ทฤษฎีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 02, 2008 9:25 pm
โลกนี้กำลังจะไม่มีที่ว่างสำหรับมือสมัครเล่น.. ขนาดจับไก่แกยังใช้มืออาชีพเลย โฮ๊ะๆๆ
เว็บบอร์ดเพื่อการลงทุนแบบเน้นคุณค่า
https://thaiviv3.mdsoft.co.th/./
ตามนั้นครับพี่ gradius173 เขียน:...ถ้าเงินเดือนสูงสินค้าราคาสูงประชาชนจะได้อะไรเช่นผมได้เงินเดือน100บาทต่อวันกินข้าวจานละ25ได้4จาน ต่อมาผมได้ค่าจ้าง200บาทต่อวันแต่ค่าข้าวกลายเป็นจานละ50ผมก็กินได้4จานเท่าเดิม...
แหะ ๆ ไม่ค่อยเข้าใจน่ะครับ รบกวนชี้แนะด้วยครับmamalover เขียน:ความเห็นส่วนตัวที่ คุณ artvr4 นั้น เป็นการแสดงถึงลักษณะนิสัย ของคนเสนอไอเดียหรือเปล่า
บางทีเราก็ต้องดูด้วยว่า มีผลประโยชน์แอบแฝง หรือทับซ้อน อะไรหรือเปล่า เพราะเค้าทำธุรกิจ ถ้าเป็นคุณชวน หลีกภัย พูด น่าเชื่อถือ 99%
แต่เรื่องการซื้อคน เป็นวิธีเห็นแก่ตัวจริงๆ แต่ในแง่ธุรกิจ ก็ทำกันทั้งนั้น ไม่ผิดกฎหมายนิ(โดยเฉพาะอเมริกา)
ปล.เห้นด้วยกับเรื่องให้ขึ้นเงินเดือน แต่ลดภาษีอีกได้ปะ
http://www.matichon.co.th/matichon/mati ... ionid=0130ทุนอุปถัมภ์กับความฝันของซีพี
โดย เสรี พงศ์พิศ www.phongphit.com โครงการมหาวิทยาลัยชีวิต
เป็นเรื่องดีที่สภาพัฒน์กับมติชนสุดสัปดาห์ช่วยกันเปลือยความคิด ความฝัน หรือวิสัยทัศน์ของ คุณธนินท์ เจียรวนนท์ ทำให้คนไทยได้รับรู้ว่า ลึกๆแล้วซีพีคิดอย่างไร
ต้องยอมรับว่าคุณธนินท์เป็นคนมีจินตนาการที่สร้างแรงบันดาลใจให้ผู้คนได้อย่างยอดเยี่ยม และคงทำให้คนจำนวนไม่น้อยหลงใหลไปกับความฝันอันมีมนต์เสน่ห์ จึงอยากจะวิพากษ์ความฝันของซีพี ไม่อยากให้ผู้คนหลับใหลและได้แต่ฝัน เพราะ "เมื่อความฝันสิ้นสุดลง คนก็เริ่มค้นหาความจริงกันใหม่" อย่างที่อมาตยา เซน นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบล ชาวอินเดียพูดไว้
หวังว่าการวิพากษ์นี้จะไม่ทำให้คุณธนินท์ด่วนสรุปเอาแบบที่พูดไว้ตอนท้ายที่สภาพัฒน์ว่า "ประเทศอื่นมองทุกคนเป็นคนดีหมด แต่เมืองไทย มองทุกคนเป็นผู้ร้าย มันไม่ใช่" ก็ดีนะที่อย่างน้อยก็มีคุณธนินท์ที่เป็นคนไทยและไม่ได้มองเช่นนั้น
คุณธนินท์พูดเรื่องน้ำ เรื่องการสร้างเขื่อน และยุให้รัฐบาลนี้ "กล้าสู้กับเอ็นจีโอและอธิบายให้เข้าใจ" ซึ่งก็ไม่รู้จะอธิบายอย่างไร เพราะปัญหาไม่ใช่เอ็นจีโอโง่ ไม่มีข้อมูล ไม่เข้าใจ แต่เพราะมีความเข้าใจคนละอย่าง มีกระบวนทัศน์พัฒนาคนละแบบ มีวิธีการมองโลกมองชีวิตอีกแบบหนึ่งที่แตกต่างไปจากวิธีคิดแบบคุณธนินท์ที่ว่า "ถ้าทำเขื่อนแล้วสัตว์น้ำหายไปกี่ชนิด เทคโนโลยีวันนี้กรมประมงทำได้ เพาะได้ เราก็เพาะใส่เข้าไปก็แล้วกัน แล้วจะเสียหายอะไร มีแต่ทำให้น้ำไม่ท่วม เราใช้น้ำได้ประโยชน์เต็มที่ ใช้น้ำมาปั่นไฟ"
คิดแบบนี้เรียกว่าคิดแบบกลไก คิดแบบแยกส่วน คิดแบบลดทอน (reductionism) ชีวิตก็ดี สิ่งแวดล้อมก็ดีเป็นอะไรที่ยิ่งใหญ่ ซับซ้อน มีระบบ มีคุณค่ามหาศาล ลดทอนลงมาให้เหลือแค่พลังงาน เอาน้ำมาปั่นไฟ ไม่ให้น้ำท่วม โดยไม่ได้คิดถึงสิ่งแวดล้อมแบบองค์รวม ไม่ได้คิดถึงระบบคุณค่า ความหลากหลายทางชีวภาพ ความสมดุลของธรรมชาติ ของวิถีชุมชน ซึ่งมีประเพณี วิถีวัฒนธรรม
