รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 181
ปตท.แจงข้อมูลลงทุนก๊าซธรรมชาติในอียิปต์
Source -ฐานเศรษฐกิจ (Th), Sunday, April 15, 2012
14 เมษายน 2555 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่เอกสารชี้แจงกรณีเมื่อวันที่ 10 เมษายน.ที่ผ่านมา ในการประชุมผู้ถือหุ้นของ ปตท. ที่ได้ซักถามเกี่ยวกับการด้อยค่าเงินลงทุนในโครงการท่อก๊าซธรรมชาติที่ประเทศอียิปต์ โดยบริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. และต่อมาได้โยงใยเรื่องผลประกอบการจากการลงทุนดังกล่าว ไปเป็นประเด็นความเกี่ยวข้องกับคดีความของนักธุรกิจชาวอียิปต์ "นายฮุสเซน ซาเล็ม"
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้นักลงทุนเกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ปตท. จึงขอชี้แจงว่า บริษัท พีทีที อินเตอร์ฯ เข้าซื้อหุ้น 25% ในบริษัท East Mediterranean Gas หรือ EMG ในปี 2550 สาเหตุการลงทุนเนื่องจากประเทศอียิปต์มีก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก และในขณะนั้น บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้รับสัมปทานแล้วสองแห่งจึงเป็นการต่อยอดการลงทุน อีกทั้งเป็นโครงการที่มีสัญญาซื้อขายก๊าซชัดเจน ซึ่งเดิม ปตท.ได้เจรจาซื้อหุ้นจากทั้งบริษัท MGPC (ซึ่งนายซาเล็มเป็นเจ้าของในขณะนั้น) และจากผู้ถือหุ้นชาวอิสราเอล
แต่ต่อมาการเจรจากับผู้ถือหุ้นชาวอิสราเอลไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ปตท.จึงได้แบ่งซื้อหุ้นในส่วนที่เป็นของ MGPC แทน และได้ดำเนินการชำระค่าหุ้นและรับโอนหุ้นเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2550 และ ปตท. ได้รับรู้ส่วนแบ่งกำไรและขาดทุนตามสัดส่วน 25% ตลอดมาตั้งแต่ลงทุนแล้วเสร็จ ดังปรากฏในงบการเงินประจำปี ซึ่งตรวจสอบโดยสำนักงานตรวจสอบเงินตราแผ่นดิน ต่อมานายซาเล็มได้มีการขายบริษัท MGPC ออกไปและยุติบทบาทและความเกี่ยวข้องกับบริษัท EMG นับแต่นั้นมา
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ล้มรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค ของอียิปต์ ได้เกิดกระแสกดดันทางสังคมให้สอบสวนในหลายเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับ นายมูบารัค โดยเฉพาะในประเด็นคอรัปชัน และเกี่ยวโยงไปยังนายซาเล็ม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนดังปรากฏตามข่าวทั่วไปและไม่มีความเกี่ยวข้องกับ EMG แต่อย่างใด
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากเหตุความไม่สงบในประเทศอียิปต์ ทำให้เกิดเหตุวางระเบิดกว่าสิบครั้งต่อระบบท่อก๊าซของรัฐวิสาหกิจ EGAS ซึ่งเป็นผู้จัดส่งก๊าซให้กับ EMG มีผลให้ต้องหยุดจ่ายก๊าซหลายครั้งและเป็นเวลายาวนาน แม้ว่าท่อก๊าซของ EMG ไม่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ การหยุดจ่ายก๊าซฯ รวมถึงการหยุดจ่ายก๊าซฯ เข้าระบบท่อที่ส่งออกก๊าซฯ ไปยังประเทศจอร์แดนด้วยเช่นกัน และที่ผ่านมา EGAS ยังคงส่งก๊าซฯ ให้กับ EMG ภายใต้ข้อผูกพันของสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ในช่วงเวลาที่ท่อก๊าซฯ ไม่เกิดความเสียหาย แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดบ่อยครั้ง ทำให้ EMG ไม่สามารถดำเนินธุรกิจอย่างปกติ จึงเป็นที่มาของการที่ ปตท. ต้องพิจารณาด้อยค่าเงินลงทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ ปตท. และผู้ถือหุ้นรายอื่นได้พยายามผลักดันมาตลอดให้รัฐบาลอียิปต์มีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงเร่งรัดให้ EMG ซ่อมแซมระบบท่อก๊าซฯ โดยเร็ว และ EMG ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจาก EGAS ภายใต้สิทธิของสัญญาและผู้ถือหุ้นอาจพิจารณาฟ้องร้องรัฐบาลอียิปต์ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอีกเช่นกัน รวมถึงพิจารณาหาแนวทางอื่นในการใช้ประโยชน์จากท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินกิจการดำเนินต่อไปได้ในยามที่ยังเกิดเหตุระเบิดอย่างบ่อยครั้งต่อระบบ ท่อส่งก๊าซฯ ของ EGAS ตามที่ ปตท. ได้ชี้แจงในวันประชุมผู้ถือหุ้นที่ผ่านมา.
Source -ฐานเศรษฐกิจ (Th), Sunday, April 15, 2012
14 เมษายน 2555 บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้เผยแพร่เอกสารชี้แจงกรณีเมื่อวันที่ 10 เมษายน.ที่ผ่านมา ในการประชุมผู้ถือหุ้นของ ปตท. ที่ได้ซักถามเกี่ยวกับการด้อยค่าเงินลงทุนในโครงการท่อก๊าซธรรมชาติที่ประเทศอียิปต์ โดยบริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทลูกของ ปตท. และต่อมาได้โยงใยเรื่องผลประกอบการจากการลงทุนดังกล่าว ไปเป็นประเด็นความเกี่ยวข้องกับคดีความของนักธุรกิจชาวอียิปต์ "นายฮุสเซน ซาเล็ม"
ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้นักลงทุนเกิดความสับสนเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ปตท. จึงขอชี้แจงว่า บริษัท พีทีที อินเตอร์ฯ เข้าซื้อหุ้น 25% ในบริษัท East Mediterranean Gas หรือ EMG ในปี 2550 สาเหตุการลงทุนเนื่องจากประเทศอียิปต์มีก๊าซธรรมชาติจำนวนมาก และในขณะนั้น บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ได้รับสัมปทานแล้วสองแห่งจึงเป็นการต่อยอดการลงทุน อีกทั้งเป็นโครงการที่มีสัญญาซื้อขายก๊าซชัดเจน ซึ่งเดิม ปตท.ได้เจรจาซื้อหุ้นจากทั้งบริษัท MGPC (ซึ่งนายซาเล็มเป็นเจ้าของในขณะนั้น) และจากผู้ถือหุ้นชาวอิสราเอล
แต่ต่อมาการเจรจากับผู้ถือหุ้นชาวอิสราเอลไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ปตท.จึงได้แบ่งซื้อหุ้นในส่วนที่เป็นของ MGPC แทน และได้ดำเนินการชำระค่าหุ้นและรับโอนหุ้นเสร็จสมบูรณ์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 2550 และ ปตท. ได้รับรู้ส่วนแบ่งกำไรและขาดทุนตามสัดส่วน 25% ตลอดมาตั้งแต่ลงทุนแล้วเสร็จ ดังปรากฏในงบการเงินประจำปี ซึ่งตรวจสอบโดยสำนักงานตรวจสอบเงินตราแผ่นดิน ต่อมานายซาเล็มได้มีการขายบริษัท MGPC ออกไปและยุติบทบาทและความเกี่ยวข้องกับบริษัท EMG นับแต่นั้นมา
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่เกิดเหตุการณ์ล้มรัฐบาลของอดีตประธานาธิบดีมูบารัค ของอียิปต์ ได้เกิดกระแสกดดันทางสังคมให้สอบสวนในหลายเรื่องที่เกี่ยวเนื่องกับ นายมูบารัค โดยเฉพาะในประเด็นคอรัปชัน และเกี่ยวโยงไปยังนายซาเล็ม ซึ่งประเด็นเหล่านี้ยังอยู่ในระหว่างการไต่สวนดังปรากฏตามข่าวทั่วไปและไม่มีความเกี่ยวข้องกับ EMG แต่อย่างใด
นอกจากนี้ สืบเนื่องจากเหตุความไม่สงบในประเทศอียิปต์ ทำให้เกิดเหตุวางระเบิดกว่าสิบครั้งต่อระบบท่อก๊าซของรัฐวิสาหกิจ EGAS ซึ่งเป็นผู้จัดส่งก๊าซให้กับ EMG มีผลให้ต้องหยุดจ่ายก๊าซหลายครั้งและเป็นเวลายาวนาน แม้ว่าท่อก๊าซของ EMG ไม่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ การหยุดจ่ายก๊าซฯ รวมถึงการหยุดจ่ายก๊าซฯ เข้าระบบท่อที่ส่งออกก๊าซฯ ไปยังประเทศจอร์แดนด้วยเช่นกัน และที่ผ่านมา EGAS ยังคงส่งก๊าซฯ ให้กับ EMG ภายใต้ข้อผูกพันของสัญญาซื้อขายก๊าซฯ ในช่วงเวลาที่ท่อก๊าซฯ ไม่เกิดความเสียหาย แต่เนื่องจากเกิดเหตุการณ์ระเบิดบ่อยครั้ง ทำให้ EMG ไม่สามารถดำเนินธุรกิจอย่างปกติ จึงเป็นที่มาของการที่ ปตท. ต้องพิจารณาด้อยค่าเงินลงทุนดังกล่าว
ทั้งนี้ ปตท. และผู้ถือหุ้นรายอื่นได้พยายามผลักดันมาตลอดให้รัฐบาลอียิปต์มีมาตรการความปลอดภัยที่เข้มงวดขึ้น รวมถึงเร่งรัดให้ EMG ซ่อมแซมระบบท่อก๊าซฯ โดยเร็ว และ EMG ได้เข้าสู่กระบวนการอนุญาโตตุลาการเพื่อเรียกร้องค่าชดเชยจาก EGAS ภายใต้สิทธิของสัญญาและผู้ถือหุ้นอาจพิจารณาฟ้องร้องรัฐบาลอียิปต์ เพื่อเรียกร้องค่าเสียหายอีกเช่นกัน รวมถึงพิจารณาหาแนวทางอื่นในการใช้ประโยชน์จากท่อส่งก๊าซฯ ดังกล่าว เพื่อให้ดำเนินกิจการดำเนินต่อไปได้ในยามที่ยังเกิดเหตุระเบิดอย่างบ่อยครั้งต่อระบบ ท่อส่งก๊าซฯ ของ EGAS ตามที่ ปตท. ได้ชี้แจงในวันประชุมผู้ถือหุ้นที่ผ่านมา.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 182
ปตท.เปิดเวทีรับฟังชาวบ้านห่วงแนวท่อก๊าซขวางทางน้ำ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, April 17, 2012
ทนงศักดิ์ หมื่นหนู
ปตท.จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน จ.สิงห์บุรี และใกล้เคียง ในโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากวังน้อยถึงนครสวรรค์ ระยะทาง 200 กิโลเมตร ด้านชาวบ้านยังห่วงด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะบางพื้นที่แนวท่อก๊าซอยู่ใกล้กับคลังแสง รวมทั้งแนวท่อก๊าซจะขวางทางน้ำหรือไม่ ขณะที่บางกลุ่มหวั่นธุรกิจได้รับผลกระทบขาดรายได้ช่วงการก่อสร้าง อีกทั้งหลายปัญหาที่ยังเป็นข้อกังวลของชาวบ้าน
เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมโกลเด้นดราก้อน รีสอร์ท อ.เมือง จ.สิงห์บุรี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกนครสวรรค์ ที่จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการดังกล่าว พร้อมเสนอแนะประเด็นข้อห่วงกังวลอื่นๆ นอกเหนือจากผลการศึกษาโครงการ
นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการ กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซ ของ ปตท. ในทุกโครงการ จะให้ความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยจะต้องให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
เราจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกนครสวรรค์ เพื่อขยายโอกาสการใช้พลังงานสะอาดและลดมลภาวะ ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเขตภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง โดยให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ สะท้อนข้อวิตกกังวลและทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ครั้งนี้ เพื่อให้ร่างฉบับนี้มีความสมบูรณ์ที่สุด
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศของเวทีรับฟังความคิดเห็นได้มีทั้งชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมาจาก จ.นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ประมาณ 700 คน ทั้งนี้ ข้อกังวลของชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยหลังจากโครงการก่อสร้างเสร็จแล้ว เพราะชาวบ้านจะต้องอยู่กับท่อก๊าซไปตลอดอายุโครงการ ซึ่งเห็นว่าควรจะต้องมีการทำประชาสัมพันธ์โครงการให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลมากกว่านี้ ในขณะที่ชาวบ้านบางส่วนให้ความสนใจในเรื่องของค่าตอบแทนที่จะได้รับจากค่าชดเชยที่แนวท่อก๊าซพาดผ่านในที่ดินชาวบ้าน ซึ่งมองว่ายังไม่ชัดเจน รวมทั้งชาวบ้านบางรายที่ทำธุรกิจร้านค้าในบริเวณแนวท่อก๊าซ ห่วงว่าจะได้รับผลกระทบต่อยอดขายในช่วงระหว่างมีการก่อสร้าง ตลอดจนปัญหาด้านการจราจรติดขัดในพื้นที่
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้มีชาวบ้านสลับหมุนเวียนลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นในหลายประเด็น โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นมีข้อกังวลของนายทรงศักดิ์ พุ่มเกษม นายก อบต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ลุกขึ้นถามผู้รับผิดชอบโครงการว่า พวกชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่มีความมั่นใจโครงการเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากบริเวณที่ท่อก๊าซผ่านอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทางแผนกที่ 3 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ใช้เป็นจุดทำลายวัตถุระเบิดเก่า ซึ่งอยู่ห่างจากแนวท่อก๊าซประมาณ 1,200 เมตรเท่านั้น เกรงว่าแรงระเบิดจะทำให้ท่อก๊าซมีปัญหารั่วจนเกิดอันตรายถึงชีวิตชาวบ้านได้ เพราะเท่าที่ชาวบ้านได้รับข้อมูลจากทหารบอกว่าอำนาจทำลายล้างกรณีคลังแสงระเบิดอยู่ที่ระยะ 75 กม.ทางชาวบ้านต้องการทราบว่า ปตท.จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร และต้องการให้ ปตท.ลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบ เพราะชาวบ้านต้องการแค่ความมั่นใจ
ขณะเดียวกัน มีชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ อ.พยุหะคีรี อีกรายได้ลุกขึ้นพูดเสริมว่า ชาวบ้านไม่ต้องการเงินประกัน เพราะหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว บริเวณนั้นมันจะไปหมดทั้งครึ่งอำเภอ เพราะฉะนั้น ชาวบ้านต้องการเพียงความมั่นใจ อยากให้เข้าใจด้วยว่าชาวบ้านเขารู้จักพื้นที่ดี ที่คลังแสงเขาจะทำลายระเบิดเก่าทุกๆ 15 วัน แรงสั่นสะเทือนเรารับรู้ได้ถึง 1 กม.เป็นไปได้หรือไม่ที่ทาง ปตท.จะเพิ่มสเปคท่อในบริเวณนั้นให้มีความหนาเพิ่มขึ้น เพราะชาวบ้านยังไม่มั่นใจ
อย่างไรก็ตาม นายอิทธิพล เอกะหิตานนท์ วิศวกรส่วนปฏิบัติการมวลชนสัมพันธ์ ปตท.ชี้แจงว่า เรื่องนี้ทางเราให้ความสำคัญ ซึ่งได้มีการประสานงานกับทางกองคลังแสงมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม และอธิบายด้วยว่าท่อก๊าซถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ถึง 7 ริกเตอร์ กระนั้นก็ดี ได้รับข้อเสนอของชาวบ้านที่จะส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบดูว่าแรงระเบิดจะส่งผลกระทบต่อท่อก๊าซหรือไม่อย่างไร โดยยืนยันว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจและสบายใจมากที่สุด
ขณะเดียวกัน นายประศักดิ์ บัณขุนาค ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงชนบทที่ 2 อ.เมือง จ.สระบุรี ซึ่งมาร่วมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ด้วย ได้ตั้งข้อสังเกตต่อที่ประชุมว่า การวางแนวท่อก๊าซที่ขนานไปกับแนวถนนสายเอเซียนั้น ซึ่งผ่านในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง ปตท.ได้มีการศึกษาถึงทิศทางการไหลของน้ำหลากตามฤดูกาลหรือไม่ เนื่องจากเกรงว่าช่วงระหว่างการก่อสร้างอาจจะไปขวางทางน้ำหลากตามฤดูกาลซึ่งน้ำจากฝั่งตะวันตกจะข้ามมาตะวันออกได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมาได้ พร้อมทั้งยังเสนอให้ ปตท.นำประเด็นนี้ไปหารือกับทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ในการวางแผนจัดการน้ำที่จะเกิดจากโครงการนี้ด้วย
ทั้งนี้ บริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด โดยนางสาวเปรมวณี ปรีดาพันธุ์ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำร่างรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ได้ตอบในประเด็นนี้ ว่า แนวท่อก๊าซจะฝังอยู่ใต้ดินเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงไม่กีดขวางทางน้ำอย่างที่หลายฝ่ายวิตก โดยทางโครงการจะปรับสภาพพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิม นอกจากนี้ ยังได้ย้ำถึงมาตรการในการระบายน้ำในช่วงการก่อสร้างโครงการว่า จะไม่มีการปิดกั้นทางระบายน้ำ หากจำเป็นต้องปิดกั้นก็ต้องทำทางเบี่ยงระบายน้ำชั่วคราว และต้องงดกิจกรรมการก่อสร้างในช่วงที่ฝนตกหนัก และจุดระบายน้ำจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และหากมีข้อร้องเรียนจากการระบายน้ำให้ดำเนินการแก้ไขทันที
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก นครสวรรค์ จะมีการวางท่อส่งก๊าซ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 28 นิ้ว โดยเริ่มต้นจากสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดสิ้นสุดที่ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พาดผ่านพื้นที่รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค์ ใช้งบลงทุนกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เส้นทางของท่อก๊าซมีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติวังน้อย ต.วังจุฬา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยวางขนานไปกับเขตระบบสายส่งไฟฟ้า 500 kv (ไทรน้อย-วังน้อย) แล้วจึงวางต่อไปตามสายส่งไฟฟ้า 230 kv (วังน้อย-รังสิต วงจร 1-4) ไปยังตำบลเชียงรากน้อย อ.บางปะอิน และไปเชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเซีย ที่บริเวณ ต.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน โดยวางท่อก๊าซขนานไปกับถนนสายเอเซีย ต่อไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ไปสิ้นสุดที่บริเวณที่ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ รวมระยะทาง 195 กิโลเมตร โดยมีแผนก่อสร้างในต้นปี 2556 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 20 เดือน ซึ่งโครงการนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบในมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อปี 2553
"แนวท่อก๊าซถนนสายเอเชีย ซึ่งผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง ปตท.ได้มีการศึกษาถึงทิศทางการไหลของน้ำหรือไม่"
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Tuesday, April 17, 2012
ทนงศักดิ์ หมื่นหนู
ปตท.จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นชาวบ้าน จ.สิงห์บุรี และใกล้เคียง ในโครงการก่อสร้างท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก จากวังน้อยถึงนครสวรรค์ ระยะทาง 200 กิโลเมตร ด้านชาวบ้านยังห่วงด้านความปลอดภัย โดยเฉพาะบางพื้นที่แนวท่อก๊าซอยู่ใกล้กับคลังแสง รวมทั้งแนวท่อก๊าซจะขวางทางน้ำหรือไม่ ขณะที่บางกลุ่มหวั่นธุรกิจได้รับผลกระทบขาดรายได้ช่วงการก่อสร้าง อีกทั้งหลายปัญหาที่ยังเป็นข้อกังวลของชาวบ้าน
เมื่อวันที่ 29 มี.ค.ที่ผ่านมา ที่โรงแรมโกลเด้นดราก้อน รีสอร์ท อ.เมือง จ.สิงห์บุรี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อกำหนดขอบเขตและแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ (Public Scoping) ของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกนครสวรรค์ ที่จังหวัดสิงห์บุรี เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้ส่วนได้เสียทุกภาคส่วน ได้มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการดังกล่าว พร้อมเสนอแนะประเด็นข้อห่วงกังวลอื่นๆ นอกเหนือจากผลการศึกษาโครงการ
นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการ กล่าวว่า ในการดำเนินโครงการท่อส่งก๊าซ ของ ปตท. ในทุกโครงการ จะให้ความสำคัญต่อการดำเนินกระบวนการมีส่วนร่วมของประชาชนเป็นอย่างมาก โดยจะต้องให้มีการรับฟังความคิดเห็นของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม
เราจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกนครสวรรค์ เพื่อขยายโอกาสการใช้พลังงานสะอาดและลดมลภาวะ ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเขตภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง โดยให้ประชาชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมามีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น ให้ข้อเสนอแนะ สะท้อนข้อวิตกกังวลและทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ครั้งนี้ เพื่อให้ร่างฉบับนี้มีความสมบูรณ์ที่สุด
อย่างไรก็ตาม บรรยากาศของเวทีรับฟังความคิดเห็นได้มีทั้งชาวบ้าน องค์กรพัฒนาเอกชน สถาบันการศึกษา และผู้แทนหน่วยงานที่มีส่วนได้ส่วนเสีย ซึ่งมาจาก จ.นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ประมาณ 700 คน ทั้งนี้ ข้อกังวลของชาวบ้านส่วนใหญ่ยังไม่มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยหลังจากโครงการก่อสร้างเสร็จแล้ว เพราะชาวบ้านจะต้องอยู่กับท่อก๊าซไปตลอดอายุโครงการ ซึ่งเห็นว่าควรจะต้องมีการทำประชาสัมพันธ์โครงการให้ชาวบ้านได้รับรู้ข้อมูลมากกว่านี้ ในขณะที่ชาวบ้านบางส่วนให้ความสนใจในเรื่องของค่าตอบแทนที่จะได้รับจากค่าชดเชยที่แนวท่อก๊าซพาดผ่านในที่ดินชาวบ้าน ซึ่งมองว่ายังไม่ชัดเจน รวมทั้งชาวบ้านบางรายที่ทำธุรกิจร้านค้าในบริเวณแนวท่อก๊าซ ห่วงว่าจะได้รับผลกระทบต่อยอดขายในช่วงระหว่างมีการก่อสร้าง ตลอดจนปัญหาด้านการจราจรติดขัดในพื้นที่
ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในที่ประชุมได้มีชาวบ้านสลับหมุนเวียนลุกขึ้นแสดงความคิดเห็นในหลายประเด็น โดยมีประเด็นที่น่าสนใจ หนึ่งในนั้นมีข้อกังวลของนายทรงศักดิ์ พุ่มเกษม นายก อบต.ย่านมัทรี อ.พยุหะคีรี จ.นครสวรรค์ ลุกขึ้นถามผู้รับผิดชอบโครงการว่า พวกชาวบ้านในพื้นที่ยังไม่มีความมั่นใจโครงการเท่าที่ควร โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของชาวบ้านในพื้นที่ เนื่องจากบริเวณที่ท่อก๊าซผ่านอยู่ใกล้กับบริเวณที่ทางแผนกที่ 3 กองคลังแสง กรมสรรพาวุธทหารบก ใช้เป็นจุดทำลายวัตถุระเบิดเก่า ซึ่งอยู่ห่างจากแนวท่อก๊าซประมาณ 1,200 เมตรเท่านั้น เกรงว่าแรงระเบิดจะทำให้ท่อก๊าซมีปัญหารั่วจนเกิดอันตรายถึงชีวิตชาวบ้านได้ เพราะเท่าที่ชาวบ้านได้รับข้อมูลจากทหารบอกว่าอำนาจทำลายล้างกรณีคลังแสงระเบิดอยู่ที่ระยะ 75 กม.ทางชาวบ้านต้องการทราบว่า ปตท.จะแก้ปัญหาเรื่องนี้อย่างไร และต้องการให้ ปตท.ลงพื้นที่เข้าไปตรวจสอบ เพราะชาวบ้านต้องการแค่ความมั่นใจ
ขณะเดียวกัน มีชาวบ้านที่อยู่ในพื้นที่ อ.พยุหะคีรี อีกรายได้ลุกขึ้นพูดเสริมว่า ชาวบ้านไม่ต้องการเงินประกัน เพราะหากเกิดเหตุการณ์ขึ้นแล้ว บริเวณนั้นมันจะไปหมดทั้งครึ่งอำเภอ เพราะฉะนั้น ชาวบ้านต้องการเพียงความมั่นใจ อยากให้เข้าใจด้วยว่าชาวบ้านเขารู้จักพื้นที่ดี ที่คลังแสงเขาจะทำลายระเบิดเก่าทุกๆ 15 วัน แรงสั่นสะเทือนเรารับรู้ได้ถึง 1 กม.เป็นไปได้หรือไม่ที่ทาง ปตท.จะเพิ่มสเปคท่อในบริเวณนั้นให้มีความหนาเพิ่มขึ้น เพราะชาวบ้านยังไม่มั่นใจ
อย่างไรก็ตาม นายอิทธิพล เอกะหิตานนท์ วิศวกรส่วนปฏิบัติการมวลชนสัมพันธ์ ปตท.ชี้แจงว่า เรื่องนี้ทางเราให้ความสำคัญ ซึ่งได้มีการประสานงานกับทางกองคลังแสงมาอย่างต่อเนื่อง โดยได้ให้ศึกษาวิจัยเพิ่มเติม และอธิบายด้วยว่าท่อก๊าซถูกออกแบบมาให้สามารถรองรับแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวได้ถึง 7 ริกเตอร์ กระนั้นก็ดี ได้รับข้อเสนอของชาวบ้านที่จะส่งทีมงานผู้เชี่ยวชาญเข้าไปในพื้นที่ดังกล่าว เพื่อตรวจสอบดูว่าแรงระเบิดจะส่งผลกระทบต่อท่อก๊าซหรือไม่อย่างไร โดยยืนยันว่าจะทำทุกวิถีทางเพื่อให้ชาวบ้านเกิดความมั่นใจและสบายใจมากที่สุด
ขณะเดียวกัน นายประศักดิ์ บัณขุนาค ผู้อำนวยการสำนักทางหลวงชนบทที่ 2 อ.เมือง จ.สระบุรี ซึ่งมาร่วมรับฟังความคิดเห็นครั้งนี้ด้วย ได้ตั้งข้อสังเกตต่อที่ประชุมว่า การวางแนวท่อก๊าซที่ขนานไปกับแนวถนนสายเอเซียนั้น ซึ่งผ่านในพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง ปตท.ได้มีการศึกษาถึงทิศทางการไหลของน้ำหลากตามฤดูกาลหรือไม่ เนื่องจากเกรงว่าช่วงระหว่างการก่อสร้างอาจจะไปขวางทางน้ำหลากตามฤดูกาลซึ่งน้ำจากฝั่งตะวันตกจะข้ามมาตะวันออกได้หรือไม่อย่างไร ซึ่งอาจจะทำให้เกิดปัญหาน้ำท่วมเหมือนปีที่ผ่านมาได้ พร้อมทั้งยังเสนอให้ ปตท.นำประเด็นนี้ไปหารือกับทางคณะกรรมการยุทธศาสตร์เพื่อวางระบบการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ (กยน.) ในการวางแผนจัดการน้ำที่จะเกิดจากโครงการนี้ด้วย
ทั้งนี้ บริษัททีม คอนซัลติ้ง เอนจิเนียริ่ง แอนด์ แมเนจเมนท์ จำกัด โดยนางสาวเปรมวณี ปรีดาพันธุ์ ผู้ชำนาญการด้านสิ่งแวดล้อม และเป็นที่ปรึกษาในการจัดทำร่างรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมของโครงการ ได้ตอบในประเด็นนี้ ว่า แนวท่อก๊าซจะฝังอยู่ใต้ดินเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้ว จึงไม่กีดขวางทางน้ำอย่างที่หลายฝ่ายวิตก โดยทางโครงการจะปรับสภาพพื้นที่ให้กลับสู่สภาพเดิม นอกจากนี้ ยังได้ย้ำถึงมาตรการในการระบายน้ำในช่วงการก่อสร้างโครงการว่า จะไม่มีการปิดกั้นทางระบายน้ำ หากจำเป็นต้องปิดกั้นก็ต้องทำทางเบี่ยงระบายน้ำชั่วคราว และต้องงดกิจกรรมการก่อสร้างในช่วงที่ฝนตกหนัก และจุดระบายน้ำจะต้องได้รับอนุญาตจากหน่วยงานเจ้าของพื้นที่ และหากมีข้อร้องเรียนจากการระบายน้ำให้ดำเนินการแก้ไขทันที
รายงานข่าวแจ้งว่า สำหรับโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบก นครสวรรค์ จะมีการวางท่อส่งก๊าซ ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 28 นิ้ว โดยเริ่มต้นจากสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติวังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จุดสิ้นสุดที่ตำบลยางตาล อำเภอโกรกพระ จังหวัดนครสวรรค์ พาดผ่านพื้นที่รวม 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดอ่างทอง จังหวัดสิงห์บุรี จังหวัดลพบุรี จังหวัดชัยนาท และจังหวัดนครสวรรค์ ใช้งบลงทุนกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เส้นทางของท่อก๊าซมีจุดเริ่มต้นบริเวณสถานีรับจ่ายก๊าซธรรมชาติวังน้อย ต.วังจุฬา อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา โดยวางขนานไปกับเขตระบบสายส่งไฟฟ้า 500 kv (ไทรน้อย-วังน้อย) แล้วจึงวางต่อไปตามสายส่งไฟฟ้า 230 kv (วังน้อย-รังสิต วงจร 1-4) ไปยังตำบลเชียงรากน้อย อ.บางปะอิน และไปเชื่อมต่อทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 32 หรือถนนสายเอเซีย ที่บริเวณ ต.เชียงรากน้อย อ.บางปะอิน โดยวางท่อก๊าซขนานไปกับถนนสายเอเซีย ต่อไปยังทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 (พหลโยธิน) ไปสิ้นสุดที่บริเวณที่ ต.ยางตาล อ.โกรกพระ จ.นครสวรรค์ รวมระยะทาง 195 กิโลเมตร โดยมีแผนก่อสร้างในต้นปี 2556 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างประมาณ 20 เดือน ซึ่งโครงการนี้ ครม.ได้มีมติเห็นชอบในมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติเมื่อปี 2553
"แนวท่อก๊าซถนนสายเอเชีย ซึ่งผ่านพื้นที่ลุ่มน้ำภาคกลาง ปตท.ได้มีการศึกษาถึงทิศทางการไหลของน้ำหรือไม่"
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 183
ปตท.ใกล้จบดีลลงทุนไฟฟ้าพม่า
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, April 17, 2012 04:09
ทุ่มงบ9หมื่นล้านลงทุนตปท.เพิ่ม
ปตท. เตรียมสรุปดีลร่วมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินพม่า มั่นใจหนุนศักยภาพขยายธุรกิจพลังงาน พร้อมทุ่มงบ 5 ปี 9 หมื่นล้านบาท สั่ง “พีทีที อินเตอร์ฯ” ลุยลงทุนต่างประเทศเพิ่ม
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. มีแผนการขยายการลงทุนในธุรกิจถ่านหินมากขึ้น ล่าสุดอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย แต่คงไม่ใช่เหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซีย ซึ่ง ปตท. เข้าถือหุ้นจำนวน 2 แห่ง เนื่องจากมองว่ามีระยะทางไกลเกินไป หากจะต้องขายไฟฟ้ากลับมายังประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การร่วมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว เป็นแผนระยะสั้นภายใน 5 ปีนี้ น่าจะเห็นความชัดเจนได้เร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามนโยบายของ ปตท. ที่ต้องการขยายลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจด้านพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
“เรามีแผนจะพัฒนาธุรกิจถ่านหินให้เติบโตขึ้น รวมทั้งธุรกิจก๊าซธรรมชาติและแอลเอ็นจีด้วย นอกจากนี้ยังสนใจลงทุนการผลิตไฟฟ้าถ่านหิน, ก๊าซ และไฮโดรเจนเพิ่มด้วย” นายจิตรพงษ์ กล่าว
นายจิตรพงษ์ กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า งบลงทุน 5 ปี (ปี 2555-2559) ในส่วนของพีทีที อินเตอร์ฯ อยู่ที่ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไฟฟ้า การปลูกปาล์มน้ำมัน และการจัดหาแอลเอ็นจี ส่วนการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้านั้นจากเดิมที่ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี จะผลิตไฟฟ้าให้ได้ 6,000 เมกะวัตต์ แต่ตอนนี้ได้ปรับเป้าหมายใหม่ลงมาไม่ถึงแล้ว จากเดิมที่จะออกไปตั้งโรงไฟฟ้าในประเทศอื่นๆ ได้เปลี่ยนเป็นการออกไปลงทุนร่วมกับพันธมิตร และขายไฟฟ้ากลับเข้ามาป้อนให้กับประเทศไทยแทน เช่น ใน สปป.ลาว และสหภาพพม่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา ปตท. มีความสนใจร่วมลงทุนธุรกิจไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำลังผลิต 3,600 เมกะวัตต์ที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพพม่า แต่ปัจจุบันโครงการดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนการรับซื้อไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หลังจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ในฐานะได้รับสิทธิในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและท่าเทียบเรือที่ทวาย ได้มีการเสนอราคาขายไฟฟ้าไปให้ กฟผ. แล้ว รวมทั้งอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการนี้
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว จะแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ระยะ โดยเฟสแรกจะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะมีความชัดเจนในปีหน้า โดย ปตท. ก็มีความสามารถในการขายถ่านหินคุณภาพดีให้กับโครงการดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบัน ปตท. มีเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียแล้ว 2 แห่ง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ปตท. ยังคงเดินหน้าลงทุนในธุรกิจถ่านหินเพิ่มเติม เนื่องจากพลังงานในส่วนของน้ำมันและก๊าซปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ถ่านหินมีปริมาณสำรองในโลกสูงกว่าพลังงานอื่นๆ โดยราคาพลังงานในปีนี้คาดว่าจะมีความผันผวนสูงตามสถานการณ์โลก ทั้งจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น หลังได้มีการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขณะที่ในจีนคาดว่าจะมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Tuesday, April 17, 2012 04:09
ทุ่มงบ9หมื่นล้านลงทุนตปท.เพิ่ม
ปตท. เตรียมสรุปดีลร่วมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินพม่า มั่นใจหนุนศักยภาพขยายธุรกิจพลังงาน พร้อมทุ่มงบ 5 ปี 9 หมื่นล้านบาท สั่ง “พีทีที อินเตอร์ฯ” ลุยลงทุนต่างประเทศเพิ่ม
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการ บริษัท พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ในเครือบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท. มีแผนการขยายการลงทุนในธุรกิจถ่านหินมากขึ้น ล่าสุดอยู่ระหว่างการศึกษาร่วมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินในประเทศแถบภูมิภาคเอเชีย แต่คงไม่ใช่เหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซีย ซึ่ง ปตท. เข้าถือหุ้นจำนวน 2 แห่ง เนื่องจากมองว่ามีระยะทางไกลเกินไป หากจะต้องขายไฟฟ้ากลับมายังประเทศไทย อย่างไรก็ตาม การร่วมทุนโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว เป็นแผนระยะสั้นภายใน 5 ปีนี้ น่าจะเห็นความชัดเจนได้เร็วๆ นี้ นอกจากนี้ยังเป็นไปตามนโยบายของ ปตท. ที่ต้องการขยายลงทุนเพื่อเป็นเจ้าของธุรกิจด้านพลังงานเพิ่มขึ้นด้วย
“เรามีแผนจะพัฒนาธุรกิจถ่านหินให้เติบโตขึ้น รวมทั้งธุรกิจก๊าซธรรมชาติและแอลเอ็นจีด้วย นอกจากนี้ยังสนใจลงทุนการผลิตไฟฟ้าถ่านหิน, ก๊าซ และไฮโดรเจนเพิ่มด้วย” นายจิตรพงษ์ กล่าว
นายจิตรพงษ์ กล่าวไว้ก่อนหน้านี้ว่า งบลงทุน 5 ปี (ปี 2555-2559) ในส่วนของพีทีที อินเตอร์ฯ อยู่ที่ประมาณ 9 หมื่นล้านบาท เพื่อใช้ในการลงทุนต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจไฟฟ้า การปลูกปาล์มน้ำมัน และการจัดหาแอลเอ็นจี ส่วนการดำเนินธุรกิจผลิตไฟฟ้านั้นจากเดิมที่ตั้งเป้าหมายว่าภายใน 5 ปี จะผลิตไฟฟ้าให้ได้ 6,000 เมกะวัตต์ แต่ตอนนี้ได้ปรับเป้าหมายใหม่ลงมาไม่ถึงแล้ว จากเดิมที่จะออกไปตั้งโรงไฟฟ้าในประเทศอื่นๆ ได้เปลี่ยนเป็นการออกไปลงทุนร่วมกับพันธมิตร และขายไฟฟ้ากลับเข้ามาป้อนให้กับประเทศไทยแทน เช่น ใน สปป.ลาว และสหภาพพม่า
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ผ่านมา ปตท. มีความสนใจร่วมลงทุนธุรกิจไฟฟ้าถ่านหินขนาดกำลังผลิต 3,600 เมกะวัตต์ที่นิคมอุตสาหกรรมทวาย สหภาพพม่า แต่ปัจจุบันโครงการดังกล่าวยังไม่มีความชัดเจนการรับซื้อไฟฟ้า (PPA) กับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) หลังจากบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ในฐานะได้รับสิทธิในการพัฒนานิคมอุตสาหกรรมและท่าเทียบเรือที่ทวาย ได้มีการเสนอราคาขายไฟฟ้าไปให้ กฟผ. แล้ว รวมทั้งอยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการนี้
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินดังกล่าว จะแบ่งการลงทุนออกเป็น 3 ระยะ โดยเฟสแรกจะสร้างโรงไฟฟ้าขนาด 1,400 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ คาดว่าจะมีความชัดเจนในปีหน้า โดย ปตท. ก็มีความสามารถในการขายถ่านหินคุณภาพดีให้กับโครงการดังกล่าว เนื่องจากปัจจุบัน ปตท. มีเหมืองถ่านหินที่อินโดนีเซียแล้ว 2 แห่ง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ปตท. ยังคงเดินหน้าลงทุนในธุรกิจถ่านหินเพิ่มเติม เนื่องจากพลังงานในส่วนของน้ำมันและก๊าซปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ถ่านหินมีปริมาณสำรองในโลกสูงกว่าพลังงานอื่นๆ โดยราคาพลังงานในปีนี้คาดว่าจะมีความผันผวนสูงตามสถานการณ์โลก ทั้งจากความต้องการใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น หลังได้มีการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขณะที่ในจีนคาดว่าจะมีความต้องการใช้พลังงานเพิ่มขึ้นเช่นกัน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 184
ภาพข่าว: เรียง'คน'มาเป็น'ข่าว': เซ็นสัญญา
Source - มติชน (Th), Wednesday, April 18, 2012
วิชา จุ้ยชุม กก.ผจก.บจก.พีทีทีแทงค์ เทอร์มินัล เซ็นสัญญาเอ็มโอยูให้บริการถังเก็บเคมีภัณฑ์สำหรับสนับสนุนกิจการด้านการค้าระหว่างประเทศกับ วิทวัส สวัสดิ-ชูโต ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่ปฏิบัติการ การค้าระหว่างประเทศ บมจ.ปตท. ณ อาคาร ENCO
--จบ--
Source - มติชน (Th), Wednesday, April 18, 2012
วิชา จุ้ยชุม กก.ผจก.บจก.พีทีทีแทงค์ เทอร์มินัล เซ็นสัญญาเอ็มโอยูให้บริการถังเก็บเคมีภัณฑ์สำหรับสนับสนุนกิจการด้านการค้าระหว่างประเทศกับ วิทวัส สวัสดิ-ชูโต ผู้ช่วย กก.ผจก.ใหญ่ปฏิบัติการ การค้าระหว่างประเทศ บมจ.ปตท. ณ อาคาร ENCO
--จบ--
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 185
หล่อลื่นปตทได้รับเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์เป็นรายแรกของอาเซียน
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, April 18, 2012
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า "ภาวะโลกร้อน" (Global Warming) เป็นประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งผู้ผลิตและ ผู้บริโภค ที่จะช่วยกันลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ปตท. ได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วน ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเพื่อตอบยุทธศาสตร์กลุ่ม ปตท. ที่จะก้าวไปสู่การเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ที่ดำเนินงานด้วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม(Technologically Advanced and Green National Oil Company - TAGNOC) โดยจะให้ความสำคัญกับการศึกษา วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การกำหนดนโยบายและออกมาตรการควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ อย่าง ต่อเนื่องตลอดจนการลดผลกระทบกับ สิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนเพื่อที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มปตท. ไปพร้อมๆ กับการอยู่ดีมีสุขของสังคมและ ชุมชนอย่างยั่งยืน
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เน้นย้ำความเป็นผู้นำด้านพลังงานควบคู่ไปกับการดูแล สิ่งแวดล้อมที่เป็นเลิศ โดยเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นPTT Performa Super synthetic API-SN 0W-30 ทั้งขนาด 1 ลิตร และ 4 ลิตร ได้รับเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์(Carbon Footprint of Product)จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นับเป็นบริษัทน้ำมันรายแรกของอาเซียน ที่ได้รับการรับรองดังกล่าว ซึ่งส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ PTT Performa Super synthetic API-SN 0W-30 มีคาร์บอน ฟุตพริ้นท์น้อยกว่าน้ำมันหล่อลื่นเกรดธรรมดากว่า 20 ซึ่งหมายถึง ปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การใช้งานและการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้ผู้บริโภครับทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจ
จึงเป็นบทพิสูจน์ถึงเจตนารมณ์ของ ปตท. ในการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยความตั้งใจจริงในการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของ ปตท. ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังแสดงถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นของ ปตท. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวสู่การยอมรับในเวทีประชาคมโลกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้บริโภคจึงสามารถมีส่วนร่วมกับ ปตท. ในการช่วยควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่งด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ของ ปตท.
--จบ--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, April 18, 2012
เป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่า "ภาวะโลกร้อน" (Global Warming) เป็นประเด็นด้าน สิ่งแวดล้อมที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุด จึงเป็นหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน ทั้งผู้ผลิตและ ผู้บริโภค ที่จะช่วยกันลดผลกระทบที่เกิดขึ้น ปตท. ได้ตระหนักถึงความจำเป็นเร่งด่วน ความสำคัญของปัญหาดังกล่าว และเพื่อตอบยุทธศาสตร์กลุ่ม ปตท. ที่จะก้าวไปสู่การเป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ที่ดำเนินงานด้วยความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีเพื่อสิ่งแวดล้อม(Technologically Advanced and Green National Oil Company - TAGNOC) โดยจะให้ความสำคัญกับการศึกษา วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การกำหนดนโยบายและออกมาตรการควบคุมให้การดำเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานต่างๆ อย่าง ต่อเนื่องตลอดจนการลดผลกระทบกับ สิ่งแวดล้อม เพื่อช่วยบรรเทาภาวะโลกร้อนเพื่อที่จะขับเคลื่อนธุรกิจของกลุ่มปตท. ไปพร้อมๆ กับการอยู่ดีมีสุขของสังคมและ ชุมชนอย่างยั่งยืน
นายสรัญ รังคสิริ รองกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจน้ำมัน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เน้นย้ำความเป็นผู้นำด้านพลังงานควบคู่ไปกับการดูแล สิ่งแวดล้อมที่เป็นเลิศ โดยเปิดเผยว่าผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นPTT Performa Super synthetic API-SN 0W-30 ทั้งขนาด 1 ลิตร และ 4 ลิตร ได้รับเครื่องหมายรับรองคาร์บอนฟุตพริ้นท์ของผลิตภัณฑ์(Carbon Footprint of Product)จากองค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) นับเป็นบริษัทน้ำมันรายแรกของอาเซียน ที่ได้รับการรับรองดังกล่าว ซึ่งส่วนประกอบหลักในผลิตภัณฑ์ PTT Performa Super synthetic API-SN 0W-30 มีคาร์บอน ฟุตพริ้นท์น้อยกว่าน้ำมันหล่อลื่นเกรดธรรมดากว่า 20 ซึ่งหมายถึง ปริมาณ ก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากผลิตภัณฑ์ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ (Life Cycle) ตั้งแต่การได้มาซึ่งวัตถุดิบ การขนส่ง การผลิต การใช้งานและการจัดการซากผลิตภัณฑ์หลังการใช้งาน โดยคำนวณออกมาในรูปกิโลกรัมคาร์บอนไดออกไซด์เทียบเท่าต่อหนึ่งหน่วยผลิตภัณฑ์ เครื่องหมายคาร์บอนฟุตพริ้นท์ที่จะติดบนสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ต่างๆ นั้น เป็นการแสดงข้อมูลการปล่อยก๊าซเรือนกระจกของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดให้ผู้บริโภครับทราบเพื่อประกอบการตัดสินใจ
จึงเป็นบทพิสูจน์ถึงเจตนารมณ์ของ ปตท. ในการดำเนินธุรกิจที่ใส่ใจต่อสิ่งแวดล้อม ด้วยความตั้งใจจริงในการศึกษาผลกระทบที่จะเกิดจากการใช้ผลิตภัณฑ์ของ ปตท. ตลอดวัฏจักรชีวิตของผลิตภัณฑ์ นอกจากนั้นยังแสดงถึงความพร้อมและความมุ่งมั่นของ ปตท. ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพื่อก้าวสู่การยอมรับในเวทีประชาคมโลกอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย ดังนั้น ผู้บริโภคจึงสามารถมีส่วนร่วมกับ ปตท. ในการช่วยควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกได้อีกทางหนึ่งด้วยการเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ ของ ปตท.
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 186
นายกยิ่งลักษณ์ถึงประเทศจีน หารือกับนายกจีน
วันอังคาร ที่ 17 เมษายน 2012
'ปู'ถกเต็มคณะกับนายกฯจีน
'ยิ่งลักษณ์' หารือเต็มคณะ กับ 'นายกฯจีน' พร้อมยกระดับความสัมพันธ์ สู่หุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ ตั้งเป้าเพิ่มการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เตรียมสถาปนาบ้านพี่เมืองน้อง กับมณฑลต่าง ๆ วอนไทยทำตามกม.ลุ่มน้ำโขงสร้างความปลอดภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ สำนักโฆษก ทำเนียบรัฐบาลส่งอีเมลถึงสื่อมวลชนใจความว่า เมื่อเวลา 17.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้เดินทางถึงมหาศาลาประชาชน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน รอให้การต้อนรับ ก่อนนำนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบด้วยการขึ้นแท่นทำความเคารพ เดินตรวจแถว กองทหารเกียรติยศ ณ ลานหน้ามหาศาลาประชาชน ด้านทิศตะวันออก
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเข้าสู่อาคารมหาศาลาประชาชน เพื่อหารือข้อราชการแบบเต็มคณะกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผู้เข้าร่วมฝ่ายไทยประกอบด้วย ประกอบด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ มรว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเยือนจีนครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี พร้อมขอบคุณสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ และเชื่อมั่นว่าการเยือนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พร้อมถือโอกาสนี้ แสดงความขอบคุณในความห่วงใยและความช่วยเหลือที่จีนให้แก่ไทย เมื่อครั้งไทยประสบอุทกภัยครั้งร้ายแรง ซึ่งเป็นกำลังใจให้ไทยเอาชนะปัญหาเหล่านี้ได้
โดยในการหารือ ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้อง ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนของสองประเทศ โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในสาขาที่ยั่งยืนของไทย 4 สาขา
ได้แก่ การจัดหาคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) แก่นักเรียนไทย ความร่วมมือด้านรถไฟ พลังงานสะอาด และการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการใช้กลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในการเจรจาหารืออย่างต่อเนื่อง โดยขอให้มีการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศสองฝ่ายเป็นลักษณะยุทธศาสตร์โดยเร็ว เพื่อขยายผลความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกำหนดทิศทางและตั้งเป้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย- จีน ใน 3 สาขาหลัก ดังนี้ การเพิ่มการค้าร้อยละ 20 ต่อปี การลงทุนให้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 ในอีก 5 ปีข้างหน้า และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า เสนอให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 3 เพื่อผลักดันความร่วมมือใน 3 สาขาหลักดังกล่าว เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ไทยและจีนยังได้เน้นกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือเป็นรายมณฑลของจีนกับไทย โดยไทยได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกับ 3 มณฑลของจีนแล้ว คือ ยูนนาน กวางตุ้ง และเซียะเหมิน ซึ่งไทยจะตั้งคณะทำงานร่วมกับมณฑลเสฉวนต่อไป รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการสถาปนาบ้านพี่เมืองน้อง ระหว่างจังหวัดของไทยกับมณฑลต่าง ๆ ของจีน
สำหรับความร่วมมือด้านการเกษตร ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะทำงานด้านการค้าสินค้าเกษตรไทย-จีน ซึ่งเป็นกลไกในการเจรจาเพื่อเพิ่มพูนปริมาณการค้าสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลังและผลไม้ รวมทั้งเสนอให้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าต่างๆ ระหว่างกัน อาทิ การจำกัดโควต้าการนำเข้า และการปลอมปนข้าวไทยในจีน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้แสวงหาความร่วมมือใหม่ๆ เช่น ความร่วมมือในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันในประเทศที่สาม โดยรัฐบาลของสองประเทศจะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งระหว่างภาคเอกชนกับเอกชน
นายกรัฐมนตรี ยังได้ใช้โอกาสนี้ขอบคุณรัฐบาลจีนที่ให้การดูแลนักลงทุนไทยในจีน และขอให้ช่วยดูแลนักลงทุนไทยให้ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจในจีน โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้จีนจัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือ SMEs ที่เข้าไปลงทุนในจีนแบบครบวงจรในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งเป็นประตูสู่อาเซียนของจีน
พร้อมใช้โอกาสนี้ เชิญชวนให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในสาขาที่ไทยส่งเสริมการลงทุน อาทิ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ชิ้นส่วน ยานยนต์ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลมและพลังงานชีวภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
นายกรัฐมนตรียังเสนอให้ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและเน้นการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพมากขี้น โดยตั้งเป้าให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า และขอให้รัฐบาลจีนอนุมัติการตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่นครกวางโจว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจีนได้ดีขึ้น พร้อมย้ำนโยบายของไทยในการกระชับความสัมพันธ์กับจีนในรายมณฑล โดยไทยประสงค์จะจัดตั้งคณะทำงานไทย-เสฉวน เพิ่มเติมจากที่มีคณะทำงานมณฑลยูนนาน กวางตุ้งและเมืองเซียะเหมิน
นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรม โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอของรองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา 100 คน และขณะนี้ทราบว่ามีนักศึกษาจีนจำนวนมากที่สนใจเรียนภาษาไทย และนักศึกษาไทยก็สนใจเรียนภาษาจีนมากขึ้นเช่นกัน จึงขอให้รัฐบาลจีนสนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยในจีน และขอให้จีนสนับสนุนการส่งครูอาสาสมัครจีนไปสอนในไทยเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 คน ซึ่งในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีจีนตอบรับตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือในภูมิภาคที่ผ่านมาไทยและจีนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครือข่ายการเชื่อมโยงคมนาคมในภูมิภาค อาทิ การเปิดเส้นทาง R3A ที่เชื่อมโยงจากนครคุนหมิง ยูนนาน ผ่านลาว และเข้าสู่ไทยที่ อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย และมาถึงกรุงเทพฯ และสะพานเชื่อมแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ซึ่งกำหนดจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปลายปีนี้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอให้จีนเร่งรัดการก่อสร้างสะพานดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามกำหนด ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลต่อการไปมาหาสู่ของประชาชนและการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้
นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำไทย-จีนในฤดูแล้งอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีด้วย พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรียังได้เชิญนายเวิน เจียเป่า เข้าร่วมการประชุม WEF ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2555 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ที่กรุงเทพฯ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับผู้นำจากประเทศเอเชียตะวันออก ซึ่งไทยยินดีที่จะประสานกับ WEF เพื่อจัดกำหนดการพิเศษในลักษณะการสนทนาพิเศษร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.เคล้าส์ ชวับ ประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง WEF
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจีนได้แสดงความสนับสนุนอย่างยิ่งต่อความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน และแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยให้สองประเทศตั้งใจปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการค้าการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งจีนยินดีอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจทั้งสองฝ่าย โดยขอให้ไทยอำนวยความสะดวกด้านข้อกฎหมายต่าง ๆ พร้อมทั้งขอให้สนับสนุนบริษัทจีนเข้าไปพัฒนาแร่โปแตสเซียมในไทยด้วย นอกจากนี้จะร่วมกันสนับสนุนความร่วมมือด้านการเงิน เช่น การขยายสาขาธนาคารในสองประเทศ การชำระเงินโดยใช้เงินตราของไทยและจีนในการค้าการลงทุน
พร้อมกันนี้ จีนยินดีสนับสนุนการสร้างระบบรถไฟ และมอบหมายให้หน่วยงานทั้งสองประเทศไปร่วมกันดำเนินงานอย่างรวดเร็วและราบรื่น รวมทั้งการสนับสนุนวิสาหกิจด้านอวกาศและไอทีระหว่างกัน และจีนยินดีสนับสนุนด้านชลประทานตามที่ได้มีการลงนามร่วมกันไปแล้ว ที่สำคัญจีนขอให้ไทยส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายตามลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อความปลอดภัยและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ
อย่างไรก็ตาม ทั้งไทยและจีนจะร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงภูมิภาค เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวายในเมียนมาร์ ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับจีนเพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ประเทศในอนุภูมิภาค รวมทั้งเมียนมาร์โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่โดยรอบด้วย
นอกจากนี้ ไทยและจีนจะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในกรอบอาเซียน เพื่อรองรับความท้าทายจากปัญหาสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ลงนาม 8 ฉบับ แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
ภายหลังการหารือข้อราชการเต็มคณะ ในเวลา 17.15 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมการเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 8 ฉบับ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ระหว่างปี 2555-2559 (Joint Action Plan on Thailand-China Strategic Cooperation Between the Government of the People’s Republic of China 2012-2016) ซึ่งถือเป็นแผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับที่ 2 สำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ในสาขาต่างๆ กว่า 17 สาขา ที่จัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่าย ได้แก่ การเมือง การทหาร ความมั่นคง การค้า การลงทุน การเงินและธนาคาร เกษตรกรรม อุตสาหกรรม คมนาคม พลังงาน การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษาและการอบรม สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์-การแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี โดยมีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และฝ่ายจีน คือ นายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน
2) แผนพัฒนาระยะ 5 ปี ไทย-จีน ระหว่างปี 2555-2559 ภายใต้ความตกลงการขยายความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจและการค้าเชิงกว้างและเชิงลึก (Five-Year Development Plan on Trade and Economic Cooperation between the People’s Republic of China and the Kingdom of Thailand) ที่มุ่งเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยกับจีนในระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2555 – 2559 ภายใต้ความตกลงการขยายความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจและการค้าในเชิงกว้างและเชิงลึกไทย-จีน อาทิ การอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคทางการค้า นวัตกรรมและเทคโนโลยีสีเขียว และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายจีน คือ นายเฉิน เต๋อหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน
3) บันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมือเรื่องการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทยและจีน (Memorandum of Understanding Between the Ministry of Commerce of the People’s Republic of China and the Ministry of Commerce of the Kingdom of Thailand on Agricultural Trade Cooperation) ซึ่งเป็นข้อเสนอของฝ่ายจีนที่จะจัดตั้งคณะทำงานเรื่องการค้าสินค้าเกษตร เพื่อหารือประดฺนที่ไทยและจีนมีผลประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการพัฒนา ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร และการแก้ไขปัญหาและป้องกันหรือกำจัดอุปสรรคทางด้านสินค้าเกษตร มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายจีน คือ นายเฉิน เต๋อหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน
4) บันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทย และ State Administration for Industry and Commerce ของจีน (Memorandum of Understanding for Cooperation Between the Ministry of Commerce of the Kingdom of Thailand and the State Administration for Industry and Commerce of the People’s Republic of China) เป็นบันทึกความเข้าใจที่เน้นึความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางธุรกิจ การคุ้มครองผู้บริโภค การลงทะเบียนกิจการบริษัท และเครื่องหมายการค้า มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายจีน คือ นายเฉิน เต๋อหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน
5) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟ (Memorandum of Understanding Concerning Feasibility Study for Cooperation on railway Development Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ที่ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรี เพื่อเป็นกลไกในการประสานงานสำหรับการขยายผลความร่วมมือด้านรถไฟ โดยเฉพาะ สาย กทม. – เชียงใหม่ มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และฝ่ายจีน คือ นายเซิ่ง กวางจู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟจีน
6) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการน้ำ (Memorandum of Understanding Concerning Feasibility Study for Cooperation on railway Development Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ที่ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมระดับรัฐมนตรี เพื่อประสานงานให้เกิดความร่วมมือด้านนี้ต่อไป โดยฝ่ายจีนจะมีการจัดทำรายงานด้านต่างๆ อาทิ ความร่วมมือด้านระบบการจัดการน้ำแบบบูรณาดการ ระบบการบัญชาการเดี่ยว โครงสร้างพื้นฐานของการป้องกันอุทกภัย เป็นต้น
7) ข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศน์ทางทะเล (Agreement on Establishment of Thailand – China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem between Ministry of Natural Resource and Environment, Kingdom of Thailand and State Oceanic Administration, People’s Republic of China) เป็นข้อตกลงย่อยของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางด้านทะเลระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับทบวงกิจการมหาสมุทรแห่งชาติจีน เพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักเทดนิคและนักวิทยาศาสตร์ การประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างกัน และการค้นคว้าวิจัย มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฝ่ายจีน คือ นายหลิวชื่อกุ้ย ผู้บริหารทบวงกิจการมหาสมุทร (ระดับ รมช.)
8) ถ้อยแถลงร่วมระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทยเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน (Joint Statement Between the People’s Republic of China and the Kingdom of Thailand on Establishing a Comprehensive Strategic Cooperative Partnership) เป็นเอกสารผลลัพธ์การเยือนจีนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย-จีนที่มีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษาและวัฒนธรรม รวมถึงความพร้อมในการร่วมมือกันทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีอย่างรอบด้านในอนาคต
ภายหลังการร่วมเป็นสักขีพยาน นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ณ ห้องโถงตะวันตก ชั้น 1 มหาศาลาประชาชน
..................
ที่มา : http://www.prachatalk.com/board/%E0%B8% ... 5%E0%B8%99
วันอังคาร ที่ 17 เมษายน 2012
'ปู'ถกเต็มคณะกับนายกฯจีน
'ยิ่งลักษณ์' หารือเต็มคณะ กับ 'นายกฯจีน' พร้อมยกระดับความสัมพันธ์ สู่หุ้นส่วนความร่วมมือทางยุทธศาสตร์ ตั้งเป้าเพิ่มการค้า การลงทุน การท่องเที่ยว เตรียมสถาปนาบ้านพี่เมืองน้อง กับมณฑลต่าง ๆ วอนไทยทำตามกม.ลุ่มน้ำโขงสร้างความปลอดภัย
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กลุ่มวิเทศสัมพันธ์ สำนักโฆษก ทำเนียบรัฐบาลส่งอีเมลถึงสื่อมวลชนใจความว่า เมื่อเวลา 17.00 น. (ตามเวลาท้องถิ่น) น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ ได้เดินทางถึงมหาศาลาประชาชน สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยมีนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน รอให้การต้อนรับ ก่อนนำนายกรัฐมนตรีเข้าร่วมพิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ ซึ่งประกอบด้วยการขึ้นแท่นทำความเคารพ เดินตรวจแถว กองทหารเกียรติยศ ณ ลานหน้ามหาศาลาประชาชน ด้านทิศตะวันออก
จากนั้น นายกรัฐมนตรีได้เดินทางเข้าสู่อาคารมหาศาลาประชาชน เพื่อหารือข้อราชการแบบเต็มคณะกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยผู้เข้าร่วมฝ่ายไทยประกอบด้วย ประกอบด้วย นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.การต่างประเทศ นางนลินี ทวีสิน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม น.อ. อนุดิษฐ์ นาครทรรพ รมว.เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รมว.พาณิชย์ นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช รมว.ศึกษาธิการ มรว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รมว.อุตสาหกรรม สรุปดังนี้
นายกรัฐมนตรีกล่าวแสดงความยินดีที่ได้มาเยือนจีนครั้งนี้ ซึ่งเป็นครั้งแรกในฐานะนายกรัฐมนตรี พร้อมขอบคุณสำหรับการต้อนรับอย่างอบอุ่นและสมเกียรติ และเชื่อมั่นว่าการเยือนครั้งนี้จะประสบความสำเร็จในการส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศ พร้อมถือโอกาสนี้ แสดงความขอบคุณในความห่วงใยและความช่วยเหลือที่จีนให้แก่ไทย เมื่อครั้งไทยประสบอุทกภัยครั้งร้ายแรง ซึ่งเป็นกำลังใจให้ไทยเอาชนะปัญหาเหล่านี้ได้
โดยในการหารือ ทั้งสองฝ่ายต่างเห็นพ้อง ที่จะยกระดับความสัมพันธ์ไปสู่ความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน เพื่อประโยชน์ต่อประชาชนของสองประเทศ โดยเฉพาะโครงการความร่วมมือเพื่อการพัฒนาในสาขาที่ยั่งยืนของไทย 4 สาขา
ได้แก่ การจัดหาคอมพิวเตอร์แบบพกพา (แท็บเล็ต) แก่นักเรียนไทย ความร่วมมือด้านรถไฟ พลังงานสะอาด และการบริหารจัดการน้ำ ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการใช้กลไกต่างๆ ที่มีอยู่ในการเจรจาหารืออย่างต่อเนื่อง โดยขอให้มีการหารือระหว่างกระทรวงการต่างประเทศสองฝ่ายเป็นลักษณะยุทธศาสตร์โดยเร็ว เพื่อขยายผลความร่วมมือให้เกิดประโยชน์สูงสุด
นอกจากนี้ ผู้นำทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องที่จะกำหนดทิศทางและตั้งเป้าความร่วมมือทางเศรษฐกิจไทย- จีน ใน 3 สาขาหลัก ดังนี้ การเพิ่มการค้าร้อยละ 20 ต่อปี การลงทุนให้เพิ่มขึ้น ร้อยละ 15 ในอีก 5 ปีข้างหน้า และการท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ในอีก 5 ปีข้างหน้า โดยนายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า เสนอให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการร่วมว่าด้วยความร่วมมือด้านการค้า การลงทุนและเศรษฐกิจไทย-จีน ครั้งที่ 3 เพื่อผลักดันความร่วมมือใน 3 สาขาหลักดังกล่าว เพื่อเพิ่มมูลค่าการค้าให้บรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
ไทยและจีนยังได้เน้นกระชับความสัมพันธ์และความร่วมมือเป็นรายมณฑลของจีนกับไทย โดยไทยได้จัดตั้งคณะทำงานร่วมกับ 3 มณฑลของจีนแล้ว คือ ยูนนาน กวางตุ้ง และเซียะเหมิน ซึ่งไทยจะตั้งคณะทำงานร่วมกับมณฑลเสฉวนต่อไป รวมทั้งการให้ความสำคัญกับการสถาปนาบ้านพี่เมืองน้อง ระหว่างจังหวัดของไทยกับมณฑลต่าง ๆ ของจีน
สำหรับความร่วมมือด้านการเกษตร ทั้งสองฝ่ายอยู่ระหว่างการจัดตั้งคณะทำงานด้านการค้าสินค้าเกษตรไทย-จีน ซึ่งเป็นกลไกในการเจรจาเพื่อเพิ่มพูนปริมาณการค้าสินค้าเกษตรที่สำคัญ คือ ข้าว ยางพารา มันสำปะหลังและผลไม้ รวมทั้งเสนอให้มีการร่วมกันแก้ไขปัญหาอุปสรรคการค้าต่างๆ ระหว่างกัน อาทิ การจำกัดโควต้าการนำเข้า และการปลอมปนข้าวไทยในจีน นอกจากนี้ ทั้งสองฝ่ายยังได้แสวงหาความร่วมมือใหม่ๆ เช่น ความร่วมมือในการสำรวจและขุดเจาะน้ำมันในประเทศที่สาม โดยรัฐบาลของสองประเทศจะสนับสนุนความร่วมมือระหว่างทั้งภาครัฐและเอกชน รวมทั้งระหว่างภาคเอกชนกับเอกชน
นายกรัฐมนตรี ยังได้ใช้โอกาสนี้ขอบคุณรัฐบาลจีนที่ให้การดูแลนักลงทุนไทยในจีน และขอให้ช่วยดูแลนักลงทุนไทยให้ได้รับความเป็นธรรมในการดำเนินธุรกิจในจีน โดยนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้จีนจัดตั้งศูนย์ประสานงานช่วยเหลือ SMEs ที่เข้าไปลงทุนในจีนแบบครบวงจรในเขตปกครองตนเองกว่างซีจ้วง ซึ่งเป็นประตูสู่อาเซียนของจีน
พร้อมใช้โอกาสนี้ เชิญชวนให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนในสาขาที่ไทยส่งเสริมการลงทุน อาทิ ผลิตภัณฑ์ยางพารา ชิ้นส่วน ยานยนต์ เครื่องจักรอิเล็กทรอนิกส์ รวมถึง อุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและพลังงานทดแทน อาทิ พลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลมและพลังงานชีวภาพ ซึ่งสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศ
นายกรัฐมนตรียังเสนอให้ทั้งสองฝ่ายให้ความสำคัญต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวและเน้นการท่องเที่ยวในเชิงคุณภาพมากขี้น โดยตั้งเป้าให้นักท่องเที่ยวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20 ต่อปีในช่วง 5 ปีข้างหน้า และขอให้รัฐบาลจีนอนุมัติการตั้งสำนักงานการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยที่นครกวางโจว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยวจีนได้ดีขึ้น พร้อมย้ำนโยบายของไทยในการกระชับความสัมพันธ์กับจีนในรายมณฑล โดยไทยประสงค์จะจัดตั้งคณะทำงานไทย-เสฉวน เพิ่มเติมจากที่มีคณะทำงานมณฑลยูนนาน กวางตุ้งและเมืองเซียะเหมิน
นายกรัฐมนตรีได้ให้ความสำคัญต่อความร่วมมือด้านการศึกษาและวัฒนธรรม โดยเห็นด้วยกับข้อเสนอของรองประธานาธิบดีสี จิ้นผิง ของจีนในการแลกเปลี่ยนนักศึกษา 100 คน และขณะนี้ทราบว่ามีนักศึกษาจีนจำนวนมากที่สนใจเรียนภาษาไทย และนักศึกษาไทยก็สนใจเรียนภาษาจีนมากขึ้นเช่นกัน จึงขอให้รัฐบาลจีนสนับสนุนส่งเสริมการเรียนการสอนภาษาไทยในจีน และขอให้จีนสนับสนุนการส่งครูอาสาสมัครจีนไปสอนในไทยเพิ่มขึ้นเป็น 10,000 คน ซึ่งในโอกาสนี้นายกรัฐมนตรีจีนตอบรับตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
สำหรับประเด็นเกี่ยวกับความร่วมมือในภูมิภาคที่ผ่านมาไทยและจีนมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาเครือข่ายการเชื่อมโยงคมนาคมในภูมิภาค อาทิ การเปิดเส้นทาง R3A ที่เชื่อมโยงจากนครคุนหมิง ยูนนาน ผ่านลาว และเข้าสู่ไทยที่ อ.เชียงของ จังหวัดเชียงราย และมาถึงกรุงเทพฯ และสะพานเชื่อมแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) ซึ่งกำหนดจะสร้างเสร็จสมบูรณ์ในปลายปีนี้
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้ขอให้จีนเร่งรัดการก่อสร้างสะพานดังกล่าวให้แล้วเสร็จตามกำหนด ซึ่งจะช่วยเกื้อกูลต่อการไปมาหาสู่ของประชาชนและการรวมตัวเป็นประชาคมอาเซียนในอนาคตอันใกล้
นอกจากนี้ ยังมีการหารือเกี่ยวกับความร่วมมือในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้เสนอให้มีการแลกเปลี่ยนข้อมูลเกี่ยวกับระดับน้ำไทย-จีนในฤดูแล้งอย่างสม่ำเสมอเป็นประจำทุกปีด้วย พร้อมกันนี้นายกรัฐมนตรียังได้เชิญนายเวิน เจียเป่า เข้าร่วมการประชุม WEF ครั้งที่ 21 ระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2555 ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ ที่กรุงเทพฯ เพื่อแบ่งปันประสบการณ์ร่วมกับผู้นำจากประเทศเอเชียตะวันออก ซึ่งไทยยินดีที่จะประสานกับ WEF เพื่อจัดกำหนดการพิเศษในลักษณะการสนทนาพิเศษร่วมกับศาสตราจารย์ ดร.เคล้าส์ ชวับ ประธานบริหารและผู้ก่อตั้ง WEF
ในโอกาสนี้ นายกรัฐมนตรีจีนได้แสดงความสนับสนุนอย่างยิ่งต่อความร่วมมือระหว่างสองประเทศ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน และแผนพัฒนาระยะ 5 ปี ทางด้านเศรษฐกิจและการค้า โดยให้สองประเทศตั้งใจปฏิบัติตามแผนดังกล่าวอย่างจริงจัง
ทั้งนี้ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการค้าการลงทุนระหว่างกัน ซึ่งจีนยินดีอำนวยความสะดวกให้นักธุรกิจทั้งสองฝ่าย โดยขอให้ไทยอำนวยความสะดวกด้านข้อกฎหมายต่าง ๆ พร้อมทั้งขอให้สนับสนุนบริษัทจีนเข้าไปพัฒนาแร่โปแตสเซียมในไทยด้วย นอกจากนี้จะร่วมกันสนับสนุนความร่วมมือด้านการเงิน เช่น การขยายสาขาธนาคารในสองประเทศ การชำระเงินโดยใช้เงินตราของไทยและจีนในการค้าการลงทุน
พร้อมกันนี้ จีนยินดีสนับสนุนการสร้างระบบรถไฟ และมอบหมายให้หน่วยงานทั้งสองประเทศไปร่วมกันดำเนินงานอย่างรวดเร็วและราบรื่น รวมทั้งการสนับสนุนวิสาหกิจด้านอวกาศและไอทีระหว่างกัน และจีนยินดีสนับสนุนด้านชลประทานตามที่ได้มีการลงนามร่วมกันไปแล้ว ที่สำคัญจีนขอให้ไทยส่งเสริมการปฏิบัติตามกฎหมายตามลุ่มแม่น้ำโขง เพื่อความปลอดภัยและการพัฒนาพื้นที่โดยรอบ
อย่างไรก็ตาม ทั้งไทยและจีนจะร่วมกันพัฒนาการเชื่อมโยงภูมิภาค เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือน้ำลึก และนิคมอุตสาหกรรมทวายในเมียนมาร์ ซึ่งไทยพร้อมร่วมมือกับจีนเพื่อให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมแก่ประเทศในอนุภูมิภาค รวมทั้งเมียนมาร์โดยเฉพาะการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานให้เสร็จสมบูรณ์ เพื่อพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชนในพื้นที่โดยรอบด้วย
นอกจากนี้ ไทยและจีนจะร่วมมือกันอย่างเข้มแข็งในกรอบอาเซียน เพื่อรองรับความท้าทายจากปัญหาสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนแปลงไป
ลงนาม 8 ฉบับ แสดงถึงความเป็นหุ้นส่วนเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
ภายหลังการหารือข้อราชการเต็มคณะ ในเวลา 17.15 น. นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ร่วมการเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 8 ฉบับ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
1) แผนปฏิบัติการร่วมว่าด้วยความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์ไทย-จีน ระหว่างปี 2555-2559 (Joint Action Plan on Thailand-China Strategic Cooperation Between the Government of the People’s Republic of China 2012-2016) ซึ่งถือเป็นแผนปฏิบัติการร่วมฯ ฉบับที่ 2 สำหรับการดำเนินความร่วมมือระหว่างไทย-จีน ในสาขาต่างๆ กว่า 17 สาขา ที่จัดทำโดยกระทรวงการต่างประเทศทั้งสองฝ่าย ได้แก่ การเมือง การทหาร ความมั่นคง การค้า การลงทุน การเงินและธนาคาร เกษตรกรรม อุตสาหกรรม คมนาคม พลังงาน การท่องเที่ยว วัฒนธรรม การศึกษาและการอบรม สาธารณสุขและวิทยาศาสตร์-การแพทย์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ความร่วมมือในระดับภูมิภาคและพหุภาคี โดยมีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายสุรพงษ์ โตวิจักษณชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ และฝ่ายจีน คือ นายหยาง เจี๋ยฉือ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจีน
2) แผนพัฒนาระยะ 5 ปี ไทย-จีน ระหว่างปี 2555-2559 ภายใต้ความตกลงการขยายความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจและการค้าเชิงกว้างและเชิงลึก (Five-Year Development Plan on Trade and Economic Cooperation between the People’s Republic of China and the Kingdom of Thailand) ที่มุ่งเน้นความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการค้าระหว่างไทยกับจีนในระยะ 5 ปี ระหว่างปี 2555 – 2559 ภายใต้ความตกลงการขยายความร่วมมือทวิภาคีทางเศรษฐกิจและการค้าในเชิงกว้างและเชิงลึกไทย-จีน อาทิ การอำนวยความสะดวกและลดอุปสรรคทางการค้า นวัตกรรมและเทคโนโลยีสีเขียว และโครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายจีน คือ นายเฉิน เต๋อหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน
3) บันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมือเรื่องการค้าสินค้าเกษตรระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทยและจีน (Memorandum of Understanding Between the Ministry of Commerce of the People’s Republic of China and the Ministry of Commerce of the Kingdom of Thailand on Agricultural Trade Cooperation) ซึ่งเป็นข้อเสนอของฝ่ายจีนที่จะจัดตั้งคณะทำงานเรื่องการค้าสินค้าเกษตร เพื่อหารือประดฺนที่ไทยและจีนมีผลประโยชน์ร่วมกัน รวมถึงการพัฒนา ส่งเสริมการค้าสินค้าเกษตร และการแก้ไขปัญหาและป้องกันหรือกำจัดอุปสรรคทางด้านสินค้าเกษตร มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายจีน คือ นายเฉิน เต๋อหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน
4) บันทึกความเข้าใจร่วมว่าด้วยความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ไทย และ State Administration for Industry and Commerce ของจีน (Memorandum of Understanding for Cooperation Between the Ministry of Commerce of the Kingdom of Thailand and the State Administration for Industry and Commerce of the People’s Republic of China) เป็นบันทึกความเข้าใจที่เน้นึความร่วมมือด้านทรัพย์สินทางปัญญา นโยบายและกฎหมายเกี่ยวกับการแข่งขันทางธุรกิจ การคุ้มครองผู้บริโภค การลงทะเบียนกิจการบริษัท และเครื่องหมายการค้า มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และฝ่ายจีน คือ นายเฉิน เต๋อหมิง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์จีน
5) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟ (Memorandum of Understanding Concerning Feasibility Study for Cooperation on railway Development Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ที่ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะกรรมการร่วมระดับรัฐมนตรี เพื่อเป็นกลไกในการประสานงานสำหรับการขยายผลความร่วมมือด้านรถไฟ โดยเฉพาะ สาย กทม. – เชียงใหม่ มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และฝ่ายจีน คือ นายเซิ่ง กวางจู่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงรถไฟจีน
6) บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจัดการน้ำ (Memorandum of Understanding Concerning Feasibility Study for Cooperation on railway Development Between the Government of the Kingdom of Thailand and the Government of the People’s Republic of China) ที่ทั้งสองฝ่ายจะจัดตั้งคณะทำงานร่วมระดับรัฐมนตรี เพื่อประสานงานให้เกิดความร่วมมือด้านนี้ต่อไป โดยฝ่ายจีนจะมีการจัดทำรายงานด้านต่างๆ อาทิ ความร่วมมือด้านระบบการจัดการน้ำแบบบูรณาดการ ระบบการบัญชาการเดี่ยว โครงสร้างพื้นฐานของการป้องกันอุทกภัย เป็นต้น
7) ข้อตกลงว่าด้วยการจัดตั้งห้องปฏิบัติการร่วมด้านสภาพภูมิอากาศและระบบนิเวศน์ทางทะเล (Agreement on Establishment of Thailand – China Joint Laboratory for Climate and Marine Ecosystem between Ministry of Natural Resource and Environment, Kingdom of Thailand and State Oceanic Administration, People’s Republic of China) เป็นข้อตกลงย่อยของบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือทางด้านทะเลระหว่างกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกับทบวงกิจการมหาสมุทรแห่งชาติจีน เพื่อร่วมมือกันในด้านต่างๆ อาทิ การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างนักเทดนิคและนักวิทยาศาสตร์ การประชุมเชิงปฏิบัติการระหว่างกัน และการค้นคว้าวิจัย มีผู้ลงนามฝ่ายไทย คือ นายปรีชา เร่งสมบูรณ์สุข รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และฝ่ายจีน คือ นายหลิวชื่อกุ้ย ผู้บริหารทบวงกิจการมหาสมุทร (ระดับ รมช.)
8) ถ้อยแถลงร่วมระหว่างสาธารณรัฐประชาชนจีนและราชอาณาจักรไทยเพื่อเสริมสร้างความเป็นหุ้นส่วนความร่วมมือเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน (Joint Statement Between the People’s Republic of China and the Kingdom of Thailand on Establishing a Comprehensive Strategic Cooperative Partnership) เป็นเอกสารผลลัพธ์การเยือนจีนของนายกรัฐมนตรี ซึ่งสะท้อนถึงความสัมพันธ์และความร่วมมือไทย-จีนที่มีพัฒนาการที่ดีอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านการเมือง ความมั่นคง เศรษฐกิจ การศึกษาและวัฒนธรรม รวมถึงความพร้อมในการร่วมมือกันทั้งในกรอบทวิภาคีและพหุภาคีอย่างรอบด้านในอนาคต
ภายหลังการร่วมเป็นสักขีพยาน นายกรัฐมนตรีเวิน เจียเป่า ได้เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวัน เพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ณ ห้องโถงตะวันตก ชั้น 1 มหาศาลาประชาชน
..................
ที่มา : http://www.prachatalk.com/board/%E0%B8% ... 5%E0%B8%99
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 187
กำหนดการนายกฯยิ่งลักษณ์เยือนจีน-ญี่ปุ่น
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17-20 เมษายน 2555 และเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2555 ดังนี้
กำหนดการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 17-20 เมษายน 2555
วันอังคารที่ 17 เมษายน 2555
08.20 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เที่ยวบินพิเศษที่ ทีจี 8818 ไปยังกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเวลาที่กรุงปักกิ่งเร็วกว่ากรุงเทพฯ1 ชั่วโมง
14.00 น. - เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง
14.10 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งไปยังเรือนรับรองรัฐบาล เตี้ยวหยูไถ
17.00 น. - พิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ
17.15 น. - นายกรัฐมนตรีหารือข้อราชการกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มหาศาลาประชาชน
18.00 น. - นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
18.30 น. - นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี และคณะ ณ มหาศาลาประชาชน
วันพุธที่ 18 เมษายน 2555
ช่วงเช้า - นายกรัฐมนตรีรับประทานอาหารเช้าร่วมกับภาคเอกชนไทย
09.30 น. - นายกรัฐมนตรีหารือกับผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ณ โรงเรียนพรรคคอมมิวนิสต์จีน
09.50 น. - นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “พัฒนาการความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือยุทธศาสตร์ไทย– จีน”
11.00 น. - นายกรัฐมนตรีหารือข้อราชการกับนายหวัง ฉีซาน รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน
- นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการสัมมนาระหว่างอาหารกลางวัน “Business Luncheon”
12.30 น. - นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและจีน ณ โรงแรม China World Summit Wing
13.00 น. - นายกรัฐมนตรีพบหารือกับประธานกรรมการบริหารของบริษัทชั้นนำของจีน
15.30 น. -นายกรัฐมนตรีเข้าเยื่ยมคารวะนายหู จิ่นเทา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มหาศาลาประชาชน
17.00 น. - นายกรัฐมนตรีเข้าเยื่ยมคารวะนายอู๋ ปังกั๋ว ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มหาศาลาประชาชน
18.00 น. - นายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ณ เรือนรับรองเตี้ยว หยูไถ
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2555
09.30 น. - นายกรัฐมนตรีปลูกต้นไม้เพื่อเป็นเกียรติแก่ศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหัวปิน ณ ศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหัวปิน
11.00 น. - นายกรัฐมนตรีรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมและการบรรเทาภัยแล้ง ณ ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมและบรรเทาภัยแล้งแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรน้ำสาธารณรัฐประชาชนจีน
15.17 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมสถานีรถไฟเมืองอู่ซิง
16.13 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมห้องปฎิบัติการสถานีรถไฟกรุงปักกิ่ง (หนานจ้าน)
19.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเครื่องบินการบินไทย เที่ยวบินพิเศษ ไปยังกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
23.10 น. -เดินทางถึงท่าอากาศยานฮาเนดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเดินทางไปยังโรงแรม New Otani Tokyo ที่พัก
กำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555
12.00 น. - สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น Keidanren และ Japan Chamber of Commerce and Industry (JCCI) เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้นำประเทศ ลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ณ โรงแรม Imperial
ช่วงบ่าย - ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ณ พระราชวัง Imperial
ช่วงค่ำ - นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ณ พระราชวัง
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2555
09.00 น. - นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4
11.15 น. - การแถลงข่าวร่วม วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555
9.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานฮาเนะดะ กรุงโตเกียว ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฟุกุโอะกะ
11.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับ รถไฟที่สถานีรถไฟฮะกะตะ
บ่าย - นายกรัฐมนตรีและคณะเยี่ยมชมปราสาทคุมะโมะโตะและเยี่ยมชมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดคุมะโมะโตะ
18.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติ ฟุกุโอกะเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
21.20 น. – นายกรัฐมนตรีเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและคณะ มีกำหนดการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ระหว่างวันที่ 17-20 เมษายน 2555 และเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น ระหว่างวันที่ 20-22 เมษายน 2555 ดังนี้
กำหนดการเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการระหว่างวันที่ 17-20 เมษายน 2555
วันอังคารที่ 17 เมษายน 2555
08.20 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ โดยเครื่องบินของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เที่ยวบินพิเศษที่ ทีจี 8818 ไปยังกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเวลาที่กรุงปักกิ่งเร็วกว่ากรุงเทพฯ1 ชั่วโมง
14.00 น. - เดินทางถึงท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่ง
14.10 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะเดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งไปยังเรือนรับรองรัฐบาล เตี้ยวหยูไถ
17.00 น. - พิธีต้อนรับอย่างเป็นทางการ
17.15 น. - นายกรัฐมนตรีหารือข้อราชการกับนายเวิน เจียเป่า นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มหาศาลาประชาชน
18.00 น. - นายกรัฐมนตรีและนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความตกลง ระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน
18.30 น. - นายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรี และคณะ ณ มหาศาลาประชาชน
วันพุธที่ 18 เมษายน 2555
ช่วงเช้า - นายกรัฐมนตรีรับประทานอาหารเช้าร่วมกับภาคเอกชนไทย
09.30 น. - นายกรัฐมนตรีหารือกับผู้บริหารระดับสูงของโรงเรียนพรรคคอมมิวนิสต์จีน ณ โรงเรียนพรรคคอมมิวนิสต์จีน
09.50 น. - นายกรัฐมนตรีกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “พัฒนาการความสัมพันธ์หุ้นส่วนความร่วมมือยุทธศาสตร์ไทย– จีน”
11.00 น. - นายกรัฐมนตรีหารือข้อราชการกับนายหวัง ฉีซาน รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีน
- นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในการสัมมนาระหว่างอาหารกลางวัน “Business Luncheon”
12.30 น. - นายกรัฐมนตรีเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างภาคเอกชนไทยและจีน ณ โรงแรม China World Summit Wing
13.00 น. - นายกรัฐมนตรีพบหารือกับประธานกรรมการบริหารของบริษัทชั้นนำของจีน
15.30 น. -นายกรัฐมนตรีเข้าเยื่ยมคารวะนายหู จิ่นเทา ประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มหาศาลาประชาชน
17.00 น. - นายกรัฐมนตรีเข้าเยื่ยมคารวะนายอู๋ ปังกั๋ว ประธานสภาประชาชนแห่งชาติ สาธารณรัฐประชาชนจีน ณ มหาศาลาประชาชน
18.00 น. - นายสี จิ้นผิง รองประธานาธิบดีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำเพื่อเป็นเกียรติแก่นายกรัฐมนตรีและคณะ ณ เรือนรับรองเตี้ยว หยูไถ
วันพฤหัสบดีที่ 19 เมษายน 2555
09.30 น. - นายกรัฐมนตรีปลูกต้นไม้เพื่อเป็นเกียรติแก่ศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหัวปิน ณ ศูนย์อนุรักษ์สิ่งแวดล้อมหัวปิน
11.00 น. - นายกรัฐมนตรีรับฟังบรรยายสรุปเกี่ยวกับการป้องกันน้ำท่วมและการบรรเทาภัยแล้ง ณ ศูนย์ป้องกันน้ำท่วมและบรรเทาภัยแล้งแห่งชาติ กระทรวงทรัพยากรน้ำสาธารณรัฐประชาชนจีน
15.17 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมสถานีรถไฟเมืองอู่ซิง
16.13 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมห้องปฎิบัติการสถานีรถไฟกรุงปักกิ่ง (หนานจ้าน)
19.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานนานาชาติกรุงปักกิ่งสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยเครื่องบินการบินไทย เที่ยวบินพิเศษ ไปยังกรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
23.10 น. -เดินทางถึงท่าอากาศยานฮาเนดะ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น และเดินทางไปยังโรงแรม New Otani Tokyo ที่พัก
กำหนดการเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น
วันศุกร์ที่ 20 เมษายน 2555
12.00 น. - สมาพันธ์ธุรกิจญี่ปุ่น Keidanren และ Japan Chamber of Commerce and Industry (JCCI) เป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารกลางวันแก่ผู้นำประเทศ ลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ณ โรงแรม Imperial
ช่วงบ่าย - ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศเข้าเฝ้าฯ สมเด็จพระจักรพรรดิแห่งญี่ปุ่น ณ พระราชวัง Imperial
ช่วงค่ำ - นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเป็นเจ้าภาพเลี้ยงอาหารค่ำแก่ผู้นำประเทศลุ่มน้ำโขง 5 ประเทศ ณ พระราชวัง
วันเสาร์ที่ 21 เมษายน 2555
09.00 น. - นายกรัฐมนตรีเข้าร่วมการประชุมผู้นำลุ่มน้ำโขงกับญี่ปุ่น ครั้งที่ 4
11.15 น. - การแถลงข่าวร่วม วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน 2555
9.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เดินทางออกจากท่าอากาศยานฮาเนะดะ กรุงโตเกียว ไปยังท่าอากาศยานนานาชาติฟุกุโอะกะ
11.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ เยี่ยมชมและรับฟังการบรรยายสรุปเกี่ยวกับ รถไฟที่สถานีรถไฟฮะกะตะ
บ่าย - นายกรัฐมนตรีและคณะเยี่ยมชมปราสาทคุมะโมะโตะและเยี่ยมชมโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ของจังหวัดคุมะโมะโตะ
18.00 น. - นายกรัฐมนตรีและคณะ ออกเดินทางจากท่าอากาศยานนานาชาติ ฟุกุโอกะเพื่อเดินทางกลับกรุงเทพมหานคร
21.20 น. – นายกรัฐมนตรีเดินทางถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ จังหวัดสมุทรปราการ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 188
ยักษ์ธุรกิจไทยจับคู่จีนเอกชนกว่าร้อยร่วมคณะนายกฯปู /เจรจาดึงทุนมังกร
วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน 2012 เวลา 21:32 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
"ยิ่งลักษณ์" นำทีมใหญ่ทั้งภาครัฐและผู้บริหารยักษ์ใหญ่ภาคเอกชนนับร้อย โรดโชว์แดนมังกร 17-20 เม.ย.นี้ นัดลงนามความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพียบ เปิดเวทีพบนักธุรกิจใหญ่จีนเฉียดพัน หวังจับคู่บิ๊กธุรกิจไทยขยายการลงทุน หวังเพิ่มการค้าไทยจีนแตะ120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ย้ำแคมเปญ Unbeatable Thailand ด้านคมนาคมดึงจีนสานต่อแผนไฮสปีดเทรน วงการท่องเที่ยวลุ้นเพิ่มจำนวนทัวริสต์ระหว่างกันทะลุ4 ล้านคน
ตามที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายเหวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีน ระหว่างวันที่ 17-20 เมษายนนี้ เพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ความร่วมมือไทย-จีน โดยเฉพาะการส่งเสริมความร่วมมือที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การเดินทางครั้งนี้นายกรัฐมนตรียังได้นำผู้บริหารองค์กรธุรกิจภาคเอกชนในสาขาต่าง ๆ ร่วมเดินทางไปด้วย อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ น้ำตาลมิตรผล สหฟาร์ม ส.ขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวสัมพันธ์ไทย-จีน บริษัทบ้านปู พีทีที โกลบอล เคมิคอลฯ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไทยคม ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น จะได้จับคู่เจรจากับนักลงทุนชั้นนำของจีนด้วย
ข่าวฉบับเต็มที่ http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=417
วันพฤหัสบดีที่ 12 เมษายน 2012 เวลา 21:32 น. กอง บก.ฐานเศรษฐกิจ
"ยิ่งลักษณ์" นำทีมใหญ่ทั้งภาครัฐและผู้บริหารยักษ์ใหญ่ภาคเอกชนนับร้อย โรดโชว์แดนมังกร 17-20 เม.ย.นี้ นัดลงนามความร่วมมือทางเศรษฐกิจเพียบ เปิดเวทีพบนักธุรกิจใหญ่จีนเฉียดพัน หวังจับคู่บิ๊กธุรกิจไทยขยายการลงทุน หวังเพิ่มการค้าไทยจีนแตะ120,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ย้ำแคมเปญ Unbeatable Thailand ด้านคมนาคมดึงจีนสานต่อแผนไฮสปีดเทรน วงการท่องเที่ยวลุ้นเพิ่มจำนวนทัวริสต์ระหว่างกันทะลุ4 ล้านคน
ตามที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเดินทางเยือนสาธารณรัฐประชาชนจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของนายเหวิน เจีย เป่า นายกรัฐมนตรีจีน ระหว่างวันที่ 17-20 เมษายนนี้ เพื่อยกระดับความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ความร่วมมือไทย-จีน โดยเฉพาะการส่งเสริมความร่วมมือที่สอดคล้องกับการพัฒนาประเทศ
แหล่งข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า การเดินทางครั้งนี้นายกรัฐมนตรียังได้นำผู้บริหารองค์กรธุรกิจภาคเอกชนในสาขาต่าง ๆ ร่วมเดินทางไปด้วย อาทิ เครือเจริญโภคภัณฑ์ น้ำตาลมิตรผล สหฟาร์ม ส.ขอนแก่น สภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สมาคมผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวสัมพันธ์ไทย-จีน บริษัทบ้านปู พีทีที โกลบอล เคมิคอลฯ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย สมาคมขนส่งทางบกแห่งประเทศไทย อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ สามมิตร กรีนพาวเวอร์ จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ ไทยคม ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารไทยพาณิชย์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เป็นต้น จะได้จับคู่เจรจากับนักลงทุนชั้นนำของจีนด้วย
ข่าวฉบับเต็มที่ http://www.thannews.th.com/index.php?op ... Itemid=417
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 189
ก๊าซพม่าเอาอยู่ใช้น้ำมันต่ำกว่าแผนเตรียมรับมือบงกช-เอราวัณหยุดอีก
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, April 19, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.พลังงานเผยแผนบริหารจัดการก๊าซฯพม่าหยุดจ่าย 8-17 เม.ย.เอาอยู่ใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าแทนต่ำกว่าแผน ส่งผลค่าเอฟทีขยับต่ำกว่า 5 สตางค์ต่อหน่วยต่ำกว่าที่คาด ก๊าซฯเริ่มจ่ายแล้วคาดกลับสู่ปกติเหมือนเดิมเช้ามืดวันที่ 20 เม.ย.พร้อมสั่งรับมือก๊าซบงกช และเอราวัณหยุดซ่อมช่วงพ.ค.และส.ค.ต่อ
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากการบริหารแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งเยตากุน พม่าหยุดจ่ายเพื่อซ่อมบำรุงระหว่าง8-17 เม.ย.ที่ผ่านมาซึ่งทำให้ปริมาณก๊าซฯหายไป 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันส่งผลให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ต้องเดินเครื่องด้วยน้ำมันแทนปรากฏว่าสามารถบริหารลดการใช้น้ำมันต่ำกว่าแผน โดยน้ำมันเตาใช้ไป 55.5 ล้านลิตร จากที่เตรียมสต๊อกไว้ทั้งหมด 77.8 ล้านลิตร และใช้น้ำมันดีเซล 1.4 ล้านลิตร จากที่สต๊อกไว้ 10.9 ล้านลิตรทำให้มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที)ไม่ถึง 5 สตางค์ต่อหน่วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การซ่อมบำรุงท่อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุน ในสหภาพพม่า ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตามแผน และเวลา 05.54 น. ที่ 18 เมษายน 2555 ผู้ผลิตได้แจ้งว่า พร้อมจ่ายก๊าซฯ ได้ตามปกติ ซึ่งในเวลา 08.45 น. ของวันที่ 18 เม.ย.ปตท.ก็ได้เริ่มเปิดวาล์วรับก๊าซฯ จากพม่าแล้ว และคาดว่าระบบจ่ายก๊าซฯ ของประเทศจะกลับมาปกติตั้งแต่ช่วงเช้ามืดของวันที่ 20 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป
ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ทุกส่วนไปดำเนินงานเพื่อรองรับการหยุดซ่อมบำรุงของแหล่งก๊าซอื่นเร็วๆนี้อีก ได้แก่ช่วงวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2555 แหล่งบงกชในอ่าวไทย จะมีการหยุดซ่อมบำรุง จะทำให้ก๊าซฯ จากแหล่งนี้หายไปจากระบบประมาณ 633 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งเอราวัณในอ่าวไทยของกลุ่มเชฟรอน ที่จะปิดซ่อมบำรุงในช่วงวันที่ 1-8 สิงหาคม 2555 จะทำให้ก๊าซฯหายไปจากระบบประมาณ 612 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยจะมีการเตรียมเรียกก๊าซฯจากแหล่งอื่นๆและจัดหาแอลเอ็นจีให้เพียงพอ
--จบ--
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, April 19, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ก.พลังงานเผยแผนบริหารจัดการก๊าซฯพม่าหยุดจ่าย 8-17 เม.ย.เอาอยู่ใช้น้ำมันผลิตไฟฟ้าแทนต่ำกว่าแผน ส่งผลค่าเอฟทีขยับต่ำกว่า 5 สตางค์ต่อหน่วยต่ำกว่าที่คาด ก๊าซฯเริ่มจ่ายแล้วคาดกลับสู่ปกติเหมือนเดิมเช้ามืดวันที่ 20 เม.ย.พร้อมสั่งรับมือก๊าซบงกช และเอราวัณหยุดซ่อมช่วงพ.ค.และส.ค.ต่อ
นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า จากการบริหารแหล่งก๊าซธรรมชาติแหล่งเยตากุน พม่าหยุดจ่ายเพื่อซ่อมบำรุงระหว่าง8-17 เม.ย.ที่ผ่านมาซึ่งทำให้ปริมาณก๊าซฯหายไป 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันส่งผลให้การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.)ต้องเดินเครื่องด้วยน้ำมันแทนปรากฏว่าสามารถบริหารลดการใช้น้ำมันต่ำกว่าแผน โดยน้ำมันเตาใช้ไป 55.5 ล้านลิตร จากที่เตรียมสต๊อกไว้ทั้งหมด 77.8 ล้านลิตร และใช้น้ำมันดีเซล 1.4 ล้านลิตร จากที่สต๊อกไว้ 10.9 ล้านลิตรทำให้มีผลกระทบต่อค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ(เอฟที)ไม่ถึง 5 สตางค์ต่อหน่วย
อย่างไรก็ตาม ขณะนี้การซ่อมบำรุงท่อก๊าซธรรมชาติจากแหล่งเยตากุน ในสหภาพพม่า ได้ดำเนินการเสร็จเรียบร้อยตามแผน และเวลา 05.54 น. ที่ 18 เมษายน 2555 ผู้ผลิตได้แจ้งว่า พร้อมจ่ายก๊าซฯ ได้ตามปกติ ซึ่งในเวลา 08.45 น. ของวันที่ 18 เม.ย.ปตท.ก็ได้เริ่มเปิดวาล์วรับก๊าซฯ จากพม่าแล้ว และคาดว่าระบบจ่ายก๊าซฯ ของประเทศจะกลับมาปกติตั้งแต่ช่วงเช้ามืดของวันที่ 20 เม.ย.นี้ เป็นต้นไป
ขณะเดียวกันได้มอบหมายให้ทุกส่วนไปดำเนินงานเพื่อรองรับการหยุดซ่อมบำรุงของแหล่งก๊าซอื่นเร็วๆนี้อีก ได้แก่ช่วงวันที่ 25-31 พฤษภาคม 2555 แหล่งบงกชในอ่าวไทย จะมีการหยุดซ่อมบำรุง จะทำให้ก๊าซฯ จากแหล่งนี้หายไปจากระบบประมาณ 633 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และแหล่งเอราวัณในอ่าวไทยของกลุ่มเชฟรอน ที่จะปิดซ่อมบำรุงในช่วงวันที่ 1-8 สิงหาคม 2555 จะทำให้ก๊าซฯหายไปจากระบบประมาณ 612 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยจะมีการเตรียมเรียกก๊าซฯจากแหล่งอื่นๆและจัดหาแอลเอ็นจีให้เพียงพอ
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 190
โครงการเปลี่ยนน้ำเสียจากโรงกลั่นแอลกอฮอล์เป็นก๊าซชีวภาพและไฟฟ้า ของบริษัท ปภพ รีนิวเอเบิล จำกัด
ได้คว้ารางวัลชนะเลิศในโครงการพลังงานหมุนเวียนดีเด่น ในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า
จากการประกวด รางวัล ASEAN Energy Awards 2011 ที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
ปล.
1) บริษัท ปภพ เป็นบริษัทที่ทำงานด้านก๊าซชีวภาพ consult และ Turnkey ทั้งในและต่างประเทศ เทคโนโลยีที่ถนัดเป็นระบบแบบ UASB
2) ข้อมูลนำมาจาก Facebook ของคุณ Kornkamol และ Rungrudee
ได้คว้ารางวัลชนะเลิศในโครงการพลังงานหมุนเวียนดีเด่น ในกลุ่มพลังงานหมุนเวียนที่เชื่อมโยงกับระบบสายส่งไฟฟ้า
จากการประกวด รางวัล ASEAN Energy Awards 2011 ที่ประเทศบรูไนดารุสซาลาม
ปล.
1) บริษัท ปภพ เป็นบริษัทที่ทำงานด้านก๊าซชีวภาพ consult และ Turnkey ทั้งในและต่างประเทศ เทคโนโลยีที่ถนัดเป็นระบบแบบ UASB
2) ข้อมูลนำมาจาก Facebook ของคุณ Kornkamol และ Rungrudee
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 191
หาไฟฟ้า2หมื่นเมกะวัตต์เปิดแผน5ปี'กฟผ.อินเตอร์'ร่วมลงทุนโรงไฟฟ้าเพื่อนบ้าน [ โพสต์ ทูเดย์, 24 เม.ย. 55 ]
กฟผ.อินเตอร์ตั้งเป้า 5 ปี รุกลงทุนธุรกิจพลังงานต่างประเทศ หากำลังผลิตไฟฟ้า 2 หมื่นเมกะวัตต์
นายสมบูรณ์ อารยะสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดแผนถึงแผน
การดำเนินงานของ กฟผ.อินเตอร์ฯว่าภายใน 5 ปี ตั้งเป้าจะลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าในต่างประเทศให้ได้ 2
หมื่นเมกะวัตต์ โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศพม่า เวียดนาม กัมพูชา
และลาว
กฟผ.อินเตอร์ตั้งเป้า 5 ปี รุกลงทุนธุรกิจพลังงานต่างประเทศ หากำลังผลิตไฟฟ้า 2 หมื่นเมกะวัตต์
นายสมบูรณ์ อารยะสกุล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กฟผ.อินเตอร์เนชั่นแนล เปิดแผนถึงแผน
การดำเนินงานของ กฟผ.อินเตอร์ฯว่าภายใน 5 ปี ตั้งเป้าจะลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าในต่างประเทศให้ได้ 2
หมื่นเมกะวัตต์ โดยเฉพาะโครงการที่อยู่ในแถบประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ประเทศพม่า เวียดนาม กัมพูชา
และลาว
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 192
สนพ.เร่งจัดทำแผนแม่บทหวังลดใช้พลังงาน คาดเสร็จ ต.ค.นี้
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2555 09:33 น.
นายนที ทับมณี รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน เร่งเดินหน้าจัดทำแผนแม่บทการวิจัยด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย เพื่อจะกำหนดทิศทาง และประเด็นหลักในการวิจัยพัฒนา รวมทั้งแนวทางการบริหารจัดการระบบวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ และมาตรการที่จะนำไปสู่เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
แผนดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนการใช้พลังงานต่อ GDP ของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า หรือปี 2573 ลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2554 ซึ่งคาดว่าแผนแม่บทดังกล่าว จะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2555
ทั้งนี้ ขอบเขตของการศึกษาจะมุ่งไปที่การศึกษาศักยภาพ การอนุรักษ์พลังงานจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานที่สำคัญในภาคเศรษฐกิจหลัก อาทิ ภาคการผลิตพลังงาน ภาคอาคารและครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 22 เมษายน 2555 09:33 น.
นายนที ทับมณี รองผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า กระทรวงพลังงาน เร่งเดินหน้าจัดทำแผนแม่บทการวิจัยด้านการอนุรักษ์พลังงานของประเทศไทย เพื่อจะกำหนดทิศทาง และประเด็นหลักในการวิจัยพัฒนา รวมทั้งแนวทางการบริหารจัดการระบบวิจัยพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อผลักดันยุทธศาสตร์ และมาตรการที่จะนำไปสู่เป้าหมายการอนุรักษ์พลังงานของประเทศ ตามแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ที่ได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
แผนดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะลดสัดส่วนการใช้พลังงานต่อ GDP ของประเทศในอีก 20 ปีข้างหน้า หรือปี 2573 ลงร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับปี พ.ศ.2554 ซึ่งคาดว่าแผนแม่บทดังกล่าว จะแล้วเสร็จประมาณเดือนตุลาคม 2555
ทั้งนี้ ขอบเขตของการศึกษาจะมุ่งไปที่การศึกษาศักยภาพ การอนุรักษ์พลังงานจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีพลังงานที่สำคัญในภาคเศรษฐกิจหลัก อาทิ ภาคการผลิตพลังงาน ภาคอาคารและครัวเรือน ภาคอุตสาหกรรม และภาคขนส่ง
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 193
ปตท.นัดหารือธนารักษ์ผุดปั๊มNGV จีบคมนาคมเปิดสถานีแนวท่อก๊าซ
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, April 21, 2012
ปตท.เตรียมทบทวนแผนลงทุนเอ็นจีวีใหม่ หลังครม.ไฟเขียวให้ใช้ที่ราชพัสดุ ทำปั๊มเอ็นจีวี รองรับรถโดยสารขสมก. 4,000 คัน เผยต้องการพื้นที่ 6-7 แห่งโดยขอให้กันพื้นที่ไว้ทำปั๊มบริการประชาชนด้วย ยันโครงการขึ้นได้ปีหน้า
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา เห็นชอบให้บมจ.ปตท.สามารถนำที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ไปดำเนินการก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีเพื่อรองรับปริมาณความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นว่าหลังจากทราบมติครม.แล้วทางบมจ.ปตท.คงต้องหารือกับกรมธนารักษ์ และเข้าสำรวจพื้นที่ราชพัสดุที่มีการเสนอมาจำนวน 10 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจากที่ได้เสนอขอใช้พื้นที่ไปประมาณ 6-7 แห่งในการก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวี รองรับให้กับรถโดยสารเอ็นจีวีของขสมก.จำนวน 4,000 คัน ที่จะมีการจัดซื้อเข้ามาและเมื่อได้พื้นที่แล้วก็จะมาตั้งงบลงทุนในการดำเนินงานต่อไป เพิ่มเติมจากงบลงทุนเดิมที่ใช้สำหรับการก่อสร้างปั๊มเอ็นจีวีในปีนี้1,200 ล้านบาท ในจำนวน 41 แห่ง ซึ่งจะทำให้เมื่อถึงสิ้นปีจะมีปั๊มอยู่ 502 แห่ง จากปัจจุบันที่มีปั๊มอยู่แล้ว 474 แห่ง
อย่างไรก็ตามมองว่าการดำเนินงานก่อสร้างปั๊มเอ็นจีวีในพื้นที่ราชพัสดุคงไม่สามารถดำเนินการได้เร็วเพราะต้องเข้าสำรวจพื้นที่ว่าแห่งใดมีความเหมาะสมไม่ติดขัดข้อกฎหมายในการก่อสร้างสถานีบริการหากเร็วสุดคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้าจากแผนเดิมที่กำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2556 จะมีปั๊มเอ็นจีวี 548 แห่ง
"การขอใช้ที่ราชพัสดุครั้งนี้เนื่องจากบมจ.ปตท.ต้องการหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวี โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกเพื่อรองรับจำนวนรถโดยสารเอ็นจีวีของขสมก.ที่จะมีการจัดซื้อ4,000 คันและส่วนที่2 กันพื้นที่ให้ไว้สำหรับรองรับการบริการประชาชนด้วยจึงได้มีการหารือกับกระทรวงคมนาคมช่วยจัดหาสถานที่ก่อสร้างปั๊มให้โดยเน้นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแนวท่อส่งก๊าซเป็นหลัก ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างไม่ทันการจัดซื้อรถโดยสารเอ็นจีวีก็มีแผนรองรับให้ไปใช้ปั๊มบริเวณใกล้เคียงตามแนวท่อส่งก๊าซก่อน โดยจะมีการหารือให้ขสมก.ปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถแทน"
นายพีระพงษ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีในปีนี้ ยังเดินตามแผนเดิมที่วางไว้อยู่ที่จะเน้นการก่อสร้างปั๊มตามแนวท่อส่งก๊าซเป็นหลัก เพื่อลดต้นทุนการขนส่งขณะเดียวกันจะต้องจัดหาก๊าซเอ็นจีวีเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน ภายหลังจากที่เอ็นจีวีได้มีการอนุมัติให้ปรับขึ้นมาอยู่ที่14.50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งในปีนี้จะใช้งบลงทุนประมาณ930 ล้านบาท สำหรับจัดหาเอ็นจีวีและขยายปรับปรุงสถานีจ่ายก๊าซแม่เพิ่มเพื่อรองรับความต้องการใช้เอ็นจีวีที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ7,800ตันต่อวันโดยจะขยายกำลังการผลิตจากสถานีจ่ายก๊าซแม่เพิ่มขึ้นอีก1,425 ตันต่อวัน จากปีก่อนอยู่ที่ 4,366 ตันต่อวันหรือเพิ่มขึ้น32%รวมกำลังการผลิตสิ้นปีนี้เป็น 5,791 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นการป้อนก๊าซจากแนวท่อผ่านสถานีบริการ
นายพีระพงษ์ กล่าวเสริมอีกว่า ส่วนที่มีบมจ.ปตท.จะขายธุรกิจก๊าซเอ็นจีวีให้กับผู้สนใจนั้น เป็นแนวทางศึกษาหนึ่งในการลดภาระที่ต้องชดเชยราคาก๊าซเอ็นจีวี เนื่องจากขายในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่เป็นจริงแม้ว่าครม.จะมีมติให้ปรับขึ้นไป14.50 บาทต่อกิโลกรัมก็ตามแต่ยังถือว่าไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงซึ่งหากเอกชนมีความสนใจและสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ บมจ.ปตท.ก็ควรจะออกมาจากธุรกิจนี้ แต่หากเอกชนทำแล้ว อยู่ไม่ได้บมจ.ปตท.ก็ต้องรับหน้าที่ต่อไป แต่ภาครัฐจะต้องหาเงินมาช่วยอุดหนุน
--จบ--
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Saturday, April 21, 2012
ปตท.เตรียมทบทวนแผนลงทุนเอ็นจีวีใหม่ หลังครม.ไฟเขียวให้ใช้ที่ราชพัสดุ ทำปั๊มเอ็นจีวี รองรับรถโดยสารขสมก. 4,000 คัน เผยต้องการพื้นที่ 6-7 แห่งโดยขอให้กันพื้นที่ไว้ทำปั๊มบริการประชาชนด้วย ยันโครงการขึ้นได้ปีหน้า
นายพีระพงษ์ อัจฉริยชีวิน รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติบริษัท ปตท.จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 17 เมษายนที่ผ่านมา เห็นชอบให้บมจ.ปตท.สามารถนำที่ราชพัสดุของกรมธนารักษ์ ไปดำเนินการก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีเพื่อรองรับปริมาณความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้นว่าหลังจากทราบมติครม.แล้วทางบมจ.ปตท.คงต้องหารือกับกรมธนารักษ์ และเข้าสำรวจพื้นที่ราชพัสดุที่มีการเสนอมาจำนวน 10 แห่ง ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจากที่ได้เสนอขอใช้พื้นที่ไปประมาณ 6-7 แห่งในการก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวี รองรับให้กับรถโดยสารเอ็นจีวีของขสมก.จำนวน 4,000 คัน ที่จะมีการจัดซื้อเข้ามาและเมื่อได้พื้นที่แล้วก็จะมาตั้งงบลงทุนในการดำเนินงานต่อไป เพิ่มเติมจากงบลงทุนเดิมที่ใช้สำหรับการก่อสร้างปั๊มเอ็นจีวีในปีนี้1,200 ล้านบาท ในจำนวน 41 แห่ง ซึ่งจะทำให้เมื่อถึงสิ้นปีจะมีปั๊มอยู่ 502 แห่ง จากปัจจุบันที่มีปั๊มอยู่แล้ว 474 แห่ง
อย่างไรก็ตามมองว่าการดำเนินงานก่อสร้างปั๊มเอ็นจีวีในพื้นที่ราชพัสดุคงไม่สามารถดำเนินการได้เร็วเพราะต้องเข้าสำรวจพื้นที่ว่าแห่งใดมีความเหมาะสมไม่ติดขัดข้อกฎหมายในการก่อสร้างสถานีบริการหากเร็วสุดคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ประมาณปลายปีนี้หรืออย่างช้าต้นปีหน้าจากแผนเดิมที่กำหนดเป้าหมายไว้ในปี 2556 จะมีปั๊มเอ็นจีวี 548 แห่ง
"การขอใช้ที่ราชพัสดุครั้งนี้เนื่องจากบมจ.ปตท.ต้องการหาพื้นที่ก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวี โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน
ส่วนแรกเพื่อรองรับจำนวนรถโดยสารเอ็นจีวีของขสมก.ที่จะมีการจัดซื้อ4,000 คันและส่วนที่2 กันพื้นที่ให้ไว้สำหรับรองรับการบริการประชาชนด้วยจึงได้มีการหารือกับกระทรวงคมนาคมช่วยจัดหาสถานที่ก่อสร้างปั๊มให้โดยเน้นพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับแนวท่อส่งก๊าซเป็นหลัก ซึ่งหากดำเนินการก่อสร้างไม่ทันการจัดซื้อรถโดยสารเอ็นจีวีก็มีแผนรองรับให้ไปใช้ปั๊มบริเวณใกล้เคียงตามแนวท่อส่งก๊าซก่อน โดยจะมีการหารือให้ขสมก.ปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินรถแทน"
นายพีระพงษ์ กล่าวอีกว่า อย่างไรก็ตาม การลงทุนก่อสร้างสถานีบริการเอ็นจีวีในปีนี้ ยังเดินตามแผนเดิมที่วางไว้อยู่ที่จะเน้นการก่อสร้างปั๊มตามแนวท่อส่งก๊าซเป็นหลัก เพื่อลดต้นทุนการขนส่งขณะเดียวกันจะต้องจัดหาก๊าซเอ็นจีวีเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลน ภายหลังจากที่เอ็นจีวีได้มีการอนุมัติให้ปรับขึ้นมาอยู่ที่14.50 บาทต่อกิโลกรัม ซึ่งในปีนี้จะใช้งบลงทุนประมาณ930 ล้านบาท สำหรับจัดหาเอ็นจีวีและขยายปรับปรุงสถานีจ่ายก๊าซแม่เพิ่มเพื่อรองรับความต้องการใช้เอ็นจีวีที่เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ7,800ตันต่อวันโดยจะขยายกำลังการผลิตจากสถานีจ่ายก๊าซแม่เพิ่มขึ้นอีก1,425 ตันต่อวัน จากปีก่อนอยู่ที่ 4,366 ตันต่อวันหรือเพิ่มขึ้น32%รวมกำลังการผลิตสิ้นปีนี้เป็น 5,791 ตันต่อวัน ส่วนที่เหลือเป็นการป้อนก๊าซจากแนวท่อผ่านสถานีบริการ
นายพีระพงษ์ กล่าวเสริมอีกว่า ส่วนที่มีบมจ.ปตท.จะขายธุรกิจก๊าซเอ็นจีวีให้กับผู้สนใจนั้น เป็นแนวทางศึกษาหนึ่งในการลดภาระที่ต้องชดเชยราคาก๊าซเอ็นจีวี เนื่องจากขายในราคาที่ต่ำกว่าต้นทุนที่เป็นจริงแม้ว่าครม.จะมีมติให้ปรับขึ้นไป14.50 บาทต่อกิโลกรัมก็ตามแต่ยังถือว่าไม่สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงซึ่งหากเอกชนมีความสนใจและสามารถดำเนินธุรกิจอยู่ได้ บมจ.ปตท.ก็ควรจะออกมาจากธุรกิจนี้ แต่หากเอกชนทำแล้ว อยู่ไม่ได้บมจ.ปตท.ก็ต้องรับหน้าที่ต่อไป แต่ภาครัฐจะต้องหาเงินมาช่วยอุดหนุน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 194
เร่งศึกษาแผนส่ง'แอลพีจี'ตามท่อ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, April 23, 2012
โพสต์ทูเดย์ -ปตท.เร่งศึกษาวางท่อแอลพีจี ชลบุรี-สระบุรีหวังลดการขนส่งทางถนน
นายณัฐชาติ จารุจินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. เปิดเผยว่ากำลังศึกษารายละเอียดแผนงานโครงการวางท่อขนส่งก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) จากคลังแอลพีจีบ้านโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี ไป จ.สระบุรีก่อนเสนอขออนุมัติเงินลงทุนจากคณะกรรมการ ปตท. โดยเบื้องต้นโครงการดังกล่าวจะมีระยะทาง 180 กม. ส่วนวงเงินลงทุนยังไม่ได้ข้อสรุป
ทั้งนี้ การวางท่อก๊าซจะวางคู่ขนานไปกับเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะลดผลกระทบกับชุมชนโดยรอบและไม่ใช้เงินลงทุนเพิ่มมากนัก เพราะอาจใช้วิธีโยกงบลงทุนจากเดิมที่ซื้อหัวรถจักรรถไฟที่ใช้ขนแอลพีจีมาลงทุนวางท่อก๊าซแทน
อย่างไรก็ตาม การขนส่งแอลพีจีทางท่อเกิดความสะดวกและปลอดภัยมากกว่าการขนส่งทางถนน เพราะมีบทเรียนจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการขนส่งแอลพีจีทางบกเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันลดปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุรถขนส่งแอลพีจีด้วย
ด้านแผนการลงทุนสร้างคลังแอลพีจีแห่งใหม่เฟส 2 นั้น ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ โดยอยู่ระหว่างการหาพื้นที่ตั้งที่เหมาะสม โดยจะเก็บสำรองแอลพีจีได้ 2.5 แสนตัน/ปี
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้จำเป็นต้องเร่งรัดให้ ปตท.สร้างคลังแอลพีจีแห่งใหม่ เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยยอดนำเข้าล่าสุดอยู่ที่ 1.7 แสนตัน/เดือนจากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้จะนำเข้าเฉลี่ย 1.3 แสนตันเท่านั้น ซึ่งเงินลงทุนที่ ปตท.เคยศึกษาไว้ต้องใช้เงินกว่า 1.5-1.6 หมื่นล้านบาท และมีระยะเวลาก่อสร้าง 4-5 ปี ดังนั้นจะต้องเร่งสรุปรายละเอียดของโครงการ ไม่เช่นนั้นการนำเข้าแอลพีจีในอนาคตหากไม่มีคลังให้เก็บก็ต้องเพิ่มเรือคลังลอยน้ำ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมาก
--จบ--
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, April 23, 2012
โพสต์ทูเดย์ -ปตท.เร่งศึกษาวางท่อแอลพีจี ชลบุรี-สระบุรีหวังลดการขนส่งทางถนน
นายณัฐชาติ จารุจินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. เปิดเผยว่ากำลังศึกษารายละเอียดแผนงานโครงการวางท่อขนส่งก๊าซหุงต้ม(แอลพีจี) จากคลังแอลพีจีบ้านโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี ไป จ.สระบุรีก่อนเสนอขออนุมัติเงินลงทุนจากคณะกรรมการ ปตท. โดยเบื้องต้นโครงการดังกล่าวจะมีระยะทาง 180 กม. ส่วนวงเงินลงทุนยังไม่ได้ข้อสรุป
ทั้งนี้ การวางท่อก๊าซจะวางคู่ขนานไปกับเส้นทางรถไฟ ซึ่งจะลดผลกระทบกับชุมชนโดยรอบและไม่ใช้เงินลงทุนเพิ่มมากนัก เพราะอาจใช้วิธีโยกงบลงทุนจากเดิมที่ซื้อหัวรถจักรรถไฟที่ใช้ขนแอลพีจีมาลงทุนวางท่อก๊าซแทน
อย่างไรก็ตาม การขนส่งแอลพีจีทางท่อเกิดความสะดวกและปลอดภัยมากกว่าการขนส่งทางถนน เพราะมีบทเรียนจากเหตุการณ์น้ำท่วมใหญ่ที่ผ่านมาส่งผลกระทบต่อการขนส่งแอลพีจีทางบกเป็นอย่างมาก ขณะเดียวกันลดปัญหาที่เกิดจากอุบัติเหตุรถขนส่งแอลพีจีด้วย
ด้านแผนการลงทุนสร้างคลังแอลพีจีแห่งใหม่เฟส 2 นั้น ยังไม่ได้เริ่มดำเนินการ โดยอยู่ระหว่างการหาพื้นที่ตั้งที่เหมาะสม โดยจะเก็บสำรองแอลพีจีได้ 2.5 แสนตัน/ปี
แหล่งข่าวจากกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้จำเป็นต้องเร่งรัดให้ ปตท.สร้างคลังแอลพีจีแห่งใหม่ เนื่องจากปริมาณความต้องการใช้มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นทุกปี โดยยอดนำเข้าล่าสุดอยู่ที่ 1.7 แสนตัน/เดือนจากเดิมที่เคยคาดการณ์ไว้จะนำเข้าเฉลี่ย 1.3 แสนตันเท่านั้น ซึ่งเงินลงทุนที่ ปตท.เคยศึกษาไว้ต้องใช้เงินกว่า 1.5-1.6 หมื่นล้านบาท และมีระยะเวลาก่อสร้าง 4-5 ปี ดังนั้นจะต้องเร่งสรุปรายละเอียดของโครงการ ไม่เช่นนั้นการนำเข้าแอลพีจีในอนาคตหากไม่มีคลังให้เก็บก็ต้องเพิ่มเรือคลังลอยน้ำ ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นมาก
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 195
วันที่/เวลา 23 เม.ย. 2555 12:58:42
หัวข้อข่าว การก่อสร้างแล้วเสร็จของแหล่งบงกชใต้ โครงการบงกช
หลักทรัพย์ PTTEP
แหล่งข่าว PTTEP
รายละเอียดแบบเต็ม
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการโครงการบงกช
โดยมีสัดส่วนการร่วมทุนร้อยละ 44.4445 และมีผู้ร่วมทุนอื่นประกอบด้วยบริษัท Total E&P Thailand
และบริษัท BG Asia Pacific Pte Limited ตามสัดส่วนการร่วมทุนร้อยละ 33.3333 และ ร้อยละ 22.2222 ตามลำดับ
นั้น
ปตท.สผ. ขอแจ้งว่า บริษัทฯได้ดำเนินการก่อสร้างแหล่งบงกชใต้แล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้
และได้เริ่มการผลิตและทดสอบระบบการส่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555
โดยขณะนี้ได้ดำเนินการผลิตและส่งก๊าซธรรมชาติให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ที่อัตราประมาณ 50
ถึง 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสทประมาณ 3,000 ถึง 4,000 บาร์เรลต่อวัน
ทั้งนี้ บริษัทฯจะทยอยเพิ่มระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติขึ้นตามลำดับ และคาดว่าจะถึงระดับการผลิตที่ 320
ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราการส่งก๊าซธรรมชาติ (Daily Contract Quantity)
ตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ ปตท. ได้ ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2555
ที่มา : http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
หัวข้อข่าว การก่อสร้างแล้วเสร็จของแหล่งบงกชใต้ โครงการบงกช
หลักทรัพย์ PTTEP
แหล่งข่าว PTTEP
รายละเอียดแบบเต็ม
เรียน กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ตามที่บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เป็นผู้ดำเนินการโครงการบงกช
โดยมีสัดส่วนการร่วมทุนร้อยละ 44.4445 และมีผู้ร่วมทุนอื่นประกอบด้วยบริษัท Total E&P Thailand
และบริษัท BG Asia Pacific Pte Limited ตามสัดส่วนการร่วมทุนร้อยละ 33.3333 และ ร้อยละ 22.2222 ตามลำดับ
นั้น
ปตท.สผ. ขอแจ้งว่า บริษัทฯได้ดำเนินการก่อสร้างแหล่งบงกชใต้แล้วเสร็จตามแผนงานที่วางไว้
และได้เริ่มการผลิตและทดสอบระบบการส่งก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทแล้วตั้งแต่เดือนมีนาคม 2555
โดยขณะนี้ได้ดำเนินการผลิตและส่งก๊าซธรรมชาติให้กับบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ที่อัตราประมาณ 50
ถึง 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสทประมาณ 3,000 ถึง 4,000 บาร์เรลต่อวัน
ทั้งนี้ บริษัทฯจะทยอยเพิ่มระดับการผลิตก๊าซธรรมชาติขึ้นตามลำดับ และคาดว่าจะถึงระดับการผลิตที่ 320
ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ซึ่งเป็นอัตราการส่งก๊าซธรรมชาติ (Daily Contract Quantity)
ตามสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติกับ ปตท. ได้ ภายในไตรมาสที่ 2 ปี 2555
ที่มา : http://www.set.or.th/set/newsdetails.do ... country=TH
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 196
ปตท.สผ.สร้างแหล่งก๊าซบงกชใต้สำเร็จแล้วขุดส่งเข้าระบบ50-70ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน
Source - พิมพ์ไทย (Th), Tuesday, April 24, 2012
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ (Mr. Anon Sirisaengtaksin) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า แหล่งบงกชใต้ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซฯ ขนาดใหญ่อีกแหล่งหนึ่งในโครงการบงกช ได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างและติดตั้งแท่นผลิตและอุปกรณ์การผลิตต่างๆ แล้วตามกำหนด และได้เริ่มทดลองผลิตก๊าซฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้ได้เริ่มส่งก๊าซฯ เข้าระบบท่อของ ปตท. ในอัตรา50-70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้แหล่งบงกชใต้ยังสามารถผลิตคอนเดนเสทในขณะนี้ได้ประมาณ 3,000 -4,000 บาร์เรลต่อวัน ปตท.สผ. คาดว่าจะเพิ่มการผลิตในแหล่งบงกชใต้ได้ถึงปริมาณการผลิตต่อวันตามสัญญาซื้อขาย (Daily Contract Quantity: DCQ)ที่ 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 9,000 บาร์เรลต่อวันภายในไตรมาสที่ 2
ปตท.สผ. ได้เริ่มการพัฒนาแหล่งบงกชใต้ในอ่าวไทยตั้งแต่ปี 2551 โดยแหล่งบงกชใต้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซฯ สูงสุดถึง 350 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 15,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชใต้เมื่อรวมกับแหล่งบงกช จะทำให้กำลังการผลิตก๊าซฯโดยรวมในโครงการบงกชสูงขึ้นถึง 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สนองตอบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยได้ถึง 20%
แหล่งบงกชใต้ เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่แหล่งหนึ่งในอ่าวไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์ ห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลาประมาณ 203 กิโลเมตร ประกอบด้วยแท่นผลิต (Central Processing Platform) 1 แท่นแท่นที่พักอาศัย (Living Quarter Platform) 1 แท่น และ แท่นหลุมผลิต(Wellhead Platform) 13 แท่น โดยมีผู้ร่วมทุน ดังนี้ ปตท.สผ. 44.4445%(ผู้ดำเนินการ) บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ 33.3333% และ บริษัทบีจี เอเชีย แปซิฟิค พีทีอี จำกัด 22.2222%
--จบ--
Source - พิมพ์ไทย (Th), Tuesday, April 24, 2012
นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ (Mr. Anon Sirisaengtaksin) ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. เปิดเผยว่า แหล่งบงกชใต้ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซฯ ขนาดใหญ่อีกแหล่งหนึ่งในโครงการบงกช ได้เสร็จสิ้นการก่อสร้างและติดตั้งแท่นผลิตและอุปกรณ์การผลิตต่างๆ แล้วตามกำหนด และได้เริ่มทดลองผลิตก๊าซฯ เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา โดยขณะนี้ได้เริ่มส่งก๊าซฯ เข้าระบบท่อของ ปตท. ในอัตรา50-70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นอกจากนี้แหล่งบงกชใต้ยังสามารถผลิตคอนเดนเสทในขณะนี้ได้ประมาณ 3,000 -4,000 บาร์เรลต่อวัน ปตท.สผ. คาดว่าจะเพิ่มการผลิตในแหล่งบงกชใต้ได้ถึงปริมาณการผลิตต่อวันตามสัญญาซื้อขาย (Daily Contract Quantity: DCQ)ที่ 320 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 9,000 บาร์เรลต่อวันภายในไตรมาสที่ 2
ปตท.สผ. ได้เริ่มการพัฒนาแหล่งบงกชใต้ในอ่าวไทยตั้งแต่ปี 2551 โดยแหล่งบงกชใต้สามารถเพิ่มกำลังการผลิตก๊าซฯ สูงสุดถึง 350 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และคอนเดนเสท 15,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งกำลังการผลิตก๊าซธรรมชาติจากแหล่งบงกชใต้เมื่อรวมกับแหล่งบงกช จะทำให้กำลังการผลิตก๊าซฯโดยรวมในโครงการบงกชสูงขึ้นถึง 900 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน สนองตอบความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติของประเทศไทยได้ถึง 20%
