ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 121
ของฝากเช้าวันจันทร์... (credit : เพิ่อนกลุ่มไลน์ KMITL22)
ทัศนคติของคนต่างชาติมองการทำงานของคนไทย....
เราคว้าตัวฝรั่งมาทั้งหมด 12 คน ซึ่งแต่ละคนโชกโชนกับการทำงานในแวดวงคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี เมื่อถามว่าพวกเค้ามีความเห็นอย่างไรกับการทำงานแบบไทย ๆ เราก็ได้คำตอบว่า:
1. ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิม ๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น
ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี
-เจฟฟรีย์ บาร์น
2. การโต้แย้ง
เมื่อมีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้ง ๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า "ขี้เกรงใจ" แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
- ทานากะ โรบิน (จูเนียร์) ฟูจฮาระ
3. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมา ทั้ง ๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้ฝรั่งเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านนายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม บางทีฝรั่งก็คิดว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร
- ไมเคิล วิดฟิล์ค
4. ความรับผิดชอบ
1. ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า ทั้ง ๆ ที่งานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบ ๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ควร
2. ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก
- สเตฟานี จอห์นสัน
5. วิธีแก้ไขปัญหา
คนไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า หลายครั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ต้องรอให้เจ้านายสั่งลงมาก่อนแล้วค่อยทำตาม ถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสียไปหมด
- ดร.มาเรีย โรเซนเบิร์ก
6. บอกแต่ข่าวดีคนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ
1. จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อยเข้ามาปรึกษา
2. จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดี ๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริง หรือถ้าหากเจ้านายถามว่าจะทำงานเสร็จทันเวลาไหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำทันตามเวลาที่รับปากเลย
- โจนาธาน ธอมพ์สัน
7. คำว่า "ไม่เป็นไร"
เป็นคำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน แต่จะใช้คำว่า "ไม่เป็นไร" มาแก้ปัญหาแทน
- เจนิส อิกนาโรห์
8. ทักษะในการทำงาน
1. ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บางคนไม่ทำอะไรเลย
บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า
2. ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด
3. พนักงานชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไรนัก แล้วไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม
- เดวิด กิลเบิร์ก
9. ความซื่อสัตย์
พนักงานคนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น มาสาย ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน
- เฮเบิร์ก โอ ลิสส์
10. ระบบพวกพ้อง
คนไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน พวกเขามักจะแนะนำเพื่อน ๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทยก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง
- มาร์ค โอเนล ฮิวจ์
11. แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว
คนไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่เรียกว่าเรื่องส่วนตัว พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร
1. ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
2. มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และการนินทากันภายในสำนักงาน
3. มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที
4. ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
5. ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย
- วิลเลี่ยม แมคคินสัน
12. นับถือระบบอาวุโส
คนไทยให้เกียรติคนที่อายุมากกว่ามากเกินไป จนไม่กล้าทำอะไรที่เรียกว่าเป็นการข้ามหน้าข้ามตา บางครั้งคนที่อายุน้อยกว่าอาจจะมีความคิดความสามารถมากกว่า แต่ก็ไม่กล้าแสดงออกเพราะเกรงใจคนที่อายุมาก เป็นการทำลายโอกาสของตัวเอง และโอกาสของบริษัท
- เนลสัน ฟอร์ด — with Raweewan Weerapan and Moddang Nak.
บางทีความจริงมันเจ็บปวด แต่มันก็เป็นยาขมที่รักษาไข้ได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณทุกความจริง ที่จะทำให้พวกเราคนไทยทำงานดีขึ้น
ทัศนคติของคนต่างชาติมองการทำงานของคนไทย....
เราคว้าตัวฝรั่งมาทั้งหมด 12 คน ซึ่งแต่ละคนโชกโชนกับการทำงานในแวดวงคนไทยไม่ต่ำกว่า 10 ปี เมื่อถามว่าพวกเค้ามีความเห็นอย่างไรกับการทำงานแบบไทย ๆ เราก็ได้คำตอบว่า:
1. ทัศนคติต่อการเปลี่ยนแปลง คนไทยมักจะยึดติดกับความเคยชินแบบเดิม ๆ เคยทำมาอย่างไรก็จะทำอยู่อย่างนั้น
ไม่ค่อยมีความคิดที่จะเปลี่ยนแปลง และถ้าฝรั่งเอาวิธีใหม่ ๆ เข้ามาทำให้พวกเขาต้องทำอะไรที่ต่างไปจากเดิม ก็จะถูกมองว่าเป็นการสร้างความรำคาญให้พวกเขา มักจะไม่ค่อยได้รับความร่วมมืออย่างเต็มที่หรือไม่ก็ถึงกับถูกต่อต้านก็มี
-เจฟฟรีย์ บาร์น
2. การโต้แย้ง
เมื่อมีการเจรจา คนไทยจะไม่กล้าโต้แย้งทั้ง ๆ ที่ตัวเองกำลังเสียเปรียบ ส่วนใหญ่มักจะปล่อยให้อีกฝ่ายเป็นคนคุมเกม บางคนบอกว่ามีนิสัยอย่างนี้เรียกว่า "ขี้เกรงใจ" แต่สำหรับฝรั่งแล้ว นิสัยนี้จะทำให้คนไทยไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร
- ทานากะ โรบิน (จูเนียร์) ฟูจฮาระ
3. ไม่พูดสิ่งที่ควรพูด
เอกลักษณ์อีกอย่างหนึ่งของคนไทยคือ มักจะไม่ค่อยกล้าบอกความคิดของตัวเองออกมา ทั้ง ๆ ที่คนไทยก็มีความคิดดีไม่ไม่แพ้ฝรั่งเลย แต่มักจะเก็บความสามารถไว้ ไม่บอกออกมาให้เจ้านนายได้รู้ และจะไม่กล้าตั้งคำถาม บางทีฝรั่งก็คิดว่าคนไทยรู้แล้วเลยไม่บอกเพราะเห็นว่าไม่ถามอะไร ทำให้ทำงานกันไปคนละเป้าหมาย หรือทำงานไม่สำเร็จ เพราะคนที่รับคำสั่งไม่รู้ว่าถูกสั่งให้ทำอะไร
- ไมเคิล วิดฟิล์ค
4. ความรับผิดชอบ
1. ฝรั่งมองว่าคนไทยเรามักทำไม่ค่อยกำหนดระยะเวลาในการทำงานไว้ล่วงหน้า ทั้ง ๆ ที่งานบางชิ้นต้องทำให้เสร็จภายในระยะเวลาที่กำหนดยิ่งงานไหนให้เวลาในการทำงานนานก็จะยิ่งทิ้งไว้ทำตอนใกล้ ๆ จะถึงกำหนดส่ง เลยทำงานออกมาแบบรีบ ๆ ไม่ได้ผลงานดีเท่าที่ควร
2. ไม่ค่อยยอมผูกพันและรับผิดชอบเป็นลายลักษณ์อักษร ถ้าให้เซ็นชื่อรับผิดชอบงานที่ทำคนไทยจะกลัวขึ้นมาทันที เหมือนกับกลัวจะทำไม่ได้ หรือกลัวจะถูกหลอก
- สเตฟานี จอห์นสัน
5. วิธีแก้ไขปัญหา
คนไทยไม่ค่อยมีแผนการรองรับเวลาเกิดปัญหา แต่จะรอให้เกิดก่อนแล้วค่อยหาทางแก้ไปแบบเฉพาะหน้า หลายครั้งที่ฝรั่งพบว่าคนไทยไม่รู้จะแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างไร ต้องรอให้เจ้านายสั่งลงมาก่อนแล้วค่อยทำตาม ถ้านายเจ้านายไม่อยู่ทุกคนก็จะประสาทเสียไปหมด
- ดร.มาเรีย โรเซนเบิร์ก
6. บอกแต่ข่าวดีคนไทยมีความเคยชินในการแจ้งข่าวที่แปลกมาก คือ
1. จะไม่กล้าบอกผู้บังคับบัญชาชาวต่างชาติเมื่อเกิดปัญหาขึ้น จนกระทั่งบานปลายไปเกินแก้ไขได้จึงค่อยเข้ามาปรึกษา
2. จะเลือกบอกแต่สิ่งที่คิดว่าเจ้านายจะชอบ เช่น บอกแต่ข่าวดี ๆ แทนที่จะเล่าไปตามความจริง หรือถ้าหากเจ้านายถามว่าจะทำงานเสร็จทันเวลาไหม ก็จะบอกว่าทัน (เพราะรู้ว่านายอยากได้ยินแบบนี้) แต่ก็ไม่เคยทำทันตามเวลาที่รับปากเลย
- โจนาธาน ธอมพ์สัน
7. คำว่า "ไม่เป็นไร"
เป็นคำพูดที่ติดปากคนไทยทุกคน ทำให้เวลามีปัญหาก็จะไม่มีใครรับผิดชอบ และจะไม่ค่อยหาตัวคนทำผิดด้วยเพราะเกรงใจกัน แต่จะใช้คำว่า "ไม่เป็นไร" มาแก้ปัญหาแทน
- เจนิส อิกนาโรห์
8. ทักษะในการทำงาน
1. ไม่สามารถทำงานร่วมกันเป็นทีมได้ ถ้าทำงานเป็นทีมมักมีปัญหาเรื่องการกินแรงกันบางคนขยันแต่บางคนไม่ทำอะไรเลย
บางทีก็มีการขัดแย้งกันเองในทีม หรือเกี่ยงงานกันจนผลงานไม่คืบหน้า
2. ไม่ค่อยมีทักษะในการทำงาน แม้จะผ่านการศึกษาในระดับสูงมาแล้ว และไม่ค่อยใช้ความพยายามอย่างเต็มทีเพื่อให้ได้ผลงานที่ดีที่สุด
3. พนักงานชาวไทยที่รู้จัก ส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้สึกกระตือรือร้นที่จะเรียนรู้เรื่องราวความเคลื่อนไหวของโลกเท่าไรนัก แล้วไม่ค่อยชอบหาความรู้เพิ่มเติมแม้จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับงานก็ตาม
- เดวิด กิลเบิร์ก
9. ความซื่อสัตย์
พนักงานคนไทยควรจะมีความซื่อสัตย์และตรงไปตรงมามากกว่านี้ หลายครั้งที่ชอบโกหกในเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ เช่น มาสาย ขาดงานโดยอ้างว่าป่วย ออกไปข้างนอกในเวลางาน
- เฮเบิร์ก โอ ลิสส์
10. ระบบพวกพ้อง
คนไทยมักจะนำเพื่อนฝูงมาเกี่ยวข้องกับธุรกิจเสมอ ผมไม่เคยชอบวิธีนี้เลย ตัวอย่างเช่น การจัดซื้อข้าวของภายในสำนักงาน พวกเขามักจะแนะนำเพื่อน ๆ มาก่อนโดยไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ที่บริษัทควรจะได้รับ นี่เป็นประสบการณ์จริงที่ประสบมา การให้ความช่วยเหลือเพื่อนไม่ใช่เรื่องแปลก แต่การที่ไม่คำนึงถึงผลประโยชน์ของบริษัทเลยเป็นอะไรที่แย่มาก และเมื่อพบว่าเพื่อนพนักงานด้วยกันทุจริต คนไทยก็จะช่วยกันปกป้อง และทำให้ไม่รู้ไม่เห็นจนกว่าผู้บริหารจะตรวจสอบได้เอง
- มาร์ค โอเนล ฮิวจ์
11. แยกไม่ออกระหว่างเรื่องงาน และเรื่องส่วนตัว
คนไทยมักจะไม่รู้ว่าอะไรว่าอะไรคือเรื่องงาน และอะไรที่เรียกว่าเรื่องส่วนตัว พวกเขาชอบเอาทั้งสองอย่างนี้มาปนกันจนทำให้ระบบการทำงานเสียไปหมด ซึ่งเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งขององค์กร
1. ชอบสอดรู้สอดเห็น โดยเฉพาะเรื่องส่วนตัวของเพื่อนร่วมงาน
2. มักจะคุยกันเรื่องส่วนตัวที่ไม่เกี่ยวกับงานมากเกินไป บางครั้งทำให้บานปลายและนำไปสู่ข่าวลือ และการนินทากันภายในสำนักงาน
3. มักจะลาออกจากบริษัทโดยไม่ยอมแจ้งล่วงหน้าตามข้อตกลง แต่กลับคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์เต็มที
4. ไม่ยอมรับความผิดชอบที่มีมากขึ้นในช่วงวิกฤติ
5. ต้องการเงินมากขึ้นแต่กลับไม่ค่อยสร้างคุณค่างานอะไรเพิ่มขึ้นเลย
- วิลเลี่ยม แมคคินสัน
12. นับถือระบบอาวุโส
คนไทยให้เกียรติคนที่อายุมากกว่ามากเกินไป จนไม่กล้าทำอะไรที่เรียกว่าเป็นการข้ามหน้าข้ามตา บางครั้งคนที่อายุน้อยกว่าอาจจะมีความคิดความสามารถมากกว่า แต่ก็ไม่กล้าแสดงออกเพราะเกรงใจคนที่อายุมาก เป็นการทำลายโอกาสของตัวเอง และโอกาสของบริษัท
- เนลสัน ฟอร์ด — with Raweewan Weerapan and Moddang Nak.
บางทีความจริงมันเจ็บปวด แต่มันก็เป็นยาขมที่รักษาไข้ได้เป็นอย่างดี
ขอบคุณทุกความจริง ที่จะทำให้พวกเราคนไทยทำงานดีขึ้น
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 122
เฟดประกาศคงดอกเบี้ยตามคาด ขณะกังวลเศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว
-สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 พ.ค. 60)-
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ที่ระดับ 0.75-1.00% ในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้
ขณะที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
ก่อนหน้านี้ เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมในเดือนมี.ค.ซึ่งเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้
-สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (04 พ.ค. 60)-
คณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงิน (FOMC) ของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีมติด้วยคะแนนเสียงเป็นเอกฉันท์ให้คงอัตราดอกเบี้ยระยะสั้น ที่ระดับ 0.75-1.00% ในการประชุมวันนี้ ตามที่ตลาดการเงินคาดการณ์ไว้
ขณะที่แสดงความกังวลเกี่ยวกับการชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐ
ก่อนหน้านี้ เฟดปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุมในเดือนมี.ค.ซึ่งเป็นการปรับขึ้นเป็นครั้งแรกในปีนี้
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 123
คลัง ปิดขายพันธบัตรออมทรัพย์ 1.5 หมื่นลบ.รอบแรกอายุ 3 ปี, 7 ปี เตรียมเปิดขายล็อตใหม่ อายุ 5 ปี, 10 ปี 8 พ.ค.-31 ส.ค.นี้
Source: IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ | 3 May 2017 14:20
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (03 พ.ค. 60)--สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1 จำนวนรวม 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่2.00% ต่อปี และรุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 2.56% ต่อปี จำหน่ายระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2559 - 21 เมษายน 2560 นั้น ขณะนี้พันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าว ได้จำหน่ายเสร็จสิ้นแล้วในวันที่ 21 เมษายน 2560 โดยผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์มียอดสะสมตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2559 - 21 เมษายน 2560 จำนวน 14,570.351 ล้านบาท คิดเป็น 97.136% ของวงเงินจำหน่าย
สำหรับประชาชนที่มีความประสงค์จะลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งต่อไปนั้น กระทรวงการคลังมีแผนการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 2 จำนวนรวม 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 2.35% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 3.00% ต่อปี ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 โดยจำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ผู้สนใจสามารถซื้อได้ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 31 สิงหาคม 2560 และจำหน่ายที่บูธสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 17 MONEY EXPO 2017 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2560
--อินโฟเควสท์ โดย คลฦ/รัชดา/กษมาพร โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
DISCLAIMER: Neither ThaiQuest nor its Information Providers can guarantee the accuracy, completeness, timeliness or correct sequencing of the Information provided on its Services. ThaiQuest and its Information Providers shall have no liability, contingent or otherwise for any decision made or action taken by you in reliance upon the Information
Source: IQ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ | 3 May 2017 14:20
สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (03 พ.ค. 60)--สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายงานผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 1 จำนวนรวม 15,000 ล้านบาท อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 3 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่2.00% ต่อปี และรุ่นอายุ 7 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 2.56% ต่อปี จำหน่ายระหว่างวันที่ 13 ธันวาคม 2559 - 21 เมษายน 2560 นั้น ขณะนี้พันธบัตรออมทรัพย์ดังกล่าว ได้จำหน่ายเสร็จสิ้นแล้วในวันที่ 21 เมษายน 2560 โดยผลการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์มียอดสะสมตั้งแต่วันที่ 13 ธันวาคม 2559 - 21 เมษายน 2560 จำนวน 14,570.351 ล้านบาท คิดเป็น 97.136% ของวงเงินจำหน่าย
สำหรับประชาชนที่มีความประสงค์จะลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์ในครั้งต่อไปนั้น กระทรวงการคลังมีแผนการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ของกระทรวงการคลัง ในปีงบประมาณ พ.ศ. 2560 ครั้งที่ 2 จำนวนรวม 15,000 ล้านบาท แบ่งเป็น 2 รุ่น คือ รุ่นอายุ 5 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 2.35% ต่อปี และรุ่นอายุ 10 ปี อัตราดอกเบี้ยแบบคงที่ 3.00% ต่อปี ระหว่างวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 - 31 สิงหาคม 2560 โดยจำหน่ายผ่านธนาคารตัวแทนจำหน่าย 4 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) ผู้สนใจสามารถซื้อได้ตั้งแต่เวลา 8.30 น. ของวันที่ 8 พฤษภาคม 2560 จนถึงเวลา 15.00 น. ของวันที่ 31 สิงหาคม 2560 และจำหน่ายที่บูธสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ ในงานมหกรรมการเงิน ครั้งที่ 17 MONEY EXPO 2017 ณ อาคารชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพ็ค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 11 - 14 พฤษภาคม 2560
--อินโฟเควสท์ โดย คลฦ/รัชดา/กษมาพร โทร.02-2535000 อีเมล์: [email protected]--
DISCLAIMER: Neither ThaiQuest nor its Information Providers can guarantee the accuracy, completeness, timeliness or correct sequencing of the Information provided on its Services. ThaiQuest and its Information Providers shall have no liability, contingent or otherwise for any decision made or action taken by you in reliance upon the Information
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 124
ตอนนี้ดัชนี สูงกว่า 1,500 จุด เมื่อก่อน ก็วิตกว่าหุ้นลงจะทำอย่างไร
ตอนนี้ก็มีปัญหาใหม่ แล้วจะซื้อหุ้นตัวไหนดี ในภาวะที่หุ้นแพงขนาดนี้
ผมเจอบทความ ที่ ดร วีรพงษ์ เขียนใน post today ถึงหุ้นที่น่าสนใจ
ลองอ่านดูนะครับว่าเหตุผลที่ดร สนใจในแต่ละบริษัทเป็นอย่างไร
ท้ายสุด อย่าลืมดูความเสี่ยงของบริษัทก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
ขอบคุณ ดร วีรพงษ์ ครับ
คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
“หาหุ้น” ในยาม…หายาก ตอนที่ 1
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
อาจกล่าวได้ว่า เป็นกิจวัตรประจำ 4 เดือน ที่ทางโครงการนักลงทุน CSI วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต จะต้องทำนั่นคือการ “หาหุ้น” เพื่อให้นักศึกษาของโครงการได้มาประลองฝีมือในการวิเคราะห์ ประเมินราคา และหาให้พบว่า หุ้นตัวๆนั้นมีความสามารถในการแข่งขันและมีราคาที่น่าลงทุนไหม เกือบทุกครั้งที่เราหาหุ้นกันก็จะไม่ค่อยยากนัก แต่ในครั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์บ้านเราอยู่ประมาณ 1,600 จุดเข้าไปแล้ว หุ้นส่วนใหญ่จึงมีราคาปรับตัวขึ้น ดังนั้นการหาหุ้นในครั้งนี้ จึงอยู่ในสภาพที่…หายากยิ่ง
ในรุ่นที่ 12 ที่เพิ่งเปิดไปนี้ ทางโครงการจึงได้ระดมยอดฝีมือมาเป็นผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant – TA) จำนวน 5 ท่าน มีท่านอาจารย์ประกิต สิริวัฒนเกตุ (อาจารย์ปิง) ที่กรุณามาเป็นผู้ให้นโยบายและเทคนิคในการหาหุ้น และมีผม (วีรพงษ์) รวมเป็น 7 ท่าน เป็นคณะทำงานในการหาหุ้นโดยมีสมมติฐานในการหาหุ้นดังนี้ครับ
• หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีความสามารถที่โดดเด่น สามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง และมีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดของตนสูงที่สุด หรือเกือบสูงที่สุด
• หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีราคาที่พอรับได้ นั่นหมายถึง ราคาไม่จำเป็นจะต้องถูก แต่จะต้อง “ไม่แพง” เกินกว่าพื้นฐาน และโอกาสในอนาคต
• หุ้นตัวนั้นๆ ควรจะมีแนวโน้มที่จะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้ราคาปรับตัวขึ้นได้ ภายใน 3-6 เดือนนี้
• ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้บริหารจะต้องมีธรรมาภิบาล และมีความสามารถเพียงพอที่จะนำบริษัทนั้นๆไปสู่ความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้จงได้
ในที่สุดคณะทำงานก็ได้หุ้นมา 5 ตัว โดยหุ้นตัวที่ 1 อยู่ในกลุ่มสื่อสาร หุ้นตัวที่ 2 เป็นโรงพยาบาล หุ้นตัวที่ 3 เป็นซัพพลายเออร์ของร้านสะดวกซื้อ และยังมีสินค้าบริโภคขายในประเทศเพื่อนบ้าน หุ้นตัวที่ 4 เป็นสินค้าบริโภคชื่อดังของเมืองไทย และเป็นสินค้ายอดฮิตของนักท่องเที่ยวอีกด้วย และหุ้นตัวสุดท้าย เป็นสินค้าที่ผู้ใหญ่มักจะใช้กัน ทั้งนี้ผมจะขออนุญาตคุยให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจถึงความเก่งกาจของหุ้นเพียง 4 ตัวเท่านั้น ตัวที่ 5 หรือตัวสุดท้ายจะขออนุญาตไม่คุยให้ฟังนะครับ ดังนี้ครับ
หุ้นตัวที่หนึ่ง
หนึ่งในผู้นำในตลาดสถานีฐาน (Base Station) และอุปกรณ์โทรคมนาคม
เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ในตลาดการสร้างสถานีฐาน (Base Station) สาย Fiber Optic สายนำสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (RF Feeder Cable) และอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) เป็นต้น โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักคือ กลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operator) และกลุ่มผู้ให้บริการสร้างสถานีฐานและให้บริการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม (Contractor)
บริษัทยังได้เล็งเห็นถึงช่องทางการทำธุรกิจเพิ่มเติมในสินค้ากลุ่มตู้โทรคมนาคม (Telecom Shelter) ซึ่งเดิมสินค้าที่มีอยู่ในตลาดมักจะเป็นตู้ขนาดใหญ่และราคาสูง จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการลดต้นทุนของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ดังนั้นบริษัทจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้าในการผลิตและจำหน่ายตู้โทรคมนาคม โดยสินค้าของบริษัทจะมีขนาดและคุณสมบัติต่างๆที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานของลูกค้าภายใต้ต้นทุนที่ต่ำกว่า
บริษัทยังได้ร่วมกับพันธมิตรทางการค้าในการพัฒนาสถานีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ (Rapid Deployment Unit: RDU) เพื่อใช้ทดแทนสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงและใช้ระยะเวลานานในการสั่งซื้อ โดยทางบริษัทสามารถพัฒนาสถานีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ให้มีขนาดและความสามารถในการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายใต้ต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้สถานีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ของบริษัทประเภท Cell on Legs นั้น ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทการให้บริการโทรคมนคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริกรเพื่อสังคม (Telecom Universal Service Obligation : USO) อีกด้วย
อีกธุรกิจหนึ่งที่บริษัทได้ขยายออกไปก็คือ ธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าประเภทสายอากาศ (Antenna) โดยเริ่มจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ได้ขยายขอบเขตการทำธุรกิจมาสู่การเป็นผู้ผลิตสายอากาศ (Antenna) และอุปกรณ์ป้องกันการรั่วของสัญญาณ (PIM Load) โดยมีจุดเด่นคือ การสามารถปรับปรุงและพัฒนาสินค้าร่วมกับลูกค้า เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานของลูกค้าแต่ละรายให้ได้มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้ได้รับโอกาสในการนำเสนอสินค้าที่ต้องมีการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างจากกลุ่มลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการซ่อมแซมอุปกรณ์โทรคมนาคมอีกด้วย จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งกลุ่มธุรกิจให้บริการและธุรกิจจำหน่ายสินค้าในกลุ่มโทรคมนาคม ประกอบกับการมองอนาคตได้ขาดของผู้บริหาร ที่เห็นถึงแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคมในต่างประเทศ บริษัทจึงนับเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการในประเทศไทยที่เป็นผู้นำเสนอแนวคิดเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมร่วมกัน (Telecommunication Infrastructure Sharing) ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operator)
จุดเปลี่ยนทางด้านประเภทรายได้ที่สำคัญ บริษัทได้เริ่มประกอบธุรกิจให้เช่าโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ให้แก่กลุ่มบริษัท โดยเริ่มโครงการที่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง เป็นการวางโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic cable) เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมโดยใช้โครงข่ายเดียวกัน ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการลงทุนในการวางโครงข่ายของผู้ให้บริการโทรคมนาคม อันได้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และเป็นการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของนิคมอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น บริษัทยังคงคิดที่จะสร้างรายได้ในรูปแบบความมั่นคงของรายได้และกำไรในระยะยาวต่อไปอีก โดยเฉพาะจากธุรกิจให้เช่าโครงข่ายโทรคมนาคม โดยมีรูปแบบการลงทุนอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ บริษัทลงทุนเอง และกิจการร่วมค้า
บริษัทยังมุ่งหวังขยายในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น แผนการใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมภายในอาคารโดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า โดยจะร่วมกับผู้ให้บริการ Content ต่างชาติและ Mobile Operator เพื่อให้บริการ App โปรโมชั่นซื้อสินค้า โดยบริษัทได้วางแนวทางในการหารายได้เป็น 2 รูปแบบคือ ค่าเช่าโครงข่าย และส่วนแบ่งรายได้จากการใช้ App จากร้านค้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างตกลงรายละเอียดการให้บริการ
วันพรุ่งนี้ ขอเชิญพบกับ… หุ้น 3 ตัวที่เหลือ ในบทความ “หาหุ้น ในยาม…หายาก” ตอนจบ
ตอนที่2
เมื่อวานนี้ เราได้คุยกันถึง การ “หาหุ้น” เพื่อให้นักศึกษาของโครงการนักลงทุน CSI รุ่น 12 มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มาประลองฝีมือในการวิเคราะห์ ประเมินราคา และหาให้พบว่า หุ้นตัวๆนั้นมีความสามารถในการแข่งขันและมีราคาที่น่าลงทุนไหม แต่ในครั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์บ้านเราอยู่ประมาณ 1,600 จุดเข้าไปแล้ว ซึ่งทำให้การหาหุ้นในครั้งนี้ จึงอยู่ในสภาพที่...หายากยิ่ง
โดยคณะทำงานต้องคำนึงถึงปัจจัย 4 ข้อด้วยกันคือ หนึ่ง หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีความสามารถที่โดดเด่น และมีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดของตนสูงที่สุด หรือเกือบสูงที่สุด สอง หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีราคาที่ “ไม่แพง” เกินกว่าพื้นฐานและโอกาสในอนาคต สาม ควรจะมีแนวโน้มที่จะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้ราคาปรับขึ้นได้ ภายใน 3-6 เดือนนี้ และสี่ สำคัญที่สุดคือ ผู้บริหารจะต้องมีธรรมาภิบาล ซึ่งเราก็ได้หุ้นมา 5 ตัว แต่จะขอมาคุยแค่ 4 ตัว เมื่อวานนี้ได้คุยตัวที่หนึ่งไปแล้ว วันนี้จะขอคุยต่ออีก 3 ตัวที่เหลือ ดังนี้นะครับ
หุ้นตัวที่สอง
เป็นหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล เป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง
ในปี 2560 นี้ น่าจะเป็นปีที่สดใสของหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลที่ให้บริการประกันสังคม เพราะมีมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเอื้อต่อผู้ประกันตน ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจโรงพยาบาลคือ หนึ่ง การเพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตนได้ทำฟันฟรีโดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าในวงเงิน 900 บาทต่อปี และมาตรการตรวจสุขภาพฟรี ซึ่งการเพิ่มสิทธิดังกล่าวจะทำให้มีผู้ประกันตนเข้าสู่ระบบมากขึ้น สอง สำนักงานจะมีการปรับฐานคำนวณเงินสมทบใหม่จาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท ทำให้เงินสมทบเพิ่มจากเดือนละ 750 บาทเป็น 1,000 บาท จึงมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีกที่จะปรับอัตราค่าเหมาจ่ายต่อหัวและค่าภาระโรคเสี่ยง ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหัวของโรงพยาบาลในเครือประกันสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลการปรับภายในไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้
นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงภายในโรงพยาบาลที่มีนัยสำคัญอีกด้วย เริ่มจากการมีแผนจะเปิดให้บริการตึกใหม่ ซึ่งจะเป็นอาคารให้บริการศูนย์โรคเฉพาะทาง (Excellent Center) ให้ครบทั้ง 9 ศูนย์ รวมถึงการขยายจำนวนเตียงผู้ป่วยก็จะส่งผลดีต่อโรงพยาบาลเช่นกัน โดยจะเพิ่มจำนวนเตียงผู้ป่วยใน และห้องตรวจสำหรับผู้ป่วยนอก ซึ่งจะส่งผลทำให้สัดส่วนผู้ป่วยเงินสดมีโอกาสเติบโตสูงขึ้นไปอีก
หุ้นตัวที่สาม
ธุรกิจสินค้าบริโภคก้าวไปพร้อมกับร้านสะดวกซื้อ และตลาดต่างประเทศ
หุ้นตัวนี้ถือได้ว่า เป็นหุ้นที่คณะทำงานถกเถียงกันมากที่สุดตัวหนึ่ง ในเรื่องความสามารถในการแข่งขันซึ่งมีเหนือกว่าคู่แข่งขันเป็นอย่างมาก การที่บริษัทสามารถสร้างความสัมพันธ์กับร้านสะดวกซื้อรายใหญ่รายหนึ่งของประเทศได้อย่างแนบแน่น ทำให้นวัตกรรมทางด้านสินค้าบริโภคของบริษัทนั้น มีช่องทางจัดจำหน่ายขนาดใหญ่มหึมา จึงดูเหมือนว่า หน้าที่หลักของบริษัทนี้ก็คือ ค้นหาสินค้าที่ถูกใจแก่ผู้บริโภคให้เจอเท่านั้น ถ้าเจอสินค้านั้นเมื่อไร ก็มีโอกาสเป็นอย่างมาก ที่ยอดขายจำนวนมหาศาลจะตามมา เรามาลองดูสินค้าที่บริษัทนี้จำหน่ายในปัจจุบันกันหน่อยนะครับ
• เครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ กาแฟเย็น และเครื่องดื่มใหม่ๆในอนาคต แนวโน้มในอนาคตค่อนข้างสดใส ตามจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากมองง่ายๆ ก็อาจกล่าวได้ว่า รายได้ในกลุ่มนี้อยู่ในฐานะ “STAR” และมีโอกาสจะกลายไปเป็น “Cash Cow” ของบริษัทได้ในอนาคต
• รายได้จากสินค้าเบเกอรี่และสินค้าลิขสิทธิ์ คณะทำงานคิดว่า รายได้ในส่วนนี้ยังอยู่ในช่วง “แสวงหา” ซึ่งยังคงต้องใช้เวลา แต่เมื่อใดก็ตามที่เจอ “สินค้าที่ใช่” ก็มีโอกาสที่จะสร้างรายได้และกำไรเป็นจำนวนมาก
• สินค้าเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนับเป็นตลาดที่ใหญ่และมีอัตราการเติบโตที่สูง สินค้าไปได้ค่อนข้างดีภายใต้ภาวะการแข่งขันที่สูง
• เครื่องดื่มรสผลไม้ ที่เจาะตลาดต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก อาจกล่าวได้ว่าอยู่ในขั้นทดลอง หากติดตลาด...ก็คงจะสร้างมูลค่าการตลาดที่สูงมากเช่นกัน
หุ้นตัวที่สี่
เป็นสินค้าบริโภคชื่อดังของเมืองไทย และเป็นสินค้ายอดฮิตของนักท่องเที่ยว
สินค้าทานเล่นตัวนี้เริ่มกำเนิดในประเทศไทย แต่ด้วยความเป็นสินค้าที่เกาะกระแสการรักษาสุขภาพ และรสชาติที่อร่อย ก็ทำให้สามารถครองใจประชาชนชาวไทยได้เป็นส่วนใหญ่ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงที่สุดในตลาดเมืองไทย ในปี 2558 มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 60% ของตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากในการที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดสูงขนาดนี้ไว้ได้ แต่ในปี 2559 คาดว่าตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดจะสูงขึ้นไปอีกคือ สูงกว่า 65% นั่นแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการแข่งขันที่มีระดับสูงมาก จนคู่แข่งขันต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นไปอีก
ตลาดต่างประเทศ สินค้าตัวนี้ได้บุกยังไปบางประเทศที่มีจำนวนประชากรเป็นพันล้านคน หรือบางประเทศก็มีจำนวนประชากรหลายร้อยล้านคน ในปัจจุบันตลาดต่างประเทศของบริษัทนี้ขยายตัวจนทำให้รายได้จากต่างประเทศสูงกว่า 50% ของรายได้รวมของบริษัทเข้าไปแล้ว โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า ตลาดต่างประเทศของสินค้าตัวนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เท่า (จาก 100 ล้านบาท เป็นมากกว่า 1.5 พันล้านบาทในปัจจุบัน)
สิ่งที่สำคัญคือ รูปแบบการกระจายสินค้าในต่างประเทศผ่านห้างในรูปแบบ Modern Trade (ซึ่งก็คล้ายๆ โลตัส บิ๊กซี ในบ้านเรา) มีสัดส่วนเพียง 20% เท่านั้น นั่นแสดงให้เห็นว่า ตลาดต่างประเทศของสินค้าตัวนี้ยังจะเติบโตได้อีกมหาศาล
และทั้งหมดคือ เรื่องราวของการ “หาหุ้น ในยาม..หายาก” หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณผู้อ่านเกิดประกายในการลงทุนไม่มากก็น้อยนะครับ ซึ่งอันที่จริงแล้วการลงทุนในตลาดหุ้น...ไม่ใช่สิ่งที่ยาก แต่เป็นสิ่งที่...ต้องตั้งใจ อดทน และรอบคอบ ทำให้นึกถึงนักลงทุนนามก้องโลก Peter Lynch ที่เคยกล่าวไว้ว่า “Everyone has the brainpower to follow the stock market. If you made it through fifth-grade math, you can do it.” แปลตามความได้ว่า “ทุกคนมีกำลังสมองที่จะลงทุนในหุ้นได้ ถ้าคุณสามารถทำเลขชั้น ป.5 ได้ คุณก็ลงทุนได้”
ตอนนี้ก็มีปัญหาใหม่ แล้วจะซื้อหุ้นตัวไหนดี ในภาวะที่หุ้นแพงขนาดนี้
ผมเจอบทความ ที่ ดร วีรพงษ์ เขียนใน post today ถึงหุ้นที่น่าสนใจ
ลองอ่านดูนะครับว่าเหตุผลที่ดร สนใจในแต่ละบริษัทเป็นอย่างไร
ท้ายสุด อย่าลืมดูความเสี่ยงของบริษัทก่อนตัดสินใจลงทุนนะครับ
ขอบคุณ ดร วีรพงษ์ ครับ
คอลัมน์: หุ้นส่วนประเทศไทย
หนังสือพิมพ์ โพสต์ทูเดย์
“หาหุ้น” ในยาม…หายาก ตอนที่ 1
ดร.วีรพงษ์ ชุติภัทร์
วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต
www.CsiSociety.com
Add Line: @CsiSociety
อาจกล่าวได้ว่า เป็นกิจวัตรประจำ 4 เดือน ที่ทางโครงการนักลงทุน CSI วิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต จะต้องทำนั่นคือการ “หาหุ้น” เพื่อให้นักศึกษาของโครงการได้มาประลองฝีมือในการวิเคราะห์ ประเมินราคา และหาให้พบว่า หุ้นตัวๆนั้นมีความสามารถในการแข่งขันและมีราคาที่น่าลงทุนไหม เกือบทุกครั้งที่เราหาหุ้นกันก็จะไม่ค่อยยากนัก แต่ในครั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์บ้านเราอยู่ประมาณ 1,600 จุดเข้าไปแล้ว หุ้นส่วนใหญ่จึงมีราคาปรับตัวขึ้น ดังนั้นการหาหุ้นในครั้งนี้ จึงอยู่ในสภาพที่…หายากยิ่ง
ในรุ่นที่ 12 ที่เพิ่งเปิดไปนี้ ทางโครงการจึงได้ระดมยอดฝีมือมาเป็นผู้ช่วยสอน (Teaching Assistant – TA) จำนวน 5 ท่าน มีท่านอาจารย์ประกิต สิริวัฒนเกตุ (อาจารย์ปิง) ที่กรุณามาเป็นผู้ให้นโยบายและเทคนิคในการหาหุ้น และมีผม (วีรพงษ์) รวมเป็น 7 ท่าน เป็นคณะทำงานในการหาหุ้นโดยมีสมมติฐานในการหาหุ้นดังนี้ครับ
• หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีความสามารถที่โดดเด่น สามารถเอาชนะคู่แข่งขันได้อย่างแข็งแกร่ง และมีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดของตนสูงที่สุด หรือเกือบสูงที่สุด
• หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีราคาที่พอรับได้ นั่นหมายถึง ราคาไม่จำเป็นจะต้องถูก แต่จะต้อง “ไม่แพง” เกินกว่าพื้นฐาน และโอกาสในอนาคต
• หุ้นตัวนั้นๆ ควรจะมีแนวโน้มที่จะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้ราคาปรับตัวขึ้นได้ ภายใน 3-6 เดือนนี้
• ที่สำคัญที่สุดคือ ผู้บริหารจะต้องมีธรรมาภิบาล และมีความสามารถเพียงพอที่จะนำบริษัทนั้นๆไปสู่ความสำเร็จตามที่ตั้งเป้าหมายไว้ให้จงได้
ในที่สุดคณะทำงานก็ได้หุ้นมา 5 ตัว โดยหุ้นตัวที่ 1 อยู่ในกลุ่มสื่อสาร หุ้นตัวที่ 2 เป็นโรงพยาบาล หุ้นตัวที่ 3 เป็นซัพพลายเออร์ของร้านสะดวกซื้อ และยังมีสินค้าบริโภคขายในประเทศเพื่อนบ้าน หุ้นตัวที่ 4 เป็นสินค้าบริโภคชื่อดังของเมืองไทย และเป็นสินค้ายอดฮิตของนักท่องเที่ยวอีกด้วย และหุ้นตัวสุดท้าย เป็นสินค้าที่ผู้ใหญ่มักจะใช้กัน ทั้งนี้ผมจะขออนุญาตคุยให้คุณผู้อ่านได้เข้าใจถึงความเก่งกาจของหุ้นเพียง 4 ตัวเท่านั้น ตัวที่ 5 หรือตัวสุดท้ายจะขออนุญาตไม่คุยให้ฟังนะครับ ดังนี้ครับ
หุ้นตัวที่หนึ่ง
หนึ่งในผู้นำในตลาดสถานีฐาน (Base Station) และอุปกรณ์โทรคมนาคม
เป็นหนึ่งในผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ในตลาดการสร้างสถานีฐาน (Base Station) สาย Fiber Optic สายนำสัญญาณคลื่นความถี่วิทยุ (RF Feeder Cable) และอุปกรณ์เครือข่ายไร้สาย (Wi-Fi) เป็นต้น โดยมีกลุ่มลูกค้าหลักคือ กลุ่มผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operator) และกลุ่มผู้ให้บริการสร้างสถานีฐานและให้บริการติดตั้งอุปกรณ์โทรคมนาคม (Contractor)
บริษัทยังได้เล็งเห็นถึงช่องทางการทำธุรกิจเพิ่มเติมในสินค้ากลุ่มตู้โทรคมนาคม (Telecom Shelter) ซึ่งเดิมสินค้าที่มีอยู่ในตลาดมักจะเป็นตู้ขนาดใหญ่และราคาสูง จึงไม่สามารถตอบสนองความต้องการลดต้นทุนของผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ได้ ดังนั้นบริษัทจึงได้ร่วมมือกับพันธมิตรทางการค้าในการผลิตและจำหน่ายตู้โทรคมนาคม โดยสินค้าของบริษัทจะมีขนาดและคุณสมบัติต่างๆที่สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานของลูกค้าภายใต้ต้นทุนที่ต่ำกว่า
บริษัทยังได้ร่วมกับพันธมิตรทางการค้าในการพัฒนาสถานีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ (Rapid Deployment Unit: RDU) เพื่อใช้ทดแทนสินค้าที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งมีราคาสูงและใช้ระยะเวลานานในการสั่งซื้อ โดยทางบริษัทสามารถพัฒนาสถานีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ให้มีขนาดและความสามารถในการใช้งานที่ตอบสนองความต้องการของลูกค้าภายใต้ต้นทุนที่ถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ ทั้งนี้สถานีโทรคมนาคมเคลื่อนที่ของบริษัทประเภท Cell on Legs นั้น ยังได้รับรางวัลยอดเยี่ยมประเภทการให้บริการโทรคมนคมพื้นฐานโดยทั่วถึงและบริกรเพื่อสังคม (Telecom Universal Service Obligation : USO) อีกด้วย
อีกธุรกิจหนึ่งที่บริษัทได้ขยายออกไปก็คือ ธุรกิจจัดจำหน่ายสินค้าประเภทสายอากาศ (Antenna) โดยเริ่มจากการนำเข้าจากต่างประเทศ ได้ขยายขอบเขตการทำธุรกิจมาสู่การเป็นผู้ผลิตสายอากาศ (Antenna) และอุปกรณ์ป้องกันการรั่วของสัญญาณ (PIM Load) โดยมีจุดเด่นคือ การสามารถปรับปรุงและพัฒนาสินค้าร่วมกับลูกค้า เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการใช้งานของลูกค้าแต่ละรายให้ได้มากที่สุด ซึ่งส่งผลให้ได้รับโอกาสในการนำเสนอสินค้าที่ต้องมีการพัฒนาเพื่อตอบสนองความต้องการเฉพาะอย่างจากกลุ่มลูกค้าอย่างสม่ำเสมอ
นอกจากนี้ ยังมีการให้บริการซ่อมแซมอุปกรณ์โทรคมนาคมอีกด้วย จากการเติบโตอย่างต่อเนื่องทั้งกลุ่มธุรกิจให้บริการและธุรกิจจำหน่ายสินค้าในกลุ่มโทรคมนาคม ประกอบกับการมองอนาคตได้ขาดของผู้บริหาร ที่เห็นถึงแนวโน้มการพัฒนาธุรกิจโทรคมนาคมในต่างประเทศ บริษัทจึงนับเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการในประเทศไทยที่เป็นผู้นำเสนอแนวคิดเรื่องการใช้โครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมร่วมกัน (Telecommunication Infrastructure Sharing) ให้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ (Operator)
จุดเปลี่ยนทางด้านประเภทรายได้ที่สำคัญ บริษัทได้เริ่มประกอบธุรกิจให้เช่าโครงสร้างพื้นฐานด้านโทรคมนาคมซึ่งเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่สร้างรายได้ประจำ (Recurring Income) ให้แก่กลุ่มบริษัท โดยเริ่มโครงการที่นิคมอุตสาหกรรมหลายแห่ง เป็นการวางโครงข่ายสายเคเบิลใยแก้วนำแสง (Fiber Optic cable) เพื่อให้บริการแก่ลูกค้าในนิคมอุตสาหกรรมโดยใช้โครงข่ายเดียวกัน ซึ่งเป็นการช่วยลดต้นทุนการลงทุนในการวางโครงข่ายของผู้ให้บริการโทรคมนาคม อันได้แก่ผู้ให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่และผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต และเป็นการเพิ่มสิ่งอำนวยความสะดวกให้แก่ลูกค้าของนิคมอุตสาหกรรม
นอกจากนั้น บริษัทยังคงคิดที่จะสร้างรายได้ในรูปแบบความมั่นคงของรายได้และกำไรในระยะยาวต่อไปอีก โดยเฉพาะจากธุรกิจให้เช่าโครงข่ายโทรคมนาคม โดยมีรูปแบบการลงทุนอยู่ 2 ลักษณะด้วยกันคือ บริษัทลงทุนเอง และกิจการร่วมค้า
บริษัทยังมุ่งหวังขยายในผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เช่น แผนการใช้งานโครงข่ายโทรคมนาคมภายในอาคารโดยเฉพาะห้างสรรพสินค้า โดยจะร่วมกับผู้ให้บริการ Content ต่างชาติและ Mobile Operator เพื่อให้บริการ App โปรโมชั่นซื้อสินค้า โดยบริษัทได้วางแนวทางในการหารายได้เป็น 2 รูปแบบคือ ค่าเช่าโครงข่าย และส่วนแบ่งรายได้จากการใช้ App จากร้านค้า ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างตกลงรายละเอียดการให้บริการ
วันพรุ่งนี้ ขอเชิญพบกับ… หุ้น 3 ตัวที่เหลือ ในบทความ “หาหุ้น ในยาม…หายาก” ตอนจบ
ตอนที่2
เมื่อวานนี้ เราได้คุยกันถึง การ “หาหุ้น” เพื่อให้นักศึกษาของโครงการนักลงทุน CSI รุ่น 12 มหาวิทยาลัยรังสิต ได้มาประลองฝีมือในการวิเคราะห์ ประเมินราคา และหาให้พบว่า หุ้นตัวๆนั้นมีความสามารถในการแข่งขันและมีราคาที่น่าลงทุนไหม แต่ในครั้งนี้ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์บ้านเราอยู่ประมาณ 1,600 จุดเข้าไปแล้ว ซึ่งทำให้การหาหุ้นในครั้งนี้ จึงอยู่ในสภาพที่...หายากยิ่ง
โดยคณะทำงานต้องคำนึงถึงปัจจัย 4 ข้อด้วยกันคือ หนึ่ง หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีความสามารถที่โดดเด่น และมีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดของตนสูงที่สุด หรือเกือบสูงที่สุด สอง หุ้นตัวนั้นๆ จะต้องมีราคาที่ “ไม่แพง” เกินกว่าพื้นฐานและโอกาสในอนาคต สาม ควรจะมีแนวโน้มที่จะมีเหตุการณ์ที่จะทำให้ราคาปรับขึ้นได้ ภายใน 3-6 เดือนนี้ และสี่ สำคัญที่สุดคือ ผู้บริหารจะต้องมีธรรมาภิบาล ซึ่งเราก็ได้หุ้นมา 5 ตัว แต่จะขอมาคุยแค่ 4 ตัว เมื่อวานนี้ได้คุยตัวที่หนึ่งไปแล้ว วันนี้จะขอคุยต่ออีก 3 ตัวที่เหลือ ดังนี้นะครับ
หุ้นตัวที่สอง
เป็นหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาล เป็นโรงพยาบาลขนาดกลาง
ในปี 2560 นี้ น่าจะเป็นปีที่สดใสของหุ้นในกลุ่มโรงพยาบาลที่ให้บริการประกันสังคม เพราะมีมาตรการต่างๆ ที่ออกมาเอื้อต่อผู้ประกันตน ซึ่งส่งผลดีต่อธุรกิจโรงพยาบาลคือ หนึ่ง การเพิ่มสิทธิให้ผู้ประกันตนได้ทำฟันฟรีโดยไม่ต้องสำรองจ่ายล่วงหน้าในวงเงิน 900 บาทต่อปี และมาตรการตรวจสุขภาพฟรี ซึ่งการเพิ่มสิทธิดังกล่าวจะทำให้มีผู้ประกันตนเข้าสู่ระบบมากขึ้น สอง สำนักงานจะมีการปรับฐานคำนวณเงินสมทบใหม่จาก 15,000 บาท เป็น 20,000 บาท ทำให้เงินสมทบเพิ่มจากเดือนละ 750 บาทเป็น 1,000 บาท จึงมีแนวโน้มสูงขึ้นไปอีกที่จะปรับอัตราค่าเหมาจ่ายต่อหัวและค่าภาระโรคเสี่ยง ซึ่งจะทำให้กำไรต่อหัวของโรงพยาบาลในเครือประกันสังคมเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะประกาศผลการปรับภายในไตรมาสที่หนึ่งของปีนี้
นอกจากนั้นยังมีการเปลี่ยนแปลงภายในโรงพยาบาลที่มีนัยสำคัญอีกด้วย เริ่มจากการมีแผนจะเปิดให้บริการตึกใหม่ ซึ่งจะเป็นอาคารให้บริการศูนย์โรคเฉพาะทาง (Excellent Center) ให้ครบทั้ง 9 ศูนย์ รวมถึงการขยายจำนวนเตียงผู้ป่วยก็จะส่งผลดีต่อโรงพยาบาลเช่นกัน โดยจะเพิ่มจำนวนเตียงผู้ป่วยใน และห้องตรวจสำหรับผู้ป่วยนอก ซึ่งจะส่งผลทำให้สัดส่วนผู้ป่วยเงินสดมีโอกาสเติบโตสูงขึ้นไปอีก
หุ้นตัวที่สาม
ธุรกิจสินค้าบริโภคก้าวไปพร้อมกับร้านสะดวกซื้อ และตลาดต่างประเทศ
หุ้นตัวนี้ถือได้ว่า เป็นหุ้นที่คณะทำงานถกเถียงกันมากที่สุดตัวหนึ่ง ในเรื่องความสามารถในการแข่งขันซึ่งมีเหนือกว่าคู่แข่งขันเป็นอย่างมาก การที่บริษัทสามารถสร้างความสัมพันธ์กับร้านสะดวกซื้อรายใหญ่รายหนึ่งของประเทศได้อย่างแนบแน่น ทำให้นวัตกรรมทางด้านสินค้าบริโภคของบริษัทนั้น มีช่องทางจัดจำหน่ายขนาดใหญ่มหึมา จึงดูเหมือนว่า หน้าที่หลักของบริษัทนี้ก็คือ ค้นหาสินค้าที่ถูกใจแก่ผู้บริโภคให้เจอเท่านั้น ถ้าเจอสินค้านั้นเมื่อไร ก็มีโอกาสเป็นอย่างมาก ที่ยอดขายจำนวนมหาศาลจะตามมา เรามาลองดูสินค้าที่บริษัทนี้จำหน่ายในปัจจุบันกันหน่อยนะครับ
• เครื่องดื่มในร้านสะดวกซื้อ ได้แก่ กาแฟเย็น และเครื่องดื่มใหม่ๆในอนาคต แนวโน้มในอนาคตค่อนข้างสดใส ตามจำนวนสาขาที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว หากมองง่ายๆ ก็อาจกล่าวได้ว่า รายได้ในกลุ่มนี้อยู่ในฐานะ “STAR” และมีโอกาสจะกลายไปเป็น “Cash Cow” ของบริษัทได้ในอนาคต
• รายได้จากสินค้าเบเกอรี่และสินค้าลิขสิทธิ์ คณะทำงานคิดว่า รายได้ในส่วนนี้ยังอยู่ในช่วง “แสวงหา” ซึ่งยังคงต้องใช้เวลา แต่เมื่อใดก็ตามที่เจอ “สินค้าที่ใช่” ก็มีโอกาสที่จะสร้างรายได้และกำไรเป็นจำนวนมาก
• สินค้าเครื่องดื่มบำรุงกำลังในประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งนับเป็นตลาดที่ใหญ่และมีอัตราการเติบโตที่สูง สินค้าไปได้ค่อนข้างดีภายใต้ภาวะการแข่งขันที่สูง
• เครื่องดื่มรสผลไม้ ที่เจาะตลาดต่างประเทศที่มีขนาดใหญ่มาก อาจกล่าวได้ว่าอยู่ในขั้นทดลอง หากติดตลาด...ก็คงจะสร้างมูลค่าการตลาดที่สูงมากเช่นกัน
หุ้นตัวที่สี่
เป็นสินค้าบริโภคชื่อดังของเมืองไทย และเป็นสินค้ายอดฮิตของนักท่องเที่ยว
สินค้าทานเล่นตัวนี้เริ่มกำเนิดในประเทศไทย แต่ด้วยความเป็นสินค้าที่เกาะกระแสการรักษาสุขภาพ และรสชาติที่อร่อย ก็ทำให้สามารถครองใจประชาชนชาวไทยได้เป็นส่วนใหญ่ โดยมีส่วนแบ่งการตลาดที่สูงที่สุดในตลาดเมืองไทย ในปี 2558 มีส่วนแบ่งการตลาดมากกว่า 60% ของตลาด ซึ่งเป็นสิ่งที่ยากในการที่จะรักษาส่วนแบ่งการตลาดสูงขนาดนี้ไว้ได้ แต่ในปี 2559 คาดว่าตัวเลขส่วนแบ่งการตลาดจะสูงขึ้นไปอีกคือ สูงกว่า 65% นั่นแสดงให้เห็นถึง ความสามารถในการแข่งขันที่มีระดับสูงมาก จนคู่แข่งขันต้องสูญเสียส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นไปอีก
ตลาดต่างประเทศ สินค้าตัวนี้ได้บุกยังไปบางประเทศที่มีจำนวนประชากรเป็นพันล้านคน หรือบางประเทศก็มีจำนวนประชากรหลายร้อยล้านคน ในปัจจุบันตลาดต่างประเทศของบริษัทนี้ขยายตัวจนทำให้รายได้จากต่างประเทศสูงกว่า 50% ของรายได้รวมของบริษัทเข้าไปแล้ว โดยในช่วง 3 ปีที่ผ่านมาพบว่า ตลาดต่างประเทศของสินค้าตัวนี้เพิ่มขึ้นมากกว่า 15 เท่า (จาก 100 ล้านบาท เป็นมากกว่า 1.5 พันล้านบาทในปัจจุบัน)
สิ่งที่สำคัญคือ รูปแบบการกระจายสินค้าในต่างประเทศผ่านห้างในรูปแบบ Modern Trade (ซึ่งก็คล้ายๆ โลตัส บิ๊กซี ในบ้านเรา) มีสัดส่วนเพียง 20% เท่านั้น นั่นแสดงให้เห็นว่า ตลาดต่างประเทศของสินค้าตัวนี้ยังจะเติบโตได้อีกมหาศาล
และทั้งหมดคือ เรื่องราวของการ “หาหุ้น ในยาม..หายาก” หวังว่าบทความนี้จะทำให้คุณผู้อ่านเกิดประกายในการลงทุนไม่มากก็น้อยนะครับ ซึ่งอันที่จริงแล้วการลงทุนในตลาดหุ้น...ไม่ใช่สิ่งที่ยาก แต่เป็นสิ่งที่...ต้องตั้งใจ อดทน และรอบคอบ ทำให้นึกถึงนักลงทุนนามก้องโลก Peter Lynch ที่เคยกล่าวไว้ว่า “Everyone has the brainpower to follow the stock market. If you made it through fifth-grade math, you can do it.” แปลตามความได้ว่า “ทุกคนมีกำลังสมองที่จะลงทุนในหุ้นได้ ถ้าคุณสามารถทำเลขชั้น ป.5 ได้ คุณก็ลงทุนได้”
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 126
เซียนหุ้นสัญจร ที่ ขอนแก่น
ดร นิเวศน์
คุณ โจ ลูกอีสาน
เชิญชมคลิปด้านล่างครับ
https://www.youtube.com/watch?v=6pG_3gSCRfM
ดร นิเวศน์
คุณ โจ ลูกอีสาน
เชิญชมคลิปด้านล่างครับ
https://www.youtube.com/watch?v=6pG_3gSCRfM
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 127
updated: 30 มิ.ย. 2560 เวลา 05:30:00 น.
