ผมว่าที่เรามักจะมองข้ามความเสี่ยง ส่วนหนึ่งน่าจะเพราะข้อมูลรอบตัวเรามักจะสื่อไปในทาง upside ครับ story ของหุ้นต่าง ๆ ตามสื่อ หรือที่ใคร ๆ บอกมาก็แล้วแต่ ส่วนใหญ่มักจะเป็นเรื่องทำนองนี้ ประมาณว่า ซื้อได้หรือไม่ได้ก็ไปพิจารณาเอาเองนั่นเอง คือในความเป็นจริงมันไม่ได้มีหมายเหตุมาต่อท้ายคอยเตือนเราทุกครั้ง พอเราได้ยิน ความโลภก็เกิด ความกลัวตกรถก็เกิด ยิ่งสภาวะตลาดแบบนี้ยิ่งกระตุ้นความโลภ เห็นเค้าลุยแล้วหุ้นขึ้นเอา ๆ ก็กลัวจะไม่ทันคนรอบข้าง ระเบียบวินัยที่เคยตั้งไว้ก็หย่อนยาน พอลองทำไปซักครั้ง ก็รู้สึกว่าเอ่อมันก็ไม่มีอะไรนี่นา เราอาจจะเวอร์ ขี้กลัวเกินไปดำ เขียน: รอ อ.อ่านแล้วมา commnent นี่ล่ะครับ คันมือมาตั้งแต่อ่านจบแล้ว เล่มนี้เป็นหนังสือเล่มเดียวในรอบหลายปีที่ผมใช้เวลาถึง 3 วัน 2 คืนอ่านแบบรวดเดียวจบ (ก่อนหน้านี้ส่วนใหญ่จะเป็นพวกนิยายกำลังภายในครับ อิอิ)
หนังสือเล่มนี้ช่วยเปิดโลกทัศน์ด้านความเสี่ยงให้ผมเลยครับ ที่ผ่านมาผมเคยพอเข้าใจเรื่องนี้มาบ้างและคิดว่าตัวเองได้ใส่ใจพอสมควรแล้ว แต่พออ่านเล่มนี้จบปุ๊บ รู้เลยว่าที่ผ่านมายังประมาทในการตัดสินใจอยู่อีกมาก (และน่าจะเป็น 1 ในเหตุผลหลักๆ ที่ทำให้ยังไม่ประสบความสำเร็จในการลงทุน) จุดเด่นของหนังสือเล่มนี้อีกอย่างน่าจะเป็นเรื่องมุมมองในการลงทุนทั้งในแง่ศาสตร์และศิลป์อย่างที่อ.ว่าล่ะครับ เพราะไม่ได้มองการลงทุนด้วยเหตุผลด้านเดียว แต่ให้ความสำคัญในการมองด้านจิตวิทยาด้วย (อธิบายจุดอ่อนจุดแข็งของ Efficient Market Theory ได้ดีครับ)
เรื่องความขยัน ที่จริงต้องมีแนวคิดหรือความเชื่อหรือหลักการที่ถูกต้องเป็นตัวกำกับเพื่อนำทาง ความขยันถึงจะเห็นผลสัมฤทธิ์ครับ ถ้าไม่งั้นจะเข้าข่าย "โง่แต่ขยัน" ซึ่งอาจเป็นโทษมหันต์ได้ด้วยซ้ำครับ ในทางพุทธศาสนาถึงยกสัมมาทิฏฐิ (ความเห็นถูก) ว่ามีความสำคัญอันดับแรกในองค์มรรคครับ
หารู้ไม่ว่าจริง ๆ แล้ว downside, risk, MOS ซึ่งจะเรียกอย่างไรก็แล้วแต่ "เราจะไม่ค่อยเห็นประโยชน์ของมันยามตลาดเป็นขาขึ้น แต่เราจะเห็นประโยชน์ของมันก็ต่อเมื่อตลาดเป็นขาลง" เปรียบเสมือนถังดับเพลิง ยามภาวะปกติเราไม่เคยสนใจมัน บางทีเรากลับมองว่าคนที่เอามาติดเสียเงินเอาของมาตั้งทิ้งไว้ให้รกด้วยซ้ำ แต่ถ้าเมื่อไหร่เกิดไฟไหม้นั่นแหละเราถึงจะเข้าใจประโยชน์ของถังดับเพลิง ฉันใดก็ฉันนั้นครับ
การประเมินความเสี่ยงผมว่ามันขึ้นกับตัวของเราด้วยครับ ผมเองก็อ่านหนังสือมาหลายเล่ม จะว่าไปก็ไม่เคยมีเล่มไหนที่กล้าเขียนไว้ชัดเจนว่า ที่เรียกว่า MOS นั้นมันควรจะอยู่ในระดับเท่าไหร่ ผมเคยคิดว่ามันคงขึ้นอยู่กับเราครับ อย่างผมเองรู้ตัวเองว่าเป็นคนมีนิสัยไม่ชอบคัทลอสหุ้น (ถ้าไม่จำเป็น) นั่นแปลว่าผมจะไม่พยายามเข้าไปซื้ออะไรให้ผิดพลาดตั้งแต่ตอนแรก ในขณะที่บางคนเค้าอาจจะยอมรับได้มากกว่า ยอมผิดบ่อยขึ้นแค่ต้องรู้ตัวให้เร็วและรีบคัทลอสก่อน จะด้วยวิธีอะไรก็แล้วแต่ เค้าอาจจะมี MOS ที่น้อยกว่าเราก็ได้ครับ
ไม่ว่าหุ้นจะดีหรือไม่ดี มีตำหนิหรือไม่ ตัวผมเองถ้ารู้ว่าหุ้นตัวนั้นมีตำหนิ ผมก็จะยิ่งให้ MOS ที่ว่ามันมากขึ้น เหมือนต้องคิดหลาย ๆ สถานการณ์ว่าถ้าตัวเร่งแต่ละตัวมันไม่ทำงาน มันจะเกิดอะไรขึ้น เราจะคาดการณ์มันได้มากน้อยแค่ไหน ถ้าความเสี่ยงแต่ละอย่างมันเกิดขึ้นเราจะเสียหายมากน้อยแค่ไหน เอาด้านบวกด้านลบมาหักล้าง ถ้าด้านบวกมากกว่าลบมาก ๆ ก็น่าสนใจครับ
ตัวเร่งแต่ละตัวก็ต้องวางน้ำหนักให้ชัดเจนครับ ว่าตัวไหนมีผลมาก ก็ต้องเจาะข้อมูลตรงนั้นให้มาก ส่วนตัวเร่งประเภทคาดเดาไม่ได้หรือประเภทน้ำจิ้มจะไม่เน้น ถ้าได้ก็ถือว่าเป็นโบนัส
ว่ากันตามตรง หลัง ๆ ตัวเองก็เลยไม่ค่อยเน้นเรื่องการพยายามประเมินอะไรออกมาเป็นตัวเลข บางทีเหมือนใช้ความน่าจะเป็นมากกว่าด้วยซ้ำ แต่เราเลือกได้ครับ หุ้นตัวไหนเสี่ยงเกินไปก็อย่าไปซื้อ หุ้นที่เสี่ยงน้อย low risk high return ผมว่ามันมีอยู่จริงครับ ขอแต่เพียงอดทน เข้าใจ เราจะได้เจอแน่นอนครับ แล้วคำว่า low risk มันไม่ได้แปลว่าไม่มี risk นะครับ เพียงแต่เทียบกับหุ้นตัวอื่น ๆ มันน้อยกว่ามากครับ
แต่ในหนังสือเขียนเรื่องการซื้อเฉลี่ยขาลงได้ไม่ค่อยชัดเจนนะครับ เหมือนจะแนะนำให้ทำ ซึ่งจริง ๆ แล้วผมว่าคนเขียนเค้าอาจจะลืมไปเรื่องหนึ่งว่าก่อนจะทำต้องแน่ใจก่อนว่าเราไม่ได้คิดผิด พอดีผมยังอ่านไม่จบถ้ามีประเด็นน่าสนใจจะมาว่ากันอีกทีครับ