modern trade and household
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news20/07/07
โพสต์ที่ 31
B2Sขี่กระแสแฮร์รี่ [ ฉบับที่ 811 ประจำวันที่ 18-7-2007 ถึง 20-7-2007]
>> อัดอีเวนต์ทุกสาขาจุดพลุ The Magic
สยามธุรกิจ - บีทูเอสหน้าบานหว่าน 3 ล้านจัดงาน The Magic of Harry Potter#7 @ B2S เอาใจสาวกคนรักแฮร์รี่ พอตเตอร์ คาดยอดขายทะลุ 50 ล้านบาท ขณะเดียวกัน บีทูเอสได้เฮ! หลังยอดขายโต 17% สวนกระแสเศรษฐกิจ พร้อมเดินหน้าขยายสาขา เพิ่มอีก 5 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คาดสิ้นปีมีสาขาครบ 135 สาขา ตั้งเป้าสิ้นปียอดขายโต 18%
นางสาวนันทวรรณ สุวรรณเดช ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัท บีทูเอส จำกัด เปิดเผยกับ สยามธุรกิจ ว่า ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทมีอัตราการเติบโตของยอดขายเป็นที่น่าพอใจ สำหรับปัจจัยที่ทำให้มีอัตราการเติบโต
ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากผู้บริโภคปัจจุบันนิยมเข้าร้านหนังสือเพื่อมาหาซื้อหนังสืออ่านมากขึ้น โดยเฉพาะหนังสือที่สร้างความบันเทิง คลายเครียด และหนังสือในการประกอบธุรกิจในยุควิกฤติของประเทศด้วย ขณะเดียวกันลูกค้าบางกลุ่มที่เข้ามาก็มาซื้อสินค้าจำพวกเพลง ภาพยนตร์ อุปกรณ์เครื่องเขียน และของที่ระลึกจากภาพยนตร์ต่างๆ เหตุนี้จึงทำให้ยอดขายของบริษัทมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเติบโตที่สวนกระแสกับเศรษฐกิจในยุคนี้ เป็นอย่างมาก
รวมไปถึงการจัดกิจกรรมให้ลูกค้าร่วมสนุกเพื่อสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้กับลูกค้ากันอย่างหนัก แต่ทั้งนี้บริษัทก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากร้านหนังสือ แต่ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็ยอมรับว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะจำเป็นจะต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นางสาวนันทวรรณ กล่าว
ปัจจุบันร้านหนังสือบีทูเอสเปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 130 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 78 สาขา และต่างจังหวัด 44 สาขา สำหรับสาขาที่อยู่ในห้างโรบินสัน, เซ็นทรัล และท็อปส์ มีทั้งทั่วประเทศประมาณ 85 สาขา และร้านที่เป็นแบบสแตนด์อะโลน 36 สาขา รวมไปถึงสาขา ที่อยู่ในรูปแบบ network ประมาณ 9 สาขา
นอกจากนี้ บริษัทก็มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่ม โดยในช่วงต้นปีบริษัทได้วางแผนที่จะเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีก 10 สาขา แต่ขณะนี้เหลือเพียง 5-6 สาขา เนื่องจากต้องการทำสาขาที่เปิดใหม่ให้ประสบความสำเร็จก่อน ก่อน ที่จะขยายต่อไปเรื่อยๆ โดยในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาได้เปิดไปแล้ว 3 สาขา และอีกครึ่งปีหลังจะเปิดเพิ่มอีก 2-3 สาขา โดยจะมีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คาดว่าสิ้นปีร้านหนังสือบีทูเอสมีสาขารวมทั้งสิ้น 135 สาขา ทั้งนี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ในส่วนของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้านหนังสือบีทูเอสทั่วประเทศเฉลี่ย 1.5 ล้านบิลต่อเดือน
สำหรับยอดขายในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 17% โดยสัดส่วนรายได้แบ่งเป็น หนังสือ 40%, อุปกรณ์ การเรียน และของที่ระลึก 40% และสินค้าเพื่อ ความบันเทิง 20% ทั้งนี้ตั้งเป้าทั้งปีคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของยอดขายประมาณ 15-18%
นางสาวนันทวรรณ กล่าวว่า สำหรับในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้บริษัทได้ทำการจัดแคมเปญ The Magic of Harry Potter#7 @ B2S เพื่อเป็นการส่งท้ายหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มสุดท้าย โดยกิจกรรมดังกล่าวบีทูเอสใช้งบลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อจัดกิจกรรมให้สาวกแฮร์รี่ได้ร่วมสนุก
สำหรับแคมเปญ The Magic of Harry Potter#7@B2S บริษัทได้มีการจัดมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยได้เริ่มมีการเปิดให้ลูกค้า สามารถสั่งจองหนังสือแฮร์รี่ พ็อตเตอร์เล่มสุดท้ายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจากการเปิดให้จองมาตลอด 6 เดือนมียอด สั่งจองแล้วประมาณ 3.5 พันเล่ม โดยในปีนี้บริษัทได้มีการนำเอาหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ตอนสุดท้ายเข้ามาประมาณ 8 หมื่นเล่ม แบ่งเป็นภาคภาษาอังกฤษ 1.5 หมื่นเล่ม และภาคภาษาไทยประมาณ 6.5 หมื่นเล่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตอนที่ 6 ที่ได้มีการสั่งเข้ามาประมาณ 6 หมื่นเล่ม
โดยการสั่งเพิ่มขึ้นมามากกว่าตอนที่แล้ว เนื่องจากเล่มนี้เป็นการบอกสรุปจบเรื่องราวต่างๆ ทำให้มีลูกค้าทั้งที่เป็นสาวกของแฮร์รี่ พอตเตอร์หรือลูกค้าทั่วไปมีความสนใจและอยากรู้มากขึ้น ซึ่งบริษัทได้มีการเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งบริษัทได้มีการจำหน่ายในราคาพิเศษ 850 บาท จากราคาปกติหน้าปก 1,195 บาท ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าในเรื่องยอดขาย ไว้ที่ประมาณ 60-70 ล้านบาทสำหรับแฮร์รี่ พอต เตอร์ ที่จะมีการนำเอาหนังสือทั้งภาคไทย และ ภาษาอังกฤษ, แผ่นซีดีและวีซีดีเพลงและภาพยนตร์ และของที่ระลึก ขณะที่ตัวหนังสือคาดว่าจะมียอดขายทั้ง 2 ภาคเกิน 8 หมื่นเล่ม
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4855
>> อัดอีเวนต์ทุกสาขาจุดพลุ The Magic
สยามธุรกิจ - บีทูเอสหน้าบานหว่าน 3 ล้านจัดงาน The Magic of Harry Potter#7 @ B2S เอาใจสาวกคนรักแฮร์รี่ พอตเตอร์ คาดยอดขายทะลุ 50 ล้านบาท ขณะเดียวกัน บีทูเอสได้เฮ! หลังยอดขายโต 17% สวนกระแสเศรษฐกิจ พร้อมเดินหน้าขยายสาขา เพิ่มอีก 5 สาขาทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คาดสิ้นปีมีสาขาครบ 135 สาขา ตั้งเป้าสิ้นปียอดขายโต 18%
นางสาวนันทวรรณ สุวรรณเดช ผู้ช่วย กรรมการผู้จัดการ ฝ่ายการตลาด บริษัท บีทูเอส จำกัด เปิดเผยกับ สยามธุรกิจ ว่า ครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทมีอัตราการเติบโตของยอดขายเป็นที่น่าพอใจ สำหรับปัจจัยที่ทำให้มีอัตราการเติบโต
ที่เพิ่มขึ้นนั้นมาจากผู้บริโภคปัจจุบันนิยมเข้าร้านหนังสือเพื่อมาหาซื้อหนังสืออ่านมากขึ้น โดยเฉพาะหนังสือที่สร้างความบันเทิง คลายเครียด และหนังสือในการประกอบธุรกิจในยุควิกฤติของประเทศด้วย ขณะเดียวกันลูกค้าบางกลุ่มที่เข้ามาก็มาซื้อสินค้าจำพวกเพลง ภาพยนตร์ อุปกรณ์เครื่องเขียน และของที่ระลึกจากภาพยนตร์ต่างๆ เหตุนี้จึงทำให้ยอดขายของบริษัทมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นการเติบโตที่สวนกระแสกับเศรษฐกิจในยุคนี้ เป็นอย่างมาก
รวมไปถึงการจัดกิจกรรมให้ลูกค้าร่วมสนุกเพื่อสร้างแบรนด์ลอยัลตี้ให้กับลูกค้ากันอย่างหนัก แต่ทั้งนี้บริษัทก็ถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่ผู้บริโภคจะได้รับประโยชน์จากร้านหนังสือ แต่ในส่วนของผู้ประกอบการเองก็ยอมรับว่าต้องทำงานหนักมากขึ้น เพราะจำเป็นจะต้องมียอดขายที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง นางสาวนันทวรรณ กล่าว
ปัจจุบันร้านหนังสือบีทูเอสเปิดให้บริการแล้วทั้งหมด 130 สาขา แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 78 สาขา และต่างจังหวัด 44 สาขา สำหรับสาขาที่อยู่ในห้างโรบินสัน, เซ็นทรัล และท็อปส์ มีทั้งทั่วประเทศประมาณ 85 สาขา และร้านที่เป็นแบบสแตนด์อะโลน 36 สาขา รวมไปถึงสาขา ที่อยู่ในรูปแบบ network ประมาณ 9 สาขา
นอกจากนี้ บริษัทก็มีแผนที่จะขยายสาขาเพิ่ม โดยในช่วงต้นปีบริษัทได้วางแผนที่จะเปิดสาขาใหม่เพิ่มอีก 10 สาขา แต่ขณะนี้เหลือเพียง 5-6 สาขา เนื่องจากต้องการทำสาขาที่เปิดใหม่ให้ประสบความสำเร็จก่อน ก่อน ที่จะขยายต่อไปเรื่อยๆ โดยในช่วงครึ่งปีแรกที่ผ่านมาได้เปิดไปแล้ว 3 สาขา และอีกครึ่งปีหลังจะเปิดเพิ่มอีก 2-3 สาขา โดยจะมีทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด คาดว่าสิ้นปีร้านหนังสือบีทูเอสมีสาขารวมทั้งสิ้น 135 สาขา ทั้งนี้เพื่อให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้อย่างทั่วถึง ทั้งนี้ในส่วนของลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในร้านหนังสือบีทูเอสทั่วประเทศเฉลี่ย 1.5 ล้านบิลต่อเดือน
สำหรับยอดขายในครึ่งปีแรกที่ผ่านมาบริษัทมีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 17% โดยสัดส่วนรายได้แบ่งเป็น หนังสือ 40%, อุปกรณ์ การเรียน และของที่ระลึก 40% และสินค้าเพื่อ ความบันเทิง 20% ทั้งนี้ตั้งเป้าทั้งปีคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตของยอดขายประมาณ 15-18%
นางสาวนันทวรรณ กล่าวว่า สำหรับในช่วงเดือนกรกฎาคมนี้บริษัทได้ทำการจัดแคมเปญ The Magic of Harry Potter#7 @ B2S เพื่อเป็นการส่งท้ายหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์เล่มสุดท้าย โดยกิจกรรมดังกล่าวบีทูเอสใช้งบลงทุนประมาณ 3 ล้านบาท เพื่อจัดกิจกรรมให้สาวกแฮร์รี่ได้ร่วมสนุก
สำหรับแคมเปญ The Magic of Harry Potter#7@B2S บริษัทได้มีการจัดมาตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา โดยได้เริ่มมีการเปิดให้ลูกค้า สามารถสั่งจองหนังสือแฮร์รี่ พ็อตเตอร์เล่มสุดท้ายในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา และจากการเปิดให้จองมาตลอด 6 เดือนมียอด สั่งจองแล้วประมาณ 3.5 พันเล่ม โดยในปีนี้บริษัทได้มีการนำเอาหนังสือ แฮร์รี่ พอตเตอร์ตอนสุดท้ายเข้ามาประมาณ 8 หมื่นเล่ม แบ่งเป็นภาคภาษาอังกฤษ 1.5 หมื่นเล่ม และภาคภาษาไทยประมาณ 6.5 หมื่นเล่ม ซึ่งเพิ่มขึ้นจากตอนที่ 6 ที่ได้มีการสั่งเข้ามาประมาณ 6 หมื่นเล่ม
โดยการสั่งเพิ่มขึ้นมามากกว่าตอนที่แล้ว เนื่องจากเล่มนี้เป็นการบอกสรุปจบเรื่องราวต่างๆ ทำให้มีลูกค้าทั้งที่เป็นสาวกของแฮร์รี่ พอตเตอร์หรือลูกค้าทั่วไปมีความสนใจและอยากรู้มากขึ้น ซึ่งบริษัทได้มีการเริ่มวางจำหน่ายอย่างเป็นทางการไปแล้วเมื่อวันที่ 21 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งก็ได้รับการตอบรับจากลูกค้าเป็นอย่างดี ซึ่งบริษัทได้มีการจำหน่ายในราคาพิเศษ 850 บาท จากราคาปกติหน้าปก 1,195 บาท ทั้งนี้ บริษัทตั้งเป้าในเรื่องยอดขาย ไว้ที่ประมาณ 60-70 ล้านบาทสำหรับแฮร์รี่ พอต เตอร์ ที่จะมีการนำเอาหนังสือทั้งภาคไทย และ ภาษาอังกฤษ, แผ่นซีดีและวีซีดีเพลงและภาพยนตร์ และของที่ระลึก ขณะที่ตัวหนังสือคาดว่าจะมียอดขายทั้ง 2 ภาคเกิน 8 หมื่นเล่ม
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... ws_id=4855
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news21/07/07
โพสต์ที่ 32
สำรวจทัพโมเดิร์นเทรด ส่งโมเดลใหม่ยึดพื้นที่ เย้ยกม.ค้าปลีกไม่คืบหน้า
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 กรกฎาคม 2550 12:24 น.
สำรวจทัพโมเดิร์นเทรด เคลื่อนพลเย้ยกฎหมายค้าปลีกไทยที่ยังเงื้อง่าราคาแพงไปไม่ถึงไหน ปรับตัวพร้อมส่งโมเดลใหม่ๆลงตลาดค้าปลีก ออกอาละวาดไม่หยุด ทั้งเปิดตัวแบบใหม่และปรับแบบเดิมให้เปลี่ยนหน้าตาไปอีกแบบ
ขณะที่ภาพของบรรดาพ่อค้าแม่ขายและประชาชนชาวอ่างทองจำนวน 5,000 คนกำลังเดินขบวนถือป้ายประท้วงการเข้ามาเปิดสาขาของห้างเทสโก้โลตัส ที่จะก่อสร้างขึ้นบริเวณถนนสายเอเชีย ห่างจากเขตเทศบาลเมืองอ่างทองเพียง 2.5 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่อีกภาพหนึ่งบรรดาโมเดิร์นเทรดกำลังเคลื่อนทัพเข้ายึดพื้นที่ค้าปลีกทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดในรูปแบบต่างๆ ก่อนที่ พ.ร.บ.ธุรกิจค้าส่ง พ.ศ....จะประกาศใช้ ซึ่งกว่าจะประกาศใช้ก็เชื่อว่าบรรดาค้าปลีกของไทยก็คงจะล้มหายตายจากไปมากแล้ว ด้วยจนถึงวันนี้การพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไปไม่ถึงไหน
ดังจะเห็นได้จาก ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ออกมายอมรับทำนองว่า ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหนเลย ล่าสุด ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของทางกฤษฎีกา ซึ่งเพิ่งจะพิจารณาในประเด็นเดียวคือ มาตรา 4 ที่ระบุถึงคำนิยามธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเท่านั้น และยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ด้วย
หรือแม้แต่กรณีที่มีหลายจังหวัดที่ยังไม่ให้ความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยที่สั่งการไปยังแต่ละจังหวัดเพื่อให้ส่งร่างประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การขยายสาขาของห้างค้าปลีกค้าส่งให้กับกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อออกเป็นประกาศห้ามใช้จำนวน 7 จังหวัดคือ ลำพูน นครศรีธรรมราช อยุธยา สระแก้ว ระยอง นครพนม พัทลุง
ตรงนี้เองที่ทำให้หวาดกลัวกันว่า การขยายสาขาของกลุ่มโมเดิร์นเทรดในปีนี้จะมีความรวดเร็วมากกว่าปีก่อนๆ ซึ่งคาดว่าอัตราการขยายตัวจะทะลุ 30% จากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 28%
ผู้จัดการรายสัปดาห์ สำรวจกลุ่มโมเดิร์นเทรดรวมทั้งกลุ่มค้าปลีกรายใหญ่ที่มีความเคลื่อนไหวและเคลื่อนทัพอย่างน่าติดตามในห้วงจังหวะที่ กฎหมายค้าปลีกไทยย่ำเท้าอยู่กับที่
เทสโก้ซุ่มเปิดโมเดลใหม่
ต้องพุ่งเป้าหมายไปที่ที่เทสโก้โลตัสเป็นรายแรกเพราะถือเป็นค่ายใหญ่ที่แทบจะกุมชะตาธุรกิจโมเดิร์นเทรดในไทยไว้
ประเด็นที่น่าจับตามองคือ ข่าวความเคลื่อนไหวที่เทสโก้โลตัสจะเปิดตัวโมเดลใหม่ในรูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์ซึ่งถือเป็นเซ็กเมนท์ที่เฟื่องฟูอย่างมากในตลาดค้าปลีกไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด คาดว่าจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกับคอมมูนิตี้มอล์ทั่วๆไป ที่เฉลี่ย 2-4 ไร่ และจะเปิดสาขากระจายอยู่ตามย่านชานเมืองก่อนเพื่อเป็นการทดลองตลาด
ว่ากันว่าสาขาแรกจะเผยโฉมได้บริเวณรังสิต-นครนายก ด้วยย่านนั้นก็มีเทสโก้โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์เปิดแล้วเช่นกัน
รูปแบบดังกล่าวนี้คนในวงการประเมินว่าน่าจะลงทุนไม่ต่ำกว่า 25-30 ล้านบาทต่อสาขา และแน่นอนว่าเทสโก้โลตัสจะต้องนำเอาค้าปลีกของตนเองมาเปิดบริการด้วยคือเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสที่จะเป็นแม่เหล็กผสมผสานกับร้านค้าแบรนด์เนมต่างๆเข้ามาเปิดบริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก เพราะเทสโก้โลตัสก็มีพันธมิตรอยู่แล้วหลายรายกับแบรนด์เนมชั้นนำจำนวนมากที่เปิดอยู่ในพื้นที่พลาซ่าของเทสโก้โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ เพียงแต่ว่าจะเลือกรายใดให้เหมาะสมกับตลาดและทำเลเท่านั้นเอง
ปัจจุบันเทสโก้มีธุรกิจหลายรูปแบบในไทยคือ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ประมาณ 60 กว่าสาขา ร้านคุ้มค่า มีประมาณ 16 สาขา ตลาดสดโลตัสมีประมาณ 20 กว่าแห่ง และเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสซึ่งมีเกือบ 200 สาขาแล้ว ซึ่งตัวสุดท้ายนี้น่ากลัวที่สุดเพราะขยายสาขาอย่างรวดเร็วมากทั้งสแตนด์อโลนและเปิดในปั๊มพันธมิตรค่ายเอสโซ่
บิ๊กซีโหมมินิบิ๊กซี
ทางฟากบิ๊กซีคู่แข่งสำคัญ ก็มีความชัดเจนแล้วว่า จะขยายการลงทุนในรูปแบบมินิบิ๊กซีมากขึ้นควบคู่กับแบบมาตรฐานเดิม หลังจากที่ได้เปิดบริการทดลองสาขาแรกมาแล้วที่ซอยอุดมสุขมาเกือบปี แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงของการทดลองก็ตาม แต่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีจากการตอบรับ ขณะที่
จริยา จิราธิวัฒน์ รองประธาน ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวก่อนหน้านี้ว่า บริษัทฯจะปรับร้านลีดเดอร์ไพร์ซบายบิ๊กซีทั้งหมดที่มี 5 สาขา ให้เป็นร้านมินิบิ๊กซี
ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเตรียมการทั้งรูปแบบและวิธีการดำเนินงาน โดยจะมีการปรับเปลี่ยนร้านลีดเดอร์ไพร้ซ ทั้งหมด 5 สาขาปัจจุบันคือ สาขานวนคร เสนานิคม ประชาสงเคราะห์ สุขุมวิท และวงเวียนใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตรต่อสาขา ถือว่าอยู่ในขนาดที่พอดีๆ ที่จะเข้าไปรุกในพื้นที่ชุมชน
ส่วนร้านลีดเดอร์ไพร้ซ์ที่บิ๊กซีจะเลิกแล้วแน่นอน หลังจากที่ทดลองทำมานานหลายปีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นธุรกิจร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าเฮาส์แบรนด์ของบิ๊กซีเท่านั้น แม้ว่าช่วงหลังจะปรับตัวด้วยการนำคำว่า บาย บิ๊กซี มาต่อท้ายชื่อร้าน เพื่อสร้างความมั่นใจและการันตีให้ผู้บริโภครู้ว่าเป็นของใคร อีกทั้งการปรับเปลี่ยนนำเอาสินค้าของซัปพลายเออร์เข้ามาวางขายด้วยแทนจากเดิมที่จำหน่ายแต่เฮาส์แบรนด์ แต่เป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยยังไม่ตอบรับจึงต้องเลิกไปในที่สุด
มินิบิ๊กซีจะเป็นอีกอาวุธใหม่ของบิ๊กซีที่จะเข้ามาประกาศสงครามในสนามค้าปลีกขนาดย่อมที่ต้องมาชนกับเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส หรือ ท็อปส์เดลี่ หรือแม้แต่ ร้าน 999 ของกลุ่มซีพีที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานนี้
คาร์ฟูร์ลดไซส์ชูภาพพรีเมี่ยม
ขณะที่ทางคาร์ฟูร์ยักษ์โมเดิร์นเทรดไฮเปอร์มาร์เก็ตอันดับสามก็ปรับทิศทางรุกใหม่อีกครั้งล่าสุดกับการเปิดตัวโมเดลใหม่ที่สาขาพัทยา
ฟิลิปป์ โบรยานิโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารคาร์ฟูร์ เปิดเผยว่า คาร์ฟูร์มีนโยบายปรับเปลี่ยนคาร์ฟูร์ให้เป็นดิสเคาท์สโตร์โฉมใหม่ หรือ พรีเมียมไฮเปอร์มาร์เก็ต ด้วยการปรับสินค้า บริการ ดึงแบรนด์เนมร่วมออกร้านเพื่อดึงดูดลูกค้าและสร้างความแตกต่าง นอกจากนี้ยังปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ไม่ได้สนใจเรื่องราคาอย่างเดียว แต่ต้องการสินค้าและบริการหลากหลายที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ด้วย
สาขาโฉมใหม่ล่าสุดเปิดที่ชลบุรี เดือนเมษายน 2550 ด้วยงบลงทุนทั้งสิ้น 400 ล้านบาท ถือได้ว่าเป็นสาขาต้นแบบของพรีเมียมไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบตามคอนเซ็ปต์ที่ได้วางไว้ โดยมีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตรจากขนาดปกติทั่วไปของไฮเปอร์มาร์เก็ตซึ่งพื้นที่อยู่ระหว่าง 8,000 10,000 ตารางเมตร แต่มีสินค้าเพิ่มมากขึ้นจากสาขาปกติกว่า 10,000 เอสเคยู จากสาขาปกติในปัจจุบันมีสินค้าเฉลี่ย 40,000 เอสเคยู
เท่ากับว่าโฉมใหม่ของคาร์ฟูร์จากนี้ไปจะเน้นที่ขนาดกะทัดรัดอย่างที่ชลบุรีแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำรายได้ต่อพื้นที่ขายได้มากขึ้น และยังเป็นการสร้างภาพพจน์ขึ้นเป็นค้าปลีกระดับบน เพื่อหวังต่อกรกับทางดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ซึ่งหลังจากที่เปิดบริการเพียง 2 เดือน พบว่าสาขาใหม่นี้มียอดขายต่อพื้นที่สูงสุดจากสาขาทั้งหมด 25 สาขา
รูปแบบดังกล่าวจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาคาร์ฟูร์สาขาใหม่ๆ รวมถึงการนำไปปรับใช้กับคาร์ฟูร์เดิมทุกแห่งด้วย ตั้งงบประมาณในการปรับรูปแบบ 15 ล้านบาท ต่อสาขา และสาขาที่เปิดใหม่จะเป็นรูปแบบนิวคอนเซ็ปต์ทั้งหมด มีพื้นที่เฉลี่ย 4,000-6,000 ตารางเมตร สาขาต่อไปจะเปิดที่ถนนพระราม 2 มีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร เป็นสาขาแรกในเดือนพฤศจิกายน นี้ และจะเปิดอีก 2 สาขาใหม่ รวมเป็น 28 สาขา
กลุ่มซีพีผุดร้าน999
กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ แม้ว่าจะมีร้าน 7-อีเลฟเว่นเป็นอาวุธที่สำคัญก็ตาม แต่ด้วยการเติบโตที่รวดเร็วของเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสทำให้ต้องปรับตัวพร้อมหาอาวุธใหม่เข้ามาเสริมทัพอีก นี่คือเหตุผลที่กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการทดลองเปิดตัว ร้าน999 หรือร้านไนน์ไนน์ไนน์ สาขาแรกเผยโฉมไปแล้วที่บริเวณการเคหะร่มเกล้าเป็นตึกแถว 3 คูหา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา
รูปแบบของร้านไนน์ไนน์ไนน์นี้ จะเป็นร้านที่เน้นการจำหน่ายสินค้าอาหาร และของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจะเน้นการขายอาหารแช่แข็งและอาหารพร้อมทานแบรนด์ของซีพีเองกับของพันธมิตรด้วยและยังมีที่นั่งทานอาหารด้วยจำนวนหนึ่ง
น่าสังเกตที่ว่าสาขาแรกนี้ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกับร้านเทสโลตัสเอ็กซ์เพรสเท่าไร ถือเป็นการประกาศนัยว่า พร้อมที่จะสู้รบปรบมือกับเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสแล้ว
กลุ่มเป้าหมายของร้านไนน์ไนน์ไนน์เน้นทั้งเอนด์ยูสเซอร์และผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ประกอบธุรกิจ
แม้ว่าผู้บริหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์เองก็ยังปิดตัวเงียบไม่เผยความชัดเจนและนโยบายต่อธุรกิจดังกล่าวออกมา แต่ด้วยความที่เป็นเครือข่ายในกลุ่มของซีพี ความน่าสะพรึงกลัวย่อมไม่ธรรมดาแน่ๆ
จัสโก้ปรับสู่แม็กซ์แวลูลุย 24 ชั่วโมง
จัสโก้ในช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนจะอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจใหม่จึงหายเงียบไปนาน ขณะนี้มีข่าวว่าทางบริษัท สยามจัสโก้ จำกัด ผู้บริหารจัสโก้ในไทย พร้อมแล้วที่จะเปิดเกมรุก โดยอิงไปกับความแข็งแกร่งของบริษัทแม่คือ อิออนกรุ๊ป เข้ามาเป็นฐานในการสร้างธุรกิจใหม่
สิ่งที่ปรากฎขึ้นคือ มีแนวโน้มว่าทางจัสโก้จะปรับเปลี่ยนจัสโก้ในไทยให้เป็น (MAX VALUE) และเปิดบริการ 24 ชั่วโมงทั้งหมด ที่ผ่านมาทดลองเปิด 24 ชั่วโมงและปรับปรุงไปแล้วเช่น ศรีนครินทร์ รังสิตคลอง2 ประชาอุทิศ และเตรียมจะปรับสาขาเดิมให้เป็นแม็กซ์แวลู เปิด 24 ชั่วโมง อีก 4 สาขาด้วย
เป็นการเคลื่อนทัพของยักษ์ใหญ่โมเดิร์นเทรดที่ยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ซะแล้ว กว่าที่กฎหมายค้าปลีกจะออกมาประกาศใช้ แน่นอนว่ายักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ย่อมสยายปีกออกไปครอบคลุมพื้นที่แทบทุกตารางเมตรจนไม่มีพื้นที่ว่างให้ค้าปลีกพันธุ์ไทยได้ยืนอยู่ แล้วโชห่วยไทยจะแข่งขันบนแผ่นดินที่เป็นบ้านเกิดของตนเองนี้ได้อย่างไร
http://www.manager.co.th/mgrWeekly/View ... 0000084184
โดย ผู้จัดการรายสัปดาห์ 21 กรกฎาคม 2550 12:24 น.
สำรวจทัพโมเดิร์นเทรด เคลื่อนพลเย้ยกฎหมายค้าปลีกไทยที่ยังเงื้อง่าราคาแพงไปไม่ถึงไหน ปรับตัวพร้อมส่งโมเดลใหม่ๆลงตลาดค้าปลีก ออกอาละวาดไม่หยุด ทั้งเปิดตัวแบบใหม่และปรับแบบเดิมให้เปลี่ยนหน้าตาไปอีกแบบ
ขณะที่ภาพของบรรดาพ่อค้าแม่ขายและประชาชนชาวอ่างทองจำนวน 5,000 คนกำลังเดินขบวนถือป้ายประท้วงการเข้ามาเปิดสาขาของห้างเทสโก้โลตัส ที่จะก่อสร้างขึ้นบริเวณถนนสายเอเชีย ห่างจากเขตเทศบาลเมืองอ่างทองเพียง 2.5 กิโลเมตร เมื่อวันที่ 17 ก.ค. ที่ผ่านมา แต่อีกภาพหนึ่งบรรดาโมเดิร์นเทรดกำลังเคลื่อนทัพเข้ายึดพื้นที่ค้าปลีกทั้งในเขตกรุงเทพฯ ปริมณฑล และต่างจังหวัดในรูปแบบต่างๆ ก่อนที่ พ.ร.บ.ธุรกิจค้าส่ง พ.ศ....จะประกาศใช้ ซึ่งกว่าจะประกาศใช้ก็เชื่อว่าบรรดาค้าปลีกของไทยก็คงจะล้มหายตายจากไปมากแล้ว ด้วยจนถึงวันนี้การพิจารณา พ.ร.บ.ฉบับนี้ยังไปไม่ถึงไหน
ดังจะเห็นได้จาก ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ได้ออกมายอมรับทำนองว่า ยังไม่คืบหน้าไปถึงไหนเลย ล่าสุด ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาของทางกฤษฎีกา ซึ่งเพิ่งจะพิจารณาในประเด็นเดียวคือ มาตรา 4 ที่ระบุถึงคำนิยามธุรกิจค้าปลีกค้าส่งเท่านั้น และยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ด้วย
หรือแม้แต่กรณีที่มีหลายจังหวัดที่ยังไม่ให้ความร่วมมือกับกระทรวงมหาดไทยที่สั่งการไปยังแต่ละจังหวัดเพื่อให้ส่งร่างประกาศกำหนดหลักเกณฑ์การขยายสาขาของห้างค้าปลีกค้าส่งให้กับกรมโยธาธิการและผังเมืองเพื่อออกเป็นประกาศห้ามใช้จำนวน 7 จังหวัดคือ ลำพูน นครศรีธรรมราช อยุธยา สระแก้ว ระยอง นครพนม พัทลุง
ตรงนี้เองที่ทำให้หวาดกลัวกันว่า การขยายสาขาของกลุ่มโมเดิร์นเทรดในปีนี้จะมีความรวดเร็วมากกว่าปีก่อนๆ ซึ่งคาดว่าอัตราการขยายตัวจะทะลุ 30% จากเดิมเฉลี่ยอยู่ที่ 28%
ผู้จัดการรายสัปดาห์ สำรวจกลุ่มโมเดิร์นเทรดรวมทั้งกลุ่มค้าปลีกรายใหญ่ที่มีความเคลื่อนไหวและเคลื่อนทัพอย่างน่าติดตามในห้วงจังหวะที่ กฎหมายค้าปลีกไทยย่ำเท้าอยู่กับที่
เทสโก้ซุ่มเปิดโมเดลใหม่
ต้องพุ่งเป้าหมายไปที่ที่เทสโก้โลตัสเป็นรายแรกเพราะถือเป็นค่ายใหญ่ที่แทบจะกุมชะตาธุรกิจโมเดิร์นเทรดในไทยไว้
ประเด็นที่น่าจับตามองคือ ข่าวความเคลื่อนไหวที่เทสโก้โลตัสจะเปิดตัวโมเดลใหม่ในรูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์ซึ่งถือเป็นเซ็กเมนท์ที่เฟื่องฟูอย่างมากในตลาดค้าปลีกไทย ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษารายละเอียด คาดว่าจะมีพื้นที่ใกล้เคียงกับคอมมูนิตี้มอล์ทั่วๆไป ที่เฉลี่ย 2-4 ไร่ และจะเปิดสาขากระจายอยู่ตามย่านชานเมืองก่อนเพื่อเป็นการทดลองตลาด
ว่ากันว่าสาขาแรกจะเผยโฉมได้บริเวณรังสิต-นครนายก ด้วยย่านนั้นก็มีเทสโก้โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์เปิดแล้วเช่นกัน
รูปแบบดังกล่าวนี้คนในวงการประเมินว่าน่าจะลงทุนไม่ต่ำกว่า 25-30 ล้านบาทต่อสาขา และแน่นอนว่าเทสโก้โลตัสจะต้องนำเอาค้าปลีกของตนเองมาเปิดบริการด้วยคือเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสที่จะเป็นแม่เหล็กผสมผสานกับร้านค้าแบรนด์เนมต่างๆเข้ามาเปิดบริการ ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ยากนัก เพราะเทสโก้โลตัสก็มีพันธมิตรอยู่แล้วหลายรายกับแบรนด์เนมชั้นนำจำนวนมากที่เปิดอยู่ในพื้นที่พลาซ่าของเทสโก้โลตัสซูเปอร์เซ็นเตอร์ขนาดใหญ่ เพียงแต่ว่าจะเลือกรายใดให้เหมาะสมกับตลาดและทำเลเท่านั้นเอง
ปัจจุบันเทสโก้มีธุรกิจหลายรูปแบบในไทยคือ ซูเปอร์เซ็นเตอร์ ประมาณ 60 กว่าสาขา ร้านคุ้มค่า มีประมาณ 16 สาขา ตลาดสดโลตัสมีประมาณ 20 กว่าแห่ง และเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสซึ่งมีเกือบ 200 สาขาแล้ว ซึ่งตัวสุดท้ายนี้น่ากลัวที่สุดเพราะขยายสาขาอย่างรวดเร็วมากทั้งสแตนด์อโลนและเปิดในปั๊มพันธมิตรค่ายเอสโซ่
บิ๊กซีโหมมินิบิ๊กซี
ทางฟากบิ๊กซีคู่แข่งสำคัญ ก็มีความชัดเจนแล้วว่า จะขยายการลงทุนในรูปแบบมินิบิ๊กซีมากขึ้นควบคู่กับแบบมาตรฐานเดิม หลังจากที่ได้เปิดบริการทดลองสาขาแรกมาแล้วที่ซอยอุดมสุขมาเกือบปี แม้ว่าจะยังอยู่ในช่วงของการทดลองก็ตาม แต่เริ่มมีแนวโน้มที่ดีจากการตอบรับ ขณะที่
จริยา จิราธิวัฒน์ รองประธาน ฝ่ายการตลาดและการสื่อสาร บริษัท บิ๊กซี ซูเปอร์ เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) กล่าวก่อนหน้านี้ว่า บริษัทฯจะปรับร้านลีดเดอร์ไพร์ซบายบิ๊กซีทั้งหมดที่มี 5 สาขา ให้เป็นร้านมินิบิ๊กซี
ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาและเตรียมการทั้งรูปแบบและวิธีการดำเนินงาน โดยจะมีการปรับเปลี่ยนร้านลีดเดอร์ไพร้ซ ทั้งหมด 5 สาขาปัจจุบันคือ สาขานวนคร เสนานิคม ประชาสงเคราะห์ สุขุมวิท และวงเวียนใหญ่ ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตรต่อสาขา ถือว่าอยู่ในขนาดที่พอดีๆ ที่จะเข้าไปรุกในพื้นที่ชุมชน
ส่วนร้านลีดเดอร์ไพร้ซ์ที่บิ๊กซีจะเลิกแล้วแน่นอน หลังจากที่ทดลองทำมานานหลายปีแต่ไม่ประสบความสำเร็จ ซึ่งเป็นธุรกิจร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าเฮาส์แบรนด์ของบิ๊กซีเท่านั้น แม้ว่าช่วงหลังจะปรับตัวด้วยการนำคำว่า บาย บิ๊กซี มาต่อท้ายชื่อร้าน เพื่อสร้างความมั่นใจและการันตีให้ผู้บริโภครู้ว่าเป็นของใคร อีกทั้งการปรับเปลี่ยนนำเอาสินค้าของซัปพลายเออร์เข้ามาวางขายด้วยแทนจากเดิมที่จำหน่ายแต่เฮาส์แบรนด์ แต่เป็นเพราะพฤติกรรมของผู้บริโภคคนไทยยังไม่ตอบรับจึงต้องเลิกไปในที่สุด
มินิบิ๊กซีจะเป็นอีกอาวุธใหม่ของบิ๊กซีที่จะเข้ามาประกาศสงครามในสนามค้าปลีกขนาดย่อมที่ต้องมาชนกับเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรส หรือ ท็อปส์เดลี่ หรือแม้แต่ ร้าน 999 ของกลุ่มซีพีที่เพิ่งเปิดตัวไม่นานนี้
คาร์ฟูร์ลดไซส์ชูภาพพรีเมี่ยม
ขณะที่ทางคาร์ฟูร์ยักษ์โมเดิร์นเทรดไฮเปอร์มาร์เก็ตอันดับสามก็ปรับทิศทางรุกใหม่อีกครั้งล่าสุดกับการเปิดตัวโมเดลใหม่ที่สาขาพัทยา
ฟิลิปป์ โบรยานิโก กรรมการผู้จัดการ บริษัท เซ็นคาร์ จำกัด ผู้บริหารคาร์ฟูร์ เปิดเผยว่า คาร์ฟูร์มีนโยบายปรับเปลี่ยนคาร์ฟูร์ให้เป็นดิสเคาท์สโตร์โฉมใหม่ หรือ พรีเมียมไฮเปอร์มาร์เก็ต ด้วยการปรับสินค้า บริการ ดึงแบรนด์เนมร่วมออกร้านเพื่อดึงดูดลูกค้าและสร้างความแตกต่าง นอกจากนี้ยังปรับเพื่อให้สอดคล้องกับพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคยุคใหม่ที่ไม่ได้สนใจเรื่องราคาอย่างเดียว แต่ต้องการสินค้าและบริการหลากหลายที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ใหม่ๆ ด้วย
สาขาโฉมใหม่ล่าสุดเปิดที่ชลบุรี เดือนเมษายน 2550 ด้วยงบลงทุนทั้งสิ้น 400 ล้านบาท ถือได้ว่าเป็นสาขาต้นแบบของพรีเมียมไฮเปอร์มาร์เก็ตที่ค่อนข้างสมบูรณ์แบบตามคอนเซ็ปต์ที่ได้วางไว้ โดยมีพื้นที่ 6,000 ตารางเมตรจากขนาดปกติทั่วไปของไฮเปอร์มาร์เก็ตซึ่งพื้นที่อยู่ระหว่าง 8,000 10,000 ตารางเมตร แต่มีสินค้าเพิ่มมากขึ้นจากสาขาปกติกว่า 10,000 เอสเคยู จากสาขาปกติในปัจจุบันมีสินค้าเฉลี่ย 40,000 เอสเคยู
เท่ากับว่าโฉมใหม่ของคาร์ฟูร์จากนี้ไปจะเน้นที่ขนาดกะทัดรัดอย่างที่ชลบุรีแต่เพิ่มประสิทธิภาพในการทำรายได้ต่อพื้นที่ขายได้มากขึ้น และยังเป็นการสร้างภาพพจน์ขึ้นเป็นค้าปลีกระดับบน เพื่อหวังต่อกรกับทางดีพาร์ทเมนท์สโตร์ ซึ่งหลังจากที่เปิดบริการเพียง 2 เดือน พบว่าสาขาใหม่นี้มียอดขายต่อพื้นที่สูงสุดจากสาขาทั้งหมด 25 สาขา
รูปแบบดังกล่าวจะเป็นต้นแบบในการพัฒนาคาร์ฟูร์สาขาใหม่ๆ รวมถึงการนำไปปรับใช้กับคาร์ฟูร์เดิมทุกแห่งด้วย ตั้งงบประมาณในการปรับรูปแบบ 15 ล้านบาท ต่อสาขา และสาขาที่เปิดใหม่จะเป็นรูปแบบนิวคอนเซ็ปต์ทั้งหมด มีพื้นที่เฉลี่ย 4,000-6,000 ตารางเมตร สาขาต่อไปจะเปิดที่ถนนพระราม 2 มีพื้นที่ 4,000 ตารางเมตร เป็นสาขาแรกในเดือนพฤศจิกายน นี้ และจะเปิดอีก 2 สาขาใหม่ รวมเป็น 28 สาขา
กลุ่มซีพีผุดร้าน999
กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ แม้ว่าจะมีร้าน 7-อีเลฟเว่นเป็นอาวุธที่สำคัญก็ตาม แต่ด้วยการเติบโตที่รวดเร็วของเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสทำให้ต้องปรับตัวพร้อมหาอาวุธใหม่เข้ามาเสริมทัพอีก นี่คือเหตุผลที่กลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ได้ทำการทดลองเปิดตัว ร้าน999 หรือร้านไนน์ไนน์ไนน์ สาขาแรกเผยโฉมไปแล้วที่บริเวณการเคหะร่มเกล้าเป็นตึกแถว 3 คูหา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายนที่ผ่านมา
รูปแบบของร้านไนน์ไนน์ไนน์นี้ จะเป็นร้านที่เน้นการจำหน่ายสินค้าอาหาร และของใช้ในชีวิตประจำวัน โดยจะเน้นการขายอาหารแช่แข็งและอาหารพร้อมทานแบรนด์ของซีพีเองกับของพันธมิตรด้วยและยังมีที่นั่งทานอาหารด้วยจำนวนหนึ่ง
น่าสังเกตที่ว่าสาขาแรกนี้ตั้งอยู่ไม่ห่างไกลกับร้านเทสโลตัสเอ็กซ์เพรสเท่าไร ถือเป็นการประกาศนัยว่า พร้อมที่จะสู้รบปรบมือกับเทสโก้โลตัสเอ็กซ์เพรสแล้ว
กลุ่มเป้าหมายของร้านไนน์ไนน์ไนน์เน้นทั้งเอนด์ยูสเซอร์และผู้ประกอบการรายย่อยที่ต้องการซื้อสินค้าเพื่อนำไปใช้ประกอบธุรกิจ
แม้ว่าผู้บริหารของเครือเจริญโภคภัณฑ์เองก็ยังปิดตัวเงียบไม่เผยความชัดเจนและนโยบายต่อธุรกิจดังกล่าวออกมา แต่ด้วยความที่เป็นเครือข่ายในกลุ่มของซีพี ความน่าสะพรึงกลัวย่อมไม่ธรรมดาแน่ๆ
จัสโก้ปรับสู่แม็กซ์แวลูลุย 24 ชั่วโมง
จัสโก้ในช่วงที่ผ่านมาดูเหมือนจะอยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างองค์กรและธุรกิจใหม่จึงหายเงียบไปนาน ขณะนี้มีข่าวว่าทางบริษัท สยามจัสโก้ จำกัด ผู้บริหารจัสโก้ในไทย พร้อมแล้วที่จะเปิดเกมรุก โดยอิงไปกับความแข็งแกร่งของบริษัทแม่คือ อิออนกรุ๊ป เข้ามาเป็นฐานในการสร้างธุรกิจใหม่
สิ่งที่ปรากฎขึ้นคือ มีแนวโน้มว่าทางจัสโก้จะปรับเปลี่ยนจัสโก้ในไทยให้เป็น (MAX VALUE) และเปิดบริการ 24 ชั่วโมงทั้งหมด ที่ผ่านมาทดลองเปิด 24 ชั่วโมงและปรับปรุงไปแล้วเช่น ศรีนครินทร์ รังสิตคลอง2 ประชาอุทิศ และเตรียมจะปรับสาขาเดิมให้เป็นแม็กซ์แวลู เปิด 24 ชั่วโมง อีก 4 สาขาด้วย
เป็นการเคลื่อนทัพของยักษ์ใหญ่โมเดิร์นเทรดที่ยั้งไม่หยุดฉุดไม่อยู่ซะแล้ว กว่าที่กฎหมายค้าปลีกจะออกมาประกาศใช้ แน่นอนว่ายักษ์ค้าปลีกเหล่านี้ย่อมสยายปีกออกไปครอบคลุมพื้นที่แทบทุกตารางเมตรจนไม่มีพื้นที่ว่างให้ค้าปลีกพันธุ์ไทยได้ยืนอยู่ แล้วโชห่วยไทยจะแข่งขันบนแผ่นดินที่เป็นบ้านเกิดของตนเองนี้ได้อย่างไร
http://www.manager.co.th/mgrWeekly/View ... 0000084184
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/07/07
โพสต์ที่ 33
คนอุดรแคลงใจก.ม.ค้าปลีกค้าส่ง ไร้ถ่วงดุลอำนาจ
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:49 น.
ภาคเอกชน นักวิชาการ อุดรธาน ไม่มั่นใจ พรบ.ค้าปลีกค้าส่ง อาจเป็นดาบสองคม ควรมีเวลาในการสรรหาคณะกรรมการให้มากกว่านี้ เตือนควรมีอำนาจถ่วงดุลเพื่อความเป็นธรรม และที่สำคัญผู้ประกอบการควรคืนกำไรให้สังคม
นายวีระพงศ์ ไชยเอีย รองประธานหอการค้า จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่าเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่งในหลักการและเหตุผล ที่มุ่งหวังให้เกิดการจัดระบบการค้าที่เหมาะสมและเป็นธรรม ทำให้ทั้งค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่และโชว์ห่วยสามารถอยู่ด้วยกันได้ แต่ยังมีข้อกังขาในเรื่องเนื้อหา และโครงสร้างในการพิจารณา โดยเฉพาะในส่วนของอำนาจคณะกรรมการที่ควบคุมดูแลตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีขอบข่ายอำนาจที่กว้างขวางมาก ถึงขั้นชี้เป็นชี้ตายให้กับธุรกิจได้ ซึ่งหากมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการแล้ว ควรจะมีกฎเกณฑ์ในการตรวจสอบการใช้อำนาจคณะกรรมการได้เช่นกัน
การตรวจสอบอำนาจเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีการคานอำนาจตามหลักทางรัฐศาสตร์ที่ต้องมีระบบเช็คแอนด์บัลลานซ์หรือระบบตรวจสอบว่าเมื่อเข้าสู่ระบบและออกไปจากระบบแล้วมีผลกระ ทบอะไรย้อนกลับมาหรือไม่ โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาลอาทิห้างร้านที่เปิดดำเนินการแล้วนั้นเมื่อมีพ.ร.บ.นี้แล้วกับต้องขออนุญาตใหม่อีกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจกับหลักการที่มีผลย้อนหลัง
ส่วนนายประยูร โฮมภิรมย์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี ให้ความเห็นว่า เห็นด้วยกับการมีร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่ง หากจะช่วยให้เกิดการค้าอย่างเป็นธรรมได้จริง แต่อย่างไรก็ดีควรที่จะนำออกใช้หลังจากการเลือกตั้งไปแล้ว เพื่อที่จะได้มีเวลาคัดสรรคณะกรรมการอย่างถี่ถ้วน โดยเสนอให้มีตัวแทนจากภาคส่วนอื่นๆเข้ามีมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดนี้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเสนอให้ออกกฎหมายที่ดูแลการค้าอย่างทั่วถึงมากขึ้น เช่น การค้าผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท และการขายตรง ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภคเช่นกัน
นอกจากนี้นายประยูรยังเสนอแนวทางคุ้มครองดูแลผู้ผลิตและผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นที่มีห้างร้านสมัยใหม่เข้าไปเปิด โดยเสนอให้ห้างร้านนั้นๆ จำเป็นที่จะต้องมีการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ การจ่ายภาษีในสัดส่วนที่มากขึ้นให้แก่ท้องถิ่น, การจ้างแรงงานในท้องถิ่น และการจัดซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น เป็นต้น
ด้านนายสุทธิชัย หล่อตระกูล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี กล่าวว่าหากมองในภาพรวมเราจะพบว่าทุกธุรกิจทุกส่วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรงทั้งสิ้น หากให้ตั้งข้อสังเกตประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้จะพบว่า ยังมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ทั้งในส่วนอำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง การกำหนดควบคุมธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง กำหนดหลักเกณฑ์การลงโทษทางกฎหมาย
อยากจะเสนอให้มีมาตรการทางกฎหมายคืนอะไรให้กับสังคม เช่นกำหนดว่าเมื่อมีห้างค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่มีพื้นที่ตั้งแต่เท่าไรจะต้องนำเงินรายได้ส่วนหนึ่งกี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่าไปนำไปเพื่อตั้งเป็นกองทุนในการช่วยเหลือหรือพัฒนาโชว์ห่วย โดยเฉพาะเนื้อหาส่วนนี้ของกฎหมายต้องมีมากเป็นพิเศษว่าจะต้องช่วยพัฒนาอย่างไรมีขั้นตอนไหนและหลักเกณฑ์อะไรบ้าง มากกว่าที่จะกำหนดเฉพาะบทลงโทษและอำนาจของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นที่มีมากมายจนจะกลายเป็นกฎหมายการควบคุมและจัดการค้าปลีกค้าส่งไปแล้ว ทั้งๆที่กฎหมายฉบับนี้ควรจะมีชื่อว่ากฎหมายเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมค้าปลีกค้าส่ง
http://news.sanook.com/economic/economic_159616.php
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:49 น.
ภาคเอกชน นักวิชาการ อุดรธาน ไม่มั่นใจ พรบ.ค้าปลีกค้าส่ง อาจเป็นดาบสองคม ควรมีเวลาในการสรรหาคณะกรรมการให้มากกว่านี้ เตือนควรมีอำนาจถ่วงดุลเพื่อความเป็นธรรม และที่สำคัญผู้ประกอบการควรคืนกำไรให้สังคม
นายวีระพงศ์ ไชยเอีย รองประธานหอการค้า จังหวัดอุดรธานี กล่าวว่าเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่งในหลักการและเหตุผล ที่มุ่งหวังให้เกิดการจัดระบบการค้าที่เหมาะสมและเป็นธรรม ทำให้ทั้งค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่และโชว์ห่วยสามารถอยู่ด้วยกันได้ แต่ยังมีข้อกังขาในเรื่องเนื้อหา และโครงสร้างในการพิจารณา โดยเฉพาะในส่วนของอำนาจคณะกรรมการที่ควบคุมดูแลตามพระราชบัญญัตินี้ ซึ่งมีขอบข่ายอำนาจที่กว้างขวางมาก ถึงขั้นชี้เป็นชี้ตายให้กับธุรกิจได้ ซึ่งหากมอบอำนาจให้กับคณะกรรมการแล้ว ควรจะมีกฎเกณฑ์ในการตรวจสอบการใช้อำนาจคณะกรรมการได้เช่นกัน
การตรวจสอบอำนาจเป็นสิ่งจำเป็นต้องมีการคานอำนาจตามหลักทางรัฐศาสตร์ที่ต้องมีระบบเช็คแอนด์บัลลานซ์หรือระบบตรวจสอบว่าเมื่อเข้าสู่ระบบและออกไปจากระบบแล้วมีผลกระ ทบอะไรย้อนกลับมาหรือไม่ โดยเฉพาะในบทเฉพาะกาลอาทิห้างร้านที่เปิดดำเนินการแล้วนั้นเมื่อมีพ.ร.บ.นี้แล้วกับต้องขออนุญาตใหม่อีกซึ่งเป็นเรื่องที่น่าแปลกใจกับหลักการที่มีผลย้อนหลัง
ส่วนนายประยูร โฮมภิรมย์ ประธานสภาอุตสาหกรรม จังหวัดอุดรธานี ให้ความเห็นว่า เห็นด้วยกับการมีร่างพระราชบัญญัติค้าปลีกค้าส่ง หากจะช่วยให้เกิดการค้าอย่างเป็นธรรมได้จริง แต่อย่างไรก็ดีควรที่จะนำออกใช้หลังจากการเลือกตั้งไปแล้ว เพื่อที่จะได้มีเวลาคัดสรรคณะกรรมการอย่างถี่ถ้วน โดยเสนอให้มีตัวแทนจากภาคส่วนอื่นๆเข้ามีมีส่วนร่วมในคณะกรรมการชุดนี้เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเสนอให้ออกกฎหมายที่ดูแลการค้าอย่างทั่วถึงมากขึ้น เช่น การค้าผ่านสื่ออินเตอร์เน็ท และการขายตรง ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อผู้บริโภคเช่นกัน
นอกจากนี้นายประยูรยังเสนอแนวทางคุ้มครองดูแลผู้ผลิตและผู้บริโภคในแต่ละท้องถิ่นที่มีห้างร้านสมัยใหม่เข้าไปเปิด โดยเสนอให้ห้างร้านนั้นๆ จำเป็นที่จะต้องมีการแสดงออกถึงความรับผิดชอบต่อสังคม อาทิ การจ่ายภาษีในสัดส่วนที่มากขึ้นให้แก่ท้องถิ่น, การจ้างแรงงานในท้องถิ่น และการจัดซื้อสินค้าจากซัพพลายเออร์ในท้องถิ่น เป็นต้น
ด้านนายสุทธิชัย หล่อตระกูล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี กล่าวว่าหากมองในภาพรวมเราจะพบว่าทุกธุรกิจทุกส่วนมีส่วนเกี่ยวข้องกับผู้บริโภคโดยตรงทั้งสิ้น หากให้ตั้งข้อสังเกตประเด็นทางกฎหมายเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฉบับนี้จะพบว่า ยังมีความคลุมเครือไม่ชัดเจน ทั้งในส่วนอำนาจของคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง การกำหนดควบคุมธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง กำหนดหลักเกณฑ์การลงโทษทางกฎหมาย
อยากจะเสนอให้มีมาตรการทางกฎหมายคืนอะไรให้กับสังคม เช่นกำหนดว่าเมื่อมีห้างค้าปลีกค้าส่งสมัยใหม่มีพื้นที่ตั้งแต่เท่าไรจะต้องนำเงินรายได้ส่วนหนึ่งกี่เปอร์เซ็นต์ก็ว่าไปนำไปเพื่อตั้งเป็นกองทุนในการช่วยเหลือหรือพัฒนาโชว์ห่วย โดยเฉพาะเนื้อหาส่วนนี้ของกฎหมายต้องมีมากเป็นพิเศษว่าจะต้องช่วยพัฒนาอย่างไรมีขั้นตอนไหนและหลักเกณฑ์อะไรบ้าง มากกว่าที่จะกำหนดเฉพาะบทลงโทษและอำนาจของคณะกรรมการที่ตั้งขึ้นที่มีมากมายจนจะกลายเป็นกฎหมายการควบคุมและจัดการค้าปลีกค้าส่งไปแล้ว ทั้งๆที่กฎหมายฉบับนี้ควรจะมีชื่อว่ากฎหมายเพื่อการพัฒนาและส่งเสริมค้าปลีกค้าส่ง
http://news.sanook.com/economic/economic_159616.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/07/07
โพสต์ที่ 34
เพื่อลูกค้าตัวจริง
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:49 น.
สมัยก่อนลานจอดรถในศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั้งหลาย ก็เป็นเพียงแค่ลานโล่งๆที่ตีเส้นเป็นช่องๆให้ลูกค้าที่มาใช้บริการได้นำรถเข้ามาจอด แต่ในยุคนี้ลานจอดจอดรถกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หนึ่งในการดึงลูกค้าให้มาใช้บริการ
จะเห็นว่าห้างเซ็นทรัล เดอะมอลล์ ดิ เอ็มโพเรียม สยามพารากอน หรือเซ็นทรัลเวิลด์ มีการล็อกพื้นที่ลานจอดรถส่วนหนึ่งสำรองไว้ให้กับลูกค้าคนสำคัญ เช่น กลุ่มเดอะมอลล์ ดิ เอ็มโพเรียมและสยามพารากอน ก็มีพื้นที่พิเศษสำหรับสมาชิกบัตรแพลตินัม และล่าสุดก็เพิ่มสิทธิพิเศษนี้ให้กับผู้ถือบัตรเครดิต ซิตี้ เอ็ม วีซ่า ซึ่งกลุ่มเดอะมอลล์จับมือกับซิตี้แบงก์ และวีซ่าอินเตอร์เนชั่นแนลออกให้
หรือห้างเซ็นทรัล ก็จะให้สิทธิพิเศษนี้กับลูกค้าผู้ถือบัตรแพลตินัม ของไทยพาณิชย์
แต่ถึงจะมีพื้นที่จอดหลายชั้น ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณรถที่มาใช้บริการในแต่ละวัน โดยเฉพาะวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ จะมากกว่าวันธรรมดาเป็นเท่าตัว ยิ่งถ้าเป็นศูนย์การค้าที่เปิดให้บริการจอดฟรีจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่จอดรถค่อนข้างมาก ทำให้ศูนย์การค้าเหล่านี้มีแนวคิดเก็บค่าบริการ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียน จะได้มีพื้นที่ให้กับผู้ที่มาใช้บริการอย่างเพียงพอ
สำหรับศูนย์การค้าที่หันมาเก็บค่าบริการลานจอดรถก็มีอาทิ บิ๊กซี สาขาวงศ์สว่าง เดอะมอลล์
สาขาบางกะปิ และสาขางามวงศ์วาน นอกจากนี้ยังมีกิจการโรงหนัง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขารัชโยธิน
เก็บค่าบริการสำหรับผู้ที่นำรถเข้าไปจอดในอาคารจอดรถ ส่วนลานจอดรถกลางแจ้งยังคงให้จอดฟรีต่อไป เป็นทางเลือกให้กับผู้มาดูหนัง
คุณณัฐพงศ์ กิจนิจชีวะ ผู้จัดการทั่วไปสายปฏิบัติการ เดอะมอลล์ กรุ๊ป เล่าว่า ขณะนี้ทุกห้างแข่งขันด้านบริการแก่ลูกค้าอย่างหนัก โดยแต่ละแห่งนำกลยุทธ์ซีอาร์เอ็ม หรือกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า มาใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
ลานจอดรถก็เป็นบริการหนึ่งที่หลายห้างให้ความสำคัญ ถ้าลูกค้าตัวจริงที่ตั้งใจจะมาใช้บริการไม่มีที่จอดรถก็คงจะวนออกไป ดังนั้นหากทางศูนย์หรือห้างมีจัดการที่ดี ทำให้มีที่จอดรถเพียงพอรองรับลูกค้าได้ก็จะเป็นทางหนึ่งช่วยเพิ่มยอดขายให้สาขานั้นๆ นอกเหนือจากจัดพื้นที่พิเศษให้กับลูกค้าคนสำคัญที่มียอดรูดปื้ด รูดปื้ด แต่ละครั้งจำนวนสูงๆ ซึ่งแต่ละสาขาจะมีรายชื่อลูกค้ากลุ่มนี้อยู่แล้ว
ช่วงที่มีลูกค้าเข้าใช้บริการหนาแน่น คือ ตั้งแต่เวลา 11.00 จนถึง 14.00 น สำหรับวันเสาร์และอาทิตย์ ดังนั้นในวันดังกล่าวถ้ามีรถจอดแช่ 1 คันใน 1 วัน ทำให้เสียโอกาสได้ลูกค้าตัวจริงไป 4 คัน ซึ่งลูกค้าแต่ละคนจะใช้เวลาช้อปปิ้งในศูนย์การค้าเฉลี่ยคนละประมาณ 4 ชั่วโมง ส่วนในวันจันทร์ถึงศุกร์ ปัญหาลานจอดรถไม่พอไม่หนักหนารุนแรงเท่าวันหยุด
ด้วยเหตุนี้กลุ่มเดอะมอลล์ จึงคิดหามาตรการเพื่อเอาใจลูกค้าตัวจริงได้มาใช้บริการ โดยการเก็บค่าบริการจอดรถ อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นลูกค้าตัวจริงก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถเอาใบเสร็จไปประทับตราได้ฟรี หรือแค่โชว์ถุงเดอะมอลล์ก็ไม่ต้องจ่าย แต่สำหรับลูกค้าที่มาอาศัยใช้ลานจอดรถของห้างก็คงต้องควักกระเป๋าจ่าย หลังจากนำมาตรการนี้มาใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ลูกค้าตัวจริงมีความพึงพอใจมาก ตรงที่มาแล้วได้ที่จอดรถ
นอกจากจะเก็บค่าจอดแล้ว เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิและงามวงศ์วานยังได้ขยายลานจอดรถเพิ่มเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกค้า
ฉะนั้น ในยุคเศรษฐกิจซบ กำลังซื้อตก ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าหรือค้าปลีกทั้งหลายหันมาแข่งขันกันสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าตัวจริงอย่างเต็มที่ เพราะยังเป็นกลุ่มที่มีการรูดปื้ด รูดปื้ด อย่างสม่ำเสมอ
http://news.sanook.com/economic/economic_159611.php
โดย ฐานเศรษฐกิจ วัน อาทิตย์ ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:49 น.
สมัยก่อนลานจอดรถในศูนย์การค้าหรือห้างสรรพสินค้าชั้นนำทั้งหลาย ก็เป็นเพียงแค่ลานโล่งๆที่ตีเส้นเป็นช่องๆให้ลูกค้าที่มาใช้บริการได้นำรถเข้ามาจอด แต่ในยุคนี้ลานจอดจอดรถกลายเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์หนึ่งในการดึงลูกค้าให้มาใช้บริการ
จะเห็นว่าห้างเซ็นทรัล เดอะมอลล์ ดิ เอ็มโพเรียม สยามพารากอน หรือเซ็นทรัลเวิลด์ มีการล็อกพื้นที่ลานจอดรถส่วนหนึ่งสำรองไว้ให้กับลูกค้าคนสำคัญ เช่น กลุ่มเดอะมอลล์ ดิ เอ็มโพเรียมและสยามพารากอน ก็มีพื้นที่พิเศษสำหรับสมาชิกบัตรแพลตินัม และล่าสุดก็เพิ่มสิทธิพิเศษนี้ให้กับผู้ถือบัตรเครดิต ซิตี้ เอ็ม วีซ่า ซึ่งกลุ่มเดอะมอลล์จับมือกับซิตี้แบงก์ และวีซ่าอินเตอร์เนชั่นแนลออกให้
หรือห้างเซ็นทรัล ก็จะให้สิทธิพิเศษนี้กับลูกค้าผู้ถือบัตรแพลตินัม ของไทยพาณิชย์
แต่ถึงจะมีพื้นที่จอดหลายชั้น ก็ไม่เพียงพอกับปริมาณรถที่มาใช้บริการในแต่ละวัน โดยเฉพาะวันหยุดเสาร์และอาทิตย์ จะมากกว่าวันธรรมดาเป็นเท่าตัว ยิ่งถ้าเป็นศูนย์การค้าที่เปิดให้บริการจอดฟรีจะมีปัญหาเรื่องพื้นที่จอดรถค่อนข้างมาก ทำให้ศูนย์การค้าเหล่านี้มีแนวคิดเก็บค่าบริการ เพื่อให้เกิดการหมุนเวียน จะได้มีพื้นที่ให้กับผู้ที่มาใช้บริการอย่างเพียงพอ
สำหรับศูนย์การค้าที่หันมาเก็บค่าบริการลานจอดรถก็มีอาทิ บิ๊กซี สาขาวงศ์สว่าง เดอะมอลล์
สาขาบางกะปิ และสาขางามวงศ์วาน นอกจากนี้ยังมีกิจการโรงหนัง เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขารัชโยธิน
เก็บค่าบริการสำหรับผู้ที่นำรถเข้าไปจอดในอาคารจอดรถ ส่วนลานจอดรถกลางแจ้งยังคงให้จอดฟรีต่อไป เป็นทางเลือกให้กับผู้มาดูหนัง
คุณณัฐพงศ์ กิจนิจชีวะ ผู้จัดการทั่วไปสายปฏิบัติการ เดอะมอลล์ กรุ๊ป เล่าว่า ขณะนี้ทุกห้างแข่งขันด้านบริการแก่ลูกค้าอย่างหนัก โดยแต่ละแห่งนำกลยุทธ์ซีอาร์เอ็ม หรือกลยุทธ์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า มาใช้เพื่อสร้างความพึงพอใจสูงสุดให้กับลูกค้า
ลานจอดรถก็เป็นบริการหนึ่งที่หลายห้างให้ความสำคัญ ถ้าลูกค้าตัวจริงที่ตั้งใจจะมาใช้บริการไม่มีที่จอดรถก็คงจะวนออกไป ดังนั้นหากทางศูนย์หรือห้างมีจัดการที่ดี ทำให้มีที่จอดรถเพียงพอรองรับลูกค้าได้ก็จะเป็นทางหนึ่งช่วยเพิ่มยอดขายให้สาขานั้นๆ นอกเหนือจากจัดพื้นที่พิเศษให้กับลูกค้าคนสำคัญที่มียอดรูดปื้ด รูดปื้ด แต่ละครั้งจำนวนสูงๆ ซึ่งแต่ละสาขาจะมีรายชื่อลูกค้ากลุ่มนี้อยู่แล้ว
ช่วงที่มีลูกค้าเข้าใช้บริการหนาแน่น คือ ตั้งแต่เวลา 11.00 จนถึง 14.00 น สำหรับวันเสาร์และอาทิตย์ ดังนั้นในวันดังกล่าวถ้ามีรถจอดแช่ 1 คันใน 1 วัน ทำให้เสียโอกาสได้ลูกค้าตัวจริงไป 4 คัน ซึ่งลูกค้าแต่ละคนจะใช้เวลาช้อปปิ้งในศูนย์การค้าเฉลี่ยคนละประมาณ 4 ชั่วโมง ส่วนในวันจันทร์ถึงศุกร์ ปัญหาลานจอดรถไม่พอไม่หนักหนารุนแรงเท่าวันหยุด
ด้วยเหตุนี้กลุ่มเดอะมอลล์ จึงคิดหามาตรการเพื่อเอาใจลูกค้าตัวจริงได้มาใช้บริการ โดยการเก็บค่าบริการจอดรถ อย่างไรก็ตาม ถ้าเป็นลูกค้าตัวจริงก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย สามารถเอาใบเสร็จไปประทับตราได้ฟรี หรือแค่โชว์ถุงเดอะมอลล์ก็ไม่ต้องจ่าย แต่สำหรับลูกค้าที่มาอาศัยใช้ลานจอดรถของห้างก็คงต้องควักกระเป๋าจ่าย หลังจากนำมาตรการนี้มาใช้ตั้งแต่ 1 ก.ค.ที่ผ่านมา ลูกค้าตัวจริงมีความพึงพอใจมาก ตรงที่มาแล้วได้ที่จอดรถ
นอกจากจะเก็บค่าจอดแล้ว เดอะมอลล์ สาขาบางกะปิและงามวงศ์วานยังได้ขยายลานจอดรถเพิ่มเพื่อให้เพียงพอกับจำนวนลูกค้า
ฉะนั้น ในยุคเศรษฐกิจซบ กำลังซื้อตก ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าหรือค้าปลีกทั้งหลายหันมาแข่งขันกันสร้างความพึงพอใจกับลูกค้าตัวจริงอย่างเต็มที่ เพราะยังเป็นกลุ่มที่มีการรูดปื้ด รูดปื้ด อย่างสม่ำเสมอ
http://news.sanook.com/economic/economic_159611.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/07/07
โพสต์ที่ 35
ทุนห้างฯไทยแกร่งสู้วิกฤติ เซ็นทรัลรุกหนักโกอินเตอร์
ค้าปลีกเซ็กเมนท์ ดิสเคาท์สโตร์ ถูกต่างชาติรุกไล่จนนักลงทุนไทยต้องถอยกรูด แต่สำหรับ "ห้างสรรพสินค้า" และศูนย์การค้าเจ้าของยังเป็นคนไทย ตรงข้ามกับห้างต่างชาติหลายแบรนด์ ที่ต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน แต่กิจการห้างสรรพสินค้าสัญชาติไทยกำลังก้าวสู่อินเตอร์
ขณะที่ "ทุนข้ามชาติ" เปิดเกมรุกยึดครองตลาดดิสเคาท์สโตร์ นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ปี 2540 เป็นต้นมา ไม่เพียงกระทบ "ทุนไทย" และบรรดาร้านค้าปลีกขนาดย่อย..ทยอยล้มหายตายจากไปบางส่วนเท่านั้น หากแต่กิจการค้าปลีกต่างประเทศที่พาเหรดเข้าลงทุนในเมืองไทยก่อนหน้านี้ ก็ไม่สามารถต้านทานสงครามราคาและดีกรีการแข่งขันบนเวทีค้าปลีกไทยที่ว่ากันว่ารุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทีเดียว...จำต้องม้วนเสื่อกลับบ้านเป็นทิวแถว ทั้งห้างญี่ปุ่นชื่อดังตั้งแต่ เยาฮัน โซโก้ ไดมารู รวมถึงเชนสโตร์ซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างฟู้ด ไลอ้อน จากเบลเยียม และรอยัล เอโฮลด์ แห่งเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเคยร่วมทุนกลุ่มเซ็นทรัลรีเทลดำเนินกิจการ "ท็อปส์"
ห้างสรรพสินค้าต่างชาติเหล่านี้ล้วนเผชิญแรงบีบทางด้านราคาจากเครือข่ายร้านดิสเคาท์สโตร์ที่ขยายเครือข่ายประชิดตัวช่วงชิงฐานลูกค้า เวลาเดียวกันยังต้องสู้กับกลยุทธ์การแข่งขันของ "ห้างไทย" ที่ชำนาญพื้นที่ ...สามารถพลิกเกมให้สอดรับพฤติกรรมบริโภคและความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที ขณะที่แนวทางบริหารของห้างยักษ์ใหญ่จากแดนปลาดิบอยู่ในแนวอนุรักษนิยม การตัดสินใจต้องมาจากบริษัทแม่ ทำให้การปรับเปลี่ยนใดๆ ค่อนข้างล่าช้า
จังหวะที่ "ห้างญี่ปุ่น" ถอนทัพกลับบ้าน สถานะ "ห้างสรรพสินค้า" เริ่มเข้าสู่การแข่งขันน้อยรายในผู้ประกอบการประเภทเดียวกัน ทั้งเป็น "ทุนไทย" เช่นเดียวกัน ประกอบกับเทรนด์การตลาดมุ่งสู่ทฤษฎีการสร้างแบรนด์เพื่อตอกย้ำ "จุดยืนทางธุรกิจ" ให้มีความชัดเจนและแตกต่างจากคู่แข่งขันเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน กลับเป็นโอกาสของ "ห้างไทย" ผงาดแทรกตลาดดิสเคาท์สโตร์อีกครั้ง
ภายใต้ "วิกฤติ" ยังมีโอกาส ที่ทุนค้าปลีกไทย "เซ็นทรัล" พิสูจน์ให้เห็นว่า "เกมตั้งรับ"สามารถพลิกกลับมาสร้างโอกาสใหม่ได้ ท่ามกลางนาทีทองของยักษ์ใหญ่ดิสเคาท์สโตร์เร่งสยายปีกอย่างไร้คู่แข่ง...ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถือเป็น "ยุคทอง" ของกลุ่มเซ็นทรัลที่มีการแตกแขนงกิจการหลากหลายรูปแบบสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค้าปลีกเครือเซ็นทรัล จากเดิมที่มีเพียง "ห้างเซ็นทรัล" ในการขยายตลาดได้เปิดธุรกิจค้าปลีกใหม่ขึ้นจำนวนมาก
นับจากนี้ไปสถานะบริษัทค้าปลีกคนไทยอย่าง "เซ็นทรัล" กำลังก้าวข้ามพรมแดนไทย เปิดตลาดนอกบ้านทั้งจีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โกยเงินลูกค้าต่างชาติ โดยใช้ "ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล" กับประสบการณ์ 60 ปีพร้อมรางวัลเดอะเบส รีเทลเลอร์ การันตี เป็นหัวหอกเปิดการลงทุนในตลาดอาเซียนมูลค่าการลงทุนระดับหมื่นล้านบาทก้าวสู่ความเป็น "ริจินัล คัมปะนี" ในอนาคตอันใกล้ นับเป็นจุดเปลี่ยนในอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยครั้งใหญ่
ทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซีอาร์ซี) ผู้บริหารเครือข่ายธุรกิจค้าปลีก ประกอบด้วย ห้างเซ็นทรัล โรบินสัน เซน ร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างเพาเวอร์บาย ซูเปอร์สปอร์ต โฮมเวิร์ค บีทูเอส ออฟฟิศ ดีโป้ ซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้แบรนด์ท็อปส์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และเซ็นทรัลออนไลน์ กล่าวว่า วิกฤตการณ์ปี 2540 เปรียบเสมือนเบ้าหลอมความแข็งแกร่งให้กับเซ็นทรัล และเป็นบทเรียนครั้งสำคัญว่าเมื่อเกิดวิกฤติใดๆ ก็ตาม "ถ้าเราสู้" ก็จะทำให้ได้โอกาสและแข็งแกร่งมากขึ้น เพราะมีโอกาสซื้อของถูก คู่แข่งล้มหายไปมาก
ย้อนกลับไปเมื่อเช้าวันประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทศ บอกว่า "ตื่นขึ้นมาตอนนั้นรู้แต่ว่าหนี้บาน..เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะกู้นอกเยอะ ช่วงแรกรู้สึกท้อแท้มาก เพราะสิ่งที่ทำมาก่อนหน้านั้น 10 ปีหายไปหมด แต่มีผู้ใหญ่บางท่านพูดว่า คนที่เก่งต้องเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส และวิกฤติจะทำให้เราเรียนรู้อะไรหลายอย่าง เราก็คิดว่าจะทำได้อย่างไร แต่วันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าเซ็นทรัลแข็งแกร่งขึ้นเยอะ"
เครื่องมือสำคัญที่บริษัทได้มาจากวิกฤติครั้งนั้น คือ Cash Management สำคัญมากสำหรับธุรกิจในการบริหารกระแสเงินสด การบริหารจัดการองค์กร การทำงานรัดกุมมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกที่สั่นคลอนของเซ็นทรัลคลี่คลายได้ในเวลาเพียง 2 ปี อย่าง "ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน" เวลานั้น "ล้ม" มูลหนี้มากกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่ขณะนี้เป็น "0" สิ่งที่เซ็นทรัลต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของ ทั้งคาร์ฟูร์ บิ๊กซี ท็อปส์ แต่เวลานี้ท็อปส์ได้กลับคืนมาในช่วงที่รอยัล เอโฮลด์มีปัญหาเป็นโอกาสให้ "ซื้อถูก" ส่วนกิจการบิ๊กซี แม้เซ็นทรัลจะมีสัดส่วนหุ้นข้างน้อยแต่ธุรกิจประสบความสำเร็จและมีมูลค่ามากขึ้น
ก่อนหน้านี้ สมาคมห้างสรรพสินค้าโลก หรือ ไอจีดีเอส (IGDS - Intercontinental Group of Department Stores) ยังได้แต่งตั้ง ยุวดี พิจารณ์จิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด รับตำแหน่งประธานสมาคมฯ (วาระ 2 ปี ระหว่างปี 2547-2549) นับเป็นผู้หญิงคนแรกในรอบ 58 ปีของการก่อตั้งสมาคมฯ ด้วย ในฐานะประธานไอจีดีเอสของยุวดีในครั้งนั้น ประชาคมห้างสรรพสินค้าทั่วโลกย่อมรู้จักห้างเซ็นทรัลและประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะ "มาตรฐาน" ของธุรกิจปูทางสู่การขยายตลาดต่างประเทศในวันนี้ได้เป็นอย่างดี
หลังเซ็นทรัลซื้อคืนท็อปส์กลับสู่อ้อมอก ยังได้ปลุกปั้นและแตกไลน์ร้านซูเปอร์มาร์เก็ตหลายระดับเจาะตรงลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดย "เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์" ยังเป็นหนึ่งในกิจการที่หมายตาสำหรับลงทุนในต่างประเทศ...สามารถคว้ารางวัลอันดับ 3 ของสุดยอดฟู้ดสโตร์ระดับโลก หรือ The Worlds Greatest Food Retailers จากนิตยสารเดอะโกรเซอร์ (The Grocer) แห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่มียอดขายสูงสุดในประเทศอังกฤษ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ นับเป็นฟู้ดสโตร์แบรนด์ไทยรายเดียวในเอเชียที่ติดอันดับ 1 ใน 5
เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ ถูกพัฒนาขึ้นในเวลาเพียง 3 ปี เทียบกับผู้ประกอบการรายอื่นที่อยู่ในตลาดมากว่า 100 ปี บางแห่งสูงถึง 300 ปี การจัดอันดับธุรกิจครั้งนี้ ...แสดงถึงความแข็งแกร่งทางธุรกิจของเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ท่ามกลางการทำตลาดที่แข็งแรงของเครือข่ายดิสเคาท์สโตร์และคอนวีเนียนสโตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท ได้รับรางวัลมาแล้วอีก 3 รางวัล อาทิเช่น จากรีดเดอร์ส ไดเจสท์ สมาคมอาหารและเครื่องดื่ม และเป็น 1 ใน 10 ของร้านที่น่าจับตามองของโลก
นอกเหนือจากกิจการห้างสรรพสินค้าแล้ว ในกลุ่มของศูนย์การค้ายังถือเป็น เรือธง ของทุนไทยที่ต่างชาติไม่ย่างกรายเข้ามาเฉียด..มีเพียงกลุ่มเซ็นทรัลและเดอะมอลล์ผูกขาดการแข่งขัน ช่วงชิงทำเลงามผุดชอปปิงมอลล์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีนี้ การเกิดขึ้นของ "สยามพารากอน" ของกลุ่มเดอะมอลล์ โปรเจคร่วมทุนกับกลุ่มสยามพิวรรธน์ ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ รวมถึงการเกิดขึ้นของ "เซ็นทรัลเวิลด์" ไม่เพียงตอกย้ำศักยภาพผู้ประกอบการไทยแต่ทั้ง 2 โครงการยังทำหน้าที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาจับจ่ายใช้สอย
ไม่เกิน 4 ปีจากนี้ ย่านกลางเมืองยังจะมีอย่างน้อย 2 โครงการใหญ่ ของกลุ่มเซ็นทรัล คือการพัฒนาที่ดินสวนลุมไนท์บาซาร์ (เตรียมทหารเก่า) มูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 1หมื่นล้านบาท และเมกะโปรเจคที่ดินสถานทูตอังกฤษรอลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท เช่นกัน พิสูจน์ฝีมือภายใต้โจทย์ที่มองการเติบโตของกรุงเทพฯ 50-100 ปีข้างหน้าเลยทีเดียวว่าเป็นอย่างไร เพื่อพัฒนาพื้นที่ซึ่งเป็นไพร์มแลนด์ ซึ่งต้องมองย้อนไปถึงเมืองใหญ่ทั่วโลกมีแนวทางการเติบโตมาอย่างไร เพื่อนำมาประยุกต์ พัฒนาโครงการบนไพร์มแอเรียแห่งนี้ ให้สอดคล้องกับการเติบโตของเมือง ...
ผู้บริหารซีอาร์ซี เชื่อว่า ใน 20 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ ยังจะมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงเมืองชอปปิงใหญ่ระดับโลกอย่างสิงคโปร์ โตเกียว นิวยอร์ก ปารีส จะเห็นว่าเมืองเหล่านี้ ถูกพัฒนามานานหลายสิบปี เมื่อเมืองเติบโตเต็มที่ก็เริ่มอยู่นิ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้มาก แต่จะมีความชัดเจนในความเป็นแหล่งชอปปิงที่คนทั่วโลกรู้จัก
อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลต่อแผนการพัฒนาโครงการชอปปิงสตรีทบริเวณถนนสุขุมวิทในขณะนี้ เริ่มชัดเจนขึ้น จากแนวทางพัฒนาธุรกิจของภาคเอกชนเปิดบริการศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าใน 10-30 ปีข้างหน้า ยังคงความเป็นชอปปิงสตรีทเพียงเส้นเดียวในกรุงเทพฯ ไม่มีถนนสายอื่นเทียบเคียงได้ นับเป็นทำเลทองแหล่งของสินค้าระดับไฮเอนด์และนี่คือโปรเจคใหญ่ภายใต้ฝีมือ "ทุนไทย" สร้างชื่อให้ประเทศไทยติดทำเนียบหนึ่งในชอปปิงสตรีทของโลก
http://www.bangkokbiznews.com/2007/spec ... l/p17.html
ค้าปลีกเซ็กเมนท์ ดิสเคาท์สโตร์ ถูกต่างชาติรุกไล่จนนักลงทุนไทยต้องถอยกรูด แต่สำหรับ "ห้างสรรพสินค้า" และศูนย์การค้าเจ้าของยังเป็นคนไทย ตรงข้ามกับห้างต่างชาติหลายแบรนด์ ที่ต้องม้วนเสื่อกลับบ้าน แต่กิจการห้างสรรพสินค้าสัญชาติไทยกำลังก้าวสู่อินเตอร์
ขณะที่ "ทุนข้ามชาติ" เปิดเกมรุกยึดครองตลาดดิสเคาท์สโตร์ นับตั้งแต่วิกฤตการณ์ปี 2540 เป็นต้นมา ไม่เพียงกระทบ "ทุนไทย" และบรรดาร้านค้าปลีกขนาดย่อย..ทยอยล้มหายตายจากไปบางส่วนเท่านั้น หากแต่กิจการค้าปลีกต่างประเทศที่พาเหรดเข้าลงทุนในเมืองไทยก่อนหน้านี้ ก็ไม่สามารถต้านทานสงครามราคาและดีกรีการแข่งขันบนเวทีค้าปลีกไทยที่ว่ากันว่ารุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งของโลกทีเดียว...จำต้องม้วนเสื่อกลับบ้านเป็นทิวแถว ทั้งห้างญี่ปุ่นชื่อดังตั้งแต่ เยาฮัน โซโก้ ไดมารู รวมถึงเชนสโตร์ซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างฟู้ด ไลอ้อน จากเบลเยียม และรอยัล เอโฮลด์ แห่งเนเธอร์แลนด์ ซึ่งเคยร่วมทุนกลุ่มเซ็นทรัลรีเทลดำเนินกิจการ "ท็อปส์"
ห้างสรรพสินค้าต่างชาติเหล่านี้ล้วนเผชิญแรงบีบทางด้านราคาจากเครือข่ายร้านดิสเคาท์สโตร์ที่ขยายเครือข่ายประชิดตัวช่วงชิงฐานลูกค้า เวลาเดียวกันยังต้องสู้กับกลยุทธ์การแข่งขันของ "ห้างไทย" ที่ชำนาญพื้นที่ ...สามารถพลิกเกมให้สอดรับพฤติกรรมบริโภคและความต้องการของลูกค้าได้ทันท่วงที ขณะที่แนวทางบริหารของห้างยักษ์ใหญ่จากแดนปลาดิบอยู่ในแนวอนุรักษนิยม การตัดสินใจต้องมาจากบริษัทแม่ ทำให้การปรับเปลี่ยนใดๆ ค่อนข้างล่าช้า
จังหวะที่ "ห้างญี่ปุ่น" ถอนทัพกลับบ้าน สถานะ "ห้างสรรพสินค้า" เริ่มเข้าสู่การแข่งขันน้อยรายในผู้ประกอบการประเภทเดียวกัน ทั้งเป็น "ทุนไทย" เช่นเดียวกัน ประกอบกับเทรนด์การตลาดมุ่งสู่ทฤษฎีการสร้างแบรนด์เพื่อตอกย้ำ "จุดยืนทางธุรกิจ" ให้มีความชัดเจนและแตกต่างจากคู่แข่งขันเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน กลับเป็นโอกาสของ "ห้างไทย" ผงาดแทรกตลาดดิสเคาท์สโตร์อีกครั้ง
ภายใต้ "วิกฤติ" ยังมีโอกาส ที่ทุนค้าปลีกไทย "เซ็นทรัล" พิสูจน์ให้เห็นว่า "เกมตั้งรับ"สามารถพลิกกลับมาสร้างโอกาสใหม่ได้ ท่ามกลางนาทีทองของยักษ์ใหญ่ดิสเคาท์สโตร์เร่งสยายปีกอย่างไร้คู่แข่ง...ช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ถือเป็น "ยุคทอง" ของกลุ่มเซ็นทรัลที่มีการแตกแขนงกิจการหลากหลายรูปแบบสร้างการเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะค้าปลีกเครือเซ็นทรัล จากเดิมที่มีเพียง "ห้างเซ็นทรัล" ในการขยายตลาดได้เปิดธุรกิจค้าปลีกใหม่ขึ้นจำนวนมาก
นับจากนี้ไปสถานะบริษัทค้าปลีกคนไทยอย่าง "เซ็นทรัล" กำลังก้าวข้ามพรมแดนไทย เปิดตลาดนอกบ้านทั้งจีน เวียดนาม และประเทศอื่นๆ ในอาเซียน โกยเงินลูกค้าต่างชาติ โดยใช้ "ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล" กับประสบการณ์ 60 ปีพร้อมรางวัลเดอะเบส รีเทลเลอร์ การันตี เป็นหัวหอกเปิดการลงทุนในตลาดอาเซียนมูลค่าการลงทุนระดับหมื่นล้านบาทก้าวสู่ความเป็น "ริจินัล คัมปะนี" ในอนาคตอันใกล้ นับเป็นจุดเปลี่ยนในอุตสาหกรรมค้าปลีกไทยครั้งใหญ่
ทศ จิราธิวัฒน์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เซ็นทรัลรีเทล คอร์ปอเรชั่น จำกัด (ซีอาร์ซี) ผู้บริหารเครือข่ายธุรกิจค้าปลีก ประกอบด้วย ห้างเซ็นทรัล โรบินสัน เซน ร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าเฉพาะอย่างเพาเวอร์บาย ซูเปอร์สปอร์ต โฮมเวิร์ค บีทูเอส ออฟฟิศ ดีโป้ ซูเปอร์มาร์เก็ตภายใต้แบรนด์ท็อปส์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ และเซ็นทรัลออนไลน์ กล่าวว่า วิกฤตการณ์ปี 2540 เปรียบเสมือนเบ้าหลอมความแข็งแกร่งให้กับเซ็นทรัล และเป็นบทเรียนครั้งสำคัญว่าเมื่อเกิดวิกฤติใดๆ ก็ตาม "ถ้าเราสู้" ก็จะทำให้ได้โอกาสและแข็งแกร่งมากขึ้น เพราะมีโอกาสซื้อของถูก คู่แข่งล้มหายไปมาก
ย้อนกลับไปเมื่อเช้าวันประกาศลอยตัวค่าเงินบาท ทศ บอกว่า "ตื่นขึ้นมาตอนนั้นรู้แต่ว่าหนี้บาน..เพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว เพราะกู้นอกเยอะ ช่วงแรกรู้สึกท้อแท้มาก เพราะสิ่งที่ทำมาก่อนหน้านั้น 10 ปีหายไปหมด แต่มีผู้ใหญ่บางท่านพูดว่า คนที่เก่งต้องเปลี่ยนวิกฤติเป็นโอกาส และวิกฤติจะทำให้เราเรียนรู้อะไรหลายอย่าง เราก็คิดว่าจะทำได้อย่างไร แต่วันนี้ก็พิสูจน์แล้วว่าเซ็นทรัลแข็งแกร่งขึ้นเยอะ"
เครื่องมือสำคัญที่บริษัทได้มาจากวิกฤติครั้งนั้น คือ Cash Management สำคัญมากสำหรับธุรกิจในการบริหารกระแสเงินสด การบริหารจัดการองค์กร การทำงานรัดกุมมากขึ้น ทำให้สถานการณ์ธุรกิจค้าปลีกที่สั่นคลอนของเซ็นทรัลคลี่คลายได้ในเวลาเพียง 2 ปี อย่าง "ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน" เวลานั้น "ล้ม" มูลหนี้มากกว่า 2 หมื่นล้านบาท แต่ขณะนี้เป็น "0" สิ่งที่เซ็นทรัลต้องสูญเสียความเป็นเจ้าของ ทั้งคาร์ฟูร์ บิ๊กซี ท็อปส์ แต่เวลานี้ท็อปส์ได้กลับคืนมาในช่วงที่รอยัล เอโฮลด์มีปัญหาเป็นโอกาสให้ "ซื้อถูก" ส่วนกิจการบิ๊กซี แม้เซ็นทรัลจะมีสัดส่วนหุ้นข้างน้อยแต่ธุรกิจประสบความสำเร็จและมีมูลค่ามากขึ้น
ก่อนหน้านี้ สมาคมห้างสรรพสินค้าโลก หรือ ไอจีดีเอส (IGDS - Intercontinental Group of Department Stores) ยังได้แต่งตั้ง ยุวดี พิจารณ์จิตร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สรรพสินค้าเซ็นทรัล จำกัด รับตำแหน่งประธานสมาคมฯ (วาระ 2 ปี ระหว่างปี 2547-2549) นับเป็นผู้หญิงคนแรกในรอบ 58 ปีของการก่อตั้งสมาคมฯ ด้วย ในฐานะประธานไอจีดีเอสของยุวดีในครั้งนั้น ประชาคมห้างสรรพสินค้าทั่วโลกย่อมรู้จักห้างเซ็นทรัลและประเทศไทยมากขึ้น โดยเฉพาะ "มาตรฐาน" ของธุรกิจปูทางสู่การขยายตลาดต่างประเทศในวันนี้ได้เป็นอย่างดี
หลังเซ็นทรัลซื้อคืนท็อปส์กลับสู่อ้อมอก ยังได้ปลุกปั้นและแตกไลน์ร้านซูเปอร์มาร์เก็ตหลายระดับเจาะตรงลูกค้าเป้าหมายแต่ละกลุ่ม โดย "เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์" ยังเป็นหนึ่งในกิจการที่หมายตาสำหรับลงทุนในต่างประเทศ...สามารถคว้ารางวัลอันดับ 3 ของสุดยอดฟู้ดสโตร์ระดับโลก หรือ The Worlds Greatest Food Retailers จากนิตยสารเดอะโกรเซอร์ (The Grocer) แห่งอังกฤษ ซึ่งเป็นนิตยสารเกี่ยวกับอาหารและเครื่องดื่มที่มียอดขายสูงสุดในประเทศอังกฤษ เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ นับเป็นฟู้ดสโตร์แบรนด์ไทยรายเดียวในเอเชียที่ติดอันดับ 1 ใน 5
เซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์ ถูกพัฒนาขึ้นในเวลาเพียง 3 ปี เทียบกับผู้ประกอบการรายอื่นที่อยู่ในตลาดมากว่า 100 ปี บางแห่งสูงถึง 300 ปี การจัดอันดับธุรกิจครั้งนี้ ...แสดงถึงความแข็งแกร่งทางธุรกิจของเซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล ท่ามกลางการทำตลาดที่แข็งแรงของเครือข่ายดิสเคาท์สโตร์และคอนวีเนียนสโตร์ ซึ่งก่อนหน้านี้บริษัท ได้รับรางวัลมาแล้วอีก 3 รางวัล อาทิเช่น จากรีดเดอร์ส ไดเจสท์ สมาคมอาหารและเครื่องดื่ม และเป็น 1 ใน 10 ของร้านที่น่าจับตามองของโลก
นอกเหนือจากกิจการห้างสรรพสินค้าแล้ว ในกลุ่มของศูนย์การค้ายังถือเป็น เรือธง ของทุนไทยที่ต่างชาติไม่ย่างกรายเข้ามาเฉียด..มีเพียงกลุ่มเซ็นทรัลและเดอะมอลล์ผูกขาดการแข่งขัน ช่วงชิงทำเลงามผุดชอปปิงมอลล์ขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วง 1-2 ปีนี้ การเกิดขึ้นของ "สยามพารากอน" ของกลุ่มเดอะมอลล์ โปรเจคร่วมทุนกับกลุ่มสยามพิวรรธน์ ผู้บริหารศูนย์การค้าสยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่เซ็นเตอร์ รวมถึงการเกิดขึ้นของ "เซ็นทรัลเวิลด์" ไม่เพียงตอกย้ำศักยภาพผู้ประกอบการไทยแต่ทั้ง 2 โครงการยังทำหน้าที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจากทั่วโลกเข้ามาจับจ่ายใช้สอย
ไม่เกิน 4 ปีจากนี้ ย่านกลางเมืองยังจะมีอย่างน้อย 2 โครงการใหญ่ ของกลุ่มเซ็นทรัล คือการพัฒนาที่ดินสวนลุมไนท์บาซาร์ (เตรียมทหารเก่า) มูลค่าโครงการไม่ต่ำกว่า 1หมื่นล้านบาท และเมกะโปรเจคที่ดินสถานทูตอังกฤษรอลงทุนไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นล้านบาท เช่นกัน พิสูจน์ฝีมือภายใต้โจทย์ที่มองการเติบโตของกรุงเทพฯ 50-100 ปีข้างหน้าเลยทีเดียวว่าเป็นอย่างไร เพื่อพัฒนาพื้นที่ซึ่งเป็นไพร์มแลนด์ ซึ่งต้องมองย้อนไปถึงเมืองใหญ่ทั่วโลกมีแนวทางการเติบโตมาอย่างไร เพื่อนำมาประยุกต์ พัฒนาโครงการบนไพร์มแอเรียแห่งนี้ ให้สอดคล้องกับการเติบโตของเมือง ...
ผู้บริหารซีอาร์ซี เชื่อว่า ใน 20 ปีข้างหน้ากรุงเทพฯ ยังจะมีการเจริญเติบโตใกล้เคียงเมืองชอปปิงใหญ่ระดับโลกอย่างสิงคโปร์ โตเกียว นิวยอร์ก ปารีส จะเห็นว่าเมืองเหล่านี้ ถูกพัฒนามานานหลายสิบปี เมื่อเมืองเติบโตเต็มที่ก็เริ่มอยู่นิ่งไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้มาก แต่จะมีความชัดเจนในความเป็นแหล่งชอปปิงที่คนทั่วโลกรู้จัก
อีกทั้งนโยบายของรัฐบาลต่อแผนการพัฒนาโครงการชอปปิงสตรีทบริเวณถนนสุขุมวิทในขณะนี้ เริ่มชัดเจนขึ้น จากแนวทางพัฒนาธุรกิจของภาคเอกชนเปิดบริการศูนย์การค้าขนาดใหญ่อย่างต่อเนื่อง เชื่อว่าใน 10-30 ปีข้างหน้า ยังคงความเป็นชอปปิงสตรีทเพียงเส้นเดียวในกรุงเทพฯ ไม่มีถนนสายอื่นเทียบเคียงได้ นับเป็นทำเลทองแหล่งของสินค้าระดับไฮเอนด์และนี่คือโปรเจคใหญ่ภายใต้ฝีมือ "ทุนไทย" สร้างชื่อให้ประเทศไทยติดทำเนียบหนึ่งในชอปปิงสตรีทของโลก
http://www.bangkokbiznews.com/2007/spec ... l/p17.html
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/07/07
โพสต์ที่ 36
ศึกคอมมูนิตี้ มอลล์ ร้อนฉ่าเซ็นทรัล โลตัส ขอขย่ม เอสเอฟ
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 กรกฎาคม 2550 14:34 น.
ผู้จัดการรายสัปดาห์ - * อุณหภูมิร้อนในสมรภูมิศูนย์การค้าชุมชนกำลังเพิ่มขึ้นทุกขณะ เมื่อรายใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงกระโดดร่วมวงด้วยคน * เมื่อเป็นเช่นนี้รายเก่าจึงต้องปรับกลยุทธ์ให้สามารถสู้ศึกใหญ่ที่กำลังถั่งโถมเข้ามา ด้วยค่ายใหม่ล้วนมีไม้เด็ดที่ประสบความสำเร็จในวงการค้าปลีกมาแล้ว * รูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์จะหลากหลายมากขึ้นตามจุดแข็งแต่ละราย
สถานการณ์คอมมูนิตี้ มอลล์ หรือศูนย์การค้าในชุมชน กำลังทวีความร้อนแรงมากขึ้นทุกขณะ หลังจากมีข่าวเมื่อ 1-2 อาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ยักษ์ใหญ่ในวงการดิสเคานต์สโตร์อย่างทางเทสโก้ และพี่เบิ้มในวงการห้างสรรพสินค้า อย่างกลุ่มเซ็นทรัล มีแผนจะสยายปีกเข้ามาในธุรกิจนี้ด้วยคน ซึ่งการที่ทั้งคู่แย้มแผนเช่นนี้ออกมาย่อมก่อให้เกิดแรงสะเทือนขึ้นในวงการคอมมูนิตี้ มอลล์ อย่างช่วยไม่ได้
เหตุผลที่ทั้งคู่หันมาให้ความสนใจในธุรกิจศูนย์การค้าชุมชนต่างมีเหตุผลต่างกัน โดยในส่วนของโลตัส ก็เพื่อที่จะลดแรงต้านจากสังคม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับการขยายสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตซึ่งปัจจุบันมีกว่า 60 สาขา ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าในชุมชนและนำไปสู่การต่อต้านการขยายสาขาของโลตัส กระทั่งมีการวางกรอบในการขยายสาขาของห้างใหญ่ แต่ในที่สุดเทสโก้ โลตัส ก็หาทางออกด้วยการทำโมเดลร้านค้าที่เล็กลง ไม่ว่าจะเป็น ร้านคุ้มค่า ตลาดโลตัส และโลตัส เอ็กซ์เพรส ซึ่งรูปแบบหลังดูจะก่อให้เกิดแรงต้านจากสังคมอีกเนื่องจากมีขนาดที่เล็ก ใช้พื้นที่เพียง 300 ตารางเมตรก็ก่อสร้างได้แล้ว ทำให้สามารถแทรกซึมสู่ชุมชนได้อย่างทั่วถึง โดยปัจจุบันโลตัส เอ็กซ์เพรสมีสาขามากเกือบ 200 สาขา กระทบไปถึงร้านโชวห่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นโลตัสจึงพยายามหาโมเดลที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนด้วยการทดลองสาขารูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า เทสโก้ โลตัส คอมมูนิตี้ มอลล์ โดยมีโลตัสเอ็กซ์เพรสเป็นตัวเอก และเปิดพื้นที่ว่างให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้ามาค้าขาย นอกจากนี้ยังมีสินค้าและบริการอื่นๆที่จะตอบสนองวิถีชีวิตของผู้บริโภคเช่นธนาคาร ร้านอาหาร สถาบันการศึกษา มาร่วมสร้างชุมชน คอมมูนิตี้ มอลล์ โดยจับตลาดชุมชนเกิดใหม่หรือตามหมู่บ้านจัดสรรซึ่งมีข่าวออกมาว่าอาจมีการทำ เทสโก้ โลตัส คอมมูนิตี้ มอลล์ มากถึง 5 แห่งในปีนี้ โดยเริ่มทดลองสาขาแรกที่ย่านรังสิต คลอง 2
"เวลาเราเข้าไป เราไปยกระดับคุณภาพชีวิตเขาให้ดีขึ้น เราไม่ได้ไปแข่งกับเขา จึงไม่มีปัญหากับชุมชน อย่างกรณีย่านทองหล่อ ซึ่งหลังวิกฤติเศรษฐกิจมีร้านค้าในย่านนั้นปิดตัวไป แต่พอเราเข้าไปทำเจ อะเวนิว สร้างสีสันให้กับชุมชน ปัจจุบันทองหล่อกลับมาเป็นไลฟ์สไตล์สตรีต ร้านค้าในย่านนั้นต่างก็ได้รับอานิสงส์ที่ดีด้วย" เป็นคำกล่าวอของ นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ที่ยืนยันชัดเจนว่าคอมมูนิตี้ มอลล์ เป็นโมเดลที่ไม่มีปัญหากับชุมชน
จะว่าไปแล้ว หากลองพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่าคอมมูนิตี้ มอลล์ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ เทสโก้ โลตัส เพราะในการทำสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ต นอกจากโลตัสจะเป็นผู้ค้าแล้วยังปล่อยพื้นที่ให้ร้านค้าเข้าไปเช่า อีกทั้งมีฟู้ดคอร์ตซึ่งก็ถือว่าเป็นคอมมูนิตี้แบบหนึ่งเพียงแต่มีขนาดที่ใหญ่
ในส่วนของเซ็นทรัลก็เป็นการเชื้อเชิญจากกลุ่มอารียา พร็อพเพอร์ตี้ ที่ทำโครงการคอนโดเอสเปซที่สุขุมวิท 77 ทองหล่อ โดยมีการเตรียมพื้นที่ไว้ 7 ไร่เพื่อรองรับการสร้างคอมมูนิตี้ มอลล์ ตอบสนองความต้องการให้กับผู้พักอาศัยในโครงการ ซึ่งนอกจากมีการเจรจากับกลุ่มเซ็นทรัลแล้วยังมีการเจรจากับกลุ่มสยามฟิวเจอร์ด้วย ทำให้เซ็นทรัลไม่อาจละทิ้งดิวนี้ได้ เพราะกลุ่มเป้าหมายที่มาพักอาศัยในโครงการเป็นกลุ่มเดียวกับลูกค้าที่มาใช้บริการในเซ็นทรัล การเปิดโอกาสให้คู่แข่งเข้ามาชิงตลาดจึงเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ที่สำคัญหากปล่อยให้คู่แข่งเข้ามาสร้างตลาดชุมชนเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เท่ากับทำให้ผู้บริโภคเหล่านั้นคุ้นเคยกับการใช้บริการใกล้บ้าน ส่งผลให้เดินทางไปห้างใหญ่น้อยลง ดังนั้นเซ็นทรัลจึงยังต้องพยายามที่จะให้ผู้บริโภคเหล่านี้นึกถึงเซ็นทรัลเป็นแห่งแรกในการชอปปิ้ง
ที่ผ่านมาอาจจะมีหลายค่ายออกมาทำคอมมูนิตี้แต่ก็เป็นเพียงรายเล็กๆที่ไม่ได้ชำนาญด้านศูนย์การค้าโดยตรง ทำให้สยามฟิวเจอร์ไม่ต้องหวั่นเกรงอะไรมากนัก แต่สำหรับเทสโก้ โลตัส และเซ็นทรัล เป็นคู่แข่งที่สยามฟิวเจอร์จะประมาทมิได้ เพราะด้วยศักยภาพและสายป่านที่ยาว การเป็นยักษ์ใหญ่มีพันธมิตรมาก ย่อมสามารถต่อกรกับสยามฟิวเจอร์ได้อย่างสบาย อีกทั้งกลุ่มเซ็นทรัลถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่างๆมากมาย ประกอบกับการมีธุรกิจในเครือทั้งกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และโรงแรม ย่อมเกื้อกูลกันได้ดีหากจะทำคอมมูนิตี้ มอลล์ขึ้นมาสักแห่ง
อย่างไรก็ดีสยามฟิวเจอร์ยังคงกัดฟันพูดว่าการมีคู่แข่งมากเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะช่วยผลักดันตลาดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากคอมมูนิตี้ในเมืองไทยยังถือว่าเป็นช่วงที่ยังต้องเอ็ดดูเคตให้ผู้บริโภคได้รู้จักและคุ้นเคยมากกว่านี้ ดังนั้นการมีคู่แข่งมากจึงถือเป็นอัตราเร่งให้สยามฟิวเจอร์ได้ลงมือทำโปรเจกต่างๆที่ยังไม่พร้อมให้มีความพร้อมมากขึ้น
นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ให้ทัศนะว่าการทำธุรกิจเป็นความถนัด ซึ่งกรณีของตนคือความถนัดในการทำคอมมูนิตี้มอลล์ที่อาศัยพื้นฐานจากการทำตลาดสดย่านมีนบุรีมาก่อน ในขณะที่กลุ่มเซ็นทรัลมีความถนัดในการทำห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ถ้าจะมาทำคอมมูนิตี้ มอลล์ โดยลำพังก็เป็นเรื่องยาก ขณะที่สยามฟิวเจอร์มีพันธมิตรหลายราย โดยเฉพาะผู้ร่วมทุนอย่างเครือเมเจอร์ที่ช่วยสร้างสีสันให้กับคอมมูนิตี้ มอลล์ได้มากกว่า
ก่อนหน้านี้มีการประกาศตัวเข้าสู่ธุรกิจศูนย์การค้าชุมชนมากมายไม่ว่าจะเป็น เพียวเพลส ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างโรงกลั่นน้ำมัน คือ ระยองเพียวริฟายเออร์ ร่วมกับ สัมมากรซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อตั้งบริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ เพื่อพัฒนา Community Mall โดยแห่งแรกตั้งอยู่หน้าหมู่บ้านสัมมากร รังสิต คลอง 2 บนพื้นที่ 6.73 ไร่ มีการใช้งบลงทุน 120 ล้านบาท โดยวางคอนเซ็ปต์ที่เน้น "ชีวิตพอเพียง ทันสมัย ใกล้บ้าน" และเป็นศูนย์การค้าประชาคมที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยมีจัสโก้ซูเปอร์มาร์เก็ต พร้อมด้วยร้านอาหาร ธนาคาร และบริการต่างๆ และมีปั๊มน้ำมันเพียวเป็นอีกแม่เหล็กหนึ่งในการดึงดูดลูกค้าในย่านดังกล่าว โดยคาดการณ์ว่าจะมีลูกค้ามาใช้บริการวันละ 4,000-5,000 คน พร้อมกันนี้ยังตั้งเป้าที่จะขยาย Community Mall เพิ่มเป็น 5 สาขาใน 5 ปีภายใต้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เพียว เพลส ถือเป็น Community Mall ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการหมู่บ้านของสัมมากรส่วนระยองเพียวริฟายเออร์ก็ได้ประโยชน์จากการขยายปั๊มน้ำมันเพียวเข้าสู่ตลาดกรุงเทพฯและปริมณฑล
นอกจากนี้และยังมีรายเล็กรายย่อยรวมถึงยักษ์ใหญ่อีกหลายรายโดยเฉพาะธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าที่มาอาศัยในโครงการด้วยการสร้างคอมมูนิตี้ มอลล์ ออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น เช่น แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ ใช้บริษัทในเครือคือ พรสันติ ในการทำ Community Mall หน้าโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆที่ได้ก่อสร้างไปก่อนหน้านี้ ในขณะที่ เค.อี.แลนด์ ก็มีการสร้าง Community Mall ภายใต้คอนเซ็ปต์ แฟมิลี่ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ โดยใช้ชื่อว่า เดอะ คริสตัล หน้าโครงการ คริสตัล พาร์ค
รูปแบบและแนวโน้มคอมมูนิตี้ มอลล์
คอมมูนิตี้ มอลล์ แบบเดิมๆจะค่อนข้างใหญ่ แต่แนวโน้มต่อไปคือมีขนาดเล็กลงเพราะห้างใหญ่มีข้อจำกัดด้านกฎหมาย และอาจจะเล็กลงในระดับคอนวีเนียนสโตร์แต่เข้าถึงลูกค้าได้ใกล้ชิดมากขึ้น โดยมีพันธมิตรอื่นๆเป็นองค์ประกอบในการดึงดูดผู้บริโภค ปั๊มน้ำมันก็ถือเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์ หรือศูนย์การค้าชุมชนได้เช่นกันเพราะสามารถไปได้ทุกที่ทั้งกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด โดยมีร้านค้าในปั๊มมาช่วยเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภค
"สยามฟิวเจอร์ เรามีการอัพสเกล คอมมูนิตี้ มอลล์ เพื่อเซิร์ฟย่านที่มีกำลังซื้อสูง โดยมีซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีระดับ มีเอนเตอร์เทนเมนต์ มีร้านอาหาร และสินค้าอื่นๆที่สนองไลฟ์สไตล์ เนื่องจากผู้บริโภคยุคนี้ยอมจ่ายหาสินค้านั้นสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของเขา แต่เราก็ไม่ได้ทิ้งศูนย์การค้าชานเมือง เพียงแต่อาจจะมีจำนวนไม่มากนัก" นพพร กล่าว
สำหรับสยามฟิวเจอร์มีการจำแนกรูปแบบคอมมูนิตี้ มอลล์ ออกเป็น 4 แบบคือ คอนวีเนียน เซ็นเตอร์ พื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตร มีคอนวีเนียนสโตร์เป็นแม่เหล็ก โดยสยามฟิวเจอร์มีอยู่ 3 แห่ง ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่มีสเกลที่เล็ก ทำให้สยามฟิวเจอร์ หันไปเน้นรูปแบบที่เป็นไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์มากขึ้น ซึ่งทำให้ต้องมีการศึกษาเทรนด์ใหม่ๆในตลาดอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นความนิยมในการอยู่ การกิน โดยผู้บริโภคจะได้รับอิทธิพลจากการสื่อสารเนื่องจากปัจจุบันช่องทางสื่อสารมีมากมายไม่ว่าจะเป็นทีวี สิ่งพิมพ์ โรงภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้บริโภคได้รับรู้ข่าวสารได้ไว และแต่ละคนต่างก็มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น จึงเกิดไลฟ์สไตล์ใหม่ๆมากมาย
แบบที่ 2 คือ คอมมูนิตี้ มอลล์หรือ เนเบอร์ฮูด ชอปปิ้ง เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบของตลาดสดกลายพันธุ์มีซูเปอร์มาร์เก็ต
แบบที่ 3 เป็นคอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์ มีพื้นที่ใหญ่ขึ้น มีไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้บริโภค และ
แบบสุดท้ายเป็น ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการอัพสเกลในย่านที่มีกำลังซื้อสูง และมีสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตลรวมถึงเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย
ทั้งนี้คอมมูนี้ตี้ มอลล์ ที้ง 4 รูปแบบ ต่างมีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป โดยในส่วนของสยามฟิวเจอร์ตั้งเป้าที่จะขยายสาขา 5 แห่งในปีนี้ แบ่งเป็น ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ 2 แห่ง เนเบอร์ ฮูด 2 แห่ง และคอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์ 1 แห่ง
อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์ ขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม ต่างก็มีจุดขายที่แตกต่างจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีสินค้าครบเครื่องให้ผู้บริโภคไปเดินชอปปิ้งไม่ว่าจะเป็นไฮแบรนด์ แฟชั่น เพชร อัญมณี หรือแม้แต่รถยนต์
ในขณะที่คอมมูนิตี้ มอลล์ เน้นตอบสนองชีวิตประจำวัน มีซูเปอร์มาร์เก็ต มีบริการธนาคาร ไปรษณีย์ คลินิก ร้านทำผม ขายยา โรงเรียนสอนดนตรี ทำให้มีทราฟฟิกที่สูงกว่าห้าง โดยนพพรคาดว่าผู้บริโภคมีการใช้บริการในคอมมูนิตี้ มอลล์ 8 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ไปใช้บริการในห้างใหญ่เพียง 4 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น
ในการเกิดขึ้นของชุมชนมากมายจะมีมาตรฐานอย่างไรที่จะทำสาขามิให้เกิดการแข่งขันกันเอง นพพร ให้ทัศนะว่าพันธมิตรจะเป็นผู้ให้คำตอบว่ารัศมีแค่ไหนที่ควรขยายสาขาโดยไม่กระทบกับสาขาที่มีอยู่
คีย์ซักเซส
แม้คอมมูนิตี้ มอลล์ จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกที่จะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นจะต้องอาศัยกุญแจแห่งความสำเร็จซึ่ง
ประการแรกคือเรื่องของทำเล
ประการต่อมาคือการวางคอนเซ็ปต์ของศูนย์ฯ และ
ยังมีเรื่องของการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของประสบการณ์และชื่อเสียงซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องสั่งสม แต่ก็มิได้หมายความว่ารายใหม่จะไม่สามารถเข้ามาได้ เนื่องจากตลาดยังไม่อิ่มตัว ยังมีช่องว่างสำหรับคอมมูนิตี้ มอลล์ เพราะการขยายตัวของเมืองยังมีอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของการค้ารูปแบบเดิมๆก็เป็นโอกาสให้เกิดคอมมูนิตี้ มอลล์ หรือตลาดสดกลายพันธุ์ แต่ทั้งนี้ในบางพื้นที่ก็ยังไม่มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นโมเดิร์นเทรด ดังนั้นการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้ตลาดแบบเดิมมีความทันสมัยขึ้นมาได้ ผนวกกับการมีพันธมิตรก็จะช่วยให้เกิดเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์ขึ้นมาได้
"ในช่วงที่เศรษฐกิจตก คนที่อยู่ได้คือคนที่บริหารเป็น เรามีทุนน้อย ก็นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ประสิทธิภาพเกิดจากการบริหารที่ดี อย่างกรณีที่ดินเรามีมากพอที่จะใช้ในการขยายธุรกิจในช่วง 5 ปีข้างหน้า แต่เราก็ไม่สะสมที่ดินเอาไว้เฉยๆโดยไม่เกิดประโยชน์" นพพร กล่าว
การเกิดขึ้นของคอมมูนิตึ้ มอลล์
"คอมมูนิตี้ มอลล์ เป็นรูปแบบการค้าแบบเดิมๆในชีวิตประจำวันที่เราไม่ได้สังเกต สมัยก่อนมีตึกแถว มีตลาดสด มีชุมชน เพียงแต่ไม่ได้มีการจัดรูปแบบให้ทันสมัย สะดวกสบาย สะอาด ปลอดภัยเหมือนทุกวันนี้ พื้นฐานเดิมผมก็ทำตลาดสดมีนบุรี 60 ไร่ เรามี 2 ตลาด มีรถเมล์มาลง มีห้องแถว 300 กว่าห้อง มีร้านค้ากว่า 3,000 แผง จะเป็นรองก็คงแค่ตลาดยิ่งเจริญกับตลาดรังสิต เราก็มาคิดว่าจะจัดระเบียบอย่างไรให้ตลาดมีความทันสมัย เราก็เปลี่ยนจากตลาดสดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ตึกแถวแบบเดิมที่มีขนาดเท่ากันหมดก็มาทำพื้นที่ใหญ่เล็กให้แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน มีการยกระดับการบริการ มีพื้นที่ส่วนกลาง มีระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งจริงๆแล้วคอมมูนิตี้ มอลล์ก็คือตลาดสดกลายพันธุ์ดีๆนี่เอง" นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ กล่าว
ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาก็มีคอมมูนิตี้มอลล์กว่า 90% จากศูนย์การค้าทั่วอเมริกาที่มีกว่า 45,721 แห่ง ซึ่งหากย้อนไปในอดีตทางยุโรปเองก็จะมีสแควร์ที่มีการค้าขาย มีการแสดงความสามารถต่างๆ นั่นก็ถือเป็นคอมมูนิตี้อย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่คู่โลกมาเป็นพันๆปี เพียงแต่ของใหม่มีการทำให้เป็นโปรเฟสชันนอลมากขึ้น
ดังนั้นจึงถือได้ว่าคอมมูนิตี้ มอลล์เป็นสิ่งที่มีมานานเพียงแต่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มองข้าม หรืออาจจะมีบางคนหันมาทำแต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดความครบเครื่อง ขาดพันธมิตรที่จะมาสร้างสีสันและแรงดึงดูดที่ดีพอ ส่วนใหญ่เราจะเห็นมืออาชีพทำแต่ศูนย์การค้าใหญ่ๆเพราะมี Economy of Scale ที่ใหญ่กว่า
ทั้งนี้โดยความเป็นจริงแล้ว คอมมูนิตี้ มอลล์ ก็มีห้างใหญ่ทำอย่าง โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี มีห้าง มีร้านค้าเช่า มีฟู้ดคอร์ต มีที่จอดรถสะดวก ก็ถือเป็นคอมมูนิตี้กลายๆ เพียงแต่ห้างเหล่านั้นเล่น 2 บทบาท คือมีความเป็นรีเทลเลอร์ร่วมด้วย ดังนั้นถ้าเรานับดิสเคานต์สโตร์เหล่านี้ร่วมด้วยก็เชื่อว่าตลาดคอมมูนิตี้มีไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดเมืองไทย
คอมมูนิตี้ มอลล์ เน้นไปตั้งย่านชุมชน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นใจกลางเมือง โอกาสเติบโตของคอมมูนิตี้จึงมีมากพอสมควรเพราะโตไปพร้อมกับการขยายของเมือง นอกจากนี้การที่ตลาดในเมืองใหญ่มีการแข่งขันสูงก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใครต่อใครกระโดดเข้าสู่คอมมูนิตี้ มอลล์ เนื่องจากไปได้ทุกที่ตั้งแต่ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร แม้กระทั่งคอนโดมิเนียม
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000083383
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 กรกฎาคม 2550 14:34 น.
ผู้จัดการรายสัปดาห์ - * อุณหภูมิร้อนในสมรภูมิศูนย์การค้าชุมชนกำลังเพิ่มขึ้นทุกขณะ เมื่อรายใหม่ที่มีขีดความสามารถสูงกระโดดร่วมวงด้วยคน * เมื่อเป็นเช่นนี้รายเก่าจึงต้องปรับกลยุทธ์ให้สามารถสู้ศึกใหญ่ที่กำลังถั่งโถมเข้ามา ด้วยค่ายใหม่ล้วนมีไม้เด็ดที่ประสบความสำเร็จในวงการค้าปลีกมาแล้ว * รูปแบบคอมมูนิตี้มอลล์จะหลากหลายมากขึ้นตามจุดแข็งแต่ละราย
สถานการณ์คอมมูนิตี้ มอลล์ หรือศูนย์การค้าในชุมชน กำลังทวีความร้อนแรงมากขึ้นทุกขณะ หลังจากมีข่าวเมื่อ 1-2 อาทิตย์ที่ผ่านมาว่า ยักษ์ใหญ่ในวงการดิสเคานต์สโตร์อย่างทางเทสโก้ และพี่เบิ้มในวงการห้างสรรพสินค้า อย่างกลุ่มเซ็นทรัล มีแผนจะสยายปีกเข้ามาในธุรกิจนี้ด้วยคน ซึ่งการที่ทั้งคู่แย้มแผนเช่นนี้ออกมาย่อมก่อให้เกิดแรงสะเทือนขึ้นในวงการคอมมูนิตี้ มอลล์ อย่างช่วยไม่ได้
เหตุผลที่ทั้งคู่หันมาให้ความสนใจในธุรกิจศูนย์การค้าชุมชนต่างมีเหตุผลต่างกัน โดยในส่วนของโลตัส ก็เพื่อที่จะลดแรงต้านจากสังคม หลังจากที่ก่อนหน้านี้ให้ความสำคัญกับการขยายสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ตซึ่งปัจจุบันมีกว่า 60 สาขา ส่งผลกระทบต่อผู้ค้าในชุมชนและนำไปสู่การต่อต้านการขยายสาขาของโลตัส กระทั่งมีการวางกรอบในการขยายสาขาของห้างใหญ่ แต่ในที่สุดเทสโก้ โลตัส ก็หาทางออกด้วยการทำโมเดลร้านค้าที่เล็กลง ไม่ว่าจะเป็น ร้านคุ้มค่า ตลาดโลตัส และโลตัส เอ็กซ์เพรส ซึ่งรูปแบบหลังดูจะก่อให้เกิดแรงต้านจากสังคมอีกเนื่องจากมีขนาดที่เล็ก ใช้พื้นที่เพียง 300 ตารางเมตรก็ก่อสร้างได้แล้ว ทำให้สามารถแทรกซึมสู่ชุมชนได้อย่างทั่วถึง โดยปัจจุบันโลตัส เอ็กซ์เพรสมีสาขามากเกือบ 200 สาขา กระทบไปถึงร้านโชวห่วยอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ดังนั้นโลตัสจึงพยายามหาโมเดลที่จะไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนด้วยการทดลองสาขารูปแบบใหม่ที่ชื่อว่า เทสโก้ โลตัส คอมมูนิตี้ มอลล์ โดยมีโลตัสเอ็กซ์เพรสเป็นตัวเอก และเปิดพื้นที่ว่างให้ชุมชนได้มีโอกาสเข้ามาค้าขาย นอกจากนี้ยังมีสินค้าและบริการอื่นๆที่จะตอบสนองวิถีชีวิตของผู้บริโภคเช่นธนาคาร ร้านอาหาร สถาบันการศึกษา มาร่วมสร้างชุมชน คอมมูนิตี้ มอลล์ โดยจับตลาดชุมชนเกิดใหม่หรือตามหมู่บ้านจัดสรรซึ่งมีข่าวออกมาว่าอาจมีการทำ เทสโก้ โลตัส คอมมูนิตี้ มอลล์ มากถึง 5 แห่งในปีนี้ โดยเริ่มทดลองสาขาแรกที่ย่านรังสิต คลอง 2
"เวลาเราเข้าไป เราไปยกระดับคุณภาพชีวิตเขาให้ดีขึ้น เราไม่ได้ไปแข่งกับเขา จึงไม่มีปัญหากับชุมชน อย่างกรณีย่านทองหล่อ ซึ่งหลังวิกฤติเศรษฐกิจมีร้านค้าในย่านนั้นปิดตัวไป แต่พอเราเข้าไปทำเจ อะเวนิว สร้างสีสันให้กับชุมชน ปัจจุบันทองหล่อกลับมาเป็นไลฟ์สไตล์สตรีต ร้านค้าในย่านนั้นต่างก็ได้รับอานิสงส์ที่ดีด้วย" เป็นคำกล่าวอของ นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ที่ยืนยันชัดเจนว่าคอมมูนิตี้ มอลล์ เป็นโมเดลที่ไม่มีปัญหากับชุมชน
จะว่าไปแล้ว หากลองพิจารณาให้ดีก็จะเห็นว่าคอมมูนิตี้ มอลล์ ไม่ใช่เรื่องใหม่สำหรับ เทสโก้ โลตัส เพราะในการทำสาขาไฮเปอร์มาร์เก็ต นอกจากโลตัสจะเป็นผู้ค้าแล้วยังปล่อยพื้นที่ให้ร้านค้าเข้าไปเช่า อีกทั้งมีฟู้ดคอร์ตซึ่งก็ถือว่าเป็นคอมมูนิตี้แบบหนึ่งเพียงแต่มีขนาดที่ใหญ่
ในส่วนของเซ็นทรัลก็เป็นการเชื้อเชิญจากกลุ่มอารียา พร็อพเพอร์ตี้ ที่ทำโครงการคอนโดเอสเปซที่สุขุมวิท 77 ทองหล่อ โดยมีการเตรียมพื้นที่ไว้ 7 ไร่เพื่อรองรับการสร้างคอมมูนิตี้ มอลล์ ตอบสนองความต้องการให้กับผู้พักอาศัยในโครงการ ซึ่งนอกจากมีการเจรจากับกลุ่มเซ็นทรัลแล้วยังมีการเจรจากับกลุ่มสยามฟิวเจอร์ด้วย ทำให้เซ็นทรัลไม่อาจละทิ้งดิวนี้ได้ เพราะกลุ่มเป้าหมายที่มาพักอาศัยในโครงการเป็นกลุ่มเดียวกับลูกค้าที่มาใช้บริการในเซ็นทรัล การเปิดโอกาสให้คู่แข่งเข้ามาชิงตลาดจึงเป็นเรื่องที่รับไม่ได้ ที่สำคัญหากปล่อยให้คู่แข่งเข้ามาสร้างตลาดชุมชนเจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่มากขึ้น เท่ากับทำให้ผู้บริโภคเหล่านั้นคุ้นเคยกับการใช้บริการใกล้บ้าน ส่งผลให้เดินทางไปห้างใหญ่น้อยลง ดังนั้นเซ็นทรัลจึงยังต้องพยายามที่จะให้ผู้บริโภคเหล่านี้นึกถึงเซ็นทรัลเป็นแห่งแรกในการชอปปิ้ง
ที่ผ่านมาอาจจะมีหลายค่ายออกมาทำคอมมูนิตี้แต่ก็เป็นเพียงรายเล็กๆที่ไม่ได้ชำนาญด้านศูนย์การค้าโดยตรง ทำให้สยามฟิวเจอร์ไม่ต้องหวั่นเกรงอะไรมากนัก แต่สำหรับเทสโก้ โลตัส และเซ็นทรัล เป็นคู่แข่งที่สยามฟิวเจอร์จะประมาทมิได้ เพราะด้วยศักยภาพและสายป่านที่ยาว การเป็นยักษ์ใหญ่มีพันธมิตรมาก ย่อมสามารถต่อกรกับสยามฟิวเจอร์ได้อย่างสบาย อีกทั้งกลุ่มเซ็นทรัลถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินต่างๆมากมาย ประกอบกับการมีธุรกิจในเครือทั้งกลุ่มพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก และโรงแรม ย่อมเกื้อกูลกันได้ดีหากจะทำคอมมูนิตี้ มอลล์ขึ้นมาสักแห่ง
อย่างไรก็ดีสยามฟิวเจอร์ยังคงกัดฟันพูดว่าการมีคู่แข่งมากเป็นเรื่องที่ดีเพราะจะช่วยผลักดันตลาดให้เป็นที่รู้จักมากขึ้น เนื่องจากคอมมูนิตี้ในเมืองไทยยังถือว่าเป็นช่วงที่ยังต้องเอ็ดดูเคตให้ผู้บริโภคได้รู้จักและคุ้นเคยมากกว่านี้ ดังนั้นการมีคู่แข่งมากจึงถือเป็นอัตราเร่งให้สยามฟิวเจอร์ได้ลงมือทำโปรเจกต่างๆที่ยังไม่พร้อมให้มีความพร้อมมากขึ้น
นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ ให้ทัศนะว่าการทำธุรกิจเป็นความถนัด ซึ่งกรณีของตนคือความถนัดในการทำคอมมูนิตี้มอลล์ที่อาศัยพื้นฐานจากการทำตลาดสดย่านมีนบุรีมาก่อน ในขณะที่กลุ่มเซ็นทรัลมีความถนัดในการทำห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ ถ้าจะมาทำคอมมูนิตี้ มอลล์ โดยลำพังก็เป็นเรื่องยาก ขณะที่สยามฟิวเจอร์มีพันธมิตรหลายราย โดยเฉพาะผู้ร่วมทุนอย่างเครือเมเจอร์ที่ช่วยสร้างสีสันให้กับคอมมูนิตี้ มอลล์ได้มากกว่า
ก่อนหน้านี้มีการประกาศตัวเข้าสู่ธุรกิจศูนย์การค้าชุมชนมากมายไม่ว่าจะเป็น เพียวเพลส ที่เกิดจากการร่วมทุนระหว่างโรงกลั่นน้ำมัน คือ ระยองเพียวริฟายเออร์ ร่วมกับ สัมมากรซึ่งเป็นผู้พัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ก่อตั้งบริษัท เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ เพื่อพัฒนา Community Mall โดยแห่งแรกตั้งอยู่หน้าหมู่บ้านสัมมากร รังสิต คลอง 2 บนพื้นที่ 6.73 ไร่ มีการใช้งบลงทุน 120 ล้านบาท โดยวางคอนเซ็ปต์ที่เน้น "ชีวิตพอเพียง ทันสมัย ใกล้บ้าน" และเป็นศูนย์การค้าประชาคมที่ให้บริการ 24 ชั่วโมง โดยมีจัสโก้ซูเปอร์มาร์เก็ต พร้อมด้วยร้านอาหาร ธนาคาร และบริการต่างๆ และมีปั๊มน้ำมันเพียวเป็นอีกแม่เหล็กหนึ่งในการดึงดูดลูกค้าในย่านดังกล่าว โดยคาดการณ์ว่าจะมีลูกค้ามาใช้บริการวันละ 4,000-5,000 คน พร้อมกันนี้ยังตั้งเป้าที่จะขยาย Community Mall เพิ่มเป็น 5 สาขาใน 5 ปีภายใต้งบประมาณ 1,000 ล้านบาท ทั้งนี้ เพียว เพลส ถือเป็น Community Mall ที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับโครงการหมู่บ้านของสัมมากรส่วนระยองเพียวริฟายเออร์ก็ได้ประโยชน์จากการขยายปั๊มน้ำมันเพียวเข้าสู่ตลาดกรุงเทพฯและปริมณฑล
นอกจากนี้และยังมีรายเล็กรายย่อยรวมถึงยักษ์ใหญ่อีกหลายรายโดยเฉพาะธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ที่ต้องการต่อยอดธุรกิจหรือสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับลูกค้าที่มาอาศัยในโครงการด้วยการสร้างคอมมูนิตี้ มอลล์ ออกมาตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค เช่น เช่น แอล.พี.เอ็น.ดีเวลลอปเม้นท์ ใช้บริษัทในเครือคือ พรสันติ ในการทำ Community Mall หน้าโครงการคอนโดมิเนียมต่างๆที่ได้ก่อสร้างไปก่อนหน้านี้ ในขณะที่ เค.อี.แลนด์ ก็มีการสร้าง Community Mall ภายใต้คอนเซ็ปต์ แฟมิลี่ ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ โดยใช้ชื่อว่า เดอะ คริสตัล หน้าโครงการ คริสตัล พาร์ค
รูปแบบและแนวโน้มคอมมูนิตี้ มอลล์
คอมมูนิตี้ มอลล์ แบบเดิมๆจะค่อนข้างใหญ่ แต่แนวโน้มต่อไปคือมีขนาดเล็กลงเพราะห้างใหญ่มีข้อจำกัดด้านกฎหมาย และอาจจะเล็กลงในระดับคอนวีเนียนสโตร์แต่เข้าถึงลูกค้าได้ใกล้ชิดมากขึ้น โดยมีพันธมิตรอื่นๆเป็นองค์ประกอบในการดึงดูดผู้บริโภค ปั๊มน้ำมันก็ถือเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์ หรือศูนย์การค้าชุมชนได้เช่นกันเพราะสามารถไปได้ทุกที่ทั้งกรุงเทพฯ ต่างจังหวัด โดยมีร้านค้าในปั๊มมาช่วยเติมเต็มความต้องการของผู้บริโภค
"สยามฟิวเจอร์ เรามีการอัพสเกล คอมมูนิตี้ มอลล์ เพื่อเซิร์ฟย่านที่มีกำลังซื้อสูง โดยมีซูเปอร์มาร์เก็ตที่มีระดับ มีเอนเตอร์เทนเมนต์ มีร้านอาหาร และสินค้าอื่นๆที่สนองไลฟ์สไตล์ เนื่องจากผู้บริโภคยุคนี้ยอมจ่ายหาสินค้านั้นสอดคล้องกับไลฟ์สไตล์ของเขา แต่เราก็ไม่ได้ทิ้งศูนย์การค้าชานเมือง เพียงแต่อาจจะมีจำนวนไม่มากนัก" นพพร กล่าว
สำหรับสยามฟิวเจอร์มีการจำแนกรูปแบบคอมมูนิตี้ มอลล์ ออกเป็น 4 แบบคือ คอนวีเนียน เซ็นเตอร์ พื้นที่ประมาณ 1,000 ตารางเมตร มีคอนวีเนียนสโตร์เป็นแม่เหล็ก โดยสยามฟิวเจอร์มีอยู่ 3 แห่ง ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งแต่มีสเกลที่เล็ก ทำให้สยามฟิวเจอร์ หันไปเน้นรูปแบบที่เป็นไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์มากขึ้น ซึ่งทำให้ต้องมีการศึกษาเทรนด์ใหม่ๆในตลาดอยู่ตลอดเวลาไม่ว่าจะเป็นความนิยมในการอยู่ การกิน โดยผู้บริโภคจะได้รับอิทธิพลจากการสื่อสารเนื่องจากปัจจุบันช่องทางสื่อสารมีมากมายไม่ว่าจะเป็นทีวี สิ่งพิมพ์ โรงภาพยนตร์ อินเทอร์เน็ต ทำให้ผู้บริโภคได้รับรู้ข่าวสารได้ไว และแต่ละคนต่างก็มีความเป็นตัวของตัวเองมากขึ้น จึงเกิดไลฟ์สไตล์ใหม่ๆมากมาย
แบบที่ 2 คือ คอมมูนิตี้ มอลล์หรือ เนเบอร์ฮูด ชอปปิ้ง เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบของตลาดสดกลายพันธุ์มีซูเปอร์มาร์เก็ต
แบบที่ 3 เป็นคอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์ มีพื้นที่ใหญ่ขึ้น มีไฮเปอร์มาร์เก็ต เป็นแม่เหล็กดึงดูดผู้บริโภค และ
แบบสุดท้ายเป็น ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ ซึ่งเป็นรูปแบบที่มีการอัพสเกลในย่านที่มีกำลังซื้อสูง และมีสินค้าและบริการที่สอดคล้องกับไลฟ์สไตลรวมถึงเอนเตอร์เทนเมนต์ด้วย
ทั้งนี้คอมมูนี้ตี้ มอลล์ ที้ง 4 รูปแบบ ต่างมีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่แตกต่างกันไป โดยในส่วนของสยามฟิวเจอร์ตั้งเป้าที่จะขยายสาขา 5 แห่งในปีนี้ แบ่งเป็น ไลฟ์สไตล์ เซ็นเตอร์ 2 แห่ง เนเบอร์ ฮูด 2 แห่ง และคอมมูนิตี้ เซ็นเตอร์ 1 แห่ง
อย่างไรก็ดีไม่ว่าจะเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์ ขนาดใหญ่หรือเล็กก็ตาม ต่างก็มีจุดขายที่แตกต่างจากห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่ที่มีสินค้าครบเครื่องให้ผู้บริโภคไปเดินชอปปิ้งไม่ว่าจะเป็นไฮแบรนด์ แฟชั่น เพชร อัญมณี หรือแม้แต่รถยนต์
ในขณะที่คอมมูนิตี้ มอลล์ เน้นตอบสนองชีวิตประจำวัน มีซูเปอร์มาร์เก็ต มีบริการธนาคาร ไปรษณีย์ คลินิก ร้านทำผม ขายยา โรงเรียนสอนดนตรี ทำให้มีทราฟฟิกที่สูงกว่าห้าง โดยนพพรคาดว่าผู้บริโภคมีการใช้บริการในคอมมูนิตี้ มอลล์ 8 ครั้งต่อเดือน ในขณะที่ไปใช้บริการในห้างใหญ่เพียง 4 ครั้งต่อเดือนเท่านั้น
ในการเกิดขึ้นของชุมชนมากมายจะมีมาตรฐานอย่างไรที่จะทำสาขามิให้เกิดการแข่งขันกันเอง นพพร ให้ทัศนะว่าพันธมิตรจะเป็นผู้ให้คำตอบว่ารัศมีแค่ไหนที่ควรขยายสาขาโดยไม่กระทบกับสาขาที่มีอยู่
คีย์ซักเซส
แม้คอมมูนิตี้ มอลล์ จะได้รับความนิยมมากขึ้น แต่ก็มิได้หมายความว่าทุกที่จะประสบความสำเร็จได้ จำเป็นจะต้องอาศัยกุญแจแห่งความสำเร็จซึ่ง
ประการแรกคือเรื่องของทำเล
ประการต่อมาคือการวางคอนเซ็ปต์ของศูนย์ฯ และ
ยังมีเรื่องของการบริหารจัดการให้เกิดประสิทธิภาพ
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของประสบการณ์และชื่อเสียงซึ่งเป็นสิ่งที่ต้องสั่งสม แต่ก็มิได้หมายความว่ารายใหม่จะไม่สามารถเข้ามาได้ เนื่องจากตลาดยังไม่อิ่มตัว ยังมีช่องว่างสำหรับคอมมูนิตี้ มอลล์ เพราะการขยายตัวของเมืองยังมีอย่างต่อเนื่อง การเปลี่ยนแปลงของการค้ารูปแบบเดิมๆก็เป็นโอกาสให้เกิดคอมมูนิตี้ มอลล์ หรือตลาดสดกลายพันธุ์ แต่ทั้งนี้ในบางพื้นที่ก็ยังไม่มีความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นโมเดิร์นเทรด ดังนั้นการบริหารจัดการที่ดีจะทำให้ตลาดแบบเดิมมีความทันสมัยขึ้นมาได้ ผนวกกับการมีพันธมิตรก็จะช่วยให้เกิดเป็นคอมมูนิตี้ มอลล์ขึ้นมาได้
"ในช่วงที่เศรษฐกิจตก คนที่อยู่ได้คือคนที่บริหารเป็น เรามีทุนน้อย ก็นำบริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ประสิทธิภาพเกิดจากการบริหารที่ดี อย่างกรณีที่ดินเรามีมากพอที่จะใช้ในการขยายธุรกิจในช่วง 5 ปีข้างหน้า แต่เราก็ไม่สะสมที่ดินเอาไว้เฉยๆโดยไม่เกิดประโยชน์" นพพร กล่าว
การเกิดขึ้นของคอมมูนิตึ้ มอลล์
"คอมมูนิตี้ มอลล์ เป็นรูปแบบการค้าแบบเดิมๆในชีวิตประจำวันที่เราไม่ได้สังเกต สมัยก่อนมีตึกแถว มีตลาดสด มีชุมชน เพียงแต่ไม่ได้มีการจัดรูปแบบให้ทันสมัย สะดวกสบาย สะอาด ปลอดภัยเหมือนทุกวันนี้ พื้นฐานเดิมผมก็ทำตลาดสดมีนบุรี 60 ไร่ เรามี 2 ตลาด มีรถเมล์มาลง มีห้องแถว 300 กว่าห้อง มีร้านค้ากว่า 3,000 แผง จะเป็นรองก็คงแค่ตลาดยิ่งเจริญกับตลาดรังสิต เราก็มาคิดว่าจะจัดระเบียบอย่างไรให้ตลาดมีความทันสมัย เราก็เปลี่ยนจากตลาดสดเป็นซูเปอร์มาร์เก็ต ตึกแถวแบบเดิมที่มีขนาดเท่ากันหมดก็มาทำพื้นที่ใหญ่เล็กให้แตกต่างกันตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน มีการยกระดับการบริการ มีพื้นที่ส่วนกลาง มีระบบรักษาความปลอดภัย ซึ่งจริงๆแล้วคอมมูนิตี้ มอลล์ก็คือตลาดสดกลายพันธุ์ดีๆนี่เอง" นพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร สยามฟิวเจอร์ ดีเวลอปเม้นท์ กล่าว
ในต่างประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาก็มีคอมมูนิตี้มอลล์กว่า 90% จากศูนย์การค้าทั่วอเมริกาที่มีกว่า 45,721 แห่ง ซึ่งหากย้อนไปในอดีตทางยุโรปเองก็จะมีสแควร์ที่มีการค้าขาย มีการแสดงความสามารถต่างๆ นั่นก็ถือเป็นคอมมูนิตี้อย่างหนึ่ง ซึ่งอยู่คู่โลกมาเป็นพันๆปี เพียงแต่ของใหม่มีการทำให้เป็นโปรเฟสชันนอลมากขึ้น
ดังนั้นจึงถือได้ว่าคอมมูนิตี้ มอลล์เป็นสิ่งที่มีมานานเพียงแต่นักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์มองข้าม หรืออาจจะมีบางคนหันมาทำแต่ไม่ประสบความสำเร็จเนื่องจากขาดความครบเครื่อง ขาดพันธมิตรที่จะมาสร้างสีสันและแรงดึงดูดที่ดีพอ ส่วนใหญ่เราจะเห็นมืออาชีพทำแต่ศูนย์การค้าใหญ่ๆเพราะมี Economy of Scale ที่ใหญ่กว่า
ทั้งนี้โดยความเป็นจริงแล้ว คอมมูนิตี้ มอลล์ ก็มีห้างใหญ่ทำอย่าง โลตัส คาร์ฟูร์ บิ๊กซี มีห้าง มีร้านค้าเช่า มีฟู้ดคอร์ต มีที่จอดรถสะดวก ก็ถือเป็นคอมมูนิตี้กลายๆ เพียงแต่ห้างเหล่านั้นเล่น 2 บทบาท คือมีความเป็นรีเทลเลอร์ร่วมด้วย ดังนั้นถ้าเรานับดิสเคานต์สโตร์เหล่านี้ร่วมด้วยก็เชื่อว่าตลาดคอมมูนิตี้มีไม่ต่ำกว่าครึ่งหนึ่งของตลาดเมืองไทย
คอมมูนิตี้ มอลล์ เน้นไปตั้งย่านชุมชน ไม่จำเป็นว่าจะต้องเป็นใจกลางเมือง โอกาสเติบโตของคอมมูนิตี้จึงมีมากพอสมควรเพราะโตไปพร้อมกับการขยายของเมือง นอกจากนี้การที่ตลาดในเมืองใหญ่มีการแข่งขันสูงก็อาจเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ใครต่อใครกระโดดเข้าสู่คอมมูนิตี้ มอลล์ เนื่องจากไปได้ทุกที่ตั้งแต่ชุมชน หมู่บ้านจัดสรร แม้กระทั่งคอนโดมิเนียม
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000083383
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news22/07/07
โพสต์ที่ 37
ห้างชานเมืองนักช็อปพุ่ง +ซีคอนสแควร์/ซีพีเอ็น/ฟิวเจอร์พาร์ค อัดฉีดอีเวนต์ตรึงลูกค้า
ค้าปลีกชานเมืองโตสวนกระแสเศรษฐกิจซบ พบครึ่งปีแรก 3 ห้างยักษ์จูงมือกันโตถ้วนหน้า หลังยอดขาช้อปเพิ่มทะลุเป้า "ซีคอนสแควร์" โชว์ตัวเลขจำนวนลูกค้าจาก 1.2 แสนพุ่งเป็น 1.5 แสนคนต่อวัน ขณะที่ยอดใช้จ่ายต่อหัวเฉลี่ย 1,000 บาทต่อบิล พร้อมปรับกลยุทธ์อัดอะเบิฟ เดอะ ไลน์เพิ่มมั่นใจครึ่งหลังเอาตัวรอดสบายๆ ต่างจากห้างดาวน์ทาวน์ที่แข่งเดือด ด้าน "ซีพีเอ็น" อวดนักช้อปชานเมืองกำลังซื้อสูง ยอดขายไม่ตก ส่วน "ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต" เผยยอดนักช้อปเพิ่ม 5% เล็งเทงบ+อีเว้นท์เพิ่มหวังรักษาฐานลูกค้าเดิม
การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกในปีนี้ นับว่ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าที่มีความระมัดระวังในการจับจ่าย ขณะเดียวกันก็เลือกที่จะออมเงินแทนการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ส่งผลให้ผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายออกมายอมรับถึงแรงกดดันที่ต้องทำกิจกรรมด้านการตลาดเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาตัวเลขยอดขายให้คงที่ ในทางตรงข้ามศูนย์การค้าชานเมืองกลับมีผลตัวเลขการเติบโตเป็นที่น่าพอใจ และมีผลตอบรับค่อนข้างดีเกินเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งสวนกระแสกับศูนย์การค้าใจกลางเมือง
โดยเรื่องดังกล่าว นางสาวสุทิศา พุ่มประดล ผู้จัดการสายงานการตลาด บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ผู้บริหารศูนย์สรรพสินค้าซีคอน สแควร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ค้าปลีกย่านชานเมืองก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เช่นเดียวกับห้างในเมืองหรือดาวน์ทาวน์ โดยลูกค้ามีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ไต่ตรอง ประหยัดมากขึ้น และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หันมาใช้ห้างเป็นสถานที่พักผ่อนมากขึ้น โดยเห็นได้จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาเพิ่มขึ้นสูงจนผิดปกติ จากเดิมที่ในวันธรรมดา มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 50,000 คนต่อวัน ก็เพิ่มขึ้นเป็น 70,000 คนต่อวัน ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เดิมมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 1.2 แสนคนต่อวันก็เพิ่มขึ้น เป็น 1.2 1.5 แสนคนต่อวัน ขณะที่ยอดใช้จ่ายต่อหัวยังเฉลี่ย 1,000 บาทต่อคนต่อครั้งเท่าเดิม
ทั้งนี้การที่จำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการไม่ลดลง เป็นเพราะห้างชานเมือง มีการแบ่งแยกโซนกันชัดเจนในการเปิดให้บริการและโฟกัสกลุ่มลูกค้า และเมื่อเกิดสถานการณ์ใดๆ ก็จะเตรียมพร้อมด้วยการสร้างกิจกรรมหรืออีเว้นท์เพื่อให้ศูนย์มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ นอกจากนี้ต้องรู้จักปรับกลยุทธ์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า จากเดิมที่ซีคอน สแควร์มุ่งใช้กลยุทธ์การตลาดแบบบีโลว์ เดอะ ไลน์เป็นหลัก แต่เมื่อมีอีเว้นท์ที่แปลก ใหม่ ใหญ่ ดัง ก็จะเสริมกลยุทธ์อะเบิฟ เดอะ ไลน์ เข้าไปเพื่อให้กระจายไปยังกลุ่มลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น จะไม่ใช้แค่แมส มีเดียอย่างเดียว โดยจุดแข็งของซีคอน แสควร์ที่ประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการคือ เรื่องของอีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งซีคอน สแควร์เป็นห้างชานเมืองห้างแรกที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ และได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ โดยแต่ละอีเว้นท์จะทำให้เกิดสีสันต่อลูกค้า และร้านค้าด้วย
อย่างไรก็ดี ในครึ่งปีหลังไม่มีปัจจัยที่น่าเป็นห่วง เพราะเชื่อว่าห้างชานเมืองมีการแข่งขันไม่รุนแรงเท่าไรนัก หากเทียบกับห้างดาวน์ทาวน์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากกว่าทำให้มีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้ามากขึ้น ทั้งการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม
ด้านดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพลูสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ผู้บริหารศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัล กล่าวว่า เชื่อว่ากำลังซื้อของลูกค้าในชานเมืองยังคงที่ ไม่ลดลงหรือได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเห็นได้จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้ในศูนย์ยังมีตัวเลขที่สูงเท่าเดิม เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 โดยในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์คาดว่ามีตัวเลขมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน ขณะที่เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ก็ยังคงมีลูกค้าหนาแน่น ร้านค้า ร้านอาหารได้รับการตอบรับที่ดีมาก ส่วนเซ็นทรัล บางนา ก็เช่นกันทำให้บริษัทเชื่อว่ายอดขายในแต่ละสาขายังมีอัตราการเติบโตอยู่ และไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเลย
ขณะที่นางรัตนา อนันทนุพงศ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต กล่าวว่า ยอดลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์ยังเพิ่มขึ้นกว่า 5% และคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมีลูกค้าเข้าศูนย์เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ยอดขายของร้านค้าภายในศูนย์จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% โดยบริษัทมีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะการเพิ่มกิจกรรมเพื่อสร้างสีสันและกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในศูนย์
"ครึ่งปีแรกยอมรับว่าอัดฉีดกิจกรรมเยอะมาก แต่ในครึ่งปีหลังจะอัดเพิ่มขึ้นไปอีก โดยจะเพิ่มกิจกรรมจากเดิมที่มีอยู่ 2-3 ครั้งต่อเดือน เป็น 4 ครั้งต่อเดือนหรือในทุกๆสัปดาห์ ทั้งกิจกรรมที่บริษัทเป็นผู้จัดเอง และกิจกรรมที่พันธมิตรเป็นผู้จัด พร้อมกันนี้บริษัทเตรียมใช้งบการตลาดกว่า 200 ล้านบาทในการจัดแคมเปญในครึ่งปีหลังด้วย โดยปัจจุบันที่ฟิวเจอร์ฯมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเฉลี่ย 1.3 แสนคนต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกค้าในย่านนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจหรือปัญหาด้านการเมือง"
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2236
ค้าปลีกชานเมืองโตสวนกระแสเศรษฐกิจซบ พบครึ่งปีแรก 3 ห้างยักษ์จูงมือกันโตถ้วนหน้า หลังยอดขาช้อปเพิ่มทะลุเป้า "ซีคอนสแควร์" โชว์ตัวเลขจำนวนลูกค้าจาก 1.2 แสนพุ่งเป็น 1.5 แสนคนต่อวัน ขณะที่ยอดใช้จ่ายต่อหัวเฉลี่ย 1,000 บาทต่อบิล พร้อมปรับกลยุทธ์อัดอะเบิฟ เดอะ ไลน์เพิ่มมั่นใจครึ่งหลังเอาตัวรอดสบายๆ ต่างจากห้างดาวน์ทาวน์ที่แข่งเดือด ด้าน "ซีพีเอ็น" อวดนักช้อปชานเมืองกำลังซื้อสูง ยอดขายไม่ตก ส่วน "ฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต" เผยยอดนักช้อปเพิ่ม 5% เล็งเทงบ+อีเว้นท์เพิ่มหวังรักษาฐานลูกค้าเดิม
การแข่งขันของธุรกิจค้าปลีกในปีนี้ นับว่ามีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด โดยสาเหตุหลักมาจากพฤติกรรมการซื้อสินค้าของลูกค้าที่มีความระมัดระวังในการจับจ่าย ขณะเดียวกันก็เลือกที่จะออมเงินแทนการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ส่งผลให้ผู้ประกอบการค้าปลีกหลายรายออกมายอมรับถึงแรงกดดันที่ต้องทำกิจกรรมด้านการตลาดเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาตัวเลขยอดขายให้คงที่ ในทางตรงข้ามศูนย์การค้าชานเมืองกลับมีผลตัวเลขการเติบโตเป็นที่น่าพอใจ และมีผลตอบรับค่อนข้างดีเกินเป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งสวนกระแสกับศูนย์การค้าใจกลางเมือง
โดยเรื่องดังกล่าว นางสาวสุทิศา พุ่มประดล ผู้จัดการสายงานการตลาด บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) (บมจ.) ผู้บริหารศูนย์สรรพสินค้าซีคอน สแควร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ว่า ค้าปลีกย่านชานเมืองก็ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซา เช่นเดียวกับห้างในเมืองหรือดาวน์ทาวน์ โดยลูกค้ามีความระมัดระวังในการใช้จ่าย ไต่ตรอง ประหยัดมากขึ้น และปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์หันมาใช้ห้างเป็นสถานที่พักผ่อนมากขึ้น โดยเห็นได้จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาเพิ่มขึ้นสูงจนผิดปกติ จากเดิมที่ในวันธรรมดา มีลูกค้าเข้ามาใช้บริการประมาณ 50,000 คนต่อวัน ก็เพิ่มขึ้นเป็น 70,000 คนต่อวัน ส่วนวันหยุดเสาร์-อาทิตย์ เดิมมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการ 1.2 แสนคนต่อวันก็เพิ่มขึ้น เป็น 1.2 1.5 แสนคนต่อวัน ขณะที่ยอดใช้จ่ายต่อหัวยังเฉลี่ย 1,000 บาทต่อคนต่อครั้งเท่าเดิม
ทั้งนี้การที่จำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการไม่ลดลง เป็นเพราะห้างชานเมือง มีการแบ่งแยกโซนกันชัดเจนในการเปิดให้บริการและโฟกัสกลุ่มลูกค้า และเมื่อเกิดสถานการณ์ใดๆ ก็จะเตรียมพร้อมด้วยการสร้างกิจกรรมหรืออีเว้นท์เพื่อให้ศูนย์มีความเคลื่อนไหวอยู่เสมอ นอกจากนี้ต้องรู้จักปรับกลยุทธ์ให้เข้าถึงกลุ่มลูกค้า จากเดิมที่ซีคอน สแควร์มุ่งใช้กลยุทธ์การตลาดแบบบีโลว์ เดอะ ไลน์เป็นหลัก แต่เมื่อมีอีเว้นท์ที่แปลก ใหม่ ใหญ่ ดัง ก็จะเสริมกลยุทธ์อะเบิฟ เดอะ ไลน์ เข้าไปเพื่อให้กระจายไปยังกลุ่มลูกค้าในวงกว้างมากขึ้น จะไม่ใช้แค่แมส มีเดียอย่างเดียว โดยจุดแข็งของซีคอน แสควร์ที่ประสบความสำเร็จในการดึงดูดลูกค้าให้เข้ามาใช้บริการคือ เรื่องของอีเว้นท์ มาร์เก็ตติ้ง ซึ่งซีคอน สแควร์เป็นห้างชานเมืองห้างแรกที่นำกลยุทธ์นี้มาใช้ และได้รับความนิยมมาจนถึงทุกวันนี้ โดยแต่ละอีเว้นท์จะทำให้เกิดสีสันต่อลูกค้า และร้านค้าด้วย
อย่างไรก็ดี ในครึ่งปีหลังไม่มีปัจจัยที่น่าเป็นห่วง เพราะเชื่อว่าห้างชานเมืองมีการแข่งขันไม่รุนแรงเท่าไรนัก หากเทียบกับห้างดาวน์ทาวน์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจมากกว่าทำให้มีการแข่งขันเพื่อแย่งชิงลูกค้ามากขึ้น ทั้งการจัดโปรโมชั่น ลด แลก แจก แถม
ด้านดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพลูสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานการตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอ็น ผู้บริหารศูนย์การค้าในเครือเซ็นทรัล กล่าวว่า เชื่อว่ากำลังซื้อของลูกค้าในชานเมืองยังคงที่ ไม่ลดลงหรือได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจที่ถดถอย โดยเห็นได้จากจำนวนลูกค้าที่เข้ามาใช้ในศูนย์ยังมีตัวเลขที่สูงเท่าเดิม เช่น เซ็นทรัลพลาซ่า พระราม 2 โดยในวันหยุดเสาร์-อาทิตย์คาดว่ามีตัวเลขมากกว่า 1 แสนคนต่อวัน ขณะที่เซ็นทรัลพลาซา ปิ่นเกล้า ก็ยังคงมีลูกค้าหนาแน่น ร้านค้า ร้านอาหารได้รับการตอบรับที่ดีมาก ส่วนเซ็นทรัล บางนา ก็เช่นกันทำให้บริษัทเชื่อว่ายอดขายในแต่ละสาขายังมีอัตราการเติบโตอยู่ และไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเลย
ขณะที่นางรัตนา อนันทนุพงศ์ ผู้อำนวยการด้านการตลาด บริษัท รังสิต พลาซ่า จำกัด ผู้บริหารศูนย์การค้าฟิวเจอร์พาร์ค รังสิต กล่าวว่า ยอดลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการในศูนย์ยังเพิ่มขึ้นกว่า 5% และคาดว่าจนถึงสิ้นปีจะมีลูกค้าเข้าศูนย์เพิ่มขึ้นไม่ต่ำกว่า 10% ซึ่งเป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ขณะที่ยอดขายของร้านค้าภายในศูนย์จะเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 20% โดยบริษัทมีการปรับแผนการตลาดเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ต่างๆ โดยเฉพาะการเพิ่มกิจกรรมเพื่อสร้างสีสันและกระตุ้นให้ลูกค้าเข้ามาใช้บริการในศูนย์
"ครึ่งปีแรกยอมรับว่าอัดฉีดกิจกรรมเยอะมาก แต่ในครึ่งปีหลังจะอัดเพิ่มขึ้นไปอีก โดยจะเพิ่มกิจกรรมจากเดิมที่มีอยู่ 2-3 ครั้งต่อเดือน เป็น 4 ครั้งต่อเดือนหรือในทุกๆสัปดาห์ ทั้งกิจกรรมที่บริษัทเป็นผู้จัดเอง และกิจกรรมที่พันธมิตรเป็นผู้จัด พร้อมกันนี้บริษัทเตรียมใช้งบการตลาดกว่า 200 ล้านบาทในการจัดแคมเปญในครึ่งปีหลังด้วย โดยปัจจุบันที่ฟิวเจอร์ฯมีลูกค้าเข้ามาใช้บริการเฉลี่ย 1.3 แสนคนต่อวัน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าลูกค้าในย่านนี้ไม่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจหรือปัญหาด้านการเมือง"
http://www.thannews.th.com/detialnews.p ... issue=2236
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/07/07
โพสต์ที่ 38
โรบินสันรับอานิสงส์บาทแข็งกำไรเพิ่ม
โพสต์ทูเดย์ โรบินสัน ยิ้มรับบาทแข็ง ดันกำไรสินค้าเฮาส์แบรนด์ โต 2 หลัก พร้อมดึงกำลังซื้อช่วงสั้นวันแม่
นางอุสรา ยงปิยะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน กล่าวว่า กลุ่มสินค้าแบรนด์ของบริษัท หรือเฮาส์แบรนด์ นำเข้าจากต่างประเทศ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราเติบโตสูงเป็นเลข 2 หลัก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้บริษัทมีกำไรจากส่วนต่างนำเข้าสินค้า
สำหรับสินค้ากลุ่มเฮาส์แบรนด์ที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าโรบินสัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มแฟชั่นเครื่องแต่งกาย และกลุ่มของตกแต่งบ้าน ปัจจุบันแบ่งสัดส่วนสินค้าเฮาส์แบรนด์ อยู่ที่ 20% และที่เหลือ 80% เป็นการทำตลาดสินค้าที่บริษัทร่วมกับพันธมิตรคู่ค้ารายต่างๆ และถือเป็นกลยุทธ์หลักของบริษัทที่มุ่งให้สินค้ากลุ่มเฮาส์แบรนด์เติบโตไปพร้อมกันสินค้าแบรนด์เนมของคู่ค้า
พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายตามฤดูกาล หรือซีซันนัล มาร์เก็ตติง โดยล่าสุดใช้งบกว่า 10 ล้านบาท จัดแคมเปญ มายบิวตี้ เน้นแนวคิดสวยครบสูตรดุจราชินีความงาม โดยจัดสินค้าเป็นชุดไอเดียของขวัญกว่า 3-5 หมื่นรายการ แบ่งออกเป็น 3 หมวดสินค้าหลักเข้าชุดกัน อาทิ หมวดความงาม สินค้าน้ำหอมและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หมวดเครื่องประดับ จับชุดนาฬิกาและของประดับ หมวดแฟชั่น จับชุดเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และหมวดของแต่งบ้าน จับชุดของใช้ในบ้าน อาทิ ชุดรับประทานอาหารเย็น และเครื่องนอน เป็นต้น โดยวางระดับราคาต่อชิ้นต่ำสุดตั้งแต่หลักร้อยบาทถึงหลักหมื่นบาท
แคมเปญดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 16 ส.ค. 2550 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมการตลาดช่วงเทศกาลหลักที่กระตุ้นยอดขายสูง อาทิ เทศกาลปีใหม่ คริสต์มาส ตรุษจีน และวันแม่ โดยแคมเปญนี้บริษัทหวังยอดขายในช่วงสั้นราว 500 ล้านบาท
หลังจากนี้บริษัทเตรียมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายภายใต้แนวคิดแฟชั่น ในฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูหนาว เป็นลำดับต่อไป ตามกลยุทธ์กระตุ้นความถี่การจัดงานมากขึ้นของบริษัทในปีนี้ นางอุสรา กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=180628
โพสต์ทูเดย์ โรบินสัน ยิ้มรับบาทแข็ง ดันกำไรสินค้าเฮาส์แบรนด์ โต 2 หลัก พร้อมดึงกำลังซื้อช่วงสั้นวันแม่
นางอุสรา ยงปิยะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน กล่าวว่า กลุ่มสินค้าแบรนด์ของบริษัท หรือเฮาส์แบรนด์ นำเข้าจากต่างประเทศ ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา มีอัตราเติบโตสูงเป็นเลข 2 หลัก เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกับปีที่ผ่านมา เนื่องจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น ทำให้บริษัทมีกำไรจากส่วนต่างนำเข้าสินค้า
สำหรับสินค้ากลุ่มเฮาส์แบรนด์ที่จำหน่ายในห้างสรรพสินค้าโรบินสัน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มแฟชั่นเครื่องแต่งกาย และกลุ่มของตกแต่งบ้าน ปัจจุบันแบ่งสัดส่วนสินค้าเฮาส์แบรนด์ อยู่ที่ 20% และที่เหลือ 80% เป็นการทำตลาดสินค้าที่บริษัทร่วมกับพันธมิตรคู่ค้ารายต่างๆ และถือเป็นกลยุทธ์หลักของบริษัทที่มุ่งให้สินค้ากลุ่มเฮาส์แบรนด์เติบโตไปพร้อมกันสินค้าแบรนด์เนมของคู่ค้า
พร้อมกันนี้ บริษัทยังได้จัดกิจกรรมส่งเสริมการขายตามฤดูกาล หรือซีซันนัล มาร์เก็ตติง โดยล่าสุดใช้งบกว่า 10 ล้านบาท จัดแคมเปญ มายบิวตี้ เน้นแนวคิดสวยครบสูตรดุจราชินีความงาม โดยจัดสินค้าเป็นชุดไอเดียของขวัญกว่า 3-5 หมื่นรายการ แบ่งออกเป็น 3 หมวดสินค้าหลักเข้าชุดกัน อาทิ หมวดความงาม สินค้าน้ำหอมและผลิตภัณฑ์ดูแลผิว หมวดเครื่องประดับ จับชุดนาฬิกาและของประดับ หมวดแฟชั่น จับชุดเสื้อผ้า กระเป๋า รองเท้า และหมวดของแต่งบ้าน จับชุดของใช้ในบ้าน อาทิ ชุดรับประทานอาหารเย็น และเครื่องนอน เป็นต้น โดยวางระดับราคาต่อชิ้นต่ำสุดตั้งแต่หลักร้อยบาทถึงหลักหมื่นบาท
แคมเปญดังกล่าวจัดขึ้นตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่ 16 ส.ค. 2550 ซึ่งถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมการตลาดช่วงเทศกาลหลักที่กระตุ้นยอดขายสูง อาทิ เทศกาลปีใหม่ คริสต์มาส ตรุษจีน และวันแม่ โดยแคมเปญนี้บริษัทหวังยอดขายในช่วงสั้นราว 500 ล้านบาท
หลังจากนี้บริษัทเตรียมจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายภายใต้แนวคิดแฟชั่น ในฤดูใบไม้ผลิ-ฤดูหนาว เป็นลำดับต่อไป ตามกลยุทธ์กระตุ้นความถี่การจัดงานมากขึ้นของบริษัทในปีนี้ นางอุสรา กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=180628
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/07/07
โพสต์ที่ 39
เดอะมอลล์ทุ่มงบ เร่งปรับโฉมห้าง สร้างความนิยม
นางอัจฉรา อัมพุช รองประธารกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า จากการสำรวจเดอะมอลล์ในแต่ล่ะสาขา พบว่าสาขาบางกะปิเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตามมาด้วยสาขางามวงศ์วาน จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเร่งปรับปรับสาขาอื่นๆให้เป็นที่นิยม ซึ่งหลังจากปรับปรุงในสาขาท่าพระแล้ว ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
โดยสาขาที่จะปรับปรุงต่อไปภายในปีนี้คือสาขาบางแค เนื่องจากพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว มีกำลังซื้อสูง ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท ใช้เวลาในการปรับปรุงประมาณ 7 เดือน
ส่วนดิ เอ็มโพเรียมนั้น จากนี้ไปจะเน้นกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในทุกรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะกลุ่มชาวต่างชาติทั้งที่พำนักอยู่ในเมืองไทยและกลุ่มนักท่องเที่ยว ด้วยกลยุทธ์ International Market ปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้าชาวต่างชาติประมาณ 30% ของลูกค้าทั้งหมด นอกจากนี้จะเน้นการจัดโปรโมชั่นควบคู่ไปกับการจัดอีเว้นท์
http://www.naewna.com/news.asp?ID=68769
นางอัจฉรา อัมพุช รองประธารกรรมการบริหาร บริษัท เดอะมอลล์ กรุ๊ป เปิดเผยว่า จากการสำรวจเดอะมอลล์ในแต่ล่ะสาขา พบว่าสาขาบางกะปิเป็นสาขาที่ได้รับความนิยมสูงสุด ตามมาด้วยสาขางามวงศ์วาน จึงเป็นสาเหตุที่ต้องเร่งปรับปรับสาขาอื่นๆให้เป็นที่นิยม ซึ่งหลังจากปรับปรุงในสาขาท่าพระแล้ว ปรากฏว่าได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี
โดยสาขาที่จะปรับปรุงต่อไปภายในปีนี้คือสาขาบางแค เนื่องจากพบว่าลูกค้าส่วนใหญ่เป็นกลุ่มครอบครัว มีกำลังซื้อสูง ซึ่งจะต้องใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท ใช้เวลาในการปรับปรุงประมาณ 7 เดือน
ส่วนดิ เอ็มโพเรียมนั้น จากนี้ไปจะเน้นกลยุทธ์การตลาดเชิงรุกในทุกรูปแบบ เพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครบถ้วน โดยเฉพาะกลุ่มชาวต่างชาติทั้งที่พำนักอยู่ในเมืองไทยและกลุ่มนักท่องเที่ยว ด้วยกลยุทธ์ International Market ปัจจุบันมีสัดส่วนลูกค้าชาวต่างชาติประมาณ 30% ของลูกค้าทั้งหมด นอกจากนี้จะเน้นการจัดโปรโมชั่นควบคู่ไปกับการจัดอีเว้นท์
http://www.naewna.com/news.asp?ID=68769
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news24/07/07
โพสต์ที่ 40
ต้านค้าปลีกห้าวจัดบุกทำเนียบยื่นสกัดต่างชาติโหมขยายสาขา
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:54 น.
นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร ประธานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 24 ก.ค. นี้ สมาพันธ์ต้านค้าปลีกต่างชาติ 10 จังหวัด ประมาณ 1,000 คน จะรวมตัวมายื่นหนังสือกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอความช่วยเหลือ หยุดห้างค้าปลีกต่างชาติขยายสาขา หลังจากนั้นหากมีความเป็นไปได้ จะไปยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และยื่นหนังสือให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ แม้สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้จะไม่อยู่ในความสงบก็ตาม เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติ อย่างต่อเนื่อง
กลุ่มที่จะมายื่นหนังสือ เป็นบางจัง หวัดที่ทนไม่ได้ หลังจากห้างค้าปลีกต่างชาติ ขยายสาขาหนักมาก ซึ่งผมคงไม่มา แต่ก็ได้ให้คำแนะนำไปว่า ตอนนี้ไม่เหมาะสมที่จะรวมตัวไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบหรือบ้านสี่เสาเทเวศร์ เพราะบ้านเมืองกำลังวุ่นวาย เดี๋ยวจะมีคนไปเหมารวมว่า เป็นกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิบไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) แต่พวกเขาบอกว่ายังไงก็จะมา เพราะทนต่อไปคงตาย หมดที่ทางทำกิน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่รัฐนำมาใช้ควบคุมขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติ คือ พ.ร.บ.ผังเมือง และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารของ กระทรวงมหาดไทย ไม่สามารถใช้ได้ผล เพราะบางจังหวัด พ.ร.บ. ก็หมดอายุแล้ว และมีเพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้นที่ประกาศใช้ ทำให้เป็นช่องให้ห้างค้าปลีกต่างชาติขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ก่อนที่พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง พ.ศ... มีผลบังคับใช้
ไม่เข้าใจว่าทำไมคณะกรรมการกฤษ ฎีกา พิจารณาร่างค้าปลีกช้ามาก ทั้งที่เป็นกฎหมายที่สำคัญ ชี้เป็นชี้ตายอนาคตของธุรกิจคนในประ เทศเห็นแล้วได้แต่หมดกำลังใจ เหนื่อยใจ
นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขารมว. พาณิชย์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษ ฎีกา พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ถึงมาตรา 6 จาก 66 มาตรา แต่พาณิชย์ ยังมั่นใจว่ากฤษฎีกา จะพิจารณาเสร็จในเร็ว ๆ นี้ และเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันในรัฐบาลชุดปัจจุบัน.
http://news.sanook.com/economic/economic_160550.php
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 11:54 น.
นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร ประธานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ เปิดเผยว่า วันที่ 24 ก.ค. นี้ สมาพันธ์ต้านค้าปลีกต่างชาติ 10 จังหวัด ประมาณ 1,000 คน จะรวมตัวมายื่นหนังสือกับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล เพื่อขอความช่วยเหลือ หยุดห้างค้าปลีกต่างชาติขยายสาขา หลังจากนั้นหากมีความเป็นไปได้ จะไปยื่นหนังสือขอความช่วยเหลือกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ประธานคณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) และยื่นหนังสือให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ ที่บ้านสี่เสาเทเวศร์ แม้สถานการณ์บ้านเมืองในขณะนี้จะไม่อยู่ในความสงบก็ตาม เนื่องจากได้รับผลกระทบอย่างหนัก จากการขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติ อย่างต่อเนื่อง
กลุ่มที่จะมายื่นหนังสือ เป็นบางจัง หวัดที่ทนไม่ได้ หลังจากห้างค้าปลีกต่างชาติ ขยายสาขาหนักมาก ซึ่งผมคงไม่มา แต่ก็ได้ให้คำแนะนำไปว่า ตอนนี้ไม่เหมาะสมที่จะรวมตัวไปยื่นหนังสือที่ทำเนียบหรือบ้านสี่เสาเทเวศร์ เพราะบ้านเมืองกำลังวุ่นวาย เดี๋ยวจะมีคนไปเหมารวมว่า เป็นกลุ่มผู้ชุมนุมแนวร่วมประชาธิบไตยขับไล่เผด็จการ (นปก.) แต่พวกเขาบอกว่ายังไงก็จะมา เพราะทนต่อไปคงตาย หมดที่ทางทำกิน
อย่างไรก็ตาม กฎหมายที่รัฐนำมาใช้ควบคุมขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติ คือ พ.ร.บ.ผังเมือง และ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารของ กระทรวงมหาดไทย ไม่สามารถใช้ได้ผล เพราะบางจังหวัด พ.ร.บ. ก็หมดอายุแล้ว และมีเพียงไม่กี่จังหวัดเท่านั้นที่ประกาศใช้ ทำให้เป็นช่องให้ห้างค้าปลีกต่างชาติขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ก่อนที่พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง พ.ศ... มีผลบังคับใช้
ไม่เข้าใจว่าทำไมคณะกรรมการกฤษ ฎีกา พิจารณาร่างค้าปลีกช้ามาก ทั้งที่เป็นกฎหมายที่สำคัญ ชี้เป็นชี้ตายอนาคตของธุรกิจคนในประ เทศเห็นแล้วได้แต่หมดกำลังใจ เหนื่อยใจ
นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขารมว. พาณิชย์ กล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษ ฎีกา พิจารณาร่าง พ.ร.บ.การประกอบธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ถึงมาตรา 6 จาก 66 มาตรา แต่พาณิชย์ ยังมั่นใจว่ากฤษฎีกา จะพิจารณาเสร็จในเร็ว ๆ นี้ และเสนอที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ เพื่อให้มีผลบังคับใช้ทันในรัฐบาลชุดปัจจุบัน.
http://news.sanook.com/economic/economic_160550.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news25/07/07
โพสต์ที่ 41
ร่างกม.ค้าปลีกรัฐบาลไปไม่รอด คาดกฤษฎีกาส่งคืนครม.อีกรอบ
โดย มติชน วัน พุธ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 08:22 น.