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ราคาร่วงหนัก เหตุนักลงทุนกระหน่ำเทขาย หวั่นรัฐเลิกยกเว้นภาษีฉุดผลตอบแทนลดลง ด้านนักวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป ประเมินราคาหน่วยลงทุนดิ่งลงแรงจนน่าสนใจ หวังยีลด์ขยับสูงขึ้นจากเฉลี่ยระดับ 6% ต่อปี ฟาก บลจ.กรุงไทย ยอมรับต้นทุนกองทุนเพิ่ม อาจฉุดกำไรผู้ถือหน่วยลดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า การเคลื่อนไหวของราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (30 ธ.ค. 2559-23 มิ.ย. 2560) ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยกองทุนที่ราคาหน่วยลงทุนปรับตัวลดลงมากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี (DTCPF) กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซี.พี.ทาวเวอร์ โกรท (CPTGF) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นิชดาธานี 2 (MNIT2) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอราวัณ โฮเทล โกรท (ERWPF)
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้ประกาศเลิกมาตรการยกเว้นภาษีสำหรับสินทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา โดยการเลิกยกเว้นภาษีของกองทุนอสังหาฯนั้นจะส่งผลให้กองทุนอสังหาฯต้องถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมและภาษีใน3ส่วนอาทิภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), อากรแสตมป์ และภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ในส่วนของภาษีนิติบุคคลยังคงได้รับการยกเว้นเช่นเดิม
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล นักวิเคราะห์กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันราคาหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาฯปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณการทยอยขายออกมาตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย. จนถึงเดือน มิ.ย. ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อกรณีการเลิกมาตรการยกเว้นภาษี ประกอบกับราคาหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาฯได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงทำให้มีแรงเทขายทำกำไรออกมาบ้าง
อย่างไรก็ตาม ราคาหน่วยลงทุนที่ร่วงอย่างมากถือเป็นระดับที่น่าสนใจกลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง เพราะอัตราผลตอบแทน (ยีลด์) ของการลงทุนในกองทุนอสังหาฯยังคงสูงกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยยีลด์ของกองทุนอสังหาฯตามปกติจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 6% ต่อปี ขณะที่ยีลด์ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.4%
นายกิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ นักวิเคราะห์กองทุน บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) มีจำนวน 53 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 291,217 ล้านบาท (ณ 30 เม.ย. 60) โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีขนาดกองทุนรวมอสังหาฯมากสุด3 อันดับแรก ได้แก่ 1.บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ราว 123,277 ล้านบาท รองลงมา คือ บลจ.ไทยพาณิชย์อยู่ที่ 55,806 ล้านบาท และ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 25,454 ล้านบาท
สำหรับปัจจุบันยีลด์กลุ่มกองทุนอสังหาฯเฉลี่ยอยู่ที่ 5-7% ต่อปี ซึ่งหลังจากที่รัฐบาลเลิกมาตรการยกเว้นภาษี จะทำให้กองทุนอสังหาฯมีต้นทุนทางภาษีเพิ่มขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิ และอัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย ส่วนประเด็นการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่น่าจะเป็นประเด็นหลักที่มีผลกระทบต่อความน่าสนใจของกองทุนอสังหาฯ
"แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่า คือ ประเด็นที่ว่าความสามารถในการสร้างรายได้และกำไรของกองทุนอสังหาริมทรัพย์จะยังอยู่
ในระดับที่ดีต่อเนื่องหรือไม่ รวมถึงมูลค่าของหน่วยลงทุนที่ได้ปรับตัวขึ้นค่อนข้างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา" นายกิตติคุณกล่าว
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย กล่าวยอมรับว่าการกลับมาเก็บภาษีน่าจะส่งผลให้ต้นทุนของกองทุนเพิ่มขึ้น และอาจฉุดให้ยีลด์ปรับตัวลดลงได้ ซึ่งคาดว่าจะประเมินผลกระทบได้หลังจากครบงวดเดือน มิ.ย.นี้
ขณะที่ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประเภทกองดังกล่าวอยู่ราว 200,000 ล้านบาท แต่จะลดลงเหลือประมาณ 120,000 ล้านบาท เพราะกองทุนอสังหาฯของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จำนวน 3 กองมูลค่ารวม 80,000 ล้านบาท ที่กำลังดำเนินการปิดกองอยู่
ประชาชาติธุรกิจออนไลน์
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ราคาร่วงหนัก เหตุนักลงทุนกระหน่ำเทขาย หวั่นรัฐเลิกยกเว้นภาษีฉุดผลตอบแทนลดลง ด้านนักวิเคราะห์ บล.ฟิลลิป ประเมินราคาหน่วยลงทุนดิ่งลงแรงจนน่าสนใจ หวังยีลด์ขยับสูงขึ้นจากเฉลี่ยระดับ 6% ต่อปี ฟาก บลจ.กรุงไทย ยอมรับต้นทุนกองทุนเพิ่ม อาจฉุดกำไรผู้ถือหน่วยลดลง
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ข้อมูลของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) พบว่า การเคลื่อนไหวของราคาหน่วยลงทุนของกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ (พร็อพเพอร์ตี้ ฟันด์) ตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบัน (30 ธ.ค. 2559-23 มิ.ย. 2560) ส่วนใหญ่ปรับตัวลดลง โดยกองทุนที่ราคาหน่วยลงทุนปรับตัวลดลงมากสุด 5 อันดับแรก ได้แก่ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าเหมราชอินดัสเตรียล (HPF) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์และสิทธิการเช่าดุสิตธานี (DTCPF) กองทุนรวมสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ ซี.พี.ทาวเวอร์ โกรท (CPTGF) กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์นิชดาธานี 2 (MNIT2) และกองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์เอราวัณ โฮเทล โกรท (ERWPF)
นอกจากนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า รัฐบาลได้ประกาศเลิกมาตรการยกเว้นภาษีสำหรับสินทรัพย์ของกองทุนรวมอสังหาฯ ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 24 พ.ค. 2560 ที่ผ่านมา โดยการเลิกยกเว้นภาษีของกองทุนอสังหาฯนั้นจะส่งผลให้กองทุนอสังหาฯต้องถูกเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมและภาษีใน3ส่วนอาทิภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT), อากรแสตมป์ และภาษีธุรกิจเฉพาะ แต่ในส่วนของภาษีนิติบุคคลยังคงได้รับการยกเว้นเช่นเดิม
นายสานุพงศ์ สุทัศน์ธรรมกุล นักวิเคราะห์กองทุนรวม บริษัทหลักทรัพย์ (บล.) ฟิลลิป (ประเทศไทย) เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ปัจจุบันราคาหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาฯปรับตัวลดลงมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเริ่มเห็นสัญญาณการทยอยขายออกมาตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย. จนถึงเดือน มิ.ย. ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากความกังวลต่อกรณีการเลิกมาตรการยกเว้นภาษี ประกอบกับราคาหน่วยลงทุนของกองทุนอสังหาฯได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นค่อนข้างมากในช่วงปี 2559 ที่ผ่านมา ดังนั้นจึงทำให้มีแรงเทขายทำกำไรออกมาบ้าง
อย่างไรก็ตาม ราคาหน่วยลงทุนที่ร่วงอย่างมากถือเป็นระดับที่น่าสนใจกลับเข้าไปลงทุนอีกครั้ง เพราะอัตราผลตอบแทน (ยีลด์) ของการลงทุนในกองทุนอสังหาฯยังคงสูงกว่า เมื่อเทียบกับการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี โดยยีลด์ของกองทุนอสังหาฯตามปกติจะเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 6% ต่อปี ขณะที่ยีลด์ของพันธบัตรรัฐบาลอายุ 10 ปี ปัจจุบันอยู่ที่ระดับ 2.4%
นายกิตติคุณ ธนรัตนพัฒนกิจ นักวิเคราะห์กองทุน บริษัท มอร์นิ่งสตาร์ รีเสิร์ช (ประเทศไทย) กล่าวว่า ปัจจุบันกองทุนอสังหาริมทรัพย์ (กอง 1) มีจำนวน 53 กองทุน มูลค่าทรัพย์สินสุทธิ 291,217 ล้านบาท (ณ 30 เม.ย. 60) โดยบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) ที่มีขนาดกองทุนรวมอสังหาฯมากสุด3 อันดับแรก ได้แก่ 1.บลจ.กรุงไทย โดยมีมูลค่าสินทรัพย์สุทธิภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) ราว 123,277 ล้านบาท รองลงมา คือ บลจ.ไทยพาณิชย์อยู่ที่ 55,806 ล้านบาท และ บลจ.แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ 25,454 ล้านบาท
สำหรับปัจจุบันยีลด์กลุ่มกองทุนอสังหาฯเฉลี่ยอยู่ที่ 5-7% ต่อปี ซึ่งหลังจากที่รัฐบาลเลิกมาตรการยกเว้นภาษี จะทำให้กองทุนอสังหาฯมีต้นทุนทางภาษีเพิ่มขึ้น จนอาจส่งผลกระทบต่อกำไรสุทธิ และอัตราการจ่ายเงินปันผลด้วย ส่วนประเด็นการเก็บภาษีที่เพิ่มขึ้นนั้น ไม่น่าจะเป็นประเด็นหลักที่มีผลกระทบต่อความน่าสนใจของกองทุนอสังหาฯ
"แต่สิ่งที่น่าสนใจมากกว่า คือ ประเด็นที่ว่าความสามารถในการสร้างรายได้และกำไรของกองทุนอสังหาริมทรัพย์จะยังอยู่
ในระดับที่ดีต่อเนื่องหรือไม่ รวมถึงมูลค่าของหน่วยลงทุนที่ได้ปรับตัวขึ้นค่อนข้างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา" นายกิตติคุณกล่าว
นางชวินดา หาญรัตนกูล กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) กรุงไทย กล่าวยอมรับว่าการกลับมาเก็บภาษีน่าจะส่งผลให้ต้นทุนของกองทุนเพิ่มขึ้น และอาจฉุดให้ยีลด์ปรับตัวลดลงได้ ซึ่งคาดว่าจะประเมินผลกระทบได้หลังจากครบงวดเดือน มิ.ย.นี้
ขณะที่ปัจจุบันบริษัทมีมูลค่าทรัพย์สินสุทธิประเภทกองดังกล่าวอยู่ราว 200,000 ล้านบาท แต่จะลดลงเหลือประมาณ 120,000 ล้านบาท เพราะกองทุนอสังหาฯของนายเจริญ สิริวัฒนภักดี จำนวน 3 กองมูลค่ารวม 80,000 ล้านบาท ที่กำลังดำเนินการปิดกองอยู่
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 128
ทางเลือกสุดท้ายของ Property fund
กองทุน property fund ไม่สามารถเพิ่มขนาดกองทุนได้ ถ้าต้องการขยายกองทุนโดยซื้อทรัพย์สินมาเพิ่มต้องแปลงเป็น REIT ก่อน จึงสามารถซื้อทรัพย์สินได้เพิ่มเติม
ซึ่ง RIET มีข้อดีคือสามารถกู้เงินมาในสัดส่วนไม่เกิน 30% ของสินทรัพย์สุทธิมาลงทุนเพิ่มได้ไม่ต้องรบกวนผู้ถือหน่วยลงทุนเดิมมาเพิ่มทุน
ปีนี้ยังได้สิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีการโอนไปREITด้วย
จะสังเกตว่าหลายกองทุนproperty fund จะแปลงเป็นREITในปีนี้
วันพรุ่งนี้ 13 กค 17 เป็นวันลงมติของผู้ถือหน่วย WHAPF ซึ่งเป็นproperty fund ว่าจะอนุมัติ
ให้แปลงจากproperty fund เป็น REIT คือกอง WHART หรือไม่
โดยสัดส่วนในการแปลงดูจาก NAV ทั้งสองกองทุนในช่วงต้นปี โดยอัตราส่วนการแปลง 1 หน่วยลงทุน WHAPF = 1.0562 หน่วยลงทุน WHART
โดยไม่ได้สนใจราคาตลาดของทั้งสองกองทุน ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้อง
เพราะราคาตลาดขึ้นลงตาม demand & supply
ปรากฏว่า ถ้าแปลง WHAPF เป็น WHART ปรากฏว่ามูลค่าหลังแปลงจะได้น้อยกว่าเดิม ถ้านำมาขายออกในราคาตลาด
ณ วันที่ 3 กค 17 ดังนั้นถ้าสับเปลี่ยนมาลงทุน WHART แทนที่จะถือ WHAPF จะได้ในราคาที่ต่ำกว่า
ช่วงนี้ราคาของทั้งสองกองทุนเริ่มขยับเข้าหากัน เพื่อลดส่วนต่างลงตามประสิทธิภาพของตลาด
บางครั้ง Mr Market ก็เสนอราคาที่ดีให้กับเราในบางช่วงขึ้นกับว่าเราสนใจในโอกาสนี้หรือเปล่า
แต่ก็มีความเสี่ยงบ้างตรงที่ ถ้าประชุมพรุ่งนี้ไม่อนุมัติการแปลง เราก็จะย้ายไปถือ WHART ซึ่งมีสัดส่วน Freehold น้อยกว่า WHAPF
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องพิจารณาให้ดีก่อนการลงทุน
และ เหมาะกับคนที่ต้องการถือ REIT อยู่แล้ว ไม่ต้องการขายออก
บางกองทุนอาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดกองทุน เพราะเป็นกองที่ลงในทรัพย์สินจำกัด
และมีขนาดเล็ก ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่แล้ว
กองทุน property fund ไม่สามารถเพิ่มขนาดกองทุนได้ ถ้าต้องการขยายกองทุนโดยซื้อทรัพย์สินมาเพิ่มต้องแปลงเป็น REIT ก่อน จึงสามารถซื้อทรัพย์สินได้เพิ่มเติม
ซึ่ง RIET มีข้อดีคือสามารถกู้เงินมาในสัดส่วนไม่เกิน 30% ของสินทรัพย์สุทธิมาลงทุนเพิ่มได้ไม่ต้องรบกวนผู้ถือหน่วยลงทุนเดิมมาเพิ่มทุน
ปีนี้ยังได้สิทธิพิเศษในการยกเว้นภาษีการโอนไปREITด้วย
จะสังเกตว่าหลายกองทุนproperty fund จะแปลงเป็นREITในปีนี้
วันพรุ่งนี้ 13 กค 17 เป็นวันลงมติของผู้ถือหน่วย WHAPF ซึ่งเป็นproperty fund ว่าจะอนุมัติ
ให้แปลงจากproperty fund เป็น REIT คือกอง WHART หรือไม่
โดยสัดส่วนในการแปลงดูจาก NAV ทั้งสองกองทุนในช่วงต้นปี โดยอัตราส่วนการแปลง 1 หน่วยลงทุน WHAPF = 1.0562 หน่วยลงทุน WHART
โดยไม่ได้สนใจราคาตลาดของทั้งสองกองทุน ซึ่งเป็นหลักการที่ถูกต้อง
เพราะราคาตลาดขึ้นลงตาม demand & supply
ปรากฏว่า ถ้าแปลง WHAPF เป็น WHART ปรากฏว่ามูลค่าหลังแปลงจะได้น้อยกว่าเดิม ถ้านำมาขายออกในราคาตลาด
ณ วันที่ 3 กค 17 ดังนั้นถ้าสับเปลี่ยนมาลงทุน WHART แทนที่จะถือ WHAPF จะได้ในราคาที่ต่ำกว่า
ช่วงนี้ราคาของทั้งสองกองทุนเริ่มขยับเข้าหากัน เพื่อลดส่วนต่างลงตามประสิทธิภาพของตลาด
บางครั้ง Mr Market ก็เสนอราคาที่ดีให้กับเราในบางช่วงขึ้นกับว่าเราสนใจในโอกาสนี้หรือเปล่า
แต่ก็มีความเสี่ยงบ้างตรงที่ ถ้าประชุมพรุ่งนี้ไม่อนุมัติการแปลง เราก็จะย้ายไปถือ WHART ซึ่งมีสัดส่วน Freehold น้อยกว่า WHAPF
หมายเหตุ การลงทุนมีความเสี่ยง ผู้ลงทุนต้องพิจารณาให้ดีก่อนการลงทุน
และ เหมาะกับคนที่ต้องการถือ REIT อยู่แล้ว ไม่ต้องการขายออก
บางกองทุนอาจไม่จำเป็นต้องเพิ่มขนาดกองทุน เพราะเป็นกองที่ลงในทรัพย์สินจำกัด
และมีขนาดเล็ก ซึ่งให้ผลตอบแทนที่ดีอยู่แล้ว
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 129
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 130
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (9/7/60)จาก อ สรรพงษ์
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 1) มี 5 ตอน
1. Rival Competition การแข่งขันภายใน ธุรกิจทุกประเภทเราควรศึกษาเรื่องการแข่งขันในเบื้องต้นเสมอ ต้องมองให้ได้ขั้นแรกว่าเป็นตลาดแบบใด ส่วนมากเป็นตลาดแบบคู่แข่งมากราย (Monopolistic) ถึงสมบูรณ์ (Perfect) ในตลาดคู่แข่งมากราย การสร้างแบรนด์สำคัญมาก Brands ถือเป็น Moats ที่สำคัญที่สุด ซึ่งใน Business Model คือ Value Proposition การนำเสนอคุณค่านั่นเอง ซึ่งไม่เพียง Product Value เท่านั้น แต่รวมถึง Customer Value ด้วย ธุรกิจนอกจากมีแบรนด์ที่แกร่งแล้วยังต้องมี Activiteis กิจกรรมที่สำคัญในการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า หลายธุรกิจดูดี แบรนด์เป็นที่รู้จัก แต่อาจล้มเหลวหรือตายได้ หากกระบวนการที่สำคัญนี้ล้มเหลว จากแบรนด์ที่แกร่งก็อ่อนแอได้หลายบริษัทอาจกำหนดในพันธกิจว่าต้องเป็นมืออาชีพ ต้องรักษาคุณภาพ สิ่งเหล่านี้เราดูได้ผ่านอัตราส่วนการเงิน
Brand ดี และแกร่ง ย่อมเกิด Loyalty ความภักดีต่อสินค้า Growth จะมั่งคงในช่วง growth stage และรักษาระดับยอดขายได้มั่นคง ในช่วง Maturity stage รักษาส่วนแบ่งการตลาดได้ดีและมีแนวโน้มมากขึ้นสามารถก้าวเป็นผู้นำตลาดได้การมีควมภักดีในสินค้า ย่อมสร้างความแข็งแกร่งในอำนาจสร้างอำนาจต่อรองกับลูกค้าได้ รักษาฐานลูกค้าเดิมได้ เราจะพบว่า AT ART GM จะค่อนข้างคงที่ไม่ผันผวน ถ้า ผันผวนไม่ค่อยนิ่ง (การวัดนิ่งผมเคยกล่าวแล้วนะครับว่าหาอย่างไร ไม่ใช่ 1.5 ตลอด อะไรแบบนั้น) ค่า AT ART GM ที่ผันผวน แสดงถึง customer porfolio ที่ไม่แน่นอน AT อาจลดได้ถ้ามีการลงทุนใน PPE เพิ่ม แต่ภาวะจะเกิดไม่นาน เพราะกิจการที่มี Brand ที่แกร่งจะสามารถรักษายอดขายตามมาได้ไม่ยาก ไม่ใช่ลดยาวนานสองปีสามปี และยังบอกถึงความเป็นมืออาชีพทั้งด้านการตลาด และการบริหาร เพราะธุรกิจย่อมไม่ตัดสินในลงทุน (Capital Budgeting Desion Making) หากขาดโอกาสทางการตลาดและผลตอบแทนที่คุ้มค่า ซึ่งจะไปสะท้อนไปที่ ROA ที่ดีและนิ่งด้วย หลายคนที่อบรมกับผม จึงมักจะได้ยินว่าผมเน้นว่ากิจการที่ดี เหมาะกับการลงทุนระยะยาวคืออัตราส่วนสำคัญควรนิ่ง
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (9/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 2)
2. New Entarnces หลังจากดูเรื่อง Rival Competition การแข่งขันภายในแล้วต่อมาคือ การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ ธุรกิจที่มีการเข้าง่าย จะเพิ่มคู่แข่งรายใหม่ เข้ามาตลอด ทำให้แรงกดดันด้าน Rival Competition เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้สินค้าที่มีอยู่ต้องปรับกลยุทธ์ตลอดเวลาเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ การรักษาการเติบโตก็ยากขึ้น ดังนั้นในแรงกดดันด้านนี้หากอุตสาหกรรมมี Moats คือ Regulation & Economy of Scales of Supply Side จะช่วยป้องกันการกดดันการแข่งขันไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น การแข่งขันส่วนมากมักจะใช้ราคาเป็นกลยุทธ์เจาะและแย่งฐานลูกค้า ซึ่งทำให้กระทบไปถึง Margin ได้ Business Model ที่สำคัญคือ Resources-Assets มีAssets-PPE ในงบการเงินต้องมีขนาดใหญ่ ดังนั้นบริษัทขนาดเล็ก Market Cap น้อยๆ (เช่น < 50,000 ลบ) หรือที่อยู่ใน MAI จะถูกกดดันเรื่อง New Entarnces ง่ายมาก ยกเว้นในอุตสาหกรรมมี Regulation ดังนั้นธุรกิจที่มีแรงกดดันด้านนี้มาต้องย้อนกลับไปที่ Rival Competition ต้องสร้าง แบรนด์ให้แกร่ง จึงอยู่ได้อย่างเข้มแข็งในอุตสาหกรรม ในกิจการที่ต้องลงทุนมาก ขนาดของการลงทุนมีผลทำให้เกิด Economy of Scales ต้นทุนการผลิตจะต่ำ บริษัทจะป้องกันคู่แข่งขันเข้าใหม่โดยการตั้งราคาสินค้าต่ำมี GM ต่ำ ดังนั้นธุรกิจที่เข้าง่าย การเลือกลงทุนในขนาดธุรกิจนั้นสำคัญ ธุรกิจอาจไม่มี margin สูง แต่บริษัทที่ดี ต้องรักษาระดับอัตรากำไรช่วงต่างๆให้นิ่ง แสดงถึงการป้องกันการเข้าใหม่ของคู่แข่งได้ดี และที่สำคัญที่สุดคือต้องมี solvency ที่แกร่งจะได้เปรียบ การลงทุนในธุรกิจที่เข้าง่ายออกง่ายนั้น Margin ต่างๆ ไม่ต้องสูงสุด แต่ควรผันผวนน้อยและมี solvency ที่ดี
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเมื่อขนาดธุรกิจที่ใหญ่ ทำให้ fixed cost สูงตาม การผลิตมากทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยต่ำลง คนเข้าใหม่หากขนาดไม่ใหญ่ก็จะขายสินค้าได้น้อย และอาจมีต้นทุนสูงกว่า การเข้ามาแย่งตลาดจะเสียเปรียบ (สำหรับกรณีสินค้าที่เป็นสินค้า staple สินค้า commodity) cost leadership ยังเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของธุรกิจประเภทนี้
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (11/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 3)
3. Bargaining Power of Buyers ผ่านไป 2 forces แล้ว แรงกดดันที่สามก็คือด้านลูกค้า อำนาจต่อรองกับลูกค้า ในที่นี้คือมองที่ราคาเป็นหลัก รองมาก็เป็นเรื่อง condition ต่างๆ เช่น ระยะเวลาชำระเงิน ส่วนลด เป็นต้น ปราการที่ช่วยป้องกันด้านนี้ที่สำคัญคือการมี Network Effect or Economy of Scales of Demand Side ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ การที่ลูกค้าใช้ต่อๆ เนื่องกัน (Network Effect เช่น face book เป็นรูปแบบหนึ่งของ Network Effect คล้ายกับการบอกต่อกันนั่นเอง ในทางการตลาด คือ Evangelism หนึ่งใน 4E ที่เคยกล่าวไว้ 4P-4C-4E) การบอกต่อๆกัน ใช้ต่อเนื่องกัน เธอมี ฉันมี ทำให้ฐานตลาดแข็งแกร่ง เมื่อฐานตลาดแข็งแกร่ง อำนาจต่อรองจากลูกค้า Bargaining Power of Buyers จะไม่มาก แรงกดดันการต่อรองราคา เงื่อนไขการขายจะไม่มาก ทำให้กิจการบริหารการขายมีเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถกำหนด Target Customer ได้ชัดเจน ทำและสร้าง Customer relationship การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดี ซึ่งทั้ง Target Customer และ Customer relationship เป็นส่วนหนึ่งของ Business Models ทั้งหมดนี้จะสะท้อนผ่านงบการเงินที่ AR ยอดขาย Sales และกำไรขั้นต้น ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราดูได้ผ่านอัตราส่วนการเงินคือ
ART - Account Receivable Turnover ควรต้องนิ่ง และไม่ยาวเกินไป การที่ลูกค้าเกิดจากการยอมรับกันต่อเนื่องในวงกว้าง ย่อมยอมรับเงื่อนไขการขายที่กำหนดตามมาตรฐานกิจการ ดังนั้นอัตรส่วนนี้ ART จะค่อนข้างนิ่ง หรือในมุมหนึ่งการที่ลูกค้าไม่ได้มี Bargaining Power of Buyers ย่อมไม่ต่อรองเงื่อนไขการขายต่างๆ เช่น term การชำระเงิน รวมทั้งยังสะท้อนถึงการมีลูกค้าที่มี loyalty ต่อกิจการ ต่อสินค้า เพราะการสูญเสียฐานลูกค้าบ่อยๆ ทำให้กิจการนั้นๆ ต้องง้องอนลูกค้า หาลูกค้าใหม่ตลอดเวลาเพื่อชดเชยและเพิ่มมากขึ้นอีก ทางที่จะดึงลูกค้าคู่แข่ง และรักษาลูกค้าคือ ลดราคา แจกของแถม ขยายเวลาการจ่ายเงิน กลยุทธ์เหล่านี้มักนำมาใช้กันมาก และกลยุทธ์เหล่านี้เองทำให้ ART ไม่นิ่ง
GM อัตรากำไรขั้นต้นก็จะนิ่ง เมื่ออำนาจการต่อรองจากลูกค้ามีมาก ด้านราคาก็จะสะท้อนเช่นกัน การลดราคาย่องมีผลต่อกำไรจากการขาย เพราะต้นทุนลดทันทีได้ยาก GM จะชัดเจนว่าไม่นิ่ง และมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ดังนั้นการดูแรงกดดันด้านนี้ Bargaining Power of Buyers ให้พิจารณา ART และ GM
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (11/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 4)
4. Bargaining Power of Suppliers ต่อจากแรงกดดันด้านลูกค้าก็มาพิจารณาด้านคู่ค้าคือเจ้าหนี้การค้า ซึ่งคือคนขายวัตถุดิบ ในกิจการทั่วไปคือผู้ผลิตสินค้า ความต้องการวัตถุดิบในการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ ต้นทุนการผลิตที่สำคัญคือต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็น primary cost กิจการที่อยู่ในตลาดผู้แข่งขันมากราย (Monopolistic) เป็นตลาดทะเลแดง Red Ocean กลยุทธ์หลักคือ ราคาใช้โดยต้องมีลักษณะ Low Cost Leadership จึงได้เปรียบ ถ้าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาด ย่อมต้องซื้อวัตถุดิบในการผลิตมาก ทำให้สามรถต่อรองราคากับ suppliers ได้ง่ายทั้งราคาและ term การชำระเงิน ในงบการเงินรายการสินค้าคงเหลือและเจ้าหนี้การค้าจะสะท้อนออกมา ปกติกิจการจะไม่ผลิตสินค้าเก็บไว้เกินปริมาณที่คาดว่าจะขายได้ รายการสินค้าคงเหลือจะสะท้อนทั้งสองด้าน คือด้านผลิต และขาย จากแรงกดดันของ buyer รอบที่ยาวมากขึ้นจาก สินค้าสำเร็จรูปที่สูงขึ้นก็เป็นอีกตัวที่ยืนยันเพิ่มจากการดู ART และ GM นั่นคือดู IT (Inventory Turnover) หากดูองค์ประกอบแล้วพบว่า FG - Finishrd Goods เพิ่มมาก แสดงว่าลูกค้าซื้อน้อยลง ผลิตเหลือขายไม่ออก ในอีกมุมด้าน suppliers จะสะท้อนที่ สินค้าคงเหลือ Inventory ในด้านวัตถุดิบ ผู้ผลิตจะไม่ซื้อมากกว่าที่ควรผลิต ถ้าต้องซื้อมากทำให้รอบหมุนลดลง เวลายาวขึ้น ก็เป็นตัวชี้ทางอ้อม คนขายวัตถุดิบสามารถต่อรองมากกว่า ซื้อน้อยไม่ขายหรือขายราคาสูงขึ้น เมื่อกิจการอยากได้ต้นทุนลดลงก็ต้องยอมซื้อครั้งละมากๆ ทำให้รอบหมุน IT ลดลง เวลาหมุนเวียนสินค้าคงเหลือนานขึ้น และการซื้อสินค้าหากกิจการมีอำนาจต่อรองคือมี Bargaining Power of Suppliers ย่อมต่อรองได้ทั้งราคาและปริมาณ Moats ทางด้านนี้คือกิจการใดที่มี Economy of Scales of Supply Side จะได้เปรียบ ขนาดการผลิตที่ใหญ่นี้เป็น Moats ทั้งด้าน New Entrances & Bargaining Power of Suppliers โดยทั่วไปกิจการที่มีขนดใญ่มักจะได้เปรียบในเรื่องต้นทุนคงที่ต่อหน่วยผลิตมากกว่ากิจการขนาดเล็กในเรื่องการประหยัดต่อขนาด โดยเฉพาะสินค้าทุน และสินค้าพื้นฐาน การซื้อวัตถุดิบนี้จะสัมพันธ์กับเจ้าหนี้การค้า ระยะเวลาอาจไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพราะระยะเวลาการจ่ายยาวนั้นมีได้ทั้งสองกรณีคือ มีอำนาจต่อรอง หรือไม่มีเงินจ่ายจึงยืดเยื้อการจ่ายให้ช้า ซึ่งกรณีหลังนี้นี้ย่อมไม่ดีกับธุรกิจ เพราะจะไม่ค่อยมีใครอยากคบค้าด้วย ระยะยาวทำให้ต้นทุนซื้อวัตถุดิบสูงกว่าคู่แข่งขัน
ในงบการเงินจะสะท้อนผ่านที่ เจ้าหนี้การค้า AP Account Payable และสินค้าคงเหลือ ในส่วนที่เป็นวัถุดิบ ซึ่งป็นส่วนหนึ่งใน Business Models คือ Resources-Raw Material (Resources ที่สำคัญมีสองอย่างใน BMC คือ PPE & RM)
อัตราส่วนการเงินที่สำคัญคือ APT และ IT (Account Payable Turnover & Inventory Turover) ต้องนิ่ง ต่ำเกินไป (รอบเวลาหมุนเวียนนานเกินไป) การจ่ายนานเกินไป พร้อมกับรอบสินค้าที่นาน แสดงถึงการขาดสภาพคล่องมากกว่าการได้เปรียบในการทำธุรกิจ
GM ควรต้องคงที่ และนิ่ง การมีอำนาจต่อรองกับ suppliers ที่สำคัญคือการคงระดับราคาวัตถุดิบได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ (ยกเว้นอุตสาหกรรมวัฏจักรราคา) เพื่อให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรมได้
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (11/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 5)
5. Substitue Products แรงกดดันสุดท้ายคือ สินค้าทดแทน ไม่ใช้สินค้าของคู่แข่งขันนะครับ อันนั้นคือส่วนของแรงกดดันภายในจากการแข่งขัน สินค้าในตลาดเดียวกัน บริษัทต้องป้องกันการแย่งตลาด รักษาสัดส่วนของส่วนแบ่งการตลาด (market share) และยังต้องเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดด้วย แต่สินค้าทดแทน ไม่ได้มีใครในอุตสาหกรรมมาแย่งส่วนแบ่งในตลาด แต่ยอกขายหายไปจากตลาดเลย เช่นตลาดขายสิ่งพิมพ์หนังสือ ยอดขายลดหายไปเพราะ ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ไปใช้ด้านสื่อทางดิจิตอลแทน เหมือนตลาดเพลงที่ยอดจำหน่ายเทป หายไปเป็นซีดี สุดท้ายหายไปให้การดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตแทน ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่นผลิตเทป ผลิตซีดี วอล์คกี้ท๊อกกี้ ซาวด์เบ้าท์ ต้องล่มสลายไป เป็นต้น ปัจจัยที่ 5 นี้ไม่ใช่เพียงการคุกคามและกดดันบริษัท แต่สะเทือนทั้งอุตสาหกรรม การสะท้อนผ่านงบการเงินไม่ใช่เพียงรายการเฉพาะเท่านั้น ส่วนมากกระทบภาพรวม และเป็นทั้งอุตสาหกรรม Moats ที่สำคัญ Chalie Munger เขียนไว้ต่างกันในแต่ละบทความ แต่ถ้าสรุปรวมกันคือ Innovation (Intelectual Property) และ Switching Cost นวัตกรรม และต้นทุนในการเปลี่ยนการใช้งานสินค้า จะชะลอการเปลี่ยนแปลงออกไปไม่ให้เกิดเร็วขึ้น สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี เพียงแต่ไม่กระทันหัน) แรงสะเทือนต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมคือ
AT ลดลงอย่างเร็ว หากเกิดจากการแข่งขัน มักไม่ค่อยลดลงเร็ว เพราะทุกรายล้วนต้องพยายามต่อสู้รักษาสัดส่วนทางการตลาดตนไว้ ยอดขายจะค่อยลดลง และไปเพิ่มให้คู่แข่งขัน แต่กรณีผู้บรู้โภคเปลี่ยนแปลงการใช้งาน ทุกบริษัทในอุตสาหกรรมจะลดลงเหมือนกัน การมี Moat จะช่วยชะลอการลด การเปลี่ยนแปลงให้เกิดช้าลง ใครปรับตัวได้ก่อนก็จะเสียหายน้อยกว่า ดังนั้น moats ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ธุรกิจมีเวลาปรับตัว อุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ไม่มี moat มักจะรับการเปลี่ยนแปลงไม่ทันและล่มสลายไปเร็ว
ROA เมื่อ AT ลดลงอย่างเร็ว ย่อมกระทบต่อ ROA และส่งผลถึง ROE ในที่สุด
GM OM NM อัตรากำไรทุกตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
สรุปคือธุรกิจ/อุตสาหกรรมเข้าสู่ sunset stage นั่นเอง
สิ่งที่อยากบอกฝากไว้คือ ถ้าอ่านงบการเงินเป็นและถูกแล้ว สามารถบอกทุกอย่างได้ ผมพบมามากทีเดียวทีบอกว่าบริษัทนี้ดี อนาคตดี มี Business Model ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่งบการเงินออกมาคนละเรื่องไม่สะท้อนเลย แบบนี้ผมเชื่องบการเงินมากกว่าคำบอกเล่าครับ อาจจะพลาดได้ แต่ไม่มาก ดีกว่าซื้อไปบนงบที่เน่าๆ ในมุมผมคิดว่าเสี่ยงเกินไป ต้องมาคอยดูคอยตาม คัทลอสให้ทันเสียเวลาเปล่าๆ ชอบลงทุนแล้วสามารถนอนหลับฝันดี
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 1) มี 5 ตอน
1. Rival Competition การแข่งขันภายใน ธุรกิจทุกประเภทเราควรศึกษาเรื่องการแข่งขันในเบื้องต้นเสมอ ต้องมองให้ได้ขั้นแรกว่าเป็นตลาดแบบใด ส่วนมากเป็นตลาดแบบคู่แข่งมากราย (Monopolistic) ถึงสมบูรณ์ (Perfect) ในตลาดคู่แข่งมากราย การสร้างแบรนด์สำคัญมาก Brands ถือเป็น Moats ที่สำคัญที่สุด ซึ่งใน Business Model คือ Value Proposition การนำเสนอคุณค่านั่นเอง ซึ่งไม่เพียง Product Value เท่านั้น แต่รวมถึง Customer Value ด้วย ธุรกิจนอกจากมีแบรนด์ที่แกร่งแล้วยังต้องมี Activiteis กิจกรรมที่สำคัญในการส่งมอบคุณค่าให้ลูกค้า หลายธุรกิจดูดี แบรนด์เป็นที่รู้จัก แต่อาจล้มเหลวหรือตายได้ หากกระบวนการที่สำคัญนี้ล้มเหลว จากแบรนด์ที่แกร่งก็อ่อนแอได้หลายบริษัทอาจกำหนดในพันธกิจว่าต้องเป็นมืออาชีพ ต้องรักษาคุณภาพ สิ่งเหล่านี้เราดูได้ผ่านอัตราส่วนการเงิน
Brand ดี และแกร่ง ย่อมเกิด Loyalty ความภักดีต่อสินค้า Growth จะมั่งคงในช่วง growth stage และรักษาระดับยอดขายได้มั่นคง ในช่วง Maturity stage รักษาส่วนแบ่งการตลาดได้ดีและมีแนวโน้มมากขึ้นสามารถก้าวเป็นผู้นำตลาดได้การมีควมภักดีในสินค้า ย่อมสร้างความแข็งแกร่งในอำนาจสร้างอำนาจต่อรองกับลูกค้าได้ รักษาฐานลูกค้าเดิมได้ เราจะพบว่า AT ART GM จะค่อนข้างคงที่ไม่ผันผวน ถ้า ผันผวนไม่ค่อยนิ่ง (การวัดนิ่งผมเคยกล่าวแล้วนะครับว่าหาอย่างไร ไม่ใช่ 1.5 ตลอด อะไรแบบนั้น) ค่า AT ART GM ที่ผันผวน แสดงถึง customer porfolio ที่ไม่แน่นอน AT อาจลดได้ถ้ามีการลงทุนใน PPE เพิ่ม แต่ภาวะจะเกิดไม่นาน เพราะกิจการที่มี Brand ที่แกร่งจะสามารถรักษายอดขายตามมาได้ไม่ยาก ไม่ใช่ลดยาวนานสองปีสามปี และยังบอกถึงความเป็นมืออาชีพทั้งด้านการตลาด และการบริหาร เพราะธุรกิจย่อมไม่ตัดสินในลงทุน (Capital Budgeting Desion Making) หากขาดโอกาสทางการตลาดและผลตอบแทนที่คุ้มค่า ซึ่งจะไปสะท้อนไปที่ ROA ที่ดีและนิ่งด้วย หลายคนที่อบรมกับผม จึงมักจะได้ยินว่าผมเน้นว่ากิจการที่ดี เหมาะกับการลงทุนระยะยาวคืออัตราส่วนสำคัญควรนิ่ง
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (9/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 2)
2. New Entarnces หลังจากดูเรื่อง Rival Competition การแข่งขันภายในแล้วต่อมาคือ การเข้ามาของคู่แข่งรายใหม่ ธุรกิจที่มีการเข้าง่าย จะเพิ่มคู่แข่งรายใหม่ เข้ามาตลอด ทำให้แรงกดดันด้าน Rival Competition เพิ่มมากขึ้น อาจทำให้สินค้าที่มีอยู่ต้องปรับกลยุทธ์ตลอดเวลาเพื่อรักษาฐานลูกค้าไว้ การรักษาการเติบโตก็ยากขึ้น ดังนั้นในแรงกดดันด้านนี้หากอุตสาหกรรมมี Moats คือ Regulation & Economy of Scales of Supply Side จะช่วยป้องกันการกดดันการแข่งขันไม่ให้เพิ่มสูงขึ้น การแข่งขันส่วนมากมักจะใช้ราคาเป็นกลยุทธ์เจาะและแย่งฐานลูกค้า ซึ่งทำให้กระทบไปถึง Margin ได้ Business Model ที่สำคัญคือ Resources-Assets มีAssets-PPE ในงบการเงินต้องมีขนาดใหญ่ ดังนั้นบริษัทขนาดเล็ก Market Cap น้อยๆ (เช่น < 50,000 ลบ) หรือที่อยู่ใน MAI จะถูกกดดันเรื่อง New Entarnces ง่ายมาก ยกเว้นในอุตสาหกรรมมี Regulation ดังนั้นธุรกิจที่มีแรงกดดันด้านนี้มาต้องย้อนกลับไปที่ Rival Competition ต้องสร้าง แบรนด์ให้แกร่ง จึงอยู่ได้อย่างเข้มแข็งในอุตสาหกรรม ในกิจการที่ต้องลงทุนมาก ขนาดของการลงทุนมีผลทำให้เกิด Economy of Scales ต้นทุนการผลิตจะต่ำ บริษัทจะป้องกันคู่แข่งขันเข้าใหม่โดยการตั้งราคาสินค้าต่ำมี GM ต่ำ ดังนั้นธุรกิจที่เข้าง่าย การเลือกลงทุนในขนาดธุรกิจนั้นสำคัญ ธุรกิจอาจไม่มี margin สูง แต่บริษัทที่ดี ต้องรักษาระดับอัตรากำไรช่วงต่างๆให้นิ่ง แสดงถึงการป้องกันการเข้าใหม่ของคู่แข่งได้ดี และที่สำคัญที่สุดคือต้องมี solvency ที่แกร่งจะได้เปรียบ การลงทุนในธุรกิจที่เข้าง่ายออกง่ายนั้น Margin ต่างๆ ไม่ต้องสูงสุด แต่ควรผันผวนน้อยและมี solvency ที่ดี
ที่กล่าวเช่นนี้เพราะเมื่อขนาดธุรกิจที่ใหญ่ ทำให้ fixed cost สูงตาม การผลิตมากทำให้ต้นทุนคงที่ต่อหน่วยต่ำลง คนเข้าใหม่หากขนาดไม่ใหญ่ก็จะขายสินค้าได้น้อย และอาจมีต้นทุนสูงกว่า การเข้ามาแย่งตลาดจะเสียเปรียบ (สำหรับกรณีสินค้าที่เป็นสินค้า staple สินค้า commodity) cost leadership ยังเป็นกลยุทธ์ที่สำคัญของธุรกิจประเภทนี้
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (11/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 3)
3. Bargaining Power of Buyers ผ่านไป 2 forces แล้ว แรงกดดันที่สามก็คือด้านลูกค้า อำนาจต่อรองกับลูกค้า ในที่นี้คือมองที่ราคาเป็นหลัก รองมาก็เป็นเรื่อง condition ต่างๆ เช่น ระยะเวลาชำระเงิน ส่วนลด เป็นต้น ปราการที่ช่วยป้องกันด้านนี้ที่สำคัญคือการมี Network Effect or Economy of Scales of Demand Side ที่กล่าวเช่นนี้เพราะ การที่ลูกค้าใช้ต่อๆ เนื่องกัน (Network Effect เช่น face book เป็นรูปแบบหนึ่งของ Network Effect คล้ายกับการบอกต่อกันนั่นเอง ในทางการตลาด คือ Evangelism หนึ่งใน 4E ที่เคยกล่าวไว้ 4P-4C-4E) การบอกต่อๆกัน ใช้ต่อเนื่องกัน เธอมี ฉันมี ทำให้ฐานตลาดแข็งแกร่ง เมื่อฐานตลาดแข็งแกร่ง อำนาจต่อรองจากลูกค้า Bargaining Power of Buyers จะไม่มาก แรงกดดันการต่อรองราคา เงื่อนไขการขายจะไม่มาก ทำให้กิจการบริหารการขายมีเป้าหมายได้ชัดเจนมากขึ้น สามารถกำหนด Target Customer ได้ชัดเจน ทำและสร้าง Customer relationship การสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้าได้ดี ซึ่งทั้ง Target Customer และ Customer relationship เป็นส่วนหนึ่งของ Business Models ทั้งหมดนี้จะสะท้อนผ่านงบการเงินที่ AR ยอดขาย Sales และกำไรขั้นต้น ดังนั้นสิ่งเหล่านี้เราดูได้ผ่านอัตราส่วนการเงินคือ
ART - Account Receivable Turnover ควรต้องนิ่ง และไม่ยาวเกินไป การที่ลูกค้าเกิดจากการยอมรับกันต่อเนื่องในวงกว้าง ย่อมยอมรับเงื่อนไขการขายที่กำหนดตามมาตรฐานกิจการ ดังนั้นอัตรส่วนนี้ ART จะค่อนข้างนิ่ง หรือในมุมหนึ่งการที่ลูกค้าไม่ได้มี Bargaining Power of Buyers ย่อมไม่ต่อรองเงื่อนไขการขายต่างๆ เช่น term การชำระเงิน รวมทั้งยังสะท้อนถึงการมีลูกค้าที่มี loyalty ต่อกิจการ ต่อสินค้า เพราะการสูญเสียฐานลูกค้าบ่อยๆ ทำให้กิจการนั้นๆ ต้องง้องอนลูกค้า หาลูกค้าใหม่ตลอดเวลาเพื่อชดเชยและเพิ่มมากขึ้นอีก ทางที่จะดึงลูกค้าคู่แข่ง และรักษาลูกค้าคือ ลดราคา แจกของแถม ขยายเวลาการจ่ายเงิน กลยุทธ์เหล่านี้มักนำมาใช้กันมาก และกลยุทธ์เหล่านี้เองทำให้ ART ไม่นิ่ง
GM อัตรากำไรขั้นต้นก็จะนิ่ง เมื่ออำนาจการต่อรองจากลูกค้ามีมาก ด้านราคาก็จะสะท้อนเช่นกัน การลดราคาย่องมีผลต่อกำไรจากการขาย เพราะต้นทุนลดทันทีได้ยาก GM จะชัดเจนว่าไม่นิ่ง และมีแนวโน้มลดลงอย่างชัดเจน ดังนั้นการดูแรงกดดันด้านนี้ Bargaining Power of Buyers ให้พิจารณา ART และ GM
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (11/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 4)
4. Bargaining Power of Suppliers ต่อจากแรงกดดันด้านลูกค้าก็มาพิจารณาด้านคู่ค้าคือเจ้าหนี้การค้า ซึ่งคือคนขายวัตถุดิบ ในกิจการทั่วไปคือผู้ผลิตสินค้า ความต้องการวัตถุดิบในการผลิตเป็นสิ่งสำคัญ ต้นทุนการผลิตที่สำคัญคือต้นทุนวัตถุดิบ ซึ่งถือเป็น primary cost กิจการที่อยู่ในตลาดผู้แข่งขันมากราย (Monopolistic) เป็นตลาดทะเลแดง Red Ocean กลยุทธ์หลักคือ ราคาใช้โดยต้องมีลักษณะ Low Cost Leadership จึงได้เปรียบ ถ้าเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ในตลาด ย่อมต้องซื้อวัตถุดิบในการผลิตมาก ทำให้สามรถต่อรองราคากับ suppliers ได้ง่ายทั้งราคาและ term การชำระเงิน ในงบการเงินรายการสินค้าคงเหลือและเจ้าหนี้การค้าจะสะท้อนออกมา ปกติกิจการจะไม่ผลิตสินค้าเก็บไว้เกินปริมาณที่คาดว่าจะขายได้ รายการสินค้าคงเหลือจะสะท้อนทั้งสองด้าน คือด้านผลิต และขาย จากแรงกดดันของ buyer รอบที่ยาวมากขึ้นจาก สินค้าสำเร็จรูปที่สูงขึ้นก็เป็นอีกตัวที่ยืนยันเพิ่มจากการดู ART และ GM นั่นคือดู IT (Inventory Turnover) หากดูองค์ประกอบแล้วพบว่า FG - Finishrd Goods เพิ่มมาก แสดงว่าลูกค้าซื้อน้อยลง ผลิตเหลือขายไม่ออก ในอีกมุมด้าน suppliers จะสะท้อนที่ สินค้าคงเหลือ Inventory ในด้านวัตถุดิบ ผู้ผลิตจะไม่ซื้อมากกว่าที่ควรผลิต ถ้าต้องซื้อมากทำให้รอบหมุนลดลง เวลายาวขึ้น ก็เป็นตัวชี้ทางอ้อม คนขายวัตถุดิบสามารถต่อรองมากกว่า ซื้อน้อยไม่ขายหรือขายราคาสูงขึ้น เมื่อกิจการอยากได้ต้นทุนลดลงก็ต้องยอมซื้อครั้งละมากๆ ทำให้รอบหมุน IT ลดลง เวลาหมุนเวียนสินค้าคงเหลือนานขึ้น และการซื้อสินค้าหากกิจการมีอำนาจต่อรองคือมี Bargaining Power of Suppliers ย่อมต่อรองได้ทั้งราคาและปริมาณ Moats ทางด้านนี้คือกิจการใดที่มี Economy of Scales of Supply Side จะได้เปรียบ ขนาดการผลิตที่ใหญ่นี้เป็น Moats ทั้งด้าน New Entrances & Bargaining Power of Suppliers โดยทั่วไปกิจการที่มีขนดใญ่มักจะได้เปรียบในเรื่องต้นทุนคงที่ต่อหน่วยผลิตมากกว่ากิจการขนาดเล็กในเรื่องการประหยัดต่อขนาด โดยเฉพาะสินค้าทุน และสินค้าพื้นฐาน การซื้อวัตถุดิบนี้จะสัมพันธ์กับเจ้าหนี้การค้า ระยะเวลาอาจไม่ใช่ตัวชี้วัดที่ชัดเจน เพราะระยะเวลาการจ่ายยาวนั้นมีได้ทั้งสองกรณีคือ มีอำนาจต่อรอง หรือไม่มีเงินจ่ายจึงยืดเยื้อการจ่ายให้ช้า ซึ่งกรณีหลังนี้นี้ย่อมไม่ดีกับธุรกิจ เพราะจะไม่ค่อยมีใครอยากคบค้าด้วย ระยะยาวทำให้ต้นทุนซื้อวัตถุดิบสูงกว่าคู่แข่งขัน
ในงบการเงินจะสะท้อนผ่านที่ เจ้าหนี้การค้า AP Account Payable และสินค้าคงเหลือ ในส่วนที่เป็นวัถุดิบ ซึ่งป็นส่วนหนึ่งใน Business Models คือ Resources-Raw Material (Resources ที่สำคัญมีสองอย่างใน BMC คือ PPE & RM)
อัตราส่วนการเงินที่สำคัญคือ APT และ IT (Account Payable Turnover & Inventory Turover) ต้องนิ่ง ต่ำเกินไป (รอบเวลาหมุนเวียนนานเกินไป) การจ่ายนานเกินไป พร้อมกับรอบสินค้าที่นาน แสดงถึงการขาดสภาพคล่องมากกว่าการได้เปรียบในการทำธุรกิจ
GM ควรต้องคงที่ และนิ่ง การมีอำนาจต่อรองกับ suppliers ที่สำคัญคือการคงระดับราคาวัตถุดิบได้ในช่วงเวลาหนึ่งๆ (ยกเว้นอุตสาหกรรมวัฏจักรราคา) เพื่อให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรมได้
ความรู้ทางการเงิน การลงทุน และการบัญชี (11/7/60)
5 Forces & Business Models กับงบการเงิน และอัตราส่วนการเงิน (ตอน 5)
5. Substitue Products แรงกดดันสุดท้ายคือ สินค้าทดแทน ไม่ใช้สินค้าของคู่แข่งขันนะครับ อันนั้นคือส่วนของแรงกดดันภายในจากการแข่งขัน สินค้าในตลาดเดียวกัน บริษัทต้องป้องกันการแย่งตลาด รักษาสัดส่วนของส่วนแบ่งการตลาด (market share) และยังต้องเพิ่มส่วนแบ่งการตลาดด้วย แต่สินค้าทดแทน ไม่ได้มีใครในอุตสาหกรรมมาแย่งส่วนแบ่งในตลาด แต่ยอกขายหายไปจากตลาดเลย เช่นตลาดขายสิ่งพิมพ์หนังสือ ยอดขายลดหายไปเพราะ ผู้บริโภคเปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภค ไปใช้ด้านสื่อทางดิจิตอลแทน เหมือนตลาดเพลงที่ยอดจำหน่ายเทป หายไปเป็นซีดี สุดท้ายหายไปให้การดาวน์โหลดผ่านอินเตอร์เน็ตแทน ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง เช่นผลิตเทป ผลิตซีดี วอล์คกี้ท๊อกกี้ ซาวด์เบ้าท์ ต้องล่มสลายไป เป็นต้น ปัจจัยที่ 5 นี้ไม่ใช่เพียงการคุกคามและกดดันบริษัท แต่สะเทือนทั้งอุตสาหกรรม การสะท้อนผ่านงบการเงินไม่ใช่เพียงรายการเฉพาะเท่านั้น ส่วนมากกระทบภาพรวม และเป็นทั้งอุตสาหกรรม Moats ที่สำคัญ Chalie Munger เขียนไว้ต่างกันในแต่ละบทความ แต่ถ้าสรุปรวมกันคือ Innovation (Intelectual Property) และ Switching Cost นวัตกรรม และต้นทุนในการเปลี่ยนการใช้งานสินค้า จะชะลอการเปลี่ยนแปลงออกไปไม่ให้เกิดเร็วขึ้น สุดท้ายก็ต้องเปลี่ยนอยู่ดี เพียงแต่ไม่กระทันหัน) แรงสะเทือนต่อธุรกิจและอุตสาหกรรมคือ
AT ลดลงอย่างเร็ว หากเกิดจากการแข่งขัน มักไม่ค่อยลดลงเร็ว เพราะทุกรายล้วนต้องพยายามต่อสู้รักษาสัดส่วนทางการตลาดตนไว้ ยอดขายจะค่อยลดลง และไปเพิ่มให้คู่แข่งขัน แต่กรณีผู้บรู้โภคเปลี่ยนแปลงการใช้งาน ทุกบริษัทในอุตสาหกรรมจะลดลงเหมือนกัน การมี Moat จะช่วยชะลอการลด การเปลี่ยนแปลงให้เกิดช้าลง ใครปรับตัวได้ก่อนก็จะเสียหายน้อยกว่า ดังนั้น moats ช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ธุรกิจมีเวลาปรับตัว อุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่ไม่มี moat มักจะรับการเปลี่ยนแปลงไม่ทันและล่มสลายไปเร็ว
