หน้า 5 จากทั้งหมด 30

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 10, 2012 5:46 pm
โดย sirimethagul
พลังงาน-ปตท.เจรจาชาวจะนะเหลว-แนะ ปชช.ใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน
นายวีระพล จิรประดิษฐกุล อธิบดีกรมธุรกิจพลังงาน กล่าวว่า กระทรวงพลังงาน และบริษัท ปตท. ได้ส่งตัวแทนเข้าไปเจรจากับ กลุ่มชาวบ้านในพื้นที่ ต.ตลิ่งชัน อ.จะนะ จ.สงขลา ที่มาชุมนุมประท้วงปิดเส้นทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซธรรมชาติจะนะแล้ว ตั้งแต่วานนี้ แต่การเจรจายังไม่เป็นผล กลุ่มชาวบ้านไม่ยอมรับฟังข้อมูล ซึ่งปัญหาดังกล่าวยืดเยื้อมานานแล้ว และทาง ปตท. ได้พยายามทำความเข้าใจมาโดยตลอด แต่ยังไม่สามารถตกลงกันได้ ทำให้ผู้ใช้ก๊าซ NGV ในพื้นที่เกิดการขาดแคลน เพราะก๊าซในพื้นที่ภาคใต้ ส่วนใหญ่มาจากโรงแยกก๊าซจะนะ ซึ่งขณะนี้ทำได้โดยการประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้สถานการณ์ที่เกิดขึ้น และหันไปใช้เชื้อเพลิงอื่นแทน
อย่างไรก็ตาม เจ้าหน้าที่จะเร่งเจรจาให้กลุ่มชาวบ้าน ยอมเปิดเส้นทางเข้า-ออก โรงแยกก๊าซเพื่อลดความเดือดร้อนของผู้ใช้ก๊าซ

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: เสาร์ มี.ค. 10, 2012 5:51 pm
โดย sirimethagul
เตรียมขึ้นราคา"แอลพีจี"ภาคครัวเรือนตุลาฯนี้ หลังแบกภาระไม่ไหว ก.พลังงานเล็งยุบกองทุนน้ำมัน

ก.พลังงานทำแผนยุบกองทุนน้ำมันฯรับเออีซี ยอมรับแบกภาระแอลพีจีไม่ไหว พร้อมปรับราคาก๊าซหุงต้มภาคครัวเรือนเดือนตุลานี้ จากกำหนดเดิมต้นปีหน้า

เมื่อวันที่ 9 มีนาคม นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน กล่าวภายหลังบรรยายเรื่อง "ทิศทางและนโยบายพลังงานประจำปี 2555" ว่า มีแนวคิดที่จะยุบกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อรองรับการเปิดเสรีประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 เพราะต้องการให้ราคาพลังงานสะท้อนต้นทุนที่แท้จริง โดยเฉพาะราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) เนื่องจากขณะนี้กองทุนน้ำมันฯติดลบประมาณ 20,063 ล้านบาท และแม้จะขยายกรอบวงเงินกู้เพิ่มอีก 2 หมื่นล้านบาท จากที่กู้มาแล้ว 1 หมื่นล้านบาท แต่ถ้าวันนี้ไม่ทำอะไรเลย เงินที่กู้มาคงจะหมดภายในเดือนตุลาคมนี้ ดังนั้นจึงจำเป็นจะต้องเลิกการชดเชย แล้วปล่อยราคาให้เป็นไปตามสภาพตลาด

นายอารักษ์กล่าวว่า ในส่วนของก๊าซแอลพีจีภาคครัวเรือนคงจะมีการปรับขึ้นราคาในช่วงเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนนี้ เร็วกว่าที่กำหนดไว้ (1 มกราคม 2556) โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาต้นทุนที่แท้จริง ข้อดีข้อเสีย และความพร้อมในการรองรับให้เกิดช่องโหว่น้อยที่สุด คาดว่าจะศึกษาแล้วเสร็จภายในต้นเดือนเมษายนนี้ แต่จะปรับให้มีความเหมาะสม ยังไม่ถึงขั้นลอยตัวราคาทีเดียว แล้วช่วยอุดหนุนบางส่วน ซึ่งไม่จำเป็นที่ต้องเป็นราคาเดียวกันหมดทุกภาคก็ได้

"บอกได้เลยว่าคงไม่ช่วยอุดหนุนราคาแอลพีจีภาคครัวเรือนด้วยวิธีการออกคูปองแน่นอน เพราะเกรงว่าจะมีคนมาใช้ประโยชน์ตรงนี้ ซึ่งต่อไปอาจจะใช้วิธีชดเชยกลุ่มใครกลุ่มมัน หรือเก็บเงินจากกลุ่มผู้ใช้ที่มีศักยภาพมาอุ้มกลุ่มที่มีศักยภาพน้อยแทน ลักษณะเหมือนการคิดค่าไฟฟ้าในอัตราก้าวหน้า เพื่อให้ฐานการอุดหนุนสมดุลกัน" นายอารักษ์กล่าว

นายอารักษ์กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีแนวคิดที่จะให้ศึกษาการย้ายสถานที่ตั้งของกระทรวงพลังงานใหม่ เพื่อลบภาพพจน์ว่ากระทรวงพลังงานมีผลประโยชน์กับหน่วยงานที่อยู่ในการกำกับดูแลทั้ง ปตท.และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ส่วนเรื่องการปรับโครงสร้างผู้บริหาร (บอร์ด) ในหน่วยงานต่างๆ นั้น ขณะนี้ยังไม่มีแนวคิดที่จะปรับ

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน กล่าวว่า ได้มอบหมายให้นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธานคณะกรรมการศึกษาเรื่องแก้กฎหมายเพื่อให้สามารถตั้งกองทุนสำรองน้ำมันแห่งชาติ ตามนโยบายของกระทรวงพลังงาน เพื่อรองรับและป้องกันวิกฤตราคาพลังงานภายในประเทศ ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการพิจารณาทบทวนแผนพัฒนากำลังการผลิตไฟฟ้า (พีดีพี 2012) ใหม่ ให้มีการกระจายการใช้เชื้อเพลิงมากขึ้น และมีการกระจายแหล่งพลังงานและชนิดเชื้อเพลิง

ทางด้านการติดตามมาตรการลดภาระค่าครองชีพของประชาชนของกระทรวงพาณิชย์ นายสันติชัย สารถวัลย์แพศย์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า จากการหารือกับห้างท็อปส์ และสถาบันกวดวิชา ที่ได้รับการร้องเรียนจากประชาชนว่าขายอาหารสำเร็จรูปสูงกว่าราคาแนะนำของกระทรวงพาณิชย์ ขณะนี้ทางห้างท็อปส์ยินดีที่จะปรับลดราคาเหลือ 35 บาท จากปกติขาย 40-45 บาท ในเมนูแนะนำ และจะปรับป้ายภายใน 2 สัปดาห์ ส่วนสถาบันกวดวิชา ชี้แจงว่าได้ทำตามนโยบายจัดทำเมนู 30-35 บาทไว้ให้เป็นทางเลือกสำหรับนักเรียนและประชาชนทั่วไปอยู่แล้ว แต่อาจมีเมนูที่เป็นเมนูพิเศษเพิ่มเครื่องปรุงที่มีต้นทุนสูง เช่น อาหารทะเล เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ทางสถาบันจะเพิ่มความชัดเจนเมนูอาหารไม่เกิน 35 บาทตามร้านอาหารให้ชัดเจนขึ้น ซึ่งกรมจะเข้าตรวจสอบในวันที่ 12 มีนาคมนี้

นายสันติชัยกล่าวว่า จากการออกสำรวจร้านอาหารริมถนนที่ขายอาหารชนิดเดียวกับที่ออกราคาแนะนำแต่ขายเกิน 35 บาท ปรากฏว่าได้รับความร่วมมืออย่างดีในการปรับลดราคา โดยเฉพาะร้านอาหารชื่อดัง เช่น ร้านก๋วยเตี๋ยวถั่วแระ (ของตลกชื่อดัง ถั่วแระ เชิญยิ้ม ซึ่งอยู่ใกล้กระทรวงพาณิชย์) เดิมขายเมนูละ 40 บาท ลดเหลือ 35 บาทสำหรับก๋วยเตี๋ยวธรรมดา และข้าวหมูแดง ส่วนก๋วยเตี๋ยวต้มยำยังคงราคา 40 บาท เนื่องจากมะนาวราคาสูง หรือร้านอ้าต้มเลือดหมู (ถนนรัตนาธิเบศร์) เดิมขายเกิน 40 บาท ก็ลดเหลือ 35 บาทเป็นส่วนใหญ่ ยกเว้นเลือดหมูขาย 38 บาท

"กรมกำลังทำแผนประชาสัมพันธ์ร้านอาหารที่ยอมลดราคาเพื่อให้ประชาชนได้รับทราบและเป็นการขอบคุณที่ให้ความร่วมมือในการลดค่าครองชีพประชาชน โดยตลกถั่วแระ เชิญยิ้ม รับว่าจะมาเป็นพรีเซ็นเตอร์ประชาสัมพันธ์ เพื่อเป็นตัวอย่างในร้านอาหารอื่นปรับลดราคาอาหาร" นายสันติชัยกล่าว

ด้านนางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ตั้งแต่ช่วงเดือนตุลาคม 2554 ถึงมีนาคม 2555 มีเรื่องร้องเรียนผ่านสายด่วน 1569 จำนวน 1,927 ราย ส่วนใหญ่ร้องเรียนเรื่องราคาอาหารแพง ในจำนวนนี้มี 1 รายเรื่องร้องเรียนว่ามะนาวแพง ลูกละ 5-8 บาท ซึ่งยอมรับว่าปัจจุบันราคามะนาวสูงขึ้น เนื่องจากเป็นผลผลิตนอกฤดูกาลจึงมีออกสู่ตลาดน้อย และพื้นที่ปลูกมะนาวได้รับความเสียหายจากน้ำท่วม เช่น จังหวัดพิจิตรพื้นที่ปลูกมะนาวเสียหายทั้งหมด ส่วนจังหวัดสมุทรสาครเกษตรกรบางส่วนลดพื้นที่ปลูกลงและไปปลูกผลไม้อื่นทดแทน ประกอบกับในช่วงนี้อากาศแห้งแล้ง ส่งผลให้ต้นมะนาวตาย ผลผลิตจึงออกสู่ตลาดลดลง

กรมได้แก้ปัญหาด้วยการเชื่อมโยงผลผลิตจากแหล่งผลิตใหญ่คือจังหวัดเพชรบุรี มายังตลาดขายปลีกในกรุงเทพฯโดยตรง เบื้องต้นจะเชื่อมโยงเข้ามาวันละ 50,000-100,000 ผล เพื่อเพิ่มปริมาณสินค้าในตลาดและลดการเก็งกำไรหรือขึ้นราคาขายของพ่อค้าคนกลาง

นางวัชนีกล่าวว่า ส่วนปัญหานมข้นหวานและนมข้นจืดหาซื้อยากและราคาสูงขึ้นมาก ก็ได้ตรวจสอบโรงงานผลิตรายใหญ่ 2 แห่ง คือ บริษัท เอฟ แอนด์ เอ็น แดรี่ส์ (ประเทศไทย) จำกัด และบริษัท อุตสาหกรรมนมไทย จำกัด ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาดรวมกว่า 70% ประสบน้ำท่วมและยังไม่สามารถดำเนินการผลิตได้ แต่ก็ได้นำเข้านมข้นหวานและนมข้นจืดจากประเทศมาเลเซียมาแทน และยืนยันไม่มีการปรับราคาจำหน่าย โดยนมข้นหวาน ขนาด 380-388 กรัม ราคาจำหน่ายปลีกกระป๋องละ 21.00-22.50 บาท สำหรับนมข้นหวานที่นำเข้า ขนาด 397 กรัม จำหน่ายปลีกกระป๋องละ 26.50 บาท ทั้งนี้ได้รับการแจ้งจากผู้ผลิตว่าจะเริ่มผลิตสินค้าได้ในปลายเดือนมีนาคมนี้ และคาดว่าสินค้าจะเข้าสู่ตลาดได้ปกติในเดือนพฤษภาคม 2555

(ที่มา:มติชนรายวัน ฉบับวันที่ 10มี.ค.55)

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 12, 2012 5:27 pm
โดย pak
คลังสั่งยุบ-รื้อ240ปตท.'อารักษ์'ให้ปรับโครงสร้างลดซ้ำซ้อนธุรกิจทิ้งส่วนเกิน
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Monday, March 12, 2012

โพสต์ทูเดย์ -"อารักษ์" สั่ง ปตท.ปรับโครงสร้างบริษัทในเครือกว่า240 แห่ง หวังลดธุรกิจซ้ำซ้อน ถ้าไม่มีบทบาทให้ยุบ

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงาน เปิดเผยว่า ได้มอบหมายนโยบายให้บริษัท ปตท. ศึกษาความเป็นไปได้ในการปรับโครงสร้างบริษัทเครือ ปตท.ทั้งหมดที่มีมากกว่า 240 แห่งให้มีความคล่องตัวมากขึ้น

ทั้งนี้ ต้องยอมรับว่ามีบริษัทในเครือจำนวนมาก หากพิจารณาแล้วเห็นว่าบริษัทใดมีการทำงานที่ซ้ำซ้อนกัน หรือไม่ได้มีบทบาทในเชิงธุรกิจก็ควรยุติบทบาทลงไป

"คงต้องรอให้มีการศึกษาเสร็จก่อน ซึ่งยังไม่ทราบว่าที่สุดแล้วจะเป็นอย่างไร แต่ในหลักการไม่อยากเห็น ปตท.มีบริษัทลูกมากเกินความจำเป็นและซ้ำซ้อนกัน หากแก้ปัญหาตรงนี้ได้จะทำให้การบริหารงานที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น เพราะปตท.ถือเป็นบริษัทน้ำมันแห่งชาติของไทยจะต้องมีการเติบโตที่ยั่งยืน"นายอารักษ์ กล่าว

ด้านนายณัฐชาติ จารุจินดา รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์องค์กร บริษัท ปตท. กล่าวว่า ขณะนี้ปตท.กำลังศึกษาแนวทางการปรับโครงสร้างบริษัทในเครือ ปตท. ซึ่งปัจจุบันถือหุ้นทั้งทางตรงและทางอ้อมมีมากกว่า 200 แห่ง อาจทำให้การบริหารงานยังไม่คล่องตัว ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีแผนการจัดรูปแบบการบริหารจัดการเพื่อให้เหมาะสม

สำหรับรูปแบบที่จะดำเนินการมีหลายวิธีการ โดยบริษัทใดที่ซ้ำซ้อนก็ต้องมาดูว่าจะควบรวมกันได้หรือไม่ ซึ่งจะรวมไปถึงการจัดโครงสร้างการถือหุ้นของบริษัทใหม่ เช่น การเจรจาซื้อหุ้นเพิ่มในบริษัท ท่อส่งปิโตรเลียมไทย (แทปไลน์) ในส่วนของผู้ถือหุ้นต่างชาติเพื่อเข้าไปถือหุ้นใหญ่ในการดำเนินกิจการวางท่อเพิ่มเติมในอนาคต เป็นต้น

แหล่งข่าวจากบริษัท ปตท.เปิดเผยว่า ผลการศึกษาคาดว่าจะแล้วเสร็จไม่เกินสิ้นปีนี้ โดยจะให้ความสำคัญไปที่ 50 บริษัทที่ ปตท.ถือหุ้นโดยตรงและครอบคลุมบริษัทที่ถือหุ้นทางอ้อม

นอกจากนี้ ยังอยู่ระหว่างการศึกษาเปรียบเทียบธุรกิจระดับสากลในอุตสาหกรรมเดียวกันเพื่อวิเคราะห์ข้อแตกต่าง นำมากำหนดรูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมของกลุ่ม ปตท.

หลังจากนั้นจะเป็นการเสนอแนะวิธีดำเนินการและทางเลือกเช่น การควบรวม การจำหน่าย และการปรับสัดส่วนการถือหุ้น เป็นต้นเพื่อให้บรรลุตามรูปแบบของการบริหารจัดการใหม่ โดยแนวทางดังกล่าวจะมีการจัดทำการบริหารความเสี่ยงจากผลกระทบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาภายหลัง

อย่างไรก็ตาม เบื้องต้นในปี 2555 ปตท.มีแผนงานที่จะจัดโครงสร้างการถือหุ้นบริษัทในเครือปิโตรเคมีในส่วนของบริษัทด้านการให้บริการเซอร์วิสคอมพานี ได้แก่ บริษัท พีทีที โพลิเมอร์ มาร์เก็ตติ้ง บริษัท พีทีที โพลีเมอร์ โลจิสติกส์ และบริษัทพีทีที แทงค์ เทอร์มินอล

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 14, 2012 9:37 am
โดย pak
บางจากฯลุยพลังงานแสงอาทิตย์แห่งที่ 2 ย้ำความเป็นผู้นำ
Source - ไทยโพสต์ (Th), Wednesday, March 14, 2012

ดร.อนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท อนุมัติให้บริษัท บางจากโซลาร์เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท บางจากฯ ดำเนินโครงการผลิตไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ระยะที่ 2 ที่อำเภอบำเน็จณรงค์ จังหวัดชัยภูมิ ติดตั้ง 25 เมกะวัตต์ ซึ่งเป็นโครงการภายใต้กลไกการพัฒนาที่สะอาด (CDM) โดยจัดจ้างกลุ่มบริษัท ซันเทค และบริษัท โซลาร์ตรอน จำกัด (มหาชน) และบริษัท IT Electronic Eleventh Design & Research Institute Scientific and Technology Engineering จำกัด เป็นผู้รับเหมาก่อสร้าง

ซึ่งจะเริ่มก่อสร้างเดือนเมษายน 2555 และคาดว่าจะก่อสร้างเสร็จพร้อมจำหน่ายไฟให้กับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคได้ประมาณปลายปีนี้ ทำให้มี EBITDA เพิ่มขึ้นปีละประมาณ 400 ล้านบาท สำหรับความคืบหน้าในการฟื้นฟูโครงการแรกขนาด 38 เมกะวัตต์ ที่อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัยเมื่อปลายปีที่ผ่านมาจะเริ่มทยอยจำหน่ายไฟฟ้าบางส่วนได้ตั้งแต่เดือนมีนาคม และจะครบทั้งหมดในเดือนกรกฎาคม 2555 อนึ่ง บริษัท บางจากฯ มีแผนก่อสร้างโรงไฟฟ้าจากเซลล์แสงอาทิตย์ ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าผลิตแห่งประเทศไทยและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคให้ครบ 118 เมกะวัตต์ ใช้เงินลงทุน 15,000 ล้านบาทให้เสร็จสิ้นต้นปี 2557 เพื่อตอกย้ำความเป็นผู้นำพลังงานทดแทน.

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 14, 2012 9:38 am
โดย pak
Firms circumspect about new Indonesia restraints
Source - Bangkok Post (Eng), Wednesday, March 14, 2012

NAREERAT WIRIYAPONG

Thai firms are playing down the possible effects of Indonesia’s new rule limiting foreign ownership of its mines to 49%,while analysts perceive the action as a risk for Thai investors targeting resourcerich countries.

In a move that is likely to scare off overseas investment in Southeast Asia’s largest economy, Indonesia will require foreign mining licence holders to sell down their stake within 10 years of production so that domestic ownership will be at least 51%.

The new rule is part of a global trend of nationalisation as governments seek to benefit from their own resources.

But Banpu Plc, Thailand’s largest coal miner, says the regulation is unlikely to affect its business operated by Indo Tambangraya Megah (ITM), a holding company 65% owned by Banpu.

"ITM is a listed company in Indonesia and is considered an Indonesian company," said Somruedee Chaimongkol,Banpu’s chief financial officer.

"An initial assessment found that there is no impact on our operation there but we will have to study further."

It remains unclear how soon the rule will apply to existing investors. Banpu,which has operated in Indonesia for 20 years, is the largest Thai investor there,and ITM has a market capitalisation of US$5 billion.

Chitrapongse Kwangsukstith, chairman of PTT International, said investment in Indonesia has become more restricted but is still manageable.

Thailand’s giant oil and gas conglomerate controls 45.4% of Australia-based Straits Resources, which operates two mines in Indonesia.

"I think this new rule will take time to implement and Indonesia will have to take care of existing investors," he said.

"For PTT, I think we have to adjust ourself by possibly holding a minority stake for our investments there."

Sutthichai Kumworachai, an analyst at Maybank Kim Eng Securities (Thailand), expects Banpu to feel a "limited impact" based on uncertainty over whether the new rule will be forced upon old concessions.

"In our opinion, in the worst case, if Banpu is forced to reduce its stake in order to comply with the law, there will be a short-term impact on core operations," said the analyst.

"Over the longer term, the company will employ the sale proceeds for reinvestment in other strategic locations."

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 14, 2012 10:13 am
โดย pak
ผุดเรกกูเลเตอร์อาเซียน [ ข่าวสด, 14 มี.ค. 55 ]

นายดิเรก ลาวัณย์ศิริ ประธานกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกกูเลเตอร์) เปิดเผยว่า
จากการประชุมวิชาการด้านการกำกับกิจการพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 3 โดยมีตัวแทนองค์กรกำกับ
กิจการพลังงานจาก 11 ประเทศเข้าร่วมประชุม ที่ประชุมได้มีมติจัดตั้งคณะกรรมการอาเซียนว่า
ด้วยเครือข่ายองค์กรกำกับกิจการพลังงานอย่างเป็นทางการขึ้น ถือเป็นการประชุมครั้งแรกร่วม
กัน เพื่อเป็นองค์กรหลักในการกำกับกิจการพลังงานระดับอาเซียนร่วมกัน โดยมีเป้าหมายในสร้าง
โครงข่ายท่อก๊าซและโครงข่ายสายส่งไฟฟ้าร่วมกันในภูมิภาคอาเซียน ทั้งนี้ จะเร่งให้เกิดความคืบ
หน้าในการร่วมมือกันให้เร็วที่สุด โดยภายใน 2 เดือนข้างหน้าจะมีการประชุมเพื่อกำหนดทิศทาง
และแนวทางการทำงานของคณะกรรมการอาเซียน รวมถึงจัดตั้งโครงสร้างการพัฒนาการกำกับ
กิจการพลังงานภายใต้อาเซียน เพื่อให้การทำงานเป็นรูปธรรมก่อนที่จะมีการเปิดเสรีประชาคม
เศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ในปี 2558 โดยขณะนี้ได้ให้ประเทศสมาชิกไปดูหลักการทำงานของ
แต่ละประเทศ

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 15, 2012 12:54 pm
โดย pak
คอลัมน์: จันทราท่าพระอาทิตย์: น้ำมันของเรากำลังถูกปล้น
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, March 15, 2012

สุนันท์ ศรีจันทรา

การขุดเจาะหาน้ำมันที่พุทธมณฑลสาย 2 เขตทวีวัฒนา ถูกชาวบ้านในพื้นที่ต่อต้านเพราะหวั่นเกรงผลกระทบที่จะตามมา โดยไม่มีหน่วยงานใดออกมาชี้แจงข้อมูลการขุดเจาะน้ำมันของบริษัทเอกชนอย่างชัดเจน

น้ำมันในเขตทวีวัฒนามีหรือไม่ หลายคนสงสัยคำตอบคือมีแน่ และบริษัทที่ได้รับสัมปทานคงสำรวจตรวจสอบก่อนหน้าแล้วโดยรู้ว่ามี เพราะถ้าไม่มีคงไม่ลงทุนขุดเจาะ

อาจมีคำถามต่อว่า ประเทศไทยมีน้ำมันมากขนาดไหน เท่าที่ดูข้อมูลการสำรวจจากหลายแหล่งต้องยืนยันว่ามีมาก และจัดอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีปริมาณน้ำมันติดอันดับต้นของโลก จะด้อยกว่าประเทศผู้ผลิตน้ำมันในตะวันออกกลางเท่านั้น

ส.ว.คำนูณ สิทธิสมาน กำลังติดตามข้อมูลปิโตรเลียมในประเทศไทย และเกาะติดการขุดเจาะน้ำมันที่พุทธมณฑลสาย 2 โดยตั้งข้อสังเกตไว้หลายประการโดยเฉพาะผลกระทบที่ชาวบ้านเขตทวีวัฒนาจะได้รับ

แต่การชี้แจงจากรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีลักษณะเป็นคำตอบที่อ้อมแอ้ม ไม่ได้ให้ข้อมูลสัมปทานการขุดเจาะปริมาณน้ำมันและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นในเขตทวีวัฒนามากนัก

ส.ว.คำนูณรู้ข้อมูลด้านปิโตรเลียมอยู่พอสมควรแต่ก็ยังรับรู้เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น เช่นเดียวกับประชาชนส่วนใหญ่ซึ่งไม่มีใครรู้ลึก

และแทบไม่รู้เลยว่า ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มที่มีปิโตรเลียมอุดมสมบูรณ์มาก ทั้งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ

สาเหตุเพราะข้อมูลปิโตรเลียมจัดหมวดหมู่ไว้กระจัดกระจาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลไม่พยายามเปิดเผยข้อเท็จจริงให้ประชาชนรับรู้ เข้าข่ายการอุ๊บอิ๊บปกปิดข้อมูล

เช่นเดียวกับข้อมูลการบริหารจัดการปิโตรเลียมของบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ซึ่งคนทั่วไปไม่รู้เลยว่าใช้น้ำมันดิบในประเทศเท่าไหร่ ขุดก๊าซธรรมชาติมาขายเท่าไหร่ และซื้อปิโตรเลียมจากต่างประเทศในราคาต้นทุนเท่าไหร่ กำลังการปรับราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศแต่ใช้หลักเกณฑ์ใดในการคำนวณ

ข้อมูลที่สำคัญเพื่อแสดงความโปร่งใสในการบริหารจัดการ ถามให้คอแหบแห้งตายก็ไม่ได้รับคำตอบจาก ปตท. และไม่เคยมีรัฐบาลชุดใดเค้นคอให้ปตท.ตอบเสียด้วย

ผลประโยชน์จากน้ำมันมีมหาศาล และนำไปสู่ความขัดแย้งทั่วโลกจนถึงขั้นเปิดศึกทำสงครามเข่นฆ่ากันเพื่อยึดแหล่งน้ำมัน

ปริมาณน้ำมันของไทยมีอยู่ไม่ใช่น้อย มีกลุ่มคนและกลุ่มทุนสามานย์เข้าไปกอบโกยผลประโยชน์กันนับสิบๆ ปีแล้ว เพียงแต่ประชาชนถูกปิดหูปิดตา

ถ้าประชาชนได้รับรู้ว่า ปู่ย่าตายายของเราทิ้งสมบัติเป็นทองคำอยู่ใต้ดิน ถ้าได้รับรู้ว่าลูกหลานเรามีทรัพยากรล้ำค่า มีน้ำมันที่ขุดขึ้นมาใช้ มาขายทำให้ประเทศมั่งคั่งทุกคนได้มีชีวิตที่สุขสบายขึ้น ความขัดแย้งในทางสังคมคงปะทุขึ้น

เพราะประชาชนคงไม่ยอมให้ใครมาปล้นทรัพยากรเหมือนที่เป็นมาหลายสิบปี

ทุกวันนี้มีการขุดปิโตรเลียมขึ้นมาขายไม่ต่ำกว่าวันละ 8 แสนบาร์เรล โดยเป็นปิโตรเลียมในประเทศไทยล้วนๆ กว่า 6 แสนบาร์เรล และอีกกว่า 1 แสนบาร์เรลเป็นการขุดเจาะเขตพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-มาเลเซีย

ในอนาคตจะมีการขุดเจาะขึ้นอีกในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งมีปิโตรเลียมอย่างสมบูรณ์ทั้งน้ำมันและก๊าซโดยบริษัท เชฟรอน บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของโลก ปักหลักยึดสัมปทานพื้นที่ส่วนใหญ่ไว้แล้ว

ต้องขอบอกว่า พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลในอ่าวไทยระหว่างไทย-กัมพูชา มีทรัพยากรปิโตรเลียมมหาศาลและผลประโยชน์ควรตกทอดถึงประชาชนทุกคน

แต่กำลังมีกลุ่มคนทำให้ประเทศเสียผลประโยชน์ทำให้ไทยเสียเปรียบในข้อตกลงพื้นที่ทับซ้อน เพื่อกอบโกยผลประโยชน์มหาศาลเข้ากระเป๋าตัวเอง

ปัจจุบันประเทศมีการบริโภคน้ำมันวันละประมาณ100 ล้านลิตร คำนวณคร่าวๆ ใช้น้ำมันดิบประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรล โดย 1 บาร์เรลเท่ากับน้ำมันประมาณ 149 ลิตร

ถ้ามีการขุดเจาะน้ำมันจากพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชาเพิ่มเติม จะทำให้มีการขุดเจาะน้ำมันดิบได้ประมาณวันละ 1 ล้านบาร์เรลเป็นอย่างน้อยเมื่อรวมกับแหล่งที่ขุดเจาะเดิม

ปริมาณน้ำมัน 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ประเทศไทยโชติช่วงชัชวาลไม่ต้องเดือดร้อนการนำเข้า ไม่ต้องบริโภคน้ำมันแพง ไม่ต้องหวั่นไหวว่าน้ำมันในตลาดโลกจะทะลุไปเท่าไหร่แล้ว

แต่เสียใจด้วย ถึงเราจะมีน้ำมันใต้ดินเท่าไหร่ประชาชนก็ยังต้องบริโภคน้ำมันแพงต่อไป เพราะพวกเราทุกคนถูกปล้นน้ำมันไปแล้ว

(ขออนุญาตอ่านตอนจบวันพฤหัสฯ หน้า)

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 15, 2012 12:55 pm
โดย pak
ปตท.สผ.เพิ่มเป้าเอส1 หวังแผนวางรวมก๊าซผ่าน
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, March 15, 2012

ASTVผู้จัดการรายวัน - ผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯเปิดโรงไฟฟ้าจากก๊าซฯที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบแห่งที่ 2 ในแหล่งเสาเถียร-เอ ขนาด 3.6 เมกะวัตต์ มูลค่า 190 ล้านบาท จ่อขยายกำลังการผลิตเพิ่มเป็น 4 เมกะวัตต์ที่แหล่งประดู่เฒ่า ด้าน ปตท.สผ.ตั้งเป้าผลิตน้ำมันแหล่งเอส 1 เพิ่มเป็น 3 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมเพื่อวางท่อฯรวบรวมก๊าซฯจากแหล่งอื่นรอบโครงการเอส 1 คาดได้ก๊าซฯเพิ่มเติม 10-15 ล้านลบ.ฟุตต่อวัน

นายนพพล มิลินทรางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้งจำกัด (มหาชน)(RATCH) กล่าวในพิธีเปิด

โครงการผลิตไฟฟ้าจากธรรมชาติ ที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบแหล่งเสาเถียรเอโดยมีนายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รมว.พลังงานเป็นประธานวานนี้(14 มี.ค.) ว่า โครงการนี้เป็นการดำเนินงานโครงการที่ 2 ต่อจากโครงการผลิตไฟฟ้าด้วยก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จาก

การผลิตน้ำมันดิบแหล่งประดู่เฒ่า ที่เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2550 โดยทั้ง 2 โครงการมีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 6.3 เมกะวัตต์ ช่วยลดปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เผาทิ้ง 1.4 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และลดการนำเข้าน้ำมันเตาเพื่อผลิตไฟฟ้าได้ปีละ 10.5 ล้านลิตร คิดเป็น

มูลค่าเงินที่ประหยัดได้ประมาณ 175 ล้านบาทและยังเป็นการเสริมระบบไฟฟ้าในท้องถิ่นด้วย

โดยโครงการผลิตไฟฟ้าจากก๊าซธรรมชาติแหล่งเสาเถียร-เอ เป็นโครงการโรงไฟฟ้าขนาดเล็กมาก ( VSPP) ขนาด 3.6 เมกะวัตต์ มูลค่าโครงการประมาณ 190 ล้านบาท สามารถผลิตไฟฟ้าได้ 24 ล้านหน่วยต่อปี และยังถือว่าเป็นโครงการแรกที่สามารถขายซีดีเอ็ม จากที่ผลิตได้ประมาณ 31,000 ตันต่อปี หรือคิดเป็นมูลค่าประมาณ 10 ล้านบาทต่อปี และเมื่อรวมทั้ง 2 โครงการจะสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้ปีละ 42 ล้านหน่วย

ทั้งนี้ หากบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)(ปตท.สผ.)มีปริมาณก๊าซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบในแหล่งอื่นๆ ทางบริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีฯก็พร้อมที่จะเข้าไปลงทุนติดตั้งเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพิ่มเติม โดยมีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตไฟจากแหล่งประดู่เฒ่าจากเดิม 3 เมกะวัตต์เป็น 4 เมกะวัตต์ ในเร็วๆ นี้ ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนแล้ว 102 เมกะวัตต์

นายไพโรจน์ แรงผลสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่โครงการเอส 1 บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)หรือปตท.สผ. กล่าวว่า ขณะนี้บริษัทฯมีแผนที่จะวางท่อขนาด 3-5 นิ้วเพื่อนำก๊าซธรรมชาติส่วนเกินที่ได้จากแหล่งผลิตน้ำมันในบริเวณรอบๆโครงการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมสิริกิติ์หรือเอส 1 และบริเวณ อ.กงไกรลาศ จ.สุโขทัย มารวมยัง อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชรในแหล่งเอส 1 คาดว่าจะได้ปริมาณก๊าซฯเพิ่มขึ้น 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน จากปัจจุบันที่แหล่งเอส 1มีกำลังการผลิตน้ำมันดิบอยู่ที่ 2.7 หมื่นบาร์เรล/วัน และก๊าซธรรมชาติ 22 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดยโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนประมาณ 600-700 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม การวางท่อเพื่อรวบรวมก๊าซฯจากหลุมผลิตต่างๆ ดังกล่าวข้างต้นต้องผ่านความเห็นชอบจากสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(สผ.)ก่อน ซึ่งบริษัทฯได้ทำรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมยื่นไปแล้วกว่า 1 ปี แต่ก็ยังไม่ได้ข้อสรุป โดยหากสผ.อนุมัติรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมก็จะใช้เวลาดำเนินการวางท่อฯอีก 1 ปี 6 เดือนกว่าจะแล้วเสร็จ

นอกจากนี้ ปตท.สผ.ได้ตั้งเป้าหมายการผลิตน้ำมันดิบที่แหล่งเอส1 เพิ่มขึ้นจาก 2.7 หมื่นบาร์เรลต่อวันเป็น 3 หมื่นบาร์เรลต่อวันในปีนี้โดยจะเจาะหลุมสำรวจเพิ่มเติมอีก ซึ่งก่อนหน้าที่ปตท.สผ.จะซื้อแหล่งเอส 1 จากทางไทยเชลล์ฯเคยผลิตน้ำมันดิบได้เพียง 1.9-2 หมื่นบาร์เรลต่อวัน ทำให้มีปริมาณก๊าซฯที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบเพิ่มขึ้นด้วย โดยปัจจุบันปริมาณก๊าซฯที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบที่แหล่งเอส 1 ที่มีอยู่ 22 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันจะขายให้แก่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อผลิตไฟฟ้าจำนวน 15 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และที่เหลือจะนำไปผลิตเป็นก๊าซฯ NGV

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 15, 2012 12:58 pm
โดย pak
ปตท.เดินสายโรดโชว์ฮ่องกง
Source - ข่าวหุ้น (Th), Thursday, March 15, 2012


“เทวินทร์”ระบุแผนPTTEPซื้อCOVEต่างชาติสนใจ

ปตท.เตรียมโรดโชว์ฮ่องกงสัปดาห์หน้า มั่นใจนักลงทุนตอบรับดี เผยต่างชาติสนใจแผนซื้อกิจการ Cove Energy ของ PTTEP

นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า หลังจากที่ ปตท.เดินทางไปพบนักลงทุนที่สหรัฐและแคนาดาในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา พบว่านักลงทุนส่วนใหญ่ยังคงให้ความสนใจกลุ่ม ปตท. ซึ่งประเด็นที่นักลงทุนให้ความสนใจอย่างมากคือแผนเข้าซื้อกิจการ Cove Energy ของบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP ทั้งนี้ สัปดาห์หน้าปตท.จะโรดโชว์ที่ประเทศฮ่องกง เชื่อว่านักลงทุนต่างประเทศยังสนใจลงทุนในกลุ่มฯ นอกจากนี้ ผลประกอบการปี 54 ของปตท.ออกมาเติบโตอย่างมากด้วย

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTT กล่าวก่อนหน้านี้ว่า กลุ่ม ปตท.มีการขยายลงทุนต่อเนื่อง โดยช่วง 5 ปี (ปี 55-59) ปตท.เตรียมเงินลงทุนรวม 3.58 แสนล้านบาท ปีนี้ปตท.ได้จัดสรรเงินเงินลงทุนไว้กว่า 9.1 หมื่นล้านบาท, ปี 56 ลงทุนกว่า 8.5 หมื่นล้านบาท, ปี 57 ลงทุนกว่า 8.1 หมื่นล้านบาท, ปี 58 ลงทุนกว่า 6.1 หมื่นล้านบาท และปี 59 ลงทุนกว่า 3.8 หมื่นล้านบาท เมื่อรวมงบลงทุนในส่วนของ PTTEP อีก 3.6 แสนล้านบาท แล้วงบลงทุน 5 ปี รวมเป็นเม็ดเงินประมาณ 7.2 แสนล้านบาท

สำหรับแผนลงทุน 5 ปีดังกล่าว ปตท.ยังเน้นการสรรหาพลังงานในกลุ่มธุรกิจที่สร้างมูลค่าเพิ่มให้กับทรัพยากรธรรมชาติ และกลุ่มธุรกิจเจ้าของทรัพยากรธรรมชาติ ส่วนเงินลงทุนในปี 55 อยู่ที่กว่า 9.1 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนในปตท. ประมาณ 3.6 แสนล้านบาท เพื่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานทางพลังงาน ได้แก่ ท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยายไปยัง จ.นครสวรรค์และนครราชสีมา, โครงการขยายขีดความสามารถในการนำเข้าแอลพีจีและแอลเอ็นจี

นอกจากนี้ ปตท.ตั้งเป้ากำลังผลิตและจัดหาเพิ่มเป็น 1.4 ล้านบาร์เรลต่อวัน ภายในปี 63 จากปัจจุบันอยู่ที่ 3.7 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน สำหรับทิศทางผลประกอบการในปี 55 จะออกมาสูงสุดเป็นประวัติการณ์เช่นเดียวกันปี 54 ที่ ปตท.มีรายได้ 2.4 ล้านล้านบาท มีกำไรสุทธิ 1.05 แสนล้านบาท นับว่าสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ต้องขึ้นอยู่กับราคาพลังงานด้วย หากราคาน้ำมันปรับตัวสูงขึ้น เชื่อว่ากลุ่มโรงกลั่นและ PTTEP จะมีผลประกอบการที่ดีด้วย

นักวิเคราะห์บล.ธนชาต ระบุว่า แนะนำ "ซื้อ" หุ้น PTT โดยที่ผ่านมาทีมผู้บริหาร PTT ได้เข้าร่วม NDR โรดโชว์กับ Scotia Capital และบล.ธนชาต ที่สหรัฐและแคนาดา เพื่อนำเสนอข้อมูลของบริษัท ให้แก่นักลงทุนสถาบันรายใหญ่ โดยรู้สึกได้ว่านักลงทุนมีมุมมองเชิงบวกต่อกลุ่ม PTT ถึงแม้อาจมีความกังวลในบางประการที่เกี่ยวข้องกับกลยุทธ์ในการเข้าซื้อกิจการของ PTTEP

โดยประเด็นสำคัญในการประชุมมี 3 ประเด็นคือ กลยุทธ์การเข้าซื้อกิจการของ PTTEP, ธุรกิจก๊าซธรรมชาติของ PTT และธุรกิจอื่นๆ ของกลุ่ม PTT รวมถึงวิสัยทัศน์และความสำคัญที่มีต่อรัฐบาลไทย ซึ่งประเด็นที่ได้รับความสนใจคือการทำคำเสนอซื้อหุ้น Cove Energy ของ PTTEP นักลงทุนซักถามถึงเหตุผลที่สนใจเข้าซื้อกิจการดังกล่าว โดยเฉพาะในแง่ของผลประโยชน์ของโครงการแอลเอ็นจีในแอฟริกาและออสเตรเลีย รวมถึงเงินทุนในการเข้าซื้อ เนื่องจากราคาก๊าซธรรมชาติในทวีปอเมริกาเหนือลดลง ถือเป็นโอกาสดีสำหรับ PTTEP ในการเข้าซื้อสินทรัพย์มูลค่าถูกและลำเลียงก๊าซผ่านรูปแบบแอลเอ็นจีกลับสู่เอเชีย ซึ่งราคาซื้อขายสูงกว่า ดังนั้น จะช่วยเพิ่ม ROCE

อย่างไรก็ตาม นักลงทุนหลายรายถามผู้บริหารถึงความเป็นไปได้ที่จะแยกธุรกิจก๊าซออกมาและปลดล็อกมูลค่า ผู้บริหารเผยว่า บริษัทต้องการให้ PTT เป็นบริษัท holding มุมมองคือ PTT ไม่ต้องการให้สาธารณะได้รับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับธุรกิจก๊าซ ซึ่งบริษัทมีความแข็งแกร่งและได้เปรียบเนื่องจากเป็นผู้ผูกขาด (โรงแยกก๊าซและท่อลำเลียง) นักลงทุนมีท่าทีชอบธุรกิจดังกล่าว หลังมีความผันผวนน้อยกว่าธุรกิจก๊าซเป็นสัดส่วน 45% ของกำไรสุทธิ และ 30% ของ EBITDA รวมของ PTT (รวมการรับรู้กำไรจากบริษัทในเครือ)

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 16, 2012 2:21 pm
โดย pak
ปตท.สผ.เลื่อนผลิต'มอนทารา'ต.ค.นี้คงเป้าการขายเดิม
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, March 16, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สผ.เลื่อนผลิตน้ำมันดิบแหล่งมอนทารา ออสเตรเลียออกไปเป็นเดือน ต.ค.นี้ หลังเจอพายุไซโคลนทำให้การดำเนินการล่าช้าออกไปยันไม่กระทบเป้าหมายการขายปิโตรเลียมปีนี้ที่ 2.84 แสนบาร์เรล/วัน ชี้ไตรมาส1/55 มีกำไรดีกว่างวดเดียวกันของปีก่อน เหตุราคาน้ำมันดิบพุ่ง

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) เปิดเผยว่า โครงการผลิตปิโตรเลียมแหล่งมอนทารา ประเทศออสเตรเลียคงต้องเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์ออกไปจากเดิมไตรมาส 3 นี้เป็นเดือนตุลาคม 2555 เนื่องจากติดปัญหาพายุไซโคลนทำให้การดำเนินการล่าช้าออกไป หลังจากโครงการนี้เคยเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในปี 2552 โดยบริษัทฯตั้งเป้าหมายว่าแหล่งมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบได้ 3.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน จากความล่าช้าในการผลิตน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์ของโครงการมอนทาราดังกล่าวนี้ เชื่อว่าจะไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการจำหน่ายปิโตรเลียมของ ปตท.สผ.ที่ตั้งไว้วันละ 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่จำหน่ายอยู่ 2.65 แสนบาร์เรลต่อวันเนื่องจากบริษัทฯได้เผื่อเวลาความล่าช้าของโครงการดังกล่าวไว้แล้ว

สำหรับผลการดำเนินงานของบริษัทฯในไตรมาส 1/2555 คาดว่ารายได้จะเติบโตไม่มาก แต่กำไรจะออกมาดีกว่างวดเดียวกันของปีก่อนที่มีกำไรสุทธิ1.09 หมื่นล้านบาท เนื่องจากราคาขายปิโตรเลียมที่ปรับสูงขึ้นตามราคาน้ำมันในตลาดโลกเชื่อว่าทั้งปีราคาน้ำมันเฉลี่ยอยู่ที่ 100 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล

นอกจากนี้ บริษัทฯคาดว่าจะได้สัมปทานปิโตรเลียมเพิ่มเติมในสหภาพพม่าจากเมื่อต้นปีที่บริษัทประมูลแหล่งปิโตรเลียมบนบกได้2 แปลงแล้ว เนื่องจากกลุ่มปตท.และรัฐบาลไทยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับรัฐบาลพม่า ทำให้มีความได้เปรียบสูงกว่าคู่แข่งอื่นๆ อีกทั้งปตท.สผ.ก็มีการลงทุนสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในพม่าอยู่แล้วทำให้นักลงทุนหลายรายต้องการดึง ปตท.สผ.เข้าเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ

นายอนนต์ กล่าวถึงความคืบหน้าการทำคำเสนอซื้อหุ้นของ Cove Energy ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Investment Market ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ ที่ราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,119.6 ล้านปอนด์ว่ายังไม่ทราบว่าดีลดังกล่าวจะสรุปได้เมื่อใด เพราะเป็นกระบวนการแข่งขัน ใครเสนอราคาสูงก็ได้ไป และไม่ทราบว่าจะมีคู่แข่งที่เสนอราคาประมูลนอกเหนือจากเชลล์และปตท.สผ.อีกหรือไม่

อย่างไรก็ตาม หากปตท.สผ.ได้ดีลดังกล่าวก็ไม่จำเป็นต้องเพิ่มทุนจดทะเบียน เนื่องจากบริษัทฯมีกระแสเงินสดในมือ 3 หมื่นล้านบาท และยังมีแนวทางการระดมทุนอื่นๆอีก โดยเม็ดเงินลงทุนในการซื้อ Cove Energy นี้ไม่รวมอยู่ในแผนการลงทุน 5 ปีข้างหน้า ที่ตั้งงบลงทุนไว้ 6 แสนล้านบาท

การจัดสรรเงินลงทุนตามแผน 5 ปีดังกล่าว จะใช้ในการพัฒนาโครงการใหม่ที่ลงทุนแล้วประมาณ 50% โครงการปัจจุบันในการเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับการผลิต 35% และ15% ใช้ในโครงการสำรวจใหม่ โดยเฉพาะโครงการในปัจจุบันจะมีการลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตเพิ่มอีก 25% เป็นประมาณ 4 แสนบาร์เรล/วันจากปัจจุบันที่ 3 แสนบาร์เรล/วัน

ทั้งนี้ บริษัทฯได้กำหนดพื้นที่แหล่งผลิตปิโตรเลียมที่สำคัญของบริษัทยังคงอยู่ที่ในไทยอาเซียน ออสเตรเลีย อเมริกาเหนือ นอกจากนี้ยังให้ความสนใจแถบแอฟริกาตะวันออกและอเมริกาใต้ โดยบริษัทได้มีการเข้าไปศึกษาโครงการต่างๆ และมีการนำเสนอ 40 โครงการคาดว่าปีนี้จะคัดเลือกดีลที่จะเข้าซื้อกิจการ(M&A) ราว 1-2 ดีล

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 20, 2012 8:49 am
โดย pak
4กระทรวงงัดแผนสู้พลังงานแพง กลุ่มโอเปกโดดร่วมวงโปรเจ็กต์เมืองคารบอนต่ำ
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, March 17, 2012


ราคาพลังงานผันผวนบีบ 4 กระทรวงเศรษฐกิจ "พลังงาน-อุตสาหกรรมคมนาคม" ผุดโปรเจ็กต์ตั้งรับเร่งด่วนเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ให้คุ้ม พร้อมเร่งทำเป็นประเทศคาร์บอนต่ำ หันใช้พลังงานทดแทน 25% "อารักษ์" ยันโอเปกโดดร่วมนำร่องที่เกาะสมุยอีก 6 เดือนทำแน่ "พงษ์สวัสดิ์" ชูนิคมสีเขียว "คมนาคม" เสริมทุกแนว "เกษตร" ยังอืด และมี 10 ประเทศใช้น้ำมันถูกสุดในโลก

นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ผู้ประกอบการภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตร และผู้ผลิตทั่วประเทศ กำลังหาวิธีรับมือกับสถานการณ์ราคาพลังงาน โดยเฉพาะน้ำมันมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นต่อเนื่องตามพยากรณ์ของผู้เชี่ยวชาญเฉลี่ยปีนี้จะถึง 125 เหรียญสหรัฐ/บาร์เรล ทำให้ต้นทุนการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำของสินค้าเพิ่มขึ้น 10-15% แต่ละฝายต่างต้องเตรียมมาตรการดูแลกลไกการตลาดและใช้พลังงานให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในระยะสั้น และวางแผนอนาคตจัดการพลังงานระยะยาว เพื่อให้เศรษฐกิจและจีดีพีเติบโตตามเป้าหมายเฉลี่ยปีละ 4-5%

ล่าสุดทางสภาร่วมกับหน่วยงาน UNIDO ของสหประชาชาติ เพื่อร่วมกับภาคอุตสาหกรรมไทยใช้พลังงานพัฒนาการผลิตและส่งออกสินค้าอย่างคุ้มค่า และช่วยสร้างเสถียรภาพความมั่นคงพลังงานร่วมกัน

มีรายงานว่าปี 2555 ทางกระทรวงพลังงานพยายามปรับแผนพัฒนาพลังงานแห่งชาติ มุ่งทำพร้อมกัน 2 โครงการ คือ เพิ่มส่วนแบ่งการผลิตและใช้พลังงานทางเลือกเพิ่มจากปีละ 18 เป็น 23-25% และโครงการรณรงค์ลดการปล่อยกาซเรือนกระจกเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน

ขณะที่กระทรวงอุตสาหกรรมเดินหน้าผลักดันนักลงทุนไทยและต่างชาติกลุ่มขนาดใหญ่เข้าร่วมพัฒนานิคมอุตสาหกรรมสีเขียว (Industrial Eco Town) ส่งเสริมค่ายรถยนต์ผลิตรถอีโคคาร์ รวมถึงใช้กลไกการควบคุมดูแลมาตรฐานสิ่งแวดล้อมเข้ามาเสริม โดยมี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท บางจาก ปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นแกนนำการจัดทำอาคารสีเขียวควบคุมการใช้พลังงานทุกรูปแบบ

ทางด้านกระทรวงคมนาคมเตรียมเสนอรัฐบาลอนุมัติงบประมาณมาดำเนินการ นิคมอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ เพื่อแก้ปัญหาระยะยาว เนื่องจากเชื้อเพลิงต่างๆ เป็นหัวใจสำคัญต่อต้นทุนการขนส่งเกี่ยวข้องกับทุกภาคส่วนสูงถึง 18%

นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดเผยว่า ร่วมกับเอกชนนำเสนอแนวทางการพัฒนาพลังงานและเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน ซึ่งมีสมาชิกกลุ่มประเทศโอเปกเข้าร่วมด้วย วางเป้าหมายระยะยาวร่วมกันอีก 20 ปีข้างหน้า พ.ศ. 2574 จะผลักดันไทยเป็นประเทศที่ใช้พลังงานทดแทนให้ถึง 25% เพื่อลดการใช้ฟอสซิลที่ต้องนำมาผลิตเป็นน้ำมัน ควบคู่กับโครงการยกระดับเป็นประเทศปล่อยคาร์บอนต่ำ (low carbon) ช่วงปี 2578 จะทำให้เหลือเพียง 45%

โดยโอเปกจับมือกับไทยนำร่องโครงการประหยัดพลังงานและลดคาร์บอนแล้วที่เกาะสมุย สร้างโมเดลต้นแบบสมาร์ต คอมมิวนิตี้ โดยการใช้ระบบขนส่งรถไฟฟ้า รถปลักอิน รถไฮบริด ส่วนที่อยู่อาศัย สนามบินก็ทำในลักษณะเดียวกัน แผนงานนี้จะเริ่มขับเคลื่อนได้หลัง6 เดือนหน้า เมื่อผลการวิจัยแล้วเสร็จพร้อมเข้าสู่ภาคปฏิบัติจริง

นายเคนจิ โคบายาชิ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยพลังงานภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก กล่าวว่า กลุ่มประเทศเอเปกยังให้งบประมาณอุดหนุนราคาพลังงานในประเทศ 25% แต่ไทยยังมีอุปสรรคจึงทำให้แนวทางลดการใช้พลังงานไม่เป็นไปตามเป้าหมายของโอเปก เพราะวิธีใช้ไม่มีประสิทธิภาพ ตัวอย่างคือนำกาซปิโตรเลียมเหลว (LPG) มาใช้ในภาคขนส่ง ทั้ง ๆ ที่คุณสมบัติของกาซชนิดนี้ใช้หุงต้มเป็นหลัก รวมถึงการบิดเบือนกลไกตลาดเพื่อเอาใจผู้บริโภคด้วยการอุดหนุนราคาดีเซลและกาซธรรมชาติ (NGV) รวมถึงกรณีคัดค้านการก่อสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่มีการปล่อยคาร์บอนน้อยมาก รัฐบาลและองค์กรที่เกี่ยวข้องควรจะเร่งร่วมมือกันแก้ไขอุปสรรคเหล่านี้ให้เสร็จสิ้นโดยเร็ว

ม.ร.ว.พงษ์สวัสดิ์ สวัสดิวัตน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม เปิดเผย "ประชาชาติธุรกิจ" ว่า ได้วางนโยบายทั้งระยะสั้นและยาวเรื่องการบริหารจัดการใช้พลังงานภาคอุตสาหกรรมอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมจะขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยเป็นประเทศฐานการผลิตและส่งออกสินค้าสำคัญสู่ตลาดโลก ทั้งยานยนต์และชิ้นส่วน เกษตรแปรรูป โลจิสติกส์ และอื่นๆ โครงการแรกตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป นิคมอุตสาหกรรมสร้างใหม่กับนักลงทุนรายใหม่ทั้งหมดจะต้องเข้าสู่มาตรฐานร่วมกับกระทรวงทำเป็นนิคมอุตสาหกรรมสีเขียว ทำให้มีขยะเป็น 0% โดยการลงทุนเทคโนโลยีเครื่องจักรผสมผสานการใช้นวัตกรรมรีไซเคิลวัตถุดิบทุกชนิดกลับมาใช้ใหม่ได้จนไม่เหลือเป็นขยะอีกต่อไป

ปัจจุบันนักลงทุนรายใหญ่ตอบรับการเข้าร่วมนิคมอุตสาหกรรมสีเขียวดีมาก รวมถึงกลุ่มผู้ประกอบการรายเดิมก็เล็งเห็นถึงความสำคัญเรื่องการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ จึงเริ่มทยอยลงทุนเทคโนโลยีเพิ่มขึ้น เพราะหากจัดการต้นทุนตั้งแต่ต้นทางสำเร็จก็จะทำให้ปลายทางได้ประโยชน์เต็มที่ ลดค่าใช้จ่ายได้แบบยั่งยืน

อย่างไรก็ตามยังมีหลายฝายแสดงความเป็นห่วง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้กำกับดูแลด้านการเกษตรของประเทศทั้งวงจรการผลิต การจำหน่าย การส่งออกต่างประเทศ เป็นเสาหลักทางเศรษฐกิจของประเทศ แต่ขณะนี้แทบยังไม่เห็นการจัดทำโครงการโดดเด่นชัดเจน ที่จะส่งเสริมภาคเกษตรให้หันมาใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเครื่องจักรขั้นตอนการเพาะปลูก หรืออื่นๆ

แตกต่างจากกระทรวงคมนาคม ซึ่งดูแลภาคขนส่งโดยตรง ได้จับมือกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพลังงาน ร่วมสนับสนุนผู้ใช้ภาคประชาชน และภาคอุตสาหกรรม ทำโครงการประหยัดพลังงานต่อเนื่องระยะสั้นและยาว

ทั้งนี้ราคาพลังงานในไทยมีแนวโน้มปรับสูงขึ้นทุกปี แปรผันตามความผันผวนของตลาดโลก แต่ทุกวันนี้ยังคงมีประเทศที่สามารถบริโภคน้ำมันราคาถูกที่สุดกระจุกอยู่ใน 10 ประเทศ (ดูตารางประกอบ)

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 20, 2012 8:50 am
โดย pak
ปตท.สผ.ผนึก RATCH ขยายแนวรุกผลิตไฟฟ้าขายภาคเหนือ
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, March 17, 2012


ปตท.สผ.ผนึก RATCH เร่งนำผลพลอยได้จากการขุดน้ำมันดิบมาผลิตไฟฟ้าป้อนภาคเหนือ วางแผนลงทุนเพิ่มในแหล่งสิริกิติ์ ลานกระบือ 700 ล้าน ผนึกราชบุรี โฮลดิ้ง ขยายผลประดู่เฒ่าและเสาเถียร-เอ จ.สุโขทัย จ่อคิวเปิดเฟสใหม่ทำวินเทอร์บาย

นายไพโรจน์ แรงผลสัมฤทธิ์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่โครงการเอสวัน (S1) บริษัท ปตท.สผ. จำกัด (มหาชน) ในฐานะผู้ดูแลโครงการแหล่งน้ำมัน สิริกิติ์ สถานีผลิตลานกระบือ อ.ลานกระบือ จ.กำแพงเพชร เปิดเผยว่า ได้ร่วมกับกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติสนับสนุนบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ขยายผลโครงการพัฒนาผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบมาผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อสร้างความมั่นคงทางพลังงาน รวมทั้งกระจายให้ประชาชนในต่างจังหวัดใช้ประโยชน์อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ภายในแหล่งน้ำมันสิริกิติ์ สถานีผลิตลานกระบือ ปตท.สผ.วางแผนลงทุน 600-700 ล้านบาท เพื่อเพิ่มการผลิตน้ำมันเป็นวันละ 30,000 บาร์เรล จากเดิม 27,000 บาร์เรล ด้วยวิธีขุดหลุมเพิ่มประมาณ 400 หลุม จะทำให้เกิดกาซเป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันเพิ่มอีกวันละ 10-15 ล้านลูกบาศก์ฟุต และจะต่อเติมท่อส่งกาซดังกล่าวมารวมกันที่ศูนย์ลานกระบือ ทำให้มีกาซเพิ่มจากเดิมขายให้การไฟฟ้าฝายผลิต (กฟผ.) 22 ล้านลูกบาศก์ฟุต ลอตใหม่ยังคงพุ่งเป้าขายให้ภาครัฐต่อไป

ส่วนการแปรรูปขึ้นผลิตภัณฑ์นั้นขึ้นอยู่กับรัฐต้องการนำไปผลิตกาซธรรมชาติ (NGV) หรือผลิตกระแสไฟฟ้า ล่าสุดได้ยื่นขอประเมินคุณภาพสิ่งแวดล้อม (EIA) ไปแล้วเป็นเวลา 1 ปีเศษ ขณะนี้รอการตอบรับอนุญาตเพื่อจะใช้เวลาลงทุนอีกราว1 ปี หลังจากนั้นจึงจะเห็นผลการดำเนินงาน

นายนพพล มิลินทางกูร กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เปิดเผยว่า วางกลยุทธ์ใช้บริษัทย่อยคือ บริษัท ราชบุรีพลังงาน จำกัด พัฒนานำกาซธรรมชาติที่เป็นผลพลอยได้จากการผลิตน้ำมันดิบมาผลิตกระแสไฟฟ้า ต้นแบบสร้างโรงงานผลิตไฟฟ้าขนาด 3.6 เมกะวัตต์ ในพื้นที่โครงการผลิตน้ำมันดิบแหล่งเสาเถียร-เอ เขตอำเภอกงไกรลาศ จ.สุโขทัย มูลค่า 190 ล้านบาท โดยลงทุน 175 ล้านบาท ทำเตาผลิตไฟฟ้า 4 เครื่อง

นายนพพลกล่าวว่า เดิมแหล่งเสาเถียร-เอ มีการเผาทิ้งวันละประมาณ 1 ล้านลูกบาศก์ฟุต นำเอามาใช้ผลิตไฟฟ้า 8 แสนลูกบาศก์ฟุต คิดเป็นปริมาณผลิต 24 ล้านกิโลโวลต์ต่อปี ที่เหลือนำไปเป็นกาซสำรอง เมื่อได้ไฟฟ้าออกมาก็จำหน่ายให้การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) และ กฟผ. ส่วนเฟสต่อไปจะลงทุนต่อเพิ่มการผลิตโครงการประดู่เฒ่าเป็น 7 เมกะวัตต์ พัฒนาผลิตไฟฟ้าในพื้นที่หนองดุม เมื่อนำผลผลิตรวมเข้ากับเสาเถียร-เอ ได้ผลผลิตเพิ่มก็จะนำไปผลิตพลังงานลมสร้างกระแสไฟฟ้าหรือวินเทอร์บาย

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 20, 2012 8:52 am
โดย pak
คอลัมน์: ข่าวสั้น: ปตท.สผ.บุกขุดน้ำมันเพิ่มในแอลจีเรีย
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Saturday, March 17, 2012


นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สผ.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่วว่า ล่าสุดได้เจาะหลุมสำรวจ Rhourde Terfaia-1 : RTF-1 ในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ ประเทศแอลจีเรีย โดยพบทั้ง น้ำมันดิบและกาซธรรมชาติที่ระดับความลึก 4,129 เมตร อยู่ในชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม ทำการทดสอบอัตราการไหลด้วยเทคนิค Drill Stem Test : DST พบการไหลของน้ำมันดิบ 1,000 บาร์เรล/วัน กาซธรรมชาติราว 0.3 ล้าน ลบ.ฟ./วัน

จึงวางแผนกับผู้ร่วมทุนเดินหน้าขุดเจาะต่อไป ในแปลงฮาสสิ เบอร์ ราเคซ นี้ ตั้งอยู่ทางตะวันออกของแอลจีเรีย มีพื้นที่ 5,377.97 ตร.ม. เป็นโครงการร่วมทุนระหว่าง ปตท.สผ. 24.5 % SONATRACH หรือ บริษัทน้ำมันแห่งชาติแอลจีเรีย 51 % และ CNOOC Limited เป็นกลุ่มบริษัทผลิตปิโตรเลียมจากจีน 24.5 %

สำหรับแปลงขุดเจาะฮาสสิ เบอร์ ราเคซ นั้น ปตท.สผ.ดำเนินการเป็นแหลงที่ 2 ของการลงทุนในประเทศแอลจีเรีย ต่อจากแหล่ง เบอร์ เซบา กำลังพัฒนาปิโตรเลียมโครงการแอลจีเรีย 433เอ และ 416 บี

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 20, 2012 8:53 am
โดย pak
คอลัมน์: Mission CEO ภารกิจพิชิตเป้า
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, March 19, 2012
[email protected]


Mission CEO ฉบับที่ 405 วันที่ 19 - 25 มีนาคม 2555

ศิริพงษ์ อุ่นทรพันธุ์ ประธานกรรมการบริหาร บมจ.แอ็ดวานซ์อินฟอร์เมชั่นเทคโนโลยี เปิดเผยว่า มูลค่างานที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) ของบริษัท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2554 มีประมาณ 3,088 ล้านบาท ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปี 2555 เป็นส่วนใหญ่จึงได้ตั้งเป้าหมายรายได้ในปี 2555 ที่อัตราการเติบโตเพิ่มขึ้น 10% หรือประมาณ 5,300 ล้านบาท โดยมีแผนรุกขยายธุรกิจวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารทั้งภายในประเทศและต่างประเทศเพิ่มขึ้น ล่าสุดบริษัทได้เตรียมแผนขยายตลาดไปยังต่างประเทศคือ กัมพูชา พม่า ลาว โดยเตรียมเข้าไปตั้งสำนักงานตัวแทนที่ประเทศกัมพูชา ภายในกลางปีนี้ส่วนตลาดในประเทศนั้นคาดว่าจะมีโอกาสรับงานจากโครงการต่างๆ ที่มาจากกลุ่มลูกค้าภาครัฐและเอกชนมากขึ้น

สมพงษ์ เผอิญโชค กรรมการผู้จัดการ บมจ.ไทยรุ่งยูเนียนคาร์ เปิดเผยว่า บริษัทประเมินรายได้รวมปีนี้ไว้ที่ 3,000 ล้านบาท เติบโตอย่างต่ำ 30% จากปีที่แล้ว ที่มีรายได้รวม 2,263 ล้านบาท เติบโตตามอุตสาหกรรมรถยนต์ที่คาดจะโตประมาณ 37% ทั้งนี้ บริษัทมั่นใจว่ารายได้รวมจะเติบโตได้มากกว่าอุตสาหกรรม หลังจากที่โรงงานผลิตชิ้นส่วนแห่งใหม่ที่ จ.ระยอง เริ่มดำเนินการผลิตในช่างกลางปีนี้จะเพิ่มรายได้ปีนี้อีกราว 200-300 ล้านบาท โดยบริษัทประเมินว่าอุตสาหกรรมรถยนต์จะเติบโตอย่างต่อเนื่องได้อีก 5 ปีข้างหน้า ด้านงบลงทุนในปี 2555 จัดสรรไว้ 300-400 ล้านบาท โดยจะใช้เพิ่มกำลังการผลิตแม่พิมพ์ขึ้นรูปและงานพ่นสีอีก 30-40% ของกำลังการผลิตเดิม

ชวลิต หวังธำรง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ผลธัญญะ เปิดเผยว่า ในปี 2555 นี้ บริษัทพร้อมนำธุรกิจกลุ่มสิ่งแวดล้อมหรือธุรกิจน้ำออกสู่ตลาดประเทศเพื่อนบ้านใกล้เคียง อาทิ พม่า ลาว เวียดนาม คาดว่าในครึ่งแรก จะเห็นความชัดเจนเรื่องการร่วมมือจะเห็นความชัดเจนเรื่องการร่วมมือกับพันธมิตรท้องถิ่นในต่างประเทศเพื่อขยายธุรกิจร่วมกัน สำหรับตลาดในประเทศมั่นใจว่าปีนี้จะเป็นปีที่ดีหลังจากในช่วงปลายปี 2554 บริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจน้ำทำให้สามารถขยายธุรกิจได้อย่างคล่องตัวโดยคาดสัดส่วนรายได้จะเพิ่มขึ้นเป็น 10% จากปีก่อนที่ทำได้เพียง 5% ส่วนธุรกิจเซฟตี้ ยังเติบโตได้ดีตามการขยายตัวของภาคการผลิตดังนั้นจึงมั่นใจว่าเป้าหมายรายได้รวมปีนี้ที่วางไว้จะเติบโตประมาณ 20% จากปี 2554 จะทำได้อย่างแน่นอน

วิชัย ทองแตง กรรมการบริหาร บมจ.กรุงเทพดุสิตเวชการ เปิดเผยว่า การที่บริษัทตัดสินใจลงทุนเพิ่มใน รพ.บำรุงราษฎร์ คิดเป็นสัดส่วน 20.28% มีเป้าหมายหลักเพื่อการลงทุน เนื่องจาก รพ.บำรุงราษฎร์มีผลประกอบการการที่ดี และที่สำคัญชื่อเสียงได้รับการยอมรับจากนานาชาติ โดยก่อนหน้านี้ที่เราเข้าไปถือหุ้นกว่า 14% ความร่วมมือยังไม่เกิด แต่หลังจากนี้คาดหวังว่าจะหารือร่วมกันเพื่อเกื้อหนุนธุรกิจกันมากขึ้น ยืนยันว่าทางกลุ่ม รพ.กรุงเทพ ไม่ได้มีเป้าหมายเข้าไปเทคโอเวอร์โดยจากการพูดคุยกับผู้ถือหุ้นใหญ่รายอื่นก็มีความเห็นที่ตรงกันว่าเป็นการเข้าไปลงทุนเพื่อหาผลตอบแทนเท่านั้น สำหรับปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้เติบโต 14% จากปีก่อนที่มีรายได้รวมทั้งกลุ่มประมาณ 4 หมื่นล้านบาท

ชัชวิน พิพัฒน์โชติธรรม ผู้ช่วยประธานกรรมการบริหาร บมจ.ฟอร์ท คอร์ปอเรชั่น เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้ารายได้รวมปี 2555 เติบโต 10-15% หรือมีรายได้รวม 1.1 หมื่นล้านบาท โดยรายได้หลักมาจากธุรกิจรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์มีลูกค้าหลักคือ เวสเทิร์นดิจิตอล นอกจากนี้ยังมี ฟูจิตสึ โซนี่ ซัมซุง และไดกิ้น ปัจจุบัน บริษัทมีงานในมือ (Backlog) มูลค่า 200-300 ล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นของทีโอที จะรับรู้รายได้ทั้งหมดในปีนี้ สำหรับรายได้ในปี 2555 จะมาจากธุรกิจรับจ้างผลิตชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ 7.2 พันล้านบาท สัดส่วน 62% ของรายได้รวม ธุรกิจโทรคมนาคม 2.3 พันล้านบาท คิดเป็น 18% ธุรกิจ Techno Retail 1.6 พันล้านบาท และธุรกิจตู้เติมเงิน 600 ล้านบาทในปีนี้จะใช้เงินลงทุน 500-600 บ้านบาท

ณิชชา จิรเมธธนกิจ ผู้จัดการฝ่ายผู้ลงทุนสัมพันธ์ บมจ.ปตท.เปิดเผยว่า ปตท.คาดการณ์รายได้ปีนี้จะมีการเติบโตประมาณ 5-7% จากปี 2554 ที่มีรายได้รวม 2.4 ล้านล้านบาทเป็นการเติบโตตามยอดขายปิโตรเลียมของ ปตท.สผ.ที่จะเพิ่มขึ้นประมาณ 7% จากระดับ 2.68 แสนบาร์เรลต่อวัน เป็น 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน และเติบโตจากแนวโน้มราคาน้ำมันที่ปรับเพิ่มขึ้นโดยราคาน้ำมันที่ปรับขึ้นทุก 1 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะทำให้กำไรของทั้งกลุ่ม ปตท.เพิ่มขึ้นประมาณ 15 ล้านดอลลาร์ หรือประมาณ 450 ล้านบาท ในช่วง 5 ปีข้างหน้ากลุ่ม ปตท.มีแผนใช้เงินลงทุนรวม 9 แสนล้านบาท ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของ ปตท. 3.6 แสนล้านบาท และการลงทุนของ ปตท.สผ.อีก 3.6 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นการลงทุนของกลุ่มธุรกิจโรงกลั่นน้ำมันและปิโตรเคมี

ขจรพงศ์ คำดี กรรมการผู้จัดการ บมจ.เอ็นเนอร์ยี่ เอิร์ธ เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทได้ลงนามในสัญญาของวงเงินสินเชื่อ 3.08 พันล้านบาท จากธนาคากรุงไทย เพื่อใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการขยายธุรกิจถ่านหินสำหรับแผนธุรกิจปี 2555 บริษัทมีเป้าหมายจำหน่ายถ่านหินให้ได้ถึง 3.2 ล้านตัน คิดเป็นอัตราการเพิ่มขึ้น 70% และลดอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนให้อยู่ในระดับต่ำกว่า 2 เท่า และจะรักษาอัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนผู้ถือหุ้น หรือ ROE ให้ได้มากกว่า 20% ซึ่งทั้งหมดนี้ก็เพื่อการเติบโตที่แข็งแกร่งและยั่งยืนในอนาคตและในปี 2556 บริษัทยังได้เซ็นสัญญาจัดส่งถ่านหินไปจำหน่ายให้กับโรงไฟฟ้าในประเทศอินเดียภายในระยะเวลา 3 ปี จำนวนรวม 8.5 ล้านตัน อีกด้วย

สิทธิชัย ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการบริหาร บมจ.มิลล์คอนสตีลอินดัสทรีส์ เปิดเผยว่า ขณะนี้โครงการ Green MILL สามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์และจะรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 1/2555 เป็นต้นไป ซึ่งจะผลักดันยอดขายและอัตรากำไรขั้นต้นให้ไต่ระดับขึ้นไปถึง 15% จากการดำเนินธุรกิจเหล็กโดยปกติ ซึ่งมีอัตรากำไรขั้นต้นอยู่ในระดับ 4-5% โดยเป้าหมายของบริษัทในปี 2555 คาดว่ารายได้จะมีอัตราการขยายตัวไม่ต่ำกว่า 10-15% หรือประมาณ 17,000 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ซึ่งขยายขึ้นกว่า 13% เนื่องจากบริษัททำงานเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง และเจาะตลาดใหม่ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2554 บริษัทมี EBITDA อยู่ที่ 606 ล้านบาท และมีรายได้รวม 15,073 ล้านบาท


ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: อังคาร มี.ค. 20, 2012 9:15 am
โดย pak
PTTEPตั้ง10ปีเพิ่มผลิต3เท่า9แสนบาร์เรลต่อวัน5ปีอัดเงิน6แสนล้าน
Source - สยามรัฐ (Th), Tuesday, March 20, 2012


ปตท.สผ.วางแผน10ปีเพิ่มการผลิตไว้ 9 แสนล้านบาร์เรลต่อวัน จาก3 แสนบาร์เรลต่อวันในปัจจุบัน พร้อมอัดเงิน 6 แสนล้านวางแผนลงทุน 5 ปี

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเพิ่มการผลิตที่ระดับ 9 แสนบาร์เรล/วัน จากปริมาณการผลิตในปีนี้ที่ระดับ 3 แสนบาร์เรล/วัน โดยยอดที่เพิ่มขึ้น 3 แสนบาร์เรล/วันจะมาจากการเข้าไปพัฒนาโครงการที่ได้เข้าไปลงทุนแล้ว ได้แก่ ในพม่า ออสเตรเลีย และแคนาดา เป็นต้น ส่วนอีก 1 ใน3 ที่เหลือจะมาจากการเข้าซื้อกิจการโดยตรงหรือจับมือกับพันธมิตรเพื่อเพิ่มแหล่งผลิต

โดยบริษัทตั้งงบลงทุนตามแผน 5 ปี(55-59)ประมาณ 6 แสนล้านบาท แบ่งเป็นเงินลงทุนการพัฒนาโครงการใหม่ที่บริษัทเข้าไปลงทุน ได้แก่ ในอ่าวไทยออสเตรเลีย พม่า แอลจีเรีย แคนาดา ร้อยละ 50 หรือประมาณ 3 แสนล้านบาทอีกร้อยละ 35 ใช้ลงทุนในโครงการปัจจุบันเพื่อเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับการผลิต ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มผลผลิตได้ร้อยละ 25 หรือคิดเป็นประมาณ 4 แสนบาร์เรล/วันภายในปี 59 และอีกร้อยละ15 ใช้ในการสำรวจโครงการใหม่อีกมากเพื่อจะเพิ่มปริมาณสำรองก๊าซกับน้ำมันให้เร็วขึ้น

"บริษัทมีแผนเพิ่มการผลิตจากปัจจุบัน โดยใช้เทคโนโลยีใหม่เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตจากแหล่งปิโตรเลียมในปัจจุบัน ได้แก่ แหล่งสิริกิต์ แหล่งก๊าซเล็กๆในอ่าวไทย เพื่อจะเพิ่มการผลิตจากที่ผลิตอยู่ในปัจจุบัน 3 แสนบาร์เรล/วัน จะยืดออกไปมากกว่า 10 ปี ถ้ามองไปยาวถึงปี 63 นี่คือฐานแรกที่จะได้เพิ่มเป็น 1 ใน 3 ของ 9 แสนบาร์เรล/วันฐานที่สอง มีแหล่งสำรวจใหม่ที่บริษัทได้เข้าลงทุนแล้ว และสุดท้ายอีก 1 ใน 3 เป็นการเข้าซื้อกิจการ(M&A) ดูว่าถ้าจะเข้าไปซื้อบ่อน้ำมัน บ่อก๊าซใหม่ๆ ต้องทำงานควบคู่กับการหาแหล่งสำรวจใหม่ด้วยส่วนงบลงทุน 5 ปี เป็นแผนลงทุนที่มีโครงการชัดเจน แต่ยังไม่รวมโครงการที่จะเข้าไปซื้อใหม่" นายอนนต์ กล่าว

ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PTTEP กล่าวอีกว่าบริษัทได้เริ่มสร้างกระบวนการที่จะเข้าซื้อกิจการใหม่ (M&A) โดยทำการศึกษาว่าทั่วโลกมีแหล่งปิโตรเลียมที่น่าสนใจและตรงกับพื้นที่เป้าหมายของบริษัท โดยแต่ละครั้งหรือแต่ละปีจะมีการศึกษาและนำเสนอให้คณะผู้บริหารประมาณ 40 โครงการ เพื่อพิจารณาคัดเลือกเหลือ 1-2 ดีล ซึ่งเริ่มทำมา

ตั้งแต่ปีที่แล้วและปีนี้คาดว่าจะได้ข้อสรุป1-2 ดีล และในช่วง 5 ปีนี้น่าจะมีข้อสรุปซื้อกิจการอีก 1-2 ดีล นอกจากการเข้าซื้อกิจการโดยตรงเองแล้ว บริษัทยังจะใช้วิธีจับมือกับพันธมิตรเพื่อร่วมกันพัฒนาโครงการ โดยเฉพาะแหล่งในพื้นที่ใหม่หรือไม่คุ้นเคย ขณะเดียวกันพันธมิตรก็เห็นประโยชน์ในการร่วมมือกับบริษัท

"ถ้าในช่วง 5 ปีนี้ไม่สามารถสรุปดีลซื้อกิจการใหม่ได้ก็ไม่เป็นไร เพราะจังหวะโอกาสการเข้าซื้อกิจการหรือเข้าลงทุนเป็นเรื่องสำคัญ หากราคาน้ำมันแพงแล้วเข้าไปซื้อกิจการก็อาจจะได้ของแพง บริษัทจะไม่รวบรัดเร่งรัด และยังมีโอกาสในช่วง 10 ปี พร้อมมองแผนการเงินควบคู่กันไป ซึ่งแผนการเงินต้องพร้อมตลอดเวลาแต่หากจำเป็นต้องเพิ่มทุน ต้องพิจารณาว่าคุ้มค่ากับโครงการที่ได้มาหรือไม่ เพราะการขยายงานการลงทุนใหม่ต้องมีผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นสูงขึ้น ไม่ใช่ทำให้ผลตอบแทนลดลง"นายอนนต์ กล่าว

สำหรับโครงการสำรวจที่มีอยู่ในปัจจุบันที่มีอยู่ในมือ 20 กว่าโครงการนายอนนต์ กล่าวว่า บริษัทมีการทบทวนหรือปรับพอร์ตลงทุนตลอดเวลาเพื่อให้เหมาะสม ซึ่งการจัดการโครงการสำรวจเหล่านี้ได้ทำหลายอย่าง ทั้งหาโครงการใหม่เข้ามาเสริม ซึ่งจะมีทั้งพื้นที่ที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ เช่น ในไทย พม่าออสเตรเลีย แคนาดา และมองหาพื้นที่ใหม่ที่มีศักยภาพสูงๆ เช่น แอฟริกาตะวันออก และอเมริกาใต้

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 21, 2012 9:11 am
โดย pak
PTT, IRPC eye biodiesel with jet fuel in mind
Source - The Nation (Eng), Wednesday, March 21, 2012


PTT has joined with petrochemicals maker and refiner IRPC to conduct research and development on the production of biodiesel for passenger cars made from palm oil and the jatropha plant.

The cooperation between the two companies is part of PTT Research Institute’s pilot project to produce bio-hydrogenated diesel. BHD uses palm oil and jatropha - also known as the physic nut tree - as raw materials.

Success in the project is expected to encourage PTT to go one step further and produce green jet fuel for aircraft.

Pilin Chuchottaworn, president and chief executive of PTT, said yesterday that IRPC’s oil refinery, which concentrates on environmentally friendly manufacturing, would support the project.

He added that green biodiesel production would serve Thai Airways International’s plan to reduce carbon emissions from the aviation business. THAI began trials of green fuels in its aircraft in December. PTT is an importer for the company.

Rattanawalee In-ochanont, R&D chief of PTT Research Institute, said PTT’s green innovation drive is aimed at ensuring energy security for the Kingdom and the protection of its environment.

"Our raw-materials and technology development have high potential to push forward the development of green fuels for the aviation business," Rattanawalee said.

PTT’s research centre in Ayutthaya has tried to grow oil palms and jatropha.

The green energy output from the centre is 20 litres per day.

In the first phase, the green fuel is being tested in passenger cars for one year to learn more about its effects.

In the second phase, the project will receive input from THAI on its demand levels, to ensure economy of scale and PTT’s return on investment.

If it is decided that sufficient volumes can be produced, the manufacturing plant will be finished within two to three years.

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 21, 2012 9:13 am
โดย pak
TRCลุยทำโรงไฟฟ้าในพม่า-เขมรร่วมประมูลวางท่อก๊าซ1.6หมื่นล.
Source - สยามรัฐ (Th), Wednesday, March 21, 2012


ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น ตั้งเป้ารายได้ปีนี้อยู่ที่3พันล้านบาท คาดปีนี้จะเข้าลงทุนในธุรกิจพลังงานทางเลือก และธุรกิจไฟฟ้าในพม่าและกัมพูชา อย่างน้อย1โครงการ พร้อมร่วมประมูลวางท่อก๊าซแบ่งเค้ก 1.6 หมื่นล้าน

นายภาสิต ลี้สกุล ผู้อำนวยสายงานพัฒนาโครงการและการลงทุน บมจ.ทีอาร์ซี คอนสตรัคชั่น (TRC) เปิดเผยว่า บริษัทตั้งเป้าหมายรายได้ปีนี้อยู่ที่ 3,000 ล้านบาทจากปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 2,261 ล้านบาท และจะรักษาอัตรากำไรขั้นต้นให้อยู่ที่ระดับร้อยละ15 ส่วนอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ร้อยละ 6.7 เท่ากับปีก่อน โดยปัจจุบันมีงานในมือที่รอรับรู้รายได้อยู่ 5,000 ล้านบาท จากทั้งหมด 20 โครงการ

ทั้งนี้ บริษัทเตรียมจะเข้าประมูลโครงการวางท่อก๊าซธรรมชาติ และท่อก๊าซในโรงไฟฟ้า ในอีก 3-5 ปีข้างหน้า มูลค่ารวมประมาณ 16,670 ล้านบาท เช่น งานวางท่อก๊าซของ PTT เส้นทางวังน้อยนครสวรรค์ มูลค่า 6,000 ล้านบาท แก่งคอยโคราช 3,600 ล้านบาท งานวางท่อก๊าซให้กับโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่และขนาดเล็กของเอกชนมูลค่า 1,500 ล้านบาท เป็นต้น

ส่วนปีนี้คาดว่าบริษัทจะเข้าลงทุนธุรกิจโรงไฟฟ้าและธุรกิจพลังงานทางเลือกในประเทศพม่าหรือกัมพูชา อย่างน้อย1 โครงการ มูลค่าเงินลงทุนประมาณ600-1,000ล้านบาท เพื่อเป็นการหารายได้ในต่างประเทศเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มประเทศอาเซียน จากปัจจุบันที่บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากต่างประเทศร้อยละ15 ของรายได้รวม คาดว่าปีนี้จะเพิ่มเป็นร้อยละ20 ของรายได้รวม สำหรับงานวางท่อก๊าซที่โอมานที่เลื่อนจากปลายปีที่แล้ว คาดว่าจะได้รับงานในเดือน มิ.ย.ปีนี้ มูลค่า500ล้านบาท โดยสิ้นเดือนนี้บริษัทจะเดินทางไปที่โอมานอีกครั้งหนึ่ง เพื่อดูความคืบหน้าของงาน และงานในประเทศแอฟริกาขณะนี้ยังไม่คืบหน้าเพราะยังติดเรื่องนโยบายของประเทศแอฟริกา ซึ่งอยู่นอกเหนือการตัดสินใจของบริษัท ขณะนี้จึงยังอยู่ระหว่างรอความชัดเจนสำหรับโครงการในแอฟริกา แต่ยอมรับว่ามีความเสี่ยงสูง

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 21, 2012 9:16 am
โดย pak
เหนือตอนล่างมีน้ำมันปตท.เล็งลงทุนสำรวจ
Source - โพสต์ ทูเดย์ (Th), Wednesday, March 21, 2012


โพสต์ทูเดย์ -ภาคเหนือตอนล่างพบมีแหล่งน้ำมันดิบ ปตท. เตรียมลงทุนสำรวจโดยใช้วิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสามมิติ ไม่ส่งผลกระทบสิ่งแวดล้อม

นายภูวนาท ชุ่มเสนา ผู้แทนบริษัทปตท.สผ. สยาม เปิดเผยว่า ปตท.สนใจเข้าไปลงทุนสำรวจแหล่งน้ำมันดิบในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่าง คือจ.อุตรดิตถ์ พิษณุโลก และสุโขทัย หลังจากได้รับข้อมูลจากบริษัทผลิตน้ำมันแห่งนี้ ยืนยันว่าในพื้นที่ดังกล่าวมีแหล่งน้ำมันดิบ แต่ไม่ทราบว่ามีปริมาณมากน้อยแค่ไหน

นายภูวนาท กล่าวอีกว่า การเข้าสำรวจแหล่งน้ำมันดังกล่าวจะไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอย่างแน่นอน เนื่องจากจะใช้วิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบสามมิติ เพราะเป็นการสำรวจที่ทันสมัยที่สุดในเวลานี้ หากมีปริมาณมากเพียงพอที่จะดำเนินการขุดเจาะนำมาใช้ภายในประเทศ ซึ่งจะชดเชยกับการต้องนำเข้าน้ำมันดิบจากต่างประเทศ

ด้านนายนาวิน สินธุสอาด รอง ผวจ.อุตรดิตถ์ กล่าวว่า ปตท.สนใจเข้าสำรวจแหล่งน้ำมันดิบใน ต.ท่ามะเฟือง พญาแมน บ้านโคน และ อ.พิชัย หากเข้ามาดำเนินการสำรวจในจ.อุตรดิตถ์ จริง ชาวบ้านจะได้รับผลประโยชน์ คือ การจ้างแรงงานในท้องถิ่นกว่า 400 คน จากแรงงานที่ต้องจ้างทั้งหมด 700 คน

ทั้งนี้ การจ้างงานจะเป็นไปตามอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ แต่หากเป็นวันหยุดราชการก็จะได้รับสองแรง ตลอดทั้งมีค่าล่วงเวลา นอกจากนี้ ยังจะมีการเช่ารถบรรทุกจำนวน 100-200 คัน รวมทั้งคนขับ ส่วนพื้นที่สำรวจจะได้รับการชดเชยในอัตราที่เป็นธรรม m

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 21, 2012 9:35 am
โดย pak
ปตท.ลุยนำร่องไบโอดีเซลชีวภาพจากปาล์ม-สบู่ดำ
Source - ข่าวหุ้น (Th), Wednesday, March 21, 2012


นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ปตท. อยู่ระหว่างศึกษาโครงการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลชีวภาพ (Green Bio-Diesel) เพื่อนำมาใช้ในรถยนต์ โดยได้มอบหมายให้ บริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) ร่วมกับสถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. ทำการศึกษาร่วมกัน โดยขณะนี้ได้ทำเป็นโครงการนำร่อง ปัจจุบันสามารถที่จะผลิตน้ำมันไบโอดีเซลชีวภาพ ซึ่งเรียกว่าเป็น Bio Hydrogenation Diesel (BHD) ซึ่งใช้วัตถุดิบจากปาล์มน้ำมัน และสบู่ดำ

ทั้งนี้ ปตท. อยู่ระหว่างการนำน้ำมันมาทดลองเติมในรถยนต์ และทดลองวิ่งอยู่ เพื่อที่จะดูว่าน้ำมันชนิดนี้จะมีผลกระทบต่อเครื่องยนต์หรือไม่ โดยจะทดลองวิ่งก่อนประมาณ 1 แสนกิโลเมตร หากประสบความสำเร็จก็จะมีการทดลองผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ (Green Jet Diesel) เพื่อนำไปทดลองใช้ในเครื่องบินต่อไป

นางรัตนาวลี อินโอชานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สถาบันวิจัยและเทคโนโลยี ปตท. กล่าวว่า ปตท. มีแนวทางการดำเนินงานที่ชัดเจนในการพัฒนาพลังงานนวัตกรรมในรูปแบบสีเขียว (Green Innovation) ได้เล็งเห็นความสำคัญในการพัฒนาพลังงานทดแทน ด้วยเหตุผลเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังงาน และการลดมลภาวะสิ่งแวดล้อม ความเป็นไปได้ของเทคโนโลยีที่ได้ถูกพัฒนาขึ้น

รวมถึงศักยภาพของวัตถุดิบที่มีในประเทศไทย จึงมีความเป็นไปได้ที่จะมีการผลิตเชื้อเพลิงอากาศยานชีวภาพ เพื่อจำหน่ายให้กับสายการบินต่างๆ ที่บินเข้ามาในประเทศไทย ตลอดจนการพัฒนาเพื่อทำให้ต้นทุนของเชื้อเพลิงอากาศยานลดลง เพื่อให้สายการบินต่างๆ สามารถใช้ได้โดยไม่เพิ่มภาระมากนัก ซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง

โดยปัจจุบันสถาบันวิจัยของ ปตท.อยู่ระหว่างทำ Pilot Plant ที่ทดลองนำพืชชนิดต่างๆ ที่ปลูกได้ในประเทศไทย เช่น ปาล์มน้ำมัน สบู่ดำ และมีการนำน้ำมันพืชใช้แล้ว มาทดลองใช้ในการผลิตน้ำมันไบโอดีเซลชีวภาพ โดยได้ทำการผลิตที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาฯของ ปตท. ที่ อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ในปริมาณ 20 ลิตรต่อวัน ทดลองเติมลงในรถยนต์ เพื่อดูผลกระทบต่างๆ ต่อเครื่องยนต์

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 22, 2012 8:48 am
โดย pak
แบงก์แห่แย่งเค้กปล่อยกู้พลังงาน [ โพสต์ทูเดย์, 22 มี.ค. 55 ]

กรุงศรีฯ ลุยพลังงานทดแทน จับมือกสิกรปล่อยกู้โรงไฟฟ้าแสงอาทิตย์ 1,500 ล้านบาท เตรียม
เข้าประมูลโครงการอีกกว่าแสนล้าน

นายธะเรศ โปษยานนท์ ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สายงานลูกค้าธุรกิจขนาดใหญ่
ธนาคารกรุงศรีอยุธยา กล่าวว่า ปีนี้ธนาคารจะหันมาให้ความสำคัญต่อการเติบโตในด้านสินเชื่อพลังงานมาก
ขึ้นโดยเฉพาะในกลุ่มพลังงานทางเลือกเนื่องจากเป็นธุรกิจที่มีนโยบายรัฐบาลให้การสนับสนุน โดยมีแผนจะ
เข้าร่วมประมูลในโครงการต่างๆ คิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 1 แสนล้านบาท โดยธนาคารจะเป็นผู้จัดการเงินกู้
1-2 โครงการ ที่เหลือจะปล่อยกู้ร่วมกับสถาบันการเงินอื่น

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 23, 2012 8:39 am
โดย pak
พลังงานกรี๊ดเข้า "mai" รื่น [ ข่าวหุ้น, 23 มี.ค. 55 ]

ตลาดหลักทรัพย์ฯ ปรับปรุงเกณฑ์รับหุ้นธุรกิจผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนทุกประเภท ส่วน
คุณสมบัติไม่ยากแค่เริ่มขายไฟฟ้าฯ ครบ 1 ปี และมีมาร์เก็ตแคปของหุ้นที่จะเข้าเกิน 500 ล้านบาทขึ้นไป
"ชนิตร" พร้อมดันเข้าตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) เริ่มใช้ตั้งแต่ 26 มี.ค.

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 26, 2012 12:34 pm
โดย pak
ปตท.รื้อทัพผู้บริหารครั้งใหญ่ โยก "สุรงค์" พ้นไทยออยล์-วางเกณฑ์ "ซีอีโอ-ระดับรอง" วาระ 4 ปี
Source - กรุงเทพธุรกิจ (Th), Monday, March 26, 2012


จัดซื้อคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่น 1,600 ล้านบาท ต้นเหตุเด้งซีอีโอไทยออยล์

ปตท.วางเกณฑ์วาระตำแหน่งระดับซีอีโอและระดับรองเทอมละ 4 ปี หวังให้ผู้บริหารเรียนรู้การทำงานกว้างขึ้น ไม่สร้างอาณาจักร ขณะที่บอร์ดอนุมัติโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงครั้งใหญ่ 4 ตำแหน่งโยก "สุรงค์" นั่งซีเอฟโอ ปตท. ดึง "วีรศักดิ์" เสียบแทน พร้อมดัน "เทวินทร์" คุม ปตท.สผ.รับมือแผนลงทุนระยะยาว ส่วน "อนนต์" รับหน้าที่ซีอีโอ ปตท.โกลบอล เคมิคอล

การประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เมื่อวันที่ 23 มี.ค. ที่ผ่านมา ที่มีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน เป็นประธาน ที่ประชุมได้มีการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหารระดับสูง 4 ตำแหน่งสำคัญ ประกอบด้วย 1.นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท.

2. นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัทปตท. เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.

3. นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สผ.เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทปตท.โกล บอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) 4.นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทไทยออยล์

แหล่งข่าวจากคณะกรรมการบริหารปตท. กล่าวว่าการโยกย้ายผู้บริหารระดับสูงครั้งนี้ เป็นการโยกย้ายครั้งแรกในยุคที่นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.

การโยกย้ายครั้งนี้ แต่ละบริษัทจะนำเข้าที่ประชุมผู้ถือหุ้นของแต่ละบริษัทภายในเดือนเม.ย. นี้ ซึ่งจะมีผลประมาณเดือนพ.ค. 2555 การโยกย้ายดังกล่าวมีหลายเหตุผล


ยัน"เทวินทร์"เหมาะสมคุม ปตท.สผ.
ในส่วนของนายเทวินทร์ ที่เข้ามารับตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สผ. นั้น เพื่อมาสานต่อนายอนนต์ ที่จะเกษียณอายุในเดือนพ.ย. นี้ ประกอบกับที่ผ่านมานายเทวินทร์ ถือว่าเป็นผู้ที่ประสบความสำเร็จในการบริหารงานในตำแหน่ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัทปตท.มาแล้ว ดังนั้นการย้ายไปอยู่ในตำแหน่งใหม่ถือว่าเหมาะสม

ทั้งนี้ เนื่องจากการบริหารงานของบริษัท ปตท.สผ. เป็นแผนระยะยาว ที่ต้องการบุคลากรมาบริหารแผนอย่างต่อเนื่อง ซึ่งนายเทวินทร์ ถือว่าเป็นผู้ที่อยู่ในสายงานแผนและกลยุทธ์องค์กรมาโดยตลอดก่อนเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินบริษัทปตท.

นายไพรินทร์กล่าวว่า คณะกรรมการ ปตท.เมื่อวันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา มีมติแต่งตั้งนายบุญสม เลิศหิรัญวงศ์ คณบดีคณะวิซวกรรมศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นกรรมการอิสระ ตั้งแต่วันที่ 21 เม.ย.นี้ แททน นายไกรฤทธิ์ อุชุกานนท์ชัย ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน กรุงไทย จำกัด(มหาชน)ซึ่งลาออกตำแหน่ง


มั่นใจ "อนนต์" สานต่อธุรกิจได้
ขณะที่ บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล ที่ได้แต่งตั้งนายอนนต์ เป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารนั้น เพื่อทำงานคู่กับนายบวร วงศ์สินอุดม กรรมการผู้จัดการใหญ่การที่นายอนนต์ มีอาวุโสมากกว่า ทำให้ฝ่ายบริหารมองว่าจะทำงานไปได้ราบรื่นมากกว่าเดิม ที่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่มีอาวุโสเท่ากันอย่างในปัจจุบัน

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของนายวีรศักดิ์ ซึ่งเพิ่งได้รับตำแหน่งเป็นประธานบริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล ไปเมื่อเดือนต.ค. 2554


"ไพรินทร์" รับโยกย้ายผู้บริหารจริง
ขณะที่ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. กล่าวยอมรับว่าคณะกรรมการบริหารปตท.มีการแต่งตั้งโยกย้ายผู้บริหาร 4 ตำแหน่งจริง แต่ละบริษัทมีผลเมื่อไหร่ขึ้นอยู่กับการประชุมของคณะกรรมการแต่ละแห่ง

นายไพรินทร์ ยืนยันว่าการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ เชื่อว่ามีความเหมาะสมกับทุกตำแหน่ง และมีความสำคัญกับองค์กร เพราะว่า ปตท.ต้องมีการขยายธุรกิจให้ใหญ่ขึ้น เราตั้งเป้าว่าจะต้องติดอันดับ 1 ใน 100 บริษัทชั้นนำของโลกให้ได้ หรือ ฟอร์จูน 100 เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือ ศักยภาพของบริษัทและความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก


"วีรศักดิ์" ยันพร้อมทำงานที่ใหม่
นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ได้รับแจ้งอย่างไม่เป็นทางการจากบอร์ด ปตท. แล้วว่า จะถูกโยกย้ายไปอยู่บริษัท ไทยออยล์ ส่วนรายละเอียดไม่สามารถบอกได้ เพราะว่าเป็นเรื่องภายในบริษัท

อย่างไรก็ตาม ตนเป็นผู้บริหารอาชีพ ดังนั้นการจะให้ไปอยู่ที่ไหนก็พร้อมที่จะทำงาน ประกอบกับตนเองมีประสบการณ์ในการทำงานในโรงกลั่นมาตลอดก่อน ที่จะมาอยู่ที่บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล


ปตท.วางกฎผู้บริหารเทอมละ 4 ปี
แหล่งข่าวกล่าวเพิ่มเติมว่าในการโยกย้ายผู้บริหาร ปตท. ครั้งนี้ ทางผู้บริหารและบอร์ดปตท.ได้มีการหารือร่วมกันว่า ต้องการให้ผู้บริหารแต่ละบริษัท บริหารงานในตำแหน่งได้ไม่เกิน 4 ปี ดังนั้นเมื่อผู้บริหารแต่ละคนอยู่ครบ 4 ปีจะต้องมีการโยกย้ายสลับตำแหน่งทันทีจะไม่มีการต่ออายุอีกต่อไป

"เราไม่ต้องการให้ผู้บริหารแต่ละท่านอยู่ในตำแหน่งเดิม 8-10 ปี มันไม่ดี ไม่ต้องการให้ใครสร้างอาณาจักรส่วนตัว เจ้าของปตท.ต้องเป็นของประชาชนคนไทย แม้แต่ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ปตท.เอง ยังมีวาระคราวละ 4 ปี ผู้บริหารที่ถูกย้ายรอบนี้ส่วนใหญ่ก็จะอยู่ครบ 4 ปีอยู่แล้วยกเว้นนายเทวินทร์ ที่อยู่มาแล้ว 5 ปี "แหล่งข่าว กล่าว

แหล่งข่าวกล่าวว่า ฝ่ายบริหาร ปตท. เห็นว่าในตำแหน่งระดับรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ ก็ควรมีวาระไม่เกิน 4 ปีเช่นกัน โดยเห็นว่าการทำงานต้องมีเทอมเป็นที่ตั้ง ทั้งนี้เพื่อต้องการให้ผู้บริหารแต่ละฝ่ายเกิดความชำนาญในการบริหาร ไม่ติดยึดอยู่กับตำแหน่งเดิมเกิน 4 ปี หากระดับผู้บริหารมีการหมุนเวียนเกิดขึ้นการเรียนรู้งานก็ครอบคลุมมากขึ้น


จัดซื้อระบบคุมการกลั่นพ่นพิษเด้ง "สุรงค์"
แหล่งข่าวกล่าวว่า ในส่วนของนายสุรงค์ สาเหตุหลักมาจากกรณีที่เกิดกรณีโครงการจัดซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่น มูลค่า 1,600 ล้านบาท ที่มีพนักงานออกมาต่อต้าน ทำให้ฝ่ายบริหารหยิบยกมาเป็นเหตุผลว่าไม่สามารถบริหารจัดการคนในองค์กรได้ ประกอบกับนายสุรงค์ เคยดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหารการเงินใน ปตท. มาก่อน

สำหรับการแต่งตั้งโยกย้ายครั้งนี้ เกี่ยวเนื่องจากกรณีที่ชมรมต้านโกง ของพนักงานบริษัทไทยออยล์ ซึ่งขณะนี้ชมรมดังกล่าวได้เปลี่ยนชื่อมาเป็น "ชมรมส่งเสริมธรรมาภิบาล เพื่อความยั่งยืนของไทยออยล์" ที่ออกมาโจมตีการจัดซื้อจัดจ้างโครงการติดตั้งระบบควบคุมการกลั่น

ทั้งนี้ มีการประเมินกันว่าการเคลื่อนไหวของพนักงาน ในช่วงที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งเป็นเพราะผู้บริหารให้การสนับสนุน ให้เกิดการเคลื่อนไหว ในส่วนของพนักงานที่เป็นแกนนำหลายคนกำลังถูกฝ่ายบริหารจับตามองดูการเคลื่อนไหวอยู่เช่นกัน


วิจารณ์โยกย้าย "ฟ้าผ่า"
อย่างไรก็ตาม ชมรมฯ ที่มีพนักงานเข้ามาร่วมมือกันมากขึ้นนั้น ยังคงเดินหน้าตรวจสอบโครงการจัดซื้อจัดจ้าง และโครงการอื่นๆ ในบริษัทอย่างต่อเนื่อง โดยได้ไปประสานงานกับองค์กรภายนอก เช่น ภาคีองค์กรเครือข่ายต้านคอร์รัปชัน ที่มีหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเป็นแกนนำ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการต่อต้านคอร์รัปชันรูปแบบต่างๆ ในอนาคต

แหล่งข่าวกล่าวว่า การโยกย้ายครั้งนี้ มีผู้บริหารหลายคนไม่ทราบเรื่องมาก่อน แต่ปกติการโยกย้ายจะมีการหารือกันก่อน แต่ครั้งนี้ถือว่าผิดปกติ เพราะว่าเป็นการโยกย้ายแบบกะทันหัน ทำให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์ โดยเฉพาะภายในปตท. ว่า เป็นการโยกย้ายบุคคลที่ไม่สนองต่อการเมืองมากกว่าเป็นการโยกย้ายตามปกติ โดยเฉพาะในไทยออยล์ และ ปตท.สผ.


เผยแผนลงทุนกลุ่มปตท.5 ปี 9 แสนล้าน
สำหรับแผนการลงทุน 5 ปี ของทั้งกลุ่มปตท. ระหว่างปี 2555-2559 วางไว้ที่ระดับ 9 แสนล้านบาท แบ่งเป็นลงทุนในส่วนของบริษัท ปตท. จำนวน 3.57 แสนล้านบาท บริษัท ปตท.สผ.วงเงิน 3.6 แสนล้านบาท ที่เหลือเป็นบริษัทในกลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่นวงเงิน 2 แสนล้านบาท

โดยโครงการลงทุนหลักของบริษัทปตท.นั้น สัดส่วน 45% ของเงินลงทุน เป็นการลงทุนในธุรกิจถ่านหิน ปาล์มน้ำมัน ทุ่นผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวนอกฝั่ง (เอฟแอลเอ็นจี) และ ไฟฟ้า เป็นต้น และสัดส่วน 38% เป็นการขยายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเส้นที่ 4 และส่วนขยาย สถานีรับก๊าซธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) และก๊าซธรรมชาติ สำหรับยานยนต์ (เอ็นจีวี) สัดส่วน 14% ลงทุนคลังน้ำมัน คลังก๊าซปิโตรเลียมเหลว (แอลเอ็นจี) และสถานีบริการน้ำมัน

ขณะที่ ปตท.สผ.จะลงทุนเพื่อพัฒนาปิโตรเลียมทั้งในประเทศ อเมริกาเหนือ ตะวันออกกลาง และ แอฟริกา เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และ ออสเตรเลีย

การเติบโตของกลุ่ม ปตท. นั้น ในส่วนของ ปตท.สผ. นับเป็นธงนำในการออกไปบุกลงทุนในต่างประเทศ ที่สร้างการเติบโตให้กับ ปตท. อย่างชัดเจน ขณะที่โรงกลั่นไทยออยล์ เป็นโรงกลั่นน้ำมันหลักของกลุ่ม มีกำลังการกลั่นที่ 275,000 บาร์เรลต่อวัน ส่วน ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) มีบทบาทในการเป็นผู้นำในธุรกิจปิโตรเคมี

ไม่ต้องการให้ผู้บริหารอยู่ในตำแหน่งเดิม 8-10 ปี ไม่ต้องการให้ใครสร้างอาณาจักร


ที่มา: หนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 26, 2012 12:35 pm
โดย pak
PTT-BCPตุนน้ำมันเตาป้อนโรงไฟฟ้า
Source - ข่าวหุ้น (Th), Monday, March 26, 2012


นายเติมชัย บุนนาค ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า ขณะนี้ ปตท.ได้เตรียมมาตรการรองรับปัญหาก๊าซเอ็นจีวีขาดแคลนในช่วงที่แหล่งก๊าซธรรมชาติเยตากุนในสหภาพพม่าจะหยุดซ่อมบำรุงระหว่างวันที่ 8-17 เม.ย.นี้ เบื้องต้นจะนำเอ็นจีวีจากทางฝั่งตะวันออกเข้ามาแทน โดยยืนยันว่าจะไม่ส่งผลกระทบจนต้องทำให้ต้องปิดสถานีบริการเอ็นจีวีอย่างแน่นอน

นายณัฐชาติ จารุจินดา ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย PTT กล่าวว่า ในช่วงกลางเดือน เม.ย.นี้ แหล่งเยตากุนในพม่าจะหยุดซ่อม ทำให้ก๊าซหายไปประมาณ 1,100 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน โดย ปตท.ได้มีการเตรียมการเพื่อจัดหาน้ำมันเตาให้โรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซในภาคตะวันตกแทน

นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ BCP เปิดเผยว่า ขณะนี้บางจากยังไม่ได้รับคำสั่งจากทางกระทรวงพลังงาน เพื่อนำน้ำมันเตาของบางจากที่เตรียมจะส่งออกไปใช้ในประเทศ ช่วงที่แหล่งก๊าซธรรมชาติเยตากุนหยุดซ่อมในวันที่ 8-17 เม.ย.นี้ โดยบางจากต้องการความชัดเจนจากทางภาครัฐ เนื่องจากบางจากมีสัญญาส่งออกน้ำมันเตาเกรดพิเศษ กำมะถันต่ำเพียง 0.3% ไปให้กับลูกค้าในประเทศญี่ปุ่นอยู่ที่ 50 ล้านลิตรต่อเดือน อย่างไรก็ตาม หากทางกระทรวงพลังงานมีความต้องการน้ำมันเตาเพื่อนำมาใช้ผลิตไฟฟ้าในประเทศ บางจากก็ยินดีที่จะทำตามนโยบายของรัฐ โดยจะต้องเจรจากับลูกค้าดังกล่าวเพื่อยกเว้นการส่งออกน้ำมันเตาในช่วงเดือน เม.ย.นี้

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: จันทร์ มี.ค. 26, 2012 12:39 pm
โดย pak
PTTEPจ่อซื้อCoveฉลุย
Source - ข่าวหุ้น (Th), Monday, March 26, 2012


อินเดียไม่เสนอราคาสู้!

PTTEP โอกาสซื้อกิจการ Cove มีมากขึ้น หลัง 2 บริษัทจากอินเดีย ยังไม่ยอมเสนอราคาสู้ ปตท.สผ.ย้ำมูลค่าซื้อขาย 50,000-60,000 ล้านบาท คุ้มค่าการลงทุนใช้เงินสดและวงเงินสินเชื่อที่เหลือเพียงพอแล้ว ขณะที่โบรกเกอร์เชียร์ซื้อเป้าหมายใหม่ 212 บาท

แหล่งข่าวจากวงการเงิน กล่าวว่า จากกรณีบริษัท ออยล์ แอนด์ แนเชอรัล แก๊ส คอร์ป จำกัด (ONGC) ผู้ผลิตน้ำมันของรัฐบาลอินเดีย และบริษัทเกล อินเดีย (GAIL) ผู้จัดจำหน่ายก๊าซของรัฐบาลอินเดีย เปิดเผยว่า บริษัททั้ง 2 แห่ง ยังไม่ได้ร่วมกันยื่นเสนอราคาซื้อสินทรัพย์บริษัท Cove Energy ของอังกฤษ ทั้งนี้บริษัท เชลล์ และบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ PTTEP แสดงความสนใจและยื่นข้อเสนอซื้อสินทรัพย์ของ COVE ดังกล่าวไปแล้ว

จากประเด็นกล่าวถือว่าเป็นเรื่องดีกับ PTTEP เพราะข่าวที่ออกมาก่อนหน้านี้คือ 2 บริษัทจากอินเดีย จะเสนอราคาซื้อ Cove ต่ำกว่า PTTEP ที่แจ้งความประสงค์การทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่ชำระแล้ว และไม่ได้ชำระทั้งหมดของ Cove Energy ราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง รวมมูลค่ากว่า 1,800 ล้านเหรียญสหรัฐ (ประมาณ 50,000-60,000 ล้านบาท) และทำให้ PTTEP มีโอกาสประสบความสำเร็จในซื้อหุ้น Cove มีมากยิ่งขึ้น

การเสนอซื้อหุ้นครั้งนี้มีผลผูกพันต่อเมื่อบรรลุเงื่อนไขต่างๆ โดยคณะกรรมการ Cove มีความเห็นเป็นเอกฉันท์ ยอมรับข้อเสนอ PTTEP โดยปราศจากเงื่อนไขและ ปตท.สผ. สงวนสิทธิ์ในการลดราคาที่เสนอซื้อตามที่คณะกรรมการ Cove แนะนำ PTTEP ได้รับข้อผูกมัดจากคณะกรรมการและผู้บริหาร Cove ที่ไม่อาจเพิกถอนได้ (Irrevocables) ที่จะตอบรับข้อเสนอการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ในส่วนที่ตนเองถือทั้งหมดและในส่วนที่ถือโดยครอบครัวและผู้ดูแลทรัพย์สินของบุคคลดังกล่าว

โดย Cove จดทะเบียนตลาด Alternative Investment Market (AIM) ในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอน ประเทศอังกฤษ มีสินทรัพย์หลัก คือถือสัดส่วน 8.5% แปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก เป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ คาดว่าจะมีปริมาณสำรองราว 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต รวมถึงแหล่งน้ำมัน Black Pearl Prospect และ Cove ถือสัดส่วน 10% ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area ในสาธารณรัฐโมซัมบิก รวมถึงการถือสัดส่วน 10-25% ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในเคนยาด้วย

ทั้งนี้ ทรัพย์สินหลักและโครงการ Cove มีความเหมาะสมและสอดคล้องกับกลยุทธ์ ด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว ของกลุ่ม ปตท. การประกาศความประสงค์ในการทำคำเสนอซื้อหุ้นตามข้อเสนอดังกล่าว เป็นก้าวสำคัญของ PTTEP ในการเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออก ที่มีศักยภาพทางไฮโดรคาร์บอนสูง สำหรับแหล่งเงินที่ใช้ในการทำคำเสนอซื้อครั้งนี้จะมาจากเงินสดคงเหลือของ ปตท.สผ. และวงเงินสินเชื่อที่มีอยู่ในปัจจุบัน

ขณะที่บริษัทหลักทรัพย์เคจีไอ(ประเทศไทย) ประเมินว่า มีมุมมองเป็นบวกต่อการที่ PTTEP เสนอซื้อกิจการของ Cove Energy (COVLN, non rated) ซึ่งเป็นบริษัทสำรวจปิโตรเลียมในแอฟริกาซึ่งจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ของอังกฤษ ที่ราคา1.1 พันล้านปอนด์ (1.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) หากการเสนอซื้อครั้งนี้ประสบความสำเร็จ อาจช่วยเพิ่มปริมาณปิโตรเลียมสำรองของ PTTEP ขึ้นอีก 20-50% ด้วยราคาถือว่าไม่แพง คิดเป็นต้นทุนการค้นพบและพัฒนาที่ 17.4 ดอลลาร์/BOE (ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยย้อนหลัง 5 ปี ของ PTTEP อยู่ 12%)

โดยเชื่อว่าบริษัทไม่น่าจะต้องเพิ่มทุน เนื่องจากมีเงินทุนในมือเพียงพอสำหรับการซื้อกิจการครั้งนี้ ขณะที่กระแสเงินสดของ PTTEP ช่วงปี 2555-2561 เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายสำหรับการพัฒนาโครงการในอนาคตได้อย่างสบาย นอกจากนี้แผนการเข้าซื้อกิจการครั้งนี้ยังเป็นไปตามแผนกลยุทธ์ของ PTTEP ในการที่จะหาทางเข้าถึงแหล่งทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ในแอฟริกา

ทั้งนี้ แนะนำซื้อและเพิ่มราคาเป้าหมาย อิงจาก P/E ปี 2555 เป็น 212 บาท (จาก 200 บาท) จากการปรับสมมติฐานราคาน้ำมันดูไบเป็น 106 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล (จาก 100 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล) ส่งผลให้ EPS ปี 2555 เพิ่มขึ้น 6% โดยชอบ PTTEP จากความคาดหมายว่า EPS ปี 2555 จะเติบโตถึง 31% และโอกาสราคาน้ำมันจะขยับสูงขึ้นอีก จากความตึงเครียดระหว่างอิหร่านและอิสราเอล ประเมินว่าราคาน้ำมันที่ขยับขึ้นทุกๆ 5 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล จะทำให้ EPS ปี 2555 ของ PTTEP เพิ่มขึ้น 5%

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 28, 2012 10:57 am
โดย pak
เปิดปมโยก 4 ซีอีโอกลุ่ม ปตท.'อำนาจเก่า' VS'อำนาจใหม่' สู่ฝัน 4 ล้านล้าน
Source - ประชาชาติธุรกิจ (Th), Wednesday, March 28, 2012


เป้าหมายอันสวยหรูของกลุ่ม ปตท. ด้วยการวางแผนยุทธศาสตร์การดำเนินธุรกิจ (Corporate Strategy) 5 ปี ระหว่างปี 2555-2559 วางกรอบใช้เงิน ปูพรมลงทุน 1 ล้านล้านบาท แลกกับรายได้ที่จะเพิ่มพูนขึ้นในปีสุดท้าย ปี 2559 ต้องได้ถึง 4 ล้านล้านบาท พร้อมกับผงาดขึ้นติดอันดับโลก 1 ใน 100 นิตยสารฟอร์จูน

คือ "โจทย์หลัก" ที่ "ประเสริฐ บุญสัมพันธ์" อดีตประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทำไว้ก่อนหมดวาระ เมื่อปลายปีที่ผ่านมา

"ประเสริฐ" ส่งไม้ต่อให้ "ไพรินทร์ ชูโชติถาวร" ซีอีโอคนใหม่ทำหน้าที่สานความสำเร็จ โดยวางเส้นทางขับเคลื่อนรายได้ไว้ให้เรียบร้อยแล้วจาก 3 ธุรกิจหลัก คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ผู้ค้าน้ำมันรายใหญ่ของประเทศที่มี ส่วนแบ่งตลาดและรายได้สูงสุด บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. มีหน้าที่นำเงินไปลงทุนหาแหล่งพลังงานสำรองพื้นที่ เป้าหมาย 5 ปีข้างหน้า มุ่งต่างประเทศเป็นหลัก และ บริษัท โกลบอล ปิโตรเคมี จำกัด (มหาชน) อุตสาหกรรมส่งออก ดาวรุ่งซึ่งเป็นผลพลอยได้จากน้ำมัน แต่ละปีมีอัตราการเติบโตทั้งผลผลิตและรายได้ 2 หลักมาหลายปี

การเปลี่ยนผ่านครั้งสำคัญเมื่อปี2554 เกิดขึ้นในจังหวะเดียวกันกับ "การเมือง" พลิกขั้วเล็กน้อย เมื่อ"พรรคเพื่อไทย"เป็นแกนนำรัฐบาลส่งสมาชิกพรรคเข้ามานั่งตำแหน่งรัฐมนตรี "กระทรวงพลังงาน" คนแรก นายพิชัย นริพทะพันธุ์ คนปัจจุบัน นายอารักษ์ ชลธาร์นนท์ แทนนายแพทย์วรรณรัตน์ ชาญนุกูล หัวหน้าพรรค ชาติพัฒนา

พร้อมกับมุ่งนำพลังงานตอบสนองประชานิยมเต็มรูปแบบ โดยชะลอจัดเก็บเงินพลังงานทุกชนิดเข้ากองทุนน้ำมัน เชื้อเพลิงไว้ชั่วคราว 6 เดือน ก่อนจะมาปล่อยลอยตัวแบบขั้นบันได ทั้งแกส แอลพีจีและเอ็นจีวีเมื่อกุมภาพันธ์2555 และปลดล็อกเพดานราคาน้ำมันดีเซลจากลิตรละ 30 บาท ขึ้นมาเป็น 32.33 บาท

แต่แกนหลักเชิงนโยบายของ "พรรคเพื่อไทย"มีเป้าหมายชัดเจนในระยะยาว 2 เรื่อง คือ เรื่องแรกประเทศไทยจะต้องมีความมั่นคงทางพลังงาน เรื่องที่สองทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงพลังงานจะต้องลงทุนใช้เทคโนโลยีคุณภาพสูงเข้ามาเพิ่มประสิทธิภาพการใช้พลังงาน ทุกชนิด ควบคู่กับการทำโครงการกระตุ้นผู้บริโภคทุกกลุ่ม ทั้งภาคครัวเรือน ขนส่ง อุตสาหกรรม

"โจทย์ใหญ่" ของรัฐบาล "ปู 2" กับความฝันของการขึ้น 1 ใน 100 ฟอร์จูน ด้วยการทำสถิติรายได้ให้ถึงปีละ 4 ล้านล้านบาทนั้น สามารถหลอมรวมเป็น ขั้วเดียวกันได้จริงหรือไม่? หรือระหว่างทางมีคลื่นใต้น้ำขวางลำอยู่

คำถามนี้พอจะมีคำตอบ ประเมินได้จากมติการประชุมคณะกรรมการบริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ครั้งล่าสุดเดือนมีนาคม 2555 ที่อนุมัติย้ายสายฟ้าแลบ 4 ซีอีโอ ได้แก่ นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) แทนนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ที่ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ "ปตท.สผ." แทน นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ที่ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ปตท.โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) แทน นายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน)

นายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงาน ในฐานะประธานคณะกรรมการบริหาร บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ให้สัมภาษณ์ด้วยสีหน้านิ่ง ๆ โดยใช้ คำพูดเปรียบเปรยว่า การโยกย้ายครั้งนี้เป็นเพียงการเปลี่ยนแปลงภายใน เช่นเดียวกับเรื่องในบ้านเวลาลูก ๆ ทะเลาะกันก็ต้องมาดูแล และจะหารือกับเป้าหมายแรกคือ ผู้บริหารบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ทันที ในการประชุมวันที่ 27 มีนาคม 2555 เพื่อสะท้อนภาพรวมทั้งหมด

ส่วนผลการโยกย้ายของทั้ง 4 ซีอีโอจะต้องรายงานที่ประชุมของแต่ละบริษัทรับทราบภายในเมษายน เพื่อให้มีผลพฤษภาคมนี้เป็นต้นไป ภายใต้กฎเหล็กใหม่ ต่อไปฝายบริหารควรจะอยู่ในตำแหน่งตามเทอมคนละ 4 ปี

ขณะที่เสียงสะท้อนจากคนวงในกลุ่ม ปตท.ด้วยกันเองมองว่า การโยกย้ายครั้งสำคัญนี้มีการเมืองภายในเข้ามาเกี่ยวข้อง แต่สายตาคนภายนอกมองว่าเป็นกลยุทธ์ย้ายผู้นำได้ถูกจริตกับความสามารถของ ทุกคน เพราะถึงแม้ "ซีอีโอฝายการเงิน"จะถูกวางให้เป็นหัวใจสำคัญขององค์กร แต่งานนี้นายสุรงค์ต้องทำงานอยู่ในสายตาประธานคณะกรรมการบริหารตลอดเวลา ขณะที่อีก 3 บริษัทล้วนได้มืออาชีพที่เคยสร้างผลงานไว้เดิมกลับไปสานต่อ

โดยเฉพาะ "นายอนนต์" กำลังจะเกษียณปีหน้า ในฐานะรุ่นพี่อาวุโสสูงสุดยอมเสียสละกลับมาสู่ถิ่นเก่าในกิจการเคมิคอล หลังจากได้ทุ่มเทมาเดินสายไปต่างประเทศเพื่อนำปตท.สผ.เจรจาทำสัญญาหาแหล่ง "สำรองพลังงานแห่งใหม่" ไว้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก

ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่คือ โครงการ "ออยล์แซนด์ เคเคดี" ที่แคนาดา ถือเป็นการลงทุนขนาดใหญ่สุดของ ปตท.สผ. มูลค่ากว่า 6.8 หมื่นล้านบาททำให้ไทยได้เปรียบคู่แข่งทุกประตู เพราะ ปตท.สผ.ใช้วิธีเข้าไปถือหุ้นถึง 40% ร่วมกับพันธมิตรกลุ่ม Statoil มีสถานภาพกำลังผลิตสูงสุด 1 ใน 3 ของแคนาดา ภายในเวลาไม่ถึงปีสามารถผลิตน้ำมันได้เกินคาดถึง 1.8 หมื่นบาร์เรล/วันตั้งเป้าสูงสุดไว้วันละ 2 หมื่นบาร์เรล/วันอนาคตปี 2559 จะเพิ่มเต็มขีดความสามารถ 8 หมื่นบาร์เรล/วัน

ส่วน "เทวินทร์" ทุกคนรู้ฝีมือ หากเป็นงานด้านโรงกลั่นเขาไม่เป็นรองใคร เหมาะจะเข้าไปสานต่องานที่ "อนนต์" ทำไว้ได้เป็นอย่างดี เช่นเดียวกับ "วีรศักดิ์" ได้แสดงผลงานโดดเด่นไว้ในปิโตรเคมิคอล ด้วยความสามารถขั้นเซียน จึงไม่ใช่เรื่องยากอะไรหากจะต้องเข้าไป "ผ่าไทยออยล์" อย่างไรก็ดี การโยกย้ายครั้งนี้แท้จริงก็หนีไม่พ้นการเมืองภายในระหว่างขั้วอำนาจเก่าบางกลุ่มที่โยงกับพรรคการเมืองที่ยังมีอำนาจใน ปตท.

เพราะเป้าหมายสุดท้ายกลุ่ม ปตท. หนีไม่พ้นจะต้องทำให้ฝันของรัฐบาล เป็นจริง และสร้างความมั่นคงทางพลังงานให้แก่รัฐบาล

นั่นคือทำรายได้เกินปีละ 4 ล้านล้านบาท ขึ้น 1 ใน 100 ฟอร์จูน เป็นพี่ใหญ่ด้านพลังงานภูมิภาคอาเซียนตัวจริงตอนเปิดเออีซีปี 2558



ที่มา: หนังสือพิมพ์ประชาชาติธุรกิจ ฉบับวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 2555--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พุธ มี.ค. 28, 2012 11:01 am
โดย pak
บอร์ดTOPตีกลับ!
Source - ข่าวหุ้น (Th), Wednesday, March 28, 2012

ระบบคอมโรงกลั่น

บอร์ด “ไทยออยล์” ยังไม่สรุประบบคอมพิวเตอร์ใหม่ สั่งให้กลับมาสรุปประเด็นที่ไม่ชัดเจนใหม่ เพื่อเสนอบอร์ดอีกครั้งเดือนเม.ย.นี้ “สุรงค์” รับมีความเห็นที่แตกต่างกัน และยังไม่ได้สรุปว่าจะเลือก Honnywell หรือว่า Yokogawa ต้องศึกษารายละเอียดก่อน พร้อมปรับเปลี่ยนบอร์ดใหม่ 3 คน

นายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท ไทยออยล์ จำกัด(มหาชน) หรือ TOP กล่าวว่า มติที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทที่มีนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ปลัดกระทรวงพลังงานเป็นประธานบอร์ด ได้สั่งให้ไปสรุปประเด็นที่ยังไม่ชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องการเปิดรับประมูลระบบคอมพิวเตอร์ควบคุมและป้องกันการกลั่น ของโรงกลั่นไทยออยล์ให้แล้วเสร็จภายในสิ้นเดือนนี้ จากนั้นจะเสนอให้ที่ประชุมบอร์ดอีกครั้งต้นเดือนเม.ย.นี้

อย่างไรก็ตามยืนยันว่าไม่ได้มีการทุจริตแต่เป็นความเห็นที่แตกต่างกันเท่านั้น โดยการปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ดังกล่าวยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกบริษัท HONEYWELL ของสหรัฐหรือบริษัท YOKOGAWA ของญี่ปุ่นหรือไม่ เนื่องจากต้องมีการศึกษาเพื่อประโยชน์ของบริษัทสูงสุดก่อน

“ท่านณอคุณได้สั่งให้ไปสรุปประเด็นให้ชัดเจน ให้เสร็จภายในเดือนนี้ ช่วงที่ผมยังมีวาระดำรงตำแหน่งอยู่ที่ไทยออยล์ โดยในวันที่ 1 พ.ค.นี้ จะมีการปรับเปลี่ยนตำแหน่ง ดังนั้นจึงจะทำหน้าที่ดังกล่าว เพื่อให้ไม่เป็นภาระแก่ผู้ที่จะมาดำรงตำแหน่งต่อไป อย่างไรก็ตาม ระบบคอมพิวเตอร์ของไทยออยล์ เป็นระบบเล็กหรือประมาณ 10% เมื่อเทียบกับกลุ่ม ปตท. พร้อมกันนี้ TOP ยังมีการปรับเปลี่ยนกรรมการใหม่ 3 คน

ส่วนกรณีการแต่งตั้งโยกย้ายตำแหน่งผู้บริหาร ปตท. เป็นการปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสม โดยตนเป็นพนักงานในกลุ่ม ปตท. เมื่อผู้บังคับบัญชามีการปรับเปลี่ยนต้องไปทำหน้าที่ดังกล่าว ผู้บริหารทุกท่านเป็นมืออาชีพทั้งสิ้น อย่างนายเทวินทร์ ที่จะกลับไปดำรงตำแหน่งที่ ปตท.สผ. ก็มีความเชี่ยวชาญอยู่ก่อนแล้ว

นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า กรณีที่มีการโยกย้ายตำแหน่งผู้บริหารกลุ่ม ปตท. เนื่องจากครบวาระ โดยแนวคิดดังกล่าวเป็นแนวคิดของตนที่มองว่า ตนยังมีวาระดังนั้นผู้บริหารคนอื่นก็น่าจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเช่นกัน ขณะเดียวกันผู้บริหารดังกล่าวก็เป็นผู้มีความรู้ความสามารถ

โดยกรณีนายสุรงค์ บูลกุล ประธานเจ้าหน้าที่ TOP ย้ายไปเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินองค์กร ปตท. ก็ไม่ได้มาจากกรณีการจัดซื้อจัดจ้างระบบคอมพิวเตอร์ตามที่เป็นข่าว แต่ดำรงตำแหน่งมาแล้ว 3 ปี ขณะที่นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงินองค์กร ปตท. ดำรงตำแหน่ง 5 ปี, นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTTEP ดำรงตำแหน่ง 4 ปี และนายวีระศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร PTTGC ดำรงตำแหน่ง 3 ปี

“ผู้บริหารทุกคนมีความรู้ความสามารถ และแนวคิดดังกล่าวก็ไม่ใช่เรื่องแปลก เพราะผมคิดว่าผมยังมีวาระ ผู้บริหารคนอื่นก็น่าจะมีวาระเช่นกัน โดยที่ผ่านมาก็มีการโยกย้ายผู้บริหารระดับการเงินมาแล้ว” นายไพรินทร์ กล่าว

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. มี.ค. 29, 2012 9:09 am
โดย pak
PTTEPมั่นใจมอนทาราเริ่มผลิตต.ค.
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Thursday, March 29, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน - ปตท.สผ.มั่นใจแหล่งมอนทาราผลิตน้ำมันดิบได้ ต.ค.นี้ หลังเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์หลายรอบ แย้มดึงพันธมิตร 2 รายเข้าถือหุ้นในแหล่งM 11 โดย ปตท.สผ.ถือหุ้นใหญ่อยู่40-50% เตรียมเซ็นสัญญาเงินกู้กับ3แบงก์ญี่ปุ่นจำนวน 300 ล้านเหรียญแคนาดาสิ้นเดือนนี้ เพื่อใช้รีไฟแนนซ์หนี้ที่ครบกำหนดชำระ

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) (PTTEP)เปิดเผยความคืบหน้าโครงการผลิตปิโตรเลียมมอนทา ราออสเตรเลียว่า ขณะนี้โครงการดังกล่าวมีความคืบหน้าไปมากคาดว่าจะผลิตน้ำมันดิบเชิงพาณิชย์วันละ 35,000 บาร์เรลได้ในเดือนต.ค.นี้ หลังจากเลื่อนการผลิตมานานเนื่องจากได้ส่งพนักงานกลับเข้าไปทำงานอีกครั้งหลังจากต้องอพยพพนักงานออกจากแท่นเจาะสำรวจเพื่อความปลอดภัยหลังเกิดพายุไซโคลนในช่วง มี.ค.ที่ผ่านมา ซึ่งการเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์โครงการมอนทาราไปเป็นเดือน ต.ค.นี้ไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการขายปิโตรเลียมปีนี้ที่ตั้งไว้ 2.84 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน เนื่องจากเป็นไปตามแผนงานที่วางไว้

ส่วนการทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญของบริษัทCove Energy Plc. ซึ่งเป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนนั้น ขณะนี้อยู่ในกระบวนการพิจารณา โดยล่าสุดทาง Cove เจรจากับทางรัฐบาลโมซัมบิกเกี่ยวกับประเด็นด้านภาษี ซึ่งดีลดังกล่าวยังไม่สามารถกำหนดได้ว่าจะได้ข้อยุติเมื่อใดล่าสุดมีเพียงบริษัทเชลล์กับ ปตท.สผ.ที่ทำคำเสนอซื้อหุ้นไป หากมีคู่แข่งเสนอราคาสูงกว่าบริษัทฯ ก็มีสิทธิที่จะเสนอราคาซื้อหุ้นบริษัท Cove ใหม่ได้ แต่คงต้องพิจารณามูลค่าของสินทรัพย์ว่ามีความเหมาะสมแค่ไหนด้วย

การตัดสินใจเข้าซื้อหุ้น Cove ครั้งนี้นับเป็นก้าวสำคัญของกลุ่ม ปตท.ที่จะเข้าถึงแหล่งพลังงานในแถบแอฟริกาตะวันออก สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ด้านธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว(LNG) และทำให้ ปตท.สผ.เติบโตแบบยั่งยืนโดยบริษัทฯ มีเป้าหมายที่จะผลิตปิโตรเลียมให้ได้9 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันในปี 2563 ซึ่งปีนี้บริษัทฯมีฐานการผลิตปิโตรเลียมได้ 3 แสนบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันจาก 17 โครงการ ซึ่งคิดเป็น 1/3 ของเป้าหมาย โดยแหล่งผลิตดังกล่าวมีศักยภาพที่จะให้ผลผลิตได้ต่อเนื่องนานกว่า10 ปี และกำลังการผลิตที่เหลืออีก 1/3 เป็นฐานการผลิตจากโครงการในต่างประเทศทั้งพม่า ออสเตรเลีย ฯลฯ ซึ่งประเทศเหล่านี้ยังมีศักยภาพที่จะสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมได้อีกมาก

ขณะที่ออยล์แซนด์ในแคนาดาที่ปัจจุบันมีกำลังการผลิตอยู่ 2 หมื่นบาร์เรลต่อวันก็มีแผนจะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 8 หมื่นบาร์เรล/วันในปี 2559 ซึ่งแหล่งดังกล่าวมีศักยภาพที่จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 3 แสนบาร์เรล/วัน

รวมทั้งการแสวงหาโอกาสการลงทุนโครงการใหม่ เช่น แอฟริกาตะวันออก และอเมริกาเหนือ รวมไปถึงการเข้าซื้อกิจการโครงการต่างๆ ที่มีศักยภาพ รวมทั้งการร่วมมือกับบริษัทน้ำมันขนาดใหญ่ซึ่งเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ เช่น โทแทล Stateoil และเชฟรอน เป็นต้นเพื่อแสวงหาโอกาสการลงทุนโครงการใหม่ๆ

ทั้งนี้ บริษัทฯ ได้แสดงความจำนงซื้อหุ้นCove ที่ราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้น คิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,119.6 ล้านปอนด์สเตอร์ลิง โดยมีสินทรัพย์หลัก คือ การถือครองสัดส่วนร้อยละ8.5 ในแปลงสัมปทาน Rovuma Offshore Area 1 สาธารณรัฐโมซัมบิก โดยแปลงสัมปทานดังกล่าวนั้นเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ คาดว่าจะมีปริมาณสำรอง (Resource) ถึงประมาณ 30 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุตรวมถึง Black Pearl Oil Prospect นอกจากนี้ Cove ยังถือสัดส่วนร้อยละ 10 ในแปลงสัมปทาน Rovuma Onshore Area สาธารณรัฐโมซัมบิก รวมถึงการถือสัดส่วนร้อยละ 10-25 ในแปลงสัมปทานน้ำลึกอีก 7 แปลงในประเทศเคนยา โดยมีเงื่อนไขว่าปตท.สผ. ต้องได้รับการยินยอมเป็นลายลักษณ์อักษรจากรัฐมนตรีกระทรวงทรัพยากรธรณีสาธารณรัฐโมซัมบิก ซึ่งเป็นไปตามข้อกำหนดในสัญญาสัมปทานปิโตรเลียม

นายอนนต์กล่าวถึงความคืบหน้าการหาพันธมิตรในแหล่ง M11 ที่สหภาพพม่าว่าบริษัทฯ ตัดสินใจเลือกพันธมิตร 2 รายเข้ามาร่วมถือหุ้นในโครงการ โดยพันธมิตรดังกล่าวมีความรู้ความชำนาญในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมน้ำลึก โดย ปตท.สผ.จะยังถือหุ้นใหญ่ไม่น้อยกว่า 40-50% คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในครึ่งแรกของปีนี้

ส่วนแผนการจัดหาเงินทุนนั้น บริษัทฯยืนยันว่าหากดีลการซื้อหุ้น Cove ประสบความสำเร็จ บริษัทไม่มีความจำเป็นต้องเพิ่มทุนจดทะเบียนเนื่องจากมีกระแสเงินสดในมือสูงแต่เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการผลิต9 แสนบาร์เรลต่อวันในอนาคต ทำให้บริษัทฯ ต้องมีการลงทุนเพิ่มอีกมาก ซึ่งการเพิ่มทุนก็เป็นช่องทางหนึ่ง

ขณะเดียวกันก็มีทางเลือกในการออกหุ้นกู้ระยะยาวที่ไม่กำหนดอายุด้วย ดังนั้นการตัดสินใจขึ้นอยู่กับจังหวะและสภาพตลาดทุนในช่วงนั้น

นางสาวเพ็ญจันทร์ จริเกษม รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานการเงินและบัญชี บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน)กล่าวว่า บริษัทฯ เตรียมกู้เงินจาก 3 แบงก์ญี่ปุ่นจำนวน 300 ล้านเหรียญแคนาดาในสิ้นเดือน มี.ค.นี้ เพื่อใช้รีไฟแนนซ์หนี้ที่ครบกำหนดชำระในปีนี้จำนวน 1 พันล้านเหรียญสหรัฐ สาเหตุที่กู้เงินสกุลเหรียญแคนาดาเพื่อบาลานซ์กับพอร์ตเงินกู้ช่วยลดผลกระทบจากอัตราแลกเปลี่ยนด้วย

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 30, 2012 9:45 am
โดย pak
'กันกุล'เดินหน้าโรงไฟฟ้าพลังลมพม่าแย้มสนใจทำโรงไฟฟ้าก๊าซและดีเซล
Source - ASTV ผู้จัดการรายวัน (Th), Friday, March 30, 2012


ASTVผู้จัดการรายวัน - "กันกุล" เดินหน้าโครงการโรงไฟฟ้าพลังลม 1,000 เมกะวัตต์ที่สหภาพพม่า โดยเตรียมติดตั้งอุปกรณ์ประเมินความเร็วลมคาดได้ข้อสรุปภายใน 1-2 ปี เผยเฟสแรกทำขนาด 100 เมกะวัตต์ก่อน แย้มเจรจาหาพันธมิตรเข้าถือหุ้นประมาณ 3 รายเพื่อซัปพอร์ตด้านการเงินและกังหันลม ขณะเดียวกันสนใจทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซฯและดีเซลในพม่าด้วย ด้าน ปตท.สผ.ชี้ไทยมีความได้เปรียบและโอกาสลงทุนในพม่า โดยรัฐบาลไทยต้องเพิ่มบทบาทให้มากกว่านี้ เพื่อฉกฉวยความเป็นผู้นำในแถบอินโดไชน่ารับการเปิดAEC ในปี 58

นางสาวโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน)(GUNKUL) กล่าวภายหลังการสัมมนา Myanmar : The New Frontier Market เปิดเส้นทางสู่พม่าโอกาสใหม่ของธุรกิจไทย เตรียมพร้อมผู้ประกอบการไทยขยายตลาดสู่ประเทศเพื่อนบ้านโดยธนาคารไทยพาณิชย์เมื่อวานนี้(29 มี.ค.) ว่า บริษัทฯได้ยื่นข้อเสนอที่ทำโรงไฟฟ้าพลังลมขนาด 1,000 เมกะวัตต์ใน 3 รัฐไม่ห่างจากทวายที่สหภาพพม่า

ซึ่งได้รับอนุญาตจากรัฐบาลพม่าเรียบร้อยแล้ว ขณะนี้บริษัทฯได้ส่งพนักงานเข้าไปสำรวจพื้นที่ที่เหมาะสมในการเข้าไปติดตั้งเสาวัดลมเพื่อประเมินความแรงของลมคาดว่าจะเริ่มดำเนินการได้ในเดือนเม.ย.นี้ โดยจะใช้เวลา 1-2 ปีกว่าจะได้ข้อสรุปความเหมาะสมของพื้นที่ตั้งและขนาดกำลังการผลิตโรงไฟฟ้าพลังลม หลังจากนั้นจะดำเนินการติดตั้งเครื่องจักรทันที

ทั้งนี้ บริษัทฯอยู่ระหว่างการเจรจาหาพันธมิตรร่วมทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังลมที่สหภาพพม่าคาดว่าจะหาพาร์ตเนอร์ 3 รายเข้าร่วมทุนโดยเน้นพาร์ตเนอร์ที่เป็นเจ้าของกังหันลมและซัปพอร์ตการเงิน โดยโครงการดังกล่าวจะใช้เงินลงทุนค่อนข้างสูงถึงเมกะวัตต์ละ 100 ล้านบาท ทำให้บริษัทฯต้องหาพาร์ตเนอร์ที่มีความเข้มแข็งด้านการเงินด้วย โดยเฟสแรกบริษัทฯมองโอกาสการลงทุนไว้ 100 เมกะวัตต์ก่อนที่จะขยายกำลังการผลิตเพิ่มเติม ซึ่งกำลังการผลิตไฟฟ้าในช่วงแรกจะจ่ายไฟให้กับพม่า แต่หลังจากขยายกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นก็จะส่งขายไฟกลับมายังไทย ซึ่งสายส่งไฟฟ้าในไทยมีความพร้อมที่จะรองรับกำลังการผลิตไฟฟ้าดังกล่าวได้

นอกจากนี้ บริษัทฯยังมีแผนจะทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ดีเซลเป็นเชื้อเพลิงขนาด 5-10 เมกะวัตต์เพื่อป้อนให้กับชุมชนใกล้ๆกับทวายซึ่งพื้นที่ดังกล่าวมีโรงไฟฟ้าเดิมอยู่แล้ว โดยบริษัทฯจะเข้าไปปรับปรุงเครื่องจักรต่างๆให้ดีขึ้น ขณะเดียวกันก็มองโอกาสการทำโรงไฟฟ้าที่ใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิงในบริเวณที่มีท่อส่งก๊าซฯของ ปตท.ผ่านจากแหล่ง M9 เพื่อขายไฟฟ้าให้พม่าเนื่องจากพม่ายังขาดแคลนไฟฟ้าอีกมาก

นายธนิต โสรัตน์ รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กล่าวว่า อุตสาหกรรมไทยที่ควรจะเข้าไปลงทุนในพม่าขณะนี้คือ อุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานมาก เช่น สิ่งทอ รองเท้าประมง เกษตรและแปรรูปอาหาร โดยนักลงทุนที่เข้าไปนั้นต้องหาพันธมิตรร่วมทุนท้องถิ่นและกระแสเงินสดที่แข็งแรงจริง เนื่องจากระบบอัตราแลกเปลี่ยนยังมีปัญหาอยู่เชื่อว่าภายในปีหน้า บรรดาชาติยุโรปและสหรัฐฯจะเลิกคว่ำบาตรพม่าภายหลังการเลือกตั้งในวันที่ 1 เม.ย.นี้หลังรัฐบาลพม่าแสดงเจตนารมณ์ที่จะให้มีการเลือกตั้งมีความยุติธรรมมากที่สุด ทำให้ชาติยุโรปไม่มีข้ออ้างในการคว่ำบาตรได้อีก ซึ่งจะมีผลดีต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรมทวาย ซึ่งไทยก็เตรียมพร้อมที่จะเชื่อมโยงเส้นทางคมนาคมจากทวายมายังกาญจนบุรีและกลุ่มประเทศลุ่มน้ำโขงด้วย

นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัทปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ประเทศไทยมีความได้เปรียบและโอกาสในการเข้าไปลงทุนในพม่า ดังนั้นรัฐบาลควรจะมีบทบาทมากกว่านี้ในการนำพานักลงทุนไทยไปลงทุนในพม่าเพื่อให้ได้ประโยชน์จากการเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน(AEC)ในปี 2558 โดยใช้โอกาสนี้ให้ไทยเป็นผู้นำในแถบอินโดไชน่า

ในปีนี้บริษัทจะเจาะหลุมสำรวจเพิ่มอีก 2 หลุมในแหล่ง M3 ที่สหภาพพม่าเพื่อประเมินศักยภาพของก๊าซธรรมชาติว่ามีปริมาณเท่าใดและเหมาะที่จะต่อยอดไปสู่อุตสาหกรรมปิโตรเคมีได้หรือไม่ หลังจากมีแผนตั้งโรงแยกก๊าซฯและสร้างโรงไฟฟ้าในอนาคต สืบเนื่องจากพม่ามีความต้องการใช้ก๊าซฯเพื่อผลิตไฟฟ้ามากขึ้นดังนั้นปริมาณก๊าซฯที่ผลิตได้จากแหล่ง M3 จะขายให้กับพม่าทั้งหมด

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 30, 2012 9:48 am
โดย pak
ปตท.สผ.ย้ำแผนลงทุนไม่กระทบแม้เปลี่ยนผู้บริหาร
Source - พิมพ์ไทย (Th), Friday, March 30, 2012


นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม(PTTEP) เปิดเผยว่า การโยกย้ายผู้บริหารในกลุ่ม ปตท.ทั้ง 4 คน จะไม่มีผลกระทบต่อการดำเนินการ เพราะกลุ่ม ปตท.ได้วางแผนยุทธศาสตร์ร่วมกันมาโดยตลอด

ในส่วนของ ปตท.สผ. ก็จะยังคงทำตามแผน คือ เพิ่มปริมาณการผลิตปิโตรเลียมให้เทียบเท่าน้ำมันที่ 9 แสนบาร์เรล/วัน ในอีก 10 ปีข้างหน้า โดยมีสัดส่วนที่เท่ากัน ระหว่างการเพิ่มกำลังผลิตในประเทศ, การเพิ่มกำลังผลิตจากโครงการที่มีอยู่แล้วในต่างประเทศ และจะขยายเพิ่มเติม โดยเฉพาะในพม่า และอีกส่วนจะมาจากการลงทุนใหม่ที่จะไปพร้อมกับพันธมิตรที่มีความเชี่ยวชาญในการลงทุน รวมทั้งหาโอกาสที่จะเข้าซื้อหรือควบรวมกิจการในพื้นที่ต่าง ๆ

ส่วนโครงการลงทุนในแคนาดาหลังจากที่นายกรัฐมนตรีแคนาดามาเยือนไทยในสัปดาห์ที่แล้ว ทาง ปตท.สผ.สนใจที่จะเข้าไปลงทุนเพิ่มเติมทั้งธุรกิจก๊าซธรรมชาติเหลว(แอลเอ็นจี) และโครงการเชลล์ก๊าซ ในด้านตะวันตก เป็นการลงทุนเพิ่มเติมจากที่ขณะนี้มีการลงทุนในโครงการออยล์แซนด์แล้ว รวมทั้งหาโอกาสที่จะลงทุนในสหรัฐอีกด้วย

นายอนนต์ ยังกล่าวถึง โครงการผลิตปิโตรเลียมแหล่งมอนทารา ประเทศออส เตรเลีย คงต้องเลื่อนการผลิตเชิงพาณิชย์ออกไปจากเดิมไตรมาส 3 นี้ เป็นเดือนตุลาคม 2555 เนื่องจากติดปัญหาพายุไซโคลนทำให้การดำเนินการล่าช้าออกไป หลังจากโครงการนี้เคยเกิดเหตุการณ์น้ำมันรั่วไหลในปี 2552 โดยบริษัทตั้งเป้าหมายว่าแหล่งมอนทาราจะผลิตน้ำมันดิบได้ 3.5 หมื่นบาร์เรลต่อวัน และเชื่อว่า จะไม่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายการจำหน่ายปิโตรเลียมของ ปตท.สผ. ที่ตั้งไว้วันละ 2.84 แสนบาร์เรลต่อวัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่จำหน่ายอยู่ 2.65 แสนบาร์เรลต่อวัน

นายอนนต์ กล่าวถึงความคืบหน้าการทำคำเสนอซื้อหุ้นของ Cove Energy ซึ่งเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด Alternative Invest ment Market ตลาดหลักทรัพย์ลอนดอนประเทศอังกฤษ ที่ราคา 220 เพนซ์ต่อหุ้นคิดเป็นมูลค่าทั้งหมด 1,119.6 ล้านปอนด์ ว่ายังไม่ทราบว่าดีลดังกล่าวจะสรุปได้เมื่อใด โดยต้องรอ Cove Energy เจรจากับประเทศโมซัมบิก ซึ่งเป็นเจ้าของพื้นที่ปิโตรเลียมที่เข้าไปลงทุน และการประมูลก็เป็นกระบวน การแข่งขันใครเสนอราคาสูงก็ได้ไป

สำหรับแผนการลงทุน 5 ปีข้างหน้าปตท.สผ. ตั้งงบลงทุนไว้ 6 แสนล้านบาท ตามแผน จะใช้เงินใน การพัฒนาโครงการใหม่ที่ลงทุนแล้วประมาณ 50% โครงการปัจจุบันในการเพิ่มผลผลิตและรักษาระดับการผลิต 35% และ 15% ใช้ในโครงการสำรวจใหม่ โดยเฉพาะโครงการในปัจจุบันจะมีการลงทุนเพื่อเพิ่มผลผลิตเพิ่มอีก 25%เป็นประมาณ 4 แสนบาร์เรล/วัน จากปัจจุบันที่ 3 แสนบาร์เรล/วัน

--จบ--

Re: รวมข่าว "การลงทุนในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี"

โพสต์แล้ว: ศุกร์ มี.ค. 30, 2012 9:50 am
โดย pak
คอลัมน์: จับกระแสทั่วไทย: ปตท.จัดเวทีถกท่อก๊าซ
Source - มติชน (Th), Friday, March 30, 2012


สิงห์บุรี - เมื่อวันที่ 29 มีนาคม ที่โรงแรมโกลเด้น ดราก้อน รีสอร์ท อ.เมือง จ.สิงห์บุรี บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) จัดเวทีรับฟังความคิดเห็น เพื่อทบทวนร่างรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ของโครงการท่อส่งก๊าซธรรมชาติบนบกนครสวรรค์ เพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในทุกภาคจาก จ.นครสวรรค์ ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ประมาณ 700 คน มีส่วนร่วมแสดงความคิดเห็น และข้อเสนอแนะต่างๆ

--จบ--