เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

การลงทุนแบบเน้นคุณค่า เน้นที่ปัจจัยพื้นฐานเป็นหลัก
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 1

โพสต์

วันนี้ผมไปเข้าอุดหนุนร้านสะดวกซื้อของดร.นิเวศน์ เดินไปที่ตู้แช่
พบอะไรบ้างอย่างผิดปกติ มีสติ้กเกอร์ติดที่หน้าตู้ว่า ซื้อโอเอชิ (ชาเขียว)
รสไหนก็ได้ราคา 16 บาทเท่านั้น
อ้าวแบบนี้ก็ลดตั้ง 4 บาทหรือ 20% เชียว ทำไมถึงเกิดเหตุการณ์แบบนี้ได้ล่ะ
ผมก็ไปมองชั้นในตู้แช่เจอ น้ำชาเขียวยี่ห้อ อิเซตัน วางอยู่จำนวน 3 ชนิด
ราคา 16 บาทเท่ากัน แต่ปริมาณแค่ 420 มิลลิิตร ถึงได้พบว่า
โอเอชิปรับราคาลดลงเนื่องจากรับน้องใหม่คือ อิเซตัน

คำถามในใจคือ ทำไม โอเอชิถึงต้องลงมาเล่นสงครามราคากับอิเซตันด้วย
ในเมื่อ อิเซตันเป็นน้องใหม่ในวงการชาเขียว เพิ่งเปิดตัวไปได้ไม่น่า เจอรับน้องโหดเลย
ทำไมแบรนด์อื่นๆไม่ได้ลดราคาต่ำด้วยล่ะ เป็นเรื่องที่น่าคิด
แ้ล้วมองในด้านผู้บริโภคนั้น แบรนด์ชาเขียวมีค่าในการเลือกซื้อหรือเปล่า
ในเมื่อคุณตันออกจากผู้บริหารของโอเอชิได้ซักพักหนึ่งแ้ล้ว มาเปิดน้ำชาเขียวอีกครั้งหนึ่ง
มันเหมือน คุณบัฟเฟตซื้อกิจการอะไรหนอแล้วเจอว่า ผู้บริหารเดิมก็เป็นเปิดสิ่งที่เคยทำ
นั้นคือบทเรียนในอดีตมาย้อนสู่ปัจจุบันหรือเปล่าหนอ

:)
:)
ภาพประจำตัวสมาชิก
MO101
Verified User
โพสต์: 3226
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 2

โพสต์

คุณตันเป็นมือการตลาดระดับต้นๆของเมืองไทย
ผมมองว่า ช่วงเริ่มต้นถ้าไม่รับน้องโหดๆ รอให้มันโตแล้วจะสู้ได้ยากขึ้นครับ
นอกจากที่ miracle ลงข้อมูลมาแล้วลอง search ในnet ดูพบว่าตู้แช่บางร้านห้ามวางด้วยนะ

ศึกนี้ที่น่าจับตาดูคือกลยุทธ์ของคุณตัน
1. ทุนน้อยกว่า
2. oishi เป็นเจ้าตลาด
3. อาจโดนโจมตีในเรื่องของคุณธรรม เพราะขายให้เขาไป 3000 กว่าล้านแล้วอีก 3 ปีมาำทำแข่ง
เรียกง่ายๆ ว่าเสียเปรียบโดยทุกด้านเลย

กลยุทธที่ใช้คือ
1. ใช้ social network ลองหา FB คุณตันดู
2. เปิดตัวชนโดยตรง และมีโรงงานขนาดใหญ่ไว้รองรับเรียกง่ายๆ ว่าน้องใหม่แต่ขอชนกับเบอร์ 1 เลย
3. เงินพันกว่าล้านน่าจะเป็นไพ่เด็ด แต่ยังไม่ใ้ช่ ลีลาเหลือรับประทาน

คนที่ซวยคือ เพียวริคุ...ดีโด้ เพราะการที่ไทเบฟรับน้องโหดตัวเองก็โดนด้วย และยังเจอดับเบิลดริ้ง กับอิชิตันแย่งตลาดอีก งานนี้ขอให้จับตาดูชั้นวางของ 7-11 ให้ดี การที่มีเครื่องดื่มใหม่มาวาง 4 ขวดย่อมมีเครื่องดื่มเก่าโดนตัดจบ 4 ขวดเช่นกัน และร้านรถเข็นริมทางที่มีโออิชิในกระบะ จะยังมีโออิชิแบบลดราคาบ้าเลือดหรือไม่ก็น่าติดตามเป็นอย่างยิง

การสู้รบระยะสั้นๆ
คุณตันใน FB ยังใช้ชื่อเดิมว่า tanoishi คงต้องเปลี่ยนในเร็ววัน อาจจะต้องถึงขนาดปิดตัว FB กันเลยทีเดียว
ส่วน oishi นอกจากต้องสะกัดดาวรุ่งเครื่องดื่มแล้วยังต้องสะกัดดาวรุ่งราเมน อีกด้วย
ระยะยาว
อาจจะได้เห็นกลยุทธ์ ขายเหล้าพวงเบียร์กลับมาอีกครั้ง ด้วยการเขาเบียร์พ่วงชาเขียว
กลยุทธืที่คุณตันใ้ช้ได้ผลในอตีตคือชิงโชค คราวนี้ อาจไม่ได้ไปแค่ญี่ปุ่นแต่อาจไม่ถึงขอบจักรวาลเลยทีเดียว
คุณละจะเชียร์ใคร ระหว่าง
โออิชิ ลูก ไทยเบฟ ผู้เคยโค่นบัลลังเบียร์สิงมาแล้ว
อิชิตัน ผู้ให้กำเนิด โิออิชิ ผู้โค่นบัลลังยูนิฟเจ้าตลาดชาเขียว
ภาพประจำตัวสมาชิก
reiter
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 2308
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 3

โพสต์

โออิชิคงรู้ศักยภาพของคุณตันครับ เลยรับน้องกันโหดหน่อย :wink: :wink:
Our favorite holding period is forever.

Blog การลงทุนของผม

http://reitertvi.wordpress.com
Pnattbuffettology
Verified User
โพสต์: 143
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 4

โพสต์

เมื่อโกจิเบอรี่ไม่มีคนกินคุณตัน ขายชาเขียวเหมือนเดิมแหละีแล้ว
trangteam
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 58
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 5

โพสต์

คุณตัน เป็นคนเจ้าเล่ห์มากๆ

ผมว่าที่แกอยู่อีก5ปีกับoishi

เพื่อเรียนรู้ทำให้ตัวเองเก่งขึ้น

:mrgreen:
LOVER
ming1714
Verified User
โพสต์: 1246
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 6

โพสต์

แสดงว่าเป็นธุรกิจที่มีรายใหญ่(หรือรายเล็กอื่น)เข้ามาแข่งได้ง่าย... ลงทุนแค่เครื่องจักรหรือเปล่า... :D

ปล. ฝากกระทู้ http://www.pantip.com/cafe/sinthorn/top ... 07575.html เคยไปแอบสอบถามความคิดเห็นไว้เหมือนกัน แหะๆ
ร้อยลี้ ต้องมีก้าวแรก....
chowbe76
Verified User
โพสต์: 1980
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 7

โพสต์

นี่คือโลกทุนนิยมครับ
The mother of all evils is speculation, leverage debt. Bottom line, is borrowing to the hilt. And I hate to tell you this, but it's a bankrupt business model. It won't work. It's systemic, malignant, and it's global, like cancer.
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 8

โพสต์

โมเดลที่คุณตันสร้างให้เองกับมือ Vs ผู้สร้างที่รู้ข้อดีข้อเสียทั้งหมดของโมเดลนี้
มันส์ซะ
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
Holidayman
Verified User
โพสต์: 122
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิเซตัน

โพสต์ที่ 9

โพสต์

คุณตัน รอบนี้โดนหนักแน่นอนเลย.
แต่เค้าเป็นนักการตลาดตัวยง คงน่าจะเอาตัวรอดได้. (จะเอาใจช่วยครับ)
เคยคุยกับคุณตัน เค้าว่า "คือผมมาเป็นตันตันนะครับ" 1ตัน=1,000กิโล ฮา. :D
j2methai
Verified User
โพสต์: 483
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 10

โพสต์

สมัยแก ที่ ชาเขียวพี่เบิรด์ ชาเขียว นามะชา จำได้ป่ะ เฮียตันก็ จัด 2 ขวด 30 กับเซเว่นนี่ล่ะมั้งถ้าจำไม่ผิด ก็ เรื่องปกติน่ะ ใครมาก็ต้องรับน้องหน่อย แต่ จะรุ่งจริงเปล่า เฮียตันแกเก่งไม่เถียงแต่ตลาดชาเขียวก็ไม่ได้ดีเหมือนก่อนน่ะ จะมีช่องว่างให้แกยืนได้เปล่า อันนี้ก็ไม่แน่น่ะ สร้าง brand ใหม่ไม่ง่ายเสี่ยงสูง ว่าน่ะตอนนี้คนยังติดว่า โออิชิคือตัน ให้แกออกสื่อบ่อยๆ คนจะกินโออิชิแทนก็ได้น่ะ จะให้คนลบภาพ โออิชิจากตันมันก็ยาก จะให้จำว่าอิชิตันไม่เกี่ยวกับโออิชิ ก็ยากเข้าไปอีก คงต้องเวลาและสายป่านพอสมควร
ภาพประจำตัวสมาชิก
ซุนเซ็ก
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 11

โพสต์

ตัน โออิชิ ระบุว่า
การลาออกดังกล่าว ยืนยันว่าไม่ได้มีความขัดแย้งกับคณะกรรมการ ผู้ถือหุ้น หรือผู้บริหารคนอื่นแต่อย่างใด
เพียงแต่อยากพักผ่อนและต้องการหันไปทำธุรกิจส่วนตัว ทั้งอสังหาริมทรัพย์และร้านอาหารอย่างจริงจัง
อีกทั้งยังเป็นการเปิดทางให้ผู้บริหารรุ่นใหม่สืบทอดตำแหน่งดังกล่าวต่อไปด้วย

อืม...คุณธรรมการค้า
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
ภาพประจำตัวสมาชิก
oasis
Verified User
โพสต์: 52
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 12

