หน้า 2 จากทั้งหมด 3
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 17, 2007 7:39 pm
โดย artvr4
ได้รับคำตอบทางPM จากคุณTANYA
ต่อไป คงอาจจะถามตอบกันทางนี้แล้วกันนะครับ
มีสมาชิกหลายท่านอาจจะสนใจเรื่องการปลูกการบำรุงต้นยาง
เผอิญดันดันกังวลว่า อาจจะถามเป็นเรื่องส่วนตัวไปน่ะครับ
ขอโทษที่ตอบช้านะครับ แต่จริงๆ ผมก็ไม่ได้ไปทำเองก็เลยไม่ค่อยรู้เท่าไหร่ต้องถามคุณพ่ออ่ะครับ
ข้อ 1
ตอนนี้ผมเปิดกรีดไป 4500 ต้นครับ ประมาณ 60 ไร่ ไร่ละ 80-90 ต้นครับ
ข้อ 2
ยาง 251 ไม่ได้ปลูกครับ แต่พ่อบอกว่าน่าจะได้ประมาณ 3-4 แผ่นต่อไร่เลยครับ ถ้าปลูกได้ก็ดีมากเลยครับ ไม่ทราบว่าพื้นที่ปลูกอยู่ภาคไหนครับ
ข้อ 3
ใช้ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ทั้งคู่ล่ะครับ สลับกัน
สูตรที่ใช้ตอนนี้ที่เปิดกรีดแล้วก็ 15-7-18 กับ 20-8-20
ใช้ทั้งสองสูตรอะครับ
ถามได้เลยนะครับแต่อาจจะตอบช้าหน่อยนะครับเพราะบางอย่างต้องถามพ่อยินดีให้ข้อมูลครับ
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
ผมปลูกที่จังหวัดอุทัียธานีครับ ที่นี่เห็นคนทางใต้มาซื้อเยอะมากเลย
โชคดี ผมมาบุกเบิก เมือสัก สองปีได้ เลยยังได้ที่ราคาถูก
ตอนนี้ผมมาคุมใส่ปุ๋ยอยู่ครับ ใช้สูตร 20-12-20 เห็นนักวิชาการที่นี่แนะนำ
ผม ผสม รวมกับ ตัวที่เรียกว่า เทคโตซิลิเกท เป็นแร่หินภูเขาไฟ มาช่วยย่อยสลายเคมี ให้เร็วขึ้น กับอีกตัวที่เป็นผง อินทรีย์ ยี่ห้อ ปูแดงครับ
เดี่๋ยวได้ผลว่า การใช้ ปุ๋ย เคมี ผสมอินทรีย์ และ อินทรีย์ชีวภาพเป็นยังไง จะมารายงาน ให้ สมาชิกท่านที่สนใจด้วยครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 19, 2007 2:40 am
โดย กระบี่เก้าสําเนียง
ผมถามคุณartvr4นิดนึงครับ
พอดีผมทํางานด้านบัญชีซึ่งงานมันยุ่งมากเลยแต่สนใจธุรกิจนี้อยู่
เลยไม่แน่ใจว่าตัวเองจะมีเวลาให้และพร้อมไหม
เลยอยากถามเกี่ยวกับการจัดการดูแลว่าทําเองหรือจ้างคนงาน
คือว่าง่ายๆว่ามีระบบการจัดการตรวจสอบควบคุมยังไง
เพราะเพื่อนผมก็ทําอยู่ที่ อ.เทพา จ.สงขลา
แต่เห้นมันบ่นว่าถูกโกงร่ำๆว่าจะกลับไปทําบัญชีแถวบ้านแล้วครับ
เพื่อที่จะได้ดูแลสวนยาง
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 19, 2007 10:57 pm
โดย artvr4
กระบี่เก้าสําเนียง เขียน:ผมถามคุณartvr4นิดนึงครับ
พอดีผมทํางานด้านบัญชีซึ่งงานมันยุ่งมากเลยแต่สนใจธุรกิจนี้อยู่
เลยไม่แน่ใจว่าตัวเองจะมีเวลาให้และพร้อมไหม
เลยอยากถามเกี่ยวกับการจัดการดูแลว่าทําเองหรือจ้างคนงาน
คือว่าง่ายๆว่ามีระบบการจัดการตรวจสอบควบคุมยังไง
เพราะเพื่อนผมก็ทําอยู่ที่ อ.เทพา จ.สงขลา
แต่เห้นมันบ่นว่าถูกโกงร่ำๆว่าจะกลับไปทําบัญชีแถวบ้านแล้วครับ
เพื่อที่จะได้ดูแลสวนยาง
สวัสดีครับ เอาส่วนที่ผมทำนะครับ ขอพูดไปรวมๆละกัน และจะบอกว่าส่วนตัว ตรงจุดไหนที่ควรคุมให้ดี เพราะว่าจะเกิดการรั่วไหลได้ เพราะยังไง พวกแรงงานชาวบ้านในพื้นที่ก็ ทำงานแบบช่างเถอะอยู่แล้ว แต่บางทีผมต้องจำยอมครับ เพราะว่าเราไม่ใช่คนในพื้นที่ ไม่อยากมีปัญหาด้วยเพราะเราไม่ได้อยู่ตลอด บางที รู้ว่มันรั่วไหล ก็ต้องจำยอมทนๆ ไปก่อน
แต่เริ่มแรก นี่ผมต้องไปดูตลอดครับ ตั้งแต่ ใช้แบ็คโฮปรับเป็นขั้นบันได(ที่เป็นภูเขาน่ะครับ ) แล้วต้องตามไปดูตั้งแต่การไถ เพราะว่า ไม่งั้น เราจะไม่รู้ว่าเค้าใช้ชั่วโมงทำงานเท่าไหร่ เพราะเราจ่ายเป็นรายชั่วโมง(เค้าโมเม ว่าทำกี่ชั่วโมง ก็ได้ครับ แบ็กโอชั่วโมงเป็นพัน รถไถก็ หกร้อยกว่าบาท)
ไหนจะจ้างเค้าฉีดยาฆ่าหญ้า เค้าคิดเป็นถัง โมเมได้อีกว่าฉีดไปกี่ถังเพราะเรากะปริมาณ ที่ฉีดกับพื้นที่ไม่ถูก เพื่อป้องกัน หญ้ารกอีก
รายการช่วงนี้เป็นช่วงที่ต้องคุมให้ดีครับ ไม่งั้นรั่วไหลเยอะมา
พอตอนเริ่มปลูก ผมก็ต้องไปตามคุมอีก ผมจะไม่ให้ปลูกทีละเยอะๆ ครับ เพราะพวก แรงงานมัก ชุ่ย เอาง่ายๆ บางที ขุดหลุมไม่ลึก ต้นยางก็ไม่เอาถุงดำออก เพราะเค้าจะเร่ง ค่าปลูก ต้นละสิบบาท รวมขุดหลุมด้วย
ตอนผมทำ ผมจะให้คนงานขุดหลุมต่อวันให้กว้างและลึก แบบที่ผมต้องการ ได้สักประมาณ400-500หลุม ในช่วงเช้า พอช่วงบ่ายก็ทยอยใส่ปุ๋ย ยาฆ่าปลวก สารพอลีเมอร์ ตามจำนวนที่ผมต้องการ และ ค่อยๆปลูกไป ไม่เร่งเด็ดขาด ตอนแรกคนงานชาวบ้านในพื้นที่บางคนก็บ่น ผมก็บอกว่าถ้าไม่ทำแบบของผมก็ไม่เป็ฯไร ผมจ้างคนอื่นได้ เค้าก็ยอมกัน เพราะพวกชาวบ้านเค้าก็หาเช้ากินค่ำน่ะครับ
หากวันไหน อากาศเริ่มร้อน ก็ให้หยุดปลูก รอฝนตก เพื่อให้ดินชื้นก่อน
นี่เฉพาะช่วงปลูกครับ
พอหลังจากปลูกก็ต้องตรวจตราว่ามีตายหรือเปล่าจะได้รีบปลูกซ่อม ผมมีจ้างคนงานไว้เฝ้าสวนไว้ครอบครัวนึง ให้เค้าปลูกสัปปะรด ในพื้นที่ด้วย ผมไม่เอาค่าเช่าที่ แต่ให้เค้าดูแลต้นยางให้ผม
หลังจากนั้น การคุมว่าพวกชาวบ้านที่จ้างมาใส่ปุ๋ย หรือว่าอย่างอื่น ผมจะใช้วิธีที่สังเกตุได้ครับ
เช่นการใส่ปุ๋ย ปกติ เค้าจะโรยรอบต้น บางที หากว่าเป็นปุ๋ยเคมี หากดินชืน วัน สองวัน มันก็ละลายหมดแล้ว เราอยู่กรุงเทพก็ไม่รู้ แต่ส่วนใหญ่ผมจะตามมาคุมครับ แต่บางทีเค้าใส่ก่อนผมมาสักวัน ผมก็บอกว่า
เวลาใส่ปุ๋ย ให้เอา จอบพรวนดินรอบต้นยางด้วย เพราะว่าฝนตก ปุ๋ยจะไม่ไหล พอเราขึ้นไปดู ก็ดูแค่ว่ามีรอยจอบ รอบต้นยางหรือเปล่าต้องเดินสุ่มไปตามส่วนต่างๆของพื้นที่เอา
ส่วนพวกปุ๋ยก็ให้เค้าเก็บกระสอบ ว่าใช้ไปกี่ถุง แล้วไปถามร้านค้าว่าเค้าเอาปุ๋ยไปกี่ถุง มาเปรียบเทียบกัน
ส่วนคนดูแล จะให้เค้าดูสวนยาง บางทีเราต้องเช็คว่าเค้าดูจริงเปล่า ผมใช้วิธีนี้ครับ ก่อนหน้าร้อน ผมจะให้เค้าเอาปูนพลาสเตอร์ ไปทาต้นยางป้องกันวไม่ให้ เปลือกต้นยางโดนแดดจัด ตาย เวลาไปดูก็สังเกตุว่าต้นยางมีการทาปูนพลาสเตอร์ไว้หรือเปล่า เพราะเวลาเค้าเดินทาปุน เค้าก็ต้องคอยตัดแต่งกิ่งดวย
แต่ผมโชคดีหน่อยที่คนดูแลเค้าดูแลดีครับ ส่วนชาวบ้านที่จ้างในพื้นที่ก็พอจะคุยกันรุ้เรื่อง เพราะบางที เราต้องใช้ใจ เวลาเค้าใส่ปุ๋ย ผมก็ไปใส่กับเค้าด้วย เค้าเลยดูว่าเราไม่ถือตัว เป้นกันเอง ประกอบกับรู้จักกำนันในพื้นที่ ด้วยครับ เค้าก็เลย เกรงใจหน่อยนึง
เอาเป็นว่าโดยสรุป ช่วงแรก ควรจะไปคุมครับ จนกระทั่วปลูกเสร็จ
เพราะว่าการให้ชาวบ้านในพื้นที่ดูแล ยังไงก็ไม่ได้ดั่งใจเราเท่าไหร่
ผมโชคดีว่า สองปีนี้ ผมไม่ได้ทำงานอื่น งานที่ทำกับเพื่อนก็ปลีกตัวมาดูได้ครับ นี่เพิ่งใส่ปุ๋ยเสร็จ ผมดีใจจังจะได้ไปเป็นมนุษย์เงินเดือนสักที เพราะว่าโดยส่วนตัว ผม ไม่ค่อยเห็นด้วยกับที่บ้านเท่าไหร่ แต่เมื่อ เค้าจะทำ ผมต้องไปคุมครับ ไม่อยากให้ เงินที่เค้าเก็บมาทั้งชีวิต สูญไปกับการที่จ้างคนอื่นเค้าทำ ทั้งหมด
ปีที่แล้ว ปีแรก ผมก็ เก็บเกี่ยวความรุ้ ไม่เชี่ยว และเคี่ยวครับ ใช้งบปลานปลาย
แต่ปีนี้ นี ผมรู้เยอะ อุดรูโหว่ ค่าใช้จ่ายได้เยอะ
ใช้งบประมาณ เท่ากันทั้งสองปีครับ แต่ว่า ปีนี้ ปลูกต้นยางได้เยอะกว่าปีที่แล้วในจำนวนต้นที่มากกว่ากัน หนึ่งเท่าตัวครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 21, 2007 1:58 pm
โดย กระบี่เก้าสําเนียง
ขอบคุณมากๆเลยครับที่อุตส่าห์สละเวลามาตอบ
ถ้ายังไงมาอัพเดทข้อมูลเรื่อยๆก็ดีน่ะครับ
ผมกับแฟนก็ทํางานกันทั้งคู่เลยส่วนที่บ้านผมก็หัวไม่ค่อยทําธุรกิจกัน
คือถ้าให้ดูแลค่าใช้จ่ายบานปลายๆแน่นอน
ขนาดสร้างบ้านยังบานปลายช่างเบิกเท่าไหร่ก็ให้ไปโดนโกงก็มี
ผมเลยผมจึงไม่ค่อยมั่นใจเท่าไหร่
ตอนนี้ก็พยายามเก็บข้อมูลอยู่แล้วดูความพร้อมของตัวเอง
คือผมอยากเกษียณไวๆครับ ถึงเงินในอาชีพบัญชีมันดีก็จริง
เลยมองหาอะไรทํา
ยังไงผมก็ขอบคุณ artvr4อีกครั้งที่เสียเวลามาพิมพ์ตอบให้ซะยาวเลย
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 29, 2007 10:23 am
โดย artvr4
"ธีระ"ตั้งคณะกรรมการรัฐร่วมเอกชน ทำแผนแปรรูปยาง เน้นถุงมือยาง ยางรถยนต์ ทำถนน ส่วนการสร้างฝายยางต้องศึกษาเพิ่มเติม กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายธีระ สูตะบุตร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เปิดเผยภายหลังเป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายวิจัยพัฒนาผลิตภัณฑ์ยางแห่งชาติว่า ที่ประชุมมีเห็นชอบตั้งคณะกรรมการ รัฐร่วมเอกชน เพื่อจัดทำแผนการนำยางพารามาแปรรูปให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยจะเน้นใน 3 ด้าน
ประกอบด้วย 1.การแปรรูปถุงมือยาง 2. ยางรถยนต์ และ3. การนำยางพารามาผสมแอสฟัลท์ ทำถนน โดยในส่วนของถุงมือยาง ความต้องการของตลาดทั้งในและต่างประเทศ มีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านบาท ขณะที่ไทยมีส่วนแบ่งตลาดเพียง 20,000 ล้านบาท เท่านั้นถือว่าน้อยมากเมื่อเทียบกับ ที่ไทยเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ที่สุดในโลก ดังนั้น จึงได้ตั้งเป้าหมายที่จะเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มเป็น 40,000 ล้านบาท โดยคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นต้องไปวางแนวทางไปสู่การปฏิบัติวางกรอบแนวทางการดำเนินการ เพื่อนำไปสู่เป้าหมายที่ตั้งไว้
ด้านการส่งเสริมผลิตยางรถยนต์ พบว่า มีบริษัทยักษ์ใหญ่ หลายแห่งครองตลาดอยู่ แนวทางที่จะส่งเสริมจะสนับสนุนเป็นอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อมหรือเอสเอ็มอี ที่จะผลิตยางรถยนต์ไปใช้ในส่วนต่างๆเช่นสำหรับเครื่องยนต์ทางการเกษตร
ส่วนการนำยางไปผสมกับแอสฟัลท์ทำถนน แม้จะมีราคาแพงขึ้นแต่ความทนทานจะมากกว่า หากมีแผนชัดเจนก็จะสนับสนุนให้ส่วนราชการนำไปพิจารณาใช้ได้ อย่างไรก็ตามเรื่องการนำยางพารามาทำฝายยาง เป็นเรื่องที่ยังจะต้องศึกษาวิจัยเพิ่มเติม จึงยังไม่ใช่เป้าหมายหลักที่จะส่งเสริมในขณะนี้
" หลังจากคณะกรรมการชุดที่ตั้งขึ้นนี้ จัดวางแนวทางเรียบร้อย ซึ่งกำหนดให้แล้วเสร็จภายภายใน 1 เดือน จะนำเสนอคณะรัฐมนตรี(ครม.) เพื่อของบประมาณมาดำเนินการให้เกิดผลในทางปฏิบัติ ซึ่งเชื่อว่าหากประเทศไทยมีการแปรรูปยางพารามากขึ้นใน จะช่วยให้ราคายางพารามีเสถียรภาพ เพราะในอนาคตผลผลิตยางพาราจะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน หากราคาอยู่ในระดับที่กก.ละ 70-80 บาท ก็ถือว่าน่าพอใจแล้ว " นายธีระ
นำข่าวมาลงให้ครับ เผื่อ ท่านที่สนใจจะปลูก หรือทำสวนยาง จะได้ตัดสินใจว่า รัฐ เค้ามีนโยบายในการ สนันสนุน หรือว่า เพิ่มมูลค่ายางในอนาคตยังไง
ตัวผมอยากให้เค้าสนใจ เรื่องยางพารา กับการทำถนนจริงๆ เลย
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 17, 2007 4:32 pm
โดย phobenius
ผมพึ่งไปประชุมงานสัมมนายางที่จุฬาจัดขึ้นมาครับ
มีแนวทางต่างๆหลากหลายเเพื่อให้มีการทำผลิตภัณท์มากขึ้น
แต่ว่า แนวทางพวกนี้ พูดกันมาไม่ต่ำกว่าห้าปีแลว้ครับ
ยังไปไม่ถึงไหน งานครั้งนี้จะสรุปและยื่นให้รัฐบาลนี้ก่อนสิ้นปีเพื่อหาแนวทางที่ชัดเจน
เรื่องพื้นถนนยาง จริงๆ เป็นไปได้ครับ แต่รัฐบาลไม่ยอมล็อคสเปคจริงๆจังว่าต้องใช้ยางครับ พอลงไปถึงเรื่องคุณภาพ ทางรัฐบาลก็ยังไม่มีหน่วยงานที่รองรับมาตรฐาน แล้วใครจะมาอยากใช้ละครับ จริงๆ รัฐ น่าจะเป็นฝ่ายนำและใช้ยางให้เยอะที่สุดครับ เพื่อผลักดันให้เป็นจริงครับ
แต่ส่วนตัวแล้วงานสัมมนาครั้งนี้ผมว่า น่าจะช่วยสร้างหน่วยงานหนึ่งที่จริงๆจังๆซะที เพราะเหมือนมีแต่โมเดล นั้นนี้ แต่ไม่สามารถใช้ได้เลยครับ
