ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

เชิญมาพักผ่อน คลายร้อนนั่งเล่น คุยกันเย็นๆ พร้อมเรื่องกีฬา สัพเพเหระ ทัศนะนานา ชีวิตชีวา สุขภาพทั่วไป บันเทิงขำขัน รอบเรื่องเมืองไทย ชวนเที่ยวที่ไหน อยากไปก็นัดมา ...โย่วๆ
WaveRider965
Verified User
โพสต์: 84
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 121

โพสต์

ถูกต้อง
อย่างคดีเชอรี่แอน นี่เห็นชัด
ข้อมูลไม่ถูกต้อง ข้อมูลไ่ม่ครบถ้วน ส่งศาลทำไม
ศาลเชื่อข้อมูลที่ส่งมา ตัดสินผิดๆแบบนั้น เสียเครดิตหมดเลย
ศาลน่าจะไม่รับพิจารณาตั้งแต่ต้น
เอาให้แน่ชัด ต้องให้มัดแน่นหนา ถึงจะรับพิจารณา
จะได้ไม่มัวหมอง...




เต่านอกกะลา ... เริงร่าในทุนนิยม (9)
ภาพประจำตัวสมาชิก
เพื่อน
Verified User
โพสต์: 1826
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 122

โพสต์

อย่างคดีเชอรี่แอน นี่เห็นชัด
ข้อมูลไม่ถูกต้อง ข้อมูลไ่ม่ครบถ้วน ส่งศาลทำไม
แล้วซุกหุ้นนี่ ยังไม่ชัดอีกเหรอครับ....ยังมีคนมองไม่เห็นเจตนาอีกเหรอครับ.....หรือว่าเค้าบกพร่องโดยสุจริตนี่เป็นข้อยกเว้นสำหรับผู้มีอำนาจ(เงิน)ครับ
ภาพประจำตัวสมาชิก
เพื่อน
Verified User
โพสต์: 1826
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 123

โพสต์

ผมว่าถกกันไปถกกันมาก็วนเวียนอยู่ที่เดิมนะ

ฝ่ายที่รักชอบนายก ก็จะตอบว่าให้เอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อย่างเดียว ทุกคนต้องทำตาม....และจะไม่รับฟังความคิดเห็นที่เป็นด้านลบของนายกอีกเลย(ทั้งๆที่รู้ว่ามีด้านลบ แต่ก็คิดว่าเป็นข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยสมควรจะลืมๆไปเสีย)...ใครถามอะไรเค้าก็จะไม่ตอบบอกให้ไปหาหลักฐานมาฟ้องศาล(ซึ่งศาลก็ไม่รับพิจารณาอยู่ดี)เรื่ององค์กรอิสระ(รวมทั้งศาลด้วย)หรือการตรวจสอบไม่สมควรนำมาตอบในกระทู้....จะบอกเพียงว่าเสียงส่วนใหญ่ว่าแบบนี้ก็ต้องแบบนี้เท่านั้นซึ่งเป็นประชาธิปไตย บางคนยอมรับว่ามีการโกงกิน แต่เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กที่ยอมรับได้เมื่อเทียบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ(ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะชั่วคราวหรือถาวร...อีกหน่อยก็คงเห็นเอง)

ฝ่ายที่ไม่ชอบนายก(ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย..มั้ง?)ก็พยายามจะบอกว่ามีอะไรบ้างที่เป็นข้อบกพร่องและต้องการคำตอบ และเห็นว่าข้อบกพร่องนั้นเป็นข้อสำคัญอย่างมาก พยายามชี้ให้เห็นข้อสงสัยต่างๆ(บางอย่างเห็นได้ชัดเจนมากโดยไม่ต้องมีหลักฐานด้วยซ้ำ)ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบและการปล่อยให้องค์กรอิสระต่างๆทำงานโดยไม่มีการแทรกแทรง เพื่อความยุติธรรมของระบบและการพัฒนาประชาธิปไตยแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนใหญ่(ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายรักชอบนายก...บางคนถึงกับบอกว่าคนที่ไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ไม่สมควรอยู่ในประเทศไทยด้วย)

สรุปแล้วคุยกัน...แต่ไม่ฟังกัน....มันก็วนเวียนอยู่ที่เดิม ไม่รู้จักจบ...ต่างคนต่างคิดว่าตัวเองถูก
Jeng
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 14783
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 124

โพสต์

โค้ด: เลือกทั้งหมด

สรุปแล้วคุยกัน...แต่ไม่ฟังกัน....มันก็วนเวียนอยู่ที่เดิม ไม่รู้จักจบ...ต่างคนต่างคิดว่าตัวเองถูก
แต่ผมสรุปว่า พูดไปเหอะ มีคนฟังแน่นอน แต่อาจะไม่แสดงตัว
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 125

โพสต์

เขาถึงมีกลอนที่ว่า
สองคนยลตามช่อง คนหนึ่งมองเห็นโคลนตม
อีกคนตาแหลมคม เห็นดวงดาวอยู่พราวพราย
ถ้า
มองลอดช่องที่ฝาบ้าน ช่องเดียวกัน ก็ยังดี
ครั้งแรก
คนแรก ดูไปที่พื้นนา คนที่สอง ดูขึ้นท้องฟ้า
ครั้งที่สอง
คนแรก อาจกลับดูไปที่ท้องฟ้า  คนที่สอง อาจกลับไปดูที่ท้องนา ก็ได้

แต่ถ้า
คนแรกมองลอดช่องกระดานพื้นกระต๊อบ ก็ต้องเห็นแต่โคลนตมอยู่วันยังค่ำ
คนที่สองมองลอดช่องสังกะสีมุงหลังคาผุๆ ก็ต้องเห็นแต่ท้องฟ้าวันยังค่ำ

เหมือนคนสองคน
ของทุกอย่างในโลกนี้มีทั้งดีและร้าย
คนที่มองโลกในแง่ร้าย  มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกแต่แง่ร้ายของมัน
คนที่มองโลกในแง่ดี มองทุกสิ่งทุกอย่างในโลกแต่ในแง่ดีของมัน
ถามว่า สองคนนี้ ใครจะอยู่อย่างเป็นสุข ในโลกนี้มากกว่ากัน
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
MisterK
Verified User
โพสต์: 857
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 126

โพสต์

เพื่อน เขียน:ผมว่าถกกันไปถกกันมาก็วนเวียนอยู่ที่เดิมนะ

ฝ่ายที่รักชอบนายก ก็จะตอบว่าให้เอาเสียงข้างมากเป็นเกณฑ์อย่างเดียว ทุกคนต้องทำตาม....และจะไม่รับฟังความคิดเห็นที่เป็นด้านลบของนายกอีกเลย(ทั้งๆที่รู้ว่ามีด้านลบ แต่ก็คิดว่าเป็นข้อบกพร่องเพียงเล็กน้อยสมควรจะลืมๆไปเสีย)...ใครถามอะไรเค้าก็จะไม่ตอบบอกให้ไปหาหลักฐานมาฟ้องศาล(ซึ่งศาลก็ไม่รับพิจารณาอยู่ดี)เรื่ององค์กรอิสระ(รวมทั้งศาลด้วย)หรือการตรวจสอบไม่สมควรนำมาตอบในกระทู้....จะบอกเพียงว่าเสียงส่วนใหญ่ว่าแบบนี้ก็ต้องแบบนี้เท่านั้นซึ่งเป็นประชาธิปไตย บางคนยอมรับว่ามีการโกงกิน แต่เห็นว่าเป็นเรื่องเล็กที่ยอมรับได้เมื่อเทียบกับการเติบโตทางเศรษฐกิจ(ซึ่งยังไม่รู้ว่าจะชั่วคราวหรือถาวร...อีกหน่อยก็คงเห็นเอง)

ฝ่ายที่ไม่ชอบนายก(ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย..มั้ง?)ก็พยายามจะบอกว่ามีอะไรบ้างที่เป็นข้อบกพร่องและต้องการคำตอบ และเห็นว่าข้อบกพร่องนั้นเป็นข้อสำคัญอย่างมาก พยายามชี้ให้เห็นข้อสงสัยต่างๆ(บางอย่างเห็นได้ชัดเจนมากโดยไม่ต้องมีหลักฐานด้วยซ้ำ)ให้ความสำคัญกับการตรวจสอบและการปล่อยให้องค์กรอิสระต่างๆทำงานโดยไม่มีการแทรกแทรง เพื่อความยุติธรรมของระบบและการพัฒนาประชาธิปไตยแต่ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเสียงส่วนใหญ่(ซึ่งตรงข้ามกับฝ่ายรักชอบนายก...บางคนถึงกับบอกว่าคนที่ไม่ฟังเสียงส่วนใหญ่ไม่สมควรอยู่ในประเทศไทยด้วย)

สรุปแล้วคุยกัน...แต่ไม่ฟังกัน....มันก็วนเวียนอยู่ที่เดิม ไม่รู้จักจบ...ต่างคนต่างคิดว่าตัวเองถูก

ไม่ใช่แค่สองฝ่ายหรอกครับ  ต้องมี

-  ฝ่ายที่ไม่ได้ชอบนายก    แต่คิดว่าการจะปลดต้องทำตามกติกาไม่ควรใช้การเดินขบวนหรือวิธีรุนแรง    อยากให้เดินตามกติกาถึงจะยากหน่อย  แต่อยู่ใต้กรอบรัฐธรรมนูญเดียวกันก็ต้องยอมรับ

- ฝ่ายแค้นนายก   ถล่มทุกเรื่อง   เรื่องไม่เป็นเรื่องก็ขุดขึ้นมา   เรื่องไหนจริงก็เสริมแต่งให้ชั่วร้ายมาก ๆ  คนจะได้ช่วยกันไล่

- ฝ่ายที่เป็นกลางแต่คิดว่านายกคนนี้ก็ยังมีข้อดีอยู่เยอะ   กล้าปราบยาเสพติด    ทำให้หนองงูเห่าที่คิดว่าชาตินี้ไม่เกิดแน่เกิดได้    ถึงจะมีปัญหาคอรัปชั่นหรืออื่น ๆ   ฝ่ายนี้ก็ยังชั่งใจอยู่

ที่จริงผมว่าตอนนี้สถานการณ์มั่วมาก   ฝ่ายต่าง ๆ มีเยอะไปหมด    จนผมเองยังงงว่าตัวเองอยู่ฝ่ายไหนกันแน่   :oops:
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 127

โพสต์

bsk(มหาชน) เขียน: เข้าใจว่าขณะนี้ปปช.ยังไม่เกิด ยังอยู่แค่ขั้นคัดเลือกคณะกรรมการสรรหา

และคณะกรรมการสรรหาก็เสนอชื่อเพื่อให้วุฒิสภาพิจารณา จำไม่ผิดก็ 18 ท่าน

แล้ววุฒิสภาก็คัดเลือกเหลือกี่ท่าน 7 หรือ 9 ไม่แน่ใจ เพื่อนำขึ้นทูลเกล้าฯต่อไป

ช่องทางตรงนี้ก็ต้องรอไปก่อน ซึ่งไม่ทราบว่านานเท่าใด มีกรอบของระยะเวลาหรือไม่


กรณีที่มีหลักฐานที่เชื่อว่าทุจริตประพฤติมิชอบจริง ชัดเจน

ก็คงจะใช้ช่องทางฟ้องแพ่งหรืออาญาก็ว่ากันไป

กรณีคู่ความมีสถานะเท่าเทียมกันก็ใช้หลักกฎหมายเอกชน และศาลทั่วไป


แต่หากเป็นเอกชนกับรัฐ ก็น่าจะเข้ากับหลักกฎหมายมหาชน

เพราะสถานะของคู่ความไม่เท่าเทียมกัน

ซึ่งสว.ใช้ช่องทางนี้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญ


ประเด็นก็คือศาลรัฐธรรมนูญมีหลักการในการตีความอย่างไร

ตีความแบบแพ่งพาณิชย์อาญาตามตัวอักษรอย่างเคร่งครัด


หรือตีความตามหลักกฎหมายมหาชน ซึ่งมีเป้าหมายสำคัญ หรือวัตถุประสงค์ของกฎหมายนั้น คือ ประโยชน์สาธารณะ โดยคำนึงถึงสิทธิประโยชน์ที่บุคลลเอกชนจะพึงมีตามกฎหมาย
มีบรรดาอาจารย์สายนิติศาสตร์กลุ่มหนึ่ง 50 ท่านยื่นหนังสือให้ตุลาการศาลรธน.พิจารณาตัวเอง

โดยเหตุผลข้อหนึ่งที่ยื่น คือ....
...๓.การที่ศาลรัฐธรรมนูญปฏิเสธไม่รับคำร้องด้วยเหตุผลว่าคำร้องเคลือบคลุมไม่ชัดเจนนั้น เห็นได้ชัดเจนว่าตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างมากทั้ง ๘ ท่าน ไม่เข้าใจรัฐธรรมนูญ และไม่เข้าใจบทบาทหน้าที่ตามรัฐธรรมนูญของตนเอง

เรื่องนี้มิใช่คดีแพ่งที่เป็นเรื่องเอกชนฟ้องร้องเอกชน ที่ศาลมีอำนาจที่จะไม่รับการฟ้องร้องได้ แต่กรณีนี้เป็นคดีมหาชน ที่ต้องใช้ระบบไต่สวน ซึ่งรัฐธรรมนูญกำหนดให้ ส.ส. และ ส.ว. เป็นผู้ชี้มูลให้ศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนว่า มีรัฐมนตรีคนหนึ่งคนใดกระทำการอันเป็นการต้องห้ามที่ถึงขั้นต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่

การดำเนินการให้ข้อเท็จจริงปรากฏออกมาจึงเป็นอำนาจหน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่อำนาจหน้าที่ของ ส.ว. ผู้ร้อง ถ้าศาลรัฐธรรมนูญไต่สวนแล้ว ไม่ปรากฏว่า พ.ต.ท. ทักษิณ ชินวัตร มีการกระทำอันเป็นการต้องห้ามตามมาตรา ๒๐๙ ศาลรัฐธรรมนูญจึงจะยกคำร้องได้

ในระบอบประชาธิปไตยจำเป็นต้องมีการแบ่งแยกอำนาจ เพื่อให้เกิดการตรวจสอบถ่วงดุล โดยฝ่ายตุลาการมีหน้าที่ตรวจสอบควบคุมการใช้อำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่ให้มีการละเมิดกฎหมายหรือมีการกระทำที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีหน้าที่เป็นผู้พิทักษ์รัฐธรรมนูญ ไม่ให้มีการละเมิดกติกาสูงสุดของบ้านเมือง
...
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่....

50นักวิชาการ14สถาบันชี้ ตุลาการศาลรธน.พิจารณาตัวเอง
Zionism
Verified User
โพสต์: 1260
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 128

โพสต์

ดู คห. ของนักกฎหมายกันดู

มีตั้งแต่นักศึกษากฎหมาย ทนาย อัยการ ผู้พิพากษา

http://www.thaijustice.com
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 129

โพสต์

อืมม..เว็บนี้ดีจัง แต่ตัวกะพริบทำเอาตาลายเหมือนกัน ดึกๆวิกาลอย่างนี้... :shock:

ก็มีบางคนสงสัยว่า..

เมื่อครั้งที่ 8 สว.ยื่นเรื่องต่อศาลรธน.เกี่ยวกับกระบวนการสรรหาผู้ว่าสตง.มิชอบด้วยระเบียบขั้นตอนการสรรหา

ทำไมตอนนั้นถึงรับพิจารณา ...

แล้วทำไม 27 สว.กับกรณีท่านนายกฯ ศาลกลับยกคำร้อง... :roll:

เรื่องแรกแค่ผิดหรือไม่ผิดขั้นตอนระเบียบ(อ่านเพิ่มเติมที่กระทู้ผู้ว่าสตง.คับ)..รับเรื่อง

เรื่องหลังผิดหรือไม่ผิดรธน...ไม่รับเรื่อง
ภาพประจำตัวสมาชิก
ครรชิต ไพศาล
สมาชิกกิตติมศักดิ์
โพสต์: 4623
ผู้ติดตาม: 1

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 130

โพสต์

ในกรณีนี้ ศาลรัฐธรรม ไม่ได้ปิดโอกาสในการที่
ผู้กล่าวหานำโดยคุณ แก้วสรร จะไปหาหลักฐานมาอ้างอิงประกอบคำกล่าวหาให้ครบถ้วน
แล้วนำมายื่นใหม่ได้

แต่ภายหลัง ผู้กล่าวหานำโดยคุณ แก้วสรร บอกว่า ไม่อาจหาหลักฐานมาอ้างอิงคำกล่าวหาได้
จึงขอยุติคำกล่าวหา
ความสุขอื่น ยิ่งกว่าความสงบใจไม่มี นตฺถิ สนฺติ ปรํ สุขํ
หัดเล่น Facebook กะเขาบ้างแล้วนะครับ ใช้ชื่อ Kanchit Paisan ครับ
Facebook เพจ Eps16year Settrade Set ตลาดหลักทรัพย์ งบดุล ปันผล อัตราส่วนการเงิน กราฟ
Google เพจ kanchitpaisan
Google+ KANCHIT PAISAN
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 131

โพสต์

ศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยคำร้อง 28 ส.ว.ได้หรือ?

โดย คณิน บุญสุวรรณ 28 กุมภาพันธ์ 2549 02:15 น.


             กรณีที่ 8 ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ มีมติไม่รับวินิจฉัยคำร้องของ 28 ส.ว.ที่ยื่นตามรัฐธรรมนูญมาตรา 96 เพื่อให้พิจารณาวินิจฉัยสถานภาพของนายกรัฐมนตรี ที่ส่อว่าได้กระทำการอันเป็นลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 209 ซึ่งจะต้องพ้นจากตำแหน่งตามมาตรา 216 (6) เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2549 นั้น นับเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญหลายคน อาจจะยังไม่เข้าใจเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ รวมทั้งสาระสำคัญในอำนาจหน้าที่ของตนตามรัฐธรรมนูญอย่างถ่องแท้ก็เป็นได้ เพราะถ้าเทียบกันระหว่างการยื่นคำร้องของ 28 ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 96 เพื่อให้วินิจฉัยสถานภาพของนายกรัฐมนตรีในครั้งนี้กับการยื่นคำร้องผ่านประธานรัฐสภาของ 7 ส.ว.ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 266 เพื่อให้วินิจฉัยสถานภาพของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ในฐานะผู้ว่าฯ สตง.แล้วถือว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจชนิด กลับหัวกลับหาง กันเลยทีเดียว  
   
       กรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 266 นั้น รัฐธรรมนูญได้ให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญเต็มที่ที่จะรับหรือไม่รับวินิจฉัย เรื่องที่สงสัยว่าจะเป็นความขัดแย้งระหว่างองค์กร แต่ศาลรัฐธรรมนูญในครั้งนั้นก็ได้ใช้อำนาจ รับวินิจฉัย ทั้งๆ ที่ไม่ใช่เรื่องความขัดแย้งระหว่างองค์กรเลยแม้แต่นิดเดียว และที่สำคัญไม่ได้เกี่ยวกับสถานภาพของผู้ดำรงตำแหน่งใดๆ อีกต่างหาก
     
       แต่สำหรับกรณีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 96 นั้น เจตนารมณ์จะกลับกันกับมาตรา 266 อย่างสิ้นเชิง เพราะเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาเข้าชื่อกันครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดคือ จำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบ และส่งผ่านประธานวุฒิสภาไปยังศาลรัฐธรรมนูญ แล้วศาลรัฐธรรมนูญมีหน้าที่อย่างเดียวคือ วินิจฉัย สถานภาพของผู้ถูกร้องว่าจะต้องพ้นจากตำแหน่งหรือไม่เท่านั้น แต่ในกรณีนี้ศาลรัฐธรรมนูญจะ วินิจฉัย ได้อย่างไร ถ้าศาลรัฐธรรมนูญเอง ไม่รับวินิจฉัย เสียแล้วตั้งแต่ต้น? ซึ่งอันที่จริงศาลรัฐธรรมนูญไม่มีอำนาจที่จะ ไม่รับวินิจฉัย คำร้องในกรณีดังกล่าว ทั้งนี้ โดยจะสังเกตได้จากถ้อยคำในตอนท้ายของมาตรา 96 วรรคหนึ่งที่ระบุว่า ...ให้ประธานแห่งสภาที่ได้รับคำร้องส่งคำร้องนั้นไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อวินิจฉัยว่า สมาชิกภาพของผู้นั้นสิ้นสุดลงหรือไม่
     
