จากการปรับกลุ่มธุรกิจปิโตรเคมีที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ประเภท Low tech (ไม่ซับซ้อน)
ทำให้ กลุ่มธุรกิจ Low tech แต่ Asset Size จะใหญ่มากขึ้น และใหญ่กว่า High Tech ขึ้นไปอีก
ซึ่งผมก็ทราบมาว่า Atc ก็มีการวางแผนที่จะมีการควบรวมกิจการกันเหมือนกัน กับกลุ่มเครือของ ปตท. ครับ
2 เส้นทางเดิน ของ Low Tech และ High Tech ด้านปิโตรเคมีของไทย ที่จะไปคว้าดาวข้างหน้า ผลการดำเนินงานในอนาคตจะเป็นอย่างไร จึงเป็นเรื่องน่าติดตามนะครับว่า ยักษ์ใหญ่ปิโตรเคมีของไทย จะไปแข่งกับยักษ์สากลนานาชาติได้หรือไม่
แต่ที่แน่ ๆ คือ Size ของธุรกิจที่ใหญ่ขึ้นเป็นระดับ แสนล้านบาทขึ้นไป น่าจะจูงใจให้การลงทุนของกองทุนและต่างชาติ สนใจลงทุนมากขึ้นครับ
หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน
-
- Verified User
- โพสต์: 1141
- ผู้ติดตาม: 0
หุ้นคู่แฝดต่างคนต่างเดิน
โพสต์ที่ 32
และแล้ว Low Tech ก็ประกาศผลงานแล้วครับ แถมระบุแผนงานในอนาคตเพื่อใช้ในการติดตามความคืบหน้าในการลงทุนต่อจากนี้ เพื่อรักษาความสามารถการแข่งขัน ขยายวงจรวัฏจักรไปยัง downstream ให้มากขึ้น การเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ เพื่อทำให้ผลประกอบการสม่ำเสมอมากขึ้นครับ
ผลงานกำไรไตรมาสละ 4000 ล้านบาทขึ้นไป 3 ไตรมาสติดต่อกันแล้วครับ ตอนนี้กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 11 บาทกว่า ๆ ครับ
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 3 ปี 2549
1. บทสรุปผู้บริหาร
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการฉบับนี้ จัดทำขึ้นเสมือนควบบริษัทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เพื่อประโยชน์ใน
การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน
ไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 4,628 ล้านบาทหรือ 4.09 บาทต่อหุ้น
เพิ่มขึ้น 911 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,717 ล้านบาทหรือ 3.29 บาทต่อ
หุ้น โดยสรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯและบริษัทย่อยได้ดังนี้
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-ก.ย. เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2548 ปี 2549 เพิ่มขึ้น/(ลดลดง) ปี 2549 เทียบกับ ม.ค.-ก.ย.2548
รายได้จากการขาย 16,142 16,886 744 50,944 10,740
EBITDA 5,335 6,340 1,005 17,933 4,667
กำไรสุทธิ 3,717 4,628 911 12,949 3,680
กำไรต่อหุ้น (บาท) 3.29 4.09 0.81 11.45 3.25
กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ เป็นผลจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ โดยราคาเอทิลีนใน
ตลาด Spot เฉลี่ยในภูมิภาคนี้อยู่ที่ 1,304 เหรียญสหรัฐต่อตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน
ราคาโพรพิลีนในตลาด Spot เฉลี่ยในภูมิภาคนี้อยู่ที่ 1,254 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 ขณะที่ราคาวัตถุดิบ
อ้างอิงแนฟทา (MOPS) เพิ่มขึ้นเป็น 591 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ส่งผลให้ส่วนต่างของราคาเอทิลีนใน
ตลาด Spot เทียบกับราคาวัตถุดิบอ้างอิงแนฟทา (MOPS) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 713 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 406 เหรียญต่อตัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุดิบหลักของบริษัทเป็นก๊าซซึ่ง
มีราคาผันผวนน้อยกว่าราคาแนฟทาที่แปรผันตามราคาน้ำมันดิบ ดังนั้นต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทจึงปรับตัวขึ้นน้อยกว่า
ราคาแนฟทาที่ปรับเพิ่มขึ้น
ด้านปริมาณผลิตโอเลฟินส์ในไตรมาสนี้ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากหน่วยผลิตโพรพิลีนโรงโอเลฟินส์ I1
หยุดผลิตเพื่อบำรุงรักษาเป็นเวลา 21 วัน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงโอเลฟินส์ และโรง HDPE ในไตรมาสนี้
อยู่ที่ร้อยละ 101 และร้อยละ 94 ตามลำดับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 104 และร้อยละ 96 ตามลำดับ
สำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 12,949 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากปริมาณขายและราคาขายผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น โดยมีรายได้จากการขาย 50,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 27 และมี EBITDA เท่ากับ 17,933 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35
เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ และก่อให้เกิดการเติบโตและความมั่นคงของอัตรากำไรในอนาคต
ตามแผนกลยุทธ์หลักของบริษัท บริษัทได้ดำเนินโครงการลงทุนหลายโครงการ ทั้งนี้ความก้าวหน้าโครงการที่อยู่ระหว่าง
ก่อสร้างและการลงทุน สรุปได้ดังนี้
โครงการ, รายละเอียดโครงการ, ความก้าวหน้า, กำหนดแล้วเสร็จ
1. การรักษาความสามารถในการแข่งขัน
1.1 โครงการขยายกำลังการผลิตโรงโอเลฟินส์ I4-1,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนและโพรพิลีนจำนวน 130,000 ตันและ 120,000 ตันต่อปีตามลำดับ,
ความก้าวหน้า: โพรพิลีน 60,000 ตันได้ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อกลางปี 2548,
กำหนดแล้วเสร็จ: กำหนดแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ปี 2550
1.2 โครงการขยายกำลังการผลิตโรงโอเลฟินส์ I4-2,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนและโพรพิลีนจำนวน 100,000 ตันและ 50,000 ตันต่อปีตามลำดับ,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 2 ปี 2551
บริษัทฯมีแผนการหยุดการเดินเครื่องโรงงาน I4-1 เพื่อการขยายกำลังการผลิตเป็นเวลาประมาณ 72 วันในช่วงปลายเดือน
มกราคม ? เมษายน 2550 และหยุดการเดินเครื่องโรงงาน I4-2 เป็นเวลาประมาณ 45 วันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ?