โพสต์

กำลังดื่มอยู่เลย เห็นของใหม่ เลยลองเสียหน่อย
เห็นโออิชิลดเหลือ 16 บาท แต่ไม่ได้ซื้อ

เซเว่นสาขาที่ผมไปซื้อเหลืออิชิตัน 2 ขวด แต่ของเจ้าเดิมยังเต็มตู้
คงมีพวกอยากลองมากพอควร
ภาพประจำตัวสมาชิก
cashcycle
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 327
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 13

โพสต์

เคยฟังคุณตันพูดที่ห้องสมุดมารวยเมื่อหลายปีก่อน
มีคนถามเรื่องทำไมขายโออิชิให้เบียร์ช้าง คุณตันพูดแค่ว่า "จำเป็นต้องขาย" ครับ
ตอนนั้นผมเองรู้สึกว่าแกไม่อยากขายแต่ต้องขาย อันนี้เพราะอะไรคงไม่มีใครรู้ได้นอกจากตัวคุณตันและกลุ่มเบียร์ช้างในตอนนั้น
ศึกนี้อาจมีจุดเริ่มต้นที่พวกเราคาดไม่ถึงก็ได้ครับ :wink:
"One good day out of 365 does not make a champion - It takes a lifetime of dedication." - Adam Copeland
ภาพประจำตัวสมาชิก
^^
Verified User
โพสต์: 519
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 14

โพสต์

“ที่ผ่านมา ผมไม่ได้มีสัญญาใจใดๆ ทั้งสิ้น ระหว่างไทยเบฟฯ ว่า จะไม่ทำธุรกิจชาเขียวพร้อมดื่ม...........................ต้องยอมรับว่า การทำธุรกิจทุกวันนี้ คือ การแข่งขัน”

http://www.manager.co.th/Business/ViewN ... 0000064092
หุ้นมันอยู่รอบๆตัวเราเสมอ
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 15

โพสต์

ชอบบทความนี้ครับ

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 5&gblog=10

อิชิตันชาเขียว - การย้อนเกล็ดโออิชิที่เจ็บแสบ ภาค1

ทุกคนมีข้อดีและข้อเสีย ไม่มีใครสมบูรณ์แบบทั้งหมด แต่เรามักจะดูคนที่ประสบความสำเร็จไว้เป็นแรงบันดาลใจ ให้สู้ต่อไป ให้มุ่งมั่นกับความฝัน




คุณตัน (โออิชิ) หรือภาสกรนที ก็เป็นหนึ่งในไอดอลของผมมาตลอด เพราะเขาเริ่มมาจากศูนย์ มีเงินเป็นสิบล้าน ติดลบเป็นร้อยล้าน แล้วก็กลับมามีอีกเป็นพันล้านได้ ด้วยความสามารถและการตัดสินใจที่เฉียบคมของเขาล้วนๆ




จุดหักเหที่ทำให้ตันต้องมาเปิดตัวเองเป็นแบรนด์ใหม่ โดยใช้ตัวเองเป็นพรีเซนเตอร์นั้นก็ต้องย้อนกลับไปที่ “การเข้ามาถือซื้อหุ้นโออิชิของเบียร์ช้างในปี 2006”




ตอนเข้าตลาดมูลค่าของโออิชิประมาณ 300 ล้านบาทเท่านั้น แต่เมื่อเจ้าสัวเจริญยื่นข้อเสนอที่ปฎิเสธไม่ได้ด้วยดีล 3000 ล้านบาท กำไรถึง 10 เท่าภายในเวลาไม่ถึง 3 ปี ที่สำคัญกว่านั้นคือการยอมให้ตันบริหารต่อไปในฐานะCEOโดยคงหุ้นไว้ 10%เท่านั้น โดยที่เจ้าสัวก็จะไม่เข้ามายุ่ง หรือแทรกแซงอะไร ให้ตันบริหารไปเต็มที่




“ข้อเสนอแบบนี้จะมีคนสักกี่คนที่จะปฎิเสธ”




เป้าหมายของเบียร์ช้าง มี2ประการคือ




1. ลงทุนในธุรกิจส่วนอื่นที่เป็น Non-Alcohol ซึ่งได้โออิชิซึ่งมีส่วนแบ่งของชาเขียวสูงที่สุดในประเทศไทย แถมยังมีธุรกิจเชนร้านอาหารที่มีคนรู้จักทั้งประเทศ เรียกได้ว่าเป็นแบรนด์ที่คนไทยให้การยอมรับในเรื่องอาหารและเครื่องดื่มในระดับต้นๆของเมืองไทยเลยทีเดียว




2. การเข้าตลาดหลักทรัพย์แบบ BACK DOOR หรือว่าประตูหลัง หากจะย้อนกลับไปเบียร์ช้างพยายามลองเชิงในการเข้าตลาดหุ้นไทยมาหลายครั้ง ในสมัยที่ กิตติรัตน์ ณ ระนองยังเป็นผู้จัดการตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยอยู่









แต่จะพิจารณาทีไรก็โดนม็อบมาประท้วงทุกที สุดท้ายเมื่อเข้าไปเทรดตลาดที่สิงค์โปร์ กิตติรัตน์ก็ลาออก เพราะตามสัจจะวาจาที่เคยให้ไว้ ว่าอยากให้เบียร์ช้างเข้าตลาดหุ้นไทย มันไม่ได้มีผลต่อการที่จะทำให้คนไทยทานเหล้ามากขึ้นหรือน้อยลง แต่มันจะเป็นโอกาสที่นักลงทุนไทยจะมีทางเลือกมากขึ้น




ว่ากันว่า สาเหตุที่เบียร์ช้างไม่สามารถเข้าเทรดในตลาดหลักทรัพย์ไทยได้นั้น เป็นเพราะการตกลงผลประโยชน์ทางการเมืองไม่ได้มากกว่า ฝ่ายการเมืองอาจจะเรียกร้องสูงเกินกว่าที่เจ้าสัวจะรับได้ ซึ่งก็พอจะมีความเป็นไปได้อยู่บ้าง เพราะรัฐบาลสมัยนั้นมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด หากจะผลักดันให้เบียร์ช้างหรือไทยเบพฯ เข้าตลาดนั้นเป็นเรื่องที่ไม่เกินความสามารถแน่นอน









เมื่อคุณเจริญถอดใจไปเข้าตลาดสิงค์โปร์เสร็จแล้ว ก็ซื้อกิจการของโออิชิ ก็เปรียบเสมือนการเข้าตลาดหุ้นไทยทางประตูหลัง (BACK DOOR) ถึงจะไม่ใช่เป้าหมายแบบที่หวังไว้ตอนแรก แต่การมีหุ้นเทรดในตลาดไทยในชื่อบริษัทที่มีมูลค่าน้อยกว่าไทยเบฟ แถมยังได้โออิชิที่ธุรกิจที่มีกระแสเงินสดดีมากๆ ก็ไม่ใช่เรื่องที่เลวร้ายอะไรนัก









ดีลที่หอมหวานนี้จึงเกิดขึ้น ตันได้เงินมา 3000 ล้าน เจ้าสัวได้โออิชิไปทั้งแบรนด์ ได้เข้าตลาดหุ้นทันที ทุกฝ่ายจึงดูน่าจะWIN WIN แต่ตันโออิชิในวันนั้นก็ไม่ประมาท และเจ้าสัวเจริญก็รู้ว่าวันหนึ่งตันต้องไป แต่คงไม่นึกว่าจะโดนย้อนเกล็ดแบบเจ็บแสบที่สุดขนาดนี้









***โปรดติดตามต่อภาค 2*** ถ้าเห็นว่าดี น่าสนใจ ช่วยCOMMENTเยอะๆนะครับ ต้องการกำลังใจพอสมควร
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 16

โพสต์

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 5&gblog=11


อิชิตันชาเขียว การย้อนเกล็ดโออิชิที่เจ็บแสบ ภาค2

ยามรักกันใหม่ๆ น้ำต้มผักก็ยังว่าหวาน ไม่ต่างอะไรกับตันโออิชิ และเจ้าสัวเจริญแห่งเบียร์ช้าง


ตัน ภาสกรนที ไม่ใช่ผู้บุกเบิกในตลาดใด แต่ตั้งแต่เขาเข้าสู่วงการอาหารและเครื่องดื่ม ก็ได้สร้างปรากฎการณ์ที่สามารถ “เปลี่ยนพฤติกรรมการบริโภคของคนไทยให้ไปตลอดกาล” ได้อย่างไม่น่าเชื่อ


เริ่มตั้งแต่การทำบุฟเฟ่ต์อาหารญี่ปุ่นราคา500บาทให้เป็น “ Talk of the Town” ในช่วงที่ผู้ใช้อินเทอร์เนตในเมืองไทยยังอยู่แค่ระดับแสนกว่าคนเท่านั้นเอง เหตุการณ์นั้นสร้างให้รับประทานอาหารญี่ปุ่นกลายเป็น “แฟชั่น” และกลืนเป็นวัฒนธรรมการกินของคนไทยในที่สุด


ถ้าลองย้อนกลับไปดูเมื่อ15ปีที่แล้ว ห้างสรรพสินค้าทั่้วไปยังไม่มีร้านอาหารญี่ปุ่นไว้คอยบริการลูกค้าเท่าใดนัก เหมือนที่ตอนนี้ห้างส่วนใหญ่ก็ไม่มีอาหารอิตาเลียนแท้เลย (ถ้าไม่นับพิซซ่า) จะทานแต่ละทีต้องไปตามโรงแรม หรือสุขุมวิทเท่านั้น





แต่พอปัจจุบันหากห้างสรรพสินค้าใดไม่มีร้านอาหารญี่ปุ่นกลับเป็นเรื่องแปลก อย่างน้อยก็ต้องมี 3 ร้านขึ้นไปในแต่ละห้างแน่นอน จนลามไปถึงตลาดนัดต่างๆ ที่มีซูชิคำละ 5 บาทให้เห็น ก็เป็นผลมาจากการเริ่มต้นของโออิชิบุฟเฟ่ต์ทั้งสิ้น


