หน้า 8 จากทั้งหมด 14

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 23, 2009 11:33 am
โดย chaitorn
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413340581
วอนใช้กองทุนขั้นต่ำ100%

ชี้เกณฑ์150%หนักเกินไป

ประกันถามหาความชอบธรรมคปภ. เกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำ 150% เหมาะสมหรือไม่เหตุพ.ร.บ.กำหนด บริษัทมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 100% เท่า นั้นควรยึดตามกฎหมาย ชี้หลายค่ายต่ำกว่า 150% จวก 150% สูงกว่าเพื่อน บ้านสิงคโปร์ ล้ำหน้ากว่าใช้แค่ 120%

แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า ผู้บริหารบริษัทประกันภัย ได้พูดคุยกันถึงแนวทางตรวจสอบและกำกับฐานะการเงินบริษัทประกันภัยแนวใหม่ (Early Intervention) หรือการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นำมาใช้ควบคุมฐานะการเงินบริษัทประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกอง ทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 150% ตลอดเวลาประกอบธุรกิจ (หรือเท่ากับ 15% ของเบี้ยรับสุทธิหรือไม่น้อยกว่า 45 ล้านบาท) หากบริษัทใดต่ำกว่าเกณฑ์นี้คปภ.จะใช้มาตรการแทรกแซง ทันทีเหมาะสมหรือไม่

เพราะตามพ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้อง ดำรงตามกฎหมายไม่ต่ำกว่า 100% หรือเท่ากับ 10% ของเบี้ยรับสุทธิในปีที่ผ่านมาหรือไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท

150% ไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย ขณะที่เกณฑ์ใหม่ว่าด้วยการดำรงเงินกอง ทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ตามกฎหมายปี 2551 กำหนดให้เริ่มใช้ปี 2554 ดังนั้นถ้ายึดตามกฎหมาย ในตอนนี้ควรยึดเกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำ 100%

แหล่งข่าวกล่าวว่า การใช้เกณฑ์ 150% ทำให้จำนวนบริษัทที่มีเงินกอง ทุนต่ำกว่าเกณฑ์ใหม่มีมากกว่าเดิม นอก จากผู้บริหารและกรรมการจะได้รับหนังสือ เตือนจากคปภ.แล้วยังเจอบทลงโทษ จากมาตรการแทรกแซงของคปภ.ด้วย ซึ่ง หากไม่เร่งแก้ไขหาเงินมาเพิ่มทุน เพื่อให้เงินกองทุนครบ 150% แล้วจะถูกแทรกแซงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแก้ไขได้

สำหรับมาตรการแทรกแซงของคปภ. หากบริษัทมีเงินกองทุนต่ำกว่า 150% แต่ไม่ต่ำกว่า 110% ประกอบด้วยห้ามบริษัทประกันภัยลงทุนในอสังหาริม ทรัพย์, ห้ามลงทุนในเงินให้กู้ยืมยกเว้นเพื่อเป็นสวัสดิการพนักงาน, ห้ามลงทุนในให้เช่าทรัพย์สินลีสซิ่งและการให้เช่าซื้อรถและห้ามนำสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันเพิ่มเติม

ส่วนบริษัทประกันภัยที่มีเงินกอง ทุนต่ำกว่า 110% แต่ไม่ต่ำกว่า 100% จะถูกแทรกแซงเพิ่มเติมอีก อาทิ ไม่อนุญาต ให้ลงทุนในเงินกองทุนที่ไม่นับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องอื่นๆ, ไม่อนุญาตให้นำสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันเพิ่มเติม, ไม่อนุญาตให้เปิดสำนักงานสาขาและขยายพื้นที่สำนักงานเพิ่มเติม, ไม่อนุมัติให้ออกผลิตภัณฑ์บางประเภท อาทิ ประเภทความรับผิดตามกฎหมาย (Liability) หรือประเภทเครดิต

แหล่งข่าวกล่าวว่า เกณฑ์เงินกอง ทุนขั้นต่ำ 150% ซึ่งเชื่อว่าคปภ.จะนำมาใช้คู่กับ RBC ในปี 2554 นั้นก็แรงเกิน ไปสำหรับธุรกิจประกันภัยประเทศไทยถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ใช้เกณฑ์ 120% เท่านั้นต่ำกว่าประเทศไทย

ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานคปภ. กล่าวถึงแนวทางการกำกับของคปภ.ภายใต้เกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำ 150% ว่า หาก พบว่าบริษัทประกันภัยใดมีเงินกองทุน ต่ำกว่าเกณฑ์นี้ คปภ.จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้บริหารรวมถึงกรรมการบริษัทซึ่งต้องลงนามรับทราบด้วย โดยทางผู้บริหารต้องทำแผนฟื้นฟูฐานะการเงินบอกวิธีการแก้ไขพร้อมทั้งกำหนดเวลาที่จะแก้ไข ซึ่งคปภ.จะให้เวลาประมาณ 3 เดือน หากถึงกำหนดยังไม่สามารถแก้ไขได้จะเชิญผู้บริหารมาพบพูดคุยแบบเปิดอกปัญหาอยู่ตรงไหน ทำไมจึงแก้ไขไม่ได้พร้อมเร่งรัดให้รีบแก้ไขซึ่งจะมี กรอบเวลาให้อีกเช่นกัน ปกติอีก 3 เดือนควบคู่ไปกับการแทรกแซงนับตั้งแต่พบ ว่าบริษัทเงินกองทุนต่ำกว่า 150% โดยเกณฑ์ 150% และแนวทางการแทรกแซงได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการคปภ. (บอร์ด) แล้ว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับสิงคโปร์ที่ใช้เกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำแค่ 120% ต่ำกว่าประเทศไทยเนื่องจากสิงคโปร์ใช้ RBC แล้ว ซึ่งหากเทียบเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยไทยกับสิงคโปร์ ของไทยต่ำกว่าสิงคโปร์มาก ตามหลักเมื่อใช้ RBC เงินกองทุนต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเท่าตัวจาก 100% เป็น 200%

หรือกรณีมาเลเซียก่อนใช้ RBC เงิน กองทุนของบริษัทประกันภัยของเขาหนากว่าของไทยเท่าตัว โดยกฎหมายของมาเลเซียกำหนดต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 20% ของเบี้ยรับสุทธิในปีที่ผ่านมา พอใช้ RBC เงินกองทุนของเขาเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วนของไทยเนื่องจากเงินกองทุนต่ำกว่ามาเลเซียมากจึงเลือกใช้ยาแรง อีก ทั้งเกณฑ์ 150% ที่คปภ.ทดลองใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้หมายความว่าเมื่อใช้ RBC ในปี 2554 จะใช้เกณฑ์นี้อาจจะลดลงมาเหลือ 120% ก็ได้

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 23, 2009 11:37 am
โดย chaitorn
ไทยเศรษฐกิจฯรื้อพอร์ตทุนพันล้าน

http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413340583

ประกันต่อเยอะขึ้น/ล้างลงทุนหุ้นจัดใหม่รับ RBC

ไทยเศรษฐกิจฯ จัดพอร์ตลูกค้ารายใหญ่ทุนประกันหลักพันล้านบาท ลดทุนประกันในส่วน เก็บความไว้เอง (รีเทนชั่น) ส่งประกัน ต่อเยอะขึ้น ลดความเสี่ยงเงินกองทุน เจอ ริสค์ ชาร์จเยอะตามหลัก RBC ปี 53 เริ่มปรับ พร้อมล้างพอร์ตลงทุน หุ้น จัดใหม่หมด ถือเฉพาะหุ้นปันผลดี ตัวไหนผลตอบแทนต่ำกว่าดอกเบี้ยเงินฝากขายทิ้งหมด ยอมรับปี 52 เบี้ยหลุดเป้า 1,000 ล้านแน่ ถ้าได้ 800 ล้านพอใจแล้ว

นายพุทธิพงษ์ ด่านบุญสุต ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเศรษฐกิจประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า บริษัทเตรียมปรับงานประกันภัยใหม่ๆ โดยเฉพาะทุนประกันภัยสูงๆ ที่จะเข้ามาในอนาคตอันใกล้นี้รองรับ เกณฑ์ดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ตามกฎหมาย ใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปี 2554 นี้ โดยจะลดวงเงินประกันภัยในส่วนที่เก็บไว้เอง (Reten tion) จัดประกันภัยต่อไปยังบริษัทประกัน ภัยต่อ (รีอินชัวเรอส์) มากขึ้นกว่าเดิมเพื่อ ลดทอนความเสี่ยงเพราะหากเก็บความเสี่ยงไว้เองมากเหมือนที่ผ่านมาจะเจอริคส์ ชาร์จ (risk charged) ซึ่งต้องเพิ่มเงินกองทุน เงินสำรองตามเกณฑ์ RBC
สมมติ ทุนประกันภัยเป็นหลัก 1,000 ล้านบาทเดิมเคยเก็บความเสี่ยงไว้เอง 100 ล้านบาท อีก 900 ล้านบาทประกันภัยต่อ ออกไปอาจจะลดวงเงินที่เก็บไว้เองเหลือแค่ 50 ล้านบาท อีก 950 ล้านบาทที่เหลือ ประกันภัยต่อออกไปกระจายความเสี่ยงไป ให้บริษัทประกันภัยต่อเพราะถ้ายังเก็บไว้เอง 100 ล้านบาทจะเจอริสค์ ชาร์จมากขึ้น

ก่อนหน้านี้เราจะเก็บความเสี่ยงไว้เองค่อนข้างเยอะเพราะไม่มีริคส์ ชาร์จ แต่เมื่อใช้ RBC เมื่อทุนประกันภัยเยอะ เบี้ยเยอะจะเจอริสค์ ชาร์จเยอะตามไปด้วย จะกินทุนเราเองมากขึ้น ดังนั้นต้องรับงาน ให้น้อยลง เก็บความเสี่ยงให้น้อยลง กระจายความเสี่ยงหรือประกันภัยต่อให้มากขึ้น เราจะเก็บความเสี่ยงไว้เองให้เท่ากับเงินกองทุนตามที่กฎหมายในขณะนั้นกำหนด เราต้องประมาณการตัวเอง ลดตอนนี้เพื่อ เพิ่มในอนาคต

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ตามแผนจะเริ่มจัดทุนประกันภัยในส่วนที่เก็บเองในปีหน้าเพื่อให้ทันกับการเริ่มใช้ RBC ซึ่ง การปรับลดวงเงินในส่วนนี้อาจจะกระทบเบี้ยรับรวมของบริษัทลดลงตามไปด้วยแต่ ไม่มากนัก ต้องดูภาพรวมทั้งอุตสาหกรรม ซึ่งจำเป็นต้องปรับสมดุลระหว่างเงินกอง ทุนและ RBC ให้เป็นระบบเดียวกันก่อนหลังจากนั้นจึงค่อยวางแผนขยายงานต่อไปเพราะตามหลัก RBC ถ้าขยายงานมาก ต้องมีเงินกองทุนมาก

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า แม้บริษัทจะประกันภัยต่อมากขึ้นแต่ไม่เป็นปัญหากับบริษัทประกันภัยต่อที่เป็นคู่สัญญากัน อยู่ สามารถรองรับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นได้เพราะคุ้นเคยกับ RBC อยู่แล้ว รู้ว่าบริษัทประกันภัยในประเทศไทยต้องมีความเสี่ยง เพิ่มขึ้นเมื่อใช้ RBC ดังนั้นบริษัทประกันภัยต่อยินดีแบกรับความเสี่ยงแทน

นอกจากนี้ บริษัทยังจะจัดพอร์ตลงทุนใหม่โดยเฉพาะการลงทุนในหุ้นซึ่งจัดเป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงต้องเจอริสค์ ชาร์จมากกว่าการลงทุนประเภทอื่น ซึ่งปัจจุบันบริษัทลงทุนในหุ้นค่อนข้างมาก ประมาณ 20% ของพอร์ตลงทุนทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 500 ล้านบาท จะเน้นหุ้นที่มีเงินปันผลสูง ไม่เน้นถือยาวเหมือนที่ผ่านมา หากหุ้นตัวใดให้ผลตอบแทนต่ำกว่า ดอกเบี้ยเงินฝากธนาคารในขณะนั้นจะขาย ออกไปเพื่อลดความเสี่ยง ไม่ให้มีปัญหากับเงินกองทุน ซึ่งการจัดพอร์ตลงทุนในหุ้นอาจจะกระทบกับรายรับจากการลง ทุนแต่ไม่มาก โดยการลงทุนหลักยังคงเป็น เงินฝากธนาคาร พันธบัตรรัฐบาล

ยิ่งกว่านั้น จะปรับในส่วนอื่นๆ ด้วย อาทิ การบริหารจัดการต่างๆ ในองค์กร ให้บุคลากรมีความรู้ ความเข้าใจ RBC เพื่อ ลดความเสี่ยงในการบริหารจัดการลดต้น ทุนในการผลิต

นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า สิ้นปีนี้คาดว่าเบี้ยประกันภัยคงไม่ถึงเป้าหมาย 1,000 ล้านบาท หากทำได้ประมาณ 800 ล้านบาทก็ดีแล้วเทียบกับปี 2551 ที่มีเบี้ยรับรวม 669.15 ล้านบาทเพราะภาวะตลาดยากลำบาก โดย 6 เดือนแรกมีเบี้ยรับรวมเพียง 222 ล้านบาท ลดลงถึง 43.4% เนื่องจากเบี้ยประกันภัยรถยนต์ทั้งภาคสมัครใจและภาคบังคับลดลงเป็นผลจากการแข่งขันรุนแรง แหล่งงานมีคุณภาพน้อยลง ค่าสินไหมทดแทนสูงขึ้นทั้งจากสินไหมที่เกิดขึ้นและการตั้งงบประมาณการสำรองค่าสินไหมทดแทนตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัยของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)

ส่วนผลขาดทุนสุทธิครึ่งปีแรกที่เพิ่ม ขึ้นเป็น 63.16 ล้านบาทเทียบกับช่วงเดียว กันของปีที่ผ่านมาที่ขาดทุน 3.11 ล้านบาท นายพุทธิพงษ์ กล่าวว่า ไม่น่าเป็นห่วงเพราะ ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นเป็นการขาดทุนทางเทคนิคตามมูลค่าอสังหาริมทรัพย์คือที่ดิน ที่ถือครองอยู่หากขายออกได้เมื่อไหร่จะกลับสู่ภาวะปกติ ผลขาดทุนจะลดลงอีกมาก ซึ่งขณะนี้กำลังหาผู้ซื้ออยู่

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 23, 2009 10:55 pm
โดย miracle
chaitorn เขียน:http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413340581
วอนใช้กองทุนขั้นต่ำ100%

ชี้เกณฑ์150%หนักเกินไป

ประกันถามหาความชอบธรรมคปภ. เกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำ 150% เหมาะสมหรือไม่เหตุพ.ร.บ.กำหนด บริษัทมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 100% เท่า นั้นควรยึดตามกฎหมาย ชี้หลายค่ายต่ำกว่า 150% จวก 150% สูงกว่าเพื่อน บ้านสิงคโปร์ ล้ำหน้ากว่าใช้แค่ 120%

แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า ผู้บริหารบริษัทประกันภัย ได้พูดคุยกันถึงแนวทางตรวจสอบและกำกับฐานะการเงินบริษัทประกันภัยแนวใหม่ (Early Intervention) หรือการเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) นำมาใช้ควบคุมฐานะการเงินบริษัทประกันภัยตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552 ที่ผ่านมา โดยกำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกอง ทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมาย ไม่ต่ำกว่า 150% ตลอดเวลาประกอบธุรกิจ (หรือเท่ากับ 15% ของเบี้ยรับสุทธิหรือไม่น้อยกว่า 45 ล้านบาท) หากบริษัทใดต่ำกว่าเกณฑ์นี้คปภ.จะใช้มาตรการแทรกแซง ทันทีเหมาะสมหรือไม่

เพราะตามพ.ร.บ.ประกันวินาศภัย พ.ศ.2535 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในปัจจุบันกำหนดให้บริษัทประกันภัยต้องมีอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้อง ดำรงตามกฎหมายไม่ต่ำกว่า 100% หรือเท่ากับ 10% ของเบี้ยรับสุทธิในปีที่ผ่านมาหรือไม่น้อยกว่า 30 ล้านบาท

150% ไม่ได้เขียนไว้ในกฎหมาย ขณะที่เกณฑ์ใหม่ว่าด้วยการดำรงเงินกอง ทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ตามกฎหมายปี 2551 กำหนดให้เริ่มใช้ปี 2554 ดังนั้นถ้ายึดตามกฎหมาย ในตอนนี้ควรยึดเกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำ 100%

แหล่งข่าวกล่าวว่า การใช้เกณฑ์ 150% ทำให้จำนวนบริษัทที่มีเงินกอง ทุนต่ำกว่าเกณฑ์ใหม่มีมากกว่าเดิม นอก จากผู้บริหารและกรรมการจะได้รับหนังสือ เตือนจากคปภ.แล้วยังเจอบทลงโทษ จากมาตรการแทรกแซงของคปภ.ด้วย ซึ่ง หากไม่เร่งแก้ไขหาเงินมาเพิ่มทุน เพื่อให้เงินกองทุนครบ 150% แล้วจะถูกแทรกแซงไปเรื่อยๆ จนกว่าจะแก้ไขได้

สำหรับมาตรการแทรกแซงของคปภ. หากบริษัทมีเงินกองทุนต่ำกว่า 150% แต่ไม่ต่ำกว่า 110% ประกอบด้วยห้ามบริษัทประกันภัยลงทุนในอสังหาริม ทรัพย์, ห้ามลงทุนในเงินให้กู้ยืมยกเว้นเพื่อเป็นสวัสดิการพนักงาน, ห้ามลงทุนในให้เช่าทรัพย์สินลีสซิ่งและการให้เช่าซื้อรถและห้ามนำสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันเพิ่มเติม

ส่วนบริษัทประกันภัยที่มีเงินกอง ทุนต่ำกว่า 110% แต่ไม่ต่ำกว่า 100% จะถูกแทรกแซงเพิ่มเติมอีก อาทิ ไม่อนุญาต ให้ลงทุนในเงินกองทุนที่ไม่นับเป็นสินทรัพย์สภาพคล่องอื่นๆ, ไม่อนุญาตให้นำสินทรัพย์ลงทุนไปก่อภาระผูกพันเพิ่มเติม, ไม่อนุญาตให้เปิดสำนักงานสาขาและขยายพื้นที่สำนักงานเพิ่มเติม, ไม่อนุมัติให้ออกผลิตภัณฑ์บางประเภท อาทิ ประเภทความรับผิดตามกฎหมาย (Liability) หรือประเภทเครดิต

แหล่งข่าวกล่าวว่า เกณฑ์เงินกอง ทุนขั้นต่ำ 150% ซึ่งเชื่อว่าคปภ.จะนำมาใช้คู่กับ RBC ในปี 2554 นั้นก็แรงเกิน ไปสำหรับธุรกิจประกันภัยประเทศไทยถ้าเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสิงคโปร์ใช้เกณฑ์ 120% เท่านั้นต่ำกว่าประเทศไทย

ด้านแหล่งข่าวจากสำนักงานคปภ. กล่าวถึงแนวทางการกำกับของคปภ.ภายใต้เกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำ 150% ว่า หาก พบว่าบริษัทประกันภัยใดมีเงินกองทุน ต่ำกว่าเกณฑ์นี้ คปภ.จะมีหนังสือแจ้งไปยังผู้บริหารรวมถึงกรรมการบริษัทซึ่งต้องลงนามรับทราบด้วย โดยทางผู้บริหารต้องทำแผนฟื้นฟูฐานะการเงินบอกวิธีการแก้ไขพร้อมทั้งกำหนดเวลาที่จะแก้ไข ซึ่งคปภ.จะให้เวลาประมาณ 3 เดือน หากถึงกำหนดยังไม่สามารถแก้ไขได้จะเชิญผู้บริหารมาพบพูดคุยแบบเปิดอกปัญหาอยู่ตรงไหน ทำไมจึงแก้ไขไม่ได้พร้อมเร่งรัดให้รีบแก้ไขซึ่งจะมี กรอบเวลาให้อีกเช่นกัน ปกติอีก 3 เดือนควบคู่ไปกับการแทรกแซงนับตั้งแต่พบ ว่าบริษัทเงินกองทุนต่ำกว่า 150% โดยเกณฑ์ 150% และแนวทางการแทรกแซงได้รับอนุญาตจากคณะกรรมการคปภ. (บอร์ด) แล้ว

แหล่งข่าวกล่าวอีกว่า สำหรับสิงคโปร์ที่ใช้เกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำแค่ 120% ต่ำกว่าประเทศไทยเนื่องจากสิงคโปร์ใช้ RBC แล้ว ซึ่งหากเทียบเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยไทยกับสิงคโปร์ ของไทยต่ำกว่าสิงคโปร์มาก ตามหลักเมื่อใช้ RBC เงินกองทุนต้องเพิ่มขึ้นอย่างน้อยเท่าตัวจาก 100% เป็น 200%

หรือกรณีมาเลเซียก่อนใช้ RBC เงิน กองทุนของบริษัทประกันภัยของเขาหนากว่าของไทยเท่าตัว โดยกฎหมายของมาเลเซียกำหนดต้องมีเงินกองทุนขั้นต่ำ 20% ของเบี้ยรับสุทธิในปีที่ผ่านมา พอใช้ RBC เงินกองทุนของเขาเพิ่มขึ้นอีกเล็กน้อย ส่วนของไทยเนื่องจากเงินกองทุนต่ำกว่ามาเลเซียมากจึงเลือกใช้ยาแรง อีก ทั้งเกณฑ์ 150% ที่คปภ.ทดลองใช้อยู่ในปัจจุบันไม่ได้หมายความว่าเมื่อใช้ RBC ในปี 2554 จะใช้เกณฑ์นี้อาจจะลดลงมาเหลือ 120% ก็ได้
คนเขียนข่าวนี้ อ้างอิงกฏหมายไม่ครบ
มีสองตัวที่เกี่ยวกับประกันวินาศภัยคือ
1. พรบ ประกันวินาศภัย พศ 2535
2. พรบ ประกันวินาศภัย ฉบับที่ 2 พศ 2551 (เป็นตัวแก้ไขเพิ่มเติม ตัวแรก แก้ไขหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงกรมการประกันภัย เป็น คปภ แล้ว)
ทำให้กฏระเบียบต่างๆ ที่ใช้กับ พรบ ประกันวินาศภัย พศ 2535 ปรับเปลี่ยนไปพอควร
:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 24, 2009 11:25 am
โดย chaitorn
ขอบคุณ คุณ Miracle ครับ

ใช่ครับ ปรับเปลี่ยนไปมาก ๆ จริง ๆ เหมือนช่วงที่ธนาคารพาณิชย์นำระบบ Basel II เข้ามา เพราะมีการประเมินความเสี่ยงมากกว่าแต่เดิมมาก

คนเขียนข่าวนี้ อ้างอิงกฏหมายไม่ครบ
มีสองตัวที่เกี่ยวกับประกันวินาศภัยคือ
1. พรบ ประกันวินาศภัย พศ 2535
2. พรบ ประกันวินาศภัย ฉบับที่ 2 พศ 2551 (เป็นตัวแก้ไขเพิ่มเติม ตัวแรก แก้ไขหลังจากมีการเปลี่ยนแปลงกรมการประกันภัย เป็น คปภ แล้ว)
ทำให้กฏระเบียบต่างๆ ที่ใช้กับ พรบ ประกันวินาศภัย พศ 2535 ปรับเปลี่ยนไปพอควร
แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับระบบมีมากก็คือ
1.  การประกันภัยจะต้องเน้นคุณภาพมากขึ้น มากกว่าการตัดราคาเพื่อให้ได้ลูกค้า

2.  ต้องเน้นความมั่นคง คู่กับ ความสามารถในการทำกำไร ไม่ทำให้เกิด Moral Hazard ในระบบ คือ ให้ระบบเป็นตัวคุมการกระทำของบริษัทประกันภัย โดยแยกระหว่าง บริษัทที่มีการบริหารจัดการที่ดี ก็จะเติบโตโดยทำกำไรและมีความมั่นคงควบคู่กันไป

กับ บริษัทที่มีการบริหารจัดการไม่ดี ก็ต้องปรับปรุงระบบการทำงาน นำระบบงานใหม่ ๆ เข้ามาใช้ แทนการใช้ดุลยพินิจตัดราคาในการรับประกัน ขาดทุนไม่ว่า ขอให้ได้ลูกค้าเข้ามาให้มาก เป็นต้น  นำระบบความเสี่ยงมาใช้ แทนที่จะแข่งขันเฉพาะการตัดราคาเท่านั้น ต้องมีมืออาชีพเข้ามาบริหารงานมากขึ้น พวกนี้จะเป็น Cost ที่สูงตามมาด้วย ดังนั้น หากเป็นบริษัทที่มีขนาดเล็กมากเกินไป หากวางระบบงาน และจ้างมืออาชีพเข้ามาบริหารงาน ก็อาจจะไม่เกิด Economy of Scale สุดท้ายก็จะแข่งขันไม่ได้ เอาแค่มีนักคณิตศาสตร์ประกันภัย แค่นี้ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ก็คงต้องเพิ่มขึ้นพอสมควร และยังหาได้ยากอีกด้วยครับ

ทางเลือกของกลุ่มนี้ก็คือ

1.  เน้นตลาดที่ Focus มากขึ้น เป็น Specialize ในงานด้านเฉพาะประกันภัยที่ซับซ้อน ให้เห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน มีขนาดตลาดที่ไม่ใหญ่มาก เพื่อเป็น Barrier ไม่จูงใจให้รายใหญ่ ๆ เข้ามาแข่งขันด้วย เพราะไม่คุ้มกับที่จะแข่งขัน เพราะตลาดไม่ใหญ่มากพอ และเนื่องจากมีขนาดตลาดเล็กที่เหมาะกับบริษัทประกันขนาดเล็กเท่านั้น  จึงสามารถเพิ่ม Margin ได้สูงขึ้น การเติบโตก็เน้นการเติบโตที่สร้างความแตกต่างให้ได้ในตลาดที่เป็น Niche ดังกล่าว เช่น การรับประกันภัยโรงงานอุตสาหกรรมที่มีเทคโนโลยีชั้นสูง ตลาดอุตสาหกรรมที่เป็นความเสี่ยงใหม่ ๆ ที่ต้องใช้นวตกรรมเข้ามาช่วยในการรับประกัน เป็นต้น ต้องใช้คนรับประกันจำนวนน้อยลง ลด ค่าใช้จ่ายบริหารที่ไม่จำเป็นลง แต่อาศัยเทคโนโลยีหรือ Know How มาใช้ นำนวตกรรมการรับประกันแบบใหม่ ๆ มาใช้ให้มากขึ้นในการรับประกัน เพื่อลดต้นทุนที่ไม่จำเป็นลง สร้างตลาดประกันแบบใหม่ ๆ ขึ้น และไม่ควรทำตลาดแบบ Mass เพราะจะสู้รายใหญ่ ๆ ไม่ได้

2.  ต้องมีการควบรวมกิจการให้ใหญ่พอ โดยการคำนวณจุดคุ้มทุนใหม่ ดูปริมาณธุรกิจที่จะทำให้ก่อให้เกิดกำไรในระดับที่เหมาะสม ควบคู่กับการบริหารงานที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น หา Strategic Partner ให้มากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นต่างชาติ ที่สามารถส่งต่อลูกค้ามาบริษัทได้มากในระดับที่ทำกำไรอยู่ได้ เป็นต้น

3.  ต้องขายกิจการให้กับบริษัทใหญ่ ๆ หากดูแล้ว ไม่คุ้มกับที่จะดำเนินการต่อไป

4. ต้องเลิกกิจการต่อไป เพราะในที่สุด กำไรที่ดำเนินการจะไม่เพียงพอต่อการดำเนินกิจการต่อไป เพราะการตั้งสำรองจะเข้มขันขึ้นตามลำดับ ต่อจากนี้ไปจนถึงปี 2554 เพราะอยู่ต่อไป หากกำไรน้อยไป ความสามารถกำไรก็จะไม่พอ ไม่คุ้มกับการดำเนินการต่อไปในอนาคต นักลงทุนก็คงไม่สนใจลงทุนต่อ

แต่หากยังฝืนทนอยู่ต่อไปเพราะถือเป็นทรัพย์สินของตระกูล ของครอบครัวมาช้านาน ขายไม่ได้ ให้คนอื่นมาช่วยบริหารก็ไม่ได้ ไม่ปรับเปลี่ยนระบบการทำงานใหม่ ไม่คิดจะเปลี่ยนแปลงใด ๆ มีคิตว่า เจ๊งไม่เป็นไร จะบริหารงานแบบเดิม ๆ ไม่ปรับเปลี่ยนแปลงตามกฏกติการใหม่สากล ทั้งสิ้น จะขอไปแบบนี้เรื่อย ๆ กำไรก็ช่าง ไม่กำไรก็ช่าง ไม่เป็นไร ขออยู่แบบเดิม ๆ ต่อไป

ในที่สุดเมื่อระบบการควบคุมของ คปภ. นำมาใช้ตามลำดับตามขั้นตอน จากระดับเข้มข้นน้อย เพื่อให้มีการเตรียมตัวล่วงหน้า ไปสู่ในระดับสากลตามกฏเกณฑ์ใหม่ ๆ ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากลเพิ่มมากขึ้น รวมถึงการเปิดตลาดเสรีประกันภัยในอนาคตเกิดขึ้นมา

ก็จะทำให้แข่งขันกับผู้อื่นไม่ได้ สูญเสียตลาดไปเรื่อย ๆ สุดท้าย  ก็จะเกิดการขาดทุนจากการดำเนินงาน จนท้ายสุดจะไม่กัดก่อนเงินกองทุนจนหมดจนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ต้องเพิ่มทุน แต่เพิ่มทุนก็ไม่ได้ เพราะจะไม่มีผู้ลงทุนอื่นอยากมาเพิ่มทุนให้ ก็เหลือแต่ผู้ลงทุนเดิม ซึ่งก็อาจจะไม่เพียงพอ ซึ่งท้ายสุดฐานะการเงินอาจจะทรุดจนทำอะไรก็ไม่คุ้ม และสุดท้าย คปภ. ก็จะต้องเข้ามากำกับเพื่อให้แก้ไขการดำเนินงานเมื่อกองทุนไม่พอ

ซึ่งหากปล่อยไปจนถึงเกิดตอนนั้นในอนาคตแล้ว มูลค่ากิจการจะถูกปรับลดลงมากกว่าตอนช่วงปัจจุบัน ที่ยังมีมูลค่าที่พอจะดำเนินการบนทางเลือก 1 - 3

ให้ดูอุทาหรณ์ เหมือน ที่ธนาคารพาณิชย์ประสบบางแห่ง ที่มีมูลค่าตั้งแต่ 0 บาท จนถึงระดับที่ต่ำมาก ๆ หากไม่เตรียมตัวเสียตั้งแต่วันนี้ครับ

กติกาใหม่แบบนี้หละครับ ที่กดดันให้ต้องมีการเปลี่ยนแปลงในที่สุดครับ ก็เป็นประโยชน์กับผู้ทำประกันภัยที่จะได้รับเงื่อนไขที่ยุติธรรมมากขึ้น และทำให้ได้รับบริการที่ดีมีคุณภาพ แทนที่จะเป็นเหมือนในอดีตที่จ่ายช้าบ้างเพราะสภาพคล่องไม่ดีเพียงพอ ติดหนี้อู่ซ่อมรถจำนวนมาก เป็นต้น

สุดท้ายจะเหลือมืออาชีพมากขึ้นในตลาดครับ ที่เป็นกฏกติกาที่จะเปลี่ยนแปลงไปต่อจากนี้ครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 24, 2009 11:27 am
โดย chaitorn
Trend ที่จะเกิดขึ้นในอุตสาหกรรม รายใหญ่แห่งหนึ่งส่งสัญญาณแล้ว ต้องเน้นคุณภาพงานมากขึ้นครับ

http://www.ryt9.com/s/psum/731753/

BKIทำใจลูกค้าหดหาย หลังเลือกรับประกันรถ แก้ปัญหาการขาดทุน  

หนังสือพิมพ์แนวหน้า สรุปข่าวหุ้น-การเงิน-ประกัน -- พฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2009 06:17:19 น.
นายชัย โสภณพนิช ประธานกรรมการและกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) หรือ BKI เปิดเผยว่า พอร์ทงานด้านประกันภัยรถยนต์ ปีนี้น่าจะเติบโตแค่ 1-2 % เท่านั้น เนื่องจาก 2-3 ปีที่ผ่านมา ต้องควบคุมคุณภาพลูกค้า จึงต้องมีการตัดงานที่ขาดทุนออกไปโดยเฉพาะรถใหม่ป้ายแดงและได้ปรับราคาเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นไปตามนโยบายเน้นงานที่มีกำไร ทำให้ลูกค้าบางส่วนหายไปเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ปี 2551 บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรถยนต์มากเป็นอันดับ 3 ของอุตสาหกรรม แต่ปี 2552หล่นมาอยู่อันดับ 4 อย่างไรก็ตามขณะนี้บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรถยนต์คิดเป็นสัดส่วนประมาณ 40%

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 24, 2009 11:30 am
โดย chaitorn
ทิศทางประกันวินาศภัย ยังมีการเติบโตในช่วงครึ่งหลังที่ดีกว่าครึ่งแรก เนื่องจากเศรษฐกิจตกต่ำสุดในไตรมาส 2 และเริ่มฟื้นตัวในไตรมาส 3 และ ไตรมาส 4 จากภาคการส่งออกที่เริ่มฟื้นมาบ้าง

http://www.ryt9.com/s/psum/731624/

BKIมองประกันภัยโต15% 2เดือนสุดท้ายจะช่วยดันเบี้ย-รถยนต์ยังแผ่ว

หนังสือพิมพ์ข่าวหุ้น สรุปข่าวการเงิน-การคลัง-กองทุนรวม -- พฤหัสบดีที่ 22 ตุลาคม 2009 05:32:26 น.
กรุงเทพประกันภัย(BKI) คาด 2 เดือนสุดท้ายประกันวินาศภัยโต 12-15% เท่ากับปี51 ทั้งปี

เชื่อเศรษฐกิจฟื้น มั่นใจประกันภัยรับอานิสงฆ์เต็มที่ หลังการส่งออกดีขึ้น โรงงานอุตสาหกรรมเพิ่มกำลังการผลิตและสต๊อคของมากขึ้น ยอมรับพอร์ตรถยนต์ยังแผ่ว ทั้งปีคาดโตแค่ 1-2%

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 24, 2009 11:45 am
โดย chaitorn
ผลการทดลองเงินกองทุนที่ยังไม่ประกาศผลในรอบแรก

เห็นได้ชัดว่า หากประกันภัยใด ยังไม่สนใจในเรื่องคุณภาพ ขนาดบริษัทที่มีฐานะการเงินที่เข้มแข็งแล้ว ใน 30 บริษัทแรก ผลยังออกมาเป็นเช่นนี้ครับ

คงเห็นการเปลี่ยนแปลงการดำเนินงานของบริษัทประกันภัย ทั้งคุณภาพการรับงาน การบริหารความเสี่ยงในการตั้งสำรองตามเกณฑ์ใหม่ และการบริหารการลงทุนมากยิ่งขึ้นครับ

http://www.siamturakij.com/home/news/pr ... =413340350

30 วินาศภัยหนูทดลอง RBC กองทุนวูบ

ผงะ! ผลเทสต์ RBC รอบแรก 30 วินาศภัยฐานะการเงินเข้มแข็ง เงินกองทุนลดฮวบจากหลัก 1,000% ตามกฎหมาย เดิมเหลือแค่หลัก 100% เทียบชัดๆ เกณฑ์เดิมเงินกองทุนสูงสุดของ ธุรกิจอยู่ที่ 2,400% พอใช้ RBC เงินกองทุนสูงสุดแค่ 750%

ชี้ค่าตัวแปรฉุดเปอร์เซ็นต์เงินกองทุนลดมากสุดคือการลงทุนในตลาดหุ้น ที่ปรึกษาคปภ. กำหนด ค่าสูงเกินไป ชงคปภ.รื้อกรอบ RBC หั่นค่าตัวแปร-ยืดกรอบเวลา ใช้ไม่งั้นประกันตายสถานเดียว


ภายหลังสำนักงานคณะกรรมการ กำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) สมาคมประกันชีวิตไทยและสมาคมประกันวินาศภัยให้บริษัทประกันภัยทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัยเริ่มเข้าโครงการทดสอบฐานะการเงินตามโมเดลใหม่การดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง (Risk-Based Capita : RBC) ซึ่งเป็นเกณฑ์ดำรงเงินกองทุนใหม่ที่สำนักงานคปภ.จะนำมาใช้กำกับดูแลฐานะการเงินบริษัทประกันภัยตั้งแต่ปี 2554 เป็นต้นไป

จุดประสงค์ของการทดสอบเพื่อให้แต่ละบริษัทเช็ก สุขภาพ ทางการ เงินของตัวเอง หากใช้ RBC เงินกองทุน เพียงพอหรือไม่ ขาดหรือเกินอยู่เท่าไร จะได้วางแผนอนาคตได้ถูก ต้องเพิ่มทุน มากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะบริษัทประกันภัยที่เงินกองทุนหมิ่นเหม่และต้องการจะอยู่ต่อไปในธุรกิจถ้าไม่สามารถเพิ่มทุนได้จะได้เตรียมมองหาผู้ ร่วมทุนรายใหม่แต่เนิ่นๆ หรือถ้าไม่ไหว จะเตรียมขายกิจการทิ้งไป ขณะเดียว กันการเทสต์ยังเป็นการประเมินฐานะการเงินของธุรกิจภาพรวมด้วยว่าเกณฑ์ RBC ที่คปภ.เตรียมนำมาใช้เหมาะกับธุรกิจประกันภัยของไทยหรือไม่

แหล่งข่าวจากสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่า ขณะนี้ผลทดสอบโมเดล RBC ของบริษัทประกันวินาศภัย 30 บริษัทที่สมัครเข้าร่วมทดสอบ

รอบแรกออกมาแล้ว ผลปรากฏว่า ทั้ง 30 บริษัทถือว่าสอบผ่านเกณฑ์เพียงแต่ระดับเงินกองทุนลดลงมากเมื่อเทียบกับเกณฑ์เดิมที่คปภ.กำหนดอัตราส่วนเงินกองทุนต่อเงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมายขั้นต่ำ 150% ซึ่งบริษัทประกันภัยมีเงินกองทุนเป็นหลัก 1,000% แต่พอลองใส่ตัวเลขตามโมเดล RBC เงินกองทุน ลดลงมาเหลือแค่หลัก 100% เท่านั้น ยกตัวอย่างบริษัทประกันภัยที่มีเงิน กองทุนยึดตามเกณฑ์เดิมมากถึง 2,400% สูงสุดใน 30 บริษัท แต่เมื่อวัดตามเกณฑ์ RBC เงินกองทุนลดลงเหลือ 600% หรือบริษัทที่มีเงินกองทุนรองลงมา 1,650% วัดตามเกณฑ์ RBC เงินกองทุนลดลงมาเหลือ 300% ส่วนบริษัทที่มีเงินกองทุน 300% เมื่อวัดตามเกณฑ์ RBC เงินกองทุน ยิ่งแย่ลงไปอีกลดลงต่ำกว่า 150% โดยเงินกองทุนสูงสุดของ 30 บริษัทวัดตามสูตร RBC อยู่ที่ 750%

ผลนี้ทางสำนักงานอัตราเบี้ยประกัน ภัย (IPRB) ซึ่งเป็นหนึ่งในคณะทำงาน RBC ของสมาคมฯนำมารายงานให้คณะกรรม การบริหารสมาคมฯ (บอร์ด) รับทราบเป็น การภายในยังไม่มีการเปิดเผยออกมา ซึ่งเมื่อผลออกมาเป็นแบบนี้ค่อนข้างน่าเป็นห่วงมากเพราะทั้ง 30 บริษัทที่ร่วมเทสต์จัดว่าเป็นบริษัทที่มีฐานะการเงินแข็งแกร่ง มากของธุรกิจ เป็นบริษัทไซส์ใหญ่และกลางแทบจะไม่มีไซส์เล็กเลย แต่พอวัดตาม เกณฑ์ RBC เงินกองทุนแฟบลงไปเยอะมาก นี่ยังไม่รวมผลอีก 16 บริษัทที่สมัครเข้ามาร่วมทดสอบในรอบหลังหากรวมกลุ่มหลังนี้ด้วยซึ่งฐานะการเงินไม่แข็ง แกร่งเท่ากลุ่มแรกอาจจะยิ่งน่าเป็นห่วงมากกว่านี้
แหล่งข่าวกล่าวว่า ผลทดสอบที่ออก มาแสดงว่าสูตรในการคำนวณ RBC หรือ ค่าตัวแปรความเสี่ยง (Risk charges) ต่างๆ ที่นำมาใช้คำนวณเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยตามที่บริษัท ไพรซ์วอเตอร์ เฮ้าส์คูเปอร์ส ซึ่งเป็นที่ปรึกษากรอบ RBC ของคปภ.กำหนดค่ามาสูงเกินไป โดยค่าความเสี่ยงตาม RBC ที่เป็นตัวฉุดเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยให้ลดลงมากที่สุดคือ ค่าความเสี่ยงเกี่ยวกับการลงทุนโดยเฉพาะในตลาดหลักทรัพย์แห่งประ เทศไทยซึ่งเป็นตัวแปรอันดับต้นๆ ที่ทำให้เงินกองทุนเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญ ขณะที่การถือครองอสังหาริมทรัพย์ การตั้งสำรองเบี้ยประกันภัย ค่าสินไหมทดแทนมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเงินกองทุนเช่นกัน

ผลที่ออกมาทางคณะทำงาน RBC ของสมาคมฯจะใช้เป็นแนวทางเสนอกับคปภ.ปรับปรุงกรอบ RBC ดูว่าค่าตัวแปร ตัวไหนบ้างที่สูงเกินไปจะต้องปรับลดลงเพื่อให้เหมาะสมและส่งผลกระทบกับบริษัทประกันภัยน้อยที่สุด หรือค่าตัวแปร บางตัวจำเป็นหรือไม่ที่จะต้องใช้ในปีแรก รวมไปถึงการกำหนดค่าถูกต้องหรือไม่ มีข้อบกพร่องมั๊ย

อย่างการลงทุนในตลาดหลักทรัพย์ ทางที่ปรึกษากำหนดค่ามาค่อนข้างสูงเกิน ไปเพราะใช้ตัวเลขค่อนข้างอนุรักษนิยม จะเสนอให้ปรับลดลงมาอ้างอิงจากตัวเลขของธนาคารแห่งประเทศไทย เป็น ต้น แต่การทบทวนต่างๆ ต้องอยู่บนหลักการบริษัทประกันภัยต้องมีฐานะการเงินแข็งแกร่งด้วย รวมถึงอาจจะต้องขอทอดเวลาการใช้ออกไประยะหนึ่ง อาทิ 3 ปีแรกเริ่มใช้ค่าตัวแปรต่ำสุดไปก่อนหลังจาก ค่อยปรับไปใช้ค่าตัวแปรสูงสุด

แหล่งข่าวกล่าวว่า หลังจากผลทดสอบออกมาทางบอร์ดคงต้องไปหารือกับกับคปภ. เพิ่มเติมอาจจะเสนอให้มีการปรับปรุงเกณฑ์ RBC หากรอบที่เหมาะสม สำหรับธุรกิจประกันภัยของไทยเพื่อให้บริษัทประกันภัยทั้งหมดอยู่ได้อย่างแข็งแรง รวมถึงกำหนดกรอบระยะเวลาการใช้ RBC ซึ่งในวันที่ 9 ตุลาคมนี้ทางคปภ.นัดผู้บริหารสมาคมประกันชีวิตไทย สมาคมประกันวินาศภัยหารือเรื่อง RBC

สำหรับผลทดสอบกลุ่มที่ 2 อีก 16 บริษัทคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จภายใน 2-3 สัปดาห์ข้างหน้านี้ ซึ่งจะมาเป็นข้อมูล ประเมินภาพรวมผลการใช้ RBC

นางกฤตยา ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันภัย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ตามเกณฑ์เดิมบริษัทมีเงินกองทุน สูงกว่าเกณฑ์ขั้นต่ำ 7 เท่าแต่เมื่อวัดตามเกณฑ์ RBC เงินกองทุนลดลงเหลือ 3 เท่า เนื่องจากบริษัทใช้ค่าความเสี่ยงสูงสุด ตาม เกณฑ์ที่กำหนด เมื่อถึงเวลาหากคปภ. ใช้ค่า ความเสี่ยงต่ำกว่านี้เงินกองทุนจะสูงกว่านี้อีก

นางภคนีนาถ ติยะชาติ กรรมการรองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เมือง ไทยประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า คงบอก ได้ยากว่าโดยภาพรวมเป็นอย่างไร เพราะ แต่ละบริษัทที่เข้าร่วมทดสอบต่างก็จะรู้เฉพาะผลการทดสอบของตัวเอง โดยในส่วนของเมืองไทยประกันชีวิต ในยกแรกของการทดสอบยังถือว่าปกติน่าพอใจในทุกตัว แต่ไม่สามารถเปิดเผยผลทดสอบได้ เนื่องจากยังเป็นผลในเบื้องต้นไม่ใช่ผลสรุปทั้งหมด เพราะถือว่ายังไม่สิ้นสุดการทดสอบ ยังต้องมีการปรับแต่งสูตรคำนวณ แต่ละตัว จนกว่าจะถึงขั้นสุดท้าย (Final) ว่าควรจะใช้สูตรใดในที่สุด

การที่แต่ละบริษัทต่างคนต่างทดสอบ ก็จะทำให้ปัญหาแตกต่างกัน บาง บริษัทอาจจะมีข้อสงสัยในเรื่องหนึ่ง อีกบริษัทอาจจะสงสัยในอีกเรื่องหนึ่ง ซึ่งไม่ตรงกัน ดังนั้นจึงบอกได้ยากว่าโดยภาพรวมจะเป็นอย่างไร คงต้องรอทางคปภ. เป็นคนสรุปผลโดยภาพรวม

อย่างไรก็ดี โมเดลการทดสอบของบริษัทประกันชีวิตนั้น เดิมจะวัดผลเฉพาะ ด้านของ Liability แต่ได้มีการปรับใหม่วัดผลใน 2 ด้าน คือ ส่วนของสินทรัพย์ (Asset) และหนี้สิน (Liability) เช่น กรม ธรรม์ที่ขาย โดยจะดูทั้งความเสี่ยงของสินทรัพย์ที่ต้องสำรองไว้ และสินทรัพย์ที่นำไปลงทุน รวมทั้งกรมธรรม์ต่างๆ ว่าบริษัทควรจะมีการสินทรัพย์ทั้งหมดเท่าใด ที่เพียงพอต่อภาระหนี้สิน

นอกจากนี้ ยังมีรายละเอียดของสูตรการคำนวณแต่ละตัวที่มีการปรับเปลี่ยน เช่น Liability เดิมใช้ NPV ของใหม่ใช้ GPV หรือการคำนวณ Asset ให้ใช้ราคาตาม Mark to Market เป็นต้น ซึ่งค่อนข้างมีรายละเอียดมาก

ถือเป็นการเริ่มต้นการทดสอบเท่า นั้น ยังต้องมีการปรับแต่ง และทำความเข้าใจในสูตรแต่ละตัว เพราะแต่ละบริษัทต่างก็มีปัญหาที่ต่างกันไป ซึ่งเป็นหน้าที่ของคปภ.ที่จะทำความเข้าใจกับบริษัทที่ร่วมทดสอบ เพื่อให้ได้โมเดลที่เหมาะสมในที่สุด

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 24, 2009 12:00 pm
โดย chaitorn
ความเสี่ยงของเงินกองทุน คู่ไปกับ  โอกาสของการรับประกันภัยของอุตสากรรมที่ค่อย ๆ เติบโตขึน

พวกเงินกองทุนไม่ถึง ก็คงขยายงานลำบาก อาจต้องลดการขยายธุรกิจลง

อุตสาหกรรมยังมีการเติบโตทางภาวะเศรษฐกิจ

จึงเป็นโอกาสของพวกที่มีทุนประกันภัยสูง ๆ มีการบริหารจัดการที่ดี สามารถขยายงานเชิงคุณภาพให้มีการเติบโตที่สูงขึ้นไปเรื่อย ๆ ครับ

ตอนนี้จึงต้องดูเรื่องความมั่นคงของกองทุนประกอบด้วย มิฉะนั้น หากขยายงานต่อไป มีสิทธิ์อาจต้องเพิ่มทุนตามไปด้วยครับ  :lol:

เบี้ยประกันภัยทะลุ 2 แสนล้าน

   + อันดับข่าวอ่านมากที่สุดนี้
เตือนภัยทุบหุ้นระลอกสอง...
ส่งออกข้าวอาเซียนแข่งเดือด...
ดีดีการบินไทยสั่งรัดเข็มขัด...
ออมสินปลดหนี้ เงินกู้นอกระบบ 2 แสนบาท/ราย...
จับตา'รถเข็น'สุวรรณภูมิ...
หวั่นประกันข้าวพัง3หมื่นล....
กทพ.แฮปปี้ฟันกำไร2พันล้าน...
 


   + ข่าวด่วน ทันเหตุการณ์
...  

  อ่านทั้งหมด >>  



 


> ชีวิตโตลิ่วกวาดกว่า1.4แสนล้าน

> วินาศภัยบวก2%แตะ6หมื่นล้าน

ข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ระบุว่า ในช่วง 7 เดือนแรก 2552 (มกราคม-กรกฎาคม) ธุรกิจประกันภัยทั้งระบบ มีเบี้ยประกันภัยรับตรงทั้งสิ้น 203,560.074 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 11% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ที่มีเบี้ยรับตรงทั้งสิ้น 182,721.777 ล้านบาท

แบ่งเป็นเบี้ยประกันรับตรงจากธุรกิจประกันชีวิต 140,984.436 เติบโตเพิ่มขึ้น 16% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 มีเบี้ยรับตรง 121,239.955 ล้านบาท และเป็นเบี้ยประกันรับตรงจากธุรกิจประกันวินาศภัย 62,575.638 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 2% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 มีเบี้ยรับตรง 61,481.822 ล้านบาท

สำหรับธุรกิจประกันชีวิต เบี้ยรับตรงทั้ง 140,984.436 ล้านบาทนี้ แบ่งเป็นเบี้ยปีแรก (FYP) ทั้งสิ้น 31,771.044 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 24% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2551 ที่มีเบี้ยปีแรก 25,680.187 ล้านบาท เป็นเบี้ยต่ออายุ หรือ เบี้ยต่อไปจำนวน 93,397.872 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 12% เมื่อเทียบกับ 83,668.699 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา และเป็นเบี้ยชำระครั้งเดียว หรือซิงเกิล พรี เมี่ยม (Single Premium) จำนวน 15,815.519 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 33% เมื่อ เทียบกับ 11,891.069 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2551 ที่ผ่านมา

ส่วนธุรกิจประกันวินาศภัย เบี้ยรับตรงทั้ง 62,575.638 ล้านบาทนั้น แบ่งเป็นเบี้ย ประกันอัคคีภัย 4,713.616 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 2% เบี้ยประกันภัยทางทะเลและขนส่ง (มารีน) 2,028.176 ล้านบาท ขยายตัวลดลง 17% เบี้ยประกันภัยรถ 37,203.666 ล้านบาท ขยายตัวลดลง 1% และการประกันภัยเบ็ดเตล็ดมีเบี้ยรับตรง 18,630.180 ล้านบาท ขยายตัวเพิ่มขึ้น 11%

สำหรับการแข่งขันในธุรกิจ ในช่วง 7 เดือนแรกปี 2552 ทั้งธุรกิจประกันชีวิตและ ประกันวินาศภัยปรากฏว่าในอันดับท็อปเทนของตลาดยังคงเป็นบริษัทประกันชีวิตหน้าเดิม โดยในส่วนของประกันชีวิต บริษัทที่ครองส่วนแบ่งตลาดสูงในแง่ของเบี้ยรวมคือ เอไอเอ หรือ บ. อเมริกัน อินเตอร์แนชชั่นแนล แอสชัวรันส์ จก. ยังคงครองส่วนแบ่งตลาดมาก ที่สุด 33.27% ด้วยเบี้ยรับตรงรวมทั้งสิ้น 46,903.491 ล้านบาท รองลงมาอันดับ 2 ยังคงเป็น บ. ไทยประกันชีวิต จก.ครองส่วนแบ่งไป 14.29% ด้วยเบี้ยรับตรงรวม 20,144.038 ล้านบาท เช่นเดียว อันดับ 3 ยังคงเป็น บ. เมืองไทยประกันชีวิต จก. ครอง ส่วนแบ่งไป 8.79% ด้วยเบี้ยรับตรงรวม 12,386.104 ล้านบาท, อันดับ 4 เป็นของบมจ. ไทยพาณิชย์นิวยอร์คไลฟ์ประกันชีวิตที่เบียดแซงขึ้นมาด้วยส่วนแบ่ง 7.87% ด้วยเบี้ยรับตรงรวม 11,097.244 ล้านบาท ทำให้อันดับ 5 เป็นของบมจ.กรุงเทพประกันชีวิต ครองส่วนแบ่งไป 7.81% ด้วยเบี้ยรับตรงรวม 11,016.201 ล้านบาท ตามลำดับ

ส่วนประกันวินาศภัยในช่วง 7 เดือนแรกปี 2552 อันดับ 1 ยังคงเป็น บ. วิริยะประกันภัย จก.ครองส่วนแบ่งสูงสุด 15.75% ด้วยเบี้ยรับตรงรวม 9,856.496 ล้านบาท รองลง มาอันดับ 2 คราวนี้เป็นของบมจ.ทิพยประกันภัย ที่แซงขึ้นจากอันดับ 3 ด้วยส่วนแบ่งตลาด 6.84% เป็นเบี้ยรับตรง 4,279.377 ล้านบาท ทำให้อันดับ 3 เป็นของบมจ. กรุงเทพประกันภัย ครองส่วนแบ่งไป 6.74% ด้วยเบี้ยรับตรงรวม 4,222.510 ล้านบาท, อันดับ 4 ยังเป็นของบมจ.สินมั่นคงประกันภัย ครองส่วนแบ่งไป 4.51% ด้วยเบี้ยรับตรงรวม 2,822.338 ล้านบาท และอันดับ 5 บมจ. เมืองไทยประกันภัย จก. ครองส่วนแบ่งตลาดไป 3.81% ด้วย เบี้ยรับตรงรวม 2,383.952 ล้านบาท ตามลำดับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 24, 2009 10:26 pm
โดย miracle
ขอบคุณพี่ chaitorn
ที่หาข้อมูลมาให้เพิ่มเติมครับ

ตอนนี้ผมมีความสงสัยในส่วน RBC ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารแห่งทุน ว่าเริ่มมีกฏข้อบังคับอย่างไง เพราะ เห็นหลายบริษัทเริ่มปรับ port ในการลงทุน บ้างแล้ว เช่น TSI ที่ออกมาบอกว่า ถ้าได้ผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยก็ขายทิ้ง

แสดงว่า ต้องมีอะไรบ้างอย่างในตัว RBC ที่จำเป็นต้องตั้งสำรองเกี่ยวกับตราสารแห่งทุน ด้วย
จุดนี้มันเพียงแค่ 10% ของเงินทั้งหมดเท่านั้น แต่ถ้าคิดดูแล้ว มูลค่าตราสารแห่งทุนที่บริษัทประกันภัยถือกันอยู่ก็มากโขอยู่เหมือนกันล่ะ

อันนี้เป็นตัวฉุดตลาดการลงทุนในอีกด้านหนึ่ง

แต่อย่างไงก็ตาม ผู้ควบคุมกฏก็เห็นว่ามันมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ ก็ผ่อนคลายว่า ค่อยเป็นค่อยไป เวลาใช้จริงตั้งปี 2554 อีกสองปีล่ะ ก็ปรับกันไปขั้นเป็นตอนกันไป แต่บ้างบริษัทดันออกตัวก่อนแสดงว่า หุ้นที่ลงทุนมีปัญหามากหรือเปล่าหนอ และบริษัทเหล่านั้นมีผู้เชียวชาญด้านการลงทุนจริงหรือเปล่า :)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 24, 2009 10:30 pm
โดย miracle
chaitorn เขียน:ขอบคุณ คุณ Miracle ครับ

ใช่ครับ ปรับเปลี่ยนไปมาก ๆ จริง ๆ เหมือนช่วงที่ธนาคารพาณิชย์นำระบบ Basel II เข้ามา เพราะมีการประเมินความเสี่ยงมากกว่าแต่เดิมมาก

แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับระบบมีมากก็คือ
1.

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 10:55 am
โดย chaitorn
คุณ Miracle
ขอบคุณพี่ chaitorn
ที่หาข้อมูลมาให้เพิ่มเติมครับ

ตอนนี้ผมมีความสงสัยในส่วน RBC ที่เกี่ยวข้องกับการลงทุนในตราสารแห่งทุน ว่าเริ่มมีกฏข้อบังคับอย่างไง เพราะ เห็นหลายบริษัทเริ่มปรับ port ในการลงทุน บ้างแล้ว เช่น TSI ที่ออกมาบอกว่า ถ้าได้ผลตอบแทนน้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยก็ขายทิ้ง

แสดงว่า ต้องมีอะไรบ้างอย่างในตัว RBC ที่จำเป็นต้องตั้งสำรองเกี่ยวกับตราสารแห่งทุน ด้วย
จุดนี้มันเพียงแค่ 10% ของเงินทั้งหมดเท่านั้น แต่ถ้าคิดดูแล้ว มูลค่าตราสารแห่งทุนที่บริษัทประกันภัยถือกันอยู่ก็มากโขอยู่เหมือนกันล่ะ

อันนี้เป็นตัวฉุดตลาดการลงทุนในอีกด้านหนึ่ง

แต่อย่างไงก็ตาม ผู้ควบคุมกฏก็เห็นว่ามันมีปัญหาเรื่องนี้อยู่ ก็ผ่อนคลายว่า ค่อยเป็นค่อยไป เวลาใช้จริงตั้งปี 2554 อีกสองปีล่ะ ก็ปรับกันไปขั้นเป็นตอนกันไป แต่บ้างบริษัทดันออกตัวก่อนแสดงว่า หุ้นที่ลงทุนมีปัญหามากหรือเปล่าหนอ และบริษัทเหล่านั้นมีผู้เชียวชาญด้านการลงทุนจริงหรือเปล่า
ผมมอง 2 ส่วนครับ

ตราสารทุนที่นำไปลงทุน ถือเป็นสินทรัพย์เสี่ยง ที่นำไปหารายได้ คือ เป็นธุรกรรมหนึ่ง เอาค่าเบี้ยประกันภัยที่ระดมได้ ไปหาผลประโยชน์ ทำให้มีความเสี่ยง Market Risk และ Liquidity Risk

กล่าวคือ ความเสี่ยงในเรื่องราคาที่เปลี่ยนแปลงไปจากการลงทุนเริ่มต้น คือ Market Risk

ความเสี่ยงในเรืองสภาพคล่องของเงินลงทุน กล่าวคือ การแปลงหลักทรัพย์เป็นเงินสดได้มากน้อยเพียงใด

Factor นี้จะเป็นปัจจัยหลักในการตั้งสำรองความเสี่ยง

แต่อีก Factor หนึ่งคือ ตราสารทุนที่นำไปลงทุนนั้น เป็นส่วนหนึงของกองทุนสำรองเพื่อไว้เป็นส่วนที่จ่ายค่าเครมประกันภัย

ส่วนนี้ทำให้จะต้องมีการตีราคามูลค่าของตราสารทุนในฐานะที่เป็นเงินกองทุนสำรองดังกล่าว

เมื่อก่อนเราใช้ราคายุติธรรมตามราคาตลาด

แต่ กฏของ RBC ใหม่ จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงด้วย

เช่น หากเป็นเงินสด เราก็สามารถตีราคาเงินกองทุนเท่ากับ 100%

หุ้นกู้ มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น จะตีราคาเท่าใด

หุ้นสามัญ มีความเสี่ยงสูงขึ้นไปอีก จะตีราคาอีกเท่าใด เป็นต้น

หากตีราคาสูง กองทุนที่สำรองก็สูงขึ้นไปด้วย

แต่หากตีราคาตำลง กองทุนสำรองก็จะลดต่ำลงไปด้วย

เท่ากับ ตราสารทุน จะเกิดผลกระทบ 2 ด้านคือ
การตั้งสำรองในส่วนของการไปหาประโยชน์ของเงินลงทุน เราเรียกว่า สินทรัพย์เสี่ยง

และเกิดผลกระทบในการตีราคา Valuation ในส่วนของหลักประกันทุนสำรองด้วย ทำให้เงินทุนสำรองลดลงตามระดับความเสี่ยงของเงินสำรองดังกล่าวครับ

เรียกว่าเจอ 2 ตัว ทั้ง ส่วนที่เป็นสินทรัพย์เสี่ยง และส่วนที่ตีราคาเป็นเงินสำรอง

ดังนั้น พวกที่ Leverage สูง ๆ ที่ไปลงทุนในตราทุนมาก ๆ อาจได้รับผลกระทบตรงนี้

และหากไปปรับเปลี่ยน Port การลงทุนเป็นตราสารที่เสี่ยงน้อยลง เช่น เงินสด ตราสารหนี้พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคงคลัง หรือตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้ที่จัดอันดับสูง ๆ มีความเสี่ยงทีต่ำ เป็นต้น ก็อาจกินเงินสำรองอีกด้วยครับ

จึงเห็นแนวโน้มการปรับ Port ลงทุนตามข่าวที่ปรากฏครับ

คราวนี้ก็อยู่ที่สูตร ว่า จะปรับเปลี่ยน น้ำหนักของเงินกองทุนในตราสารทุนอย่างไร

หากปรับเพิ่มสูงขึ้น ก็จะกระทบน้อยลง

แต่หากคงตามสูตรของที่ปรึกษา ก็จะทำให้เงินกองทุนลดลงมาก ก็จะทำให้พวกที่ลงทุนตราสารทุนที่มีความเสี่ยงสูงมาก ๆ และใช้เป็นส่วนหนึ่งของเงินกองทุน อาจกระทบได้ เพราะเงินกองทุนอาจไม่เพียงพอ บางบริษัทก็ Leverage ในตราสารทุนที่สูงกว่า Book มากกว่า 1 เท่าไปแล้ว บางแห่ง 2 เท่ากว่า ๆ เป็นต้น ทำให้แม้จะกำไรระยะสั้น แต่เงินกองทุนตามไม่ทัน และอาจต้องเพิ่มทุนได้ครับ ต้องระวังตรงนี้ด้วยครับ

และพอเพิ่มทุนไม่ได้ ก็ทำให้ขยายธุรกิจไม่ได้ อาจต้อง down size ธุรกิจลง ก็จะเป็นโอกาสของพวกที่มีเงินกองทุนสูง ๆ เช่น พวกที่มีเงินสด พันธบัตรรัฐบาล ตราสารหนี้เสี่ยงต่ำ ที่ถือเป็นกองทุนสำรองที่ได้รับการประเมินสูงสุด ทำให้มีโอกาสขยายธุรกิจประกันเพิ่มขึ้นครับ

ต้องติดตามในเรื่องนี้กันต่อไปครับว่าจะเป็นอย่างไร

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 11:00 am
โดย chaitorn
และหากไปปรับเปลี่ยน Port การลงทุนเป็นตราสารที่เสี่ยงน้อยลง เช่น เงินสด ตราสารหนี้พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคงคลัง หรือตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้ที่จัดอันดับสูง ๆ มีความเสี่ยงทีต่ำ เป็นต้น ก็อาจกินเงินสำรองอีกด้วยครับ
ขอแก้ไขข้อความครับ เพราะความหมายไม่ตรงครับ

และหากไม่ปรับเปลี่ยน Port การลงทุนเป็นตราสารที่เสี่ยงน้อยลง เช่น เงินสด ตราสารหนี้พันธบัตรรัฐบาล ตั๋วเงินคงคลัง หรือตราสารหนี้ประเภทหุ้นกู้ที่จัดอันดับสูง ๆ มีความเสี่ยงทีต่ำ เป็นต้น ก็อาจกินเงินสำรอง ทำให้เงินสำรองต่ำลง ดังที่มีการ Test กับบริษัทประกันภัย ในช่วงที่ผานมา ตามข่าวที่ปรากฏอีกด้วยครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 11:30 am
โดย chaitorn
สิ่งที่ผมอยากจะสื่อเพิ่มขึ้นก็คือ

การมองหุ้นประกันภัยนั้น เมื่อนำ RBC เข้ามาใช้ในช่วงเริ่มต้นนี้

นอกจากความสำคัญในเรื่องความสามารถในการทำกำไรในปัจจุบัน และในอนาคต แล้ว ต้องดูว่าจะยังยืนต่อไปได้หรือไม่ ตามกฏกติกาใหม่ โดยเฉพาะทุนสำรองประกันภัยที่จะมีความสำคัญเพิ่มขึ้นตามลำดับ เพราะต้องมั่นคงด้วย และกำไรยั่งยืนด้วย

นอกจากนี้ ให้มองไปที่สินทรัพย์ของบริษัทด้วย โดยเฉพาะในส่วนของที่เป็นส่วนของผู้ถือหุ้นซึ่งเป็นส่วนของเงินกองทุนสำรองส่วนใหญ่ ผ่าน Book Value ว่าสินทรัพย์ที่นำมาเป็นเงินสำรองในกองทุนนั้น  ๆ สามารถแปลงเป็นเงินสดได้มากน้อยเพียงใด

เพราะหากมีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรก็ตามที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต ก็ต้องมีการทำการประเมินสินทรัพย์กันใหม่ เช่นหากเกิดการควบรวมกิจการ หรือการซื้อกิจการ หรือการเพิ่มทุนให้พันธมิตรใหม่ หรือการเพิ่มทุนเพื่อลองรับธุรกิจในอนาคต  เป็นต้น

คราวนี้ สินทรัพย์ที่ประเมินจึงต้องให้ความสำคัญกับ สินทรัพย์ที่ Liquidate เป็นเงินสดได้สูง เป็นพื้นฐานก่อน และดูความสามารถในการทำกำไร จาก ฐานลูกค้าปัจจุบันที่จะสร้างกำไรในอนาคต รวมถึง ศักยภาพในการหาลูกค้าใหม่ในอนาคต หรือ Franchise  Value

เมื่อถึงตรงนั้น อาจจะเกิดการ ปลดล้อค สินทรัพย์ที่ไม่สะท้อนตามมูลค่าตลาดในปัจจุบันได้ เพราะหุ้นส่วนใหญ่ของบริษัทประกันภัย มักเป็นเจ้าของดั้งเดิม คงไม่อยากจะตีราคาต่ำ ๆ ตามมูลค่าตลาดในปัจจุบันแน่นอนครับ

อย่าลืมไปประเมินมูลค่าของบริษัทประกันที่ท่านถืออยู่ด้วยว่า มูลค่าของบริษัทประกันที่ท่านถืออยู่ จะมาจากมูลค่าอะไรบ้างนะครับ เพราะ 2 ปีจากนี้ มันไม่นานเกินรอแล้วครับ แรงกดดันความเสี่ยงในเรื่องกฏกติกาใหม่ กำลังคืบคานมาตามลำดับ จากการทดลองเงินกองทุนล่าสุดก็ปรากฏให้เห็นแล้ว คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นบ้างแน่นอนครับ

แล้วลองประเมินสถานการณ์ของบริษัทที่ท่านถืออยู่ว่า จะมีโอกาสปลดล้อคมูลค่าการลงทุนของท่านผ่านมูลค่าตลาดในอนาคตได้มากน้อยเพียงใด และเปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นหรือลดลงอย่างไรครับ:lol:

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 8:55 pm
โดย Windy
RBC มีผลอะไรต่อ THRE ด้วยรึป่าว

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 9:07 pm
โดย miracle
Windy เขียน:RBC มีผลอะไรต่อ THRE ด้วยรึป่าว
มันกระทบทั้งอุตสาหกรรมครับ
แต่ในข่าวทุกชิ้นไม่มีกล่าวถึง THRE เลย
และไม่ได้กล่าวถึงพวกประกันชีวิตด้วย
แสดงว่า พวกนี้ ผ่านอยู่แล้วหรือไม่ หรือ ยังไม่ได้บังคับใช้

:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 9:11 pm
โดย miracle
ขอบคุณพี่ chaitorn
ประเด็นนี้ถ้าหากขาดพี่ chaitorn ไปคงขาดสีสันไปหมดเลย
และความรู้ก็หายไปมากมาย
แต่ตอนนี้กระทู้ก็ยาวมาประมาณ 7-8 หน้า แล้ว
ทำให้คนอ่านนั้น อ่านได้ยากขึ้น
และกระทู้นี้กำลังกลายเป็นตำนานหนึ่งของ TVI เป็นแน่นอน
เพราะ ทุกอย่างที่เกี่ยวกับประกันภัย เก็บสะสมไว้ในกระทู้นี้หมดแล้ว
และยิ่งตอนนี้ประกันภัย มีความเปลี่ยนแปลงภายในอุตสาหกรรมมากในช่วงที่หลายสิบปีที่ผ่านมา จึงเป็นกระทู้คุณค่ากระทู้หนึ่ง

ทั้งหมดเนี่ยเป็นความรู้ที่พี่ chaitorn ให้แก่พวกเรา รวมกระทั่งกระผมด้วย
ที่ได้ความรู้เพิ่มพูนขึ้นมา ในแง่มุมต่างๆ แต่อย่างไงเสีย ทุกอย่างมันก็ตั้งมั่นในความไม่ประมาท
:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 9:57 pm
โดย chaitorn
Windy
RBC มีผลอะไรต่อ THRE ด้วยรึป่าว

มีผลแน่นอนครับ บทวิเคราะห์ของ ASP ได้ทำการวิเคราะห์ไว้ค่อนข้างดี ลองดูใน Post นี้ ที่ผมนำบทวิเคราะห์ดังกล่าวมาให้อ่านกันครับ

โดยสรุปก็คือ จะทำให้เกิดโอกาสกับ Thre ในแง่ที่บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต เมื่อมีการรับประกันภัยที่เสี่ยงสูง ๆ คือ มีวงเงินรับประกันภัยที่สูงมาก มีโอกาสที่จะถ่ายความเสี่ยงไปยังประกันภัยต่อมากขึ้น เพราะหากรับเองมาก ก็ต้องสำรองความเสี่ยงมากขึน บริษัทประกันภัยและประกันชีวิต จึงต้องพิจารณารับความเสี่ยงเท่าที่พอจะรับไหว ส่วนที่เกินมีแนวโน้มจะต้องผ่องถ่ายออกไปให้กับประกันภัยต่อ จึงทำให้ Thre มีโอกาสเพิ่มปริมาณธุรกิจมากขึ้นในอนาคตครับ

แต่พอ Thre ขยายธุรกิจได้มากขึ้น Thre ก็อาจต้องเพิ่มทุนลองรับกับปริมาณธุรกิจที่ขยายตัวตามมาด้วยครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 10:10 pm
โดย chaitorn
สำหรับประกันชีวิตนั้น ปัจจุบัน กำลังอยู่ในระหว่างการปรับปรุงวิธีการตั้งสำรองใหม่

ขอให้ดูรายงานการประชุมคณะทำงาน ERM ครั้งที่ 2/2552

http://www.oic.or.th/th/rbcrbs/

โดยประกันชีวิต นอกจากจะประเมินเงินกองทุนสำรองเช่นเดียวกับประกันวินาศภัยแล้ว

แต่การสำรองภัยจากการรับประกันชีวิต จะมีความซับซ้อนกว่าภัยวินาศภัยค่อนข้างมาก

โดย model สำรอง จะใช้ GPV ( Gross  Premium Valuation)  ซึ่งเป็นแนวการตั้งสำรองแบบใหม่ ที่ต้องใช้คณิตศาสตร์ประกันภัยที่ซับซ้อนขึ้น ขณะนี้อยู่ระหว่างการจัดทำคู่มือดังกล่าวอยู่

หากอบรมเสร็จ มีคู่มือดำเนินการเสร็จแล้ว ก็คงได้เห็นว่า เงินทุนสำรองของบริษัทประกันชีวิต เป็นอย่างไร เมื่อใช้ RBC เต็มรูปแบบเช่นกัน(อ่านจากรายงานประชุมล่าสุดที่เผยแพร่ครับ)

ตอนนี้ก็เลยเริ่มจากประกันวินาศภัย ทดลองเต็มรูปแบบไปก่อน เพราะส่วนใหญ่เป็นภัยที่รับรู้กันปีต่อปี ทำให้ง่ายต่อการคำนวณมากกว่าประกันชีวิตครับ

ผมก็ยังไม่ได้ศึกษาวิธีการตั้งสำรองแบบใหม่ของประกันชีวิตเลยครับ ใครมีความรู้มา Share กันด้วยก็ดีครับ

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ต.ค. 25, 2009 10:39 pm
โดย miracle
ขอบคุณพี่ chaitorn ครับที่ส่ง link ให้
ผมเลยโพสตามเลยดีกว่า อันที่น่าอ่าน

มีอันหนึ่งน่าสนใจ
http://www.oic.or.th/downloads/rbc/ex_risk_170252.pdf
คือ ตัวอย่างนโยบายบริหารความเสี่ยงและสรุปแผน 3 ปี  

ผมเลยมีคำถามว่า บริษัทประกันภัยและประกันวินาศภัยจัดทำแผนดังกล่าวหรือเปล่า
ถ้าทำแล้วเปิดเผยหรือเปล่า

น่าสนใจล่ะเนี่ย เพราะว่า มันคือการมองตัวเองว่า อีกสามปีข้างหน้า ธุรกิจอยู่ที่ไหนของอุตสาหกรรมนี้ โดยใช้ตัวบริหารคือความเสี่ยง
:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 27, 2009 12:25 am
โดย miracle
นายหน้าจุกประกันลดค่าคอมม์  
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โบรกเกอร์โอดประกันหั่นค่านายหน้าทำกำไรเหลือไม่ถึง 10%

นายอัญชลิน พรรณนิภา ประธานบริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ ในฐานะบริษัทนายหน้าประกันภัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันรายได้ค่านายหน้าลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ที่บริษัทนายหน้าประกันภัยจะมีกำไรต่อปีเป็นตัวเลข 2 หลัก แต่ปีนี้คาดว่ากำไรจะเหลือเพียงตัวเลขหลักเดียวเท่านั้น
ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินงานไม่ได้ลดลงตามรายได้ที่หายไปกว่าครึ่ง จึงต้องปรับตัวด้วยการหันมาเน้นรักษาฐานลูกค้าเก่า ด้วยการเดินเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้กับลูกค้า กรณีลูกค้ามีปัญหากับบริษัทประกันวินาศภัย

10 ปีที่ผ่านมาบริษัทประกันวินาศภัยให้ค่านายหน้าสูงมาก แต่เปิดเผยไม่ได้นะว่าเท่าไหร่ คือถ้าเขาอยากได้เบี้ยเขาจะเสนอค่าคอมม์มาเลยว่า ถ้าทำยอดขายได้ 100 ล้านบาท รับค่าคอมม์เกินตัวเลข 2 หลัก นายอัญชลิน กล่าว

นายอัญชลิน กล่าวว่า ปี 2552 บริษัทประกันวินาศภัยจะให้ค่านายหน้าเท่ากันตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด เพราะต้องระมัดระวังในการบริหารต้นทุน หลังจากที่คปภ. มีการออกกฎเกณฑ์การควบคุมฐานะการเงินใหม่ๆ ที่เข้มงวดมาก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเงินกองทุน การดำเนินธุรกิจทั่วๆ ไป เช่น การขายประกันทางโทรศัพท์

นอกจากนี้ บริษัทนายหน้าประกันภัยยังถูกควบคุมเข้มงวดเพิ่มขึ้นเช่นกัน ให้ต้องทำการแยกบัญชีออกมาอย่างชัดเจนระหว่างเงินที่ใช้ได้กับเงินของลูกค้าที่มาในรูปของเบี้ยประกัน

ถ้าเป็นเบี้ยประกันภัย เราต้องรีบนำส่งบริษัทประกันวินาศภัย โดยเฉพาะเบี้ยรถยนต์ภายใน 15 วัน ซึ่งเดิมมีเครดิตร่วม 2 เดือน นายอัญชลิน กล่าว

นายอัญชลิน กล่าวว่า หากเกณฑ์ใหม่ๆ ที่คปภ. ออกมา บังคับใช้ 100% จะทำให้บริษัทประกันวินาศภัยหายไปกว่าครึ่งจากปัจจุบันที่มีประมาณ 70 บริษัท ทำให้ปัจจุบันราคาใบอนุญาตบริษัทประกันวินาศภัยราคาลดลงอย่างมากแทบไม่มีราคา

เดิมบริษัทประกันวินาศภัยขนาดเล็กราคาเป็น 100 ล้านบาท ทุกวันนี้แทบไม่มีราคา นายอัญชลิน กล่าว

นายอัญชลิน กล่าวว่า การหายไปของบริษัทประกันวินาศภัยที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ของคปภ. เพราะไม่สามารถดำรงเงินกองทุนตามกฎหมาย การตั้งสำรอง การดำเนินธุรกิจ จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทนายหน้าประกันภัยแน่นอน ซึ่งปัจจุบันบริษัทนายหน้าประกันภัยขนาดเล็กและทำธุรกิจแบบดั้งเดิมจะอยู่ยาก

เราเป็นนายหน้าประกันภัยขนาดใหญ่ ทำธุรกิจมากว่า 60 ปี มียอดขายอันดับ 1 เมื่อเทียบกับนายหน้าทั้งหมดเกือบ 500 แห่ง เราเชื่อว่าเราอยู่ได้ นายอัญชลิน กล่าว

--------------------------------------------------------------------
ภาพนี้เป็นภาพเดิม แต่ได้เฉลยอะไรบ้างอย่างออกมาแล้ว
เฉลยอะไรหรือ
ในอดีต เงินที่เก็บประกันภัยจากประชาชนทั่วไป พักไว้ที่โบรกเกอร์ 60-90 วัน ทำให้เกิดการหมุนของเงินในโบรกเกอร์ก่อนส่งเงินไปยังบริษัทประกันภัย ต่อไป จุดนี้ทำให้ หากเกิดการต่ออายุกรมธรรม์ทันที ไม่ใช่ Cash before cover ดังเช่นปัจจุบัน
แถมไม่พอ มีการเชิดเงินประกันจากลูกค้าไม่ส่งเข้าบริษัทประกันภัย ซึ่งเป็นบ่อยมากๆ
ไม่เพียงเท่านั้น โบรกเกอร์สามารถทำกำไรจากเงินที่พักอยู่ในช่วง 60-90 วันอีกต่างหาก
แต่ในปัจจุบันกฏใหม่ได้บังคับอะไรต่อมิอะไร ทำให้โบรกเกอร์ก็เสียผลประโยชน์ กำลังสูญพันธุ์ไปจากธุรกิจนี้

:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 27, 2009 8:28 pm
โดย Windy
ถ้าอย่างงั้นบริษัทประกันวินาศภัยก็ได้ผลดีจากการลดเครดิตเทอมลง

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 27, 2009 11:37 pm
โดย miracle
Windy เขียน:ถ้าอย่างงั้นบริษัทประกันวินาศภัยก็ได้ผลดีจากการลดเครดิตเทอมลง
cash before cover เริ่มใช้เมื่อประมาณเดือน พย 2551
ทำให้บริษัทประกันภัยต่างๆ มีความคล่องตัวมากขึ้น
ไม่ต้องพะวง หรือ กลัวว่า ลูกค้าหนีไปไหน และไม่ต้องกลัวว่าต้องตั้งสำรองเบี้ยประกันภัยล่วงหน้าด้วย

Cash before cover อันนี้เจริญตามรอยประเทศอื่นๆที่ทำประกันภัยกันครับ
:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 28, 2009 7:30 pm
โดย chaitorn
http://www.posttoday.com/finance.php?id=73226

นายหน้าจุกประกันลดค่าคอมม์  
วันจันทร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โบรกเกอร์โอดประกันหั่นค่านายหน้าทำกำไรเหลือไม่ถึง 10%

นายอัญชลิน พรรณนิภา ประธานบริษัท ทีคิวเอ็ม อินชัวรันส์ โบรคเกอร์ ในฐานะบริษัทนายหน้าประกันภัย เปิดเผยว่า ปัจจุบันรายได้ค่านายหน้าลดลงกว่า 50% เมื่อเทียบกับ 10 ปีที่ผ่านมา ที่บริษัทนายหน้าประกันภัยจะมีกำไรต่อปีเป็นตัวเลข 2 หลัก แต่ปีนี้คาดว่ากำไรจะเหลือเพียงตัวเลขหลักเดียวเท่านั้น
ขณะที่ต้นทุนในการดำเนินงานไม่ได้ลดลงตามรายได้ที่หายไปกว่าครึ่ง จึงต้องปรับตัวด้วยการหันมาเน้นรักษาฐานลูกค้าเก่า ด้วยการเดินเรื่องการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนให้กับลูกค้า กรณีลูกค้ามีปัญหากับบริษัทประกันวินาศภัย

10 ปีที่ผ่านมาบริษัทประกันวินาศภัยให้ค่านายหน้าสูงมาก แต่เปิดเผยไม่ได้นะว่าเท่าไหร่ คือถ้าเขาอยากได้เบี้ยเขาจะเสนอค่าคอมม์มาเลยว่า ถ้าทำยอดขายได้ 100 ล้านบาท รับค่าคอมม์เกินตัวเลข 2 หลัก นายอัญชลิน กล่าว

นายอัญชลิน กล่าวว่า ปี 2552 บริษัทประกันวินาศภัยจะให้ค่านายหน้าเท่ากันตามเกณฑ์ที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) กำหนด เพราะต้องระมัดระวังในการบริหารต้นทุน หลังจากที่คปภ. มีการออกกฎเกณฑ์การควบคุมฐานะการเงินใหม่ๆ ที่เข้มงวดมาก ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบเงินกองทุน การดำเนินธุรกิจทั่วๆ ไป เช่น การขายประกันทางโทรศัพท์

นอกจากนี้ บริษัทนายหน้าประกันภัยยังถูกควบคุมเข้มงวดเพิ่มขึ้นเช่นกัน ให้ต้องทำการแยกบัญชีออกมาอย่างชัดเจนระหว่างเงินที่ใช้ได้กับเงินของลูกค้าที่มาในรูปของเบี้ยประกัน

ถ้าเป็นเบี้ยประกันภัย เราต้องรีบนำส่งบริษัทประกันวินาศภัย โดยเฉพาะเบี้ยรถยนต์ภายใน 15 วัน ซึ่งเดิมมีเครดิตร่วม 2 เดือน นายอัญชลิน กล่าว

นายอัญชลิน กล่าวว่า หากเกณฑ์ใหม่ๆ ที่คปภ. ออกมา บังคับใช้ 100% จะทำให้บริษัทประกันวินาศภัยหายไปกว่าครึ่งจากปัจจุบันที่มีประมาณ 70 บริษัท ทำให้ปัจจุบันราคาใบอนุญาตบริษัทประกันวินาศภัยราคาลดลงอย่างมากแทบไม่มีราคา

เดิมบริษัทประกันวินาศภัยขนาดเล็กราคาเป็น 100 ล้านบาท ทุกวันนี้แทบไม่มีราคา นายอัญชลิน กล่าว

นายอัญชลิน กล่าวว่า การหายไปของบริษัทประกันวินาศภัยที่ไม่สามารถปฏิบัติตามเกณฑ์ของคปภ. เพราะไม่สามารถดำรงเงินกองทุนตามกฎหมาย การตั้งสำรอง การดำเนินธุรกิจ จะกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทนายหน้าประกันภัยแน่นอน ซึ่งปัจจุบันบริษัทนายหน้าประกันภัยขนาดเล็กและทำธุรกิจแบบดั้งเดิมจะอยู่ยาก

เราเป็นนายหน้าประกันภัยขนาดใหญ่ ทำธุรกิจมากว่า 60 ปี มียอดขายอันดับ 1 เมื่อเทียบกับนายหน้าทั้งหมดเกือบ 500 แห่ง เราเชื่อว่าเราอยู่ได้ นายอัญชลิน กล่าว

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 28, 2009 7:31 pm
โดย chaitorn
http://www.posttoday.com/finance.php?id=72847
คปภ.หนุนประกันควบกิจการ  
วันศุกร์ที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โพสต์ทูเดย์ คปภ.เผยเดินหน้ากระตุ้นประกันภัยควบรวมกิจการ รอคำตอบกรมสรรพากรยกเว้นภาษีโอนทรัพย์สิน

น.ส.ชำเลือง ชาติสุวรรณ รองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า คปภ.ยังเดินหน้านโยบายสนับสนุนและกระตุ้นให้บริษัทประกันวินาศภัยเกิดการควบรวมกิจการ เพื่อความมั่นคงและมีความเข้มแข็ง มีเงินในการนำไปปรับปรุงระบบการดำเนินธุรกิจ การบริหารงาน อบรมบุคลากร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในทุกด้านให้สามารถแข่งขันกับต่างชาติที่จะเข้ามาเปิดสาขาในประเทศไทยได้หลังเปิดเสรีธุรกิจประกันภัยในอนาคต และสามารถขยายธุรกิจในต่างประเทศไทยในอนาคต
ที่ผ่านมามีการควบรวมกิจการกันบ้าง แต่ไม่มาก เพราะคปภ. ไม่สามารถบังคับได้ ถ้ายังสามารถให้บริการลูกค้าได้อย่างเป็นธรรม น.ส.ชำเลือง กล่าว

น.ส.ชำเลือง กล่าวว่า คปภ.พยายามหามาตรการจูงใจให้เกิดการควบรวมกิจการให้มากที่สุด เพราะปัจจุบันจำนวนบริษัทประกันวินาศภัยมีจำนวนมากถึง 70 บริษัท และขนาดของธุรกิจ และเงินทุน แตกต่างกันมาก หากมีการเปิดเสรีบริษัทที่มีทุนขนาดเล็กจะแข่งขันกับนักลงทุนต่างชาติได้ลำบาก

สำหรับมาตรการที่จะจูงใจให้เกิดการควบรวมกิจการคือมาตรการทางด้านภาษี ซึ่งปัจจุบันบริษัทประกันภัยที่มีการควบรวมกิจการจะต้องเสียภาษีการโอนทรัพย์สินเข้าไปบริษัทใหม่ที่เกิดขึ้นจากการควบรวม ทั้งที่ทรัพย์สินดังกล่าวเป็นทรัพย์สินเก่าที่มีการเสียภาษีนิติบุคคลประจำปีอยู่แล้ว ทำให้ผู้ถือหุ้นของบริษัทประกันวินาศภัยมองว่าการควบรวมเป็นภาระ จึงไม่ก่อให้เกิดแรงจูงใจ

เราได้ยื่นเรื่องนี้ต่อทางกรมสรรพากรแล้ว หากทางกรมสรรพากรตอบกลับให้ยกเว้นภาษีการโอนทรัพย์สิน เชื่อว่าจะทำให้ผู้ประกอบการหันมาควบรวมกิจการมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อภาพรวม เป็นประโยชน์ของทุกฝ่ายทั้งบริษัทประกัน ลูกค้า น.ส.ชำเลือง กล่าว

นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขา ธิการคปภ. กล่าวว่า การพัฒนาการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัยไทยมีผลการประเมินในระดับที่ดีขึ้นทั้งระดับเงินกองทุนของบริษัทประกันภัยตามระดับความเสี่ยง (Risk-Based Capital) ระบบการกำกับดูแลความเหมาะสมของบุคลากร ระบบธรรมาภิบาลในภาคธุรกิจ โดยปี 2553 คปภ. มีแผนจะดำเนินการคุ้มครองผู้เอาประกันภัยผ่านศูนย์บริการประกันภัย และการส่งเสริมการประกันภัยราคาถูก และมีเป้าหมายจะเพิ่มสัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ จาก 3.8% เป็น 5.0% ภายในปี 2554

ทั้งนี้ จากการประชุมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยอาเซียน ครั้งที่ 12 ที่ประเทศลาว ได้หารือถึงแนวทางขยายการลงทุนของ 2 ประเทศ ทางประเทศลาวจะพิจารณาให้บริษัทประกันภัยไทยที่ต้องการลงทุนเป็นลำดับแรกก่อน

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 28, 2009 7:43 pm
โดย chaitorn
แก้เกมทันควัน สงครามยังไม่จบ อย่าเพิ่งเก็บศพทหาร  :lol:

http://www.posttoday.com/finance.php?id=73579

โวยแบงก์-ห้างยักษ์แย่งลูกค้า  
วันพุธที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2552

สมาคมตัวแทนสกัดธนาคาร ห้าง งัดโปรโมชันขายประกัน ร้องคปภ. เข้าข่ายผิดกฎหมาย ลดค่าคอมม์ทางอ้อม

นายบรรยง วิทยวีรศักดิ์ นายกสมาคมตัวแทนประกันชีวิตและที่ปรึกษาการเงิน (THAIFA) เปิดเผยว่า ทางสมาคมได้เข้าร้องเรียนต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับ และส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เพื่อให้ตรวจสอบการขายประกันของธนาคารพาณิชย์และห้างค้าปลีกว่าอาจทำผิดกฎหมาย เนื่องจากการใช้กลยุทธ์จัดรายการส่งเสริมการขายด้วยการแจกทอง บัตรกำนัลหรือแถมประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคลหรือพีเอ หรือแม้แต่การให้ผ่อนชำระเบี้ยประกันชีวิตผ่านบัตรเครดิตโดยไม่คิดดอกเบี้ยนั้น อาจเข้าข่ายลักษณะลดค่านายหน้าทางอ้อม
โดยเฉพาะในช่วงสิ้นปีที่ธนาคารและห้างค้าปลีกต้องการสร้างยอดขายให้ได้มากสุด เพื่อให้มีรายได้จากค่านายหน้าหรือคอมมิชชันมากขึ้น

นายบรรยง เปิดเผยว่า สมาคมได้รับเรื่องร้องเรียนจากตัวแทนจำนวนมากว่า ตามกฎหมาย ใหม่ หากตัวแทนขายประกันชีวิตแล้วมีการลดค่านายหน้าให้ลูกค้า ถือว่ามีความผิด แต่การที่ธนาคารและห้างค้าปลีกออกมาประกาศแจกรางวัลในรูปแบบต่างๆ อย่างมากนั้น ก็ถือเป็นการลดค่านายหน้ารูปแบบหนึ่ง ซึ่งไม่ควรจะทำได้ เช่นกัน
เรื่องนี้ได้มีการหารือกับ นางวราวรรณ เวชชสัสถ์ ผู้ช่วยเลขาธิการคปภ. แล้ว และคปภ. ก็ยืนยันว่า การส่งเสริมการขาย เช่นนั้นทำไม่ได้ และกำลังให้ฝ่ายกฎหมายของคปภ. เรียกธนาคารและห้างค้าปลีกมาตักเตือน พร้อมให้ยกเลิกระบบการส่งเสริมการขายเหล่านั้นด้วย นายบรรยง กล่าว

นายบรรยง กล่าวว่า กรมธรรม์เป็นผลิตภัณฑ์ที่ผู้ถือกรมธรรม์ต้องมีภาระผูกพันระยะยาว การจะขายผลิตภัณฑ์นี้ให้ลูกค้า ลูกค้าต้องซื้อด้วยความรู้ความเข้าใจไม่ใช่วิธีจูงใจด้วยการลด แลก แจก แถม โดย ไม่เห็นความสำคัญของการ
คุ้มครองหรือการออมระยะยาว


อย่างไรก็ตาม ทุกวันนี้ตัวแทนบางคนอาจมีการลักลอบลดค่านายหน้าบ้าง แต่ก็เป็นการแอบดำเนินการเพราะถือเป็นความผิด แต่การที่ธนาคารออกมาทำอย่างเปิดเผย แถมยังมีการโฆษณาใหญ่โตในหน้าหนังสือพิมพ์ทุกวัน เป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ถ้ากฎหมายไม่อนุญาตให้ทำ ก็ควรใช้เกณฑ์เดียวกัน ไม่ว่าตัวแทน นายหน้า หรือธนาคาร

ทั้งนี้ ที่ผ่านมายอดขายผ่าน ช่องทางธนาคารได้แซงหน้าช่องทางตัวแทนแล้ว โดย 6 เดือน แรกของปีนี้ สัดส่วนของเบี้ยประกันใหม่ (New Business Premium) ที่ขายผ่านช่องทางธนาคารมีถึง 18,664 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 47% ขณะที่ช่องทางตัวแทนมีเพียง 17,184 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 43%

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 30, 2009 9:21 pm
โดย miracle
ชงคปภ.แก้เงินกองทุน  
วันศุกร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2552

โพสต์ทูเดย์ สมาคมประกันวินาศภัยเตรียมต่อรองคปภ. ขอตั้งสำรองการลงทุนหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เท่าธนาคาร

หลังที่ปรึกษาอาร์บีซีเสนอใช้ถึง 24%

นายจีรพันธ์ อัศวะธนกุล นายกสมาคมประกันวินาศภัย เปิดเผยว่า ที่ปรึกษาด้านการดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยง หรืออาร์บีซี ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้เสนอให้คปภ.ใช้เกณฑ์การดำรงเงินกองทุนตามความเสี่ยงจากการลงทุนหุ้นจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ที่ระดับ 24% หมายความว่า ถ้าลงทุนในหุ้น 100 บาท ต้องตั้งสำรองความเสี่ยง 24 บาท ซึ่งถือว่าเป็นเกณฑ์ที่สูงมากเมื่อเทียบกับสถาบันการเงินอื่นๆ ที่มีการลงทุนในหุ้น เพราะจากการศึกษาเกณฑ์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ใช้กับสถาบันการเงิน อยู่ในระดับ 16% เท่านั้น หรือในต่างประเทศ เช่น ประเทศมาเลเซีย และสิงคโปร์ ตั้งสำรองเพียง 20%

เรามองว่าไม่ควรจะสูงกว่าเกณฑ์ที่ธปท.ใช้กับสถาบันการเงินอื่นๆ เพราะเราก็จัดเป็นสถาบันการเงินเหมือนกัน ซึ่งจะทำการเสนอให้ทางคปภ.ได้พิจารณาปลายเดือน พ.ย.นี้ นายจีรพันธ์ กล่าว

นายจีรพันธ์ กล่าวว่า ส่วนการลงทุนในหุ้นที่ไม่ได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ จะต้องตั้งสำรอง 32% ซึ่งกรณีนี้ไม่ค่อยกระทบมากนัก เพราะบริษัทประกันวินาศภัยส่วนใหญ่จะมีการลงทุนในหุ้นที่จดทะเบียนอยู่แล้ว อย่างไรก็ตาม จะมีการศึกษาเหมือนกันว่าสูงกว่าที่สถาบันการเงินตั้งสำรองหรือไม่ และสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้านหรือไม่ ซึ่งยังมีเวลาในการปรับปรุงแก้ไข เพราะเกณฑ์อาร์บีซีจะมีการนำมาใช้ในปี 2554 แต่ไม่ได้ใช้ทันที 100% โดยคปภ.ยังมีแนวโน้มที่จะบังคับใช้แบบขั้นบันได อาจจะใช้เวลา 3 ปี หรือ 5 ปี ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีการกำหนดระยะเวลาที่แน่นอน ต้องหารือกันอีกหลายรอบ

นอกจากนี้ ทางคปภ.จะมีการแก้ไขเกณฑ์การคำนวณสินทรัพย์เป็นทรัพย์สินของบริษัทได้ โดยจะคำนวณภาษีจ่ายล่วงหน้าเป็นทรัพย์สินของบริษัท ซึ่งจะทำให้มูลค่าทรัพย์สินของบริษัทเพิ่มขึ้นมาก เพราะในแต่ละปีบริษัทประกันวินาศภัยทั้งระบบมีการจ่ายภาษีล่วงหน้าเฉลี่ยปีละประมาณ 5,500 ล้านบาท จากเดิมที่คปภ.ไม่นับเป็นทรัพย์สิน

ภาษีจ่ายล่วงหน้าเกิดขึ้นเพราะเกณฑ์การหักค่าใช้จ่ายของสรรพากรกับคปภ.ไม่ตรงกัน ไม่ได้เป็นเรื่องที่เราอยากจ่าย และเงินที่จ่ายไปก็กลับมาเป็นรายได้ของเราในปีถัดไป ไม่ได้หายไปไหน ทำให้ทางคปภ.ยอมที่จะคำนวณเงินตรงนี้เป็นทรัพย์สินได้ นายจีรพันธ์ กล่าว

http://www.posttoday.com/finance.php?id=73910


-------------------------------------------------------------------------
ข่าวนี้มีสองประเด็นคือ การตั้งสำรองในกรณี่ที่ลงทุนในหุ้น (RBC)
อีกประเด็นคือ ภาษีล่วงหน้าคิดเป็นสินทรัพย์ของบริษัท

อันหลังนี้ต้องเข้าดูมาตราฐานทางบัญชีกว่ามันอยู่ตัวไหน งานนี้สนุกล่ะ
:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 01, 2009 12:04 am
โดย miracle
เมืองไทยลุยขายยูนิตลิงก์ลงทุนตามใจ  
วันเสาร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2552

เมืองไทยประกันชีวิต คลอดแบบยูนิตลิงก์ คุ้มครองชีวิตควบคู่การลงทุน

นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมืองไทยประกันชีวิต เปิดเผยว่า บริษัทได้ออกแบบประกันใหม่ เมืองไทยยูนิตลิงก์ 1 ซึ่งเป็นแบบประกันที่ให้ความคุ้มครองตามกรมธรรม์ประกันชีวิต และได้รับผลตอบแทนการลงทุนจากกองทุนรวม ที่บริษัทได้ให้บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กสิกรไทย เป็นผู้ดูแล
สำหรับแบบประกันดังกล่าวมีจุดเด่นในเรื่องของความยืดหยุ่นตามความต้องการของลูกค้า โดยลูกค้าสามารถเลือกได้ว่าจะให้น้ำหนักด้านของความคุ้มครอง หรือลงทุนด้านไหนมากกว่ากัน เพื่อให้สอดคล้องกับภาระของตัวเองหรือครอบครัวและอายุที่เปลี่ยนไป เน้นขายผ่านช่องทางตัวแทนเป็นหลัก ตั้งเป้ายอดขายปีหน้า 400 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ในอนาคตลูกค้ายังสามารถซื้ออนุสัญญาเพิ่มเติมได้อีก เช่น ความคุ้มครองโรคร้ายแรงหรือทุพพลภาพ ซึ่งอยู่ระหว่างให้สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) อนุมัติ

นายสาระ กล่าวว่า สำหรับผลการดำเนินงานในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา บริษัทมีเบี้ยรับรวม 15,897 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ 1,345 ล้านบาท คาดว่าเมื่อถึงสิ้นปีจะได้เบี้ยตามเป้า 2.15 หมื่นล้านบาท

น.ส.โสภาวดี เลิศมนัสชัย รองผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กล่าวว่า แบบประกันยูนิตลิงก์ จะช่วยเพิ่มสัดส่วนนักลงทุนกลุ่มสถาบันที่มีสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (เอยูเอ็ม) จากการลงทุนในหุ้นในปี 2553 เพิ่มขึ้นเป็น 12-15% จากปัจจุบันอยู่ ที่ 9%


------------------------------------------------------------------
Unit Link ระวังเรื่องเดียวคือ ค่าจัดการ ว่าต้องจ่ายปีล่ะเท่าไร
เพราะ มันเอาเงินไปลงทุนในหุ้น โดยเขาคิดค่าจัดการ
คล้ายการลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุนเลยล่ะ

:)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 02, 2009 7:12 am
โดย นักดูดาว
miracle เขียน:Unit Link ระวังเรื่องเดียวคือ ค่าจัดการ ว่าต้องจ่ายปีล่ะเท่าไร
เพราะ มันเอาเงินไปลงทุนในหุ้น โดยเขาคิดค่าจัดการ
คล้ายการลงทุนในกองทุนตราสารแห่งทุนเลยล่ะ

:)
เพิ่งไปอบรมมาครับ Unit Linked Insurance Policy ไม่ลงทุนในหุ้นครับ แต่ลงทุนในกองทุนรวม มีหลากหลายชนิดให้เลือกตามความต้องการความเสี่ยงและผลตอบแทนที่ต่างกัน

จะคล้ายๆ Fund of Funds มากกว่า แต่มีส่วนความคุ้มครองแบบประกันชีวิตด้วย ค่าใช้จ่ายสูงกว่ากองทุนรวมธรรมดาเพียงเล็กน้อย แต่เพิ่มเครื่องมือบริหารกองทุนให้อีกด้วย เป็นนวัตกรรมทางการเงินที่ดีมากครับ ไว้ผมว่างๆจะมาแนะนำ ULIP ให้ทราบ

หาก MTL มีขีดจำกัดที่ต้องลงทุนในกองทุนของ K-Asset เท่านั้นก็ถือว่าน่าเสียดายครับ เพราะกองทุนดีๆมีมากมายในตลาด

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 02, 2009 10:43 am
โดย นักดูดาว
แอบกระซิบว่าเซียนรุ่นใหญ่ท่านหนึ่งในไทยวีไอ เป็นผู้เชี่ยวชาญ Unit Linked ด้วยครับ พอทราบไหมครับว่าเป็นท่านใด :)

หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้

โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 02, 2009 1:22 pm
โดย miracle
นักดูดาว เขียน:แอบกระซิบว่าเซียนรุ่นใหญ่ท่านหนึ่งในไทยวีไอ เป็นผู้เชี่ยวชาญ Unit Linked ด้วยครับ พอทราบไหมครับว่าเป็นท่านใด :)
พี่คนนี้ขายประกันชีวิตใช่ไหมครับ
เป็นกระบีมืออันดับต้นของสำนัก TVI ด้วย

:)