http://www.oic.or.th/th/statistics/inner.php
1. การดำรงเงินกองทุนของบริษัทประกันภัย
1.1 คำนิยาม
เงินกองทุน หมายถึง ทรัพย์สินส่วนที่เกินกว่าหนี้สินของบริษัทตามราคาประเมินทรัพย์สินและ หนี้สินของบริษัทที่ประเมินตามพระราชบัญญัติประกันชีวิต พ.ศ. 2535 และพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
1.2 ข้อกำหนดในการดำรงเงินกองทุนตามกฎหมาย
1.2.1 บริษัทประกันชีวิต
บริษัทต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสองของเงินสำรองประกันภัย แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ำกว่าห้าสิบล้านบน
1.2.2 บริษัทประกันวินาศภัย
บริษัทต้องดำรงไว้ซึ่งเงินกองทุนเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าร้อยละสิบของเบี้ยประกันภัยสุทธิที่ได้รับทั้งหมด สำหรับปีปฏิทินที่ล่วงแล้ว แต่ทั้งนี้ ต้องไม่ต่ำกว่าสามสิบล้านบาท
2. การจัดสรรทรัพย์สินให้เพียงพอกับเงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้และสำรองค่าสินไหมทดแทนของบริษัทประกันวินาศภัย
2.1 ทรัพย์สินที่ต้องจัดสรรไว้ ประกอบด้วย
(1)
พันธบัตร
(2)
ตั๋วเงินคลัง
(3)
บัตรภาษีของกระทรวงการคลัง
(4)
หุ้นทุน
(5)
หุ้นกู้ - หุ้นกู้แปลงสภาพ
(6)
ตั๋วสัญญาใช้เงิน - ตั๋วแลกเงิน
(7)
หน่วยลงทุน
(8)
ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้นสามัญ - หุ้นกู้ - หน่วยลงทุน
(9)
เงินให้กู้ยืม
(10)
เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ
(11)
เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง
(12)
เงินสด
(13)
เงินฝากสถาบันการเงิน
(14)
เงินค้างรับจากการประกันภัยต่อ
(15)
เบี้ยประกันภัยค้างรับจากการรับประกันภัยโดยตรง
(16)
รายได้จากการลงทุนค้างรับ
(17)
เงินสมทบค้างรับตามมาตรา 10 ทวิ วรรค 7 แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
(18)
ลูกหนี้เงินทดรองจ่ายค่าสินไหมทดแทนตามมาตรา 10 ทวิ วรรคท้าย แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถ พ.ศ. 2535
ทรัพย์สินตาม (1) ถึง (18) ให้ถือราคาตามประกาศนายทะเบียนว่าด้วยการประเมินราคาทรัพย์สินและหนี้สินของบริษัท ซึ่งออกตามความในมาตรา 37(2) แห่งพระราชบัญญัติประกันวินาศภัย พ.ศ. 2535
2.2 เงินสำรองฯประกอบด้วย
(1) เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้
(2) สำรองค่าสินไหมทดแทน และค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
(3) เงินถือไว้จากการประกันภัยต่อ หมายถึง เงินสำรองเบี้ยประกันภัยที่ยังไม่ถือเป็นรายได้ในกรณีที่มีการเอาประกันภัย ต่อกับผู้ประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยในต่างประเทศ
2.3 ทรัพย์สินที่ต้องจัดสรรไว้ = เงินสำรองฯ
3. การวิเคราะห์อัตราส่วนสภาพคล่องของบริษัทประกันวินาศภัย
โดยการเปรียบเทียบระหว่างสินทรัพย์สภาพคล่องต่อสำรองค่าสินไหมทดแทน และค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย
3.1 สินทรัพย์สภาพคล่อง ประกอบด้วย
(1)
พันธบัตร
(2)
ตั๋วเงินคลัง
(3)
บัตรภาษีของกระทรวงการคลัง
(4)
หุ้นทุนที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
(5)
หุ้นกู้ - หุ้นกู้แปลงสภาพ
(6)
หน่วยลงทุน
(7)
ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้นสามัญ - หุ้นกู้ - หน่วยลงทุน
(8)
ตั๋วสัญญาใช้เงิน - ตั๋วแลกเงิน
(9)
หุ้นทุนที่มีการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ต่างประเทศ
(10)
เงินสด
(11)
เงินฝากสถาบันการเงิน
สินทรัพย์ตาม (1) - (11) ต้องปราศจากภาระผูกพันใด ๆ ทั้งสิ้น เว้นแต่ที่วางไว้กับนายทะเบียน
3.2 สำรองค่าสินไหมทดแทน และค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย มีดังนี้
3.2.1 สำรองค่าสินไหมทดแทน ประกอบด้วย
-
ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้มีการรายงานให้บริษัททราบ (Incurred but not reported claims : IBNR) ให้บริษัทจัดสรรไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 2.5 ของเบี้ยประกันภัยรับสุทธิย้อนหลังสิบสองเดือน
-
ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นแล้วแต่ยังไม่ได้ตกลงราคา
3.2.2 ค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย หมายถึง ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นแล้ว และตกลงราคาแล้วแต่บริษัทยังไม่ได้จ่าย
3.2.3 สำรองค่าสินไหมทดแทน และค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย ต้องเป็นค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้นจากการรับประกันภัยโดยตรง (ก่อนหักการประกันภัยต่อ)
3.3 บริษัทประกันวินาศภัยต้องมีอัตราส่วนสภาพคล่องตามมาตรฐานไม่ต่ำกว่า 100%
อัตราส่วนสภาพคล่อง = (สินทรัพย์สภาพคล่อง / สำรองค่าสินไหมทดแทนและค่าสินไหมทดแทนค้างจ่าย) x 100
4. การวิเคราะห์อัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อเงินสำรองประกันภัยของบริษัทประกันชีวิต
4.1 สินทรัพย์ลงทุน ประกอบด้วย
(1)
พันธบัตร
(2)
ตั๋วเงินคลัง
(3)
บัตรภาษีของกระทรวงการคลัง
(4)
หุ้นทุน
(5)
หุ้นกู้-หุ้นกู้แปลงสภาพ
(6)
ตั๋วสัญญาใช้เงิน-ตั๋วแลกเงิน
(7)
หน่วยลงทุน
(8)
ใบสำคัญแสดงสิทธิการซื้อหุ้นสามัญ - หุ้นกู้ - หน่วยลงทุน
(9)
เงินให้กู้ยืม
(10)
เงินลงทุนให้เช่าซื้อรถ
(11)
เงินลงทุนให้เช่าทรัพย์สินแบบลิสซิ่ง
(12)
เงินฝากสถาบันการเงินประเภทจ่ายคืนเมื่อสิ้นกำหนดระยะเวลา
(13)
เงินฝากธนาคารประเภทเงินฝากออมทรัพย์
4.2 เงินสำรองประกันภัย หมายถึง เงินสำรองประกันภัยที่บริษัทประกันชีวิตจะต้องจัดสรรจากเบี้ยประกันภัยไว้ เป็นเงินสำรองประกันภัยสำหรับกรมธรรม์ประกันภัยที่ยังมีความผูกพันอยู่ตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่รัฐมนตรีประกาศกำหนด
4.3 บริษัทประกันชีวิตต้องมีอัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุนต่อเงินสำรองประกันภัยตามมาตรฐานไม่ต่ำกว่า 100%
อัตราส่วนสินทรัพย์ลงทุน = (สินทรัพย์ลงทุน / เงินสำรองประกันภัย) x 100