หน้า 6 จากทั้งหมด 30
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 30, 2012 6:56 pm
โดย pak
ปตท. จัดประชุมความร่วมมือด้านอุตสาหกรรมก๊าซฯ เตรียมพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
30 มีนาคม 2555
ปตท.จัดประชุมความร่วมมือด้านการจัดหาและขนส่งในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ระหว่างประเทศสมาชิกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อเตรียมพร้อมรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ปี 2558
นายวัชระ คุณาวัฒนาวุฒิ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่วางแผน หน่วยธุรกิจก๊าซธรรมชาติ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยภายหลังการประชุมความร่วมมือในอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ระหว่างผู้แทนชาติสมาชิกสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ อาเซียน ซึ่ง ปตท. ในฐานะตัวแทนประเทศไทยและเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมครั้งนี้ โดยที่ประชุมมีมติตกลงร่วมกันในการขยายความร่วมมือด้านการจัดหาก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) ในลักษณะ Divert LNG Cargo หากเกิดกรณีฉุกเฉิน รวมถึง การจัดทำบัญชีคุณภาพก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Specification) และบัญชีมาตรฐานของท่ารับเรือขนส่งก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG Ship-shore Compatibility) ร่วมกันระหว่างประเทศสมาชิก ทั้งนี้ เพื่อเสริมสร้างความมั่งคงในการจัดหาก๊าซธรรมชาติของประเทศในภูมิภาค และเตรียมความพร้อมรองรับการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) ในปี 2558
นอกจากนี้ ที่ประชุมยังเห็นชอบร่วมกันในการขยายกรอบความร่วมมือในการพัฒนาโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติในภูมิภาคอาเซียน (Trans ASEAN Gas Pipeline Project) ออกไปอีก 10 ปี เพื่อร่วมกันศึกษาหาแนวทางและรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติให้เชื่อมถึงกันภายในภูมิภาค ซึ่งจะช่วยเพิ่มความมั่นคงในการจัดหาพลังงานให้กับประเทศไทย และประเทศสมาชิกอาเซียนในระยะยาวอีกด้วย
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 31, 2012 6:11 pm
โดย sirimethagul
ขุดพบ 'ปิโตรเลียมใหม่' ในไทยเลือนราง!ชี้แหล่งพลังงานจริงคลุมพื้นที่ 'พัฒนาร่วมไทยเขมร
กระทรวงพลังงาน แจงแหล่งพลังงานใหม่ของไทย มีโอกาสพบ 1 ใน 10 ของส่วนขยายจากสัมปทานเดิมทั่วประเทศ คาด'อิสาน-พื้นที่พัฒนาร่วมไทยกัมพูชา' จะเป็นแหล่งพลังงานใหม่ที่สำคัญ มั่นใจก๊าซธรรมชาติเพียงพอ 50 ปี ขณะที่ไทยยังต้องพึ่งพา 'ไฟฟ้า-น้ำมัน' จากต่างประเทศ ด้านบริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ลิมิเต็ด หวังพบขุมน้ำมันสาย2 กว่า 20-25 ล้านบาร์เรล
ผลสืบเนื่องจากการขุดเจาะบ่อปิโตรเลียม บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 2 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพฯ ที่สร้างความฮือฮาว่าอาจกลายเป็นแหล่งปิโตรเลียมใหม่ที่มีมูลค่ามหาศาล ในภาวะที่พลังงานหายาก และน้ำมันมีแนวโน้มปรับราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้แหล่งพลังงานใหม่ในประเทศไทยในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาถือว่าไม่ค่อยพบแหล่งใหม่ ขณะที่มีปริมาณการใช้พลังงานกลับสูงขึ้น
สัมปทานปิโตรเลียมเต็มพื้นที่
ศุภฤกษ์ สิตะหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ระบุว่า แอ่งตะกอนโบราณที่มีการศึกษาทางธรณีวิทยาว่าอาจมีแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย ซึ่งกินพื้นที่ประมาณ 1 ใน 3 หรือประมาณ 171,098 ตารางกิโลเมตร ของพื้นที่ทั้งหมดของประเทศไทย ซึ่งส่วนใหญ่จะให้สัมปทานไปเกือบเต็มแล้ว ดังนั้นแหล่งที่คาดว่าจะพบปิโตรเลียมใหม่นั้น ส่วนใหญ่จะเป็นพื้นที่ๆ มีการสำรวจเพิ่มเติม ขยายพื้นที่สำรวจ หรืออยู่รอบๆ แหล่งเดิมที่มีการตรวจพบแล้ว ซึ่งบริษัทที่ได้รับสัมปทานจะเป็นผู้สำรวจเพิ่มเติมในพื้นบริเวณนั้น ตามกฎหมายจะให้สัมปทานไม่เกิน 4,000 ตารางกิโลเมตร ทั้งนี้การพบแหล่งปิโตรเลียมในประเทศมักจะพบเป็นบริเวณเล็กๆ ประมาณ 1 ตารางกิโลเมตร จึงมีพื้นที่ที่สามารถขยายการสำรวจได้โดยรอบ
ทั้งนี้บริษัทที่ได้รับสัมปทานจะต้องทำการเจาะเพิ่มขึ้นทุกปี เพื่อรักษาอัตราการผลิต ให้เพียงพอต่อการที่ได้ทำสัญญาซื้อขายก๊าซธรรมชาติไว้ในระยะยาวประมาณ 15-20 ปี กับทางบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) อาทิ 500 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ส่วนของน้ำมันดิบไม่มีการทำสัญญา
โดยประเทศไทยมีการเปิดให้ยื่นขอสัมปทานปิโตรเลียมแล้วจำนวน 20 ครั้ง และจะมีการเปิดให้ยื่นขอสัมปทานอีกครั้งภายในปีนี้ ซึ่งขณะนี้มีสัมปทานที่ดำเนินการอยู่รวม 63 สัมปทาน 79 แปลงสำรวจ แหล่งบนบก 40 แปลง ในอ่าวไทย 36 แปลง ในอันดามัน 3 แปลง และในปี 2549-2554 มีการเจาะสำรวจ และหลุมผลิตเพิ่มเฉลี่ย 500 หลุมต่อปี เป็นหลุมในอ่าวไทยเฉลี่ยมากถึง 85% ของทั้งหมด
หวังอีสานแหล่งพลังงานใหม่
สำหรับแหล่งปิโตรเลียมที่ถือว่าเป็นแหล่งใหม่ หรือสำรวจเพิ่มเติม ประกอบด้วย แหล่งน้ำมันดิบอยู่บริเวณจังหวัดนครปฐม กำแพงเพชร พิษณุโลก สุโขทัยและอ่าวไทย ส่วนแหล่งก๊าซธรรมชาติอยู่ที่บริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ และใน1-2 ปีที่ผ่านมาแทบไม่พบแหล่งปิโตรเลียมใหม่ ขณะที่ภาคอีสานตรงดงมูล ที่อยู่บริเวณตะวันตกของสินภูอ่อนกำลังอยู่ระหว่างการสำรวจว่ามีโอกาสจะเป็นแหล่งปิโตรเลียมแห่งใหม่ในการพัฒนา จากเดิมที่มีการศึกษามาแล้วกว่า 20 ปีแล้ว แต่พบว่ายังไม่คุ้มค่าต่อการพัฒนา เนื่องจากเป็นกะเปาะเล็ก แต่พอเมื่อมีบริษัทแห่งใหม่เข้ามาก็ได้ทำการเจาะสำรวจเพิ่มเติม และพบว่ามีปริมาณก๊าซธรรมชาติที่น่าสนใจ
ขณะเดียวกันจะมีอีกหนึ่งแหล่งพลังงานที่จะเข้ามาเป็นกำลังในด้านความมั่นคงของพลังงานไทยก็คือ บริเวณทับซ้อนระหว่างไทย กับกัมพูชา ที่มีการให้สัมปทานแล้ว แต่ยังไม่อนุญาตให้สำรวจ จนกว่าจะมีการตกลงเจรจาระหว่างประเทศเสร็จสิ้น ซึ่งคาดว่าหาแหล่งพลังงานจากพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-กัมพูชา รวมกับประมาณพลังงานในประเทศก็จะเพียงพอต่อปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติในประเทศอีกประมาณ 50 ปี และยังได้มีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ และไฟฟ้าจากประเทศเพื่อนบ้านอีกด้วย
ไทยหาพลังงานใช้ได้เองเพียง 43%
ตัวเลขการจัดหาปิโตรเลียมในปี 2554 ของประเทศไทย มีจำนวน 801,260 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน แบ่งออกเป็น ก๊าซธรรมชาติ 3,317 ล้านลูกบาร์ฟุตต่อวัน ก๊าซธรรมชาติเหลว 92,170 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันดิบ 138,937 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็น 43% ของความต้องการใช้พลังงานขั้นต้นของประเทศไทย
ซึ่งในปี 2554 การใช้พลังงานในเชิงพาณิชย์ขั้นต้นมีตัวเลขประมาณ 1.86 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน จากก๊าซธรรมชาติ 44% น้ำมันดิบ 37% ถ่านหิน/ลิกไนท์ 17% พลังน้ำ 2% แบ่งเป็น ภาคการขนส่งสูงสุดอยู่ที่ 36.1% ภาคอุตสาหกรรม 35.3% ภาคธุรกิจและที่อยู่อาศัย 23.2% และภาคการเกษตร 5.4%
ขณะที่การผลิตปิโตรเลียมในเดือนมกราคม 2555 มีจำนวนมากทั้งสิ้น 54 แหล่ง แบ่งเป็นบนบก 25 แหล่ง ในอ่าวไทย 29 แหล่ง มีปริมาณการการผลิตก๊าซธรรมชาติจำนวน 3,115 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คอนเดนเสท หรือ ก๊าซธรรมชาติเหลวจำนวน 80,687 บาร์เรลต่อวัน น้ำมันดิบ 141,579 บาร์เรลต่อวัน คิดเป็นปริมาณการผลิตเทียบเท่าน้ำมันดิบ 758,228 บาร์เรลต่อวัน ส่วนปิโตรเลียมที่ผลิตจากแหล่งบนบก คิดเป็น 7%และอ่าวไทย 93%
หลุมน้ำมันดิบไทยขนาดเล็ก-ผลิตได้น้อย
ศุภฤกษ์ สิตะหิรัญ บอกอีกว่า แม้ประเทศไทยจะมีแหล่งปิโตรเลียมจำนวนมาก แต่ส่วนใหญ่มีขนาดเล็ก-กลาง อย่างการผลิตน้ำมันดิบที่สิริกิต์ จ.กำแพงเพชร และพิษณุโลก ที่ถือว่าเป็นขนาดกลาง มีอัตราการผลิตต่อวันอยู่ 25,080 บาร์เรลต่อวัน และผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสทได้เพียง 6,627 บาร์เรลต่อวัน รวมเทียบเท่าน้ำมันดิบ ส่วนขนาดเล็กมีกำลังการผลิตประมาณ 1,000-2,000 บาร์เรลต่อวันเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยขณะนี้มีปริมาณปิโตรเลียมสำรองที่พิสูจน์แล้ว ตัวเลขสิ้นปี 2553 เป็นก๊าซธรรมชาติ10.6 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติเหลว 245 ล้านบาร์เรล น้ำมันดิบ 198 ล้านบาร์เรล คิดเป็นปริมาณการผลิตเทียบเท่าน้ำมันดิบรวมเป็น 2,236 ล้านบาร์เรล ส่วนที่คากว่าจะมีปิโตรเลียม หรือน่าจะมี เป็นก๊าซธรรมชาติ11.48 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ก๊าซธรรมชาติเหลว 335.4 ล้านบาร์เรล น้ำมันดิบ 461.69 ล้านบาร์เรล คิดเป็นปริมาณการผลิตเทียบเท่าน้ำมันดิบรวมเป็น 2,769 ล้านบาร์เรล ทั้งนี้หากปริมาณการใช้ก๊าซธรรมชาติอยู่ที่ ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตก็อาจจะอยู่ได้เกือบ 30 ปี แต่ในภาพความเป็นจริง ทางบริษัทที่ได้สัมปทานจะทำการสำรวจเพิ่มเติมอยู่อย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เมื่อมองปริมาณน้ำมันดิบสำรองที่พิสูจน์แล้วในประเทศแถบตะวันออกกลาง มีปริมาณกว่าหลาย 10,000-100,000 ล้านบาร์เรล
หวังพบน้ำมันสาย2 กว่า 20-25 ล้านบาร์เรล
ส่วนกรณีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมของ บริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ลิมิเต็ด ของประเทศอังกฤษ ที่บริเวณสาย 2 นั้น ผู้อำนวยการสำนักจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน บอกว่า บริษัทฯดังกล่าวได้รับสัมปทานสำรวจเป็นเวลา 6 ปี ตั้งแต่ 21 มกราคม 2551 และได้คืนพื้นที่แล้วกว่า 50% เหลือ 1,994 ตารางกิโลเมตร ตั้งเป้ารู้ผลไว้ที่ 30 วัน แต่อาจจะขยายไปถึง 50 วันถึงจะรู้ผล ราคาหลุมเจาะกว่า 60 ล้านบาท คาดว่าอาจสำรวจพบ 20-25 ล้านบาร์เรล ซึ่งปรติอัตราการค้นพบจะอยู่ที่ 1 หลุมใน10 หลุมเท่านั้น แต่หากพบน้ำมันก็จะมีต้นทุนในการผลิต และขนส่งไม่สูงมาก หากเทียบกับก๊าซธรรมชาติที่ต้องมีท่อส่งก๊าซ และจะได้กำไรหลายเท่าตัว
ทั้งนี้ได้มีการเจาะสำรวจปิโตรเลียมบริเวณใกล้เคียงนั้น มีมาแล้วถึง 2 หลุมแต่ไม่พบ 1.บริเวณวัดศาลาแดง เมื่อปี 2517 2.ในปี2531 พบลอยน้ำมันเล็กน้อย แต่สำหรับครั้งนี้ได้มีการนำเทคโนโลยีที่ทันสมัย และเลือกบริเวณที่คาดว่าจะพบในการเจาะ ซึ่งในกรุงเทพฯจากการศึกษายังไม่พบในบริเวณอื่น
ภาพ: อินเทอร์เน็ต
ระวังถูกหลอกซื้อที่ดินแหล่งพลังงาน
ชี้สินทรัพย์ใต้ดินตกเป็นของรัฐ
เตือนประชาชนแห่ซื้อที่ดินในพื้นที่คาดหวังมีปิโตรเลียม ชี้ สินทรัพย์ใต้ดินเป็นของรัฐ ยันไม่บีบเวณคืนพื้นที่แหล่งพลังงาน ชี้ 10 ประโยชน์ไทยได้รับจากการพบขุมพลังงาน
ความไม่เข้าใจในกรรมสิทธิ์ของทรัพย์สินในพื้นที่ๆ อาจมีแหล่งปิโตรเลียม อย่างก๊าซธรรมชาติ, น้ำมันดิบ ส่งผลให้ประชาชนแห่ซื้อที่ดินเหล่านั้น เพื่อหวังเก็งกำไรจากทรัพยากรทางพลังงานที่มีมูลค่ามหาศาล
ศุภฤกษ์ สิตะหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงานกล่าวถึง พื้นที่ที่มีการศึกษาทางธรณีวิทยาว่าอาจมีแหล่งปิโตรเลียมในประเทศไทย และให้สัมปทานกับบริษัทเข้าสำรวจ ขุดเจาะว่า แม้กรรมสิทธิ์บนดินในพื้นที่นั้นจะเป็นของเจ้าของที่ดิน แต่แร่ธาตุ หรือปิโตเลียมที่อยู่ใต้พื้นดินจะเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศ เมื่อทางรัฐให้สัมปทานในบริเวณพื้นที่ๆ มีเจ้าของนั้น ทางบริษัทที่ได้รับสัมปทานจะเข้าตกลงกับเจ้าของที่ดินในการขอซื้อ หรือเช่าพื้นที่ดังกล่าว โดยไม่มีมาตรการเวณคืนที่ดิน ซึ่งหากเจ้าของที่ดินไม่ยินยอมก็จะไม่สามารถดำเนินการได้ ทั้งนี้เจ้าของที่ดินอาจเรียกร้องค่าเช่าในปริมาณที่เหมาะสมกับพื้นที่ๆ คาดว่าจะมีปิโตเรียม แต่หากราคาสูงผู้ประกอบการก็อาจไม่เข้าสำรวจ หรือทำการขุดเจาะก็เป็นได้ เนื่องจากถือว่ายังมีความเสี่ยงอยู่ และมีการลงทุนเป็นมูลค่ามหาศาล
สำหรับประโยชน์ที่ได้ต่อการพบปิโตรเลียมก็คือ 1.รายได้จากค่าภาคหลวงปิโตรเลียม ในอัตรา 12.5% หรือ 5%-15% ของมูลค่าปิโตรเลียมที่ขายหรือจำหน่าย 2.ท้องถิ่นที่พบปิโตรเลียม และท้องถิ่นอื่นทั่วประเทศจะได้รับค่าภาคหลวงที่จัดเก็บได้ 10%-20% ของค่าภาคหลวง 3.รายได้รัฐจากภาษีเงินได้อัตรา 50% ของกำไรสุทธิ 4.ผลประโยชน์พิเศษที่รัฐได้รับ อาทิ โบนัสการลงทุน, โบนัสการต่ออายุสัมปทาน 5.ลดการพึ่งพาการนำเข้าน้ำมันดิบ 6.เสริมความมั่งคงทางพลังงาน 6.ส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติ 7.พัฒนาปิโตรเลียมขึ้นมาใช้ประโยชน์ 8.การลงทุนจากบริษัทต่างชาติ 9.เมื่อสิ้นระยะเวลาการผลิตปิโตรเลียม รัฐได้รับสิทธิคืนแหล่งผลิตพร้อมเครื่องมือการผลิตทั้งหมด 10.ไทยเชลล์สนับสนุนกิจกรรมสาธารณะต่างๆ
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 9:00 am
โดย pak
PetroChina overtakes Exxon as biggest oil producer
29 March 2012 Last updated at 20:31 GMT
US giant Exxon Mobil has lost its crown as the world's biggest listed producer of oil to PetroChina, figures suggest.
The Chinese firm said it produced 886.1 million barrels of oil last year - the equivalent of 2.43 million barrels a day. In January, Exxon said it produced 2.3 million barrels a day.
Exxon's production fell in 2011 by 5%, while PetroChina's rose 3.3%.
Exxon remains the more valuable firm, with a market capitalisation of $400bn (£250bn) against PetroChina's $280bn.
The development comes as US President Barack Obama proposed scrapping subsidies and tax breaks for oil companies "raking in record profits".
Exxon remains more profitable than PetroChina, making a net profit in the final three months of last year of $9.4bn.
According to figures from the Reuters news agency, state-owned PetroChina made $4.7bn over the same period.
Not surprising
Production at Exxon has been falling as older fields start to run short of oil. Some of the company's overseas contracts also limit the amount of oil it can produce. For these reasons, Exxon has said it expects production to fall again this year.
In contrast, PetroChina expects production to increase during 2012.
Analysts said the news that the Chinese company had overtaken Exxon was not surprising, given the more competitive nature of the US oil market.
"If you look at total oil production, the US is still quite a long way [ahead] and produces twice as much as China does," said Julian Jessop, commodities analyst at Capital Economics.
'Ineffective plan'
President Obama's comments came amid a backdrop of rising domestic petrol prices, and correspondents say the issue could become a political flashpoint in an election year.
"The biggest oil companies are raking in record profits - profits that go up every time folks pull into a gas station," the president said in remarks at the White House.
"You're already paying a premium at the pump right now. And on top of that, Congress thinks it's a good idea to send billions more of your tax dollars to the oil industry."
Many Republicans have argued that the president has not done enough to encourage domestic oil production.
A bill that would end the subsidies for the oil industry was defeated in the Senate soon after President Obama spoke, falling short of the 60 votes needed to pass.
Opponents of the measure have said raising the tax burden on oil companies would not be effective.
Republican leader in the Senate, Mitch McConnell said: "At a time when gas prices are at a national average of nearly $4 a gallon, this is what passes for a response to high gas prices for Washington Democrats - a bill that does nothing about it."
