หน้า 5 จากทั้งหมด 10
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2008 9:48 pm
โดย hongvalue
mprandy เขียน:ข่าวไม่ดีเด้งที่ 2
Home prices see another record plunge
Home prices fell in August for the 25th consecutive month and prices in 10 major markets plunged a record 17.7% year over year, according to a key index of real estate values released Tuesday.
The S&P Case-Shiller Home Price 10-city index dropped 1.1% for the month. The 20-city index recorded a record year-over-year decline of 16.6% with a 1% fall in August.
The indexes compare the sale prices of the same homes each year to determine price trends and are considered one of the most accurate home price gauges.
The hardest hit of all 20 cities on a year-over-year basis was Phoenix, where prices plummeted 30.7% during the past 12 months. Las Vegas prices plunged 30.6% and Miami sank 28.1%....
http://money.cnn.com/2008/10/28/real_es ... /index.htm
สรุปคือตอนนี้ CSI (20-composite) เดือน ส.ค. (ล่าสุด) = 164.57 จาก peak เมื่อ ก.ค. 2006 ที่ 206.52
ลบไปแล้ว 20.31%
โห สุดๆจริงๆเลยแต่ละข่าว
set จะเป็นยังไงน้า เจอไอ้สองสามข่าวนี้เข้าไป
มีข่าวพวกนี้ wait and see ต่อแหละเป็นกลยุทธ์ที่ดีที่สุด
สำหรับผมตอนนี้
ขอบคุณหมอด้ามากครับ
ป.ล.มีคนบอกว่าหมอด้า จบเกียรตินิยมเรียนทอง
หัวไบ่ที่สุดในรุ่นด้วยแหละ
สุดยอดเลยนะครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2008 9:56 pm
โดย hongvalue
ถ้า csi ลงแบบนี้
เดี่ยวมันก็มีปัญหาวาณิชธนกิจเจ๊งอีกนะสิครับ
แล้วเราจะดูยังไงดีล่ะว่ามันน่าจะลงไปถึงจุดไหนที่ถือว่า
ค่อนข้างต่ำแล้ว
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2008 10:14 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:
ดีใจที่หมอด้ามาโพสต่อ
ข่าวที่ว่านี้หนักจริงๆนะครับเนี้ย
จริงๆแล้วผมเองก็อยากถามต่อแต่ว่ารู้สึกเกรงใจเพราะว่า
ความรู้มันคนละระดับกันเกินไป
เหมือนผมได้แต่ถามฝ่ายเดียว
ผมเลยไปถามพี่ ih และนั่งอ่านเองเพิ่มเยอะๆ
ถ้ามั่นใจขึ้น เรากลับมาคุยกันใหม่นะครับ
ผมไม่อยากให้หมอด้า รู้สึกว่า พูดอยู่คนเดียวครับ
ผมเข้าใจความรู้สึกว่ามันน่าเบื่อ
รอหน่อยนะครับ ผมขออัดความรู้ fundflow,economic ให้เต็มที่ก่อน
เดี่ยวมีภาค 2 แน่ครับ
ไม่ต้องเกรงใจหรอกครับ ถือเป็นการค้นคว้าหาความรู้ แล้วก็เคาะสนิมตัวเองด้วย ถ้าไม่อยากให้เป็นการพูดคนเดียว น้องฮงก็คุยเรื่องอื่นสิครับ ผมจะได้อ่านบ้าง
แม้ในแง่พื้นฐานเศรษฐกิจอเมริกาจะดูแย่ แต่จริง ๆ ในแง่ market psychology ก็ไม่ได้มีแต่เรื่องร้ายอย่างเดียวหรอก
ยังจำที่ Warren Buffett ออกมาป่าวประกาศว่าถึงเวลา "ซื้อ" หุ้นแล้วได้หรือเปล่า (Buy America, I am) - ใครยังไม่ได้อ่าน ดูตามลิงค์
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=35769
http://www.thaivi.com/webboard/viewtopic.php?t=35784
มีข้อสังเกตที่น่าสนใจอยู่อย่างน้อย 2 อย่าง
1. ทุกครั้งที่ Buffett ให้ความเห็นเรื่องภาวะตลาดกับการซื้อ-ขายหุ้น เขามักจะบอกว่าตลาดตอนนี้ไม่มีอะไรน่าซื้อ เขาออกมาประกาศว่าถึงเวลา "ซื้อ" ในชีวิตนี้แค่ 3 หน และทั้ง 2 หนที่ผ่านมาได้พิสูจน์แล้วว่าเขาพูดถูก
2. ถ้าบทความของ Buffett อาจจะดูไม่น่าสนใจพอ ข้อสังเกตที่น่าสนใจไม่แพ้กันคือ ผลสะท้อนของบรรดา นักวิเคราะห์, คอลัมนิสต์เศรษฐกิจ, ผู้จัดการกองทุน หรือแม้กระทั่ง กูรู ทั้งหลาย ที่ออกมาถล่มความเห็นของ Buffett ซะไม่มีชิ้นดี
ฺBuffett is wrong
http://www.timesonline.co.uk/tol/money/ ... 013756.ece
Buffett is wrong: Avoids stocks
http://network.nationalpost.com/np/blog ... rkets.aspx
แม้กระทั่ง Wall Street Journal
http://online.wsj.com/article/SB1225060 ... yahoo_buzz
สถานการณ์ตอนนี้แสดงว่ามี widespread negativity มากมายไปหมด เป็น classical bottom อย่างหนึ่ง