มีนาคม 2550 เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ตามการ Warranty ภายใต้สัญญาก่อสร้างโรงงาน
โครงการ, รายละเอียดโครงการ, ความก้าวหน้า, กำหนดแล้วเสร็จ
2. การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจปลายน้ำ (Downstream Business) และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อกระจายความเสี่ยง
2.1 โครงการอีเทนแครกเกอร์ ภายใต้ บจ. พีทีที โพลีเอทิลีน (PTTPE) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100,
รายละเอียดโครงการ: โครงการอีเทนแครกเกอร์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือโรงงานผลิตเอทีลีนกำลังการผลิต 1,000,000
ตันต่อปี โดยใช้ก๊าซอีเทน ประมาณ 1,344,000 ตันจาก ปตท. เป็นวัตถุดิบหลัก รวมถึงโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE
และ LLDPE ขนาด 300,000 ตันต่อปีและ 400,000 ตันต่อปี ตามลำดับ,
ความก้าวหน้า: แต่งตั้งผู้รับเหมา EPC Cracker แล้วและอยู่ระหว่างคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับโรงงานเม็ดพลาสติก,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2552
2.2 โครงการผลิต Ethylene Vinyl Acetate (EVA),
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี โดยใช้เอทีลีนจากโครงการอีเทนแครกเกอร์เป็นวัตถุดิบ,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2552
2.3 โครงการขยายกำลังการผลิต MEG ภายใต้ บจ. ทีโอซีไกลคอล (TOCGC) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโรงงาน EO/EG I ขึ้นอีก 95,000 ตันต่อปี,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 1 ปี 2551
2.4 โครงการผลิต Ethoxylates ภายใต้บจ. ไทยอีทอกซีเลท (?TEX?) ซึ่งบริษัทถือหุ้นร้อยละ 50,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตแชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำซักล้าง ต่างๆ,
ความก้าวหน้า: อยู่ในขั้นการทดสอบเดินเครื่องผลิต ตามแผนงาน,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2549
2.5 โครงการผลิต Ethanolamines ภายใต้ บจ. ไทยเอทานอลเอมีน (?TEA?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตครีมนวดผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม
เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมยา,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างจัดทำ Basic Engineering,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 1 ปี 2551 จากเดิมไตรมาส 1 ปี 2550
2.6 โครงการผลิต Choline Chloride TCC ภายใต้ บจ. ไทยโคลีนคลอไรด์ (?TCC?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 ,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปีเป็นสารอาหารที่จำเป็นใช้ผสมกับอาหารเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างเจรจากับ Licensor,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 1 ปี 2552 จากเดิมไตรมาส 1 ปี 2550
2.7 โครงการผลิต Methyl Ester / Fatty Alcohol ภายใต้ บจ. ไทยโอลีโอเคมี (?TOL?),
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิตรวม 331,000 ตันต่อปี Methyl Ester ใช้เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพในน้ำมันดีเซล
และ Fatty Alcohol ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสำหรับอุตสาหกรรม Oleochemicals ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล โดย
มี By product คือ Glycerin ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมยา,
ความก้าวหน้า: Methyl Ester อยู่ระหว่างก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2550
2.8 โครงการร่วมทุนผลิต Phenol ภายใต้ บจ. พีทีที ฟีนอล (?PPCL?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 30,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี เป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติก
วิศวกรรมที่มีการใช้งานแพร่หลาย เช่น แผ่น CD ชิ้นส่วนรถยนต์ และคอมพิวเตอร์,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างการก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 3 ปี 2551
2.9 โครงการร่วมทุนผลิตสาธารณูปโภค ภายใต้บจ. พีทีที ยูทิลิตี้ (?PTTUT?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยบละ 40,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำและน้ำใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม,
ความก้าวหน้า: โครงการระยะที่ 1 และ 2 ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อ ก.ค.2549 และระยะที่ 3 อยู่ระหว่างก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ระยะที่ 3 เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2550
2.10 โครงการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชุดที่ 6 (Gas Turbine Generator: GTG-E),
