|0 คอมเมนต์
picklife เขียน:1.2 ปัยจัยอะไรบ้างครับ?ที่มีผลให้ค่าPEเป็นแบบนั้น เป็นแบบนี้....มันเป็นปัจจัยเชิงคุณภาพใช่ไหมครับ? แล้วมีสูตรไหนที่สามารถประเมินเชิงคุณภาพเหล่านี้มาเป็นเชิงปริมาณได้บ้างครับ????
ปัจจัยที่ผมใช้ในการประเมิน p/e นั้นเป็นปัจจัยเชิงคุณภาพและปริมาณหลายๆตัวรวมๆกัน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ใครอยากเข้าใจก็ไม่ได้หายากเกินไปครับ จริงๆแล้วมันประยุกต์มาจาก หลักการประเมินมูลค่าโดยวิธี DCF ล้วนๆเลย ซึ่งไอเดียนี้ผมมาเข้ามันโดยลึกจริงๆก็เกิดจากการได้อ่านบทความของพี่ IH ที่เคยเขียนเอาไว้ให้อ่านในเอกสารการสัมมนาประจำปีของ thaivi เมื่อหลายปีที่แล้ว ซึ่งสรุปได้คร่าวประมาณนี้
มูลค่าหุ้นตามแบบ DCF จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังนี้
- อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกต่ำ dcf จะสูงขึ้น
- ความเสียงของธุรกิจ ถ้าเสี่ยงสูง dcf ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ dcf จะต่ำ
- ได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้ยาว dcf จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บ inventory ต่ำ dcf จะสูง
- ต้องใช้เงินลงทุนมากๆในการขยายกิจการ หรือ รักษาผลกำดำเนินงาน เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี dcf จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง dcf จะสูง
- มีหนี้มากๆ dcf จะต่ำ
ซึ่งเราสามารถเอามาประยุกต์เป็น p/e ได้ง่ายๆ โดยเปลี่ยนคำว่า dcf เป็น p/e ตรงๆเลยได้ตามนี้
มูลค่าหุ้นตามแบบ p/e จะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่สำคัญดังนี้
- อัตราดอกเบี้ย ถ้าดอกต่ำ p/e จะสูงขึ้น
- ความเสียงของธุรกิจ ถ้าเสี่ยงสูง p/e ก็จะต่ำ
- การให้เครดิตลูกค้ายาวๆ p/e จะต่ำ
- ได้รับเครดิตจากเจ้าหนี้ยาว p/e จะสูง
- ขายสินค้าได้เร็ว มีการเก็บ inventory ต่ำ p/e จะสูง
- ต้องใช้เงินลงทุนมากๆในการขยายกิจการ หรือ รักษาผลกำดำเนินงาน เมื่อเทียบกับกระแสเงินสดในแต่ละปี p/e จะต่ำ
- มีการเติบโตสูง p/e จะสูง
- มีหนี้มากๆ p/e จะต่ำ
DCF นั้นมันมีสูตรคำนวณตายตัวของมันอยู่ แต่ตัวเลขที่ใช้แทนในสูตรนั้นมันขึ้นอยู่กับวิจารณาณของผู้คำนวณทั้งนั้น และสูตรคำนวณมันก็ยุ่งยากเหลือเกินที่จะคำนวณออกมาให้เป๊ะๆได้ .... ผมก็เลยทำความเข้าใจกับ DCF ให้ท่องแท้ว่าสูตรของมันเป็นยังไง ปัจจัยไหนบ้างที่จะทำให้ DCF เพิ่มหรือลด แล้วสุดท้ายก็เอามาประยุกต์ใช้กับ p/e โดยต้องอาศัยประสบการณ์ของเราในการพิจารณาหุ้นหลายๆตัวมาเทียบเคียงกันไปเรื่อยๆว่า หุ้นควรมี p/e มากน้อยแค่ไหน เมื่อเราเห็นบ่อยๆจนชินไป Sense ในการประเมินมูลค่า p/e ที่เหมาะสมก็จะเกิดขึ้นเอง ...
เหมือนกับการก่อสร้างโครงสร้างของวิศวโยธาแหละครับ มันมีสูตรตายตัวในการคำนวณอยู่ว่าจะต้องใช้คอนกรีตขนาดไหน เล็กขนาดไหนกี่เส้น แต่ถ้าคุณ picklife มีโอกาสได้ออกแบบสร้างบ้านขนาดใกล้เคียงเดิมซ้ำๆจนชิน หลังๆนี่เอาแบบบ้านมาไม่ต้องใส่สูตรคำนวณเลยด้วยซ้ำ ก็บอกได้ว่าจะใช้เสา คานขนานดเท่าไหร่ เหล็กกี่เส้นดี มันอาจจะไม่ถูกต้องตรงเป๊ะ แต่ก็ถือว่าถูกต้องเพียงพอในการสร้างให้มี Margin of Safety ... การเล่นหุ้นมันก็แบบนี้เลยแหละครับ เราไม่ต้องใส่สูตร dcf ออกมาเป๊ะ เราแค่กะๆ เอาได้ว่า p/e มันควรจะเป็นเท่าไหร่ และซื้อให้มี Margin of Safety แค่นี้ก็เพียงพอแล้วในการลงทุน เพียงว่ามันต้องอาศัยสั่งสมประสบการณ์มาเรื่อยๆ ไม่สามารถทำปุ๊บปั๊บแล้วเป็นได้เลย
ทุกวันนี้ผมไปลงทุนต่างประเทศ ก็ต้องไปเริ่มต้นฝึกการประเมิน p/e ของหุ้นต่างประเทศใหม่หมด เพราะตัวเลือกที่เยอะขึ้น ตัวเปรียบเทียบที่เปลี่ยนแปลงไป ก็ทำให้หลักการประเมิน p/e นั้นเปลี่ยนไปเช่นกัน