       ดังนั้น เมื่อตุลาการเสียงส่วนใหญ่ของศาลรัฐธรรมนูญ ลงมติไม่รับวินิจฉัยคำร้องของ 28 ส.ว.จึงเท่ากับศาลรัฐธรรมนูญกระโดดข้ามขั้นตอนไปตัดสินเลยว่า นายกรัฐมนตรีไม่ผิดและไม่ต้องพ้นจากตำแหน่ง ทั้งๆ ที่ศาลรัฐธรรมนูญยังไม่ได้รับกรณีนี้เข้าสู่กระบวนการวินิจฉัยที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญและข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญเลย ขนาดศาลยุติธรรมจะตัดสินรับฟ้องหรือไม่รับฟ้อง ยังต้องไต่สวนมูลฟ้องก่อนเลย
     
       เหตุผลของตุลาการเสียงข้างมากหลายคนที่ระบุว่า เหตุที่ไม่รับวินิจฉัยเพราะหลักฐานและข้อกล่าวหาไม่ชัดเจนนั้น ชี้ให้เห็นว่า ตุลาการเหล่านั้นได้ใช้อำนาจตัดสินไปแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิดตามข้อกล่าวหาเช่นนี้ จะพูดได้หรือไม่ว่าตุลาการเสียงส่วนใหญ่ของศาลรัฐธรรมนูญ ได้ใช้อำนาจเกินเลยไปกว่าและข้ามขั้นตอนตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด?
     
       ยิ่งถ้านำไปเปรียบเทียบกับกรณีที่ศาลรัฐธรรมนูญรับวินิจฉัยคำร้องของ 7 ส.ว.ที่ยื่นผ่านประธานรัฐสภาตามมาตรา 266 เกี่ยวกับสถานภาพของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ในฐานะผู้ว่าฯ สตง.แล้ว ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่มีมาตรฐานอันแน่นอนตายตัว ที่จะรับหรือไม่รับวินิจฉัยคำร้องในกรณีต่างๆ กัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กรณีที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ
     
       พูดง่ายๆ ว่าคำร้องที่ ไม่ควรรับ ก็กลับรับ ทีคำร้องที่ ต้องรับ กลับไม่รับเสียเฉยๆ อย่างนั้นแหละ    
 
       ถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญสามารถใช้อำนาจในลักษณะเช่นนี้ได้ ต่อไปศาลรัฐธรรมนูญก็จะมีอำนาจล้นฟ้าที่จะรับหรือไม่รับกรณีใดก็ได้ เพราะไม่ต้องยึดโยงกับบรรทัดฐานใดๆ ขึ้นอยู่กับความรู้สึกของแต่ละคนที่ว่า คำร้องมีความชัดเจนหรือไม่เป็นคราวๆ ไป
     
       ข้ออ้างที่ตุลาการเสียงส่วนใหญ่นำมาแถลงต่อสาธารณะว่า ข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญ ที่จะรับหรือไม่รับวินิจฉัยกรณีใดก็ได้ นั้น ก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากข้ออ้างของศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อคราวที่รับวินิจฉัยและชี้ว่ากระบวนการสรรหาผู้ว่าฯ สตง.ของคุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ไม่ชอบด้วย ระเบียบคณะกรรมการตรวจเงินแผ่นดินว่าด้วยการสรรหาผู้ว่าฯ สตง. นั่นแหละ
     
       แต่ต่างกันชนิด เดินสวนทางกัน ก็ตรงที่ว่า เมื่อครั้งที่พิจารณาคำร้องเรื่องผู้ว่าฯ สตง.นั้น ศาลรัฐธรรมนูญได้ตัดสินไว้ก่อนแล้วว่า คุณหญิงจารุวรรณ มาตามกระบวนการสรรหาที่ไม่ถูกต้อง จึงได้รับวินิจฉัย แต่ครั้งนี้ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไว้ก่อนแล้วว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ไม่มีความผิด จึงไม่รับวินิจฉัย
     
       กรณีที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงส่วนใหญ่อ้างว่า ตุลาการทุกคนมี อิสระ ในการพิจารณาพิพากษาคดีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 249 นั้น เป็นการตีความอำนาจหน้าที่ของตนเองแบบมองด้านเดียว เพราะแท้ที่จริงนั้น คำว่า อิสระ ที่ว่านั้น ไม่ได้หมายถึง ตามอำเภอใจ แต่เป็น อิสระ ที่จะใช้ดุลพินิจให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ และที่สำคัญเป็น อิสระ ที่จะพิจารณาให้ความยุติธรรมแก่สังคมและประโยชน์สาธารณะไม่ใช่ อิสระ ที่จะโอบอุ้มบุคคลใดบุคคลหนึ่งตามที่ตนเห็นสมควร
     
       การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงส่วนใหญ่เลือกที่จะใช้อำนาจตาม ข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญ แทนที่จะยึดถือบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญอย่างเคร่งครัด ย่อมสะท้อนให้เห็นว่า เป็นการใช้ อิสระ ตาม อำเภอใจ อย่างชัดเจน เพราะนอกจากจะไม่คำนึงถึงหรือเข้าใจคำว่า เอกสิทธิ์ ของ ส.ส. ส.ว.ซึ่งเข้าชื่อกันครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญ ซึ่งเป็นกฎหมายสูงสุดแล้วยัง ถือโอกาส ตัดสินคดี เสียก่อนที่คดีจะถูกนำเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมของศาลที่อยู่ในเขตอำนาจของตนอีกด้วย
     
       มีรัฐธรรมนูญอยู่หลายมาตราที่บัญญัติเกี่ยวกับ สิทธิการเข้าชื่อของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภา ซึึ่งถือเป็น ผู้แทนปวงชนชาวไทย ตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งเมื่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภา ได้ทำการเข้าชื่อกันครบถ้วนตามจำนวนและเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญมาตรานั้นๆ แล้ว การเข้าชื่อดังกล่าว ก็จะมีฐานะเป็น เอกสิทธิ์ ที่องค์กรใดหรือบุคคลใดจะปิดกั้นขัดขวางมิให้เข้าสู่กระบวนการในขั้นต่อไปมิได้ ตัวอย่างเช่น การเข้าชื่อร้องขอให้วุฒิสภาถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 304 การเข้าชื่อเสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไปเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจตามมาตรา 185 และมาตรา 186 และการเข้าชื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานภาพของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองตามมาตรา 96 เป็นต้น โดยจะสังเกตได้ว่า ในทุกมาตราดังกล่าว ใช้คำว่า มีสิทธิเข้าชื่อ ดังนั้น เมื่อ ส.ส.หรือ ส.ว.เข้าชื่อครบถ้วนตามเงื่อนไขที่กำหนดไว้ในแต่ละมาตราแล้ว องค์กรที่มีหน้าที่ดำเนินการ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา ป.ป.ช.หรือศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ต้องรับไว้พิจารณาก่อนเป็นเบื้องต้น ส่วนที่ว่าเมื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของแต่ละองค์กรแล้ว ผลจะเป็นอย่างไร ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งซึ่งถือเป็น เอกสิทธิ์ ของแต่ละองค์กรที่จะตัดสิน
     
       เช่นนี้ย่อมหมายความว่า ต่างฝ่ายต่างก็มี เอกสิทธิ์ ของตนเอง กล่าวคือ ส.ว. 28 คน ก็มี เอกสิทธิ์ ที่จะนำคำร้องของพวกตนเข้าสู่กระบวนการพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ เพราะได้เข้าชื่อครบถ้วนตามมาตรา 96 แล้ว ขณะเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญก็มี เอกสิทธิ์ ที่จะวินิจฉัยว่า นายกรัฐมนตรีต้องพ้นจากตำแหน่งเนื่องจากมีลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 209 หรือไม่
     
       ดังนั้น การที่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญไม่รับวินิจฉัยสถานภาพของนายกรัฐมนตรี ที่ 28 ส.ว.เข้าชื่อยื่นมาตามมาตรา 96 จึงเป็นการใช้อำนาจหน้าที่ก้าวล่วง เอกสิทธิ์ ของ ส.ว.ที่เข้าชื่อตามรัฐธรรมนูญ ขณะเดียวกัน 28 ส.ว.ที่เข้าชื่อยื่นและถูกปฏิเสธไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยก็เท่ากับถูก ละเมิดสิทธิ ตามรัฐธรรมนูญไปเรียบร้อยแล้ว      

       ก็เพราะอย่างนี้แหละครับ ผมถึงได้ยืนยันมาตลอด ว่าปัญหาวุ่นวายทั้งหลายที่เกิดขึ้นกับสังคมการเมืองบ้านเรานั้น มันไม่ได้เป็นเพราะรัฐธรรมนูญ แต่เป็นเพราะ คน ต่างหาก เมื่อปัญหาเกิดที่คน ก็ควรต้องไปแก้ที่คนจึงจะถูก ไม่ใช่มาแก้ที่รัฐธรรมนูญ
     
       ดังนั้น การที่นายกรัฐมนตรีเรียกประชุมอธิการบดีทั่วประเทศ เพื่อระดมสมองแก้รัฐธรรมนูญเมื่อวันก่อนนั้น ถ้าไม่มีเจตนาที่จะเบี่ยงเบนประเด็นหรือซื้อเวลาอย่างที่ผู้คนเขานินทากันแล้วก็ต้องบอกว่า ท่านนายกฯ เดินไปผิดทางแล้วครับ!
ภาพประจำตัวสมาชิก
bsk(มหาชน)
Verified User
โพสต์: 3206
ผู้ติดตาม: 0