คนคิดแบบนี้ไม่เชื่อว่า "เด็ดดอกไม้ดอกเดียวกระเทือนถึงดวงดาว"
เขาพูดเรื่องความเสี่ยงของเกษตรกรได้อย่างน่าฟัง และน่าคิด และซีพีก็ได้ทำมาหลายสิบปีที่ช่วยเกษตรกรไม่ให้รับความเสี่ยง (คนเดียว-และมากเกินไป อันนี้เขาพูดไม่หมด) ซีพีให้ชาวบ้านเลี้ยงไก่ เลี้ยงหมู เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้ง ปลูกข้าวโพด ปลูกพืชต่างๆ โดยใช้พันธุ์ของตนเอง อาหารของตนเอง ปุ๋ย ยา และอื่นๆ ของตนเอง ชาวบ้านมีหน้าที่เพียงเลี้ยง-ปลูก ดูแลให้โต ให้ได้ผลตามวิธีการ ขั้นตอนที่ซีพีบอก
ชาวบ้านคิดว่า ปลูกแล้ว เลี้ยงแล้วจะเอาพันธุ์ไปขยายเอง ปลูกเอง เลี้ยงเองก็ทำไม่ได้ ต้องเอาของซีพีเท่านั้น ถึงเอาไปจากที่ตนเองปลูกและเลี้ยงก็ปลูกไม่ได้ เลี้ยงไม่โต
แต่ถ้าหากเพื่อลดความเสี่ยงซีพีจะรับเอาความเสี่ยงไป และให้เกษตรกรเป็นเพียงแรงงานเท่านั้น ถามว่าเป็นอะไรที่พึงปรารถนาสำหรับสังคมที่กำลังพัฒนาหรือไม่ และเกษตรกรเขารับได้และยอมหรือไม่ หรือว่า ส่วนหนึ่งต้องยอมเพราะไม่มีทางเลือก
นี่เป็นวิธีคิดแบบอุตสาหกรรม ต่างกันเพียงว่าแทนที่ "กรรมกร" จะทำในโรงงานก็ทำในทุ่งในสวน ในเล้าไก่ คอกหมู โดยมีผู้จัดการใหญ่นั่งคอยบอกคอยสอน คอยควบคุมดูแล ระบบแบบนี้ขอเรียกว่า "ทุนอุปถัมภ์" ก็แล้วกัน เขาปฏิเสธว่านี่เป็นทุนผูกขาด เขาอธิบายได้สวยงามแบบทวงบุญคุณว่า เป็นการให้นายทุนมารับความเสี่ยงแทนเกษตรกร
น่าแปลกใจไม่น้อย ที่เขาพูดเรื่องทุนมนุษย์ว่าสำคัญที่สุด แต่เขาคิดถึงแต่เพียงว่า จะหาคนเก่งจากทั่วโลกสักแสนคนมาอยู่เมืองไทย และประเคนสัญชาติไทยและบัตรประชาชนให้เลยทันทีโดยไม่ต้องมีเงื่อนไข แต่ไม่ได้คิดว่า ทำอย่างไรจึงจะ "พัฒนา" คนไทย สร้างคนไทยที่เป็นเกษตรกร เป็นชาวบ้านให้เป็นทุนมนุษย์ที่สามารถอยู่รอดและแข่งขันกับโลกให้ได้สักแสนคน
เสียดายที่เขาไม่ได้เอ่ยถึง "สถาบันปัญญาวิวัฒน์" เพื่อจะบอกว่าการศึกษาไทยล้มเหลว จนซีพีต้องลุกขึ้นมาสร้างคน สร้างทุนมนุษย์เพื่อไปทำงานให้ตนเอง แต่เขาก็ไม่ได้คิดถึงการสร้างเกษตรกรให้ "พึ่งพาตนเอง" เพราะซีพีมีวิธีคิดแต่เพียงว่าจะให้แรงงานและเกษตรกรพึ่งพาซีพีตลอดไปได้อย่างไร
เจ้าสัวซีพีมีภาพฝันที่น่าทึ่งว่า ในยุคที่น้ำมัน แพง สินค้าเกษตรเริ่มแพง ไทยควรต้องปรับตัวปรับการทำงาน ความร่วมมือกับประเทศอื่นเพื่อดันราคาสินค้าเกษตรอย่างข้าวให้สูงขึ้นอีกหลายเท่า ยางพาราให้ได้สักกิโลกรัมละ 150 บาท และสินค้าอื่นๆ อย่างปาล์ม มันสำปะหลัง ข้าวโพด อ้อย ซึ่งกำลังกลายเป็นพลังงานทางเลือก
เขาชวนฝันว่า ทำอย่างไรจัดการให้ 62 ล้านไร่ ที่ทำการเกษตรให้ได้ผลผลิตมากกว่าวันนี้ โดยการจัดการชลประทานให้ดีสัก 25 ล้านไร่ รวมทั้งปรับรูปที่ดิน จัดรูปที่ดิน "หาพันธุ์ที่ดี เอาเทคโนโลยีมาใส่" เขาฝันว่า วันนี้เมืองไทยขายผลผลิตการเกษตรได้เพียง 5 แสนล้านบาท ถ้าทำอย่างที่เขาแนะน่าจะได้ประมาณ 3 ล้านล้านบาท มากกว่าวันนี้ 6 เท่า
