หน้า 6 จากทั้งหมด 10

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 04, 2008 6:42 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:หมอด้า

มองเรื่อง ที่ญี่ปุ่น อัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในระบบเยอะๆว่ายังไงบ้างอะครับ

ช่วยให้แก้ปัญหาได้จริงอะ
การอัดฉีดสภาพคล่องของญี่ปุ่น เป็นการช่วยในแง่จิตวิทยาและการผ่อนคลายความวิตกกังวลมากกว่า

ปัญหาของญี่ปุ่นในภาคการเงินที่ได้รับผลกระทบจาก subprime นั้นมีน้อย เข้าใจว่าเข็ดมาจากสมัย real estate bubble ช่วง Nikkei ขึ้นไปสามหมื่นกว่าโน่น

วิกฤตเศรษฐกิจนอกจากจะทำให้ยุโรปและอเมริกาต้องการเงินลงทุนจากภายนอกอย่างมากแล้ว ค่าเงินเยนที่แข็งขึ้นมากจะยิ่งกระตุ้นให้บริษัทต่าง ๆ ในญี่ปุ่นเข้าไปหาซื้อสินทรัพย์และกิจการในอเมริกาและยุโรปมากขึ้นไปอีก

ประมาณการปีนี้บริษัทญี่ปุ่นขนเงินไปซื้อกิจการในต่างประเทศแล้วกว่า 6 หมื่นล้านเหรียญ เทียบกับปีที่แล้วทั้งปีแค่ 2 หมื่น 5 พันล้านเหรียญ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 04, 2008 7:45 pm
โดย Amadeus
ขอถามหมอด้าบ้างนะครับ

Credit Default Swap จะหมดอายุราวๆเดือน 3 ปี2009 ใช่ไหมครับ
การอัดฉีดสภาพคล่อง เป็นการช่วย Default Protection Seller ให้อยู่จนจบ
เกมส์ใช่หรือไม่ครับ  แล้วหลังจากเกมส์จบ seller จะรอดตัวไปไม่ต้องชดใช้
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดใช่ไหมครับ  แล้วใครจะต้องจ่ายครับ

- นี่จะเป็นข่าวร้ายที่สุดในวิกฤตครั้งนี้ไหมครับ  หรือว่าทั่วโลกรับรู้เรื่องนี้ไปแล้วครับ  :idea:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 04, 2008 7:46 pm
โดย hongvalue
หมอด้าครับ

อาทิตย์ที่แล้วผมอ่านเจอประมาณว่า

รัฐบาล usa ใช้เงินประมาณ

600 ล้าน us (ไม่แน่ใจ)

เข้าไปค้ำประกัน cdo

ซึ้งส่วนตัวรู้สึกว่าตัวเลขมันน่าจะน้อยมาก

และอ่านเจอมาว่า

การเขาเงินเข้าไปเพิ่มทุนสถาบันการเงินจริงๆแล้ว

เป็นแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

ถ้าจะแก้ที่ต้นเหตุได้ ต้องไปแก้ที่ราคา property

แต่ความเป็นจริงรัฐบาลไม่สามารถไปประคองราคาที่ดินได้ใช่ไหมครับ

ก็เลยค้ำประกัน cdo ซึ้งผมรู้สึกว่า usa แก้ปัญหาแปลกๆยังไงไม่รู้

ไม่ทราบหมอด้ามองยังไงครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 05, 2008 2:25 am
โดย Ryuga
อาจารย์แพรนดี้ซินแส เขียน:จริง ๆ แล้วรอน้องริวมาแจมให้ความเห็นอยู่ครับ
ชื่อกระทู้มันเป็นถามอาจารย์นี่ครับ คนอื่นๆ เลยไม่กล้าตอบ ผมก็ไม่ค่อยรู้อะไรเท่าไหร่ครับ รอถามอาจารย์ดีกว่า  :oops:
พี่พอใจโจ้วซือ เขียน::8) ยุ่นมีห่านบิน
   ไทยมีห่านคู่
ห่านดินกินหญ้า
ห่านฟ้ากินยุง  :8)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 05, 2008 8:09 am
โดย mprandy
Amadeus เขียน:ขอถามหมอด้าบ้างนะครับ

Credit Default Swap จะหมดอายุราวๆเดือน 3 ปี2009 ใช่ไหมครับ
การอัดฉีดสภาพคล่อง เป็นการช่วย Default Protection Seller ให้อยู่จนจบ
เกมส์ใช่หรือไม่ครับ  แล้วหลังจากเกมส์จบ seller จะรอดตัวไปไม่ต้องชดใช้
ค่าเสียหายที่เกิดขึ้นทั้งหมดใช่ไหมครับ  แล้วใครจะต้องจ่ายครับ

- นี่จะเป็นข่าวร้ายที่สุดในวิกฤตครั้งนี้ไหมครับ  หรือว่าทั่วโลกรับรู้เรื่องนี้ไปแล้วครับ  :idea:
CDS มันเป็นสัญญา (คล้าย ๆ ประกัน) วันหมดอายุก็ขึ้นกับ CDS แต่ละตัวไป
พอหมดสัญญาแล้วก็สามารถซื้อใหม่ได้ครับ
แต่ rate จะเปลี่ยนไป
อาจจะแพงขึ้นหรือถูกลงขึ้นกับความเสี่ยงต่อ default

การอัดฉีดสภาพคล่อง ถ้าหมายความถึง AIG ก็คงใช่ครับ
เป็นการป้องกันไม่ให้ AIG ล้มซึ่งจะเป็นลูกโซ่ต่อไปอีกเยอะ
แต่การอัดฉีดนี้ไม่ได้ช่วยทำให้คนขาย CDS รอด
เพราะเขาก็ยังต้องจ่ายตามสัญญาอยู่ดี
(เช่นถ้าทำ CDS ไว้กับ AIG เพื่อป้องกันความเสี่ยงกรณีบริษัท
AAA ล้ม ถ้า AAA เกิดล้มหรือเบี้ยวหนี้จริง AIG ก็ต้องจ่าย)

