ภาพรวมเศรษฐกิจ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news20/08/07

โพสต์ที่ 211

โพสต์

ยอดขายบริษัทจดทะเบียนmai ไตรมาส2ขยายตัวกว่า20%

20 สิงหาคม พ.ศ. 2550 17:31:00

43 บริษัทจดทะเบียนใน mai ประกาศยอดขายประจำไตรมาส 2 ปี 2550 รวมกันถึง 10,326 ล้านบาทเพิ่มขึ้น 20% ขณะที่กำไรสุทธิรวม 430 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4%

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นายชนิตร ชาญชัยณรงค์ ผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เปิดเผยถึงผลการดำเนินงานบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ประจำไตรมาส 2/2550 สิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2550 ว่าบริษัทจดทะเบียนจำนวน 43 แห่ง มียอดขายรวมกัน 10,326 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากงวดเดียวกันของปีก่อนที่มียอดขาย 8,608 ล้านบาท คิดเป็น 20%
สำหรับกำไรสุทธิไตรมาส 2 ปี 2550 ของบริษัทจดทะเบียน รวมแล้วทั้งสิ้น 430 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน ซึ่งกำไรสุทธิรวมอยู่ที่ 414 ล้านบาท


โดยมีบริษัทจดทะเบียน 6 แห่งที่มีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิเกิน 100% คือ บมจ. ถิรไทย (TRT) มีอัตราเติบโตของกำไรสุทธิ 398% บมจ. ซี.ไอ.กรุ๊ป (CIG) 369% บมจ.แอล.วี เทคโนโลยี (LVT) 267% บมจ. ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) 215% บมจ.อีเทอร์นิตี้ แกรนด์ โลจิสติคส์ (ETG) 164% และ บมจ.โฟคัส เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น (FOCUS) 113% ตามลำดับ

ทางด้านผลการดำเนินงานประจำครึ่งปีแรกปี 2550 เปรียบเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน บริษัทใน mai มียอดขายรวมทั้งสิ้น 19,209 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 16,372 ล้านบาท คิดเป็น 17% โดยมีกำไรสุทธิรวม 809 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจาก 788 ล้านบาท คิดเป็น 3% ส่วนบริษัทจดทะเบียนที่ทำกำไรสุทธิประจำครึ่งปีแรก ปี 2550 สูงสุด 3อันดับแรก คือ บมจ. ยูนิมิต เอ็นจิเนียริ่ง (UEC) กำไรสุทธิ 154 ล้านบาท บมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS)กำไรสุทธิ 119 ล้านบาท และ บมจ.เด็มโก้ (DEMCO) กำไรสุทธิ 83 ล้านบาท

นายชนิตร ระบุว่า "ผลประกอบการของบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ประจำไตรมาส 2 ปี 2550 แสดงให้เห็นว่าโดยรวมบริษัทจดทะเบียนใน mai มียอดขายที่เพิ่มสูงขึ้น หากแต่สภาวะเศรษฐกิจและการเมืองรวมทั้งปัจจัยค่าเงินบาท ส่งผลให้กำไรสุทธิเติบโตไม่มาก บริษัทที่ได้รับผลกระทบส่วนใหญ่อยู่ในภาคธุรกิจสื่อ และบริการ

ทั้งนี้ หากมองในรายบริษัทจะพบว่ามีหลายบริษัทที่มีแนวโน้มผลประกอบการที่ดีขึ้น โดยบริษัทที่สามารถทำกำไรสุทธิได้มีจำนวน 32 แห่ง ในจำนวนนี้มีบริษัทจดทะเบียน 25 แห่ง ที่มีกำไรสุทธิเติบโตจากงวดเดียวกันปีที่แล้ว มองว่าในภาวการณ์เช่นนี้ นักลงทุนควรจับจังหวะเข้าลงทุนในหุ้นขนาดกลางและเล็กที่มีผลการดำเนินงานเติบโตอย่างต่อเนื่องมีศักยภาพและความสามารถในการแข่งขัน นอกจากนี้ ยังสามารถเลือกลงทุนในหุ้นปันผล โดยในครึ่งปีแรกนี้มีบริษัทจดทะเบียนใน mai 8 แห่งที่ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล มูลค่ารวม 261 ล้านบาท"

บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ mai ที่ประกาศจ่ายปันผลระหว่างกาล ได้แก่ บมจ. ซี.ไอ กรุ๊ป (CIG) มีอัตราเงินปันผลตอบแทน (Dividend Yield) (ณ ราคาวันที่ 17 ส.ค.) 2.24% บมจ. มัลติแบกซ์ (MBAX) 6.49% บมจ.ปิโก (ไทยแลนด์) (PICO) 8.95% บมจ. สตีล อินเตอร์เทค (STEEL) 12.56% บมจ. ทาพาโก้ (TAPAC) 6.25% บมจ. พลาสติค และหีบห่อไทย (TPAC) 8.77% บมจ. ยูนิมิต เอ็นจิเนียริ่ง (UEC) 5.05% และบมจ. ยูนิค ไมนิ่ง เซอร์วิสเซส (UMS) 3.71%

"สำหรับผู้สนใจข้อมูลผลการดำเนินงานและรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบริษัทจดทะเบียน สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมกิจกรรม บริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน หรือ Opportunity Day ได้ที่ S-E-T Call Center โทร. 0-2229 -2222 หรือรับฟัง Audio Clip ทาง www.efinradio.com ในรายการ mai Focus ทุกวันจันทร์ถึงวันศุกร์ เวลา 20:30-21:00 น. เริ่มออกอากาศในวันจันทร์ที่ 20 ส.ค. นี้ โดยมี บมจ. ซี.ไอ กรุ๊ป (CIG) เป็นบริษัทแรก" นายชนิตรกล่าว

ปัจจุบันมีบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) 44 บริษัท มีมูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดที่28,707 ล้านบาท ดัชนี mai ปิดที่ระดับ 238.57 (เมื่อวันที่ 17 ส.ค. 2550) ผู้ลงทุนที่สนใจข้อมูลผลประกอบการบริษัท จดทะเบียนสามารถศึกษา เข้าดูข้อมูลได้ ทาง www.mai.or.th หรือสมัครรับข้อมูลตลาด mai ฟรีทางอีเมล์ที่ [email protected]
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=90340
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news22/08/07

โพสต์ที่ 212

โพสต์

อุตฯลุ้นจีดีพี4%-ยอดลงทุนแตะ7แสนล.  
โดย ข่าวสด
วัน พุธ ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2550 09:18 น.

ฝรั่งเทขายทำกำไรหุ้นรวงกราว27จุด-ผวา!ซับไพรม์ยื้อ

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรมว. อุตสาหกรรม กล่าวถึงผลการลงมติเห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญ ว่า เรื่องนี้ย่อมมีผลต่อความรู้สึกของประชาชนและส่งผลต่อภาพรวมเศรษฐกิจในแง่ของการบริโภคที่ผู้บริโภคจะมีความเชื่อมั่นทำให้มีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น แม้ว่าจะมีประชาชนไม่เห็นชอบรับร่างรัฐธรรมนูญอีก 41% ก็ถือเป็นกระบวนการแสดงความคิดเห็นที่มีแบ่ง 2 ฝ่ายอยู่แล้ว และมั่นใจว่าจะส่งผลให้การขยายตัวทางเศรษฐกิจไทยในปีนี้ดีกว่า 4%

นายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ร่างรัฐธรรมนูญที่ผ่านประชามติไปแล้วจะทำให้นักลงทุนมั่นใจว่าไทยจะมีการเลือกตั้งช่วงปลายปี จะทำให้นักลงทุนที่ได้ยื่นคำขอรับการส่งเสริมการลงทุนกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) ตัดสินเข้ามาลงทุนในประเทศไทยมากขึ้น

ที่ผ่านมาการยื่นขอรับการส่งเสริมมียอดที่สูง แต่การลงทุนจริงน้อยมาก เพราะนักลงทุนชะลอลงทุนเพื่อดูความชัดเจนทางการเมือง และเศรษฐกิจไทย แต่เมื่อทุกอย่างผ่านพ้นไปด้วยดีอย่างนี้เชื่อว่านักลงทุนที่ขอบีโอไอไว้คงเริ่มก่อสร้างโรงงาน คาดยอดลงทุนที่จะเกิดขึ้นในช่วงปี51 คงจะมีสัดส่วนถึง 65% ของคำขอในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา หรือมีมูลค่าประมาณ 6-7 แสนล้านบาท ซึ่งตรงนี้จะทำให้เกิดการจ้างงานเพิ่ม นายจักรมณฑ์กล่าว

สำหรับการเลือกตั้งที่จะเกิดขึ้นในช่วงเดือนธ.ค.นี้ คาดว่าจะทำให้ค่าเงินบาทในช่วงหลังเลือกตั้งมีทิศทางแข็งค่าเพิ่มอีกเนื่องจากทิศทางการลงทุนจะสูงขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้เงินทุนไหลเข้ามาอย่างแน่นอน ประกอบกับปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) ที่ทั้งสหรัฐ และประเทศแถบยุโรปร่วมมือกันทุกด้านเพื่อให้ปัญหาไม่บานปลายนั้น หากทำได้สำเร็จจะทำให้เงินทุนไหลกลับเข้ามาตลาดหุ้นเพิ่มเติมอีก เพราะพื้นฐานเศรษฐกิจไทยยังดีอยู่

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัยสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย หรือทีดีอาร์ไอ กล่าวว่า แม้ผลประชามติประชาชนจะรับร่างรัฐธรรมนูญปี50 แต่ยังไม่สามารถเรียกความเชื่อมั่นของผู้บริโภคและนักลงทุนกลับมาได้ทั้ง 100% คงต้องรอหลังการเลือกตั้งที่คาดว่าจะมีขึ้นในเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งจะช่วยทำให้เศรษฐกิจฟื้นตัว นอกจากนี้ นักลงทุนต่างชาติยังมีความกังวลการพิจารณาร่างพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าวที่แก้ไขคำนิยมของคนต่างด้าวใหม่ รวมทั้งพ.ร.บ.ค้าปลีก ซึ่งไม่แน่ใจว่าจะพิจารณาทันรัฐบาลนี้หรือรัฐบาลชุดใหม่

ผู้สื่อข่าวรายงานภาวะการลงทุนในตลาดหุ้นไทยวันที่ 21 ส.ค. ว่า เมื่อเปิดตลาดนักลงทุนเทขายหุ้นต่อเนื่อง ทำให้ดัชนีปรับตัวลดลง ส่วนช่วงบ่ายตลาดปรับตัวลงค่อนข้างแรง เนื่องจากมีแรงเทขายทำกำไรระยะสั้นออกมาของนักลงทุน หลังจากเมื่อวันที่ 20 ส.ค. ที่ดัชนีปรับตัวขึ้นค่อนข้างแรงถึง 33 จุด หลังร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนักลงทุนต่างชาติเชื่อว่าน่าจะมีแรงขายออกมาผสมโรง เนื่องจากยังคงมีความกังวลปัญหาซับไพรม์ ซึ่งคาดว่าจะยืดเยื้อไปถึงปีหน้า ส่งผลให้กองทุนต่างชาติทยอยขายหุ้นออกจากพอร์ต โดยปิดตลาดที่ระดับ 764.40 จุด ลบ 27.62 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 20,490.86 ล้านบาท
http://news.sanook.com/economic/economic_172148.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news22/08/07

โพสต์ที่ 213

โพสต์

พายุบาทส่อเค้าวูบวาบต่อเนื่อง [ ฉบับที่ 821 ประจำวันที่ 22-8-2007 ถึง 24-8-2007]  
>สับแหลกคลัง-แบงก์ชาติดีแต่ปาก ไล่ไม่ทันเล่ห์กลคนเล่นเงิน

โฆสิต มั่นใจ คลัง-ธปท.แก้ปัญหาค่าบาท เดินมาถูกทางแล้ว แต่ต้องระวังปัญหาซับไพรม์ในตลาดสหรัฐฯ ใกล้ชิด ระบุไม่กังวลนักลงทุนในตลาดหุ้น เชื่อเข้า ใจสถานการณ์ดี ด้าน ดร.ฉลองภพ ชี้ใช้นโยบายดอกเบี้ยแก้ปัญหาไม่เพียงพอ ย้ำต้องมีมาตรการดูแล

การไหลเข้า - ออกของเงินทุน ขณะที่นักวิชการอัดแบงก์ชาติอ่อนประชาสัมพันธ์ เอาแต่นั่งอยู่บนหอคอยงาช้าง ย้ำต้องเร่งแก้ภาพเกาเหลาคลัง-แบงก์ชาติ พร้อมวางกรอบการทำงานให้ชัดเจน ด้านซียนหุ้น ชี้ ปัญหาซับไพร์มยังเป็นตัวการทุบ SET

ความคืบหน้าการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาท หลังจากสัปดาห์ที่ผ่านมา ค่าเงินบาทมีความผันผวนหนัก ซึ่งส่งผลต่อตลาดหลักทรัพย์ ฯ และความมั่นใจของนักลงทุน โดยทิศทางค่าเงินบาทยังคงมีแนวโน้มแข็งค่าต่อเนื่อง ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากวิกฤติการณ์หนี้เสียภาคอสังหาริมทรัพย์ในประเทศสหรัฐอเมริกา

ขณะที่ความพยายามที่จะแก้ปัญหาของรัฐบาลทั้งกระทรวงการคลังและทาง ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) หลังกำหนด 6 มาตรการเพื่อผ่อนคลายการแข็งค่าของค่าเงินบาท และกลายเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ของหลายฝ่ายเกี่ยวกับผลสะท้อนที่ยังไม่มีความชัดเจนเป็นรูปธรรมมากนัก

แหล่งข่าวห้องค้าเงินตราต่างประเทศ ฝ่ายแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ธฯคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงทิศทางค่าเงินบาทในสัปดาห์ ผ่าน สยามธุรกิจ ว่า แนวโน้มค่าเงินบาทสัปดาห์นี้ยังมีลักษณะของการแกว่งตัวในกรอบแคบๆ เป็นลักษณะแบบไซด์เวย์ สภาวะตลาดค่อนข้างเงียบเหงา เนื่องจากนักลงทุนชะลอการเทรดเพื่อดูทิศทาง

ขณะที่มาตรการที่ออกมาจากภาครัฐเองยังไม่ได้กระตุ้นให้เกิดภาพในเชิงบวกที่ชัดเจน โดยหลังมาตรการแก้ปัญหาทั้ง 6 ข้อ ทิศทางของค่าเงินบาทอ่อนค่าลงเล็กน้อย แกว่งตัวอยู่ที่ 35.50-70 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ซึ่งคงต้องรอการประชุมจากธปท.ในวันนี้ ซึ่งค่าเงินบาทน่าจะอยู่ในกรอบ 34.30-34.40 บาทต่อดอลาร์สหรัฐฯ

ส่วนคาดการณ์ค่าเงินบาทในสัปดาห์นี้ยังมีแนวโน้มอ่อนค่าลงอีกเล็กน้อย แนวต้านด้านบนอยู่ที่ 34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ กรอบจะอยู่ระหว่าง 34.30-34.50 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ

ทั้งนี้ปัจจัยสำคัญที่ต้องจับตามองคือภาคการส่งออก การประชุมของธปท.และประเด็นตลาดทุนที่ยังคง PANIC รวมถึงภาพของซับไพร์มที่ยังต้องติดตามถึงผลกระทบว่าจะยังมีต่อเนื่องมากน้อยเพียงใด

โฆสิตชี้แก้ไขค่าบาทมาถูกทางแล้ว

นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.) ถึงแนวทางการแก้ไขปัญหาค่าเงินบาทโดยระบุว่าขณะนี้ยังไม่ได้หารือในเรื่องการแก้ไขปัญหาที่กระทรวงการคลังได้หารือกับธนาคารแห่งประเทสไทย(ธปท.) เมื่อวานนี้ แต่มีความเห็นว่าในการหารือร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรับมือและเตรียมแก้ไขปัญหาถือเป็นแนวทางที่ถูกต้องแล้วเพราะการแก้ไขปัญหาทุกฝ่ายควรที่จะร่วมมือกัน

ส่วนกรณีความกังวลปัญหาซับไพร์มของประเทศสหรัฐฯจะกระทบต่อเศรษฐกิจไทย นายโฆสิตระบุว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ย้ำไม่กังวล นลท.ในตลาดหุ้น

นายโฆ กล่าวว่าว่า ไม่เป็นห่วงนักลงทุนระยะยาวในตลาดหลักทรัพย์ว่าจะกังวลกับสถานการณ์การเมืองไทยหลังจากรัฐธรรมนูญฉบับปี 5 0ผ่านความเห็นชอบจากการลงประชามติของประชาชนแล้ว ทั้งนี้มั่นใจว่านักลงทุนเข้าใจสถานการณ์การเมืองไทยเป็นอย่างดีว่ามีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาจึงไม่กังวลว่าความกังวลของนักลงทุนจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจของไทย

อย่างไรก็ตามขณะนี้ตนยังไม่มีโอกาสได้พบกับนักลงทุนแขนงต่างๆแต่มีความมั่นใจว่านักลงทุนเข้าใจสถานการณ์การเมืองดี ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่าสหรัฐฯออกแถลงการณ์ว่าประเทศไทยควรจัดการเลือกตั้งโดยเร็วเพื่อให้เป็นผลบวกต่อประเทศไทยนั้น นายโฆสิตระบุว่าประเทศไทยได้เร่งดำเนินการอยู่แล้วและไทยสามารถดูแลตนเองได้

เซียนหุ้น ชี้ ซับไพร์มตัวการทุบSET

นายวีระชัย ครองสามสี ผู้อำนวยการฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บล.ฟาร์อีสท์ เปิดเผยถึงดัชนีฯที่ปรับลงลงแรงในช่วงบ่ายนี้ว่ามาจากความกังวลที่ยังคงมีอยู่ต่อเนื่องเกี่ยวกับปัญหาซับไพร์มว่าอาจมีผลกระทบต่อสถาบันการเงิน และเศรฐกิจในวงกว้าง และสะท้อนให้เห็นว่ากรณีที่ธนาคารกลางสหรัฐฯหรือ เฟดปรับลดอัตรา

ดอกเบี้ยมาตรฐานลง 0.5% ก็เป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นในการแก้ปัญหาเท่านั้น ซึ่งปัจจัยดังกล่าวส่งผลให้นักลงทุนต่างชาติมีแรงขายออกมาเพื่อถือครองเงินสดและป้องกันความเสี่ยงจากปัญหาซับไพร์ม โดยเฉพาะในหุ้นที่มีมาร์เก็ตแคปขนาดใหญ่ เช่น กลุ่มพลังงาน และกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ประกอบกับยังมีแรงเทขายทำกำไรออกมาต่อเนื่องจากช่วงเช้าหลังวานนี้ดัชนีฯปรับขึ้นแรงซึ่งกดดันให้ดัชนีฯปรับลดลงอย่างมีนัยสำคัญ

ฉลองภพชี้ต้องคุมเงินไหลเข้า-ออก

นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง พร้อม นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุภายหลังการประชุมเพื่อระดมสมองเรื่อง นโยบายการเงิน อัตราแลกเปลี่ยน และการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจการเงิน เพื่อรองรับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยนและเงินทุนเคลื่อนย้ายในระยะปานกลาง ร่วมกับนักวิชาการ ผู้ทรงคุณวุฒิ 40 คนเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมาว่าในที่ประชุมมีความเห็นตรงกันว่า การดำเนินนโยบายการเงินทำได้ยากขึ้น เพราะเศรษฐกิจโลกผันผวนมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือทางการเงินที่จะดูแล และรองรับความผันผวนในระยะปานกลาง และเห็นว่าการใช้อัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างเดียวไม่เพียงพอ จึงควรต้องมีมาตรการดูแลการไหลเข้า - ออกของเงินทุน ซึ่งจะต้องมีการศึกษาถึงการใช้มาตรการดังกล่าว เพราะเกรงจะมีผลกระทบต่อการพัฒนาตลาดทุนไทย ซึ่ง ธปท.และธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี) กำลังศึกษาเรื่องนี้อยู่

ขณะเดียวกัน ก็มีข้อเสนอจากนักวิชาการให้ ธปท.มีการสื่อสารกับสาธารณะมากขึ้น โดยให้มีการใช้ภาษาที่ง่าย เพื่อทำความเข้าใจถึงการใช้นโยบายการเงินในการดูแลอัตราแลกเปลี่ยน ซึ่งกระทรวงการคลังก็เห็นด้วย

ผู้ว่าธปท.ยันวางเป้าเงินเฟ้อเหมาะสมแล้ว

ด้าน นางธาริษา กล่าวว่าการเชิญผู้ทรงคุณวุฒิมาหารือ ก็เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องที่ ธปท.ดำเนินการ และรับฟังความเห็นเพื่อนำมาปรับปรุง โดย ธปท. ชี้แจงถึงนโยบายการเงินแบบตั้งเป้าเงินเฟ้อ ซึ่งก่อนหน้านี้ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่า ธปท.ยึดติดกับนโยบายดังกล่าวมากจนเกินไป โดย ธปท.ยืนยันว่าการตั้งเป้าหมายเงินเฟ้อเป็นทางเลือกที่เหมาะสมที่สุด และมีความยืดหยุ่นในการดูแลการเติบโตของเศรษฐกิจ ซึ่งตั้งแต่ใช้นโยบายนี้มาตั้งแต่ปี 2543 เศรษฐกิจไทยเติบโตไม่น้อยกว่าประเทศในภูมิภาค หรือเฉลี่ยร้อยละ 5.1 ต่อปี เงินเฟ้อร้อยละ 2.7 และการขยายตัวของภาคการส่งออกมีร้อยละ 11.9

ส่วนการดูแลแนวโน้มอัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา ธปท.ยืนยันว่าจะต้องสะท้อนความเป็นจริง การเข้าแทรกแซงจะต้องได้ผลและคุ้มกับต้นทุนทางเศรษฐกิจ ซึ่งเห็นว่า การรับมือกับความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน ภาครัฐและเอกชนจะต้องผลักดันโครงสร้างเศรษฐกิจให้แข็งแกร่ง เพิ่มผลผลิตในระยะยาว และไม่ต้องการให้พึ่งพานโยบายการเงิน หรือกำหนดให้อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่ระดับใดระดับหนึ่ง