ที่มา :
http://www.bbc.co.uk/news/business-17556938
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 9:07 am
โดย pak
กระทู้เรื่อง
"โอหล่ะพ่อ ประเทศไทย เป็นประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน อันดับ 24 ของโลก"
ที่
http://www.pantip.com/cafe/wahkor/topic ... 89280.html
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 9:30 am
โดย pak
แผน 'พีดีพี' ฉบับใหม่ ใส่ความคิดอนุรักษ์พลังงานแล้วหรือยัง
Source - ไทยโพสต์ (Th), Sunday, April 01, 2012
ในขณะที่กระทรวงพลังงานเตรียมการจัดทำแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้า หรือ พีดีพี ฉบับใหม่ (ปี 2555-2574) เนื่องจากแผนพีดีพี2010 ซึ่งเป็นแผนการลงทุนขยายระบบไฟฟ้าในระยะเวลา 20 ปี ไม่ได้รับการยอมรับจากประชาชน ทำให้การเดินหน้าโครงการตามแผน ไม่ว่าจะเป็นโครงการโรงไฟฟ้านิวเคลียร์และโรงไฟฟ้าถ่านหินหยุดชะงัก ปรับปรุงใหม่ เวลานี้ภาคประชาชนและนักวิชาการด้านพลังงานก็จับตาการจัดทำแผนพีดีพี โดยแสดงความกังวลว่าจะซ้ำรอยเดิม
จากการประชุมชี้แจงข้อเท็จจริงกรณีปัญหาในการจัดทำ "แผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (PDP)" โดยคณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.) ที่สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เมื่อเร็วๆนี้
สุรีรัตน์ แต้ชูตระกูล กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ผู้ร้องเรียนเรื่องโรงไฟฟ้าถ่านหินจ.ประจวบคีรีขันธ์ มาที่ กสม. กล่าวว่า ขณะนี้กำลังปรับปรุงแผนพีดีพี จากการติดตามเรื่องนี้มา10 ปี พบว่า มีข้อผิดพลาดโดยตลอดและไม่ได้รับการแก้ไข ช่วงที่รัฐบาลกำลังปรับแผน จึงเป็นโอกาสที่ดีที่หน่วยงานวางแผนควรรับฟังก่อนสรุปแผน ตนอยากสะท้อนปัญหาการทำแผน ซึ่งเป็นประเด็นในข้อร้องเรียน คือ การวางแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าพีดีพี ซึ่งเป็นแผนแม่บทที่กำหนดการลงทุนขยายระบบไฟฟ้าในไทย วางแผนล่วงหน้า 10-15 ปี มีความผิดพลาด เห็นได้ชัดจาก 1-2 ปี จะถูกปรับปรุงใหม่ ไม่สามารถใช้ระยะยาวได้ โดยเฉพาะการวางแผนพยากรณ์การใช้ไฟฟ้า
จากการศึกษาของชื่นชมสง่าราศี กรีเซน นักวิชาการอิสระ พบว่า แผนพีดีพี 2010 มีการใช้ไฟฟ้าเพิ่มขึ้นเฉลี่ย 1,491 เมกะวัตต์ต่อปี ขณะที่ค่าเฉลี่ยจริงที่ผ่านมาของไทย เติบโตสูงสุด 25 ปี เพียง 830 เมกะวัตต์ ซึ่งการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้าที่สูง ส่งผลให้แผนพีดีพี 2010 ไฟฟ้าสำรองช่วง 20 ปี สูงถึง 20-40% ทั้งที่ไม่ควรสำรองเกิน 15% มีการประเมินผลการวางแผนทำผิดพลาดมาต่อเนื่อง14 ปี ทำให้เกิดการใช้พลังงานไฟฟ้าไม่มีประสิทธิภาพ กระทบต่อความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมถึงผลการศึกษาการใช้พลังงานต่อจีดีพีของไทย อัตราการใช้ของเราสิ้นเปลืองมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยประเทศอื่นๆในภาคสังคมก็เกิดความขัดแย้งจากการสร้างโรงไฟฟ้า มีการร้องเรียนทั่วประเทศก็เป็นผลจากการพยากรณ์การใช้ไฟฟ้ามากเกินความจำเป็น แกนนำกลุ่มอนุรักษ์ทับสะแกยังเปิดประเด็นการวางแผนพยากรณ์ใช้ไฟฟ้าเกินความจำเป็น กฟผ.ได้ทำแผนเสนอ สนพ. กระทรวงพลังงาน ปิดซ่อมโรงไฟฟ้าในหน้าร้อน ช่วงที่มีการใช้ไฟฟ้ามากที่สุดของประเทศ ทำแผนแบบนี้ตั้งแต่ปี 52, 53, 54 และ 55 มาโดยตลอด ทำให้ไฟฟ้าสำรองต่ำกว่าความเป็นจริง ใช้เป็นเหตุผลสร้างโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ จึงร้องให้ กสม.ช่วยตรวจสอบประเด็นนี้
ตัวแทนกลุ่มอนุรักษ์ฯ เสนอว่า ควรมีการเพิ่มประสิทธิภาพด้วยการบริหารการใช้ไฟฟ้าสูงสุด หรือ Peak คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานควรมีมาตรการรับซื้อไฟฟ้าช่วงการใช้ไฟฟ้าสูงสุด ดีกว่าจะให้กระทรวงพลังงานมีนโยบายสร้างโรงไฟฟ้าใหม่ เพราะในหนึ่งปีมีการใช้ไฟฟ้าฟ้าสูงสุด 72 ชั่วโมง หากมีการบริหารที่ดีลดการสร้างโรงใหม่ได้มาก ขณะนี้รัฐบาลมีแผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อปี2553 แต่กระทรวงพลังงานและ กฟผ.หลีกเลี่ยงนำมาใช้เป็นแผนหลักในการจัดทำวางแผนพีดีพี ทั้งๆ ที่แผนอนุรักษ์ 20 ปี เน้นการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ไฟฟ้า ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าโดยรวมของประเทศลงได้ โดยไม่ต้องสร้างโรงใหม่
"สาระสำคัญของแผนอนุรักษ์พลังงานก็คือ ลดความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศโดยรวมได้ 12,077 เมกะวัตต์ ประมาณ 22% ใน 20 ปี เทียบเท่ากำลังการผลิตโรงไฟฟ้าถ่านหิน 9 โรง โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 5 โรง ค่าใช้จ่ายน้อย ลงทุนปีละ 5,900 ล้านบาท เพื่อสนับสนุนแผนอนุรักษ์ให้เป็นจริง ถ้ารัฐบาลต้องการให้เกิดการใช้ไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพหลีกเลี่ยงไม่ได้กับแผนนี้เป็นแผนหลักทำพีดีพี" สุรีรัตน์กล่าว
และเห็นว่าเป้าหมายหลักของแผนอนุรักษ์พลังงาน รัฐควรมุ่งไปที่อุตสาหกรรมและธุรกิจ ซึ่งใช้ไฟฟ้ารวม 72% ของประเทศ จะได้ผลมากกว่า เพราะภาคครัวเรือน 22% เห็นว่าการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้พลังงานไม่ใช่เรื่องใหม่มีภาคอุตสาหกรรมตัวอย่าง ผลิตไฟฟ้าจากความร้อนเหลือทิ้งซีเมนต์ 3 ทุ่งสง ปี 2550 กำลังผลิต 12 เมกะวัตต์ ซีเมนต์ 6 ทุ่งสง ปี 2552 กำลังผลิต 25 เมกะวัตต์ รวมถึงผลิตไฟฟ้าจากความร้อนเหลือทิ้งซีเมนต์ 4 แก่งคอย ปี 2552 กำลังผลิต 25 เมกะวัตต์, ซีเมนต์ 5 ท่าหลวง ปีเดียวกัน 18 เมกะวัตต์
"หากมีการวางแผนที่โปร่งใสจะสามารถตอบคำถามประชาชนได้ แต่การเลี่ยงตอบคำถามส่อเจตนาไม่สุจริต ทำให้ชาวบ้านหวาดระแวงและต้องติดตามเรื่องนี้อย่างเข้มข้นรวมถึงอยากเห็นการตรวจสอบแผน PDP อย่างเข้มข้น เพื่อให้แผนพลังงานไทยมีประสิทธิภาพมากขึ้น" ตัวแทนอนุรักษ์จากกลุ่มทับสะแกสรุป
ดร.เดชรัตน์ สุขกำเนิด ผู้ชำนาญการด้านพลังงาน และเคยเป็นอนุกรรมการแผนพีดีพี 2010 กล่าวว่า ในการประชุมครั้งแรกของคณะอนุกรรมการจัดทำแผนพีดีพี 2010 มีการสรุปบทเรียนและปัญหาที่เคยเกิดขึ้นในแผนพีดีพี 2007 ตนเสนอปัญหากระบวนการจัดทำแผนว่ารวบรัดเกินไป เพราะมีการจัดรับฟังความคิดเห็นเพียงครั้งเดียว แล้วยังเป็นการรับฟังที่รวมทุกเรื่องไว้ในครั้งเดียวกัน
ฉะนั้น การประชุมครั้งแรกของอนุกรรมการแผนพีดีพี 2010 มีการสรุปชัดเจน การดำเนินการรับฟังความคิดเห็นต้องทำเป็นขั้นตอน ใน 3 ส่วนด้วยกัน คือ การพยากรณ์ความต้องการ ต้องแยกการรับฟังความคิดเห็นให้ตกผลึกตัวเลขที่เหมาะสม ถัดมาการจัดทำสมมติฐานในแผนพีดีพี ทั้งเรื่องต้นทุนศักยภาพพลังงานหมุนเวียน การประหยัดและอนุรักษ์พลังงาน หากตัวเลขต่างกัน ผลของแผนต่างกัน ครั้งนั้นมีการตั้งคณะทำงานจัดทำสมมติฐานด้วย เป็นพัฒนาการขั้นหนึ่ง แต่ไม่ได้ก้าวข้ามสู่การมีส่วนร่วมว่าสมมติฐานถูกต้องหรือไม่ สุดท้ายเรื่องทางเลือกในแผนPDP สามารถเปรียบเทียบได้มากกว่า 1 ทางเลือก จึงมีคำถามแต่ละทางเลือกให้ต้นทุนและผลกระทบสิ่งแวดล้อมต่างกันไหม
"อยากย้ำการจัดทำแผนพีดีพี 2010 เราไม่ได้เริ่มต้นจากศูนย์ แต่เริ่มต้นจากสรุปบทเรียนพีดีพี 2007 ปัญหาที่เกิดทำไมภาคการเมืองเข้ามารวบรัด ผมไม่ได้โทษใคร แต่เราจะมีโจทย์อย่างไรไม่ให้เกิดแบบนี้อีก อนุกรรมการฯ ได้ข้อสรุปถ้าทำแผนพีดีพีให้ผ่านไป ครม.อนุมัติออกไป สุดท้ายสร้างไม่ได้ ก็ทำให้เกิดความขัดแย้งตามมา ทำพีดีพี 2007 ก็ขัดแย้ง ทำพีดีพี 2010 ความขัดแย้งตามมาแบบเดิม เหตุใดกระบวนการที่เคยตั้งใจไว้อย่างดีมีความเบี่ยงเบนไป ฝากคณะกรรมการสิทธิฯ เคลื่อนในเชิงยุทธศาสตร์ไม่ให้เกิดการเบี่ยงเบนหรือซ้ำรอยเดิม ต้องสรุปถ้าไม่เป็นตามนี้ ไม่เป็นตามขั้นตอนของรัฐธรรมนูญ จะเป็นหลักประกันให้ทุกฝ่ายจัดทำแผนพีดีพีเป็นเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ หาทางออกร่วมกันแทนถูกเร่งรัด" นักวิชาการสรุปบทเรียนให้ฟัง
อาจารย์เดชรัตน์เสนออีกว่า การจัดทำแผนพีดีพีของกระทรวงพลังงานที่ไม่ระบุสถานที่ก่อสร้างโรงไฟฟ้าที่ชัดเจน เว้นช่องว่างเอาไว้ จะไม่สอดคล้องกับสถานการณ์การมีส่วนร่วมของประชาชนภายใต้สถานการณ์ปัจจุบัน อย่างน้อยควรระบุพื้นที่เหมาะสมกับการก่อสร้าง เช่น จังหวัดใด และหากทำเลเหมาะไม่ใช่แค่จังหวัดเดียว ก็ต้องระบุกี่แห่ง มิฉะนั้น จะเกิดความไม่สบายใจต่อประชาชน และเกิดความรู้สึกเหมือนต้องเฝ้าบ้านให้ดี ไม่รู้จะมาลงที่บ้านตัวเองเมื่อไหร่เกิดความสับสน
วิฑูรย์ เพิ่งพงศาเจริญ มูลนิธิฟื้นฟูชีวิตและธรรมชาติ ชี้ว่า สถานการณ์ปัจจุบันความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ปี 50, 51, 52 ไม่โต ปี 53 เพิ่มขึ้น แต่ปี 54 ไม่เพิ่ม แต่เราไม่มีมาตรการจริงจังจะจัดการความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดอย่างไร ทำให้ Peak ไม่สูงได้อย่างไร ในทางตรงกันข้าม กลับพูดตัวเลขที่จะโตและสูงเท่านั้นเท่านี้ เพื่อนำไปสู่ตรรกะที่ว่าไฟจะขาดต้องสร้างโรงไฟฟ้าเพิ่มขึ้น เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาปลัดกระทรวงพลังงานออกมาระบุ วันที่ 8-17 เมษายนนี้ ก๊าซจากพม่าจะปิดซ่อม ทำให้ก๊าซ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ป้อนโรงไฟฟ้าประมาณ 2,000 เมกะวัตต์ ขาดหายจากระบบ จะมีกำลังสำรองต่ำกว่า 7% นำมาสู่มาตรการเตรียมน้ำมันเตามาทดแทน และมีผลให้ค่าเอฟทีเพิ่ม 5 สตางค์ต่อหน่วย
ฟังดูเผินๆ คล้ายพม่าเล่นงาน เพราะเราพึ่งพาก๊าซจากพม่า แต่ข้อเท็จจริงแหล่งก๊าซทั้ง 3 แหล่ง ผู้เป็นเจ้าของนำก๊าซขึ้นมา คือ ปตท.สผ. ท่อก๊าซที่จะปิดซ่อมเป็นของ ปตท. 100% และ ปตท.ผูกขาดการจัดส่งก๊าซให้ กฟผ. 100% ไม่เกี่ยวกับพม่าเลย ทำให้ ปตท.จึงหยุดซ่อมช่วงเดือนเมษายน ทั้งๆ ที่สามารถเลี่ยงได้ บวกกับ กฟผ.ก็มีแผนหยุดซ่อม ปี 54 หยุดซ่อม 11% ประเดประดังมาช่วง Peak ข้อเท็จจริงปลัดกระทรวงพลังงานยังสวมหมวกประธานกรรมการ ปตท. หมวกที่สามประธานกรรมการ ปตท.สผ. น่าตกใจประชาชนต้องจ่ายเพิ่ม ถามว่าผิดอะไร เหตุใดคนก่อความเสียหายไม่ต้องรับผิดชอบฝาก กสม. ข้อเท็จจริงคืออะไร ต้องกระจ่าง
ระบบที่เราเคยเชื่อให้ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่คุมรัฐวิสาหกิจเพื่อให้เกิดความมั่นใจเรื่องความมั่นคงด้านพลังงานปัจจุบันมีกฎหมายใหม่ มีองค์กรกำกับที่เป็นอิสระ ถึงเวลาแล้วเลิกนำข้าราชการชั้นผู้ใหญ่นั่งในบอร์ดต่างๆ เป็นผลประโยชน์ขัดกัน ฝาก กสม. ประสาน ป.ป.ช. ศาลปกครอง ตรวจสอบว่า เป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือไม่ มี พ.ร.บ.ประกอบกิจการพลังงาน และองค์กรกำกับแล้ว มีกฎระเบียบเข้ายุคใหม่ แต่องคาพยพ ผลประโยชน์ และโครงสร้างยังไม่ปรับ หากไม่ใช้โอกาสนี้ แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปี ซึ่งมีคนบอกเป็นแค่ลิเก
"อยากเห็นการจัดทำแผนพีดีพี 2012 บนโจทย์ปรับการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้าและนำแผนอนุรักษ์พลังงานใส่ลงไป เป็นแผนที่ ครม.อนุมัติไว้ เรื่องนี้ต้องพิจารณาและจัดการอย่างตรงไปตรงมา หากปล่อยให้กำลังผลิตเป็นไปตามแผนพีดีพี 2010 จะต้องสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายโรง แต่หากใช้แผนอนุรักษ์พลังงาน 20 ปีเข้ามาสวม โครงการปรับประสิทธิภาพพลังงานจะทดแทนนิวเคลียร์ ถ่านหิน มันตอบคำถามได้หมด ลดการพึ่งพิงก๊าซน้อยลง ไม่จำเป็นต้องสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน ทำให้เกิดโลกร้อน ความเข้มข้นในการใช้พลังงานก็ดีขึ้น" นักวิชาการด้านพลังงานกล่าว และฝากให้รัฐทบทวนแผนปลดโรงไฟฟ้า หากโรงใดใช้การได้ ไม่ควรปลด เนื่องจากตั้งแต่ปี2540 มีอัตราเร่งสูงเกินจำเป็น โดยไม่พิจารณาให้ถี่ถ้วน
ด้าน นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ กล่าวช่วงท้ายการประชุมชี้แจงครั้งนี้ว่า คณะอนุกรรมการด้านสิทธิชุมชนและฐานทรัพยากร กสม. ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับปัญหาพลังงานไฟฟ้ามากที่สุด ทั้งพลังงานไฟฟ้าถ่านหิน พลังงานไฟฟ้าชีวมวล พลังงานน้ำ และพลังงานแสงอาทิตย์ โดยจากการลงพื้นที่กรณีโรงไฟฟ้า จ.ประจวบคีรีขันธ์ กลุ่มอนุรักษ์ทับสะแก และเครือข่ายอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จ.ประจวบฯ เสนอให้ กสม.เข้าไปตรวจสอบเชิงนโยบายในการจัดทำแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้าว่า ละเมิดสิทธิชุมชนอย่างไรบ้าง จึงเชิญหน่วยงานชี้แจง โดย รมว.พลังงาน และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนการผลิตไฟฟ้าว่า ละเมิดสิทธิชุมชนอย่างไรบ้าง จึงเชิญหน่วยงานชี้แจง โดย รมว.พลังงาน และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงานส่งผู้แทนมาชี้แจง เช่นเดียวกับผู้ว่าฯ กฟผ. ส่งตัวแทน ขณะที่ประธานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงานปฏิเสธเข้าชี้แจง โดยให้เหตุผลว่าแผนพีดีพียังไม่เสร็จ
นิรันดร์ย้ำว่า ต้องทำความจริงให้กระจ่าง ขณะนี้ภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบก้าวข้าม ไม่ใช่แค่คัดค้าน แต่ต้องการมีส่วมร่วมตัดสินใจเชิงนโยบาย การทำแผนต้องคำนึงถึงสิทธิชุมชน วิถีชุมชน การทำลายฐานทรัพยากรที่ผ่านมาส่วนหนึ่งเกิดจากแผนพัฒนาที่ไม่สมดุล ไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นสำคัญและจะนำพาประเทศไปสู่ความอยู่รอดในอนาคต ประเทศเกษตรกรรม ความมั่นคงทางอาหารเป็นประเด็นสำคัญและจะนำพาประเทศไปสู่ความอยู่รอดในอนาคต
"วันนี้ชาวบ้านติดใจการจัดทำแผนพีดีพีในอดีต และแผนพีดีพี 2012 ที่กำลังเตรียมการปรับแผนกัน ซึ่งกระบวนการจัดทำต้องเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ แผนพีดีพีจะเป็นที่ยอมรับต้องเน้นกระบวนการมีส่วนร่วม ส่วนปัญหาการสวมหมวกหลายใบของข้าราชการระดับสูงในรัฐวิสาหกิจ จนเกิดปัญหาการตัดสินใจเชิงนโยบายและผลประโยชน์ กสม.จะประสานกรรมาธิการวุฒิสภา และ ป.ป.ช.ตรวจสอบข้อเท็จจริง ขณะที่ภาคประชาชนสามารถกำกับตรวจสอบการกระทำไม่ชอบ ตรวจสอบถอดถอนการปฏิบัติหน้าที่ขัดต่อกฎหมายได้ตามสิทธิรัฐธรรมนูญ" นิรันดร์กล่าวทิ้งท้าย
หลังจากนั้นก็รับเรื่องร้องเรียนจากเครือข่ายชุมชนรักบ้านเกิด อ.กันตัง จ.ตรัง ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงกรณีการสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหิน จ.ตรัง และหนังสือร้องเรียนให้ตรวจสอบการออกใบอนุญาตผลิตไฟฟ้าให้กับ บริษัท กัลฟ์ เจพี เอ็นเอส จำกัด โดยเครือข่ายอนุรักษ์วิถี-เกษตรกรรม หนองแซง-ภาชี จ.สระบุรี ซึ่งเข้าร่วมประชุมเช่นเดียวกับผู้ร้องกรณีโรงไฟฟ้ามาที่ กสม.อีกหลายพื้นที่.
ที่มา: หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 9:33 am
โดย pak
'ไออาร์พีซี'ผงาดผู้นำปิโตรเอเชียคลอดอีโคทาวน์ดึงทัพลงทุนเพิ่ม
Source - บ้านเมือง (Th), Sunday, April 01, 2012
"ไออาร์พีซี" สบช่องจังหวะวิกฤติน้ำท่วม เร่งแผนพัฒนานิคมอุตสาหกรรมอีโคทาวน์ จ.ระยอง รองรับการลงทุนที่ปลอดมลพิษให้กับนักลงทุนรายใหม่ที่ กำลังจะเข้ามาในไทย ขณะที่เป็นทางเลือกสำหรับนักลงทุนที่ถูกน้ำท่วม ก่อนตัดสินใจย้ายฐานออกไปจากไทย พร้อมตั้งเป้า 5 ปี ลงทุน 70,000 ล้านบาท ก้าวไปสู่บริษัทปิโตรเคมีครบวงจรแถวหน้าของเอเชียในปี 57 ลุ้นลงทุนโรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 6,000 ล้านบาท
นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า อุทกภัยน้ำท่วมที่เกิดขึ้นได้สร้างความเสียหายให้กับนิคมอุตสาหกรรมรวม 7 แห่ง ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี ซึ่งการที่รัฐบาลและภาคเอกชนได้สนับสนุนให้มีการฟื้นฟูให้โรงงานในนิคมฯ กลับมาเดินเครื่องผลิตได้หลังน้ำลดเพื่อเป็นการเรียกความเชื่อมั่นการลงทุนของประเทศไทยให้กลับคืนมา เร่งแผนพัฒนาที่ดินรับการลงทุนใหม่
ดังนั้น เพื่อเป็นทางเลือกในการรองรับการลงทุนใหม่ๆที่จะเกิดขึ้นในระยะยาว บริษัทจึงได้เร่งดำเนินแผนงานการสร้างรายได้จากทรัพย์สินของบริษัท โดยเฉพาะการพัฒนาที่ดินที่มีอยู่ 15,000 ไร่ หลังจากที่เมื่อเร็วๆนี้ ได้มีการลงนามในสัญญาร่วมกับการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เพื่อนำที่ดินมาพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมคือ นิคมฯ บ้านค่าย อ.บ้านค่าย จ.ระยอง พื้นที่รวม 2,500 ไร่ เพื่อพัฒนาเป็นนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศน์ (อีโคทาวน์) รองรับกิจการที่ปลอดจากมลพิษ อาทิ ในกลุ่มอุตสาหกรรมบริการ อุตสาหกรรมเบา อุตสาหกรรมแปรรูปอาหาร ผลิตภัณฑ์ต่อเนื่องจากพลาสติกชีวภาพพลังงานทดแทน ฯลฯ โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจพื้นที่และปรับพื้นที่บางส่วน และทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม (อีไอเอ) รายงานผลกระทบด้านสุขภาพ (เอชไอเอ) รวมทั้งการทำความเข้าใจกับประชาชนในพื้นที่ ตลอดจนการทำประชาพิจารณ์ตามกรอบของรัฐธรรมนูญปี 2550
พร้อมรองรับการลงทุนเต็มสูบ
นายอธิคม กล่าวว่า ในระยะแรกบริษัทจะพัฒนาพื้นที่นิคมฯ บ้านค่าย เพื่อรองรับการลงทุนรวม600 ไร่ และใช้งบลงทุน 700 ล้านบาท หากสามารถผ่านกระบวนการต่างๆ ได้เรียบร้อย คาดว่าจะสามารถเปิดขายพื้นที่รับการลงทุนได้ในปีหน้าเป็นต้นไป การพิจารณาขายพื้นที่ของนิคมฯ บ้านค่ายจะแตกต่างจากนิคมฯ แห่งอื่นๆคือ จะมีคณะทำงานพิจารณาว่า โครงการลงทุนที่จะเข้ามาลงทุนมีความสอดคล้องกับนโยบายของอีโคทาวน์หรือไม่ เหมือนกับประเทศญี่ปุ่นที่มีการกำหนดประเภทกิจการที่ชัดเจนว่า กิจการใดต้องเข้าไปอยู่ในอีโคทาวน์ กิจการใดต้องไปลงทุนในนิคมฯ ทั่วไป
"ยอมรับว่าโครงการลงทุนดังกล่าวจะยังไม่เกิดการลงทุน แม้ว่าจะทำรายงานอีไอเอและเอชไอเอแล้วเสร็จ เพราะหลักสำคัญคือต้องได้รับการยอมรับจากประชาชนในพื้นที่ เพราะหากคนในพื้นที่ยังไม่ยอมรับการลงทุนภาคอุตสาหกรรมก็คงเกิดขึ้นได้ยาก แต่ยังมั่นใจว่าจุดขายของอีโคทาวน์ จะทำให้ประชาชนในพื้นที่ยอมรับได้อย่างแน่นอน"
อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมั่นใจว่าภาพพจน์การลงทุนของประเทศไทยหลังวิกฤติน้ำท่วม แม้จะสร้างความกังวลให้กับนักลงทุน ก็คงเป็นเพียงระยะสั้นๆ หรืออาจมีจำนวนนักลงทุนไม่มากนักที่จะย้ายฐานการลงทุน เพราะประเทศไทยไม่ได้มีเพียงพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยาและปทุมธานี แต่ยังมีภาคตะวันออกโดยเฉพาะ จ.ระยองและชลบุรี ที่มีพื้นที่นิคมฯ ที่พร้อมจะรองรับการลงทุนอีกหลายพันไร่ โดยเฉพาะนโยบายการก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ มายังภาคตะวันออก จึงทำให้ จ.ระยอง ยังเป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการลงทุนในอนาคต รวมทั้งเป็นทางเลือกหากนักลงทุนรายใดที่เผชิญปัญหาน้ำท่วมและกำลังพิจารณาย้ายฐานการลงทุนออกไปจากไทย
ปี 57 ก้าวสู่ผู้นำปิโตรเคมีแห่งเอเชีย
นายอธิคมกล่าวว่า วิกฤติน้ำท่วมทำให้เกิดการขาดแคลนสินค้าอุปโภคบริโภคในหลายๆ ประเภท โดยเฉพาะน้ำดื่มที่นอกเหนือจากโรงงานน้ำดื่มถูกน้ำท่วมแล้ว แม้ว่าภาครัฐจะขอให้ผู้ผลิตน้ำดื่มในต่างจังหวัดเร่งผลิตน้ำดื่มเพื่อป้อนให้กับประชาชนในพื้นที่ที่ถูกน้ำท่วมแต่ปัญหาคือ โรงงานน้ำดื่มไม่ได้สั่งสำรองขวดบรรจุน้ำดื่มไว้ในปริมาณที่มากทำให้ไม่มีขวดสำหรับบรรจุ ทำให้บริษัทต้องชะลอปริมาณการส่งออกเม็ดพลาสติกสำหรับผลิตขวดน้ำดื่มและได้
เพิ่มกำลังการผลิตเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตขวดน้ำดื่มป้อนให้กับโรงงานผลิตขวดพลาสติกใน จ.ชลบุรี จ.ระยอง จ.ปราจีนบุรี เพื่อเร่งผลิตขวดให้เพียงพอกับความต้องการ รวมทั้งเม็ดพลาสติกที่ใช้ผลิตรองเท้าบู๊ต ถุงกันน้ำพลาสติก
นายอธิคม กล่าวว่า แผนการลงทุนของบริษัทนับจากนี้ไปได้วางเป้าหมายคือ บริษัทต้องเป็นบริษัทผู้ผลิตและจำหน่ายปิโตรเคมีครบวงจรชั้นนำของเอเชียในปี 2557 โดยใช้ยุทธศาสตร์ใช้ทรัพย์สินที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ต่อยอดธุรกิจจากปัจจุบันและเพิ่มกำลังการผลิตให้ตรงกับความต้องการของตลาดโลก
"แผนการลงทุนระหว่างปี 2555-2559 จะใช้เงินลงทุนรวม 70,000 ล้านบาท ผ่านโครงการฟินิกซ์ (Phoenix) หรือแผนยุทธศาสตร์พลิกฟื้นองค์กรอย่างยั่งยืน รวม 19 โครงการ อาทิ โครงการปรับปรุงประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตโพรพิลีนจากปัจจุบันมีกำลังการผลิต 100,000 ตันต่อปี ให้เพิ่มเป็น 320,000 ตันต่อปี ในปี 2557 รวมทั้งจะขยายการลงทุนไปสู่ธุรกิจพลังงานทดแทน คือ โครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์"
สำหรับแผนการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ บริษัทได้ร่วมมือกับ ปตท. ศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนในโครงการขนาด 50-90 เมกะวัตต์ บนพื้นที่ 1,800 ไร่ โดยจะได้ข้อสรุปในเดือน ก.พ.55 ว่าโรงไฟฟ้าแห่งนี้ควรมีกำลังการผลิตเท่าใด และตั้งอยู่ในพื้นที่ใด เพื่อนำเสนอให้คณะกรรมการของทั้ง2 บริษัทให้ความเห็นชอบ เบื้องต้นคาดว่าจะมีมูลค่าลงทุนรวม 6,000 ล้านบาท
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 9:38 am
โดย pak
6 เดือน "ไพรินทร์" โยกบิ๊กบริหาร รับฟอร์จูน 100
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, April 02, 2012
สุกัญญา ศุภกิจอำนวย
ลมลเพ็ชร อภิสิทธิ์นิรันดร์
การโยก 4 บิ๊กผู้บริหารนอกฤดู ในช่วง 6 เดือนเศษเก้าอี้ซีอีโอของ "ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ทำให้ ปตท.อยู่ในแสงสปอตไลท์แห่งคำถาม ? กลายเป็นความ "ท้าทาย" สู่เป้าหมายฟอร์จูน 100 กับองค์กรปราบเซียนที่มีความซับซ้อนสูงมากแห่งนี้
จาก "ประเด็นร้อน" เรื่องการโยกย้ายสลับตำแหน่ง เล่นเก้าอี้ดนตรี ของ 4 ผู้บริหารระดับสูงในกลุ่ม ปตท.บางก็ว่าเหมาะสมแล้ว ชอบแล้ว บ้างก็ว่าเป็น "โดมิโนการเมือง" ที่ฟากการเมืองต้องการ "ย้ายคนหนึ่ง" กลับกลายกระทบชิ่ง "เราอีกสามคน"
แม้จะเป็นการโยกย้ายภายในแต่ ปตท. องค์กรที่มีขนาดสินทรัพย์ (เมื่อ 31 ธ.ค. 54) ที่ 1,402,412 ล้านบาท กุมหัวใจของธุรกิจพลังงานทั้งประเทศ เกิดอะไรขึ้นกับองค์กรแห่งนี้ประชาชนควรรู้ เพราะ "รัฐ "โดยกระทรวงการคลังยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ สัดส่วน 51.11%
การโยกย้ายดังกล่าว จะเรียกว่าเป็นการย้ายฟ้าฝ่าหรือไม่ไม่รู้ ! แต่ที่รู้คือการโยกย้ายนอกฤดูกาล แถมสื่อหลายสำนักยังรายงานทำนองว่า ย้ายแบบที่คนถูกย้ายไม่รู้ชะตากรรม ขณะที่ รมว.พลังงานคนใหม่ (อารักษ์ ชลธาร์นนท์) อดีตกรรมการ บมจ.ชิน คอร์ปอเรชั่น ยังทำได้แค่พยักหน้า
คล้ายจะบอกกลายๆ ว่า เขาไม่กล้ามีปากเสียง
หากเป็นการรวบรัดโยกย้ายกันจริงๆ โดยเจ้าตัวไม่รู้ล่วงหน้า คำถามที่ตามมา คือ "ทีมเวิร์ค" ในการบริหารงานของผู้บริหารระดับสูงของ ปตท.นับจากนี้จะเป็นอย่างไร จากเดิมที่ค่อนข้างเคารพกันเรื่องซีเนียริตี้ ขณะที่ในระยะถัดจากนี้ ปตท.จำเป็นต้องอาศัยสามัคคี คือ พลัง ในการขับเคลื่อนองค์กรสู่การเป็น "โกลบอล เพลย์เยอร์" ในธุรกิจพลังงานข้ามชาติ
สตอรี่ของ ปตท.ดูน่าสนใจมากขึ้น เพราะนอกจากจะเป็นองค์กรที่รุ่มรวยด้วย (ขุมทรัพย์) พลังงาน "อย่างครบวงจร" ตามสโลแกน ไล่ตั้งแต่ ธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจปิโตรเคมี ธุรกิจโรงกลั่น ธุรกิจเทรดดิ้ง จะขี้เหร่หน่อยก็ธุรกิจค้าปลีกน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ เพราะ ปตท.ร้องว่าขาดทุนตลอดๆ แต่เอ็นจีโอยังฉงน
ต้องยอมรับว่าองค์กรแห่งนี้หนีไม่พ้นกลิ่นอายการเมือง แม้จะแปรรูปเป็นบริษัทจำกัด (มหาชน) ไปแล้ว แต่รัฐยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ถือเป็นช่องให้การเมืองเข้าแทรก ไม่รู้ว่าองค์กรแห่งนี้คือแดนสนธยาหรือไม่ แต่เหตุการณ์ที่ไพร่ให้นึกถึงคำคำนี้เมื่อประธานบอร์ดดันไปนั่ง "ควบ" ตำแหน่งปลัดกระทรวงพลังงาน เขาคนนั้น คือ ณอคุณ สิทธิพงศ์ อดีตรองอธิการบดี ฝ่ายวิชาการ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ที่ได้ดีมาอย่างต่อเนื่อง ใต้ร่มเงาของพรรคไทยรักไทย มาจนถึงการแปลงกายเป็นพรรคเพื่อไทย จากรองปลัดกระทรวงพลังงาน แปลงกายมานั่งเก้าอี้ปลัดกระทรวงพลังงาน เมื่อ 1 ต.ค. 2010 กับเขาบ้าง
ปัจจุบันณอคุณ ยังนั่งเป็นประธานบอร์ดบริษัทลูกของ ปตท.อีก 2 แห่งที่มีสินทรัพย์ใหญ่เป็น "อันดับสอง" และ "อันดับสี่" รองจาก ปตท.ได้แก่ บมจ.ปตท.สผ. และ บมจ.ไทยออยล์ ขณะที่ประธานบอร์ดอีก 2 บริษัทลูก ปตท. ได้แก่ บมจ.ไออาร์พีซี และ บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตซีอีโอ ปตท.รับหน้าที่ดูแลความเรียบร้อย
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ณอคุณเคยแสดง "สปิริต" ด้วยการลาออกจากประธานบอร์ด ปตท.มาแล้ว หลังจากที่คณะกรรมการป้องกัน และปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ท้วงติงไปยังคณะรัฐมนตรีเรื่องห้ามเจ้าหน้าที่รัฐที่มีผลประโยชน์ทับซ้อนไปนั่งเป็นประธานบอร์ดรัฐวิสาหกิจ โดยรัฐบาลประชาธิปัตย์ในขณะนั้นเห็นชอบตามที่ ป.ป.ช.ท้วงติง
ทว่าหลังจากพรรคเพื่อไทยเข้ามาเป็นแกนนำรัฐบาลณอคุณก็ดอดกลับเข้ามานั่งในเก้าอี้ประธานบอร์ดอีกครั้งอย่างเงียบๆ เมื่อ 22 ก.ค. 2554 ทิ้งเนื้อหาสาระของมติคณะรัฐมนตรีไว้เบื้องหลัง !!!
องค์กรที่ยังกรุ่นกลิ่นการเมือง ทำให้ผู้ที่จะเข้ามานั่งเป็นผู้บริหารระดับสูงในองค์กรแห่งนี้ โดยเฉพาะซีอีโอ ปตท.ต้องเป็นนักบาลานซ์ความสัมพันธ์ที่เยี่ยมยอดในทุก stakeholder ยังดีที่ ปตท.จะเป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ที่มีเกณฑ์ธรรมาภิบาลกำกับอยู่ในระดับหนึ่ง
แม้ไม่อาจสรุปว่าการโยกย้าย 4 อรหันต์ของ ปตท.รอบนี้ เป็นการ Rotate กันธรรมดาๆ ไปตามตำแหน่งใหม่ ที่เหมาะสมกว่า หรือการหักกันแบบสุดๆ ในเรื่องของโครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่น มูลค่า 1,600 ล้านบาทของ บมจ.ไทยออยล์ โดยมีนักการเมืองเอี่ยว ตามที่เป็นข่าว หรือจะเป็นเพียงว่ามีใคร ไม่ชอบหน้าประธานเจ้าหน้าที่บริหารไทยออยล์ (สุรงค์ บูลกุล) ซึ่งปกติเป็นคนเฮฮา ช่างจ้อ เข้ากับคนง่าย และเป็นนักเจรจาตัวยง
ทว่าวาทศิลป์ที่มีอยู่เต็มเปี่ยมในตัวเขา ดูจะเป็นความสามารถพิเศษด้วยซ้ำ กลับไม่สามารถนำมาใช้กับงานนี้ได้มากนัก !!!
ขณะที่ผลงานที่ผ่านมาของสุรงค์ แม้ไม่มีผลงานเด่นชัดในเก้าอี้ตัวนี้ แต่ก็ไม่มีข้อเสียที่จะถูกหยิบยกมากล่าวอ้างหรือใช้เป็นเหตุผลของการโยกย้าย
เหตุผลของการโยกย้าย ตามการให้สัมภาษณ์ของณอคุณ คือ การปรับตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ก่อนหน้านี้ ว่า ปตท.จะให้ผู้บริหารระดับสูง มีวาระดำรงตำแหน่ง 4 ปี (แหล่งข่าวบางรายให้สัมภาษณ์โดยเลี่ยงใช้คำว่า...ไม่เกิน 4 ปี) หลังครบกำหนดจะมีการโยกย้าย
อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากรายชื่อการโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงรอบนี้ จะพบว่ายังมีอายุงาน "ขาดๆ เกินๆ" อาจจะเข้าข่ายในบางราย แต่หาได้เป็นไปตามหลักเกณฑ์นี้เสียทีเดียว
โดยในกรณีของสุรงค์ รับตำแหน่งซีอีโอไทยออยล์ เมื่อ 30 ก.ย. 2009 (การโยกย้ายจะมีผล พ.ค. 2012) นับกันให้ดีสุรงค์มีอายุงานในเก้าอี้ตัวนี้เพียง 2.7 ปี ขณะที่เทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน อยู่ในตำแหน่งนี้เป็นเวลา 5 ปี เกินเกณฑ์ที่กำหนด มีเพียงอายุงานของวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล กับอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม ที่มีอายุงานอยู่ในข่ายการโยกย้าย ที่ 3.7 ปี และ 4.2 ปี ตามลำดับ
นอกจากนี้ จะว่าไปแล้วผู้บริหารระดับสูงที่ถูกโยกย้ายครั้งนี้ ยังเป็นบุคคลที่อดีตซีอีโอประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นผู้มาร์กจุดให้เดิน (Career path) การเปลี่ยนแปลงโยกย้ายรอบนี้ อีกมุมหนึ่งอาจมองไปถึงการ "มาร์กจุดใหม่" ให้กับผู้บริหารที่ประเสริฐวางไว้ ตามสไตล์การทำงานของซีอีโอคนใหม่ที่ต่างออกไป
การโยกย้ายครั้งนี้ยังเกิดขึ้นหลังจากที่ ไพรินทร์ ชูโชติถาวร นั่งเก้าอี้ประธานหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.มาได้เพียง "6 เดือนเศษ" (รับตำแหน่ง 9 ก.ย. 2011)
2 ใน 4 ของผู้บริหารระดับสูง (เทวินทร์ และสุรงค์) ที่ถูกโยกย้ายรอบนี้ยังเป็นผู้ลงสมัครคัดเลือกเป็น "ซีอีโอ ปตท." ก่อนที่ไพรินทร์ จะเฉือนชนะ "ม้าตีนต้น" ที่คนเชียร์เพียบ อย่างเทวินทร์ ไปได้อย่างเหนือความคาดหมาย ขณะที่สุรงค์ให้สัมภาษณ์ในขณะนั้นว่า "ผมมาสมัครตามหน้าที่"
ลงลึกลงไปในแต่ละตำแหน่งที่ถูกโยกย้าย พ้นจากความเหมาะสมหากจะดูในเรื่องของจิตใจไม่แน่ว่ากี่คนจะแฮปปี้ นอกจากนี้ ยังไม่มีการให้รายละเอียดจาก ปตท.ชัดๆ ว่า การปรับโยกย้ายรอบนี้จะตีตอบโจทย์เรื่องการติดอันดับ 1 ใน 100 บริษัทที่มียอดขายสูงที่สุดในโลก หรือฟอร์จูน 100 ให้ได้ในปี 2020 ได้ดีกว่าเดิมหรือไม่อย่างไร นอกจากการโยกย้ายตามเงื่อนเวลา ขณะที่ที่ผ่านมาผลงานของผู้บริหารแต่ละคนล้วน "สูสีกัน" เรียกว่าไม่มีใครเด่นกว่าใครอย่างมีนัยสำคัญ
อย่างไรก็ตาม ไพรินทร์ ยืนยันก่อนหน้านี้ว่า การแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ มีความเหมาะสมและมีความสำคัญกับองค์กร เพราะ ปตท.ต้องขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น
"เราตั้งเป้าว่าจะต้องติดอันดับ 1 ใน 100 บริษัทชั้นนำของโลกให้ได้ เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ศักยภาพของบริษัทและความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก" เขากล่าวไว้เช่นนั้น
จับสัญญาณได้เพียงการย้ายรอบนี้ที่แฮปปี้ที่สุดเห็นจะเป็น เทวินทร์ วงศ์วานิช จากประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน ที่กลับไปสู่ Comfort Zone งานถนัดในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม กับเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม หรือ ปตท.สผ. หลังเขาฉายแววผู้บริหารอายุน้อย บุคลิกดี มากความสามารถ เมื่อครั้งเป็นรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ.จนประเสริฐต้องจับมาฝึกวิทยายุทธ์เพิ่มเติมในอีกหลายตำแหน่งในสายบริหารงานกลยุทธ์และการเงิน เพื่อเตรียมวางตัวเขาขึ้นเป็นซีอีโอคนถัดไป
การกลับมาผงาดของเทวินทร์ ใน ปตท.สผ. ยังเป็นเหมือนการอุดด้านมืด (Dark Side) ของเขา ที่คณะกรรมการสรรหาซีอีโอ ปตท.เคยตั้งข้อสังเกตไว้ว่าเขาไม่เคยคุมบังเหียนบริษัทลูก ทำให้ไพรินทร์ มีภาษีเหนือกว่าจากการนั่งเก้าอี้ซีอีโอ บมจ.ไออาร์พีซี ในขณะนั้น
จากประสบการณ์การทำงาน จะว่าไปแล้ว เทวินทร์ ยังถือเป็นผู้เหมาะสมที่สุดแล้วที่จะนั่งเก้าอี้ตัวนี้แทนอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ ปตท.สผ.ที่ถูกโยกไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ทั้งๆ ที่กำลังจะเกษียณอายุใน ก.ย. 2556
และจะว่าไปแล้วการที่อนนต์ไปนั่งอยู่ที่พีทีที โกลบอลฯ เพียงปีเศษ ไม่น่าจะทำอะไรได้มากนักเช่นกัน !
มาที่ วีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.พีทีที โกลบอล เคมิคอล ที่ถูกย้ายมาเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยออยล์แทนสุรงค์ ตามประวัติเขาเคยผ่านงานบริษัทเอกชนในตำแหน่ง Lubes Country Manager บริษัทเอ็กซอนโมบิล กรรมการและผู้จัดการประชาสัมพันธ์ บริษัทเอ็กซอนโมบิล
กับแผนของไทยออยล์ที่มีความต้องการจะซื้อโรงกลั่นเอสโซ่ในไทย ภายใต้การบริหารของ บมจ.บริษัทเอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด สุรงค์เคยบอกว่าแผนการซื้อโรงกลั่นและปิโตรเคมีจะสรุปได้ในปลายปีนี้ โดยโรงกลั่นเอสโซ่มีกำลังการกลั่นที่ 1.77 แสนบาร์เรลต่อวัน การมีวีรศักดิ์มานั่งเก้าอี้ตัวนี้ คอนเนคชั่นของวีรศักดิ์ในฐานะผู้บริหารเก่าในธุรกิจน้ำมันหล่อลื่นของเอ็กซอนโมบิล ผู้ถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.เอสโซ่ (ประเทศไทย) จึงน่าจะทำให้ดีลนี้ราบรื่นขึ้นไม่น้อย
มาถึงบุคคลที่หลายคนมองเป็นตัวปัญหานำมาสู่การโยกย้ายรอบนี้ สุรงค์ บูลกุล จากประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไทยออยล์ ที่สลับมานั่งเก้าอี้ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน แทนเทวินทร์ มีคนเปรียบเทียบว่าเหมือนเป็น อธิบดีที่อยู่ๆ ก็ถูกย้ายมาเป็นรองปลัดกระทรวง แม้จะตำแหน่งใหญ่กว่าแต่ขาดแขนขาและอิสระในการทำงาน เพราะต้องขึ้นตรงกับนายใหญ่ (อย่างใกล้ชิด)
ใช่ว่าสุรงค์จะไม่มีภูมิคุ้มกันทางการเงิน ย้อนกลับในวัยรุ่นนักเรียนนอกอย่างเขาเคยผ่านงานที่ธนาคารโลกมาแล้ว ก่อนจะกลับเมืองไทยมารับตำแหน่ง นักวิเคราะห์การเงินที่ ปตท.ในวัย 26 ปี ถือว่าอายุยังน้อย และเข้ามาเป็นคนท้ายๆ ในยุคบุกเบิก ปตท. เมื่อ 30 กว่าปีก่อน
ทว่าชีวิตการงานหลังจากนั้น สุรงค์คลุกคลีกับงานการค้าระหว่างประเทศของ ปตท.มาโดยตลอด ก่อนจะก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งซีอีโอไทยออยล์
กับเป้าหมายการติดอันดับฟอร์จูน 100 สุรงค์ยังเคยให้สัมภาษณ์ว่า เขาเป็นผู้บุกเบิกเจรจานำชื่อของ ปตท.ไปปรากฏบนนิตยสารเล่มนี้ถือเป็นก้าวแรก ก้าวสำคัญในการนำ ปตท.ไปปักธงลงบน “เวทีโลก” จากจุดเล็กๆ ในวันนั้น กลายเป็นวิสัยทัศน์สำคัญที่ ปตท.ของ ปตท. ที่มีไพรินทร์เป็นแม่ทัพ หยิบมาพูดอยู่บ่อยครั้ง และน่าจะใช้ในการแสดงวิสัยทัศน์นี้ เพื่อชิงเก้าอี้ซีอีโอ ปตท.
"ในยุคนั้นคนยังไม่รู้จักฟอร์จูน 500 เท่าไรนัก การสื่อสารเรื่องตลาดหุ้นต่างประเทศก็ไม่แพร่หลาย แต่ผมเรียนจบเอ็มบีเอจากต่างประเทศมา ทำให้รู้ว่าเรื่องการจัดอันดับทางธุรกิจมีความสำคัญมากแค่ไหนในทางธุรกิจ แต่คนไทยตอนนั้นยังคิดไม่ถึง
ผมคิดว่าประเทศไทยตอนนั้นมีศักยภาพเพียงพอ เพราะค่าเงินบาทเทียบกับดอลลาร์ เราแข็งมากประมาณ 21-23 บาทต่อดอลลาร์ ผมเลยตัดสินใจเดินไปขอคุณศิรินทร์ นิมมานเหมินทร์ (อดีตผู้บริหาร ปตท.) ว่า ผมจะทำเรื่องนี้ ท่านก็หัวเราะ แต่ก็ไม่ว่าอะไร มอบหมายให้ผมเป็นคนไปเจรจา เพราะตอนนั้น ปตท.เริ่มใหญ่แล้ว"
จนกระทั่งสามารถนำชื่อ ปตท.ไปปรากฏในลำดับที่ 498 ในฟอร์จูน 500 ได้สำเร็จ ประมาณปี 2536-2537 เมื่อได้มาแล้วพนักงานใน ปตท.ยังไม่รู้เลย
จนผมต้องเป็นคนมาบอกเองว่า... “เราได้แล้วนะ” (หัวเราะ)
ในวัย 57 ปีของสุรงค์ เขาน่าจะเกษียณอายุในตำแหน่งซีเอฟโอ ปตท.แบบปิดตำนานกูรูนักค้าน้ำมัน วนกลับมาสู่ตำแหน่งแรกสุดของการทำงานที่ ปตท.แบบโชคชะตาเล่นตลก
(เสียงบางส่วน) ระบุ "โยกย้ายเหมาะสมแล้ว"
น.ส.อัปสร กฤษณะสมิต ประธานสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ ปตท. ให้ความเห็นว่า การโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงของ ปตท.ในครั้งนี้ ไม่มีวาระซ่อนเร้นทางการเมืองแต่อย่างใด แต่อาจจะเป็นเพราะกรณีการจัดซื้อโครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่นของไทยออยล์ ทำให้การโยงย้ายถูกโยงไปสู่ประเด็นทางการเมืองและความขัดแย้งภายใน ปตท.
“จริงๆ แล้ว การโยกย้ายในครั้งนี้ถือว่าเป็นเรื่องปกติ มันเป็น Timing ที่ผู้บริหารจะโยกย้ายทุกๆ 4 ปีครั้งอยู่แล้ว ทางสหภาพเองก็มองว่าเป็นเรื่องที่เหมาะสม ไม่มีการเมืองเข้ามาวุ่นวายหรือเกี่ยวข้อง ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ท่านคงเห็นว่ามีความเหมาะสมแล้ว”
ในส่วนของ เทวินทร์ วงศ์วานิช ที่ได้กลับมาอยู่ที่ ปตท.สผ.ก็ถือว่าเป็นเป็นเรื่องที่ดี เพราะท่านเองก็เป็นคนจาก ปตท.สผ.อยู่แล้ว พนักงาน ปตท.สผ.ก็รู้สึกดีใจที่ได้นายเก่ากลับมาทำงาน ด้านสุรงค์ บูลกุล ก่อนหน้านั้น เคยไปนั่งเป็นซีอีโอไทยออยล์ แต่การที่ได้ไปนั่งเก้าอี้ซีเอฟโอ ปตท.ถือว่าเป็นตำแหน่งใหญ่ คุณสุรงค์เองก็เป็นคนที่มีความเชี่ยวชาญด้านการเงินมาก เคยทำงานอยู่ธนาคารโลกและเป็นคน ปตท.ไม่ใช่ลูกหม้อไทยออยล์ ช่วงที่ท่านต้องไปรับตำแหน่งในไทยออยล์ ก็เพราะ ปตท.ต้องการให้เข้าไปช่วยไทยออยล์
“เท่าที่พูดคุยกับทางสหภาพไทยออยล์ เขาก็ไม่ติดใจอะไรนะกับการเปลี่ยนแปลงครั้งนี้ ไม่ได้มองว่าเป็นเรื่องการเมืองแต่อาจจะมีบางกลุ่ม บางคนที่ออกมาเคลื่อนไหวเองมากกว่า”
สำหรับคุณอนนต์ สิริแสงทักษิณ ท่านก็เหลือเพียงปีเศษๆ ก็จะเกษียณ และท่านก็เคยผ่านงานมาทั้งอัพสตรีมและดาวน์สตรีม มาก็ไม่น่าจะมีปัญหา หรืออย่างคุณวีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล ที่ได้ไปอยู่กับพีทีที โกลบอลฯ บริษัทนี้ถือว่าเป็นแฟลกชิพของ ปตท.ที่ใหญ่และมีความสำคัญมาก
ขณะที่แหล่งข่าวระดับผู้บริหารของ ปตท.อีกรายหนึ่ง ให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกันว่า การปรับเปลี่ยนโครงสร้างผู้บริหารของ ปตท.ครั้งนี้ ไม่น่าจะเป็นเหตุผลทางการเมือง แต่เป็นเรื่องความเหมาะสมและจังหวะมากกว่า ซึ่ง ดร.ไพรินทร์ ก็คงจะมองเห็นแล้วว่าเหมาะสม อีกอย่างสไตล์การทำงานของแต่คนก็ไม่เหมือนกัน ถ้าจะเปรียบเทียบกับคุณประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตซีอีโอ
“คนเราทำงานก็มีสไตล์แตกต่างกัน คราวนี้ ดร.ไพรินทร์ คงมองว่าเป็นเรื่องความเหมาะสมมากกว่า อีกทั้งผู้บริหารระดับนี้แล้วย้ายไปทำงานที่ไหนๆ ก็ทำงานได้หมด ไม่มีปัญหาเรื่องการทำงานหรอก เขาผ่านงานมากันไม่รู้ตั้งกี่ปีๆ แล้ว แต่อาจจะยกเว้นคุณสุรงค์ที่อาจจะมองว่าความเป็นอิสระจะหมดไปถ้าไปนั่งเป็นซีเอฟโอ”
เมื่อได้สอบถามไปยัง ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตซีอีโอ ปตท. เขาปฏิเสธที่จะให้ความเห็นเกี่ยวกับกรณีดังกล่าว บอกเพียงสั้นๆ ว่า.. “ไม่ทราบรายละเอียดครับ”
หลังจากกรุงเทพธุรกิจ BizWeek เปิดสกู๊ปปกเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาเรื่อง ปตท.(ซ่อนกล) รุกค้าปลีก ดึงบางจากร่วมบิ๊กซี ได้รับเสียงสะท้อนจาก บมจ.บางจาก ปิโตรเลียม โดยปฏิเสธในเรื่องนี้ว่า แม้ ปตท.จะเป็นผู้ถือหุ้นสัดส่วน 27.22% (อันดับ 1 ในโครงสร้างผู้ถือใหญ่ ไม่รวมการถือหุ้นโดยผู้ถือหุ้นรายย่อย) ในบางจากอยู่ในขณะนี้ แต่การบริหารงานของบางจากแยกส่วนกับ ปตท.ชัดเจน ดังนั้น ปตท.จึงไม่มีส่วนในการกำหนดนโยบายค้าปลีกน้ำมันของบางจากแต่อย่างใด อย่างไรก็ตาม ทั้งหมดนี้ เราเคารพในวิจารณญาณของผู้อ่าน
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 11:33 am
โดย pak
RPC คาดเจรจาขายโรงกลั่น 2 แห่งสรุปเร็วๆนี้ เล็งนำเงินลงทุนธุรกิจอื่น
Finansia Syrus Thai Summit (Facebook)
นายสัจจา เจนธรรมนุกูล ประธานกรรมการ บมจ.ระยองเพียวริฟายเออร์ (RPC) คาดว่าการเจรจาขายโรงกลั่น 2 แห่ง คือ โรงกลั่นน้ำมัน และโรงกลั่นน้ำมันไบโอดีเซลใกล้สรุปแล้ว บางโครงการอาจจะจบเร็วๆ นี้
"ตอนนี้มีคนเข้ามาเจรจาทั้งนักลงทุนในและต่างประเทศ โดยต่างประเทศจะเป็นการซื้อแล้วย้ายไปทำต่างประเทศเลยซึ่งมีหลายรายสนใจ เช่น ผู้ลงทุนแอฟ...ริกา ซึ่งการขายโรงกลั่นเราคงขายทั้งหมดแล้วถือเงินสด จะไม่เป็นการร่วมทุนถ้าเป็นผู้ลงทุนต่างชาติไกล ๆ มาซื้อ แต่ถ้าเป็นใกล้ๆ เราก็อาจจะพิจารณาร่วมทุน ซึ่งการเจรจาใกล้สรุปแล้ว บางโครงการอาจจะจบเร็วๆ นี้ แต่เราอยากให้ได้ราคาดีที่สุด ถ้าได้เงินทุนกลับมาเราคงหาธุรกิจอื่นทำ ถ้าจะต้องสร้างโรงกลั่นใหม่ก็ต้องหาให้เหมาะกับธุรกรรมใหม่ หรือเป็นธุรกิจอื่นที่เป็นการลงทุนที่เสี่ยงไม่มากเหมาะกับเงินที่มีอยู่" นายสัจจา กล่าว
ส่วนธุรกิจที่กำลังมองหา เช่น ขนส่ง พลังงานทางเลือกเพื่อหารายได้ให้ยาวขึ้น โซล่าฟาร์ม นอกจากนี้บริษัทกำลังพิจารณาจะขอใบอนุญาตสัมปทานทำเหมืองควอทซ์ ในต่างจังหวัด ซึ่งเราติดต่อมา 2-3 ปีแล้วเป็นลักษณะการร่วมทุนกับพาร์ทเนอร์ท้องถิ่น เป็นโครงการที่น่าสนใจน่าจะเป็นไปได้เสี่ยงน้อย
"สิ่งที่ต้องทำวันนี้แม้โอกาสจะเป็นยังไงก็ตาม เราคาดว่าเราต้องชนะคดีไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง แต่เบื้องต้นคิดจะขายโรงกลั่นออกไปให้ได้ราคามากที่สุด คิดว่าคุ้มแน่นอนที่จะขายออกไป ส่วนการร่วมทุนต้องให้ชัดเจนก่อนค่อยพิจารณา แต่อยากขายเพื่อถือเงินสดไว้ก่อน" นายสัจจา กล่าว
ขณะที่รายได้ของบริษัทในปี 55 จะหายไป 80% จากปี 54 ที่มีรายได้ 2.44 หมื่นล้านบาท หลัง บมจ.ปตท.(PTT) หยุดส่งวัตถุดิบให้ตั้งแต่เดือนก.พ.เป็นต้นมา เนื่องจากธูรกิจโรงกลั่นถือเป็นรายได้หลัก 80%
ส่วนรายได้ที่เหลือราว 20% มาจากธูรกิจให้เช่าของบมจ.เพียวสัมมากร ดีเวลลอปเม้นท์ (PSDC) ซึ่งเป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บมจ.สัมมากร(SAMCO) และ RPC และธุรกิจเทรดดิ้ง ค้าปลีกและสถานีบริการน้ำมันที่มีอยู่ 70 กว่าแห่งทั่วประเทศ ธุรกิจขนส่ง และธุรกิจในลาวรับจ้างบริหารระบบงาน
ขณะที่ปีนี้จะขาดทุนหรือไม่ยังบอกไม่ได้ แต่รายได้หลักก็หายไป 80% แล้ว ขณะที่ค่าใช้จ่ายก็ลดลงอย่างมากจากการลดพนักงาน ปัจจุบันเหลือพนักงาน 30 กว่าคน คงต้องให้อยู่อีกระยะหนึ่งจนกว่าจะมีความชัดเจน
"80% ของรายได้อยู่ที่โรงกลั่นหายไปก็กระทบ ส่วนเทรดดิ้งโอกาสเทรดก็น้อยเพราะแบงก์ที่เราสร้างเครดิตมา 15 ปี ไม่เคยมีปัญหาการเงินเลย แต่แบงก์ตอนนี้อาจจะถอนเครดิต ทั้งๆ ที่บริษัทไม่เคยขาดทุนเลย ยิ่งทำให้เราตกอยู่ในฐานะจะทำเทรดดิ้งก็ยากขึ้น" นายสัจจา กล่าว
--อินโฟเควสท์--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 1:12 pm
โดย pak
รัฐบาลเตรียมหนุนแหล่งปิโตรเลียมลานกระบือเป็นแหล่งผลิต NGV ในภาคเหนือ
ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 14 มีนาคม 2555 14:05:30 น.
