หน้า 6 จากทั้งหมด 14
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 08, 2009 8:00 am
โดย miracle
http://www.oic.or.th/th/news/detail.php ... 6&key=news
ประกาศ คปภ. เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการประกาศหรือโฆษณาการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต / ประกันวินาศภัย พ.ศ. 2552
-------------------------------------------------------------------------------------
http://www.ryt9.com/s/prg/721455/
มิลเลียไลฟ์ ผนึก แบงค์ ซีไอเอ็มบี ไทย รุกตลาดประกัน Q4 เปิดแบบประกันชีวิต อิสระ 10/5 อิสระจากเงื่อนไขประกันแบบเดิมๆ
----------------------------------------------------------------------------------
http://www.ryt9.com/s/prg/721647/
รมช. คลังเน้นย้ำ คปภ. เร่งรัดบริษัทประกันภัย จ่ายค่าสินไหมแก่ผู้ประสบภัยรถไฟตกราง
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 6:28 am
โดย chaitorn
http://www.kaohoon.com/pg.newspaper/fir ... ?cid=31846
ตลาดหลักทรัพย์ฯจีบธุรกิจประกันเข้าตลาดหุ้นเพิ่ม หลังกฎหมาย คปภ.บังคับให้ทุกบริษัทต้องเปลี่ยนสถานะเป็น"บมจ."ในปี'55 แนะวิธีสร้างสภาพคล่อง บอกผู้ถือหุ้นต้องขายให้มากขึ้นหรือ"แตกพาร์" ดึงนักลงทุนรายย่อยมีโอกาสเล่นได้ พร้อมยกตัวอย่างหุ้น"กรุงเทพประกันชีวิต" เผยหุ้นประกันผลประกอบการดี ปันผลงามหลายตัว
นายวิเชฐ ตันติวานิช รองผู้จัดการ สายงานผู้ออกหลักทรัพย์และบริษัทจดทะเบียน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย(ตลท.) ในฐานะที่ปรึกษาคณะกรรมการธุรกิจประกันภัย เปิดเผยว่า
ปัจจุบันหุ้นกลุ่มประกันในตลาดหลักทรัพย์ยังคงเป็นหุ้นที่ไม่ค่อยมีสภาพ คล่อง ซึ่งจะเป็นลักษณะที่เหมือนกันทั่วโลก เนื่องจากเป็นหุ้นที่มีเงินปันผลดี แน่นอน
ทำให้
นักลงทุนสถาบันส่วนใหญ่ อาทิ กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนบำเน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) ประกันสังคม และกองทุนต่างๆ เมื่อซื้อแล้วจะไม่นิยมขายออกไป แต่จะรอเงินปันผลในช่วงปลายปีมากกว่า ขณะที่ธุรกิจประกันมีการเติบโตต่อเนื่อง และไม่ค่อยได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจเหมือนกับกลุ่มธุรกิจอื่นๆ
"หุ้นกลุ่มประกัน เรียกได้ว่าเหมือนกันทั่วโลก สภาพคล่องโดยธรรมชาติจะไม่ค่อยมี ไม่หวือหวา หรือที่เค้าเรียกกันว่าไม่มีสตอรี่ ราคาไม่เคลื่อนไหวตามสภาวะเศรษฐกิจเหมือนหุ้นกลุ่มอื่นๆ เหมาะสำหรับนักลงทุนระยะยาวที่รอเงินปันผลที่มั่นคง แน่นอน เพราะซื้อแล้วส่วนใหญ่ก็เก็บไม่มีขายออกไปเลยก็เลยทำให้สภาพคล่องจะลดลง เรื่อย ๆ ยกเว้นกรณีเช่นเอไอจีที่มีปัญหาอาจจะทำให้นักลงทุนกังวลเลยขายออกไป ดังนั้นการจำทำให้หุ้นกลุ่มนี้คึกคักไม่น่าจะทำได้ง่ายนัก"นายวิเชฐ กล่าว
อย่างไรก็ดีทางตลาดหลักทรัพย์ยังคงสนับสนุนนโยบายของบริษัท กรุงเทพประกันชีวิต (BLA) ที่ประกาศว่าต้องการให้หุ้น BLA หลังเข้าตลาดแล้ว กลายเป็นหุ้นที่มีสภาพคล่อง มีการซื้อขาย ซึ่งต่างจากหุ้นประกันอื่นๆ เนื่องจากหลักการดังกล่าวควรจะเป็นคุณสมบัติของหุ้นที่อยู่ในตลาดว่าจะต้อง มีสภาพคล่อง ให้นักลงทุนได้มีการเปลี่ยนมือกันเล่นได้
สำหรับ
วิธีการเพิ่มสภาพคล่องให้กับหุ้นนั้น มีวิธีทำหลายทาง แต่ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่านโยบายของแต่ละบริษัทจะเป็นอย่างไร เช่น การให้ผู้ถือหุ้นขายหุ้นออกไปให้มากขึ้น เพื่อเพิ่มสภาพคล่องได้ หรือการแตกพาร์ ที่จะช่วยให้นักลงทุนรายย่อยมีความสามารถในการซื้อได้มากขึ้น เนื่องจากราคาถูกลง ซึ่งวิธีการเหล่านี้ทางตลาดหลักทรัพย์จะไม่เข้าไปก้าวก่าย เพราะถือเป็นเรื่องของนโยบายบริษัท
"ไม่เช่นนั้นบริษัทก็จะต้องออกผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้มีประเด็น แล้วนักวิเคราะห์ก็จะออกมาประเมินว่าผลิตภัณฑ์ใหม่ที่ออกมานั้นจะช่วยให้ บริษัทมีรายได้เพิ่มมากขึ้นเท่าไร มีผลดีอย่างไรบ้าง เพราะจะได้เป็นจุดสนใจของนักลงทุนอย่างต่อเนื่อง จะเห็นได้ว่าฟรีโฟลตไม่ให้สิ่งเดียวที่จะทำให้มีสภาพคล่องได้ อยู่ที่นโยบายบริษัทด้วย"
นายวิเชฐ กล่าวว่า
ตามกฎหมายของคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) กำหนดให้ปี 2555 บริษัทประกันภัยทุกแห่งจะต้องเปลี่ยนสถานะเป็นบริษัทมหาชน จะต้องมีการกระจายให้ประชาชน มีการปรับโครงสร้างใหม่ และมีข้อปฏิบัติเช่นเดียวกับบริษัทที่อยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ขณะนี้เชื่อว่าทุกบริษัทคงอยู่ระหว่างการเตรียมตัว
"หลังคปภ.เข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของกระทรวงการคลังก็มีกฎหมายนี้ออกมา บังคับให้ทุกบริษัทประกันต้องเป็นมหาชน ซึ่งการเป็นมหาชนนี้ก็ต้องมีการปรับตัวมากมายหรือใกล้เคียงบริษัทที่อยู่ใน ตลาดหลักทรัพย์แล้วกว่า 90% ของการเข้าตลาด เพราะวิธีการต่าง ๆ ก็คล้ายๆ กัน"นายวิเชฐ กล่าว
ทั้งนี้ทางตลาดหลักทรัพย์จึงได้มีการจัดกิจกรรม สัมมนาเพื่อให้ข้อมูล ความรู้แก่บริษัทประกันมาอย่างต่อเนื่องเพื่อให้ทุกบริษัทมีการเตรียมตัวที่ ดี มีการพูดคุยกับผู้บริหาร ซึ่งการเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของ BLA ก็ถือว่าเป็นผลมาจากการพูดคุยกันมาก่อน เนื่องจากตลาดมองว่าธุรกิจประกันจะต้องเป็นธุรกิจที่ต้องการความน่าเชื่อถือ และจะต้องมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่ง เมื่อเกิดมีการเครมจำนวนมากๆ บริษัทที่ไม่มีทุนรองรับอาจจะมีปัญหาได้
"บริษัทที่ต้องการขยายฐานเงินทุนก็สามารถระดมเงินขยายผ่านตลาดหุ้นได้ ขณะนี้แทบทุกบริษัทต้องคิดเรื่องเข้าตลาดเพื่อการแข่งขันด้วย เราก็ได้มีการพูดคุยกันผู้บริหารว่า เมื่อเป็นบริษัทมหาชนแล้วการเข้าตลาดก็ไม่ใช่เรื่องยาก เนื่องจากการดำเนินงานต่าง ๆก็ใกล้เคียงกันและสามารถระดมเงินทุนได้เร็วกว่าบริษัทที่อยู่นอกตลาด แต่ขณะนี้ยังไม่มีการตอบรับที่แน่นอน"นายวิเชฐ กล่าว
ขณะนี้บริษัทประกันที่มีความพร้อมในการเป็นบริษัทมหาชนนั้น ยังคงเป็นบริษัทขนาดใหญ่ ที่มีโครงสร้าง มีคณะกรรมการและมีผู้ตรวจสอบบัญชีที่มีคุณสมบัติตามกฎอยู่แล้ว แต่ก็ยังมีอีกหลายบริษัทที่เป็นบริษัทขนาดเล็กที่จะต้องมีการเตรียมตัวอีก มาก
อย่างไรก็ตามมองว่าเมื่อทุกอย่างมีความพร้อม ทุกบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เชื่อว่าหุ้นกลุ่มประกันก็ยังคงมีเอกลักษณะเป็นของตัวเอง คือมีความคึกคักในการซื้อขายช่วงแรกๆ และสภาพคล่องจะค่อยๆ ลดลงเรื่อยๆ จนในที่สุดก็ไม่มีการซื้อขายเหมือนปัจจุบัน
วันที่ 30 ก.ย. 2552
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 6:31 am
โดย chaitorn
http://www.siamturakij.com/home/news/di ... =413340271
เทกโอเวอร์-ควบรวมปะทุ!
> วินาศภัยซุ่มทำ‘ดีล’ หนี RBC เป้าหมายไซส์ไม่เกิน 2 พันล้าน
วินาศภัยฝุ่นตลบ! ขยับเทกโอเวอร์-ควบรวมหลังเจอแรงกดดันอย่างหนักจาก 150%-RBC โดยเฉพาะตัวหลังกฎหมายกำหนดเริ่มใช้ปี 54 เหตุทุกค่ายเริ่มรู้สุขภาพตัวเอง ทุนพอหรือไม่หลังเริ่มเทสต์เงินกองทุนตามเกณฑ์ RBC วงในเผยตอนนี้ซุ่มทำดีล 2-3 ดีลคาดซื้อขายจบต้นปีหน้าไม่ยืดเยื้อเหมือนอดีตเพราะ RBC จ่อคอหอย ยกเคสวินาศภัยต่างชาติแห่งหนึ่งทำดิวดิลิเจนท์กับค่ายเล็กที่ต้องการขายหุ้น 100% เสร็จแล้วจับตา! ดีลเทกฯ-ควบรวมเกลื่อน เป้าหมายไซส์เบี้ย 2,000-3,000 ล้านแห่จับคู่
แหล่งข่าวจากวงการประกันวินาศภัย เปิดเผย “สยามธุรกิจ” ว่า ขณะนี้บริษัทประกันวินาศภัยทั้งบริษัทประกันภัยเจ้าของต่างประเทศที่เข้ามา เปิดธุรกิจในประเทศไทยและบริษัทประกันภัยของคนไทยเองเริ่มเปิดเจรจาซื้อขาย กิจการรวมถึงควบรวมกิจการ (Merger & Acquisition : M&A) กับบริษัทประกัน วินาศภัยบางแห่งที่ต้อง การขายกิจการหรือหาผู้ร่วมทุนรายใหม่เพื่อหาแหล่งเงินทุนรองรับฐานะการเงิน แข็งแกร่งมากขึ้น รวมถึงเพิ่มขนาดให้ใหญ่ ขึ้น โดยดีลที่เกิดขึ้นในขณะนี้มีอยู่ 2-3 ดีล
ทั้งนี้ เป็นผลจากกฎใหม่ๆ ที่ทาง สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ทยอยนำออกมาบังคับใช้ ควบคุมฐานะการเงินบริษัทประกัน ภัยให้แข็งแกร่งทั้งการกำกับแนว ใหม่ผ่านระบบเตือนภัยล่วงหน้า (Early Warning) ที่ปรับเพิ่มอัตรา ส่วนเงินกองทุน
ต่อ
เงินกองทุนที่ต้องดำรงตามกฎหมายขั้นต่ำตลอดเวลาประกอบธุรกิจเป็น 150% จาก เดิม 100%, การกำหนดให้มีอัตราส่วนสิน ทรัพย์สภาพคล่อง 100% ที่เริ่มใช้ตั้งแต่ 2552 ที่ผ่านมา รวมไปถึงกรอบการดำรงเงินกองทุน ตามความเสี่ยง (Risk-Based Capital : RBC) ซึ่งกฎหมายกำหนดเริ่มใช้ในปี 2554 ซึ่ง จะทำให้บริษัทประกันต้องเพิ่มเงินกองทุนจำนวนมาก
“ทั้งกฎ 150% และ RBC เป็นตัวเร่ง กดดันบริษัทวินาศภัยซึ่งส่วนใหญ่เป็นไซส์กลางและเล็ก ฐานะการเงินไม่แข็งแกร่งมากเท่าประกันชีวิตจำเป็นต้องประเมินอนาคตตัวเองหาก ต้องการทำธุรกิจต่อแต่ไม่มี เงินทุนเพียงพอต้องควบรวมเพื่อหาแหล่งทุนใหม่เข้ามาเสริม ส่วนรายที่ทางผู้ถือหุ้นมองดูแล้วว่าไม่คุ้มกับการใส่เงินทุนเพิ่มเข้ามา ก็คงต้องขายกิจการออกไป”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ตอนนี้ทุกบริษัทจะเห็นอนาคตตัวเองชัดขึ้นจากการทดสอบโมเดล RBC จะรู้แล้วว่าเงินกองทุนขาดหรือเกินอยู่เท่าไหร่ รอดไม่รอดซึ่งจะทำให้ภาพการซื้อและควบรวมกันชัดเจนและขยับมากขึ้นกว่าเดิม เริ่มตั้งแต่ไตรมาสสองปีนี้จนถึงต้นปีหน้าจะมีดีลที่เจรจากันจบหรือปิดการ ซื้อ ขายกันได้หลังจากก่อนหน้านี้อาจจะยืดเยื้อเพราะมีเวลาแต่ตอนนี้เหลืออีกปีก ว่า RBC ก็เริ่มใช้แล้ว
“RBC ใช้แน่ปี 2554 แม้จะไม่เต็มพิกัดก็ตามเมื่อถึงตอนนั้นบริษัทจะยิ่งลำบากเพราะภายใต้ RBC ถ้าขยายงานมากต้องตั้ง สำรอง ต้องมีเงินกองทุนมากตามไปด้วย ขณะที่ตัว 150% ซึ่งเชื่อว่าจะเป็นเกณฑ์เงินกองทุนขั้นต่ำที่ใช้คู่กับ RBC ก็แรงเกินไปกับธุรกิจประกันไทยถ้าเทียบสิงคโปร์ที่มีพัฒนา การมากกว่าเราแต่เขาใช้แค่ 120% เท่านั้น”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ขณะนี้มีดีลของบริษัทประกันวินาศภัยต่างชาติชั้นนำแห่งหนึ่งที่มีนโยบาย ชัดเจนในการขยายตลาดเมืองไทยผ่านการเทกโอเวอร์หรือเปิดรับบริษัทอื่นที่ ต้องการควบรวมกิจการเพื่อเพิ่มขนาดบริษัทให้ใหญ่ขึ้นได้ทำดิวดิลิเจนท์ (ตรวจสอบทรัพย์สินและหนี้สิน) บริษัทวินาศ ภัยแห่งหนึ่งที่ต้องการขายกิจการทั้งหมดเสร็จแล้ว โดยบริษัทที่ต้องการขายหุ้นทั้ง 100% ที่ว่านี้เป็นขนาดกลางค่อนไปทางเล็กเบี้ยไม่ถึง 1,000 ล้านบาท ซึ่งมีบริษัทประกันภัยขนาดใหญ่ของไทยเข้ามาเจรจาทาบทามด้วย
แหล่งข่าวกล่าวว่า กลุ่มบริษัทที่เป็นเป้าหมายเทกโอเวอร์และควบรวมกิจการนอกจากบริษัทขนาดเล็ก แล้ว ยังมีกลุ่มบริษัท ขนาดกลางเบี้ยไม่เกิน 2,000-3,000 ล้านบาท ที่มีโอกาสเทกโอเวอร์และควบรวมกิจการเข้า ด้วยกันเพื่อให้ขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิมเบียดแย่ง ชิงส่วนแบ่งการตลาด (มาร์เก็ตแชร์) กับบริษัทชั้นนำในตลาดเพราะนโยบายของแต่ละ บริษัทต่างต้องการผลักดันขึ้นมาติด 1 ใน 10 บริษัทที่มีเบี้ยรับรวมมากที่สุดของอุตสาห กรรม (ท็อปเทน) ให้ได้ซึ่งหมายถึงต้องมีเบี้ยรับรวมไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาท
“สาเหตุหลักนอกจากกฎหมายใหม่บังคับแล้ว ทุกคนยังต้องการเป็น Big Player เพราะค่าใช้จ่ายในการดำเนินธุรกิจสูงขึ้น ทั้งจากกฎหมายใหม่และการแข่งขัน ยิ่งไซส์กลาง เล็ก ไม่คุ้มจะเสียเปรียบบริษัทใหญ่เพราะค่าใช้จ่ายสูงกว่า”
แหล่งข่าวกล่าวว่า ภาวะเศรษฐกิจเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญที่มีผลกระทบต่อธุรกิจ ปริมาณเบี้ยประกันภัยถดถอย ขณะที่การแข่งขันรุนแรง อีกทั้งการลงทุนไม่ดีกระทบต่อ กำไรถดถอยมาตลอด หลายปีก่อนบริษัทประกันภัยเคยมีกำไรเฉลี่ย 5-10% ขึ้นอยู่กับแต่ละบริษัท แต่ในช่วง 3-4 ปีหลังกำไรลดลงเหลือประมาณ 1-5% โดยกำไรลงทุนลดลงประมาณ 30% ต่อป ขณะที่กำไรจากการรับประกันภัยเป็นศูนย์โดยเฉพาะบริษัทประกันภัยรถยนต์บาง บริษัทยังคงขาดทุนอยู่เห็นได้จากหลายบริษัทเริ่มลดขนาดบริษัทลงมาเพราะหาก รับเบี้ยประกันเท่าเดิมความเสี่ยงในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนมากขึ้นตามไป ด้วยเช่นเดียวกับความเสี่ยงที่จะต้องปฏิบัติตามกฎ คปภ.