ธปท.เร่งสร้างความคล่องตัว

ด้านความเคลื่อนไหวจากธนาคารแห่งประเทศไทย ล่าสุด มีการเรียกประชุมในระดับตั้งผู้ช่วยผู้ว่าการในทุกสายมีการนำเอามาตรการการแก้ปัญหาค่าเงินบาท และที่มีการประชุม เพื่อระดมสมองทั้งในส่วนกระทรวงการคลง และการหารือร่วมกับนักวิชาการผู้ทรงคุณวุฒิ 40 คน เมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา

แหล่งข่าวในธปท. เปิดเผยกับ สยามธุรกิจ ว่า ในที่ประชุมน่าจะมีการหารือถึงวิธีการทำงานของธปท.เพื่อให้เกิดความคล่องตัว โดยส่วนหนึ่งเป็นนโยบายจากผู้ว่าธปท.ที่ต้องการ กระตุ้นให้ธปท.ทำงานได้คล่องตัวมากขึ้น โดยเฉพาะในส่วนของการออกมาให้ข้อมูล ที่แต่เดิมติดขัดกับกฎหมายและระบบราชการ ซึ่งทำให้การทำงานของธปท.ไม่ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะในตลาดทุนและตลาดเงิน ที่เปลี่ยนแปลงกันแทบจะทุกวินาที

อย่างไรก็ตามภาพของธปท.เวลานี้ถูกวิพากวิจารณ์จากทั้งผู้ประกอบการณ์ นักลงทุนรวมถึงนักวิชาการว่า ขาดความคล่องตัวในการให้ข้อมูล และการประเมินผลกระทบยังไม่มีความชัดเจน ซึ่งทั้งหมดน่าจะมีการนำเข้าพิจารณาในที่ประชุม โดยมีการสรุปจากบทเรียนของปัญหาซับไพร์ม ที่ธปท.ตกเป็นกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่าทำงานล่าช้าในการให้ข้อมูลกับนักลงทุน

อัดแบงก์ชาติอ่อนประชาสัมพันธ์ข้อมูล

ขณะที่นักวิชาการรายหนึ่งที่เข้าร่วมประชุมระดมสมองเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา กล่าวว่า จุดอ่อนที่สำคัญจุดหนึ่งในการทำงานของธปท. มีการติติงกันมาก คือเรื่องของการประชาสัมพันธ์และการทำความเข้าใจกับประชาชน เพราะที่ผ่านมาทีมงานประชาสัมพันธ์ของธปท.ทำงานเหมือนกับอยู่บนหอคอยงาช้าง คือคอยรับแต่หนังสือแล้วส่งนายเพียงอย่างเดียว ตัดสินใจอะไรไม่ได้ หรือไม่ยอมรับผิดชอบที่จะทำอะไรนอกเหนือกว่านั้น คนที่ต้องการข้อมูลก็ต้องไปรอตัวผู้บริหารออกมาเปิดเผย แทนที่จะสามารถติดต่อขอข้อมูลได้เลย

โดยเฉพาะในช่วงที่มีความผันผวนของค่าเงิน และวิกฤติซับไพร์ม ทีมงานพีอาร์ของธปท.ทำงานได้อย่างน่าตำหนิ ทั้งสื่อฯ นักวิชาการ รวมถึงนักลงทุนพยายามที่จะขอข้อมูลจากทางธปท.เพื่อป้องกันความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น แต่ส่วนใหญ่ได้รับคำตอบให้ต้องกลับไปทำหนังสือขอข้อมูล ซึ่งจะต้องใช้เวลาอีก 2 วันกว่าที่จะได้ข้อมูล ซึ่งเรื่องนี้ได้ฝากนางธาริษา (ผู้ว่าธปท.) ไปแก้ปัญหาแล้ว ต่อจากนี้ผู้บริหารธปท.โดยเฉพาะส่วนที่กำกับดูแลน่าจะลงมาให้ความชัดเจนได้มากยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ลักษณะการทำงานที่ยึดติดกับระบบราชการ และทำงานแบบข้าราชการ ความไม่กล้าที่จะให้ข้อมูล ยกตัวอย่างกรณีของ ธนาคารพาณิชย์ไทยที่ไปลงทุนในสหรัฐฯ ที่เสียหายจากซัพไพร์ม หรือผลกระทบความผันผวนจากค่าเงินบาทที่เป็นตัวเลขที่แท้จริง สิ่งเหล่านี้มักไม่ค่อยได้รับข้อมูลจากธปท. ซึ่งต่อไปนี้เชื่อว่าจะมีการลงไปกำกับดูแลในประเด็นสำคัญๆ เหล่านี้มากขึ้น

นักวิชาการจี้แก้ภาพเกาเหลา "คลัง-ธปท."

ด้านนายสมชาย ภคภาสวิวัฒน์ นักวิชาการด้านเศรษฐศาสตร์การเมือง เปิดเผยกับ สยามธุรกิจ ถึงนโยบายการแก้ปัญหาด้านนโยบายการเงิน หลังมีการหารือหลายฝ่ายเมื่อวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมาว่า ส่วนตัวแล้วตนได้รับเชิญ แต่ไม่สะดวกที่จะเข้าร่วมประชุม ทั้งนี้ในส่วนของนโยบายการแก้ปัญหาที่อกมา มองว่ายังเป็นนโยบายเก่า ที่ก็ยงไม่สามารถสะท้อนภาพของการแก้ปัญหาที่ชัดเจนได้

แต่ประเด็นสำคัญในเวลานี้สำหรับการแก้ปัญหา คิดว่าอยู่ที่การกำหนดกรอบการทำงาน ที่ผ่านมาธปท.กับกระทรวงการคลัง มีการกำหนดท่าทีที่ยังไม่ชัดเจน กระทรวงการคลังเองจะต้องเน้นไปที่การมองภาพใหญ่ ในขณะที่ทางธปท.เองก็ต้องมีอิสระในการทำงาน เรื่องนโยบายทางการเงินจะต้องให้ธปท.สามารถกำหนดภาพนโยบายในภาพกว้างได้ชัดเจนและเป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้น

ที่ผ่านการทำงานระหว่างธปท.กับกระทรวงการคลังเป็นเรื่องของบุคลิกภาพ ตรงนี้มองตัวรมต.คลังในสมัยที่ผ่านๆ มาจะเห็นภาพช่องว่างการทำงานระหว่างคลังกับธปท.ได้อย่างชัดเจน ปัญหาในส่วนนี้ก็ต้องไปมองกันในด้านกฎหมาย ว่าจะสามารถกำหนดกรอบการทำงานของแต่ละฝ่ายได้อย่างไร

นอกจากนี้ปัญหาใหญ่ของธปท.อีกปัญหาหนึ่งก็คือปัญหาในด้านการตัดสินใจ ที่ยังไม่มีมาตรฐาน บางเรื่องก็ตัดสินใจเร็วเกินไป แต่ก็ไม่รอบคอบ บางเรื่องก็ตัดสินใจช้าเกินกว่าที่ควรจะเป็น อย่างเรื่องของมาตรการกันสำรอง 30 % นี่ตัดสินใจเร็วแต่ไม่รอบคอบ แต่โดยรวมแล้วถือว่ากรอบการตัดสินใจของธปท.เองก็ยังคงเป็นปัญหาใหญ่

อย่างไรก็ตามสิ่งที่อยากนำเสนอเพื่อให้เกิดการแก้ปัญหาที่ชัดเจนและเร่งด่วน จะมีอยู่ในสองเรื่องคือ 1.กรอบการทำงานระหว่างคลังกับธปท. และเรื่องที่สองคือคณะทำงานที่จะต้องโคฟเว่อร์กับปัญหาได้มากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะการหาบุคคลากรที่เหมาะสมสำหรับปัญหาที่จะเกิดขึ้นตามมาในแต่ละด้าน ยกตัวอย่างในกรณีมาตรการกันสำรอง 30 % ที่มีผลช็อกตลาดทุน ที่เป็นเรื่องที่ธปท.เองก็ยังคาดไม่ถึง ตรงนี้ก็ต้องมีบุคคลากรที่มีความชำนาญในส่วนของตลาดทุนเข้าไปร่วมเป็นคณะทำงาน หรือให้คำแนะนำ

พรศิลป์ เตือนนักธุรกิจอย่าเก็งค่าเงิน

นายพรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล ประธานคณะกรรมการธุรกิจเกษตรและอาหาร สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย เปิดเผย สยามธุรกิจ ว่ามาตรการของแบงก์ชาติช่วงที่ผ่านมาก็ถือว่าใช้ได้ ทั้งมาตรการสำรอง 30 บาท และมาตรการที่เสนอโดยภาคเอกชน 6 ข้อ ซึ่งก็ทำให้ค่าเงินอ่อนลง แต่ก็ไม่ได้มาจากมาตรการทั้งหมด ส่วนหนึ่งเป็นผลจากซับไพร์มในสหรัฐฯ

ผมคิดว่าตอนนี้คงต้องรอดูสถานการณ์อีกสักระยะ ทำอะไรมากไม่ได้ มีอยู่อย่างเดียวคือดอกเบี้ย แต่ก็มีพลังน้อยเกินไปที่จะใช้ต่อสู้อัตราแลกเปลี่ยน อย่างไรก็ตาม เราจำเป็นต้องเปรียบเทียบกับประเทศเพื่อนบ้านด้วยว่าอัตราค่าเงินของเราผันผวนมากกว่าเขาหรือเปล่า เนื่องจากตลาดของเราเปิดเสรีมากกว่าจึงมีโอกาสผันผวนมากกว่า รัฐบาลจำเป็นต้องใช้เงินเข้ามาแทรกแซง แต่ปัญหาคือจะหาเงินจากที่ไหน นายพรศิลป์ กล่าว

นายพรศิลป์ยังกล่าวอีกว่า ทางรอดของเอกชนตอนนี้คือต้องปิดรอบเวลาซื้อขายสินค้าที่ชัดเจน อย่ามัวแต่เก็งค่าเงินบาท เพราะที่ผ่านมาแสดงให้เห็นแล้วว่าไม่ได้เป็นอย่างที่คิด ซึ่งในวันศุกร์ที่ 7 กันยายน หอการค้าไทยจะเชิญวิทยากรที่ประสบความสำเร็จในการผ่านวิกฤติมาบรรยายให้ความรู้กับสมาชิก ซึ่งปัจจุบันเราจำเป็นต้องทำธุรกิจบนฐานความเป็นจริง มากกว่าเน้นทฤษฎีเชิงวิชาการอย่างเดียว
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... 12DDS45231
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news22/08/07

โพสต์ที่ 214

โพสต์

แนะปรับโครงศก.ไทย เลิกพึ่งแต่"ส่งออก"-มาตรการกีดกันฉุด9อุตฯพัง  

ทีดีอาร์ไอ ชี้เศรษฐกิจไทยควรเลิกหวังจะพึ่งพาแต่การส่งออก เหตุเจอผลกระทบจากปัจจัยลบสารพัด โดยเฉพาะความผันผวนจากอัตราแลกเปลี่ยน ม.หอการค้าฯเผย 9 อุตสาหกรรมไทยสาหัส เจอมาตรการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่ภาษีเล่นงานหนัก ทั้งยอดขายลด ต้นทุนพุ่ง ปลดคนงานกว่า 4 พันราย

นายสมชัย จิตสุชน ผู้อำนวยการวิจัย ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจส่วนรวม และการกระจายรายได้สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) กล่าวว่าเศรษฐกิจของไทยยังไม่ฟื้นหากเศรษฐกิจของไทยยังพึ่งพิงการส่งออกเป็นหลักดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลซึ่งจะกดดันให้ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้นระหว่างทางบาทจะอ่อนค่าขึ้นลงบ้างไปตามกระแสการไหลเข้าออกของเงิน

" เชื่อว่าหากเศรษฐกิจของไทยยังพิการหรือยังไม่ฟื้นหากเศรษฐกิจของเรายังพึ่งพิงการ ส่งออกเป็นหลักซึ่งจากการหารือกับภาคเอกชนได้มีข้อเสนอหลายมุมมองเกิดขึ้น ส่วนภาคเอกชนเองก็ต้องมีเครื่องมือในการรองรับความผันผวนที่เกิดขึ้นด้วย "

นายสมชัย กล่าวว่าแม้ว่าไทยังมีเครื่องมือเพื่อป้องกันและดูแลเรื่องความผันผวนของอัตราแลกเปลี่ยน อย่างเช่นมาตรการกันสอง 30 % ของ ธปท.แต่อย่างไรก็ตามเห็นว่าไทยยังจะต้องมีเครื่องมืออื่นๆที่จะมารองรับภาวะความผันผวนที่เกิดขึ้นเพิ่มเติมมากขึ้น เช่นเครื่องมือของกระทรวงการคลังที่มี พ.ร.บ.หนี้สาธารณะเพื่อสามารถออกพันธบัตรได้เพื่อพอกับความจำเป็น ซึ่งจะช่วยให้แบงก์ชาติมีเครื่องมีในการบริหารค่าเงินบาทมากขึ้นขณะเดียวกันภาคเอกชนก็ต้องมีเครื่องมือในการป้องกันความเสี่ยงด้วย

ทางด้านนายอัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลสำรวจความคิดเห็นผู้ประกอบการ เพื่อคาดการณ์ผลกระทบมาตรการที่มิใช่ภาษี โดยเฉพาะมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (เอสพีเอส) และมาตรการอุปสรรคทางการค้าด้านเทคนิค (ทีบีที) ว่าจากทำการสำรวจจากผู้ประกอบการใน 9 กลุ่มสินค้า จำนวน 400 ตัวอย่าง ระหว่างเดือนมีนาคม-เมษายน 2550 ประกอบด้วย กลุ่มปศุสัตว์ กลุ่มประมงและประมงแปรรูป ผักผลไม้พืชและผลิตภัณฑ์จากพืช อาหารและเครื่องดื่ม เครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ยานยนต์และชิ้นส่วน เฟอร์นิเจอร์และวัสดุภัณฑ์ไม้ และยาและเครื่องสำอาง พบว่าทั้ง 9 กลุ่มถูกประเทศมหาอำนาจใช้มาตรการที่มิใช่ภาษี ซึ่งในมาตรการเอสพีเอส และมาตรการทีบีที ส่งผลให้ปี 2550 มีการจ้างงานลดลงในทั้ง 9 กลุ่มรายการสินค้าถึง 4,935 คน กระทบต้นทุนการผลิตเพิ่มขึ้น 5,080.49 ล้านบาท ส่งออกลดลง 4,396.99 ล้านบาท

"เป็นตัวเลขค่อนข้างสูง จึงอยากให้หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมมือกัน เพื่อหามาตรการป้องกันและลดผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีจากกลุ่มประเทศต่าง ๆ หากไทยได้รับผลกระทบจากมาตรการที่มิใช่ภาษีมาก ก็จะกระทบเป็นลูกโซ่ในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นเช่นกัน"

ส่วนปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ของสหรัฐนั้นขณะนี้ปัญหาซับไพร์มลดความร้อนแรงลง และคงจะเร็วเกินไปที่จะส่งผลกระทบต่อภาคการส่งออกของไทย แต่คงต้องมีการติดตามเศรษฐกิจสหรัฐหลังจากนี้ว่าจะชะลอตัวลงหรือไม่ และต้องดูมาตรการของสหรัฐว่าออกมาตรการอะไรมายับยั้งไม่ให้ปัญหาซับไพร์มลุกลาม อย่างไรก็ตาม แม้แนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัวลงบ้าง แต่ถือว่ายังไม่ถดถอย จึงต้องขอดูเศรษฐกิจสหรัฐอีก 1-2 เดือนข้างหน้า

นอกจากนี้ ทางศูนย์ฯ จะมีการประเมินและปรับประมาณการตัวเลขส่งออกอีกครั้งในเดือนตุลาคมนี้ ซึ่งจากเดิมมองว่า ตัวเลขการส่งออกจะเติบโตร้อยละ 10-12 แต่จากการที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มองว่า ส่งออกทั้งปีน่าจะเติบโตไม่ต่ำกว่าร้อยละ 15 ทางศูนย์ฯ มองว่าน่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากการส่งออกครึ่งปีแรกมีอัตราการขยายตัวที่ดี

สำหรับภาวะเศรษฐกิจไทยนั้น ทางศูนย์ฯ มองไว้ 3 ด่าน คือ เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ การเลือกตั้ง และจัดตั้งรัฐบาล โดย 2 ด่านแรก คิดว่าไม่น่ามีปัญหา น่าจะเรียกความมั่นใจจากนักลงทุนและประชาชนได้ แต่หลังจากมีการเลือกตั้งและมีรัฐบาลผสม คงต้องติดตามว่า นโยบายรัฐบาลผสมกำหนดแนวนโยบายอย่างไร เพื่อกระตุ้นภาวะเศรษฐกิจและความเชื่อมั่น อย่างไรก็ตาม ทางศูนย์ฯ มองว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้ โดยเฉพาะครึ่งหลังปี 2550 น่าจะมีแนวโน้มดีขึ้น และส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจทั้งปีโตเกินร้อยละ 4 และในปี 2551 เศรษฐกิจจะเติบโตประมาณร้อยละ 4.5 แต่คงต้องดูว่า เศรษฐกิจสหรัฐและโลก รวมถึงแนวนโยบายของรัฐบาลจะเป็นอย่างไร เอกชนหวังศก.ฟื้นหลังการเมืองนิ่ง

นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) กล่าวว่า การที่ร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ผ่านการเห็นชอบจากการลงประชามติของประชาชนนั้น จะทำให้บรรยากาศการลงทุนดีขึ้นทั้งนักลงทุนในประเทศและต่างประเทศ เพราะจากนี้ไปทุกอย่างจะเดินไปตามขั้นตอน ทั้งการออกฎหมายลูก 3 ฉบับรองรับการเลือกตั้ง ทำให้ทุกอย่างเริ่มมีความชัดเจน และในช่วงปลายปีหลายปัจจัยบวกจะเด่นชัดมากขึ้น ทั้งการเบิกจ่ายงบประมาณปี 2551 ตามกำหนด แนวโน้มการเลือกตั้งทำให้มีรัฐบาลใหม่ การหาเสียงเพื่อสร้างโครงการต่าง ๆของนักการเมือง โดยเฉพาะโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ (เมกกะโปรเจ็กต์) ซึ่งทุกพรรคต้องเดินหน้าสานต่อ เพราะจะเป็นผลงานของพรรค เมื่อแนวโน้มการมีรัฐบาลชุดใหม่บวกกับอีกหลายปัจจัยจะทำให้บรรยากาศทางเศรษฐกิจในไตรมาส 3 และ 4 จะดีขึ้น

นายชวน ธรรมสุริยะ ประธาน บริษัท คั้นกี่น้ำเต้าทอง จำกัด ผู้จำหน่ายยาน้ำเต้าทอง กล่าวว่า จะทำให้เอกชนกล้าตัดสินใจลงทุนมากขึ้น เพราะบรรยากาศทางการเมืองเริ่มดีขึ้น ดังนั้น อุตสาหกรรมสมุนไพร ซึ่งเป็นกลุ่มขนาดไม่ใหญ่โตนักจะดีขึ้นไปตามด้วย

นายเจริญสุข กิจอิทธิ ประธาน บริษัท โสมเกาหลีตังกุยจับ จำกัด กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาได้พูดคุยกับนักธุรกิจต่างชาติและเพื่อนนักธุรกิจหลายคนมักจะบอกว่าให้รอดูความชัดเจนทางการเมืองก่อนถึงค่อยตัดสินใจลงทุน หรือบางคนก็บอกว่าเมื่อได้รัฐบาลมาจากการเลือกตั้งแล้วจะเริ่มตัดสินใจลงทุน ดังนั้น จากนี้ไปบรรยากาศการค้าการลงทุนน่าจะเริ่มดีขึ้น ผู้บริโภคก็จะกล้าใช้จ่ายซื้อสินค้ามากขึ้น  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=72314
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news22/08/07

โพสต์ที่ 215

โพสต์

ปกรณ์ เปิดแถลงโชว์วิสัยทัศน์ หลังรับตำแหน่ง ประธาน ตลท.คนใหม่

โดย ผู้จัดการออนไลน์
22 สิงหาคม 2550 16:02 น.

 ปกรณ์ เปิดแถลงโชว์วิสัยทัศน์ หลังรับตำแหน่ง ประธาน ตลท.คนใหม่ ชี้ตลาดหุ้นไทยพื้นฐานยังดี แต่ที่ผันผวนช่วงนี้เกิดจากปัญหาซับไพรม์ เชื่อหลังจากนี้จะเกิดการระดมทุนผ่านตลาดหุ้นมากขึ้น เนื่องจากสภาพคล่องในระบบปัจจุบันไม่เพียงพอ ที่จะรองรับความต้องการระดมทุนในระบบได้ ลั่นแผนขยายอุปทาน หรือสินค้าในตลาดเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งเร่งผลักดันการจดทะเบียนในตลาดหุ้นสองประเทศ (Dual Listing) เร่งรัดการพิจารณาอนุมัติกระจายหุ้นของบริษัทจดทะเบียนใหม่ (IPO) รวมถึงการแปรรูปตลาดหุ้นไทยให้ทันตามกระแสโลก
     
      วันนี้ (22 ส.ค.) นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานคณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) กล่าวถึงภาวพรวมตลาดหุ้นไทย ภายหลังการเขารับตำแหน่งใหม่ โดยระบุว่า สาเหตุที่ทำให้หุ้นไทยตกในช่วงนี้ เกิดจากปัญหาเรื่องของซับไพรม์ ทำให้ต้องมีการขายหุ้นออกเพื่อนำเงินไปคืนหนี้ ขณะที่การลงทุนสำคัญที่ปัจจัยพื้นฐานและเศรษฐกิจของไทยยังไม่ได้เปลี่ยนแปลง
     
      นายปกรณ์ กล่าวว่า ยังเชื่อว่า ปีนี้เศรษฐกิจไทยจะเติบโตในระดับที่แบงก์ชาติและสภาพัฒน์ประมาณการไว้ แต่จากนี้ไปความต้องการระดมทุนในตลาดหุ้นจะมีมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีสภาพคล่องส่วนเกินในระบบธนาคารพาณิชย์ 4.5 แสนล้านบาท แต่ความต้องการระดมทุนในระบบมีประมาณ 5.2 แสนล้านบาท
     
      สภาพคล่องในระบบที่มี 4.5 แสนล้านบาท ไม่สามารถรองรับความต้องการในการระดมทุนที่จะเกิดขึ้นได้ ความต้องการเงินทุนจะเข้ามาระดมผ่านตลาดทุน ซึ่งปัจจุบันมีการใช้กำลังผลิตที่เกือบเต็ม ทำให้ธุรกิจหลายแห่งต้องมีการลงทุนและระดมทุนเพิ่ม ซึ่งตลาดทุนก็จะเป็นช่องทางหนึ่ง นายปกรณ์ กล่าว
     
      ขณะที่ปัจจัยทางการเมืองปัจจุบันมีความชัดเจนขึ้นเรื่องการเลือกตั้ง หลังจาก Market sentiment ดีขึ้นมีผลให้แนวโน้มการลงทุนในตลาดหุ้นน่าจะชัดเจน
     
      ตอนนี้ตลาดหุ้นยังกังวลเรื่องซับไพรม์ ซึ่งทั้งโลกคงต้องตามดูอย่างใกล้ชิด ธนาคารกลางต่างๆ ก็ให้ความสำคัญอัดฉีดเงินเข้ามาในระบบ รวมทั้งการที่เฟดลดดอกเบี้ยมาตรฐาน น่าจะมีผลทางจิตวิทยา และหากในอนาคตไม่มีกองทุนเสียหายเพิ่ม sentiment ตลาดก็จะกลับมาในที่สุด
     
      ผมคิดว่าการให้นักลงทุนมีทางเลือกในการลงทุนที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนเพื่อต้องการผลประโยชน์ผลตอบแทน หรือลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยง เพราะฉะนั้นผมจะร่วมพิจรณากับฝ่ายจัดการ เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการในเชิงรุก เพื่อเพิ่มให้ตลาดหลักทรัพย์ที่มีคุณภาพเข้าจดทะเบียน SET ไม่ว่าจะเป็นกระดานหลัก หรือ mai นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คนใหม่ แถลงหลังได้รับตำแหน่งในวันนี้
     
      ทั้งนี้ ตลาดหลักทรัพย์จะจะเตรียมหารือกับกระทรวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อขอให้บริษัทที่ขอ BOI เข้ามาจดทะเบียนในตลาด หรือทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เพื่อให้บริษัทดีๆ เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในเรื่องที่จะทำให้กระบวนการ IPO มีความคล่องตัว รวดเร็ว รวมถึง เรื่อง Dual-Listing ซึ่งหลายตลาดในต่างประเทศก็ทำกันอยู่ ก็ต้องมาช่วยกันเร่งพิจารณาดำเนินการ
     
      นายปกรณ์ มีแผนสนับสนุนแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ให้ทันกระแสโลก โดยในช่วง 30 ปีของตลาดหลัทรัพย์ที่จัดตั้งมา ซึ่งตนได้เป็นผู้ร่วมจัดตั้งด้วยนั้น ยอมรับว่า พอใจในระดับหนึ่ง เพราะน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยในดัชนี MSCI มีเพียง 2% กว่าเท่านั้น และแนวโน้มอาจลดลงไปอีก
     
      ประธานตลาดหลักทรัพย์คนใหม่ เผยเน้นขยายอุปทาน หรือสินค้าในตลาดเพิ่มขึ้นเพื่อเป็นทางเลือกให้นักลงทุน โดยจะขอความร่วมมือจากหลายหน่วยงาน พร้อมเร่งผลักดันให้ ก.ล.ต.พิจารณา IPO เร็วขึ้น และ Dual-Listing รวมถึงจะแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ให้ทันตามกระแสโลก
     
      ผมคิดว่า ให้นักลงทุนมีทางเลือกที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นนักลงทุนเพื่อต้องการผลตอบแทน หรือลงทุนเพื่อบริหารความเสี่ยง จะจัดทำแผนปฏิบัติการในเชิงรุก เพื่อเพิ่มให้ตลาดหลักทรัพย์มีมูลค่า ไม่ว่าจะเป็นตลาดหลัก (SET) หรือตลาด mai ก็คงมีหลายเรื่องต้องอาศัยองค์กรภายนอกในการช่วยพัฒนาตลาดหลักทรัพย์ นายปกรณ์ มาลากุล ณ อยุธยา ประธานตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) คนใหม่ แถลงหลังได้รับตำแหน่งในวันนี้
     
      ทั้งนี้ จะเตรียมหารือกับกระทวงการคลัง สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (BOI) เพื่อขอให้บริษัทที่ขอ BOI เข้ามาจดทะเบียนในตลาด หรือทางสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เพื่อให้บริษัทดีๆ เข้ามาจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในเรื่องที่จะทำให้กระบวนการ IPO มีความคล่องตัว รวดเร็ว รวมถึง เรื่อง Dual-Listing ซึ่งหลายตลาดในต่างประเทศก็ทำกันอยู่ ก็ต้องมาช่วยกันเร่งพิจารณาดำเนินการ
     
      นายปกรณ์ มีแผนสนับสนุนแปรรูปตลาดหลักทรัพย์ให้ทันกระแสโลก โดยในช่วง 30 ปี ของตลาดหลัทรัพย์ที่จัดตั้งมา ซึ่งตนได้เป็นผู้ร่วมจัดตั้งด้วยนั้น ยอมรับว่าพอใจในระดับหนึ่ง เพราะน้ำหนักของตลาดหุ้นไทยในดัชนี MSCI มีเพียง 2% กว่าเท่านั้น และแนวโน้มอาจลดลงไปอีก
     
      การแปรรูปมีข้อดีเยอะ แต่ขณะเดียวกัน ต้องดูให้ดีว่าจะเอาข้อดีข้อไหนบ้างมาทำให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับตลาดหุ้น ซึ่งต้องพิจารณาให้ละเอียดรอบคอบ และจะหารือกับ คุณภัทรียา เพื่อกำหนดกรอบเวลาให้ชัดเจน นายปกรณ์ กล่าว
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000098879
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news22/08/07

โพสต์ที่ 216

โพสต์

มาเลเซียเสนอขยายการค้าและการลงทุนกับไทย  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
22 สิงหาคม 2550 15:32 น.

      มาเลเซียเสนอขยายการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคีกับไทย อีกทั้งรับรองว่า จะร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับไทยต่อไปเพื่อส่งเสริมบทบาทของสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ในประชาคมโลก เพื่อผลประโยชน์ของทั้งภูมิภาคโดยรวม
     
      สำนักข่าวเบอร์นามาของทางการมาเลเซียรายงานวันนี้(22 ส.ค.) โดยระบุว่า นายกรัฐมนตรีอับดุลเลาะห์ อาหมัด บาดาวี กล่าวเรียกร้องดังกล่าวในระหว่างงานเลี้ยงอาหารค่ำที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ ของมาเลเซีย วานนี้ เพื่อต้อนรับ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ นายกรัฐมนตรีของไทย และคณะ ซึ่งอยู่ระหว่างเดินทางเยือนมาเลเซียอย่างเป็นทางการเป็นเวลา 3 วัน เริ่มจากวันที่ 20 สิงหาคมที่ผ่านมา
     
      นายกรัฐมนตรีมาเลเซียชี้ว่า ถึงแม้มาเลเซียและไทยต่างเป็นหุ้นส่วนด้านการค้าและการลงทุนที่สำคัญซึ่งกันและกัน แต่ทั้ง 2 ประเทศมีมูลค่าการค้า และการลงทุนในประเทศอื่น ๆ มากกว่ามูลค่าการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคี และว่าการขยายการค้าและการลงทุนระดับทวิภาคีจะเป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศ อีกทั้งจะช่วยกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือระดับทวิภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
     
      ผู้นำมาเลเซียกล่าวด้วยว่า มาเลเซียจะร่วมมือกับประเทศไทยต่อไปทั้งในเรื่องส่งเสริมบทบาทของอาเซียนในประชาคมโลก และเพื่อรับประกันสันติภาพและความมั่นคงในภูมิภาคเอเชียตะวันออกโดยรวมและของทั่วโลก พร้อมทั้งอวยพรให้ประเทศไทยประสบความสำเร็จในการปฏิรูปการเมืองเพื่อประโยชน์สุขของปวงชนชาวไทย ผู้นำมาเลเซียยังกล่าวเชิญ พล.อ.สุรยุทธ์ และ พ.อ.หญิง ท่านผู้หญิงจิตรวดี จุลานนท์ ภริยา ให้เดินทางเยือนมาเลเซียอีกครั้งในปลายเดือนนี้ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองการประกาศเอกราชครบรอบ 50 ปี ของมาเลเซีย และเฉลิมฉลองความสัมพันธ์ทางการทูตครบรอบ 50 ปีระหว่างประเทศทั้งสองด้วย
     
      ทางด้านนายกรัฐมนตรีของไทยได้กล่าวแสดงความยินดีต่อความสำเร็จของมาเลเซียในด้านต่าง ๆ ตลอดระยะ 50 ปีที่ผ่านมา รวมถึงโครงการสำรวจอวกาศ พร้อมทั้งแสดงความหวังว่า การพบหารือประจำปีครั้งที่ 3 ระหว่างนายกรัฐมนตรีของไทยกับมาเลเซีย ที่เกาะปีนัง ในวันนี้ จะยิ่งกระชับความสัมพันธ์ระดับทวิภาคีให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
     
      เมื่อวานนี้ นายกรัฐมนตรีของไทยพร้อมคณะได้เข้าเฝ้าสุลต่านมิซาน ไซนัล อะบิดิน จากรัฐตรังกานู พระราชาธิบดีองค์ที่ 13 ของมาเลเซีย นอกจากนี้ นายกรัฐมนตรีของไทยยังเป็นสักขีพยานในการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (เอ็มโอยู) ว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษาในทุกระดับระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซียด้วย
http://www.manager.co.th/StockMarket/Vi ... 0000098858
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news23/08/07

โพสต์ที่ 217

โพสต์

พบต้นตอส่งออก ก.ค.เดี้ยง  
โดย เดลินิวส์
วัน พฤหัสบดี ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:51 น.

ถกกรมศุลฯชี้ตัวเลขขายข้าวเพี้ยน ก.คลังคงเป้าหมายเศรษฐกิจ 4.3%
นางสมจินต์ เปล่งขำ รองอธิบดีกรมส่งเสริมการส่งออก เปิดเผยถึงกรณีการส่งออกไทยเดือนก.ค.มีมูลค่า 11,810.0 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัวเพียง 5.9% ต่ำสุดในรอบ 29 เดือนนับจากเดือน ก.พ.48 ว่า กรมกำลังตรวจสอบสถิติ การส่งออกสินค้าข้าวที่มีความผิดปกติที่สุด โดยมูลค่าลดลงถึง 10.9% หรือมีมูลค่า 242 ล้านเหรียญ ซึ่งเป็นตัวฉุดมูลค่าส่งออกให้ขยาย ตัวต่ำ
ทั้งที่สอบถามไปยังสมาคมผู้ส่งข้าวออก ต่างประเทศ และกรมการค้าต่างประเทศ พบว่า เดือน ก.ค.ยังส่งออกได้ 621,745 ตัน เพิ่มขึ้น 12.23% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่า 8,014 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11.05% หรือ 233 ล้านเหรียญ เพิ่มขึ้น 23.17% แต่สถิติที่กระทรวงพาณิชย์ได้จาก กรมศุลกากร กลับลดลง 10.9% ซึ่ง 1-2 วันนี้ กรมฯจะหารือกับกรมศุลกากรเพื่อหาข้อเท็จจริง

นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกสมาคมผู้ส่งข้าวออกต่างประเทศ กล่าวว่า รู้สึกแปลกใจที่ปริมาณการส่งออกข้าวในเดือน ก.ค. ลดลงถึง 21.6% จากเดือนเดียวกันของปีก่อน หรือมีปริมาณ 651,601 ตัน เพราะปีนี้เป็นปีทองของการส่งออกข้าวไทย ซึ่งขัดแย้งกับสถิติของสมาคมที่มีปริมาณ 621,746 ตัน เพิ่มขึ้น 12.97% จากเดือนก.ค.49 ที่ส่งออก 550,384 ตัน ส่วนตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค.-16 ส.ค. ส่งออกได้ 5.04 ล้านตัน เพิ่มขึ้น 12.2% จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ส่งออกได้ 4.49 ล้านตัน อย่างไรก็ตามเป้าหมายส่งออกข้าวไทยปีนี้ที่ 8 ล้านตันเป็นไปได้แน่ แต่คงไม่ถึง 8.5 ล้านตัน เพราะมีปัญหาขาดแคลนเรือขนส่ง และค่าเงินบาทแข็งค่ามาก
รายงานข่าวจากกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า กระทรวงการคลังจะคงอัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจไว้เท่าเดิมคือระดับ 3.8%-4.3% โดยมีค่าเฉลี่ยที่ 4% แม้ว่าสถานการณ์การเมืองจะชัดเจนขึ้นจนทำให้การใช้จ่ายและการลงทุนเพิ่มมากขึ้นก็ตาม แต่ยังมีปัจจัยภายนอกที่ส่งผลลบอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะความผันผวนของค่าเงิน การส่งออกที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 29 เดือน จึงเชื่อว่าเศรษฐกิจไทยในปี 50 ยังคงเติบโตได้ตามเป้าหมายเดิมที่เคยประมาณการไว้เมื่อเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา

นายศุภรัตน์ ควัฒน์กุล ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า การส่งออกในเดือน ก.ค.ที่ลดลงต่ำสุดในรอบ 29 เดือนเพราะได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโดยรวม แต่ไม่ได้แย่ลงเมื่อเทียบกับปีก่อน เพียงแต่ลดลงเมื่อเทียบกับเดือนที่ผ่านมาเท่านั้น เพราะการส่งออกยังสามารถขยายตัวได้ดี แต่ก็ต้องติดตามอย่างใกล้ชิดและประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นางอมรา ศรีพยัคฆ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายเศรษฐกิจในประเทศ ธนาคารแห่งประเทศไทย เปิดเผยถึงกรณีที่มูลค่าการส่งออกของไทยในเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา ขยายตัวเพียง 5.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนว่า ไม่ตกใจกับตัวเลขดังกล่าว เพราะธปท.เคยคาดการณ์ไว้แล้วว่าการส่งออกครึ่งปีหลังจะชะลอตัวลงจากครึ่งปีแรก อย่างไรก็ตามขอไปวิเคราะห์ในรายละเอียดอีกครั้งว่ายอดที่ลดลงมาก มาจากปัจจัยอะไร

ส่วนจะเป็นผลกระทบมาจากเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นในช่วงดังกล่าวหรือไม่ ก็คงมีส่วนบ้าง แต่คงไม่ใช่ปัจจัยเดียว อย่างไรก็ตามแม้ตัวเลขเดือน ก.ค. จะออกมาต่ำ แต่ ธปท. ยังไม่คิดปรับประมาณตัวเลขการส่งออกทั้งปี ที่คาดไว้ว่าจะโต 12-15% เนื่องจากเห็นว่ายังต้องรอดูตัวเลขเดือนต่อไปก่อน อีกทั้งครึ่งปีแรกก็โตมามากแล้วถึง 18%

เวลาดูตัวเลข อย่าดูเดือนต่อเดือน อาจมีหลายปัจจัย อาจเป็นเพราะฐานปีก่อนสูง หรือเป็นไปตามฤดูกาล ยังไม่แน่ใจ ขอกลับไปดูก่อน.
http://news.sanook.com/economic/economic_172714.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news23/08/07

โพสต์ที่ 218

โพสต์

กำลังซื้อรากแก้วตกฉุดยอดขายเหล้าขาว  
โดย เดลินิวส์
วัน พฤหัสบดี ที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:51 น.

เจอพิษเศรษฐกิจ-ขาดความเชื่อมั่นผสมโรง
นายวิโรจน์ จันทรโมลี รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ผู้ผลิตและจำหน่ายสุราขาว และสี เช่น แม่โขง เปิดเผยว่า ในครึ่งปีแรกที่ผ่านมา บริษัทมียอดขายกลุ่มสุราขาว ลดลง 2-3% เนื่องจากเป็นฐานตลาดขนาดใหญ่ ประกอบกับผู้บริโภคระดับรากแก้วมีกำลังซื้อน้อยลง เพราะได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งความไม่เชื่อมั่นและไม่มีอารมณ์ใช้จ่าย ขณะที่สุราสีบริษัทมียอดขายเติบโต 6-7% เป็นผลจากในช่วงปลายปีที่ผ่านมา ได้เปิดตัวสุราสียี่ห้อใหม่กระตุ้นตลาด อาทิ เบลน 285 ทำให้ตลาดมีความคึกคักและเคลื่อนไหวมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม คาดว่าในครึ่งปีหลังแนวโน้มตลาดสุราสี และสุราขาว จะเติบโตในทิศทางที่ดีขึ้นเล็กน้อย หลังจากปัจจัยที่อึมครึมหลายอย่างที่เกิดตั้งแต่ต้นปี เริ่มเห็นความชัดเจนบ้างแล้ว อาทิ การที่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับปี 50 ผ่านการลงประชามติจากประชาชน และส่งผลให้เกิดการเลือกตั้งตามมา ซึ่งน่าจะทำให้ผู้บริโภคเริ่มมั่นใจใช้จ่ายมากขึ้น

สำหรับตลาดรวมสุราสีในปีนี้คาดเติบโต 5-6% ส่วนสุราขาวถ้าโชคดีอาจมีมูลค่าเท่ากับปีที่ผ่านมา ซึ่งในส่วนของบริษัทเองคาดว่าจะมียอดขายในสิ้นปีนี้เติบโตเล็กน้อย หรือพยุงตัวเองให้รักษาระดับยอดขายเท่ากับปีที่ผ่านมา จำนวน 40,000-50,000 ล้านบาทก็พอใจแล้ว แบ่งเป็นยอดขายจากสุราสีและขาวในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกัน เนื่องจากปีนี้มีตัวแปรที่ส่งผลกระทบต่อทั้งกำลังซื้อผู้บริโภครวมทั้งการทำตลาดจำนวนมาก

ทั้งนี้ หลังจากมี พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ออกมา แม้จะยังไม่มีผลบังคับใช้อย่างชัดเจนก็ตาม ส่งผลให้บริษัทได้ระวังตัวในการทำตลาดและโฆษณาประชาสัมพันธ์มากขึ้น โดยไม่แหกกฎเกณฑ์ของรัฐบาล ซึ่งไม่ทำอะไรที่เสี่ยงหรือเอาเปรียบผู้บริโภค แต่จะเน้นกิจกรรมเพื่อสังคมมากขึ้น ล่าสุด ได้เปิดตัวกิจกรรม คนไทยถ้าตั้งใจทำอะไร ไม่แพ้ชาติใดในโลก โดย บัณฑิต อึ้งรังสี วาทยกรอัจฉริยะไทยระดับโลก เพื่อให้คนรุ่นใหม่พัฒนาศักยภาพของตนเอง และสร้างแรงบันดาลใจฟันฝ่าอุปสรรคสู่เป้าหมายที่วางไว้ ซึ่งถือเป็นกิจกรรมย่อยต่อเนื่องจากแคมเปญไทยเบฟ ไทยทาเล้นจ์ ที่ได้เปิดตัวในช่วงที่ผ่านมา นอกจากนี้ ในอนาคตจะมีกิจกรรมด้านอื่นตามมา ทั้งด้านการศึกษา กีฬา และศิลปวัฒนธรรม

ปีนี้ถือเป็นปีที่ทำการตลาดยากที่สุดในรอบหลายปี เนื่องจากมีข้อจำกัดหลายด้าน เมื่อเทียบกับสินค้ากลุ่มอื่นที่เปิดกว้าง ซึ่งนโยบายของบริษัทจะไม่ทำอะไรที่ท้าทาย พ.ร.บ.ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และไม่ทำอะไรที่ไม่ดี แต่ยังถือว่าพ.ร.บ.นี้มีความเป็นธรรม เนื่องจากผู้ประกอบการทุกรายต้องอยู่ภายใต้กฎเกณฑ์เดียวกัน ส่วนกรณีที่มีกระแสข่าวว่า บริษัทขายสุราพ่วงเบียร์อาชานั้น ขอยืนยันว่าบริษัทไม่มีนโยบายที่จะทำเช่นนั้น เพราะเป็นบริษัทขนาดใหญ่และยึดมั่นในทิศทางที่ถูกต้อง.
http://news.sanook.com/economic/economic_172708.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news23/08/07

โพสต์ที่ 219

โพสต์

คนไทยกระเป๋าแห้งเงินออมลด ธปท.ระบุไตรมาส2ยอดฝากวูบ3.7หมื่นล.  

แบงก์ชาติเผยยอดเงินฝากภาคครัวเรือนไตรมาส 2 วูบเหลือแค่ 5.4 ล้านล้านบาท แบงก์พาณิชย์ ออมสิน บริษัทเงินทุน บริษัทเครดิตฟอร์ซิเอร์ ปรับลดถ้วนหน้า


รายงานข่าวจากธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)เปิดเผยถึงยอดเงินฝากของภาคครัวเรือนไทยณ สิ้นไตรมาสที่ 2ของปี 2550 ว่ายอดเงินฝากจากภาคครัวเรือนของระบบสถาบันการเงินไทยสิ้นเดือนมิถุนายน 2550เทียบกับสิ้นเดือนมีนาคม 2550 พบว่าลดต่ำลงจากไตรมาสก่อนหน้ามากถึง 37,013 ล้านบาทโดยมียอดคงค้างเงินฝากภาคครัวเรือนทั้งสิ้น5,467,506 ล้านบาทลดลงจากไตรมาสแรกที่มียอดรับฝาก5,504,519 ล้านบาท

ทั้งนี้มีการถอนเงินฝากภาคครัวเรือนออกจากระบบธนาคารพาณิชย์มากที่สุดสิ้นเดือน เมษายนมียอดเงินฝากภาคครัวเรือนลดลง37,508 ล้านบาทมาอยู่ที่ 4,370,444ล้านบาทจากยอดคงค้างในไตรมาสก่อนหน้าที่4,407,952 ล้านบาทธนาคารออมสินมีเงินฝากภาคครัวเรือนลดลงจาก 552,685 ล้านบาทในไตรมาสก่อนลดลงเหลือ 550,599ล้านบาท หรือลดลง 3,086ล้านบาท ในไตรมาสที่ 2 นี้

อย่างไรก็ตามธนาคารอาคารสงเคราะห์(ธอส.)และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร(ธ.ก.ส.)ยังมียอดเงินฝากภาคครัวเรือนเพิ่มโดย ธอส.มียอดคงค้างเงินฝากครัวเรือนทั้งสิน 253,081 ล้านบาทเพิ่มขึ้นจากไตรมาสก่อนหน้า1,601 ล้านบาท ขณะที่ธ.ก.ส.มียอดคงค้างเงินฝากภาคครัวเรือน274,526 ล้านบาท

สำหรับบริษัทเงินทุน(บง.)และบริษัทเครดิตฟองซิเอร์(บค.)นั้นมียอดคงค้างเงินออมทั้งสิ้น 18,860 ล้านบาทลดลงจากไตรมาสแรก 534ล้านบาทแบ่งเป็นยอดคงค้างการรับฝากเงินจากภาคครัวเรือน18,277 ล้านบาท ลดลง 525ล้านบาทและเป็นเงินฝากของบค. 583 ล้านบาทหรือลดลง 9 ล้านบาท  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=72455
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news23/08/07

โพสต์ที่ 220

โพสต์

ปี"51คลังเตรียมออกพันธบัตร2แสนล้าน ชดเชยการขาดดุลงบประมาณ-ปรับโครงสร้างหนี้  

นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า คลังมีแผนออกพันธบัตรรัฐบาลจำนวน 2 แสนล้านบาท ในปีงบประมาณ 2551 แบ่งเป็นการออกพันธบัตรรัฐบาล 1.8 แสนล้านบาทเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ โดยเป็นการออกพันธบัตรดังกล่าวมาจากการกู้เงินเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณปี 2551 จำนวน 1.65 แสนล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นการกู้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เก่า

ทั้งนี้ การออกพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าว จะมีการปรับเปลี่ยนอายุของพันธบัตรจากเดิมที่จะออกเป็นอายุ 7 ปี กับ 10 ปี เป็นอายุ 5 ปี และ 10 ปี และให้มีการลดความถี่ของการออกพันธบัตรแต่ละรุ่นจากเดิม โดยคลังจะออกพันธบัตรรุ่น 5 ปี เป็นวงเงิน 6 ถึง 8 หมื่นล้านบาท ประมูล และพันธบัตรรุ่น 10 ปีวงเงิน 6 หมื่นล้านบาท

รวมทั้งจะมีการออกพันธบัตรอายุ 15 ปี และ 20 ปี อีกรุ่นละ 2 หมื่นล้านบาท รวมเป็นพันธบัตรรัฐบาลที่จะออกในปี 2551 จำนวน 1.8 แสนล้านบาท เพื่อเป็นการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ตามแผนขั้นที่ 2 ซึ่งการเน้นการสร้างตลาดแรกให้มีสภาพคล่องของตลาดตราสารรุ่นต่างๆ ยังเพียงพอ

สำหรับรุ่น 5 ปี และ 15 ปี จะทำการประมูลทุกเดือนเลขคู่ และรุ่นอายุ 10 ปี และ 20 ปี ก็จะทำการประมูลทุกเดือนเลขคี่ ซึ่งทางคลังได้ทำความเข้าใจกับผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับตลาดตราสารหนี้ ประกอบด้วยผู้ค้าตราสารหนี้ และนักลงทุนสถาบัน ได้แก่กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ กองทุนประกันสังคม บริษัทประกันชีวิต และ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม ให้ทราบถึงการออกพันธบัตรรัฐบาลดังกล่าว

นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า คลังยังมีแผนการออกพันธบัตรรัฐบาล เพื่อชดเชยหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในปีงบประมาณ 2551 อีก 2.5 หมื่นล้านบาท ร่วมกับออกพันธบัตรเพื่อพัฒนาตลาดตราสารหนี้ 1.8 แสนล้านบาท ทำให้จะมีพันธบัตรรัฐบาลออกมาขายในตลาดถึง 2 แสนล้านบาท

นอกจากนี้คลังยังจะมีการออกพันธบัตรออมทรัพย์ขายให้นักลงทุนรายย่อยอีกเดือนละ 500 ล้านบาท เป็นวงเงินในปีงบประมาณปี 2551 จำนวน 6 พันล้านบาท ซึ่งเป็นการขายพันธบัตรออมทรัพย์เหมือนกับปีงบประมาณ 2550 ที่จำหน่ายอยู่ในปัจจุบัน  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=72417
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news23/08/07

โพสต์ที่ 221

โพสต์

กระทุ้งรัฐอีกรอบคุมค่าบาทอุ้มส่งออก
โพสต์ทูเดย์ เอกชนได้ที มูลค่าส่งออกสะดุด กระทุ้งรัฐบาลดูแลปัญหาเงินบาทแข็งค่าอีกรอบ


นายพจน์ อร่ามวัฒนานนท์ นายกสมาคมอาหารแช่เยือกแข็งไทย กล่าว ว่า ผลจากการประกาศตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. แม้จะขยายตัวได้แต่ก็ขยายตัวในอัตราที่ชะลอลง เมื่อพิจารณา ในส่วนของมูลค่าการส่งออกอาหารทะเลแช่แข็ง ปรากฏว่าลดลง 1.4% มูลค่าส่งออกอยู่ที่ 453 ล้านเหรียญสหรัฐ

เป็นผลมาจากการแข็งค่าของค่าเงินบาท ได้เตือนภาครัฐมาตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549 ให้ดูแลค่าเงินบาทอย่าให้แข็งค่ามากจนเกินไป เพราะจะกระทบการส่งออกได้

โดยเฉพาะสินค้าเกษตร และเกษตรแปรรูป ที่ใช้วัตถุดิบในประเทศ 50-80% มีมูลค่าการส่งออกรวม 1.5 ล้านล้านบาท และมีผู้เกี่ยวข้องประมาณ 20 ล้านคน

นายวัลลภ วิตนากร เลขาธิการสมาคมอุตสาหกรรมเครื่องนุ่งห่มไทย กล่าวว่า ค่าเงินบาทแข็งค่ามาก ทำให้ ผู้ส่งออกในกลุ่มเครื่องนุ่งห่มผลิตและส่งออกเท่ากำลังการผลิตจริง ไม่ได้ผลิตเกินกำลังเหมือนที่ผ่านมา เพราะไม่อยากขาดทุนมาก จึงเป็นไปได้ว่า มูลค่าส่งออกเครื่องนุ่งห่มในปีนี้จะเท่ากับปีก่อนที่ 3.46 พันล้านเหรียญสหรัฐ

ทั้งนี้ ต้องการให้ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลค่าเงินบาทอย่าให้แข็งค่าเกิน 34.50 บาท/เหรียญสหรัฐ

ด้านนายจักรมณฑ์ ผาสุกวนิช ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ตัวเลขการส่งออกเดือน ก.ค. ที่ขยายตัวแค่ 5.9% นั้น เป็นตัวเลขที่ยังไม่น่าตกใจ ต้องพิจารณาและเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้วในแต่ละกลุ่มสินค้า

ตัวเลขการส่งออกในแต่ละเดือนสามารถปรับขึ้นลงได้เหมือนกับการ ซื้อขายหุ้นในแต่ละวัน หากประเทศไทยยังได้ดุลการค้าอยู่ก็ยังถือว่าไม่น่าเป็นห่วงมากนัก

ตัวเลขส่งออกเดือน ก.ค. ยังชี้วัดอะไรได้ไม่มาก และยังไม่น่าวิตก แต่ต้องติดตามเดือน ส.ค. ด้วย หากยังลดลงแสดงว่ามีบางอย่างผิดปกติแล้ว จากก่อนหน้านี้ที่มีการขยายตัวสูงถึง 18% ซึ่งอยู่ในระดับ 2 หลักมานานหลายเดือน นายจักรมณฑ์ กล่าว

ขณะนี้มีหลายปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกของไทย เช่น ปัญหา ซับไพรม์ของสหรัฐ ส่วนค่าเงินนั้นเชื่อว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อการส่งออก เพราะประเทศไทยประสบปัญหาค่าเงินบาทแข็งมาตั้งแต่ปีที่แล้ว และตอนนี้เงินบาทก็ยังแข็งอยู่ต่อเนื่อง หากภาวะบาทแข็งจะส่งผลต่อการส่งออกโดยตรงก็น่าจะเห็นผลชัดตั้งแต่ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณามูลค่าการส่งออกเป็นรายสาขาจะพบว่า กลุ่มยานยนต์และชิ้นส่วนยังคงมีการขยายตัวต่อเนื่อง กลุ่มนี้เป็นการใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิต ส่วนอุตสาหกรรม ที่ใช้แรงงานทั้งเกษตรและสิ่งทอมี การขยายตัวในระดับต่ำ อีกทั้งสินค้าเกษตรบางประเภทกำลังมีปัญหาเรื่องราคา เช่น อ้อยและน้ำตาล เป็นต้น
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=186832
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news24/08/07

โพสต์ที่ 222

โพสต์

พาณิชย์กระตุ้นผู้ส่งออกใช้สิทธิจีเอสพีส่งออกญี่ปุ่น

24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 17:35:00

"พาณิชย์"กระตุ้นผู้ส่งออกใช้สิทธิจีเอสพีส่งออกตลาดญี่ปุ่น หลังพบใช้สิทธิน้อยเพิ่มขึ้นแค่ 3% ในช่วง 5เดือนแรก เผยผู้ส่งออกเมินเหตุญี่ปุ่นเข้มแหล่งกำเนิดสินค้า
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :
นางอภิรดี ตันตราภรณ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า การส่งออกสินค้าไทยไปตลาดญี่ปุ่นในช่วง 5 เดือนแรก (มกราคม-พฤษภาคม) ของปี 2550 คิดเป็นมูลค่ารวม 7,699.99 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.60 สินค้าส่งออกรายการสำคัญ ได้แก่ วงจรไฟฟ้า เครื่องคอมพิวเตอร์และชิ้นส่วน ยางพารา ไก่ปรุงสุก ผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียม และชิ้นส่วนยานยนต์ เป็นต้น

สำหรับการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษ GSP ญี่ปุ่นนั้น ในช่วง 5 เดือนแรกของปี 2550 มีผู้ส่งออกใช้สิทธิประโยชน์เพื่อขอลดภาษี โดยกรมการค้าต่างประเทศได้ออกหนังสือรับรองแหล่งกำเนิดสินค้า FORM A จำนวนทั้งสิ้น 20,408 ฉบับ คิดเป็นมูลค่าการส่งออก 578.61 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.44 นอกจากนี้ หากพิจารณาสัดส่วนของการใช้สิทธิฯ พบว่าอยู่ที่ร้อยละ 17.84 ของมูลค่าการส่งออกเฉพาะรายการสินค้าที่ได้รับสิทธิฯ

สินค้าสำคัญของไทยที่ส่งออกโดยใช้สิทธิ GSP ญี่ปุ่น ได้แก่ อาหารทะเลแปรรูป เดกซ์ทรินและโมดิไฟด์สตาร์ช เม็ดพลาสติกและผลิตภัณฑ์พลาสติก ของปรุงแต่งเบ็ดเตล็ดที่บริโภคได้ (ซอสปรุงรส) และเครื่องประดับแท้ เป็นต้น

สาเหตุสำคัญที่ทำให้การส่งออกภายใต้ระบบ GSP ญี่ปุ่นขยายตัวไม่มากนัก เนื่องจาก สินค้าส่งออกหลักโดยเฉพาะโมดิไฟด์สตาร์ช เดกซ์ทริน เครื่องประดับแท้ และผลิตภัณฑ์อะลูมิเนียมนั้น ปัจจุบันได้ถูกระงับการได้รับสิทธิ GSP ญี่ปุ่น เนื่องจากมีมูลค่าการนำเข้าเกินเพดานที่กำหนด

นอกจากนี้ส่วนต่างระหว่างอัตราภาษี MFN และ GSP มีความแตกต่างกันน้อยมาก จึงไม่อาจจูงใจให้ผู้ส่งออกใช้สิทธิฯและเกณฑ์การได้แหล่งกำเนิดภายใต้ระบบ GSP ญี่ปุ่นมีความเข้มงวดสูง รวมทั้งอุปสรรคจากมาตรการด้านสุขอนามัยพืชและสัตว์ (SPS)และการเผชิญกับการแข่งขันที่รุนแรงจากสินค้าจีน

กรมการค้าต่างประเทศในฐานะหน่วยงานหลักทำหน้าที่กำกับดูแล และส่งเสริมการส่งออกภายใต้ระบบสิทธิพิเศษทางการค้าต่างๆ ได้เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์ ตลอดจนจัดสัมมนาให้ความรู้แก่ผู้ส่งออกทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รวมทั้งจัดคลินิคส่งออกเคลื่อนที่ไปยังจังหวัดต่างๆ เพื่อเร่งให้ผู้ส่งออกได้ใช้ประโยชน์จากสิทธิพิเศษ GSP ญี่ปุ่นให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อไป
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=91208
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news24/08/07

โพสต์ที่ 223

โพสต์

FTA ไทย-อินเดีย เร่งใช้ประโยชน์ ส่งออก-ลงทุนชิงความได้เปรียบจาก FTA

24 สิงหาคม พ.ศ. 2550 12:43:00

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ :   ในเดือนกรกฎาคม 2550 ไทยส่งออกไปอินเดียขยายตัว 81% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 สำหรับการส่งออกของไทยในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้ ไทยส่งออกไปอินเดียขยายตัวถึง 66% สูงกว่าอัตราการขยายตัวของการส่งออกทั้งหมดของไทยในช่วงเดียวกันนี้ที่เติบโต 16.6% อินเดียถือเป็นตลาดส่งออกใหม่ของไทยที่มีอัตราการขยายตัวสูงที่สุด เทียบกับตลาดส่งออกใหม่อื่นๆ ของไทย ได้แก่ ยุโรปตะวันออก ไทยส่งออกไปสหภาพยุโรปในช่วง 7 เดือนแรกของปีนี้เพิ่มขึ้น 61.2% ออสเตรเลีย (+37%) อเมริกาใต้ (+29.7%) จีน (+26%) และตะวันออกกลาง (+24.6%) อัตราการเติบโตของการส่งออกไทยไปอินเดียเฉลี่ยราว 42% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา (2547-2549) นับว่าอินเดียเป็นตลาดส่งออกใหม่ของไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวอย่างรวดเร็ว คาดว่าการส่งออกของไทยไปยังตลาดอินเดียทั้งปี 2550 จะสูงกว่าเป้าหมายที่ทางการไทยตั้งไว้ในช่วงต้นปีนี้ที่ให้การส่งออกของไทยไปอินเดียในปี 2550 เติบโต 20% โดยมูลค่าการส่งออกของไทยไปอินเดียน่าจะขยายตัวไม่ต่ำกว่า 35% มูลค่ามากกว่า 2,500 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขณะที่การส่งออกของไทยไปอินเดียในปี 2549 มีมูลค่าส่งออกรวม 1,803.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัว 17.9%  

  ปัจจัยสำคัญที่ช่วยสนับสนุนการส่งออกของไทยไปอินเดียให้ขยายตัวอย่างรวดเร็วในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ (1) การลดภาษีสินค้าภายใต้ความตกลง FTA ไทย-อินเดีย ทำให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันด้านราคาในตลาดอินเดียเพิ่มขึ้น และ (2) เศรษฐกิจของอินเดียที่เติบโตอย่างรวดเร็วส่งผลให้ความต้องการนำเข้าเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และวัตถุดิบ  

เขตการค้าเสรี (FTA) ระหว่างไทยกับอินเดีย

    ไทยและอินเดียเริ่มต้นลดภาษีสินค้ากลุ่มเร่งลดภาษี (Early Harvest Scheme : EHS) จำนวน 82 รายการ ภายใต้ความตกลง FTA ไทย-อินเดีย ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2547 จนเหลืออัตรา 0% ในวันที่ 1 กันยายน 2549 สินค้าส่งออกของไทยที่ได้รับประโยชน์จากการลดภาษีดังกล่าว ที่สำคัญ ได้แก่ สินค้าอุตสาหกรรมที่ไทยมีศักยภาพในการส่งออก เช่น อัญมณีและเครื่องประดับ (พลอยสี) เม็ดพลาสติก เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ พัดลม ตู้เย็น เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ เครื่องสีข้าว หม้อแปลงไฟฟ้า เครื่องประมวลผลข้อมูล วงจรพิมพ์ ส่วนประกอบของเฟอร์นิเจอร์ ลูกปืน (บอลล์แบริ่ง) และส่วนประกอบของเครื่องยนต์ รวมทั้งสินค้าเกษตรและประมง ได้แก่ เงาะ ลำไย มังคุด ทุเรียน องุ่น ข้าวสาลี อาหารทะเลกระป๋อง (ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรลและปู) เป็นต้น ส่งผลให้มูลค่าการส่งออกสินค้าของไปอินเดียในปี 2549 ขยายตัว 97% เมื่อเทียบกับปี 2547

 ขณะที่การนำเข้าจากอินเดียในปี 2549 เพิ่มขึ้น 41% เมื่อเทียบกับปี 2547 ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 ไทยส่งออกไปอินเดียขยายตัว 65.9% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2549 ขณะที่ไทยนำเข้าจากอินเดียเพิ่มขึ้น 25.7% ส่งผลให้ไทยเกินดุลการค้ากับอินเดีย 389.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 6.8% ของมูลค่าเกินดุลการค้าของไทยทั้งหมด 5,716.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 โดยไทยเป็นฝ่ายเกินดุลการค้ากับอินเดียตั้งแต่ปี 2548 ที่เริ่มต้นลดภาษีภายใต้ FTA เป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน จากก่อนหน้านี้ที่ไทยขาดดุลการค้ากับอินเดียมาโดยตลอด สินค้าส่งออกสำคัญของไทยไปอินเดียที่ขยายตัวได้ดี ได้แก่ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เม็ดพลาสติก รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ เครื่องยนต์สันดาปภายในแบบลูกสูบและส่วนประกอบ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เป็นต้น ทั้งนี้ อินเดียเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 16 และประเทศที่ไทยนำเข้าอันดับที่ 17 ส่วนไทยเป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 23 ของอินเดีย และประเทศที่อินเดียนำเข้ามากเป็นอันดับที่ 29

 หากการลดภาษีศุลกากรภายใต้ FTA ระหว่างไทยและอินเดียขยายไปสู่รายการสินค้าปกติ (Normal Track) อีกราว 5,000 รายการ ที่ขณะนี้ไทยและอินเดียอยู่ระหว่างการเจรจาเรื่องระยะเวลาการลดภาษีสินค้าอ่อนไหวและกฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rule of Origins : ROOs)         คาดว่าจะช่วยสนับสนุนให้การส่งออกไทยไปอินเดียขยายตัวมากขึ้น ปัจจุบันสัดส่วนการส่งออกของไทยไปอินเดียค่อนข้างน้อย (1.8%) เมื่อเทียบกับการส่งออกทั้งหมดของไทย แต่การส่งออกของไทยไปอินเดียมีแนวโน้มขยายตัวในอัตราสูงอย่างต่อเนื่อง ทำให้คาดว่า สัดส่วนการส่งออกของไทยไปอินเดียต่อการส่งออกทั้งหมดของไทยจะเพิ่มขึ้น ขณะที่ตลาดส่งออกหลักเดิมของไทยอย่างสหรัฐฯ ซึ่งเป็นประเทศที่ไทยส่งออกไปมากเป็นอันดับ 1 มีแนวโน้มชะลอตัวลง โดยในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 ไทยส่งออกสินค้าไปสหรัฐฯ หดตัวลง 1.96% สินค้าส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ ที่ลดลง ที่สำคัญ ได้แก่ เสื้อผ้าสำเร็จรูป (-7.7%) อาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป (-4.7%) อัญมณีและเครื่องประดับ (-7.1%) และเครื่องรับวิทยุโทรทัศน์และส่วนประกอบ (-47.9%) สาเหตุสำคัญ ได้แก่ (1) การเติบโตของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่อ่อนแรงลง (2) ขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยในสหรัฐฯ ลดลง เนื่องจากถูกสินค้าราคาต่ำกว่าแย่งส่วนแบ่งตลาด ที่สำคัญ เช่น สินค้าสิ่งทอ/เครื่องนุ่งห่ม และรองเท้าที่ใช้แรงงานอย่างเข้มข้นจากจีนและเวียดนาม (3) ค่าเงินบาทที่แข็งค่า (4) การที่สินค้าส่งออกของไทยถูกสหรัฐฯ ตัดสิทธิพิเศษทางภาษี (GSP) ในวันที่ 1 กรกฎาคม 2550 ที่สำคัญ ได้แก่ อัญมณีและเครื่องประดับที่ทำจากทอง ซึ่งสหรัฐฯ เป็นตลาดส่งออกอันดับที่ 1 ของไทย และ (5) อุปสรรคการส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ จากมาตรการกีดันทางการค้าที่มิใช่ภาษี (Non-Tariff Barriers : NTBs) ของสหรัฐฯ เช่น มาตรการเก็บภาษีการตอบโต้การทุ่มตลาด (AD) สินค้ากุ้ง ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การส่งออกของไทยไปสหรัฐฯ หดตัวลง ดังนั้นอินเดียจึงเป็นตลาดส่งออกใหม่ที่มีศักยภาพของไทย ในขณะที่การส่งออกของไทยไปยังตลาดสหรัฐฯ ซึ่งเป็นตลาดส่งออกหลักมีแนวโน้มชะลอตัวลงอย่างต่อเนื่อง

ข้อควรระวัง  

    แม้การลดภาษีศุลกากรตามความตกลง FTA ไทย-อินเดีย ทำให้ขีดความสามารถทางการแข่งขันของสินค้าส่งออกไทยในตลาดอินเดียเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับสินค้าส่งออกจากประเทศอื่นๆ ที่ไม่ได้สิทธิการลดภาษีจาก FTA ส่งผลให้อินเดียเป็นตลาดส่งออกใหม่ของไทยที่มีโอกาสขยายตัวได้ดี แต่เป็นที่น่าสังเกตว่า สิทธิพิเศษทางภาษีที่อินเดียให้กับสินค้าส่งออกของไทยภายใต้ FTA ก่อนประเทศอื่นๆ อาจไม่ยาวนานนัก เนื่องจากปัจจุบันอินเดียอยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำความตกลงเปิดเสรี (FTA) ทั้งระดับทวิภาคีและระดับภูมิภาค ตามนโยบายเปิดเสรีทางการค้าและการเปิดประเทศรับการลงทุนของอินเดีย เพื่อขยายตลาดส่งออกสินค้า บริการ และการลงทุน โดยอินเดียอยู่ระหว่างการจัดทำ FTA ในระดับทวิภาคีกับประเทศต่างๆ ในหลายภูมิภาค โดยได้ลงนามจัดทำความตกลง FTA ทวิภาคีไปแล้วกับสิงคโปร์ในเดือนมิถุนายน 2548 และอยู่ระหว่างจัดทำ FTA ในระดับภูมิภาคกับกลุ่ม GCC  และกลุ่มอาเซียน รวมทั้งกำลังพิจารณาจัดทำความตกลง FTA กับเวียดนาม สหรัฐฯ และมาเลเซีย ซึ่งประเทศเหล่านี้ล้วนแต่เป็นประเทศคู่ค้าและคู่แข่งที่สำคัญของไทย  

  สินค้าส่งออกของไทยที่ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่ตลาดอินเดียในปัจจุบันนี้ รวมทั้งนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนภาคการผลิตและภาคบริการในอินเดียทั้งในปัจจุบันและในอนาคต จะต้องแข่งขันกับสินค้าและบริการจากประเทศคู่ค้าที่อินเดียจัดทำความตกลง FTA ด้วย เนื่องจากประเทศเหล่านี้จะสามารถส่งออกสินค้าและบริการไปอินเดีย โดยได้รับประโยชน์ด้านการลด/ยกเว้นภาษีตามความตกลง FTA กับอินเดียเช่นกัน รวมทั้งการเปิดรับการลงทุนจากประเทศคู่เจรจา FTA ของอินเดียให้กับประเทศคู่เจรจา FTA ที่กว้างขวางมากขึ้นจากความตกลง FTA ต่างๆ

อินเดีย : ตลาดใหญ่ & อำนาจซื้อสูง

    ปัจจัยสำคัญอีกประการที่สนับสนุนให้การส่งออกของไทยไปอินเดียเติบโตอย่างต่อเนื่องในช่วงที่ผ่านมา ได้แก่ เศรษฐกิจของอินเดียที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว เนื่องจากการเปิดประเทศและการปฏิรูปทางเศรษฐกิจตั้งแต่ปี 2534 ส่งผลให้การบริโภคภายในประเทศ และการลงทุนขยายตัวอย่างต่อเนื่อง และทำให้ความต้องการนำเข้าสินค้าอุปโภคบริโภค สินค้าทุน และวัตถุดิบเพิ่มขึ้นตามไปด้วย

  เศรษฐกิจอินเดียในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา (2546-2549) เติบโตในอัตราเฉลี่ยราว 8.6% ต่อปี  นับว่าปัจจุบันอินเดียเป็นประเทศในเอเชียที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงเป็นอันดับ 2  รองจากจีน อินเดียเป็นประเทศที่มีตลาดขนาดใหญ่และอำนาจซื้อสูง ชนชั้นกลางของอินเดียมีจำนวนราว 300 ล้านคน จากประชากรรวมทั้งหมดของอินเดียราว 1,100 ล้านคน (ประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของโลก รองจากจีน) แม้ว่ารายได้ประชากรต่อคนของอินเดียค่อนข้างต่ำ แต่จากการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระดับสูงอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้รายได้ประชากรต่อคนของชาวอินเดียเพิ่มขึ้นจาก 451.6 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ในปี 2543 เป็น 797 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี   ในปี 2547 (ประเทศไทยที่รายได้ประชากรต่อคนราว 3,136 ดอลลาร์สหรัฐฯ ต่อปี ในปี 2548)

  กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) คาดการณ์ว่า GDP ของอินเดียจะเติบโต 9.0% ในปี 2550 และ 8.4% ในปี 2551 ตามลำดับ ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจอินเดียในปีนี้ ได้แก่ การเติบโตของภาคบริการและภาคการผลิต การผลิตภาคอุตสาหกรรมที่สำคัญ ได้แก่ กลุ่มสินค้าเคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็กและเหล็กกล้า และอุปกรณ์ขนส่งและส่วนประกอบ ส่วนภาคบริการที่สำคัญของอินเดีย ได้แก่ การท่องเที่ยว คมนาคมขนส่ง การเงิน ประกันภัย อสังหาริมทรัพย์ และก่อสร้าง ภาคบริการของอินเดียเติบโตด้วยตัวเลข 2 หลัก ติดต่อกันเป็นปีที่ 3 สาขาบริการที่เติบโตสูง ได้แก่ การค้า โรงแรม ภัตตาคาร การขนส่ง และการสื่อสาร ภาคบริการของอินเดียมีความสำคัญต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ คิดเป็นสัดส่วนถึง 71.5% ของ GDP ในปีงบประมาณ 2549-2550 นับว่าภาคบริการเป็นภาคเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุด โดยมีสัดส่วนต่อ GDP สูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ ภาคการผลิต และภาคเกษตรกรรม ตามลำดับ

 ภาคการลงทุนของอินเดียขยายตัวทั้งการลงทุนภายในและการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) เงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ในอินเดียเพิ่มขึ้นหลังจากอินเดียปฏิรูปเศรษฐกิจและผ่อนคลายข้อจำกัดของการเข้ามาลงทุนโดยตรงของต่างประเทศ ทั้งนี้ FDI ของอินเดียในปีงบประมาณ 2549-2550 เพิ่มขึ้นเกือบ 2.5 เท่าจาก 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปีงบประมาณ 2548-2549 เป็น 19.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ  ปัจจุบันทางการอินเดียเร่งปรับปรุงการขนส่งทางบก ท่าเรือ และการขนส่งทางทะเล และเพิ่มประสิทธิภาพของสาธารณูปโภค ได้แก่ ระบบไฟฟ้า และโทรคมนาคม เนื่องจากโครงสร้างพื้นฐานในอินเดียยังไม่เพียงพอ ซึ่งจะบั่นทอนการเติบโตทางเศรษฐกิจของอินเดียอย่างยั่งยืน แต่เนื่องจากทางการอินเดียไม่มีงบประมาณเพียงพอสำหรับการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานทั้งหมด จึงส่งเสริมให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมมือกับภาครัฐเพื่อการลงทุนก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการดึงดูดเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) ให้เข้ามาลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐานด้วย โดยการลดกฎระเบียบด้านการลงทุนในสาขานี้ คาดว่าจะช่วยสนับสนุน FDI ของอินเดียให้ขยายตัวมากขึ้น  

ที่มา : บริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=91118
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news25/08/07

โพสต์ที่ 224

โพสต์

ธปท.เทกระจาดอุ้มค่าบาท2.6แสนล.

โพสต์ทูเดย์ ธปท. เผย 6 เดือนแรกใช้เงินแทรกแซงแก้บาทแข็ง 2.6 แสนล้าน ยันพร้อมเดินหน้าอุ้มต่อ


นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ในช่วงครึ่งปีแรก ธปท.ใช้เงิน 8 พันล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 2.6 แสนล้านบาท) ในการแทรกแซงค่าเงินบาท ขณะที่ประเทศมาเลเซียใช้เงินถึง 3 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณล้านล้านบาท) ทำให้ค่าเงินริงกิตแข็งค่าขึ้นเพียง 2-3% ขณะที่เงินบาทแข็งถึง 6-7%

ค่าเงินจะอยู่ที่เท่าไหร่ ขึ้นอยู่กับธนาคารกลางของประเทศนั้นจะเข้าแทรกแซงเท่าไหร่ด้วย นางอัจนา กล่าว

ทั้งนี้ สิ่งที่ ธปท.ดำเนินการตลอด คือ การซื้อเงินเหรียญสหรัฐ หรือเป็นการสร้างความต้องการขึ้นมา เพื่อไม่ให้ค่าบาทแข็งเร็วเกินไป โดยหากดูจากตัวเลขเงินทุนสำรอง จะเห็นว่าในปี 2549 ธปท.ได้ซื้อเงินเหรียญสหรัฐไปแล้ว 1.8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ

นางอัจนา กล่าวว่า ธปท.จะไม่ปล่อยให้เงินบาทแข็งค่าเร็วเกินไป เพราะต้องคำนึงถึงผลกระทบความสามารถในการแข่งขันและแรงงานที่ อาจตกงาน อย่างไรก็ตาม ภาคเอกชนไทยก็ควรเร่งการปรับตัวและเพิ่มประสิทธิภาพให้กับตัวเอง เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ในระยะยาว เพราะเงินบาทจะต้องแข็งค่าขึ้นในอนาคต

อย่างไรก็ตาม ธปท.ไม่สามารถกำหนดค่าเงินบาทให้คงที่ได้ เพราะมีบทเรียนจากวิกฤตปี 2540 และยังมีแรงเก็งกำไรจากตลาดเงินที่มองว่าเงินบาทจะแข็งค่าขึ้น หาก ธปท. ทุ่มเงินไปตรึงไว้ย่อมเปิดช่องให้เก็งกำไรได้ตลอดเวลา ดังนั้น การจะเข้าแทรกแซงแค่ไหนต้องดูความเหมาะสมด้วย

นางอัจนา กล่าวว่า คาดว่าแรงกดดันที่จะทำให้เงินบาทแข็งขึ้นในปีหน้าน่าจะลดลง เมื่อมีการลงทุนเกิดขึ้น ขณะที่ความไม่แน่นอนทางด้านการเมืองก็มีความชัดเจนมากขึ้น

คงไม่สามารถบอกได้ว่าค่าเงินบาทที่เหมาะสมเพื่อแข่งขันกับประเทศคู่แข่งควรอยู่ที่ระดับใด เพราะไม่มีวัฏจักรราคาแน่นอนเหมือนราคาอสังหาริม ทรัพย์ที่อาจจะเปลี่ยนแปลงขึ้นลงทุก 5-6 ปี และเกิดจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ นางอัจนา กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?sec=news&id=187166
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news25/08/07

โพสต์ที่ 225

โพสต์

ธปท.ยันเตะฝุ่นไม่วิกฤต

โพสต์ทูเดย์ ธปท.ยันพิษค่าเงินบาทแข็ง ไม่ลามให้ภาคอุตสาหกรรมต้องปิดกิจการและแรงงานถูกเลิกจ้าง


นางอัจนา ไวความดี รองผู้ว่าการด้านเสถียรภาพการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวในงานสัมมนา วิกฤตแรงงานจากพิษเงินบาทแข็ง ว่า เงินบาทแข็งไม่ได้มีส่วนทำให้เกิดปัญหาในภาคอุตสาหกรรมการผลิต โรงงาน และแรงงาน นอกจากนี้ อัตราการว่างงานของไทยยังต่ำอยู่ที่ 1.4-1.5%

นางอัจนา กล่าวว่า อุตสาหกรรมส่งออกจะดีหรือไม่ขึ้นกับเศรษฐกิจโลกและคู่ค้า ไม่ได้อยู่ที่ค่าเงินเป็นหลัก เห็นได้จากปีที่แล้วค่าเงินแข็งค่า แต่เศรษฐกิจคู่ค้าดี การส่งออกก็เติบโตได้

สำหรับปีนี้ในครึ่งปีหลังส่งออกคาดว่าจะชะลอตัว แต่ก็ยังเชื่อว่าจะขยายตัวได้ตามเป้าทั้งปี ธปท.คาดไว้ ที่ 12-15% แม้เดือน ก.ค. ส่งออกจะลดเหลือ 5.9% จากเดือน มิ.ย. ที่ขยายตัวถึง 17.7% ซึ่งการชะลอลงเป็นไปตามภาวะเศรษฐกิจสหรัฐและไต้หวัน หากภาคการใช้จ่ายในประเทศและการนำเข้าเพิ่มขึ้น รัฐมีการลงทุนเมกะ โปรเจกต์ เชื่อค่าเงินบาทจะอ่อนลงได้

ในระยะสั้นที่เศรษฐกิจไทยพึ่งพาแรงขับเคลื่อนเดียวจากภาคการส่งออก จำเป็นที่ต้องทำให้ค่าเงินบาทแข็งค่า ช้าลง แต่ในระยะยาวคงไม่ได้ เพราะ ถ้าประเทศเราจะอยู่ดีกินดีร่ำรวยขึ้น จะพึ่งการขายของถูกซื้อของแพงไม่ได้ ซึ่งต่อไปค่าเงินแข็งจะดีต่อเศรษฐกิจประเทศมากกว่า นางอัจนา กล่าว

นายธำรง คุโณปการ ประธานบริษัท เทยิน คอร์ด (ประเทศไทย) กล่าวว่า การปิดกิจการและโรงงานอุตสาหกรรมในช่วงที่ผ่านมา สาเหตุสำคัญไม่ได้ มาจากค่าเงินบาทแข็ง แต่เป็นเพราะ ผู้ประกอบการไม่ปรับตัวในการบริหารงาน ไม่เพิ่มนวัตกรรมใหม่ๆ ใช้เครื่องจักรเมื่อ 40 ปีก่อน

ทั้งนี้ ธปท.เคยให้เงินอุดหนุนเพื่อไปปรับปรุงเครื่องมือการผลิตถึง 2 หมื่นล้านบาท แต่เมื่อปัญหาค่าเงิน ทุเลาก็ไม่มีใครสนใจใช้งบดังกล่าวไปปรับปรุงกิจการอย่างจริงจัง ดังนั้น เมื่อมีปัญหาเงินบาทแข็งมากระทบช่วงนี้จึงล้มเร็ว ปิดกิจการมากขึ้น ซึ่งกลุ่มอุตสาหกรรมที่ล้มเร็วคือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก กลุ่มที่มีส่วนต่างกำไรต่ำกว่า 5% และกลุ่มที่รับจ้างผลิตให้แบรนด์เนม

นายศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมวงศาเวช กรรมการสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า กระทรวงแรงงานควรร่วมมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม และ ธปท. วางแผนแก้ปัญหาผลกระทบค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิด
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=187245
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news25/08/07

โพสต์ที่ 226

โพสต์

ขับเคลื่อนเลื่อนทุบลงทุนนอก

โพสต์ทูเดย์ ขนเงินลงทุนนอกยังเคว้ง คณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจยังไร้ข้อสรุปการสนับสนุนมอบคลังศึกษา


นายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และ รมว. อุตสาหกรรม กล่าวภายหลังการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ว่า ที่ประชุมยังไม่สามารถสรุปหลักเกณฑ์การส่งเสริมการนำเงินไปลงทุนในต่างประเทศ เพื่อลดแรงกดดันค่าเงินบาทแข็งค่าที่ชัดเจนได้ เนื่องจากที่ประชุมส่วนใหญ่มีการท้วงติงเรื่องการไปลงทุนนอก อาจทำให้เกิดปัญหาการย้ายฐานการผลิตไปที่อื่น

ดังนั้น ที่ประชุมจึงมีมติ ให้กระทรวงการคลังเป็นตัวหลักในการไปศึกษาพิจารณาของหลักเกณฑ์ให้ดีก่อนสรุปมาตรการ

ทั้งนี้ ให้ยึดเป้าหมายการส่งเสริมคือไปลงทุนต่างประเทศ แล้วต้อง ได้ในเรื่องทรัพย์สินทางปัญญา และลงทุนเพื่อหาตลาดในต่างประเทศเป็นสำคัญ และหากสามารถทำได้ก็จะเป็นการช่วยลดปัญหาการว่างงานได้มากขึ้นโดยอัตโนมัติ เพราะถ้ามีตลาดเพิ่มย่อมมีการจ้างงานเพิ่มด้วย

สำหรับเงื่อนไขการลดหย่อนมาตรการทางภาษีอย่างไรนั้น ตอนนี้ยังไม่สรุป ต้องรอผลสรุปจากกระทรวงการคลัง

นางธาริษา วัฒนเกส ผู้ว่าการ ธปท. กล่าวว่า การส่งออกที่หดตัว ในเดือน ก.ค. ไม่ได้มีสาเหตุสำคัญ มาจากค่าเงินบาทแข็ง ปัจจัยหลักๆ มาจากการที่สหรัฐอเมริกามีปัญหา ซับไพรม์ ทำให้ส่งออกหดไปบ้าง แต่เชื่อว่าส่งออกจะโตได้ 12.5%

ขณะที่นายอำพน กิตติอำพน เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม แห่งชาติ (สศช.) กล่าวว่า สาเหตุที่การส่งออก ก.ค. หดตัวลงมาก เพราะการส่งออกสินค้าข้าว ยางพารา และอาหารสดลดลง อย่างไรก็ตาม ถ้าดูเฉลี่ยทั้งปีการส่งออกยังสามารถโต ได้ตามเป้าหมายเดิม และจีดีพียังน่าจะโตได้มากกว่า 4% เช่นเดิม เพราะในระยะต่อไปจะมีการลงทุนเพิ่มขึ้น

สำหรับการเบิกจ่ายงบประมาณของรัฐเบิกไป 85% แล้ว แต่เชื่อว่า จะเพิ่มมาที่ 93% ได้เมื่อสิ้นปีงบ ประมาณ
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=187248
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news25/08/07

โพสต์ที่ 227

โพสต์

คนไทย78%เป็นหนี้ ภาคครัวเรือนแบกภาระผ่อนชำระ6พันบาท/เดือน  

ม.หอการค้า เปิดผลสำรวจสภาพการเงินภาคครัวเรือน พบยอดหนี้เพิ่มสูงสุดรอบ 11 เดือน ยอดเฉลี่ยน 1.3 แสนบาทต่อครัวเรือน ส่วนใหญ่กู้ใช้จ่ายประจำวัน ตะลึง! กองทุนหมู่ เจ้าหนี้รายใหญ่ แนะรัฐเร่งเมกโปรเจกท์ กระตุ้นการจ้างงาน


นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทยเปิดเผยถึง ผลสำรวจสภานภาพหนี้ภาคครัวเรือนในช่วงการสำรวจวันที่ 19-24 สิงหาคม 2549 วันที่ 14-22 พฤษภาคม และในช่วง 10-15 สิงหาคม 2550 จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 1,178 ตัวอย่าง พบว่า อัตราการเพิ่มขึ้นของหนี้ภาคครัวเรือนตั้งแต่ปี 2539 จนถึงเดือนสิงหาคมปี 2549 มีการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในเดือนพฤษภาคม 2549 หนี้ภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นสูงมากที่สุดที่ 31.69 % ต่อจีดีพี หรือประมาณ 8,342,000 ล้านบาท ซึ่งเป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นสูงสุดเป็นครั้งแรกในรอบ 11 เดือน เพิ่มขึ้นจากปี 2549 อยู่ที่ 29.09 % และอัตราหนี้สินต่อครัวเรือนขยายตัวอยู่ที่ 14.85% ต่อครัวเรือน หรือประมาณ 134,190.13 บาท เมื่อเทียบกับปีที่ 2549 อยู่ที่ประมาณ 116,840 บาท หรือ 12.41%
ทั้งนี้เนื่องจากสภาวะทางเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลง อัตราดอกเบี้ยสูง และราคาน้ำมันที่ประตัวสูงขึ้น และการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้น ส่วนหนึ่ง เนื่องจากธนาคารพาณิชย์มีการเข้มงวดในการปล่อยกู้ทำให้การกู้นอกระบบมากขึ้น

"สถานการดังกล่าวชี้ให้เห็นว่ารัฐบาลควรพลักดันให้สถาบันการเงินในระบบ ปล่อยสินเชื่อภาคประชาชนมากขึ้น เพื่อไม่ให้สินเชื่อนอกระบบขยายตัวมากขึ้น ส่วนสถานการณ์ที่การผิดนัดชำระหนี้ของลูกหนี้ในขณะนี้ เห็นว่ายังไม่น่าเป็นห่วงมากนัก เพราะว่าประชาชนส่วนใหญ่ยังมีสามารถชำระหนี้ได้ อย่างไรก็ตามรัฐบาลกระตุ้นเศรษฐกิจ ด้วยการเร่งทำโครงการเมกโปร์เจก ให้ได้ในไตรมาส 4 และให้เกิดการลงทนในปี 50 และส่งเสริมให้ประชาชนมีงานทำ"นายธนวรรธน์ กล่าว

นายธนวรรธน์ กล่าวต่อว่า ภาระหนี้ครัวเรือนในขณะนี้ยังไม่น่าห่วง เนื่องจาก อัตราหนี้ของหนี้ที่ไม่ก่อนให้เกิดรายได้ (เอ็นพีเอล) ยังไม่เพิ่มสูงขึ้น โดยยังอยู่ 8 % และคาดว่าจะไม่เกิน 10% ในปีนี้ อย่างไรก็ตามเห็นว่าหนี้ภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้นแสดงให้เห็นว่าการออมของประเทศเพิ่มขึ้นไม่มากเท่าที่ควร ดังนั้นกังวลว่าประเทศไทยจะขาดแคลนเงินออม ซึ่งจะส่งผลให้มีการขาดเงินลงทุนในอนาคต ดังนั้นภาครัฐควรจะรณรงค์ให้ประชาชนรู้จักการออมให้มากขึ้น

นอกจากนี้ยังเห็นว่าวัตถุประสงค์การกู้เงินส่วนใหญ่เพื่อใช้จ่ายประวัน มากกว่ากู้เพื่อมาลงทุน ซึ่งแสดงให้เห็นว่าจะไม่มีรายได้กลับมา และอาจจะทำให้ผู้กู้มีปัญหาเรื่องการชำระเงิน ดังนั้นภาครัฐจะต้องติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

ด้านนางยาใจ ชูวิชา ประธานคณะจัดทำการสำรวจความคิดเห็นประเด็นธุรกิจ ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่าประชาชนส่วนใหญ่มีภาระหนี้สินภาคครัวเรือน 78.2 % ส่วนกลุ่มที่ไม่มีหนี้สิน 21.8 % โดยประชากรส่วนใหญ่มีรายได้ต่อครัวเรือน ประมาณ 20,000 - 130,000 บาทต่อครัวเรือน หรือ 29.6 % รองลงมามีรายได้ประมาณ 30,001- 40,000 บาทต่อครัวเรือน หรือ 23.9% และ 10,001-20,000 ต่อครัวเรือน โดยแหล่งเงินกู้ส่วนใหญ่มาจาก กองทุนหมู่บ้าน 19.4% รองลงมา ธนาคารประชาชน 17.6 ธนาคารพาณิชย์ 17.0% ธนาคารของรัฐ 16.5% และสถาบันการเงินที่ไม่ใช่ธนาคาร 14.2 %

โดยจำนวนหนี้สินเฉลี่ยต่อครัวเรือนรวมประมาณ 132,262.65 บาท มีการผ่อนชำระ 6,389.50 ต่อเดือน แยกเป็นในระบบ 67.8% หรือประมาณ 6,021.40 บาทต่อเดือน และนอกระบบ 32.2 % หรือประมาณ 2,446.60 ต่อเดือน

ทั้งนี้เมื่อเทียบภาระหนี้ในปัจจุบันเทียบกับอดีต และอนาคต 1 ปีข้างหน้า พบว่า หนี้สินปัจจุบันเทียบกับอดีตในระบบเพิ่มขึ้น50.6% นอกระบบลดลง 45.5% ขณะที่อีก 1 ปีข้างหน้าหนี้ในระบบลดลง 61.8% และ นอกระบบ 70.6 % ส่วนวัตถุประสงค์ในการกู้ส่วนใหญ่เพื่อใช้จ่ายประจำวัน 53.7 % รองลงมาเพื่อซื้อยานพาหนะ 20.4 % และเพื่อการลงทุน 12.0 %

อย่างไรก็ตามทัศนะของประชาชนเกี่ยวกับการกู้ยืม และภาระหนี้สินเชื่อว่า ส่วนที่เชื่อว่าไม่มีปัญหา 65.5% สาเหตุมาจาก รายได้ที่เพิ่มสูงขึ้น 32.5 % และมีการซื้อสินค่าเท่าที่จำเป็น 68.5% ส่วนกลุ่มที่เชื่อว่าปัญหารายได้มีปัญหา 35.5 % ราคาสินค้าที่มีราคาแพง 62.0 % อัตราดอกเบี้ยสูง 21.1% และราคาน้ำมันแพง 15.5 %  
http://www.naewna.com/news.asp?ID=72591
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news25/08/07

โพสต์ที่ 228

โพสต์

ศุภชัยแนะวิธีแก้บาทแข็ง หนุนลงทุนนอก-สอท.ขอเว้นภาษีกำไร  

ดร.ศุภชัย วิเคราะห์อนาคตเศรษฐกิจโลก เผยเผชิญ 3 ปัญหาหลัก ส่วนเรืองค่าเงินผันผันผวน เสนอแบงก์ชาติ ออกติกาควบคุมให้ชัดเจน พร้อมส่งเสริมนักลงทุนไทยขนเงินไปซื้อแอสเวทในต่างหระเทศ ฉวยจะหวะค่าบาทแข็งช็อปของถูก ขระที่ สอทงเตรียมขอรัฐยกเว้นภาษีกำไรของภาคเอกชนที่ไปลงทุนต่างประเทศ


นายศุภชัย พานิชภักดิ์ เลขาธิการการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา หรือ (องค์ถัด) อดีตผู้อำนวยการองค์การการค้าโลก และ อดีตรองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ และ กล่าวในการบรรยาพิเศษเรื่อง "บทบาทของไทย...ในเวทีโลก" ที่จัดขึ้นโดยสมาคมผู้สื่อข่าวเศรษฐกิจ ว่า กรณีปัญหาการแข็งค่าของเงินบาทอัตราการผันแปรการแลกเปลี่ยน ทางรัฐบาลควรหามาตรการรองรับที่ชัดเจนเกี่ยวกับเงินทุนระยะสั้นเช่นเดียวกับมาเลเซียและชิลี และประเทศไทยไม่ควรผูกอยู่กับเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะ มีค่าเงินอีกหลายสกุลที่ไม่ผันผวน รวมทั้งเน้นนโยบายให้นักลงทุนมีโอกาสเข้าไปลงทุนต่างประเทศ ในภาวะที่ค่าเงินบาทแข็งตัว เพราะในภาวะค่าเงินบาทแข็งนักลงทุนที่ไปลงทุนต่างประเทศจะมีต้นทุนถูกลง รวมถึงเก็บเงินตราสกุลอื่นไว้ได้นาน และให้ความรู้ในการบริหารความเสี่ยงด้วยมากขึ้น

"การทำหน้าที่ของ ธปท.ในการรับมือกับปัญหาค่าเงินผันผวนที่ผ่านมานั้น ตนมองอย่างให้กำลังใจและเห็นว่า ธปท.ก็ยังเป็นหน่วยงานหลักที่ดูแลด้านเศรษฐกิจของประเทศ แต่ต้องยอมรับว่าที่ผ่านมาภารกิจของ ธปท.มีมาก แต่เครื่องไม้เครื่องมือยังมีไม่พอ อีกทั้งการทำความเข้าใจกับสาธารณะน้อยไป "

สำหรับสถานการณ์เศรษฐกิจ สิ่งที่ต้องเผชิญต่อจากนี้คือ 1 เรื่องพลังงาน ขณะนี้มีการใช้วัตถุดิบด้านอาหารมาผลิตเป็นพลังงาน(ไบโอเอนเนอร์จี) ซึ่งต้องระมัดระวังเพราะจะทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนอาหาร สิ่งที่ควรสนับสนุนด้านพลังานคือ ลังงานจากลม จากแสงอาทิตย์

ส่วนปัญหาที่2ที่ต้องเผชิญคือเรื่องเงินเฟ้อ เนื่องจากราคาอาหารเพิ่มสูงขึ้น ที่เห้นชัดตอนนี้คือ จีน และสหรัฐอเมริกา ปัญหาที่ 3 คือความผันผวนทางด้านการเงิน ซึ่งเกิดจากไม่มีกฎกติกาที่ชัดเจนในการควบคุมการไหลของเงินทุน ทำให้เกิดการเก็งกำไร การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูงขอพวกเฮดฟันด์ ดังนั้นสิ่งที่ต้องทำคือให้ประเทศในภูมิภาคเอเชียร่วมมือกัน ใช้เงินลงทุนในภูมิภาคให้มากที่สุด ลดการพึ่งพาเงินทุนจากฝั่งตะวันตก

ในวันเดียวกัน นายสันติ วิลาสศักดานนท์ ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจที่มีนายโฆสิต ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นประธาน วันนี้ (24 ส.ค.) คณะกรรมการร่วมเอกชน3 สถาบัน(กกร.)ประกอบด้วย ส.อ.ท. สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยและสมาคมธนาคารไทย จะเสนอมาตรการกระตุ้นผู้ประกอบการไทยให้ไปลงทุนในต่างประเทศ โดยขอให้มีการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลในส่วนของกำไรที่ได้จาการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศ จากปัจจุบันหากผู้ประกอบการนำกำไรกลับเข้ามาในประเทศจะต้องเสียภาษีในอัตราสูงถึง 30% ซึ่งเป็นการเสียภาษีซ้ำซ้อนเนื่องจากผู้ประกอบการจะต้องเสียภาษีเงินได้ ทั้งกำไรที่ได้จากธุรกิจทั้งในและต่างประเทศ จึงไม่จูงใจเอกชนให้ไปลงทุนในต่างประเทศและต้องการให้แก้ไขนโยบายส่งเสริมลงทุนของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ) ในการให้สิทธิประโยชน์ต่างๆ เพื่อส่งเสริมการลงทุนในต่างประเทศได้ในลักษะเดียวกับการให้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมลงทุนในต่างประเทศ จากปัจจุบันกฏหมายบีโอไอจำกัดให้สิทิประโยชน์การลงทุนได้เฉพาะโครงการที่เข้ามาลงทุนในประเทศเท่านั้น

ขณะเดียวกันยังต้องการให้รัฐบาลมีการตั้งกองทุนเพื่อประกันความเสี่ยงให้กับเอกชนที่ต้องการไปลงทุนในต่างประเทศ ตลอดจนให้การสนับสนุนสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำให้กับผุ้ประกอบการที่ขาดเงินทุน หรือได้รับความช่วยเหลือหากไปลงทุนในต่างประเทศแล้วต้องประสบปัญหา เป็นต้น ปัจจุบัน ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้า(เอ็กซิมแบงก์)ให้การสนับสนุนเฉพาะด้านการค้าเป็นหลักและมีอัตราดอกเบี้ยค่อนข้างสูง ทำให้เอกชนยังมีปัญหาเกี่ยวกับแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ยังจะมีการเร่งรัดมาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หลังครม.มีมติอนุมัติยกเว้นนภาษีเงินได้ให้ผู้ประกอบการไปก่อนหน้านี้แต่ยังไม่มีผลในทางปฏิบัติ ทำให้เกิดปัญหาเนื่องจากผุ้ประกอบการต้องเริ่มเสียภาษีแล้วแต่ระดับเจ้าหน้าที่ยังไม่ได้รับคำสั่งอย่างเป็นทางการจึงต้องเสียภาษีไปก่อน รวมถึงจะผลักดันให้มีการตั้งนิคมอุตสาหกรรมชายแดน เพื่อแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าว จำกัดไม่ให้ทะลักเข้าไปในพื้นที่อื่น ซึ่งมีศักยภาพสามารถลงทุนได้ทั้งที่จ. ราชบุรี แม่สอด ระนอง เป็นต้น

นอกจากนี้จะมีการสอบถามความคืบหน้าเกี่ยวกับมาตรการแก้ปัญหาค่าเงินบาท ทั้ง 6 มาตรการที่รัฐบาลได้ดำเนินการไปว่าได้ผลออกมาอย่างไรบ้าง รวมทั้งความคืบหน้าในการจัดตั้งกองทุนเพื่อช่วยเหลือวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม หรือเอสเอ็มอี วงเงิน 5,000 ล้านบาท และนโยบายในการส่งเสริมให้เอกชนไปลงทุนต่างประเทศ ว่าภาครัฐจะมีมาตรการพิเศษ หรือจัดตั้งกองทุนเพื่อสนับสนุนภาคเอกชนอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตาม จากการที่รัฐบาลออกมาตรการแก้ปัญหาเงินบาท ขณะนี้เงินบาทอ่อนค่าลงจากระดับ 33.40 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ มาอยู่ที่ 34.50 บาท ต่อดอลลาร์สหรัฐ ก็ถือว่ามีเสถียรภาพในระดับหนึ่ง ผู้ส่งออกสามารถปรับตัวได้แต่ยังไม่เต็มที่ โดยผู้ส่งออกอยากให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าลงมาที่ระดับ 35 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
http://www.naewna.com/news.asp?ID=72590
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news28/08/07

โพสต์ที่ 229

โพสต์

ต่างชาติทยอยเก็บหุ้น7 เดือนไหลเข้า1แสนล. โดย กระแสหุ้น

ต่างชาติทยอยเข้าซื้อหุ้น แนวโน้มดัชนีฯแกว่งแคบๆ รอชัดเจนประชุมดอกเบี้ย กนง.29 ส.ค.นี้ ด้านธปท.เผย 7 เดือนแรกเงินทุนไหลเข้า 1 แสนล. วิกฤต ซับไพร์ม ทำต่างชาติตื่นขนเงินออก 8 พันล.

ผู้สื่อข่าวรายงานจากตลาดหลักทรัพย์ว่า บรรยากาศการลงทุน วานนี้ (27 ส.ค.) ดัชนีหุ้นแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบแคบๆ เนื่องจากไม่มีปัจจัยใหม่ๆมาช่วยกระตุ้นการซื้อขาย ประกอบกับนักลงทุนรอดูผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงิน หรือ กนง. ในวันที่ 29 ส.ค.นี้ เพื่อพิจารณาดอกเบี้ยนโยบาย โดยดัชนีหุ้นปิดตลาดที่ 791.17 จุด เพิ่มขึ้น 0.20 จุด ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 11,213.39 ล้านบาท

ทั้งนี้นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิ 349.26 ล้านบาท นักลงทุนสถาบันซื้อสุทธิ 69.03 ล้านบาท นักลงทุนรายย่อยขายสุทธิ 418.29 ล้านบาท

รายงานจากบริษัท ศูนย์วิจัยกสิกรไทย จำกัด ประเมินว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) อาจมีความโน้มเอียงที่จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ซึ่งเป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.25 เหลือร้อยละ 3.00 ในการประชุมวันที่ 29 สิงหาคมนี้ เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ โดยเฉพาะในภาวะที่ความเสี่ยงด้านเงินเฟ้อยังอยู่ในระดับต่ำ
อย่างไรก็ตาม การที่ กนง.จะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเดิมร้อยละ 3.25 หาก กนง.ประเมินว่า ผลกระทบจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลกจากปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ที่มีต่อเศรษฐกิจไทยยังคงมีจำกัด อีกทั้งการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลงเป็นสิ่งที่คาดการณ์ไว้แล้ว

แนวโน้มดัชนีแกว่งกรอบแคบๆ
นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ กรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ประเมินแนวโน้มตลาด (28 ส.ค.) คาดดัชนีแกว่งตัวในกรอบแคบๆ และมีโอกาสลุ้นปรับตัวขึ้นต่อ โดยปัจจัยภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อตลาดหุ้นตอนนี้ ถือว่าได้ผ่อนคลายลงไปมากแล้ว และการที่ ก.ก.ต. กำหนดวันเลือกตั้งที่ชัดเจนออกมาถือว่า เป็นสัญญาณที่ดีโดยปัจจัยที่น่าจับตาในตอนนี้ ยังคงเป็นเรื่องของเศรษฐกิจสหรัฐฯที่หลายฝ่ายคาดการณ์ว่า จะชะลอตัวเนื่องจากอาจจะส่งผลกระทบต่อประเทศไทยได้เช่นกัน ประเมินแนวรับ 790 จุด แนวต้านที่ 800-812 จุด

นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ บริษัท หลักทรัพย์ บีที จำกัด ประเมินแนวโน้มตลาด (28 ส.ค.) คาดดัชนีคงจะวิ่งอยู่ในกรอบแคบๆ และมีโอกาสปรับตัวลดลง โดยตลาดยังคงรอปัจจัยบวกจากต่างประเทศ เนื่องจากที่ผ่านมาวอลุ่มค่อนข้างเบาบาง ประเมินแนวรับ 785-790 จุด แนวต้าน 795-798 จุด

7 เดือนแรกต่างชาติลงทุนไทย1แสนล.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ได้รายงานยอดเงินทุนเคลื่อนย้ายสุทธิล่าสุด สิ้นเดือน ก.ค.ของไทย และประเทศเพื่อนบ้านในเอเชีย โดยเอกสารระบุว่า ตั้งแต่ต้นปี 2550 จนถึงสัปดาห์ที่ 2 ของเดือน ก.ค.ที่ผ่านมา เงินทุนได้ไหลเข้ามาในทวีปนี้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้ค่าเงินภูมิภาค และค่าเงินบาทของไทยปรับตัวแข็งค่าอย่างต่อเนื่อง

อย่างไรก็ตาม หลังจากกลางเดือน ก.ค.ความไม่มั่นใจในความมั่นคงของตราสารหนี้ที่มีสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐฯ และดัชนีดาวโจนส์ที่ดิ่งลงอย่างรวดเร็ว ทำให้มีการเทขายหุ้นในภูมิภาคนี้อย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีเงินเริ่มไหลออกจากภูมิภาค

ทั้งนี้ สิ้นเดือน ก.ค.2550 ที่ผ่านมา มีเงินไหลเข้าสุทธิในกลุ่มเอเชียเกิดใหม่ 6 ประเทศ หรือเอเชีย 6 จำนวนทั้งสิ้น 15,537.2 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยมีเงินไหลเข้าประเทศไทยมากเป็นอันดับที่ 3 ของกลุ่ม 3,428 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 116,552 ล้านบาท (34 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ) ขณะที่อินเดียมีเงินไหลเข้าสูงสุดในภูมิภาค 9,188.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามมาด้วย ไต้หวัน 5,998 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ฟิลิปปินส์ 1,883.9.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อินโดนีเซีย 1,758.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับเกาหลีใต้เป็นยอดเงินไหลออกทั้งสิ้น 7,073 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาเงินไหลเข้าตั้งแต่ต้นปี 2550 จนถึง 2 สัปดาห์แรกของเดือน ก.ค.มีเงินทุนไหลเข้าเอเชีย 6 ทั้งสิ้น 25,174 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไหลเข้าไต้หวันมากที่สุด 10,521 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามด้วยอินเดีย 7,675.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ประเทศไทยเป็นอันดับ 3 มีเงินไหลเข้า 3,677.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 125,028.2 ล้านบาท ฟิลิปปินส์ 1,823.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ อินโดนีเซีย 1,619.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่เกาหลีใต้มีเงินไหลออก 497 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า ในช่วง 2 สัปดาห์หลังของเดือน ก.ค.การเทขายหุ้นในภูมิภาคส่งผลให้มีเงินไหลออกทั้งสิ้น 9,636.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีเงินไหลออกจากประเทศเกาหลีใต้มากที่สุด 6,576 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไหลออกจากไต้หวัน 45,230 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไหลออกจากไทย 249.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 8,476.2 ล้านบาท แต่ในส่วนของอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ และอินเดีย ยังเป็นเงินไหลเข้า 138.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ 60 ล้านดอลลาร์สหรัฐและ 1,513.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตามลำดับ
http://www.settrade.com/S17_ContentDisp ... okerId=IPO
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news28/08/07

โพสต์ที่ 230

โพสต์

โผหุ้นเด่นรับเลือกตั้ง เซียนหุ้นยก
เฟ้นหุ้นเด่นรับรัฐบาลดีเดย์เลือกตั้ง 23 ธันวาคมนี้ เซียนหุ้นยกให้กลุ่มรับเหมา CK-ITD-STEC เป็นแม่งานรับอานิงสงค์นโยบายลงทุน เบิกจ่ายงบ เปิดประมูลโครงการใหม่เพียบ


รองลงมากลุ่มสื่อและสื่อสิงพิมพ์ BEC MCOT- MAJOR รับเม็ดเงินโฆษณาสะพัดทั่วตลาดเร่งประชาสัมพันธ์เลือกตั้ง ฉากต่อไป ADVANC- CP7-11- MAKRO ,  SPALI , AP , -LPN , PRIN , PS รับความเชื่อมั่นผู้บริโภคฟื้น ชอบตัวไหนเลือกช้อปด้ตามใจชอบ เพราะทุกตัวยังต่ำกว่าราคาเป้าหมาย
   
นายอดิพงษ์ ภัทรวิกรม ผู้อำนวยการฝ่ายกลการลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จำกัด ประเมินว่า ดัชนีตลาดหุ้นไทยมีโอกาสที่จะปรับตัวเพิ่มขึ้นได้อีก 10% จากปัจจุบัน เพราะในช่วงก่อนระยะเวลาการเลือกตั้งประมาณ 3 เดือนจะมีการซื้อขายหุ้น เพื่อนำเงินไปใช้ในการเลือกตั้งมากขึ้น
   
เชื่อว่าตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงก่อนวันเลือกตั้งจะมีการเข้ามาเก็งกำไรในตลาดหุ้นเพิ่มมากขึ้น โดยหุ้นที่จะได้รับความสนใจ คงจะหนีไม่พ้นหุ้นที่มีความเกี่ยวเนื่องกับนโยบายของภาครัฐ โดยคาดว่าดัชนีจะมีการปรับตัวได้อีกประมาณ 10% ซึ่งคาดว่าดัชนีมีโอกาสที่จะฟื้นตัวไปที่ระดับแนวต้านเดิม 895 จุดได้ นายอดิพงษ์กล่าว
   
สำหรับปัจจัยการลงทุนในตลาดหุ้นไทยในช่วงนี้มองว่ายังไม่มีปัจจัยใหม่ที่จะผลักดันให้ดัชนีปรับตัวได้ร้อนแรง แม้ว่าจะมีปัจจัยความชัดเจนด้านการเลือกตั้งแต่ประเด็นดังกล่าวได้สะท้อนไปบ้างแล้วหลังจากที่มีการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญไปเมื่อวันที่ 19 สิงหาคมที่ผ่านมา แต่ยังคงต้องจับตาทิศทางตลาดหุ้นต่างประเทศเป็นหลัก
   
อย่างไรก็ตามเชื่อว่านักลงทุนต่างชาติยังคงเชื่อมั่นต่อตลาดหุ้นไทย ดังนั้นแนะนำกลยุทธ์ ซื้อสะสมหุ้นที่มีปัจจัยพื้นฐานดี กลุ่มพลังงาน สถาบันการเงิน และหุ้นที่ได้อานิสงค์เลือกตั้ง โดยให้กรอบดัชนีที่แนวรับ 740-730 จุด แนวต้าน 800-840 จุด
   
นายภูวดล ลาภอุดมสุข ผู้อำนวยการอาวุโสฝ่ายกลยุทธ์การลงทุน บริษัทหลักทรัพย์ เอเซีย พลัส จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า หลังจากที่มีการประกาศวันเลือกตั้งชัดเจนในวันที่ 23 ธันวาคม 2550 มองว่าจะสร้างความเชื่อมั่นทางด้านเศรษฐกิจให้กับนักลงทุนทั้งในประเทศ และต่างประเทศเพิ่มมากขึ้น โดยมองว่ารัฐบาลใหม่จะเข้ามาขับเคลื่อนเศรษฐกิจ และนโยบายการลงทุนให้มีการเติบโตที่ชัดเจนมากขึ้น
   
สำหรับการลงทุนในตลาดหุ้นนั้นมองว่าน่าจะมีการปรับตัวที่ดี โดยคาดว่าหุ้นที่น่าจะได้รับประโยชน์จากประเด็นการเลือกตั้งในครั้งนี้ คือ กลุ่มรับเหมา เช่น CK ITD STEC เพราะเชื่อว่าจะมีการทยอยเปิดประมูลโครงการใหม่ๆทั้งในภาครัฐ และเอกชนเพิ่มมากขึ้น หลังจากคลายความกังวลด้านการเมืองลงไป โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้า จึงแนะนำ ซื้อ CK โดยให้ราคาเป้าหมาย 11.00  ITD ให้ราคาเป้าหมาย 8.70 บาท และ STEC โดยให้ราคาเป้าหมาย 10.00 บาท
   
ส่วนกลุ่มสื่อและสื่อสิ่งพิมพ์มองว่าจะเป็นกลุ่มแรกที่จะได้ประโยชน์จากการเลือกตั้ง เพราะจะมีการเปิกจ่ายงบประมาณด้านการประชาสัมพันธ์การเลือกตั้ง ซึ่งคาดว่าจะมีเม็ดเงินโฆษณาในการสนับสนุนเข้ามามากขึ้น จากเดิมที่คาดว่าในช่วงครึ่งปีหลังจะมีเป็นไฮซีซั่นของธุรกิจอยู่แล้ว ซึ่งจึงแนะนำ ซื้อลงทุน BEC ให้ราคาเป้าหมาย 27.34 บาท  MCOT ให้ราคาเป้ามาย 27.04 บาท MAJOR ให้ราคาเป้าหมาย 20.00 บาท ส่วนผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ ADVANC ให้ราคาเป้าหมาย 111 บาท
   
ส่วนกลุ่มบริการคาดว่าจะได้อานิสงค์จากความเชื่อมั่นของผู้บริโภคที่จะปรับตัวดีขึ้น และคาดว่าจะมีการจับจ่ายเพิ่มมากขึ้น ซึ่งมองว่าหุ้นในกลุ่มนี้จึงเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่จะมีการเข้ามาเก็งกำไรพอสมควร เช่น CP7-11 โดยให้ราคาเป้าหมาย 11.50 บาท และ MAKRO ให้ราคาเป้าหมาย 113 บาท
   
สำหรับหุ้นกลุ่มสุดท้ายที่ได้อานิสงค์ของความเชื่อมั่นของผู้บริโภคฟื้นตัว และดอกเบี้ยที่อยู่ในช่วงขาลง คือ หุ้นกลุ่มอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านที่อยู่อาศัย จึงแนะนำ ซื้อลงทุน หุ้น  AP ให้ราคาเป้าหมาย 8.03 บาท LPN ให้ราคาเป้าหมาย 9.86 บาท PRIN ให้ราคาเป้าหมาย 4.37 บาท PS ให้ราคาเป้ามาย 11.80 บาท และ SPALI ให้ราคาเป้าหมาย 4.40 บาท เพราะบริษัทเหล่านี้ได้มีการทยอยเปิดโครงการใหม่อย่างต่อเนื่อง ซึ่งเมื่อความต้องการเริ่มฟื้นจะสร้างยอดขายให้ผู้ประกอบการเหล่านี้ปรับตัวดีมากขึ้น
http://www.msnth.com/msn/money2/content ... 464&ch=223
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news28/08/07

โพสต์ที่ 231

โพสต์

อัตราดอกเบี้ยนโยบายอาจปรับลงจากปัจจัยลบ (รายงาน)  

ในวันที่ 29 สิงหาคม 2550 คณะกรรมการนโยบายการเงิน (กนง.) ของธนาคารแห่งประเทศไทย จะมีการประชุมรอบที่ 6 ของปีเพื่อกำหนดทิศทางนโยบายการเงิน หรือทิศทางอัตราดอกเบี้ยตลาดซื้อคืนพันธบัตรระยะ 1 วัน ซึ่งขณะนี้อยู่ที่ร้อยละ 3.25 หลังจากที่กนง.ได้มีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายดังกล่าวลงมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การประชุมเมื่อต้นปีที่ผ่านมา รวมกันแล้วประมาณร้อยละ 1.75 ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า การตัดสินใจทิศทางนโยบายอัตราดอกเบี้ยของกนง.ในการประชุมรอบนี้ คงจะขึ้นอยู่กับมุมมองหรือการประเมินของกนง.เกี่ยวกับความเสี่ยงต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยเป็นสำคัญ โดยปัจจัยแวดล้อมที่คาดว่าจะมีอิทธิพลต่อการดำเนินนโยบายการเงินของกนง.

อัตราเงินเฟ้อต่ำ และเงินบาทชะลอการแข็งค่า เอื้อให้กนง.มีความยืดหยุ่นในการดำเนินนโยบายการเงินมากขึ้นจากข้อมูลของกระทรวงพาณิชย์ล่าสุด การเปลี่ยนแปลงของระดับราคาสินค้าหรืออัตราเงินเฟ้อทั่วไปยังมีทิศทางที่อ่อนตัวลงอย่างต่อเนื่อง โดยอยู่ที่ร้อยละ 1.7 ในเดือนกรกฎาคม 2550 เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน (year-on-year) ชะลอลงจากร้อยละ 1.9 ในเดือนมิถุนายน เช่นเดียวกัน อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน ที่ไม่รวมราคาอาหารสดและพลังงาน อยู่ที่ร้อยละ 0.8 (year-on-year) ในเดือนกรกฎาคม เทียบกับร้อยละ 0.7 ในเดือนมิถุนายน ในขณะที่ หากพิจารณาข้อมูลในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2550 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน มีค่าเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 2.1 และร้อยละ 1.1 ตามลำดับ ชะลอลงชัดเจนจากร้อยละ 4.7 และร้อยละ 2.3 ในปี 2549 ทั้งนี้ จากแนวโน้มราคาน้ำมันตลาดโลกที่แม้จะผันผวน แต่ก็ลดลงมาต่ำกว่าระดับ 70 ดอลลาร์ฯ/บาร์เรลแล้วในขณะนี้ และคงจะไม่เร่งตัวสูงขึ้นมากจนเป็นที่น่าวิตก ตามแนวโน้มการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก เมื่อผนวกกับการใช้จ่ายในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจน ทำให้คาดว่า ความเสี่ยงทางด้านเงินเฟ้อจะยังไม่ใช่ประเด็นที่น่ากังวลสำหรับการดำเนินนโยบายการเงินในระยะใกล้นี้

ในส่วนประเด็นเรื่องค่าเงินบาท ซึ่งล่าสุดได้ชะลอการแข็งค่าลงมาเคลื่อนไหวในกรอบประมาณ 34.0-34.5 บาท/ดอลลาร์ฯ ตามความต้องการเงินดอลลาร์ฯของนักลงทุนเพื่อเสริมสภาพคล่องจากผลกระทบของปัญหาสินเชื่อจำนองของลูกหนี้ที่มีความน่าเชื่อถือต่ำ (ซับไพร์ม) ของสหรัฐฯที่ขยายวงกว้างไปสู่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั่วโลกในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า ประเด็นค่าเงินบาทคงจะไม่ใช่ปัจจัยที่กดดันการดำเนินนโยบายการเงินของกนง.ในการประชุมรอบนี้ มากเท่ากับในการประชุมรอบที่แล้ว (18 กรกฎาคม) เพราะแม้เงินบาท (ตลาดในประเทศ หรือ onshore) จะยังแข็งค่าขึ้นแล้วประมาณร้อยละ 5.1 เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ นับจากต้นปีจนถึงวันที่ 24 สิงหาคม แต่การชะลอการแข็งค่าลงในช่วง 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา ก็ได้ทำให้อัตราการแข็งค่าของเงินบาทดังกล่าวกลับมามีระดับที่ใกล้เคียงหรือสอดคล้องไปกับค่าเงินสกุลอื่นในภูมิภาคมากขึ้นกว่าในอดีต (นับจากต้นปีจนถึงขณะนี้ และเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์ฯ เงินเยนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 2.3 เงินรูปีอินเดียแข็งค่าขึ้นร้อยละ 7.9 เงินเปโซฟิลิปปินส์แข็งค่าขึ้นร้อยละ 5.1 เงินหยวนจีนแข็งค่าขึ้นร้อยละ 3.2 เป็นต้น)

ทั้งนี้ จากแรงกดดันเงินเฟ้อที่ยังมีระดับต่ำ กอปรกับเงินบาทที่ไม่ได้เป็นปัจจัยกดดันมากเท่าในอดีต ทำให้ศูนย์วิจัยกสิกรไทยเห็นว่า กนง.มีความยืดหยุ่นมากขึ้นในการดำเนินนโยบายการเงิน หรืออาจกล่าวได้ว่า กนง.สามารถเลือกที่จะปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีก หรือคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิม ขึ้นอยู่กับการประเมินความเสี่ยงทางด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจเป็นสำคัญ

ความเสี่ยงทางด้านการขยายตัวของเศรษฐกิจ เป็นน้ำหนักหลักสำหรับการตัดสินใจนโยบายอัตราดอกเบี้ยในการประชุมรอบนี้

ในช่วงที่ผ่านมา แม้กนง.จะได้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยลงมาอย่างต่อเนื่อง แต่เครื่องชี้เศรษฐกิจโดยเฉพาะการใช้จ่ายในประเทศยังคงไม่ฟื้นตัวขึ้นอย่างชัดเจนนัก เนื่องจากถูกปัจจัยลบต่างๆ ปกคลุมอยู่ ไม่ว่าจะเป็น สถานการณ์ความไม่แน่นอนทางการเมือง การแข็งค่าของเงินบาท และราคาน้ำมันที่ผันผวนสูง สะท้อนได้จาก ดัชนีความเชื่อมั่นทั้งของผู้บริโภค ภาคธุรกิจ และภาคอุตสาหกรรม ซึ่งยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่อ่อนแอต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน เครื่องชี้ภาวะการบริโภคและการลงทุนของภาคเอกชนก็ยังคงหดตัว ได้แก่ ยอดขายรถยนต์ ยอดขายรถจักรยานยนต์ ยอดขายปูนซีเมนต์ และการนำเข้าสินค้าทุน เป็นต้น อีกทั้งล่าสุด การส่งออก (ข้อมูลตามฐานของกระทรวงพาณิชย์) ในเดือนกรกฎาคม ขยายตัวเพียงร้อยละ 5.9 (year-on-year) ต่ำสุดในรอบ 29 เดือน ชะลอลงจากที่ขยายตัวในอัตราเฉลี่ยสูงถึงร้อยละ 18 ในช่วงครึ่งปีแรก นอกจากนี้ ยังมีปัญหาการว่างงาน และปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ขยับเพิ่มขึ้นในช่วงไตรมาส 2/2550

ในขณะเดียวกัน ความเสี่ยงที่เศรษฐกิจโลกอาจชะลอตัวลงมากกว่าคาด จากปัญหาสินเชื่อซับ ไพร์มของสหรัฐฯที่ลุกลามไปสู่เศรษฐกิจอื่นๆ ทั่วโลก (แม้จะยังไม่อาจประเมินขนาดความเสียหายที่แท้จริงได้ในขณะนี้) ยังอาจกดดันการเติบโตของการส่งออกของไทยในระยะถัดไป นอกจากประเด็นเรื่องค่าเงินบาทแล้ว โดยแม้ว่าประเทศไทยอาจจะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากปัญหาดังกล่าวมากนัก เพราะเม็ดเงินที่ลงทุนในสินเชื่อซับไพร์มอาจมีจำกัด แต่ไทยคงจะหลีกเลี่ยงผลกระทบทางอ้อมไปไม่พ้น หากเศรษฐกิจโลกโดยเฉพาะเศรษฐกิจหลักอย่างสหรัฐฯ ตกอยู่ในภาวะซบเซาต่อเนื่อง

ทั้งนี้ ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่า จากเครื่องชี้เศรษฐกิจในประเทศที่ยังไม่ฟื้นตัว และการเติบโตของการส่งออกที่มีแนวโน้มชะลอตัวลง ตลอดจนความเสี่ยงเกี่ยวกับการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกที่มีมากขึ้น หากกนง.จะมีมติปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงอีกร้อยละ 0.25 จากร้อยละ 3.25 มาที่ร้อยละ 3.00 ในการประชุมรอบนี้ (29 สิงหาคม) เพื่อประคับประคองเศรษฐกิจ ก็นับว่าเป็นการดำเนินการที่มีความเหมาะสมสำหรับสถานการณ์ ณ ขณะนี้

อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงการเติบโตในอัตราที่ชะลอลงของการส่งออกว่าเป็นสิ่งที่ทางการประเมินไว้แล้ว และผลกระทบต่อเศรษฐกิจไทยจากปัญหาสินเชื่อซับไพร์มที่ยังมีจำกัดในขณะนี้ รวมทั้งความเชื่อมั่นว่าภาวะการใช้จ่ายหรืออุปสงค์ในประเทศมีแนวโน้มจะฟื้นตัวดีขึ้น หลังการเมืองมีพัฒนาการทีละน้อย ตลอดจนความมุ่งหวังของกนง.ที่ไม่ต้องการเห็นอัตราดอกเบี้ยที่แท้จริงมีค่าติดลบซึ่งอาจกระทบการออมในระบบ แล้ว การที่กนง.จะตัดสินใจคงอัตราดอกเบี้ยไว้ที่ระดับเดิมที่ร้อยละ 3.25 ในการประชุมรอบนี้ และรอดูข้อมูลที่มีมากขึ้นเพื่อประเมินสถานการณ์อีกครั้งในการประชุมรอบถัดๆ ไป (วันที่ 10 ตุลาคม และ 4 ธันวาคม) ก็เป็นทางเลือกที่มีโอกาสเกิดขึ้น ได้เช่นกัน

ที่มา ศูนย์วิจัยกสิกรไทย
http://www.naewna.com/news.asp?ID=73021
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news28/08/07

โพสต์ที่ 232

โพสต์

จี้รัฐลุยผุดเมกะโปรเจกต์เงินมีพออย่ากลัวข้อครหา

โพสต์ทูเดย์ จี้รัฐบาลกล้าตัดสินใจลงทุนเมกะโปรเจกต์ โดยเฉพาะรถไฟฟ้า โดยไม่กลัวข้อครหา


นายสังศิต พิริยะรังสรรค์ ประธานคณะกรรมาธิการการคลัง การธนาคาร และสถาบันการเงิน สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวว่า ความไม่แน่นอนทางการเมืองยังมีต่อไปในช่วง 1 ปีข้างหน้า ซึ่งรัฐบาลใหม่ที่จะเข้ามาทำให้เกิดความเชื่อมั่นคงไม่ใช่เรื่องง่าย พร้อมแนะรัฐบาลกล้าตัดสินใจเดินหน้าโครงการลงทุนขนาดใหญ่ หรือเมกะโปรเจกต์

นายกรัฐมนตรีต้องกล้าตัดสินใจลงทุนด้านต่างๆ และขอให้รัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกล้าลงมาคลุกฝุ่น อย่ากลัวเปื้อนมือถ้าตัดสินใจโครงการต่างๆ แล้วจะถูกระบุว่ามีส่วนพัวพันหรือเกิดความไม่โปร่งใส เพราะเมื่อมีโอกาสเข้ามาทำงานแล้วก็ต้องกล้าหาญ ไม่ต้องกลัวกล่าวหาว่าทุจริต และเงินในระบบขณะนี้ยังสามารถรองรับการขยายการลงทุนได้อีกจำนวนมาก

นายศุภวุฒิ สายเชื้อ กรรมการผู้จัดการ สายงานวิจัย บริษัทหลักทรัพย์ภัทร กล่าวว่า ปัญหาสินเชื่ออสังหาริมทรัพย์ด้อยคุณภาพ (ซับไพรม์) จะทำให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว แต่เศรษฐกิจเอเชียยังได้รับผลกระทบไม่มาก เพราะยังมีแรงขับเคลื่อนหลักของตัวเอง โดยเฉพาะการเกินดุลการค้า ภาระหนี้ไม่สูงนัก ทำให้เศรษฐกิจโลกยังพึ่งพาเศรษฐกิจเอเชีย เพราะจะเป็นกำลังขับเคลื่อนหลัก มีสัดส่วน 3 ใน 4 ในการผลักดันเศรษฐกิจโลกให้ขยายตัว

ดังนั้น จึงเชื่อมั่นว่าเศรษฐกิจโลกปีนี้จะขยายตัว 5% และปรับตัวลดลงเล็กน้อยในปี 2551 ที่จะขยายตัว 4.8% ส่วนการส่งออกของไทยคงจะพึ่งพาตลาดสหรัฐได้น้อยลง

นายศุภวุฒิ กล่าวว่า เศรษฐกิจไทยปีนี้น่าจะขยายตัว 3.7% เพราะแม้การเมืองคลี่คลาย แต่ยังไม่ชัดเจน เพราะไม่รู้จะมีพรรคการเมืองกี่พรรค คงต้องรอการเลือกตั้งและประกาศนโยบายรัฐบาลชุดใหม่

นอกจากนี้ มองว่าตัวเลขสัดส่วนการลงทุนต่อการออมในประเทศยังมีช่องว่างประมาณ 2-3 แสนล้านบาท หากรัฐบาลหาแนวทางปิดช่องว่างดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นการลงทุนในรูปแบบต่างๆ ทั้งโครงสร้างพื้นฐานและการลงทุนด้านอื่น จะช่วยลดแรงกดดันเงินบาทแข็งค่า เพราะจะเป็นการนำวัตถุดิบเข้ามาเพื่อใช้ในการลงทุนด้านต่างๆ นายศุภวุฒิ กล่าว
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=187738
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news28/08/07

โพสต์ที่ 233

โพสต์

คลังเร่งมือไล่คืนหนี้ลดดอกเบี้ย2.3พันล.

โพสต์ทูเดย์ รัฐระดมคืนเงินกู้ส่งผลยอดหนี้สาธารณะเดือน มิ.ย.ลดฮวบ 4.3 หมื่นล้าน 10 เดือนลดดอกเบี้ยเฉียด 3 พันล้าน


นายพงษ์ภาณุ เศวตรุนทร์ ผู้อำนวยการสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) กล่าวว่า หนี้สาธารณะคงค้าง ณ วันที่ 30 มิ.ย. มีทั้งสิ้น 3.1 ล้านล้านบาท หรือ 37.72% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน พบว่าหนี้สาธารณะลดลงถึง 4.3 หมื่นล้านบาท

สำหรับหนี้สาธารณะที่ลดลงแยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรงลดลง 3.4 หมื่นล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้น 7.4 พันล้านบาท และหนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน ลดลง 1.6 หมื่นล้านบาท

การลดลงของหนี้สาธารณะ มีสาเหตุสำคัญจากการไถ่ถอนตั๋วเงินคลังที่ครบกำหนด 5 หมื่นล้านบาท และกองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ชำระคืนเงินกู้จากตลาดซื้อคืนสุทธิ 1.6 หมื่นล้านบาท ส่วนหนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงินเพิ่มขึ้นหลักๆ เนื่องจากองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ และการทางพิเศษ แห่งประเทศไทยได้ออกพันธบัตรวงเงินรวม 1.2 หมื่นล้านบาท

ทั้งนี้ หนี้สาธารณะทั้งหมดที่มีนั้นแยกเป็นหนี้ที่รัฐบาลกู้โดยตรง 2 ล้านล้านบาท หนี้ของรัฐวิสาหกิจที่ไม่เป็นสถาบันการเงิน 8.9 แสนล้านบาท หนี้สินของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน 2 แสนล้านบาท และหนี้องค์กรของรัฐอื่น 4.5 หมื่นล้านบาท

นายพงษ์ภาณุ กล่าวว่า ระยะ 10 เดือนที่ผ่านมาของปีงบประมาณ 2550 กระทรวงการคลังได้ปรับโครงสร้างหนี้ในประเทศโดยการแปลงตั๋วเงินคลังที่ออกเพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณ 8.3 หมื่นล้านบาทเป็นพันธบัตร และดำเนินการออกพันธบัตรและตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้กองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินในส่วนของ FIDF 1 วงเงิน 4.5 หมื่นล้านบาท ส่วนรัฐวิสาหกิจในภาพรวมได้มีการยืดหนี้เดิม 1.9 หมื่นล้านบาท

นอกจากนี้ ยังได้ปรับโครงสร้างหนี้เงินกู้ ต่างประเทศโดยการชำระคืนก่อนครบกำหนด 2.8 หมื่นล้านบาท และกู้ใหม่ใช้หนี้เก่าต่างประเทศด้วยเงินบาท 1.7 หมื่นล้านบาท ทำให้สามารถลดยอดหนี้คงค้างได้รวม 2.8 หมื่นล้านบาท และลดภาระดอกเบี้ยได้รวม 2.3 พันล้านบาท และยังได้บริหารความเสี่ยงหนี้เงินกู้ด้วยการซื้อเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า วงเงิน 300 ล้านเหรียญสหรัฐ และ 4.8 หมื่นล้านเยน
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=187737
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news28/08/07

โพสต์ที่ 234

โพสต์

ม.หอการค้าชี้แนวโน้มศก.ครึ่งปีหลังชะลอตัว

ศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ร่วมกับสำนักงานการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง และคลังจังหวัดทุกจังหวัด ประเมินภาวะเศรษฐกิจรายภูมิภาคว่า เศรษฐกิจไตรมาส 2 และแนวโน้มในช่วงครึ่งปีหลัง มีสัญญาณชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง โดยมีปัจจัยลบจากปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน ปัญหาด้านการเมืองที่ยังไม่มีเสถียรภาพ รวมถึงขาดความเชื่อมั่นทั้งผู้บริโภค และผู้ประกอบการ โดยคลังจังหวัดรวบรวม และวิเคราะห์ข้อมูลของแต่ละจังหวัด พบว่ากรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคกลาง และภาคเหนือ น่าจะเริ่มฟื้นตัวได้ในไตรมาสที่ 1 และไตรมาสที่ 2 ของปีหน้า ภายหลังมีการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลใหม่ที่ชัดเจน ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้นั้น คาดว่าภาวะเศรษฐกิจน่าจะฟื้นตัวได้ในไตรมาสสุดท้ายของปีนี้ ส่วนปัญหาการจ้างงาน จากการสำรวจพบว่าธุรกิจส่วนใหญ่ มีภาวะการจ้างงานทรงตัว มีเพียงภาคกลางที่มีแนวโน้มลดลง เนื่องจากความต้องการแรงงานในอุตสาหกรรมต่างๆ เริ่มชะลอตัวตามภาวะเศรษฐกิจ และความไม่มั่นใจของนักลงทุน
http://www.posttoday.com/breakingnews.php?id=187854
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 235

โพสต์

ขุนคลังตีตรวนทุนสำรอง

โพสต์ทูเดย์ ขุนคลังเบรกแผนโยกทุนสำรองลงทุนนอก ระบุต้องมีแสนล้านเหรียญจึงลุยไฟได้ แจง กม.เงินตราลดภาระงบประมาณปีละ 6 หมื่นล้าน

 
นายฉลองภพ สุสังกร์กาญจน์ รมว.คลัง กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่ใช่จังหวะที่เหมาะสมที่ไทยจะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศออกไปลงทุนเพื่อหาผลประโยชน์ในต่างประเทศ เนื่องจากระดับทุนสำรองที่ราว 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ยังไม่ถือว่ามากเมื่อเทียบกับต่างประเทศ
รมว.คลัง กล่าวว่า ปริมาณเงินทุนสำรองที่เหมาะสมจะไปลงทุนต่างประเทศได้น่าจะมีระดับเกินกว่า 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนระดับปัจจุบันที่มีอยู่ 8 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐที่ไทยมีอยู่นั้นเพียงพอสำหรับการดูแลเรื่องการนำเข้าสินค้าและการชำระหนี้ต่างประเทศเท่านั้น ยังไม่เพียงพอที่จะมีภาระหนี้ผูกพัน

การจะนำเงินทุนสำรองไปลงทุนในต่างประเทศจะต้องพิจารณาความเหมาะสมว่ามีเพียงพอหรือไม่ รมว.คลัง กล่าว

นายฉลองภพ ชี้แจงถึง พ.ร.บ.เงินตราฉบับใหม่ที่จะนำเข้าสู่ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ในวันที่ 12 ก.ย.นี้ว่า จะช่วยเพิ่มความคล่องตัวให้แก่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ในการบริหารเงินทุนสำรองมากขึ้น แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นด้วย เพราะยิ่งได้ผลตอบแทนมากขึ้นความเสี่ยงก็จะเพิ่มขึ้นตาม ซึ่ง ธปท.ต้องพิจารณาว่าจะรับความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นได้มากน้อยเพียงใด

นอกจากนี้ การแก้กฎหมาย พ.ร.บ.เงินตรา จะเป็นการป้องกันไม่ให้ ธปท. นำเงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปหนุนหลังการออกธนบัตรได้ในยามที่มีความจำเป็นสุดวิสัยเท่านั้น

แต่เดิมก่อนปี 2545 กฎหมายไม่ได้เปิดช่องให้ ธปท.ใช้เงินจากบัญชีสำรองพิเศษไปหนุนหลังการออกธนบัตรได้ ธปท.ต้องใช้เงินจากบัญชีฝ่ายการธนาคาร ส่งไปที่บัญชีสำรองเงินตราเพื่อหนุนหลังการออกธนบัตรเท่านั้น แต่ในปี 2545 ธปท.มีปัญหาไม่มีเงินเพียงพอ รัฐบาลมีการออก พ.ร.ก.เปิดทางให้ ธปท.นำเงินจากบัญชีพิเศษไปหนุนหลังการออกพันธบัตร เพื่อให้ประเทศมีธนบัตรหมุนเวียนเพียงพอ แต่ พ.ร.ก.ดังกล่าวให้อำนาจไว้กว้างมากไม่มีกรอบที่ชัดเจน สามารถใช้เงินได้ทันที ไม่มีการกำหนดให้ใช้คืน

กฎหมายใหม่นี้จะตีกรอบให้ ธปท.จะต้องใช้เงินจากบัญชีฝ่ายการธนาคารจนไม่เพียงพอเสียก่อน ถึงจะมาใช้เงินจากบัญชีสำรองพิเศษได้ และต้องใช้คืนเงินหากบัญชีเงินสำรองเงินตรามีผลประโยชน์กำไรเกิดขึ้น นายฉลองภพ ชี้แจง

นายฉลองภพ กล่าวว่า การแก้กฎหมาย พ.ร.บ.เงินตรายังทำให้เรื่องการตีราคาสินทรัพย์ของ ธปท.สะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น เพราะกฎหมายเก่าให้บันทึกผลกำไรไม่ว่าจะเกิดขึ้นจริงหรือยังไม่เกิดขึ้น ไว้ที่บัญชีสำรองพิเศษ และให้บันทึกผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงและไม่ยังไม่เกิดขึ้นไว้ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี

ขณะที่กฎหมายใหม่จะให้บันทึกผลกำไรขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงไว้ในบัญชีผลประโยชน์ประจำปี และผลขาดทุนกำไรที่ยังไม่เกิดขึ้นจริงไว้ในบัญชีสำรองพิเศษ ซึ่งจะทำให้บัญชีผลประโยชน์ประจำปีสะท้อนความเป็นจริงมากขึ้น มีเงินที่จะสามารถใช้หนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูพัฒนาระบบสถาบันการเงินได้เร็วขึ้น เพราะมีการกำหนดว่าการใช้หนี้จะต้องเป็นเงินจากบัญชีผลประโยชน์ประจำปี กับบัญชีฝ่ายการธนาคาร ซึ่งจะช่วยลดภาระดอกเบี้ยเงินงบประมาณที่ต้องจ่ายให้ปีละ 6 หมื่นล้านบาท

นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายบริหารสินเชื่อและเงินทุนสำรอง ธปท. กล่าวว่า กฎหมายใหม่ให้ ธปท.ใช้สินทรัพย์ของ ธปท.หนุนหลังการออกธนบัตร โดยการโอนสินทรัพย์จากบัญชีสำรองพิเศษไปหนุนหลังการออกธนบัตรจะทำได้ในกรณีจำเป็นเท่านั้น และต้องกำหนดเงื่อนไขการใช้คืน วิธีการลงบัญชีใช้คืนในกฎกระทรวงการคลัง

การแก้กฎหมายยังกำหนดให้ ธปท.คืนทรัพย์สินต่างประเทศให้บัญชีสำรองพิเศษ เท่ากับจำนวนที่โอนไปหนุนหลังการออกพันธบัตรหลัง พ.ร.ก.ปี 2545 บังคับใช้ ซึ่งเป็นมูลค่า 1.8 แสนล้านบาทด้วย

ทั้งนี้ ปัจจุบันบัญชีฝ่ายการธนาคารมีทรัพย์สินประมาณ 1.3 ล้านล้านบาท บัญชีสำรองเงินตรามี 7.9 แสนล้านบาท บัญชีสำรองพิเศษ 7.5 แสนล้านบาท ในบัญชีสำรองพิเศษนี้มีเงินของหลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน อีกประมาณ 6 พันล้านบาทด้วย
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=187997
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 236

โพสต์

ยอดพันธบัตร 8.7หมื่นล้าน

โพสต์ทูเดย์ แบงก์ชาติ เอาใจรายย่อยออกพันธบัตรออมทรัพย์ให้เบ็ดเสร็จ 8.7 หมื่นล้านบาท


นางผ่องเพ็ญ เรืองวีรยุทธ์ ผู้อำนวยการอาวุโส ฝ่ายตลาดการเงินและบริหารเงินสำรอง ธนาคาร แห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า มีประชาชนจองพันธบัตรออมทรัพย์อายุ 4 ปี และ 7 ปี ยอดทั้งสิ้น 8.7 หมื่นล้านบาท ซึ่ง ธปท.เห็นชอบที่จะให้ผู้จองได้รับทั้งหมด แม้ว่ายอดจะเกินจากเป้ากว่า 4 หมื่นล้านบาท

นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า สาเหตุที่ประชาชนให้ความสนใจพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.มาก เพราะมองว่าเป็นการลงทุนที่มั่นคงแน่นอน ได้ผลประโยชน์สูงกว่าเงินฝากธนาคารที่ให้แค่ 2.5-2.75% แต่พันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.ให้ผลตอบแทน 4%

แบงก์ชาติคงไม่ปิดโอกาสว่าจะไม่ออกพันธบัตรออกทรัพย์อีก จากสาเหตุที่มีคนมาจองจำนวนมากในครั้งนี้ เพราะการออกพันธบัตรออมทรัพย์เป็นการช่วยรายย่อยและเป็นเครื่องมือหนึ่งในการบริหารเงินของแบงก์ชาติ นางผ่องเพ็ญ กล่าว

นางผ่องเพ็ญ กล่าวว่า หลัง จากนี้ ธปท.ไม่มีแนวคิดจะออกพันธบัตรออมทรัพย์เพิ่มเติมอีก เนื่องจากในเดือน ก.ย.กระทรวงการคลังก็จะออกพันธบัตรออมทรัพย์เพื่อขายให้แก่ประชาชนในวงเงิน 500 ล้านบาท อยู่แล้ว

ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 27 ส.ค. ซึ่งเปิดจองวันแรก มีประชาชนแห่มาจองพันธบัตรออมทรัพย์ ธปท.สูงถึง 7.5 หมื่นล้านบาท สูงกว่าวงเงินเดิมที่กำหนดไว้ว่าจะจำหน่ายเพียง 4 หมื่นล้านบาท
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=187998
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 237

โพสต์

10เดือนจีนลงทุนไทย1.5หมื่นล้าน

โพสต์ทูเดย์ บีโอไอ เผย 10 เดือนที่ผ่านมา นักลงทุนจากจีนเทเงินลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นกว่า 800%


นายธำรง มหัจฉริยวงศ์ รองเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) กล่าวว่า ตั้งแต่เดือน ต.ค. 2549-ก.ค. 2550 หรือในช่วง 10 เดือน ตามปีงบประมาณ มีนักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในไทย 29 โครงการ มูลค่า 15,260 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 885% เมื่อเทียบกับปีก่อนที่มีทั้งสิ้น 17 โครงการ มูลค่าลงทุน 1,545 ล้านบาท ซึ่งอุตสาหกรรมที่นักลงทุนจีนให้ความสนใจเข้ามาลงทุนในประเทศไทย ได้แก่ พลังงานทดแทน อิเล็กทรอนิกส์ ชิ้นส่วนยานยนต์ เครื่องจักรการเกษตร

สาเหตุที่นักลงทุนจีนเข้ามาลงทุนในประเทศไทยเพิ่มขึ้น เนื่องจากรัฐบาลจีนมีนโยบายส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจเข้าไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งปี 2548 ที่ผ่านมา จีนเข้าไปลงทุนต่างประเทศทั้งสิ้น 1.23 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ขณะที่ปี 2547 จีนเข้าไปลงทุนต่างประเทศมูลค่า 5.5 พันล้านเหรียญสหรัฐ ทั้งนี้การลงทุนของจีนในต่างประเทศนั้น 50% เป็นการเข้าไปควบรวมกิจการเพื่อให้ผลทางธุรกิจเร็วขึ้น นายธำรง กล่าว

อย่างไรก็ตาม ช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มีการขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศรวมทั้งสิ้นมูลค่ารวม 2.807 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันจากปีที่แล้ว 18.2% และคาดว่าทั้งปีจะมีนักลงทุนต่างชาติเข้ามาลงทุนในประเทศไทย 3 แสนล้านบาท หลังจากที่รัฐบาลประกาศวันเลือกตั้งชัดเจนทำให้นักลงทุนต่างชาติเชื่อมั่นประเทศไทยมากขึ้น

นอกจากนี้ ในช่วงปลายปีจะมีการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุนในโครงการผลิตรถยนต์ประหยัดพลังงานตามมาตรฐานสากล (อีโคคาร์) เพิ่มเติม จากขณะนี้มีค่ายรถ 1 ราย ยื่นขอรับการส่งเสริมแล้ว

ทั้งนี้ ในปี 2550 บีโอไอ มีแผนที่จะไปชักจูงการลงทุนในต่างประเทศประมาณ 70 ครั้ง ในประเทศเป้าหมาย เช่น จีน เกาหลี สหรัฐ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และยุโรป โดยในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา โรดโชว์ไปแล้ว 60 ครั้ง อย่างไรก็ตาม ในช่วง 10 เดือนที่ผ่านมา มีประเทศออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งในอดีตไม่เคยเข้ามาขอรับการส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย ก็เข้ามาขอรับการส่งเสริมในปีนี้เป็นครั้งแรก โดยเฉพาะนักลงทุนรายใหญ่ในอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้าของนิวซีแลนด์ก็เข้ามาส่งเสริมการลงทุนในประเทศไทย

นายธำรง กล่าวว่า แผนการชักจูงนักลงทุนในปีหน้า บีโอไอยังคงมุ่งเน้นการไปโรดโชว์ในต่างประเทศ เนื่องจากแต่ละประเทศมีแผนชักจูงนักลงทุนต่างประเทศที่แข่งขันกันรุนแรงและโดดเด่น ดังนั้น ไทยต้องนำจุดเด่นไปเผยแพร่และอาจปรับกลยุทธ์เพื่อให้เป็นที่สนใจของต่างประเทศ

ขณะนี้ บีโอไอ กำลังอยู่ระหว่างการจัดหมวดหมู่ประเภทของการส่งเสริมการลงทุนใหม่ จากเดิมมีทั้งหมด 7 หมวด 160 กิจการ ซึ่งจะนำรื้อใหม่ และจัดประเภทใหม่หมดตามความเหมาะสม และให้สอดคล้องกับสถานการณ์ของการแข่งขัน โดยจะเน้นส่งเสริมการลงทุนในลักษณะของกลุ่มอุตสาหกรรม (คลัสเตอร์) คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในปี 2551 หลังจากนั้นหากคณะกรรมการบีโอไอ (บอร์ดบีโอไอ) เห็นชอบก็จะประกาศใช้ทันที
http://www.posttoday.com/newsdet.php?se ... &id=188047
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 238

โพสต์

มั่นใจเศรษฐกิจคืนชีพไตรมาส 4  
 
โดย เดลินิวส์
วัน พุธ ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2550 11:50 น.

ชี้รัฐอัดฉีดเข้าระบบเฉียด 3 แสนล้านเอกชนจี้รัฐแก้ปัญหาสังคมแตกแยก
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงภาวะเศรษฐกิจรายภูมิภาคประจำไตรมาส 2 ปี 50 และแนวโน้ม โดยความร่วมมือจากสำนักการเงินการคลัง กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลังว่า เศรษฐกิจทุกภาคมีสัญญาณเริ่มฟื้นตัว ตั้งแต่ปลายไตรมาส 4 ปีนี้ และจะเห็นชัดเจนในไตรมาส 1 และ 2 ของปี 51 เป็น ผลจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณ เพิ่มขึ้น 200,000 ล้านบาทจากงบปกติที่แต่ละไตรมาสเบิกจ่าย 400,000 ล้านบาท รวมถึงการเลือกตั้งในวันที่ 23 ธ.ค.นี้ คาดว่า มีเงินสะพัดประมาณ 30,000-40,000 ล้านบาท และทำให้เศรษฐกิจประเทศขยายตัวได้ 0.2%

ทั้งนี้หากแยกรายภาคเศรษฐกิจกทม. และปริมณฑล คาดว่า ฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 1 และ 2 ของปี 51 หลังจากการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลใหม่ชัดเจนแล้วเช่นเดียวกับเศรษฐกิจของภาคกลาง และภาคเหนือ ส่วนภาคใต้ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คาดว่าฟื้นตัวในช่วงไตรมาส 4 ของปีนี้ และเศรษฐกิจไทยทั้งปี จะขยายตัวได้ที่ระดับ 4.1% ตามที่ศูนย์ได้คาดการณ์

สำหรับเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของปีนี้ ยังมีสัญญาณชะลอตัว และจะต่อเนื่องถึงไตรมาส 3 เพราะมีปัจจัยลบหลายประการ ทั้งราคาน้ำมันอยู่ในระดับสูง สถานการณ์ความวุ่นวายทางการเมือง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้น เมื่อแยกเป็นรายภูมิภาค พบว่า ภาคเหนือเศรษฐ กิจชะลอลงเพราะการส่งออกของภาคอุตสาหกรรมในภูมิภาคชะลอตัว ลงต่อเนื่อง แต่รายได้ของภาคเกษตรยังขยายตัวได้ดี เพราะระดับราคาสินค้าเกษตรยังทรงตัวในระดับสูง

รวมทั้งได้ประโยชน์จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณของภาครัฐ ส่วนภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เศรษฐกิจชะลอลงเพราะผลิตผลทางการเกษตร ทั้งข้าวเปลือก มันสำปะหลัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ออกสู่ตลาดลดลง รวมถึงการชะลอลงของภาคเอกชน และการบริโภคภาคเอกชน

นายอาชว์ เตาลานนท์ รองประธานกรรมการเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) กล่าวว่า แนวโน้มเศรษฐกิจไตรมาส 3 และ 4 นี้ คาดเติบโตกว่าต้นปีที่ผ่านมา เนื่องจากรัฐบาลได้กำหนดวันเลือกตั้งชัดเจนวันที่ 23 ธ.ค.นี้ ทำให้สถานการณ์เริ่มคลี่คลาย แม้ไม่สามารถแก้ปัญหาทั้งหมดได้ แต่ช่วยกระตุ้นการลงทุน และบรรยากาศการบริโภคภายในประเทศได้ จากจำนวนเงินที่สะพัดในระบบช่วงดังกล่าว โดยมั่นใจว่าเศรษฐกิจไทยในปีนี้จะเติบโตได้ 4% และหากรัฐบาลใหม่เร่งการลงทุนโครงการขนาดใหญ่รวมถึงโครงสร้างพื้นฐาน คาดส่งผลให้เศรษฐกิจปีหน้าขยายตัว 4-4.5%

ส่วนการส่งออกที่ชะลอตัวจากเงินบาทแข็งค่านั้น ผู้ประกอบการควรหาตลาดใหม่เพื่อช่วยแก้ปัญหา
http://news.sanook.com/economic/economic_175294.php
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 239

โพสต์

คลังกังวลศก.ไตรมาส 3 เผยลงทุนยังไม่ฟื้น-ส่งออกชะลอตัว  

โดย ผู้จัดการออนไลน์
29 สิงหาคม 2550 14:51 น.
 
 สศค.กังวลภาวะเศรษฐกิจไตรมาส 3/50 ระบุ อาจเป็นจุดต่ำสุดของปีนี้ แทนที่จะเป็นไตรมาส 2/50 ตามที่เคยคาดการณ์ไว้เดิม เนื่องจากภาวะการลงทุนไม่ฟื้นตัวตามที่ประเมินไว้ ขณะที่การส่งออกที่เป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญก็ชะลอตัว ซึ่งถือเป็นปัจจัยเสี่ยงสำคัญของเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งปีหลัง
     
      นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการกลุ่มการวิเคราะห์เศรษฐกิจมหภาค สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง(สศค.) กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 3 ปีนี้ โดยระบุว่า การลงทุนยังไม่ฟื้นตัวตามที่ได้เคยคาดไว้ ประกอบกับการชะลอตัวของการส่งออกทั้งในด้านปริมาณและมูลค่า ปริมาณการส่งออกในเดือน ก.ค. ขยายตัวลดลงเหลือ 2.2% จากที่ขยายตัว 2.8% ในเดือน มิ.ย. สะท้อนให้เห็นถึงแรงขับเคลื่อนจากการส่งออกลดลงมากอย่างชัดเจน
     
      ส่วนด้านการลงทุนก็ฟื้นตัวช้ากว่าที่คาดไว้ โดยในเดือน ก.ค.ยังคงชะลอตัว ขณะที่การบริโภคเริ่มฟื้นตัวดีขึ้น ดังนั้นการลงทุนจึงเป็นประเด็นที่จะต้องจับตามองเป็นพิเศษ เพราะอาจพลิกให้เศรษฐกิจไตรมาส 3 ของปีนี้กลายเป็นไตรมาสที่ต่ำสุดของปี จากที่เคยมองว่าจะเป็นไตรมาส 2
     
      ดังนั้น ปัจจัยเสี่ยงในครึ่งปีหลังจึงหนีไม่พ้นเรื่องการส่งออก การฟื้นตัวของการลงทุน รวมถึงเศรษฐกิจสหรัฐจากผลกระทบปัญหาซับไพรม์และปัญหาจากพื้นฐานของเศรษฐกิจเอง อย่างไรก็ตาม มองว่าช่วงไตรมาส 4 อาจมีปัจจัยเรื่องการเลือกตั้งเข้ามาเป็นประเด็นบวกได้
     
      ก่อนหน้านี้ กระทรวงการคลัง คาดว่าการลงทุนทั้งปี 50 อาจจะขยายตัวเป็น 0% ส่วนการส่งออกในด้านปริมาณมองว่าเติบโต 6.5% จาก 13.1% ในครึ่งปีแรก
     
      นายเอกนิติ ยังคาดว่า แม้การส่งออกของไทยในช่วงครึ่งปีหลังมีแนวโน้มชะลอลงตัวจากช่วงครึ่งปีแรก แต่เชื่อว่าภาคธุรกิจบริการโดยเฉพาะการท่องเที่ยวจะเข้ามาเป็นตัวช่วยเสริมรายได้ โดยจำนวนนักท่องเที่ยวในครึ่งปีหลังจะเติบโตประมาณ 5-6% จากล่าสุดในเดือนก.ค.ยังติดลบอยู่ 1.2% เพราะมองว่าในไตรมาส 4 จะเป็นช่วง High Season ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเข้ามามากและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ประเทศมากในช่วงดังกล่าว
     
      สำหรับทุนสำรองระหว่างประเทศของเดือน ก.ค.50 ซึ่งอยู่ที่ 73,200 ล้านเหรียญสหรัฐ แสดงให้เห็นว่าเสถียรภาพภายนอกประเทศยังมีความมั่นคง เพราะเมื่อเทียบกับหนี้ต่างประเทศระยะสั้นแล้วจะพบว่าปริมาณทุนสำรองระหว่างประเทศมีมากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.5 เท่า
http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000101765
chartchai madman
Verified User
โพสต์: 7514
ผู้ติดตาม: 0

news29/08/07

โพสต์ที่ 240

โพสต์

กนง.คงดอกเบี้ยอาร์พี3.25% จับตาผลกระทบทางอ้อมปัญหา'ซับไพร์ม'

29 สิงหาคม พ.ศ. 2550 14:25:00

กนง.ประกาศคงอัตราดอกเบี้ยอาร์/พี 1 วัน ไว้ที่ 3.25% จับตาปลกระทบทางอ้อมปัญหา "ซับไพร์ม" เผยแนวโน้มดอกเบี้ยเงินกู้แบงก์พาณิชย์ยังปรับลดได้อีก

กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : นางสุชาดา กิระกุล ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เปิดเผยว่า คณะกรรมการนโยบายการเงิน(กนง.) ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) มีมติคงอัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 1 วัน ไว้ที่ 3.25% อย่างไรก็ตาม ยังต้องรอดูผลกระทบทางอ้อมจากปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ (ซับไพร์ม) ในสหรัฐ

"คณะกรรมการฯขอรอดูผลกระทบจากความเสี่ยงของเศรษฐกิจโลกที่จะตามมาต่อเศรษฐกิจไทยก่อน 6 สัปดาห์ยังพอรอดูได้"

ทั้งนี้ ในการประชุมคณะกรรมการ กนง.ในครั้งหน้าจะมีขึ้นในอีก 6 สัปดาห์ข้างหน้า

นางสาวสุชาดา กล่าวว่า ที่ประชุม กนง.วันนี้ เห็นว่าความเสี่ยงต่อแนวโน้มการเติบโตทางเศรษฐกิจและเงินเฟ้อ ไม่ได้เปลี่ยนแปลงไปจากการประชุมครั้งก่อน
ธปท.ใช้ดอกเบี้ย อาร์/พี 1 วัน เป็นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย เพื่อส่งสัญญาณนโยบายการเงิน ซึ่งในปีนี้ดอกเบี้ยอยู่ในขาลงขณะที่เศรษฐกิจชะลอตัว
นอกจากนี้ กนง.ยังมองว่า ดอกเบี้ยเงินกู้ของแบงก์พาณิชย์ ยังลดลงได้อีก
http://www.bangkokbiznews.com/2007/08/2 ... wsid=91918