Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก

ล็อคหัวข้อ
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 1

โพสต์

คำศัพท์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับ Financial Numbers Game
Aggressive accounting
Earnings management
Income smoothing
Fraudulent financial reporting
Creative accounting practices

Aggressive Accounting
การเลือกและนำหลักการบัญชีใดมาใช้ ด้วยความ จงใจที่จะให้บรรลุผลลัพธ์ที่ต้องการ ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ก็คือการสร้างกำไรของงวดปัจจุบันให้สูงขึ้น ไม่ว่าวิธีทางบัญชีที่เลือกมาปฏิบัตินั้นจะสอดคล้องกับ GAAP หรือไม่
แทนที่จะใช้ความยืดหยุ่นทางด้านการรายงานที่มีอยู่เพื่อนำเสนอข้อมูลทางการเงินอย่างถูกต้องตามควร กิจการกลับเลือกและใช้หลักการบัญชีนั้นไปในเชิงรุก
กิจการจะรุกไปเกินกว่าขอบเขตและขยายความยืดหยุ่นของGAAPออกไปจนบางครั้งเกินขอบเขตที่กำหนดไว้
วัตถุประสงค์ของการนำGAAPมาใช้ในเชิงรุกก็เพื่อแปรเปลี่ยนผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน เพื่อสร้างภาพลักษณ์เกี่ยวกับผลการดำเนินงานและฐานะการเงิน ที่ทำให้เกิดการหลงผิด
Aggressive Accounting จะยังไม่ถือเป็นการทุจริตจนกว่าจะได้มีการดำเนินการตามกฎหมายแพ่ง อาญา หรือทางการบริหารและได้มีการยืนยันโดยเฉพาะว่ามีการแสดงข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงเพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิด
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 2

โพสต์

Earnings Management
เป็นการปรับแต่งกำไรอย่างมีประสิทธิภาพโดยใช้ความยืดหยุ่นของ GAAP เพื่อให้ไปสู่เป้าหมายกำไรที่กำหนดไว้
บ่อยครั้งที่เป้าหมายนั้นคืออัตราการเติบโตของกำไรในระยะยาวที่ไม่ใช่ระดับสูงสุดหรือต่ำสุดที่กิจการถือว่าเป็นตัวสะท้อนกระบวนการทางเศรษฐกิจตามปกติ
เป้าหมายดังกล่าวอาจกำหนดจาก
ฝ่ายบริหาร
ตัวเลขพยากรณ์ที่นักวิเคราะห์จัดทำขึ้น
จำนวนที่สะท้อนกระแสกำไรที่เกิดขึ้นเป็น ประจำและราบเรียบ (ไม่ขึ้นไม่ลง) ยิ่งขึ้น
บ่อยครั้ง (แม้ว่าจะไม่เสมอไป) Earnings Management เป็นการเคลื่อนไปสู่การลดและรักษาระดับกำไรใน ปีทองเพื่อไปใช้ต่อในปีที่ธุรกิจตกต่ำ
ในปีทอง ฝ่ายบริหารจะใช้ข้อสมมติที่ระมัดระวังเกี่ยวกับการประมาณหนี้สงสัยจะสูญประมาณการหนี้สิน หรืออายุการใช้งานของสินทรัพย์ถาวรและมูลค่าซาก เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น และปรับแต่งกำไรให้ลดลง
ในปีทอง ฝ่ายบริหารยังอาจใช้วิธีการรับรู้รายได้ที่ระมัดระวังยิ่งขึ้นเพื่อชะลอการรับรู้รายได้และทำให้กำไรของงวดปัจจุบันลดลง
วิธีการดังกล่าวเรียกว่า Cookie jar reserves กล่าวคือกิจการจะสามารถรักษากำไรไปใช้ต่อในปีที่ตกต่ำ ซึ่งเป็นปีที่คาดว่าผลประกอบการจะต่ำกว่าเป้าของอัตราการเติบโต
ในปีที่ตกต่ำ ฝ่ายบริหารอาจลดค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญหรือประมาณการหนี้สินลง หรือ ยืดอายุการใช้งานของสินทรัพย์หรือเพิ่มมูลค่าซาก เพื่อทำให้ค่าใช้จ่ายลดลงและกำไรสูงขึ้น
จากทั้งหมดที่ยกมา จะเห็นได้ชัดเจนว่าทำไมEarnings management จึงเป็นที่รู้จักกันในอีกแง่หนึ่งว่า Income Smoothing เหตุผลคือ Earnings management มีวัตถุประสงค์เพื่อทำให้กระแสกำไรราบเรียบยิ่งขึ้น ซึ่งสะท้อนถึงระดับของความไม่แน่นอนและความเสี่ยงที่ลดลงของตัวเลขกำไร

Earnings Management ยังรวมถึง
Big Bath Special Charges
Purchased In-Process R&D Accounting Errors
Creative Classification within the F/S

Big Bath หมายถึง การปรับลดมูลค่าสินทรัพย์ลงทั้งจำนวน (Wholesale writedown) และการบันทึกหนี้สินขึ้น เพื่อให้
งบดุลตั้งอยู่บนหลักความระมัดระวัง
กิจการมีค่าใช้จ่ายที่จะเป็นตัวฉุดผลประกอบการ ในงวดอนาคตที่น้อยลง
Big Bath จะเกิดขึ้นในปีที่กิจการตกต่ำ ไม่สามารถทำกำไรได้ตามเป้า
ทำไปด้วยมุมมองที่ว่าไม่มีอะไรจะเสียมากไปกว่านี้หากจะทำให้ผลประกอบการของงวดปัจจุบันเลวร้ายไปกว่าที่เป็นอยู่ลงไปอีก
การตัดจำหน่ายสินทรัพย์ออกจากบัญชีในงวดนี้ จึงเป็นการทำให้งบดุลหมดมลทินและทำให้งบดุลตั้งอยู่บนหลักความระมัดระวังมากขึ้น ผลก็คือทำให้กิจการมีค่าใช้จ่ายน้อยลงที่จะมาเป็นตัวฉุดผลประกอบการของงวดอนาคต

Special Charges ตัวอย่างเช่น รายจ่ายในการปรับโครงสร้างแม้จะไม่มีเรื่อง Big Bath เข้ามาเกี่ยวข้องถือเป็นหนทางหนึ่งที่ง่ายดายในการปรับแต่งกำไร เพื่อให้ไปสู่เป้ากำไรที่ได้กำหนดไว้ก่อนหน้า เนื่องจากนักวิเคราะห์จะมุ่งเน้นไปที่ผลประกอบการ โดยไม่ได้คำนึงถึงรายการประเภทนี้
เมื่อมีการนำ Special Charges มาใช้ในทางที่ผิด รายการดังกล่าวจะถูกนำมาใช้ในการดูดซับค่าใช้จ่ายซึ่งหาไม่แล้วควรจะถือเป็นค่าใช้จ่ายดำเนินงาน
Special Charges ยังอาจนำมาใช้กรณีที่มีการซื้อกิจการ ณ วันที่ซื้อกิจการ กิจการที่รวมกันมักจะบันทึก Special charge ขึ้นเพื่อให้เกิดผลกระทบต่อการรวมธุรกิจ และเริ่มต้นที่จะบรรลุเป้าหมายในรูปผลผนึกจากการรวมธุรกิจ (การผลิต การจัดจำหน่าย การบริหาร) ที่ได้คาดการณ์ไว้
รายการที่รวมอยู่ใน Special Charges อาจจะได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการยกเลิกสัญญาเช่า ขาดทุนที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการขายสินทรัพย์
ในการบันทึกค่าใช้จ่ายที่ประมาณขึ้น ณ วันที่ซื้อกิจการกิจการจะบันทึกหนี้สินหรือสำรองต่างๆ เพื่อที่รายจ่าย และ ผลขาดทุนที่เกิดขึ้นจริงในอนาคตจะได้นำมาตัดจากหนี้สิน หรือสำรองดังกล่าว
ผู้ลงทุนมีแนวโน้มที่จะไม่สนใจรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับ การซื้อกิจการ แต่จะมุ่งเน้นไปที่ผลประกอบการหลังการรวมธุรกิจเป็นสำคัญ
กิจการจึงอาจใช้ Creative acquisition accounting โดยการทำให้มีรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการซื้อกิจการเป็น จำนวนสูง ๆ เพื่อเพิ่มผลกำไรในอนาคต
การบันทึกรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับการรวมธุรกิจ ให้สูงขึ้น ณ วันที่ซื้อกิจการ จะทำให้ค่าใช้จ่ายในอนาคตลดลง

