดลง พื้นฐานไม่เปลี่ยน อันนี้น่าสนใจ
หวังว่า คงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