แต่การเข้าไปอุ้ม AIG เพื่อให้ตลาดเกิดความเชื่อมั่น
เพราะ CDS นั้นมีส่วนน้อยเท่านั้นที่แย่
(คือ default แล้วต้องจ่าย) ไม่ได้แย่ไปทั้งหมด

ผมว่าความชั่วร้ายของ CDS CDO
อยู่ตรงที่มันเป็น systemic risk
ที่เกิดจากความบกพร่องในหลักการ
และหน่วยงานที่ควรจะควบคุม

CDO พูดกันไปมากแล้วเรื่องการเอาหนี้มายำรวมกัน
แต่งตัวให้ออกมาสวย แล้วขายต่อ
คนที่น่าจะต้องอับอายที่สุดในกรณีนี้ควรจะเป็น rating agencies
ทั้งหลาย (Moody's, S&P และ Fitch)
ที่เห็นแก่รายได้ค่าธรรมเนียมจนลืมหลักการของตนเอง
และจนถึงตอนนี้ rating agencies
ก็เป็นกลุ่มเดียวที่ไม่ต้องรับภาระความสูญเสียมหาศาล
(รับแต่คำด่า ซึ่งไม่มีผลอะไรเลยเพราะ 3
บริษัทนี้ผูกขาดวงการอยู่แล้ว)

CDS นั้นมีปัญหายิ่งใหญ่กว่าที่เราคิดตรงที่คนใช้ CDS
มากกว่าการเป็นเครื่องมือป้องกันความเสี่ยง ปัจจุบัน CDS
ขายกันในลักษณะอนุพันธ์คล้าย ๆ พวก index futures หรือ
option แทนที่จะเป็นกรมธรรม์ประกัน
บริษัทการเงินไหนในโลกนี้สามารถออก CDSได้หมดไม่เฉพาะบริษัทประกัน
(Lehman Brothers หรือแม้กระทั่งธนาคารทั่วไปก็ออกได้)
แถมนักลงทุนสามารถจะซื้อCDSได้
แม้ว่าตัวเองจะไม่ได้ถือตราสารหนี้ที่ตนเองต้องการป้องกันก็ได้ด้วย
(คือเก็งกำไรแท้ ๆ เลย)
ภาพความเสียหายมันเลยบิดเบี้ยวออกมาเยอะ


รูปนี้เป็นสัดส่วน CDS ของตราสารอนุพันธ์ CDO/MBS

รูปภาพ

ตลาดสินเชื่ออสังหาในอเมริกามี subprime อยู่ 20%
(เพิ่มจาก 9% ในปี 2000)
แต่ดู CDS จะเห็นว่าสัดส่วน subprime มันสูงกว่า
คือประมาณ 30%
(อาจะเป็นเพราะพวกนี้เสี่ยงสูง เลยมีคนซื้อ CDS มาก
หรืออาจเป็นเพราะคนขายชอบขาย subprime CDS
เพราะได้เงินมากกว่า หรืออาจเป็นเพราะคนเก็งกำไรชอบเก็งใน
subprime CDS มากกว่าเพราะมีโอกาสเกิดเรื่องมากกว่าก็ได
้ อันนี้ไม่มีใครรู้)
และความเสียหายของ CDO กับ CDS
มันต่างกันตรงที่ CDO สามารถ write down มูลค่าได้
(เช่นอาจจะลดลง 10, 20, 90% แล้้วแต่ชนิด)
แต่ CDS เกิดเรื่องแล้วต้องจ่ายแน่ ๆ
(คือเป็น all or none)

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 05, 2008 8:14 am
โดย mprandy
Ryuga เขียน: ชื่อกระทู้มันเป็นถามอาจารย์นี่ครับ คนอื่นๆ เลยไม่กล้าตอบ ผมก็ไม่ค่อยรู้อะไรเท่าไหร่ครับ รอถามอาจารย์ดีกว่า  :oops:
น้องริวมาช่วยกันออกความเห็น
ต่อยอดความคิดกันเถอะครับ ลับสมองดีออก
อยากฟังความเห็นหลาย ๆ คน เสริม/แย้ง ได้ทั้งนั้น
Ryuga เขียน: ห่านดินกินหญ้า
ห่านฟ้ากินยุง  :8)
:lovl:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ พ.ย. 05, 2008 2:13 pm
โดย wattae
เอาข่าวมาฝากครับ  :D

ดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ตลาดเอเชียร่วงลง ขานรับแบงค์ชาติทั่วโลกลดดบ.

IQ ข่าวเศรษฐกิจ 05/11/2008 13:44:32


         อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ในตลาดเอเชียปรับตัวลดลงในวันนี้
หลังจากที่ธนาคารกลางหลายแห่งปรับลดอัตราดอกเบี้ยลง
และรัฐบาลประเทศต่างๆได้อัดฉีดวงเงินฉุกเฉินสูงสุดถึง 3
ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐ
เพื่อฟื้นคืนความเชื่อมั่นในตลาดสินเชื่อให้กลับคืนมา