Purchased In-Process R&D คือ R&D ที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการซึ่งกิจการซื้อมาจากอีกกิจการหนึ่ง พร้อมกับการซื้อกิจการประเภท Technology
เมื่อกิจการซื้อกิจการประเภท Technology มา ก็มักจะมี R&D ที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการติดมาด้วย ราคาที่จ่ายซื้อส่วนหนึ่งก็จะต้องปันส่วนให้กับ R&D ที่ยังอยู่ระหว่างดำเนินการอย่างถูกต้อง แต่เนื่องจากกิจการไม่อาจคาดการณ์ได้ว่า มีความเป็นไปได้ค่อนข้างแน่ที่ R&D ที่ซื้อมานี้ จะให้ประโยชน์เชิงเศรษฐกิจในอนาคต กิจการจึงบันทึก R&D ดังกล่าว เป็นค่าใช้จ่ายในงวดที่เกิดขึ้นทันทีให้ถูกต้อง
แต่ก็มีกิจการบางแห่ง ที่ปันส่วนราคาจ่ายซื้อให้กับ R&D ดังกล่าวในจำนวนที่สูงเกินจริง ซึ่งจะทำให้สามารถตัดราคาจ่ายซื้อเป็นค่าใช้จ่าย ณ วันที่ซื้อเป็นจำนวนมหาศาล และ ทำให้ราคาจ่ายซื้อส่วนที่จะต้องปันส่วนให้กับค่าความนิยมเหลือน้อยที่สุด ซึ่งค่าความนิยมดังกล่าวจะปรากฏในงบดุลและลดมูลค่าลงก็ต่อเมื่อมีสิ่งบ่งชี้ว่ามูลค่าของค่าความนิยมนั้น เกิดการด้อยค่า
ยิ่งราคาจ่ายซื้อมีการปันส่วนให้กับ In-Process R&D มากขึ้นเท่าไร ก็จะทำให้จำนวนที่ปันส่วนให้กับค่าความนิยมลดน้อยลง ทำให้ขจัดความเสี่ยงที่จะต้องตัดเป็นค่าใช้จ่ายเข้าสู่กำไรในอนาคต ค่าความนิยมส่วนหนึ่งไว้ใน R&D ทำให้เกิดการคาดการณ์ว่า กิจการน่าจะมีโอกาสเชิงกลยุทธ์ และได้รับผลตอบแทน ที่สูงกว่าการจ่ายเป็นค่าความนิยมล้วน ๆ

Accounting errors
- ในกรณีที่จำนวนเงินในงบการเงินมีการแสดงไว้นอกเหนือ ขอบเขตของ GAAP อาจเป็นไปได้ที่กิจการจะไม่ได้มีความจงใจที่จะทำให้เกิดการหลงผิด ในกรณีที่ไม่ได้มีความจงใจ ในอันที่จะทำให้เกิดการหลงผิด จำนวนที่แสดงไว้ไม่ถูกต้องจึงถือเป็นแค่เพียงข้อผิดพลาดทางบัญชี
Accounting errors
เมื่อพบข้อผิดพลาดดังกล่าว กิจการจะต้องปรับปรุงรายการดังกล่าวเพื่อแก้ไขงบการเงินให้ถูกต้อง โดยการปรับจำนวนเงินของงวดก่อนที่นำเปรียบเทียบ
แม้ว่าการแสดงจำนวนเงินที่ไม่ถูกต้องจะเป็นผลมาจากข้อผิดพลาดและไม่ได้เกิดจากความจงใจ รายการปรับปรุงเพื่อแก้ไขงบการเงินให้ถูกต้องสามารถส่งผลกระทบมหาศาล
ความคาดหวังเกี่ยวกับศักยภาพในการทำกำไร ซึ่งตั้งอยู่บนจำนวนเงินที่ผิดพลาดที่รายงานไปในงวดก่อน ทำให้มีการมองโลกในแง่ดีจนเกินไป และทำให้ต้องมีการปรับลดความคาดหวังใหม่เกี่ยวกับศักยภาพในการทำกำไร

Creative classification within F/S
เป็นเรื่องของวิธีการนำเสนอจำนวนเงินในงบการเงินมากกว่าวิธีการที่กิจการนำมาใช้ในการบันทึกรายการ
กิจการที่พยายามจะนำเสนอศักยภาพในการทำกำไร ที่สูงขึ้น มักจะจำแนกกำไรที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ ในลักษณะที่ทำให้ดูเหมือนว่ารายการนั้นเกิดขึ้นเป็นประจำ
ตัวอย่างเช่น
แสดงกำไรจากการขายที่ดินที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำเป็นรายได้อื่นในงบกำไรขาดทุน
จำแนกค่าใช้จ่าย/ขาดทุนที่สามารถคาดการณ์ได้อย่างสมเหตุผลว่าจะเกิดขึ้นอีกเป็นรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำ
การหักกลบกำไรที่ไม่ได้เกิดขึ้นเป็นประจำกับ SG&A ซึ่งเป็นรายการที่เกิดขึ้นเป็นประจำ เพื่อให้เกิดภาพลักษณ์ว่า ค่าใช้จ่ายที่เกิดเป็นประจำมีจำนวนลดลง

Earnings Management
สภาวการณ์ แรงจูงใจ
ผลประกอบการค่อนข้างจะเลวร้ายกว่าพยากรณ์ผลประกอบการที่ตลาดคาดการณ์ไว้ ที่จะหลีกเลี่ยงการลดของราคาหุ้นอย่างรุนแรง

กิจการกำลังเตรียมตัวทำ IPO หุ้น ที่จะนำเสนอภาพผลประกอบการที่เป็นไปได้ที่ดีที่สุด เพื่อที่จะทำให้ระดับของราคาหุ้นที่ออกขายสูงที่สุด

ผลประกอบการสูงกว่าระดับต่ำสุดที่จะได้รับผลตอบแทนเป็นสิ่งจูงใจเพียงเล็กน้อย หรือใกล้จะเกินกว่าระดับสูงสุดที่จะได้รับผลตอบแทนซึ่งหากสูงไปกว่านั้น ก็จะไม่ได้รับผลตอบแทนเพิ่มเติม ที่จะทำให้ผลประกอบการอยู่ในระดับต่ำสุดและสูงสุดเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนสูงสุด

กิจการตกเป็นเป้าหมายที่เป็นไปได้สำหรับการดำเนินกิจกรรมทางการเมือง ในทางลบอันเป็นผลมาจากขนาดหรือการเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม หรือทั้งสองอย่าง ที่จะลดต้นทุนทางการเมือง อันเกิดจากขนาด หรือการเป็นส่วนหนึ่งของอุตสาหกรรม โดยหลีกเลี่ยงการแสดงระดับกำไรที่สูงเกินไป

กิจการจวนจะฝ่าฝืนข้อตกลงทางการเงิน ที่ผูกติดกับผลประกอบการภายใต้สัญญากู้ยืมเงินหรือการให้สินเชื่อ ที่จะหลีกเลี่ยงผลกระทบทางลบที่เป็นไปได้ ของการฝ่าฝืนข้อตกลง ตัวอย่างเช่น การเพิ่มอัตราดอกเบี้ย การกำหนดให้ยื่นหลักทรัพย์เพิ่มเติม การเรียกคืนเงินกู้ทันที

ผลประกอบการค่อนข้างที่จะสูงหรือต่ำกว่าแนวโน้มผลประกอบการในระยะยาวที่ฝ่ายบริหารมุ่งหวังที่จะให้เกิดขึ้นเป็นประจำ ที่จะหลีกเลี่ยงการตอบสนองของตลาด ในทางลบต่อผลประกอบการที่หลุดออกนอกแนวโน้มชั่วคราว

ความผันผวนของผลประกอบการอันเกิดจากหลายๆ รายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำ ที่จะลดความผันผวนของผลประกอบการเพื่อให้ไม่สามารถประเมินผลร้ายทางด้านมูลค่าหุ้นอันเกิดจากระดับของความเสี่ยงที่สูงขึ้นที่ตลาดสัมผัสได้

การเปลี่ยนแปลงในฝ่ายบริหารระดับสูงเกิดขึ้น ที่จะตัดจำหน่ายรายการเป็นปริมาณมหาศาลทันที ที่ฝ่ายบริหารชุดใหม่เริ่มเข้าบริหารงานเพื่อบรรเทาผลกระทบในอนาคต ที่จะเกิดจากรายการตัดจำหน่าย ดังกล่าว และโยนความผิดให้กับฝ่ายบริหารชุดเดิมที่ออกไป

มีการตั้งผลขาดทุนมหาศาลที่เกิดจากการปรับโครงสร้างองค์กรและรายจ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเป็นรายการรอตัดบัญชีในอดีต ที่จะโอนรายจ่ายรอการตัดบัญชีส่วนที่แสดงไว้สูงเกินกว่าความเป็นจริงออกเพื่อให้บรรลุเป้าหมายกำไรในงวดบัญชีต่อ ๆ มา
แก้ไขล่าสุดโดย Kao เมื่อ อังคาร มิ.ย. 21, 2005 7:16 pm, แก้ไขไปแล้ว 3 ครั้ง.
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 3

โพสต์

Income Smoothing
รูปแบบหนึ่งของ Earnings Management ที่ทำขึ้น โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะขจัดระดับสูงสุด/ต่ำสุด ออกจากอนุกรมของตัวเลขกำไรปกติ ซึ่งรวมถึง ขั้นตอนในการลด และรักษาระดับกำไรในปีทองไว้ใช้ต่อในปีที่ธุรกิจตกต่ำ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท
Real Income Smoothing
Artificial Income Smoothing
Classificatory Income Smoothing

1.) Real Smoothing การเกลี่ยกำไรของกิจการ โดยการก่อให้เกิดรายการ หรือชะลอไม่ให้เกิดรายการนั้นๆ ขึ้น โดยที่ผู้บริหารได้มีการพิจารณามาก่อนหน้าถึงผลกระทบของรายการนั้นๆ ที่มีต่อผลการดำเนินงานของกิจการ
Real smoothing จึงมีตั้งแต่การกำหนด
ช่วงเวลา (Timing)
จำนวนเงิน (Amount) ไปจนถึง
การกำหนดวัตถุประสงค์ (Intent) ของ รายการที่เข้าไปทำ
รูปแบบของ Real smoothing แบ่งออกได้ดังนี้
การเกลี่ยรายการทางด้านค่าขาย (Sales related)
การเกลี่ยรายการทางด้านค่าใช้จ่าย (Expense related)

2.) Artificial smoothing หมายถึง การเกลี่ยกำไรโดยการรับเอาวิธีปฏิบัติทางบัญชี ที่จะช่วยให้กิจการชะลอการรับรู้รายจ่าย (โดยการตั้งรายจ่ายเป็นต้นทุนสินทรัพย์ (Capitalization) หรือโดยการตัดเป็นค่าใช้จ่ายประจำงวด) และ/หรือชะลอการรับรู้รายได้จากงวดบัญชีหนึ่งไปยังอีกงวดบัญชีหนึ่งมาใช้
กล่าวคือรายการทางธุรกิจได้เกิดขึ้นแล้ว อยู่ที่ผู้บริหารจะกำหนดว่ารายการนั้นๆ ควรจะส่งผลกระทบต่อผลการดำเนินงานของกิจการออกไปอีกกี่งวดบัญชีหน้า
Artificial smoothing จึงเป็นเรื่องของผู้บริหารใช้ดุลยพินิจที่มีอยู่ในการกำหนดระยะเวลาในการรับรู้ค่าใช้จ่าย ซึ่งไม่จำเป็นจะต้องเกี่ยวข้องกับการทุจริตการปลอมแปลงเอกสาร หรือการทำลายระบบการควบคุมภายในแต่อย่างใด

3.) Classificatory smoothing หมายถึง การเกลี่ยรายการบางรายการในงบกำไรขาดทุน โดยการตัดสินใจของผู้บริหารว่าจะจัดจำแนกรายการนั้นๆ เข้าเป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณกำไรจากการดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง (Income from continuing operations) หรือเป็นส่วนหนึ่งของรายการพิเศษ (Extraordinary income)
Classificatory smoothing มีข้อสมมติว่า
ผู้ใช้งบการเงินไม่ได้ให้ความสำคัญใดๆ กับรายการที่เกิดไม่บ่อยครั้ง หรือรายการพิเศษ แต่จะให้ความ
สำคัญกับกำไรจากการดำเนินงานปกติ (Bottom line)เป็นพิเศษ
การโยกย้ายรายการใดรายการหนึ่งหรือมากกว่าหนึ่งรายการ ไปมาในงบกำไรขาดทุนระหว่างการแสดงเป็นส่วนหนึ่งของการคำนวณกำไรปกติจากการดำเนินงานและรายการพิเศษจะช่วยให้กำไรของกิจการเป็นไปตามแนวโน้มที่ผู้บริหารต้องการ
แก้ไขล่าสุดโดย Kao เมื่อ อังคาร มิ.ย. 21, 2005 7:06 pm, แก้ไขไปแล้ว 2 ครั้ง.
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 4

โพสต์

Fraudulent Financial Reporting
การแสดงจำนวนเงินหรือการเปิดเผยข้อมูลที่ผิด ๆ หรือการละเว้นจำนวนเงินหรือการเปิดเผยข้อมูลในงบการเงินเพื่อที่จะทำให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิด ซึ่งตามกฎหมายแพ่ง อาญา หรือทางการบริหารแล้วถือว่าเป็นการทุจริต
มักใช้สลับไปมากับคำว่า Accounting Irregularities แต่แตกต่างไปจาก Accounting Irregularities ในแง่ที่ว่าเมื่อมีคำว่าทุจริตมาผสม จะต้องมีการแสดงให้เห็นว่า ผู้ใช้งบการเงินที่แสดงข้อมูลที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงอย่างเป็นสาระสำคัญและอย่างจงใจ ได้ใช้งบการเงินนั้นจนตนได้รับความเสียหาย
Fraudulent Financial Reporting จึงเป็นความอัปยศอดสู และส่อความหมายไปในทางล่อลวง ให้ผู้ใช้งบการเงินหลงผิดยิ่งไปกว่าการบัญชีที่นำมาประยุกต์ใช้ในเชิงรุก
การระบุจุดที่เลยไปจาก Aggressive Accounting แล้วจะกลายเป็นเรื่องของการทุจริตเป็นเรื่องยาก อีกทั้งเป็นศิลปะมากกว่าที่จะเป็นวิทยาศาสตร์
อะไรก็ตามที่เริ่มต้นด้วยการนำหลักการบัญชีมาประยุกต์ใช้ในเชิงรุกอาจจะกลายเป็นFraudulent Financial Reporting ในภายหลังก็ได้ หากเป็นการประยุกต์ใช้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน ๆ และค้นพบในเวลาต่อมาว่าจำนวนเงินที่เกี่ยวข้องเป็นสาระสำคัญ
Q: จุดผกผันไปเป็น Fraudulent Financial Reporting เกิดขึ้นตอนไหน ?
A:อยู่ที่ว่ากิจการนำนโยบายการบัญชีเชิงรุกมาใช้ในระดับไหนและจุดมุ่งหมายของฝ่ายบริหารในการนำนโยบายการบัญชีเชิงรุกนั้นมาใช้
แก้ไขล่าสุดโดย Kao เมื่อ อังคาร มิ.ย. 21, 2005 7:01 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
Kao
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 1256
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 5

โพสต์

Creative Accounting:
ขอบเขต
ความพยายามในการนำเสนอภาพที่ถูกต้องตามควร (True and fair view)
การจัดหาเงินนอกงบดุลที่ไม่ชอบมาพากล
การตกแต่งข้อมูลทางการเงิน (Window Dressing)
คำนิยาม
(1) กระบวนการปรับแต่งตัวเลขทางบัญชีโดยอาศัยข้อได้เปรียบจากช่องโหว่ที่มีอยู่ในกฎเกณฑ์ทางบัญชี และ ทางเลือกต่าง ๆ ในการวัดและเปิดเผยข้อมูล เพื่อแปร เปลี่ยนงบการเงินจากสิ่งที่ควรจะเป็นให้เป็นไปตามสิ่งที่ผู้จัดทำงบการเงินปรารถนาที่จะแสดง
(2) กระบวนการการสร้างรายการค้าขึ้นเพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ทางบัญชีที่ต้องการ แทนที่จะเป็นการรายงานรายการค้าในลักษณะที่เป็นกลางและตั้งอยู่บนหลักความสม่ำเสมอ
กล่าวโดยรวม Creative Accounting
ขั้นตอนใด ๆ หรือทั้งหมดที่นำมาใช้ในการเล่นตัวเลขทางการเงิน ซึ่งรวมถึง
การเลือกและการนำหลักการบัญชีเชิงรุกมาประยุกต์ใช้ทั้งภายในและนอกเหนือขอบเขตของ GAAP
การรายงานทางการเงินที่มีลักษณะเป็นการทุจริต
การก้าวไปสู่ Earnings management หรือ Income smoothing


ผลที่ได้รับจาก Creative Accounting
ประเภท ผลที่ได้รับ
1.) ผลกระทบทางด้านราคาหุ้น (Share price effects)
- ราคาหุ้นที่สูงขึ้น
- ความผันผวนของราคาหุ้นที่ลดลง
- มูลค่ากิจการที่เพิ่มขึ้น
- ต้นทุนเงินทุนที่มาจากผู้ถือหุ้นที่ ลดลง
- มูลค่าของ Stock options ที่เพิ่มขึ้น

2.) ผลกระทบทางด้านต้นทุนการกู้ยืม(Borrowing cost effects)
- คุณภาพสินเชื่อที่ดีขึ้น
- การจัดอันดับความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้ที่สูงขึ้น
- ต้นทุนการกู้ยืมที่ต่ำลง
- ข้อตกลงทางการเงินที่เข้มงวดน้อยลง

3.) ผลกระทบทางด้านแผนการ Bonus (Bonus plan effects)
- โบนัสที่ผูกติดกับกำไรที่เพิ่มขึ้น

4.) ผลกระทบทางด้านต้นทุนทางการเมือง (Political cost effects)
- กฎเกณฑ์ต่าง ๆ ที่ลดลง
- การหลีกเลี่ยงภาษีที่สูงขึ้น

ประเภทของ Creative Accounting
การรับรู้รายได้ก่อนถึงเวลาอันควรหรือการรับรู้รายได้ปลอม
การตั้งรายจ่ายเป็นต้นทุนสินทรัพย์เชิงรุกและนโยบายการตัดจำหน่ายที่ยืดระยะเวลาออกไป
สินทรัพย์และหนี้สินที่แสดงไว้ไม่ตรงกับข้อเท็จจริง
การรังสรรค์งบกำไรขาดทุน
ปัญหาที่เกิดจากการรายงานกระแสเงินสด
แก้ไขล่าสุดโดย Kao เมื่อ อังคาร มิ.ย. 21, 2005 7:04 pm, แก้ไขไปแล้ว 1 ครั้ง.
jaychou
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 6

โพสต์

เยี่ยมมากครับคุณคาโอ :cool:
ภาพประจำตัวสมาชิก
Amorna
Verified User
โพสต์: 454
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 7

โพสต์

โอ๊ะโอ

เหมือนได้นั่งเรียนกับอาจารย์อีกครั้งเลยค่ะ

ขอบคุณมากนะคะ :D
Price is what you pay, value is what you get.
ภาพประจำตัวสมาชิก
por_jai
Verified User
โพสต์: 14338
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 8

โพสต์

8) ขอบคุณมาก
เข้ามาใช้บริการครับ
กรูเก่ง กิเลสเก่งกว่า
ภาพประจำตัวสมาชิก
yoyo
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 4833
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 9

โพสต์

สุดยอดครับ
การลงทุนที่มีค่าที่สุด คือการลงทุนในความรู้
http://www.yoyoway.com
iscssn
Verified User
โพสต์: 428
ผู้ติดตาม: 0

Creative Accounting โดย ดร. วรศักดิ์ ทุมมานนท์ (สงวนลิขสิทธิ

โพสต์ที่ 10

โพสต์

:bow: :bow: :bow:
ล็อคหัวข้อ