ดร ที่จุฬา ก็แนะนำว่าให้มีการทำน้ำยางข้นจากเกษตรกรเลย โดยทำเป็นบ่อพัก บ่อละ ห้าสิบตันครับ เพราะจะได้ประหยัดพลังงาน เพิ่มมูลค่าให้เกษตรกร และง่ายต่อผลิต สินค้ากลางน้ำ อาทิเช่น ยางคอมปาว์ หรือน้ำยางคงรูป ซึ่งยังมีความต้องการอีกมาก
แต่ หลายๆท่านในห้องก็ยังแย้งว่า น่าจะไม่ได้ครับ ด้วยเหตุผลง่าย ปากท้องเกษตรกร ที่ต้องการเงินสด
อีกท่าน ประธาน หออุต แนะนำได้อย่างน่าสนใจครับ ว่าไปกดดัน ยูเอ้นให้ช่วยกันใช้ยางเยอะๆ เพราะ เราปลูกต้นสามารถลดภาวะโลกร้อนได้ หรือไม่ก็สามารถขาย ความสามารถในการดูดคาร์บอนไดออกไซด์ครับ
สินค้าผลิตภัณท์ที่โชว์รุ่นตัวอย่างมีหลากหลายครับ
การเก็บพลังงานแก็สผ่านยางรูพรุน
พื้นถนนสีต่างๆ
เรือยาง
การนำยางมาเคลือบวัสดุต่างๆ
และเยอะแยะครับจำไม่ได้
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 18, 2007 7:42 am
โดย artvr4
เรื่องพื้นถนนยาง จริงๆ เป็นไปได้ครับ แต่รัฐบาลไม่ยอมล็อคสเปคจริงๆจังว่าต้องใช้ยางครับ พอลงไปถึงเรื่องคุณภาพ ทางรัฐบาลก็ยังไม่มีหน่วยงานที่รองรับมาตรฐาน แล้วใครจะมาอยากใช้ละครับ จริงๆ รัฐ น่าจะเป็นฝ่ายนำและใช้ยางให้เยอะที่สุดครับ เพื่อผลักดันให้เป็นจริงครับ
หุหุ เรื่องนี้ พูดแล้วยาวครับ ผมเคยถามเพื่อนพ่อที่เป็นคนทางหลวงตำแหน่งใหญ่พอตัว ท่านบอกว่า บริษัทยางมะตอย ยอมไม่ได้ครับ มีการพยายามไม่ให้เกิดเด็ดขาด ไม่งัน เค้าจะขายได้น้อยลง เพราะว่าเคยมีการทดลอง กรมวิชาการเกษตร ที่ใช้น้ำยางสด มาทำถนน ซึ่งต้นทุนถูกว่าใช้ยางมะตอย
แต่แบบทีนำยางพาราผสมกับยางมะตอยจะแพงกว่า ยางมะตอยธรรมดาครับ
เรื่องพวกนี้ บางทีไม่ต้องศึกษายาวมากครับ หากเอาการวิจัย ทดลอง ที่มาเลเซีย อินเดีย เค้าก็ใช้ ถนนยางพารากันแล้ว มีผลการทดสอบครบครับ
ต้องดูความจริงใจของรัฐบาลที่อยากให้เกิดว่าเพื่อ ชาวบ้านหรือว่านายทุน
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 18, 2007 10:19 am
โดย Jacky
อย่างนี้ เดี่ยวผมรายงานไปให้เล่นงานกรมทางหลวงสิครับเนี่ย
แต่ว่า ตอนนั้นทดลองราคาน้ำยางกี่บาทหรอครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 21, 2007 10:12 pm
โดย tanya
ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ ถ้าไม่เป็นการรบกวน หากครั้งหน้ามีสัมนาที่ไหน รบกวนแชร์หน่อยครับผม ถ้าว่างก็อยากไปเหมือนกันครับ ขอบคุณครับ แล้วเรื่องทำบ่อพัก หมายความว่าอย่างไรครับ รบกวนช่วยขยายความหรือไม่ก็ขอลิ้งหาข้อมูลด้วยครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 24, 2007 9:22 am
โดย phobenius
ลองติดต่อ ดร เพียรพรรค ทัศคร
ที่ภาควิทยาศาสตร์ จุฬา ดูครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 17, 2008 8:49 pm
โดย MindTrick
คาดผลผลิตยางของไทยจะเพิ่มขึ้น 4.8 % ในปี 2552
สิงคโปร์--17 ก.พ.--รอยเตอร์
เจ้าหน้าที่ระดับสูงของอุตสาหกรรมกล่าวว่า
การผลิตยางของไทยอาจจะเพิ่มขึ้น
4.8 % สู่ 3.25 ล้านตันในปี 2552 แม้ว่าสภาพอากาศแปรปรวนและเกิดเหตุการณ์ความ
รุนแรงในภาคใต้ของไทย
"ในปี 2553 การผลิตอาจจะอยู่ที่ระดับเหนือ 3.3 ล้านตัน" เจ้าหน้าที่กล่าว
ไทยมีพื้นที่เพาะปลูกยางเพิ่มขึ้น 26 % ในช่วงปี 2540-2549
ไทยส่งออกยางส่วนใหญ่ให้กับจีนซึ่งเป็นผู้บริโภครายใหญ่ที่สุดของโลก
เจ้าหน้าที่กล่าวว่า
การส่งออกยางของไทยอาจจะเพิ่มขึ้นสู่ 2.95 ล้านตันในปี
2551 เพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยจาก 2.90 ล้านตันที่ประมาณไว้ในปี 2550 อันเป็นผลจาก
การบริโภคภายในประเทศที่เพิ่มขึ้นและในขณะที่ผู้ผลิตยางรถยนต์ภายในประเทศเพิ่มการ
ผลิต
เขากล่าวว่า "การบริโภคยางภายในประเทศอยู่ที่ประมาณ 350,000 ตันในปี
2550 เราคาดว่าในปีนี้การบริโภคอาจจะอยู่ที่ประมาณ 400,000 ตัน" เขากล่าว
--จบ--
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 17, 2008 8:50 pm
โดย MindTrick
INDONESIA:อินโดอาจแซงหน้าไทยในฐานะผู้ผลิตยางอันดับ 1 ในปี 2015
สิงคโปร์--17 ก.พ.--รอยเตอร์
นายซูฮาร์โต ฮงโกคูซูโม ผู้อำนวยการบริหารของสมาคมยางอินโดนีเซียกล่าว
กับรอยเตอร์นอกรอบการประชุมอุตสาหกรรมเมื่อเย็นวันศุกร์ว่า อินโดนีเซียจะแซงไทยใน
ฐานะผู้ผลิตยางรายใหญ่ที่สุดของโลกในปี
2015 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดไว้ 5 ปี อันเป็นผลจาก
การขยายตัวของการผลิตที่ดีขึ้น
"การขยายตัวของการผลิตยางในอินโดนีเซียจะอยู่ที่
5-6 % ต่อปีเริ่มตั้งแต่ปี
2008 และการผลิตจะอยู่ที่ 3.8 ล้านตันในปี 2015 ขณะที่การขยายตัวของการผลิตยาง
ในไทยจะอยู่ที่เพียง 2-3 % โดยเฉลี่ย และการผลิตจะอยู่ที่ 3.75 ล้านตันในปี 2015"
เขากล่าว
การขยายตัวในไทยเชื่องช้า อันเป็นผลจากปัญหาสภาพอากาศและความไม่สงบ
ในภาคใต้
นายฮงโกคูซูโมคาดว่า การส่งออกยางของอินโดนีเซียซึ่งส่วนใหญ่ไปยังสหรัฐ,
ญี่ปุ่น และจีนอยู่ที่
2.4 ล้านตันในปี 2007 แต่การส่งออกในปีนี้อาจจะลดลง อันเป็นผล
จากการบริโภคภายในประเทศที่สูงขึ้น --จบ--
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 17, 2008 10:29 pm
โดย phobenius
ยางพาราในอนาคต อาจจะไม่ใช่แค่ ขายแต่ยาง
แต่เราอาจจะขายความสามารถในการดูดซึม CO2 ได้เช่นกัน
ตรงนี้ตอนไปฟังงานสัมมนาที่จุฬาได้มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นมาเพื่อให้ไปถกกันในเวทีโลก เพื่อให้ กำลังการผลิตต่างๆให้หันมาใช้ยางธรรมชาติมากยิ่งขึ้น
ถ้าถึงเวลานั้น เราอาจจะไม่ใช่ผู้ค้ายางรายใหญ่ เผลอๆได้ขายสิทธิในการปล่อย CO2 เช่นกัน
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 18, 2008 9:54 am
โดย artvr4
สอบถามคุณphobenius ครับ
อยากทราบว่าเท่าที่ได้ไปฟังสัมมนา มา รัฐ และเอกชน มีนโยบายในการเพิ่มการใช้ยางธรรมชาติ ยังไงบ้างครับ ที่เป็นรูปธรรมเลย
เพราะเท่าที่ติดตามรู้สึกเรื่องจะเงียบมาก ทั้งทึ่ควร เน้น เป็นวาระของชาติเลยซะด้วยซ้ำ ไม่งั้น อีก ห้าปี นี่ หากราคาน้ำมัน ไม่อยู่ในระดับสูงแล้ว พวกเกษตรกรที่ โค่นสวน ที่นา มาปลูกยางนี่ คง น้ำตาไหลแน่ ผมเห็นแถวที่ผม บางคนเค้าโค่นสวนมาปลูกกันแล้ว ลำพังตัวผม ก็คงรายได้เสริมเท่านั้น
ส่วนเรื่องคาร์บอนเครดิต ผมว่า คงคุยกันอีกยาวครับ เท่าที่เคยอ่านข่าว ยังไม่จบเลยว่าจะขายกันยังไง แล้วผลประโยชน์นี่ใครจะได้ตกถึง ชาวสวนยางจริงหรือเปล่าก็ไม่รู้
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 18, 2008 10:03 am
โดย phobenius
ถ้าจำไม่ผิดน่าจะมีการยื่นเอกสารจากจุฬาไปตอนสิ้นปีที่แล้วครับ แต่ว่าตอนนี้เงียบกริบกลับไปเหมือนเดิมครับ เพราะผลิตภัณฑ์ที่จะใช้ยางเยอะๆที่เห็นอยู่ก็มีแต่ล้อรถนี้แหละครับ พวก ถนนยาง เอามาทำเรือ หรืออุปกรณ์การก่อสร้าง การแพทย์ ยังใช้น้อยมากเมื่อเทียบสัดส่วนล้อรถครับ
เลยตอนนี้เห็นมีแนวโน้มจะไปดึงผู้ผลิตยางล้อมาตั้งฐานเยอะๆในไทยแทนครับ ส่วนมุมมองระยะยาว อาจจมีนโยบายเรื่องโลกร้อนแล้วหันมาใช้ยางธรรมชาติในการผลิตยางล้อรถในสัดส่วนที่มากขึ้นครับ สำหรับเกษตรกรที่หันมาปลูกตอนนี้ อาจจะต้องหนักใจเหมือนกัน สำหรับอีกสองสามปีข้างหน้าครับเพราะการผลิตที่จะเกิดค่อนข้างสูงหลายๆพื้นที่ครับ ซึ่ง ตอนนั้นราคาอาจจะผันผวนได้ครับ คงยังไม่สามารถคาดการณ์ได้ตอนนี้ แต่แนวโน้มหลักๆ การใช้ยาง สหรัฐและจีนเริ่มลดลงครับ ในขณะที่โซนยุโรปปรับตัวเพิ่มขึ้นเล็กน้อย และ สหรัฐเปลี่ยนสัดส่วนการใช้ยางธรรมชาติแทนยางสังเคราะห์ในการผลิตล้อรถมากขึ้นครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ก.พ. 19, 2008 11:51 pm
โดย phobenius
ปัจจุบันการผลิตยางแผ่นรมควันเริ่มลดลง เพราะกลุ่มที่ใช้ทำยางล้อรถหันมาใช้น้ำยาง และ ยางก้นถ้วยแทน ถ้าเพื่อนๆคนไหนจะลงทุนผลิตยางแผ่นรมควันขอให้คำนึงจุดนี้ดว้ยนะครับ เพราะระยะยาวคิดว่ายางแผ่นรมควันน่าจะลดน้อยถอยลงครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.พ. 24, 2008 1:09 pm
โดย artvr4
phobenius เขียน:ปัจจุบันการผลิตยางแผ่นรมควันเริ่มลดลง เพราะกลุ่มที่ใช้ทำยางล้อรถหันมาใช้น้ำยาง และ ยางก้นถ้วยแทน ถ้าเพื่อนๆคนไหนจะลงทุนผลิตยางแผ่นรมควันขอให้คำนึงจุดนี้ดว้ยนะครับ เพราะระยะยาวคิดว่ายางแผ่นรมควันน่าจะลดน้อยถอยลงครับ
ยางรถยนต์ เค้าไม่ นิยมใช้ยางแท่งหรือครับ
แล้ว ยางแผ่นรมควัน นี่ อนาคต จะตกลงแน่นอนหรือเปล่าครับ
แถวที่อุทัย ชาวบ้านเค้า ทำแต่ยางแผ่น เห็นว่า ทางสกย จะสนับสนุนทุน ให้ทำ โรงงาย รมควัน ในรูปแบบสหกรณ์ อยู่น่ะครับ
เข้าใจว่าคุณ phobenius คงมีกิจการ ด้าน ยางพารา อีกสัก สองปี ผมคงต้องขอความรู้เยอะเลย นะครับ เพราะตอนนั้นก็คงเริ่มเปิดกรีดแล้ว
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.พ. 25, 2008 6:55 pm
โดย phobenius
อยากแนะนำว่าถ้ามีปริมาณน้ำยางเยอะ เน้นว่าขายน้ำยางดีกว่าครับ แต่ถ้าไม่มากคงทำยางแผ่นดิบก็พอครับ ส่วนรมควันลดลง เพราะยี่ปั้วเริ่มที่จะรับแต่น้ำยาง อะครับ เพราะเค้าบอกว่าออร์เดอร์ต่างประเทศลดยางแผ่นรมควันลงครับ ถ้าอย่างไรต้องเช็คดูอีกทีนะครับ ตรงนี้เป็นมุมมองระยะยาว อะครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 10:11 am
โดย artvr4
อ่านข่าวเมื่อวาน
เจ้าสัวเค้าบอกว่ายางจะไป150 บาทแน่นอน ดังนั้นเจ้าสัวหาที่ปลูกเป็นหมื่นไร่ไว้แล้ว
ส่วนตัวผมยังเห็นต่างกับเจ้าสัวนะ คงไม่ขึ้นถึงขนาดนั้น คงต้องดูราคาน้ำมันประกอบกันด้วย
คุณphobenius มีความเห็นและดูแนวโน้มยังไงครับ ในส่วนของผู้ประกอบการด้านนี้น่ะครับ
ปล ปีนี้ ปุ๋ยเคมีแพงจริงๆ ผมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ตลอดยังได้ผลกระทบเลย
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 10:24 am
โดย Akajon
เพิ่งทำสวนยางได้ปีกว่าๆ ครับ ทำที่เพชรบุรี แล้งมากครับ ต้องทำระบบน้ำด้วย
ของคุณ artvr4 ไม่ทราบว่าค่าใช้จ่ายปีแรกๆ หนักรึเปล่าครับ
ของผมทำ 60 ไร่ แบ่งเป็น 3 ส่วน ส่วนละประมาณ 20 ไร่ ค่อยๆ ทำ
เพิ่งเริ่ม 20 ไร่แรก แต่ลงไปแล้ว 600,000 กว่า รู้สึกว่ามันจะค่อนข้างเยอะครับ แบ่งเป็นค่าที่ดิน เฉพาะ 20 ไร่แรก 300,000 ที่เหลืออีก 300,000 เป็นค่าจิปาถะ
เคยอ่านเจอว่ามันควรจะน้อยกว่านี้มาก แต่เราก็ไม่ค่อยมีเวลาไปดู ที่เห็นตามข้อมูลสมาคมฯ มันจะตกปีละไม่มากเท่าที่เราทำ (ทำกับญาติครับ เค้าดูทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องคนงาน)
============================
ด้านล่างนี้เป็นข้อมูลสมาคมฯ
============================
รวมค่าใช้จ่าย ปีแรก 3,876 บาท
ค่าใช้จ่ายรวม 1-7 ปี 11,398 บาท
ข้อมูลจากการปฏิบัติจริง
โดยคำนวณจากต้นยาง 76 ต้น/ไร่ (ข้อมูล ปี 2548 )
โดยแบ่งเป็น
ค่าใช้จ่ายโดยประมาณ 1 ไร่
ขั้นตอนการปลูก
1. ไถเตรียมพื้นที่
2. ค่าวางแนวปลูก
3. ค่าเจาะหลุมปลูก
4. ต้นพันธุ์ยาง
5. ค่าขนส่งต้นยาง
6. ปุ๋ย Rock phosphate รองก้นหลุม
7. ปุ๋ยคอกรองก้นหลุม + ค่าจ้าง
8. ค่าจ้างปลูก
9. ค่ากำจัดวัชพืช + ค่าจ้าง
10. ค่าไถพื้นที่ระหว่างแถวยาง
11. ค่าปุ๋ยบำรุงต้นยาง + ค่าจ้าง
12. ค่าฟาง + ค่าจ้าง
13. ค่าจ้างทำแนวกันไฟ
14. ค่าจ้างตัดแต่งกิ่ง
รบกวนด้วยครับ ถ้าไม่สะดวก PM ได้นะครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 10:51 am
โดย artvr4
สวัสดีครับคุณ wazzu
ของผม ก็ลงหนักครับ ทำแบบ ไม่รู้เลย ยอมรับว่าโดนหลอกเยอะครับ
แต่แปลงที่สองไปคุมเองอย่างละเอียด ก็ประหยัดไปได้เยอะ
ไม่ขอบอกตัวเลยครับ แต่ 7หลัก กลางๆเกินไปหน่อยนึง
ในที่คร่าวๆ ต่อไร่ พอสรุป ก็อย่างนี้ครับ
หลุม นึง จากขุด ปลูก 10 บาท
ตอนนี้ยาง ก็ประมาณ 20 บาทแล้วต่อต้น
ปุ๋ยผมใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพครับ
กับ สารพอลีเมอร์
หากเฉลี่ยไร่นึง ต้นทุนผมประมาณ 4000กว่า ไม่รวมในส่วนพวก ค่าไถพรวนนะครับ เพราะค่าไถ มันคิดเป็นชั่วโมง
ส่วนแรงงานผมจ้างคนในพื้นที่ เค้าก็ดูแลให้หมดน่ะครับ
แลกเปลี่ยนกัน ทางนี้ดีกว่าครับ เผื่อสมาชิกท่านอื่น จะได้รับข้อมูลประสบการณ์ไปปรับ แก้ไข จะได้ประหยัดกันมากกว่านี้
ปล เรื่องปุ๋ยผมแนะนำใช้ปุ๋ยอินทรีย์ครับ ถูก และ ผลที่ได้ไม่แพ้เคมี ผมยืนยันครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 11:19 am
โดย Akajon
ของคุณ artvr4 ที่ดินเป็นโฉนด หรือพวกสิทธิทำกิน นส ทบ ครับ
ถ้าเป็นโฉนด ต่อไร่คุณ artvr4 จ่ายไปเท่าไหร่ แล้วราคาตอนนี้ประมาณเท่าไหร่ต่อไร่
แล้วที่ทำตรงนั้นแล้งรึเปล่าครับ มีต้องทำระบบน้ำด้วยรึเปล่า
ว่าจะเริ่มแปลง 2 แต่ดูแล้วค่าใช้จ่ายระบบน้ำเยอะมาก เพราะแล้ง มีซ่อมก็ค่อนข้างเยอะ แถมเป็นที่ไม่มีโฉนด เลยว่าจะออกมาทำเอง ตรงที่ไม่แล้งมากครับ
ถามเยอะหน่อยนะครับ บั้นปลายอยากเป็นชาวสวน อยู่ต่างจังหวัดครับ 555
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 12:07 pm
โดย artvr4
ที่ผมแปลงแรก เป็น ที่จับจองเรียกว่าอะไรนะ ภบพ5 ประมาณนั้นครับ
ต้องไปจ่ายภาษี รักษาสิทธิ กับทางอบต
แปลงที่สองปลูกปีที่แล้ว(ปีนี้ต้องไปปลูกซ่อม เจอแล้งตายไปพอควร)
เป็นสปก ครับ
ที่ ของผมเป็นลักษณะ ภูเขาด้วยพื้นราบด้วย บางช่วงก็ชันบอกต่อไร่ไม่ได้ครับ ก็จ่ายเหมาไป ว่าพื้นที่ขนาดนี้ จะจ่ายเท่านี้ พอใจหรือเปล่า
ก็แปลงละ ล้านครับ
ที่ภูเขาแบบผม สองแปลงเลยประมาณไม่ถูกกี่ไร่ แต่ผมนับจำนวนต้นที่ปลูกเอา ผมปลูก สองแปลงรวมกันมากกว่า หมืนต้น เฉลี่ยควรเป็นที่ดินมากกว่า130 ไร่ครับ เยอะเหนือยและคุมยากพอควร
ที่ที่ปลูก หน้าร้อนก็เรียกว่าแล้งเหมือนกันครับ เคยคิดบอกคนคุมให้ เอารถอีแต๊กคอย รดน้ำ แต่ กำนันไม่แนะนำ ครับ บอกว่าได้ไม่คุ้มเสีย ส้ให้ต้นยาง สู้กับธรรมชาติดีกว่าหากว่ารอดก็ จะแกร่งครับ ก็เห็นจริงด้วยเพราะแปลงแรกก็รอด สวยเชียว
อ้อ ผมให้เค้ามาปลูกสัปปะรด ระหว่างร่องครับ ก็คงช่วยเรื่องเก็บกักความชื้นได้ครับ แปลงแรกผม นี่สัปปะรดลงเต็ม ต้นยางโตดีมาแ แต่แปลงหลัง ไม่เต็มครับ ยางเลยตายเยอะ
หากปีนี้ปลูกใหม่ เอาแนะนำให้ เอาสาร พอลิเมอร์น่ะครับ หาซื้อตามร้านค้า เกษตร ปู๋ย ใหญ่ๆน่าจะมี เป็นพวกสารอุ้มน้ำ
กิโลนึง นี่ใส่ ถัง พันลิตร ยังอืดเลยครับ เหมือนมันจะดูดน้ำเหมือนพวก เยอลลี่ พวกนี้อยู่ทน ครับ ผมปลูก ไป สามเดือน มาซ๋อม ขุดไปดู มันยังอยู่เลย
มีพวกนี้ แก้ปัญหา ยางแล้งได้ในช่วงยางยังอ่อนครับ
หลุมปลูก บังคับให้เค้าขุดให้ลึกหน่อย ใส่ไปเลยหลุมละ สองขันก็ได้
การใส่ควรใส่ปุ๋ยก่อน แล้วตามด้วยพอลิเมอร์ ครับ
ถามได้เรื่อยๆครับ อันไหน ตอบได้จะตอบ แลกเปลี่ยนมุมมองกัน
ยอมรับว่าคุมนี่เหนือยมาก ปีนี้ ผมกะจะเริ่มทำตอน มิถุนายนครับ รอฝนชัวร์ๆก่อน ถึงคอ่ยซ๋อม เสร็จปี นี้แล้ว ก็ซ่อมไม่ได้แล้ว รอเก็บเกี่ยวอย่างเดียวครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 23, 2008 2:34 pm
โดย Akajon
ขอบคุณสำหรับข้อมูลนะครับ

ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 28, 2008 5:53 pm
โดย tanya
ผมว่าผมหายไปค่อนข้างจะนานเลยนะครับ เดือนหน้าจะเริ่มกรีดแล้ว เข้ามาอัพเดทกันหน่อย
ขอเสริม แต่ละเรื่องที่ท่านคุยกันหน่อยนะครับ เผื่อจะเป็นระโยชน์
20 ไร่ 300,000 น่ะ ผมว่าโอเคมากนะครับ แต่ค่าจิปาถะเยอะจังคับ ผมว่าต้นทุนไร่นึงควรจะประมาณ 3,000-4,000 อะคับ (88 ต้นต่อไร่) แต่ผมเคยคิด IRR ที่ 27 ปี ถ้าที่ดินราคา 20,000 บาทต่อไร่ ก็ยังได้ตั้ง 18% นะครับ
แต่ปัญหาตอนนี้หนักที่ cost ในการจ้างคนกรีดและดูแลอ่ะครับ ปัจจุบันบ้านผมจ้างแบบ 50:50 แต่เราออกค่าปุ๋ย
ซึ่งอยากลด cost ตรงนี้มากๆ ไม่ทราบว่าท่านอื่นๆที่ไม่ได้กรีดเองมีวิธีการบริหารอย่างไรครับ ไอเดียผม (ถ้าเวิร์คนะคับ) พยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านแถวๆนั้นกรีดยางเป็น โดยเป็นอาชีพเสริมนอกเนื้อจากการทำนาและเลี้ยงสัตว์ ถ้ามีคนทำเป็นเยอะ เราก็ไม่ต้องง้อเหมือนปัจจุบัน แล้วเราก็บริหารจัดการ คล้ายๆบริษัท มีลูกจ้างประจำที่ ลูกจ้างชั่วคราว แต่เราก็อาจจะ เหนื่อยหน่อยในช่วงแรกๆ ไอเดียอย่างนี้เป็นไงครับ มีใครมีไอเดียอื่นรึเปล่า
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 28, 2008 7:36 pm
โดย MindTrick
tanya เขียน:ผมว่าผมหายไปค่อนข้างจะนานเลยนะครับ เดือนหน้าจะเริ่มกรีดแล้ว เข้ามาอัพเดทกันหน่อย
ขอเสริม แต่ละเรื่องที่ท่านคุยกันหน่อยนะครับ เผื่อจะเป็นระโยชน์
20 ไร่ 300,000 น่ะ ผมว่าโอเคมากนะครับ แต่ค่าจิปาถะเยอะจังคับ ผมว่าต้นทุนไร่นึงควรจะประมาณ 3,000-4,000 อะคับ (88 ต้นต่อไร่) แต่ผมเคยคิด IRR ที่ 27 ปี ถ้าที่ดินราคา 20,000 บาทต่อไร่ ก็ยังได้ตั้ง 18% นะครับ
แต่ปัญหาตอนนี้หนักที่ cost ในการจ้างคนกรีดและดูแลอ่ะครับ ปัจจุบันบ้านผมจ้างแบบ 50:50 แต่เราออกค่าปุ๋ย
ซึ่งอยากลด cost ตรงนี้มากๆ ไม่ทราบว่าท่านอื่นๆที่ไม่ได้กรีดเองมีวิธีการบริหารอย่างไรครับ ไอเดียผม (ถ้าเวิร์คนะคับ) พยายามส่งเสริมให้ชาวบ้านแถวๆนั้นกรีดยางเป็น โดยเป็นอาชีพเสริมนอกเนื้อจากการทำนาและเลี้ยงสัตว์ ถ้ามีคนทำเป็นเยอะ เราก็ไม่ต้องง้อเหมือนปัจจุบัน แล้วเราก็บริหารจัดการ คล้ายๆบริษัท มีลูกจ้างประจำที่ ลูกจ้างชั่วคราว แต่เราก็อาจจะ เหนื่อยหน่อยในช่วงแรกๆ ไอเดียอย่างนี้เป็นไงครับ มีใครมีไอเดียอื่นรึเปล่า
ไอเดียน่าสนนะครับ
ยิ่งคนทำเป็นเยอะ เคาจะแข่งกันเองด้วย เราก็สบาย ไม่ง้อพวกเล่นตัว อิอิ
คงต้องคิดต่อ ต้องวางคนให้ดี มาตามวันเวลาที่กำหนด มีวินัย
กรีดยางฝึกกันง่ายนะ ผมลองมาละ :lol:
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 28, 2008 10:35 pm
โดย artvr4
[quote="tanya"]ผมว่าผมหายไปค่อนข้างจะนานเลยนะครับ เดือนหน้าจะเริ่มกรีดแล้ว เข้ามาอัพเดทกันหน่อย
ขอเสริม แต่ละเรื่องที่ท่านคุยกันหน่อยนะครับ เผื่อจะเป็นระโยชน์
20 ไร่ 300,000 น่ะ ผมว่าโอเคมากนะครับ แต่ค่าจิปาถะเยอะจังคับ ผมว่าต้นทุนไร่นึงควรจะประมาณ 3,000-4,000 อะคับ (88 ต้นต่อไร่) แต่ผมเคยคิด IRR ที่ 27 ปี ถ้าที่ดินราคา 20,000 บาทต่อไร่
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 02, 2008 3:52 pm
โดย S&K Fund
เข้ามาอ่านด้วยคนนะครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ค. 09, 2008 11:57 am
โดย phobenius
สงขลาฝนตกบ่อยมาก ช่วงนี้ยังไม่ได้เริ่มกรีดเลยครับ
ปลูก ยางพารา เชิญเข้ามาแชร์ข้อมูลกันนะครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ค. 15, 2008 5:33 pm
โดย oioh
ผมคนหนึ่งที่บ้านก็ปลูกเหมือนกันครับ ได้ 2 ปีแล้วครับ
เห็นกระทู้นี้แล้วดีใจมาก จริงๆ ถ้าเปิดเป็นหมวดย่อยๆเล็กๆ เกี่ยวกับยางก็ดีนะครับ :oops: