หน้า 7 จากทั้งหมด 7

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 20, 2012 1:37 pm
โดย humdrum




Paul Tudor Jones มีไสตน์การลงทุนแบบนักเกร็งกำไรก็จริง แต่แนวคิดแฝงความเป็น value investors หลายอย่าง หลักการลงทุนของเขาฝืนนิสัยของคน การไม่ยึดติดในสิ่งต่างๆ มากเกินไป แม้กระทั่งตัวตนของเขาเอง

ฮี่โร่ของเขากลับไม่ใช่ Warren Buffett แต่เป็น Jesse Livermore หนังสือทีมีอิทธิพลกับเขามากที่สุดคือ REMINISCENCES OF A STOCK OPERATOR นั่นเองครับ Paul Jones บอกว่าเขาอ่านหลายร้อยรอบจนจำไม่ได้ สิ่งที่เขาเรียนรู็มากที่สุดจากหนังสือเล่มนี้คือ วิธีการรับมือกับความเครียดในอาชีพการลงทุนจากการศึกษาข้อผิดพลาดของ Jesse Livermore ครับ

Trading style and beliefs

1. Be contrarian attempting to buy and sell turning points.

2. Keeps trying the single trade idea until he changes his mind, fundamentally. Otherwise, he keeps cutting his position size down. Then he trades the smallest amount when his trading is at its worst.

3.Considers himself as a premier market opportunist. When he develops an idea, he pursues it from a very-low-risk standpoint until he has been proven wrong repeatedly, or until he changes his viewpoint.

4. Swing trader, the best money is made at the market turns. Has missed a lot of meat in the middle, but catches a lot of tops and bottoms.

5. Spends his day making himself happy and relaxed. Gets out if a losing position is making him uncomfortable. Nothing’s better than a fresh start.

6. Key is to play great defense, not great offense.

7. Never average losers. Decreases his trading size when he is doing poorly, increase when he is trading well.

8. He has mental stops. If it hits that number, he is out no matter what. He uses not only price stops, but time stops.

9. Monitors the whole portfolio equity (risk) in realtime.

10. He believes prices move first and fundamentals come second.

11. He doesn’t care about mistakes made 3 seconds ago, but what he is going to do from the next moment on.

12.Don't be a hero. Don't have an ego. Always question yourself and your ability. Don't ever feel that you are very good. The second you do, you are dead.


:man: ทุกข้อของ Paul Tudor Jones เหมือน value investing ตรงที่มันฝืนธรรมชาตินิสัยของคนครับ

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: พุธ มิ.ย. 20, 2012 2:32 pm
โดย humdrum
รูปภาพ

:man: ผมไม่แน่ใจว่ามีคนเอามาลงหรือยัง ผมเผื่อเรื่องอื่นๆ ที่น่าสนใจในมุมมองอื่นดูบ้าง คนเขียนชื่อ อตุล กาวานดี เป็นคุณหมอผ่าตัด ท่านไปเห็นการทำงานของนักบินเรื่อง checklist ท่านเลยเอามาปรับใช้ในโรงพยาบาล ผลคือ อัตราความผิดพลาดลงต่ำลง หนังสือเล่มนี้กล่าวถึงนักลงทุนอย่าง Pabai อย่าง Guy Spier สองท่านนี้เคยประมูลกินข้าวกับบัฟเฟตสี่ปีก่อนหมดไปเกือบเจ็ดแสนดอล ราคานั้นต่ำกว่ามูลค่าที่แท้จริงมาก เพราะปีปัจจุบันนี้มีคนประมูลได้กินกับบัฟเฟตถึง 3,456,789 ดอล สิ่งที่เขาได้จากบัฟเฟตคือ mental checklists ผมคุ้นกับระบบ checklist มากเพราะเคยเป้นนักเรียนการบินมาก่อน สำหรับท่านอื่นที่ไม่คุ้นหรืออาจไม่ยอมรับเพราะมันดูง่ายเกินไป ลองคิดอีกมุมครับ หลายท่านคงเคยรู็สึกว่าเจอหุ้นสักตัวที่น่าลงทุนอย่างมากและเอาอารมณ์โลภเข้าไปผูกติดจนละเลยที่จะมองสิ่งบางอย่างไป value investing checklists มันจะทำหน้าที่กรองคววามผิดผลาดของเราตอนที่เราอยู๋ใน greed mode และ fear
mode ได้

เราคุ้นเคยกับ checklists ในทางพุทธศาสนาคือศีลห้ามาอย่างดีแล้ว ในเว็บ Thaivi สิ่งที่อาจารย์นิเวศน์หรือพี่ธันวาเขียน ท่านสมาชิกก็สามารถเลือกมาเป็น ckecklists เฉพาะตัวของท่านได้ ก่อนทำ Checklist ต้องทราบก่อนว่ามันมีหลายแบบอะไรบ้าง สำหรับผม ผมแยกออกเป็น สี่ประเภท ดังนี้ครับ

1. Task Checklist อย่างเช่นงานประจำวันต้องทำอะไรบ้าง ไปจ่ายตลาดต้องซื้ออะไรบ้าง
2. Troubleshooting Checklist เหมือนด้านหลัง manual ของเครื่องใช้ไฟฟ้าที่บอกวิธีแก้ไขเวลาเจอปัญหาต่างๆ .
3. Coordination list เหมือนขั้นตอนในโรงพยาบาลที่ต้องการความร่วมจากหลายฝ่ายในการทำงานร่วมกัน
4. Discipline ckecklist เหมือนศีลห้า ผมจัด investing checklists อยู่ในหัวข้อนี้

เวลาหุ้นตัวไหนไม่ผ่าน checklist ข้อไหน มันเหมือนผมกดปุ่ม Pause ผมก็จะระวังหัวข้อนั้นๆ เป็นพิเศษ เป็น risk management ไปในตัว จะว่าไป checklist มันก็คือส่วนหนึ่งของกำแพงของพอร์ตการลงทุนของเราที่มี margin of safety เสริมกระบวนการตัดสินใจของเราของเรานั่นเองครับ
ผมยกตัวอย่างจากที่อื่นมาให้ดูครับ

Play and Pause Checklist

1. Can I in one sentence say exactly what the company does?
2. Is operating cash flow higher than earnings per share?
3. Is Free Cash Flow/Share higher than dividends paid?
4. Debt to equity below 35%?
5. Debt less than book value?
6. Long Term debt less than 2 times working capital?
7. Is the debt to EBITDA ratio less than 5? (Thanks Guy)
8. What are the debt covenants?
9. When is the debt due?
10. Are Pre-tax margins higher than 15%?
11. Is the Free Cash Flow Margin higher than 10%?
12. Is the current asset ratio greater than 1.5?
13. Is the quick ratio greater than 1?
14. Is there growth in Earnings Per Share?
15. Is management shareholding > 10%?
16. Is the Altman Z score > 3?
17. Does the company have a Piotroski F-Score of more than 7?
18. Is there substantial dilution?
19. What is the Flow ratio (Good < 1.25, Bad > 3)
20. What are management’s incentives?
21. Are management’s salaries too high?
22. What is the bargaining power of suppliers?
23. Is there heavy insider buying?
24. Is there heavy insider selling?
25. Any net share buybacks?
26. Is it a low risk business?
27. Is there high uncertainty?
28. Is it in my circle of competence?
29. Is it a good business?
30. Do I like the management? (Operators, capital allocators, integrity)
31. Is the stock screaming cheap?
32. How capital intensive is the business?
33. Does management have the ability to naturally re-invest in the business at a high return?
34. Is the company highly profitable?
35. Has it got a high return on capital?
36. Has the business got an enormous moat?
37. Is there room for future growth?
38. Does the business have strong cash flow?
39. What has management done with the cash?
40. Where has the Free Cash Flow been invested?
40.1 Share buybacks 40.2 Dividends 40.3 Reinvested in the business


อันนี้เป้นของ Michael Mauboussin ครับ ผมเรียบข้อต่อไปเลยนะครับ

42. What stage of the competitive life cycle is the company in?
43. Is the company currently earning a return above its cost of capital?
44. What is the trend in return on capital - are returns increasing, decreasing, or stable?
45. What is the trend in the company\'s investment spending?


46. What percentage of the industry does each player represent?
47. What is each player\'s level of profitability?
48. What have the historical trends in market share been?
49.How stable is the industry?
50. How stable is market share?
51.What have pricing trends looked like?
52. What class does the industry fall into - fragmented, emerging, mature, declining, international, network, or hypercompetitive?

Five Forces model ที่น้องฮงเคยกล่าวถึงครับ

53. How much leverage do suppliers have?
54. Can companies pass supplier increases to customers?
55. Are there substitute products available?
56. Are there switching costs?
57. How much leverage do buyers have?
58. How informed are the buyers?


หัวข้อนี้ Barriers to Entry ครับ

59. What are the entry and exit rates like in the industry?
60. What are the anticipated reactions of incumbents to new entrants?
61.What is the reputation of incumbents?
62. What is the level of asset specificity?
63. What is the minimum efficient production scale?
64. Is there excess capacity in the industry?
65. Is there a way to differentiate the product?
66. What is the anticipated payoff for a new entrant?
67. Do incumbents have precommitment contracts?
68. Do incumbents have licenses or patents?
69. Are there learning curve benefits in the industry?
60.


70. Is there pricing coordination?
71. What is the industry concentration?
72. What is the size distribution of firms?
73.How similar are the firms (incentives, corporate philosophy, ownership structure)?
74. Is there demand variability?
75. Are there high fixed costs?
76. Is the industry growing?

77. Is the industry vulnerable to disruptive technology?
78. Do new technologies foster product improvements?
79.Is the technology progressing faster than the market\'s needs?
80. Have established players passed the performance threshold?
81. Is the industry organized vertically, or has there been a shift to horizontal markets?

82.Does the firm have production advantages?
83. Is there instability in the business structure?
84. Is there complexity requiring know-how or coordination capabilities?
85. How quickly are the process costs changing?
86. Does the firm have any patents, copyrights, trademarks, etc.?
87. Are there economies of scale?
88. What does the firm\'s distribution scale look like?
89. Are assets and revenue clustered geographically?
90. Are there purchasing advantages with size?
91. Are there economies of scope?
92. Are there diverse research profiles?
93. Are there consumer advantages?
94. Is there habit or horizontal differentiation?
95. Do people prefer the product to competing products?
96. Are there lots of product attributes that customers weigh?
97. Can customers only assess the product through trial?
98. Is there customer lock-in? Are there high switching costs?
99.Is the network radial or interactive?
100.What is the source and longevity of added value?
101. Are there external sources of added value (subsidiaries, tariffs, quotas and competitive or environmental regulations)?

102. Are there complementors to the industry?
102. Is the added value growing because of other companies? Or, do new companies take share from a fixed - value pie?

103. Does the brand increase willingness to pay?
104.Do customers have an emotional connection to the brand?
105. Do customers trust the product because of the name?
106. Does the brand imply social status?

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 11:14 am
โดย humdrum
CHANGE/ธันวา เลาหศิริวงศ์
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=52363

ผมสะสม Thanwa' s ckecklist เข้าไปเพิ่มในรายการ value investing ckecklists ของผมตลอด รายการ checklists ไม่ได้หากันง่าย ๆ ครับ ยิ่งถ้าได้จากคนที่มีประสบการณ์การลงทุนแนว VI มาอย่างยาวนานแล้ว ยิ่งหายาก พวกเราโชคดีที่มีพี่ธันวากับอาจารย์มาแบ่งความรู้ให้น้องเสมอ ขอให้พี่มีสุขภาพแข็งแรงและขอบคุณอีกครั้งสำหรับวิทยาทานที่พี่สอนน้องๆ ครับ

บัฟเฟตลงทุนในบริษัทที่มีคุณสมบัติ capacity to suffer ของผู้บริหารเป็นองค์ประกอบหลักในการลงทุนของเขา ตัวนักลงทุนเน้นคุณค่าเองสมัยก่อนกับสมัยปัจจุบันเองก็แตกต่างกันมากในเรื่อง capacity to suffer จนกลายเป็นหัวข้อที่เด่นชัดขึ้นมาในการแสกนนักลงทุนที่โดดเด่นกว่าคนอื่นๆ ครับ

ขอบคุณอีกครั้งครับ


การรับมือกับความเปลี่ยนแปลง

1. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานและความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนอย่างไรบ้าง
2. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อความต้องการและพฤติกรรมของลูกค้าอย่างไรบ้าง
3. กิจการที่เราสนใจเคยรับมือกับการเปลี่ยนแปลงต่อการแข่งขันในรูปแบบต่างๆ ทั้งจากรายเดิม, รายใหม่, ทั้งในประเทศ, ต่างประเทศม, ระดับภูมิภาค (AEC) และระดับโลก และ คู่แข่งสังคมออนไลน์ไร้พรมแดนอย่างไรบ้าง

4. บริษัทที่สนใจมีโครงสร้างธุรกิจที่ตอบสนองต่อการเปลี่ยนแปลงทั้งสามข้อได้ดีในตัวของมันเองอยู่แล้วและไม่ต้องพึ่งพาผู้บริหารเพียงคนเดียวในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงหรือไม่

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มิ.ย. 21, 2012 3:00 pm
โดย humdrum
ถาม

รูปภาพ


:man: จากจดหมายอีเมลผมเขียนหาเพื่อนกองทุน VI ที่อินเดีย a Value -Oriented Investment Fund เขามองอะไรในตัวคัดคนเข้าทำงาน เขียนไปแล้วนะครับ
คน : http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=7&t=52259

วันนี้เป็น Questionaire ที่เขาถามคนเหล่านั้น ผมอ่านแล้วเหมือนเป็น Checklists เวลาใช้เลือกหุ้นที่น่าสนใจ ในขณะเดียวกัน checklist ก็คัดคนที่ไม่น่าสนใจออกเช่นเดียวกัน ผมเขียนอีเมลไปถามว่ามองหาคนเหมือนบัฟเฟตมองก Todd Combs เข้าทำงานกับ Berkshire หรือปล่าว เขาตอบว่า Combs เก่งการบริหารความเสี่ยงมาก นั่นคือสิ่งที่ Value investors ควรตะหนักมากกว่าสิ่งอื่นใด preserve capital for a long time พูดถึง Combs ขอต่ออีกนิดครับ Combs ยังมีบุคคลิกที่บัฟเฟตมองหาในผู้จัดการกองทุนของเขาคือ เต็มไปด้วยบุคคลิกที่ขัดแย้งในตัวเขาเอง compendium of contrasts but look easygoing บัฟเฟตและชาลีเห็น Combs บอกว่า ใช่เลย! เขาเก่งเรื่องอ่านงบการเงิน เชียวชาญด้านเรื่องความเสี่ยง แต่บุคคลิกกับดูเรียบง่ายๆ ไม่ชอบออกข่าว ใช้ชีชีวิตเรียบง่าย simple but not simplest

นอกจากรู็จักในตัวธุรกิจแล้วก่อนอื่นต้องรู็จักตัวเองเป็นอย่างดี นั้นคือคำถามที่คนที่มีมาสมัครกองทุนจะต้องเจอ หลอกตัวเองได้ แต่หลอกตัวเองผ่านคำถามเหล่านั้นและมีคนฟังอีกสามคนไม่ใช่เรื่องง่ายครับ สิ่งที่เขามองหาคือ balance ทั้ง IQ และ EQ แล้วไปคิด EQ Questionare Checklist ขึ้นมา ผมลองอ่านดูแล้ว คนที่ฉลาด ๆ อาจ fake คำตอบผ่านไปได้ แต่เขามีแผ่นกรองอีกชั้นในขั้นสุดท้าย คือจับทำงานในสถานการณ์จริงๆ ให้ทำงานกับคนอื่น social conflict investigation

จุดประสงค์คือ ถ้าเขาผ่านคำถามมากรอง EQ มาได้ เขาต้องมาเจอของจริงว่าสิ่งที่เขาตอบนั้นมันสอดคล้องกับความมั่นคงทางอารมณ์ที่เขาตอบมาหรือไม่ ถ้าพบคะแนน EQ สูง และ rating score จาก social conflict มีคะแนนสูงสอดคล้องกัน เขาเจอตัวคนที่เขาหาแล้ว หลักการของเขามีหลักเหตุและผล หากจัดการแบบไม่มีอคติมาปนแล้ว มันช่วยลด cost และ ประหยัดเวลาได้มากทีเดียวครับ

เขาต้องเป็นรับฟังความคิดของคนอื่น เมื่อตัดสินใจผิดพลาดแล้ว เขาจะถูกคนอื่นพาดพิงให้ทราบว่าเขาผิดพลาดเพราะอะไร เมื่อถูกพาดพิงกล่าวหาว่าผิดแล้ว เขาต้องชี้แจงว่าเขาผิดเพราะอะไร อะไรเป็นสาเหตุให้เขาเชื่ออย่างนั้น แล้วทำความเข้าใจใหม่กับความเชื่อของตัวเองอย่างไรบ้าง เขาต้องกล้ายอมรับตัวเองและชี้แจงเหตุผลให้พวกเราหายสงสัย

เหรียญมีสองด้านครับ ตรงข้ามครับ ถ้าเขาตัดสินใจถูก แต่อีกฝ่ายผิด เขาต้องโน้มน้าวให้เป็น ไม่ว่าเขาจะถูกทดสอบด้วยผู็ร่วมงานที่เป็นคนประเภทตัดสินใจผิดให้เห็นๆ กันเลยแต่ดันเล่นบทว่าตัวเองดื้อมาก "ข้าถูกเต็มๆ เอ็งซิวะที่ผิด" เขาต้องหาเหตุผลมาสนับสนุนชักจูงให้คนอื่นคล้อยตามมีทักษะในการเจรจาประนีประนอมตามสถานการณ์ ประชุมร่วมกัน หารือแก้ไขข้อขัดแย้งที่เกิดขึ้น ถ้ามีความแกรงใจสูง ถ้าเห็นคนอื่นผิดแล้วไม่ทักท้วง อย่างนี้อันตรายที่สุด

เวลามาทำงานจริงๆ สิ่งหนึ่งที่ต้องเจอ คือ การตัดสินใจภายใต้ incomplete information และสภาวะ Human Inefficiencies ที่อาจเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา การสร้างสถานการณ์ความขัดแย้ง ทั้งนี้ทั้งนั้นก็เพื่อทดสอบคุณสมบัติที่จำเป็นที่สุดอันหนึ่งของผู้สมัคร คือ capacity to suffer ความมั่นคงทางอารมณ์

การทำงานภายใต้ความกดดัน ความเครียด ความไม่แน่นอน เพื่อดูความอดทนในการรับมือกับความเสี่ยงและภายใต้ความกดดันนั้นๆ เขาจะดูว่าแสดงอารมณ์ออกมาแบบใด ภายใต้อารมณ์เหล่านั้น เขามีความสามารถในการวิเคราะห์สถานการณ์ต่างๆ อย่างไร เรื่องที่มากวนใจพวกเขาทำให้เขาตัดสินใจอยู๋บนเหตุและผลหรือไม่ ดูจากบททดสอบแล้ว ผมคิดว่า เขากำลังทดสอบว่าแยก Ego ของตัวเองเป็นหรือไม่ ถ้าใครพก Ego ไปทำงานเยอะเกินความจำเป็นสำหรับการลงทุน ก็มีปัญหาในการทดสอบนี้อย่างแน่นอนครับ

หลังจากเขาทำ EQ questionaire มาระยะเวลาเกือบหนึ่งปี ประเมิณตัวเลขอยู่ที่ 10 คนผ่านคำถาม EQ มาได้ แต่จะมีแค่คนเดียวที่ผ่านการทดสอบ social conflict incident ตัวเลขมันบอกได้หลายอย่างครับว่ามีคนฉลาด มี IQ สูงที่สามารถ fake คำตอบ EQ มาได้ พวกเขาอาจรู็ทุกอย่าง เข้าใจบริษัทอย่างดีที่สุด แต่จะมีประโยชน์อะไรถ้าพวกเขาไม่รู็จักตัวเองเลย ความมั่นคงทางอารมณ์เป้นนิสัยถาวรที่พัฒนามาตั้งแต่เด็ก แล้วมันแก้ยากมากซะด้วย ทางป้องกันคือคัดออกตั้งแต่ต้น ในความเห็นของผม EQ defects ในคนสมัครสามารถพัฒนาด้วย additional training แต่พวกเขาต้องไปฝึกเอาเองครับ อย่างการฝึกสมาธิเป็นต้นครับ

ผมเคยอ่านบทกวีอังกฤษมานานแล้วว่า อยากคบใครสักคน ให้ดูว่าเวลาเขาอยู๋ในความเครียด เขารับมือกับมันอย่างไร ดูเหมือนเพื่อนผมจะมาแนวนี้เช่นกันครับ

INTERVIEW FOR POTENTIAL VALUE INVESTOR

1. บอกได้ไหมว่าความหมายของชื่อพ่อ ชื่อแม่ พี่น้องทุกคนว่าแปลว่าอะไร
2. เกิดและโตที่ไหน ตั้งแต่เด็กจนถึงปัจจุบัน ย้ายเพราะอะไร
3. วัยเด็กพ่อและแม่เป้นอย่างไร ท่านเกิดที่ไหนและเมื่อใด ท่านเรียนอะไรมาและทำงานอะไร
4. บอกเกี่ยวกับปู่ ย่า ตา ยาย
5. บุคลิกพ่อ แม่ เป็นอย่างไร พี่น้องของพ่อแม่ เป็นอย่างไร
6. พ่อแม่สอนอะไรตอยเป็นเด็ก
7. พ่อแม่ตีหรือปล่าว เพราะอะไร มันสอนอะไรกับคุณหรือไม่ คุณขัดแย้งกับท่านมากไหม
8. ตอนเป็นเด็ก ท่านสอนอะไรบ้าง
9. พ่อแม่ทะเลาะกันบ่อยไหม เคยลงไม้ลงมือกันหรือไม่
10. พี่น้องของคุณชื่ออะไร บอกความหมายชื่อแต่ละคน วันเดือนปีเกิด จบที่ไหน อาชีพอะไร นิสัยเป็นอย่างไร เลือดกรุ๊ปอะไร สีที่ชอบคืออะไร
11. ความสัมพันธ์กับพี่น้องเป็นอย่างไร
12. ความสัมพันธ์กับพ่อแม่เป็นอย่างไร
13. ตอนคุณเกิดพ่อแม่อายุเท่าใด
14. ทำไมถึงเลือกมาลงทุนแนว value investing ทำไมไม่เป็นแนว technical หรืออย่างอื่น
15. วิชาที่เรียนจบมาช่วยให้ลงทุนแนวนี้ได้หรือไม่อย่างไร
16. สิ่งที่คุณมองเวลาลงทุนในบริษัทคืออะไร
17. คะแนนเกรดตั้งแต่เด็กประถมจนจบมหาวิทยาลัยเป็นอย่างไร
18. วิชาบางตัวเกรดต่ำมาก เพราะอะไร
19. คุณเรียนรู้อะไรมาบ้างจากคณะที่คุณจบมา
20. ความจำเรื่อง ความสุข/ความทุกข์ ในวัยเด็กที่คุณจำได้ดีที่สุดคืออะไร
21. ความจำเรื่อง ความสุข/ความทุกข์ ในประวัติการลงทุนของคุณคืออะไร
22. ทุกข์ที่สุดในชีวิตคืออะไร
23. ทำไมไม่ทำอาชีพในสิ่งที่เรียนจบมา
24. ทำไมถึงคิดว่าตัวเองจะเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่าได้
25. คุณสมบัติของนักลงทุนเน้นคุณค่าคืออะไร
26. อะไรคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในตัวคุณ
27. อะไรคือคุณสมบัติที่สำคัญที่สุดในการเป็นนักลงทุนเน้นคุณค่า
28. ประสบการณ์การลงทุนครั้งแรกตอนไหน วัยเด็กจนถึงวัยโต
29. ครอบครัวคิดอย่างไรเวลาทราบว่ามาทำงานด้านการลงทุน
30. เพื่อนสนิทคือใคร เพราะอะไรถึงสนิทกัน เคยทะเลาะกันไหม เพราะอะไร
31. ทราบอะไรบ้างเกี่ยวกับ Warren Buffett และ Charlie Munger
32. เพื่อนสนิทคิดอย่างไรเมื่อทราบว่าคุณมาทำงานด้านการลงทุน
33. บริษัทกลุ่มไหนที่คุณสนใจมากเป็นพิเศษ
34. คูณรู้จักนักลงทุนเน้นคุณค่าคนอื่นหรือไม่ เรียนรู้อะไรจากพวกเขาบ้าง
35. เคยคุยกับพวกเขาไหม รู้สึกอย่างไรบ้าง
36. หลายคนอยากทำงานกับกองทุนของเรา ทำไมผมต้องเลือกคุณด้วย
37. คุณคิดว่าจะผ่านด่านทอดสอบนี้หรือไม่
38. ถ้าไม่ผ่านจะทำอย่างไร
39. คุณกลัวขาดทุนหรือไม่
40. อะไรที่คุณคิดว่าเคยเสี่ยงมาในชีวิตมากที่สุด
41. ปัญหาอะไรในชีวิตที่คุณเจอมา รับมืออย่างไร
42. เวลาคุณตัดสินใจผิดพลาดในการลงทุน คุณทำอย่างไร
43. คุณกลัวอะไรมากที่สุด
44. อะไรทำให้คุณโกรธมากที่สุด
45. จุดแข็งคืออะไร
46. จุดอ่อนคืออะไร
47. ถ้าเปลี่ยนแปลงอะไรในชีวิตได้ จะเปลี่ยนอะไร
48. เกลียดอะไรในชีวิต เพราะอะไร
49. เคยแหกกฎของโรงเรียนหรือไม่ เพราะอะไร
50. ดูดบุหรี่ กินเหล้าหรือปล่าว
51. ทำไมถึงดูดบุหรี่หรือกินเหล้า ทั้งที่มันไม่ดีต่อสุขภาพคุณ
52. ยังดูดบุหรี่ กินเหล้าอยู่ไหม คิดจะเลิกไหม
53. ทำไมถึงไม่เลิกเพราะอะไร
54. ทำไมถึงคิดว่าตัวเองเลิกได้
55. มีแฟนหรือไม่ ทำไมถึงเลิกกัน
56. เงินเดือนที่คุณหวังคือเท่าไหร
57. ใช้เงินอย่างไร
58. ใช้เวลาว่างทำอะไร
59. มีคำถามจะถามผมไหม
60. เล่นกีฬา เกม อะไรบ้าง
61. ชอบดนตรีแบบไหน
62. แฟนนิสัยอย่างไร พบกันที่ไหน เมื่อไหร่
63. เวลาไปจีบเธอ คุณทำอย่างไร
64. ถ้าผมไปถามว่าคุณนิสัยอย่างไร แฟนคุณจะตอบว่าอย่างไร
65. คุณเจอเธอบ่อยแค่ไหน
66. คุณจะแต่งงานกับเธอไหม เมื่อไหร่
67. พ่อแม่ของเธอชื่ออะไร อาชีพอะไร
68. วัยเด็กของแฟนเป็นอย่างไร
69. อะไรทำให้เธอเสียใจในวัยเด็กมากที่สุด
70. แฟนคุณคิดอย่างไรที่มาทำงานด้านการลงทุน
71. อะไรคือความแตกต่างของบริษัทที่น่าลงทุนกับไม่น่าลงทุน
72. คุณคิดว่าตัวเองมีนิสัยอย่างไร
73. ทำไมไม่สมัครไปทำงานกับกองทุนอื่น
74. มีคนรู้จักคุณที่กองทุนอื่นหรือไม่
75. คุณทำอย่างไรถ้ามีปัญหากับผู้ร่วมงานคนอื่น
76. บริษัทไหนที่คุณอยากลงทุนมากที่สุด
77. คุณสามารถฆ่าคนได้ไหม
78. บอกได้ไหมว่าข้อผิดพลาดในการลงทุนที่ผ่านมาของคุณคืออะไร
79. คุณทำอะไรกับแฟนเวลาอยู่ด้วยกัน บ่อยแค่ไหน
80. คุณชอบไปที่ไหนมากที่สุด ทำอะไรมากที่สุด เวลาไม่สบายใจ
81. คุณให้ของขวัญวันเกิดกับคนอื่นหรือไม่
82. ได้รับของขวัญในวันเกิดตัวเองหรือไม่
83. ถ้าแต่งงานกับแฟนคนนี้ไม่ได้ ทำอย่างไร
84. คุณเป็นพุทธหรือปล่าว อธิบายศาสนาพุทธคืออะไร
85. ชอบหนังแบบไหน ดาราที่ชอบ
86. อะไรทำให้ตื่นเต้นมากที่สุด
87. เวลาดีใจ ทำอย่างไร
88. อะไรทำให้หัวเราะ อะไรทำให้กลัว
89. ปัญหาในเมืองไทยเรื่องเสื้อเหลือง/แดง เกิดขึ้นเพราะอะไร
90. คำถามข้อไหนที่คุณคิดว่าตอบยากมากที่สุด

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มิ.ย. 22, 2012 12:45 pm
โดย humdrum
Letter to value friends : การตั้งคำถามกับตัวเอง


รูปภาพ


บทความนี้เป็นบทความสุดท้ายที่ผมจะเขียนในปีนี้ end of June ครบรอบปีในการบริหารกองทุทุนของผม หลักจากเขียน letter to shareholders แล้ว ผมได้ลองเขียน Letter to Value Friends ดูบ้าง นี่คือสิ่งอยากจะฝากน้องๆ

ในขณะมีคนสนใจแนวการลงทุน value investing ในอัตราพอๆ กับดอกเบี้ยทบต้น ผมสังเกตว่าการลงทุนแนว vi นั้นไม่ได้เหมาะกับนิสัยทุกคนเสมอไป สำหรับความคิดผม great value investors มีความอดทนต่อความขัดแย้งหรือความคลุมเครือต่างๆ ได้ดี ทำไมถึงคิดอย่างนั้น ? ลองทำดูครับ มันไม่ง่ายที่ใครเป็นคนที่อยู๋ความคลุมเครืออย่างนั้นได้ ไม่เชื่อไปทำอย่างนี้ดู ลองคิดไตร่ตรองถึงด้านตรงข้ามกับความคิดของตัวเองก่อนอื่น ตั้งคำถามว่าสิ่งที่เราทำมันผิดตรงไหนบ้าง ปัญหาของคนที่มาลงทุนแนวนี้คือ อยู่ที่ว่าตัวเราหรือปล่าวว่ากำลังคิดเรื่องอะไร

การอยู๋ในโลกของ imcomplete iformation อย่างยุคปัจจุบัน สิ่งที่ช่วยเราได้ ไม่ใช่เงิน แต่เป็นการตั้งคำถามต่อสิ่งต่างๆ ที่เข้ามาในชีวิต มันเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุดสำหรับผมในโลกทุนนิยมนี้ซึ่งมันสร้างความสะดวกสบายให้กับพวกเรามากมาย แต่อีกด้านมันก็ทำลายสัญชาติญาณการเอาตัวรอดของคนไปทีละน้อยด้วย จะว่าไปใครละไม่ชอบความสบายในชีวิต มีเหมือนกันครับ ใกล้ตัวหน่อย เช่น นักบวชในศาสนาต่างพุทธ เป็นต้น แล้วคำถามก็ต่อว่า ทำไมพระถึงมีความนักปราชญ์มากกว่าคนกลุ่มอื่น ถ้าเราเคยบวช เราจะรู้เลยว่า ความรู็สึกต้องต่อสู้กับความหิวของตัวเองเป็นอย่างไร คำถามมากมายจะมีเต็มหัวเราไปหมด ถ้าเรามีความอดทนมากพอที่จะกล้าเผชิญกับตัวเองอีกด้านที่เราไม่เคยพบเลย และผ่านจุดนั้นไปได้ เราจะครองครองสิ่งหนึ่งที่เรียกว่า สติ มันเป้นของขวัญที่ล้ำค่าที่สุดสำหรับคนแต่ละคน แต่อยู๋ที่ใครจะครอบครองมันได้เท่านั้น

ผมจะกลับมาที่ การตั้งคำถามกับตัวเอง ครับ


การตั้งคำถาม ทำให้เราได้ใช้ประสาทสัมผัสของเราในการสำรวจสมมุติฐานต่างๆ และนำเราไปสู่ความเข้าใจอย่างลึกซึ้ง และ ค้นพบโอกาสใหม่ๆ อีกมากมาย และที่สำคัญที่เราสนใจกันมากที่สุดในเว็บนี้ ใช่ครับ มันรวมถึงโอกาศในการทำเงินให้ท่านเป็นอิสระในงานประจำอีกด้วย

คนภายนอกไม่ทราบว่าเราทำกำไรกันได้มากขนาดนั้นได้อย่าง พวกเราเคยบอกต่อสาธารณะชนในบทความต่างๆ มากมาย แต่จะมีสักกี่ใครที่มองออกว่า เรามีสามารถที่พิเศษมากกว่าคนปกติในการจัดการกับความเครียดอันเกิดจากความขัดแย้ง พวกเราทำได้อย่างไร?

value investing checklist : เรามีความอดทนต่อความไม่แน่นอนสูงหรือไม่ ?

Market Inefficient การเงินทุกวันนี้เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วมาก พอร์ตของเรากำไรยังไม่ทบต้นเลย แต่สภาวะความคลุมเครือต่างๆ กับทบต้นทวีขึ้นเรื่อยๆ ไปแล้ว ผมยอมรับอย่างเต็มภาคภูมิเลยว่า เราไม่สามารถมองทะลุภาพลวงตาของความไม่แน่นอนไว้ได้ตลอดเวลา เราจึงต้องถ่อมตัวและเตรียมเครื่องมือ margin of safety เพื่อปรับกลยุทธ์การลงทุนให้เข้ากับสภาวะความคลุมเครือที่เกิดขึ้นในตลาดตลอดเวลา

พวกเราปรับสมมุติฐานสิ่งต่างๆ ให้เข้ากันได้กับความคิดที่ขัดแย้งทั้งจากของตัวเราเอง และ ของนักลงทุนส่วนใหญ่ ที่เราเรียกตามอาจารย์ใหญ่ของเรา เบน แกรม ว่า Mr. Market คำสอนนี้ของเบน แกรม เป็นคำสอนที่เป็น paradox มากครั้งแรกที่ผมได้ยินและไม่ยอมรับ

ผมตั้งคำถามกับตัวเองมากกมาย และวันหนึ่ง ผมก็มีสติพอที่จะทำให้ผมตาสว่างที่จะไม่ทำตามคำแนะนำของ Mr.Market แทนที่ ผมเริ่มหาผลประโยชน์จากความผิดปกติในจิตใจของเขาที่ดูเหมือนจะผูกติดภายใต้สภาวการณ์ของโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วอีกด้วย มันเหมือน เขาเป็นแฝดสยามกับความเปลี่ยนแปลงอย่างไรอย่างนั้น การ "พลิกแค่นิดเดียว" ของผมในครั้งนั้น
สร้างประสิทธิผลกำไรของกองทุนให้มีความมั่นคงมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเจน และได้ทำให้ผมมีโอกาสที่ยิ่งใหญ๋ที่มาเขียนจดหมายถึงท่านอยู่ ณ ขณะนี้

checklist : เรามีความสามารถในการหยั่งรู้ภายในตัวตนดีเยี่ยมหรือไม่?

ไม่ต้องพูดถึง Warren Buffett หรือ value investors ทั่วโลกที่มีชื่อเสียงว่าพวกเขามีคุณสมบัตินี้ฝังอยู๋ในยีนของพวกเขา แม้กระทั่งนักเกร็งกำไรระดับโลก อย่า Stenven Cohen และ Pual Jones ก็ให้ความสำคัญกับสิ่งนี้ สำหรับพวกเขา ผมคิดว่า เขาถือเป็นพันธกรณีตลอดชีวิตที่ต้องคิดไตร่ตรองความรูสึกนึกคิดของตนเอง คำถามที่คุณเราสนใจคือ พวกเราก็ทำได้ใกล้เคียงเสี้ยวหนึ่งเหมือนพวกเขาไหม คำตอบผมแบบอมยิ้มคือ เราก็ทำได้ครับ มันเรียกว่า สติ นั่นเอง

checklist : เราฝึกสติกันอย่างไร ?

ผมแนะนำให้ท่านทำหน้าหนาๆ และเก็บความยิ่งพยองของตนเองเอาไว้ให้มิดที่สุด แล้วเดินถามคนรอบข้างที่เขาเกลียดท่านที่สุด ไม่ยากเลยใช่ไหมครับ ไปลองถามจุดด้อยและจุดแข็งของเรา สิ่งที่เราต้องปรับปรุง ฟังอย่างระมัดระวัง โดยเฉพาะสิ่งที่เราไม่อยากฟัง หรือ ไม่คาดคิดว่าจะได้ยิน อย่าชี้แจง อย่าตัดสินโต้แย้ง อย่าออกความเห็น ท่องคาถา "shut up" ฟังอย่างเดียว อย่าลืมพกสมุดติดตัว เราต้องใช้มันเพื่อจดบันทึกความคิดของคนอื่นที่มีต่อเรา มองอย่างรอบครอบว่าเขาโจมตีความคิดเราด้วยเหตุผลหรืออารมณ์

ckecklist : เราผ่านการเปลี่ยนแปลงต่อการโดนวิจารณ์จากคนที่เกลียดเรามาแล้วโดยที่เราไม่โต้แย้งหรือไม่?

เราต้องฝึกเรื่องความอดทนต่อสภาวะความคลุมเครือของตัวเองก่อนอื่นใด อันที่จริงก่อนไปถามคนอื่นแล้วไปมีเรื่องหยิกแขนตบตีกับเขา เราลองนั่งจัดอันดับความอดทนต่อสภาวะความคลุมเครือของตัวเองว่าอยู่ระดับไหน มีกี่ระดับ ?

ผมไม่ทราบครับ ตัวคุณเท่านั้นที่รู้ แต่พอมี guide lines

ผมจัดระดับล่างสุด คือ

checklists : เรามีความต้องการความแน่นอนอยู่ตลอดเวลาใช่หรือไม่

คำอธิบาย : ถ้าคุณชอบด่วนสรุปในประเด้นต่างๆ ผมคิดว่าคุณอาจมีปัญหากับความคิดเรื่องการอดทนกับความขัดแย้งในตัวเอง ลองสังเกตดูครับ สังเกตว่าเวลาคุณจบการสนทนากับคนอื่นๆ คุณมักจบการพูดคุยด้วยคำบอกเล่า ประโยคคำสั่ง หรือ การตั้งคำถาม ลองดูว่าตัวเราวันหนึ่งๆ พูดคำที่แสดงความแน่นอนทั้งหมดกี่ครั้ง ตัวอย่างเช่น มั่นใจมาก, แน่ใจ, อย่างแน่นอน, ต้องใช่อย่างนั้น, ไม่เคยผิดพลาด, ถูกเสมอ, ฟันธงขาด, ต้องใช่แน่ๆ , ผมว่าไม่ผิดหรอก , แสดงว่า, เพราะว่าอย่างนั้น

ผมพัฒนาตัวเองและไต่ลำดับไปเรื่อยๆ และสามารถเปลี่ยนแปลงตัวเองได้โดยการไต่ระดับไปเรื่อยๆ ทุกอย่างเริ่มจากการตั้งถามและประเมิณตนเอง

checklist : เราเห็นความสำคัญของความอดทนต่อขัดแย้งมากแค่ไหน คุณเห็นมันสำคัญต่อชีวิตคุณไหมครับ?

เรายอมรับว่าความไม่แน่นอนก็คือสิ่งที่แน่นอนที่สุด แต่ก็ไม่ได้ซีเรียสกับประโยคนี้อย่างจริงจังมากนัก มันสำคัญมากขนาดไหน? มันจะหยุดอยู่ตรงนั้นเลย ถ้าเราไม่ยอมรับเรื่องนี้ตั้งแต่แรก

ระดับทักษะที่เราได้เห้นได้ชัดในตัว value investors ที่สูงขึ้นไป คือ พวกเขาหูตาไวกับสิ่งที่ขัดแย้งต่างๆ และ สถานการณ์ตรงกันข้ามกับ การคาดหวังของตัวเอง แต่ยังไม่ยอมรับเลยทั้งหมดทีเดียว จนกว่าพวกเขาจะไม่มีปัญหากับความคิดที่ขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดรอบตัว และกลับในทางตรงกันข้าม พวกเขาจะเริ่ม พลิกนิดเดียว ที่จะชอบความขัดแย้งที่ผมเรียกว่าระดับนี้ว่า มีความเข้าใจทั้ง human and market inefficiencies พวกเขาเริ่มมองกลับเข้าหาตัวเอง เรียนรู้จากเคสที่เป้นประสบการณ์จริงจากตัวเอง และจะกลายเป็นคนสงบนิ่งแม้อยู่ในสภาวะที่มีอารมณ์ของ greed and fear mode

great value investor ต้องฝึกจับความขัดแย้งที่เกิดในความคิดเราเองจนเกิดความเชี่ยวชาญ ถึงระดับนี้แล้วเราต้องฝึกอย่างหนักด้วยความวิริยะอุตสาหะที่จะจับผิดตัวเองอย่างยาวนานพอ แล้ววันหนึ่งจะมาถึงเมื่อเราทราบวา เราได้พัฒนาไปอีกขั้นที่สูงกว่าขึ้นไป

ฟังแล้วเหมือน value investors ฝึกกำลังภายใน หลังจากนั้นเราจะลอยได้ มีวิชาตัวเบาหรือปล่าว ?

ไม่ใช่ลอยครับ คุณจะเป็นคนเรียบง่าย ถ่อมตัวและอ่านความรู้สึกของตัวเองเมือเกิดความกังวลใจในสภาวการณ์ที่ขัดแย้ง เมื่อถึงระดับนี้คุณน่าจะอธิบายความรู้สึกบางอย่างที่ผมเรียกว่า
ความกำกวมของนักลงทุน

checklist : อธิบายความรู้สึกกำกวมได้อย่างดีเยี่ยมใช่หรือไม่?

ผมชอบนึกว่าถ้าความกำกวมต่างๆ ในการลงทุนมันมีตัวตน มี รูปร่าง สี เสียง รส กลิ่น สัมผัส มันจะเป้นอย่างไร? มันใช้เทคนิคนี้จากเรื่อง Harry Potter ตอนเด็กนักเรียนต้องเสกมนต์เอาชนะความกลัวของตัวเองที่กำลังจะออกมาจากกล่องวิเศษ จำกันได้ไหมครับ ทำไมเราต้องทำอย่างนั้นเราต้องการใช้ประสามสัมผัสส่วนอื่นของตัวเองครับ ถ้าเรานึก ความกลัวขาดทุน หรือ ความโลภ ออกมาเป็นตัวตนได้ คุณจะตอบสนองต่อความรู้สึกต่างๆ ได้ดีเวลาที่พวกมันเดินเข้ามาใกล้ๆ คุณ

checklist : เรารับมือกับ ความกังวลใจ ได้ดีเยี่ยมหรือไม่?


นักลงทุนส่วนที่มีปัญหาความขัดแย้งตั้งแต่วัยเด็ก มักไม่รู้ตัวเมื่อเกิดความกังวลใจ นอกเสียจากว่าจะได้รับการฝึกฝนสมาธิ คนส่วนใหญ่มีปฎิกริยาต่อความกังวลโดยอัติโนมัติ ถ้าหุ้นที่ซื้อไม่แป้นอย่างที่คิด เกิดปรับตัวลง ลองสังเกตว่าเราทำอะไรก่อนอย่างแรก เสยผมหรือปล่าว, หรือว่า หยิกแขนตัวเอง ,หยิบบุหรี่ , หมุนปากกา , เริ่มพูดมาก , กินเหล้า , ดูหนังโป๊ หรือไม่ก็เริ่มโพสลงใน webboard

สุดท้ายนี้ คำแนะนำจากผมในช่วงทศวรรษแห่งความไม่แน่นอนนี้ ถ้าเราตะหนักรู้ถึงความกังวลใจในตัวเองแล้ว อย่าหนีมันครับ ถ้าเราหนีมัน ไม่ทำความเข้าใจกับตัวเองข้างใน แทนที่จะวิ่งตามหาติดตามสิ่งต่างๆ จากภายนอก เราจะไม่มีวันได้พบกับความไม่แน่นอนอย่างแท้จริง คำพูดที่เชยๆ ของผมคือ การพบและเป็นหนึ่งเดียวกับความไม่แน่นอนเกิดขึ้นได้ก็ต่อเมื่อ เราเริ่มยอมรับมันอย่างเต็มใจและเผชิญหน้ากับมันด้วยขีดจำกัดของตัวเอง และ และ เมื่อเราหัวเราะตลกขบขันในแต่ละวันเมื่อเจอกับความไม่แน่นอนในชีวิตได้ละก็ you are not only a great value investor, but you are a great human being in youself krab.

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ มิ.ย. 24, 2012 1:25 pm
โดย iceberg
ขอบคุณครับ คุณ humdrum
ผมจะรออ่านต่อจนกว่าจะกลับมาเขียนใหม่นะครับ

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ ก.ค. 22, 2012 12:41 am
โดย kongkiti
กระทู้ดีๆ อย่างนี้ น่าจะย้ายไปอยู่คลังกระทู้ทรงคุณค่า นะคร้าบ :P :P :P

Re: อาจารย์ของผม : ชาร์ลี มังเจอร์

โพสต์แล้ว: จันทร์ ก.ย. 08, 2014 12:10 am
โดย noooon010
ขออนุญาติขุดกระทู้นะครับ