"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
-
- สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
- โพสต์: 460
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 1
คำพยากรณ์ของพอล โวลก์เคอร์
บ้านเขาเมืองเรา : ดร.ไสว บุญมา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548
ในช่วงนี้ทุกคนคงได้อ่านพยากรณ์ของโหรบางคน ตามด้วยการตอบโต้ของคนใหญ่คนโต และลูกไล่หลายคนแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเตือนผมว่า อย่าไปใส่ใจกับคำทำนายของหมอดูมากนัก เพราะหมอดูมักมาคู่กับหมอเดา ผมจึงมักสงสัยในความแม่นยำของคำพยากรณ์ ไม่ใช่ลบหลู่แต่มักฟังหูไว้หูเสมอ
แต่เมื่อบุคคลเช่น พอล โวลก์เคอร์ ออกมาพยากรณ์ ผมให้ความใส่ใจ ไม่ใช่ผมเชื่อโหรฝรั่งมากกว่าโหรไทย หากผมเข้าใจวิธีการพยากรณ์ของเขามากกว่า พอล โวลก์เคอร์ ไม่นำตำแหน่งของดวงดาวมาคำนวณ หากพยากรณ์บนฐานการกระทำของมนุษย์
พอล โวลก์เคอร์ เป็นใคร?
ผู้อยู่ในวงการธนาคารและการเงินมาเป็นเวลานานคงทราบแล้ว สำหรับผู้อยู่นอกวงการ ขอเรียนว่า พอล โวลก์เคอร์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันชั้นแนวหน้าและเป็นประธานธนาคารกลางของสหรัฐอยู่ 8 ปีก่อนที่ อลัน กรีนสแปน จะเข้ามารับช่วงต่อ
ชาวอเมริกันมักพูดแบบทีเล่นทีจริงว่าผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในสหรัฐไม่ใช่ประธานาธิบดี หากเป็นประธานธนาคารกลาง เรื่องนี้มีฐานความจริงอยู่บ้าง เพราะเวลาประธานาธิบดีพูดอะไรมักไม่มีใครให้ความสำคัญกับทุกคำพูด แต่เมื่อประธานธนาคารกลางเปล่งอะไรออกมา คำพูดของเขาทุกคำจะถูกนำไปตีความเพื่อขยายผล คำพูดเพียงคำเดียวอาจทำให้ตลาดหลักทรัพย์พุ่งขึ้นเป็นร้อยจุดหรือทรุดฮวบในพริบตา
ในช่วง 8 ปีที่ พอล โวลก์เคอร์ ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลาง มีคนเงี่ยหูฟังทุกอย่างที่เขาเปล่งออกมา ตอนนี้เขาไม่มีตำแหน่งหรืออำนาจแล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ติดตามความเป็นไปในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิดหรือพูดอะไรไร้สาระ แต่น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจฟังเขาเช่นแต่ก่อน
เมื่อเร็วๆ นี้เขาออกมาบอกตรงๆ ว่า ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ผมเห็นว่าคำทำนายของเขาน่าจะมีประโยชน์จึงนำมาเล่า
ปัจจัยพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดวิกฤติ ได้แก่ การบริโภคแบบสุดโต่งของชาวอเมริกัน ผู้ไปอยู่ในสหรัฐนานๆ จึงจะรู้ว่า ชาวอเมริกันใช้เงินเกินความจำเป็นขนาดไหน พวกเขาซื้อสารพัดจนปัจจุบันนี้เป็นหนี้เกือบจะท่วมหัว ชาวอเมริกันทั้งชาติไม่มีการออมทรัพย์เลย ทำให้สหรัฐต้องกู้เงินจากต่างประเทศอย่างน้อยวันละ 2 พันล้านดอลลาร์ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ แม้แต่ไทยซึ่งไม่ร่ำรวยอะไรนักยังมีเงินให้ชาวอเมริกันกู้
นักเศรษฐศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่า ในภาวะเช่นนี้ รัฐบาลอเมริกันจะต้องใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อลดการบริโภคของชาวอเมริกันลง จีนและประเทศในเอเชียที่มีการค้าเกินดุลกับสหรัฐจะต้องปล่อยให้ค่าเงินของตนขยับตัวสูงขึ้น ญี่ปุ่นและประเทศในกลุ่มตลาดร่วมยุโรปจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวมากขึ้น
นโยบายในแนวนี้ได้รับการกล่าวถึงมานาน แต่ในการประชุมประจำปีที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 16-17 เม.ย.ที่ผ่านมา บรรดารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศมหาเศรษฐี (G-7) พากันเลี่ยงประเด็นอย่างเห็นได้ชัด
ฉะนั้นโอกาสที่ประเทศต่างๆ จะปรับนโยบายในเร็ววันนี้จึงมีน้อยมาก ตามหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานชาวอเมริกันจะไม่สามารถบริโภคแบบสุดโต่งต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นวันหนึ่งข้างหน้าพวกเขาจะต้องถูกบังคับให้ปรับตัวโดยวิกฤติเศรษฐกิจในแนวซึ่งเคยเกิดแล้วในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา พอล โวลก์เคอร์ เองเป็นตัวจักรใหญ่ในการแก้วิกฤติครั้งนั้น
วิกฤติจะเกิดเมื่อไร? และจะมีอาการออกมาในรูปไหน?
วิกฤติจะเกิดเมื่อความเชื่อมั่นสั่นคลอนมากขึ้น และมีเหตุการณ์ภายนอกเป็นชนวนจุดระเบิด พอล โวลก์เคอร์ ไม่ได้บอกเวลาแน่นอนว่า วิกฤติจะเกิดเมื่อไร เขาพยากรณ์ไว้ก่อนที่ราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ส่วนราคาน้ำมันจะเป็นชนวนหรือไม่ คงต้องรอดูกันต่อไป
ในด้านความเชื่อมั่น สัญญาณบ่งบอกเริ่มมีบ้างแล้ว เช่น เมื่อเร็วๆ นี้เกาหลีใต้ออกมาทำท่าว่าจะย้ายทุนสำรองออกจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะกลัวว่าค่าเงินดอลลาร์จะตกมากทำให้ทุนสำรองของเขาหดหายไปด้วย นั่นเป็นการคิดในระดับประเทศ
ส่วนการคิดในระดับบุคคลและสถาบันการลงทุนยังไม่มีสัญญาณแน่ชัดนัก นอกจากตลาดหลักทรัพย์ดูจะมีแนวโน้มต่ำลง ส่วนการย้ายเงินทุนออกจากสกุลดอลลาร์อย่างแพร่หลายก็ยังไม่เกิดขึ้น
อาการหนึ่งของวิกฤติ ได้แก่ เศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มถดถอย ทุกคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า "สหรัฐจามเมื่อไร ประเทศเล็กๆ ทั้งหลายจะเป็นปอดบวมทันที" คำพูดนี้มีฐานของความเป็นจริงเพราะเศรษฐกิจของสหรัฐมีขนาดใหญ่ราว 25-30% ของเศรษฐกิจโลก ประเทศต่างๆ อาศัยกำลังซื้อของสหรัฐเป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สหรัฐลดซื้อเมื่อไรประเทศเหล่านั้นจะประสบปัญหาทันที ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณของการถดถอย พอล โวลก์เคอร์ แนะนำว่า แทนที่จะมองข้ามปัญหาไป รัฐบาลควรถือโอกาสปรับนโยบายในตอนนี้ แต่เนื่องจากไม่มีรัฐบาลไหนปรับนโยบายตามที่ควรจะทำ โดยนัยเขาจึงบอกให้เราในฐานะเอกชนเตรียมรับมือไว้ให้พร้อม
อาการของวิกฤติ 3 ด้านเริ่มมีสัญญาณปรากฏแล้ว นั่นคือ ค่าของเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญๆ เช่น เงินยูโรและเงินเยน อัตราดอกเบี้ยค่อยๆ ขยับตัวขึ้น และสินค้าเริ่มขึ้นราคาในอัตราสูง ผมอ่านจากสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รัฐบาลไทยอาจย้ายทุนสำรองบางส่วนออกจากดอลลาร์ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจะลดความเสี่ยงได้มาก แต่รัฐบาลไทยดูจะไม่มีนโยบายลดการบริโภค ตรงข้ามยังดำเนินนโยบายกระตุ้นการบริโภคต่อไปจนคนไทยเป็นหนี้แทบไม่ต่างกับคนอเมริกันแล้ว
หากถามผมว่าจะเตรียมตั้งรับอย่างไร? ผมเห็นว่า ผู้รู้จักบริหารเงินแล้วคงไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก คอลัมน์นี้ประจำวันที่ 4 มี.ค.มีข้อเสนอของผมอยู่บ้าง ขอเน้นว่าในภาวะเงินเฟ้อซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างสูง ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้เก็บสินทรัพย์ไว้ในรูปของอสังหาริมทรัพย์และของมีค่า ผมขอเรียนย้ำว่า ถ้าไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นจริงๆ กรุณาอย่าไปเสี่ยง โอกาสขาดทุนมีอยู่สูง
เห็นยังไงกันบ้าง อ่านแล้วเสียวอ่ะ เลยเอามาแบ่งกัน
จาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz.htm
บ้านเขาเมืองเรา : ดร.ไสว บุญมา กรุงเทพธุรกิจ วันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2548
ในช่วงนี้ทุกคนคงได้อ่านพยากรณ์ของโหรบางคน ตามด้วยการตอบโต้ของคนใหญ่คนโต และลูกไล่หลายคนแล้ว ผู้เฒ่าผู้แก่เคยเตือนผมว่า อย่าไปใส่ใจกับคำทำนายของหมอดูมากนัก เพราะหมอดูมักมาคู่กับหมอเดา ผมจึงมักสงสัยในความแม่นยำของคำพยากรณ์ ไม่ใช่ลบหลู่แต่มักฟังหูไว้หูเสมอ
แต่เมื่อบุคคลเช่น พอล โวลก์เคอร์ ออกมาพยากรณ์ ผมให้ความใส่ใจ ไม่ใช่ผมเชื่อโหรฝรั่งมากกว่าโหรไทย หากผมเข้าใจวิธีการพยากรณ์ของเขามากกว่า พอล โวลก์เคอร์ ไม่นำตำแหน่งของดวงดาวมาคำนวณ หากพยากรณ์บนฐานการกระทำของมนุษย์
พอล โวลก์เคอร์ เป็นใคร?
ผู้อยู่ในวงการธนาคารและการเงินมาเป็นเวลานานคงทราบแล้ว สำหรับผู้อยู่นอกวงการ ขอเรียนว่า พอล โวลก์เคอร์ เป็นนักเศรษฐศาสตร์อเมริกันชั้นแนวหน้าและเป็นประธานธนาคารกลางของสหรัฐอยู่ 8 ปีก่อนที่ อลัน กรีนสแปน จะเข้ามารับช่วงต่อ
ชาวอเมริกันมักพูดแบบทีเล่นทีจริงว่าผู้ที่มีอำนาจสูงสุดในสหรัฐไม่ใช่ประธานาธิบดี หากเป็นประธานธนาคารกลาง เรื่องนี้มีฐานความจริงอยู่บ้าง เพราะเวลาประธานาธิบดีพูดอะไรมักไม่มีใครให้ความสำคัญกับทุกคำพูด แต่เมื่อประธานธนาคารกลางเปล่งอะไรออกมา คำพูดของเขาทุกคำจะถูกนำไปตีความเพื่อขยายผล คำพูดเพียงคำเดียวอาจทำให้ตลาดหลักทรัพย์พุ่งขึ้นเป็นร้อยจุดหรือทรุดฮวบในพริบตา
ในช่วง 8 ปีที่ พอล โวลก์เคอร์ ดำรงตำแหน่งประธานธนาคารกลาง มีคนเงี่ยหูฟังทุกอย่างที่เขาเปล่งออกมา ตอนนี้เขาไม่มีตำแหน่งหรืออำนาจแล้ว แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า เขาไม่ติดตามความเป็นไปในด้านต่างๆ อย่างใกล้ชิดหรือพูดอะไรไร้สาระ แต่น่าเสียดายที่ไม่ค่อยมีใครใส่ใจฟังเขาเช่นแต่ก่อน
เมื่อเร็วๆ นี้เขาออกมาบอกตรงๆ ว่า ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ผมเห็นว่าคำทำนายของเขาน่าจะมีประโยชน์จึงนำมาเล่า
ปัจจัยพื้นฐานที่จะก่อให้เกิดวิกฤติ ได้แก่ การบริโภคแบบสุดโต่งของชาวอเมริกัน ผู้ไปอยู่ในสหรัฐนานๆ จึงจะรู้ว่า ชาวอเมริกันใช้เงินเกินความจำเป็นขนาดไหน พวกเขาซื้อสารพัดจนปัจจุบันนี้เป็นหนี้เกือบจะท่วมหัว ชาวอเมริกันทั้งชาติไม่มีการออมทรัพย์เลย ทำให้สหรัฐต้องกู้เงินจากต่างประเทศอย่างน้อยวันละ 2 พันล้านดอลลาร์ จีน ญี่ปุ่นและเกาหลีเป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ แม้แต่ไทยซึ่งไม่ร่ำรวยอะไรนักยังมีเงินให้ชาวอเมริกันกู้
นักเศรษฐศาสตร์เห็นพ้องต้องกันว่า ในภาวะเช่นนี้ รัฐบาลอเมริกันจะต้องใช้นโยบายการเงินและการคลังเพื่อลดการบริโภคของชาวอเมริกันลง จีนและประเทศในเอเชียที่มีการค้าเกินดุลกับสหรัฐจะต้องปล่อยให้ค่าเงินของตนขยับตัวสูงขึ้น ญี่ปุ่นและประเทศในกลุ่มตลาดร่วมยุโรปจะต้องใช้มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจให้ขยายตัวมากขึ้น
นโยบายในแนวนี้ได้รับการกล่าวถึงมานาน แต่ในการประชุมประจำปีที่กรุงวอชิงตันเมื่อวันที่ 16-17 เม.ย.ที่ผ่านมา บรรดารัฐมนตรีคลังและผู้ว่าการธนาคารกลางของประเทศมหาเศรษฐี (G-7) พากันเลี่ยงประเด็นอย่างเห็นได้ชัด
ฉะนั้นโอกาสที่ประเทศต่างๆ จะปรับนโยบายในเร็ววันนี้จึงมีน้อยมาก ตามหลักเศรษฐศาสตร์พื้นฐานชาวอเมริกันจะไม่สามารถบริโภคแบบสุดโต่งต่อไปได้อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ฉะนั้นวันหนึ่งข้างหน้าพวกเขาจะต้องถูกบังคับให้ปรับตัวโดยวิกฤติเศรษฐกิจในแนวซึ่งเคยเกิดแล้วในช่วง 3 ทศวรรษที่ผ่านมา พอล โวลก์เคอร์ เองเป็นตัวจักรใหญ่ในการแก้วิกฤติครั้งนั้น
วิกฤติจะเกิดเมื่อไร? และจะมีอาการออกมาในรูปไหน?
วิกฤติจะเกิดเมื่อความเชื่อมั่นสั่นคลอนมากขึ้น และมีเหตุการณ์ภายนอกเป็นชนวนจุดระเบิด พอล โวลก์เคอร์ ไม่ได้บอกเวลาแน่นอนว่า วิกฤติจะเกิดเมื่อไร เขาพยากรณ์ไว้ก่อนที่ราคาน้ำมันจะพุ่งขึ้นสูงเป็นประวัติการณ์ ส่วนราคาน้ำมันจะเป็นชนวนหรือไม่ คงต้องรอดูกันต่อไป
ในด้านความเชื่อมั่น สัญญาณบ่งบอกเริ่มมีบ้างแล้ว เช่น เมื่อเร็วๆ นี้เกาหลีใต้ออกมาทำท่าว่าจะย้ายทุนสำรองออกจากสกุลเงินดอลลาร์สหรัฐ เพราะกลัวว่าค่าเงินดอลลาร์จะตกมากทำให้ทุนสำรองของเขาหดหายไปด้วย นั่นเป็นการคิดในระดับประเทศ
ส่วนการคิดในระดับบุคคลและสถาบันการลงทุนยังไม่มีสัญญาณแน่ชัดนัก นอกจากตลาดหลักทรัพย์ดูจะมีแนวโน้มต่ำลง ส่วนการย้ายเงินทุนออกจากสกุลดอลลาร์อย่างแพร่หลายก็ยังไม่เกิดขึ้น
อาการหนึ่งของวิกฤติ ได้แก่ เศรษฐกิจของสหรัฐเริ่มถดถอย ทุกคนคงเคยได้ยินคำพูดที่ว่า "สหรัฐจามเมื่อไร ประเทศเล็กๆ ทั้งหลายจะเป็นปอดบวมทันที" คำพูดนี้มีฐานของความเป็นจริงเพราะเศรษฐกิจของสหรัฐมีขนาดใหญ่ราว 25-30% ของเศรษฐกิจโลก ประเทศต่างๆ อาศัยกำลังซื้อของสหรัฐเป็นหัวจักรในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ
สหรัฐลดซื้อเมื่อไรประเทศเหล่านั้นจะประสบปัญหาทันที ตอนนี้ยังไม่มีสัญญาณของการถดถอย พอล โวลก์เคอร์ แนะนำว่า แทนที่จะมองข้ามปัญหาไป รัฐบาลควรถือโอกาสปรับนโยบายในตอนนี้ แต่เนื่องจากไม่มีรัฐบาลไหนปรับนโยบายตามที่ควรจะทำ โดยนัยเขาจึงบอกให้เราในฐานะเอกชนเตรียมรับมือไว้ให้พร้อม
อาการของวิกฤติ 3 ด้านเริ่มมีสัญญาณปรากฏแล้ว นั่นคือ ค่าของเงินดอลลาร์อ่อนตัวลงเมื่อเทียบกับเงินสกุลสำคัญๆ เช่น เงินยูโรและเงินเยน อัตราดอกเบี้ยค่อยๆ ขยับตัวขึ้น และสินค้าเริ่มขึ้นราคาในอัตราสูง ผมอ่านจากสื่อเมื่อเร็วๆ นี้ว่า รัฐบาลไทยอาจย้ายทุนสำรองบางส่วนออกจากดอลลาร์ ถ้าเป็นเช่นนั้นจริงจะลดความเสี่ยงได้มาก แต่รัฐบาลไทยดูจะไม่มีนโยบายลดการบริโภค ตรงข้ามยังดำเนินนโยบายกระตุ้นการบริโภคต่อไปจนคนไทยเป็นหนี้แทบไม่ต่างกับคนอเมริกันแล้ว
หากถามผมว่าจะเตรียมตั้งรับอย่างไร? ผมเห็นว่า ผู้รู้จักบริหารเงินแล้วคงไม่ต้องเตรียมตัวอะไรมาก คอลัมน์นี้ประจำวันที่ 4 มี.ค.มีข้อเสนอของผมอยู่บ้าง ขอเน้นว่าในภาวะเงินเฟ้อซึ่งมีโอกาสเกิดขึ้นค่อนข้างสูง ผู้เชี่ยวชาญมักแนะนำให้เก็บสินทรัพย์ไว้ในรูปของอสังหาริมทรัพย์และของมีค่า ผมขอเรียนย้ำว่า ถ้าไม่มีความเชี่ยวชาญในด้านนั้นจริงๆ กรุณาอย่าไปเสี่ยง โอกาสขาดทุนมีอยู่สูง
เห็นยังไงกันบ้าง อ่านแล้วเสียวอ่ะ เลยเอามาแบ่งกัน
จาก http://www.nidambe11.net/ekonomiz.htm
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 8
ผมล่ะกลัวนะนี่ โดยเฉพาะกลัวว่า รัฐบาลจะแต่ง งบของประเทศแบบหลอกๆ
กลัวการทุจริต และการบริโภคของประชาชน และสงสัยว่าเงินออมในระบบลดลงหรือไม่ และหนี้สินชองประชาชนน่ากลัวไหม ผมว่าคราว ไม่ใช่แค่ตกงานนะแต่ ติดหนี้ที่ก่อไว้ด้วย เซ็งเนอะ
แต่พวกคนรวยคงรอดตัวตามเคย
กลัวการทุจริต และการบริโภคของประชาชน และสงสัยว่าเงินออมในระบบลดลงหรือไม่ และหนี้สินชองประชาชนน่ากลัวไหม ผมว่าคราว ไม่ใช่แค่ตกงานนะแต่ ติดหนี้ที่ก่อไว้ด้วย เซ็งเนอะ
แต่พวกคนรวยคงรอดตัวตามเคย
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 10
สหรัฐไม่เห็นต้องกลัวอะไรเลย
ไม่มีประเทศไหนในโลกด้านอำนาจทางทหารสู้เขาได้อยู่แล้ว ถ้าจนตรอกก็ทำสงครามครับ ชนะอยู่แล้ว มีเหตุผลให้ทำสงครามมีเยอะ
มีกำลังเหนือกว่าย่อมได้เปรียบกว่าประเทศที่เก่งค้าขาย
สหรัฐล้มเหรอ no way ท้านาย พอล โวลก์เคอร์ เลยครับ
ไม่มีประเทศไหนในโลกด้านอำนาจทางทหารสู้เขาได้อยู่แล้ว ถ้าจนตรอกก็ทำสงครามครับ ชนะอยู่แล้ว มีเหตุผลให้ทำสงครามมีเยอะ
มีกำลังเหนือกว่าย่อมได้เปรียบกว่าประเทศที่เก่งค้าขาย
สหรัฐล้มเหรอ no way ท้านาย พอล โวลก์เคอร์ เลยครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 13
การมีทหารขนาดมหึมาก็ใช่ว่าจะสามารถทำอะไรได้โดยง่าย เพราะประเด็นแรก กองกำลังขนาดใหญอัตราการบริโภคย่อมสูง ดังนั้นหากการรบยืดเยื้อรังแต่จะพ่ายแพ้ ประเด็นถัดมา ปัจจุบันกองกำลังอเมริกายังคงติดหล่มอยูในหลายประเทศโดยเฉพาะอย่างยิ่ง อิรัค และ อาฟกานิสถาน ซึ่งการจะก่อสงครามใหม่ย่อมเกิดศึกหลายๆด้านพร้อมกันอีกทั้งยังเกิดช่องว่างในการป้องกันประเทศจากภัยก่อการร้าย อีกประเด็นนึงประเทศที่ยิ่งใหญ่ยิ่งมีกองกำลังมากบางครั้งกลับเปราะบางเพราะต้องกระจายทรัพยากรเพื่อปกป้องทรัพย์สินของประเทศเป็นจำนวนมากซึ่งผิดกับประเทศขนาดเล็กที่ไม่มีอะไรจะเสีย เหมือนสงครามเวียดนาม และ โซมาเลีย และประเด็นสุดท้าย ภายในประเทศเองเริ่มมีการต่อต้านการทำสงครามของอเมริกาเองเพราะเห็นได้อย่างชัดเจนว่าฉุดให้เศรษฐกิจประเทศถดถอยอีกทั้งยังถูกคุกคามจากภัยก่อการร้ายจนต้องทุ่มงบประมาณจำนวนมหาศาลเพื่อทำการป้องกันจนแทบไม่ต้องพัฒนาอย่างอื่นเลย จากประเด็นที่กล่าวมาทั้งหมด ไม่ง่ายเลยครับที่จะอาจหาญก่อสงครามโดยเฉพาะภายใต้ภาวะการที่เป้าหมายการโจมตีไม่สามารถระบุได้อย่างเช่นปัจจุบัน
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 14
โรมัน มองโกเลีย และอีกหลายอาณาจักรที่ว่ายิ่งใหญ่ที่สุด มีกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดก็เคยล่มสลาย ถ้าโรมันย่อยยับเพราะเนโร จะน่าแปลกใจอะไร ถ้าอเมริกาล่มสลายเพราะบุช
-
- Verified User
- โพสต์: 113
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 15
ถูกใจมากเลยครับคุณgenie เพราะผมกำลังจะบอกว่า เมื่อขึ้นถึงจุดสูงสุดแล้วจะเริ่มเสื่อมถอย และถ้ารักษาสภาพไว้ไม่ได้ก็จะถึงจุดล่มสลายgenie เขียน:โรมัน มองโกเลีย และอีกหลายอาณาจักรที่ว่ายิ่งใหญ่ที่สุด มีกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดก็เคยล่มสลาย ถ้าโรมันย่อยยับเพราะเนโร จะน่าแปลกใจอะไร ถ้าอเมริกาล่มสลายเพราะบุช
ที่นึกถึงเรื่องนี้เพราะเพิ่งไปดูทหารสวิสที่วาติกันมาเมื่อเดือนที่แล้ว ในสวิสไม่มีทหาร ถ้าจะดูทหารสวิสแต่งตัวสวยๆต้องไปดูที่วาติกัน
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 16
Main destinations of exports 2003 % of total
US 17
Japan 14.2
Singapore 7.3
China 7.1
Hong Kong 5.4
Main origins of imports 2003 % of total
Japan 24.1
US 9.5
China 8
Malaysia 6
Singapore 4.3
US 17
Japan 14.2
Singapore 7.3
China 7.1
Hong Kong 5.4
Main origins of imports 2003 % of total
Japan 24.1
US 9.5
China 8
Malaysia 6
Singapore 4.3
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 17
2000(a) 2001(a) 2002(a) 2003(a) 2004(b)
GDP at market prices (Bt bn) 4,923 5,134 5,446 5,930 6,455
GDP (US$ bn) 122.7 115.5 126.8 143 160.3
Real GDP growth (%) 4.8 2.2 5.3 6.9 5.8
Consumer price inflation (av; %) 1.6 1.7 0.6 1.8 2.7(a)
Population (m) 62.4 62.9 63.5 64 64.5
Exports of goods fob (US$ m) 67,894 63,083 66,089 78,084 91,589
Imports of goods fob (US$ m) -56,194 -54,538 -57,009 -66,909 -84,908
Current-account balance (US$ m) 9,314 6,191 7,015 7,953 5,083
Foreign-exchange reserves excl gold (US$ m) 32,016 32,355 38,046 41,077 43,726
Total external debt (US$ bn) 79.7 67.2 59.2 51.7(b) 49.1
Debt-service ratio, paid (%) 15.7 24.6 22.5 15.1(b) 10.1
Exchange rate (av) Bt:US$ 40.11 44.43 42.96 41.48 40.28
GDP at market prices (Bt bn) 4,923 5,134 5,446 5,930 6,455
GDP (US$ bn) 122.7 115.5 126.8 143 160.3
Real GDP growth (%) 4.8 2.2 5.3 6.9 5.8
Consumer price inflation (av; %) 1.6 1.7 0.6 1.8 2.7(a)
Population (m) 62.4 62.9 63.5 64 64.5
Exports of goods fob (US$ m) 67,894 63,083 66,089 78,084 91,589
Imports of goods fob (US$ m) -56,194 -54,538 -57,009 -66,909 -84,908
Current-account balance (US$ m) 9,314 6,191 7,015 7,953 5,083
Foreign-exchange reserves excl gold (US$ m) 32,016 32,355 38,046 41,077 43,726
Total external debt (US$ bn) 79.7 67.2 59.2 51.7(b) 49.1
Debt-service ratio, paid (%) 15.7 24.6 22.5 15.1(b) 10.1
Exchange rate (av) Bt:US$ 40.11 44.43 42.96 41.48 40.28
-
- Verified User
- โพสต์: 479
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 18
อะไรๆๆก้อไม่แน่นอนครับ ซึ่งที่แน่นอน คือ ความไม่แน่นอน กะ ความตาย อย่าประมาทดีสุดอ่ะ สงกะสัยอยู่เหมือนกันว่านโยบาย รากหญ้า
และอื่นๆ ที่รัฐ เร่ง การใช้จ่ายของประชาชน มันสร้างรายได้ให้หรือเพิ่มหนี้กัน........
*****
-
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 19
ประเทศที่ไม่มีกองทัพ มีแต่กองกำลังป้องกันตนเองประเทศหนึ่งโป้ง เขียน:สหรัฐไม่เห็นต้องกลัวอะไรเลย
ไม่มีประเทศไหนในโลกด้านอำนาจทางทหารสู้เขาได้อยู่แล้ว ถ้าจนตรอกก็ทำสงครามครับ ชนะอยู่แล้ว มีเหตุผลให้ทำสงครามมีเยอะ
มีกำลังเหนือกว่าย่อมได้เปรียบกว่าประเทศที่เก่งค้าขาย
สหรัฐล้มเหรอ no way ท้านาย พอล โวลก์เคอร์ เลยครับ
ได้ดุลการค้าอเมริกามหาศาล ...ไม่เห็นพวกทหารจะช่วยอะไรได้เลยครับ
ประเทศใหญ่อีกประเทศหนึ่งใกล้ๆ ประเทศแรก ก็ได้ดุลการค้ามหาศาล
เช่นกัน จนอเมริกาต้องออกมากดดันเรื่องค่าเงิน ...ไม่เห็นพวกทหารจะช่วยอะไรได้เลยครับ
จากตำราพิชัยสงครามซุนวู (ขอผมมั่งนะ คัดท้าย อิๆๆๆ)
พวกทหารนี่แหละครับ ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมอ่อนแอ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง หากเกิดวิกฤติการณ์จริงๆ อเมริกาจะเอาเงินที่ไหนไปอุดหนุนกองทัพเพื่อไปตีรันฟันแทง ปล้นน้ำมัน ปล้นทรัพยากรชาวบ้านเขา ... จะให้เอกชนบริจาคอาวุธ บริจาคเสื้อผ้าอาหาร อุดหนุนกองทัพเหรอครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 20
ไม่ใช่เสื่อมถอยเพราะเศษรฐกิจ แต่เพราะมีกลุ่มอำนาจทางทหารใหม่เกิดขึ้นโรมัน มองโกเลีย และอีกหลายอาณาจักรที่ว่ายิ่งใหญ่ที่สุด มีกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุดก็เคยล่มสลาย ถ้าโรมันย่อยยับเพราะเนโร จะน่าแปลกใจอะไร ถ้าอเมริกาล่มสลายเพราะบุช
ยังไม่เคยเกิดขึ้นในโลก ยุคไหน สมัยไหน ในประวัติศาสตร์ ที่ประเทศเสื่อมถอยทางเศษรฐกิจ โดยยังมีอำนาจทางทหารเป็นหนึ่งอยู่ นี่คือสถิตในประวัติศาสตร์
หากสหรัฐยังครองความยิ่งใหญ่ทางทหารได้อยู่ ความเสื่อมถอยทางเศษรฐกิจคงไม่มีทาง เศษรฐกิจเป็นแค่เรื่องเล็ก เทียบไม่ได้กับเรื่องทางการทหาร เป็นเหตุผลที่เขาทุ่มงบมหาศาลตลอดจนการทำสงคราม ที่สุดจะสิ้นเปลื้องงบ
หากมองย้อนไป ตั้งคำถามและตอบให้ได้ว่า ทำสงครามเพื่ออะไรและประเทศที่ชนะได้อะไรจากสงคราม
อำนาจทางการทหารเป็นเรื่องอ่อนไหวกว่าเศษรฐกิจเสียอีกนะ ง่ายๆแค่เกาหลีเหนือประเทศไม่มีอำนาจทางเศษรฐกิจอะไร จะทดลองอาวุธนิวเคลียร์ เกิดความปั่นป่วนทั้งคาบสมุทร จนทุกคนต้องมาสนใจ, หรือแค่จีนเอาเรือรบไปแล่นแถวๆน่านน้ำไตหวัน เกิดปั่นป่วนไปกี่ประเทศ
ตราบใดยังครองอำนาจทางการทหารโดยรักษาความเป็นหนึ่งไว้ได้ สหรัฐก็ยังเป็นสหรัฐ
ได้ดุลแล้วยังไง ไม่เห็นทำอะไรได้ ฉันจะเอาเปรียบท่านทำอะไรได้ ท่านต้องหาเงินมาให้ฉัน จะทำอะไรได้ , ได้ดุลก็ได้ไป ไม่เห็นเป็นไรเลย ถ้าจะเบี้ยวไม่จ่ายเงินจะทำอะไร กำลังก็ไม่มี จะอาศัยความถูกต้องหรือ เขาบุกอีรักไม่เห็นฟังเสียงใคร ถ้าจะเอากันจริงๆทำอะไรเขาได้ล่ะประเทศที่ไม่มีกองทัพ มีแต่กองกำลังป้องกันตนเองประเทศหนึ่ง
ได้ดุลการค้าอเมริกามหาศาล ...ไม่เห็นพวกทหารจะช่วยอะไรได้เลยครับ
ประเทศใหญ่อีกประเทศหนึ่งใกล้ๆ ประเทศแรก ก็ได้ดุลการค้ามหาศาล
เช่นกัน จนอเมริกาต้องออกมากดดันเรื่องค่าเงิน ...ไม่เห็นพวกทหารจะช่วยอะไรได้เลยครับ
ที่กดดัน ประเทศนั้นได้ ไม่ใช่เพราะอำนาจทางทหารหรือ ลองให้ญี่ปุ่นไปกดดันดูบ้างซิทำได้ไหม
ลองดูกันต่อไป ว่าทำอะไรเขาได้ไหม ทำให้ยักษ์ล้มได้ไหมลองดูครับ (แต่ผมบอกได้เลย no way)
และที่ผมอ้างมาคือ ตามสถิติ ในประวัติศาสตร์ ยังไม่มีประเทศไหนล้มเพราะเศษรฐกิจ โดยครองกำลังทหารเป็นหนึ่งอยู่
ผมถึงตั้งคำถามข้างบน ผู้ชนะได้อะไรจากสงคราม (หมายถึงผุ้ชนะนะ ไม่ใช่ผู้แพ้) เช่น สหรัฐชนะอีรัก ได้อะไรเป็นผลตอบแทน ???? เป็นคำตอบที่ถามมา (รบชนะทุกอย่างก็เป็นของผู้ชนะอยู่แล้ว)จากตำราพิชัยสงครามซุนวู (ขอผมมั่งนะ คัดท้าย อิๆๆๆ)
พวกทหารนี่แหละครับ ทำให้เศรษฐกิจโดยรวมอ่อนแอ เนื่องจากมีค่าใช้จ่ายสูง หากเกิดวิกฤติการณ์จริงๆ อเมริกาจะเอาเงินที่ไหนไปอุดหนุนกองทัพเพื่อไปตีรันฟันแทง ปล้นน้ำมัน ปล้นทรัพยากรชาวบ้านเขา ... จะให้เอกชนบริจาคอาวุธ บริจาคเสื้อผ้าอาหาร อุดหนุนกองทัพเหรอครับ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
- soytee
- Verified User
- โพสต์: 164
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 21
อย่าให้เป็นเช่นเลย
อย่าให้มันต้องกลายเป็นจริง
ความบ้าอำนาจของคนเพียงสองคน นำพาความเสียหายต่ออีกหลายหมื่นหลายแสนล้านคน
น่าจะจัดสนามให้สองท่านนั้นได้ฟัดกันให้สนุกแล้วให้คนทั่วโลกเฝ้าดูหมือน จับหมูสองตัวมาฟัดกัน และเก็บตังค์เข้าการกุศลนะ
-
- Verified User
- โพสต์: 14
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 22
By Demetri Sevastopulo in WashingtonPentagon backs closing 33 military bases
Published: May 14 2005 03:00 | Last updated: May 14 2005 03:00
The Pentagon yesterday recommended closing 33 large US military bases and altering 29 others as part of a restructuring programme that will save the US almost $50bn over the next 20 years.
As part of its base realignment and closure (Brac) process, the Pentagon also recommended closing and restructuring 775 smaller military installations across the US. The closures are expected to be complete within six years.
"Our current arrangements, designed for the cold war, must give way to the new demands of the war against extremism and other evolving 21st century challenges," Donald Rumsfeld, the US defence secretary, said yesterday.The military has already announced plans to close overseas bases, in particular in South Korea and Germany, with a view to repatriating 70,000 troops. This would generate an additional $14bn (11bn, £7.5bn) in savings. An independent commission this week recommended the Pentagon slow down the process to ensure US national security would not be compromised.
Among the large bases targeted for closure are Fort McPherson in Georgia, Cannon air force base in New Mexico, the New London naval submarine base in Connecticut and Portsmouth shipyard in Maine.
While the effects will be felt by communities across the US, the north-eastern states were targeted for some of the heaviest reductions in military personnel. Connecticut will lose 5,000 personnel, while Maine will lose almost 7,000.
Maryland and Georgia were among the states that fared well, gaining more than 9,000 and 7,000 personnel respectively.
An independent Brac commission will consider whether to add or remove bases from the list, before making a final recommendation to President George W. Bush in September.
"I am shocked by the Pentagon's decision this morning to target the sub base here in New London for closure," said Joseph Lieberman, a Connecticut Democrat. "We pledge to fight tooth and nail to overturn this decision."
Duncan Hunter, chairman of the House armed services committee, also criticised the decision to close the submarine base. Many states have already spent millions of dollars hiring consultants and lobbyists to try to persuade the Pentagon not to close their bases.
The previous four Brac rounds resulted in the closure of 97 bases.
The White House yesterday said Mr Bush would ensure affected communities received help with the transition.
-
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 23
ถูกต้องที่สุดครับ ....ประเทศที่มีทหารเข้มแข็งไม่มีล้ม...แต่เมื่อประเทศเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ งบประมาณทางทหารจะถูกตัดเป็นอันดับต้นๆ เพื่อพยุงสถานการณ์ (ดูข่าวข้างต้น)ลองดูกันต่อไป ว่าทำอะไรเขาได้ไหม ทำให้ยักษ์ล้มได้ไหมลองดูครับ (แต่ผมบอกได้เลย no way)
และที่ผมอ้างมาคือ ตามสถิติ ในประวัติศาสตร์ ยังไม่มีประเทศไหนล้มเพราะเศษรฐกิจ โดยครองกำลังทหารเป็นหนึ่งอยู่
รบชนะ ได้ซากปรักหักพัง ได้ศัตรูซุ่มโจมตี ได้ใช้เงินภาษีประชาชน ได้ศพทหาร ...ผมถึงตั้งคำถามข้างบน ผู้ชนะได้อะไรจากสงคราม (หมายถึงผุ้ชนะนะ ไม่ใช่ผู้แพ้) เช่น สหรัฐชนะอีรัก ได้อะไรเป็นผลตอบแทน ???? เป็นคำตอบที่ถามมา (รบชนะทุกอย่างก็เป็นของผู้ชนะอยู่แล้ว)
ได้ประเทศหรือเปล่านะ อย่างญี่ปุ่นนี่สหรัฐเป็นเจ้าของในปัจจุบันหรือเปล่าล่ะครับ ชนะมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนี่...เห็นสุดท้ายก็ต้องคืนประเทศเขาไป
ขอตัวอย่างที่ว่ารบชนะแล้วเจริญขึ้นแบบชัดๆด้วยครับ
-
- Verified User
- โพสต์: 1477
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 24
แม้จะไม่มีประเทศใดเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจโดยมีอำนาจทางทหาร แต่การเสื่อมถอยทางเศรษฐกิจเป็นตัวกัดกร่อนอำนาจทางทหารโดยตรง มองโกเลียมีกองกำลังที่เข้มแข็งที่สุด มีอาณาเขตกว้างขวางที่สุดในประวัติศาสตร์แต่ล่มสลายเพราะบริหารเศรษฐกิจไม่ดีเมื่อเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่มีเงินทุนในการเลี้ยงดูและพัฒนากองทัพ จนสุดท้ายต้องล่มสลายในที่สุด โรมันจักรพรรดิ์ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายทำให้เงินคงคลังร่อยหรอจนไม่สามารถพัฒนาหรือบำรุงกองทัพให้มีประสิทธิภาพสุดท้ายล่มสลาย ซึ่งทั้งหมดนี้แม้จะไม่ได้ล่มสลายขณะมีกองกำลังที่แข็งแรง แต่เศรษฐกิจจะเป็นตัวกัดกร่อนกองทัพลงโดยไม่รู้ตัว
-
- Verified User
- โพสต์: 18134
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 25
มองกันแบบมหภาคกันจริงๆๆๆ
ประเทศไหนจะมีเศรษฐกิจดีต้องประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ
1. ประชาชน ต้องอิ่มท้อง
2. เอกชน ต้องมีแรงในการทำธุรกิจ
3. รัฐต้องเข้มแข็งและสามารถทำการตรวจสอบได้
ที่ไทยรอดจากวิกฤติได้ เพราะเรามีกระดูกสันหลัง เป็นเกษตรกร
ถ้าพี่เบิ้มเราเกิดวิกฤติ จะรอดด้วย มันสมอง คือ สิทธิบัตร ซึ่งต้องดูกันไป
ประเทศไหนจะมีเศรษฐกิจดีต้องประกอบด้วย 3 เสาหลักคือ
1. ประชาชน ต้องอิ่มท้อง
2. เอกชน ต้องมีแรงในการทำธุรกิจ
3. รัฐต้องเข้มแข็งและสามารถทำการตรวจสอบได้
ที่ไทยรอดจากวิกฤติได้ เพราะเรามีกระดูกสันหลัง เป็นเกษตรกร
ถ้าพี่เบิ้มเราเกิดวิกฤติ จะรอดด้วย มันสมอง คือ สิทธิบัตร ซึ่งต้องดูกันไป
-
- Verified User
- โพสต์: 2326
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 26
ญี่ปุ่น เยอรมัน ก่อสงครามเอง เมื่อแพ้สงคราม ต้องชดใช้ ความเสียหาย ดอกเบี้ยให้แก่สหรัฐและพันธมิตร แบบหัวโต นานหลายปี โดนริบสิทธิ์ไม่ให้มีกำลังทหารรบชนะ ได้ซากปรักหักพัง ได้ศัตรูซุ่มโจมตี ได้ใช้เงินภาษีประชาชน ได้ศพทหาร ...
ได้ประเทศหรือเปล่านะ อย่างญี่ปุ่นนี่สหรัฐเป็นเจ้าของในปัจจุบันหรือเปล่าล่ะครับ ชนะมาในสมัยสงครามโลกครั้งที่สองนี่...เห็นสุดท้ายก็ต้องคืนประเทศเขาไป
นานหลายปีกว่า จะฟื้นประเทศได้ (และการที่ฟื้นประเทศได้ก็เพราะคุณภาพคนในประเทศ) ที่สำคัญขั่วอำนาจมีโซเวียตอยู่ในสมัยนั้น ไม่เป็นหนึ่งเหมือนสมัยนี้
ส่วนการลดกำลังพล ตลอดจนการคิดค้นด้านอาวุธน้อยลง ในปัจจุบัน สาเหตุหลักก็เพราะ ไม่มีประเทศไหนมีศักยภาพด้านอาวุธและกำลังทหาร เหนือกว่าสหรัฐในเวลานี้
คงคิดตื้นไปครับ ถ้าสหรัฐบุกอีรัก หวังเพียงซากหักพัง เพื่อหวังสร้างศัตรู พาทหารไปตาย เพื่อผลาญงบประมาณประเทศตัวเอง เรามองในแง่ผู้ชนะ
อำนาจคือบทสรุปของเรื่องราวต่างๆ ทุกอย่างมีข้อสรุปลงตัวด้วยอำนาจ
อำนาจมาก ก็จะเข้าปกคลุม อำนาจที่น้อยกว่า มีอิทธิพลที่เหนือกว่า
ผมยกตัวอย่าง เช่น คุณปล่อยเงินกู้ให้ผม เมื่อถึงกำหนดผมไม่จ่าย คุณจะทำอย่างไร คุณก็ต้องหาอำนาจมาจัดการผม นั้นคือกฎหมาย แต่ถ้าอยู่ในประเทศที่ผมมีอำนาจเหนือกฎหมาย คุณก็ทำอะไรผมไม่ได้ นอกเหนือจากคุณอำนาจที่มากกว่ามาครอบคลุมผมได้
หรือ สมัยก่อนปกครองด้วยระบบกษัตรย์มีอำนาจผูกขาดเบล็ดเสร็จ เมื่อมีอำนาจเพียงขั่วเดียวก็สามารถชี้เป็นชี้ตาย ตามความประสงค์ของตนเองได้ แต่ต่อมาเมื่อมีการกระจายอำนาจตามระบบประชาธิปไตย ไปเป็น 3 ส่วน (ทั้ง 3 ส่วนต้องมีอำนาจ ปราศจากอำนาจไม่ได้) เกิดการถ่วงดุลย์กัน เกิดความสมดุลย์
สหรัฐในเวลานี้อำนาจทางทหารมีอยู่อย่างมาก ไม่มีประเทศไหน มีอาวุธทันสมัย กองกำลังที่มีทักษะและอาวุธ เทียบได้กับสหรัฐ อำนาจขั่วเดียว ชี้เป็นชี้ตายในหลายจุดได้ พวกสนธิสัญญา ข้อตกลง ความชอบธรรม เราไม่มาพูดกัน เพราะพวกนี้ปราศจากอำนาจ
งด เลิก เสพ สุรา บุหรี่ วันนี้ เพื่อชีวิตที่ดีของท่าน
- ch_army
- Verified User
- โพสต์: 1352
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 27
ผมว่าก็อย่าเพิ่งฟันธงกันเลยนะครับ อเมริกาเค้าก็คงเรียนรู้ประวัติศาสตร์มาเหมือนกัน เรื่องอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่แต่ล่มสลายลง
เราเอง ก็ลุ้นให้เค้าอยู่ได้โดยไม่ต้องไปมีเรื่องกับใคร มันน่าจะดีกว่าเถียงกันว่า มีกำลังทหารเหนือชั้นจะล้มได้ไหม
และที่สำคัญประเทศไทยเรานี่แหละ มีมาตรการยังไงให้เราแข็งแกร่งไปยาวนานพออยู่ได้อย่างพอเพียงไปตลิด
การสงครามไม่น่าจะเป็นหัวใจของนักปกครองผู้รักสันติและคุณธรรมนะครับ
ก็ลุ้นให้โลกนี้สงบสุขและเกื้อกูลกันน่าจะดีกว่า
เราเอง ก็ลุ้นให้เค้าอยู่ได้โดยไม่ต้องไปมีเรื่องกับใคร มันน่าจะดีกว่าเถียงกันว่า มีกำลังทหารเหนือชั้นจะล้มได้ไหม
และที่สำคัญประเทศไทยเรานี่แหละ มีมาตรการยังไงให้เราแข็งแกร่งไปยาวนานพออยู่ได้อย่างพอเพียงไปตลิด
การสงครามไม่น่าจะเป็นหัวใจของนักปกครองผู้รักสันติและคุณธรรมนะครับ
ก็ลุ้นให้โลกนี้สงบสุขและเกื้อกูลกันน่าจะดีกว่า
-
- Verified User
- โพสต์: 1435
- ผู้ติดตาม: 0
"ไม่ช้าจะเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ" คำพยากรณ์ของพอล โวลก์
โพสต์ที่ 29
ผมอ่านกระทู้ ผมเริ่มรู้แล้วล่ะครับว่า....
สงครามเริ่มต้นยังไง !!!
สงครามเริ่มต้นยังไง !!!
กฎข้อที่1 อย่ายอมขาดทุน กฎข้อที่2 กลับไปดูกฎข้อที่ 1