         สำนักข่าวบลูมเบิร์กรายงานว่า
อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์สกุลเงินดอลลาร์ประเภท 3
เดือนในตลาดฮ่องกง (HIBOR) ร่วงลง 0.24%
แตะระดับต่ำสุดในรอบ 7 สัปดาห์ที่ 2.55%
ขณะที่อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์ตลาดสิงคโปร์ (SIBOR)
ลดลงสู่ระดับ 2.57% แตะระดับต่ำนับตั้งแต่วันที่ 18 มี.ค.
         "วิกฤตสภาพคล่องกำลังได้รับการแก้ไขอย่างค่อยเป็นค่อยไป"
นักวิเคราะห์จาก Oversea-Chinese Banking Corp.
ธนาคารรายใหญ่อันดับ 3 ของสิงคโปร์กล่าว
"แต่ดูเหมือนว่าข่าวร้ายจะยังไม่จบสิ้นลง
เนื่องจากภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัวลงจะเริ่มปรากฏให้เห็น
เป็นรูปเป็นร่างมากขึ้น
แม้ว่าสถานการณ์ด้านสภาพคล่องจะกลับเข้าสู่ภาวะปกติ"
         อัตราดอกเบี้ยทั่วโลกร่วงลง
เนื่องจากธนาคารกลางหลายประเทศปรับลดอัตราดอกเบี้ย
และรัฐบาลได้ออกมาตการช่วยเหลือ
รวมถึงใช้นโยบายรับประกันเงินฝาก
เพื่อช่วยให้ธนาคารพาณิชย์ออกเงินกู้ระหว่างกันมากขึ้น
โดยเมื่อวานนี้ ธนาคารกลางออสเตรเลียประกาศลดอัตราดอกเบี้ยระยะสั้นลง
มากกว่าคาดการณ์ถึง 0.75% มาอยู่ที่ระดับ 2.25%
เช่นเดียวกับธนาคารกลางจีน ฮ่องกง อินเดีย ญี่ปุ่น
และสหรัฐอเมริกาที่ประกาศลดดอกเบี้ยไปเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา
         นอกจากนี้
บรรยากาศการซื้อขายในตลาดหุ้นเอเชียวันนี้ก็พุ่งขึ้นสูงสุด
ในรอบ 3 สัปดาห์โดยมีหุ้นในกลุ่มการเงินที่พุ่งขึ้น
หลังจากที่อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงค์สกุลเงินดอลลาร์ประเภท 3 เดือน
ที่ตลาดลอนดอน (LIBOR)
ปรับตัวลดลง 0.15% เมื่อวานนี้สู่ระดับ 2.71%
         ขณะเดียวกัน ในวันนี้
ธนาคารกลางออสเตรเลียได้อัดฉีดเงิน 1.59
พันล้านดอลลาร์ออสเตรเลีย (1.11 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ)
เข้าสู่ระบบ พร้อมทั้งคาดว่าตลาดเงินอาจมีตัวเลขขาดทุน 2.1
พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ประเภท 3
เดือนที่ธนาคารพาณิชย์ออสเตรเลียเรียกเก็บระหว่างกัน
ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ 5.54%

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 06, 2008 10:34 am
โดย mprandy
hongvalue เขียน:หมอด้าครับ

อาทิตย์ที่แล้วผมอ่านเจอประมาณว่า

รัฐบาล usa ใช้เงินประมาณ

600 ล้าน us (ไม่แน่ใจ)

เข้าไปค้ำประกัน cdo

ซึ้งส่วนตัวรู้สึกว่าตัวเลขมันน่าจะน้อยมาก

และอ่านเจอมาว่า

การเขาเงินเข้าไปเพิ่มทุนสถาบันการเงินจริงๆแล้ว

เป็นแค่การแก้ปัญหาที่ปลายเหตุ

ถ้าจะแก้ที่ต้นเหตุได้ ต้องไปแก้ที่ราคา property

แต่ความเป็นจริงรัฐบาลไม่สามารถไปประคองราคาที่ดินได้ใช่ไหมครับ

ก็เลยค้ำประกัน cdo ซึ้งผมรู้สึกว่า usa แก้ปัญหาแปลกๆยังไงไม่รู้

ไม่ทราบหมอด้ามองยังไงครับ
เรื่องการค้ำประกัน CDO ด้วยเงิน $600 ล้าน อันนี้ไม่แน่ใจครับ แต่ความเห็นส่วนตัวคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ เงิน $600 ล้านมันน้อยมาก และปกติรัฐบาลจะไม่เข้าไปแทรกแซงเรื่องพวกนี้โดยตรง (ขนาดเข้าไปอ้อม ๆ แบบ bail out 7 แสนล้าน ก็โดนด่าแทบกระอัก อเมริกาเป็นประเทศใหญ่ประเทศเดียวรัฐที่ไม่ออกมาประกาศค้ำประกันเงินฝากเต็มจำนวน แค่เพิ่มการค้ำประกันผ่าน FDIC จากแสนนึงเป็นสองแสนห้า) แต่อาจช่วยผ่าน Term Auction Facility ซึ่งเขาเปิดรับ CDO ด้วย (ถ้าไม่เน่าเกินไป)

การเพิ่มทุนสถาบันการเงิน สองแสนห้าหมื่นล้าน เหตุผลนั้นเขาต้องการให้สถาบันการเงินเหล่านี้มีเงินกองทุนเพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบให้มากขึ้น เป็นการผ่อนคลาย credit crunch ลง

ในสภาวะปกติ การเพิ่มทุนสองแสนห้าหมื่นล้านเหรียญ ควรจะทำให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้อีกราว ๆ สองล้านห้าแสนล้านเหรียญ (ประมาณ 10 เท่า ถ้าให้เกณฑ์เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงประมาณ 10%) แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะถึงเพิ่มทุนไป ก็ไม่ค่อยมีแบงค์ไหนยอมปล่อยกู้ในช่วงนี้

สรุปว่าฉีดเงินเข้าไปเพิ่มทุน เหมือนเติมน้ำกระป๋องเล็ก ๆ ในถังเปล่า  :roll:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 06, 2008 10:48 am
โดย mprandy
เอา PMI composite index เดือนล่าสุด ตุลาคม 08 มาให้ดู

รูปภาพ

เทียบกับเดือนกันยายน ก่อน financial tsunami

รูปภาพ

สรุปข้อมูลล่าสุด หดตัวลงทุกตัวได้แก่ การผลิต (production), คำสั่งซื้อใหม่ (new order), การจ้างงาน (employment), คำสั่งซื้อคงค้าง (order backlog)...