แหล่งบงกชใต้ เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่แหล่งหนึ่งในอ่าวไทยตั้งอยู่ในพื้นที่ปิโตรเลียมนวมินทร์ ห่างจากชายฝั่งจังหวัดสงขลาประมาณ 203 กิโลเมตร ประกอบด้วยแท่นผลิต (Central Processing Platform) 1 แท่นแท่นที่พักอาศัย (Living Quarter Platform) 1 แท่น และ แท่นหลุมผลิต(Wellhead Platform) 13 แท่น โดยมีผู้ร่วมทุน ดังนี้ ปตท.สผ. 44.4445%(ผู้ดำเนินการ) บริษัท โททาล อี แอนด์ พี ไทยแลนด์ 33.3333% และ บริษัทบีจี เอเชีย แปซิฟิค พีทีอี จำกัด 22.2222%
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 197
ปตท.สผ.ลังเลประมูลซื้อโคฟ หลังเชลล์บิดสู้
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, April 25, 2012
ปตท.สผ.ลังเลประมูลซื้อโคฟ เอ็นเนอร์ยี่ บริษัทพลังยักษ์ใหญ่อังกฤษรอบใหม่หลังเชลล์เพิ่มราคาซื้อเท่ากันที่ 220 เพนซ์ ต่อหุ้น หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาท
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ ว่า บริษัทได้รับทราบถึงการประกาศการทำคำเสนอซื้อหุ้นบริษัทโคฟ เอ็นเนอร์ยี่ พีแอลซี (Cove Energy Plc.) โดย บริษัท Shell Exploration and Production (XL) B.V. (เชลล์) ที่ราคา 220 เพนซ์/หุ้น คิดเป็นมูลค่าราว 1.2 พันล้านปอนด์ หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาทซึ่งจะมีผลผูกพัน ต่อเมื่อข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ได้บรรลุตามที่ระบุไว้ในประกาศของเชลล์
ทั้งนี้บริษัทปตท.ผส.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทาง และจะดำเนินการประกาศอีกครั้งตามความเหมาะสม ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่า จะมีการยื่นข้อเสนอสุดท้ายโดยบริษัทต่อไปหรือไม่
ก่อนหน้านี้ บริษัทปตท.สผ. ได้แจ้งความประสงค์จะทำคำเสนอซื้อหุ้น โคฟ ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจแหล่งก๊าซและน้ำมันของอังกฤษ ที่ราคา 220 เพนซ์/หุ้น คิดเป็นมูลค่า 1.12 พันล้านปอนด์ เพื่อขยายฐานการลงทุนของบริษัท และเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทย
ขณะที่บริษัทโคฟ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Investment Market (AIM) ใน ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีสินทรัพย์หลักคือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และคาดว่า จะมีปริมาณสำรอง ราว 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect
บริษัทโคฟยังถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area ในสาธารณรัฐโมซัมบิก รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลง ในเคนยาด้วย
อย่างไรก็ตาม วานนี้ บริษัทเชลล์ เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้ตกลงที่จะซื้อกิจการ โคฟฯ ด้วยเงินสด 1.12 พันล้านปอนด์ (1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเพื่อให้เท่ากับราคาที่เสนอโดย บริษัทปตท.สผ.ก่อนหน้านี้
ขณะที่ รอยเตอร์รายงานว่า บริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ กล่าวว่า ทางบริษัทได้ตกลงที่จะซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ด้วยเงินสด 1.12 พันล้านปอนด์ โดยบริษัทได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเพื่อให้เท่ากับราคาที่เสนอโดยบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
โดยเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา บริษัทปตท.สผ.ได้เสนอซื้อกิจการ โคฟ เป็นเงิน 1.12 พันล้านปอนด์ ซึ่งมากกว่าข้อเสนอก่อนหน้านี้ของเชลล์ที่ 992.4 ล้านปอนด์
ขณะที่กรรมการหลายคนของ โคฟฯ สนับสนุนข้อเสนอของเชลล์ ซึ่งให้ราคา ระดับเดียวกับข้อเสนอของบริษัทปตท.สผ.ที่ราคาหุ้นละ 220 เพนซ์ ขณะที่เชลล์เชื่อมั่น ว่า ความเชี่ยวชาญของบริษัทจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการของโคฟ
"เชลล์ถือเป็นหุ้นส่วนที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ถือหุ้นทั้งหมดในโครงการ Rovuma LNG เมื่อพิจารณาจากการพัฒนาโครงการที่กว้างขวาง, ประสบการณ์ในการดำเนินงานและการทำการตลาดในเครือข่าย LNG value chain ทั้งระบบ" นายไมเคิล บลาฮา ประธานบริหารของ โคฟ กล่าวในแถลงการณ์ ฉบับหนึ่ง
บริษัทเชลล์เปิดเผยว่า ราคาตามข้อเสนอของบริษัทอยู่สูงกว่าราคาปิดของหุ้นโคฟ เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา อยู่ 95.6% ซึ่งเป็นวันก่อนที่บริษัทได้ประกาศขายกิจการ และข้อเสนอซื้อกิจการดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลโมซัมบิกก่อน
ด้านนักวิเคราะห์ของอินเวสเทค ระบุว่า "ผู้เข้าประมูลอาจเสนอราคาแข่งกันได้อีก ขณะที่ราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย จากความหวังที่ว่าปตท.สผ.จะเสนอราคาสูงกว่าเชลล์"
อย่างไรก็ดี นายแอนดรูว์ มาทารู นักวิเคราะห์จาก บล.เวสท์เฮ้าส์ กล่าวว่า รัฐบาลโมซัมบิกมีแนวโน้มที่จะรับข้อเสนอของเชลล์
"องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในที่นี้ก็คือรัฐบาลโมซัมบิกต้องการพัฒนาแหล่งทรัพยากรของตนอย่างไร ซึ่งโครงการในระดับใหญ่เช่นนี้ จำเป็นต้องมีบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ที่พร้อมด้วยทุนทรัพย์ทางการเงินและความเชี่ยวชาญในการดำเนินโครงการระดับโลกเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องได้บริษัทอย่างเชลล์"
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Wednesday, April 25, 2012
ปตท.สผ.ลังเลประมูลซื้อโคฟ เอ็นเนอร์ยี่ บริษัทพลังยักษ์ใหญ่อังกฤษรอบใหม่หลังเชลล์เพิ่มราคาซื้อเท่ากันที่ 220 เพนซ์ ต่อหุ้น หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาท
บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (PTTEP) แจ้งตลาดหลักทรัพย์ ว่า บริษัทได้รับทราบถึงการประกาศการทำคำเสนอซื้อหุ้นบริษัทโคฟ เอ็นเนอร์ยี่ พีแอลซี (Cove Energy Plc.) โดย บริษัท Shell Exploration and Production (XL) B.V. (เชลล์) ที่ราคา 220 เพนซ์/หุ้น คิดเป็นมูลค่าราว 1.2 พันล้านปอนด์ หรือราว 5.6 หมื่นล้านบาทซึ่งจะมีผลผูกพัน ต่อเมื่อข้อกำหนดและเงื่อนไขต่างๆ ได้บรรลุตามที่ระบุไว้ในประกาศของเชลล์
ทั้งนี้บริษัทปตท.ผส.กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาแนวทาง และจะดำเนินการประกาศอีกครั้งตามความเหมาะสม ซึ่งยังไม่มีความแน่นอนว่า จะมีการยื่นข้อเสนอสุดท้ายโดยบริษัทต่อไปหรือไม่
ก่อนหน้านี้ บริษัทปตท.สผ. ได้แจ้งความประสงค์จะทำคำเสนอซื้อหุ้น โคฟ ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจแหล่งก๊าซและน้ำมันของอังกฤษ ที่ราคา 220 เพนซ์/หุ้น คิดเป็นมูลค่า 1.12 พันล้านปอนด์ เพื่อขยายฐานการลงทุนของบริษัท และเพิ่มความมั่นคงด้านพลังงานให้กับไทย
ขณะที่บริษัทโคฟ เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Investment Market (AIM) ใน ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีสินทรัพย์หลักคือ การถือสัดส่วน 8.5% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก ซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ และคาดว่า จะมีปริมาณสำรอง ราว 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect
บริษัทโคฟยังถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area ในสาธารณรัฐโมซัมบิก รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลง ในเคนยาด้วย
อย่างไรก็ตาม วานนี้ บริษัทเชลล์ เปิดเผยว่า ทางบริษัทได้ตกลงที่จะซื้อกิจการ โคฟฯ ด้วยเงินสด 1.12 พันล้านปอนด์ (1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) โดยได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเพื่อให้เท่ากับราคาที่เสนอโดย บริษัทปตท.สผ.ก่อนหน้านี้
ขณะที่ รอยเตอร์รายงานว่า บริษัท รอยัล ดัทช์ เชลล์ กล่าวว่า ทางบริษัทได้ตกลงที่จะซื้อกิจการบริษัท Cove Energy ด้วยเงินสด 1.12 พันล้านปอนด์ โดยบริษัทได้เพิ่มราคาเสนอซื้อเพื่อให้เท่ากับราคาที่เสนอโดยบริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
โดยเมื่อเดือนก.พ. ที่ผ่านมา บริษัทปตท.สผ.ได้เสนอซื้อกิจการ โคฟ เป็นเงิน 1.12 พันล้านปอนด์ ซึ่งมากกว่าข้อเสนอก่อนหน้านี้ของเชลล์ที่ 992.4 ล้านปอนด์
ขณะที่กรรมการหลายคนของ โคฟฯ สนับสนุนข้อเสนอของเชลล์ ซึ่งให้ราคา ระดับเดียวกับข้อเสนอของบริษัทปตท.สผ.ที่ราคาหุ้นละ 220 เพนซ์ ขณะที่เชลล์เชื่อมั่น ว่า ความเชี่ยวชาญของบริษัทจะช่วยให้ประสบความสำเร็จในการซื้อกิจการของโคฟ
"เชลล์ถือเป็นหุ้นส่วนที่ยอดเยี่ยมสำหรับผู้ถือหุ้นทั้งหมดในโครงการ Rovuma LNG เมื่อพิจารณาจากการพัฒนาโครงการที่กว้างขวาง, ประสบการณ์ในการดำเนินงานและการทำการตลาดในเครือข่าย LNG value chain ทั้งระบบ" นายไมเคิล บลาฮา ประธานบริหารของ โคฟ กล่าวในแถลงการณ์ ฉบับหนึ่ง
บริษัทเชลล์เปิดเผยว่า ราคาตามข้อเสนอของบริษัทอยู่สูงกว่าราคาปิดของหุ้นโคฟ เมื่อวันที่ 4 ม.ค. ที่ผ่านมา อยู่ 95.6% ซึ่งเป็นวันก่อนที่บริษัทได้ประกาศขายกิจการ และข้อเสนอซื้อกิจการดังกล่าวต้องได้รับอนุมัติจากรัฐบาลโมซัมบิกก่อน
ด้านนักวิเคราะห์ของอินเวสเทค ระบุว่า "ผู้เข้าประมูลอาจเสนอราคาแข่งกันได้อีก ขณะที่ราคาหุ้นมีแนวโน้มที่จะปรับตัวขึ้นเล็กน้อย จากความหวังที่ว่าปตท.สผ.จะเสนอราคาสูงกว่าเชลล์"
อย่างไรก็ดี นายแอนดรูว์ มาทารู นักวิเคราะห์จาก บล.เวสท์เฮ้าส์ กล่าวว่า รัฐบาลโมซัมบิกมีแนวโน้มที่จะรับข้อเสนอของเชลล์
"องค์ประกอบสำคัญอย่างหนึ่งในที่นี้ก็คือรัฐบาลโมซัมบิกต้องการพัฒนาแหล่งทรัพยากรของตนอย่างไร ซึ่งโครงการในระดับใหญ่เช่นนี้ จำเป็นต้องมีบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ที่พร้อมด้วยทุนทรัพย์ทางการเงินและความเชี่ยวชาญในการดำเนินโครงการระดับโลกเพื่อให้ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นคุณจึงจำเป็นต้องได้บริษัทอย่างเชลล์"
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 198
ผนึกกำลัง 4 ซีอีโอใหม่ ปตท.ดันไทยขึ้นผู้นำพลังงานเอเชีย
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, April 25, 2012
1พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ซีอีโอ) ในกลุ่ม ปตท.ทั้ง 4 คน จะต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการตามมติคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ชุดที่มี นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน มีมติอนุมัติเมื่อ 23 มีนาคม 2555 ให้สลับตำแหน่งการทำงานกันใหม่
ประกอบด้วย นายสุรงค์ บูลกุลเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. หรือ PTTนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP นายเทวินทร์ วงศ์วานิช เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP
ภารกิจของ 4 ซีอีโอคือ นำพากลุ่ม ปตท.ก้าวขึ้นไปเป็นบริษัทชั้นนำทางพลังงานติดอันดับฟอร์จูน 100 จากปัจจุบันมีรายได้ ปีละ 2 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้าเป้าขยับเป็นปีละ 4 ล้านล้านบาท
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท. ยืนยันว่า กลุ่ม ปตท.มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งอยู่ราว 1.402 ล้านล้านบาท พร้อมรองรับภาระจัดหาพลังงานแก่ประเทศในอนาคต
นอกจากนี้ 4 ซีอีโอจะต้องรักษาตำแหน่งความเป็นผู้นำทางพลังงานในเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ไว้ให้ได้ด้วย เป็นทั้ง "ผู้ผลิต-ผู้ค้า-ผู้จำหน่าย- ผู้ให้บริการ" ครบวงจร ทั้งในกลุ่มอาเซียนเก่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ รวมทั้งต้องเพิ่มบทบาทเป็นศูนย์กลางอาเซียนใหม่ (CLMV) กัมพูชา สปป.ลาว พม่า เวียดนามด้วย
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท.กล่าวว่า พร้อมจะนำพาความสำเร็จมาสู่องค์กรซึ่งมี เป้าหมายอันท้าทาย และต้องอาศัยการผนึกกำลังกันกับซีอีโอในเครือ ปตท.ทุกคนสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอด 5-10 ปีนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่าโครงการลงทุนหลักของ ปตท.แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 พัฒนาธุรกิจถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวนอกฝั่ง (FLNG) ไฟฟ้า ในสัดส่วนรวมกันสูงสุด 45% ส่วนที่ 2 ขยายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (LPG) ก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์ (NGV) รวมทั้งหมด 38% ส่วนที่ 3 ลงทุนคลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LNG) สถานีบริการน้ำมันรวม 14% ส่วนที่ 4 วิจัยพัฒนาและกิจกรรมอื่น ๆ 3%
โดยวงเงินลงทุนตลอด 5 ปี 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ปตท. 3.57 แสนล้านบาท ปตท.สผ. 3.6 แสนล้านบาท และกลุ่มบริษัทปิโตรเคมีกับโรงกลั่นอีก 2 แสนล้านบาท
ขณะที่นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยออยล์ กล่าวว่า จะต้องเข้าไปดูรายละเอียดอีกครั้ง แต่ยังไม่มีแนวคิดที่จะรื้อหรือปรับโครงสร้างใหม่ ยังคงมั่นใจศักยภาพขององค์กรมีสูงพอที่จะเดินหน้าต่อได้อย่างแข็งแกร่ง
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กับนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวสอดคล้องกันว่า ในฐานะลูกหม้อของ ปตท.พร้อมที่จะเข้ามาสาน ต่อโครงการลงทุนใหม่
ตามแผน 5 ปีหน้า ปตท.สผ.มีภารกิจสำคัญคือ ขยายการลงทุน โดยใช้ทุก รูปแบบทั้งการซื้อกิจการ ร่วมทุน เพื่อหาแหล่งพลังงานสำรองทั้งในประเทศและทั่วโลกไว้ให้ได้มากที่สุด ใช้เงินลงทุน 360,000 ล้านบาท แสวงหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมในประเทศไทยสัดส่วน 54% ต่างประเทศในภูมิภาคหลักคือ เอเชียตะวันออก 22% อเมริกาเหนือ 15% ตะวันออกกลาง 4% ออสเตรเลีย 5%
ปตท.เคมิคอล โกลบอล วางแผนเร่งขยายรายได้จาก 7 กลุ่มธุรกิจคือ ปิโตรเลียมและสาธารณูปการ อะโรเมติกส์ โอเลฟินส์ โพลิเมอร์ เอทิลีนออกไซด์ กรีนเคมีคอล และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิด พิเศษ ภาพรวมมีกำลังผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์รวม 8.2 ล้านตัน/ปี กำลังผลิตปิโตรเลียม 228,000 บาร์เรล/วัน
ทั้ง 4 ซีอีโอตอบโจทย์ของ ปตท.ซึ่งตั้งเป้าหมายปี 2563 จะต้องจัดหาพลังงานมารองรับความต้องการของประเทศให้ได้เกิน 50% จากการนำกลุ่มธุรกิจเข้าเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ 3 ส่วนคือ 1.สำรวจและผลิตวันละ 9 แสนบาร์เรล/วัน 2. ถ่านหินต้องมีกำลังการผลิต 70 ล้านตัน/ปี 3. ปาล์มน้ำมันต้องเป็นผู้นำต้นน้ำด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 500 kHA ควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติ
เมื่อถึงตอนนั้น ปตท.จะขึ้นเป็นผู้นำก๊าซธรรมชาติ 1 ใน 3 ของเอเชีย เป็นผู้นำไฟฟ้าเอเชีย ด้านปิโตรเคมีต้องเป็น ผู้นำการผลิตมูลค่าสูง ด้านการกลั่น ต้องทำวงจรขนาดใหญ่ครอบคลุม ทั่วเอเชีย-แปซิฟิก และค้าปลีกต้อง ขยายธุรกิจสู่อินโดจีนและปั้นแบรนด์ระดับโลกให้ได้
--จบ--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, April 25, 2012
1พฤษภาคม 2555 เป็นต้นไป ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ซีอีโอ) ในกลุ่ม ปตท.ทั้ง 4 คน จะต้องเข้าไปปฏิบัติหน้าที่อย่างเป็นทางการตามมติคณะกรรมการบริหาร (บอร์ด) ชุดที่มี นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน มีมติอนุมัติเมื่อ 23 มีนาคม 2555 ให้สลับตำแหน่งการทำงานกันใหม่
ประกอบด้วย นายสุรงค์ บูลกุลเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ปตท. หรือ PTTนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) หรือ TOP นายเทวินทร์ วงศ์วานิช เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP
ภารกิจของ 4 ซีอีโอคือ นำพากลุ่ม ปตท.ก้าวขึ้นไปเป็นบริษัทชั้นนำทางพลังงานติดอันดับฟอร์จูน 100 จากปัจจุบันมีรายได้ ปีละ 2 ล้านล้านบาท ภายใน 5 ปีข้างหน้าเป้าขยับเป็นปีละ 4 ล้านล้านบาท
ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธาน เจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ปตท. ยืนยันว่า กลุ่ม ปตท.มีฐานะทางการเงินที่เข้มแข็งอยู่ราว 1.402 ล้านล้านบาท พร้อมรองรับภาระจัดหาพลังงานแก่ประเทศในอนาคต
นอกจากนี้ 4 ซีอีโอจะต้องรักษาตำแหน่งความเป็นผู้นำทางพลังงานในเขตประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ไว้ให้ได้ด้วย เป็นทั้ง "ผู้ผลิต-ผู้ค้า-ผู้จำหน่าย- ผู้ให้บริการ" ครบวงจร ทั้งในกลุ่มอาเซียนเก่า อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไน สิงคโปร์ รวมทั้งต้องเพิ่มบทบาทเป็นศูนย์กลางอาเซียนใหม่ (CLMV) กัมพูชา สปป.ลาว พม่า เวียดนามด้วย
นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท.กล่าวว่า พร้อมจะนำพาความสำเร็จมาสู่องค์กรซึ่งมี เป้าหมายอันท้าทาย และต้องอาศัยการผนึกกำลังกันกับซีอีโอในเครือ ปตท.ทุกคนสนับสนุนอย่างต่อเนื่องตลอด 5-10 ปีนี้
ทั้งนี้ มีรายงานว่าโครงการลงทุนหลักของ ปตท.แบ่งเป็น 4 ส่วนคือ ส่วนที่ 1 พัฒนาธุรกิจถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน ผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวนอกฝั่ง (FLNG) ไฟฟ้า ในสัดส่วนรวมกันสูงสุด 45% ส่วนที่ 2 ขยายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายสถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (LPG) ก๊าซธรรมชาติเหลวสำหรับยานยนต์ (NGV) รวมทั้งหมด 38% ส่วนที่ 3 ลงทุนคลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LNG) สถานีบริการน้ำมันรวม 14% ส่วนที่ 4 วิจัยพัฒนาและกิจกรรมอื่น ๆ 3%
โดยวงเงินลงทุนตลอด 5 ปี 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็น ปตท. 3.57 แสนล้านบาท ปตท.สผ. 3.6 แสนล้านบาท และกลุ่มบริษัทปิโตรเคมีกับโรงกลั่นอีก 2 แสนล้านบาท
ขณะที่นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยออยล์ กล่าวว่า จะต้องเข้าไปดูรายละเอียดอีกครั้ง แต่ยังไม่มีแนวคิดที่จะรื้อหรือปรับโครงสร้างใหม่ ยังคงมั่นใจศักยภาพขององค์กรมีสูงพอที่จะเดินหน้าต่อได้อย่างแข็งแกร่ง
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ปตท.สผ. กับนายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวสอดคล้องกันว่า ในฐานะลูกหม้อของ ปตท.พร้อมที่จะเข้ามาสาน ต่อโครงการลงทุนใหม่
ตามแผน 5 ปีหน้า ปตท.สผ.มีภารกิจสำคัญคือ ขยายการลงทุน โดยใช้ทุก รูปแบบทั้งการซื้อกิจการ ร่วมทุน เพื่อหาแหล่งพลังงานสำรองทั้งในประเทศและทั่วโลกไว้ให้ได้มากที่สุด ใช้เงินลงทุน 360,000 ล้านบาท แสวงหาแหล่งพลังงานเพิ่มเติมในประเทศไทยสัดส่วน 54% ต่างประเทศในภูมิภาคหลักคือ เอเชียตะวันออก 22% อเมริกาเหนือ 15% ตะวันออกกลาง 4% ออสเตรเลีย 5%
ปตท.เคมิคอล โกลบอล วางแผนเร่งขยายรายได้จาก 7 กลุ่มธุรกิจคือ ปิโตรเลียมและสาธารณูปการ อะโรเมติกส์ โอเลฟินส์ โพลิเมอร์ เอทิลีนออกไซด์ กรีนเคมีคอล และกลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิด พิเศษ ภาพรวมมีกำลังผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์รวม 8.2 ล้านตัน/ปี กำลังผลิตปิโตรเลียม 228,000 บาร์เรล/วัน
ทั้ง 4 ซีอีโอตอบโจทย์ของ ปตท.ซึ่งตั้งเป้าหมายปี 2563 จะต้องจัดหาพลังงานมารองรับความต้องการของประเทศให้ได้เกิน 50% จากการนำกลุ่มธุรกิจเข้าเป็นเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ 3 ส่วนคือ 1.สำรวจและผลิตวันละ 9 แสนบาร์เรล/วัน 2. ถ่านหินต้องมีกำลังการผลิต 70 ล้านตัน/ปี 3. ปาล์มน้ำมันต้องเป็นผู้นำต้นน้ำด้านเชื้อเพลิงชีวภาพ 500 kHA ควบคู่กับการสร้างมูลค่าเพิ่มจากทรัพยากรธรรมชาติ
เมื่อถึงตอนนั้น ปตท.จะขึ้นเป็นผู้นำก๊าซธรรมชาติ 1 ใน 3 ของเอเชีย เป็นผู้นำไฟฟ้าเอเชีย ด้านปิโตรเคมีต้องเป็น ผู้นำการผลิตมูลค่าสูง ด้านการกลั่น ต้องทำวงจรขนาดใหญ่ครอบคลุม ทั่วเอเชีย-แปซิฟิก และค้าปลีกต้อง ขยายธุรกิจสู่อินโดจีนและปั้นแบรนด์ระดับโลกให้ได้
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 199
7 โรงงาน กลุ่ม ปตท. เข้าร่วมโครงการเปิดแผนลดการใช้พลังงาน ก้าวสู่อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ
25 เม.ย. 55
นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า 5 บริษัท (7 โรงงาน) ในกลุ่ม ปตท. ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง ได้แก่ โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง, PTTGC (Refinery), PTTGC (Aromatics I), PTTGC (Olefins I-4), PTTUT (Cup 1, 3), HMC และ SPRC ได้รับการคัดเลือกให้ เข้าร่วมเป็นพื้นที่นำร่องในโครงการเทคโนโลยีการวิเคราะห์และบริหารจัดการการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงกว้าง (The Area-Wide Pinch Technology Project in Thailand) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม กับ องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (NEDO) โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยการลดการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของประเทศไทยได้อีกด้วย โครงการดังกล่าวจะมีระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี
การเข้าร่วมโครงการของโรงงานในกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่มาบตาพุด จะเป็นต้นแบบในการลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้กับโรงงานอื่นๆ ในกลุ่ม ปตท. และในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป นับเป็นอีกก้าวสำคัญตามเจตนารมณ์ในสร้างสังคม Low Carbon Society เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในส่วนของธุรกิจและสังคมชุมชน ตามแนวทาง Green Growth Roadmap ของกลุ่ม ปตท. นับเป็นความมุ่งมั่นของ กลุ่ม ปตท. ที่จะเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน (Big Long Strong) ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Technologically Advanced and Green National Oil Company (TAGNOC) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืนตลอดไป
25 เม.ย. 55
นายสุกฤตย์ สุรบถโสภณ รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ หน่วยธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า 5 บริษัท (7 โรงงาน) ในกลุ่ม ปตท. ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่จังหวัดระยอง ได้แก่ โรงแยกก๊าซธรรมชาติระยอง, PTTGC (Refinery), PTTGC (Aromatics I), PTTGC (Olefins I-4), PTTUT (Cup 1, 3), HMC และ SPRC ได้รับการคัดเลือกให้ เข้าร่วมเป็นพื้นที่นำร่องในโครงการเทคโนโลยีการวิเคราะห์และบริหารจัดการการใช้พลังงานให้เกิดประโยชน์สูงสุดในวงกว้าง (The Area-Wide Pinch Technology Project in Thailand) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่าง กระทรวงอุตสาหกรรม กับ องค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมประเทศญี่ปุ่น (NEDO) โดยเทคโนโลยีดังกล่าวจะช่วยวิเคราะห์การใช้พลังงานไฟฟ้าและพลังงานความร้อนให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งนอกจากจะสนับสนุนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพให้เป็นรูปธรรมมากยิ่งขึ้นแล้ว ยังช่วยการลดการปล่อยปริมาณก๊าซเรือนกระจกโดยรวมของประเทศไทยได้อีกด้วย โครงการดังกล่าวจะมีระยะเวลาดำเนินงาน 2 ปี
การเข้าร่วมโครงการของโรงงานในกลุ่ม ปตท. ในพื้นที่มาบตาพุด จะเป็นต้นแบบในการลดการใช้พลังงานในกระบวนการผลิตให้กับโรงงานอื่นๆ ในกลุ่ม ปตท. และในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ ต่อไป นับเป็นอีกก้าวสำคัญตามเจตนารมณ์ในสร้างสังคม Low Carbon Society เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืนทั้งในส่วนของธุรกิจและสังคมชุมชน ตามแนวทาง Green Growth Roadmap ของกลุ่ม ปตท. นับเป็นความมุ่งมั่นของ กลุ่ม ปตท. ที่จะเป็นองค์กรที่เติบโตอย่างแข็งแรงและยั่งยืน (Big Long Strong) ด้วยความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ Technologically Advanced and Green National Oil Company (TAGNOC) เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจพร้อมสร้างสรรค์สังคมที่ยั่งยืนตลอดไป
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 200
ปตท.ยกเลิกสัญญา'อียิปต์' บันทึกขาดทุนเพิ่ม7พันล.
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, April 27, 2012
ปตท.จ่อบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนในอียิปต์ เพิ่มอีก 7-8 พันล้านบาท หลัง 2 บริษัทก๊าซอียิปต์แจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซกับอีเอ็มจี แล้ว แต่ยังรอความหวังจากรัฐบาลชุดใหม่ ที่จะเลือกตั้งช่วงกลางปีนี้ ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายอื่นเตรียมฟ้องคดีต่อรัฐบาลอียิปต์ ควบคู่การดำเนินคดีตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการ นักวิเคราะห์หากต้องบันทึกด้อยค่าเพิ่มเติม จะกระทบกำไรสุทธิ 7%
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า บริษัทได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากบริษัท อีส เมดิเตอร์เรเนียน แก๊ส เอส.เอ.อี (EMG) ซึ่ง ปตท.อินเตอร์ (PTTI) บริษัทลูกถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 25% ว่า บริษัท อียิปต์เจียน เจนเนอรัล ปิโตรเลียม คอร์ปอเรชั่น (EGPC) และบริษัท อียิปต์เจียน เนเชอรัล แก๊ส โฮลดิ้ง คัมพานี (EGAS) คู่สัญญาในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ เพื่อดำเนินการส่งออกก๊าซจากประเทศอียิปต์ไปยังประเทศอิสราเอล ได้แจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซกับทาง EMG แล้ว
ทั้งนี้ อีเอ็มจี เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทางอีเอ็มจี และ ปตท.อินเตอร์ พร้อมผู้ถือหุ้นรายอื่น อยู่ในระหว่างการปรึกษาหารือร่วมกับที่ปรึกษาทางเพื่อหาแนวทางการดำเนินการปกป้องประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นต่อไป
อนึ่งอีเอ็มจี ได้ดำเนินการยื่นฟ้องดำเนินคดีกับ อีจีพีซี และอีจีเอเอส ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554 ที่ผ่านมา เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท ไม่สามารถดำเนินการส่งก๊าซให้กับอีเอ็มจี ได้ตามปริมาณที่กำหนดในสัญญาซื้อขายก๊าซ นับตั้งแต่โครงการเริ่มดำเนินการ และหยุดส่งก๊าซ เป็นระยะเวลานานมากขึ้น หลังเกิดเหตุการณ์จลาจลในอียิปต์ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2554 เป็นต้นมา ซึ่ง ปตท.อินเตอร์ รับรู้การด้อยค่าเงินลงทุนจำนวน 5,821.64 ล้านบาท ในงบการเงินรวมเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา
ทางอีเอ็มจี ได้เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงขอให้คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาสั่ง ให้ ทั้ง 2 บริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา รวมถึงมีคำสั่ง ให้จีพีซี และอีจีเอเอส ระงับการยกเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซ ในระหว่างการเจรจาหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการส่งก๊าซฯ ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขององค์คณะอนุญาโตตุลาการ
นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นรายอื่นของอีเอ็มจี ได้เตรียมการเพื่อยื่นฟ้องคดีต่อรัฐบาลอียิปต์ ภายใต้สนธิสัญญาคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับการยื่นฟ้องดำเนินคดีตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการของอีเอ็มจีดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ อีเอ็มจี เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ก่อตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพ (Peace Treaty) และภายใต้ MOU เรื่องการซื้อและการลำเลียงก๊าซ ผ่านระบบท่อระหว่างรัฐบาลอียิปต์และรัฐบาลอิสราเอล ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2548 โดยภายใต้กรอบสนธิสัญญาและ MOU ดังกล่าว อีเอ็มจีได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเป็นผู้ซื้อก๊าซจากประเทศอียิปต์ เพื่อขายให้โรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมในประเทศอิสราเอล
ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์บริษัท ปตท. กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ ปตท.จะมีการบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัท อีเอ็มจี เพิ่มเติม หลังจากที่ได้บันทึกด้อยค่าไปแล้วประมาณ 6 พันล้านบาท ในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ซึ่งยังเหลือมูลค่าเงินลงทุนอีกประมาณ 7-8 พันล้านบาท โดย ปตท.ได้ทำการศึกษาไว้หลายแนวทาง ทั้งการทยอยตัดบันทึก หรือบันทึกด้อยค่าทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ปตท.และผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะต้องต่อสู้ทางกฎหมายให้ถึงที่สุดก่อน เพราะกรณีนี้ถูกยกเลิกสัญญาโดยไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ของอียิปต์ก่อนว่ามีนโยบายต่อเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งอียิปต์จะมีการเลือกตั้งในช่วงกลางปีนี้ ดังนั้น การตัดสินใจเรื่องการบันทึกการด้อยค่าของเงินลงทุนน่าจะเป็นช่วงหลังกลางปีเป็นต้นไป
นักวิเคราะห์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า หาก ปตท.ต้องบันทึกการขาดทุนจากเงินลงทุนที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดอีกประมาณ 7 พันล้านบาท จะกระทบกับกำไรสุทธิของ ปตท.ประมาณ 7% จากปีที่ผ่านมาที่มีกำไรในระดับ 1 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลกระทบการส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายการเงิน ปตท.จะเลือกบันทึกช่วงไหนด้วย หากเป็นช่วงที่กำไรดี ผลกระทบอาจจะไม่มาก
ปตท.-ผู้ถือหุ้นจะต้องสู้ทางกฏหมายถึงที่สุดก่อน
--จบ--
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Friday, April 27, 2012
ปตท.จ่อบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนในอียิปต์ เพิ่มอีก 7-8 พันล้านบาท หลัง 2 บริษัทก๊าซอียิปต์แจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซกับอีเอ็มจี แล้ว แต่ยังรอความหวังจากรัฐบาลชุดใหม่ ที่จะเลือกตั้งช่วงกลางปีนี้ ขณะที่ผู้ถือหุ้นรายอื่นเตรียมฟ้องคดีต่อรัฐบาลอียิปต์ ควบคู่การดำเนินคดีตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการ นักวิเคราะห์หากต้องบันทึกด้อยค่าเพิ่มเติม จะกระทบกำไรสุทธิ 7%
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. (PTT) เปิดเผยว่า บริษัทได้รับแจ้งอย่างเป็นทางการจากบริษัท อีส เมดิเตอร์เรเนียน แก๊ส เอส.เอ.อี (EMG) ซึ่ง ปตท.อินเตอร์ (PTTI) บริษัทลูกถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 25% ว่า บริษัท อียิปต์เจียน เจนเนอรัล ปิโตรเลียม คอร์ปอเรชั่น (EGPC) และบริษัท อียิปต์เจียน เนเชอรัล แก๊ส โฮลดิ้ง คัมพานี (EGAS) คู่สัญญาในการซื้อขายก๊าซธรรมชาติ เพื่อดำเนินการส่งออกก๊าซจากประเทศอียิปต์ไปยังประเทศอิสราเอล ได้แจ้งยกเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซกับทาง EMG แล้ว
ทั้งนี้ อีเอ็มจี เห็นว่าการกระทำดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทางอีเอ็มจี และ ปตท.อินเตอร์ พร้อมผู้ถือหุ้นรายอื่น อยู่ในระหว่างการปรึกษาหารือร่วมกับที่ปรึกษาทางเพื่อหาแนวทางการดำเนินการปกป้องประโยชน์สูงสุดแก่บริษัทและผู้ถือหุ้นต่อไป
อนึ่งอีเอ็มจี ได้ดำเนินการยื่นฟ้องดำเนินคดีกับ อีจีพีซี และอีจีเอเอส ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตั้งแต่เดือน ต.ค. 2554 ที่ผ่านมา เนื่องจากทั้ง 2 บริษัท ไม่สามารถดำเนินการส่งก๊าซให้กับอีเอ็มจี ได้ตามปริมาณที่กำหนดในสัญญาซื้อขายก๊าซ นับตั้งแต่โครงการเริ่มดำเนินการ และหยุดส่งก๊าซ เป็นระยะเวลานานมากขึ้น หลังเกิดเหตุการณ์จลาจลในอียิปต์ตั้งแต่เดือน ก.พ. 2554 เป็นต้นมา ซึ่ง ปตท.อินเตอร์ รับรู้การด้อยค่าเงินลงทุนจำนวน 5,821.64 ล้านบาท ในงบการเงินรวมเมื่อปี 2554 ที่ผ่านมา
ทางอีเอ็มจี ได้เรียกร้องค่าเสียหายที่เกิดขึ้น รวมถึงขอให้คณะอนุญาโตตุลาการพิจารณาสั่ง ให้ ทั้ง 2 บริษัทปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา รวมถึงมีคำสั่ง ให้จีพีซี และอีจีเอเอส ระงับการยกเลิกสัญญาซื้อขายก๊าซ ในระหว่างการเจรจาหาทางออกในการแก้ไขปัญหาการส่งก๊าซฯ ดังกล่าว ซึ่งปัจจุบันคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาขององค์คณะอนุญาโตตุลาการ
นอกจากนี้ ผู้ถือหุ้นรายอื่นของอีเอ็มจี ได้เตรียมการเพื่อยื่นฟ้องคดีต่อรัฐบาลอียิปต์ ภายใต้สนธิสัญญาคุ้มครองการลงทุนระหว่างประเทศ ควบคู่ไปกับการยื่นฟ้องดำเนินคดีตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการของอีเอ็มจีดังกล่าวด้วย
ทั้งนี้ อีเอ็มจี เป็นบริษัทดำเนินธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติ ก่อตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพ (Peace Treaty) และภายใต้ MOU เรื่องการซื้อและการลำเลียงก๊าซ ผ่านระบบท่อระหว่างรัฐบาลอียิปต์และรัฐบาลอิสราเอล ลงวันที่ 30 มิ.ย. 2548 โดยภายใต้กรอบสนธิสัญญาและ MOU ดังกล่าว อีเอ็มจีได้สิทธิแต่เพียงผู้เดียวในการเป็นผู้ซื้อก๊าซจากประเทศอียิปต์ เพื่อขายให้โรงไฟฟ้าและอุตสาหกรรมในประเทศอิสราเอล
ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์บริษัท ปตท. กล่าวว่า มีความเป็นไปได้ที่ ปตท.จะมีการบันทึกด้อยค่าเงินลงทุนในบริษัท อีเอ็มจี เพิ่มเติม หลังจากที่ได้บันทึกด้อยค่าไปแล้วประมาณ 6 พันล้านบาท ในช่วงไตรมาส 4 ที่ผ่านมา ซึ่งยังเหลือมูลค่าเงินลงทุนอีกประมาณ 7-8 พันล้านบาท โดย ปตท.ได้ทำการศึกษาไว้หลายแนวทาง ทั้งการทยอยตัดบันทึก หรือบันทึกด้อยค่าทั้งหมด
อย่างไรก็ตาม ปตท.และผู้ถือหุ้นทั้งหมดจะต้องต่อสู้ทางกฎหมายให้ถึงที่สุดก่อน เพราะกรณีนี้ถูกยกเลิกสัญญาโดยไม่เป็นธรรม นอกจากนี้ ยังต้องรอดูนโยบายของรัฐบาลชุดใหม่ของอียิปต์ก่อนว่ามีนโยบายต่อเรื่องนี้อย่างไร ซึ่งอียิปต์จะมีการเลือกตั้งในช่วงกลางปีนี้ ดังนั้น การตัดสินใจเรื่องการบันทึกการด้อยค่าของเงินลงทุนน่าจะเป็นช่วงหลังกลางปีเป็นต้นไป
นักวิเคราะห์ บล.โกลเบล็ก กล่าวว่า หาก ปตท.ต้องบันทึกการขาดทุนจากเงินลงทุนที่ยังเหลืออยู่ทั้งหมดอีกประมาณ 7 พันล้านบาท จะกระทบกับกำไรสุทธิของ ปตท.ประมาณ 7% จากปีที่ผ่านมาที่มีกำไรในระดับ 1 แสนล้านบาท อย่างไรก็ตาม ผลกระทบการส่วนนี้ขึ้นอยู่กับว่าฝ่ายการเงิน ปตท.จะเลือกบันทึกช่วงไหนด้วย หากเป็นช่วงที่กำไรดี ผลกระทบอาจจะไม่มาก
ปตท.-ผู้ถือหุ้นจะต้องสู้ทางกฏหมายถึงที่สุดก่อน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 201
คอลัมน์พลวัต : มหาวิบากของ ปตท.
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, April 27, 2012
เรื่องราวของการลงทุนข้ามพรมแดนไปยังต่างประเทศของปตท. ถือเป็นตำนานน่าสนใจ แต่ตำนานที่อียิปต์ไม่เพียงน่าสนใจผิดธรรมดา หากยังสะท้อนให้เห็นว่า คนที่เชื่อว่าปตท.เติบใหญ่มากับการผูกขาดและให้อภิสิทธิ์ในธุรกิจพลังงานทุกวันนี้ หลงผิดถนัด
กับดักธุรกรรมที่อียิปต์กำลังจะเป็นฝันร้ายที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร เพราะปมของปัญหาดูจะยุ่งยากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อวานซืน ผู้บริหารของ ปตท. ส่งหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ฯชี้แจงเรื่องบริษัท EMG ซึ่งบริษัทลูกของปตท.คือ พีทีที อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (PTTI) เข้าไปลงทุนประมาณ 25% ตั้งแต่ปี 2550 (แต่มีผลบังคับใช้จริงปลายปี 2553) ถูกซัพพลายเออร์แก๊ส 2 รายของรัฐบาลอียิปต์ชื่อ Egyptian General Petroleum Corporation (EGPC) และบริษัท Egyptian Natural Gas Holding Company (EGAS) แจ้งการยกเลิกสัญญาซื้อขายแก๊สให้
การยกเลิกส่งแก๊สให้กับ EMG โยงใยเข้ากับข้อพิพาทจากการที่ EMG ยื่นฟ้อง EGPC/EGAS ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา เพราะ EGPC/EGAS ไม่สามารถดำเนินการส่งแก๊สให้กับ EMG ได้ตามปริมาณที่กำหนดในสัญญาซื้อขายแก๊สนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จลาจลในประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นมา จน PTTI รับรู้การด้อยค่าเงินลงทุนจำนวน 5,821.64 ล้านบาทในงบการเงินรวม
ขณะนี้ EMG พร้อมทั้ง PTTI และผู้ถือหุ้นรายอื่น กำลังหารือร่วมกับที่ปรึกษาทางกฎหมายต่อไป
หนังสือชี้แจงดังกล่าว ยังกล่าวไม่หมด เพราะข่าวล่าสุดในอียิปต์ที่โด่งดังยามนี้ก็คือ การตัดสินใจของ EGPC/EGAS ได้ถูกทางการอิสราเอลระบุชัดเจนว่า เป็นการละเมิดข้อตกลงสันติภาพอียิปต์-อิสราเอล ด้วยการที่รัฐบาลอียิปต์จะยกเลิกการส่งแก๊สให้กับอิสราเอล ในขณะที่สื่อในอียิปต์กลับมองว่า ไม่ใช่เรื่องนโยบายของรัฐบาล แต่เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจระหว่าง EMG กับผู้ซื้อที่เป็นบริษัทอิสราเอลคือ Ampal
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเชื่อมโยงต่อไปถึงกรณีของการพยายามของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่พยายามวางแผนระเบิดท่อส่งแก๊สจากอียิปต์ไปยังอิสราเอลผ่านทางจอร์แดนถึง 14 ครั้ง โดยไม่สามารถจับมือใครดมว่าผู้อยู่เบื้องหลังการกระทำดังกล่าวเป็นใคร แม้ว่าจะมีคนจำนวนมากพยายามบอกใบ้ว่า หนีไม่พ้นคณะผู้นำทหารในสภากองทัพบกของอียิปต์ (SCARF) ที่ไม่อยากมอบอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนหลังเลือกตั้งในเดือนมิถุนายนที่จะมาถึงนี้
ข่าวดังกล่าว แม้จะยังไม่มีใครกล้ายืนยัน (ยกเว้นแหล่งข่าวที่ไม่ยอมเผยตัวตน) แต่สิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธกันได้เลยก็คือ ไม่เคยมีการประกาศเป็นทางการเลยว่า มีการส่งออกแก๊สไปยังอิสราเอลจากดินแดนของอียิปต์ แต่สมาชิกรัฐสภาอียิปต์ชั่วคราวในปัจจุบัน ได้เคยเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการส่งออกแก๊สไปยังอิสราเอลมาหลายครั้งแล้ว เนื่องจากถือว่ามูบารัค สมคบคิดกับเพื่อนของเขานายฮุสเซน ซาเล็ม อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ EMG และอดีตรัฐมนตรีน้ำมันซาเมห์ ฟาห์มี ทำข้อตกลงลับส่งแก๊สไปยังอิสราเอลด้วยราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลกหลายเท่า เป็นเวลายาวนานถึง 20 ปี
อีกกระแสหนึ่งก็มีข่าวว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการพยายามระงับส่งแก๊สไปขายยังอิสราเอลของ EMG ได้แก่กาตาร์ซึ่งต้องการเข้าเสียบผลประโยชน์จากการส่งออกไปอิสเราเอลแทนที่อียิปต์
ความวุ่นวายสับสนของสถานการณ์และกระแสข่าวเชิงลบอย่างนี้ ไม่เคยเป็นผลดีต่อการลงทุน อย่างน้อยที่สุดก็มีผลให้โอกาสที่ ปตท. ซึ่งไม่ได้รู้อีโหน่อีเหน่กับใครที่ไหน ต้องกลายเป็นแพะรับบาปที่ไม่ได้กระทำอย่างเต็มที่ โอกาสที่จะต้องลงบันทึกการสูญค่าอีก 7 พันล้านบาทเศษสำหรับการชะงักงันที่เกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นจากอวิชชาของปตท.เองที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้หลังจากที่ทุ่มเงินซื้อหุ้น EMG มาในราคาค่อนข้างต่ำจนผิดสังเกต จากกลุ่มบริษัทของนายฮุสเซน ซาเล็ม ผู้ซึ่งในปัจจุบัน ได้หลบหนีการไล่ล่าของรัฐบาลอียิปต์เพื่อให้คายความลับจำนวนไม่น้อย โดยอาศัยฐานะพิเศษเป็นพลเมืองสเปน ที่ไม่ต้องถูกส่งตัวไปพิจารณาข้อกล่าวหาในไคโร
แม้ว่า ทางผู้บริหาร ปตท. จะพยายามยืนยันว่า กรณีของ EMG ไม่เกี่ยวข้องกับความอื้อฉาวของฮุสเซน ซาเล็มอีกแล้ว แต่ภายใต้สถานการณ์ที่การเมืองยังไม่นิ่ง และผลการเลือกตั้งทั่วไปยังไม่ปรากฏขึ้นมา ความไม่แน่นอนก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ต่อไปไม่รู้จบ
คำชี้แจงที่ว่า เหตุวางระเบิดกว่าสิบครั้งต่อระบบท่อแก๊สของรัฐวิสาหกิจ EGAS ซึ่งเป็นผู้จัดส่งแก๊สให้กับ EMG มีผลให้ต้องหยุดจ่ายแก๊สหลายครั้งและเป็นเวลายาวนาน แม้ว่าท่อแก๊สของ EMG ไม่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ การหยุดจ่ายแก๊สรวมถึงการหยุดจ่ายแก๊สเข้าระบบท่อที่ส่งออกแก๊สไปยังประเทศจอร์แดนด้วยเช่นกัน และที่ผ่านมา EGAS ยังคงส่งแก๊สให้กับ EMG ภายใต้ข้อผูกพันของสัญญาซื้อขายแก๊สในช่วงเวลาที่ท่อแก๊สไม่เกิดความเสียหาย จึงไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก
เส้นทางอันคดเคี้ยวของธุรกรรมพลังงานของปตท.ในอนาคตเช่นนี้ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ภายใต้สถานการณ์ที่คลุมเครือและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ปตท.จะก้าวย่างไปในพรมแดนต่างประเทศได้ดีและราบรื่นเพียงใดในอนาคต
แล้วแผนการสร้างยอดขาย 4 ล้านล้านบาทในระยะอีก 5 ปีข้างหน้า จะเป็นไปได้อย่างไรกัน
--จบ--
Source - ข่าวหุ้น (Th), Friday, April 27, 2012
เรื่องราวของการลงทุนข้ามพรมแดนไปยังต่างประเทศของปตท. ถือเป็นตำนานน่าสนใจ แต่ตำนานที่อียิปต์ไม่เพียงน่าสนใจผิดธรรมดา หากยังสะท้อนให้เห็นว่า คนที่เชื่อว่าปตท.เติบใหญ่มากับการผูกขาดและให้อภิสิทธิ์ในธุรกิจพลังงานทุกวันนี้ หลงผิดถนัด
กับดักธุรกรรมที่อียิปต์กำลังจะเป็นฝันร้ายที่รุนแรงมากขึ้นเรื่อยๆ และยังไม่รู้ว่าจะหาทางออกอย่างไร เพราะปมของปัญหาดูจะยุ่งยากขึ้นเรื่อยๆ
เมื่อวานซืน ผู้บริหารของ ปตท. ส่งหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ฯชี้แจงเรื่องบริษัท EMG ซึ่งบริษัทลูกของปตท.คือ พีทีที อินเตอร์เนชันแนล จำกัด (PTTI) เข้าไปลงทุนประมาณ 25% ตั้งแต่ปี 2550 (แต่มีผลบังคับใช้จริงปลายปี 2553) ถูกซัพพลายเออร์แก๊ส 2 รายของรัฐบาลอียิปต์ชื่อ Egyptian General Petroleum Corporation (EGPC) และบริษัท Egyptian Natural Gas Holding Company (EGAS) แจ้งการยกเลิกสัญญาซื้อขายแก๊สให้
การยกเลิกส่งแก๊สให้กับ EMG โยงใยเข้ากับข้อพิพาทจากการที่ EMG ยื่นฟ้อง EGPC/EGAS ตามกระบวนการอนุญาโตตุลาการตั้งแต่เดือนตุลาคม 2554 ที่ผ่านมา เพราะ EGPC/EGAS ไม่สามารถดำเนินการส่งแก๊สให้กับ EMG ได้ตามปริมาณที่กำหนดในสัญญาซื้อขายแก๊สนับตั้งแต่เกิดเหตุการณ์จลาจลในประเทศสาธารณรัฐอาหรับอียิปต์ตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2554 เป็นต้นมา จน PTTI รับรู้การด้อยค่าเงินลงทุนจำนวน 5,821.64 ล้านบาทในงบการเงินรวม
ขณะนี้ EMG พร้อมทั้ง PTTI และผู้ถือหุ้นรายอื่น กำลังหารือร่วมกับที่ปรึกษาทางกฎหมายต่อไป
หนังสือชี้แจงดังกล่าว ยังกล่าวไม่หมด เพราะข่าวล่าสุดในอียิปต์ที่โด่งดังยามนี้ก็คือ การตัดสินใจของ EGPC/EGAS ได้ถูกทางการอิสราเอลระบุชัดเจนว่า เป็นการละเมิดข้อตกลงสันติภาพอียิปต์-อิสราเอล ด้วยการที่รัฐบาลอียิปต์จะยกเลิกการส่งแก๊สให้กับอิสราเอล ในขณะที่สื่อในอียิปต์กลับมองว่า ไม่ใช่เรื่องนโยบายของรัฐบาล แต่เป็นการตัดสินใจทางธุรกิจระหว่าง EMG กับผู้ซื้อที่เป็นบริษัทอิสราเอลคือ Ampal
ยิ่งไปกว่านั้น ยังมีการเชื่อมโยงต่อไปถึงกรณีของการพยายามของบุคคลกลุ่มหนึ่งที่พยายามวางแผนระเบิดท่อส่งแก๊สจากอียิปต์ไปยังอิสราเอลผ่านทางจอร์แดนถึง 14 ครั้ง โดยไม่สามารถจับมือใครดมว่าผู้อยู่เบื้องหลังการกระทำดังกล่าวเป็นใคร แม้ว่าจะมีคนจำนวนมากพยายามบอกใบ้ว่า หนีไม่พ้นคณะผู้นำทหารในสภากองทัพบกของอียิปต์ (SCARF) ที่ไม่อยากมอบอำนาจให้รัฐบาลพลเรือนหลังเลือกตั้งในเดือนมิถุนายนที่จะมาถึงนี้
ข่าวดังกล่าว แม้จะยังไม่มีใครกล้ายืนยัน (ยกเว้นแหล่งข่าวที่ไม่ยอมเผยตัวตน) แต่สิ่งที่ไม่มีใครปฏิเสธกันได้เลยก็คือ ไม่เคยมีการประกาศเป็นทางการเลยว่า มีการส่งออกแก๊สไปยังอิสราเอลจากดินแดนของอียิปต์ แต่สมาชิกรัฐสภาอียิปต์ชั่วคราวในปัจจุบัน ได้เคยเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดการส่งออกแก๊สไปยังอิสราเอลมาหลายครั้งแล้ว เนื่องจากถือว่ามูบารัค สมคบคิดกับเพื่อนของเขานายฮุสเซน ซาเล็ม อดีตผู้ถือหุ้นใหญ่ EMG และอดีตรัฐมนตรีน้ำมันซาเมห์ ฟาห์มี ทำข้อตกลงลับส่งแก๊สไปยังอิสราเอลด้วยราคาที่ต่ำกว่าตลาดโลกหลายเท่า เป็นเวลายาวนานถึง 20 ปี
อีกกระแสหนึ่งก็มีข่าวว่า ผู้ที่อยู่เบื้องหลังการพยายามระงับส่งแก๊สไปขายยังอิสราเอลของ EMG ได้แก่กาตาร์ซึ่งต้องการเข้าเสียบผลประโยชน์จากการส่งออกไปอิสเราเอลแทนที่อียิปต์
ความวุ่นวายสับสนของสถานการณ์และกระแสข่าวเชิงลบอย่างนี้ ไม่เคยเป็นผลดีต่อการลงทุน อย่างน้อยที่สุดก็มีผลให้โอกาสที่ ปตท. ซึ่งไม่ได้รู้อีโหน่อีเหน่กับใครที่ไหน ต้องกลายเป็นแพะรับบาปที่ไม่ได้กระทำอย่างเต็มที่ โอกาสที่จะต้องลงบันทึกการสูญค่าอีก 7 พันล้านบาทเศษสำหรับการชะงักงันที่เกิดขึ้น
ทั้งหมดนี้ เกิดขึ้นจากอวิชชาของปตท.เองที่ตกอยู่ในสถานการณ์ที่ควบคุมไม่ได้หลังจากที่ทุ่มเงินซื้อหุ้น EMG มาในราคาค่อนข้างต่ำจนผิดสังเกต จากกลุ่มบริษัทของนายฮุสเซน ซาเล็ม ผู้ซึ่งในปัจจุบัน ได้หลบหนีการไล่ล่าของรัฐบาลอียิปต์เพื่อให้คายความลับจำนวนไม่น้อย โดยอาศัยฐานะพิเศษเป็นพลเมืองสเปน ที่ไม่ต้องถูกส่งตัวไปพิจารณาข้อกล่าวหาในไคโร
แม้ว่า ทางผู้บริหาร ปตท. จะพยายามยืนยันว่า กรณีของ EMG ไม่เกี่ยวข้องกับความอื้อฉาวของฮุสเซน ซาเล็มอีกแล้ว แต่ภายใต้สถานการณ์ที่การเมืองยังไม่นิ่ง และผลการเลือกตั้งทั่วไปยังไม่ปรากฏขึ้นมา ความไม่แน่นอนก็ยังปรากฏให้เห็นอยู่ต่อไปไม่รู้จบ
คำชี้แจงที่ว่า เหตุวางระเบิดกว่าสิบครั้งต่อระบบท่อแก๊สของรัฐวิสาหกิจ EGAS ซึ่งเป็นผู้จัดส่งแก๊สให้กับ EMG มีผลให้ต้องหยุดจ่ายแก๊สหลายครั้งและเป็นเวลายาวนาน แม้ว่าท่อแก๊สของ EMG ไม่ได้รับความเสียหาย ทั้งนี้ การหยุดจ่ายแก๊สรวมถึงการหยุดจ่ายแก๊สเข้าระบบท่อที่ส่งออกแก๊สไปยังประเทศจอร์แดนด้วยเช่นกัน และที่ผ่านมา EGAS ยังคงส่งแก๊สให้กับ EMG ภายใต้ข้อผูกพันของสัญญาซื้อขายแก๊สในช่วงเวลาที่ท่อแก๊สไม่เกิดความเสียหาย จึงไม่สามารถช่วยอะไรได้มากนัก
เส้นทางอันคดเคี้ยวของธุรกรรมพลังงานของปตท.ในอนาคตเช่นนี้ ทำให้เกิดคำถามตามมาว่า ภายใต้สถานการณ์ที่คลุมเครือและเต็มไปด้วยความไม่แน่นอน ปตท.จะก้าวย่างไปในพรมแดนต่างประเทศได้ดีและราบรื่นเพียงใดในอนาคต
แล้วแผนการสร้างยอดขาย 4 ล้านล้านบาทในระยะอีก 5 ปีข้างหน้า จะเป็นไปได้อย่างไรกัน
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 202
กำหนดการงานเสวนานโยบายเศรษฐกิจพลังงานประจำปี
“ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน: ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืน”
วันที่ 3 พฤษภาคม 2555
ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิง พาวเวอร์ กรุงเทพฯ
8.30-9.00 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาลงทะเบียน
9.00-9.15 น. ประธานกล่าวสุนทรพจน์ (ปลัดกระทรวงพลังงาน)
9.15-15.00 น. ยุทธศาสตร์และแนวทางการกำหนดราคาพลังงานของประเทศ (รองปลัดกระทรวงพลังงาน)
10.15-12.00 น. ช่วงเสวนา (Panel Discussion): ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน: ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืน (1. ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน, 2. ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ธนาคารทหารไทย, 3. ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ดำเนินรายการโดย ดร.พูนพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์
เหตุผล/ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
แนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย และมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
การบริหารจัดการพลังงาน (Demand Side Management) ภายหลังการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน
ผลประโยชน์ต่อประเทศและสังคมโดยรวม กรณีการปรับโครงสร้างราคา LPG, NGV
นโยบายการลด/ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นต่อการบริหารจัดการนโยบายด้านราคาพลังงานแก่รัฐบาล
12.00-13.00 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกท่านรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
“ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน: ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืน”
วันที่ 3 พฤษภาคม 2555
ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิง พาวเวอร์ กรุงเทพฯ
8.30-9.00 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาลงทะเบียน
9.00-9.15 น. ประธานกล่าวสุนทรพจน์ (ปลัดกระทรวงพลังงาน)
9.15-15.00 น. ยุทธศาสตร์และแนวทางการกำหนดราคาพลังงานของประเทศ (รองปลัดกระทรวงพลังงาน)
10.15-12.00 น. ช่วงเสวนา (Panel Discussion): ปรับโครงสร้างราคาพลังงาน: ยุทธศาสตร์ฟื้นฟูประเทศอย่างยั่งยืน (1. ศ.ดร.บัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน, 2. ดร.เศรษฐพุฒิ สุทธิวาทนฤพุฒิ ธนาคารทหารไทย, 3. ศ.ดร.พรายพล คุ้มทรัพย์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์) ดำเนินรายการโดย ดร.พูนพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์
เหตุผล/ความจำเป็นในการปรับโครงสร้างราคาพลังงานให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง
แนวทางการปรับโครงสร้างราคาพลังงานที่เหมาะสมกับประเทศไทย และมาตรการเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ
การบริหารจัดการพลังงาน (Demand Side Management) ภายหลังการปรับโครงสร้างราคาพลังงาน
ผลประโยชน์ต่อประเทศและสังคมโดยรวม กรณีการปรับโครงสร้างราคา LPG, NGV
นโยบายการลด/ยกเว้นการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลมีความเหมาะสมหรือไม่ อย่างไร
ข้อเสนอแนะ/ข้อคิดเห็นต่อการบริหารจัดการนโยบายด้านราคาพลังงานแก่รัฐบาล
12.00-13.00 น. ผู้เข้าร่วมเสวนาทุกท่านรับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 203
ก.พลังงานเปิดตัว “สถาบันวิทยาการพลังงาน” สร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานทุกมิติ ช่วยขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจของประเทศให้แข็งแกร่งอย่างยั่งยืน
วันนี้ (26 เมษายน 2555) เวลา 15.30 น. ที่อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) ซึ่ง กระทรวงพลังงานก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานอย่างลึกซึ้งในทุกมิติ ทั้งนี้เพื่อกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้มีความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนในอนาคต
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันวิทยาการพลังงาน เปิดเผยว่า สถาบันวิทยาการพลังงานนี้จะเปิดอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน” เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย3 เนื้อหาหลัก ดังนี้
1. “ภาพรวมธุรกิจพลังงาน” จะให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานโลก สถานการณ์พลังงานไทย และความสำคัญของพลังงานต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
2. “ธุรกิจพลังงานของไทย” จะสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของธุรกิจปิโตรเลียมของประเทศ ตั้งแต่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจการกลั่น ธุรกิจไฟฟ้า และพลังงานทางเลือก รวมถึงการแสวงหาพลังงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ และ
3. “บทบาทผู้นำในสังคมกับการพัฒนาพลังงานไทยอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วย การบริหารจัดการพลังงานให้เป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การเพิ่มบทบาทเอกชนในธุรกิจพลังงาน และ การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการพลังงาน ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
ทั้งนี้ รูปแบบการอบรมจะเน้นกระบวนการที่มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการและพัฒนาด้านพลังงาน มีระบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งจากการบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ การระดมสมอง การให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ รวมถึงการศึกษาดูงานเยี่ยมชมสถานที่จริง โดยหลักสูตรแรกนี้ จะเปิดการอบรมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 16 กันยายน 2555 ทุกวันพฤหัสบดี ณ สถาบันวิทยาการพลังงาน อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ถนนวิภาวดีรังสิต
วันนี้ (26 เมษายน 2555) เวลา 15.30 น. ที่อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ให้เกียรติเป็นประธานในงานแถลงข่าวเปิดตัวสถาบันวิทยาการพลังงาน (วพน.) ซึ่ง กระทรวงพลังงานก่อตั้งขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้บุคลากรของประเทศ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน นักวิชาการ สื่อมวลชน และประชาชนทั่วไปได้มีความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานอย่างลึกซึ้งในทุกมิติ ทั้งนี้เพื่อกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศให้มีความแข็งแกร่งอย่างยั่งยืนในอนาคต
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหารสถาบันวิทยาการพลังงาน เปิดเผยว่า สถาบันวิทยาการพลังงานนี้จะเปิดอบรมหลักสูตร “ผู้บริหารระดับสูงด้านวิทยาการพลังงาน” เพื่อช่วยเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจด้านพลังงานอย่างรอบด้าน ประกอบด้วย3 เนื้อหาหลัก ดังนี้
1. “ภาพรวมธุรกิจพลังงาน” จะให้ความรู้เกี่ยวกับสถานการณ์พลังงานโลก สถานการณ์พลังงานไทย และความสำคัญของพลังงานต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศ
2. “ธุรกิจพลังงานของไทย” จะสื่อให้เห็นถึงความสำคัญของธุรกิจปิโตรเลียมของประเทศ ตั้งแต่ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจก๊าซธรรมชาติ ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจการกลั่น ธุรกิจไฟฟ้า และพลังงานทางเลือก รวมถึงการแสวงหาพลังงานเพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ และ
3. “บทบาทผู้นำในสังคมกับการพัฒนาพลังงานไทยอย่างยั่งยืน” ประกอบด้วย การบริหารจัดการพลังงานให้เป็นมิตรต่อสังคม ชุมชน และสิ่งแวดล้อม การเพิ่มบทบาทเอกชนในธุรกิจพลังงาน และ การใช้พลังงานอย่างรู้คุณค่าและเกิดประโยชน์สูงสุด ตามแนวพระราชดำริด้านการบริหารจัดการพลังงาน ขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นต้น
ทั้งนี้ รูปแบบการอบรมจะเน้นกระบวนการที่มุ่งให้ความรู้ความเข้าใจด้านการบริหารจัดการและพัฒนาด้านพลังงาน มีระบบการเรียนรู้ที่หลากหลาย ทั้งจากการบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ การระดมสมอง การให้ข้อมูลและแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและประสบการณ์ รวมถึงการศึกษาดูงานเยี่ยมชมสถานที่จริง โดยหลักสูตรแรกนี้ จะเปิดการอบรมระหว่างวันที่ 17 พฤษภาคม – 16 กันยายน 2555 ทุกวันพฤหัสบดี ณ สถาบันวิทยาการพลังงาน อาคารศูนย์เอนเนอร์ยี่คอมเพล็กซ์ ถนนวิภาวดีรังสิต
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 204
กกพ.แจงเงินชดเชยแนวท่อก๊าซสาย 4
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Monday, April 30, 2012
เรกกูเลเตอร์ เตรียมพิจารณาเงินชดเชยให้ประชาชนที่โดนท่อก๊าซเส้นที่ 4 ของปตท. พาดผ่าน ระบุดำเนินการเสร็จแล้ว 4 จังหวัด รอพิจารณาในพื้นที่นครนายกและสระบุรีเพิ่มเติม ยืนยันค่าตอบแทนจ่ายคืน 35 เท่าของราคาประเมินในแต่ละพื้นที่
เชื่อช่วยรองรับก๊าซแอลเอ็นจีและขยายเอ็นจีวีเพิ่ม คาดดำเนินการได้เสร็จทั้งหมดปีนี้
นายสุรศักดิ์ เรืองจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการที่ดินและทรัพย์สิน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) หรือเรกกูเลเตอร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย)ว่า ขณะนี้เรกกูเลเตอร์ได้พิจารณาอัตราเงินตอบแทนที่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)(บมจ.)จะต้องจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีท่อก๊าซเส้นที่ 4 พาดผ่าน โดยพิจารณาเสร็จแล้วในจังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี ตามแนวท่อที่มีการศึกษา
ทั้งนี้ยังเหลือในส่วนของจังหวัดนครนายก เชื่อมต่อไปถึงที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการนั้น ปตท.ยังอยู่ระหว่างการประกาศโครงข่ายพื้นที่ที่ท่อก๊าซจะพาดผ่าน และทางเรกกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราผลตอบแทนคืนประชาชน โดยเมื่อพิจารณาเสร็จจะแจ้งให้ ปตท.จ่ายคืนให้กับประชาชนภายหลัง จึงจะดำเนินการก่อสร้างได้
สำหรับอัตราผลตอบแทนคืนให้กับประชาชนที่แนวท่อก๊าซพาดผ่านนั้น เฉลี่ยจ่ายคืนอยู่ที่ 35 เท่าของราคาประเมินในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ หากประชาชนเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนได้ โดยที่ผ่านมามีการร้องเรียนเข้ามาต่อเนื่อง ซึ่งเรกกูเลเตอร์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้ว
สำหรับโครงการท่อก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 เป็นโครงการที่เริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2552 โดยท่อก๊าซจะเริ่มต้นที่คลังก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)ที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง แนวการวางท่อจะใช้แนวสายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ผ่านโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี อำเภอปลวกแดง จากนั้นเข้าสู่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และตัดเข้าสู่เขตจังหวัดฉะเชิงเทราที่ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว ก่อนผ่านอำเภอพนมสารคาม และเข้าสู่ตำบลหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม ณ สถานีควบคุมความดันก๊าซที่ 10 จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยขณะนี้กำลังก่อสร้างเข้าสู่ระยะที่ 2 ซึ่งได้เชื่อมท่อก๊าซดังกล่าวต่อไปยังตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถผ่านอำเภอศรีมหาโพธิ์ และผ่านต่อไปยังอำเภอประจันตคาม และอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มุ่งหน้าเข้าเขตนครนายกที่อำเภอปากพลี ผ่านอำเภอเมืองนครนายกเข้าสู่ถนนเลี่ยงเมืองนครนายก กลับเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 เพื่อเข้าสู่อำเภอบ้านนาไปเชื่อมต่อท่อส่งก๊าซวังน้อย-แก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยรวมผ่าน 6 จังหวัด ระยะทาง 290 กิโลเมตร ซึ่งเป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว ซึ่งปตท.ใช้เงินลงทุน 35,000 ล้านบาท
นายสุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการท่อก๊าซเส้นที่ 4 เป็นการวางระบบท่อก๊าซไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซในภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า และยังเป็นการช่วยขยายสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี)ให้มากขึ้น นอกจากนี้เป็นการรองรับการนำเข้าแอลเอ็นจีที่จะส่งผ่านไปยังสถานีเอ็นจีวี โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าต่อไป
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,735
29 เมษายน - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Monday, April 30, 2012
เรกกูเลเตอร์ เตรียมพิจารณาเงินชดเชยให้ประชาชนที่โดนท่อก๊าซเส้นที่ 4 ของปตท. พาดผ่าน ระบุดำเนินการเสร็จแล้ว 4 จังหวัด รอพิจารณาในพื้นที่นครนายกและสระบุรีเพิ่มเติม ยืนยันค่าตอบแทนจ่ายคืน 35 เท่าของราคาประเมินในแต่ละพื้นที่
เชื่อช่วยรองรับก๊าซแอลเอ็นจีและขยายเอ็นจีวีเพิ่ม คาดดำเนินการได้เสร็จทั้งหมดปีนี้
นายสุรศักดิ์ เรืองจันทร์ ผู้อำนวยการฝ่ายจัดการที่ดินและทรัพย์สิน คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน(กกพ.) หรือเรกกูเลเตอร์ เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ" ถึงความคืบหน้าโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 (ระยอง-แก่งคอย)ว่า ขณะนี้เรกกูเลเตอร์ได้พิจารณาอัตราเงินตอบแทนที่บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)(บมจ.)จะต้องจ่ายให้กับประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากกรณีท่อก๊าซเส้นที่ 4 พาดผ่าน โดยพิจารณาเสร็จแล้วในจังหวัดระยอง ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และปราจีนบุรี ตามแนวท่อที่มีการศึกษา
ทั้งนี้ยังเหลือในส่วนของจังหวัดนครนายก เชื่อมต่อไปถึงที่อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี ซึ่งเป็นจุดสิ้นสุดโครงการนั้น ปตท.ยังอยู่ระหว่างการประกาศโครงข่ายพื้นที่ที่ท่อก๊าซจะพาดผ่าน และทางเรกกูเลเตอร์อยู่ระหว่างการพิจารณาอัตราผลตอบแทนคืนประชาชน โดยเมื่อพิจารณาเสร็จจะแจ้งให้ ปตท.จ่ายคืนให้กับประชาชนภายหลัง จึงจะดำเนินการก่อสร้างได้
สำหรับอัตราผลตอบแทนคืนให้กับประชาชนที่แนวท่อก๊าซพาดผ่านนั้น เฉลี่ยจ่ายคืนอยู่ที่ 35 เท่าของราคาประเมินในแต่ละพื้นที่ ทั้งนี้ หากประชาชนเห็นว่าไม่ได้รับความเป็นธรรมสามารถร้องเรียนได้ โดยที่ผ่านมามีการร้องเรียนเข้ามาต่อเนื่อง ซึ่งเรกกูเลเตอร์ได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาไปแล้ว
สำหรับโครงการท่อก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 เป็นโครงการที่เริ่มศึกษามาตั้งแต่ปี 2552 โดยท่อก๊าซจะเริ่มต้นที่คลังก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี)ที่เทศบาลเมืองมาบตาพุด จังหวัดระยอง แนวการวางท่อจะใช้แนวสายไฟฟ้า 500 กิโลโวลต์ ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ผ่านโรงไฟฟ้าบีแอลซีพี อำเภอปลวกแดง จากนั้นเข้าสู่อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี และตัดเข้าสู่เขตจังหวัดฉะเชิงเทราที่ตำบลวังเย็น อำเภอแปลงยาว ก่อนผ่านอำเภอพนมสารคาม และเข้าสู่ตำบลหินซ้อน อำเภอพนมสารคาม ณ สถานีควบคุมความดันก๊าซที่ 10 จังหวัดฉะเชิงเทรา
โดยขณะนี้กำลังก่อสร้างเข้าสู่ระยะที่ 2 ซึ่งได้เชื่อมท่อก๊าซดังกล่าวต่อไปยังตำบลโคกไทย อำเภอศรีมโหสถผ่านอำเภอศรีมหาโพธิ์ และผ่านต่อไปยังอำเภอประจันตคาม และอำเภอเมือง จังหวัดปราจีนบุรี มุ่งหน้าเข้าเขตนครนายกที่อำเภอปากพลี ผ่านอำเภอเมืองนครนายกเข้าสู่ถนนเลี่ยงเมืองนครนายก กลับเข้าทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 33 เพื่อเข้าสู่อำเภอบ้านนาไปเชื่อมต่อท่อส่งก๊าซวังน้อย-แก่งคอย อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี โดยรวมผ่าน 6 จังหวัด ระยะทาง 290 กิโลเมตร ซึ่งเป็นท่อขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 42 นิ้ว ซึ่งปตท.ใช้เงินลงทุน 35,000 ล้านบาท
นายสุรศักดิ์ กล่าวด้วยว่า สำหรับโครงการท่อก๊าซเส้นที่ 4 เป็นการวางระบบท่อก๊าซไปยังภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพื่อสนับสนุนการใช้ก๊าซในภาคอุตสาหกรรมและการผลิตไฟฟ้า และยังเป็นการช่วยขยายสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ(เอ็นจีวี)ให้มากขึ้น นอกจากนี้เป็นการรองรับการนำเข้าแอลเอ็นจีที่จะส่งผ่านไปยังสถานีเอ็นจีวี โรงงานอุตสาหกรรมและโรงไฟฟ้าต่อไป
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจฉบับที่ 2,735
29 เมษายน - 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2555
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 205
พลังงานดันก๊าซซีบีจี แก้เอ็นจีวีขาด-ลดใช้แอลพีจี
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, April 30, 2012
ศรัญญา ทองทับ
สนพ.เร่งผลิต CBG รับมือก๊าซเอ็นจีวีขาด-ลดใช้แอลพีจีในรถยนต์วางเป้า 1,000 โครงการ ใน 5 ปี เล็งรูปแบบหนุนเอกชนลงทุนในพื้นที่ห่างไกล เน้นวัตถุดิบหญ้าเลี้ยงช้าง-มูลสัตว์
เป็นที่ทราบว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือเอ็นจีวี มีข้อจำกัดหลายประการ โดยหลายครั้งหลายหนที่ผู้บริโภครอเติมเอ็นจีวีนับชั่วโมง แต่ต้องกลับไปโดยไม่มีเอ็นจีวีในถัง เนื่องจากหมดก่อนถึงคิว และในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่อยู่ห่างไกลแนวท่อส่งก๊าซไม่มีเอ็นจีวีให้ใช้
เมื่อมีข้อจำกัดดังกล่าว แผนพัฒนาพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน จึงได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) เพื่อมาใช้ในรถยนต์แทนเอ็นจีวี โดย ก๊าซชีวภาพ มีเทน (Methane, CH4) ซึ่งหากนำเอาสิ่งเจือปนออก จะสามารถนำมาใช้ทดแทนก๊าซธรรมชาติได้
ทั้งนี้ การนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จากแหล่งผลิตที่มีศักยภาพ เช่น น้ำเสียหรือของเสียจากอุตสาหกรรม และพืชพลังงาน มาปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับรถยนต์ (CBG : Compressed Bio-methane Gas) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ลดการพึ่งพาน้ำมัน และลดการนำแอลพีจีมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สนพ.มีแผนจะเชิญชวนให้โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีโครงการลงทุนสร้างระบบก๊าซชีวภาพ นำก๊าซที่ได้ไปใช้ในรถยนต์ที่เรียกว่า CBG เป็นทางเลือกนอกจากนำไปผลิตไฟฟ้า
ขณะนี้ การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เกินเป้าหมายแล้ว ขณะที่เอ็นจีวียังขาดแคลนในพื้นที่ห่างไกลแนวท่อ ดังนั้น หากสามารถนำก๊าซชีวภาพมาอัดเป็น CBG ได้ ก็จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนก๊าซเอ็นจีวีในพื้นที่ห่างไกลได้ หรือหากนำมาผลิตเป็นก๊าซหุงต้มขายให้ครัวเรือน ก็ช่วยลดค่าชดเชยได้
สำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตนั้น ได้มีการส่งเสริมวิจัยพืชพลังงานที่มีศักยภาพมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพผลิตไฟฟ้าและ CBG ด้วย ซึ่งในเยอรมนีสามารถพัฒนาเทคโนโลยีหมักพืชพลังงานให้ได้ก๊าซมีเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้วกว่า 8,000 แห่ง ผลิตได้ 9 ตันต่อวันทั่วประเทศ และจีนมีโรงผลิตไฟฟ้าโดยใช้หญ้าเลี้ยงสัตว์ขนาด 30 เมกะวัตต์แล้ว
ส่วนในประเทศไทยนั้น ที่ผ่านมา สนพ. ได้ให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาวิจัยนำพืชที่คาดว่าจะมีศักยภาพผลิตเป็น CBG โดยเฉพาะมาทดสอบ ซึ่งหนึ่งในจำนวนพืชที่ทำการศึกษา มี หญ้าเลี้ยงช้าง ที่มีการปลูกอยู่แล้วในประเทศมาทดลองผลิตด้วย
โดยหญ้าเลี้ยงช้าง 1 ตัน สามารถผลิตไบโอแก๊สได้ 160 - 190 ลบ.ม. หรือหากต้องการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 1 เมกะวัตต์ ต้องใช้พื้นที่ปลูกหญ้าประมาณ 438 ไร่
การส่งเสริมการปลูกหญ้าเลี้ยงช้างเป็นผลกับเกษตรกร ขณะนี้ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง รับซื้อจากเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 1.20 บาท แต่หากโครงการวิจัยประสบผลสำเร็จ หญ้าเลี้ยงช้าง จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของพืชพลังงานในอนาคต
สำหรับโครงการศึกษานั้น มี 2 โครงการสำคัญ ประกอบด้วย โครงการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าชนิดต่างๆ ในประเทศไทย และ โครงการจัดสร้างต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ เพื่อส่งเสริมการผลิตเป็น CBG
ทั้งนี้ งานวิจัยทั้ง 2 โครงการสร้างต้นแบบระบบผลิต CBG จากก๊าซชีวภาพที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (Mobile Unit) โดยสามารถย้ายระบบไปในที่ต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและเพื่อศึกษาวิธีการปรับแต่งรถยนต์ให้สามารถใช้ก๊าซ CBG เป็นเชื้อเพลิง
ขณะนี้ กำลังเร่งทำโครงการนำร่องให้เป็นรูปธรรม โดยโครงการนี้ได้พัฒนาร่วมกับบริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ขนาด 6 ตันต่อวัน หรือ 180 ตันต่อเดือน เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท เปิดโครงการในเดือน มิ.ย.นี้ สำหรับราคา CBG นั้น บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อรับซื้อและจำหน่ายในสถานีบริการต่อไป คาดว่าจะอยู่ในระดับ 13-15 บาทต่อ กก.
หากโครงการนำร่องเดินหน้าไปได้ จะต่อยอดดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยจะมีโครงการนำร่องทั่วประเทศได้ประมาณ 10 แห่งในปีนี้ โดยคัดเลือกพื้นที่ตั้งอยู่ห่างไกลแนวท่อและใช้วัตถุดิบหลักหญ้าเลี้ยงช้างและมูลสัตว์
สนพ.มีเป้าหมายที่จะดำเนินการทั้งหมดในระยะ 5 ปี (2555-2559) จำนวน 1,000 โครงการทั่วประเทศ ผลิต CBG ได้ 18,000 ตันต่อเดือน
"หากสามารถนำก๊าซชีวมาอัดเป็น CBG ได้ จะช่วยลดปัญหาขาดเอ็นจีวีในพื้นที่ห่างไกลได้"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, April 30, 2012
ศรัญญา ทองทับ
สนพ.เร่งผลิต CBG รับมือก๊าซเอ็นจีวีขาด-ลดใช้แอลพีจีในรถยนต์วางเป้า 1,000 โครงการ ใน 5 ปี เล็งรูปแบบหนุนเอกชนลงทุนในพื้นที่ห่างไกล เน้นวัตถุดิบหญ้าเลี้ยงช้าง-มูลสัตว์
เป็นที่ทราบว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ หรือเอ็นจีวี มีข้อจำกัดหลายประการ โดยหลายครั้งหลายหนที่ผู้บริโภครอเติมเอ็นจีวีนับชั่วโมง แต่ต้องกลับไปโดยไม่มีเอ็นจีวีในถัง เนื่องจากหมดก่อนถึงคิว และในหลายพื้นที่ของประเทศไทย โดยเฉพาะที่อยู่ห่างไกลแนวท่อส่งก๊าซไม่มีเอ็นจีวีให้ใช้
เมื่อมีข้อจำกัดดังกล่าว แผนพัฒนาพลังงานทดแทนของกระทรวงพลังงาน จึงได้กำหนดแนวทางการส่งเสริมการผลิตก๊าซชีวภาพ (Biogas) เพื่อมาใช้ในรถยนต์แทนเอ็นจีวี โดย ก๊าซชีวภาพ มีเทน (Methane, CH4) ซึ่งหากนำเอาสิ่งเจือปนออก จะสามารถนำมาใช้ทดแทนก๊าซธรรมชาติได้
ทั้งนี้ การนำก๊าซชีวภาพที่ผลิตได้จากแหล่งผลิตที่มีศักยภาพ เช่น น้ำเสียหรือของเสียจากอุตสาหกรรม และพืชพลังงาน มาปรับปรุงคุณภาพให้ได้มาตรฐานเทียบเท่ากับก๊าซธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นเชื้อเพลิงทางเลือกสำหรับรถยนต์ (CBG : Compressed Bio-methane Gas) เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง ลดการพึ่งพาน้ำมัน และลดการนำแอลพีจีมาใช้เป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์
นายสุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กระทรวงพลังงาน กล่าวว่า สนพ.มีแผนจะเชิญชวนให้โรงงานอุตสาหกรรม ที่มีโครงการลงทุนสร้างระบบก๊าซชีวภาพ นำก๊าซที่ได้ไปใช้ในรถยนต์ที่เรียกว่า CBG เป็นทางเลือกนอกจากนำไปผลิตไฟฟ้า
ขณะนี้ การผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ เกินเป้าหมายแล้ว ขณะที่เอ็นจีวียังขาดแคลนในพื้นที่ห่างไกลแนวท่อ ดังนั้น หากสามารถนำก๊าซชีวภาพมาอัดเป็น CBG ได้ ก็จะช่วยลดปัญหาการขาดแคลนก๊าซเอ็นจีวีในพื้นที่ห่างไกลได้ หรือหากนำมาผลิตเป็นก๊าซหุงต้มขายให้ครัวเรือน ก็ช่วยลดค่าชดเชยได้
สำหรับวัตถุดิบที่นำมาใช้ในการผลิตนั้น ได้มีการส่งเสริมวิจัยพืชพลังงานที่มีศักยภาพมาหมักเพื่อผลิตก๊าซชีวภาพผลิตไฟฟ้าและ CBG ด้วย ซึ่งในเยอรมนีสามารถพัฒนาเทคโนโลยีหมักพืชพลังงานให้ได้ก๊าซมีเทนมาใช้เป็นเชื้อเพลิงแล้วกว่า 8,000 แห่ง ผลิตได้ 9 ตันต่อวันทั่วประเทศ และจีนมีโรงผลิตไฟฟ้าโดยใช้หญ้าเลี้ยงสัตว์ขนาด 30 เมกะวัตต์แล้ว
ส่วนในประเทศไทยนั้น ที่ผ่านมา สนพ. ได้ให้ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ศึกษาวิจัยนำพืชที่คาดว่าจะมีศักยภาพผลิตเป็น CBG โดยเฉพาะมาทดสอบ ซึ่งหนึ่งในจำนวนพืชที่ทำการศึกษา มี หญ้าเลี้ยงช้าง ที่มีการปลูกอยู่แล้วในประเทศมาทดลองผลิตด้วย
โดยหญ้าเลี้ยงช้าง 1 ตัน สามารถผลิตไบโอแก๊สได้ 160 - 190 ลบ.ม. หรือหากต้องการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซชีวภาพ 1 เมกะวัตต์ ต้องใช้พื้นที่ปลูกหญ้าประมาณ 438 ไร่
การส่งเสริมการปลูกหญ้าเลี้ยงช้างเป็นผลกับเกษตรกร ขณะนี้ ศูนย์อนุรักษ์ช้างไทย จ.ลำปาง รับซื้อจากเกษตรกรอยู่ที่ประมาณ 1.20 บาท แต่หากโครงการวิจัยประสบผลสำเร็จ หญ้าเลี้ยงช้าง จะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งของพืชพลังงานในอนาคต
สำหรับโครงการศึกษานั้น มี 2 โครงการสำคัญ ประกอบด้วย โครงการศึกษาสภาวะที่เหมาะสมในการผลิตก๊าซชีวภาพจากหญ้าชนิดต่างๆ ในประเทศไทย และ โครงการจัดสร้างต้นแบบระบบผลิตก๊าซไบโอมีเทนอัดสำหรับยานยนต์ เพื่อส่งเสริมการผลิตเป็น CBG
ทั้งนี้ งานวิจัยทั้ง 2 โครงการสร้างต้นแบบระบบผลิต CBG จากก๊าซชีวภาพที่สามารถเคลื่อนที่ได้ (Mobile Unit) โดยสามารถย้ายระบบไปในที่ต่างๆ เพื่อสะดวกต่อการใช้งานและเพื่อศึกษาวิธีการปรับแต่งรถยนต์ให้สามารถใช้ก๊าซ CBG เป็นเชื้อเพลิง
ขณะนี้ กำลังเร่งทำโครงการนำร่องให้เป็นรูปธรรม โดยโครงการนี้ได้พัฒนาร่วมกับบริษัท ยูนิเวอร์แซล แอดซอร์บเบ้นท์ แอนด์ เคมิคัลส์ จำกัด (มหาชน) ที่ อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่ ขนาด 6 ตันต่อวัน หรือ 180 ตันต่อเดือน เงินลงทุนประมาณ 100 ล้านบาท เปิดโครงการในเดือน มิ.ย.นี้ สำหรับราคา CBG นั้น บริษัทอยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เพื่อรับซื้อและจำหน่ายในสถานีบริการต่อไป คาดว่าจะอยู่ในระดับ 13-15 บาทต่อ กก.
หากโครงการนำร่องเดินหน้าไปได้ จะต่อยอดดำเนินการในพื้นที่อื่นๆ ต่อไป โดยจะมีโครงการนำร่องทั่วประเทศได้ประมาณ 10 แห่งในปีนี้ โดยคัดเลือกพื้นที่ตั้งอยู่ห่างไกลแนวท่อและใช้วัตถุดิบหลักหญ้าเลี้ยงช้างและมูลสัตว์
สนพ.มีเป้าหมายที่จะดำเนินการทั้งหมดในระยะ 5 ปี (2555-2559) จำนวน 1,000 โครงการทั่วประเทศ ผลิต CBG ได้ 18,000 ตันต่อเดือน
"หากสามารถนำก๊าซชีวมาอัดเป็น CBG ได้ จะช่วยลดปัญหาขาดเอ็นจีวีในพื้นที่ห่างไกลได้"--จบ--
ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 206
At PTT, a reshuffle of top executives
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, May 01, 2012
YUTHANA PRAIWAN
Tevin Vongvanich, PTT Plc’s chief financial officer, has been appointed president and chief executive of PTT Exploration and Production Plc (PTTEP).
He will replace Anon Sirisaengtaksin, who will become CEO of PTT Global Chemical (PTTGC). PTTGC chief executive Veerasak Kositpaisal will become the chief executive of Thaioil Plc.
Surong Bulakul, Thaioil’s current CEO, will become PTT’s chief financial officer.The appointments take effect today.
Mr Tevin has more than 25 years experience in the pet-roleum industry. He started working for PTTEP in 1989. In 1995, he became the company’s vice-president for corporate planning and new ventures. From 1999 to 2002, he was a senior vice-president and headed up the new projects, operations and regional assets divisions.
In 2004, he was seconded to PTT to be executive vice-president of corporate business development.
In 2008, he was made senior executive vice-president, corporate strategy and development.
One year later, he was appointed chief financial officer of PTT and also made a member of the board of PTTEP.
Mr Tevin was considered for the top post at the stateowned energy conglomerate to succeed Prasert Bunsumpun, who retired in September last year after eight years at the helm, but the PTT board instead chose Pailin Chuchottaworn, a former CEO and president of PTT’s petrochemical affiliate IRPC Plc.
Mr Tevin graduated with a bachelor’s degree in chemical engineering from Chulalongkorn University.He also has two master’s degrees: one in chemical engineering from Rice University and the other in petroleum engineering from the University of Houston.
According to a company statement,the appointments were made with the aim of enhancing efficiency in the group.
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, May 01, 2012
YUTHANA PRAIWAN
Tevin Vongvanich, PTT Plc’s chief financial officer, has been appointed president and chief executive of PTT Exploration and Production Plc (PTTEP).
He will replace Anon Sirisaengtaksin, who will become CEO of PTT Global Chemical (PTTGC). PTTGC chief executive Veerasak Kositpaisal will become the chief executive of Thaioil Plc.
Surong Bulakul, Thaioil’s current CEO, will become PTT’s chief financial officer.The appointments take effect today.
Mr Tevin has more than 25 years experience in the pet-roleum industry. He started working for PTTEP in 1989. In 1995, he became the company’s vice-president for corporate planning and new ventures. From 1999 to 2002, he was a senior vice-president and headed up the new projects, operations and regional assets divisions.
In 2004, he was seconded to PTT to be executive vice-president of corporate business development.
In 2008, he was made senior executive vice-president, corporate strategy and development.
One year later, he was appointed chief financial officer of PTT and also made a member of the board of PTTEP.
Mr Tevin was considered for the top post at the stateowned energy conglomerate to succeed Prasert Bunsumpun, who retired in September last year after eight years at the helm, but the PTT board instead chose Pailin Chuchottaworn, a former CEO and president of PTT’s petrochemical affiliate IRPC Plc.
Mr Tevin graduated with a bachelor’s degree in chemical engineering from Chulalongkorn University.He also has two master’s degrees: one in chemical engineering from Rice University and the other in petroleum engineering from the University of Houston.
According to a company statement,the appointments were made with the aim of enhancing efficiency in the group.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 207
Column: INBrief: New PTT bonds
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, May 01, 2012
DEBT MARKET:PTT Plc is issuing 15 billion baht worth of bonds to refinance debts and use as future capital expenditure.
The seven-year debentures will carry a coupon rate of 4.1% in the first four years and 5.1% starting from the fifth year, averaging 4.48% a year,said chief financial officer Tevin Vongvanich, who heads PTT Exploration and Production today.
The debentures will be offered to existing holders next week on the first-come first-served basis.
Bangkok Bank, Krung Thai Bank,Kasikornbank, Thanachart Bank and Siam Commercial Bank were appointed as underwriters.
The issue is a part of the PTT’s plan to sell debentures worth 25 billion baht in total this year.
The remaining 10-billion-baht portion is expected to be sold in July.
PTT also said yesterday it had signed a 300-million-baht agreement to buy 24,000 metric tonnes of methyl ester from Petronas, Malaysia’s national oil conglomerate.
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, May 01, 2012
DEBT MARKET:PTT Plc is issuing 15 billion baht worth of bonds to refinance debts and use as future capital expenditure.
The seven-year debentures will carry a coupon rate of 4.1% in the first four years and 5.1% starting from the fifth year, averaging 4.48% a year,said chief financial officer Tevin Vongvanich, who heads PTT Exploration and Production today.
The debentures will be offered to existing holders next week on the first-come first-served basis.
Bangkok Bank, Krung Thai Bank,Kasikornbank, Thanachart Bank and Siam Commercial Bank were appointed as underwriters.
The issue is a part of the PTT’s plan to sell debentures worth 25 billion baht in total this year.
The remaining 10-billion-baht portion is expected to be sold in July.
PTT also said yesterday it had signed a 300-million-baht agreement to buy 24,000 metric tonnes of methyl ester from Petronas, Malaysia’s national oil conglomerate.
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 208
คอลัมน์: ขอเวลานอก: มหา'ลัย(ปตท.)วิจัย!!
Source - มติชน (Th), Wednesday, May 02, 2012
ต้องบอกว่างาน "การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัย แห่งชาติ ครั้งที่ 1" ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งจัดเมื่อเร็วๆนี้ ออกจะ "เงียบ" ผิดปกติ!!ไม่รู้ว่าคนจัดงานอ่อนหัดเรื่องประชาสัมพันธ์หรือคนไทยไม่ สนใจเรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยกันแน่..
ขนาดได้ผู้บริหารคิวแน่นอย่าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทั่นไพรินทร์ ชูโชติถาวร มาร่วมบรรยายพิเศษทั้งที แต่เท่าที่นับจากสายตา คาดว่าจะมีผู้เข้าฟังไม่ถึง 20 คน ทั้งที่นับรวมเจ้าหน้าที่ในงานเข้าไปด้วยแล้ว
ทั้งที่การบรรยายก็ออกจะครบทุกรสชาติ แถมทั่นไพรินทร์ฟันธงกันแบบไม่มีเม้มว่า "จริงๆ แล้ว มหาวิทยาลัยวิจัยบ้านเรายังไม่ถือกำเนิด เพราะงบไม่มา งานไม่เดิน แถมขาดๆ เกินๆ เรื่องระบบที่ไม่คล่องตัว"
งานนี้ทั่นไพรินทร์เลยประกาศดังๆ ให้ท่านผู้ฟัง (เกือบ 20 คน) รู้ว่า "ปตท.จะเป็นแกนนำสร้างมหาวิทยาลัยวิจัยขึ้นเองที่ จ.ระยอง บนเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 200 ไร่ ให้สถาบันอุดมศึกษาดูเป็นตัวอย่างส่วนจะใช้งบเท่าไหร่นั้น ขออุบไว้ก่อน"
แต่ถึงไม่บอก ก็เดาได้ว่ามากโขอยู่..ก็ระดับ "มหาเศรษฐี" จะสร้างมหาวิทยาลัยทั้งที จะใช้จิ๊บๆ ได้ไง??
ประกาศเสียงดังฟังชัดซะขนาดนี้ ไม่รู้ต้องการ "ฝาก" อะไรไปบอกบรรดาบิ๊กๆ ศธ.หรือเปล่า (คริคริ)
Source - มติชน (Th), Wednesday, May 02, 2012
ต้องบอกว่างาน "การประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัย แห่งชาติ ครั้งที่ 1" ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ซึ่งจัดเมื่อเร็วๆนี้ ออกจะ "เงียบ" ผิดปกติ!!ไม่รู้ว่าคนจัดงานอ่อนหัดเรื่องประชาสัมพันธ์หรือคนไทยไม่ สนใจเรื่องมหาวิทยาลัยวิจัยกันแน่..
ขนาดได้ผู้บริหารคิวแน่นอย่าง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทั่นไพรินทร์ ชูโชติถาวร มาร่วมบรรยายพิเศษทั้งที แต่เท่าที่นับจากสายตา คาดว่าจะมีผู้เข้าฟังไม่ถึง 20 คน ทั้งที่นับรวมเจ้าหน้าที่ในงานเข้าไปด้วยแล้ว
ทั้งที่การบรรยายก็ออกจะครบทุกรสชาติ แถมทั่นไพรินทร์ฟันธงกันแบบไม่มีเม้มว่า "จริงๆ แล้ว มหาวิทยาลัยวิจัยบ้านเรายังไม่ถือกำเนิด เพราะงบไม่มา งานไม่เดิน แถมขาดๆ เกินๆ เรื่องระบบที่ไม่คล่องตัว"
งานนี้ทั่นไพรินทร์เลยประกาศดังๆ ให้ท่านผู้ฟัง (เกือบ 20 คน) รู้ว่า "ปตท.จะเป็นแกนนำสร้างมหาวิทยาลัยวิจัยขึ้นเองที่ จ.ระยอง บนเนื้อที่ไม่ต่ำกว่า 200 ไร่ ให้สถาบันอุดมศึกษาดูเป็นตัวอย่างส่วนจะใช้งบเท่าไหร่นั้น ขออุบไว้ก่อน"
แต่ถึงไม่บอก ก็เดาได้ว่ามากโขอยู่..ก็ระดับ "มหาเศรษฐี" จะสร้างมหาวิทยาลัยทั้งที จะใช้จิ๊บๆ ได้ไง??
ประกาศเสียงดังฟังชัดซะขนาดนี้ ไม่รู้ต้องการ "ฝาก" อะไรไปบอกบรรดาบิ๊กๆ ศธ.หรือเปล่า (คริคริ)
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 209
ปตท.ลุยน้ำมันเครื่องตปท.หวังโกย33ล.ลิตรต่อปี
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, May 02, 2012
ปตท.เผยเล็งบุกตลาดน้ำมันเครื่อง ต่างประเทศเต็มสูบ หลังเข้าไปลุยตลาดจีน ลั่น 5 ปีขอส่วนแบ่งตลาดแค่ 1% หรือ 100 ล้านลิตรต่อปีก็เกินพอ ขณะที่ตลาดยุโรปต้องเร่งปรับปรุงค่าความหนืดให้เหมาะสม ส่วนการเข้าบุกตลาด "อิเหนา" โว ใกล้ได้ข้อสรุป เชื่อทั้งปีขายน้ำมันเครื่อง 140 ล้านลิตร ขณะที่ตลาดต่างประเทศคาดขาย 33 ล้านลิตรต่อปี
นายรัชเดช เข็มทอง ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจหล่อลื่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเข้าไปทำตลาดน้ำมันเครื่องในประเทศจีนว่า หลังจาก ปตท.ตัดสินใจเข้าไปลงทุนเมื่อช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ผลที่ออกมานั้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร เนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหาด้านต้นทุนการผลิต ตัววัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้นค่อนข้างมาก ทำให้บริษัทต้องปรับแผน โดยมีการนำเข้าน้ำมันเครื่องบางส่วนจากประเทศไทย และหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเกาหลี และไต้หวัน เพื่อรองรับการผลิต
นายรัชเดชกล่าวอีกว่า ปตท.เริ่มผลิตเมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้เชื่อว่าตลาดในประเทศจีนจะเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ หลังจากที่บริษัทได้เริ่มเดินเครื่องผลิต แม้ว่าจะต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนแพ็กเกจหรือบรรจุภัณฑ์ ให้เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้ยากต่อการลอกเลียนแบบ ซึ่งคาดเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น
ปตท.มีเป้าหมายว่า ภายใน 5 ปีที่เข้าไปดำเนินงานในจีน จะต้องมีส่วนแบ่งตลาด 1% ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวหากคิดเป็นจำนวนลิตรนั้นก็เกือบ 100 ล้านลิตรแล้ว จากตลาดร่วมที่มีความต้องการที่ 7,700 ล้านลิตรต่อปี
"ตลาดจีนนั้นถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และเราเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสค่อนข้างสูง แต่วันนี้ทั้งปัญหาการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบสินค้าก็ทำให้สะดุดพอควร แต่เราเชื่อว่าเมื่อทุกอย่างลงตัว จีนจะเป็นประเทศหลักในการทำรายได้ของเรา ส่วนตลาดประเทศอื่น ๆ นั้นเราก็จะต้องเข้าไปทำตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป"
ขณะที่การเข้าไปทำตลาดในประเทศพม่านั้นยังต้องเผชิญกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน และค่าเงิน "จ๊าต" ขณะที่ตลาดส่งออกของน้ำมันเครื่อง ปตท.นั้น ปัจจุบันมีการส่งออกไปยัง 5 ประเทศหลักคือ จีน, พม่า, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา และลาว ส่วนประเทศเวียดนาม, ไต้หวัน, แอฟริกาใต้ และประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ก็เริ่มเข้าไปทำตลาดบ้างแล้ว
โดยปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ตลาด ส่งออกไว้ที่ 33 ล้านลิตร ในจำนวนนี้เป็นยอดขายจากจีน 8-10 ล้านลิตร พร้อมกันนี้บริษัทมีแผนการขยายตลาดส่งออกเพิ่มเติม โดยเฉพาะการเข้าไปทำตลาดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปราวไตรมาสที่ 2 และการเข้าไปทำตลาดในเซอร์เบีย, อินเดีย ผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือดิสทริบิวเตอร์ในประเทศนั้น ๆ
ส่วนตลาดในโซนยุโรปนั้น บริษัทได้เริ่มเข้าไปทำตลาดในประเทศกรีซ และอิตาลี แต่ยังจะต้องปรับเงื่อนไข การไหลและค่าความหนืดของน้ำมัน เนื่องจาก31 ประเทศในภูมิภาคนี้มีภูมิอากาศค่อนข้างหนาว ส่วนผลประกอบการในปีที่ผ่านมามียอดขายรวม 129.258 ล้านลิตร และรายได้จากต่างประเทศ 10 ล้านลิตร
ด้านส่วนแบ่งทางการตลาดเฉพาะผู้ค้ามาตรา 7 พบว่ามี 37.56% และได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดโดยเฉพาะน้ำมันเครื่องที่ใช้กับรถยนต์พลังงานทางเลือก ทั้งแอลพีจี, เอ็นจีวี, ไฮบริด รวมไปถึงรถที่ต้องการสมรรถนะที่แรง โดยยอดขายในปีนี้ บริษัทตั้งเป้า 140 ล้านลิตร เติบโต 7-8% จากปีที่ผ่านมาทำได้ ยอดขายในปีนี้ บริษัทตั้งเป้า 140 ล้านลิตร เติบโต 7-8% จากปีที่ผ่านมาทำได้ 130 ล้านลิตร เนื่องจากยอดขายรถยนต์มีปริมาณค่อนข้างสูง มีการส่งรถยนต์ รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากที่เป็นผลมาจากนโยบายรถคันแรก และนโยบายการการฟื้นฟูต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม
ตลาดน้ำมันเครื่องโดยรวมจะมีการเติบโต 4% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าปกติที่จะโตประมาณ 2% ส่วนปัจจัยที่ยังต้องจับตามองคือกระทบกับตลาดน้ำมันหล่อลื่นนั้นก็มาจากต้นทุนที่ขยับสูงขึ้น และค่าแรงที่จะปรับขึ้นมา ขณะที่ปีที่ผ่านมาตัวเลขการขายรวมในประเทศมีประมาณ 530-540 ล้านลิตร และตลาดมีการเติบโต 2% เท่านั้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
แต่ตลาดน้ำมันเครื่องโดยปกติจะมีอัตราการเติบโตไม่สูงมากนัก ประกอบกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนาและทำให้ยืดระยะเวลา และอายุของการใช้งานและการเปลี่ยนออกไป และแม้ว่าต้องประสบกับปัญหาเรื่องต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 30-40% แต่ ปตท.ยังคงจัดจำหน่ายสินค้าในราคาเดิม ไม่ได้มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างไร
ปีนี้บริษัทได้เตรียมงบประมาณเพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และแคมเปญส่งเสริมการขายไว้ 60-70 ล้านบาท และแคมเปญของ 60-70 ล้านบาท และแคมเปญของ ปตท.ส่วนใหญ่จะมอบให้กับลูกค้า โดยตรง เช่น การให้แคชการ์ด มูลค่า 300-500 บาท ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าค่อนข้างดี
สำหรับสินค้าใหม่ ๆ จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ ภายใต้รหัส QW20 ซึ่งมีค่าความหนืดเหมาะสมกับรถประเภทนี้ พร้อมทั้งเตรียมงบประมาณอีก 70 ล้าน ในการเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศ ในส่วนของการก่อสร้างถังเก็บวัตถุดิบที่จะใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มเติม
--จบ--
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, May 02, 2012
ปตท.เผยเล็งบุกตลาดน้ำมันเครื่อง ต่างประเทศเต็มสูบ หลังเข้าไปลุยตลาดจีน ลั่น 5 ปีขอส่วนแบ่งตลาดแค่ 1% หรือ 100 ล้านลิตรต่อปีก็เกินพอ ขณะที่ตลาดยุโรปต้องเร่งปรับปรุงค่าความหนืดให้เหมาะสม ส่วนการเข้าบุกตลาด "อิเหนา" โว ใกล้ได้ข้อสรุป เชื่อทั้งปีขายน้ำมันเครื่อง 140 ล้านลิตร ขณะที่ตลาดต่างประเทศคาดขาย 33 ล้านลิตรต่อปี
นายรัชเดช เข็มทอง ผู้ช่วยกรรมการ ผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจหล่อลื่น บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยถึงความคืบหน้าการเข้าไปทำตลาดน้ำมันเครื่องในประเทศจีนว่า หลังจาก ปตท.ตัดสินใจเข้าไปลงทุนเมื่อช่วงปลายปี 2554 ที่ผ่านมา ผลที่ออกมานั้นยังไม่เป็นที่น่าพอใจเท่าที่ควร เนื่องจากต้องเผชิญกับปัญหาด้านต้นทุนการผลิต ตัววัตถุดิบที่มีราคาสูงขึ้นค่อนข้างมาก ทำให้บริษัทต้องปรับแผน โดยมีการนำเข้าน้ำมันเครื่องบางส่วนจากประเทศไทย และหันไปนำเข้าวัตถุดิบจากประเทศเกาหลี และไต้หวัน เพื่อรองรับการผลิต
นายรัชเดชกล่าวอีกว่า ปตท.เริ่มผลิตเมื่อช่วงเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ทั้งนี้เชื่อว่าตลาดในประเทศจีนจะเริ่มดีขึ้นเป็นลำดับ หลังจากที่บริษัทได้เริ่มเดินเครื่องผลิต แม้ว่าจะต้องปรับตัวและปรับเปลี่ยนแพ็กเกจหรือบรรจุภัณฑ์ ให้เป็นเอกลักษณ์เพื่อให้ยากต่อการลอกเลียนแบบ ซึ่งคาดเมื่อเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 2 สถานการณ์จะเริ่มดีขึ้น
ปตท.มีเป้าหมายว่า ภายใน 5 ปีที่เข้าไปดำเนินงานในจีน จะต้องมีส่วนแบ่งตลาด 1% ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวหากคิดเป็นจำนวนลิตรนั้นก็เกือบ 100 ล้านลิตรแล้ว จากตลาดร่วมที่มีความต้องการที่ 7,700 ล้านลิตรต่อปี
"ตลาดจีนนั้นถือเป็นตลาดที่ค่อนข้างใหญ่ และเราเชื่อว่าน่าจะมีโอกาสค่อนข้างสูง แต่วันนี้ทั้งปัญหาการปลอมแปลงและลอกเลียนแบบสินค้าก็ทำให้สะดุดพอควร แต่เราเชื่อว่าเมื่อทุกอย่างลงตัว จีนจะเป็นประเทศหลักในการทำรายได้ของเรา ส่วนตลาดประเทศอื่น ๆ นั้นเราก็จะต้องเข้าไปทำตลาดแบบค่อยเป็นค่อยไป"
ขณะที่การเข้าไปทำตลาดในประเทศพม่านั้นยังต้องเผชิญกับปัญหาอัตราแลกเปลี่ยน และค่าเงิน "จ๊าต" ขณะที่ตลาดส่งออกของน้ำมันเครื่อง ปตท.นั้น ปัจจุบันมีการส่งออกไปยัง 5 ประเทศหลักคือ จีน, พม่า, ฟิลิปปินส์, กัมพูชา และลาว ส่วนประเทศเวียดนาม, ไต้หวัน, แอฟริกาใต้ และประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ก็เริ่มเข้าไปทำตลาดบ้างแล้ว
โดยปีนี้บริษัทตั้งเป้ารายได้ตลาด ส่งออกไว้ที่ 33 ล้านลิตร ในจำนวนนี้เป็นยอดขายจากจีน 8-10 ล้านลิตร พร้อมกันนี้บริษัทมีแผนการขยายตลาดส่งออกเพิ่มเติม โดยเฉพาะการเข้าไปทำตลาดในประเทศอินโดนีเซีย ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปราวไตรมาสที่ 2 และการเข้าไปทำตลาดในเซอร์เบีย, อินเดีย ผ่านตัวแทนจำหน่ายหรือดิสทริบิวเตอร์ในประเทศนั้น ๆ
ส่วนตลาดในโซนยุโรปนั้น บริษัทได้เริ่มเข้าไปทำตลาดในประเทศกรีซ และอิตาลี แต่ยังจะต้องปรับเงื่อนไข การไหลและค่าความหนืดของน้ำมัน เนื่องจาก31 ประเทศในภูมิภาคนี้มีภูมิอากาศค่อนข้างหนาว ส่วนผลประกอบการในปีที่ผ่านมามียอดขายรวม 129.258 ล้านลิตร และรายได้จากต่างประเทศ 10 ล้านลิตร
ด้านส่วนแบ่งทางการตลาดเฉพาะผู้ค้ามาตรา 7 พบว่ามี 37.56% และได้มีการเปิดตัวผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกสู่ตลาดโดยเฉพาะน้ำมันเครื่องที่ใช้กับรถยนต์พลังงานทางเลือก ทั้งแอลพีจี, เอ็นจีวี, ไฮบริด รวมไปถึงรถที่ต้องการสมรรถนะที่แรง โดยยอดขายในปีนี้ บริษัทตั้งเป้า 140 ล้านลิตร เติบโต 7-8% จากปีที่ผ่านมาทำได้ ยอดขายในปีนี้ บริษัทตั้งเป้า 140 ล้านลิตร เติบโต 7-8% จากปีที่ผ่านมาทำได้ 130 ล้านลิตร เนื่องจากยอดขายรถยนต์มีปริมาณค่อนข้างสูง มีการส่งรถยนต์ รุ่นใหม่ออกสู่ตลาดเป็นจำนวนมากที่เป็นผลมาจากนโยบายรถคันแรก และนโยบายการการฟื้นฟูต่าง ๆ ที่ได้รับความเสียหายจากเหตุการณ์น้ำท่วมที่เกิดขึ้นในปีที่ผ่านมาก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิม
ตลาดน้ำมันเครื่องโดยรวมจะมีการเติบโต 4% ซึ่งเป็นอัตราการเติบโตที่สูงกว่าปกติที่จะโตประมาณ 2% ส่วนปัจจัยที่ยังต้องจับตามองคือกระทบกับตลาดน้ำมันหล่อลื่นนั้นก็มาจากต้นทุนที่ขยับสูงขึ้น และค่าแรงที่จะปรับขึ้นมา ขณะที่ปีที่ผ่านมาตัวเลขการขายรวมในประเทศมีประมาณ 530-540 ล้านลิตร และตลาดมีการเติบโต 2% เท่านั้น ซึ่งเป็นผลกระทบจากเหตุการณ์น้ำท่วมในช่วงปลายปีที่ผ่านมา
แต่ตลาดน้ำมันเครื่องโดยปกติจะมีอัตราการเติบโตไม่สูงมากนัก ประกอบกับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ได้มีการพัฒนาและทำให้ยืดระยะเวลา และอายุของการใช้งานและการเปลี่ยนออกไป และแม้ว่าต้องประสบกับปัญหาเรื่องต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นกว่า 30-40% แต่ ปตท.ยังคงจัดจำหน่ายสินค้าในราคาเดิม ไม่ได้มีการปรับขึ้นราคาแต่อย่างไร
ปีนี้บริษัทได้เตรียมงบประมาณเพื่อใช้สำหรับการทำกิจกรรมส่งเสริมการตลาด และแคมเปญส่งเสริมการขายไว้ 60-70 ล้านบาท และแคมเปญของ 60-70 ล้านบาท และแคมเปญของ ปตท.ส่วนใหญ่จะมอบให้กับลูกค้า โดยตรง เช่น การให้แคชการ์ด มูลค่า 300-500 บาท ซึ่งได้รับการตอบรับจากลูกค้าค่อนข้างดี
สำหรับสินค้าใหม่ ๆ จะเป็นสินค้าที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์ประหยัดพลังงาน หรืออีโคคาร์ ภายใต้รหัส QW20 ซึ่งมีค่าความหนืดเหมาะสมกับรถประเภทนี้ พร้อมทั้งเตรียมงบประมาณอีก 70 ล้าน ในการเพิ่มกำลังการผลิตในประเทศ ในส่วนของการก่อสร้างถังเก็บวัตถุดิบที่จะใช้เป็นส่วนผสมเพิ่มเติม
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
-
- Verified User
- โพสต์: 5659
- ผู้ติดตาม: 0
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์ที่ 210
ปตท.เล็งตั้ง'ม.วิจัย'200ไร่ที่ระยอง หวังสอนมวยศธ.-ชี้9มหา'ลัยยังไม่ใช่ อัดรัฐเมินดึงเอกชนร่วมจัด-ไม่ทุ่มงบ
Source - มติชน (Th), Thursday, May 03, 2012
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง"การวิจัยในมหาวิทยาลัยมีประโยชน์อย่างไร" ในการประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ถ้าถามว่าวันนี้ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยเกิดขึ้นหรือยัง ต้องบอกว่ายังไม่มี เพราะอาจมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณจากรัฐบาลรวมถึงระบบการทำงาน ขณะที่มหาวิทยาลัยวิจัยที่แท้จริงนั้น มุ่งทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมลักษณะFrontier Technology หรือเทคโนโลยีไร้พรมแดน แต่มหาวิทยาลัยวิจัยของไทยที่มีอยู่ขณะนี้ มีเพียงชื่อเท่านั้นแต่ยังไม่ได้ทำงานวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริงอีกทั้งปรัชญาด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ ก็ตั้งไว้แบบกลางๆ คือให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งสร้างคนให้เป็นคนดี ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้นผลลัพธ์จึงอยู่ในระดับกลางจนถึงค่อนข้างต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้เรายิ่งแย่เข้าไปทุกที ซึ่งหากจะให้แนะนำ คงต้องบอกว่ามหาวิทยาลัยควรสร้างปรัชญาและวางเป้าหมายทางการศึกษาใหม่คือ อุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นหน่วยงานที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับชาติ คือ เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ที่ต่างกับมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่สอนอย่างเดียว แต่ต้องแข่งว่า นักศึกษาที่เรียนอยู่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และการจะเป็นแบบนั้นได้ จำเป็นต้องมีมหาวิทยาลัยวิจัย ที่ทำงานวิจัยจริงๆ
นายไพรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญงานวิจัยที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ โดยแต่ละประเทศจะทุ่มงบด้านวิจัยจำนวนมาก เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งในปี ค.ศ. 1962 ประเทศไทยเคยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) มากกว่าประเทศเกาหลีใต้ถึง 2 เท่า แต่หลังจากปี ค.ศ. 1982 เกาหลีเปลี่ยนแปลงประเทศโดยใช้การศึกษาและเทคโนโลยีเป็นตัวนำ และทุ่มเงินพัฒนาการศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศรวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสูงมาก ทำให้ปัจจุบันเกาหลีมีจีดีพีสูงกว่าไทยเกือบ 10 เท่า ต่างกับประเทศไทยคือ ไม่ให้ความสำคัญเพราะกลัวว่าเอกชนจะจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ
"ที่ยกตัวอย่างเกาหลี เพราะใช้การศึกษาพัฒนาประเทศอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญเกาหลีจะตั้งมหาวิทยาลัยวิจัยจำนวนมากทั่วประเทศ โดยให้ทุนการศึกษา จัดหาอาจารย์ที่ดีมีคุณภาพ รวมถึงจัดหาสถานที่เรียนที่เหมาะสม เพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมาะกับการเรียนรู้ ทำให้แต่ละแห่งสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศได้ จะเห็นได้ว่าเกาหลี ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งออกเหมือนบ้านเรา แต่เกาหลีกลับมีรายได้หรือจีพีดีสูงขึ้นทุกๆ ปี" นายไพรินทร์กล่าว และว่า ปตท.เป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในไทย ผลกำไรสุทธิปีนี้เท่ากับงบประมาณแผ่นดินทั้งประเทศ คือ 2.4 ล้านล้านบาท และมีแผนการลงทุนทุกๆ 5 ปี ใช้งบ 4 แสนล้านบาท ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ ปตท.จัดสรรงบ 3% ของกำไรสุทธิ เพื่อพัฒนางานวิจัยดังนั้น ปตท.จึงเตรียมตั้งมหาวิทยาลัยที่ จ.ระยอง ในพื้นที่ 200 ไร่ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศ และ ดีที่สุดในอาเซียน ที่ตัดสินใจทำแบบนี้เพื่อจะให้เห็นตัวอย่างว่า มหาวิทยาลัยวิจัยที่แท้จริงเป็นแบบใด และหวังว่าต่อไปภาคเอกชนอื่นๆจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มากขึ้น
--จบ--
Source - มติชน (Th), Thursday, May 03, 2012
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) กล่าวบรรยายพิเศษ เรื่อง"การวิจัยในมหาวิทยาลัยมีประโยชน์อย่างไร" ในการประชุมสุดยอดมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ครั้งที่ 1 ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เมื่อเร็วๆนี้ ว่า ถ้าถามว่าวันนี้ประเทศไทยมีมหาวิทยาลัยวิจัยเกิดขึ้นหรือยัง ต้องบอกว่ายังไม่มี เพราะอาจมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณจากรัฐบาลรวมถึงระบบการทำงาน ขณะที่มหาวิทยาลัยวิจัยที่แท้จริงนั้น มุ่งทำวิจัยเพื่อสร้างนวัตกรรมลักษณะFrontier Technology หรือเทคโนโลยีไร้พรมแดน แต่มหาวิทยาลัยวิจัยของไทยที่มีอยู่ขณะนี้ มีเพียงชื่อเท่านั้นแต่ยังไม่ได้ทำงานวิจัยเพื่อการพัฒนาอย่างแท้จริงอีกทั้งปรัชญาด้านการศึกษาของมหาวิทยาลัยไทยส่วนใหญ่ ก็ตั้งไว้แบบกลางๆ คือให้มหาวิทยาลัยเป็นแหล่งสร้างคนให้เป็นคนดี ตอบสนองความต้องการของตลาดแรงงาน ดังนั้นผลลัพธ์จึงอยู่ในระดับกลางจนถึงค่อนข้างต่ำ และเมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่นๆโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว ทำให้เรายิ่งแย่เข้าไปทุกที ซึ่งหากจะให้แนะนำ คงต้องบอกว่ามหาวิทยาลัยควรสร้างปรัชญาและวางเป้าหมายทางการศึกษาใหม่คือ อุดมศึกษาหรือมหาวิทยาลัยจะต้องเป็นหน่วยงานที่สร้างความยิ่งใหญ่ให้กับชาติ คือ เป็นมหาวิทยาลัยวิจัย ที่ต่างกับมหาวิทยาลัยที่ทำหน้าที่สอนอย่างเดียว แต่ต้องแข่งว่า นักศึกษาที่เรียนอยู่สามารถสร้างนวัตกรรมใหม่ๆ ได้มากน้อยแค่ไหน และการจะเป็นแบบนั้นได้ จำเป็นต้องมีมหาวิทยาลัยวิจัย ที่ทำงานวิจัยจริงๆ
นายไพรินทร์กล่าวต่อว่า สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้วส่วนใหญ่ จะให้ความสำคัญงานวิจัยที่ช่วยให้เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อพัฒนาประเทศ โดยแต่ละประเทศจะทุ่มงบด้านวิจัยจำนวนมาก เช่น เกาหลีใต้ ซึ่งในปี ค.ศ. 1962 ประเทศไทยเคยมีผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) มากกว่าประเทศเกาหลีใต้ถึง 2 เท่า แต่หลังจากปี ค.ศ. 1982 เกาหลีเปลี่ยนแปลงประเทศโดยใช้การศึกษาและเทคโนโลยีเป็นตัวนำ และทุ่มเงินพัฒนาการศึกษาและส่งเสริมงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศรวมถึงสนับสนุนให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาสูงมาก ทำให้ปัจจุบันเกาหลีมีจีดีพีสูงกว่าไทยเกือบ 10 เท่า ต่างกับประเทศไทยคือ ไม่ให้ความสำคัญเพราะกลัวว่าเอกชนจะจัดการศึกษาที่ไม่มีคุณภาพ
"ที่ยกตัวอย่างเกาหลี เพราะใช้การศึกษาพัฒนาประเทศอย่างเห็นได้ชัด ที่สำคัญเกาหลีจะตั้งมหาวิทยาลัยวิจัยจำนวนมากทั่วประเทศ โดยให้ทุนการศึกษา จัดหาอาจารย์ที่ดีมีคุณภาพ รวมถึงจัดหาสถานที่เรียนที่เหมาะสม เพื่อสร้างบรรยากาศให้เหมาะกับการเรียนรู้ ทำให้แต่ละแห่งสร้างงานวิจัยเพื่อพัฒนาประเทศได้ จะเห็นได้ว่าเกาหลี ไม่มีทรัพยากรธรรมชาติเพื่อส่งออกเหมือนบ้านเรา แต่เกาหลีกลับมีรายได้หรือจีพีดีสูงขึ้นทุกๆ ปี" นายไพรินทร์กล่าว และว่า ปตท.เป็นบริษัทผู้ผลิตน้ำมันรายใหญ่ที่สุดในไทย ผลกำไรสุทธิปีนี้เท่ากับงบประมาณแผ่นดินทั้งประเทศ คือ 2.4 ล้านล้านบาท และมีแผนการลงทุนทุกๆ 5 ปี ใช้งบ 4 แสนล้านบาท ที่ผ่านมาคณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ ปตท.จัดสรรงบ 3% ของกำไรสุทธิ เพื่อพัฒนางานวิจัยดังนั้น ปตท.จึงเตรียมตั้งมหาวิทยาลัยที่ จ.ระยอง ในพื้นที่ 200 ไร่ โดยตั้งเป้าหมายว่าจะต้องเป็นมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในประเทศ และ ดีที่สุดในอาเซียน ที่ตัดสินใจทำแบบนี้เพื่อจะให้เห็นตัวอย่างว่า มหาวิทยาลัยวิจัยที่แท้จริงเป็นแบบใด และหวังว่าต่อไปภาคเอกชนอื่นๆจะเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา มากขึ้น
--จบ--
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."