ROA เมื่อ AT ลดลงอย่างเร็ว ย่อมกระทบต่อ ROA และส่งผลถึง ROE ในที่สุด
GM OM NM อัตรากำไรทุกตัวลดลงอย่างรวดเร็ว
สรุปคือธุรกิจ/อุตสาหกรรมเข้าสู่ sunset stage นั่นเอง
สิ่งที่อยากบอกฝากไว้คือ ถ้าอ่านงบการเงินเป็นและถูกแล้ว สามารถบอกทุกอย่างได้ ผมพบมามากทีเดียวทีบอกว่าบริษัทนี้ดี อนาคตดี มี Business Model ดีอย่างนั้นอย่างนี้ แต่งบการเงินออกมาคนละเรื่องไม่สะท้อนเลย แบบนี้ผมเชื่องบการเงินมากกว่าคำบอกเล่าครับ อาจจะพลาดได้ แต่ไม่มาก ดีกว่าซื้อไปบนงบที่เน่าๆ ในมุมผมคิดว่าเสี่ยงเกินไป ต้องมาคอยดูคอยตาม คัทลอสให้ทันเสียเวลาเปล่าๆ ชอบลงทุนแล้วสามารถนอนหลับฝันดี
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 131
สรุปการประชุมวิสามัญ WHAPF 13/7/17
โครงสร้างของ กองใหม่WHART มีทรัพย์สิน13,000 ลบ
มีบลจ กสิกร เป็น ทรัสตี โดยมีกู้เงิน สามที่ คิดเป็นร้อยละ 28%
รวมถึงเงินสดที่มีอยู่จริง
ทส ส่วนใหญ่ เป็นคลังสินค้า
กองนี้อยู่ภายใต้คนละกระทรวงกับ WHAPF
ภายหลังการแปลงสภาพto WHART
จะโอนทรัพย์สินสิบสี่โครงการ หนี้สิน ความรับผิด ให้กับกองทรัสต์ WHART
และกระจายหน่วยลงทุนให้กับผู้ถือหน่วยเดิม WHAPF
หลังจากนั้นจะซื้อทรัพย์สินใหม่สี่โครงการทันที เป็น Freehold 2 แห่ง
และ Leasehold 2 แห่ง สิทธิการเช่าเป็น 30+30 ปี
โดยกองWHAPFจะมีการจ่ายเงินปันผลพิเศษก่อนการโอน 0.0681 บาทต่อหน่วย
ส่วนหนี้สินเดิม จะมีการกู้ใหม่ปิดหนี้สินเดิม โดยเงินกู้ระยะสั้นนำมาจ่ายคืนหนี้เดิม
ส่วนหนี้ระยะยาวนำมาซื้อทรัพย์สินใหม่ ตามสไลด์
ภายหลังจากการรวมกัน ทรัพย์สินที่เป็น Freehold 72% Leasehold 28%
หลังจากซื้อทรัพย์สินใหม่ สัดส่วนจะเปลี่ยนเป็น freehold 70%
แต่มีการกระจายตัวของทรัพย์สินดีขึ้น
สัดส่วนในการสับเปลี่ยนคือ สิบหน่วยเดิม ต่อ สิบจุดห้าหกสอง หน่วยใหม่
หรือ 1:1.0562
โดยดูจากมูลค่าทรัพย์สินที่ได้จากการประเมินจากผู้ประเมินอิสระสองรายทั้ง
สองกองทุน การคำนวณได้มีการหักเงินปันผลและเงินลดทุนก่อน 1 jan 17 ออกไปด้วย
ที่ลงทุนเพิ่มสี่โครงการก็มีผู้ประเมินราคาก่อนลงทุนเหมือนกัน
WHA คุณสมยศ ยังคงยืนยันว่าจะถือ WHART ไม่เกิน 15-20%
ช่วงที่เพิ่มทุนก็เพิ่มไม่ต่ำกว่า 15%
Q&A
1.ส่วนค่าใช้จ่ายในการบันทึกบัญชีรวมกันระหว่าง WHAPF , WHART 3%
ประมาณ 50 ล้านบาท และตัดค่าเสื่อมห้าปี
2.เหตุที่ไม่แปลงWHAPRเป็นกองRIETเลยเพราะบริษัทต้องเสียภาษีสูงขึ้นอีก10%
ดังนั้นจึงไปรวมกับ WHART และ ไปซื้อทรัพย์สินใหม่
3.ทำไมไปกู้ไม่เพิ่มทุนซื้อทรัพย์สินใหม่
A: เพราะเรานำกองมารวมกัน ทำให้สามารถกู้ได้มากขึ้น
ทำผลตอบแทนสูงขึ้น เป็นประโยชน์กับนักลงทุน
และหลังจากแปลงเป็นกองREIT แล้วสามารถกู้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
เหมือน TRExx ซึ่งได้ในอัตราที่ต่ำกว่า 4.7%พอสมควร
และสามารถที่จะซื้อสินทรัพย์ของWHA from ต่างประเทศได้ด้วย
โครงสร้างของ กองใหม่WHART มีทรัพย์สิน13,000 ลบ
มีบลจ กสิกร เป็น ทรัสตี โดยมีกู้เงิน สามที่ คิดเป็นร้อยละ 28%
รวมถึงเงินสดที่มีอยู่จริง
ทส ส่วนใหญ่ เป็นคลังสินค้า
กองนี้อยู่ภายใต้คนละกระทรวงกับ WHAPF
ภายหลังการแปลงสภาพto WHART
จะโอนทรัพย์สินสิบสี่โครงการ หนี้สิน ความรับผิด ให้กับกองทรัสต์ WHART
และกระจายหน่วยลงทุนให้กับผู้ถือหน่วยเดิม WHAPF
หลังจากนั้นจะซื้อทรัพย์สินใหม่สี่โครงการทันที เป็น Freehold 2 แห่ง
และ Leasehold 2 แห่ง สิทธิการเช่าเป็น 30+30 ปี
โดยกองWHAPFจะมีการจ่ายเงินปันผลพิเศษก่อนการโอน 0.0681 บาทต่อหน่วย
ส่วนหนี้สินเดิม จะมีการกู้ใหม่ปิดหนี้สินเดิม โดยเงินกู้ระยะสั้นนำมาจ่ายคืนหนี้เดิม
ส่วนหนี้ระยะยาวนำมาซื้อทรัพย์สินใหม่ ตามสไลด์
ภายหลังจากการรวมกัน ทรัพย์สินที่เป็น Freehold 72% Leasehold 28%
หลังจากซื้อทรัพย์สินใหม่ สัดส่วนจะเปลี่ยนเป็น freehold 70%
แต่มีการกระจายตัวของทรัพย์สินดีขึ้น
สัดส่วนในการสับเปลี่ยนคือ สิบหน่วยเดิม ต่อ สิบจุดห้าหกสอง หน่วยใหม่
หรือ 1:1.0562
โดยดูจากมูลค่าทรัพย์สินที่ได้จากการประเมินจากผู้ประเมินอิสระสองรายทั้ง
สองกองทุน การคำนวณได้มีการหักเงินปันผลและเงินลดทุนก่อน 1 jan 17 ออกไปด้วย
ที่ลงทุนเพิ่มสี่โครงการก็มีผู้ประเมินราคาก่อนลงทุนเหมือนกัน
WHA คุณสมยศ ยังคงยืนยันว่าจะถือ WHART ไม่เกิน 15-20%
ช่วงที่เพิ่มทุนก็เพิ่มไม่ต่ำกว่า 15%
Q&A
1.ส่วนค่าใช้จ่ายในการบันทึกบัญชีรวมกันระหว่าง WHAPF , WHART 3%
ประมาณ 50 ล้านบาท และตัดค่าเสื่อมห้าปี
2.เหตุที่ไม่แปลงWHAPRเป็นกองRIETเลยเพราะบริษัทต้องเสียภาษีสูงขึ้นอีก10%
ดังนั้นจึงไปรวมกับ WHART และ ไปซื้อทรัพย์สินใหม่
3.ทำไมไปกู้ไม่เพิ่มทุนซื้อทรัพย์สินใหม่
A: เพราะเรานำกองมารวมกัน ทำให้สามารถกู้ได้มากขึ้น
ทำผลตอบแทนสูงขึ้น เป็นประโยชน์กับนักลงทุน
และหลังจากแปลงเป็นกองREIT แล้วสามารถกู้ได้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำลง
เหมือน TRExx ซึ่งได้ในอัตราที่ต่ำกว่า 4.7%พอสมควร
และสามารถที่จะซื้อสินทรัพย์ของWHA from ต่างประเทศได้ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 132
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 133
วันนี้ 19 กย 17 ทางIntuch ได้มาพูดคุยถามตอบที่ บล โนมูระ ผมเลยขอสรุปเฉพาะส่วนถามตอบมาให้ครับ
Q: อยากขอทราบความคืบหน้าของAISสนซื้อCS Loxinfo จาก Intuch
A: เรายื่นจดหมาย Letter of content ไปแล้ว ตอนนี้อยู่ในช่วงDue diligent น่าจะเสร็จกลางตค
ตอนนี้ Fix broadband รายได้โตขึ้น และ CS มีลูกค้าองค์กรที่แข็งแรงมาก สามารถช่วยให้AISเติบโตได้เร็วขึ้น
รวมทั้งCS มี ทำdata centerอยู่แล้ว จะช่วยลดต้นทุนให้กับAISที่จะทำcloudด้วย
ดังนั้น AIS ถือว่าปลดhidden asset ของ CS loxinfoออกมา
Q: ธุรกิจ Invent ถ้าประสบความสำเร็จ จะได้อะไรบ้าง และ เรามีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเลือกลงทุน
A: เราเป็นผู้ถือหุ้น ถ้าเข้าตลาดMAI เราก็มีทางเลือก เช่น ขายหุ้นออกไป หรือ รักษาสัดส่วนต่อไป
โดยปกติเราลงทุนไม่เกิน30%ในแต่ละบริษัท ตอนนี้ทั้งหมด 10 บริษัท มี2 บริษัท ที่มีโอกาสเข้าตลาดMai
คือ Oakbee ,Digio
เรามีหลักเกณฑ์ในการเลือก โดยดูจากวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจ ความคิดของผู้บริหาร และสุดท้ายคือ
การประเมินมูลค่าของบริษัทที่จะลงทุน
Q: การขยายเข้าไปใน Home shopping เรามีแผนกระจายความเสี่ยงอย่างไร
A: สัดส่วนcontributeไม่มากแต่มีแนวโน้มเติบโตดี มีสินค้าหลากหลายแล้วแต่ว่าแต่ละช่วงผู้บริโภคต้องการอะไร
หรือที่อื่นเสนอขายอะไรบ้าง มองว่าจะเติบโตในอนาคตอีกมาก
Q: รายได้จากเงินปันผลจะเป็นอย่างไร ถ้าAIS ประมูลคลื่นได้ในปีหน้าอีก
A: เรามีการคำนึงถึงตั้งแต่ต้น เราจึงปรับเปลี่ยนการจ่ายปันผลเป็นอย่างต่ำ 70%ของกำไร เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
ในการทำธุรกิจต่อไป ส่วนปันผลมากน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทลูก
สุดท้ายขอขอบคุณทางบล โนมูระ และ ทางIntuchมากครับ
Q: อยากขอทราบความคืบหน้าของAISสนซื้อCS Loxinfo จาก Intuch
A: เรายื่นจดหมาย Letter of content ไปแล้ว ตอนนี้อยู่ในช่วงDue diligent น่าจะเสร็จกลางตค
ตอนนี้ Fix broadband รายได้โตขึ้น และ CS มีลูกค้าองค์กรที่แข็งแรงมาก สามารถช่วยให้AISเติบโตได้เร็วขึ้น
รวมทั้งCS มี ทำdata centerอยู่แล้ว จะช่วยลดต้นทุนให้กับAISที่จะทำcloudด้วย
ดังนั้น AIS ถือว่าปลดhidden asset ของ CS loxinfoออกมา
Q: ธุรกิจ Invent ถ้าประสบความสำเร็จ จะได้อะไรบ้าง และ เรามีหลักเกณฑ์อย่างไรในการเลือกลงทุน
A: เราเป็นผู้ถือหุ้น ถ้าเข้าตลาดMAI เราก็มีทางเลือก เช่น ขายหุ้นออกไป หรือ รักษาสัดส่วนต่อไป
โดยปกติเราลงทุนไม่เกิน30%ในแต่ละบริษัท ตอนนี้ทั้งหมด 10 บริษัท มี2 บริษัท ที่มีโอกาสเข้าตลาดMai
คือ Oakbee ,Digio
เรามีหลักเกณฑ์ในการเลือก โดยดูจากวิสัยทัศน์ในการทำธุรกิจ ความคิดของผู้บริหาร และสุดท้ายคือ
การประเมินมูลค่าของบริษัทที่จะลงทุน
Q: การขยายเข้าไปใน Home shopping เรามีแผนกระจายความเสี่ยงอย่างไร
A: สัดส่วนcontributeไม่มากแต่มีแนวโน้มเติบโตดี มีสินค้าหลากหลายแล้วแต่ว่าแต่ละช่วงผู้บริโภคต้องการอะไร
หรือที่อื่นเสนอขายอะไรบ้าง มองว่าจะเติบโตในอนาคตอีกมาก
Q: รายได้จากเงินปันผลจะเป็นอย่างไร ถ้าAIS ประมูลคลื่นได้ในปีหน้าอีก
A: เรามีการคำนึงถึงตั้งแต่ต้น เราจึงปรับเปลี่ยนการจ่ายปันผลเป็นอย่างต่ำ 70%ของกำไร เพื่อเพิ่มความยืดหยุ่น
ในการทำธุรกิจต่อไป ส่วนปันผลมากน้อยขึ้นอยู่กับผลประกอบการของบริษัทลูก
สุดท้ายขอขอบคุณทางบล โนมูระ และ ทางIntuchมากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 134
ONLINE 4.0 จากงาน Digital Thailand Big Bang 2017
คุณอิสระ กรรมการผู้จัดการ Line ประเทศไทย
ได้พูดถึงLine มีคนไทยใช้งาน41ล้านคน จากผู้เข้าonline 44 ล้านคน
เป็น1ใน3applicationsที่ทุกคนต้องใช้
ตอนนี้ได้สร้างงานให้กับ sticker creators 120,000 คน บางคนสามารถทำรายได้ต่อวันครึ่งล้านบาทในบางช่วง
Line today ร่วมกับสื่อต่างๆเพื่อdistribute offline mediaให้คนที่อ่านLine
Line TV ร่วมกับผู้ผลิตรายการต่างๆ ในการถ่ายทอดผ่านช่องLine TV
สร้างรายได้ให้กับร้านอาหารกว่า 30,000 ร้านค้า โดยไม่ต้องขยายสาขาโดยใช้ Line Man messenger
มีSME มาร่วมค้าขายผ่านonline โดยใช้ช่องทาง Line@online (marketing tool for SME)
ซึ่งมี SME 1.6 ล้านรายมาร่วมด้วย ตัวอย่าง เช่น ไร่กำนันจุล เมื่อก่อนมียอดขายส้มผ่านonline เดือนละหมื่นกว่าบาท
แต่หลังจากเข้าร่วมกับLine ยอดขายเป็น หลักแสนต่อสัปดาห์ เป็นการเพิ่ม 80เท่า ย้ำไม่ใช่ 80%
ในไตรมาสสี่จะมี Line Taxi 60,000 คนมาร่วมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ปีนี้ได้ซื้อบริษัทstartupในไทย DGM59: developing global services
ซึ่งตอนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาapplication ระดับglobalด้วย
ปัจจุบันมีพนักงานในไทย เพิ่มจาก 3 คนเป็น 200 คนและจะย้ายสำนักงานไปอยู่ราชประสงค์
เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
คุณอิสระ กรรมการผู้จัดการ Line ประเทศไทย
ได้พูดถึงLine มีคนไทยใช้งาน41ล้านคน จากผู้เข้าonline 44 ล้านคน
เป็น1ใน3applicationsที่ทุกคนต้องใช้
ตอนนี้ได้สร้างงานให้กับ sticker creators 120,000 คน บางคนสามารถทำรายได้ต่อวันครึ่งล้านบาทในบางช่วง
Line today ร่วมกับสื่อต่างๆเพื่อdistribute offline mediaให้คนที่อ่านLine
Line TV ร่วมกับผู้ผลิตรายการต่างๆ ในการถ่ายทอดผ่านช่องLine TV
สร้างรายได้ให้กับร้านอาหารกว่า 30,000 ร้านค้า โดยไม่ต้องขยายสาขาโดยใช้ Line Man messenger
มีSME มาร่วมค้าขายผ่านonline โดยใช้ช่องทาง Line@online (marketing tool for SME)
ซึ่งมี SME 1.6 ล้านรายมาร่วมด้วย ตัวอย่าง เช่น ไร่กำนันจุล เมื่อก่อนมียอดขายส้มผ่านonline เดือนละหมื่นกว่าบาท
แต่หลังจากเข้าร่วมกับLine ยอดขายเป็น หลักแสนต่อสัปดาห์ เป็นการเพิ่ม 80เท่า ย้ำไม่ใช่ 80%
ในไตรมาสสี่จะมี Line Taxi 60,000 คนมาร่วมอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
ปีนี้ได้ซื้อบริษัทstartupในไทย DGM59: developing global services
ซึ่งตอนนี้ได้เข้าไปมีส่วนร่วมในการพัฒนาapplication ระดับglobalด้วย
ปัจจุบันมีพนักงานในไทย เพิ่มจาก 3 คนเป็น 200 คนและจะย้ายสำนักงานไปอยู่ราชประสงค์
เพื่อรองรับการเติบโตในอนาคต
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 135
วันนี้ผมได้ดูคลิปวีไอสายดำ ที่สัมภาษณ์คุณเวป พรชัย รัตนนนทชัยสุข
เมื่อปี2555 ซึ่งช่วงนั้นคุณเวปได้แปลหนังสือการลงทุนแบบวีไอมามากมาย
ในคลิปคุณเวปได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของคุณวอเร็น บัฟเฟตต์
แนวคิดในการลงทุน ซึ่งช่วงที่portยังเล็กก็เคยให้สัมภาษณ์ตอนปี 1969
ว่ากลยุทธ์การลงทุนของเขามาจากเบนจามิน85%และฟิชเชอร์15%
คุณวอร์เรนเคยให้สัมภาษณ์กับนักศึกษาที่มาฟังเขาว่า ถ้าคุณยังportเล็กอยู่
สามารถลงทุนแนวไหนก็ได้ ได้ทั้งแบบเบนจามินที่หาหุ้นที่ถูก ถือจนเต็มมูลค่า
หรือ ลงทุนแบบฟิชเชอร์ ที่ค้นหาหุ้นที่จะเติบโตต่อเนื่องในอนาคตมีปราการที่เข้มแข็ง
แต่ถ้าportใหญ่อย่างเช่น ปัจจุบัน การลงทุนจะเปลี่ยนเป็นแบบฟิชเชอร์เยอะเพราะ
การเคลื่อนย้ายการลงทุนบ่อยๆทำได้ยากมีผลต่อตลาด ดังนั้นจะเห็นการซื้อและถือลงทุนนาน
เช่น บริษัท Coca Cola ซึ่งตอนซื้อPEไม่ถูกประมาณ 15%แต่มีโอกาสเติบโตไปในตลาดโลก
ซึ่งบริโภคCokeต่ำเช่น ที่จีน 0.3ขวดต่อปีต่อคน เทียบกับที่US2xxขวดต่อปีต่อคน
การใช้ชีวิตของคุณบัฟเฟตต์ก็เรียบง่าย บ้านที่เคยซื้อสมัยก่อน ก็อยู่มาถึงทุกวันนี้
ทานอาหาร ที่ แมค ดื่มCokeเหมือนกับนักศึกษา จะต่างกันแค่ตอนเดินทางขึ้นเครื่องบิน
ของบริษัทในเครือ มองการลงทุนเหมือนการสะสมแต้ม พยายามทำคะแนนให้ดีขึ้น
เงินส่วนใหญ่บริจาคให้กับมูลนิธิของบิล เกตต์ ให้มรดกกับลูกทั้งสามคนให้สามารถอยู่ได้
แต่ยังต้องทำงานต่อไป เป็นการสอนลูกแบบนึงไม่ให้ใช้ชีวิตที่รักสบาย หรือ ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย
สุดท้ายแนะนำหนังสือ 4 เล่ม ได้แก่
1. Buffett เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเบื้องหลังของการลงทุนของเขา มีวิธีคิดอย่างไร
มีตัวอย่างของหุ้นที่ลงทุนด้วย เล่มนี้หนาประมาณ400กว่าหน้า ไม่มีคนแปลเป็นไทย
2. Snowball เล่มนี้จะพูดถึงชีวิตของบัฟเฟตต์ มีแปลเป็นไทย แยกเป็นสองเล่ม
3. The Essays of Warran Buffett เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อเขียนของคุณบัฟเฟตต์ในรายงานประจำปี
และแยกเป็นหมวด หมู่ให้อ่านง่าย มีแปลเป็นไทยครับ
4. The Warran Buffett Way เป็นหนังสือแปลเล่มแรกในเมืองไทย (ซึ่งผมรู้จักคุณบัฟเฟตผ่านหนังสือเล่มนี้)
ลองศึกษาเพิ่มเติมดูครับสำหรับนักลงทุนแนววีไอ
ผมแนบURL ของวีไอสายดำเผื่อสนใจจะชม
https://www.youtube.com/watch?v=R4AkfLb85ZU
เมื่อปี2555 ซึ่งช่วงนั้นคุณเวปได้แปลหนังสือการลงทุนแบบวีไอมามากมาย
ในคลิปคุณเวปได้เล่าถึงประวัติความเป็นมาของคุณวอเร็น บัฟเฟตต์
แนวคิดในการลงทุน ซึ่งช่วงที่portยังเล็กก็เคยให้สัมภาษณ์ตอนปี 1969
ว่ากลยุทธ์การลงทุนของเขามาจากเบนจามิน85%และฟิชเชอร์15%
คุณวอร์เรนเคยให้สัมภาษณ์กับนักศึกษาที่มาฟังเขาว่า ถ้าคุณยังportเล็กอยู่
สามารถลงทุนแนวไหนก็ได้ ได้ทั้งแบบเบนจามินที่หาหุ้นที่ถูก ถือจนเต็มมูลค่า
หรือ ลงทุนแบบฟิชเชอร์ ที่ค้นหาหุ้นที่จะเติบโตต่อเนื่องในอนาคตมีปราการที่เข้มแข็ง
แต่ถ้าportใหญ่อย่างเช่น ปัจจุบัน การลงทุนจะเปลี่ยนเป็นแบบฟิชเชอร์เยอะเพราะ
การเคลื่อนย้ายการลงทุนบ่อยๆทำได้ยากมีผลต่อตลาด ดังนั้นจะเห็นการซื้อและถือลงทุนนาน
เช่น บริษัท Coca Cola ซึ่งตอนซื้อPEไม่ถูกประมาณ 15%แต่มีโอกาสเติบโตไปในตลาดโลก
ซึ่งบริโภคCokeต่ำเช่น ที่จีน 0.3ขวดต่อปีต่อคน เทียบกับที่US2xxขวดต่อปีต่อคน
การใช้ชีวิตของคุณบัฟเฟตต์ก็เรียบง่าย บ้านที่เคยซื้อสมัยก่อน ก็อยู่มาถึงทุกวันนี้
ทานอาหาร ที่ แมค ดื่มCokeเหมือนกับนักศึกษา จะต่างกันแค่ตอนเดินทางขึ้นเครื่องบิน
ของบริษัทในเครือ มองการลงทุนเหมือนการสะสมแต้ม พยายามทำคะแนนให้ดีขึ้น
เงินส่วนใหญ่บริจาคให้กับมูลนิธิของบิล เกตต์ ให้มรดกกับลูกทั้งสามคนให้สามารถอยู่ได้
แต่ยังต้องทำงานต่อไป เป็นการสอนลูกแบบนึงไม่ให้ใช้ชีวิตที่รักสบาย หรือ ใช้เงินสุรุ่ยสุร่าย
สุดท้ายแนะนำหนังสือ 4 เล่ม ได้แก่
1. Buffett เป็นหนังสือที่บอกเรื่องราวเบื้องหลังของการลงทุนของเขา มีวิธีคิดอย่างไร
มีตัวอย่างของหุ้นที่ลงทุนด้วย เล่มนี้หนาประมาณ400กว่าหน้า ไม่มีคนแปลเป็นไทย
2. Snowball เล่มนี้จะพูดถึงชีวิตของบัฟเฟตต์ มีแปลเป็นไทย แยกเป็นสองเล่ม
3. The Essays of Warran Buffett เป็นหนังสือที่รวบรวมข้อเขียนของคุณบัฟเฟตต์ในรายงานประจำปี
และแยกเป็นหมวด หมู่ให้อ่านง่าย มีแปลเป็นไทยครับ
4. The Warran Buffett Way เป็นหนังสือแปลเล่มแรกในเมืองไทย (ซึ่งผมรู้จักคุณบัฟเฟตผ่านหนังสือเล่มนี้)
ลองศึกษาเพิ่มเติมดูครับสำหรับนักลงทุนแนววีไอ
ผมแนบURL ของวีไอสายดำเผื่อสนใจจะชม
https://www.youtube.com/watch?v=R4AkfLb85ZU
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 136
ห่างหายไปนาน ไม่ได้เขียนลงใน Blockนี้เพราะช่วงท่ีผ่านมาไปเขียนAGM2561ซะ
ส่วนใหญ่ เลยแวะเข้ามาเขียนในนี้บ้าง จะลองเขียนreviewหนังสือการลงทุนบ้าง
ช่วงสงกรานต์ส่วนใหญ่ก็ได้ไปเที่ยวห้าง ทานข้าวกับครอบครัว และ อีกกิจกรรม
คืออ่านหนังสือที่ซื้อมาในช่วงสัปดาห์หนังสือ
ก่อนอื่นต้องหาเล่มที่บางๆจะได้อ่านจบโดยใช้เวลาไม่มาก
หนังสือของคุณวิบูลย์เป็นเป้าหมายแรก เป็นหนังสือล่าสุดที่ออกมาโดยนสพ WingMedia
โดยไปซื้อในวันสุดท้ายของงานสัปดาห์หนังสือพอดี ไม่ได้เจอคุณวิบูลย์เพราะวันนั้น
ติดงานสังสรรค์วีไอพอดี ไม่เป็นไรเดี๋ยวไปขอลายเซ๊นต์ในงานMoneytalkอาทิตย์ที่จะถึงนี้ก็ได้
แต่ยังได้เจอคุณประภาคารและภรรยาซึ่งเป็นเจ้าของWingMediaด้วย
หนังสือลงทุนเปลี่ยนชีวิตเล่มนี้แตกต่างจากเล่มแรกที่คุณวิบูลย์เขียนร่วมกับคุณมนตรีมาก
เพราะเล่มแรกๆจะเป็นเนื้อหาวิชาการค่อนข้างมาก เช่นหลักการวีไอ วิธีการหามูลค่าหุ้นหลายๆวิธี
ส่วนเล่มนี้เหมือนกับหนังกำลังภายในสูงสุดคืนสู่สามัญ กลับมาสู่โลกความเป็นจริงของนักลงทุน
เป็นหนังสือที่อ่านง่าย เหมาะกับมือใหม่ในการลงทุนมาก
หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น5ภาค
1.เคล็บลับเซียนหุ้น
2.รายได้ไม่ง้อมรดก
3.ลงทุนเปลี่ยนชีวิต
4.อาหารสมองของนักลงทุน
5.ข้อคิดส่งท้าย
ถ้าใครติดตามผลงานหรือฟังคุณวิบูลย์พูดในงานสัมมนาMoneytalk จะคุ้นเคยกับเนื้อหาได้เร็ว
เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่มีพื้นฐานทางด้านการเงิน ผมแนะนำให้อ่านภาคที่สองก่อน
เพราะเป็นภาคที่ใครก็ได้สามารถเก็บเงินหนึ่งล้านบาทได้ถึงไม่ใช่ทายาทเศรษฐีก็ตาม
ถือเป็นด่านแรกก่อนการลงทุน เพราะ เราต้องมีเงินเพื่อนำไปลงทุน
ซึ่งปัจจัยหนึ่งในสามของการประสบความสำเร็จในการลงทุน
ส่วนอีกสองปัจจัย ได้แก่ เวลา และ ความรู้ ส่วนความรู้หาอ่านได้จากภาคที่สี่
หลังจากนั้นก็อ่านภาคที่สาม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจว่าคนกินเงินเดือนหรือแม้แต่เป็นแรงงานก็สามารถทำ
เงินล้านได้ ถึงแม้เงินเดือนไม่เยอะ เพราะเคล็ดลับสำคัญคือ การกำหนดเป้าหมาย ทำงานเก็บเงิน และการเอาเงิน
ไปต่อยอด นั่นเอง
ต่อมาก็เริ่มศึกษาความรู้ได้จากหนังสือที่คุณวิบูลย์แนะนำทั้ง10เล่มในภาคที่ีสี่
ส่วนภาคที่หนึ่ง ก็สามารถเริ่มอ่านได้ เพราะจะเริ่มมีคำถามหลังจากได้อ่านหนังสือของภาคที่สี่มาแล้ว ตัวอย่างเช่น
ตลาดหุ้นไปทางไหน ติดหุ้นทำอย่างไร พร้อมกับ เสริมหลักการลงทุนแบบแนววีไอจากบัฟเฟตต์ หรือ ปีเตอร์ ลินซ์
ถ้าประสบความสำเร็จในการลงทุนมาบ้างอย่าลืมอ่านภาค5ด้วยนะครับ เป็นบทสรุปของ ลงทุนเปลี่ยนชีวิต
การลงทุน หรือ การทำงาน ไม่ใช่สิ่งสุดท้ายของชีวิต ปีเตอร์ ลินซ์ ก็เจอเรื่องแบบนี้จนท้ายสุดก็กลับมาดูแลครอบครัว
สุดท้าย ต้องอ่านเนื้อหาฉบับเต็มของคุณวิบูลย์ได้ตามแผงหนังสือทั่วไป เช่น SE-ED เป็นต้น
ราคาหนังสือพอๆกับกาแฟร้านดังแก้วเดียวเท่านั้น
ส่วนใหญ่ เลยแวะเข้ามาเขียนในนี้บ้าง จะลองเขียนreviewหนังสือการลงทุนบ้าง
ช่วงสงกรานต์ส่วนใหญ่ก็ได้ไปเที่ยวห้าง ทานข้าวกับครอบครัว และ อีกกิจกรรม
คืออ่านหนังสือที่ซื้อมาในช่วงสัปดาห์หนังสือ
ก่อนอื่นต้องหาเล่มที่บางๆจะได้อ่านจบโดยใช้เวลาไม่มาก
หนังสือของคุณวิบูลย์เป็นเป้าหมายแรก เป็นหนังสือล่าสุดที่ออกมาโดยนสพ WingMedia
โดยไปซื้อในวันสุดท้ายของงานสัปดาห์หนังสือพอดี ไม่ได้เจอคุณวิบูลย์เพราะวันนั้น
ติดงานสังสรรค์วีไอพอดี ไม่เป็นไรเดี๋ยวไปขอลายเซ๊นต์ในงานMoneytalkอาทิตย์ที่จะถึงนี้ก็ได้
แต่ยังได้เจอคุณประภาคารและภรรยาซึ่งเป็นเจ้าของWingMediaด้วย
หนังสือลงทุนเปลี่ยนชีวิตเล่มนี้แตกต่างจากเล่มแรกที่คุณวิบูลย์เขียนร่วมกับคุณมนตรีมาก
เพราะเล่มแรกๆจะเป็นเนื้อหาวิชาการค่อนข้างมาก เช่นหลักการวีไอ วิธีการหามูลค่าหุ้นหลายๆวิธี
ส่วนเล่มนี้เหมือนกับหนังกำลังภายในสูงสุดคืนสู่สามัญ กลับมาสู่โลกความเป็นจริงของนักลงทุน
เป็นหนังสือที่อ่านง่าย เหมาะกับมือใหม่ในการลงทุนมาก
หนังสือเล่มนี้แบ่งออกเป็น5ภาค
1.เคล็บลับเซียนหุ้น
2.รายได้ไม่ง้อมรดก
3.ลงทุนเปลี่ยนชีวิต
4.อาหารสมองของนักลงทุน
5.ข้อคิดส่งท้าย
ถ้าใครติดตามผลงานหรือฟังคุณวิบูลย์พูดในงานสัมมนาMoneytalk จะคุ้นเคยกับเนื้อหาได้เร็ว
เหมาะสำหรับคนที่ยังไม่มีพื้นฐานทางด้านการเงิน ผมแนะนำให้อ่านภาคที่สองก่อน
เพราะเป็นภาคที่ใครก็ได้สามารถเก็บเงินหนึ่งล้านบาทได้ถึงไม่ใช่ทายาทเศรษฐีก็ตาม
ถือเป็นด่านแรกก่อนการลงทุน เพราะ เราต้องมีเงินเพื่อนำไปลงทุน
ซึ่งปัจจัยหนึ่งในสามของการประสบความสำเร็จในการลงทุน
ส่วนอีกสองปัจจัย ได้แก่ เวลา และ ความรู้ ส่วนความรู้หาอ่านได้จากภาคที่สี่
หลังจากนั้นก็อ่านภาคที่สาม เพื่อเป็นแรงบันดาลใจว่าคนกินเงินเดือนหรือแม้แต่เป็นแรงงานก็สามารถทำ
เงินล้านได้ ถึงแม้เงินเดือนไม่เยอะ เพราะเคล็ดลับสำคัญคือ การกำหนดเป้าหมาย ทำงานเก็บเงิน และการเอาเงิน
ไปต่อยอด นั่นเอง
ต่อมาก็เริ่มศึกษาความรู้ได้จากหนังสือที่คุณวิบูลย์แนะนำทั้ง10เล่มในภาคที่ีสี่
ส่วนภาคที่หนึ่ง ก็สามารถเริ่มอ่านได้ เพราะจะเริ่มมีคำถามหลังจากได้อ่านหนังสือของภาคที่สี่มาแล้ว ตัวอย่างเช่น
ตลาดหุ้นไปทางไหน ติดหุ้นทำอย่างไร พร้อมกับ เสริมหลักการลงทุนแบบแนววีไอจากบัฟเฟตต์ หรือ ปีเตอร์ ลินซ์
ถ้าประสบความสำเร็จในการลงทุนมาบ้างอย่าลืมอ่านภาค5ด้วยนะครับ เป็นบทสรุปของ ลงทุนเปลี่ยนชีวิต
การลงทุน หรือ การทำงาน ไม่ใช่สิ่งสุดท้ายของชีวิต ปีเตอร์ ลินซ์ ก็เจอเรื่องแบบนี้จนท้ายสุดก็กลับมาดูแลครอบครัว
สุดท้าย ต้องอ่านเนื้อหาฉบับเต็มของคุณวิบูลย์ได้ตามแผงหนังสือทั่วไป เช่น SE-ED เป็นต้น
ราคาหนังสือพอๆกับกาแฟร้านดังแก้วเดียวเท่านั้น
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 137
ดร นิเวศน์ ได้ลงทุนในตลาดหุ้นเวียดนามมากว่า 5 ปี และ แชร์ประสบการณ์ในการลงทุนร่วมกับคุณ วิน พรหมแพทย์ให้กับรายการ Hard Topic “ตลาดหุ้นเวียดนามโตต่อหรืออิ่มตัว”
ที่มี คุณ เนาวรัตน์ เป็นพิธีกร เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561
ดร นิเวศน์ และ คุณ วิน ให้เหตุที่สนใจตลาดหุ้นเวียดนาม
1. ประเทศเวียดนามเหมือนไทยเมื่อ20ปีก่อน ที่กำลังค่อยๆเจริญเติบโต ที่มีอัตราการเติบโตของเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ที่ยังต่ำอยู่มีโอกาสเจริญเติบโตสูงในอนาคต
2. รายได้ประชากรชนชั้นกลางเริ่มขยับขึ้น สอดคล้องการบริโภคที่สูงขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ที่สูงขึ้นทดแทนมอเตอร์ไซด์
3. บริษัทชั้นนำที่ผลิตมือถือย้ายฐานการผลิตมาที่เวียดนาม ทำให้ยอดส่งออกเติบโต2digits
4. การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประมาณ 15 ล้านคนต่อปี สูงขึ้นจากอดีตค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน
5. รัฐวิสาหกิจประมาณ 100 กว่าแห่ง จะทยอยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งโฮจิมินและฮานอย
6. จะupgrade เป็น Emerging market ในอีกไม่กี่ปี ทำให้ต่างชาติลงทุนเพิ่มมากขึ้น
7. หุ้นขนาดกลางหลายบริษัทจ่ายปันผล 10%
8. ดร บอกว่าช่วงที่ลงทุนเมื่อ4ปีที่แล้ว เวียดนามพึ่งผ่านวิกฤตรอบเล็กๆมาแล้ว
ดร นิเวศน์ได้แชร์ประสบการณ์ในการลงทุนให้ผู้ชมฟัง
1. การลงทุนในตลาดหุ้น ต้องศึกษาก่อนเข้าลงทุน ไม่ใช่การเข้าไปหุ้นแบบหว่าน
2. ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย อาจไม่ประสบความสำเร็จในตลาดเวียดนาม
3. หุ้นขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ ชาวต่างชาติเช่น คนไทยจะซื้อ เนื่องจาก FL เต็ม
เลยต้องซื้อในราคาpremium up 30%
4. ต้องมีการแก้ไขกฏเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ก่อนเข้าตลาดEmerging Market
5. มีความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน เพราะ ถ้าค่าเงินบาทแข็ง จะทำให้เกิดผลขาดทุนจากค่าเงิน
ปีที่แล้ว ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 7-8%
6. หุ้นขนาดกลางช่วงที่ผ่านมา ราคาไม่ค่อยขึ้น เพราะคนที่นั่นไม่นิยมเล่นหุ้น ดังนั้น
หุ้นจะขึ้นจากกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนเฉพาะหุ้นใหญ่ ปีที่แล้วหุ้นขึ้น เยอะมาจากหุ้นขนาดใหญ่แค่10ตัว
7. การลงทุนในกองทุนรวมถือเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการลงทุนต่างประเทศ
สุดท้ายก็เป็นวิจารณญาณของนักลงทุนว่าจะลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศหรือไม่
ที่มี คุณ เนาวรัตน์ เป็นพิธีกร เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2561
ดร นิเวศน์ และ คุณ วิน ให้เหตุที่สนใจตลาดหุ้นเวียดนาม
1. ประเทศเวียดนามเหมือนไทยเมื่อ20ปีก่อน ที่กำลังค่อยๆเจริญเติบโต ที่มีอัตราการเติบโตของเครื่องใช้ไฟฟ้า รถยนต์ ที่ยังต่ำอยู่มีโอกาสเจริญเติบโตสูงในอนาคต
2. รายได้ประชากรชนชั้นกลางเริ่มขยับขึ้น สอดคล้องการบริโภคที่สูงขึ้น รวมทั้งการเปลี่ยนมาใช้รถยนต์ที่สูงขึ้นทดแทนมอเตอร์ไซด์
3. บริษัทชั้นนำที่ผลิตมือถือย้ายฐานการผลิตมาที่เวียดนาม ทำให้ยอดส่งออกเติบโต2digits
4. การท่องเที่ยวเพิ่มขึ้น ประมาณ 15 ล้านคนต่อปี สูงขึ้นจากอดีตค่อนข้างมาก ส่วนใหญ่เป็นชาวจีน
5. รัฐวิสาหกิจประมาณ 100 กว่าแห่ง จะทยอยจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ทั้งโฮจิมินและฮานอย
6. จะupgrade เป็น Emerging market ในอีกไม่กี่ปี ทำให้ต่างชาติลงทุนเพิ่มมากขึ้น
7. หุ้นขนาดกลางหลายบริษัทจ่ายปันผล 10%
8. ดร บอกว่าช่วงที่ลงทุนเมื่อ4ปีที่แล้ว เวียดนามพึ่งผ่านวิกฤตรอบเล็กๆมาแล้ว
ดร นิเวศน์ได้แชร์ประสบการณ์ในการลงทุนให้ผู้ชมฟัง
1. การลงทุนในตลาดหุ้น ต้องศึกษาก่อนเข้าลงทุน ไม่ใช่การเข้าไปหุ้นแบบหว่าน
2. ธุรกิจที่ประสบความสำเร็จในประเทศไทย อาจไม่ประสบความสำเร็จในตลาดเวียดนาม
3. หุ้นขนาดใหญ่ที่มีคุณภาพ ชาวต่างชาติเช่น คนไทยจะซื้อ เนื่องจาก FL เต็ม
เลยต้องซื้อในราคาpremium up 30%
4. ต้องมีการแก้ไขกฏเกณฑ์ของตลาดหลักทรัพย์ก่อนเข้าตลาดEmerging Market
5. มีความเสี่ยงเรื่องค่าเงิน เพราะ ถ้าค่าเงินบาทแข็ง จะทำให้เกิดผลขาดทุนจากค่าเงิน
ปีที่แล้ว ขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน 7-8%
6. หุ้นขนาดกลางช่วงที่ผ่านมา ราคาไม่ค่อยขึ้น เพราะคนที่นั่นไม่นิยมเล่นหุ้น ดังนั้น
หุ้นจะขึ้นจากกองทุนต่างประเทศที่ลงทุนเฉพาะหุ้นใหญ่ ปีที่แล้วหุ้นขึ้น เยอะมาจากหุ้นขนาดใหญ่แค่10ตัว
7. การลงทุนในกองทุนรวมถือเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการลงทุนต่างประเทศ
สุดท้ายก็เป็นวิจารณญาณของนักลงทุนว่าจะลงทุนในตลาดหุ้นต่างประเทศหรือไม่
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 138
MoneyTalk@SET 27 พค 2018 ช่วงที่1
อ ไพบูลย์ แจ้งกำหนดการ MoneyTalkคราวหน้า วันอาทิตย์ที่ 10 มิย 2018
ช่วงที่1 หุ้นเด่นต้องจับตา
1. คุณ ปรียนาถ สุนทรวาทะ CEO BGRIM
2. คุณ ภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ CFO TPIPP
3. คุณ สุวิทย์ ยอดจรัส CEO AUCT
4. คุณ ทรงพล ชัญมาตรกิจ CEO TVD
หัวข้อสอง ทำไมวิกฤตถึงจะมา และ หากวิกฤตมา จะต้องทำอย่างไร
1. คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ บล CLSA
2. คุณ สมจินต์ ศรไพศาล บลจ ทหารไทย
3. คุณ มนตรี ศรไพศาล บล MBKET
4. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ส่วนเดือนกรกฏาคม ก็มีงานMoneyTalk ดังนี้
วันที่ 1 กค มีงาน MoneyTalk@MAI จัดที่ Centara @ Central World และ วันที่ 14 กค MoneyTalk@SET
เริ่มเข้าเนื้อหาสัมมนา
หัวข้อแรก หุ้นเด่นต้องจับตา
1.คุณ อัญรัตน์ พรประกฤต CEO Jubilee
2.คุณ ทรงวิทย์ ฐิติปุณญา CEO ASAP
3.คุณ ปิยะ พงษ์อัชณา Director JMT
4.คุณ ธิดา แก้วบุตตา ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์SAWAD
อ เสน่ห์ บอกว่าหุ้นเด่นเหล่านี้ต้องจับตา เป็นหุ้นที่ใกล้ชิดกับรายการ ส่วนใหญ่เป็นสปอนเซอร์
วันนี้ท่านผู้ชมจะได้ฟังเรื่องราว และ พัฒนาการ หรือ แผนการของบริษัททั้ง4บริษัท
หมอเค เสริมว่า ตอนนี้สภาวะตลาดหุ้นได้แบ่งนักลงทุนออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรก เก็บเงินสด ( หมายถึงขายหุ้นออกไปหมดแล้ว )
กลุ่มที่สอง ติดดอยอยู่ข้างบน กลุ่มนี้จะเปลี่ยนการลงทุนเป็นแบบอื่นได้ไหม
ให้ผู้ชมได้ฟังและคิด แล้ววิเคราะห์เพื่อไปตัดสินใจในการลงทุนต่อไป
เริ่มจากการเข้าใจธุรกิจก่อน คุยทีละบริษัท และ รับทราบผลประกอบการของธุรกิจ
1 .ASAP
คำถาม หมอเคเกริ่นก่อนว่า บริษัท ASAP มาขึ้นเวทีครั้งแรก อยากให้ASAPแนะนำธุรกิจก่อน
เราทำธุรกิจรถเช่า ประเภทอะไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างจากธุรกิจคู่แข่งอย่างไร
คุณ ทรงวิทย์ เล่าว่า บริษัทASAPทำธุรกิจให้เช่ารถ
บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์มาปีกว่า โดยบริษัทเริ่มจากให้เช่าระยะยาวก่อนเมื่อ 11 ปีก่อน
ในอดีตการลงทุนเครื่องจักรต้องใช้เงินทุนมาก ปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลง ทั้งหน่วยงานเอกชน
และ หน่วยงานราชการ ก็เปลี่ยนการซื้อเป็นการเช่า
ตอนนี้เรามีให้เช่ารถระยะสั้นที่สนามบินที่AOTบริหารทั้ง7แห่งในไทย ใช้ชื่อ ASAP
บางที แตกเป็นการให้เช่าระยะสั้น ใช้ชื่อ asap GO และสามารถไปคืนต่างสถานที่ได้
มีโปรแกรมที่จะคำนวณระยะทาง ค่าใช้จ่ายอยู่ใน smart phone ต่อมาบริษัทจะมีแผนเปิดแฟรนไชส์ให้เช่ารถ
สมัยก่อน ผมเป็นDealer แบรนด์ Nissan ต่อมาทำDealer แบรนด์Toyota ในกรุงเทพ
ตอนนี้สัดส่วนPortfolio 90% เป็นการเช่าระยะยาว อีก 10%เป็นการเช่าระยะสั้น
ลูกค้าหลัก เป็นหน่วยงานเอกชน 80% ที่เหลือเป็นราชการ 20%
บริษัทเราพึ่งเข้าตลาดมา ขยายรถมากกว่าคู่แข่ง เราไม่ได้พึ่งเติบโตตอนเข้าตลาดหลักทรัพย์
แต่เราเติบโตมาตั้งแต่5ปีก่อน คิดเป็นเติบโตปีละ 20กว่า%
ต้นทุนต่อหน่วยในการเช่าดีกว่าซื้อแน่นอน ทำให้เราเสนอให้กับเอกชนเช่ารถแทน
คำถาม เคยได้ยินว่า ASAP มากับtrendของโลก ช่วยอธิบายให้ผู้ชมฟังได้ไหมครับ
คุณทรงวิทย์ตอบว่า เป็นเทรนของโลกนี้จริงๆ หลายองค์กรคิดได้เองโดยไม่ต้องชี้นำ
นักท่องเที่ยว ครึ่งนึง ที่มาเอง ก็มีการbookingการเช่ารถมาล่วงหน้า โดยมีใบขับขี่สากล
คนที่ขับพวงมาลัยซ้ายมาไทย ก็สามารถปรับตัวได้ในที่สุด ไม่น่าจะมีปัญหา
คำถาม มีการตัดราคาจากคู่แข่งใช่ไหม ลูกค้ามาจากการแย่งลูกค้าเจ้าอื่นใช่ไหม
ปกติมี retention rate กี่% เกิดอะไรขึ้นถ้าเช่า5ปี แล้ว ลูกค้ายกเลิกสัญญาก่อน
คุณทรงวิทย์ อ้างถึงมือถือ สมัยก่อนค่าโทรคิดเป็นนาทีละ3-30 บาท เหมือนจ่ายค่าโทรไปเมืองนอก
ทุกธุรกิจ price warเป็นเรื่องปกติ
จริงๆลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาเป็นลูกค้าใหม่ เรามีportfolio หมื่นกว่าคัน โดย 70-80%เป็นลูกค้าใหม่
สัญญามีตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่ที่เหมาะสมคือสัญญา 4 ปี retention rate 80%กว่าๆ
เป็นการแข่งขันเรื่องการให้บริการมากกว่าเรื่องราคา
ลูกค้าประเภทองค์กร 80% มาจากธุรกิจ E-commerceซึ่งมาแรงมาก เช่น ค้าปลีก
เรามีทุกแบรนด์ แต่แบรนด์หลักเป็น Toyota ในแง่การจัดการบริหาร และ ต้นทุนเราทำได้ดีกว่าคู่แข่ง
คำถาม บริษัทแข่งขันกับ AVIS หรือ แบรนด์ต่างประเทศอย่างไร ความโดดเด่นของASAPคือเป็นผู้เล่นที่ขยายfleetรถ
จำนวนมากอย่างรวดเร็วกว่าคู่แข่งมากๆ ASAPมองเห็นโอกาสอะไรไหม
กลัวไหมว่าการขยายมากๆจะเกิดoversupplyไหม
คุณทรงวิทย์ตอบว่า แบรนด์เราเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นการจัดการเรื่อง product
Challengeกับลูกค้าว่า ถ้าลูกค้าเอารถไปใช้ แล้ว mile เกิน 50,000 ให้ใช้ฟรี
ตอนนี้เรามีfleetรถ 10,000 กว่าคัน เราสามารถดึงรถมีไมล์เกินห้าหมื่นไมล์ออกและ นำรถไปทดแทนได้
ปกติเจ้าอื่น จะต้องใช้ให้คุ้มก่อน เช่น สี่ปี ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วค่อยเอาไปขาย แต่เราไม่ได้คำนึงถึงค่าเสื่อมในการให้บริการ
Partner เรามีแค่ Toyota เป็นหลัก ส่วนยี่ห้ออื่น เราก็ได้ราคาพิเศษ เช่นรถยุโรปซื้อทีละสิบคัน ได้ราคาดี
ส่วนเรื่องการประกันภัย คือ บริษัทเมืองไทยประกันภัย และ แอกซ่าประกันภัย ก็ดูแลให้เรา
AOTมีสนามบิน 7 ที่ ที่เราให้บริการอยู่ และเขาเริ่มมีการขยายสนามบินออกไปอีก
2 Jubilee
ถาม เราเจอคุณอัญทุกปี อยากให้คุณอัญupdateว่า 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ Q2 17 – Q1 18
ผลการดำเนินงานดีมาตลอด ทั้งที่มีแต่คนบอกว่า เศรษฐกิจไม่ดี ช่วยอธิบายว่าดีจากอะไร
คุณอัญตอบว่า เรามีการนำข้อมูลมาบริหารจัดการ เราเก็บข้อมูลจาก 125 สาขาทั่วประเทศ
นำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาทุกส่วนขององค์กร
เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไหนที่ลูกค้าชอบ
เรามีนวัตกรรม เช่น Celebrity of Love
จี้เพชรหนึ่งแบบ ใส่ได้สองแบบ ตัวอย่างเช่น จี้เพชรราคา 22,900 บาท ใส่ได้สองรูปแบบ
เราจะเพิ่มvalue added ให้กับ product ได้อย่างไร
แหล่งผลิตของเพชรมาจากเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเพชรที่ดีที่สุดของโลก
บริษัททำงานร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นที่มีนวัตกรรม และ มี value added
อีกส่วนคือการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ลูกค้าสามารถfeed back ให้เราอย่างreal time
การทำทั้งหลายภาคส่วน รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร เราต้องกระชับเข้ามา
ให้การบริการให้ทันท่วงที เราต้องมองทุกรายละเอียดที่สำคัญ แก้ไขกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ของลูกค้า
ปัจจุบัน บริษัททำเครื่องประดับ เราแก้ไขภายในองค์กร
ตลาดเครื่องประดับเพชร ภายในประเทศและต่างประเทศยังเติบโต
มีdemandเข้ามามากกว่าsupply แหล่งข่าวจากเดอ เบียร์ บอกว่า จีนมีความชอบเครื่องประดับเพชรมากขึ้น
สมัยก่อน คนรุ่นนั้นคิดว่าเป็นการลงทุน แต่จากการวิจัย คนจีนรุ่น millioniam
การใส่เครื่องประดับจะบ่งบอกตัวเขาเอง ซึ่งล้อตามเทรนของอเมริกา
ตอนนี้นักท่องเที่ยวจีนก็มาซื้อเครื่องประดับ ซึ่งอยู่ในส่วน 5%ของทั้งหมด ที่เหลือ 95% เป็นคนในประเทศมาซื้อ
Sparking club มีสมาชิก140,000 กว่าราย มีการซื้อซ้ำจากสมาชิกเก่าประมาณ 60% ซื้อซ้ำทุกสองปี
และ อีก 40% เป็นการซื้อใหม่จากคนไทยและต่างชาติ
ตลาดWedding (งานแต่งงาน) ปีนี้มีการแต่งงานมากกว่าทุกปี แหวนเพชรถือเป็นสิ่งที่ต้องซื้อก็เติบโตไปด้วย
ถาม ส่วนตลาดออนไลน์ เราสามารถเปิดตลาดในออนไลน์แทนการเปิดshopได้ไหม
คุณอัญตอบว่า ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าจะเติบโตจากตลาดออนไลน์
แต่ตอนนี้การซื้อขายเครื่องประดับต้องเกิดจากการเข้าไปลองสวมดูก่อนตัดสินใจซื้อที่ร้าน
ต่อไปช่องทางค้าขายของเราจะเป็น omi-channel ( online + offline )
หมอเคถามว่าสัดส่วนในการซื้อในส่วน wedding กี่%
ตอบว่า 30% จากงาน wedding แต่อีก 70% เป็นการซื้อทั่วไป
ราคาเพชรเติบโตมาก จากช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาจากปลายปี 2017 demandเพิ่มมากกว่าsupply
อ เสน่ห์ บอกว่า นาฬิกาใส่กันน้อยลง เพราะสามารถดูเวลาได้จากsmartphone
โอกาสที่เพชรจะเจอแบบนาฬิกาบ้างไหม
คุณอัญตอบว่า กลุ่มMillionaim สำหรับเครื่องประดับเพชรมีโอกาสเติบโตมากขึ้น
แต่เราก็เพิ่มนวัตกรรมเข้าไปทำให้ใส่ได้หลายรูปแบบ
Positioning ด้านprice เป็นแบบ Best Value ซึ่งแหล่งเพชรมาจากแหล่งดีที่สุดในระดับโลก
ต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำกว่า รวมถึงเพิ่มนวัตกรรมเข้าไป ทำให้ลูกค้าได้ Best Value
เรามาต่อเรื่องหนี้สิน จากการปล่อยหนี้
3 SAWAD
หมอเคบอกว่าราคาลงมาเยอะ ที่ผ่านมากำไรเติบโตทุกไตรมาส
แต่ปลายปีที่แล้วกำไรเริ่มนิ่งมาจากการปรับโครงสร้างองค์กร
คุณธิดาตอบว่า การปรับโครงสร้างของบริษัท แตกต่างจากJubilee
ต้นปีที่แล้ว SAWADลงทุนในBFIT ซึ่งมีlicense บง (บริษัทเงินทุน) และมีกฏเกณฑ์การปล่อยกู้ที่ชัดเจน
เราต้องปรับตัวตาม ในฐานะผู้ถือหุ้นBFIT โดยSAWAD เปลี่ยนเป็น Holding company
ในช่วงที่ปรับโครงสร้าง สิ่งที่ได้ คือ กฎหมายใหม่
ปกติคนทำสินเชื่อ ใครๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องlicense ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัทจำกัด และ บริษัททำธุรกิจพาณิชย์ ก็ปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ส่วนนึงของบริษัทSAWADเป็น Non bank คือ เงินสดทันใจ เป็นการกู้ยืมแบบไม่มีหลักประกัน
เราได้มีโอกาสปล่อยสินเชื่อภายใต้ พรบ สถาบันการเงิน
บริษัทลูกที่ซื้อมาทำการปล่อยกู้มากขึ้น
พรบ สถาบันการเงินทำให้เราปล่อยสินเชื่อได้ดอกเบี้ยสูงกว่า15%แต่ไม่เกิน 36%
เวลาปฏิบัติตามกฎหมาย ขายทรัพย์สินจากSAWADให้บริษัทลูก BFIT
คำถาม ปัจจุบัน หน้าที่ของบริษัทSAWAD และBFIT แตกต่างกันที่productอย่างไร
คุณธิดาตอบว่า BFIT รับจำนำทะเบียนรถที่มีหลักประกัน และมูลค่าต่ำกว่า 10 ลบ
ส่วน SAWADจะปล่อยสินเชื่อไม่มีหลักประกัน เป็นสินทรัพย์อื่น หรือ ทะเบียนรถที่มีหลักประกัน
มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
BFITรับเงินฝากได้ ยกเว้นบัญชี ออมทรัพย์ และ ประจำ เช่น ธุรกิจเงินฝากเริ่มจาก 1 ล้านบาท
ส่วนดอกเบี้ยพิเศษ เริ่มต้นที่ 5 ล้านบาท
ระบบถูกปรับเรียบร้อย เราสื่อสารกับสาขาทั้ง 2,500 สาขาเรียบร้อย
ตอนนี้ รายได้ 50% มาจากรถกระบะ ,15% รถพ่วง ,25% มอเตอร์ไซต์ และที่เหลือเป็นสินทรัพย์อื่นๆ
ตอนนี้มีแผนขยายสาขาอีก 200-300 สาขา เป้าในอนาคตคือ 3,500 สาขา
ถามว่า บริษัทเห็นมีทิศทางในการตัดราคากันหรือยัง
คุณธิดาตอบว่า เร็วๆนี้ คู่แข่งมีpromotionลดราคาลงมาในช่วงQ2
ส่วนใหญ่มุ่งไปหาลูกค้าที่หลักฐานในการกู้ มีรายได้เป็นหลักแหล่งมากกว่า มีเครดิตบูโร
แต่เราเน้น assetที่มาค้ำประกันคุ้มค่าในการปล่อยกู้ไหม มากกว่าดูที่รายได้ของผู้กู้
การแข่งขันแบ่งกลุ่มกันชัดเจน เราทำNano financeด้วย แต่สัดส่วนไม่ค่อยเยอะ
ถาม ยอดขายรถมีแนวโน้มลดลงมีผลกระทบต่อบริษัทหรือไม่
คุณธิดาตอบว่า ตลาดของเรา คือต้องมีรถเรียบร้อยก่อน ผ่านกระบวนการผ่อนกับธนาคารมาเรียบร้อย
ถ้าเดือดร้อนเรื่องเงิน จึงมาจำนำกับเรา เลยไม่ได้ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้
ถาม ที่ผ่านมามีข่าวทั้งกฏของแบงค์ชาติจะมาควบคุมดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อ และเริ่มจะใช้ IFRS9 มันจะกระทบ
กับเรามากไหม และ เราจะรับมืออย่างไร coverageพอไหม
คุณธิดาตอบว่า จากข่าวกระทรวงการคลังจะเข้าควบคุมธุรกิจที่ไม่มีเจ้าภาพดูแล
กำลังร่างกฎหมาย พึ่งผ่านPublish hearing มา
ส่วนบริษัทเรามี regulator ดูแลแล้ว ดังนั้นจึงไม่ได้มีผลกระทบกับบริษัทเรา
การปล่อยสินเชื่อปล่อยผ่าน พรบ สถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยไม่เกิน36%
ซึ่งมากกว่า พรบ แพ่งและ พาณิชย์ ไม่เกิน15%
4 JMT บริษัทที่เชี่ยวชาญการตามหนี้
ถามคุณปิยะ ถึงทิศทางNPLในปัจจุบัน ทั้งมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ตอนนี้เป็นอย่างไร เอื้อให้กับการซื้อหนี้มา
บริหารกับรับติดตามหนี้ของJMTอย่างไรบ้าง
ตอบจากข้อมูลแบงค์ชาติ สินเชื่อรายย่อย มี NPL ที่เติบโต โดยเฉพาะบัตรเครดิต และ personal loan
แต่จริงๆ หนี้สินเชื่อบ้านก็มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย
NPL 2%กว่า แต่NPLมีมูลค่าสูงขึ้นด้วยจากปริมาณที่ปล่อยกู้มากขึ้น
ทำให้เรามีโอกาสในการปล่อยกู้ในส่วนนี้ด้วย
ธุรกิจรับจ้างตามหนี้ 25,000 กว่าล้านบาท ลูกหนี้ 600,000 ราย คิดเป็น 10% ของรายได้
อีกธุรกิจซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ซื้อหนี้มาบริหารที่ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 130,000 ลบ
ลูกหนี้คิดเป็น 3ล้านคน ซึ่งอยู่ในบริษัท JMT
อีกธุรกิจ เริ่มซื้อ ตั้งแต่ช่วง เดือน เมย 18 คือ หนี้ที่มีหลักประกัน คือ สินเชื่อบ้าน คอนโด บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์
เราซื้อหนี้ที่เราถนัด เรามีคนตามหนี้ 2,600คน เราไม่ต้องการซื้อมาเพื่อไปฟ้องลูกค้า (เราต้องการเพื่อสร้างกำไร)
ถ้าทำอย่างนั้น คือ การฟ้อง จะทำให้ต้นทุนสูง เราน่าจะเป็นคนกลางในการตามหนี้
เราทดลองซื้อเข้ามา 200 ลบตอน เมย 17 พอเราเข้าไปคุยกับลูกค้า เราพลิกกลยุกต์ โดยไปซื้อส้มที่ปากคลองตลาด
มาเยี่ยมลูกค้า ปรากฏว่าลูกค้าจ่ายเงิน เราได้เงินคืน 9 ลบในระยะเวลา 7วัน ทุกอย่างต้องทดลอง
เราซื้อสะสมมาอีก 2,100 ลบ ตอนนี้เรามีหนี้แบบหลักประกัน 2,300 ลบ
หนี้ที่ไม่มีหลักประกันจะอยู่ที่ JMT Network Services
ส่วนหนี้ที่มีหลักประกันจะอยู่ที่ J Asset Management (JAM) ซึ่งเป็นลูก JMT