เป็นอะไรที่เข้าใจได้ว่า ถ้าเมืองไทยพัฒนาไปได้เช่นนี้ ซีพีก็ได้ประโยชน์ไปด้วย เพราะคนกลางที่ค้าขายและเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ทุกกระบวนการขั้นตอนมากกว่าใครคือซีพี
เขาบอกว่า ประเทศพัฒนาแล้วเขาทำกันเช่นนี้ แต่เขาก็พูดความจริงแค่ครึ่งเดียว เขามองแต่รัฐและนายทุน ไม่ได้มองเกษตรกร ไม่ได้มองประชาชนส่วนใหญ่ว่ามีทางออกทางอื่นอีกหรือไม่ นอกจากมาเป็น "แรงงาน" ให้นายทุนอย่างซีพี
ต้องถามว่า ประเทศพัฒนาแล้วรวมถึงเกาหลีและไต้หวันเขามีบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ทำด้านการเกษตรแบบซีพีหรือไม่ หรือเกษตรกรของเขารวมตัวกันเป็นสหกรณ์และบริหารจัดการการผลิตผลผลิตทางการเกษตรเอง จนพ่อค้าคนจีนไต้หวันต้องมาอยู่เมืองไทย ตั้งบริษัทจัดการการเกษตร การแปรรูปผลผลิต เพราะที่นี่ยังมีที่มีทางให้ทำอีกมาก เพราะเกษตรกรอ่อนแอ ยังไม่สามารถรวมตัวกันเพื่อจัดการตนเองอย่างที่ประเทศพัฒนาแล้วเขาทำกัน
ความเสี่ยงของเกษตรกรเป็นเรื่องจริง เสี่ยงเพราะทำไปโดยไม่มีความรู้จริง ไม่มีข้อมูล เห็นคนอื่นทำก็ทำตามมา เห็นเขาปลูกปอก็ปอ มันก็มัน อ้อยก็อ้อย เห็นเขาเลี้ยงหูม เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา เลี้ยงกุ้งแล้วรวยก็เฮโลตามเขา แล้ววิธีการลดความเสี่ยงมีแค่การเข้าไปรับความเสี่ยงแบบซีพีหรือแล้วทำไมเกษตรกรถึงเจ๊งกัน เป็นหนี้กัน แม้ว่าทำ กับซีพี
ถ้าเกษตรกรเสี่ยงเพราะไม่มีความรู้ ไม่มีข้อมูล ก็น่าจะทำให้มีความรู้มีข้อมูล ถ้าไม่มีพลังเพราะทำ คนเดียวก็น่าจะมีการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชน เป็นสหกรณ์ ซึ่งก็มีตัวอย่างให้เห็นทั่วประเทศว่า กลุ่มเกษตรกรก็ดี กลุ่มวิสาหกิจชุมชนก็ดี หรือสหกรณ์การเกษตรก็ดี มีที่เข้มแข็งและพึ่งพาตนเองได้ แต่ยังน้อยเกินไป ทำไมไม่หาทางช่วยให้กลุ่มเหล่านี้เข้มแข็ง
ปัญหาที่คุณธนินท์บอกว่า ให้รัฐบาลไปอธิบายให้เอ็นจีโอเข้าใจเรื่องเขื่อน เรื่องน้ำ ก็เป็นปัญหาเดียวกันกับที่มีคนพยายามไปอธิบายให้ซีพีเข้าใจวิธีคิดเรื่อง "ชุมชนเข้มแข็ง" เรื่องการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ เป็นอะไรที่คนทำเซเว่นอีเลฟเว่นไม่ยอมเข้าใจ อ้างแต่ว่าได้ทำให้ผู้คนสะดวกซื้อ ได้ของดีมีคุณภาพ ขณะที่ร้านขายของชำเล็กๆ ในตำบล หมู่บ้านทยอยปิดลง คนเล็กคนน้อยหาที่ยืนไม่ได้ในสังคมที่มีการผูกขาดทุน
กระบวนทัศน์พัฒนาที่อยู่บนฐานการคิดแบบองค์รวม ย่อมไม่ได้มองคนเป็นเพียงแรงงานปัจจัยการผลิต ไม่ได้มองแค่รายได้ แต่มองคนในฐานะที่เป็นมนุษย์ที่ต้องการเป็นอิสระ มีความฝัน ความใฝ่ฝัน ไม่ใช่เครื่องจักรกล ไม่ได้ทำได้เพียงกิน ขี้ ปี้ นอน แต่ต้องการความสุขและเสรีภาพ มีความภูมิใจใน "ศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์" ศัพท์ที่เขียนเหมือนกัน สะกดเหมือนกัน แต่นายทุนกับเอ็นจีโอเข้าใจไม่เหมือนกัน