ศาลรัฐธรรมนูญ ไม่รับวินิจฉัย ซุกหุ้นนายก

โพสต์ที่ 132

โพสต์

มองมุมใหม่:ระบบกล่าวหากับระบบไต่สวน

ชำนาญ จันทร์เรือง
1 มีนาคม 2549

พลันที่ศาลรัฐธรรมนูญได้มีมติ 8 ต่อ 6 ไม่รับคำร้องของนายแก้วสรร อติโพธิ สมาชิกวุฒิสภาและคณะที่ประธานวุฒิสภาส่งไปให้วินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีของนายกรัฐมนตรีสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 96 มาตรา 216 และมาตรา 209 หรือไม่นั้น นอกเหนือจากที่จะเป็นปัจจัยเร่งของการชุมนุมของฝ่ายที่อยู่ตรงกันข้ามกับรัฐบาล จนในที่สุด ต้องยุบสภาดังที่ทราบกันทั่วไปแล้ว แต่ยังได้จุดประเด็นของการถกเถียงในปัญหาข้อกฎหมายขึ้นมาอีกอย่างกว้างขวาง โดยฝ่ายที่เห็นด้วยก็บอกว่าถูกแล้วเพราะเป็นดุลยพินิจของศาล ส่วนฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็โต้แย้งว่าไหนว่าศาลรัฐธรรมนูญใช้ระบบวิธีพิจารณาคดีแบบไต่สวนไง ยังไม่ทันได้ไต่สวนหาข้อเท็จจริงอย่างเพียงพอ ก็มีมติไม่รับคำร้องเสียแล้ว

จึงอยากจะเรียนว่าในได้อธิบายไว้พอระบบวิธีพิจารณาคดีในศาลที่ใช้กันนั้น มีระบบวิธีพิจารณาคดีอยู่ 2 ระบบ เรียกว่า ระบบกล่าวหา (Accusatiorial System) กับระบบไต่สวน (Inquisitorial System) ซึ่งศาสตราจารย์ ดร.หยุด แสงอุทัย ที่จะสรุปได้ว่า

ระบบกล่าวหานั้น มีที่มาจากประเทศอังกฤษและกลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมาย ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law) เช่น สหรัฐอเมริกา นิวซีแลนด์ แคนาดา ฯ หลักการของระบบกล่าวหา มีวิวัฒนาการจากการแก้แค้นกันระหว่างผู้กระทำผิดกับผู้เสียหาย โดยผู้เสียหายฟ้องคดีอาญาเพื่อลงโทษผู้กระทำผิดด้วยตนเอง แล้วรวบรวมพยานหลักฐานมานำสืบความผิดของจำเลยในศาล

ส่วนศาลหรือผู้พิพากษาจะวางตัวเป็นกลางโดยเคร่งครัด เหตุผลที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะมีแนวความคิดมาจากการพิจารณาคดีในสมัยโบราณ ซึ่งใช้วิธีทรมาน (trial by ordeal) และทำให้ทั้งสองฝ่ายต่อสู้คดีกันเอง (trial by battle) ส่วนศาลจะทำหน้าที่เป็นคนกลางหรือกรรมการ ต่อมาได้วิวัฒนาการมาเป็นการเอาพยานมาพิสูจน์ความผิดของจำเลย โดยฝ่ายโจทก์จะเอาพยานที่เป็นพรรคพวกของตนมาเบิกความกล่าวหาจำเลย ส่วนจำเลยก็เอาพวกของตนมาเบิกความรับรองความบริสุทธิ์ของตนให้ศาลฟังแล้วตัดสินคดีไปตามน้ำหนักพยานของแต่ละฝ่าย จากการที่ใช้วิธีการต่อสู้คดีกันนั้นเอง ระบบกล่าวหาจึงให้ความสำคัญอย่างสูงต่อหลักเกณฑ์ต่อไปนี้คือ

1. หลักการสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้บริสุทธิ์จนกว่าจะพิสูจน์ให้ศาลเชื่อโดยปราศจากข้อสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิดจริง

2. ถือหลักสำคัญว่าโจทก์และจำเลยมีฐานะในศาลเท่าเทียมกัน

3. ศาลจะวางตนเป็นกลางโดยเคร่งครัด ทำหน้าที่เหมือนกรรมการตัดสินกีฬาคอยควบคุมให้ทั้งสองฝ่ายปฏิบัติตามกฎหมายลักษณะพยานโดยเคร่งครัดการปฏิบัติผิดหลักเกณฑ์อาจถูกศาลพิพากษายกฟ้องได้

4. ศาลจะมีบทบาทค้นหาความจริงน้อยมาก เพราะถือว่าเป็นหน้าที่ของคู่กรณีหรือคู่ความจะต้องแสวงหาพยานมาแสดงต่อศาลด้วยตนเอง

ส่วนระบบไต่สวนนั้นในทางทฤษฎียอมรับกันว่าระบบไต่สวนมีที่มาจากศาลทางศาสนาของคริสต์ศาสนา นิกายคาทอลิกในสมัยกลาง ซึ่งทางศาสนจักรโดยเฉพาะอย่างยิ่งสันตะปาปาแห่งกรุงโรม มีอิทธิพลเหนือฝ่ายอาณาจักรคือ กษัตริย์หรือเจ้าผู้ครองนครต่างๆ ในสมัยกลาง มีวิธีการพิจารณาคดีผู้กระทำผิดเกี่ยวกับกฎหมายของทางศาสนาด้วยวิธีการซักฟอกพยาน ในรูปของคณะกรรมการที่เกี่ยวข้องกับคดีโดยตรง คือ พระผู้ทำการไต่สวนกับผู้กระทำผิดที่เป็นผู้ถูกไต่สวน โดยไม่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นคนกลาง

ดังนั้น ในศาลศาสนา ผู้ไต่สวนจึงต้องทำหน้าที่แสวงหาพยานหลักฐาน ซักถามพยานและชำระความโดยไต่สวนคดีด้วยตนเองตลอด และด้วยที่ศาสนจักรมีอิทธิพลเหนือฝ่ายอาณาจักร ระบบศาลของฝ่ายอาณาจักรจึงได้รับอิทธิพลและได้วิวัฒนาการมาเป็นระบบไต่สวนในปัจจุบัน

ตามระบบไต่สวน ศาลไม่ได้ทำหน้าที่วางตัวเป็นกลางอย่างเคร่งครัดเหมือนระบบกล่าวหา แต่จะทำหน้าที่ค้นหาความจริงด้วยตนเอง ศาลจะมีบทบาทในการดำเนินคดีอย่างสูง ผิดกับในระบบกล่าวที่ศาลมีบทบาทน้อยมาก เพราะต้องวางตัวเป็นกลาง โดยที่ระบบไต่สวนเน้นในเรื่องการค้นหาความจริงเป็นหลัก ดังนั้น กฎเกณฑ์ในการดำเนินคดี เช่น การสืบพยาน การดำเนินการต่างๆ ในศาลจึงยืดหยุ่นกว่าระบบกล่าวหา

จากที่มาของระบบกล่าวหากับระบบไต่สวนที่ได้กล่าวไว้ข้างต้น จะทำให้เราเห็นหลักการสำคัญที่ว่าเมื่อใดที่คู่ความหรือคู่กรณีมีสถานะเท่าเทียมกันแล้ว การใช้ระบบกล่าวหาจะเกิดความเป็นธรรมแก่ทั้งสองฝ่าย เพราะเป็นเรื่องที่ต่างฝ่ายต่างต้องปกป้องรักษาสิทธิของตนเอง แต่ถ้าเมื่อใดที่คู่กรณีหรือคู่ความมีสถานะไม่เท่าเทียมกันแล้ว การใช้ระบบไต่สวนย่อมจะเหมาะสมและเป็นธรรมแก่คู่กรณีฝ่ายหนึ่งอยู่ในสถานะเสียเปรียบ เช่น กรณีพิพาทระหว่างราษฎรหรือเอกชนกับรัฐ เป็นต้น เพราะพยานหลักฐานต่างๆ มักจะอยู่ในการครอบครองของฝ่ายรัฐเสียเป็นส่วนใหญ่ จึงเป็นการยากที่ฝ่ายราษฎรจะนำสืบหรืออ้างพยานหลักฐานตามระบบกล่าวหาที่มีหลักว่า "ผู้ใดกล่าวอ้าง ผู้นั้นนำสืบ" โอกาสที่จะชนะคดีสำหรับราษฎรหรือเอกชน จึงเป็นไปได้ยาก

สำหรับประเทศไทยเรานั้นได้มีการใช้ระบบกล่าวหาสำหรับคดีแพ่งและคดีอาญา (เว้นในศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง) และใช้ระบบไต่สวนในคดีที่ใช้อำนาจตามกฎหมายมหาชนในศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครอง และศาลฎีกาแผนกคดีอาญาสำหรับผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

ฉะนั้น การที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติไม่รับคำร้องของนายแก้วสรรและพวกไว้วินิจฉัย โดยให้เหตุผลว่าคำร้องมิได้แสดงให้เห็นว่าการกระทำใดของนายกรัฐมนตรีเป็นการเข้าไปบริหาร จัดการเกี่ยวกับหุ้น ฯลฯ แต่มิได้ไต่สวนแสวงหาเท็จจริงจนเป็นที่ยุติเสียก่อน จึงสร้างความกังขาต่อบรรดานักกฎหมายทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งนักกฎหมายมหาชนเป็นอย่างยิ่งว่า ตกลงแล้วศาลรัฐธรรมนูญใช้ระบบกล่าวหาหรือระบบไต่สวนในการพิจารณาคดีกันแน่

เพราะการกระทำเช่นนี้เสมือนหนึ่งเป็นการตัดฟ้องหรือยกฟ้อง เพราะเหตุคำฟ้องเคลือบคลุมในระบบกล่าวหา ซึ่งไม่สามารถนำมาใช้ในระบบไต่สวนได้ จึงเป็นเรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญควรจะต้องมีคำอธิบายให้กระจ่างชัดกว่านี้ นอกเหนือจากเพียงการยกข้อกำหนดของศาลรัฐธรรมนูญมาเป็นเหตุผลในการที่จะไม่รับคำร้องไว้วินิจฉัยเท่านั้น