หน้า 2 จากทั้งหมด 4

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 1:01 pm
โดย ครรชิต ไพศาล
ตกลงเปลี่ยน สมยานาม
ร.บ. ขิ่งแก่ เป็น ร.บ หมา..จนตรอก แล้วหรือ  :lol:  :lol:

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 1:11 pm
โดย ด๊กดิงด่าง
ขออนุญาตเสริมเพราะโดนพาดพิง  อิ อิ

เราเป็นประเทศเปิดอย่างไรเสียการถูกกระแสพัดพามันเลี่ยงไม่พ้นอยู่แล้ว อยู่ที่ว่าเราจะเลือกฝืนหรือตามกระแสมากน้อยแค่ไหน อยู่ที่เรารู้จักตนเองแค่ไหน  ประเมินตนเองไว้ตำแหน่งใดในสถานการณ์รอบข้าง

ผมเชื่อว่านักบริหารยุคหลังนี่ส่วนใหญ่จะยึดแนวทางทันกระแส(ปรับตัวเพื่อความอยู่รอดทั้งระยะสั้นและยาว)หรือนำกระแส(เป็นผู้กำหนดกระแสเสียเอง เช่นเป็นผู้สร้างนวัตกรรมใหม่ๆ)มากกว่าที่จะตามหรือฝืนกระแส เพราะมีแต่จะเสียโอกาสเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ อยู่ในฐานะเป็นเบี้ยล่าง

ถ้ามองแบบแยกส่วนเฉพาะเรื่องแบบค่าเงินบาทนี่  ผมมองว่าแบ็งค์ชาติทำถูกแค่ประเดี๋ยวเดียว อีกไม่นานก็ต้องเปลี่ยน  ปัญหามันอยู่ตรงทำแบบแยกส่วนนี่แหละ  ถ้าเราไม่มีการบริหารความอยู่รอดแบบองค์รวมเพื่อสลับสับเปลี่ยนระหว่างส่วนที่ได้เปรียบกับเสียเปรียบของส่วนต่างๆในสังคม  ที่ทำไปผลก็คงเหนื่อยเปล่า(ขาดทุน-เสียเวลาและโอกาส)

อย่างเรื่องน้ำท่วมผมมีแนวคิดว่า  ถ้าผู้คนในพื้นที่เสี่ยงสร้างบ้านแบบลอยน้ำได้แบบเรือนแพก็คงลดปัญหาไปได้  แต่ที่ผ่านมาเอาแต่สร้างกำแพงกันน้ำเหมือนแบ็งค์ชาติสู้ค่าเงินแต่ก็เอาไม่อยู่และบางทีน้ำยังอ้อมมาหลังกำแพงเสียอีก

เราไม่ได้เป็นอะไรตามที่เรารู้สึกซักเท่าไร  แต่เราเป็นอะไรตามที่คนอื่นเขามองในสัดส่วนที่มากขึ้น  ยกเว้นเราจะอยู่คนเดียว

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 1:39 pm
โดย akekarat
แล้วมันจะต่างอะไรกับตอนที่ไปด่าทักษินปาว ๆ ว่าเอาเงินรัฐไปอุ้มราคาน้ำมัน???

หวังว่าอีกไม่นานคงไม่ต้องมี กองทุนพันธบัตรช่วยผู้ส่งออก แล้วให้คนไทยทั้งประเทศ รับผิดชอบอีกนะครับ

ผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก คนดีชอบแก้ไข คนจัญไร ชอบแก้ตัวครับ ท่านผู้ว่า ธปท.

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 5:38 pm
โดย bajjo
เสียดายเงิน
เงินเราในกระเป๋าหายไปสัก ร้อย สองร้อย ก็ก้มหากันแล้ว
นี่เงินเป็นแสนล้าน สงสัยคิดว่า ไม่ใช่เงินตัวเองมั้ง

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 8:55 pm
โดย matrix
1. ขาดทุนจากการแทรกแซงค่าเงินรวมดอกเบี้ยในการออกพันธบัตรดูดซับสภาพคล่อง     200,000 ล้านบาท
2. ผลจากมาตรการนี้ ทำให้มูลค่าตลาดหลักทรัพย์ศูนย์หายไปกว่า                             400,000 ล้านบาท
3. ผลจากมาตรการนี้ ทำให้มูลค่าตลาดพันธบัตรศูนย์หายไปกว่า                                40,000 ล้านบาท

ยังไม่นับที่ถูก Force sell และขายขาดทุน ขายตกใจ ไปอีกเท่าไหร่

รวมแค่ 3 ข้อ ไม่น้อยกว่า  640,000 ล้านบาท

เพื่อแลกกับการรักษาตลาดส่งออกมีผลให้ค่าเงินอ่อนลงเพียง  "บาทเดียว" เท่านั้นเอง


ถ้ารู้ตัวว่าคิดผิดทำผิด แล้วขอโทษ อาจจะพอให้อภัยได้

แต่นี่ตบแต่งตัวเลขแล้วบอกว่าคุ้ม

สงสัยมานคงคิดว่าพวกเราคงโง่

แถมยังต้องติดหนี้บุญคุณมานไปอีกตลอดชาติ

ถึงได้โอหังแถลงมาแบบนี้    :evil:


มาลองฟังดร.โชติชัย  สุวรรณาภรณ์ นักวิชาการในกระทรวงการคลังเค้าประเมินว่ายังไงกันบ้าง

<ประเมินมาตรการควบคุมเงินทุนของแบงก์ชาติ>

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 8:59 pm
โดย คัดท้าย
akekarat เขียน:แล้วมันจะต่างอะไรกับตอนที่ไปด่าทักษินปาว ๆ ว่าเอาเงินรัฐไปอุ้มราคาน้ำมัน???

