จากที่ผมเคยเจอมา หลายบริษัทในตลาดเจอวิบากเรื่องนี้พอควรครับ แต่ถ้าเอาตัวรอดผ่านมาได้ ก็ถือว่าได้เก็บเลเวลเพิ่มครับ แบบนี้ผมชอบNevercry.boy เขียน:5. ต้องมีสายป่านยาวพอควรครับ หนี้ควรให้น้อยเพราะยามแร้นแค้น งานไม่มา จะได้ไม่โดนบีบให้ไปรับง่านแย่ ๆ เข้ามา
VI หาดใหญ่
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1711
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1712
ช่วงหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปรื้อหนังสือแก่นฯ มาอ่านอีกรอบหลังจากที่ระยะนี้ถูกอ้างอิงในห้องนี้หลายครั้ง
การอ่านซ้ำรอบสองนี้เหมือนจะตกผลึกอะไรบางอย่างได้มากกว่าการอ่านรอบแรก ขอเวลาทดสอบกับของจริงสักพักครับ ถ้าได้อะไรติดไม้ติดมือมา ศิษย์ปลายแถวที่ทำหน้าที่เสี่ยวเอ้อไปด้วยจะขออนุญาตนำมาแชร์กับอ. กับเพื่อนๆ อีกทีครับ
การอ่านซ้ำรอบสองนี้เหมือนจะตกผลึกอะไรบางอย่างได้มากกว่าการอ่านรอบแรก ขอเวลาทดสอบกับของจริงสักพักครับ ถ้าได้อะไรติดไม้ติดมือมา ศิษย์ปลายแถวที่ทำหน้าที่เสี่ยวเอ้อไปด้วยจะขออนุญาตนำมาแชร์กับอ. กับเพื่อนๆ อีกทีครับ
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1713
ศิษย์พี่เป็นหัวขบวนของโรงเจเลย ผู้น้องขอตามดำ เขียน:ช่วงหยุดสุดสัปดาห์ที่ผ่านมา ผมไปรื้อหนังสือแก่นฯ มาอ่านอีกรอบหลังจากที่ระยะนี้ถูกอ้างอิงในห้องนี้หลายครั้ง
การอ่านซ้ำรอบสองนี้เหมือนจะตกผลึกอะไรบางอย่างได้มากกว่าการอ่านรอบแรก ขอเวลาทดสอบกับของจริงสักพักครับ ถ้าได้อะไรติดไม้ติดมือมา ศิษย์ปลายแถวที่ทำหน้าที่เสี่ยวเอ้อไปด้วยจะขออนุญาตนำมาแชร์กับอ. กับเพื่อนๆ อีกทีครับ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1714
เราลงทุนในหุ้นลงทุนไปลงทุนมาหุ้นมันลงทุนในเรา
เราใช้เวลาในการศึกษาหุ้นสักพักนึงที่ใช้เวลาร่วมกัน หุ้นมันก็ศึกษาเราในฐานะผู้ถือมันเหมือนกัน
มันเป็นพฤติกรรมร่วมกันว่าจริตของเรากับมัน ไปร่วมกันได้มั๊ย
แค่นี้หล่ะ
เราใช้เวลาในการศึกษาหุ้นสักพักนึงที่ใช้เวลาร่วมกัน หุ้นมันก็ศึกษาเราในฐานะผู้ถือมันเหมือนกัน
มันเป็นพฤติกรรมร่วมกันว่าจริตของเรากับมัน ไปร่วมกันได้มั๊ย
แค่นี้หล่ะ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- Nevercry.boy
- Verified User
- โพสต์: 4626
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1715
ขอเพิ่มเติมอีกนิดเดียวครับ
ในภาวะลำบากนักธุรกิจมักจะไม่ใจใหญ่ แม้แต่นายธนาคารหรือใครต่อใคร คือจะเล่นในกรอบที่ระแวดระวัง
ใช้เวลาในการปัดกวาดบ้านตัวเอง
แต่สำหรับธุรกิจที่จะเติบโตระยะยาวแล้ว นี่เป็นเวลาที่ดีที่จะซุ่มทำอะไรบางอย่าง หรือลงทุนบางอย่างเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจที่กำลังมาถึง
มาจุดนี้ก็ขออ้างอิงคำพูดจากหนังเรื่อง วอลล์สตรีทสักหน่อยครับว่า ไม่ต้องไปห่วงเศรษฐกิจหรอกมันต้องมีใครสักคนสักวันมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเอง
ดังนั้นโฟกัสที่ธุรกิจเถอะ
ในภาวะลำบากนักธุรกิจมักจะไม่ใจใหญ่ แม้แต่นายธนาคารหรือใครต่อใคร คือจะเล่นในกรอบที่ระแวดระวัง
ใช้เวลาในการปัดกวาดบ้านตัวเอง
แต่สำหรับธุรกิจที่จะเติบโตระยะยาวแล้ว นี่เป็นเวลาที่ดีที่จะซุ่มทำอะไรบางอย่าง หรือลงทุนบางอย่างเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจที่กำลังมาถึง
มาจุดนี้ก็ขออ้างอิงคำพูดจากหนังเรื่อง วอลล์สตรีทสักหน่อยครับว่า ไม่ต้องไปห่วงเศรษฐกิจหรอกมันต้องมีใครสักคนสักวันมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเอง
ดังนั้นโฟกัสที่ธุรกิจเถอะ
เด็กผู้ชายไม่ร้องไห้
http://nevercry-boy.blogspot.com/
http://nevercry-boy.blogspot.com/
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1716
แหม... เยอะๆ ก็ได้ครับ มีคนรออ่านกันเพียบNevercry.boy เขียน:ขอเพิ่มเติมอีกนิดเดียวครับ
ในภาวะลำบากนักธุรกิจมักจะไม่ใจใหญ่ แม้แต่นายธนาคารหรือใครต่อใคร คือจะเล่นในกรอบที่ระแวดระวัง
ใช้เวลาในการปัดกวาดบ้านตัวเอง
แต่สำหรับธุรกิจที่จะเติบโตระยะยาวแล้ว นี่เป็นเวลาที่ดีที่จะซุ่มทำอะไรบางอย่าง หรือลงทุนบางอย่างเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจที่กำลังมาถึง
ในสถานการณ์ที่ว่า ไม่ได้เหมาะที่ธุรกิจจะซุ่มทำอะไรบางอย่างเท่านั้นนะครับ ในหนังสือแก่นฯ มันเหมาะกับการมองฝั่งซื้อแบบเสี่ยงต่ำด้วยเช่นกัน
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1717
หุ้นยังคงไหลลงเรื่อย ๆ ผมว่าคงเป็นแบบนี้ไปอีกซักพักใหญ่ ๆ จนกว่าสถานการณ์ทางเศรษฐกิจจะดีขึ้น
ตอนนี้ก็คงต้องมองมูลค่าในพอร์ตมันลดลงไปเรื่อย ๆ แล้วรอมันกลับมา
ผมว่าถ้าไม่ได้ไปจับหุ้นปั่นแปะ ถึงจะลงมันก็ลงแบบสมน้ำสมเนื้อ ไม่ใช่ลงแบบรถไฟเหาะ
ผมว่าถ้าเราอ่านหนังสือแก่น "ตอนนี้" นะ คง "อิน" มากครับ เพราะสภานการณ์มันเข้าได้กับสิ่งที่เค้าบอกในหนังสือ
แต่ถ้าเป็นเมื่อต้นปี อ่านไปอาจจะไม่ค่อยเห็นภาพ เพราะโดนกระทิงบังตา
ตอนนี้ก็คงต้องมองมูลค่าในพอร์ตมันลดลงไปเรื่อย ๆ แล้วรอมันกลับมา
ผมว่าถ้าไม่ได้ไปจับหุ้นปั่นแปะ ถึงจะลงมันก็ลงแบบสมน้ำสมเนื้อ ไม่ใช่ลงแบบรถไฟเหาะ
ผมว่าถ้าเราอ่านหนังสือแก่น "ตอนนี้" นะ คง "อิน" มากครับ เพราะสภานการณ์มันเข้าได้กับสิ่งที่เค้าบอกในหนังสือ
แต่ถ้าเป็นเมื่อต้นปี อ่านไปอาจจะไม่ค่อยเห็นภาพ เพราะโดนกระทิงบังตา
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1718
เรื่องนี้ผมพอจะเข้าใจครับkongkiti เขียน:เหล่า ผถห นักลงทุน นังเกร็งลำไยleky เขียน:ผมว่าก่อนที่งบจะออกมีใครเคยดูหุ้น "ขั้วโลก" บ้างหรือเปล่าครับ
หุ้นใช้เวลา 5 วัน ตกลงมา 80%![]()
PE 6.22 PV 0.18![]()
เห็นแล้วต้องอุทานว่า "หุ้นบ้าอะไรวะนี่"
แบบนี้เข้าข่ายหุ้นราคาถูก????? หรือรายย่อยไม่มั่นใจเลยเกิดอาการ "ท้องเสีย" ไม่หยุด
เงินสดกับรายการเทียบเท่าเงินสดประมาณ 800 ล้าน จำนวนหุ้นประมาณ 8,500 ล้าน
กิจการอสังหาฯ ดูลุ่ม ๆ ดอน ๆ เหมือนเน้นที่กิจการ PP![]()
สมมตินะ อันนี้สมมติ
เกิดมีรายใหญ่ใจถึง เก็บหุ้นซัก 20% แบบเงียบ ๆ พอวันใกล้ประชุมก็ขอใช้เสียง 3 ใน 4 ของที่ประชุม ปลดกรรมการยกชุด พร้อมเสนอให้เอาเงินเกือบ 800 ล้านมาจ่ายเงินปันผล ซึ่งก็เกือบ 10 สต.
หรือไม่ก็ปลดกรรมการยกชุด แล้วเอาพวกของตัวเองเข้ามาพร้อมกับขอเข้าไปทำธุรกิจพลังงานทางเลือก ขายสินทรัพย์ของธุรกิจอสังหาฯทิ้ง เอาเงินสดมาจ่ายปันผลบางส่วน
อันนี้ผมคิดเล่น ๆ นะครับ
แต่ไม่ทราบว่ามีใครเคยดูหุ้นตัวนี้บ้างครับ ดูแล้วมันค้านสายตาเอามาก ๆ ครับ
โดนกันมาหนักหลาย shot ครับบริษัทนี้
พี่ leky ลองอ่านในห้องนั้นดูน่าจะพอปะติดปะต่อได้ครับ
เพียงแต่ที่ผมหยิบขึ้นมาในตอนนี้ เพราะราคามัน sale มากกว่าเดิม 80% พูดง่าย ๆ ว่า บีบรายย่อยจะหน้าเขียวแล้วเขียวอีก กะเอาให้ตายเลยว่างั้น
ผมคิดว่าที่มันลงมาเยอะแบบนี้คงเป็นเพราะเป็นหุ้นที่ไม่มีเจ้าภาพ รายย่อยถือกันเยอะมาก และก็ขาดความมั่นใจ รวมถึงสภาพตลาดด้วย
แต่ผมก็สนใจนั่งดูก็เพราะว่า ถ้าเป็นอย่างที่ อ. Howard บอก "หุ้นห่วย ๆ แต่ซื้อที่ราคาโคตรจะถูก" มันก็อาจจะเป็นดีลที่ดีก็ได้
ผมก็เลยนั่งดูว่าสุดท้าย ถ้าเราปักหมุดที่ราคาตรงนี้ ผ่านไป 3 เดือน 6 เดือน 1 ปี มันจะให้ผลตอบแทนเท่าไหร่
"Become a risk taker, not a risk maker"
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1719
จริงครับ ผมได้กลับมาอ่านรอบนี้มันส์มาก เห็นภาพตามง่ายขึ้นชัดขึ้นกว่าเดิม เพราะอารมณ์/จิตใจเราอยู่ในช่วงที่สอดคล้องกับในเนื้อหาพอดี แต่ขอไม่อ่านตอนเจอแบบวิกฤตสินเชื่ออีกนะครับ มือคงสั่นจนถือหนังสือไม่ไหวleky เขียน:ผมว่าถ้าเราอ่านหนังสือแก่น "ตอนนี้" นะ คง "อิน" มากครับ เพราะสภานการณ์มันเข้าได้กับสิ่งที่เค้าบอกในหนังสือ
แต่ถ้าเป็นเมื่อต้นปี อ่านไปอาจจะไม่ค่อยเห็นภาพ เพราะโดนกระทิงบังตา
อ.ครับ พออ่านรอบนี้ก็เริ่มสังเกตได้ชัดว่า เป็นหนังสือที่เน้นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยง เรื่องทัศนคติต่อการเคลื่อนไหวของราคา เรื่องปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งเรื่องเหล่านี้หาอ่านจากเล่มอื่นได้ยากจริงๆ ครับ จะว่าไป มันแทบไม่ได้กล่าวถึงกระบวนการหาหุ้นมูลค่าเท่าไหร่เลยด้วยซ้ำ เหมือนกับว่ามันเป็น Prerequisite สำหรับคนอ่านอยู่แล้ว เล่มนี้สำหรับนักลงทุนมือใหม่อ่านไปอาจยังไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไหร่ แต่สำหรับรุ่นโชกเลือด แผลเต็มตัวอย่างผม ขอบอกว่า อินมากกกกครับ

กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1721
เพื่อนๆท่านใดถือกลุ่มประกันชีวิตไว้ ช่วงนี้ระมัดระวังด้วยนะครับ เห็นอัตราการเวรคืนกรรมธรม์ที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 30กว่า% แล้ว... นี่ถ้าลดดอกลงอีกที สงสัยโดน 2 เด้งเลยครับ แต่ในระยะยาว ok นะครับ เพราะดอกเบี้ยลงอาจแย่ทางบัญชี แต่ดีในทางธุรกิจที่เงินจะยิ่งไหลเข้าทำประกันชีวิตเพิ่มอีก เพื่อหาผลตอบแทนที่ดีกว่านะครับ (ลองหาดูนะครับว่าถ้าประชาชนเวรคืนกรรมธรม์ระยะยาวเพิ่มมากขึ้น และเน้นทำประกันจ่ายสั้นแทนเพื่อลดภาษี อาจมีบางบริษัทเสียประโยชน์มากกว่าคาดมากนะครับ ปล.ไม่กล้าโพสครับ เดี๋ยวโดนคนถือหุ้นดักตีหัวครับ
)

-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1722
เค้าเน้นไว้อย่างนั้นจริง ๆ ครับ เหมือน อ. Howard แกปวารณาตัวเลยว่า ขอป้องกันความเสี่ยง เพราะเชื่อในผลตอบแทนระยะยาวดำ เขียน: จริงครับ ผมได้กลับมาอ่านรอบนี้มันส์มาก เห็นภาพตามง่ายขึ้นชัดขึ้นกว่าเดิม เพราะอารมณ์/จิตใจเราอยู่ในช่วงที่สอดคล้องกับในเนื้อหาพอดี แต่ขอไม่อ่านตอนเจอแบบวิกฤตสินเชื่ออีกนะครับ มือคงสั่นจนถือหนังสือไม่ไหว
อ.ครับ พออ่านรอบนี้ก็เริ่มสังเกตได้ชัดว่า เป็นหนังสือที่เน้นอย่างมากเกี่ยวกับเรื่องความเสี่ยง เรื่องทัศนคติต่อการเคลื่อนไหวของราคา เรื่องปัจจัยทางจิตวิทยา ซึ่งเรื่องเหล่านี้หาอ่านจากเล่มอื่นได้ยากจริงๆ ครับ จะว่าไป มันแทบไม่ได้กล่าวถึงกระบวนการหาหุ้นมูลค่าเท่าไหร่เลยด้วยซ้ำ เหมือนกับว่ามันเป็น Prerequisite สำหรับคนอ่านอยู่แล้ว เล่มนี้สำหรับนักลงทุนมือใหม่อ่านไปอาจยังไม่ค่อยได้ประโยชน์เท่าไหร่ แต่สำหรับรุ่นโชกเลือด แผลเต็มตัวอย่างผม ขอบอกว่า อินมากกกกครับ
จะมีอยู่หน้าที่ที่เขียนไว้ว่าตามตลาดลงจะไม่เจ็บตัวมาก แต่ยามตลาดขึ้น ผลตอบแทนแค่พอประมาณ
ผมว่าที่ดีอยู่เรื่องหนึ่งคือเค้าพยายามจะเน้นว่า ผลที่ออกมาดี อาจจะไม่ใช่เพราะเราเก่ง แต่อาจจะเพราะเราแค่อยู่ถูกที่ถูกเวลา อย่าหลงผิด
อีกเรื่องก็คืออารมณ์ของตลาด ยากจะขายยามตลาดขึ้น ยากจะซื้อยามตลาดลง
จะว่าไปเหมือนแกสอนให้เราเล่นฟุตบอลแบบเน้นเกมรับน่ะครับ

ผมถึงว่าต้องไปอ่านหนังสือกุญแจ 5 ดอกอีกซักเล่ม เสริมเรื่อง ตัวเร่ง ครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1723
คุณ NB จะเอาธุรกิจเข้าตลาดหลักทรัพย์เมื่อไหร่ บอกพวกผมด้วยนะครับNevercry.boy เขียน:ขอเพิ่มเติมอีกนิดเดียวครับ
ในภาวะลำบากนักธุรกิจมักจะไม่ใจใหญ่ แม้แต่นายธนาคารหรือใครต่อใคร คือจะเล่นในกรอบที่ระแวดระวัง
ใช้เวลาในการปัดกวาดบ้านตัวเอง
แต่สำหรับธุรกิจที่จะเติบโตระยะยาวแล้ว นี่เป็นเวลาที่ดีที่จะซุ่มทำอะไรบางอย่าง หรือลงทุนบางอย่างเพื่อรองรับการเติบโตของเศรษฐกิจที่กำลังมาถึง
มาจุดนี้ก็ขออ้างอิงคำพูดจากหนังเรื่อง วอลล์สตรีทสักหน่อยครับว่า ไม่ต้องไปห่วงเศรษฐกิจหรอกมันต้องมีใครสักคนสักวันมาแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจเอง
ดังนั้นโฟกัสที่ธุรกิจเถอะ

"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1726
แต่ตลาดที่ลงในรอบนี้ มันก็ทำให้ผมเห็นเรื่องเดิม ๆ ที่ย้อนกลับมาอีกครั้ง
หุ้นที่มีข่าวราคาขึ้นไปมาก ๆ ขึ้นไปก่อนที่บ.จะทำตามข่าวนั้น พอตลาดลงหุ้นเหล่านี้ก็จะลงมาเยอะมาก พวกหุ้นที่เล่นข่าวเรื่องพลังงานทางเลือกทั้งหลาย
นั่นแปลว่าถ้าเราเข้าไปไล่ราคากับเค้าด้วย แล้วคิดที่จะถือยาว เรากำลังจ่ายค่าพรีเมี่ยม ยังไม่นับว่าโครงการที่บ.จะทำจะสำเร็จหรือเปล่าก็อีกเรื่อง
โครงการอะไรที่ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ยังไงก็คงต้องเผื่อด้วยว่า ถ้าเราเข้าไปไล่ราคา แล้วระหว่างทางเกิดตลาดแย่ขึ้นมา เราก็อาจจะเจ็บหนักได้ครับ
หุ้นที่มีข่าวราคาขึ้นไปมาก ๆ ขึ้นไปก่อนที่บ.จะทำตามข่าวนั้น พอตลาดลงหุ้นเหล่านี้ก็จะลงมาเยอะมาก พวกหุ้นที่เล่นข่าวเรื่องพลังงานทางเลือกทั้งหลาย
นั่นแปลว่าถ้าเราเข้าไปไล่ราคากับเค้าด้วย แล้วคิดที่จะถือยาว เรากำลังจ่ายค่าพรีเมี่ยม ยังไม่นับว่าโครงการที่บ.จะทำจะสำเร็จหรือเปล่าก็อีกเรื่อง
โครงการอะไรที่ใช้เวลานานกว่าจะเห็นผล ยังไงก็คงต้องเผื่อด้วยว่า ถ้าเราเข้าไปไล่ราคา แล้วระหว่างทางเกิดตลาดแย่ขึ้นมา เราก็อาจจะเจ็บหนักได้ครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1727
คุณลูกหินครับ วันนี้ผมนั่งดูเล่น ๆ เห็นรายการโหด ๆ 2-3 รายการ
ตัวแรก หุ้นต่อเรือ วันก่อนขึ้นอย่างแรง เช้า บ.ออกมาปฏิเสธข่าวเรื่องเทคโอเวอร์ ก็แน่นอน หุ้นก็ลง ช่วงใกล้ปิดตลาดดันขึ้นมาบวกเกือบ high ซะงั้น
ตัวสอง หุ้นจัดอีเว้นต์ ข่าวได้งานพิพิธภัณฑ์ 1000 ล้าน หุ้นนิ่ง ๆ แต่เมื่อวานก็ขึ้นมา ตอนเช้าก็ไปต่ออีก 10% บ่ายลบไป 10% ซะงั้น
บ่องตงเลยนะ หุ้นที่ราคาเคลื่อนไหวแบบนี้นี่ ถ้าคิดว่ามันขึ้นลงตามธรรมชาติที่ปกตินี่ ผมว่าก็แปลกมาก ๆ ครับ
หุ้นแบบนี้ผมนั่งดูเล่นเพื่อความบันเทิงครับ
ตัวแรก หุ้นต่อเรือ วันก่อนขึ้นอย่างแรง เช้า บ.ออกมาปฏิเสธข่าวเรื่องเทคโอเวอร์ ก็แน่นอน หุ้นก็ลง ช่วงใกล้ปิดตลาดดันขึ้นมาบวกเกือบ high ซะงั้น
ตัวสอง หุ้นจัดอีเว้นต์ ข่าวได้งานพิพิธภัณฑ์ 1000 ล้าน หุ้นนิ่ง ๆ แต่เมื่อวานก็ขึ้นมา ตอนเช้าก็ไปต่ออีก 10% บ่ายลบไป 10% ซะงั้น

บ่องตงเลยนะ หุ้นที่ราคาเคลื่อนไหวแบบนี้นี่ ถ้าคิดว่ามันขึ้นลงตามธรรมชาติที่ปกตินี่ ผมว่าก็แปลกมาก ๆ ครับ
หุ้นแบบนี้ผมนั่งดูเล่นเพื่อความบันเทิงครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1728
ใช่ครับ ผมก็ชอบดูครับ สนุกดีครับ และถ้าเราติดตามหุ้นหลายๆประเภทได้นานพอจนครบรอบ เราก็จะเห็นว่าแต่ละตัวเรื่องราวเป็นอย่างไร ขึ้นไปแบบไหน แล้วลงมาแบบไหน ทุบเอาของกันอย่างไร ออกข่าวไล่รายย่อยแบบใด แต่ผมก็ได้แค่ดูเพื่อเพิ่มกรอบความรู้ครับ และเมื่อเวลาผ่านไปนานๆ ก็เป็นการยืนยันได้ดีว่า หุ้นขึ้นเราก็ขึ้นตามผลประกอบการ หุ้นลงเราก็ตกบ้าง แต่ถ้าบริษัทยังโตได้ในระยะยาว เดี๋ยวก็กลับมาที่เดิม เวลานํ้าลดแรงๆ ต้นไม้ใหญ่รากฐานดีคงมีเอียงบ้างครับ แต่ขอนไม้ลอยไปลอยมานิไม่ไหวครับ บ้างที่นํ้าขึ้นแรงๆ ลอยสูงกว่าต้นไม้ซะงั้น เห็นแล้วงง แต่ก็ปลงได้ครับ ตอนนี้ต้องขยันครับ เพราะยามตลาดที่ผันผวน เราจะได้ความรู้มากกว่าปกติมากครับ และบางครั้งเราแทบจะมองออกเลยว่าหุ้นตัวนั้นๆใครเป็นคนถือ นักเกร็งกำไร รายย่อย เจ้ามือ รายใหญ่ กองทุน ต่างชาติ vi ไวๆ หรือ vi พันธุ์แท้ครับ 

-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1729
ธุรกิจธนาคารที่มีโครงสร้างรายได้จากดอกเบี้ย จะเป็นธุรกิจที่เป็นวัฎจักรromee เขียน:ถามพี่chaitorn ไหนๆก้สอนเรื่องกลุ่มแบงค์แล้ว (หรือคนอื่นๆจะช่วยตอบก้ได้คับ)
หุ้นบางกลุ่มในตลาด ทำไมถึงโดนกดตลอด
เช่นแบงค์, ประกันภัย PEไม่เคยเกิน12เลย หรือเพราะเรื่องความเสี่ยง, ถ้าพลาดทีคือขาดทุนเลย?
แล้วอย่างธุรกิจประกันภัย มันมีค่า หรือตัวเลขอะไรที่พอจะดูได้มั้ย ว่าตัวไหนดูโดดเด่นกว่าตัวอื่นๆคับ
ขอบคุณล่วงล่วงหน้า กับความมีน้ำใจดีครับ
ดังนั้น pe จะให้สูงแบบ growth stock ลำบาก
สังเกตุดู ปีนี้ในครึ่งปีแรก สินเชื่อชะลอตัวลงมากตามภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ
แถมช่วงชะลอตัวจะพบว่า หนี้ npl ก็ขยับขึ้นด้วย
ค่าใช้จ่ายดำเนินงานธนาคารก็ค่อนข้างเป็น fixed cost
ในขณะที่ด้านต้นทุนก็มีภาระดอกเบี้ยเงินฝากที่ค้ำรายจ่ายอยู่ด้วย แถมใช้เงิน leverage จากเงินฝากค่อนข้างมาก ต่างกับประกันภัยรับค่าเบี้ยมา หากบริหารดี ๆ แทนที่จะจ่ายเป็นต้นทุน กลับสามารถทำกำไรได้อีกด้วย
ประกันภัยและประกันชีวิต มี 3 ตัวหลัก ๆ ที่ดูกัน
1. Top line การเติบโตของเบี้ยประกันภัยเป็นอย่างไร ส่วนครองตลาดที่เพิ่มขึ้นที่เกิดจากความสามารถในการแข่งขันเป็นอย่างไรทำให้มีเงิน float เข้ามาได้มาก ๆ และเป็นตัวต่อยอดการลงทุนต่อเนื่อง
2. ความสามารถในการบริหารความเสี่ยงของต้นทุน ดู combined ratio ว่าเป็นอย่างไร ซึ่งแยกเป็นรายจ่ายสำคัญ 2 ตัว คือ 1. Loss ratio หรือค่าใช้จ่ายในการเครมประกันภัย และ 2. ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ซึ่งต้องดูผ่านกลยุทธ์ เช่น geico ที่ อาจารย์ warren buffett ลงทุนมีจุดเด่นเรื่องการขายประกันภัย online ที่ทำให้มีต้นทุนดำ้นินการไม่ว่าจะเป็นช่องทางการขาย และค่าคอมที่ถือว่าต่ำมาก ๆ ในอุตสาหกรรม ทำให้สามารถใช้กลยุทธ์เลือกลูกค้าที่ดีที่ต้องการมีภาระจ่ายค่าเบี้ยที่ต่ำเข้ามาได้มาก การบริหาร combined ratio ที่ต่ำกว่าค่าเบี้ยที่รับเข้ามา จะทำให้มีกำไร แทนที่จะจ่ายเป็น cost ที่ได้มาของเงิน float จากค่าเบี้ยประกัน
ในภาวะที่บริษัทหาผลตอบแทนลงทุนได้สูงมาก บางบริษัท อาจ balanced โดยอาจมีกำไรน้อยลงหรือเกิดการขาดทุนเล็กน้อย แล้วไปหากำไรจากเงินลงทุนทดแทน ต้องแล้วแต่กลยุทธ์ว่าจะเน้น้ร่งการเติบโตหรือเก็บเกี่ยวครับ ต้นทุนที่เกิดขึ้นก็คล้ายกับต้นทุนเงินฝากธนาคารนั้นเองครับ
3. ความสามารถในการบริหารเงินลงทุน ดูผลตอบแทน irr เทียบกับพันธบัตรระยะยาว หากสามารถบริหารได้ดีจะแสดงถึงความสามารถในการสร้างผลตอบแทนทบต้นที่สูง ซึ่ง เบริกไซส์ บริษัทประกันภัย ที่เติบโตสูงมาก ก็มาจากเคล็ดลับการหาผลตอบแทนการลงทุนทบต้นที่สูงได้อย่างต่อเนื่องนั้นเอง
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1730
leky เขียน:คุณลูกหินครับ วันนี้ผมนั่งดูเล่น ๆ เห็นรายการโหด ๆ 2-3 รายการ
ตัวแรก หุ้นต่อเรือ วันก่อนขึ้นอย่างแรง เช้า บ.ออกมาปฏิเสธข่าวเรื่องเทคโอเวอร์ ก็แน่นอน หุ้นก็ลง ช่วงใกล้ปิดตลาดดันขึ้นมาบวกเกือบ high ซะงั้น
ตัวสอง หุ้นจัดอีเว้นต์ ข่าวได้งานพิพิธภัณฑ์ 1000 ล้าน หุ้นนิ่ง ๆ แต่เมื่อวานก็ขึ้นมา ตอนเช้าก็ไปต่ออีก 10% บ่ายลบไป 10% ซะงั้น![]()
บ่องตงเลยนะ หุ้นที่ราคาเคลื่อนไหวแบบนี้นี่ ถ้าคิดว่ามันขึ้นลงตามธรรมชาติที่ปกตินี่ ผมว่าก็แปลกมาก ๆ ครับ
หุ้นแบบนี้ผมนั่งดูเล่นเพื่อความบันเทิงครับ
หุ้นทุกกลุ่มในด้าน dark mode มีเจ้ามือในการทำราคาครับleky เขียน:คุณลูกหินครับ วันนี้ผมนั่งดูเล่น ๆ เห็นรายการโหด ๆ 2-3 รายการ
ตัวแรก หุ้นต่อเรือ วันก่อนขึ้นอย่างแรง เช้า บ.ออกมาปฏิเสธข่าวเรื่องเทคโอเวอร์ ก็แน่นอน หุ้นก็ลง ช่วงใกล้ปิดตลาดดันขึ้นมาบวกเกือบ high ซะงั้น
ตัวสอง หุ้นจัดอีเว้นต์ ข่าวได้งานพิพิธภัณฑ์ 1000 ล้าน หุ้นนิ่ง ๆ แต่เมื่อวานก็ขึ้นมา ตอนเช้าก็ไปต่ออีก 10% บ่ายลบไป 10% ซะงั้น![]()
บ่องตงเลยนะ หุ้นที่ราคาเคลื่อนไหวแบบนี้นี่ ถ้าคิดว่ามันขึ้นลงตามธรรมชาติที่ปกตินี่ ผมว่าก็แปลกมาก ๆ ครับ
หุ้นแบบนี้ผมนั่งดูเล่นเพื่อความบันเทิงครับ
ถ้าเป็น blue chip เจ้ามือใหญ่คือสถาบัน ต่างชาติ
ถ้าเป็นขนาดกลาง ก็มีเจ้าของร่วมกับนักลงทุนรายใหญ่
ถ้าเล็ก ๆ นี่ ส่วนใหญ่เจ้าของร่วมกับนักปั่นราคาครับ
แต่เจ้ามือและเจ้าพ่อตัวจริงของหุ้นอย่างไรเสีย หนีไม่พ้นก็คือ ผลประกอบการกำไรและปันผลที่ได้รับคือพื้นฐานตัวจริง และเป็นเจ้ามือตัวจริง
เพราะทุกการลงทุนมันมีต้นทุนค่าเสียโอกาสทางเลือกในการลงทุนต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดการ arbitrage ของผลตอบแทนน้อยที่มีความเสี่ยงเท่ากันไปสู่ผลตอบแทนที่สูงกว่า ณ ระดับความเสี่ยงเท่ากันเช่นกัน เพียงแต่ในระยะสั้นมันอาจเกิด gapของราคาที่เกิดจากความโลภ และกลัวของคนในตลาด
ทำให้เกิดโอกาสการลงทุนและการทำกำไรสำหรับนักลงทุนที่เน้นคุณค่าที่แท้จริง ซึ่งใช้ความได้เปรียบลดความเสี่ยง ความผันผวน ด้วยการลงทุนที่ไม่จำกัดเวลาหรือเหมือนถูกรถที่ต่อท้ายบีบแตรเสียงดังกดดันให้เราเร่งรีบให้ตัดสินใจในเวลาสั้น ๆ ครับ
คำแนะนำผมก็คือ เราควรเล่นกับเจ้ามือผลประกอบการและปันผลบริษัทซึ่งเป็นเจ้ามือและเจ้าพ่อตัวจริงครับ
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1731
ในหนังสือแก่นฯ อธิบายว่า นี่คือสิ่งที่ทำให้นักลงทุนสามารถแสวงหาโอกาสทำผลตอบแทนต่อความเสี่ยงได้มากกว่าปกติครับchaitorn เขียน:ในระยะสั้นมันอาจเกิด gapของราคาที่เกิดจากความโลภ และกลัวของคนในตลาด
ทำให้เกิดโอกาสการลงทุนและการทำกำไรสำหรับนักลงทุนที่เน้นคุณค่าที่แท้จริง ซึ่งใช้ความได้เปรียบลดความเสี่ยง ความผันผวน ด้วยการลงทุนที่ไม่จำกัดเวลาหรือเหมือนถูกรถที่ต่อท้ายบีบแตรเสียงดังกดดันให้เราเร่งรีบให้ตัดสินใจในเวลาสั้น ๆ ครับ
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1732
มาลองตอบคุณ romee บ้างนะครับ
กลุ่มธนาคาร ผมคิดว่ามีวรจรของมันอยู๋ โดยถ้าเงินฝากสูงโดยไม่ค่อยได้ปล่อยกู้และ npl ไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นเศรษฐกิจฟิ้นตัว มีการกู้เพื่อลงทุนหรือรัฐบาลออกนโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุน กลุ่มนี้จะเริ่มดีขึ้นรวดเร็วมาก pe เริ่มสูงขึ้น สังเกตุตัวอย่างได้จากตัวอย่างที่ผ่านมาครับ kbank scb จากราคาประมาณ 40-50 บาทขึ้นมาถึงปัจจุบัน สถานะการ์ณปัจจุบันถามว่าเป็นอย่างไร ผมให้ความเห็นดังนี้ จริงอยู่ที่ผ่านมาประมาณ 1 ปีหลังแบงค์ต่างๆได้ระมัดระวังการปล่อยกู้อย่างมากเนื่องด้วยเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ npl ของลูกค้ากลุ่มหลังที่ได้ปล่อยไป ไม่ค่อยเสียหายมาก แต่กลุ่มลูกค้าเก่าที่เป็น sme ณ.ปัจจุบัน เจอภาวะเงินฝืด หนี้สินภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้ที่ผ่านมาทุกคนรอด้วยความหวัง บางครั้งขาดทุนบ้างก็จะประคองไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวไม่นานคงดีขึ้น แต่สภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจ เงินฝืดยังไม่ถึงจุดตํ่าสุด จึงทำให้ npl ยังคงเพิ่มขึ้นและผมคิดว่ายังคงเพิ่มขึ้นอีก แต่ใกล้จุดตํ่าสุดแล้วถ้าไม่มีอะไรแรงๆมากระทบ โดยเฉพาะโรคระบาดนะครับ เพราะสภาพ sme ไทยในตอนนี้เหมือนคนนอนรอนํ้าหยดสุดท้ายเพื่อที่จะลุกขึ้นให้ได้อีกครั้ง และแรงขับเคลื่อนเราเหลือแค่ 2 อย่างเป็นหลักคือ การท่องเที่ยวและลงทุนภาครัฐ นอกนั้นจอดหมดครับ ภาคธุรกิจได้แต่รอดูผู้นำว่าไปต่อได้ไหม ไม่ได้ก็ไม่ตามครับ ผมคิดว่าถ้าเพื่อนๆท่านใดลงทุนในกลุ่มนี้ ในมุมมองของผม ที่ผมมักมองเป็นหลักคือ ต้นเหตุของหนี้เสียคือ ธุรกิจขาดทุนจ่ายเงินต้นและดอกไม่ไหว แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่จ่ายไม่ไหว ไม่ไหวเพราะขายของไม่ได้ แล้วขายของไม่ได้เพราะคนไม่ยอมซื้อของ เพราะระมัดระวังการใช้จ่าย แล้วระวังการใช้จ่ายเพราะ รู้สึกหนี้เยอะแล้วไม่ปลอดภัย แล้วสิ่งใดที่จะทำให้เงินกลับมาสะพัดอีกครั้ง ซึ่งเราต้องติดตามตรงนี้อย่างใกล้ชิด โดยมองทุกอุตสาหกรรมครับ ว่าจะฟื้นในรูปแบบไหนกันบ้าง แล้วจะกระทบเป็นลูกโซ่อย่างไร เช่น ถ้าการท่องเที่ยวเป็นตัวนำ มีการวางเงินจองห้องพักเข้ามา โรงแรมที่ได้เงินจอง เอาเงินไปจ่ายค่าแรงคนงาน คนงานเอาไปจ่ายค่าเช่าอพาร์ตเม้น คนเช้าอพาร์ตเม้นท์เอาไปจ่ายค่าซ่อมแซม ช่างซ่อมแซมนำเงินไปไถ่ถอนเงินประกันจากโรงแรมที่เคยรับงานและทำแบงค์การัณตีไว้ สุดท้ายทัวร์ยกเลิก เจ้าของโรงแรมคืนเงินไป แต่ทุกคนปลดหนี้หมดทั้งที่ไม่มีการใช้เกิดขึ้นจริง ปัญหาตอนนี้ีคือคนได้เงินแล้วไม่ยอมใช้จ่าย กลัวครับ ผมจะจับสัญญาณการฟื้นตัวโดย มองดูคนที่เดินตามห้างว่า ขนาดของถุงใส่ของใหญ่เล็กเพียงใด อัตราของคนเดินเล่นกับซื้อของเป็นเท่าไร ซื้อของกลุ่มราคาประเภทใด ยังอาศัยเดินตากแอร์เป็นหลักหรือไม่ คนขายแต่ละกลุ่มหน้าตาเป็นอย่างไร ยิ้มออกหรือเปล่า ยอดขายมาม่าและปลากระป๋องยังลดอยู่หรือไม่ ถ้ายังลดอยู่ แสดงว่าไม่ได้ต้องการประหยัดโดยการกินของถูกเพียงอย่างเดียว แต่ลดประมาณการกินและเลือกของที่จะบริโภคมากๆ มีหนี้มากอาจเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช้อาจเป็นอีกเหตุผลนึงก็ได้ครับ ส่วนที่ผมชอบทำคือ เวลาผมไปไหนมาไหนในกทม.และเดินทางไปกลับเกินกว่า 2 ชม. ผมจะขึ้น taxi ครับ เพราะเวลารถติดผมก็จะได้อ่านนสพ. เวลารถวิ่งผมได้คุยกับคนขับ เพราะคนขับเค้าเจอคนมากมายทุกวัน หลากประเภท ผมได้รับรู้ถึงกำลังใจของผู้คนหลากหลายกลุ่มอย่างมาก รวมถึงเป็นข้อมูลที่อัพเดทให้ทันสมัยเสมอครับ ซึ่งถ้าเงินเริ่มสะพัด สัญญาณเหล่านี้เป็นตัวตั้งต้นที่สำคัญมากครับ เพราะเป็นเหตุแห่งปัญหา (ไปคนเดียวนะครับ ถ้าลูกๆไปด้วยทำไม่ได้) อีกอย่างผมชอบอ่านคำชี้แจ้งงบ q ของแต่ละแบงค์มากครับ เพราะมันบอกถ้ามุมมองของนายแบงค์แต่ละที่ว่า มองโลกในแง่ดีเกินไป ร้ายเกินไป อยู่ด้วยความหวังและความจริงมากน้อยเพียงไหน รู้สถานะการ์ณอย่างถ่องแท้หรือไม่ ส่วนตัวเลขการตั้งสำรอง ผมมองเป็นแค่ตัวเลขประกอบการคาดการ์ณของแต่ละแบงค์เท่านั้นครับ กำลังซื้อที่จะฟื้นครั้งนี้ ผมมองว่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปครับ ผมยกตัวอย่างดังนี้นะครับ ถ้ามีคนๆนึงเกิดอุบัติเหตุรถชนแขนขาด ต้องเสียเงินผ่าตัดรักษาต่อแขนไป 5 แสนบาท กับอีกคนนึงไปก่อหนี้ซื้อรถคันแรกไว้ ยอด 5 แสนเหมือนกัน แต่คนแรก จ่ายทีเดียวจบ คนที่ 2 ผ่อน 5 ปี ทำไมหลังเหตุการ์ณจบ คนแรกกลับมาใช้จ่ายปกติ และโทษโชคชะตาว่า ดวงไม่ดี ส่วนคนที่ 2 รู้สึกกลุ้มกว่า ทั้งที่ตนเองเป็นคนทำเอง แต่การลำบากนานๆ เห็นตัวเลขเงินออมลดลงทุกๆเดือน มันเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว ทั้งที่เงินเท่ากัน แต่คนที่รู้สึกเจ็บระยะสั้นลืมง่ายกว่าครับ เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเหตุการ์ณลำบากระยะยาว และทำให้เข้าไปสู่ความทรงจำระยะยาว การลืมก็จะเป็นไปในทางเหมือนกันคือ ระยะยาวครับ ถึงเค้าหมดหนี้เค้าก็จะเข็ดกับการใช้จ่ายมากๆอยู่ดีครับ เหตุการ์ณที่เกิดในอดีตที่เข้าไปในความทรงจำได้ จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนครับ และที่สำคัญคือ เราต้องรับรู้ว่าเราอยู่ในกลุ่มใด ได้รับผลดีร้ายแบบไหน แล้วประมวลผลโดยรอบ โดยไม่นำเอาความรู้สึกของเราเป็นหลักครับ อาจจะทำให้ผิดพลาดได้ ที่พูดมาทั้งหมดผมพูดถึงผลประกอบการ์ณเท่านั้นนะครับ ราคาหุ้นไม่เกี่ยวครับ เพราะลงมามากแล้ว อาจจะตํ่าเกือบสุดแล้วก็ได้นะครับ พูดมาซะยาวไม่รู้เพ้อเจ้อไปหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ ถ้าเพื่อนๆรำคาญต้องขอโทษด้วยนะครับ
เดียวจะมาต่อกลุ่มประกันนะครับ
กลุ่มธนาคาร ผมคิดว่ามีวรจรของมันอยู๋ โดยถ้าเงินฝากสูงโดยไม่ค่อยได้ปล่อยกู้และ npl ไม่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น หลังจากนั้นเศรษฐกิจฟิ้นตัว มีการกู้เพื่อลงทุนหรือรัฐบาลออกนโยบายเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายและการลงทุน กลุ่มนี้จะเริ่มดีขึ้นรวดเร็วมาก pe เริ่มสูงขึ้น สังเกตุตัวอย่างได้จากตัวอย่างที่ผ่านมาครับ kbank scb จากราคาประมาณ 40-50 บาทขึ้นมาถึงปัจจุบัน สถานะการ์ณปัจจุบันถามว่าเป็นอย่างไร ผมให้ความเห็นดังนี้ จริงอยู่ที่ผ่านมาประมาณ 1 ปีหลังแบงค์ต่างๆได้ระมัดระวังการปล่อยกู้อย่างมากเนื่องด้วยเศรษฐกิจชะลอตัว ทำให้ npl ของลูกค้ากลุ่มหลังที่ได้ปล่อยไป ไม่ค่อยเสียหายมาก แต่กลุ่มลูกค้าเก่าที่เป็น sme ณ.ปัจจุบัน เจอภาวะเงินฝืด หนี้สินภาคครัวเรือนอยู่ในระดับสูง ทำให้ที่ผ่านมาทุกคนรอด้วยความหวัง บางครั้งขาดทุนบ้างก็จะประคองไป เพราะคิดว่าเดี๋ยวไม่นานคงดีขึ้น แต่สภาพความเป็นจริงของเศรษฐกิจ เงินฝืดยังไม่ถึงจุดตํ่าสุด จึงทำให้ npl ยังคงเพิ่มขึ้นและผมคิดว่ายังคงเพิ่มขึ้นอีก แต่ใกล้จุดตํ่าสุดแล้วถ้าไม่มีอะไรแรงๆมากระทบ โดยเฉพาะโรคระบาดนะครับ เพราะสภาพ sme ไทยในตอนนี้เหมือนคนนอนรอนํ้าหยดสุดท้ายเพื่อที่จะลุกขึ้นให้ได้อีกครั้ง และแรงขับเคลื่อนเราเหลือแค่ 2 อย่างเป็นหลักคือ การท่องเที่ยวและลงทุนภาครัฐ นอกนั้นจอดหมดครับ ภาคธุรกิจได้แต่รอดูผู้นำว่าไปต่อได้ไหม ไม่ได้ก็ไม่ตามครับ ผมคิดว่าถ้าเพื่อนๆท่านใดลงทุนในกลุ่มนี้ ในมุมมองของผม ที่ผมมักมองเป็นหลักคือ ต้นเหตุของหนี้เสียคือ ธุรกิจขาดทุนจ่ายเงินต้นและดอกไม่ไหว แล้วอะไรเป็นสาเหตุที่จ่ายไม่ไหว ไม่ไหวเพราะขายของไม่ได้ แล้วขายของไม่ได้เพราะคนไม่ยอมซื้อของ เพราะระมัดระวังการใช้จ่าย แล้วระวังการใช้จ่ายเพราะ รู้สึกหนี้เยอะแล้วไม่ปลอดภัย แล้วสิ่งใดที่จะทำให้เงินกลับมาสะพัดอีกครั้ง ซึ่งเราต้องติดตามตรงนี้อย่างใกล้ชิด โดยมองทุกอุตสาหกรรมครับ ว่าจะฟื้นในรูปแบบไหนกันบ้าง แล้วจะกระทบเป็นลูกโซ่อย่างไร เช่น ถ้าการท่องเที่ยวเป็นตัวนำ มีการวางเงินจองห้องพักเข้ามา โรงแรมที่ได้เงินจอง เอาเงินไปจ่ายค่าแรงคนงาน คนงานเอาไปจ่ายค่าเช่าอพาร์ตเม้น คนเช้าอพาร์ตเม้นท์เอาไปจ่ายค่าซ่อมแซม ช่างซ่อมแซมนำเงินไปไถ่ถอนเงินประกันจากโรงแรมที่เคยรับงานและทำแบงค์การัณตีไว้ สุดท้ายทัวร์ยกเลิก เจ้าของโรงแรมคืนเงินไป แต่ทุกคนปลดหนี้หมดทั้งที่ไม่มีการใช้เกิดขึ้นจริง ปัญหาตอนนี้ีคือคนได้เงินแล้วไม่ยอมใช้จ่าย กลัวครับ ผมจะจับสัญญาณการฟื้นตัวโดย มองดูคนที่เดินตามห้างว่า ขนาดของถุงใส่ของใหญ่เล็กเพียงใด อัตราของคนเดินเล่นกับซื้อของเป็นเท่าไร ซื้อของกลุ่มราคาประเภทใด ยังอาศัยเดินตากแอร์เป็นหลักหรือไม่ คนขายแต่ละกลุ่มหน้าตาเป็นอย่างไร ยิ้มออกหรือเปล่า ยอดขายมาม่าและปลากระป๋องยังลดอยู่หรือไม่ ถ้ายังลดอยู่ แสดงว่าไม่ได้ต้องการประหยัดโดยการกินของถูกเพียงอย่างเดียว แต่ลดประมาณการกินและเลือกของที่จะบริโภคมากๆ มีหนี้มากอาจเป็นส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช้อาจเป็นอีกเหตุผลนึงก็ได้ครับ ส่วนที่ผมชอบทำคือ เวลาผมไปไหนมาไหนในกทม.และเดินทางไปกลับเกินกว่า 2 ชม. ผมจะขึ้น taxi ครับ เพราะเวลารถติดผมก็จะได้อ่านนสพ. เวลารถวิ่งผมได้คุยกับคนขับ เพราะคนขับเค้าเจอคนมากมายทุกวัน หลากประเภท ผมได้รับรู้ถึงกำลังใจของผู้คนหลากหลายกลุ่มอย่างมาก รวมถึงเป็นข้อมูลที่อัพเดทให้ทันสมัยเสมอครับ ซึ่งถ้าเงินเริ่มสะพัด สัญญาณเหล่านี้เป็นตัวตั้งต้นที่สำคัญมากครับ เพราะเป็นเหตุแห่งปัญหา (ไปคนเดียวนะครับ ถ้าลูกๆไปด้วยทำไม่ได้) อีกอย่างผมชอบอ่านคำชี้แจ้งงบ q ของแต่ละแบงค์มากครับ เพราะมันบอกถ้ามุมมองของนายแบงค์แต่ละที่ว่า มองโลกในแง่ดีเกินไป ร้ายเกินไป อยู่ด้วยความหวังและความจริงมากน้อยเพียงไหน รู้สถานะการ์ณอย่างถ่องแท้หรือไม่ ส่วนตัวเลขการตั้งสำรอง ผมมองเป็นแค่ตัวเลขประกอบการคาดการ์ณของแต่ละแบงค์เท่านั้นครับ กำลังซื้อที่จะฟื้นครั้งนี้ ผมมองว่าจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปครับ ผมยกตัวอย่างดังนี้นะครับ ถ้ามีคนๆนึงเกิดอุบัติเหตุรถชนแขนขาด ต้องเสียเงินผ่าตัดรักษาต่อแขนไป 5 แสนบาท กับอีกคนนึงไปก่อหนี้ซื้อรถคันแรกไว้ ยอด 5 แสนเหมือนกัน แต่คนแรก จ่ายทีเดียวจบ คนที่ 2 ผ่อน 5 ปี ทำไมหลังเหตุการ์ณจบ คนแรกกลับมาใช้จ่ายปกติ และโทษโชคชะตาว่า ดวงไม่ดี ส่วนคนที่ 2 รู้สึกกลุ้มกว่า ทั้งที่ตนเองเป็นคนทำเอง แต่การลำบากนานๆ เห็นตัวเลขเงินออมลดลงทุกๆเดือน มันเป็นทุกข์ที่เกิดขึ้นในระยะยาว ทั้งที่เงินเท่ากัน แต่คนที่รู้สึกเจ็บระยะสั้นลืมง่ายกว่าครับ เพราะฉะนั้น เมื่อเกิดเหตุการ์ณลำบากระยะยาว และทำให้เข้าไปสู่ความทรงจำระยะยาว การลืมก็จะเป็นไปในทางเหมือนกันคือ ระยะยาวครับ ถึงเค้าหมดหนี้เค้าก็จะเข็ดกับการใช้จ่ายมากๆอยู่ดีครับ เหตุการ์ณที่เกิดในอดีตที่เข้าไปในความทรงจำได้ จะทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนครับ และที่สำคัญคือ เราต้องรับรู้ว่าเราอยู่ในกลุ่มใด ได้รับผลดีร้ายแบบไหน แล้วประมวลผลโดยรอบ โดยไม่นำเอาความรู้สึกของเราเป็นหลักครับ อาจจะทำให้ผิดพลาดได้ ที่พูดมาทั้งหมดผมพูดถึงผลประกอบการ์ณเท่านั้นนะครับ ราคาหุ้นไม่เกี่ยวครับ เพราะลงมามากแล้ว อาจจะตํ่าเกือบสุดแล้วก็ได้นะครับ พูดมาซะยาวไม่รู้เพ้อเจ้อไปหรือเปล่าก็ไม่รู้นะครับ ถ้าเพื่อนๆรำคาญต้องขอโทษด้วยนะครับ

-
- Verified User
- โพสต์: 1217
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1733
ต่อครับ กลุ่มประกันเป็นกลุ่มที่ผมถืออยู่ ผมขออนุญาติไม่พูดถึงหุ้นตัวใดๆในกลุ่มนี้นะครับ เดี๋ยวเพื่อนๆจะติดหุ้นกัน
ผมมักมองหาแรงผลักดันความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลักครับ เพราะผมถือว่าคือต้นกำเนิดของธุรกิจ เช่นถ้าเกิดภัยธรรมชาติอย่างหนัก ถนนหนทางใช้ไม่ได้ ทุกคนในโลกมีความอยากเหาะได้ ผมว่าถ้ามีคนจำนวนมากพอ นักธุรกิจก็จะผลิตออกมาขายแน่นอน แม้บางอย่างดูไม่เข้าท่าก็ตามครับ (นํ้าท่วมคนอยากอยู่คอนโด ถ้าแผ่นดินไหวละ อยากอยู่ไหนกันครับ) ความคิดของประชาชนส่วนใหญ่ในช่วง 5-10 ปีนี้ ผู้คนรู้สึกสังคมปลอดภัยน้อยลง คนรุ่นใหม่เกิดน้อยลง ทำอะไรยากขึ้น ค่ารักษาแพงขึ้น แต่วิวัฒนาการทำให้เราอยู่ได้นานขึ้น เมื่อความคิดมีแรงผลักดันจำนวนมากพอ ก็จะเกิดความต้องการขนาดใหญ่พอที่ธุรกิจจะเติบโตครับ ถ้าเรามองถึงประเทศที่พัฒนามาก่อนเราเกิดอะไรขึ้น ทำไมเค้าทำประกันหลายฉบับต่อคนถึงได้มากจัง แสดงว่าเรามีโอกาสเหมือนเค้าหรือไม่ ซึ่งผมมองว่าเมื่อรายได้มากพอ บรรจบกับความเป็นไปได้ของราคาสินค้า ธุรกิจนี้ก็จะเติบโตครับ เช่น เมื่อก่อนพูดถึงมือถือ นาทีละ 12 บาท/นาที คนบอกแพงไม่เอา 3 บาท บอกหยอดตู้โทรศัพท์บาทเดียว พอนาทีละ 50 สตางค์ผมไม่เห็นใครหยอดตู้แล้ว 7 11 เมื่อก่อนบอกว่าขายแพง ซื้อก็โง่ซื้อรายโช่ห่วยดีกว่า ตอนนี้... รวมถึงกลุ่มโรงพยาบาลที่เมื่อก่อนมีแต่คนกลัว เพราะลงทุนหนัก ขาดทุนยาว แต่ตอนนี้เหตุผลดีๆนับไม่หมดครับ
ผมมักชอบมองไปว่า อะไรก็ตามที่โดยรวมผู้คนยังอยากซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ แต่ธุรกิจในกลุ่มกลับไม่มีคนสนใจ ส่วนแรงผลักดันของยอดขายรวมในกลุ่มยังคงเพิ่มขึ้นจากความต้องการที่แท้จริง และยอดขายของกลุ่มผู้นำแย่งมาร์เก็ตแชร์ของอันดับท้ายๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หมายถึงผู้นำโตขึ้นและกำไรมากขึ้น แต่ผู้ตามกำไรลดลงเรื่อยๆ ซึ่งผมคิดว่าถ้าจุดตัดของเส้นบางๆขาดลง ผู้นำพร้อมจะใหญ่ขึ้น ผู้ตามอยากเลิกหรือขายกิจการหรือควบรวม สิ่งที่เกิดขึ้นคงเหมือนค้าปลีกและกลุ่มโรงพยาบาลที่ตลาดให้ pe 10 เกิดการเลิกกิจการ ควบรวม คู่แข่งลดลงเรื่อยๆ มันคือเมกะเทรนในสายตาของผมคนเดียวครับ อาจผิดก็ได้นะครับ เพราะผมคิดคนเดียวอาจจะไม่รอบด้านพอก็ได้ครับ แต่ผมพอใจในสิ่งที่ได้ครับ ซึ่งอาจจะไม่เป็นแบบที่ผมคิดก็ได้ครับ ผมก็พอใจกับยอดขายที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆตามอุตสาหกรรมครับ
บทความเก่าๆที่ผมเคยเขียนไว้ลองพิจารณากันเองนะครับ (หลังๆไม่ค่อยได้เขียน เพราะเป็นคนพิมพ์ดีดช้า และมั่วแต่อ่านโน่นอ่านนี่ครับ)
กิจการแห่งอนาคต / ลูกหิน 0006
สำหรับนักลงทุน สิ่งทุกคนพยายามตามหาคือกิจการที่จะเติบโต 10 เท่าใน 10 ปี ซึ่งเท่ากับราคาหุ้นต้องขึ้นต่อเนื่อง 26 % ต่อปีโดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากที่เราจะรู้ได้ สำหรับผมก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผมคิดจะถูกต้องหรือไม่ คงต้องรอเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่สิ่งที่ผมคอยสังเกตุว่ากิจการใดที่จะเติบโตแบบนั้นได้ ผมเห็นคุณสมบัติหลายๆข้อที่ตรงกัน ที่จำเป็นต้องมีเป็นส่วนใหญ่ดังนี้
1.ในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆจะต้องมียอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าใน 10 ปี เช่น ถ้ายอดขายทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมปีนี้ 10000 ล้าน 10 ปีข้างหน้าต้องเพิ่มเป็น 30000 ล้านเป็นต้น
2. ผู้บริโภคส่วนใหญ่อยากได้หรืออยากใช้ จากจิตใต้สำนึกความต้องการของผู้บริโภคเอง และยังคงอยากได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลาที่ยาวนาน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม
3.คู่แข่งในอุตสาหกรรมกำลังลดลง ในขณะที่อุตสาหกรรมโดยรวมกำลังเติบโต ไม่ว่าจะด้วยประสบปัญหาขาดทุน ควบรวม หรืออื่นๆ
4. ตลาดไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรต่อกลุ่มดังกล่าว เช่นอาจจะมี PE เฉลี่ยต่ากว่าตลาดมาก ซึ่งอาจจะมี PE ประมาณ 10 เท่า
5. กิจการดังกล่าวสามารถก้าวข้ามวิกฤติเศรษฐกิจได้ดี โดยอาจจะได้รับผลกระทบชั่วคราว และสามารถกลับมายิ่งใหญ่กว่าเดิมได้
6. บริษัทนั้น จะต้องสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ได้มากกว่าการเติบโตโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
7. จะต้องเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมที่เหนือคู่แข่ง และนำหน้าคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ
8. ต้องเป็นสินค้าจำเป็นไม่ฉาบฉวย หรือโตแบบชั่วคราว
9. หาบริษัทที่เป็นผู้นำที่มีลักษณะเด่น และเป็นบริษัทที่จะอยู่นำหน้าในอุตสาหกรรมใน 10 ปีข้างหน้า
ที่ผมกล่าวข้างต้นเป็นข้อสรุปโดยคร่าวๆ โดยผมจะอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ ก่อนที่ค่ากลุ่มปลีกและกลุ่มโรงพยาบาลจะเป็นหุ้น 10 เด้งใน 10 ปี ก่อนนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่กลับมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่หน้าเบื่อและไม่ไปไหน เช่น หุ้นค้าปลีกขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่เมื่อ 10 ปีก่อน ราคา กลับต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นถึงกระแสเงิน และความต้องการที่จะไหลเข้าในมาอนาคตต่างหาก แต่เมื่อเวลาผ่านมาถึงปัจจุบัน คนส่วนใหญ่จะรู้ถึงความต้องการในปัจจุบัน ราคาหุ้นจะได้รับผลของความนิยมเป็นอย่างมาก และถูกปรับค่า PE ขึ้นทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะทุกคนรับรู้แล้วว่าเป็นเมกกะเทรน แต่ในฐานะนักลงทุนคงต้องมองไปในอนาคตไม่ใช้ปัจจุบัน ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้ว่าแดดกำลังจะออกหรือฝนกำลังจะตกต่างหาก
ในภาวะปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่รู้สึกลำบาก เงินไม่ค่อยพอกับค่าใช้จ่าย ซื้อของชิ้นเล็กลงและปริมาณน้อยลง มีเหตุผลมากขึ้น ยิ่งเป็นที่ยากลำบากที่จะหากิจการอุตสาหกรรมที่เติบโต ภายใต้การแข่งขันที่สูงมาก ยังไม่รวมถึงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นและกระแสเงินไหลออก ที่จะมีผลกระทบต่อตลาดทุนไม่มากก็น้อย แต่สำหรับผมกลับมองว่าดอกเบี้ยอาจไม่สามารถขึ้นได้มากอย่างที่ตลาดคาดหวังอีกนาน เพราะเศรษฐกิจโลกในความเป็นจริงยังเปราะบางมาก ซึ่งถึงเวลาจริงอาจจะมีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นบาง แต่ก็คงไม่มากดังที่ทุกคนคาดหวัง ส่วนกระแสเงินไหลออก ผมกลับมองการเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาและวิวัฒนาการของประเทศเราเป็นหลัก เช่น ในสมัยก่อนเวลาต่างประเทศขายหุ้นดัชนีก็ตกลงอย่างรุนแรง แต่ปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่ในประเทศมีความรู้มากขึ้น ลงทุนบนเหตุผลมากขึ้น ซึ่งทำให้ความผันผวนของตลาดทุนในประเทศลดลงอย่างมาก เหมือนกลับประเทศญี่ปุ่นเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่เริ่มพัฒนาและมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น จนนักลงทุนในประเทศเป็นผู้นำตลาดเอง และมีการปรับ PE พื้นฐานในประเทศอย่างโดดเด่นเป็นเวลานาน สำหรับประเทศไทยผมมองว่าส่วนหนึ่ง ปัญญาชนในประเทศเข้าสู่ยุคยากลำบาก เช่นสมัยก่อน รุ่นปู่แค่ขยันอาจรวยได้ง่ายๆ รุ่นพ่ออาจจะมองว่าซื้อตึกแถวสัก 2-3 ห้อง แล้วก็ขายวัสดุก่อสร้างหรือขายโช่วห่วยก็รวยแล้ว แต่ปัจจุบันการขยายธุรกิจของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เน้นยอดขาย แต่มาร์จิ้นน้อยมาก ทำให้ความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจใหม่ที่กำไรดีมากๆเกิดขึ้นได้ยากมาก ไม่ได้ง่ายอย่างในอดีต กลุ่มคนที่มีความสามารถส่วนใหญ่จึงพยายามเอาตัวรอด เพื่อให้อยู่ได้ มั่งคั่งได้ รูปแบบจึงเปลี่ยนไป โดยแทนที่จะลงทุนลงแรงเอง เสี่ยงเอง ก็เปลี่ยนมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่กำลังกลืนกินธุรกิจเก่าแก่ของคนรุ่นก่อน ซึ่งผมคิดว่าถ้าการทำธุรกิจนั้นไม่ยากดังปัจจุบัน ก็อาจจะมีนักลงทุนในปัจจุบันจำนวนมาก ทำธุรกิจและเป็นเศรษฐีแบบสมัยก่อนมากมาย ส่วนการพัฒนาของค่า PE ในประเทศคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงยาก เช่น ทำไมเราไปเที่ยวบางประเทศเราต้องกินน้ำเปล่าขวดละ 20 ทั้งที่บ้านเราขวดละ 5 บาท เราก็ต้องถามตนเองว่า แล้วเราจะไปเที่ยวในประเทศนั้นหรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าถ้าประเทศนั้นดีพอ ก็คงทำให้เราต้องเดินทางไป และซื้อน้ำขวดละ 20 ดื่ม เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งก็คงจะต้องกลับมาลงทุนในไม่ช้า ด้วยเหตุผลที่ว่า มาแล้วเที่ยวแล้วมีความสุข มาลงทุนแล้วมีกำไร
สำหรับผม ผมกลับมองไปที่ต้นเหตุของเงินที่กำลังจะไหลไป โดยผู้บริโภคว่าคิดอย่างไรในภาวะปัจจุบันที่ลำบากขนาดนี้ เงินที่หามาได้ หายากกว่าสมัยก่อนมากๆ โดยสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เมื่อลำบากมากขึ้น ธรรมชาติก็จะสร้างระบบปกป้องตนเอง โดยมีลูกลดลง เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่มาก และจะเลี้ยงดูแบบสมัยก่อนไม่ได้ เพราะทุกคนทราบดีว่าในอนาคตการแข่งขันสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อคนเริ่มตั้งการ์ดป้องกันตนเอง นักลงทุนก็ต้องพยายามหาว่า เงินที่ได้ทุกเดือนแล้วเงินหายไปไหน ซึ่งหนี้สินที่มีมากขึ้น ยิ่งทำให้การป้องกันตัวของผู้คนยิ่งเร่งตัวเร็วมากขึ้นด้วย แถมยังรวดเร็วและยาวนาน ในฐานะของนักลงทุน เราก็ต้องพยายามหาให้ได้ว่า เมื่อผู้คนส่วนใหญ่คิดแบบนี้ แล้วเค้าจะเอาเงินที่หาได้ไปทำอะไรต่อไป เอาเงินไปไว้ไหน ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ได้เราก็อาจจะพบหุ้น 10 เด้ง ใน 10 ปีก็เป็นได้
ถ้าพูดถึงสภาวะโดยรวมที่ดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น และเงินอาจไหลออก ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ยิ่งต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรักษาระยะห่างและความสมดูลย์ ระหว่างค่าเงิน เงินเฟ้อและการเติบโตของธุรกิจในประเทศ ในฐานะนักลงทุนเราก็ต้องมาดูที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ไม่มีหนี้ และนำกระแสเงินสดรับล่วงหน้านำไปทำประโยชน์ได้ ต้านทานกระแสเงินไหลออกได้ มิได้มีผลกระทบต้องค่าเงินไม่ว่าจะแข็งขึ้นหรืออ่อนลง กลุ่มอุตสาหกรรมโตขึ้นโดยมาจากผู้บริโภคเป็นหลัก คู่แข่งลดลง สงครามราคาเริ่มลดลง สุดท้ายนักลงทุนที่มองเห็นก่อน รับรู้ก่อน ในอนาคตก็คงได้รับผลตอบแทนที่ดีและปลอดภัยนะครับ
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57169
เก่าไปหน่อยแต่ความคิดยังเหมือนเดิมนะครับ
ผมมักมองหาแรงผลักดันความต้องการของผู้บริโภคเป็นหลักครับ เพราะผมถือว่าคือต้นกำเนิดของธุรกิจ เช่นถ้าเกิดภัยธรรมชาติอย่างหนัก ถนนหนทางใช้ไม่ได้ ทุกคนในโลกมีความอยากเหาะได้ ผมว่าถ้ามีคนจำนวนมากพอ นักธุรกิจก็จะผลิตออกมาขายแน่นอน แม้บางอย่างดูไม่เข้าท่าก็ตามครับ (นํ้าท่วมคนอยากอยู่คอนโด ถ้าแผ่นดินไหวละ อยากอยู่ไหนกันครับ) ความคิดของประชาชนส่วนใหญ่ในช่วง 5-10 ปีนี้ ผู้คนรู้สึกสังคมปลอดภัยน้อยลง คนรุ่นใหม่เกิดน้อยลง ทำอะไรยากขึ้น ค่ารักษาแพงขึ้น แต่วิวัฒนาการทำให้เราอยู่ได้นานขึ้น เมื่อความคิดมีแรงผลักดันจำนวนมากพอ ก็จะเกิดความต้องการขนาดใหญ่พอที่ธุรกิจจะเติบโตครับ ถ้าเรามองถึงประเทศที่พัฒนามาก่อนเราเกิดอะไรขึ้น ทำไมเค้าทำประกันหลายฉบับต่อคนถึงได้มากจัง แสดงว่าเรามีโอกาสเหมือนเค้าหรือไม่ ซึ่งผมมองว่าเมื่อรายได้มากพอ บรรจบกับความเป็นไปได้ของราคาสินค้า ธุรกิจนี้ก็จะเติบโตครับ เช่น เมื่อก่อนพูดถึงมือถือ นาทีละ 12 บาท/นาที คนบอกแพงไม่เอา 3 บาท บอกหยอดตู้โทรศัพท์บาทเดียว พอนาทีละ 50 สตางค์ผมไม่เห็นใครหยอดตู้แล้ว 7 11 เมื่อก่อนบอกว่าขายแพง ซื้อก็โง่ซื้อรายโช่ห่วยดีกว่า ตอนนี้... รวมถึงกลุ่มโรงพยาบาลที่เมื่อก่อนมีแต่คนกลัว เพราะลงทุนหนัก ขาดทุนยาว แต่ตอนนี้เหตุผลดีๆนับไม่หมดครับ
ผมมักชอบมองไปว่า อะไรก็ตามที่โดยรวมผู้คนยังอยากซื้อมากขึ้นเรื่อยๆ โตขึ้นเรื่อยๆ แต่ธุรกิจในกลุ่มกลับไม่มีคนสนใจ ส่วนแรงผลักดันของยอดขายรวมในกลุ่มยังคงเพิ่มขึ้นจากความต้องการที่แท้จริง และยอดขายของกลุ่มผู้นำแย่งมาร์เก็ตแชร์ของอันดับท้ายๆเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ หมายถึงผู้นำโตขึ้นและกำไรมากขึ้น แต่ผู้ตามกำไรลดลงเรื่อยๆ ซึ่งผมคิดว่าถ้าจุดตัดของเส้นบางๆขาดลง ผู้นำพร้อมจะใหญ่ขึ้น ผู้ตามอยากเลิกหรือขายกิจการหรือควบรวม สิ่งที่เกิดขึ้นคงเหมือนค้าปลีกและกลุ่มโรงพยาบาลที่ตลาดให้ pe 10 เกิดการเลิกกิจการ ควบรวม คู่แข่งลดลงเรื่อยๆ มันคือเมกะเทรนในสายตาของผมคนเดียวครับ อาจผิดก็ได้นะครับ เพราะผมคิดคนเดียวอาจจะไม่รอบด้านพอก็ได้ครับ แต่ผมพอใจในสิ่งที่ได้ครับ ซึ่งอาจจะไม่เป็นแบบที่ผมคิดก็ได้ครับ ผมก็พอใจกับยอดขายที่เติบโตขึ้นเรื่อยๆตามอุตสาหกรรมครับ
บทความเก่าๆที่ผมเคยเขียนไว้ลองพิจารณากันเองนะครับ (หลังๆไม่ค่อยได้เขียน เพราะเป็นคนพิมพ์ดีดช้า และมั่วแต่อ่านโน่นอ่านนี่ครับ)
กิจการแห่งอนาคต / ลูกหิน 0006
สำหรับนักลงทุน สิ่งทุกคนพยายามตามหาคือกิจการที่จะเติบโต 10 เท่าใน 10 ปี ซึ่งเท่ากับราคาหุ้นต้องขึ้นต่อเนื่อง 26 % ต่อปีโดยเฉลี่ย ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากมากที่เราจะรู้ได้ สำหรับผมก็ไม่แน่ใจว่าสิ่งที่ผมคิดจะถูกต้องหรือไม่ คงต้องรอเวลาเป็นเครื่องพิสูจน์ แต่สิ่งที่ผมคอยสังเกตุว่ากิจการใดที่จะเติบโตแบบนั้นได้ ผมเห็นคุณสมบัติหลายๆข้อที่ตรงกัน ที่จำเป็นต้องมีเป็นส่วนใหญ่ดังนี้
1.ในกลุ่มอุตสาหกรรมนั้นๆจะต้องมียอดขายเพิ่มขึ้นประมาณ 3 เท่าใน 10 ปี เช่น ถ้ายอดขายทั้งกลุ่มอุตสาหกรรมปีนี้ 10000 ล้าน 10 ปีข้างหน้าต้องเพิ่มเป็น 30000 ล้านเป็นต้น
2. ผู้บริโภคส่วนใหญ่อยากได้หรืออยากใช้ จากจิตใต้สำนึกความต้องการของผู้บริโภคเอง และยังคงอยากได้เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นเวลาที่ยาวนาน ไม่ว่าจะด้วยเหตุผลใดๆก็ตาม
3.คู่แข่งในอุตสาหกรรมกำลังลดลง ในขณะที่อุตสาหกรรมโดยรวมกำลังเติบโต ไม่ว่าจะด้วยประสบปัญหาขาดทุน ควบรวม หรืออื่นๆ
4. ตลาดไม่ให้ความสนใจเท่าที่ควรต่อกลุ่มดังกล่าว เช่นอาจจะมี PE เฉลี่ยต่ากว่าตลาดมาก ซึ่งอาจจะมี PE ประมาณ 10 เท่า
5. กิจการดังกล่าวสามารถก้าวข้ามวิกฤติเศรษฐกิจได้ดี โดยอาจจะได้รับผลกระทบชั่วคราว และสามารถกลับมายิ่งใหญ่กว่าเดิมได้
6. บริษัทนั้น จะต้องสามารถเพิ่มส่วนแบ่งการตลาด ได้มากกว่าการเติบโตโดยเฉลี่ยของอุตสาหกรรม
7. จะต้องเป็นผู้นำในด้านนวัตกรรมที่เหนือคู่แข่ง และนำหน้าคู่แข่งมากขึ้นเรื่อยๆ
8. ต้องเป็นสินค้าจำเป็นไม่ฉาบฉวย หรือโตแบบชั่วคราว
9. หาบริษัทที่เป็นผู้นำที่มีลักษณะเด่น และเป็นบริษัทที่จะอยู่นำหน้าในอุตสาหกรรมใน 10 ปีข้างหน้า
ที่ผมกล่าวข้างต้นเป็นข้อสรุปโดยคร่าวๆ โดยผมจะอธิบายเพิ่มเติมดังนี้ ก่อนที่ค่ากลุ่มปลีกและกลุ่มโรงพยาบาลจะเป็นหุ้น 10 เด้งใน 10 ปี ก่อนนั้นนักลงทุนส่วนใหญ่กลับมองว่าเป็นอุตสาหกรรมที่หน้าเบื่อและไม่ไปไหน เช่น หุ้นค้าปลีกขนาดใหญ่หรือโรงพยาบาลขนาดใหญ่เมื่อ 10 ปีก่อน ราคา กลับต่ำอย่างไม่น่าเชื่อ เพราะนักลงทุนส่วนใหญ่ยังมองไม่เห็นถึงกระแสเงิน และความต้องการที่จะไหลเข้าในมาอนาคตต่างหาก แต่เมื่อเวลาผ่านมาถึงปัจจุบัน คนส่วนใหญ่จะรู้ถึงความต้องการในปัจจุบัน ราคาหุ้นจะได้รับผลของความนิยมเป็นอย่างมาก และถูกปรับค่า PE ขึ้นทั้งกลุ่มอุตสาหกรรม เพราะทุกคนรับรู้แล้วว่าเป็นเมกกะเทรน แต่ในฐานะนักลงทุนคงต้องมองไปในอนาคตไม่ใช้ปัจจุบัน ซึ่งเราจำเป็นต้องรู้ว่าแดดกำลังจะออกหรือฝนกำลังจะตกต่างหาก
ในภาวะปัจจุบัน ที่คนส่วนใหญ่รู้สึกลำบาก เงินไม่ค่อยพอกับค่าใช้จ่าย ซื้อของชิ้นเล็กลงและปริมาณน้อยลง มีเหตุผลมากขึ้น ยิ่งเป็นที่ยากลำบากที่จะหากิจการอุตสาหกรรมที่เติบโต ภายใต้การแข่งขันที่สูงมาก ยังไม่รวมถึงภาวะดอกเบี้ยขาขึ้นและกระแสเงินไหลออก ที่จะมีผลกระทบต่อตลาดทุนไม่มากก็น้อย แต่สำหรับผมกลับมองว่าดอกเบี้ยอาจไม่สามารถขึ้นได้มากอย่างที่ตลาดคาดหวังอีกนาน เพราะเศรษฐกิจโลกในความเป็นจริงยังเปราะบางมาก ซึ่งถึงเวลาจริงอาจจะมีการปรับดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นบาง แต่ก็คงไม่มากดังที่ทุกคนคาดหวัง ส่วนกระแสเงินไหลออก ผมกลับมองการเชื่อมโยงระหว่างการพัฒนาและวิวัฒนาการของประเทศเราเป็นหลัก เช่น ในสมัยก่อนเวลาต่างประเทศขายหุ้นดัชนีก็ตกลงอย่างรุนแรง แต่ปัจจุบันนักลงทุนส่วนใหญ่ในประเทศมีความรู้มากขึ้น ลงทุนบนเหตุผลมากขึ้น ซึ่งทำให้ความผันผวนของตลาดทุนในประเทศลดลงอย่างมาก เหมือนกลับประเทศญี่ปุ่นเมื่อหลายสิบปีก่อน ที่เริ่มพัฒนาและมีความรู้ความเข้าใจมากขึ้น จนนักลงทุนในประเทศเป็นผู้นำตลาดเอง และมีการปรับ PE พื้นฐานในประเทศอย่างโดดเด่นเป็นเวลานาน สำหรับประเทศไทยผมมองว่าส่วนหนึ่ง ปัญญาชนในประเทศเข้าสู่ยุคยากลำบาก เช่นสมัยก่อน รุ่นปู่แค่ขยันอาจรวยได้ง่ายๆ รุ่นพ่ออาจจะมองว่าซื้อตึกแถวสัก 2-3 ห้อง แล้วก็ขายวัสดุก่อสร้างหรือขายโช่วห่วยก็รวยแล้ว แต่ปัจจุบันการขยายธุรกิจของกลุ่มทุนขนาดใหญ่ที่เน้นยอดขาย แต่มาร์จิ้นน้อยมาก ทำให้ความเป็นไปได้ในการทำธุรกิจใหม่ที่กำไรดีมากๆเกิดขึ้นได้ยากมาก ไม่ได้ง่ายอย่างในอดีต กลุ่มคนที่มีความสามารถส่วนใหญ่จึงพยายามเอาตัวรอด เพื่อให้อยู่ได้ มั่งคั่งได้ รูปแบบจึงเปลี่ยนไป โดยแทนที่จะลงทุนลงแรงเอง เสี่ยงเอง ก็เปลี่ยนมาเป็นส่วนหนึ่งของธุรกิจ ที่กำลังกลืนกินธุรกิจเก่าแก่ของคนรุ่นก่อน ซึ่งผมคิดว่าถ้าการทำธุรกิจนั้นไม่ยากดังปัจจุบัน ก็อาจจะมีนักลงทุนในปัจจุบันจำนวนมาก ทำธุรกิจและเป็นเศรษฐีแบบสมัยก่อนมากมาย ส่วนการพัฒนาของค่า PE ในประเทศคงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงยาก เช่น ทำไมเราไปเที่ยวบางประเทศเราต้องกินน้ำเปล่าขวดละ 20 ทั้งที่บ้านเราขวดละ 5 บาท เราก็ต้องถามตนเองว่า แล้วเราจะไปเที่ยวในประเทศนั้นหรือไม่ ซึ่งผมคิดว่าถ้าประเทศนั้นดีพอ ก็คงทำให้เราต้องเดินทางไป และซื้อน้ำขวดละ 20 ดื่ม เช่นเดียวกับนักลงทุนต่างประเทศ ซึ่งก็คงจะต้องกลับมาลงทุนในไม่ช้า ด้วยเหตุผลที่ว่า มาแล้วเที่ยวแล้วมีความสุข มาลงทุนแล้วมีกำไร
สำหรับผม ผมกลับมองไปที่ต้นเหตุของเงินที่กำลังจะไหลไป โดยผู้บริโภคว่าคิดอย่างไรในภาวะปัจจุบันที่ลำบากขนาดนี้ เงินที่หามาได้ หายากกว่าสมัยก่อนมากๆ โดยสิ่งมีชีวิตส่วนใหญ่เมื่อลำบากมากขึ้น ธรรมชาติก็จะสร้างระบบปกป้องตนเอง โดยมีลูกลดลง เพราะเป็นค่าใช้จ่ายที่มาก และจะเลี้ยงดูแบบสมัยก่อนไม่ได้ เพราะทุกคนทราบดีว่าในอนาคตการแข่งขันสูงขึ้นอย่างมาก เมื่อคนเริ่มตั้งการ์ดป้องกันตนเอง นักลงทุนก็ต้องพยายามหาว่า เงินที่ได้ทุกเดือนแล้วเงินหายไปไหน ซึ่งหนี้สินที่มีมากขึ้น ยิ่งทำให้การป้องกันตัวของผู้คนยิ่งเร่งตัวเร็วมากขึ้นด้วย แถมยังรวดเร็วและยาวนาน ในฐานะของนักลงทุน เราก็ต้องพยายามหาให้ได้ว่า เมื่อผู้คนส่วนใหญ่คิดแบบนี้ แล้วเค้าจะเอาเงินที่หาได้ไปทำอะไรต่อไป เอาเงินไปไว้ไหน ซึ่งถ้าเราวิเคราะห์ได้เราก็อาจจะพบหุ้น 10 เด้ง ใน 10 ปีก็เป็นได้
ถ้าพูดถึงสภาวะโดยรวมที่ดอกเบี้ยจะเป็นขาขึ้น และเงินอาจไหลออก ซึ่งจะเป็นตัวเร่งให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ยิ่งต้องเร่งขึ้นดอกเบี้ยเพื่อรักษาระยะห่างและความสมดูลย์ ระหว่างค่าเงิน เงินเฟ้อและการเติบโตของธุรกิจในประเทศ ในฐานะนักลงทุนเราก็ต้องมาดูที่กลุ่มธุรกิจที่จะได้ประโยชน์จากดอกเบี้ยขาขึ้น ไม่มีหนี้ และนำกระแสเงินสดรับล่วงหน้านำไปทำประโยชน์ได้ ต้านทานกระแสเงินไหลออกได้ มิได้มีผลกระทบต้องค่าเงินไม่ว่าจะแข็งขึ้นหรืออ่อนลง กลุ่มอุตสาหกรรมโตขึ้นโดยมาจากผู้บริโภคเป็นหลัก คู่แข่งลดลง สงครามราคาเริ่มลดลง สุดท้ายนักลงทุนที่มองเห็นก่อน รับรู้ก่อน ในอนาคตก็คงได้รับผลตอบแทนที่ดีและปลอดภัยนะครับ
ขอให้ทุกคนโชคดีครับ
http://board.thaivi.org/viewtopic.php?f=1&t=57169
เก่าไปหน่อยแต่ความคิดยังเหมือนเดิมนะครับ

-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1734
บางทีแยกกันยากจริง ๆ ครับลูกหิน เขียน: vi ไวๆ หรือ vi พันธุ์แท้ครับ
VI บางคนหาข้อมูลละเอียดมาก มองไปยาว ๆ หลายปี แต่บางทีพอราคาขึ้นไปจากข่าวหรือกระแสเก็งกำไรก็แล้วแต่ก็ทิ้งหุ้นออกไปแล้ว ก่อนที่โครงการหรือข่าวนั้นจะเริ่มด้วยซ้ำ
ตรงนี้จะว่าไปจะเรียกว่า VI ก็อาจจะบอกยากครับ ว่า วีไอหรือการเก็งกำไรโดยใช้ปัจจัยพื้นฐานและข่าว
แต่ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ขอเพียง เข้าใจว่าตัวเองกำลังทำอะไรอยู่ เข้าใจความเสี่ยงที่ตัวเองทำ ผมว่ามันก็อาจจะไม่ผิดครับ ถ้าใครจะทำอย่างไร เพียงแต่ผมว่าถ้าเราเข้าใจตัวเราเองผิด จริง ๆ เราเป็นแบบหลังแต่กำลังหลอกตัวเองว่าเราเป็นแบบแรก แบบนี้ผมว่าน่ากลัวครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
-
- Verified User
- โพสต์: 2545
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1735
ขอบคุณข้อเขียนของอาจารย์ลูกหินมากครับ เป็นหนึ่งในนักลงทุนที่ยอดเยี่ยมอีกคนที่แอบซุ่มมานาน ครับ
ผมนำข้อเขียน memo the most important thing มาฝาก เป็น memo หนึ่งที่แม้แต่ อาจารย์ warren buffett ก็มีการพูดถึง memo อันทรงคุณค่านี้ครับ
http://www.oaktreecapital.com/MemoTree/ ... 70103).pdf

ผมนำข้อเขียน memo the most important thing มาฝาก เป็น memo หนึ่งที่แม้แต่ อาจารย์ warren buffett ก็มีการพูดถึง memo อันทรงคุณค่านี้ครับ
http://www.oaktreecapital.com/MemoTree/ ... 70103).pdf
Circle of competence
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
I don't think it's as difficult to figure out competence as it may appear.
If you're 5-foot-2, you don't have much future in the NBA.
What I need to get ahead is to be better than idiots.
Charlie Munger
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1736
วันก่อนที่ผมเล่าให้คุณดำฟังเรื่องหุ้นที่ผมชอบ ที่ผมชอบซื้อที่ราคาต่ำ ๆ นั้น
ต้องทราบที่มาที่ไปของแนวทางของผมก่อนนะครับ คือ
ผมเป็นคนไม่ชอบการต้อง "คัทลอส" หุ้น ครับ
นั่นแปลว่าผมจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ผมไม่อยากทำ
หุ้นราคาต่ำ ๆ downside ต่ำ ๆ นั้น ข้อดีของมันก็คือ ถ้าเราคิดผิด มันจะเสียหายไม่มากนัก และส่วนใหญ่ ถ้าตลาดไม่เลวร้ายหรือราคาที่เราเข้ามันสูงจนเกินไปนัก บางทีสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย ก็ยังทำให้เราสามารถทำกำไรกับมันได้ด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าเราจะคิดผิด บางครั้งก็ได้ถึง 10-30%
แต่ถ้าใครที่ยอมรับได้กับการที่ต้องคัทลอสหุ้น เค้าก็อาจจะบอกว่า เค้ามีกลไกการป้องกันความเสี่ยงโดยการ คัทลอส แต่ยอมซื้อหุ้นที่ราคาสูงขึ้น อันนี้ก็คงแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลครับ
แต่โดยความเห็นส่วนตัวก็คือ ถึงแม้จะคัทลอสครั้งละ 5% ถ้าเราทำ 10 ครั้ง มันก็อาจจะกลายเป็น 50% (ในกรณีที่ซื้อหุ้นตัวนั้น 100%) ยกเว้นว่าจะกระจายความเสี่ยงลงไปอีกโดยการซื้อครั้งละไม่มากจนเกินไปครับ
สรุปแล้ว ผมว่าถ้าใครยังหาแนวทางตัวเองไม่เจอ ก็คงต้องหาเวลาว่าง ๆ มานั่นคิดทบทวนว่า เราชอบอะไร นิสัยเราเป็นอย่างไร พื้นฐานการลงทุนเราเป็นอย่างไร เพื่อกำหนดแนวทางของตัวเองให้ชัดเจนครับ
การยึดแนวคิดของใครคนใดคนหนึ่งแล้วจะเอาไปใช้ทั้งหมด บางครั้งมันอาจจะไม่ตรงจริต ฝืนความเป็นตัวของตัวเอง บางครั้งวิธีการเดียวกันมันก็อาจจะไม่ได้ผลครับ
ต้องทราบที่มาที่ไปของแนวทางของผมก่อนนะครับ คือ
ผมเป็นคนไม่ชอบการต้อง "คัทลอส" หุ้น ครับ
นั่นแปลว่าผมจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ผมไม่อยากทำ
หุ้นราคาต่ำ ๆ downside ต่ำ ๆ นั้น ข้อดีของมันก็คือ ถ้าเราคิดผิด มันจะเสียหายไม่มากนัก และส่วนใหญ่ ถ้าตลาดไม่เลวร้ายหรือราคาที่เราเข้ามันสูงจนเกินไปนัก บางทีสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย ก็ยังทำให้เราสามารถทำกำไรกับมันได้ด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าเราจะคิดผิด บางครั้งก็ได้ถึง 10-30%
แต่ถ้าใครที่ยอมรับได้กับการที่ต้องคัทลอสหุ้น เค้าก็อาจจะบอกว่า เค้ามีกลไกการป้องกันความเสี่ยงโดยการ คัทลอส แต่ยอมซื้อหุ้นที่ราคาสูงขึ้น อันนี้ก็คงแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลครับ
แต่โดยความเห็นส่วนตัวก็คือ ถึงแม้จะคัทลอสครั้งละ 5% ถ้าเราทำ 10 ครั้ง มันก็อาจจะกลายเป็น 50% (ในกรณีที่ซื้อหุ้นตัวนั้น 100%) ยกเว้นว่าจะกระจายความเสี่ยงลงไปอีกโดยการซื้อครั้งละไม่มากจนเกินไปครับ
สรุปแล้ว ผมว่าถ้าใครยังหาแนวทางตัวเองไม่เจอ ก็คงต้องหาเวลาว่าง ๆ มานั่นคิดทบทวนว่า เราชอบอะไร นิสัยเราเป็นอย่างไร พื้นฐานการลงทุนเราเป็นอย่างไร เพื่อกำหนดแนวทางของตัวเองให้ชัดเจนครับ
การยึดแนวคิดของใครคนใดคนหนึ่งแล้วจะเอาไปใช้ทั้งหมด บางครั้งมันอาจจะไม่ตรงจริต ฝืนความเป็นตัวของตัวเอง บางครั้งวิธีการเดียวกันมันก็อาจจะไม่ได้ผลครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1737
ที่ อ.ว่ามามันตรงใจผมจริงๆ ครับ ผมได้มาตระหนักเมื่อประมาณ 1 ปีหลังนี่เองว่าปัญหาในการลงทุน/เทรดหุ้นที่ผ่านมาของผมคืออะไรleky เขียน:วันก่อนที่ผมเล่าให้คุณดำฟังเรื่องหุ้นที่ผมชอบ ที่ผมชอบซื้อที่ราคาต่ำ ๆ นั้น
ต้องทราบที่มาที่ไปของแนวทางของผมก่อนนะครับ คือ
ผมเป็นคนไม่ชอบการต้อง "คัทลอส" หุ้น ครับ
นั่นแปลว่าผมจะพยายามหลีกเลี่ยงสิ่งที่ผมไม่อยากทำ
หุ้นราคาต่ำ ๆ downside ต่ำ ๆ นั้น ข้อดีของมันก็คือ ถ้าเราคิดผิด มันจะเสียหายไม่มากนัก และส่วนใหญ่ ถ้าตลาดไม่เลวร้ายหรือราคาที่เราเข้ามันสูงจนเกินไปนัก บางทีสภาวะตลาดที่เอื้ออำนวย ก็ยังทำให้เราสามารถทำกำไรกับมันได้ด้วยซ้ำ ถึงแม้ว่าเราจะคิดผิด บางครั้งก็ได้ถึง 10-30%
แต่ถ้าใครที่ยอมรับได้กับการที่ต้องคัทลอสหุ้น เค้าก็อาจจะบอกว่า เค้ามีกลไกการป้องกันความเสี่ยงโดยการ คัทลอส แต่ยอมซื้อหุ้นที่ราคาสูงขึ้น อันนี้ก็คงแล้วแต่ความชอบส่วนบุคคลครับ
แต่โดยความเห็นส่วนตัวก็คือ ถึงแม้จะคัทลอสครั้งละ 5% ถ้าเราทำ 10 ครั้ง มันก็อาจจะกลายเป็น 50% (ในกรณีที่ซื้อหุ้นตัวนั้น 100%) ยกเว้นว่าจะกระจายความเสี่ยงลงไปอีกโดยการซื้อครั้งละไม่มากจนเกินไปครับ
สรุปแล้ว ผมว่าถ้าใครยังหาแนวทางตัวเองไม่เจอ ก็คงต้องหาเวลาว่าง ๆ มานั่นคิดทบทวนว่า เราชอบอะไร นิสัยเราเป็นอย่างไร พื้นฐานการลงทุนเราเป็นอย่างไร เพื่อกำหนดแนวทางของตัวเองให้ชัดเจนครับ
การยึดแนวคิดของใครคนใดคนหนึ่งแล้วจะเอาไปใช้ทั้งหมด บางครั้งมันอาจจะไม่ตรงจริต ฝืนความเป็นตัวของตัวเอง บางครั้งวิธีการเดียวกันมันก็อาจจะไม่ได้ผลครับ
คือตลอดที่ผ่านมา ในเพื่อนกลุ่มที่คุยเรื่องหุ้นด้วยกันตลอดก็มักจะใช้วิธีเลือกซื้อหุ้นที่กำลังวิ่งขาขึ้นอยู่ แล้วก็ช่วยกันหาข้อมูลว่าหุ้นมันดียังไง ซึ่งแน่นอนว่าโดยปกติแล้ว ตอนขาขึ้นเราจะหาข้อมูลด้านบวกของหุ้นได้เต็มไปหมด แล้วเราก็จะเริ่มประเมินมูลค่ากันว่าเป้าควรจะไปถึงไหน ยังไม่พอครับ เรายังช่วยกันดูกราฟด้วยว่าแนวโน้มน่าจะไปไกลเท่าไหร่ตาม Pattern ต่างๆ นาๆ ที่เค้าว่ากัน ผมทำแบบนี้ซ้ำไปซ้ำมาเป็นเวลานานมาก ซึ่งผลตอบแทนที่ได้ก็มีทั้งกำไรและขาดทุนสลับกันไป แทบไม่ต่างอะไรกับรายย่อยทั่วๆไป แต่แปลกที่เพื่อนในกลุ่มบางคนกลับมีผลตอบแทนที่ดีกว่าอย่างมาก
จนผมได้มีโอกาสคุยอย่างละเอียดถึงแนวทางซื้อขายหุ้นของเพื่อนคนที่ว่า ปรากฏว่ามันมีความต่างกับแนวทางของผมอย่างสิ้นเชิงอยู่บางอย่าง เช่น
- หลังจากซื้อหุ้นตอนที่ราคาเป็นขาขึ้น เวลาผ่านไปสักพักแนวโน้มมันเริ่มไม่เหมือนเดิม จากที่ขึ้นไปเรื่อยๆ มันเริ่มไม่ขึ้นแต่กลับลง ผมยังคงนั่งดูว่ามันจะยังไงต่อไป แต่ ณ ตอนนั้นเอง เพื่อนผมได้เผ่นออกไปแล้วครับ (เวลาเราซื้อหรือขายจะไม่ได้บอกกันครับ เพียงแต่เอาหุ้นที่น่าสนใจมาแชร์ไอเดียกันเท่านั้น)
- หุ้นที่เคยคุยกันว่าพื้นฐานดี น่าจะเติบโตได้อีกนานเป็นปีหรือหลายปี (ซึ่งเรามักจะหามันเจอตอนขาขึ้นและเริ่มเอามาคุยกันตอนนั้น) พอเวลาผ่านไป จากที่หุ้นขาขึ้นเป็นขาลงจนถึงเมื่อลงมามากๆ บางทีผมกลับไปถามเพื่อนว่า ตอนนี้มองยังไงกับหุ้นตัวนั้นๆ คำตอบที่ได้ทำให้ผมอึ้ง เพราะเพื่อนตอบว่า ไม่ได้ตามแล้ว
มันทำให้ผมตาสว่างขึ้นมาทันทีว่า เพื่อนผมเป็นเทรดเดอร์ ไม่ใช่นักลงทุน และเค้าเป็นเทรดเดอร์ที่ทำหน้าที่แบบเทรดเดอร์ด้วย คือซื้อตอนขาขึ้น (ไม่ได้มี MOS มาก) แล้วก็ขายออกไปตอนที่ไม่แน่ใจเหมือนเดิมแล้ว (หลายครั้งก็เป็นการคัตลอส) และปัจจัยพื้นฐานเป็นแค่เหตุผลประกอบการเลือกหุ้นเพื่อเทรดเท่านั้น เมื่อขายแล้วก็จบกัน
ซึ่งต่างกับผม แม้ผมจะพยายามหลายครั้งหลายหนก็ตามเพื่อจะเป็นเทรดเดอร์ในแนวทางเดียวกันนั้น มันก็ฝืนนิสัยอย่างมากและไม่สามารถทำได้ดีแบบเพื่อน ผมไม่สามารถขายหุ้นที่เพิ่งไล่ซื้อในราคาสูงๆ ได้ และผมก็มักจะยังตามข้อมูลของหุ้นแต่ละตัวที่ซื้อขายไปจนกว่าความน่าสนใจด้านพื้นฐานมันเปลี่ยนไปจริงๆ (ไม่ใช่เพราะราคาหุ้นเปลี่ยนไป)
นั่นก็เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมพอผมได้มาเจอห้องนี้ โดยเฉพาะเมื่อได้ไล่อ่าน comment ต่างๆ ของ อ.leky แล้ว มันถึงโดนใจผมเป็นอย่างมากครับ
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น
-
- Verified User
- โพสต์: 1803
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1738
เห็นคุณลูกหินพูดถึงเรื่องหุ้นรพ. ผมเลยอยากจะแชร์หน่อยครับ
อันนี้เป็นมุมมองของผมนะครับ อาจจะเอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาด้วย
ผมว่าประเด็นที่หุ้นรพ.กลายเป็นหุ้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็น Super stock นั้น ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเมกาเทรนด์จริงแต่ส่วนหนึ่งผมคิดว่ามันก็มีกระแสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ อาจจะเรียกได้ว่า 1+1 มันไม่ใช่เท่ากับ 2 แต่มันกลายเป็น 3 หรือ 4
ผมเองทันเห็นหุ้นรพ.ที่สมัยหนึ่ง ตลาด "ไม่เอา" บางตัวเจอหนี้จากยุคปี 40 ทันเห็น CPALL สมัยที่ยังเป็น CP7-11 ตัวหลังนี้ตอนนั้นผมยังคิดอยู่เลยว่าทำไมคนถึงไม่เล่นกัน ตัวเองก็เคยซื้อที่ 46 บาท น่าจะ low มากในตอนนั้น แต่ตอนนั้นเป็นมุมของคนที่ "เล่นหุ้น" นะครับ
จริงอยู่ครับ แนวโน้มของคนไทยเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ ตรงนี้เป็นเมกาเทรนด์แน่ ๆ แบบในญี่ปุ่นหรือบางประเทศ
แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างหนึ่งที่ผมไม่ค่อยเห็นคนพูดถึงกันซักเท่าไหร่ก็คือ "โครงสร้างของลักษณะการจ่ายเงินของผู้ป่วยในรพ.เอกชน" ครับ
ต้องเข้าใจนิดหนึ่งครับ ว่าถ้าจะดูที่การเติบโตจากการสร้างรพ.แห่งหนึ่งแล้วค่อย ๆ ทำให้มีคนไข้เข้ามารักษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น กรณีแบบนี้ทำได้ "ไม่ง่าย" นักครับ ผมว่าเติบโตปีละ 10% ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ ถ้าเอาแบรนด์เป็นจุดเสริมหาคนไข้ต่างชาติเข้ามา ผมว่าตัวเลขก็คงดีกว่านี้ไม่มากนัก ยังไม่นับว่าจริง ๆ รพ.นี่แหละครับ ยอดผู้ใช้บริการขึ้นกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ผมเคยคุยกับแพทย์ท่านหนึ่งที่อยู่รพ.เอกชนในยุคปี 40 เค้าบอกว่า รพ.คนไข้น้อยมาก ดูสิ้นหวังมากครับ
ถ้าเราย้อนไปดู ผมว่ารพ.เอกชนเจ้าใหญ่ ๆ ทุกวันนี้ที่รายได้ดูโตมาก ส่วนหนึ่งเลยเพราะเค้าใช้วิธีซื้อกิจการครับ รวมถึงการควบรวม การซื้อกิจการที่แบรนด์ด้อยกว่า เปลี่ยนเป็นแบรนด์ที่มันดูดีกว่า แต่ทีมหมอยังเป็นชุดเดิม ส่วนค่ารักษานี่ผมไม่แน่ใจว่าจะอัพตามมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้ครับ เป็นกลยุทธที่ทำให้กำไรดูเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างแท้จริง
ถ้าย้อนมาดูเรื่องลักษณะโครงสร้างทางรายได้ที่ผมบอกไป สิ่งที่จะทำให้รพ.ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากการที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นก็คือ คนไข้กลุ่มที่เรียกกว่ากลุ่มเงินสดครับ หมายถึงควักเงินจ่ายเอง ไม่ได้ใช้ประกันชีวิตหรือสิทธิ์การรักษาอย่างอื่น ๆ
ที่ผมต้องบอกอย่างน้้นก็เพราะว่าทุกวันนี้โครงสร้างทางรายได้ของรพ.แต่ละโรงมันมีความแตกต่างกันครับ บางรพ.เน้นกลุ่มคนไข้ประกันสังคม บัตรทอง ซึ่งตรงนี้มาร์จิ้นต่ำ เน้นการบริหารต้นทุน เพราะได้เงินจากรัฐมาก้อนใหญ่ แต่ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เงินเหลือ
บางรพ.สัดส่วนคนไข้กลุ่มที่เบิกค่ารักษาจากประกันชีวิตกับเงินสด สัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่งในส่วนของกลุ่มประกันชีวิตนั้น ส่วนหนึ่งเป็นประกันที่ทำส่วนตัว แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งก็ใหญ่ไม่แพ้กันก็คือประกันกลุ่มที่มาจากบ.ต่าง ๆ ที่คุ้มครองพนักงาน ซึ่งทำให้คนไข้จำนวนไม่น้อย ใช้สิทธิ์ประกันตรงนี้แทนที่จะเป็นพวกบัตรทอง ประกันสังคม
นั่นก็แปลว่าสิทธิตรงนี้มันมีความไม่แน่นอนอยู่ครับ เช่นถ้าย้ายที่ทำงานเค้าอาจจะไม่มีสิทธิ์ตรงนี้แล้ว กลายเป็นประกันสังคม แนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปรพ.อื่นก็มีครับ หรือแม้แต่ประกันส่วนตัว ถ้าวันหนึ่งจ่ายไม่ไหว หรือประกันครอบคลุมโรคค่าใช้จ่ายสูงไม่ได้ สุดท้ายก็ไปรพ.รัฐหรือกลับไปใช้สิทธิ์ขั้นพื้นฐานคือ บัตรทองและประกันสังคมครับ
ผมเข้าใจว่าการที่เศรษฐกิจดีขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ก็ยอมควักเงินทำประกันให้พนักงานด้วยเช่นกันครับ หรือบางบ.ก็มีงบตรงนี้ให้พนักงานไปเลยซึ่งก็มักจะเป็นบ.ใหญ่ ๆ บางบ.ก็ใช้สองอย่างเพื่อลดความเสี่ยง
ถ้าย้อนกลับมาดู คนที่จะเดินเข้ารพ.เอกชนแล้วจ่ายเงินได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งสิทธิ์การรักษาต้องเป็นคนที่ "มีเงินเก็บ" พอสมควร เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมว่ากว่าครึ่งถ้าเจอความเจ็บป่วยที่รุนแรงและใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากจริง ๆ มัก "สู้ไม่ไหว" ครับ ยกตัวอย่างเช่นต้องนอน ICU ซึ่งค่าใช้จ่ายตกวันละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ถ้าต้องยาวนานต่อเนื่องและสิทธิ์ที่ครอบคลุมอยู่ไม่พอ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นที่จะต้องขอไปรักษาตามสิทธิขั้นพื้นฐานครับ
ซึ่งถ้าย้อนกลับมาดูอีกครั้ง จะเห็นว่ากลุ่มคนสูงอายุโดยเฉพาะที่อายุเกิน 70 ปี นี่แหละครับ คือกลุ่มที่มีความเสี่ยง เสี่ยงที่จะมีค่าใช้จ้ายที่สูง และที่สำคัญเสี่ยงที่จะไม่มีสิทธิ์อะไรอย่างอื่นนอกจากสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ในกรณีที่เงินเก็บมีไม่มาก เพราะในกรณีประกันชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยครอบคลุมอายุที่เกิน 70 ยกเว้นจ่ายเบี้ยมากจริง หรือประกันสังคมซึ่งผมว่าก็ยังไม่น่าจะครอบคลุมนานขนาดนั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ ก็คือ ในอนาคต รพ.รัฐมีคนไข้เยอะขึ้นแน่ ๆ ครับ ด้วยเหตุผลว่า คนสูงอายุไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเงินก็ต้องไปรพ.รัฐ เพราะถ้ามีเงินค่าใช้จ่ายก็ต่ำกว่า เพียงแต่ต้องทนกับคนไข้ที่เยอะกว่า ถ้าไม่มีเงินก็ใช้สิทธิข้าราชการ บัตรทอง
ส่วนรพ.เอกชน การเติบโตก็คงยังมีครับ เพราะถ้าโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รุนแรง คนก็ยังอยากไป แต่จะโตมาก ๆ เลยนั้นผมยอมรับว่าไม่แน่ใจ ยกเว้นว่าคนไทย "โดยรวม" รวยขึ้นมาก เงินเก็บเยอะมาก แต่การที่คนไทยมีแนวโน้มมีลูกลดลง บางครั้งมันก็อาจจะมีผลถ้าตัวหารค่าใช้จ่ายด้านการเจ็บป่วยของพ่อแม่ก็ลดลงตาม
แต่อย่างน้อยถ้าการลงทุนของรพ.เอกชนลดลง ค่าเสื่อมถูกตัดออกน้อยลง EPS ก็คงดีขึ้นในอนาคต แต่ PE จะยืนที่จุดสูง ๆ แบบเดิมหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวเร่งให้รพ.เอกชนโตได้ ผมมองว่าต้องเป็นนโยบายระดับใหญ่ ๆ เลยครับ เช่น
1) ยกเลิกบัตรทอง ให้คนไทยทำประกันชีวิต ซึ่งก็แน่นอนว่าจะไปรพ.รัฐหรือเอกชนก็ได้ ซึ่งผมว่าคงเกิดขึ้นได้ยาก
2) คนที่มีสิทธิ์การรักษาอื่น เช่น ข้าราชการ สามารถไปรักษาที่รพ.เอกชนได้ และเบิกได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ แต่รพ.เอกชนหลายแห่งมองว่าไม่ค่อยคุ้ม เนื่องจากการเบิกเป็นราคากลาง รพ.ห้าดาวค่ารักษาแพงกว่าราคากลางมาก
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวถ่วง
1) บุคลากรขาดแคลน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งตรงนี้มันก็เริ่มเกิดขึ้นแล้วนะครับ
2) แนวโน้มการฟ้องร้องสูงขึ้น ทำให้มีการตรวจมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการมารพ.ของคนไข้สูงขึ้น
มองอีกมุมหนึ่ง ยิ่งรพ.เอกชนโตมาก รพ.รัฐอาจจะแย่ลงเพราะบุคลากรสมองไหล
มองอีกมุมหนึ่ง รพ.เอกชนโตขึ้น แต่ผู้ใช้บริการอาจจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น ไม่ใช่เป็นลักษณะของ economy of scale แบบธุรกิจอื่น ๆ
ที่ต้องระวังคือ กับดักเรื่องความรู้สึกของรายได้ที่โตขึ้นมากของหุ้นในกลุ่มนี้ จากการซื้อและควบรวมกิจการ ซึ่งถ้าเมื่อไหร่หยุดซื้อ รายได้จะไม่โตก้าวกระโดดแบบเดิม
ที่ต้องระวังอีกเรื่องหนึ่งก็คือ "ค่าพรีเมี่ยม" ที่ตลาดให้กับหุ้นกลุ่มนี้ ถ้าวันหนึ่งค่าพรีเมี่ยมนั้นลดลง เช่นมุมมองว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่โตแบบก้าวกระโดดแบบเมื่อก่อน
บางครั้งอาจจะทำให้เราได้หุ้นดี แต่ไม่ใช่การลงทุนที่ดีครับ โดยเฉพาะการซื้อหุ้นที่ราคาสูงครับ
อันนี้เป็นมุมมองของผมนะครับ อาจจะเอาความรู้สึกส่วนตัวเข้ามาด้วย
ผมว่าประเด็นที่หุ้นรพ.กลายเป็นหุ้นแทบจะเรียกได้ว่าเป็น Super stock นั้น ในความเห็นส่วนตัวของผม ผมคิดว่าส่วนหนึ่งเกิดจากเมกาเทรนด์จริงแต่ส่วนหนึ่งผมคิดว่ามันก็มีกระแสเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยครับ อาจจะเรียกได้ว่า 1+1 มันไม่ใช่เท่ากับ 2 แต่มันกลายเป็น 3 หรือ 4
ผมเองทันเห็นหุ้นรพ.ที่สมัยหนึ่ง ตลาด "ไม่เอา" บางตัวเจอหนี้จากยุคปี 40 ทันเห็น CPALL สมัยที่ยังเป็น CP7-11 ตัวหลังนี้ตอนนั้นผมยังคิดอยู่เลยว่าทำไมคนถึงไม่เล่นกัน ตัวเองก็เคยซื้อที่ 46 บาท น่าจะ low มากในตอนนั้น แต่ตอนนั้นเป็นมุมของคนที่ "เล่นหุ้น" นะครับ
จริงอยู่ครับ แนวโน้มของคนไทยเข้าสู่ภาวะผู้สูงอายุ ตรงนี้เป็นเมกาเทรนด์แน่ ๆ แบบในญี่ปุ่นหรือบางประเทศ
แต่สิ่งที่ต้องระวังไว้อย่างหนึ่งที่ผมไม่ค่อยเห็นคนพูดถึงกันซักเท่าไหร่ก็คือ "โครงสร้างของลักษณะการจ่ายเงินของผู้ป่วยในรพ.เอกชน" ครับ
ต้องเข้าใจนิดหนึ่งครับ ว่าถ้าจะดูที่การเติบโตจากการสร้างรพ.แห่งหนึ่งแล้วค่อย ๆ ทำให้มีคนไข้เข้ามารักษาเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นั้น กรณีแบบนี้ทำได้ "ไม่ง่าย" นักครับ ผมว่าเติบโตปีละ 10% ก็ถือว่าเก่งแล้วครับ ถ้าเอาแบรนด์เป็นจุดเสริมหาคนไข้ต่างชาติเข้ามา ผมว่าตัวเลขก็คงดีกว่านี้ไม่มากนัก ยังไม่นับว่าจริง ๆ รพ.นี่แหละครับ ยอดผู้ใช้บริการขึ้นกับสภาวะเศรษฐกิจอย่างชัดเจน ผมเคยคุยกับแพทย์ท่านหนึ่งที่อยู่รพ.เอกชนในยุคปี 40 เค้าบอกว่า รพ.คนไข้น้อยมาก ดูสิ้นหวังมากครับ
ถ้าเราย้อนไปดู ผมว่ารพ.เอกชนเจ้าใหญ่ ๆ ทุกวันนี้ที่รายได้ดูโตมาก ส่วนหนึ่งเลยเพราะเค้าใช้วิธีซื้อกิจการครับ รวมถึงการควบรวม การซื้อกิจการที่แบรนด์ด้อยกว่า เปลี่ยนเป็นแบรนด์ที่มันดูดีกว่า แต่ทีมหมอยังเป็นชุดเดิม ส่วนค่ารักษานี่ผมไม่แน่ใจว่าจะอัพตามมากน้อยแค่ไหน ตรงนี้ครับ เป็นกลยุทธที่ทำให้กำไรดูเติบโตแบบก้าวกระโดดอย่างแท้จริง
ถ้าย้อนมาดูเรื่องลักษณะโครงสร้างทางรายได้ที่ผมบอกไป สิ่งที่จะทำให้รพ.ได้ประโยชน์อย่างแท้จริงจากการที่มีผู้สูงอายุมากขึ้นก็คือ คนไข้กลุ่มที่เรียกกว่ากลุ่มเงินสดครับ หมายถึงควักเงินจ่ายเอง ไม่ได้ใช้ประกันชีวิตหรือสิทธิ์การรักษาอย่างอื่น ๆ
ที่ผมต้องบอกอย่างน้้นก็เพราะว่าทุกวันนี้โครงสร้างทางรายได้ของรพ.แต่ละโรงมันมีความแตกต่างกันครับ บางรพ.เน้นกลุ่มคนไข้ประกันสังคม บัตรทอง ซึ่งตรงนี้มาร์จิ้นต่ำ เน้นการบริหารต้นทุน เพราะได้เงินจากรัฐมาก้อนใหญ่ แต่ต้องทำอย่างไรก็ได้ให้เงินเหลือ
บางรพ.สัดส่วนคนไข้กลุ่มที่เบิกค่ารักษาจากประกันชีวิตกับเงินสด สัดส่วนใกล้เคียงกัน ซึ่งในส่วนของกลุ่มประกันชีวิตนั้น ส่วนหนึ่งเป็นประกันที่ทำส่วนตัว แต่อีกส่วนหนึ่งซึ่งก็ใหญ่ไม่แพ้กันก็คือประกันกลุ่มที่มาจากบ.ต่าง ๆ ที่คุ้มครองพนักงาน ซึ่งทำให้คนไข้จำนวนไม่น้อย ใช้สิทธิ์ประกันตรงนี้แทนที่จะเป็นพวกบัตรทอง ประกันสังคม
นั่นก็แปลว่าสิทธิตรงนี้มันมีความไม่แน่นอนอยู่ครับ เช่นถ้าย้ายที่ทำงานเค้าอาจจะไม่มีสิทธิ์ตรงนี้แล้ว กลายเป็นประกันสังคม แนวโน้มที่จะเปลี่ยนไปรพ.อื่นก็มีครับ หรือแม้แต่ประกันส่วนตัว ถ้าวันหนึ่งจ่ายไม่ไหว หรือประกันครอบคลุมโรคค่าใช้จ่ายสูงไม่ได้ สุดท้ายก็ไปรพ.รัฐหรือกลับไปใช้สิทธิ์ขั้นพื้นฐานคือ บัตรทองและประกันสังคมครับ
ผมเข้าใจว่าการที่เศรษฐกิจดีขึ้น ธุรกิจต่าง ๆ ก็ยอมควักเงินทำประกันให้พนักงานด้วยเช่นกันครับ หรือบางบ.ก็มีงบตรงนี้ให้พนักงานไปเลยซึ่งก็มักจะเป็นบ.ใหญ่ ๆ บางบ.ก็ใช้สองอย่างเพื่อลดความเสี่ยง
ถ้าย้อนกลับมาดู คนที่จะเดินเข้ารพ.เอกชนแล้วจ่ายเงินได้เอง โดยไม่ต้องพึ่งสิทธิ์การรักษาต้องเป็นคนที่ "มีเงินเก็บ" พอสมควร เพราะจากประสบการณ์ส่วนตัว ผมว่ากว่าครึ่งถ้าเจอความเจ็บป่วยที่รุนแรงและใช้ค่าใช้จ่ายสูงมากจริง ๆ มัก "สู้ไม่ไหว" ครับ ยกตัวอย่างเช่นต้องนอน ICU ซึ่งค่าใช้จ่ายตกวันละไม่ต่ำกว่า 1 หมื่นบาท ถ้าต้องยาวนานต่อเนื่องและสิทธิ์ที่ครอบคลุมอยู่ไม่พอ สุดท้ายก็หนีไม่พ้นที่จะต้องขอไปรักษาตามสิทธิขั้นพื้นฐานครับ
ซึ่งถ้าย้อนกลับมาดูอีกครั้ง จะเห็นว่ากลุ่มคนสูงอายุโดยเฉพาะที่อายุเกิน 70 ปี นี่แหละครับ คือกลุ่มที่มีความเสี่ยง เสี่ยงที่จะมีค่าใช้จ้ายที่สูง และที่สำคัญเสี่ยงที่จะไม่มีสิทธิ์อะไรอย่างอื่นนอกจากสิทธิ์ขั้นพื้นฐาน ในกรณีที่เงินเก็บมีไม่มาก เพราะในกรณีประกันชีวิต ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยครอบคลุมอายุที่เกิน 70 ยกเว้นจ่ายเบี้ยมากจริง หรือประกันสังคมซึ่งผมว่าก็ยังไม่น่าจะครอบคลุมนานขนาดนั้น
สิ่งที่เกิดขึ้นแน่ ๆ ก็คือ ในอนาคต รพ.รัฐมีคนไข้เยอะขึ้นแน่ ๆ ครับ ด้วยเหตุผลว่า คนสูงอายุไม่ว่าจะมีหรือไม่มีเงินก็ต้องไปรพ.รัฐ เพราะถ้ามีเงินค่าใช้จ่ายก็ต่ำกว่า เพียงแต่ต้องทนกับคนไข้ที่เยอะกว่า ถ้าไม่มีเงินก็ใช้สิทธิข้าราชการ บัตรทอง
ส่วนรพ.เอกชน การเติบโตก็คงยังมีครับ เพราะถ้าโรคเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่รุนแรง คนก็ยังอยากไป แต่จะโตมาก ๆ เลยนั้นผมยอมรับว่าไม่แน่ใจ ยกเว้นว่าคนไทย "โดยรวม" รวยขึ้นมาก เงินเก็บเยอะมาก แต่การที่คนไทยมีแนวโน้มมีลูกลดลง บางครั้งมันก็อาจจะมีผลถ้าตัวหารค่าใช้จ่ายด้านการเจ็บป่วยของพ่อแม่ก็ลดลงตาม
แต่อย่างน้อยถ้าการลงทุนของรพ.เอกชนลดลง ค่าเสื่อมถูกตัดออกน้อยลง EPS ก็คงดีขึ้นในอนาคต แต่ PE จะยืนที่จุดสูง ๆ แบบเดิมหรือเปล่าก็อีกเรื่องหนึ่ง
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวเร่งให้รพ.เอกชนโตได้ ผมมองว่าต้องเป็นนโยบายระดับใหญ่ ๆ เลยครับ เช่น
1) ยกเลิกบัตรทอง ให้คนไทยทำประกันชีวิต ซึ่งก็แน่นอนว่าจะไปรพ.รัฐหรือเอกชนก็ได้ ซึ่งผมว่าคงเกิดขึ้นได้ยาก
2) คนที่มีสิทธิ์การรักษาอื่น เช่น ข้าราชการ สามารถไปรักษาที่รพ.เอกชนได้ และเบิกได้ในราคาที่สมเหตุสมผล ซึ่งปัจจุบันสามารถทำได้ แต่รพ.เอกชนหลายแห่งมองว่าไม่ค่อยคุ้ม เนื่องจากการเบิกเป็นราคากลาง รพ.ห้าดาวค่ารักษาแพงกว่าราคากลางมาก
สิ่งที่อาจจะเป็นตัวถ่วง
1) บุคลากรขาดแคลน ทำให้ต้นทุนสูงขึ้น ซึ่งตรงนี้มันก็เริ่มเกิดขึ้นแล้วนะครับ
2) แนวโน้มการฟ้องร้องสูงขึ้น ทำให้มีการตรวจมากขึ้น ค่าใช้จ่ายในการมารพ.ของคนไข้สูงขึ้น
มองอีกมุมหนึ่ง ยิ่งรพ.เอกชนโตมาก รพ.รัฐอาจจะแย่ลงเพราะบุคลากรสมองไหล
มองอีกมุมหนึ่ง รพ.เอกชนโตขึ้น แต่ผู้ใช้บริการอาจจะต้องจ่ายค่ารักษาพยาบาลสูงขึ้น ไม่ใช่เป็นลักษณะของ economy of scale แบบธุรกิจอื่น ๆ
ที่ต้องระวังคือ กับดักเรื่องความรู้สึกของรายได้ที่โตขึ้นมากของหุ้นในกลุ่มนี้ จากการซื้อและควบรวมกิจการ ซึ่งถ้าเมื่อไหร่หยุดซื้อ รายได้จะไม่โตก้าวกระโดดแบบเดิม
ที่ต้องระวังอีกเรื่องหนึ่งก็คือ "ค่าพรีเมี่ยม" ที่ตลาดให้กับหุ้นกลุ่มนี้ ถ้าวันหนึ่งค่าพรีเมี่ยมนั้นลดลง เช่นมุมมองว่าอุตสาหกรรมนี้ไม่โตแบบก้าวกระโดดแบบเมื่อก่อน
บางครั้งอาจจะทำให้เราได้หุ้นดี แต่ไม่ใช่การลงทุนที่ดีครับ โดยเฉพาะการซื้อหุ้นที่ราคาสูงครับ
"Become a risk taker, not a risk maker"
- ดำ
- Verified User
- โพสต์: 4214
- ผู้ติดตาม: 0
Re: VI หาดใหญ่
โพสต์ที่ 1740
ขอชวนคุยบ้างครับ ประเด็นราคาน้ำมัน
เท่าที่ติดตามข้อมูล ฝั่ง Supply ไม่มีทีท่าว่าจะชะลอหรือลดกำลังการผลิตในขณะที่ราคาน้ำมันดิบลดลงมาแถวๆ 40-50 USD นี้เลยครับ แถมยังจะมีกำลังการผลิตกลับมาใหม่เพิ่มขึ้นจากที่เคยหยุดไปอีก นี่ยังไม่รวมถึงพวกการผลิตโดยเทคโนโลยีใหม่ๆ พวก Sand Oil, Shale Oil อีกครับ มองดูแล้วเหมือนกับว่าเหล่าผู้ผลิตทั้งหลายเห็นอนาคตว่า น้ำมันกำลังจะกลายเป็นสินค้าล้าสมัยที่มีความต้องการน้อยลงๆ ในระยะยาว ใครมีเท่าไหร่จึงรีบพยายามเอาออกมาขาย
แนวโน้มนึงที่อ่านเจอในข่าวก็คือ เค้ามีแผนจะเพิ่ม Value Add ให้มากขึ้น แทนที่จะขายเป็นน้ำมันดิบก็จะหันไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปลายน้ำอื่นๆ มากขึ้นครับ
เท่าที่ติดตามข้อมูล ฝั่ง Supply ไม่มีทีท่าว่าจะชะลอหรือลดกำลังการผลิตในขณะที่ราคาน้ำมันดิบลดลงมาแถวๆ 40-50 USD นี้เลยครับ แถมยังจะมีกำลังการผลิตกลับมาใหม่เพิ่มขึ้นจากที่เคยหยุดไปอีก นี่ยังไม่รวมถึงพวกการผลิตโดยเทคโนโลยีใหม่ๆ พวก Sand Oil, Shale Oil อีกครับ มองดูแล้วเหมือนกับว่าเหล่าผู้ผลิตทั้งหลายเห็นอนาคตว่า น้ำมันกำลังจะกลายเป็นสินค้าล้าสมัยที่มีความต้องการน้อยลงๆ ในระยะยาว ใครมีเท่าไหร่จึงรีบพยายามเอาออกมาขาย
แนวโน้มนึงที่อ่านเจอในข่าวก็คือ เค้ามีแผนจะเพิ่ม Value Add ให้มากขึ้น แทนที่จะขายเป็นน้ำมันดิบก็จะหันไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมปลายน้ำอื่นๆ มากขึ้นครับ
กราฟที่มองไม่เห็นกับกราฟที่มองเห็น