ต้องช่วยกันตั้งคำถามว่า วันนี้ประเทศไทยต้องการพัฒนาตนเองไปทางไหน และจะไปอย่างไร ด้วยวิธีการแบบไหน หรือว่าเราชัดเจนตั้งแต่ทำแผน 10 แล้วว่า เราจะอยู่แบบ "พอเพียง" จะใช้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงนำ สภาพัฒน์ฟังคุณธนินท์แล้วยังคิดเรื่องพอเพียงอยู่หรือไม่ คิดแบบไหน
วันนี้ทั่วโลกกำลังตั้งคำถามว่า คนต้องการอะไร ถ้าต้องการความสุข ทำไมไม่แสวงหาความสุขด้วยวิธีการที่เป็นสุขจริง ทำไมต้องหน้าดำคร่ำเครียด หาแต่เงิน ทำแต่เรื่องเศรษฐกิจ ว่าแล้วรัฐบาลฝรั่งเศสก็จ้างนักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลสองคน คือ โยเซฟ สติกลิตซ์ และ อมาตยา เซน มาช่วยทำ "ดัชนีความสุข" ต้องการ GDH แทน GDP
ถ้าวันนี้ประเทศเกษตรกรรมอย่างไทยกำลังได้เปรียบ ทำอย่างไรจะปรับยุทธศาสตร์พัฒนาที่ทำให้ผู้คนอยู่ได้อย่างมีความสุข โดยไม่ต้องเอาเศรษฐกิจเป็นตัวชี้วัด ไม่ใช่เห็นตัวเลข 3 ล้านล้านที่เจ้าสัววาดฝันให้ก็ตาโต
อมาตยา เซน บอกว่า "เพื่อก้าวพ้นนิยายของการพัฒนา เราจะต้องมีระบบเศรษฐกิจที่พึ่งตนเอง" สี่ห้าสิบปีที่ผ่านมาเราได้แต่ฝันไปกับนิยายของการพัฒนาที่สัญญาว่า "พรุ่งนี้รวย" ทั้งรัฐบาล ทั้งนายทุน ขุนศึกศักดินามาบอกมาแนะนำกันพร้อมหน้า
โยเซฟ สติกลิตซ์ อดีตที่ปรึกษาประธานาธิบดีบิล คลินตัน และรองประธานและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของธนาคารโลก คือคนที่วิจารณ์มาตรการของ IMF ที่ทำกับไทยและกับประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายว่ามีวาระซ่อนเร้น เรื่องธุรกิจและผลประโยชน์ของตนเองและประเทศพัฒนาแล้ว มากกว่าที่จะช่วยเหลืออย่างจริงใจ
ถ้าให้สองคนนี้พูดเรื่องเมืองไทยพวกเขาคงดีใจกับ "เศรษฐกิจพอเพียง" ซึ่งคุณธนินท์ไม่ได้เอ่ยถึงแม้แต่คำเดียว ซึ่งก็เข้าใจได้ไม่ยากนัก เพราะเขาเคยขอให้รัฐบาลกระตุ้นการใช้จ่ายในประเทศให้มากยิ่งขึ้น เศรษฐกิจจะได้โต
ขณะที่ศาสตราจารย์โรเบิร์ต มันเดลล์ นักเศรษฐศาสตร์รางวัลโนเบลอีกคนหนึ่งพูดที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้วว่า
"เศรษฐกิจพอเพียงจำเป็นสำหรับการพัฒนาประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดเล็ก และยังไม่เข้มแข็งพอ เมื่อพิจารณาการใช้จ่ายรวมของประเทศ ประกอบด้วยการบริโภค ภาคเอกชน การลงทุนของธุรกิจ การใช้จ่ายภาครัฐบาล การนำเข้าและการส่งออกแล้วสามารถนำเอาปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจแบบทุนนิยมได้โดยเริ่มจาก การสร้างความเข้มแข็งของภาคครัวเรือนที่เป็นหน่วยย่อยที่สุดของระบบเศรษฐกิจ"
การสร้างระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเองไม่ใช่ความฝัน เราเห็นตัวอย่างมากมายในประเทศไทย ทั้งระดับชุมชนและระดับตำบล ไม่ว่าที่ไม้เรียง ที่ท่าข้าม ที่อินแปง เราเห็นว่า เงื่อนไขเพื่อให้เกิดระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นที่พึ่งตนเอง คือ ต้องสร้างคน สร้างความรู้ และสร้างระบบ ซึ่งก็คือ เศรษฐกิจพอเพียงนั่นเอง