หวังว่าอีกไม่นานคงไม่ต้องมี กองทุนพันธบัตรช่วยผู้ส่งออก แล้วให้คนไทยทั้งประเทศ รับผิดชอบอีกนะครับ

ผิดก็คือผิด ถูกก็คือถูก คนดีชอบแก้ไข คนจัญไร ชอบแก้ตัวครับ ท่านผู้ว่า ธปท.
เกือบพลาดกระทู้นี้แล้วเชียววว


เออ .... เรื่องพยุงค่าเงินบาทที่เจ๊งๆๆๆๆๆๆๆ ตอนนี้ ...................................!!!!!!!!!!!


เกิดสมัย ดร ทักษิณ ............... เป็นนายก .............. หม่อม อุ๋ย เป็นผู้ว่า ธปท  ครับ ................................

เหตุการณ์ตอนนี้ หม่อมอุ๋ย คนเดิม .............................. ที่รับผลการเจ๊งค่าเงิน ที่เกิดสมัยที่ทำมาในรัฐบาลก่อน


ก็ไม่เข้าใจเหมือนกัน ว่าหม่อมอุ๋ย มีอะไรดีกันนะ ......??????

ทำไม ทั้ง รัฐบาลทักษิณ และ รัฐบาล คมช จะต้องเอาคนคนนี้มาดูแลเศรษฐกิจการเงิน

ใครทราบมั่งครับ ทำไม??? เค้ามีดีอะไร ?????

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:02 pm
โดย สุมาอี้
ถ้าความผิดพลาดครั้งนี้นำไปสู่อุทาธรณ์ที่จะไม่แทรกแซงค่าเงินอีกไม่ว่าบาทจะแข็งเพียงไรก็ถือว่าเป็นบทเรียนที่คุ้มค่า

แต่คงไม่เป็นอย่างนั้น คราวหน้าบาทแข็งอีกก็ร้องให้แทรกแซงกันอีก

พลาดแล้ว พลาดอีก พลาดแล้ว พลาดอีก ก็ยังติดกับดักเดิมๆ

ใครทำให้ธปท.ขาดทุนเป็นแสนล้านอีกน่าจะให้รับโทษแบบเดียวกับคุณเริงชัยทุกคน

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:05 pm
โดย คัดท้าย
สุมาอี้ เขียน:ถ้าความผิดพลาดครั้งนี้นำไปสู่อุทาธรณ์ที่จะไม่แทรกแซงค่าเงินอีกไม่ว่าบาทจะแข็งเพียงไรก็ถือว่าเป็นบทเรียนที่คุ้มค่า

แต่คงไม่เป็นอย่างนั้น คราวหน้าบาทแข็งอีกก็ร้องให้แทรกแซงกันอีก

พลาดแล้ว พลาดอีก พลาดแล้ว พลาดอีก ก็ยังติดกับดักเดิมๆ

ใครทำให้ธปท.ขาดทุนเป็นแสนล้านอีกน่าจะให้รับโทษแบบเดียวกับคุณเริงชัยทุกคน

มีด้วยเหรอครับ ที่ว่าจะไม่ทำ มีรัฐบาลที่จะไม่แทรกแทรงด้วยเหรอครับ ???

เห้นสมัยรัฐบาลเก่า ผมเห็น ดร สมคิด บ่นอุ๊บว่าค่าเงินแข็งเกินไป บอกให้อุ๋ย แก้โดยด่วน !!!!

อุ๋ย ก็ทำฟอร์ม บอกว่าไม่ ยังไงเราก็ไม่แทรกแซง ..... แต่จริงๆหลังฉาก ก็แทรกแซงอยู่ จนบักโกรก แบบตอนนี้ไงครับ

จริงๆต้องถามว่า ทำไมเงินบาทไทย ถึงได้แข็งไม่เลิกมากกว่า ตรงนี้น่าสงสัย

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:08 pm
โดย สุมาอี้
ผมเห็นว่าครั้งนี้ ธปท.ไม่ควรแทรกแซงค่าเงินเลยแม้แต่นิดเดียว ควรจะปล่อยให้ผู้ส่งออกด่าไปเรื่อยๆ

อะไรที่เราทำไม่ได้ ไม่ควรทำครับ

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:15 pm
โดย Jeng
ถ้าค่าเงินเราจะต้องแข็งจริงๆ แทรกแทรงไปก็เท่านั้น

คำถาม ว่าทำไมค่าเงินเราแข็งหละ

คำตอบ ก็ก่อนหน้านี้ เรามีแต่เรื่องเกินดุลไม่ใช่เหรอ

เราถึงได้มีทุนสำรองเพิ่มตั้งเยอะ

ผมเดานะ

เช่น เราเกินดุลเรื่อง ท่องเที่ยว ส่งออก

พอเกินดุล ก็ต้องมีการแลกดอลล่า มาเป็นบาท เพื่อ ท่องเที่ยว เพื่อซื้อของ

ผลคือ เงินบาทแข็ง

ถ้าเป็นแบบนี้ การแทรกแซงไม่มีประโยชน์

ส่วนเรื่องการป้องกันการเก็งกำไร ดร.โชติชัย  สุวรรณาภรณ์ พูดไว้น่าสนใจ

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ทางเลือกที่ 1) ช่วยผู้ส่งออกโดยตรง โดยสนับสนุนทางการเงินกับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจริงๆ จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น 

ทางเลือกที่ 2) เปลี่ยนเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงิน US ดอลลาร์ ในระดับที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราว ดังเช่น ประเทศจีนและฮ่องกง หรือหากไม่ต้องการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ทั้งหมด ก็กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Two-Tier Exchange Rate System โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับชาวต่างชาติที่นำเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นอัตราคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงในตอนนำเงินเข้าและตอนนำเงินออก 

ทางเลือกที่ 3) เก็บภาษีจากกำไรของนักลงทุนต่างประเทศ มาตรการนี้จะต่างจากมาตรการควบคุมเงินทุนที่ต้องวางเงินสำรอง เพราะจะเก็บภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นของนักลงทุนเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้ลดการเก็งกำไรค่าเงินลง โดยที่มีผลกระทบและผลข้างเคียงน้อยกว่าการต้องให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต้องตั้งสำรอง 30% ซึ่งผมจะได้กล่าวในรายละเอียดในตอนต่อไป 
ขอบคุณพี่แมทริก

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:19 pm
โดย คัดท้าย
บางทีผมก็อดคิดไม่ได้ว่า

ดร สมคิด กับ หม่อมอุ๋ย นั้นแกเก่งหว่าผม หลายขุมเลยครับ

ทำไมคนเก่งๆ 2 คนนี้ ถึงยังคิดอะไรแบบให้ไปเอาใจผู้ส่งออกอีก ?????

เห็นว่า การส่งออกเป็น 60% ของ GDP ไม่รู้จริงหรือเปล่า ???

เราพึงมาการส่งออกมาขนาดนั้นเชียวหรือ ???

รัฐบาลไหนนะ ทำให้เป็นแบบนี้ ????

แล้วเรามาไกล เกินจะเยียวยาหรือเปล่าครับ ???

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:24 pm
โดย Jeng

โค้ด: เลือกทั้งหมด

ประเมินมาตรการควบคุมเงินทุนของแบงก์ชาติ 


ดร.โชติชัย  สุวรรณาภรณ์ 
[email protected] 


              มาตรการควบคุมเงินทุนจากต่างประเทศของแบงก์ชาติ ได้ก่อให้เกิดผลกระทบและต้นทุนอย่างมาก ซึ่งผมเชื่อว่า มาตรการนี้คงเป็นมาตรการชั่วคราว ไม่เกิน 13 อาทิตย์ก็คงยกเลิก (หากไม่คิดว่าเสียหน้า) เพราะมีผลเสียมากกว่าได้ ทั้งก่อให้เกิดความเสียหายชัดเจนและขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งคาดว่าแบงก์ชาติคงกำลังรอประเมินผลและศึกษาหามาตรการทางเลือกอื่นๆ 
              มาตรการควบคุมเงินทุนดังกล่าว ทำไปเพราะต้องการสกัดการเก็งกำไรค่าเงินบาท เพื่อไม่ให้ค่าเงินบาทแข็งเกินไปจนกระทบกับความสามารถในการแข่งขันด้านราคาของผู้ส่งออก โดยที่ไม่ได้ตอบคำถามว่าทำไมถึงมีการเก็งกำไรค่าเงินบาท ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในเอเชียไม่ได้รับผลกระทบจากการอ่อนค่าของเงินดอลลาร์สหรัฐเท่ากับประเทศไทย สาเหตุอันหนึ่งน่าจะมาจากการที่อัตราดอกเบี้ยของไทยอยู่ในระดับที่สูงมาเป็นเวลาพอสมควร แต่นั่นคงไม่ใช่เหตุผลทั้งหมด สาเหตุอีกประการหนึ่งน่าจะมาจาก นักเก็งกำไรเคยได้รับผลกำไรอย่างมหาศาลจากการต่อสู้ค่าเงินในช่วงวิกฤตการเงินปี 2539-2540 โดยแบงก์ชาติมีประวัติชอบต่อสู้ค่าเงินและอุปนิสัยที่ชอบเอาชนะ ซึ่งเข้าทางของนักเก็งกำไรในการวางกับดักเก็งกำไร (Speculation Trap) ทำให้ท้ายที่สุดถูกสถานการณ์จำนนให้ต้องออกมาตรการควบคุมเงินทุน ซึ่งตลาดคาดการณ์ว่า ทำเพื่อลดการขาดทุนจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศและปรับปรุงฐานะทางการเงิน ณ สิ้นปีให้ดีขึ้น 
              เราสามารถเปรียบเทียบผลที่เกิดขึ้นจากมาตรการของแบงก์ชาติ (Action  Consequence) กับหลักไวยากรณ์ของภาษาต่างประเทศ เช่น ภาษาเยอรมัน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ที่มีกฎว่า ประธาน+กริยา+กรรม โดยเฉพาะภาษาเยอรมันจะมีหลักไวยากรณ์ที่แน่นอนตายตัว นั่นคือ Dative และ Akkusative ที่ตามด้วยกรรมตรงและกรรมรอง (ทำให้ต้องผันคำคุณศัพท์ บุพบทและคำนำหน้านาม) เปรียบเทียบกับการกระทำของแบงก์ชาติ ทำให้เกิดกรรมตรงและกรรมรอง กรรมตรงก็คือ ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ในขณะที่กรรมรองคือ ผลกระทบที่เกิดขึ้นกับตลาดหุ้นและตลาดพันธบัตร ตลอดจนนักลงทุน ผู้กู้เงิน ผู้นำเข้า และผู้ที่ต้องพึ่งพาเงินทุนจากต่างประเทศ 
              อาจเปรียบเทียบผลได้ผลเสียของมาตรการการแทรกแซงค่าเงินและควบคุมเงินทุน ได้ดังนี้ 
              ผลได้ ผู้ส่งออกได้รับอานิสงส์จากค่าเงินบาทที่ไม่แข็งค่าไปกว่าเดิมและอ่อนค่าลงจาก 35 บาทเป็น 36 บาทต่อ 1 ดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาของผู้ส่งออกไทยที่ส่งออกสินค้าที่มีความอ่อนไหวต่อราคา (Price-Sensitive) แต่จากการวิจัยเมื่อเร็วๆ นี้ พบว่า ค่าเงินหรืออัตราแลกเปลี่ยนมีผลต่อเศรษฐกิจไทยไม่มากนัก กล่าวคือเงินบาทแข็งขึ้น 1% มีผลต่อ GDP เพียง 0.01% ในขณะที่ปัจจัยที่มีผลกระทบต่อการส่งออกมากที่สุดคือ การขยายตัวของเศรษฐกิจโลก และเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า โดยพบว่าการขยายตัวทางเศรษฐกิจ 1% ของประเทศคู่ค้าของไทย 11 ประเทศ มีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยถึง 1% เช่นกัน 

              ผลเสียที่ 1 (กรรมตรงและผลจากกรรมเก่า) ต้นทุนที่เกิดขึ้นกับแบงก์ชาติ ประการแรก แบงก์ชาติขาดทุนจากการซื้อขายอัตราแลกเปลี่ยน (ซื้อดอลลาร์สหรัฐ) ในช่วง 10 เดือนแรกของปี 2549 ไปแล้ว 7.5 หมื่นล้านบาท และยังมีผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจากการซื้อขายเงินต่างประเทศที่มีสัญญาจะขายคืนเป็นยอดคงค้าง ณ วันที่ 15 ธันวาคม 2549 อีก 8.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งในส่วนนี้ไม่แน่ชัดว่าขาดทุนเท่าไหร่ แล้วแต่อัตราแลกเปลี่ยน ณ วันที่ต้องมีการส่งมอบ แต่หากคิดง่ายๆ ว่าเงินบาทแข็งค่าจาก 41 บาท เมื่อตอนต้นปี มาถึงในขณะนี้ที่ 36 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ แบงก์ชาติน่าจะขาดทุนดอลลาร์ละ 5 บาท ทำให้ขาดทุนเพิ่มในส่วนนี้อีก 4.35 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมกับการขาดทุนที่แบงก์ชาติเข้าแทรกแซงค่าเงินบาทด้วยการซื้อดอลลาร์สหรัฐในตลาด Spot ที่มีการส่งมอบทันที ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-ธันวาคม 2549 อีก 2 หมื่นล้านบาท ทำให้ในช่วง 1 ปีที่ผ่านมา แบงก์ชาติมีผลขาดทุนเกิดขึ้นแล้วเกือบ 140,000 ล้านบาท ประการที่สอง เนื่องจากแบงก์ชาติต้องออกพันธบัตร เพื่อมาดูดซับสภาพคล่องเงินบาท เป็นจำนวนเกือบ 1 ล้านล้านบาท ถ้าคิดถัวเฉลี่ยอัตราดอกเบี้ยที่เพียงแค่ 5% ต่อปี แบงก์ชาติจะเกิดต้นทุนเป็นภาระดอกเบี้ยจ่ายปีละ 5 หมื่นล้านบาท ทำให้ยอดต้นทุนที่เกิดกับแบงก์ชาติใน 2 ส่วนนี้เกือบ 2 แสนล้านบาท (140,000+50,000) เพื่อทำให้โปร่งใส งบกำไรขาดทุนและงบดุลของแบงก์ชาติ (ณ สิ้นปีวันที่ 31 ธันวาคม 2549) ควรจะแสดงให้เห็นถึงผลขาดทุนอันเกิดจากการแทรกแซงค่าเงินและต้นทุนจากการออกพันธบัตร อย่าเพียงสะท้อนคร่าวๆ ในงบย่อยหรือในธุรกรรมนอกงบดุล (Off-Balance Sheet Items) 

             ผลเสียที่ 2 (กรรมรอง) มาจากผลของมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้มูลค่าของตลาดหลักทรัพย์ลดลง คิดเป็นความเสียหายกว่า 4 แสนล้านบาท นอกจากนั้นตลาดพันธบัตรก็ได้รับผลกระทบด้วย ทำให้มูลค่าพันธบัตรทั้งหมดลดลงกว่า 4 หมื่นล้านบาท ทั้งหมดนี้ยังไม่ได้รวมถึงความเสียหายที่ไม่สามารถระบุเป็นตัวเลขได้แน่นอน อันเนื่องมาจากการขายของนักลงทุนและการถูกบังคับขาย (Forced Sale) ในราคาที่ต่ำกว่าเดิมมาก อีกทั้งภาวะซบเซาในตลาดหุ้น ตลาดหลักทรัพย์และตลาดพันธบัตร อันเกิดจากการถอนการลงทุน และขาดเงินทุนใหม่เข้ามา ผลกระทบในทางลบต่อผู้นำเข้าและผู้ที่มีหนี้สกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งไม่สามารถประเมินเป็นตัวเลขความเสียหายได้ชัดเจน 

             ผลเสียที่ 3 (กรรมรอง) มาจากต้นทุนทางการเงินที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากในปีหน้าทั้งรัฐบาลและภาคเอกชนต้องกู้เงินด้วยการออกขายพันธบัตร โดยในส่วนของรัฐบาลคิดเป็นตัวเลขไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณและ Re-Finance หนี้เดิม แต่ผลจากมาตรการควบคุมเงินทุน ทำให้อัตราดอกเบี้ยเพิ่มสูงขึ้นถึงกว่า 1% ถ้าคิดง่ายๆ ว่าเป็นพันธบัตรอายุ 10 ปี ก็จะทำให้ต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายเพิ่มขึ้นถึง 3 หมื่นล้านบาท 
              ที่น่าเป็นห่วงและไม่ต้องการให้เกิดขึ้นก็คือ ภาวะเงินทุนไหลออก จนทำให้เกิดวิกฤต ทางเลือกที่น่าจะพิจารณาแทนที่การควบคุมเงินทุน ก็คือ 

ทางเลือกที่ 1) ช่วยผู้ส่งออกโดยตรง โดยสนับสนุนทางการเงินกับผู้ส่งออกที่ได้รับผลกระทบจริงๆ จากค่าเงินบาทที่แข็งขึ้น 

ทางเลือกที่ 2) เปลี่ยนเป็นการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบคงที่ เพื่อตรึงอัตราแลกเปลี่ยนระหว่างเงินบาทกับเงิน US ดอลลาร์ ในระดับที่เห็นว่าเหมาะสม ซึ่งเป็นมาตรการชั่วคราว ดังเช่น ประเทศจีนและฮ่องกง หรือหากไม่ต้องการกำหนดอัตราแลกเปลี่ยนคงที่ทั้งหมด ก็กำหนดอัตราแลกเปลี่ยนแบบ Two-Tier Exchange Rate System โดยให้อัตราแลกเปลี่ยนสำหรับชาวต่างชาติที่นำเงินต่างประเทศเข้ามาลงทุนเป็นอัตราคงที่ ไม่เปลี่ยนแปลงในตอนนำเงินเข้าและตอนนำเงินออก 

ทางเลือกที่ 3) เก็บภาษีจากกำไรของนักลงทุนต่างประเทศ มาตรการนี้จะต่างจากมาตรการควบคุมเงินทุนที่ต้องวางเงินสำรอง เพราะจะเก็บภาษีจากกำไรที่เกิดขึ้นของนักลงทุนเท่านั้น ซึ่งจะมีผลให้ลดการเก็งกำไรค่าเงินลง โดยที่มีผลกระทบและผลข้างเคียงน้อยกว่าการต้องให้เงินทุนไหลเข้าจากต่างประเทศต้องตั้งสำรอง 30% ซึ่งผมจะได้กล่าวในรายละเอียดในตอนต่อไป 

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:27 pm
โดย matrix
คัดท้าย เขียน:จริงๆต้องถามว่า ทำไมเงินบาทไทย ถึงได้แข็งไม่เลิกมากกว่า ตรงนี้น่าสงสัย

นักเก็งกำไรทั่วโลกเค้ารู้ดีว่าดอกเบี้ยญี่ปุ่นแค่ 0.25% เท่านั้นเอง

เงินไทยที่แข็งมาจากเอาเงินญี่ปุ่นมาฝากพันธบัตรไทยซึ่งได้ดอก 5% up

แถมถ้ายิ่งลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 %

ทำให้พันธบัตรที่ออกไปก่อนหน้ายิ่งมีค่าขึ้นไปอีก (5% up ยิ่งแย่งกันอยากได้)

เนื่องจาก Yield ยิ่งห่างขึ้น (ยิ่งห่างมาก  ผลตอบแทนยิ่งมาก)

สาเหตุนี้  จึงทำให้เงินบาทแข็งเพิ่มขึ้น

ธปท.รู้เรื่องเหล่านี้ดี  แต่ไม่ยอมแก้ตั้งแต่ต้น

ดันออกพันธบัตรมาสู้ซะเยอะเกิน  เกือบ 1 ล้านล้าน

ถ้าลดตั้งแต่แรก โดยการไม่สู้และไม่ออกพันธบัตรมาดูดสภาพคล่อง

ป่านนี้เงินเราก็ไม่แข็ง โด่เด่มากกว่าชาติอื่นๆเค้าแบบนี้หรอกครับ     :wink:

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:30 pm
โดย คัดท้าย
matrix เขียน:

นักเก็งกำไรทั่วโลกเค้ารู้ดีว่าดอกเบี้ยญี่ปุ่นแค่ 0.25% เท่านั้นเอง

เงินไทยที่แข็งมาจากเอาเงินญี่ปุ่นมาฝากพันธบัตรไทยซึ่งได้ดอก 5% up

แถมถ้ายิ่งลดดอกเบี้ยนโยบาย 0.25 %

ทำให้พันธบัตรที่ออกไปก่อนหน้ายิ่งมีค่าขึ้นไปอีก (5% up ยิ่งแย่งกันอยากได้)

เนื่องจาก Yield ยิ่งห่างขึ้น (ยิ่งห่างมาก

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:34 pm
โดย Jeng
ถามพี่แมทริกดีกว่า ว่าแก้อย่างไร เรื่องค่าเงิน

หรือว่าไม่ควรแก้ ถ้าแก้ แก้อย่างไรครับ

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:44 pm
โดย matrix
Jeng เขียน:ถามพี่แมทริกดีกว่า ว่าแก้อย่างไร เรื่องค่าเงิน

หรือว่าไม่ควรแก้ ถ้าแก้ แก้อย่างไรครับ

ขอบคุณที่ให้เกียรติ์ครับ...

ที่ค่าเงินบาทแข็งของเราส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกที่ดีขึ้น

ทำให้เกินดุล  มีเงิน Dollar ซึ่งมาพร้อมระเบิดเวลาลูกย่อมๆที่ค่ามันลดลงเรื่อยๆ

วิธีแก้ควรจะแก้โดยการปล่อยเงิน Dollar ออกไปโดยการเพิ่มผลผลิตในการแข่งขันแบบยั่งยืน  เช่น

 - สั่งสินค้าคงทน ประเภทเครื่องจักรอุตสาหกรรม  เครื่องบิน  สั่งซื้อรถไฟใต้ดิน  

หรืออะไรที่แพงๆที่ทำให้เรามีศักยภาพเหนือกว่าคู่แข่งในระยาว  หรือทำให้ประชาชนสะดวกสบาย  

 - เอาเงิน Dollar ออกไปไปลงทุนต่างประเทศ เช่น เวียดนาม จีน ฯ

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:45 pm
โดย lekmak333
เรื่องบาทแข็ง เคยมีคนมา post แล้วนิครับ
เรื่อง off shore on shore อะไรนั้นน่ะ

เอาคร่าวๆ หลังประกาศมาตรา กันเงิน 30%
เป็นการแก้ไม่ถูกจุด ทำให้เงินบาทในตลาดขาดแคลน
เพราะ ธนาคารพาณิชย์อนุมัติยากขึ้น , ฝั่งซื้อก็ต้องเพิ่มค้ำประกัน 30%

ลองค้นดูครับ ในกระทู้เก่า มีเพื่อนคนหนึ่งเขียนไว้ดีมาก  :wink:

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 9:53 pm
โดย คัดท้าย
matrix เขียน:

ขอบคุณที่ให้เกียรติ์ครับ...

ที่ค่าเงินบาทแข็งของเราส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกที่ดีขึ้น

ทำให้เกินดุล

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:02 pm
โดย matrix
ปี 40 เป็นต้นมา เราขาดแคลนเงิน Dollar
หลังจากนั้นก็ทำมาหากินชดใช้หนี้สิน

พอใช้หนี้สินเสร็จมันก็พอเพียง
หลังจากพอเพียงก็เกิดปัญหาภาคใต้ สึนามิ หวัดนก
การใช้เงินผิดประเภทอะไรต่อมิอะไรอีกเยอะ

ทำให้กลัวจะไม่มีเงิน  เพราะเหตุนี้ ดร. สมคิดจึงเร่งภาคส่งออกเต็มที่
ทำให้ภาคส่งออกของเราโตจนถึงตอนนี้

และอีกสาเหตุใหญ่คือ สินค้ายางพารา ข้าว น้ำตาล ราคาสูงขึ้น
แต่อย่านึกว่าจะดีนะครับปีหน้าการส่งออกเราจะแย่กว่าปีนี้เพราะ
สินค้า Commodities ปีหน้าจะแย่กว่าปีนี้ครับ

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:04 pm
โดย lekmak333
หม่อม ในยุคทักษิณ เห็นไม่ค่อยลงรอยกันนิครับ เห็นพอจะไปแซกแซง ก็ถูกหม่อมฯ ออกมาโวยวาย

แต่ยุคนี้ หม่อมฯ กับรัฐบาล ธปท. ทำงานเข้าขากันดีม๊ากๆๆๆ กว่ายุคทักษิณเสียอีกน่ะครับ ทะเลาะกันยังไม่เห็นมีเลย แถมคลังยังประกาศในส่วนผู้ว่า ธปทได้อีก ผมพูดตามที่เห็น ไม่ได้ bias

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:06 pm
โดย คัดท้าย
[quote="matrix"]ปี 40 เป็นต้นมา เราขาดแคลนเงิน Dollar
หลังจากนั้นก็ทำมาหากินชดใช้หนี้สิน

พอใช้หนี้สินเสร็จมันก็พอเพียง
หลังจากพอเพียงก็เกิดปัญหาภาคใต้ สึนามิ หวัดนก
การใช้เงินผิดประเภทอะไรต่อมิอะไรอีกเยอะ

ทำให้กลัวจะไม่มีเงิน

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:07 pm
โดย คัดท้าย
lekmak333 เขียน:หม่อม ในยุคทักษิณ เห็นไม่ค่อยลงรอยกันนิครับ เห็นพอจะไปแซกแซง ก็ถูกหม่อมฯ ออกมาโวยวาย

แต่ยุคนี้ หม่อมฯ กับรัฐบาล ธปท. ทำงานเข้าขากันดีม๊ากๆๆๆ กว่ายุคทักษิณเสียอีกน่ะครับ ทะเลาะกันยังไม่เห็นมีเลย แถมคลังยังประกาศในส่วนผู้ว่า ธปทได้อีก ผมพูดตามที่เห็น ไม่ได้ bias
ครับเหมือนจะไม่ลงรอยครับ คือ ทำเป็นไม่ลงรอยครับ

แต่ว่าเบื้องหลังก็ช่วย ดร สมคิด อุ้มค่าเงินไงครับ

ค่าเงินที่เจ๊งๆ กันอยู่ตอนนี้ ก็เริ่มแทรกแทรงสมัย รัฐบาล ดร ทักษิณ แหละครับ

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:08 pm
โดย Jeng
สมัยทักษิณ เตรียม เมกกะโปรเจ็กไว้ด้วยครับ คัดท้าย ซึ่งต้องนำเข้า อะไรอีกเยอะเลย

เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:10 pm
โดย คัดท้าย
Jeng เขียน:สมัยทักษิณ เตรียม เมกกะโปรเจ็กไว้ด้วยครับ คัดท้าย ซึ่งต้องนำเข้า อะไรอีกเยอะเลย

เช่น รถไฟฟ้า เป็นต้น
ยุคคมชนี้ รถไฟฟ้า ก็ทำต่อครับพี่ แถมกทม ก็ทำ BRT ด้วย ผ่านคอนโดผมด้วย ฮิ

จะว่าไป การทำรัฐประหาร และ ภาวะแย่ๆ ควรทำให้บาทอ่อนด้วยซ้ำครับ แต่นี่ ...... อืมม ตรงกันข้าม

ผมถึงถามครับ ว่าบาทไทย นี่มันแข็งเพราะอะไรกันแน่

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:12 pm
โดย buglife
คัดท้าย เขียน:

ขอบคุณที่ให้เกียรติ์ครับ...

ที่ค่าเงินบาทแข็งของเราส่วนหนึ่งมาจากการส่งออกที่ดีขึ้น

ทำให้เกินดุล

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:16 pm
โดย Jeng
เอางี้ไม่ต้องคิดมาก ผมขอเงินรัฐบาล 5 แสนล้านบาท

แล้วผมไปซื้อน้ำมันล่วงหน้ากับบริษัทยักใหญ่ระดับโลก ให้มีหน้าที่ส่งมอบให้ผม ตามสัญญาไปเรื่อยๆ ในระยะเวลา 5 ปี

และผมขออีก 5 แสนล้าน ไปซื้อ รถไฟฟ้า ล่วงหน้า ซื้อล่วงหน้านะ และทำสัญญาว่าจ่ายเป็น ปีๆ ตามที่รถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ในระยะเวลา 5 ปี

สมมุตินะ คือเงินมันเหลืออะ

ก็เลยรีบไปซื้อ

ค่าเงินบาทจะเป็นไง ถ้ารู้ ว่า อีก 5 ปี นี้ จะมีการซื้อดอลล่า จำนวน 1 ล้านๆ บาท

แล้วก็รีบ หาที่สร้างรถไฟฟ้า เพราะซื้อมาแล้ว ต้องรีบสร้างให้เสร็จ ในระยะเวลา 5 ปี

สมมุติคร๊าบ

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:16 pm
โดย คัดท้าย
buglife เขียน: รูปภาพ

เงินบาทมาไหลจากประมาณ 38-35
หลังกันยา 06 ครับ

ส่วนที่ผ่านมายังสินค้าทุนยังกินไม่พอ
ขาดรถไฟฟ้า 500 สาย
รัฐชุดนี้เปลี่ยนเป็น F18 ก็ได้ครับ
แล้วแต่รัฐท่าน

ต้องถามว่ามันไหลมาหลัง กย 06 เพราะตอนนั้นปฏิวัติ เลยไม่มีเวลาไปสู้ค่าเงินหรือเปล่าครับ ??????

เพราะตอนนั้น คมช ก็ยังไม่ได้ทำอะไรเลย สรุปตอนนั้น เหมือนสูญญากาศ

แต่เงินบาทไหล .....

หรือว่า .... ปฏิวัติ เลยไม่ได้สู้ค่าเงินต่อครับ พักไปชั่วคราว ???

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:17 pm
โดย matrix
ภาคการส่งออกยังไม่หดตัวเพียงชั่วข้ามปีหรอกครับ
ตลาดหุ้นเกือบทั่วโลกเค้าเปิดแชมเปญฉลอง New high record กันแล้ว
โดยเฉพาะประเทศทางแถบเอเซีย

ผมคาดว่าตลาดหุ้นไทยจะได้รับอานิสงส์ภายในปี้นี้ไม่เกินปีหน้า
อย่างช้าก็ 2010 ครับ

หลังจากนั้นตัวใครตัวมันครับ

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:18 pm
โดย คัดท้าย
Jeng เขียน:เอางี้ไม่ต้องคิดมาก ผมขอเงินรัฐบาล 5 แสนล้านบาท

แล้วผมไปซื้อน้ำมันล่วงหน้ากับบริษัทยักใหญ่ระดับโลก ให้มีหน้าที่ส่งมอบให้ผม ตามสัญญาไปเรื่อยๆ ในระยะเวลา 5 ปี

และผมขออีก 5 แสนล้าน ไปซื้อ รถไฟฟ้า ล่วงหน้า ซื้อล่วงหน้านะ และทำสัญญาว่าจ่ายเป็น ปีๆ ตามที่รถไฟฟ้าสร้างเสร็จ ในระยะเวลา 5 ปี

สมมุตินะ คือเงินมันเหลืออะ

ก็เลยรีบไปซื้อ

ค่าเงินบาทจะเป็นไง ถ้ารู้ ว่า อีก 5 ปี นี้ จะมีการซื้อดอลล่า จำนวน 1 ล้านๆ บาท

แล้วก็รีบ หาที่สร้างรถไฟฟ้า เพราะซื้อมาแล้ว ต้องรีบสร้างให้เสร็จ ในระยะเวลา 5 ปี

สมมุติคร๊าบ

บางเรื่องผมก็ไม่เข้าใจเหมือนกันครับพี่

คิดเล่นๆนะ อยากให้บาทอ่อน ก็พิมพ์แบงก์เพิ่มดิ เดี๋ยวก็อ่อนแล้ว หรือว่ากลัวเงินเฟ้อหว่า 55555 :lovl: :lovl: :lovl:

หรือว่าพิมพ์เงิน แล้วไปซื้อทองได้มั้ย ธปท พิมพ์เงิน แล้วเอาไปซื้อทอง ไม่แจกออกมาในระบบ ????

ผมฝันเอา มันทำได้ทั้งนั้นครับ แต่ความจริงไม่รู้นะ :lovl: :lovl: :lovl:

ผล------- มาตรการหมาจนตรอก

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ม.ค. 18, 2007 10:23 pm
โดย Boring Stock Lover
เดี๋ยวเงินบาทก็อ่อนเองครับ

ปีนี้รัฐจัดงบประมาณขาดดุล โดยสมมติ GDP ที่ 4.5 ตอนนี้องค์กรอื่นๆเริ่มประเมิณว่าน่าจะต่ำสี่ ถ้าเกิดต่ำสี่จริงงบรัฐก็จะขาดดุลมากกว่าที่ตั้งใจไว้

ปีนี้น่าจะซื้อทั้งรถไฟฟ้า เครื่องบิน Airbus ที่รอรับ แล้วส่งออกก็วางเป้าแค่ 12% ค่าเงินแข็งขึ้นถ้ากระทบส่งออก ก็อาจทำให้ดุลการค้าเป็นลบ