เดือนนี้ราคาขาย (price) ปักหัวลงแรงสุด จาก 53.5 -> 37 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้า commodity (น้ำมัน) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจ

ลดลงมาเป็นระยะ ๆ แล้วคือ ยอดสินค้านำเข้า (imports) และที่น่าตกใจคือ export หันหัวลงด้วยจากเพิ่มขึ้น เป็นลดลง (52 -> 41)

ที่เพิ่มขึ้นตัวเดียว (ซึ่งไม่ดี) คือ customer inventory หมายความว่าลูกค้ามีสินค้าใน stock ค้างอยู่มากขึ้น ระบายของออกได้ยากขึ้น

สรุปว่าตอนนี้อเมริกาเข้า official recession แล้วในเดือน ตุลาคม 2008

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 06, 2008 8:35 pm
โดย hongvalue
mprandy เขียน:เอา PMI composite index เดือนล่าสุด ตุลาคม 08 มาให้ดู

รูปภาพ

เทียบกับเดือนกันยายน ก่อน financial tsunami

รูปภาพ

สรุปข้อมูลล่าสุด หดตัวลงทุกตัวได้แก่ การผลิต (production), คำสั่งซื้อใหม่ (new order), การจ้างงาน (employment), คำสั่งซื้อคงค้าง (order backlog)...

เดือนนี้ราคาขาย (price) ปักหัวลงแรงสุด จาก 53.5 -> 37 ส่วนหนึ่งเป็นผลจากราคาสินค้า commodity (น้ำมัน) ส่วนหนึ่งเป็นผลจากเศรษฐกิจ

ลดลงมาเป็นระยะ ๆ แล้วคือ ยอดสินค้านำเข้า (imports) และที่น่าตกใจคือ export หันหัวลงด้วยจากเพิ่มขึ้น เป็นลดลง (52 -> 41)

ที่เพิ่มขึ้นตัวเดียว (ซึ่งไม่ดี) คือ customer inventory หมายความว่าลูกค้ามีสินค้าใน stock ค้างอยู่มากขึ้น ระบายของออกได้ยากขึ้น

สรุปว่าตอนนี้อเมริกาเข้า official recession แล้วในเดือน ตุลาคม 2008

หมอด้าครับ

ตัวเลขระดับต่ำว่า 40 น่าจะไม่เคยเห็นมาไม่ต่ำกว่า

25 ปีปะครับ ที่ผมไปเช็กมาปี ประมาณ 1982-1983

ต่ำกว่า 40 เหมือนกัน

แบบนี้ก็ถือว่าปัญหาหนักที่สุดในรอบ 25 ปีได้เลยปะครับ

2. แล้วเราจะดูจากตรงไหนครับ เราถึงจะรู้ ไส้ในของมัน

ว่า employment เป็นเท่าไหร่ order ,import ,export

ปกติเราหาอ่านได้ใน

cnbc bloomberg ก็จะมีบอกรายละเอียดพวกนี้ใช่ไหมครับ


ขอบคุณหมอด้ามากครับ

ที่มา update ให้

ว่าแต่ unemployment rate เดือนตุลาเป็นเท่าไหร่แล้วครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 06, 2008 9:45 pm
โดย mprandy
PMI เดือนนี้ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 1982 ครับ (ครั้งนั้นได้ 38.8)

สำหรับ industrial sector ที่ยังคงโตอยู่มีแค่เสื้อผ้า (apparel), เครื่องหนัง (leather & allied products) และคอมพิวเตอร์/ผลิตภัณฑ์อิเลกทรอนิกส์(computer & electronic products) ที่เหลือหดตัวหมด

สำหรับดัชนีแต่ละตัว.. จัดให้
รูปภาพ
อุบาทว์ไม่ใช่เล่น :8)

ข้อมูลเหล่านี้หาได้จากเวบข่าวการเงินทั้งหลายครับ CNBC/Bloomberg ก็มีหมด เพราะเป็นข้อมูลที่คนติดตามมาก

สำหรับ unemployment rate ตอนนี้ก็ 6.3% (ที่มา.. http://money.cnn.com/2008/11/06/news/ec ... /index.htm )

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. พ.ย. 06, 2008 10:50 pm
โดย hongvalue
mprandy เขียน:PMI เดือนนี้ต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน ก.ย. 1982 ครับ (ครั้งนั้นได้ 38.8)



สำหรับดัชนีแต่ละตัว.. จัดให้
รูปภาพ
อุบาทว์ไม่ใช่เล่น :8)
เห็นตัวเลขพวกนี้ ไม่แปลกใจเลยที่เมื่อวาน dow ล่วง
เกือบ 500 และตอนนี้ dow ล่วงไปอีกแล้ว 200 จุด
(แต่ไม่รู้ว่าจะปิดเท่าไหร่นะ)

อืม ผมก็รอโอกาศต่อไป

แถมอัตราว่างงานก็อยู่ในระดับสูงสุดในรอบ 9 ปีได้แล้วด้วย (เท่ากับเดือน jun 03 พอดีที่ 6.3%)

นับตั้งแต่ 2000-2008

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 07, 2008 2:51 pm
โดย mprandy
รูปภาพ

เอากราฟมาให้ดูกัน

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 07, 2008 7:06 pm
โดย ChoNgMinG
[quote="mprandy"]

การเพิ่มทุนสถาบันการเงิน สองแสนห้าหมื่นล้าน เหตุผลนั้นเขาต้องการให้สถาบันการเงินเหล่านี้มีเงินกองทุนเพิ่มขึ้น และสนับสนุนให้ปล่อยสินเชื่อเข้าสู่ระบบให้มากขึ้น เป็นการผ่อนคลาย credit crunch ลง

ในสภาวะปกติ การเพิ่มทุนสองแสนห้าหมื่นล้านเหรียญ ควรจะทำให้สถาบันการเงินปล่อยสินเชื่อเพิ่มขึ้นได้อีกราว ๆ สองล้านห้าแสนล้านเหรียญ (ประมาณ 10 เท่า ถ้าให้เกณฑ์เงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงประมาณ 10%) แต่ดูเหมือนว่าสถานการณ์ไม่เป็นอย่างนั้น เพราะถึงเพิ่มทุนไป ก็ไม่ค่อยมีแบงค์ไหนยอมปล่อยกู้ในช่วงนี้