ลองดูต่อไปว่า economic indicators ทั้งหลายที่จะพาเหรดประกาศออกมา ซึ่งแน่นอนว่าจะต้องดูไม่จืด จะทำให้ตลาดตอบสนองในทางลบได้อีกหรือเปล่า - ถ้าไม่ลงอีกต่อไปแล้ว น่าจะถือเป็นการยืนยัน market bottom ได้เหมือนกัน
อันนี้แค่ bottom นะครับ จะผงกหัวขึ้นเมื่อไหร่นั่นอีกเรื่อง แต่ถ้าเป็น bottom จริงถือเป็นโอกาสทองของ investor แล้วครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อังคาร ต.ค. 28, 2008 11:59 pm
โดย hongvalue
ถามหมอด้าต่อดีกว่า จะได้ช่วยเคาะสนิมให้ อิอิ
1.อยากถามว่าจริงๆแล้ว black monday สาเหตุมาจากอะไร ทำไมหุ้นถึงวูบแรงขนาดนั้นและ resolution trust fund คืออะไร ครับ ทำไมหุ้นถึงขึ้นไปได้เยอะขนาดนั้น
มันแก้ปัญหาได้ยังไงเหรอ
2.ปัญหารอบนี้ดูรูปเทียบกับ great depree กับ stag
มีความไม่เหมือนหลายอย่างตรงที่วูบหนักๆที่เดียวแล้ว
จบเลย แต่สองรอบนั้นกว่าจะ bottom กินเวลาตั้งหลายปี
3.มีคนเล่าให้ผมฟังว่า great depression มีคนว่างงานประมาณ 10% และ stag ประมาณ 8% มุมมองของหมอ
เอ็มมองว่า รอบนี้คนว่างงานน่าจะขึ้นไปถึงซักแถวไหน
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พุธ ต.ค. 29, 2008 11:31 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:ถามหมอด้าต่อดีกว่า จะได้ช่วยเคาะสนิมให้ อิอิ
1.อยากถามว่าจริงๆแล้ว black monday สาเหตุมาจากอะไร ทำไมหุ้นถึงวูบแรงขนาดนั้นและ resolution trust fund คืออะไร ครับ ทำไมหุ้นถึงขึ้นไปได้เยอะขนาดนั้นมันแก้ปัญหาได้ยังไงเหรอ
2.ปัญหารอบนี้ดูรูปเทียบกับ great depree กับ stag
มีความไม่เหมือนหลายอย่างตรงที่วูบหนักๆที่เดียวแล้ว
จบเลย แต่สองรอบนั้นกว่าจะ bottom กินเวลาตั้งหลายปี
3.มีคนเล่าให้ผมฟังว่า great depression มีคนว่างงานประมาณ 10% และ stag ประมาณ 8% มุมมองของหมอเอ็มมองว่า รอบนี้คนว่างงานน่าจะขึ้นไปถึงซักแถวไหน
สำหรับข้อ 1. และข้อ 2. จนป่านนี้ คนยังเถียงกันไม่จบเหมือนกันว่าตกลงแล้ว สาเหตุของ sharp drop เกิดจากอะไรกันแน่ แต่ที่รู้แน่ ๆ คือ
1. ราคาหุ้นขณะนั้นค่อนข้างแพงกว่าที่ควรจะเป็น เทียบกับพื้นฐาน จากกราฟของ S&P 500 จะเห็นได้ว่าดัชนีขึ้นไปสูงมาก (จากเส้นสีเขียวที่ P/E =10, เส้นสีน้ำเงิน P/E = 15 และเส้นสีแดง P/E = 20) ก่อนจะเกิด Black Monday ในปี 1987 ดัชนี DJIA สูงขึ้น 44% เทียบกับปีก่อน
2. ลักษณะการเคลื่อนไหวของดัชนีในช่วงนั้น ก่อนจะเกิด Black Monday มีความผันผวนมาก
ดัชนีขึ้นลงวันละกว่าร้อยจุดจากดัชนีที่ 2,500 (ประมาณ 4%) อยู่หลายวัน แล้วก็มีข่าวเศรษฐกิจไม่สู้จะดีช่วงก่อนตลาดปิดวันศุกร์ และเสาร์อาทิตย์
เปิดตลาดวันจันทร์ ดัชนีก็เริ่มตก แต่การตกที่ดูรุนแรงมาก (เหมือนเหว) ส่วนหนึ่งมีคนว่ามาจาก program trading และ portfolio insurance ของบรรดากองทุน และ hedge fund ทั้งหลาย ที่จะกำหนดให้เทขายเมื่อราคาหุ้นตกถึงระดับหนึ่ง พร้อม ๆ กับการ short futures ที่ตลาด CBOE/CME ไปพร้อม ๆ กันเพื่อเป็นการลดความเสี่ยงอัตโนมัติ
พอทุกคนทำเหมือนกันหมด ก็เลยกลายเป็นวงจรอุบาทว์ (vicious cycle)
เหตุผลนี้ดูน่าจะเป็นไปได้มากที่สุดเพราะลักษณะการขายที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กันในปริมาณมหาศาล และการลดลงของ future ล้ำหน้าดัชนีจริงไปมาก แต่มีคนแย้งอยู่เหมือนกันเพราะตลาดแรกที่เกิดวิกฤตครั้งนั้นคือตลาดฮ่องกง ซึ่งยังไม่มีใครใช้ program trading (เว้นเสียแต่มี hedge fund เข้าไปลงทุนในขณะนั้นแล้ว)
สำหรับ Resolution Trust Corp (RTC) ก็คล้ายกับ กองทุนฟื้นฟู + ปรส. บ้านเราสมัยต้มยำกุ้ง ที่ทำหน้าที่ take over สถาบันที่ปล่อยกู้อสังหาที่แย่ในช่วง saving and loan crisis (คล้าย ๆ ธนาคารอาคารสงเคราะห์ หรือเครดิตฟองซิเอร์) แล้วเอาหนี้เสียมาขายทอดตลาด
สำหรับข้อ 3. มีคนทำนายไว้แล้วเหมือนกันครับว่า unemployment rate น่าจะขึ้นไปถึง 7% โดย peak อยู่ที่ไตรมาส 2 และ 3 ของปีหน้า สำหรับ GDP น่าจะติดลบตั้งแต่ไตรมาส 3 ปีนี้ ไปจนถึงไตรมาส 2 ปีหน้า รวม 4 ไตรมาส (1 ปี) พอดี
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 12:30 am
โดย tummeng
คุณหมอครับ ขอถามเพิ่มหน่อยครับ
ปัญหา subprime รอบนี้ไม่กระทบธนาคารจีนเลยเหรอครับ ทำไมข่าวมันเงียบจังเลย หรือ ว่าผลกระทบกับเศรษฐกิจจีนน่ะครับ ไหนจะปัญหาเรื่องเมลามีนอีก หรือว่าต้องรอเห็นผลกระทบปีหน้า
กลัวจะเป็นข่าวร้ายสุดท้ายอันโหดร้ายจริงๆๆเลย
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 7:28 am
โดย hongvalue
ขอถาม 1 combo เลยนะหมอด้า
1.คำว่า moral hazard หมายความว่า หน่วยงานของรัฐไม่ควรเข้าไปอุ้ม บ.ล. เอกชนที่ทำธุรกิจเสี่ยงๆใช่หรือไม่
2.ถ้า yiled ของพันธบัตรเป็น downward sloping หมายความว่าอย่างไร เพราะปกติ ผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวจะต้องมากกว่าระยะสั้นนี้น้า หรือหมายความว่า
มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องในระยะสั้นครับ
3.และถ้า yiled ของพันธบัตรเป็น flat หมายความว่าคนไม่แน่ใจในทิศทางเศรษฐกิจใช่ไหมครับเลยทำให้
ผลตอบแทนระยะสั้นและยาวเท่ากัน
4.หมอด้าช่วยอธิบายความหมายของคำว่า chapter 11 หน่อยสิครับ ผมอ่านเจอในเอกสารของผมเรื่อง subprime ว่าคนที่เจ๊งจะมียื่น chapter 11 มันหมายความว่าไงเหรอครับ
5.การที่จะดูว่า ธปท แทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่
ให้ไปดูที่ forward position ถูกไหมครับ
ขอบคุณหมอด้ามากครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 7:44 am
โดย Jeng
ชอบภาพนี้มากเลยครับ ทำให้เห็นว่า pe ตลาด 15-20 ก็น่ากลัวแล้ว
และก็ชอบภาพนี้มากเลย ที่เห็นว่า black monday ลงมาแค่ 35 %
ขอบคุณอาจารย์ครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 8:04 am
โดย hongvalue
พี่ jeng ครับ
ผมยังจำคำพูดพี่ที่พูดในงานสัมนา
เลือกหุ้นสบายๆสไตล์คุณ jeng ได้
พี่บอกว่าหุ้น pe 13 ถ้าตลาดไม่ดีจะขาดทุนหนักมากเลย
แล้วก็ถ้าตลาดไม่ดีจะมีหุ้น pe 1-2 ออกมา
ปีนี้เจออย่างที่พี่พูดเลยครับ
ไปฟังพี่ jeng พูดนี้สนุกจริงๆครับ
ผมอัดเสียงไว้ยังฟังซ้ำตั้งหลายครั้ง
ขอบคุณนะครับ :lol:
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 8:28 am
โดย Jeng
[quote="hongvalue"]พี่ jeng ครับ
ผมยังจำคำพูดพี่ที่พูดในงานสัมนา
เลือกหุ้นสบายๆสไตล์คุณ jeng ได้
พี่บอกว่าหุ้น pe 13 ถ้าตลาดไม่ดีจะขาดทุนหนักมากเลย
แล้วก็ถ้าตลาดไม่ดีจะมีหุ้น pe 1-2 ออกมา
ปีนี้เจออย่างที่พี่พูดเลยครับ
ไปฟังพี่ jeng พูดนี้สนุกจริงๆครับ
ผมอัดเสียงไว้ยังฟังซ้ำตั้งหลายครั้ง
ขอบคุณนะครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 8:40 am
โดย hongvalue
[quote="Jeng"][quote="hongvalue"]พี่ jeng ครับ
ผมยังจำคำพูดพี่ที่พูดในงานสัมนา
เลือกหุ้นสบายๆสไตล์คุณ jeng ได้
พี่บอกว่าหุ้น pe 13 ถ้าตลาดไม่ดีจะขาดทุนหนักมากเลย
แล้วก็ถ้าตลาดไม่ดีจะมีหุ้น pe 1-2 ออกมา
ปีนี้เจออย่างที่พี่พูดเลยครับ
ไปฟังพี่ jeng พูดนี้สนุกจริงๆครับ
ผมอัดเสียงไว้ยังฟังซ้ำตั้งหลายครั้ง
ขอบคุณนะครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 9:18 am
โดย hongvalue
ลืมไปหมอด้าขอถามข้อที่ 6
สมมุติว่า boj ใช้ดอกเบี้ยต่ำแล้วต่างชาติไปกู้ยืมเงินมา
เวลาจะไปกู้ก็ต้องเอาดอลล่าไปแลกเยนเหรอครับ
เสร็จแล้วก็เอาเยนออกไปเช่นฝากไว้ที่อื่นที่ดอกเบี้ยสูงใช่ไหมครับ
สรุปก็คือ ถ้าตปทกู้เงิน จะเอาดอลเข้าประเทศนั้นแล้วเอาเงินประเทศนั้นออกมาเหรอครับ
ก็คือเงินเยนออกจากประเทศทำให้ค่าเงินอ่อนถูกไหมครับ
สรุปอีกทีก็คือ ตปทกู้boj>ตปทได้เงินเยน>นำเงินเยนออกนอกประเทศ>เงินเยนอ่อน
ถูกไหมครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 11:44 am
โดย mprandy
tummeng เขียน:คุณหมอครับ ขอถามเพิ่มหน่อยครับ
ปัญหา subprime รอบนี้ไม่กระทบธนาคารจีนเลยเหรอครับ ทำไมข่าวมันเงียบจังเลย หรือ ว่าผลกระทบกับเศรษฐกิจจีนน่ะครับ ไหนจะปัญหาเรื่องเมลามีนอีก หรือว่าต้องรอเห็นผลกระทบปีหน้า
กลัวจะเป็นข่าวร้ายสุดท้ายอันโหดร้ายจริงๆๆเลย
ผลกระทบคงมีแน่ครับ หนีไม่พ้นหรอก โดยเฉพาะจีนซึ่งเป็นผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก
ผลกระทบ subprime ไม่มากนัก เหตุผลส่วนหนึ่งก็เพราะว่ารัฐบาลควบคุมการไหลเข้าออกของเงินค่อนข้างเข้มงวด เลยเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทิศทางตลาดหุ้นจีนต่างจากชาวบ้านพอสมควร (ฝรั่งน้อย เข้าออกลำบาก)
ผลกระทบในระยะสั้นของจีนน่าจะเป็น
1. การด้อยค่าของมูลค่าลงทุนที่ทำไว้ก่อนเกิดวิกฤต ช่วงที่จีนเริ่มตั้ง Sovereign Wealth Fund ของตนเองและเข้าไปซื้อกิจการหรือร่วมหุ้นกับกิจการหลายแห่ง แต่คิดว่าน่าจะไม่มีปัญหามากนัก เพราะเงินเขาเป็นส่วนน้อยที่กันมาจากเงินทุนสำรอง (เยอะจนไม่รู้จะเอาไปทำอะไรแล้วนอกจากซื้อพันธบัตรสหรัฐ)
2. ธุรกิจส่งออกของจีนเอง ที่มีขนาดมหึมา และมีตลาดหลักคืออเมริกาและยุโรป เมื่อ demand ลดลงทำให้การส่งออกลำบากขึ้น และ demand ที่ลดลงมีจำนวนมากเกินกว่าการเปิดตลาดอื่นที่เล็กกว่าจะ absorb ผลผลิตส่วนเกินได้ง่าย ๆ ผมว่าน่าจะทำให้กิจการขนาดเล็กที่พึ่งพิงการส่งออกลำบาก อาจจะต้องปิดตัว หรือปลดคนงาน
เรื่องเมลามีนน่าจะเป็นผลกระทบต่อความเชื่อมั่นมากกว่า ถ้าเขาออกมาแก้ปัญหาได้สุดท้ายน่าจะจบ
GDP ของจีนคงชะลอตัวแน่ แต่ไม่น่าจะรุนแรงถึงกับติดลบ เพราะยังไงเสียคนทั่วโลกก็ยังต้องพึ่งพาสินค้าราคาถูกจากจีน แม้เศรษฐกิจอเมริกันจะแย่ แต่ยังต้องกิน ต้องใช้อยู่ดี ยิ่งของถูกยิ่งขายดี
คิดว่าแค่นี้จีนก็เหนื่อยแล้วครับ เคยมีคนประเมินว่าจีนต้องรักษา GDP growth ไว้ที่ประมาณ 6-7% จึงจะเพียงพอต่อแรงงานใหม่ที่กำลังเข้าสู่ตลาด ถ้าน้อยกว่านี้คนตกงานจะเพิ่มขึ้น
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 12:06 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:
1.คำว่า moral hazard หมายความว่า หน่วยงานของรัฐไม่ควรเข้าไปอุ้ม บ.ล. เอกชนที่ทำธุรกิจเสี่ยงๆใช่หรือไม่
ภาษาไทยที่คนคุ้นเคยกันดีคือ "ล้มบนฟูก" ครับ
Moral hazard คือภาวะที่คน ๆ หนึ่งอาจจะตัดสินใจกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดเปลี่ยนไป เมื่อรับรู้ว่าเขาไม่ต้องรับผิดชอบผลของการกระทำนั้น
เช่น ผู้บริหารสถาบันการเงินบริหารงานสุ่มเสี่ยงมาก จนมีเจ๊งหรือมีปัญหาสภาพคล่องจนสุดท้ายล้ม ผู้บริหารเหล่านั้นมักหนีไม่พ้นต้องโดนสังคมประนาม, โดนฟ้องร้องจากผู้ถือหุ้น หรือแม้กระทั่งโดนรัฐบาลหรือ FBI, SEC สอบสวน อาจติดคุกหรือโดนปรับ แต่ถ้าบริหารแบบกอดเงินไว้กับตัว อนุรักษ์นิยมสุดขั้ว ลงท้ายไม่สร้างผลกำไรให้กิจการ ผู้ถือหุ้นก็จะไม่พอใจ เงินเดือน (ที่มักผูกติดกับผลการดำเนินงาน) และเก้าอี้ตัวเองก็จะสั่นคลอน
ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้บริหารที่จะต้องพยายามชั่งน้ำหนักระหว่างการสร้างผลกำไรให้กับกิจการ โดยไม่นำกิจการไปเสี่ยงโดยไม่จำเป็น
แต่ถ้าผู้บริหารสถาบันการเงินขนาดยักษ์ ที่เชื่อว่าตนเองมีรัฐคอยหนุนหลังอยู่ ไม่มีวันล้ม อาจจะดำเนินธุรกรรมที่เสี่ยงมากขึ้น เพื่อผลกำไรที่สูงขึ้น เป็นการ please ผู้ถือหุ้น และส่งผลให้ตัวเองมีรายได้มากขึ้นด้วย - อย่างนี้เป็น moral hazard
หลายคนเชื่อว่า Freddie Mac และ Fannie Mae น่าจะอยู่ในกลุ่มหลังนี้
นอกจากนี้ financial bailout ทั้งหลาย เป็นตัวอย่างที่ทำให้สถาบันการเงินได้เรียนรู้ในอนาคตว่า ถ้าเราใหญ่ชนิด too big to fail แล้ว ยังไงก็ต้องมีคนมาช่วย เป็นการส่งเสริม moral hazard ในอนาคต เพราะสถาบันเหล่านี้จะดำเนินธุรกิจที่เสี่ยงมากขึ้น เพื่อให้ได้กำไร (และเิงินเืดือน) มากขึ้น แต่เมื่อเกิดเรื่องกลับไม่ต้องรับผลการกระทำนั้น หรือรับผลน้อยกว่าที่ควรจะเป็น
ส่วนหนึ่งของ subprime และ CDO/CDS ก็น่าจะมีปัจจัย moral hazard เข้ามาเกี่ยวด้วย (เช่น คนปล่อยกู้ subprime ไม่สนใจเรื่องความเสี่ยงของสินเชื่อประเภทนี้ เนื่องจากทันทีที่ได้สินเชื่อมาก็จะแปลงร่างมันเป็น CDO ขายออกไป ผลักความเสี่ยงไปให้คนอื่นในขณะที่ตัวเองได้กำไร)