นายไพโรจน์ แรงสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โครงการเอส 1 บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) หรือ ปตท.สผ. กล่าวว่า แผนการผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งสิริกิติ์ในปีนี้ คาดว่าจะผลิตน้ำมันดิบได้ถึง 30,000 บาร์เรลต่อวัน จากปัจจุบันที่ผลิตได้ประมาณวันละ 27,000-28,000 บาร์เรล เนื่องจาก ปตท.สผ.ได้มีการสำรวจพื้นที่บริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติม และได้มีการนำเอาเทคโนโลยีในการขุดเจาะเพื่อนำน้ำมันขึ้นมาใช้ได้เพิ่มขึ้น
นอกจากนี้ จะมีการรวบรวมแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งเล็กๆ 5-6 แหล่งที่อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกัน เพื่อรวบรวมก๊าซฯ จัดส่งผ่านท่อส่งก๊าซฯ ขนาด 3-5 นิ้ว ไปรวมกันที่ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เพื่อใช้ประโยชน์ให้มากขึ้น เช่น การปั่นไฟฟ้า การใช้ผลิตก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์(NGV) จากปัจจุบันที่แหล่งลานกระบือสามารถผลิตก๊าซฯ ได้ประมาณวันละ 22 ล้านลูกบาศก์ฟุต แบ่งเป็น การใช้ NGV วันละ 6-7 ล้านลูกบาศก์ฟุต และผลิตไฟฟ้าวันละ 15 ล้านลูกบาศก์ฟุต ซึ่งโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านบาท โดยคาดว่าจะทำให้ปริมาณเพิ่มขึ้นอีกประมาณวันละ 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุต
ก๊าซฯ ที่ผลิตได้มากขึ้นนั้น ปตท.สผ.ต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนให้ บมจ.ปตท.(PTT) เข้ามาจัดทำเป็น NGV ในพื้นที่ อ.ลานกระบือ เพื่อให้เกิดการใช้ประโยชน์ให้มากที่สุด ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างรออนุมัติรายงานผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) จากสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อม(สผ.)
ด้านนายทรงภพ พลจันทร์ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิดเผยว่า รัฐบาลกำลังศึกษาความเป็นไปได้ในการสนับสนุนให้เกิดโรงไฟฟ้าที่ออกจากระบบของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย(กฟผ.) ที่ อ.ลานกระบือ มาปรับเปลี่ยนเป็นศูนย์กลางการผลิต NGV ในภาคเหนือ เพื่อรองรับความต้องการใช้ที่เพิ่มขึ้น และลดการขนส่ง NGV จากภาคกลางมายังภาคเหนือ ประกอบกับในแหล่งลานกระบือยังมีปริมาณก๊าซฯ อีกพอสมควรที่สามารถนำมาผลิตเป็น NGV ได้ และยังช่วยลดปริมาณการเผาก๊าซฯ ที่เหลือจากกระบวนการผลิตทิ้งได้ด้วย
--อินโฟเควสท์ โดย อตฦ/ธนวัฏ/ศศิธร โทร.02-2535000 ต่อ 345 อีเมล์:
[email protected]--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 1:26 pm
โดย pak
ท่าทางจะเอา (ไม่) อยู่ ตอนต่อ "เจาะน้ำมันในกรุงเทพ ชาวกรุงเทพทั้งหมดมีโอกาสเสี่ยงตาย"
โดย รักไทย บูรพ์ภาค 2 มีนาคม 2555 12:01 น.
555000002954401.jpg
ดร.รักไทย บูรพ์ภาค : รองผู้อำนวยการศูนย์วิเคราะห์ข้อมูลด้านพลังงานมหาวิทยาลัย MIT สหรัฐอเมริกา และ อดีตที่ปรึกษาประจำสำนักงานใหญ่ธนาคารโลกด้านนโยบายพลังงาน/สิ่งแวดล้อม
ดูเหมือนว่าทางผู้ใหญ่ในกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน จะทำการขุดเจาะสำรวจน้ำมันที่เขตทวีวัฒนา (พุทธมณฑลสาย 2) แน่นอนครับ เห็นบอกว่า ดีเดย์ วันที่ 6 มีนาคมนี้ ได้ฟังข้อมูลที่ท่านพูดผ่านสิ่อมาผมได้ยินผมก็พูดไม่ออกครับ จริงๆถ้ามองอย่างเป็นกลางผมมองว่าทางท่านก็คงพยายามทำงาน อย่างเต็มที่และเป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ คนหนึ่งครับ ซึ่งผมก็คิดว่าท่านก็คงมองแบบหวังดี ต่อประเทศนะครับ แต่เหตุผล ที่ท่านให้มาดูเหมือนว่ายังไม่ครอบคลุมทั้งหมดครับ ที่ท่านบอกเจาะแล้วแผ่นดินแถวนั้นไม่ทรุด อันที่จริงเหตุผลของท่านที่พูดมาก็ถูกครับ หรือถ้าเกิดก็น้อย ก็จริงครับ แต่มุมมองของผมที่พอมีความรู้วิศวกรขุดเจาะน้ำมันมาบ้าง อยากเรียนให้ท่านมองรอบด้านด้วยครับ อยากให้มองถึงผลกระทบจากสารเคมี หรือ สารพิษ ที่เกิดจากกระบวนการขุดเจาะน้ำมันด้วยครับ บทความหรือข้อคิดเห็นของผม ผมไม่ได้พูดถึงแผ่นดินทรุดตัวเลยครับ ผมทราบครับถ้ามีก็โอกาสน้อยครับ แต่ที่ผมพูดถึงผมหมายถึง โอกาสสารเคมีปนเปื้อนกับแหล่งน้ำบนดิน (อ่านเพิ่มจากตอนแรกได้ครับ)
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 0000027196
เช่น แม่น้ำ บ่อน้ำบาดาล ทางน้ำทั้งบนดินและใต้ดิน ระบบน้ำประปา รวมไปถึง โอกาสที่จะปนเปื้อนถึงอ่าวไทยครับ ที่ผมพูดมาอย่างที่บอกครับ ว่ามีหลายกรณีตัวอย่างเกิดขึ้น โดยเฉพาะที่ประเทศ สหรัฐอเมริกาในช่วง 2-3 ปีนี้ เกี่ยวกับแหล่งน้ำบนดิน ปนเปื้อนสารพิษที่ใกล้แหล่งขุดเจาะน้ำมัน และเกือบทุก กรณี เจ้าทุกข์ หรือ ผู้ได้รับความเสียหายชนะคดี และบริษัทที่โดนดำเนินคดี ก็โดนฟ้องจน โดนปิดบริษัทก็มีนะครับ (ส่วนใหญ่บริษัทที่โดนเป็น บริษัทน้ำมันใหม่ หรือ ขนาดเล็กนะครับ บริษัทใหญ่ๆ เค้าไม่มาเสี่ยงเจาะใกล้ๆชุมชนหรอกครับ เพราะอาจจะมีความเสี่ยงที่จะผิดกฎหมาย หรือ กระทบภาพลักษณ์บริษัทนะครับ) อีกทั้งลงโทษผู้ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย ซึ่งก่อนการขุดเจาะ บริษัทเหล่านี้ก็ต้องทำแบบประเมินและ ผมว่าต้องผ่านการอนุมัติมาแล้วนะครับ แต่อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการณ์หรือ ประมาทอย่างไร ไม่ทราบได้ แต่ผลก็อย่างที่เห็นครับ มีการดำเนินคดีต่อเนื่องเรื่อยๆ แล้ว วันนี้ชาวชุมชนบริเวณหลุมขุดเจาะ และ ชาวกทม 5 ล้านกว่าคน รวมถึงละแวกใกล้เคียง มีความรู้ มีความสามารถ เราจะมาเสี่ยงทำไมละครับ ถ้ามองให้ลึกและเปิดใจกว้างจริงๆ ในอนาคตผมเองก็ไม่ต้องการให้เกิดกรณีพิพาทระหว่างประชาชนและ บริษัท มิตร้า เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงานด้วยนะครับ พวกเราคนไทยยังมีทางเลือกครับ เห็นว่าวันที่เริ่มเจาะจะมีการเรียกนักข่าวไปดูสถานที่เป็นสิ่งที่ดีและน่าเห็นด้วยเป็นอย่างยิ่ง เพียงแต่ผลกระทบเหล่านี้ จะเกิดขึ้นตอนเจาะไปแล้วหรือ จนเจาะเสร็จแล้วซักระยะหนึ่งกว่าจะเห็นครับ แล้ววันนั้นจะพวกพี่ๆน้องๆสื่อมวลชนจะเห็นอะไรครับ??? ขออนุญาติถามกลับแล้วจะเจาะสำรวจหลุมนี้ทำไมครับ เพราะมันตั้งอยู่ผิดตามบรรทัดฐานหลักการสากลอยู่แล้วครับคือ ไม่สามารถเจาะใกล้แหล่งชุมชนได้ ผมเห็นมีหลายคำถามถึงผม ผมขออนุญาติตอบเป็นประเด็นดังนี้ครับ
ประเด็นแรก เจาะน้ำมันหลุมนี้ ลึก 2 กิโลเมตร จะปลอดภัยไหม ก็มีหลายความเห็นครับ ก็จริงครับไม่ใช่ว่าเจาะทุกหลุมจะเกิดอันตรายทุกหลุมนะครับ แต่มีความเสี่ยงสูงครับ โดยเฉพาะยิ่งใกล้แหล่งชุมชนขนาดใหญ่ด้วย จริงๆแล้วผมไม่ได้มีอคติกับการกระบวนการขุดเจาะน้ำมันเลยครับ แม้ว่าผมจะอยากให้บ้านเราเน้นพลังงานทดแทนก็ตาม แต่ประเด็นผมคือ ทำไมเราต้องให้คนมากกว่า 5 ล้านคนต้องมารับความเสี่ยงด้วยละครับ กรณีอย่างน้ำท่วม หรือ หลายๆเหตุการณ์ในไทย ให้บทเรียนพวกเรามามากพอแล้วครับ ผมไม่อยากคิดว่าถ้าน้ำท่วมมาพร้อมกับการรั่วไหลของสารเคมีในหลุมแล้วจะเป็นอย่างไร
ประเด็นที่ สอง ทำไมผมมาพูดตอนนี้ ก็เพราะอยู่ในช่วงที่เรายังควบคุมได้เพราะทางบริษัท มิตรา เอ็นเนอร์ยี่ และ กรมเชื้อเพลิงพลังงาน ยังอยู่ในการเจาะขั้นต้น เราสามารถยับยั้งได้ และเพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้มีการอนุญาตการขุดเจาะน้ำมันในที่ชุมชนอีก ไม่เฉพาะแม้แต่ในกรุงเทพ นะครับ ผมเห็นว่าวันนี้ คนไทยหลายๆคน ถามหาบรรทัดฐานทางสังคม ผมว่าตรงนี้จะเป็นตัวตอบคำถามเราว่า เรายอมหรือไม่ ที่จะให้มีการขุดเจาะน้ำมัน อย่างถูกต้องอย่างเสรีทุกตารางนิ้ว ไม่เว้นแม้แต่กระทั่งในชุมชน
ประเด็นสุดท้าย เรื่องนี้ที่ถูกควรเป็นอย่างไร อันนี้ผมคงตอบเแทนไม่ได้ เพราะผืนแผ่นดินนี้ เป็นของคนไทยทุกคน ก็ควรจะฟังความเห็นของคนไทยทั้งหมดนะครับ แต่ถ้าตามที่ผมทราบ ขออนุญาติเอาข้อมูลของประเทศสหรัฐอเมริกานะครับ (เพราะเข้าถึงง่าย) ครับ หน่วยงานพิทักษ์สิ่งแวดล้อมของสหรัฐอเมริกา มีการร่างกฎหมายขึ้นขอยกตัวอย่างกฎหมายจากผลจากการขุดเจาะน้ำมันสั้นๆนะครับ ว่า ห้ามมีการเจาะใกล้ในเขตชุมชน ในระยะเขตอันตรายร้ายแรงในรัศมี 100 เมตร และ ให้อยู่ในเขตเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดรัศมี 80 กิโลเมตร (ยิ่งใกล้มากยิ่งเสี่ยงมาก) แล้วถ้าดูจากจุดที่เจาะแล้ว กทม อยู่ห่างจากจุดที่เจาะ น้อยกว่า 20 กิโลเมตรด้วยซ้ำ ไหนจะชุมชนละแวกนั้นอีก ผมว่าอันตรายอย่างมากครับ ที่จะเอาประชาชน บริเวณนี้ มากกว่า 5 ล้านคนเป็นตัวประกันครับ เรายังมีอีกหลายทางเลือกครับ สำหรับทางเลือกในเรื่องนี้ของหลายๆฝ่ายคงมีตามต่อไปนี้ ขึ้นอยู่กับที่จะเลือกกันเองนะครับ เช่น
- ทางกรมเชื้อเพลิงกระทรวงพลังงาน ถอนสัมปทาน หรือพูดง่ายๆยกเลิกสัมปทานแปลงนี้ไป อาจจะต้องคืนเงินผู้รับสัมปทาน และออกกฎหมายไม่ให้มีการขุดเจาะ ใกล้แหล่งชุมชนอีกต่อไปในอนาคต
- เจาะดำเนินการต่อ แล้วจ่ายค่าชดเชยให้คนในชุมชน และ กทม รวมถึงระแวกข้างเคียงทั้งหมดในฐานะที่ต้องมาเสี่ยงได้รับสารพิษ ถ้ามีการอนุญาตให้ดำเนินการขุดเจาะน้ำมันบริเวณใกล้ชุมชนแห่งนี้แล้ว อนาคตอาจมีแนวโน้มเกิดกรณีเดียวกันเกิดขึ้นในพื้นที่อื่นใกล้ชุมชนอีก ความเสี่ยงอันตรายก็เพิ่มมากขึ้นตามลำดับครับ อีกทั้งในกระบวนการเจาะมีการใช้สารกัมมันตภาพรังสี ด้วยนะครับ แม้ว่าจำนวนน้อย แต่ก็ผิดพลาดได้ไม่คุ้มเสียหรอกครับ นั่นเป็นเหตุผลอีกอย่างหนึ่งที่หลายบริษัทพยายามไม่เจาะใกล้แหล่งชุมชนครับ ยกตัวอย่าง เช่น การใช้สารซีเซียม137 ในกระบวนการขุดเจาะ (เป็นสารตัวเดียวกับที่มีผลกระทบจาก โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ในญี่ปุ่นครับ) ผลกระทบของมันผมว่าให้ นักวิทยาศาสตร์ หรือ แพทย์ มาให้ข้อมูลจะดีกว่าผมครับ อย่างที่บอกครับน้อยแต่ก็มีความเสี่ยงครับ ซึ่งถ้าเจาะในที่ไกลแหล่งชุมชนปกติแล้วไม่น่ามีปัญหาอะไรครับ ที่ผมมาบอกไม่ได้ต้องการทำให้ตื่นตระหนก แต่เพราะเป็นสิทธิที่ประชาชนในพื้นที่และบริเวณข้างเคียง ต้องทราบครับ
อย่างที่บอกครับ ผมไม่ได้อคติกับกระบวนการขุดเจาะน้ำมันหรือ บอกว่าห้ามมีการขุดเจาะน้ำมันในประเทศไทย แต่ผมชี้ให้เห็นถึงภัยของการขุดเจาะน้ำมันบนดินใกล้แหล่งชุมชนครับ โดยเฉพาะพี่น้องชาวกรุงเทพครับ
ผมว่าทางออกอย่างถาวร คือ การมีนโยบายพลังงาน อย่างมีแบบมีแผนเป็นระบบ สำหรับระยะสั้น ให้เจาะใช้เฉพาะแหล่ง เร่งนโยบายพลังงานทดแทน ไม่อนุญาติให้เจาะใกล้ชุมชน ระยะยาว ให้ขุดเจาะในประเทศน้อยลง แล้วเน้นด้านพลังงานทดแทนเต็มตัว และ เพิ่มประสิทธิภาพการจัดการ การใช้พลังงานของผู้ใช้ หรือที่เรียกว่า Demand Side Management (DSM) ครับ อยากให้มองว่าเรื่องพลังงานเป็นเรื่องของทุกคน และทุกคนมีส่วนช่วยได้ ไม่ว่าจะเป็น นักรัฐศาสตร์ นักกฎหมาย สื่อมวลชน นักธรณีวิทยา วิศวกร สถาปนิก แพทย์ นักการเมือง ครู อื่นๆ และประชาชนทุกคนครับ
http://www.youtube.com/watch?v=dZe1AeH0Qz8
http://www.yourlawyer.com/topics/overvi ... g_fracking
http://www.epa.gov/radiation/tenorm/oilandgas.html
http://www.dmf.go.th/dmfweb/index.php?o ... 21&lang=th
ที่มา :
http://www.manager.co.th/Daily/ViewNews ... 0000028099
http://www.facebook.com/profile.php?id=535461209
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: จันทร์ เม.ย. 02, 2012 4:33 pm
โดย pak
ปตท. สนับสนุนประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดงาน WEF On East Asia ครั้งที่ 21
วันนี้ (2 เมษายน 2555) ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) (ปตท.) กล่าวถึงการจัดประชุม World Economic Forum (WEF) on East Asia ครั้งที่ 21 ที่ประเทศไทยได้รับเกียรติให้เป็นเจ้าภาพจัดงานว่า เป็นที่น่ายินดีเป็นอย่างยิ่งที่ในปี 2555 นี้ ประเทศไทยได้รับการคัดเลือกให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม WEF on East Asia เป็นครั้งแรก ซึ่งจะช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นของนักลงทุน และนักท่องเที่ยวให้กลับมาประเทศไทย ซึ่งกำหนดจัดขึ้นระหว่างวันที่ 30 พฤษภาคม - 1 มิถุนายน 2555 ภายใต้หัวข้อ “Shaping the Region’s Future through Connectivity” ณ โรงแรม แชงกรี-ลา กรุงเทพฯ คาดจะมีผู้บริหารระดับสูงสุดจากภาคเอกชน ผู้นำจากภาครัฐ และสื่อมวลชนจากทั่วโลกเข้าร่วมประมาณ 500 คน
ทั้งนี้ สำหรับบทบาทของ ปตท. (ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร) ในฐานะเป็นหนึ่งใน Co-Chairs ของ WEFEA และ ปตท. ซึ่งเป็นบริษัทไทยเพียงรายเดียวของประเทศที่เป็นสมาชิก WEF ในระดับ Industrial Partner มีหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการสนับสนุนการจัดการประชุมให้ประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่กำหนด โดย ดร.ไพรินทร์ ชูโชติถาวร จะร่วมกับ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน แสดงวิสัยทัศน์ด้านพลังงานใน Private Industry Sessions และ Public Sessions ที่เกี่ยวข้องกับพลังงานร่วมกับผู้นำภาครัฐ และผู้บริหารของบริษัทพลังงานชั้นนำจากทั่วโลก ภายใต้หัวข้อ สถาปัตยกรรมพลังงานของอนาคต (New Energy Architecture) โครงสร้างพื้นฐานของพลังงาน (energy Infrastructure) และ ความเชื่อมโยง (Connectivity) ซึ่งหัวข้อที่ ปตท. จะนำไปหารือเพื่อผลักดันในเวทีนี้คือ หลักการพลังงานเพื่อสังคมยั่งยืน โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับการเข้าถึงแหล่งพลังงานที่มั่นคง (secure and affordable access) ระบบพลังงานที่มีประสิทธิภาพ (efficient energy system) ประชาสังคมที่มีความรับผิดชอบ (responsible citizenship) การสร้างเสริมทางเศรษฐกิจ (contributing to economic development) และ การส่งเสริมความรู้เรื่องพลังงานให้กับสาธารณชน (promoting energy literacy)
โดยสิ่งที่ประเทศไทยจะได้รับจากการเป็นเจ้าภาพจัดงานในครั้งนี้นอกเหนือไปจากการสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบเศรษฐกิจและการเมืองของไทยแก่นักธุรกิจและนักลงทุนชั้นนำของโลกแล้ว ยังเป็นการถ่ายทอดองค์ความรู้และความเชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น การจัดทำรายงานพิเศษด้านขีดความสามารถในการแข่งขันตลอดจนประสบการณ์ในด้านการจัดประชุมระหว่างประเทศ รวมถึงการขยายโอกาสทางธุรกิจและการชักจูงการค้าการลงทุนสู่ไทย ที่สำคัญยังช่วยเสริมสร้างรายได้ให้แก่ธุรกิจท่องเที่ยวของไทยที่มาจากผู้เข้าร่วมการประชุมและเจ้าหน้าที่ WEF ที่เดินทางมาจากทั่วโลกอีกด้วย
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 03, 2012 10:35 am
โดย pak
เชียร์ปตท.ขยายท่อก๊าซสร้างเพิ่มเส้นชลบุรีถึงสระบุรีลดอุบัติเหตุจากขนส่งทางบก
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Tuesday, April 03, 2012
โพสต์ทูเดย์ -หนุน ปตท.ลงทุนวางท่อขนส่งแอลพีจีจากชลบุรีถึงสระบุรี ลดขนส่งทางรถยนต์ เพิ่มศักยภาพจ่ายก๊าซไปเหนือจรดอีสาน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุลอธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน เปิดเผยว่าปตท.อยู่ระหว่างศึกษาโครงการวางระบบขนส่งก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี)ทางท่อ จากคลังจ่ายก๊าซแอลพีจีบ้านโรงโป๊ะ จ.ชลบุรี ไป จ.สระบุรีเพื่อช่วยลดการขนส่งแอลพีจีทางบกและสามารถกระจายก๊าซไปยังภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือได้รวดเร็วขึ้น
ในอนาคตการขนส่งแอลพีจีทางรถยนต์จะมีปัญหามาก ทั้งในด้านปริมาณที่สูงและมาตรการเข้มงวดในเรื่องความปลอดภัยหากขนส่งแอลพีจีทางท่อได้จะเป็นเรื่องที่ดีเกิดความสะดวก และช่วยลดปัญหาอุบัติเหตุทางถนนด้วย
นอกจากนี้ ยังมีแผนศึกษาสร้างคลังเก็บแอลพีจีแห่งใหม่รองรับความต้องการใช้ที่มากขึ้น แบ่งเป็น 2 เฟส คือ เฟสแรกขยายคลังแอลพีจีเดิมที่ เขาบ่อยาจ.ชลบุรี จาก 1.3 แสนตันต่อปี เป็น2.5 แสนตันต่อปีส่วนเฟส 2 สร้างคลังแอลพีจีแห่งใหม่ 2.5 แสนตันต่อปี ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างหาพื้นที่ที่เหมาะสม และเป็นแผนที่ควรเร่งดำเนินการ เพราะคลังแอลพีจีที่เขาบ่อยาไม่สามารถจัดเก็บได้มากกว่านี้ อาจไม่เพียงพอกับปริมาณการใช้ที่จะสูงขึ้นในระยะยาว
"ก่อนหน้านี้ได้หารือกับผู้บริหาร ปตท.ถึงการวางท่อแอลพีจีจาก จ.ชลบุรี ไปจ.สระบุรี จะช่วยแก้ปัญหาเรื่องขนส่งทางถนนถ้าจะทำต้องรีบ เพราะต้องใช้เวลาพอสมควร"นายวีระพล กล่าว
ก่อนหน้านี้ เมื่อปี2553 วีระพลที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ(กพช.) เคยมีมติให้สร้างคลังแอลพีจีแห่งใหม่ มอบหมายให้ ปตท.ไปดำเนินการศึกษา เบื้องต้นคาดการณ์ว่าต้องใช้เงินกว่า 1.5-1.6 หมื่นล้านบาทใช้เวลาก่อสร้าง 4-5 ปี แต่จนถึงปัจจุบันยังไม่มีการสรุปรายละเอียดที่ชัดเจน ในขณะที่ปริมาณการนำเข้าแอลพีจีสูงขึ้นต่อเนื่องปัจจุบันนำเข้าสูงถึง 1.8 แสนตันต่อเดือน
ขณะที่การกำหนดมาตรการคุมเข้มรถขนส่งแอลพีจี 1,546 คันทั่วประเทศนั้น จะหารืออีกครั้งในวันที่11 เม.ย. ถึงมาตรการเพิ่มเติม โดยเฉพาะการควบคุมพฤติกรรมของคนขับรถ เพราะอุบัติเหตุส่วนใหญ่มาจากความประมาทของพนักงานขับรถ จึงเสนอให้ตรวจสอบประวัติการขับรถ หากพบว่าเคยมีคดีอุบัติเหตุจะถูกขึ้นบัญชีดำห้ามขับรถขนส่งแอลพีจีทันที รวมทั้งจำกัดโซนนิงห้ามรถแอลพีจีเข้าเขตชุมชนเป็นต้น
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 03, 2012 10:38 am
โดย pak
PTT waits for EIA approval
Source - Bangkok Post (Eng), Tuesday, April 03, 2012
PTT Plc is bemoaning opportunity loss as environment and health impact assessments have dragged on for a subsidiary.