เศรษฐกิจพอเพียงพูดถึง "ความพอประมาณ" ซึ่งเป็นความพอดี เป็นทางสายกลาง เป็นคุณธรรม เราไม่ได้สร้างอะไรที่เป็นนามธรรม เราสร้างคนที่มีคุณธรรม ที่รู้ว่าพอดีพองามอยู่ที่ไหน เศรษฐกิจพอเพียงพูดเรื่อง "มีเหตุผล" หมายถึงสร้างความรู้ ฐานความรู้ มีแบบมีแผน มีขั้นมีตอน
เศรษฐกิจพอเพียงพูดถึง "ภูมิคุ้มกันที่ดี" ซึ่งก็คือการสร้างระบบที่ดีนั่นเอง เพราะหากมีระบบเศรษฐกิจท้องถิ่นก็จะมีความมั่นคง ยั่งยืน ไม่ทำโครงการซึ่งมีเงินก็ทำได้ แต่ต้องทำระบบ ซึ่งมีเงินอย่างเดียวทำไม่ได้ ต้องอาศัยความรู้และใช้ปัญญาจึงจะทำได้
วิสาหกิจชุมชนและสหกรณ์ คือเครื่องมือหนึ่งที่ทำให้เกษตรกรรวมตัวกันเพื่อจัดการการผลิต การตลาด การบริโภคในท้องถิ่น และการก้าวออกไปสู่ตลาดภายนอก รวมถึงการส่งออก ซึ่งก็ทำกันอยู่ เพียงแต่ยังน้อย ไม่อาจสู้กับซีพีได้ แต่หากว่า ได้เรียนรู้ ได้พัฒนาตนเอง เกษตรกรก็จะสามารถจัดการได้ทุกขั้นตอน เหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศพัฒนาแล้วทั้งหลาย ซึ่งบางแห่งมีสหกรณ์หรือบริษัทของตนเองที่ดำเนินการขั้นตอนต่างๆ กลายเป็นยักษ์ใหญ่กว่าซีพีก็ยังมี แต่พวกเขาใหญ่จากข้างใน จากตัวเอง และทำเพื่อเกษตรกรซึ่งเป็นสมาชิก เป็นเจ้าของกิจการนั้น
หรืออย่างประเทศอิตาลี เศรษฐกิจแบบอิตาลีที่คนเล็กคนน้อยอยู่ได้ พัฒนาได้ ไม่ต้องมีบริษัทยักษ์ใหญ่แบบทุนอุปถัมภ์อย่างเดียว มีสหกรณ์เข้มแข็ง มี SME ที่ไทยไปเรียนรู้เอามาเลียนแบบ แต่ทำให้ดีไม่ได้เหมือนเขา
ระบบเศรษฐกิจแบบอิตาลีเป็นตัวอย่างหนึ่งของข้อโต้แย้งแนวคิดของ มาร์กซิสม์ และแนวคิดของทุนนิยม (อย่างน้อยสามานย์) ที่ว่าเศรษฐกิจชุมชน คือ เศรษฐกิจที่รอวันตาย เพราะทั้งสองระบบมองคนเป็นเพียงปัจจัยการผลิต เป็นแรงงาน ที่ก่อให้เกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจ เมื่อใดที่มีการจัดการโดยรัฐหรือทุนอย่างมีประสิทธิภาพ ก็จะมีระบบเศรษฐกิจ "ใหญ่" หนึ่งเดียวเท่านั้นไม่มีอะไรที่เรียกว่า เศรษฐกิจชุมชน
ประเทศไทยในยุคแผนฯ 10 ที่ประกาศว่าเศรษฐกิจพอเพียง คือปรัชญาของการพัฒนายุคนี้ ต้องตอบตัวเองให้ได้ เราจะพัฒนาแบบทุนอุปถัมภ์ที่มีหลักประกัน ความมั่นคง มีความเสี่ยงน้อย หรือจะพัฒนา เพื่อให้เกษตรกรอยู่อย่างมีศักดิ์ศรี มีกินและมีความสุขแบบพอเพียง
ผมเคยเอาเรื่องของคุณริวกะนี้ไปเล่าให้แฟนฟังRyuga เขียน: ตามนั้นครับ
ผมจำไม่ได้ว่าฟังมาจากใคร อาจจะเป็นคุณหนุ่มเมืองชล ที่เคยเล่าถึงเรื่องความคิดสร้างสรรค์ของท่านเจ้าสัวไว้ว่า
ท่านเจ้าสัวสังเกตว่าน่องไก่มันอร่อย คนชอบกิน ราคาจึงดีกว่าปีกไก่ ความคิดสร้างสรรค์จึงบรรเจิดขึ้นว่า จะทำอย่างไรให้ไก่มีน่องเพิ่มขึ้น (จะได้ขายไก่ได้ราคาดีขึ้น)
ผมฟังจากรายการมุมใหม่ไทยแลนด์ที่ออกช่อง 11 นานแล้วเหมือนกัน (ตอนแรกที่โพสยังนึกชื่อรายการไม่ออก) บอกตรงๆ ผมก็ไม่รู้เหมือนกันว่าเรื่องนี้จริงหรือเปล่าซึ่งต้องไปไล่เอากับทางรายการสวนหย่อม เขียน: ผมเคยเอาเรื่องของคุณริวกะนี้ไปเล่าให้แฟนฟัง
แฟนผมถามว่า "เจ้าสัวเค้าไม่โง่ขนาดนั้นมัง เค้าหมายถึงให้น่องมันใหญ่ขึ้นหรือเปล่า?"
นั่นสิแฮะ แหะๆ ชักไม่แน่ใจครับ
http://1001ii.wordpress.com/พี่สุมาอี้ เขียน:0122: ค่าครองชีพ
ข้าวของเครื่องใช้ที่ประเทศสิงคโปร์จะแพงกว่าบ้านเราประมาณ 2-3 เท่า แต่ชาวสิงคโปร์ก็มีความเป็นอยู่ที่สุขสบายกว่าเรามาก ทำไมน่ะหรือครับ ก็เพราะเขามีเงินเดือนมากกว่าเราประมาณ 10 เท่าตัว รายได้ประชาชาติต่อหัวของชาวสิงคโปร์เท่ากับ $34,152 ต่อปี หรือประมาณ 1.2 ล้านบาท ในขณะที่ไทยเราเท่ากับ $3400 หรือประมาณ 1.2 แสนบาท ชาวสิงค์โปร์เก็บเงินแค่ 9 เดือนก็ซื้อรถยนต์หนึ่งคันได้แล้ว แต่คนไทยต้องเก็บเงินถึง 7.5 ปีโดยไม่กินอะไรเลย ถึงจะซื้อรถยนต์ได้สักคัน คิดดูว่าชาวสิงคโปร์จะมีเงินเหลือสำหรับไว้ใช้จ่ายซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยในแต่ละเดือนมากกว่าเราขนาดไหน ต่อให้เขาซื้อสิ่งของจำเป็นในราคาสูงกว่าเราสองเท่า เขาก็ยังมีเงินส่วนเกินเหลืออยู่อีกมาก ในขณะที่ ของเราซื้อของถูกกว่าเขา แต่ต้องใช้จ่ายกันแบบเดือนชนเดือน ที่ต้องไปกู้เพิ่มมาซื้อข้าวสารก็มี
ค่าครองชีพไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีสินค้าให้ซื้อในราคาถูก และก็ไม่ได้ขึ้นอยู่กับการมีเงินเดือนมากกว่า แต่ขึ้นอยู่กับส่วนต่างระหว่างรายได้กับราคาของสินค้าจำเป็นที่ต้องซื้อในแต่ละเดือน ส่วนต่างตรงนี้บางทีก็เรียกว่า disposable income (รายได้ส่วนเกินที่เอาไปใช้ทำอะไรก็ได้) ยิ่ง disposable income มากขึ้นเท่าไร ครอบครัวไทยก็จะยิ่งหายใจได้คล่องคอมากขึ้นเท่านั้น
การบังคับให้พ่อค้าตรึงราคาสินค้าเอาไว้ หรือนโยบายขึ้นเงินเดือนแบบกระทันหัน จะทำให้ประชาชนมี disposable income สูงขึ้นได้ในระยะสั้น แต่เมื่อตลาดรับรู้ความคาดหวังเรื่องนโยบายเหล่านี้ การปรับราคาสินค้าจะเกิดขึ้นเพื่อมิให้สินค้าขาดแคลน ทำให้สุดท้ายแล้วส่วนต่างระหว่างรายได้กับรายจ่ายกลับมาเท่าเดิมอีกครั้ง ความเป็นอยู่ของประชาชนจึงไม่สามารถทำให้ดีขึ้นได้ด้วยวิธีการเช่นนี้
David Ricardo บอกว่า ไม่ว่าจะแทรกแซงตลาดแรงงานยังไง ในระยะยาว ค่าแรงมีแนวโน้มที่จะวิ่งไปอยู่ในระดับที่ทำให้ unskilled labor พอดำรงชีวิตอยู่ได้พอดี มีหลักฐานที่แสดงว่า แนวคิดของ Ricardo เป็นเช่นนั้นจริงๆ เพราะในระยะยาว เงินเฟ้อกับค่าจ้างมีแนวโน้มที่จะวิ่งตามกัน เราได้เงินเดือนขึ้นสักพักเงินก็จะเฟ้อตาม เงินเฟ้อสักพักเราก็จะได้ปรับเงินเดือนตาม สรุปแล้วกำลังซื้อของ disposable income ของเราจะยังคงเท่าเดิมอยู่ไม่ว่าเงินเดือนหรือเงินเฟ้อจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
ทางเดียวเท่านั้นที่จะทำให้ disposable income สูงขึ้นได้ คือ การเพิ่มผลิตภาพของแรงงาน ถ้าแรงงานมีทักษะในการทำงานมากขึ้น ผลิตสินค้าได้เพิ่มขึ้น มูลค่าเพิ่มของผู้ใช้แรงงานก็จะเพิ่มขึ้น ทำให้ผลตอบแทนเพิ่มขึ้นไปด้วย ผลิตภาพของแรงงานสามารถเพิ่มขึ้นได้ด้วยการฝึกฝนทักษะในการทำงาน การศึกษาที่สูงขึ้น การบริหารจัดการที่ดีกว่าเดิม และการลงทุนเพื่อให้เกิดการนำเทคโนโลยีมาใช้ในการเพิ่มผลผลิต คนสิงคโปร์เขามีส่วนต่างของรายได้กับค่าใช้จ่ายสูงกว่าเรามากเพราะผลิตภาพของเขาสูงกว่าเรามาก
ส่วนการเพิ่มค่าแรงขั้นต่ำ หรือขึ้นเงินเดือนข้าราชการ หรือการตรึงราคาสินค้านั้น ไม่ได้สามารถทำให้ความเป็นอยู่ดีขึ้นได้ในระยะยาว สิ่งเหล่านี้ทำให้ ตัวเลข เปลี่ยนไปเท่านั้น เงินเฟ้อจะปรับให้ทุกอย่างเหมือนเดิมในไม่ช้า สรุปแล้ว ไม่มีเวทย์มนต์ใดๆ ที่จะเสกชีวิตความเป็นอยู่ของเราให้ดีขึ้นได้ นอกจาก การทำงานให้มากขึ้นหรือทำงานให้ฉลาดขึ้นเท่านั้นเอง
http://1001ii.wordpress.com/พี่สุมาอี้ เขียน:0130: สองสูง
ปกติ แล้ว การเพิ่มเงินเดือนให้เมื่อเกิดภาวะข้าวยากหมากแพงจะไม่ช่วยแก้ปัญหา เพราะเงินมีมากขึ้นแต่ของมีเท่าเดิม ของจะยิ่งแพงขึ้นไปอีก สุดท้ายแล้ว กำลังซื้อจะยังคงเท่าเดิมอยู่ แต่ได้ภาวะเงินเฟ้อพ่วงมาด้วย ถ้ามองในมุมนี้ ดูเหมือนทฤษฏีสองสูงของเจ้าสัวธนินท์จะไม่ใช่ทางออกของปัญหาข้าวยากหมากแพง
แต่ผมเห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เนื่องจากที่ผ่านมา ราคาสินค้าและค่าแรงของบ้านเราไม่ได้กำหนดด้วยกลไกตลาดแต่ถูกกดเอาไว้ให้ต่ำ กว่าความเป็นจริงมาตลอดเพราะเป็นนโยบาย ถึงเวลาแล้วที่เราจะปล่อยให้ทั้งราคาสินค้าและรายได้ของคน “ลอยตัว” ขึ้นตามความเป็นจริง ไม่ใช่กดเอาไว้เหมือนในอดีต การขึ้นเงินเดือนตามทฤษฏีสองสูงไม่ได้หมายถึงการแจกเงิน แต่หมายถึงการปล่อยให้เงินเดือนลอยตัวขึ้นตามความเป็นจริง
ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา ประเทศของเราเริ่มทำเกษตรกันน้อยลงและหันมาเป็นผู้รับจ้างผลิต (OEMers) ในเวทีโลกมากขึ้น สินค้าที่ไทยส่งออกได้มากที่สุดทุกวันนี้คือ รับจ้างต่างประเทศผลิตแผงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ นอกจากนี้ เรายังเป็นฐานการผลิตรถยนต์ส่งออกเป็นจำนวนมากอีกด้วย เราไม่ใช่ประเทศที่ทำเกษตรเป็นหลักเหมือนที่สอนไว้ในหนังสือสังคม สินค้าเกษตรในปัจจุบันมีสัดส่วนแค่เพียง 10% ของรายได้ประชาชาติเท่านั้นเอง
การจะเป็น OEMers ในเวทีโลกได้นั้น ค่าแรงจะต้องถูก ที่ผ่านมารัฐบาลจึงมีนโยบายกดค่าแรงมาโดย ตลอด เพื่อให้นักลงทุนต่างชาติเลือกที่จะมาผลิตสินค้าในประเทศไทยเพราะค่าแรง ต่ำ นอกจากนี้ เรายังใช้วิธีกดค่าเงินของเราให้ต่ำเกินความเป็นจริงอีกด้วย เพื่อให้สินค้าที่ผลิตออกจากประเทศไทยมีราคาต่ำเมื่อคิดเป็นเงินดอลล่า ร์ ต่างชาติจะได้อยากซื้อสินค้าที่มีฐานการผลิตในประเทศไทย
นโยบายแบบนี้ที่ผ่านมาไปได้สวย เพราะแม้ว่าเงินเดือนจะน้อย แต่ของก็มีราคาถูก คนในประเทศจึงไม่เดือดร้อนอะไร ในขณะเดียวกัน การจ้างงานก็มีมากเพราะต่างชาติมาลงทุนกันมากเพื่อเอาค่าแรงถูก ดูๆ ไปก็เป็นนโยบายที่ลงตัว แต่พอนานๆ เข้า ราคาสินค้าในประเทศอื่นๆ ในโลกซึ่งเขาไม่ได้ใช้นโยบายกดราคากันก็สูงขึ้นเรื่อยๆ จนเริ่มทิ้งห่างราคาสินค้าในบ้านเราไปอย่างมีนัยสำคัญ บังเอิญว่าเราต้อง ซึ้อสินค้าหลายอย่างจากต่างประเทศเสียด้วย ทั้งน้ำมัน แร่เหล็ก รวมไปถึงสินค้าฟุ่มเฟือยต่างๆ ระดับราคาสินค้าและรายได้ในประเทศที่ต่ำกว่า ตลาดโลกมาก ทำให้คนไทยต้องซื้อสินค้าเหล่านั้นในราคาที่แพงมาก ในขณะเดียวกัน เรายังขายสินค้าของเราในราคาถูกๆ ให้กับโลกเหมือนเดิม
ถึงเวลาแล้วที่เราจะต้องเลิกกลยุทธ์กดราคา ขืนยังปล่อยให้ระดับรายได้และระดับราคาของไทยต่ำกว่าประเทศอื่นๆ เช่นนี้ต่อไปเรื่อยๆ คนไทยจะตายอย่างเขียดในที่สุด….
ผมเชื่อว่าถ้าเราปรับเงินเดือนให้คนในประเทศ เงินเฟ้อจะไม่เพิ่มขึ้นเท่าไรนัก เนื่องจากปัญหาเงินเฟ้อในปัจจุบันเป็นปัญหาที่มาจากภายนอกประเทศเป็นหลัก ตลาดในประเทศเองมีแต่ตัดราคากันรุนแรงมาก เงินจึงไม่ค่อยจะเฟ้ออยู่แล้ว
อย่างไรก็ตาม วิธีนี้ย่อมมีข้อเสียอยู่ด้วย นั่นคือ ต่อไปนี้ ประเทศไทยก็จะมีความน่าสนใจในฐานะของ OEMers ในเวทีโลกน้อยลง เพราะคนของเรามีราคาแพงขึ้น เราคงต้องปรับตัวโดยหันไปสร้างจุดเด่นอย่างอื่นขึ้นมาทดแทน แต่ผมก็คิดว่า เราก็มีทางเลือกอื่นอยู่ไม่น้อย ราคาสินค้าเกษตรกำลังเป็นขาขึ้นพอดี แต่ไหนแต่ไรมา เราคือประเทศเกษตรกรรมอยู่แล้ว ถ้าในอนาคตสาวโรงงานต้องหันกลับไปเป็นเกษตรกรกัน ผมก็คิดว่าไม่ใช่เรื่องเสียหาย เป็นเรื่องดีด้วยซ้ำ เพราะเกษตรกรรมคือ strength ที่แท้จริงของประเทศไทย
ไม่อยากให้มองว่าเจ้าสัวพูดเพื่อตัวเอง โลกธุรกิจไม่ใช่ zero sum game ไม่ใช่ว่าคนหนึ่งได้ประโยชน์อีกคนจะต้องเสียประโยชน์เสมอไป แม้ว่าเจ้าสัวจะ ได้ประโยชน์จากการปล่อยให้ราคาสินค้าเกษตรลอยตัว แต่ประเทศไทยโดยรวมก็ได้ประโยชน์ด้วยเช่นกัน (win-win) ไม่ต้องกลัวคนในประเทศซึ้อข้าวแพงแล้วจะลำบาก ลองดูประเทศอาหรับสิครับ เขาปล่อยให้ราคาน้ำมันซึ่งเป็นสินค้าของประเทศเขาเองลอยตัว แล้วมันทำให้คนในประเทศของเขารวยหรือว่าจนล่ะครับ แขกเขารู้จักทำราคาสินค้าของเขาให้แพงๆ ก็เลยรวยเอา รวยเอา แต่บ้านเราพยายามทำราคาสินค้าของเราให้ถูกๆ ได้เงินมาก็เอาซื้อของที่ราคา แพงๆ ก็เลยจนเอา จนเอา อยู่อย่างนี้แหละครับ
เงินเฟ้อถูกคำนวณจากการเปลี่ยนแปลงของดัชนีราคา หากเราเน้นที่เงินเฟ้อจะได้สมการว่าIrving Fisher เขียน:ปริมาณเงินในระบบ = (ปริมาณผลผลิต*ดัชนีราคาผลผลิต)/อัตราการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินในระบบ
ช่วงข้าวยากหมากแพงนี้ผู้คนสนใจเรื่องเศรษฐกิจเป็นพิเศษ วันนั้นฟังเฮีย ส. เรื่องเล่าเช้านี้ เฮียพชร ว่าเขาปรับเป้าอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจใหม่ลดลงจากเดิม เฮีย ส. ก็เสริมทันทีว่า เราหวังว่าปีนี้สินค้าเกษตรจะมาช่วยหนุนเศรษฐกิจให้โต ผมฟังแล้วก็ขำ :lol: ของเท่าเดิมขายแพงขึ้นนั้นคือเงินเฟ้อ การที่ราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นนั้น ตัวมันเองคือเงินเฟ้อ การคิดอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นเงินเฟ้อจะถูกตัดออก ในปีที่ผ่านมา ภาคเกษตร (แรงงาน 38% ของประชากรไทย) มีมูลค่า 11.4% ของ GDP รวม แต่หากคิดเป็น real GDP ภาคเกษตรมีสัดส่วนแค่ 8.8% เท่านั้น ถือว่าเป็นสัดส่วนที่ลดลงด้วยซ้ำเมื่อเทียบกับปีก่อนๆดัชนีราคาผลผลิต = (ปริมาณเงินในระบบ*อัตราการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินในระบบ)/ปริมาณผลผลิต
จากสมการ นำไปพิจารณาในประเทศที่ส่งออกน้ำมันเป็นสินค้าหลักได้ว่า ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่พุ่งสูงขึ้นหลายเท่าตัว ได้ทำให้รายได้ของประเทศเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นมากในขณะที่ปริมาณผลผลิตแทบจะไม่ต้องเปลี่ยนแปลง ปริมาณเงินในระบบของเขาจะเพิ่มขึ้นดัชนีราคาผลผลิต = (ปริมาณเงินในระบบ*อัตราการใช้จ่ายหมุนเวียนเงินในระบบ)/ปริมาณผลผลิต