พอเข้าสู่ธุรกิจชาเขียว ตันก็ไม่ใช่เจ้าแรก และเจ้าใหญ่ที่สุด ณ ตอนนั้น คนที่บุกเบิกตลาดก็คือยูนิฟ (UNIF) คนไทยฮือฮากับโฆษณาหนอนพ่อลูก และวลีติดปากที่ว่า “ชิมเมะโจได๋” โออิชิเข้ามาเป็นรายหลัง แต่ตันมีเพื่อนซี้คนหนึ่งเป็นคนไต้หวัน ผู้อยู่เบื้องหลังการปรุงรสชาเขียวและเครื่องดื่มหลากหลายชนิดของโออิชิในตอนนั้น มาทำรสชาติให้ถูกปากคนไทย


และความกล้าทำตลาดของตันที่สร้างปรากฎการณ์อีกครั้งหนึ่งด้วยการแจก “30 ฝา 30 ล้าน” แจกถึงที่สดๆทันที


แม้ว่าตอนแรกๆคนที่ได้ไปจะเป็นคนเก็บขยะก็ตามที แต่พอการแจกจริง เงินสดๆ ลงข่าวไปทั่วทุกสื่อ พี่ไทยก็ต้องหามาลองให้ได้


ทำให้ตอนนั้นชาเขียวโออิชิขาดตลาดขึ้นมาทั่วประเทศทันที ใครๆก็อยากซื้อมาลอง โชคดีที่มีโรงงานที่เป็นพาร์ทเนอร์ต่างๆของคุณตันช่วยดูแล และผลิตให้เพียงพอกับความต้องการในเวลานั้น คุณตันก็ยังซึ้งถึงน้ำใจกันมาถึงทุกวันนี้


หลังจากปรากฎการณ์ 30 ฝา 30 ล้านสักพัก ก็เกิดดีล 3000 ล้านขึ้นมา เมื่อได้เข้าสู่การทำงานที่ต้องมีเป้าหมายชัดเจน คือต้องคิดถึงกำไรของผู้ถือหุ้นเป็นหลัก คือกำไรมากขึ้นในทุกๆปี คุณตันก็เริ่มออกผลิตภัณฑ์ใหม่มาหลายตัว ดีบ้าง แป๊กบ้าง ไม่ว่าจะเป็น น้ำส้มเซกิ ชาเขียวรสใหม่ๆ อามิโนโอเค คอฟฟี่โอ หรือไลน์ร้านอาหารชาบูชิ และเปิดโออิชิสาขาใหม่ๆ


ปรากฎการณ์ความแตกร้าวเริ่มมาจากไหน ก็คงเริ่มมาจากความระแวงจากทั้งสองฝ่ายนั้นเอง


คุณตันก็ไม่รู้ว่าจะอยู่ได้นานแค่ไหน เพราะเป็นผู้ถือหุ้นส่วนน้อยแล้ว สถานะตอนนั้นก็เป็นแค่ลูกจ้างรับบริหารให้เท่านั้น เจ้าของตัวจริงจะเตะกระเด็นเมื่อไหร่ก็ได้ หากมีผลประกอบการไม่น่าพอใจ


เจ้าสัวเจริญเองก็เป็นเจ้าของบริษัท ถึงปากจะพูดว่าให้ตันดูแล แต่เขาก็กลัวตันดูแลให้เขาไม่เต็มที่ หรือตันเป็นตัวเองมากเกินไปจนเขาควบคุมไม่ได้


จากฝั่งเจ้าสัวที่เริ่มปรับโครงสร้างก็คือการส่งคนเข้ามาเป็นกรรมการบริษัท ดูแลเรื่องการเงิน เซ็นเช็คสำคัญๆ แต่เหตุผลที่สำคัญคือน่าจะเป็นคนที่รายการเหตุการณ์ในบริษัทสายตรงมากกว่า


ส่วนตัน โออิชิ เปลี่ยนไปอย่างชัดเจนมาก นามบัตรของเขาไม่ใช่CEO ของโออิชิ แต่เป็น ตัน ภาสกรนที ในฐานะที่เขาเป็นเจ้าของบริษัทที่เขาจดทะเบียนขึ้นมาใหม่ (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นบริษัทกล้วย กล้วย ทำธุรกิจห้างสรรพสินค้าที่ลพบุรี)




โฆษณาของโออิชิใช้ตันเป็นพรีเซนต์เตอร์แทบทุกอย่าง ทั้งน้ำส้มเซกิ อามิโนโอเค แคมเปญไปแต่ตัวทัวร์ยกแก๊งค์ ฯลฯ ที่หากในมุมมองของคนทำธุรกิจแบบรุ่นเก่าเช่น คุณเจริญ เจ้าของขนมปังเซี่ยงไฮ้ เจ้าของกระทิงแดง เจ้าของเอ็มเค ฯลฯ เขาจะไม่ออกหน้าออกตาในสื่อใดๆทั้งสิ้่น


ทีมงานเจ้าสัวมีสิทธิ์คิดได้ว่า ตัน กำลังเริ่มใช้ทรัพยากรในบริษัทโออิชิเพื่อโปรโมตตัวเอง เพื่อรองรับเหตุการณ์ที่จะเปลี่ยนแปลงขึ้นในอนาคต หรืออาจจะมองในแง่ดีว่า ช่วยประหยัดค่าพรีเซนต์เตอร์ ซึ่งถือเป็นต้นทุนที่มหาศาลในการโฆษณา ถ้าบริษัทมีสินค้าใหม่ปีละ 6 รายการ จ้างดาราเกรด A เฉลี่ยก็ไม่ต่ำกว่าคนละ 5 ล้านบาท ปีหนึ่งก็ต้องใช้เงินถึง 30 ล้านบาททีเดียว





การใช้ผู้บริหารเป็นพรีเซนเตอร์สินค้าก็เป็นเรื่องที่มีมาแล้วในเมืองไทย ซึ่งขึ้นอยู่กับมุมมองของแต่ละคน ยกตัวอย่างเช่น DTAC ก็เคยทำมาแล้ว แม้จะรู้ว่าCEOจะบริหารงานในช่วงเวลาหนึ่งเท่านั้น การตัดสินใจเวลานั้นเพราะคนขาดความเชื่อมั่นในแบรนด์DTAC จึงไม่มีใครจะมาทำให้ผู้บริโภคเชื่อได้นอกจากCEOมาพูดเอง แต่กับโออิชิน่าจะมีทางเลือกมากกว่าให้ตันเป็นพรีเซนเตอร์มากมายนัก





อีกเรื่องคือการทำหนังสือ “ชีวิตนี้ไม่มีทางตัน” ซึ่งมีการทั้งพิมพ์เพื่อจำหน่าย ทั้งแจก ทั้งแถม ไปหลักแสนเล่ม ถึงหนังสือจะมีก่อนขายบริษัทให้เบียร์ช้าง


การเดินสายพูดบรรยายไปตามสถาบันการศึกษาต่างๆ อาจจะเพื่อเป็นแรงบันดาลใจ เพื่อเป็นการสร้างแบรนด์โออิชิให้แข็งแรงขึ้นในหมู่คนรุ่นใหม่


หากมองกลับกันหากจะคิดในแง่ร้ายว่าตันวางแผนสร้างตัวเองเป็นแบรนด์ก็ย่อมได้ อะไรๆที่มากไปย่อมไม่ดี ถ้าคุณเป็นเจ้าของบริษัท แต่กรรมการผู้จัดการเดินสายไปทั่วประเทศ เน้นการตลาด ไม่ค่อยอยู่ออฟฟิศ มันก็อาจจะก่อให้เกิดความไม่พอใจอยู่ลึกๆได้


ถ้าถามว่าตันเริ่มสร้างตัวเองเป็นแบรนด์ตั้งแต่เมื่อไหร่ “ก็ตั้งแต่ใส่หมวก” นั่นแหละครับ


เรื่องอื่นๆก็พออลุ่มอลวยกันได้ ตราบใดที่บริษัทยังคงเติบโตอย่างต่อเนื่อง โออิชิเป็นยังเป็นเจ้าตลาดขอชาเขียว ระดับคนที่มีเงินเป็นพันล้าน และแสนล้าน เขาคงไม่มาทะเลาะกันด้วยเรื่องหยุมหยิม แต่ฟางเส้นสุดท้ายก็ขาดสะบั้นลง เพราะการมาของผู้ชายที่ชื่อ แมทธิว กิจโอธาน หรือว่ากรรมการผู้จัดการบริษัทโออิชิในปัจจุบันนั้นเอง


***โปรดติดตามต่อภาค 3*** ถ้าเห็นว่าดี น่าสนใจ ช่วยCOMMENTเยอะๆนะครับ ต้องการกำลังใจพอสมควร
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 17

โพสต์

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 5&gblog=12


อิชิตันชาเขียว - การย้อนเกล็ดโออิชิที่เจ็บแสบ ภาค3

หลังจากดีลการซื้อหุ้น3000ล้านบาทในปี 2006 ยากที่จะมีคนตอบว่าตันสร้างแบรนด์โออิชิ หรือโออิชิสร้างแบรนด์ให้ตันกันแน่





ในมุมมองของคนที่พอจะติดตามข่าวสารอยู่บ้าง “ตัน” เป็นชื่อที่จำง่าย และ “โออิชิ” ก็เป็นแบรนด์ที่ทุกคนรู้จักเป็นอย่างดี แบรนด์ของ “ตัน” ในตอนนั้นคือ นักธุรกิจรุ่นใหม่ที่ประสบความสำเร็จ เริ่มสร้างตัวจากศูนย์ สู้ชีวิต ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค และเป็นแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่




ถึงอย่างไรก็ตามตันก็ยังขาดองค์ประกอบของความเป็นคนดังระดับดาราเกรดเอไปพอควร จนกระทั่งวันที่เขาได้มาเป็นเพื่อนกับโน้ต อุดม แต้พานิช จึงทำให้ตันเข้าใจถึงประโยชน์ของความเป็น Celebrity ว่าใช้สร้างมูลค่ามหาศาลได้แค่ไหน (ผู้ที่สนใจสามารถหาอ่านได้จากบทความ โน้ต-ตัน ความลงตัวของคนรวยอยากดัง และคนดังอยากรวย http://www.bloggang.com/mainblog.php?id ... =5&gblog=8 )




โน้ต อุดมพูดถึงคุณตันในเดี่ยวไมโครโฟนครั้งที่ 7 ว่าได้รู้จักลูกสาวคุณตันชื่อน้องกิฟท์ทำร้านส้มตำชื่อแซบอีลี่อยู่ และคุณตันได้นำช็อคโกแลตร้านของแฟน และอามิโน พลัส มาให้ในคืนก่อนแสดง คำพูดเหล่านี้ถือเป็นโฆษณาแฝงแบบเนียนๆ แต่ความเป็นCELEB ของโน้ตสร้างความมหัศจรรย์ขึ้นทันทีที่ดีวีดีบันทึกการแสดงถูกวางจำหน่าย ยอดขายอามิโนพลัสพุ่งกระฉูด ร้านของเมียและลูกก็ขายดิบขายดีเป็นเทน้ำเทท่า เพราะคน “อยากจะมาลอง” ตามคำบอกกล่าวของโน้ต


เหตุการณ์ครั้งนั้นอาจจะเริ่มจุดประกายให้คุณตันรู้ว่าความเป็นคนดังมีมูลค่ามหาศาล และจะมีประโยชน์กับเขาอย่างแน่นอนในวันที่ลาออกจากโออิชิ






ความขัดแย้งในโออิชิเริ่มเกิดขึ้นจากการแทรกแซงของเจ้าสัวเป็นระยะๆ ไทยเบฟอาศัยความเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ แต่งตั้งบุคลากรใหม่ๆ อายุไม่เยอะมาก เข้ามาทำงานทางด้านตลาด และการเงิน เปรียบเสมือนเป็นสายตรงให้กับเจ้าสัวเจริญ เด็กรุ่นใหม่เริ่มสั่งงานข้ามหัวตันแบบไม่เกรงใจ อาจจะเพราะด้วยรับนโยบายตรงจากเจ้าของ หรือEGOส่วนตัวก็ไม่ทราบได้ แต่การที่ทำแบบนี้กับตัน ผู้ก่อตั้งบริษัท และผ่านประสบการณ์มามากมายเกินกว่าเด็กรุ่นใหม่จะรับรู้ได้ ตันย่อมไม่พอใจแน่นอน ได้แต่เก็บความรู้สึกเอาไว้


ขณะเดียวกัน ทีมงานที่เข้ามาใหม่ๆ ก็อยากให้งานเป็นระบบแบบแผนตามวิชา หรือองค์กรใหญ่ๆเขาปฎิบัติกัน ไม่เหมือนคุณตันที่ทำงานแบบเถ้าแก่สั่งลุย ซึ่งเป็นสิ่งที่ตันถนัดที่สุดในการทำสิ่งใหม่ๆให้คนอยากลอง หรือสร้างDemandขึ้นมาโดนใจคน อย่างเช่นWedding Studio โออิชิบุฟเฟ่ต์ ชาบูชิ ชาเขียว ฯลฯ สไตล์คุณตันคือ


ลุยไปก่อน สร้างDEMANDไปก่อน เรื่องที่เหลือไว้ค่อยแก้ปัญหาเอาทีหลัง ซึ่งเป็นสไตล์การทำงานที่หาคนเข้าใจได้ยากพอสมควร




ตันเป็นฝ่ายลุยเรื่องการตลาด ทำยังไงก็ได้ให้คนอยากเข้ามากิน ภรรยาคุณตันก็ทำงานที่โออิชิเช่นเดียวกัน แต่ดูเรื่องการเงิน แต่คนที่ควบคุมภาพรวมของร้านโออิชิในตอนนั้นคือน้องเขยของเขา นั่นจึงไม่เป็นที่แปลกใจว่าวันที่คุณตันไม่อยู่โออิชิแล้ว หลายคนบ่นว่าบุฟเฟ่ต์ให้ของน้อยลง แอบซ่อนของบ้าง




เพราะคนที่ควบคุมเรื่องนี้มาตลอดก็ลาออกด้วย




ผู้บริหารคนใหม่ที่เข้ามาดูแลไลน์บุฟเฟ่ต์แทนนั้น อาจจะคำนึงถึงการควบคุมต้นทุนมากเกินไป มากกว่าให้น้ำหนักเรื่องการดึงดูดลูกค้าให้เข้าสม่ำเสมอ เพราะสิ่งที่ดึงดูดลูกค้าจริงๆก็คือ “ตัวอาหาร” ไม่ใช่โฆษณาหรือโปรโมชั่น ดังที่โออิชิบุฟเฟต์สร้างปรากฎการณ์ Talk of The Town มาแล้ว






ระหว่างที่ทำโออิชิอยู่ก็ไปซุ่มทำธุรกิจส่วนตัวอย่างสร้างโรงแรม ทำห้างที่ลพบุรี พัฒนาพื้นที่อสังหาริมทรัพย์ตรงทองหล่อซอย 10 หรือเอกมัยซอย 5 ซื้อขายที่ดินได้กำไรมหาศาล จากการใช้เครดิตตัวเองไปจองไว้ก่อน แล้วเอาบอกเจ้าสัวเจริญ ก็ได้ส่วนแบ่งไปสบายๆแบบไม่ต้องลงทุน เพราะเครดิตของคุณตันมีค่ามากกว่าเงินมัดจำ






เมื่อก้าวจากนักธุรกิจเป็นนักลงทุน สายตาการซื้อที่ดินของตัน โออิชินั่นถือว่าแหลมคมอย่างยิ่ง จากการที่เคยเจ๊งมาแล้วในปี 40 เพราะที่ดิน แต่อีกสิบปีให้หลัง ตันกลับโกยเงินได้มหาศาลกว่าที่เคยเจ๊งไปเป็นสิบเท่า เพราะที่ดินเช่นเดียวกัน เรื่องร่ำลือกันในวงการว่าตันใช้เวลาเพียงไม่นานซื้อที่ดินในจังหวะที่ถูก และรู้จังหวะที่ปล่อยที่ในช่วงแพงที่สุดถึงตารางวาละ 1.2 ล้านบาท ฟาดกำไรไป2พันล้านบาทในเวลาไม่ถึงสามปี






ที่ดินตรงทองหล่อซอย 10 หรือว่าอารีน่า 10 นั้น ตันก็มองการณ์ไกลถึงสถานการณ์คอนโดย่านสุขุมวิทตั้งแต่ปี 51 ว่าจะอิ่มตัวตามวัฎจักรของเศรษฐกิจในช่วงนั้น ถ้าสังเกตุให้ดีพื้นที่ด้านในจะเป็นลักษณะของธุรกิจชั่วคราวที่สามารถรื้อถอนได้ง่าย เช่นสนามฟุตบอล Funky Villa ก็ทำชั้นเดียว เพราะตันรู้จักรอจังหวะเล่น ถึงทำคอนโดไปในตอนนั้นก็ขายไม่ได้ราคา เพราะมีแต่คนทำ สู้พัฒนาที่ตรงนั้นทำอย่างอื่นไปก่อนดีกว่า รอให้คนขายคอนโดในย่านนั้นให้หมดก่อน ด้านในที่ดินของตันผืนนี้ก็คงจะเป็นคอนโดสำหรับอยู่อาศัยที่มีไลฟ์สไตล์พิเศษตาม Story ที่ตันสร้างให้พื้นที่นี้มาตลอด จึงไม่ต้องแปลกใจว่าทำไมพื้นที่ด้านหน้าของอารีน่า10 เป็นราเมนแชมเปี้ยน เป็นร้านของเมีย






เจ้าสัวอาจจะเก็บความรู้สึกหลายอย่างไว้ในใจ เพราะตอนที่รับปากว่าจะให้ตันดูแลโออิชิต่อไป อาจจะไม่ได้ขอให้ตันห้ามทำธุรกิจอื่นด้วยก็ได้ พอตันทำธุรกิจส่วนตัว และยิ่งประชาสัมพันธ์มากๆ คนเป็นเจ้าของเงินย่อมมีมุมมองที่คิดได้ว่า มืออาชีพที่บริหารบริษัทก็ควรจะโฟกัสกับสิ่งนั้นสิ่งเดียว คือทำให้บริษัทมีกำไรมากขึ้น ไม่ใช่มัวแต่ไปยุ่งกับธุรกิจของตัวเอง






เพราะตลอดช่วง 5 ปีที่ผ่านมา ตันรวยมากขึ้นจากธุรกิจและการลงทุนส่วนตัวของเขา มากกว่ากำไรที่โออิชิทำได้ใน 5 ปีหลังหลายเท่านัก ไม่นับความดังของตันที่มากขึ้นจากการออกสื่อต่างๆและการเดินสายพูดตามสถาบันการศึกษา แล้วอย่างนี้เจ้าของที่ไหนจะอยากให้ตันบริหารโออิชิต่อไป






สิ่งสุดท้ายที่ทำให้ตันกับโออิชิ เป็นแค่เส้นขนาน ก็คือคำสั่งประกาศิตว่าให้โยกสายการผลิตเครื่องดื่มโออิชิทุกชนิดไปสู่โรงงานของไทยเบฟที่สร้างขึ้นมาใหม่ ซึ่งสำหรับตันถือว่าเป็นการแทรกแซงตำแหน่งซีอีโอของเขาโดยตรง ความสัมพันธ์อันดีที่พาร์ทเนอร์ต่างๆช่วยเหลือตันมาตั้งแต่โออิชิยังไม่มีโรงงานผลิตชา จนวันที่ชาเขียวโออิชิเป็นอันดับหนึ่งนั้น ตันไม่สามารถหักดิบได้ทันที เพราะรู้ดีว่าถ้าโยกการผลิตก็เท่ากับโรงงานต่างๆของพาร์ทเนอร์ และคนงานอีกเป็นจำนวนมากต้องเดือดร้อน




ที่สำคัญคือสัญญาณให้ตันได้รู้ว่า หากไม่ปฎิบัติตามก็คงต้องมีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นกับตำแหน่งของเขา เป็นการยื่นข้อเสนอง่ายๆทางอ้อมว่า จะลาออกเอง หรือจะให้ไล่ออก


***โปรดติดตามต่อภาค 4*** ถ้าเห็นว่าดี น่าสนใจ ช่วยCOMMENTเยอะๆนะครับ ต้องการกำลังใจพอสมควร
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 18

โพสต์

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 5&gblog=13


อิชิตันชาเขียว การย้อนเกล็ดโออิชิที่เจ็บแสบ ภาค4

หากการเข้าเรียนในระดับอุดมศึกษาโดยทั่วไปก็จะมีการรับน้องใหม่เพื่อให้รู้จักโลกใหม่ในมหาวิทยาลัย การก้าวสู่ความเป็นมหาเศรษฐีระดับพันล้านของตันโออิชิก็คงไม่ต่างกันที่ต้องโดนรุ่นพี่รับน้อง แถมยังเป็นแบบ

“สหบาทา” เลยทีเดียว




เมื่อมูลค่าตลาดชาเขียวมากกว่า 3000 ล้านบาทต่อปี ผู้เล่นในตลาดขนม อาหาร และเครื่องดื่มรายใหญ่ๆในประเทศไทยก็ขอเข้ามามีแข่งในตลาดนี้ด้วย เนื่องจากเห็นถึงกระแสบริโภคชาเขียวที่ยังเติบโตไปได้อีกมาก แถมแต่ละรายก็ถือว่า “ใหม่” ด้วยกันทั้งนั้น





ตัน โดนรุมสกรัมแบบไม่ธรรมดา ด้วยการต้องแข่งกับ 30 แบรนด์ ในตลาดตอนนั้น และหลายรายก็เป็นยักษ์ใหญ่ในวงการ หรือไม่ก็มาพร้อมทุนมหาศาล เบียร์สิงห์ก็ส่ง “โมชิ” ลงมาสู้ ยักษ์ใหญ่เจ้าตำรับอย่าง “คิริน” ที่ลงทุนจ้างซูเปอร์สตาร์อย่างเบิร์ด ธงไชยด้วยมูลค่า 30 ล้านบาทมาสู่




บริษัทใหญ่รายอื่นๆมีสายส่งเป็นของตัวเอง มีเครือข่ายทั่วประเทศ ที่จะนำสินค้าไปวางจำหน่าย แต่ใครๆเวลานั้นก็อยากดื่มแต่ชาเขียว โออิชิ เท่านั้น



สุดท้ายมีการทิ้งไพ่ใบสุดท้ามาด้วยการลดราคาเหลือ 15 บาท (จาก 20 บาท) เพื่อหวังแบ่งมาร์เกตแชร์ แต่ก็ไม่อาจทำให้โออิชิสะดุ้งสะเทือนได้ ยอดขายสมีแต่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ แม้ว่าจะไม่ได้ลดราคาเหมือนเจ้าอื่น



จนต้องมีการเล่นเกมส์ใต้ดินที่ปล่อยข่าวเรื่อง “กรดเกลือ” ในขวดชาเขียวโออิชิที่เรียกว่าหนักหนาสาหัสที่สุดแล้ว



ถึงไม่ได้เรียนพีอาร์มา แต่การแก้เกมส์ของตันในเวลานั้นสุดยอดยิ่งกว่าคัมภีร์ใดๆในโลก ด้วยการให้ลูกชายดื่มชาเขียวโชว์ในวันแถลงข่าวชี้แจง ยอดขายชาเขียวโออิชิกลับมาปกติอีกครั้ง พร้อมกับการโบกมือลาจากสมรภูมิชาเขียวอีกไม่ต่ำกว่า 20 แบรนด์




ตันขึ้นมาเป็นสู่ความเป็นมหาเศรษฐีได้อย่างเต็มภาคภูมิอย่างแท้จริง



หนทางแห่งความร่ำรวยของตันนั้นเป็นการก้าวขึ้นมาแบบแฟร์เพลย์อย่างแท้จริง อีกทั้งยังมีภาพลักษณ์ที่สะอาดสดใสอีกด้วย ต่างจากธุรกิจยักษ์ใหญ่รายอื่นที่ยิ่งใหญ่แต่ก็ต้องมีอะไรไม่ปกติธรรมดาสักอย่างเบื้องหลัง เช่นผูกขาดด้วยสัมปทาน ทุนมหาศาล ขายของมึนเมา หนีภาษี หรือแม้กระทั่งโกง เอาเปรียบคู่แข่งรายเล็กๆ




หลังจากเริ่มวางแผนลาออกจากโออิชิ ภาพที่เติมแบรนด์ตันให้เต็มก็คือ ความเป็นผู้ชายที่สมบูรณ์ รักครอบครัว และความรับผิดชอบต่อสังคม



ความรักเมีย รักลูกนั้นตันไม่ได้เสแสร้งใดๆ เพราเป็นสิ่งที่ตันทำด้วยความจริงใจมาตลอดชีวิตอยู่แล้ว แต่สิ่งเหล่านี้กลับปรากฎสู่สื่อมากขึ้น ทั้งเรื่องความรัก ลูก เมีย เพื่อเสริมแบรนด์ของตันให้ยิ่งใหญ่ขึ้น



ส่วนเรื่องการทำกิจกรรมเพื่อสังคมนั้นตอบยาก แต่หากดูนักธุรกิจรุ่นเก่าแบบเจ้าสัวเจริญแล้ว เคยเปรยไว้กับคนใกล้ชิดว่า “ธุรกิจเราเป็นธุรกิจบาป ดังนั้นเราต้องพยายามทำบุญเยอะๆ” นี่คือความเข้าใจอย่างลึกซึ้งของเจ้าสัวเจริญ ที่รู้ว่าความร่ำรวยที่ตนได้มา ก็มาจากคนจำนวนมากที่ต้องเดือดร้อนจากของมึนเมา ถึงจะชดเชยไม่ได้ แต่ก็ต้องพยายามทำความดีให้มากๆ



เพียงแต่ไม่ได้ป่าวประกาศเท่านั้นเอง



สไตล์การทำกิจกรรมเพื่อสังคม ของเจ้าสัวและตัน ต่างกันโดยสิ้นเชิง เจ้าสัวสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคม และสนับสนุนองค์กรการกุศลมากมายในแต่ละปีแบบเงียบๆ โดยที่ไม่ได้มีPAGEของFacebook ปีๆหนึ่งเป็นหลักร้อยล้านบาท



ให้เพราะอยากให้จริงๆ ไม่จำเป็นต้องประกาศ เพราะคนเรานานาจิตตัง




ให้เลือกได้ก็คงไม่มีใครอยากทำธุรกิจที่ผิดศีล ถ้าสังเกตดูเจ้าสัวก็จะนำกำไรของเบียร์ช้างไปลงทุนในสายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่การขายของมึนเมาอยู่ตลอดเวลา ทั้งการพัฒนาที่ดิน ซื้อโรงแรม ซื้อกิจการอย่างโออิชิ ซื้อเบอร์ลี่ยุกเกอร์ ฯลฯ




ตันเริ่มเกากระแสตลอด ด้วยการไปช่วยทำความสะอาดราชประสงค์หลังจากความวุ่นวายจบลง และผนึกความคิดกับโน้ตเป็นศูนย์อำนวยการชอปปิ้งที่อารีน่า 10 ทั้งแปลก เก๋ สดใหม่ สำหรับกระแสของคนกรุงเทพฯที่อยากช่วยแม่ค้าราชประสงค์ในตอนนั้น ทำให้ได้พื้นที่สื่อในการประชาพันธ์ไปเป็นมูลค่ามหาศาล




ถ้าคิดง่ายๆว่าโฆษณาในรายการสรยุทธมีมูลค่านาทีละ 2 แสนบาท เวลาที่ตันออกอากาศ และถูกสรยุทธ์พูดถึงทุกวันในช่วงน้น คงเป็นมูลค่าไม่ต่ำกว่า 10 ล้าน ไม่รวมถึงการลงสื่อหนังสือพิมพ์ทุกฉบับ


ทั้งหมดนี้ตันไม่ต้องเสียค่าโฆษณาแม้แต่บาทเดียว




ถึงจะให้พื้นที่ขายของฟรี แต่ก็ทำให้คนมาที่อารีน่า10มากขึ้น รู้จักมากขึ้น และใช้จ่ายที่สถานที่แห่งนี้มากขึ้น สื่อมวลชนก็ขายข่าวได้เพราะคนชอบ แม่ค้าก็ได้ขายของ ประชาชนก็ดีใจเพราะอยากทำบุญ WIN กันทุกฝ่าย ทุกคนมีแต่ได้ แต่คนที่ได้มากที่สุดน่าจะเป็นตันเอง






ตันทำการกุศลเป็นเหมือน EVENTหนึ่ง มีโครงการ ที่ต้องมีการPR วางแผนโปรโมตระดมทุน ให้ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ต่างจากที่บริษัทยักษ์ใหญ่ทำ แต่เผอิญว่าเมื่อตันเป็น “แบรนด์” และแบรนด์เป็นคนหนึ่งคนไม่ใช่บริษัท จึงดูว่ามันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก





กับโปรเจค “เดี่ยว เดี่ยว กับตัน” เพื่อนำไปสร้างโรงเรียนที่ชลบุรี โดยไม่หักค่าใช้จ่ายใดๆ จากบัตรเข้าชมเลย เพราะคนชื่อตันจะมีไอเดียอะไรพิเศษที่ดึงดูดคนเสมอ





หากบอกว่ารายได้ส่วนหนึ่งของบัตรเข้าชม หรือรายได้หลังหักค่าใช้จ่าย จะนำไปมอบให้การกุศลก็จะดูธรรมดามากในโลกสมัยปัจจุบัน แต่ตันทำแบบนี้กลายเป็น EVENTที่ดูจริงใจ ทุกคนอยากมีส่วนร่วม และสำคัญคือแบรนด์ของตันก็มีความสมบูรณ์พร้อมทุกด้าน และพร้อมที่จะหลุดออกจากความเป็นโออิชิ ไปสู่อาณาจักรแห่งใหม่ของตัวเองที่ชื่อว่า "บริษัทไม่ตัน จำกัด"




***โปรดติดตามต่อภาค 5 ***ถ้าเห็นว่าดี น่าสนใจ ช่วยCOMMENTเยอะๆนะครับ ต้องการกำลังใจพอสมควร
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 19

โพสต์

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 5&gblog=14


อิชิตันชาเขียว การย้อนเกล็ดโออิชิที่เจ็บแสบ ภาค5

วันที่ 9 เดือน 9คุณตันลาออกจากโออิชิเสร็จ ก็เตรียมเปิดโครงการแรก ก็คือราเมนแชมเปี้ยนในเดือนพฤศจิกายน 53 ซึ่งรวมเอาสุดยอดราเมน6ร้านมารวมไว้ที่เดียว สร้างจุดชายใหม่ให้พื้่นที่ ARENA 10 ได้ทันที


แม้ว่าจำนวนร้านราเมนในถนนสุขุมวิทจะมีมากกว่า100ร้านแต่นั่นกลับไปไม่ใช่ปัญหาสำหรับตัน ภาสกรนทีเลย ไม่ว่าจะเป็นร้านราเมนที่ดังแค่ไหนสุขุมวิทก็จะมีคนรู้จักและฐานลูกค้าต่อร้านไม่เกิน 2 หมื่นคนต่อปีโดยประมาณ เพราะแต่ละร้านเป็นร้านเล็กๆ และมีการประชาสัมพันธ์แบบทั่วๆไป มีลงแมกกาซีน หนังสือพิมพ์ และลงอินเทอร์เนต ไม่มีอะไรมากกว่านั้น



คติของตันโออิชิคือ “ไม่ต้องกลัวคู่แข่งที่มีอยู่แล้วในสนาม ถ้าเรามั่นใจว่าเราดีกว่าเขา ก็สู้ชนะได้แน่นอน ไม่ว่าจะเข้าสู่สนามช้ากว่าก็ตามที”



ด้วยการตลาดแบบคุณตัน Social Networkสมัยใหม่ และแฟนพันธ์แท้ที่เชื่อในความเป็นแบรนด์ของตัน ทำให้ “ราเมนแชมป์เปี้ยน” มีคนรู้จักระดับหลายแสนคนตั้งแต่ก่อนเเปิดร้าน ดังยิ่งกว่าร้านราเมนใดๆที่เคยเปิดมาในสุขุมวิททั้งหมด



แค่คนวนเวียนมากินเพราะอยาก “ลอง” ก็ทำให้มีคนเข้าเต็มตลอด พร้อมด้วยการตลาดแหวกแนว เช่นการบริจาคเงินที่ขายราเมนได้ทั้งหมดในสัปดาห์นั้นให้ผู้ประสบภัยพิบัติที่ญี่ปุ่นก็สร้างความฮือฮาให้คนไม่ใช่น้อย พร้อมยอดบริจาคที่ UPDATE ทุกวัน ซึ่งจะมีร้านอาหารใดในประเทศไทยที่กล้าทำแบบนี้



ทั้งการจัดเดี่ยวเดี่ยวกับตัน การบริจาคช่วยเหลือผู้ประสบภัยภาคใต้ เป็นการช่วยโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆทั้งสิ้น ได้ใจคนไปมากมาย



กลับกันในช่วงเวลานั้นก็เกิดโครงการ 9 Challengers ที่เฟ้นหาผู้สมัคร 9 คน คุณสมบัติกว้างๆ จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ อายุ 20 -35 ปี ไม่จำเป็นต้องมีประสบการณ์ ด้วยการส่งคลิปวีดีโอสมัครงานความยาวไม่เกิน 2 นาที เพื่อเป็นพนักงานของบริษัทไม่ตันจำกัดรุ่นแรก โดยทั้ง 9 คนนี้จะได้ทำงานที่บริษัท พร้อมด้วยหุ้นบริษัทมูลค่า 3 แสนบาท



เกิดปรากฎการณ์คนส่งคลิปมาสมัครกับคุณตันเกือบ 2000 คลิป โดยที่คุณตันไม่ต้องใช้เงินลงสื่อเลยแม้แต่บาทเดียว แค่โพสลงในFaceboookเท่านั้นเอง


สร้างความหวังสร้างแรงบันดาลใจให้คนรุ่นใหม่มากมาย ที่อยากจะร่วมงานกับคุณตันที่เป็นฮีโร่ของเขา


มีเงื่อนไขเล็กๆมากมายในการเข้าทีมงานครั้งนี้ ที่น่าสังเกตุ

· ผู้ชนะทั้ง 9 คน จะต้องยึดถือ กฏ ระเบียบ และมาตรฐานการประเมินผล เช่นเดียวกับพนักงานทั่วไปของบริษัทฯ กรณีไม่ปฏิบัติตามกฏ และนโยบายของบริษัท หรือไม่ผ่านการประเมินผลงาน บริษัทฯ สามารถยกเลิกสัญญาจ้างได้ทุกกรณีโดยไม่ต้องจ่ายค่าตอบแทน หรือรางวัลใดๆ
· เงินเดือน และผลตอบแทนอื่นๆ ขึ้นอยู่กับ ความสามารถและประสบการณ์ของผู้ที่ได้รับการคัดเลือก
· The 9 Challengers ทั้ง 9 คน ที่ผ่านโปรตามระเบียบของบริษัท ในกรณีที่มีการลาออกหลังจากอยู่ครบ 1 ปี จะได้รับเงินมูลค่า 100,000 บาท
· The 9 Challengers ทั้ง 9 คน ที่ผ่านโปรตามระเบียบของบริษัท ในกรณีที่มีอายุการทำงานครบ 3 ปี จะได้รับหุ้นของบริษัทฯ มูลค่า 300,000 บาท ในกรณีที่มีการลาออกหลังจากอยู่ครบ 3 ปี สามารถเก็บหุ้นจำนวน 300,000 บาทไว้ได้


โครงการที่ดู “เปิดกว้าง” กลับมีเงื่อนไขซ้อนกันหลายชั้น บริษัทสามารถกำหนดเงินเดือนคุณได้ ให้คุณไม่ผ่านทดลองงานได้ ยกเลิกสัญญาจ้างได้ทุกกรณี หากลาออกในสองปีแรกจะได้ปีละ 1 แสนบาทนั้น แทบไม่น่าสนใจอะไร เพราะบริษัทกำหนดเงินเดือนเราได้ตั้งแต่แรกอยู่แล้ว


การที่ปีที่ 3 ได้หุ้นบริษัทมูลค่า 3 แสนบาทนั้น เป็นสิ่งที่ดูหอมหวานที่สุดสำหรับผู้ชนะทั้ง 9 คนที่ได้ร่วมงานกับตัน แต่หากมองลึกลงไปดีๆ รางวัลที่ได้คือหุ้นของบริษัทเมื่อปีที่ 3 ไม่ใช่ปีแรก มูลค่าหุ้นของบริษัทเมื่อปีแรกที่มียอดขายหลักร้อยล้าน กับปีที่สามที่มียอดหลายพันล้าน ย่อมมีค่าต่างกันมหาศาล หุ้น 3 แสนที่ผู้ชนะจะได้นั้น อาจจะมีค่าเพียงหมื่นกว่าบาทในวันนี้ก็เป็นได้


สรุปว่าคุณตันใช้เงินเพียงเล็กน้อยเท่านั้นในการคัดเลือกคนที่ “มีใจ” อยากจะร่วมกับคุณตันจริงๆ แถมยังกำหนดเงื่อนไขที่ “ล็อค” คนเหล่านี้ให้ทำงานให้บริษัทให้เต็มที่ อย่างน้อยก็เป็นระยะเวลา 3 ปี แม้จะไม่มากมาย แต่คุณตันก็ให้ “ความเป็นเจ้าของ” เพื่อให้ทุกคนทุ่มเทให้บริษัทประสบความสำเร็จ



แต่ถ้าจะมองในแง่ลบ หากคุณเป็นพนักงานในบริษัทจำกัดมหาชนที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ก็จะรู้เลยว่า “ความเป็นเจ้าของ” นั้นเป็นสิ่งธรรมดามากเมื่อมีการซื้อขายในตลาดหุ้น ทั้งคนนอกคนหากคิดว่าบริษัทจะกำไรเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ก็สามารถซื้อหุ้นได้โดยเสรี ใช้เงินเปิดบัญชีเริ่มต้นที่สามหมื่นบาทก็ทำได้แล้ว



คุณตันก็รับคนเข้ามาทำงานตามปกติ โดยใช้เงื่อนไข และเทคนิคให้ดูน่าสนใจเท่านั้น ไม่ใช่การเปิดโอกาสที่ยิ่งใหญ่ ความสำเร็จในชีวิต ความฝัน อะไรมากมาย ตามที่ผู้สมัครหลายคนเข้าใจอย่างนั้น ก็มีการประเมินงาน มีการยกเลิกสัญญาได้ตามปกติ ส่วนผลตอบแทนและหุ้นที่ได้ก็ถือว่าสมเหตุสมผลสำหรับคนที่จะทุ่มเทให้บริษัท 3 ปีเป็นอย่างน้อย


ตันให้สัมภาษณ์ไว้ก่อนลาออกจากโออิชิว่าจะทำธุรกิจเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพแต่ยังกั๊กๆไม่บอกว่าคืออะไรจนกว่าจะลาออก


หากจะมีใครที่แข่งกับโออิชิได้สูสีที่สุดในประเทศไทย ก็คงเป็นคุณตันเอง เพราะรู้ทั้งตื้นลึกหนาบางทั้งหมดของโออิชิ ที่สำคัญคน คนปรุงสูตรชาเขียวโออิชิเป็นเพื่อนคุณตันนั่นเอง เป็นคนไต้หวัน แล้วบ้านที่เมืองไทยก็อยู่ใกล้ๆคุณตันด้วย


สินค้าแรกจากไม่ตันคืออัญชัญเบอรี่ และตะไคร้กีวี่ในนาม DOUBLE DRINK ที่เป็นเพียงตัวคั่นเวลาเท่านั้น หากเอาชาเขียวมาแข่งกับโออิชิทันทีก็จะดู “น่าเกลียด” ไปที่มาแข่งกับคนที่ยอมเสียเงินซื้อกิจการของตันไป 3300 ล้านบาทถ้วน


เมื่อดอกอัญชัน เบอรี่ ตะไคร้ และกีวี่ไม่ได้ปลูกในวันเดียวฉันใด การเตรียมทำชาเขียวอิชิตันมาสู่ตลาดก็ไม่ได้พึ่งมาทำฉันนั้น ต้องเตรียมที่ดิน พันธ์ชาเขียว ใช้เวลาปลูก เก็บเกี่ยว และทดลองสูตรเป็นปีถึงจะวางจำหน่ายได้ ตันวางเป้าหมายไว้แล้วแน่นอนตั้งแต่ก่อนออกจากโออิชิว่าจะต้องทำชาเขียวมาสู่ตลาด แต่ต้องรอจังหวะและเวลาที่เหมาะสม พร้อมสร้าง “จุดขาย” ใหม่ไม่ให้ซ้ำกับโออิชิของเดิมที่มีอยู่


ชาเขียวออร์แกนิคอิชิตัน โดยคนปรุงสูตรคนเดียวกับโออิชิก็ออกตลาดในที่สุด พร้อมกับรูปของตันในทุกผลิตภัณฑ์ของบริษัท “ไม่ตัน จำกัด” กับแบรนด์ที่เน้นเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ ซึ่งคำกล่าวอ้างนี้อาจจะย้อนมาทิ่มแทงตัวเขาเองในอนาคตก็ได้

• ***โปรดติดตามต่อภาค 6***ถ้าเห็นว่าดี น่าสนใจ ช่วยCOMMENTเยอะๆนะครับ ต้องการกำลังใจพอสมควร
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 20

โพสต์

อ่านกระทู้จบปุ๊บ เดินถือ iPhone ไปที่ร้านค้าทันที
เพื่อให้ผู้อ่าน ได้เห็นภาพการแข่งขันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น!!!
ได้ผลออกมาใกล้เคียงกัน ดังนี้ครับ...

รูปภาพ
^
^
ภาพนี้ของแชมป์เก่าครับ
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
apl24
Verified User
โพสต์: 9
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 21

โพสต์

อ่านกำลังสนุกเลยครับ รอภาค 6 ต่อ
Experience is the best teacher.
Impossible is nothing.
pak
Verified User
โพสต์: 5659
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 22

โพสต์

และภาพ Shelf ของผู้ท้าชิง มี 3 รส
หายไป 1 แถว (คือหมดไปแล้ว 1 รส คือ "รสเก็กฮวย"!!!)
คงเหลือเพียง "รสต้นตำรับ" และ "รสน้ำผึ้งมะนาว" ดังนี้ครับ...

รูปภาพ

อ่านสลากแล้วมีคำที่น่าสนใจ คือ...
1. คำที่เขียนไว้ข้างๆรูปของคุณตัน(ที่ใส่หมวกนักบิน)ที่อยู่บนขวด ว่า...
"ชาจากใจ...สุดฝีมือของผม"
พิถีพิถันใส่ใจในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การคัดยอดอ่อน
ใบชาเขียว ที่ปลูกด้วยวิธีธรรมชาติ
พร้อมเพิ่มคุณค่าด้วย "ดอกชา" ให้กลิ่นรสที่หอม
กลมกล่อมในแบบฉบับชาเชียวญี่ปุ่น

2. ผลิตโดย...
บริษัท โตโยแพ็ค อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด
96 หมู่ 3 ต.บ้านช้าง อ.อุทัย
จ.พระนครศรีอยุธยา
ภายใต้การควบคุมของบริษัท ไม่ตัน จำกัด

ไหนๆแอบถ่ายรูปมาแล้ว ก็เลยถอยมาดื่มซัก 1 ขวด รสต้นตำรับ
กับ ใบชาเขียวออร์แกนิค ผสมดอกชา ขนาด 420 มล.
แล้วแอบคิดว่า ถ้าคุณตัน ทำการตลาดแจกแถมชิงโชค
ตลาดนี้คงเดือดน่าดู!!!

ก็อย่างว่าคนเรามีนิสัยชอบลองของใหม่ ไม่ว่าจะเรื่องสินค้าหรือแม้แต่เรื่องการเมือง
ก็ต้องว่ากันไปครับ...
"แม้การลงทุนจะมีความเสี่ยง แต่มันก็มีความฝันปะปนด้วยอยู่เสมอ..."
ภาพประจำตัวสมาชิก
Ii'8N
Verified User
โพสต์: 3682
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 23

โพสต์

เดี๋ยวจะเข้าใจผิดว่าของผม กลายเป็น plagiarism

ย้ำตาม link ว่า ต้นฉบับของเจ้าของอยู่ที่นี่นะครับ
http://www.bloggang.com/viewblog.php?id ... 5&gblog=14
miracle
Verified User
โพสต์: 18134
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 24

โพสต์

ทำไมเบอร์ 2 และ 3 ถึงไม่รู้สึกรู้ร้อนอะไรเลย
ให้เบอร์หนึ่งลงมารับน้องอย่างเดียว
ลิปตันนี้ลดราคาอยู่เนื่องไม่ลงมาเล่นราคาด้วย
ก็แปลกดีล่ะ

ส่วนยี่ห้ออื่นๆ ไม่ค่อยเท่าไร ตอนนี้ต้องดูว่า ยอดขายเป็นอย่างไง
double drink ก็ทานไม่ค่อยอร่อย
:)
:)
McDonald
Verified User
โพสต์: 93
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 25

โพสต์

pak เขียน:อ่านกระทู้จบปุ๊บ เดินถือ iPhone ไปที่ร้านค้าทันที
เพื่อให้ผู้อ่าน ได้เห็นภาพการแข่งขันที่ชัดเจนยิ่งขึ้น!!!
ได้ผลออกมาใกล้เคียงกัน ดังนี้ครับ...

รูปภาพ
^
^
ภาพนี้ของแชมป์เก่าครับ
ชาเขียว โออิชิ vs อิชิตัน

เกี้ยวซ่า โออิชิ vs เทสโก้

บุฟเฟ่ต์ญีปุ่น โออิชิ vs มิยาบิ (เห็นที่ ซีคอนสแควร์ มาเปิดข้าง ๆ) :mrgreen: :mrgreen:
Learn the past.  
Match the present.  
Creat the future.
ภาพประจำตัวสมาชิก
ซุนเซ็ก
Verified User
โพสต์: 1104
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 26

โพสต์

ไป Lotus Express ซื้ออิจิตันเก็กฮวยมาลองชิมดู ตอนกำลังจ่ายตังค์
พนักงานถามว่า "ไม่เปลี่ยนเป็นโออิชิเหรอพี่ ลดราคาเหลือ 16 บาท"
เล่นกันแรงจริงๆครับ ศึกชาเชียวครั้งนี้
ผมไม่ได้อยู่ในเว็บนี้แล้ว, มีอะไรติดต่อได้ทาง FB - 27/9/2555
"วิธีการที่ถูกต้อง มีได้มากกว่าหนึ่งวิธี"
สมุดบันทึกของผม http://suntse.wordpress.com
Facebook https://www.facebook.com/giggswalk
ภาพประจำตัวสมาชิก
jo7393
Verified User
โพสต์: 2486
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 27

โพสต์

หากมีภาค 6 รออ่านอยู่นะคับท่าน :mrgreen:
“ถ้าราคาหุ้นแยกออกไปจากเส้นกำไร  ไม่ช้าก็เร็วมันจะวิ่งกลับไปหาเส้นกำไรเสมอ”
เลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม  และถือมันตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่

อย่าอายที่จะถาม ไม่มีใครรู้ลึกทุก บ. ถ้าไม่รู้แล้วไม่ถามก็จะยิ่งไม่ฉลาด
Boyadvance
Verified User
โพสต์: 495
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 28

โพสต์

ข้อมูลเหล่านี้มีที่มาจากไหนเหรอครับ
navapon
Verified User
โพสต์: 760
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 29

โพสต์

ตัดราคา กลยุทธ์ทางการตลาด หรือฆ่าตัวตาย

เกมตัดราคา ภาค3
Posted: September 7, 2009
by peacedev in กลยุทธ์, การลงทุน

ในเกมนี้เป็นการตัดราคาเพื่อให้ตนมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น โดยการยอมลดราคาลงให้ต่ำกว่าคู่แข่งเพื่อที่จะได้ส่วนแบ่งตลาดที่มากกว่าเดิม และสุดท้ายทำให้กำไรสุทธิของผู้ตัดราคาเพิ่มขึ้นด้วย แม้ว่ากำไรต่อหน่วยจะลดลง

เกมนี้ไม่มีกลยุทธ์เด่น เพราะไม่ว่าเลือกทางไหนก็มีโอกาสที่จะได้ผลตอบแทนที่ต่ำลงเสมอ ไม่มีจุดสมดุลของแนช เพราะไม่ว่าจะเลือกทางไหน คู่แข่งก็สามารถเลือกผลตอบแทนให้สูงขึ้นได้เสมอ
แต่โปรดสังเกตุว่าหากมีใครเลือกตัดราคาเพื่อให้ผลตอบแทนของตนสูงขึ้น จะทำให้ผลตอบแทนรวมของทั้งสองฝ่ายลดลงเสมอ เนื่องจากราคาในตลาดของสินค้าต่อหน่วยนั้นถูกลง

ดังนั้นหากเกิดสงครามราคาเช่นนี้ขึ้นย่อมไม่เป็นผลดีต่อทุกฝ่ายในระยะยาว ทางที่ดีที่สุดสำหรับทุกฝ่ายคือ การที่ไม่มีใครคิดเริ่มสงครามราคา

จะเห็นว่าสงครามราคาไม่ใช่เรื่องที่น่าพิศมัยนักโดยเฉพาะสงครามราคาที่คู่ค้าต่างมีต้นทุนที่เท่ากันและอยู่ในฐานะทางการตลาดที่ใกล้เคียงกัน

ในชีวิตจริงเราจะเห็นได้จากความได้เปรียบของผู้ผลิตรายใหญ่ซึ่งทำการผูกขาดตลาดอยู่ ซึ่งหากมีรายเล็กซึ่งอาจมีต้นทุนที่สูงกว่าเข้ามาแย่งส่วนแบ่งตลาด รายใหญ่สามารถใช้กลยุทธ์การตัดราคาแบบยอมเข้าเนื้อได้เนื่องจากตนมีต้นทุนที่ต่ำกว่ามากและมีเงินทุนที่เป็นหน้าตักสำหรับใช้ตัดราคาสูงกว่า จนสุดท้ายรายเล็กทนขาดทุนไม่ได้และต้องถอนตัวไปในที่สุด


http://thai-smes-knowledge.blogspot.com ... st_04.html
วันศุกร์ที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การตัดราคา: กลยุทธ์สิ้นคิดของคนทำธุรกิจส่วนตัว
โดยส่วนตัวของผม กับประสบการณ์ในการทำธุรกิจส่วนตัวที่ผ่านมา ผมต้องขอบอกว่าผมไม่เคยใช้วิธีการตัดราคาในการได้มาซึ่งลูกค้า หรือเอาเปรียบคู่แข่งเลย เพราะผมเห็นว่ามันเป็นกลยุทธ์ที่สิ้นคิดมากๆ

ยกตัวอย่างง่ายๆ ทุกคนคงเคยเห็นร้านถ่ายเอกสารใช่ไหมครับ ก่อนหน้านี้ไม่นาน เขาจะถ่ายกันหน้าละ 50 สตางค์แต่ดันมีคนทะลึ่ง คิดว่าถ้าลดราคาลงกว่านั้นนิดหน่อย คนคงจะแห่มาถ่ายกับเรามากมายแน่ๆ เลยลดราคาลงมาครับ ผมจำได้ว่าเริ่มจาก 48 สตางค์ก่อน

ผลลัพธ์ก็เป็นจริงในช่วงแรกๆครับ คือลูกค้าแห่มาทำกับร้านมากขึ้นด้วยกำไรที่น้อยลง แต่แล้วเป็นอย่างไรต่อไปครับ ใครจะยอมเจ๊ง คู่แข่งก็ต้องลดราคา dumpลงมาอีก ทีนี้จะลดมาเท่ากันก็กระไร เอาเลย 45 สตางค์ ทำอย่างนี้กลับไป กลับมาเรื่อย จนตอนนี้เริ่มเห็น 33 สตางค์แล้วครับ สรุปตอนนี้เป็นอย่างไรครับ ทั้งธุรกิจได้กำไรน้อยลงไปร่วม 40% ต่อหน้าแล้ว

และสุดท้ายก็ไม่มีใครได้เปรียบ เสียเปรียบใคร สาเหตุเพราะว่า

1. ลดราคามันทำกันง่าย และเลียนแบบกันง่าย -- คุณทำได้ คู่แข่งก็ทำได้ สุดท้ายทุกคนไม่ได้เปรียบแถมเสียเปรียบเพราะกำไรน้อยลงทุกคน
2. ลดราคา กำไรน้อยลง มูลค่าเพิ่มของธุรกิจก็น้อยลง -- สุดท้ายเมื่อของจริงมา หรือนวัตกรรมใหม่ๆมาคุณก็ปรับตัวกันไม่ได้ เพราะไปหมกมุ่นอยู่แต่กับการลดราคา

ไม่ใช่แค่ธุรกิจถ่ายเอกสารครับ มีอีกหลายธุรกิจ หรือคนทำธุรกิจส่วนตัวอีกหลายกลุ่ม พวกร้านถ่ายรูปก็ตัวดี ตัดกันจนเจ็บปวดไปตามๆกัน คุณจะสังเกตว่า การตัดราคานั้น เมื่อถึงจุดๆหนึ่ง ผู้เล่นในวงการนั้นจะเรียนรู้ไปเอง(ถ้ายังไม่เจ๊งกันไปก่อน) ว่ามันไม่เวิร์คและเราควรจะเอาเวลาไปนั่งทำอย่างอื่นกันดีกว่า ถ้าคุณศึกษาธุรกิจขนาดใหญ่แล้ว เขาจะมีวิธีการหลีกหนีสงครามราคากันอย่างชาญฉลาดและน่าศึกษามากครับ

ทีนี้อาจมีคนบอกว่า อ้าวก็ลดราคามันทำได้ง่าย ก็เลยทำกัน เพื่อเปิดตัวเองเข้าสู่ตลาดไงล่ะ คำตอบผมยังยืนยันเหมือนเดิมครับ ว่าการตัดราคาเป็นอะไรที่สิ้นคิดที่สุด กลับไปอ่าน 2 ข้อด้านบน แล้วมองให้ไกลอีกนิดหนึ่งคุณจะเข้าใจครับ

คำถามต่อไปก็คือ แล้วถ้าไม่ตัดราคาจะให้ทำยังไง (วะ) คิดกันอย่างอื่นไม่ออกแล้วจริงๆ
โอเคครับ บทความต่อไป ผมจะบอกให้ว่า ทำธุรกิจคิดอย่างอื่นได้อีกมากมายแถมสนุกกว่าการตัดราคาอีกเยอะ


http://203.158.253.5/wbi/Business%20&%2 ... it1601.htm

การริเริ่มตัดราคา (Initiating price cuts)
สถานการณ์แวดล้อมหลายอย่างอาจทำให้ต้องมีการตัดราคา ข้อหนึ่งคือการที่มีกำลังการผลิตส่วนเกิน บริษัทต้องมีธุรกิจเพิ่มขึ้นเพื่อจะได้ใช้ประโยชน์จากกำลังการผลิตเหล่านี้แต่ธุรกิจไม่สามารถเพิ่มยอดขายจากวิธีอื่น เช่นการเพิ่มความพยายามในการขาย การพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือวิธีอื่น ๆ ก็เลยจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ราคา เมื่อเริ่มมีการตัดราคาอาจจะก่อให้เกิดสงครามราคาได้ สถานการณ์อีกตัวอย่างหนึ่งที่ต้องทำให้ตัดราคา คือ การลดลงของส่วนแบ่งตลาด ตัวอย่างเช่น General Motors ลดราคารถยนต์ขนาดเล็กลง 10 เปอร์เซ็นต์ในเมืองแถบชายฝั่งตะวันตก เมื่อมีคู่แข่งญี่ปุ่นเข้ามาในตลาด

บางบริษัทเริ่มตัดราคาเพื่อที่จะครอบงำตลาดจากการที่มีต้นทุนต่ำกว่า ไม่ว่าบริษัทจะเริ่มจากการที่มีต้นทุนต่ำกว่า
คู่แข่ง หรือเริ่มตัดราคาเพราะหวังว่าจะได้ส่วนแบ่งตลาดเพิ่มหรือทำให้ต้นทุนลดลง กลยุทธ์การตัดราคามักจะเกิดกับดัก ดังต่อไปนี้
• กับดักที่ทำให้ดูเหมือนคุณภาพต่ำ (Low quality trap) ลูกค้าจะคิดว่าคุณภาพต่ำไปด้วย
• กับดักที่ได้ส่วนแบ่งตลาดเปราะบาง (Fragile – market – share trap) ราคาต่ำจะซื้อส่วนแบ่งตลาดได้
แต่ไม่ได้ลูกค้าที่ซื่อสัตย์ ลูกค้าคนเดิมอาจจะเปลี่ยนใจไปซื้อจากบริษัทที่ขายราคาถูกกว่า
• กับดักจากสายป่าน (Hallow – pocket trap) คู่แข่งที่มีราคาที่สูงกว่า อาจตัดราคาและมีอำนาจอยู่ในตลาดนานกว่าเพราะมีเงินสดสำรองมากกว่า บริษัทอาจจะต้องตัดราคาในสภาวะเศรษฐกิจตกต่ำในช่วงที่ลูกค้าลดการใช้จ่าย



ปกติบริษัททั่วไปมักเอากำไรแต่ละรายเพียงเล็กน้อย แต่เน้นยอดขายคือขายให้ได้ปริมาณมากๆแทน ทั้งนี้นอกจากเพิ่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดแล้วยังจะทำให้สั่งสินค้าวัตถุดิบได้ถูกลงด้วยจากการสั่งปริมาณมากๆกว่ารายอื่น อย่างไรก็ตามระลึกไว้อยู่เสมอว่าการลดราคาสินค้าบางครั้งก็อาจเป็นเรื่องที่โดนแข่งขันตามแบบได้ง่าย มันจึงเป็นวิธีการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจที่ยั่งยืนน้อยที่สุด ตัวสินค้าจึงควรมีมาตตรฐานที่ดีในระดับหนึ่งด้วยจึงจะไม่ต้องอาศัยการลดราคาขายเพียงอย่างเดียว) การที่มี NPMลดลงมากๆ บางครั้งจะเสี่ยงขาดทุนถ้ายอดขายตกแม้เพียงเล็กน้อยหรือยอดขายไม่ได้เพิ่มมากอย่างที่คิดเพราะผู้บริโภคอาจไม่ได้ซื้อสินค้าเพิ่มขึ้นก็ได้
- จุดแข็งทางธุรกิจที่เลียนแบบได้ยาก มักต้องใช้ระยะเวลายาวนานในการสร้างและเพาะบ่มเสมอ ไม่สามารถเนรมิตได้ด้วยเงิน (สุมาอี้)
- จะเก่ง จะรวยหุ้น ก็ต้องใช้เวลาเพาะบ่มเช่นกัน เป็นวีไอ ต้องมี ศรัทธา ขยัน ประหยัด และ อดทน ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ ย่อมไม่ได้มาง่ายๆ
pdGrff
สมาชิกสมาคมนักลงทุนเน้นคุณค่า
โพสต์: 475
ผู้ติดตาม: 0

Re: เมื่อโอเอชิรับน้องอิชิตัน

โพสต์ที่ 30

โพสต์

อาจจะไม่ได้ทำเพื่อ attack คุณตันโดยตรงเพราะไม่ใช่ primary competitor
ถ้าสังเกต ตลาดดีๆตอนนี้ชาเขียว fuji ก็กำลังมาแรง (พร้อมคุณภาพชาที่มีชาเขียวจริงๆ)
ตอนนี้ Oishi จะมาโฆษณาเชียร์สรรพคุณของชาเขียวต่อไปอีกไม่ได้แล้ว เพราะจะเอื้อประโยชน์ให้ทาง Fuji ซะมากกว่า
ถ้ามองทางการตลาดหุยมองว่า Oishi ในสายตาผู้บริโภค ก็ไม่แตกต่างอะไรจากพวก splash คือเครื่องดื่มให้รสชาด
อาจจะลดราคาลงมาเนื่องมาจาก "value" ของผลิตภัณในสายตาของผู้บริโภคเปลี่ยนไป
และเลือกลดราคามาเป็น 16 บาทจาก benchmark ของคุณตันเพื่อความ competitive ที่ point of purchase ด้วย
อันนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัวค่ะ ^^
HOPE FAITH LOVE
โพสต์โพสต์