สรุปว่าฉีดเงินเข้าไปเพิ่มทุน เหมือนเติมน้ำกระป๋องเล็ก ๆ ในถังเปล่า

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 08, 2008 11:13 am
โดย Dimsum
ล่าสุด สูงสุดในรอบ 14 ปีแย้ว  :shock:  6.5 % สำหรับประเทศที่พัฒนาแล้ว + เศรษฐกิจใหญ่ที่สุดในโลก ถือว่าเยอะมาก

AP
Jobless rate bolts to 14-year high of 6.5 percent
Friday November 7, 10:21 pm ET
By Jeannine Aversa, AP Economics Writer  
Jobless rate bolts to 14-year high of 6.5 percent in October; 240,000 jobs cut


WASHINGTON (AP) -- The nation's unemployment rate bolted to a 14-year high of 6.5 percent in October as another 240,000 jobs were cut, far worse than economists expected and stark proof the economy is deteriorating at an alarmingly rapid pace.

http://biz.yahoo.com/ap/081107/economy.html

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 21, 2008 8:11 pm
โดย sai
ขุดขึ้นมาก่อน เผื่อพี่หมอแพรนดี้ มีอะไรดีดี มาเล่าให้น้องน้องฟังอีก

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: ศุกร์ พ.ย. 21, 2008 11:23 pm
โดย mprandy
:lovl: :lovl: เอางั้นเลยเหรอ จะฟังเรื่องอะไร :lovl: :lovl:

เบิร์กเชียร์กับ CDS หรือเอา Big 3 bail out ดี ??

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 22, 2008 12:21 pm
โดย wattae
mprandy เขียน:เบิร์กเชียร์กับ CDS หรือเอา Big 3 bail out ดี ??
ขอเรื่อง Big 3 bail out ครับ

ขอบคุณครับ  :D

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: เสาร์ พ.ย. 22, 2008 3:02 pm
โดย ignorant
wattae เขียน:
ขอเรื่อง Big 3 bail out ครับ

ขอบคุณครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 23, 2008 4:03 pm
โดย mprandy
งั้นเรามาลองให้ความเห็นกันว่า Big 3 สมควรได้รับการช่วยเหลือเงินอัดฉีดจากรัฐบาลหรือเปล่า และเพราะอะไร

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 23, 2008 8:07 pm
โดย chode
ผมขอร่วมตอบนะครับ

ถ้ามองประโยชน์ต่อโลก คงควรปล่อยล้ม

แต่ถ้ามองประโยชน์ต่ออเมริกา โอบามาคงอุ้ม แต่อุ้มแล้วจะทำยังไงต่อ
1. จะกีดกันการค้า
2. จะอุ้มแบบเดิมๆคือใส่เงินอย่างเดียว
3  เป็นแบบผมอยากเห็นโอบามาใช้โอกาสนี้ กีดกันการใช้รถ SUV โดยอ้างโลกร้อนโดยการขึ้นภาษีรถ SUV  สนับสนุนรถเล็กๆ แล้วใช้ข้ออ้างในการใช้รถ SUV ของประเทศอื่นมากีดกันการค้า  
4. หรือแบบอื่นๆ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร พ.ย. 25, 2008 4:00 pm
โดย ignorant
mprandy เขียน:งั้นเรามาลองให้ความเห็นกันว่า Big 3 สมควรได้รับการช่วยเหลือเงินอัดฉีดจากรัฐบาลหรือเปล่า และเพราะอะไร
ถ้ามองในแง่ตลาดเสรี ก็ไม่ควรอุ้มครับ

ผมคิดว่า ถ้ามองประโยชน์ต่อโลกแบบภาพรวม ยิ่งต้องอุ้ม Big Three นะครับ

เพราะว่าความเสียหายไม่น่าจะจำกัดวงในอเมริกา แต่ไปทั่วโลก

อย่างน้อยๆในแคนาดา ทั้ง 3 บริษัทนี้เป็นหนี้บริษัท Magna ที่ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ขนาดใหญ่ถึง C$1,600 ล้าน ถ้า Big Three ล้ม บริษัทนี้อาจล้มตาม พร้อมๆกับพวกบริษัทเล็กบริษัทน้อย ลามเป็นลูกโซ่ นี่แค่แคนาดาเองนะ แล้วธุรกิจที่เป็นของ จีนล่ะ ไต้หวันล่ะ ฮ่องกง สิงคโปร์ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เยอรมนี ไทย  มันมี stakeholders เยอะแยะไปหมด

แล้วยังมีที่พวกนี้ไปถือหุ้นในบริษัทรถยนต์ หรือบริษัทต่างๆ ในเยอรมนี ญี่ปุ่น จีน อีกล่ะ

หากว่าอเมริกาไม่อุ้ม ประเทศอื่นที่ได้รับผลกระทบเขาคงไม่อยากอุ้ม แต่ถ้าอเมริกาอุ้ม จะได้ทำพร้อมกันทั่วโลกเป็นทีม (แบบที่ธ.กลางทั่วโลกลดด.บ.พร้อมๆกัน)

แล้วคนตกงานอีกเป็นล้านๆคน ที่หมายถึงกำลังซื้อที่ลดลงทั่วโลกอีกล่ะ ก็จะส่งผลทางอ้อมไปถึงภาคเศรษฐกิจอื่น

ราคาคอมมอดิตี้อีกล่ะ

สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้ให้กับ 3 บริษัทและบริษัทที่อยู่ตาม supply chain อีกล่ะ

นอกจากนี้ก็จะกระทบต่ออสังหาริมทรัพย์ด้วย ยกตัวอย่างในไทย อสังหาก็ได้รับประโยชน์จากพวกบริษัทผลิตชิ้นส่วน อะไหล่ เพราะพวกนี้ก็มาเช่าพื้นที่เป็นโรงงาน โกดังเก็บสินค้า  เอาแค่โตโยต้า นิสสัน ยอดขายตกฮวบ บริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนยังสะเทือนเลย หนาวไปถึงกิจการโกดังให้เช่า หนาวไปถึงคนงานในโรงงานอีก


สรุปว่า ถ้าจะปล่อยเจ๊งควรทำนานแล้ว ไม่ใช่มาทำในช่วงวิกฤติร้ายแรงแบบนี้ too big to fail เวลาวิกฤติมันใหญ่เกินไปที่จะปล่อยเจ๊งครับ และการอุ้มเป็นความชั่วที่จำเป็นต้องทำครับ

ส่วนไอ้ 3 CEO ที่มันนั่งเครื่องบินส่วนตัวมาให้การในสภา จับเอาแรงงานเป็นล้านมาเป็นตัวประกัน ก็หาหนทางเล่นงานมันสิครับ

ต้องคิดถึงผลกระทบต่อเนื่องไว้ก่อน

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 01, 2008 2:48 pm
โดย mprandy
อุตส่าห์พิมพ์ซะดิบดี browser ดันค้าง เนื้อหาหายไปหมด รูปภาพ

เอาใหม่... แบบย่อ ๆ

Big 3 ดำเนินธุรกิจแบบไม่มีความได้เปรียบอย่างยั่งยืนอะไรซักอย่าง ตลาดรถถือเป็นตลาดกึ่งโภคภัณท์ที่แม้คนจะแย้งว่าบาง brand อาจจะดึงดูดสาวกผู้ชื่นชอบ หรือมีคนถวิลหาอยู่ไม่คลาย อย่าง Mercedes-Benz ที่ถือเป็นรถในฝัน บ่งบอกถึงฐานะของเจ้าของก็ตาม ในความเป็นจริงคนซื้อรถเพราะรถนั้นมีคุณภาพดี ในราคาที่ยอมรับได้ ส่วนรถหรูระยับทั้งหลายเป็น niche market ที่มีสัดส่วนน้อยมาก

แม้กระทั่ง Mercedes เองก็ใ่ช่ว่าจะไม่มีคู่แข่ง รถระดับเดียวกันยี่ห้อต่าง ๆ เช่น BMW, Audi, Lexus, Infiniti หรือ Acura ก็ต่างแข่งขันเพื่อแย่งชิงตลาดบนกันอยู่

ด้าน supply ของ Big 3 นั้นเสียเปรียบค่ายรถญี่ปุ่นอย่างมาก ในธุรกิจและอุตสาหกรรมทั้งหลาย ไม่มีใครไม่รู้จักวิถีโตโยต้า แม้เรื่องนี้จะถือเป็นโมเดลที่เปิดเผยและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลาย ก็ใช่ว่า Big 3 จะทำได้ดีเพราะว่ามีขนาดองค์กรใหญ่ วัฒนธรรมองค์กรที่ยากต่อการเปลี่ยนแปลง ยิ่งถ้าต้องแข่งกับเจ้าตำรับอย่างโตโยต้าเอง ยิ่งทำได้ยาก

คนทั่วไปเข้าใจว่าสาเหตุที่ค่ายญี่ปุ่นได้กำไรมากกว่า เพราะค่าแรงของคนงานในค่ายรถญี่ปุ่นถูกกว่า ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ค่าแรงคิดเป็นต้นทุนของรถต่อคันไม่เกิน 10% ของราคารถ แถมค่าแรงต่อชั่วโมงของคนงาน Big 3 ในปัจจุบันกลับน้อยกว่าค่ายรถญี่ปุ่นมาหลายปีแล้ว จาก cost-cutting ที่ผ่านมา แต่เหตุที่ค่ายรถญี่ปุ่นได้เปรียบคือ operational efficiency ที่สูงกว่า เขาผลิตรถต่อชั่วโมงต่อคนได้มากกว่า มีของเสียน้อยกว่า มีการเรียกรถคืนน้อยกว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เขามี supply advantage

ยิ่งคนงาน Big 3 เป็น unionized ด้วย บริษัทมีภาระ health care แบบ open end และ retirement benefit เหมือนรัฐวิสาหกิจบ้านเรา (ซึ่งล้วนแต่เป็นอดีตคนงานที่ปัจจุบันไม่ได้ทำรายได้ให้บริษัทอีกต่อไป) ต่างกับค่ายญี่ปุ่นซึ่งอาศัย health insurance และ pension fund มาช่วยทำให้ไม่ต้องรับภาระแบบไม่จำกัด แม้ Big 3 จะพยายามเปลี่ยนแปลง แต่ยังมีแรงต่อต้านจากสหภาพ (UAW) ที่แก้อะไรมาก ก็โดน strike

หันมามอง demand ยิ่งแย่กว่า

ด้วยคุณภาพที่เหนือกว่าของรถญี่ปุ่น (ไม่ว่าจะกี่ survey) เป็นเวลายาวนาน ทำให้คนฝังความคิดไว้ว่า รถอเมริกัน "ห่วย" กว่า ไม่ว่าจะเป็นเรื่องคุณภาพหรือดีไซน์ แม้ระยะหลังรถบางรุ่นของอเมริกาจะมีคุณภาพเหนือกว่าหรือเทียบเคียงได้กับรถญี่ปุ่น แต่ไม่อาจลบล้างความเชื่อของลูกค้าได้เลย แถมตลาดรถมือสอง รถญี่ปุ่นมีราคาขายต่อดีกว่าชัดเจน (เทียบ camry ที่ 5 ปีจะเหลือมูลค่าประมาณ 52% กับ Ford taurus ที่เหลือประมาณ 30% กว่า ๆ ที่อายุพอกัน) จึงเป็นที่รู้กันในหมู่คนว่า คนซื้อรถอเมริกัน ถ้าไม่เพราะไม่มีเงินพอที่จะซื้อรถญี่ปุ่น ก็เพราะว่ารถอเมริกันมีราคาถูกกว่ามาก

ยิ่งโตโยต้า และฮอนด้าเป็นผู้บุกเบิกรถ hybrid ที่ประหยัดน้ำมัน ทำให้ภาพลักษณ์ของรถยี่ห้อเหล่านี้ดีขึ้นไปอีกว่า ถ้าจะมองหารถที่ประหยัดน้ำมันต้องยี่ห้อนี้ (แม้ว่าความเป็นจริงจะมีรุ่นที่ประหยัดน้ำมันจริง ๆ เพียง 3-4 รุ่น)

ต้นทุนสูงกว่า ขายราคาต่ำกว่า มันจะอยู่ได้หรือ

การอยู่รอดที่ผ่านมาของ Big 3 คือเน้นการขายรถใหญ่กำไรดี (กระบะ และ SUV) เพราะค่ายญี่ปุ่นไม่เข้ามาแข่ง แล้วเอากำไรมาโปะรถเก๋ง (ด้วยการลดราคา ฟรีดอกเบี้ย เงิน rebate คืน) โดยไม่สนใจจะเน้นการควบคุมคุณภาพ พอมีปัญหาราคาน้ำมัน ยอดขายรถใหญ่ลดลงฮวบฮาบ ก็เน่า

ส่วนแบ่งตลาดของ Big 3 ที่ลดลงจาก 70% จนเหลือไม่ถึง 40% ในปัจจุบันอาจจะพออธิบายได้จากเหตุผลข้างต้น แต่ถ้ามองดี ๆ ส่วนแบ่งตลาดที่ลดลงมันยังน้อยเกินกว่าที่ควรจะเป็นด้วยซ้ำ

ยอดขายของ Big 3 ที่สูงอยู่ได้ส่วนหนึ่งก็ด้วยกลยุทธ์ราคาถูก (ในรูปเงินคืนหรือ rebate ราว 1,500-2,500 เหรียญต่อคัน) บ่อย ๆ ครั้งเข้า คนซื้อก็จับทางได้ เพราะเดือนไหนไม่มีโปรโมชั่น คนซื้อจะรอ จนยอดขายลดลงมาก สุดท้ายทนไม่ได้ก็ต้องจัดโปรโมชั่นขึ้นมาอีก ส่วนหนึ่งของรถเก๋งที่ขายไม่ออก ก็จะถูกปล่อยให้บริษัทรถเช่า (ที่ตัวเองเป็นเจ้าของ เช่น Hertz) ระบายสต๊อก ปั๊มยอดขายขึ้นอีก

ด้วยเหตุนี้ ไม่น่าแปลกใจว่าแม้จะมีเหตุการณ์ 9/11 แต่ยอดขายรถกลับเพิ่มขึ้น และอัตราการเพิ่มขึ้นของรถใหม่ สูงกว่าอัตราการเพิ่มของคนขับใหม่ (เด็กอายุถึงเกณฑ์ที่ขอใบขับขี่ได้) มานาน

รูปภาพ

.. เอาไว้จะมาต่อว่า ถ้า Big 3 ล้มละลายจริง มันจะแย่อย่างที่เขาอ้างจริงหรือ ..

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 01, 2008 6:00 pm
โดย ...
mprandy เขียน:อุตส่าห์พิมพ์ซะดิบดี browser ดันค้าง เนื้อหาหายไปหมด รูปภาพ
แนะนำเตรียมบน notepad ก่อนแปะจริง  :wink:

รออ่านอยู่นะครับ  :cool:

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 01, 2008 8:40 pm
โดย hongvalue
mprandy เขียน:อุตส่าห์พิมพ์ซะดิบดี browser ดันค้าง เนื้อหาหายไปหมด รูปภาพ

เอาใหม่... แบบย่อ ๆ


รูปภาพ

.. เอาไว้จะมาต่อว่า ถ้า Big 3 ล้มละลายจริง มันจะแย่อย่างที่เขาอ้างจริงหรือ ..

ใจดีสุดๆ ขนาดเนื้อหาหายไปยังพิมพ์ใหม่ยาวขนาดนี้

ขอบคุณมากครับ

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 01, 2008 8:42 pm
โดย ignorant
... เขียน:
แนะนำเตรียมบน notepad ก่อนแปะจริง

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 01, 2008 9:03 pm
โดย RONNAPUM
mprandy เขียน:อุตส่าห์พิมพ์ซะดิบดี browser ดันค้าง เนื้อหาหายไปหมด รูปภาพ


คนทั่วไปเข้าใจว่าสาเหตุที่ค่ายญี่ปุ่นได้กำไรมากกว่า เพราะค่าแรงของคนงานในค่ายรถญี่ปุ่นถูกกว่า ความจริงกลับไม่เป็นเช่นนั้น ค่าแรงคิดเป็นต้นทุนของรถต่อคันไม่เกิน 10% ของราคารถ แถมค่าแรงต่อชั่วโมงของคนงาน Big 3 ในปัจจุบันกลับน้อยกว่าค่ายรถญี่ปุ่นมาหลายปีแล้ว จาก cost-cutting ที่ผ่านมา แต่เหตุที่ค่ายรถญี่ปุ่นได้เปรียบคือ operational efficiency ที่สูงกว่า เขาผลิตรถต่อชั่วโมงต่อคนได้มากกว่า มีของเสียน้อยกว่า มีการเรียกรถคืนน้อยกว่า สิ่งเหล่านี้ทำให้เขามี supply advantage

.


อาจารย์ mprandy  ครับผมคิดว่ากลยุทธ์หลักของค่ายรถจากญี่ปุ่นไม่ใช่
ในเรื่องของ capacity แต่เป็นเรื่อง ZERO DEFECT ซึ้งเป็นปัจจัยหลัก
ของการผลิตของระบบญี่ปุ่น เรื่องอื่นเป็นเพียงผลพลอยได้ที่ได้จาก
การทำ ZERO DEFECT

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: จันทร์ ธ.ค. 01, 2008 11:42 pm
โดย mprandy
RONNAPUM เขียน:


อาจารย์ mprandy

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: อังคาร ธ.ค. 02, 2008 7:13 pm
โดย mprandy
ประมาณกันว่า Big 3 จ้างงานทางตรงประมาณ 260,000 คน และทางอ้อม (ผ่าน parts manufacturers หรือพวก car dealers) อีกประมาณ 1 ล้านสามแสนคน รวม ๆ แล้วน่าจะมีคนที่เกี่ยวข้องราว ๆ 1 ล้าน 6 แสนคน

ถ้าไม่มีการช่วยเหลือ GM พี่ใหญ่น่าจะไปก่อนเพื่อน เพราะคาดกันว่าบริษัทนี้แห่งเดียวผลาญเงินไปกับยอดขาดทุนเดือนละ 2 พันล้านเหรียญ สำหรับเงินสดในมือตอนนี้คาดว่าไม่เกินไตรมาสแรกหรือต้นไตรมาสสอง น่าจะหมดเกลี้ยง

ในแง่ของจิตวิทยา การล้มละลายของ Big 3 อาจส่งผลต่อเนื่องถึงความเชื่อมั่นในภาคธุรกิจ และกิจการที่เกี่ยวข้องก็จริงอยู่ คนอาจจะคิดว่าถ้าล้มละลาย คนอีกล้านกว่าคนต้องตกงานกันหมด เป็นคำพูดเกินจริง ทำนองขู่ให้กลัวมากกว่า

การล้มละลายไม่ได้หมายถึงการล้มเลิกกิจการไปโดยทันที ถ้า GM/Ford/Chrysler ประกาศล้มละลายจริงก็น่าจะเป็นการเข้าสู่ chapter 11 คือกระบวนการฟื้นฟูกิจการ ตั้งทีมบริหารกิจการใหม่ ให้เจ้าหนี้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการ ตัดยอดหนี้ และศาลให้อำนาจเจ้าหนี้ในการปรับเปลี่ยนแก้ไขส่วนเสียของกิจการ ให้มันเดินหน้าต่อไปและในท้ายที่สุด สามารถออกจากการฟื้นฟูได้เป็นกิจการที่แข็งแกร่งขึ้น

ตัวอย่างที่เห็นได้ชัดคืออุตสาหกรรมสายการบินทั้งหลายของอเมริกาเกือบทั้งหมดเข้าสู่ chapter 11 มาแล้วทั้งนั้น และลงท้ายก็ผ่านการฟื้นฟู ออกมาเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการต่อไปได้เป็นส่วนใหญ่

การเข้าไปอุ้มโดยอัดฉีดเงินเข้าไป โดยหวังว่า Big 3 น่าจะสามารถดำเนินธุรกิจต่อไปจนผ่านช่วงเลวร้ายนี้ไปได้ แล้วบริษัทจะรอด จากสิ่งที่เห็นอยู่มาหลายสิบปี น่าจะบอกได้อยู่แล้วว่าโมเดลการทำธุรกิจของ Big 3 ไม่น่าจะแข่งขัน และรอดได้ในระยะยาว ถ้าขืนยังเป็นอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ ในไม่ช้า คำว่า Big 3 ในอเมริกาอาจจะไม่ได้หมายถึงบริษัทรถยนต์สัญชาติอเมริกาอีกต่อไป เงินที่ฉีดเข้าไปก็เสียเปล่า

(ที่ยังอยู่ได้ส่วนหนึ่งก็เพราะว่าค่ายรถญี่ปุ่นแอบ ๆ อ่อนข้อให้อยู่ด้วย มีรายงานข่าวออกมาในช่วงหลัง 9/11 ใหม่ ๆ ที่ยอดขายรถอาจจะตกลง Big 3 ประกาศแคมเปญปลอดดอกเบี้ย 5 ปี ที่เรียกว่า Keep America Rolling ไม่มีค่ายรถญี่ปุ่นไหนออกมาสู้เรื่องโปรโมชั่นเลย เพราะเกรงว่ากระแสชาตินิยมขณะนั้นรุนแรง การกดดันต่อตลาดรถของ Big 3 มาก ๆ จนทำให้กิจการแย่ อาจมีผลเสียสะ้ท้อนเข้าตัวเอง แต่ถึงกระนั้น ส่วนแบ่งตลาดของ Big 3 ก็ยังลดลง)

ถ้า Big 3 ประกาศล้มละลายจริง แล้วพวกบริษัทที่ผลิตชิ้นส่วนส่งจะพลอยแย่ไปด้วยหรือไม่ ดูเหมือนจะไม่เป็นไปเช่นนั้น เพราะบริษัทเหล่านี้ก็ผลิตชิ้นส่วนส่งค่ายรถอื่นเช่นเดียวกัน ค่ายรถญี่ปุ่นก็ผลิตรถส่วนใหญ่ในประเทศอเมริกาเพราะรถเป็นสินค้าขนาดใหญ่ มีค่าใช้จ่ายด้าน logistic สูง ลูกจ้างจากกิจการที่ปิดตัวลง ส่วนหนึ่งอาจจะถูก absorb โดยค่ายรถเหล่านี้ด้วย

ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ

โพสต์แล้ว: พุธ ธ.ค. 03, 2008 8:17 am
โดย mprandy
CNBC เขียน: No Corporate Jets for Auto Executives This Time

This time, GM Chief Rick Wagoner will drive a company car to Washington instead of flying by corporate jet as he seeks a government bailout, a spokesman says.

Wagoner will drive in a Chevrolet Malibu hybrid sedan when he makes the 520-mile trek from Detroit to Capitol Hill, General Motors spokesman Tony Cervone said Tuesday.

Ford Motor CEO Alan Mulally also is traveling by car from Detroit for his second appearance before two legislative committees as the Detroit automakers seek $25 billion in government loans. Chrysler CEO Robert Nardelli will not travel by corporate jet. A spokeswoman says his travel plans will remain secret for security reasons....
ต้องโดนเขาด่าก่อน ถึงจะสำนึก  :wink: