ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 61

โพสต์

G20:จี-20 เล็งอัดเงินหลายพันล้านดอลล์ผ่าน IMF หวังเสริมสภาพคล่องศก.โลก
คานส์--4 พ.ย.--รอยเตอร์

แหล่งข่าวระบุว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ
รวมทั้งสหภาพยุโรป (จี-20) กำลังพิจารณาการอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนหลายพันล้าน
ดอลลาร์เข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลก โดยผ่านทางกองทุนการเงินระหว่างประเทศ
(ไอเอ็มเอฟ) เพื่อเสริมสภาพคล่องในระดับโลก
ทั้งนี้ แนวคิดดังกล่าวเหมือนกับการตัดสินใจของผู้นำจี-20 ในปี 2009
ที่เห็นพ้องกันในการจัดสรรเงินทุนพิเศษจำนวน 2.50 แสนล้านดอลลาร์ใน
Special Drawing Rights (SDR) ซึ่งเป็นสกุลเงินในทางบัญชีของไอเอ็มเอฟ
ให้แก่สมาชิกทั้ง 187 ประเทศ--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 62

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 4 พฤศจิกายน 2554 10:15:24 น.
กระทรวงแรงงานของสหรัฐเปิดเผยว่า ประสิทธิภาพด้านการผลิตของสหรัฐเพิ่มขึ้น 3.1% เมื่อเทียบเป็นรายปี ในไตรมาสที่ 3 ซึ่งบ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น และยังสะท้อนให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้น 3.8% ของยอดการผลิต และ 0.6% ของชั่วโมงในการทำงาน ในระหว่างไตรมาสเดือนกรกฎาคม-กันยายนปีนี้

ส่วนต้นทุนแรงงานต่อหน่วยของธุรกิจนอกภาคการเกษตรลดลง 2.4% เนื่องจากผลตอบแทนเป็นรายชั่วโมงที่เพิ่มขึ้นสูงกว่าประสิทธิภาพด้านการผลิต

ในไตรมาสดังกล่าว ประสิทธิภาพด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐเพิ่มขึ้น 5.4% โดยยอดผลผลิตเพิ่มขึ้น 4.7% และชั่วโมงการทำงานลดลง 0.8% ส่วนใน 4 ไตรมาสที่ผ่านมา ประสิทธิภาพด้านการผลิตของภาคอุตสาหกรรมขยายตัวที่ 3.0%

ประสิทธิภาพในการผลิตเป็นมาตรวัดผลผลิตต่อชั่วโมงการทำงาน โดยการเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพในการผลิตช่วยให้บริษัทต่างๆ สามารถเพิ่มค่าจ้างให้กับพนักงานได้โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มราคาสินค้า ซึ่งอาจเป็นต้นเหตุของเงินเฟ้อ

ทั้งนี้ การเพิ่มขึ้นของประสิทธิภาพในการผลิต หมายถึงเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งมากยิ่งขึ้น โดยนักเศรษฐศาสตร์กล่าวว่า เศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวในระยะยาว เนื่องจากการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องของประสิทธิภาพในการผลิต

อย่างไรก็ดี คาดว่าประสิทธิภาพในการผลิตของสหรัฐจะชะลอตัวลงในช่วงอีก 2-3 ปีข้างหน้าในขณะที่ค่าแรงงานจะสูงขึ้น สำนักข่าวซินหัวรายงาน
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 63

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- จันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน 2554 07:10:27 น.
นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ในวอลล์สตรีทคาดว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนก.ย.ของสหรัฐ ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยในวันพฤหัสบดีที่ 10 พ.ย.นั้น จะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.62 หมื่นล้านดอลลาร์ จากเดือนส.ค.ที่ระดับ 4.56 หมื่นล้านดอลลาร์ เนื่องจากภาวะซบเซาของเศรษฐกิจทั่วโลกได้ส่งผลกระทบต่อการส่งออกและนำเข้าของสหรัฐ

ยอดส่งออกของสหรัฐมีแนวโน้มลดลงเนื่องจากเศรษฐกิจจีนและยุโรป ซึ่งเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ของสหรัฐ ชะลอตัวลง โดยในการประชุมครั้งล่าสุดเมื่อวันพฤหัสบดีที่ผ่านมา นายมาริโอ ดรากี ประธานธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) คนใหม่ยอมรับว่า เศรษฐกิจยูโรโซนเริ่มเข้าสู่ระยะถดถอยแล้ว ขณะที่จีนเปิดเผยว่าดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคการผลิตขยายตัวที่ระดับ 50.4 จุดในเดือนต.ค. ลดลง 0.8 จุดจากเดือนก.ย.ที่ขยายตัว 51.2 จุด

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งประจำเดือนก.ย.ในวันพุธนี้ โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าตัวเลขดังกล่าวจะเพิ่มขึ้น 0.5% ในเดือนก.ย. หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนส.ค.

ตัวเลขสต็อกสินค้าภาคค้าส่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการคำนวณผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) นอกจากนี้ สต็อกสินค้าคงคลังภาคค้าส่งยังมีอิทธิพลต่อการประเมินวงจรทางธุรกิจและการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 64

โพสต์

ข่าวเศรษฐกิจ กระทรวงการคลัง -- อังคารที่ 8 พฤศจิกายน 2554 14:33:38 น.
สำนักวิเคราะห์เศรษฐกิจสหรัฐฯ รายงานตัวเลขเบื้องต้นมูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ขยายตัวด้วยอัตราร้อยละ 2.5 เปรียบเทียบกับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในไตรมาสแรกและไตรมาสที่ 2 ของปี 2554 ที่ร้อยละ 0.4 และ 1.3 ตามลำดับ ดังแผนภาพแสดงอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ

ปัจจัยบวกที่สนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 ประกอบไปด้วย (1) ปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่แท้จริง (Real PCE) ที่ขยายตัวร้อยละ 2.4 หลังจากขยายตัวร้อยละ 0.7 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการใช้จ่ายด้านสินค้าคงทนปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.1 เปรียบเทียบกับไตรมาสก่อนที่ชะลอตัวร้อยละ 5.3 ส่วนปริมาณการใช้จ่ายด้านสินค้าไม่คงทนปรับเพิ่มขึ้นในอัตราคงที่ที่ร้อยละ 0.2 เท่ากับไตรมาสก่อน ในขณะที่ปริมาณการใช้จ่ายด้านบริการขยายตัวในอัตราร้อยละ 3.0 หลังจากขยายตัวร้อยละ 1.9 ในไตรมาสก่อนหน้า (2) ปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัย (Non-residential fixed Investment) ที่ขยายตัวร้อยละ 16.3 หลังจากขยายตัวร้อยละ 10.3 ในไตรมาสก่อนหน้า โดยปริมาณการลงทุนด้านโครงสร้าง (Structure) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.3 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.6 ในไตรมาสก่อนหน้า ส่วนปริมาณการลงทุนด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์ (Equipment and Software) ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.4 หลังจากที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.2 ในไตรมาสก่อน (3) ปริมาณการส่งออกสินค้าและบริการที่ขยายตัวร้อยละ 4.0 หลังจากขยายตัวร้อยละ 3.6 ในไตรมาสก่อนหน้า และ (4) ปริมาณการใช้จ่ายภาครัฐส่วนกลาง (Federal Government Consumption Expenditures) ที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.0 เปรียบเทียบกับที่ปรับเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.9 ในไตรมาสที่ 2

อย่างไรก็ตาม (1) ปริมาณการลงทุนในสินค้าคงคลังของภาคเอกชนที่ปรับลดลงในอัตราร้อยละ 1.08 ในไตรมาสที่ 3 เปรียบเทียบกับที่ปรับลดลงร้อยละ 0.28 ในไตรมาสที่ 2 (2) ปริมาณการใช้จ่ายภาครัฐส่วนท้องถิ่น (State and Local Government Consumption Expenditures) ที่ปรับชะลอตัวร้อยละ 1.3 หลังจาก

ชะลอตัวร้อยละ 2.8 ในไตรมาสก่อนหน้าและ (3) ปริมาณการนำเข้าสินค้าและบริการที่ขยายตัวร้อยละ 1.9 หลังจากที่ขยายตัวตัวร้อยละ 1.4 ในไตรมาสก่อนหน้า ยังคงเป็นปัจจัยทางลบที่กดดันการขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554

ส่วนระดับราคาสินค้าและบริการขยับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.0 ในไตรมาสที่ 3 ของปี 2554 หลังจากปรับสูงขึ้นร้อยละ 3.3 ในไตรมาสที่ 2 หากไม่รวมสินค้าอาหารและพลังงาน ระดับราคาในไตรมาสที่ 2 และที่ 3 ของปี 2554 ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 2.7 และร้อยละ 1.8 ตามลำดับ

จะเห็นได้ว่า ปัจจัยหลักสาคัญที่ผลักดันให้ภาวะเศรษฐกิจสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่สูงกว่าไตรมาสที่ 2 นั้น มาจากปริมาณการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคส่วนบุคคลที่ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าโดยเฉพาะด้านสินค้าคงทน เช่นเดียวกับปริมาณการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ที่ไม่ใช่ที่อยู่อาศัยที่ขยายตัวในอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับไตรมาสก่อนหน้าโดยเฉพาะด้านอุปกรณ์และซอฟต์แวร์

แม้ว่าการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจนของค่า GDP ของสหรัฐฯ ในไตรมาสที่ 3 เมื่อเทียบกับ ไตรมาสที่ 2 จะเป็นสัญญาณดีที่ต่อการฟื้นฟูทางเศรษฐกิจสหรัฐฯ แต่นักวิเคราะห์ให้ความเห็นว่าการขยายตัวดังกล่าวอาจยังไม่เพียงพอต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืนในระยะยาว ทั้งนี้ ยังคงเป็นที่น่าติดตามถึงปัจจัยอื่นๆ ที่อาจมีผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ เช่น อัตราการว่างงานของประชากรสหรัฐฯ ที่ยังคงอยู่ในระดับสูงถึงร้อยละ 9.1 และวิกฤตหนี้สาธารณะยุโรปที่อาจส่งผลต่อการส่งออกและการลงทุน ตลอดจนสถานการณ์ทางการเมืองของสหรัฐฯ ซึ่งอาจส่งผลต่อเศรษฐกิจในปี 2555 ซึ่งจะเป็นปีที่มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ

ที่มา: Macroeconomic Analysis Group: Fiscal Policy Office
Tel 02-273-9020 Ext 3665 : www.fpo.go.th
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 65

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 06:30:14 น.
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานครั้งแรกในรอบสัปดาห์ที่สิ้สุดวันที่ 5 พ.ย. ปรับตัวลง 10,000 ราย มาอยู่ที่ระดับ 390,000 ราย ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่สัปดาห์แรกของเดือนเม.ย.ที่ผ่านมา และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะลดลงมาอยู่ที่ระดับ 400,000 ราย

ส่วนจำนวนผู้ขอรับสวัสดิการว่างงานอย่างต่อเนื่องโดยเฉลี่ย 4 สัปดาห์ ปรับตัวลงมาอยู่ที่ระดับ 400,000 ราย จากสัปดาห์ก่อนหน้านั้นที่ระดับ 405,250 ราย

การปรับตัวลงของจำนวนคนว่างงานรายสัปดาห์สะท้อนให้เห็นว่าตลาดแรงงานของสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้น โดยก่อนหน้านี้กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ตัวเลขจ้างงานนอกภาคการเกษตรเดือนต.ค.ปรับตัวเพิ่มขึ้น 80,000 ตำแหน่ง ซึ่งเป็นการปรับตัวขึ้นติดต่อกันเป็นเดือนที่ 13 ส่วนอัตราว่างงานดือนต.ค.ปรับตัวลดลงมาอยู่ที่ระดับ 9% จากระดับ 9.1% ของเดือนก.ย. ซึ่งเป็นการปรับตัวลงครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนก.ค.ที่ผ่านมา สำนักข่าวซินหัวรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 66

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 06:53:57 น.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยว่า ยอดขาดดุลการค้าเดือนก.ย.ของสหรัฐปรับตัวลดลง 4% มาอยู่ที่ระดับ 4.31 หมื่นล้านดอลลาร์ ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่เดือนธ.ค.ปีที่แล้ว จากระดับของเดือนส.ค.ที่ 4.49 หมื่นล้านดอลลาร์ ตรงข้ามกับที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่ายอดขาดดุลการค้าจะเพิ่มขึ้นสู่ระดับ 4.60 หมื่นล้านดอลลาร์

รายงานของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า ปัจจัยที่ทำให้ยอดขาดดุลการค้าของสหรัฐลดลงอย่างเหนือความคาดหมายในเดือนก.ย.นั้น มาจากยอดการส่งออกที่พุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และยอดการนำเข้าสินค้าจากจีนปรับตัวลดลงสู่ระดับ 3.64 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย. จากเดือนส.ค.ที่ระดับ 3.74 หมื่นล้านดอลลาร์

ทั้งนี้ ยอดการส่งออกเดือนก.ย.ของสหรัฐพุ่งขึ้น 2.5 พันล้านดอลลาร์ สู่ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 1.804 แสนล้านดอลลาร์ในเดือนก.ย. ขณะที่ยอดการนำเข้าอยู่ที่ระดับ 2.235 แสนล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเพียง 700 ดอลลาร์

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 67

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- ศุกร์ที่ 11 พฤศจิกายน 2554 09:02:49 น.
กระทรวงเกษตรของสหรัฐเปิดเผยว่า ยอดส่งออกสินค้าเกษตรของสหรัฐประจำปีงบการเงิน 2554 ซึ่งสิ้นสุด ณ สิ้นเดือนกันยายน แตะที่ 1.374 แสนล้านดอลลาร์ ทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์

นายทอม วิลแซกค์ รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรกล่าวในแถลงการณ์ว่า ยอดส่งออกสินค้าการเกษตรปี 2554 สูงกว่าสถิติสูงสุดในครั้งก่อนที่ 2.25 หมื่นล้านดอลลาร์ และช่วยหนุนตัวเลขจ้างงานในสหรัฐกว่า 1.15 ล้านตำแหน่ง

นอกจากนี้ ภาคเกษตรยังมีส่วนกระตุ้นเศรษฐกิจของสหรัฐอย่างต่อเนื่อง โดยมียอดเกินดุลการค้าในปีนี้ที่ 4.27 หมื่นล้านดอลลาร์

"ภาคการเกษตรของสหรัฐยังคงเป็นจุดเด่นของเศรษฐกิจของอเมริกา และเป็นแรงหนุนต่อการขยายตัวของการส่งออก การจ้างงาน และศักยภาพในการแข่งขันของสหรัฐ อีกทั้งยังสะท้อนถึงอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นของอาหารและสินค้าเกษตรสหรัฐในตลาดโลก" นายวิลแซกส์กล่าว

สำหรับข้อมูลตลอดทั้งปี 2554 จีนเป็นตลาดส่งออกรายใหญ่ที่สุดของสินค้าเกษตรสหรัฐ โดยมีมูลค่านำเข้าสินค้าต่างๆ เช่น ถั่วเหลือง ฝ้าย ถั่วชนิดต่างๆ และ หนังสัตว์ ประมาณ 2 หมื่นล้านดอลลาร์

สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า นายวิลแซกค์เตรียมเดินทางไปเยือนประเทศจีนในฐานะตัวแทนของรัฐบาลที่เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมาธิการร่วมเชิงพาณิชย์และการค้าระหว่างจีนและสหรัฐ (JCCT) ครั้งที่ 22 ที่จะมีขึ้นในช่วงปลายเดือนนี้ เพื่อหาโอกาสในการเพิ่มยอดส่งออกไปยังจีน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย เกตุ โนนทิง/รัตนา โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 68

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 12 พฤศจิกายน 2554 13:15:00 น.
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เตรียมทำการทดสอบภาวะวิกฤต (stress test) ธนาคารในสหรัฐเป็นรอบที่ 4 ภายในไม่กี่สัปดาห์ข้างหน้า

“เราจะทำการทดสอบ stress test ประจำปี ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า" เจเน็ต เยลเลน รองประธานเฟด กล่าวในการประชุม

“ความวิตกกังวลเกี่ยวกับปัญหาการคลังและการธนาคารในยุโรปทำให้เกิดความตึงเครียดในตลาดการเงินโลก ซึ่งเป็นความเสี่ยงขาลงต่อแนวโน้มเศรษฐกิจสหรัฐ" เยลเลนกล่าว “เรากำลังจับตาดูสถานการณ์ในยุโรปอย่างใกล้ชิด และเราจะยังทำทุกอย่างเท่าที่ทำได้เพื่อบรรเทาปัจจัยลบจากต่างประเทศที่มีผลต่อระบบการเงินสหรัฐ"

เยลเลนกล่าวว่า การทำ stress test อาจค่อยๆพัฒนาเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการระบุความเชื่อมโยงต่างๆ ของบรรดาสถาบันการเงินที่มีความสำคัญในระบบ ซึ่งอาจทำให้สถาบันเหล่านั้นตกอยู่ในความยุ่งยากทางการเงินพร้อมกันได้

ทั้งนี้ เฟดทำ stress test ธนาคาร 19 แห่งที่กำกับดูแลเป็นระยะๆ มาตั้งแต่ปี 2552 สำนักข่าวซินหัวรายงาน
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 69

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 21:24:38 น.
กระทรวงแรงงานสหรัฐเปิดเผยว่า ดัชนีราคาผู้บริโภค (CPI) ของสหรัฐ หดตัวลง 0.1% ในเดือนตุลาคม หลังจากที่ขยายตัว 0.3% ในเดือนก่อนหน้า นับเป็นสถิติที่ลดลงเป็นครั้งแรกในรอบ 4 เดือน ส่งสัญญาณว่าแรงกดดันเงินเฟ้ออาจเริ่มปรับตัวลดลงแล้ว

สำหรับดัชนีพื้นฐานที่ไม่นับรวมราคาอาหารและเชื้อเพลิงที่มีความผันผวนสูง ขยายตัว 0.1% ในเดือนตุลาคม ซึ่งเท่ากับเดือนกันยายน และนับว่าขยายตัวน้อยที่สุดนับตั้งแต่ต้นปีนี้

อัตราเงินเฟ้อที่ลดลงทำให้ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) มีอิสระมากขึ้นในการใช้มาตรการเพิ่มเติมเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจหากจำเป็น

ในช่วงระยะเวลา 12 เดือนสิ้นสุด ณ เดือนตุลาคมนั้น ดัชนี CPI โดยรวมขยายตัว 3.5% ขณะที่เฟดตั้งเป้าเงินเฟ้อโดยรวมระยะยาวไว้ที่ 1.7 - 2%

ทั้งนี้ ราคาอาหารในเดือนตุลาคมเพิ่มขึ้น 0.1% ซึ่งเพิ่มน้อยที่สุดในปีนี้ ส่วนราคาเสื้อผ้าขยายตัว 0.4% ขณะที่ราคาพาหนะใหม่ลดลง 0.3% ซึ่งลดลงมากที่สุดนับตั้งแต่เดือนมกราคม 2553 และราคาค่าโดยสารเครื่องบินก็ลดลงเช่นกัน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 70

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 21:58:15 น.
ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) เปิดเผยว่า ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐขยายตัวดีเกินคาดในเดือนตุลาคม

โดยผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐซึ่งครอบคลุมถึงผลผลิตในอุตสาหกรรมเหมืองแร่ โรงงาน และสาธารณูปโภคพื้นฐาน ขยายตัว 0.7% ในเดือนตุลาคม หลังจากที่หดตัว 0.1% ในเดือนกันยายน ขณะที่นักเศรษฐศาสตร์คาดว่า จะขยายตัวเพียง 0.4%

ผลผลิตจากโรงงานซึ่งมีสัดส่วน 75% ของผลผลิตภาคอุตสาหกรรมทั้งหมด ขยายตัว 0.5% ในเดือนตุลาคม ซึ่งขยายตัวมากที่สุดในรอบ 3 เดือน หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.3% ในเดือนกันยายน

โดยผลผลิตยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ขยายตัว 3.1% ในเดือนตุลาคม หลังจากที่เพิ่มขึ้น 0.4% ในเดือนกันยายน และหากไม่นับรวมยานยนต์และชิ้นส่วนยานยนต์ ผลผลิตจากโรงงานเดือนตุลาคมจะขยายตัว 0.3% เท่ากับเดือนกันยายน

ทั้งนี้ ผลผลิตจากโรงงานคิดเป็นสัดส่วนราว 12% ของเศรษฐกิจสหรัฐ ดังนั้นจึงอาจเป็นกลไกสำคัญที่ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐในไตรมาส 4
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 71

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พุธที่ 16 พฤศจิกายน 2554 22:22:24 น.
ความต้องการหุ้น พันธบัตร และสินทรัพย์ทางการเงินอื่นๆของสหรัฐ ปรับตัวสูงขึ้นทั่วโลกในเดือนกันยายน เนื่องจากนักลงทุนต้องการลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความปลอดภัย ขณะที่เกิดวิกฤตหนี้สาธารณะในยุโรป

กระทรวงการคลังสหรัฐเปิดเผยว่า มูลค่าการซื้อสุทธิหลักทรัพย์ ตั๋วเงินคลัง และพันธบัตรสหรัฐ อยู่ที่ระดับ 6.86 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนกันยายน เทียบกับ 5.8 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนสิงหาคม หากนับรวมหลักทรัพย์ระยะสั้นอย่างการสวอปหุ้น มูลค่าการซื้อจากต่างชาติจะอยู่ที่ 5.74 หมื่นล้านดอลลาร์ เทียบกับ 8.93 หมื่นล้านดอลลาร์ในเดือนก่อน

ยอดซื้อพันธบัตรปรับตัวสูงขึ้นในเดือนกันยายน เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่าวิกฤตหนี้ยุโรปและเศรษฐกิจสหรัฐที่ซบเซาจะฉุดการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ยอดซื้อที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวสวนทางกับการที่สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม จนทำให้ผลตอบแทนพันธบัตรร่วงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์

เมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายนที่ผ่านมา นายเบน เบอร์นันเก ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) กล่าวว่า พันธบัตรสหรัฐยังเป็นที่นิยมในหมู่นักลงทุน และการลดอันดับความน่าเชื่อถือไม่ได้ส่งผลกระทบที่สำคัญต่อเศรษฐกิจ

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปรียพรรณ มีสุข/สุนิตา โทร.02-2535000 ต่อ 315 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 72

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2554 07:48:06 น.
ฟิทช์ เรทติ้งส์ เตือนว่า ธนาคารรายใหญ่ของสหรัฐจะได้รับผลกระทบอย่างหนักหากวิกฤตหนี้ยุโรปลุกลามออกไปไกลกว่ากรีซ ไอร์แลนด์ อิตาลี โปรตุเกส และสเปน และอาจจะได้รับผลกระทบมากขึ้นหากวิกฤตหนี้ไม่ได้รับการแก้ไขในเวลาและวิธีการที่เหมาะสม แม้ความเสี่ยงที่ธนาคารสหรัฐจะได้รับจากวิกฤตหนี้ยุโรปในขณะนี้ ยังอยู่ในระดับที่ "สามารถจัดการได้" ก็ตาม

ฟิทช์ระบุว่า ธนาคารรายใหญ่ระดับท็อปไฟฟ์ของสหรัฐมียอดเงินกู้, เงินฝาก และทรัพย์สินอื่นๆที่มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารในฝรั่งเศสรวมกันราว 1.14 แสนล้านดอลลาร์ และธนาคารในฝรั่งเศสก็ถือครองพันธบัตรที่ออกโดยรัฐบาลอิตาลีและกรีซอยู่เป็นจำนวนมาก

รายงานของฟิทช์ระบุว่า แบงก์ ออฟ อเมริกา คอร์ป มีการลงทุนสุทธิในตลาดยุโรปที่ประสบปัญหา มูลค่ารวม 1.3 หมื่นล้านดอลลาร์ ขณะที่ซิตีกรุ๊ปมีการลงทุน 1.63 หมื่นล้านดอลลาร์, เจพี มอร์แกน เชส แอนด์ 1.51 หมื่นล้านดอลลาร์, โกลด์แมน แซคส์ กรุ๊ป อิงค์ 2.5 พันล้านดอลลาร์, มอร์แกน สแตนเลย์ 3.4 พันล้านดอลลาร์ และเวลส์ ฟาร์โก แอนด์ โค 3.1 พันล้านดอลลาร์

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 73

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน 2554 08:19:41 น.
สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติสหรัฐ (NAHB) และเวลส์ ฟาร์โก เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นของกลุ่มผู้สร้างบ้านในสหรัฐพุ่งขึ้นสู่ระดับ 20 จุดในเดือนพ.ย. ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2553 จากระดับ 17 จุดของเดือนต.ค. และมากกว่าที่นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่าจะอยู่ที่รดับ 18 จุด

อย่างไรก็ตาม นายบ็อบ นีลเซน ประธาน NAHB กล่าวว่า แม้ดัชนีความเชื่อมั่นปรับตัวสูงขึ้น แต่อุตสาหกรรมการสร้างบ้านของสหรัฐยังคงเผชิญกับอุปสรรคมากมาย รวมถึงจำนวนบ้านหลุดจำนองที่เพิ่มขึ้น และความยากลำบากในการเข้าถึงแหล่งเงินกู้ นอกจากนี้ กลุ่มผู้สร้างบ้านส่วนใหญ่ยังคงมีมุมมองที่เป็นลบต่อตลาดอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากดัชนีความเชื่อมั่นยังคงเคลื่อนไหวต่ำกว่าระดับ 50 จุด


กระทรวงพาณิชย์สหรัฐจะเปิดเผยตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านและการอนุญาตก่อสร้างเดือนต.ค.ในวันนี้เวลา 20.30 น.ตามเวลาไทย โดยนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ตัวเลขการเริ่มสร้างบ้านจะอยู่ที่ 0.610 ล้านยูนิตในเดือนต.ค. ซึ่งลดลงจาก 0.658 ล้านยูนิตในเดือนก.ย. และคาดว่าตัวเลขการอนุญาตก่อสร้างจะอยู่ที่ 0.603 ล้านยูนิตในเดือนต.ค. เพิ่มขึ้นจาก 0.589 ล้านยูนิตในเดือนก.ย.

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 74

โพสต์

ข่าวหุ้น-การเงิน สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- เสาร์ที่ 19 พฤศจิกายน 2554 07:25:33 น.
ดัชนีดาวโจนส์ตลาดหุ้นนิวยอร์กปิดดีดตัวขึ้นเมื่อคืนนี้ (18 พ.ย.) จากสัญญาณที่เป็นบวกของเศรษฐกิจสหรัฐ หลังดัชนีชี้นำเศรษฐกิจเดือนต.ค.ของคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด ปรับตัวสูงเกินคาด อย่างไรก็ตาม ดัชนี S&P 500 และ Nasdaq อ่อนตัวลง เนื่องจากนักลงทุนยังคงไม่แน่ใจเกี่ยวกับสถานการณ์หนี้ยุโรป รวมถึงความวิตกกังวลระลอกใหม่เกี่ยวกับการอภิปรายเรื่องหนี้สาธารณะของสหรัฐ

ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ปรับตัวขึ้น 25.43 จุด หรือ 0.22% ปิดที่ 11,796.16 จุด ขณะที่ ดัชนี S&P 500 ขยับลง 0.48 จุด หรือ 0.04% ปิดที่ 1,215.65 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 15.49 จุด หรือ 0.60% ปิดที่ 2,572.50 จุด

นักวิเคราะห์กล่าวว่า ดัชนีดาวโจนส์เคลื่อนไหวในแดนบวกเป็นส่วนใหญ่ โดยได้รับปัจจัยหนุนจากข้อมูลที่บ่งชี้ว่า เศรษฐกิจสหรัฐอาจกระเตื้องขึ้นในช่วงไม่กี่เดือนข้างหน้านี้ เมื่อคอนเฟอเรนซ์ บอร์ด เปิดเผยว่า ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวขึ้น 0.9% ในเดือนต.ค. ซึ่งดีกว่าการคาดการณ์ของนักเศรษฐศาสตร์

อย่างไรก็ตาม ความวิตกกังวลที่ยังคงมีอยู่เกี่ยวกับแนวโน้มปัญหาหนี้ยุโรป ได้ส่งผลกดดันบรรยากาศการซื้อขายโดยรวม นอกจากนี้ นักลงทุนยังคงจับตาการอภิปรายหนี้สหรัฐรอบใหม่ของคณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมือง หรือ Super Committee ว่าคณะกรรมการจะสามารถตกลงกันได้หรือไม่เกี่ยวกับแผนการลดงบประมาณรายจ่ายและเพิ่มภาษีเพื่อให้สภาคองเกรสพิจารณาลงมติในสัปดาห์หน้า

วานนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลยุโรปปรับตัวลดลงจากระดับสูงในช่วงก่อนหน้านี้ ซึ่งนักลงทุนบางส่วนเชื่อว่าเป็นเพราะธนาคารกลางยุโรปได้เข้าซื้อพันธบัตรเพื่อช่วยประเทศที่ประสบภาวะหนี้สิน

โดยในระยะนี้ อัตราผลตอบแทนพันธบัตรของประเทศในยูโรโซนพุ่งสูงขึ้นมาก โดยเมื่อวันพฤหัสบดี รัฐบาลสเปนขายพันธบัตรอายุ 10 ปีได้ 3.56 พันล้านยูโร (4.8 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ) ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายสูงสุดที่กระทรวงการคลังสเปนกำหนดไว้ที่ 4 พันล้านยูโร ขณะที่อัตราผลตอบแทนอยู่ที่ 6.97% ซึ่งเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่ปี 2540 และสูงกว่าระดับ 5.43% ในการประมูลเมื่อวันที่ 20 ต.ค.

ขณะที่ผลการประมูลพันธบัตรของรัฐบาลอิตาลีเมื่อวันจันทร์ระบุว่า อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 5 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.29% ซึ่งสูงกว่าระดับ 5.32% ในการประมูลเมื่อเดือนที่แล้ว และถือเป็นระดับสูงสุดนับตั้งแต่อิตาลีเข้าร่วมก่อตั้งกลุ่มยูโรโซน ขณะที่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นสู่ระดับ 6.76%

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ระดับสูงของสเปนและอิตาลีถูกมองว่าเป็นอันตราย เนื่องจากทั้งกรีซและโปรตุเกสได้ถูกบีบให้ต้องขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากต่างประเทศ หลังจากที่บอนด์ยิลด์พุ่งแตะระดับที่ใกล้เคียงกันนี้

ขณะเดียวกัน การแก้ไขปัญหาหนี้ยุโรปก็ยังไม่มีทีท่าว่าจะได้ข้อยุติ เนื่องจากบรรดาผู้นำในภูมิภาคยังมีความเห็นแยกกันไปคนละทิศคนละทางเกี่ยวกับวิธีดำเนินการ โดยเยอรมนีและฝรั่งเศส ซึ่งเป็นสองหัวเรือใหญ่ในยูโรโซน เห็นไม่ตรงกันเรื่องบทบาทหน้าที่ของอีซีบี ขณะที่อังกฤษก็มีมุมมองที่แตกต่างออกไป

นางอังเกลา แมร์เคิล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ปฏิเสธข้อเรียกร้องของฝรั่งเศสที่ให้อีซีบีทำหน้าที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายสำหรับวิกฤตหนี้ โดยระบุว่าข้อเสนอที่ต้องการให้อีซีบีมาเป็นผู้ปล่อยกู้ รวมถึงการออกพันธบัตรสกุลเงินยูโรนั้น จะไม่ช่วยคลี่คลายปัญหา

นางแมร์เคิล และ นายกรัฐมนตรีเดวิด คาเมรอน ของอังกฤษ ได้ประชุมร่วมกันที่กรุงเบอร์ลินเมื่อวานนี้ โดยถึงแม้ว่าผู้นำทั้งสองจะเน้นย้ำถึงความสำคัญของความร่วมมือเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของยุโรปเพื่อฝ่าฟันวิกฤตหนี้ครั้งเลวร้ายนี้ไปให้ได้ แต่ทั้งนางแมร์เคิลและนายคาเมรอนก็ไม่ได้สร้างความคืบหน้าใดๆจากการพบปะพูดคุยกันในครั้งนี้ แถมยังไม่สามารถลบความเห็นต่างเกี่ยวกับวิธีการแก้ปัญหา โดยนายคาเมรอนเรียกร้องให้มีการดำเนินการอย่างเด็ดขาด ขณะที่นางแมร์เคิลเห็นว่าควรจะใช้แนวทางแก้ปัญหาไปทีละขั้นมากกว่า

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปนัยดา ปัทมโกวิท โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 75

โพสต์

ไอเอ็มเอฟเตือนเศรษฐกิจสหรัฐเดี้ยงหากไม่เร่งกู้วิกฤติหนี้ยุโรป


นางคริสตีน ลาการ์ด กรรมการผู้อำนวยการกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ) ให้สัมภาษณ์ในรายการ "60มินิทส์" ทางสถานีซีบีเอส ว่า ถ้าวิกฤติหนี้สาธารณะของยุโรป ไม่ได้รับการแก้ไขในเร็ววันอาจจะนำไปสู่ผลลัพธ์ที่เลวร้ายต่อเศรษฐกิจสหรัฐเนื่องจากเศรษฐกิจของสองภูมิภาคขนาดใหญ่นี้เชื่อมโยงกันอย่างมาก
"การปล่อยให้ยุโรปล้มเป็นเรื่องเลวร้าย และถ้าหากเกิดขึ้นจริง จะทำให้เกิดผลลัพธ์เชิงลบที่ประเมินค่ามิได้แก่เศรษฐกิจอื่นๆอีกหลายประเทศ รวมทั้ง สหรัฐ เนื่องจากสหรัฐส่งออกไปยุโรปในสัดส่วน 20% นอกจากนี้ภาคธนาคารยุโรปและสหรัฐยังเกี่ยวพันกันเยอะมาก ขณะที่พนักงานชาวยุโรปได้รับการว่าจ้างโดยบริษัทอเมริกันปริมาณมาก และในทางกลับกัน พนักงานชาวอเมริกัน ก็ได้รับการว่าจ้างจากบริษัทยุโรปในสัดส่วนที่สูงไม่แพ้กัน" นางลาการ์ด กล่าว
ความเห็นของนางลาการ์ด มีขึ้นในช่วงที่สหรัฐกำลังชั่งน้ำหนักที่จะให้ความช่วยเหลือเพื่อบรรเทาวิกฤติหนี้ในยูโรโซน ขณะที่หลายๆภูมิภาคของโลกเริ่มรับรู้ถึงผลกระทบจากวิกฤติหนี้ในยุโรป
ผู้บริหารระดับสูงของไอเอ็มเอฟ ยืนยันด้วยว่า ไอเอ็มเอฟ ต้องมีบทบาทนำในการทำหน้าที่เป็นพนักงานดับเพลิงที่กำลังโหมไหม้เศรษฐกิจของโลกอยู่ในขณะนี้
http://www.bangkokbiznews.com/home/deta ... ยุโรป.html
คุณไม่มีสิทธิ์ดูไฟล์ที่แนบมาในกระทู้
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 76

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 06:41:44 น.
คณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมืองของสหรัฐ หรือ Super Committee ซึ่งประกอบไปด้วยสมาชิกสภาคองเกรส 12 คนได้ออกแถลงการณ์ว่า คณะกรรมการไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้าได้ หลังจากการเจรจาหารือกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาไม่สามารถประสานความเห็นที่แตกต่าง กันเป็นอย่างมากระหว่างสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตในเรื่องภาษีและงบประมาณรายจ่ายได้

"หลังจากที่เราได้เจรจากันเป็นเวลาหลายเดือน เราก็ได้ข้อสรุปในวันนี้ว่า คงเป็นไปไม่ได้ที่เราจะสามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณได้ก่อนกำหนดเส้นตายในวันพุธ แต่ถึงกระนั้นก็ตาม เราก็คาดหวังว่าวิกฤตการคลังของประเทศจะได้รับการแก้ไข และเราไม่สามารถปล่อยเรื่องนี้ไว้เป็นภาระให้กับคนรุ่นต่อไปต้องเข้ามาแก้ไข" แถลงการณ์ของคณะกรรมการ Super Committee ระบุ

การที่คณะกรรมการ Super Committee ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องนี้ จะทำให้สหรัฐต้องปรับลดงบประมาณของโครงการต่างๆลงในวงกว้างโดยอัตโนม้ติ โดยจะปรับลดงบประมาณทางการทหารลง 6 แสนล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2556 และลดงบประมาณของโครงการภายในประเทศลง 6 แสนล้านดอลลาร์

ความล้มเหลวในการทำข้อตกลงของคณะกรรมการในครั้งนี้เกิดจากการที่พรรครีพับลิกันไม่เต็มใจจะอนุมัติมาตรการปรับเพิ่มภาษีตามข้อเรียกร้องของพรรคเดโมแครต ขณะที่พรรคเดโมแครตได้ขัดขวางมาตรการปฏิรูปสวัสดิการครั้งใหญ่ที่พรรครีพับลิกันเป็นผู้เสนอ

คณะกรรมการ super committee ได้จัดตั้งขึ้นในช่วงฤดูร้อนของปีนี้ หลังจากที่ความขัดแย้งด้านงบประมาณในช่วงนั้นส่งผลให้สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (เอสแอนด์พี) ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐลงจากระดับ AAA

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 77

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 08:10:33 น.
ประธานาธิบดีบารัค โอบามา แห่งสหรัฐ ยืนยันว่าเขาจะใช้สิทธิประธานาธิบดีในการคัดค้านความพยายามใดๆก็ตามที่จะทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องปรับลดงบประมาณของโครงการต่างๆลงโดยอัตโนม้ติ แม้คณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมืองของสหรัฐ หรือ Super Committee ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงกันได้เกี่ยวกับการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณก็ตาม

"มีสมาชิกพรรครีพับลิกันหลายคนที่ปฏิเสธที่จะฟังเหตุผลจากภายนอก การปฏิเสธด้วยท่าทีเช่นนี้ถือเป็นอุปสรรคอันใหญ่หลวงที่ทำให้สภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงการปรับลดงบยอดขาดดุลงบประมาณได้ พวกเขายังคงยืนกรานที่จะปกป้องนโยบายการลดหย่อนภาษีให้กับคนร่ำรวยลงในสัดส่วน 2% โดยไม่สนใจว่าการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณจะส่งผลให้ต้องมีการงบการใช้จ่ายครั้งใหญ่ในโครงการต่างๆ เช่นโครงการศึกษาและการวิจัยทางการแพทย์ หรือแม้แต่ต้องลดงบประมาณในโครงการประกันสุขภาพ" โอบามากล่าวในแถลงการณ์

นอกจากนี้ โอบามายืนยันว่าเขาจะใช้สิทธิประธานาธิบดีในการคัดค้านความพยายามใดๆก็ตามที่จะทำให้รัฐบาลสหรัฐต้องปรับลดงบประมาณของโครงการต่างๆ ลงโดยอัตโนม้ติ

การแสดงควาคิดเห็นของสหรัฐมีขึ้นหลังจากคณะกรรมการ Super Committee ไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณลงมูลค่า 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ในระยะเวลา 10 ปีข้างหน้าได้ หลังจากการเจรจาหารือกันในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมาไม่สามารถประสานความเห็นที่แตกต่างกันระหว่างสมาชิกพรรครีพับลิกันและเดโมแครตในเรื่องภาษีและงบประมาณรายจ่ายได้

ทั้งนี้ การที่คณะกรรมการ Super Committee ไม่สามารถตกลงกันได้ในเรื่องนี้ จะทำให้สหรัฐต้องปรับลดงบประมาณของโครงการต่างๆลงในวงกว้างโดยอัตโนม้ติ โดยจะปรับลดงบประมาณทางการทหารลง 6 แสนล้านดอลลาร์ตั้งแต่ปี 2556 และลดงบประมาณของโครงการต่างๆ ภายในประเทศลง 6 แสนล้านดอลลาร์

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช โทร.02-2535000 ต่อ 327 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 78

โพสต์

*USA:S&P,มูดี้ส์ยันยังไม่หั่นเครดิตสหรัฐหลังไม่คืบหน้าเจรจาลดหนี้สาธารณะ
นิวยอร์ค--22 พ.ย.--รอยเตอร์

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส
ซึ่งเป็น 2 สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือชั้นนำของโลก เปิดเผยว่า จะยัง
ไม่มีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐในขณะนี้ อันเนื่องมาจากความ
ล้มเหลวของคณะกรรมการสภาคองเกรสสหรัฐในการบรรลุข้อตกลงเรื่องการ
ปรับลดหนี้สาธารณะ--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 79

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- อังคารที่ 22 พฤศจิกายน 2554 21:29:42 น.
กระทรวงพาณิชย์สหรัฐเปิดเผยตัวเลขประมาณการผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ไตรมาส 3 ครั้งที่ 2 ในวันนี้ โดยระบุว่า จีดีพีไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตรา 2% ต่อปี ซึ่งต่ำกว่าการประมาณการครั้งแรกที่ 2.5% โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการที่ภาคเอกชนปรับลดสต็อกสินค้าคงคลัง

ตัวเลขสต็อกสินค้าคงคลังเป็นองค์ประกอบที่สำคัญในการคำนวณจีดีพี และเป็นข้อมูลที่มีผลกระทบต่อการประเมินวงจรทางธุรกิจและการขยายตัวของเศรษฐกิจด้วย

รายงานของกระทรวงพาณิชย์ระบุว่า การอุปโภคบริโภคในไตรมาส 3 ของสหรัฐขยายตัว 2.3% ซึ่งลดลงเมื่อเทียบกับประมาณการครั้งแรกที่ 2.4% อย่างไรก็ตาม ตัวเลขดังกล่าวปรับตัวสูงขึ้น 0.7% เมื่อเทียบกับไตรมาส 2

ยอดการผลิตยานยนต์ในไตรมาส 3 ขยายตัวในอัตรา 0.18% ตรงข้ามกับไตรมาส 2 ที่หดตัวลง 0.1% ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าอุตสาหกรรมการผลิตยานยนต์ของสหรัฐเริ่มฟื้นตัวขึ้น หลังจากที่เผชิญกับภาวะชะงักงันในห่วงโซ่อุปทาน อันเป็นผลมาจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวและคลื่นสึนามิในญี่ปุ่นเมื่อเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา

ส่วนอัตราการลงทุนของภาคเอกชนในธุรกิจที่ไม่เกี่ยวข้องกับที่อยู่อาศัย เช่น โรงงาน อุปกรณ์ต่างๆ และซอฟต์แวร์ ปรับตัวเพิ่มขึ้น 14.8% น้อยกว่าการประมาณการครั้งแรกที่ระบุว่าขยายตัว 16.3% แต่ตัวเลขดังกล่าวสูงกว่าไตรมาส 2 ที่ระดับ 10.3%

นอกจากนี้ กระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า ยอดการนำเข้าในไตรมาส 3 เพิ่มขึ้น 0.5% น้อยกว่าการประมาณการครั้งแรกที่ 1.9% และน้อยกว่าระดับ 1.4% ในไตรมาส 2 ขณะที่ยอดการส่งออกขยายตัว 4.3% ซึ่งดีกว่าการประมาณการครั้งแรกที่ 4.0% และสูงกว่าระดับ 3.6% ในไตรมาส 2 สำนักข่าวเกียวโดรายงาน

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย รัตนา พงศ์ทวิช/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 80

โพสต์

BELGIUM:หุ้น,ยูโรดิ่งหลังสื่อเผยฝรั่งเศส-เบลเยียมฉีกข้อตกลงอุ้ม"เด็กเซีย"
บรัสเซลส์--23 พ.ย.--รอยเตอร์

ตลาดหุ้นทั่วโลกดิ่งลงอีกในวันนี้ ขณะที่ยูโรอ่อนค่าลง หลังหนังสือพิมพ์
รายงานว่า ทางการเบลเยียมและฝรั่งเศสกำลังจัดการประชุมครั้งใหม่เพื่อหารือ
ถึงข้อตกลงที่ทั้ง 2 ประเทศเคยเห็นพ้องกันก่อนหน้านี้ในการช่วยเหลือธนาคาร
เด็กเซีย ซึ่งเป็นธนาคารยุโรปที่รัฐบาลให้ความช่วยเหลือเป็นแห่งแรกในวิกฤติ
หนี้ยูโรโซน
ทั้งนี้ หนังสือพิมพ์ De Standaard ของเบลเยียมรายงานโดยไม่ได้
อ้างแหล่งข่าวว่า การประชุมดังกล่าวกำลังเกิดขึ้น แต่ก็รายงานด้วยว่า นายดิดิเยร์
เรย์นเดอร์ส รมว.คลังเบลเยียมปฏิเสธว่า ไม่ได้มีการยกเลิกข้อตกลงเดิมระหว่าง
เบลเยียมและฝรั่งเศสในการช่วยเหลือธนาคารเด็กเซีย
พวกเขาเปิดเผยว่า การประชุมดังกล่าวเกี่ยวข้องกับการหารือเรื่อง
การแบ่งค่าใช้จ่ายระหว่างฝรั่งเศสและเบลเยียม หลังการให้ความช่วยเหลือ
เด็กเซีย ซึ่งได้เพิ่มแรงกดดันต่อประเทศอื่นๆในยูโรโซนเพื่อเพิ่มความแข็งแกร่ง
ให้แก่ธนาคาร ขณะที่วิกฤติหนี้รุนแรงขึ้น--จบ--
ภาพประจำตัวสมาชิก
บูรพาไม่แพ้
Verified User
โพสต์: 2533
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 81

โพสต์

ข่าวต่างประเทศ สำนักข่าวอินโฟเควสท์ (IQ) -- พฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2554 11:45:15 น.
มูดีส์ อินเวสเตอร์ส เซอร์วิส อิงค์ กล่าวว่า ความล้มเหลวของที่ประชุมคณะกรรมการร่วมระหว่างสองพรรคการเมืองสหรัฐ จนไม่สามารถบรรลุข้อตกลงหั่นตัวเลขขาดดุลงบประมาณได้นั้น จะไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐ ซึ่งอยู่ในระดับสูงสุดที่ AAA แต่อย่างใด

สำนักข่าวเกียวโดรายงานแถลงการณ์ของมูดีส์ว่า ยอดขาดดุลงบประมาณจะลดลง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ จากมาตรการลดรายจ่ายอัตโนมัติ ซึ่งจะเริ่มขึ้นในเดือนม.ค. ปี 2556

อย่างไรก็ตาม มูดีส์ยอมรับว่า ขณะนี้ บริษัทมีมุมมองในเชิงลบต่ออันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ เนื่องจากจะต้องใช้เวลาสักระยะกว่าที่การลดยอดขาดดุลงบประมาณเพิ่มเติม จะสามารถพลิกสถานการณ์หนี้สินของประเทศ

ก่อนหน้านี้เมื่อวันจันทร์ สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ส (เอสแอนด์พี) ซึ่งเป็นบริษัทจัดอันดับความน่าเชี่อถือของสหรัฐอีกแห่งหนึ่ง กล่าวว่า การเจรจาลดยอดขาดดุลงบประมาณที่ล้มเหลวจะไม่ส่งผลกระทบต่ออันดับความน่าเชื่อถือและแนวโน้มอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ

เมื่อเดือนส.ค.ที่ผ่านมา เอสแอนด์พีได้ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐลงเหลือ AA+ จากระดับสูงสุดที่ AAA เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ พร้อมคงแนวโน้มอันดับเครดิตในเชิงลบ

ทั้งนี้ เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมาตามเวลาในสหรัฐ คณะกรรมการ "ซูเปอร์คอมมิตตี" ในสภาคองเกรส ประกาศยอมรับว่าไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องวิธีการลดยอดขาดดุลงบประมาณ 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ให้ได้ก่อนกำหนดเส้นตายในวันพุธ เนื่องจากพรรครีพับลิกันและเดโมแครตไม่สามารถโอนอ่อนเข้าหากันได้ ทำให้สหรัฐจะต้องใช้แผนลดรายจ่าย 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ในทุกภาคส่วนเป็นระยะเวลาอีก 10 ปี นั้บตั้งแต่ปี 2556 เป็นต้นไป

--อินโฟเควสท์ แปลและเรียบเรียงโดย ปาริชาติ ชื่นชม/ปนัยดา โทร.02-2535000 ต่อ 323 อีเมล์: [email protected]--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 82

โพสต์

ยังต้องจับตาสถานการณ์ยุโรปอย่างใกล้ชิด
- สถานการณ์ยุ่งยากมากขึ้นหลังจากนายกเยอรมนี Angela Merkel ยืนกรานไม่เห็นด้วยกับการออก Euro Bond เพราะเห็นว่าไม่ใช่ทางแก้ปัญหา
- อิตาลีจะประมูลพันธบัตรค่ำนี้ 8 พันล้านยูโร ต้องติดตามว่าจะขายหมด? และ yield จะเป็นเท่าไหร่ สองวันที่ผ่านมา พันธบัตรเยอรมนีขายไม่หมด ในขณะที่ Bond Yield ของประเทศในยุโรปพุ่งสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ทำให้การระดมทุนผ่านตลาดพันธบัตรแพงขึ้นเรื่อยๆ
- ประเทศในยุโรปถูกลด credit rating ลง ตอนนี้ประเทศที่มีสถานะเป็น Junk มีกรีซ ไอร์แลนด์ โปรตุเกส ฮังการี ตุรกี และอีกหลายประเทศในยุโรปตะวันออก
- นอกจากปัญหาหนี้ในยุโรป ยังเป็นปัญหาทางสังคมและการเมือง (เดินขบวนประท้วงรัฐบาล ปีหน้าเป็นปีแห่งการเลือกตั้งของหลายประเทศ)
- การ downgrade credit rating มีผลต่อตลาดเงินและตลาด forex ที่กำลังผันผวนมากขณะนี้ ทำให้เกิดการขายสินทรัพย์ที่เป็นยูโร (euro bond) และซื้อ US bond แทน หุ้นก็เป็น risk asset เป็นเป้าในการขายของฝรั่งเช่นกัน
- กลางเดือน ธ.ค. กรีซจำเป็นต้องได้รับเงินกู้งวดที่ 6 ~8 พันล้านยูโร ไม่เช่นนั้นจะต้อง default อย่างเป็นทางการ
- ECB ประชุม 8 ธ.ค. ครั้งแล้ว surprise ตลาดด้วยการลดดอกเบี้ย 0.25%
FSS Research
w2tc
Verified User
โพสต์: 240
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 83

โพสต์

ไอเอ็มเอฟเตรียมแผนกอบกู้อิตาลี6แสนล้านยูโร

ไอเอ็มเอฟเตรียมแผนกอบกู้อิตาลี6แสนล้านยูโรหากวิกฤติหนี้แดนมักกะโรนีเลวร้ายหนัก
หนังสือพิมพ์ลา สแตมปา ของอิตาลี รายงานโดยอ้างคณะเจ้าหนาที่จากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ(ไอเอ็มเอฟ)ว่า ไอเอ็มเอฟ ได้เตรียมเงินช่วยเหลือไว้มากถึง 6 แสนล้านยูโร (794 พันล้านดอลลาร์) หากว่าวิกฤติหนี้สาธารณะในอิตาลีเลวร้ายลง

ทั้งนี้ เงินกู้จำนวนระหว่าง 4 แสนล้านยูโรและ6 แสนล้านยูโรนี้เพื่อเปิดโอกาสให้อิตาลีมีเวลา 12-18 เดือนผลักดันแผนลดงบประมาณให้บรรลุผลสำเร็จ และสนับสนุนด้านการปฏิรูปด้านต่างๆให้เกิดผลเป็นรูปธรรม

ไอเอ็มเอฟ จะคิดดอกเบี้ยเงินกู้ก้อนนี้ที่เตรียมจัดสรรให้อิตาลีที่อัตรา 4% หรือ 5% ซึ่งต่ำกว่าต้นทุนการกู้ยืมจากตลาดพันธบัตรเชิงพาณิชย์ ซึ่งอัตราดอกเบี้ยพันธบัตรระยะ2 ปี และ 5 ปี ปรับตัวขึ้นกว่า 7%

อย่างไรก็ตาม การเคลื่อนไหวครั้งนี้ของไอเอ็มเอฟ มีขึ้นหลังจากสหภาพยุโรป (อียู) และธนาคารกลางยุโรป(อีซีบี)ได้ส่งคณะผู้ตรวจสอบบัญชีเข้าไปตรวจสอบบัญชีรายจ่ายด้านสาธารณะต่างๆของอิตาลีในเดือนนี้ และไอเอ็มเอฟ ยังเตรียมส่งคณะผู้เชี่ยวชาญไปอิตาลีในเร็วๆนี้ เป็นส่วนหนึ่งของกลไกเฝ้าระวังพิเศษที่ผ่านความเห็นชอบจากที่ประชุมสุดยอดกลุ่มจี20 รวมทั้งรัฐบาลอิตาลีแล้ว

ปริมาณหนี้สาธารณะของอิตาลี มูลค่า 1.9 ล้านล้านยูโร( 2.5 ล้านล้านดอลลาร์)และอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำ สร้างความวิตกกังวลแก่บรรดานักลงทุนอย่างมากในช่วงไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา รวมถึง กระแสคาดการณ์ที่รุนแรงขึ้นเรื่อยๆว่า อิตาลีจะมีชะตากรรมเดียวกับกรีซ ไอร์แลนด์ และโปรตุเกส ที่ต้องเข้ารับการเยียวยาทางเศรษฐกิจจากไอเอ็มเอฟและอียู

http://bit.ly/vEBQ2T
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 84

โพสต์

ITALY:ไอเอ็มเอฟโต้สื่อ ยันไม่มีการหารือกับอิตาลีเรื่องอัดฉีดเงินช่วยเหลือ
ฮ่องกง--28 พ.ย.--รอยเตอร์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เปิดเผยในวันนี้
ว่า ไอเอ็มเอฟไม่ได้กำลังเจรจากับเจ้าหน้าที่อิตาลีเกี่ยวกับแผนการให้เงินกู้
ซึ่งถือเป็นการสยบการคาดการณ์ที่ว่า ไอเอ็มเอฟกำลังเตรียมมาตรการช่วยเหลือ
อิตาลี ขณะที่วิกฤติหนี้ยูโรโซนรุนแรงยิ่งขึ้น
ทั้งนี้ ต่อข้อถามจากสื่อ โฆษกไอเอ็มเอฟกล่าวว่า "ไอเอ็มเอฟ
ไม่มีการหารือกับเจ้าหน้าที่อิตาลีเกี่ยวกับโครงการการปล่อยเงินกู้แต่อย่างใด"
ยูโรแข็งค่าขึ้น และตลาดหุ้นในเอเชียพุ่งขึ้นในวันนี้ หลังจากหนังสือพิมพ์
La Stampa รายงานว่า ไอเอ็มเอฟกำลังเตรียมมาตรการช่วยเหลืออิตาลี
แต่ความไม่แน่ใจเกี่ยวกับความเป็นไปได้ของแผนการดังกล่าว ทำให้แนวโน้ม
ยังคงคลุมเครือ
ยูโรพุ่งขึ้น 0.6% มาที่ 1.3331 ดอลลาร์ หลังจากรายงานระบุว่า
ไอเอ็มเอฟอาจจะให้เงินกู้ต่ออิตาลีมากถึง 6.00 แสนล้านยูโร โดยคิดอัตรา
ดอกเบี้ย 4-5% เพื่อให้อิตาลีมีสภาพคล่องเป็นเวลา 18 เดือน
แหล่งข่าวเปิดเผยกับรอยเตอร์ว่า ไอเอ็มเอฟ และอิตาลีมีการติดต่อกัน
มากขึ้นในช่วงไม่กี่วันที่ผ่านมา แต่ก็เสริมว่า ขณะนี้ยังไม่เป็นที่ชัดเจนว่าจะมีการ
เสนอการให้ความสนับสนุนในรูปแบบใด เช่น การจัดวงเงินสำรองแบบดั้งเดิม
หรือการให้วงเงินสินเชื่อเพื่อป้องกันล่วงหน้า ถ้าหากตลาดการเงินทรุดตัวในวันนี้
ซึ่งทำให้ต้องมีการดำเนินการในทันที
ด้านแหล่งข่าวอย่างเป็นทางการในอิตาลีเปิดเผยว่า พวกเขายังไม่ทราบ
เรื่องการขอความช่วยเหลือจากอิตาลี--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 85

โพสต์

EUROPE:"มูดี้ส์"ชี้วิกฤติหนี้กดดันอันดับเครดิตทุกประเทศในยุโรป
ลอนดอน--28 พ.ย.--รอยเตอร์

มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเปิดเผยว่า วิกฤติของหนี้สาธารณะ
และภาคธนาคารของยุโรปที่เลวร้ายลงอย่างรวดเร็ว กำลังคุกคามอันดับ
ความน่าเชื่อถือของทุกประเทศในยุโรป
"ขณะที่มูดี้ส์ยังคงคาดว่า เขตยูโรโซนจะยังคงได้รับการปกป้อง
โดยไม่มีการลุกลามของการผิดนัดชำระหนี้ในวงกว้าง แต่การคาดการณ์
'ในแง่บวก' ดังกล่าวก็ยังคงมีสิ่งบ่งชี้ในเชิงลบอย่างมากต่ออันดับความ
น่าเชื่อถือในระยะกลาง" มูดี้ส์ระบุ
มูดี้ส์ยังตั้งข้อสังเกตว่า แรงกระตุ้นทางการเมืองเพื่อปฏิบัติ
ตามแผนที่มีประสิทธิภาพนั้น อาจจะมีขึ้นหลังเกิดเหตุการณ์ตื่นตระหนก
หลายครั้ง ซึ่งอาจจะทำให้ประเทศจำนวนมากขึ้นสูญเสียช่องทางการ
เข้าถึงแหล่งระดมทุนในตลาด และจะทำให้ต้องการมาตรการสนับสนุน
"มีความเป็นไปได้มากที่ว่าสิ่งนี้จะทำให้อันดับความน่าเชื่อถือ
ของประเทศเหล่านี้ถูกปรับสู่ระดับเก็งกำไร (speculative grade)
เมื่อพิจารณาจากการทดสอบความแข็งแกร่งทางการเงิน ซึ่งอาจจำเป็น
ต้องมีขึ้น และการแบกรับภาระร่วมกัน ซึ่งอาจจะต้องมีการดำเนินการ
ถ้าหากจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุนเป็นระยะเวลาหนึ่ง"--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 86

โพสต์

ITALY:นายกฯยอมรับอิตาลีเสี่ยงล่มสลายทางเศรษฐกิจแบบกรีซ
โรม--6 ธ.ค.--รอยเตอร์

นายกรัฐมนตรีมาริโอ มอนติของอิตาลีกล่าวว่า อิตาลีเสี่ยงที่จะเผชิญกับ
การล่มสลายทางเศรษฐกิจแบบกรีซ ซึ่งอาจคุกคามต่ออนาคตของยูโรโซน ถ้าหาก
ไม่มีมาตรการรัดเข็มขัดที่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาล และเขาเรียกร้องให้
ประเทศพันธมิตรในยุโรปทำหน้าที่ในส่วนของตนเอง
มาตรการดังกล่าว ซึ่งนายมอนติขนานนามว่า "Save Italy" มีเป้าหมาย
เพื่อระดมทุนมากกว่า 1.0 หมื่นล้านยูโร (1.34 หมื่นล้านดอลลาร์) จากภาษีอสังหา
ริมทรัพย์, เรียกเก็บภาษีใหม่จากสินค้าฟุ่มเฟือย อาทิ เรือยอชต์, เพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่ม,
จัดการเด็ดขาดกับการหลบเลี่ยงภาษี และเพิ่มอายุการเกษียณ
นายมอนติยอมรับว่า มาตรการดังกล่าวจะถ่วงเศรษฐกิจที่เปราะบางของ
อิตาลี ซึ่งนักวิเคราะห์ส่วนใหญ่ระบุว่า อยู่ในภาวะถดถอยแล้ว แต่เขากล่าวว่า
ถ้าไม่มีการดำเนินการ ผลที่เกิดขึ้นในภายหลังอาจเลวร้ายกว่านี้มาก
คาดว่ามาตรการดังกล่าว ซึ่งถูกบรรจุรวมในกฎหมายฉุกเฉินที่จะมีผลบังคับ
ใช้ก่อนที่จะได้รับความเห็นชอบอย่างเป็นทางการจากรัฐสภานั้น จะได้รับความสนับสนุน
จากพรรคการเมืองส่วนใหญ่ ยกเว้นพรรค Northern League
ตลาดขานรับมาตรการนี้ ซึ่งนักวิเคราะห์กล่าวว่า น่าจะเพียงพอที่จะโน้มน้าว
ให้ธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) ทำให้ต้นทุนการกู้ยืมลดลงต่อไปด้วยการเข้าซื้อพันธบัตร
อิตาลีในตลาด
ผลตอบแทนพันธบัตรประเภทอายุ 10 ปีของอิตาลีลดลงสู่ระดับ 6% ซึ่งลดลง
ถึง 1% จากสัปดาห์ที่แล้ว ขณะที่ส่วนต่างเมื่อเทียบกับพันธบัตรเยอรมนีลดลงต่ำกว่า
4.00% ที่เคยเกิดขึ้นในเดือนต.ค.--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 87

โพสต์

GREECE:รัฐสภากรีซไฟเขียวงบประมาณปีหน้าแล้ว ขณะเดินหน้ามาตรการรัดเข็มขัด
เอเธนส์--7 ธ.ค.--รอยเตอร์

พรรคร่วมรัฐบาลของกรีซต่างพากันเทคะแนนเสียงอนุมัติงบประมาณ
ฉบับรัดเข็มขัดประจำปี 2012 ในวันนี้ โดยงบประมาณดังกล่าวมีจุดประสงค์ในการ
ปรับลดภาระหนี้ของรัฐบาลผ่านทางการปรับเพิ่มภาษีและปรับลดงบรายจ่าย
ทั้งนี้ สมาชิกรัฐสภากรีซลงคะแนนเสียงสนับสนุนงบประมาณฉบับนี้ถึง
258 เสียง จากทั้งหมด 300 เสียงในสภา โดยพรรคการเมืองใหญ่ 3 พรรค
ที่สนับสนุนนายกรัฐมนตรีลูคัส ปาปาเดมอส ต่างพากันลงคะแนนเสียงสนับสนุน
งบประมาณดังกล่าว ซึ่งบรรจุมาตรการปรับลดยอดขาดดุลงบประมาณ ถึงแม้
ถูกต่อต้านจากประชาชน แต่กรีซจำเป็นต้องดำเนินเพื่อแสดงให้เจ้าหนี้ต่างชาติ
เห็นว่ากรีซกำลังพยายามแก้ไขปัญหาของตนเอง
นายปาปาเดมอสกล่าวว่า "ความสำเร็จในการนำงบประมาณฉบับนี้
ไปบังคับใช้จะช่วยฟื้นฟูความน่าเชื่อถือของกรีซในสายตาของนานาชาติ และเปิด
โอกาสในการให้ความช่วยเหลือทางเศรษฐกิจ"
อย่างไรก็ดี นายอันโตนิส ซามาราส ผู้นำพรรคการเมืองฝ่ายอนุรักษ์นิยม
ของกรีซแสดงออกอย่างชัดเจนว่า การที่เขาให้การสนับสนุนงบประมาณฉบับนี้นั้น
เป็นเพราะว่าเขาไม่ต้องการให้กรีซผิดนัดชำระหนี้ และเขาประกาศว่าจะลดความ
แข็งกร้าวของมาตรการทางภาษี และจะดำเนินมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจ ถ้าหาก
เขาชนะการเลือกตั้งในเดือนก.พ.ปีหน้า--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 88

โพสต์

EUROPE:"ไกธ์เนอร์"นัดถกปธน.ฝรั่งเศสวันนี้ หวังกดดันเร่งแก้วิกฤติหนี้
ปารีส--7 ธ.ค.--รอยเตอร์

นายทิโมธี ไกธ์เนอร์ รมว.คลังสหรัฐ จะประชุมกับประธานาธิบดีนิโคลาส์
ซาร์โคซีของฝรั่งเศสที่กรุงปารีสในวันนี้ เพื่อกดดันให้มีการดำเนินมาตรการอย่าง
จริงจังในการแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน ในขณะที่ผู้นำยุโรปเตรียมพร้อมสำหรับการประชุม
สุดยอดในสัปดาห์นี้
ตลาดการเงินมองว่าการเดินทางเยือนยุโรปของนายไกธ์เนอร์ในครั้งนี้
เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า รัฐบาลสหรัฐมองว่าการประชุมสุดยอดในครั้งนี้มีความสำคัญมาก
ต่อแนวโน้มเศรษฐกิจโลก
นายไกธ์เนอร์ประกาศให้การสนับสนุนอย่างแข็งแกร่งต่อแผนการของผู้นำ
ฝรั่งเศส-เยอรมนีในการปฏิรูปสนธิสัญญาของสหภาพยุโรป (อียู) ในระหว่างที่เขา
เดินทางเยือนกรุงเบอร์ลินเมื่อวานนี้ หลังจากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบัน
จัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่างประเทศ ประกาศเตือนว่าทางบริษัทอาจปรับลดอันดับ
ความน่าเชื่อถือของกองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF)
ปธน.ซาร์โคซีและนางแองเจลา เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีเยอรมนี จะเสนอ
แผนการกำหนดบทลงโทษต่อประเทศสมาชิกยูโรโซนที่มียอดขาดดุลงบประมาณสูงเกิน
เป้าหมายในที่ประชุมสุดยอดของอียูในวันศุกร์นี้ โดยแผนการนี้มีจุดประสงค์เพื่อฟื้นฟู
ความเชื่อมั่นในตลาด และเพื่อป้องกันไม่ให้วิกฤติหนี้ยูโรโซนอยู่นอกเหนือการควบคุม
ทั้งนี้ รายละเอียดของข้อเสนอปฏิรูปสนธิสัญญานี้จะได้รับการนำเสนอในวันนี้
ในจดหมายที่ยื่นต่อนายเฮอร์แมน แวน รอมพาย ประธานสภาผู้นำยุโรป ซึ่งจะดำรง
ตำแหน่งประธานการประชุมผู้นำประเทศสมาชิกอียู 27 ประเทศในครั้งนี้
นายไกธ์เนอร์มีกำหนดจะประชุมกับนายฟรังซัวส์ บารวง รมว.คลังฝรั่งเศส
ที่กรุงปารีสในช่วงเช้าวันนี้ ก่อนจะประชุมกับปธน.ซาร์โคซีในช่วงรับประทานอาหาร
กลางวัน
นายไกธ์เนอร์กล่าวว่า เขามีความพึงพอใจที่ได้เห็นความพยายามในการใช้
กฎเกณฑ์ด้านงบประมาณที่เข้มงวดแบบเดียวกันในประเทศสมาชิกอียู
นายไกธ์เนอร์กล่าวย้ำว่า กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ)
และธนาคารกลางยุโรป (อีซีบี) มีบทบาทสำคัญในการแก้ไขวิกฤติหนี้ ถึงแม้อีซีบีหลีก
เลี่ยงที่จะดำเนินขั้นตอนอย่างแข็งกร้าวในช่วงที่ผ่านมาจนกว่ารัฐบาลประเทศสมาชิก
ยูโรโซนจะพยายามแก้ไขปัญหาทางการเงินของตนเองอย่างจริงจัง
นายมาริโอ ดรากี ประธานอีซีบีได้ประชุมกับนายไกธ์เนอร์เมื่อวานนี้
โดยนายดรากีส่งสัญญาณว่า ถ้าหากประเทศสมาชิกยูโรโซนทำข้อตกลงทางการคลัง
อีซีบีก็อาจจะดำเนินมาตรการที่เฉียบขาดในการแก้ไขปัญหามากยิ่งขึ้น
ปธน.ซาร์โคซีและนายกรัฐมนตรีเมอร์เคลต้องการให้การแก้ไขสนธิสัญญา
มีการบรรลุข้อตกลงกันในเดือนมี.ค.ปีหน้า และมีการให้สัตยาบันต่อเรื่องนี้ก่อนสิ้นปี
2012 หลังจากฝรั่งเศสเสร็จสิ้นจากการเลือกตั้งประธานาธิบดีและสมาชิกรัฐสภา
ในเดือนมิ.ย.ไปแล้ว
ทั้งนี้ ถ้าหากประเทศสมาชิกอียูบางประเทศจากทั้งหมด 27 ประเทศ
ขัดขวางการแก้ไขสนธิสัญญาในครั้งนี้ ประเทศสมาชิกยูโรโซน 17 ประเทศก็อาจ
เดินหน้าทำข้อตกลงเรื่องนี้ด้วยตัวเองต่อไป
สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศเตือนในวันจันทร์ว่า ทางบริษัทอาจทำการปรับลดอันดับความน่า
เชื่อถือของประเทศสมาชิกยูโรโซน 15 จาก 17 ประเทศ ซึ่งรวมถึงเยอรมนี
และฝรั่งเศส ถ้าหากผู้นำอียูไม่สามารถบรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไข
วิกฤติหนี้ในการประชุมสุดยอดในสัปดาห์นี้
นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานกลุ่มรัฐมนตรีคลังยูโรโซน กล่าวว่า
เขารู้สึกประหลาดใจกับประกาศดังกล่าวของ S&P และเขามองว่าประกาศนี้
"เป็นการกล่าวอ้างเกินความเป็นจริง และเป็นสิ่งที่ไม่ยุติธรรม" เนื่องจาก
S&P ไม่ได้พิจารณาแผนรัดเข็มขัดฉบับใหม่ของอิตาลี
เมื่อวานนี้ S&P ประกาศให้เครดิตพินิจเชิงลบแก่อันดับความน่าเชื่อถือ
ขั้น AAA ของกองทุน EFSF ด้วย เนื่องจากอันดับความน่าเชื่อถือของ EFSF
ขึ้นอยู่กับอันดับความน่าเชื่อถือขั้น AAA ของประเทศสมาชิกยูโรโซน 6 ประเทศ
นายแวน รอมพายเสนอว่า กองทุนช่วยเหลือยูโรโซนแบบถาวรที่มีขนาด
ใหญ่กว่านี้สมควรได้รับสถานะเป็นธนาคาร ซึ่งจะส่งผลให้กองทุนดังกล่าวสามารถ
กู้เงินจากอีซีบีได้ อย่างไรก็ดี เยอรมนีคัดค้านแนวคิดนี้ โดยให้เหตุผลว่าแผนการ
ดังกล่าวจะเป็นการฝ่าฝืนกฎที่ห้ามอีซีบีจากการปล่อยกู้แก่รัฐบาล
นายแวน รอมพายกล่าวว่า การเพิ่มความเข้มงวดด้านงบประมาณ
ที่รัฐบาลเยอรมนีกับฝรั่งเศสเสนอมาสำหรับประเทศสมาชิกยูโรโซน เป็นสิ่งที่
สามารถดำเนินการได้อย่างรวดเร็วผ่านทางการแก้ไขสนธิสัญญาอียูเพียงเล็กน้อย
และสิ่งนี้อาจไม่จำเป็นต้องอาศัยการให้สัตยาบันรับรองจากหลายประเทศ
ด้านนายมาเรียโน ราจอย ว่าที่นายกรัฐมนตรีสเปน กล่าวว่า เขาจะ
สนับสนุนการทำสนธิสัญญาใหม่ โดยเขาจะประชุมกับนายไกธ์เนอร์ในวันนี้
อย่างไรก็ดี รัฐบาลอังกฤษ, ไอร์แลนด์ และเนเธอร์แลนด์ลังเลที่จะ
แก้ไขกฎบัตรอียู เนื่องจากการแก้ไขดังกล่าวอาจได้รับการคัดค้านจากกลุ่มผู้ต่อต้าน
ยูโรโซนภายในประเทศ หรือแผนการแก้ไขนี้อาจไม่ผ่านการลงประชามติภายใน
ประเทศ--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 89

โพสต์

EUROPE:S&P ขู่รอบใหม่ เล็งหั่นเรทติ้งอียู,แบงก์ใหญ่ หากลดเครดิตยูโรโซน
นิวยอร์ค--8 ธ.ค.--รอยเตอร์

สแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ (S&P) สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือระหว่าง
ประเทศ ประกาศเตือนครั้งใหม่เมื่อวานนี้ว่า S&P อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
ของสหภาพยุโรป (อียู) และของธนาคารขนาดใหญ่ในยูโรโซน ถ้าหากมีการปรับลด
อันดับความน่าเชื่อถือของหลายประเทศในยูโรโซน
ก่อนหน้านี้ S&P เพิ่งประกาศในวันจันทร์ว่า อาจปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือ
ของประเทศสมาชิกในยูโรโซนจำนวน 15 จาก 17 ประเทศ ถ้าหากผู้นำอียูไม่สามารถ
บรรลุข้อตกลงเกี่ยวกับแนวทางการแก้ไขวิกฤติหนี้ในการประชุมสุดยอดในวันศุกร์นี้
นอกจากนี้ เมื่อวันอังคาร S&P ยังขู่ที่จะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของ
กองทุนรักษาเสถียรภาพการเงินยุโรป (EFSF) โดยได้ให้เครดิตพินิจเชิงลบต่ออันดับ
ความน่าเชื่อถือระยะยาวที่ระดับ AAA ของกองทุน EFSF ซึ่งเป็นกองทุนช่วยเหลือ
ยูโรโซนวงเงิน 4.40 แสนล้านยูโร ขณะที่คงอันดับความน่าเชื่อถือระยะสั้นที่ระดับ
A-1+ โดยให้เหตุผลว่า เนื่องจากอันดับความน่าเชื่อถือของกองทุนดังกล่าวขึ้นอยู่กับ
อันดับความน่าเชื่อที่อันดับ AAA ของประเทศสมาชิกยูโรโซน 6 ประเทศ ซึ่งได้แก่
ออสเตรีย, ฟินแลนด์, ฝรั่งเศส, เยอรมนี, ลักเซมเบิร์ก และเนเธอร์แลนด์
ทั้งนี้ S&P ให้อันดับความน่าเชื่อถือขั้น AAA ของอียูอยู่ในเครดิตพินิจ
เชิงลบ โดยตั้งข้อสังเกตว่า ประเทศสมาชิกยูโรโซนครองส่วนแบ่งราว 62 %
ของรายได้ตามงบประมาณของอียูในปี 2011
S&P ระบุว่า ถ้าหากมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศสมาชิก
ยูโรโซน S&P ก็อาจจะปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอียูลง 1 ขั้น
S&P ประกาศอีกด้วยว่า อาจจะมีการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของธนาคาร
ที่มีขนาดใหญ่บางแห่งในยูโรโซน เช่น บีเอ็นพี พาริบาส์ และดอยช์ แบงก์ ถ้าหากมีการ
ปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของประเทศสมาชิกยูโรโซน
การที่ S&P ออกประกาศเตือนเรื่องการปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือในช่วงนี้
เป็นการเพิ่มแรงกดดันต่อผู้กำหนดนโยบายให้เร่งรีบหาทางแก้ไขวิกฤติหนี้ยูโรโซน
ทางด้านรัฐบาลประเทศสมาชิกยูโรโซนบางประเทศกล่าวหาสถาบันจัดอันดับ
ความน่าเชื่อถือว่า เข้ามาก้าวก่ายในกระบวนการทางการเมืองอย่างไม่เหมาะสม
อย่างไรก็ดี นักลงทุนจำนวนมากแสดงความพึงพอใจต่อความเคลื่อนไหวของ S&P
โดยระบุว่า การที่สถาบันจัดอันดับความน่าเชื่อถือส่งสัญญาณอย่างชัดเจนเกี่ยวกับ
ความเคลื่อนไหวที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ถือเป็นการช่วยลดความไม่แน่นอน
ในตลาด
การปรับลดอันดับความน่าเชื่อถือของอียูมีแนวโน้มที่จะส่งผลให้ต้นทุน
การกู้ยืมของอียูเพิ่มสูงขึ้น และทำให้อียูต้องใช้จ่ายเงินมากยิ่งขึ้นในการระดมทุน
มาใช้ในโครงการให้ความช่วยเหลือทางการเงินต่อประเทศสมาชิก
นายแฟรงค์ จิล และนายมอริทซ์ เครเมอร์ ซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ของ
S&P ระบุในรายงานว่า "การทบทวนของเราจะมุ่งความสนใจไปยังความสามารถ
ทางการเงินของประเทศสมาชิกยูโรโซนในการสนับสนุนการชำระหนี้ของอียู ถ้าหาก
สถาบันเผชิญกับความอ่อนแอทางการเงินเป็นเวลาระยะหนึ่ง"
อียูและประชาคมพลังงานปรมาณูยุโรปร่วมกันกู้ยืมเงินจากตลาดทุน โดยผ่าน
ทางการออกตราสารหนี้ระยะกลางราว 8 หมื่นล้านยูโรเพื่อให้เงินทุนแก่ประเทศสมาชิก
ผ่านทางช่องทางต่างๆ--จบ--
wiss42
Verified User
โพสต์: 299
ผู้ติดตาม: 0

Re: ติดตามความคืบหน้า การแก้ปัญหา หนี้ยุโรป,เศรษฐกิจสหรัฐ

โพสต์ที่ 90

โพสต์

EUROPE:IMF,จี-20 ยันไม่มีแผนลงขัน 6 แสนล้านดอลล์ตั้งกองทุนช่วยยูโรโซน
วอชิงตัน--8 ธ.ค.--รอยเตอร์

กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ปฏิเสธรายงานในหนังสือพิมพ์
นิกเกอิที่ว่า กลุ่มประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา 19 ประเทศ รวมทั้งสหภาพยุโรป
(จี-20) กำลังวางแผนจัดตั้งวงเงินสินเชื่อ 6.00 แสนล้านดอลลาร์ให้แก่ไอเอ็มเอฟ
ซึ่งสามารถนำไปใช้ช่วยเหลือประเทศในยูโรโซนได้
"ไม่มีการหารือดังกล่าวกับไอเอ็มเอฟ" โฆษกของไอเอ็มเอฟกล่าว
ขณะเดียวกัน เจ้าหน้าที่กลุ่มจี-20 ก็ได้ออกมาปฏิเสธเช่นกันว่า รายงานข่าว
ดังกล่าวไม่เป็นความจริง
นายจิม ฟลาเฮอร์ที รมว.คลังแคนาดา กล่าวว่า กลุ่มจี-20 ไม่ได้มีการ
ทำข้อตกลงในเรื่องการจัดตั้งวงเงินสินเชื่อให้แก่ไอเอ็มเอฟเพื่อใช้ในการปล่อยกู้
แก่ยูโรโซน
นายฟลาเฮอร์ทีกล่าวว่า "มีการหารือกันในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
เกี่ยวกับทุนทรัพย์ของไอเอ็มเอฟ และความเป็นไปได้ในการเพิ่มขนาดทุนทรัพย์
ของไอเอ็มเอฟ"
"บางประเทศมีจุดยืนที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่ผมรับประกันได้ว่า
กลุ่มจี-20 ไม่มีพันธกรณีต่อแผนการเพิ่มทุนทรัพย์ใดๆ"
ก่อนหน้านี้ หนังสือพิมพ์นิกเกอิของญี่ปุ่นรายงานว่า กลุ่มจี-20 วางแผน
ที่จะจัดตั้งวงเงินดังกล่าว และประเทศสมาชิกสำคัญของกลุ่มจี-20 เช่น ญี่ปุ่น,
สหรัฐ และจีนจะจ่ายเงินสมทบแก่กองทุนนี้
นอกจากนี้ นายฟลาเฮอร์ทียังกล่าวย้ำจุดยืนของรัฐบาลแคนาดาที่ว่า
ประเทศในยุโรปมีทุนทรัพย์ที่มากพอ และไอเอ็มเอฟควรใช้เงินทุนในการช่วยเหลือ
ประเทศยากจน และเขากล่าวเสริมว่า แคนาดาไม่มีความสนใจที่จะจ่ายเงินสมทบ
ให้แก่ไอเอ็มเอฟเพื่อใช้ในการช่วยเหลือยูโรโซน
นายฟลาเฮอร์ทีกล่าวว่า "เรายังคงมีจุดยืนว่า ประเทศสมาชิกยูโรโซน
จำเป็นต้องใช้ทุนทรัพย์ของตนเองในขั้นแรกในการแก้ไขปัญหาของยูโรโซน"
นายฟลาเฮอร์ทีกล่าวว่า ความกังวลที่ว่าแคนาดาอาจเผชิญกับภาวะสินเชื่อ
หดตัวอีกรอบถ้าหากวิกฤติยุโรปเลวร้ายลง ถือเป็น "ความกังวลที่สมเหตุสมผล"
ถึงแม้ความเสี่ยงที่ธนาคารแคนาดาได้รับจากประเทศที่มีหนี้สินสูงในยุโรปอยู่ในระดับ
"ที่สามารถควบคุมได้"--จบ--