TOC Glycol, a wholly owned subsidiary of PTT Global Chemical Plc (PTTGC), had its operations at the Map Ta Phut industrial estate in Rayong suspended by the Administrative Court’s order in 2009. The plant was ordered to conduct environment and health impact assessments, which it completed and submitted to the new Independent Commission on Environment and Health for approval in early 2010.
But PTT chief executive Pailin Chuchottaworn said the agency has not made a decision on the assessments.
Its US$58-million project includes expanding mono ethylene glycol capacity to 395,000 tonnes per year, up from 300,000 tonnes.
TOC Glycol is one of two Map Ta Phut projects still suspended. The other is Plastic and Chemicals Plc (TPC), a unit of Siam Cement Group. TPC’s expansion project will increase poly vinyl chloride output to 590,000 tonnes a year, up from 500,000 tonnes, while vinyl chloride monomer capacity will rise to 530,000 tonnes, up from 480,000 tonnes.
The two projects were originally among 76 projects in Map Ta Phut that were suspended by the court.
In a related development, PTTGC chief executive Veerasak Kositpaisal gave the nod at a shareholders meeting yesterday for the company to allocate as much as 3% of its net profit each year to its research house in Rayong.
"We want to grow sustainably in the global chemical market, and this percentage of revenue is much higher than Thailand’s average spending on R&D," said Mr Veerasak.
Thailand’s average budget for research and development is just 0.24% of gross domestic product (GDP), ranking 40th on the list of countries that spend more than US$100 million a year on R&D.
PTTGC reported net profit last year rose 76% to 31.57 billion baht from 17.97 billion a year earlier.
It also plans to invest about $4.5 billion from 2012 to 2016 to expand business. The company will finance the investment with cash-on-hand and some borrowing, he said.
PTT Global asked shareholders yesterday to approve a plan to sell up to $2 billion in bonds. The proceeds will be used to invest and refinance debt.
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 03, 2012 4:34 pm
โดย pak
pak เขียน:คอลัมน์: จับกระแสทั่วไทย: ปตท.จัดเวทีถกท่อก๊าซ
Source - มติชน (Th), Friday, March 30, 2012
สิงห์บุรี - เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่โรงแรมโกลเด้น ดราก้อน รีสอร์ท อ.เมือง จ.สิงห์บุรี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกนครสวรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคจาก จ.นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ประมาณ 700 คน มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ
--จบ--
ภาพข่าวครับผม
nksw_ptt.jpg
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 04, 2012 11:19 am
โดย pak
3ซีอีโอเครือปตท.โชวแผน9แสนล. PTTCG รุกเทกโอเวอร์ธุรกิจเคมิคอลขึ้นผู้นำเออีซี
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, April 04, 2012
เครือ ปตท.โชว์ศักยภาพหลังโยกย้าย 4 ซีอีโอ แท็กทีมเปิดแผนลงทุน 5 ปีหน้า รวมกว่า 9 แสนล้าน ผงาดขึ้นผู้นำ เออีซี เคลียร์ผู้ถือหุ้นเรียบร้อยทั้ง 3 บริษัท ทั้งไทยออยล์, ปตท.สผ. ปิดท้ายด้วย ปตท.จีซี "วีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล" เปิดแผนลงทุน 1.35 แสนล้านบาท ก่อนย้ายไปคุมไทยออยล์ ลั่นกำลังดีลเทกโอเวอร์เมกะโปรเจ็กต์ไฮเทค ดันไทยผงาดขึ้นผู้นำอาเซียน โปรดักต์หลัก โพลียูรีเทน โพลีคาร์บอเนต และไบโอพลาสติก
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าภายหลังจากการย้ายประธานกรรมการบริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ (ซีอีโอ) ของบริษัทขนาดใหญ่เครือ ปตท.เมื่อช่วงปลายเดือนมีนาคมที่ผ่านมา หลังจากนั้นก็ได้ทยอยจัดประชุมผู้ถือหุ้นสามัญประจำปี พร้อมทั้งแจ้ง ผู้ที่ประชุมถึง 3 ซีอีโอที่จะต้องย้ายมาดำรงตำแหน่งใหม่ในแต่ละบริษัทตั้งแต่ 1 พฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ควบคู่กับประกาศแผนพัฒนาธุรกิจ การลงทุนรวมทั้งหมดในอีก 5 ปีข้างหน้ากว่า 9 แสนล้านบาท เพื่อสร้างรายได้ปีสิ้นสุดแผน2559 ให้ได้ปีละ 4 ล้านล้านบาท
ขณะนี้การจัดประชุมผู้ถือหุ้นบริษัทในเครือ ปตท.ดำเนินการครบทั้งบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จะมีนาย วีรศักดิ์ โฆษิตไพศาล เป็นซีอีโอ ส่วนบริษัท ปตท.สำรวจและปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.จะมีนายเทวินทร์ วงศ์วานิช เป็นซีอีโอ ล่าสุดเมื่อ2 เมษายน บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) ประชุมผู้ถือหุ้นเป็นบริษัทสุดท้าย จะมีนายอนนท์ สิริแสงทักษิณ เป็น ซีอีโอ รวมถึงนายสุรงค์ บูลกุล ย้ายจาก ไทยออยล์เข้ามานั่งเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) นั้น
นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ขณะนี้การจัดทีมบริหารภายในเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้ว จากนี้เป็นต้นไปซีอีโอทุกคนที่ได้รับมอบหมายให้เข้าปฏิบัติในแต่ละบริษัทจะต้องแสดงความสามารถเพื่อนำเครือปตท.ไปสู่ความสำเร็จและสามารถเป็นผู้นำทางพลังงานก่อนเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC)
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานกรรมการ บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ PTTGC เปิดเผยว่า ที่ประชุมผู้ถือหุ้น PTTGC เมื่อวันที่2 เมษายน 2555 เห็นชอบแผนระดมทุนจัดหาเงินกู้เพื่อสนับสนุนการลงทุน5 ปี ระหว่างปี 2555-2559 ซึ่งจะดำเนินงานสร้างความหลากหลายทางธุรกิจ ขยายกำลังการผลิตและผลิตภัณฑ์ใหม่โดยใช้จากกระแสเงินสดและเงินภายนอกรวม 4,500 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 1.35 แสนล้านบาท ตามคาดการณ์อีก 5 ปีข้างหน้า ปตท.จีซี จะสร้างเงินได้ราว 1.30 แสนล้านบาท เมื่อหักค่าใช้จ่ายอื่นๆ แล้วยังเหลือเป็นเงินลงทุนได้ 7.5 หมื่นล้านบาทคิดเป็นประมาณ 2,500 ล้านเหรียญสหรัฐ
ส่วนที่เหลือจะใช้วิธีออกหุ้นกู้ที่ไม่มีหลักประกันเพื่อใช้ลงทุนและ/หรือรีไฟแนนซ์เงินกู้เดิมของบริษัทและในเครือวงเงิน ไม่เกิน 2,000 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 60,000 ล้านบาท ขึ้นกับอัตราแลกเปลี่ยนขณะนั้น การจัดหาเงินกู้ในแต่ละครั้ง จะต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการบริษัทก่อน
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.จีซี ซึ่งกำลังจะย้ายไปดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ยังไม่มีการพูดคุยเกี่ยวกับการปรับแผนไทยออยล์ใหม่หลังเปลี่ยนซีอีโอ มีความมั่นใจศักยภาพของทุกคนต้องทำให้ดีอยู่แล้ว ส่วน ปตท. จีซีคงเดินหน้าตามเดิมต่อไปได้เพราะการทำงานของ กลุ่ม ปตท.ประสานงานกันตลอด อีกทั้งยังเชื่อความสามารถของนายอนนท์ สิริแสงทักษิณ ซีอีโอ ปตท.จีซีคนใหม่จะนำบริษัทไปสู่ระดับโลกได้เพราะเป็นผู้มีฝีมือเก่งมาก
นายวีรศักดิ์กล่าวว่า สถานการณ์ รายได้ของ ปตท.จีซีเมื่อปี2554 ทำได้ราว 5 แสนล้านบาท ตั้งเป้าปี 2555 จะเติบโตมากกว่าเดิมหรือไม่ขึ้นกับปัจจัยราคาและความสามารถด้านผลิตด้วย จึงประกาศใช้งบฯ 1.35 แสนล้านบาท พัฒนาการลงทุนภายใน 5 ปีข้างหน้า ส่วนการรีไฟแนนซ์และจัดหาเงินลงทุนนั้นจะทยอยออกหุ้นมูลค่า 60,000 ล้านบาท ซึ่งต้องรอจังหวะเหมาะสมกับความต้องการใช้อาจจะเริ่มทันทีปีนี้หรือไม่คงต้องดูอีกครั้ง
"ขณะนี้อยู่ระหว่างการประมูลโครงการลงทุนอาจจะเป็นขนาดใหญ่ ในลักษณะเป็นเจ้าของคนเดียวหรือร่วมทุน สัดส่วนการถือหุ้นขึ้นอยู่กับการเจรจา จะเน้นไลน์การผลิตโพลียูรีเทน โพลีคาร์บอเนต และไบโอพลาสติก"
นายวีรศักดิ์กล่าวว่า ยังไม่สามารถระบุได้ว่าโครงการดังกล่าวจะอยู่ในหรือนอกประเทศ แต่ยอมรับตลาดอาเซียนมีความน่าสนใจพอสมควร ปัจจุบันยังเติบโตน้อยกว่าศักยภาพที่มีอยู่ อนาคตมีโอกาสขยายได้อีกมาก โดยเฉพาะไทยซึ่งเป็นศูนย์การผลิตสำคัญของอาเซียน มีสินค้าเคมีภัณฑ์ผลิตได้เกินความต้องการในประเทศ จึงต้องส่งออกเมื่อเปิดตลาดเออีซีจะมีปัจจัยสนับสนุนที่เป็นประโยชน์ต่อไป
ทั้งนี้ บริษัท ปตท. โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) แบ่งการดำเนินงานเป็น 7 กลุ่มธุรกิจหลักประกอบด้วย 1.กลุ่มผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมและสาธารณูปการ 2.กลุ่มผลิตภัณฑ์อะโรเมติกส์ 3.กลุ่ม ผลิตภัณฑ์โอเลฟินส์ 4.กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ โพลีเมอร์ 5.กลุ่มธุรกิจผลิตภัณฑ์ เอทิลีนออกไซด์ 6.กลุ่มธุรกิจกรีนเคมิคอล
และ 7.กลุ่มผลิตภัณฑ์ชนิดพิเศษ หรือ high volume specialties โดยบริษัทมีความเข้มแข็งจากความหลากหลายและ ครบวงจร (fully integrated) ของผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้งสายโอเลฟินส์และ อะโรเมติกส์ ที่เสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันและลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาและการแข่งขันในธุรกิจปิโตรเคมี โดยปัจจุบันบริษัทมีกำลังการผลิตปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์รวม 8.2 ล้านตันต่อปี และกำลังการผลิตปิโตรเลียมจำนวน 228,000 บาร์เรลต่อวัน
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 04, 2012 11:21 am
โดย pak
ปิโตรนาสสำรวจพม่า
Source - โลกวันนี้ (Th), Wednesday, April 04, 2012
กองบรรณาธิการ [email protected]
กัวลาลัมเปอร์ : เว็บไซต์หนังสือพิมพ์เดอะสตาร์ของมาเลเซียรายงานว่า ปิโตรเลียม นาซันนัล (ปิโตรนาส) ของมาเลเซีย และ ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม (ปตท.สผ.) ของไทย ได้รับสัมปทานสำรวจบ่อพลัง งานบนฝั่งของพม่า โดยผู้บริหารของปิโตรนาสเผยว่า ปิโตรนาส และ ปตท.สผ. ได้รับสัมปทานสำรวจบริษัทละ 2 บ่อ เป็นเรื่องน่าสนใจมาก เพราะพม่ายังล้าหลังในการผลิตน้ำมันและก๊าซ อุปกรณ์ที่ใช้มีเพียงไม้ไผ่และท่อพลาสติก ทำให้ไม่สามารถขุดเจาะได้ลึกเท่าที่ควร เพราะขาดทั้งเทคโนโลยีและความเชี่ยว ชาญ และพม่าเป็นประเทศแรกที่ปิโตรนาสขยายธุรกิจไปต่างประเทศ โดยเข้าไปนานกว่า 22 ปีแล้ว
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 04, 2012 11:26 am
โดย pak
Column: INBrief: B9.3bn PTTEP loan
Source - Bangkok Post (Eng), Wednesday, April 04, 2012
FINANCE:PTT Exploration and Production Plc has signed an agreement for a C$300 million (9.3 billion baht)loan to fund its Kai Kos Dehseh oil sands project in Canada, according to a statement from the company.
The agreement was signed with Bank of Tokyo-Mitsubishi UFJ Ltd.,Mizuho Corporate Bank Ltd. and Sumitomo Mitsui Banking Corp,according to the statement.
PTTEP shares closed yesterday on the SET at 179.50 baht, up 3 baht, in trade worth 1.19 billion baht.
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 04, 2012 4:38 pm
โดย pak
ว่าแล้ว! แห้วบ่อน้ำมันพุทธมณฑล [ ไทยรัฐ, 4 เม.ย. 55 ]
นายศุภฤกษ์ สิตะหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักจัดการเชื้อเพลิงธรรมชาติ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ เปิด
เผยว่า ขณะนี้บริษัทมิตราเอ็นเนอยี่ จำกัด จากประเทศอังกฤษ ซึ่งได้รับสัมปทานปิโตรเลียมเพื่อสำรวจ
ปิโตรเลียม บริเวณถนนพุทธมณฑลสาย 2 เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ได้หยุดการสำรวจปิโตรเลียม
แหล่งดังกล่าวแล้วตั้งแต่ 2 เม.ย. ที่ผ่านมา เนื่องจากไม่พบร่องรอยของแหล่งน้ำมันหรือก๊าซธรรมชาติใดๆ
ทั้งสิ้น โดยผลจากการขุดเจาะพบโครงสร้างชั้นหินเป็นลักษณะเปิดหมดไม่มีชั้นหินเนื้อแน่นปิดทับ ซึ่งลักษณะนี้
ทำให้ไม่พบร่องรอยของแหล่งปิโตรเลียมใด ๆ ทั้งสิ้นทำให้ตัดสินใจหยุดการสำรวจปิโตรเลียมบริเวณพุทธ
มณฑลสาย 2 ดังกล่าว
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 04, 2012 7:23 pm
โดย sirimethagul
พลังงานทุบสูตรโครงสร้างเอ็นจีวี ยกแรก5เม.ย.ชงเลือก3ทางเชียร์ลดต้นทุนผสมCo2
ลั่นแผนปรับโครงสร้างพลังงาน ยกแรกได้ข้อสรุปแน่ 5 เม.ย.นี้ สูตรลดต้นทุนเนื้อก๊าซ นำร่องผสมคาร์บอนไดออกไซต์ใน "เอ็นจีวี" ส่วนการใช้ยังฟุ่มเฟือยเหมือนเดิม เดือน ก.พ.พุ่งถึง 7.7 ล้านกิโลกรัม และแนวโน้มรัฐบาลอาจอุ้มต่อ เพื่อลดราคาสินค้า ค่าขนส่ง ขึ้นฉับพลัน
นายบัณฑิต เอื้ออาภรณ์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยพลังงาน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า จากการร่วมประชุมคณะกรรมการศึกษาต้นทุนก๊าซธรรมชาติ (NGV) ครั้งที่ 2 ความข้อสรุปจากการหารือกันเบื้องต้น คือเรื่องราคาเนื้อก๊าซ เปรียบเทียบระหว่างอ่าวไทย ราคา 7 บาท กับแหล่งพม่า 13 บาท สาเหตุที่ราคาสูงกว่า เพราะพม่าต้องนำเข้าจากต่างประเทศ อีกทั้งต้นทุนการขนส่งสูง ราคาเฉลี่ยจึงอยู่ที่ 8 บาท ไม่รวมก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) แตกต่างจากราคาก๊าซของไทยผูกอยู่กับอัตราแลกเปลี่ยนสกุลเงินบาทกับเหรียญ สหรัฐ จึงเปลี่ยนแปลงไม่มาก
ส่วนราคาในมาเลเซียจำหน่ายถูกกว่าไทยมาก แบบครึ่งต่อครึ่งนั้น เนื่องจากได้รับการอุดหนุนราคาก๊าซเอ็นจีวีจากหน่วยงานรัฐบาลประมาณ 70% ของราคาจำหน่าย เป็นเงินรายได้ที่มาจากการส่งออกน้ำมันของประเทศ ซึ่งมาเลเซียเตรียมวางแผนยกเลิกการอุดหนุนในอีก 4-5 ปีข้างหน้า
"ที่ ประชุมเสนอให้ผสมก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สัดส่วนไม่เกิน 20% ลงไปในก๊าซเอ็นจีวี เพื่อลดต้นทุนเนื้อก๊าซ เพราะถ้าเพิ่มสัดส่วนเข้าไปมากกว่านั้นจะทำให้เครื่องยนต์ไม่ทำงาน จากปัจจุบัน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ผสมอยู่ 12-18% ของสัดส่วนการผลิตก๊าซ"
นายบัณฑิตกล่าวว่า ได้หารือกันอีก 2-3 เรื่อง ได้แก่ 1.ต้นทุนท่อขนส่งก๊าซ 2.ค่าดำเนินการและสร้างสถานีแม่-สถานีลูกมาพิจารณา ซึ่งสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยระบุถึงค่าท่อขนส่งก๊าซขณะนี้อยู่ที่ 70 สตางค์ ค่าดำเนินการอีก 5.56 บาท 3.จะพิจารณาถึงวิธีการปรับลดค่าดำเนินการอีกครั้ง เพราะยังมีความแตกต่างเรื่องนี้ระหว่างบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งมีต้นทุนสูงที่สุด หรือ ปตท.จ้างเอกชน และเอกชนดำเนินการเอง
ทั้ง นี้ ช่วงต้นเดือนเมษายนนี้เตรียมจัดสัมมนาราคาก๊าซเอ็นจีวี เพื่อรับฟังความเห็นจากนักวิชาการและผู้เชี่ยวชาญที่เกี่ยวข้องกับพลังงน จากนั้นจะสรุปทุกอย่างให้แล้วเสร็จในวันที่ 5 เมษายนนี้
นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์ อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แนวทางที่กระทรวงพลังงานเร่งปรับโครงสร้างก๊าซหุงต้มและเอ็นจีวีเป็นวิธีทำ ที่ถูกทาง เพื่อป้องกันประวัติศาสตร์ซ้ำรอยกรณีกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงเคยต้องแบกภาระ หนี้จากการอุดหนุนราคามาแล้ว มูลค่าเกือบแสนล้านบาท อีกทั้งคนไทยเองกลับได้ใช้ก๊าซแอลพีจีราคาถูก คิดเป็นมูลค่ากว่า 1 แสนล้านบาท
กรมธุรกิจพลังงานรายงานสถิติการใช้ก๊าซเอ็นจีวีเมื่อ เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา เฉลี่ย 7.7 ล้าน กก./วัน เพิ่มขึ้น 4% ในราคาขายปลีก 10 บาท/กก.
ทั้งนี้มีรายงานว่า หลังจากที่นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน มีนโยบายให้เร่งสรุปแผนปรับโครงสร้างพลังงานใหม่ โดยให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริง และผ่อนคลายให้ใกล้เคียงกับกลไกราคาตลาดมากที่สุด แต่อุปสรรคสำคัญคือรัฐบาลเกือบทุกยุคมุ่งเน้นใช้ราคาพลังงานสร้างกระแสประชา นิยมติดต่อกันมานานจนเป็นเหตุให้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงต้องแบกภาระหนี้ อีกทั้งยังต้องกู้เงินสำรองเพิ่มตลอดปีนี้เต็มเพดาน 30,000 ล้านบาท
แนว โน้มหากยังไม่สามารถปรับราคาตามจริงได้ภายในอีก 6 เดือนข้างหน้า เงินที่เตรียมไว้อาจจะไม่เพียงพอ แต่รัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็จำเป็นจะต้องทำเพื่อแลกกับเรื่องปากท้องความเป็นอยู่ของผู้บริโภคที่กำลัง ได้รับความเดือดร้อนจากราคาอาหารอุปโภคบริโภค ค่าครองชีพ การขนส่งสูงขึ้นแบบฉับพลัน หลังจากน้ำมันในตลาดโลกผันผวนสะวิงไปมาที่ 116-125 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ถึงแม้
ผู้ผลิตและค้าน้ำมันรายใหญ่ของ โลกคือซาอุดีอาระเบียจะออกมาประกาศพร้อมตรึงราคาไว้ไม่ให้เกิน 116 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรลก็ตาม แต่สถานการณ์ภายในก็ยังมีความเสี่ยงอยู่มาก หากรัฐบาลยังอุดหนุนผู้ใช้ ก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ภาคขนส่งต่อไป ทำให้การนำเข้าเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้นทุกเดือน
ที่มา นสพ.ประชาชาติธุรกิจ
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 05, 2012 2:34 pm
โดย pak
ปตท.'ถกวางท่อก๊าซไทย-พม่า ย้ำต้องหาแหล่งพลังงานเพิ่ม ยันสามารถทน'แผ่นดินไหว'
’Source - มติชน (Th), Thursday, April 05, 2012
เมื่อวันที่ 4 เมษายน ที่ห้องประชุมหลวงปู่สาย เทศบาลตำบลทองผาภูมิ อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดเวทีรับฟังความคิดเห็นเพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพของโครงการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกจากชายแดนไทย-พม่า มายังสถานีควบคุมความดันก๊าซ ฝั่งตะวันตกที่ 1 พร้อมเสนอแนะประเด็นข้อห่วงกังวลของผู้มีส่วนได้เสียจากโครงการ โดยมี นายพิพัฒน์ ศังขะฤกษ์ ปลัดจังหวัดกาญจนบุรี เป็นประธาน มีหน่วยงานภาครัฐ เอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และประชาชน เข้าร่วมกว่า 200 คน
นายจิร จบหิมเวศน์ ผู้จัดการฝ่ายสนับสนุนโครงการ กล่าวว่า โครงการนี้เกิดขึ้นจากคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในมติของคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ครั้งที่ 2/2553 เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 เรื่องแผนการจัดหาก๊าซธรรมชาติในระยะยาว และการทบทวนแผนแม่บทระบบท่อส่งก๊าซ ฉบับที่ 3 พ.ศ.2544-2554 ซึ่งมอบหมายให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำหน้าที่จัดหาก๊าซธรรมชาติ และขยายโครงข่ายระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงทางด้านพลังงานให้กับประเทศ และรองรับการขยายตัวของความต้องการใช้ประโยชน์จากก๊าซธรรมชาติที่เพิ่มมาก ขึ้นทั้งในภาคการผลิตกระแสไฟฟ้าภาคอุตสาหกรรม และภาคคมนาคมขนส่ง
สำหรับโครงการนี้เป็นการวางท่อส่งก๊าซเพิ่มเติมจากท่อส่งก๊าซเดิมจากบ้านอีต่อง ต.ปิล๊อก อ.ทองผาภูมิ จ.กาญจนบุรี ไปยังโรงไฟฟ้าราชบุรี ต.พิกุลทอง อ.เมือง จ.ราชบุรี ความยาว 260 กม. ซึ่งก่อสร้างแล้วเสร็จไปประมาณ 12 ปี โดยเป็นท่อขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 28 นิ้ว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นบริเวณจุดส่งมอบก๊าซธรรมชาติบริเวณชายแดนประเทศไทย-พม่า ที่ช่องทางมิตรภาพ ใกล้ฐานปฏิบัติการตำรวจตระเวนชายแดน 135 (ตชด.135) โดยจะวางขนานกับเขตทางของถนน จากนั้น จะวางขนานกับท่อก๊าซ ปัจจุบันไปสิ้นสุดที่สถานีควบคุมก๊าซฝั่งตะวันตกที่ 1 ในพื้นที่หมู่ 1 บ้านอีต่อง รวมระยะทางประมาณ 600 เมตร โดยมีแผนการก่อสร้างภายในไตรมาสที่ 2 พ.ศ.2556 ใช้ระยะเวลาในการก่อสร้าง 6 เดือน
"ข้อกังวลในเรื่องของแผ่นดินไหว ทาง ปตท ศึกษาพื้นที่รอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ และรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์ พบว่า ในปี 2526 อยู่ที่ความแรงขนาด 5.9 ริกเตอร์ ซึ่งท่อส่งก๊าซได้ออกแบบเพื่อทนแรงสั่นสะเทือนได้ขนาด 7 ริกเตอร์ กรณีที่จุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่แนวท่อส่งก๊าซ จะสามารถทนแรงได้ 6.4 ริกเตอร์ และหากจุดศูนย์กลางของแผ่นดินไหวห่างออกไปประมาณ 8 กม. จะสามารถทนแรงสั่นสะเทือนได้ 8 ริกเตอร์ ซึ่งหากเกิดแผ่นดินไหวตัวท่อส่งก๊าซจะมีความยืดหยุ่นที่สามารถเคลื่อนตัวได้ ประมาณ 50 เซนติเมตร โดยไม่แตกหัก นอกจากนี้ การเกิดไฟป่าในบริเวณแนวท่อส่งก๊าซก็จะไม่ส่งผลต่อท่อส่งก๊าซ" นายจิรกล่าว
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 05, 2012 4:06 pm
โดย pak
**(เพิ่มเติม) IRPC คาดรายได้ปี 55 โต 15% จาก 2.3 แสนลบ.ปีก่อน, รักษา EBITDA 9 พันลบ.
อินโฟเควสท์ (5 เม.ย. 55)--นายอธิคม เติบศิริ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บมจ. ไออาร์พีซี (IRPC) เปิดเผยว่า ในปี 55 คาดว่ารายได้จะเติบโต 15% จากปีก่อนที่ 2.3 แสนล้านบาท ทั้งนี้เป็นการเติบโตจากรายได้โรงไฟฟ้าที่ปีนี้จะรับรู้เต็มปี รวมถึงไม่มีแผนปิดซ่อมบำรุงใหญ่เหมือนปีก่อนที่ปิดซ่อมถึง 49 วัน
อย่างไรก็ตาม ราคาผลิตภัณฑ์และส่วนต่างราคาผลิตภัณฑ์กับต้นทุนวัตุถุดิบ เป็นเรื่องที่ยากจะประมาณการเพราะราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับสูงและผันผวนตามสถานการณ์ในตะวันออกกลาง รวมทั้งแนวโน้มเศรษฐกิจที่ยังไม่เห็นการฟื้นตัวอย่างชัดเจน แต่ยังเชื่อว่าปีนี้ จะพยายามรักษากำไรก่อนหักภาษี ดอกเบี้ย ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ให้อยู่ระดับ 9 พันล้านบาท
นอกจากนี้ปีนี้ บริษัทมีแผนลงทุนเพิ่มจากโครงการฟินิกซ์ ที่มีมูลค่าโครงการรวม 1.4 พันล้านเหรียญ ซึ่งปีนี้จะมีการลงทุนโครงการใหญ่ที่สุดในโครงการโพรพีลิน งบลงทุน 1 พันล้านเหรียญ คาดว่าจะเริ่มก่อสร้างได้ในปีนี้ และจะแล้วเสร็จเปิดเชิงพาณิชย์ได้ปี 58
หลังจากโครงการโพรพิลีนแล้วเสร็จ คาดว่าบริษัทจะสามารถเดินกำลังการกลั่นได้เต็มที่ 2.1 แสนบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่มีกำลังการกลั่นยังไม่เต็มกำลังการผลิต ซึ่งการลงทุนในโครงการฟีนิกซ์ถือว่าดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง โดยจะแล้วเสร็จทั้งโครงการในปี 57 หากทุกโครงการแล้วเสร็จ จะสร้างผลตอบแทนให้กับบริษัทและผู้ถือหุ้น
สำหรับโครงการต่อยอดจากโพรพิลีนคือโครงการโพลีโพธิลีนซึ่งเป็นปิโตรเคมีเกรดพิเศษ นายอธิคมกล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการหาพันธมิตรร่วมทุน เพื่อต่อยอดด้านเทคโนโลยีให้กับบริษัท คาดว่ากลางปี 55 จะได้ข้อสรุปผู้ร่วมทุน โดยขณะนี้ ได้มีบริษัทที่มีเทคโนโลยีแสดงความสนใจมากกว่า 1 ราย ที่จะเข้าร่วมทุนกับบริษัท และยื่นข้อเสนอให้บริษัทพิจารณา ซึ่งบริษัทจะเป็นถือหุ้นใหญ่ในบริษัทร่วมทุน ทั้งนี้ โครงการนี้จะแล้วเสร็จสอดคล้องกับโครงการโพรพิลีน
สำหรับโครงการลงทุนอื่นๆ บริษัทยังคงมองการลงทุนในธุรกิจนิคมอุตสาหกรรม โดยมองว่า ความต้องการพื้นที่อุตสาหกรรมภาคตะวันออกเพิ่มขึ้น หลังจากเกิดอุทกภัย ซึ่งบริษัทเห็นโอกาสในจุดนี้ แต่ยังไม่ได้รับใบอนุญาตดำเนินการนิคมอุตสาหกรรมที่ระยอง
ส่วนที่ดิน ใน อ.จะนะ จ.สงขลานั้น บริษัทได้เซ็นสัญญา MOU กับ บมจ.ปตท (PTT) ในการศึกษาก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และคาดว่าจะมีความเป็นไปที่จะลงทุนต่อเนื่องในโครงการนี้
--จบ--
--อินโฟเควสท์ โดย สารภี สายะเวส/รัชดา โทร.02-2535000 ต่อ 317 อีเมล์:
[email protected]--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: ศุกร์ เม.ย. 06, 2012 12:53 pm
โดย pak
อ่านใจ!'โมเบียส'แบบเต็มๆกับเหตุผลชูหุ้น'แบงก์-พลังงาน'
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ , วันที่ 6 เมษายน 2555 10:00
'โมเบียส'ชูหุ้นแบงก์-พลังงานเด่น ยกตลาดเกิดใหม่-ไทยน่าลงทุนที่สุด 3 ปีพม่าน่าสนใจเข้าไปลงทุน 3 ภาค'พลังงาน- การผลิตท้องถิ่น-การบริโภค'
news_img_445757_1.jpg
นายมาร์ค โมเบียส ประธานบริหารเทมเพิลตัน อีเมอร์จิ้ง มาร์เก็ตส์ ให้ข้อมูลภายหลังการนำเสนอเรื่อง “ผจญภัยการลงทุนไปกับ มาร์ค โมเบียส ในตลาดเกิดใหม่” ซึ่งจัดโดย บลจ.กรุงศรี เมื่อวานนี้ (5 เม.ย.) ว่า แนวโน้มตลาดหุ้นเกิดใหม่ในระยะ 5-10 ปีที่ผ่านมาให้ผลประกอบการโดดเด่นค่อนข้างดีกว่าตลาดสหรัฐและตลาดหุ้นทั่วโลก และช่วง 5 ปีที่ผ่านมาระหว่างปี 2550 จนถึงต้นปี 2555 พบว่าตลาดหุ้นละตินอเมริกาให้ผลตอบแทนดีกว่าตลาดหุ้นเกิดใหม่อื่นโดยรวม
ทั้งนี้ นายโมเบียส เจาะจงว่า ในกลุ่มตลาดเกิดใหม่กว่า 40 ประเทศนั้นเขามองตลาดแนวหน้า (frontier markets) ในแอฟริกา ตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออกและเอเชียหลายแห่งโดดเด่นดึงดูดใจมากที่สุด ประกอบด้วย ไนจีเรีย, เวียดนาม, คาซัคสถาน, ยูเครน, เคนยา, กานา, ซาอุดีอาระเบีย, กาตาร์, อียิปต์และโรมาเนีย
สำหรับตลาดหุ้นไทยนั้นเขายังให้น้ำหนักลงทุนอย่างมากและเขาขอเป็นนักลงทุนระยะยาว ซึ่งแม้ต้องคอยตอบคำถามลูกค้าทั้งในยุโรปและสหรัฐเกี่ยวกับปัญหามากมายเกิดขึ้นในไทย และมีแต่ข่าวร้ายมากมายออกมาให้เห็น แต่กองทุนของเขายังลงทุนต่อไปหลังจากลงทุนในไทยมานานกว่า 20 ปีแล้ว
นายโมเบียส อธิบายว่า คนไทยทำงานหนักสามารถผ่านพ้นช่วงแห่งความยากลำบากมาได้ตลอด บริษัทไทยทำธุรกิจได้ดีมาก ในช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุด ไม่ว่าจะเกิดปัญหาน้ำท่วมหนัก การเมืองไม่แน่นอน แต่ไทยยังไปได้ดีเขาจึงยังลงทุนระยะยาวในไทยต่อไป และแม้ตลาดหุ้นไทยปรับขึ้นไปมากแล้ว แต่กองทุนของเขายังมองตลาดหุ้นไทยแง่ดี และคาดว่าปีนี้ ผลตอบแทนที่จะได้จากหุ้นจะมากกว่าอัตราผลตอบแทนจากเงินฝาก 2 เท่า
“เราคึกคักกับการลงทุนในหุ้นไทย โดยกลุ่มแบงก์กับพลังงานเป็นหุ้น 2 กลุ่มน่าสนใจ พิจารณาจากไทย มีการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน รายได้ประชากรขยายตัว และผู้คนบริโภคมากขึ้น ส่วนปัจจัยเสี่ยง สำหรับตลาดหุ้นไทย อาจขึ้นอยู่กับเพื่อนบ้าน เช่นเศรษฐกิจจีนไม่ดี หรือ กัมพูชา ลาว และ เวียดนาม อยู่ในช่วงการเปลี่ยนแปลงไม่เติบโตไปตามแนวโน้มการค้าเพิ่มขึ้น แต่ผมเชื่อว่าความเสี่ยงดังกล่าวไม่น่าจะเกิดขึ้น และอาเซียนน่าจะโตได้อีก”
ต่อข้อถามที่ว่า พม่าเป็นหนึ่งในตลาดแนวหน้าหรือไม่ นายโมเบียส กล่าวว่าพม่าเป็นตลาดแนวหน้าได้แต่เร็วไปที่จะพูดถึง อย่างไรก็ตาม เขามองอีก 2-3 ปีหน้าพม่าน่าสนใจเข้าไปลงทุน 3 ภาคธุรกิจ คือ พลังงาน การผลิตระดับท้องถิ่นและการบริโภค เนื่องจากพม่าอยู่ติดกับจีนและอินเดีย มีทรัพยากรอยู่มาก ล้วนเป็นปัจจัยที่ช่วยพม่าไปได้ดีกว่าเพื่อนบ้าน แต่พม่าต้องพัฒนาตลาดเงินกับค่าเงิน และพัฒนาระบบธนาคารกับสาธารณูปโภคให้ดีก่อน
นายโมเบียส เชื่อด้วยว่าตลาดหุ้นเกิดใหม่สำคัญมากขึ้นเรื่อยๆ พิจารณาจากสถิติมูลค่าตามราคาตลาดรวม (มาร์เก็ตแคป) ในปี 2536 อยู่ที่ประมาณ 15% ของมาร์เก็ตแคปตลาดหุ้นทั่วโลก แต่มาในปี 2554 มาร์เก็ตแคปของตลาดหุ้นใหม่เพิ่มเป็น 34% ของมาร์เก็ตแคปตลาดหุ้นทั่วโลก และเม็ดเงินที่ไหลเข้ามาลงทุนในตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้นมากอย่างต่อเนื่อง จาก 1 พันล้านดอลลาร์ ในปี 2538 เป็นกว่า 8 แสนล้านดอลลาร์ ในปี 2554
“เราเชื่อนักลงทุนสถาบันอย่างกองทุนบำเหน็จบำนาญมีแนวโน้มจะเข้ามาลงทุนในตลาดเกิดใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อหวังผลตอบแทนที่ดีและสูงกว่าเดิม และขนาดการเติบโตของกองทุนเทมเพิลตันตลาดเกิดใหม่ ที่ตั้งขึ้นตั้งแต่ปี 2530เริ่มต้นจากสินทรัพย์100ล้านดอลลาร์สหรัฐ ตอนนี้ขนาดสินทรัพย์โตกว่า 500เท่า มาอยู่ที่ 5.2 หมื่นล้านดอลลาร์ สะท้อนการลงทุนตลาดเกิดใหม่มีไซส์เพิ่มขึ้นแต่แนวโน้มยังโตได้อีก เพราะนักลงทุนยังเข้ามาลงทุนตลาดนี้น้อยเกินไป”
นายโมเบียส กล่าวสรุปไว้ก่อนว่า จากปัจจัยพื้นฐานต่างๆ นำมาพิจารณาว่าในระยะ 12 เดือนข้างหน้า สัดส่วนราคาเทียบกำไร หรือ ค่าพีอีของหุ้นตลาดเกิดใหม่โดยรวมในเดือนก.พ. ปีนี้อยู่ที่ 10 เท่าเทียบกับ 28 เท่าในปี 2531 ถือว่าไม่แพงและค่าพีอีหุ้นในตลาดละตินอเมริกาเคยสูงสุด 16 เท่าในปี 2537นั้น ในเดือนก.พ. มาอยู่ที่ 11 เท่า ถือว่าอยู่ระดับกลางๆ ไม่แพง
โดยในการให้ข้อมูลช่วงแรก นายโมเบียสได้อธิบายถึงปัจจัยพื้นฐานต่างๆ ใช้สนับสนุนการลงทุนในตลาดเกิดใหม่โดยเฉพาะตลาดแนวหน้าและละตินอเมริกาว่า พิจารณาจากแนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจตลาดเกิดใหม่คาดว่าอยู่ที่ 5.4%ปีนี้ ซึ่งจะมากกว่าตลาดพัฒนาแล้วคาดว่าจะโตเพียง 0.8% และหากแยกดูรายภูมิภาคเอเชียโตมากสุด 6.7% ตามด้วยแอฟริกา 5.5% ละตินอเมริกา 3.6% และตลาดเกิดใหม่ยุโรป 2.6% ซึ่งเขาตั้งข้อสังเกตว่าด้วยอัตราเติบโตปานกลางทำให้แอฟริกากับละตินอเมริกาน่าสนใจกว่า
“ผมเชื่อว่าตลาดมีการเติบโตทางเศรษฐกิจสูง หมายถึงบริษัทเอกชนเผชิญการแข่งขันสูงการทำกำไรก็ได้น้อยลงในเวลาอันรวดเร็ว ตรงกันข้ามกับเศรษฐกิจขยายตัวน้อยกว่าในแอฟริกากับละตินอเมริกาซึ่งขยายตัวได้ปานกลาง ธุรกิจบางอย่างยังผูกขาดมีการแข่งขันน้อย บริษัทน่าจะทำกำไรจากการลงทุนได้มากขึ้น”
ระหว่างให้ข้อมูลที่ว่าตลาดเกิดใหม่น่าสนใจกว่าตลาดพัฒนาแล้วอย่างไรนั้น นายโมเบียสระบุถึงปัจจัยพื้นฐาน เช่น เงินทุนสำรองของประเทศตลาดเกิดใหม่รวมกันราว 7 ล้านล้านดอลลาร์ มากกว่าประเทศพัฒนาแล้วมีเพียง 3.8 ล้านล้านดอลลาร์ สัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีชาติพัฒนาแล้วโตต่อเนื่องประมาณ 100% ต่อจีดีพี ตรงข้ามกับตลาดเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่องปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 30% ของจีดีพี เมื่อมองเงินเฟ้อกับดอกเบี้ยช่วงปี 2535-2554 พบเงินเฟ้อตลาดเกิดใหม่ลดลงต่อเนื่อง และตั้งแต่ปี 2550 จนถึงต้นปี 2555 ดอกเบี้ยยังอยู่ระดับต่ำ
นอกจากนี้การเพิ่มขึ้นของประชากรเพิ่มขึ้นในตลาดเกิดใหม่ปัจจุบันอยู่ที่ 5.7 พันล้านคน ตรงข้ามตลาดพัฒนาแล้วยังคงอยู่ที่ระดับ 1.1 พันล้านคน รายได้ต่อหัวของประชากรตลาดเกิดใหม่ยังไม่อิ่มตัวหรือน้อยกว่าตลาดพัฒนาแล้ว 10 เท่า ขณะที่จีดีพีเทียบการเติบโตของรายได้ตลาดเกิดใหม่เพิ่มขึ้น 87% ในช่วงเดียวกัน แต่ตลาดพัฒนาแล้วอยู่ที่ 13%
“เรามองดูการบริโภคเครื่องซักผ้า คอมพิวเตอร์ และจักรยานยนต์หรือรถยนต์หรือตู้เย็นในจีนยังต่ำมีโอกาสโตได้อีก ยอดขายรถในจีน อินโดนีเซียและอินเดียช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมามีแนวโน้มเพิ่มต่อเนื่อง อัตราการใช้รถในจีนอินเดีย บราซิล และเม็กซิโก ยังน้อยเทียบกับสหรัฐ ขณะที่การใช้ไฟฟ้าในบราซิล เม็กซิโก ชิลีและอาร์เจนตินา มีแนวโน้มสูงขึ้นต่อเนื่อง”
เมื่อพิจารณาถึงความเสี่ยงนายโมเบียส คิดว่าตลาดเกิดใหม่เสี่ยงน้อยกว่า ตลาดพัฒนาแล้ว เพราะสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีต่ำกว่ามาก และการพึ่งพาตลาดส่งออกไปสหรัฐกับยุโรปก็น้อยลงช่วง 10 ปีที่ผ่านมา ขณะที่การลงทุนในตราสารอนุพันธ์ในตลาดโลกซึ่งเคยเป็นต้นตอวิกฤติซับไพร์มกำลังเติบโตเร็วถือเป็นความเสี่ยงเช่นกัน
นอกจากนี้อุปทานเงินในระบบจากการอัดฉีดกระตุ้นเศรษฐกิจพัฒนาแล้ว หรือความเป็นไปได้เกิดคิวอี3 ทำให้ปัญหาเงินเฟ้ออาจเกิดขึ้นตามมา ก็ก่อเกิดความเสี่ยงเช่นกัน ดังนั้นนายโมเบียสจึงแนะนำให้ป้องกันความเสี่ยงเหล่านี้ด้วยการกระจายการลงทุนในทองคำ กองทุนรวมและหุ้นโดยเฉพาะหุ้นตลาดเกิดใหม่อย่างละตินอเมริกาและตลาดแนวหน้า
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 11, 2012 5:07 pm
โดย pak
ปตท.อัด3พันล.สร้างแบรนด์รับเออีซี
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, April 11, 2012
ปตท.เด้งรับเออีซีแต่งตัวลงทุน-สร้างแบรนด์เจาะตลาดอาเซียนล่าสุดทุ่มงบกว่า3,000ล้านบาทกรุยทางในลาวกัมพูชา และฟิลิปปินส์ ทำปั๊มเกรดพรีเมียมเกือบ90แห่งในช่วง5ปีคาดสร้างรายได้จากการขายน้ำมันเกือบ60,000ล้านบาทพร้อมจีบนักธุรกิจรายใหญ่ในพม่า 2-3รายตั้งปั๊มน้ำมันและออฟฟิศ
นายอรรถพลฤกษ์พิบูลย์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การตลาดพาณิชย์และต่างประเทศ บริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน)(บมจ.) เปิดเผยกับ "ฐานเศรษฐกิจ"ว่าจากที่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนหรือเออีซี จะมีผลในปี2558ทำให้กลุ่มบมจ.ปตท.ได้เตรียมความพร้อมที่จะใช้โอกาสนี้เข้าไปลงทุนในประเทศเพื่อนบ้านมากขึ้นโดยยุทธศาสตร์ที่วางไว้ จะเน้นการสร้างแบรนด์
"พีทีที"หรือPTTให้เป็นที่รู้จักในภูมิภาคนี้ ซึ่งจะใช้ธุรกิจน้ำมันเข้าไปเป็นหัวหอกในการสร้างแบรนด์ในประเทศต่างๆก่อนเพราะสามารถเข้าถึงผู้บริโภคได้
ง่ายรวมถึงการลงทุนในการสร้างปั๊มน้ำมันเกรดพรีเมียมล่าสุด บมจ.ปตท.ได้จัดทำแผนระยะ 5 ปี(2555-2559)ที่มุ่งเน้น3 ประเทศก่อนได้แก่ สปป.ลาว กัมพูชา และฟิลิปปินส์เนื่องจากเป็นประเทศที่บมจ.ปตท.มีธุรกิจสถานีบริการน้ำมันตั้งอยู่ก่อนแล้วและกฎหมายเอื้อต่อการลงทุน โดยตั้งงบลงทุนรวมไว้กว่า 3,000 ล้านบาท ที่คาดว่าจะสร้างยอดจำหน่ายน้ำมันได้ประมาณ1,850 ล้านลิตร ภายในปี 2559 หรือทำให้มีรายได้จากการจำหน่ายน้ำมันประมาณ59,810 ล้านบาท (เทียบจากราคาดีเซล32.33 บาทต่อลิตร) จากปัจจุบันมียอดขายอยู่ที่ 1,340 ล้านลิตร
ทั้งนี้งบลงทุนดังกล่าวแบ่งเป็นการดำเนินงานในสปป.ลาว ในช่วง 5 ปี จะใช้งบลงทุนประมาณ 700 ล้านบาท ผ่านบริษัท พีทีที ลาว จำกัด จะเป็นการเข้าไปปรับปรุงปั๊มน้ำมันขนาดเล็กที่มีอยู่แล้ว 30 แห่ง เพื่อให้เป็นปั๊มมาตรฐานระดับพรีเมียมและให้มีธุรกิจในปั๊มที่ครบวงจรมากขึ้น โดยการขยายปั๊มน้ำมันเพิ่มอีก 30 แห่ง รวมเป็น 60 แห่ง และในเร็วๆนี้ บมจ.ปตท.มีแผนสร้างปั๊มระดับพรีเมียม5-6 แห่ง ตั้งอยู่ที่เวียงจันทน์2 แห่ง แห่งแรกจะแล้วเสร็จกลางปีนี้และแห่งที่ 2 จะแล้วเสร็จต้นปีหน้า รวมถึงหลวงพระบาง 1 แห่ง ปากเซ 1 แห่งที่เหลืออยู่ระหว่างการพิจารณา โดยจะใช้เงินลงทุนก่อสร้างปั๊มแห่งละกว่า 30 ล้านบาท
คาดยอดจำหน่ายโต13%
นายอรรถพล กล่าวว่าภายในสถานีบริการน้ำมันเกรดพรีเมียมจะมีร้านค้าสะดวกซื้อ"ยูเอ็กซ์เพรส" ซึ่งเป็นการร่วมทุนระหว่างนักธุรกิจไทยและสปป.ลาว รวมทั้งมีธุรกิจล้างรถ ธนาคารลาว ขณะที่ บมจ.ปตท.จะนำร้านกาแฟอเมซอนและศูนย์ซ่อมรถโปรเช็กเข้าไปให้บริการในสถานีบริการดังกล่าวด้วยโดยคาดว่าจะทำให้ยอดการจำหน่ายน้ำมันใน สปป.ลาว เพิ่มขึ้น 13% ต่อปี จากปี 2554 ที่จำหน่ายได้100 ล้านลิตร(เฉพาะในบริษัท พีทีทีลาวฯ) และที่ บมจ.ปตท.ส่งจำหน่ายเอง100 ล้านลิตร ตามเป้าหมายอีก 5 ปี จากนี้จะมียอดจำหน่ายเพิ่มเป็น230 ล้านลิตร
เพิ่มปั๊มเกรดพรีเมียมที่กัมพูชา
ขณะที่ประเทศกัมพูชาบมจ.ปตท.มีแผนใช้งบลงทุนประมาณ1,000 ล้านบาท ผ่านบริษัท พีทีทีแคมโบเดีย จำกัดเพื่อดำเนินการปรับปรุงปั๊มที่มีอยู่แล้ว12 แห่ง และเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้ได้เป็น 45 แห่งใน 5 ปีนี้ โดยจะเพิ่มสถานีบริการน้ำมันเกรดพรีเมียมใน3-4 แห่ง ที่จะสร้างขึ้นระหว่างเส้นทางจากพนมเปญไปยังนครโฮจิมินห์ประเทศเวียดนาม ซึ่งคาดว่าจะสร้างแห่งแรกให้แล้วเสร็จในปลายปีนี้และการดำเนินงานดังกล่าวจะทำให้ยอดจำหน่ายน้ำมันในกัมพูชาเติบโต 10% ต่อปี จากปี 2554 ที่มียอดจำหน่าย 270 ล้านลิตร(เฉพาะขายผ่านพีทีที แคมโบเดีย)และที่ บมจ.ปตท.จำหน่ายเองอีก 100 ล้านลิตร จะเพิ่มเป็น 350 ล้านลิตร
มุ่งขายปลีกที่ฟิลิปปินส์
ส่วนการลงทุนในประเทศฟิลิปปินส์นั้น กำลังอยู่ระหว่างการปรับแผนธุรกิจใหม่เนื่องจากที่ผ่านมา บมจ.ปตท. ได้จดทะเบียนเป็นบริษัท พีทีที ฟิลิปปินส์
จำกัด ดำเนินธุรกิจหลายประเภท อาทิ คลังน้ำมัน การผลิตน้ำมันป้อนโรงงานอุตสาหกรรม และทำน้ำมันเครื่องบิน ส่วนใหญ่เป็นการขายส่งขณะที่ยอดขายปลีกน้ำมันผ่านทางสถานีบริการน้ำมันที่มีอยู่34
แห่งยังคงทรงตัวและเติบโตช้า ซึ่งช่วง 5 ปีนี้ตั้งงบการดำเนินงานไว้1,000 ล้านบาทขณะที่แผนใหม่จะมุ่งเน้นการขายปลีกมากขึ้นเพื่อเพิ่มสถานีบริการน้ำมันให้ได้ถึง 60 ปั๊ม ภายใน 5 ปี คาดว่าจะใช้เงินทุนอีกประมาณ 800 ล้านบาท
ทั้งนี้จากการปรับแผนธุรกิจดังกล่าวปตท.คาดว่าจะทำให้ยอดการจำหน่ายน้ำมันเติบโตได้7%ต่อปีโดยยอดจำหน่ายเพิ่มขึ้นจากปีนี้ที่ 640 ล้านลิตร เป็น 840 ล้านลิตร
ประกบทุนพม่ารุกแบรนด์พีทีที
ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ การตลาดพาณิชย์และต่างประเทศ บมจ.ปตท.กล่าวอีกว่าในส่วนของสหภาพพม่าที่กำลังเปิดรับนักลงทุนเข้าไปกลุ่มบมจ.ปตท.ก็มีความสนใจจะเข้าไปลงทุน เพราะปัจจุบันมีการส่งน้ำมันผ่านตามแนวชายแดนอยู่
แล้วประมาณ 20% ของความต้องการใช้ในพม่า แต่การเปิดสถานีบริการน้ำมัน เป็นสิทธิ์ของรัฐบาลหรือบริษัทน้ำมันแห่งชาติดำเนินการเท่านั้นแม้ว่าที่ผ่านมาจะเปิดให้เอกชนของพม่าดำเนินการได้แล้วก็ตามแต่ก็ยังไม่เปิดให้ต่างชาติเข้าไปลงทุน
ดังนั้นการจะสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักจึงจำเป็นต้องหาทางสร้างปั๊มน้ำมันขึ้นมาซึ่งเวลานี้ได้เริ่มหารือกับนักธุรกิจรายใหญ่ของพม่า 2-3 รายแล้ว ก็มีความสนใจแต่รูปแบบการลงทุนนั้นกำลังพิจารณาว่าจะออกมาในแนวทางไหน ระหว่างการร่วมทุนหรือการตั้งเป็นตัวแทนจำหน่ายหรือดีลเลอร์ขึ้นมา และนำแบรนด์ปตท.ไปใช้โดยอยู่ภายใต้การรักษามาตรฐานของบมจ.ปตท.ที่ทำอยู่ในประเทศไทยหากดำเนินการไม่ได้ตามมาตรฐานที่กำหนดก็สามารถยกเลิกการใช้แบรนด์ปตท.ได้ซึ่งในเร็วๆ นี้หากได้ข้อสรุปก็จะมีแผนการลงทุนต่อไป
ล่าสุดเพื่อให้การลงทุนในพม่ามีความชัดเจนขึ้น ทางบมจ.ปตท.ได้มีการเข้าไปตั้งสำนักงานในกรุงย่างกุ้ง เพื่อติดตามสถานการณ์การทำธุรกิจอย่างใกล้ชิดและดูความคืบหน้าในการแก้ไขกฎระเบียบต่างๆ รวมถึงลู่ทางการลงทุนอื่นๆ เพื่อรองรับการเปิดรับนักลงทุนอย่างเต็มรูปแบบแล้วรวมถึงที่ผ่านมาได้มีการจับมือกับนักธุรกิจรายใหญ่ของพม่าเพื่อส่งผลิตภัณฑ์น้ำมันหล่อลื่นไปทดสอบตลาดและสร้างการจดจำแบรนด์สินค้าปตท.แล้ว
"บมจ.ปตท. มีศักยภาพในการแข่งขันและการเข้าไปลงทุนในตลาดอาเซียนได้ภายหลังการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปี 2558 เนื่องจากปตท.ผ่านการแข่งขันทางธุรกิจในตลาดการค้าเสรีมานาน เข้าใจการสร้างแบรนด์สินค้าได้เป็นอย่างดี"นายอรรถพล กล่าว
ผุดสถานีบริการเส้นทางหลัก
อย่างไรก็ตามในอนาคต บมจ.ปตท.มีแนวทางจะสร้างสถานีบริการน้ำมันตามเส้นถนนสายหลักที่จะเชื่อมต่อประเทศสมาชิกอาเซียนเข้าด้วยกันซึ่งการสร้างสถานีบริการน้ำมันเป็นเพียงการมุ่งเน้นสร้างตราสัญลักษณ์ปตท.ให้เป็นที่จดจำ ภายใต้มาตรฐาน 3 Good คือ ผลิตภัณฑ์ที่ดี บริการที่ดี และคุณภาพที่ดี ก่อนที่จะนำธุรกิจอื่นๆในเครือปตท.เข้าไปสู่การลงทุนระยะยาวในอาเซียนต่อไป
นายอรรถพล กล่าวเพิ่มเติมอีกว่าในส่วนของการลงทุนสร้างสถานีบริการน้ำมันในประเทศจีนนั้นค่อนข้างเป็นไปได้ยากเนื่องจากรัฐบาลจีนยังคงดูแลบริษัทน้ำมันแห่งชาติของจีนอยู่และมีกฎระเบียบยุ่งยากต่อการสร้างสถานีบริการน้ำมัน โดยกำหนดให้การสร้างสถานีบริการน้ำมัน1 แห่งต้องจดทะเบียนเป็นบริษัทหนึ่งบริษัทเป็นต้น แต่ที่ผ่านมาก็มีการจับมือกับบริษัทYunan Investment Banna Petrochemical จำกัด เพื่อส่งน้ำมันเครื่องบินและน้ำมันดีเซลของไทยไปจำหน่ายยังจีนผ่านเส้นทางถนนNorth-South Corridor หรือเส้น R3 ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างคุนหมิงประเทศจีนจนถึงจังหวัดเชียงรายของไทย
ส่วนประเทศเวียดนามนั้น บมจ.ปตท.ยังไม่สนใจเข้าไปลงทุนสร้างสถานีบริการน้ำมันเนื่องจากกฎหมายของเวียดนามยังมีลักษณะเข้มงวดและรักษาไว้เพื่อคนในประเทศเป็นหลัก บมจ.ปตท.จึงเริ่มต้นเพียงการส่งน้ำมันหล่อลื่นแบรนด์ปตท. เข้าไปจำหน่ายก่อน ส่วนประเทศมาเลเซียนั้นบมจ.ปตท.ยังไม่สนใจลงทุนเนื่องจากกฎหมายไม่เอื้อต่อนักลงทุนต่างชาติ
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 11, 2012 5:08 pm
โดย pak
แผนแสนล้านบูม'กม.11'ร.ฟ.ท.ได้ข้อสรุปพัฒนาที่ผืนงามกว่า 300 ไร่/ปตท.-เซ็นทรัล จ้องร่วมทุน
Source - ฐานเศรษฐกิจ (Th), Wednesday, April 11, 2012
การรถไฟฯได้ข้อสรุปสุดท้ายแผนพัฒนาพื้นที่กว่า300ไร่ "กม.11"ย่านพหลโยธินมูลค่าลงทุนกว่าแสนล้านแบ่ง6โซนครบครันทั้งสนามไดรฟ์กอล์ฟบ้านพักอาศัยอาคารสำนักงานยันศูนย์การค้าคมนาคมเปิดไฟเขียวเร่งรัดกระบวนการหวังเปิดประมูลภายในปีนี้ปตท.จับจองขยายศูนย์พลังงานส่วนเซ็นทรัล เล็งร่วมทุนโรงแรม-พลาซา
ตามที่การรถไฟแห่งประเทศไทย(ร.ฟ.ท.)มีแผนการพัฒนาพื้นที่ของร.ฟ.ท.ในย่านต่างๆโดยเฉพาะโครงการระดับเมกะโปรเจ็กต์เพื่อหารายได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ อาทิ โครงการมักกะสันคอมเพล็กซ์โครงการสถานีแม่น้ำย่านช่องนนทรีและโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณกิโลเมตรที่11 ย่านพหลโยธินโดยได้มีการศึกษาความเหมาะสมเบื้องต้นแล้วนั้น ล่าสุดเมื่อวันที่ 4 เมษายนที่ผ่านมาบริษัทไทยเอ็นยิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ส จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาความเหมาะสมและออกแบบเบื้องต้นโครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณกิโลเมตรที่11 ย่านพหลโยธินได้นำส่งรายงานฉบับสมบูรณ์ต่อผู้บริหารร.ฟ.ท.
ลุ้นครม.ไฟเขียว
นายประเสริฐ อัตตะนันทน์ รองผู้ว่าการ ร.ฟ.ท. เปิดเผย "ฐานเศรษฐกิจ"ว่า โครงการพัฒนาพื้นที่บริเวณกิโลเมตรที่11 ย่านพหลโยธิน รวมขนาดพื้นที่ประมาณ 359 ไร่ คาดว่ามูลค่าการลงทุนมากกว่า 1 แสนล้านบาท ตามขั้นตอนต้องนำเสนอต่อคณะกรรมการร.ฟ.ท.ชี้ชัดเรื่องกฎหมายตามพระราชบัญญัติการร่วมทุน(พ.ร.บ.2535)ต่อไปเนื่องจากมูลค่าการลงทุนในโครงการนี้เกิน1 พันล้านบาทจากนั้นจะนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาเห็นชอบของกระทรวงคมนาคมนำเสนอไปที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.)เพื่อพิจารณานำเข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)อนุมัติให้ดำเนินการตามแผนพัฒนาต่อไปซึ่งหากไม่สะดุดปัญหาความล่าช้าต่างๆภายในปลายปีนี้น่าจะเห็นความชัดเจนมากยิ่งขึ้น
จัด6โซนรองรับนักลงทุน
นายไพศาล ทรัพย์รุ่งโรจน์ ผู้อำนวยการฝ่ายบริหารทรัพย์สินร.ฟ.ท.กล่าวว่าจากพื้นที่359 ไร่ จะใช้พัฒนาได้ประมาณ 279 ไร่เนื่องจากส่วนหนึ่งเป็นสระน้ำและสวนสาธารณะโดยมีแนวคิดด้านการจัดประเภทการใช้ที่ดินแบ่งออกเป็นแต่ละโซนดังนี้คือ1.พื้นที่เพื่อนันทนาการ2.พื้นที่เพื่อรองรับพนักงานร.ฟ.ท.ที่ทำการส่วนราชการ3.พื้นที่กลุ่มอาคาร
สำนักงานและพาณิชยกรรม4.พื้นที่สวนและลานกิจกรรมกลางแจ้ง5.พื้นที่กลุ่มอาคารและสำนักงานด้านพลังงานแห่งชาติ 6.พื้นที่ศูนย์ประชุม ศูนย์แสดงสินค้า และโรงแรม
ปัจจุบันการจัดสรรพื้นที่ดังกล่าวเสร็จสมบูรณ์แล้วโดยโซนพื้นที่เพื่อนันทนาการประมาณ 90 ไร่ มีทั้งศูนย์กีฬากลางแจ้งและในร่มจุดเด่นอยู่ที่มีการติด
ตั้งชิงช้าสวรรค์ขนาดยักษ์บนพื้นที่ประมาณ 46 ไร่ให้เป็นจุดชมวิวได้ทั่วทั้งพื้นที่อีกทั้งยังมีอาคารพาณิชย์อีกประมาณ9 ไร่ มีคลับเฮาส์และสนามซ้อมกอล์ฟพื้นที่ 34 ไร่ ส่วนพื้นที่รองรับพนักงานการรถไฟฯจะเป็นรูปแบบที่พักอาศัยอาคารสูงตั้งแต่ 5-30 ชั้น มีตลาด ร้านค้าสูง 10 ชั้น โดยจะมีการสร้างให้แล้วเสร็จก่อนย้ายพนักงานไปอยู่ในอาคารทั้งหมด ขนาดพื้นที่ตั้งแต่ 5,670-168,000 ตารางเมตร
นอกจากนี้ยังมีพื้นที่ศูนย์การค้าเซอร์วิสอพาร์ตเมนต์ อาคารสำนักงานพื้นที่กิจกรรมกลางแจ้ง อาคารจอดรถให้บริการจัดอยู่ในโซนใกล้ทางด่วนต่อเนื่องกับถนนกำแพงเพชร 2 สำหรับพื้นที่กลุ่มอาคารสำนักงานด้านพลังงาน ประมาณ67 ไร่ ส่วนใหญ่จะอยู่โซนด้านหลังอาคารเอนเนอร์ยี่ คอมเพล็กซ์
"คาดว่าจะทราบความชัดเจนในปีนี้ส่วนปี2556 คาดว่าจะนำออกประกาศหาผู้ร่วมทุนต่อไปส่วนการก่อสร้างจะเริ่มในโซนด้านที่พักอาศัยพนักงานก่อนส่วนโซนอื่นๆหากผู้ร่วมทุนสามารถดำเนินการควบคู่กันไปได้ก็ให้ทำได้ทันทีล่าสุดทราบว่าบริษัทปตท.จำกัด(มหาชน)ให้ความสนใจในการพัฒนาโซนที่5 เช่นเดียวกับโซนที่ 6 ค่ายเซ็นทรัลก็ตอบรับนโยบายและติดตามผลอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด คาดว่าปี 2556 จะเริ่มงานก่อสร้างหากไม่ติดปัญหาใดๆ ในเบื้องต้นประมาณการว่าระยะ5-10 ปีแรกน่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้ร.ฟ.ท.ไม่ต่ำกว่า10,000 ล้านบาท"
"ชัจจ์"ดันให้เกิดในปีนี้
พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคมกล่าวว่าโครงการดังกล่าวทราบว่ามีการพยายามเร่งผลักดันมาโดยตลอดแต่ก็พบปัญหาความล่าช้าในหลายๆ เรื่องโดยเฉพาะผลการศึกษาขณะนี้เมื่อปรากฏความชัดเจนแล้วก็จะเร่งผลักดันให้เห็นผลชัดเจนขึ้นในปีนี้เพื่อปีหน้าจะสามารถนำประกาศหาผู้ร่วมทุนต่อไปคาดว่าจะได้รับการตอบรับจากนักลงทุนทั้งภายในและต่างประเทศ เนื่องจากอยู่ในทำเลที่ดี
"ต้องเร่งรัดให้กระบวนการต่างๆแล้วเสร็จทั้งหมดในปีนี้เพราะยืดเยื้อมานานแล้วประการสำคัญต้องให้แล้วเสร็จทันรองรับกับการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าสายสีแดงและสถานีกลางบางซื่อ นอกจากนั้นยังจะเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ตลาดนัดจตุจักรและทำเลใกล้เคียงอีกมากมาย"
พล.ต.ท.ชัจจ์กล่าวอีกว่านอกจากนั้นยังได้มอบหมายให้การรถไฟฯไปเร่งพัฒนาพื้นที่โซนใกล้กับอาคารร.ส.พ.เดิมที่คาดว่ามีพื้นที่มากกว่า2-3 ไร่ ไปพัฒนาให้เป็นที่พื้นตลาดกลางคืนในรูปแบบไนต์มาร์เก็ต ที่สามารถเปิดให้บริการได้ตั้งแต่เที่ยงวันไปจนถึงเที่ยงคืนเนื่องจากปัจจุบันพื้นที่ส่วนหนึ่งได้เปิดบริการตอนค่ำคืนอยู่แล้วจึงต้องการให้จัดโซนพื้นที่เต็มรูปแบบจริงๆมีทั้งการซื้อขายสินค้าและมุมพักผ่อนรองรับทั้งผู้ค้าชาวไทยประชาชนทั่วไปตลอดจนนักท่องเที่ยวนานาชาติ
"จะมอบหมายให้การรถไฟฯไปตรวจสอบดูว่าสามารถกันพื้นที่ส่วนหนึ่งในโซนดังกล่าวเพื่อใช้เป็นที่จอดรถได้หรือไม่ เพราะทำเลในโซนนี้อยู่ใกล้ทางขึ้น-ลงทางด่วนไม่ห่างจากจุดขึ้นลงรถไฟใต้ดินและตลาดอ.ต.ก.เท่าใดนักปัจจุบันมีการปรับพื้นที่บางส่วนต่อเนื่องจากอ.ต.ก.รองรับไว้แล้วนอกจากนั้นในอนาคตหากมีการเปิดใช้สถานีกลางบางซื่อยังใช้เป็นที่รองรับหรือจุดพักรอผู้โดยสารรถไฟและรถไฟฟ้าได้อีกด้วยดังนั้นหากสามารถพัฒนาได้เต็มรูปแบบน่าจะจัดสัดส่วนย่านจตุจักรให้เป็นรูปเป็นร่างมากยิ่งขึ้น"
จ่อชงมักกะสันคอมเพล็กซ์
ทั้งนี้ นอกเหนือจากการนำเสนอบอร์ด ร.ฟ.ท.ชี้ชัดความชัดเจนเรื่องพ.ร.บ.ร่วมทุนโครงการพัฒนาพื้นที่กม.11แล้วในอีก2 โครงการคือ มักกะสัน คอมเพล็กซ์และโครงการพัฒนาสถานีแม่น้ำ ย่านช่องนนทรี โดยมักกะสัน คอมเพล็กซ์ปัจจุบันยังรอความชัดเจนในโครงการรถไฟสายสีแดงช่วงบางซื่อ-รังสิตที่เป็นการอำนวยความสะดวกในการเดินทางให้พนักงานการรถไฟฯที่จะย้ายไปอยู่พื้นที่บ้านภาชีจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
สำหรับพื้นที่จำนวน 247 ไร่ ย่านมักกะสันทั้ง 4 โซน ในโซน A มีพื้นที่ประมาณ 139 ไร่ ใกล้สถานีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิงค์เหมาะที่จะพัฒนาเป็นส่วนธุรกิจการค้า-ค้าปลีก ศูนย์ธุรกิจปลอดภาษี อาคารจอดรถ โซน B พื้นที่ 117 ไร่เหมาะสำหรับพัฒนาเป็นส่วนธุรกิจสำนักงาน ออฟฟิศ อาคารที่พักอาศัย ในรูปแบบอาคารสัญลักษณ์ของเมืองกรุงเทพมหานคร โซน C ขนาด 151 ไร่ จัดเป็นส่วนแสดงสินค้าศูนย์นิทรรศการอาคารจอดรถ โรงเรียนนานาชาติ ศูนย์เวชภัณฑ์และศูนย์อาหารโลก และโซนD ขนาด 88 ไร่ จัดเป็นศูนย์กลางแฟชั่นโรงแรม ที่พักอาศัย อาคารจอดรถ ร้านค้าปลีกและภัตตาคาร โดยพื้นที่มักกะสันแต่ละโซนคิดเป็นมูลค่าตลาดของทรัพย์สินที่แตกต่างกันไปดังนี้คือ โซนA มีมูลค่า 8,389 ล้านบาท โซน B มูลค่า7,038 ล้านบาท โซน C มูลค่า 9,084 ล้านบาท และโซน D มูลค่าของทรัพย์สิน5,314 ล้านบาทรวมทั้งสิ้น 29,826 ล้านบาทภายใต้ราคาประเมินที่ดิน150,000 บาทต่อตารางวาในปัจจุบัน
ส่วนโครงการสถานีแม่น้ำบนพื้นที่277 ไร่ ย่านคลองเตย-พระราม 3 การรถไฟฯต้องการพัฒนาพื้นที่ให้เป็นย่านเศรษฐกิจแห่งใหม่ในอนาคตแบ่งพื้นที่ออกเป็น 16 แปลง ภายใต้แนวคิดที่จะสร้างเป็นเอ็กซ์พีเรียนซ์ รีเทล หรือกลยุทธ์การสร้างประสบการณ์แปลกใหม่ในชีวิตที่ยาวที่สุดในภูมิภาคอาเซียนประกอบด้วย โรงแรมหรู ที่พักอาศัยริมแม่น้ำเจ้าพระยา อาคารสำนักงาน ศูนย์การค้าแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนถึงท่าเรือยอชต์เพื่อรองรับนักธุรกิจต่างชาติและคนไทยพร้อมสิ่งอำนวยความสะดวกสบายครบครัน
ทั้งนี้จากผลการศึกษาได้กำหนดพื้นที่พัฒนาไว้ 4 โซนประกอบด้วย 1.พื้นที่ มิกซ์ยูสโซนหรือคอมเพล็กซ์พลาซาในสัดส่วนประมาณ 21% 2. พื้นที่เชิงพาณิชย์ในสัดส่วน 32% 3.พื้นที่อาคารสำนักงานในสัดส่วน 33% และ 4. พื้นที่สำหรับที่พักอาศัยอีก14% โดยคาดว่าถ้ามีการลงทุนก่อสร้างเต็มโครงการจะต้องใช้งบประมาณถึง 58,386 ล้านบาท(FAR 1:4) การวิเคราะห์ความคุ้มค่าผลตอบแทนทางเศรษฐกิจมีมูลค่า95,054 ล้านบาทกรณี FAR 1:8
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 11, 2012 5:42 pm
โดย pak
ปตท.หักด้อยค่าท่อก๊าซฯอียิปต์ พร้อมยื่นฟ้องศาลเรียกค่าเสียหาย
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Wednesday, April 11, 2012
ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.บันทึกค่าเผื่อด้อยค่าทรัพย์สินโครงการท่อส่งก๊าซฯที่อียิปต์ 5.8 พันล้านบาทในปีที่แล้วหลังต้องหยุดส่งก๊าซฯจากเหตุการณ์ระเบิดท่อก๊าซฯใกล้เคียง ส่ออาจทยอยตัดการด้อยค่าทรัพย์สินโครงการนี้เพิ่มเติมจากที่เหลืออยู่ 7 พันกว่าล้านบาทเผยขณะนี้อยู่ระหว่างการฟ้องเรียกค่าเสียหายรัฐบาลอียิปต์
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในปีที่แล้วบริษัทฯหักค่าเผื่อการด้อยค่าของทรัพย์สินของบริษัท East Mediterranean Gas (EMG) ที่ดำเนินธุรกิจท่อส่งก๊าซธรรมชาติในประเทศอียิปต์เป็นเงินประมาณ 5.8 พันล้านบาทนั้นหลังประเมินสถานการณ์ส่อยืดเยื้อซึ่งการตัดด้อยค่าทางบัญชีเพื่อความรอบคอบ หลังจากท่อก๊าซฯดังกล่าวต้องหยุดส่งก๊าซฯเพื่อความปลอดภัยหลังจากมีเหตุการณ์ระเบิดท่อก๊าซที่ AlArish ที่ประเทศอียิปต์ ซึ่งห่างจากท่อEMG 30 กิโลเมตรเมื่อต้นปี2554
ขณะนี้ ปตท.และผู้ร่วมทุนในEMG อยู่ระหว่างการฟ้องอนุญาโตตุลาการและศาลเรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลอียิปต์ ขณะเดียวกันก็จะหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากท่อส่งก๊าซฯเพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า แม้ว่าปตท.จะหักค่าเผื่อด้อยค่าทรัพย์สินไปแล้วเกือบ6 พันล้านบาท โครงการนี้ยังมีมูลค่าเหลืออยู่ตามสัดส่วนการถือหุ้นของ ปตท.อีก7 พันกว่าล้านบาท หากท่อส่งก๊าซฯกลับมาใช้งานตามปกติก็จะมีการบันทึกกลับการด้อยค่าสินทรัพย์ทำให้มีกำไรกลับขึ้นมา แต่หากท่อก๊าซฯไม่ได้มีการใช้งานต่อไป ก็อาจมีการบันทึกหักค่าเผื่อด้อยค่าทรัพย์สินเพิ่มอีก การลงทุนในต่างประเทศของปตท.เป็นสิ่งจำเป็นเพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงานไทย โดยบริษัทฯมีการลงทุนหลากหลายธุรกิจในต่างประเทศ ทำให้มีความเสี่ยงในแต่ละโครงการต่างกัน ซึ่งปี 2554 ปตท.มีผลตอบแทนการลงทุนต่อสินทรัพย์อยู่ที่ 8%และผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ 20%
บริษัท East Mediterranean Gas ก่อตั้งขึ้นภายใต้สนธิสัญญาสันติภาพโดยพีทีที อินเตอร์เนชั่นแนลจำกัดในเครือฯถือหุ้นในบริษัทดังกล่าว25% คิดเป็นมูลค่าเงินลงทุนกว่า 400 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 1.2 หมื่นล้านบาทโดย EMG ได้วางท่อส่งก๊าซฯ ทางทะเลความยาวประมาณ 90 ก.ม. จากเมืองAl-Arish ประเทศอียิปต์ ไปยังเมืองAshkelon ประเทศอิสราเอล
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พุธ เม.ย. 11, 2012 5:44 pm
โดย pak
บิ๊กปตท.เดินหน้าลงทุน'ถ่านหิน'
Source - ไทยโพสต์ (Th), Wednesday, April 11, 2012
ไทยโพสต์ * ปตท.ยันเดินหน้าลง ทุนถ่านหิน คาดรายได้ไตรมาสแรกดีตามทิศทางราคาน้ำมัน รัฐควัก 1,200 ล้านบาท จ่ายสำรองค่าน้ำมันเตา ดีเซลผลิตไฟฟ้า ทดแทนแหล่งเยตากุนหยุดส่ง
นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรม การผู้จัดการใหญ่ บมจ.ปตท. เปิดเผยว่า ปตท.ยังคงเดินหน้าลงทุนใน ธุรกิจถ่านหินเพิ่มเติม เนื่องจากพลังงานในส่วนของน้ำมันและก๊าซปรับ ตัวลดลงอย่างต่อเนื่องขณะที่ถ่าน หินมีปริมาณสำรองในโลกสูงกว่าพลังงานอื่นๆโดยราคาพลังงานใน ปีนี้ คาดว่าจะมีความผันผวนสูงตาม สถานการณ์โลก ทั้งจากความต้อง การใช้พลังงานที่เพิ่มขึ้นในญี่ปุ่น หลังได้มีการหยุดเดินเครื่องโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ขณะที่ในจีน คาดว่าจะมีความต้องการใช้พลัง งานเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประ ธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บมจ.ปตท.กล่าวว่า ในไตรมาส 1/55 รายได้ของบริษัทน่าจะออกมาดีตามทิศทางราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นจากราคาเฉลี่ยที่บริษัทประมาณการไว้ แต่ในส่วนของกำไรยังคงยาก ที่จะประเมิน เพราะธุรกิจปิโตรเคมี สเปรดมาร์จิ้นแคบลงกว่าไตรมาส 1/54 ซึ่งเป็นไปตามราคาผลิตภัณฑ์และราคาพลังงานที่ปรับเพิ่มขึ้น ส่วนทั้งปียังไม่สามารถประมาณการผลการดำเนินงานได้ในตอนนี้ ต้องขึ้นอยู่กับสถานการณ์ราคาน้ำ มันและราคาผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีในตลาดโลกด้วย
นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว. พลังงาน กล่าวภายหลังการจัดกิจ กรรมรณรงค์ 10 เม.ย. ปฏิบัติการช่วยชาติ งดลดใช้พลังงาน ว่า หลังจากทางสหภาพพม่าจะทำการหยุดจ่ายก๊าซธรรมชาติที่แหล่งเยตากุน เพื่อทำการซ่อมบำรุงประจำปีระ หว่างวันที่ 8-17 เม.ย.นี้ ส่งผลให้ปริมาณก๊าซที่ไทยจะใช้เพื่อผลิตไฟฟ้าหายไปจากระบบประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ดังนั้น รัฐบาลจึงต้องสำรองเชื้อเพลิงอื่นมาเพื่อผลิตไฟฟ้าโดยจะใช้น้ำมันเตาและน้ำมันดีเซลมาเดินเครื่องการผลิตแทน เบื้องต้นคาดว่าจะใช้เงินทั้งหมดจำนวน 1,200 ล้านบาท.
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2012 11:02 am
โดย pak
สนช.อัดฉีด300ล้านหนุนปตท.ลง700ล้าน ตั้งโรงงานผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพค่าหมื่นล้าน
Source - พิมพ์ไทย (Th), Thursday, April 12, 2012
นายศุภชัย หล่อโลหการ ผู้อำนวยการสำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ(องค์การมหาชน) หรือ สนช. กล่าวว่า "ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2553 ได้ให้การสนับสนุนงบประมาณจำนวน 1,000 ล้านบาทสำหรับแผนที่นำทางแห่งชาติการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพ ระยะที่ 2 (2554-2558) เพื่อผลักดันให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพให้เกิดขึ้นในประเทศไทยได้อย่างรวดเร็ว สนช. จึงได้ริเริ่มสนับสนุนให้เกิดการจัดตั้งโรงงงานนำร่องเพื่อผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพสำหรับขนาดกำลังผลิต 1,000 - 10,000 ตัน/ปี ให้สามารถดำเนินการผลิตได้ภายใน 3 ปีด้วยงบประมาณจำนวน 300 ล้าน ในขณะที่ภาคเอกชนจะต้องสมทบอีก 700 ล้านบาท และหากโรงงานนำร่องนี้ประสบความสำเร็จจะสร้างให้เกิดการลงทุนจากภาคเอกชนอีก 10,000 ล้านบาท เพื่อขยายการผลิตในเชิงพาณิชย์ให้มีกำลังการผลิตประมาณ 70,000 ตันต่อปี"
สนช. ได้ดำเนินการคัดเลือกภาคเอกชนไทยที่มีความพร้อมและมีศักยภาพในการจัดตั้งโรงงานนำร่องดังกล่าว ซึ่งขณะนี้ คณะกรรมการนวัตกรรมได้พิจารณาอนุมัติทุนสนับสนุนแก่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอลจำกัด (มหาชน) เพื่อสร้างโรงงานนำร่องผลิตเม็ดพลาสติกชีวภาพ ขนาด1,000 ตัน/ปี โดยจะเน้นกระบวนการนวัตกรรมในการพัฒนาเม็ดพลาสติกชีวภาพให้มีคุณสมบัติที่ดีกว่าผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในปัจจุบัน และส่งเสริมให้เกิดการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพอย่างแพร่หลาย รวมถึงการพัฒนาเทคโนโลยีการสังเคราะห์เม็ดพลาสติกชีวภาพชนิดพอลิเมอร์ร่วม ซึ่งจะมีคุณสมบัติเฉพาะเพื่อใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพที่มีมูลค่าเพิ่มที่สูง เช่น ชิ้นส่วนในกลุ่มเครื่องใช้ไฟฟ้า วัสดุก่อสร้าง และรถยนต์ รวมถึงสิ่งทอจากเส้นใยชีวภาพ
โครงการนำร่องนี้ยังกระตุ้นให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรมต้นน้ำสำหรับผลิตสารตั้งต้นที่ใช้น้ำตาล หรือแป้งเป็นวัตถุดิบ และอุตสาหกรรมปลายน้ำ เพื่อขึ้นรูปผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ซึ่งอุตสาหกรรมทั้งหมดในห่วงโซ่มูลค่านี้จะสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับอ้อย หรือมันสำปะหลังไม่ต่ำกว่า 5 เท่า ตลอดจนช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อมจากขยะพลาสติกที่ตกค้างอยู่ในสิ่งแวดล้อมมากถึงปีละ 1 ล้านตัน โดยเบื้องต้นคาดว่าจะก่อให้เกิดวงเงินลงทุนทั้งโครงการรวมทั้งสิ้น 986 ล้านบาท และมีเป้าหมายให้เกิดการขยายผลการลงทุนในโรงงานผลิตพลาสติกชีวภาพเชิงพาณิชย์ที่มีกำลังการผลิตประมาณ 70,000 ตันต่อปี โดยมีมูลค่าการลงทุนอีก 10,000 ล้านบาทในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า
นายศุภชัย เปิดเผยเพิ่มเติม "การจัดตั้งโรงงานนำร่องฯ นี้ ถือเป็นการสร้างโอกาสให้แก่ประเทศไทย ในการสร้างความร่วมมือระหว่างหน่วยงานทั้งภาครัฐ สถาบันวิจัยและพัฒนา ภาคการศึกษา และภาคเอกชนในธุรกิจพลาสติกชีวภาพ เพื่อเร่งการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีแบบมุ่งเป้าหมายด้านพลาสติกชีวภาพทั้งด้านเทคโนโลยีการผลิต การสังเคราะห์ การออกแบบและปรับปรุงคุณสมบัติ และการประยุกต์ใช้เม็ดพลาสติกชีวภาพในการขึ้นรูปเพื่อผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติกชีวภาพ ซึ่งจะเป็นการกระตุ้นให้เกิดความต้องการใช้พลาสติกชีวภาพในประเทศ ผ่านโครงการนำร่องเพื่อเร่งสร้างตลาด รวมถึงศึกษาพฤติกรรมและการตอบรับของผู้บริโภค เพื่อนำข้อมูลไปใช้ในการออกแบบเม็ดพลาสติกชีวภาพให้มีคุณสมบัติการใช้งาน ให้ตรงกับความต้องการของตลาดและสามารถต่อ ยอดนำไปสู่การผลิตเชิงพาณิชย์ต่อไป และนำไปสู่การผลักดันให้ประเทศไทยกลายเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพแห่งใหม่ของโลก"
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. เม.ย. 12, 2012 11:06 am
โดย pak
PTT กับฮุสเซน ซาเลม
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, April 12, 2012
กรุงเทพฯ--12 เม.ย.--ข่าวหุ้น
การเปิดเผยข้อเท็จจริงของการลงทุนของบริษัทลูกของ ปตท. จำกัด (มหาชน) ที่ชื่อ พีทีที อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (PTT Inter) ในการเข้าไปลงทุนที่อียิปต์โดยกรรมการผู้จัดการใหญ่ และประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน จนต้องบันทึกค่าเผื่อด้อยค่าทรัพย์สินโครงการท่อส่งก๊าซฯ 5.8 พันล้านบาทในปีที่แล้ว และส่อเค้าว่าอาจทยอยตัดการด้อยค่าทรัพย์สินโครงการนี้เพิ่มเติมจากที่เหลืออยู่ 7 พันกว่าล้านบาท ระหว่างการฟ้องเรียกค่าเสียหายรัฐบาลอียิปต์อยู่นั้น แม้จะไม่สามารถกล่าวโทษว่าเป็นความผิดพลาดของผู้บริหารคนใดใน PTT แต่มันได้สะท้อนให้เห็นข้อเท็จจริงว่า การลงทุนข้ามพรมแดนในธุรกิจพลังงานนั้น มีความเสี่ยงมากเพียงใด เพราะระหว่างโอกาสและความเสี่ยงใกล้เคียงกัน
ความเสี่ยงที่สำคัญในกรณีของอียิปต์คือความเสี่ยงทางการเมือง ไม่ใช่เพราะว่า มีการก่อการร้ายหรือวางระเบิดท่อส่งก๊าซฯ แต่เป็นการคบหากับหุ้นส่วนที่ผิดพลาดเป็นสำคัญ
ข้อเท็จจริงนี้ ผู้บริหารปตท.ไม่เคยชี้แจง เพราะอาจจะถือว่าไม่เกี่ยวข้องโดยตรงกับธุรกิจ ทั้งที่โดยข้อเท็จจริงแล้วถือเป็นจุดตายของปัญหาซึ่งแวดล้อมอยู่ที่ตัวบุคคลสำคัญในกรณีที่เกิดขึ้นนั่นคือ นักธุรกิจลึกลับที่ชื่อว่า ฮุสเซน ซาเลม เพื่อนรักร่วมผลประโยชน์ของอดีตประธานาธิบดี ฮอสนี่ มูบารัค และเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการก่อตั้ง และถือหุ้นสำคัญในบริษัท East Mediterranean Gas (EMG) ซึ่งเป็นบริษัทที่ปตท.เข้าไปติดกับจนออกไม่ได้ในยามนี้
ฮุสเซน ซาเลม เป็นใคร
บุคคลผู้นี้ได้รับฉายาจากสื่อในอียิปต์ว่าเป็นนักธุรกิจที่ลึกลับที่สุดในประเทศ เท่าที่ข้อมูลบันทึกเอาไว้ ไม่ปรากฏว่าเขาเคยให้สัมภาษณ์กับสื่อคนใดในโลกนี้ แต่เรื่องราวของเขาก็ยังเล็ดรอดออกมาจากคนใกล้ชิดบางส่วน
ฮุสเซน ซาเลม เกิดที่แหลมไซนาย จากครอบครัวมุสลิมพื้นเมือง แล้วเข้าเริ่มงานครั้งแรกในฐานะนักการเงินใน Spinning Financial Fund ที่เมืองคาซาบลังกาในโมร็อกโก ซึ่งว่ากันว่า เขามีส่วนในการทำธุรกิจลับๆกับการค้าอาวุธสงครามให้กับกองกำลังต่อต้านตะวันตกในแอฟริกาเหนือ ก่อนที่จะเข้ารับราชการเป็นนายทหารนักบินในกองทัพอากาศอียิปต์ในยุคของประธานาธิบดีอับเดล กามาล นัสเซอร์ ซึ่งที่นั่น ทำให้เขาได้ผูกมิตรกับมูบารัค ที่เป็นนายทหารนักบินในกองทัพอากาสด้วยกัน แถมยังเคยเข้าร่วมรบในสงคราม 6 วัน ปี ค.ศ. 1967 ด้วย แต่หลังจากนั้นเขาก็ลาออก และขอย้ายไปสงกัดในหน่วยงานด้านข่าวกรอง เพราะไม่เห็นด้วยกับการทำสงครามกับอิสราเอล
ใน ค.ศ. 1972 เขาถูกไล่ออกจากงานข่าวกรอง ต้องไปหาอาชีพใหม่ทำธุรกิจด้านนำเข้าอาหารไปยังอาบูดาบี และค้าขายกับอินเดีย-ปากีสถานจนร่ำรวย จนเมื่อเกิดความขัดแย้งทางธุรกิจกับหุ้นส่วนท้องถิ่น เขาก็ถอนทุนออกมาพร้อมกับหอบเงิน 200 ล้านดอลลาร์เข้าไปฝากในธนาคารสเปน เพื่อให้ได้รับสัญชาติสเปนเต็มตัว
เขาก็ย้อนกลับมาผูกมิตรกับมูบารัคอีกครั้งใน ค.ศ. 1979 ยามที่มูบารัคกำลังเดินหน้าสู่เส้นทางรุ่งโรจน์ทางการเมือง สายสัมพันธ์กับมูบารัค ทำให้เขาได้สัมปทานรับเหมาก่อสร้างและดำเนินงานโรงกลั่นน้ำมันในอเล็กซานเดรีย โดยจับมือเข้าหุ้นกับกลุ่มทุนยิวภายใต้ โยเซฟ ไมมัน
ค.ศ. 1981 อันวาร์ ซาดัต ประธานาธิบดีถูกสังหารในไคโร ทำให้มูบารัคถูกเลือกโดยกองทัพอียิปต์ขึ้นเป็นประธานาธิบดี พร้อมกับเริ่มผูกมิตรใกล้ชิดกับอิสราเอลมากขึ้น ซาเลมได้รับแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีการค้าอียิปต์ประจำวอชิงตัน ดีซี แต่บริษัทที่เขาเป็นหุ้นส่วนในอเมริกาชื่อ Egyptian American Transportation Company (ETSCO) ได้มีชื่อพัวพันเข้ากับการทำข้อตกลงลับเป็นนายหน้าค้าอาวุธให้กับพวกมูจาฮิดีนในอัฟกานิสถานและกลุ่มปฏิวัติฝ่ายขวาในละตินอเมริกา ในขณะที่บันทึกของซีไอเอระบุว่า เขาคือ “หน้าฉาก” ของมูบารัคนั่นเอง
ซาเลมกลับจากสหรัฐฯมาทุ่มเงินลงทุนในธุรกิจท่องเที่ยว สนามกอล์ฟ และโรงแรมครบวงจรที่เขตไซนายใหญ่โต โดยกว้านซื้อที่ดินผ่านเส้นสายของมูบารัค โดยตอบแทนด้วยการสร้างมัสยิดส่วนตัวสำหรับครอบครัวมูบารัค และใช้สถานที่เป็นแหล่งเจรจาสันติภาพและธุรกิจระหว่างอียิปต์กับอิสราเอลหลายครั้ง
จากนั้น ในค.ศ. 2000 เมื่อโยเซฟ ไมมันถูกวิจารณ์อย่างหนักเรื่องการถือหุ้นจำนวนมากในโรงกลั่นน้ำมันที่อเล็กซานเดรีย จึงตัดสินใจขายหุ้นโรงกลั่นทิ้ง แล้วพุ่งความสนใจไปยังโครงการท่อส่งก๊าซฯที่ค้นพบในไซนายไปยังอิสราเอล
สายสัมพันธ์สองฝั่งทั้งกับมูบารัคและอิสราเอลของหุ้นส่วนไมมัน-ซาเลม ทำให้บริษัทร่วมทุน East Mediterranean Gas Company (EMG) ได้รับสิทธิ์สัมปทานยาวนานส่งก๊าซฯข้ามพรมแดนไปยังอิสราเอลเป็นเวลานาน 15 ปี ผ่านท่อส่งก๊าซฯทางทะเลความยาวประมาณ 90 กม. จากเมือง Al-Arish ประเทศอียิปต์ ไปยังเมือง Ashkelon ประเทศอิสราเอลพร้อมกับสามารถต่อขยายเวลาเพิ่มได้อีก 5 ปี โดยซาเลมถือหุ้นอยู่ทั้งหมด 65% ไมมันถืออยู่ 25% ส่วนที่เหลือ 10% ถือโดยรัฐบาลอียิปต์
ความน่าสนใจอยู่ตรงที่ว่า อีก 7 ปีต่อมา ซาเลมกลับลำตัดสินใจลดการถือครองหุ้น EMG ที่ถือโดยบริษัทส่วนตัวของเขา Mediteranian Gas Pipeline ลงไปฮวบฮาบ โดยเดือนกรกฎาคม ค.ศ. 2007 (พ.ศ. 2550) เขาขายหุ้น 12% ให้กับ Sam Zell and David Fisher of the US เป็นมูลค่า $2.2 พันล้านดอลลาร์ และวันที่ 27 พฤศจิกายน ปีเดียวกัน PTT Inter ก็ได้เข้าประมูลซื้อ four months later, he sold 25 ในมูลค่าที่ถูกเหลือเชื่อ 2 พันล้านดอลลาร์
ขณะเดียวกัน ไมมันก็ลดสัดส่วนหุ้นลงเช่นกันเหลือแค่ 20.6% โดยผ่องถ่ายให้นักลงทุนสถาบันของอิสราเอล 4.3%
คำถามตามมาก็คือว่า ทั้งสองคนรู้ล่วงหน้าหรือไม่ว่า จะเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองอย่างใหญ่หลวงในอียิปต์ในเวลาต่อมาที่ทำให้มูบารัคตกเก้าอี้แห่งอำนาจ
ในกรณีของ PTT Inter ขั้นตอนการขายหุ้นทั้งหมดแม้จะเริ่มต้นมาตั้งแต่ ค.ศ. 2007 แต่มาสิ้นสุดกระบวนการปลายปี ค.ศ. 2010 นี้เอง ซึ่งหลังจากนั้นอีกเพียงแค่ 2 เดือน การลุกฮือที่เรียกว่า อาหรับ สปริงส์ ของอียิปต์ก็เริ่มต้นขึ้น และชะตากรรมของมูบารัค และซาเลมก็ไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป
ดีลซื้อขายดังกล่าวในระยะแรก ได้รับการประโคมใหญ่โตจากผู้บริหาร PTT ดังเอกสารแจ้งตลาดหลักทรัพย์ฯลงนามโดยนายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ โดย PTT ในฐานะบริษัทแม่ ว่าได้สนับสนุนเงินลงทุนให้เข้าซื้อหุ้นในรูปของ Shareholder’s loan ซึ่ง PTT Inter จะต้องนำเงินมาชำระคืนในภายหลัง
พร้อมกันนั้น ดีลดังกล่าวยังเปิดช่องให้ PTTEP บริษัทลูกอีกรายหนึ่งของ PTT ขยับตามเข้าไปรับสัมปทานสำรวจขุดเจาะน้ำมันในอียิปต์เพิ่มขึ้นขึ้นอีก 2 แห่ง โดยแปลงหมายเลข 2 หรือแปลงโรมมานา ตั้งอยู่บนบกบริเวณแหลมไซนาย ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศ มีพื้นที่ 6,184 ตารางกิโลเมตร ผู้ร่วมทุน ประกอบด้วย บริษัท Sipetrol (ผู้ดำเนินการ) ปตท.สผ. และ บริษัท Centrica ตามสัดส่วนการร่วมทุน 40%, 30%, และ 30% ตามลำดับ
ส่วนแปลงหมายเลข 8 หรือแปลง ซิดิ อับ เอล รามาน ออฟชอร์ ตั้งอยู่ในทะเลทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศมีพื้นที่ 4,294 ตารางกิโลเมตร ผู้ร่วมทุนประกอบด้วย บริษัท Edison (ผู้ดำเนินการ) ปตท.สผ. และ บริษัท Sipetrol ตามสัดส่วนการร่วมทุน 40%, 30% และ 30%
ต่อมา แปลงหมายเลข 2 ไม่พบน้ำมันแต่อย่างใด จึงยกเลิกสัมปทานไป
สำหรับโครงการ EMG ปรากฏว่า เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในอียิปต์ขึ้นมา ฮุสเซน ซาเลม ตัดสินใจหลบหนีออกจากอียิปต์ด้วยเครื่องบินส่วนตัวไปถูกจับที่ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ แต่หลุดรอดไปได้ในเวลาต่อมา แล้วหนีไปอยู่ในสเปน อันเป็นประเทศที่เขาถือสัญชาติอยู่ แต่ในที่สุดก็ถูกจับตัวได้ในสเปน ตามหมายจับของตำรวจสากลในข้อหาคอรัปชั่น
ซาเลมใช้สิทธิตามกฎหมายของสเปน ประกันตัวออกมาสู่อิสรภาพชั่วคราวด้วยเงินประกัน 12 ล้านยูโร และพยายามต่อสู้กับคำร้องขอส่งผู้ร้ายข้ามแดนของรัฐบาลอียิปต์อย่างสุดฤทธิ์
ระหว่างนี้ คำสั่งศาลของอียิปต์ให้อายัดทรัพย์ของซาเลมจึงเกิดขึ้น และยังผลให้ธุรกรรมทุกชนิดของ EMG จำต้องหยุดไปโดยสิ้นเชิง ไม่สามารถส่งแก๊สให้กับอิสราเอลได้ เนื่องจากศาลรับคำฟ้องว่า เขาจ่ายเงินสินบนให้มูบารัคในการได้สิทธิผูกขาดส่งแก๊สไปอิสราเอล และทำให้ประเทศเสียหายจากการขายแก๊สให้อิสราเอลในราคาต่ำกว่าราคาตลาด
ตราบใดที่ซาเลม ยังไม่ถูกส่งตัวจากสเปนกลับไปพิจารณาคดีในอียิปต์ได้ ธุรกรรมทุกชนิดของ EMG ก็จะหยุดไปไม่มีกำหนด
นี่คือเหตุผลที่ขัดแย้งกับคำกล่าวของกรรมการผู้จัดการใหญ่และผู้บริหาร PTT ชี้แจงต่อผู้ถือหุ้นไปว่า “ขณะนี้ ปตท.และผู้ร่วมทุนใน EMG อยู่ระหว่างการฟ้องอนุญาโตตุลาการ และศาล เรียกร้องค่าเสียหายจากรัฐบาลอียิปต์ ขณะเดียวกัน ก็จะหาแนวทางการใช้ประโยชน์จากท่อส่งก๊าซฯ เพื่อให้ดำเนินการต่อไปได้”
ความขัดแย้งเช่นนี้ ทำให้เกิดคำถามว่า ทางออกจากกับดักของปัญหาฮุสเซน ซาเลมของ PTT ในอนาคต จะเป็นเช่นใด
--จบ--
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ เม.ย. 15, 2012 4:06 pm
โดย pak
The 3rd Research Symposium on Petrochemical and Materials Technology and
The 18th PPC Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Polymers
วิทยาลัยปิโตรเลียมและปิโตรเคมี จุฬาฯ ร่วมกับ ศูนย์ความเป็นเลิศด้านเทคโนโลยีปิโตรเคมีและวัสดุ จัดงาน “The 3rd Research Symposium on Petrochemical and Materials Technology and The 18th PPC Symposium on Petroleum, Petrochemicals, and Polymers” ในวันอังคารที่ 24 เมษายน 2555 เวลา 08.30 – 17.00 น. ณ ห้องบอลล์รูม ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์
ภายในงานจะมีการบรรยายพิเศษจากบริษัทผลิตน้ำมันชั้นนำของโลก เกี่ยวกับสถานการณ์น้ำมันของไทย อีกทั้งยังมีการนำเสนอผลงานวิจัย และการจัดแสดงนิทรรศการของบริษัทชั้นนำด้านปิโตรเลียม ปิโตรเคมี และพอลิเมอร์อีกด้วย สนใจสอบถามรายละเอียดได้ที่ 0-2218-4114-16, 0-2218-4154 หรือ
http://www.ppc.chula.ac.th/
Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"
โพสต์แล้ว: อังคาร เม.ย. 17, 2012 12:48 pm
โดย pak
PTT gas pipeline ignites fears
Source - The Nation (Eng), Friday, April 13, 2012
THANAPAT KITJAKOSOL
The PTT project to lay a 195-kilometrelong naturalgas pipeline from Ayutthaya’s Wang Noi district to Nakhon Sawan’s Krok Phra district has raised concerns among affected residents, particularly those living near the Royal Thai Army’s armoury in Nakhon Sawan’s Phayuha Khiri district.
Project support manager Chira Chobhimaves said PTT had hosted a public forum late last month in Sing Buri to review the draft environmental impact assessment (EIA) report and allow the public to voice concerns and recommendations for the draft’s completion.
The forum was attended by about 1,000 residents of Nakhon Sawan, Sing Buri, Angthong and Ayutthaya, who were seeking more information on the project plus clarification on compensation for property to be cut through by the pipeline.
Tambon Yan Matsee administrative member Thanongsak Phumkasem asked why the pipeline’s planned route came within 1,200 metres of the armoury’s bombdisposal depot. He voiced fears that an explosion during bomb disposal could cause a dangerous gas leak. He added that soldiers had said ordnance at the armoury had the power to cause destruction over a very large area. an area of 75 kilometres. ??? square kilometres?? Radius?? He urged PTT to inspect the site and prevent any problems.
Village headman Pakkapol Wangcharoen said Phayuha Khiri residents wanted assurances that such an accident could not occur, as it would destroy half the district. Urging PTT to make the pipeline in the area thicker than usual, he said the armoury disposed of bombs every 15 days, and those living within a 1km radius could feel the impact of the explosions.
Project engineer Itthipol Ekahitanont said the pipeline could withstand a magnitude7 earthquake, but he accepted the suggestion that PTT send a team of experts team to probe whether the bombdisposal activity could affect the pipeline. Project director Chosit Pinsuwan said PTT had Bt1.5 billion in thirdparty insurance in case of disaster.
Other villagers, especially shop owners, voiced fears that the pipeline’s construction would hit trade and bring traffic congestion.
The Highways Department raised concerns that the pipeline, running along the Asia Highway through the Central region’s river basin, would block waterways during the rainy season and thereby cause severe flooding. They urged PTT to consult with the Strategic Committee for Water Resources Management.
The project’s EIA report adviser and environment expert, Premwadi Preedaphan, said the pipeline would be underground and the area would be returned to its natural state to prevent blockage of waterways. During construction it might be necessary to divert waterways temporarily, she said, but drainage problems would be fixed.
The 28inch (71centimetre) pipeline will pass through Ayutthaya, Angthong, Sing Buri, Lop Buri, Chai Nat and Nakhon Sawan and will cost Bt23 billion. Its construction - passed by the National Energy Policy Council and approved by the Cabinet in 2010 - is scheduled to begin early next year and take 20 months to complete.
Source: The Nation