ปีนี้เราได้ตั้งงบที่จะซื้อหนี้ที่มีหลักประกัน 4,000 ลบ
และหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน 1,000 ลบ
ตัวเลขปรับเพิ่มตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก
Jmart ถือหุ้น JMT 56%
เรามีJMart ขายมือถือ มีบริษัทลูก7 บริษัท
บริษัทที่มีsynergy คือมีการปล่อยสินเชื่อ ได้แก่ J Fintech , Singer etc
J venger พัฒนาplatform digitalให้กับบริษัทในกลุ่ม
เราวางplatformแบบ Digital มีการตามหนี้แบบ ใช้AI
หมอเคถามว่าใช้Robotตามหนี้ใช่ไหม
คุณปิยะตอบว่า เราเริ่มจากการแชตไปตามหนี้ก่อน เรากำลังเรียนรู้ หุ่นยนต์เก็บสถิติการถามตอบ
เพื่อให้platform แม่นยำ นี่คือการsynergy กับ Jmart
Singerมีnetwork และ JMT ก็ฝากsingerไปดูแลลูกค้าอีกที มีคนภาคสนาม หลายพันคน ไปช่วยตามหนี้ด้วย
เราใช้วิธีเข้าไปคุยกันถึงบ้าน ทำให้เราลดต้นทุนในการติดตามหนี้
หนี้จากsinger,Jmart มือถือ ซึ่งก็คือ JMT ซื้อหนี้จาก Jmart ซึ่งเป็นลูกค้ามือถือกว่าแสนกว่าราย
ทำอย่างไรที่สามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้
เราพัฒนา mobile application จ่ายดี
ผมอยู่มาตั้งแต่ก่อตั้ง เวลาตามหนี้สมัยก่อนไม่มีfax เวลาไปหา ลูกค้าไปแอบซ่อน
ไม่อยากเจอ อยากคุยโทรศัพท์ เราเลยพัฒนาmobile application จ่ายดี
เราสามารถเช็คคะแนนจากapplication จ่ายดีได้
ผมออกpromotionเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ใครจ่ายหนี้ JMT ได้รับคูปองลดราคามือถือเวลาไปซื้อด้วย
ลูกค้าติดต่อมาเป็นร้อยคน JMTได้รับอานิสงค์จากการsynergy
JMT มีอัตราการเติบโต 40%กว่า มาจากทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งมีค่าสุด ถึงเราพัฒนาplatform digital
ก็ต้องให้บุคลากรของเราไปทำอย่างอื่นในอนาคตได้ด้วย จาก platform ใหม่
ถาม ในธุรกิจติดตามหนี้ เข้าใจว่า นอกจากวัดกันที่ความคุ้มค่าในการซื้อหนี้แล้ว อีกประเด็นหนึ่ง
คือ เหมือน 2-3ปีที่ผ่านมา เราทำsuccess rate สูงขึ้นเกิดจากอะไร ตัวอย่างเช่น หนี้100ล้าน
เก็บได้เท่าไหร่ในแต่ละปี ถ้าเก็บขึ้นได้ แสดงว่าเราเก่งขึ้นเรื่อยๆ
คุณปิยะตอบว่า เกิดจากคนเก็บกับลูกค้าที่จ่ายหนี้
ปี 2016 เราเก็บหนี้ได้จากกลุ่มคนที่มีหนี้ 3 ล้านบาท จาก 1,000 ลบ
ปีต่อมาเก็บได้เพิ่มอีก 800 ลบ
ลูกค้าที่เดินมาจ่ายเรา 250,000 คน
การทวงหนี้ โดยวันนี้ถ้าเขาไม่มีเงิน ยกตัวอย่างตอน
หนี้จากปี 2006 ปีนิ้คิดเป็น 12ปี ตอนนี้ลูกหนี้เหล่านี้ยังจ่ายหนี้ให้เราอยู่
เรามีวิธีคุยกับลูกค้าในแต่ละประเภท เช่น ล้มละลาย ตกงาน หายสาบสูญ ต้องทำอย่างไร
สิ่งที่คุยกับลูกค้าโดยไม่ใช้วิธีรุนแรง เวลาเขายืนขึ้นมาได้เชื่อไหมว่า
ลูกหนี้ 3 ล้านคนจากสัญญา 5-6 ล้านสัญญา หมายความ หนึ่งคนมีหนี้หลายสัญญา
ผมมองต่าง ลูกค้าโดยเริ่มจากบัตรเครดิต ไป สินเชื่อรถ ต่อไปคือสินเชื่อบ้าน
ตัวที่เราอยู่ได้ คือ พยายามช่วยให้เขารอด การเก็บหนี้คือการทำให้เขารอด บางคนอยู่ตั้งแต่เข้าตลาดใหม่
อายุ30ปี ตอนนี้อายุ42ปี ดอกเบี้ยเรายังคิดเท่าเดิม สถานะเปลี่ยน ส่วนใหญ่จะดีขึ้น จะกลับมาจ่าย
โครงสร้างเราเติบโตจากลูกค้าเก่า หนี้ ปี 2006 พอมาถึงปี 2011 เรา amortize หมดแล้ว ดังนั้น
ถ้าเราเก็บเงินมาได้เท่าไหร่ จะเป็นรายได้หรือกำไรทั้งหมด
ช่วงครึ่งหลัง ผลประกอบการ และ ทิศทางของบริษัทในอนาคต
1.Asap
ถามเรื่องผลการดำเนินงาน Q1เป็นที่พอใจไหม ทั้งปีจะโตราวๆนี้ไหม
ปีนี้ตั้งเป้ารถเช่าโตกี่คัน ผ่านมาครึ่งปี ตามเป้าไหม
คุณทรงวิทย์ตอบ ผลการดำเนินการ Q1 2018 เรามีการเติบโตของรายได้ Q-Q 25% เป็นไปตามคาดการณ์
อาจไม่มากในแง่กำไร เรามีการลงทุนด้านบุคลากร ผู้บริหาร และ ลงทุนเรื่องระบบ
เราคาดการณ์การเติบโตในปีนี้ โดยปรับเป้าเพิ่มเป็น 30-40%
เรารับรู้รายได้ค่อนข้างเร็ว เช่น ปล่อยรถเช่า lotใหญ่ จะรับรู้กำไรทันที
แต่ถ้าเป็นระยะยาว ก็รับรู้รายได้ตามสัญญา
ถาม ตอนนี้ราคาน้ำมันแพง มีผลกระทบต่อการเช่ารถหรือไม่
คุณทรงวิทย์ตอบว่า รายได้หลักมาจากภาคธุรกิจ องค์กรเช่าเพื่อขยายธุรกิจ
ดังนั้นราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ประเด็นหลักในการทำธุรกิจ
แต่เพียงหาทางลดต้นทุนเท่านั้น ตอนสมัยน้ำมันขึ้นไป 40 บาทต่อลิตร ยอดการเช่าเมื่อ 8 ปีที่แล้วก็ไม่โดนกระทบ
รวมถึง เทคโนโลยีของรถในปัจจุบันทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น เราก็เตรียมรถ Eco car มา support
ส่วนผู้บริหาร ก็รถไฮบริค หรือ EV มาsupport
รถเช่าในระยะยาว( long term) น่าจะโตต่อเนื่องไปอีกนาน
ไทยเคยบริโภครถยนต์เกิน 1 ล้านคันในช่วงที่ผ่านมา ตอนนี้ยอดขายรถของไทยถดถอยมาอยู่4แสนคัน
และค่อยๆฟื้นขึ้น ช่วงสิ้นQ1 18 มีการเติบโตของรถทุกค่าย ตัวอย่างเช่น โตโยต้าโต 10%
ดังนั้นจึงมองว่าตลาดรถยนต์ในปีนี้มีการบริโภคมากขึ้นถึง9แสนคัน และ มีโอกาสแตะหนึ่งล้านคันได้อีกครั้ง
พฤติกรรมเปลี่ยนการเช่ารถก็มีมากขึ้น ทำให้เรามีโอกาสเติบโต 30-40%ต่อปี
Trend รถเช่าปลายทาง
การเดินทางของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในอนาคต ต่อไปก็ไม่ได้เอารถวิ่งไปในต่างจังหวัด แต่ขึ้นเครื่องบินไปแทน
ปลายทางแต่ละจุด ต้องมีรถไว้ใช้บริการ ดังนั้นมีโอกาสโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาไทยเพิ่มขึ้น
อีกธุรกิจ azap GO ซึ่งมีแสดงไว้ที่หน้าห้องสัมมนา ถือเป็น car sharingส่วนนึง
ตอนครบสัญญาเช่ารถ เรามีจำหน่ายรถผ่านการประมูลทาง online
เดือนหน้า มิย เปิด ASAP Autopark franchise ต่อไปเราจะเปิดแฟรนไชส์การเช่ารถขึ้นมา
อีก3-5ปีข้างหน้า ธุรกิจเราจะครบวงจร ได้แก่ การให้เช่าระยะยาว car sharing ขายรถมือสอง เป็นต้น
2. Jubilee
คำถาม ผลการดำเนินงาน Q1เป็นอย่างไร เข้าใจว่ากลับมาเติบโตดีอีกครั้ง หลังจากนิ่งๆมาสักพัก
เกิดอะไรขึ้น และ GPM ก็new highอีก เพราะอะไร เราจะmaintainการเติบโตไปตลอดทั้งปีได้ไหม
คุณอัญตอบว่า ผลการดำเนินงานของQ1 ค่อนข้างดีทั้งรายได้โต 8%และกำไรโต 41% SSS growth ก็โต 7%
เราเน้นที่สาขา 125 สาขา เรามุ่งเน้นทำยอดขายจากสาขาเดิม ควบคุมค่าใช้จ่ายสาขาได้ดีขึ้น
การเพิ่ม value added และ สินค้ามีนวัตกรรม ก็มีส่วนทำให้ยอดขายดีขึ้น
เราตั้งเป้า sales growth 10% ( SSS growth 8-9% และ ที่เหลือมาจากการขยายสาขาเพิ่มเติมในQ3,Q4 2018)
สัดส่วนรายได้ 1H คิดเป็น 40-50% , 2H รายได้ 50%กว่า ของรายได้ทั้งหมด
ปัจจัยในการเปิดสาขาเพิ่ม
1 ถ้าlocationเดิม เราrenovateสาขาเดิม
2 สาขาใหม่ มีmallใหม่ๆมาเปิด ก็ทำให้เราเปิดสาขาใหม่
ปีนี้ จะเปิดเพิ่มในแบรนด์ Jubilee 5 สาขา และอีกแบรนด์ Forevermark 3-5 สาขา
125 สาขาที่มี แบ่งออกเป็น 46 สาขาอยู่ในกรุงเทพ ที่เหลือ อยู่ที่ต่างจังหวัดเกือบ80สาขา
ดังนั้นเรามีโอกาสขยายสาขาในต่างจังหวัด
ยอดขายในต่างจังหวัด 56% และมีการขยาย SSS growth ดีกว่าสาขาในกรุงเทพ
Q1 เราขายจำนวนชิ้นมากขึ้น และ ชิ้นใหญ่ขึ้น
เราพยายามขายปริมาณมากขึ้น และ ชิ้นใหญ่ขึ้น
เวลาห้างขยายไปต่างจังหวัด เราก็มีโอกาสขยายตามห้างไปด้วย
ทำให้มีโอกาสขยายสาขามากขึ้น และ เพิ่มยอดขายได้
ลูกค้าในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ซื้อเป็นเงินสด ช่วงหลังๆเริ่มมีการใช้บัตรเครดิตขึ้นมาบ้าง
ดังนั้นพฤติกรรมcashlessในต่างจังหวัดยังมีน้อย แต่ก็มีโอกาสโตขึ้น
ตอนนี้ทางธนาคารก็เริ่มโปรโมตใช้QR code แต่บัตรเครดิตน่าจะโตมากกว่าเพราะสามารถสะสมแต้มได้
ส่วนสินค้า Hello Kitty สามารถrecruitลูกค้าใหม่ๆเข้ามา ปีนี้เราจะมีสินค้ามาsurprise
มีนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาทุกเดือนในช่วงครึ่งปีหลัง
คำถาม สัดส่วนรายได้จากHello Kitty คิดเป็นกี่%ของรายได้ทั้งหมด
คุณอัญเฉลยว่า Hello kitty คิดเป็นสัดส่วนรายได้ไม่เกิน 5%ของรายได้ทั้งหมด
คำถาม ถ้ากระแสเศรษฐกิจดี ส่งผลต่อเราอย่างไร
คุณอัญตอบว่า productของเราเริ่มต้นจากราคาหมื่นต้นๆ ถ้าเศรษฐกิจดี เราได้ผลบวกด้วย
3.SAWAD
Q1 งบการเงินถูกปรับปรุง เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงทุกไตรมาส
งบการเงินQ1 17 สูงขึ้น 800 ลบ (ย้ายรายได้จากQ4 16 มา)
แต่ Q1 18 ไม่มีการย้ายรายได้จาก Q4 17 มาเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี ทำให้รายได้Q1 18 เติบโตน้อย
เป้ารายได้ ในการปล่อยสินเชื่อแบบมีหลักประกันโต 20-30% ในปีนี้
เมื่อportโตขึ้น รายได้เราก็จะตามมาเอง
ทิศทางของyield หมายถึงรายได้ดอกเบี้ยของปีนี้ เรารับรู้รายได้จากการปล่อยสินเชื่อปีที่แล้ว
Yieldจะต่ำกว่าปกติ ได้yieldประมาณ 19-21% ของเดิมจะสูงกว่านี้
ตอนนี้ทยอยรับรู้รายได้ปีนี้ เมื่อเราวางโครงสร้างเสร็จแล้ว Net Yield ประมาณ 23%
อาจต้องใช้เวลานิดนึง ถึงจะเห็นทิศทางYieldที่ดีขึ้น
ส่วน NPL ที่สูงขึ้นในQ1 18 เพราะลูกค้า SMEหนึ่งรายมาชำระล่าช้า ปกติSMEเป็นสัดส่วน10%
ซึ่งตอนนี้ลูกค้ารายนี้มาชำระเรียบร้อย
ส่วนที่ตั้งสำรองไปในQ1 ก็จะบวกกลับมาในQ2 18
เรามีการออกหุ้นกู้ เพื่อสามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น
ต้นทุนการรับฝากจะถูกกว่ารายได้จากการกู้เงิน
ตอนนี้ DE ratio = 2เท่า มีโอกาสปล่อยกู้ได้อีก
4. JMT
คำถาม Growth Q1 เป็นอย่างไร แนวโน้มครึ่งปีหลังจะดีต่อเนื่องไหม
คุณปิยะอธิบายถึงผลประกอบการดังนี้
1.ปี2017 Y-Y growth 47% แต่เนื่องจากการปรับเปลี่ยนการรับรู้รายได้เพิ่มเป็น 12 ปี
ทำให้รับรู้รายได้เข้ามาเร็วขึ้นในปีนี้ 15 ลบ
2. เพิ่มรายได้จากหนี้ที่มีหลักประกัน ปีที่แล้วส่วนนี้ช่วยได้ 3% ปีนี้จะรุกมากขึ้น จะcontribute 20%
3.Focus ค่าใช้จ่ายโดยการsynergy ระหว่างบริษัทในกลุ่ม และ คู่ค้าด้วย ปี 2021 ตั้งเป้ากำไร 1,000 ลบ
ตอนนี้กำไร 400 ลบ เกิดจาก หนี้มีหลักประกันที่โตเรื่อยๆ วิธีการรับรู้รายได้จากcapital gainเป็นหลัก
โดยขายบ้านในมือภายใน 5.5 ปี ตามกฎของแบงค์ชาติ และเอาส่วนกำไรมารับรู้รายได้
ถ้าขายไม่ทัน 5.5ปี บริษัท J ซึ่งเป็นบริษัทลูกของJMARTสามารถรับซื้อได้ในราคาทุนในปีหน้า
ปีนี้ หนี้รายย่อย ถ้าตลาดบ้านโตในสัดส่วนนี้ หนี้หลักประกันจะเพิ่มเป็น 50%ของportทั้งหมด
ส่วนธุรกิจประกันภัย เราไปถือใน ฟิลิบป์ประกันภัย และเปลี่ยนชื่อเป็น J Insurance ซึ่งต่อยอดกับ JMART
เรามีbig dataของฐานลูกค้า 7 ล้านคน ทำอย่างไรให้ธุรกิจมีเสน่ห์มากขึ้น
โดยรวมธุรกิจนี้ J insurance ยังไม่เกิดดอกผล
ส่วนที่ไปต่างประเทศ คือประเทศกัมพูชา เราทำธุรกิจตามหนี้เจ้าเดียว โดยมีpartnerจากไทย
ทำรายได้แค่ 1% ของรายได้ทั้งหมด แต่ NPL 1% ขยับเป็น 7% ซึ่งเราต้องปรับจากknowhowที่นี่
เพื่อตามเก็บหนี้ให้ดีขึ้น ส่วนที่เวียดนามได้ดีลจากstandard chartered อยากให้เราไปซื้อหนี้ธุรกิจFinance
ที่เวียดนาม โดยจะเดินทางไปในวันที่ 29 พค 18
เมื่อสองปีก่อน เราก็ซื้อหนี้มาจาก standard charteredมาก็ได้กำไรดี
ขอขอบคุณ วิทยากรทุกท่านที่ให้ข้อมูลของแต่ละบริษัท รวมถึง พิธีกร อ เสน่ห์ และ หมอ เค มากครับ
อ ไพบูลย์ แจ้งกำหนดการ MoneyTalkคราวหน้า วันอาทิตย์ที่ 10 มิย 2018
ช่วงที่1 หุ้นเด่นต้องจับตา
1. คุณ ปรียนาถ สุนทรวาทะ CEO BGRIM
2. คุณ ภัคพล เลี่ยวไพรัตน์ CFO TPIPP
3. คุณ สุวิทย์ ยอดจรัส CEO AUCT
4. คุณ ทรงพล ชัญมาตรกิจ CEO TVD
หัวข้อสอง ทำไมวิกฤตถึงจะมา และ หากวิกฤตมา จะต้องทำอย่างไร
1. คุณ ปริญญ์ พานิชภักดิ์ บล CLSA
2. คุณ สมจินต์ ศรไพศาล บลจ ทหารไทย
3. คุณ มนตรี ศรไพศาล บล MBKET
4. ดร นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ผู้เชี่ยวชาญการลงทุน
ส่วนเดือนกรกฏาคม ก็มีงานMoneyTalk ดังนี้
วันที่ 1 กค มีงาน MoneyTalk@MAI จัดที่ Centara @ Central World และ วันที่ 14 กค MoneyTalk@SET
เริ่มเข้าเนื้อหาสัมมนา
หัวข้อแรก หุ้นเด่นต้องจับตา
1.คุณ อัญรัตน์ พรประกฤต CEO Jubilee
2.คุณ ทรงวิทย์ ฐิติปุณญา CEO ASAP
3.คุณ ปิยะ พงษ์อัชณา Director JMT
4.คุณ ธิดา แก้วบุตตา ผู้บริหารฝ่ายกลยุทธ์SAWAD
อ เสน่ห์ บอกว่าหุ้นเด่นเหล่านี้ต้องจับตา เป็นหุ้นที่ใกล้ชิดกับรายการ ส่วนใหญ่เป็นสปอนเซอร์
วันนี้ท่านผู้ชมจะได้ฟังเรื่องราว และ พัฒนาการ หรือ แผนการของบริษัททั้ง4บริษัท
หมอเค เสริมว่า ตอนนี้สภาวะตลาดหุ้นได้แบ่งนักลงทุนออกเป็นสองกลุ่ม
กลุ่มแรก เก็บเงินสด ( หมายถึงขายหุ้นออกไปหมดแล้ว )
กลุ่มที่สอง ติดดอยอยู่ข้างบน กลุ่มนี้จะเปลี่ยนการลงทุนเป็นแบบอื่นได้ไหม
ให้ผู้ชมได้ฟังและคิด แล้ววิเคราะห์เพื่อไปตัดสินใจในการลงทุนต่อไป
เริ่มจากการเข้าใจธุรกิจก่อน คุยทีละบริษัท และ รับทราบผลประกอบการของธุรกิจ
1 .ASAP
คำถาม หมอเคเกริ่นก่อนว่า บริษัท ASAP มาขึ้นเวทีครั้งแรก อยากให้ASAPแนะนำธุรกิจก่อน
เราทำธุรกิจรถเช่า ประเภทอะไรบ้าง เหมือนหรือแตกต่างจากธุรกิจคู่แข่งอย่างไร
คุณ ทรงวิทย์ เล่าว่า บริษัทASAPทำธุรกิจให้เช่ารถ
บริษัทเข้าตลาดหลักทรัพย์มาปีกว่า โดยบริษัทเริ่มจากให้เช่าระยะยาวก่อนเมื่อ 11 ปีก่อน
ในอดีตการลงทุนเครื่องจักรต้องใช้เงินทุนมาก ปัจจุบันต้องเปลี่ยนแปลง ทั้งหน่วยงานเอกชน
และ หน่วยงานราชการ ก็เปลี่ยนการซื้อเป็นการเช่า
ตอนนี้เรามีให้เช่ารถระยะสั้นที่สนามบินที่AOTบริหารทั้ง7แห่งในไทย ใช้ชื่อ ASAP
บางที แตกเป็นการให้เช่าระยะสั้น ใช้ชื่อ asap GO และสามารถไปคืนต่างสถานที่ได้
มีโปรแกรมที่จะคำนวณระยะทาง ค่าใช้จ่ายอยู่ใน smart phone ต่อมาบริษัทจะมีแผนเปิดแฟรนไชส์ให้เช่ารถ
สมัยก่อน ผมเป็นDealer แบรนด์ Nissan ต่อมาทำDealer แบรนด์Toyota ในกรุงเทพ
ตอนนี้สัดส่วนPortfolio 90% เป็นการเช่าระยะยาว อีก 10%เป็นการเช่าระยะสั้น
ลูกค้าหลัก เป็นหน่วยงานเอกชน 80% ที่เหลือเป็นราชการ 20%
บริษัทเราพึ่งเข้าตลาดมา ขยายรถมากกว่าคู่แข่ง เราไม่ได้พึ่งเติบโตตอนเข้าตลาดหลักทรัพย์
แต่เราเติบโตมาตั้งแต่5ปีก่อน คิดเป็นเติบโตปีละ 20กว่า%
ต้นทุนต่อหน่วยในการเช่าดีกว่าซื้อแน่นอน ทำให้เราเสนอให้กับเอกชนเช่ารถแทน
คำถาม เคยได้ยินว่า ASAP มากับtrendของโลก ช่วยอธิบายให้ผู้ชมฟังได้ไหมครับ
คุณทรงวิทย์ตอบว่า เป็นเทรนของโลกนี้จริงๆ หลายองค์กรคิดได้เองโดยไม่ต้องชี้นำ
นักท่องเที่ยว ครึ่งนึง ที่มาเอง ก็มีการbookingการเช่ารถมาล่วงหน้า โดยมีใบขับขี่สากล
คนที่ขับพวงมาลัยซ้ายมาไทย ก็สามารถปรับตัวได้ในที่สุด ไม่น่าจะมีปัญหา
คำถาม มีการตัดราคาจากคู่แข่งใช่ไหม ลูกค้ามาจากการแย่งลูกค้าเจ้าอื่นใช่ไหม
ปกติมี retention rate กี่% เกิดอะไรขึ้นถ้าเช่า5ปี แล้ว ลูกค้ายกเลิกสัญญาก่อน
คุณทรงวิทย์ อ้างถึงมือถือ สมัยก่อนค่าโทรคิดเป็นนาทีละ3-30 บาท เหมือนจ่ายค่าโทรไปเมืองนอก
ทุกธุรกิจ price warเป็นเรื่องปกติ
จริงๆลูกค้าส่วนใหญ่ที่เข้ามาเป็นลูกค้าใหม่ เรามีportfolio หมื่นกว่าคัน โดย 70-80%เป็นลูกค้าใหม่
สัญญามีตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป แต่ที่เหมาะสมคือสัญญา 4 ปี retention rate 80%กว่าๆ
เป็นการแข่งขันเรื่องการให้บริการมากกว่าเรื่องราคา
ลูกค้าประเภทองค์กร 80% มาจากธุรกิจ E-commerceซึ่งมาแรงมาก เช่น ค้าปลีก
เรามีทุกแบรนด์ แต่แบรนด์หลักเป็น Toyota ในแง่การจัดการบริหาร และ ต้นทุนเราทำได้ดีกว่าคู่แข่ง
คำถาม บริษัทแข่งขันกับ AVIS หรือ แบรนด์ต่างประเทศอย่างไร ความโดดเด่นของASAPคือเป็นผู้เล่นที่ขยายfleetรถ
จำนวนมากอย่างรวดเร็วกว่าคู่แข่งมากๆ ASAPมองเห็นโอกาสอะไรไหม
กลัวไหมว่าการขยายมากๆจะเกิดoversupplyไหม
คุณทรงวิทย์ตอบว่า แบรนด์เราเริ่มเป็นที่รู้จักมากขึ้น เป็นการจัดการเรื่อง product
Challengeกับลูกค้าว่า ถ้าลูกค้าเอารถไปใช้ แล้ว mile เกิน 50,000 ให้ใช้ฟรี
ตอนนี้เรามีfleetรถ 10,000 กว่าคัน เราสามารถดึงรถมีไมล์เกินห้าหมื่นไมล์ออกและ นำรถไปทดแทนได้
ปกติเจ้าอื่น จะต้องใช้ให้คุ้มก่อน เช่น สี่ปี ตัดค่าเสื่อมหมดแล้วค่อยเอาไปขาย แต่เราไม่ได้คำนึงถึงค่าเสื่อมในการให้บริการ
Partner เรามีแค่ Toyota เป็นหลัก ส่วนยี่ห้ออื่น เราก็ได้ราคาพิเศษ เช่นรถยุโรปซื้อทีละสิบคัน ได้ราคาดี
ส่วนเรื่องการประกันภัย คือ บริษัทเมืองไทยประกันภัย และ แอกซ่าประกันภัย ก็ดูแลให้เรา
AOTมีสนามบิน 7 ที่ ที่เราให้บริการอยู่ และเขาเริ่มมีการขยายสนามบินออกไปอีก
2 Jubilee
ถาม เราเจอคุณอัญทุกปี อยากให้คุณอัญupdateว่า 1 ปีที่ผ่านมา ตั้งแต่ Q2 17 – Q1 18
ผลการดำเนินงานดีมาตลอด ทั้งที่มีแต่คนบอกว่า เศรษฐกิจไม่ดี ช่วยอธิบายว่าดีจากอะไร
คุณอัญตอบว่า เรามีการนำข้อมูลมาบริหารจัดการ เราเก็บข้อมูลจาก 125 สาขาทั่วประเทศ
นำข้อมูลเหล่านั้นมาพัฒนาทุกส่วนขององค์กร
เช่น ข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ไหนที่ลูกค้าชอบ
เรามีนวัตกรรม เช่น Celebrity of Love
จี้เพชรหนึ่งแบบ ใส่ได้สองแบบ ตัวอย่างเช่น จี้เพชรราคา 22,900 บาท ใส่ได้สองรูปแบบ
เราจะเพิ่มvalue added ให้กับ product ได้อย่างไร
แหล่งผลิตของเพชรมาจากเบลเยี่ยม ซึ่งเป็นแหล่งผลิตเพชรที่ดีที่สุดของโลก
บริษัททำงานร่วมกับบริษัทญี่ปุ่นที่มีนวัตกรรม และ มี value added
อีกส่วนคือการสร้างความพึงพอใจให้ลูกค้า ลูกค้าสามารถfeed back ให้เราอย่างreal time
การทำทั้งหลายภาคส่วน รวมถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างขององค์กร เราต้องกระชับเข้ามา
ให้การบริการให้ทันท่วงที เราต้องมองทุกรายละเอียดที่สำคัญ แก้ไขกลยุทธ์เพื่อตอบโจทย์ของลูกค้า
ปัจจุบัน บริษัททำเครื่องประดับ เราแก้ไขภายในองค์กร
ตลาดเครื่องประดับเพชร ภายในประเทศและต่างประเทศยังเติบโต
มีdemandเข้ามามากกว่าsupply แหล่งข่าวจากเดอ เบียร์ บอกว่า จีนมีความชอบเครื่องประดับเพชรมากขึ้น
สมัยก่อน คนรุ่นนั้นคิดว่าเป็นการลงทุน แต่จากการวิจัย คนจีนรุ่น millioniam
การใส่เครื่องประดับจะบ่งบอกตัวเขาเอง ซึ่งล้อตามเทรนของอเมริกา
ตอนนี้นักท่องเที่ยวจีนก็มาซื้อเครื่องประดับ ซึ่งอยู่ในส่วน 5%ของทั้งหมด ที่เหลือ 95% เป็นคนในประเทศมาซื้อ
Sparking club มีสมาชิก140,000 กว่าราย มีการซื้อซ้ำจากสมาชิกเก่าประมาณ 60% ซื้อซ้ำทุกสองปี
และ อีก 40% เป็นการซื้อใหม่จากคนไทยและต่างชาติ
ตลาดWedding (งานแต่งงาน) ปีนี้มีการแต่งงานมากกว่าทุกปี แหวนเพชรถือเป็นสิ่งที่ต้องซื้อก็เติบโตไปด้วย
ถาม ส่วนตลาดออนไลน์ เราสามารถเปิดตลาดในออนไลน์แทนการเปิดshopได้ไหม
คุณอัญตอบว่า ในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าจะเติบโตจากตลาดออนไลน์
แต่ตอนนี้การซื้อขายเครื่องประดับต้องเกิดจากการเข้าไปลองสวมดูก่อนตัดสินใจซื้อที่ร้าน
ต่อไปช่องทางค้าขายของเราจะเป็น omi-channel ( online + offline )
หมอเคถามว่าสัดส่วนในการซื้อในส่วน wedding กี่%
ตอบว่า 30% จากงาน wedding แต่อีก 70% เป็นการซื้อทั่วไป
ราคาเพชรเติบโตมาก จากช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาจากปลายปี 2017 demandเพิ่มมากกว่าsupply
อ เสน่ห์ บอกว่า นาฬิกาใส่กันน้อยลง เพราะสามารถดูเวลาได้จากsmartphone
โอกาสที่เพชรจะเจอแบบนาฬิกาบ้างไหม
คุณอัญตอบว่า กลุ่มMillionaim สำหรับเครื่องประดับเพชรมีโอกาสเติบโตมากขึ้น
แต่เราก็เพิ่มนวัตกรรมเข้าไปทำให้ใส่ได้หลายรูปแบบ
Positioning ด้านprice เป็นแบบ Best Value ซึ่งแหล่งเพชรมาจากแหล่งดีที่สุดในระดับโลก
ต้นทุนในการบริหารจัดการต่ำกว่า รวมถึงเพิ่มนวัตกรรมเข้าไป ทำให้ลูกค้าได้ Best Value
เรามาต่อเรื่องหนี้สิน จากการปล่อยหนี้
3 SAWAD
หมอเคบอกว่าราคาลงมาเยอะ ที่ผ่านมากำไรเติบโตทุกไตรมาส
แต่ปลายปีที่แล้วกำไรเริ่มนิ่งมาจากการปรับโครงสร้างองค์กร
คุณธิดาตอบว่า การปรับโครงสร้างของบริษัท แตกต่างจากJubilee
ต้นปีที่แล้ว SAWADลงทุนในBFIT ซึ่งมีlicense บง (บริษัทเงินทุน) และมีกฏเกณฑ์การปล่อยกู้ที่ชัดเจน
เราต้องปรับตัวตาม ในฐานะผู้ถือหุ้นBFIT โดยSAWAD เปลี่ยนเป็น Holding company
ในช่วงที่ปรับโครงสร้าง สิ่งที่ได้ คือ กฎหมายใหม่
ปกติคนทำสินเชื่อ ใครๆก็ได้ ไม่จำเป็นต้องlicense ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
บริษัทจำกัด และ บริษัททำธุรกิจพาณิชย์ ก็ปฏิบัติตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
ส่วนนึงของบริษัทSAWADเป็น Non bank คือ เงินสดทันใจ เป็นการกู้ยืมแบบไม่มีหลักประกัน
เราได้มีโอกาสปล่อยสินเชื่อภายใต้ พรบ สถาบันการเงิน
บริษัทลูกที่ซื้อมาทำการปล่อยกู้มากขึ้น
พรบ สถาบันการเงินทำให้เราปล่อยสินเชื่อได้ดอกเบี้ยสูงกว่า15%แต่ไม่เกิน 36%
เวลาปฏิบัติตามกฎหมาย ขายทรัพย์สินจากSAWADให้บริษัทลูก BFIT
คำถาม ปัจจุบัน หน้าที่ของบริษัทSAWAD และBFIT แตกต่างกันที่productอย่างไร
คุณธิดาตอบว่า BFIT รับจำนำทะเบียนรถที่มีหลักประกัน และมูลค่าต่ำกว่า 10 ลบ
ส่วน SAWADจะปล่อยสินเชื่อไม่มีหลักประกัน เป็นสินทรัพย์อื่น หรือ ทะเบียนรถที่มีหลักประกัน
มีมูลค่ามากกว่า 10 ล้านบาท
BFITรับเงินฝากได้ ยกเว้นบัญชี ออมทรัพย์ และ ประจำ เช่น ธุรกิจเงินฝากเริ่มจาก 1 ล้านบาท
ส่วนดอกเบี้ยพิเศษ เริ่มต้นที่ 5 ล้านบาท
ระบบถูกปรับเรียบร้อย เราสื่อสารกับสาขาทั้ง 2,500 สาขาเรียบร้อย
ตอนนี้ รายได้ 50% มาจากรถกระบะ ,15% รถพ่วง ,25% มอเตอร์ไซต์ และที่เหลือเป็นสินทรัพย์อื่นๆ
ตอนนี้มีแผนขยายสาขาอีก 200-300 สาขา เป้าในอนาคตคือ 3,500 สาขา
ถามว่า บริษัทเห็นมีทิศทางในการตัดราคากันหรือยัง
คุณธิดาตอบว่า เร็วๆนี้ คู่แข่งมีpromotionลดราคาลงมาในช่วงQ2
ส่วนใหญ่มุ่งไปหาลูกค้าที่หลักฐานในการกู้ มีรายได้เป็นหลักแหล่งมากกว่า มีเครดิตบูโร
แต่เราเน้น assetที่มาค้ำประกันคุ้มค่าในการปล่อยกู้ไหม มากกว่าดูที่รายได้ของผู้กู้
การแข่งขันแบ่งกลุ่มกันชัดเจน เราทำNano financeด้วย แต่สัดส่วนไม่ค่อยเยอะ
ถาม ยอดขายรถมีแนวโน้มลดลงมีผลกระทบต่อบริษัทหรือไม่
คุณธิดาตอบว่า ตลาดของเรา คือต้องมีรถเรียบร้อยก่อน ผ่านกระบวนการผ่อนกับธนาคารมาเรียบร้อย
ถ้าเดือดร้อนเรื่องเงิน จึงมาจำนำกับเรา เลยไม่ได้ผลกระทบจากเหตุการณ์นี้
ถาม ที่ผ่านมามีข่าวทั้งกฏของแบงค์ชาติจะมาควบคุมดอกเบี้ยสินเชื่อเช่าซื้อ และเริ่มจะใช้ IFRS9 มันจะกระทบ
กับเรามากไหม และ เราจะรับมืออย่างไร coverageพอไหม
คุณธิดาตอบว่า จากข่าวกระทรวงการคลังจะเข้าควบคุมธุรกิจที่ไม่มีเจ้าภาพดูแล
กำลังร่างกฎหมาย พึ่งผ่านPublish hearing มา
ส่วนบริษัทเรามี regulator ดูแลแล้ว ดังนั้นจึงไม่ได้มีผลกระทบกับบริษัทเรา
การปล่อยสินเชื่อปล่อยผ่าน พรบ สถาบันการเงิน ปล่อยสินเชื่อดอกเบี้ยไม่เกิน36%
ซึ่งมากกว่า พรบ แพ่งและ พาณิชย์ ไม่เกิน15%
4 JMT บริษัทที่เชี่ยวชาญการตามหนี้
ถามคุณปิยะ ถึงทิศทางNPLในปัจจุบัน ทั้งมีหลักประกันและไม่มีหลักประกัน ตอนนี้เป็นอย่างไร เอื้อให้กับการซื้อหนี้มา
บริหารกับรับติดตามหนี้ของJMTอย่างไรบ้าง
ตอบจากข้อมูลแบงค์ชาติ สินเชื่อรายย่อย มี NPL ที่เติบโต โดยเฉพาะบัตรเครดิต และ personal loan
แต่จริงๆ หนี้สินเชื่อบ้านก็มีอัตราการเติบโตเพิ่มขึ้นด้วย
NPL 2%กว่า แต่NPLมีมูลค่าสูงขึ้นด้วยจากปริมาณที่ปล่อยกู้มากขึ้น
ทำให้เรามีโอกาสในการปล่อยกู้ในส่วนนี้ด้วย
ธุรกิจรับจ้างตามหนี้ 25,000 กว่าล้านบาท ลูกหนี้ 600,000 ราย คิดเป็น 10% ของรายได้
อีกธุรกิจซึ่งเป็นธุรกิจหลัก ซื้อหนี้มาบริหารที่ไม่มีหลักประกัน มูลค่า 130,000 ลบ
ลูกหนี้คิดเป็น 3ล้านคน ซึ่งอยู่ในบริษัท JMT
อีกธุรกิจ เริ่มซื้อ ตั้งแต่ช่วง เดือน เมย 18 คือ หนี้ที่มีหลักประกัน คือ สินเชื่อบ้าน คอนโด บ้านเดี่ยว ทาวเฮ้าส์
เราซื้อหนี้ที่เราถนัด เรามีคนตามหนี้ 2,600คน เราไม่ต้องการซื้อมาเพื่อไปฟ้องลูกค้า (เราต้องการเพื่อสร้างกำไร)
ถ้าทำอย่างนั้น คือ การฟ้อง จะทำให้ต้นทุนสูง เราน่าจะเป็นคนกลางในการตามหนี้
เราทดลองซื้อเข้ามา 200 ลบตอน เมย 17 พอเราเข้าไปคุยกับลูกค้า เราพลิกกลยุกต์ โดยไปซื้อส้มที่ปากคลองตลาด
มาเยี่ยมลูกค้า ปรากฏว่าลูกค้าจ่ายเงิน เราได้เงินคืน 9 ลบในระยะเวลา 7วัน ทุกอย่างต้องทดลอง
เราซื้อสะสมมาอีก 2,100 ลบ ตอนนี้เรามีหนี้แบบหลักประกัน 2,300 ลบ
หนี้ที่ไม่มีหลักประกันจะอยู่ที่ JMT Network Services
ส่วนหนี้ที่มีหลักประกันจะอยู่ที่ J Asset Management (JAM) ซึ่งเป็นลูก JMT
ปีนี้เราได้ตั้งงบที่จะซื้อหนี้ที่มีหลักประกัน 4,000 ลบ
และหนี้ที่ไม่มีหลักประกัน 1,000 ลบ
ตัวเลขปรับเพิ่มตามสถานการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสแรก
Jmart ถือหุ้น JMT 56%
เรามีJMart ขายมือถือ มีบริษัทลูก7 บริษัท
บริษัทที่มีsynergy คือมีการปล่อยสินเชื่อ ได้แก่ J Fintech , Singer etc
J venger พัฒนาplatform digitalให้กับบริษัทในกลุ่ม
เราวางplatformแบบ Digital มีการตามหนี้แบบ ใช้AI
หมอเคถามว่าใช้Robotตามหนี้ใช่ไหม
คุณปิยะตอบว่า เราเริ่มจากการแชตไปตามหนี้ก่อน เรากำลังเรียนรู้ หุ่นยนต์เก็บสถิติการถามตอบ
เพื่อให้platform แม่นยำ นี่คือการsynergy กับ Jmart
Singerมีnetwork และ JMT ก็ฝากsingerไปดูแลลูกค้าอีกที มีคนภาคสนาม หลายพันคน ไปช่วยตามหนี้ด้วย
เราใช้วิธีเข้าไปคุยกันถึงบ้าน ทำให้เราลดต้นทุนในการติดตามหนี้
หนี้จากsinger,Jmart มือถือ ซึ่งก็คือ JMT ซื้อหนี้จาก Jmart ซึ่งเป็นลูกค้ามือถือกว่าแสนกว่าราย
ทำอย่างไรที่สามารถแก้ปัญหาของลูกค้าได้
เราพัฒนา mobile application จ่ายดี
ผมอยู่มาตั้งแต่ก่อตั้ง เวลาตามหนี้สมัยก่อนไม่มีfax เวลาไปหา ลูกค้าไปแอบซ่อน
ไม่อยากเจอ อยากคุยโทรศัพท์ เราเลยพัฒนาmobile application จ่ายดี
เราสามารถเช็คคะแนนจากapplication จ่ายดีได้
ผมออกpromotionเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ใครจ่ายหนี้ JMT ได้รับคูปองลดราคามือถือเวลาไปซื้อด้วย
ลูกค้าติดต่อมาเป็นร้อยคน JMTได้รับอานิสงค์จากการsynergy
JMT มีอัตราการเติบโต 40%กว่า มาจากทรัพยากรบุคคลเป็นสิ่งมีค่าสุด ถึงเราพัฒนาplatform digital
ก็ต้องให้บุคลากรของเราไปทำอย่างอื่นในอนาคตได้ด้วย จาก platform ใหม่
ถาม ในธุรกิจติดตามหนี้ เข้าใจว่า นอกจากวัดกันที่ความคุ้มค่าในการซื้อหนี้แล้ว อีกประเด็นหนึ่ง
คือ เหมือน 2-3ปีที่ผ่านมา เราทำsuccess rate สูงขึ้นเกิดจากอะไร ตัวอย่างเช่น หนี้100ล้าน
เก็บได้เท่าไหร่ในแต่ละปี ถ้าเก็บขึ้นได้ แสดงว่าเราเก่งขึ้นเรื่อยๆ
คุณปิยะตอบว่า เกิดจากคนเก็บกับลูกค้าที่จ่ายหนี้
ปี 2016 เราเก็บหนี้ได้จากกลุ่มคนที่มีหนี้ 3 ล้านบาท จาก 1,000 ลบ
ปีต่อมาเก็บได้เพิ่มอีก 800 ลบ
ลูกค้าที่เดินมาจ่ายเรา 250,000 คน
การทวงหนี้ โดยวันนี้ถ้าเขาไม่มีเงิน ยกตัวอย่างตอน
หนี้จากปี 2006 ปีนิ้คิดเป็น 12ปี ตอนนี้ลูกหนี้เหล่านี้ยังจ่ายหนี้ให้เราอยู่
เรามีวิธีคุยกับลูกค้าในแต่ละประเภท เช่น ล้มละลาย ตกงาน หายสาบสูญ ต้องทำอย่างไร
สิ่งที่คุยกับลูกค้าโดยไม่ใช้วิธีรุนแรง เวลาเขายืนขึ้นมาได้เชื่อไหมว่า
ลูกหนี้ 3 ล้านคนจากสัญญา 5-6 ล้านสัญญา หมายความ หนึ่งคนมีหนี้หลายสัญญา
ผมมองต่าง ลูกค้าโดยเริ่มจากบัตรเครดิต ไป สินเชื่อรถ ต่อไปคือสินเชื่อบ้าน
ตัวที่เราอยู่ได้ คือ พยายามช่วยให้เขารอด การเก็บหนี้คือการทำให้เขารอด บางคนอยู่ตั้งแต่เข้าตลาดใหม่
อายุ30ปี ตอนนี้อายุ42ปี ดอกเบี้ยเรายังคิดเท่าเดิม สถานะเปลี่ยน ส่วนใหญ่จะดีขึ้น จะกลับมาจ่าย
โครงสร้างเราเติบโตจากลูกค้าเก่า หนี้ ปี 2006 พอมาถึงปี 2011 เรา amortize หมดแล้ว ดังนั้น
ถ้าเราเก็บเงินมาได้เท่าไหร่ จะเป็นรายได้หรือกำไรทั้งหมด
ช่วงครึ่งหลัง ผลประกอบการ และ ทิศทางของบริษัทในอนาคต
1.Asap
ถามเรื่องผลการดำเนินงาน Q1เป็นที่พอใจไหม ทั้งปีจะโตราวๆนี้ไหม
ปีนี้ตั้งเป้ารถเช่าโตกี่คัน ผ่านมาครึ่งปี ตามเป้าไหม
คุณทรงวิทย์ตอบ ผลการดำเนินการ Q1 2018 เรามีการเติบโตของรายได้ Q-Q 25% เป็นไปตามคาดการณ์
อาจไม่มากในแง่กำไร เรามีการลงทุนด้านบุคลากร ผู้บริหาร และ ลงทุนเรื่องระบบ
เราคาดการณ์การเติบโตในปีนี้ โดยปรับเป้าเพิ่มเป็น 30-40%
เรารับรู้รายได้ค่อนข้างเร็ว เช่น ปล่อยรถเช่า lotใหญ่ จะรับรู้กำไรทันที
แต่ถ้าเป็นระยะยาว ก็รับรู้รายได้ตามสัญญา
ถาม ตอนนี้ราคาน้ำมันแพง มีผลกระทบต่อการเช่ารถหรือไม่
คุณทรงวิทย์ตอบว่า รายได้หลักมาจากภาคธุรกิจ องค์กรเช่าเพื่อขยายธุรกิจ
ดังนั้นราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นไม่ใช่ประเด็นหลักในการทำธุรกิจ
แต่เพียงหาทางลดต้นทุนเท่านั้น ตอนสมัยน้ำมันขึ้นไป 40 บาทต่อลิตร ยอดการเช่าเมื่อ 8 ปีที่แล้วก็ไม่โดนกระทบ
รวมถึง เทคโนโลยีของรถในปัจจุบันทำให้ประหยัดน้ำมันมากขึ้น เราก็เตรียมรถ Eco car มา support
ส่วนผู้บริหาร ก็รถไฮบริค หรือ EV มาsupport
รถเช่าในระยะยาว( long term) น่าจะโตต่อเนื่องไปอีกนาน
ไทยเคยบริโภครถยนต์เกิน 1 ล้านคันในช่วงที่ผ่านมา ตอนนี้ยอดขายรถของไทยถดถอยมาอยู่4แสนคัน
และค่อยๆฟื้นขึ้น ช่วงสิ้นQ1 18 มีการเติบโตของรถทุกค่าย ตัวอย่างเช่น โตโยต้าโต 10%
ดังนั้นจึงมองว่าตลาดรถยนต์ในปีนี้มีการบริโภคมากขึ้นถึง9แสนคัน และ มีโอกาสแตะหนึ่งล้านคันได้อีกครั้ง
พฤติกรรมเปลี่ยนการเช่ารถก็มีมากขึ้น ทำให้เรามีโอกาสเติบโต 30-40%ต่อปี
Trend รถเช่าปลายทาง
การเดินทางของผู้บริหารและเจ้าหน้าที่ในอนาคต ต่อไปก็ไม่ได้เอารถวิ่งไปในต่างจังหวัด แต่ขึ้นเครื่องบินไปแทน
ปลายทางแต่ละจุด ต้องมีรถไว้ใช้บริการ ดังนั้นมีโอกาสโตขึ้นอย่างมาก รวมถึงนักท่องเที่ยวที่มาไทยเพิ่มขึ้น
อีกธุรกิจ azap GO ซึ่งมีแสดงไว้ที่หน้าห้องสัมมนา ถือเป็น car sharingส่วนนึง
ตอนครบสัญญาเช่ารถ เรามีจำหน่ายรถผ่านการประมูลทาง online
เดือนหน้า มิย เปิด ASAP Autopark franchise ต่อไปเราจะเปิดแฟรนไชส์การเช่ารถขึ้นมา
อีก3-5ปีข้างหน้า ธุรกิจเราจะครบวงจร ได้แก่ การให้เช่าระยะยาว car sharing ขายรถมือสอง เป็นต้น
2. Jubilee
คำถาม ผลการดำเนินงาน Q1เป็นอย่างไร เข้าใจว่ากลับมาเติบโตดีอีกครั้ง หลังจากนิ่งๆมาสักพัก
เกิดอะไรขึ้น และ GPM ก็new highอีก เพราะอะไร เราจะmaintainการเติบโตไปตลอดทั้งปีได้ไหม
คุณอัญตอบว่า ผลการดำเนินงานของQ1 ค่อนข้างดีทั้งรายได้โต 8%และกำไรโต 41% SSS growth ก็โต 7%
เราเน้นที่สาขา 125 สาขา เรามุ่งเน้นทำยอดขายจากสาขาเดิม ควบคุมค่าใช้จ่ายสาขาได้ดีขึ้น
การเพิ่ม value added และ สินค้ามีนวัตกรรม ก็มีส่วนทำให้ยอดขายดีขึ้น
เราตั้งเป้า sales growth 10% ( SSS growth 8-9% และ ที่เหลือมาจากการขยายสาขาเพิ่มเติมในQ3,Q4 2018)
สัดส่วนรายได้ 1H คิดเป็น 40-50% , 2H รายได้ 50%กว่า ของรายได้ทั้งหมด
ปัจจัยในการเปิดสาขาเพิ่ม
1 ถ้าlocationเดิม เราrenovateสาขาเดิม
2 สาขาใหม่ มีmallใหม่ๆมาเปิด ก็ทำให้เราเปิดสาขาใหม่
ปีนี้ จะเปิดเพิ่มในแบรนด์ Jubilee 5 สาขา และอีกแบรนด์ Forevermark 3-5 สาขา
125 สาขาที่มี แบ่งออกเป็น 46 สาขาอยู่ในกรุงเทพ ที่เหลือ อยู่ที่ต่างจังหวัดเกือบ80สาขา
ดังนั้นเรามีโอกาสขยายสาขาในต่างจังหวัด
ยอดขายในต่างจังหวัด 56% และมีการขยาย SSS growth ดีกว่าสาขาในกรุงเทพ
Q1 เราขายจำนวนชิ้นมากขึ้น และ ชิ้นใหญ่ขึ้น
เราพยายามขายปริมาณมากขึ้น และ ชิ้นใหญ่ขึ้น
เวลาห้างขยายไปต่างจังหวัด เราก็มีโอกาสขยายตามห้างไปด้วย
ทำให้มีโอกาสขยายสาขามากขึ้น และ เพิ่มยอดขายได้
ลูกค้าในต่างจังหวัดส่วนใหญ่ซื้อเป็นเงินสด ช่วงหลังๆเริ่มมีการใช้บัตรเครดิตขึ้นมาบ้าง
ดังนั้นพฤติกรรมcashlessในต่างจังหวัดยังมีน้อย แต่ก็มีโอกาสโตขึ้น
ตอนนี้ทางธนาคารก็เริ่มโปรโมตใช้QR code แต่บัตรเครดิตน่าจะโตมากกว่าเพราะสามารถสะสมแต้มได้
ส่วนสินค้า Hello Kitty สามารถrecruitลูกค้าใหม่ๆเข้ามา ปีนี้เราจะมีสินค้ามาsurprise
มีนวัตกรรมใหม่ๆเข้ามาทุกเดือนในช่วงครึ่งปีหลัง
คำถาม สัดส่วนรายได้จากHello Kitty คิดเป็นกี่%ของรายได้ทั้งหมด
คุณอัญเฉลยว่า Hello kitty คิดเป็นสัดส่วนรายได้ไม่เกิน 5%ของรายได้ทั้งหมด
คำถาม ถ้ากระแสเศรษฐกิจดี ส่งผลต่อเราอย่างไร
คุณอัญตอบว่า productของเราเริ่มต้นจากราคาหมื่นต้นๆ ถ้าเศรษฐกิจดี เราได้ผลบวกด้วย
3.SAWAD
Q1 งบการเงินถูกปรับปรุง เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีการปรับปรุงทุกไตรมาส
งบการเงินQ1 17 สูงขึ้น 800 ลบ (ย้ายรายได้จากQ4 16 มา)
แต่ Q1 18 ไม่มีการย้ายรายได้จาก Q4 17 มาเพื่อให้ถูกต้องตามหลักการบัญชี ทำให้รายได้Q1 18 เติบโตน้อย
เป้ารายได้ ในการปล่อยสินเชื่อแบบมีหลักประกันโต 20-30% ในปีนี้
เมื่อportโตขึ้น รายได้เราก็จะตามมาเอง
ทิศทางของyield หมายถึงรายได้ดอกเบี้ยของปีนี้ เรารับรู้รายได้จากการปล่อยสินเชื่อปีที่แล้ว
Yieldจะต่ำกว่าปกติ ได้yieldประมาณ 19-21% ของเดิมจะสูงกว่านี้
ตอนนี้ทยอยรับรู้รายได้ปีนี้ เมื่อเราวางโครงสร้างเสร็จแล้ว Net Yield ประมาณ 23%
อาจต้องใช้เวลานิดนึง ถึงจะเห็นทิศทางYieldที่ดีขึ้น
ส่วน NPL ที่สูงขึ้นในQ1 18 เพราะลูกค้า SMEหนึ่งรายมาชำระล่าช้า ปกติSMEเป็นสัดส่วน10%
ซึ่งตอนนี้ลูกค้ารายนี้มาชำระเรียบร้อย
ส่วนที่ตั้งสำรองไปในQ1 ก็จะบวกกลับมาในQ2 18
เรามีการออกหุ้นกู้ เพื่อสามารถปล่อยกู้ได้มากขึ้น
ต้นทุนการรับฝากจะถูกกว่ารายได้จากการกู้เงิน
ตอนนี้ DE ratio = 2เท่า มีโอกาสปล่อยกู้ได้อีก
4. JMT
คำถาม Growth Q1 เป็นอย่างไร แนวโน้มครึ่งปีหลังจะดีต่อเนื่องไหม
คุณปิยะอธิบายถึงผลประกอบการดังนี้
1.ปี2017 Y-Y growth 47% แต่เนื่องจากการปรับเปลี่ยนการรับรู้รายได้เพิ่มเป็น 12 ปี
ทำให้รับรู้รายได้เข้ามาเร็วขึ้นในปีนี้ 15 ลบ
2. เพิ่มรายได้จากหนี้ที่มีหลักประกัน ปีที่แล้วส่วนนี้ช่วยได้ 3% ปีนี้จะรุกมากขึ้น จะcontribute 20%
3.Focus ค่าใช้จ่ายโดยการsynergy ระหว่างบริษัทในกลุ่ม และ คู่ค้าด้วย ปี 2021 ตั้งเป้ากำไร 1,000 ลบ
ตอนนี้กำไร 400 ลบ เกิดจาก หนี้มีหลักประกันที่โตเรื่อยๆ วิธีการรับรู้รายได้จากcapital gainเป็นหลัก
โดยขายบ้านในมือภายใน 5.5 ปี ตามกฎของแบงค์ชาติ และเอาส่วนกำไรมารับรู้รายได้
ถ้าขายไม่ทัน 5.5ปี บริษัท J ซึ่งเป็นบริษัทลูกของJMARTสามารถรับซื้อได้ในราคาทุนในปีหน้า
ปีนี้ หนี้รายย่อย ถ้าตลาดบ้านโตในสัดส่วนนี้ หนี้หลักประกันจะเพิ่มเป็น 50%ของportทั้งหมด
ส่วนธุรกิจประกันภัย เราไปถือใน ฟิลิบป์ประกันภัย และเปลี่ยนชื่อเป็น J Insurance ซึ่งต่อยอดกับ JMART
เรามีbig dataของฐานลูกค้า 7 ล้านคน ทำอย่างไรให้ธุรกิจมีเสน่ห์มากขึ้น
โดยรวมธุรกิจนี้ J insurance ยังไม่เกิดดอกผล
ส่วนที่ไปต่างประเทศ คือประเทศกัมพูชา เราทำธุรกิจตามหนี้เจ้าเดียว โดยมีpartnerจากไทย
ทำรายได้แค่ 1% ของรายได้ทั้งหมด แต่ NPL 1% ขยับเป็น 7% ซึ่งเราต้องปรับจากknowhowที่นี่
เพื่อตามเก็บหนี้ให้ดีขึ้น ส่วนที่เวียดนามได้ดีลจากstandard chartered อยากให้เราไปซื้อหนี้ธุรกิจFinance
ที่เวียดนาม โดยจะเดินทางไปในวันที่ 29 พค 18
เมื่อสองปีก่อน เราก็ซื้อหนี้มาจาก standard charteredมาก็ได้กำไรดี
ขอขอบคุณ วิทยากรทุกท่านที่ให้ข้อมูลของแต่ละบริษัท รวมถึง พิธีกร อ เสน่ห์ และ หมอ เค มากครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 139
สัมมนา จาก สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เรื่อง จะลงทุนอย่างไรในตลาด Bear Market
ถือเป็นการส่งมองตำแหน่งประธานสภาจาก คุณ ตู่ วรวรรณ มาเป็นคุณ ไพบูลย์ เป็นประธานสมัยที่2
คุณไพบูลย์ให้คำจำกัดความว่า Bull market คือตลาดที่ขึ้นมากกว่า20% และ Bear Marketคือตลาดช่วงที่ลงมากกว่า20% ตลาดที่พัฒนาแล้วจะผันผวนน้อยกว่าตลาดเกิดใหม่
สังเกตจากกราฟหุ้นไทยที่ตีสเกลแบบexponential ตลาดหุ้นไทยเริ่มผันผวนน้อยลงกว่าเมื่อก่อน
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นได้อยู่ในสภาพ Bear market ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจ ผลประกอบการ
Valuation , Fund Flow , อัตราแลกเปลี่ยน เมื่อวิเคราะห์แต่ละปัจจัยแล้ว
โอกาสที่หุ้นไทยอยู่ช่วงตลาดBear market น่าจะน้อยมาก
คุณตู่สรุปว่า โดยรวมๆตลาดน่าจะเป็นcorrectionมากกว่า ซึ่งที่ตลาดหุ้นตกหนักๆจะมีแค่สองช่วง
คือช่วงราชาเงินทุน และ ต้มยำกุ้งเท่านั้น
คุณ สมบัติ พูดต่อว่า ธรรมชาติของหุ้น คือ ผันผวน คาดการณ์ยาก
- มีความผันผวน ขึ้น ลงกว้างมาก และเป็นกิจวัตร
- มีปัจจัยมากมายมากระทบ
- ปัจจัยใดจะมีน้ำหนักมากขึ้นกับแต่ละสถานการณ์
- ค่าเฉลี่ยระยะยาว 5-10 ปี มักได้ผลตอบแทนสูง
- สถิติ43ปี average 12% plus dividend 4%
ส่วน ดร ภากร ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนใหม่ได้บอกว่า Q1ปีนี้กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ถึงแม้ต่างชาติขายออก แต่เนื่องจากmarket capเพิ่มขึ้น ดังนั้นสัดส่วนต่างชาติถือครองยังเท่าเดิมคือ 30%
คุณภากรได้ให้ข้อสังเกตว่า ตลาดเกิดใหม่ผันผวนกว่าตลาดพัฒนาแล้วเยอะ และ ระยะเวลาก็สั้นกว่าด้วย
Factorที่วัดว่าตลาดBear market วัดได้จากดัชนี3ตัว
1. Investor confident จากสภาตลาดทุนไทย
2. Investor sentiment from SET
3. Survey การทำแบบสอบถาม
ตอนนี้เรามีindex ใหม่คือ CLMV explosure index ที่มีบริษัทไทยที่ไปลงทุนในCLMV 30กว่าบริษัท
รวมถึง High dividend stock ซึ่งแสดงถึงหุ้นปันผลที่ให้เงินปันผลสูงในตลาด
ตอนนี้เฉลี่ยจ่ายอยู่ 3.1% ต่อปี
สุดท้ายเรามีบริษัทระดับโลกเรียกว่า Well being economy index
หมายถึงบริษัทที่น่าสนใจ เช่น AOT,Minor,BDMS,TU,Central Group
ซึ่งทั้งสามกลุ่มที่พูดถึง จะแสดงถึงความแข็งแกร่งของบริษัทในประเทศไทย
คุณไพบูลย์และคุณสมบัติได้เสริมว่าบริษัทที่น่าสนใจลงทุนเสริม ดร ภากร
จะอยู่ในกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับบริโภคภายในประเทศ เช่นค้าปลีก รวมถึง
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้ลงทุนในบริษัทลูกที่ทำFin tech
คุณสมบัติเสริมเพิ่มที่น่าสนใจได้แก่
Defensive stock , property fund / RIETs และแนะrebalancingสม่ำเสมอ
เมื่อตลาดcorrect , cashควรมีไว้ส่วนนึงไม่ว่าวิกฤตเล็ก หรือ ใหญ่
ควรลงทุนในบริษัทมากกว่าหนึ่งบริษัท ให้กระจายหลายธุรกิจสัก5ธุรกิจ และ หลายสินทรัพย์
ช่วงนี้น่าลงหุ้นbluechip เพราะต่างชาติตอนเข้าครั้งหน้า หุ้นกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน
ทยอยลงทุน และ ถือยาว
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้ครับ
ถือเป็นการส่งมองตำแหน่งประธานสภาจาก คุณ ตู่ วรวรรณ มาเป็นคุณ ไพบูลย์ เป็นประธานสมัยที่2
คุณไพบูลย์ให้คำจำกัดความว่า Bull market คือตลาดที่ขึ้นมากกว่า20% และ Bear Marketคือตลาดช่วงที่ลงมากกว่า20% ตลาดที่พัฒนาแล้วจะผันผวนน้อยกว่าตลาดเกิดใหม่
สังเกตจากกราฟหุ้นไทยที่ตีสเกลแบบexponential ตลาดหุ้นไทยเริ่มผันผวนน้อยลงกว่าเมื่อก่อน
ปัจจัยที่ทำให้หุ้นได้อยู่ในสภาพ Bear market ได้แก่ อัตราดอกเบี้ย ภาวะเศรษฐกิจ ผลประกอบการ
Valuation , Fund Flow , อัตราแลกเปลี่ยน เมื่อวิเคราะห์แต่ละปัจจัยแล้ว
โอกาสที่หุ้นไทยอยู่ช่วงตลาดBear market น่าจะน้อยมาก
คุณตู่สรุปว่า โดยรวมๆตลาดน่าจะเป็นcorrectionมากกว่า ซึ่งที่ตลาดหุ้นตกหนักๆจะมีแค่สองช่วง
คือช่วงราชาเงินทุน และ ต้มยำกุ้งเท่านั้น
คุณ สมบัติ พูดต่อว่า ธรรมชาติของหุ้น คือ ผันผวน คาดการณ์ยาก
- มีความผันผวน ขึ้น ลงกว้างมาก และเป็นกิจวัตร
- มีปัจจัยมากมายมากระทบ
- ปัจจัยใดจะมีน้ำหนักมากขึ้นกับแต่ละสถานการณ์
- ค่าเฉลี่ยระยะยาว 5-10 ปี มักได้ผลตอบแทนสูง
- สถิติ43ปี average 12% plus dividend 4%
ส่วน ดร ภากร ผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์คนใหม่ได้บอกว่า Q1ปีนี้กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์
ถึงแม้ต่างชาติขายออก แต่เนื่องจากmarket capเพิ่มขึ้น ดังนั้นสัดส่วนต่างชาติถือครองยังเท่าเดิมคือ 30%
คุณภากรได้ให้ข้อสังเกตว่า ตลาดเกิดใหม่ผันผวนกว่าตลาดพัฒนาแล้วเยอะ และ ระยะเวลาก็สั้นกว่าด้วย
Factorที่วัดว่าตลาดBear market วัดได้จากดัชนี3ตัว
1. Investor confident จากสภาตลาดทุนไทย
2. Investor sentiment from SET
3. Survey การทำแบบสอบถาม
ตอนนี้เรามีindex ใหม่คือ CLMV explosure index ที่มีบริษัทไทยที่ไปลงทุนในCLMV 30กว่าบริษัท
รวมถึง High dividend stock ซึ่งแสดงถึงหุ้นปันผลที่ให้เงินปันผลสูงในตลาด
ตอนนี้เฉลี่ยจ่ายอยู่ 3.1% ต่อปี
สุดท้ายเรามีบริษัทระดับโลกเรียกว่า Well being economy index
หมายถึงบริษัทที่น่าสนใจ เช่น AOT,Minor,BDMS,TU,Central Group
ซึ่งทั้งสามกลุ่มที่พูดถึง จะแสดงถึงความแข็งแกร่งของบริษัทในประเทศไทย
คุณไพบูลย์และคุณสมบัติได้เสริมว่าบริษัทที่น่าสนใจลงทุนเสริม ดร ภากร
จะอยู่ในกลุ่มที่ทำธุรกิจเกี่ยวกับบริโภคภายในประเทศ เช่นค้าปลีก รวมถึง
กลุ่มธนาคารพาณิชย์ซึ่งได้ลงทุนในบริษัทลูกที่ทำFin tech
คุณสมบัติเสริมเพิ่มที่น่าสนใจได้แก่
Defensive stock , property fund / RIETs และแนะrebalancingสม่ำเสมอ
เมื่อตลาดcorrect , cashควรมีไว้ส่วนนึงไม่ว่าวิกฤตเล็ก หรือ ใหญ่
ควรลงทุนในบริษัทมากกว่าหนึ่งบริษัท ให้กระจายหลายธุรกิจสัก5ธุรกิจ และ หลายสินทรัพย์
ช่วงนี้น่าลงหุ้นbluechip เพราะต่างชาติตอนเข้าครั้งหน้า หุ้นกลุ่มนี้จะขึ้นก่อน
ทยอยลงทุน และ ถือยาว
สุดท้ายขอขอบคุณวิทยากรทุกท่านที่มาให้ความรู้ครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 140
สัมมนา “วันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม” 16 กันยายน 2561
Funds talk: หุ้นเวียดนามผันผวนวิกฤตหรือโอกาส?
พร้อมเจาะลึกกองทุนไทยที่ลงทุนหุ้นเวียดนาม
วิทยากร
1. คุณ วิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัยพ์จัดการกองทุน CIMB-Principle ซึ่งได้เปิดกองทุนหุ้นเวียดนามไปเมื่อตค 60 คือ CIMB-VNEQ-A
2. คุณ พิกุล พิทยาอิสรกุล ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป จำกัด ซึ่งบริหารกองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม ( Vietnam private fund )
3. คุณ ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ หรือ คุณเผ่า ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด มี Jitta wealthที่ช่วยเลือกหุ้นเวียดนามลงทุน
4. คุณ กมลยศ สุขุมสุวรรณ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ แอสเซทพลัส ซึ่งเปิดกองทุนหุ้นที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม คือ ASP-VIET เมื่อ มกราคม 2561
พิธีกร : คุณ จิตติมา ทวาเรศ
เริ่มสัมมนา โดยคุณวิน ซึ่งแนะนำการลงทุน 3 อย่างคือ ทองคำ, หุ้นจีน และหุ้นเวียดนาม
ทำไมถึงมองว่าหุ้นเวียดนามจะดี เปรียบเทียบ Story ของประเทศไทยกับเวียดนาม เศรษฐกิจครึ่งปีแรกโต 7.08% ซึ่งถือว่าโตมากๆ สูงที่สุดใน ASEAN
แรงงานเวียดนามเก่ง ราคาไม่แพง คะแนนสอบสูงกว่าค่าเฉลี่ยของไทยทุกวิชา
อายุเฉลี่ยของคนไทย ประมาณ 37.2 ปี ส่วนเวียดนาม ประมาณ 30 ปี
ถึงแม้ GDP ของเวียดนามเป็นครึ่งนึงของไทย แต่ GDP growth ต่อปีของเวียดนามเฉลี่ย 6.7% เทียบกับไทย 4.5%
Urbanization ของเวียดนามแค่ 33.6% เทียบกับไทย 50.4%
เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนเวียดนามมี 4 อย่าง ได้แก่
Engine # 1 Foreign Direct Investment (FDI ) การลงทุนทางตรง
ปีที่แล้ว มีเงินเข้ามาประมาณ $ 35.9 Billion และ 1H18 $ 20.3 Billion
ปีนี้เงินเข้ามาแล้ว 600,000 กว่าล้านบาท ที่เข้ามาเยอะๆ คือญี่ปุ่น เกาหลี และ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นกรลงทุนในโรงงานผลิตจริงๆ เพื่อส่งออก นอกจากนี้ยังมี Canon , Foxconn , LG , Samsung
ค่าแรงราคาถูกที่พูดถึง ไม่ใช่ Blue collar แต่หมายถึงระดับ engineers ที่ไม่ค่อยแพง คนเวียดนาม upgrade ตัวเองให้มีคุณภาพสูงตลอดเวลา
การส่งออกโต 16% และได้ดุลการค้าด้วย
Engine # 2 Exports การส่งออก
ประเทศใน Emerging market ขาดดุลการค้าเป็นส่วนมาก แต่เวียดนามได้ดุลการค้า จากส่งออกสินค้าที่มีราคาถูกมากๆไปที่ อเมริกา จีน และ ยุโรป
สินค้าที่ส่งออกหลักๆคือ มือถือ เช่น ยี่ห้อ Samsung และผลิตหน้าจอของมือถือเช่น iPhone X ด้วย ส่วน iPhone รุ่นใหม่ยังไม่ได้เช็คข้อมูลว่ามีชิ้นส่วนที่ผลิตที่เวียดนามด้วยหรือไม่
Engine # 3 Tourism การท่องเที่ยว
ปีที่แล้วนักท่องเที่ยวเข้าเวียดนามประมาณ 10 ล้านคน
ปีนี้ 7 เดือนแรก เข้ามาแล้ว 9 ล้านคน และมี7 ล้านคนในนั้น เป็นคนเอเชีย โดยส่วนใหญ่เป็นคนจีนไปเวียดนามเยอะมาก
เข้าใจว่าตอนที่ไทยปราบทัวร์ศูนย์เหรียญ คนจีนส่วนนึงเลยหันไปเที่ยวเวียดนามแทน
Engine # 4 Domestic consumption การบริโภคภายในประเทศ
คนเวียดนามรายได้เพิ่มขึ้น ก็เริ่มใช้จ่ายมากขึ้น ยอดค้าปลีกโตเป็นเป็นเลขสองหลัก เดินทางโดยเครื่องบิน ซื้อคอนโด ซื้อรถ
เวียดนาม จุดที่น่าเป็นห่วงคือ หนี้สาธารณะเยอะเกือบ 60% ของ GDP ทำให้การจะเพิ่มการลงทุนก็ลำบากตรงข้ามกับไทยที่หนี้ภาครัฐน้อย
ไทยมีหนี้ครัวเรือนสูง ส่วนเวียดนาม หนี้ครัวเรือนน้อย
ดังนั้นเวียดนามจึงพยายามเอาบริษัทมาขายในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำไปลงทุน Infrastructure
ถาม คุณพิกุล ว่า บางช่วงหุ้นเวียดนามตกหนัก มีวิธีทำใจอย่างไร
คุณพิกุล แนะนำให้ไปนั่งสมาธิ และพูดถึงแนวทางในการลงทุนว่า เรื่องความผันผวนในการลงทุนเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อมันเป็นเรื่องของการคาดหวังก่อนการเอาเงินไปลงทุน
บริหารความเครียดจากจุดตั้งต้น กลับมาที่จุดเริ่มต้นในการซื้อหุ้นของเรา เพราะความคาดหวังเรื่องการเติบโตในอนาคตของบริษัทที่ซื้อ ถ้าหุ้นตกจากปัจจัยเรื่องอื่น เช่นปัจจัยภายนอก Trade War เราก็ควรถือหุ้นไว้ ไม่ขาย แล้วทำใจแบบสบายๆ
แต่คนส่วนใหญ่ ตอนต้นปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเวียดนามขึ้นมา 50% ก็หวังว่าตลาดหุ้นเวียดนามจะขึ้นไปอีก
ถามคุณเผ่า คาดการณ์ผลตอบแทนหุ้นเวียดนามปีละเท่าไหร่
ตอบ ถ้าอ้างอิงจากผลตอบแทนตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ไทยมา ผลตอบแทนรวมปันผลประมาณ 8% ต่อปี
ถ้านับจากหลังต้มยำกุ้ง จนถึงปัจจุบัน ผลตอบแทนรวมปันผล 12%
แต่ถ้านับจากช่วงหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มา ผลตอบแทนรวมปันผล15%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นในแต่ละประเทศจะเท่าๆกัน
ถ้าเป็นภาวะปกติ ผลตอบแทนรวมปันผลประมาณ 8% แต่ถ้าผ่านวิกฤตมาอาจจะได้ 10-20%
แต่เรามีทักษะดี ศึกษาอย่างดีอาจได้ 10-20%
ถ้าตลาดหุ้นโตขึ้น แต่เราไม่พัฒนาเราอาจได้แย่กว่าตลาดหุ้น หรือขาดทุนก็เป็นไปได้
Jitta มี process ที่จะเข้ามาช่วยเรื่องการให้ข้อมูลระดับนึง ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับข้อมูลดิบเยอะ
แต่ในการลงทุนยิ่งไม่คาดหวังสูง (เน้นความเป็นไปได้) เช่น ตั้งไว้10%ต่อปี แต่ถ้าเราสามารถทำได้สูงกว่าก็สบายใจ
ถามคุณกมลยศ ปัจจัยอะไรที่ต้องจับตา ที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นเวียดนาม
มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เริ่มที่ภายนอกก่อน
ย้อนกลับไปอ้างอิงข้อมูลจากช่วงของ ดร. นิเวศน์ที่ว่าตลาดหุ้นเวียดนามประกอบไปด้วย นักลงทุนรายย่อย คิดเป็น 80% ส่วนต่างประเทศที่มาลงทุนคิดเป็น 20%
แต่ 3-4 ปีที่ผ่านมา เงิน Fund flow มีผลต่อตลาดหุ้นเวียดนามเยอะมาก ต่างชาติลงทุนได้กำไรเยอะ แต่ต้นปีที่ผ่านมาต่างชาติขายทำกำไรออกไปเป็นระยะ ทำให้นักลงทุนรายย่อยที่เน้นการเก็งกำไรรายวัน ก็ขายตาม
ตอนมี trade war ก็มีเงินเข้ามาเพิ่มช่วงนี้
ระหว่างเวียดนามกับ USA เวียดนามยัง trade surplus (คือเวียดนามยังได้เปรียบ USA อยู่ ณ. ตอนนี้) แต่ไม่มากเมื่อเทียบกับจีน ที่ได้ surplus เยอะกว่า
ส่วนปัจจัยภายในประเทศ อีก 6 เดือนข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อเวียดนามเฉลี่ยแตะ 4% เพราะราคาหมู ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่กำหนดโดยธนาคารกลางเวียดนาม
ค่าเงิน Đong อ่อนเพียง 2.5% จากต้นปี แต่เมื่อเทียบกับอินโด หรือฟิลิปปินส์ ที่ค่าเงินอ่อนค่าถึง 8-9% ถือว่าค่าเงินเวียดนามอ่อนค่าน้อยมาก
และทางคนเวียดนามจะดูค่าเงิน Đong against Yuan ด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะในช่วง Crisis สิบปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นเวียดนามลงเยอะ เพราะมีการอ่อนค่าของค่าเงิน Yuan เงิน Đong เลยอ่อนค่าด้วย ทำให้ตลาดหุ้นลงเยอะ (เป้เพิ่มเติม–- เวลาแข่งกันส่งออก ถ้าค่าเงินใครอ่อนกว่า จะส่งออกได้เยอะกว่า เพราะสินค้าจะมีราคาถูกกว่า ดังนั้นถ้าค่าเงิน Yuan อ่อน ค่าเงิน Đong จะอ่อนตาม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เวลาเงินอ่อนค่ามากๆ คนที่ลงทุนในหุ้นจะขายเงิน Đong ทิ้งแลกกลับเป็นสกุลอื่น เพื่อไม่ให้ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้หุ้นตกเข้าไปอีก)
Trade war กับค่าเงินยังคงมีผลต่อตลาดหุ้น
ค่าเงิน เวลาขาย asset และไปถือ US$ ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
แต่ต้องดูเรื่องกระทบหรือไม่ คำตอบคือ ต้องดูแต่ละปัจจัย
Q: มุมมองการลงทุนของกองทุนรวม อยากเจาะลึกในแต่ละท่าน
A: คุณวิน CIMB เริ่มศึกษาหุ้นเวียดนามเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กับคุณวศิน ไปโฮจิมิน ฮานอย เป็นตลาดหุ้นมีstory
ชื่นชอบ เลยคุยกับผู้บริหารว่าตั้งกองเวียดนามกัน ทำกันเกือบปีถึงออกเป็นกองทุนได้
โดยร่วมกับผู้จัดการกองทุนในมาเลเซีย ไปเยี่ยมปีละ 3-4ครั้ง ดูพื้นฐานของบริษัทและหาราคาที่เหมาะสม
และ ดูความคาดหวังของคน ถ้าใครมองข้ามก็เป็นโอกาสของเราในการซื้อ
พอออกกองไม่นาน ติดปัญหาเรื่องภาษา ผู้บริหารของบริษัทไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ
เผอิญได้ลูกศิษย์ของผมที่สอนในนิด้า เป็นคนเวียดนาม คุณแอนนาสอบที่หนึ่งของรุ่น มาทำงานร่วมกับเราตอนต้นปี อยู่กรุงเทพ
ตอนนี้บินไปเวียดนามแทนผม ดูหุ้นรายตัว เลือกหุ้นที่เป็น Mid cap
กลุ่มหุ้นที่น่าสนใจ คือ อสังหา ธนาคาร หุ้นบริโภค
ใน port ธนาคารโตเร็ว เราต้องลงในsectorนี้ด้วย
คนเวียดนามมีเงินก็ซื้อคอนโดอยู่
ตลาดหุ้นเวียดนาม มี EPS growth 20% เทียบกับหุ้นไทยโต 7-8%
กองเราเน้นหุ้นขนาดกลาง PE ประมาณ 10เท่า เทียบกับตลาด 14.8 เท่า
เป็นการซื้อในเศรษฐกิจที่โต แต่ซื้อในราคา sales
ซื้อวันนี้ อาจต้องทำใจไม่ได้ขึ้นพรุ่งนี้ แต่ได้ราคาถูก
ใครลงทุนในกองนี้ อยากให้อยู่ยาวสักหน่อย เราห่วงเรื่องต้นทุนด้วย
และ ห่วงสภาพคล่องด้วย อาจมีการให้เพิ่มความถี่ให้เข้า ออก ได้มากขึ้น
คุณพิกุล บริหารprivate fund ซึ่งถือว่าเป็นบัญชีของลูกค้าแต่ละคน
เวลาซื้อหุ้น ที่มี FOL – Foreign Ownership Limit เป็น ล๊อตๆ ถ้ามีจำนวนน้อย คนเข้ามาก่อนก็ได้ไป
เราลงทุนแบบ Bottom up เรามองเวียดนามมีโอกาสโตในระยะยาว 3-5 ปี
มองว่าตลาดหุ้นเวียดนามโตได้อีกมาก
เราอยากเติบโตพร้อมกับตลาดหุ้นเวียดนามโดยมองหาบริษัทที่สามารถเติบโตไปกับเศรษฐกิจเวียดนามได้
ช่วงที่ระหว่างรอหุ้นที่ติด FOL อาจนำเงินไปลง ETF ได้
คุณกมลยศ Asset plus พูดถึง ASP-VIET ลงทุนแบบ 3 paths
1. JP Morgan 0-50%
2. ลงทุนในตราสารทุนตรง 0-30% ได้ dividend สูงๆด้วย
3. ลงทุนในETF เช่น Deutsche Asset management Xtrackers FTSE
Vietnam Swap UCITS ETS ,Dragon capital 30% จะได้หุ้น IPOด้วย
ส่วนค่าธรรมเนียมเท่าๆกับที่อื่น ประมาณ 1.61%
คุณเผ่า Jitta wealth พูดถึงว่า เราเริ่มจากวิเคราะห์หุ้น ดูงบการเงิน10ปีย้อนหลัง ว่าบริษัทไหนน่าสนใจ
Function Jitta ranking จะช่วยจัดลำดับหุ้นที่มีราคาถูกที่สุดในตลาด 30 อันดับแรก
ถ้าลงทุนตามนี้ เราได้ผลตอบแทน 18% ก็สามารถชนะดัชนีได้ (ดัชนีตลาดเวียดนามที่ผ่านมาได้ประมาณ 13% ต่อปี)
หลายคนก็คิดว่าลงตามJitta ได้ไหม ลงทุนต้นปี 30ตัว และเปลี่ยนตัวตาม 30 ตัวแรก ที่ ranking มาใหม่ตอนปลายปี
Jitta ยังสามารถลงทุนให้ โดยผ่าน Jitta wealth โดยลงแต่ละตัวเท่าๆกัน
Jitta จะซื้อหุ้นเวียดนาม 20 ตัว อย่างละเท่าๆกัน โดยไม่มี bias อะไรทั้งสิ้น พอครบหนึ่งปีก็ปรับพอร์ตใหม่ ทุกคนจะได้พอร์ตที่ดีในช่วง ณ ขณะนั้น ถ้ามีตัวที่ติด FOL ก็จะไปเลือกหุ้นลำดับถัดมา
ที่ผ่านมาเราเริ่มให้ลงทุนใน Jitta Wealth ช่วงมิถุนา ถึงสิงหา เป็นช่วงที่ดีในการซื้อ
บางต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการซื้อหุ้นเวียดนาม .. กว่าจะครบ โดยใช้ระบบ Jitta จะเป็นคนส่ง order ให้ จนกว่าจะซื้อได้
แต่ตอนปรับพอร์ต อาจ drop ลงไปบ้าง เนื่องจาก liquidity ของหุ้นเวียดนามไม่ค่อยดี
เรามองว่าการลงทุนเป็นเวลาหลายปี น่าคุ้มค่ากว่าลงระยะสั้น เพราะเราใช้หลัก Bottom up เลือกหุ้นรายตัว..ไม่ได้ดูวงจรเศรษฐกิจบางตัวอาจขาดทุน แต่เรามองดูผลตอบแทนทั้งพอร์ตถ้าเป็นบวกก็ Ok
เราลงทุนหุ้นแบบ Passive ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาดหรือดัชนีชี้วัด
เราไม่สามารถปรับพอร์ต หุ้นรายตัวในช่วงระหว่างปี ดังนั้นคนที่มาลงทุนกับจิตตะต้องอดทนเข้าใจในความผันผวนระหว่างที่รอคอย
สามารถใช้กับทุกตลาดตามทฤษฏี แต่ต้องมีการทดสอบแต่ละตลาด เช่น อเมริกา เวียดนาม
เราทดสอบข้อมูล Back Test 9 ปีปรากฏว่าผลตอบแทนชนะตลาด
Q; ลงทุนเวียดนามดี แต่ขาดทุนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เราช่วยลูกค้าได้อย่างไร
A: คุณวิน ต้องบอกลูกค้าให้ทำใจว่า ไม่มีใครรับทำธุรกรรมปิดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินเวียดนาม เราจะบอกนักลงทุนไว้ก่อนลงทุน โชคดีที่ปีนี้ค่าเงินนิ่งเวียดนามมากๆเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน
ส่วน Asset plus บอกว่าก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเรื่องป้องกันค่าเงินได้
Q: อยากให้คุณวินแนะนำเรื่องจังหวะเข้าลงทุนหุ้นเวียดนาม
A: คุณวินแนะนำ ว่าจังหวะที่น่าสงทุนในหุ้นเวียดนามคือซื้อตอนคนมาสัมมนาน้อยๆ (ฮา) ปีที่แล้วคนชอบเยอะ มันเป็นเรื่องขิงจิตวิทยา ว่าเรามักจะชอบหุ้นตอนที่มันดี
ปีที่แล้วได้กำไร แต่ปีนี้หุ้นตก เหมือนคนจะชอบน้อยลง
คุณพิกุล เวลาที่เราจะขายหุ้นคือเวลาที่ต้องการใช้เงิน (แปลว่าควรถือยาวๆ) ตอนที่ฟิลิปเริ่มสนใจการลงทุนในเวียดนาม ก็เป็นช่วงตลาดหุ้นเวียดนามตกต่ำที่สุด ตอนนั้นเป็นช่วงปี 2013 ถือเป็นช่วงที่น่าลงทุนมากสุดสำหรับตลาดหุ้นเวียดนาม หาหุ้นได้ไม่ยาก
แต่ตอนที่มางานนี้ เมื่อตอนเดือนมกราปีนี้ ตอนนั้นไม่รู้จะซื้อหุ้นอะไร ตอนนี้ราคาเริ่มลงมาในระดับ reasonable เป็นจังหวะที่ดีกว่าต้นปีมากเลยทีเดียว
ในกรณีที่ต้องการลงทุนระยะยาว ความเสี่ยงจาก currency , liquidity risk จะไม่ค่อยมีผลต่อพอร์ตการลงทุน ระหว่างที่รอเราต้องทำใจ ถ้าลงทุนได้ยาวพอ ตลาดหุ้นเวียดนาม เชื่อว่าจะเติบโตล้อไปตามเศรษฐกิจเวียดนาม ..คิดว่าน่าสนใจลงทุน ตอนนี้ลงทุนถือว่าเหมาะสม
Q: เงินลงทุนในเวียดนาม สามารถทำ DCA ได้ไหม
A: คุณกมลยศ Asset plus แจ้งว่าสามารถทำได้ ผ่าน Fund connect แต่กองทุนของเราซื้อได้ทุกวัน และ ขายได้ทุกอาทิตย์ ส่วนค่า Front end มีการเก็บค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 0.25% ขึ้นไป ไม่อยากให้นักลงทุนเทรดแบบระยะสั้น
Q : บางช่วงตลาดหุ้นเวียดนามทำกำไรได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีโอกาสเจอฟองสบู่อีกครั้งไหม
A: คุณวิน บอกว่าตลาดหุ้นเวียดนามเคยเจอฟองสบู่แตกมารอบนึง สาเหตุจาก เงินเฟ้อสูง, ขาดดุลงบประมาณ และ การค้า ตอนนี้เราก็ monitor เงินเฟ้อ ประมาณ 4% เห็นว่าเมื่อก่อนเคยถึงสองหลัก ตอนนี้เงินเฟ้อเหลือแค่หลักเดียว ส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศ ตอนวิกฤตมีทุนสำรองน้อย แต่รอบนี้เวียดนามเปลี่ยนไปแล้ว เพราะได้ดุลการค้าเกินดุล มีเงินเข้าประเทศเยอะ จึงมีทุนสำรองเยอะ
เราต้องดูอสังหาริมทรัพย์ รอบที่แล้วคนเวียดนามก็มีเก็งกำไรคอนโด เหมือนไทย คือซื้อขายใบจอ แต่ปัจจุบันรัฐบาลเปลี่ยนแนว ให้กู้กับคนธรรมดาแทนบริษัทมากขึ้น (ให้กู้กับคนที่ต้องการซื้อบ้านจริงๆ) ทำให้ฟองสบู่ไม่น่าเกิด ดูรวมๆน่าจะ ok แต่ก็ไม่วางใจ ยังดูอยู่ใกล้ชิด
คุณพิกุล บอกว่า เวียดนามได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในปี 2007 มา พบว่าวินัยของผู้ประกอบการดีขึ้น มาเน้นทำธุรกิจหลักของตัวเองมากขึ้น พยายามขายทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
คุณกมลยศ Asset plus บอกว่าเวียดนามโตจาก sector Bank เวลาวิกฤตเกิด มักจะมาจาก Bank
ปีนี้เงินเฟ้อเพิ่มเป็น 4% ทำให้เกิดการควบคุมการขยาย credit จาก regulator ส่วนภาคอสังหา อยู่ในช่วงการโต เมื่อก่อนเป็น sector ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤต แต่ปัจจุบันการให้ประชาชนซื้อบ้าน แต่ 70% ซื้อด้วยเงินสด ทำให้ปัญหาจากอสังหาไปภาคธนาคารน้อยลงไป..ไม่น่ากังวล
ส่วน NPL ของ Sector Bank ค่อนข้างต่ำ
เวียดนามทำเรื่องแยกธนาคารดี กับ ไม่ดี ตอนวิกฤตทำไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ไม่เหมือนไทย เวียดนามเป็นตลาดที่มีความเสี่ยง เรื่องผู้บริหารอาจถูกจับ เราต้องยอมรับก่อนลงทุน เลยอยากจะแนะนำให้ลงทุนในหุ้นหลายตัวดีกว่า
คุณเผ่า เสริม Bubble จะเกิดเมื่อไหร่ วอร์เรนเชียร์ให้ลงทุนแบบ passive ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่า Active และลงทุนให้ยาวพอ ยกตัวอย่าง เงินลงทุน 10,000$ เมื่อ70 ผ่านไป ได้เงิน 1 ล้านเหรียญ ทุกคนพยายามมองให้เข้าใจ ใช้ประโยชน์จาก Bubble และ หาจังหวะลงทุนเพื่อถือยาว
Q: สอบถามเรื่อง VAMC ถ้ายกเลิกแล้ว ทิศทางของธนาคารเวียดนามจะเป็นอย่างไร
A: คุณพิกุล เล่าย้อนก่อนว่า VAMC ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อนำหนี้เสียของธนาคารแยกออกมาจัดการต่างหาก โดยเอาหนี้เสียยมากองไว้ที่ VAMC แล้ว VAMC ออกตั๋วออกมาใบนึงมูลค่าประมาณ 80% ของมูลหนี้ทั้งหมด แล้วธนาคารพาณิชย์ต่างๆก็นำตั๋วนี้ไปขึ้นเงินกับแบงก์ชาติของเวียดนาม เพื่อแลกกลับเข้าไปเป็น equity ในระบบ โดยธนาคารต่างๆมีหน้าที่ตั้งสำรองทุกๆปี ปีละ 20% แล้วพอครบ 5 ปี ธนาคารต้องซื้อคืนหนี้กลับมา ถึงแม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบตอนที่จัดตั้งขึ้นมาแรกๆ แต่ผลปรากฎว่า ธนาคารต่างๆ ได้นำเงินที่ไหลกลับเข้ามาในระบบ มาปล่อยกู้มากขึ้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการปล่อยกู้ของเวียดนามเริ่มอยู่ตัว และการที่ไม่ต้องตั้งสำรองทันทีทั้งก้อน ทำให้ธนาคารต่างๆมีเวลาตั้งตัว และเมื่อไม่ต้องนำหนี้เสียมาเร่ขายทันที สามารถรอเวลาให้เศรษฐกิจฟื้นกลับขึ้นมาได้ ทำให้ราคาของสินทรัพย์ NPL ดีขึ้น ขายได้ราคาดีขึ้น (ไม่ต้องเอาออกมาขายในราคาต่ำๆ เหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย)
Q: Global play ประเทศไหนน่าสนใจ
A: จีนน่าสนใจ ถึงโดน trade war ท้ายสุดก็น่าจะมีเจรจา จีนตอนนี้เน้นผลิตสินค้า Hitech และทำ cloud computing มากขึ้น
Q: ถามคุณเผ่า สำหรับการลงทุนใน Jitta Wealth เรื่อง market timing กับการholdไม่ซื้อขายใน 1 ปี
อันไหนดีกว่ากัน
A: คุณเผ่า บอกว่า ในระยะสั้น จังหวะเวลามีผล แต่ในระยะยาว เช่น 12 ปี ผลตอบแทนจะใกล้เคียงกัน วินัยในการลงทุน ดีกว่าการจับจังหวะในการลงทุน
Q: ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายต่างกับรายย่อยหรือไม่
A:คุณกมลยศ asset plus บอกว่าเราลงทุนตรง และ ผ่านกองทุนรวมด้วย เราลงทุนตรง ได้ข้อมูลเยอะกว่า ได้ค่าcomถูกกว่ามาลดค่าใช้จ่าย ETF ปกติจะมีค่า Fee ที่ต่ำอยู่แล้ว ถ้าถือเกินระดับที่กำหนดก็เสียค่าFeeถูกลง
Q: มีแนวคิดอย่างไรกลุ่มก่อสร้าง
A: คุณวิน ตอบว่าธุรกิจก่อสร้างบูม น่าจะได้ประโยชน์
Q: Sector ที่ชอบสำหรับแต่ละท่าน
A: คุณกมลยศ Asset Plus บอกว่าให้ดู กลุ่มค้าปลีก ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ นักลงทุนต้องทำการบ้านแยกบริษัทที่ดีมาทำ valuation รวมทั้งหาข่าว ว่าบริษัทมีการพัฒนาการอย่างไร ถือเป็น upsideของการลงทุน
คุณวิน เราต้องทำการบ้านเพื่อเลือกหุ้นที่ชอบ ตลาดนี้ บางทีเจอบริษัทดี แต่ไปพบไม่ได้ ก็ต้องตัดไป
คุณพิกุล เสริมเรื่องความเสี่ยง regulationเป็นเรื่องสำคัญ กฎระเบียบเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก
คุณเผ่า Stay invest ลงทุนด้วยความเข้าใจภาพ
เราลงทุนในช่องทางที่ถูกต้อง เช่น กองทุนรวม หรือ ลงทุนด้วยตนเอง อย่าไปปล่อยเงินให้อยู่เฉยๆ
ความรู้เป็นเรื่องดี แต่ต้องปฏิบัติด้วย
สุดท้ายขอขอบคุณ วิทยากรทุกท่านที่มาให้ข้อมูลและความรู้ด้วยครับ/ค่ะ
สรุปโดย น้องเป้ และ พี่อมร
Funds talk: หุ้นเวียดนามผันผวนวิกฤตหรือโอกาส?
พร้อมเจาะลึกกองทุนไทยที่ลงทุนหุ้นเวียดนาม
วิทยากร
1. คุณ วิน พรหมแพทย์ ประธานเจ้าหน้าที่การลงทุน บริษัทหลักทรัยพ์จัดการกองทุน CIMB-Principle ซึ่งได้เปิดกองทุนหุ้นเวียดนามไปเมื่อตค 60 คือ CIMB-VNEQ-A
2. คุณ พิกุล พิทยาอิสรกุล ผู้จัดการกองทุนส่วนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป จำกัด ซึ่งบริหารกองทุนส่วนบุคคลที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม ( Vietnam private fund )
3. คุณ ตราวุทธิ์ เหลืองสมบูรณ์ หรือ คุณเผ่า ผู้ก่อตั้งและประธานบริษัทจิตตะ ดอท คอม จำกัด มี Jitta wealthที่ช่วยเลือกหุ้นเวียดนามลงทุน
4. คุณ กมลยศ สุขุมสุวรรณ ผู้จัดการกองทุนอาวุโส บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน บลจ แอสเซทพลัส ซึ่งเปิดกองทุนหุ้นที่ลงทุนในหุ้นเวียดนาม คือ ASP-VIET เมื่อ มกราคม 2561
พิธีกร : คุณ จิตติมา ทวาเรศ
เริ่มสัมมนา โดยคุณวิน ซึ่งแนะนำการลงทุน 3 อย่างคือ ทองคำ, หุ้นจีน และหุ้นเวียดนาม
ทำไมถึงมองว่าหุ้นเวียดนามจะดี เปรียบเทียบ Story ของประเทศไทยกับเวียดนาม เศรษฐกิจครึ่งปีแรกโต 7.08% ซึ่งถือว่าโตมากๆ สูงที่สุดใน ASEAN
แรงงานเวียดนามเก่ง ราคาไม่แพง คะแนนสอบสูงกว่าค่าเฉลี่ยของไทยทุกวิชา
อายุเฉลี่ยของคนไทย ประมาณ 37.2 ปี ส่วนเวียดนาม ประมาณ 30 ปี
ถึงแม้ GDP ของเวียดนามเป็นครึ่งนึงของไทย แต่ GDP growth ต่อปีของเวียดนามเฉลี่ย 6.7% เทียบกับไทย 4.5%
Urbanization ของเวียดนามแค่ 33.6% เทียบกับไทย 50.4%
เครื่องยนต์ที่ขับเคลื่อนเวียดนามมี 4 อย่าง ได้แก่
Engine # 1 Foreign Direct Investment (FDI ) การลงทุนทางตรง
ปีที่แล้ว มีเงินเข้ามาประมาณ $ 35.9 Billion และ 1H18 $ 20.3 Billion
ปีนี้เงินเข้ามาแล้ว 600,000 กว่าล้านบาท ที่เข้ามาเยอะๆ คือญี่ปุ่น เกาหลี และ สิงคโปร์ ซึ่งเป็นกรลงทุนในโรงงานผลิตจริงๆ เพื่อส่งออก นอกจากนี้ยังมี Canon , Foxconn , LG , Samsung
ค่าแรงราคาถูกที่พูดถึง ไม่ใช่ Blue collar แต่หมายถึงระดับ engineers ที่ไม่ค่อยแพง คนเวียดนาม upgrade ตัวเองให้มีคุณภาพสูงตลอดเวลา
การส่งออกโต 16% และได้ดุลการค้าด้วย
Engine # 2 Exports การส่งออก
ประเทศใน Emerging market ขาดดุลการค้าเป็นส่วนมาก แต่เวียดนามได้ดุลการค้า จากส่งออกสินค้าที่มีราคาถูกมากๆไปที่ อเมริกา จีน และ ยุโรป
สินค้าที่ส่งออกหลักๆคือ มือถือ เช่น ยี่ห้อ Samsung และผลิตหน้าจอของมือถือเช่น iPhone X ด้วย ส่วน iPhone รุ่นใหม่ยังไม่ได้เช็คข้อมูลว่ามีชิ้นส่วนที่ผลิตที่เวียดนามด้วยหรือไม่
Engine # 3 Tourism การท่องเที่ยว
ปีที่แล้วนักท่องเที่ยวเข้าเวียดนามประมาณ 10 ล้านคน
ปีนี้ 7 เดือนแรก เข้ามาแล้ว 9 ล้านคน และมี7 ล้านคนในนั้น เป็นคนเอเชีย โดยส่วนใหญ่เป็นคนจีนไปเวียดนามเยอะมาก
เข้าใจว่าตอนที่ไทยปราบทัวร์ศูนย์เหรียญ คนจีนส่วนนึงเลยหันไปเที่ยวเวียดนามแทน
Engine # 4 Domestic consumption การบริโภคภายในประเทศ
คนเวียดนามรายได้เพิ่มขึ้น ก็เริ่มใช้จ่ายมากขึ้น ยอดค้าปลีกโตเป็นเป็นเลขสองหลัก เดินทางโดยเครื่องบิน ซื้อคอนโด ซื้อรถ
เวียดนาม จุดที่น่าเป็นห่วงคือ หนี้สาธารณะเยอะเกือบ 60% ของ GDP ทำให้การจะเพิ่มการลงทุนก็ลำบากตรงข้ามกับไทยที่หนี้ภาครัฐน้อย
ไทยมีหนี้ครัวเรือนสูง ส่วนเวียดนาม หนี้ครัวเรือนน้อย
ดังนั้นเวียดนามจึงพยายามเอาบริษัทมาขายในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อนำไปลงทุน Infrastructure
ถาม คุณพิกุล ว่า บางช่วงหุ้นเวียดนามตกหนัก มีวิธีทำใจอย่างไร
คุณพิกุล แนะนำให้ไปนั่งสมาธิ และพูดถึงแนวทางในการลงทุนว่า เรื่องความผันผวนในการลงทุนเป็นเรื่องธรรมดา เพื่อมันเป็นเรื่องของการคาดหวังก่อนการเอาเงินไปลงทุน
บริหารความเครียดจากจุดตั้งต้น กลับมาที่จุดเริ่มต้นในการซื้อหุ้นของเรา เพราะความคาดหวังเรื่องการเติบโตในอนาคตของบริษัทที่ซื้อ ถ้าหุ้นตกจากปัจจัยเรื่องอื่น เช่นปัจจัยภายนอก Trade War เราก็ควรถือหุ้นไว้ ไม่ขาย แล้วทำใจแบบสบายๆ
แต่คนส่วนใหญ่ ตอนต้นปีที่ผ่านมา ตลาดหุ้นเวียดนามขึ้นมา 50% ก็หวังว่าตลาดหุ้นเวียดนามจะขึ้นไปอีก
ถามคุณเผ่า คาดการณ์ผลตอบแทนหุ้นเวียดนามปีละเท่าไหร่
ตอบ ถ้าอ้างอิงจากผลตอบแทนตลาดหุ้นไทย ตั้งแต่จัดตั้งตลาดหลักทรัพย์ไทยมา ผลตอบแทนรวมปันผลประมาณ 8% ต่อปี
ถ้านับจากหลังต้มยำกุ้ง จนถึงปัจจุบัน ผลตอบแทนรวมปันผล 12%
แต่ถ้านับจากช่วงหลังวิกฤตแฮมเบอร์เกอร์มา ผลตอบแทนรวมปันผล15%
ผลตอบแทนเฉลี่ยของตลาดหุ้นในแต่ละประเทศจะเท่าๆกัน
ถ้าเป็นภาวะปกติ ผลตอบแทนรวมปันผลประมาณ 8% แต่ถ้าผ่านวิกฤตมาอาจจะได้ 10-20%
แต่เรามีทักษะดี ศึกษาอย่างดีอาจได้ 10-20%
ถ้าตลาดหุ้นโตขึ้น แต่เราไม่พัฒนาเราอาจได้แย่กว่าตลาดหุ้น หรือขาดทุนก็เป็นไปได้
Jitta มี process ที่จะเข้ามาช่วยเรื่องการให้ข้อมูลระดับนึง ทำให้เราไม่ต้องเสียเวลากับข้อมูลดิบเยอะ
แต่ในการลงทุนยิ่งไม่คาดหวังสูง (เน้นความเป็นไปได้) เช่น ตั้งไว้10%ต่อปี แต่ถ้าเราสามารถทำได้สูงกว่าก็สบายใจ
ถามคุณกมลยศ ปัจจัยอะไรที่ต้องจับตา ที่ส่งผลต่อตลาดหุ้นเวียดนาม
มีทั้งปัจจัยภายในและภายนอก เริ่มที่ภายนอกก่อน
ย้อนกลับไปอ้างอิงข้อมูลจากช่วงของ ดร. นิเวศน์ที่ว่าตลาดหุ้นเวียดนามประกอบไปด้วย นักลงทุนรายย่อย คิดเป็น 80% ส่วนต่างประเทศที่มาลงทุนคิดเป็น 20%
แต่ 3-4 ปีที่ผ่านมา เงิน Fund flow มีผลต่อตลาดหุ้นเวียดนามเยอะมาก ต่างชาติลงทุนได้กำไรเยอะ แต่ต้นปีที่ผ่านมาต่างชาติขายทำกำไรออกไปเป็นระยะ ทำให้นักลงทุนรายย่อยที่เน้นการเก็งกำไรรายวัน ก็ขายตาม
ตอนมี trade war ก็มีเงินเข้ามาเพิ่มช่วงนี้
ระหว่างเวียดนามกับ USA เวียดนามยัง trade surplus (คือเวียดนามยังได้เปรียบ USA อยู่ ณ. ตอนนี้) แต่ไม่มากเมื่อเทียบกับจีน ที่ได้ surplus เยอะกว่า
ส่วนปัจจัยภายในประเทศ อีก 6 เดือนข้างหน้า อัตราเงินเฟ้อเวียดนามเฉลี่ยแตะ 4% เพราะราคาหมู ราคาน้ำมันเพิ่มขึ้น แต่ก็ยังอยู่ในกรอบที่กำหนดโดยธนาคารกลางเวียดนาม
ค่าเงิน Đong อ่อนเพียง 2.5% จากต้นปี แต่เมื่อเทียบกับอินโด หรือฟิลิปปินส์ ที่ค่าเงินอ่อนค่าถึง 8-9% ถือว่าค่าเงินเวียดนามอ่อนค่าน้อยมาก
และทางคนเวียดนามจะดูค่าเงิน Đong against Yuan ด้วยว่าเป็นอย่างไร เพราะในช่วง Crisis สิบปีที่ผ่านมาตลาดหุ้นเวียดนามลงเยอะ เพราะมีการอ่อนค่าของค่าเงิน Yuan เงิน Đong เลยอ่อนค่าด้วย ทำให้ตลาดหุ้นลงเยอะ (เป้เพิ่มเติม–- เวลาแข่งกันส่งออก ถ้าค่าเงินใครอ่อนกว่า จะส่งออกได้เยอะกว่า เพราะสินค้าจะมีราคาถูกกว่า ดังนั้นถ้าค่าเงิน Yuan อ่อน ค่าเงิน Đong จะอ่อนตาม เพื่อให้สามารถแข่งขันได้ เวลาเงินอ่อนค่ามากๆ คนที่ลงทุนในหุ้นจะขายเงิน Đong ทิ้งแลกกลับเป็นสกุลอื่น เพื่อไม่ให้ขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน ทำให้หุ้นตกเข้าไปอีก)
Trade war กับค่าเงินยังคงมีผลต่อตลาดหุ้น
ค่าเงิน เวลาขาย asset และไปถือ US$ ทำให้มีมูลค่าเพิ่มขึ้น
แต่ต้องดูเรื่องกระทบหรือไม่ คำตอบคือ ต้องดูแต่ละปัจจัย
Q: มุมมองการลงทุนของกองทุนรวม อยากเจาะลึกในแต่ละท่าน
A: คุณวิน CIMB เริ่มศึกษาหุ้นเวียดนามเมื่อ 2 ปีที่แล้ว กับคุณวศิน ไปโฮจิมิน ฮานอย เป็นตลาดหุ้นมีstory
ชื่นชอบ เลยคุยกับผู้บริหารว่าตั้งกองเวียดนามกัน ทำกันเกือบปีถึงออกเป็นกองทุนได้
โดยร่วมกับผู้จัดการกองทุนในมาเลเซีย ไปเยี่ยมปีละ 3-4ครั้ง ดูพื้นฐานของบริษัทและหาราคาที่เหมาะสม
และ ดูความคาดหวังของคน ถ้าใครมองข้ามก็เป็นโอกาสของเราในการซื้อ
พอออกกองไม่นาน ติดปัญหาเรื่องภาษา ผู้บริหารของบริษัทไม่ยอมพูดภาษาอังกฤษ
เผอิญได้ลูกศิษย์ของผมที่สอนในนิด้า เป็นคนเวียดนาม คุณแอนนาสอบที่หนึ่งของรุ่น มาทำงานร่วมกับเราตอนต้นปี อยู่กรุงเทพ
ตอนนี้บินไปเวียดนามแทนผม ดูหุ้นรายตัว เลือกหุ้นที่เป็น Mid cap
กลุ่มหุ้นที่น่าสนใจ คือ อสังหา ธนาคาร หุ้นบริโภค
ใน port ธนาคารโตเร็ว เราต้องลงในsectorนี้ด้วย
คนเวียดนามมีเงินก็ซื้อคอนโดอยู่
ตลาดหุ้นเวียดนาม มี EPS growth 20% เทียบกับหุ้นไทยโต 7-8%
กองเราเน้นหุ้นขนาดกลาง PE ประมาณ 10เท่า เทียบกับตลาด 14.8 เท่า
เป็นการซื้อในเศรษฐกิจที่โต แต่ซื้อในราคา sales
ซื้อวันนี้ อาจต้องทำใจไม่ได้ขึ้นพรุ่งนี้ แต่ได้ราคาถูก
ใครลงทุนในกองนี้ อยากให้อยู่ยาวสักหน่อย เราห่วงเรื่องต้นทุนด้วย
และ ห่วงสภาพคล่องด้วย อาจมีการให้เพิ่มความถี่ให้เข้า ออก ได้มากขึ้น
คุณพิกุล บริหารprivate fund ซึ่งถือว่าเป็นบัญชีของลูกค้าแต่ละคน
เวลาซื้อหุ้น ที่มี FOL – Foreign Ownership Limit เป็น ล๊อตๆ ถ้ามีจำนวนน้อย คนเข้ามาก่อนก็ได้ไป
เราลงทุนแบบ Bottom up เรามองเวียดนามมีโอกาสโตในระยะยาว 3-5 ปี
มองว่าตลาดหุ้นเวียดนามโตได้อีกมาก
เราอยากเติบโตพร้อมกับตลาดหุ้นเวียดนามโดยมองหาบริษัทที่สามารถเติบโตไปกับเศรษฐกิจเวียดนามได้
ช่วงที่ระหว่างรอหุ้นที่ติด FOL อาจนำเงินไปลง ETF ได้
คุณกมลยศ Asset plus พูดถึง ASP-VIET ลงทุนแบบ 3 paths
1. JP Morgan 0-50%
2. ลงทุนในตราสารทุนตรง 0-30% ได้ dividend สูงๆด้วย
3. ลงทุนในETF เช่น Deutsche Asset management Xtrackers FTSE
Vietnam Swap UCITS ETS ,Dragon capital 30% จะได้หุ้น IPOด้วย
ส่วนค่าธรรมเนียมเท่าๆกับที่อื่น ประมาณ 1.61%
คุณเผ่า Jitta wealth พูดถึงว่า เราเริ่มจากวิเคราะห์หุ้น ดูงบการเงิน10ปีย้อนหลัง ว่าบริษัทไหนน่าสนใจ
Function Jitta ranking จะช่วยจัดลำดับหุ้นที่มีราคาถูกที่สุดในตลาด 30 อันดับแรก
ถ้าลงทุนตามนี้ เราได้ผลตอบแทน 18% ก็สามารถชนะดัชนีได้ (ดัชนีตลาดเวียดนามที่ผ่านมาได้ประมาณ 13% ต่อปี)
หลายคนก็คิดว่าลงตามJitta ได้ไหม ลงทุนต้นปี 30ตัว และเปลี่ยนตัวตาม 30 ตัวแรก ที่ ranking มาใหม่ตอนปลายปี
Jitta ยังสามารถลงทุนให้ โดยผ่าน Jitta wealth โดยลงแต่ละตัวเท่าๆกัน
Jitta จะซื้อหุ้นเวียดนาม 20 ตัว อย่างละเท่าๆกัน โดยไม่มี bias อะไรทั้งสิ้น พอครบหนึ่งปีก็ปรับพอร์ตใหม่ ทุกคนจะได้พอร์ตที่ดีในช่วง ณ ขณะนั้น ถ้ามีตัวที่ติด FOL ก็จะไปเลือกหุ้นลำดับถัดมา
ที่ผ่านมาเราเริ่มให้ลงทุนใน Jitta Wealth ช่วงมิถุนา ถึงสิงหา เป็นช่วงที่ดีในการซื้อ
บางต้องใช้เวลา 2 สัปดาห์ในการซื้อหุ้นเวียดนาม .. กว่าจะครบ โดยใช้ระบบ Jitta จะเป็นคนส่ง order ให้ จนกว่าจะซื้อได้
แต่ตอนปรับพอร์ต อาจ drop ลงไปบ้าง เนื่องจาก liquidity ของหุ้นเวียดนามไม่ค่อยดี
เรามองว่าการลงทุนเป็นเวลาหลายปี น่าคุ้มค่ากว่าลงระยะสั้น เพราะเราใช้หลัก Bottom up เลือกหุ้นรายตัว..ไม่ได้ดูวงจรเศรษฐกิจบางตัวอาจขาดทุน แต่เรามองดูผลตอบแทนทั้งพอร์ตถ้าเป็นบวกก็ Ok
เราลงทุนหุ้นแบบ Passive ผลตอบแทนใกล้เคียงกับตลาดหรือดัชนีชี้วัด
เราไม่สามารถปรับพอร์ต หุ้นรายตัวในช่วงระหว่างปี ดังนั้นคนที่มาลงทุนกับจิตตะต้องอดทนเข้าใจในความผันผวนระหว่างที่รอคอย
สามารถใช้กับทุกตลาดตามทฤษฏี แต่ต้องมีการทดสอบแต่ละตลาด เช่น อเมริกา เวียดนาม
เราทดสอบข้อมูล Back Test 9 ปีปรากฏว่าผลตอบแทนชนะตลาด
Q; ลงทุนเวียดนามดี แต่ขาดทุนเรื่องอัตราแลกเปลี่ยน เราช่วยลูกค้าได้อย่างไร
A: คุณวิน ต้องบอกลูกค้าให้ทำใจว่า ไม่มีใครรับทำธุรกรรมปิดความเสี่ยงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนของสกุลเงินเวียดนาม เราจะบอกนักลงทุนไว้ก่อนลงทุน โชคดีที่ปีนี้ค่าเงินนิ่งเวียดนามมากๆเมื่อเทียบกับเพื่อนบ้าน
ส่วน Asset plus บอกว่าก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงเรื่องป้องกันค่าเงินได้
Q: อยากให้คุณวินแนะนำเรื่องจังหวะเข้าลงทุนหุ้นเวียดนาม
A: คุณวินแนะนำ ว่าจังหวะที่น่าสงทุนในหุ้นเวียดนามคือซื้อตอนคนมาสัมมนาน้อยๆ (ฮา) ปีที่แล้วคนชอบเยอะ มันเป็นเรื่องขิงจิตวิทยา ว่าเรามักจะชอบหุ้นตอนที่มันดี
ปีที่แล้วได้กำไร แต่ปีนี้หุ้นตก เหมือนคนจะชอบน้อยลง
คุณพิกุล เวลาที่เราจะขายหุ้นคือเวลาที่ต้องการใช้เงิน (แปลว่าควรถือยาวๆ) ตอนที่ฟิลิปเริ่มสนใจการลงทุนในเวียดนาม ก็เป็นช่วงตลาดหุ้นเวียดนามตกต่ำที่สุด ตอนนั้นเป็นช่วงปี 2013 ถือเป็นช่วงที่น่าลงทุนมากสุดสำหรับตลาดหุ้นเวียดนาม หาหุ้นได้ไม่ยาก
แต่ตอนที่มางานนี้ เมื่อตอนเดือนมกราปีนี้ ตอนนั้นไม่รู้จะซื้อหุ้นอะไร ตอนนี้ราคาเริ่มลงมาในระดับ reasonable เป็นจังหวะที่ดีกว่าต้นปีมากเลยทีเดียว
ในกรณีที่ต้องการลงทุนระยะยาว ความเสี่ยงจาก currency , liquidity risk จะไม่ค่อยมีผลต่อพอร์ตการลงทุน ระหว่างที่รอเราต้องทำใจ ถ้าลงทุนได้ยาวพอ ตลาดหุ้นเวียดนาม เชื่อว่าจะเติบโตล้อไปตามเศรษฐกิจเวียดนาม ..คิดว่าน่าสนใจลงทุน ตอนนี้ลงทุนถือว่าเหมาะสม
Q: เงินลงทุนในเวียดนาม สามารถทำ DCA ได้ไหม
A: คุณกมลยศ Asset plus แจ้งว่าสามารถทำได้ ผ่าน Fund connect แต่กองทุนของเราซื้อได้ทุกวัน และ ขายได้ทุกอาทิตย์ ส่วนค่า Front end มีการเก็บค่าธรรมเนียม ตั้งแต่ 0.25% ขึ้นไป ไม่อยากให้นักลงทุนเทรดแบบระยะสั้น
Q : บางช่วงตลาดหุ้นเวียดนามทำกำไรได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก มีโอกาสเจอฟองสบู่อีกครั้งไหม
A: คุณวิน บอกว่าตลาดหุ้นเวียดนามเคยเจอฟองสบู่แตกมารอบนึง สาเหตุจาก เงินเฟ้อสูง, ขาดดุลงบประมาณ และ การค้า ตอนนี้เราก็ monitor เงินเฟ้อ ประมาณ 4% เห็นว่าเมื่อก่อนเคยถึงสองหลัก ตอนนี้เงินเฟ้อเหลือแค่หลักเดียว ส่วนทุนสำรองระหว่างประเทศ ตอนวิกฤตมีทุนสำรองน้อย แต่รอบนี้เวียดนามเปลี่ยนไปแล้ว เพราะได้ดุลการค้าเกินดุล มีเงินเข้าประเทศเยอะ จึงมีทุนสำรองเยอะ
เราต้องดูอสังหาริมทรัพย์ รอบที่แล้วคนเวียดนามก็มีเก็งกำไรคอนโด เหมือนไทย คือซื้อขายใบจอ แต่ปัจจุบันรัฐบาลเปลี่ยนแนว ให้กู้กับคนธรรมดาแทนบริษัทมากขึ้น (ให้กู้กับคนที่ต้องการซื้อบ้านจริงๆ) ทำให้ฟองสบู่ไม่น่าเกิด ดูรวมๆน่าจะ ok แต่ก็ไม่วางใจ ยังดูอยู่ใกล้ชิด
คุณพิกุล บอกว่า เวียดนามได้เรียนรู้จากประสบการณ์ในปี 2007 มา พบว่าวินัยของผู้ประกอบการดีขึ้น มาเน้นทำธุรกิจหลักของตัวเองมากขึ้น พยายามขายทรัพย์สินที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป
คุณกมลยศ Asset plus บอกว่าเวียดนามโตจาก sector Bank เวลาวิกฤตเกิด มักจะมาจาก Bank
ปีนี้เงินเฟ้อเพิ่มเป็น 4% ทำให้เกิดการควบคุมการขยาย credit จาก regulator ส่วนภาคอสังหา อยู่ในช่วงการโต เมื่อก่อนเป็น sector ที่ส่งผลให้เกิดวิกฤต แต่ปัจจุบันการให้ประชาชนซื้อบ้าน แต่ 70% ซื้อด้วยเงินสด ทำให้ปัญหาจากอสังหาไปภาคธนาคารน้อยลงไป..ไม่น่ากังวล
ส่วน NPL ของ Sector Bank ค่อนข้างต่ำ
เวียดนามทำเรื่องแยกธนาคารดี กับ ไม่ดี ตอนวิกฤตทำไม่ค่อยดีเท่าไหร่ ไม่เหมือนไทย เวียดนามเป็นตลาดที่มีความเสี่ยง เรื่องผู้บริหารอาจถูกจับ เราต้องยอมรับก่อนลงทุน เลยอยากจะแนะนำให้ลงทุนในหุ้นหลายตัวดีกว่า
คุณเผ่า เสริม Bubble จะเกิดเมื่อไหร่ วอร์เรนเชียร์ให้ลงทุนแบบ passive ซึ่งให้ผลตอบแทนดีกว่า Active และลงทุนให้ยาวพอ ยกตัวอย่าง เงินลงทุน 10,000$ เมื่อ70 ผ่านไป ได้เงิน 1 ล้านเหรียญ ทุกคนพยายามมองให้เข้าใจ ใช้ประโยชน์จาก Bubble และ หาจังหวะลงทุนเพื่อถือยาว
Q: สอบถามเรื่อง VAMC ถ้ายกเลิกแล้ว ทิศทางของธนาคารเวียดนามจะเป็นอย่างไร
A: คุณพิกุล เล่าย้อนก่อนว่า VAMC ถูกจัดตั้งขึ้นมาเพื่อนำหนี้เสียของธนาคารแยกออกมาจัดการต่างหาก โดยเอาหนี้เสียยมากองไว้ที่ VAMC แล้ว VAMC ออกตั๋วออกมาใบนึงมูลค่าประมาณ 80% ของมูลหนี้ทั้งหมด แล้วธนาคารพาณิชย์ต่างๆก็นำตั๋วนี้ไปขึ้นเงินกับแบงก์ชาติของเวียดนาม เพื่อแลกกลับเข้าไปเป็น equity ในระบบ โดยธนาคารต่างๆมีหน้าที่ตั้งสำรองทุกๆปี ปีละ 20% แล้วพอครบ 5 ปี ธนาคารต้องซื้อคืนหนี้กลับมา ถึงแม้ว่าจะมีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในแง่ลบตอนที่จัดตั้งขึ้นมาแรกๆ แต่ผลปรากฎว่า ธนาคารต่างๆ ได้นำเงินที่ไหลกลับเข้ามาในระบบ มาปล่อยกู้มากขึ้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นในการปล่อยกู้ของเวียดนามเริ่มอยู่ตัว และการที่ไม่ต้องตั้งสำรองทันทีทั้งก้อน ทำให้ธนาคารต่างๆมีเวลาตั้งตัว และเมื่อไม่ต้องนำหนี้เสียมาเร่ขายทันที สามารถรอเวลาให้เศรษฐกิจฟื้นกลับขึ้นมาได้ ทำให้ราคาของสินทรัพย์ NPL ดีขึ้น ขายได้ราคาดีขึ้น (ไม่ต้องเอาออกมาขายในราคาต่ำๆ เหมือนที่เกิดขึ้นในประเทศไทย)
Q: Global play ประเทศไหนน่าสนใจ
A: จีนน่าสนใจ ถึงโดน trade war ท้ายสุดก็น่าจะมีเจรจา จีนตอนนี้เน้นผลิตสินค้า Hitech และทำ cloud computing มากขึ้น
Q: ถามคุณเผ่า สำหรับการลงทุนใน Jitta Wealth เรื่อง market timing กับการholdไม่ซื้อขายใน 1 ปี
อันไหนดีกว่ากัน
A: คุณเผ่า บอกว่า ในระยะสั้น จังหวะเวลามีผล แต่ในระยะยาว เช่น 12 ปี ผลตอบแทนจะใกล้เคียงกัน วินัยในการลงทุน ดีกว่าการจับจังหวะในการลงทุน
Q: ค่าใช้จ่ายในการซื้อขายต่างกับรายย่อยหรือไม่
A:คุณกมลยศ asset plus บอกว่าเราลงทุนตรง และ ผ่านกองทุนรวมด้วย เราลงทุนตรง ได้ข้อมูลเยอะกว่า ได้ค่าcomถูกกว่ามาลดค่าใช้จ่าย ETF ปกติจะมีค่า Fee ที่ต่ำอยู่แล้ว ถ้าถือเกินระดับที่กำหนดก็เสียค่าFeeถูกลง
Q: มีแนวคิดอย่างไรกลุ่มก่อสร้าง
A: คุณวิน ตอบว่าธุรกิจก่อสร้างบูม น่าจะได้ประโยชน์
Q: Sector ที่ชอบสำหรับแต่ละท่าน
A: คุณกมลยศ Asset Plus บอกว่าให้ดู กลุ่มค้าปลีก ธนาคาร อสังหาริมทรัพย์ นักลงทุนต้องทำการบ้านแยกบริษัทที่ดีมาทำ valuation รวมทั้งหาข่าว ว่าบริษัทมีการพัฒนาการอย่างไร ถือเป็น upsideของการลงทุน
คุณวิน เราต้องทำการบ้านเพื่อเลือกหุ้นที่ชอบ ตลาดนี้ บางทีเจอบริษัทดี แต่ไปพบไม่ได้ ก็ต้องตัดไป
คุณพิกุล เสริมเรื่องความเสี่ยง regulationเป็นเรื่องสำคัญ กฎระเบียบเปลี่ยนแปลงบ่อยมาก
คุณเผ่า Stay invest ลงทุนด้วยความเข้าใจภาพ
เราลงทุนในช่องทางที่ถูกต้อง เช่น กองทุนรวม หรือ ลงทุนด้วยตนเอง อย่าไปปล่อยเงินให้อยู่เฉยๆ
ความรู้เป็นเรื่องดี แต่ต้องปฏิบัติด้วย
สุดท้ายขอขอบคุณ วิทยากรทุกท่านที่มาให้ข้อมูลและความรู้ด้วยครับ/ค่ะ
สรุปโดย น้องเป้ และ พี่อมร
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 141
สรุปงานสัมมนา ช่วง Gurus talk: วิเคราะห์ Business Model 4 หุ้น (ตอน 1 of 2 )
16 กันยายน 2561
วิทยากร
1. อ. ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (นักลงทุนหุ้นคุณค่า ผู้จุดประกายการลงทุนหุ้นเวียดนาม)
2. คุณณัฐกิติ์ สุนทรบุระ (กูรูการลงทุนหุ้นเวียดนาม), คุณณัฐ
3. คุณภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง (กูรูการลงทุนหุ้นเวียดนาม), คุณบอล
พิธีกร: คุณจิตติมา ทวาเรศ
สรุปโดย เป้ (ขอแบ่งเป็น 2 โพสค่ะ)
ได้แก่
1.Airports Corporation Of Vietnam (ACV)
2.PetroVietnam Power Corporation (POW)
3.Viet Nam Engine And Agricultural Machinery Corporation (VEA)
4.FECON CORPORATION (FCN)
Q: รบกวน ดร. นิเวศน์ ช่วยขยายความที่กล่าวถึงการลงทุนในเวียดนาม ในงาน Money Talk @ SET เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่บอกว่าอยากจะเอาเงินกลับแล้ว
ดร. นิเวศน์: อันนั้นพูดทีเล่นที่จริง แต่ความรู้สึกจริงๆแล้ว ตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็นตลาดแห่งอนาคต และยังเป็นตลาดที่พวกเราสามารถสร้างความมั่งคั่งได้คล้ายๆกับที่เราสร้างจากตลาดหุ้นไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา และน่าจะดีกว่าเมืองไทยด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้ตลาดเมืองไทยค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว และหาหุ้นเติบโดยากขึ้นขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จะหาหุ้นที่จะเติบโตระยะยาวจากธุรกิจจริงๆได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเศรษฐกิจสมัยใหม่ จะมีพวกเศรษฐกิจ digital ที่โต แต่การเติบโตของเศรษฐกิจของจริง ที่เติบโตไปพร้อมกับดารเติบโตของการบริโภคของประชากร จะหาได้จากตลาดเวียดนาม ชัดเจนกว่าตลาดไทย
อยู่เมืองไทยจะเป็นแนวโน้มแบบญี่ปุ่น มีแต่คนแก่ จะหาสินค้าที่ขายคนแก่ยากมากๆ ยกเว้นเป็นธุรกิจที่เป็นผู้นำของโลก ซึ่งเมืองไทยไม่มีสินค้าแบบนี้
การเติบโตของเศรษฐกิจของจริง เวียดนามจะสามารถผลิตสินค้ามาแข่งกับเมืองไทยได้ เศรษฐกิจของเค้ากำลังพุ่งพล่าน ลองสังเกตดูว่าสินค้าประเภทนี้ในเวียดนามยังโตปีละ 20-30% ส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 20% รวมไปถึงสินค้าประเภทเสื้อผ้า มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กุ้ง หอย ปู ปลา เทียบกับในไทยที่ทุกอย่างค่อยๆ ลดลง จากที่เคยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งในบางรายการ
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าหาสินค้าที่ขายภายในประเทศ ให้กับประชากรของเค้าที่มีหลักร้อยล้านคน และสามารถขยายได้อย่างมั่นคงไปเรื่อย กิจการประเภทนี้ก็จะเป็นกิจการที่น่าสนใจ
การค้าปลีกในเวียดนาม ยังอยู่ใน stage ที่ว่าคนยังไม่ได้ใช้อีกเยอะเลย ยังมีห้างที่คนยังไม่ได้เดินแบบ Big C, Lotus ที่เป็นเรื่องเป็นราว นี่ยังไม่ได้พูดถึงร้าน convenient stores และยังมีอีกหลายอย่างที่ยังขาดอยู่เยอะแยะ ที่เราต้องหาผู้ชนะให้ได้
แต่ที่ผมผิดหวัง แล้วพูดออกไปแบบนั้น เพราะผมเองไม่ได้ใช้เวลากับมันที่จะเลือกธุรกิจ ตอนที่เข้าไปซื้อก็เข้าไปซื้อด้วยความรีบรอ้น เพราะมองเห็นศักยภาพว่านี่คือสวรรค์แห่งใหม่เลย พอลงทุนไปแล้วถึงได้รู้ว่าต้องทำการบ้าน แต่โดยรวมแล้ว การลงทุนในเวียดนามของผมไม่ได้ขาดทุน แต่ได้กำไรน้อย คือปีนึงเฉลี่ยประมาณ 5% สุดท้ายดีกว่าการฝากเงิน นับเป็นการกระจายความเสี่ยง ถือรับปันผลสบายๆ
ตอนที่ผมไปเวียดนามตอนนั้นดัชนีอยู่ 500 กว่าจุด เราซื้อหุ้นไปร้อยกว่าตัว แต่ไม่ perform ทั้งๆที่ดัชนีขึ้นไปถึง 1200 จุด หุ้นในพอร์ตบวกประมาณ 10-20% เพราะไปเลือกหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนเล่น สภาพคล่องน้อย ตัวเล็ก แต่ราคายังถูก ทุกวันนี้ราคาถูก ปันผลดี พอช่วงหุ้นตกลงมา หุ้นเราก็อยู่ที่เดิม
ทำให้ผมมาคิดว่า การที่ไปเวียดนามนี่ ผมไปถูกประเทศแล้ว แค่กลยุทธ์ผิด และเราไม่ทำการบ้านหนักพอ ยังไม่ได้ไปนั่งดูรายตัว เพื่อตั้งขายหรือซื้อเพิ่ม ตอนนี้ปล่อยไปก่อนเพื่อรอให้คนชั้นกลางเข้ามาเล่นหุ้นเพิ่ม รอผลประกอบการดี หุ้นก็จะขึ้นไปเองตามผลประกอบการ
นาทีนี้ ถ้าผมยังเป็นคนหนุ่มสาว ที่ต้องการจะรวยจากหุ้นจริงๆ ก็ต้องไปลงทุนที่เวียดนาม เพราะมองเห็นภาพอนาคตชัดเจน ตอนนี้ตลาดหุ้นเวียดนามยังไม่ efficient หุ้นตัวยังไม่ใหญ่มาก มี market cap นิดเดียว ถ้าเราเข้าไปซื้อตอนนี้ ถือไว้สัก 5-10 ปี รอ market cap เพิ่มขึ้น เราก็มีสิทธิ์ประสบความสำเร็จจากหุ้นได้ หรือถ้าเราไม่มีเวลาศึกษา การซื้อกองทุนทิ้งไว้ ก็ยังเป็นโอกาสที่ดีเช่นกัน
คุณณัฐ: เสริมว่าการลงทุนในตลาดเวียดนามช่วงนี้ ยังไม่อยากให้ไปอิงกับดัชนีมากนัก เนื่องจาก 20% ของ market cap เป็นหุ้นกลุ่มแบงก์ และอีก 20% เป็นหุ้น 3 ตัวของกลุ่ม Vin Group คือ VIC, VHM, และ VRE ทั้งสองอย่างรวมกันก็เป็น 40% ของ market cap เข้าไปแล้ว ดังนั้นการขึ้นลงของดัชนี อาจจะไม่ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงของตลาดหุ้นโดยรวมซะทีเดียว
ดังนั้น แทนที่จะไปอิงกับดัชนี เรามาตั้งเป้าเลือกหุ้นรายตัวเพื่อสร้างผลตอบแทนสัก 10-20% น่าจะดีกว่า
1) Airports Corporation of Vietnam (ACV)
คุณณัฐ: ตัวนี้เทียบเท่ากับ AOT ของบ้านเรา เป็นเจ้าของสนามบิน 22 แห่ง กระจายไปทั่วประเทศ โดยมีการแบ่งกลุ่มสนามบินที่เค้าดูแลออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ตามระดับ service charge .. กลุ่ม A, B, C A มี service charge สูงสุด และรองลงมาตามลำดับ
รายได้แบ่งเป็น Aero revenue 80% (เกี่ยวกับการ take off/landing fee) และ non-Aero revenue 20-22% เช่นค่าเช่าร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และเก็บส่วนแบ่งรายได้จากร้าน duty free
Outlook รายได้ของปีนี้ น่าจะดีมากเนื่องจาก ACV ได้มีการทะยอยปรับขึ้นค่า fee ตั้งแต่ตุลาปีที่แล้ว ถึง กรกฎาปีนี้ ทำให้ earning, revenue growth ในปีนี้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
สำหรับโครงการที่เป็นไฮไลท์ในอนาคต 2 แห่งคือ
1) การก่อสร้าง Terminal 3 ที่สนามบิน Tan Son Nhat (TSN, ที่ HCMC)
2) การสร้างสนามบินแห่งใหม่ Long Thanh international airport ที่จังหวัด Dong Nai ที่อาจจะใช้ควบคู่ไปกับสนามบิน TSN เพราะถึงแม้ว่าจะมีการสร้าง Terminal แห่งที่ 3 ขึ้นมา ก็อาจจะไม่สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในอีก 7-8 ปี ข้างหน้าได้
คุณบอล: จุดแข็งของตัวนี้ คือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างปะรเทศเพิ่มมากขึ้น
ข้อแตกต่างระหว่าง AOT กับ ACV คือ AOT มีแต่สนามบินเกรด A เท่านั้น ส่วนสนามบินรองๆที่ไม่ค่อยมีกำไรจะไม่อยู่กับ AOT
จาก trend
1) การเติบโตของจำนวนผู้โดยสาร
นักท่องเที่ยวต่างชาติไปเวียดนามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ตอนนี้ประมาณ 1/3 ของบ้านเรา) ในขณะที่ market cap ของ จะอยู่ที่ ACV 1/4 ของ AOT เท่านั้น ทำให้ยังมี room ที่เติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะจากจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีนที่เข้าไปเวียดนามมากขึ้น โตระดับ 10% ++ ต่อปี
รวมทั้ง demand การเดินทางในประเทศด้วยเครื่องบินมากขึ้น เนื่องจากถนนหนทางยังไม่ค่อยดีนัก
2) ถ้าแกะดูรายได้ของ ACV ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเคลียร์ประเด็นข้อพิพาษกับรัฐบาลเรื่องการจัดเก็บรายได้จากการใช้ runways ว่าเป็นของใคร ระหว่างเข้ารัฐบาล หรือ เข้ากระเป๋า ACV (ปัจจุบันทาง ACV เก็บแค่ค่า passenger fee)
นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเพิมรายได้จาก non-Aero revenue ที่ปัจจุบันอยู่ที่เพียง 22% ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 40% (AOT ก็จะอยู่ประมาณนี้)
ถ้าผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โอกาสในการขายก็มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการ bidding ร้านค้าต่างๆ ยังไม่เป็น international มากนัก (หมายถึงยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่ หรือต่างชาติเข้ามาประมูลร้านแข่ง) ถ้าเค้าเปิดเสรีเมื่อไร สัดส่วนที่รายได้ที่เป็น revenue sharing ตรงนี้ อาจจะโตขึ้นจาก 10-15% เป็น 30% ก็ย่อมมีความเป็นไปได้สูง
แต่ในแง่ของราคาหุ้น ACV ตอนนี้ ถือว่าค่อนข้างแพง มี EV/EBITDA = 17x
แต่ว่า ตอนนี้ AOT น่าจะแพงที่สุดในโลกทั้งในเชิง market cap และ EV/EBITDA
คุณณัฐ เสริมว่า ตอนนี้รายได้ค่าเช่าหนักไปทาง fixed rate ซะเยอะ ในขณะที่ revenue sharing มีมาร์จิ้นสูงกว่า และยังมีพื้นที่ที่ติดสัญญาเช่าเดิมตั้งแต่สมัยยังเป็น SOE อยู่ ซึ่งเป็นการเก็บค่าเช่าที่ถูกมาก เมื่อถึงเวลาต่ออายุสัญญาจะมีการเปิดประมูลพื้นที่เช่าใหม่ ก็มีโอกาสที่จะได้รับค่าเช่าเป็น market rate มากขึ้น
นอกจากนี้ จากการเข้าพอ ผบห เมื่อ 2 เดือนก่อน จะมีการทำ international bidding ให้รายใหญ่ หรือต่างชาติเข้ามาประมูล ทำให้น่ามีรายได้เพิ่มขึ้น
กำลังซื้อคนเวียดนามมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะไปซื้อสินค้าใน duty free มากขึ้น
สุดท้ายทางรัฐบาลวางแผนจะส่งมอบ runways ให้กับ ACV ภายใน 1H19 ทำให้สามารถรับรู้รายได้จากส่วนนี้ภายในปีหน้า แต่ต้องติดตามว่าการส่งมอบจะออกมาในรูปแบบไหนระหว่างเป็นพื้นที่ให้เช่า หรือเป็นสัมปทาน เนื่องจาก จะส่งผลต่ออัตรากำไรที่แตกต่างกันออกไป
แต่ว่า runways ที่ Noi Bai จะต้องปิดซ่อมปรับปรุง ซึ่งวางแผนจะทำในช่วง 3Q19 (low season) ซึ่งอาจจะกระทบกับผลประกอบการในไตรมาสดังกล่าว
ข้อควรระวังคือ
- ACV อาจจะไม่ได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากจำนวน ผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น สาเหตุเนื่องจากว่า ACV เองเป็นเพียงผู้ถิหุ้นส่วนน้อยและไม่ได้มีสิทธิ์บริหาร terminals ที่ international airports 2 แห่งที่มีความสำคัญมาก คือที่ Danang (ACV ถือ 20%) และที่ Cam Ranh (หรือ Nha Trang) (ACV ถือ 10%) เนื่องจากทั้ง 2 แห่งนี้มีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงกว่าที่ HCMC และ Hanoi อย่างมาก เพราะชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านสนามบิน Danang และ Cam Ranh คิดเป็นสัดส่วน 20% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในเวียดนาม
- ACV มี CAPEX cycle รอบใหญ่รออยู่ ถึงแม้จะไม่ใช้ในเร็วๆนี้ นั่นก็คือตัว Long Thanh international airport ที่ประมาณงบการก่อสร้างสูงถึง US$ 15 bn ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการระดมทุน รวมไปถึง cost of fund จะเป็นเท่าไร และช่วงแรกในการดำเนินงานจะขาดทุนหนักขนาดไหน จริงๆแล้วทาง ACV เคยพยายามจะหา strategic partner มาซื้อหุ้นเพิ่มทุน และลงทุนก่อสร้างโดยตรง นั่นคือ airport de France แต่ไม่สามารถตกลงราคาหุ้นกันได้ ทำให้ทางรั่งเศสถอนตัวออกไป ACV จึงต้องลงทุนเองคนเดียว หรือจนกว่าจะมี partner ใหม่เข้ามาแทน
ดร. นิเวศน์:
Market cap : AOT= 920,000 ล้านบาท , ACV = 260,000 ล้านบาท (28% ของ AOT เอง)
PE: AOT = 38x , ACV = 33x
ราคาถูกกว่า AOT นิดหน่อย จนถือว่าพอๆกัน
Profit margin: AOT = 42%, ACV = 37%
ROE: AOT = 18% , ACV = 21%
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเวียดนามโตปีละ 15-20% ในขณะที่มาไทย เติบโตเพียงปีละ 5-10% เอง ของเวียดนามจำนวนนักท่องเที่ยวยังโตได้อีกเยอะ ยิ่งมีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ เค้าก็เดินทางกันเข้ามามากขึ้น จะเห็นว่ามีเกาหลี จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เข้าไปเยอะ จะส่งผลให้การท่องเที่ยวของเวียดนามเจริญเติบโต เพียงแค่เวียดนามยังไม่มี infrastructure ที่เพียงพอ และยังเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่จะอะไรก็ยังถูกควบคุมอยู่มาก
ผมเคยถือ AOT มานานมาก ในสมัยก่อน แล้วหุ้นไม่ไปไหนเลย ถือจนเบื่อเลยขายทิ้ง แต่เมื่อ 4-5 ปี อยู่นักท่องเที่ยวมาจากไหนไม่รู้ แห่กันเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทย นักท่องเที่ยวจีนที่มาไทยตอนแรกๆโตปีละ 20-30% ทำให้หุ้น AOT เติบโตขึ้นมาอย่างมาก หุ้นเปลี่ยนไปเลย
พอคนจีนเข้ามาพรดพราด ทุกอย่างเลยไหลลงมากลายเป็นกำไรให้ AOT หมดเพราะต้นทุนเท่าเดิม
เพราะฉะนั้น ถ้าจะถือ ACV ต้องมองว่าอนาคตรัฐบาลเวียดนามจะเป็นแบบไหน เพราะหุ้นสนามบินจะจนหรือรวยขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล รวมไปถึงเรื่องของการให้บริหารสนามบินไหน การเก็บค่าธรรมเนียมอะไรต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น
ก็ลองไปดูเอาละกัน
16 กันยายน 2561
วิทยากร
1. อ. ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร (นักลงทุนหุ้นคุณค่า ผู้จุดประกายการลงทุนหุ้นเวียดนาม)
2. คุณณัฐกิติ์ สุนทรบุระ (กูรูการลงทุนหุ้นเวียดนาม), คุณณัฐ
3. คุณภาคย์ภูมิ ศิริหงษ์ทอง (กูรูการลงทุนหุ้นเวียดนาม), คุณบอล
พิธีกร: คุณจิตติมา ทวาเรศ
สรุปโดย เป้ (ขอแบ่งเป็น 2 โพสค่ะ)
ได้แก่
1.Airports Corporation Of Vietnam (ACV)
2.PetroVietnam Power Corporation (POW)
3.Viet Nam Engine And Agricultural Machinery Corporation (VEA)
4.FECON CORPORATION (FCN)
Q: รบกวน ดร. นิเวศน์ ช่วยขยายความที่กล่าวถึงการลงทุนในเวียดนาม ในงาน Money Talk @ SET เดือนสิงหาคมที่ผ่านมา ที่บอกว่าอยากจะเอาเงินกลับแล้ว
ดร. นิเวศน์: อันนั้นพูดทีเล่นที่จริง แต่ความรู้สึกจริงๆแล้ว ตลาดหุ้นเวียดนามยังเป็นตลาดแห่งอนาคต และยังเป็นตลาดที่พวกเราสามารถสร้างความมั่งคั่งได้คล้ายๆกับที่เราสร้างจากตลาดหุ้นไทยในช่วง 10-20 ปีที่ผ่านมา และน่าจะดีกว่าเมืองไทยด้วยซ้ำ เพราะตอนนี้ตลาดเมืองไทยค่อนข้างอิ่มตัวแล้ว และหาหุ้นเติบโดยากขึ้นขึ้นเรื่อยๆ ตอนนี้จะหาหุ้นที่จะเติบโตระยะยาวจากธุรกิจจริงๆได้ยากขึ้นเรื่อยๆ เพราะเศรษฐกิจสมัยใหม่ จะมีพวกเศรษฐกิจ digital ที่โต แต่การเติบโตของเศรษฐกิจของจริง ที่เติบโตไปพร้อมกับดารเติบโตของการบริโภคของประชากร จะหาได้จากตลาดเวียดนาม ชัดเจนกว่าตลาดไทย
อยู่เมืองไทยจะเป็นแนวโน้มแบบญี่ปุ่น มีแต่คนแก่ จะหาสินค้าที่ขายคนแก่ยากมากๆ ยกเว้นเป็นธุรกิจที่เป็นผู้นำของโลก ซึ่งเมืองไทยไม่มีสินค้าแบบนี้
การเติบโตของเศรษฐกิจของจริง เวียดนามจะสามารถผลิตสินค้ามาแข่งกับเมืองไทยได้ เศรษฐกิจของเค้ากำลังพุ่งพล่าน ลองสังเกตดูว่าสินค้าประเภทนี้ในเวียดนามยังโตปีละ 20-30% ส่งออกได้เพิ่มขึ้นอีกเดือนละ 20% รวมไปถึงสินค้าประเภทเสื้อผ้า มือถือ เครื่องใช้ไฟฟ้า กุ้ง หอย ปู ปลา เทียบกับในไทยที่ทุกอย่างค่อยๆ ลดลง จากที่เคยเป็นผู้ส่งออกอันดับหนึ่งในบางรายการ
ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าหาสินค้าที่ขายภายในประเทศ ให้กับประชากรของเค้าที่มีหลักร้อยล้านคน และสามารถขยายได้อย่างมั่นคงไปเรื่อย กิจการประเภทนี้ก็จะเป็นกิจการที่น่าสนใจ
การค้าปลีกในเวียดนาม ยังอยู่ใน stage ที่ว่าคนยังไม่ได้ใช้อีกเยอะเลย ยังมีห้างที่คนยังไม่ได้เดินแบบ Big C, Lotus ที่เป็นเรื่องเป็นราว นี่ยังไม่ได้พูดถึงร้าน convenient stores และยังมีอีกหลายอย่างที่ยังขาดอยู่เยอะแยะ ที่เราต้องหาผู้ชนะให้ได้
แต่ที่ผมผิดหวัง แล้วพูดออกไปแบบนั้น เพราะผมเองไม่ได้ใช้เวลากับมันที่จะเลือกธุรกิจ ตอนที่เข้าไปซื้อก็เข้าไปซื้อด้วยความรีบรอ้น เพราะมองเห็นศักยภาพว่านี่คือสวรรค์แห่งใหม่เลย พอลงทุนไปแล้วถึงได้รู้ว่าต้องทำการบ้าน แต่โดยรวมแล้ว การลงทุนในเวียดนามของผมไม่ได้ขาดทุน แต่ได้กำไรน้อย คือปีนึงเฉลี่ยประมาณ 5% สุดท้ายดีกว่าการฝากเงิน นับเป็นการกระจายความเสี่ยง ถือรับปันผลสบายๆ
ตอนที่ผมไปเวียดนามตอนนั้นดัชนีอยู่ 500 กว่าจุด เราซื้อหุ้นไปร้อยกว่าตัว แต่ไม่ perform ทั้งๆที่ดัชนีขึ้นไปถึง 1200 จุด หุ้นในพอร์ตบวกประมาณ 10-20% เพราะไปเลือกหุ้นที่ไม่ค่อยมีคนเล่น สภาพคล่องน้อย ตัวเล็ก แต่ราคายังถูก ทุกวันนี้ราคาถูก ปันผลดี พอช่วงหุ้นตกลงมา หุ้นเราก็อยู่ที่เดิม
ทำให้ผมมาคิดว่า การที่ไปเวียดนามนี่ ผมไปถูกประเทศแล้ว แค่กลยุทธ์ผิด และเราไม่ทำการบ้านหนักพอ ยังไม่ได้ไปนั่งดูรายตัว เพื่อตั้งขายหรือซื้อเพิ่ม ตอนนี้ปล่อยไปก่อนเพื่อรอให้คนชั้นกลางเข้ามาเล่นหุ้นเพิ่ม รอผลประกอบการดี หุ้นก็จะขึ้นไปเองตามผลประกอบการ
นาทีนี้ ถ้าผมยังเป็นคนหนุ่มสาว ที่ต้องการจะรวยจากหุ้นจริงๆ ก็ต้องไปลงทุนที่เวียดนาม เพราะมองเห็นภาพอนาคตชัดเจน ตอนนี้ตลาดหุ้นเวียดนามยังไม่ efficient หุ้นตัวยังไม่ใหญ่มาก มี market cap นิดเดียว ถ้าเราเข้าไปซื้อตอนนี้ ถือไว้สัก 5-10 ปี รอ market cap เพิ่มขึ้น เราก็มีสิทธิ์ประสบความสำเร็จจากหุ้นได้ หรือถ้าเราไม่มีเวลาศึกษา การซื้อกองทุนทิ้งไว้ ก็ยังเป็นโอกาสที่ดีเช่นกัน
คุณณัฐ: เสริมว่าการลงทุนในตลาดเวียดนามช่วงนี้ ยังไม่อยากให้ไปอิงกับดัชนีมากนัก เนื่องจาก 20% ของ market cap เป็นหุ้นกลุ่มแบงก์ และอีก 20% เป็นหุ้น 3 ตัวของกลุ่ม Vin Group คือ VIC, VHM, และ VRE ทั้งสองอย่างรวมกันก็เป็น 40% ของ market cap เข้าไปแล้ว ดังนั้นการขึ้นลงของดัชนี อาจจะไม่ได้สะท้อนสภาพความเป็นจริงของตลาดหุ้นโดยรวมซะทีเดียว
ดังนั้น แทนที่จะไปอิงกับดัชนี เรามาตั้งเป้าเลือกหุ้นรายตัวเพื่อสร้างผลตอบแทนสัก 10-20% น่าจะดีกว่า
1) Airports Corporation of Vietnam (ACV)
คุณณัฐ: ตัวนี้เทียบเท่ากับ AOT ของบ้านเรา เป็นเจ้าของสนามบิน 22 แห่ง กระจายไปทั่วประเทศ โดยมีการแบ่งกลุ่มสนามบินที่เค้าดูแลออกเป็น 3 กลุ่มด้วยกัน ตามระดับ service charge .. กลุ่ม A, B, C A มี service charge สูงสุด และรองลงมาตามลำดับ
รายได้แบ่งเป็น Aero revenue 80% (เกี่ยวกับการ take off/landing fee) และ non-Aero revenue 20-22% เช่นค่าเช่าร้านอาหาร ร้านขายของที่ระลึก และเก็บส่วนแบ่งรายได้จากร้าน duty free
Outlook รายได้ของปีนี้ น่าจะดีมากเนื่องจาก ACV ได้มีการทะยอยปรับขึ้นค่า fee ตั้งแต่ตุลาปีที่แล้ว ถึง กรกฎาปีนี้ ทำให้ earning, revenue growth ในปีนี้จะอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมาก
สำหรับโครงการที่เป็นไฮไลท์ในอนาคต 2 แห่งคือ
1) การก่อสร้าง Terminal 3 ที่สนามบิน Tan Son Nhat (TSN, ที่ HCMC)
2) การสร้างสนามบินแห่งใหม่ Long Thanh international airport ที่จังหวัด Dong Nai ที่อาจจะใช้ควบคู่ไปกับสนามบิน TSN เพราะถึงแม้ว่าจะมีการสร้าง Terminal แห่งที่ 3 ขึ้นมา ก็อาจจะไม่สามารถรองรับจำนวนผู้โดยสารที่เพิ่มมากขึ้นในอีก 7-8 ปี ข้างหน้าได้
คุณบอล: จุดแข็งของตัวนี้ คือผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการที่จำนวนนักท่องเที่ยวทั้งในและต่างปะรเทศเพิ่มมากขึ้น
ข้อแตกต่างระหว่าง AOT กับ ACV คือ AOT มีแต่สนามบินเกรด A เท่านั้น ส่วนสนามบินรองๆที่ไม่ค่อยมีกำไรจะไม่อยู่กับ AOT
จาก trend
1) การเติบโตของจำนวนผู้โดยสาร
นักท่องเที่ยวต่างชาติไปเวียดนามเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ (ตอนนี้ประมาณ 1/3 ของบ้านเรา) ในขณะที่ market cap ของ จะอยู่ที่ ACV 1/4 ของ AOT เท่านั้น ทำให้ยังมี room ที่เติบโตได้อีกมาก โดยเฉพาะจากจำนวนนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะจีนที่เข้าไปเวียดนามมากขึ้น โตระดับ 10% ++ ต่อปี
รวมทั้ง demand การเดินทางในประเทศด้วยเครื่องบินมากขึ้น เนื่องจากถนนหนทางยังไม่ค่อยดีนัก
2) ถ้าแกะดูรายได้ของ ACV ที่มีแนวโน้มว่าจะสามารถเคลียร์ประเด็นข้อพิพาษกับรัฐบาลเรื่องการจัดเก็บรายได้จากการใช้ runways ว่าเป็นของใคร ระหว่างเข้ารัฐบาล หรือ เข้ากระเป๋า ACV (ปัจจุบันทาง ACV เก็บแค่ค่า passenger fee)
นอกจากนี้ยังมีโอกาสที่จะเพิมรายได้จาก non-Aero revenue ที่ปัจจุบันอยู่ที่เพียง 22% ของรายได้ทั้งหมด ในขณะที่ค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมอยู่ที่ประมาณ 40% (AOT ก็จะอยู่ประมาณนี้)
ถ้าผู้โดยสารเพิ่มขึ้น โอกาสในการขายก็มากขึ้น ยิ่งไปกว่านั้นกระบวนการ bidding ร้านค้าต่างๆ ยังไม่เป็น international มากนัก (หมายถึงยังไม่มีผู้เล่นรายใหญ่ หรือต่างชาติเข้ามาประมูลร้านแข่ง) ถ้าเค้าเปิดเสรีเมื่อไร สัดส่วนที่รายได้ที่เป็น revenue sharing ตรงนี้ อาจจะโตขึ้นจาก 10-15% เป็น 30% ก็ย่อมมีความเป็นไปได้สูง
แต่ในแง่ของราคาหุ้น ACV ตอนนี้ ถือว่าค่อนข้างแพง มี EV/EBITDA = 17x
แต่ว่า ตอนนี้ AOT น่าจะแพงที่สุดในโลกทั้งในเชิง market cap และ EV/EBITDA
คุณณัฐ เสริมว่า ตอนนี้รายได้ค่าเช่าหนักไปทาง fixed rate ซะเยอะ ในขณะที่ revenue sharing มีมาร์จิ้นสูงกว่า และยังมีพื้นที่ที่ติดสัญญาเช่าเดิมตั้งแต่สมัยยังเป็น SOE อยู่ ซึ่งเป็นการเก็บค่าเช่าที่ถูกมาก เมื่อถึงเวลาต่ออายุสัญญาจะมีการเปิดประมูลพื้นที่เช่าใหม่ ก็มีโอกาสที่จะได้รับค่าเช่าเป็น market rate มากขึ้น
นอกจากนี้ จากการเข้าพอ ผบห เมื่อ 2 เดือนก่อน จะมีการทำ international bidding ให้รายใหญ่ หรือต่างชาติเข้ามาประมูล ทำให้น่ามีรายได้เพิ่มขึ้น
กำลังซื้อคนเวียดนามมากขึ้น มีแนวโน้มที่จะไปซื้อสินค้าใน duty free มากขึ้น
สุดท้ายทางรัฐบาลวางแผนจะส่งมอบ runways ให้กับ ACV ภายใน 1H19 ทำให้สามารถรับรู้รายได้จากส่วนนี้ภายในปีหน้า แต่ต้องติดตามว่าการส่งมอบจะออกมาในรูปแบบไหนระหว่างเป็นพื้นที่ให้เช่า หรือเป็นสัมปทาน เนื่องจาก จะส่งผลต่ออัตรากำไรที่แตกต่างกันออกไป
แต่ว่า runways ที่ Noi Bai จะต้องปิดซ่อมปรับปรุง ซึ่งวางแผนจะทำในช่วง 3Q19 (low season) ซึ่งอาจจะกระทบกับผลประกอบการในไตรมาสดังกล่าว
ข้อควรระวังคือ
- ACV อาจจะไม่ได้ผลประโยชน์อย่างเต็มที่จากจำนวน ผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น สาเหตุเนื่องจากว่า ACV เองเป็นเพียงผู้ถิหุ้นส่วนน้อยและไม่ได้มีสิทธิ์บริหาร terminals ที่ international airports 2 แห่งที่มีความสำคัญมาก คือที่ Danang (ACV ถือ 20%) และที่ Cam Ranh (หรือ Nha Trang) (ACV ถือ 10%) เนื่องจากทั้ง 2 แห่งนี้มีอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างชาติสูงกว่าที่ HCMC และ Hanoi อย่างมาก เพราะชาวต่างชาติที่เดินทางผ่านสนามบิน Danang และ Cam Ranh คิดเป็นสัดส่วน 20% ของนักท่องเที่ยวต่างชาติทั้งหมดที่เดินทางเข้ามาในเวียดนาม
- ACV มี CAPEX cycle รอบใหญ่รออยู่ ถึงแม้จะไม่ใช้ในเร็วๆนี้ นั่นก็คือตัว Long Thanh international airport ที่ประมาณงบการก่อสร้างสูงถึง US$ 15 bn ซึ่งยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของการระดมทุน รวมไปถึง cost of fund จะเป็นเท่าไร และช่วงแรกในการดำเนินงานจะขาดทุนหนักขนาดไหน จริงๆแล้วทาง ACV เคยพยายามจะหา strategic partner มาซื้อหุ้นเพิ่มทุน และลงทุนก่อสร้างโดยตรง นั่นคือ airport de France แต่ไม่สามารถตกลงราคาหุ้นกันได้ ทำให้ทางรั่งเศสถอนตัวออกไป ACV จึงต้องลงทุนเองคนเดียว หรือจนกว่าจะมี partner ใหม่เข้ามาแทน
ดร. นิเวศน์:
Market cap : AOT= 920,000 ล้านบาท , ACV = 260,000 ล้านบาท (28% ของ AOT เอง)
PE: AOT = 38x , ACV = 33x
ราคาถูกกว่า AOT นิดหน่อย จนถือว่าพอๆกัน
Profit margin: AOT = 42%, ACV = 37%
ROE: AOT = 18% , ACV = 21%
นักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเวียดนามโตปีละ 15-20% ในขณะที่มาไทย เติบโตเพียงปีละ 5-10% เอง ของเวียดนามจำนวนนักท่องเที่ยวยังโตได้อีกเยอะ ยิ่งมีการลงทุนโดยตรงจากต่างชาติ เค้าก็เดินทางกันเข้ามามากขึ้น จะเห็นว่ามีเกาหลี จีน ไต้หวัน ญี่ปุ่น เข้าไปเยอะ จะส่งผลให้การท่องเที่ยวของเวียดนามเจริญเติบโต เพียงแค่เวียดนามยังไม่มี infrastructure ที่เพียงพอ และยังเป็นสังคมคอมมิวนิสต์ที่จะอะไรก็ยังถูกควบคุมอยู่มาก
ผมเคยถือ AOT มานานมาก ในสมัยก่อน แล้วหุ้นไม่ไปไหนเลย ถือจนเบื่อเลยขายทิ้ง แต่เมื่อ 4-5 ปี อยู่นักท่องเที่ยวมาจากไหนไม่รู้ แห่กันเข้ามาท่องเที่ยวเมืองไทย นักท่องเที่ยวจีนที่มาไทยตอนแรกๆโตปีละ 20-30% ทำให้หุ้น AOT เติบโตขึ้นมาอย่างมาก หุ้นเปลี่ยนไปเลย
พอคนจีนเข้ามาพรดพราด ทุกอย่างเลยไหลลงมากลายเป็นกำไรให้ AOT หมดเพราะต้นทุนเท่าเดิม
เพราะฉะนั้น ถ้าจะถือ ACV ต้องมองว่าอนาคตรัฐบาลเวียดนามจะเป็นแบบไหน เพราะหุ้นสนามบินจะจนหรือรวยขึ้นอยู่กับนโยบายรัฐบาล รวมไปถึงเรื่องของการให้บริหารสนามบินไหน การเก็บค่าธรรมเนียมอะไรต่างๆ อย่างนี้เป็นต้น
ก็ลองไปดูเอาละกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 142
สัมมนา “วันรวมพลคนลงทุนหุ้นเวียดนาม”
Gurus talk: วิเคราะห์ Business Model 4 หุ้น (2 of 2)
สรุปโดย เป้ และ พี่อมร
2) Petro Vietnam Power Corporation (POW)
คุณบอล>>> ตัวนี้เป็นบริษัทลูกของ Petro Vietnam (PVN) คล้ายๆ PTT บ้านเรา มี Installed Capacity = 4,200 MW (แต่ในแง่ของ Equity Capacity = 3,900 MW), market cap = 50,000 ล้านบาท
มาดูที่ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าของเวียดนาม โรงไฟฟ้าจะขึ้นกับภาครัฐค่อนข้างมาก
ความต้องการของไฟฟ้าของเวียดนามต้องการใช้ไฟมากขึ้น สร้างโรงงานตามตัวเลข FDI ที่มากขึ้น เดินห้างมากขึ้น ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
ที่ผ่านมา demand ความต้องการใช้ไฟฟ้าเวียดนามโต 10%++ แต่โรงไฟฟ้าสร้างตามไม่ทัน โตแค่ 4-5% เท่านั้น
ถึงแม้ว่าค่าไฟเวียดนามจะถูกควบคุมจนตอนนี้ราคาถูกกว่าเพื่อนบ้านเยอะ แต่สุดท้ายค่าไฟก็ต้องขึ้น เพราะถ้าไม่ขึ้น จะไม่จูงให้ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเข้ามาลงทุน
สรุปง่ายๆว่าภาพรวมความต้องการไฟฟ้าของเวียดนามมี Demand > Supply
POW มีกำลังการผลิตไฟฟ้าในพอร์ตเป็นอัน 2 หรือ 3 ของเวียดนาม
• 60% เป็นโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติ จากหลุมแก๊สในประเทศ
• 20% เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน
• 10% เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
ธุรกิจโรงไฟฟ้า ถึงแม้ว่ารัฐบาล (EVN – Electricity Vietnam) คุม แต่อีกมุมคือมีความแน่นอน คิดเรื่องธุรกิจไฟฟ้าคือ P x Q (P ราคาขาย, Q ปริมาณ) ปริมาณอาจจะผันผวนบ้าง ถ้าน้ำมาเยอะ EVN อาจจะโยกไปรับซื้อไฟจากเขื่อนมากขึ้น ต้องขึ้นอยู่แล้ว
ล่าสุดทาง POW ได้รับอนุมัติให้สร้าง โรงไฟฟ้า NT3, NT 4 ที่มีกำลังการผลิตไฟรวมกัน 1,500 MW แต่อาจจะมีช้าไปบ้างเพราะต้องใช้เชื้อเพลิง LNG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และโรงเก็บ LNG สร้างไม่ทัน ยังไม่รวมโครงการในอนาคตอีกเยอะ ซึ่งอาจจะขึ้นไประดับ 10,000 MW
ระบบการรับซื้อไฟฟ้าของเวียดนาม มี 2 แบบ
1. แบบ PPA โดยกำหนด IRR ที่ 12%
2. แบบ CGM (Competitive Generation Market)
คุณณัฐ>>> เสริมเรื่องรายละเอียดจาก Power Development Plan VII ของเวียดนามที่มีการแบ่งการซื้อขายไฟเป็นลำดับขั้น ขั้นแรกคือรับซื้อไฟตาม PPA เหมือนเมืองไทย จะทำให้รู้ว่าในแต่ละปี โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งจะมีกำไรเท่าไร เพราะจ่ายไฟไปตามค่าความพร้อมจ่าย อีกส่วนนึงเป็น CGM (Competitive Generation Market) ทาง EVN (EGAT เมืองไทย) จะเป้ดให้มีการประมูลขึ้นตามแต่ละช่วงเวลา โดยคนที่ bid ค่าไฟต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะ และไล่ไปรายอื่นที่ให้ราคาสูงกว่าเรื่อยๆจนครบ ทำให้ low cost generator(s) จะได้ benefit สูงสุด
ข้อควรระวัง:
(1) ความเสี่ยงของ PPA โรง NT1 & NT 2 จะหมดในปี 2022 แน่นอนว่าจะมีการต่ออายุ PPA อยู่แล้ว แต่ต้องลุ้นว่าตัวต่ออายุฉบับใหม่จะเกิดทัน ก่อนที่ฉบับเก่าจะหมดอายุหรือไม่ เพราะถ้าไม่ทัน เค้าจะต้องขายไฟผ่านช่องทาง CGM ซึ่งต้องไปดูว่าต้นทุนค่าไฟของเค้าสู้ได้หรือไม่สำหรับช่องทางนี้ มันเคยมีเคสแบบนี้เกิดมาแล้วใน ปี 2016 ที่ PPA ของโรงไฟฟ้า Phalai (PPC) หมดแล้วต่ออายุไม่ทัน ทำให้ PPC ต้องขายไฟผ่านช่องทาง CGM แต่ต้นทุนสู้ไม่ได้ เลยทำให้ขายในราคาขาดทุนอยู่พักนึง จนกลับมาต่ออายุ PPA ใหม่ได้
(2) โรงไฟฟ้า NT3, NT 4 ทั้งสองโรงไฟฟ้าใช้ LNG เป็นต้นทุนเชื้อเพลิง แต่ POW ยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงไฟฟ้าที่ใช้ LNG เรื่องแบบนี้เคยเกิดกับ POW ที่ทางบริษัทแม่ PVN โอน Vung Ang ที่เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินมาให้บริหารจัดการ แต่เกิดเจอปัญหาทางเทคนิค ทำให้ Utilize เหลือแค่ 30% อยู่พักนึง กว่าจะแก้ได้ต้องใช้เวลานาน
(3) อยู่ที่ช่องทาง CGM เอง เนื่องจากเชื้อเพลิงของ POW ส่วนมากเป็นแก๊ส ที่ซื้อขายกับบริษัทแม่ PVN ซึ่งมีแหล่งแก๊สธรรมชาติอยู่นอกชายฝั่ง ราคาตอนนี้ซื้อขายกันที่ US$ 4-6 /mmbtu แต่แหล่งแก๊สค่อยๆหมดลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องซื้อจากแหล่งที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ กระทบต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นมาเป็น US$ 7-11 /mmbtu พอต้นทุนการผลิตไฟสูงขึ้น อาจจะส่งผลให้ลดความสามารถในการแข่งขันในช่องทาง CGM ได้
ดร นิเวศน์>>> บอกว่า น่าสนใจ ราคาไม่แพง บริษัทมั่นคง มี market cap 50,000 ล้านบาท เปรียบเทียบยอดขายประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาทต่อปี ดูตัวเลขหลายๆอย่างแล้วมองว่าคล้าย RATCH มาก , DE ratio เท่ากัน แต่ราคาหุ้น RATCH แพงไปหน่อย (แพงกว่า 50%), PE พอๆกันที่ 13-14x, profit margin RATCH = 13%, POW = 10%, installed capacity พอกันที่ประมาณ 10% ของประเทศ, ใช้แก๊สเหมือนกัน
ตอนนี้การใช้ไฟในไทยไม่ค่อยโตแล้ว ยังมีซื้อไฟจากเขื่อนที่ลาวอีก สุดท้ายการใช้ไฟของไทยจะไม่ค่อยโต แก๊สธรรมชาติบ้านเราก็กำลังหมด แต่เรามีการควบคุมการรับซื้อไฟดีกว่าในเวียดนาม
แต่ความต้องการใช้ไฟของเวียดนามยังโตได้อีก การใช้ไฟไม่มีปัญหา ถ้าการใช้ไฟมาก รัฐต้องกระตุ้นให้คนมาลงทุน ด้วยการเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น ราคาไม่น่าจะถูกบีบจากรัฐมากนัก
ตัวนี้จัดเป็นหุ้นสาธารณูปโภค หวังให้ราคาเพิ่มมากๆก็ไม่ได้ เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล
ผมลงหุ้นไฟฟ้า NT2 เยอะที่สุด รับปันผล 10% ทุกปี แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหน เพราะแม่ไม่ให้โต ตัวนี้เป็นลูกของ POW อีกที พอแม่เข้าตลาดเอง แม่ก้อจะโตเอง หุ้นแบบนี้จะหวังให้หุ้นเปลี่ยนชีวิต น่าจะยาก
แต่โดยตัวของ POW เองดูแล้วน่าจะมีศักยภาพ อาจจะมีโอกาสที่ Market cap ขึ้นไปเท่า RATCH หรือถึง 100,000 ล้านบาท
คุณบอล>>> เสริมเรื่องหุ้นโรงไฟฟ้าในเวียดนามว่ามีแบบ Single plant (เหมือน NT2) และแบบ Holding company (เช่น POW, Genco 3) ซึ่ง valuation ของพวก Holding ปกติจะแพงกว่า เมื่อแลกกับการมี growth ที่จะโรงไฟฟ้าเติมเข้ามาในพอร์ตได้เรื่อยๆ
การคิด valuation โรงไฟฟ้าอาจจะประเมินจาก replacement value = EV (Enterprise Value) ÷ MW เหมือนกับคิดว่าถ้าวันนี้เราจะสร้างโรงไฟฟ้า 3,900 MW แบบเดียวกับที่ POW มี เราจะต้องใช้เงินเท่าไร ในเคสของ POW จะตกอยู่ที่ US$ 0.7-0.8 million /MW หรือประมาณ 20 กว่าล้านบาทต่อ MW ซึ่งถ้าเทียบราคาแบบนี้กับที่เมืองไทย ถือว่าสร้างได้ถูกมาก และถ้าเทียบกันเองในเวียดนาม ถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้าแก๊สจะใช้เงินประมาณ US$ 1 million /MW, ถ่านหิน US$ 1.5 million /MW, โรงไฟฟ้าพลังน้ำใช้ US$ 2.x million /MW
ถ้าสร้างใหม่เทียบกับการซื้อหุ้นบริษัท ซื้อหุ้นราคานี้ถูกกว่าการไปสร้างโรงไฟฟ้าเอง
Market 50,000 ล้านบาท, Cash flow 80,000 ล้านบาท
เป็นบริษัทที่มีวินัยทางการเงินดี ตัดค่าเสื่อมค่อนข้างเร็ว มีเงินเข้ามา ก็เอาไปจ่ายหนี้
NT3, NT4 สร้างได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุนเลย เพราะว่า cash flow ดีมาก
แต่ปันผลไม่เยอะ ไม่เหมือน NT2 ที่ได้ 7-10%
คุณณัฐ>>> จะชอบคิด valuation โรงไฟฟ้าด้วย EV/EBITDA มากกว่า replacement cost เพราะ โรงไฟฟ้ามันมีการเสื่อมสภาพ ทำให้ความพร้อมจ่ายลดลงด้วย และไม่ใช่ธุรกิจที่รันไปได้ตลอดเรื่อย เพราะมันมี PPA อยู่
โรงไฟฟ้าเก่า ความพร้อมจ่ายก็ลดลง
ส่วน NT2 รัฐมีข่าวสองปีก่อน ว่า จะให้ NT2 สร้างโรงไฟฟ้า NT3 ให้ ทำให้ราคาวิ่งเพิ่มขึ้นมา แต่ EVN เปลี่ยนใจให้ หุ้น NT2 ร่วงลงมา
ดร บอกว่า อ่าวไม่รู้เลย ไม่งั้นขายหุ้น NT2 ไปแล้ว (ฮา) เลยอยากย้ำว่าที่เวียดนาม เรื่อง regulation มีผลต่อราคาหุ้นเยอะ ต้องตามให้ดี
###
3) Vietnam Engine and Agricultural Machinery Corporation (VEA หรือ VEAM) เป็นหุ้นขนาดกลาง
คุณบอล>>> VEAM ตอนนี้มี market cap 30,000-40,000 ล้านบาท เริ่มจะไม่เป็นขนาดกลางแล้ว
ย้อนไปช่วงปี 1995 สมัยนั้นเวียดนามยังปิดประเทศอยู่ แต่ผู้ผลิตรถยนต์อยากจะเข้ามาลงทุน เลยบอกว่าต้องให้ VEAM ไปถือหุ้นในบริษัทผลิตรถยนต์เหล่านั้น
แต่สำหรับธุรกิจหลักที่ทำรถไถ จักรกลการเกษตร รถ truck ทั้งๆที่เป็นธุรกิจอันดับต้นๆของประเทศ แต่ขาดทุนมากมาย ไม่น่าสนใจ
จุดที่เป็นเสน่ห์ของหุ้นตัวนี้ คือ VEAM ถือในหุ้นบริษัทรถยนต์ Honda , Toyota และ Ford โดย Honda ในเวียดนามนี่จะรวมทั้ง รถยนต์ และ มอเตอร์ไซด์เข้าไปด้วย ไม่ได้แยกกัน
ภาพรวมตลาดรถยนต์ Honda , Toyota , Ford มีmarket share 40% ของทั้งประเทศ ทำให้บริษัท VEAM ดูน่าสนใจ
รายได้กำไร 80% ของ VEAM มาจากมอเตอร์ไซด์ ซึ่งตอนนี้ตลาดค่อนข้าง stable
ส่วนรถยนต์ตอนนี้ตลาดกำลังโตปีละ 20% ถือเป็น Growth driver ให้แก่ VEAM ซึ่งจะได้ส่วนแบ่งกำไรตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทรถยนต์ต่างๆ
จากนโยบายลดภาษีนำเข้ารถยนต์ แล้วไปเพิ่มค่าตรวจสอบนู่น นี่ วุ่นวายไปหมด แต่ตอนนี้คลื่นลมเริ่มสงบ รถประกอบในและนอกประเทศ ราคาขายรวมๆลดลง 10% แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ดีขึ้น เพราะ demand เพิ่ม
เสน่ห์คือ ราคาถูก ปันผล 7-8% PE 8 เท่า ซึ่ง inline กับบริษัทแม่ Toyota, Honda PE ก็ประมาณนี้
ถ้าจะซื้อตัวนี้ต้อง bet กับตลาดรถยนต์ที่กำลังจะเติบโตขึ้นมา
คุณณัฐ>>> โครงสร้างตลาดรถมอเตอร์ไซต์ของเวียดนาม เหมือนไทยมากคือ Honda นำตลาด, ตามด้วย Yamaha (20%) และตอนนี้ตลาดมอเตอร์ไซต์ของ ไทย เวียดนาม เริ่ม mature
แต่คนอาจจะเปลี่ยนไปใช้แบบ scooter ที่นิยมมาก ราคาต่อคันแพงขึ้น
ข้อควรระวัง:
(1) มีผลขาดทุนในธุรกิจหลัก อย่างต่อเนื่อลมาตลอด คงแก้ยาก เพราะคู่แข่งเป็นต่างชาติที่เป็นรายใหญ่
(2) เวลาซื้อหุ้น VEAM คือเราต้องการ value ของธุรกิจที่ไปลงทุนในบริษัทรถยนต์ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ไม่ค่อยเปิดเผย
(3) รัฐถือหุ้นใหญ่ 88% แต่มีแผนต้องการ divest หุ้นออกมาให้เหลือ 51% ภายในปีหน้า ต้องดู partner รายใหม่ ว่าจะมาช่วยเสริมอย่างไร
คุณบอล>>> นอกจากบริษัมรถยนต์ต่างชาติแล้ว VEAM ยังถือหุ้นในบริษัท THACO ซึ่งเป็นรถยนต์สัญชาติเวียดนามที่มี market share อันดับหนึ่ง รองมาอาจจะเป็น Vin group ที่กำลังทำ Vin fast ซึ่งน่าจะมีการส่งเสริมโดยรัฐบาลเวียดนาม
ดร นิเวศน์>>> บอกว่าไม่น่าสนใจ ตัวเลขแปลกประหลาด เหมือนหุ้นจะถูก corner เพราะหุ้นอยู่ในมือคนที่จะเทรดน้อยมาก แค่ 4-5% ราคาอาจจะเพี้ยนง่าย, และ market cap 50,000 ล้านบาท ดูยิ่งใหญ่เกินไปหน่อย
นอกจากนี้ถ้ารถไฟฟ้า EV มาแรง ก็อาจจะได้รับผลกระทบ
เทคโนโลยีรถยนต์ก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน ที่เมืองไทยผลิตได้ถูกกว่า
ดูตัวเลขแล้วแปลกใจ สมมติว่ารายได้ 8000 ล้านบาท กำไร 7000 ล้านบาท โดยที่ตัวธุรกิจหลักไม่มีอะไรเลย ยกเว้นว่าได้กำไรมาจาก Equity method จากบริษัทที่เข้าไปซื้อหลายๆบริษัท
หลายๆเรื่องทำให้มองเห็นแต่ความเสี่ยงในการไปลงทุนตัวนี้
คุณบอล>>> เสริมที่อาจารย์บอกว่าเหมือนหุ้นจะถูก corner ก็ดูว่าอาจจะเป็นไปได้ เพราะ Free float น้อย เป็นไซส์ที่ market cap ใหญ่พอที่ต่างชาติเข้ามาซื้อได้ง่าย ถ้าไปย้อนดู paper ของ Vietcap ปีที่แล้ว หุ้นตัวนี้มี fund flow เข้ามากที่สุด เลยอาจจะทำให้ราคาขึ้นได้เร็ว
นอกจากนี้เทคโนโลยีพวกรถ Self-Driving ไม่แปลกใจว่าอีก 3-5 ปี จะเข้ามาในตลาดเยอะ ทำให้อาจจะถูก disrupt ได้
###
4) FECON Foundation Engineering and Underground Construction (FCN)
คุณณัฐ>>> FCN ทำรับเหมามีงาน 3 ประเภทหลักๆ คือ
1. คล้าย seafco คือทำ piling, foundation, soil improvement
2. ก่อสร้าง underground work หรือใต้ดินที่มีความซับซ้อน เช่น อุโมงค์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น
3. Infrastructure เช่นถนน high way
ในแง่ของรายได้ ปีที่แล้ว 65% ของ revenue มาจาก piling, foundation, soil improvement
10% มาจาก underground work, และ 15% มาจาก Infrastructure
โดยที่ Gross Profit ในส่วนงาน underground work จะสูงสุด อยู่ที่ 18-20%, ส่วน Gross Profit ในส่วนงานด้านอื่นจะอยู่ในช่วง 10-15% ขึ้นกับลักษณะของงาน
สำหรับ Backlog จากที่ได้คุยกับผู้บริหาร มีมากถึง Đong 2,800 bn (foundation 50%, underground work 20%, infrastructure 20%)
คุณบอล>>> ในด้านของจุดแข็ง FCN มีธุรกิจที่เชื่อมกับ Infrastructure เยอะ เช่นรถไฟฟ้าใต้ดินเส้นแรกเปิดมาก็หลายสิบกิโล
งานฐานราก link กับ โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี โรงกลั่น
FCN ถือว่าเป็นเจ้าที่ค่อนข้างใหญ่ market share ติด top อันดับสอง สูสีกับอันดับหนึ่ง ทำให้เวลาไป Bid ใหญ่ๆได้ เจ้าเล็กๆไปไม่ได้ จะเหลือแค่คู่แข่งรายใหญ่แค่ 3-4 ราย ทำให้ได้งานที่มี margin สูงได้
ช่วงหลังๆมีไปทำ Solar farm เฟสแรก 150 MW กับ เฟสสอง180 MW มี partner ระดับโลกซึ่งเค้ามีเงินทุนหนา แต่ก็อาจจะทำให้ FCN ต้องลงทุนตามไปด้วย
โรงไฟฟ้า มีการลงทุนจากต่างประเทศเยอะ เพราะมีการใช้ไฟมากขึ้น
PE 8x ซึ่งต่ำ แต่คุณบอลเสริมว่าตัวนี้ชอบเรียกเพิ่มทุนกระจาย อาจจะมี dilute
ดร นิเวศน์>>> ตัวนี้ผมเป็น ผถห ใหญ่คนนึง FCN market cap แค่ 2,000 ล้านบาท เทียบกับ
Seafco ยอดขาย 2,000 ล้านบาท แต่ FCN มียอดขาย 3,000 ล้านบาท
FCN หนี้ไม่เยอะ แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้การค้า >> ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อน
PE น้อยกว่า Seafco 3 เท่า มีกองทุนกองนึง ถือเป็นสัดส่วนที่เยอะ
แต่ Seafco เน้นเจาะเสาเข็มอย่างเดียว ทำให้ margin 13% ดีกว่า FCN ซึ่งอยู่ที่ 7-8 %
Seafco มี market cap 6,000 ล้าน แต่ FCN market cap แค่ 1/ 3 ในขณะที่มียอดขายสูงกว่า, กำไรเยอะกว่า
จุดอ่อน คือ หนี้ระยะสั้นเยอะ เพราะที่เวียดนามคนตอกเสาเข็มรับเงินเป็นคนสุดท้าย (งงเด้ๆ)
ต่างจาก ไทย ซึ่งคนตอกเสาเข็มรับเงินเป็นรายแรก เพราะที่เวียดนามคนตอกเสาเข็มจะได้เงินเมื่อตึกเสร็จก่อน เค้าจึงต้องคอย finance เงินมาเพื่อรับงานใหม่ๆ
ดูอย่างไรหุ้นตัวนี้ก็ถูก หวังว่าหุ้นจะขึ้นในอนาคต
แต่หุ้นเวียดนาม มักไม่มีต่างชาติมาซื้อเพราะ market cap เล็ก สภาพคล่องน้อย แต่การที่ FCN เป็นบริษัทเอกชน ต้องพยายามหางานตลอดเวลา ต่างจากหุ้น State enterprise ที่ผู้บริหารอายุเยอะ ไม่ค่อย aggressive
คุณณัฐ>>> เสริมว่ามีข้อเสียของหุ้นตัวนี้ คือระยะเวลาที่ FCN รับเงินนาน, และยิ่ง revenue ของ FCN สูงมากขึ้นเท่าไร ยิ่งต้อง working cap สูงมากขึ้นเท่านั้น, ต้องมีการกู้ระยะสั้นมากขึ้น และเพิ่มทุน
สองปีก่อน มีการขยายไปรับงาน infrastructure แบบ BOT โดยมีการไปถือหุ้นในโปรเจคนั้นๆด้วย เริ่มแรกอาจจะถือหุ้นสัก 30-40% พองานใกล้เสร็จก็ลดการถือหุ้นลงเหลือ 10-15% >> ดังนั้น ยิ่งถ้าไปรับงาน infrastructure – BOT มากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งต้องลงเงินในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ต้นปีที่แล้ว FCN มีหุ้นจดทะเบียนและชำระแล้ว 54 ล้านหุ้น ปลายปีหน้าหุ้นจำนวนนี้จะเพิ่มเป็น 110 ล้านหุ้น เพราะ 3 เหตุผล
(1) มีการทำ Right offering ตอนปลายปี
(2) มีการเพิ่มทุน มี private placement ต้นปีหน้า
(3) กลางปีหน้าจะมี convertible bond ครบอายุ
คุณบอล>>> ฝากว่า หุ้นที่ดู PEต่ำๆ แต่เราต้องดูเหตุผลเหล่านี้ประกอบด้วย ถ้ามีเพิ่มทุน อาจจะทำให้ PE เพิ่มขึ้น เพราะเงินเพิ่มทุนที่เข้ามา แต่ไม่สามารถสร้างกำไรได้ทัน
###
Gurus talk: วิเคราะห์ Business Model 4 หุ้น (2 of 2)
สรุปโดย เป้ และ พี่อมร
2) Petro Vietnam Power Corporation (POW)
คุณบอล>>> ตัวนี้เป็นบริษัทลูกของ Petro Vietnam (PVN) คล้ายๆ PTT บ้านเรา มี Installed Capacity = 4,200 MW (แต่ในแง่ของ Equity Capacity = 3,900 MW), market cap = 50,000 ล้านบาท
มาดูที่ภาพรวมอุตสาหกรรมไฟฟ้าของเวียดนาม โรงไฟฟ้าจะขึ้นกับภาครัฐค่อนข้างมาก
ความต้องการของไฟฟ้าของเวียดนามต้องการใช้ไฟมากขึ้น สร้างโรงงานตามตัวเลข FDI ที่มากขึ้น เดินห้างมากขึ้น ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้ามากขึ้น
ที่ผ่านมา demand ความต้องการใช้ไฟฟ้าเวียดนามโต 10%++ แต่โรงไฟฟ้าสร้างตามไม่ทัน โตแค่ 4-5% เท่านั้น
ถึงแม้ว่าค่าไฟเวียดนามจะถูกควบคุมจนตอนนี้ราคาถูกกว่าเพื่อนบ้านเยอะ แต่สุดท้ายค่าไฟก็ต้องขึ้น เพราะถ้าไม่ขึ้น จะไม่จูงให้ผู้ประกอบการโรงไฟฟ้าเข้ามาลงทุน
สรุปง่ายๆว่าภาพรวมความต้องการไฟฟ้าของเวียดนามมี Demand > Supply
POW มีกำลังการผลิตไฟฟ้าในพอร์ตเป็นอัน 2 หรือ 3 ของเวียดนาม
• 60% เป็นโรงไฟฟ้าแก๊สธรรมชาติ จากหลุมแก๊สในประเทศ
• 20% เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหิน
• 10% เป็นโรงไฟฟ้าพลังน้ำ
ธุรกิจโรงไฟฟ้า ถึงแม้ว่ารัฐบาล (EVN – Electricity Vietnam) คุม แต่อีกมุมคือมีความแน่นอน คิดเรื่องธุรกิจไฟฟ้าคือ P x Q (P ราคาขาย, Q ปริมาณ) ปริมาณอาจจะผันผวนบ้าง ถ้าน้ำมาเยอะ EVN อาจจะโยกไปรับซื้อไฟจากเขื่อนมากขึ้น ต้องขึ้นอยู่แล้ว
ล่าสุดทาง POW ได้รับอนุมัติให้สร้าง โรงไฟฟ้า NT3, NT 4 ที่มีกำลังการผลิตไฟรวมกัน 1,500 MW แต่อาจจะมีช้าไปบ้างเพราะต้องใช้เชื้อเพลิง LNG ที่นำเข้าจากต่างประเทศ และโรงเก็บ LNG สร้างไม่ทัน ยังไม่รวมโครงการในอนาคตอีกเยอะ ซึ่งอาจจะขึ้นไประดับ 10,000 MW
ระบบการรับซื้อไฟฟ้าของเวียดนาม มี 2 แบบ
1. แบบ PPA โดยกำหนด IRR ที่ 12%
2. แบบ CGM (Competitive Generation Market)
คุณณัฐ>>> เสริมเรื่องรายละเอียดจาก Power Development Plan VII ของเวียดนามที่มีการแบ่งการซื้อขายไฟเป็นลำดับขั้น ขั้นแรกคือรับซื้อไฟตาม PPA เหมือนเมืองไทย จะทำให้รู้ว่าในแต่ละปี โรงไฟฟ้าแต่ละแห่งจะมีกำไรเท่าไร เพราะจ่ายไฟไปตามค่าความพร้อมจ่าย อีกส่วนนึงเป็น CGM (Competitive Generation Market) ทาง EVN (EGAT เมืองไทย) จะเป้ดให้มีการประมูลขึ้นตามแต่ละช่วงเวลา โดยคนที่ bid ค่าไฟต่ำสุดจะเป็นผู้ชนะ และไล่ไปรายอื่นที่ให้ราคาสูงกว่าเรื่อยๆจนครบ ทำให้ low cost generator(s) จะได้ benefit สูงสุด
ข้อควรระวัง:
(1) ความเสี่ยงของ PPA โรง NT1 & NT 2 จะหมดในปี 2022 แน่นอนว่าจะมีการต่ออายุ PPA อยู่แล้ว แต่ต้องลุ้นว่าตัวต่ออายุฉบับใหม่จะเกิดทัน ก่อนที่ฉบับเก่าจะหมดอายุหรือไม่ เพราะถ้าไม่ทัน เค้าจะต้องขายไฟผ่านช่องทาง CGM ซึ่งต้องไปดูว่าต้นทุนค่าไฟของเค้าสู้ได้หรือไม่สำหรับช่องทางนี้ มันเคยมีเคสแบบนี้เกิดมาแล้วใน ปี 2016 ที่ PPA ของโรงไฟฟ้า Phalai (PPC) หมดแล้วต่ออายุไม่ทัน ทำให้ PPC ต้องขายไฟผ่านช่องทาง CGM แต่ต้นทุนสู้ไม่ได้ เลยทำให้ขายในราคาขาดทุนอยู่พักนึง จนกลับมาต่ออายุ PPA ใหม่ได้
(2) โรงไฟฟ้า NT3, NT 4 ทั้งสองโรงไฟฟ้าใช้ LNG เป็นต้นทุนเชื้อเพลิง แต่ POW ยังไม่มีประสบการณ์ในการบริหารโรงไฟฟ้าที่ใช้ LNG เรื่องแบบนี้เคยเกิดกับ POW ที่ทางบริษัทแม่ PVN โอน Vung Ang ที่เป็นโรงไฟฟ้าถ่านหินมาให้บริหารจัดการ แต่เกิดเจอปัญหาทางเทคนิค ทำให้ Utilize เหลือแค่ 30% อยู่พักนึง กว่าจะแก้ได้ต้องใช้เวลานาน
(3) อยู่ที่ช่องทาง CGM เอง เนื่องจากเชื้อเพลิงของ POW ส่วนมากเป็นแก๊ส ที่ซื้อขายกับบริษัทแม่ PVN ซึ่งมีแหล่งแก๊สธรรมชาติอยู่นอกชายฝั่ง ราคาตอนนี้ซื้อขายกันที่ US$ 4-6 /mmbtu แต่แหล่งแก๊สค่อยๆหมดลงเรื่อยๆ ทำให้ต้องซื้อจากแหล่งที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ กระทบต้นทุนค่าเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นมาเป็น US$ 7-11 /mmbtu พอต้นทุนการผลิตไฟสูงขึ้น อาจจะส่งผลให้ลดความสามารถในการแข่งขันในช่องทาง CGM ได้
ดร นิเวศน์>>> บอกว่า น่าสนใจ ราคาไม่แพง บริษัทมั่นคง มี market cap 50,000 ล้านบาท เปรียบเทียบยอดขายประมาณ 40,000-50,000 ล้านบาทต่อปี ดูตัวเลขหลายๆอย่างแล้วมองว่าคล้าย RATCH มาก , DE ratio เท่ากัน แต่ราคาหุ้น RATCH แพงไปหน่อย (แพงกว่า 50%), PE พอๆกันที่ 13-14x, profit margin RATCH = 13%, POW = 10%, installed capacity พอกันที่ประมาณ 10% ของประเทศ, ใช้แก๊สเหมือนกัน
ตอนนี้การใช้ไฟในไทยไม่ค่อยโตแล้ว ยังมีซื้อไฟจากเขื่อนที่ลาวอีก สุดท้ายการใช้ไฟของไทยจะไม่ค่อยโต แก๊สธรรมชาติบ้านเราก็กำลังหมด แต่เรามีการควบคุมการรับซื้อไฟดีกว่าในเวียดนาม
แต่ความต้องการใช้ไฟของเวียดนามยังโตได้อีก การใช้ไฟไม่มีปัญหา ถ้าการใช้ไฟมาก รัฐต้องกระตุ้นให้คนมาลงทุน ด้วยการเพิ่มผลตอบแทนให้มากขึ้น ราคาไม่น่าจะถูกบีบจากรัฐมากนัก
ตัวนี้จัดเป็นหุ้นสาธารณูปโภค หวังให้ราคาเพิ่มมากๆก็ไม่ได้ เพราะอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐบาล
ผมลงหุ้นไฟฟ้า NT2 เยอะที่สุด รับปันผล 10% ทุกปี แต่ราคาหุ้นไม่ไปไหน เพราะแม่ไม่ให้โต ตัวนี้เป็นลูกของ POW อีกที พอแม่เข้าตลาดเอง แม่ก้อจะโตเอง หุ้นแบบนี้จะหวังให้หุ้นเปลี่ยนชีวิต น่าจะยาก
แต่โดยตัวของ POW เองดูแล้วน่าจะมีศักยภาพ อาจจะมีโอกาสที่ Market cap ขึ้นไปเท่า RATCH หรือถึง 100,000 ล้านบาท
คุณบอล>>> เสริมเรื่องหุ้นโรงไฟฟ้าในเวียดนามว่ามีแบบ Single plant (เหมือน NT2) และแบบ Holding company (เช่น POW, Genco 3) ซึ่ง valuation ของพวก Holding ปกติจะแพงกว่า เมื่อแลกกับการมี growth ที่จะโรงไฟฟ้าเติมเข้ามาในพอร์ตได้เรื่อยๆ
การคิด valuation โรงไฟฟ้าอาจจะประเมินจาก replacement value = EV (Enterprise Value) ÷ MW เหมือนกับคิดว่าถ้าวันนี้เราจะสร้างโรงไฟฟ้า 3,900 MW แบบเดียวกับที่ POW มี เราจะต้องใช้เงินเท่าไร ในเคสของ POW จะตกอยู่ที่ US$ 0.7-0.8 million /MW หรือประมาณ 20 กว่าล้านบาทต่อ MW ซึ่งถ้าเทียบราคาแบบนี้กับที่เมืองไทย ถือว่าสร้างได้ถูกมาก และถ้าเทียบกันเองในเวียดนาม ถ้าจะสร้างโรงไฟฟ้าแก๊สจะใช้เงินประมาณ US$ 1 million /MW, ถ่านหิน US$ 1.5 million /MW, โรงไฟฟ้าพลังน้ำใช้ US$ 2.x million /MW
ถ้าสร้างใหม่เทียบกับการซื้อหุ้นบริษัท ซื้อหุ้นราคานี้ถูกกว่าการไปสร้างโรงไฟฟ้าเอง
Market 50,000 ล้านบาท, Cash flow 80,000 ล้านบาท
เป็นบริษัทที่มีวินัยทางการเงินดี ตัดค่าเสื่อมค่อนข้างเร็ว มีเงินเข้ามา ก็เอาไปจ่ายหนี้
NT3, NT4 สร้างได้โดยไม่ต้องเพิ่มทุนเลย เพราะว่า cash flow ดีมาก
แต่ปันผลไม่เยอะ ไม่เหมือน NT2 ที่ได้ 7-10%
คุณณัฐ>>> จะชอบคิด valuation โรงไฟฟ้าด้วย EV/EBITDA มากกว่า replacement cost เพราะ โรงไฟฟ้ามันมีการเสื่อมสภาพ ทำให้ความพร้อมจ่ายลดลงด้วย และไม่ใช่ธุรกิจที่รันไปได้ตลอดเรื่อย เพราะมันมี PPA อยู่
โรงไฟฟ้าเก่า ความพร้อมจ่ายก็ลดลง
ส่วน NT2 รัฐมีข่าวสองปีก่อน ว่า จะให้ NT2 สร้างโรงไฟฟ้า NT3 ให้ ทำให้ราคาวิ่งเพิ่มขึ้นมา แต่ EVN เปลี่ยนใจให้ หุ้น NT2 ร่วงลงมา
ดร บอกว่า อ่าวไม่รู้เลย ไม่งั้นขายหุ้น NT2 ไปแล้ว (ฮา) เลยอยากย้ำว่าที่เวียดนาม เรื่อง regulation มีผลต่อราคาหุ้นเยอะ ต้องตามให้ดี
###
3) Vietnam Engine and Agricultural Machinery Corporation (VEA หรือ VEAM) เป็นหุ้นขนาดกลาง
คุณบอล>>> VEAM ตอนนี้มี market cap 30,000-40,000 ล้านบาท เริ่มจะไม่เป็นขนาดกลางแล้ว
ย้อนไปช่วงปี 1995 สมัยนั้นเวียดนามยังปิดประเทศอยู่ แต่ผู้ผลิตรถยนต์อยากจะเข้ามาลงทุน เลยบอกว่าต้องให้ VEAM ไปถือหุ้นในบริษัทผลิตรถยนต์เหล่านั้น
แต่สำหรับธุรกิจหลักที่ทำรถไถ จักรกลการเกษตร รถ truck ทั้งๆที่เป็นธุรกิจอันดับต้นๆของประเทศ แต่ขาดทุนมากมาย ไม่น่าสนใจ
จุดที่เป็นเสน่ห์ของหุ้นตัวนี้ คือ VEAM ถือในหุ้นบริษัทรถยนต์ Honda , Toyota และ Ford โดย Honda ในเวียดนามนี่จะรวมทั้ง รถยนต์ และ มอเตอร์ไซด์เข้าไปด้วย ไม่ได้แยกกัน
ภาพรวมตลาดรถยนต์ Honda , Toyota , Ford มีmarket share 40% ของทั้งประเทศ ทำให้บริษัท VEAM ดูน่าสนใจ
รายได้กำไร 80% ของ VEAM มาจากมอเตอร์ไซด์ ซึ่งตอนนี้ตลาดค่อนข้าง stable
ส่วนรถยนต์ตอนนี้ตลาดกำลังโตปีละ 20% ถือเป็น Growth driver ให้แก่ VEAM ซึ่งจะได้ส่วนแบ่งกำไรตามจำนวนหุ้นที่ถืออยู่ในบริษัทรถยนต์ต่างๆ
จากนโยบายลดภาษีนำเข้ารถยนต์ แล้วไปเพิ่มค่าตรวจสอบนู่น นี่ วุ่นวายไปหมด แต่ตอนนี้คลื่นลมเริ่มสงบ รถประกอบในและนอกประเทศ ราคาขายรวมๆลดลง 10% แนวโน้มอุตสาหกรรมรถยนต์ดีขึ้น เพราะ demand เพิ่ม
เสน่ห์คือ ราคาถูก ปันผล 7-8% PE 8 เท่า ซึ่ง inline กับบริษัทแม่ Toyota, Honda PE ก็ประมาณนี้
ถ้าจะซื้อตัวนี้ต้อง bet กับตลาดรถยนต์ที่กำลังจะเติบโตขึ้นมา
คุณณัฐ>>> โครงสร้างตลาดรถมอเตอร์ไซต์ของเวียดนาม เหมือนไทยมากคือ Honda นำตลาด, ตามด้วย Yamaha (20%) และตอนนี้ตลาดมอเตอร์ไซต์ของ ไทย เวียดนาม เริ่ม mature
แต่คนอาจจะเปลี่ยนไปใช้แบบ scooter ที่นิยมมาก ราคาต่อคันแพงขึ้น
ข้อควรระวัง:
(1) มีผลขาดทุนในธุรกิจหลัก อย่างต่อเนื่อลมาตลอด คงแก้ยาก เพราะคู่แข่งเป็นต่างชาติที่เป็นรายใหญ่
(2) เวลาซื้อหุ้น VEAM คือเราต้องการ value ของธุรกิจที่ไปลงทุนในบริษัทรถยนต์ ซึ่งข้อมูลส่วนนี้ไม่ค่อยเปิดเผย
(3) รัฐถือหุ้นใหญ่ 88% แต่มีแผนต้องการ divest หุ้นออกมาให้เหลือ 51% ภายในปีหน้า ต้องดู partner รายใหม่ ว่าจะมาช่วยเสริมอย่างไร
คุณบอล>>> นอกจากบริษัมรถยนต์ต่างชาติแล้ว VEAM ยังถือหุ้นในบริษัท THACO ซึ่งเป็นรถยนต์สัญชาติเวียดนามที่มี market share อันดับหนึ่ง รองมาอาจจะเป็น Vin group ที่กำลังทำ Vin fast ซึ่งน่าจะมีการส่งเสริมโดยรัฐบาลเวียดนาม
ดร นิเวศน์>>> บอกว่าไม่น่าสนใจ ตัวเลขแปลกประหลาด เหมือนหุ้นจะถูก corner เพราะหุ้นอยู่ในมือคนที่จะเทรดน้อยมาก แค่ 4-5% ราคาอาจจะเพี้ยนง่าย, และ market cap 50,000 ล้านบาท ดูยิ่งใหญ่เกินไปหน่อย
นอกจากนี้ถ้ารถไฟฟ้า EV มาแรง ก็อาจจะได้รับผลกระทบ
เทคโนโลยีรถยนต์ก็ไม่มีอะไรที่แตกต่างกัน ที่เมืองไทยผลิตได้ถูกกว่า
ดูตัวเลขแล้วแปลกใจ สมมติว่ารายได้ 8000 ล้านบาท กำไร 7000 ล้านบาท โดยที่ตัวธุรกิจหลักไม่มีอะไรเลย ยกเว้นว่าได้กำไรมาจาก Equity method จากบริษัทที่เข้าไปซื้อหลายๆบริษัท
หลายๆเรื่องทำให้มองเห็นแต่ความเสี่ยงในการไปลงทุนตัวนี้
คุณบอล>>> เสริมที่อาจารย์บอกว่าเหมือนหุ้นจะถูก corner ก็ดูว่าอาจจะเป็นไปได้ เพราะ Free float น้อย เป็นไซส์ที่ market cap ใหญ่พอที่ต่างชาติเข้ามาซื้อได้ง่าย ถ้าไปย้อนดู paper ของ Vietcap ปีที่แล้ว หุ้นตัวนี้มี fund flow เข้ามากที่สุด เลยอาจจะทำให้ราคาขึ้นได้เร็ว
นอกจากนี้เทคโนโลยีพวกรถ Self-Driving ไม่แปลกใจว่าอีก 3-5 ปี จะเข้ามาในตลาดเยอะ ทำให้อาจจะถูก disrupt ได้
###
4) FECON Foundation Engineering and Underground Construction (FCN)
คุณณัฐ>>> FCN ทำรับเหมามีงาน 3 ประเภทหลักๆ คือ
1. คล้าย seafco คือทำ piling, foundation, soil improvement
2. ก่อสร้าง underground work หรือใต้ดินที่มีความซับซ้อน เช่น อุโมงค์ สถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ร่วมทุนกับบริษัทญี่ปุ่น
3. Infrastructure เช่นถนน high way
ในแง่ของรายได้ ปีที่แล้ว 65% ของ revenue มาจาก piling, foundation, soil improvement
10% มาจาก underground work, และ 15% มาจาก Infrastructure
โดยที่ Gross Profit ในส่วนงาน underground work จะสูงสุด อยู่ที่ 18-20%, ส่วน Gross Profit ในส่วนงานด้านอื่นจะอยู่ในช่วง 10-15% ขึ้นกับลักษณะของงาน
สำหรับ Backlog จากที่ได้คุยกับผู้บริหาร มีมากถึง Đong 2,800 bn (foundation 50%, underground work 20%, infrastructure 20%)
คุณบอล>>> ในด้านของจุดแข็ง FCN มีธุรกิจที่เชื่อมกับ Infrastructure เยอะ เช่นรถไฟฟ้าใต้ดินเส้นแรกเปิดมาก็หลายสิบกิโล
งานฐานราก link กับ โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี โรงกลั่น
FCN ถือว่าเป็นเจ้าที่ค่อนข้างใหญ่ market share ติด top อันดับสอง สูสีกับอันดับหนึ่ง ทำให้เวลาไป Bid ใหญ่ๆได้ เจ้าเล็กๆไปไม่ได้ จะเหลือแค่คู่แข่งรายใหญ่แค่ 3-4 ราย ทำให้ได้งานที่มี margin สูงได้
ช่วงหลังๆมีไปทำ Solar farm เฟสแรก 150 MW กับ เฟสสอง180 MW มี partner ระดับโลกซึ่งเค้ามีเงินทุนหนา แต่ก็อาจจะทำให้ FCN ต้องลงทุนตามไปด้วย
โรงไฟฟ้า มีการลงทุนจากต่างประเทศเยอะ เพราะมีการใช้ไฟมากขึ้น
PE 8x ซึ่งต่ำ แต่คุณบอลเสริมว่าตัวนี้ชอบเรียกเพิ่มทุนกระจาย อาจจะมี dilute
ดร นิเวศน์>>> ตัวนี้ผมเป็น ผถห ใหญ่คนนึง FCN market cap แค่ 2,000 ล้านบาท เทียบกับ
Seafco ยอดขาย 2,000 ล้านบาท แต่ FCN มียอดขาย 3,000 ล้านบาท
FCN หนี้ไม่เยอะ แต่ส่วนใหญ่เป็นหนี้การค้า >> ซึ่งถือว่าเป็นจุดอ่อน
PE น้อยกว่า Seafco 3 เท่า มีกองทุนกองนึง ถือเป็นสัดส่วนที่เยอะ
แต่ Seafco เน้นเจาะเสาเข็มอย่างเดียว ทำให้ margin 13% ดีกว่า FCN ซึ่งอยู่ที่ 7-8 %
Seafco มี market cap 6,000 ล้าน แต่ FCN market cap แค่ 1/ 3 ในขณะที่มียอดขายสูงกว่า, กำไรเยอะกว่า
จุดอ่อน คือ หนี้ระยะสั้นเยอะ เพราะที่เวียดนามคนตอกเสาเข็มรับเงินเป็นคนสุดท้าย (งงเด้ๆ)
ต่างจาก ไทย ซึ่งคนตอกเสาเข็มรับเงินเป็นรายแรก เพราะที่เวียดนามคนตอกเสาเข็มจะได้เงินเมื่อตึกเสร็จก่อน เค้าจึงต้องคอย finance เงินมาเพื่อรับงานใหม่ๆ
ดูอย่างไรหุ้นตัวนี้ก็ถูก หวังว่าหุ้นจะขึ้นในอนาคต
แต่หุ้นเวียดนาม มักไม่มีต่างชาติมาซื้อเพราะ market cap เล็ก สภาพคล่องน้อย แต่การที่ FCN เป็นบริษัทเอกชน ต้องพยายามหางานตลอดเวลา ต่างจากหุ้น State enterprise ที่ผู้บริหารอายุเยอะ ไม่ค่อย aggressive
คุณณัฐ>>> เสริมว่ามีข้อเสียของหุ้นตัวนี้ คือระยะเวลาที่ FCN รับเงินนาน, และยิ่ง revenue ของ FCN สูงมากขึ้นเท่าไร ยิ่งต้อง working cap สูงมากขึ้นเท่านั้น, ต้องมีการกู้ระยะสั้นมากขึ้น และเพิ่มทุน
สองปีก่อน มีการขยายไปรับงาน infrastructure แบบ BOT โดยมีการไปถือหุ้นในโปรเจคนั้นๆด้วย เริ่มแรกอาจจะถือหุ้นสัก 30-40% พองานใกล้เสร็จก็ลดการถือหุ้นลงเหลือ 10-15% >> ดังนั้น ยิ่งถ้าไปรับงาน infrastructure – BOT มากขึ้นเท่าไร ก็จะยิ่งต้องลงเงินในส่วนนี้เพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
ต้นปีที่แล้ว FCN มีหุ้นจดทะเบียนและชำระแล้ว 54 ล้านหุ้น ปลายปีหน้าหุ้นจำนวนนี้จะเพิ่มเป็น 110 ล้านหุ้น เพราะ 3 เหตุผล
(1) มีการทำ Right offering ตอนปลายปี
(2) มีการเพิ่มทุน มี private placement ต้นปีหน้า
(3) กลางปีหน้าจะมี convertible bond ครบอายุ
คุณบอล>>> ฝากว่า หุ้นที่ดู PEต่ำๆ แต่เราต้องดูเหตุผลเหล่านี้ประกอบด้วย ถ้ามีเพิ่มทุน อาจจะทำให้ PE เพิ่มขึ้น เพราะเงินเพิ่มทุนที่เข้ามา แต่ไม่สามารถสร้างกำไรได้ทัน
###
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 143
Property Fund & REITs & Infrafund Series
EP12 TFFIF หรือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตไทย
รอคอยมานานกว่า2ปี กับไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ หรือ TFFIFหลังอนุมัติ
น่าจะเกิดปัญหาทางเทคนิคเลยออกกองได้ช้ามาก เราไปดูเนื้อหาของกองนี้กันครับ
นโยบายในการลงทุน
ลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่มั่นคงให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน กิจการโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน ท่าอากาศยาน และกิจการโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ตอนนี้มีแผนไปสร้างทางด่วนดาวคะนอง และ ที่อื่นๆ
ประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุน
ภาษีเงินปันผล: ยกเว้นภาษีเงินได้บคุคลธรรมดาส าหรับเงินปันผลเป็น ระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียนตั้งกองทุน ทั้งนี้สำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้บริษัทจัดการจัดตั้งและจัดการกองทนุเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ดังนั้นนับจากวันที่ของเอกสารฉบับนี ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็น บุคคลธรรมดาจะได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาสำหรับเงินปันผลเป็นระยะเวลาประมาณ 8 ปี
ภาษีกำไรส่วนต่างราคา: ได้รับการยกเว้น
กองทุนนี้เป็นกองทุนปิด ที่ไปลงทุนในทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถี ขนาดทุนจดทะเบียนที่หนึ่งพันล้านบาท
คาดว่าจะขายได้ 41,000-45,700 ล้านบาท ความเสี่ยงกองทุนอยู่ที่ระดับ7
ข้อดี กองนี้มีอายุมากสุดถ้าเทียบกับกองInfraทั้งหมด ตอนนี้กองEGATIFอายุยาวสุดคือ 20ปี
กระทรวงการคลังจะถือหน่วยลงทุนใน TFFIF เป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดหลังการเพิ่มทุน เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนที่เหลือเสนอขายประชาชนและสถาบันการเงินรวม 90%
โดยได้รับรายได้จากค่าผ่านทางของทั้งสองแห่งเท่ากับ 45% เป็นระยะเวลา 30ปี
แต่ถ้ารายได้ที่จัดเก็บได้จริงมากกว่าที่ประมาณการมากกว่า105%ขึ้นไปก็จะลดส่วนแบ่งลงเป็น 40%
จนถึงถ้ามากกว่าที่ประมาณการ120% จะลดเหลือ 20%ที่แบ่งให้กองทุน หมายถึงว่ารายได้มากกว่าที่คาด
กองทุนก็ไม่ได้ประโยชน์จากรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มของทางด่วนมากนัก
ดังนั้นผมขอสรุปว่ากองนี้ต้องทยอยคืนทุนให้จนครบ30ปี ดังนั้นปีนึงก็คืนทุนประมาณ 3.3% ถึงแม้ว่าทางกองทุนบอกว่าจะทยอยคืนในช่วงแรกประมาณ 0.8% ก็ตาม เพื่อจะดูว่ากองนี้ให้ผลตอบแทนจริงๆเท่าไหร่
ผลตอบแทนที่ประกาศไว้ในช่วง 4.75%- 5.3% รวมการจ่ายคืนเงินต้นด้วย
ข้อสำคัญ เมื่อครบเวลา30ปี กองทุนนี้ครบอายุก็ไม่สามารถรับรู้รายได้อีกต่อไปถ้าไม่มีการลงทุนเพิ่ม
ดังนั้น ผมคิดเสมือนลดทุนลงปีละ 3.3% ดังนั้น กองนี้จะจ่ายปันผลจริงๆประมาณไม่เกิน 2%
ถ้านำเงินฝากไม่เกิน 1% ย้ายมาลงทุนกองนี้ ก็ยังดูน่าสนใจ
แต่ถ้าเทียบกับความเสี่ยงระดับ 7 แล้วผลตอบแทนดูจะน้อยเกินไป
และถ้าเทียบกับกองที่อยู่ในตลาดที่ได้ปันผลมากกว่า 6%ต่อปี ดูน่าสนใจน้อยไปอีก
ดังนั้นเป็นการตัดสินใจของผู้ลงทุนว่าจะลงทุนกองนี้ดีหรือไม่
กองนี้บริหารจัดการโดย บลจ กรุงไทย และ บลจ MFC ดูแลผลประโยชน์โดยธนาคารกสิกรไทย
กองทุนนี้มีแผนจะกู้เงินไปลงทุนเพิ่มในทางด่วนพิเศษหมายเลข7และ9ในอนาคต
จองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 12-19 ตค สำหรับประชาชนทั่วไปที่ธนาคารกรุงเทพ
วิธีการจัดสรร แบบ small lot first ดังนั้นมีโอกาสจองได้หน่วยลงทุนแน่นอน แต่ถ้าจองเยอะอาจได้ไม่ครบที่จอง
EP12 TFFIF หรือ กองทุนรวมโครงสร้างพื้นฐานเพื่ออนาคตไทย
รอคอยมานานกว่า2ปี กับไทยแลนด์ฟิวเจอร์ฟันด์ หรือ TFFIFหลังอนุมัติ
น่าจะเกิดปัญหาทางเทคนิคเลยออกกองได้ช้ามาก เราไปดูเนื้อหาของกองนี้กันครับ
นโยบายในการลงทุน
ลงทุนในทรัพย์สินกิจการโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐเพื่อสร้างผลตอบแทนในระยะยาวที่มั่นคงให้กับผู้ถือหน่วยลงทุน กิจการโครงสร้างพื้นฐาน รวมไปถึงการผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า ทางพิเศษ หรือทางสัมปทาน ท่าอากาศยาน และกิจการโครงสร้างพื้นฐานอื่น ๆ ตอนนี้มีแผนไปสร้างทางด่วนดาวคะนอง และ ที่อื่นๆ
ประโยชน์ทางภาษีของผู้ลงทุน
ภาษีเงินปันผล: ยกเว้นภาษีเงินได้บคุคลธรรมดาส าหรับเงินปันผลเป็น ระยะเวลา 10 ปีนับแต่วันจดทะเบียนตั้งกองทุน ทั้งนี้สำนักงาน ก.ล.ต. ได้อนุมัติให้บริษัทจัดการจัดตั้งและจัดการกองทนุเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2559 ดังนั้นนับจากวันที่ของเอกสารฉบับนี ผู้ถือหน่วยลงทุนที่เป็น บุคคลธรรมดาจะได้รับประโยชน์จากการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคล ธรรมดาสำหรับเงินปันผลเป็นระยะเวลาประมาณ 8 ปี
ภาษีกำไรส่วนต่างราคา: ได้รับการยกเว้น
กองทุนนี้เป็นกองทุนปิด ที่ไปลงทุนในทางพิเศษฉลองรัชและบูรพาวิถี ขนาดทุนจดทะเบียนที่หนึ่งพันล้านบาท
คาดว่าจะขายได้ 41,000-45,700 ล้านบาท ความเสี่ยงกองทุนอยู่ที่ระดับ7
ข้อดี กองนี้มีอายุมากสุดถ้าเทียบกับกองInfraทั้งหมด ตอนนี้กองEGATIFอายุยาวสุดคือ 20ปี
กระทรวงการคลังจะถือหน่วยลงทุนใน TFFIF เป็นสัดส่วนไม่ต่ำกว่าร้อยละ 10 ของจำนวนหน่วยลงทุนทั้งหมดหลังการเพิ่มทุน เป็นระยะเวลา 5 ปี ส่วนที่เหลือเสนอขายประชาชนและสถาบันการเงินรวม 90%
โดยได้รับรายได้จากค่าผ่านทางของทั้งสองแห่งเท่ากับ 45% เป็นระยะเวลา 30ปี
แต่ถ้ารายได้ที่จัดเก็บได้จริงมากกว่าที่ประมาณการมากกว่า105%ขึ้นไปก็จะลดส่วนแบ่งลงเป็น 40%
จนถึงถ้ามากกว่าที่ประมาณการ120% จะลดเหลือ 20%ที่แบ่งให้กองทุน หมายถึงว่ารายได้มากกว่าที่คาด
กองทุนก็ไม่ได้ประโยชน์จากรายได้ที่จัดเก็บเพิ่มของทางด่วนมากนัก
ดังนั้นผมขอสรุปว่ากองนี้ต้องทยอยคืนทุนให้จนครบ30ปี ดังนั้นปีนึงก็คืนทุนประมาณ 3.3% ถึงแม้ว่าทางกองทุนบอกว่าจะทยอยคืนในช่วงแรกประมาณ 0.8% ก็ตาม เพื่อจะดูว่ากองนี้ให้ผลตอบแทนจริงๆเท่าไหร่
ผลตอบแทนที่ประกาศไว้ในช่วง 4.75%- 5.3% รวมการจ่ายคืนเงินต้นด้วย
ข้อสำคัญ เมื่อครบเวลา30ปี กองทุนนี้ครบอายุก็ไม่สามารถรับรู้รายได้อีกต่อไปถ้าไม่มีการลงทุนเพิ่ม
ดังนั้น ผมคิดเสมือนลดทุนลงปีละ 3.3% ดังนั้น กองนี้จะจ่ายปันผลจริงๆประมาณไม่เกิน 2%
ถ้านำเงินฝากไม่เกิน 1% ย้ายมาลงทุนกองนี้ ก็ยังดูน่าสนใจ
แต่ถ้าเทียบกับความเสี่ยงระดับ 7 แล้วผลตอบแทนดูจะน้อยเกินไป
และถ้าเทียบกับกองที่อยู่ในตลาดที่ได้ปันผลมากกว่า 6%ต่อปี ดูน่าสนใจน้อยไปอีก
ดังนั้นเป็นการตัดสินใจของผู้ลงทุนว่าจะลงทุนกองนี้ดีหรือไม่
กองนี้บริหารจัดการโดย บลจ กรุงไทย และ บลจ MFC ดูแลผลประโยชน์โดยธนาคารกสิกรไทย
กองทุนนี้มีแผนจะกู้เงินไปลงทุนเพิ่มในทางด่วนพิเศษหมายเลข7และ9ในอนาคต
จองซื้อได้ตั้งแต่วันที่ 12-19 ตค สำหรับประชาชนทั่วไปที่ธนาคารกรุงเทพ
วิธีการจัดสรร แบบ small lot first ดังนั้นมีโอกาสจองได้หน่วยลงทุนแน่นอน แต่ถ้าจองเยอะอาจได้ไม่ครบที่จอง
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 144
พันธบัตรออมทรัพย์น่าสนใจไหมในสถานการณ์ดอกเบี้ยขาขึ้น
สถานการณ์ปัจจุบันของดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น จากเศรษฐกิจเริ่มเติบโตขึ้น
และ สถานการณ์ภายนอกประเทศที่อัตราดอกเบี้ยของFEDที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่า
FEDจะปรับดอกเบี้ยเพิ่มอีกเป็นครั้งที่สี่ในปีนี้ ยิ่งเป็นปัจจัยให้ธนาคารกลางของไทยมีโอกาส
ปรับดอกเบี้ยสูงในปลายปีนี้
ช่วงนี้กระทรวงการคลัง ได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ครั้งที่1
เสนอขายหน่วยละ 1,000 บาท ขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินขั้นสูง
จ่ายดอกเบี้ยปีละ2ครั้ง ทุกวันที่ 19 พค และ 19 พย
โดยมีพันธบัตร สองรุ่น คือ
1.อายุ 3 ปี 1 เดือน ดอกเบี้ย 2.46% ต่อปี
2.อายุ 7 ปี 1 เดือน ดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี
สามารถติดต่อซื้อ ได้ที่ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น
ตอนนี้มีข่าวว่าปีหน้า กองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็น Term Fund
จะต้องเสียภาษีของเงินปันผลอัตราเดียวกับตราสารหนี้
คือ 15%ทำให้ความสนใจในตราสารหนี้น้อยลงไป ถ้าเทียบระหว่างตราสารหนี้Term Fundที่อายุ3ปีเท่ากันที่ลงในพันธบัตร หรือ ตราสารหนี้ในประเทศไทย หลังหักภาษีเงินปันผลแล้ว ทำให้ความได้เปรียบของกองทุนรวมที่ไม่เสียภาษีเงินปันผลหมดไป ส่วนพันธบัตรรุ่น 7 ปี ระยะเวลายาวไปในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ดูไม่น่าสนใจ
ผมขอสรุปข้อดีและข้อเสียของพันธบัตรรุ่น3ปีนะครับ
ข้อดี
1.อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ น่าจูงใจเพราะอัตราดอกเบี้ยในตลาด 3 ปีได้แค่ 2.08% แต่พันธบัตร3ปีรุ่น1/2562 ให้ถึง2.46%
2.เป็นพันธบัตรที่มีcredit risk ใกล้เคียงกับ risk free rate ความเสี่ยงต่ำมาก
3.ระยะเวลาสั้น ดังนั้นถ้าต้องการขายต่อในตลาดรอง ราคาไม่ผันผวนมากเมื่อเทียบกับรุ่น 7 ปี
4.ขั้นต่ำในการซื้อ 1,000 บาท สามารถทยอยซื้อได้จนถึงปีหน้า
5.คนที่ลงทุนเป็นportfolioที่มีทั้งตราสารหนี้ไทย/ต่างประเทศ ,ตราสารทุนหรือหุ้น อสังหาริมทรัพย์และทองคำ
นี่คือสินทรัพย์ในส่วนตราสารหนี้ที่น่าสนใจเก็บไว้ในportเพราะความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนน่าสนใจ
ข้อเสีย
1.ถ้าไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ อาจได้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่เท่าที่ดูตอนนี้สูงกว่าไม่มาก
แต่ความเสี่ยงในการลงทุนในต่างประเทศสูงกว่าลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์มาก
2.สภาพคล่องน้อย ถ้าต้องการใช้เงิน ต้องขายในตลาดรอง และ อาจได้ราคาต่ำกว่าที่ซื้อ
3.คนที่รับความเสี่ยงได้สูง พันธบัตร3ปีดูไม่น่าสนใจ เพราะผลตอบแทนหลังหักภาษีแค่ 2.1%
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (propertyfund,RIETs,Infra fund)ดูน่าสนใจกว่า ถ้าเลือกกองได้ถูก
สุดท้ายก็เป็นการประเมินของแต่ละคนว่าพันธบัตร3ปี1เดือน น่าสนใจกับเราหรือไม่ เพราะแต่ละคนยอมรับความเสี่ยงไม่เท่ากัน และกลยุทธ์ในการลงทุนแตกต่างกัน
สถานการณ์ปัจจุบันของดอกเบี้ยในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น จากเศรษฐกิจเริ่มเติบโตขึ้น
และ สถานการณ์ภายนอกประเทศที่อัตราดอกเบี้ยของFEDที่ปรับตัวสูงขึ้น โดยคาดการณ์ว่า
FEDจะปรับดอกเบี้ยเพิ่มอีกเป็นครั้งที่สี่ในปีนี้ ยิ่งเป็นปัจจัยให้ธนาคารกลางของไทยมีโอกาส
ปรับดอกเบี้ยสูงในปลายปีนี้
ช่วงนี้กระทรวงการคลัง ได้ออกพันธบัตรออมทรัพย์ในปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ครั้งที่1
เสนอขายหน่วยละ 1,000 บาท ขั้นต่ำ 1,000 บาท ไม่จำกัดวงเงินขั้นสูง
จ่ายดอกเบี้ยปีละ2ครั้ง ทุกวันที่ 19 พค และ 19 พย
โดยมีพันธบัตร สองรุ่น คือ
1.อายุ 3 ปี 1 เดือน ดอกเบี้ย 2.46% ต่อปี
2.อายุ 7 ปี 1 เดือน ดอกเบี้ย 3.00% ต่อปี
สามารถติดต่อซื้อ ได้ที่ธนาคารกสิกรไทย ธนาคารกรุงไทย เป็นต้น
ตอนนี้มีข่าวว่าปีหน้า กองทุนรวมตราสารหนี้ที่เป็น Term Fund
จะต้องเสียภาษีของเงินปันผลอัตราเดียวกับตราสารหนี้
คือ 15%ทำให้ความสนใจในตราสารหนี้น้อยลงไป ถ้าเทียบระหว่างตราสารหนี้Term Fundที่อายุ3ปีเท่ากันที่ลงในพันธบัตร หรือ ตราสารหนี้ในประเทศไทย หลังหักภาษีเงินปันผลแล้ว ทำให้ความได้เปรียบของกองทุนรวมที่ไม่เสียภาษีเงินปันผลหมดไป ส่วนพันธบัตรรุ่น 7 ปี ระยะเวลายาวไปในช่วงอัตราดอกเบี้ยขาขึ้น ดูไม่น่าสนใจ
ผมขอสรุปข้อดีและข้อเสียของพันธบัตรรุ่น3ปีนะครับ
ข้อดี
1.อัตราดอกเบี้ยที่ได้รับ น่าจูงใจเพราะอัตราดอกเบี้ยในตลาด 3 ปีได้แค่ 2.08% แต่พันธบัตร3ปีรุ่น1/2562 ให้ถึง2.46%
2.เป็นพันธบัตรที่มีcredit risk ใกล้เคียงกับ risk free rate ความเสี่ยงต่ำมาก
3.ระยะเวลาสั้น ดังนั้นถ้าต้องการขายต่อในตลาดรอง ราคาไม่ผันผวนมากเมื่อเทียบกับรุ่น 7 ปี
4.ขั้นต่ำในการซื้อ 1,000 บาท สามารถทยอยซื้อได้จนถึงปีหน้า
5.คนที่ลงทุนเป็นportfolioที่มีทั้งตราสารหนี้ไทย/ต่างประเทศ ,ตราสารทุนหรือหุ้น อสังหาริมทรัพย์และทองคำ
นี่คือสินทรัพย์ในส่วนตราสารหนี้ที่น่าสนใจเก็บไว้ในportเพราะความเสี่ยงต่ำ ผลตอบแทนน่าสนใจ
ข้อเสีย
1.ถ้าไปลงทุนในกองทุนรวมต่างประเทศ อาจได้ผลตอบแทนสูงกว่า แต่เท่าที่ดูตอนนี้สูงกว่าไม่มาก
แต่ความเสี่ยงในการลงทุนในต่างประเทศสูงกว่าลงทุนในพันธบัตรออมทรัพย์มาก
2.สภาพคล่องน้อย ถ้าต้องการใช้เงิน ต้องขายในตลาดรอง และ อาจได้ราคาต่ำกว่าที่ซื้อ
3.คนที่รับความเสี่ยงได้สูง พันธบัตร3ปีดูไม่น่าสนใจ เพราะผลตอบแทนหลังหักภาษีแค่ 2.1%
กองทุนอสังหาริมทรัพย์ (propertyfund,RIETs,Infra fund)ดูน่าสนใจกว่า ถ้าเลือกกองได้ถูก
สุดท้ายก็เป็นการประเมินของแต่ละคนว่าพันธบัตร3ปี1เดือน น่าสนใจกับเราหรือไม่ เพราะแต่ละคนยอมรับความเสี่ยงไม่เท่ากัน และกลยุทธ์ในการลงทุนแตกต่างกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 145
4 กูรูวงการหุ้นไทย เปิดเผยในงาน สัมมนา"โค้งสุดท้ายหุ้นไทย ฟุบ หรือ ไปต่อ" ในช่วงเบญจภาคี 5 หุ้นเด็ดโค้งสุดท้ายรับไม้ต่อปี 2562
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการเงินทุนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นักลงทุนตอนนี้ดูจะหวังว่าอาจมีมาตรการที่ออกมาทำให้ตลาดหุ้นดีขึ้น หรือ เลือกตั้งจะทำให้หุ้นขึ้นแต่จังหวะtimingของโลกตอนนี้ ไม่ใช่แบบนี้
ราคาน้ำมันลดลงจาก 80 เหลือ 54 $ต่อบาร์เรล หลายคนคิดว่าเป็นประเด็นบวก แต่ผมว่าไม่ใช่ประเด็นบวกค่าน้ำมันปีหน้าเฉลี่ย 67$ หรือ เห็นเงินเฟ้อลดลง ก็คิดว่าดอกเบี้ยจะขึ้นช้าลง
FED คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อปีนี้และปีหน้า 1.9%ส่วนปี 2020 2.1% และเริ่มลดลง ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของFED
ปีหน้าจะเหลือ2ครั้งจากที่คาดการณ์ก่อนหน้า 3 ครั้ง FED มอบตัวเมื่อเห็นว่า เศรษฐกิจเริ่มชลอตัวลง
สิ่งที่กังวลคือ ทิศทางดอกเบี้ย โดยดอกเบี้ยระยะยาวจะขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าดอกเบี้ยระยะสั้น แสดงว่า
ความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้น เงินเริ่มตึงตัว เกิดภาวะStagfation เป็นสถานการณ์ที่ซึมลง
ดัชนีหุ้นไทย พีคสุด 1850 ตอนช่วง กพ 18 ตอนนี้ยังไม่ต่ำสุด ดัชนีจะลงแบบSideway นักลงทุนต้องศึกษาหุ้นอย่างดี
เงินสดที่เก็บไว้ในกองทุนตราสารหนี้ หรือ เงินฝาก ต้องเริ่มมาสะสมหุ้นในช่วงจังหวะไม่ดี จะได้ราคาหุ้นที่ถูก
ช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า ซึ่งครบกำหนดการผ่อนผันการขึ้นอัตราการเก็บภาษีของสหรัฐต่อจีน จะเป็นช่วงที่ตึงเครียดอีกช่วง
ตอนนี้ downside เปิด แต่ไม่เยอะ เวลาข่าวร้ายเยอะๆ แนะนำให้ซื้อตอนนั้น
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้
1. ลงทุนในระยะ 3 เดือน แนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า โรงพยาบาล
Jasif สำหรับพักเงิน เพราะมีปันผล 4.7% แต่ให้ขายตอนประกาศจ่ายปันผล
2. ลงทุนระยะสั้น แนะ PTG ที่ราคา 10.25 บาท AAV ที่ราคาเป้าหมาย 5.10 บาท และ BBL ที่ 240 บาท
นายเผดิมภพ สงเคราะห์ กรรมการผู้จัดการ สายงานจัดการเงินทุนบุคคล บริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า นักลงทุนตอนนี้ดูจะหวังว่าอาจมีมาตรการที่ออกมาทำให้ตลาดหุ้นดีขึ้น หรือ เลือกตั้งจะทำให้หุ้นขึ้นแต่จังหวะtimingของโลกตอนนี้ ไม่ใช่แบบนี้
ราคาน้ำมันลดลงจาก 80 เหลือ 54 $ต่อบาร์เรล หลายคนคิดว่าเป็นประเด็นบวก แต่ผมว่าไม่ใช่ประเด็นบวกค่าน้ำมันปีหน้าเฉลี่ย 67$ หรือ เห็นเงินเฟ้อลดลง ก็คิดว่าดอกเบี้ยจะขึ้นช้าลง
FED คาดการณ์ว่าเงินเฟ้อปีนี้และปีหน้า 1.9%ส่วนปี 2020 2.1% และเริ่มลดลง ส่วนการขึ้นดอกเบี้ยของFED
ปีหน้าจะเหลือ2ครั้งจากที่คาดการณ์ก่อนหน้า 3 ครั้ง FED มอบตัวเมื่อเห็นว่า เศรษฐกิจเริ่มชลอตัวลง
สิ่งที่กังวลคือ ทิศทางดอกเบี้ย โดยดอกเบี้ยระยะยาวจะขึ้นในอัตราที่ช้ากว่าดอกเบี้ยระยะสั้น แสดงว่า
ความต้องการใช้เงินเพิ่มขึ้น เงินเริ่มตึงตัว เกิดภาวะStagfation เป็นสถานการณ์ที่ซึมลง
ดัชนีหุ้นไทย พีคสุด 1850 ตอนช่วง กพ 18 ตอนนี้ยังไม่ต่ำสุด ดัชนีจะลงแบบSideway นักลงทุนต้องศึกษาหุ้นอย่างดี
เงินสดที่เก็บไว้ในกองทุนตราสารหนี้ หรือ เงินฝาก ต้องเริ่มมาสะสมหุ้นในช่วงจังหวะไม่ดี จะได้ราคาหุ้นที่ถูก
ช่วงเดือนมีนาคมปีหน้า ซึ่งครบกำหนดการผ่อนผันการขึ้นอัตราการเก็บภาษีของสหรัฐต่อจีน จะเป็นช่วงที่ตึงเครียดอีกช่วง
ตอนนี้ downside เปิด แต่ไม่เยอะ เวลาข่าวร้ายเยอะๆ แนะนำให้ซื้อตอนนั้น
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้
1. ลงทุนในระยะ 3 เดือน แนะนำให้ลงทุนในหุ้นกลุ่มโรงไฟฟ้า โรงพยาบาล
Jasif สำหรับพักเงิน เพราะมีปันผล 4.7% แต่ให้ขายตอนประกาศจ่ายปันผล
2. ลงทุนระยะสั้น แนะ PTG ที่ราคา 10.25 บาท AAV ที่ราคาเป้าหมาย 5.10 บาท และ BBL ที่ 240 บาท
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 146
4 กูรูวงการหุ้นไทย เปิดเผยในงาน สัมมนา"โค้งสุดท้ายหุ้นไทย ฟุบ หรือ ไปต่อ" ในช่วงเบญจภาคี 5 หุ้นเด็ด
โค้งสุดท้ายรับไม้ต่อปี 2562
นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า การลงทุนในระยะสั้นยากมาก เม็ดเงินFundFlow ไม่เอื้อต่อการทำกำไรระยะสั้น แต่ปัจจัยในประเทศเอื้อลงทุน ถึงไม่มีเลือกตั้ง หุ้นก็ขึ้นได้
ความน่ากลัวในเรื่องCredit spread บริษัทในUS มีต้นทุนการกู้ยืมเงิน เริ่มกังวลว่าบริษัทจะคืนหนี้ หรือ จ่ายดอกเบี้ยได้เต็มที่หรือเปล่า เราถูกเตือนมาตลอด ปีหน้าจะครบ11ปีหลังเกิดวิกฤตแฮมเบอเกอร์
ปีหน้านักวิเคราะห์จะบอกว่าเป็นตลาดหมี
ข้อดี คือ อาจมีการพลิกล๊อค ทรัมป์อาจโดนปลด
FEDไม่ได้พูดBalance sheet ลดการลงทุนลง (ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องตึงตัวขึ้น)
ปัจจัยระยะสั้น การเมืองโลกเป็นอย่างไร ถ้าตกลงกับจีนได้มาก , ปานกลาง หรือ ตกลงกันได้น้อยมาก ก็มีผลต่อเศรษฐกิจ
ส่วนเรื่องการจับตัวCFO ของหัวเหว่ย ก็ไม่มีผลต่อการเจรจาการค้า แต่อาจมีการตอบโต้จับเจ้าหน้าที่ของแคนาดา
ความผันผวนของราคาน้ำมันจะกลับมา ซึ่งมีโอกาสจะเห็นราคาน้ำมันที่ 80$ต่อบาร์เรล
ปีนี้ยังไม่ได้ซื้อLTFเลย ซึ่งปกติจะซื้อตอนสิ้นปี มองการเลือกตั้งตอนนี้ ปัจจัยในประเทศจะช่วย
ช่วงฮันนีมูลจะหมดหลังหย่อนบัตรเลือกตั้ง หลังเลือกตั้ง ต้องดูว่านโยบายรัฐบาลจะขับเคลื่อนได้จริงหรือไม่
แต่ตอนนี้ต่างชาติกลัวปัจจัยภายนอกประเทศมากกว่า
ต้นปีหน้ามองว่า จะเห็นตลาดหมีมากกว่าตลาดกระทิง เตรียมเงินสดไว้ให้เยอะ มองดัชนีหุ้นไทยในปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 1,850 จุด โดยดัชนีหุ้นในช่วงสิ้นปีน่าจะเกิน 1,600จุด
ปัจจัยความเสี่ยงมีอยู่จริง ถ้าทรัมป์สภาล่างสามารถเอาทรัมป์ออกได้ มีส่วนช่วยต่อตลาดหุ้น
จีนและUSทะเลาะกัน ไทยได้ประโยชน์ ตอนนี้บริษัทที่ลงทุนในจีนพยายามย้ายออกไปเวียดนาม อินโดนีเซีย และ ไทย
จีนเป็นฐานdistribution คุณจรีพรจากWHAเห็นtrendว่า distribution จะย้ายมาอยู่ที่อาเซียนมากขึ้นเราต้องเก็บเงินสดเพื่อซื้อตอนหุ้นตก
โดยหุ้นที่น่าสนใจในการลงทุน
เช่น1. WHA ปีหน้าได้อานิสงค์เต็มๆจาก บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านE-commerceจากจีนย้ายมาไทย รวมถึงซัมซุงด้วย
ซึ่งจะพาห่วงโซ่ บริษัทลูก และ Global supply chainมาด้วย และราคาจะถูกกว่าAmata การเช่าหรือซื้อโรงงาน
เป็นจุดเด่นของWHA ราคาเป้าหมายที่ 5.5 บาท ,
2.หลายสำนักเริ่มdowngrade บริษัทน้ำมัน จากราคาน้ำมันตกต่ำ แต่ผมมองว่าใกล้ต่ำสุดแล้ว การเติบโตของEmerging market ยังมีกำลังซื้อ และ supplyน้ำมันยังไม่เพิ่มมาก คนกลัวPTTEP ที่เสนอราคาขายต่ำมากในการประมูลที่ผ่านมาแต่รู้ไหมว่าVolumnเพิ่ม50% ซึ่งส่งผลต่อPTTดีขึ้น เพราะต้นทุนต่ำลงแต่ราคาขายแก๊สเท่าเดิม
ราคาเป้าหมายที่ 167 บาท ,
3.BEC ดูน่าสนใจเพราะราคาค่อนข้างต่ำ content is the king ถ้าใครกล้า ราคาเป้าหมายที่ 7-8 บาท
4.ส่วนการท่องเที่ยว ในช่วงธค ,มีการ offer visa on arrival 22 ประเทศ ไม่ต้องเสียค่าVisa ทำให้volumnช่วง2สัปดาห์แรกของธค โต Y-Y ดูแล้วAOTน่าสนใจ การประมูลDuty free ถ้าเสร็จในกพ ปีหน้า จะมาชดเชยกับcapexที่รออยู่
5.ส่วนธนาคาร BBLดูน่าสนใจ
6.ส่วนการก่อสร้าง UNIQ ที่มีการประมูลล่าช้าในปีนี้ รัฐแก้ไขทัน ปีหน้า Q1,Q2น่าจะกลับมา
โค้งสุดท้ายรับไม้ต่อปี 2562
นายปริญญ์ พานิชภักดิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัทหลักทรัพย์ ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) กล่าวว่า การลงทุนในระยะสั้นยากมาก เม็ดเงินFundFlow ไม่เอื้อต่อการทำกำไรระยะสั้น แต่ปัจจัยในประเทศเอื้อลงทุน ถึงไม่มีเลือกตั้ง หุ้นก็ขึ้นได้
ความน่ากลัวในเรื่องCredit spread บริษัทในUS มีต้นทุนการกู้ยืมเงิน เริ่มกังวลว่าบริษัทจะคืนหนี้ หรือ จ่ายดอกเบี้ยได้เต็มที่หรือเปล่า เราถูกเตือนมาตลอด ปีหน้าจะครบ11ปีหลังเกิดวิกฤตแฮมเบอเกอร์
ปีหน้านักวิเคราะห์จะบอกว่าเป็นตลาดหมี
ข้อดี คือ อาจมีการพลิกล๊อค ทรัมป์อาจโดนปลด
FEDไม่ได้พูดBalance sheet ลดการลงทุนลง (ซึ่งจะทำให้สภาพคล่องตึงตัวขึ้น)
ปัจจัยระยะสั้น การเมืองโลกเป็นอย่างไร ถ้าตกลงกับจีนได้มาก , ปานกลาง หรือ ตกลงกันได้น้อยมาก ก็มีผลต่อเศรษฐกิจ
ส่วนเรื่องการจับตัวCFO ของหัวเหว่ย ก็ไม่มีผลต่อการเจรจาการค้า แต่อาจมีการตอบโต้จับเจ้าหน้าที่ของแคนาดา
ความผันผวนของราคาน้ำมันจะกลับมา ซึ่งมีโอกาสจะเห็นราคาน้ำมันที่ 80$ต่อบาร์เรล
ปีนี้ยังไม่ได้ซื้อLTFเลย ซึ่งปกติจะซื้อตอนสิ้นปี มองการเลือกตั้งตอนนี้ ปัจจัยในประเทศจะช่วย
ช่วงฮันนีมูลจะหมดหลังหย่อนบัตรเลือกตั้ง หลังเลือกตั้ง ต้องดูว่านโยบายรัฐบาลจะขับเคลื่อนได้จริงหรือไม่
แต่ตอนนี้ต่างชาติกลัวปัจจัยภายนอกประเทศมากกว่า
ต้นปีหน้ามองว่า จะเห็นตลาดหมีมากกว่าตลาดกระทิง เตรียมเงินสดไว้ให้เยอะ มองดัชนีหุ้นไทยในปีหน้าคาดว่าจะอยู่ที่ 1,850 จุด โดยดัชนีหุ้นในช่วงสิ้นปีน่าจะเกิน 1,600จุด
ปัจจัยความเสี่ยงมีอยู่จริง ถ้าทรัมป์สภาล่างสามารถเอาทรัมป์ออกได้ มีส่วนช่วยต่อตลาดหุ้น
จีนและUSทะเลาะกัน ไทยได้ประโยชน์ ตอนนี้บริษัทที่ลงทุนในจีนพยายามย้ายออกไปเวียดนาม อินโดนีเซีย และ ไทย
จีนเป็นฐานdistribution คุณจรีพรจากWHAเห็นtrendว่า distribution จะย้ายมาอยู่ที่อาเซียนมากขึ้นเราต้องเก็บเงินสดเพื่อซื้อตอนหุ้นตก
โดยหุ้นที่น่าสนใจในการลงทุน
เช่น1. WHA ปีหน้าได้อานิสงค์เต็มๆจาก บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านE-commerceจากจีนย้ายมาไทย รวมถึงซัมซุงด้วย
ซึ่งจะพาห่วงโซ่ บริษัทลูก และ Global supply chainมาด้วย และราคาจะถูกกว่าAmata การเช่าหรือซื้อโรงงาน
เป็นจุดเด่นของWHA ราคาเป้าหมายที่ 5.5 บาท ,
2.หลายสำนักเริ่มdowngrade บริษัทน้ำมัน จากราคาน้ำมันตกต่ำ แต่ผมมองว่าใกล้ต่ำสุดแล้ว การเติบโตของEmerging market ยังมีกำลังซื้อ และ supplyน้ำมันยังไม่เพิ่มมาก คนกลัวPTTEP ที่เสนอราคาขายต่ำมากในการประมูลที่ผ่านมาแต่รู้ไหมว่าVolumnเพิ่ม50% ซึ่งส่งผลต่อPTTดีขึ้น เพราะต้นทุนต่ำลงแต่ราคาขายแก๊สเท่าเดิม
ราคาเป้าหมายที่ 167 บาท ,
3.BEC ดูน่าสนใจเพราะราคาค่อนข้างต่ำ content is the king ถ้าใครกล้า ราคาเป้าหมายที่ 7-8 บาท
4.ส่วนการท่องเที่ยว ในช่วงธค ,มีการ offer visa on arrival 22 ประเทศ ไม่ต้องเสียค่าVisa ทำให้volumnช่วง2สัปดาห์แรกของธค โต Y-Y ดูแล้วAOTน่าสนใจ การประมูลDuty free ถ้าเสร็จในกพ ปีหน้า จะมาชดเชยกับcapexที่รออยู่
5.ส่วนธนาคาร BBLดูน่าสนใจ
6.ส่วนการก่อสร้าง UNIQ ที่มีการประมูลล่าช้าในปีนี้ รัฐแก้ไขทัน ปีหน้า Q1,Q2น่าจะกลับมา
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 147
Property Fund & REITs & Infrafund Series EP13
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท หรือ SPRIME เป็นกองทรัสต์ของกลุ่มสิงห์ เอสเตท
โดยทรัพย์สินที่จะเข้าลงทุนครั้งแรกคือ ที่ดินบางส่วนและพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ห้องประชุม สถานออกกำลังกาย พื้นที่ส่วนกลาง ที่จอดรถและงานระบบของอาคารซันทาวเวอร์ส เป็นระยะเวลา 30 ปี
ในพื้นที่รวม 118,828 ตร.ม. มูลค่าสูงสุดไม่เกิน 5,717.5 ลบ.
โดยจะเป็นเงินที่มาจากการระดมทุนไม่เกิน 4,467.5 ลบ. และเงินกู้ยืมระยะยาวไม่เกิน 1,350 ลบ.
ข้อดี
1. ผลตอบแทน เงินปันผล 7% สูงกว่าค่าเฉลี่ย5.99%
ของกองประเภทนี้
2. อัตราการเช่าสูงถึง 95%
3. ผลการดำเนินงานดีต่อเนื่อง
4. พื้นที่อาคารพึ่งปรับปรุงใหม่ รวมถึงสถานที่ตั้งใกล้รถไฟฟ้าBTS
5. ถือเป็นassetหนึ่งในportfolioได้
ข้อควรระวัง
1.เงินปันผลเฉลี่ยที่show รวมกองที่เป็นfree holdเข้าไปด้วย
ดังนั้นถ้าตัดfree holdออก อาจไม่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยLeasehold รวมถึง ต้องหักค่าคืนเงินต้นออกก่อนตัดสินใจสุดท้ายว่าจะลงทุนหรือไม่ ผมใช้วิธีหักแบบเส้นตรงคือคืนเงินปีละ3.33%(100/30ปี)จะเหลือปันผลจริง 3.67%
2.อาคารค่อนข้างเก่า อาจมีการต้องเสียค่าใช้จ่ายปรับปรุงอีก
3.มีการกู้ยืม ถ้าดอกเบี้ยขาขึ้น ต้องระวังส่วนนี้ด้วย
ทรัสต์เพื่อการลงทุนในสิทธิการเช่าอสังหาริมทรัพย์ เอส ไพรม์ โกรท หรือ SPRIME เป็นกองทรัสต์ของกลุ่มสิงห์ เอสเตท
โดยทรัพย์สินที่จะเข้าลงทุนครั้งแรกคือ ที่ดินบางส่วนและพื้นที่สำนักงาน พื้นที่ห้องประชุม สถานออกกำลังกาย พื้นที่ส่วนกลาง ที่จอดรถและงานระบบของอาคารซันทาวเวอร์ส เป็นระยะเวลา 30 ปี
ในพื้นที่รวม 118,828 ตร.ม. มูลค่าสูงสุดไม่เกิน 5,717.5 ลบ.
โดยจะเป็นเงินที่มาจากการระดมทุนไม่เกิน 4,467.5 ลบ. และเงินกู้ยืมระยะยาวไม่เกิน 1,350 ลบ.
ข้อดี
1. ผลตอบแทน เงินปันผล 7% สูงกว่าค่าเฉลี่ย5.99%
ของกองประเภทนี้
2. อัตราการเช่าสูงถึง 95%
3. ผลการดำเนินงานดีต่อเนื่อง
4. พื้นที่อาคารพึ่งปรับปรุงใหม่ รวมถึงสถานที่ตั้งใกล้รถไฟฟ้าBTS
5. ถือเป็นassetหนึ่งในportfolioได้
ข้อควรระวัง
1.เงินปันผลเฉลี่ยที่show รวมกองที่เป็นfree holdเข้าไปด้วย
ดังนั้นถ้าตัดfree holdออก อาจไม่ได้สูงกว่าค่าเฉลี่ยLeasehold รวมถึง ต้องหักค่าคืนเงินต้นออกก่อนตัดสินใจสุดท้ายว่าจะลงทุนหรือไม่ ผมใช้วิธีหักแบบเส้นตรงคือคืนเงินปีละ3.33%(100/30ปี)จะเหลือปันผลจริง 3.67%
2.อาคารค่อนข้างเก่า อาจมีการต้องเสียค่าใช้จ่ายปรับปรุงอีก
3.มีการกู้ยืม ถ้าดอกเบี้ยขาขึ้น ต้องระวังส่วนนี้ด้วย
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 148
สงครามการค้า: สมุดปกขาวกับสัญญาณรบจากจีน?
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กองโฆษกของรัฐบาลจีนได้เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับจุดยืนของรัฐบาลจีนในเรื่องสงครามการค้า
จุดยืนมี 4 ข้อครับ คือ 1. การเจรจาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียม 2. การเจรจาต้องอาศัยความสุจริตใจ 3. จีนจะไม่ยอมถอยในเรื่องที่เป็นหลักการ 4. ความท้าทายจากสงครามการค้าจะไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้
ในสมุดปกขาว ยังพูดจากมุมจีนว่าสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนท่าทีกลับไปกลับมาในการเจรจาถึง 3 ครั้ง และโยนความผิดว่าสหรัฐฯ ทำให้การเจรจาล้มเหลว (ส่วนสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้บอกว่าเป็นเพราะจีนเองกลับลำในช่วงสุดท้าย)
จีนย้ำว่า ถ้าสหรัฐฯ พร้อมเจรจาเมื่อไรภายใต้หลักความเท่าเทียมและสุจริตใจ จีนเปิดประตูรอเสมอ แต่ถ้าสหรัฐฯ เลือกจะรบ จีนเองก็จะสู้กลับให้ถึงที่สุด!
ในการแถลงข่าวเปิดสมุดปกขาว มีนักข่าวถาม รมช. พาณิชย์ของจีนว่า ฝ่ายสหรัฐฯ บอกว่าสงครามการค้าครั้งนี้ ฝ่ายจีนจะเป็นผู้แพ้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่? ท่านรมช. ตอบอย่างคมคายว่า สงครามการค้านั้นมีแต่แพ้ทั้งคู่ ไม่มีฝั่งใดชนะหรอก!
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับสมุดปกขาวของจีน ดังนี้ครับ
1.รัฐบาลจีนใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับประชาคมโลกก็จริง แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือต้องการใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับคนจีนในประเทศด้วยครับ
รัฐบาลจีนต้องการสื่อสารกับคนในประเทศว่า ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาจากฝั่งสหรัฐฯ (ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลจีน) และเมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจีนก็พร้อมยืนหยัดต่อสู้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า ภาษาที่ใช้รอบนี้แรงขึ้นจากการแถลงในอดีต ชนิดที่บอกว่าถ้าเอ็งจะรบ ก็เข้ามาเลย!
ในสมุดปกขาว จีนยังพูดถึงหลักการสำคัญว่าสหรัฐฯ ต้องเคารพอำนาจอธิปไตยของจีน ซึ่งสะกิดต่อมความรู้สึกของคนจีนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ช่วงที่ตะวันตกรังแกจีนและบังคับให้จีนทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในช่วงปลายราชวงศ์ชิง
ข่าวลือก่อนหน้านี้มีว่า ดีลจีน-สหรัฐฯ ล่ม เพราะสหรัฐฯ ต้องการบันทึกในข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าในอนาคตจีนไม่สามารถปรับปรุงตัวในเรื่องต่างๆ จนสหรัฐฯ พึงพอใจ (เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา, การยอมเปิดบางภาคเศรษฐกิจของจีนให้นักลงทุนสหรัฐฯ เข้ามาลงทุน) รัฐบาลสหรัฐฯ สงวนสิทธิที่จะกลับมาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน โดยที่จีนสัญญาว่าจะไม่ขึ้นภาษีตอบโต้
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงและพรรคคอมมิวนิสต์มองว่า ถ้าขืนยอมตกลงไปอย่างนี้ ก็จะเสียหน้ามาก ศัตรูทางการเมืองในพรรคอาจโจมตีว่า เข้าข่ายทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แถมคนจีนชาตินิยมทั้งหลายอาจไม่พอใจ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุให้ต้องย้ำแล้วย้ำอีกในสมุดปกขาวว่า การเจรจาต่อไปนี้ต้องยึดหลักความเท่าเทียม
ข้อสังเกตข้อที่ 2. สมุดปกขาวของจีนเน้นพูดเรื่องสงครามการค้าในมิติเศรษฐกิจและในมุมเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก แต่หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ใช้สงครามการค้าเป็นฉากบังหน้าเพื่อต่อรองเรื่องอื่น
นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า แท้จริงแล้ว จีน-สหรัฐฯ ขัดแย้งเชิงลึกในทางการเมืองและความมั่นคง มหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐฯ เห็นว่าการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่อย่างจีนเป็นภัยคุกคามเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
สมุดปกขาวสะท้อนว่า จากฝั่งของจีน รัฐบาลจีนพยายามตีกรอบการเจรจาให้อยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น และไม่เอาเรื่องอื่นมาปะปน หรือไม่ยกระดับว่านี่เป็นเรื่องมากกว่าการค้า
นักวิชาการจีนท่านหนึ่งมองว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็มีไพ่เด็ดอยู่ในมือทั้งคู่ ถ้าจะยกระดับเป็นสงครามเย็น ความขัดแย้งจะไม่มีวันจบ ดังนั้น เฉพาะหน้าควรจำกัดกรอบเป็นเรื่องการค้า และแสวงความร่วมมือด้านการค้าที่เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้
แต่คำถามก็คือ ทางสหรัฐฯ จะเห็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่ เพราะยิ่งวัน ยิ่งอ่านทวีตของพี่ทรัมป์ หลายคนยิ่งงงว่า สหรัฐฯ ทำสงครามการค้าเพื่ออะไรกันแน่ จนนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตอนนี้มองเป็นเรื่องการเมืองและความมั่นคงไปแล้ว บางคนถึงกับมองว่า ไพ่สงครามการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ต้องการปิดล้อมจีน รวมทั้งเอามาใช้ต่อรองเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นให้จีนช่วยคุยกับเกาหลีเหนือ เรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ และเรื่องไต้หวัน
3.ข้อสังเกตสุดท้าย การที่จีนออกสมุดปกขาวในช่วงนี้สะท้อนว่า ในระยะสั้น คงจะไม่มีการเจรจาหรือการยอมถอย แต่ในระยะยาว จีนพร้อมเปิดประตูสู่การเจรจาเสมอ
นักวิชาการจีนส่วนหนึ่งวิจารณ์ว่า รัฐบาลจีนออกสมุดปกขาวเร็วไป น่าจะรอปลายเดือนนี้ค่อยออกก็ได้ พอออกมาตอนนี้ยิ่งเท่ากับราดน้ำมันลงในกองเพลิง ไฟความขัดแย้งในระยะสั้นคงยิ่งโหมหนัก
รัฐบาลจีนเตรียมตัวขึ้นภาษีตอบโต้ รวมทั้งเตรียมออกมาตรการจัดการบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ แบบที่สหรัฐฯ ทำกับหัวเว่ย (ตอนนี้มีข่าวลือว่า รัฐบาลจีนจะตรวจสอบบริษัท Fed-Ex รวมทั้งอาจเลิกใช้ซอฟต์แวร์ของ Microsoft) อันนี้ก็ต้องรอดูครับว่า พี่สีแกกำลังเลียนแบบยุทธวิธีเขียนเสือให้วัวกลัวแบบพี่ทรัมป์หรือเปล่า
สงครามการค้ายกก่อนหน้านี้ เนื่องจากตอนนั้นยังเป็นช่วงขาขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการขึ้นภาษีรอบก่อนยังจำกัดเฉพาะสินค้าบางประเภทเท่านั้น คนในสหรัฐฯ จึงยังไม่รู้สึกเจ็บตัวจากสงครามการค้าเท่าใดนัก แต่เมื่อตอนนี้ความขัดแย้งเริ่มยกระดับ โดยสหรัฐฯ ขึ้นภาษีระลอกใหม่ และจีนเตรียมยกระดับการตอบโต้ สุดท้ายหนีไม่พ้นหรอกครับที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะเริ่มรู้สึก บริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ จะเริ่มเจ็บ และที่สำคัญ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเริ่มร่วงหนักขึ้น จีนมองว่าถึงตอนนั้น ทรัมป์ก็คงต้องหันกลับมาเจรจา
แต่วางท่าจะตีกันเต็มสูบแบบนี้ ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะถูกกดดันให้กลับมาเจรจากัน ก็คงเจ็บหนักไม่น้อยหน้ากันทั้งคู่ครับT
Cr:ดร อาร์ม
เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา กองโฆษกของรัฐบาลจีนได้เผยแพร่สมุดปกขาวเกี่ยวกับจุดยืนของรัฐบาลจีนในเรื่องสงครามการค้า
จุดยืนมี 4 ข้อครับ คือ 1. การเจรจาต้องอยู่บนพื้นฐานของความเท่าเทียม 2. การเจรจาต้องอาศัยความสุจริตใจ 3. จีนจะไม่ยอมถอยในเรื่องที่เป็นหลักการ 4. ความท้าทายจากสงครามการค้าจะไม่สามารถหยุดยั้งการพัฒนาเศรษฐกิจของจีนได้
ในสมุดปกขาว ยังพูดจากมุมจีนว่าสหรัฐฯ ได้เปลี่ยนท่าทีกลับไปกลับมาในการเจรจาถึง 3 ครั้ง และโยนความผิดว่าสหรัฐฯ ทำให้การเจรจาล้มเหลว (ส่วนสหรัฐฯ ก่อนหน้านี้บอกว่าเป็นเพราะจีนเองกลับลำในช่วงสุดท้าย)
จีนย้ำว่า ถ้าสหรัฐฯ พร้อมเจรจาเมื่อไรภายใต้หลักความเท่าเทียมและสุจริตใจ จีนเปิดประตูรอเสมอ แต่ถ้าสหรัฐฯ เลือกจะรบ จีนเองก็จะสู้กลับให้ถึงที่สุด!
ในการแถลงข่าวเปิดสมุดปกขาว มีนักข่าวถาม รมช. พาณิชย์ของจีนว่า ฝ่ายสหรัฐฯ บอกว่าสงครามการค้าครั้งนี้ ฝ่ายจีนจะเป็นผู้แพ้ ท่านเห็นด้วยหรือไม่? ท่านรมช. ตอบอย่างคมคายว่า สงครามการค้านั้นมีแต่แพ้ทั้งคู่ ไม่มีฝั่งใดชนะหรอก!
ผมมีข้อสังเกตเกี่ยวกับสมุดปกขาวของจีน ดังนี้ครับ
1.รัฐบาลจีนใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับประชาคมโลกก็จริง แต่ที่สำคัญกว่านั้น คือต้องการใช้สมุดปกขาวสื่อสารกับคนจีนในประเทศด้วยครับ
รัฐบาลจีนต้องการสื่อสารกับคนในประเทศว่า ความขัดแย้งที่ยืดเยื้อมาจากฝั่งสหรัฐฯ (ไม่ใช่ความผิดของรัฐบาลจีน) และเมื่อเป็นเช่นนี้ รัฐบาลจีนก็พร้อมยืนหยัดต่อสู้ หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่า ภาษาที่ใช้รอบนี้แรงขึ้นจากการแถลงในอดีต ชนิดที่บอกว่าถ้าเอ็งจะรบ ก็เข้ามาเลย!
ในสมุดปกขาว จีนยังพูดถึงหลักการสำคัญว่าสหรัฐฯ ต้องเคารพอำนาจอธิปไตยของจีน ซึ่งสะกิดต่อมความรู้สึกของคนจีนกลับไปที่ประวัติศาสตร์ช่วงที่ตะวันตกรังแกจีนและบังคับให้จีนทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรมในช่วงปลายราชวงศ์ชิง
ข่าวลือก่อนหน้านี้มีว่า ดีลจีน-สหรัฐฯ ล่ม เพราะสหรัฐฯ ต้องการบันทึกในข้อตกลงเป็นลายลักษณ์อักษรว่า ถ้าในอนาคตจีนไม่สามารถปรับปรุงตัวในเรื่องต่างๆ จนสหรัฐฯ พึงพอใจ (เช่น การคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา, การยอมเปิดบางภาคเศรษฐกิจของจีนให้นักลงทุนสหรัฐฯ เข้ามาลงทุน) รัฐบาลสหรัฐฯ สงวนสิทธิที่จะกลับมาขึ้นภาษีสินค้านำเข้าจากจีน โดยที่จีนสัญญาว่าจะไม่ขึ้นภาษีตอบโต้
ประธานาธิบดีสีจิ้นผิงและพรรคคอมมิวนิสต์มองว่า ถ้าขืนยอมตกลงไปอย่างนี้ ก็จะเสียหน้ามาก ศัตรูทางการเมืองในพรรคอาจโจมตีว่า เข้าข่ายทำสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม แถมคนจีนชาตินิยมทั้งหลายอาจไม่พอใจ ทั้งหมดจึงเป็นเหตุให้ต้องย้ำแล้วย้ำอีกในสมุดปกขาวว่า การเจรจาต่อไปนี้ต้องยึดหลักความเท่าเทียม
ข้อสังเกตข้อที่ 2. สมุดปกขาวของจีนเน้นพูดเรื่องสงครามการค้าในมิติเศรษฐกิจและในมุมเศรษฐศาสตร์เป็นหลัก แต่หลีกเลี่ยงที่จะกล่าวหาว่าสหรัฐฯ ใช้สงครามการค้าเป็นฉากบังหน้าเพื่อต่อรองเรื่องอื่น
นักวิเคราะห์หลายรายมองว่า แท้จริงแล้ว จีน-สหรัฐฯ ขัดแย้งเชิงลึกในทางการเมืองและความมั่นคง มหาอำนาจเก่าอย่างสหรัฐฯ เห็นว่าการผงาดขึ้นมาของมหาอำนาจใหม่อย่างจีนเป็นภัยคุกคามเชิงยุทธศาสตร์อย่างรอบด้าน
สมุดปกขาวสะท้อนว่า จากฝั่งของจีน รัฐบาลจีนพยายามตีกรอบการเจรจาให้อยู่ที่เรื่องเศรษฐกิจการค้าเท่านั้น และไม่เอาเรื่องอื่นมาปะปน หรือไม่ยกระดับว่านี่เป็นเรื่องมากกว่าการค้า
นักวิชาการจีนท่านหนึ่งมองว่า ทั้งสหรัฐฯ และจีนต่างก็มีไพ่เด็ดอยู่ในมือทั้งคู่ ถ้าจะยกระดับเป็นสงครามเย็น ความขัดแย้งจะไม่มีวันจบ ดังนั้น เฉพาะหน้าควรจำกัดกรอบเป็นเรื่องการค้า และแสวงความร่วมมือด้านการค้าที่เป็นประโยชน์กับทั้ง 2 ฝ่ายให้ได้
แต่คำถามก็คือ ทางสหรัฐฯ จะเห็นเช่นนี้ด้วยหรือไม่ เพราะยิ่งวัน ยิ่งอ่านทวีตของพี่ทรัมป์ หลายคนยิ่งงงว่า สหรัฐฯ ทำสงครามการค้าเพื่ออะไรกันแน่ จนนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ตอนนี้มองเป็นเรื่องการเมืองและความมั่นคงไปแล้ว บางคนถึงกับมองว่า ไพ่สงครามการค้าเป็นเพียงส่วนหนึ่งของยุทธศาสตร์ใหญ่ของสหรัฐฯ ที่ต้องการปิดล้อมจีน รวมทั้งเอามาใช้ต่อรองเรื่องอื่นๆ ด้วย ไม่ว่าจะเป็นให้จีนช่วยคุยกับเกาหลีเหนือ เรื่องความขัดแย้งในทะเลจีนใต้ และเรื่องไต้หวัน
3.ข้อสังเกตสุดท้าย การที่จีนออกสมุดปกขาวในช่วงนี้สะท้อนว่า ในระยะสั้น คงจะไม่มีการเจรจาหรือการยอมถอย แต่ในระยะยาว จีนพร้อมเปิดประตูสู่การเจรจาเสมอ
นักวิชาการจีนส่วนหนึ่งวิจารณ์ว่า รัฐบาลจีนออกสมุดปกขาวเร็วไป น่าจะรอปลายเดือนนี้ค่อยออกก็ได้ พอออกมาตอนนี้ยิ่งเท่ากับราดน้ำมันลงในกองเพลิง ไฟความขัดแย้งในระยะสั้นคงยิ่งโหมหนัก
รัฐบาลจีนเตรียมตัวขึ้นภาษีตอบโต้ รวมทั้งเตรียมออกมาตรการจัดการบริษัทยักษ์ใหญ่ของสหรัฐฯ แบบที่สหรัฐฯ ทำกับหัวเว่ย (ตอนนี้มีข่าวลือว่า รัฐบาลจีนจะตรวจสอบบริษัท Fed-Ex รวมทั้งอาจเลิกใช้ซอฟต์แวร์ของ Microsoft) อันนี้ก็ต้องรอดูครับว่า พี่สีแกกำลังเลียนแบบยุทธวิธีเขียนเสือให้วัวกลัวแบบพี่ทรัมป์หรือเปล่า
สงครามการค้ายกก่อนหน้านี้ เนื่องจากตอนนั้นยังเป็นช่วงขาขึ้นของเศรษฐกิจสหรัฐฯ รวมทั้งการขึ้นภาษีรอบก่อนยังจำกัดเฉพาะสินค้าบางประเภทเท่านั้น คนในสหรัฐฯ จึงยังไม่รู้สึกเจ็บตัวจากสงครามการค้าเท่าใดนัก แต่เมื่อตอนนี้ความขัดแย้งเริ่มยกระดับ โดยสหรัฐฯ ขึ้นภาษีระลอกใหม่ และจีนเตรียมยกระดับการตอบโต้ สุดท้ายหนีไม่พ้นหรอกครับที่ผู้บริโภคในสหรัฐฯ จะเริ่มรู้สึก บริษัทใหญ่ๆ ของสหรัฐฯ จะเริ่มเจ็บ และที่สำคัญ ตลาดหุ้นสหรัฐฯ จะเริ่มร่วงหนักขึ้น จีนมองว่าถึงตอนนั้น ทรัมป์ก็คงต้องหันกลับมาเจรจา
แต่วางท่าจะตีกันเต็มสูบแบบนี้ ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะถูกกดดันให้กลับมาเจรจากัน ก็คงเจ็บหนักไม่น้อยหน้ากันทั้งคู่ครับT
Cr:ดร อาร์ม
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 149
เกษียณแล้วไปทำอะไรดี
เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้คุยกับคุณครูท่านนึงที่จะเกษียณในเดือนหน้านี้
ว่าเกษียณแล้วได้วางแผนทำอะไรบ้าง ครูท่านได้ตอบว่า
ช่วงแรกๆก็คงไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะจัดเก็บของสนบ้าน
แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่รู้ว่าทำอะไรดี
ทำให้ผมนึกถึงคอร์สอบรมหลายๆหลักสูตรที่ทางหน่วยงานราชการจัดขึ้นเรื่องการวางแผนการเกษียณ
ให้ทายสิว่า อายุของผู้ร่วมสัมมนาสักเท่าไหร่
1.25-35 ปี
2.36-55 ปี
3.56-59 ปี
4.60ปี
คำตอบก็คือ ข้อ 4 หรือ ข้อ 3 อายุประมาณ59ปี
ซึ่งจริงๆแล้ววัยที่เหมาะมาฟังคือช่วงอายุ 25-35ปี ซึ่งมีเงินเก็บบ้างแล้ว
เวลาก่อนเกษียณยังก็อีกนาน สามารถเรียนรู้การลงทุนได้
ถึงพลาดก็ยังมีเวลาแก้ตัวใหม่ได้เพราะยังมีรายได้จากงานประจำ
สำหรับคนที่ใกล้เกษียณ ถ้ามีเงินเก็บไม่มากเช่น 1แสนบาท ถ้ารวมกับเงินจาก กบข หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วก็ดูไม่มาก ถ้ามาฟังสัมมนาเรื่องวางแผนการเกษียณ
ก็อาจได้ประโยชน์ไม่มาก ยกเว้นว่ามีเงินเก็บมาก
เพราะปัจจัยที่จะทำให้เงินงอกเงยนั้น
ประกอบไปด้วย3ปัจจัย คือ เงินลงทุน เวลาที่สามารถลงทุนได้ และ ความรู้ด้านลงทุน
ซึ่งจะเห็นว่า ปัจจัยเรื่องเงินลงทุน และเวลา ค่อนข้างเหลือน้อย
วิธีการนำเงินไปลงทุนอาจจะไม่เหมาะแล้ว
เราต้องไปหาวิธีอื่นๆเพื่อให้สามารถอยู่ได้หลังเกษียณ
อย่างเช่น
1.การขอยืดอายุเกษียณออกไป ซึ่งก็ไม่ง่ายสำหรับชีวิตครู
เพราะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ยังขาดอยู่จึงสามารถยื่นคำร้องได้
2.ทำงานในองค์กรที่รับคนที่เกษียณแล้ว แต่เงินเดือนก็ไม่มากนัก
3.ไปเป็นที่ปรึกษาในที่ต่างๆ ถ้าเรามีคุณวุฒิที่เหมาะสม
4.รับสอนพิเศษ ในวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ
5.ไปทำธุรกิจส่วนตัว มีความเสี่ยงสูง ต้องหาธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนน้อย
6.ทำอาชีพอิสระ เช่นถ่ายภาพ ไปขายในwebต่างๆ
เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าคนที่เกษียณยังมีโอกาสเก็บเงินต่อได้
แต่ถ้ามีโอกาสวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะดีกว่านะครับ
เมื่อสัปดาห์ก่อน ได้คุยกับคุณครูท่านนึงที่จะเกษียณในเดือนหน้านี้
ว่าเกษียณแล้วได้วางแผนทำอะไรบ้าง ครูท่านได้ตอบว่า
ช่วงแรกๆก็คงไม่ต้องคิดอะไรมาก เพราะจัดเก็บของสนบ้าน
แต่หลังจากนั้นก็ยังไม่รู้ว่าทำอะไรดี
ทำให้ผมนึกถึงคอร์สอบรมหลายๆหลักสูตรที่ทางหน่วยงานราชการจัดขึ้นเรื่องการวางแผนการเกษียณ
ให้ทายสิว่า อายุของผู้ร่วมสัมมนาสักเท่าไหร่
1.25-35 ปี
2.36-55 ปี
3.56-59 ปี
4.60ปี
คำตอบก็คือ ข้อ 4 หรือ ข้อ 3 อายุประมาณ59ปี
ซึ่งจริงๆแล้ววัยที่เหมาะมาฟังคือช่วงอายุ 25-35ปี ซึ่งมีเงินเก็บบ้างแล้ว
เวลาก่อนเกษียณยังก็อีกนาน สามารถเรียนรู้การลงทุนได้
ถึงพลาดก็ยังมีเวลาแก้ตัวใหม่ได้เพราะยังมีรายได้จากงานประจำ
สำหรับคนที่ใกล้เกษียณ ถ้ามีเงินเก็บไม่มากเช่น 1แสนบาท ถ้ารวมกับเงินจาก กบข หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วก็ดูไม่มาก ถ้ามาฟังสัมมนาเรื่องวางแผนการเกษียณ
ก็อาจได้ประโยชน์ไม่มาก ยกเว้นว่ามีเงินเก็บมาก
เพราะปัจจัยที่จะทำให้เงินงอกเงยนั้น
ประกอบไปด้วย3ปัจจัย คือ เงินลงทุน เวลาที่สามารถลงทุนได้ และ ความรู้ด้านลงทุน
ซึ่งจะเห็นว่า ปัจจัยเรื่องเงินลงทุน และเวลา ค่อนข้างเหลือน้อย
วิธีการนำเงินไปลงทุนอาจจะไม่เหมาะแล้ว
เราต้องไปหาวิธีอื่นๆเพื่อให้สามารถอยู่ได้หลังเกษียณ
อย่างเช่น
1.การขอยืดอายุเกษียณออกไป ซึ่งก็ไม่ง่ายสำหรับชีวิตครู
เพราะต้องอยู่ในตำแหน่งที่ยังขาดอยู่จึงสามารถยื่นคำร้องได้
2.ทำงานในองค์กรที่รับคนที่เกษียณแล้ว แต่เงินเดือนก็ไม่มากนัก
3.ไปเป็นที่ปรึกษาในที่ต่างๆ ถ้าเรามีคุณวุฒิที่เหมาะสม
4.รับสอนพิเศษ ในวิชาต่างๆ เช่น คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาไทย อังกฤษ
5.ไปทำธุรกิจส่วนตัว มีความเสี่ยงสูง ต้องหาธุรกิจที่ใช้เงินลงทุนน้อย
6.ทำอาชีพอิสระ เช่นถ่ายภาพ ไปขายในwebต่างๆ
เป็นต้น
จะเห็นได้ว่าคนที่เกษียณยังมีโอกาสเก็บเงินต่อได้
แต่ถ้ามีโอกาสวางแผนเกษียณตั้งแต่อายุยังน้อย ก็จะดีกว่านะครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2195
- ผู้ติดตาม: 0
Re: ดัชนีต่ำกว่า1,500จุด เราควรทำ อย่างไร
โพสต์ที่ 150
Battle Strategy Do or Die ในหัวข้อ NBTC toward 5G
นาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช
กล่าวในงาน Battle Strategy Do or Die ในหัวข้อ NBTC toward 5G ว่า
เราเริ่มใช้มือถือตั้งแต่ยุค 2G จนปี2555-56 เรามี 3G,4G เกิดขึ้น เลยมีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น
ตอนนั้นก็มีการเตือนให้ระวัง เพราะถ้าเราไม่disrupt ตัวเอง ก็จะถูกdisrupt แล้วก็เกิดขึ้นจริงๆ
เเต่เราอย่าพึ่งสิ้นหวัง เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจต่อไป
ทุกธุรกิจต่อยอดด้วย 5G ทั้งสิ้น เช่น ธุรกิจการเงิน การธนาคาร
เราจะทำอะไรก็อยู่ในมือถือตัวเองทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น การขายเสื้อผ้า มีตู้เล็กนิดเดียว ก็ขายผ่านFB Live
ดังนั้น ถือเป็นการทำธุรกิจบนโครงข่ายโทรคมนาคม
ในแผนกของกสทช เราไม่ได้มองแค่แมคโครอย่างเดียว แต่เรามองถึงไมโครด้วย
แผนการที่นำเสนอ
1.5G คือการส่งข้อมูลความเร็วสูง ซึ่งสูงกว่า 4G ถึง 100 เท่า
2.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆในพื้นที่ 1 ตารางกม ได้ถึง 1ล้านอุปกรณ์
3.การรอบรับข้อมูลที่มีความเสถียรภาพมากขึ้น
ตย เช่น รพ จุฬา ต่อไปไม่ต้องเดินทางไปหาหมอใน4โรค เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ผิวหนัง เป็นต้น
เรียกระบบว่า Smart capital
5G จะเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไร.
1.โครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาคการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการธนาคาร รวมถึง ภาคการขนส่ง จะดีขึ้น
2.โครงสร้างทางสังคม
การดำเนินชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การซื้อonline , การสื่อสารผ่านTelแทนการคุยต่อหน้า ,
ความสัมพันธ์ของครอบครัวลดลง
อนาคต จะเป็นสังคมเสมือนมากขึ้น
3.โครงสร้างทางการเมือง
เช่น การหาเสียง ในสังคมเสมือน
การเลือกตั้ง Digital ยืนยันตัวเองด้วย IOT Sensor
ลงประชามติ แบบ ดิจิตัล
อาจมีภัยคุกคามจาก Deep News สูงขึ้น ไม่สามารถแยกแยะข่าวจริงจากข่าวลวงได้
5G กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
1. ภาคการเกษตร (Smart Farming) มีการคืนพื้นที่ ดิน น้ำ คิดเป็นมูลค่า 96,000 ลบ
2. ภาคLogistic (Smart Logistic) ช่วยเพิ่มมูลค่า 124,000 ลบ
3. ภาคการผลิต (Smart Manufacturing) ประหยัดเงิน 634,000 ลบ
4. ภาคสาธารณสุข (Smart Hospital) ลดการไปหาหมอ 13ล้านครั้งต่อปี ลดค่าเสียโอกาส 38,000 ล้านต่อปี
การเตรียมสู่ 5G
การจัดสรรคลื่นความถี่ ปลายปีนี้ หรือ ต้นปีหน้า จะมีการประมูลคลื่นความถี่5G
ซึ่งมีคลื่น 700 ,1500,1800,2600,3500 MHz และ 26-28 GHz
ส่วนเรื่องที่เอกชนไม่พร้อมในการลงทุน เราพยายามผลักดันให้เกิดได้ดังนี้
อาจมีใบอนุญาตในภาคการผลิต การขนส่ง การเกษตร เฉพาะพื้นที่ เช่น พื้นที่ EEC
กสทช มองว่าภาคการลงทุน เอกชนถ้าไม่พร้อม ต้องรออีก2-3ปีข้างหน้า
ต้องมีการผ่อนคลาย โดยประมูลเวลาเดิม แต่ให้เลื่อนการจ่ายเงินไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า
โดยรอให้ใช้งานจริงแบบเต็มรูปแบบก่อน เพราะตอนนี้ Handset ที่รองรับ5G มีไม่ถึง 10 รุ่น
เราได้ศึกษาจากประเทศจีน ช่วงนั้น มีGreat period 3 ปี ลงทุนไปก่อน แล้วค่อยมาจ่ายทีหลัง
ต่อไป จะเริ่มการเปลี่ยนแปลงหลัง 5G เข้ามา ที่สหรัฐ คนทำงานที่บ้าน ทำให้ร้านซักรีดจะหายไป
ถ้ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่ากลัว เราจะ disrupt เทคโนโลยีก่อน
นาย ฐากร ตัณฑสิทธิ์ เลขาธิการ กสทช
กล่าวในงาน Battle Strategy Do or Die ในหัวข้อ NBTC toward 5G ว่า
เราเริ่มใช้มือถือตั้งแต่ยุค 2G จนปี2555-56 เรามี 3G,4G เกิดขึ้น เลยมีธุรกิจใหม่ๆเกิดขึ้น
ตอนนั้นก็มีการเตือนให้ระวัง เพราะถ้าเราไม่disrupt ตัวเอง ก็จะถูกdisrupt แล้วก็เกิดขึ้นจริงๆ
เเต่เราอย่าพึ่งสิ้นหวัง เดินหน้าขับเคลื่อนธุรกิจต่อไป
ทุกธุรกิจต่อยอดด้วย 5G ทั้งสิ้น เช่น ธุรกิจการเงิน การธนาคาร
เราจะทำอะไรก็อยู่ในมือถือตัวเองทั้งหมด
ตัวอย่างเช่น การขายเสื้อผ้า มีตู้เล็กนิดเดียว ก็ขายผ่านFB Live
ดังนั้น ถือเป็นการทำธุรกิจบนโครงข่ายโทรคมนาคม
ในแผนกของกสทช เราไม่ได้มองแค่แมคโครอย่างเดียว แต่เรามองถึงไมโครด้วย
แผนการที่นำเสนอ
1.5G คือการส่งข้อมูลความเร็วสูง ซึ่งสูงกว่า 4G ถึง 100 เท่า
2.การเชื่อมต่ออุปกรณ์ต่างๆในพื้นที่ 1 ตารางกม ได้ถึง 1ล้านอุปกรณ์
3.การรอบรับข้อมูลที่มีความเสถียรภาพมากขึ้น
ตย เช่น รพ จุฬา ต่อไปไม่ต้องเดินทางไปหาหมอใน4โรค เช่น โรคเบาหวาน ความดัน ผิวหนัง เป็นต้น
เรียกระบบว่า Smart capital
5G จะเปลี่ยนแปลงโลกอย่างไร.
1.โครงสร้างเศรษฐกิจ
ภาคการผลิต ภาคการเกษตร ภาคการธนาคาร รวมถึง ภาคการขนส่ง จะดีขึ้น
2.โครงสร้างทางสังคม
การดำเนินชีวิตจะเปลี่ยนแปลงไป เช่น การซื้อonline , การสื่อสารผ่านTelแทนการคุยต่อหน้า ,
ความสัมพันธ์ของครอบครัวลดลง
อนาคต จะเป็นสังคมเสมือนมากขึ้น
3.โครงสร้างทางการเมือง
เช่น การหาเสียง ในสังคมเสมือน
การเลือกตั้ง Digital ยืนยันตัวเองด้วย IOT Sensor
ลงประชามติ แบบ ดิจิตัล
อาจมีภัยคุกคามจาก Deep News สูงขึ้น ไม่สามารถแยกแยะข่าวจริงจากข่าวลวงได้
5G กับการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
1. ภาคการเกษตร (Smart Farming) มีการคืนพื้นที่ ดิน น้ำ คิดเป็นมูลค่า 96,000 ลบ
2. ภาคLogistic (Smart Logistic) ช่วยเพิ่มมูลค่า 124,000 ลบ
3. ภาคการผลิต (Smart Manufacturing) ประหยัดเงิน 634,000 ลบ
4. ภาคสาธารณสุข (Smart Hospital) ลดการไปหาหมอ 13ล้านครั้งต่อปี ลดค่าเสียโอกาส 38,000 ล้านต่อปี
การเตรียมสู่ 5G
การจัดสรรคลื่นความถี่ ปลายปีนี้ หรือ ต้นปีหน้า จะมีการประมูลคลื่นความถี่5G
ซึ่งมีคลื่น 700 ,1500,1800,2600,3500 MHz และ 26-28 GHz
ส่วนเรื่องที่เอกชนไม่พร้อมในการลงทุน เราพยายามผลักดันให้เกิดได้ดังนี้
อาจมีใบอนุญาตในภาคการผลิต การขนส่ง การเกษตร เฉพาะพื้นที่ เช่น พื้นที่ EEC
กสทช มองว่าภาคการลงทุน เอกชนถ้าไม่พร้อม ต้องรออีก2-3ปีข้างหน้า
ต้องมีการผ่อนคลาย โดยประมูลเวลาเดิม แต่ให้เลื่อนการจ่ายเงินไปอีก 2-3 ปีข้างหน้า
โดยรอให้ใช้งานจริงแบบเต็มรูปแบบก่อน เพราะตอนนี้ Handset ที่รองรับ5G มีไม่ถึง 10 รุ่น
เราได้ศึกษาจากประเทศจีน ช่วงนั้น มีGreat period 3 ปี ลงทุนไปก่อน แล้วค่อยมาจ่ายทีหลัง
ต่อไป จะเริ่มการเปลี่ยนแปลงหลัง 5G เข้ามา ที่สหรัฐ คนทำงานที่บ้าน ทำให้ร้านซักรีดจะหายไป
ถ้ามีเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่ากลัว เราจะ disrupt เทคโนโลยีก่อน