สำหรับบริษัทที่มีนโยบายซื้อกิจการหรือเปิดรับการควบรวมกับบริษัทอื่น อาทิ บริษัท ทิพยประกันภัย จำกัด (มหาชน) โดยนายสมใจนึก เองตระกูล ประธานกรรม การเคยกล่าวว่า บริษัทต้องการเติบโตให้เร็ว กว่านี้ผ่านการซื้อกิจการบริษัทอื่นซึ่งเป็นทาง ลัดที่จะทำให้บริษัทขยายใหญ่ขึ้นในเวลาอันรวดเร็วเช่นกัน กอปรกับในช่วงนี้มีบริษัทขนาด เล็กรายแห่งต้องการผู้ร่วมทุนรายใหม่
“การซื้อกิจการหรือควบรวมบริษัทอื่นเป็นวิธีที่จะทำให้เราโตได้ ถ้าไม่ซื้อกิจการหรือร่วมทุนเราจะโตอยู่แค่นี้ การซื้อบริษัทประกันเป็นการมองหาโอกาสที่เราจะเข้าไปเพิ่มทุนให้กับเขาหรือ ซื้อกิจการก็ตามที ซึ่งผู้ถือหุ้นก็เห็นด้วยกับแนวทางนี้เพราะทำกำไรได้เยอะขึ้น แต่ต้องดูผลประโยชน์ที่บริษัทและผู้ถือหุ้นจะได้รับเป็นสำคัญ โดยบริษัทเป้าหมายต้องเป็นบริษัทที่มีสินทรัพย์ ลูกค้าดีเน้นบริษัทที่มีฐานลูกค้ารายย่อยเป็นหลักเพราะบริษัทต้องการขยาย ตลาดด้านนี้อยู่แล้ว ถ้ามีโอกาสพร้อมจะเข้าไปซื้อหรือร่วมทุนทันที ซึ่งการซื้อกิจการหรือการร่วมทุนต้องทำอย่างโปร่งใสเพราะเป็นบริษัทจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ”
นอกจากนี้ ยังมีบริษัทประกันภัยในกลุ่ม อาคเนย์ทั้งประกันชีวิตและประกันวินาศภัยที่เปิดกว้างในการเข้าไปเป็น พันธมิตรทางธุรกิจกับบริษัทประกันภัยอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น ในรูปแบบของพันธมิตรทางธุรกิจ การเทกโอ เวอร์ (ซื้อกิจการ) หรือการร่วมทุน โดยต้องการ ที่จะร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจในเรื่องของช่องทางขายที่บริษัทยังไม่มี เช่น ช่องทางขายผ่านธนาคารหรือแบงก์แอสชัวรันส์ และ การขายผ่านโทรศัพท์ เทเลมาร์เก็ตติ้ง (Tele Marketing) หรือช่องทางอื่นๆ ก็ได้
“บริษัทประกันวินาศภัยที่มีการเจรจากันในตอนนี้คาดว่าปิดการเจรจาได้ 1 ราย โดย การขยายธุรกิจของเราไม่ได้มองที่ขนาดที่ใหญ่ขึ้นเพียงอย่างเดียว แต่เราต้องมองที่ว่าสามารถจะประสานพลังเพื่อขยายงานร่วมกันได้ ส่วนการที่ยังไม่ควบรวมกับบริษัทในเครืออย่างบมจ.อินทรประกันภัย เนื่องจาก ยังไม่มีความจำเป็น และไม่ได้เกิดผลประโยชน์ มากนัก เพราะในแง่ของขนาดก็ไม่ได้เพิ่มขึ้นมามากนัก” นายโชติพัฒน์ พีชานนท์ ประธาน กรรมการบริหาร กลุ่มธุรกิจประกันและการเงิน อาคเนย์
ขณะที่บริษัทขนาดใหญ่อย่างกรุงเทพประกันภัย จำกัด (มหาชน) มีนโยบายซื้อบริษัทอื่นเช่นกันเช่นเดียวกับบริษัท แอลเอ็ม จีประกันภัย จำกัด ซึ่งทางบริษัทแม่มีนโยบาย ชัดเจนที่จะเปิดโอกาสให้บริษัทอื่นเข้ามาเป็นพันธมิตรทั้งผ่านการเทกโอเวอร์ และร่วมทุน โดยยังคงเปิดรับอยู่ตลอด
อย่างไรก็ดี อีกคู่ที่น่าจับตามองก็คือบริษัท ไอเอจีประกันภัย (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท ประกันคุ้มภัย จำกัด (มหาชน) ที่มีกระแสข่าววงในว่าจะควบรวมกันเร็วๆ นี้หลังจากก่อนหน้านี้รวมงานในส่วน Back Office เข้าด้วยกันแล้ว
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 9:50 am
โดย อะไรดีละ
ผมก็เชียร์ให้ทำกันมาตั้งนานแล้ว.......
เชื่อว่าภายในปีหน้านี้ น่าจะได้เห็นแบบเป็นเรื่องเป็นราว
ธุรกรรมแบบนี้จะดันราคาหุ้นได้ทั้งกลุ่ม...น่าสนใจครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 9:00 pm
โดย chaitorn
http://www.ibathai.com/Articlesmatter/articles_02.html
"จุดเปลี่ยนประกันภัยประเทศไทย" Insurance Industry Transformation
บรรยายโดย คุณพิชิต เมฆกิตติกุล วันอังคารที่ 28 ตุลาคม 2551
:lol:
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 9:40 pm
โดย chaitorn
แนวทางการคำนวณกองทุนสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยง
www.iprbthai.org/contents/RBC_NonLife_DOI_11Jul07.pdf
อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ
และการคำนวณ การประมาณการ Monthly Loss Reserves
http://www.iprbthai.org/new/newsletter/ ... urnalID=44
ทำให้เมื่อมีการใช้ RBC เต็มรูปแบบเมื่อใด จะทำให้บริษัทประกันทั้งหลายจะแข่งขันด้านราคาได้น้อยลง เพราะหากขาดทุนจากการคิดค่าเบี้ยประกันภัยไม่คุ้มกับความเสี่ยง หรือ ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานแล้ว จะไปกินทุนที่มีอยู่ จนกระทั่งทุนสำรองไม่พอ และถ้าต่ำกว่าเกณฑ์ ก็ต้องแก้ไข มิฉะนั้น จะไม่สามารถดำเนินงานต่อไปได้ นอกจากนี้ ในอนาคตจะมีบริษัทประกันภัยต้องเข้ามาในตลาดหลักทรัพย์มากขึ้น ทำให้ต้องเน้นการเติบโตมากขึ้น การแข่งขันสำหรับพื้นที่บริษัทประกันภัยขนาดเล็กจะทำได้ยากขึ้น เว้นแต่จะเน้นตลาดเฉพาะกลุ่มจึงพออยู่ได้ เพราะต้องคำนึงถึงระดับรายได้ที่เพียงพอกับค่าใข้จ่ายเพื่อให้เกิดการประหยัดจากขนาดการดำเนินงาน
บริษัทเล็ก ๆ จึงมีทางเลือก 3 ทางคือ เลือกที่จะควบรวมกันเองเพื่อขยายขนาดให้ใหญ่ขึ้น หรือยอมให้ถูกเทคโอเวอร์ให้กับบริษัทขนาดใหญ่กว่า หรือ หาพันธมิตรต่างชาติที่แข็งแกร่งมาถือหุ้นมากขึ้น หรือสุดท้ายต้องปรับโครงสร้างธุรกิจใหม่เน้นธุรกิจที่โฟกัสกลุ่มมากขึ้นและต้องคุ้มกับความเสี่ยงและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานในอนาคต
ผมนั่งนึกถึง การแข่งขันของบริษัทเงินทุนในอดีตที่มีจำนวนมาก สุดท้ายก็อยู่ได้ลำบาก สู้บริษัทขนาดใหญ่หรือธนาคารพาณิชย์ไม่ได้ สุดท้ายก็ต้องควบรวม ปิดกิจการ หรือเปลี่ยนแปลงเป็นธนาคารตอไป จนเหลือบริษัทเงินทุนในปัจจุบันน้อยมากครับ
นี่คือการเปลี่ยนแปลงที่คงหลีกเลี่ยงลำบาก ใน 2 - 3 ปีจากนี้จะเห็นการเปลี่ยนแปลงชัดเจนยิ่งขึ้น ไม่เปลี่ยนแปลงก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน
และในอนาคตยังมีการเปิดเสรีประกันภัยให้ต่างชาติเข้ามาอีกด้วย ทำให้บีบให้บริษัทขนาดเล็กต้องเร่งปรับตัวตามลำดับครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 10:35 pm
โดย chaitorn
คุณอะไรดีละ
ผมก็เชียร์ให้ทำกันมาตั้งนานแล้ว.......
เชื่อว่าภายในปีหน้านี้ น่าจะได้เห็นแบบเป็นเรื่องเป็นราว
ธุรกรรมแบบนี้จะดันราคาหุ้นได้ทั้งกลุ่ม...น่าสนใจครับ
ที่คุณอะไรดีละ โพสมานั้น ผมขอเสริมในเรื่องแรงจูงใจที่อาจเกิดขึ้นได้ครับ ต้องพิจารณากันให้ดี เป็นความเห็นหนึ่งเท่านั้นครับ
เมื่อก่อน ผู้ถือหุ้นเดิมของบริษัทประกันภัย ไม่ว่าจะเป็นเจ้าของเดิมที่ถือหุ้นเป็นสัดส่วนอาจจะมากกว่าร้อยละ 50 ขึ้นไป สถาบันที่ลงทุนในบริษัทประกันภัยในระยะยาว ซื้อแล้วไม่ยอมขาย แต่เก็บระยะยาวเพื่อหวังปันผล จึงไม่ได้สนใจในราคาหุ้นที่เคลื่อนไหวในระยะสั้น เหตุก็คือ ไม่มีแรงจูงใจที่จะต้องเข้ามาซื้อหุ้นในราคาสูง เพราะหวังเงินปันผลที่แน่นอนระยะยาวมากกว่า และยิ่งราคาต่ำยิ่งดี เมื่อมีโอกาสก็จะเข้ามาซื้อเพิ่ม เพื่อรับปันผลที่ได้ผลตอบแทนสูงอีกด้วย
แต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลงไป ผมเชื่อว่า หากมีการทำธุรกรรมการควบรวมหรือซื้อกิจการกันเกิดขึ้นในระยะต่อไป
ผู้ถือหุ้นเดิมที่เป็นเจ้าของ และสถาบันการเงิน อาจจะเดือดร้อนบ้างแล้ว เพราะหากต้องขายไปในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าทางบัญชีมาก ๆ เช่นราคาที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน เนื่องจากราคาตลาดไม่ได้มูลค่าที่แท้จริงซึ่งี่ต่ำกว่ามาก ๆ โดยอาจดูจากมูลค่าทางบัญชีที่คุณ อะรไดีละ ได้พูดถึงไว้
ดังนั้น หากเขามีความจำเป็นจะต้องไปควบรวมด้วยเหตุผลใดเหตุผลหนึ่งก็ตาม เพื่อให้สามารถอยู่รอดและแข่งขันในระยะยาวได้ โดยอาจใช้วิธีการแลกหุ้น แทนที่จะใช้วิธีการซื้อกิจการกันเกิดขึ้น ถ้าราคาแลกซื้อนั้นต่ำตามราคาตลาดปัจจุบัน ผู้ที่เสียประโยชน์คือผู้ถือหุ้นรายใหญ่ครับ
ตรงนี้จึงต้องมีการแลกซื้อในราคาที่ยุติธรรมที่สะท้อนตามมูลค่าที่แท้จริงมากขึ้นครับ
ดังนั้น จึงน่าจะต้องมีการทำ การประเมินมูลค่าหุ้นกันใหม่ หรือ ดิวดีริเจ้นซ์ เพื่อให้มีการแลกหุ้นในราคายุติธรรมเป็นการรักษาผลประโยชน์ของผุ้ถือหุ้นเดิมให้มากที่สุด โดยอาจต้องดูคู่กับมูลค่าราคาตลาดเฉลี่ยตามช่วงเวลาหนึ่งด้วย เพื่อสะท้อนมูลค่าสภาพคล่องที่เกิดจากการขายในราคาตลาดเช่นกันครับ
ผมไปเจอวิธีการตีราคามูลค่าหุ้นของบริษัทประกันตามราคาประเมินที่น่าจะยุติธรรมนะครับ ลองศึกษาดูตามเวปนี้นะครับ เขาบอกว่า สามารถดูราคามูลค่าที่ยุติธรรม จาก 3 วิธีที่ใช้ควบคู่กันครับ
ลองอ่านดูครับ น่าสนใจดีครับ
http://books.google.co.th/books?id=7tO4 ... ck&f=false
ผู้อ่านกระทู้นี้ทุกท่าน โปรดพึงพิจารณาด้วยความรอบคอบด้วย ซึ่งอาจไม่ถูกต้องนะครับ ขอให้อ่านข้อมูลด้วยความระมัดระวังด้วยครับ ใครมีความเห็นต่างที่ขัดแย้งก็ดีนะครับ จะได้มองมุมมองด้านตรงข้ามให้รอบคอบยิ่งขึ้นครับ
:lol:
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: ศุกร์ ต.ค. 09, 2009 10:47 pm
โดย อะไรดีละ
ก็ใช่เลย... บ.เล็กจะมีต้นทุนการดำเนินงาน คิดเป็นสัดส่วนของเบี้ยประกันที่สูงกว่า สุดท้ายจะเหนือยแน่
อย่างไรก็ดี บ.ใหญ่อย่าง วิริยะ โดนกฎเหล็กนี้เข้าไปก็จ๋อย เพราะเงินกองทุนราว 2 พันล้าน แต่เบี้ยประกันภัยปีละ 1.8 หมื่นล้าน ราวๆ 9 เท่าตัว...เริ่มชนเพดานแล้วครับ
เป็นโอกาสอันดี ที่บ.อันดับ 2-5 จะแย่งส่วนแบ่งการตลาดของยักษ์ใหญ่เจ้านี้ที่ครองส่วนแบ่งถึง 25 เปอร์เซนต์ของตลาดประกันภัยรถยนต์
และเราก็รู้ๆ กันอยู่ว่าคือ บริษัทอะไร
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 10, 2009 12:26 am
โดย miracle
ข้อมูลเพิ่มเติมล่ะักัน
ไม่ใช่ว่า ต้องควบรวมกิจการของคนอื่นเพื่อเติบโตอย่างเดียวเท่านั้น
ยังสามารถโตด้วยวิธีการอื่นเช่น เพิ่มทุน หรือ ออกเครื่องมือทางการเงินอย่างอื่น เพื่อให้เงินกองทุนเพิ่มขึ้น ไม่ใช่หรือ
ถ้ามองในกรณีของธนาคารที่แล้วๆ มาเข้าก็มีทั้งเพิ่มทุน ควบรวมกิจการ หรือ ออกเครื่องมือทางการเงินต่างๆเพื่อให้มี กองทุนขั้นที่ 1 และ ขั้นที่ 2 เพิ่มขึ้น
ทั้งหมดนี้เพื่อให้กิจการสามารถดำเนินการได้ต่อไป
ที่ผมต้องให้ข้อมูลเพิ่มเติมโดยเปรียบเทียบกับธนาคาร เพราะว่า ธนาคารเคยเกิดขึ้นมาแล้ว และมีข้อมูลที่หากันได้ ไม่ใช่ความลับอีกต่อไป ที่เมื่อก่อนหายากหาเย็นแสนลำบาก
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 10, 2009 6:37 am
โดย chaitorn
ที่คุณ อะไรดีละ และ คุณ miracle โพสมานั้น มีเหตุผลดีนะครับ :lol:
ผมแสดงความเห็นเพิ่มอีกหน่อยนะครับ
กรณีบริษัท วิริยะ ซึ่งมีส่วนครองตลาดอันดับ 1 อยู่ในขณะนี้ เนื่องจาก กฏ แคชบีฟอร์คอร์เวอร์ และตลาดหุ้นในปัจจุบันมีการปรับตัวสูงขึ้นมาก ผมคิดว่า เงินกองทุนในขณะนี้ก็น่าจะเพิ่มขึ้นมากตามไปด้วย คงมีระดับกองทุนพอประคองสถานการณ์ตรงนี้ไปได้ ผิดกลับปีที่แล้วที่เงินกองทุนลดลงมากครับ ผมเคยเห็นตัวเลขกองทุนตอนต้นปี เข้าใจว่าดีขึ้นพอควรแล้วครับ
กรณีการเพิ่มทุนแบบคุณมิราเคิล ว่านั้น ผมคิดว่า กรณีประกันภัยนั้น ไม่ง่ายนักในขณะนี้ เพราะ ขนาดส่วนใหญ่ค่อนข้างเล็ก ส่วนใหญ่ที่เห็นการเพิ่มทุนในอดีต มักจะเกิดจากความจำเป็นที่เงินกองทุนไม่พอ และผู้ถือหุ้นเดิมซึ่งเป็นเจ้าของ ต้องยอมลดสัดส่วนลงเพื่อให้พันธมิตรเข้ามาถือหุ้นเพิ่ม จนต้องเสียอำนาจการควบคุมไป ซึ่งเป็นเรื่องที่มีความสำคัญ เพราะธุรกิจประกันภัยส่วนใหญ่ยังบริหารงานแบบครอบครัวหลายแห่งครับ นอกจากนี้ การเพิ่มทุนที่เกิดขึ้น ผู้ลงทุนต้องคำนึงถึงสภาพคล่องการเพิ่มทุนด้วย ซึ่งหุ้นประกันภัยส่วนใหญ่จะคึกคักตอนเพิ่มทุนเข้าตลาดในช่วงแรก ต่อจากนั้น ก็จะมีสภาพคล่องการซื้อขายลดลง ทำให้ราคาหุ้นตลาดค่อนข้างต่ำ คนซื้อไม่ได้ขายหุ้น หุ้นน้อย ๆ อยู่แล้ว ก็ยิ่งน้อยลงในการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ การเพิ่มทุนทีก็เหนื่อยครับ เพราะอาจไม่ได้ราคาเท่าที่ควร
คราวนี้ผมมองอีกมุมหนึ่งนะครับ กรณีบริษัทขนาดใหญ่นอกตลาดหลักทรัพย์ ที่บริหารทรัพย์สินได้ดี เติบโตสูง แต่เงินกองทุนมีความเสี่ยงในการรองรับธุรกิจในอนาคต แต่อยากเข้าตลาดหุ้นให้เร็วขึ้น เพื่อให้สามารถเข้าระดมทุนในตลาดได้เร็วขึ้น ลองรับอาร์บีเอสที่จะต้องใช้เต็มรูปแบบไม่นานนัก
แนวทางหนึ่งก็คือ อาจ แบ็กดอร์ลิสติ้ง ก็ได้ครับ โดยเข้าซื้อบริษัทเล็ก ๆ หลาย ๆ บริษัท (มูลค่าบริษัทเล็ก ๆ หลายบริษัทในขณะนี้ อยู่ที่ 200 - ไม่เกิน 1000 จำนวนไม่น้อย จึงสามาถ่ใช้งินในการเข้าซื้อไม่มาก เมื่อเทียบกับขนาดสินทรัพย์ของตนเอง ทำให้สามารถได้ 2 ต่อคือ ได้ซื้อบริษัทประกันภัยขนาดเล็กในราคาไม่แพงมาก และหลายบริษัทมีเงินสดในมือค่อนข้างสูง มีเงินกองทุนสำรองมาก แต่การบริหารสินทรัพย์ยังไม่ค่อยดีเท่าที่ควร เนื่องจากขนาดของธูรกิจค่อนข้างเล็ก หรืออาจใช้วิธีการแลกหุ้นก็ยังได้ไมต้องเสียเงินสดออกไป
ต่อจากนั้น เมื่อเข้าซื้อสำเร็จ หรือแลกหุ้นเพื่อควบรวมได้สำเร็จแล้ว ขนาดบริษัทก็จะใหญ่ขึ้นอีกด้วย มีเงินกองทุนมากขึ้น แข็งแรงมากขึ้น และอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ได้เร็วกว่ากำหนดอีกด้วย ทำให้คู่แข่งขันนอกตลาดยังตามไม่ทัน
ก็ต่อด้วยวิธีที่ 2 คือ การเพิ่มทุนอีกขั้นหนึ่งในตลาดหลักทรัพย์ตามแนวทางของคุณมิราเคิล พอขนาดมันใหญ่ขึ้น การวิเคราะห์การเติบโตของธุรกิจที่ผ่านมาก็เติบโตสูง ส่วนครองตลาดประกันภัยอยู่อันดับต้น ๆ ฐานะการเงินแข็งแรงขึ้นจากผลการดำเนินงานปัจจุบันและได้เงินทุนจากการควบรวมมากขึ้น คู่แข่งขันในตลาดลดลง เป็นต้น
การเพิ่มทุนจำนวนมากขึ้นในตอนนี้ จะได้ราคาหุ้นที่ดีมากขึ้น เพราะสามารถสร้างแรงจูงใจมากขึ้นทำให้ นักลงทุนที่ลงทุนจำนวนมากเช่น กองทุน หรือสถาบันทั้งในและต่างประเทศสนใจมากขึ้น รวมถึงพันธมิตรทางธุรกิจอื่น ๆ เพราะมีขนาดของการเพิ่มทุนมากพอควรเพื่อลองรับธุรกิจที่ยังมีโอกาสขยายตัวมากขึ้น เหมือนกรณีของ ประกันชีวิต บีแอลเอ เป็นต้น ที่เพิ่มทุนได้เงินเข้ามาหลายพันล้านบาท ทำให้มีสภาพคล่องการซื้อขายดีขึ้น
ตรงนี้คงต้องดูทิศทางให้ดีครับ
อย่างไรการเปลี่ยนแปลงคงเกิดขึ้นครับ
เพราะการควบคุมดูแลบริษัทประกันภัยเกือบ 70 กว่าบริษัทมันไม่ง่ายเลย แต่หากทำให้เกิดการควบรวมเหลือเป็นบริษัทขนาดใหญ่จำนวนมาก จะทำให้การกำกับดูแลและการควบคุมดูแลทำได้ง่ายกว่านี้ และติดตามได้ง่ายกว่ามากเพราะมีจำนวนแห่งน้อยลง ทำให้เกิดความโปร่งใสในการทำงาน มีมืออาชีพมาบริหารงานมากขึ้น ต้นทุนในการดำเนินงานมีขนาดธุรกิจที่เหมาะสมอยู่ในระดับแข่งขันได้มากขึ้น มีความรับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้นมากขึ้น เหมือนกรณีของธนาคารพาณิชย์ปัจจุบันที่เหลือจำนวนน้อยลงมาก แต่ขนาดใหญ่ขึ้น ฐานะการเงินแข็งแรงขึ้นมาก การกำกับดูแลทำได้ง่ายขึ้นกว่าในอดีต ซึ่งเป็นผลจากจากการควบรวมกิจการและการเข้าซื้อของสถาบันการเงินขนาดใหญ่ในขณะนี้ครับ
และสังเกตให้ดี หากการเข้าซื้อหรือควบรวมทำในช่วงธุรกิจแข็งแรง ก็จะได้ราคาที่ดีเหมือนที่สถาบันการเงินธนาคารเกิดขึ้นแล้ว
แต่หากทำในช่วงที่เกิดภาวะจำเป็นหรือจำใจ เหมือนในอดีตของกลุ่มสถาบันการเงินธนาคารและบริษัทเงินทุน ราคาก็แทบจะไม่มีมูลค่าเลยก็มี เพราะจำใจต้องขายดีกว่าจะไม่ได้อะไรเลยก็มีครับ เพราะฐานะการเงินย่ำแย่ ไม่สามารถแข่งขันเชิงธุรกิจได้ ผลประกอบการขาดทุนจำนวนมากเป็นต้น
ก็ลองติดตามกันดูนะครับ คิดว่าในจังหวะที่บริษัทประกันภัยพลิกฟื้นผลงานในช่วงนี้ กำไรดีขึ้นเพิ่มขึ้นมากขึ้นโดยเฉพาะเริ่มจากไตรมาส 2 ที่ผ่านมา ที่มีกำไรจากหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ เงินทุนแข็งแรงมากขึ้น มูลค่าทางบัญชีอยู่ในระดับสูง สภาพคล่องก็ดี จะเป็นโอกาสทองที่ควรน่าจะเร่งดำเนินการเพราะจะได้ราคาที่ดี ก่อนที่โอกาสนี้จะผ่านไป เพราะอย่างไรเสียใน 2 -3 ปีนี้น่าจะเห็นการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นอยู่ดีครับ
:lol:
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 10, 2009 9:23 pm
โดย miracle
ผมมีคำถามติดใจนิดหน่อยว่า ตอนนี้ ข่าวควบรวมของกิจการประกันภัยนั้นเกิดจากเรื่องของ RBC จริงหรือ
เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวกับ เงินกองทุนกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ที่สามารถรับประกันภัยไม่ใ่ช่หรือ
จุดนี้เหมือน กองทุนขั้นที่ 1 และ กองทุนขั้นที่ 2 ของธนาคาร
ไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแข่งขันของธนาคาร หรือ ความสามารถในเืรื่องส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทประกันภัยเลย
นำสองเรื่องนี้มาพันกันแบบนี้ดีแล้วหรือครับ
มันต้องแยกให้ออกว่า เพิ่มทุนเพื่อได้ผลอะไร มากกว่า
หมายเหตุ
การควบรวมกิจการนั้น เหตุผลที่เป็นตัวสนับสนุนนั้นคือ การเปิดประกันภัยเสรีมากกว่า เพราะ RBC เป็นส่วนหนึ่งของแผนตัวเปิดประกันภัยเสรี
ทำไมหรือที่ใช้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ตัวนี้เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก
ถ้าคุณไม่ใช่ คนอื่นเขาใช้กันหมด มันหมายความว่าอะไรล่ะ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: เสาร์ ต.ค. 10, 2009 9:45 pm
โดย miracle
การันตีเงินสำรองประกันปึ้ก
วันเสาร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2552
โพสต์ทูเดย์ คปภ.เผย 6 เดือนแรกเงิน สำรองประกันชีวิตทั้งระบบ 1.72 ล้านบาท ไร้ปัญหาจ่ายสินไหมทดแทน
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า 6 เดือน แรกของปี 2552 บริษัทประกันชีวิตทั้งหมด 25 แห่ง มีเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันชีวิตเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 1.72 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.86% เมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของ ปีที่ผ่านมา
เงินสำรองดังกล่าวเตรียมไว้สำหรับการจ่ายคืนให้แก่ผู้เอาประกันชีวิต หรือผู้รับผลประโยชน์ในอนาคตตามสัญญาที่ได้ทำไว้กับลูกค้า เช่น เมื่อครบกำหนดสัญญา เมื่อเสียชีวิต หรือเมื่อเวนคืนกรมธรรม์ โดยเงินจำนวนนี้จะนำไปลงทุนในทรัพย์สินที่ไม่มีภาระผูกพัน มีสภาพคล่องสูง พร้อมที่จะนำออกมาจ่ายให้กับผู้เอาประกันชีวิตทันที
ทั้งนี้ เงินสำรองจำนวนดังกล่าวลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลไทย 1.30 แสนล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 75.60% ลงทุนในพันธบัตรรัฐวิสาหกิจ 3.5 หมื่นล้านบาท คิดเป็น 20.63% ลงทุนใน หุ้นกู้รัฐวิสาหกิจ 2,460.60 ล้านบาท คิดเป็น 1.43% และลงทุนในหุ้นกู้บริษัท 1,645.92 ล้านบาท คิดเป็น 0.95%
สำหรับ 7 เดือนแรกของปีนี้ บริษัทประกันชีวิตทั้งระบบมีการจ่ายเงินคืนให้กับผู้เอาประกันชีวิตไปแล้วทั้งสิ้น 5.13 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.63% แยกเป็นเงินที่จ่ายคืนกรณีกรมธรรม์ครบกำหนดสัญญา 1.98 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 9.81% จ่ายสินไหมกรณีเสียชีวิต 6,875.38 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.52% จ่ายกรณีลูกค้าไถ่ถอนกรมธรรม์ก่อนครบกำหนดหรือเวนคืนกรมธรรม์ 1.22 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.07% จ่ายชดเชยกรณีอุบัติเหตุและทุพพลภาพ 1,188.34 ล้านบาท ลดลง 37.65% และจ่ายกรณีประกันสุขภาพ 7,020.53 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13.78%
http://www.posttoday.com/finance.php?id=70916
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 11:00 am
โดย kewin
ขอเรียนถามคุณ chaitorn หน่อยครับพอดีอ่าน research ของ bla แล้วติดประเด็นดังนี้
Appraisal Value = Embedded Value (EV) + Value of new Business (VNB)
โดย. Value of New Business (VNB) = มูลค่าของกรมธรรม์ใหม่ใน 1 ปี * ตัวทวีคูณ
(Multiplier) ของธุรกิจใหม่ (อาทิ ความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นผ่านช่องทาง
Bancassurance)
อยากเรียนถามว่า คำว่า มูลค่าของกรมธรรม์ใหม่ใน 1 ปี หมายถึงยอดกรรมธรรม์ที่เป็นเบี้ยปีแรกถูกไหมเวลาคำนวณส่วนนี้เขาจะคิดว่ามีค่าใช้จ่ายสินไหม ประมาณ 1 ใน 3 ของเบี้ยรับปีแรกถูกไหมครับ
2.ตัวคูณ (Multiplier) นี้จะหามาได้จากไหนเหรอครับเห็นของ asp ให้มา 4.63 เท่าผมอ่านแล้วงงมาก
ขอคำชี้แนะหน่อยครับ
3.ถ้าใช้วิธี pe คิดว่าพอไหวไหมครับเพราะ Appraisal Value ยากเหลือเกิน
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 1:15 pm
โดย นักดูดาว
นายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์
เคยเป็น MD อยู่ที่ AJF ไม่ใช่หรือครับ ข้ามห้วยมาทำประกันภัยซะแล้ว
ไม่ธรรมดาครับ คุณเรืองวิทย์นี่
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 7:26 pm
โดย chaitorn
คุณ miracle
ผมมีคำถามติดใจนิดหน่อยว่า ตอนนี้ ข่าวควบรวมของกิจการประกันภัยนั้นเกิดจากเรื่องของ RBC จริงหรือ
เพราะเรื่องนี้มันเกี่ยวกับ เงินกองทุนกับความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ที่สามารถรับประกันภัยไม่ใ่ช่หรือ
จุดนี้เหมือน กองทุนขั้นที่ 1 และ กองทุนขั้นที่ 2 ของธนาคาร
ไม่เกี่ยวข้องกับความสามารถในการแข่งขันของธนาคาร หรือ ความสามารถในเืรื่องส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทประกันภัยเลย
นำสองเรื่องนี้มาพันกันแบบนี้ดีแล้วหรือครับ
มันต้องแยกให้ออกว่า เพิ่มทุนเพื่อได้ผลอะไร มากกว่า
หมายเหตุ
การควบรวมกิจการนั้น เหตุผลที่เป็นตัวสนับสนุนนั้นคือ การเปิดประกันภัยเสรีมากกว่า เพราะ RBC เป็นส่วนหนึ่งของแผนตัวเปิดประกันภัยเสรี
ทำไมหรือที่ใช้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ตัวนี้เป็นมาตรฐานสากลที่ใช้กันทั่วโลก
ถ้าคุณไม่ใช่ คนอื่นเขาใช้กันหมด มันหมายความว่าอะไรล่ะ
ในบทวิเคราะห์ มีข้อมูลหลายตัว ที่อาจตอบคำถาม คุณ miracle ได้ชัดเจนครับ
เรื่อง RBC ที่เกี่ยวกับเงินกองทุน ไปสัมพันธ์อะไรกับความสามารถในการแข่งขัน เพราะหากทุนไม่พอ ก็ขยายงานไม่ได้
ไปเกี่ยวอะไรกับการควบรวม เพราะ หากทุนไม่พอ ก็ต้องเพิ่มทุน แล้วบริษัทที่จะอยู่ในข่ายต้องเพิ่มทุนจำนวนมาก ในบทวิเคราะห์นี้เขาวิเคราะห์ไว้แล้ว มันมากมายขนาดไหน
และมีบางบริษัทได้รองรับความเสี่ยงตรงนี้ไปแล้ว โดยการควบรวมกันเสร็จแล้ว ทำให้เงินกองทุนเพียงพอที่จะดำเนินธุรกิจต่อไป รองรับกฏเกณฑ์นี้ ไปแล้ว เช่น เมื่องไทยประกันภัย กับ ภัทรประกันภัย คือตัวอย่างหนึ่งครับ ลองดูเงินกองทุนของเมืองไทยประกันภัย กับ ของภัทรประกันภัย ตามตารางที่เขาแสดงให้เห็นครับ
หรือ จะลดความเสี่ยงของ พอร์ตลง ก็ต้องไปทำประกันภัยต่อให้มากขึ้น เพื่อลดเงินทุนที่ต้องสำรองเพื่อรองรับความเสี่ยง เป็นต้น
ลองอ่านบทวิเคราะห์นี้ดูครับ
เป็นบทวิเคราะห์เชิงคุณภาพที่ดีบทวิเคราะห์หนึ่งทีเดียว และยังพูดถึง กลไกการกำกับดูแลด้วย RBC จะเป็นอย่างไรด้วยครับ
inv2.asiaplus.co.th/web_research/doc/2009/.../Thre520806.pdf
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 7:54 pm
โดย miracle
ขอบคุณพี่ chaitorn
ผมเข้าใจประเด็นของ RBC อยู่แล้ว
เพราะผมเอาไปเทียบเคียงกับ ธนาคารครับ
แต่ขอบคุณสำหรับข้อมูลครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 8:35 pm
โดย miracle
แบงก์รับทรัพย์ ยอดขายประกัน โตสวนเศรษฐกิจ
วันจันทร์ที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ยอดขายประกันผ่านธนาคารโตพรวดพราดสวนเศรษฐกิจ
นายกฤษณ์ จันทโนทก ผู้จัดการฝ่ายอาวุโส ฝ่ายประกันภัยธนพัทธ์ ธนาคารกรุงศรีอยุธยา เปิดเผยว่า ธุรกิจแบงก์แอสชัวรันส์ยังเติบโตได้ดีภายใต้ปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจโดยมั่นใจว่า เบี้ยประกันปีแรกจะได้ตามเป้า 4,000 ล้านบาท คิดเป็นอัตราเติบโต 50% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว โดยช่วง 8 เดือนที่ผ่านมา มียอดเบี้ยประกันรับปีแรก 3,500 ล้านบาท เป็นเบี้ยประกันชีวิต 70% ประกันวินาศภัย 30%
สำหรับปีหน้าธนาคารยังคงตั้งเป้าเบี้ยประกันใหม่เติบโต 50% หรือมูลค่า 5,500 ล้านบาท ขณะที่ทั้งระบบน่าจะเติบโต 10-15%
อย่างไรก็ตาม ธนาคารไม่ให้ความสำคัญกับการแข่งขันด้านราคา เพราะเป็นวิธีการเติบโตที่ไม่ยั่งยืน จึงเน้นการทำผลิตภัณฑ์แบบกล่องเป็นประกันภัยสำเร็จรูป (Prompt) ที่ตรงกับความต้องการและสะดวกสำหรับผู้บริโภค ที่ผ่านมาให้บริการแล้ว 2 ประเภท คือ ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล และประกันภัยรถยนต์
ล่าสุด ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ กรุงศรี แคนเซอร์ พรอมท์ คุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิดทุกระยะที่ตรวจ พบครั้งแรก ยกเว้นมะเร็งผิวหนัง เบี้ยประกันเพียง 1,999 บาทต่อปี คุ้มครองสูงสุด 2 แสนบาท ตั้งเป้าภายในสิ้นปีขายได้ 1 หมื่นกล่อง หรือประมาณ 20 ล้านบาท รวมปีนี้จะขายได้ 2 แสนกล่อง
สำหรับช่องทางการขายหลัก 95% ยังคงเป็นการขายผ่านสาขาทั้ง 577 สาขา อีก 3% เป็นการขายทางโทรศัพท์
นายอดิศร เสริมชัยวงศ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าหมายเบี้ยประกันรวม 6,000 ล้านบาท เติบโต 20% โดยเป็นเบี้ยประกันปีแรก 3,000 ล้านบาท ที่เหลือ 70% เป็นเบี้ยประกันต่ออายุ สำหรับแผนธุรกิจระยะต่อไป มีแนวคิดทำผลิตภัณฑ์ที่มีความยืดหยุ่นสามารถปรับเปลี่ยนได้ทุกช่วงจังหวะของชีวิต รวมไปถึงทุนประกันที่เพิ่มขึ้นตามอายุหรือตามรายได้ของผู้เอาประกัน
นายศีลวัต สันติวิสัฎฐ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ ธนาคารกสิกรไทย เปิดเผยว่า ปีนี้ธนาคารตั้งเป้าเบี้ยประกันใหม่ไว้ที่ 8,000 ล้านบาท จากปีที่แล้วอยู่ที่ 5,000-6,000 ล้านบาท โดย 90% เป็นเบี้ยประกันชีวิต
http://www.posttoday.com/finance.php?id=71123
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 9:09 pm
โดย นักดูดาว
ล่าสุด ธนาคารได้ออกผลิตภัณฑ์ กรุงศรี แคนเซอร์ พรอมท์ คุ้มครองโรคมะเร็งทุกชนิดทุกระยะที่ตรวจ พบครั้งแรก ยกเว้นมะเร็งผิวหนัง เบี้ยประกันเพียง 1,999 บาทต่อปี คุ้มครองสูงสุด 2 แสนบาท ตั้งเป้าภายในสิ้นปีขายได้ 1 หมื่นกล่อง หรือประมาณ 20 ล้านบาท รวมปีนี้จะขายได้ 2 แสนกล่อง
เอ้อดีครับ แตกต่างที่ packaging
แต่ราคานี้ค่อนข้างแพงนะครับ เพราะเล็งแค่มะเร็ง ถ้าเป็นโรคร้ายอื่นๆก็ฟรีไปเลย ประกันโรคร้ายน่าจะครอบคลุมมากกว่านี้นะครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 9:11 pm
โดย อะไรดีละ
ขายประกันผ่าน BAY โตเร็วมาก..ขอบอก
เพราะ ราคาดึงดูดใจสุดๆ
ผมเพิ่งไปทำประกัน PA ของ AYUD ผ่านแบงก์นี้มา
ถูกกว่าที่อื่นนะครับ.... โฆษณาให้เลย
ที่อื่น 1200-1500 บาท ที่นี่แค่ 750 ต่อปี ผลประโยชน์พอกันครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 10:06 pm
โดย miracle
ข้อมูลของ AYUD นั้นไม่เห็นมีการเพิ่มเติมของรายหรืออะไรในช่วงนี้
BAY เองก็ํตามก็ไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในการขายกรมธรรม์ผ่านธนาคาร จนเรียกได้ว่า เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือได้
ผมไม่ใช่ไม่มีหุ้น AYUD ล่ะ
ผมมีอยู่ตั้งแต่ปี 2549 หรือ 2550
เป็นช่วงที่ AYUD ที่มีปัญหาอะไรบ้างอย่างราคา ร่วงไปแตะระดับ 13 บาทกว่า ก่อนที่กลับไปที่เดิม เป็นหุ้นที่ผมคิดว่า ผมลงทุนไม่ผิด เพราะผมได้กำไรทั้งส่วนต่างและปันผล และเหลือหุ้นที่คงค้างไว้ใน port นิดหน่อยเพื่อกินปันผล
ผมไม่ใช่ว่าอคติล่ะ สำหรับ AYUD แต่ ผมมองไม่ออกว่า BAY ถือ AYUD และ AACP แล้วบริษัทประกันภัยสองตัวนี้ได้ประโยชน์จาก BAY
ถ้าเป็นพวก กรุงเทพ ธนชาต ไทยพาณิชย์ กรุงไทย (อันนี้เพื่อนโทรมาบอก) และ กสิกรไทย ก็ตาม ที่เห็นชัดเจน
ขนาดผมเดินไปฝากเงินหรือถอนเงิน พนักงานของธนาคารไ่ม่เห็นชวนซื้อผลิตภัณฑ์อะไรเลย มันแปลกไหมล่ะ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 10:13 pm
โดย chaitorn
คุณ kewin
ขอเรียนถามคุณ chaitorn หน่อยครับพอดีอ่าน research ของ bla แล้วติดประเด็นดังนี้
Appraisal Value = Embedded Value (EV) + Value of new Business (VNB)
โดย. Value of New Business (VNB) = มูลค่าของกรมธรรม์ใหม่ใน 1 ปี * ตัวทวีคูณ
(Multiplier) ของธุรกิจใหม่ (อาทิ ความสามารถในการทำกำไรที่เพิ่มขึ้นผ่านช่องทาง
Bancassurance)
อยากเรียนถามว่า คำว่า มูลค่าของกรมธรรม์ใหม่ใน 1 ปี หมายถึงยอดกรรมธรรม์ที่เป็นเบี้ยปีแรกถูกไหมเวลาคำนวณส่วนนี้เขาจะคิดว่ามีค่าใช้จ่ายสินไหม ประมาณ 1 ใน 3 ของเบี้ยรับปีแรกถูกไหมครับ
2.ตัวคูณ (Multiplier) นี้จะหามาได้จากไหนเหรอครับเห็นของ asp ให้มา 4.63 เท่าผมอ่านแล้วงงมาก
ขอคำชี้แนะหน่อยครับ
3.ถ้าใช้วิธี pe คิดว่าพอไหวไหมครับเพราะ Appraisal Value ยากเหลือเกิน
ผมเข้าใจว่า มูลค่าของกรมธรรม์ใน 1 ปี หมายถึง ฐานรายได้ของกรมธรรม์ในปีแรก
ส่วน Multiplier นั้น น่าจะเป็นรายได้ในอนาคตที่ประมาณการว่าจะเพิ่มทวีคูณ ประมาณ 4.63 เท่า เพราะปกติ ประกันชีวิต จะมีอัตราความยั่งยืน กล่าวคือ ผู้ทำประกันภัยจะมีการจ่ายเงินค่าเบี้ยประกันภัยต่อเนื่องหลายปี
ทางที่ดี น่าจะถามไปยังนักวิเคราะห์ดีกว่านะครับ จะได้ข้อมูลที่ชัดเจนกว่า ลองโทรไปหานักวิเคราะห์ของ ASP ดูนะครับ
ได้ข้อมูลอย่างไรก็มา แชร์ด้วยนะครับ Model ประเมินน่าสนใจดี อย่างน้อยทำให้เรารู้ตัว Driver มูลค่าหุ้นมาจากอะไร
สำหรับ ประเมินด้วย PE นั้น ปัญหาอยู่ที่จะประเมิน Earning ในอนาคตอย่างไร เพราะ ตัวนี้การรับรู้รายได้ต้องคำนวณโดยมีสมมุติฐานเหมือนกันครับ และตาม Model ของนักวิเคราะห์ เขาก็ประเมินคู่กับ PE เหมือนกันนะครับ ลองไปอ่านดูตอนที่เขาทำเปรียบเทียบกับ นิวยอร์คไลฟ์ ครับ :lol:
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 10:18 pm
โดย chaitorn
เอา Model การวิเคราะห์หุ้นประกันภัย มาให้ศึกษาดูกันครับ
เผื่อจะทำให้เข้าใจ แนวคิดของ ASP ที่เขาวิเคราะห์ด้วย Model นี้ครับ
เป็น slide presentation พร้อมตัวอย่างการวิเคราะห์ครับ
http://www.corpasia.net/taiwan/2888/eve ... _Final.pdf
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: จันทร์ ต.ค. 12, 2009 11:20 pm
โดย miracle
ขอบคุณพี่ chaitorn ที่ให้ข้อมูลครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2009 1:22 am
โดย il genio
Appraisal Value เป็นวิธีประเมินมูลค่าที่แท้จริงของบริษัทประกันชีวิต
โดยที่จริงแล้ว หลักการคล้ายๆ การใช้วิธี DCF ประเมินมูลค่าของธุรกิจอื่นๆ
เพียงแต่สมมุตฐานอิงกับหลักสถิติมากกว่าธุรกิจอื่นครับ
ดังนั้นเวลาพิจารณา Appraisal Value ต้องระลึกเสมอว่า Appraisal value ขึ้นอยู่กับสมมุตฐานอีกมากว่าจะเป็นจริงหรือเปล่า
Appraisal Value = Embedded Value (EV) + Value of New Business (VNB)
ตามที่คุณ kewin บอก
ส่วนแรก Embedded Value คือการมองมูลค่าบริษัทประกันชีวิต โดยสมมุตว่าบริษัทประกันชีวิตไม่รับทำกรมธรรม์พิ่มเติมแล้ว
หากเป็นบริษัทอื่น มูลค่าบริษัทเมื่อหยุดดำเนินการจะเท่ากับ net asset value
คือขายสินทรัพย์ทั้งหมดและใช้หนี้ทั้งหมด เหลือเท่าไรคือส่วนที่ผู้ถือหุ้นจะได้รับ
แต่กรณีของบริษัทประกันชีวิต มูลค่ากิจการยังไม่หมดแค่นั้น
เพราะแม้จะไม่รับทำกรมธรรม์เพิ่มเติม
บริษัทประกันชีวิตก็ยังสามารถเก็บเบี้ยประกันสำหรับกรมธรรม์ที่เซ็นกันไว้แล้วอีก 10 - 20 ปี ข้างหน้า
ซึ่งกำไรในส่วนเบี้ยในอนาคตที่ยังไม่ได้เก็บ ยังไม่ได้สะท้อนใน net asset value
EV ของบริษัทประกันชีวิตจึงประกอบด้วย 2 ส่วน ตามสูตร ดังนี้
Embedded Value (EV) = Net Asset Value (NAV) + Value In Force (VIF)
โดย NAV สะท้อนกำไรสะสมจากเบี้ยประกันที่ได้รับชำระแล้วจนถึงปัจจุบัน
ส่วน VIF สะท้อนมูลค่าปัจจุบัน (Present value) ของกำไรจากเบี้ยประกันที่จะได้รับในอนาคตของกรมธรรม์ที่ทำสัญญาไว้เรียบร้อยแล้ว
แต่มูลค่าของบริษัทประกันชีวิต ยังไม่หมดแค่นั้น ยังมี franchise value คือ
ความเป็น SCNYL, ความเป็น BLA, ความเป็น MTL
ซึ่งจะสามารถหาลูกค้าได้เพิ่มเติมในอนาคต
ส่วนนี้แหละครับที่เรียกว่า Value of New Business (VNB)
โดยวิธีหา VNB เริ่มจาก
ดูความสามารถในการหาเบี้ยประกันปีแรก (First Year Premium) ของบริษัทประกันย้อนหลัง 12 เดือน
และดูว่าหากเก็บเบี้ยประกันจนหมดอายุกรมรรม์ของเบี้ยเหล่านี้ บริษัทประกันจะมีกำไรเท่าไร
โดย มูลค่าปัจจุบันของกำไรที่จะได้จากธุรกิจใหม่ที่บริษัทประกันจะสามารถหาได้ใน 1 ปี เรียกว่า Value of 1 year new business ครับ
พอได้ Value of 1 year new business ก็ต้องมาคูณกับ Multiple
ซึ่งหลักการคล้ายๆ กับ P/E
คือเราจะให้ premium กี่เท่าของกำไร 1 ปี
จริงๆแล้ว multiple ถ้าเป็น 4 เท่ากว่านี่ถือว่าต่ำมาก
สำหรับประเทศที่ penetration rate ของประกันชีวิตยังต่ำอยู่อย่างประเทศไทย
7-10 เท่า น่าจะเป็นช่วงที่เหมาะสม
[VNB คิดได้จากสูตร
VNB = Value of 1 year new business * Multiple]
ต้องเตือนอีกครั้งนะครับว่า Appraisal Value, Embedded value, VNB เหล่านี้ สมมุตฐานที่เกี่ยวข้องเยอะมาก
หากอ้างอิงจาก ที่นักวิเคราะห์คิดเอง ไม่ได้มีนักคณิตศาสตร์ประกันคิดให้
มองไว้ก่อนได้เลยว่ามีโอกาสคลาดเคลื่อนสูง
ดังนั้น discount ไว้เยอะๆ ก่อนเป็นดีที่สุด
ส่วน PE มองประกอบได้ครับ แต่มีจุดอ่อนเยอะ
ที่สำคัญที่สุด Earning ของบริษัทประกันชีวิตจะไม่ได้สะท้อนให้เห็นว่าธุรกิจเปลี่ยนแปลงแล้วหรือยัง
โดยเราจะดูว่าธุรกิจของบริษัทประกันชีวิตยังเติบโตอยู่หรือไม่
เราต้องดูการเติบโตของเบี้ยปีแรก (First Year Premium) เป็นสำคัญ
สาเหตุที่ไม่ดู เบี้ยปีต่ออายุ (Renewal Year Premium)
เพราะ RYP เป็นบุญเก่าจากผลงานในอดีต
(หากอัตราการต่ออายุไม่เปลี่ยน ซึ่งปกติจะค่อนข้างคงที่ ยังไงก็ได้ชัวร์)
ผมขอยกตัวอย่าง SCNYL เพื่อให้เห็นภาพ
ปี 2008 SCNYL มี earning 1,195 ล้านบาท
ต่อให้ปี 2009 2013 SCNYL ไม่มีเบี้ยปีแรกเลย
earning ในปี 2013 ก็อาจเติบโตถึงหลักเกิน 2,500 ล้านบาทได้
เพราะ port เงินลงทุนจะสูงขึ้นทุกปี รวมถึงรายได้จากเงินลงทุน
หากเป็นอย่างนั้นจริงๆ (SCNYL มีเบี้ยปีแรกของปี 2009 เท่ากับ 0)
นักลงทุนควรขายหุ้นได้แล้ว เพราะ business ไม่มีอนาคตแล้ว
แต่ถ้าเราดู PE อย่างเดียว เราจะยังเห็น PE ลดลงเรื่อยๆ เพราะ earning ยังเติบโตอยู่ครับ
สรุปแล้วต้องดูหลายๆ อย่างประกอบกัน
ถ้าจะมองตัวเดียว ขอให้มอง อัตราการเติบโตของ first year premium ครับ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2009 1:42 am
โดย woody
แจ่มเลยครับพี่ il genio :D
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2009 10:02 am
โดย miracle
สอนอาจารย์มหาวิทยาลัย สร้างนักวางแผนการเงิน
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ตลท.ป้อนข้อมูลการวางแผนทางการเงินให้อาจารย์มหาวิทยาลัยทั่วประเทศ หวังต่อยอดบรรจุเป็นวิชาเรียนระดับอุดมศึกษา ช่วยปั๊มนักวางแผนทางการเงิน
นายกฤษฎา เสกตระกูล ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ประกอบวิชาชีพหลักทรัพย์และฝ่ายพัฒนาความรู้ผู้ลงทุน ศูนย์ส่งเสริมการพัฒนาความรู้ตลาดทุน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (TSI) เปิดเผยว่า วานนี้ได้จัดสัมมนาให้กับอาจารย์ผู้สอนวิชาการเงินในสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ โดยในปีนี้ TSI เน้นทางด้านการวางแผนทางการเงิน เพราะหวังว่าจะมีการบรรจุเป็นวิชาเรียน
ที่ผ่านมาทาง TSI จัดอบรมนักวางแผนทางการเงินมาแล้วกว่า 2,000 คน แต่ในอนาคตจะเป็นศูนย์กลางในการจัดสอบเท่านั้น โดยจะเริ่มสอบด้านคุณวุฒิวิชาชีพสำหรับนักวางแผนทางการเงิน (CFP) เป็นครั้งแรกในเดือนพ.ย.นี้ ส่วนการอบรมจะให้พันธมิตรดำเนินการ
ปัจจุบัน TSI มีพันธมิตร 6 แห่ง ได้แก่ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สถาบันบัณฑิตบริหารธุรกิจศศินทร์ แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ศูนย์ศึกษาต่อเนื่องจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
นางวิวรรณ ธาราหิรัญโชติ นายกสมาคม นักวางแผนการเงินไทย กล่าวว่า เป็นปีแรกที่สมาคมเปิดอบรมและสอบผ่านหลักสูตรจำนวน 67 คน และคาดว่าปีหน้าจะเพิ่มเป็น 100-200 คน ส่วนอีก 5 ปีจะมีทั้งสิ้น 600-700 คน
ไทยควรเร่งทำความเข้าใจและสร้างนักวางแผนทางการเงิน เพราะเอเชียเริ่มเป็นศูนย์กลางความมั่งคั่งทางการเงินของโลกมากขึ้น นางวิวรรณ กล่าว
นายเรืองวิทย์ นันทาภิวัฒน์ นายกสมาคมนายหน้าประกันภัย กล่าวว่า บริษัทประกันชีวิตขนาดใหญ่ตื่นตัวและให้ความสำคัญกับการพัฒนาบุคลากรหรือตัวแทนประกันให้มีความรู้ด้านการวางแผนการเงินมากขึ้น เช่น เอไอเอ เมืองไทยประกันชีวิต ไทยประกันชีวิต และกรุงเทพประกันชีวิต
http://www.posttoday.com/stockmarket.php?id=71337
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2009 10:03 am
โดย miracle
ชงแก้กม.ใช้เงินกองทุนประกัน
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552
คปภ. ชงเรื่องแก้ไขกฎหมายประกัน ให้ใช้เงินกองทุนได้ทันที ไม่ต้องรอคดีชั้นศาลสิ้นสุด
น.ส.ชำเลือง ชาติสุวรรณ รองเลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า ทางคปภ. จะเสนอให้มีการแก้ไขกฎหมายถึงเรื่องหลักเกณฑ์การจ่ายเงินจากกองทุนประกันชีวิตและกองทุนประกันวินาศภัย เพื่อให้ตรงกับจุดประสงค์ของการจัดตั้งกองทุนที่ต้องการให้นำเงินจากกองทุนมาจ่ายให้กับเจ้าหนี้บริษัทประกันที่ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันภัยได้ทันที โดยไม่ต้องรอให้ผลการดำเนินการตามกระบวนการล้มละลายหรือกระบวนการชำระบัญชีสิ้นสุด
เรื่องนี้ต้องมีการแก้ไขกฎหมาย และคงไม่ใช่เรื่องยาก เพราะ เป็นการขอแก้ไขเพียงบางมาตราเท่านั้น ไม่ได้ขอแก้ไขกฎหมาย ทั้งฉบับ ซึ่งจะทำได้รวดเร็วกว่า และเรื่องนี้ถือเป็นเรื่องเร่งด่วนที่ต้อง รีบทำ เพราะประชาชนได้รับความเดือดร้อน แต่ก็คงไม่สามารถบอก ได้ว่าจะแก้ไขได้เสร็จเร็วแค่ไหน น.ส.ชำเลือง กล่าว
ทั้งนี้ ในส่วนของคดีบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย นั้นมีความคืบหน้าไปพอสมควร และคาดว่ากระบวนการชำระบัญชีจะเสร็จสิ้นภายในเดือนธ.ค.นี้ ซึ่งก็ติดตามหนี้ได้มากพอสมควร
นายนิธิศ มนุญพร ผู้จัดการกองทุนประกันวินาศภัย กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุนมีเงินที่ได้รับมาจากเงินสมทบจากบริษัทประกันวินาศภัยต่างๆ อยู่ 120 ล้านบาท และคงไม่สามารถดำเนินการใดๆ ให้กับเจ้าหนี้ของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัยได้ จนกว่าขั้นตอนทางผู้รับชำระบัญชีในการรวบรวมทรัพย์สินของบริษัท สัมพันธ์ประกันภัย และคดีการฟ้องร้องล้มละลายจะเสร็จสิ้น หรือจนกว่าจะมีการแก้ไขกฎหมายแล้ว
นอกจากนี้ ในส่วนของเงินกองทุนที่มีอยู่นั้นคงไม่สามารถนำเงินไปลงทุนอย่างอื่นได้ นอกจากนำไปฝากไว้กับทางธนาคารเพียงอย่างเดียว เพราะสามารถเบิกเงินออกมาจ่ายให้เจ้าหนี้ได้ทันทีหากคดีความสิ้นสุด
นายชัย โสภณพนิช กรรมการ ผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท กรุงเทพประกันภัย กล่าวว่า ในส่วนของบริษัทเป็นเจ้าหนี้ จากค่าสินไหมที่บริษัท สัมพันธ์ประกันภัย ติดค้างไว้อยู่ประมาณ 10 ล้านบาท ซึ่งได้มีการตั้งสำรองไว้ครบหมดแล้ว แต่จะลงบัญชีเป็นหนี้สูญได้ก็คงต้องใช้เวลาอีกหลายปีจนกว่าคดีจะสิ้นสุด
แหล่งข่าวจากคปภ. เปิดเผยว่า ทางสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายังได้ให้ความเห็นถึงเรื่องอำนาจในการกู้ยืมหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินของกองทุนประกันวินาศภัยว่า ตามพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกันวินาศภัยนั้น ไม่ได้ให้อำนาจกองทุนประกันวินาศภัยในการกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินหรือออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อช่วยเหลือเจ้าหนี้ซึ่งมีสิทธิได้รับชำระหนี้ที่เกิดจากการเอาประกันภัยในกรณีที่กองทุนมีเงินไม่เพียงพอได้
http://www.posttoday.com/finance.php?id=71317
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2009 10:04 am
โดย miracle
วิริยะมั่นใจสิ้นปีเบี้ยรวม1.7หมื่นล.
วันอังคารที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2552
ผู้บริหารวิริยะประกันภัยมั่นใจสิ้นปีเบี้ยรับรวมถึง 1.7 หมื่นล้านบาท ขอกำไรแค่ 5%
นายอานนท์ โอภาสพิมลธรรม ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการ บริษัท วิริยะประกันภัย เปิดเผยว่า 8 เดือนแรกของปี 2552 บริษัทมีเบี้ยประกันภัยรับรวม 1.11 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% แยกเป็นเบี้ยประกันภัยรถยนต์ 1.03 หมื่นล้านบาท และเบี้ยประกันภัยประเภทอื่นๆ 1,730 ล้านบาท
นายกฤษณ์ หิญชีระนันทน์ ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายการตลาด กล่าวว่า เหลือเวลาอีก 3 เดือน บริษัทมั่นใจว่าเบี้ยประกันภัยรับรวมของบริษัทจะถึง 1.7 หมื่นล้านบาทอย่างแน่นอน จากปี 2551 วิริยะฯ มีเบี้ยประกันภัยรับรวม 1.6 หมื่นล้านบาท เพราะประเมินดูแล้ว คาดว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายจะมีเบี้ยประกันไหลเข้ามาเฉลี่ยเดือนละ 1,300 ล้านบาท จากเบี้ยประกันภัยต่ออายุของลูกค้าเก่า และเบี้ยประกันภัยใหม่ๆ
สำหรับกำไรในปีนี้นั้น ผู้บริหารบริษัทให้นโยบายทำกำไรประมาณ 5% ของยอดขาย ซึ่งเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.)
นายกฤษณ์ กล่าวว่า แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว ยอดขายรถยนต์ใหม่ลดลงกว่า 30% แต่เบี้ยประกันภัยรถยนต์ของบริษัทยังเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เป็นผลมาจากอัตราการต่ออายุของลูกค้าเก่าทำได้ดี และช่องทางการขายผ่านสถาบันการเงินที่เน้นขายประกันรถยนต์ป้ายแดงทำรายได้มากถึง 80% อีก 15% มาจากช่องทางขายผ่านตัวแทนจำหน่ายรถยนต์ และที่เหลือจากตัวแทน
ทั้งนี้ ในช่วงที่เหลือของเดือน บริษัทยังคงเน้นทำตลาดประกันภัยรถยนต์ประเภท 1 เนื่องจากลูกค้าส่วนใหญ่ของบริษัทยังคงพอใจที่จะใช้บริการประกันภัยชั้น 1 จากบริษัท รวมถึงประกันรถภาคสมัครใจประเภทอื่นๆ
http://www.posttoday.com/finance.php?id=71314
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2009 10:56 am
โดย อะไรดีละ
[quote="miracle"]ข้อมูลของ AYUD นั้นไม่เห็นมีการเพิ่มเติมของรายหรืออะไรในช่วงนี้
BAY เองก็ํตามก็ไม่ค่อยมีอะไรเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรมในการขายกรมธรรม์ผ่านธนาคาร จนเรียกได้ว่า เปลี่ยนหน้ามือเป็นหลังมือได้
ผมไม่ใช่ไม่มีหุ้น AYUD ล่ะ
ผมมีอยู่ตั้งแต่ปี 2549 หรือ 2550
เป็นช่วงที่ AYUD ที่มีปัญหาอะไรบ้างอย่างราคา ร่วงไปแตะระดับ 13 บาทกว่า ก่อนที่กลับไปที่เดิม เป็นหุ้นที่ผมคิดว่า ผมลงทุนไม่ผิด เพราะผมได้กำไรทั้งส่วนต่างและปันผล และเหลือหุ้นที่คงค้างไว้ใน port นิดหน่อยเพื่อกินปันผล
ผมไม่ใช่ว่าอคติล่ะ สำหรับ AYUD แต่ ผมมองไม่ออกว่า BAY ถือ AYUD และ AACP แล้วบริษัทประกันภัยสองตัวนี้ได้ประโยชน์จาก BAY
ถ้าเป็นพวก กรุงเทพ ธนชาต ไทยพาณิชย์ กรุงไทย (อันนี้เพื่อนโทรมาบอก) และ กสิกรไทย ก็ตาม ที่เห็นชัดเจน
ขนาดผมเดินไปฝากเงินหรือถอนเงิน พนักงานของธนาคารไ่ม่เห็นชวนซื้อผลิตภัณฑ์อะไรเลย มันแปลกไหมล่ะ
หุ้นประกันภัยยังไม่น่าสนใจหรือในภาวะแบบนี้
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 13, 2009 7:07 pm
โดย อะไรดีละ
อย่างไรก็ดี ถึงแม้จะขายได้มาก แต่ก็ไม่ได้หมายถึง กำไรที่จะดีขึ้นในระยะสั้น
ตรงกันข้าม ผมกังวลว่ามันจะแย่ลงด้วยซ้ำสำหรับ AYUD ในระยะสั้นๆ นี้
เพราะ หากมีคนซื้อประกันภัยแบบ 5 ปีเลยหรือ 20 ไตรมาส
เมื่อผ่านไป 1 ไตรมาสก็จะลงบันทึกเป็นรายได้ ได้เพียง 1/20 ของยอดเบี้ยประกันนั้นหรือแค่ 5 เปอร์เซนต์ ขณะที่ต้นทุนของค่าคอมฯ จะถูกบันทึกเต็มจำนวนเลย ซึ่งตกราว 10-12 เปอร์เซนต์ของเบี้ยประกัน นั่นหมายถึง...ขาดทุนเลยนะครับ ในไตรมาสแรกสุดของการขายกรมธรรม์ได้
แม้จะไม่มีการเคลมเรียกร้องค่าเสียหายเลยก็ตาม