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 12:20 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:
2.ถ้า yiled ของพันธบัตรเป็น downward sloping หมายความว่าอย่างไร เพราะปกติ ผลตอบแทนของพันธบัตรระยะยาวจะต้องมากกว่าระยะสั้นนี้น้า หรือหมายความว่า
มีปัญหาเรื่องสภาพคล่องในระยะสั้นครับ
3.และถ้า yiled ของพันธบัตรเป็น flat หมายความว่าคนไม่แน่ใจในทิศทางเศรษฐกิจใช่ไหมครับเลยทำให้
ผลตอบแทนระยะสั้นและยาวเท่ากัน
ปกติผลตอบแทนของพันธบัตร (yield) ที่มีอายุมากกว่าจะต้องสูงกว่าพันธบัตรอายุสั้น เพื่อเป็นการจูงใจให้คนยินดีจะเอาเงินมาแช่ไว้นานขึ้น และเป็น hedge against inflation ไปด้วยในตัว
เมื่อ yield ของพันธบัตรระยะยาว ไม่ต่างกับระยะสั้น (flat curve) บ่งบอกว่าเจ้าของเงินไม่แน่ใจในสภาวะของเศรษฐกิจ (ซึ่งมีผลต่ออัตราดอกเบี้ย และผลตอบแทนของการลงทุน) เขาถือ curve แบบนี้เป็น intermediate คือมันจะอยู่ระยะสั้น ๆ ก่อนจะเปลี่ยนไปทางใดทางหนึ่งระหว่าง normal curve หรือ inverted curve
inverted curve เกิดขึ้นเมื่อผลตอบแทนพันธบัตรระยะสั้นสูงกว่าระยะยาว (downward sloping) แสดงว่าเจ้าของเงินยอมให้กู้เงินยาวขึ้น แม้จะแลกมาด้วยผลตอบแทนที่น้อยกว่าระยะสั้น ลักษณะ curve แบบนี้มักพบในช่วงที่คนคาดหมายว่าเศรษฐกิจจะถดถอย หรือแย่กว่านั้นในอนาคต และคาดว่าเงินเฟ้อน่าจะไม่สูง อีกกรณีที่พบได้คือเมื่อคนแย่งซื้อพันธบัตรกันมาก ๆ เพราะพยายามย้ายเงินไปที่ปลอดภัย (flight to safety)
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 12:46 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:
4.หมอด้าช่วยอธิบายความหมายของคำว่า chapter 11 หน่อยสิครับ ผมอ่านเจอในเอกสารของผมเรื่อง subprime ว่าคนที่เจ๊งจะมียื่น chapter 11 มันหมายความว่าไงเหรอครับ
กฎหมายของรัฐบาลกลางสหรัฐ (Federal law) มีการแบ่ง code เป็นหมวดหมู่ไว้เพื่ออ้างอิง จาก Title -> Chapter -> Part -> Section -> Paragraph -> Clause คล้าย ๆ บ้านเราที่เป็น ชื่อ พรบ. -> หมวด -> มาตรา -> วรรค อะไรทำนองนี้
ใน Chapter 11 ของ Title 11 ซึ่งเป็นกฏหมายล้มละลาย (Bankruptcy Act) กล่าวถึงกระบวนการฟื้นฟูกิจการ (reorganization) เมื่อกิจการไปไม่รอดด้วยเหตุใดก็แล้วแต่ กิจการนั้นอาจยื่นต่อศาลขอล้มละลาย ผ่าน chapter 11 หมายความว่ากิจการนั้นประกาศว่าตัวเองล้มละลายแล้ว แต่ยังตั้งใจจะดำเนินกิจการต่อไปและขอให้ศาลทำหน้าที่เป็นตัวกลางในการฟื้นฟูกิจการ เช่นการนัดหารือระหว่างเจ้าหนี้ หรือระหว่างเจ้าหนี้กับลูกหนี้, การรับรองแผนฟื้นฟูกิจการทั้งหลาย
โดยปกติกิจการไหน file chapter 11 ถือว่าล้มละลายแล้ว ตลาดหุ้น NYSE จะถอดหุ้นออกจากการซื้อขาย
ยังมีอีก Chapter หนึ่งที่พบเห็นได้เหมือนกันคือ chapter 7 กรณีนี้คือการยื่นล้มละลาย และหยุดดำเนินกิจการ แล้ว liquidate ทรัพย์สินที่เหลืออยู่คืนให้กับเจ้าหนี้ตามสัดส่วนและสัญญา (ล้มละลายไปเลยจริง ๆ)
คนธรรมดาสามารถยื่นล้มละลายผ่าน chapter ทั้งสองได้เหมือนกัน จริง ๆ แล้วคนและกิจการส่วนใหญ่ยื่น chapter 7 เป็นหลัก คือยึดทรัพย์ ล้างหนี้ ประนอมหนี้กัน ไม่ค่อยเจอ chapter 11 หรอก
เข้าใจว่าที่เขาใช้คำนี้ เนื่องจากคนรู้จัก chapter 11 มากกว่า เพราะข่าวกิจการใหญ่ ๆ ล้มมักจะเข้า chapter 11 แทนที่จะเป็น chapter 7
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 2:25 pm
โดย Ryuga
โอ กระทู้นี้สนุกจริงๆ
ถามอาจารย์แพรนดี้ jewelra ด้วยคนดีกว่า ตอนนี้ผมแอบเชียร์ McCain ซะแล้ว อาจารย์ว่าผลเลือกตั้งจะ landslide มั้ยคับ :o
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 2:57 pm
โดย mprandy
[quote="Ryuga"]โอ กระทู้นี้สนุกจริงๆ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 8:13 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:5.การที่จะดูว่า ธปท แทรกแซงค่าเงินบาทหรือไม่
ให้ไปดูที่ forward position ถูกไหมครับ