รายละเอียดโครงการ: เพื่อติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 35 เมกกะวัตต์ และ Waste Heat Boiler (WHB) ขนาด
กําลังผลิตไอน้ำ 70 ตันต่อชั่วโมง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าโดยรวมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสนองความ
ต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้น,
ความก้าวหน้า: ระยะที่ 1 ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อปลายเดือน ส.ค. 2549,
กำหนดแล้วเสร็จ: โครงการจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2549
2. ผลการดำเนินงาน
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3
(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2548 ปี 2549 ผลต่าง % เปลี่ยนแปลง
รายได้จากการขายรวม 16,142 16,886 744 5%
ต้นทุนวัตถุดิบ 9,981 9,610 (371) -4%
Gross Margin 6,161 7,276 1,114 18%
ค่าใช้จ่ายในการผลิต 1,202 1,230 28 2%
รายได้อื่น ๆ 868 686 (182) -21%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 493 392 (101) -20%
EBITDA 5,335 6,340 1,005 19%
ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดบัญชี 865 954 89 10%
EBIT 4,469 5,386 917 21%
ค่าใช้จ่ายด้านการเงิน 350 248 (102) -29%
กำไร/(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน 28 157 130 471%
ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 55 68 13 23%
ขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (80) (99) (20) 25%
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 405 636 231 57%
กำไรสุทธิ 3,717 4,628 911 24%
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาทต่อหุ้น) 3.29 4.09 0.80 24%
ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ มีรายได้จากการขายเท่ากับ 16,886 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 744 ล้านบาทหรือ
ร้อยละ 5 จากราคาขายผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญคิดเป็นร้อยละ 25 ขณะที่ปริมาณขายลดลงคิดเป็นร้อยละ 10
เนื่องจากบริษัทฯ เพิ่มสำรองสินค้าคงคลังเพื่อเตรียมหยุดซ่อมบำรุงในไตรมาส 1 ปี 2550 และรอส่งออกในไตรมาส 4 ปี
2549 ส่วนต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 9,610 ล้านบาทลดลง 371 ล้านบาทหรือร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการเพิ่ม
สำรองสินค้าคงคลัง อีกทั้งปริมาณการใช้วัตถุดิบจะลดลง แม้ว่าราคาวัตถุดิบของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 22
บริษัทฯ มีกำไรจากส่วนต่างระหว่างมูลค่าผลิตภัณฑ์และต้นทุนวัตถุดิบ (Gross Margin) เท่ากับ 7,276 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,114 ล้านบาทหรือร้อยละ 18 เนื่องจากส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่อุปสงค์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบที่ส่งผลให้ราคา
ผลิตภัณฑ์เอทิลีนและโพลีเอทิลีน (PE) ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวสูงขึ้นแต่น้อยกว่าการปรับขึ้น
ของเอทิลีน และโพลีเอทิลีน
EBITDA เท่ากับ 6,340 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,005 ล้านบาทหรือร้อยละ 19 และมีกำไรสุทธิ 4,628
ล้านบาทเพิ่มขึ้น 911 ล้านบาทหรือร้อยละ 24 เนื่องจากส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตเท่ากับ 1,230 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 28 ล้านบาทหรือร้อยละ 2 เป็นผลจากการเริ่มดำเนินการผลิต
เชิงพาณิชย์ของ บริษัท ทีโอซีไกลคอล จำกัด (?TOCGC?) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2549 ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและ
บริหารในไตรมาสนี้ เท่ากับ 392 ล้านบาทลดลง 101 ล้านบาทหรือร้อยละ 20 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วง
เดียวกันของปีก่อนมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดเพื่อรองรับการขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ และค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา
ทางการเงินและที่ปรึกษาโครงการ
ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงินเท่ากับ 248 ล้านบาทลดลง 102 ล้านบาทหรือร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มีจำนวนเท่ากับ 350 ล้านบาท เนื่องจากในปีก่อนมีค่าธรรมเนียมจากการออกหุ้นกู้และค่าธรรมเนียมจัดหาเงินกู้เป็น
สำคัญ
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 157 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130 ล้านบาทหรือร้อยละ 471 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีค่า
เท่ากับ 28 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทที่ใช้แปลงมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นสกุลเงิน
เหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาสนี้เทียบกับ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549
ภาษีเงินได้นิติบุคคลไตรมาสนี้ เท่ากับ 636 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 231 ล้านบาท มีสาเหตุหลักมาจาก
ยอดขาดทุนสะสมยกมาเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีถูกใช้หมดในไตรมาส 3 ปี 2548 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังได้สิทธิพิเศษทาง
ภาษีตามการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทำให้บริษัทฯ เสียภาษี (Effective Tax Rate) ใน
อัตราประมาณร้อยละ 13 ในไตรมาส 3 ปี 2549
3. การขายผลิตภัณฑ์
ในไตรมาสนี้ ปริมาณขายเอทิลีนและโพรพิลีน เท่ากับ 222,191 ตันและ 86,399 ตันตามลำดับ ลดลงร้อยละ 9 และร้อยละ
15 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณขายเอทิลีนและโพรพิลีนอยู่ที่ 243,271 ตันและ 101,138 ตัน
ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณขายเม็ดพลาสติก HDPE เท่ากับ 56,255 ตันลดลง 5,896 ตันหรือร้อยละ 9
4. ประสิทธิภาพการผลิต
ในไตรมาสนี้ ปริมาณผลิตเอทิลีน เท่ากับ 294,006 ตันใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปริมาณผลิตโพรพิลีน
เท่ากับ 92,046 ตันลดลง 10,105 ตันหรือร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากหยุดการผลิตเพื่อซ่อม
บำรุงตามแผนงาน จากกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 380,750 ตันต่อไตรมาส คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 101
ขณะที่ปริมาณผลิต HDPE เท่ากับ 61,450 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6 โดยมีกำลังการผลิต 62,500 ตันต่อไตรมาสคิด
เป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 94
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3
ปี 2548 ปี 2549
โรงโอเลฟินส์
อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) 104% 101%
อัตราการผลิตโอเลฟินส์ต่อวัตถุดิบ (Olefins Yield) 65% 66%
โรง HDPE
อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) 105% 98%
อัตราการผลิต HDPE ต่อวัตถุดิบ (HDPE Yield) 96% 94%
หมายเหตุ:
(1) อัตราการใช้กำลังการผลิต คำนวณโดยปริมาณการผลิตจริงหารด้วยกำลังการผลิต (Nameplate Capacity)
(2) ไตรมาส 3 ปี 2549 หน่วยผลิตโพรพิลีนโรงโอเลฟินส์ I1 หยุดผลิตเพื่อบำรุงรักษาตามแผนงานเป็นเวลา 21 วัน
5. สถานะทางการเงิน
5.1 สินทรัพย์
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 88,654 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 ปี2549 จำนวน
3,358 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 2,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 11 ในส่วนของเงินสดและ
รายการเทียบเท่าเงินสดและสินค้าคงเหลือเป็นสำคัญ ขณะที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้นจำนวน 1,057 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 2 มาจากการเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ และเงินลงทุน รวมทั้งสิ้น 1,119 ล้านบาท
5.2 หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 30,917 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 จำนวน 1,444
ล้านบาทหรือร้อยละ 5 จากการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลค้างจ่ายและเจ้าหนี้การค้าเป็นสำคัญ สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นรวม
ทั้งสิ้น 57,737 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 จำนวน 1,913 ล้านบาท จากผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่
กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร เท่ากับ 22,921 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,105 ล้านบาท หรือร้อยละ 10
5.3 อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
ไตรมาส 2 ไตรมาส 3
ปี 2549 ปี 2549
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 2.01 1.89
อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม (%) 33.45 36.08
อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อรายได้รวม (%) 23.42 26.34
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (%) 18.97 19.06
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (%) 29.57 29.79
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.33 0.29
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA 0.41 0.29
หมายเหตุ :
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน หาร หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม = EBITDA หาร รายได้รวม (ไม่รวมกำไร/(ขาดทุน) จาก
(ไตรมาส) อัตราแลกเปลี่ยนและส่วนได้เสียจากการลงทุนในบริษัท
ย่อย)
อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อรายได้รวม = กำไรสุทธิ หาร รายได้รวม (ไม่รวมกำไร/ (ขาดทุน) จาก
(ไตรมาส) อัตราแลกเปลี่ยนและส่วนได้เสียจากการลงทุนในบริษัท
ย่อย)
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ หาร สินทรัพย์รวมเฉลี่ย (ย้อนหลัง 4 ไตรมาส)
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิ หาร ส่วนของผู้ถือหุ้นรวมเฉลี่ย
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม หาร ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหักเงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุนชั่วคราว หาร EBITDA
ผลงานกำไรไตรมาสละ 4000 ล้านบาทขึ้นไป 3 ไตรมาสติดต่อกันแล้วครับ ตอนนี้กำไรต่อหุ้นอยู่ที่ 11 บาทกว่า ๆ ครับ
บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการ
ผลการดำเนินงานประจำไตรมาส 3 ปี 2549
1. บทสรุปผู้บริหาร
คำอธิบายและการวิเคราะห์ของฝ่ายจัดการฉบับนี้ จัดทำขึ้นเสมือนควบบริษัทตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2548 เพื่อประโยชน์ใน
การวิเคราะห์เปรียบเทียบผลการดำเนินงาน
ไตรมาส 3 ปี 2549 บริษัท ปตท.เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 4,628 ล้านบาทหรือ 4.09 บาทต่อหุ้น
เพิ่มขึ้น 911 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 24 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ 3,717 ล้านบาทหรือ 3.29 บาทต่อ
หุ้น โดยสรุปผลการดำเนินงานของบริษัทฯและบริษัทย่อยได้ดังนี้
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3 เปลี่ยนแปลง ม.ค.-ก.ย. เพิ่มขึ้น/(ลดลง)
(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2548 ปี 2549 เพิ่มขึ้น/(ลดลดง) ปี 2549 เทียบกับ ม.ค.-ก.ย.2548
รายได้จากการขาย 16,142 16,886 744 50,944 10,740
EBITDA 5,335 6,340 1,005 17,933 4,667
กำไรสุทธิ 3,717 4,628 911 12,949 3,680
กำไรต่อหุ้น (บาท) 3.29 4.09 0.81 11.45 3.25
กำไรสุทธิที่เพิ่มขึ้นในไตรมาสนี้ เป็นผลจากส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ โดยราคาเอทิลีนใน
ตลาด Spot เฉลี่ยในภูมิภาคนี้อยู่ที่ 1,304 เหรียญสหรัฐต่อตันเพิ่มขึ้นร้อยละ 43 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วน
ราคาโพรพิลีนในตลาด Spot เฉลี่ยในภูมิภาคนี้อยู่ที่ 1,254 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 36 ขณะที่ราคาวัตถุดิบ
อ้างอิงแนฟทา (MOPS) เพิ่มขึ้นเป็น 591 เหรียญสหรัฐต่อตัน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 17 ส่งผลให้ส่วนต่างของราคาเอทิลีนใน
ตลาด Spot เทียบกับราคาวัตถุดิบอ้างอิงแนฟทา (MOPS) ในไตรมาสนี้อยู่ที่ 713 เหรียญสหรัฐต่อตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 76
เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 406 เหรียญต่อตัน อย่างไรก็ตาม เนื่องจากวัตถุดิบหลักของบริษัทเป็นก๊าซซึ่ง
มีราคาผันผวนน้อยกว่าราคาแนฟทาที่แปรผันตามราคาน้ำมันดิบ ดังนั้นต้นทุนวัตถุดิบของบริษัทจึงปรับตัวขึ้นน้อยกว่า
ราคาแนฟทาที่ปรับเพิ่มขึ้น
ด้านปริมาณผลิตโอเลฟินส์ในไตรมาสนี้ น้อยกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากหน่วยผลิตโพรพิลีนโรงโอเลฟินส์ I1
หยุดผลิตเพื่อบำรุงรักษาเป็นเวลา 21 วัน โดยอัตราการใช้กำลังการผลิตของโรงโอเลฟินส์ และโรง HDPE ในไตรมาสนี้
อยู่ที่ร้อยละ 101 และร้อยละ 94 ตามลำดับ ลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 104 และร้อยละ 96 ตามลำดับ
สำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2549 บริษัทและบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิ 12,949 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 40 จากช่วงเดียวกัน
ของปีก่อน เนื่องจากปริมาณขายและราคาขายผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น โดยมีรายได้จากการขาย 50,944 ล้านบาท เพิ่มขึ้น
ร้อยละ 27 และมี EBITDA เท่ากับ 17,933 ล้านบาท เพิ่มขึ้นร้อยละ 35
เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ และก่อให้เกิดการเติบโตและความมั่นคงของอัตรากำไรในอนาคต
ตามแผนกลยุทธ์หลักของบริษัท บริษัทได้ดำเนินโครงการลงทุนหลายโครงการ ทั้งนี้ความก้าวหน้าโครงการที่อยู่ระหว่าง
ก่อสร้างและการลงทุน สรุปได้ดังนี้
โครงการ, รายละเอียดโครงการ, ความก้าวหน้า, กำหนดแล้วเสร็จ
1. การรักษาความสามารถในการแข่งขัน
1.1 โครงการขยายกำลังการผลิตโรงโอเลฟินส์ I4-1,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนและโพรพิลีนจำนวน 130,000 ตันและ 120,000 ตันต่อปีตามลำดับ,
ความก้าวหน้า: โพรพิลีน 60,000 ตันได้ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อกลางปี 2548,
กำหนดแล้วเสร็จ: กำหนดแล้วเสร็จในไตรมาส 1 ปี 2550
1.2 โครงการขยายกำลังการผลิตโรงโอเลฟินส์ I4-2,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตเอทิลีนและโพรพิลีนจำนวน 100,000 ตันและ 50,000 ตันต่อปีตามลำดับ,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 2 ปี 2551
บริษัทฯมีแผนการหยุดการเดินเครื่องโรงงาน I4-1 เพื่อการขยายกำลังการผลิตเป็นเวลาประมาณ 72 วันในช่วงปลายเดือน
มกราคม ? เมษายน 2550 และหยุดการเดินเครื่องโรงงาน I4-2 เป็นเวลาประมาณ 45 วันในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ?
มีนาคม 2550 เพื่อตรวจสอบอุปกรณ์ตามการ Warranty ภายใต้สัญญาก่อสร้างโรงงาน
โครงการ, รายละเอียดโครงการ, ความก้าวหน้า, กำหนดแล้วเสร็จ
2. การขยายธุรกิจสู่ธุรกิจปลายน้ำ (Downstream Business) และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องเพื่อกระจายความเสี่ยง
2.1 โครงการอีเทนแครกเกอร์ ภายใต้ บจ. พีทีที โพลีเอทิลีน (PTTPE) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100,
รายละเอียดโครงการ: โครงการอีเทนแครกเกอร์ ประกอบด้วย 3 ส่วน คือโรงงานผลิตเอทีลีนกำลังการผลิต 1,000,000
ตันต่อปี โดยใช้ก๊าซอีเทน ประมาณ 1,344,000 ตันจาก ปตท. เป็นวัตถุดิบหลัก รวมถึงโรงงานผลิตเม็ดพลาสติก LDPE
และ LLDPE ขนาด 300,000 ตันต่อปีและ 400,000 ตันต่อปี ตามลำดับ,
ความก้าวหน้า: แต่งตั้งผู้รับเหมา EPC Cracker แล้วและอยู่ระหว่างคัดเลือกผู้รับเหมาสำหรับโรงงานเม็ดพลาสติก,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2552
2.2 โครงการผลิต Ethylene Vinyl Acetate (EVA),
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี โดยใช้เอทีลีนจากโครงการอีเทนแครกเกอร์เป็นวัตถุดิบ,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2552
2.3 โครงการขยายกำลังการผลิต MEG ภายใต้ บจ. ทีโอซีไกลคอล (TOCGC) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโรงงาน EO/EG I ขึ้นอีก 95,000 ตันต่อปี,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างการคัดเลือกผู้รับเหมาก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 1 ปี 2551
2.4 โครงการผลิต Ethoxylates ภายใต้บจ. ไทยอีทอกซีเลท (?TEX?) ซึ่งบริษัทถือหุ้นร้อยละ 50,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี ซึ่งเป็นวัตถุดิบในการผลิตแชมพู น้ำยาล้างจาน น้ำซักล้าง ต่างๆ,
ความก้าวหน้า: อยู่ในขั้นการทดสอบเดินเครื่องผลิต ตามแผนงาน,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2549
2.5 โครงการผลิต Ethanolamines ภายใต้ บจ. ไทยเอทานอลเอมีน (?TEA?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 50,000 ตันต่อปี ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตครีมนวดผม น้ำยาปรับผ้านุ่ม
เครื่องสำอาง อุตสาหกรรมยา,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างจัดทำ Basic Engineering,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 1 ปี 2551 จากเดิมไตรมาส 1 ปี 2550
2.6 โครงการผลิต Choline Chloride TCC ภายใต้ บจ. ไทยโคลีนคลอไรด์ (?TCC?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 100 ,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 20,000 ตันต่อปีเป็นสารอาหารที่จำเป็นใช้ผสมกับอาหารเลี้ยงสัตว์ปีกและสุกร,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างเจรจากับ Licensor,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 1 ปี 2552 จากเดิมไตรมาส 1 ปี 2550
2.7 โครงการผลิต Methyl Ester / Fatty Alcohol ภายใต้ บจ. ไทยโอลีโอเคมี (?TOL?),
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิตรวม 331,000 ตันต่อปี Methyl Ester ใช้เป็นสารเพิ่มประสิทธิภาพในน้ำมันดีเซล
และ Fatty Alcohol ซึ่งเป็นสารตั้งต้นสำหรับอุตสาหกรรม Oleochemicals ใช้ผลิตผลิตภัณฑ์เพื่อสุขอนามัยส่วนบุคคล โดย
มี By product คือ Glycerin ซึ่งใช้ในอุตสาหกรรมยา,
ความก้าวหน้า: Methyl Ester อยู่ระหว่างก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 4 ปี 2550
2.8 โครงการร่วมทุนผลิต Phenol ภายใต้ บจ. พีทีที ฟีนอล (?PPCL?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยละ 30,
รายละเอียดโครงการ: กำลังการผลิต 200,000 ตันต่อปี เป็นวัตถุดิบของโรงงานผลิตโพลีคาร์บอเนต ซึ่งเป็นพลาสติก
วิศวกรรมที่มีการใช้งานแพร่หลาย เช่น แผ่น CD ชิ้นส่วนรถยนต์ และคอมพิวเตอร์,
ความก้าวหน้า: อยู่ระหว่างการก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ไตรมาส 3 ปี 2551
2.9 โครงการร่วมทุนผลิตสาธารณูปโภค ภายใต้บจ. พีทีที ยูทิลิตี้ (?PTTUT?) ซึ่งบริษัทฯ ถือหุ้นร้อยบละ 40,
รายละเอียดโครงการ: เพื่อผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ไอน้ำและน้ำใช้ในกระบวนการผลิตของโรงงานอุตสาหกรรม,
ความก้าวหน้า: โครงการระยะที่ 1 และ 2 ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์เมื่อ ก.ค.2549 และระยะที่ 3 อยู่ระหว่างก่อสร้าง,
กำหนดแล้วเสร็จ: ระยะที่ 3 เริ่มดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ในไตรมาส 3 ปี 2550
2.10 โครงการติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชุดที่ 6 (Gas Turbine Generator: GTG-E),
รายละเอียดโครงการ: เพื่อติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาด 35 เมกกะวัตต์ และ Waste Heat Boiler (WHB) ขนาด
กําลังผลิตไอน้ำ 70 ตันต่อชั่วโมง เพื่อเพิ่มเสถียรภาพของระบบไฟฟ้าโดยรวมให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและสนองความ
ต้องการของลูกค้าที่มีเพิ่มขึ้น,
ความก้าวหน้า: ระยะที่ 1 ดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์แล้วเมื่อปลายเดือน ส.ค. 2549,
กำหนดแล้วเสร็จ: โครงการจะเสร็จสมบูรณ์ภายในปี 2549
2. ผลการดำเนินงาน
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3
(หน่วย : ล้านบาท) ปี 2548 ปี 2549 ผลต่าง % เปลี่ยนแปลง
รายได้จากการขายรวม 16,142 16,886 744 5%
ต้นทุนวัตถุดิบ 9,981 9,610 (371) -4%
Gross Margin 6,161 7,276 1,114 18%
ค่าใช้จ่ายในการผลิต 1,202 1,230 28 2%
รายได้อื่น ๆ 868 686 (182) -21%
ค่าใช้จ่ายในการขายและบริหาร 493 392 (101) -20%
EBITDA 5,335 6,340 1,005 19%
ค่าเสื่อมราคาและรายการตัดบัญชี 865 954 89 10%
EBIT 4,469 5,386 917 21%
ค่าใช้จ่ายด้านการเงิน 350 248 (102) -29%
กำไร/(ขาดทุน)จากอัตราแลกเปลี่ยน 28 157 130 471%
ส่วนแบ่งกำไร(ขาดทุน)จากเงินลงทุนตามวิธีส่วนได้เสีย 55 68 13 23%
ขาดทุนสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นส่วนน้อย (80) (99) (20) 25%
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 405 636 231 57%
กำไรสุทธิ 3,717 4,628 911 24%
กำไรต่อหุ้นขั้นพื้นฐาน (บาทต่อหุ้น) 3.29 4.09 0.80 24%
ในไตรมาสนี้ บริษัทฯ มีรายได้จากการขายเท่ากับ 16,886 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 744 ล้านบาทหรือ
ร้อยละ 5 จากราคาขายผลิตภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้นเป็นสำคัญคิดเป็นร้อยละ 25 ขณะที่ปริมาณขายลดลงคิดเป็นร้อยละ 10
เนื่องจากบริษัทฯ เพิ่มสำรองสินค้าคงคลังเพื่อเตรียมหยุดซ่อมบำรุงในไตรมาส 1 ปี 2550 และรอส่งออกในไตรมาส 4 ปี
2549 ส่วนต้นทุนวัตถุดิบเท่ากับ 9,610 ล้านบาทลดลง 371 ล้านบาทหรือร้อยละ 4 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนจากการเพิ่ม
สำรองสินค้าคงคลัง อีกทั้งปริมาณการใช้วัตถุดิบจะลดลง แม้ว่าราคาวัตถุดิบของบริษัทฯ เพิ่มขึ้นเฉลี่ยร้อยละ 22
บริษัทฯ มีกำไรจากส่วนต่างระหว่างมูลค่าผลิตภัณฑ์และต้นทุนวัตถุดิบ (Gross Margin) เท่ากับ 7,276 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก
ช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,114 ล้านบาทหรือร้อยละ 18 เนื่องจากส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้น
ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่อุปสงค์ยังคงมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และการปรับตัวขึ้นของราคาน้ำมันดิบที่ส่งผลให้ราคา
ผลิตภัณฑ์เอทิลีนและโพลีเอทิลีน (PE) ปรับตัวสูงขึ้น ในขณะที่ราคาวัตถุดิบมีการปรับตัวสูงขึ้นแต่น้อยกว่าการปรับขึ้น
ของเอทิลีน และโพลีเอทิลีน
EBITDA เท่ากับ 6,340 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 1,005 ล้านบาทหรือร้อยละ 19 และมีกำไรสุทธิ 4,628
ล้านบาทเพิ่มขึ้น 911 ล้านบาทหรือร้อยละ 24 เนื่องจากส่วนต่างของราคาผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบปรับตัวสูงขึ้นเป็นสำคัญ
ขณะที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตเท่ากับ 1,230 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 28 ล้านบาทหรือร้อยละ 2 เป็นผลจากการเริ่มดำเนินการผลิต
เชิงพาณิชย์ของ บริษัท ทีโอซีไกลคอล จำกัด (?TOCGC?) เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2549 ส่วนค่าใช้จ่ายในการขายและ
บริหารในไตรมาสนี้ เท่ากับ 392 ล้านบาทลดลง 101 ล้านบาทหรือร้อยละ 20 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากในช่วง
เดียวกันของปีก่อนมีค่าใช้จ่ายทางการตลาดเพื่อรองรับการขยายการลงทุนในโครงการต่างๆ และค่าธรรมเนียมที่ปรึกษา
ทางการเงินและที่ปรึกษาโครงการ
ดอกเบี้ยจ่ายและค่าใช้จ่ายทางการเงินเท่ากับ 248 ล้านบาทลดลง 102 ล้านบาทหรือร้อยละ 29 จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
ที่มีจำนวนเท่ากับ 350 ล้านบาท เนื่องจากในปีก่อนมีค่าธรรมเนียมจากการออกหุ้นกู้และค่าธรรมเนียมจัดหาเงินกู้เป็น
สำคัญ
กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนเท่ากับ 157 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 130 ล้านบาทหรือร้อยละ 471 จากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งมีค่า
เท่ากับ 28 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากการแข็งค่าขึ้นของเงินบาทที่ใช้แปลงมูลค่าสินทรัพย์และหนี้สินที่เป็นสกุลเงิน
เหรียญสหรัฐ ณ สิ้นไตรมาสนี้เทียบกับ สิ้นไตรมาส 2 ปี 2549
ภาษีเงินได้นิติบุคคลไตรมาสนี้ เท่ากับ 636 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 231 ล้านบาท มีสาเหตุหลักมาจาก
ยอดขาดทุนสะสมยกมาเพื่อใช้ลดหย่อนภาษีถูกใช้หมดในไตรมาส 3 ปี 2548 อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ ยังได้สิทธิพิเศษทาง
ภาษีตามการส่งเสริมการลงทุนของสำนักงานส่งเสริมการลงทุน (BOI) ทำให้บริษัทฯ เสียภาษี (Effective Tax Rate) ใน
อัตราประมาณร้อยละ 13 ในไตรมาส 3 ปี 2549
3. การขายผลิตภัณฑ์
ในไตรมาสนี้ ปริมาณขายเอทิลีนและโพรพิลีน เท่ากับ 222,191 ตันและ 86,399 ตันตามลำดับ ลดลงร้อยละ 9 และร้อยละ
15 ตามลำดับเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนที่มีปริมาณขายเอทิลีนและโพรพิลีนอยู่ที่ 243,271 ตันและ 101,138 ตัน
ตามลำดับ ขณะที่ปริมาณขายเม็ดพลาสติก HDPE เท่ากับ 56,255 ตันลดลง 5,896 ตันหรือร้อยละ 9
4. ประสิทธิภาพการผลิต
ในไตรมาสนี้ ปริมาณผลิตเอทิลีน เท่ากับ 294,006 ตันใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนปริมาณผลิตโพรพิลีน
เท่ากับ 92,046 ตันลดลง 10,105 ตันหรือร้อยละ 10 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนเนื่องจากหยุดการผลิตเพื่อซ่อม
บำรุงตามแผนงาน จากกำลังการผลิตโอเลฟินส์ 380,750 ตันต่อไตรมาส คิดเป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 101
ขณะที่ปริมาณผลิต HDPE เท่ากับ 61,450 ตัน ลดลงจากปีก่อนร้อยละ 6 โดยมีกำลังการผลิต 62,500 ตันต่อไตรมาสคิด
เป็นอัตราการใช้กำลังการผลิตร้อยละ 94
ไตรมาส 3 ไตรมาส 3
ปี 2548 ปี 2549
โรงโอเลฟินส์
อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) 104% 101%
อัตราการผลิตโอเลฟินส์ต่อวัตถุดิบ (Olefins Yield) 65% 66%
โรง HDPE
อัตราการใช้กำลังการผลิต (Capacity Utilization) 105% 98%
อัตราการผลิต HDPE ต่อวัตถุดิบ (HDPE Yield) 96% 94%
หมายเหตุ:
(1) อัตราการใช้กำลังการผลิต คำนวณโดยปริมาณการผลิตจริงหารด้วยกำลังการผลิต (Nameplate Capacity)
(2) ไตรมาส 3 ปี 2549 หน่วยผลิตโพรพิลีนโรงโอเลฟินส์ I1 หยุดผลิตเพื่อบำรุงรักษาตามแผนงานเป็นเวลา 21 วัน
5. สถานะทางการเงิน
5.1 สินทรัพย์
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีสินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 88,654 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 ปี2549 จำนวน
3,358 ล้านบาท จากการเพิ่มขึ้นของสินทรัพย์หมุนเวียนจำนวน 2,300 ล้านบาท หรือร้อยละ 11 ในส่วนของเงินสดและ
รายการเทียบเท่าเงินสดและสินค้าคงเหลือเป็นสำคัญ ขณะที่สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนเพิ่มขึ้นจำนวน 1,057 ล้านบาท หรือร้อย
ละ 2 มาจากการเพิ่มขึ้นของที่ดิน อาคารและอุปกรณ์สุทธิ และเงินลงทุน รวมทั้งสิ้น 1,119 ล้านบาท
5.2 หนี้สิน และ ส่วนของผู้ถือหุ้น
ณ วันที่ 30 กันยายน 2549 บริษัทฯ มีหนี้สินรวมทั้งสิ้น 30,917 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 จำนวน 1,444
ล้านบาทหรือร้อยละ 5 จากการเพิ่มขึ้นของเงินปันผลค้างจ่ายและเจ้าหนี้การค้าเป็นสำคัญ สำหรับส่วนของผู้ถือหุ้นรวม
ทั้งสิ้น 57,737 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากสิ้นไตรมาส 2 ปี 2549 จำนวน 1,913 ล้านบาท จากผลการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น ขณะที่
กำไรสะสมที่ยังไม่จัดสรร เท่ากับ 22,921 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,105 ล้านบาท หรือร้อยละ 10
5.3 อัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญ
ไตรมาส 2 ไตรมาส 3
ปี 2549 ปี 2549
อัตราส่วนสภาพคล่อง (เท่า) 2.01 1.89
อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม (%) 33.45 36.08
อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อรายได้รวม (%) 23.42 26.34
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ (%) 18.97 19.06
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (%) 29.57 29.79
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น (เท่า) 0.33 0.29
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA 0.41 0.29
หมายเหตุ :
อัตราส่วนสภาพคล่อง = สินทรัพย์หมุนเวียน หาร หนี้สินหมุนเวียน
อัตราส่วน EBITDA ต่อรายได้รวม = EBITDA หาร รายได้รวม (ไม่รวมกำไร/(ขาดทุน) จาก
(ไตรมาส) อัตราแลกเปลี่ยนและส่วนได้เสียจากการลงทุนในบริษัท
ย่อย)
อัตราส่วนกำไรสุทธิต่อรายได้รวม = กำไรสุทธิ หาร รายได้รวม (ไม่รวมกำไร/ (ขาดทุน) จาก
(ไตรมาส) อัตราแลกเปลี่ยนและส่วนได้เสียจากการลงทุนในบริษัท
ย่อย)
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์ = กำไรสุทธิ หาร สินทรัพย์รวมเฉลี่ย (ย้อนหลัง 4 ไตรมาส)
อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = กำไรสุทธิ หาร ส่วนของผู้ถือหุ้นรวมเฉลี่ย
อัตราส่วนหนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยต่อส่วนของผู้ถือหุ้น = หนี้สินรวม หาร ส่วนของผู้ถือหุ้น
อัตราส่วนหนี้สินสุทธิต่อ EBITDA = หนี้สินที่มีภาระดอกเบี้ยหักเงินสดและรายการ
เทียบเท่าเงินสดและเงินลงทุนชั่วคราว หาร EBITDA