แหล่งข่าวจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เตรียมส่งร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง คืนกลับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทบทวนอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า สาระของร่างกฎหมายฉบับที่กระทรวงพาณิชย์นำเสนอมีขอบเขตกว้างเกินไป ไม่สามารถแก้ไขปัญหาค้าปลีกค้าส่งโดยตรงได้ และเห็นว่าเป็นเพียงแค่ต้องการนำค้าปลีกขนาดใหญ่เข้ามาควบคุมในระบบเท่านั้น ไม่ได้มีแนวทางพัฒนาระบบค้าปลีกค้าส่งที่เหมาะสมกับสภาพในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยส่งร่างกฎหมายฉบับนี้กลับให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขมาแล้ว โดยอ้างเหตุผลลักษณะเดียวกัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยังยืนยันว่าเนื้อหาเหมาะสมและได้ทำประชาพิจารณ์กับผู้เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยอมรับแล้ว
นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า หากมีการส่งร่างกฎหมายกลับมา กระทรวงพาณิชย์ก็จะทำการทบทวนอีกครั้ง หากขอบเขตของกฎหมายไม่บกพร่อง จะยืนยันร่างเดิมเสนอกลับเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาใหม่อีกครั้ง แม้ว่าจะทำให้กระบวนการพิจารณากฎหมายล่าช้า แต่กระทรวงยืนยันว่าจะผลักดันให้กฎหมายค้าปลีกค้าส่งบังคับใช้ให้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ให้ได้
ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการพาณิชย์ สนช. กล่าวถึงความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฉบับของ สนช. ว่าอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขให้ถ้อยคำในข้อกฎหมายเหมาะสม คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ และนำเสนอขบวนการพิจารณาของ สนช.ทันที เพื่อให้กฎหมายทันใช้ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยสาระสำคัญจะต้องให้ค้าปลีกขนาดเล็กอยู่ได้ และการกำหนดกฎหมายให้กว้างเพื่อให้ครอบคลุมกับการพัฒนาของปัญหาที่เกิดขึ้นเร็วในปัจจุบัน
ทั้งนี้ จากการเก็บตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ธุรกิจค้าปลีกมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจากที่การขยายสาขาเคยเติบโตปีละ 28% เพิ่มเป็นกว่า 30% ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ประมาณ 1,000 แห่ง เป็น 5,700 แห่งในปัจจุบัน
http://news.sanook.com/economic/economic_160921.php
โดย มติชน วัน พุธ ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 08:22 น.
แหล่งข่าวจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เตรียมส่งร่าง พ.ร.บ.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง คืนกลับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) ทบทวนอีกครั้ง โดยให้เหตุผลว่า สาระของร่างกฎหมายฉบับที่กระทรวงพาณิชย์นำเสนอมีขอบเขตกว้างเกินไป ไม่สามารถแก้ไขปัญหาค้าปลีกค้าส่งโดยตรงได้ และเห็นว่าเป็นเพียงแค่ต้องการนำค้าปลีกขนาดใหญ่เข้ามาควบคุมในระบบเท่านั้น ไม่ได้มีแนวทางพัฒนาระบบค้าปลีกค้าส่งที่เหมาะสมกับสภาพในปัจจุบัน ซึ่งก่อนหน้านี้คณะกรรมการกฤษฎีกาเคยส่งร่างกฎหมายฉบับนี้กลับให้กระทรวงพาณิชย์แก้ไขมาแล้ว โดยอ้างเหตุผลลักษณะเดียวกัน ขณะที่กระทรวงพาณิชย์ยังยืนยันว่าเนื้อหาเหมาะสมและได้ทำประชาพิจารณ์กับผู้เกี่ยวข้องจนเป็นที่ยอมรับแล้ว
นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ กล่าวว่า หากมีการส่งร่างกฎหมายกลับมา กระทรวงพาณิชย์ก็จะทำการทบทวนอีกครั้ง หากขอบเขตของกฎหมายไม่บกพร่อง จะยืนยันร่างเดิมเสนอกลับเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อส่งให้คณะกรรมการกฤษฎีกาพิจารณาใหม่อีกครั้ง แม้ว่าจะทำให้กระบวนการพิจารณากฎหมายล่าช้า แต่กระทรวงยืนยันว่าจะผลักดันให้กฎหมายค้าปลีกค้าส่งบังคับใช้ให้ทันภายในรัฐบาลชุดนี้ให้ได้
ว่าที่ร้อยเอก จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการพาณิชย์ สนช. กล่าวถึงความคืบหน้าการยกร่าง พ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่งฉบับของ สนช. ว่าอยู่ระหว่างการปรับปรุงแก้ไขให้ถ้อยคำในข้อกฎหมายเหมาะสม คาดว่าจะแล้วเสร็จในเดือนกรกฎาคมนี้ และนำเสนอขบวนการพิจารณาของ สนช.ทันที เพื่อให้กฎหมายทันใช้ในรัฐบาลชุดปัจจุบัน โดยสาระสำคัญจะต้องให้ค้าปลีกขนาดเล็กอยู่ได้ และการกำหนดกฎหมายให้กว้างเพื่อให้ครอบคลุมกับการพัฒนาของปัญหาที่เกิดขึ้นเร็วในปัจจุบัน
ทั้งนี้ จากการเก็บตัวเลขของกระทรวงพาณิชย์ รายงานว่า ธุรกิจค้าปลีกมีการขยายตัวอย่างรวดเร็วจากที่การขยายสาขาเคยเติบโตปีละ 28% เพิ่มเป็นกว่า 30% ในปี 2550 หรือเพิ่มขึ้นจากปี 2544 ประมาณ 1,000 แห่ง เป็น 5,700 แห่งในปัจจุบัน
http://news.sanook.com/economic/economic_160921.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news27/07/07
โพสต์ที่ 42
จัสโก้ฮึดขึ้นผู้นำซูเปอร์ฯ
สยามจัสโก้ประกาศขึ้นแท่นผู้นำค้าปลีกซูเปอร์มาร์เก็ตปี 2558 พร้อมแปลงโฉมสู่ อิออน ไทยแลนด์ หลังหลุดพ้นฐานะล้มละลาย
นายเออิจิ ชิบะตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิออน ไทยแลนด์ ผู้บริหารค้าปลีก จัสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดเผยว่า บริษัทจะขยายธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างเต็มที่ ทั้งการขยายสาขาและการเพิ่มยอดขาย โดยตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพฯ และ 6 จังหวัดในเขตปริมณฑลภายในปี 2558
การประกาศความพร้อมรุกธุรกิจครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน และไม่มีหนี้สินใดๆ หลังจากได้รับอนุมัติจากศาลล้มละลายกลางให้ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 18 มิ.ย. 2550 ที่ผ่านมา และได้เปลี่ยนชื่อจากเดิม สยามจัสโก้ เป็น อิออน ไทยแลนด์ เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกับบริษัทแม่ และใช้ศักยภาพของอิออนที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้ฐานลูกค้าบัตรอิออนมาเป็นสมาชิกบัตรจัสโก้ เครดิตการ์ด เป็นต้น
สำหรับแผนการขยายธุรกิจนับจากนี้ ได้ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนสาขาจากปัจจุบัน 7 สาขา เป็น 25 สาขาในปี 2553 โดยจะมีทั้งสาขาสแตนด์อโลนและการเช่าพื้นที่ของผู้พัฒนาโครงการรายอื่น ตั้งเป้าเพิ่มยอดขายจาก 2 พันล้านบาท ในสิ้นปีนี้เป็น 7 พันล้านบาทในปี 2553 โดยมีผลกำไรเพิ่มเป็น 320 ล้านบาทหลังหักค่าใช้จ่าย และเพิ่มฐานสมาชิกเป็น 1 แสนบัตร จากปัจจุบัน 1.2 หมื่นบัตร
นอกจากนี้ ยังได้ปรับรูปแบบและขนาดของซูเปอร์มาร์เก็ตใหม่ โดยจะมีเพียง 2 ขนาด คือ 1,000 ตร.ม. และ 2,000 ตร.ม. โดยเริ่มจากสาขาล่าสุด รังสิตคลอง 2 ที่มีพื้นที่ 1,000 ตร.ม. จากปัจจุบันที่จัสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ต มีขนาดใหญ่สุดที่ 3,300 ตร.ม. ซึ่งขนาดที่เล็กลงจะทำให้สอดคล้องกับกฎหมายค้าปลีกที่จะออกมาบังคับใช้ ทำให้บริษัทสามารถขยายสาขาได้ตามเป้าหมาย
ส่วนคอนเซปต์ของรูปแบบใหม่นั้น จะเน้นการบริการกลุ่มอาหาร ทั้งในกลุ่มอาหารพร้อมทาน พร้อมบริการนึ่ง ทอด ย่าง และมุมครัวพร้อมทาน มุมจำหน่ายเบเกอรี และกลุ่มอาหารที่เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร ขณะเดียวกัน ยังพิจารณาเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงด้วย จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงแล้วใน 3 สาขา อาทิ สาขาศรีนครินทร์
บริษัทยังได้วางแผนงานระยะกลางเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการเน้นเพิ่มรายรับจากการเพิ่มฐานสมาชิกบัตรจัสโก้ เครดิตการ์ด การดำเนินแผนงานสู่การเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นเรื่องอาหาร เน้นความสะดวกในการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง แต่มีความปลอดภัย รวมทั้งการเป็นพันธมิตร กับคู่ค้าท้องถิ่น
ที่ผ่านมา หลังจากประสบปัญหาต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้บริษัทหยุดขยายสาขาใหม่ไปถึง 9 ปี และปรับโครงสร้างองค์กรด้วยการลดสาขาที่ไม่สร้างยอดขายจาก 13 สาขาเหลือเพียง 7 สาขาในปัจจุบัน ซึ่งจากนี้ถือว่าจัสโก้พร้อมจะกลับมารุกตลาดอีกครั้งแล้ว นาย ชิบะตะ กล่าว
ขณะเดียวกัน ยังมีแผนเปลี่ยนชื่อจาก จัสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็น แม็กซ์แวลู ด้วย เพื่อสร้างความชัดเจนของการเป็นธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต เช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งมีแผนเพิ่มทุนจดทะเบียนจากกว่า 300 ล้านบาทในปัจจุบัน และยังอยู่ระหว่างเล็งขยายธุรกิจค้าปลีกสู่เซ็กเมนต์อื่นที่มีขนาดเล็กลงด้วย http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 933&ch=227
สยามจัสโก้ประกาศขึ้นแท่นผู้นำค้าปลีกซูเปอร์มาร์เก็ตปี 2558 พร้อมแปลงโฉมสู่ อิออน ไทยแลนด์ หลังหลุดพ้นฐานะล้มละลาย
นายเออิจิ ชิบะตะ กรรมการผู้จัดการ บริษัท อิออน ไทยแลนด์ ผู้บริหารค้าปลีก จัสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ต เปิดเผยว่า บริษัทจะขยายธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตอย่างเต็มที่ ทั้งการขยายสาขาและการเพิ่มยอดขาย โดยตั้งเป้าที่จะขึ้นเป็นผู้นำในธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ตในเขตกรุงเทพฯ และ 6 จังหวัดในเขตปริมณฑลภายในปี 2558
การประกาศความพร้อมรุกธุรกิจครั้งนี้ เนื่องจากปัจจุบันบริษัทมีความมั่นคงทางการเงิน และไม่มีหนี้สินใดๆ หลังจากได้รับอนุมัติจากศาลล้มละลายกลางให้ออกจากแผนฟื้นฟูกิจการในวันที่ 18 มิ.ย. 2550 ที่ผ่านมา และได้เปลี่ยนชื่อจากเดิม สยามจัสโก้ เป็น อิออน ไทยแลนด์ เพื่อให้เป็นหนึ่งเดียวกับบริษัทแม่ และใช้ศักยภาพของอิออนที่มีอยู่อย่างเต็มที่ในการดำเนินธุรกิจ เช่น การใช้ฐานลูกค้าบัตรอิออนมาเป็นสมาชิกบัตรจัสโก้ เครดิตการ์ด เป็นต้น
สำหรับแผนการขยายธุรกิจนับจากนี้ ได้ตั้งเป้าจะเพิ่มจำนวนสาขาจากปัจจุบัน 7 สาขา เป็น 25 สาขาในปี 2553 โดยจะมีทั้งสาขาสแตนด์อโลนและการเช่าพื้นที่ของผู้พัฒนาโครงการรายอื่น ตั้งเป้าเพิ่มยอดขายจาก 2 พันล้านบาท ในสิ้นปีนี้เป็น 7 พันล้านบาทในปี 2553 โดยมีผลกำไรเพิ่มเป็น 320 ล้านบาทหลังหักค่าใช้จ่าย และเพิ่มฐานสมาชิกเป็น 1 แสนบัตร จากปัจจุบัน 1.2 หมื่นบัตร
นอกจากนี้ ยังได้ปรับรูปแบบและขนาดของซูเปอร์มาร์เก็ตใหม่ โดยจะมีเพียง 2 ขนาด คือ 1,000 ตร.ม. และ 2,000 ตร.ม. โดยเริ่มจากสาขาล่าสุด รังสิตคลอง 2 ที่มีพื้นที่ 1,000 ตร.ม. จากปัจจุบันที่จัสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ต มีขนาดใหญ่สุดที่ 3,300 ตร.ม. ซึ่งขนาดที่เล็กลงจะทำให้สอดคล้องกับกฎหมายค้าปลีกที่จะออกมาบังคับใช้ ทำให้บริษัทสามารถขยายสาขาได้ตามเป้าหมาย
ส่วนคอนเซปต์ของรูปแบบใหม่นั้น จะเน้นการบริการกลุ่มอาหาร ทั้งในกลุ่มอาหารพร้อมทาน พร้อมบริการนึ่ง ทอด ย่าง และมุมครัวพร้อมทาน มุมจำหน่ายเบเกอรี และกลุ่มอาหารที่เป็นวัตถุดิบในการทำอาหาร ขณะเดียวกัน ยังพิจารณาเปิดให้บริการตลอด 24 ชั่วโมงด้วย จากปัจจุบันที่เปิดให้บริการ 24 ชั่วโมงแล้วใน 3 สาขา อาทิ สาขาศรีนครินทร์
บริษัทยังได้วางแผนงานระยะกลางเพื่อให้เป็นไปตามเป้าหมายที่วางไว้ ด้วยการเน้นเพิ่มรายรับจากการเพิ่มฐานสมาชิกบัตรจัสโก้ เครดิตการ์ด การดำเนินแผนงานสู่การเป็นซูเปอร์มาร์เก็ตที่เน้นเรื่องอาหาร เน้นความสะดวกในการเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง แต่มีความปลอดภัย รวมทั้งการเป็นพันธมิตร กับคู่ค้าท้องถิ่น
ที่ผ่านมา หลังจากประสบปัญหาต้องฟื้นฟูกิจการ ทำให้บริษัทหยุดขยายสาขาใหม่ไปถึง 9 ปี และปรับโครงสร้างองค์กรด้วยการลดสาขาที่ไม่สร้างยอดขายจาก 13 สาขาเหลือเพียง 7 สาขาในปัจจุบัน ซึ่งจากนี้ถือว่าจัสโก้พร้อมจะกลับมารุกตลาดอีกครั้งแล้ว นาย ชิบะตะ กล่าว
ขณะเดียวกัน ยังมีแผนเปลี่ยนชื่อจาก จัสโก้ ซูเปอร์มาร์เก็ต เป็น แม็กซ์แวลู ด้วย เพื่อสร้างความชัดเจนของการเป็นธุรกิจซูเปอร์มาร์เก็ต เช่นเดียวกับในประเทศญี่ปุ่น รวมทั้งมีแผนเพิ่มทุนจดทะเบียนจากกว่า 300 ล้านบาทในปัจจุบัน และยังอยู่ระหว่างเล็งขยายธุรกิจค้าปลีกสู่เซ็กเมนต์อื่นที่มีขนาดเล็กลงด้วย http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 933&ch=227
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news28/07/07
โพสต์ที่ 43
TOPS ลุยแข่งเดือดค้าปลีก จ้างโลจิสติกส์ระดับโลก EXEL-CEVA บริหาร-ขนส่ง
แม้ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะชะลอตัว กำลังซื้อจะซบเซาลงบ้าง แต่ธุรกิจที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สินค้าอุปโภค บริโภค อย่างซูเปอร์มาร์เก็ตยังมีทิศทางที่เติบโตสวนกระแสกับธุรกิจอื่น
จะเห็นได้จากการแข่งขันกันขยายสาขาขนาดใหญ่ไปในระดับจังหวัด และไปแบบย่อส่วนในระดับตำบล อำเภอ ของบรรดาซูเปอร์มาร์เก็ต ใหญ่ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ทั่วประเทศ
"ไม่ว่าสาขาจะเกิดตรงไหน ฝ่ายเราต้องหาวิธีสนับสนุนให้ได้ คือ กลยุทธ์ที่บริษัทจะเดินทางไป มันมีอุปสรรคแน่นอนของคนทำโลจิสติกส์ แต่เราต้องหาวิธี พยายามจัดการ และถ้าเราต้องการความช่วยเหลือจากสาขา เราต้องบอกว่า เราทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย" เพ็ญจันทร์ จงถาวรวิทยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการกระจายสินค้า บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด "หญิงเหล็ก" ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่ทัพใหญ่ในการควบคุมงานคลังสินค้า และการกระจายสินค้าไปยังเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ ซูเปอร์ และท็อปส์ เดลี่ ซึ่งมีสาขารวมกันถึง 96 สาขาทั่วประเทศ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"
จ้าง EXEL บริหารคลัง CEVA ขนส่ง
ปัจจุบันท็อปส์มีศูนย์กระจายสินค้า 2 แห่ง แบ่งเป็น 1.ศูนย์กระจายของแห้ง (DC-distribu tion centre) พวกสินค้าอุปโภคบริโภค มีพื้นที่ 38,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่บางบัวทอง จ.นนทุบรี โดยท็อปส์ซื้อที่ดินและก่อสร้างอาคารเอง 2.ศูนย์กระจายอาหารสด (FDC-fresh distribution centre) เป็นการเช่าพื้นที่ 3,500 ตารางเมตร อยู่ที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ตั้งมาประมาณ 7-8 ปีแล้ว จะสังเกตว่า ขนาดของคลังสินค้า 2 แห่งจะต่างกันมาก เนื่องจากปริมาณสัดส่วนยอดขายของแห้งมากกว่าของสดประมาณร้อยละ 75-80
มีซัพพลายเออร์ที่ติดต่ออยู่ทั่วประเทศ 1,431 ร้านค้า แบ่งเป็น ซัพพลายเออร์อาหารแห้ง 948 ร้านค้า มีรายการสินค้า (SKU) จำนวน 17,000 รายการสินค้า (SKU) และซัพพลายเออร์อาหารสด 483 ร้านค้า มีรายการสินค้า (SKU) 10,000 รายการสินค้า โดยซัพพลายเออร์รายหนึ่งอาจมีหลายรายการสินค้า
ศูนย์กระจายสินค้าของแห้งที่บางบัวทอง ท็อปส์ไม่ได้บริหารเอง มีการว่าจ้างบริษัท EXEL ซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์ในเครือ DHL มารับหน้าที่บริหารจัดการคลังสินค้าทั้งเรื่องการสั่งสินค้า รับสินค้า จัดเก็บสินค้า การหยิบสินค้าที่สาขาสั่งเข้ามา และการส่งสินค้าไปยังสาขา มีการทำสัญญาว่าจ้างบริหาร 3 ปี สาเหตุที่เลือกบริษัท EXEL เข้ามาช่วยบริหาร เพราะสมัยก่อนเมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้วคนไทยที่จะมีความรู้ด้านโลจิสติกส์หายาก ส่วนมากเป็นบริษัทต่างชาติ ยุโรป เข้ามา ปัจจุบันต่อสัญญามา 2 ครั้งแล้ว
"คลังอาหารสด" บริหารเอง
ส่วนคลังสินค้าอาหารสด ท็อปส์จะส่งทีมเข้าไปบริหารจัดการคลังสินค้าเอง เพราะความรู้ความชำนาญเรื่องอาหารสดเป็นความรู้ที่ค่อนข้างเฉพาะด้าน มีความอ่อนไหวเรื่องสเป็ก เกรด คุณภาพ อายุ ซึ่งท็อปส์มีทีมผู้บริหารอาหารสดอยู่แล้ว
เพ็ญจันทร์บอกว่า ทั้งสองฝั่งทั้งอาหารสด ของแห้ง ต้องทำงานร่วมกัน เราทำงานกับเขาเหมือนเป็นพาร์ตเนอร์กัน ต้องคอยประสานงานกัน นโยบายบริษัทจะไปทางไหนในแต่ละปี อยากจะซื้อ ต้องมาคุยกันตลอด ต้องทำงานอยู่บนความไว้วางใจกันก่อน ถ้าไม่ไว้วางใจให้เขาทำงาน มันจะไม่เกิดทัศนคติที่ดี ตอนนี้เราเน้นเรื่องการลดค่าใช้จ่ายลง ต้องบอกเขาว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร ต้องช่วยกันลดค่าใช้จ่าย เขาต้องคุยกับลูกน้องต่อ เป็นการมาช่วยกัน แล้วเราจะดูผลจากรายงาน เดือนนี้ค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร ลดลงหรือไม่
ในแง่ของสดต้องทำงานแบบเป็นทีมเวิร์กร่วมกับฝ่ายจัดซื้อ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เราอยู่หลังบ้านเราต้องให้การสนับสนุน
ส่วนเรื่องการขนส่งมีการเปิดประมูลว่าจ้างบริษัทเข้ามารับขนส่ง เพราะจำนวนสาขา และปริมาณคำสั่งซื้อมีมากขึ้นเฉลี่ยประมาณ 85,000 หีบต่อวันช่วงปกติ หากช่วงเทศกาล เช่น สงกรานต์จะขึ้นไปถึง 100,000 กว่าหีบต่อวัน ด้วยปริมาณสินค้ามาก ทำให้ต้องเลือกบริษัทขนส่งที่ไว้วางใจได้ มีผลประกอบการที่ดี ปัจจุบันที่คลังสินค้าของแห้งใช้บริษัทอินเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติกส์ ทำหน้าที่ขนส่งสินค้าให้ และอาหารสดใช้ 2 บริษัท คือ บริษัท ซีว่า โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด วิ่งสาขาในกรุงเทพฯ และรินฟ็อกซ์ จะวิ่งสาขาต่างจังหวัด
supply chain ยกระดับคุณภาพสินค้า
เมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อนที่จะมีการตั้งศูนย์กระจายสินค้า ถ้าสาขาต้องการสินค้าให้ส่งแฟกซ์ใบสั่งซื้อ (P/O) ไปที่ซัพพลายเออร์หรือร้านค้า แล้วทางร้านค้าจะจัดสินค้าวิ่งตรงไปส่งให้ที่สาขา ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สิ้นเปลือง
ยกตัวอย่าง สาขาสั่งของไปยังร้านค้าว่า อยากได้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 100 หีบ สั่งไปไม่รู้เลยว่าร้านค้าจะมาส่งได้ 100 หีบหรือไม่ ของจะมี ของจะขาด และจะมีมาถึงกี่โมง พอมาถึงก็รอคิวที่สาขาอีก เพราะมีซัพพลายเออร์รายอื่นส่งของอยู่ กว่าของจะถึงสาขา และจัดส่งไปเรียงบนชั้นขายมีเรื่องติดขัดมาก
จึงมีนโยบายตั้งคลังสินค้าอาหารสด และคลังสินค้าอาหารแห้งของตัวเอง เพราะมีสาขาประมาณ 40 สาขาแล้ว โดยให้ทางร้านค้ามาส่งสินค้าที่ศูนย์กระจายสินค้า แล้วท็อปส์กระจายสินค้าไปที่สาขาเอง
การมาส่งสินค้าซัพพลายเออร์ต้องนัดหมายเวลามาส่ง เข้าประตูช่องไหน จำนวนรถจะเข้ามากี่คัน เลขทะเบียนรถ ทุกอย่างมีระเบียบขั้นตอนการจัดการ กว่าระบบจะเข้าที่เข้าทางใช้เวลาประมาณ 2 ปี
จึงเริ่มนำแนวความคิดเรื่องห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) มาใช้ ผู้ที่อยู่ในวงการซัพพลายเชนจะทราบว่าโลจิสติกส์เป็นส่วนย่อยของซัพพลายเชนอีกที
โลจิสติกส์ คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่การเคลื่อนย้ายนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ถูกสถานที่ ถูกเวลา ด้วยต้นทุนที่น้อยที่สุดหรือไม่ มีประสิทธิภาพหรือเปล่า
การมีศูนย์กระจายสินค้าเอง สั่งของเอง สามารถสต๊อกสินค้าบางตัวไว้ในปริมาณที่พอสมควรให้เหมาะสมกับยอดที่จ่ายไปให้สาขา สามารถตอบสนองความต้องการให้ลูกค้า ของได้มากขึ้น มีความถูกต้องแม่นยำ การทำเอกสารต่างๆ การหยิบสินค้าสามารถควบคุมดูแลได้ ถ้ามีการทำงานผิดพลาดสามารถตรวจสอบกลับได้
มีความยืดหยุ่นในการทำงาน แม้คลังสินค้ามีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน แต่สามารถเปลี่ยน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปได้มากที่สุด เช่น สาขาสั่งสินค้ามา อาจจะไม่เพียงพอ ขอเพิ่มปริมาณรอบ 3 ตรงนี้ยืดหยุ่นได้ หรือการปรับเปลี่ยนเวลาส่งของไปที่สาขา หรือช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่ขายดี แต่ร้านค้าปิดทำการ หยุดต่อเนื่อง ต้องเตรียมสต๊อกไว้จนกว่าร้านค้าจะเปิด ให้สาขายังมีของขาย
เรื่องอาหารสด เรื่องคุณภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญ การให้ซัพพลายเออร์วิ่งไปส่งเองที่สาขาไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพ การตั้งศูนย์กระจายอาหารสดจะมีทีมงานที่เป็น QA และ QC ควบคุมที่ฝ่ายตรวจรับทำงานร่วมกับฝ่ายจัดซื้อสำนักงานใหญ่ โดยมีมาตรฐานคู่มือการทำงาน ถ้าไม่ตรงตามสเป็กที่กำหนดสินค้าจะถูกตีกลับ
แต่การปรับเปลี่ยนทั้งหมดจะต้องให้สามารถตอบสนองสาขาของเรา และสามารถแข่งขันกับผู้ค้าปลีกรายอื่นได้
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0224
แม้ปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจไทยโดยรวมจะชะลอตัว กำลังซื้อจะซบเซาลงบ้าง แต่ธุรกิจที่เกี่ยวกับชีวิตประจำวัน สินค้าอุปโภค บริโภค อย่างซูเปอร์มาร์เก็ตยังมีทิศทางที่เติบโตสวนกระแสกับธุรกิจอื่น
จะเห็นได้จากการแข่งขันกันขยายสาขาขนาดใหญ่ไปในระดับจังหวัด และไปแบบย่อส่วนในระดับตำบล อำเภอ ของบรรดาซูเปอร์มาร์เก็ต ใหญ่ๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการของผู้บริโภคได้ทั่วประเทศ
"ไม่ว่าสาขาจะเกิดตรงไหน ฝ่ายเราต้องหาวิธีสนับสนุนให้ได้ คือ กลยุทธ์ที่บริษัทจะเดินทางไป มันมีอุปสรรคแน่นอนของคนทำโลจิสติกส์ แต่เราต้องหาวิธี พยายามจัดการ และถ้าเราต้องการความช่วยเหลือจากสาขา เราต้องบอกว่า เราทำอะไรได้บ้าง ไม่ได้บ้าง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมาย" เพ็ญจันทร์ จงถาวรวิทยา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายบริหารการกระจายสินค้า บริษัท เซ็นทรัล ฟู้ด รีเทล จำกัด "หญิงเหล็ก" ซึ่งทำหน้าที่เป็นแม่ทัพใหญ่ในการควบคุมงานคลังสินค้า และการกระจายสินค้าไปยังเซ็นทรัล ฟู้ด ฮอลล์, ท็อปส์ มาร์เก็ต, ท็อปส์ ซูเปอร์ และท็อปส์ เดลี่ ซึ่งมีสาขารวมกันถึง 96 สาขาทั่วประเทศ กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ"
จ้าง EXEL บริหารคลัง CEVA ขนส่ง
ปัจจุบันท็อปส์มีศูนย์กระจายสินค้า 2 แห่ง แบ่งเป็น 1.ศูนย์กระจายของแห้ง (DC-distribu tion centre) พวกสินค้าอุปโภคบริโภค มีพื้นที่ 38,000 ตารางเมตร ตั้งอยู่ที่บางบัวทอง จ.นนทุบรี โดยท็อปส์ซื้อที่ดินและก่อสร้างอาคารเอง 2.ศูนย์กระจายอาหารสด (FDC-fresh distribution centre) เป็นการเช่าพื้นที่ 3,500 ตารางเมตร อยู่ที่มหาชัย จ.สมุทรสาคร ตั้งมาประมาณ 7-8 ปีแล้ว จะสังเกตว่า ขนาดของคลังสินค้า 2 แห่งจะต่างกันมาก เนื่องจากปริมาณสัดส่วนยอดขายของแห้งมากกว่าของสดประมาณร้อยละ 75-80
มีซัพพลายเออร์ที่ติดต่ออยู่ทั่วประเทศ 1,431 ร้านค้า แบ่งเป็น ซัพพลายเออร์อาหารแห้ง 948 ร้านค้า มีรายการสินค้า (SKU) จำนวน 17,000 รายการสินค้า (SKU) และซัพพลายเออร์อาหารสด 483 ร้านค้า มีรายการสินค้า (SKU) 10,000 รายการสินค้า โดยซัพพลายเออร์รายหนึ่งอาจมีหลายรายการสินค้า
ศูนย์กระจายสินค้าของแห้งที่บางบัวทอง ท็อปส์ไม่ได้บริหารเอง มีการว่าจ้างบริษัท EXEL ซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์ในเครือ DHL มารับหน้าที่บริหารจัดการคลังสินค้าทั้งเรื่องการสั่งสินค้า รับสินค้า จัดเก็บสินค้า การหยิบสินค้าที่สาขาสั่งเข้ามา และการส่งสินค้าไปยังสาขา มีการทำสัญญาว่าจ้างบริหาร 3 ปี สาเหตุที่เลือกบริษัท EXEL เข้ามาช่วยบริหาร เพราะสมัยก่อนเมื่อประมาณ 7-8 ปีที่แล้วคนไทยที่จะมีความรู้ด้านโลจิสติกส์หายาก ส่วนมากเป็นบริษัทต่างชาติ ยุโรป เข้ามา ปัจจุบันต่อสัญญามา 2 ครั้งแล้ว
"คลังอาหารสด" บริหารเอง
ส่วนคลังสินค้าอาหารสด ท็อปส์จะส่งทีมเข้าไปบริหารจัดการคลังสินค้าเอง เพราะความรู้ความชำนาญเรื่องอาหารสดเป็นความรู้ที่ค่อนข้างเฉพาะด้าน มีความอ่อนไหวเรื่องสเป็ก เกรด คุณภาพ อายุ ซึ่งท็อปส์มีทีมผู้บริหารอาหารสดอยู่แล้ว
เพ็ญจันทร์บอกว่า ทั้งสองฝั่งทั้งอาหารสด ของแห้ง ต้องทำงานร่วมกัน เราทำงานกับเขาเหมือนเป็นพาร์ตเนอร์กัน ต้องคอยประสานงานกัน นโยบายบริษัทจะไปทางไหนในแต่ละปี อยากจะซื้อ ต้องมาคุยกันตลอด ต้องทำงานอยู่บนความไว้วางใจกันก่อน ถ้าไม่ไว้วางใจให้เขาทำงาน มันจะไม่เกิดทัศนคติที่ดี ตอนนี้เราเน้นเรื่องการลดค่าใช้จ่ายลง ต้องบอกเขาว่าตอนนี้สถานการณ์เป็นอย่างไร ต้องช่วยกันลดค่าใช้จ่าย เขาต้องคุยกับลูกน้องต่อ เป็นการมาช่วยกัน แล้วเราจะดูผลจากรายงาน เดือนนี้ค่าใช้จ่ายเป็นอย่างไร ลดลงหรือไม่
ในแง่ของสดต้องทำงานแบบเป็นทีมเวิร์กร่วมกับฝ่ายจัดซื้อ หรือสาขาที่เกี่ยวข้อง เราอยู่หลังบ้านเราต้องให้การสนับสนุน
ส่วนเรื่องการขนส่งมีการเปิดประมูลว่าจ้างบริษัทเข้ามารับขนส่ง เพราะจำนวนสาขา และปริมาณคำสั่งซื้อมีมากขึ้นเฉลี่ยประมาณ 85,000 หีบต่อวันช่วงปกติ หากช่วงเทศกาล เช่น สงกรานต์จะขึ้นไปถึง 100,000 กว่าหีบต่อวัน ด้วยปริมาณสินค้ามาก ทำให้ต้องเลือกบริษัทขนส่งที่ไว้วางใจได้ มีผลประกอบการที่ดี ปัจจุบันที่คลังสินค้าของแห้งใช้บริษัทอินเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติกส์ ทำหน้าที่ขนส่งสินค้าให้ และอาหารสดใช้ 2 บริษัท คือ บริษัท ซีว่า โลจิสติกส์ (ประเทศไทย) จำกัด วิ่งสาขาในกรุงเทพฯ และรินฟ็อกซ์ จะวิ่งสาขาต่างจังหวัด
supply chain ยกระดับคุณภาพสินค้า
เมื่อประมาณ 7-8 ปีก่อนที่จะมีการตั้งศูนย์กระจายสินค้า ถ้าสาขาต้องการสินค้าให้ส่งแฟกซ์ใบสั่งซื้อ (P/O) ไปที่ซัพพลายเออร์หรือร้านค้า แล้วทางร้านค้าจะจัดสินค้าวิ่งตรงไปส่งให้ที่สาขา ซึ่งทำให้เกิดความยุ่งยาก ไม่มีประสิทธิภาพ และก่อให้เกิดค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่สิ้นเปลือง
ยกตัวอย่าง สาขาสั่งของไปยังร้านค้าว่า อยากได้บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป 100 หีบ สั่งไปไม่รู้เลยว่าร้านค้าจะมาส่งได้ 100 หีบหรือไม่ ของจะมี ของจะขาด และจะมีมาถึงกี่โมง พอมาถึงก็รอคิวที่สาขาอีก เพราะมีซัพพลายเออร์รายอื่นส่งของอยู่ กว่าของจะถึงสาขา และจัดส่งไปเรียงบนชั้นขายมีเรื่องติดขัดมาก
จึงมีนโยบายตั้งคลังสินค้าอาหารสด และคลังสินค้าอาหารแห้งของตัวเอง เพราะมีสาขาประมาณ 40 สาขาแล้ว โดยให้ทางร้านค้ามาส่งสินค้าที่ศูนย์กระจายสินค้า แล้วท็อปส์กระจายสินค้าไปที่สาขาเอง
การมาส่งสินค้าซัพพลายเออร์ต้องนัดหมายเวลามาส่ง เข้าประตูช่องไหน จำนวนรถจะเข้ามากี่คัน เลขทะเบียนรถ ทุกอย่างมีระเบียบขั้นตอนการจัดการ กว่าระบบจะเข้าที่เข้าทางใช้เวลาประมาณ 2 ปี
จึงเริ่มนำแนวความคิดเรื่องห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) มาใช้ ผู้ที่อยู่ในวงการซัพพลายเชนจะทราบว่าโลจิสติกส์เป็นส่วนย่อยของซัพพลายเชนอีกที
โลจิสติกส์ คือ การเคลื่อนย้ายสินค้าจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง แต่การเคลื่อนย้ายนั้นเป็นไปอย่างถูกต้อง ถูกสถานที่ ถูกเวลา ด้วยต้นทุนที่น้อยที่สุดหรือไม่ มีประสิทธิภาพหรือเปล่า
การมีศูนย์กระจายสินค้าเอง สั่งของเอง สามารถสต๊อกสินค้าบางตัวไว้ในปริมาณที่พอสมควรให้เหมาะสมกับยอดที่จ่ายไปให้สาขา สามารถตอบสนองความต้องการให้ลูกค้า ของได้มากขึ้น มีความถูกต้องแม่นยำ การทำเอกสารต่างๆ การหยิบสินค้าสามารถควบคุมดูแลได้ ถ้ามีการทำงานผิดพลาดสามารถตรวจสอบกลับได้
มีความยืดหยุ่นในการทำงาน แม้คลังสินค้ามีกระบวนการทำงานที่ชัดเจน แต่สามารถเปลี่ยน เพื่อให้ตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างรวดเร็ว และเป็นไปได้มากที่สุด เช่น สาขาสั่งสินค้ามา อาจจะไม่เพียงพอ ขอเพิ่มปริมาณรอบ 3 ตรงนี้ยืดหยุ่นได้ หรือการปรับเปลี่ยนเวลาส่งของไปที่สาขา หรือช่วงเทศกาลเป็นช่วงที่ขายดี แต่ร้านค้าปิดทำการ หยุดต่อเนื่อง ต้องเตรียมสต๊อกไว้จนกว่าร้านค้าจะเปิด ให้สาขายังมีของขาย
เรื่องอาหารสด เรื่องคุณภาพ ถือเป็นเรื่องสำคัญ การให้ซัพพลายเออร์วิ่งไปส่งเองที่สาขาไม่สามารถตรวจสอบคุณภาพ การตั้งศูนย์กระจายอาหารสดจะมีทีมงานที่เป็น QA และ QC ควบคุมที่ฝ่ายตรวจรับทำงานร่วมกับฝ่ายจัดซื้อสำนักงานใหญ่ โดยมีมาตรฐานคู่มือการทำงาน ถ้าไม่ตรงตามสเป็กที่กำหนดสินค้าจะถูกตีกลับ
แต่การปรับเปลี่ยนทั้งหมดจะต้องให้สามารถตอบสนองสาขาของเรา และสามารถแข่งขันกับผู้ค้าปลีกรายอื่นได้
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0224
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 44
โรบินสันกะกวาด 600 ล.
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:17 น.
นางอุสรา ยงปิยะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โรบินสัน ได้จัดงานต้อนรับวันแม่ ด้วยแคมเปญ มาย บิวตี้ ด้วยการคัดเลือกสินค้า ที่เหมาะกับการซื้อให้กับคุณแม่ ทั้งแผนกความงาม เครื่องประดับ แฟชั่น ของใช้ในบ้าน โดยใช้สัญลักษณ์ บลูริบบิ้น ในราคาพิเศษ มากกว่า 1,000 รายการ ตั้งแต่วันที่ 8-19 ส.ค.นี้ พิเศษ เฉพาะวันที่ 8 ส.ค. ได้จัดงาน Beauty Queens ด้วยการจัดแฟชั่นโชว์ ด้วยการนำนางงามเวทีต่างๆ อาทิ นางงามจักรวาล นาตาลี เกลโบวา มิสไทยแลนด์ ยูนิเวิร์ส ปี50 กวาง-ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม ใช้งบประมาณรวมกว่า 10 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายเฉพาะช่วงแคมเปญนี้ไว้ที่ 600 ล้านบาท
http://news.sanook.com/economic/economic_162937.php
โดย ข่าวสด วัน จันทร์ ที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 04:17 น.
นางอุสรา ยงปิยะกุล ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายการตลาด บริษัท ห้างสรรพสินค้าโรบินสัน จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า โรบินสัน ได้จัดงานต้อนรับวันแม่ ด้วยแคมเปญ มาย บิวตี้ ด้วยการคัดเลือกสินค้า ที่เหมาะกับการซื้อให้กับคุณแม่ ทั้งแผนกความงาม เครื่องประดับ แฟชั่น ของใช้ในบ้าน โดยใช้สัญลักษณ์ บลูริบบิ้น ในราคาพิเศษ มากกว่า 1,000 รายการ ตั้งแต่วันที่ 8-19 ส.ค.นี้ พิเศษ เฉพาะวันที่ 8 ส.ค. ได้จัดงาน Beauty Queens ด้วยการจัดแฟชั่นโชว์ ด้วยการนำนางงามเวทีต่างๆ อาทิ นางงามจักรวาล นาตาลี เกลโบวา มิสไทยแลนด์ ยูนิเวิร์ส ปี50 กวาง-ฟ้ารุ่ง ยุติธรรม ใช้งบประมาณรวมกว่า 10 ล้านบาท ตั้งเป้ายอดขายเฉพาะช่วงแคมเปญนี้ไว้ที่ 600 ล้านบาท
http://news.sanook.com/economic/economic_162937.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news30/07/07
โพสต์ที่ 45
เซ็นทรัล vs เดอะมอลล์สงครามบัตร ชิงฐานลูกค้านอกห้าง
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2550 11:24 น.
ผู้จัดการรายสัปดาห์ - จากสงครามบัตรสมาชิกเพื่อสร้างลอยัลตี้ให้ลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น วันนี้สงครามขยายตัวไปสู่สมรภูมิรบในพลาซ่าและกำลังจะออกไปสู่นอกห้าง เมื่อเดอะมอลล์จับมือซิตี้แบงก์และวีซ่า ออกบัตรเครดิต Citi M Visa ผนวกเพรสทีจการ์ด ปะทะค่ายเซ็นทรัลที่มี เซ็นทรัล การ์ด และ เดอะ วัน การ์ด เป็นอาวุธในการทำ One to One Marketing
การแข่งขันในสมรภูมิค้าปลีกของไทยยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัลและเดอะมอลล์กรุ๊ปที่ต่างพยายามสร้างลอยัลตี้ไปสู่ลูกค้าเพื่อเพิ่มความถี่ในการใช้บริการและเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าเหล่านั้นแวะเวียนมาใช้บริการสาขาในเครือ ซึ่งถือเป็นการตีกันคู่แข่งไปในตัว
การสร้างลอยัลตี้ถือเป็นหนึ่งในการทำ CRM เพื่อให้ลูกค้าผูกพันกับห้างและมาใช้บริการในห้างนั้นๆมากกว่าไปห้างอื่น ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการเริ่มสงครามบัตรสมาชิกอย่างชัดเจนเมื่อเซ็นทรัลออกบัตรสมาชิก เดอะ วัน การ์ด ปะทะกับ เพรสทีจ การ์ด ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ซึ่งลอนช์ออกมาก่อนหน้านั้นครึ่งปี
กุญแจสำคัญในการทำบัตรสมาชิกคือสิทธิประโยชน์ที่ผู้ถือบัตรจะได้รับ ดังนั้นจึงมีการทำแคมเปญรวมถึงการผนึกพันธมิตรต่างๆเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ถือบัตรมากมาย โดยรูปแบบโปรโมชั่นต่างๆจะเป็นการทำ One to One Marketing มากขึ้น เพื่อเสนอแคมเปญที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคน และจะก่อให้เกิดลอยัลตี้เพิ่มขึ้น
แต่ที่ผ่านมาเพรสทีจการ์ดซึ่งใช้เป็นส่วนลด 5-10 % ในห้างเดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม และพารากอน ต้องต่อสู้โดยลำพัง ขณะที่เซ็นทรัลมีบัตรเครดิตเซ็นทรัลการ์ด ทำตลาดคู่กับ เดอะ วัน การ์ด โดยสิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตเป็นการซัปพอร์ตโดยจีอีมันนี่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเซ็นทรัลให้บริหารบัตรเครดิตดังกล่าว ส่วน เดอะ วัน การ์ด เป็นบัตรสมาชิกสำหรับสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าใน 7 กลุ่มธุรกิจของเซ็นทรัลคือห้างเซ็นทรัล โรบินสัน เพาเวอร์บาย บีทูเอส โฮมเวิร์ค ซูเปอร์สปอร์ต และเซน (ไม่นับรวมท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และออฟฟิศ ดีโป้) เพื่อนำมาแลกคูปองเงินสดในภายหลัง ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา 1 ปี ปรากฏว่า เดอะ วัน การ์ด ได้รับการตอบรับที่ดี โดยมียอดรายได้ผ่านบัตรดังกล่าวสูงถึง 38,000 ล้านบาท จากยอดขายในเครือเซ็นทรัลที่มีมากกว่า 50,000 ล้านบาท จาก 7 ธุรกิจ โดยสัดส่วนสมาชิกที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดอะ วัน การ์ดอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 60-70%
ปัจจุบัน เดอะ วัน การ์ดมีฐานสมาชิก 1.5 ล้านราย ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 2.8 ล้านราย แต่ทั้งนี้เซ็นทรัลได้ปรับเปลี่ยนทิศทางในการทำบัตรสมาชิกจากการวางเป้าจำนวนมากมาสู่การโฟกัสกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บัตรจริงๆ เพื่อที่จะสร้างฐานลูกค้าสมาชิกที่มีการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องให้มากกว่า 70% โดยวางกรอบในการพัฒนาบัตรสมาชิกดังกล่าวไว้ 3 แนวทางคือ การทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องใน 7 กลุ่มธุรกิจโดยมีบัตร เดอะ วันการ์ดเป็นตัวเอกของแคมเปญ ประการที่ 2 คือการทำ CRM เนื่องจากบัตรดังกล่าวจะเก็บฐานข้อมูลและพฤติกรรมการใช้จ่ายของสมาชิกเอาไว้ แต่ยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวซึ่งต้องมีการทำงานเชื่อมโยงกับทีมการตลาดและบรรดาซัปพลายเออร์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประการสุดท้ายเป็นการพัฒนาระบบไอที โดยในปีนี้มีการทุ่มงบอีก 30 ล้านบาทเพื่อทำให้ระบบไอทีมีความรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งในช่วงปลายปีจะมีระบบเช็กแต้มสะสมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาลูกค้ากว่า 90% จะนำคูปองเงินสดที่ได้จากการสะสมแต้มมาใช้ในทันทีส่งผลให้ธุรกิจมียอดขายเติบโตไม่ต่ำกว่า 10-15%
แม้ที่ผ่านมา เดอะ วัน การ์ดจะมีความได้เปรียบเหนือเพรสทีจการ์ดของเดอะมอลล์เนื่องจากเดอะ วัน การ์ดสามารถใช้จ่ายผ่านเครือข่ายของเซ็นทรัลที่มีมากกว่า 200 สาขา ในขณะที่เดอะมอลล์แม้จะรวมเอ็มโพเรียมและพารากอนแล้วก็มีเพียง 11 สาขาเท่านั้น
ดังนั้นในปีนี้เดอะมอลล์กรุ๊ปจึงเดินเกม CRM อีกครั้งด้วยการจับมือกับพันธมิตร ซิตี้แบงก์ และวีซ่า ทำบัตร Citi M Visa เพื่อขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มลูกค้าของธนาคาร และยังเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก ตลอดจนเป็นการทำให้บัตรสมาชิกของเดอะมอลล์สามารถใช้จ่ายได้หลายร้านค้าทั้งในห้างและนอกห้าง โดยบัตร Citi M Visa มีร้านค้านอกห้างรองรับไม่ต่ำกว่า 200,000 ร้านค้า และยังมีลูกค้าบัตรเครดิตของซิตี้แบงก์อีกกว่า 900,000 รายซึ่งมีโอกาสที่จะเปลี่ยนมาใช้บัตร Citi M Visa เนื่องจากได้สิทธิประโยชน์จากเดอะมอลล์เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี เดอะมอลล์ยังคงทำบัตรเพรสทีจการ์ดต่อไปด้วยสาเหตุที่ว่ายังมีลูกค้าอีกกลุ่มที่มีความภักดีต่อธนาคารอื่นๆที่ตนถือบัตรเครดิตอยู่ จึงยังต้องมีบัตรเพรสทีจการ์ดต่อไปเพื่อรองรับสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าที่ไม่ได้ถือบัตรเครดิตของซิตี้แบงก์ ซึ่งปัจจุบันเดอะมอลล์มีสมาชิกเพรสทีจการ์ดและบัตรแพลทินัมรวมกันไม่ต่ำกว่า 700,000 ใบ
ทันทีที่เดอะมอลล์ลอนช์บัตรเครดิต เซ็นทรัลก็ออกมาชิงพื้นที่ข่าวด้วยการแถลงข่าวครบรอบ 1 ปี เดอะ วัน การ์ด ซึ่งตามกำหนดที่เคยแถลงไปครั้งแรกที่ลอนช์บัตร ต้องถือว่าเดอะ วัน การ์ดยังขาดความพร้อมเพราะการพัฒนาระบบไอทีต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีตามที่เคยให้ข่าวไปเมื่อกลางปีที่แล้ว แต่เพื่อช่วงชิงลูกค้าที่จะตัดสินใจไปใช้บัตรของคู่แข่งให้หันมามองบัตรเดอะ วัน การ์ด
นอกจากนี้ยังมีการผนึกกับพันธมิตรเพื่อให้ผู้ถือบัตรเดอะวันการ์ดสามารถใช้จ่ายนอกเหนือจาก 7 กลุ่มธุรกิจของเซ็นทรัลได้ เช่นร้านค้าเช่าในพลาซ่า รวมถึงเซ็นทรัลเวิลด์ และยังมีแผนที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถสะสมแต้มผ่านร้านค้านอกห้างได้ โดยคาดว่าร้านอาหารและปั๊มน้ำมันจะเป็นกลุ่มแรกที่เซ็นทรัลจะเข้าไปเจรจา โดยพันธมิตรเหล่านั้นจะได้ประโยชน์จากการแชร์ข้อมูลของลูกค้าทำให้ร้านค้าสามารถหาสินค้าหรือบริการมาตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ไม่เพียงเท่านั้น เซ็นทรัลยังสร้างกระแสให้กับบัตรเครดิตซึ่งมี 3 แบบคือ เซ็นทรัลการ์ด เซ็นทรัลดมาสเตอร์การ์ด ทอง และเซ็นทรัล มาสเตอร์การ์ด แพลทินัม เพื่อชิงลูกค้ากลุ่มบัตรเครดิตกับ Citi M Visa เนื่องจากลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตถือเป็นตลาดใหญ่ โดยมีลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเซ็นทรัลรวมกันแล้วเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 40% ของยอดขายเซ็นทรัลรีเทลทั้งหมด
ปัจจุบันเซ็นทรัลมีฐานสมาชิกบัตรเครดิตกว่า 650,000 ราย โดยคาดว่าจะเพิ่มเป็น 700,000 รายในปีนี้ และจะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 10-15% โดยมีสิทธิประโยชน์เป็นตัวกระตุ้นยอดขาย
สงครามสร้างลอยัลตี้กำลังขยายตัวไปสู่การสร้างเครือข่าย โดยทำการตลาดผ่านบัตรสมาชิก แต่ประโยชน์จะตกอยู่กับห้างหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเครือข่ายร้านค้านอกห้างต้องไม่ใช่ธุรกิจที่แข่งกันเองกับห้าง แต่ทั้งนี้ห้างก็อาจต่อยอดธุรกิจใหม่จากการทำ CRM ด้วยการขายข้อมูลให้กับคู่ค้าหรือซัปพลายเออร์เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000088271
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 28 กรกฎาคม 2550 11:24 น.
ผู้จัดการรายสัปดาห์ - จากสงครามบัตรสมาชิกเพื่อสร้างลอยัลตี้ให้ลูกค้ามาใช้บริการมากขึ้น วันนี้สงครามขยายตัวไปสู่สมรภูมิรบในพลาซ่าและกำลังจะออกไปสู่นอกห้าง เมื่อเดอะมอลล์จับมือซิตี้แบงก์และวีซ่า ออกบัตรเครดิต Citi M Visa ผนวกเพรสทีจการ์ด ปะทะค่ายเซ็นทรัลที่มี เซ็นทรัล การ์ด และ เดอะ วัน การ์ด เป็นอาวุธในการทำ One to One Marketing
การแข่งขันในสมรภูมิค้าปลีกของไทยยังคงรุนแรงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเซ็นทรัลและเดอะมอลล์กรุ๊ปที่ต่างพยายามสร้างลอยัลตี้ไปสู่ลูกค้าเพื่อเพิ่มความถี่ในการใช้บริการและเป็นการดึงดูดให้ลูกค้าเหล่านั้นแวะเวียนมาใช้บริการสาขาในเครือ ซึ่งถือเป็นการตีกันคู่แข่งไปในตัว
การสร้างลอยัลตี้ถือเป็นหนึ่งในการทำ CRM เพื่อให้ลูกค้าผูกพันกับห้างและมาใช้บริการในห้างนั้นๆมากกว่าไปห้างอื่น ซึ่งในปีที่ผ่านมามีการเริ่มสงครามบัตรสมาชิกอย่างชัดเจนเมื่อเซ็นทรัลออกบัตรสมาชิก เดอะ วัน การ์ด ปะทะกับ เพรสทีจ การ์ด ของเดอะมอลล์ กรุ๊ป ซึ่งลอนช์ออกมาก่อนหน้านั้นครึ่งปี
กุญแจสำคัญในการทำบัตรสมาชิกคือสิทธิประโยชน์ที่ผู้ถือบัตรจะได้รับ ดังนั้นจึงมีการทำแคมเปญรวมถึงการผนึกพันธมิตรต่างๆเพื่อเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับผู้ถือบัตรมากมาย โดยรูปแบบโปรโมชั่นต่างๆจะเป็นการทำ One to One Marketing มากขึ้น เพื่อเสนอแคมเปญที่ตรงกับความต้องการของผู้บริโภคแต่ละคน และจะก่อให้เกิดลอยัลตี้เพิ่มขึ้น
แต่ที่ผ่านมาเพรสทีจการ์ดซึ่งใช้เป็นส่วนลด 5-10 % ในห้างเดอะมอลล์ เอ็มโพเรียม และพารากอน ต้องต่อสู้โดยลำพัง ขณะที่เซ็นทรัลมีบัตรเครดิตเซ็นทรัลการ์ด ทำตลาดคู่กับ เดอะ วัน การ์ด โดยสิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตเป็นการซัปพอร์ตโดยจีอีมันนี่ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากเซ็นทรัลให้บริหารบัตรเครดิตดังกล่าว ส่วน เดอะ วัน การ์ด เป็นบัตรสมาชิกสำหรับสะสมแต้มจากการซื้อสินค้าใน 7 กลุ่มธุรกิจของเซ็นทรัลคือห้างเซ็นทรัล โรบินสัน เพาเวอร์บาย บีทูเอส โฮมเวิร์ค ซูเปอร์สปอร์ต และเซน (ไม่นับรวมท็อปส์ ซูเปอร์มาร์เก็ต และออฟฟิศ ดีโป้) เพื่อนำมาแลกคูปองเงินสดในภายหลัง ซึ่งจากการดำเนินงานที่ผ่านมา 1 ปี ปรากฏว่า เดอะ วัน การ์ด ได้รับการตอบรับที่ดี โดยมียอดรายได้ผ่านบัตรดังกล่าวสูงถึง 38,000 ล้านบาท จากยอดขายในเครือเซ็นทรัลที่มีมากกว่า 50,000 ล้านบาท จาก 7 ธุรกิจ โดยสัดส่วนสมาชิกที่มีการใช้จ่ายผ่านบัตรเดอะ วัน การ์ดอย่างต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 60-70%
ปัจจุบัน เดอะ วัน การ์ดมีฐานสมาชิก 1.5 ล้านราย ซึ่งต่ำกว่าเป้าที่วางไว้ 2.8 ล้านราย แต่ทั้งนี้เซ็นทรัลได้ปรับเปลี่ยนทิศทางในการทำบัตรสมาชิกจากการวางเป้าจำนวนมากมาสู่การโฟกัสกลุ่มลูกค้าที่ต้องการใช้บัตรจริงๆ เพื่อที่จะสร้างฐานลูกค้าสมาชิกที่มีการใช้จ่ายอย่างต่อเนื่องให้มากกว่า 70% โดยวางกรอบในการพัฒนาบัตรสมาชิกดังกล่าวไว้ 3 แนวทางคือ การทำกิจกรรมอย่างต่อเนื่องใน 7 กลุ่มธุรกิจโดยมีบัตร เดอะ วันการ์ดเป็นตัวเอกของแคมเปญ ประการที่ 2 คือการทำ CRM เนื่องจากบัตรดังกล่าวจะเก็บฐานข้อมูลและพฤติกรรมการใช้จ่ายของสมาชิกเอาไว้ แต่ยังต้องอาศัยผู้เชี่ยวชาญในการวิเคราะห์ข้อมูลดังกล่าวซึ่งต้องมีการทำงานเชื่อมโยงกับทีมการตลาดและบรรดาซัปพลายเออร์เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ประการสุดท้ายเป็นการพัฒนาระบบไอที โดยในปีนี้มีการทุ่มงบอีก 30 ล้านบาทเพื่อทำให้ระบบไอทีมีความรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งในช่วงปลายปีจะมีระบบเช็กแต้มสะสมผ่านอินเทอร์เน็ตได้ ทั้งนี้ที่ผ่านมาลูกค้ากว่า 90% จะนำคูปองเงินสดที่ได้จากการสะสมแต้มมาใช้ในทันทีส่งผลให้ธุรกิจมียอดขายเติบโตไม่ต่ำกว่า 10-15%
แม้ที่ผ่านมา เดอะ วัน การ์ดจะมีความได้เปรียบเหนือเพรสทีจการ์ดของเดอะมอลล์เนื่องจากเดอะ วัน การ์ดสามารถใช้จ่ายผ่านเครือข่ายของเซ็นทรัลที่มีมากกว่า 200 สาขา ในขณะที่เดอะมอลล์แม้จะรวมเอ็มโพเรียมและพารากอนแล้วก็มีเพียง 11 สาขาเท่านั้น
ดังนั้นในปีนี้เดอะมอลล์กรุ๊ปจึงเดินเกม CRM อีกครั้งด้วยการจับมือกับพันธมิตร ซิตี้แบงก์ และวีซ่า ทำบัตร Citi M Visa เพื่อขยายฐานลูกค้าไปสู่กลุ่มลูกค้าของธนาคาร และยังเป็นการเพิ่มสิทธิประโยชน์ให้กับสมาชิก ตลอดจนเป็นการทำให้บัตรสมาชิกของเดอะมอลล์สามารถใช้จ่ายได้หลายร้านค้าทั้งในห้างและนอกห้าง โดยบัตร Citi M Visa มีร้านค้านอกห้างรองรับไม่ต่ำกว่า 200,000 ร้านค้า และยังมีลูกค้าบัตรเครดิตของซิตี้แบงก์อีกกว่า 900,000 รายซึ่งมีโอกาสที่จะเปลี่ยนมาใช้บัตร Citi M Visa เนื่องจากได้สิทธิประโยชน์จากเดอะมอลล์เพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ดี เดอะมอลล์ยังคงทำบัตรเพรสทีจการ์ดต่อไปด้วยสาเหตุที่ว่ายังมีลูกค้าอีกกลุ่มที่มีความภักดีต่อธนาคารอื่นๆที่ตนถือบัตรเครดิตอยู่ จึงยังต้องมีบัตรเพรสทีจการ์ดต่อไปเพื่อรองรับสิทธิประโยชน์ให้กับลูกค้าที่ไม่ได้ถือบัตรเครดิตของซิตี้แบงก์ ซึ่งปัจจุบันเดอะมอลล์มีสมาชิกเพรสทีจการ์ดและบัตรแพลทินัมรวมกันไม่ต่ำกว่า 700,000 ใบ
ทันทีที่เดอะมอลล์ลอนช์บัตรเครดิต เซ็นทรัลก็ออกมาชิงพื้นที่ข่าวด้วยการแถลงข่าวครบรอบ 1 ปี เดอะ วัน การ์ด ซึ่งตามกำหนดที่เคยแถลงไปครั้งแรกที่ลอนช์บัตร ต้องถือว่าเดอะ วัน การ์ดยังขาดความพร้อมเพราะการพัฒนาระบบไอทีต้องใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปีตามที่เคยให้ข่าวไปเมื่อกลางปีที่แล้ว แต่เพื่อช่วงชิงลูกค้าที่จะตัดสินใจไปใช้บัตรของคู่แข่งให้หันมามองบัตรเดอะ วัน การ์ด
นอกจากนี้ยังมีการผนึกกับพันธมิตรเพื่อให้ผู้ถือบัตรเดอะวันการ์ดสามารถใช้จ่ายนอกเหนือจาก 7 กลุ่มธุรกิจของเซ็นทรัลได้ เช่นร้านค้าเช่าในพลาซ่า รวมถึงเซ็นทรัลเวิลด์ และยังมีแผนที่จะทำให้ผู้บริโภคสามารถสะสมแต้มผ่านร้านค้านอกห้างได้ โดยคาดว่าร้านอาหารและปั๊มน้ำมันจะเป็นกลุ่มแรกที่เซ็นทรัลจะเข้าไปเจรจา โดยพันธมิตรเหล่านั้นจะได้ประโยชน์จากการแชร์ข้อมูลของลูกค้าทำให้ร้านค้าสามารถหาสินค้าหรือบริการมาตอบสนองได้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค
ไม่เพียงเท่านั้น เซ็นทรัลยังสร้างกระแสให้กับบัตรเครดิตซึ่งมี 3 แบบคือ เซ็นทรัลการ์ด เซ็นทรัลดมาสเตอร์การ์ด ทอง และเซ็นทรัล มาสเตอร์การ์ด แพลทินัม เพื่อชิงลูกค้ากลุ่มบัตรเครดิตกับ Citi M Visa เนื่องจากลูกค้าที่ใช้บัตรเครดิตถือเป็นตลาดใหญ่ โดยมีลูกค้าที่ใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตเซ็นทรัลรวมกันแล้วเป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่า 40% ของยอดขายเซ็นทรัลรีเทลทั้งหมด
ปัจจุบันเซ็นทรัลมีฐานสมาชิกบัตรเครดิตกว่า 650,000 ราย โดยคาดว่าจะเพิ่มเป็น 700,000 รายในปีนี้ และจะมียอดการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น 10-15% โดยมีสิทธิประโยชน์เป็นตัวกระตุ้นยอดขาย
สงครามสร้างลอยัลตี้กำลังขยายตัวไปสู่การสร้างเครือข่าย โดยทำการตลาดผ่านบัตรสมาชิก แต่ประโยชน์จะตกอยู่กับห้างหรือไม่ก็ขึ้นอยู่กับว่าเครือข่ายร้านค้านอกห้างต้องไม่ใช่ธุรกิจที่แข่งกันเองกับห้าง แต่ทั้งนี้ห้างก็อาจต่อยอดธุรกิจใหม่จากการทำ CRM ด้วยการขายข้อมูลให้กับคู่ค้าหรือซัปพลายเออร์เพื่อนำไปพัฒนาสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000088271
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news31/07/07
โพสต์ที่ 46
สนช.ส่งซิกสมานฉันท์ค้าปลีกรายใหญ่
โดย ข่าวสด วัน อังคาร ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:51 น.
ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและโฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ฉบับของสนช.ได้มีการกำหนดขอบเขตของธุรกิจค้าปลีกให้แคบลงเพื่อจะได้ตรงประเด็นว่าจะควบคุมค้าปลีกประเภทใดบ้าง โดยมีการแยกธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีสาขาและขนาดเล็กที่ไม่มีสาขา รวมทั้งยกเว้นการควบคุมธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจำหน่ายยาปราบศัตรูพืช การจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และการจำหน่ายของที่ระลึกหรือสินค้าชุมชน พร้อมทั้งเปิดช่องให้สามารถออกประกาศยกเว้นธุรกิจค้าขายเล็กๆ น้อยๆ
นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมคณะกรรมการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งร่วมกับผู้ประกอบการหลายราย และเห็นว่าหากสามารถตกลงกันได้ว่าค้าปลีกรายใหญ่จะไม่ขายสินค้าต่ำกว่าทุนก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาควบคุม เช่นเดียวกับเรื่องของการขยายสาขาของค้าปลีกรายใหญ่ที่ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะการขยายสาขาไปยังหมู่บ้านหรือตำบล ทั้งนี้ค้าปลีกรายใหญ่ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้ว เราคงจะไล่ออกไปไม่ได้ แต่จะบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดประโยชน์และอยู่ร่วมกันได้ทั้งสองฝ่าย
http://news.sanook.com/economic/economic_163418.php
โดย ข่าวสด วัน อังคาร ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2550 09:51 น.
ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ กรรมการรองเลขาธิการ สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและโฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เปิดเผยว่า ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ฉบับของสนช.ได้มีการกำหนดขอบเขตของธุรกิจค้าปลีกให้แคบลงเพื่อจะได้ตรงประเด็นว่าจะควบคุมค้าปลีกประเภทใดบ้าง โดยมีการแยกธุรกิจค้าปลีกขนาดใหญ่ที่มีสาขาและขนาดเล็กที่ไม่มีสาขา รวมทั้งยกเว้นการควบคุมธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้อง ได้แก่ การจำหน่ายยาปราบศัตรูพืช การจำหน่ายหนังสือพิมพ์ และการจำหน่ายของที่ระลึกหรือสินค้าชุมชน พร้อมทั้งเปิดช่องให้สามารถออกประกาศยกเว้นธุรกิจค้าขายเล็กๆ น้อยๆ
นอกจากนี้ เมื่อเร็วๆ นี้ ได้ประชุมคณะกรรมการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งร่วมกับผู้ประกอบการหลายราย และเห็นว่าหากสามารถตกลงกันได้ว่าค้าปลีกรายใหญ่จะไม่ขายสินค้าต่ำกว่าทุนก็ไม่จำเป็นต้องมีกฎหมายออกมาควบคุม เช่นเดียวกับเรื่องของการขยายสาขาของค้าปลีกรายใหญ่ที่ควรทำอย่างค่อยเป็นค่อยไป โดยเฉพาะการขยายสาขาไปยังหมู่บ้านหรือตำบล ทั้งนี้ค้าปลีกรายใหญ่ที่เข้ามาดำเนินธุรกิจในประเทศไทยแล้ว เราคงจะไล่ออกไปไม่ได้ แต่จะบริหารจัดการอย่างไรให้เกิดประโยชน์และอยู่ร่วมกันได้ทั้งสองฝ่าย
http://news.sanook.com/economic/economic_163418.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news01/08/07
โพสต์ที่ 47
แนะรัฐเร่งช่วยโชห่วย ชี้ต้องไม่กีดกันการค้า
โพสต์ทูเดย์ นักวิชาการชี้รัฐต้องช่วยโชห่วยพัฒนาเพื่อรับมือการแข่งขัน แต่อย่าล้ำเส้นจนเข้าข่ายกีดกันการค้า
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว ว่า รัฐบาลควรยื่นมือเข้ามาช่วยพัฒนาร้านค้าปลีกรายย่อย เพื่อให้ผู้ประกอบการโชห่วยขนาดเล็กพัฒนาตัวเองได้ทั้งเรื่องของข้อมูล ระบบการจัดการ อย่างไรก็ตาม มาตรการให้ความช่วยเหลือต้องไม่มากจนเกินไป จนปิดกั้นการลงทุนต่างชาติ เพราะอาจทำให้ผู้บริโภคและเศรษฐกิจของประเทศเสียประโยชน์ได้
ส่วนความขัดแย้งระหว่างร้านค้าปลีกรายย่อยกับโมเดิร์นเทรดนั้น ความจริงแล้วทั้ง 2 ฝ่าย สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยผู้ค้าปลีกรายย่อยต้องเตรียมพร้อมรับมือการแข่งขันในอนาคต ด้วยการลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายการให้บริการที่ดีขึ้น รวมทั้งหาความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีจุดขายและเจาะตลาดกลุ่มที่โมเดิร์นเทรดยังไปไม่ถึง ไม่ใช่ไปแข่งกับโมเดิร์นเทรด
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งร่าง พ.ร.บ.การประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกลับมาเพื่อให้ทบทวนใหม่ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีบทบัญญัติที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยอย่างแท้จริงนั้น ต้องยอมรับว่าปัญหาธุรกิจค้าปลีกมีแรงกดดันทางการเมือง เพื่อเร่งให้มีการพิจารณากฎหมาย อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วการพิจารณากฎหมายต้องมองถึงประโยชน์ของประชาชนทั่วไป และเป็นที่ยอมรับของประชาชน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182265
โพสต์ทูเดย์ นักวิชาการชี้รัฐต้องช่วยโชห่วยพัฒนาเพื่อรับมือการแข่งขัน แต่อย่าล้ำเส้นจนเข้าข่ายกีดกันการค้า
นายอนุสรณ์ ธรรมใจ คณบดีคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต กล่าว ว่า รัฐบาลควรยื่นมือเข้ามาช่วยพัฒนาร้านค้าปลีกรายย่อย เพื่อให้ผู้ประกอบการโชห่วยขนาดเล็กพัฒนาตัวเองได้ทั้งเรื่องของข้อมูล ระบบการจัดการ อย่างไรก็ตาม มาตรการให้ความช่วยเหลือต้องไม่มากจนเกินไป จนปิดกั้นการลงทุนต่างชาติ เพราะอาจทำให้ผู้บริโภคและเศรษฐกิจของประเทศเสียประโยชน์ได้
ส่วนความขัดแย้งระหว่างร้านค้าปลีกรายย่อยกับโมเดิร์นเทรดนั้น ความจริงแล้วทั้ง 2 ฝ่าย สามารถอยู่ร่วมกันได้ โดยผู้ค้าปลีกรายย่อยต้องเตรียมพร้อมรับมือการแข่งขันในอนาคต ด้วยการลดต้นทุนการดำเนินงาน เพิ่มประสิทธิภาพ การสร้างเครือข่ายการให้บริการที่ดีขึ้น รวมทั้งหาความชำนาญเฉพาะด้าน หรือมีจุดขายและเจาะตลาดกลุ่มที่โมเดิร์นเทรดยังไปไม่ถึง ไม่ใช่ไปแข่งกับโมเดิร์นเทรด
ส่วนกรณีที่มีข่าวว่า คณะกรรมการกฤษฎีกาจะส่งร่าง พ.ร.บ.การประกอบการธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกลับมาเพื่อให้ทบทวนใหม่ เนื่องจากเห็นว่าไม่มีบทบัญญัติที่ให้ความช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยอย่างแท้จริงนั้น ต้องยอมรับว่าปัญหาธุรกิจค้าปลีกมีแรงกดดันทางการเมือง เพื่อเร่งให้มีการพิจารณากฎหมาย อย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วการพิจารณากฎหมายต้องมองถึงประโยชน์ของประชาชนทั่วไป และเป็นที่ยอมรับของประชาชน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=182265
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news02/08/07
โพสต์ที่ 48
กลุ่มค้าปลีกร้องนายกฯขู่ชุมนุมใหญ่7ส.ค.นี้
2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 12:53:00
กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกชุมนุมหน้าทำเนียบร้อง สุรยุทธ์ ชะลอค้าปลีกต่างชาติขยายสาขา ชี้หากๆไม่ได้ผลเตรียมชุมนุมใหญ่ 7 ส.ค.ที่หน้าทำเนียบ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศกว่า 1 พันคน นำโดยนายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง และแกนนำประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากห้างค้าปลีกต่างชาติ ได้มาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี โดยเรียกร้องให้นายกฯมีบัญชาให้ยับยั้งการขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เป็นการเร่งด่วน
พร้อมกันนั้น กลุ่มผู้ชุมนุนยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งเสนอร่างพ.ร.บ.การค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ... เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และให้รัฐบาลเร่งเสนอร่างพ.ร.บ. แก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ...เกี่ยวกับนิยามของคำว่า คนด่างด้าว โดยให้ครอบคลุมถึงอำนาจในการออกเสียงและการลงมติใดๆของนิติบุคคล หรืออำนาจการบริหาร
นายเพียร ระบุว่า กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกดั่งเดิมต้องการให้พล.อ.สุรยุทธ์ สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ให้ชะลอการขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติ และหากการเรียกร้องยังไม่ได้รับตอบสนอง กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศจะมาชุมนุมใหญ่อีกครั้งที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 7 สิงหาคมนี้
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87333
2 สิงหาคม พ.ศ. 2550 12:53:00
กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกชุมนุมหน้าทำเนียบร้อง สุรยุทธ์ ชะลอค้าปลีกต่างชาติขยายสาขา ชี้หากๆไม่ได้ผลเตรียมชุมนุมใหญ่ 7 ส.ค.ที่หน้าทำเนียบ
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กลุ่มผู้ประกอบการธุรกิจค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศกว่า 1 พันคน นำโดยนายเพียร ยงหนู ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการไฟฟ้านครหลวง และแกนนำประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนจากห้างค้าปลีกต่างชาติ ได้มาชุมนุมที่หน้าทำเนียบรัฐบาล พร้อมทั้งยื่นหนังสือถึงพล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรี โดยเรียกร้องให้นายกฯมีบัญชาให้ยับยั้งการขยายสาขาของธุรกิจค้าปลีกสมัยใหม่เป็นการเร่งด่วน
พร้อมกันนั้น กลุ่มผู้ชุมนุนยังเรียกร้องให้รัฐบาลเร่งเสนอร่างพ.ร.บ.การค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ... เข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) และให้รัฐบาลเร่งเสนอร่างพ.ร.บ. แก้ไขพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ...เกี่ยวกับนิยามของคำว่า คนด่างด้าว โดยให้ครอบคลุมถึงอำนาจในการออกเสียงและการลงมติใดๆของนิติบุคคล หรืออำนาจการบริหาร
นายเพียร ระบุว่า กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกดั่งเดิมต้องการให้พล.อ.สุรยุทธ์ สั่งการให้กระทรวงพาณิชย์ทำหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทั่วประเทศ ให้ชะลอการขยายสาขาของห้างค้าปลีกต่างชาติ และหากการเรียกร้องยังไม่ได้รับตอบสนอง กลุ่มผู้ประกอบการค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศจะมาชุมนุมใหญ่อีกครั้งที่หน้าทำเนียบรัฐบาลในวันที่ 7 สิงหาคมนี้
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87333
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 49
โละสาขาไม่ทำเงิน-ชูของถูกบุกตจว. "เพาเวอร์บาย"เร่งปรับทัพรุกครึ่งปีหลัง
เพาเวอร์บายเดินเครื่องเต็มรูปแบบ หลังก้าวขึ้นปีที่ 11 ประกาศขยายสาขาต่อเนื่อง ปรับทัพโละร้านที่ไม่ทำเงิน-ยึดต้นแบบชิดลมแปลงโฉมสาขาเก่า ส่งสินค้าไฟติ้งโมเดลราคาถูกรุกกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด สรุปยอดขายครึ่งปีแรกจำนวนยูนิตโตกระฉูด ส่วนเม็ดเงินโตทรงๆ พร้อมเปิดแผนครึ่งปีหลังตลาดแข่งแรงเหนื่อยมากขึ้น เตรียมจับมือพันธมิตรลอนช์อีเวนต์ใหญ่กระตุ้นปลายปี
นายสอางทิพย์ อมรฉัตร ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการสายการตลาด บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยอดขายของเพาเวอร์บายในครึ่งแรก มีการเติบโตในแง่ของจำนวนยูนิตกว่า 10% แต่ในแง่ของจำนวนเงิน (value) พบว่าขยายตัวลดลง โดยต่ำจากที่คาดการณ์ไว้ 2-3% ซึ่งจากการแข่งขันที่รุนแรงของบรรดาผู้ประกอบการในตลาด ส่งผลให้ราคาขายสินค้าลดลงต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามจากการสรุปตัวเลขรวมของตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าของ "จีเอฟเค" บริษัทวิจัยและรวบรวมข้อมูลธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าระบุว่า ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา เพาเวอร์บายมีอัตราการขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่สามารถโตสวนกระแสได้มากที่สุดในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีเครื่องซักผ้าและตู้เย็นที่สามารถขยายตัวได้เกินความคาดหมาย เพราะได้อานิสงส์จากที่ภาครัฐมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการที่สถาบันการเงินต่างๆ ปล่อยกู้สินเชื่อที่จูงใจให้กับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลดีต่อกลุ่มลูกค้าที่มีบ้านใหม่
นางสอางทิพย์กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายของเพาเวอร์บายในการก้าวขึ้นปีที่ 11 จะเน้นให้ความสำคัญกับการขยายสาขาออกต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่าตลอดครึ่งปีแรกลูกค้าต่างจังหวัดมีการจับจ่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น โดยบริษัทจะเพิ่มไลน์สินค้าให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มซีอาร์ทีวี 21-29 นิ้ว เครื่องซักผ้า 2 ถัง และตู้เย็น 1 ประตู ที่มีการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นตลอด
"ที่ผ่านมาเพาเวอร์บายอาจจะช้าสำหรับการทำตลาดในกลุ่มต่างจังหวัด เพราะภาพเราค่อนข้างดูเป็นสินค้าไฮเอนด์ แต่ตอนนี้ก็ได้จัดรูปแบบใหม่ โดยวางไลน์สินค้าให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าในแต่ละตลาดมากขึ้น โดยมีสินค้าที่เป็นรุ่นราคาพิเศษเข้ามาช่วยกระตุ้นมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เพาเวอร์บาย กล่าวว่า สำหรับสาขาในต่างจังหวัดที่บริษัทต้องปิดตัวไปก็มีเช่นเดียวกัน อาทิ สุรินทร์ สุพรรณบุรี และปากเกร็ด เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม ตลาดบริเวณดังกล่าวยังไม่พร้อมที่จะเปิดรับ นอกจากนี้รวมถึงการแข่งขันที่เพาเวอร์บายต้องแข่งกับคู่แข็งที่มีสายสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกว่า ขณะเดียวกันในส่วนของสาขาเดิมที่เปิดไปแล้วนั้นจะทยอยปรับโฉมใหม่ให้ดูทันสมัยมากขึ้นตามคอนเซ็ปต์ของสาขาต้นแบบที่เซ็นทรัล ชิดลม
สำหรับภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครึ่งปีหลังนั้น ผู้บริหารเพาเวอร์บายมองว่า ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะปัญหาหลักอยู่ที่กลุ่มลูกค้าชะลอการซื้อ และไม่ออกมาเดินจับจ่าย ทำให้รูปแบบการทำตลาดเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะยอดขายจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นอยู่ที่การวางแผนและกลยุทธ์ที่จะต้องใช้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ได้
ควบคู่กับการทำตลาดเชิงรุก บริษัทได้เตรียมกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น รวมถึงเพิ่มความถี่ของอีเวนต์มาร์เก็ตติ้งทั้งในระดับย่อยและใหญ่ โดยเน้นกิจกรรมสร้างแบรนด์และตอกย้ำการรับรู้กับลูกค้า ผ่านกิจกรรมหน้าร้านของแต่ละสาขา ขณะเดียวกันในส่วนของอีเวนต์ใหญ่ก็จะมีเพิ่มขึ้น อาทิ โฮมเวิร์ค เอ็กซ์โป ที่เพาเวอร์บาย จัดร่วมกับโฮมเวิร์คนั้นจะเพิ่มเป็น 2 ครั้ง จากเดิม 1 ครั้งใน 1 ปี รวมทั้งจับมือกับซัพพลายเออร์-คู่ค้าทำกิจกรรมร่วมกัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างวางแผนจัดกิจกรรมใหญ่ คือ งานเฉลิมฉลอง 80 ปีในหลวงร่วมกับคู่ค้า
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
เพาเวอร์บายเดินเครื่องเต็มรูปแบบ หลังก้าวขึ้นปีที่ 11 ประกาศขยายสาขาต่อเนื่อง ปรับทัพโละร้านที่ไม่ทำเงิน-ยึดต้นแบบชิดลมแปลงโฉมสาขาเก่า ส่งสินค้าไฟติ้งโมเดลราคาถูกรุกกลุ่มลูกค้าต่างจังหวัด สรุปยอดขายครึ่งปีแรกจำนวนยูนิตโตกระฉูด ส่วนเม็ดเงินโตทรงๆ พร้อมเปิดแผนครึ่งปีหลังตลาดแข่งแรงเหนื่อยมากขึ้น เตรียมจับมือพันธมิตรลอนช์อีเวนต์ใหญ่กระตุ้นปลายปี
นายสอางทิพย์ อมรฉัตร ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการสายการตลาด บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ยอดขายของเพาเวอร์บายในครึ่งแรก มีการเติบโตในแง่ของจำนวนยูนิตกว่า 10% แต่ในแง่ของจำนวนเงิน (value) พบว่าขยายตัวลดลง โดยต่ำจากที่คาดการณ์ไว้ 2-3% ซึ่งจากการแข่งขันที่รุนแรงของบรรดาผู้ประกอบการในตลาด ส่งผลให้ราคาขายสินค้าลดลงต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตามจากการสรุปตัวเลขรวมของตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าของ "จีเอฟเค" บริษัทวิจัยและรวบรวมข้อมูลธุรกิจเครื่องใช้ไฟฟ้าระบุว่า ในช่วง 2 ไตรมาสที่ผ่านมา เพาเวอร์บายมีอัตราการขยายตัวมากที่สุดเมื่อเทียบกับคู่แข่งรายอื่นๆ โดยเฉพาะเครื่องปรับอากาศที่สามารถโตสวนกระแสได้มากที่สุดในบรรดาเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน นอกจากนี้ยังมีเครื่องซักผ้าและตู้เย็นที่สามารถขยายตัวได้เกินความคาดหมาย เพราะได้อานิสงส์จากที่ภาครัฐมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ย รวมถึงการที่สถาบันการเงินต่างๆ ปล่อยกู้สินเชื่อที่จูงใจให้กับภาคธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งส่งผลดีต่อกลุ่มลูกค้าที่มีบ้านใหม่
นางสอางทิพย์กล่าวอีกว่า สำหรับนโยบายของเพาเวอร์บายในการก้าวขึ้นปีที่ 11 จะเน้นให้ความสำคัญกับการขยายสาขาออกต่างจังหวัดมากขึ้น ซึ่งจากข้อมูลพบว่าตลอดครึ่งปีแรกลูกค้าต่างจังหวัดมีการจับจ่ายเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น โดยบริษัทจะเพิ่มไลน์สินค้าให้ตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มซีอาร์ทีวี 21-29 นิ้ว เครื่องซักผ้า 2 ถัง และตู้เย็น 1 ประตู ที่มีการขยายตัวในอัตราที่เพิ่มขึ้นตลอด
"ที่ผ่านมาเพาเวอร์บายอาจจะช้าสำหรับการทำตลาดในกลุ่มต่างจังหวัด เพราะภาพเราค่อนข้างดูเป็นสินค้าไฮเอนด์ แต่ตอนนี้ก็ได้จัดรูปแบบใหม่ โดยวางไลน์สินค้าให้สอดคล้องกับกลุ่มลูกค้าในแต่ละตลาดมากขึ้น โดยมีสินค้าที่เป็นรุ่นราคาพิเศษเข้ามาช่วยกระตุ้นมากขึ้น"
อย่างไรก็ตาม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ เพาเวอร์บาย กล่าวว่า สำหรับสาขาในต่างจังหวัดที่บริษัทต้องปิดตัวไปก็มีเช่นเดียวกัน อาทิ สุรินทร์ สุพรรณบุรี และปากเกร็ด เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ไม่เหมาะสม ตลาดบริเวณดังกล่าวยังไม่พร้อมที่จะเปิดรับ นอกจากนี้รวมถึงการแข่งขันที่เพาเวอร์บายต้องแข่งกับคู่แข็งที่มีสายสัมพันธ์ส่วนตัวที่ดีกว่า ขณะเดียวกันในส่วนของสาขาเดิมที่เปิดไปแล้วนั้นจะทยอยปรับโฉมใหม่ให้ดูทันสมัยมากขึ้นตามคอนเซ็ปต์ของสาขาต้นแบบที่เซ็นทรัล ชิดลม
สำหรับภาพรวมตลาดเครื่องใช้ไฟฟ้าในครึ่งปีหลังนั้น ผู้บริหารเพาเวอร์บายมองว่า ยังต้องจับตาอย่างใกล้ชิด เพราะปัญหาหลักอยู่ที่กลุ่มลูกค้าชะลอการซื้อ และไม่ออกมาเดินจับจ่าย ทำให้รูปแบบการทำตลาดเป็นเรื่องที่ท้าทาย เพราะยอดขายจะประสบความสำเร็จหรือไม่นั้นอยู่ที่การวางแผนและกลยุทธ์ที่จะต้องใช้ ซึ่งผู้ประกอบการต้องปรับตัวให้ได้
ควบคู่กับการทำตลาดเชิงรุก บริษัทได้เตรียมกิจกรรมทางการตลาดในรูปแบบต่างๆ มากขึ้น รวมถึงเพิ่มความถี่ของอีเวนต์มาร์เก็ตติ้งทั้งในระดับย่อยและใหญ่ โดยเน้นกิจกรรมสร้างแบรนด์และตอกย้ำการรับรู้กับลูกค้า ผ่านกิจกรรมหน้าร้านของแต่ละสาขา ขณะเดียวกันในส่วนของอีเวนต์ใหญ่ก็จะมีเพิ่มขึ้น อาทิ โฮมเวิร์ค เอ็กซ์โป ที่เพาเวอร์บาย จัดร่วมกับโฮมเวิร์คนั้นจะเพิ่มเป็น 2 ครั้ง จากเดิม 1 ครั้งใน 1 ปี รวมทั้งจับมือกับซัพพลายเออร์-คู่ค้าทำกิจกรรมร่วมกัน โดยขณะนี้อยู่ระหว่างวางแผนจัดกิจกรรมใหญ่ คือ งานเฉลิมฉลอง 80 ปีในหลวงร่วมกับคู่ค้า
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news03/08/07
โพสต์ที่ 50
ติวเข้มโชห่วยอุดรฯ-หนองคาย หนุนต่อตั้งคลัสเตอร์ภาคอีสาน
สสว. จับมือสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการไทย ฮึดช่วยโชห่วยภาคอีสาน นำร่องจัดคอร์สติวเข้ม 10 วันทั้งภาคทฤษฎี-ภาคปฏิบัติให้แก่ผู้ประกอบการค้าปลีกอุดรธานี หนองคาย 50 ราย พร้อมหนุนรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เริ่มโครงการ 5 สิงหาคมนี้
หลังจากค้าปลีกข้ามชาติ 3-4 รายเข้ามาครอบครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มีความพยายามสกัดกั้น และหาวิธีการช่วยเหลือร้านโชห่วยที่นับวันจะล้มหายตายจากลงไป ในอดีตภาครัฐเคยทำโครงการ "ร้านซื้อสะดวก" เพื่อช่วยเหลือรายย่อยแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเกิดโครงการ "ร้านค้า ART" ก็ยังไปไม่ถึงดวงดาว ล่าสุด สสว.เตรียมนำร่องโครงการช่วยเหลือโชห่วยที่อุดรธานีและหนองคาย โดยนำผู้ค้ากว่า 50 รายเข้าคอร์สอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
นายวีระพัฒน์ กฤตธนาทิพย์ ผู้เชี่ยวชาญ โลจิสติกส์และซัพพลายเชน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ม ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่าย และการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการการค้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขึ้น โดยให้อุดรธานี และหนองคาย เป็นจังหวัดนำร่อง และสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการไทย หอการค้าไทย เป็น ผู้ดำเนินการ
โครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เข้าใจถึงสถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขป้องกันผลกระทบจากการแข่งขันทางการค้า การประเมินสภาวะธุรกิจ และการแข่งขัน ความต้องการของตลาด ปัจจัยและเงื่อนไขทางการค้า ปัจจัยส่งเสริมและธุรกิจสนับสนุน รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ และแนวทางในการพัฒนาร้านค้าปลีก เป้าหมายคือผู้ประกอบการร้านค้าปลีก-ค้าส่งใน จ.อุดรธานี และหนองคาย เพียง 50 ร้านค้า
"จะมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความรู้ และทักษะในการบริหารร้านค้าสมัยใหม่ การจัดร้าน การประเมินพฤติกรรมผู้ซื้อ และมุ่งเน้นให้มีความเข้าใจการจัดการโซ่อุปทาน และการกระจายสินค้าและความสำคัญในการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ที่สัมพันธ์กับธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก และมีการจัดทำแนวทางการจัดการร้านค้าปลีกในรูปแบบการรวมกลุ่มวิสาหกิจค้าปลีก (retailing cluster) อีกด้วย"
นายวีระพัฒน์กล่าวต่อไปว่า จะใช้เวลาในการอบรม 10 วัน แบ่งเป็น ทฤษฎี 3 วัน เวิร์กช็อป 2 วัน ดูงานร้านค้าทั้งปลีก-ส่งที่ สปป.ลาว 1 วัน ที่เหลือคือการรวมกลุ่มคณะกรรมการกลุ่มย่อย โดยมีการจัดตั้ง Cluster Development Agent (CDA) หรือตัวอย่างธุรกิจค้าปลีกชายแดน โดยเลือกห้าง "เซฟมาร์ท" ใน จ.อุดรธานี โดยจะมีพิธีเปิดอบรมวันที่ 5 สิงหาคม 2550 ที่โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล อุดรธานี
ในการสัมมนาจะนำตัวอย่างของค้าปลีกท้องถิ่นที่เข้มแข็งใน จ.ปทุมธานี ที่สามารถสู้กับโลตัส เอ็กส์เพรสมานำเสนอ เพื่อให้ร้านโชห่วยได้เห็นตัวอย่างและกลับมามองตนเองและควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างไร ซึ่งการอบรมครั้งนี้จะมีการเวิร์กช็อปเพื่อหา SWAT มาวิเคราะห์แผน
"ยอมรับว่าเรื่องนี้มีการพูดกันมานาน แต่ไม่มีตัวอย่างให้เห็นเป็นเพียงการนำตำราของฝรั่งมาพูดว่าต้องมองตนเอง ต้องเปลี่ยนแปลง แต่ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร การอบรมครั้งนี้จะเป็นเรื่องให้เห็นจริง" นายวีระพัฒน์กล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0211
สสว. จับมือสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการไทย ฮึดช่วยโชห่วยภาคอีสาน นำร่องจัดคอร์สติวเข้ม 10 วันทั้งภาคทฤษฎี-ภาคปฏิบัติให้แก่ผู้ประกอบการค้าปลีกอุดรธานี หนองคาย 50 ราย พร้อมหนุนรวมกลุ่มเป็นคลัสเตอร์ เริ่มโครงการ 5 สิงหาคมนี้
หลังจากค้าปลีกข้ามชาติ 3-4 รายเข้ามาครอบครองส่วนแบ่งตลาดค้าปลีกในประเทศไทย ขณะเดียวกันก็มีความพยายามสกัดกั้น และหาวิธีการช่วยเหลือร้านโชห่วยที่นับวันจะล้มหายตายจากลงไป ในอดีตภาครัฐเคยทำโครงการ "ร้านซื้อสะดวก" เพื่อช่วยเหลือรายย่อยแต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จ ต่อมาเกิดโครงการ "ร้านค้า ART" ก็ยังไปไม่ถึงดวงดาว ล่าสุด สสว.เตรียมนำร่องโครงการช่วยเหลือโชห่วยที่อุดรธานีและหนองคาย โดยนำผู้ค้ากว่า 50 รายเข้าคอร์สอบรมทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ
นายวีระพัฒน์ กฤตธนาทิพย์ ผู้เชี่ยวชาญ โลจิสติกส์และซัพพลายเชน เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลาง และขนาดย่อม (สสว.) ได้เล็งเห็นถึงความจำเป็นในการสร้างความสามารถในการแข่งขันของกลุ่ม ผู้ประกอบการร้านค้าปลีก เพื่อให้สามารถดำรงอยู่ในธุรกิจได้อย่างยั่งยืน จึงได้จัดทำโครงการสร้างเครือข่าย และการรวมกลุ่มของผู้ประกอบการการค้า (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) ขึ้น โดยให้อุดรธานี และหนองคาย เป็นจังหวัดนำร่อง และสถาบันพัฒนาผู้ประกอบการไทย หอการค้าไทย เป็น ผู้ดำเนินการ
โครงการดังกล่าวมีจุดประสงค์เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรม เข้าใจถึงสถานการณ์ และแนวทางการแก้ไขป้องกันผลกระทบจากการแข่งขันทางการค้า การประเมินสภาวะธุรกิจ และการแข่งขัน ความต้องการของตลาด ปัจจัยและเงื่อนไขทางการค้า ปัจจัยส่งเสริมและธุรกิจสนับสนุน รวมถึงการสนับสนุนจากภาครัฐ และแนวทางในการพัฒนาร้านค้าปลีก เป้าหมายคือผู้ประกอบการร้านค้าปลีก-ค้าส่งใน จ.อุดรธานี และหนองคาย เพียง 50 ร้านค้า
"จะมุ่งเน้นให้ผู้ประกอบการมีความรู้ และทักษะในการบริหารร้านค้าสมัยใหม่ การจัดร้าน การประเมินพฤติกรรมผู้ซื้อ และมุ่งเน้นให้มีความเข้าใจการจัดการโซ่อุปทาน และการกระจายสินค้าและความสำคัญในการจัดการต้นทุนโลจิสติกส์ที่สัมพันธ์กับธุรกิจค้าส่ง-ค้าปลีก และมีการจัดทำแนวทางการจัดการร้านค้าปลีกในรูปแบบการรวมกลุ่มวิสาหกิจค้าปลีก (retailing cluster) อีกด้วย"
นายวีระพัฒน์กล่าวต่อไปว่า จะใช้เวลาในการอบรม 10 วัน แบ่งเป็น ทฤษฎี 3 วัน เวิร์กช็อป 2 วัน ดูงานร้านค้าทั้งปลีก-ส่งที่ สปป.ลาว 1 วัน ที่เหลือคือการรวมกลุ่มคณะกรรมการกลุ่มย่อย โดยมีการจัดตั้ง Cluster Development Agent (CDA) หรือตัวอย่างธุรกิจค้าปลีกชายแดน โดยเลือกห้าง "เซฟมาร์ท" ใน จ.อุดรธานี โดยจะมีพิธีเปิดอบรมวันที่ 5 สิงหาคม 2550 ที่โรงแรมเจริญศรีแกรนด์ รอยัล อุดรธานี
ในการสัมมนาจะนำตัวอย่างของค้าปลีกท้องถิ่นที่เข้มแข็งใน จ.ปทุมธานี ที่สามารถสู้กับโลตัส เอ็กส์เพรสมานำเสนอ เพื่อให้ร้านโชห่วยได้เห็นตัวอย่างและกลับมามองตนเองและควรปรับปรุงเปลี่ยนแปลงตนเองอย่างไร ซึ่งการอบรมครั้งนี้จะมีการเวิร์กช็อปเพื่อหา SWAT มาวิเคราะห์แผน
"ยอมรับว่าเรื่องนี้มีการพูดกันมานาน แต่ไม่มีตัวอย่างให้เห็นเป็นเพียงการนำตำราของฝรั่งมาพูดว่าต้องมองตนเอง ต้องเปลี่ยนแปลง แต่ไม่รู้ว่าจะเปลี่ยนแปลงอย่างไร การอบรมครั้งนี้จะเป็นเรื่องให้เห็นจริง" นายวีระพัฒน์กล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0211
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/08/07
โพสต์ที่ 51
วิพากษ์'เทสโก้'สิ่งที่'สัญญา'ต่างจากสิ่งที่'ทำ'
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 สิงหาคม 2550 02:16 น.
เอเจนซี - เทสโก้ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสัญชาติอังกฤษ ยังไม่ทันเปิดทำการห้างแห่งแรกในสหรัฐฯด้วยซ้ำ ก็ถูกสถาบันการศึกษาที่ได้รับความเชื่อถือของอเมริกาวิพากษ์เมื่อวันพฤหัสบดี(2)ว่า มี "ช่องว่างห่างไกลอย่างสำคัญ" ระหว่างสิ่งที่บริษัทแห่งนี้ให้สัญญากับสิ่งที่ทำจริงๆ
เท่าที่ผ่านมาเทสโก้ ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ค้าปลีกใหญ่อันดับ 3 ของโลก ได้รับปฏิกิริยาในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ตรงกันข้ามกับยักษ์อันดับ 1 อย่าง วอล-มาร์ต ที่ระยะหลังๆ นี้มักถูกสาธารณชนในบ้านเกิดตัวเอง มองภาพไปในทางลบ
อย่างไรก็ตาม รายงานที่นำออกเผยแพร่วันพฤหัสบดีของ ออกซิเดนทอล คอลเลจ วิทยาลัยชื่อดังในลอสแองเจลิส กล่าวแสดงความเชื่อว่า เทสโก้จะสร้างผลกระทบอย่างสำคัญยิ่งต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกของสหรัฐฯ และบรรดาผู้บริโภคก็ควรต้องทราบถึงประวัติความเป็นมาของบริษัทนี้ เพื่อจะได้กดดันเทสโก้ให้แสดงตนเป็น "ตัวแทนเพื่อการเปลี่ยนแปลงในทางบวก"
ทั้งนี้ เทสโก้กำหนดเปิดห้างในสหรัฐฯเดือนพฤศจิกายนนี้ และมุ่งหมายที่จะเปิดให้ได้ราว 100 ห้างภายในปีหน้า โดยเน้นเจาะไปทั่ว 4 พื้นที่มหานครทางภาคตะวันตกของอเมริกา ได้แก่ ลอสแองเจลิส, ซานดิเอโก, ฟินิกซ์, และลาสเวกัส ห้างเหล่านี้จะใช้ชื่อว่า "เฟรช อีซี่ เนเบอร์ฮูด มาร์เก็ต"
"เทสโก้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำการตลาดตัวเองว่า เป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคม" เป็นคำกล่าวของ รอเบิร์ต กอตต์ลีบ ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนเมืองและนโยบายสิ่งแวดล้อม ของออกซิเดนทอล คอลเลจ อีกทั้งเป็น 1 ในทีมเขียนรายงานความยาว 72 หน้าฉบับนี้
"อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบของเราต่อนโยบายต่างๆ ของเทสโก้ กลับแสดงให้เห็นว่า ประวัติผลงานของบริษัทนี้ มีช่องว่างห่างไกลอย่างสำคัญ ระหว่างสิ่งที่บริษัทให้สัญญา และวิธีที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จกลายเป็นบรรษัทนานาชาติระดับท็อปแห่งหนึ่งอยู่ในปัจจุบัน"
กอตต์ลีบตั้งข้อกังขาว่า การที่เทสโก้สหรัฐฯตัดสินใจที่จะไม่เจรจาหารือกับสหภาพแรงงาน และหันไปใช้วิธีว่าจ้างเฉพาะพนักงานพาร์ตไทม์เท่านั้น รวมทั้งจะสั่งซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ชาวอังกฤษบางรายที่บริษัทมักคุ้น แทนที่จะมุ่งซื้อหาสินค้าซึ่งใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น วิธีปฏิบัติเช่นนี้สอดคล้องแล้วหรือกับสิ่งที่เทสโก้ให้คำมั่นไว้
โดยที่เทสโก้ซึ่งต้องการวางตำแหน่งตนเองให้แตกต่างจากผู้ค้าปลีกรายอื่นๆ ในตลาดสหรัฐฯ ได้ประกาศเน้นย้ำเครดิตของบริษัทในด้านการจ้างงานและการรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ ศูนย์กระจายสินค้าในมลรัฐแคลิฟอร์เนียนั้น ใช้หลังคาที่ติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
นอกจากนั้น บริษัทยังให้สัญญาที่จะนำเอาอาหารสดราคาถูก มาขายแก่ชุมชนยากจน เพื่อช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีอาหารการกินดีขึ้น
ขณะที่ตอนเริ่มต้นเทสโก้จะสร้างห้างขนาดเล็กๆ เนื้อที่เพียง 10,000 - 15,000 ตารางฟุต แต่ซีอีโอ เทอร์รี ลีฮี ก็แถลงแสดงความมั่นใจว่า ธุรกิจของบริษัทในสหรัฐฯ จะขยายตัวจนอย่างน้อยก็โตพอๆ กับเทสโก้ในอังกฤษ นั่นคือ ครองส่วนแบ่งราว 1 ใน 3 ของตลาด
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000090979
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 4 สิงหาคม 2550 02:16 น.
เอเจนซี - เทสโก้ ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกสัญชาติอังกฤษ ยังไม่ทันเปิดทำการห้างแห่งแรกในสหรัฐฯด้วยซ้ำ ก็ถูกสถาบันการศึกษาที่ได้รับความเชื่อถือของอเมริกาวิพากษ์เมื่อวันพฤหัสบดี(2)ว่า มี "ช่องว่างห่างไกลอย่างสำคัญ" ระหว่างสิ่งที่บริษัทแห่งนี้ให้สัญญากับสิ่งที่ทำจริงๆ
เท่าที่ผ่านมาเทสโก้ ซึ่งมีฐานะเป็นผู้ค้าปลีกใหญ่อันดับ 3 ของโลก ได้รับปฏิกิริยาในเชิงบวกเป็นส่วนใหญ่ในสหรัฐฯ ตรงกันข้ามกับยักษ์อันดับ 1 อย่าง วอล-มาร์ต ที่ระยะหลังๆ นี้มักถูกสาธารณชนในบ้านเกิดตัวเอง มองภาพไปในทางลบ
อย่างไรก็ตาม รายงานที่นำออกเผยแพร่วันพฤหัสบดีของ ออกซิเดนทอล คอลเลจ วิทยาลัยชื่อดังในลอสแองเจลิส กล่าวแสดงความเชื่อว่า เทสโก้จะสร้างผลกระทบอย่างสำคัญยิ่งต่ออุตสาหกรรมค้าปลีกของสหรัฐฯ และบรรดาผู้บริโภคก็ควรต้องทราบถึงประวัติความเป็นมาของบริษัทนี้ เพื่อจะได้กดดันเทสโก้ให้แสดงตนเป็น "ตัวแทนเพื่อการเปลี่ยนแปลงในทางบวก"
ทั้งนี้ เทสโก้กำหนดเปิดห้างในสหรัฐฯเดือนพฤศจิกายนนี้ และมุ่งหมายที่จะเปิดให้ได้ราว 100 ห้างภายในปีหน้า โดยเน้นเจาะไปทั่ว 4 พื้นที่มหานครทางภาคตะวันตกของอเมริกา ได้แก่ ลอสแองเจลิส, ซานดิเอโก, ฟินิกซ์, และลาสเวกัส ห้างเหล่านี้จะใช้ชื่อว่า "เฟรช อีซี่ เนเบอร์ฮูด มาร์เก็ต"
"เทสโก้มีความเชี่ยวชาญเป็นพิเศษในการทำการตลาดตัวเองว่า เป็นบริษัทที่รับผิดชอบต่อสังคม" เป็นคำกล่าวของ รอเบิร์ต กอตต์ลีบ ผู้อำนวยการสถาบันชุมชนเมืองและนโยบายสิ่งแวดล้อม ของออกซิเดนทอล คอลเลจ อีกทั้งเป็น 1 ในทีมเขียนรายงานความยาว 72 หน้าฉบับนี้
"อย่างไรก็ตาม การตรวจสอบของเราต่อนโยบายต่างๆ ของเทสโก้ กลับแสดงให้เห็นว่า ประวัติผลงานของบริษัทนี้ มีช่องว่างห่างไกลอย่างสำคัญ ระหว่างสิ่งที่บริษัทให้สัญญา และวิธีที่ทำให้บริษัทประสบความสำเร็จกลายเป็นบรรษัทนานาชาติระดับท็อปแห่งหนึ่งอยู่ในปัจจุบัน"
กอตต์ลีบตั้งข้อกังขาว่า การที่เทสโก้สหรัฐฯตัดสินใจที่จะไม่เจรจาหารือกับสหภาพแรงงาน และหันไปใช้วิธีว่าจ้างเฉพาะพนักงานพาร์ตไทม์เท่านั้น รวมทั้งจะสั่งซื้อสินค้าจากซัปพลายเออร์ชาวอังกฤษบางรายที่บริษัทมักคุ้น แทนที่จะมุ่งซื้อหาสินค้าซึ่งใช้ทรัพยากรในท้องถิ่น วิธีปฏิบัติเช่นนี้สอดคล้องแล้วหรือกับสิ่งที่เทสโก้ให้คำมั่นไว้
โดยที่เทสโก้ซึ่งต้องการวางตำแหน่งตนเองให้แตกต่างจากผู้ค้าปลีกรายอื่นๆ ในตลาดสหรัฐฯ ได้ประกาศเน้นย้ำเครดิตของบริษัทในด้านการจ้างงานและการรักษาสิ่งแวดล้อม อาทิ ศูนย์กระจายสินค้าในมลรัฐแคลิฟอร์เนียนั้น ใช้หลังคาที่ติดตั้งแผงรับพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก
นอกจากนั้น บริษัทยังให้สัญญาที่จะนำเอาอาหารสดราคาถูก มาขายแก่ชุมชนยากจน เพื่อช่วยให้ประชาชนในชุมชนมีอาหารการกินดีขึ้น
ขณะที่ตอนเริ่มต้นเทสโก้จะสร้างห้างขนาดเล็กๆ เนื้อที่เพียง 10,000 - 15,000 ตารางฟุต แต่ซีอีโอ เทอร์รี ลีฮี ก็แถลงแสดงความมั่นใจว่า ธุรกิจของบริษัทในสหรัฐฯ จะขยายตัวจนอย่างน้อยก็โตพอๆ กับเทสโก้ในอังกฤษ นั่นคือ ครองส่วนแบ่งราว 1 ใน 3 ของตลาด
http://www.manager.co.th/Around/ViewNew ... 0000090979
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news04/08/07
โพสต์ที่ 52
พาณิชย์อาสาช่วยเจรจามท.ชะลอสร้างห้างค้าปลีกขนาดใหญ่
3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 13:06:00
พาณิชย์รับปากกลุ่มสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกข้ามชาติ เร่งทำหนังสือประสานกระทรวงมหาดไทย เพื่อหามาตรการชะลอการเปิดสาขาเพิ่มเติมของกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยของไทย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กลุ่มสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกข้ามชาติ ประกอบด้วยกลุ่มผู้ค้าปลีกค้าส่งจากจังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ ลพบุรี สุพรรณบุรี และประจวบคีรีขันธ์กว่า 400 คน ยื่นข้อเรียกร้องกระทรวงพาณิชย์ให้เร่งออกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งและให้ช่วยเจรจากับมหาดไทยชะลอการออกใบอนุญาตก่อสร้างห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หลังรุกคืบเข้าไปทำลายวิถีชุมชนมากขึ้น
โดยนายเพียร ยงหนู แกนนำกลุ่มได้มายื่นหนังสือต่อนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งติดภารกิจและได้มอบหมายให้นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน รับหนังสือร้องเรียนแทน
นายเพียร กล่าวว่ากลุ่มสมาพันธ์ฯต้องการให้ภาครัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มผู้ค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศเป็นการเร่งด่วนแม้ว่าพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่ขณะนี้ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติได้มีการขยายสาขาในแต่ละวันเข้าไปในเแหล่งชุมชนเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว หากภาครัฐไม่ยับยั้งโดยด่วน เชื่อว่าจะมีร้านค้าปลีกของคนไทยต้องปิดกิจการเพิ่มอีกเป็นจำนวนมากจึงขอให้ทางกระทรวงพาณิชย์พิจารณาหามาตรการยับยั้งไม่ให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ขยายสาขาเพิ่มเติมและขอให้เร่งออกกฎหมายค้าปลีกโดยเร็ว
นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าวันนี้ (3 ส.ค.)จะเร่งทำหนังสือประสานงานไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อหามาตรการชะลอการเปิดสาขาเพิ่มเติมของกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยของไทย และจะชี้แจงให้กระทรวงมหาดไทยเห็นความเดือดร้อนของผู้ค้าปลีกรายย่อยของไทยให้มากขึ้น ด้านนายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่าทางกลุ่มผู้เรียกร้องได้ยื่นหนังสือต้องการให้กระทรวงพาณิชย์เร่งดำเนินการใน
3 ประเด็น คือ 1.ประสานดำเนินการยับยั้งไม่ให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ขยายสาขาเพิ่มเติม2. เร่งดำเนินการออกกฎหมายธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกำหนดกฎกติกาในการดำเนินธุรกิจ และ 3.เร่งออกกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในส่วนธุรกิจค้าปลีกซึ่งคนไทยยังไม่มีความพร้อมในการแข่งขันกับคนต่างด้าว
ขณะนี้กฎหมายธุรกิจค้าปลีกค้าส่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็วๆนี้ซึ่งกลุ่มผู้เรียกร้องจะรอดูความคืบหน้าตามที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์รับปากไว้หากยังไม่เป็นผลจะกลับมาชุมนุมกันอีกครั้งในวันอังคารหน้า
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87556
3 สิงหาคม พ.ศ. 2550 13:06:00
พาณิชย์รับปากกลุ่มสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกข้ามชาติ เร่งทำหนังสือประสานกระทรวงมหาดไทย เพื่อหามาตรการชะลอการเปิดสาขาเพิ่มเติมของกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยของไทย
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กลุ่มสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกข้ามชาติ ประกอบด้วยกลุ่มผู้ค้าปลีกค้าส่งจากจังหวัดนครราชสีมา ศรีสะเกษ ลพบุรี สุพรรณบุรี และประจวบคีรีขันธ์กว่า 400 คน ยื่นข้อเรียกร้องกระทรวงพาณิชย์ให้เร่งออกพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งและให้ช่วยเจรจากับมหาดไทยชะลอการออกใบอนุญาตก่อสร้างห้างค้าปลีกขนาดใหญ่หลังรุกคืบเข้าไปทำลายวิถีชุมชนมากขึ้น
โดยนายเพียร ยงหนู แกนนำกลุ่มได้มายื่นหนังสือต่อนายเกริกไกร จีระแพทย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ซึ่งติดภารกิจและได้มอบหมายให้นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และ นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน รับหนังสือร้องเรียนแทน
นายเพียร กล่าวว่ากลุ่มสมาพันธ์ฯต้องการให้ภาครัฐบาลเข้ามาช่วยเหลือกลุ่มผู้ค้าปลีกรายย่อยทั่วประเทศเป็นการเร่งด่วนแม้ว่าพระราชบัญญัติการประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกำลังอยู่ระหว่างพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกาแต่ขณะนี้ กลุ่มธุรกิจค้าปลีกข้ามชาติได้มีการขยายสาขาในแต่ละวันเข้าไปในเแหล่งชุมชนเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็ว หากภาครัฐไม่ยับยั้งโดยด่วน เชื่อว่าจะมีร้านค้าปลีกของคนไทยต้องปิดกิจการเพิ่มอีกเป็นจำนวนมากจึงขอให้ทางกระทรวงพาณิชย์พิจารณาหามาตรการยับยั้งไม่ให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ขยายสาขาเพิ่มเติมและขอให้เร่งออกกฎหมายค้าปลีกโดยเร็ว
นายสกล หาญสุทธิวารินทร์ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์กล่าวว่าวันนี้ (3 ส.ค.)จะเร่งทำหนังสือประสานงานไปยังกระทรวงมหาดไทยเพื่อหามาตรการชะลอการเปิดสาขาเพิ่มเติมของกลุ่มผู้ค้าปลีกรายใหญ่เพื่อลดผลกระทบให้กับผู้ค้าปลีกรายย่อยของไทย และจะชี้แจงให้กระทรวงมหาดไทยเห็นความเดือดร้อนของผู้ค้าปลีกรายย่อยของไทยให้มากขึ้น ด้านนายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายในกล่าวว่าทางกลุ่มผู้เรียกร้องได้ยื่นหนังสือต้องการให้กระทรวงพาณิชย์เร่งดำเนินการใน
3 ประเด็น คือ 1.ประสานดำเนินการยับยั้งไม่ให้ห้างค้าปลีกขนาดใหญ่ขยายสาขาเพิ่มเติม2. เร่งดำเนินการออกกฎหมายธุรกิจค้าปลีกค้าส่งกำหนดกฎกติกาในการดำเนินธุรกิจ และ 3.เร่งออกกฎหมายการประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวในส่วนธุรกิจค้าปลีกซึ่งคนไทยยังไม่มีความพร้อมในการแข่งขันกับคนต่างด้าว
ขณะนี้กฎหมายธุรกิจค้าปลีกค้าส่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา คาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็วๆนี้ซึ่งกลุ่มผู้เรียกร้องจะรอดูความคืบหน้าตามที่ผู้บริหารระดับสูงของกระทรวงพาณิชย์รับปากไว้หากยังไม่เป็นผลจะกลับมาชุมนุมกันอีกครั้งในวันอังคารหน้า
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/0 ... wsid=87556
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news07/08/07
โพสต์ที่ 53
จวกยักษ์ค้าปลีกรุกปูพรมสาขา
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:52 น.
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กลุ่มค้าปลีกต่างชาติขนาดใหญ่ได้เร่งกระจายสาขา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศก่อน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ.... บังคับใช้ เพราะหากสามารถขยายสาขาครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ต่อให้มีกฎหมายค้าปลีกค้าส่งออก มาบังคับใช้ ก็ไม่สามารถห้ามขยายสาขาย้อนหลังได้ และยังเป็นคุมกำเนิดให้รายใหม่ไม่สามารถเข้ามาในระบบ หลังถูกคุมด้วยกฎหมาย ทำให้ค้าปลีกถูกผูกขาดอยู่กับกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม ดังนั้นจึงต้องเร่งให้กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ด่วน
สัดส่วนการขยายสาขาของห้างค้าปลีกรายใหญ่ครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ มากกว่าถึง 65% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด ขณะที่รายย่อย (โชห่วย) เหลือสัดส่วนธุรกิจ 35% และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เป็นสัญญาณที่น่ากลัวมาก
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้ทำหนังสือประสาน กระทรวงมหาดไทย เพื่อหาแนวทางยับยั้งการขยายสาขาค้าปลีกต่างชาติ หลังจากที่สมาพันธ์ต้านค้าปลีกต่างชาติได้ยื่นหนังสือร้องเรียนมายังกระทรวงพาณิชย์ให้แก้ไขปัญหาแล้ว.
http://news.sanook.com/economic/economic_166228.php
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:52 น.
แหล่งข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า กลุ่มค้าปลีกต่างชาติขนาดใหญ่ได้เร่งกระจายสาขา ครอบคลุมพื้นที่ทั่วประเทศก่อน พ.ร.บ. การประกอบธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ.... บังคับใช้ เพราะหากสามารถขยายสาขาครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ ต่อให้มีกฎหมายค้าปลีกค้าส่งออก มาบังคับใช้ ก็ไม่สามารถห้ามขยายสาขาย้อนหลังได้ และยังเป็นคุมกำเนิดให้รายใหม่ไม่สามารถเข้ามาในระบบ หลังถูกคุมด้วยกฎหมาย ทำให้ค้าปลีกถูกผูกขาดอยู่กับกลุ่มทุนไม่กี่กลุ่ม ดังนั้นจึงต้องเร่งให้กฎหมายฉบับนี้มีผลบังคับใช้ด่วน
สัดส่วนการขยายสาขาของห้างค้าปลีกรายใหญ่ครอบคลุมเกือบทั่วประเทศ มากกว่าถึง 65% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด ขณะที่รายย่อย (โชห่วย) เหลือสัดส่วนธุรกิจ 35% และมีแนวโน้มลดลงเรื่อย ๆ เป็นสัญญาณที่น่ากลัวมาก
นายศิริพล ยอดเมืองเจริญ อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ได้ทำหนังสือประสาน กระทรวงมหาดไทย เพื่อหาแนวทางยับยั้งการขยายสาขาค้าปลีกต่างชาติ หลังจากที่สมาพันธ์ต้านค้าปลีกต่างชาติได้ยื่นหนังสือร้องเรียนมายังกระทรวงพาณิชย์ให้แก้ไขปัญหาแล้ว.
http://news.sanook.com/economic/economic_166228.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news10/08/07
โพสต์ที่ 54
ผู้ว่าฯเต้นสกัดยักษ์ค้าปลีกข้ามชาติ โดนอบต.ลูบคมลักไก่อนุมัติผุดสาขา
ผู้ว่าฯเต้น "สั่งชะลอ" การก่อสร้างสาขาโมเดิร์นเทรด ล่าสุดพ่อเมืองชุมพรเบรกก่อสร้างเทสโก้ โลตัส อำเภอหลังสวน ด้านผู้ว่าฯอุดรฯชะลอก่อสร้างอาคารค้าปลีกอำเภอกุมภวาปี ขณะที่ผู้ว่าฯมหาสารคามเชือดนายก อบต.เกิ้ง ฝ่าฝืนประกาศมหาดไทย สั่งให้ชะลอการก่อสร้างบิ๊กซีด่วน ขณะที่นายกรัฐมนตรีย้ำให้ใช้ประกาศมหาดไทยเป็นมาตรการชั่วคราว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
ผู้ว่าฯเต้น "สั่งชะลอ" การก่อสร้างสาขาโมเดิร์นเทรด ล่าสุดพ่อเมืองชุมพรเบรกก่อสร้างเทสโก้ โลตัส อำเภอหลังสวน ด้านผู้ว่าฯอุดรฯชะลอก่อสร้างอาคารค้าปลีกอำเภอกุมภวาปี ขณะที่ผู้ว่าฯมหาสารคามเชือดนายก อบต.เกิ้ง ฝ่าฝืนประกาศมหาดไทย สั่งให้ชะลอการก่อสร้างบิ๊กซีด่วน ขณะที่นายกรัฐมนตรีย้ำให้ใช้ประกาศมหาดไทยเป็นมาตรการชั่วคราว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0201
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news11/08/07
โพสต์ที่ 55
กำลังซื้อไทย-เทศทะลักพัทยา ยักษ์ค้าปลีกแห่เพิ่มสาขาปั๊มยอด
กำลังซื้อเมืองพัทยาสะพัด ค้าปลีกยักษ์ค่ายใหญ่ดาหน้าบุกแย่งเค้กก้อนโต "ซีพีเอ็น" ทุ่ม 7,000 ล้าน ยึดทำเลทอง ชูครบเครื่องขย่มหนัก ด้านค่ายสยามฟิวเจอร์ฯ สบช่องผุดโครงการดิ อะเวนิว พัทยา ลุยเอ็นเตอร์เทนเมนต์แบบครบเครื่อง ส่วนเทสโก้ โลตัส ส่งโมเดล "เอ็กซ์เพรส" เสริมทัพจากเดิมที่มีสาขาขนาดใหญ่ 2 สาขา ฟาสต์ฟู้ดฉลุย "แมคโดนัลด์" เปิดสาขาเพิ่ม
ที่ผ่านมา แม้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวหลายๆ อย่างจะพุ่งเป้าไปที่ พัทยา กันอย่างเนืองแน่ และด้วยสภาพของเมืองและชุมชนที่เปลี่ยนไปในวันนี้ โดยเฉพาะกับการเกิดขึ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับชาวต่างประเทศ ธุรกิจหนึ่งที่บูมมากในเวลานี้ ก็คือธุรกิจค้าปลีก ที่วันนี้ผู้ประกอบการหลายๆ ค่ายยังคงหลั่งไหลไปเปิดสาขาให้บริการในพัทยากันอย่างไม่ขาดสาย
ค้าปลีกพัทยาบูมรับกำลังซื้อสะพัด
นายพิเชษฐ พงพิทักษ์เมธา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอาท์เล็ท มอลล์ จำกัด ผู้บริหารโครงการเอาท์เล็ท มอลล์ พัทยา กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกในเมืองพัทยาว่า เป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าติดตามมาก เพราะพัทยาเป็นเมืองใหญ่ที่รองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติตลอดทั้งปี ประกอบกับภาครัฐได้อำนวยความสะดวกในเรื่องของการเดินทางด้วยการขยายถนนมอเตอร์เวย์ ปรับถนนเส้นบายพาส เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเอื้อให้ทุกธุรกิจในพัทยาเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตอนนี้ถนนในพัทยาแทบทุกสายจะมีธุรกิจค้าปลีกเข้าไปเปิดให้บริการแทบทุกจุด ล่าสุด 2 บริษัทใหญ่อย่างเซ็นทรัลพัฒนา และสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ก็ประกาศแผนการลงทุนในพัทยาไปแล้ว เชื่อว่าจะทำให้เมืองพัทยามีความคึกคักมากขึ้น
"การที่ธุรกิจค้าปลีกให้ความสำคัญกับพัทยามาก และมีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาเปิดครบทุกค่าย และบางค่ายก็เปิดถึง 2 สาขา ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยรวมของตัวเมืองเองที่มีการเติบโตค่อนข้างสูง และมีปริมาณนักท่องเที่ยวสม่ำเสมอตลอดทั้งปี"
ค่ายใหญ่ดาหน้าบุกแย่งเค้ก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันถนนพัทยาทั้ง 3 สาย เหนือ กลางและใต้ มีแบรนด์ค้าปลีกลงไปกันครบ เริ่มจากถนนพัทยาเหนือ ที่มีทั้งเทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล ที่อยู่ในรูปแบบของพลาซ่า ส่วนพัทยากลางนั้น มีคาร์ฟูร์, ฟู้ดแลนด์ ขณะที่พัทยาใต้นั้นมีเทสโก้ โลตัส, เอาท์เล็ท มอลล์ และบิ๊กซี
ล่าสุด เซ็นทรัลพัฒนา และสยามฟิวเจอร์ฯ ก็เตรียมที่จะลงไปเปิดศูนย์การค้าบริเวณถนนพัทยากลาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พัทยาเป็นทำเลที่ทุกค่ายต่างให้ความสำคัญ พัทยาไม่ใช่แค่สำหรับคนในพื้นที่เท่านั้น แต่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่เปิดรับทุกคน โดยเฉพาะหลังจากที่สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวยิ่งเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้พัทยาเปิดตัวรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวรองรับกระแสนี้
สำหรับเซ็นทรัลเอง การเปิดตัวโครงการใหม่ที่ใช้งบลงทุนราวๆ 7,000 ล้านบาท ในพัทยาจะเน้นรูปแบบครบวงจร มีพื้นที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร คาดว่าจะเปิดได้ในช่วงปี 2552 ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบถ้วน
ขณะที่นางสอางทิพย์ อมรฉัตร ผู้ช่วยกรรมการสายการตลาด บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนจะเปิดสาขาใหม่เพิ่มที่พัทยา โดยจะไปกับกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งตอนนี้ที่จังหวัดชลบุรี เพาเวอร์บายเปิดไปแล้ว 4 สาขา และอยู่ในพัทยา 2 สาขา และเมื่อศูนย์การค้าเซ็นทรัลพร้อมเปิดในปลายปี 2551 สาขาใหม่นี้จะมีพื้นที่และความทันสมัยมากขึ้น รวมถึงไลน์อัพสินค้าที่มากขึ้นด้วย
SF ผุดเอ็นเตอร์เทนเมนต์เจาะช่องว่าง
นายนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูง โดยจะสังเกตได้จากตัวเลขนักท่องเที่ยว รายได้เฉลี่ยของประชากรของจังหวัดชลบุรี และหากสังเกตจะพบว่าพัทยาเป็นเมืองเดียวที่มีธุรกิจค้าปลีกลงไปครบทุกค่าย บางค่ายเปิดถึง 2 สาขา ทั้งๆ ที่พัทยาเป็นแค่เมืองหนึ่งของจังหวัดชลบุรีเท่านั้น และมีอาณาบริเวณที่ไม่ได้ใหญ่โตมากนัก นั่นแสดงให้เห็นว่ากำลังซื้อของพัทยามีสูงมาก โดยกำลังซื้อหลักๆ จะมาจากนักท่องเที่ยว คนต่างชาติที่ทำงานอยู่ในย่านใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
"วันที่ 9 สิงหาคมนี้ เราเตรียมจะเปิดโครงการดิ อะเวนิว พัทยา เป็นคอนเซ็ปต์เอ็นเตอร์เทน เมนต์ที่ยังมีช่องว่างอยู่ จากเดิมที่มีเพียงรอยัล การ์เด้น ซึ่งของเราจะมีทั้งโรงหนัง โบว์ลิ่ง เป็นอะไรที่ครบวงจร"
ก่อนหน้านี้นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีกำลังซื้อที่สูง มีทั้งกลุ่มคนในพื้นที่ กลุ่มคนที่เข้าไปทำงานที่พัทยา รวมถึงชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ที่พัทยาที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับโครงการโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขาพัทยานั้น ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ 8 โรง รวมทั้งโบว์ลิ่งและแคลิฟอร์เนีย ว๊าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ฯลฯ
ชี้เทรนด์การแข่งขันระอุแน่
สำหรับในแง่ของการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีก นายพิเชษฐแสดงทรรศนะว่า จากกำลังซื้อของประชากรในพัทยาที่มีอยู่สูง ปัจจัยที่ทำให้การแข่งขันของธุรกิจนี้มีความรุนแรง ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะอยู่ได้จะต้องมีความแตกต่าง มีจุดขายที่ชัดเจน
"กับโครงการเอาท์เล็ทฯเองนั้น ยอมรับว่าอาจจะได้รับผลกระทบบ้างในเรื่องของจำนวนคนเดิน เพราะเป็นธรรมดาของศูนย์การค้าเปิดใหม่ที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคต่างต้องการจะเข้าไปสัมผัส แต่จะซื้อสินค้าหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และสินค้าที่เอาท์เล็ทฯจำหน่ายอยู่นั้นก็เป็นคนละคอนเซ็ปต์กับค้าปลีกอื่นๆ"
ขณะที่นางสอางค์ทิพย์ กล่าวว่า การที่ตลาดมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้การแข่งขันตลาดมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในย่านนี้จะมีเจ้าตลาดที่เป็นรายใหญ่ของตลาดอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าด้วยรูปแบบการทำตลาดและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่จะช่วยให้เพาเวอร์บายได้รับการตอบรับที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ
โลตัสส่ง "เอ็กซ์เพรส" เจาะตลาดเพิ่ม
นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอกชัย-ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวให้ความเห็นกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำหรับพัทยาถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสำหรับธุรกิจค้าปลีก อย่างไรก็ตาม แต่ละค่ายจะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกัน ด้วยความที่พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง โดยส่วนตัวยังมั่นใจว่าธุรกิจค้าปลีกพัทยายังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
"สำหรับเทสโก้ โลตัสเองที่เปิดให้บริการ 2 สาขา ตอนนี้ยังไปได้ดี มีลูกค้าสม่ำเสมอทั้งคนไทยและต่างชาติ และขณะนี้ก็อยู่ระหว่างทยอยเปิดสาขาในรูปแบบของโลตัส เอ็กซ์เพรส ที่มีอยู่บ้างเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง" นายดามพ์กล่าว
จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่า ในเมืองพัทยา นอกจากร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์ที่เทสโก้ โลตัสจะนำโมเดลโลตัส เอ็กซ์เพรสไปรุกเพื่อเจาะตลาดตามย่านชุมชนต่างๆ แล้ว ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า เซเว่น อีเลฟเว่น ก็เดินเกมรุกเพื่อขยายสาขาในเมืองพัทยาเพิ่มอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยจะพบว่าปัจจุบันเซเว่น อีเลฟเว่นบางทำเลได้เปิดให้บริการในระยะห่างกันไม่เกิน 500 เมตร
กระแสฟาสต์ฟู้ดแรงไม่ตก
ผู้สื่อข่าวยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ไม่เพียงแค่ธุรกิจคอนวีเนียร์สโตร์เท่านั้นมองเห็นศักยภาพของเมืองพัทยา ขณะเดียวกันบรรดาธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ด โดยเฉพาะค่ายที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างประเทศต่างก็ให้ความสนใจและเตรียมลงทุนเพิ่มสาขาเพิ่มอีกหลายค่าย ประกอบกับการที่จำนวนศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ มีการเปิดตัวตัวน้อยลง ทำให้การเข้าไปจับจองพื้นที่ของบรรดาร้านอาหารเป็นสิ่งที่ยากขึ้นทุกขณะ
ที่ผ่านมา นอกจาก แม็คโดนัลด์ที่เปิดให้บริการอยในพัทยา 2-3 สาขาแล้ว ก็ยังมีซับเวย์เปิดอยู่ 2-3 สาขา
นายเฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้มีการเปิดตัวร้านแมคโดนัลด์ในรูปแบบ "ไลฟ์สไตล์ คอนเซ็ปต์" ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ล่าสุดของแมคโดนัลด์ ในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ที่ ดิ อะเวนิว พัทยา (The Avenue Pattaya) โดยได้เปิด "แมค คาเฟ่" มุมกาแฟและเครื่องดื่มพรีเมี่ยม เข้าไปเปิดให้บริการอยู่ในร้านก่อนหน้านี้ ได้เปิดตัวคอนเซ็ปต์นี้ที่กรุงเทพฯ 2 สาขา สำหรับพัทยาถือเป็นสาขาที่ 4 ของแมคโดนัลด์ จากเดิมที่เปิดให้บริการในศูนย์การค้ารอยัล การ์เด้น, ลิโด พัทยา และมินิสยาม โดยทั้ง 4 สาขาต่างเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
"เมืองพัทยามีศักยภาพสูงมาก โดยเฉพาะเรื่องของกำลังซื้อทั้งจากนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ ถือเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยบริษัทมั่นใจว่าสาขาที่เปิดใหม่ครั้งนี้จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค" นายชิวกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
กำลังซื้อเมืองพัทยาสะพัด ค้าปลีกยักษ์ค่ายใหญ่ดาหน้าบุกแย่งเค้กก้อนโต "ซีพีเอ็น" ทุ่ม 7,000 ล้าน ยึดทำเลทอง ชูครบเครื่องขย่มหนัก ด้านค่ายสยามฟิวเจอร์ฯ สบช่องผุดโครงการดิ อะเวนิว พัทยา ลุยเอ็นเตอร์เทนเมนต์แบบครบเครื่อง ส่วนเทสโก้ โลตัส ส่งโมเดล "เอ็กซ์เพรส" เสริมทัพจากเดิมที่มีสาขาขนาดใหญ่ 2 สาขา ฟาสต์ฟู้ดฉลุย "แมคโดนัลด์" เปิดสาขาเพิ่ม
ที่ผ่านมา แม้ว่าธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการท่องเที่ยวหลายๆ อย่างจะพุ่งเป้าไปที่ พัทยา กันอย่างเนืองแน่ และด้วยสภาพของเมืองและชุมชนที่เปลี่ยนไปในวันนี้ โดยเฉพาะกับการเกิดขึ้นของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่เกิดขึ้นมาเพื่อรองรับชาวต่างประเทศ ธุรกิจหนึ่งที่บูมมากในเวลานี้ ก็คือธุรกิจค้าปลีก ที่วันนี้ผู้ประกอบการหลายๆ ค่ายยังคงหลั่งไหลไปเปิดสาขาให้บริการในพัทยากันอย่างไม่ขาดสาย
ค้าปลีกพัทยาบูมรับกำลังซื้อสะพัด
นายพิเชษฐ พงพิทักษ์เมธา กรรมการผู้จัดการ บริษัท เอาท์เล็ท มอลล์ จำกัด ผู้บริหารโครงการเอาท์เล็ท มอลล์ พัทยา กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ถึงแนวโน้มการเติบโตของธุรกิจค้าปลีกในเมืองพัทยาว่า เป็นสิ่งที่น่าสนใจและน่าติดตามมาก เพราะพัทยาเป็นเมืองใหญ่ที่รองรับนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างชาติตลอดทั้งปี ประกอบกับภาครัฐได้อำนวยความสะดวกในเรื่องของการเดินทางด้วยการขยายถนนมอเตอร์เวย์ ปรับถนนเส้นบายพาส เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ล้วนเอื้อให้ทุกธุรกิจในพัทยาเติบโตอย่างรวดเร็ว
ตอนนี้ถนนในพัทยาแทบทุกสายจะมีธุรกิจค้าปลีกเข้าไปเปิดให้บริการแทบทุกจุด ล่าสุด 2 บริษัทใหญ่อย่างเซ็นทรัลพัฒนา และสยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ก็ประกาศแผนการลงทุนในพัทยาไปแล้ว เชื่อว่าจะทำให้เมืองพัทยามีความคึกคักมากขึ้น
"การที่ธุรกิจค้าปลีกให้ความสำคัญกับพัทยามาก และมีผู้ประกอบการรายใหญ่เข้ามาเปิดครบทุกค่าย และบางค่ายก็เปิดถึง 2 สาขา ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากปัจจัยทางเศรษฐกิจโดยรวมของตัวเมืองเองที่มีการเติบโตค่อนข้างสูง และมีปริมาณนักท่องเที่ยวสม่ำเสมอตลอดทั้งปี"
ค่ายใหญ่ดาหน้าบุกแย่งเค้ก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ปัจจุบันถนนพัทยาทั้ง 3 สาย เหนือ กลางและใต้ มีแบรนด์ค้าปลีกลงไปกันครบ เริ่มจากถนนพัทยาเหนือ ที่มีทั้งเทสโก้ โลตัส, บิ๊กซี ซูเปอร์เซ็นเตอร์ และศูนย์การค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล ที่อยู่ในรูปแบบของพลาซ่า ส่วนพัทยากลางนั้น มีคาร์ฟูร์, ฟู้ดแลนด์ ขณะที่พัทยาใต้นั้นมีเทสโก้ โลตัส, เอาท์เล็ท มอลล์ และบิ๊กซี
ล่าสุด เซ็นทรัลพัฒนา และสยามฟิวเจอร์ฯ ก็เตรียมที่จะลงไปเปิดศูนย์การค้าบริเวณถนนพัทยากลาง ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการก่อสร้าง
ดร.ณัฐกิตติ์ ตั้งพูลสินธนา ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานตลาด บริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) กล่าวในเรื่องเดียวกันนี้กับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า พัทยาเป็นทำเลที่ทุกค่ายต่างให้ความสำคัญ พัทยาไม่ใช่แค่สำหรับคนในพื้นที่เท่านั้น แต่เป็นเมืองท่องเที่ยวที่เปิดรับทุกคน โดยเฉพาะหลังจากที่สนามบินสุวรรณภูมิเปิดตัวยิ่งเป็นเหมือนตัวกระตุ้นให้พัทยาเปิดตัวรับนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศมากขึ้น ทำให้ผู้ประกอบการธุรกิจต่างๆ ต้องเร่งปรับตัวรองรับกระแสนี้
สำหรับเซ็นทรัลเอง การเปิดตัวโครงการใหม่ที่ใช้งบลงทุนราวๆ 7,000 ล้านบาท ในพัทยาจะเน้นรูปแบบครบวงจร มีพื้นที่ประมาณ 2 แสนตารางเมตร คาดว่าจะเปิดได้ในช่วงปี 2552 ซึ่งจะสามารถตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้ครบถ้วน
ขณะที่นางสอางทิพย์ อมรฉัตร ผู้ช่วยกรรมการสายการตลาด บริษัท เพาเวอร์บาย จำกัด กล่าวว่า บริษัทมีแผนจะเปิดสาขาใหม่เพิ่มที่พัทยา โดยจะไปกับกลุ่มเซ็นทรัล ซึ่งตอนนี้ที่จังหวัดชลบุรี เพาเวอร์บายเปิดไปแล้ว 4 สาขา และอยู่ในพัทยา 2 สาขา และเมื่อศูนย์การค้าเซ็นทรัลพร้อมเปิดในปลายปี 2551 สาขาใหม่นี้จะมีพื้นที่และความทันสมัยมากขึ้น รวมถึงไลน์อัพสินค้าที่มากขึ้นด้วย
SF ผุดเอ็นเตอร์เทนเมนต์เจาะช่องว่าง
นายนพพร วิฑูรชาติ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามฟิวเจอร์ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีศักยภาพสูง โดยจะสังเกตได้จากตัวเลขนักท่องเที่ยว รายได้เฉลี่ยของประชากรของจังหวัดชลบุรี และหากสังเกตจะพบว่าพัทยาเป็นเมืองเดียวที่มีธุรกิจค้าปลีกลงไปครบทุกค่าย บางค่ายเปิดถึง 2 สาขา ทั้งๆ ที่พัทยาเป็นแค่เมืองหนึ่งของจังหวัดชลบุรีเท่านั้น และมีอาณาบริเวณที่ไม่ได้ใหญ่โตมากนัก นั่นแสดงให้เห็นว่ากำลังซื้อของพัทยามีสูงมาก โดยกำลังซื้อหลักๆ จะมาจากนักท่องเที่ยว คนต่างชาติที่ทำงานอยู่ในย่านใกล้เคียง ไม่ว่าจะเป็นนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ
"วันที่ 9 สิงหาคมนี้ เราเตรียมจะเปิดโครงการดิ อะเวนิว พัทยา เป็นคอนเซ็ปต์เอ็นเตอร์เทน เมนต์ที่ยังมีช่องว่างอยู่ จากเดิมที่มีเพียงรอยัล การ์เด้น ซึ่งของเราจะมีทั้งโรงหนัง โบว์ลิ่ง เป็นอะไรที่ครบวงจร"
ก่อนหน้านี้นายวิชา พูลวรลักษณ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า เมืองพัทยาเป็นเมืองที่มีกำลังซื้อที่สูง มีทั้งกลุ่มคนในพื้นที่ กลุ่มคนที่เข้าไปทำงานที่พัทยา รวมถึงชาวต่างประเทศที่อาศัยอยู่ที่พัทยาที่มีปริมาณเพิ่มขึ้นทุกปี สำหรับโครงการโรงภาพยนตร์เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ สาขาพัทยานั้น ประกอบด้วยโรงภาพยนตร์ 8 โรง รวมทั้งโบว์ลิ่งและแคลิฟอร์เนีย ว๊าว เอ็กซ์พีเรียนซ์ ฯลฯ
ชี้เทรนด์การแข่งขันระอุแน่
สำหรับในแง่ของการแข่งขันของธุรกิจค้าปลีก นายพิเชษฐแสดงทรรศนะว่า จากกำลังซื้อของประชากรในพัทยาที่มีอยู่สูง ปัจจัยที่ทำให้การแข่งขันของธุรกิจนี้มีความรุนแรง ดังนั้นผู้ประกอบการที่จะอยู่ได้จะต้องมีความแตกต่าง มีจุดขายที่ชัดเจน
"กับโครงการเอาท์เล็ทฯเองนั้น ยอมรับว่าอาจจะได้รับผลกระทบบ้างในเรื่องของจำนวนคนเดิน เพราะเป็นธรรมดาของศูนย์การค้าเปิดใหม่ที่ลูกค้าหรือผู้บริโภคต่างต้องการจะเข้าไปสัมผัส แต่จะซื้อสินค้าหรือไม่นั้นเป็นอีกเรื่องหนึ่ง และสินค้าที่เอาท์เล็ทฯจำหน่ายอยู่นั้นก็เป็นคนละคอนเซ็ปต์กับค้าปลีกอื่นๆ"
ขณะที่นางสอางค์ทิพย์ กล่าวว่า การที่ตลาดมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด ทำให้การแข่งขันตลาดมีความรุนแรงมากขึ้นด้วย ซึ่งเครื่องใช้ไฟฟ้าในย่านนี้จะมีเจ้าตลาดที่เป็นรายใหญ่ของตลาดอยู่แล้ว แต่เชื่อว่าด้วยรูปแบบการทำตลาดและไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่จะช่วยให้เพาเวอร์บายได้รับการตอบรับที่ดีมากขึ้นเรื่อยๆ
โลตัสส่ง "เอ็กซ์เพรส" เจาะตลาดเพิ่ม
นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอกชัย-ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม จำกัด กล่าวให้ความเห็นกับ "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า สำหรับพัทยาถือเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสำหรับธุรกิจค้าปลีก อย่างไรก็ตาม แต่ละค่ายจะมีกลุ่มลูกค้าเป้าหมายที่แตกต่างกัน ด้วยความที่พัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวที่มีศักยภาพสูง โดยส่วนตัวยังมั่นใจว่าธุรกิจค้าปลีกพัทยายังมีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก
"สำหรับเทสโก้ โลตัสเองที่เปิดให้บริการ 2 สาขา ตอนนี้ยังไปได้ดี มีลูกค้าสม่ำเสมอทั้งคนไทยและต่างชาติ และขณะนี้ก็อยู่ระหว่างทยอยเปิดสาขาในรูปแบบของโลตัส เอ็กซ์เพรส ที่มีอยู่บ้างเพิ่มอีกจำนวนหนึ่ง" นายดามพ์กล่าว
จากการสำรวจของผู้สื่อข่าวพบว่า ในเมืองพัทยา นอกจากร้านคอนวีเนี่ยนสโตร์ที่เทสโก้ โลตัสจะนำโมเดลโลตัส เอ็กซ์เพรสไปรุกเพื่อเจาะตลาดตามย่านชุมชนต่างๆ แล้ว ยังเป็นที่น่าสังเกตว่า เซเว่น อีเลฟเว่น ก็เดินเกมรุกเพื่อขยายสาขาในเมืองพัทยาเพิ่มอย่างต่อเนื่องเช่นกัน โดยจะพบว่าปัจจุบันเซเว่น อีเลฟเว่นบางทำเลได้เปิดให้บริการในระยะห่างกันไม่เกิน 500 เมตร
กระแสฟาสต์ฟู้ดแรงไม่ตก
ผู้สื่อข่าวยังรายงานเพิ่มเติมอีกว่า ไม่เพียงแค่ธุรกิจคอนวีเนียร์สโตร์เท่านั้นมองเห็นศักยภาพของเมืองพัทยา ขณะเดียวกันบรรดาธุรกิจร้านอาหารฟาสต์ฟู๊ด โดยเฉพาะค่ายที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นชาวต่างประเทศต่างก็ให้ความสนใจและเตรียมลงทุนเพิ่มสาขาเพิ่มอีกหลายค่าย ประกอบกับการที่จำนวนศูนย์การค้าในกรุงเทพฯ มีการเปิดตัวตัวน้อยลง ทำให้การเข้าไปจับจองพื้นที่ของบรรดาร้านอาหารเป็นสิ่งที่ยากขึ้นทุกขณะ
ที่ผ่านมา นอกจาก แม็คโดนัลด์ที่เปิดให้บริการอยในพัทยา 2-3 สาขาแล้ว ก็ยังมีซับเวย์เปิดอยู่ 2-3 สาขา
นายเฮสเตอร์ ชิว ประธานกรรมการบริหาร บริษัท แมคไทย จำกัด เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า บริษัทได้มีการเปิดตัวร้านแมคโดนัลด์ในรูปแบบ "ไลฟ์สไตล์ คอนเซ็ปต์" ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ล่าสุดของแมคโดนัลด์ ในวันที่ 8 สิงหาคมนี้ ที่ ดิ อะเวนิว พัทยา (The Avenue Pattaya) โดยได้เปิด "แมค คาเฟ่" มุมกาแฟและเครื่องดื่มพรีเมี่ยม เข้าไปเปิดให้บริการอยู่ในร้านก่อนหน้านี้ ได้เปิดตัวคอนเซ็ปต์นี้ที่กรุงเทพฯ 2 สาขา สำหรับพัทยาถือเป็นสาขาที่ 4 ของแมคโดนัลด์ จากเดิมที่เปิดให้บริการในศูนย์การค้ารอยัล การ์เด้น, ลิโด พัทยา และมินิสยาม โดยทั้ง 4 สาขาต่างเปิดให้บริการ 24 ชั่วโมง
"เมืองพัทยามีศักยภาพสูงมาก โดยเฉพาะเรื่องของกำลังซื้อทั้งจากนักท่องเที่ยวและคนในพื้นที่ ถือเป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยบริษัทมั่นใจว่าสาขาที่เปิดใหม่ครั้งนี้จะได้รับการตอบรับอย่างดีจากผู้บริโภค" นายชิวกล่าว
http://www.matichon.co.th/prachachat/pr ... ionid=0207
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/08/07
โพสต์ที่ 56
โชห่วยชุมนุมใหญ่หลัง 19 ส.ค.
โดย ข่าวสด วัน อังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:50 น.
ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เสนอร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ฉบับของสนช.ให้สนช.พิจารณาแล้ว หลังจากที่ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ฉบับของกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายนิรุทธ์ วัชราภิชาติ ผู้ประสานงานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ กล่าวว่า ตอนนี้สมาพันธ์มีความหวังเรื่องการออกกฎหมายค้าปลีกอยู่ที่สนช.ที่เดียว ซึ่งทราบว่าว่าที่ร.อ.จิตร์ ยื่นกฎหมายให้สนช.พิจารณาแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ สนช.ก็จะบรรจุลงในวาระและส่งต่อไปให้รัฐบาล โดยรัฐบาลมีเวลา 30 วันในการพิจารณาร่างกฎหมายและจะส่งกลับมาที่สนช.อีกครั้งหนึ่ง
ร่างกฎหมายฉบับของกระทรวงพาณิชย์ค้างเติ่งอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งดองเรื่องมา 3 เดือนแล้ว ทั้งๆ ที่ปัญหาค้าปลีกเป็นเรื่องเร่งด่วน เป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ซึ่งหากฉบับของสนช.ยังล่าช้าอีก และไม่ได้รับการตอบสนอง เราก็จะรวมพลกันครั้งใหญ่ที่สภา โดยรอให้ผ่านวันที่ 19 ส.ค.นี้ไปก่อน
นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร ประธานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลควรเร่งออกกฎหมายค้าปลีกออกมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นฉบับของกระทรวงพาณิชย์หรือของสนช.ก็ได้ ซึ่งหากกฎหมายออกมาแล้วมีจุดบกพร่อง หรือไม่เหมาะสมในส่วนใด รัฐบาลชุดต่อไปก็สามารถแก้ไขปรับปรุงได้
http://news.sanook.com/economic/economic_168667.php
โดย ข่าวสด วัน อังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:50 น.
ว่าที่ ร.อ.จิตร์ ศิรธรานนท์ โฆษกคณะกรรมาธิการการพาณิชย์ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ(สนช.) เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 9 ส.ค.ที่ผ่านมา ได้เสนอร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ฉบับของสนช.ให้สนช.พิจารณาแล้ว หลังจากที่ร่างพ.ร.บ.ค้าปลีกค้าส่ง ฉบับของกระทรวงพาณิชย์อยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการกฤษฎีกา
นายนิรุทธ์ วัชราภิชาติ ผู้ประสานงานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ กล่าวว่า ตอนนี้สมาพันธ์มีความหวังเรื่องการออกกฎหมายค้าปลีกอยู่ที่สนช.ที่เดียว ซึ่งทราบว่าว่าที่ร.อ.จิตร์ ยื่นกฎหมายให้สนช.พิจารณาแล้ว ซึ่งหลังจากนี้ สนช.ก็จะบรรจุลงในวาระและส่งต่อไปให้รัฐบาล โดยรัฐบาลมีเวลา 30 วันในการพิจารณาร่างกฎหมายและจะส่งกลับมาที่สนช.อีกครั้งหนึ่ง
ร่างกฎหมายฉบับของกระทรวงพาณิชย์ค้างเติ่งอยู่ที่คณะกรรมการกฤษฎีกา ซึ่งดองเรื่องมา 3 เดือนแล้ว ทั้งๆ ที่ปัญหาค้าปลีกเป็นเรื่องเร่งด่วน เป็นเรื่องความมั่นคงของชาติ ซึ่งหากฉบับของสนช.ยังล่าช้าอีก และไม่ได้รับการตอบสนอง เราก็จะรวมพลกันครั้งใหญ่ที่สภา โดยรอให้ผ่านวันที่ 19 ส.ค.นี้ไปก่อน
นายพันธุ์เทพ สุลีสถิร ประธานสมาพันธ์คนไทยต้านค้าปลีกต่างชาติ กล่าวว่า ตอนนี้รัฐบาลควรเร่งออกกฎหมายค้าปลีกออกมาก่อน ไม่ว่าจะเป็นฉบับของกระทรวงพาณิชย์หรือของสนช.ก็ได้ ซึ่งหากกฎหมายออกมาแล้วมีจุดบกพร่อง หรือไม่เหมาะสมในส่วนใด รัฐบาลชุดต่อไปก็สามารถแก้ไขปรับปรุงได้
http://news.sanook.com/economic/economic_168667.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news14/08/07
โพสต์ที่ 57
พาณิชย์บินถกอียูยักษ์ค้าปลีกป่วน
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:52 น.
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษก กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าภูมิภาคยุโรป (ฮับยุโรป) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 11-14 ก.ย. นี้ รมว.พาณิชย์ จะนำเอกชนไทยเดินทางไปบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ประชุมระหว่างนักธุรกิจไทย-อียู เพื่อแก้ปัญหาการค้าที่ค้างระหว่างกัน และจะทำให้การส่งออกของไทยไปอียูขยายตัวอย่างยั่งยืน
รวมทั้งหารือกับผู้บริหารระดับสูงของห้างเทสโก้ โลตัส สำนักงานใหญ่ในอังกฤษ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งของไทย หลังห้างค้าปลีกต่างชาติขนาดใหญ่ ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ซึ่งตนได้รับการแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติว่า ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลไทยต้องดำเนินการด้วยตัวเอง เช่น ดำเนินการเจรจาต่อรองกับเทสโก้ โลตัสเอง
สำหรับนักธุรกิจไทยกลุ่มที่จะนำไปด้วยมีทั้งกลุ่มอาหาร สินค้าเกษตร สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์ สินค้าไฮเทค และกลุ่มโลจิสติกส์ โดยจะประชุมร่วมกับนักธุรกิจใหญ่ ๆ ของอียู ซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลในทางการเมือง เพื่อทำความรู้จักกัน และเมื่อสนิทสนมกันแล้ว นักธุรกิจเหล่านั้นจะมีส่วนช่วยไทยในการล็อบบี้รัฐบาลอียู เพื่อแก้ปัญหา และอุปสรรคทางการค้าให้กับไทย.
http://news.sanook.com/economic/economic_168778.php
โดย เดลินิวส์ วัน อังคาร ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:52 น.
นายกฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์ โฆษก กระทรวงพาณิชย์ ในฐานะหัวหน้าภูมิภาคยุโรป (ฮับยุโรป) เปิดเผยว่า ระหว่างวันที่ 11-14 ก.ย. นี้ รมว.พาณิชย์ จะนำเอกชนไทยเดินทางไปบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม ประชุมระหว่างนักธุรกิจไทย-อียู เพื่อแก้ปัญหาการค้าที่ค้างระหว่างกัน และจะทำให้การส่งออกของไทยไปอียูขยายตัวอย่างยั่งยืน
รวมทั้งหารือกับผู้บริหารระดับสูงของห้างเทสโก้ โลตัส สำนักงานใหญ่ในอังกฤษ เพื่อหาแนวทางแก้ปัญหาธุรกิจค้าปลีกค้าส่งของไทย หลังห้างค้าปลีกต่างชาติขนาดใหญ่ ขยายสาขาอย่างรวดเร็ว ซึ่งตนได้รับการแนะนำจากบริษัทที่ปรึกษาต่างชาติว่า ปัญหาดังกล่าวรัฐบาลไทยต้องดำเนินการด้วยตัวเอง เช่น ดำเนินการเจรจาต่อรองกับเทสโก้ โลตัสเอง
สำหรับนักธุรกิจไทยกลุ่มที่จะนำไปด้วยมีทั้งกลุ่มอาหาร สินค้าเกษตร สิ่งทอ อัญมณีและเครื่องประดับ ยานยนต์ สินค้าไฮเทค และกลุ่มโลจิสติกส์ โดยจะประชุมร่วมกับนักธุรกิจใหญ่ ๆ ของอียู ซึ่งเป็นผู้ทรงอิทธิพลในทางการเมือง เพื่อทำความรู้จักกัน และเมื่อสนิทสนมกันแล้ว นักธุรกิจเหล่านั้นจะมีส่วนช่วยไทยในการล็อบบี้รัฐบาลอียู เพื่อแก้ปัญหา และอุปสรรคทางการค้าให้กับไทย.
http://news.sanook.com/economic/economic_168778.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news16/08/07
โพสต์ที่ 58
คอตเลอร์ชี้อำนาจเปลี่ยนมือสู่ค้าปลีก แนะธุรกิจนำไซเบอร์มาใช้เก็บข้อมูล
โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:53 น.
นายฟิลิป คอตเลอร์ นักการตลาดชั้นนำระดับโลก ได้มาเป็นองค์ปาฐกถา ในหัวข้อ การตลาดในศตวรรษที่ 21 ว่า ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ ความภักดีต่อแบรนด์กำลังจะลดลง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแพร่ขยายของผลิตภัณฑ์มากมายออกสู่ตลาด อำนาจกำลังเปลี่ยนมือจากบริษัทผู้ผลิตไปสู่มือผู้ค้าปลีกรายใหญ่ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้การตลาดแบบเก่าไม่ประสบความสำเร็จ บริษัทต่างๆ เกิดความสับสนในการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม หลายบริษัทเลือกใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายด้วยการปฏิรูปกระบวนการทำงาน และลดจำนวนแรงงาน และแม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะประสบความสำเร็จในการลดค่าใช้จ่ายแต่รายได้ยังไม่เพิ่มขึ้น
นายคอตเลอร์กล่าวว่า ฝ่ายการตลาดยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือสื่อสารกับฝ่ายขายกันมากนัก จึงมักจะเกิดปัญหา ทั้งนี้ ปัจจัยลบคงหนีไม่พ้นตัวเลขที่ฝ่ายการตลาดได้ตั้งสูงมากจนเกินไป ในเมื่อฝ่ายขายไม่สามารถทำได้ถึงเป้าหมายก็จะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เมื่อมองในมุมกว้างการสร้างยอดรายได้ให้กับบริษัทในแต่ละแห่ง ฝ่ายการตลาดมีความจำเป็นที่จะต้องเจรจาและเชื่อมโยงกับฝ่ายขายและฝ่ายการผลิตที่จะต้องรู้ให้ลึกซึ้งว่า กลุ่มลูกค้าไหนเป็นกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ ควรวางรากฐานเจาะลึกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เข้าไปสำรวจในร้านค้าขายปลีก ในแต่ละเดือนควรเก็บข้อมูลแล้วนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจที่มาแรง คือ นำโลกไซเบอร์เข้ามาใช้ให้ได้มากที่สุดจะเป็นผลดีต่อทุกธุรกิจ
http://news.sanook.com/economic/economic_169574.php
โดย มติชน วัน พฤหัสบดี ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2550 08:53 น.
นายฟิลิป คอตเลอร์ นักการตลาดชั้นนำระดับโลก ได้มาเป็นองค์ปาฐกถา ในหัวข้อ การตลาดในศตวรรษที่ 21 ว่า ด้วยกระแสโลกาภิวัตน์ ความภักดีต่อแบรนด์กำลังจะลดลง อันเป็นผลสืบเนื่องมาจากการแพร่ขยายของผลิตภัณฑ์มากมายออกสู่ตลาด อำนาจกำลังเปลี่ยนมือจากบริษัทผู้ผลิตไปสู่มือผู้ค้าปลีกรายใหญ่ การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวทำให้การตลาดแบบเก่าไม่ประสบความสำเร็จ บริษัทต่างๆ เกิดความสับสนในการเลือกใช้ยุทธศาสตร์ที่เหมาะสม หลายบริษัทเลือกใช้วิธีลดค่าใช้จ่ายด้วยการปฏิรูปกระบวนการทำงาน และลดจำนวนแรงงาน และแม้ว่าบริษัทเหล่านี้จะประสบความสำเร็จในการลดค่าใช้จ่ายแต่รายได้ยังไม่เพิ่มขึ้น
นายคอตเลอร์กล่าวว่า ฝ่ายการตลาดยังไม่สามารถเชื่อมโยงข้อมูลหรือสื่อสารกับฝ่ายขายกันมากนัก จึงมักจะเกิดปัญหา ทั้งนี้ ปัจจัยลบคงหนีไม่พ้นตัวเลขที่ฝ่ายการตลาดได้ตั้งสูงมากจนเกินไป ในเมื่อฝ่ายขายไม่สามารถทำได้ถึงเป้าหมายก็จะเกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา เมื่อมองในมุมกว้างการสร้างยอดรายได้ให้กับบริษัทในแต่ละแห่ง ฝ่ายการตลาดมีความจำเป็นที่จะต้องเจรจาและเชื่อมโยงกับฝ่ายขายและฝ่ายการผลิตที่จะต้องรู้ให้ลึกซึ้งว่า กลุ่มลูกค้าไหนเป็นกลุ่มลูกค้าของแบรนด์ ควรวางรากฐานเจาะลึกเข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เข้าไปสำรวจในร้านค้าขายปลีก ในแต่ละเดือนควรเก็บข้อมูลแล้วนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้มากที่สุด สิ่งที่น่าสนใจที่มาแรง คือ นำโลกไซเบอร์เข้ามาใช้ให้ได้มากที่สุดจะเป็นผลดีต่อทุกธุรกิจ
http://news.sanook.com/economic/economic_169574.php
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news17/08/07
โพสต์ที่ 59
กฤษฎีกาเตรียมส่งคืนกม.ค้าปลีกก.ย.นี้ เซเว่น-108ช๊อป-แฟมิลี่มาร์ทมีสิทธิ์รอด
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2550 09:23 น.
กฎหมายค้าปลีกใกล้คลอด กฤษฎีกาเตรียมส่งร่างที่พิจารณาเสร็จแล้วคืนครม. ภายในเดือนก.ย.นี้ โดยแนบข้อเสนอแนะ ทั้งการปรับแก้อำนาจของกกค. เสนอแนะแนวทางพัฒนาโชห่วย และยกเลิกระบบการสรรหากกค. หวั่นล่าช้าทำปัญหาค้าปลีกยิ่งบานปลาย เผยแฟรนไชส์ชื่อดังอย่าง เซเว่นอีเลฟเว่น 108 ช๊อป และแฟมิลี่มาร์ท ส่อแววหลุดไม่อยู่ใต้กฎหมายค้าปลีก
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว คาดว่าภายในเดือนก.ย.นี้ จะส่งกลับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาว่าจะนำความเห็นของกฤษฎีกาไปแก้ไขในร่างกฎหมายหรือไม่ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป ซึ่งในขั้นนี้ก็จะมีร่างกฎหมายที่สมาชิกสนช.นำเสนอแล้วพิจารณาควบคู่กับร่างของรัฐบาล
สำหรับสาระสำคัญที่กฤษฎีกามีความเห็นให้แก้ไขในร่างกฎหมายนี้ คือ การจำกัดอำนาจคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กกค.) ให้อยู่ในขอบเขตดูแลปัญหาค้าปลีกค้าส่งใน 3 แนวทาง คือ 1. การดูแลไม่ให้ค้าปลีกขนาดใหญ่มากๆ เช่น 1,000 ตรม.ขึ้นไป ขยายตัวหรือมีเวลาปิดเปิดที่จะสร้างผลกระทบต่อค้าปลีกขนาดเล็ก 2.ดูแลค้าปลีก ขนาดเล็กที่เป็นตัวปลอม เช่น กรณีที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาทำธุรกิจขนาดเล็กในรูปแบบเอ็กเพรส และ 3.การดูแลการขยายตัวของธุรกิจแฟรไชส์ค้าปลีก ที่เกิดจากการดำเนินการของบริษัทขนาดใหญ่ แต่อาจต้องยกเว้นสำหรับแฟรนไชส์ที่เกิดจากการปรับตัวของโชว์ห่วย เช่น เจ้าของกิจการร้านโชว์ห่วยซื้อแฟรนไชส์มาดำเนินการ อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่น 108 ช๊อป และแฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า กฤษฎีกาเห็นควรให้ยกเลิกคณะกรรมการสรรหากกค. เพราะเป็นว่า หากมีขั้นตอนการสรรหากรรมการกกค.มากจนเกินไปจะทำให้การตั้งกกค.ล่าช้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหา ส่วนมาตรการพัฒนาโชห่วย ได้ปรับปรุงให้มีความชัดเจนขึ้น โดยเน้นให้แก้ปัญหาที่โชห่วยมีอยู่ เช่น เงินทุน องค์ความรู้การบริหารจัดการ
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลักๆ ต้องการให้การค้าระหว่างรายเล็กและรายใหญ่อยู่ร่วมกันได้ โดยรายใหญ่ไม่สร้างผลกระทบให้รายเล็ก ซึ่งจากการพิจารณาปัญหาหลักๆ อยู่ที่สถานที่ตั้งและเวลาปิดเปิด จึงได้กำหนดอำนาจของกกค.ให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรได้บ้าง โดยภายในสิ้นเดือนนี้กฤษฎีกาจะพิจารณาร่างกฎหมายค้าปลีกค้าส่งแล้วเสร็จ จากนั้นก็จะส่งกลับให้รัฐบาล ก่อนนำไปพิจารณาต่อในสนช.แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ กฤษฎีกาได้เรียกผู้เกี่ยวข้องมาให้ความเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้ทุกฝ่ายแล้ว ทั้งโชห่วย ค้าปลีกสมัยใหม่ และกระทรวงพาณิชย์ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กฤษฎีกาได้เตรียมที่จะตีกลับร่างกฎหมายค้าปลีกค้าให้รัฐบาลทั้งที่ยังพิจารณาไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากเห็นว่าข้อกฎหมายมีความไม่ชัดเจนว่าต้องการจะแก้ปัญหาใด เพราะในร่างกฎหมายฉบับเก่า การเขียนกฎหมายมีลักษณะเหมือนจะจัดการระบบค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบใหม่หมด แต่หลังจากรับฟังคำชี้แจงจากกระทรวงพาณิชย์ และเห็นถึงความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาค้าปลีกค้าส่ง จึงได้พิจารณาร่างกฎหมายต่อ และพิจารณาแล้วเสร็จในทีสุด พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลรับไปพิจารณาต่อ ก่อนที่จะส่งให้สนช.พิจารณาในขั้นต่อไป
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000096406
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 17 สิงหาคม 2550 09:23 น.
กฎหมายค้าปลีกใกล้คลอด กฤษฎีกาเตรียมส่งร่างที่พิจารณาเสร็จแล้วคืนครม. ภายในเดือนก.ย.นี้ โดยแนบข้อเสนอแนะ ทั้งการปรับแก้อำนาจของกกค. เสนอแนะแนวทางพัฒนาโชห่วย และยกเลิกระบบการสรรหากกค. หวั่นล่าช้าทำปัญหาค้าปลีกยิ่งบานปลาย เผยแฟรนไชส์ชื่อดังอย่าง เซเว่นอีเลฟเว่น 108 ช๊อป และแฟมิลี่มาร์ท ส่อแววหลุดไม่อยู่ใต้กฎหมายค้าปลีก
แหล่งข่าวจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา เปิดเผยว่า คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างพ.ร.บ.ธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง พ.ศ. ... ใกล้เสร็จสิ้นแล้ว คาดว่าภายในเดือนก.ย.นี้ จะส่งกลับให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อพิจารณาว่าจะนำความเห็นของกฤษฎีกาไปแก้ไขในร่างกฎหมายหรือไม่ ก่อนนำเข้าสู่การพิจารณาของสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ต่อไป ซึ่งในขั้นนี้ก็จะมีร่างกฎหมายที่สมาชิกสนช.นำเสนอแล้วพิจารณาควบคู่กับร่างของรัฐบาล
สำหรับสาระสำคัญที่กฤษฎีกามีความเห็นให้แก้ไขในร่างกฎหมายนี้ คือ การจำกัดอำนาจคณะกรรมการกำกับดูแลธุรกิจค้าปลีกค้าส่ง (กกค.) ให้อยู่ในขอบเขตดูแลปัญหาค้าปลีกค้าส่งใน 3 แนวทาง คือ 1. การดูแลไม่ให้ค้าปลีกขนาดใหญ่มากๆ เช่น 1,000 ตรม.ขึ้นไป ขยายตัวหรือมีเวลาปิดเปิดที่จะสร้างผลกระทบต่อค้าปลีกขนาดเล็ก 2.ดูแลค้าปลีก ขนาดเล็กที่เป็นตัวปลอม เช่น กรณีที่ห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่เข้ามาทำธุรกิจขนาดเล็กในรูปแบบเอ็กเพรส และ 3.การดูแลการขยายตัวของธุรกิจแฟรไชส์ค้าปลีก ที่เกิดจากการดำเนินการของบริษัทขนาดใหญ่ แต่อาจต้องยกเว้นสำหรับแฟรนไชส์ที่เกิดจากการปรับตัวของโชว์ห่วย เช่น เจ้าของกิจการร้านโชว์ห่วยซื้อแฟรนไชส์มาดำเนินการ อาทิ เซเว่นอีเลฟเว่น 108 ช๊อป และแฟมิลี่มาร์ท เป็นต้น
แหล่งข่าวกล่าวว่า กฤษฎีกาเห็นควรให้ยกเลิกคณะกรรมการสรรหากกค. เพราะเป็นว่า หากมีขั้นตอนการสรรหากรรมการกกค.มากจนเกินไปจะทำให้การตั้งกกค.ล่าช้า ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการแก้ปัญหา ส่วนมาตรการพัฒนาโชห่วย ได้ปรับปรุงให้มีความชัดเจนขึ้น โดยเน้นให้แก้ปัญหาที่โชห่วยมีอยู่ เช่น เงินทุน องค์ความรู้การบริหารจัดการ
การปรับปรุงแก้ไขกฎหมายหลักๆ ต้องการให้การค้าระหว่างรายเล็กและรายใหญ่อยู่ร่วมกันได้ โดยรายใหญ่ไม่สร้างผลกระทบให้รายเล็ก ซึ่งจากการพิจารณาปัญหาหลักๆ อยู่ที่สถานที่ตั้งและเวลาปิดเปิด จึงได้กำหนดอำนาจของกกค.ให้ชัดเจนว่าจะทำอะไรได้บ้าง โดยภายในสิ้นเดือนนี้กฤษฎีกาจะพิจารณาร่างกฎหมายค้าปลีกค้าส่งแล้วเสร็จ จากนั้นก็จะส่งกลับให้รัฐบาล ก่อนนำไปพิจารณาต่อในสนช.แหล่งข่าวกล่าว
ทั้งนี้ กฤษฎีกาได้เรียกผู้เกี่ยวข้องมาให้ความเห็นต่อกฎหมายฉบับนี้ทุกฝ่ายแล้ว ทั้งโชห่วย ค้าปลีกสมัยใหม่ และกระทรวงพาณิชย์ หลังจากที่ก่อนหน้านี้ กฤษฎีกาได้เตรียมที่จะตีกลับร่างกฎหมายค้าปลีกค้าให้รัฐบาลทั้งที่ยังพิจารณาไม่เสร็จสิ้น เนื่องจากเห็นว่าข้อกฎหมายมีความไม่ชัดเจนว่าต้องการจะแก้ปัญหาใด เพราะในร่างกฎหมายฉบับเก่า การเขียนกฎหมายมีลักษณะเหมือนจะจัดการระบบค้าปลีกค้าส่งทั้งระบบใหม่หมด แต่หลังจากรับฟังคำชี้แจงจากกระทรวงพาณิชย์ และเห็นถึงความตั้งใจในการแก้ไขปัญหาค้าปลีกค้าส่ง จึงได้พิจารณาร่างกฎหมายต่อ และพิจารณาแล้วเสร็จในทีสุด พร้อมทั้งมีข้อเสนอแนะให้รัฐบาลรับไปพิจารณาต่อ ก่อนที่จะส่งให้สนช.พิจารณาในขั้นต่อไป
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000096406
-
- Verified User
- โพสต์: 7514
- ผู้ติดตาม: 0
news18/08/07
โพสต์ที่ 60
แหกตาเบรกสร้างโลตัสปากช่อง
โพสต์ทูเดย์ โลตัส ยันสาขาปากช่องยังก่อสร้างเป็นปกติ ไม่มีคำสั่งจากหน่วยงานไหนให้ระงับการก่อสร้าง
นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม ผู้บริหารร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เทสโก้-โลตัส กล่าวว่า ทางบริษัทยังไม่ได้รับคำสั่ง จากทางหน่วยงานรัฐให้หยุดก่อสร้างโลตัสสาขาปากช่องตามที่เป็นข่าว
ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. จนถึงปัจจุบัน บริษัทยังก่อสร้างโลตัส สาขาปากช่องตามปกติ ซึ่งสาขาดังกล่าวสร้างไปแล้วกว่า 80% ส่วนที่มีข่าวว่าหน่วยงานรัฐเข้าไปตรวจการก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิ์เข้าไปตรวจ แต่บริษัทไม่ได้รับรู้การเข้าไปตรวจครั้งนั้น
เรื่องที่เกิดขึ้นว่าโลตัส สาขาปากช่อง โดนระงับการก่อสร้าง ไม่เป็นความจริง ไม่มีหน่วยงานไหนแจ้งมา ไม่อยากให้ประชาชนโดนหลอก หรือนำข่าวดังกล่าวไปใช้กดดันให้ออกกฎหมายค้าปลีกค้าส่ง และอยากให้รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร นายดามพ์ กล่าว
นายวีระศักดิ์ ขันไชย โยธาธิการและผังเมือง จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ได้รายงานให้ ผวจ.นครราชสีมา ทราบว่า ตัวแทนกระทรวงมหาดไทยได้ตรวจสอบการก่อสร้างโลตัส สาขาปากช่อง แล้วมีบันทึก เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ว่า ควรระงับการก่อสร้างไว้ก่อน ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.
ทั้งนี้ ตัวแทนกระทรวงมหาดไทยและกลุ่มที่คัดค้านการก่อสร้างอ้างว่ามีหลักฐานภาพถ่ายห้างโลตัสได้ก่อสร้างหลังเทศบาลปากช่องออกประกาศกำหนดพื้นที่ก่อสร้างมา
แต่ผมไม่ได้ลงนามรับรองในบันทึกดังกล่าว เนื่องจากกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่ได้สั่งให้ตนตรวจสอบโดยตรง เพียงมาอำนวยความสะดวกด้านสถานที่เท่านั้น ตอนนี้โลตัส สาขาปากช่อง จึงยังก่อสร้างต่อไปตามปกติ เพราะได้รับอนุญาตเมื่อปี 2549 แต่เทศบาลออกประกาศกำหนดพื้นที่ก่อสร้างวันที่ 14 พ.ค. 2550 นายวีระศักดิ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=news&id=185697
โพสต์ทูเดย์ โลตัส ยันสาขาปากช่องยังก่อสร้างเป็นปกติ ไม่มีคำสั่งจากหน่วยงานไหนให้ระงับการก่อสร้าง
นายดามพ์ สุคนธทรัพย์ รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เอก-ชัย ดิสทริบิวชั่น ซิสเทม ผู้บริหารร้านค้าปลีกขนาดใหญ่เทสโก้-โลตัส กล่าวว่า ทางบริษัทยังไม่ได้รับคำสั่ง จากทางหน่วยงานรัฐให้หยุดก่อสร้างโลตัสสาขาปากช่องตามที่เป็นข่าว
ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค. จนถึงปัจจุบัน บริษัทยังก่อสร้างโลตัส สาขาปากช่องตามปกติ ซึ่งสาขาดังกล่าวสร้างไปแล้วกว่า 80% ส่วนที่มีข่าวว่าหน่วยงานรัฐเข้าไปตรวจการก่อสร้างเมื่อวันที่ 15 ส.ค.ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่รัฐมีสิทธิ์เข้าไปตรวจ แต่บริษัทไม่ได้รับรู้การเข้าไปตรวจครั้งนั้น
เรื่องที่เกิดขึ้นว่าโลตัส สาขาปากช่อง โดนระงับการก่อสร้าง ไม่เป็นความจริง ไม่มีหน่วยงานไหนแจ้งมา ไม่อยากให้ประชาชนโดนหลอก หรือนำข่าวดังกล่าวไปใช้กดดันให้ออกกฎหมายค้าปลีกค้าส่ง และอยากให้รู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นคืออะไร นายดามพ์ กล่าว
นายวีระศักดิ์ ขันไชย โยธาธิการและผังเมือง จ.นครราชสีมา กล่าวว่า ได้รายงานให้ ผวจ.นครราชสีมา ทราบว่า ตัวแทนกระทรวงมหาดไทยได้ตรวจสอบการก่อสร้างโลตัส สาขาปากช่อง แล้วมีบันทึก เมื่อวันที่ 15 ส.ค.ว่า ควรระงับการก่อสร้างไว้ก่อน ตั้งแต่วันที่ 16 ส.ค.
ทั้งนี้ ตัวแทนกระทรวงมหาดไทยและกลุ่มที่คัดค้านการก่อสร้างอ้างว่ามีหลักฐานภาพถ่ายห้างโลตัสได้ก่อสร้างหลังเทศบาลปากช่องออกประกาศกำหนดพื้นที่ก่อสร้างมา
แต่ผมไม่ได้ลงนามรับรองในบันทึกดังกล่าว เนื่องจากกรมโยธาธิการและผังเมืองไม่ได้สั่งให้ตนตรวจสอบโดยตรง เพียงมาอำนวยความสะดวกด้านสถานที่เท่านั้น ตอนนี้โลตัส สาขาปากช่อง จึงยังก่อสร้างต่อไปตามปกติ เพราะได้รับอนุญาตเมื่อปี 2549 แต่เทศบาลออกประกาศกำหนดพื้นที่ก่อสร้างวันที่ 14 พ.ค. 2550 นายวีระศักดิ์ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=news&id=185697