คือผมก็ไม่เคยทำงานใน ธปท. เลยไม่สามารถบอกได้จริง ๆ ว่าเขาทำกันยังไง โดยหลักการก็ถูกครับ แต่ไม่เสมอไป เพราะ ธปท. สามารถเข้าไปแทรกแซงผ่าน spot market ก็ได้ มักจะเป็นเงินไม่มากเพราะมีผลกับทุนสำรองทันที โดยมากธนาคารกลางมักจะแทรกแซง spot market ในตอนตลาดปิดช่วงสุดสัปดาห์
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 8:24 pm
โดย mprandy
เอารูปนี้มาฝากพี่เจ๋ง ขนาด Black Monday ว่าน่ากลัว เจอสมัยหลัง ๆ นี่หนาวเลย :shock:
ยิ่งผลประกอบการแย่ เส้นสามสีก็ต้องร่วงลงมาอีก ดูดัชนี S&P พื้นฐานหุ้นโดยรวมน่าจะยังแพงอยู่ดี
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 8:30 pm
โดย Jeng
ปัจจุบัน หุ้นเมกา ลงหนักกว่า black monday ใช่เป่า อาจารย์
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 9:30 pm
โดย ignorant
ถามคุณหมอ mprandy หน่อยครับ เกี่ยวกับ preferred shares ของสถาบันการเงินที่มั่นคง เช่น Manulife, Bank of Montreal จึงลงในช่วงนี้ ทั้งๆที่ดอกเบี้ยก็ลดลงต่ำมากๆแล้ว แล้วก็ panic sale ของกองทุนรวมก็หยุดแล้ว ผมถือ preferred shares อยู่แต่ละตัวเพื่อเป็น passive incomes บ้าง อัตราเงินปันผล 5% โดยเฉลี่ยจ่ายทุกไตรมาส แต่เห็นราคามันตลาดลง 30% ทั้งนั้น ทั้งที่ไม่ได้มีข่าวร้ายอะไรเลย ไม่ได้กลัวสถาบันมันเจ๊งหรอก แต่เห็นตัวเลขติดลบในพอร์ตแล้วเซ็งครับ ช่วยอธิบายเหตุผลหน่อยครับ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: พฤหัสฯ. ต.ค. 30, 2008 9:35 pm
โดย hongvalue
หมอด้า
มองเรื่อง ที่ญี่ปุ่น อัดฉีดสภาพคล่องเข้าไปในระบบเยอะๆว่ายังไงบ้างอะครับ
ช่วยให้แก้ปัญหาได้จริงอะ
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 02, 2008 3:57 pm
โดย mprandy
hongvalue เขียน:
สมมุติว่า boj ใช้ดอกเบี้ยต่ำแล้วต่างชาติไปกู้ยืมเงินมา
เวลาจะไปกู้ก็ต้องเอาดอลล่าไปแลกเยนเหรอครับ
เสร็จแล้วก็เอาเยนออกไปเช่นฝากไว้ที่อื่นที่ดอกเบี้ยสูงใช่ไหมครับ
สรุปก็คือ ถ้าตปทกู้เงิน จะเอาดอลเข้าประเทศนั้นแล้วเอาเงินประเทศนั้นออกมาเหรอครับ
ก็คือเงินเยนออกจากประเทศทำให้ค่าเงินอ่อนถูกไหมครับ
สรุปอีกทีก็คือ ตปทกู้boj>ตปทได้เงินเยน>นำเงินเยนออกนอกประเทศ>เงินเยนอ่อน
ถูกไหมครับ
ถ้าคิดตามหลักความเป็นจริง การที่ประเทศญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้ากับทั่วโลก โดยเฉพาะกับอเมริกาอย่างมหาศาลนับแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 ทำให้ญี่ปุ่น (เคย) เป็นประเทศที่มีทุนสำรองมากที่สุดในโลก
ควรจะทำให้ค่าเงินญี่ปุ่นแข็งขึ้นเรื่อย ๆ
แต่การที่ญี่ปุ่นได้เปรียบดุลการค้าอย่างนี้ไปเรื่อย ๆ โดยไม่ทำอะไรเลยย่อมไม่ยั่งยืน ไม่ช้าก็เร็วเขาต้องถูกต่อต้านด้วยการกีดกันทางการค้า นอกจากนี้ค่าเงินที่แข็งขึ้นย่อมทำให้ความสามารถในการส่งออกสินค้าลดลงไปเรื่อย ๆ สินค้าญี่ปุ่นมีราคาแพงขึ้น และคนจะหันไปหาสินค้าที่มีราคาถูกกว่า
ดังนั้นญี่ปุ่นจึงต้องทำทุกวิถีทางที่จะทำให้ค่าเงินของตนเองแข็งค่าขึ้นน้อย และช้าที่สุดเท่าที่จะทำได้ (ทำขนาดนี้แล้ว ค่าเงิน Yen/US dollar แข็งขึ้นจากประมาณ 300Y/USD เมื่อปี 1970 มาเป็นปัจจุบันที่ราว ๆ 100Y/USD)
วิธีการควบคุมค่าเงินของญี่ปุ่นมีหลายอย่างแต่ที่คนรู้ดีก็คือ
วิถีห่านบิน (flying geese paradigm) ที่โยกย้ายฐานการผลิตส่วนที่เป็นแรงงาน (labor intensive) ไปยังต่างประเทศ เช่นแถบเอเชียตะวันออก และอาเซียน ส่วนประเทศตนเองเป็นส่วนกิจการสนับสนุนเงินทุน (capital intensive) แทน การทำเช่นนี้ทำให้เงินที่ควรจะเข้าสู่ประเทศจากการได้เปรียบดุลการค้า ถูกโยกออกนอกประเทศไปลงทุนในประเทศเหล่านั้น นอกจากนี้ฐานการส่งออกจากนอกประเทศญี่ปุ่นช่วยลดแรงกดดันการกีดกันการค้าลง
อีกวิธีที่ธนาคารกลางใช้อยู่ เพื่อหวังผลชะลอการซบเซาและถดถอยของเศรษฐกิจ รวมถึงได้ประโยชน์เรื่องค่าเงินด้วย คือการควบคุมอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำ (ที่ 0% อยู่หลายปี และอยู่แถว ๆ นั้น ไม่เกิน 0.5% เป็นส่วนใหญ่) ผลก็คือมีเงินไหลออกจากประเทศ ไปลงทุนในรูปเงินกู้สกุลต่าง ๆ หรือลงทุนในหุ้น, สินค้าโภคภัณฑ์ทั่วโลก (yen carry trade)
ดังนั้นดอกเบี้ยที่ต่ำของ BoJ (ปัจจุบันอยู่ที่ 0.3%) ทำให้เงินไหลออก (ส่วนใหญ่จาก carry trade) และค่าเงินอ่อนลง
เคยมีคนบอกว่า ถ้า BoJ ขึ้นดอกเบี้ยแรง ๆ ซักหนนึง (เช่นจาก 0.3 -> 1% ทันที) วิกฤตอาจจะหนักกว่า subprime ตอนนี้อีก เพราะ carry trade ที่มีอยู่ในโลกนี้ก็เกือบ 6 ล้านล้าน US dollar
มีใครสังเกตหรือเปล่าครับว่า ตั้งแต่เกิด liquidity crisis (LIBOR กระฉูด) ค่าเงิน US dollar เทียบกับสกุลอื่นแข็งค่าขึ้นหมดทั่วโลก ยกเว้นเทียบกับ Yen (Yen vs US dollar แข็งขึ้น 10-11% และ Yen vs Euro แข็งขึ้น 18%) ทั้งหมดนี้น่าจะเป็นผลจาก carry trade ที่ไหลกลับส่วนหนึ่ง
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 02, 2008 4:04 pm
โดย mprandy
[quote="ignorant"]ถามคุณหมอ mprandy หน่อยครับ เกี่ยวกับ preferred shares ของสถาบันการเงินที่มั่นคง เช่น Manulife, Bank of Montreal จึงลงในช่วงนี้ ทั้งๆที่ดอกเบี้ยก็ลดลงต่ำมากๆแล้ว แล้วก็ panic sale ของกองทุนรวมก็หยุดแล้ว
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 02, 2008 4:29 pm
โดย por_jai
ยุ่นมีห่านบิน
ไทยมีห่านคู่
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 02, 2008 4:42 pm
โดย hongvalue
[quote="por_jai"]
ยุ่นมีห่านบิน
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 02, 2008 5:34 pm
โดย mprandy
Jeng เขียน:ปัจจุบัน หุ้นเมกา ลงหนักกว่า black monday ใช่เป่า อาจารย์
สมัย Black Monday
-22.26%
สมัยนี้ จากประมาณ 14,000 เหลือตอนนี้ 9,300
-33.39% (ถ้านับจุดต่ำสุด so far ก็ 8,175
-41.6%)
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: อาทิตย์ พ.ย. 02, 2008 5:52 pm
โดย A man from the Islay
ผมเก็บมาจาก MNG เห็นว่าน่าสนใจ และก็น่าจะเข้ากับเรื่องนี้ครับ
รองผู้ว่าการธนาคารโลก วิเคราะห์ จีนกับวิกฤตโลก
โดย ผู้จัดการออนไลน์ 31 ตุลาคม 2551 09:06 น.
"หลินอี้ฟู" นักเศรษฐศาสตร์ชาวจีน ที่ก้าวขึ้นบริหารธนาคารโลก
ซินจิงเป้า หลังจากไปรับตำแหน่งรองผู้ว่าการธนาคารโลกเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา "หลินอี้ฟู" นักเศรษฐศาสตร์ชื่อดังชาวจีน ได้กล่าวถึง วิกฤตการเงินโลกและผลกระทบต่อจีน ในระหว่างที่เขาเดินทางกลับมาเยี่ยมบ้านว่า จีนซึ่งเป็นประเทศกำลังพัฒนาย่อมได้รับผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ การส่งออกจะลดลงอย่างชัดเจน รวมทั้งต้องเผชิญหน้ากับการขาดแคลนเงินลงทุนอีกด้วย
ทั้งนี้ หลินอี้ฟู เตือนว่า ประเทศกำลังพัฒนาเป็นหน้าด่านที่สองที่จะเผชิญกับผลกระทบจากวิกฤต
รองผู้ว่าการธนาคารโลก หลินอี้ฟู ได้ไปร่วมงานสัมมนานานาชาติ ในโอกาสระลึกถึงการครบรอบ 30 ปีนโยบายปฏิรูปและเปิดประเทศเมื่อวันที่ 26 ต.ค. พร้อมกันนี้เขาได้ตอบคำถามเกี่ยวกับ วิกฤตเศรษฐกิจโลก ดังนี้
1. จีนจะช่วยโอบอุ้มวิกฤตโลกครั้งนี้ ?
ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ นานาชาติต่างจับตาว่า จีนในฐานะประเทศที่มีอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจสูงที่สุดในโลกว่าจะมีบทบาทอย่างไรบ้าง
หลินอี้ฟู ประมาณการณ์ว่าในปีหน้าเศรษฐกิจจีนจะเติบโตระหว่าง 8% - 9% ซึ่งการรักษาเศรษฐกิจให้เติบโตต่อเนื่อง ถือเป็นคุณูปการสำคัญของจีนต่อวิกฤตเศรษฐกิจโลกครั้งนี้ เขามองว่าในปี 2009 การใช้จ่ายของผู้บริโภคและการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์จะเป็นตัวจักรสำคัญที่ขับเคลื่อนเศรษฐกิจจีน
เมื่อเติบกับการเติบโตในอัตราเลขสองหลักในอดีต ถึงแม้ว่าจะลดลง 2 - 3% แต่ก็ถือว่าจีนจะมีอัตราการเติบโตที่รวดเร็วที่สุดในโลกอยู่ดี
ทั้งนี้ ทางการจีนเพิ่งออกมาตรการฟื้นฟูภาคอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งหลายคนก็สงสัยว่า มาตรการนี้จะเป็นการแก้ปัญหาหนึ่ง แล้วสร้างอีกปัญหาหนึ่งขึ้นมาหรือไม่?
หลินอี้ฟู ตอบว่า ต้องดูว่ามาตรการครั้งนี้เป็นการปรับโครงสร้าง หรือเป็นแค่มาตรการเฉพาะหน้า ทั้งนี้เพราะมาตรการทุกอย่างต้องขึ้นอยู่กับขอบเขตที่ใช้ด้วย
2. ไป "ช้อปปิ้งของถูก" ที่อเมริกา? ตอนนี้ยังไม่ใช่โอกาสที่ดี
หลายฝ่ายให้ความเห็นว่า นักลงทุนชาวจีนน่าจะใช้โอกาสนี้เข้าซื้อกิจการต่างๆในสหรัฐอเมริกา
แต่รองผู้ว่าการธนาคารโลกชาวจีนผู้นี้ กลับเห็นว่า ช่วงนี้ยังไม่ใช่โอกาสที่ดีที่จะลงทุนในสหรัฐ เนื่องจาก ความจริงแล้วจีนยังถือเป็นประเทศที่ขาดแคลนเงินทุน GDP ต่อประชากร ยังเทียบกับประเทศร่ำรวยไม่ได้ หลินอี้ฟู เห็นว่า จีนควรใช้เงินสำรองระหว่างประเทศไปจัดหาทรัพยากร หรือไม่ก็ช่วยส่งเสริมให้สินค้าจีนเข้าสู่ตลาดสากล นอกจากนี้ยังสามารถใช้เงินลงทุนเพื่อยกระดับเทคโนโลยีก็ได้
3. นำเงินสำรองมาอุ้มตลาด? ถ้าทำเช่นนั้นก็จะเกิดวิกฤตรอบใหม่
ขณะนี้มีหลายฝ่าย บอกว่า จีนน่าจะนำเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ ที่มีสูงถึง 2 ล้านล้านเหรียญสหรัฐ มาช่วยอุ้มตลาด
แต่ หลินอี้ฟู อธิบายว่า เงิน 2 ล้านล้านนี้ไม่ใช่เงินสดทั้งหมด แต่ส่วนใหญ่เป็นพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งถ้าเทขายออกก็จะนำไปสู่วิกฤตรอบใหม่
จีนเผชิญกับวิกฤตการเงินครั้งนี้ ใบสั่งยา ที่สำคัญ คือ กระตุ้นการใช้จ่ายภายในประเทศ ซึ่งมีมีที่ว่างที่จะขยายตัวอีกมาก เช่น ลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน การรักษาพยาบาล รวมทั้งการประกันสังคม และที่สำคัญที่สุด คือ ต้องไม่ละเลยภาคชนบท ซึ่งเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุด หลินอี้ฟูกล่าว
4. กำแพงกีดกันทางการค้าจะเพิ่มขึ้น? ลัทธิกีดกันการค้าของยุโรปและสหรัฐจะไม่เข้มข้นเหมือนเดิม
เนื่องจากการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจโลก ทำให้หลายฝ่ายกังวลว่า สินค้าส่งออกจากจีนจะเผชิญกับการแข่งขันจากสินค้าของยุโรปและสหรัฐ ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการจ้างงาน และนำไปสู่การกลับมาของลัทธิกีดกันทางการค้าในยุโรปและสหรัฐ
หลิน อี้ฟู มองว่า สินค้าส่งออกจากจีนส่วนใหญ่เป็นเครื่องใช้ประจำวันที่จำเป็นของผู้บริโภคชาวตะวันตก ซึ่งถึงแม้ว่าชาวยุโรปจะมีรายได้ลดลง ใช้จ่ายน้อยลง ภาวะเช่นนี้กลับจะทำให้สินค้าราคาประหยัดจากจีนขายดียิ่งขึ้น พวกเขายิ่งต้องการของใช้ประจำวันที่ราคาถูกลง จึงเป็นไปไม่ได้ที่ลัทธิกีดกันทางการค้าจะกลับมา
หลิน อี้ฟู หรือ จัสติน หลิน พื้นเพเป็นชาวไต้หวัน แต่ในปี 1978 เขาได้สร้างตำนานอันลือเลื่องด้วยการ ลักลอบว่ายน้ำข้ามช่องแคบ เพื่อมาศึกษาต่อยังแผ่นดินใหญ่ โดยเขาเข้าศึกษาต่อที่มหาวิทยาลัยปักกิ่ง จนจบเป็นมหาบัณฑิตสาขาเศรษฐศาสตร์การเมือง ต่อมาหลินสำเร็จการศึกษาระดับดุษฎีบัณฑิตด้านเศรษฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัยชิคาโกในปี 1986 โดยหลินเป็นนักศึกษาชาวจีนคนแรกที่สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกทางด้านเศรษฐศาสตร์จากสหรัฐฯ ในยุคที่จีนดำเนินการปฏิรูปและเปิดประเทศ หลิน อี้ฟู เพิ่งรับตำแหน่ง รองผู้ว่าการธนาคารโลก ซึ่งมีฐานะเป็นหัวหน้าเศรษฐกรขององค์กรด้วยเมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา
ขอถามอาจารย์หมอ mprandy เรื่อง usa หน่อยครับ
โพสต์แล้ว: จันทร์ พ.ย. 03, 2008 5:23 pm
โดย noooon010
ส่วนผม รอคุณสวนหย่อมเปลี่ยน icon แล้วจะทำการซื้อครับ
(ล้อเล่นนะครับ) :lol: